นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล นะครับ ผมอยากขอเรียนถามทำความเข้าใจนะครับ ในข้อ ๘๐ วรรคสองที่บอกว่า หากคณะกรรมาธิการวิสามัญนี่นะครับที่จะพูดถึงในเรื่องว่า ถ้ามีความจำเป็นจะต้องแก้ไข พ.ร.บ. นี่นะครับ ผมเข้าใจว่าการแก้ไข พ.ร.บ. นี่น่าจะเป็น หน้าที่ของ สนช. ผมเข้าใจว่าทาง สปช. เอง ทางเราเองก็คงจะทำดูว่า ถ้ามีประเด็นไหน หรือกฎหมายฉบับไหนจะต้องแก้ไขอะไรบ้างก็จะส่งไปที่ สนช. ใช่ไหมครับ หรือจะต้องจัดทำ ร่างพระราชบัญญัติขึ้นมาเองครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ดอกเตอร์อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล สปช. นะครับ ความจริงในเรื่องของปิโตรเลียม น้ำมัน หรือว่าแก๊สนะครับ ผมเองอยู่ในเซกเตอร์นี้มายาวนาน แล้วก็จริง ๆ แล้วความสำคัญที่ให้มาก ก็คือในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงนะครับ ทีนี้เรามามองแต่ประเทศไทยเราในเรื่อง ความเสี่ยงว่าความมั่นคงนี่มันเป็นเรื่องของความเสี่ยงที่มีความสำคัญที่เราจะต้อง มีความมั่นใจว่าเราไม่มีความเสี่ยงเรื่องของความมั่นคง นั่นก็คือว่าเรามีแก๊สใช้อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเราต้องมั่นใจว่าเรามีค่าไฟไม่แพงจนเกินไป เพราะถ้าค่าไฟฟ้าแพงเกินไปนี่สิ่งที่เกิดขึ้น มันจะไปกระทบตั้งแต่ภาคประชาชนรวมทั้งภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเราต้องผลิตสินค้า ออกจำหน่าย ซึ่งทำให้ศักยภาพในการแข่งขันเราค่อนข้างจะลดลงนะครับ ส่วนในเรื่องของ ความเสี่ยงด้านความมั่นคงนี่ครับ ผมคิดว่าเรามี ๓ ประเด็นที่อยากจะพูดถึงนะครับ คือ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ดอกเตอร์อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล สปช. นะครับ ความจริงในเรื่องของปิโตรเลียม น้ำมัน หรือว่าแก๊สนะครับ ผมเองอยู่ในเซกเตอร์นี้มายาวนาน แล้วก็จริง ๆ แล้วความสำคัญที่ให้มาก ก็คือในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงนะครับ ทีนี้เรามามองแต่ประเทศไทยเราในเรื่อง ความเสี่ยงว่าความมั่นคงนี่มันเป็นเรื่องของความเสี่ยงที่มีความสำคัญที่เราจะต้อง มีความมั่นใจว่าเราไม่มีความเสี่ยงเรื่องของความมั่นคง นั่นก็คือว่าเรามีแก๊สใช้อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเราต้องมั่นใจว่าเรามีค่าไฟไม่แพงจนเกินไป เพราะถ้าค่าไฟฟ้าแพงเกินไปนี่สิ่งที่เกิดขึ้น มันจะไปกระทบตั้งแต่ภาคประชาชนรวมทั้งภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเราต้องผลิตสินค้า ออกจำหน่าย ซึ่งทำให้ศักยภาพในการแข่งขันเราค่อนข้างจะลดลงนะครับ ส่วนในเรื่องของ ความเสี่ยงด้านความมั่นคงนี่ครับ ผมคิดว่าเรามี ๓ ประเด็นที่อยากจะพูดถึงนะครับ คือ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นแรก จะเป็นความเสี่ยงในเรื่องของที่เรารีเสิร์ฟ (Reserve) พูดถึง ก็คือว่าปริมาณสำรองที่เรามีอยู่จากที่ข้อมูลของกระทรวงพลังงานก็เห็นชัดเจนว่าถ้าเป็นพี ๑ นี่ก็คือว่าที่เราพรูฟด์ รีเสิร์ฟแล้วนี่จะมีอยู่ประมาณ ๘,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์ฟุตเท่านั้นเอง ซึ่งจะใช้อยู่ประมาณแค่ ๗ ปีก็หมด ส่วนการสำรองในส่วนที่เราเรียกว่า พี ๒ ซึ่งมีความมั่นใจ อยู่แค่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ถ้าเราเทก (Take) ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เราก็อาจจะบอกว่า เราอาจจะมีแก๊สใช้ในส่วน พี ๒ อยู่แค่ ๓ ปีเท่านั้นเอง โดยรวมก็มีแก๊สอยู่ ๑๐ ปี แล้ว ๑๐ ปีนี้ผมเชื่อว่าปริมาณการใช้มันก็ค่อย ๆ มากขึ้นขณะที่ปริมาณผลิตค่อนข้างจะ ลดลงมานะครับ เพราะฉะนั้นถ้าเราลดลงมาหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน ก็คือจะต้องนำเข้า แอลเอ็นจีเข้ามานะครับ ซึ่งทุกคนก็พูดอยู่แล้วว่าแอลเอ็นจีมีราคาแพงกว่าแก๊สในอ่าวไทย เราค่อนข้างมากนะครับ ทีนี้ความเสี่ยงในเรื่องของแอลเอ็นจีที่นำเข้ามา คนอาจจะไม่ค่อยพูดกัน ก็คือการขนส่ง การขนส่งแอลเอ็นจีทำได้ยากกว่าน้ำมันค่อนข้างมาก ถ้าเรื่องนี้เป็นน้ำมัน จริง ๆ แล้วผมคิดว่าเราชะลอไปได้ แต่พอมาถึงเรื่องแก๊สนี่นะครับ เราไม่สามารถจะเก็บแก๊ส ได้นาน ๆ เหมือนน้ำมัน เราไม่มีฐานเก็บเพียงพอ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องนำเข้ามา แล้วประเทศที่มีแก๊สมากก็เป็นประเทศทางตะวันออกกลาง อย่างเช่นที่ ปตท. ไปทำสัญญากับกาตาร์ เป็นต้น แต่การนำแก๊สเข้ามานี่สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องนึกถึงเหมือนกันว่า ถ้าเกิดว่ามันมีวิกฤติหรือมีเหตุการณ์อะไรในตะวันออกกลางขึ้นมา เรือขนแก๊สนี่เข้าไปไม่ได้ รับแก๊สไม่ได้ แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยนะครับ เราหาแก๊สจากหน่วยที่อื่น นี่ทำได้ยากมากนะครับ เพราะฉะนั้นความเสี่ยงในเรื่องของการขนส่งเป็นเรื่องที่ใหญ่ ความเสี่ยงในด้านราคาเรานำเข้าแอลเอ็นจีมาเรารู้อยู่แล้วว่าราคาแพงขึ้น ประเทศไต้หวันเอง ประชาชนเขาไม่อยากได้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรอกครับ แต่ท้ายที่สุดเขาต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพราะว่าค่าไฟฟ้าเขานี่ไม่สามารถจะแบกภาระ ที่แพงเกินไปได้ เพราะว่าภาคอุตสาหกรรมเขาไม่สามารถผลิตสินค้าที่จะต่อสู้กับ ข้างนอกได้เลย เพราะฉะนั้นถ้าประเทศเรานี่นะครับ ไปซื้อแอลเอ็นจีมากขึ้น ๆ นี่ แล้วมีความเสี่ยงว่าในเรื่องของราคาแล้วนี่ แน่นอนที่สุดผลกระทบมาเรื่องค่าไฟนี่หลีกเลี่ยง ไม่ได้อยู่แล้วนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นแรก จะเป็นความเสี่ยงในเรื่องของที่เรารีเสิร์ฟ (Reserve) พูดถึง ก็คือว่าปริมาณสำรองที่เรามีอยู่จากที่ข้อมูลของกระทรวงพลังงานก็เห็นชัดเจนว่าถ้าเป็นพี ๑ นี่ก็คือว่าที่เราพรูฟด์ รีเสิร์ฟแล้วนี่จะมีอยู่ประมาณ ๘,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์ฟุตเท่านั้นเอง ซึ่งจะใช้อยู่ประมาณแค่ ๗ ปีก็หมด ส่วนการสำรองในส่วนที่เราเรียกว่า พี ๒ ซึ่งมีความมั่นใจ อยู่แค่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ถ้าเราเทก (Take) ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เราก็อาจจะบอกว่า เราอาจจะมีแก๊สใช้ในส่วน พี ๒ อยู่แค่ ๓ ปีเท่านั้นเอง โดยรวมก็มีแก๊สอยู่ ๑๐ ปี แล้ว ๑๐ ปีนี้ผมเชื่อว่าปริมาณการใช้มันก็ค่อย ๆ มากขึ้นขณะที่ปริมาณผลิตค่อนข้างจะ ลดลงมานะครับ เพราะฉะนั้นถ้าเราลดลงมาหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน ก็คือจะต้องนำเข้า แอลเอ็นจีเข้ามานะครับ ซึ่งทุกคนก็พูดอยู่แล้วว่าแอลเอ็นจีมีราคาแพงกว่าแก๊สในอ่าวไทย เราค่อนข้างมากนะครับ ทีนี้ความเสี่ยงในเรื่องของแอลเอ็นจีที่นำเข้ามา คนอาจจะไม่ค่อยพูดกัน ก็คือการขนส่ง การขนส่งแอลเอ็นจีทำได้ยากกว่าน้ำมันค่อนข้างมาก ถ้าเรื่องนี้เป็นน้ำมัน จริง ๆ แล้วผมคิดว่าเราชะลอไปได้ แต่พอมาถึงเรื่องแก๊สนี่นะครับ เราไม่สามารถจะเก็บแก๊ส ได้นาน ๆ เหมือนน้ำมัน เราไม่มีฐานเก็บเพียงพอ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องนำเข้ามา แล้วประเทศที่มีแก๊สมากก็เป็นประเทศทางตะวันออกกลาง อย่างเช่นที่ ปตท. ไปทำสัญญากับกาตาร์ เป็นต้น แต่การนำแก๊สเข้ามานี่สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องนึกถึงเหมือนกันว่า ถ้าเกิดว่ามันมีวิกฤติหรือมีเหตุการณ์อะไรในตะวันออกกลางขึ้นมา เรือขนแก๊สนี่เข้าไปไม่ได้ รับแก๊สไม่ได้ แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยนะครับ เราหาแก๊สจากหน่วยที่อื่น นี่ทำได้ยากมากนะครับ เพราะฉะนั้นความเสี่ยงในเรื่องของการขนส่งเป็นเรื่องที่ใหญ่ ความเสี่ยงในด้านราคาเรานำเข้าแอลเอ็นจีมาเรารู้อยู่แล้วว่าราคาแพงขึ้น ประเทศไต้หวันเอง ประชาชนเขาไม่อยากได้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรอกครับ แต่ท้ายที่สุดเขาต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพราะว่าค่าไฟฟ้าเขานี่ไม่สามารถจะแบกภาระ ที่แพงเกินไปได้ เพราะว่าภาคอุตสาหกรรมเขาไม่สามารถผลิตสินค้าที่จะต่อสู้กับ ข้างนอกได้เลย เพราะฉะนั้นถ้าประเทศเรานี่นะครับ ไปซื้อแอลเอ็นจีมากขึ้น