นายประชา เตรัตน์

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพและเพื่อนสมาชิก ผู้ทรงเกียรติ กระผม นายประชา เตรัตน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในส่วนของจังหวัดชลบุรี ผมเป็นอดีตข้าราชการ ปัจจุบันเกษียณแล้ว ในชีวิตราชการนั้นได้มีโอกาสคลุกคลีกับ พี่น้องประชาชนผู้ยากไร้มาตลอด ตั้งแต่ตำแหน่งปลัดอำเภอจนถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ๓๘ ปีเต็ม โดยเฉพาะในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจกระทรวง รองปลัดกระทรวงเป็นเวลาถึง ๑๐ ปีเต็ม ๆ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภูมิภาค ชายแดนที่มีปัญหามากมาย ได้พบ ได้เห็น ได้ประจักษ์ความเหลื่อมล้ำ โครงสร้างสำคัญที่สุด ของชาติบ้านเมืองที่ผ่านมา ๒๐ ปี ๓๐ ปี คือปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในวงการเมือง และราชการ และที่สำคัญคือคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของพี่น้องประชาชนคนไทย การออกแบบโครงสร้างของกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น สิ่งเหล่านี้จะต้องถูกยกมาเป็นประเด็น ทำอย่างไรถึงจะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงเรื่องของการคุ้มครองผู้ด้อยโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำโครงสร้างกฎหมายทั้งหลายที่จะต้องสามารถลดความเหลื่อมล้ำ เช่น ภาษีมรดกหรือภาษีทรัพย์สินพวกนี้ เป็นต้น ถ้าสภาแห่งนี้หรือสภาปฏิรูปแห่งนี้ไม่สามารถ ดำเนินการได้ก็อย่าหวังเลยว่าสภาการเมืองที่จะมาใหม่นั้นจะทำได้ ที่สำคัญที่สุดนั้น ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นสมบัติของ พี่น้องประชาชน กฎหมายรัฐธรรมนูญจะต้องออกแบบที่สำคัญว่าใครจะทำอะไรก็ตาม เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาตินั้นจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง เป็นสำคัญ สิ่งเหล่านี้ผมจึงอาสาเข้ามาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในโควตาจังหวัด แล้วก็ ยังมั่นใจว่าที่เรากำหนดให้มีภาค ๔ ภาคนั้น ผมขอพูดแทนในฐานะตัวแทนภาค ผมพูดเป็น คนสุดท้ายขอเอกสิทธิ์ในการเลย ๒ นาทีก็ไม่ว่ากันนะครับ เห็นว่าแล้วก็กด ผมขออนุญาต พูดในนามตัวแทนภาคทั้ง ๔ ภาค พวกเรา ๔ ภาค ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน แล้วก็ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ไม่ได้เจตนาที่จะรวมกลุ่มอยากจะได้ตำแหน่งแห่งหนใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ท่านอย่าลืมว่าการเชื่อมโยงระหว่างสภาแห่งนี้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่จำเป็นอย่างยิ่ง ต้องอาศัยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจังหวัดต่าง ๆ ๗๗ จังหวัด แน่นอนครับเราสลายกลุ่ม ๗๗ จังหวัดนั้นไปอยู่ในด้านต่าง ๆ ๑๐ ด้าน บวก ๑ บวก ๒ บวก ๓ ๑๑ บวกเท่าไรก็แล้วแต่ เราได้ข้อมูลอะไรมันต้องทำคู่ขนาน ได้ความคิดความเห็นอะไรก็ตามจากด้านต่าง ๆ อย่างไรแล้ว เราก็ต้องรีบเป็นคู่ขนานให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ทราบเป็นการการันตีว่าเห็นด้วย การปฏิรูปครั้งนี้จะไม่มีความสำเร็จได้เลยถ้าสิ่งที่เราปฏิรูปประชาชนไม่เอาด้วย การทำ คู่ขนานอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ มันจะเป็นสิ่งช่วยทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นว่าเมื่อเราทำเสร็จแล้วนั้น ประชาชนเอากับพวกเราด้วยก็จะทำให้การปฏิรูปเรานี่เกิดผลสำเร็จได้ครับ ผมขอแนะนำ แค่นี้ครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายประชา เตรัตน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จังหวัดชลบุรี ผมคิดว่าที่กรรมาธิการได้เสนอยกร่าง ข้อ ๕๔ มานั้น การเสนอญัตติใด ๆ ก็ตามจำเป็นต้องมีผู้คิดเห็นทั้งเห็นด้วยแล้วก็ไม่เห็นด้วย ก็เพื่อที่จะให้การอภิปรายทั้งเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย สลับกันนี่ก็อย่าไปติดใจคำว่า สลับระหว่าง ฝ่ายค้านหรือฝ่ายสนับสนุนเลยครับ ผมคิดว่ามันจำเป็นที่จะให้ท่านประธานได้ให้ทั้ง ๒ ฝ่าย ที่ได้นำเสนอนี่สลับคละเคล้ากันไป อาจจะใช้คำพูดอย่างที่ท่านอาจารย์เสรีได้พูดถึงว่าสลับกันระหว่างฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย แล้วก็ฝ่ายที่สนับสนุน อันนี้ก็คิดว่าจะเป็นประโยชน์ เพราะว่าการจะลงมติทั้งญัตติใด ๆ ถ้าจำเป็นต้องมีการลงมติเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย มันจำเป็นต้องให้อภิปรายสลับกันพอสมควร ส่วนจะใช้เครื่องมืออย่างไรก็แล้วแต่ ผมคิดว่าน่าจะผ่านไปได้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายประชา เตรัตน์ สปช. จังหวัดชลบุรี ก่อนอื่นต้องขอยกย่องทางกรรมาธิการยกร่างที่ท่านมีความ พยายามอย่างยิ่งที่จะเอาใจสมาชิกทั้ง ๒๕๐ ท่าน บรรจุทุกอย่างที่เรียกร้อง ซึ่งผมก็ต้อง ขอวิงวอนเพื่อนสมาชิกทั้ง ๒๕๐ ท่านด้วยว่า คือในบางครั้งมันจะเอาทุกอย่างตามที่เรา ปรารถนามันก็คงไม่น่าจะได้ สิ่งสำคัญที่สุดที่ผมจะกราบเรียนท่านประธานนะครับ คือว่า ในมาตรา ๒๗ แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ระบุไว้ชัดเจนนั่นคือ ๑๑ ด้าน ดังนั้น ใน ๑๐ ด้านแรก เราไม่ควรจะไปแตะต้องมันจะต้องเป็นไปตามนั้น มันควรจะแตกมา ด้านที่ ๑๑ ที่มันไม่สามารถปรับเข้าใน ๑๐ ด้านจริง ๆ ค่อยแตกมาเป็นอีก ๔ ด้าน ๕ ด้าน ก็ว่าไป เพราะถ้าไม่อย่างนั้นแตกเป็น ๑๙ ๒๐ ด้าน มันก็จะทำให้สภาแห่งนี้การทำงาน เรารู้อยู่แล้วว่าภารกิจเรานั้นเวลาเราจำกัดมาก แล้วมวลสมาชิกทั้งหลายก็จะ ผมดูแล้วที่เสนอมาปรับเพิ่มได้อีกไม่เกิน ๔ ด้าน เพราะว่าในหลายด้านสามารถปรับเข้ากับ เศรษฐกิจก็ได้ สังคมก็ได้ กับอะไรได้เยอะแยะ อันนี้ก็เรียนด้วยความเคารพว่าเพื่อนสมาชิก ทั้ง ๒๕๐ ท่าน ก็ต้องเห็นใจท่านกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับด้วย คือคงจะเอาตามใจเรา ทั้งหมดคงจะไม่ได้

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ สิ่งที่ตามข้อ ๘๐ บอกไว้ชัดเจนว่ากรรมาธิการในทั้งกี่ด้าน ก็แล้วแต่ ในท้ายสุดจะเหลือกี่ด้านก็ตาม ให้คำนึงถึงการเข้ามีส่วนร่วมภาคประชาชน อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล อันนี้ผมก็อยากจะกราบเรียนท่านประธานนะครับว่า ตอนนี้ถ้าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ผมจะใคร่ขอให้สมาชิกสภาปฏิรูป ๗๗ จังหวัด ท่านต้องรีบเลือกแล้ว เพราะในข้อบังคับไม่เกิน ๒ ด้าน แล้วอยากให้ ๗๗ จังหวัด ได้อยู่ครบ ทุกด้านมันจะเพิ่มมาเป็น ๑๕ ๑๖ ๑๗ อะไรผมยังไม่ทราบ ในท้ายที่สุดแล้ว แล้วแต่ว่า ท้ายที่สุดจะเป็นอย่างไร เพื่ออะไรครับ เพื่อประโยชน์ในการที่สมาชิกสภาปฏิรูป ประจำจังหวัดนั้นจะช่วยท่าน เรายินดีช่วยท่านทั้ง ๑๗ ด้าน ในการนำเอาสรุปทั้งหลายลงไป ให้ภาคประชาชนได้รับทราบและสะท้อนความคิดเห็นนั้นขึ้นมา ทุกวันนี้ขอกราบเรียนว่า สมาชิกสภาปฏิรูปจังหวัดหลายจังหวัดเขาลงไปทำงานแล้ว โดยใช้ สปช. ที่สมัคร เข้ามาสรรหา แล้วไม่ได้รับการสรรหา เราตั้งให้เขาเป็นผู้ช่วยเราหมดทุกคน แล้วใช้ กกต. จังหวัดเป็นศูนย์กลางในการรับข้อมูลแลกเปลี่ยนข่าวสาร ต้องขอบคุณทาง ประธาน กกต. ส่วนกลางมาก ท่านได้แจ้งไปยัง กกต. จังหวัด ให้ความร่วมมือนี้อย่างดี แล้วก็ทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดก็เข้าใจในเรื่องนี้ว่าเป็นวาระที่สำคัญของชาติ ที่จะต้องช่วยกันปฏิรูปบ้านเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดก็ยินดีให้ความร่วมมือกับ สปช. จังหวัดทุกแห่ง แล้วเรายังมีเครือข่ายหน่วยงานปกครองท้องถิ่นในทุกด้าน ตรงนี้ครับ ท่านอย่าได้เป็นห่วงว่าเรา สปช. ๗๗ จังหวัดจะรวมกลุ่มกันเพื่อจะทำอะไร ยืนยัน ไม่มีเด็ดขาด เรารวมกลุ่มเพียงเพื่อต้องการช่วยท่านทำงาน โดยเฉพาะภาคการมีส่วนร่วม ของภาคประชาชน เรายินดีทำให้ท่านเต็มที่ ก็ขอเรียนไว้ ๒ ด้านครับ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายประชา เตรัตน์ สปช. จังหวัดชลบุรี ผมขออนุญาตแปรญัตติในข้อ ๘๔ (๓) ในเรื่องของกรรมาธิการ การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน อย่างที่ได้กราบเรียนในเบื้องต้นแล้วว่า โอกาสที่รัฐธรรมนูญก็ดีหรือสิ่งที่เราจะปฏิรูปใน ๑๘ ด้านก็ดี เราคงไม่มีการลงประชามติ แน่นอน ค่อนข้างแน่นอน เมื่อเป็นดังนั้นการทำงานคู่ขนานระหว่างสภาปฏิรูปแห่งนี้ กับการมีส่วนร่วมภาคประชาชนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่จะมีข้อบังคับนี้พวกเรา สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทั้ง ๗๗ จังหวัดได้พบปะและหารือวิธีการออกแบบ การมีส่วนร่วมภาคประชาชนไว้พอคร่าว ๆ พอสมควร

    อ่านในการประชุม

  • สิ่งแรกสุดนั้นเราคิดว่าเราจะใช้ กกต. จังหวัดซึ่งขณะนี้ทางประธาน กกต. จังหวัดที่ภาคกลางก็ได้อนุมัติเห็นชอบแล้วว่าจะให้ กกต. จังหวัดเป็นศูนย์รับฟังความคิดเห็น ของประชาชนให้กับ สปช. จังหวัด

    อ่านในการประชุม

  • อันดับที่ ๒ เราได้ขอความร่วมมือกับ สปช. ที่สมัครเข้ามาหลายท่าน บางจังหวัด ๓๐ คน บางจังหวัด ๔๐ คน บางจังหวัด ๖๐ คนนี่ให้เข้ามามีส่วนร่วมกับพวกเรา ในการที่จะเป็นจิตอาสาในการที่จะทำงานคู่ขนานรับฟังความคิดจากชาวบ้าน แล้วก็เอา ข้อสรุปจากที่เดิมเราคิดว่ามี ๑๑ ด้าน แต่ปัจจุบันนี้กลายเป็น ๑๘ ด้านแล้ว คือเรามองว่า ถ้าใน ๑๘ ด้านนี่คณะกรรมาธิการแต่ละด้านสรุปข้อสรุปอะไรเบื้องต้น เราไม่ต้องรอครบ ทั้งหมด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เรารู้ข้อมูลด้านใดแล้วคิดว่าเป็นประเด็นที่คิดว่าสำคัญ เราคงไม่เอา ลงไปทุกประเด็นครับท่าน เราไม่จำเป็นต้องเอาไปลงครบทุกประเด็น เอาเฉพาะประเด็น ที่สำคัญที่คิดว่ามันจะมีข้อคิดเห็นหลากหลายและความขัดแย้ง ผู้เสียประโยชน์มาก อาจจะไป ฟังท่าทีของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าท่านสามารถใช้ สปช. จังหวัดได้อย่างดียิ่ง แล้วก็อย่ารังเกียจ สปช. จังหวัดเลยครับ ผมคิดว่าเราจะช่วยท่านทำงาน ช่วยท่านจริง ๆ ครับ ด้วยความจริงใจเลย เราอาจจะทำงานมากกว่าคณะกรรมาธิการใน ๑๘ ด้าน

    อ่านในการประชุม

  • ดังนั้นผมขอแปรญัตติใน (๓) ว่า ให้มีกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมรับฟัง ความคิดเห็นประชาชน แค่อันเดียวพอ ไม่ต้องมีภาคหรือจังหวัด ไม่จำเป็น เพราะว่า ในข้อ ๘๓ (๑๐) บอกแล้วว่ามีการจัดตั้งศูนย์รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากประชาชน ซึ่งอันนี้จะมาสอดคล้องกับข้อ ๘๔ (๓) แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะขอก็คือว่าในกรรมาธิการ วิสามัญภาคการมีส่วนร่วมอยากขอให้มีภาคแต่ละภาคอย่างน้อย ๒ คน แล้วกรรมาธิการ ด้านต่าง ๆ ๑๘ กรรมาธิการ ๑๘ คนต้องมาอยู่กับเราตรงนี้ด้วย เพื่อตรงนี้จะเป็น คนออกแบบ ออกแบบข้อสรุปของ ๑๘ ด้าน แล้วจะเอาประเด็นไหนที่จะให้ ๗๗ จังหวัด คือไม่จำเป็นต้องเอามาลงทุกประเด็น การจะกำหนดเอาประเด็นไหนลงไปแลกเปลี่ยน หรือรับฟังท่าทีของประชาชนนี่ให้กรรมาธิการข้อ ๘๔ (๓) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก ๑๘ คณะ ๑๘ กรรมาธิการกับภาค ถ้าภาคละ ๒ คนไม่ได้ ขอภาคละคนก็ยังดี เพราะตอนนี้ ทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขามีประธานภาคเขาอยู่แล้ว อันนี้ก็ทำให้เราสามารถทำงานง่ายขึ้นในการที่จะไปสื่อสาร เอาข้อสรุป เอาประเด็นใดที่จะเอาลงไปหรือไม่ลงไปนั้นต้องให้กรรมาธิการ (๓) เป็นคนออกแบบ เราคงไม่จำเป็นต้องลงไปทุกประเด็น คือถ้าเป็นอย่างนี้แล้วผมคิดว่าทำให้ การทำงานของเรามีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพราะเราลงไปทีหนึ่ง ๗๗ จังหวัดเลย แต่ว่าออกแบบโดยกรรมาธิการวิสามัญภาคการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่ามีส่วนสำคัญ อย่างทุกวันนี้ผมยืนยันว่าหลายจังหวัด เขาทำไปแล้ว ของผมจังหวัดชลบุรีผมก็ทำไปแล้ว แล้วก็ภาคประชาสังคมตอนนี้ เขาเข้มแข็งมาก แล้วเขาจิตอาสาครับเขาไม่สนใจเรื่องเงินงบประมาณอะไรต่าง ๆ โดยเฉพาะจังหวัดผมนะครับ จังหวัดอื่นผมไม่แน่ใจ เขาจิตอาสาครับ แล้วก็ผมตั้งเขาเป็น ผู้ช่วยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติประจำจังหวัดด้วย เขาก็ลงไปทำงานตามที่เราออกแบบให้ เขานะครับ แล้วก็มีกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งถ้าอย่างนี้มันก็ทำให้ช่วยการสื่อสารระหว่าง ทู เวย์ คอมมิวนิเคชั่น (Two way communication) ระหว่างสภากับประชาชน มันก็จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ถ้าลำพังอนุแค่ ๒๐ กว่าคนจะลงไปทุกจังหวัดมันเป็นไปไม่ได้ หรอกครับ มันเป็นไปไม่ได้ แล้วในขณะเดียวกันใน ๑๘ ด้าน ถ้าท่านมีผู้เชี่ยวชาญ จะลงไปจังหวัดไหนที่มีวิกฤติสูงคือว่าเป็นจังหวัดที่แรงอะไรอย่างนี้ท่านก็ลงไปช่วยได้ ช่วยเป็นจังหวัด ๆ ไปเฉพาะจังหวัดใหญ่ ๆ ส่วนจังหวัดเล็ก ๆ นั้นผมคิดว่าปัญหาต่าง ๆ นี้ ก็คงจะไม่ เขาเรียกไม่คอมพลิเคท (Complicate) หรือไม่วิกฤติอะไรมากนัก ก็จะทำให้ง่ายขึ้นนะครับ อันนี้ประเด็นที่ ๑

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ผมก็อาจจะต้องขอความร่วมมือกำลังร่างหนังสืออยู่ อันที่ ๑ อย่างที่มีสมาชิกหลายท่านบอกแล้วว่า เราต้องมีหนังสือจากประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ แห่งนี้เป็นทางการสักนิดหนึ่งถึงท่านประธานกรรมการการเลือกตั้ง เพราะตอนนี้ ผมกราบเรียนเลยครับ กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทุกจังหวัดทำหน้าที่เป็น ศูนย์รับข้อมูลของประชาชนให้เราเรียบร้อยแล้ว แต่ว่าเรายังไม่มีหนังสือเป็นทางการ ขอความร่วมมือเขาไปเลยนะครับ อันที่ ๒ ผมกำลังจะขอร่างหนังสือให้ท่านประธาน สภาปฏิรูปแห่งชาติแห่งนี้มีหนังสือขอความร่วมมือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้ความร่วมมือกับ สปช. จังหวัด รวมถึงคณะกรรมาธิการ ๑๘ ด้าน เวลาที่ไปขอความร่วมมือเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นของชาวบ้านในพื้นที่ให้เขาสนับสนุนอย่างเต็มที่ และโดยปกติแล้วโดยนโยบาย ของรัฐบาลแล้วก็กำชับอยู่แล้วว่าผู้ว่าราชการจังหวัดต้องให้ความร่วมมือเรื่องนี้ด้วยครับ ผมขออนุญาตเสนอแค่นี้ครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ถูกต้องครับ ตัดภาค ตัดจังหวัด ออกไปเลยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ถูกต้องครับ

    อ่านในการประชุม

  • ถูกต้องครับ เหลือให้ตั้งอนุกรรมาธิการจังหวัด ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ เนื่องจาก คณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มีอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมปฏิรูปเชิงประเด็นขององค์กรที่สำคัญได้มีโอกาสไปรับฟัง การเสวนาในเรื่องนี้ ๒ ครั้ง เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม และวันที่ ๘ มกราคมที่ผ่านมา เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานในด้านนี้ กระผมจึงขออนุญาต ที่ประชุมแห่งสภานี้ได้ขอยื่นเอกสารประกอบในเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมในครั้งนี้ด้วยครับ ขออนุญาตครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ เนื่องจาก คณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มีอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมปฏิรูปเชิงประเด็นขององค์กรที่สำคัญได้มีโอกาสไปรับฟัง การเสวนาในเรื่องนี้ ๒ ครั้ง เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม และวันที่ ๘ มกราคมที่ผ่านมา เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานในด้านนี้ กระผมจึงขออนุญาต ที่ประชุมแห่งสภานี้ได้ขอยื่นเอกสารประกอบในเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมในครั้งนี้ด้วยครับ ขออนุญาตครับ

