นายสยุมพร ลิ่มไทย

  • ท่านประธานที่เคารพครับ กระผม สยุมพร ลิ่มไทย สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านการปกครองท้องถิ่นครับ คือกระผมเห็นว่าขณะนี้ก็ได้มี ญัตติซึ่งยื่นเข้ามาแล้วก็มีผู้รับรองถูกต้องแล้วนะครับ แล้วก็ไม่มีญัตติเป็นอย่างอื่นนะครับ มีผู้เสนอให้ท่านประธานพารณได้ทำหน้าที่ด้วย ซึ่งท่านก็ขอถอนตัวแล้วนะครับ ก็แสดงว่า ไม่มีญัตติอื่นที่จะมาพิจารณาคู่กันไป เพราะฉะนั้นผมขอเรียนให้ท่านประธานได้ช่วยกรุณา ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม สยุมพร ลิ่มไทย สปช. ด้านการปกครองท้องถิ่นครับ ผมต้องขออภัยที่ลุกขึ้นมาเพื่อใช้เวลาเล็กน้อย ก่อนที่ท่านประธานจะดำเนินการในระเบียบวาระที่ ๔ ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่จำเป็น ที่จะต้องพูดนะครับ เพราะว่าในการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคมที่ผ่านมานะครับ ผมคิดว่ามีบางเรื่องที่ท่านสมาชิกจำนวนไม่น้อยอยากจะพูดแต่ว่าไม่มีโอกาสได้พูด แล้วก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับการดำเนินการประชุมในครั้งนี้และครั้งต่อ ๆ ไปด้วยนะครับ ผมจะขอใช้เวลาให้สั้นที่สุดครับ จะไม่รบกวนเวลาให้มากนัก

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นแรก ก็คือความรู้สึกแล้วก็ความคาดหวังของประชาชนนะครับ จากการที่ได้รับฟังการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติแห่งนี้ โดยผมได้ประเมินจากการประชุม เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคมที่ผ่านมา หลังจากนั้นผมได้เดินทางเข้าไปในพื้นที่จังหวัดระยอง และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งผมเคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่นั่น ได้พบคนจำนวนมากครับ คนที่ได้รับฟังการประชุมเขาสะท้อนความคิดเห็นที่ค่อนข้างไปในทิศทางเดียวกันนะครับ ก็คือมีความรู้สึกค่อนข้างผิดหวังในการที่ได้รับฟังในวันนั้น เพราะว่าเขาคาดว่าจะได้รับฟัง การประชุมที่แตกต่างไปจากสภาการเมือง เขาคาดว่าจะได้รับฟังการประชุมที่เป็นสภา ของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาดหวังที่จะเห็นสภา ใช้เวลาส่วนใหญ่ให้คุ้มค่าเพื่อที่จะนำไปสู่การปฏิรูปนะครับ อันนี้เป็นเรื่องแรกที่ผม ขอกราบเรียนนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ในวันนั้นต้องยอมรับว่าใช้เวลา ๗ ชั่วโมงครึ่งนะครับ เวลาส่วนใหญ่ ถูกใช้ไปในปัญหาข้อบังคับแล้วก็การตีความนะครับ ซึ่งแม้ว่าเป็นเรื่องที่จำเป็น แต่ผมคิดว่า เราได้ใช้เวลาที่ติดลมอยู่ในเรื่องของข้อบังคับและระเบียบ แทนที่จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ กำหนดแนวทางในการที่จะเดินหน้าต่อไปนะครับ ผมขอเรียกร้องให้ท่าน สปช. ท่านที่มี ความเชี่ยวชาญในเรื่องข้อบังคับได้ช่วยกรุณานำพาพวกเราอย่าให้ใช้เวลามากนักกับเรื่องของ ข้อบังคับ แล้วก็ผมยังคาดหวังอยากให้ท่านเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ช่วยพวกเรา อย่างเต็มที่ในเรื่องเหล่านี้ เพราะว่าท่านเป็นผู้ที่ได้เห็นการประชุมสภามาอย่างยาวนาน