นายโกวิท ศรีไพโรจน์

  • กราบขอบคุณท่านประธานครับ กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพ ผม โกวิท ศรีไพโรจน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๑๙ จากจังหวัดสุราษฎร์ธานีครับท่านครับ ผมขอกราบเรียนเสนอญัตติอย่างนี้ครับเป็นญัตติเลย ว่าให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมาจากแต่ละกลุ่ม ทั้งหมด ๑๑ กลุ่ม แล้วก็แต่ละภาค ๔ ภาค เป็น ๑๕ ท่าน อีก ๕ ท่านนั้นสุดแต่สภานี้จะเลือกจากผู้ที่อาสาจะมาทำหน้าที่นะครับ เหตุผลที่ผมนำเสนอญัตติในลักษณะนี้เนื่องจากว่า ถึงแม้ความขัดแย้งของประชาชน ซึ่งนำมาสู่การทำรัฐประหารและก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญชั่วคราวก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ทำให้ มีการสลายผู้ที่ร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้สลายกลุ่มขัดแย้งนั้นก็คือว่า ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ โดยมาจากตัวแทนของภาคประชาชนทั้งหมด ๒๕๐ คน ตัวแทนจากภาคประชาชนนั้น มาทั้งจากกลุ่มผู้ขัดแย้งเองหรือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งนี้ด้วย กลุ่มที่สนใจในการปฏิรูปก็จะได้ส่งตัวแทนเข้ามา ก็คือท่านทั้งหลายที่เป็นตัวแทนองค์กร แต่ละองค์กร ท่านทั้งหลายที่เป็นตัวแทนองค์กรแต่ละองค์กรนั้นท่านถือว่าเป็นผู้แทน ของประชาชนในกลุ่มของท่าน ส่วนตัวแทนอีกกลุ่มหนึ่งนั้นก็คือตัวแทนจากกลุ่มจังหวัด ตรงนี้จะเป็นผู้รับฟังเสียงประชาชนจากกลุ่มจังหวัด ถ้าผมอ่านรัฐธรรมนูญและผมแปล รัฐธรรมนูญไม่ผิด ผมก็จะแปลเช่นนี้ ซึ่งหมายความว่าวันนี้สีเสื้อหรือความขัดแย้งนั้น ถูกสลายไปโดยการจัดแบ่งกลุ่มแห่งผลประโยชน์ใหม่แล้วนะครับ นี่คือประการที่ ๑ เมื่อมีการจัดทำรัฐธรรมนูญ ผู้ที่ร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๗ นี้ได้เห็นแล้วว่าประเทศไทย บอบช้ำมาในหลายด้านและเกิดปัญหาอย่างน้อย ๆ ก็คือ ๑๑ ด้าน ก็จึงได้ตั้งเป็นตุ๊กตาไว้ว่า ขอให้ผู้ที่ไปทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญนั้นหาทางแก้ไขเยียวยา ป้องกัน และสามารถ จะพัฒนาประเทศในปัญหาทั้ง ๑๑ ด้านนี้ได้อย่างเร่งด่วน สมบูรณ์และยั่งยืน ในขณะเดียวกันการทำรัฐธรรมนูญนี้เป็นการสะท้อนเสียงประชาชน ๑. ทุกกลุ่มสาขาอาชีพ ๒. จากประชาชนทุกจังหวัดนะครับ เพราะฉะนั้นการที่ทุกกลุ่มสาขาอาชีพได้แยกกัน เข้ามาแล้วก็เป็นกลุ่มต่าง ๆ จำนวน ๑๑ กลุ่ม นั่นก็หมายความว่าทั้ง ๑๑ กลุ่มนี้เป็นตัวแทน กลุ่มสาขาอาชีพของประเทศไทยอยู่แล้ว และเมื่อแต่ละกลุ่มสามารถเข้าไปเป็นหนึ่ง ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้ ก็หมายถึงว่าเป็นหลักประกันว่าสมาชิกในกลุ่ม หรือผู้ที่สนใจ หรือผู้ที่มีส่วนได้เสียในปัญหาแต่ละด้านนั้นได้มีตัวแทนของเขาในการทำหน้าที่ ยกร่างนี้อย่างแท้จริง ส่วนอีก ๔ ภาคนั้น เนื่องจาก ๗๗ จังหวัดคงเข้าไปไม่ได้ พวกเราก็เห็นด้วยละครับว่าเป็น ๔ กลุ่มภาค เนื่องจากวัฒนธรรมภาคเหนือกับภาคใต้ ก็ไม่เหมือนกัน แต่ว่าในฐานะการทำหน้าที่ของตัวแทนซึ่งเป็นประชาชนแต่ละจังหวัดนั้น