ๆ นี่ แล้วมีความเสี่ยงว่าในเรื่องของราคาแล้วนี่ แน่นอนที่สุดผลกระทบมาเรื่องค่าไฟนี่หลีกเลี่ยง ไม่ได้อยู่แล้วนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนในเรื่องความเสี่ยงเรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องของผลประโยชน์ตอบแทนภาครัฐ คือได้พิจารณาดูทั้ง ๒ ระบบ สัมปทานระบบพีเอสซีก็ดูแล้วว่าผลประโยชน์จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้ แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าทางพีเอสซีเราจะมีความรู้สึกว่าเรามีจิตวิญญาณความเป็นเจ้าของ ในปิโตรเลียมอันนี้ แต่สุดท้ายทุกอย่างต้องเอาไปขายเป็นเงินหมดครับ มันก็ต้องแบ่งเป็นตัวเงิน เพราะฉะนั้นสุดท้ายมันก็ตีเป็นตัวเงินทั้งนั้นนะครับ ถ้าไปตีตัวเงินความแตกต่างตรงนี้ จะมีค่อนข้างน้อยมาก

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนในเรื่องความเสี่ยงเรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องของผลประโยชน์ตอบแทนภาครัฐ คือได้พิจารณาดูทั้ง ๒ ระบบ สัมปทานระบบพีเอสซีก็ดูแล้วว่าผลประโยชน์จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้ แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าทางพีเอสซีเราจะมีความรู้สึกว่าเรามีจิตวิญญาณความเป็นเจ้าของ ในปิโตรเลียมอันนี้ แต่สุดท้ายทุกอย่างต้องเอาไปขายเป็นเงินหมดครับ มันก็ต้องแบ่งเป็นตัวเงิน เพราะฉะนั้นสุดท้ายมันก็ตีเป็นตัวเงินทั้งนั้นนะครับ ถ้าไปตีตัวเงินความแตกต่างตรงนี้ จะมีค่อนข้างน้อยมาก

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนในเรื่องประเด็นที่อาจจะมีการพูดถึงว่าถ้าเป็นระบบพีเอสซีนี่เราสามารถ ที่จะเข้าไปร่วมบริหารกิจการได้ เข้าไปสามารถที่จะรู้เรื่องข้อมูลได้มาก อันนั้นก็เป็นเรื่องที่ ถูกต้องนะครับ แต่จริง ๆ แล้วสัมปทานนี่เราสามารถที่จะขอข้อมูลต่าง ๆ ได้ค่อนข้างเยอะ รวมทั้งการที่เราสามารถจะส่งคนเข้าไปฝึกอบรมไปดูงานทำอะไรก็ทำได้เช่นเดียวกัน ผู้รับสัมปทานเขายินดีอยู่แล้วในเรื่องเหล่านี้นะครับ เพราะฉะนั้นผมก็จึงเชื่อว่าในเรื่องของ ความมั่นคงด้านพลังงานแล้วก็ปัจจัยในเรื่องของผลประโยชน์นี่นะครับ ๒ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ ผมคิดว่าทางกรรมาธิการก็มีทิศทางที่ถูกต้องแล้วนะครับ รวมไปถึงการที่เราจะพิจารณาว่า ระบบพีเอสซี ถ้าในอนาคตข้างหน้าเราสามารถนำมาใช้ ในระยะเวลาตอนช่วงนี้เราก็คง จะต้องทำหลาย ๆ อย่างด้วยกันขนานกันไป เช่น เราจะต้องแก้ พ.ร.บ. นะครับ เพื่อให้พีเอสซี ทำได้จริง

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนในเรื่องประเด็นที่อาจจะมีการพูดถึงว่าถ้าเป็นระบบพีเอสซีนี่เราสามารถ ที่จะเข้าไปร่วมบริหารกิจการได้ เข้าไปสามารถที่จะรู้เรื่องข้อมูลได้มาก อันนั้นก็เป็นเรื่องที่ ถูกต้องนะครับ แต่จริง ๆ แล้วสัมปทานนี่เราสามารถที่จะขอข้อมูลต่าง ๆ ได้ค่อนข้างเยอะ รวมทั้งการที่เราสามารถจะส่งคนเข้าไปฝึกอบรมไปดูงานทำอะไรก็ทำได้เช่นเดียวกัน ผู้รับสัมปทานเขายินดีอยู่แล้วในเรื่องเหล่านี้นะครับ เพราะฉะนั้นผมก็จึงเชื่อว่าในเรื่องของ ความมั่นคงด้านพลังงานแล้วก็ปัจจัยในเรื่องของผลประโยชน์นี่นะครับ ๒ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ ผมคิดว่าทางกรรมาธิการก็มีทิศทางที่ถูกต้องแล้วนะครับ รวมไปถึงการที่เราจะพิจารณาว่า ระบบพีเอสซี ถ้าในอนาคตข้างหน้าเราสามารถนำมาใช้ ในระยะเวลาตอนช่วงนี้เราก็คง จะต้องทำหลาย ๆ อย่างด้วยกันขนานกันไป เช่น เราจะต้องแก้ พ.ร.บ. นะครับ เพื่อให้พีเอสซี ทำได้จริง

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๒ เมื่อแก้แล้วนี่เราอาจจะต้องจัดตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นมาอีก เมื่อเราจัดตั้งเราก็ต้องมีคน หาคน แล้วการที่เราส่งคนไปนี่นะครับ ไปฝึกงานกับบริษัทที่เขา ออเพอเรต (Operate) อยู่ในปัจจุบันนี่เพื่อเสริมสร้างความสามารถของคนของเรา ก็มีความจำเป็น เพราะฉะนั้นระยะเวลาช่วงนี้คือเป็นช่วงที่เรามีความจำเป็นที่จะต้อง มีการพัฒนาคนของเราด้วย ผมเชื่อว่าอย่างนี้ครับว่าถ้าประเทศไทยเรานี่นะครับ ซึ่งมีความสำคัญในการที่จะต้องใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง ถ้าเราลังเลใจแล้วก็ปล่อย ระยะเวลาผ่านไป ความเสี่ยงต่าง ๆ จะกลับเข้ามาประเทศเยอะ แล้วสุดท้ายฟลายแบก (Flyback) จะกลับมาที่ประเทศในเรื่องของราคาแล้วก็ไปสู่ประชาชนแล้วก็ภาคอุตสาหกรรม ของเราครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๒ เมื่อแก้แล้วนี่เราอาจจะต้องจัดตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นมาอีก เมื่อเราจัดตั้งเราก็ต้องมีคน หาคน แล้วการที่เราส่งคนไปนี่นะครับ ไปฝึกงานกับบริษัทที่เขา ออเพอเรต (Operate) อยู่ในปัจจุบันนี่เพื่อเสริมสร้างความสามารถของคนของเรา ก็มีความจำเป็น เพราะฉะนั้นระยะเวลาช่วงนี้คือเป็นช่วงที่เรามีความจำเป็นที่จะต้อง มีการพัฒนาคนของเราด้วย ผมเชื่อว่าอย่างนี้ครับว่าถ้าประเทศไทยเรานี่นะครับ ซึ่งมีความสำคัญในการที่จะต้องใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง ถ้าเราลังเลใจแล้วก็ปล่อย ระยะเวลาผ่านไป ความเสี่ยงต่าง ๆ จะกลับเข้ามาประเทศเยอะ แล้วสุดท้ายฟลายแบก (Flyback) จะกลับมาที่ประเทศในเรื่องของราคาแล้วก็ไปสู่ประชาชนแล้วก็ภาคอุตสาหกรรม ของเราครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม