กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมาธิการ ยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ใคร่ขอกราบเรียนผ่านท่านประธาน เนื่องจาก มีท่านสมาชิก ๒ ท่านที่ได้อภิปรายในส่วนที่เป็นวรรคสุดท้ายมติของที่ประชุมวิปที่เกี่ยวกับ เรื่องของการที่ไม่ให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งในกรรมาธิการ ของสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้น ก็มีหลายท่านได้มากระซิบกับผมว่าไม่ค่อยจะเห็นด้วย รวมทั้ง ท่านที่อภิปราย คือท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และท่านวิบูลย์ คูหิรัญ ขออนุญาต ที่เอ่ยนาม ผมจะขอเสนออย่างนี้นะครับ เพราะพรุ่งนี้จะมีการประชุมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณารายละเอียดของข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผมจะขอใส่ไปอย่างนี้ ถ้ามีท่านใดไม่เห็นด้วยก็ติดต่อมาที่ผมเพื่อที่จะได้ปรับปรุงนะครับ ให้กรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้ ๑ คณะ แต่จะดำรงตำแหน่งประธานหรือเลขานุการมิได้ ที่ผมใช้คำว่า วิสามัญ หลายท่าน อาจจะมีเสียงเข้ามาที่หูผมว่าผมพูดผิดหรือเปล่านะครับ ที่จริงแล้วผมพูดไม่ตรงกับที่มีการแถลงข่าวไป เวลาเราแถลงข่าวนี่เราไม่ได้หลอกสื่อมวลชน แต่เราทำงานแบบปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของท่านสมาชิกนะครับ เมื่อกลางวันนี้ ก็มีการประชุมกัน ท่านสมาชิกผมขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านบวรศักดิ์ก็บอกว่าอย่าให้เป็น สามัญ อย่าให้เป็นสามัญเพราะว่าทางนโยบายของคณะ คสช. นี่อยากให้ผู้ที่สมัครเป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติและไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกนี่ได้มีโอกาสมาทำงานร่วมกับ พวกเราอย่างใกล้ชิด ซึ่งก็จะเห็นว่าท่านที่จะตั้งผู้ติดตาม ผู้ชำนาญการ และผู้เชี่ยวชาญ ของท่านนี่ท่านก็ต้องตั้ง ๑ คนจาก ๕ คนที่มาจากผู้สมัคร กรณีนี้ก็เช่นเดียวกันนะครับ เราก็จะเปิดกว้างให้คณะกรรมาธิการของเราทุกคณะซึ่งขณะนี้มี ๑๗ คณะ ที่เดิมเรียกว่า สามัญเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยจะมีคนนอกสามารถเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็น กรรมาธิการวิสามัญกับเราได้ ๑ ใน ๕ ก็ประมาณ ๗ คนนะครับ อันนี้ก็จะเป็นแนวคิด ที่จะเสนอในที่ประชุมพรุ่งนี้ เพราะฉะนั้นจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภาปฏิรูปแห่งชาติ ก็ขออนุญาตกราบเรียน ถ้าไม่ขัดข้องก็จะทำตามนี้ แต่ถ้ามี ความเห็นเป็นอย่างอื่นขอเชิญท่านให้ความเห็นเพิ่มเติมได้ครับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะผู้แทนของคณะกรรมาธิการ ใคร่ขออนุญาตกราบเรียนผ่าน ท่านประธานไปยังท่านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติถึงความคืบหน้าในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ของคณะกรรมาธิการ โดยในวันนี้กระผมใคร่ขออนุญาตชี้แจงใน ๒ เรื่องที่อยู่ในส่วนที่ ๕ คือองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของภาคที่ ๓ เป็นตอนที่ ๑ คือคณะกรรมการการเลือกตั้ง และตอนที่ ๒ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
กราบเรียนท่านประธาน สภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะผู้แทนของคณะกรรมาธิการ ใคร่ขออนุญาตกราบเรียนผ่าน ท่านประธานไปยังท่านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติถึงความคืบหน้าในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ของคณะกรรมาธิการ โดยในวันนี้กระผมใคร่ขออนุญาตชี้แจงใน ๒ เรื่องที่อยู่ในส่วนที่ ๕ คือองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของภาคที่ ๓ เป็นตอนที่ ๑ คือคณะกรรมการการเลือกตั้ง และตอนที่ ๒ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ในส่วนของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น ในมาตราแรกได้กำหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วยกรรมการ ๕ คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตาม คำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ประจักษ์ การสรรหากรรมการการเลือกตั้งให้ดำเนินการดังนี้
ในส่วนของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น ในมาตราแรกได้กำหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วยกรรมการ ๕ คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตาม คำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ประจักษ์ การสรรหากรรมการการเลือกตั้งให้ดำเนินการดังนี้
กลุ่มที่ ๑ ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการ การเลือกตั้ง จำนวน ๒ คน และ
กลุ่มที่ ๑ ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการ การเลือกตั้ง จำนวน ๒ คน และ
กลุ่มที่ ๒ ให้คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งสรรหาผู้สมควรเป็น กรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๓ คน
กลุ่มที่ ๒ ให้คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งสรรหาผู้สมควรเป็น กรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๓ คน
คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง สำหรับกลุ่มที่ ๒ นั้น ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจาก ๕ ฝ่าย ฝ่ายแรกคือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๔ คน ซึ่งเลือกโดย ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ๒ คน และเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ๒ คน กลุ่มที่ ๒ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๓ คน ซึ่งเลือกโดยพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง ฝ่ายรัฐบาล ๑ คน และเลือกโดยพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองฝ่ายค้าน ๒ คน
คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง สำหรับกลุ่มที่ ๒ นั้น ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจาก ๕ ฝ่าย ฝ่ายแรกคือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๔ คน ซึ่งเลือกโดย ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ๒ คน และเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ๒ คน กลุ่มที่ ๒ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๓ คน ซึ่งเลือกโดยพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง ฝ่ายรัฐบาล ๑ คน และเลือกโดยพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองฝ่ายค้าน ๒ คน
กลุ่มที่ ๓ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑ คน ซึ่งเลือกโดยคณะรัฐมนตรี
กลุ่มที่ ๓ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑ คน ซึ่งเลือกโดยคณะรัฐมนตรี
กลุ่มที่ ๔ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ คน ซึ่งเลือกโดยอธิการบดี ในสถาบันอุดมศึกษา และ
กลุ่มที่ ๔ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ คน ซึ่งเลือกโดยอธิการบดี ในสถาบันอุดมศึกษา และ
กลุ่มที่ ๕ คือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ คน ซึ่งเลือกโดยสมัชชาคุณธรรม แห่งชาติ ก็จะมีกรรมการสรรหาจำนวน ๑๒ คน ที่เป็นผู้แทนของทั้ง ๓ อำนาจ และภาคประชาชน และภาคการศึกษา มติในการสรรหาดังกล่าวต้องลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คือต้องมี จำนวนไม่น้อยกว่า ๘ คน เหตุผลที่เราใช้มติ ๒ ใน ๓ เพราะว่าเราให้เลือกมาเป็นจำนวน เท่ากับตำแหน่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะเลือก ไม่ได้เลือกมา ๒ เท่า ประธานวุฒิสภาในมาตรา ๔ ก็จะเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติให้ความเห็นชอบผู้ได้รับ การสรรหาโดยการลงคะแนนลับ ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบในรายชื่อใดหรือว่าทั้งหมด หรือบางส่วนให้ส่งรายชื่อนั้นกลับไปยังที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา หรือคณะกรรมการสรรหา กรรมการการเลือกตั้งแล้วแต่กรณี เพื่อให้ดำเนินการสรรหาใหม่ อันนี้ก็จะต่างจาก รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ที่เมื่อส่งกรรมการท่านใดที่วุฒิสภาไม่เห็นชอบกลับไป กรรมการสรรหา ก็จะไปประชุมกัน ถ้ามีมติเอกฉันท์ก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ เลย ส่งให้ประธานวุฒิสภา นำขึ้นทูลเกล้าฯ เลย คือสามารถที่จะโอเวอร์รูล (Overrule) มติของวุฒิสภาได้ กรณีในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ก็จะเป็นอันว่าต้องไปสรรหาคนใหม่มา ในมาตรา ๓ กรรมการการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๖ ปี มาตรา ๘ ก็จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และควบคุมการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและ ผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ตรงนี้มีข้อสังเกตก็คือว่าได้ตัดหน้าที่การจัดการเลือกตั้งออก เพราะฉะนั้นจะมีหน้าที่ควบคุม การเลือกตั้ง ประธานกรรมการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องทั้ง ๓ ฉบับ หรือถ้าจะมีเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการเลือกตั้งทั้งหมดและกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในมาตรา ๙ จะพูดถึง อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ทั้งหมด ๑๐ ประการ แล้วก็มาตรา ๙ (๑๑) นี่ก็ยังมีอำนาจหน้าที่อื่นที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอีก ๗-๘ ข้อนะครับ เพราะฉะนั้นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งจะมีเหมือนที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ จะมีเหมือนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพียงแต่ว่ายกเว้นอำนาจในการ จัดการเลือกตั้งซึ่งจะไปอยู่ในมาตรา ๑๐ ให้มีคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวง สาธารณสุข และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งจากข้าราชการในหน่วยงาน หน่วยงานละ ๑ คน เป็นองค์คณะ ๗ คนนะครับ ทำหน้าที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติ แล้วก็ได้กำหนดไว้ว่าคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง และการพ้นจากตำแหน่ง ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้งนั้นจะไปบัญญัติไว้ใน กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยในเรื่องของ อำนาจหน้าที่นั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วยอำนาจในการแต่งตั้ง คณะกรรมการในระดับ พื้นที่ก็คือคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำจังหวัด ซึ่งต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่ได้เป็น บุคลากรในภาครัฐรวมอยู่ด้วย ตรงนี้ผมจะขออนุญาตเรียนอธิบายเหตุผลในการที่ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ออกแบบการจัดการเลือกตั้งเป็น ๒ องค์กร ก็โดยที่ ในหลักทั่วไปในการบริหารจัดการกิจการที่มีความสำคัญของชาติทั้งในประเทศเราเองและ ในสากล เรามักจะแยกผู้ดำเนินการกับผู้ตรวจสอบออกเป็น ๒ องค์กร ก็คือแยก โอเปอเรเตอร์ (Operator) กับ เรกกูเลเตอร์ (Regulator) ออกเป็น ๒ หน่วยงานที่จะทำให้ มีการตรวจสอบถ่วงดุลและการจัดการนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นไปด้วยความโปร่งใส สุจริต ยุติธรรม เพราะฉะนั้นตรงนี้ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ออกแบบให้มี คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งขึ้นมาก็โดยที่ว่า ในการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการ การเลือกตั้งหรือ กกต. มีภาระหน้าที่ที่ค่อนข้างมาก มีอำนาจหน้าที่ในทุก ๆ เรื่อง มีการดำเนินการในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งในทุก ๆ กรณี เพราะฉะนั้น จึงทำให้การทำงานของ กกต. อาจจะมีงานที่ค่อนข้างมาก เราจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาชุดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ๗ คน ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการจัดตั้ง คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำจังหวัดซึ่งจะกำหนดไว้ในกฎหมายก็ประมาณ ๗-๙ คน โดยในส่วนนั้นจะต้องมีภาคเอกชนหรือภาคประชาสังคมที่จะเข้ามาเป็นกรรมการด้วย เพราะฉะนั้นคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะมีหน้าที่หลักคือการจัดการ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง เราได้กำหนดที่จะให้มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน ๒๕๐ คน ซึ่งจะมานำเรียนให้ ท่านสมาชิกได้รับทราบต่อไปในขั้นตอนต่อ ๆ ไป เมื่อเราแบ่งประเทศไทยเป็น ๒๕๐ เขตเลือกตั้งก็จะมีคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง ประจำเขตจะอยู่ที่ประมาณ ๕ คน ซึ่งจะได้รับการเสนอแนะจากคณะกรรมการจัดการ เลือกตั้งประจำจังหวัดมายังคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งส่วนกลางเพื่อแต่งตั้งบุคคล เหล่านั้น เพราะฉะนั้นนี่คือหน้าที่ที่จะกำหนดไว้ให้คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งรับผิดชอบ ตรงนี้ในความเป็นจริงแล้วเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นอกจากบุคลากรของ กกต. จำนวนประมาณ ๒,๕๐๐ คนแล้วจะมีเจ้าหน้าที่จาก กระทรวง ทบวง กรม อีกประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน เข้ามารับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง ตั้งแต่ประจำเขตเลือกตั้ง และประจำหน่วยเลือกตั้งซึ่งมีนับหมื่นหน่วย แล้วแต่ละหน่วยจะมี เจ้าหน้าที่อีก ๙ คน ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำหน่วย เพราะฉะนั้น ในรูปแบบที่ออกแบบนี้ก็จึงให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้งอยู่แล้วในระดับบน ได้เป็นคนในภาคเดียวกัน แต่ก็จะมีการถ่วงดุล แม้แต่ในกรรมการจัดการเลือกตั้ง ที่จะมีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนในการพิจารณา ซึ่งเราก็มีความเชื่อว่าจะมีประสิทธิภาพในการ จัดการเลือกตั้งเพิ่มมากขึ้น แล้วก็จะมีการถ่วงดุลภายในคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งเอง