ท่านประธานครับ ผม คำนูณ ผมขออนุญาตแทรก นิดหนึ่งได้ไหมครับ
ท่านประธาน ผม คำนูณ สิทธิสมาน สมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ ผมยังไม่ขออภิปรายในชั้นนี้ อันที่จริงก็มีสมาชิกอภิปรายมามากนะครับ แต่ผมขออนุญาตตั้งคำถามคณะกรรมาธิการประสานงานชั่วคราวสักนิดได้ไหมครับ เพราะว่า ที่อภิปรายกันมาตั้งแต่เช้า ความจริงถ้าเผื่อว่าสมาชิกจะได้ฟังเหตุผลที่แท้จริงเรื่องที่ต้องการ ที่จะให้ ๕ คนเป็นตัวแทนของคู่ขัดแย้ง ประเด็นการอภิปรายก็จะมีมุมมองที่กระชับและ ชัดเจนตรงเป้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งกระผมอาจจะขอใช้สิทธิต่อไป แต่ในชั้นนี้กระผมก็อยากจะทราบ ในเชิงเทคนิคว่า สมมุติว่าที่ประชุมมีมติรับตามแนวทางของคณะกรรมาธิการประสานงาน ชั่วคราว และสมมุติว่าถ้าเผื่อว่าทางท่านประธานเชิญไปยังคู่ขัดแย้ง แล้วคู่ขัดแย้งเขาไม่มา ตัวแทนในจำนวน ๕ คนที่จะไม่ใช่สมาชิก สปช. ท่านจะดำเนินการต่อไปอย่างไรครับ เพราะว่าตอนนี้กระผมค่อนข้างมั่นใจเกือบ ๆ จะ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ว่า คู่ขัดแย้งส่วนหนึ่งหรือ ทุกส่วนเราต้องเคารพเขา ส่วนหนึ่งก็คือว่าไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามแต่นะครับเขาไม่เห็นด้วย กับการรัฐประหาร และเขาถือว่าถ้าเขามาร่วมส่วนกับแม่น้ำสายใดสายหนึ่งที่เกิดจากยอดเขา ของการรัฐประหารก็เท่ากับว่าเป็นการยอมรับการรัฐประหารนั้น เพราะฉะนั้นคู่ขัดแย้ง ส่วนนี้ท่านไม่มา มีปรากฏชัดเจนจากการให้สัมภาษณ์ของบุคคลหลายคน คู่ขัดแย้งส่วนที่ ๒ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองด้วยเช่นกัน ต้องกราบขออภัย พลันที่ท่านกรรมาธิการชั่วคราว ท่านหนึ่งให้สัมภาษณ์ไปในเชิงนี้ ท่านก็สวนออกมาทันทีว่าท่านไม่เห็นด้วย แต่ด้วยเหตุผล ที่ต่างกันออกไป คือท่านไม่เห็นด้วยว่าท่านซึ่งจะต้องเป็นผู้เล่นในกติกาที่จะเขียนขึ้นใหม่ โดยรัฐธรรมนูญไม่ควรจะเข้ามามีส่วนร่วมในการเขียนกติกาอันนี้ อันนี้คือขั้วขัดแย้ง ๒ ขั้วใหญ่ ที่เป็นพรรคการเมือง แล้วก็เป็นทั้งกลุ่มมวลชนด้วย มีแนวโน้มสูงอย่างยิ่งที่จะไม่มา แล้วถ้าจะพูดถึงคู่ขัดแย้งที่เป็นมวลชนนะครับ ส่วนหนึ่งเขาก็จะยืนอยู่ในทางพรรคการเมือง ก็มีแนวโน้มที่จะไม่มา แล้วสมมุติว่าในคำเชิญที่เชิญไป ได้คู่ขัดแย้งที่เป็นมวลชนส่วนหนึ่ง ท่านตอบรับมา ท่านจะตัดสินอย่างไรครับ ก็กลายเป็นว่าเอาคู่ขัดแย้งที่ท่านตอบรับมาเข้ามา สปช. ๓๓/๒๕๕๗ ศิริพร ๓๓/๑ แต่คำถามของกระผมก็คือ อยากให้ทางกรรมาธิการตอบให้สิ้นกระแสความว่าถ้าเผื่อเชิญแล้ว ไม่มา ท่านจะดำเนินการอย่างไรกับจำนวน ๕ ท่านที่ไม่ได้เป็นสมาชิก สปช. ท่านจะกลับ เข้ามาเพื่อหาจากสมาชิก สปช. เป็นอีก หรือท่านจะไปหาเอาจากผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นซึ่งเขาก็ ไม่ได้เข้าร่วมในกระบวนการ ๗,๐๐๐ คนตั้งแต่ต้น แล้วท่านจะมีหลักในการคัดเลือกอย่างไร หรือว่าท่านจะขอสิทธิจากที่ประชุมแห่งนี้ ขอสิทธิในการไปตัดสินใจที่จะดำเนินการอย่างไร ก็เลือกให้ได้มา กระผมขออนุญาต คือถ้าท่านสามารถที่จะให้คำตอบที่สิ้นกระแสความไปได้ บางทีการอภิปรายต่อไปมันจะได้มีความชัดเจนตรงเป้าตรงประเด็นยิ่งขึ้นครับ ด้วยความเคารพ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพ ผม คำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ ได้รับมอบหมายจากประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้มารายงาน ความคืบหน้าในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ขออนุญาตรายงาน ณ ที่นี้นะครับท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพ ผม คำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ ได้รับมอบหมายจากประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้มารายงาน ความคืบหน้าในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ขออนุญาตรายงาน ณ ที่นี้นะครับท่านประธาน
ผลการพิจารณาในวันนี้จะขอรายงานตามเอกสารที่ทุกท่านจะได้รับแจกจาก คณะอนุกรรมาธิการกลั่นกรอง รวบรวม สังเคราะห์ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ การยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นเอกสารนะครับ ผมจะรายงานในวันนี้ผลการพิจารณา ใน ๒ หมวดนะครับ คือหมวด ๕ การคลังและการงบประมาณ และหมวด ๖ ความสัมพันธ์ ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชนนะครับ ส่วนหมวดการตรวจสอบการใช้ อำนาจรัฐทั้งหมวด พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช จะได้มารายงานในวันพรุ่งนี้ และถ้าไม่เสร็จ ก็จะต่อไปในวันจันทร์หน้านะครับ