รู้ว่ามีแบบธรรมเนียมที่ควรจะต้องปฏิบัติอย่างไร ผมคิดว่าเวลาส่วนใหญ่ที่จะใช้ในการประชุม ต่อจากนี้ควรจะมีอยู่ในกรอบ ๓ เรื่องที่สำคัญนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก ก็คือการจัดองค์กรและกลไกต่าง ๆ ที่จะเป็นเครื่องมือในการทำงาน ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งสภาก็ได้มีการแต่งตั้งกรรมการบางชุดไปแล้วนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมอยากจะขอให้มีการเร่งรัดจัดบุคลากรหรือผู้แทน สปช. จากจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้เข้าไป อยู่ใน สปช. ทั้ง ๑๑ ด้านให้ครบถ้วนโดยเร็ว เพื่อที่แต่ละด้านจะได้เริ่มทำงานอย่างจริงจัง แล้วก็จะได้มีภาพที่เป็นหนึ่งเดียวนะครับว่า สปช. หลังจากนี้มีเพียงสถานภาพเดียวก็คือ สปช. ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้น ไม่แบ่งเป็น สปช. จากที่โน่นที่นี่ตามที่ สื่อบางสาขาได้พยายามจะมีการวิเคราะห์

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ซึ่งผมคิดว่าจำเป็นก็คือการที่จะต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดเวทีเพื่อให้ประชาชนทุกจังหวัดได้แสดงความคิดเห็น เข้ามาสู่สภาแห่งนี้ รวมทั้งการที่ควรจะต้องเปิดศูนย์รับฟังความคิดเห็นของสภาปฏิรูป แห่งชาติขึ้นโดยเร็ว ซึ่งท่านอาจจะมอบหมายให้คณะกรรมการประสานงานชั่วคราวหรือใคร หรือคณะใดเป็นผู้ดำเนินการก็ได้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อีกเรื่องหนึ่ง ก็คือผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาให้มากที่สุดก็คือ การที่ สปช. แต่ละด้านได้ไปใช้เวลาในการศึกษาแล้วก็นำเสนอความเห็นในด้านต่าง ๆ เข้ามาสู่ สปช. เพื่อที่จะเป็นกรอบแนวความคิดหลักในการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นสุดท้ายในการประชุมสภา ผมคิดว่าคงจะมีความเห็นที่หลากหลาย แต่สุดท้ายแล้วก็คงจะมีความเห็นเพียง ๒ ฝ่าย ก็คือฝ่ายเสียงข้างน้อยแล้วก็ฝ่ายเสียงข้างมาก ผมก็เรียกร้องให้มีการรับฟังความเห็นของเสียงข้างน้อย โดยท่านประธานก็คงจะรับฟังให้ทั่วถึง แต่ในขณะเดียวกันเมื่อได้มีมติซึ่งเป็นความเห็นของเสียงส่วนใหญ่แล้ว ก็ควรจะต้องมีการเคารพ ต่อมติของเสียงส่วนใหญ่ด้วย ผมก็ขอให้ท่านประธานได้ทำหน้าที่อย่างจริงจัง แล้วอาจจะ เด็ดขาดและเข้มแข็งในบางเรื่องเพื่อให้เป็นไปตามหลักการนี้นะครับ ขอขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม สยุมพร ลิ่มไทย ครับ ผมคิดว่าปัญหาการให้บริการประชาชนที่เป็นที่ตระหนักกันในประชาชน โดยทั่วไปมันจะมีอยู่ ๒-๓ เรื่องนะครับ เรื่องแรกก็คือเรื่องความล่าช้าจากขั้นตอนต่าง ๆ ที่มากมายเกินความจำเป็นนะครับ เรื่องที่ ๒ ก็คือเรื่องพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานของรัฐ ซึ่งไม่ให้บริการ หรือไม่เต็มใจให้บริการประชาชนนะครับ กับประการที่ ๓ ก็คือความไม่เพียงพอในการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง อันนี้น่าจะเป็นปัญหาหลัก ๆ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม สยุมพร