    อ่านในการประชุม

  • ชี้แจงข้างล่างเลยครับท่าน

    อ่านในการประชุม

  • ชี้แจงข้างล่างเลยครับท่าน

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายประชา เตรัตน์ ประธานกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนของสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยเหตุที่การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ซึ่งเป็นรอบใหม่ได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนเป็นจำนวนมาก ทางอนุกรรมาธิการ การมีส่วนร่วมปฏิรูปเชิงประเด็นขององค์กรที่สำคัญนั้นก็ได้มีโอกาสไปรับฟังในเวทีเสวนาของ วันที่ ๑๘ ธันวาคม โดยมีกลุ่มภาคนักวิชาการทั้งหลาย ๑ ครั้ง แล้วก็เวทีของเสวนา ภาคประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนเกี่ยวข้องในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ๓๐๐ ท่าน เมื่อวันที่ ๘ มกราคม บทสรุปทั้งหลายที่ผมนำเสนอนี้นั้นเป็นบทสรุปที่ได้จากเวทีเสวนานะครับ ผมจะขออนุญาตนำเสนอพร้อมกัน ขออนุญาตใช้เพาเวอร์พอยท์ในการนำเสนอผ่านทาง สภาแห่งนี้ แล้วสรุปสุดท้ายนั้นจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ในส่วนเอกสารที่ผมเรียนนำเสนอ เป็นส่วนที่ได้จากเวทีนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายประชา เตรัตน์ ประธานกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนของสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยเหตุที่การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ซึ่งเป็นรอบใหม่ได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนเป็นจำนวนมาก ทางอนุกรรมาธิการ การมีส่วนร่วมปฏิรูปเชิงประเด็นขององค์กรที่สำคัญนั้นก็ได้มีโอกาสไปรับฟังในเวทีเสวนาของ วันที่ ๑๘ ธันวาคม โดยมีกลุ่มภาคนักวิชาการทั้งหลาย ๑ ครั้ง แล้วก็เวทีของเสวนา ภาคประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนเกี่ยวข้องในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ๓๐๐ ท่าน เมื่อวันที่ ๘ มกราคม บทสรุปทั้งหลายที่ผมนำเสนอนี้นั้นเป็นบทสรุปที่ได้จากเวทีเสวนานะครับ ผมจะขออนุญาตนำเสนอพร้อมกัน ขออนุญาตใช้เพาเวอร์พอยท์ในการนำเสนอผ่านทาง สภาแห่งนี้ แล้วสรุปสุดท้ายนั้นจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ในส่วนเอกสารที่ผมเรียนนำเสนอ เป็นส่วนที่ได้จากเวทีนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • จากส่วนนักวิชาการในเวที วันที่ ๑๘ ธันวาคมนั้นได้สรุปว่าระบบการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม การให้สิทธิสำรวจและ ผลิตปิโตรเลียมของประเทศไทยใช้ระบบสัมปทานตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พุทธศักราช ๒๕๑๔ ซึ่งมีการแก้ไขหลายครั้ง ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อให้ดึงดูดความสนใจ และสร้างความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนของบริษัทน้ำมันระหว่างประเทศ มีลักษณะ เอื้อประโยชน์ให้กับผู้รับสัมปทานเป็นอย่างมาก จากการศึกษาของดอกเตอร์สมบัติ พฤฒิพงศภัค ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา ผู้กำกับดูแลสถาบันวิจัย รพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม และอาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่าระบบสัมปทานของไทยให้ความสำคัญผลประโยชน์ ที่รัฐจะได้รับที่เป็นตัวเงินคือค่าภาคหลวง ภาษี และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษเป็นหลัก มากกว่าจะคำนึงผลประโยชน์ที่สำคัญด้านอื่น โดยเฉพาะในเรื่องความเป็นเจ้าของของรัฐ ในปิโตรเลียมที่ผลิตได้ ซึ่งตามระบบสัมปทานของไทยนั้นปิโตรเลียมที่ผลิตได้ จะตกเป็นของผู้รับสัมปทานทั้งหมด เมื่อประชาชนหรือรัฐต้องการใช้ประโยชน์ ต้องจ่ายเงิน ซื้อกลับมาในราคาอิงตลาดโลก

    อ่านในการประชุม

  • จากส่วนนักวิชาการในเวที วันที่ ๑๘ ธันวาคมนั้นได้สรุปว่าระบบการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม การให้สิทธิสำรวจและ ผลิตปิโตรเลียมของประเทศไทยใช้ระบบสัมปทานตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พุทธศักราช ๒๕๑๔ ซึ่งมีการแก้ไขหลายครั้ง ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อให้ดึงดูดความสนใจ และสร้างความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนของบริษัทน้ำมันระหว่างประเทศ มีลักษณะ เอื้อประโยชน์ให้กับผู้รับสัมปทานเป็นอย่างมาก จากการศึกษาของดอกเตอร์สมบัติ พฤฒิพงศภัค ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา ผู้กำกับดูแลสถาบันวิจัย รพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม และอาจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่าระบบสัมปทานของไทยให้ความสำคัญผลประโยชน์ ที่รัฐจะได้รับที่เป็นตัวเงินคือค่าภาคหลวง ภาษี และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษเป็นหลัก มากกว่าจะคำนึงผลประโยชน์ที่สำคัญด้านอื่น โดยเฉพาะในเรื่องความเป็นเจ้าของของรัฐ ในปิโตรเลียมที่ผลิตได้ ซึ่งตามระบบสัมปทานของไทยนั้นปิโตรเลียมที่ผลิตได้ จะตกเป็นของผู้รับสัมปทานทั้งหมด เมื่อประชาชนหรือรัฐต้องการใช้ประโยชน์ ต้องจ่ายเงิน ซื้อกลับมาในราคาอิงตลาดโลก

    อ่านในการประชุม

  • นอกจากนี้ยังมีผลประโยชน์ในด้านอื่นที่ระบบสัมปทานไทยให้ความสำคัญ ค่อนข้างน้อย เช่น การมีสิทธิในข้อมูลปริมาณปิโตรเลียมที่แท้จริง หรือการมีส่วนร่วมของรัฐ ในการสำรวจและขุดเจาะผลิตปิโตรเลียม เป็นต้น ซึ่งสิ่งดังกล่าวมีมูลค่าสูงกว่าผลตอบแทนที่ รัฐจะได้เป็นตัวเงินมากมายนัก ผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ตัวเงินเหล่านี้จะได้รับจากระบบอื่นที่ไม่ใช่ ระบบสัมปทาน เช่น ระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียใช้อยู่ โดยเฉพาะ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบทุกประเทศล้วนแต่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า เวียดนาม และกัมพูชา เป็นต้น

    อ่านในการประชุม

  • นอกจากนี้ยังมีผลประโยชน์ในด้านอื่นที่ระบบสัมปทานไทยให้ความสำคัญ ค่อนข้างน้อย เช่น การมีสิทธิในข้อมูลปริมาณปิโตรเลียมที่แท้จริง หรือการมีส่วนร่วมของรัฐ ในการสำรวจและขุดเจาะผลิตปิโตรเลียม เป็นต้น ซึ่งสิ่งดังกล่าวมีมูลค่าสูงกว่าผลตอบแทนที่ รัฐจะได้เป็นตัวเงินมากมายนัก ผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ตัวเงินเหล่านี้จะได้รับจากระบบอื่นที่ไม่ใช่ ระบบสัมปทาน เช่น ระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียใช้อยู่ โดยเฉพาะ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกือบทุกประเทศล้วนแต่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า เวียดนาม และกัมพูชา เป็นต้น

    อ่านในการประชุม

  • นอกจากนี้การศึกษาของนักวิชาการยังพบปัญหาระบบของสัมปทานไทย ดังต่อไปนี้

    อ่านในการประชุม

  • นอกจากนี้การศึกษาของนักวิชาการยังพบปัญหาระบบของสัมปทานไทย ดังต่อไปนี้

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๑ รัฐไม่มีข้อมูลในปริมาณปิโตรเลียมเป็นของตัวเองก่อนเปิด สัมปทาน เนื่องจากรัฐไม่ได้ทำการสำรวจก่อน จึงมีข้อมูลน้อยทำให้ขาดอำนาจในการเจรจา ต่อรองผลประโยชน์ที่รัฐควรจะได้รับ และทำให้ขาดความโปร่งใส ไม่สามารถบริหารจัดการ และพัฒนาระบบการให้สิทธิในการผลิตปิโตรเลียมที่ดีกับระบบสัมปทานได้

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๑ รัฐไม่มีข้อมูลในปริมาณปิโตรเลียมเป็นของตัวเองก่อนเปิด สัมปทาน เนื่องจากรัฐไม่ได้ทำการสำรวจก่อน จึงมีข้อมูลน้อยทำให้ขาดอำนาจในการเจรจา ต่อรองผลประโยชน์ที่รัฐควรจะได้รับ และทำให้ขาดความโปร่งใส ไม่สามารถบริหารจัดการ และพัฒนาระบบการให้สิทธิในการผลิตปิโตรเลียมที่ดีกับระบบสัมปทานได้

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ ระบบสัมปทานของไทยไม่เอื้อต่อการแข่งขัน ไม่สร้างความเป็นธรรม ต่อผู้รับสัมปทานรายใหม่ เนื่องจากผู้รับสัมปทานรายเก่าที่มีแปลงข้างเคียงแปลงสัมปทาน ที่เปิดใหม่มีความได้เปรียบผู้ประมูลรายใหม่ เพราะมีข้อมูลมากกว่า จึงอาจก่อให้เกิดปัญหา การผูกขาดสัมปทานอยู่ในกลุ่มผู้รับสัมปทานรายเดิม ๆ เท่านั้น

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ ระบบสัมปทานของไทยไม่เอื้อต่อการแข่งขัน ไม่สร้างความเป็นธรรม ต่อผู้รับสัมปทานรายใหม่ เนื่องจากผู้รับสัมปทานรายเก่าที่มีแปลงข้างเคียงแปลงสัมปทาน ที่เปิดใหม่มีความได้เปรียบผู้ประมูลรายใหม่ เพราะมีข้อมูลมากกว่า จึงอาจก่อให้เกิดปัญหา การผูกขาดสัมปทานอยู่ในกลุ่มผู้รับสัมปทานรายเดิม ๆ เท่านั้น

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๓ รัฐได้รับส่วนแบ่งรายได้แบบถดถอย สัมปทานไทยมีการเก็บ ส่วนแบ่งรายได้ของรัฐหลังหักค่าใช้จ่ายด้วยภาษีร้อยละ ๕๐ ของกำไรสุทธิเป็นอัตราเดียว จึงทำให้รัฐได้แบ่งส่วนแบ่งถดถอยคือ ไม่ว่าโครงการจะได้กำไรน้อยหรือมาก รัฐก็เก็บภาษี ในอัตราเดียว ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบแบ่งปันผลผลิตของประเทศมาเลเซียที่ออกแบบ ส่วนแบ่งกำไรนั้นแบบขั้นบันไดตามอัตรากำไร กำไรน้อยก็จ่ายรัฐน้อย กำไรมากก็ต้องจ่าย รัฐมาก ทำให้มีความยืดหยุ่นกว่าสัมปทานของประเทศไทย จึงเกิดความเป็นธรรมมากกว่า ทั้งต่อรัฐและต่อผู้รับสัมปทานเอง

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๓ รัฐได้รับส่วนแบ่งรายได้แบบถดถอย สัมปทานไทยมีการเก็บ ส่วนแบ่งรายได้ของรัฐหลังหักค่าใช้จ่ายด้วยภาษีร้อยละ ๕๐ ของกำไรสุทธิเป็นอัตราเดียว จึงทำให้รัฐได้แบ่งส่วนแบ่งถดถอยคือ ไม่ว่าโครงการจะได้กำไรน้อยหรือมาก รัฐก็เก็บภาษี ในอัตราเดียว ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบแบ่งปันผลผลิตของประเทศมาเลเซียที่ออกแบบ ส่วนแบ่งกำไรนั้นแบบขั้นบันไดตามอัตรากำไร กำไรน้อยก็จ่ายรัฐน้อย กำไรมากก็ต้องจ่าย รัฐมาก ทำให้มีความยืดหยุ่นกว่าสัมปทานของประเทศไทย จึงเกิดความเป็นธรรมมากกว่า ทั้งต่อรัฐและต่อผู้รับสัมปทานเอง

    อ่านในการประชุม

  • อีกประการหนึ่งปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินปิโตรเลียม นักวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ศึกษาพบว่าบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พุทธศักราช ๒๕๑๔ ซึ่งมีการแก้ไขหลายครั้ง แต่ยังมีหลายบท หลายมาตราที่ยังเป็นปัญหาและเป็นอุปสรรคต่อการจัดเก็บภาษี เช่น ปัญหาการยกเว้นภาษี เงินปันผลและส่วนแบ่งกำไร ซึ่งอาจเป็นช่องทางให้มีการโอนกำไรในรูปของดอกเบี้ยให้แก่ ผู้รับในต่างประเทศ

    อ่านในการประชุม

  • อีกประการหนึ่งปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินปิโตรเลียม นักวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ศึกษาพบว่าบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พุทธศักราช ๒๕๑๔ ซึ่งมีการแก้ไขหลายครั้ง แต่ยังมีหลายบท หลายมาตราที่ยังเป็นปัญหาและเป็นอุปสรรคต่อการจัดเก็บภาษี เช่น ปัญหาการยกเว้นภาษี เงินปันผลและส่วนแบ่งกำไร ซึ่งอาจเป็นช่องทางให้มีการโอนกำไรในรูปของดอกเบี้ยให้แก่ ผู้รับในต่างประเทศ

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาการแยกเก็บหรือคำนวณภาษี การโอนกิจการปิโตรเลียมอาจเป็น ช่องทางให้ผู้ประกอบการเลี่ยงภาษีจากเงินได้สุทธิโดยวิธีกำหนดค่าตอบแทนแก่กัน และอาจทำให้รัฐจัดเก็บภาษีได้น้อยหรือช้าลง

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาการแยกเก็บหรือคำนวณภาษี การโอนกิจการปิโตรเลียมอาจเป็น ช่องทางให้ผู้ประกอบการเลี่ยงภาษีจากเงินได้สุทธิโดยวิธีกำหนดค่าตอบแทนแก่กัน และอาจทำให้รัฐจัดเก็บภาษีได้น้อยหรือช้าลง

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาการหักค่าใช้จ่าย อาจมีการสร้างค่าใช้จ่ายเทียมในต่างประเทศ ที่ไม่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาหักในการคำนวณภาษี

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาการหักค่าใช้จ่าย อาจมีการสร้างค่าใช้จ่ายเทียมในต่างประเทศ ที่ไม่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาหักในการคำนวณภาษี

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาการคำนวณกำไรสุทธิสัมปทานไทยบนฐานรายรับ รายจ่ายจาก แปลงสัมปทานรวมทุกแปลง ทำให้ฐานรายจ่ายกว้างขึ้น กำไรสุทธิน้อยลง

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาการคำนวณกำไรสุทธิสัมปทานไทยบนฐานรายรับ รายจ่ายจาก แปลงสัมปทานรวมทุกแปลง ทำให้ฐานรายจ่ายกว้างขึ้น กำไรสุทธิน้อยลง

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาจากสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยทำกับ รัฐบาลต่างประเทศ อาจทำให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บรายได้จากทรัพยากรตามที่กำหนดไว้ใน กฎหมาย

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาจากสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยทำกับ รัฐบาลต่างประเทศ อาจทำให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บรายได้จากทรัพยากรตามที่กำหนดไว้ใน กฎหมาย

    อ่านในการประชุม

  • นอกจากนี้ระบบภาษียังสร้างความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้รับสัมปทานรายเก่า กับผู้รับสัมปทานรายใหม่ กล่าวคือ ผู้รับสัมปทานรายเก่าที่มีรายได้จากแปลงสัมปทานเดิม สามารถนำค่าใช้จ่ายในการสำรวจแปลงสัมปทานใหม่ที่ไม่พบปิโตรเลียมมาหักเป็น ค่าใช้จ่ายได้ จึงเท่ากับรัฐช่วยรับความเสี่ยงไปด้วย ทำให้ผู้รับสัมปทานรายเก่าได้เปรียบ ผู้รับสัมปทานรายใหม่ที่ไม่มีฐานรายได้จึงต้องรับความเสี่ยงไว้เองทั้งหมด

    อ่านในการประชุม

  • นอกจากนี้ระบบภาษียังสร้างความไม่เป็นธรรมระหว่างผู้รับสัมปทานรายเก่า กับผู้รับสัมปทานรายใหม่ กล่าวคือ ผู้รับสัมปทานรายเก่าที่มีรายได้จากแปลงสัมปทานเดิม สามารถนำค่าใช้จ่ายในการสำรวจแปลงสัมปทานใหม่ที่ไม่พบปิโตรเลียมมาหักเป็น ค่าใช้จ่ายได้ จึงเท่ากับรัฐช่วยรับความเสี่ยงไปด้วย ทำให้ผู้รับสัมปทานรายเก่าได้เปรียบ ผู้รับสัมปทานรายใหม่ที่ไม่มีฐานรายได้จึงต้องรับความเสี่ยงไว้เองทั้งหมด

    อ่านในการประชุม

  • จากการเสวนาภาคประชาชนในเวทีเมื่อวันที่ ๘ มกราคม

    อ่านในการประชุม

  • จากการเสวนาภาคประชาชนในเวทีเมื่อวันที่ ๘ มกราคม

    อ่านในการประชุม

  • ภาคประชาชนเห็นว่าไม่ได้รับประโยชน์จากระบบสัมปทานปิโตรเลียม ที่รัฐดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้

    อ่านในการประชุม

  • ภาคประชาชนเห็นว่าไม่ได้รับประโยชน์จากระบบสัมปทานปิโตรเลียม ที่รัฐดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๑ ด้านราคาพลังงาน ภายใต้ระบบสัมปทานปิโตรเลียมของ ประเทศไทย ประชาชนต้องซื้อก๊าซและน้ำมันที่ผลิตได้ในประเทศในราคาที่เหมือน หรือแทบไม่ต่างจากราคานำเข้า เสมือนว่าไม่ใช่ทรัพยากรของตัวเอง จึงไม่เห็นความแตกต่างว่า จะต้องเปิดสัมปทานเพื่อผลิตปิโตรเลียมในประเทศไปเพื่ออะไร

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๑ ด้านราคาพลังงาน ภายใต้ระบบสัมปทานปิโตรเลียมของ ประเทศไทย ประชาชนต้องซื้อก๊าซและน้ำมันที่ผลิตได้ในประเทศในราคาที่เหมือน หรือแทบไม่ต่างจากราคานำเข้า เสมือนว่าไม่ใช่ทรัพยากรของตัวเอง จึงไม่เห็นความแตกต่างว่า จะต้องเปิดสัมปทานเพื่อผลิตปิโตรเลียมในประเทศไปเพื่ออะไร

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ ผลกระทบในพื้นที่ที่มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ปัญหาจากการสำรวจ เช่น ที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์มีการละเมิดสิทธิของชาวบ้านในการ เข้าไปขุดเจาะสำรวจ โดยการลากสายวางระเบิดเพื่อทำการสำรวจกว่า ๑๓,๐๐๐ ลูก ที่จังหวัดบุรีรัมย์วางระเบิดเพื่อทำการสำรวจ ๖,๙๐๐ ลูก ทำให้ชาวบ้านอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับผลกระทบบ้านเรือนชำรุดเสียหาย ผนังบ้านแตกร้าว พื้นดินทรุด เป็นต้น

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ ผลกระทบในพื้นที่ที่มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ปัญหาจากการสำรวจ เช่น ที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์มีการละเมิดสิทธิของชาวบ้านในการ เข้าไปขุดเจาะสำรวจ โดยการลากสายวางระเบิดเพื่อทำการสำรวจกว่า ๑๓,๐๐๐ ลูก ที่จังหวัดบุรีรัมย์วางระเบิดเพื่อทำการสำรวจ ๖,๙๐๐ ลูก ทำให้ชาวบ้านอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับผลกระทบบ้านเรือนชำรุดเสียหาย ผนังบ้านแตกร้าว พื้นดินทรุด เป็นต้น

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๓ ปัญหาจากการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในพื้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปัญหาที่สำคัญคือด้านสุขภาพ ชาวบ้านจากจังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี เกิดอาการปากเบี้ยว เป็นโรคทางระบบประสาท เป็นโรคเกี่ยวกับ ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นผลจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือก๊าซไข่เน่าที่มาจากการขุดเจาะ ผลิตก๊าซธรรมชาติที่ขาดระบบป้องกันตามมาตรฐานสากล

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๓ ปัญหาจากการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในพื้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปัญหาที่สำคัญคือด้านสุขภาพ ชาวบ้านจากจังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี เกิดอาการปากเบี้ยว เป็นโรคทางระบบประสาท เป็นโรคเกี่ยวกับ ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นผลจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือก๊าซไข่เน่าที่มาจากการขุดเจาะ ผลิตก๊าซธรรมชาติที่ขาดระบบป้องกันตามมาตรฐานสากล

    อ่านในการประชุม

  • ในด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าน้ำในพื้นที่ขุดเจาะ จังหวัดอุดรธานี ไม่สามารถ นำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ ในบริเวณชายฝั่งทะเลสิชล พบคราบน้ำคล้ายก้อนน้ำมันดิบ ลอยมาเกาะติดตามชายฝั่งทะเล อันส่งผลเสียต่อการประมงของชาวบ้าน

    อ่านในการประชุม

  • ในด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าน้ำในพื้นที่ขุดเจาะ จังหวัดอุดรธานี ไม่สามารถ นำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ ในบริเวณชายฝั่งทะเลสิชล พบคราบน้ำคล้ายก้อนน้ำมันดิบ ลอยมาเกาะติดตามชายฝั่งทะเล อันส่งผลเสียต่อการประมงของชาวบ้าน

    อ่านในการประชุม

  • ด้านสังคม ชุมชนเกิดความไม่มั่นคงในการประกอบอาชีพและรายได้ เนื่องจากถูกรบกวนจากการดำเนินงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียม อาทิเช่น การตั้งแท่น ขุดเจาะผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย ทำให้เกิดการกีดขวางการประกอบอาชีพ การประมงบางส่วน ขณะที่การชดเชยเยียวยา ชาวบ้านเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพที่จังหวัดกาฬสินธุ์ได้รับเงินชดเชยจาก บริษัทผู้รับสัมปทานเพียงรายละ ๓,๐๐๐ บาทเท่านั้น และต้องเป็นผู้รับภาระในการพิสูจน์ ถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง

    อ่านในการประชุม

  • ด้านสังคม ชุมชนเกิดความไม่มั่นคงในการประกอบอาชีพและรายได้ เนื่องจากถูกรบกวนจากการดำเนินงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียม อาทิเช่น การตั้งแท่น ขุดเจาะผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย ทำให้เกิดการกีดขวางการประกอบอาชีพ การประมงบางส่วน ขณะที่การชดเชยเยียวยา ชาวบ้านเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพที่จังหวัดกาฬสินธุ์ได้รับเงินชดเชยจาก บริษัทผู้รับสัมปทานเพียงรายละ ๓,๐๐๐ บาทเท่านั้น และต้องเป็นผู้รับภาระในการพิสูจน์ ถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง

    อ่านในการประชุม

  • ประการสุดท้าย การที่ภาคประชาชนขาดการมีส่วนร่วมในการประกอบ กิจการปิโตรเลียม อาทิเช่น การสำรวจปิโตรเลียม ชาวบ้านในพื้นที่ไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่มีการแจ้งหรือรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนก่อน แม้มีการกำหนดให้การประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่ก็มิได้มีการให้ข้อมูลชาวบ้านอย่างเพียงพอ และยังใช้การจูงใจ ด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต ด้วยการให้ของกำนัลแก่ชาวบ้านเพื่อแลกกับการลงชื่อรับทราบ การดำเนินการสำรวจปิโตรเลียม

    อ่านในการประชุม

  • ประการสุดท้าย การที่ภาคประชาชนขาดการมีส่วนร่วมในการประกอบ กิจการปิโตรเลียม อาทิเช่น การสำรวจปิโตรเลียม ชาวบ้านในพื้นที่ไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่มีการแจ้งหรือรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนก่อน แม้มีการกำหนดให้การประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่ก็มิได้มีการให้ข้อมูลชาวบ้านอย่างเพียงพอ และยังใช้การจูงใจ ด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต ด้วยการให้ของกำนัลแก่ชาวบ้านเพื่อแลกกับการลงชื่อรับทราบ การดำเนินการสำรวจปิโตรเลียม

    อ่านในการประชุม

  • ข้อเสนอแนะจากการรับฟังทั้ง ๒ เวที

    อ่านในการประชุม

  • ข้อเสนอแนะจากการรับฟังทั้ง ๒ เวที

    อ่านในการประชุม

  • กรณีการเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๑ นักวิชาการและภาคประชาชนเห็นว่า รัฐบาลควรชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ และให้รัฐบาลดำเนินการ ดังต่อไปนี้

    อ่านในการประชุม

  • กรณีการเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๑ นักวิชาการและภาคประชาชนเห็นว่า รัฐบาลควรชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ และให้รัฐบาลดำเนินการ ดังต่อไปนี้

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๑ ให้แยกการสำรวจกับการผลิตออกจากกัน โดยให้รัฐเป็น ผู้ทำการสำรวจปิโตรเลียมเองเสียก่อน เพื่อให้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการเปิดประมูล ในการให้สิทธิผลิตปิโตรเลียมอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๑ ให้แยกการสำรวจกับการผลิตออกจากกัน โดยให้รัฐเป็น ผู้ทำการสำรวจปิโตรเลียมเองเสียก่อน เพื่อให้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการเปิดประมูล ในการให้สิทธิผลิตปิโตรเลียมอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ ให้รัฐเร่งดำเนินการใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตแทนระบบสัมปทาน เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรที่แท้จริงได้ผลผลิต และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชาติอย่างสูงสุด ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ในภาพรวม ของการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมของประเทศไทยแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นยังมีความสอดคล้องกับ ระบบปิโตรเลียมในประชาคมอาเซียน (ASEAN) ซึ่งใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิต ซึ่งหากการทำสัญญาหรือข้อตกลงใด ๆ ในกิจการปิโตรเลียมจะได้เป็นระบบเดียวกัน ทั้งอาเซียน

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ ให้รัฐเร่งดำเนินการใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตแทนระบบสัมปทาน เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรที่แท้จริงได้ผลผลิต และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของชาติอย่างสูงสุด ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ในภาพรวม ของการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมของประเทศไทยแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นยังมีความสอดคล้องกับ ระบบปิโตรเลียมในประชาคมอาเซียน (ASEAN) ซึ่งใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิต ซึ่งหากการทำสัญญาหรือข้อตกลงใด ๆ ในกิจการปิโตรเลียมจะได้เป็นระบบเดียวกัน ทั้งอาเซียน

    อ่านในการประชุม

  • กรณีการบริหารจัดการระบบปิโตรเลียม

    อ่านในการประชุม

  • กรณีการบริหารจัดการระบบปิโตรเลียม

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๑ จะต้องมีการบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ให้กำหนด ในกฎหมายให้ชัดเจนว่า ทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นสมบัติของประเทศและของชาวไทย รัฐในฐานะตัวแทนจะเป็นผู้กำกับดูแล นำขึ้นมาใช้ประโยชน์เพื่อบำรุงความสุขและ ความอยู่ดีกินดีของชาติและประชาชนสูงสุดเท่านั้น

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๑ จะต้องมีการบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ให้กำหนด ในกฎหมายให้ชัดเจนว่า ทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นสมบัติของประเทศและของชาวไทย รัฐในฐานะตัวแทนจะเป็นผู้กำกับดูแล นำขึ้นมาใช้ประโยชน์เพื่อบำรุงความสุขและ ความอยู่ดีกินดีของชาติและประชาชนสูงสุดเท่านั้น

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ ควรแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม การเปลี่ยนแปลงจาก ระบบสัมปทานเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตของไทย จะต้องทำการยกเลิกกฎหมายปิโตรเลียม และออกพระราชบัญญัติฉบับใหม่ โดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียมฉบับใหม่สามารถกำหนดให้ ใช้ระบบการให้สิทธิอื่น ๆ นอกจากระบบแบ่งปันผลผลิตได้ด้วย

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ ควรแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียม การเปลี่ยนแปลงจาก ระบบสัมปทานเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตของไทย จะต้องทำการยกเลิกกฎหมายปิโตรเลียม และออกพระราชบัญญัติฉบับใหม่ โดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียมฉบับใหม่สามารถกำหนดให้ ใช้ระบบการให้สิทธิอื่น ๆ นอกจากระบบแบ่งปันผลผลิตได้ด้วย

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๓ การจัดตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติ โดยมีบทบัญญัติให้กรรมสิทธิ์ ในปิโตรเลียมและสิทธิในการสำรวจและผลผลิตปิโตรเลียม รวมทั้งการเก็บรักษาปิโตรเลียม ไม่ว่าบนบกหรือในทะเลเป็นของบริษัทน้ำมันแห่งชาติ และมีอำนาจหน้าที่ภายใต้บังคับของ พระราชบัญญัติปิโตรเลียมฉบับใหม่ โดยมีการจัดตั้งบริษัทย่อยของบริษัทน้ำมันแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ในการเข้าร่วมทุนกับเอกชนคู่สัญญา โดยบริษัทย่อยดังกล่าวกับเอกชนคู่สัญญา อยู่ในลักษณะของสัญญาร่วมดำเนินการ

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๓ การจัดตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติ โดยมีบทบัญญัติให้กรรมสิทธิ์ ในปิโตรเลียมและสิทธิในการสำรวจและผลผลิตปิโตรเลียม รวมทั้งการเก็บรักษาปิโตรเลียม ไม่ว่าบนบกหรือในทะเลเป็นของบริษัทน้ำมันแห่งชาติ และมีอำนาจหน้าที่ภายใต้บังคับของ พระราชบัญญัติปิโตรเลียมฉบับใหม่ โดยมีการจัดตั้งบริษัทย่อยของบริษัทน้ำมันแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ในการเข้าร่วมทุนกับเอกชนคู่สัญญา โดยบริษัทย่อยดังกล่าวกับเอกชนคู่สัญญา อยู่ในลักษณะของสัญญาร่วมดำเนินการ

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๔ จัดให้มีสภาพลังงานประชาชนและกองทุนเพื่อพัฒนาปิโตรเลียม ในกฎหมายปิโตรเลียมฉบับใหม่ให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ เพื่อให้ประชาชนได้มีสิทธิ มีส่วนร่วมทางตรงในการกำหนดนโยบาย ผลประโยชน์ และเรื่องต่าง ๆ ของประเทศชาติ ที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ทรัพยากรพลังงาน และการใช้ประโยชน์จากสิ่งดังกล่าว และนอกจากนี้ การเยียวยาและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกิจการปิโตรเลียมด้วย

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๔ จัดให้มีสภาพลังงานประชาชนและกองทุนเพื่อพัฒนาปิโตรเลียม ในกฎหมายปิโตรเลียมฉบับใหม่ให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ เพื่อให้ประชาชนได้มีสิทธิ มีส่วนร่วมทางตรงในการกำหนดนโยบาย ผลประโยชน์ และเรื่องต่าง ๆ ของประเทศชาติ ที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ทรัพยากรพลังงาน และการใช้ประโยชน์จากสิ่งดังกล่าว และนอกจากนี้ การเยียวยาและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกิจการปิโตรเลียมด้วย

    อ่านในการประชุม

  • ประการสุดท้าย การเปิดเผยข้อมูลในสัญญา แปลงปิโตรเลียมที่ดำเนินการ ไปแล้วให้เปิดเผยสัมปทานทุกฉบับ และให้เปิดเผยข้อมูลในทุกแปลงสัมปทาน ได้แก่ ส่วนแบ่งรายได้ของรัฐ กำไรต่อการลงทุน ผลตอบแทนโครงการ รายได้รัฐเป็นแบบถดถอย หรือแบบก้าวหน้า สปช. ๔/๒๕๔๘ ศิริพร ๓๗/๑ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการจัดการและการตรวจสอบในอนาคตในแปลงปิโตรเลียมที่ยังไม่ได้ ดำเนินการให้รัฐทำการสำรวจเสียก่อน เพื่อประโยชน์ในการวางนโยบายที่ถูกต้อง เป็นการลดความเสี่ยงในการจัดการ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ทรัพยากรของชาติ และต้องทำการเปิดเผยข้อมูลให้แก่ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง

    อ่านในการประชุม

  • ประการสุดท้าย การเปิดเผยข้อมูลในสัญญา แปลงปิโตรเลียมที่ดำเนินการ ไปแล้วให้เปิดเผยสัมปทานทุกฉบับ และให้เปิดเผยข้อมูลในทุกแปลงสัมปทาน ได้แก่ ส่วนแบ่งรายได้ของรัฐ กำไรต่อการลงทุน ผลตอบแทนโครงการ รายได้รัฐเป็นแบบถดถอย หรือแบบก้าวหน้า สปช. ๔/๒๕๔๘ ศิริพร ๓๗/๑ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการจัดการและการตรวจสอบในอนาคตในแปลงปิโตรเลียมที่ยังไม่ได้ ดำเนินการให้รัฐทำการสำรวจเสียก่อน เพื่อประโยชน์ในการวางนโยบายที่ถูกต้อง เป็นการลดความเสี่ยงในการจัดการ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ทรัพยากรของชาติ และต้องทำการเปิดเผยข้อมูลให้แก่ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง

    อ่านในการประชุม

  • อีกประการหนึ่ง การกำหนดพื้นที่ประกอบกิจการปิโตรเลียม พื้นที่การสำรวจ จะต้องอยู่ในระยะที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร พื้นที่การประมง และพื้นที่การท่องเที่ยว

    อ่านในการประชุม

  • อีกประการหนึ่ง การกำหนดพื้นที่ประกอบกิจการปิโตรเลียม พื้นที่การสำรวจ จะต้องอยู่ในระยะที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร พื้นที่การประมง และพื้นที่การท่องเที่ยว

    อ่านในการประชุม

  • และท้ายที่สุดการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยภาษีปิโตรเลียม ปัญหาในระบบ จัดเก็บภาษีปิโตรเลียมภายใต้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พุทธศักราช ๒๕๑๔ ให้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติต่าง ๆ ที่ยังเป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษี เงินได้ปิโตรเลียม และควรพิจารณาทั้งสำนักงานจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเป็นการเฉพาะ เพื่อสร้างความเป็นธรรมต่อเอกชนทุกราย และสร้างความเป็นธรรมต่อประชาชนในฐานะ เจ้าของทรัพยากรที่แท้จริงที่เป็นประโยชน์อันจะได้จากทรัพยากรของชาติ

