นายพรายพล คุ้มทรัพย์

  • กราบเรียนท่านประธานครับ ผม พรายพล คุ้มทรัพย์ ในอำนาจหน้าที่ของประธานสภาซึ่งมีทั้ง ๖ อัน อันหนึ่งซึ่งผมคิดว่า มันน่าจะระบุไว้ก็คืออำนาจในการเรียกประชุมสภา เรายังจำกันได้วันแรกที่มีการอภิปราย เรื่องเรียกกับนัดนี่นะครับ แต่การนัดประชุมเป็นอำนาจของเลขาธิการซึ่งอยู่ในข้อ ๑๒ ข้อ ๑๐ ผมก็เลยคิดว่าน่าจะมีอำนาจที่ระบุบอกว่า ในการเรียกประชุมสภานี่น่าจะเป็น อำนาจของประธานสภา แล้วก็เป็นประธานในที่ประชุมด้วย อันนี้ไม่แน่ใจว่ามันครอบคลุม อยู่ในที่ไหนหรือเปล่า ผมคิดว่าอันนี้ก็เป็นประเด็นที่น่าจะระบุไว้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานครับ นายพรายพล คุ้มทรัพย์ ความจริงในเรื่องการอภิปราย ถ้าจะเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายโดยท่านสมาชิกอย่างทั่วถึง วิธีการอันหนึ่งซึ่งความจริงเราก็ทำกันอยู่แล้ว ก็คือท่านประธานกำหนดระยะเวลาในการ อภิปรายของแต่ละสมาชิก แต่ว่าในส่วนนี้ในเรื่องของการอภิปรายไม่ได้ปรากฏให้ประธาน ได้สามารถที่จะกำหนดระยะเวลาสำหรับการอภิปรายของสมาชิกแต่ละท่านได้ เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าก็ไม่ทราบว่าจะใส่ในข้อไหน มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของข้อ ๕๕ ก็ได้นะครับ คือถ้ามีการขออภิปรายหลายคนแล้วก็เราอยากจะให้มีการอภิปรายอย่างทั่วถึงภายในเวลา ที่เหมาะสม ประธานก็สามารถที่จะกำหนดระยะเวลาสำหรับการอภิปรายของสมาชิก แต่ละท่านได้ ซึ่งความจริงท่านประธานก็ได้ทำเป็นครั้งเป็นคราวอยู่แล้ว ก็น่าจะใส่ไว้เป็น ลายลักษณ์อักษรผมคิดว่าอย่างนั้น เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูป แห่งชาติ กระผม พรายพล คุ้มทรัพย์ มาอภิปรายในฐานะที่เป็นกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ผมอยากจะเรียนว่าผมลุกขึ้นวันนี้เพื่อมาอภิปรายเสริมท่านประธานทองฉัตร กับท่านรองประธานคุรุจิตของผม ในประเด็นที่ว่าทำไมกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่จึงได้เสนอ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติสนับสนุนเราในทางเลือกที่ ๓ ก็อยากจะย้ำเน้นอีกนิดหนึ่ง ทางเลือกที่ ๓ ของเราพูดกันอย่างง่าย ๆ คือว่าเราอยากจะให้รัฐบาลนี้เปิดใช้สัมปทานในรอบ ๒๑ โดยระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรีพลัส ตามแผนเดิมที่มีอยู่ จริง ๆ แล้วปัจจุบันนี้ กระทรวงพลังงานได้ประกาศเชิญผู้ที่สนใจเรียบร้อยแล้ว แล้วกำหนดเวลาที่จะยื่นซอง ประกวดประมูลก็เดือนหน้านี้เองนะครับ เพราะฉะนั้นทางเลือกที่ ๓ ก็คือว่าเดินต่อไป แต่ในขณะเดียวกันในทางเลือกที่ ๓ อยากจะย้ำว่าเราก็ยังให้ความสนใจระบบแบ่งปัน ผลผลิตอยู่ ก็เลยได้เสนอว่าให้กระทรวงพลังงานดำเนินการศึกษาแล้วก็เตรียมการ ระบบแบ่งปันผลผลิต หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่าโพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ พีเอสซี โดยให้ศึกษาก่อนว่าเหมาะสมไหม สำหรับประเทศไทยที่มีศักยภาพทางปิโตรเลียมไม่ค่อยสูงนัก เมื่อกี้นี้ดอกเตอร์คุรุจิตได้อธิบายให้ท่านฟังแล้วว่าแหล่งปิโตรเลียมของเรามันไม่เยอะหรอก ที่บอกเป็นน้อง ๆ ซาอุดิอาระเบียนี่ไม่จริง หลุมก็เล็ก เพราะฉะนั้นต้นทุนในการขุดเจาะ สำรวจค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นต้องไปศึกษาก่อนว่าระบบพีเอสซีที่ว่านี่เหมาะสมไหม กับศักยภาพปิโตรเลียมที่ประเทศไทยมีอยู่ ถ้าเหมาะสมก็ให้จัดทำเตรียมการเพื่อที่จะนำมาใช้ เพื่อให้เป็นทางเลือก ความหมายก็คือว่าถ้าเหมาะสม ออกกฎหมาย จัดเตรียมอะไรต่าง ๆ เรียบร้อยก็ใช้ระบบนี้ควบคู่ไปกันกับระบบสัมปทานได้ เดี๋ยวท่านจะแปลกใจว่าทำไมประเทศ มี ๒ ระบบได้หรือ เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังนะครับ โอเคอันนั้นคือประเด็นที่ผมอยากจะ อภิปรายเสริม ทีนี้ท่านอาจจะสงสัยว่าเราเสนอไปควบคู่กันนี้หมายความว่าอย่างไร ทางเลือกที่ ๓ นี่ เมื่อกี้ดอกเตอร์คุรุจิตได้เล่าให้ฟังแล้วบอกว่า สรุปง่าย ๆ คือ ๒ ระบบนี้ คือระบบสัมปทานกับระบบพีเอสซี ไม่มีความแตกต่างในสาระสำคัญ ขีดเส้นใต้ สาระสำคัญ แสดงว่ามีความแตกต่างในรายละเอียดบางประเด็นบางประการ จริง ๆ แล้วสรุปง่าย ๆ คือ ข้อดีข้อเสียนี่พอ ๆ กัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ บางคนบอกว่าระบบสัมปทานนี่มันแน่นอน มีความโปร่งใส ทุกคนที่เข้ามาประมูลรู้เลยว่า ถ้าได้สัมปทานไปแล้ว เขาสำรวจไปแล้ว จะกี่ปีต้องคืนพื้นที่ เท่าไร ถ้าเขาเจอแล้วผลิตได้เท่าไรนี่เขาต้องจ่ายภาษีเท่าไร ค่าภาคหลวงเท่าไร ค่าตอบแทน ผลประโยชน์พิเศษเท่าไร การตัดสินใจในการลงทุนอาจจะต้องขออนุญาตภาครัฐ แต่ภายใต้ เงื่อนไขที่รู้ล่วงหน้าว่าคืออะไร อันนี้คือความโปร่งใส ความแน่นอนของระบบสัมปทาน รัฐไม่ได้เข้าไปแทรกแซงในการตัดสินใจว่า เอ๊ะ เขาจะลงทุนซื้อแท่นขุดเจาะจากบริษัทนี้ ในราคาเท่านั้นอะไรต่ออะไรพวกนี้ ไม่ได้เข้าไปแทรกแซง นี่คือความดีของระบบสัมปทาน แต่ก็มีข้อเสียอย่างที่หลายฝ่ายได้พยายามจะกล่าวก็คือว่าอำนาจในการควบคุม แทรกแซง ดูแลอย่างใกล้ชิดมีน้อยมาก เพราะฉะนั้นอัตราการผลิต อัตราการลงทุนอะไรต่าง ๆ พวกนี้ รัฐจะไม่ค่อยมีน้ำหนักในเรื่องการตัดสินใจนะครับ ตรงข้ามกับอีกระบบหนึ่งที่เราเรียกว่า ระบบพีเอสซี ระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งตรงนั้นรัฐจะเข้าไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด จริง ๆ แล้ว