ลิ่มไทย ครับ ผมคิดว่าปัญหาการให้บริการประชาชนที่เป็นที่ตระหนักกันในประชาชน โดยทั่วไปมันจะมีอยู่ ๒-๓ เรื่องนะครับ เรื่องแรกก็คือเรื่องความล่าช้าจากขั้นตอนต่าง ๆ ที่มากมายเกินความจำเป็นนะครับ เรื่องที่ ๒ ก็คือเรื่องพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานของรัฐ ซึ่งไม่ให้บริการ หรือไม่เต็มใจให้บริการประชาชนนะครับ กับประการที่ ๓ ก็คือความไม่เพียงพอในการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง อันนี้น่าจะเป็นปัญหาหลัก ๆ

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้ข้อเสนอผมคิดว่าเรื่องแรกผมเข้าใจว่าเดิมนั้นมีระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเร่งรัดปฏิบัติราชการอยู่ แล้วก็ไม่แน่ใจว่าปัจจุบันนี้ได้ปรับฐานะ หรือยกฐานะมาเป็นกฎหมายก็คือเป็นพระราชบัญญัติเร่งรัดการปฏิบัติราชการแล้วหรือไม่ นะครับ ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ก็คืองานบริการประชาชนมันจะต้องมีระเบียบหรือ กฎหมายที่กำหนดไว้ให้ชัดเจนนะครับ ในเรื่องของระยะเวลาว่างานบริการนั้น ๆ จะต้องใช้ เวลามากน้อยแค่ไหน เรื่องอัตราค่าธรรมเนียม เรื่องของขั้นตอนการปฏิบัติ แล้วก็เมื่อกำหนด ไว้ชัดเจนแล้วถ้าหากว่าเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนั้นต้อง สามารถชี้แจงได้ อธิบายได้ แล้วก็ถ้าหากว่าไม่สามารถชี้แจงได้อธิบายได้ก็จะต้องนำไปสู่ การดำเนินการทางวินัยในฐานะที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติราชการในการให้บริการประชาชน อันนี้ คิดว่าเป็นเรื่องแรกที่สำคัญนะครับ ส่วนระเบียบหรือกฎหมายที่ควรจะให้ความสำคัญในเรื่อง งานบริการผมคิดว่ามันมีไม่มากเรื่องนะครับ ไม่จำเป็นที่จะเอาเรื่องทั้งหมดมาแต่คิดว่าน่าจะ กำหนดเฉพาะเรื่องที่ใกล้ชิดกับประชาชน แล้วก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของ ประชาชนอย่างแท้จริง มีไม่เท่าไรหรอกครับ ถ้ามองในแง่หน่วยงาน หน่วยงานที่ควรจะต้อง มาเขียนให้ชัดในระเบียบว่าด้วยการเร่งรัดปฏิบัติราชการหรือการให้บริการ ๑. ก็คือโรงพัก นะครับ พูดภาษาชาวบ้าน โรงพัก สถานีตำรวจ ๒. ก็คืออำเภอ หรือเขตสำหรับ ในกรุงเทพมหานคร ๓. ก็คือโรงพยาบาลของรัฐ ๔. ก็คือสำนักงานที่ดิน ๕. ก็คือขนส่ง ประชาชนไปติดต่อเรื่องเกี่ยวกับต่อทะเบียนบ้างอะไรต่าง ๆ บ้างนะครับ ขนส่ง ๖. ก็คือ ไฟฟ้า ๗. ประปา ผมว่า ๗ หน่วยงานหรือ ๗ เรื่องเป็นเรื่องที่น่าจะต้องเอาออกมากำหนดให้ ชัดในเรื่องของการเร่งรัดการปฏิบัติราชการนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้ข้อเสนอผมคิดว่าเรื่องแรกผมเข้าใจว่าเดิมนั้นมีระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเร่งรัดปฏิบัติราชการอยู่ แล้วก็ไม่แน่ใจว่าปัจจุบันนี้ได้ปรับฐานะ หรือยกฐานะมาเป็นกฎหมายก็คือเป็นพระราชบัญญัติเร่งรัดการปฏิบัติราชการแล้วหรือไม่ นะครับ ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ก็คืองานบริการประชาชนมันจะต้องมีระเบียบหรือ กฎหมายที่กำหนดไว้ให้ชัดเจนนะครับ ในเรื่องของระยะเวลาว่างานบริการนั้น ๆ จะต้องใช้ เวลามากน้อยแค่ไหน เรื่องอัตราค่าธรรมเนียม เรื่องของขั้นตอนการปฏิบัติ แล้วก็เมื่อกำหนด ไว้ชัดเจนแล้วถ้าหากว่าเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนั้นต้อง สามารถชี้แจงได้ อธิบายได้ แล้วก็ถ้าหากว่าไม่สามารถชี้แจงได้อธิบายได้ก็จะต้องนำไปสู่ การดำเนินการทางวินัยในฐานะที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติราชการในการให้บริการประชาชน อันนี้ คิดว่าเป็นเรื่องแรกที่สำคัญนะครับ ส่วนระเบียบหรือกฎหมายที่ควรจะให้ความสำคัญในเรื่อง งานบริการผมคิดว่ามันมีไม่มากเรื่องนะครับ ไม่จำเป็นที่จะเอาเรื่องทั้งหมดมาแต่คิดว่าน่าจะ กำหนดเฉพาะเรื่องที่ใกล้ชิดกับประชาชน แล้วก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของ ประชาชนอย่างแท้จริง มีไม่เท่าไรหรอกครับ ถ้ามองในแง่หน่วยงาน หน่วยงานที่ควรจะต้อง มาเขียนให้ชัดในระเบียบว่าด้วยการเร่งรัดปฏิบัติราชการหรือการให้บริการ ๑. ก็คือโรงพัก นะครับ พูดภาษาชาวบ้าน โรงพัก สถานีตำรวจ ๒. ก็คืออำเภอ หรือเขตสำหรับ ในกรุงเทพมหานคร ๓. ก็คือโรงพยาบาลของรัฐ ๔. ก็คือสำนักงานที่ดิน ๕. ก็คือขนส่ง ประชาชนไปติดต่อเรื่องเกี่ยวกับต่อทะเบียนบ้างอะไรต่าง ๆ บ้างนะครับ ขนส่ง ๖. ก็คือ ไฟฟ้า ๗. ประปา ผมว่า ๗ หน่วยงานหรือ ๗ เรื่องเป็นเรื่องที่น่าจะต้องเอาออกมากำหนดให้ ชัดในเรื่องของการเร่งรัดการปฏิบัติราชการนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนประเด็นที่ ๒ ก็คือการที่ทำอย่างไรให้ประชาชนไม่จำเป็นต้องเดินไป ติดต่อหน่วยงานของรัฐโดยตรง มีงานหลายอย่างที่บางท่านได้พูดมาแล้วว่าสามารถที่จะใช้ อีเซอร์วิสได้ แล้วก็บางเรื่องได้ทำแล้วนะครับ งานบริการบางเรื่องสามารถติดต่อได้ทาง โทรศัพท์ บางเรื่องสามารถติดต่อผ่านธนาคาร การชำระค่าธรรมเนียม ชำระเงินต่าง ๆ นี่นะครับ เรื่องเหล่านี้น่าจะพิจารณาออกมาให้ชัดเจนว่าในขณะนี้มีงานบริการอะไรบ้างที่สามารถ ดำเนินการได้โดยใช้ระบบอีเซอร์วิส กำหนดไปเลยครับ บังคับไปเลยว่าเป็นงานที่ให้จัดเป็น ทางเลือกอย่างหนึ่ง ก็คือเป็นอีเซอร์วิส ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วประชาชนไม่จำเป็นต้อง เดินทางเข้าไปหาราชการนะครับ ราชการจำเป็นต้องวิ่งไปหาประชาชนด้วยระบบต่าง ๆ เหล่านี้นะครับ ใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีอยู่เรื่องหนึ่งซึ่งผมจะยกเป็นตัวอย่างว่าทำไม มันต้องไปหน่วยนี้ทุกครั้ง ก็คือในกรณีที่มีเอกสารอะไรก็แล้วแต่ของประชาชน เอกสารทาง ราชการหายต้องไปแจ้งความที่โรงพักก่อน เสร็จแล้วถึงจะไปหน่วยงานที่เป็นเจ้าของเอกสาร เพื่อขอให้ดำเนินการออกเอกสารใหม่ให้ อย่างนี้เป็นตัวอย่างว่าทำไมไม่สามารถไปแจ้งหายได้ที่หน่วยงานซึ่งเป็นเจ้าของเอกสาร จะแก้กฎหมายแก้ระเบียบอะไรก็สามารถแก้ได้ ให้หน่วยงานดังกล่าวนี่นะครับ ทำในลักษณะ ที่เป็น วัน สต็อป เซอร์วิส อย่างแท้จริงนะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องการให้บริการ ประชาชนนี่นะครับเป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการเป็นนโยบายออกมาให้ชัดเจน แล้วก็นำไปสู่ ทางปฏิบัตินะครับ ไม่ควรจะเป็นสิ่งที่ให้แต่ละหน่วยงานพิจารณาปรับปรุงของตัวเองขึ้นมา เพราะถือว่างานบริการนั้นเป็นหัวใจที่ภาครัฐจะต้องทำให้ประชาชนนะครับ ขอขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนประเด็นที่ ๒ ก็คือการที่ทำอย่างไรให้ประชาชนไม่จำเป็นต้องเดินไป ติดต่อหน่วยงานของรัฐโดยตรง มีงานหลายอย่างที่บางท่านได้พูดมาแล้วว่าสามารถที่จะใช้ อีเซอร์วิสได้ แล้วก็บางเรื่องได้ทำแล้วนะครับ งานบริการบางเรื่องสามารถติดต่อได้ทาง โทรศัพท์ บางเรื่องสามารถติดต่อผ่านธนาคาร การชำระค่าธรรมเนียม ชำระเงินต่าง ๆ นี่นะครับ เรื่องเหล่านี้น่าจะพิจารณาออกมาให้ชัดเจนว่าในขณะนี้มีงานบริการอะไรบ้างที่สามารถ ดำเนินการได้โดยใช้ระบบอีเซอร์วิส กำหนดไปเลยครับ บังคับไปเลยว่าเป็นงานที่ให้จัดเป็น ทางเลือกอย่างหนึ่ง ก็คือเป็นอีเซอร์วิส ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วประชาชนไม่จำเป็นต้อง เดินทางเข้าไปหาราชการนะครับ ราชการจำเป็นต้องวิ่งไปหาประชาชนด้วยระบบต่าง ๆ เหล่านี้นะครับ ใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีอยู่เรื่องหนึ่งซึ่งผมจะยกเป็นตัวอย่างว่าทำไม มันต้องไปหน่วยนี้ทุกครั้ง ก็คือในกรณีที่มีเอกสารอะไรก็แล้วแต่ของประชาชน เอกสารทาง ราชการหายต้องไปแจ้งความที่โรงพักก่อน เสร็จแล้วถึงจะไปหน่วยงานที่เป็นเจ้าของเอกสาร เพื่อขอให้ดำเนินการออกเอกสารใหม่ให้ อย่างนี้เป็นตัวอย่างว่าทำไมไม่สามารถไปแจ้งหายได้ที่หน่วยงานซึ่งเป็นเจ้าของเอกสาร จะแก้กฎหมายแก้ระเบียบอะไรก็สามารถแก้ได้ ให้หน่วยงานดังกล่าวนี่นะครับ ทำในลักษณะ ที่เป็น วัน สต็อป เซอร์วิส อย่างแท้จริงนะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องการให้บริการ ประชาชนนี่นะครับเป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการเป็นนโยบายออกมาให้ชัดเจน แล้วก็นำไปสู่ ทางปฏิบัตินะครับ ไม่ควรจะเป็นสิ่งที่ให้แต่ละหน่วยงานพิจารณาปรับปรุงของตัวเองขึ้นมา เพราะถือว่างานบริการนั้นเป็นหัวใจที่ภาครัฐจะต้องทำให้ประชาชนนะครับ ขอขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานสภาที่เคารพครับ คือผมอยากจะเรียนว่า พวกเราก็เพิ่งได้เอกสารนี่นะครับ ร่างข้อบังคับซึ่งเป็นผลจากคณะกรรมาธิการได้ ยกร่างมานะครับ ทีนี้ผมคิดว่าถ้าเป็นไปได้นะครับ ไม่ทราบว่าจะอยู่ในขั้นตอนไหน อยากจะให้คณะกรรมาธิการได้ช่วยสรุปให้เราเห็นภาพกว้าง ๆ ทั้งหมดก่อนได้ไหมครับว่า ทั้งหมด ๑๔๓ ข้อ ซึ่งแบ่งเป็น ๖ หมวดนี่นะครับมันมีสาระสำคัญอะไรบ้าง เพราะผมคิดว่า จะช่วยให้พวกเราสามารถมองไปที่ประเด็นที่พวกเราสนใจได้นะครับว่า หมวดไหน ข้อไหน ที่แต่ละท่านอยากแสดงความคิดเห็นหรืออยากจะท้วงติงนะครับ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วตอนนี้ เหมือนกับว่าทุกคนก็อาจจะมองไปที่เฉพาะบางข้อบางหมวดบางประเด็นซึ่งอยู่ในความสนใจ เท่านั้น ก็อยากจะเรียนนะครับว่าถ้าทำได้อย่างนี้ก็คงจะทำให้การพิจารณาในวาระที่หนึ่ง นี่นะครับเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมไปถึงก็จะนำไปสู่วาระที่สอง ซึ่งแต่ละท่าน