ต้องสะท้อนความต้องการของประชาชนแต่ละจังหวัดให้เข้ามาสู่คณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญนี้ให้ได้เช่นเดียวกัน อย่างน้อย ๆ การที่มีตัวแทนภาคในแต่ละภาคซึ่งมีวัฒนธรรม ความเป็นอยู่คล้ายกันนั้นได้เป็นหลักประกันว่า ได้มีข้อมูลอีกส่วนหนึ่งซึ่งจะนำเข้าไปสู่ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนี้นะครับ ส่วนการยกร่างรัฐธรรมนูญผมเอง ผมกราบเรียนท่านประธานฝากถึงเพื่อนสมาชิกว่า การทำรัฐธรรมนูญนั้นจริงอยู่อาจจะต้อง ใช้นักกฎหมายบ้าง แต่ว่าสำคัญกว่านักกฎหมายคือข้อมูลที่จะนำไปให้นักกฎหมายยกร่าง รัฐธรรมนูญ ท่านที่เข้าไปเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่จำเป็นต้องเป็นนักกฎหมายครับ เพียงแต่ว่าท่านได้ข้อมูลจากประชาชนในจังหวัดของท่าน ในกลุ่มภาคของท่าน หรือในกลุ่ม อาชีพ วิชาชีพที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับกลุ่มที่ท่านอยู่สามารถนำเข้าไปเสนอต่อคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญได้ อย่างน้อย ๆ ก็เป็นหลักประกันว่า ๑๑ ด้าน และอีก ๔ ภาคส่วน ของประเทศไทยนั้นสามารถที่จะส่งตัวแทนเข้าไปมีปากมีเสียงในคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญให้เสียงร้องของเขาได้ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ ส่วนอีก ๕ ท่านนั้นผมไม่ขัดข้อง ครับว่าจะเป็นใครในพวกเรา พวกเรานั้นมีผู้ที่มีความรู้ความสามารถอีกมากครับ ตรงนี้ ผมเชื่อว่าการเลือกอีก ๕ ท่านนั้นให้ท่านเสนอตัวออกมาแล้วพวกเราพิจารณาเลือกเป็นไปได้ครับ ท่านครับ ผมเสนอเป็นญัตติเช่นนี้ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ไม่ใช่ครับ ท่านประธานครับ ขอความกรุณา นิดเดียวครับท่านครับ ผม โกวิท ศรีไพโรจน์ ครับ เมื่อกี้ผมเองผมเรียนท่านประธานว่า ผมขอเสนอเป็นญัตติ แต่ผมก็อภิปรายไปแล้วก็ยังไม่ได้ขอผู้รับรองครับ ขออนุญาต ขอผู้รับรองญัตติที่ผมบอกว่าขอเป็น ๑๕ ท่านตามที่กรรมาธิการวางไว้ก่อน เพราะเป็น หลักประกันว่าประชาชนกลุ่มอาชีพก็มีหลักประกันว่าจะเข้าไปอยู่ในคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วก็ประชาชนในแต่ละภาคก็จะมีหลักประกันว่ามีตัวแทนของเขา อยู่ในแต่ละภาค นี่คือ ๑๕ ท่าน ส่วนอีก ๕ ท่านให้เลือกจากผู้ที่สมัครใจแสดงตน แล้วก็มีความเสียสละที่จะมาทำหน้าที่แล้วพวกเราก็เลือก ที่ผมเสนอเป็นญัตติเมื่อกี้ ผมยังไม่ได้ขอผู้สนับสนุนครับ ขอให้เป็นญัตติตรงนี้เลยครับ จะได้อภิปรายต่อไปครับท่านครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตท่านประธานสั้น ๆ นิดเดียวครับ ผมเอง โกวิท ศรีไพโรจน์ จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ขออนุญาตอย่างนี้ครับ ก็คือว่าผมก็ฟัง ท่านสมาชิกอภิปราย ผมเองก็เสนอญัตติไปตั้งแต่ทีแรก แต่ก็โอเค ท่านประธานบอกว่า ขอให้ฟังกันก่อน คราวนี้ผมเชื่อว่าที่อภิปรายไปค่อนข้างที่จะชัดเจนพอสมควร ผมฝากคณะกรรมาธิการประสานงานชั่วคราว ถ้าหากจะดำเนินการขอให้อยู่ในกรอบนี้ ถ้าอยู่ในกรอบนี้ก็โอเคครับ ต่อไปก็จะไม่มีปัญหาแน่นอน

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม โกวิท ศรีไพโรจน์ สมาชิกหมายเลข ๑๙ จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเด็นผมไม่มีอะไรครับ นิดเดียวครับ คือตรงนี้ต้องขอกราบอภัยท่านประธานกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม สภาปฏิรูปแห่งชาติ ประทานโทษนิดเดียวครับ ของผมมีข้อกังวลอยู่เล็กน้อยในประเด็นนั้น ก็คือว่าตัวแทนของแต่ละภาคที่พวกเราได้ไปนั่งประชุมกันแล้วก็เห็นด้วยตามที่ท่านทางฝ่าย คณะกรรมาธิการวิสามัญประสานกันนั้นเห็นด้วยตรงกันหมดแล้วนะครับ แต่เมื่อสักครู่ เนื่องจากว่าท่านก็เสนอในที่ประชุมตรงนี้ ผมเกรงว่าเดี๋ยวจะสับสนเล็กน้อยนะครับ เนื่องจากว่า คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่จะมาจาก ๔ ภูมิภาค ก็จะต้องเป็นหนึ่งในช่องทางที่จะ สะท้อนเสียงของประชาชนเข้าไปสู่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คราวนี้ตัวแทนของ แต่ละจังหวัดมีภารกิจสำคัญอยู่เรื่องหนึ่ง คือจะต้องไปรับฟังเสียงจากประชาชนในจังหวัด ของท่าน แล้วก็ที่เราเคยคิดกันไว้ก่อนแล้วน่าจะมีคณะกรรมาธิการวิสามัญฟังเสียงประชาชน ประจำจังหวัด แต่ตรงนี้ยังไม่ยุตินะครับ อยู่ตรงนี้ เมื่อสักครู่บังเอิญว่าท่านพูดในที่ประชุมนี้ ก็จะฝากเรียนท่านประธานถึงท่านประธานยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ เล็กน้อยว่ากรุณาพิจารณาข้อเสนอตรงนี้นิดหนึ่งว่าจะเป็นปัญหา ผมเองก็เห็นด้วยกับทุกท่าน ว่าอย่าให้มีอะไรที่เป็นประโยชน์ทับซ้อนจะดีที่สุด เพราะมันจะเสียความสง่างามไป แต่เนื่องจากว่าประชาชนในจังหวัดบางทีอาจจะต้องการที่จะสะท้อนเข้ามาโดยตรงจาก ตัวแทนของเขาบ้าง ขอช่วยพิจารณาปัญหาตรงนี้ไว้ด้วยผมกราบขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณครับท่านประธานครับ ผม โกวิท ศรีไพโรจน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี หมายเลขที่ ๑๙ ท่านประธานครับ ผมคงจะต้องขอใช้โอกาสนี้กราบเรียนท่านประธานผ่านไปยัง คณะกรรมาธิการนะครับ เกี่ยวกับเรื่องของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในหลายประเด็น เอาใน ตัวเรื่องของตัวร่างพระราชบัญญัตินี้ก่อน ตั้งแต่องค์กร มีเพื่อนสมาชิกหลายท่านได้อภิปราย ไปแล้วว่าองค์กรนี้เป็นองค์กรอะไรกันแน่ ระหว่างเป็นองค์กรภาครัฐหรือองค์กรเอกชน ผมอ่านตัวร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วก็ฟังท่านประธานกรรมาธิการได้ชี้แจงมาก็ยังไม่ชัดครับ ท่านประธานครับ ท่านประธานก็เป็นนักกฎหมาย การแปลกฎหมายนั้นข้าราชการก็ดี รัฐก็ดี จะทำอะไรก็แล้วแต่ต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ ส่วนเอกชนนั้นทำอะไรก็ได้ถ้ากฎหมาย ไม่ห้าม คราวนี้เมื่อองค์กรนี้ยังมีความไม่ชัดเจน การตั้งองค์กรใด ๆ ขึ้นมานั้นจะต้องมี กฎหมายรองรับเสมอไม่ว่ากองทุนหมู่บ้าน หรือองค์กรอะไรต่าง ๆ ที่เคยมีการตั้งขึ้นมาต้องมี กฎหมายรับรองไว้โดยเสมอ ท่านประธานก็เป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ รัฐธรรมนูญก็ยังไม่ได้คลอดออกมา กรอบขององค์กรนี้จะออกมาอย่างไร