นอกจากนี้หน้าที่ที่เหลืออยู่ทั้งหมดเป็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งยังคงมี คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดที่ดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการ การเลือกตั้งส่วนกลางจะมีหน้าที่ที่สำคัญในการที่จะวินิจฉัยการเลือกตั้งทั้งสิ้นทั้งปวงตั้งแต่ การจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง การกำหนดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิสมัคร รับเลือกตั้ง และตลอดจนกฎเกณฑ์ในการลงคะแนนเสียงต่าง ๆ ยกเว้นการดำเนินการ ด้านธุรการที่เกี่ยวกับการลงคะแนนและการนับคะแนน การประกาศผลการเลือกตั้ง ก็ยังคงเป็นอำนาจของกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. นอกจากนั้น กกต. ยังมีอำนาจ ในการสืบสวนสอบสวนและสั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ในทั้ง ๒ กรณี เช่น กรณีที่การจัดการ เลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยคณะกรรมการเชื่อว่าไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมก็ให้จัดการเลือกตั้งใหม่ นั่นคือ การให้ใบเหลืองผู้จัดการเลือกตั้ง และการให้ใบเหลืองผู้ที่ชนะการเลือกตั้ง ถ้ากรรมการ กกต. เห็นว่าดำเนินการโดยมีการทุจริตก็จะให้จัดการเลือกตั้งใหม่ แต่อำนาจในการให้ใบแดงนั้น จะไปอยู่ที่ศาลอุทธรณ์กลาง หรือที่เราเรียกว่าศาลอุทธรณ์ที่กรุงเทพฯ นี้ ในการพิจารณา ซึ่งจะเป็นการพิจารณาที่กำหนดขึ้นโดยวิธีพิจารณาคดีเลือกตั้งที่ศาลฎีกาเป็นผู้กำหนด เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จะเป็นรูปแบบใหม่ของการจัดการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมว่า การจะได้ใบแดงนั้น หรือการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นจะดำเนินการในรูปแบบที่เป็น แบบเดียวกันคือศาลเป็นผู้ให้ ไม่ใช่ว่า ๓๐ วันแรก กกต. เป็นผู้ให้แล้วที่เหลือให้ศาลเป็นผู้ให้ แล้วก็ยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่ถูกฟ้องว่าทำการทุจริตในการเลือกตั้งสามารถยื่นฎีกาได้ แต่อันนี้ก็ต้อง เป็นไปตามระเบียบของศาลฎีกาว่าจะให้ยื่นฎีกาได้ในกรณีใดบ้างนะครับ เพราะฉะนั้น ในการดำเนินการของ กกต. ของการจัดการเลือกตั้งจึงได้กำหนดเป็นแนวทางอย่างที่ผมได้ กราบเรียนให้ท่านสมาชิกได้รับทราบ
กลุ่มที่ ๕ คือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ คน ซึ่งเลือกโดยสมัชชาคุณธรรม แห่งชาติ ก็จะมีกรรมการสรรหาจำนวน ๑๒ คน ที่เป็นผู้แทนของทั้ง ๓ อำนาจ และภาคประชาชน และภาคการศึกษา มติในการสรรหาดังกล่าวต้องลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คือต้องมี จำนวนไม่น้อยกว่า ๘ คน เหตุผลที่เราใช้มติ ๒ ใน ๓ เพราะว่าเราให้เลือกมาเป็นจำนวน เท่ากับตำแหน่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะเลือก ไม่ได้เลือกมา ๒ เท่า ประธานวุฒิสภาในมาตรา ๔ ก็จะเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติให้ความเห็นชอบผู้ได้รับ การสรรหาโดยการลงคะแนนลับ ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบในรายชื่อใดหรือว่าทั้งหมด หรือบางส่วนให้ส่งรายชื่อนั้นกลับไปยังที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา หรือคณะกรรมการสรรหา กรรมการการเลือกตั้งแล้วแต่กรณี เพื่อให้ดำเนินการสรรหาใหม่ อันนี้ก็จะต่างจาก รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ที่เมื่อส่งกรรมการท่านใดที่วุฒิสภาไม่เห็นชอบกลับไป กรรมการสรรหา ก็จะไปประชุมกัน ถ้ามีมติเอกฉันท์ก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ เลย ส่งให้ประธานวุฒิสภา นำขึ้นทูลเกล้าฯ เลย คือสามารถที่จะโอเวอร์รูล (Overrule) มติของวุฒิสภาได้ กรณีในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ก็จะเป็นอันว่าต้องไปสรรหาคนใหม่มา ในมาตรา ๓ กรรมการการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๖ ปี มาตรา ๘ ก็จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และควบคุมการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและ ผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ตรงนี้มีข้อสังเกตก็คือว่าได้ตัดหน้าที่การจัดการเลือกตั้งออก เพราะฉะนั้นจะมีหน้าที่ควบคุม การเลือกตั้ง ประธานกรรมการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องทั้ง ๓ ฉบับ หรือถ้าจะมีเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการเลือกตั้งทั้งหมดและกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในมาตรา ๙ จะพูดถึง อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ทั้งหมด ๑๐ ประการ แล้วก็มาตรา ๙ (๑๑) นี่ก็ยังมีอำนาจหน้าที่อื่นที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอีก ๗-๘ ข้อนะครับ เพราะฉะนั้นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งจะมีเหมือนที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ จะมีเหมือนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพียงแต่ว่ายกเว้นอำนาจในการ จัดการเลือกตั้งซึ่งจะไปอยู่ในมาตรา ๑๐ ให้มีคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวง สาธารณสุข และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งจากข้าราชการในหน่วยงาน หน่วยงานละ ๑ คน เป็นองค์คณะ ๗ คนนะครับ ทำหน้าที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติ แล้วก็ได้กำหนดไว้ว่าคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง และการพ้นจากตำแหน่ง ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้งนั้นจะไปบัญญัติไว้ใน กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยในเรื่องของ อำนาจหน้าที่นั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วยอำนาจในการแต่งตั้ง คณะกรรมการในระดับ พื้นที่ก็คือคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำจังหวัด ซึ่งต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่ได้เป็น บุคลากรในภาครัฐรวมอยู่ด้วย ตรงนี้ผมจะขออนุญาตเรียนอธิบายเหตุผลในการที่ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ออกแบบการจัดการเลือกตั้งเป็น ๒ องค์กร ก็โดยที่ ในหลักทั่วไปในการบริหารจัดการกิจการที่มีความสำคัญของชาติทั้งในประเทศเราเองและ ในสากล เรามักจะแยกผู้ดำเนินการกับผู้ตรวจสอบออกเป็น ๒ องค์กร ก็คือแยก โอเปอเรเตอร์ (Operator) กับ เรกกูเลเตอร์ (Regulator) ออกเป็น ๒ หน่วยงานที่จะทำให้ มีการตรวจสอบถ่วงดุลและการจัดการนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นไปด้วยความโปร่งใส สุจริต ยุติธรรม เพราะฉะนั้นตรงนี้ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ออกแบบให้มี คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งขึ้นมาก็โดยที่ว่า ในการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการ การเลือกตั้งหรือ กกต. มีภาระหน้าที่ที่ค่อนข้างมาก มีอำนาจหน้าที่ในทุก ๆ เรื่อง มีการดำเนินการในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งในทุก ๆ กรณี เพราะฉะนั้น จึงทำให้การทำงานของ กกต. อาจจะมีงานที่ค่อนข้างมาก เราจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาชุดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ๗ คน ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการจัดตั้ง คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำจังหวัดซึ่งจะกำหนดไว้ในกฎหมายก็ประมาณ ๗-๙ คน โดยในส่วนนั้นจะต้องมีภาคเอกชนหรือภาคประชาสังคมที่จะเข้ามาเป็นกรรมการด้วย เพราะฉะนั้นคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะมีหน้าที่หลักคือการจัดการ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง เราได้กำหนดที่จะให้มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน ๒๕๐ คน ซึ่งจะมานำเรียนให้ ท่านสมาชิกได้รับทราบต่อไปในขั้นตอนต่อ ๆ ไป เมื่อเราแบ่งประเทศไทยเป็น ๒๕๐ เขตเลือกตั้งก็จะมีคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง ประจำเขตจะอยู่ที่ประมาณ ๕ คน ซึ่งจะได้รับการเสนอแนะจากคณะกรรมการจัดการ เลือกตั้งประจำจังหวัดมายังคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งส่วนกลางเพื่อแต่งตั้งบุคคล เหล่านั้น เพราะฉะนั้นนี่คือหน้าที่ที่จะกำหนดไว้ให้คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งรับผิดชอบ ตรงนี้ในความเป็นจริงแล้วเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นอกจากบุคลากรของ กกต. จำนวนประมาณ ๒,๕๐๐ คนแล้วจะมีเจ้าหน้าที่จาก กระทรวง ทบวง กรม อีกประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน เข้ามารับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง ตั้งแต่ประจำเขตเลือกตั้ง และประจำหน่วยเลือกตั้งซึ่งมีนับหมื่นหน่วย แล้วแต่ละหน่วยจะมี เจ้าหน้าที่อีก ๙ คน ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำหน่วย เพราะฉะนั้น ในรูปแบบที่ออกแบบนี้ก็จึงให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้งอยู่แล้วในระดับบน ได้เป็นคนในภาคเดียวกัน แต่ก็จะมีการถ่วงดุล แม้แต่ในกรรมการจัดการเลือกตั้ง ที่จะมีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนในการพิจารณา ซึ่งเราก็มีความเชื่อว่าจะมีประสิทธิภาพในการ จัดการเลือกตั้งเพิ่มมากขึ้น แล้วก็จะมีการถ่วงดุลภายในคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งเอง นอกจากนี้หน้าที่ที่เหลืออยู่ทั้งหมดเป็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งยังคงมี คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดที่ดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการ การเลือกตั้งส่วนกลางจะมีหน้าที่ที่สำคัญในการที่จะวินิจฉัยการเลือกตั้งทั้งสิ้นทั้งปวงตั้งแต่ การจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง การกำหนดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิสมัคร รับเลือกตั้ง และตลอดจนกฎเกณฑ์ในการลงคะแนนเสียงต่าง ๆ ยกเว้นการดำเนินการ ด้านธุรการที่เกี่ยวกับการลงคะแนนและการนับคะแนน การประกาศผลการเลือกตั้ง ก็ยังคงเป็นอำนาจของกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. นอกจากนั้น กกต. ยังมีอำนาจ ในการสืบสวนสอบสวนและสั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ในทั้ง ๒ กรณี เช่น กรณีที่การจัดการ เลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยคณะกรรมการเชื่อว่าไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมก็ให้จัดการเลือกตั้งใหม่ นั่นคือ การให้ใบเหลืองผู้จัดการเลือกตั้ง และการให้ใบเหลืองผู้ที่ชนะการเลือกตั้ง ถ้ากรรมการ กกต. เห็นว่าดำเนินการโดยมีการทุจริตก็จะให้จัดการเลือกตั้งใหม่ แต่อำนาจในการให้ใบแดงนั้น จะไปอยู่ที่ศาลอุทธรณ์กลาง หรือที่เราเรียกว่าศาลอุทธรณ์ที่กรุงเทพฯ นี้ ในการพิจารณา ซึ่งจะเป็นการพิจารณาที่กำหนดขึ้นโดยวิธีพิจารณาคดีเลือกตั้งที่ศาลฎีกาเป็นผู้กำหนด เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จะเป็นรูปแบบใหม่ของการจัดการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมว่า การจะได้ใบแดงนั้น หรือการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นจะดำเนินการในรูปแบบที่เป็น แบบเดียวกันคือศาลเป็นผู้ให้ ไม่ใช่ว่า ๓๐ วันแรก กกต. เป็นผู้ให้แล้วที่เหลือให้ศาลเป็นผู้ให้ แล้วก็ยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่ถูกฟ้องว่าทำการทุจริตในการเลือกตั้งสามารถยื่นฎีกาได้ แต่อันนี้ก็ต้อง เป็นไปตามระเบียบของศาลฎีกาว่าจะให้ยื่นฎีกาได้ในกรณีใดบ้างนะครับ เพราะฉะนั้น ในการดำเนินการของ กกต. ของการจัดการเลือกตั้งจึงได้กำหนดเป็นแนวทางอย่างที่ผมได้ กราบเรียนให้ท่านสมาชิกได้รับทราบ
ในเรื่องสุดท้ายผมขออนุญาตเรียนชี้แจงถึงคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ในเรื่องสุดท้ายผมขออนุญาตเรียนชี้แจงถึงคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ในมาตรา ๑ การตรวจเงินแผ่นดินให้กระทำโดยคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอีก ๖ คน กรรมการสรรหา คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจะเป็นคณะกรรมการในรูปแบบเดียวกับคณะกรรมการสรรหา กกต. กลุ่มที่ ๒ แต่ว่าไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน เพราะว่าเราจะให้ผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็น ผู้ดำเนินการสรรหา เพราะฉะนั้นผู้ทรงคุณวุฒิที่มาในแต่ละองค์คณะนั้นก็ไม่จำเป็นจะต้อง เป็นคนเดิม ก็เป็นหน้าที่ของผู้คัดเลือก ไม่ว่าจะเป็นที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา หรือว่าจะเป็น ตัวแทนของพรรคการเมือง เขาก็จะพิจารณาว่าในแต่ละกรรมการนั้นควรจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ด้านไหนที่จะมาสรรหาในแต่ละกรณี คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินก็จะเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน โดยอย่างน้อยต้องมีข้อห้ามไม่ให้บุคคลซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง กรรมการในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามส่วนนี้มาแล้ว เข้ารับการสรรหา เพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐองค์กรอื่นอีก ผมขออธิบายนิดหนึ่งว่า เราได้แยกแยะคำว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ถ้าท่านไปดูรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ท่านจะเห็นเพียงแต่ว่าองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยที่รัฐธรรมนูญซึ่งมี ๒๐๐-๓๐๐ มาตรา ได้พูดถึงองค์กรต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา หรือองค์กรอื่น ๆ เช่น องค์กรที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่าง ๆ เพราะฉะนั้นองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งหมด ที่รัฐธรรมนูญกล่าวถึง ก็คือองค์กรตามรัฐธรรมนูญนั่นเอง จึงทำให้เราต้องขีดวงว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่อยู่ในกลุ่มนี้ ที่เริ่มตั้งแต่ กกต. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ป.ป.ช. แล้วก็คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ที่จะได้กล่าวต่อไปในครั้งหน้านี่นะครับ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้ชัดเจนนะครับ ๔-๕ องค์กรนี้จะเรียกชื่อตามนี้ สิ่งที่ผมได้กราบเรียนก็คือว่า ถ้าใครอยู่ในองค์กรไหน แล้วไม่สามารถจะไปสมัครรับเลือก การสรรหาเป็นกรรมการในองค์กรอื่นอีก ไม่ว่าจะเคยพ้นมาแล้ว หรือไม่ว่าจะเป็นอยู่แล้วเห็นเขาเปิดใหม่แล้วขอลาออกเพื่อจะไป สมัครในที่ใหม่ อันนี้ก็จะต้องห้ามไว้นะครับ
ในมาตรา ๑ การตรวจเงินแผ่นดินให้กระทำโดยคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอีก ๖ คน กรรมการสรรหา คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจะเป็นคณะกรรมการในรูปแบบเดียวกับคณะกรรมการสรรหา กกต. กลุ่มที่ ๒ แต่ว่าไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน เพราะว่าเราจะให้ผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็น ผู้ดำเนินการสรรหา เพราะฉะนั้นผู้ทรงคุณวุฒิที่มาในแต่ละองค์คณะนั้นก็ไม่จำเป็นจะต้อง เป็นคนเดิม ก็เป็นหน้าที่ของผู้คัดเลือก ไม่ว่าจะเป็นที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา หรือว่าจะเป็น ตัวแทนของพรรคการเมือง เขาก็จะพิจารณาว่าในแต่ละกรรมการนั้นควรจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ด้านไหนที่จะมาสรรหาในแต่ละกรณี คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินก็จะเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน โดยอย่างน้อยต้องมีข้อห้ามไม่ให้บุคคลซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง กรรมการในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามส่วนนี้มาแล้ว เข้ารับการสรรหา เพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐองค์กรอื่นอีก ผมขออธิบายนิดหนึ่งว่า เราได้แยกแยะคำว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ถ้าท่านไปดูรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ท่านจะเห็นเพียงแต่ว่าองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยที่รัฐธรรมนูญซึ่งมี ๒๐๐-๓๐๐ มาตรา ได้พูดถึงองค์กรต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา หรือองค์กรอื่น ๆ เช่น องค์กรที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่าง ๆ เพราะฉะนั้นองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งหมด ที่รัฐธรรมนูญกล่าวถึง ก็คือองค์กรตามรัฐธรรมนูญนั่นเอง จึงทำให้เราต้องขีดวงว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่อยู่ในกลุ่มนี้ ที่เริ่มตั้งแต่ กกต. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ป.ป.ช. แล้วก็คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ที่จะได้กล่าวต่อไปในครั้งหน้านี่นะครับ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้ชัดเจนนะครับ ๔-๕ องค์กรนี้จะเรียกชื่อตามนี้ สิ่งที่ผมได้กราบเรียนก็คือว่า ถ้าใครอยู่ในองค์กรไหน แล้วไม่สามารถจะไปสมัครรับเลือก การสรรหาเป็นกรรมการในองค์กรอื่นอีก ไม่ว่าจะเคยพ้นมาแล้ว หรือไม่ว่าจะเป็นอยู่แล้วเห็นเขาเปิดใหม่แล้วขอลาออกเพื่อจะไป สมัครในที่ใหม่ อันนี้ก็จะต้องห้ามไว้นะครับ
ในส่วนของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินนั้น อำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ก็ยังเป็นไปตามที่กำหนดไว้เหมือนเดิมนะครับ น่าจะไปกำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ผมขออนุญาตใช้เวลาเพียงแค่นี้กราบเรียนแก่ ท่านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติผ่านท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ขอบพระคุณครับ
ในส่วนของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินนั้น อำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ก็ยังเป็นไปตามที่กำหนดไว้เหมือนเดิมนะครับ น่าจะไปกำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ผมขออนุญาตใช้เวลาเพียงแค่นี้กราบเรียนแก่ ท่านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติผ่านท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพและเพื่อน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่รักทุกท่าน กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งได้รับการเสนอจากด้านพลังงานให้เป็นตัวแทนเข้ามาทำหน้าที่เป็น กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งกระผมจะถือว่าเป็นเกียรติประวัติอย่างยิ่งถ้าหากได้รับ มอบภาระหน้าที่อันสำคัญยิ่งนี้ ในงานที่ทำนอกจากได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี ๒๕๕๑ แล้วได้มีส่วนในด้านรัฐธรรมนูญหลายครั้งในระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิก วุฒิสภา เป็นกรรมาธิการพิจารณาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ของวุฒิสภา เป็นประธานกรรมการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องของคณะกรรมการ สมานฉันท์ ซึ่งมีท่านประธานสภา ชัย ชิดชอบ เป็นประธาน เป็นรองประธานกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นอกจากนั้นผมก็ได้ทำงานในด้านรัฐวิสาหกิจ เป็นประธานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานองค์การสวนสัตว์ และเป็นกรรมการในอีกหลายแห่ง ในด้านการศึกษานั้น ผมได้รับ ทุนกองทัพบกศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาหลายครั้งรวมกันเกือบ ๙ ปี ได้รับปริญญาโท ด้านวิศวกรรมโยธาจากแมสซาชูเซตส์ อินสทิทิว ออฟ เทคโนโลยี ปริญญาโททางด้าน การบริหารระบบจากยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ เซาเทิร์น แคลิฟอร์เนีย ผมได้รับเกียรติยศอันสูงยิ่ง จากมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ๓ แห่ง มอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้นะครับ ซึ่งในระยะเวลา ๑๐ ปีที่ผ่านมาในด้านการทำงานเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญนั้นผมคิดว่ากรอบ เวลา ๔ เดือนนั้นก็น่าจะเพียงพอ ผมเป็นคนทำงานเร็วครับ ประชุม ๓ ครั้ง ตอนนี้ข้อบังคับ ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผมมีข้อสงสัยครับ มีหลายท่านที่มาขอเข้ากรรมาธิการ ในวันนี้ คือแต่ละท่านจะมีเหตุผลที่ต่างกัน บางเหตุผลก็เหมาะสม บางเหตุผลก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น อย่างผมฟังท่านหนึ่งท่านบอกว่าท่านสมัครมา ๔ อัน กรรมาธิการบรรจุท่านที่เดียว มันต้องมี ที่ไปที่มา ผมไม่เชื่อว่าท่านรองทัศนาซึ่งเป็นหญิงแกร่งจะไปทำผิดพลาดอย่างนั้นได้ แสดงว่า ท่านไปติ๊กเอาไว้ว่าท่านต้องการอยู่คณะเดียว ถ้าท่านใส่ไป ๔ อัน ท่านก็จะได้คณะเดียว เมื่อท่านแสดงความจำนงว่าท่านจะอยู่คณะเดียวแล้ว แล้วกรรมาธิการบรรจุให้ท่าน ๑ คณะแล้ว ท่านจะมาขอเพิ่มในวันนี้ผมคิดว่าไม่เหมาะสม เพราะจริง ๆ แล้วถ้าจะขอเพิ่มควรจะขอเพิ่ม หลังจากที่มีการเลือกตั้งไปแล้ว อันนี้เพื่อเป็นการป้องกันการร้องเรียนในภายหลัง เพราะว่า เราจะต้องมีการเลือกตั้งกรรมาธิการต่าง ๆ บางท่านบอกจะอยู่คณะเดียว มาวันนี้มีเพื่อนมา บอกช่วยมาอยู่คณะนี้หน่อย นี่ครับมันจะเป็นปัญหาเกิดขึ้นได้ในอนาคต เราพร้อมที่จะรับท่านบรรจุในคณะไหนก็ได้ ที่ไม่เต็ม ในอาทิตย์หน้านี้ก็จะต้องมีคนมาขอลาออกอีก ๑๘ คน คนที่เป็นประธานทั้งหมดนี่ จะต้องลาออกจากคณะ มันจะมีคณะว่างทุกคณะแน่นอน แต่การจะบรรจุแต่ละท่านเข้าไป ในวันนี้นี่ ถ้าเป็นเหตุผลอันสมควรผมเห็นด้วย แต่ถ้าเป็นเพราะว่าเปลี่ยนใจนี่ ผมคิดว่า ไม่เหมาะ ขอบคุณครับ
ท่านประธานขออนุญาตครับ ท่านไม่มอง ทางขวาเลยนะครับ ผมจะไม่ทำให้เสียเวลาแต่ผมจะประหยัดเวลาท่านสมาชิก เมื่อสักครู่ ท่านประธานพูดถึงเรื่องการแต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญในข้อ ๘๔ อีก ๕ คณะ ถ้าวาดภาพ ให้ดีจะทำให้งานเร็วขึ้น ในเมื่อท่านได้กรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้วในวันนี้ ผมก็เชื่อว่าท่านประธานจะเรียกประชุมภายในสัปดาห์นี้ ก็จะสามารถกำหนดองค์ประกอบ ของกรรมาธิการทั้ง ๕ คณะในข้อ ๘๔ ได้ ในวันจันทร์หน้าท่านก็จะได้เรียกประชุมแล้วก็ให้ พวกเหล่านี้เสนอเลยแทนที่เขาจะต้องกลับไปประชุมกันอีก เพราะฉะนั้นผมจึงเสนอว่า ฝากเพื่อน ๆ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทั้ง ๑๘ คณะ วันนี้เมื่อท่านเลือกตำแหน่งต่าง ๆ ตามข้อบังคับแล้ว ท่านเลือกผู้แทนที่จะมาเป็นกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้ว ขอให้ท่านเลือกอีก ๕ คนไว้เลย เพราะผมการันตีได้ว่าองค์ประกอบทั้ง ๕ คณะนั้นก็ต้องมา จากผู้แทนของทั้ง ๑๘ คณะนี้ด้วยเป็นอย่างน้อย เพราะฉะนั้นท่านก็เลือก ๕ คนไว้เลย พอวันจันทร์หน้าเมื่อเรามาประชุมกันท่านก็สามารถเสนอได้โดยไม่ต้องไปประชุมกันอีกครับ นี่เป็นข้อเสนอครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมาธิการพิจารณายกร่างข้อบังคับการประชุม สภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... ขอกราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติดังนี้
ตามที่ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ วันอังคารที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ที่ประชุมได้มีมติตั้งกรรมาธิการ จำนวน ๑๙ คน เพื่อพิจารณายกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... โดยกำหนดเวลาการพิจารณายกร่างให้แล้วเสร็จใน ๑๕ วันนั้น ในการพิจารณายกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... คณะกรรมาธิการได้มีการประชุมพิจารณาทั้งหมด ๔ ครั้ง ซึ่งคณะกรรมาธิการได้กำหนดกรอบแนวทางในการพิจารณายกร่างข้อบังคับตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ และองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้มีการปฏิรูปในด้านการเมืองและด้านอื่น ๆ และให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่วางกติกาทางการเมืองให้รัดกุม เหมาะสม ป้องกันและปราบปรามการทุจริตสามารถตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เป็นธรรม คณะกรรมาธิการจึงได้ยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนด้วย
บัดนี้คณะกรรมาธิการได้พิจารณายกร่างข้อบังคับดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้เสนอให้คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ซึ่งมีท่านประธาน เป็นประธานร่วมพิจารณาด้วยแล้ว จึงกราบเรียนมาเพื่อได้โปรดนำเสนอที่ประชุม สภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณารับหลักการต่อไป ดังปรากฏรายละเอียดตามรายงาน ของคณะกรรมาธิการที่ได้แจกให้ท่านสมาชิกทุกท่านแล้ว ขอกราบขอบพระคุณครับ
พลเอก เลิศรัตน์ครับ ขอเพิ่มครับ เมื่อสักครู่มัวแต่ชี้แจงเลยไม่ได้กดครับ
เห็นด้วยครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ เท่าที่ฟังท่านสมาชิก ก็คงจะมีคู่มืออยู่ในมือแล้ว พอท่านเลขาธิการอ่านก็เลยยิ่งในช่วงแรก ๆ จะไม่ค่อยมีอะไรแก้ไข ทีนี้ผมขอเสนอเป็น ทางออกว่าให้ท่านเลขาธิการอ่านเฉพาะชื่อข้อได้ไหมครับ ข้อ ๕ แล้วถ้ามีใครจะแก้ไขอะไร ก็ให้ยกมือ ข้อ ๖ ไปอย่างนี้ครับ ก็จะเป็นการดำเนินการตามข้อบังคับ
กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ กรรมาธิการครับ ที่ท่านสมาชิกให้ข้อคิดเห็นนั้นมันก็มีตัวอย่าง อย่างเช่น ไปตั้งกรรมการ ไปจัดงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติ แต่ไปทำกับภาคประชาชน หรือไปทำในเรื่องของการบูรณะ การส่งเสริมอะไรก็แล้วแต่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทั้งหมดนั้นก็เป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภา เพราะฉะนั้นใน (๕) นี้ผมคิดว่าถ้าเขียนไว้แค่นี้ก็จะครอบคลุม แล้วก็เป็นอำนาจที่แท้จริงของ ท่านประธานในการแต่งตั้งกรรมการ ส่วน (๔) ก็สามารถเป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอกได้ อยู่แล้ว เช่น ไปเป็นกรรมการในคณะกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติอะไรต่าง ๆ ก็คิดว่า เท่าที่มีอยู่นี้น่าจะครอบคลุมแล้วครับ ขอบคุณครับ
ท่านประธานสภาครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ขอบคุณท่านสมาชิกที่ให้ข้อสังเกตอันนี้ อันนี้มีข้อสังเกตจาก หลาย ๆ ท่านเลย เราจะมีอยู่ ๒-๓ แห่งนอกเหนือจากตรงนี้อีก ก็ได้พิจารณากันหลายครั้งว่า ถ้าใส่ไว้แล้วมันจะถูกนำไปใช้หรือไม่ ก็เลยนึกถึงว่าเราจะมีการปฏิสัมพันธ์กับคณะรัฐมนตรี ในเรื่องไหนบ้าง ที่สำคัญคือข้อเสนอแนะที่ส่งไปที่คณะรัฐมนตรีจะมีทั้งตัวพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติที่เป็นพระราชบัญญัติการเงิน ถ้าเราจะส่ง พ.ร.บ. การเงินที่กรรมาธิการคณะต่าง ๆ คิดขึ้นและเป็น พ.ร.บ. การเงิน ก็ต้องส่งไปให้ ครม. เป็นผู้พิจารณาก่อนจะส่งไปที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพราะฉะนั้นเมื่อเราส่ง พ.ร.บ. ไปให้เขา ก็อาจจะมีกรณีที่ทาง ครม. อาจจะมีมติว่า ให้คณะรัฐมนตรีหรือให้รัฐมนตรีท่านใด ท่านหนึ่งมาประชุมเพื่อหาข้อคิดเห็น หาข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนที่จะให้ความเห็นชอบ พ.ร.บ. ฉบับนั้น เพราะฉะนั้นโอกาสที่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีจะมาประชุมกับเรานั้น มีค่อนข้างน้อย แต่ก็ยังมีอยู่บ้างนะครับ ก็จึงเขียนไว้ ก็อย่างที่ท่านผู้อภิปรายได้ชี้แจงนะครับ ทิ้งไว้ก็คงไม่เสียหายอะไร เราดูแล้วมันก็มีโอกาสเหมือนกัน ก็เลยขออนุญาตที่จะใส่ไว้นะครับ ขอบคุณครับ รู้สึกท่านจะพยักหน้าเห็นชอบแล้วด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ กรรมาธิการครับ มีนิดเดียวครับ ในบรรทัดที่ ๔ หรือ “ถูกสั่งให้ถอนคำพูด” แล้วแต่กรณี ไว้ในรายงานการประชุมสภา ขออนุญาตตัดคำว่า สภา ออก การประชุมครั้งนั้น เพราะว่ารายงานการประชุมที่ใช้มาในข้อ ๒๖ ไม่ได้ต่อท้ายด้วยคำว่า สภา คือเป็นที่เข้าใจกัน อยู่แล้ว ก็ขอขอบคุณครับ
ท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ กรรมาธิการครับ ต้องขออภัยท่านสมาชิกครับ พยายามฟังแล้วแต่ฟังท่านไม่รู้เรื่องเลย ท่านพูดใหม่ได้ไหมครับ อาจจะพูดใกล้ไมโครโฟน (Microphone) แล้วก็พูดช้านิดหนึ่งครับ