ผลการพิจารณาในวันนี้จะขอรายงานตามเอกสารที่ทุกท่านจะได้รับแจกจาก คณะอนุกรรมาธิการกลั่นกรอง รวบรวม สังเคราะห์ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ การยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นเอกสารนะครับ ผมจะรายงานในวันนี้ผลการพิจารณา ใน ๒ หมวดนะครับ คือหมวด ๕ การคลังและการงบประมาณ และหมวด ๖ ความสัมพันธ์ ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชนนะครับ ส่วนหมวดการตรวจสอบการใช้ อำนาจรัฐทั้งหมวด พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช จะได้มารายงานในวันพรุ่งนี้ และถ้าไม่เสร็จ ก็จะต่อไปในวันจันทร์หน้านะครับ
หมวด ๕ การคลังและการงบประมาณ ผ่านการพิจารณาเมื่อวันพฤหัสบดี ที่แล้วนะครับ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๘ มีรวมทั้งสิ้น ๗ มาตรา หมวดนี้มีความสำคัญ อย่างยิ่งหมวดหนึ่ง เพราะอยู่ในกรอบที่รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี ๒๕๕๗ บัญญัติไว้ถึง ๒ อนุมาตรา คือมาตรา ๓๕ (๗) และมาตรา ๓๕ (๘)
หมวด ๕ การคลังและการงบประมาณ ผ่านการพิจารณาเมื่อวันพฤหัสบดี ที่แล้วนะครับ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๘ มีรวมทั้งสิ้น ๗ มาตรา หมวดนี้มีความสำคัญ อย่างยิ่งหมวดหนึ่ง เพราะอยู่ในกรอบที่รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี ๒๕๕๗ บัญญัติไว้ถึง ๒ อนุมาตรา คือมาตรา ๓๕ (๗) และมาตรา ๓๕ (๘)
ใน (๗) กล่าวไว้ว่า กลไกที่มีประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างและขับเคลื่อน ระบบเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน และป้องกันการบริหาร ราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบ เศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว
ใน (๗) กล่าวไว้ว่า กลไกที่มีประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างและขับเคลื่อน ระบบเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน และป้องกันการบริหาร ราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบ เศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว
มาตรา ๓๕ (๘) กล่าวไว้ว่า กลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายของรัฐ ให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและตอบสนองต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน โดยสอดคล้องกับ สถานะทางการเงิน การคลังของประเทศ และกลไกการตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงิน ของรัฐที่มีประสิทธิภาพ
มาตรา ๓๕ (๘) กล่าวไว้ว่า กลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายของรัฐ ให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและตอบสนองต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน โดยสอดคล้องกับ สถานะทางการเงิน การคลังของประเทศ และกลไกการตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงิน ของรัฐที่มีประสิทธิภาพ
หลักการในหมวด ๕ นี้ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติขึ้น แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ รวมทั้งสิ้น ๖ ประการด้วยกันนะครับ กล่าวคือ
หลักการในหมวด ๕ นี้ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติขึ้น แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ รวมทั้งสิ้น ๖ ประการด้วยกันนะครับ กล่าวคือ
ในประการที่ ๑ ได้มีการวางหลักการใหม่เกี่ยวกับการคลังและ การงบประมาณของประเทศไว้ในมาตรา ๑ ของหมวด ๕ นี้ ว่าการดำเนินนโยบายการคลัง และการงบประมาณของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล หลักประสิทธิภาพและ ความคุ้มค่า หลักการรักษาวินัยทางการคลัง และหลักความเป็นธรรมในสังคม
ในประการที่ ๑ ได้มีการวางหลักการใหม่เกี่ยวกับการคลังและ การงบประมาณของประเทศไว้ในมาตรา ๑ ของหมวด ๕ นี้ ว่าการดำเนินนโยบายการคลัง และการงบประมาณของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล หลักประสิทธิภาพและ ความคุ้มค่า หลักการรักษาวินัยทางการคลัง และหลักความเป็นธรรมในสังคม
ในประการที่ ๒ ได้นิยามคำว่า เงินแผ่นดิน ให้หมายรวมถึงเงินกู้ไว้ด้วย ในมาตรา ๒ ของหมวดนี้นะครับ เงินแผ่นดิน หมายความรวมถึง
ในประการที่ ๒ ได้นิยามคำว่า เงินแผ่นดิน ให้หมายรวมถึงเงินกู้ไว้ด้วย ในมาตรา ๒ ของหมวดนี้นะครับ เงินแผ่นดิน หมายความรวมถึง
(๑) เงินรายได้แผ่นดิน เงินกู้ เงินคงคลัง และเงินรายได้จากทรัพย์สิน และสิทธิประโยชน์อื่นที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครอง เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวม
(๑) เงินรายได้แผ่นดิน เงินกู้ เงินคงคลัง และเงินรายได้จากทรัพย์สิน และสิทธิประโยชน์อื่นที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครอง เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวม
(๒) เงินรายได้จากการดำเนินงานหรือจากทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์อื่น ที่หน่วยงานของรัฐถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครอง และใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เป็นการเฉพาะโดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
(๒) เงินรายได้จากการดำเนินงานหรือจากทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์อื่น ที่หน่วยงานของรัฐถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครอง และใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เป็นการเฉพาะโดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
นี่ก็เป็นการบัญญัตินิยามคำว่า เงินแผ่นดิน ไว้นะครับ เพราะเคยมีปัญหา มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ แล้วว่า เงินกู้โดยกฎหมายพิเศษนั้นถือเป็นเงินแผ่นดินหรือไม่นะครับ
นี่ก็เป็นการบัญญัตินิยามคำว่า เงินแผ่นดิน ไว้นะครับ เพราะเคยมีปัญหา มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ แล้วว่า เงินกู้โดยกฎหมายพิเศษนั้นถือเป็นเงินแผ่นดินหรือไม่นะครับ
ประการที่ ๓ ได้วางระบบงบประมาณใหม่ที่เรียกเป็นภาษาวิชาการว่า ระบบ งบประมาณสองขา ก็คือจากนี้ไปร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีจะใช้ชื่อเพียงว่า ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี เท่านั้น ไม่ใช่ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปี ความแตกต่างที่แตกต่างออกไปก็คือ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ประจำปีจะต้องนำเสนอทางด้านรายได้ที่นอกเหนือไปจากการประมาณการโดยสังเขปไว้ด้วย ก็คือจะต้องมีความละเอียดขึ้นครับ
ประการที่ ๓ ได้วางระบบงบประมาณใหม่ที่เรียกเป็นภาษาวิชาการว่า ระบบ งบประมาณสองขา ก็คือจากนี้ไปร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีจะใช้ชื่อเพียงว่า ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี เท่านั้น ไม่ใช่ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปี ความแตกต่างที่แตกต่างออกไปก็คือ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ประจำปีจะต้องนำเสนอทางด้านรายได้ที่นอกเหนือไปจากการประมาณการโดยสังเขปไว้ด้วย ก็คือจะต้องมีความละเอียดขึ้นครับ
ประการที่ ๔ ก็คือให้การจัดสรรงบประมาณ แต่เดิมที่เป็นไปตามหน่วยงาน ตามภารกิจนั้นเพิ่มมิติการจัดสรรงบประมาณตามพื้นที่เข้าไปด้วยนะครับ ทั้ง ๒ ประการนี้ อยู่ในมาตรา ๓ ของหมวดนี้ในวรรคแรกและวรรคสองนะครับ
ประการที่ ๔ ก็คือให้การจัดสรรงบประมาณ แต่เดิมที่เป็นไปตามหน่วยงาน ตามภารกิจนั้นเพิ่มมิติการจัดสรรงบประมาณตามพื้นที่เข้าไปด้วยนะครับ ทั้ง ๒ ประการนี้ อยู่ในมาตรา ๓ ของหมวดนี้ในวรรคแรกและวรรคสองนะครับ
และประการที่ ๕ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี ในชั้นสภาผู้แทนราษฎร หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแปรญัตติลดหรือตัดทอนงบประมาณ จำนวนใดแล้ว จะนำไปใช้ในโครงการอื่นที่ตั้งขึ้นใหม่ไม่ได้ อันนี้จะบัญญัติไว้ในมาตรา ๔ ของหมวดนี้ในวรรคหก ขออนุญาตอ่านนะครับ
และประการที่ ๕ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี ในชั้นสภาผู้แทนราษฎร หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแปรญัตติลดหรือตัดทอนงบประมาณ จำนวนใดแล้ว จะนำไปใช้ในโครงการอื่นที่ตั้งขึ้นใหม่ไม่ได้ อันนี้จะบัญญัติไว้ในมาตรา ๔ ของหมวดนี้ในวรรคหก ขออนุญาตอ่านนะครับ
ในกรณีที่มีการแปรญัตติในทางลด หรือตัดทอนรายการ หรือจำนวน ในรายการใด จำนวนรายจ่ายที่ลดหรือตัดทอนนั้นจะนำไปจัดสรรสำหรับรายการ กิจกรรม แผนงาน หรือโครงการที่ตั้งขึ้นใหม่มิได้
ในกรณีที่มีการแปรญัตติในทางลด หรือตัดทอนรายการ หรือจำนวน ในรายการใด จำนวนรายจ่ายที่ลดหรือตัดทอนนั้นจะนำไปจัดสรรสำหรับรายการ กิจกรรม แผนงาน หรือโครงการที่ตั้งขึ้นใหม่มิได้
และประการสุดท้ายของหมวดการคลังและงบประมาณที่แตกต่างออกไป ก็คือบัญญัติให้มีการนำเรื่องไปสู่ศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ ที่ได้จัดตั้งขึ้นมาใหม่นะครับ โดยในมาตรานี้บัญญัติไว้ว่า มาตรา ๗ ของหมวดนี้นะครับ
และประการสุดท้ายของหมวดการคลังและงบประมาณที่แตกต่างออกไป ก็คือบัญญัติให้มีการนำเรื่องไปสู่ศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ ที่ได้จัดตั้งขึ้นมาใหม่นะครับ โดยในมาตรานี้บัญญัติไว้ว่า มาตรา ๗ ของหมวดนี้นะครับ
ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด ก่อให้เกิดการใช้จ่ายแผ่นดินอันวิญญูชนพึงเห็นได้ว่าจะก่อให้เกิด ความเสียหายแก่รัฐ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อาจไต่สวนข้อเท็จจริง และสรุปสำนวนยื่นฟ้องต่อศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ และให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการนั้น
ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด ก่อให้เกิดการใช้จ่ายแผ่นดินอันวิญญูชนพึงเห็นได้ว่าจะก่อให้เกิด ความเสียหายแก่รัฐ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อาจไต่สวนข้อเท็จจริง และสรุปสำนวนยื่นฟ้องต่อศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ และให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการนั้น
อันนี้ก็จบหมวด ๕ นะครับ
อันนี้ก็จบหมวด ๕ นะครับ
ในหมวด ๖ ซึ่งผ่านการพิจารณาเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๘ มีรวมทั้งสิ้น ๕ มาตรานะครับ เป็นหลักการใหม่ที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ นะครับ หมวด ๖ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน จุดที่แตกต่างมีอยู่ ๕ ประการด้วยกันนะครับ
ในหมวด ๖ ซึ่งผ่านการพิจารณาเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๘ มีรวมทั้งสิ้น ๕ มาตรานะครับ เป็นหลักการใหม่ที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ นะครับ หมวด ๖ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน จุดที่แตกต่างมีอยู่ ๕ ประการด้วยกันนะครับ
ในประการที่ ๑ บัญญัติให้มีคณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบ คุณธรรม มีอำนาจหน้าที่พิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงและหัวหน้า ส่วนราชการที่เทียบเท่าปลัดกระทรวง รวมทั้งย้ายหรือให้พ้นจากตำแหน่งนะครับ อันนี้ ก็เป็นไปตามมาตรา ๒ ของหมวดนี้นะครับ
ในประการที่ ๑ บัญญัติให้มีคณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบ คุณธรรม มีอำนาจหน้าที่พิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงและหัวหน้า ส่วนราชการที่เทียบเท่าปลัดกระทรวง รวมทั้งย้ายหรือให้พ้นจากตำแหน่งนะครับ อันนี้ ก็เป็นไปตามมาตรา ๒ ของหมวดนี้นะครับ
องค์ประกอบของคณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบคุณธรรมมี ๗ คน พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจาก ๓ ส่วนนะครับ
องค์ประกอบของคณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบคุณธรรมมี ๗ คน พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจาก ๓ ส่วนนะครับ
ส่วนแรก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งได้รับเลือกจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน จำนวน ๒ คน
ส่วนแรก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งได้รับเลือกจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน จำนวน ๒ คน
ส่วนที่ ๒ อดีตปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าซึ่งได้รับเลือกจากอดีต ปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าด้วยกันเอง จำนวน ๓ คน
ส่วนที่ ๒ อดีตปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าซึ่งได้รับเลือกจากอดีต ปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าด้วยกันเอง จำนวน ๓ คน
และส่วนที่ ๓ ประธานกรรมการจริยธรรมของทุกกระทรวงเลือกกันเอง ๒ คนนะครับ แล้วก็ให้วุฒิสภาพิจารณาประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรม ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งครับ
และส่วนที่ ๓ ประธานกรรมการจริยธรรมของทุกกระทรวงเลือกกันเอง ๒ คนนะครับ แล้วก็ให้วุฒิสภาพิจารณาประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรม ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งครับ
ประการที่ ๒ ก็บัญญัติไว้ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรี แถลงต่อสภา ก็เป็นหลักประกันว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินการได้นะครับ
ประการที่ ๒ ก็บัญญัติไว้ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรี แถลงต่อสภา ก็เป็นหลักประกันว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินการได้นะครับ
ประการที่ ๓ อันนี้ก็เป็นหลักการใหม่ที่บัญญัติขึ้นมานะครับ ก็คือให้ การสั่งการในการบริหารราชการแผ่นดินให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น
ประการที่ ๓ อันนี้ก็เป็นหลักการใหม่ที่บัญญัติขึ้นมานะครับ ก็คือให้ การสั่งการในการบริหารราชการแผ่นดินให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น
และประการที่ ๔ บัญญัติให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่ดำเนินการ ใดซึ่งเป็นการเสี่ยงเป็นการสั่งการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ย่อมได้รับ ความคุ้มครองนะครับ
