กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม คุรุจิต นาครทรรพ กระผมขอแสดงข้อคิดเห็นและข้อสังเกตต่อร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... ที่คณะกรรมาธิการการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคของ สปช. ได้เป็นผู้เสนอ ดังนี้นะครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม คุรุจิต นาครทรรพ กระผมขอแสดงข้อคิดเห็นและข้อสังเกตต่อร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... ที่คณะกรรมาธิการการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคของ สปช. ได้เป็นผู้เสนอ ดังนี้นะครับ
ประการแรก ก็ด้วยความเคารพนะครับ ผมเองก็เป็นประชาชนและเป็น ผู้บริโภคคนหนึ่งก็ย่อมต้องการได้รับบริการที่ดี สินค้าที่มีคุณภาพ ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ถูกหลอกเสียเงินเสียทองโดยไม่คุ้มค่า แต่อยากจะกราบเรียนท่านประธานผ่านไปทาง ท่านกรรมาธิการว่า การที่เราจะให้การคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเราก็ควรจะออกแบบหรือ คอนเซปชวล ดีไซน์ (Conceptual design) มาตรการกฎหมายหรือโครงสร้างองค์กรต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม ได้รับการเยียวยาแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของเขาอย่างยุติธรรมและภายในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นถ้าเราจะตั้ง องค์การอิสระหรือองค์กรใหม่อะไรขึ้นมาสักอย่างสักอันหนึ่ง เราควรจะต้องมาศึกษาและ วิเคราะห์กันให้ถ่องแท้และถี่ถ้วนก่อนว่าองค์กรนี้จะช่วยทำให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม ได้รับความยุติธรรม และความรวดเร็วในการแก้ปัญหาเยียวยาอย่างไร หรือไม่ ผมมีข้อกังวล และห่วงใยที่อยากจะแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัตินี้ในหลายประเด็นนะครับ เริ่มตั้งแต่การที่ระบุว่าจะให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงาน ของรัฐ คำถามก็คือการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบันที่ทำโดยรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารนั้น ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายบริหารเลยหรือครับที่จะต้องรับผิดชอบหลักตามกฎหมายที่มีอยู่ องค์กร ของรัฐที่มีอยู่อย่าง สคบ. หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็ดี คณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคก็ดี ไม่มีผลงาน ไม่ได้ทำงานหรือมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเป็นที่พึ่งให้ ความคุ้มครองกับประชาชนผู้บริโภคแล้วกระนั้นหรือ การที่แยกออกมาตั้งองค์กรอิสระ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอำนาจหน้าที่ที่บางประการในมาตรา ๑๙ ที่ดูเหมือนจะซ้ำซ้อนกับ งานของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและ สคบ. จะทำให้เกิดความสับสนในการใช้อำนาจ ตามกฎหมายหรือไม่ ยกตัวอย่างนะครับ ในร่างมาตรา ๑๙ ของร่างพระราชบัญญัตินี้สิ่งที่ น่าจะซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลและฝ่ายบริหารก็คือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การดำเนินคดีแทนผู้บริโภค การส่งเสริมและสนับสนุน ทำไมเราจึง ต้องมีหน่วยงาน ๒ หน่วย อันหนึ่งเป็นของรัฐ อันหนึ่งเป็นองค์กรอิสระมาทำหน้าที่เดียวกัน ซ้ำซ้อนกันและสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น ซึ่งก็จะนำมาสู่ประเด็นที่ ๓ ที่ผมอยากจะ กราบเรียนเสนอต่อนะครับว่าองค์การอิสระนี้รับผิดชอบต่อใคร แอคเคาทะบิลิตี (Accountability) ในร่างนี้ ส่วนใหญ่ที่ดูก็เลือกกันโดยแต่งตั้งโดยสมาคมองค์กรภาคเอกชน เกือบจะล้วน ๆ เสร็จแล้วก็กำหนดให้รัฐบาลและรัฐสภาต้องจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่าย ขององค์การนี้ตามมาตรา ๘ (๒) ทุก ๆ ปี ๓ บาทต่อหัว ซึ่งถ้าประชากรของประเทศมี ๖๘ ล้านคน ก็จะได้รับเงินอุดหนุนไม่ต่ำกว่าปีละ ๒๐๐ ล้านบาท ถูกเอาเปรียบ ก็ไปจัดการให้สำเร็จเรียบร้อย ส่วนองค์การนี้ดิฉันเท่าที่ดูภาพรวมแล้วก็เป็น ลักษณะของการเหมือนกับว่าคอยมอนิเตอร์ (Monitor) คือดูแล้วก็ติดตาม ยังไม่เห็นอำนาจ ในทางปฏิบัติการเหมือนอย่างที่เมื่อกี้ท่านสมาชิกที่ก่อนหน้านี้ได้กล่าวไปแล้วซึ่งก็เห็นตรงกัน ซึ่งความเห็นดิฉันที่ว่าให้รวมกันดิฉันก็เคยคุยนอกรอบกับท่านประธานสารี อ๋องสมหวัง ขออภัยที่เอ่ยนาม แล้วท่านก็บอกว่าในคณะกรรมการปฏิรูปองค์การคุ้มครองผู้บริโภคก็มี ความเห็นเป็น ๒ อย่าง แต่ว่าเสียงข้างมากเห็นว่าไม่ควรจะรวม ควรจะเป็นที่องค์กรอิสระ แต่ในภาพรวมที่เห็นของร่างพระราชบัญญัตินี้ก็เป็นลักษณะเหมือนกับองค์กรนี้ตั้งขึ้นมา โดยเป็นลักษณะของภาคประชาชนที่จะมามอนิเตอร์ มาตรวจสอบดูแล ซึ่งการตรวจสอบ องค์กรนี้ก็ยังเรียกว่าถ้าตั้งขึ้นมาก็คงไม่ทราบมีขนาดใหญ่โตแค่ไหนกับการที่จะต้องไป คุ้มครองผู้บริโภคทั้งประเทศก็คือ ๗๐ ล้านคน ก็ไม่แน่ใจว่าจะได้หรือไม่ ดิฉันก็ฝากตรงนี้ไว้ เนื่องจากเวลาน้อย ดิฉันก็ขอไปมาตรา ๖ เลยนะคะ
ประการแรก ก็ด้วยความเคารพนะครับ ผมเองก็เป็นประชาชนและเป็น ผู้บริโภคคนหนึ่งก็ย่อมต้องการได้รับบริการที่ดี สินค้าที่มีคุณภาพ ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ถูกหลอกเสียเงินเสียทองโดยไม่คุ้มค่า แต่อยากจะกราบเรียนท่านประธานผ่านไปทาง ท่านกรรมาธิการว่า การที่เราจะให้การคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเราก็ควรจะออกแบบหรือ คอนเซปชวล ดีไซน์ (Conceptual design) มาตรการกฎหมายหรือโครงสร้างองค์กรต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม ได้รับการเยียวยาแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของเขาอย่างยุติธรรมและภายในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นถ้าเราจะตั้ง องค์การอิสระหรือองค์กรใหม่อะไรขึ้นมาสักอย่างสักอันหนึ่ง เราควรจะต้องมาศึกษาและ วิเคราะห์กันให้ถ่องแท้และถี่ถ้วนก่อนว่าองค์กรนี้จะช่วยทำให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม ได้รับความยุติธรรม และความรวดเร็วในการแก้ปัญหาเยียวยาอย่างไร หรือไม่ ผมมีข้อกังวล และห่วงใยที่อยากจะแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัตินี้ในหลายประเด็นนะครับ เริ่มตั้งแต่การที่ระบุว่าจะให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงาน ของรัฐ คำถามก็คือการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบันที่ทำโดยรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารนั้น ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายบริหารเลยหรือครับที่จะต้องรับผิดชอบหลักตามกฎหมายที่มีอยู่ องค์กร ของรัฐที่มีอยู่อย่าง สคบ. หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็ดี คณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคก็ดี ไม่มีผลงาน ไม่ได้ทำงานหรือมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเป็นที่พึ่งให้ ความคุ้มครองกับประชาชนผู้บริโภคแล้วกระนั้นหรือ การที่แยกออกมาตั้งองค์กรอิสระ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอำนาจหน้าที่ที่บางประการในมาตรา ๑๙ ที่ดูเหมือนจะซ้ำซ้อนกับ งานของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและ สคบ. จะทำให้เกิดความสับสนในการใช้อำนาจ ตามกฎหมายหรือไม่ ยกตัวอย่างนะครับ ในร่างมาตรา ๑๙ ของร่างพระราชบัญญัตินี้สิ่งที่ น่าจะซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลและฝ่ายบริหารก็คือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การดำเนินคดีแทนผู้บริโภค การส่งเสริมและสนับสนุน ทำไมเราจึง ต้องมีหน่วยงาน ๒ หน่วย อันหนึ่งเป็นของรัฐ อันหนึ่งเป็นองค์กรอิสระมาทำหน้าที่เดียวกัน ซ้ำซ้อนกันและสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น ซึ่งก็จะนำมาสู่ประเด็นที่ ๓ ที่ผมอยากจะ กราบเรียนเสนอต่อนะครับว่าองค์การอิสระนี้รับผิดชอบต่อใคร แอคเคาทะบิลิตี (Accountability) ในร่างนี้ ส่วนใหญ่ที่ดูก็เลือกกันโดยแต่งตั้งโดยสมาคมองค์กรภาคเอกชน เกือบจะล้วน ๆ เสร็จแล้วก็กำหนดให้รัฐบาลและรัฐสภาต้องจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่าย ขององค์การนี้ตามมาตรา ๘ (๒) ทุก ๆ ปี ๓ บาทต่อหัว ซึ่งถ้าประชากรของประเทศมี ๖๘ ล้านคน ก็จะได้รับเงินอุดหนุนไม่ต่ำกว่าปีละ ๒๐๐ ล้านบาท ถูกเอาเปรียบ ก็ไปจัดการให้สำเร็จเรียบร้อย ส่วนองค์การนี้ดิฉันเท่าที่ดูภาพรวมแล้วก็เป็น ลักษณะของการเหมือนกับว่าคอยมอนิเตอร์ (Monitor) คือดูแล้วก็ติดตาม ยังไม่เห็นอำนาจ ในทางปฏิบัติการเหมือนอย่างที่เมื่อกี้ท่านสมาชิกที่ก่อนหน้านี้ได้กล่าวไปแล้วซึ่งก็เห็นตรงกัน ซึ่งความเห็นดิฉันที่ว่าให้รวมกันดิฉันก็เคยคุยนอกรอบกับท่านประธานสารี อ๋องสมหวัง ขออภัยที่เอ่ยนาม แล้วท่านก็บอกว่าในคณะกรรมการปฏิรูปองค์การคุ้มครองผู้บริโภคก็มี ความเห็นเป็น ๒ อย่าง แต่ว่าเสียงข้างมากเห็นว่าไม่ควรจะรวม ควรจะเป็นที่องค์กรอิสระ แต่ในภาพรวมที่เห็นของร่างพระราชบัญญัตินี้ก็เป็นลักษณะเหมือนกับองค์กรนี้ตั้งขึ้นมา โดยเป็นลักษณะของภาคประชาชนที่จะมามอนิเตอร์ มาตรวจสอบดูแล ซึ่งการตรวจสอบ องค์กรนี้ก็ยังเรียกว่าถ้าตั้งขึ้นมาก็คงไม่ทราบมีขนาดใหญ่โตแค่ไหนกับการที่จะต้องไป คุ้มครองผู้บริโภคทั้งประเทศก็คือ ๗๐ ล้านคน ก็ไม่แน่ใจว่าจะได้หรือไม่ ดิฉันก็ฝากตรงนี้ไว้ เนื่องจากเวลาน้อย ดิฉันก็ขอไปมาตรา ๖ เลยนะคะ
มาตรา ๖ ที่บอกว่า ให้องค์การมีสำนักงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ดิฉันมีความเห็นว่าองค์การนี้ควรจะมีสำนักงานอยู่ใน กรุงเทพมหานคร และ ไม่ หรือ นะคะ และจังหวัดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งถ้าหากว่า ตั้งขึ้นทุกจังหวัดคงเป็นไปได้ยาก ในทางปฏิบัติทั้งงบประมาณ ทั้งบุคลากร ทั้งการเริ่มต้น ต่าง ๆ ถ้าหากว่าไม่รวมกับ สคบ. นี่นะคะ ก็คิดว่าจัดเป็นภาคก่อนก็ได้ ตั้งเป็นในกรุงเทพฯ แล้วก็เป็นในภาคต่าง ๆ ด้วย ดิฉันมีประเด็นอื่นอีก แต่ว่าหมดเวลาแล้ว ก็ขอเรียนว่าดิฉัน เห็นด้วยกับสมาชิกที่อภิปรายไปก่อนหน้านี้ทั้ง ๒ ท่าน ทั้งท่านคุรุจิต นาครทรรพ แล้วก็ท่านเฉลิมชัย เฟื่องคอน ที่ประเด็นของการที่มา เป็นต้นว่าที่มาของกรรมการสรรหา ก็ยังมีข้อสงสัยว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และสรุปก็คือในภาพรวมร่างพระราชบัญญัตินี้ยังขาด ความสมบูรณ์ ยังเห็นว่าควรจะต้องมีจุดประเด็นที่จะต้องแก้ไขอีกหลายประเด็นค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
มาตรา ๖ ที่บอกว่า ให้องค์การมีสำนักงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ดิฉันมีความเห็นว่าองค์การนี้ควรจะมีสำนักงานอยู่ใน กรุงเทพมหานคร และ ไม่ หรือ นะคะ และจังหวัดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งถ้าหากว่า ตั้งขึ้นทุกจังหวัดคงเป็นไปได้ยาก ในทางปฏิบัติทั้งงบประมาณ ทั้งบุคลากร ทั้งการเริ่มต้น ต่าง ๆ ถ้าหากว่าไม่รวมกับ สคบ. นี่นะคะ ก็คิดว่าจัดเป็นภาคก่อนก็ได้ ตั้งเป็นในกรุงเทพฯ แล้วก็เป็นในภาคต่าง ๆ ด้วย ดิฉันมีประเด็นอื่นอีก แต่ว่าหมดเวลาแล้ว ก็ขอเรียนว่าดิฉัน เห็นด้วยกับสมาชิกที่อภิปรายไปก่อนหน้านี้ทั้ง ๒ ท่าน ทั้งท่านคุรุจิต นาครทรรพ แล้วก็ท่านเฉลิมชัย เฟื่องคอน ที่ประเด็นของการที่มา เป็นต้นว่าที่มาของกรรมการสรรหา ก็ยังมีข้อสงสัยว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และสรุปก็คือในภาพรวมร่างพระราชบัญญัตินี้ยังขาด ความสมบูรณ์ ยังเห็นว่าควรจะต้องมีจุดประเด็นที่จะต้องแก้ไขอีกหลายประเด็นค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานครับ คุรุจิต นาครทรรพ สปช. ครับ ไม่ได้ติดใจนะครับ แต่ขอความกระจ่างในข้อ ๑๑๕ สักนิดหนึ่งว่า ในกรณี ที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่างลง ถ้าผมเข้าใจถูกต้อง กระบวนการสรรหา หรือสมัคร หรือเสนอชื่อที่อยู่ในข้อ ๑๑๒ ก็คือต้องมีการเสนอชื่อ แต่ในวรรคสองเขียนว่า ให้ประธานสภาแต่งตั้งภายในสิบห้าวัน อยากทราบว่าสมมุติว่างลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ตาม (๑) (๒) (๓) ไม่ใช่เป็นกระบวนการสรรหา หรือสมัคร หรือเสนอชื่อ แต่เป็นประธาน เลือกคนใดคนหนึ่งเข้าไปเลยหรือครับ
ผมเข้าใจว่าที่เราเลือกเสร็จไปแล้วโดยบทเฉพาะกาล คือให้มีการสมัคร หรือเสนอชื่อโดยแต่ละด้านนี่นะครับ แล้วเราก็ได้ ๒๐ คนไม่ใช่ประธานสภา เป็นคนเลือก แต่กรณีนี้สมมุติว่าท่านใดท่านหนึ่งเกิดลาออก หรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งในวงเล็บนี้ ว่างลง ท่านที่จะมาแทนมาโดยวิธีอะไรครับ โดยประธานเลือกคนใดคนหนึ่ง
ผมไม่ได้ขอแปรญัตติอะไรครับ เพียงแต่ว่า คำอธิบายของท่านก็เผื่อจะมีเหตุในอนาคต จะได้มาดูรายงานการประชุมว่าต้องเป็น กระบวนการ