    อ่านในการประชุม

  • และท้ายที่สุดการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยภาษีปิโตรเลียม ปัญหาในระบบ จัดเก็บภาษีปิโตรเลียมภายใต้พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พุทธศักราช ๒๕๑๔ ให้พิจารณาแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติต่าง ๆ ที่ยังเป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษี เงินได้ปิโตรเลียม และควรพิจารณาทั้งสำนักงานจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเป็นการเฉพาะ เพื่อสร้างความเป็นธรรมต่อเอกชนทุกราย และสร้างความเป็นธรรมต่อประชาชนในฐานะ เจ้าของทรัพยากรที่แท้จริงที่เป็นประโยชน์อันจะได้จากทรัพยากรของชาติ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านสมาชิกที่เคารพครับ นี่คือข้อเสนอทั้งหมดในเวทีเสวนาทั้งของนักวิชาการ และพี่น้องประชาชน โดยส่วนตัวผมนั้นผมคิดว่าข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เรามีการผลิตขุดเจาะแปลงสัมปทานต่าง ๆ มากมายตั้งแต่ปี ๒๕๒๔ จนถึงปี ๒๕๕๔ ๓๐ ปี เต็ม ๆ ใน ๓๐ ปีเต็ม ๆ นั้นมูลค่าของทั้งแก๊ส ทั้งปิโตรเลียมที่ขุดขึ้นมานั้นมีมูลค่า ๓.๔๑๕ ล้านล้านบาท ถ้าเราคิดเป็นแบบระบบแบ่งปันผลผลิตครึ่ง ๆ ๕๐ ๕๐ รัฐควรจะได้ รายได้ตรงนี้ ๑.๗ ล้านล้านบาท แต่เนื่องจากรัฐใช้วิธีการให้สัมปทาน เราต้องถูกหักค่าใช้จ่าย ต้นทุนซึ่งเป็นข้อตกลงที่รัฐให้ผู้รับสัมปทานหักค่าใช้จ่ายต้นทุน เขาหักไป ๑.๔๖๑ ล้านล้านบาท หรือประมาณ ๔๒.๘ เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นรายได้หลังหักต้นทุนแล้วก็จะเหลือ ๑.๙๕๔ ล้านล้านบาท ใน ๑.๙๕๔ ล้านล้านบาท รายได้สุทธิที่รัฐจะได้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ก็เพียง ๙๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ใน ๓๐ ปี อันนี้เป็นข้อมูลที่ผมได้รับจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ขอความกรุณาขึ้นเพาเวอร์พอยต์ แผ่นสุดท้ายครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านสมาชิกที่เคารพครับ นี่คือข้อเสนอทั้งหมดในเวทีเสวนาทั้งของนักวิชาการ และพี่น้องประชาชน โดยส่วนตัวผมนั้นผมคิดว่าข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เรามีการผลิตขุดเจาะแปลงสัมปทานต่าง ๆ มากมายตั้งแต่ปี ๒๕๒๔ จนถึงปี ๒๕๕๔ ๓๐ ปี เต็ม ๆ ใน ๓๐ ปีเต็ม ๆ นั้นมูลค่าของทั้งแก๊ส ทั้งปิโตรเลียมที่ขุดขึ้นมานั้นมีมูลค่า ๓.๔๑๕ ล้านล้านบาท ถ้าเราคิดเป็นแบบระบบแบ่งปันผลผลิตครึ่ง ๆ ๕๐ ๕๐ รัฐควรจะได้ รายได้ตรงนี้ ๑.๗ ล้านล้านบาท แต่เนื่องจากรัฐใช้วิธีการให้สัมปทาน เราต้องถูกหักค่าใช้จ่าย ต้นทุนซึ่งเป็นข้อตกลงที่รัฐให้ผู้รับสัมปทานหักค่าใช้จ่ายต้นทุน เขาหักไป ๑.๔๖๑ ล้านล้านบาท หรือประมาณ ๔๒.๘ เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นรายได้หลังหักต้นทุนแล้วก็จะเหลือ ๑.๙๕๔ ล้านล้านบาท ใน ๑.๙๕๔ ล้านล้านบาท รายได้สุทธิที่รัฐจะได้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ก็เพียง ๙๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ใน ๓๐ ปี อันนี้เป็นข้อมูลที่ผมได้รับจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ขอความกรุณาขึ้นเพาเวอร์พอยต์ แผ่นสุดท้ายครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านสมาชิกที่เคารพครับ เรามาเปรียบเทียบผลประโยชน์เข้ารัฐในระหว่าง ภูมิภาคอาเซียน เราคิด ประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา พม่าและเวียดนาม คิดเป็นตัวเลขง่าย ๆ สมมุติว่าเราได้ผลผลิตมูลค่าขุดจากพื้นแผ่นดินเขามาในสมมุติว่า ๑๐๐ บาท ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ค่าใช้จ่ายทุกประเทศเราหักเท่ากับ ๑๙.๙๐ ๑๙.๙๐ ค่าภาคหลวงประเทศไทยช่วงไทยแลนด์วัน สปช. ๔/๒๕๔๘ ศิริพร ๓๗/๒ ก็เท่าไรไม่ทราบ แต่ไทยแลนด์ทรีนี่คือ ๕-๑๕ เปอร์เซ็นต์ ของมาเลเซียเขา ๑๐ เปอร์เซ็นต์ กัมพูชา ๑๒.๕ เปอร์เซ็นต์ ของพม่า ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เวียดนาม ๑๕.๕ เปอร์เซ็นต์ เขาก็มี ค่าภาคหลวงเหมือนกัน แต่เขามีส่วนแบ่งกำไรของรัฐ แต่ของไทยใช้ระบบเป็นภาษีเงินได้ ส่วนแบ่งกำไรของรัฐท่านไปดูช่องประเทศมาเลเซียนะครับ หลังจากพอหักค่าใช้จ่าย ๑๙.๙ เราก็จะเหลือส่วนที่เป็นกำไรสุทธิคือ ๘๐.๑ ๘๐.๑ มาเลเซียคิดแบ่งส่วนแบ่งกำไรเข้ารัฐถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ครับ ของกัมพูชา ๕๕ เปอร์เซ็นต์ ของพม่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ของเวียดนาม ๗๓ เปอร์เซ็นต์ ผมก็สงสัยทำไมประเทศไทยเกิดอะไรขึ้น ถ้าบอกว่าทำแบบแบ่งปันผลประโยชน์ มันจะยุ่งยากทำให้ช้าไปอีก ๓ ปี ๕ ปี ผมคิดว่าเราคงสามารถเอาข้อมูลจากประเทศเหล่านี้ ไม่ว่ามาเลเซีย กัมพูชา พม่า มาศึกษาได้ ผมคิดว่าไม่เกิน ๖ เดือนเราก็ทำได้ แล้วข้อเท็จจริง มันควรจะต้องย้อนหลังไป ๒๐ แปลงทั้งหมด มันก็ต้องรื้อทั้งหมด ต้องปรับระบบใหม่ แล้วก็หาผลประโยชน์ที่เป็นของแผ่นดินของชาติที่สูงสุด เราขุดทรัพยากรจากใต้ดินขึ้นมา นี่ขนาดอยู่ในทะเลเป็นส่วนใหญ่นะครับ มลภาวะทั้งหลายบางทีเราอาจจะมองไม่เห็น แต่ถ้าท่านเริ่มให้สัมปทานบนบกเมื่อไรภาคอีสานจะเริ่มต้นนี่ สิ่งแวดล้อม ปัญหาทั้งหลาย จะตามมาอีกมากมาย มันต้องคิดว่ามูลค่าที่ขึ้นได้เราเก็บประโยชน์จากเขามันคุ้มค่าไหม กับพี่น้องประชาชนต้องเสี่ยงตลอด ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ เรื่องสุขศึกษา เรื่องสิ่งแวดล้อม ผมมั่นใจว่าเรื่องเหล่านี้นักวิชาการประเทศไทยเก่งเยอะ มีโอกาสศึกษาได้เร็วแล้วก็ออกกฎหมาย ได้เร็ว เรื่องนี้ที่บอกว่าไม่ใช่เรื่องปฏิรูป ผมขอยืนยันว่าเป็นเรื่องปฏิรูปอย่างแท้จริง เราปล่อยให้ทรัพยากรของแผ่นดิน ถูกคนต่างประเทศร่วมกับคนภายในประเทศ นักลงทุนภายในประเทศบางท่านหลายท่าน นะครับ ได้สูบเอาทรัพยากรของแผ่นดินเข้าไปเป็นผลประโยชน์ส่วนตัวมานานพอสมควรแล้ว ผมยังคิดว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลก็ดี สภาปฏิรูปแห่งชาติก็ดีควรจะต้องพิจารณาให้ชัดเจนว่า ระบบแบบไหนมันเกิดประโยชน์ต่อชาติและต่อประชาชนสูงสุด มันจะต้องเยิ่นเย้อไปอีก สักปีสองปี ผมคิดว่าก็จำเป็น เพราะถ้าเยิ่นเย้อไปแล้วนี่แผ่นดินได้ประโยชน์สูงสุดก็ต้องยอม สิ่งเหล่านี้จึงกราบเรียนให้พิจารณาในภาพรวม ผมจึงขออนุญาตเสนอภาพรวมในส่วนที่ กรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนได้ไปรับมา ในส่วนหนึ่ง ขอกราบขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านสมาชิกที่เคารพครับ เรามาเปรียบเทียบผลประโยชน์เข้ารัฐในระหว่าง ภูมิภาคอาเซียน เราคิด ประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา พม่าและเวียดนาม คิดเป็นตัวเลขง่าย ๆ สมมุติว่าเราได้ผลผลิตมูลค่าขุดจากพื้นแผ่นดินเขามาในสมมุติว่า ๑๐๐ บาท ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ค่าใช้จ่ายทุกประเทศเราหักเท่ากับ ๑๙.๙๐ ๑๙.๙๐ ค่าภาคหลวงประเทศไทยช่วงไทยแลนด์วัน สปช. ๔/๒๕๔๘ ศิริพร ๓๗/๒ ก็เท่าไรไม่ทราบ แต่ไทยแลนด์ทรีนี่คือ ๕-๑๕ เปอร์เซ็นต์ ของมาเลเซียเขา ๑๐ เปอร์เซ็นต์ กัมพูชา ๑๒.๕ เปอร์เซ็นต์ ของพม่า ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เวียดนาม ๑๕.๕ เปอร์เซ็นต์ เขาก็มี ค่าภาคหลวงเหมือนกัน แต่เขามีส่วนแบ่งกำไรของรัฐ แต่ของไทยใช้ระบบเป็นภาษีเงินได้ ส่วนแบ่งกำไรของรัฐท่านไปดูช่องประเทศมาเลเซียนะครับ หลังจากพอหักค่าใช้จ่าย ๑๙.๙ เราก็จะเหลือส่วนที่เป็นกำไรสุทธิคือ ๘๐.๑ ๘๐.๑ มาเลเซียคิดแบ่งส่วนแบ่งกำไรเข้ารัฐถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ครับ ของกัมพูชา ๕๕ เปอร์เซ็นต์ ของพม่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ของเวียดนาม ๗๓ เปอร์เซ็นต์ ผมก็สงสัยทำไมประเทศไทยเกิดอะไรขึ้น ถ้าบอกว่าทำแบบแบ่งปันผลประโยชน์ มันจะยุ่งยากทำให้ช้าไปอีก ๓ ปี ๕ ปี ผมคิดว่าเราคงสามารถเอาข้อมูลจากประเทศเหล่านี้ ไม่ว่ามาเลเซีย กัมพูชา พม่า มาศึกษาได้ ผมคิดว่าไม่เกิน ๖ เดือนเราก็ทำได้ แล้วข้อเท็จจริง มันควรจะต้องย้อนหลังไป ๒๐ แปลงทั้งหมด มันก็ต้องรื้อทั้งหมด ต้องปรับระบบใหม่ แล้วก็หาผลประโยชน์ที่เป็นของแผ่นดินของชาติที่สูงสุด เราขุดทรัพยากรจากใต้ดินขึ้นมา นี่ขนาดอยู่ในทะเลเป็นส่วนใหญ่นะครับ มลภาวะทั้งหลายบางทีเราอาจจะมองไม่เห็น แต่ถ้าท่านเริ่มให้สัมปทานบนบกเมื่อไรภาคอีสานจะเริ่มต้นนี่ สิ่งแวดล้อม ปัญหาทั้งหลาย จะตามมาอีกมากมาย มันต้องคิดว่ามูลค่าที่ขึ้นได้เราเก็บประโยชน์จากเขามันคุ้มค่าไหม กับพี่น้องประชาชนต้องเสี่ยงตลอด ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ เรื่องสุขศึกษา เรื่องสิ่งแวดล้อม ผมมั่นใจว่าเรื่องเหล่านี้นักวิชาการประเทศไทยเก่งเยอะ มีโอกาสศึกษาได้เร็วแล้วก็ออกกฎหมาย ได้เร็ว เรื่องนี้ที่บอกว่าไม่ใช่เรื่องปฏิรูป ผมขอยืนยันว่าเป็นเรื่องปฏิรูปอย่างแท้จริง เราปล่อยให้ทรัพยากรของแผ่นดิน ถูกคนต่างประเทศร่วมกับคนภายในประเทศ นักลงทุนภายในประเทศบางท่านหลายท่าน นะครับ ได้สูบเอาทรัพยากรของแผ่นดินเข้าไปเป็นผลประโยชน์ส่วนตัวมานานพอสมควรแล้ว ผมยังคิดว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลก็ดี สภาปฏิรูปแห่งชาติก็ดีควรจะต้องพิจารณาให้ชัดเจนว่า ระบบแบบไหนมันเกิดประโยชน์ต่อชาติและต่อประชาชนสูงสุด มันจะต้องเยิ่นเย้อไปอีก สักปีสองปี ผมคิดว่าก็จำเป็น เพราะถ้าเยิ่นเย้อไปแล้วนี่แผ่นดินได้ประโยชน์สูงสุดก็ต้องยอม สิ่งเหล่านี้จึงกราบเรียนให้พิจารณาในภาพรวม ผมจึงขออนุญาตเสนอภาพรวมในส่วนที่ กรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนได้ไปรับมา ในส่วนหนึ่ง ขอกราบขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ในเรื่องพลังงานซึ่งเป็นทรัพยากรส่วนหนึ่งของชาตินั้น จริง ๆ แล้วคงไม่ใช่แค่เรื่อง ทรัพยากรพลังงานและปิโตรเลียมอย่างเดียวที่จะต้องปฏิรูปหรือแก้ไขระเบียบกฎหมาย ทรัพยากรทุกตัวของแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นแร่ธาตุ ภูเขา ป่าไม้ ทั้งหมดล้วนจะต้องปฏิรูปทั้งสิ้น ประเทศไทยคนไทยเรานั้นถูกปิดหูปิดตาด้านข้อมูลมากมาย ถามว่าข้อมูลในเรื่องของ ปิโตรเลียมที่เรารับตัวเลขมาจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ตาม เราก็ยังไม่ทราบว่าตัวเลขที่ได้ มันเท็จจริงแค่ไหน กรรมาธิการพลังงานที่บอกว่าประเทศไทยเราแหล่งน้อยกระเปาะเล็ก