บริษัทของรัฐจะเข้าไปร่วมลงทุนด้วยซ้ำไปนะครับ และเพราะฉะนั้นก็หมายความว่า ถ้าจะต้องซื้ออุปกรณ์ จะต้องจ้างบริษัทเพื่อจะขุดเจาะ ส่งคนจากฝั่งไปแท่นขุดเจาะ กลางทะเลอะไรต่ออะไรพวกนี้ รัฐหรือบริษัทน้ำมันของรัฐต้องให้ความเห็นชอบด้วย ความจริง ไม่ใช่ด้วย ต้องให้ได้รับความเห็นชอบก่อนด้วยซ้ำไป เอกชนจะดำเนินการแต่ลำพังตัวเองไม่ได้ แล้วก็ส่วนแบ่งต่าง ๆ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รัฐจะคุมอย่างใกล้ชิด อันนี้ฟังดูก็ดีนะครับ เพราะว่า เนื่องจากว่าปิโตรเลียมเราต้องถือว่าเป็นทรัพยากรของประเทศของรัฐของประชาชน เพราะฉะนั้นการที่รัฐเข้าไปควบคุมใกล้ชิดก็ดูเป็นเรื่องที่ดีนะครับ เพราะฉะนั้นข้อดีข้อเสีย พอ ๆ กันทั้ง ๒ ระบบ แต่คำถามก็คือว่า ท่านอาจจะถาม อ้าว พอ ๆ กันแล้วทำไมเสนอให้ เลือกไทยแลนด์ทรีพลัส แล้วดำเนินการไปก่อน คำตอบก็คือว่า ไทยแลนด์ทรีพลัส ภายใต้ระบบสัมปทานรอบ ๒๑ นี่มันยังใช้ได้ดีอยู่ ดีอยู่อย่างไร

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูป แห่งชาติ กระผม พรายพล คุ้มทรัพย์ มาอภิปรายในฐานะที่เป็นกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ผมอยากจะเรียนว่าผมลุกขึ้นวันนี้เพื่อมาอภิปรายเสริมท่านประธานทองฉัตร กับท่านรองประธานคุรุจิตของผม ในประเด็นที่ว่าทำไมกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่จึงได้เสนอ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติสนับสนุนเราในทางเลือกที่ ๓ ก็อยากจะย้ำเน้นอีกนิดหนึ่ง ทางเลือกที่ ๓ ของเราพูดกันอย่างง่าย ๆ คือว่าเราอยากจะให้รัฐบาลนี้เปิดใช้สัมปทานในรอบ ๒๑ โดยระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรีพลัส ตามแผนเดิมที่มีอยู่ จริง ๆ แล้วปัจจุบันนี้ กระทรวงพลังงานได้ประกาศเชิญผู้ที่สนใจเรียบร้อยแล้ว แล้วกำหนดเวลาที่จะยื่นซอง ประกวดประมูลก็เดือนหน้านี้เองนะครับ เพราะฉะนั้นทางเลือกที่ ๓ ก็คือว่าเดินต่อไป แต่ในขณะเดียวกันในทางเลือกที่ ๓ อยากจะย้ำว่าเราก็ยังให้ความสนใจระบบแบ่งปัน ผลผลิตอยู่ ก็เลยได้เสนอว่าให้กระทรวงพลังงานดำเนินการศึกษาแล้วก็เตรียมการ ระบบแบ่งปันผลผลิต หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่าโพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ พีเอสซี โดยให้ศึกษาก่อนว่าเหมาะสมไหม สำหรับประเทศไทยที่มีศักยภาพทางปิโตรเลียมไม่ค่อยสูงนัก เมื่อกี้นี้ดอกเตอร์คุรุจิตได้อธิบายให้ท่านฟังแล้วว่าแหล่งปิโตรเลียมของเรามันไม่เยอะหรอก ที่บอกเป็นน้อง ๆ ซาอุดิอาระเบียนี่ไม่จริง หลุมก็เล็ก เพราะฉะนั้นต้นทุนในการขุดเจาะ สำรวจค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นต้องไปศึกษาก่อนว่าระบบพีเอสซีที่ว่านี่เหมาะสมไหม กับศักยภาพปิโตรเลียมที่ประเทศไทยมีอยู่ ถ้าเหมาะสมก็ให้จัดทำเตรียมการเพื่อที่จะนำมาใช้ เพื่อให้เป็นทางเลือก ความหมายก็คือว่าถ้าเหมาะสม ออกกฎหมาย จัดเตรียมอะไรต่าง ๆ เรียบร้อยก็ใช้ระบบนี้ควบคู่ไปกันกับระบบสัมปทานได้ เดี๋ยวท่านจะแปลกใจว่าทำไมประเทศ มี ๒ ระบบได้หรือ เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังนะครับ โอเคอันนั้นคือประเด็นที่ผมอยากจะ อภิปรายเสริม ทีนี้ท่านอาจจะสงสัยว่าเราเสนอไปควบคู่กันนี้หมายความว่าอย่างไร ทางเลือกที่ ๓ นี่ เมื่อกี้ดอกเตอร์คุรุจิตได้เล่าให้ฟังแล้วบอกว่า สรุปง่าย ๆ คือ ๒ ระบบนี้ คือระบบสัมปทานกับระบบพีเอสซี ไม่มีความแตกต่างในสาระสำคัญ ขีดเส้นใต้ สาระสำคัญ แสดงว่ามีความแตกต่างในรายละเอียดบางประเด็นบางประการ จริง ๆ แล้วสรุปง่าย ๆ คือ ข้อดีข้อเสียนี่พอ ๆ กัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ บางคนบอกว่าระบบสัมปทานนี่มันแน่นอน มีความโปร่งใส ทุกคนที่เข้ามาประมูลรู้เลยว่า ถ้าได้สัมปทานไปแล้ว เขาสำรวจไปแล้ว จะกี่ปีต้องคืนพื้นที่ เท่าไร ถ้าเขาเจอแล้วผลิตได้เท่าไรนี่เขาต้องจ่ายภาษีเท่าไร ค่าภาคหลวงเท่าไร ค่าตอบแทน ผลประโยชน์พิเศษเท่าไร การตัดสินใจในการลงทุนอาจจะต้องขออนุญาตภาครัฐ แต่ภายใต้ เงื่อนไขที่รู้ล่วงหน้าว่าคืออะไร อันนี้คือความโปร่งใส ความแน่นอนของระบบสัมปทาน รัฐไม่ได้เข้าไปแทรกแซงในการตัดสินใจว่า เอ๊ะ เขาจะลงทุนซื้อแท่นขุดเจาะจากบริษัทนี้ ในราคาเท่านั้นอะไรต่ออะไรพวกนี้ ไม่ได้เข้าไปแทรกแซง นี่คือความดีของระบบสัมปทาน แต่ก็มีข้อเสียอย่างที่หลายฝ่ายได้พยายามจะกล่าวก็คือว่าอำนาจในการควบคุม แทรกแซง ดูแลอย่างใกล้ชิดมีน้อยมาก เพราะฉะนั้นอัตราการผลิต อัตราการลงทุนอะไรต่าง ๆ พวกนี้ รัฐจะไม่ค่อยมีน้ำหนักในเรื่องการตัดสินใจนะครับ ตรงข้ามกับอีกระบบหนึ่งที่เราเรียกว่า ระบบพีเอสซี ระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งตรงนั้นรัฐจะเข้าไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด จริง ๆ แล้ว บริษัทของรัฐจะเข้าไปร่วมลงทุนด้วยซ้ำไปนะครับ และเพราะฉะนั้นก็หมายความว่า ถ้าจะต้องซื้ออุปกรณ์ จะต้องจ้างบริษัทเพื่อจะขุดเจาะ ส่งคนจากฝั่งไปแท่นขุดเจาะ กลางทะเลอะไรต่ออะไรพวกนี้ รัฐหรือบริษัทน้ำมันของรัฐต้องให้ความเห็นชอบด้วย ความจริง ไม่ใช่ด้วย ต้องให้ได้รับความเห็นชอบก่อนด้วยซ้ำไป เอกชนจะดำเนินการแต่ลำพังตัวเองไม่ได้ แล้วก็ส่วนแบ่งต่าง ๆ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รัฐจะคุมอย่างใกล้ชิด อันนี้ฟังดูก็ดีนะครับ เพราะว่า เนื่องจากว่าปิโตรเลียมเราต้องถือว่าเป็นทรัพยากรของประเทศของรัฐของประชาชน เพราะฉะนั้นการที่รัฐเข้าไปควบคุมใกล้ชิดก็ดูเป็นเรื่องที่ดีนะครับ เพราะฉะนั้นข้อดีข้อเสีย พอ ๆ กันทั้ง ๒ ระบบ แต่คำถามก็คือว่า ท่านอาจจะถาม อ้าว พอ ๆ กันแล้วทำไมเสนอให้ เลือกไทยแลนด์ทรีพลัส แล้วดำเนินการไปก่อน คำตอบก็คือว่า ไทยแลนด์ทรีพลัส ภายใต้ระบบสัมปทานรอบ ๒๑ นี่มันยังใช้ได้ดีอยู่ ดีอยู่อย่างไร