ไม่เห็นชอบครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม คุรุจิต นาครทรรพ ในฐานะรองประธานกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง กรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช. ขอกราบเรียนเพิ่มเติม จากที่ ท่านประธานกรรมาธิการได้นำเสนอ โดยขออนุญาตใช้เพาเวอร์พอยต์ (PowerPoint) ประกอบการอธิบายด้วยนะครับ แต่ประเด็นแรกก็อยากจะกราบเรียนท่านสมาชิกก่อนว่า สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ คืออะไรนั้น ก็ได้อธิบายอยู่ในรายงานสรุปในหน้า ๑ ถึงหน้า ๓ นะครับ ส่วนระบบสัมปทานปิโตรเลียมภายใต้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติมคืออะไร ก็ได้อธิบายไว้ในหน้า ๕ ต่อเนื่องมานะครับ รวมทั้งข้อสรุปต่าง ๆ นะครับ คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานได้นำเสนอจากการศึกษา ตลอดมาต่อเนื่องเป็นเวลา ๒ เดือน โดยได้เชิญส่วนราชการ นักวิชาการอิสระ ผู้ที่เคยศึกษา เรื่องนี้ทั้งฝั่งที่สนับสนุนและคัดค้านระบบสัมปทานปิโตรเลียมไทยแลนด์ทรี (Thailand III) และระบบแบ่งปันผลผลิต โพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ ก็ได้สรุปที่จะนำเสนอ ต่อคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ด้วยระบบสัมปทาน ปิโตรเลียมไทยแลนด์ทรีพลัสตามแผนงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยให้กระทรวงพลังงาน ดำเนินการศึกษาและเตรียมการให้มีระบบแบ่งปันผลผลิต โพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ หรือพีเอสซี ที่เหมาะสมกับศักยภาพปิโตรเลียมให้พร้อมไว้ เพื่อเป็นทางเลือกให้รัฐบาล ตัดสินใจในการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในครั้งต่อ ๆ ไป ซึ่งก็มีกรรมาธิการ เสียงส่วนน้อยได้ขอสงวนความเห็นไว้ในเอกสารแนบ ๔ ผมขออนุญาตท่านประธานนะครับ ไปที่เพาเวอร์พอยท์ซึ่งจะขอใช้เวลาไม่มากนะครับ มีเพียง ๑๔ สไลด์ (Slide) นะครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม คุรุจิต นาครทรรพ ในฐานะรองประธานกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง กรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช. ขอกราบเรียนเพิ่มเติม จากที่ ท่านประธานกรรมาธิการได้นำเสนอ โดยขออนุญาตใช้เพาเวอร์พอยต์ (PowerPoint) ประกอบการอธิบายด้วยนะครับ แต่ประเด็นแรกก็อยากจะกราบเรียนท่านสมาชิกก่อนว่า สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ คืออะไรนั้น ก็ได้อธิบายอยู่ในรายงานสรุปในหน้า ๑ ถึงหน้า ๓ นะครับ ส่วนระบบสัมปทานปิโตรเลียมภายใต้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติมคืออะไร ก็ได้อธิบายไว้ในหน้า ๕ ต่อเนื่องมานะครับ รวมทั้งข้อสรุปต่าง ๆ นะครับ คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานได้นำเสนอจากการศึกษา ตลอดมาต่อเนื่องเป็นเวลา ๒ เดือน โดยได้เชิญส่วนราชการ นักวิชาการอิสระ ผู้ที่เคยศึกษา เรื่องนี้ทั้งฝั่งที่สนับสนุนและคัดค้านระบบสัมปทานปิโตรเลียมไทยแลนด์ทรี (Thailand III) และระบบแบ่งปันผลผลิต โพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ ก็ได้สรุปที่จะนำเสนอ ต่อคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ด้วยระบบสัมปทาน ปิโตรเลียมไทยแลนด์ทรีพลัสตามแผนงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยให้กระทรวงพลังงาน ดำเนินการศึกษาและเตรียมการให้มีระบบแบ่งปันผลผลิต โพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ หรือพีเอสซี ที่เหมาะสมกับศักยภาพปิโตรเลียมให้พร้อมไว้ เพื่อเป็นทางเลือกให้รัฐบาล ตัดสินใจในการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในครั้งต่อ ๆ ไป ซึ่งก็มีกรรมาธิการ เสียงส่วนน้อยได้ขอสงวนความเห็นไว้ในเอกสารแนบ ๔ ผมขออนุญาตท่านประธานนะครับ ไปที่เพาเวอร์พอยท์ซึ่งจะขอใช้เวลาไม่มากนะครับ มีเพียง ๑๔ สไลด์ (Slide) นะครับ
ประการแรก ก็คือความจำเป็นของ การที่ต้องเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ นะครับ ผมขอกราบเรียนท่านสมาชิกผ่าน ท่านประธานว่าในปี ๒๕๕๗ ที่เพิ่งจบไปนั้น ประเทศไทยเรามีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ สูงมาก ท่านคงจะจำได้ว่าในยุคที่โชติช่วงชัชวาลย์ที่ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เปิดวาล์วผลิตก๊าซจากแหล่งเอราวัณ เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๒๕ นั้น ประเทศไทยเราใช้ก๊าซ เพียง ๑๕๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่ในปี ๒๕๕๗ ผ่านมา ๒๗ ปี การใช้ก๊าซธรรมชาติของเราเพิ่มขึ้นถึง ๕,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยเฉพาะ ในหน้าร้อนของปีที่แล้ว ไม่ใช่เพิ่มเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นะครับ แต่เพิ่มเป็น ๑,๐๐๐ เปอร์เซ็นต์ ก๊าซธรรมชาติได้กลายเป็นสายเลือดเศรษฐกิจที่สำคัญที่หล่อเลี้ยง เศรษฐกิจของประเทศ ส่วนใหญ่ของก๊าซธรรมชาติเกือบ ๗๐ เปอร์เซ็นต์นำไปใช้ผลิตไฟฟ้า ประมาณ ๒๕ เปอร์เซ็นต์นำไปผลิตก๊าซหุงต้มแอลพีจี (LPG) และหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ๑๕ เปอร์เซ็นต์นำไปเป็นเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม และ ๗ เปอร์เซ็นต์นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ที่เรียกว่าก๊าซเอ็นจีวี (NGV) แต่ท่านสมาชิกครับ จากการพยากรณ์อย่างคอนเซอร์เวตีฟ (Conservative) ที่สุด การใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่แหล่งก๊าซที่เราพบอยู่ในประเทศ มีปริมาณสำรองไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนความต้องการของประเทศที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น ๖,๐๐๐-๖,๕๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตใน ๑๐ ปีข้างหน้า ความจริงก็คือว่า ปัจจุบันแหล่งก๊าซ ที่เราผลิตได้ในประเทศนี่สามารถป้อนความต้องการของเศรษฐกิจไทยได้เพียง ๘๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จากภาพนี้ท่านจะเห็นว่าก๊าซประมาณ ๗๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตที่เป็น สีน้ำตาลมาจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ซึ่งไทยก็เป็นเจ้าของครึ่งหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ เกือบ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ประมาณ ๑๘-๑๙ เปอร์เซ็นต์เกือบ ๑,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ที่เป็นสีเทาต้องนำเข้าจากพม่า และใน ๒ ปีที่ผ่านมาเราต้องเริ่มนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว ที่เรียกว่าแอลเอ็นจี (LNG) จากตะวันออกกลางดังที่เป็นข่าวเพิ่งนำเข้าจากกาตาร์ แต่ท่านดูภาพของการคาดการณ์อุปสงค์หรือดีมานด์ (Demand) ที่เป็นเส้นทึบสีฟ้าก็จะเห็นว่า ภายในอีกไม่ถึง ๗-๘ ปี ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๒ นี่เราก็จะเกิดภาวะที่เรียกว่าชอร์ตเตจ (Shortage) นะครับ ถ้าเราไม่สามารถแสวงหาแหล่งก๊าซเพิ่มเติมทั้งจากในและนอกประเทศได้ พื้นที่สีขาวก็จะเป็นสิ่งซึ่งเรายังไม่รู้ว่าจะเอามาจากที่ไหน ตอนนี้ก็คาดว่าจะต้องนำเข้าเป็น ก๊าซธรรมชาติเหลวแอลเอ็นจีจากต่างประเทศ ซึ่งก๊าซแอลเอ็นจีวีที่นำเข้านั้นก็มีราคาแพง กว่าก๊าซที่ค้นพบในประเทศนะครับ ในปีที่แล้วนี่สถิติเฉลี่ยก๊าซที่ผลิตจากอ่าวไทยราคาเฉลี่ย ประมาณ ๘ เหรียญต่อล้านบีทียู (BTU) ก๊าซนำเข้าจากพม่าประมาณ ๑๒ เหรียญต่อล้านบีทียู แต่ก๊าซแอลเอ็นจีที่ขายเป็นสปอต มาร์เกต (Spot market) ในกลางปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ ๑๕ เหรียญต่อล้านบีทียู ท่านลองคิดดูนะครับ ถ้าก๊าซที่มีอยู่ในประเทศไทยลดน้อยลงไป เรื่อย ๆ แล้วเราต้องนำเข้าแอลเอ็นจีขึ้นเรื่อย ๆ ไฟฟ้าของประเทศไทย ๖๗ เปอร์เซ็นต์ ผลิตมาจากก๊าซธรรมชาติ ค่าไฟเราในไตรมาสที่แล้วเฉลี่ย ๓ บาท ๙๑ สตางค์ ถ้าเราต้อง นำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีมากขึ้น ค่าไฟใน ๑๐ ปีข้างหน้าก็อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น ๕ บาท ๖ บาท หรือ ๗ บาทก็เป็นไปได้นะครับ
ประการแรก ก็คือความจำเป็นของ การที่ต้องเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ นะครับ ผมขอกราบเรียนท่านสมาชิกผ่าน ท่านประธานว่าในปี ๒๕๕๗ ที่เพิ่งจบไปนั้น ประเทศไทยเรามีความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ สูงมาก ท่านคงจะจำได้ว่าในยุคที่โชติช่วงชัชวาลย์ที่ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เปิดวาล์วผลิตก๊าซจากแหล่งเอราวัณ เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๒๕ นั้น ประเทศไทยเราใช้ก๊าซ เพียง ๑๕๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพื่อนำมาผลิตไฟฟ้าทั้งหมด แต่ในปี ๒๕๕๗ ผ่านมา ๒๗ ปี การใช้ก๊าซธรรมชาติของเราเพิ่มขึ้นถึง ๕,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยเฉพาะ ในหน้าร้อนของปีที่แล้ว ไม่ใช่เพิ่มเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นะครับ แต่เพิ่มเป็น ๑,๐๐๐ เปอร์เซ็นต์ ก๊าซธรรมชาติได้กลายเป็นสายเลือดเศรษฐกิจที่สำคัญที่หล่อเลี้ยง เศรษฐกิจของประเทศ ส่วนใหญ่ของก๊าซธรรมชาติเกือบ ๗๐ เปอร์เซ็นต์นำไปใช้ผลิตไฟฟ้า ประมาณ ๒๕ เปอร์เซ็นต์นำไปผลิตก๊าซหุงต้มแอลพีจี (LPG) และหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ๑๕ เปอร์เซ็นต์นำไปเป็นเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม และ ๗ เปอร์เซ็นต์นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ที่เรียกว่าก๊าซเอ็นจีวี (NGV) แต่ท่านสมาชิกครับ จากการพยากรณ์อย่างคอนเซอร์เวตีฟ (Conservative) ที่สุด การใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่แหล่งก๊าซที่เราพบอยู่ในประเทศ มีปริมาณสำรองไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนความต้องการของประเทศที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น ๖,๐๐๐-๖,๕๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตใน ๑๐ ปีข้างหน้า ความจริงก็คือว่า ปัจจุบันแหล่งก๊าซ ที่เราผลิตได้ในประเทศนี่สามารถป้อนความต้องการของเศรษฐกิจไทยได้เพียง ๘๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จากภาพนี้ท่านจะเห็นว่าก๊าซประมาณ ๗๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตที่เป็น สีน้ำตาลมาจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ซึ่งไทยก็เป็นเจ้าของครึ่งหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ เกือบ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ประมาณ ๑๘-๑๙ เปอร์เซ็นต์เกือบ ๑,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ที่เป็นสีเทาต้องนำเข้าจากพม่า และใน ๒ ปีที่ผ่านมาเราต้องเริ่มนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว ที่เรียกว่าแอลเอ็นจี (LNG) จากตะวันออกกลางดังที่เป็นข่าวเพิ่งนำเข้าจากกาตาร์ แต่ท่านดูภาพของการคาดการณ์อุปสงค์หรือดีมานด์ (Demand) ที่เป็นเส้นทึบสีฟ้าก็จะเห็นว่า ภายในอีกไม่ถึง ๗-๘ ปี ปี ๒๕๖๑-๒๕๖๒ นี่เราก็จะเกิดภาวะที่เรียกว่าชอร์ตเตจ (Shortage) นะครับ ถ้าเราไม่สามารถแสวงหาแหล่งก๊าซเพิ่มเติมทั้งจากในและนอกประเทศได้ พื้นที่สีขาวก็จะเป็นสิ่งซึ่งเรายังไม่รู้ว่าจะเอามาจากที่ไหน ตอนนี้ก็คาดว่าจะต้องนำเข้าเป็น ก๊าซธรรมชาติเหลวแอลเอ็นจีจากต่างประเทศ ซึ่งก๊าซแอลเอ็นจีวีที่นำเข้านั้นก็มีราคาแพง กว่าก๊าซที่ค้นพบในประเทศนะครับ ในปีที่แล้วนี่สถิติเฉลี่ยก๊าซที่ผลิตจากอ่าวไทยราคาเฉลี่ย ประมาณ ๘ เหรียญต่อล้านบีทียู (BTU) ก๊าซนำเข้าจากพม่าประมาณ ๑๒ เหรียญต่อล้านบีทียู แต่ก๊าซแอลเอ็นจีที่ขายเป็นสปอต มาร์เกต (Spot market) ในกลางปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ ๑๕ เหรียญต่อล้านบีทียู ท่านลองคิดดูนะครับ ถ้าก๊าซที่มีอยู่ในประเทศไทยลดน้อยลงไป เรื่อย ๆ แล้วเราต้องนำเข้าแอลเอ็นจีขึ้นเรื่อย ๆ ไฟฟ้าของประเทศไทย ๖๗ เปอร์เซ็นต์ ผลิตมาจากก๊าซธรรมชาติ ค่าไฟเราในไตรมาสที่แล้วเฉลี่ย ๓ บาท ๙๑ สตางค์ ถ้าเราต้อง นำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีมากขึ้น ค่าไฟใน ๑๐ ปีข้างหน้าก็อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น ๕ บาท ๖ บาท หรือ ๗ บาทก็เป็นไปได้นะครับ
ในหน้าถัดไปนะครับ เป็นปริมาณสำรองปิโตรเลียมของประเทศไทย กระผมต้องกราบเรียนท่านประธานผ่านไปยังท่านสมาชิกว่า จากสถิติที่เราสำรวจมา ในประเทศไทย ๔๐ กว่าปีนั้นประเทศไทยเราพบก๊าซธรรมชาติมากกว่าน้ำมันนะครับ ปริมาณน้ำมันที่เราพบนี่ไม่เพียงพอที่เราใช้ในแต่ละวัน เราต้องนำเข้าน้ำมันกว่าร้อยละ ๘๐ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่าน้ำมันก็คือก๊าซธรรมชาติอย่างที่ผมกราบเรียนแล้วเป็นทรัพยากร ที่หล่อเลี้ยง เป็นเส้นเลือดเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ปริมาณก๊าซสำรอง ก๊าซธรรมชาติที่เรามีอยู่นะครับ ตามมาตรฐานทางวิชาการก็คือเรียกว่า พี ๑ (P1) กับพี ๒ (P2) พรูฟด์ รีเสิร์ฟ (Proved reserve) กับ พรอพบะเบิล รีเสิร์ฟ (Probable reserve) นี่ถ้าเรามาหารด้วยปริมาณการผลิตที่เราผลิตจากประเทศไทยอย่างเดียว ท่านก็จะพบว่า ปริมาณถ้าเป็นพรูฟด์ รีเสิร์ฟ ซึ่งมีความมั่นใจได้ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปว่ามี และมีสัญญา ซื้อขายแล้วเราจะมีใช้อยู่อีกไม่ถึง ๗ ปีเท่านั้น ๖.๔ ปีนะครับ ถ้าเราเอาตัวเลขที่มีความมั่นใจ น้อยกว่ามาบวกคือ พี ๒ มั่นใจ ๕๐ เปอร์เซ็นต์มาเป็นตัวเลขในการวางแผนคือ พี ๑ บวก พี ๒ เราก็จะมีก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยใช้ได้อีกไม่ถึง ๑๓ ปีนะครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากจะ กราบเรียนก็คือถ้าเราไม่ลงทุนแล้วทำการสำรวจเพิ่ม ก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่นี่ก็จะมี ความมั่นใจให้เหลือใช้อีกเพียงไม่เกิน ๗ ปี