กระเปาะไม่เท่าไร แต่ทำไมมีคนมาลงทุนเยอะแยะ แล้วข้อมูลที่ซีไอเอ (CIA) ก็ดีซึ่งเป็น หน่วยราชการลับของอเมริกาหรือซีไอเอหน่วยพลังงานของอเมริกาทำสถิติบอกว่า ประเทศไทยนั้นส่งออกก๊าซเป็นอันดับ ๒๔ ของโลก ส่งออกน้ำมันดิบเป็นลำดับ ๓๓ ของโลก แล้วไม่ทราบว่าข้อมูลนี้มันจริงหรือเท็จ แล้วบอกว่าของเราน้อย เอาแค่ประเทศมาเลเซีย ที่เปรียบเทียบใกล้บ้านเราที่สุดเขาขุดเจาะแล้วเขาได้น้ำมัน ถ้าดูสถิติแล้วนี่น้อยกว่าเราเกือบ ๓ เท่า แต่พอสิ้นปีบริษัทปิโตรนาส เขากำไร ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ของประเทศไทยเราสิ้นปี ก็กำไร ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาทของ ปตท. อะไรที่ว่านี่นะครับ เพราะฉะนั้นจึงเปรียบเทียบ ชัดเจนว่าระบบการแบ่งปันผลประโยชน์มันเกิดประโยชน์ต่อชาติมหาศาลแน่นอน เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องรีบแก้ไขคือการแก้กฎหมายครับ ท่านบอกแก้กฎหมายช้า มันไม่ช้าแล้วยุคนี้เป็นยุค คสช. ถ้ารัฐบาลในการกำกับดูแล คสช. มีความจริงใจเรื่องนี้ อย่างจริงจังแล้วนี่มันต้องแก้กฎหมายทันที เอาศึกษาจากประเทศข้างเคียงนี่ครับ มาเลเซีย ๘๐ เปอร์เซ็นต์นะครับแบ่งปันผลประโยชน์ เวียดนาม ๗๓ เปอร์เซ็นต์ พม่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ กัมพูชา ๕๕ เปอร์เซ็นต์ ระบบแบ่งปันผลผลิต แล้วทุกประเทศก็มีค่าภาคหลวง ค่าภาคหลวง ไทยคิด ๕-๑๕ เปอร์เซ็นต์ ของประเทศที่ผมกล่าวมาแล้ว ๑๐ เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปทั้งนั้น แล้วทำไมแค่นี้เราคิดไม่ได้ ผมมั่นใจว่าพี่น้องประชาชนทั่วประเทศเขามองออกว่าอะไรคืออะไร รู้สึกกรรมาธิการของเราจะเป็นห่วงว่าผู้ลงทุนเขาจะเสี่ยงมากเหลือเกิน เราจะต้องไปคุ้มครอง อะไรกันนักกันหนา สาธารณะสมบัติของแผ่นดินถ้ายังไม่ขุดไม่เจาะมันก็ยังเป็นของเราอยู่ วันยังค่ำ แต่ถ้าจะขุดจะเจาะแล้วมันต้องมีความมั่นใจชัดเจนว่าประโยชน์ที่ได้ต่อชาติและ ประชาชนนั้นจะต้องสูงสุดอย่างแท้จริง ผมจึงยืนยันครับว่าอย่างไรเสียต้องแก้กฎหมาย ในเรื่องเกี่ยวกับการปิโตรเลียมตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ ก็แก้มาหลายครั้งก็แก้ให้มันเป็นระบบแบ่งปัน ผลประโยชน์ แล้วก็ไม่ยากนะครับ เอาศึกษาประเทศที่เขาทำอยู่แล้ว เอาร่างกฎหมาย เขามาดูก็ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ผมจึงคิดว่ายืนยันนะครับว่า ขอให้เพื่อนสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติทั้ง ๒๕๐ ท่านในที่นี้ใช้วิจารณญาณอย่างเต็มที่ แล้วก็สิ่งที่ผมห่วงที่สุดก็คือ ความรู้สึกที่พี่น้องประชาชนพูดมาก ๆ ทำไมเราใช้น้ำมันแพงกว่าประเทศมาเลเซีย ๒ เท่า น้ำมันแพงกว่า ๒ เท่า ในขณะที่พูดมาทั้งหมดนี่มันก็ค่อนข้างชัดเจน รัฐบาลเขาอุดหนุนก็จริง แต่เขาอุดหนุนจากการแบ่งปันผลประโยชน์ของรัฐที่ได้มาก มาอุดหนุนเพิ่มให้กับประชาชน แต่ของเรามันไม่ใช่ เป็นระบบแบ่งปันผลประโยชน์ สรุปแล้ว คิดแต่ค่าภาษีอากร ๕๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ซึ่งอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เรามองชัดเจนแล้วว่าอันไหน จะเกิดผลประโยชน์ต่อชาติและประชาชนมากกว่ากันครับ ผมขออนุญาตสรุปปิดท้ายแค่นี้ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ในเรื่องพลังงานซึ่งเป็นทรัพยากรส่วนหนึ่งของชาตินั้น จริง ๆ แล้วคงไม่ใช่แค่เรื่อง ทรัพยากรพลังงานและปิโตรเลียมอย่างเดียวที่จะต้องปฏิรูปหรือแก้ไขระเบียบกฎหมาย ทรัพยากรทุกตัวของแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นแร่ธาตุ ภูเขา ป่าไม้ ทั้งหมดล้วนจะต้องปฏิรูปทั้งสิ้น ประเทศไทยคนไทยเรานั้นถูกปิดหูปิดตาด้านข้อมูลมากมาย ถามว่าข้อมูลในเรื่องของ ปิโตรเลียมที่เรารับตัวเลขมาจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ตาม เราก็ยังไม่ทราบว่าตัวเลขที่ได้ มันเท็จจริงแค่ไหน กรรมาธิการพลังงานที่บอกว่าประเทศไทยเราแหล่งน้อยกระเปาะเล็ก กระเปาะไม่เท่าไร แต่ทำไมมีคนมาลงทุนเยอะแยะ แล้วข้อมูลที่ซีไอเอ (CIA) ก็ดีซึ่งเป็น หน่วยราชการลับของอเมริกาหรือซีไอเอหน่วยพลังงานของอเมริกาทำสถิติบอกว่า ประเทศไทยนั้นส่งออกก๊าซเป็นอันดับ ๒๔ ของโลก ส่งออกน้ำมันดิบเป็นลำดับ ๓๓ ของโลก แล้วไม่ทราบว่าข้อมูลนี้มันจริงหรือเท็จ แล้วบอกว่าของเราน้อย เอาแค่ประเทศมาเลเซีย ที่เปรียบเทียบใกล้บ้านเราที่สุดเขาขุดเจาะแล้วเขาได้น้ำมัน ถ้าดูสถิติแล้วนี่น้อยกว่าเราเกือบ ๓ เท่า แต่พอสิ้นปีบริษัทปิโตรนาส เขากำไร ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ของประเทศไทยเราสิ้นปี ก็กำไร ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาทของ ปตท. อะไรที่ว่านี่นะครับ เพราะฉะนั้นจึงเปรียบเทียบ ชัดเจนว่าระบบการแบ่งปันผลประโยชน์มันเกิดประโยชน์ต่อชาติมหาศาลแน่นอน เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องรีบแก้ไขคือการแก้กฎหมายครับ ท่านบอกแก้กฎหมายช้า มันไม่ช้าแล้วยุคนี้เป็นยุค คสช. ถ้ารัฐบาลในการกำกับดูแล คสช. มีความจริงใจเรื่องนี้ อย่างจริงจังแล้วนี่มันต้องแก้กฎหมายทันที เอาศึกษาจากประเทศข้างเคียงนี่ครับ มาเลเซีย ๘๐ เปอร์เซ็นต์นะครับแบ่งปันผลประโยชน์ เวียดนาม ๗๓ เปอร์เซ็นต์ พม่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ กัมพูชา ๕๕ เปอร์เซ็นต์ ระบบแบ่งปันผลผลิต แล้วทุกประเทศก็มีค่าภาคหลวง ค่าภาคหลวง ไทยคิด ๕-๑๕ เปอร์เซ็นต์ ของประเทศที่ผมกล่าวมาแล้ว ๑๐ เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปทั้งนั้น แล้วทำไมแค่นี้เราคิดไม่ได้ ผมมั่นใจว่าพี่น้องประชาชนทั่วประเทศเขามองออกว่าอะไรคืออะไร รู้สึกกรรมาธิการของเราจะเป็นห่วงว่าผู้ลงทุนเขาจะเสี่ยงมากเหลือเกิน เราจะต้องไปคุ้มครอง อะไรกันนักกันหนา สาธารณะสมบัติของแผ่นดินถ้ายังไม่ขุดไม่เจาะมันก็ยังเป็นของเราอยู่ วันยังค่ำ แต่ถ้าจะขุดจะเจาะแล้วมันต้องมีความมั่นใจชัดเจนว่าประโยชน์ที่ได้ต่อชาติและ ประชาชนนั้นจะต้องสูงสุดอย่างแท้จริง ผมจึงยืนยันครับว่าอย่างไรเสียต้องแก้กฎหมาย ในเรื่องเกี่ยวกับการปิโตรเลียมตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ ก็แก้มาหลายครั้งก็แก้ให้มันเป็นระบบแบ่งปัน ผลประโยชน์ แล้วก็ไม่ยากนะครับ เอาศึกษาประเทศที่เขาทำอยู่แล้ว เอาร่างกฎหมาย เขามาดูก็ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ผมจึงคิดว่ายืนยันนะครับว่า ขอให้เพื่อนสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติทั้ง ๒๕๐ ท่านในที่นี้ใช้วิจารณญาณอย่างเต็มที่ แล้วก็สิ่งที่ผมห่วงที่สุดก็คือ ความรู้สึกที่พี่น้องประชาชนพูดมาก ๆ ทำไมเราใช้น้ำมันแพงกว่าประเทศมาเลเซีย ๒ เท่า น้ำมันแพงกว่า ๒ เท่า ในขณะที่พูดมาทั้งหมดนี่มันก็ค่อนข้างชัดเจน รัฐบาลเขาอุดหนุนก็จริง แต่เขาอุดหนุนจากการแบ่งปันผลประโยชน์ของรัฐที่ได้มาก มาอุดหนุนเพิ่มให้กับประชาชน แต่ของเรามันไม่ใช่ เป็นระบบแบ่งปันผลประโยชน์ สรุปแล้ว คิดแต่ค่าภาษีอากร ๕๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ซึ่งอันนี้ก็เป็นสิ่งที่เรามองชัดเจนแล้วว่าอันไหน จะเกิดผลประโยชน์ต่อชาติและประชาชนมากกว่ากันครับ ผมขออนุญาตสรุปปิดท้ายแค่นี้ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ในประเด็นที่เรารับฟังมานั้นเราก็ยืนยันชัดเจนว่า อยากให้ใช้ระบบแบ่งปัน ผลประโยชน์ ถ้าจะสัมปทานก็สัมปทานไปเลยไม่มีปัญหา แต่ต้องใช้ระบบแบ่งปัน ผลประโยชน์ไม่ใช่ระบบเดิม เพราะฉะนั้นถ้าจะเป็นระบบเดิม ผมคิดว่าก็ต้องชะลอ แต่ถ้าเป็นระบบแบ่งปันผลประโยชน์ปั๊บเขาจะทำก็ทำ เราไม่ได้ว่าอะไร ส่วนการแก้กฎหมาย ท่านอาจคิดว่าแก้ช้าในยุคอย่างนี้มันแก้ไม่ช้าหรอกครับ ถ้าจะแก้ ถ้าตั้งใจจะทำ ถ้ารัฐบาล ตั้งใจทำ รัฐบาลตั้งใจแก้มันไม่ช้านะครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่ทางกรรมาธิการวิสามัญ การมีส่วนร่วมรับฟังกับพี่น้องประชาชนมาทุกภาคทั่วประเทศ ๓๐๐ คนนะครับสุ่มมานี่ ประชาชนทุกคนยืนยันหมดว่านี่เขาต้องการให้เป็นระบบแบ่งปันผลประโยชน์ เพราะเขา มั่นใจว่าระบบแบ่งปันผลประโยชน์นี่ชาติและประชาชนจะได้รับสูงสุด ถ้าจะให้สัมปทาน ก็ให้ไปไม่ว่า แต่ว่าต้องเป็นระบบแบ่งปันผลประโยชน์เท่านั้นนะครับ ก็ต้องขอเป็นมติ ๒ อย่างว่าจะเอาแบบเดิมแบบสัมปทานหรือแบบแบ่งปันผลประโยชน์นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ในประเด็นที่เรารับฟังมานั้นเราก็ยืนยันชัดเจนว่า อยากให้ใช้ระบบแบ่งปัน ผลประโยชน์ ถ้าจะสัมปทานก็สัมปทานไปเลยไม่มีปัญหา แต่ต้องใช้ระบบแบ่งปัน ผลประโยชน์ไม่ใช่ระบบเดิม เพราะฉะนั้นถ้าจะเป็นระบบเดิม ผมคิดว่าก็ต้องชะลอ แต่ถ้าเป็นระบบแบ่งปันผลประโยชน์ปั๊บเขาจะทำก็ทำ เราไม่ได้ว่าอะไร ส่วนการแก้กฎหมาย ท่านอาจคิดว่าแก้ช้าในยุคอย่างนี้มันแก้ไม่ช้าหรอกครับ ถ้าจะแก้ ถ้าตั้งใจจะทำ ถ้ารัฐบาล ตั้งใจทำ รัฐบาลตั้งใจแก้มันไม่ช้านะครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่ทางกรรมาธิการวิสามัญ การมีส่วนร่วมรับฟังกับพี่น้องประชาชนมาทุกภาคทั่วประเทศ ๓๐๐ คนนะครับสุ่มมานี่ ประชาชนทุกคนยืนยันหมดว่านี่เขาต้องการให้เป็นระบบแบ่งปันผลประโยชน์ เพราะเขา มั่นใจว่าระบบแบ่งปันผลประโยชน์นี่ชาติและประชาชนจะได้รับสูงสุด ถ้าจะให้สัมปทาน ก็ให้ไปไม่ว่า แต่ว่าต้องเป็นระบบแบ่งปันผลประโยชน์เท่านั้นนะครับ ก็ต้องขอเป็นมติ ๒ อย่างว่าจะเอาแบบเดิมแบบสัมปทานหรือแบบแบ่งปันผลประโยชน์นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ขออนุญาตนิดหนึ่ง ท่านประธานครับที่ลงมติครั้งแรกไม่มีปัญหาครับ ที่ให้ส่งรายงาน ทั้งของกรรมาธิการและของกรรมาธิการรับฟังเรียกว่ารวมเรื่องต่าง ๆ นี่ไม่มีปัญหา แต่ประเด็นที่ผมอยากให้สภานี้ตัดสินใจเพื่อประกอบให้รัฐบาลได้เป็นข้อมูลนิดหนึ่งนะครับว่า สภาแห่งนี้เห็นอย่างไรว่าการให้รอบสัมปทานรอบใหม่ ให้ทำเหมือนเดิมไม่ต้องเปลี่ยนแปลง อะไรเลย หรืออย่างไร หรือต้องการให้สัมปทานแต่ต้องเปลี่ยนแปลงระบบการแบ่งปัน ผลประโยชน์ ผมขอมติแค่ ๒ อย่างนี้เท่านั้นนะครับ อย่างน้อยสุดเป็นจุดยืนให้รัฐบาล ได้ทราบว่าสภาแห่งนี้เห็นอย่างไร ว่าต้องการให้ให้สัมปทานเดินไปเลยเอาเหมือนเดิม ทุกอย่างไม่เป็นไร หรือจะให้เปลี่ยนแปลงเป็นให้สัมปทานได้ แต่ต้องเปลี่ยนแปลงเป็น ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ที่เรามองเห็นแล้วว่ามันเกิดผลประโยชน์ต่อชาติและประชาชน มากกว่าครับผม