ขอบพระคุณท่านประธานครับ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ในข้อที่ท่านสมาชิกได้กรุณากล่าวถึงนี้ ถ้าเราดู ในข้อ ๓๓ ในกรณีที่สมาชิกกล่าวถ้อยคำในที่ประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ อันอาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่น เพราะฉะนั้นประเด็นจึงอยู่ที่ว่าเป็นการกล่าว ในที่ประชุม แล้วก็ถ่ายทอดออกไปทางวิทยุและโทรทัศน์ ก็มิได้รวมถึงถ้าจะมีคนเอาไปเขียน นี่นะครับ ไปโพสต์ลงในออนไลน์ (Online) หรือในสื่อใดก็แล้วแต่ อันนั้นก็ต้องไปว่าถึง ผู้ที่นำไปโพสต์ลงต่อไปนะครับ ที่เรารับผิดชอบหรือเป็นเรื่องที่เขียนอยู่ในส่วนนี้ของหมวด ก็จะเกี่ยวข้องเฉพาะที่มีการถ่ายทอดออกไปทางวิทยุและทางโทรทัศน์เท่านั้นครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ที่ท่านสมาชิกเสนอก็คิดว่ารับได้ครับ เพิ่มคำว่า หรือช่องทางสื่อสารอื่น ต่อจากคำว่า วิทยุโทรทัศน์ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ที่เสนอให้ส่งกลับไปกรรมาธิการกิจการสภาหรืออย่างไรครับ หรือตั้งกรรมาธิการขึ้นมาใหม่ครับเรียนถามผู้อภิปรายนิดหนึ่ง จะให้ตั้งกรรมาธิการ ขึ้นมาใหม่พิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะหรือให้ส่งกลับไปที่คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภา ปฏิรูปแห่งชาติ
ขอบคุณครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการนะครับ กราบเรียนท่านประธานคือในข้อ ๓๙ และข้อ ๔๐ โยงกันอยู่นี่ แล้วผมก็ เชื่อว่าท่านประธานก็คงจะสามารถวินิจฉัยได้ว่าญัตติที่สมาชิกเสนอ และท่านประธานเอง ก็มีคณะทำงาน มีที่ปรึกษาอยู่ทั้งที่แต่งตั้งตามระเบียบของสภาอยู่แล้ว ผมคิดว่า น่าจะสามารถวินิจฉัยได้ ก็คงจะขอยืนยันตามข้อ ๓๙ และข้อ ๔๐ นี้ครับ
ท่านประธานครับ ขออนุญาตปรับนิดหนึ่ง พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ในวรรคสองของข้อ ๕๓ ในประโยคสุดท้ายเลย คณะกรรมาธิการให้มีฐานะเสมือนเป็นผู้เสนอญัตติด้วย พิมพ์ผิดนะครับ จาก แปร เปลี่ยนเป็น ผู้เสนอญัตติด้วย ขอบพระคุณครับ
ท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ผมคิดว่าข้อเสนอของท่านผู้อภิปรายท่านสุดท้ายน่าจะเป็นคำตอบ ที่กลาง ๆ นะครับ แล้วก็ยังคงให้มีการอภิปรายของทั้ง ๒ ฝ่าย แต่ไม่ต้องถึงกับว่าจะต้องมา จัดลำดับใครก่อนใครหลังอย่างนั้น ก็ขออนุญาตรับข้อคิดเห็นของท่านผู้เสนอในอันหลังสุด เป็นมติของที่ประชุม ถ้าเผื่อไม่มีใครคัดค้าน ก็จะจบอยู่ที่ตรงนั้นเลยในข้อ ๕๔ แล้วไม่ต้อง มีข้อความในวรรคสอง
กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานกรรมาธิการ ก็คิดว่ามีผู้เสนอทางออกนะครับ ที่ดูแล้วสละสลวย แล้วก็เหมาะสมกับการทำหน้าที่ของสภาของเรา เพราะฉะนั้นที่ท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ ขออนุญาตที่เอ่ยนามท่านได้เสนอมาในครั้งสุดท้ายนี้ก็ได้หารือกันแล้วว่าน่าจะเป็นคำพูด ที่เหมาะสมครับ ขอให้ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบตามนั้นด้วยนะครับ
ท่านประธานครับ กราบเรียนท่านประธาน พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ขออนุญาตเพิ่ม ๑ คำในวรรคสอง ห้ามผู้อภิปรายแสดงกิริยาหรือใช้วาจาไม่สุภาพ ใส่ร้าย หรือเสียดสีบุคคลใด และห้ามกล่าวถึง เติมคำว่า สถาบันพระมหากษัตริย์หรือออกชื่อสมาชิกหรือบุคคลใดโดยไม่จำเป็น ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ในข้อ ๖๗ ประโยคแรกเลย ภายใต้บังคับบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญ เผอิญรัฐธรรมนูญอันนี้จะหมายถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งไม่ได้เขียนในเรื่องการออกเสียงลงคะแนนไว้ อันนี้เป็น ข้อความที่ใช้มาจากรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ผมจึงขออนุญาตตัดบรรทัดแรกออกนะครับ ตัดคำว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ออก ส่วนที่เหลือก็เป็นข้อความตามนั้น ซึ่งเป็นข้อความที่คณะกรรมาธิการได้ยกร่างขึ้นไม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ต้องขอบคุณนะครับในข้อสังเกตนี้ เพราะฉะนั้นผมขอเพิ่มเติมในข้อ ๘๐ ให้ชัดเจนไปหมดทั้ง ๒ วรรคเลย ข้อ ๘๐ ในบรรทัดที่ ๑ ให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาขึ้นเพื่อพิจารณา กระทำกิจการ หรือศึกษา เรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาหรือตามที่สภามอบหมาย ทั้งนี้ ในการกระทำ กิจการของคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ขอเติมให้เต็มเลยนะครับ วิสามัญประจำสภา และเช่นเดียวกันในวรรคสองให้เติม หากคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภาคณะใดเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาคณะนั้นจัดทำร่าง ในข้อ ๘๐ เราหมายถึงคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาทั้งหมด ก็ขออนุญาตให้เขียนด้วย คำเต็มทั้งหมดครับ
ส่วนประเด็นที่ท่านถามในเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชนก็จะมีอยู่ในนี้ อันนี้เหมือนเป็นแม่บทของกรรมาธิการทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นในข้อ ๘๐ นี้นะครับ ในอีก ๑๗ คณะ เราจึงได้นำมาเขียนไว้ในข้างต้นนี้ว่า ให้มีการคำนึงถึงอะไรบ้างนะครับ ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญนั่นเองนะครับ ก็ขอขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภา พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ เรื่องคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของจังหวัดใช่ไหมครับ ที่ถาม เชิญครับ
ขอบพระคุณครับ เดี๋ยวจะมีในข้อต่อไปครับ อันนี้อย่าเพิ่ง คือเราจะแบ่งกรรมาธิการออกเป็น ๒ กลุ่ม ๑๗ คณะแรกที่ท่านจะได้รับฟัง ในวรรคถัดไปจะเป็นคณะกรรมาธิการประจำสภาซึ่งทำหน้าที่ปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ ในรัฐธรรมนูญ ๑๑ ด้าน เพียงแต่ก็เพิ่มเติม เพราะอย่างด้านอื่น ๆ ก็จะมีแบ่งออกเป็น หลายคณะ อันนี้คือคณะกรรมาธิการที่ทำหน้าที่การปฏิรูปในเรื่องหลัก ๆ ที่กำหนดไว้ ตามรัฐธรรมนูญ แต่เราก็จะมีคณะกรรมาธิการวิสามัญที่เป็นประมาณว่าเป็นกระบวนการ อีกหลายคณะที่จะมีต่อท้าย ซึ่งเดี๋ยวผมจะได้อธิบายเพิ่มเติมเมื่อถึงตรงนั้นแล้ว เพราะฉะนั้น ก็ขอให้รอสักนิดหนึ่งนะครับ ขอบคุณครับ
ครับ กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ที่ท่านผู้อภิปรายเพิ่งถามนี่ว่าเรามีหน้าที่ ในการจัดทำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติหรือไม่ อันนี้ สนช. นี่นะครับส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ได้ค่อยทำ พ.ร.บ. หรอกครับ สนช. นี่รับ พ.ร.บ. มาจาก คณะรัฐมนตรีเกือบทั้งหมดเลยแล้วก็ไปพิจารณานะครับ มันก็เป็นผู้ผ่านกฎหมาย เป็นผู้ออก พระราชบัญญัติ เราในฐานะเป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติมีภารกิจอยู่ประการหนึ่ง คือเราสามารถ ที่จะยกร่างพระราชบัญญัติขึ้นมาเพื่อปฏิรูปในเรื่องหนึ่งเรื่องใดก็ได้ หรือถึงขั้นตอนหนึ่ง เราก็อาจจะมีได้รับมอบหมายให้ทำ ให้ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนะครับ ทั้งหมดนี้เราก็ส่งไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการในขั้นตอนของการตราเป็น พระราชบัญญัติ เราเป็นคนยกร่าง แต่ถ้าเป็นพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการเงิน หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแล้ว ทางประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็จะส่งกลับไปให้คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบก่อน เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าสภาแห่งนี้ ไม่สามารถที่จะตราพระราชบัญญัติได้ แต่เราออกไม่ได้ เราตราได้ แล้วเราก็ส่งไปให้ สนช. เป็นผู้ออกครับ
ส่วนประเด็นที่ติดค้างหารือกันเรื่องของกรรมาธิการนี่นะครับ เจตนาจริง ๆ แล้วถ้าท่านอ่านทั้งหมวดนี้ ข้อ ๗๙ เราเป็นเหมือนกับอธิบายให้เห็นว่าเราจะมีกรรมาธิการ อยู่กี่ประเภท ส่วนข้อ ๘๐ เรากำลังพูดถึงคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาที่ถูกออกแบบขึ้นซึ่งในอดีตเรียกว่าสามัญ แต่พอเป็น วิสามัญก็เพราะว่ามีคนนอก ที่จะออกแบบให้มีคนนอกเข้ามาอยู่ในคณะกรรมาธิการนี้ จะเป็นสแตนดิง คอมมิทตี (Standing committee) นะครับ ที่ภาษาฝรั่งเขาใช้ถึงเรียกว่า ประจำสภา นั่นเป็นคณะกรรมาธิการหลักทั้ง ๆ ที่ปฏิรูป ในขณะนี้ก็คือ ๑๗ ด้านนะครับ เพราะฉะนั้นในการที่จะปฏิรูปเราจึงนำข้อความที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญมาเขียนไว้ ๕-๖ บรรทัด เราเพิ่มเติมอันนี้ขึ้นทีหลังเท่านั้นเองว่า ในการดำเนินการตามหน้าที่ของท่านที่ได้รับ มอบหมายจากสภา ท่านจะต้องคำนึงถึงอะไรต่าง ๆ นานา พวกนี้จะต้องคำนึงถึงมากกว่า ส่วนคณะกรรมาธิการคณะอื่น ๆ นั้นจะไม่ใช่คณะกรรมาธิการในรูปแบบนี้ครับที่จะเกิดขึ้น ในอนาคตในข้อต่อ ๆ ไป เป็นคณะกรรมาธิการกระบวนการ เช่น จัดทำภาพอนาคต ประเทศไทย เขาก็จะไปวาดภาพแล้วส่งมาให้พวกนี้ใช้ประโยชน์ หรือคณะกรรมาธิการ ที่ประชาสัมพันธ์การปฏิรูปต่าง ๆ เป็นต้น เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จึงถูกมาเน้นไว้ในข้อ ๘๐ เพราะว่าเป็นคณะกรรมาธิการหลักที่ทำหน้าที่ในการปฏิรูปประเทศตามภารกิจของสภาแห่งนี้ จึงได้เน้นว่าข้อ ๘๐ เป็นเรื่องของคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาทั้งสิ้น ซึ่งก็ต่อไปจนถึง วรรคสาม วรรคสี่ ส่วนคณะกรรมาธิการอื่น ๆ นั้นไม่ใช่หมดแค่นี้ ก็จะมีอยู่ในข้อต่อ ๆ ไป บางท่านอาจจะใจร้อนไปหน่อยก็เลยยังไปไม่ถึง ก็เลยมาพยายามที่จะบอกว่าตรงนี้ มันควรจะเป็นกรรมาธิการหรือไม่ หรืออะไร อย่างไร อันนี้ผมก็ขอเรียนชี้แจงว่า มันเป็นขั้นเป็นตอน ถ้าเดี๋ยวจบหมวดนี้แล้วเรากลับมาดูตรงนี้อีกทีหนึ่ง ถ้าท่านอยากจะแก้ อะไรเพิ่มเติมผมก็ยินดีครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ต้องขอขอบพระคุณข้อคิดเห็นที่หลากหลาย ของประมาณ ๖-๗ ท่านที่ได้กรุณาอภิปรายแล้วก็จะพยายามให้ข้อมูล แล้วก็เบื้องหลัง การถ่ายทำของคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับว่ามีที่ไปที่มาอย่างไรบ้าง ก็แน่นอนนะครับ ข้อคิดเห็นของท่านสมาชิกเกือบทั้งหมดก็เป็นสิ่งที่อยู่ในใจพวกเราอยู่แล้วเราเห็นอย่างนั้น อยู่แล้ว แต่ในการยกร่างหมวดนี้ว่าด้วยกรรมาธิการก็มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก ข้อจำกัดจาก ตัวท่านสมาชิกเอง ในกรรมาธิการของผม มีผู้แทนจาก ๑๑ ด้านแล้วก็อีก ๔ กลุ่ม ครบถ้วนหมดก็ ๑๙ คนอยู่ในนี้ แต่เวลาทำงานผมก็ต้องออนเนอร์ (Owner) ผู้แทนจาก ด้านต่าง ๆ เป็นหลัก ซึ่งแต่ละครั้งเราก็จะบอก ถ้าเราไม่เห็นด้วยเราก็จะบอกเขาว่าที่เสนอมา นี่มันยังไม่เป็นที่ถูกอกถูกใจ หรือยังไม่เหมาะสมก็ให้เขากลับไปที่กรรมาธิการเขา หรือไปที่ กลุ่มของเขานะครับ จะเป็นกลุ่มการเมือง กลุ่มพลังงานหรืออะไรก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องออนเนอร์ผู้แทนซึ่งเอาข้อคิดเห็นของกลุ่มมา ซึ่งความเห็นของกลุ่มของเขาซึ่งมีอยู่ ๑๕ คน อาจจะไม่ตรงกับเพื่อนสมาชิกอีก ๒๓๕ คนก็เป็นเหตุหนึ่ง หรือในกลุ่มของตัวเอง ๑๔-๑๕ คน ก็มีเสียงข้างน้อยเสียงข้างมาก
ทีนี้ในระบอบประชาธิปไตย ถ้าเราไม่ฟังตัวแทนกลุ่ม เราไม่ฟังเสียงข้างมาก มันก็ทำงานลำบากนะครับ มันหลาย ๆ อย่างที่เราได้เขียนออกมาเป็น ๑๗ ด้าน ๑๗ ชื่อ มันก็มีที่ไปที่มาทั้งนั้น แล้วเปลี่ยนมาผมว่าประมาณเปลี่ยนทุกวันละครับ ตอนส่งไปที่ คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติชั่วคราวท่านก็ขอแก้ เราก็แก้ให้บางตัวเหมือนกัน ความคิดมันหลากหลายมาก แค่ว่าจะใส่ชื่อสั้น ๆ หรือชื่อยาว ๆ สั้น ยาว สั้น ยาว สุดท้ายก็ยาวนะครับ ก็เปลี่ยนไปหลายครั้ง เพราะแต่ละท่านก็มีความคิดไม่ตรงกัน ผมอยากจะกราบเรียนว่าต้องเปิดกว้างนิดหนึ่งนะครับ อะไรที่เป็นข้อเสนอที่ดีเราจะปรับแก้ให้ อะไรที่เป็นข้อจำกัด เป็นข้อคิดเห็นของกลุ่มเขาก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน ยกเว้นแต่ ถ้าท่านอยากจะเปลี่ยนจริง ๆ ก็เสนอให้มีการโหวต เราไม่ขัดข้องเลยจะเปลี่ยนชื่ออย่างไร เอาประการแรกก่อน ต้องขอบคุณอาจารย์ดุสิต ขอโทษที่เอ่ยนาม ที่พูดประโยคแรก เรื่องแรกเลยแล้วก็ตรงใจผมมาก ผมก็ยังมาถามตัวเองว่าผมใส่ไปทำไมวิสามัญนี่นะครับ ก็เห็นด้วยเลยทุกประการ กรรมาธิการข้างบนนี้ทุกคนเห็นด้วยครับ ชื่อก็จะเป็น คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองนะครับ ตัดคำว่า วิสามัญ ออกไปทุกอัน เพราะหัวจั่ว มันเขียนไว้แล้วว่า ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ๑๗ คณะ ประกอบด้วย แล้วมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ แล้วก็มีชื่อเหล่านี้อยู่ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็ตรงใจนะครับ แล้วต้องขอบพระคุณอย่างยิ่งนะครับ
อีกประเด็นหนึ่ง คือมีท่านตั้งคำถามเกี่ยวกับกรรมาธิการมาแล้ว ๓-๔ คณะ มีถามว่าการกีฬาสำคัญไฉนนะครับ เดิมไม่ใช่การกีฬา เดิมเป็นการท่องเที่ยวและการกีฬา ก็เหมือนกับกระทรวงที่มีอยู่ในรัฐบาลชุดเก่าและชุดปัจจุบันนะครับ แต่วันดีคืนดี การท่องเที่ยวเข้ามาขอถอนบอกไม่เอาการท่องเที่ยว ไม่อยากมีชื่อหรือ อันนี้มีเหมือนกันนะครับ จะมีคนอยู่ ๒ ประเภทพวกเรานี่ ประเภทขอมีชื่ออยู่ในชื่อกรรมาธิการ อีกประเภทหนึ่ง ขอไม่มีชื่อ การท่องเที่ยววิ่งมาหาคณะของเราบอกขอไม่มีชื่อ จะไปขออยู่เป็นส่วนหนึ่ง ของเศรษฐกิจไม่ต้องเมนชั่น (Mention) เลย เดี๋ยวผมจะไปตั้งอนุเอง เพราะฉะนั้นท่านต้อง เข้าใจว่าคนเรานี่มีหลายแบบครับ ไม่ใช่มีแบบเดียวอย่างที่ท่านเป็นแต่ละคนเป็นหรอก เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ไม่รังเกียจเลย ขอถอนชื่อการท่องเที่ยวออกไปจากคณะกรรมาธิการ ทุกชุดเลยแต่มีกิจกรรม การท่องเที่ยวจะไปเป็นอนุอยู่ในเศรษฐกิจ แล้วทำอย่างไรครับคราวนี้ มาวันสุดท้ายแล้วเหลือการกีฬา ผมก็ไปถามว่าใครจะไปอยู่กับการกีฬาไหม เด็ก เยาวชน การศึกษาอะไรต่าง ๆ ทุกคนก็บอกลงตัวหมดแล้ว ก็เหลือเรื่องการกีฬาอยู่ ก็ถามท่านประธาน โอลิมปิกว่าการกีฬาท่านสำคัญไหม ท่านมีอะไรจะปฏิรูปไหม ท่านยืนยันว่ามี ผมปล่อยให้ ที่ประชุมนี้นะครับ ถ้าเห็นว่าการกีฬาไม่สำคัญและไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่จะปฏิรูป ก็ยินดีครับ ที่จะให้ตัดออก เราไม่ขัดข้อง เมื่อวานซืนนี้บังเอิญฟังอภิปรายเมื่อวันศุกร์ของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติพูดกันผมว่าไม่ต่ำกว่า ๓ ชั่วโมง เพราะเขาประชุม ๘ ชั่วโมง เมื่อวันศุกร์นี้ พูดเรื่องพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งเสนอเข้าวาระที่หนึ่ง พูดกันเยอะเลยพูดกันเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโต พูดกันหนังสือพิมพ์ก็ไปลงข่าว ก็เผอิญว่าตรงกัน พอดีนะครับ