ในหน้าถัดไปนะครับ เป็นปริมาณสำรองปิโตรเลียมของประเทศไทย กระผมต้องกราบเรียนท่านประธานผ่านไปยังท่านสมาชิกว่า จากสถิติที่เราสำรวจมา ในประเทศไทย ๔๐ กว่าปีนั้นประเทศไทยเราพบก๊าซธรรมชาติมากกว่าน้ำมันนะครับ ปริมาณน้ำมันที่เราพบนี่ไม่เพียงพอที่เราใช้ในแต่ละวัน เราต้องนำเข้าน้ำมันกว่าร้อยละ ๘๐ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่าน้ำมันก็คือก๊าซธรรมชาติอย่างที่ผมกราบเรียนแล้วเป็นทรัพยากร ที่หล่อเลี้ยง เป็นเส้นเลือดเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ปริมาณก๊าซสำรอง ก๊าซธรรมชาติที่เรามีอยู่นะครับ ตามมาตรฐานทางวิชาการก็คือเรียกว่า พี ๑ (P1) กับพี ๒ (P2) พรูฟด์ รีเสิร์ฟ (Proved reserve) กับ พรอพบะเบิล รีเสิร์ฟ (Probable reserve) นี่ถ้าเรามาหารด้วยปริมาณการผลิตที่เราผลิตจากประเทศไทยอย่างเดียว ท่านก็จะพบว่า ปริมาณถ้าเป็นพรูฟด์ รีเสิร์ฟ ซึ่งมีความมั่นใจได้ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปว่ามี และมีสัญญา ซื้อขายแล้วเราจะมีใช้อยู่อีกไม่ถึง ๗ ปีเท่านั้น ๖.๔ ปีนะครับ ถ้าเราเอาตัวเลขที่มีความมั่นใจ น้อยกว่ามาบวกคือ พี ๒ มั่นใจ ๕๐ เปอร์เซ็นต์มาเป็นตัวเลขในการวางแผนคือ พี ๑ บวก พี ๒ เราก็จะมีก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยใช้ได้อีกไม่ถึง ๑๓ ปีนะครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากจะ กราบเรียนก็คือถ้าเราไม่ลงทุนแล้วทำการสำรวจเพิ่ม ก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่นี่ก็จะมี ความมั่นใจให้เหลือใช้อีกเพียงไม่เกิน ๗ ปี
ในสไลด์ถัดไปก็พูดถึงเรื่องของการเตรียมการที่จะเปิดให้มีการขอสิทธิสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมในสัมปทานรอบที่ ๒๑ นะครับ คำว่า รอบที่ ๒๑ มันมีความหมายว่า เปิดไปแล้ว ๒๐ รอบในช่วง ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา พระราชบัญญัติปิโตรเลียมมีกติกาที่ให้ ผู้สำรวจมีเงื่อนเวลาในการสำรวจนะครับ ปัจจุบันก็คือไม่เกิน ๖ ปี ต่อได้ไม่เกิน ๓ ปี ถ้าเขาสำรวจไม่พบก็ต้องคืนพื้นที่กลับมา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานก็เอาพื้นที่เหล่านี้ละครับมาศึกษาเพิ่มเติมจาก ข้อมูลที่มีอยู่ แล้วก็มาทำเป็นแปลงสำรวจเพื่อเปิดสัมปทานรอบใหม่ เพราะฉะนั้นศักยภาพ ในการเปิดพื้นที่ให้มีการสำรวจในรอบหลัง ๆ มันย่อมลดน้อยลงกว่ารอบแรก ๆ นะครับ ที่เราเตรียมการไว้ก็จะมีการเปิด ๒๙ แปลง เป็นพื้นที่บนบก ๒๓ แปลง และพื้นที่ในอ่าวไทย ๖ แปลง เราก็คาดว่าในการขีดแปลงสำรวจนี้ก็ขีดตามกฎหมายคือในบนบกแปลงละไม่เกิน ๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ในทะเลไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร หลีกเลี่ยงพื้นที่อ่อนไหว เช่น พื้นที่อุทยานแห่งชาติ ลุ่มน้ำชั้น ๑ เอ (A) หรือแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เราก็คาดว่า ถ้ามีการมายื่นขอสัมปทานทั้ง ๒๙ แปลงนี้ก็จะมีโอกาสที่จะมีการลงทุนสำรวจ มีเงินลงทุน เข้ามาในประเทศไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ ล้านบาท แต่โอกาสที่จะพบหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับ ความสามารถของผู้สำรวจนะครับ แต่เราก็คาดการณ์ว่าอย่างน้อยก็จะมีโอกาสพบ แหล่งก๊าซธรรมชาติได้สัก ๑-๕ ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมทั้งน้ำมันดิบไม่เกิน ๕๐ ล้านบาร์เรล (Barrel) ทีนี้ก็มีประเด็นที่ถกเถียงกันในสังคมนะครับว่า ระบบสัมปทานปิโตรเลียมที่เราใช้อยู่ ที่เรียกว่าระบบไทยแลนด์ทรี มันมีความเหมาะสม มันให้ประโยชน์กับประเทศ ให้ประโยชน์กับรัฐได้ดีแล้วหรือยัง
ในสไลด์ถัดไปก็พูดถึงเรื่องของการเตรียมการที่จะเปิดให้มีการขอสิทธิสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมในสัมปทานรอบที่ ๒๑ นะครับ คำว่า รอบที่ ๒๑ มันมีความหมายว่า เปิดไปแล้ว ๒๐ รอบในช่วง ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา พระราชบัญญัติปิโตรเลียมมีกติกาที่ให้ ผู้สำรวจมีเงื่อนเวลาในการสำรวจนะครับ ปัจจุบันก็คือไม่เกิน ๖ ปี ต่อได้ไม่เกิน ๓ ปี ถ้าเขาสำรวจไม่พบก็ต้องคืนพื้นที่กลับมา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานก็เอาพื้นที่เหล่านี้ละครับมาศึกษาเพิ่มเติมจาก ข้อมูลที่มีอยู่ แล้วก็มาทำเป็นแปลงสำรวจเพื่อเปิดสัมปทานรอบใหม่ เพราะฉะนั้นศักยภาพ ในการเปิดพื้นที่ให้มีการสำรวจในรอบหลัง ๆ มันย่อมลดน้อยลงกว่ารอบแรก ๆ นะครับ ที่เราเตรียมการไว้ก็จะมีการเปิด ๒๙ แปลง เป็นพื้นที่บนบก ๒๓ แปลง และพื้นที่ในอ่าวไทย ๖ แปลง เราก็คาดว่าในการขีดแปลงสำรวจนี้ก็ขีดตามกฎหมายคือในบนบกแปลงละไม่เกิน ๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ในทะเลไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร หลีกเลี่ยงพื้นที่อ่อนไหว เช่น พื้นที่อุทยานแห่งชาติ ลุ่มน้ำชั้น ๑ เอ (A) หรือแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เราก็คาดว่า ถ้ามีการมายื่นขอสัมปทานทั้ง ๒๙ แปลงนี้ก็จะมีโอกาสที่จะมีการลงทุนสำรวจ มีเงินลงทุน เข้ามาในประเทศไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ ล้านบาท แต่โอกาสที่จะพบหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับ ความสามารถของผู้สำรวจนะครับ แต่เราก็คาดการณ์ว่าอย่างน้อยก็จะมีโอกาสพบ แหล่งก๊าซธรรมชาติได้สัก ๑-๕ ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมทั้งน้ำมันดิบไม่เกิน ๕๐ ล้านบาร์เรล (Barrel) ทีนี้ก็มีประเด็นที่ถกเถียงกันในสังคมนะครับว่า ระบบสัมปทานปิโตรเลียมที่เราใช้อยู่ ที่เรียกว่าระบบไทยแลนด์ทรี มันมีความเหมาะสม มันให้ประโยชน์กับประเทศ ให้ประโยชน์กับรัฐได้ดีแล้วหรือยัง
กระผมก็อยากจะนำเสนอในสไลด์ต่อไปนะครับ ธุรกิจสำรวจและ ผลิตปิโตรเลียมมีการเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐสูงกว่าธุรกิจอื่น ๆ ท่านจะดู ผมก็ยกตัวอย่างนะครับ ธุรกิจเหมืองแร่ที่ทำเหมืองแร่ถ่านหินก็เหมือนกับธุรกิจทั่วไปที่เคยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ต่อมารัฐก็ลดให้เหลือ ๒๓ เปอร์เซ็นต์ และปีปัจจุบันก็เหลือร้อยละ ๒๐ ของกำไรสุทธิ การสำรวจแร่ถ่านหินมีค่าภาคหลวงแร่สูงสุดก็คือร้อยละ ๔ นะครับ สำหรับธุรกิจอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจโรงแรม ไม่มีค่าภาคหลวง เสียแต่ภาษีอย่างเดียว ๒๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ของไทยจ่ายประโยชน์ให้กับรัฐ ๓ ทาง ประกอบไปด้วย ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมจากยอดขาย หรือจำหน่าย หรือรายได้ร้อยละ ๕-๑๕ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่สูงกว่าภาษีเงินได้ นิติบุคคลธรรมดาคือร้อยละ ๕๐ ของกำไรสุทธิ และนอกจากนั้นในปี ๒๕๓๒ รัฐบาลในขณะนั้น ก่อนหน้านั้นก็เป็นรัฐบาลของท่าน พลเอก เปรม ท่านก็มีอินเนอร์ คาบิเนต (Inner cabinet) ของท่านคือท่านรัฐมนตรีศุลี ท่านรัฐมนตรีมีชัย ท่านรัฐมนตรีจิรายุ ก็ได้ร่วมกันคิดว่าจะเก็บ ผลประโยชน์ เพราะตอนนั้นราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้น เรามีการพบแหล่งน้ำมันดิบสิริกิติ์บนบก ก็เป็นที่มาของระบบไทยแลนด์ทรีพลัส หรือพระราชบัญญัติปิโตรเลียม ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๓๒ ที่มีการเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษรายปีและรายแปลงสำรวจในอัตราเริ่มต้นที่ ๐ ถึงร้อยละ ๗๕ ของกำไรปิโตรเลียมประจำปี สิ่งนี้ถ้าจะเรียกเป็นภาษาอังกฤษ ขออนุญาต ท่านประธาน เราก็เรียกกันว่า วินด์ฟอล โพรฟิต แทกซ์ (Windfall profit tax)
กระผมก็อยากจะนำเสนอในสไลด์ต่อไปนะครับ ธุรกิจสำรวจและ ผลิตปิโตรเลียมมีการเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐสูงกว่าธุรกิจอื่น ๆ ท่านจะดู ผมก็ยกตัวอย่างนะครับ ธุรกิจเหมืองแร่ที่ทำเหมืองแร่ถ่านหินก็เหมือนกับธุรกิจทั่วไปที่เคยเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ต่อมารัฐก็ลดให้เหลือ ๒๓ เปอร์เซ็นต์ และปีปัจจุบันก็เหลือร้อยละ ๒๐ ของกำไรสุทธิ การสำรวจแร่ถ่านหินมีค่าภาคหลวงแร่สูงสุดก็คือร้อยละ ๔ นะครับ สำหรับธุรกิจอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจโรงแรม ไม่มีค่าภาคหลวง เสียแต่ภาษีอย่างเดียว ๒๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ของไทยจ่ายประโยชน์ให้กับรัฐ ๓ ทาง ประกอบไปด้วย ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมจากยอดขาย หรือจำหน่าย หรือรายได้ร้อยละ ๕-๑๕ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่สูงกว่าภาษีเงินได้ นิติบุคคลธรรมดาคือร้อยละ ๕๐ ของกำไรสุทธิ และนอกจากนั้นในปี ๒๕๓๒ รัฐบาลในขณะนั้น ก่อนหน้านั้นก็เป็นรัฐบาลของท่าน พลเอก เปรม ท่านก็มีอินเนอร์ คาบิเนต (Inner cabinet) ของท่านคือท่านรัฐมนตรีศุลี ท่านรัฐมนตรีมีชัย ท่านรัฐมนตรีจิรายุ ก็ได้ร่วมกันคิดว่าจะเก็บ ผลประโยชน์ เพราะตอนนั้นราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้น เรามีการพบแหล่งน้ำมันดิบสิริกิติ์บนบก ก็เป็นที่มาของระบบไทยแลนด์ทรีพลัส หรือพระราชบัญญัติปิโตรเลียม ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๓๒ ที่มีการเรียกเก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษรายปีและรายแปลงสำรวจในอัตราเริ่มต้นที่ ๐ ถึงร้อยละ ๗๕ ของกำไรปิโตรเลียมประจำปี สิ่งนี้ถ้าจะเรียกเป็นภาษาอังกฤษ ขออนุญาต ท่านประธาน เราก็เรียกกันว่า วินด์ฟอล โพรฟิต แทกซ์ (Windfall profit tax)
ดังนั้นในสไลด์ต่อไป ผมอยากกราบเรียนว่าผลประโยชน์ของรัฐตามระบบ สัมปทานปิโตรเลียมของไทยล่าสุดไทยแลนด์ทรี ใช้มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ จริงครับ แต่กระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ว่าจ้างที่ปรึกษาในปี ๒๕๔๗-๒๕๔๘ คือคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาทำการศึกษาเพื่อปรับปรุงให้กฎหมาย ของเรามีความทันสมัยและเอื้อต่อนักลงทุน ที่ปรึกษาของเราก็ได้ให้ความเห็นว่ากฎหมาย ของเรามีความเหมาะสมแล้ว พยายามแก้ไข ลดอำนาจอนุมัติ ขั้นตอนที่ต้องไปผ่านรัฐมนตรี ผ่าน ครม. ในเรื่องที่เป็นเรื่องประจำก็ลดออกไปทำให้มันมีบรรยากาศที่ลงทุนมากขึ้น แล้วที่ปรึกษาก็สรุปว่าแหล่งปิโตรเลียมของประเทศไทยที่คาดว่าจะพบน่าจะเป็น แหล่งขนาดเล็ก มาร์จินอล ฟิลด์ (Marginal field) เพราะฉะนั้นระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรี มีความเหมาะสมกับประเทศไทยที่จะเอื้อให้เกิดการพัฒนาและสำรวจลงทุนหาแหล่ง ปิโตรเลียมเพิ่มเติมนะครับ
ดังนั้นในสไลด์ต่อไป ผมอยากกราบเรียนว่าผลประโยชน์ของรัฐตามระบบ สัมปทานปิโตรเลียมของไทยล่าสุดไทยแลนด์ทรี ใช้มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ จริงครับ แต่กระทรวงพลังงาน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ว่าจ้างที่ปรึกษาในปี ๒๕๔๗-๒๕๔๘ คือคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาทำการศึกษาเพื่อปรับปรุงให้กฎหมาย ของเรามีความทันสมัยและเอื้อต่อนักลงทุน ที่ปรึกษาของเราก็ได้ให้ความเห็นว่ากฎหมาย ของเรามีความเหมาะสมแล้ว พยายามแก้ไข ลดอำนาจอนุมัติ ขั้นตอนที่ต้องไปผ่านรัฐมนตรี ผ่าน ครม. ในเรื่องที่เป็นเรื่องประจำก็ลดออกไปทำให้มันมีบรรยากาศที่ลงทุนมากขึ้น แล้วที่ปรึกษาก็สรุปว่าแหล่งปิโตรเลียมของประเทศไทยที่คาดว่าจะพบน่าจะเป็น แหล่งขนาดเล็ก มาร์จินอล ฟิลด์ (Marginal field) เพราะฉะนั้นระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรี มีความเหมาะสมกับประเทศไทยที่จะเอื้อให้เกิดการพัฒนาและสำรวจลงทุนหาแหล่ง ปิโตรเลียมเพิ่มเติมนะครับ
ผมขอสรุปอีกทีนะครับว่าตามระบบสัมปทานปิโตรเลียมไทยแลนด์ทรีนั้น องค์ประกอบรายได้ของรัฐไม่ได้มีเพียงส่วนเดียวแต่มีถึง ๓ ส่วน ได้แก่ ค่าภาคหลวง แบบขั้นบันไดร้อยละ ๕ ถึงร้อยละ ๑๕ ของยอดขาย ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมร้อยละ ๕๐ ของกำไรสุทธิ และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษตามหมวด ๗ ทวิ รายได้เหล่านี้ยังไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายก๊าซธรรมชาติซึ่งส่งผ่านต่อไปผู้ซื้อเป็นทอด ๆ อีกด้วยนะครับ นอกจากนั้นในการขอสัมปทาน ผู้รับสัมปทานก็อาจจะยื่นขอผลประโยชน์เพิ่มเติมให้กับรัฐ ในเรื่องของทุนการศึกษาต่าง ๆ และเงินบริจาคให้แก่ท้องถิ่น รวมทั้งเงินให้เปล่ากับรัฐ เข้ากระทรวงการคลัง มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่าระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรีนั้นเป็นระบบที่นิ่ง คือถ้าผู้รับสัมปทานบังเอิญไปพบแหล่งใหญ่ หรือราคาน้ำมันเพิ่มสูงเราเก็บผลประโยชน์ เข้ารัฐแบบถดถอย อันนี้ก็ต้องขอเรียนว่าไม่เป็นความจริงนะครับ ระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรี อย่างที่ผมได้นำเสนอในตาราง ท่านก็จะเห็นว่าประกอบด้วย ๓ ส่วน ค่าภาคหลวงนี้ อัตราก้าวหน้าแน่นอน และเก็บเป็นรายแปลงสำรวจ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่าริง เฟนซ์ (Ring-fence) เป็นรายแปลงสำรวจ ส่วนภาษีเงินได้ปิโตรเลียมก็เป็นหลักสากล ก็เก็บอัตราเดียว ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ แต่เราแยกว่าผู้รับสัมปทานตามกฎหมายเก่าไม่ให้เอาค่าใช้จ่าย ตามกฎหมายเก่ามาหักตามกฎหมายใหม่ แต่หักข้ามแปลงได้ถูกต้องครับ และผลประโยชน์ ตอบแทนพิเศษที่เรียกว่าวินด์ฟอล โพรฟิท แทกซ์ เก็บเมื่อเขามีกำไรเกินสมควร กำไรเกินสมควรก็เผื่อไว้ ถ้าเขาไปพบแหล่งใหญ่แบบซาอุดิอาระเบีย หรืออินโดนีเซีย หรือราคาน้ำมันขึ้นไป ๑๐๐-๒๐๐ เหรียญ ส่วนนี้เราก็จะซับกำไรเขาคืนมาให้รัฐ ในสัดส่วนที่สูงขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อดูโดยรวมท่านดูทั้ง ๓ ภาพประกอบกันแล้วบวกกัน อย่างไร ๆ มันก็เป็นการเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐแบบก้าวหน้าที่เรียกว่าโพรเกรสซีฟ (Progressive) อย่างแน่นอนนะครับ จากการเตรียมการเป็นเวลา ๓ ปีที่ผ่านมา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานได้นำเสนอในรัฐบาลชุดที่แล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๕๕ ที่จะให้มีการเปิดให้สัมปทาน เพราะเราเปิดรอบที่ ๒๐ ครั้งสุดท้าย ในรัฐบาล คมช. ครับ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๐ นะครับ พอเวลาผ่านไปถึงตอนนี้เกือบ ๘ ปีแล้ว เราพบแหล่งปิโตรเลียมใหม่น้อยมากนะครับ เป็นที่น่าเป็นห่วงว่าปริมาณสำรองเราลดลง อย่างมาก แต่ในปี ๒๕๕๕ ที่นำเสนอรัฐบาลในขณะนั้นก็ไม่กล้าตัดสินใจนะครับ เพราะมีเสียงประท้วง เสียงคัดค้าน เราก็ได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นหลายสิบเวทีมาก คณะกรรมาธิการพลังงานของทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรได้เชิญเราไปชี้แจง และคณะกรรมาธิการพลังงานของทั้ง ๒ สภาก็ได้มีมติเห็นควรที่จะให้เดินหน้าต่อไปเพราะว่า เป็นประโยชน์ด้านความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ แต่จากการรับฟังในเวทีต่าง ๆ ก็มีข้อท้วงติงว่าเราอาจจะเก็บผลประโยชน์น้อยไปหรือเปล่า ก็จึงเป็นที่มาของสิ่งที่ กระทรวงพลังงานได้นำเสนอต่อท่านรัฐมนตรีนะครับ ให้ใช้ระบบไทยแลนด์ทรีพลัส พลัส (Plus) นี้คืออะไร พลัส ก็คือเรียกผลประโยชน์เพิ่มขึ้นในลักษณะที่มีการประมูล ผลประโยชน์ด้วย ก็คือถ้าสมมุติมีแปลง ๆ หนึ่ง เช่น อยู่ในอ่าวไทยหรือบนบกที่ไหนก็ตาม ถ้ามีคนสนใจมากกว่า ๑ ราย เขาจะต้องเสนอผลประโยชน์นอกจากที่จะต้องจ่ายตาม กฎหมายคือค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษอย่างที่ ผมกราบเรียนแล้ว จะต้องเสนอเป็นเงื่อนไขบังคับ เงินให้เปล่าในการลงนามสัมปทาน ที่เรียกว่าซิกเนเจอร์ โบนัส (Signature bonus) เงินสนับสนุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งปกติผู้รับสัมปทานก็ทำอยู่แล้ว แต่ทำไม่เหมือนกันทุกราย เราก็บอกว่าอย่างน้อยในช่วงสำรวจ ต้องบริจาค ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้เข้าถึงตรงในเรื่องการศึกษาในท้องถิ่น หรือพัฒนาชุมชน ในท้องถิ่น รวมทั้งมีเรื่องของโพรดักชัน โบนัส (Production bonus) ถ้ามีการผลิตถึงระดับหนึ่ง ก็มีเงินจ่ายโพรดักชัน โบนัส อย่างที่เขียนอยู่ในสไลด์นะครับ และที่เพิ่มขึ้นมาเป็นพิเศษก็คือ ให้เปิดโอกาสให้บริษัทของคนไทยได้เข้าร่วมทุนในแหล่งปิโตรเลียมที่เขาพบแล้ว หมายความว่าบริษัทคนไทยที่อยากจะเรียนรู้เทคโนโลยีลงทุนในธุรกิจนี้ก็จะมีโอกาส เข้าไปลงทุน แต่ว่าไม่ต้องมีความเสี่ยง เพราะเราจะให้ลงทุนหลังจากที่เขาได้พบปิโตรเลียม แล้วนะครับ รวมทั้งเงื่อนไขที่ให้ใช้เรือไทยและสินค้าไทยเป็นอันดับแรก ตลอดเวลา ๒-๓ ปีที่ผ่านมา ในสื่อออนไลน์ (Online) ในสังคมต่าง ๆ ก็มีการถกเถียงว่าระบบสัมปทานปิโตรเลียม ของไทยล้าสมัยหรือเปล่า เหมาะสมกับสิ่งที่เรากำลังจะนำเสนอให้มีการสำรวจอยู่ในปัจจุบัน หรือไม่ กระผมก็ต้องขอกราบเรียนนะครับว่าระบบจัดการปิโตรเลียมในโลกนี้ก็มีอยู่ หลายระบบนะครับ ที่เด่น ๆ ก็คือระบบสัมปทานปิโตรเลียมที่เรียกว่ารอยัลตี แอนด์ แทกซ์ ซิสเท็ม (Royalty and Tax System) แล้วก็ระบบโพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ ซึ่งประเทศแรก ที่เป็นคนคิดค้นขึ้นมาก็อินโดนีเซียหลังจากที่เขาเป็นเอกราช แต่จริง ๆ ในสไลด์นี้เป็น ผลการศึกษาที่เราไปติดตามมาจากการสัมมนาระหว่างประเทศที่เขาศึกษาเรื่องนี้ ระบบไม่ว่า จะเป็นสัมปทานปิโตรเลียมก็ดี หรือโพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ก็ดี สิ่งสำคัญมันอยู่ที่ ไส้ในการออกแบบในกฎหมายว่าจะเก็บผลประโยชน์ให้รัฐเท่าใดนะครับ จริงครับ ที่ระบบ โพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ของอินโดนีเซียและมาเลเซียอาจจะเก็บประโยชน์เข้ารัฐ ในสัดส่วนที่สูงกว่าระบบสัมปทานของไทย แต่เขามีศักยภาพปิโตรเลียมที่อุดมสมบูรณ์กว่า ประเทศไทย ขณะเดียวกันก็มีประเทศที่ใช้ระบบพีเอสซีแต่ศักยภาพไม่ดี ก็กำหนดเทอมใน พีเอสซีให้เอื้อต่อนักลงทุนและเก็บน้อยกว่าระบบสัมปทานของไทยก็มีนะครับ ในพื้นที่ พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียนี่อย่างไรครับ ที่ไทยมีส่วนร่วมอยู่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ระบบพีเอสซี ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เก็บน้อยกว่าระบบไทยแลนด์ทรี ถ้าท่านดูในควอร์เตอร์ (Quarter) ซ้ายล่างก็จะเห็นว่าประเทศนิการากัวใช้ระบบพีเอสซี แต่เก็บประโยชน์เข้ารัฐ เพราะว่าเขามีศักยภาพต่ำ น้อยกว่าระบบสัมปทานของนอร์เวย์ซึ่งอยู่ในควอร์เตอร์ขวาบน ระบบไทยแลนด์วัน (Thailand I) ที่เราใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ ก็ได้มีการแก้ไขเป็นระบบไทยแลนด์ทรี ซึ่งเก็บผลประโยชน์มากขึ้น ถ้าคิดเฉพาะระบบไทยแลนด์ทรี แหล่งที่ผลิตระบบไทยแลนด์ทรี แต่เพียงอย่างเดียว จากสถิติที่เราผลิตมาแล้ว ๑๖ โพรเจกต์ (Project) ตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ นี่นะครับ สัดส่วนที่แบ่งกำไรเข้ารัฐหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วก็คือรัฐเก็บได้ ๗๒ เปอร์เซ็นต์ ผู้ประกอบการได้ ๒๘ เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ระบบสัมปทานไทยแลนด์วันแต่ดั้งแต่เดิมรัฐเก็บได้ ประมาณ ๕๔ เปอร์เซ็นต์ และผู้ประกอบการได้ ๔๖ เปอร์เซ็นต์
ผมขอสรุปอีกทีนะครับว่าตามระบบสัมปทานปิโตรเลียมไทยแลนด์ทรีนั้น องค์ประกอบรายได้ของรัฐไม่ได้มีเพียงส่วนเดียวแต่มีถึง ๓ ส่วน ได้แก่ ค่าภาคหลวง แบบขั้นบันไดร้อยละ ๕ ถึงร้อยละ ๑๕ ของยอดขาย ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมร้อยละ ๕๐ ของกำไรสุทธิ และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษตามหมวด ๗ ทวิ รายได้เหล่านี้ยังไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายก๊าซธรรมชาติซึ่งส่งผ่านต่อไปผู้ซื้อเป็นทอด ๆ อีกด้วยนะครับ นอกจากนั้นในการขอสัมปทาน ผู้รับสัมปทานก็อาจจะยื่นขอผลประโยชน์เพิ่มเติมให้กับรัฐ ในเรื่องของทุนการศึกษาต่าง ๆ และเงินบริจาคให้แก่ท้องถิ่น รวมทั้งเงินให้เปล่ากับรัฐ เข้ากระทรวงการคลัง มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่าระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรีนั้นเป็นระบบที่นิ่ง คือถ้าผู้รับสัมปทานบังเอิญไปพบแหล่งใหญ่ หรือราคาน้ำมันเพิ่มสูงเราเก็บผลประโยชน์ เข้ารัฐแบบถดถอย อันนี้ก็ต้องขอเรียนว่าไม่เป็นความจริงนะครับ ระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรี อย่างที่ผมได้นำเสนอในตาราง ท่านก็จะเห็นว่าประกอบด้วย ๓ ส่วน ค่าภาคหลวงนี้ อัตราก้าวหน้าแน่นอน และเก็บเป็นรายแปลงสำรวจ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่าริง เฟนซ์ (Ring-fence) เป็นรายแปลงสำรวจ ส่วนภาษีเงินได้ปิโตรเลียมก็เป็นหลักสากล ก็เก็บอัตราเดียว ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของกำไรสุทธิ แต่เราแยกว่าผู้รับสัมปทานตามกฎหมายเก่าไม่ให้เอาค่าใช้จ่าย ตามกฎหมายเก่ามาหักตามกฎหมายใหม่ แต่หักข้ามแปลงได้ถูกต้องครับ และผลประโยชน์ ตอบแทนพิเศษที่เรียกว่าวินด์ฟอล โพรฟิท แทกซ์ เก็บเมื่อเขามีกำไรเกินสมควร กำไรเกินสมควรก็เผื่อไว้ ถ้าเขาไปพบแหล่งใหญ่แบบซาอุดิอาระเบีย หรืออินโดนีเซีย หรือราคาน้ำมันขึ้นไป ๑๐๐-๒๐๐ เหรียญ ส่วนนี้เราก็จะซับกำไรเขาคืนมาให้รัฐ ในสัดส่วนที่สูงขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อดูโดยรวมท่านดูทั้ง ๓ ภาพประกอบกันแล้วบวกกัน อย่างไร ๆ มันก็เป็นการเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐแบบก้าวหน้าที่เรียกว่าโพรเกรสซีฟ (Progressive) อย่างแน่นอนนะครับ จากการเตรียมการเป็นเวลา ๓ ปีที่ผ่านมา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานได้นำเสนอในรัฐบาลชุดที่แล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๕๕ ที่จะให้มีการเปิดให้สัมปทาน เพราะเราเปิดรอบที่ ๒๐ ครั้งสุดท้าย ในรัฐบาล คมช. ครับ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๐ นะครับ พอเวลาผ่านไปถึงตอนนี้เกือบ ๘ ปีแล้ว เราพบแหล่งปิโตรเลียมใหม่น้อยมากนะครับ เป็นที่น่าเป็นห่วงว่าปริมาณสำรองเราลดลง อย่างมาก แต่ในปี ๒๕๕๕ ที่นำเสนอรัฐบาลในขณะนั้นก็ไม่กล้าตัดสินใจนะครับ เพราะมีเสียงประท้วง เสียงคัดค้าน เราก็ได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นหลายสิบเวทีมาก คณะกรรมาธิการพลังงานของทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรได้เชิญเราไปชี้แจง และคณะกรรมาธิการพลังงานของทั้ง ๒ สภาก็ได้มีมติเห็นควรที่จะให้เดินหน้าต่อไปเพราะว่า เป็นประโยชน์ด้านความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ แต่จากการรับฟังในเวทีต่าง ๆ ก็มีข้อท้วงติงว่าเราอาจจะเก็บผลประโยชน์น้อยไปหรือเปล่า ก็จึงเป็นที่มาของสิ่งที่ กระทรวงพลังงานได้นำเสนอต่อท่านรัฐมนตรีนะครับ ให้ใช้ระบบไทยแลนด์ทรีพลัส พลัส (Plus) นี้คืออะไร พลัส ก็คือเรียกผลประโยชน์เพิ่มขึ้นในลักษณะที่มีการประมูล ผลประโยชน์ด้วย ก็คือถ้าสมมุติมีแปลง ๆ หนึ่ง เช่น อยู่ในอ่าวไทยหรือบนบกที่ไหนก็ตาม ถ้ามีคนสนใจมากกว่า ๑ ราย เขาจะต้องเสนอผลประโยชน์นอกจากที่จะต้องจ่ายตาม กฎหมายคือค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษอย่างที่ ผมกราบเรียนแล้ว จะต้องเสนอเป็นเงื่อนไขบังคับ เงินให้เปล่าในการลงนามสัมปทาน ที่เรียกว่าซิกเนเจอร์ โบนัส (Signature bonus) เงินสนับสนุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งปกติผู้รับสัมปทานก็ทำอยู่แล้ว แต่ทำไม่เหมือนกันทุกราย เราก็บอกว่าอย่างน้อยในช่วงสำรวจ ต้องบริจาค ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้เข้าถึงตรงในเรื่องการศึกษาในท้องถิ่น หรือพัฒนาชุมชน ในท้องถิ่น รวมทั้งมีเรื่องของโพรดักชัน โบนัส (Production bonus) ถ้ามีการผลิตถึงระดับหนึ่ง ก็มีเงินจ่ายโพรดักชัน โบนัส อย่างที่เขียนอยู่ในสไลด์นะครับ และที่เพิ่มขึ้นมาเป็นพิเศษก็คือ ให้เปิดโอกาสให้บริษัทของคนไทยได้เข้าร่วมทุนในแหล่งปิโตรเลียมที่เขาพบแล้ว หมายความว่าบริษัทคนไทยที่อยากจะเรียนรู้เทคโนโลยีลงทุนในธุรกิจนี้ก็จะมีโอกาส เข้าไปลงทุน แต่ว่าไม่ต้องมีความเสี่ยง เพราะเราจะให้ลงทุนหลังจากที่เขาได้พบปิโตรเลียม แล้วนะครับ รวมทั้งเงื่อนไขที่ให้ใช้เรือไทยและสินค้าไทยเป็นอันดับแรก ตลอดเวลา ๒-๓ ปีที่ผ่านมา ในสื่อออนไลน์ (Online) ในสังคมต่าง ๆ ก็มีการถกเถียงว่าระบบสัมปทานปิโตรเลียม ของไทยล้าสมัยหรือเปล่า เหมาะสมกับสิ่งที่เรากำลังจะนำเสนอให้มีการสำรวจอยู่ในปัจจุบัน หรือไม่ กระผมก็ต้องขอกราบเรียนนะครับว่าระบบจัดการปิโตรเลียมในโลกนี้ก็มีอยู่ หลายระบบนะครับ ที่เด่น ๆ ก็คือระบบสัมปทานปิโตรเลียมที่เรียกว่ารอยัลตี แอนด์ แทกซ์ ซิสเท็ม (Royalty and Tax System) แล้วก็ระบบโพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ ซึ่งประเทศแรก ที่เป็นคนคิดค้นขึ้นมาก็อินโดนีเซียหลังจากที่เขาเป็นเอกราช แต่จริง ๆ ในสไลด์นี้เป็น ผลการศึกษาที่เราไปติดตามมาจากการสัมมนาระหว่างประเทศที่เขาศึกษาเรื่องนี้ ระบบไม่ว่า จะเป็นสัมปทานปิโตรเลียมก็ดี หรือโพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ก็ดี สิ่งสำคัญมันอยู่ที่ ไส้ในการออกแบบในกฎหมายว่าจะเก็บผลประโยชน์ให้รัฐเท่าใดนะครับ จริงครับ ที่ระบบ โพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ของอินโดนีเซียและมาเลเซียอาจจะเก็บประโยชน์เข้ารัฐ ในสัดส่วนที่สูงกว่าระบบสัมปทานของไทย แต่เขามีศักยภาพปิโตรเลียมที่อุดมสมบูรณ์กว่า ประเทศไทย ขณะเดียวกันก็มีประเทศที่ใช้ระบบพีเอสซีแต่ศักยภาพไม่ดี ก็กำหนดเทอมใน พีเอสซีให้เอื้อต่อนักลงทุนและเก็บน้อยกว่าระบบสัมปทานของไทยก็มีนะครับ ในพื้นที่ พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียนี่อย่างไรครับ ที่ไทยมีส่วนร่วมอยู่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ระบบพีเอสซี ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เก็บน้อยกว่าระบบไทยแลนด์ทรี ถ้าท่านดูในควอร์เตอร์ (Quarter) ซ้ายล่างก็จะเห็นว่าประเทศนิการากัวใช้ระบบพีเอสซี แต่เก็บประโยชน์เข้ารัฐ เพราะว่าเขามีศักยภาพต่ำ น้อยกว่าระบบสัมปทานของนอร์เวย์ซึ่งอยู่ในควอร์เตอร์ขวาบน ระบบไทยแลนด์วัน (Thailand I) ที่เราใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ ก็ได้มีการแก้ไขเป็นระบบไทยแลนด์ทรี ซึ่งเก็บผลประโยชน์มากขึ้น ถ้าคิดเฉพาะระบบไทยแลนด์ทรี แหล่งที่ผลิตระบบไทยแลนด์ทรี แต่เพียงอย่างเดียว จากสถิติที่เราผลิตมาแล้ว ๑๖ โพรเจกต์ (Project) ตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ นี่นะครับ สัดส่วนที่แบ่งกำไรเข้ารัฐหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วก็คือรัฐเก็บได้ ๗๒ เปอร์เซ็นต์ ผู้ประกอบการได้ ๒๘ เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ระบบสัมปทานไทยแลนด์วันแต่ดั้งแต่เดิมรัฐเก็บได้ ประมาณ ๕๔ เปอร์เซ็นต์ และผู้ประกอบการได้ ๔๖ เปอร์เซ็นต์
เพราะฉะนั้นสไลด์ถัดไปนะครับ ประเด็นที่ว่าระบบสัมปทานปิโตรเลียมและ ระบบพีเอสซี จริง ๆ แล้วในสาระสำคัญก็ไม่มีความแตกต่างกันเลยในเรื่องการที่จะออกแบบ ให้เก็บประโยชน์เข้ารัฐมากขึ้น
เพราะฉะนั้นสไลด์ถัดไปนะครับ ประเด็นที่ว่าระบบสัมปทานปิโตรเลียมและ ระบบพีเอสซี จริง ๆ แล้วในสาระสำคัญก็ไม่มีความแตกต่างกันเลยในเรื่องการที่จะออกแบบ ให้เก็บประโยชน์เข้ารัฐมากขึ้น