    อ่านในการประชุม

  • ประการแรกเลยก็คือว่า เมื่อกี้นี้ดอกเตอร์คุรุจิตเล่าให้ฟังแล้ว ส่วนแบ่งของรัฐ ๗๒ เปอร์เซ็นต์นะครับ ๗๒ เปอร์เซ็นต์ของรายได้สุทธิ รายได้สุทธิก็หมายความว่า รายได้จากการขายแก๊ส ขายน้ำมันเท่าไรหักค่าใช้จ่ายลงไป ที่เหลือนี่รัฐได้ ๗๒ เปอร์เซ็นต์ เอกชนที่มาลงทุนแบกรับความเสี่ยงได้ไป ๒๘ เปอร์เซ็นต์ ถามว่าเยอะไหม ๗๒ เปอร์เซ็นต์ ของรัฐ เยอะครับ เมื่อกี้นี้ดอกเตอร์คุรุจิตได้ชี้ให้เห็นแล้ว กราฟเมื่อกี้นี้มันชี้ให้เห็นว่าของเรา อยู่ตรงกลางอาจจะเหนือค่าเฉลี่ยของโลกด้วยซ้ำไป ค่าเฉลี่ยของโลกประมาณ ๖๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้น ๗๒ เปอร์เซ็นต์ก็ไม่เลวนะครับ ไม่ได้ขี้เหร่อะไรเลย ว่าตามจริงนะครับ และจริง ๆ ๗๒ เปอร์เซ็นต์นี้เป็นอย่างน้อยด้วยซ้ำไป เพราะว่าอันนั้น เป็นไทยแลนด์ทรีเฉย ๆ ถ้าเป็นไทยแลนด์ทรีพลัส ก็คือมีโบนัส (Bonus) อะไรต่าง ๆ พวกนี้ ที่บริษัทจะต้องจ่ายเพิ่มให้กับรัฐมันจะต้องเกิน ๗๒ เปอร์เซ็นต์อยู่แล้วนะครับ อันนี้คือ ประเด็นที่สำคัญว่าทำไมเราถึงแนะนำให้ยังใช้ต่อ

    อ่านในการประชุม

  • ประการแรกเลยก็คือว่า เมื่อกี้นี้ดอกเตอร์คุรุจิตเล่าให้ฟังแล้ว ส่วนแบ่งของรัฐ ๗๒ เปอร์เซ็นต์นะครับ ๗๒ เปอร์เซ็นต์ของรายได้สุทธิ รายได้สุทธิก็หมายความว่า รายได้จากการขายแก๊ส ขายน้ำมันเท่าไรหักค่าใช้จ่ายลงไป ที่เหลือนี่รัฐได้ ๗๒ เปอร์เซ็นต์ เอกชนที่มาลงทุนแบกรับความเสี่ยงได้ไป ๒๘ เปอร์เซ็นต์ ถามว่าเยอะไหม ๗๒ เปอร์เซ็นต์ ของรัฐ เยอะครับ เมื่อกี้นี้ดอกเตอร์คุรุจิตได้ชี้ให้เห็นแล้ว กราฟเมื่อกี้นี้มันชี้ให้เห็นว่าของเรา อยู่ตรงกลางอาจจะเหนือค่าเฉลี่ยของโลกด้วยซ้ำไป ค่าเฉลี่ยของโลกประมาณ ๖๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้น ๗๒ เปอร์เซ็นต์ก็ไม่เลวนะครับ ไม่ได้ขี้เหร่อะไรเลย ว่าตามจริงนะครับ และจริง ๆ ๗๒ เปอร์เซ็นต์นี้เป็นอย่างน้อยด้วยซ้ำไป เพราะว่าอันนั้น เป็นไทยแลนด์ทรีเฉย ๆ ถ้าเป็นไทยแลนด์ทรีพลัส ก็คือมีโบนัส (Bonus) อะไรต่าง ๆ พวกนี้ ที่บริษัทจะต้องจ่ายเพิ่มให้กับรัฐมันจะต้องเกิน ๗๒ เปอร์เซ็นต์อยู่แล้วนะครับ อันนี้คือ ประเด็นที่สำคัญว่าทำไมเราถึงแนะนำให้ยังใช้ต่อ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ที่เราคิดว่ามันมีความเหมาะสมก็คือว่า เราใช้ระบบสัมปทาน มา ๔๐ ปีแล้วนะครับ ถ้าจะมาใช้ในปัจจุบันนี่มันก็เหมาะสำหรับโครงสร้างองค์กรภาครัฐ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ต้องไปปรับองค์กร เช่น ไม่ต้องไปตั้งองค์กรใหม่ ๆ นะครับ ไม่ต้องไปตั้ง บริษัทน้ำมันแห่งชาติเพิ่มเติมขึ้นมา หรือไม่ต้องไปตั้งองค์กรร่วมลงทุน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็น ที่จะต้องมีเพิ่มเติมขึ้นมา ถ้าหากว่าเราหันไปใช้ระบบพีเอสซี เพราะอันนี้ก็คือความได้เปรียบ ของการใช้ระบบที่เรามีอยู่ในปัจจุบันซึ่งดีอยู่แล้วว่ากันตามจริงนะครับ อีกอันหนึ่งที่มันดีก็คือว่า มันเหมาะสำหรับสถานการณ์ในระบบหรือระบบการเมืองที่ยัง ไม่ค่อยลงตัว ที่เรามานั่งกันอยู่ในปัจจุบันเพราะว่าระบบการเมืองมันยังไม่ลงตัวนั่นเองใช่ไหม มันเป็นอยู่ในช่วงที่การตรวจสอบทางด้านการเมืองนี่ทำได้อย่างไม่เต็มที่นะครับ และเมื่อมี เลือกตั้ง สมมุติปีหน้าอย่างนี้ท่านคิดว่าลงตัวหรือ ใช่ไหม การตรวจสอบต่าง ๆ รัฐบาลเลือกตั้งเข้ามาอะไรต่ออะไรพวกนี้ แล้วถ้าไปใช้ระบบใหม่มันก็มีความสุ่มเสี่ยง เพราะฉะนั้นระบบปัจจุบันนี้มันรองรับการเมืองที่ผันผวนอยู่แล้ว เพราะว่ามันผ่านร้อน ผ่านหนาวมาถึง ๔๐ ปีแล้วนะครับ มันอาจจะมีข้อบกพร่องบ้าง มีข้อจำกัดบ้าง แต่ว่าทางราชการเขาก็พยายามจะปรับปรุง นี่มันจนกระทั่งถึงไทยแลนด์ทรีพลัสแล้ว อยู่ดี ๆ จะเอาระบบใหม่ ๆ เข้ามา ซึ่งมันต้องอาศัยการกำกับดูแลของภาครัฐอย่างใกล้ชิด ซึ่งก็หมายความว่าอิทธิพลทางการเมือง การเมืองทางฝ่ายบริหารก็จะเข้ามา ถ้าดีก็ดีไป ถ้าไม่ดีมันก็ไม่ดีใช่ไหม มันก็จะกลายเป็นระบบที่อาจจะดีเฉพาะอยู่บนกระดาษเท่านั้นเอง แต่ในทางปฏิบัติอาจจะไม่ดีก็ได้นะครับ ระบบพีเอสซีในปัจจุบันนี้ที่มีผู้เสนอว่าดีกว่า ระบบสัมปทาน ต้องถามว่ามันมีหน้าตาอย่างไร มันเป็นแค่แนวคิดครับ หน้าตาก็ไม่ได้บอกว่า เป็นอย่างไร บอกอย่างเดียวนะครับว่ารัฐมีอำนาจในการควบคุม มีกรรมสิทธิ์ในทรัพยากร ตลอดเวลา แล้วก็วิธีการเลือก ผู้ลงทุนก็คือประมูลส่วนแบ่ง ประมูลส่วนแบ่ง นี่พูดง่าย ๆ นะครับแต่ทำยาก รายละเอียดก็ไม่ค่อยมีนะครับ คำถามเช่นว่า แล้วภาษีมีอีก หรือเปล่า ก็ไม่ได้คำตอบอะไร ภาษีอะไรก็ยังไม่รู้เลยถ้าจะมี ส่วนแบ่งของรัฐกำหนดเป็น เกณฑ์ล่วงหน้าหรือเปล่า ก็ไม่เห็นบอก การร่วมลงทุนของรัฐมีกำหนดกฎเกณฑ์ไหม มากที่สุดเท่าไร หลายประเทศนี่เขามีกฎเกณฑ์นะครับว่าไม่เกิน ๑๕ เปอร์เซ็นต์ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ หรือไม่จำกัด ก็ไม่ได้คำตอบ ยอมให้มีการคืนทุนค่าใช้จ่าย หรือเรียก คอสต์ รีคัฟเวอรี (Cost recovery) หรือการหักค่าใช้จ่ายมากแค่ไหน ข้ามแปลงได้ไหม การคืนพื้นที่ เป็นอย่างไร ระยะเวลาสำรวจ พัฒนา ผลิต การต่ออายุทำได้ไหม พวกนี้เป็นรายละเอียดครับ ซึ่งเรายังไม่ได้คำตอบอะไรเลยนะครับ เราได้แต่คำวิพากษ์วิจารณ์ระบบปัจจุบัน แต่ขอโทษที ระบบที่มีการนำเสนอนี่รายละเอียดยังไม่มีอะไรเลย มันเป็นวุ้นน่ะ ยังเป็นวุ้นอยู่เลย มันยังเป็นแค่แนวคิดอยู่เลยนะครับ เพราะฉะนั้นเจาะลึกไปจริง ๆ นี่มันมีทางเลือกอีกเยอะ ว่าตามจริงนะครับ นี่คือความแตกต่างในรายละเอียด สาระสำคัญเหมือนกันแต่รายละเอียด ไม่เหมือนกัน และถ้ารายละเอียดไม่เหมือนนี่ประเทศควรจะเสี่ยงไหม ประเทศควรจะเสี่ยง หรือเปล่า โอเค เพราะฉะนั้นสรุปว่านี่คือคำอธิบายว่า ทำไมเรายังต้องใช้ระบบปัจจุบันคือ ไทยแลนด์ทรีพลัส ระบบสัมปทานที่ได้ประกาศไปแล้วอยู่ต่อไปนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ที่เราคิดว่ามันมีความเหมาะสมก็คือว่า เราใช้ระบบสัมปทาน มา ๔๐ ปีแล้วนะครับ ถ้าจะมาใช้ในปัจจุบันนี่มันก็เหมาะสำหรับโครงสร้างองค์กรภาครัฐ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ต้องไปปรับองค์กร เช่น ไม่ต้องไปตั้งองค์กรใหม่ ๆ นะครับ ไม่ต้องไปตั้ง บริษัทน้ำมันแห่งชาติเพิ่มเติมขึ้นมา หรือไม่ต้องไปตั้งองค์กรร่วมลงทุน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็น ที่จะต้องมีเพิ่มเติมขึ้นมา ถ้าหากว่าเราหันไปใช้ระบบพีเอสซี เพราะอันนี้ก็คือความได้เปรียบ ของการใช้ระบบที่เรามีอยู่ในปัจจุบันซึ่งดีอยู่แล้วว่ากันตามจริงนะครับ อีกอันหนึ่งที่มันดีก็คือว่า มันเหมาะสำหรับสถานการณ์ในระบบหรือระบบการเมืองที่ยัง ไม่ค่อยลงตัว ที่เรามานั่งกันอยู่ในปัจจุบันเพราะว่าระบบการเมืองมันยังไม่ลงตัวนั่นเองใช่ไหม มันเป็นอยู่ในช่วงที่การตรวจสอบทางด้านการเมืองนี่ทำได้อย่างไม่เต็มที่นะครับ และเมื่อมี เลือกตั้ง สมมุติปีหน้าอย่างนี้ท่านคิดว่าลงตัวหรือ ใช่ไหม การตรวจสอบต่าง ๆ รัฐบาลเลือกตั้งเข้ามาอะไรต่ออะไรพวกนี้ แล้วถ้าไปใช้ระบบใหม่มันก็มีความสุ่มเสี่ยง เพราะฉะนั้นระบบปัจจุบันนี้มันรองรับการเมืองที่ผันผวนอยู่แล้ว เพราะว่ามันผ่านร้อน ผ่านหนาวมาถึง ๔๐ ปีแล้วนะครับ มันอาจจะมีข้อบกพร่องบ้าง มีข้อจำกัดบ้าง แต่ว่าทางราชการเขาก็พยายามจะปรับปรุง นี่มันจนกระทั่งถึงไทยแลนด์ทรีพลัสแล้ว อยู่ดี ๆ จะเอาระบบใหม่ ๆ เข้ามา ซึ่งมันต้องอาศัยการกำกับดูแลของภาครัฐอย่างใกล้ชิด ซึ่งก็หมายความว่าอิทธิพลทางการเมือง การเมืองทางฝ่ายบริหารก็จะเข้ามา ถ้าดีก็ดีไป ถ้าไม่ดีมันก็ไม่ดีใช่ไหม มันก็จะกลายเป็นระบบที่อาจจะดีเฉพาะอยู่บนกระดาษเท่านั้นเอง แต่ในทางปฏิบัติอาจจะไม่ดีก็ได้นะครับ ระบบพีเอสซีในปัจจุบันนี้ที่มีผู้เสนอว่าดีกว่า ระบบสัมปทาน ต้องถามว่ามันมีหน้าตาอย่างไร มันเป็นแค่แนวคิดครับ หน้าตาก็ไม่ได้บอกว่า เป็นอย่างไร บอกอย่างเดียวนะครับว่ารัฐมีอำนาจในการควบคุม มีกรรมสิทธิ์ในทรัพยากร ตลอดเวลา แล้วก็วิธีการเลือก ผู้ลงทุนก็คือประมูลส่วนแบ่ง ประมูลส่วนแบ่ง นี่พูดง่าย ๆ นะครับแต่ทำยาก รายละเอียดก็ไม่ค่อยมีนะครับ คำถามเช่นว่า แล้วภาษีมีอีก หรือเปล่า ก็ไม่ได้คำตอบอะไร ภาษีอะไรก็ยังไม่รู้เลยถ้าจะมี ส่วนแบ่งของรัฐกำหนดเป็น เกณฑ์ล่วงหน้าหรือเปล่า ก็ไม่เห็นบอก การร่วมลงทุนของรัฐมีกำหนดกฎเกณฑ์ไหม มากที่สุดเท่าไร หลายประเทศนี่เขามีกฎเกณฑ์นะครับว่าไม่เกิน ๑๕ เปอร์เซ็นต์ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ หรือไม่จำกัด ก็ไม่ได้คำตอบ ยอมให้มีการคืนทุนค่าใช้จ่าย หรือเรียก คอสต์ รีคัฟเวอรี (Cost recovery) หรือการหักค่าใช้จ่ายมากแค่ไหน ข้ามแปลงได้ไหม การคืนพื้นที่ เป็นอย่างไร ระยะเวลาสำรวจ พัฒนา ผลิต การต่ออายุทำได้ไหม พวกนี้เป็นรายละเอียดครับ ซึ่งเรายังไม่ได้คำตอบอะไรเลยนะครับ เราได้แต่คำวิพากษ์วิจารณ์ระบบปัจจุบัน แต่ขอโทษที ระบบที่มีการนำเสนอนี่รายละเอียดยังไม่มีอะไรเลย มันเป็นวุ้นน่ะ ยังเป็นวุ้นอยู่เลย มันยังเป็นแค่แนวคิดอยู่เลยนะครับ เพราะฉะนั้นเจาะลึกไปจริง ๆ นี่มันมีทางเลือกอีกเยอะ ว่าตามจริงนะครับ นี่คือความแตกต่างในรายละเอียด สาระสำคัญเหมือนกันแต่รายละเอียด ไม่เหมือนกัน และถ้ารายละเอียดไม่เหมือนนี่ประเทศควรจะเสี่ยงไหม ประเทศควรจะเสี่ยง หรือเปล่า โอเค เพราะฉะนั้นสรุปว่านี่คือคำอธิบายว่า ทำไมเรายังต้องใช้ระบบปัจจุบันคือ ไทยแลนด์ทรีพลัส ระบบสัมปทานที่ได้ประกาศไปแล้วอยู่ต่อไปนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้มาถึงอีกประเด็นหนึ่ง คำถามที่บอกว่า ถ้าเราไม่มั่นใจในระบบสัมปทาน ซึ่งผมได้อธิบายให้ท่านประธานและท่านสมาชิกได้ทราบแล้ว จริง ๆ เราก็มีความมั่นใจ อยู่พอสมควร แต่สมมุติว่าถ้าเราเกิดไม่มั่นใจนี่นะครับ แล้วเราอยากจะหันไปใช้พีเอสซี คำถามคือต้องรอไหมนะครับ ก่อนที่บริษัทนี่เขาจะเข้ามาสำรวจ ต้องรอครับ สมมุติว่าถ้าเราเลือกทางเลือกที่ ๒ ทางเลือกที่ ๒ ก็คือหันไปใช้พีเอสซีเลย ที่เปิดประมูล ก็ยกเลิกมัน แล้วหันไปใช้พีเอสซี แล้วต้องรอ คำถามคือรอไปก่อนได้ไหม ดีไหม รอนะรอได้ครับ แต่ไม่ดีแน่นอน เพราะอะไร เพราะว่ารอต้องรอนาน ประการแรกเลย พีเอสซีอย่างที่ผมบอก ยังเป็นวุ้นอยู่เลย หน้าตาเป็นอย่างไรก็ยังไม่รู้ เราก็สรุปเพียงแต่ว่าเนื้อหาสาระสำคัญ ไม่แตกต่างกันเท่านั้นเองใน ๒ ระบบ แต่ต้องมีการจัดเตรียมเป็นเวลาเป็นปีนะครับท่าน ไม่ใช่เป็นเดือนนะครับ เป็นปี ยกตัวอย่างเช่นต้องออกกฎหมายใหม่เลย ระบบภาษีพีเอสซี กับระบบสัมปทานนี่คนละเรื่องกันเลยนะครับ คนละเรื่องคนละหน้าตากันเลย ต้องอ อกกฎ หมาย ใหม่ ต้อง แก้กฎ หมาย กันเป็นกา รใหญ่ เลยน ะครั บ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม ปี ๒๕๑๔ ไม่สามารถที่จะรองรับระบบพีเอสซีได้นะครับ อาจจะต้องไปรื้อแล้วก็ทำใหม่เลย เรียกชื่อใหม่ด้วยซ้ำไปผมคิดว่าอย่างนั้น การออกกฎหมาย ท่านก็ทราบใช้เวลานานแค่ไหน ถึงแม้ว่าเราจะมี สนช. คอยรองรับ แต่อย่างที่ผมบอกหน้าตา เป็นอย่างไรยังไม่รู้เลยต้องไปศึกษาก่อนนะครับ ศึกษาเรื่องนี้ใช้เวลาอย่างน้อยปีหนึ่ง ปีหนึ่งยังไม่พอด้วยซ้ำไป เอาเร่ง ๆ ก็ปีหนึ่งนะครับ ปีหนึ่งเสร็จเสนอกฎหมายก็หมดเวลา พอดีนะครับ ก็จะมีรัฐบาลเลือกตั้งเข้ามาอะไรต่ออะไรพวกนี้ ไม่แน่ใจว่าจะใช้เวลาอีกเท่าไร ที่จะออกเป็นกฎหมายเป็นหลายปีเลยว่าตามจริง ออกกฎหมายเสร็จไม่ใช่จบนะครับ ต้องตั้งองค์กรที่จะรองรับระบบนี้ องค์กรที่จะต้องมีคือบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ท่านจะยอมไหม ให้ ปตท. หรือ ปตท.