อีกอันหนึ่งสุดท้ายที่ท่านถามว่าเรื่องการคมนาคมหายไปไหน จะมีหายไป เยอะครับ หายไปก็เพราะว่าเขาไม่ต้องการปรากฏชื่อ ทำอย่างไรได้เจ้าของเขาบอก เขาไม่ต้องการมีชื่ออยู่ อยู่ในเศรษฐกิจครับ คมนาคม โลจิสติกส์ (Logistics) ก็อยู่ในเศรษฐกิจ อินฟราสตรัคเจอร์ก็อยู่ในเศรษฐกิจ ผมถามว่าคุณทำงานไหวหรือนี่เศรษฐกิจคุณอมไว้เต็มเลย เขาบอกเขาทำได้ จะให้ผมทำอย่างไรครับ กรรมาธิการเขายืนยัน กลุ่มเขายืนยันมาเขาทำได้ เขาจะไปแยกกลุ่มเลย มีคมนาคม อินฟราสตรัคเจอร์ มีแบงก์ (Bank) มีการเงิน การคลัง มีรายสาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ ยืนยัน นั่งยัน นอนยันมาตลอด ๒ สัปดาห์ที่เราพิจารณาเรื่องนี้ เขาเป็นเจ้าของ มันก็เหลืออยู่ในนี้ ถ้าในนี้โหวตบอกไม่เอาแยกเศรษฐกิจออกผมก็ยินดี ผมไม่มายด์ (Mind) เลยนะครับ เดี๋ยวพยายามจะเลือกตอบให้ครบถ้วนนะครับ
เรื่องที่ท่านถามว่า คือมีบางท่านอภิปรายท่านสุดท้ายเลยบอกทำไมไม่เขียน ให้ชัดเจนว่าข้อเสนอของคณะปฏิรูปจะไปอะไร อย่างไร ก็ขออนุญาตตอบอย่างนี้ว่า เดี๋ยวมันจะถึง พอไปข้อหลัง ๆ จะมีข้อกำหนดในการทำงานอยู่ตามสมควรนะครับ ตามสมควร แต่อันหนึ่งที่จะมีก็คือคณะกรรมการประสานงานระหว่างสภาปฏิรูปแห่งชาติกับ คณะรัฐมนตรี ระหว่างสภาปฏิรูปแห่งชาติกับ คสช. และระหว่างสภาปฏิรูปแห่งชาติกับ สนช. จะมีคณะทำงานชุดนี้ขึ้น ซึ่งทางคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผมต้องพูดยาวเพราะอาจารย์เจิมศักดิ์ไม่ให้ผมใช้คำว่า วิป ถ้าผมใช้คำว่า วิป มันจะสั้น ลงไปเยอะเลยครับ คำอภิปรายของผม ท่านให้ผมเรียกยาว ๆ อย่างนี้ ผมก็เลยต้องพยายาม ฝึกหน่อย เพราะฉะนั้นคณะกรรมาธิการเหล่านี้จะหยิบ จะไปประสานงานกันว่า จะมีการส่งข้อมูลอะไรต่าง ๆ อย่างไร ก็ขอบคุณที่เป็นห่วงแต่ว่ามีครับ และไม่ต้องกลัวว่า สิ่งที่ท่านทำมามันจะไม่ไปถึงที่ที่ควรจะไปถึงนะครับ
ประเด็นเรื่องของประธานเป็นได้แห่งเดียว ก็คือประธานก็จะเป็นประธาน กรรมาธิการปฏิรูปได้ ๑ คณะ แล้วก็จะไปเป็นสมาชิกที่อื่นไม่ได้ อันนี้ก็ชัดเจน ส่วนที่เขียนต่อ ในเรื่องของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าให้ความสำคัญกับการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ทางคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเขาขอมา ผมส่งไปให้เขาพิจารณา เขาขอเติม ประโยคนี้มา ก็เป็นประโยคที่ไม่ยาวนัก ที่บอกว่าให้ความสำคัญกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็หมายความว่า อันนี้ก็ต้องกล่าวพาดพิงอาจารย์เจิมศักดิ์อีกนะครับ เดิมเราก็บอกไม่ให้ไป อยู่ที่ไหนเลย อาจารย์เจิมศักดิ์ก็เสนอบอกว่า ควรจะให้เขาไปอยู่ที่อื่นเพื่อยึดโยง ผมก็เสนอ ให้ไปอยู่ได้ ๑ คณะ ต่อมาก็มีคนบอกว่าเอาแค่เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ แต่วันนี้ยอมแล้ว มีการเจรจากัน ยอมให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๒๐ คน ไปอยู่ได้ใน ๑ คณะ ของคณะกรรมาธิการปฏิรูป แต่ห้ามดำรงตำแหน่งใด ๆ แล้วก็ไปเขียนเพิ่มเติมว่า ให้ความสำคัญกับงานยกร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าที่ประชุมนี้เห็นว่าไม่อยากให้เขียนไว้ ก็คงไม่ขัดข้องที่จะเอาออกนะครับ เพียงแต่ก็มีความเป็นห่วงเรื่องงานตรงนั้นมากกว่า เท่านั้นเอง
คราวนี้ประเด็นสุดท้ายซึ่งหลาย ๆ ท่านพูดถึง คือที่มาของคนนอก เดิมวันแรกที่เราประชุมเราตั้งเป็นกรรมาธิการสามัญหมดเลย เหมือนกับในสภาทั้งหลาย ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ ในฐานะการเป็นเมมเบอร์ (Member) เราก็ตั้งสามัญ ไม่มีคนนอกเลย ต่อมาก็มีกระแสอยากได้คนนอก ในขณะเดียวกันก็มีนโยบาย ของท่านหัวหน้า คสช. ที่ท่านพูดออกอากาศทุกวันศุกร์ ว่าอยากให้มีคนนอกเข้ามาทำงาน ในสภานี้ด้วย ก็เริ่มต้นตั้งแต่ ก.ร. เลย ก.ร. คือคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ได้ประชุมกันออกเป็นมติเลยว่า ๑ ใน ๕ ของพวกเราที่มาเป็นผู้ติดตาม ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการของพวกเรา ๑ คน ต้องมาจากผู้ที่เป็นผู้เข้าสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อันนั้นก็เป็นที่มา แต่ทั้งหมดนี้ก็มาจากที่เดียวกันก็คือ ๑ คน ก็คือร้อยละ ๒๕ ของ ๔ คน นั่นเอง เพราะถ้าไปคิดร้อยละ ๒๐ ของทั้งหมดบางทีมันคิดยาก เพราะฉะนั้น อันนี้ก็เป็นแนวทาง เป็นความประสงค์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่อยากจะเห็น คนที่ทุ่มเทที่สมัครเข้ามา จะมาจากต่างจังหวัด หรือจะมาจากด้านต่าง ๆ จะมาจากส่วน ๕๐ คน หรือส่วนทั้งหมดก็แล้วแต่ ก็อยากเห็นคนเหล่านี้เข้ามาทำงานอยู่กับพวกเรา ก็เลยเปิดช่องตัวนี้ออกมา ก็มีการเสนอมาว่า ขอเป็นร้อยละ ๒๐ ก็คือ ๑ ใน ๔ ของ สปช. นั่นเองนะครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จึงเป็นที่มา แล้วก็ให้ในการแต่งตั้งนั้นเพื่อความอ่อนตัว คือเราพยายามเขียนให้มันอ่อนตัวให้มันปรับปรุงได้ แล้วก็ทำงานได้ เราในฐานะผู้ยกร่างไม่อยากไปฟิกซ์ (Fix) ทุกอย่างไว้ ก็จึงเปิดช่องให้คณะกรรมาธิการ วิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติซึ่งจะประกอบด้วย เดี๋ยวจะอยู่ในข้อต่อไป ประกอบด้วย ท่านประธาน และท่านรอง ๒ ท่าน เป็นประธานและเป็นรอง รอง ๑ ท่าน รองที่ได้รับ มอบหมาย แล้วก็พวกเราทั้ง ๑๗ คนจาก ๑๗ คณะ เราจะต้องประชุมกันและส่ง ๑ คนไปอยู่ใน คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สปช. นี้ แล้วเรายังเปิดโอกาสให้ตั้งเพิ่มได้อีก ๘ คน เพราะ ๑๗ คนที่มาจาก ๑๗ คณะ อาจจะยังไม่ได้ผู้ที่มีความสนใจ หรือผู้ที่อยากเข้าไปทำงาน เพียงพอ เพราะฉะนั้นตัวกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สปช. นี่จะมีอยู่ ๒๘ คน แล้วมีท่านเลขาธิการของสภาอีก ๑ คน ก็ให้เขาไปเป็นผู้ประสานงานในการจัดคน ประสานงานกับฟากรัฐบาล ประสานงานกับฟาก กกต. ดูรายชื่อ แล้วก็ประสานงานกับ ด้านต่าง ๆ ด้วยนะครับ ว่ารายชื่อมาอย่างนี้ ส่วนขั้นตอนการปฏิบัติผมก็คงไม่อยากไปเขียน อาจจะมีเสนอมา ๑๕ คนให้ท่านเลือก ส่วนถามว่าอัตรา ๑ ใน ๔ จะเป็นเท่าไรนั้น สมมุติคณะท่านมีอยู่ ๒๐ คน ที่เป็น สปช. ๑ ใน ๔ ของ ๒๐ คน ก็คือ ๕ คน เขาก็จะมา ๕ คนนะครับ ถ้าโดยอัตราเฉลี่ยผมคูณดูแล้วก็จะมีประมาณ ๑๐๐ คน ที่มาทำงานอยู่ใน คณะกรรมาธิการต่าง ๆ ๑๗ คณะนี้ ในเลเวล (Level) เดียวกับเรา แต่เราไม่ต้องรอบรรจุ ตำแหน่งเขานะครับ ในสัปดาห์หน้าเมื่อท่านรองทัศนาซึ่งจะเป็นประธานบรรจุพวกเราเข้าสู่ กรรมาธิการทั้ง ๑๗ คณะแล้วนี่ บรรจุเสร็จแล้วเราก็จะเปิดประชุมในวันจันทร์หน้า เพื่อรับรองรายชื่อเหล่านี้ ท่านก็ไปประชุมกัน ท่านก็สามารถตั้งกรรมาธิการ ตั้งตำแหน่ง ต่าง ๆ ได้ทั้งหมดเลย ไม่ต้องรอคนนอกเลย คนนอกก็เข้ามาเป็นกรรมาธิการเฉย ๆ ส่วนในอนาคตท่านจะมอบให้เขาเป็นประธานอนุกรรมาธิการอะไรบ้างก็เป็นเรื่องของท่าน การทำงานที่แท้จริงของคณะกรรมาธิการปฏิรูปนี่ไม่ได้อยู่คนที่มานั่ง ๒๐ คน บวก ๕ คน หรือ ๒๘ คน บวก ๗ คน หรอกครับ เราซีลิ่ง (Ceiling) ไว้ ๑๓-๒๙ คน แต่ก็จะอยู่ตรง ประมาณนี้ละครับ ๒๖-๒๗ คนบ้าง อะไรบ้าง บางคณะมีคนสนใจเราอาจจะ ๒๐ คน แต่ในนี้ ท่านจะตั้งอนุกรรมาธิการได้ เราไม่ได้เขียนไว้เลยเท่าไร ท่านอาจจะต้องการตั้ง ๕ ๖ ๗ นี่ตามความเหมาะสม เพราะสิ่งที่จะเป็นข้อจำกัดในการตั้งอนุกรรมาธิการ ก็คือเจ้าหน้าที่ ของสำนักกรรมาธิการที่มาทำงานกับท่านด้วย ถ้าท่านไปตั้งอนุกรรมาธิการเยอะ ๆ ไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ ท่านก็จะเหนื่อยหาคนมาคงไม่เขียนอะไรยาก เพราะตรงนั้นไม่ได้เปิด ออพชัน (Option) ให้ท่านบรรจุคนภายนอกเข้าไป แต่ถ้าไปดูกรรมาธิการท่านจะบรรจุ เลขานุการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการต่าง ๆ ได้ตามสมควรซึ่งก็จะได้รับค่าตอบแทน ในระดับหนึ่ง ๗,๐๐๐ บาท ๘,๐๐๐ บาท ๙,๐๐๐ บาทอะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นในระดับ อนุกรรมาธิการ ผมพูดเลยไปนิดหนึ่งเพื่อให้ท่านได้เห็นภาพรวมด้วย เราก็ลดความแข็งตัวลง เยอะมาก ๑. เราให้ท่านตั้งได้ ๑๕ คน ใน ๑ อนุกรรมาธิการ ๒. เราบังคับแค่กรรมาธิการ ๑ คน ลงไปเป็นประธานเท่านั้นเอง ตำแหน่งที่เหลือทั้งหมดท่านสามารถตั้งจากอีก ๑๔ คนได้ ถ้าเป็นอนุกรรมาธิการ ๑๕ คน หรืออนุกรรมาธิการ ๑๐ คนก็แล้วแต่ท่าน เราขยายซีลิ่ง ให้ท่าน ๑๕ คน ผู้คนเหล่านั้นที่ท่านบอกผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย เขาก็ได้รับเบี้ยประชุม ได้รับเอกสิทธิ์ต่าง ๆ เดินทางต่างจังหวัด สามารถไปพักอะไรต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกันกับ กรรมาธิการ เพราะฉะนั้นงานของท่านจะทำรูปแบบของอนุกรรมาธิการ ๓ ๔ ๕ ๖ คณะ ก็แล้วแต่ แล้วก็มาเสนอในที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมกรรมาธิการผมว่าประชุมอย่างเก่ง ก็อาทิตย์ละครั้งเพื่อรับฟังผล หรือเพื่ออนุมัติอะไรต่าง ๆ นานา เพราะฉะนั้นก็คือเป็นแนวคิด ในการทำงานที่จะให้ออกมาเป็นผลพวงของคณะกรรมาธิการปฏิรูป ในชั้นต้นนี้ก็ขออนุญาต ตอบแค่นี้ก่อนครับ
ผมขออนุญาตท่านประธาน พลเอก เลิศรัตน์ กรรมาธิการครับ คือตอนนี้รู้สึกจะลงมาค่อนข้างจะเป็นประเด็นที่เราควรที่จะมาหาข้อสรุป กันเลย เพราะถ้าให้ทุกท่านพูดไปแล้วมันจะไม่ได้ข้อสรุป อย่างที่ท่านภัทรียาเสนอก็มีอยู่ ๒ เรื่อง
เรื่องแรกก็คือเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ท่านอยากจะให้ตัดคำว่า การเกษตร ออกไป เพื่อให้อุตสาหกรรมมาเป็นงานหลักของการปฏิรูปอยู่ใน ๑ คณะ กับอีกคณะหนึ่งในเรื่องของคณะที่ ๑๒ ท่านอยากให้เป็นคณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคม ตัดคำว่า ชุมชน ออกใช่ไหมครับ เรื่องชุมชนออกนี่ผมขอเชิญท่านวิริยะซึ่งเป็นผู้ทำในเรื่องนี้ ได้ให้ข้อคิดเห็นครับ
ขออนุญาตให้กรรมาธิการอีกท่านชี้แจง
ท่านกอบศักดิ์ครับ ชี้แจงว่าจะยอมให้ตัด การเกษตร ออกไหมครับอุตสาหกรรมนี่
ท่านภัทรียาครับ ยังยืนยัน เชิญครับ
ขอเชิญท่านต่อไปเลยครับ
ท่านประธานสภาครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ อยากให้ผู้แทนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจที่อยู่ในฟลอร์ (Floor) ได้กรุณาชี้แจงเพิ่มเติม ก็มีท่านพิสิฐ แล้วมีใครอีกครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ อยากจะให้ท่านที่อยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจครับ ได้กรุณาให้ข้อคิดเห็น เพิ่มเติมอีกสัก ๒-๓ ท่านเพื่อที่จะได้ข้อยุติ เศรษฐกิจครับ อันนี้ท่องเที่ยว เชิญครับ ของท่านเศรษฐกิจหรือเปล่า อาจารย์เจิมศักดิ์เศรษฐกิจหรือเปล่า
ขออนุญาตก่อนนะครับ ขอเศรษฐกิจสัก ๒ ท่าน เพื่อเราจะได้ข้อยุติในเรื่องนี้ให้เศรษฐกิจเขาพูดก่อนดีกว่าครับ ผมว่าถ้าให้คนอื่นพูด มันก็จะไปเรื่อย ๆ ครับ ข้างหลังโน่นเศรษฐกิจหรือเปล่าครับ เชิญครับ เชิญข้างหลัง
กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานครับ ประเด็นแรกของท่านกอบกุลเดี๋ยวจะรอให้ตกผลึกก่อนนะครับ เรื่องการท่องเที่ยว ส่วนประเด็นหลังนี่ผมได้เรียนไปทีหนึ่งแล้วนะครับว่า วรรคสุดท้ายของ ข้อ ๘๐ เป็นเรื่องของการทำงานซึ่งทางคณะกรรมาธิการกิจการสภาชั่วคราวได้ขอมาเป็นอย่างนี้ เดิมผมเสนอให้รายงานต่อประธานทุก ๒ เดือน ทางนี้ไปขอเป็นรายงานต่อสภาทุกเดือน ทางคณะกรรมาธิการกิจการสภา
ส่วนประเด็นที่ท่านกอบกุล ขออนุญาตเอ่ยนามท่านนะครับ พูดว่ามันไป ไหน ๆ มันเขียนไว้เรียบร้อยเลยนะครับหลายแห่ง ที่ชัดเจนที่สุดอยู่ข้อ ๙๗ ถึงข้อ ๙๙ เขียนชัดเจนมาก ผมก็ไม่อยากอ่านให้เสียเวลานะครับ
ข้อ ๙๗ เมื่อคณะกรรมาธิการได้กระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องใด ๆ หรือตามที่สภามอบหมายเสร็จแล้ว ให้รายงานต่อสภา
ในการพิจารณาของกรรมาธิการ หากเห็นว่ากรณีที่จำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมาธิการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเสนอมาพร้อมรายงานตามวรรคหนึ่งด้วย วรรคสอง ในที่ประชุมสภา คณะกรรมาธิการมีสิทธิแถลง ชี้แจงต่าง ๆ และที่สำคัญก็อยู่ที่ ข้อ ๙๘ ในกรณีที่สภาเห็นด้วยกับรายงานของคณะกรรมาธิการ ให้ประธานสภาส่งรายงาน ไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ก็มีไว้ ข้อ ๙๙ ถ้ามีมติของสภาให้คณะกรรมาธิการใดกระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องใดให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ถ้าทำไม่เสร็จก็ต้องแจ้ง ประธานสภาทราบ อันนี้ก็เป็นกรอบพอสมควร แต่รายละเอียดลึกลงไปผมคิดว่ากรรมาธิการ วิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นก็คงจะได้ไปกำหนดวันเวลา ห้วงเวลาต่าง ๆ เพิ่มขึ้น อันนี้ก็ขอตอบท่านกอบกุลไว้ ก็ขอเชิญท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ครับ ขอให้เป็นการบ้านในชั่วโมงข้างหน้าช่วยกันคิดนะครับ ยังไม่ต้องตอบผม มีท่านทองฉัตร ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านเสนอว่ากรรมาธิการเราใหญ่ไป อันนี้เป็นประเด็นที่สำคัญอยู่ คำว่า ใหญ่ คือคณะกรรมาธิการ ถ้าให้อยู่ท่านละ ๒ คณะ มันจะตกอยู่ที่ประมาณ ๒๕-๒๖ คน บวกคนนอกอีก ๑ ใน ๔ อีกประมาณ ๖ คน ก็จะมีอยู่ที่ ประมาณ ๓๐-๓๒ คนต่อคณะ ถ้าวิธีปรับแก้คือการให้ท่านอยู่คณะเดียวเลย นี่ที่ผมจะฝากให้ ท่านคิด ขณะนี้ท่านอยู่ ๒ คณะ จึงทำให้คณะหนึ่งก็จะมีประมาณ ๒๖-๒๗ คน แต่ถ้าผมให้ ท่านอยู่คณะเดียว คณะหนึ่งจะมีอยู่ประมาณ ๑๓-๑๔ คน ผมก็จะตั้งเกณฑ์ว่า ๑๐-๑๕ และบวกคนนอกอีก ๑ ใน ๔ ท่านก็จะมีประมาณ ๑๓-๑๙ อะไรอย่างนี้ ซึ่ง ๑๓-๑๙ ก็น่าจะทำงานได้ อันนี้ก็จะเป็นกรรมาธิการที่เราเรียกว่า วิสามัญประจำสภา จากนี้ท่านก็ส่ง ๑ คนไปอยู่ในคณะกรรมาธิการกิจการสภาของ สปช. เพื่อไปเป็นตัวประสานงาน ก็ฝากคิดนะครับ เวลาท่านอภิปรายท่านก็ช่วยบอกด้วยท่านเห็นด้วยไหมว่าการอยู่ คณะเดียวกับการอยู่ ๒ คณะ อยู่ ๒ คณะท่านจะให้ความสำคัญกับอีกคณะหนึ่งหรือเปล่า ก็ฝากเป็นการบ้านผมไม่ชี้นำครับ ขอบคุณครับ
กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ก็ขอขอบคุณท่านสมาชิกที่ได้ให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ กัน ประมาณสัก ๓๐ ท่านนะครับ ซึ่งก็เป็นข้อสังเกต ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ มีหลายส่วน ก็สอดคล้องกัน มีหลายส่วนก็แตกต่างกัน ผมจะขอเลือกอย่างประเด็นที่อาจารย์ดุสิต ถามเรื่องการมาชี้แจงต่อกรรมาธิการ อันนี้ขอเรียนว่ามีพระราชบัญญัติที่ออกมาในเรื่องของ การเรียกคนมาชี้แจง แต่เขาเรียกว่าพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ เพราะฉะนั้นด้วยนัยนี้ซึ่งผมอ่านแล้วก็คงจะ ไม่ได้ให้อำนาจกับเราเช่นเดียวกับที่ให้อำนาจกับ ส.ส. หรือ ส.ว. อย่างไรก็ดีในข้อบังคับก็ได้ กำหนดกระบวนการที่ประธานคณะกรรมาธิการแต่ละคณะสามารถจะมีหนังสือไปเรียก ขอเอกสาร หรือเรียนเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อคิดเห็น หรือคำชี้แจงได้นะครับ เพียงแต่ว่าอาจจะไม่สามารถไปมีบทลงโทษ เพราะฉะนั้นตรงนี้กระผมคิดว่าอยู่ที่การสร้าง ความสัมพันธ์แล้วก็การใช้มธุรสวาจา หรือการติดต่อประสานงาน ผมเชื่อเหลือเกินนะครับ ไม่มีส่วนราชการไหนที่จะไม่ให้ความร่วมมือกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ ถ้ามีเดี๋ยวผมจะ ออกข่าวให้ ผมว่าเขาเดือดร้อนแน่นะครับ อาจจะโดน คสช. ย้ายนะครับ เพราะฉะนั้น ท่านไม่ต้องห่วงนะครับ
อีกเรื่องหนึ่ง เรื่องการเชื่อมโยงของกรรมาธิการที่มีท่านอภิปรายโดยข้อบังคับ แต่ละท่านอยู่ได้ ๒ กรรมาธิการ เพราะฉะนั้นถ้าเรามองดูอย่างการศึกษาซึ่งมีอยู่ประมาณ ๒๐ กว่าท่าน ใน ๒๐ กว่าท่านอยู่ในอีกทุกกรรมาธิการเลยนะครับ เพราะมันยึดโยง โดยอัตโนมัติอยู่แล้วว่า ในกรรมาธิการของท่านจะมีคนอย่างน้อย ๑-๒ คนไปอยู่ใน กรรมาธิการอื่น ๆ เกือบทุกคณะ อันนี้ก็เป็นอันหนึ่งที่ทำให้เกิดการยึดโยงหรือว่า ท่านสามารถที่จะประสานงานได้อย่างใกล้ชิดนะครับ
ผมขออนุญาตเพื่อไม่ให้เสียเวลามากนะครับ ไล่ข้อ ๘๐ นะครับ ตามที่ได้ ปรึกษาหารือกับท่านรองประธานทั้ง ๒ ท่าน และกรรมาธิการบางส่วนที่อยู่ที่นี่ ตลอดจน ท่านสมาชิก ที่ดีใจมากคือได้ข้อสรุปในเรื่องของคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ นี่นะครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้ติดค้างกันมาตั้งแต่เราเริ่มต้นที่จะจัดคณะกรรมาธิการ ต่าง ๆ ว่าควรจะมีภาระหน้าที่อะไรบ้าง วันนี้ก็ได้ข้อลงตัวซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นที่พอใจ ของทุก ๆ ฝ่ายนะครับ ก็ขอดูที่ข้อ ๘๐ นิดหนึ่งนะครับ ข้อ ๘๐ ในบรรทัดที่ ๓ ได้เรียนแล้วว่า ขอเพิ่มคำว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา แล้วก็มีผู้พูดถึงเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ๒ ท่าน ก็ได้หารือกันแล้วว่าในวรรคแรกของข้อ ๓๐ นี่เป็นสิ่งซึ่งเหมือนกับเป็นกฎเหล็ก ที่กรรมาธิการที่ตั้งขึ้น ๑๖-๑๗ คณะต่อไปนี้จะต้องยึดถือเป็นแนวทาง เป็นไกด์ไลน์ (Guideline) ในการดำเนินงานให้อยู่ในกรอบนี้นะครับ ไม่ว่าจะเรื่องอย่างที่ท่านประดิษฐ์ ได้กรุณาพูดถึง ๓ เรื่องที่มีความสำคัญในการปฏิรูป คือเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าจะเป็นทางสังคมหรือทางเศรษฐกิจ เรื่องความเป็นธรรม แล้วก็อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบนะครับ ซึ่งทั้ง ๓ เรื่องนี้ก็จะไปสอดแทรก อยู่ในทุกกรรมาธิการ เพียงแต่เราเห็นความสำคัญของการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งมีภาคเอกชนจำนวนมากได้ดำเนินการในเรื่องนี้มาในระยะเวลา ๒-๓ ปี อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว แต่ว่ากรรมาธิการที่จะตั้งขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะนี่จะมุ่งเน้นไปสู่ การป้องกัน การป้องกันก็คือการออกกฎหมาย การไปดูสิ่งที่มันเป็นอยู่ในทุกวันนี้ว่า มันเกิดการประพฤติมิชอบ เกิดการทุจริตในระบบราชการและเอกชนได้อย่างไร ส่วนการปราบปรามนั้นหมายถึงการที่จะไปดูในเรื่องของหน่วยงานที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. ป.ป.ท. ต่าง ๆ ว่าเขาดำเนินการไปอย่างไร ควรจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เรื่องของกฎ ข้อบังคับอะไรต่าง ๆ อย่างไร อันนั้นก็เป็นเจตนารมณ์ที่ท่านที่มีความประสงค์ จะมาทำงานในด้านของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพราะฉะนั้นผมก็เลยขออนุญาตเติมนะครับ ในข้อ ๘๐ บรรทัดที่ ๖ ขจัดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม การคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน เพิ่มคำว่า การคุ้มครองผู้บริโภค ไปตรงนี้เพื่อให้เห็นความสำคัญอย่างที่ท่านสมาชิก ๒ ท่านได้อภิปรายว่าทุกกรรมาธิการจะต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยนะครับ และในวรรคสอง ก็เติมคำเดียวก็คือ หากคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา เติมแค่นั้นนะครับ วิสามัญประจำสภา ในวรรคสอง บรรทัดแรก หากคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา คณะใดเห็นว่า ข้อ ๘๐ วรรคหนึ่งและวรรคสองก็เป็นไปตามนั้นนะครับ ในวรรคสาม อยู่หน้า ๑๕ เริ่มต้นในวรรคนำในส่วนนำของวรรคนี่ ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาสิบเจ็ดคณะ แต่ละคณะประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ไม่น้อยกว่าสิบสามคนแต่ไม่เกินยี่สิบเก้าคน และบุคคลผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกไม่เกินจำนวน หนึ่งในสี่ของกรรมาธิการที่เป็นสมาชิกของแต่ละคณะ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ กิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เสนอจากรายชื่อผู้เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิก ก็ขอแก้คำว่า สมัครเป็นสมาชิก แก้เป็น ผู้เข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิก อย่างที่ท่านสมาชิกหลายท่านได้ให้ ข้อเสนอแนะนะครับ อันนี้ก็ยังไม่ถึงกับว่า คือเราต้องการเปิดกว้างไว้นิดหนึ่งนะครับ เป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งท่านประธานของเรา เป็นประธานอยู่ จะได้หาวิธีการที่มันลงตัวที่สุดในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานงานกับกรรมาธิการทุกคณะ เพื่อจะได้บุคคล ๕-๖ คน ที่จะมาช่วยงานของท่าน ในระดับกรรมาธิการ แต่ในระดับของอนุกรรมาธิการที่เราจะพบต่อไป มีหลายท่านเสนอเรื่อง อนุกรรมาธิการ เราได้เปิดช่องให้ท่านตั้งอนุกรรมาธิการได้ตามความเหมาะสมจะ ๔ คน จะ ๕ คน จะ ๖ คน โดยประมาณ แต่ละอนุกรรมาธิการเราเปิดให้ท่านตั้งคนได้ถึง ๑๕ คน เพียงแต่ท่านส่งกรรมาธิการของท่าน ๑ คนลงไปเป็นประธานเท่านั้นเอง อีก ๑๔ คน ท่านสามารถเชิญคนนอก เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ เชิญผู้มีความเชี่ยวชาญงานในด้านนั้น ๆ มานั่งทำงาน นั่นก็คือผู้ปฏิบัติงานจริง ผมเองทำงานวุฒิสภามาหลายปี เป็นประธาน คณะกรรมาธิการการพลังงาน งานที่ออกมาไม่ใช่งานที่ผมนั่งประชุมคณะกรรมาธิการ การพลังงานอาทิตย์ละครั้ง ๒ ชั่วโมง แต่เป็นงานที่อนุกรรมาธิการของผม ๔-๕-๖ คณะได้ไป ทำกันโดยที่ผมไม่เห็นเขาเลยว่าเขาไปทำกันตอนไหนอย่างไร พอหายไปสัก ๓ เดือน ๔ เดือน เขาก็มาเสนอว่าเรื่องพลังงานทดแทนเป็นอย่างนี้ เรื่องฟอสซิล เอนเนอร์จี (Fossil energy) เป็นอย่างนั้น จบ ก็รายงานสภา ก็ตั้งอนุกรรมาธิการใหม่ขึ้นมา ยกเลิกอนุกรรมาธิการนั้นไป ยืนยันได้ครับว่าผู้ทรงคุณวุฒิที่ท่านจะเชิญมาอยู่ในระดับ กรรมาธิการไม่ได้ทำอะไรสักเท่าไรหรอกครับ คือทำไม่ได้มากหรอก ก็จะเป็นผู้ให้ ความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะในการที่จะพินิจพิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากอนุกรรมาธิการ ทั้งหลาย ซึ่งเราก็ปรับอนุกรรมาธิการให้เปิดกว้างมาก เพียง ๑ ท่านเท่านั้นเองลงไปเป็น ประธาน ที่เหลือท่านตั้งใครก็ได้จากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดได้ถึง ๑๔ ท่านนะครับ ในส่วนของ กรรมาธิการเราจะปรับแก้ให้ท่านประมาณ ๕-๖ กรรมาธิการดังนี้นะครับ ในส่วนที่จะเติมคำว่า ด้าน ได้ปรึกษากันแล้วนะครับว่าขออนุญาตไม่เติม เพราะว่ามันได้ใจความอยู่แล้ว โดยสมบูรณ์ เราตัดคำว่า วิสามัญ ออกไป เราใช้คำว่า คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง คำว่า ด้าน อยู่ในอำนาจหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทาง และข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปด้านการเมือง เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ได้ความของมันดีอยู่แล้ว ถ้าเติมด้านเข้าไปก็จะเป็นคำเกินแล้วก็ไม่ได้บอกอะไรที่มากขึ้น และในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูป ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (๑) การเมือง ก็ไม่มีด้านหรอกครับ เขาก็เขียนไปเรื่อย (๑๐) สังคม (๑๑) อื่น ๆ เพราะฉะนั้นคำว่า ด้าน ก็อิมไพล (Imply) นะครับ ก็มีความหมายว่า ในเรื่องนั่นเองนะครับ เพราะฉะนั้นใน (๑) (๒) จนถึง (๕) ขอยืนไว้ตามเดิม แต่ตัดคำว่า วิสามัญ ออกจากทุกคณะ (๖) ขอตัดคำว่า เศรษฐกิจ ออกเพื่อให้สอดคล้องกับ (๗) ที่จะเกิดขึ้น ก็เป็น คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเงินและการคลัง ตัดคำว่า เศรษฐกิจ ออก ไม่ได้เพิ่มอะไร ตัดออกเฉย ๆ แล้วก็ตัดคำว่า เศรษฐกิจ ออกในอำนาจหน้าที่ด้วย (๗) ปรับแก้ ดังนี้นะครับ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร ตัดคำว่า และ ออก เขียนว่า อุตสาหกรรม ยังอยู่ การเกษตร ตัดออก ก็เป็น ปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ ใน (๗) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ อันนี้ก็ได้หารือกับฝ่ายเศรษฐกิจทุกท่านแล้วนะครับ รวมทั้งท่านดอกเตอร์พิสิฐ ลี้อาธรรม ด้วย ท่านก็ให้ความเห็นชอบนะครับ แล้วก็เอาไปทำไปเขียนในอำนาจหน้าที่ก็จะออกมา เช่นเดียวกันว่า เพื่อการปฏิรูปด้านการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยว และบริการ อันนี้ก็คือเรียล เซคเตอร์นะครับ รายสาขา ถ้าจะเขียนแค่รายสาขาบางท่าน ก็อาจจะเอ๊ะ การท่องเที่ยวหายไปไหน ท่านกอบกุลกลับไปแล้ว ท่านอยากให้ผมใส่ การท่องเที่ยวไว้ด้วยนะครับ ก็นี่ต้องเอาใจคนนั้นเอาใจคนนี้บ้าง เล็ก ๆ น้อย ๆ นะครับ อย่างไรก็งานเหมือนเดิมนะครับ (๘) (๙) (๑๐) ไม่มีแก้ไขนะครับ (๑๑) อันนี้เอาใจ ทหารอากาศนะครับ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชน กิจการโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ กิจการโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศก็แก้ใน อำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันนะครับ ก็มีท่านถามนะครับ ผมอ่านให้ฟังสักนิดหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้าน การสื่อสารมวลชน กิจการโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้ง มีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย มีท่านถามว่าสัมฤทธิ์ผลนี่มันแปลว่าอะไรนะครับ ก็ขออนุญาตเรียนว่าท่านจะต้องเสนอแนะต่อสภาว่าท่านจะทำการศึกษาเรื่องอะไร และมีเป้าหมายอย่างไร เมื่อท่านไปทำการศึกษาแล้ว เมื่อท่านจบภารกิจนั่นแหละผมก็ถือว่า สัมฤทธิ์ผลตามภารกิจที่ท่านกำหนดไว้นะครับ อาจจะไปไม่ถึงดวงดาว ไปไม่ถึงที่จะปฏิรูปให้ ลดความเหลื่อมล้ำไปได้อย่างที่ท่านตั้งใจไว้ แต่ก็สัมฤทธิ์ผลในระดับหนึ่งนะครับ มันเกิดความสำเร็จนะครับ แต่เขียนให้เป็นศัพท์ที่อ่านดูแล้วขลังหน่อย ๆ นะครับ ต่อไป (๑๒) (๑๓) (๑๔) ขอไว้อย่างเดิม (๑๕) เหมือนเดิม (๑๖) เหมือนเดิม (๑๗) คณะกรรมาธิการ ปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คุณนิมิตอยู่หรือเปล่าครับ คุณนิมิตทวง ใครทวงทรัพย์สิน ทางปัญญาครับ ก็แถมให้นะครับ (๑๗) คณะกรรมาธิการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา วิจัยและนวัตกรรมก็นำไปใส่ในอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกัน ต่อจาก เทคโนโลยีก็ใส่ทรัพย์สินทางปัญญา ต่อไป หากมีความจำเป็นสภาจะตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภาเพิ่มขึ้นหรือลดจำนวนคณะกรรมาธิการลงเมื่อไดก็ได้ อันนี้ง่ายเลยนะครับ เสนอเป็นญัตติในสภาว่าอยากจะตั้งเพิ่มหรือที่ตั้งมาแล้วมันทำงานไม่ได้จะลดอย่างไร ก็คิดว่า สามารถดำเนินการได้ภายใน ๗ วันไม่ยาก ไม่ต้องไปแก้ข้อบังคับ อันนี้ทำได้เลยนะครับ วงเล็บต่อไปครับ สมาชิกคนหนึ่งจะดำรงตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้ไม่เกิน สองคณะ ก็ขอยืนไว้ ๒ คณะ เว้นแต่สมาชิกที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการ วิสามัญประจำสภา ให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้หนึ่งคณะ ผู้เป็นประธานก็ทำได้ ๑ คณะ สำหรับสมาชิกผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการของคณะกรรมาธิการ วิสามัญประจำสภาจะดำรงตำแหน่งเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาอื่น อีกมิได้ เป็นได้ ๒ คณะ แต่เป็นเลขาได้คณะเดียวนะครับ ผู้ซึ่งเป็นกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญอาจดำรงตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้ไม่เกินหนึ่งคณะ แต่จะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในคณะกรรมาธิการคณะนั้นมิได้ ก็ตัดแค่นี้นะครับ ที่เหลือตัดออก ทั้งนี้ ผู้นั้นต้องให้ความสำคัญกับการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันดับแรก ก็ตัดออกไปนะครับ วรรคสุดท้ายของข้อ ๘๐ เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาจะดำเนินการศึกษา อันนี้มีผู้ถามด้วยความสงสัยนิดหน่อยว่าที่เขียนไว้ชัดเจนหรือไม่ เพราะฉะนั้นประเด็นก็คือว่า เมื่อเราเริ่มจะศึกษาเรื่องใด หรือจะเสนอแนะเรื่องอะไรให้เกิดการปฏิรูปในเรื่องใด ๆ ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภารายงานให้สภาทราบ คือรายงานให้สภาทราบว่า เราจะศึกษาเรื่องอะไร และให้รายงานความคืบหน้าให้ทราบทุก ๆ ๑ เดือน การรายงานอันนี้ ก็รายงานเป็นเอกสาร คุ้มครองผู้บริโภคเอาไปไว้เป็นภารกิจให้กับทุกคณะเลยอยู่ในข้อ ๘๐ วรรคหนึ่ง อันนี้เป็นอันว่าจบข้อ ๘๐ ครับ ท่านประธานครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ตอนนี้ไม่อภิปรายครับ ตอนนี้ใช้เวลา นิด ๆ ครับ เพื่อรีไฟน์ (Refine) นะครับ ตกลงในส่วนของกิจการโทรคมนาคม ท่านคณิต ติดใจไหม ถ้ามาอยู่ที่ข้อ ๑๗ ผมขออนุญาตนิดเดียวครับ ใช้เวลาไม่เกิน ๔-๕ นาที แล้วจบครับ
อะไรนะครับ
