เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายวิบูลย์ คูหิรัญ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านพลังงาน เท่าที่ทางวิปของชั่วคราวที่ได้ออกมติมา กระผม คิดว่าทางวิปคงจะมีความตั้งใจอยู่ตามที่ได้อภิปรายกันแล้วนี่นะครับ แล้วก็ที่กล่าวแล้วว่า คงจะต้องการให้มี ๑๑ ด้าน แล้วก็ ๔ ภาคเหมือนเดิม เพียงแต่ว่าในการเขียนอาจจะมีวิธีการ เขียนคนละแบบนะครับ ในตอนที่การเลือกจริง ๆ อาจจะต้องมีการพูดกันให้เข้าใจว่าควรจะ ทำอย่างไรในการเลือก เพราะฉะนั้นอันนี้ผมก็คงเห็นด้วยที่จะดำเนินการตามที่ท่านได้เสนอแนะมา แต่เพียงแต่ว่า ที่ผมยังมีความกังวลอยู่ก็เช่นเดียวกับที่อาจารย์เจิมศักดิ์ได้เรียนเมื่อสักครู่ว่าในพารากราฟ (Paragraph) สุดท้ายที่ท่านไปเขียนเกี่ยวกับว่าทางด้านผู้ที่จะมาเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะไม่สามารถที่จะไปเป็นกรรมาธิการชุดอื่น ๆ ได้ในช่วงเวลา ๔ เดือนหรือประมาณนั้น เพราะฉะนั้นอันนี้ผมยังคิดว่ามันก็จะทำให้การหมายถึงว่าเชื่อมโยงกันระหว่างด้านต่าง ๆ กับตัวกรรมาธิการจะหลุดไปในช่วงนั้นพอดีด้วย ในช่วงที่จำเป็นจริง ๆ ในช่วงที่กำลังมี การยกร่างมันควรจะต้องมีการที่จะประสานกันให้มีความเหนียวแน่นว่าจะทำอย่างไรที่จะให้ เป็นไปตามที่ผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านนี้ได้ช่วยกันในการที่จะช่วย ไม่ใช่เฉพาะมาฟัง ในที่ประชุมใหญ่ ในที่ประชุมใหญ่ของ สปช. ครั้งนี้มันก็ผู้คนมาก เพราะฉะนั้นในการที่จะคิดเห็น มันก็อาจจะมีประเด็นที่จะขาดตกบกพร่องไป ผมคิดว่ามันน่าจะต้องพยายามทำอย่างไร ที่จะให้ตัวกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้อยู่ในคณะกรรมาธิการแต่ละด้านด้วยครับ ผมก็มีแค่นี้ครับ ขอขอบพระคุณมากครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายวิบูลย์ คูหิรัญ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พอดีผมอยากหารือใน (๕) นี่นะครับ อันนี้เราเขียน แต่เพียงว่า อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภา มันน่าจะครอบคลุมถึงของประเทศของชาติ ด้วยหรือเปล่า คือบางเรื่องในการแต่งตั้งมันอาจจะมีไปครอบคลุมผลประโยชน์ซึ่งไม่ใช่เฉพาะ ของสภา มันอาจจะมีบางเรื่องนะครับ คือที่ผ่านมาผมเคยมีเรื่องที่แต่งตั้งแล้วก็อาจจะ นอกเหนือจากของสภาโดยตรง คือมันเป็นประโยชน์ของชาติครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผมคิดว่า คือถ้าจะให้ตามข้อ ๕ นี่นะครับ แต่ตามที่ท่าน พลเอก เลิศรัตน์ได้เรียน ผมเกรงว่าพอเวลา มีการแต่งตั้งแล้วเดี๋ยวจะต้องมาตีความกันอีกจะเป็นปัญหาตอนหลังหรือเปล่า