สผ. เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติรองรับระบบนี้ ถ้าท่านยอมก็โอเค ไม่ต้องไปตั้งใหม่ แต่ผมคิดว่าต้องตั้งใหม่ครับ เพราะว่าต้องเป็นบริษัทน้ำมันของชาติ มีรัฐเป็น เจ้าของ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็จะต้องมีองค์กรร่วมในการลงทุน ต้องไปคอยตัดสินใจว่า เขาจะซื้อวัสดุอย่างนี้ เขาจะต้องลงทุนอย่างนั้น จะยอมเขาไหม จะอนุญาตเขาไหม อะไรต่ออะไรพวกนี้นะครับ เสียเวลาไปอีกเป็นปีองค์กรใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นถ้ารอ ต้องรอนาน ๓-๖ ปีโดยสรุป เรารอได้ไหม รอเป็นปี ถ้ารอเป็นปี แก๊สหรือน้ำมันที่ควรจะไป หาเจอแล้วผลิตได้มันก็จะช้าไป ๓-๖ ปี นี่ขนาดว่าถ้าเปิดรอบนี้ แล้วก็ให้ได้บริษัทมาสำรวจ ในสัมปทาน ๒๙ แปลง ยังต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๕-๖ ปีกว่าจะเจอ แล้วก็ต้องพัฒนาไปอีก ๓-๔ ปีหรืออาจจะ ๕ ปี ทั้งหมดรวมกัน ๙ ปี ๑๐ ปีกว่าที่แก๊สจะเรียกว่าหยดก็ไม่ได้นะครับ ต้องเรียกว่าเป็นคิวบิก ฟีต (Cubic feet) หรือแฮตช์ (Hatch) นี่นะครับ หรือน้ำมันหยดแรก จะโผล่ขึ้นมาจากหลุมให้ประเทศได้ใช้ ๙-๑๐ ปีนะครับ แล้วถ้าเราบวกไปอีก ๓-๖ ปี ๑๐ กว่าปีพอดี พอดีอะไรครับ พอดีแก๊สหมด เพราะว่าเมื่อกี้ดอกเตอร์คุรุจิตได้พูดแล้วว่า แก๊สที่เหลืออยู่ใช้ได้เต็มที่จริง ๆ ๑๔ ปี พอดีหมดนะครับ อาจจะไม่พอด้วยซ้ำไปในที่สุดแล้ว จริง ๆ แล้วไม่พอ จริง ๆ ถึงแม้ว่าจะดำเนินการวันนี้เปิดสัมปทานแล้วเลือกพรุ่งนี้ ผมเข้าใจว่า ยังไม่ทันอยู่เลยนะครับ แก๊สคงจะใกล้หมดแล้วในที่สุดอีกสัก ๑๐ กว่าปี แหล่งใหม่ ๆ ที่จะเข้ามา ก็จะไม่ทัน เพราะฉะนั้นถ้าแก๊สขาดมือในประเทศหมายความว่าอย่างไรครับ หมายความว่า ประเทศจะต้องนำเข้าแก๊สธรรมชาติและน้ำมันเพิ่มเติมขึ้นมาอีก แก๊สธรรมชาติเมื่อกี้นี้ ท่านดอกเตอร์คุรุจิตได้เล่าให้ฟังแล้ว นำเข้าแพงกว่าแก๊สธรรมชาติในประเทศในอ่าวไทยนะครับ อย่างคร่าว ๆ ก็คือปากหลุมในปัจจุบันนี้ ๘ เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู นำเข้าปีที่แล้ว ปตท. จ่ายไป ๑๖ เหรียญต่อล้านบีทียู เท่าตัวนะครับ แพงเท่าตัว แต่ตอนหลัง นี่มันลดลงมาเพราะว่าราคาน้ำมันลด แต่ท่านเชื่อหรือว่าราคาน้ำมันมันจะลดไปอีก ๕ ปี ๑๐ ปี ไม่มีใครเชื่อหรอกครับ อีกหน่อยมันก็จะแพงขึ้น และแน่นอนแก๊สที่นำเข้ามันก็ยังจะ แพงกว่าแก๊สในประเทศอยู่ เพราะฉะนั้นหมายความว่าอย่างไร ถ้าเราต้องนำเข้าแก๊สธรรมชาติ ที่แพงกว่านำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันเราก็นำเข้าเป็นส่วนใหญ่แล้ว ผลก็คือ ค่าไฟก็จะแพงขึ้น เมื่อกี้ดอกเตอร์คุรุจิตได้พูดแล้วว่ามันจะแพงขึ้นจากประมาณ ๔ บาท ขึ้นไปเป็น ๕ บาท ๖ บาท ก็หมายความว่าพวกเราก็เดือดร้อน ผู้ประกอบการก็เดือดร้อน โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งใช้ไฟมากที่สุดก็เดือดร้อน โรงงานอุตสาหกรรมนี่นักลงทุนเขาถ้าต้นทุนสูง เขาก็ย้ายถิ่นไป ก็จะมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ แก๊สหุงต้มของท่านก็จะแพงขึ้นนะครับ เพราะว่าแก๊สหุงต้มในประเทศส่วนใหญ่แยกมาจากแก๊สธรรมชาติหรือได้มาจาก การนำเข้าแก๊ส เพราะฉะนั้นถ้าแก๊สในประเทศไม่พอก็ต้องนำเข้า ซึ่งก็แพงกว่าอย่างที่ผม ได้ให้ตัวเลขไว้ ประเทศก็จะขาดดุลการค้ามากขึ้น ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น เพราะว่า มูลค่าของน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่นำเข้าในปัจจุบันนี้คิดเป็นมูลค่าเป็นเงินตราต่างประเทศ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ขณะนี้ยัง ๑๐ เปอร์เซ็นต์อยู่ แต่ถ้าเรานำเข้า มาก ๆ เข้าอาจจะขึ้นไปถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ หรือ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ก็ได้ ซึ่งก็หมายความว่า หนี้ต่างประเทศของประเทศไทยก็จะสูงขึ้น เศรษฐกิจก็จะโตช้าลง และจริง ๆ แล้วที่น่าวิตก ก็คือว่าความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคมก็จะมากขึ้น เพราะว่าในทุกประเทศ ละครับท่าน ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย เวลาพลังงานแพงขึ้น ไฟแพงขึ้น น้ำมันแพงขึ้น แล้วไม่พอนี่ ผู้เดือดร้อนก็คือผู้ที่มีรายได้น้อย ผู้ที่เสียโอกาส ความเหลื่อมล้ำก็จะมีมากขึ้น นี่แหละครับคือผลของการที่จะต้องรอมากขึ้นไปอีก ๓ ปี ๖ ปี จริง ๆ แล้วผมอยากจะย้ำ สักนิดหนึ่งว่าของประเทศไทยนี่ศักยภาพปิโตรเลียมของเราต่ำจริง ๆ ครับ ตัวเลขเมื่อกี้นี้ที่ ท่านคุรุจิตได้นำเสนออาร์พี เรโช (R/P ratio) อาร์พี เรโช ก็คือปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว คือตัว R (อาร์) หารด้วยปริมาณการผลิตในแต่ละปี ท่านบอกแล้วว่าได้ประมาณ ๗ ปี ผมไปเปิดดูสถิติของโลก ท่านทราบหรือเปล่านะครับ ๗ ปีสำหรับแก๊สธรรมชาติอยู่ในอันดับที่ เท่าไรของโลก บริษัทบีพีซึ่งทำสถิติของโลกทุกปี เขาให้ตัวเลขอาร์พีสำหรับประเทศ ๕๕ ประเทศ ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ ๕๑ ครับ หมายถึงรั้งท้ายนะ ๕๑ ก็แสดงว่ามีอาร์พี เรโชของอีก ๓ ประเทศที่ต่ำกว่าเรา นอกนั้น ๑๐ กว่า ๒๐ กว่า ไปถึง ๑๐๐ ปีก็มีนะครับ แต่เราไม่ต้องถึง ๑๐๐ปี แต่ ๗ ปีนี้ถือว่าต่ำมากเลยนะครับ มีแค่ ๓ ประเทศเท่านั้นแหละ ที่ต่ำกว่าเรา และเผอิญเป็น ๓ ประเทศที่เขาร่ำรวยพอสมควร เช่น เดนมาร์ก อังกฤษ ซึ่งเขาก็คงไม่ค่อยได้เดือดร้อนเท่าไร นี่ละครับเป็นประเด็นที่สำคัญที่ผมคิดว่าเราจะต้อง ระมัดระวังตรงจุดนี้ว่าศักยภาพเรามีไม่มาก แล้วถ้าเราช้า เราต้องรอ เราต้องเดือดร้อน และเราในที่นี้เราที่นั่งกันอยู่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน มีคนบอกว่า เอ๊ะ ไม่น่าจะเดือดร้อน เพราะว่าถ้าไม่ขุดมาใช้ในวันนี้ ก็เก็บไว้ให้ลูกหลานใช้ได้ในอนาคต ดีไหม ไม่ดีครับ ผมเรียนเลยว่าไม่ดี เพราะอะไร เพราะว่าประการแรกเลย ถ้าไม่ขุดมาใช้วันนี้เราก็ต้องใช้เงินตราต่างประเทศมากขึ้น ในการซื้อน้ำมันและแก๊สธรรมชาติอย่างที่ผมพูดไปแล้ว เพราะฉะนั้นก็หมายความว่า ทั้งเอกชนและรัฐก็จะมีเงินเหลือเพื่อลงทุนสำหรับลูกหลานของเราในอนาคตน้อยเกินไป ดีไหม สำหรับลูกหลานในอนาคต มันก็จะมีผลลบต่อทางด้านการศึกษา สาธารณสุข ทั้งสำหรับ คนในรุ่นนี้และในรุ่นลูกหลานเราด้วย อันนี้ต้องคิดให้ดี ไม่ใช่ว่าเก็บแล้วมันดี และประการที่ ๒ ก็คือว่าเรามีเงินไม่พอ เราต้องซื้อน้ำมันและแก๊สจากต่างประเทศ เราก็ต้องกู้ยืมมาเพื่อลงทุน หรือใช้จ่ายจนกระทั่งทำให้เกิดหนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้ต่างประเทศ อันนี้สำหรับ ลูกหลานละครับ คือมรดกของลูกหลานคือหนี้ หนี้สาธารณะ หนี้ของตัวบุคคลด้วย ไม่ใช่ทรัพย์สินละครับ เพราะฉะนั้นการขาดดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างที่ผมว่านี่ เป็นเรื่องไม่ดีนะครับ เป็นเรื่องที่จะผลักภาระไปให้ลูกหลานของท่านในรูปของหนี้ ท่านก็อยากจะมีแก๊สธรรมชาติ น้ำมันเหลืออยู่กับลูกหลานอยู่ใต้ดินแต่เอาหนี้ไปด้วย ผมว่าลูกหลานไม่แน่ใจว่าจะชื่นชมหรือเปล่า แต่ที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือเก็บไว้ในวันนี้ไม่ใช่ว่า ในอนาคตจะขุดออกมาได้หรือว่ามีแรงจูงใจ เพราะว่าเทคโนโลยีมันเปลี่ยนไปเยอะ ในอนาคต อาจจะไม่มีแรงจูงใจที่จะขุดขึ้นมาในอนาคต เพราะว่าเทคโนโลยีในด้านพลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาดจะทำให้ไม่คุ้มค่าในการลงทุนสำรวจและผลิตพลังงานฟอสซิลต่อไปในอนาคต จะกี่ปีก็ว่าไป จำได้ไหมครับท่านสมาชิกว่าสภาเราได้สนับสนุนโซลาร์รูฟ (Solar roof) นั่นละครับ พลังงานในอนาคตครับ แล้วจะมีพลังงานอื่น ๆ อีกเยอะ อีกสัก ๒๐-๓๐ ปี ไม่แน่ พลังงานฟอสซิล น้ำมัน แก๊สธรรมชาติที่อยู่ในหลุมมันก็อาจจะยังอยู่ในหลุมต่อไป พูดง่าย ๆ คือไม่คุ้มค่าที่จะผลิตขึ้นมา

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้มาถึงอีกประเด็นหนึ่ง คำถามที่บอกว่า ถ้าเราไม่มั่นใจในระบบสัมปทาน ซึ่งผมได้อธิบายให้ท่านประธานและท่านสมาชิกได้ทราบแล้ว จริง ๆ เราก็มีความมั่นใจ อยู่พอสมควร แต่สมมุติว่าถ้าเราเกิดไม่มั่นใจนี่นะครับ แล้วเราอยากจะหันไปใช้พีเอสซี คำถามคือต้องรอไหมนะครับ ก่อนที่บริษัทนี่เขาจะเข้ามาสำรวจ ต้องรอครับ สมมุติว่าถ้าเราเลือกทางเลือกที่ ๒ ทางเลือกที่ ๒ ก็คือหันไปใช้พีเอสซีเลย ที่เปิดประมูล ก็ยกเลิกมัน แล้วหันไปใช้พีเอสซี แล้วต้องรอ คำถามคือรอไปก่อนได้ไหม ดีไหม รอนะรอได้ครับ แต่ไม่ดีแน่นอน เพราะอะไร เพราะว่ารอต้องรอนาน ประการแรกเลย พีเอสซีอย่างที่ผมบอก ยังเป็นวุ้นอยู่เลย หน้าตาเป็นอย่างไรก็ยังไม่รู้ เราก็สรุปเพียงแต่ว่าเนื้อหาสาระสำคัญ ไม่แตกต่างกันเท่านั้นเองใน ๒ ระบบ แต่ต้องมีการจัดเตรียมเป็นเวลาเป็นปีนะครับท่าน ไม่ใช่เป็นเดือนนะครับ เป็นปี ยกตัวอย่างเช่นต้องออกกฎหมายใหม่เลย ระบบภาษีพีเอสซี กับระบบสัมปทานนี่คนละเรื่องกันเลยนะครับ คนละเรื่องคนละหน้าตากันเลย ต้องอ อกกฎ หมาย ใหม่ ต้อง แก้กฎ หมาย กันเป็นกา รใหญ่ เลยน ะครั บ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม ปี ๒๕๑๔ ไม่สามารถที่จะรองรับระบบพีเอสซีได้นะครับ อาจจะต้องไปรื้อแล้วก็ทำใหม่เลย เรียกชื่อใหม่ด้วยซ้ำไปผมคิดว่าอย่างนั้น การออกกฎหมาย ท่านก็ทราบใช้เวลานานแค่ไหน ถึงแม้ว่าเราจะมี สนช. คอยรองรับ แต่อย่างที่ผมบอกหน้าตา เป็นอย่างไรยังไม่รู้เลยต้องไปศึกษาก่อนนะครับ ศึกษาเรื่องนี้ใช้เวลาอย่างน้อยปีหนึ่ง ปีหนึ่งยังไม่พอด้วยซ้ำไป เอาเร่ง ๆ ก็ปีหนึ่งนะครับ ปีหนึ่งเสร็จเสนอกฎหมายก็หมดเวลา พอดีนะครับ ก็จะมีรัฐบาลเลือกตั้งเข้ามาอะไรต่ออะไรพวกนี้ ไม่แน่ใจว่าจะใช้เวลาอีกเท่าไร ที่จะออกเป็นกฎหมายเป็นหลายปีเลยว่าตามจริง ออกกฎหมายเสร็จไม่ใช่จบนะครับ ต้องตั้งองค์กรที่จะรองรับระบบนี้ องค์กรที่จะต้องมีคือบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ท่านจะยอมไหม ให้ ปตท. หรือ ปตท.