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ขออนุญาตนิดหนึ่ง ท่านประธานครับที่ลงมติครั้งแรกไม่มีปัญหาครับ ที่ให้ส่งรายงาน ทั้งของกรรมาธิการและของกรรมาธิการรับฟังเรียกว่ารวมเรื่องต่าง ๆ นี่ไม่มีปัญหา แต่ประเด็นที่ผมอยากให้สภานี้ตัดสินใจเพื่อประกอบให้รัฐบาลได้เป็นข้อมูลนิดหนึ่งนะครับว่า สภาแห่งนี้เห็นอย่างไรว่าการให้รอบสัมปทานรอบใหม่ ให้ทำเหมือนเดิมไม่ต้องเปลี่ยนแปลง อะไรเลย หรืออย่างไร หรือต้องการให้สัมปทานแต่ต้องเปลี่ยนแปลงระบบการแบ่งปัน ผลประโยชน์ ผมขอมติแค่ ๒ อย่างนี้เท่านั้นนะครับ อย่างน้อยสุดเป็นจุดยืนให้รัฐบาล ได้ทราบว่าสภาแห่งนี้เห็นอย่างไร ว่าต้องการให้ให้สัมปทานเดินไปเลยเอาเหมือนเดิม ทุกอย่างไม่เป็นไร หรือจะให้เปลี่ยนแปลงเป็นให้สัมปทานได้ แต่ต้องเปลี่ยนแปลงเป็น ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ที่เรามองเห็นแล้วว่ามันเกิดผลประโยชน์ต่อชาติและประชาชน มากกว่าครับผม

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ คือขอความกรุณานะครับ คือในเรื่องของการไปรับฟังการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น ของพี่น้องประชาชนมานี่น่าจะต้องอะแวร์ (Aware) ในเรื่องความเห็นของภาคประชาชน พอสมควร เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะชะลอหรือไม่ชะลอผมไม่ทราบ แต่อยากจะให้ถามประเด็น ตรงว่าให้รัฐบาลจะเดินหน้าอย่างไร แต่ว่าเอาระบบไหนมาใช้นะครับ ซึ่งการทำสัมปทาน หรือจะเอาระบบแบ่งปันผลประโยชน์ ผมคิดว่าความจำเป็นในเรื่องพลังงานเพื่อความมั่นคง ของพลังงานก็มีความจำเป็น แต่ต้องตัดสินใจว่ารัฐบาลจะเดินหน้าให้สัมปทานโดยระบบเก่า หรือจะให้สัมปทานโดยระบบแบ่งปันผลประโยชน์ มันต้องตัดสินใจจุดยืนแค่นี้เท่านั้น ก็น่าจะพอนะครับ ผมอยากจะขออนุญาตในประเด็นตรงนี้ครับ แค่ ๒ ประเด็น ไม่ต้องไปถาม ๓-๔ ประเด็น ขอเสียงรับรองด้วยครับ ถ้าในความเห็นส่วนผม ขอเสียงรับรองด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ คือขอความกรุณานะครับ คือในเรื่องของการไปรับฟังการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น ของพี่น้องประชาชนมานี่น่าจะต้องอะแวร์ (Aware) ในเรื่องความเห็นของภาคประชาชน พอสมควร เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะชะลอหรือไม่ชะลอผมไม่ทราบ แต่อยากจะให้ถามประเด็น ตรงว่าให้รัฐบาลจะเดินหน้าอย่างไร แต่ว่าเอาระบบไหนมาใช้นะครับ ซึ่งการทำสัมปทาน หรือจะเอาระบบแบ่งปันผลประโยชน์ ผมคิดว่าความจำเป็นในเรื่องพลังงานเพื่อความมั่นคง ของพลังงานก็มีความจำเป็น แต่ต้องตัดสินใจว่ารัฐบาลจะเดินหน้าให้สัมปทานโดยระบบเก่า หรือจะให้สัมปทานโดยระบบแบ่งปันผลประโยชน์ มันต้องตัดสินใจจุดยืนแค่นี้เท่านั้น ก็น่าจะพอนะครับ ผมอยากจะขออนุญาตในประเด็นตรงนี้ครับ แค่ ๒ ประเด็น ไม่ต้องไปถาม ๓-๔ ประเด็น ขอเสียงรับรองด้วยครับ ถ้าในความเห็นส่วนผม ขอเสียงรับรองด้วยครับ

    อ่านในการประชุม