เมื่อได้รับฟังแล้วก็อาจจะคิดถึงประเด็นที่จะอภิปรายในวาระที่สองต่อไปครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ กระผม สยุมพร ลิ่มไทย ครับ คือผมว่าเรื่องนี้น่าจะมีคำตอบให้เป็นที่ชัดเจนไปเลย ผมได้ศึกษาดูรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว โดยสรุปแล้วผมคิดว่าสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่มีอำนาจหน้าที่ในการที่จะให้สมาชิกตั้งกระทู้ถาม หรือยื่นกระทู้ถามครับ เพราะว่าการที่จะกำหนดไว้ในข้อบังคับว่าให้มีกระทู้ถามได้หรือไม่นั้น ก็คงจะต้องไปดูหมวดที่ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งผมก็ดูแล้วไม่มีข้อไหน ที่กำหนดให้สามารถตั้งกระทู้ถามได้นะครับ แต่ว่าไปกำหนดไว้ชัดเจนว่าให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติครับ ซึ่งทำหน้าที่ทั้งสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็วุฒิสภาในการที่จะ สามารถตั้งกระทู้ถามได้นะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องนี้น่าจะให้ชัดเจน คือที่ท่านกรรมาธิการบอกว่าไม่มีกระทู้ถามนั้น ผมอยากจะให้ตอบให้ชัดเลยว่าเราไม่สามารถ ที่จะตั้งกระทู้ถามได้ ปัญหานี้ก็จะจบไปนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ กระผม สยุมพร ลิ่มไทย สปช. ครับ คือผมคิดว่าในขณะนี้เรามีความเห็นซึ่งน่าจะแยกออกมาได้เป็น ๓ ส่วนนี่นะครับ ส่วนแรกก็คือคณะกรรมาธิการซึ่งมีการเสนอให้ตั้งขึ้นซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ ซึ่งส่วนนี้ผมคิดว่าสมาชิกส่วนใหญ่คงไม่ติดใจนะครับ เพราะว่าเป็นไปตามอำนาจหน้าที่นะครับ ถ้าดูตามร่างข้อบังคับ ข้อ ๘๐ ก็จะอยู่ในคณะกรรมาธิการลำดับที่ ๑ จนถึง ลำดับที่ ๑๒ ส่วนนี้ไม่น่าจะมีปัญหานะครับ เพราะว่าเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗ นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนที่ ๒ ก็คือด้านอื่น ๆ ซึ่งในร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... ก็เสนอว่าควรจะมีด้านอื่น ๆ อีก ๕ ด้านนะครับ ตั้งแต่ (๑๓) คณะกรรมาธิการ ปฏิรูปการแรงงาน จนถึง (๑๗) ด้านอื่น ๆ อันนี้ละครับที่ผมคิดว่าก็ควรจะมาพิจารณาให้เป็นที่ ยุตินะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนที่ ๓ ก็คือข้อเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการ เพิ่มเติมนอกเหนือจาก ๑๗ ด้าน เพราะฉะนั้นก็จะมีอยู่ ๓ ส่วนนี้ละครับ แล้วผมก็อยากจะ เรียนเสนอนะครับว่า

    อ่านในการประชุม

  • ประการแรก ผมไม่ทราบว่าท่านประธานยังเปิดให้มีการเข้าคิวเพื่อที่จะ แจ้งความประสงค์ขออภิปรายต่อไปเรื่อย ๆ หรือเปล่านะครับ ผมอยากจะเสนอให้ปิดการยื่น ความประสงค์นะครับ คือให้ชัดเจนเลยว่าที่เหลือมีจำนวนเท่าไร แล้วก็อภิปรายจนครบคน ที่ได้ยื่นความประสงค์ไว้นะครับ หลังจากนั้นผมขอเสนอให้พักการประชุมตามที่ ท่านประธานได้หารือไว้นะครับ เพื่อที่ว่าประเด็นที่ยังเห็นต่างกันอยู่ก็ไปคุยกันกับ คณะผู้ยกร่าง ในบางคณะกรรมาธิการอาจจะตกลงกันได้ เพราะว่ามันเป็นประเด็นเล็กน้อย โดยท่านผู้เสนออาจจะไม่ติดใจขอไปรวมกับคณะกรรมาธิการบางคณะที่มีอยู่แล้ว ประเด็นปัญหาที่เป็นความแตกต่างก็จะลดน้อยลง