คือถ้าเผื่อ เขียนไว้ให้ชัดเลยว่าเพื่อประโยชน์ของชาติด้วยอะไรนี่ มันจะได้คลุมได้เลยครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายวิบูลย์ คูหิรัญ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผมมีข้อหารือ ข้อ ๘๗ วรรคห้า คือในข้อ ๘๖ เราบอก เกี่ยวกับการประชุมไว้ด้วยว่าในการประชุมนั้นจะต้องมีจำนวนผู้ที่เข้าประชุมจำนวน ๑ ใน ๓ อะไรนี่นะครับ แต่ในเรื่องอนุไม่ระบุไว้นะครับ เพียงแต่ว่าได้บอกไว้ว่าให้นำข้อบังคับว่าด้วย กรรมาธิการมาใช้บังคับโดยอนุโลม อันนี้คลุมอันนี้ด้วยหรือเปล่าครับ หรือว่าเฉพาะเรื่องอื่น
ผมคิดว่าถ้าเผื่อให้บันทึกไว้หน่อยก็ดีครับ เผื่อว่าเดี๋ยว วันหลังมีการมาคิดอีก
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายวิบูลย์ คูหิรัญ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อยากจะขอร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่จะเปิดการประมูล เกี่ยวกับปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ คือปัญหาตอนนี้ที่พูดกันมากนี่นะครับ ก็ว่าแก๊สจะไม่เพียงพอ จริงหรือไม่นะครับ เท่าที่ทราบนี่นะครับขณะนี้ทาง ปตท. ก็ต้องสร้างโรงงานแปรรูป แอลเอ็นจีให้เป็นแก๊ส แล้วก็ได้มีการสั่งซื้อแอลเอ็นจีจากกาตาร์มาผลิตใช้แล้วนะครับ เพราะว่าขณะนี้มีโรงไฟฟ้าที่ใช้แก๊สเพิ่มมากขึ้น แล้วก็ทำให้แก๊สที่ผลิตได้นี่ไม่พอนะครับ แล้วก็นอกจากนี้แล้วก็ยังมีกำลังที่อยู่ระหว่างก่อสร้างอีกนะครับ อีก ๖,๐๐๐ กว่าเมกะวัตต์ ซึ่งก็ประมาณ ๑ ใน ๓ ของที่มีอยู่ปัจจุบันนี่นะครับ เพราะฉะนั้นก็เรียกว่าคงจะไม่พอแน่ แก๊สที่มีอยู่นี่นะครับ แล้วก็ปัญหาคือถ้าเผื่อว่าเราต้องไปใช้แอลเอ็นจีมาก ค่าไฟก็จะสูงขึ้น ทีนี้ถ้าเราจะแก้โดยไปใช้พลังงานทดแทน พลังงานทดแทนก็คงจะช่วยได้ ส่วนหนึ่ง แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วก็คงจะต้องมีสำรองด้วย เพราะฉะนั้นก็คงจะต้องหันไปใช้ ถ่านหินหรือนิวเคลียร์ซึ่งก็คงจะต้องถูกต่อต้านอีกนะครับ แต่อย่างไรก็ตามเพราะฉะนั้น แก๊สนี้ก็ต้องถือว่ามีความสำคัญที่จะต้องหาขึ้นมาเพิ่มเติมให้ได้ เพียงแต่ว่าตอนนี้เราควรจะใช้ วิธีไหนในการที่จะประมูลในรอบที่ ๒๑ นี้ ซึ่งก็มีการพูดกันถึง ๒ ระบบ คือเป็นระบบสัมปทาน หรือคอนเซสชันนี่นะครับที่ใช้อยู่ ซึ่งก็มีการปรับปรุงสัญญาเป็นแบบไทยแลนด์ทรีพลัสแล้ว ซึ่งก็ให้ผลประโยชน์สูงกว่าเดิม หรือว่าจะไปใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตพีเอสซีนี่นะครับ ซึ่งมีหลายประเทศก็ใช้แล้ว แต่ระบบนี้ก็มีปัญหาคือจะต้องเร่งออกกฎหมายที่จะใช้กับ ระบบพีเอสซีนี้นะครับ แล้วก็ต้องตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อที่จะดูแลข้อมูลตามที่ระบบพีเอสซี ต้องการนี่นะครับ เพื่อที่จะดูแลข้อมูลแล้วก็ผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งจากข้อมูลที่ได้มานี่ ได้ทราบว่าจะหาคนที่มีความรู้ดี หมายถึงว่าความรู้อย่างดีเลยนะครับ ที่จะเข้าไปดูแลข้อมูล แล้วก็ผลประโยชน์นี่ยากนะครับ แล้วก็ได้เช็กแล้วว่าถ้าเผื่อว่าจะหาคนดีที่อาจจะมีอยู่ที่ ปตท. หรือที่ ปตท.สผ. นี่ก็ยากอีก เพราะว่าคนเหล่านี้มีเงินเดือนสูงมาก สูงกว่า หน่วยราชการที่จะตั้งขึ้นมานี่เป็น ๑๐ เท่า เพราะฉะนั้นก็คงจะหาคนที่จะมาทำในเรื่องนี้ ยากนะครับ เพราะฉะนั้นผมจึงขอเสนออย่างนี้นะครับ คือตามที่คณะกรรมาธิการปฏิรูป พลังงานได้เสนอไว้ว่า อาจจะใช้ ๒ ระบบนี่ผสมกัน คือทำเป็นแบบระบบสัมปทาน แล้วก็เตรียมการสำหรับพีเอสซี แต่ว่าผมอยากจะขอเสนอว่าในขณะเดียวกันในการประมูล ไปแล้วนี่นะครับ ก็เป็นระบบสัมปทานนี่นะครับ เพราะว่าต้องการเร็วนี่นะครับ แล้วก็ในขณะเดียวกันเราก็ตั้งคณะทำงานขึ้นมานะครับ เข้าไป หมายถึงว่ามีเงื่อนไข ในการประมูล ก็เข้าไปดูแลข้อมูลต่าง ๆ นะครับ แล้วก็มีการวิเคราะห์ต่าง ๆ นี่นะครับ หรือไม่ก็อาจจะต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้าไปร่วมด้วย แล้วก็มีการวิเคราะห์แล้วก็ให้ข้อเสนอแนะ กับคณะทำงานที่เข้าไปดูแลเพื่อที่จะได้ดูแล แล้วก็ในอนาคตถ้าเผื่อจำเป็นที่จะต้อง มีการประมูลใหม่ใช้ระบบพีเอสซีหรือจะใช้สัมปทานก็สามารถที่จะมีข้อมูลที่จะใช้ใน การเปรียบเทียบได้ อันนี้เป็นข้อคิดเห็นที่ว่ามันควรจะเพิ่มขึ้นมาอีกทางเลือกหนึ่งนี่นะครับ ที่ผมอยากเสนอครับ ขอบคุณมากครับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายวิบูลย์ คูหิรัญ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ อยากจะขอร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่จะเปิดการประมูล เกี่ยวกับปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ คือปัญหาตอนนี้ที่พูดกันมากนี่นะครับ ก็ว่าแก๊สจะไม่เพียงพอ จริงหรือไม่นะครับ เท่าที่ทราบนี่นะครับขณะนี้ทาง ปตท. ก็ต้องสร้างโรงงานแปรรูป แอลเอ็นจีให้เป็นแก๊ส แล้วก็ได้มีการสั่งซื้อแอลเอ็นจีจากกาตาร์มาผลิตใช้แล้วนะครับ เพราะว่าขณะนี้มีโรงไฟฟ้าที่ใช้แก๊สเพิ่มมากขึ้น แล้วก็ทำให้แก๊สที่ผลิตได้นี่ไม่พอนะครับ แล้วก็นอกจากนี้แล้วก็ยังมีกำลังที่อยู่ระหว่างก่อสร้างอีกนะครับ อีก ๖,๐๐๐ กว่าเมกะวัตต์ ซึ่งก็ประมาณ ๑ ใน ๓ ของที่มีอยู่ปัจจุบันนี่นะครับ เพราะฉะนั้นก็เรียกว่าคงจะไม่พอแน่ แก๊สที่มีอยู่นี่นะครับ แล้วก็ปัญหาคือถ้าเผื่อว่าเราต้องไปใช้แอลเอ็นจีมาก ค่าไฟก็จะสูงขึ้น ทีนี้ถ้าเราจะแก้โดยไปใช้พลังงานทดแทน พลังงานทดแทนก็คงจะช่วยได้ ส่วนหนึ่ง แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วก็คงจะต้องมีสำรองด้วย เพราะฉะนั้นก็คงจะต้องหันไปใช้ ถ่านหินหรือนิวเคลียร์ซึ่งก็คงจะต้องถูกต่อต้านอีกนะครับ แต่อย่างไรก็ตามเพราะฉะนั้น แก๊สนี้ก็ต้องถือว่ามีความสำคัญที่จะต้องหาขึ้นมาเพิ่มเติมให้ได้ เพียงแต่ว่าตอนนี้เราควรจะใช้ วิธีไหนในการที่จะประมูลในรอบที่ ๒๑ นี้ ซึ่งก็มีการพูดกันถึง ๒ ระบบ คือเป็นระบบสัมปทาน หรือคอนเซสชันนี่นะครับที่ใช้อยู่ ซึ่งก็มีการปรับปรุงสัญญาเป็นแบบไทยแลนด์ทรีพลัสแล้ว ซึ่งก็ให้ผลประโยชน์สูงกว่าเดิม หรือว่าจะไปใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตพีเอสซีนี่นะครับ ซึ่งมีหลายประเทศก็ใช้แล้ว แต่ระบบนี้ก็มีปัญหาคือจะต้องเร่งออกกฎหมายที่จะใช้กับ ระบบพีเอสซีนี้นะครับ แล้วก็ต้องตั้งหน่วยงานขึ้นมาเพื่อที่จะดูแลข้อมูลตามที่ระบบพีเอสซี ต้องการนี่นะครับ เพื่อที่จะดูแลข้อมูลแล้วก็ผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งจากข้อมูลที่ได้มานี่ ได้ทราบว่าจะหาคนที่มีความรู้ดี หมายถึงว่าความรู้อย่างดีเลยนะครับ ที่จะเข้าไปดูแลข้อมูล แล้วก็ผลประโยชน์นี่ยากนะครับ แล้วก็ได้เช็กแล้วว่าถ้าเผื่อว่าจะหาคนดีที่อาจจะมีอยู่ที่ ปตท. หรือที่ ปตท.สผ. นี่ก็ยากอีก เพราะว่าคนเหล่านี้มีเงินเดือนสูงมาก สูงกว่า หน่วยราชการที่จะตั้งขึ้นมานี่เป็น ๑๐ เท่า เพราะฉะนั้นก็คงจะหาคนที่จะมาทำในเรื่องนี้ ยากนะครับ เพราะฉะนั้นผมจึงขอเสนออย่างนี้นะครับ คือตามที่คณะกรรมาธิการปฏิรูป พลังงานได้เสนอไว้ว่า อาจจะใช้ ๒ ระบบนี่ผสมกัน คือทำเป็นแบบระบบสัมปทาน แล้วก็เตรียมการสำหรับพีเอสซี แต่ว่าผมอยากจะขอเสนอว่าในขณะเดียวกันในการประมูล ไปแล้วนี่นะครับ ก็เป็นระบบสัมปทานนี่นะครับ เพราะว่าต้องการเร็วนี่นะครับ แล้วก็ในขณะเดียวกันเราก็ตั้งคณะทำงานขึ้นมานะครับ เข้าไป หมายถึงว่ามีเงื่อนไข ในการประมูล ก็เข้าไปดูแลข้อมูลต่าง ๆ นะครับ แล้วก็มีการวิเคราะห์ต่าง ๆ นี่นะครับ หรือไม่ก็อาจจะต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้าไปร่วมด้วย แล้วก็มีการวิเคราะห์แล้วก็ให้ข้อเสนอแนะ กับคณะทำงานที่เข้าไปดูแลเพื่อที่จะได้ดูแล แล้วก็ในอนาคตถ้าเผื่อจำเป็นที่จะต้อง มีการประมูลใหม่ใช้ระบบพีเอสซีหรือจะใช้สัมปทานก็สามารถที่จะมีข้อมูลที่จะใช้ใน การเปรียบเทียบได้ อันนี้เป็นข้อคิดเห็นที่ว่ามันควรจะเพิ่มขึ้นมาอีกทางเลือกหนึ่งนี่นะครับ ที่ผมอยากเสนอครับ ขอบคุณมากครับ