อยากอยู่ข้อ ๑๑ แต่ข้อ ๑๑ ทางคุณวสันต์ ยืนยันว่าไม่ต้องใส่ก็ทำให้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องใส่
คุณวสันต์คงไม่เป็นอะไรกระมังครับ ใส่เกิน นิดหน่อยครับ
ท่านคณิตขอไปอยู่ที่ ๑๗ ได้ไหมครับ
นิดเดียวจบแล้วครับท่านประธานครับ ผมยืนยันว่าจบครับ ไม่เกิน ๔-๕ นาที ดีกว่าพักครับ
อันนี้ก็ขอตัดออกไปแล้วกันนะครับ ตามที่ ทางด้านสื่อสารมวลชนเขายืนยันนะครับ ส่วนของคุณสารีเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคมีผู้เสนอ มาให้อย่างนี้ว่าคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิพื้นฐานของประชาชน เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการเน้นตรงนี้ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันในเรื่องความเหลื่อมล้ำเหมือนกัน ขอไปเติมใน (๓) คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายกระบวนการยุติธรรมและสิทธิพื้นฐาน ของประชาชน กฎหมายรับได้ไหมครับ กฎหมายไม่รับนะครับ คือต้องคุยกันอย่างนี้ แป๊บเดียวครับ ผมใช้เวลาท่านประธานไม่มากละครับ อันนี้เป็นข้อเสนอมา ไม่รับ ข้อ ๓ ก็อยู่อย่างเดิมนะครับ และอันสุดท้ายมีอีกไหมครับ ไม่มีแล้วครับ ท่านประธานครับ ถ้าเผื่อสมาชิกติดใจตรงไหนก็ต้องโหวตละครับ เรื่องกีฬามีท่านหนึ่งเสนอมาว่า มีความสำคัญน้อยให้เอาออกไป ถ้าท่านประธานจะเปิดโอกาสให้ฝ่ายสนับสนุนกีฬาพูดสัก ๒ คนได้ไหมครับ คนละสัก ๒-๓ นาที เพราะเขายังไม่ได้พูดเลยแล้วก็โหวต ผมคิดว่า ต้องโหวตแน่เรื่องกีฬา
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ต่อข้อเสนอในการขอจัดตั้งคณะกรรมาธิการ ปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น คณะกรรมาธิการไม่ขัดข้องนะครับ ก็แล้วแต่ท่านสมาชิก มีท่านสมาชิกที่จะคัดค้านก็ขอดูมือหน่อยครับ มีใครไม่เห็นด้วยไหมครับ ไม่มีนะครับ ผมก็ขอ เพิ่มเติมนะครับ เป็น (๑๘) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ให้สัมฤทธิ์ผล รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่สภามอบหมาย แล้วก็ขอย้อนกลับไปที่ข้อ ๘๐ ในวรรคสาม หน้า ๑๕ ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาสิบแปดคณะ แต่ละคณะ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าสิบสามคนแต่ไม่เกินยี่สิบเจ็ดคน จำนวนต้องลดลง เพราะคณะเพิ่มขึ้นนะครับ แต่ไม่เกิน ๒๗ คน และบุคคลผู้ไม่ได้เป็นสมาชิก อันนี้ที่เหลือ ก็เหมือนเดิม ก็ขออนุญาตกราบเรียนปรับแก้ตามนี้ครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ที่จริงผมอ่าน ไปแล้วชัดเจน ก็อ่านให้ท่านฟังนิดเดียวครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ เป็นข้อ ๖ กับ ข้อ ๗ ครับ ท่านเกริกไกรครับ ไม่ใช่ ๕ กับ ๖ นะครับ ข้อ ๖ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเงินและการคลัง ชื่อจะเป็นอย่างนั้น แล้วก็ (๗) คณะกรรมาธิการ ปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ
เรียนท่านประธานครับ ขอติดพันนิดเดียวครับ ๑๐ วินาทีครับ ข้อ ๖ ก็เป็นใช้ชื่อเดิมครับไม่ต้องแก้ไข คณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลังครับ ขอบคุณครับ
พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ครับ เนื่องจาก ได้ไปตั้งเป็นกรรมาธิการให้แล้วนะครับ ก็ขอเอาข้อความนี้ออกนะครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ในข้อ ๘๑ นี่เนื่องจากว่าในการปฏิบัติงานก็อาจจะ ทำให้การบรรจุพวกเราเข้าไปสู่กรรมาธิการทำได้ไม่ครบถ้วน ถ้ายื่นข้อเสนอเพียง ๓ คณะ ก็เพียงแต่อยากจะขอให้ท่านกรอกสัก ๔ คณะนะครับ ให้ท่านเลือกมา ๔ คณะ ๑ ๒ ๓ ๔ ตามลำดับ แล้วกรรมาธิการก็จะบรรจุท่านลงใน ๒ คณะ ก็ขอแก้ในวรรคแรกของข้อ ๘๑ บรรทัดที่ ๔ ได้ไม่เกิน ๔ คณะ ขอบคุณครับ
ขออนุญาตครับ ท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ที่ท่านกอบกุลขอแก้ไขนั้นถูกต้องแล้วนะครับ คือเนื่องจาก มีกรรมาธิการเพิ่มขึ้นเป็น ๑๘ คณะ ก็จึงเพิ่มจำนวนเป็น ๒๙ คนครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ที่ท่านสมาชิกท่านพรพันธุ์ได้อภิปรายนั้น ถูกทุกอย่างเลยที่ท่านพูดตรงประเด็นเป๊ะเลย แล้วก็ตรงกับแนวคิดของเราด้วย เพียงแต่ ที่ยังไม่ได้กำหนดรายละเอียดของกรรมาธิการวิสามัญ เพราะว่าต้องการเปิดให้ คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้เขียนรายละเอียดเพิ่มเติม คือเนื่องจากเป็นข้อบังคับถ้าไปเขียนละเอียดทุกเรื่องมันก็จะดูเยิ่นเย้อ เพราะฉะนั้น ในความหมายของข้อ ๘๔ (๒) คือคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้จะประกอบด้วยผู้แทนจาก คณะกรรมาธิการทั้ง ๑๘ คณะ ๑๘ คนมานั่งเบรนสตอร์มมิ่ง (Brainstorming) แล้วก็ไปเชิญ นักอนาคตทั้งหลาย สถาบันอนาคตประเทศไทย สภาพัฒน์เขาบอกมีเต็มไปหมดเลย วางไว้ ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไปดึงมาเลยมาทำงานร่วมกัน ใช้เวลาประมาณสัก ๒ เดือน จากนั้นก็จะได้ วิชัน ได้ไทยแลนด์ เท็น เยียร์ส ฟรอม นาว (Thailand ten years from now) ทเวนตี้ เยียร์ส ฟรอม นาว (Twenty years from now) แล้วทั้งหมดนี้ก็ทำเป็นเปเปอร์ (Paper) ก็ส่งกลับให้กับทั้ง ๑๘ คณะ ที่จะเป็นทิศทางอันหนึ่งให้มองเห็นว่าอะไรที่เกี่ยวข้องกับเรา ที่จะเดินไปสู่จุดนั้น มันก็ตรงกับที่คุณหมอพรพันธุ์ได้พูดทุกอย่าง เพียงแต่ผมไม่ได้เขียน รายละเอียดขององค์ประกอบอันนี้ไว้เท่านั้นเองครับ
ครับ กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ เหตุผลก็คือว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญ กิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นคณะที่มีภาระหน้าที่มาก แล้วก็ต้องการบุคคลที่หลากหลาย เพราะฉะนั้นองค์ประกอบจึงประกอบด้วยท่านประธาน ท่านรองประธาน ๑ ท่าน ท่านเลขาธิการก็เป็น ๓ แล้วนะครับ บวกอีก ๑๘ ผู้แทนจาก ๑๘ คณะ ผู้แทนจาก ๑๘ คณะนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นประธาน บางคนก็ส่งประธานมาบางคนก็ส่งเลขามา บางคนก็ส่งนาย ก นาย ข มาก็เป็นสิทธิของท่านที่จะส่งใครไปอยู่ในนั้นก็รวมกัน เป็น ๒๑ เหตุผลที่ขอตั้งอีก ๘ เนื่องจากว่ามีภาระหน้าที่เยอะ ท่านจะเห็นนะครับมากมาย แล้วก็ในแต่ละคณะนี้อาจจะมีคนที่เหมาะสมมากกว่า ๑ คน คนที่ชอบงานแบบนี้เราจึง เปิดช่องให้ที่ประชุมแห่งนี้เลือกเพิ่มอีก ๘ คนจากผู้สมัครใจ เราก็จะประกาศรับสมัครว่า ใครต้องการจะเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติในส่วนกลาง ก็สมัครเลย และที่ประชุมก็โหวตให้เหลือ ๘ คน ไปเติมลงตรงนั้นเป็น ๒๙ คน เวลามาประชุมทีก็ติดธุระบ้างอะไรบ้างเหลือ ๒๐ คน แล้วมีหน้าที่เยอะครับ ทุกเรื่องเกี่ยวกับ การประสานงานต่าง ๆนะครับ แล้วหน้าที่ที่กำหนดไว้ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรายงาน หรืออะไรต่าง ๆ เดี๋ยวเขาก็ต้องตั้งจากคนพวกนี้ นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไมเราจึงเพิ่มขึ้นอีก ๘ คน ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ มีหลายท่านอภิปรายแล้วนะครับ ขออนุญาตให้ ข้อคิดเห็นของคณะกรรมาธิการ
ประเด็นแรก ที่จะให้เติมชื่อ ขับเคลื่อน ผมคิดว่าคงไม่จำเป็นครับ ใน (๒) คณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำ เพราะเราไม่ได้ไปขับเคลื่อนการจัดทำนะครับ ส่วนที่ท่าน อภิปรายนี่นะครับ ก็จะเป็นคุณหมอพรพันธุ์ คุณรสนา หรือท่านอาจารย์ตรึงใจ คือต้องมอง ภาพงานของเรานิดหนึ่ง เรามีงานอยู่ ๓ อย่าง งานแรกคือเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการ ยกร่างภายในประมาณวันที่ ๑๐ ธันวาคม อีกประมาณ ๑ เดือน จากที่เราเริ่มทำงาน แน่นอนละครับ ก็อย่างที่ทุกท่านเสนอเราจะไปสัมมนากัน ๒ วัน ก็จะเป็นเบรนสตรอม (Brainstorm) ออกมาจะวางวิสัยทัศน์สร้างภาพประเทศไทย ๑๐ ปีจากข้างหน้าก็ทำกันให้ มากที่สุดนะครับ แต่ว่ากรรมาธิการชุดนี้ที่ออกแบบขึ้นมานี่ งานหลักของเราคือการปฏิรูป ประเทศไทยอีกด้วย ไม่นับรวมการให้ข้อเสนอแนะต่อกรรมาธิการยกร่าง ซึ่งต้องทำภายใน ๑๐ ธันวาคม แต่การปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งเราจะต้องทำประมาณอย่างน้อยก็ ๘-๑๐ เดือน อันนั้นก็ยังมีเวลาที่จะไปคิดว่าจะเสนอแนะแบบไหน จะยกร่าง พ.ร.บ. อะไรต่าง ๆ นานา จึงได้พยายามที่จะให้มีกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ ซึ่งก็พวกเรานั่นแหละที่ไปอยู่ แล้วก็บวกกับ ผู้ที่เราคิดว่าเขาเชี่ยวชาญ เขาทำเรื่องนี้อยู่ ให้เขามาวาดภาพให้ ใช้เวลาสักหน่อยเดือน ถึงสองเดือนนะครับ ไม่ทันกับการเสนอแนะต่อรัฐธรรมนูญ ที่จริงแล้วถึงวันนั้นท่านจะรู้ว่า ข้อเสนอแนะต่อรัฐธรรมนูญนั้นเกี่ยวข้องกับกรรมาธิการแค่ ๓-๔ คณะเองเป็นหลัก ๆ นะครับ ฉะนั้นก็ไม่ใช่หมายความว่าคณะกรรมาธิการคณะอื่นไม่ต้องทำอะไรนะครับ แต่ว่าก็จะมีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากวิสัยทัศน์และรูปแบบงานวิจัย ซึ่งทำโดยพวกเรา และผู้เชี่ยวชาญผสมกันนะครับ ส่วนที่ถามประเด็นเรื่องการเป็นกรรมาธิการนั้น ถ้าเป็นกรรมาธิการวิสามัญประจำสภานี่เราก็เป็นได้อยู่ ๒ คณะ แต่คณะกรรมาธิการพวกนี้ นี่นะครับ ไม่ได้จำกัดจำนวนนะครับ คณะท่านก็จะส่งท่านมาอยู่นะครับ เป็นแอดฮอค คอมมิทตี มีประเด็นคุณรสนา เดี๋ยวจะเมื่อยแล้วนะครับ ยังตอบไม่ครบเลย ขอตอบให้ครบ ก่อนนะครับ
ประเด็นเรื่องของการตั้งกรรมาธิการประจำภาคนะครับ ใน (๓) คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยพิจารณา จัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำภาค แก้เป็น และประจำจังหวัด นะครับ เอา หรือ ออก เพื่อความชัดเจน และประจำจังหวัด คำว่า ตามความเหมาะสม ก็หมายความว่าไม่จำเป็นจะต้องตั้ง ๔ ภาค แบบที่มีบางท่านเสนอ หรอกครับ บางแห่งเขาอาจจะรวมกัน ๑๐ จังหวัด ๕ จังหวัด แล้วมาขอตั้งก็เป็นไปได้นะครับ เพราะฉะนั้นคำว่า ตามความเหมาะสม คือเปิดช่องไว้ไม่จำเป็นจะต้องเป็น ๔ ภาคใหญ่ ท่านอาจจะรวมกันมาก็อยู่ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งก็เป็นพวกเรานั่นแหละ ๑๘ คน ที่มานั่งอยู่ในนี้จะร่วมกันพิจารณา แล้วก็รวมกับของพวกท่านว่าในพื้นที่ของท่านจะรวมกัน เท่าไร จะทำเป็นภาคหรือจะทำเป็นจังหวัดนะครับ อันนี้ก็เป็นแนวคิดตรงนั้น ก็เป็นข้อสรุป ในเบื้องต้นนะครับ เดี๋ยวผมจะพูดเรื่องของคณะอนุกรรมาธิการเพิ่มเติมในข้อถัด ๆ ไปครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ คำถามมีอยู่หลายประเด็นนะครับ ของท่านประดิษฐ์นี่ผมรับไว้ทั้งหมดเลยนะครับ แก้ตามนั้นเลยใน (๒) ก็แก้เป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และออกแบบอนาคตประเทศไทย เอา รูป ออก ใน (๓) ก็สลับกันเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน โดยให้พิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชนประจำภาคและประจำจังหวัด แก้เป็น และประจำจังหวัด ตามความเหมาะสม เหตุผลที่ทั้ง ๕ คณะกรรมาธิการวิสามัญที่เราไม่ได้ออกแบบ ในรายละเอียดไว้ เพราะถ้าออกแบบท่านจะมีข้อคิดเห็นที่หลากหลายมาอีกมากเลยนะครับ เราจึงเปิดช่องไว้ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ไปคิดนะครับ และพวกท่านก็สามารถที่จะให้ข้อมูลได้ว่าอยากจะเป็นอย่างไร เพราะในคณะกรรมาธิการ วิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติของเรานั้นก็มีพวกเราอยู่มากมายนะครับ ส่วนในส่วนของ คณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นระดับจังหวัด ระดับภาคนี่จะตั้งเป็น กลุ่มจังหวัด จะตั้งเป็นภาคไหนพวกเราไม่ขัดข้องอยู่แล้วนะครับ เพราะฉะนั้นก็ไป เบรนสตรอมมิ่งกันอีกทีหนึ่ง ในตอนนั้นก็จะได้แนวคิดที่ดีที่สุดนะครับ นั่นคือเหตุผล
ส่วนที่คุณหมอถามเรื่องของการจัดทำวิสัยทัศน์และออกแบบอนาคต ประเทศไทยนั้น กรรมาธิการชุดนี้ก็จะมาจากตัวแทนของพวกเรา แล้วก็ผู้เชี่ยวชาญ ที่เราจะเชิญเข้ามาจากภายนอกมาร่วมทำ ส่วนว่าจะทันการเสนอรัฐธรรมนูญมากน้อย เพียงไรก็คงจะเป็นลำดับไปนะครับ อันนี้ก็อยู่ที่การเร่งรัด แต่ก็จะทันในการที่จะสร้างอนาคต ประเทศไทยให้เรา วิสัยทัศน์ให้เราสำหรับงานที่เรายังต้องทำกันอีกตั้ง ๘ เดือน ๑๐ เดือนนี่ ไม่ใช่งานปฏิรูปประเทศไทย การให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหน่วยงานองค์กรต่าง ๆ ถ้าใครอยากไปอยู่ก็จะมาจากตัวแทนของคณะหนึ่ง ๑๘ คณะ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ตามที่ท่านสมาชิกได้ขอปรับเปลี่ยนในข้อ ๘๔ (๓) เหลือเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ถูกไหมครับ ท่านประชา ถูกนะครับ
อะไรนะครับ
ครับ ทางกรรมาธิการไม่ขัดข้องครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ก่อนที่ท่านจะให้ลงคะแนน ผมอยากจะเรียนถาม ท่านสมาชิกประชาก่อนว่าโอเคไหมครับ
ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ในข้อ ๘๗ วรรคหก กรุณาอ่านตามผมนะครับ ขอแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติม ประธานคณะอนุกรรมาธิการตามวรรคห้า ต้องตั้งจากบุคคลที่เป็น กรรมาธิการในคณะนั้น ยกเว้นคณะอนุกรรมาธิการในข้อ ๘๔ (๓) ให้ตั้งจากสมาชิกที่ไม่เป็น กรรมาธิการในคณะได้ อีกครั้งหนึ่งนะครับ ยกเว้นคณะอนุกรรมาธิการในข้อ ๘๔ (๓) ให้ตั้งจากสมาชิกที่ไม่เป็นกรรมาธิการในคณะได้ เว้นแต่ มีคนแก้เพราะผมไม่ใช่นักกฎหมาย ก็เลยอาจจะคำพูดไม่ดีนัก ยกเว้น แก้เป็น เว้นแต่ นะครับ เว้นแต่คณะอนุกรรมาธิการในข้อ ๘๔ (๓) ให้ตั้งจากสมาชิกที่ไม่เป็นกรรมาธิการในคณะได้ ความหมายก็คือว่าปกติประธานอนุกรรมาธิการจะต้องเป็นกรรมาธิการในคณะนั้น แต่เนื่องจากอนุกรรมาธิการของจังหวัดอาจจะมีหลายสิบจังหวัดซึ่งมากกว่ากรรมาธิการ ที่อยู่ในคณะ ก็จึงเปิดช่องไว้ให้ท่านสามารถตั้งสมาชิกที่อยู่ในสภาท่านใดท่านหนึ่งไปทำหน้าที่ เป็นประธานอนุกรรมาธิการของจังหวัดได้ครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ในส่วนของอนุกรรมาธิการ เราให้เกียรติ กรรมาธิการทุกคณะนะครับ ที่จะพิจารณาจำนวนอนุกรรมาธิการที่เหมาะสม แต่สิ่งที่ท่าน จะต้องคำนึงถึง ท่านคำนึงถึงเจ้าหน้าที่ของสำนักกรรมาธิการที่มาดูแลกรรมาธิการท่านอยู่ ถ้าท่านจะตั้งอนุเยอะ ๆ เวลาท่านไปประชุม ท่านต้องจดกันเองนะครับ ไม่มีเจ้าหน้าที่ไปช่วย ท่านครับ แล้วก็งบประมาณด้วยนะครับ เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วก็คงจะ ๕-๖ ส่วนมาก ก็จะเป็นตัวเลขกลาง ๆ ที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นตัวเลขของแต่ละคณะ แต่ถ้าจะเกินไป ๗-๘ ก็ไม่เป็นไร ถ้าท่านแมนเนจ (Manage) ได้ครับ