ขอสไลด์ถัดไป ก็อยากจะกราบเรียนนะครับ เหลืออีก ๓ สไลด์นะครับว่า ผลประโยชน์ของรัฐสามารถออกแบบได้นะครับ การแบ่งผลประโยชน์ของพีเอสซี ไม่ได้ทำให้รัฐได้มากกว่าระบบสัมปทานเสมอไป ดังตัวอย่างที่ผมยกนะครับ พีเอสซีของเจดีเอ (JDA) ไทย-มาเลเซีย
ขอสไลด์ถัดไป ก็อยากจะกราบเรียนนะครับ เหลืออีก ๓ สไลด์นะครับว่า ผลประโยชน์ของรัฐสามารถออกแบบได้นะครับ การแบ่งผลประโยชน์ของพีเอสซี ไม่ได้ทำให้รัฐได้มากกว่าระบบสัมปทานเสมอไป ดังตัวอย่างที่ผมยกนะครับ พีเอสซีของเจดีเอ (JDA) ไทย-มาเลเซีย
ความเป็นเจ้าของในทรัพยากร รัฐเป็นเจ้าของทั้ง ๒ ระบบ ระบบสัมปทาน ก็เขียนไว้ในมาตรา ๒๓ ว่าปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดจะสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในที่ใด ไม่ว่าเป็นของตนหรือของบุคคลอื่นต้องได้รับสัมปทาน อันนี้ก็แตกต่างจากหลักในอเมริกา ซึ่งปิโตรเลียมเป็นของเจ้าของที่ดิน มีมิเนอรัล ไรตส์ (Mineral rights) แล้วถ้าจะตอกย้ำไปอีก ผมไม่ได้ยกมานะครับ มาตรา ๑๓ ของพระราชบัญญัติปิโตรเลียมเขียนไว้นะครับว่า สิทธิในสัมปทานปิโตรเลียมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ผมตอนทำงานใหม่ ๆ ก็ถามผู้ใหญ่ว่ามันหมายความว่าอย่างไร มันหมายความว่าผู้ที่ได้รับสัมปทานไปกู้เงินแบงก์ (Bank) เอาสัมปทานไปค้ำประกันไม่ได้ ขายทอดตลาดไม่ได้ เป็นของรัฐตลอดไปนะครับ แล้วในสัมปทานก็เขียนไว้ชัดว่า อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เขาซื้อมาใช้ เมื่อสิ้นสัมปทานก็ตกเป็น ของรัฐนะครับ สิทธิของรัฐในการกำกับดูแลการสำรวจ สั่งยุติการสำรวจ สั่งห้ามส่งออก เห็นชอบราคาก๊าซธรรมชาติมีอยู่ในระบบกฎหมายปิโตรเลียมนะครับ เพราะฉะนั้น ในสาระสำคัญไม่ได้มีความแตกต่าง
ความเป็นเจ้าของในทรัพยากร รัฐเป็นเจ้าของทั้ง ๒ ระบบ ระบบสัมปทาน ก็เขียนไว้ในมาตรา ๒๓ ว่าปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดจะสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในที่ใด ไม่ว่าเป็นของตนหรือของบุคคลอื่นต้องได้รับสัมปทาน อันนี้ก็แตกต่างจากหลักในอเมริกา ซึ่งปิโตรเลียมเป็นของเจ้าของที่ดิน มีมิเนอรัล ไรตส์ (Mineral rights) แล้วถ้าจะตอกย้ำไปอีก ผมไม่ได้ยกมานะครับ มาตรา ๑๓ ของพระราชบัญญัติปิโตรเลียมเขียนไว้นะครับว่า สิทธิในสัมปทานปิโตรเลียมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ผมตอนทำงานใหม่ ๆ ก็ถามผู้ใหญ่ว่ามันหมายความว่าอย่างไร มันหมายความว่าผู้ที่ได้รับสัมปทานไปกู้เงินแบงก์ (Bank) เอาสัมปทานไปค้ำประกันไม่ได้ ขายทอดตลาดไม่ได้ เป็นของรัฐตลอดไปนะครับ แล้วในสัมปทานก็เขียนไว้ชัดว่า อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เขาซื้อมาใช้ เมื่อสิ้นสัมปทานก็ตกเป็น ของรัฐนะครับ สิทธิของรัฐในการกำกับดูแลการสำรวจ สั่งยุติการสำรวจ สั่งห้ามส่งออก เห็นชอบราคาก๊าซธรรมชาติมีอยู่ในระบบกฎหมายปิโตรเลียมนะครับ เพราะฉะนั้น ในสาระสำคัญไม่ได้มีความแตกต่าง
ผมอยากกราบเรียนในสไลด์ถัดไปนะครับว่า ในการพิจารณาของรัฐและ นักลงทุนที่เขาจะลงทุนสำรวจปิโตรเลียม ฝั่งรัฐบาลเรามองเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน หรือเอนเนอร์ยี ซีเคียวริตี (Energy security) เป็นเรื่องสำคัญ ประเทศไทยเราต้องยอมรับนะครับ ร้อยละ ๕๕ ของพลังงานที่เราใช้ต้องนำเข้า ในปี ๒๕๕๗ สถิติล่าสุดคือมูลค่าการนำเข้าพลังงานของเราสูงถึง ๑.๔ ล้านล้านบาท มากกว่า ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี (GDP) แล้วต่อมาก็คือถ้ามีการสำรวจ ถ้ามีการพบ มีการผลิต มันก็จะให้รายได้ในรูปภาษีค่าภาคหลวง ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษต่าง ๆ เป็นการนำ ทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุด สร้างงาน สร้างการถ่ายทอดเทคโนโลยี ดึงเงินลงทุน หมุนเวียนอยู่ในประเทศ เพิ่มการจ้างงานและ เพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ปิโตรเคมี พลาสติกต่าง ๆ
ผมอยากกราบเรียนในสไลด์ถัดไปนะครับว่า ในการพิจารณาของรัฐและ นักลงทุนที่เขาจะลงทุนสำรวจปิโตรเลียม ฝั่งรัฐบาลเรามองเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน หรือเอนเนอร์ยี ซีเคียวริตี (Energy security) เป็นเรื่องสำคัญ ประเทศไทยเราต้องยอมรับนะครับ ร้อยละ ๕๕ ของพลังงานที่เราใช้ต้องนำเข้า ในปี ๒๕๕๗ สถิติล่าสุดคือมูลค่าการนำเข้าพลังงานของเราสูงถึง ๑.๔ ล้านล้านบาท มากกว่า ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี (GDP) แล้วต่อมาก็คือถ้ามีการสำรวจ ถ้ามีการพบ มีการผลิต มันก็จะให้รายได้ในรูปภาษีค่าภาคหลวง ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษต่าง ๆ เป็นการนำ ทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุด สร้างงาน สร้างการถ่ายทอดเทคโนโลยี ดึงเงินลงทุน หมุนเวียนอยู่ในประเทศ เพิ่มการจ้างงานและ เพิ่มมูลค่าในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ปิโตรเคมี พลาสติกต่าง ๆ
กระผมอยากจะกราบเรียนสรุปต่อท่านประธานและท่านสมาชิกนะครับว่า ประเทศไทยของเรานั้นมีการสำรวจปิโตรเลียมมากว่า ๔๐ ปีแล้ว การเตรียมการเปิด สัมปทานรอบที่ ๒๑ ก็หมายความว่าเปิดมา ๒๐ รอบแล้วนะครับ ประเทศไทยของเราใช้ พลังงานมากกว่าที่เราพบ เราจึงต้องนำเข้ามากกว่าครึ่งหนึ่ง พลังงานจากฟอสซิล (Fossil) ก็คือน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหินจะยังคงเป็นพลังงานหลักที่ประเทศใช้เหมือนกับโลกทั่วไป เพื่อนบ้านเราอีก ๓๐ ปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย ประเทศไทยของเราไม่ได้มีศักยภาพ ธรณีวิทยาที่อุดมสมบูรณ์แบบกลุ่มโอเปก (OPEC) ในตะวันออกกลาง หรือมาเลเซีย และอินโดนีเซีย พื้นที่ที่เรามาเปิดหลังจากเปิด ๒๐ รอบ ก็คือพื้นที่เดิมที่คนคืนมา เพราะเขาหาไม่พบ เราใช้ก๊าซธรรมชาติวันละ ๕,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุต ถ้าท่านคูณ ๓๖๕ วัน มันก็เท่ากับปีละ ๑.๘ ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต เราผลิตได้ในประเทศเพียง ๓,๗๕๐ ล้านลูกบาศก์ฟุต รวมทั้งเจดีเอ ไทย-มาเลเซียด้วย ถ้าเอา ๓๖๕ คูณ ก็คือประมาณ ๑.๓-๑.๔ ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ก๊าซธรรมชาติปริมาณสำรองในประเทศเราหายไปทุกปี ปีละ ๑.๓-๑.๔ ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต แต่ท่านเชื่อไหมครับ จากการเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๐ ในปี ๒๕๕๐ ผ่านมา ตอนนั้นเราให้สิทธิสำรวจไป ๒๘ แปลง เขาคืนพื้นที่มาหมด ๑๘ แปลงแล้ว เหลืออยู่ ๑๐ แปลง หาพบแปลงเดียว และที่หาพบหาเจอเพียง ๕๐,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตเท่านั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าถ้ามาตรฐานทางวิชาการ เอาพี ๑ มาหารปริมาณการใช้ เราเหลือการใช้ ก๊าซที่จะใช้อยู่ได้อีกไม่ถึง ๗ ปีนะครับ ถ้าเป็นพี ๑ ระบบสัมปทานปิโตรเลียมของไทย ที่เรียกว่าระบบไทยแลนด์ทรี แล้วตอนนี้ก็พลัสไปด้วยนี่ มีความยุติธรรม มีความจูงใจและให้ประโยชน์ต่อรัฐอย่างเหมาะสมดีแล้ว กล่าวคือใช้หลัก มัชฌิมาปฏิปทาครับ พบน้อยก็เก็บน้อย พบแหล่งใหญ่ราคาน้ำมันขึ้นก็เก็บมาก
กระผมอยากจะกราบเรียนสรุปต่อท่านประธานและท่านสมาชิกนะครับว่า ประเทศไทยของเรานั้นมีการสำรวจปิโตรเลียมมากว่า ๔๐ ปีแล้ว การเตรียมการเปิด สัมปทานรอบที่ ๒๑ ก็หมายความว่าเปิดมา ๒๐ รอบแล้วนะครับ ประเทศไทยของเราใช้ พลังงานมากกว่าที่เราพบ เราจึงต้องนำเข้ามากกว่าครึ่งหนึ่ง พลังงานจากฟอสซิล (Fossil) ก็คือน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหินจะยังคงเป็นพลังงานหลักที่ประเทศใช้เหมือนกับโลกทั่วไป เพื่อนบ้านเราอีก ๓๐ ปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย ประเทศไทยของเราไม่ได้มีศักยภาพ ธรณีวิทยาที่อุดมสมบูรณ์แบบกลุ่มโอเปก (OPEC) ในตะวันออกกลาง หรือมาเลเซีย และอินโดนีเซีย พื้นที่ที่เรามาเปิดหลังจากเปิด ๒๐ รอบ ก็คือพื้นที่เดิมที่คนคืนมา เพราะเขาหาไม่พบ เราใช้ก๊าซธรรมชาติวันละ ๕,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุต ถ้าท่านคูณ ๓๖๕ วัน มันก็เท่ากับปีละ ๑.๘ ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต เราผลิตได้ในประเทศเพียง ๓,๗๕๐ ล้านลูกบาศก์ฟุต รวมทั้งเจดีเอ ไทย-มาเลเซียด้วย ถ้าเอา ๓๖๕ คูณ ก็คือประมาณ ๑.๓-๑.๔ ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ก๊าซธรรมชาติปริมาณสำรองในประเทศเราหายไปทุกปี ปีละ ๑.๓-๑.๔ ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต แต่ท่านเชื่อไหมครับ จากการเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๐ ในปี ๒๕๕๐ ผ่านมา ตอนนั้นเราให้สิทธิสำรวจไป ๒๘ แปลง เขาคืนพื้นที่มาหมด ๑๘ แปลงแล้ว เหลืออยู่ ๑๐ แปลง หาพบแปลงเดียว และที่หาพบหาเจอเพียง ๕๐,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตเท่านั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าถ้ามาตรฐานทางวิชาการ เอาพี ๑ มาหารปริมาณการใช้ เราเหลือการใช้ ก๊าซที่จะใช้อยู่ได้อีกไม่ถึง ๗ ปีนะครับ ถ้าเป็นพี ๑ ระบบสัมปทานปิโตรเลียมของไทย ที่เรียกว่าระบบไทยแลนด์ทรี แล้วตอนนี้ก็พลัสไปด้วยนี่ มีความยุติธรรม มีความจูงใจและให้ประโยชน์ต่อรัฐอย่างเหมาะสมดีแล้ว กล่าวคือใช้หลัก มัชฌิมาปฏิปทาครับ พบน้อยก็เก็บน้อย พบแหล่งใหญ่ราคาน้ำมันขึ้นก็เก็บมาก
กระผมเลยอยากจะขอกราบเรียนสรุปในสไลด์สุดท้ายว่า ประโยชน์ที่ ประเทศไทยจะได้รับจากการเดินหน้าให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมก็คือเราได้ เทคโนโลยีขั้นสูง เราได้การลงทุน ทำให้เกิดการสำรวจและผลิต ลดการนำเข้าพลังงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม เราจะได้รายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม รวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งสมน้ำสมเนื้อกับศักยภาพที่เรามี เกิดการจ้างงานในประเทศ ปัจจุบันธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีบุคคลที่ทำงาน ทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ คนนะครับ เกิดอุตสาหกรรมไฟฟ้า ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างงาน สร้างเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้กับ ประเทศและประชาชนคนไทย และที่สำคัญเกิดความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาวให้กับ ประเทศไทยที่รักของเราครับ เพราะฉะนั้นคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานจึงมีข้อสรุปว่า จำเป็นที่รัฐจะต้องเร่งส่งเสริมการสำรวจและแสวงหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ๆ เพื่อมาทดแทน ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่ลดลง ด้วยการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตในรอบที่ ๒๑ ภายใต้ระบบไทยแลนด์ทรีพลัส ทั้งนี้ให้มีการศึกษาเตรียมการสำหรับเรื่อง ระบบแบ่งปันผลผลิตไว้เป็นทางเลือกสำหรับรัฐบาลที่จะตัดสินใจสำหรับการเปิดในครั้ง ต่อ ๆ ไปด้วย ในการพิจารณาครั้งนี้หลักการและพื้นฐานที่เราได้ใช้พิจารณาก็คือความมั่นคง ด้านพลังงาน ผลประโยชน์ของรัฐและความคุ้มค่าของการลงทุนของภาคเอกชน ความคุ้มค่าของการนำทรัพยากรธรรมชาติขึ้นมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล แล้วเราก็คิดว่าไม่ว่าจะส่งเสริมอย่างไร เราก็ทิ้งไม่ได้ที่จะต้องใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และแสวงหาแหล่งพลังงานหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านพลังงานทดแทนเพื่อมาลดการใช้ พลังงานฟอสซิลของเรา จากที่กระผมได้นำเสนอนี่คณะกรรมาธิการก็เห็นว่ารัฐบาล ได้เตรียมการอย่างรอบคอบ ปิดความเสี่ยงในทุกด้านแล้ว แล้วก็สมควรที่จะเดินหน้าต่อไป กราบขอบพระคุณครับ