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนข้อเสนอที่ท่านผู้เสนอนะครับ กรรมาธิการเสนอยังยืนยันนี่นะครับ อันนี้ก็คงเข้ามาสู่การตั้งประเด็นในสภาแล้วก็ลงคะแนนเสียงกัน ผมอยากจะเรียนอย่างนี้นะครับ จริง ๆ แล้วผมเรียนว่าเมื่อตั้งกรรมาธิการเสร็จแล้วจะกี่คณะก็แล้วแต่นะครับ ผมคิดว่า คงไม่สมบูรณ์ในวันนี้นะครับ เพราะว่าเวลาเราไปประชุมคณะกรรมาธิการด้านต่าง ๆ เวลาไปประชุมจริงมันจะเห็นว่ายังมีคณะกรรมาธิการอะไรที่ยังนึกไม่ถึงในตอนที่พวกเรา อภิปรายกันในวันนี้นะครับจนกว่าได้เริ่มไปประชุม เพราะฉะนั้นการตั้งคณะกรรมาธิการเพิ่มเติม ผมคิดว่าถึงอย่างไรก็คงจะมีการตั้งเพิ่มอีก แม้ว่าวันนี้จะเป็นที่ยุติแล้วก็ตาม เพราะฉะนั้น ผมถึงเสนอว่าการตั้งเพิ่มเติมในบางคณะก็อาจจะไปดำเนินการทีเดียวซึ่งเป็นไปตาม ร่างข้อบังคับอยู่แล้วว่า หากมีความจำเป็นสภาอาจตั้งเพิ่มเติมได้ ก็ขอเรียนเสนอโดยสรุป เพียงเท่านี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตท่านประธานครับ ผมคิดว่า คือท่านประธานควรจะต้องดำเนินการให้เป็นไปข้อบังคับนะครับ เมื่อกี้ท่านวิริยะ เสนอญัตตินะครับว่า ขอให้มีมติให้ส่งความเห็นทั้งหมดไปนะครับ แล้วก็ไม่มีผู้เสนอญัตติ เป็นอย่างอื่นนะครับ ความจริงถ้าใครจะเสนอเป็นอย่างอื่นก็ต้องเสนอในช่วงนั้นนะครับ แล้วหลังจากนั้นก็มีการถามความเห็นของที่ประชุมว่าเห็นด้วยกับญัตติของท่านวิริยะหรือไม่ เสียงส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยนะครับ ก็มาถึงขั้นตอนที่จะโหวตความเห็นของสภานะครับว่า จะให้ส่งตามความเห็นของคุณวิริยะหรือไม่ เพราะฉะนั้นขณะนี้มันก็เดินมาถึงขั้นตอนนี้แล้ว ละครับ ถ้าหากจะถอยกลับไปอีกก็คือจะต้องมาลงมติยกเลิกมติที่ได้ลงไปแล้วเมื่อกี้ ซึ่งผมคิดว่ามันจะเป็นการทำให้กลับไปกลับมานะครับ แล้วไม่เป็นไปตามข้อบังคับนะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าขอให้ท่านประธานดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตท่านประธานครับ ผมคิดว่า คือท่านประธานควรจะต้องดำเนินการให้เป็นไปข้อบังคับนะครับ เมื่อกี้ท่านวิริยะ เสนอญัตตินะครับว่า ขอให้มีมติให้ส่งความเห็นทั้งหมดไปนะครับ แล้วก็ไม่มีผู้เสนอญัตติ เป็นอย่างอื่นนะครับ ความจริงถ้าใครจะเสนอเป็นอย่างอื่นก็ต้องเสนอในช่วงนั้นนะครับ แล้วหลังจากนั้นก็มีการถามความเห็นของที่ประชุมว่าเห็นด้วยกับญัตติของท่านวิริยะหรือไม่ เสียงส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยนะครับ ก็มาถึงขั้นตอนที่จะโหวตความเห็นของสภานะครับว่า จะให้ส่งตามความเห็นของคุณวิริยะหรือไม่ เพราะฉะนั้นขณะนี้มันก็เดินมาถึงขั้นตอนนี้แล้ว ละครับ ถ้าหากจะถอยกลับไปอีกก็คือจะต้องมาลงมติยกเลิกมติที่ได้ลงไปแล้วเมื่อกี้ ซึ่งผมคิดว่ามันจะเป็นการทำให้กลับไปกลับมานะครับ แล้วไม่เป็นไปตามข้อบังคับนะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าขอให้ท่านประธานดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับครับ

    อ่านในการประชุม