และประการที่ ๔ บัญญัติให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่ดำเนินการ ใดซึ่งเป็นการเสี่ยงเป็นการสั่งการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ย่อมได้รับ ความคุ้มครองนะครับ
ทั้งประการที่ ๓ และประการที่ ๔ ก็เป็นการคุ้มครองข้าราชการประจำ บัญญัติอยู่ในมาตรา ๔ ทั้งวรรคแรกและวรรคสองในบทบัญญัติในส่วนนี้นะครับ ขออนุญาต อ่านรายละเอียด เพราะว่าเป็นบทบัญญัติที่เกิดขึ้นใหม่นะครับ
ทั้งประการที่ ๓ และประการที่ ๔ ก็เป็นการคุ้มครองข้าราชการประจำ บัญญัติอยู่ในมาตรา ๔ ทั้งวรรคแรกและวรรคสองในบทบัญญัติในส่วนนี้นะครับ ขออนุญาต อ่านรายละเอียด เพราะว่าเป็นบทบัญญัติที่เกิดขึ้นใหม่นะครับ
มาตรา ๔ วรรคแรกบัญญัติว่า การสั่งการในการบริหารราชการแผ่นดิน ให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนอาจสั่งราชการ ด้วยวาจาได้ แต่ให้ผู้รับคำสั่งบันทึกคำสั่งดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและเสนอให้ผู้สั่ง ลงนามในภายหลัง ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใดดำเนินการไปโดยปราศจากการสั่งการ ดังกล่าวข้างต้น ย่อมต้องรับผิดตามกฎหมายด้วยตนเอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๔ วรรคแรกบัญญัติว่า การสั่งการในการบริหารราชการแผ่นดิน ให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนอาจสั่งราชการ ด้วยวาจาได้ แต่ให้ผู้รับคำสั่งบันทึกคำสั่งดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและเสนอให้ผู้สั่ง ลงนามในภายหลัง ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใดดำเนินการไปโดยปราศจากการสั่งการ ดังกล่าวข้างต้น ย่อมต้องรับผิดตามกฎหมายด้วยตนเอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
วรรคสองบัญญัติไว้ว่า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่ดำเนินการใดซึ่งเป็น การสั่งการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ย่อมได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายบัญญัติ
วรรคสองบัญญัติไว้ว่า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่ดำเนินการใดซึ่งเป็น การสั่งการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ย่อมได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายบัญญัติ
ประการที่ ๕ ที่เป็นจุดแตกต่างนะครับ ก็คือบัญญัติให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการบริหารราชการแผ่นดินใน ๓ ลักษณะนะครับ ซึ่งบัญญัติอยู่ในมาตรา ๕ ของหมวดนี้
ประการที่ ๕ ที่เป็นจุดแตกต่างนะครับ ก็คือบัญญัติให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการบริหารราชการแผ่นดินใน ๓ ลักษณะนะครับ ซึ่งบัญญัติอยู่ในมาตรา ๕ ของหมวดนี้
ทั้งหมดนี้ก็เป็นผลการพิจารณาใน ๒ หมวดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ หมวดการคลังและการงบประมาณ และหมวดความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน กราบขอบพระคุณครับท่านประธาน
ทั้งหมดนี้ก็เป็นผลการพิจารณาใน ๒ หมวดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ หมวดการคลังและการงบประมาณ และหมวดความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน กราบขอบพระคุณครับท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานและเพื่อนสมาชิกที่รักและ เคารพทุกท่านครับ ผม คำนูณ สิทธิสมาน เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา ๒ สมัย ก็เป็นมา ๖ ปี ตำแหน่งในวุฒิสภาก็เป็นกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภาอยู่ ๔ ปี แล้วก็ลาออก มาในช่วงท่านประธานวุฒิสภาคนล่าสุด แล้วก็เป็นกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล แล้วก็จบด้วยที่เป็นประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การธนาคาร และสถาบันการเงินของวุฒิสภา เรียนหนังสือก็เพียงแค่จบปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ว่ามีความสนใจทางด้านรัฐธรรมนูญ ทางด้านการเมืองมา โดยตลอด จากการประกอบวิชาชีพก่อนที่จะเข้ามาสู่งานการเมืองนั้นก็คือการเป็นสื่อมวลชน การเขียนคอลัมนิสต์ที่ติดตามการบ้านการเมือง และเนื่องจากว่าเกิดอุบัติเหตุที่สำนักงาน หนังสือพิมพ์ของกระผมนั้นอยู่บริเวณใกล้ ๆ กับถนนราชดำเนินนะครับ ก็จะมีเหตุการณ์ ที่ทำให้เกิดความสนใจในเรื่องการเมือง การปฏิรูปการเมือง การปฏิรูปประเทศ และเรื่อง รัฐธรรมนูญอย่างยิ่งก็คือในช่วงปี ๒๕๓๕ เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม แล้วก็การเกิดขึ้นของ คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย คพป. รวมทั้งรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ เมื่อมาประกอบ กิจการในฐานะทางการเมืองก็ได้เห็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญทั้งปี ๒๕๔๐ ปี ๒๕๕๐ และเมื่อได้ผ่านการอบรมหลักสูตรกฎหมายมหาชน ๒-๓ หลักสูตร ก็ทำให้เกิด แรงบันดาลใจที่ครั้งหนึ่งในชีวิต ปีหน้าจะ ๖๐ แล้วครับ จะขอทำงานหนักสัก ๖ เดือน ๗ เดือน ๘ เดือนในเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญถ้าเพื่อนสมาชิกเมตตา กราบขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธาน คำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะกรรมาธิการ ท่านประธานครับ คือถ้าคงไว้ตาม กรรมาธิการกระผมก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร เพราะว่าการแต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภานั้น ท่านประธานก็ย่อมต้องแต่งตั้งตามอำนาจหน้าที่ ที่มีอยู่ของสภาอยู่แล้ว แต่ที่มีสมาชิกกริ่งเกรงว่าถ้าเขียนเปิดกว้างไว้จะเป็นการแต่งตั้ง นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ผมก็ขออนุญาตว่าเราลองเปรียบเทียบกับข้อบังคับของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติฉบับล่าสุด เขาก็จะมีอีกแนวหนึ่งคือ ประธานสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ถึง (๖) นี่เหมือนกันหมด มีเพียง (๕) ที่เขาเขียนกำกับไว้อย่างนี้ครับว่า แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ ตาม (๖) ก็คือหมายความว่าจะแต่งตั้ง เพื่อดำเนินกิจการใด ๆ ก็ตามแต่ มันต้องอยู่ภายใต้กรอบอำนาจและหน้าที่อื่นตาม ที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้เท่านั้น อันนี้ก็เป็นการที่ ถ้าท่านสมาชิกกริ่งเกรงว่า ถ้าเขียนเปิดกว้างว่าเดี๋ยวจะตีความว่าประโยชน์ต่อกิจการของ สภาแล้วมันนอกเหนือจากอำนาจหน้าที่นี่นะครับ ผมก็ลองเปรียบเทียบให้ดูว่ามันจะมี ข้อบังคับสภานิติบัญญัติแห่งชาตินี่นะครับ เขากำกับไว้ว่า ให้อยู่ภายใต้กรอบ (๖) ก็สุดแท้แต่ ท่านกรรมาธิการทุกท่านจะพิจารณา แต่ผมเองเชื่อว่าถึงว่าจะเขียนไว้ตามเดิมก็ไม่น่า จะมีปัญหาแต่ประการใด ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ คำนูณ สิทธิสมาน ในฐานะกรรมาธิการด้วยนะครับ ท่านประธานครับ ความจริงเราไม่ใช่สภาการเมืองก็จริงอยู่ แต่ว่าเราก็ดำเนินการตามข้อบังคับ ทีนี้เมื่อเราพิจารณาในวาระที่สองเฉพาะมาตรา เรื่องกรรมาธิการ กระผมเข้าใจว่าคงจะมีข้อแตกแขนงทั้งข้อสงสัยและข้อซักถาม และในที่สุด ที่ยังไม่สงสัยก็จะเริ่มสงสัย แต่ว่าจริงแล้วการพิจารณาในวาระที่สองก็คือทุกท่านเป็น กรรมาธิการ ท่านก็ต้องเสนอว่าท่านจะขอแก้ไขอย่างไร ตัดคำไหน เพิ่มคำไหน คือถึงแม้ว่า จะอภิปรายโดยภาพรวมไปอันที่จริงก็ควรจะต้องเป็นวาระแรก แต่ว่าในเมื่อเราเลยมาถึงขั้นนี้ ถึงอภิปรายภาพรวมไปอย่างไร กระผมเชื่อว่าก็คงไม่สามารถตกลงเห็นพ้องกันได้ ในหลายประการด้วยกัน ถึงจะอภิปรายไปอีกสักชั่วโมงหนึ่งแล้วให้พักการประชุมให้กรรมาธิการไปตกลงกัน ผมเข้าใจความลำบากใจของอดีตกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับครับ เพราะว่าส่วนใหญ่ ท่านก็จะทำตามที่สมาชิกในแต่ละกลุ่มไปเสนอท่าน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือว่า สมาชิกในแต่ละกลุ่มท่านเห็นไม่ตรงกัน เป็นต้นว่า ในกลุ่มเอ (A) ท่านควรเห็นว่าควรแยกเป็น เอ ๑ กับเอ ๒ ๓ ท่าน แต่ส่วนใหญ่ท่านเห็นว่าไม่ควรแยก เพราะฉะนั้นถึงจะพักการประชุม ให้กรรมาธิการไปตกลงหรือไปข้อเสนอแนะมาใหม่ก็คงยากที่จะได้ข้อสรุปใหม่ครับ เพราะฉะนั้นกระผมเห็นด้วยกับท่านเสรีที่ว่าเราก็ว่ากันไปตามมาตรา ตามอนุมาตรา ท่านสมาชิกซึ่งลุกขึ้นอภิปรายในฐานะกรรมาธิการท่านใดท่านจะขอแก้ไขอย่างไรอาจจะ ไม่ถึงขนาดเขียนมาเรียบร้อย แต่ขอให้โดยสารัตถะท่าน เป็นต้นว่า สมมุติเมื่อสักครู่เรามี ข้อถกเถียงกันในเรื่องกรรมาธิการเศรษฐกิจว่าควรจะแยกหรือไม่แยกอย่างไรนี่นะครับ ท่านก็อภิปรายเลยเมื่อถึงวงเล็บหรืออนุมาตราที่เกี่ยวกับ (๖) คณะกรรมาธิการปฏิรูป เศรษฐกิจ การเงินและการคลัง ก็เป็นต้นว่า ผม คำนูณ สิทธิสมาน ขอแปรญัตติเรื่องนี้ โดยตัดเป็นเฉพาะคณะกรรมาธิการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ สมมุตินะครับ แล้วก็แยกเป็น คณะกรรมาธิการปฏิรูประบบการเงิน การคลังและงบประมาณ สมมุติอย่างนี้ครับ แล้วก็คงจะต้อง ตัดสินใจกันลงมติไปในแต่ละอนุมาตราในแต่ละประเด็น เพราะถ้าเผื่ออภิปรายยาวไป กระผมเชื่อว่าก็เป็นประโยชน์ครับแต่มันจะไม่จบ แล้วสุดท้ายเมื่อกลับมาเราจะมีตัวตั้ง ในการโหวตหรือการลงมติเพื่อตัดสินอย่างไรครับ มันก็จะเป็นปัญหาต่อไป ถึงพักการประชุม กระผมก็ไม่เชื่อว่าทางท่านอดีตกรรมาธิการจะหาข้อสรุปได้ เพราะท่านก็เหน็ดเหนื่อยมามาก