กระผมเลยอยากจะขอกราบเรียนสรุปในสไลด์สุดท้ายว่า ประโยชน์ที่ ประเทศไทยจะได้รับจากการเดินหน้าให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมก็คือเราได้ เทคโนโลยีขั้นสูง เราได้การลงทุน ทำให้เกิดการสำรวจและผลิต ลดการนำเข้าพลังงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม เราจะได้รายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม รวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งสมน้ำสมเนื้อกับศักยภาพที่เรามี เกิดการจ้างงานในประเทศ ปัจจุบันธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีบุคคลที่ทำงาน ทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ คนนะครับ เกิดอุตสาหกรรมไฟฟ้า ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างงาน สร้างเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้กับ ประเทศและประชาชนคนไทย และที่สำคัญเกิดความมั่นคงด้านพลังงานในระยะยาวให้กับ ประเทศไทยที่รักของเราครับ เพราะฉะนั้นคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานจึงมีข้อสรุปว่า จำเป็นที่รัฐจะต้องเร่งส่งเสริมการสำรวจและแสวงหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ๆ เพื่อมาทดแทน ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่ลดลง ด้วยการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตในรอบที่ ๒๑ ภายใต้ระบบไทยแลนด์ทรีพลัส ทั้งนี้ให้มีการศึกษาเตรียมการสำหรับเรื่อง ระบบแบ่งปันผลผลิตไว้เป็นทางเลือกสำหรับรัฐบาลที่จะตัดสินใจสำหรับการเปิดในครั้ง ต่อ ๆ ไปด้วย ในการพิจารณาครั้งนี้หลักการและพื้นฐานที่เราได้ใช้พิจารณาก็คือความมั่นคง ด้านพลังงาน ผลประโยชน์ของรัฐและความคุ้มค่าของการลงทุนของภาคเอกชน ความคุ้มค่าของการนำทรัพยากรธรรมชาติขึ้นมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล แล้วเราก็คิดว่าไม่ว่าจะส่งเสริมอย่างไร เราก็ทิ้งไม่ได้ที่จะต้องใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และแสวงหาแหล่งพลังงานหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านพลังงานทดแทนเพื่อมาลดการใช้ พลังงานฟอสซิลของเรา จากที่กระผมได้นำเสนอนี่คณะกรรมาธิการก็เห็นว่ารัฐบาล ได้เตรียมการอย่างรอบคอบ ปิดความเสี่ยงในทุกด้านแล้ว แล้วก็สมควรที่จะเดินหน้าต่อไป กราบขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูป แห่งชาติ ท่านประธานกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานมอบหมายให้กระผมชี้แจงสรุปตอบคำถาม ของท่านสมาชิกที่ได้อภิปรายมาในวันนี้ ก่อนอื่นกระผมก็ต้องขอขอบพระคุณในความเห็น และข้อสังเกตต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งที่เห็นด้วยแล้วก็มีความเห็นต่าง รวมทั้งมีข้อห่วงใย กระผมคิดว่า ถ้าฟังดูแล้วนี่ก็เป็นอย่างที่ท่านสมาชิกบางท่านได้อภิปรายนะครับว่า ปัญหาพื้นฐานอยู่ที่ ความเชื่อมั่นและความเชื่อถือในองค์กรของภาครัฐว่าเราได้ปฏิบัติหน้าที่โดยครบถ้วนสมบูรณ์ เราได้ดูแลผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างเต็มที่หรือเปล่า กระผมก็ขอกราบเรียนนะครับ ผมเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ได้รับการเสนอชื่อมาโดยกระทรวงพลังงาน โดย อ.ก.พ. กระทรวงพลังงาน ก็ยังเป็นข้าราชการอยู่ ก็จะเกษียณในเดือนกันยายนนี้ ก็ได้ใช้ความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ที่จะแสวงหาแหล่งพลังงานมาให้ประเทศและประชาชนใช้ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ก็ขอน้อมรับความเห็นต่าง ๆ ที่ท่านคอมเมนต์ (Comment) ว่าจะต้องไปปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น แต่ก็มีเรื่องที่ผมอยากจะกราบเรียนชี้แจง ในบางประเด็นนะครับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วก็ได้บันทึกไว้ในสภาแห่งนี้นะครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูป แห่งชาติ ท่านประธานกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานมอบหมายให้กระผมชี้แจงสรุปตอบคำถาม ของท่านสมาชิกที่ได้อภิปรายมาในวันนี้ ก่อนอื่นกระผมก็ต้องขอขอบพระคุณในความเห็น และข้อสังเกตต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งที่เห็นด้วยแล้วก็มีความเห็นต่าง รวมทั้งมีข้อห่วงใย กระผมคิดว่า ถ้าฟังดูแล้วนี่ก็เป็นอย่างที่ท่านสมาชิกบางท่านได้อภิปรายนะครับว่า ปัญหาพื้นฐานอยู่ที่ ความเชื่อมั่นและความเชื่อถือในองค์กรของภาครัฐว่าเราได้ปฏิบัติหน้าที่โดยครบถ้วนสมบูรณ์ เราได้ดูแลผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างเต็มที่หรือเปล่า กระผมก็ขอกราบเรียนนะครับ ผมเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ได้รับการเสนอชื่อมาโดยกระทรวงพลังงาน โดย อ.ก.พ. กระทรวงพลังงาน ก็ยังเป็นข้าราชการอยู่ ก็จะเกษียณในเดือนกันยายนนี้ ก็ได้ใช้ความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ที่จะแสวงหาแหล่งพลังงานมาให้ประเทศและประชาชนใช้ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ก็ขอน้อมรับความเห็นต่าง ๆ ที่ท่านคอมเมนต์ (Comment) ว่าจะต้องไปปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น แต่ก็มีเรื่องที่ผมอยากจะกราบเรียนชี้แจง ในบางประเด็นนะครับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วก็ได้บันทึกไว้ในสภาแห่งนี้นะครับ
ในประการแรก เรื่องผลกระทบต่อชุมชน ต่อภาคประชาชน ต่อภาคประชาสังคม ยกตัวอย่างกรณีการสำรวจที่จังหวัดบุรีรัมย์หรือการสำรวจแหล่งก๊าซที่ดงมูล ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ที่ท่านสมาชิกในจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ยกขึ้นมานะครับ หรือท่านกษิดิ์เดชธนทัต ได้ยกเรื่องของความเป็นห่วงในห่วงโซ่อาหาร อันนี้ผมอยากจะกราบเรียนนะครับ ไม่ว่าเรา จะเดินหน้าด้วยระบบสัมปทานหรือระบบแบ่งปันผลผลิต เมื่อมีการสำรวจมันก็ต้องมีการ เข้าไปในพื้นที่ เพราะฉะนั้นอยู่ที่การบริหารจัดการดูแลของเจ้าหน้าที่และบริษัทว่า มีความรับผิดชอบอย่างไร แต่ผมอยากจะกราบเรียนนะครับแยกเป็น ๒ กรณี
ในประการแรก เรื่องผลกระทบต่อชุมชน ต่อภาคประชาชน ต่อภาคประชาสังคม ยกตัวอย่างกรณีการสำรวจที่จังหวัดบุรีรัมย์หรือการสำรวจแหล่งก๊าซที่ดงมูล ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ที่ท่านสมาชิกในจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ยกขึ้นมานะครับ หรือท่านกษิดิ์เดชธนทัต ได้ยกเรื่องของความเป็นห่วงในห่วงโซ่อาหาร อันนี้ผมอยากจะกราบเรียนนะครับ ไม่ว่าเรา จะเดินหน้าด้วยระบบสัมปทานหรือระบบแบ่งปันผลผลิต เมื่อมีการสำรวจมันก็ต้องมีการ เข้าไปในพื้นที่ เพราะฉะนั้นอยู่ที่การบริหารจัดการดูแลของเจ้าหน้าที่และบริษัทว่า มีความรับผิดชอบอย่างไร แต่ผมอยากจะกราบเรียนนะครับแยกเป็น ๒ กรณี
กรณีที่จังหวัดกาฬสินธุ์นั้นเป็นการสำรวจโดยผู้รับสัมปทานในรอบที่ ๑๙ หรือ ๒๐ ผมจำไม่ได้นะครับ บริษัทอพิโก้ก็ไปสำรวจพบแหล่งก๊าซเล็ก ๆ ที่ดงมูล ซึ่งก็ไม่ใหญ่มาก ไม่ใหญ่เท่าที่สินภูฮ่อม เพราะฉะนั้นจะวางท่อมาที่น้ำพองเพื่อป้อนโรงไฟฟ้า นี่คงเป็นไปไม่ได้ ก็อยู่ในขั้นการทดสอบและศึกษาความเป็นไปได้ว่าจะใช้ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างไร จะมีสถานีเอ็นจีวีหรือจะมีอุตสาหกรรมอะไรที่จะใช้ก๊าซ ยังไม่มีการผลิตอะไรทั้งสิ้น แต่ในช่วงการสำรวจนั้นเขาต้องมีการทดสอบ ก็เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างชุมชน ๓๐ กว่าหลังคาเรือนที่อยู่ใกล้ ๆ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่บริษัทต้องไปทำและเราก็ได้กำชับนะครับว่า ถ้าทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบและไม่เยียวยา หรือไม่ให้เขาเกิดความมั่นใจ การสำรวจ คุณก็จะมีปัญหา
กรณีที่จังหวัดกาฬสินธุ์นั้นเป็นการสำรวจโดยผู้รับสัมปทานในรอบที่ ๑๙ หรือ ๒๐ ผมจำไม่ได้นะครับ บริษัทอพิโก้ก็ไปสำรวจพบแหล่งก๊าซเล็ก ๆ ที่ดงมูล ซึ่งก็ไม่ใหญ่มาก ไม่ใหญ่เท่าที่สินภูฮ่อม เพราะฉะนั้นจะวางท่อมาที่น้ำพองเพื่อป้อนโรงไฟฟ้า นี่คงเป็นไปไม่ได้ ก็อยู่ในขั้นการทดสอบและศึกษาความเป็นไปได้ว่าจะใช้ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างไร จะมีสถานีเอ็นจีวีหรือจะมีอุตสาหกรรมอะไรที่จะใช้ก๊าซ ยังไม่มีการผลิตอะไรทั้งสิ้น แต่ในช่วงการสำรวจนั้นเขาต้องมีการทดสอบ ก็เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างชุมชน ๓๐ กว่าหลังคาเรือนที่อยู่ใกล้ ๆ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่บริษัทต้องไปทำและเราก็ได้กำชับนะครับว่า ถ้าทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบและไม่เยียวยา หรือไม่ให้เขาเกิดความมั่นใจ การสำรวจ คุณก็จะมีปัญหา
เรื่องที่ ๒ ที่จังหวัดบุรีรัมย์นะครับ ผมกราบเรียนว่าในการสำรวจปิโตรเลียม มีขั้นตอนของมันหลายขั้นตอนนะครับ การสำรวจโดยไปดูหินตามภูเขาหรือบินสำรวจ วัดคลื่นความเข้มของสนามแม่เหล็กก็เป็นการสำรวจ ไม่ได้มีผลกระทบอะไรเลย การสำรวจ ในระดับถัดไปคือ การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ที่เรียกว่าไซสมิก เซอร์เวย์ (Seismic survey) ก็เหมือนกับการทำอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ที่เราทำที่ช่องท้อง แต่เราทำคลื่นเพื่อทำ อัลตร้าซาวด์แผ่นดินว่าข้างใต้มีชั้นหินมีรูปร่างอย่างไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีโครงสร้างที่จะเอื้อต่อการพบก๊าซหรือเปล่า การทำธรณีฟิสิกส์โดยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือน ของชั้นหินหรือไซสมิก เซอร์เวย์นั้น เมื่อก่อนต้องทำอีไอเอนะครับ แต่การทำ คลื่นไซสมิกมันใช้เวลาทำ อย่างในทะเลเพียง ๒ อาทิตย์ก็จบแล้ว บนบกถ้าเป็นแบบไม่ถึง ๒ เดือนก็จบแล้ว แต่การทำอีไอเอนี่ต้องทำ ๘ เดือน ๙ เดือน ในที่สุดทาง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็เห็นว่า กิจกรรมนี้มันไม่ได้มีผลกระทบอะไร แล้วการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน การก่อกำเนิดคลื่นมันมี ๒ วิธีนะครับ เขาเลือกใช้วิธีที่มีผลกระทบน้อยที่สุดอยู่แล้ว ในภาคอีสานนั้นเรามีการสำรวจจนพบ แหล่งก๊าซน้ำพอง จนก๊าซที่น้ำพองจะหมดไปแล้วนะครับ แหล่งก๊าซน้ำพองอยู่กลางไร่อ้อย ซึ่งตอนนี้ก็จะกลายเป็นบ้านจัดสรรไปแล้ว มีโรงงานทำน้ำตาลอยู่ใกล้ ๆ ไม่ได้มีผลกระทบต่อ ชาวไร่อ้อยเลย มันเป็นเรื่องของความรู้สึกซึ่งเราต้องแก้ไขนะครับ การสำรวจไซสมิกเขาก็จะ เจาะหลุมลึกประมาณไม่ถึง ๒๐ เมตร ๑๐-๒๐ เมตร แล้วก็ใส่วัตถุที่จะเรียกว่าระเบิดก็ได้ครับ แต่มันคือแอมโมเนียม ไนไตรต (Ammonium Nitrite) แล้วก็ให้มันเกิดคลื่น เพื่อให้คลื่น มันวิ่งไป วิธีกำเนิดคลื่นอีกอันหนึ่งก็คือใช้รถแทรกเตอร์ที่เรียกว่าไวโบรไซส์ (Vibroseis) แล้วก็กระทืบพื้นดินนะครับ เขาเลือกวิธีที่จะทำให้กระทบต่อคันนาชาวบ้านน้อยที่สุด แล้วก็เลือกทำในฤดูที่ไม่ปลูกพืชแล้ว หรือถ้ามีปลูกพืชก็จะต้องชดเชยในราคาที่คุ้มทุนนะครับ ที่จังหวัดบุรีรัมย์นั้นในปีที่แล้วกลางปี มีนาคมถึงกรกฎาคมมีการเข้าไปสำรวจในอำเภอ ๓ อำเภอต้องผ่านทั้งหมด ๓๒ หมู่บ้าน ๒๘ หมู่บ้านยอมให้ผ่านนะครับ แต่ ๔ หมู่บ้าน มีปัญหาเราก็ไม่ได้เข้าไปนะครับ แล้วที่บอกว่ามีบ้านร้าว เราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจนะครับ สั่งให้บริษัทผู้รับสัมปทานไปดู แล้วขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ตั้งคณะกรรมการ ที่เป็นกลางให้มีสภาวิศวกรเข้าไปพิสูจน์ทราบ ถ้าเกิดความเสียหายจากการกระทำของ ผู้รับสัมปทานจริงต้องเยียวยา แต่บ้านที่อ้างว่าได้รับความเสียหายอยู่ห่างจากจุดที่ทำกำเนิดคลื่น ถึง ๒๐๐ เมตร ซึ่งเป็นระยะห่างที่เขามีความปลอดภัยแล้ว ตอนนี้ก็ยังพิสูจน์อยู่ ยังดำเนินการอยู่ ถ้ามีความเสียหายจะต้องเยียวยา ผมอยากจะกราบเรียนว่าไม่ใช่ว่าจะเป็นระบบสัมปทาน หรือระบบพีเอสซี ถ้ามีการสำรวจมันก็ต้องมีผลกระทบเกิดขึ้น แต่ที่จะเรียนสำคัญยิ่งไปกว่านั้น ขั้นตอนต่อไปของการสำรวจคือการเจาะหลุมสำรวจที่ลึกไป ๓ กิโลเมตรเพื่อพิสูจน์ทราบว่า มีน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติอยู่ใต้ดินหรือเปล่า จะต้องทำอีไอเออย่างแน่นอน การผลิต หลังจากนั้นจะต้องทำอีไอเอ การทำอีไอเอขั้นตอนของสำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องมีการรับฟังความคิดเห็นนะครับเป็นกระบวนการ เพราะฉะนั้นมีเป็นปกติประจำที่การเจาะสำรวจต้องขอเลื่อนเพราะทำอีไอเอไม่เสร็จนะครับ อย่างในทะเลที่จังหวัดชุมพรต้องเลื่อนไปเป็น ๒ ปี ๓ ปี ในที่สุดประชาชนยอมรับก็เข้าไป สำรวจได้นะครับ เพราะฉะนั้นจะระบบอะไร พีเอสซีหรือสัมปทานไม่ได้เกี่ยวกับว่า มีผลกระทบในพื้นที่หรือไม่ ทีนี้มีคำถามอยู่หลายคำถามซึ่งผมก็อยากจะขอเรียนตอบนะครับ
เรื่องที่ ๒ ที่จังหวัดบุรีรัมย์นะครับ ผมกราบเรียนว่าในการสำรวจปิโตรเลียม มีขั้นตอนของมันหลายขั้นตอนนะครับ การสำรวจโดยไปดูหินตามภูเขาหรือบินสำรวจ วัดคลื่นความเข้มของสนามแม่เหล็กก็เป็นการสำรวจ ไม่ได้มีผลกระทบอะไรเลย การสำรวจ ในระดับถัดไปคือ การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ที่เรียกว่าไซสมิก เซอร์เวย์ (Seismic survey) ก็เหมือนกับการทำอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ที่เราทำที่ช่องท้อง แต่เราทำคลื่นเพื่อทำ อัลตร้าซาวด์แผ่นดินว่าข้างใต้มีชั้นหินมีรูปร่างอย่างไร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีโครงสร้างที่จะเอื้อต่อการพบก๊าซหรือเปล่า การทำธรณีฟิสิกส์โดยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือน ของชั้นหินหรือไซสมิก เซอร์เวย์นั้น เมื่อก่อนต้องทำอีไอเอนะครับ แต่การทำ คลื่นไซสมิกมันใช้เวลาทำ อย่างในทะเลเพียง ๒ อาทิตย์ก็จบแล้ว บนบกถ้าเป็นแบบไม่ถึง ๒ เดือนก็จบแล้ว แต่การทำอีไอเอนี่ต้องทำ ๘ เดือน ๙ เดือน ในที่สุดทาง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็เห็นว่า กิจกรรมนี้มันไม่ได้มีผลกระทบอะไร แล้วการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน การก่อกำเนิดคลื่นมันมี ๒ วิธีนะครับ เขาเลือกใช้วิธีที่มีผลกระทบน้อยที่สุดอยู่แล้ว ในภาคอีสานนั้นเรามีการสำรวจจนพบ แหล่งก๊าซน้ำพอง จนก๊าซที่น้ำพองจะหมดไปแล้วนะครับ แหล่งก๊าซน้ำพองอยู่กลางไร่อ้อย ซึ่งตอนนี้ก็จะกลายเป็นบ้านจัดสรรไปแล้ว มีโรงงานทำน้ำตาลอยู่ใกล้ ๆ ไม่ได้มีผลกระทบต่อ ชาวไร่อ้อยเลย มันเป็นเรื่องของความรู้สึกซึ่งเราต้องแก้ไขนะครับ การสำรวจไซสมิกเขาก็จะ เจาะหลุมลึกประมาณไม่ถึง ๒๐ เมตร ๑๐-๒๐ เมตร แล้วก็ใส่วัตถุที่จะเรียกว่าระเบิดก็ได้ครับ แต่มันคือแอมโมเนียม ไนไตรต (Ammonium Nitrite) แล้วก็ให้มันเกิดคลื่น เพื่อให้คลื่น มันวิ่งไป วิธีกำเนิดคลื่นอีกอันหนึ่งก็คือใช้รถแทรกเตอร์ที่เรียกว่าไวโบรไซส์ (Vibroseis) แล้วก็กระทืบพื้นดินนะครับ เขาเลือกวิธีที่จะทำให้กระทบต่อคันนาชาวบ้านน้อยที่สุด แล้วก็เลือกทำในฤดูที่ไม่ปลูกพืชแล้ว หรือถ้ามีปลูกพืชก็จะต้องชดเชยในราคาที่คุ้มทุนนะครับ ที่จังหวัดบุรีรัมย์นั้นในปีที่แล้วกลางปี มีนาคมถึงกรกฎาคมมีการเข้าไปสำรวจในอำเภอ ๓ อำเภอต้องผ่านทั้งหมด ๓๒ หมู่บ้าน ๒๘ หมู่บ้านยอมให้ผ่านนะครับ แต่ ๔ หมู่บ้าน มีปัญหาเราก็ไม่ได้เข้าไปนะครับ แล้วที่บอกว่ามีบ้านร้าว เราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจนะครับ สั่งให้บริษัทผู้รับสัมปทานไปดู แล้วขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ตั้งคณะกรรมการ ที่เป็นกลางให้มีสภาวิศวกรเข้าไปพิสูจน์ทราบ ถ้าเกิดความเสียหายจากการกระทำของ ผู้รับสัมปทานจริงต้องเยียวยา แต่บ้านที่อ้างว่าได้รับความเสียหายอยู่ห่างจากจุดที่ทำกำเนิดคลื่น ถึง ๒๐๐ เมตร ซึ่งเป็นระยะห่างที่เขามีความปลอดภัยแล้ว ตอนนี้ก็ยังพิสูจน์อยู่ ยังดำเนินการอยู่ ถ้ามีความเสียหายจะต้องเยียวยา ผมอยากจะกราบเรียนว่าไม่ใช่ว่าจะเป็นระบบสัมปทาน หรือระบบพีเอสซี ถ้ามีการสำรวจมันก็ต้องมีผลกระทบเกิดขึ้น แต่ที่จะเรียนสำคัญยิ่งไปกว่านั้น ขั้นตอนต่อไปของการสำรวจคือการเจาะหลุมสำรวจที่ลึกไป ๓ กิโลเมตรเพื่อพิสูจน์ทราบว่า มีน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติอยู่ใต้ดินหรือเปล่า จะต้องทำอีไอเออย่างแน่นอน การผลิต หลังจากนั้นจะต้องทำอีไอเอ การทำอีไอเอขั้นตอนของสำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องมีการรับฟังความคิดเห็นนะครับเป็นกระบวนการ เพราะฉะนั้นมีเป็นปกติประจำที่การเจาะสำรวจต้องขอเลื่อนเพราะทำอีไอเอไม่เสร็จนะครับ อย่างในทะเลที่จังหวัดชุมพรต้องเลื่อนไปเป็น ๒ ปี ๓ ปี ในที่สุดประชาชนยอมรับก็เข้าไป สำรวจได้นะครับ เพราะฉะนั้นจะระบบอะไร พีเอสซีหรือสัมปทานไม่ได้เกี่ยวกับว่า มีผลกระทบในพื้นที่หรือไม่ ทีนี้มีคำถามอยู่หลายคำถามซึ่งผมก็อยากจะขอเรียนตอบนะครับ