สผ. เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติรองรับระบบนี้ ถ้าท่านยอมก็โอเค ไม่ต้องไปตั้งใหม่ แต่ผมคิดว่าต้องตั้งใหม่ครับ เพราะว่าต้องเป็นบริษัทน้ำมันของชาติ มีรัฐเป็น เจ้าของ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็จะต้องมีองค์กรร่วมในการลงทุน ต้องไปคอยตัดสินใจว่า เขาจะซื้อวัสดุอย่างนี้ เขาจะต้องลงทุนอย่างนั้น จะยอมเขาไหม จะอนุญาตเขาไหม อะไรต่ออะไรพวกนี้นะครับ เสียเวลาไปอีกเป็นปีองค์กรใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นถ้ารอ ต้องรอนาน ๓-๖ ปีโดยสรุป เรารอได้ไหม รอเป็นปี ถ้ารอเป็นปี แก๊สหรือน้ำมันที่ควรจะไป หาเจอแล้วผลิตได้มันก็จะช้าไป ๓-๖ ปี นี่ขนาดว่าถ้าเปิดรอบนี้ แล้วก็ให้ได้บริษัทมาสำรวจ ในสัมปทาน ๒๙ แปลง ยังต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๕-๖ ปีกว่าจะเจอ แล้วก็ต้องพัฒนาไปอีก ๓-๔ ปีหรืออาจจะ ๕ ปี ทั้งหมดรวมกัน ๙ ปี ๑๐ ปีกว่าที่แก๊สจะเรียกว่าหยดก็ไม่ได้นะครับ ต้องเรียกว่าเป็นคิวบิก ฟีต (Cubic feet) หรือแฮตช์ (Hatch) นี่นะครับ หรือน้ำมันหยดแรก จะโผล่ขึ้นมาจากหลุมให้ประเทศได้ใช้ ๙-๑๐ ปีนะครับ แล้วถ้าเราบวกไปอีก ๓-๖ ปี ๑๐ กว่าปีพอดี พอดีอะไรครับ พอดีแก๊สหมด เพราะว่าเมื่อกี้ดอกเตอร์คุรุจิตได้พูดแล้วว่า แก๊สที่เหลืออยู่ใช้ได้เต็มที่จริง ๆ ๑๔ ปี พอดีหมดนะครับ อาจจะไม่พอด้วยซ้ำไปในที่สุดแล้ว จริง ๆ แล้วไม่พอ จริง ๆ ถึงแม้ว่าจะดำเนินการวันนี้เปิดสัมปทานแล้วเลือกพรุ่งนี้ ผมเข้าใจว่า ยังไม่ทันอยู่เลยนะครับ แก๊สคงจะใกล้หมดแล้วในที่สุดอีกสัก ๑๐ กว่าปี แหล่งใหม่ ๆ ที่จะเข้ามา ก็จะไม่ทัน เพราะฉะนั้นถ้าแก๊สขาดมือในประเทศหมายความว่าอย่างไรครับ หมายความว่า ประเทศจะต้องนำเข้าแก๊สธรรมชาติและน้ำมันเพิ่มเติมขึ้นมาอีก แก๊สธรรมชาติเมื่อกี้นี้ ท่านดอกเตอร์คุรุจิตได้เล่าให้ฟังแล้ว นำเข้าแพงกว่าแก๊สธรรมชาติในประเทศในอ่าวไทยนะครับ อย่างคร่าว ๆ ก็คือปากหลุมในปัจจุบันนี้ ๘ เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู นำเข้าปีที่แล้ว ปตท. จ่ายไป ๑๖ เหรียญต่อล้านบีทียู เท่าตัวนะครับ แพงเท่าตัว แต่ตอนหลัง นี่มันลดลงมาเพราะว่าราคาน้ำมันลด แต่ท่านเชื่อหรือว่าราคาน้ำมันมันจะลดไปอีก ๕ ปี ๑๐ ปี ไม่มีใครเชื่อหรอกครับ อีกหน่อยมันก็จะแพงขึ้น และแน่นอนแก๊สที่นำเข้ามันก็ยังจะ แพงกว่าแก๊สในประเทศอยู่ เพราะฉะนั้นหมายความว่าอย่างไร ถ้าเราต้องนำเข้าแก๊สธรรมชาติ ที่แพงกว่านำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันเราก็นำเข้าเป็นส่วนใหญ่แล้ว ผลก็คือ ค่าไฟก็จะแพงขึ้น เมื่อกี้ดอกเตอร์คุรุจิตได้พูดแล้วว่ามันจะแพงขึ้นจากประมาณ ๔ บาท ขึ้นไปเป็น ๕ บาท ๖ บาท ก็หมายความว่าพวกเราก็เดือดร้อน ผู้ประกอบการก็เดือดร้อน โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งใช้ไฟมากที่สุดก็เดือดร้อน โรงงานอุตสาหกรรมนี่นักลงทุนเขาถ้าต้นทุนสูง เขาก็ย้ายถิ่นไป ก็จะมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ แก๊สหุงต้มของท่านก็จะแพงขึ้นนะครับ เพราะว่าแก๊สหุงต้มในประเทศส่วนใหญ่แยกมาจากแก๊สธรรมชาติหรือได้มาจาก การนำเข้าแก๊ส เพราะฉะนั้นถ้าแก๊สในประเทศไม่พอก็ต้องนำเข้า ซึ่งก็แพงกว่าอย่างที่ผม ได้ให้ตัวเลขไว้ ประเทศก็จะขาดดุลการค้ามากขึ้น ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น เพราะว่า มูลค่าของน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่นำเข้าในปัจจุบันนี้คิดเป็นมูลค่าเป็นเงินตราต่างประเทศ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ขณะนี้ยัง ๑๐ เปอร์เซ็นต์อยู่ แต่ถ้าเรานำเข้า มาก ๆ เข้าอาจจะขึ้นไปถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ หรือ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ก็ได้ ซึ่งก็หมายความว่า หนี้ต่างประเทศของประเทศไทยก็จะสูงขึ้น เศรษฐกิจก็จะโตช้าลง และจริง ๆ แล้วที่น่าวิตก ก็คือว่าความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคมก็จะมากขึ้น เพราะว่าในทุกประเทศ ละครับท่าน ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย เวลาพลังงานแพงขึ้น ไฟแพงขึ้น น้ำมันแพงขึ้น แล้วไม่พอนี่ ผู้เดือดร้อนก็คือผู้ที่มีรายได้น้อย ผู้ที่เสียโอกาส ความเหลื่อมล้ำก็จะมีมากขึ้น นี่แหละครับคือผลของการที่จะต้องรอมากขึ้นไปอีก ๓ ปี ๖ ปี จริง ๆ แล้วผมอยากจะย้ำ สักนิดหนึ่งว่าของประเทศไทยนี่ศักยภาพปิโตรเลียมของเราต่ำจริง ๆ ครับ ตัวเลขเมื่อกี้นี้ที่ ท่านคุรุจิตได้นำเสนออาร์พี เรโช (R/P ratio) อาร์พี เรโช ก็คือปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว คือตัว R (อาร์) หารด้วยปริมาณการผลิตในแต่ละปี ท่านบอกแล้วว่าได้ประมาณ ๗ ปี ผมไปเปิดดูสถิติของโลก ท่านทราบหรือเปล่านะครับ ๗ ปีสำหรับแก๊สธรรมชาติอยู่ในอันดับที่ เท่าไรของโลก บริษัทบีพีซึ่งทำสถิติของโลกทุกปี เขาให้ตัวเลขอาร์พีสำหรับประเทศ ๕๕ ประเทศ ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ ๕๑ ครับ หมายถึงรั้งท้ายนะ ๕๑ ก็แสดงว่ามีอาร์พี เรโชของอีก ๓ ประเทศที่ต่ำกว่าเรา นอกนั้น ๑๐ กว่า ๒๐ กว่า ไปถึง ๑๐๐ ปีก็มีนะครับ แต่เราไม่ต้องถึง ๑๐๐ปี แต่ ๗ ปีนี้ถือว่าต่ำมากเลยนะครับ มีแค่ ๓ ประเทศเท่านั้นแหละ ที่ต่ำกว่าเรา และเผอิญเป็น ๓ ประเทศที่เขาร่ำรวยพอสมควร เช่น เดนมาร์ก อังกฤษ ซึ่งเขาก็คงไม่ค่อยได้เดือดร้อนเท่าไร นี่ละครับเป็นประเด็นที่สำคัญที่ผมคิดว่าเราจะต้อง ระมัดระวังตรงจุดนี้ว่าศักยภาพเรามีไม่มาก แล้วถ้าเราช้า เราต้องรอ เราต้องเดือดร้อน และเราในที่นี้เราที่นั่งกันอยู่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน มีคนบอกว่า เอ๊ะ ไม่น่าจะเดือดร้อน เพราะว่าถ้าไม่ขุดมาใช้ในวันนี้ ก็เก็บไว้ให้ลูกหลานใช้ได้ในอนาคต ดีไหม ไม่ดีครับ ผมเรียนเลยว่าไม่ดี เพราะอะไร