แล้วส่วนใหญ่ก็เป็นการปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของสมาชิกในด้านต่าง ๆ เพราะฉะนั้นผมขอสนับสนุนตามท่านอาจารย์เสรี ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธาน คำนูณ สิทธิสมาน นะครับ ท่านประธานครับ การตัดสินใจในวันนี้ก็จะเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญมากพอสมควรของ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ แล้วก็จะมีผลกระทบอย่างแน่นอนต่อสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่เดิมผมเข้าใจว่าการรับฟังในวันนี้หรือถ้าจะมีมติในวันนี้ก็คือเป็นมติที่จะเสนอทางเลือก ๓ แนวทางไปให้กับรัฐบาลนะครับ แต่เมื่อมาปรับเป็นเสนอทางเลือกที่ ๓ กระผมเห็นว่าทางเลือกที่ ๓ ก็คือทางเลือกที่ ๑ นั่นละครับ เพราะว่าเมื่อเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ไปแล้วมันก็จะใช้เวลาของสัมปทานอย่างที่ เพื่อนสมาชิกอภิปรายมาแล้วตามกรอบของ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ก็ไม่ต่ำกว่า ๒๙ ปี หรือสูงสุด ๓๙ ปี ผมอาจจะอยู่ไม่ถึงท่านใดจะอยู่ถึงหรือไม่ผมไม่ทราบนะครับ เพราะฉะนั้นการเปิดสัมปทานก็คือเปิดพื้นที่จำนวนมาก ถึงแม้ว่าจะมีระบุให้ดูงดงามว่า ก็ให้ไปศึกษาระบบแบ่งปันผลผลิตก็ไม่ได้กำหนดว่าจะใช้เวลาศึกษานานเท่าไร ศึกษาแล้ว จะต้องไปดำเนินการแก้ไขอะไร หรือไม่ อย่างไร ซึ่งนั่นก็จะเป็นสถานการณ์ของรัฐบาลปกติ แล้วถามว่าภารกิจของเราสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ภารกิจของระบอบการเมืองในปัจจุบัน ที่เกิดขึ้นโดยอำนาจพิเศษภายหลังการเรียกร้องของพี่น้องประชาชนให้มีการปฏิรูปทุกด้าน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปพลังงานก็มีพลังค่อนข้างสูงอย่างยิ่งนะครับ ภารกิจของ สภาปฏิรูปแห่งชาติก็คือการปฏิรูป ๑๑ ด้าน ด้านพลังงานก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น แต่ถ้าเผื่อ เรามีข้อเสนอไปยังรัฐบาลให้ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ไปตามกฎเกณฑ์เดิม ใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ผมไม่เข้าใจครับเป็นการปฏิรูปตรงไหน นอกจากจะเป็นการบริหารราชการแผ่นดินไปตามปกติ หรือว่าสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้น ได้เห็นพ้องต้องกันแล้วว่าเกณฑ์การผลิตปิโตรเลียมตาม พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ นั้น ถูกต้อง สมบูรณ์แบบ ไม่มีข้อที่จะต้องปฏิรูปเลย ผมยังไม่เห็นตรงนั้นนะครับ เพราะฉะนั้น การเสนอและลงมติทางเลือกที่ ๓ ไปยังรัฐบาลผมว่าไม่ใช่การปฏิรูปครับ แต่เป็นการเร่งรัดให้ ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม ซึ่งอันที่จริงก็ควรจะเปิดมาในรัฐบาลปกติไม่ต่ำกว่า ๒-๓ ปีแล้ว แต่ว่าในรอบหลายปีที่ผ่านมาก็มีเสียงคัดค้านจากภาคประชาชนจำนวนมาก แล้วบทบาทของท่านสมาชิก สปช. ที่นั่งอยู่ในที่นี้ คุณรสนา โตสิตระกูล ในบทบาทของประธาน กรรมาธิการศึกษาการตรวจสอบทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ตลอดระยะเวลา ๖ ปี จาก ๒๕๕๑ จนถึง ๒๕๕๗ ก็มีบทบาทค่อนข้างสูง แม้รัฐบาลในสถานการณ์ปกติ ที่มีอำนาจเด็ดขาดในสภาก็ยังต้องรับฟัง ทีนี้ถ้าในสถานการณ์พิเศษเช่นนี้เราเสนอให้ ดำเนินการไปภายใต้สภาวะที่ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเหมือนสถานการณ์ ก่อน ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ มีกฎอัยการศึกอยู่ กระผมเห็นว่าพี่น้องสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติทุกท่านจะต้องคิดให้ดีนะครับ ผมเองไม่มีเวลาที่จะอภิปรายมากไปกว่านี้ แล้วก็ไม่ประสงค์จะเกินเวลาแม้แต่วินาทีเดียว เพราะอันที่จริงก็เป็นไปไม่ได้นะครับ จะให้ ๕ นาทีสำหรับการอภิปรายแจกแจงว่า พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นรัฐธรรมนูญถาวรที่แท้จริงของประเทศไทยอย่างไร ผ่านรัฐธรรมนูญฉบับถาวรถูกฉีกไปแล้ว ๖ ฉบับ ถ้ารวมฉบับชั่วคราวด้วยก็เป็น ๑๑ ฉบับ หลักการสำคัญในมาตรา ๒๓ ของ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ยังคงอยู่ ผมเองเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผมทำตามความเห็นของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน หนึ่งในมาตราที่จะมีบรรจุไว้ใน แนวนโยบายของรัฐก็คือ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ การสงวน การจัดการ การใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์และการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติต้องคำนึงถึง ประโยชน์สูงสุดของรัฐ ประชาชนและชุมชนทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ผมจะร่างไปได้ อย่างไรครับ ถ้าวันนี้สภาปฏิรูปแห่งชาติลงมติทำตามคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน เสียงข้างมาก ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธาน คำนูณ สิทธิสมาน นะครับ ท่านประธานครับ การตัดสินใจในวันนี้ก็จะเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญมากพอสมควรของ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ แล้วก็จะมีผลกระทบอย่างแน่นอนต่อสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ แต่เดิมผมเข้าใจว่าการรับฟังในวันนี้หรือถ้าจะมีมติในวันนี้ก็คือเป็นมติที่จะเสนอทางเลือก ๓ แนวทางไปให้กับรัฐบาลนะครับ แต่เมื่อมาปรับเป็นเสนอทางเลือกที่ ๓ กระผมเห็นว่าทางเลือกที่ ๓ ก็คือทางเลือกที่ ๑ นั่นละครับ เพราะว่าเมื่อเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ไปแล้วมันก็จะใช้เวลาของสัมปทานอย่างที่ เพื่อนสมาชิกอภิปรายมาแล้วตามกรอบของ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ก็ไม่ต่ำกว่า ๒๙ ปี หรือสูงสุด ๓๙ ปี ผมอาจจะอยู่ไม่ถึงท่านใดจะอยู่ถึงหรือไม่ผมไม่ทราบนะครับ เพราะฉะนั้นการเปิดสัมปทานก็คือเปิดพื้นที่จำนวนมาก ถึงแม้ว่าจะมีระบุให้ดูงดงามว่า ก็ให้ไปศึกษาระบบแบ่งปันผลผลิตก็ไม่ได้กำหนดว่าจะใช้เวลาศึกษานานเท่าไร ศึกษาแล้ว จะต้องไปดำเนินการแก้ไขอะไร หรือไม่ อย่างไร ซึ่งนั่นก็จะเป็นสถานการณ์ของรัฐบาลปกติ แล้วถามว่าภารกิจของเราสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ภารกิจของระบอบการเมืองในปัจจุบัน ที่เกิดขึ้นโดยอำนาจพิเศษภายหลังการเรียกร้องของพี่น้องประชาชนให้มีการปฏิรูปทุกด้าน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปพลังงานก็มีพลังค่อนข้างสูงอย่างยิ่งนะครับ ภารกิจของ สภาปฏิรูปแห่งชาติก็คือการปฏิรูป ๑๑ ด้าน ด้านพลังงานก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น แต่ถ้าเผื่อ เรามีข้อเสนอไปยังรัฐบาลให้ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ไปตามกฎเกณฑ์เดิม ใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ผมไม่เข้าใจครับเป็นการปฏิรูปตรงไหน นอกจากจะเป็นการบริหารราชการแผ่นดินไปตามปกติ หรือว่าสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้น ได้เห็นพ้องต้องกันแล้วว่าเกณฑ์การผลิตปิโตรเลียมตาม พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ นั้น ถูกต้อง สมบูรณ์แบบ ไม่มีข้อที่จะต้องปฏิรูปเลย ผมยังไม่เห็นตรงนั้นนะครับ เพราะฉะนั้น การเสนอและลงมติทางเลือกที่ ๓ ไปยังรัฐบาลผมว่าไม่ใช่การปฏิรูปครับ แต่เป็นการเร่งรัดให้ ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม ซึ่งอันที่จริงก็ควรจะเปิดมาในรัฐบาลปกติไม่ต่ำกว่า ๒-๓ ปีแล้ว แต่ว่าในรอบหลายปีที่ผ่านมาก็มีเสียงคัดค้านจากภาคประชาชนจำนวนมาก แล้วบทบาทของท่านสมาชิก สปช. ที่นั่งอยู่ในที่นี้ คุณรสนา โตสิตระกูล ในบทบาทของประธาน กรรมาธิการศึกษาการตรวจสอบทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ตลอดระยะเวลา ๖ ปี จาก ๒๕๕๑ จนถึง ๒๕๕๗ ก็มีบทบาทค่อนข้างสูง แม้รัฐบาลในสถานการณ์ปกติ ที่มีอำนาจเด็ดขาดในสภาก็ยังต้องรับฟัง ทีนี้ถ้าในสถานการณ์พิเศษเช่นนี้เราเสนอให้ ดำเนินการไปภายใต้สภาวะที่ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเหมือนสถานการณ์ ก่อน ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ มีกฎอัยการศึกอยู่ กระผมเห็นว่าพี่น้องสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติทุกท่านจะต้องคิดให้ดีนะครับ ผมเองไม่มีเวลาที่จะอภิปรายมากไปกว่านี้ แล้วก็ไม่ประสงค์จะเกินเวลาแม้แต่วินาทีเดียว เพราะอันที่จริงก็เป็นไปไม่ได้นะครับ จะให้ ๕ นาทีสำหรับการอภิปรายแจกแจงว่า พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นรัฐธรรมนูญถาวรที่แท้จริงของประเทศไทยอย่างไร ผ่านรัฐธรรมนูญฉบับถาวรถูกฉีกไปแล้ว ๖ ฉบับ ถ้ารวมฉบับชั่วคราวด้วยก็เป็น ๑๑ ฉบับ หลักการสำคัญในมาตรา ๒๓ ของ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ยังคงอยู่ ผมเองเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผมทำตามความเห็นของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน หนึ่งในมาตราที่จะมีบรรจุไว้ใน แนวนโยบายของรัฐก็คือ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ การสงวน การจัดการ การใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์และการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติต้องคำนึงถึง ประโยชน์สูงสุดของรัฐ ประชาชนและชุมชนทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ผมจะร่างไปได้ อย่างไรครับ ถ้าวันนี้สภาปฏิรูปแห่งชาติลงมติทำตามคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน เสียงข้างมาก ขอบพระคุณครับ