ประการแรก ข้อเสนอของท่านกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่ให้มีทางเลือกที่ ๔ ที่จะให้สำรวจไปก่อนแล้วถ้าพบแล้วก็มาออกแบบ ผมคิดว่าก็อยู่ที่รัฐนะครับว่ารัฐพร้อมจะ เอาเงิน ๒,๐๐๐ ล้านบาท ๕,๐๐๐ ล้านบาทไปเสี่ยงลงทุนเองหรือเปล่านะครับ แต่ถ้าเป็น ภาคเอกชนมารับสัมปทานสำรวจอย่างเดียวเขาคงไม่มา เพราะเขาต้องการกติกาที่ชัดเจนว่า เมื่อสำรวจเจอแล้วจะให้เขาผลิตโดยกติกาอะไร ไม่ใช่สำรวจเจอแล้วก็มาสร้างกติกาทีหลัง อันนี้ก็ต้องเรียนไว้นะครับ
ประการแรก ข้อเสนอของท่านกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่ให้มีทางเลือกที่ ๔ ที่จะให้สำรวจไปก่อนแล้วถ้าพบแล้วก็มาออกแบบ ผมคิดว่าก็อยู่ที่รัฐนะครับว่ารัฐพร้อมจะ เอาเงิน ๒,๐๐๐ ล้านบาท ๕,๐๐๐ ล้านบาทไปเสี่ยงลงทุนเองหรือเปล่านะครับ แต่ถ้าเป็น ภาคเอกชนมารับสัมปทานสำรวจอย่างเดียวเขาคงไม่มา เพราะเขาต้องการกติกาที่ชัดเจนว่า เมื่อสำรวจเจอแล้วจะให้เขาผลิตโดยกติกาอะไร ไม่ใช่สำรวจเจอแล้วก็มาสร้างกติกาทีหลัง อันนี้ก็ต้องเรียนไว้นะครับ
สำหรับคำถามที่ไปรับฟังมาจากคณะกรรมาธิการ อนุกรรมาธิการมีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่สรุปมามีประมาณ ๖ คำถาม บางคำถาม ท่านกรรมาธิการก็ได้ตอบ บางท่านได้ตอบไปแล้ว ท่านสมาชิกอภิปรายก็ได้ช่วยตอบไปแล้ว แต่ผมอยากจะขอสรุปชี้แจงสั้น ๆ ๖ ข้อ ดังนี้นะครับ
สำหรับคำถามที่ไปรับฟังมาจากคณะกรรมาธิการ อนุกรรมาธิการมีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่สรุปมามีประมาณ ๖ คำถาม บางคำถาม ท่านกรรมาธิการก็ได้ตอบ บางท่านได้ตอบไปแล้ว ท่านสมาชิกอภิปรายก็ได้ช่วยตอบไปแล้ว แต่ผมอยากจะขอสรุปชี้แจงสั้น ๆ ๖ ข้อ ดังนี้นะครับ
ในเรื่องของกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมนะครับ บอกว่าระบบสัมปทานได้แต่ ค่าภาคหลวงภาษีเงินได้ปิโตรเลียมนะครับ เราก็ยังต้องซื้อน้ำมันและก๊าซในราคาแพงอยู่ ท่านกรรมาธิการมนูญได้ชี้แจงไปแล้ว ระบบพีเอสซีผมต้องกราบเรียนท่านสมาชิกนะครับ ผมก็เป็นข้าราชการกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมาก่อน ไปประจำการที่องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย มา ๒ ครั้ง ๘ ปีนะครับ ระบบโพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ เรามีอยู่ในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ระบบนั้นออกแบบให้เก็บสูงกว่าระบบไทยแลนด์วัน ใช่ครับ แต่เมื่อมาคำนวณแล้วมันเก็บน้อยกว่าระบบไทยแลนด์ทรี อันนี้ผมขอยืนยัน และในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียไม่มีการผลิตน้ำมันดิบครับ มีผลิตแต่ก๊าซธรรมชาติและ ก๊าซธรรมชาติเหลวหรือคอนเดนเซต (Condensate) ที่ขึ้นมากับน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ที่ผลิตมานั้นทั้งส่วนขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย และผู้ประกอบการผู้ได้รับสิทธิ คอนแทรกเตอร์ (Contractor) ขายในราคาเดียวกันครับ ตามสูตรราคาเดียวกันให้กับ ปตท. และปิโตรนาสแบ่งครึ่งกัน ทั้ง ๒ ประเทศซื้อในราคาเดียวกัน ส่วนก๊าซธรรมชาติเหลวโหลด (Load) ใส่ลำเรือ คอนเดนเซตก็ประมูลขายในราคาตลาดโลกเป็นล็อต ๆ ใครให้ราคาสูงสุดก็ได้ไป เพราะฉะนั้นระบบพีเอสซีผมขอยืนยันอยู่ที่การออกแบบครับ พีเอสซีในอินโดนีเซียเมื่อก่อน อาจจะแบ่งน้ำมันให้ไปขายในราคาถูก แต่อินโดนีเซียก็เป็นประเทศที่ลาออกจากกลุ่มโอเปก และต้องนำเข้าน้ำมันแล้ว ส่วนในมาเลเซียนี่ปิโตรนาส น้ำมันของเขาที่ผลิตได้ขายในราคา ตลาดโลก แต่รัฐบาลมาเลเซียตั้งงบประมาณจากกระทรวงการคลังไปอุดหนุนราคาน้ำมันที่ ปั๊มน้ำมันครับ
ในเรื่องของกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมนะครับ บอกว่าระบบสัมปทานได้แต่ ค่าภาคหลวงภาษีเงินได้ปิโตรเลียมนะครับ เราก็ยังต้องซื้อน้ำมันและก๊าซในราคาแพงอยู่ ท่านกรรมาธิการมนูญได้ชี้แจงไปแล้ว ระบบพีเอสซีผมต้องกราบเรียนท่านสมาชิกนะครับ ผมก็เป็นข้าราชการกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมาก่อน ไปประจำการที่องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย มา ๒ ครั้ง ๘ ปีนะครับ ระบบโพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ เรามีอยู่ในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ระบบนั้นออกแบบให้เก็บสูงกว่าระบบไทยแลนด์วัน ใช่ครับ แต่เมื่อมาคำนวณแล้วมันเก็บน้อยกว่าระบบไทยแลนด์ทรี อันนี้ผมขอยืนยัน และในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียไม่มีการผลิตน้ำมันดิบครับ มีผลิตแต่ก๊าซธรรมชาติและ ก๊าซธรรมชาติเหลวหรือคอนเดนเซต (Condensate) ที่ขึ้นมากับน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ที่ผลิตมานั้นทั้งส่วนขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย และผู้ประกอบการผู้ได้รับสิทธิ คอนแทรกเตอร์ (Contractor) ขายในราคาเดียวกันครับ ตามสูตรราคาเดียวกันให้กับ ปตท. และปิโตรนาสแบ่งครึ่งกัน ทั้ง ๒ ประเทศซื้อในราคาเดียวกัน ส่วนก๊าซธรรมชาติเหลวโหลด (Load) ใส่ลำเรือ คอนเดนเซตก็ประมูลขายในราคาตลาดโลกเป็นล็อต ๆ ใครให้ราคาสูงสุดก็ได้ไป เพราะฉะนั้นระบบพีเอสซีผมขอยืนยันอยู่ที่การออกแบบครับ พีเอสซีในอินโดนีเซียเมื่อก่อน อาจจะแบ่งน้ำมันให้ไปขายในราคาถูก แต่อินโดนีเซียก็เป็นประเทศที่ลาออกจากกลุ่มโอเปก และต้องนำเข้าน้ำมันแล้ว ส่วนในมาเลเซียนี่ปิโตรนาส น้ำมันของเขาที่ผลิตได้ขายในราคา ตลาดโลก แต่รัฐบาลมาเลเซียตั้งงบประมาณจากกระทรวงการคลังไปอุดหนุนราคาน้ำมันที่ ปั๊มน้ำมันครับ
ในเรื่องของการผูกพันประเทศ ๓๙ ปี ถ้าออกให้สัมปทาน มันก็ไม่ใช่ ออโตเมติก (Automatic) ทุกสัมปทานนะ อย่างที่ผมกราบเรียนแล้วในรอบ ๒๐ เราให้ แปลงสำรวจสัมปทานไป ๒๘ แปลง ตอนนี้คืนมาแล้ว ๑๘ แปลง ที่เหลืออีก ๑๐ แปลง สำรวจเจอแปลงเดียว เพราะฉะนั้น ๑๘ แปลงนั้นก็คืออายุสั้น ๖ ปี หรืออย่างมาก อีก ๑๐ แปลง ที่เหลือก็ ๙ ปีนะครับ มันไม่ได้ออโตเมติกครับ แต่ว่าใช่ ถ้าเขาเจอน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ เขาก็มีสิทธิผลิตไปได้ ๒๐ ปี ซึ่งระยะเวลาผลิตนี้เราได้แก้ไขกฎหมายลดจากไทยแลนด์วัน ๓๐ ปี ให้เหลือ ๒๐ ปีแล้วนะครับ ระบบพีเอสซีของมาเลเซียก็ระยะเวลาผลิตก๊าซ ๒๐ ปีเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะพูดถึงระบบอะไรเราต้องดูหน้าตาลักษณะให้ชัดเจนว่าเรากำลังพูดถึง ระบบอะไรนะครับ
ในเรื่องของการผูกพันประเทศ ๓๙ ปี ถ้าออกให้สัมปทาน มันก็ไม่ใช่ ออโตเมติก (Automatic) ทุกสัมปทานนะ อย่างที่ผมกราบเรียนแล้วในรอบ ๒๐ เราให้ แปลงสำรวจสัมปทานไป ๒๘ แปลง ตอนนี้คืนมาแล้ว ๑๘ แปลง ที่เหลืออีก ๑๐ แปลง สำรวจเจอแปลงเดียว เพราะฉะนั้น ๑๘ แปลงนั้นก็คืออายุสั้น ๖ ปี หรืออย่างมาก อีก ๑๐ แปลง ที่เหลือก็ ๙ ปีนะครับ มันไม่ได้ออโตเมติกครับ แต่ว่าใช่ ถ้าเขาเจอน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติ เขาก็มีสิทธิผลิตไปได้ ๒๐ ปี ซึ่งระยะเวลาผลิตนี้เราได้แก้ไขกฎหมายลดจากไทยแลนด์วัน ๓๐ ปี ให้เหลือ ๒๐ ปีแล้วนะครับ ระบบพีเอสซีของมาเลเซียก็ระยะเวลาผลิตก๊าซ ๒๐ ปีเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะพูดถึงระบบอะไรเราต้องดูหน้าตาลักษณะให้ชัดเจนว่าเรากำลังพูดถึง ระบบอะไรนะครับ
อันที่ ๓ ในเรื่องของการเปิดสัมปทานเป็นการเร่งรัดแล้วก็ไม่แก้ปัญหาราคา พลังงานในประเทศ ผมก็อยากจะเรียนตอกย้ำที่ได้นำเสนอไปแล้ว แหล่งก๊าซธรรมชาติ ในอ่าวไทยของเรามีปริมาณเหลือใช้แบบ ๒ พี เหลือไม่ถึง ๑๔ ปี ถ้าเป็นแบบ ๑ พี พรูฟด์ รีเสิร์ฟ ก็เหลือไม่ถึง ๗ ปี แล้วการสำรวจถ้าให้สัมปทานวันนี้กว่าจะพบก็ ๕ ปี เป็นอย่างเร็ว เมื่อพบแล้วต้องพัฒนาอย่างเร็วก็ ๓-๔ ปี ใช้เวลา ๙ ปี เพราะฉะนั้นเราก้าวเข้าสู่ ในช่วงวิกฤติของการที่จะมีก๊าซขาดแคลนแล้วต้องนำก๊าซเข้าในราคาที่แพงขึ้นนะครับ
อันที่ ๓ ในเรื่องของการเปิดสัมปทานเป็นการเร่งรัดแล้วก็ไม่แก้ปัญหาราคา พลังงานในประเทศ ผมก็อยากจะเรียนตอกย้ำที่ได้นำเสนอไปแล้ว แหล่งก๊าซธรรมชาติ ในอ่าวไทยของเรามีปริมาณเหลือใช้แบบ ๒ พี เหลือไม่ถึง ๑๔ ปี ถ้าเป็นแบบ ๑ พี พรูฟด์ รีเสิร์ฟ ก็เหลือไม่ถึง ๗ ปี แล้วการสำรวจถ้าให้สัมปทานวันนี้กว่าจะพบก็ ๕ ปี เป็นอย่างเร็ว เมื่อพบแล้วต้องพัฒนาอย่างเร็วก็ ๓-๔ ปี ใช้เวลา ๙ ปี เพราะฉะนั้นเราก้าวเข้าสู่ ในช่วงวิกฤติของการที่จะมีก๊าซขาดแคลนแล้วต้องนำก๊าซเข้าในราคาที่แพงขึ้นนะครับ
ในประเด็นสุดท้าย เรื่องการให้คะแนน หลักการให้คะแนนของการให้ สัมปทาน ผมขอเรียนยืนยันหลักการของระบบสัมปทานตามกฎหมายปิโตรเลียมไม่เปิดให้มี การเจรจานะครับ เพราะการเจรจาแล้วเราก็ไม่รู้ว่าเจรจาอย่างไร ใช้ดุลยพินิจกันอย่างไร เป็นการประมูลครับ ใครให้สิทธิที่จะมาสำรวจลงทุนสูงสุดผู้นั้นก็ได้ไป แล้วก็จำเป็นที่จะต้อง มีการให้คะแนน เพราะว่าถ้ามีการประมูลมากกว่า ๑ รายในแปลงเดียวกันก็ต้องแข่งขันกัน การให้คะแนนก็มีหลักเกณฑ์ที่ประกาศก่อนอย่างชัดเจน
ในประเด็นสุดท้าย เรื่องการให้คะแนน หลักการให้คะแนนของการให้ สัมปทาน ผมขอเรียนยืนยันหลักการของระบบสัมปทานตามกฎหมายปิโตรเลียมไม่เปิดให้มี การเจรจานะครับ เพราะการเจรจาแล้วเราก็ไม่รู้ว่าเจรจาอย่างไร ใช้ดุลยพินิจกันอย่างไร เป็นการประมูลครับ ใครให้สิทธิที่จะมาสำรวจลงทุนสูงสุดผู้นั้นก็ได้ไป แล้วก็จำเป็นที่จะต้อง มีการให้คะแนน เพราะว่าถ้ามีการประมูลมากกว่า ๑ รายในแปลงเดียวกันก็ต้องแข่งขันกัน การให้คะแนนก็มีหลักเกณฑ์ที่ประกาศก่อนอย่างชัดเจน
สำหรับข้อเสนอแนะ ข้อสังเกตที่ว่าอยากให้ความสำคัญกับภาคประชาชน ภาคสังคมมากขึ้น ผมน้อมรับที่จะไปรายงานหน่วยเหนือว่า เราควรจะต้องเปิดโอกาส ให้มีความโปร่งใสในเรื่องการพิจารณามากขึ้น มีท่านกรรมาธิการสงสัยว่าโอกาสในรอบ ๒๑ เราคาดหวังได้อย่างไร ก็ต้องเรียนย้ำอีกทีหนึ่งว่า เราเปิดสัมปทานมา ๒๐ รอบแล้ว พื้นที่ที่เอามาเปิดก็คือพื้นที่ที่เขาคืนมาศักยภาพก็น้อยลง แต่เราก็คิดว่า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีสภาพธรณีวิทยาที่ซับซ้อนแล้วก็ลงทุนสูง หลุมเจาะ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างน้อยค่าใช้จ่ายหลุมละ ๓๐๐ ล้านบาทนะครับ ขณะที่หลุม ในภาคกลางอาจจะ ๓๐ ล้านบาท เราคิดว่าในภาคอีสานโอกาสที่จะพบก๊าซธรรมชาติ ยังพอมีอยู่ เพราะมีโครงสร้างที่น่าสนใจแต่หินแข็งแล้วก็เจาะยาก เราก็เลยขีดแปลงสัมปทาน ที่ใกล้กับพื้นที่ที่มีการพบก๊าซธรรมชาติ อยากเรียนว่าในภาคอีสานได้มีการสำรวจมาแล้ว เป็นเวลา ๒๓-๓๐ ปีแล้วครับ ก๊าซ แหล่งก๊าซน้ำพองที่จังหวัดขอนแก่นผลิตตั้งแต่มีอัตรา ๘๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จนตอนนี้เหลือแค่ ๑๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเท่านั้นเอง ก็พอดีที่มีแหล่งสินภูฮ่อมซึ่งผลิตอยู่ประมาณ ๘๐-๙๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ถ้าภาคอีสานมีแหล่งก๊าซเป็นของตัวเอง ภาคอีสานเป็นภาคที่ต้องนำเข้าพลังงานไฟฟ้านะครับ เราต้องนำเข้าไฟฟ้าจากลาว แหล่งก๊าซก็มีน้อย แล้วแหล่งก๊าซสามารถจะเป็นต้นทุนที่จะไป สร้างอุตสาหกรรม สร้างงานให้คนอีสาน ไม่ต้องอพยพเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ในเมืองใหญ่ ๆ ได้นะครับ
สำหรับข้อเสนอแนะ ข้อสังเกตที่ว่าอยากให้ความสำคัญกับภาคประชาชน ภาคสังคมมากขึ้น ผมน้อมรับที่จะไปรายงานหน่วยเหนือว่า เราควรจะต้องเปิดโอกาส ให้มีความโปร่งใสในเรื่องการพิจารณามากขึ้น มีท่านกรรมาธิการสงสัยว่าโอกาสในรอบ ๒๑ เราคาดหวังได้อย่างไร ก็ต้องเรียนย้ำอีกทีหนึ่งว่า เราเปิดสัมปทานมา ๒๐ รอบแล้ว พื้นที่ที่เอามาเปิดก็คือพื้นที่ที่เขาคืนมาศักยภาพก็น้อยลง แต่เราก็คิดว่า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีสภาพธรณีวิทยาที่ซับซ้อนแล้วก็ลงทุนสูง หลุมเจาะ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างน้อยค่าใช้จ่ายหลุมละ ๓๐๐ ล้านบาทนะครับ ขณะที่หลุม ในภาคกลางอาจจะ ๓๐ ล้านบาท เราคิดว่าในภาคอีสานโอกาสที่จะพบก๊าซธรรมชาติ ยังพอมีอยู่ เพราะมีโครงสร้างที่น่าสนใจแต่หินแข็งแล้วก็เจาะยาก เราก็เลยขีดแปลงสัมปทาน ที่ใกล้กับพื้นที่ที่มีการพบก๊าซธรรมชาติ อยากเรียนว่าในภาคอีสานได้มีการสำรวจมาแล้ว เป็นเวลา ๒๓-๓๐ ปีแล้วครับ ก๊าซ แหล่งก๊าซน้ำพองที่จังหวัดขอนแก่นผลิตตั้งแต่มีอัตรา ๘๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จนตอนนี้เหลือแค่ ๑๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเท่านั้นเอง ก็พอดีที่มีแหล่งสินภูฮ่อมซึ่งผลิตอยู่ประมาณ ๘๐-๙๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ถ้าภาคอีสานมีแหล่งก๊าซเป็นของตัวเอง ภาคอีสานเป็นภาคที่ต้องนำเข้าพลังงานไฟฟ้านะครับ เราต้องนำเข้าไฟฟ้าจากลาว แหล่งก๊าซก็มีน้อย แล้วแหล่งก๊าซสามารถจะเป็นต้นทุนที่จะไป สร้างอุตสาหกรรม สร้างงานให้คนอีสาน ไม่ต้องอพยพเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ในเมืองใหญ่ ๆ ได้นะครับ