เพราะว่าประการแรกเลย ถ้าไม่ขุดมาใช้วันนี้เราก็ต้องใช้เงินตราต่างประเทศมากขึ้น ในการซื้อน้ำมันและแก๊สธรรมชาติอย่างที่ผมพูดไปแล้ว เพราะฉะนั้นก็หมายความว่า ทั้งเอกชนและรัฐก็จะมีเงินเหลือเพื่อลงทุนสำหรับลูกหลานของเราในอนาคตน้อยเกินไป ดีไหม สำหรับลูกหลานในอนาคต มันก็จะมีผลลบต่อทางด้านการศึกษา สาธารณสุข ทั้งสำหรับ คนในรุ่นนี้และในรุ่นลูกหลานเราด้วย อันนี้ต้องคิดให้ดี ไม่ใช่ว่าเก็บแล้วมันดี และประการที่ ๒ ก็คือว่าเรามีเงินไม่พอ เราต้องซื้อน้ำมันและแก๊สจากต่างประเทศ เราก็ต้องกู้ยืมมาเพื่อลงทุน หรือใช้จ่ายจนกระทั่งทำให้เกิดหนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้ต่างประเทศ อันนี้สำหรับ ลูกหลานละครับ คือมรดกของลูกหลานคือหนี้ หนี้สาธารณะ หนี้ของตัวบุคคลด้วย ไม่ใช่ทรัพย์สินละครับ เพราะฉะนั้นการขาดดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างที่ผมว่านี่ เป็นเรื่องไม่ดีนะครับ เป็นเรื่องที่จะผลักภาระไปให้ลูกหลานของท่านในรูปของหนี้ ท่านก็อยากจะมีแก๊สธรรมชาติ น้ำมันเหลืออยู่กับลูกหลานอยู่ใต้ดินแต่เอาหนี้ไปด้วย ผมว่าลูกหลานไม่แน่ใจว่าจะชื่นชมหรือเปล่า แต่ที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือเก็บไว้ในวันนี้ไม่ใช่ว่า ในอนาคตจะขุดออกมาได้หรือว่ามีแรงจูงใจ เพราะว่าเทคโนโลยีมันเปลี่ยนไปเยอะ ในอนาคต อาจจะไม่มีแรงจูงใจที่จะขุดขึ้นมาในอนาคต เพราะว่าเทคโนโลยีในด้านพลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาดจะทำให้ไม่คุ้มค่าในการลงทุนสำรวจและผลิตพลังงานฟอสซิลต่อไปในอนาคต จะกี่ปีก็ว่าไป จำได้ไหมครับท่านสมาชิกว่าสภาเราได้สนับสนุนโซลาร์รูฟ (Solar roof) นั่นละครับ พลังงานในอนาคตครับ แล้วจะมีพลังงานอื่น ๆ อีกเยอะ อีกสัก ๒๐-๓๐ ปี ไม่แน่ พลังงานฟอสซิล น้ำมัน แก๊สธรรมชาติที่อยู่ในหลุมมันก็อาจจะยังอยู่ในหลุมต่อไป พูดง่าย ๆ คือไม่คุ้มค่าที่จะผลิตขึ้นมา

    อ่านในการประชุม

  • และอีกประเด็นหนึ่งก็คือว่าโลกกำลังเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อน ท่านก็คงทราบ แล้วข้อตกลงในอนาคตมันจะจำกัดการใช้พลังงานฟอสซิล จำกัดการผลิต พลังงานฟอสซิล นี่ก็เป็นอีกอันหนึ่งซึ่งประเทศไทยก็จะต้องถูกจำกัด เก็บไว้ในอนาคตไปเจอ ข้อจำกัดตรงนี้ขุดมาไม่ได้อีกแล้ว เพราะฉะนั้นขุดและใช้ในวันนี้เถอะครับ เท่าที่เราต้องการจะใช้ เท่าที่เทคโนโลยียังมีอยู่ ไม่อย่างนั้นก็จะเสียโอกาส ไม่ใช่เสียโอกาสเฉพาะคนรุ่นของเรา รุ่นปัจจุบันหรือคนรุ่นลูกเรา แม้กระทั่งคนรุ่นหลานเราเขาอาจจะพลาดโอกาสตรงจุดนี้ เพราะฉะนั้นตรงนี้โดยสรุปก็คือรอไม่ได้ ถ้ารอเสียประโยชน์ไม่คุ้มค่าแน่นอน ทำไปเลยตอนนี้ ไทยแลนด์ทรีพลัสยังใช้ได้ใช้ไป แล้วไม่ต้องไปเสียดายว่าถ้าเราให้เขาไป ๒๙ แปลงแล้ว มันจะเสียโอกาสไหม ยังไม่เสียครับ แผนที่ที่ดอกเตอร์คุรุจิตได้แสดงให้เห็น ๒๙ แปลง มันไม่ใช่ครอบคลุมไปทั้งประเทศนะครับ มันยังมีส่วนอื่น ๆ ของประเทศ ซึ่งเราหวังว่า ในอนาคตเราจะให้เป็นสัมปทานก็ได้ หรือจะเป็นระบบใหม่ที่มีการเสนอก็ได้ ในการสำรวจ ขุดเจาะต่อไป แล้วก็พื้นที่บางอันที่อยู่ใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน เราก็อาจจะมีโอกาส พัฒนาต่อไป จะใช้ระบบไหนก็ย่อมได้ เพราะฉะนั้นโดยสรุปผมคิดว่าอยากจะชักชวนให้ทาง ท่านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติสนับสนุนเราในทางเลือกที่ ๓ ก็คือเดินหน้าต่อไป ในขณะเดียวกันก็ศึกษาไปว่าระบบที่มีการเสนอให้ใช้โดยการแบ่งปันผลผลิตดูสิมันดีไหม ถ้าดีเอาเลยออกมาเป็นกฎหมายแต่มันต้องใช้เวลา ผมต้องขออภัยที่ใช้เวลานานไปนิดหนึ่งนะครับ ท่านประธาน ก็ต้องขอขอบคุณท่านประธานและสมาชิกครับ

    อ่านในการประชุม

  • และอีกประเด็นหนึ่งก็คือว่าโลกกำลังเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อน ท่านก็คงทราบ แล้วข้อตกลงในอนาคตมันจะจำกัดการใช้พลังงานฟอสซิล จำกัดการผลิต พลังงานฟอสซิล นี่ก็เป็นอีกอันหนึ่งซึ่งประเทศไทยก็จะต้องถูกจำกัด เก็บไว้ในอนาคตไปเจอ ข้อจำกัดตรงนี้ขุดมาไม่ได้อีกแล้ว เพราะฉะนั้นขุดและใช้ในวันนี้เถอะครับ เท่าที่เราต้องการจะใช้ เท่าที่เทคโนโลยียังมีอยู่ ไม่อย่างนั้นก็จะเสียโอกาส ไม่ใช่เสียโอกาสเฉพาะคนรุ่นของเรา รุ่นปัจจุบันหรือคนรุ่นลูกเรา แม้กระทั่งคนรุ่นหลานเราเขาอาจจะพลาดโอกาสตรงจุดนี้ เพราะฉะนั้นตรงนี้โดยสรุปก็คือรอไม่ได้ ถ้ารอเสียประโยชน์ไม่คุ้มค่าแน่นอน ทำไปเลยตอนนี้ ไทยแลนด์ทรีพลัสยังใช้ได้ใช้ไป แล้วไม่ต้องไปเสียดายว่าถ้าเราให้เขาไป ๒๙ แปลงแล้ว มันจะเสียโอกาสไหม ยังไม่เสียครับ แผนที่ที่ดอกเตอร์คุรุจิตได้แสดงให้เห็น ๒๙ แปลง มันไม่ใช่ครอบคลุมไปทั้งประเทศนะครับ มันยังมีส่วนอื่น ๆ ของประเทศ ซึ่งเราหวังว่า ในอนาคตเราจะให้เป็นสัมปทานก็ได้ หรือจะเป็นระบบใหม่ที่มีการเสนอก็ได้ ในการสำรวจ ขุดเจาะต่อไป แล้วก็พื้นที่บางอันที่อยู่ใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน เราก็อาจจะมีโอกาส พัฒนาต่อไป จะใช้ระบบไหนก็ย่อมได้ เพราะฉะนั้นโดยสรุปผมคิดว่าอยากจะชักชวนให้ทาง ท่านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติสนับสนุนเราในทางเลือกที่ ๓ ก็คือเดินหน้าต่อไป ในขณะเดียวกันก็ศึกษาไปว่าระบบที่มีการเสนอให้ใช้โดยการแบ่งปันผลผลิตดูสิมันดีไหม ถ้าดีเอาเลยออกมาเป็นกฎหมายแต่มันต้องใช้เวลา ผมต้องขออภัยที่ใช้เวลานานไปนิดหนึ่งนะครับ ท่านประธาน ก็ต้องขอขอบคุณท่านประธานและสมาชิกครับ

    อ่านในการประชุม