ไม่ขัดข้องครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็นใช่ไหมครับ ที่ท่านถามผมนี่ครับ
อันนี้ก็เป็นตำแหน่งที่อยู่ในคณะกรรมาธิการครับ เช่น ที่ปรึกษา เช่นอะไรอย่างนี้ครับ
ใช่ครับ ต้องเป็นสมาชิกถึงจะเป็นตำแหน่ง พวกนี้
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ เจตนารมณ์ของข้อนี้นะครับ เฉพาะตำแหน่งในกรรมาธิการเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงพวก ๑๕๐,๐๐๐ บาท พวกผู้ช่วยเลขานุการหรือผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย เหมือนกับพอเราได้รับการแต่งตั้งเสร็จในวันจันทร์หน้าท่านก็ไปประชุมกันในกลุ่มของสมาชิก แล้วก็เลือกตำแหน่งต่าง ๆ คำว่า ตำแหน่งอื่น ๆ ก็คือ ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ผู้ช่วยเลขานุการ อย่างที่ท่านว่านี่ ซึ่งเราก็เปิดให้กับกรรมาธิการทั้งคณะเป็นได้ ไม่จำกัด เฉพาะสมาชิก ตามที่ท่านเสรีเสนอก็จำกัดเฉพาะแค่ ๔ ตำแหน่ง ซึ่งจริง ๆ รองประธาน นี่บางคณะก็มี ๒ ๓ ๔ ๕ นะครับ เพราะฉะนั้นก็คิดว่าเพียงพอแล้วนะครับสำหรับการจำกัดว่า จากผู้เป็นสมาชิก และตำแหน่งอื่น ต้องการจะเป็นจากกรรมาธิการในคณะนั้น ๆ ผมคิดว่า โอเคนะครับ ท่านกอบกุลครับ เดี๋ยวจะได้กลับไปนอนครับ
เรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ท่านดูจากวรรคสองก็จะเห็นชัดเจน มันเจตนารมณ์ชัดเจนครับ ในเรื่องนี้ แล้วเราก็ทำกันมาในทุกคณะทุกสมัย ตรงนี้เราไม่พูดถึงพวกที่มาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ในอนาคตหรือว่าแม้แต่พวกที่กินเงินเดือนเรานี่ อันนั้นเป็นข้อเสนอของหลังจากจัดตั้งเสร็จ แล้วก็จะมาประชุมกันว่าจะเอาใครมาเป็นเลขานุการกี่คน มาเป็นผู้ชำนาญการกี่คน นั่นไม่เกี่ยวเลยครับกับในวรรคนี้ครับ ยืนยันได้ครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ในข้อ ๙๑ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นอย่างที่ท่านสมาชิกได้กรุณาพูดให้ฟัง ก็เหมือนกับข้อความเดิมของเรานั่นเอง แต่เหตุผลที่ เราปรับเปลี่ยนตามที่มีท่านผู้เสนอนี่ก็เนื่องจากว่าเราได้กำหนดเฉพาะตำแหน่งหลัก ๆ ๔ ตำแหน่งนี่ให้เป็นตำแหน่งที่ให้สมาชิกเป็น แล้วที่จริงแล้วกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก จะเข้ามาอยู่ในคณะเรานี่ก็ต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์นะครับ หรือ ๒ สัปดาห์ หรือ ๓ สัปดาห์ ในการเขียนของ สนช. เขาจึงไม่ได้มาพูดถึงว่าสำหรับผู้เป็นสมาชิกในการปิดกั้น ๔ ตำแหน่งนั้น นั่นเป็นเหตุผลครับ ของเราเป็นวิสามัญมีคนนอกเราจึงต้องมีความรัดกุมมากขึ้น แล้วก็ข้อเสนอของท่านสมาชิกในทางปฏิบัติแล้วก็จะเป็นอย่างนั้นนะครับ ถึงเขียน หรือไม่เขียนก็เป็นอย่างนั้นอยู่ดี เพราะว่าพอเราได้ท่านรองทัศนาเลือกเราเสร็จวันจันทร์บ่าย นี่เราจะวิ่ง หรือวันอังคารบ่าย ถ้าวันจันทร์เรายังสัมมนาอยู่เราก็จะวิ่งเข้าห้องแล้วก็ เลือกตำแหน่งเหล่านี้ โดยยังไม่มีท่านที่ไม่ใช่สมาชิกมาอยู่กับเรา เขาจึงเขียนไว้ ซึ่งก็จะสอดคล้องกับการปฏิบัติจริงอยู่แล้วครับ
เรียนท่านประธานที่เคารพครับ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ที่อาจารย์ขอต่อข้อความนั้นก็ไม่มีปัญหาครับ ยินดีครับ
พลเอก เลิศรัตน์ กรรมาธิการครับ บางท่าน อาจจะหาว่าผมพูดไม่ครบนะครับ ก็เป็นไปได้ครับเพราะมันเริ่มดึกแล้วนะครับ และให้ คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ถ้าครั้งที่แล้วไม่ได้พูดอย่างนี้ก็ขอแก้เป็น พูดอย่างนี้นะครับ ขอบคุณครับ
ถามข้อ
ขอบคุณครับ เรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธาน เราจะมีคณะกรรมการประสานงาน แต่งตั้งแน่นอน ระหว่าง สนช. กับ สปช. มันก็จะเป็นช่องทางในการที่จะติดตามพระราชบัญญัติที่เราส่งไปว่า เขาตั้งกรรมาธิการอย่างไร วาระไหนต่าง ๆ นานา แล้วก็มีการแก้ไขมากน้อยขนาดไหน ซึ่งผมเชื่อว่าเขาต้องเชิญเจ้าของร่างไปชี้แจง เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง กับส่วนราชการต่าง ๆ เพราะฉะนั้นตัวเจ้าของร่างที่เสนอไปจะได้มีโอกาสไปชี้แจงในวาระที่สอง ด้วยนะครับ แล้วก็รวมทั้งคณะกรรมการที่ติดตามด้วย มีช่องทางแน่นอนครับในการที่จะ รับทราบความคืบหน้าในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เราส่งไปครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ข้อ ๑๑๓ ขอปรับให้ศัพท์มันสอดคล้องกับที่อื่น ๆ แล้วก็ตามรัฐธรรมนูญนิดหนึ่ง ให้สภาเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะ ช่วยเติมคำว่า แนะ หน่อยนะครับ แล้วเอาคำว่า รัฐธรรมนูญ ออกนะครับ มาตรา ๓๑ (๒) ของรัฐธรรมนูญ ที่อื่นมักจะเขียนอย่างนี้นะครับ ให้สภาเสนความเห็นหรือข้อเสนอแนะตาม ตัดคำว่า รัฐธรรมนูญ ออก มาตรา ๓๑ (๒) ของรัฐธรรมนูญครับ แค่นั้นครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ในข้อ ๑๑๕ บรรทัดสุดท้าย คำว่า ข้อ ๑๑๖ ไม่ถูกต้องนะครับ แก้เป็น ข้อ ๑๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ในข้อ ๑๒๙ บรรทัดที่ ๒ ตามมาตรา ๓๑ (๒) ขออนุญาตแก้เป็น ตามมาตรา ๓๑ วรรคสาม เอาคำว่า (๒) ออก ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ขอเติม ๑ ตัวครับ ตัวสุดท้ายแล้ว ข้อ ๑๔๑ ให้คณะกรรมาธิการที่สภาตั้ง เติมคำว่า ไว้ ตั้งไว้ คงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่า จะปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้น ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ครับ ผมขอแก้ ๑ แห่งนะครับ เปิดไปหน้า ๑๔ ครับ หน้า ๑๔ ข้อ ๗๙ สภาอาจตั้งคณะกรรมาธิการให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณา กระทำกิจการ ขีดคำว่า ใด ๆ ออกครับ กระทำกิจการ แล้วก็วรรค แล้วเติมข้อความว่า หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ก็จะอ่านได้ความว่า สภาอาจตั้งคณะกรรมาธิการให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณา กระทำกิจการ หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันนี้จะสอดคล้องกับข้อ ๘๐ บรรทัดแรก จะได้เป็นข้อความที่ล้อกันครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ คงให้อาจารย์อาจจะต้องอ่านถอยไปสักนิดหนึ่งนะครับ อ่านถอยไปสักนิดหนึ่งว่า ผู้แทนคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาตามข้อ ๘๐ วรรคสาม ทุกคณะ คณะละ ๑ คน และเลขาธิการเป็นกรรมาธิการ แล้วก็วรรค และให้ที่ประชุมสภา เลือกสมาชิกสภาจากตัวแทนในแต่ละด้านอีกไม่เกินแปดคน ไม่ทราบ
กราบเรียนท่านประธานครับ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการครับ ผมเข้าใจว่าร่างนี้เจ้าหน้าที่ก็คงจะพิมพ์และให้ท่านประธาน ลงนามวันพรุ่งนี้ แล้วก็ส่งไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาครับ เพราะฉะนั้นถ้าจะมีอะไร แก้ไขก็ต้องไปว่ากันอีกทีหนึ่งภายหลังครับ แต่เชื่อว่าตอนนี้ก็ ๙๙.๙๙๙ ครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ก็ขอเรียนแสดง ความเห็นกรณีว่าเราจะลงมติอย่างไรครับ ที่ท่านประธานได้เสนอแต่แรกนี่ให้ลงมติที่จะให้ส่ง รายงานแต่ละฉบับ ทั้งของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานและของคณะกรรมาธิการวิสามัญ การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนของสภาปฏิรูปแห่งชาติ รวมทั้ง ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเสียงส่วนน้อย หรือข้อคิดเห็นอื่น ๆ ไป ให้กับทางรัฐบาล ซึ่งกระผมคิดว่าก็เป็นแนวทางที่ดี แล้วก็มีท่านสมาชิกคือท่านวิริยะได้เสนอว่า ให้ลงมติทีเดียวเลยส่งทั้งหมดไปพร้อมกัน คราวนี้ถามว่าเราทำการบ้านที่เรารับมานี่เป็น การบ้านอะไร ก็เป็นเพียงแต่ท่านนายกรัฐมนตรีท่านได้ปรารภว่าอยากให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้แสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินการที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว ท่านอยากฟัง ความคิดเห็นซึ่งท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติก็ได้มอบให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ไปศึกษา ซึ่งก็ทราบว่าได้ศึกษาพอสมควร เชิญผู้เกี่ยวข้องมามากมาย ก็มีทั้งที่เห็นด้วย มีทั้งที่ไม่เห็นด้วยต่าง ๆ นานา มีสรุปอยู่ในเอกสารอยู่ในรายงานพอสมควร ซึ่งที่จริงแล้ว ความจริงไม่น่าจะต้องเป็นว่าเสียงส่วนน้อย เสียงส่วนมาก ความจริงเรามาศึกษาให้ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากภาคเอกชน จากภาคราชการ ข้อมูลที่ได้มาจากต่างประเทศ ข้อมูลเปรียบเทียบต่าง ๆ และรวมถึงทางกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมก็ได้ไปรับฟังมาก็มีข้อมูลมาอีกด้านหนึ่ง เสียงของประชาชนที่เชื่อว่ามีความคิดเห็นอย่างไร ผมไม่คิดว่าสภาแห่งนี้จะต้องมาโหวต หรือมาตัดสินว่าเราจะชะลอ เราจะไปพีเอสซี เราจะไประบบสัมปทานต่าง ๆ ข้อมูลนี่ มีมากมายพอสมควร แล้วทางรัฐบาลเองก็คงไม่ได้ใช้ข้อมูลของเราหรือการตัดสินใจเรา แต่อย่างเดียวที่จะไปยืนยันว่าจะหยุดการดำเนินการหรือจะดำเนินการต่อนะครับ แต่ข้อมูลที่ เราศึกษารวมในหลาย ๆ ภาคส่วน ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติก็คงจะมี ประโยชน์ที่ทางรัฐบาลจะได้ไปศึกษา ไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการที่จะพิจารณา ที่จะดำเนินการต่อ หรือว่าจะหยุดการดำเนินการจะไปในระบบไหนก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้น ผมก็ขอเรียนว่าเห็นด้วยกับที่ท่านประธานได้ต้องการจะขอมติ เราส่งรายงานไป เราไม่ได้ไป มีมติว่าเห็นชอบกับรายงานนะครับ ไม่ได้มีมติอย่างนั้น เรามีเพียงแต่มติว่ารายงานที่เขาไป ศึกษามานี่ก็ไม่ใช่ใครหรอก ก็เพื่อนสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติของท่านนี่แหละ ผมไม่อยากเห็น การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายว่าคณะนี้ไปศึกษาแล้วไม่ส่ง อยากจะโหวตว่าไม่เอา ไม่เห็นด้วยกับ กรรมาธิการเสียงข้างมาก เราก็ไม่ได้มาโหวตว่าเราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เขาศึกษามาอย่างนี้ มีหลักมีฐาน รวมถึงข้อศึกษาของทุก ๆ ฝ่าย ข้อคิดเห็นของทุก ๆ ท่านก็ส่งไปให้รัฐบาลหมด ท่านจะเอาไปทำอะไรก็เป็นหน้าที่ของท่าน ท่านไม่ได้มาให้เราตัดสินว่าจะให้ชะลอ ไม่ชะลอ จะไปพีเอสซีหรือไม่ ทุกท่านที่พูดก็รู้ส่วนหนึ่งทั้งนั้นแหละครับ เพียงแต่ว่าใครจะยืนอยู่ ตรงไหนของเรื่องนี้นะครับ แล้วก็อ้างในเรื่องของทรัพยากรของแผ่นดินต่าง ๆ นานากัน แต่ว่าผมไม่มาตัดสินว่าใครผิดใครถูก ผมอยากจะทำตามที่ท่านประธานได้เสนอว่าเราส่งไปให้ เขาหมดเลยนะครับ เขาเห็นอย่างไร ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ก็ขอเรียนแสดง ความเห็นกรณีว่าเราจะลงมติอย่างไรครับ ที่ท่านประธานได้เสนอแต่แรกนี่ให้ลงมติที่จะให้ส่ง รายงานแต่ละฉบับ ทั้งของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานและของคณะกรรมาธิการวิสามัญ การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนของสภาปฏิรูปแห่งชาติ รวมทั้ง ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเสียงส่วนน้อย หรือข้อคิดเห็นอื่น ๆ ไป ให้กับทางรัฐบาล ซึ่งกระผมคิดว่าก็เป็นแนวทางที่ดี แล้วก็มีท่านสมาชิกคือท่านวิริยะได้เสนอว่า ให้ลงมติทีเดียวเลยส่งทั้งหมดไปพร้อมกัน คราวนี้ถามว่าเราทำการบ้านที่เรารับมานี่เป็น การบ้านอะไร ก็เป็นเพียงแต่ท่านนายกรัฐมนตรีท่านได้ปรารภว่าอยากให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้แสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินการที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว ท่านอยากฟัง ความคิดเห็นซึ่งท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติก็ได้มอบให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ไปศึกษา ซึ่งก็ทราบว่าได้ศึกษาพอสมควร เชิญผู้เกี่ยวข้องมามากมาย ก็มีทั้งที่เห็นด้วย มีทั้งที่ไม่เห็นด้วยต่าง ๆ นานา มีสรุปอยู่ในเอกสารอยู่ในรายงานพอสมควร ซึ่งที่จริงแล้ว ความจริงไม่น่าจะต้องเป็นว่าเสียงส่วนน้อย เสียงส่วนมาก ความจริงเรามาศึกษาให้ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากภาคเอกชน จากภาคราชการ ข้อมูลที่ได้มาจากต่างประเทศ ข้อมูลเปรียบเทียบต่าง ๆ และรวมถึงทางกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมก็ได้ไปรับฟังมาก็มีข้อมูลมาอีกด้านหนึ่ง เสียงของประชาชนที่เชื่อว่ามีความคิดเห็นอย่างไร ผมไม่คิดว่าสภาแห่งนี้จะต้องมาโหวต หรือมาตัดสินว่าเราจะชะลอ เราจะไปพีเอสซี เราจะไประบบสัมปทานต่าง ๆ ข้อมูลนี่ มีมากมายพอสมควร แล้วทางรัฐบาลเองก็คงไม่ได้ใช้ข้อมูลของเราหรือการตัดสินใจเรา แต่อย่างเดียวที่จะไปยืนยันว่าจะหยุดการดำเนินการหรือจะดำเนินการต่อนะครับ แต่ข้อมูลที่ เราศึกษารวมในหลาย ๆ ภาคส่วน ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติก็คงจะมี ประโยชน์ที่ทางรัฐบาลจะได้ไปศึกษา ไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการที่จะพิจารณา ที่จะดำเนินการต่อ หรือว่าจะหยุดการดำเนินการจะไปในระบบไหนก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้น ผมก็ขอเรียนว่าเห็นด้วยกับที่ท่านประธานได้ต้องการจะขอมติ เราส่งรายงานไป เราไม่ได้ไป มีมติว่าเห็นชอบกับรายงานนะครับ ไม่ได้มีมติอย่างนั้น เรามีเพียงแต่มติว่ารายงานที่เขาไป ศึกษามานี่ก็ไม่ใช่ใครหรอก ก็เพื่อนสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติของท่านนี่แหละ ผมไม่อยากเห็น การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายว่าคณะนี้ไปศึกษาแล้วไม่ส่ง อยากจะโหวตว่าไม่เอา ไม่เห็นด้วยกับ กรรมาธิการเสียงข้างมาก เราก็ไม่ได้มาโหวตว่าเราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เขาศึกษามาอย่างนี้ มีหลักมีฐาน รวมถึงข้อศึกษาของทุก ๆ ฝ่าย ข้อคิดเห็นของทุก ๆ ท่านก็ส่งไปให้รัฐบาลหมด ท่านจะเอาไปทำอะไรก็เป็นหน้าที่ของท่าน ท่านไม่ได้มาให้เราตัดสินว่าจะให้ชะลอ ไม่ชะลอ จะไปพีเอสซีหรือไม่ ทุกท่านที่พูดก็รู้ส่วนหนึ่งทั้งนั้นแหละครับ เพียงแต่ว่าใครจะยืนอยู่ ตรงไหนของเรื่องนี้นะครับ แล้วก็อ้างในเรื่องของทรัพยากรของแผ่นดินต่าง ๆ นานากัน แต่ว่าผมไม่มาตัดสินว่าใครผิดใครถูก ผมอยากจะทำตามที่ท่านประธานได้เสนอว่าเราส่งไปให้ เขาหมดเลยนะครับ เขาเห็นอย่างไร ขอบคุณครับ