เรื่องของปริมาณสำรอง การคำนวณปริมาณสำรองมีหลักวิชาการของ สมาคมวิศวกรรมปิโตรเลียมระหว่างประเทศ การคำนวณพี ๑ ไม่ใช่ปริมาณสำรอง ตามสัญญาซื้อขายก๊าซ เป็นปริมาณสำรองที่คำนวณอย่างมีหลักวิชา แล้วถ้าผู้ซื้อผู้ขาย ตกลงกันไม่ได้ต้องจ้างเทิร์ด ปาร์ตี (Third party) บุคคลที่ ๓ มาประเมินนะครับ แล้วพี ๒ ก็เช่นเดียวกัน การทำสัญญาซื้อขายก๊าซส่วนใหญ่เขาจะใช้พี ๑ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็บวก พี ๒ ๒๕ เปอร์เซ็นต์เพื่อความมั่นใจ เพราะฉะนั้นปริมาณสำรองก๊าซที่กระทรวงพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติรวบรวมอยู่ก็เป็นการรวบรวมอย่างมีหลักวิชาแล้วสอบทาน แล้วก็ตรวจสอบทุกปีนะครับ เพราะว่าปริมาณสำรองมีผลต่อราคาหุ้นของบริษัท เราเผยแพร่ เราต้องมั่นใจว่าเราไม่เผยแพร่ตัวเลขที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป เราก็เผยแพร่จากข้อมูล ทางวิชาการที่มีอยู่
เรื่องของปริมาณสำรอง การคำนวณปริมาณสำรองมีหลักวิชาการของ สมาคมวิศวกรรมปิโตรเลียมระหว่างประเทศ การคำนวณพี ๑ ไม่ใช่ปริมาณสำรอง ตามสัญญาซื้อขายก๊าซ เป็นปริมาณสำรองที่คำนวณอย่างมีหลักวิชา แล้วถ้าผู้ซื้อผู้ขาย ตกลงกันไม่ได้ต้องจ้างเทิร์ด ปาร์ตี (Third party) บุคคลที่ ๓ มาประเมินนะครับ แล้วพี ๒ ก็เช่นเดียวกัน การทำสัญญาซื้อขายก๊าซส่วนใหญ่เขาจะใช้พี ๑ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็บวก พี ๒ ๒๕ เปอร์เซ็นต์เพื่อความมั่นใจ เพราะฉะนั้นปริมาณสำรองก๊าซที่กระทรวงพลังงาน กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติรวบรวมอยู่ก็เป็นการรวบรวมอย่างมีหลักวิชาแล้วสอบทาน แล้วก็ตรวจสอบทุกปีนะครับ เพราะว่าปริมาณสำรองมีผลต่อราคาหุ้นของบริษัท เราเผยแพร่ เราต้องมั่นใจว่าเราไม่เผยแพร่ตัวเลขที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป เราก็เผยแพร่จากข้อมูล ทางวิชาการที่มีอยู่
กระผมก็อยากจะสรุปในตอนท้ายว่าระบบสัมปทานปิโตรเลียมไทยแลนด์ทรี ได้มีการแก้ไข สืบเนื่องจากเราใช้ระบบไทยแลนด์ทู (Thailand II) ในปี ๒๕๒๕ โดยพยายาม ลอกเลียนแบบระบบพีเอสซีของอินโดนีเซียมาใช้ แล้วก็ทำให้การสำรวจนิ่งไป ๘ ปี เพราะว่า แหล่งน้ำมัน แหล่งก๊าซที่พบมีขนาดเล็ก เราจึงได้มีการออกแบบ ท่านประธานอนุกรรมการ ที่ร่างกฎหมายปิโตรเลียม ฉบับที่ ๔ ที่เป็นไทยแลนด์ทรีในขณะนั้น คือท่านศาสตราจารย์ ดอกเตอร์อมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาและเป็นอดีตกรรมการ ปิโตรเลียมนะครับ ท่านได้เขียนไว้ในหนังสือครบรอบอายุ ๘๔ ปีของท่าน ผมขอคัดลอกมานะครับเกี่ยวกับกฎหมายปิโตรเลียมผลงานของท่าน กฎหมายทั้ง ๒ ฉบับ พระราชบัญญัติปิโตรเลียมและพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เป็นกฎหมาย ที่ออกแบบสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะ เนื่องจากสภาพทางธรณีวิทยาในไทย มีความแตกต่างกับสภาพธรณีวิทยาของประเทศอื่น ๆ แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมมีลักษณะ กระจายเป็นแหล่งเล็ก ๆ เป็นก๊าซธรรมชาติเกือบทั้งหมด โอกาสที่จะพบน้ำมันมีน้อย ประเทศไทยควรมีกฎหมายปิโตรเลียมที่ไม่เหมือนใคร คือจะต้องเป็นกฎหมายที่ให้ ผลตอบแทนกับผู้ลงทุนโดยสัมพันธ์กับความยากลำบากและความซับซ้อนทางธรณีวิทยา เพื่อลดความเสี่ยงและจูงใจให้เกิดการลงทุน จากข้อมูลการสำรวจตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ บ่งชี้ว่า แหล่งน้ำมันดิบในประเทศไทยน่าจะมีขนาดเล็ก ทำให้ต้นทุนต่อบาร์เรลค่อนข้างสูง จึงไม่สอดคล้องกับการผลิตเชิงพาณิชย์ภายใต้ระบบไทยแลนด์ทู เพราะถึงทำการผลิต ขึ้นมาแล้วผู้รับสัมปทานก็ต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ให้รัฐมากจนกระทั่งไม่อาจเกิดกำไรคุ้มทุน ได้เลย คงไม่มีผู้สนใจมาขอสัมปทาน นโยบายเร่งรัด สำรวจและผลิตจะขาดความต่อเนื่อง ลงไปอย่างน่าเสียดาย รัฐบาลจึงมีนโยบายจะแก้กฎหมายปิโตรเลียมให้ทันสมัย รัดกุมและ เรียกเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงศักยภาพความเสี่ยง ทางธรณีวิทยาปิโตรเลียมของเมืองไทย จึงต้องสร้างความยืดหยุ่นที่จูงใจให้นักลงทุนจาก ต่างประเทศยังอยากมาลงทุนสำรวจหาแหล่งน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย ระบบไทยแลนด์ทรี หมายถึงการเก็บค่าภาคหลวงแบบขั้นบันได และเก็บผลประโยชน์พิเศษ จากกำไรส่วนเกิน หรือวินด์ฟอล โพรฟิต แทกซ์ โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก ๓ ประการ คือ
กระผมก็อยากจะสรุปในตอนท้ายว่าระบบสัมปทานปิโตรเลียมไทยแลนด์ทรี ได้มีการแก้ไข สืบเนื่องจากเราใช้ระบบไทยแลนด์ทู (Thailand II) ในปี ๒๕๒๕ โดยพยายาม ลอกเลียนแบบระบบพีเอสซีของอินโดนีเซียมาใช้ แล้วก็ทำให้การสำรวจนิ่งไป ๘ ปี เพราะว่า แหล่งน้ำมัน แหล่งก๊าซที่พบมีขนาดเล็ก เราจึงได้มีการออกแบบ ท่านประธานอนุกรรมการ ที่ร่างกฎหมายปิโตรเลียม ฉบับที่ ๔ ที่เป็นไทยแลนด์ทรีในขณะนั้น คือท่านศาสตราจารย์ ดอกเตอร์อมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาและเป็นอดีตกรรมการ ปิโตรเลียมนะครับ ท่านได้เขียนไว้ในหนังสือครบรอบอายุ ๘๔ ปีของท่าน ผมขอคัดลอกมานะครับเกี่ยวกับกฎหมายปิโตรเลียมผลงานของท่าน กฎหมายทั้ง ๒ ฉบับ พระราชบัญญัติปิโตรเลียมและพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เป็นกฎหมาย ที่ออกแบบสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะ เนื่องจากสภาพทางธรณีวิทยาในไทย มีความแตกต่างกับสภาพธรณีวิทยาของประเทศอื่น ๆ แหล่งกักเก็บปิโตรเลียมมีลักษณะ กระจายเป็นแหล่งเล็ก ๆ เป็นก๊าซธรรมชาติเกือบทั้งหมด โอกาสที่จะพบน้ำมันมีน้อย ประเทศไทยควรมีกฎหมายปิโตรเลียมที่ไม่เหมือนใคร คือจะต้องเป็นกฎหมายที่ให้ ผลตอบแทนกับผู้ลงทุนโดยสัมพันธ์กับความยากลำบากและความซับซ้อนทางธรณีวิทยา เพื่อลดความเสี่ยงและจูงใจให้เกิดการลงทุน จากข้อมูลการสำรวจตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ บ่งชี้ว่า แหล่งน้ำมันดิบในประเทศไทยน่าจะมีขนาดเล็ก ทำให้ต้นทุนต่อบาร์เรลค่อนข้างสูง จึงไม่สอดคล้องกับการผลิตเชิงพาณิชย์ภายใต้ระบบไทยแลนด์ทู เพราะถึงทำการผลิต ขึ้นมาแล้วผู้รับสัมปทานก็ต้องจ่ายเงินผลประโยชน์ให้รัฐมากจนกระทั่งไม่อาจเกิดกำไรคุ้มทุน ได้เลย คงไม่มีผู้สนใจมาขอสัมปทาน นโยบายเร่งรัด สำรวจและผลิตจะขาดความต่อเนื่อง ลงไปอย่างน่าเสียดาย รัฐบาลจึงมีนโยบายจะแก้กฎหมายปิโตรเลียมให้ทันสมัย รัดกุมและ เรียกเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็คำนึงถึงศักยภาพความเสี่ยง ทางธรณีวิทยาปิโตรเลียมของเมืองไทย จึงต้องสร้างความยืดหยุ่นที่จูงใจให้นักลงทุนจาก ต่างประเทศยังอยากมาลงทุนสำรวจหาแหล่งน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย ระบบไทยแลนด์ทรี หมายถึงการเก็บค่าภาคหลวงแบบขั้นบันได และเก็บผลประโยชน์พิเศษ จากกำไรส่วนเกิน หรือวินด์ฟอล โพรฟิต แทกซ์ โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก ๓ ประการ คือ
๑. เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถผลิตขึ้นมาได้ หากยังคงใช้ระบบไทยแลนด์วันหรือไทยแลนด์ทูต่อไป
๑. เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถผลิตขึ้นมาได้ หากยังคงใช้ระบบไทยแลนด์วันหรือไทยแลนด์ทูต่อไป
๒. เพื่อให้รัฐได้รับประโยชน์ในสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นเมื่อผู้ลงทุนได้รับกำไร ไปมากพอสมควรแล้ว
๒. เพื่อให้รัฐได้รับประโยชน์ในสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นเมื่อผู้ลงทุนได้รับกำไร ไปมากพอสมควรแล้ว
๓. เพื่อแก้ไขระบบแบ่งปันผลประโยชน์ เอื้ออำนวยให้ผู้ลงทุนดำเนินงาน ตามการตัดสินใจทางเทคนิคได้ โดยมีประสิทธิภาพ มิต้องพะวงว่าระบบแบ่งปันผลประโยชน์ จะเป็นอุปสรรคในการวางแผนพัฒนาของตน
๓. เพื่อแก้ไขระบบแบ่งปันผลประโยชน์ เอื้ออำนวยให้ผู้ลงทุนดำเนินงาน ตามการตัดสินใจทางเทคนิคได้ โดยมีประสิทธิภาพ มิต้องพะวงว่าระบบแบ่งปันผลประโยชน์ จะเป็นอุปสรรคในการวางแผนพัฒนาของตน
อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ท่านอมร จันทรสมบูรณ์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ๘๔ ปีของท่าน กระผมก็อยากจะขอสรุปยืนยันอย่างที่ได้กราบเรียนไปในเบื้องต้นเมื่อเช้านี้นะครับว่า มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องเร่งส่งเสริมการสำรวจและแสวงหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ๆ เพื่อมา ทดแทนปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของชาติที่ลดลงด้วยการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและ ผลิตปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ภายใต้ระบบไทยแลนด์ทรีพลัส โดยให้มีการศึกษาและเตรียมการ ระบบแบ่งปันผลผลิตไว้เป็นทางเลือกสำหรับรัฐบาลในการตัดสินใจในครั้งต่อ ๆ ไป กราบขอบพระคุณครับ
อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ท่านอมร จันทรสมบูรณ์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ๘๔ ปีของท่าน กระผมก็อยากจะขอสรุปยืนยันอย่างที่ได้กราบเรียนไปในเบื้องต้นเมื่อเช้านี้นะครับว่า มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องเร่งส่งเสริมการสำรวจและแสวงหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ๆ เพื่อมา ทดแทนปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของชาติที่ลดลงด้วยการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและ ผลิตปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ภายใต้ระบบไทยแลนด์ทรีพลัส โดยให้มีการศึกษาและเตรียมการ ระบบแบ่งปันผลผลิตไว้เป็นทางเลือกสำหรับรัฐบาลในการตัดสินใจในครั้งต่อ ๆ ไป กราบขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ คุรุจิต นาครทรรพ กระผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นะครับ ญัตติที่คุณประสารเสนอนี้ผมคิดว่าถ้าเราลงมติส่งรายงานทั้ง ๒ ฉบับและข้อสังเกตไปแล้ว ถ้าจะมีการลงมติอีกก็คือต้องลงมติในข้อเสนอของกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานที่เสนอนะครับ เพราะเราก็ได้ไปศึกษามา ๒ เดือน แล้วรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก็เป็นเอกสารแนบ ๒ ของรายงานของเรา เพราะฉะนั้น ประเด็นไม่ใช่ว่าจะเดินหน้าหรือชะลอ ประเด็นคือเห็นชอบกับรายงานของเราที่ว่า ให้เดินหน้า ถ้าท่านจะชะลอก็คือท่านก็ไม่เห็นชอบนะครับ ผมอยากจะให้ท่านประธาน กำหนดประเด็นอย่างนี้ครับ กราบขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ คุรุจิต นาครทรรพ กระผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นะครับ ญัตติที่คุณประสารเสนอนี้ผมคิดว่าถ้าเราลงมติส่งรายงานทั้ง ๒ ฉบับและข้อสังเกตไปแล้ว ถ้าจะมีการลงมติอีกก็คือต้องลงมติในข้อเสนอของกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานที่เสนอนะครับ เพราะเราก็ได้ไปศึกษามา ๒ เดือน แล้วรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วม และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก็เป็นเอกสารแนบ ๒ ของรายงานของเรา เพราะฉะนั้น ประเด็นไม่ใช่ว่าจะเดินหน้าหรือชะลอ ประเด็นคือเห็นชอบกับรายงานของเราที่ว่า ให้เดินหน้า ถ้าท่านจะชะลอก็คือท่านก็ไม่เห็นชอบนะครับ ผมอยากจะให้ท่านประธาน กำหนดประเด็นอย่างนี้ครับ กราบขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ กระผมเห็นว่าถ้าเราจะลงมติก็ต้องลงมติตามรายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ซึ่งได้รับมอบหมายจากท่านประธานให้ไปศึกษานะครับ ของท่านกรรมาธิการรับฟัง ความคิดเห็นนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นของอนุกรรมาธิการของภาคประชาชนซึ่งยังไม่ได้ ศึกษาโดยคณะกรรมาธิการนะครับ ไม่อย่างนั้นท่านจะมอบหมายให้คณะกรรมาธิการปฏิรูป พลังงานไปศึกษามาทำไมล่ะครับ เพราะฉะนั้นท่านก็ต้องลงมติว่าเห็นชอบ ถ้าท่านไม่เห็นชอบก็คือชะลอ แต่ถ้าท่านไปเห็นชอบกับการรับฟังความคิดเห็นว่าให้ใช้ระบบ พีเอสซีเลยโดยไม่มีการศึกษา ก็เท่ากับว่าท่านไม่ให้ความสำคัญกับผลการศึกษาของ กรรมาธิการที่ท่านประธานมอบหมายมาเลย กราบเรียนเพื่อโปรดพิจารณาครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ กระผมเห็นว่าถ้าเราจะลงมติก็ต้องลงมติตามรายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ซึ่งได้รับมอบหมายจากท่านประธานให้ไปศึกษานะครับ ของท่านกรรมาธิการรับฟัง ความคิดเห็นนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นของอนุกรรมาธิการของภาคประชาชนซึ่งยังไม่ได้ ศึกษาโดยคณะกรรมาธิการนะครับ ไม่อย่างนั้นท่านจะมอบหมายให้คณะกรรมาธิการปฏิรูป พลังงานไปศึกษามาทำไมล่ะครับ เพราะฉะนั้นท่านก็ต้องลงมติว่าเห็นชอบ ถ้าท่านไม่เห็นชอบก็คือชะลอ แต่ถ้าท่านไปเห็นชอบกับการรับฟังความคิดเห็นว่าให้ใช้ระบบ พีเอสซีเลยโดยไม่มีการศึกษา ก็เท่ากับว่าท่านไม่ให้ความสำคัญกับผลการศึกษาของ กรรมาธิการที่ท่านประธานมอบหมายมาเลย กราบเรียนเพื่อโปรดพิจารณาครับ