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณครับท่านประธานครับ ผม โกวิท ศรีไพโรจน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี หมายเลขที่ ๑๙ ท่านประธานครับ ผมคงจะต้องขอใช้โอกาสนี้กราบเรียนท่านประธานผ่านไปยัง คณะกรรมาธิการนะครับ เกี่ยวกับเรื่องของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในหลายประเด็น เอาใน ตัวเรื่องของตัวร่างพระราชบัญญัตินี้ก่อน ตั้งแต่องค์กร มีเพื่อนสมาชิกหลายท่านได้อภิปราย ไปแล้วว่าองค์กรนี้เป็นองค์กรอะไรกันแน่ ระหว่างเป็นองค์กรภาครัฐหรือองค์กรเอกชน ผมอ่านตัวร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วก็ฟังท่านประธานกรรมาธิการได้ชี้แจงมาก็ยังไม่ชัดครับ ท่านประธานครับ ท่านประธานก็เป็นนักกฎหมาย การแปลกฎหมายนั้นข้าราชการก็ดี รัฐก็ดี จะทำอะไรก็แล้วแต่ต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ ส่วนเอกชนนั้นทำอะไรก็ได้ถ้ากฎหมาย ไม่ห้าม คราวนี้เมื่อองค์กรนี้ยังมีความไม่ชัดเจน การตั้งองค์กรใด ๆ ขึ้นมานั้นจะต้องมี กฎหมายรองรับเสมอไม่ว่ากองทุนหมู่บ้าน หรือองค์กรอะไรต่าง ๆ ที่เคยมีการตั้งขึ้นมาต้องมี กฎหมายรับรองไว้โดยเสมอ ท่านประธานก็เป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ รัฐธรรมนูญก็ยังไม่ได้คลอดออกมา กรอบขององค์กรนี้จะออกมาอย่างไร

    อ่านในการประชุม

  • ประการต่อมานะครับ เรื่องปัญหาการใช้เงินขององค์กรนี้ก็มีเพื่อนสมาชิก หลายท่านได้อภิปรายไปแล้ว ผมก็ยังเรียนต่อท่านประธานว่าก็ยังเป็นปัญหาว่าการเงินของ การใช้ขององค์กรนี้จะขัดกับนโยบายหรือหลักการของการเงินของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือไม่ก็ยังไม่ทราบ

    อ่านในการประชุม

  • ประการต่อมานะครับ เรื่องปัญหาการใช้เงินขององค์กรนี้ก็มีเพื่อนสมาชิก หลายท่านได้อภิปรายไปแล้ว ผมก็ยังเรียนต่อท่านประธานว่าก็ยังเป็นปัญหาว่าการเงินของ การใช้ขององค์กรนี้จะขัดกับนโยบายหรือหลักการของการเงินของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือไม่ก็ยังไม่ทราบ

    อ่านในการประชุม

  • นอกจากนั้นท่านประธานครับ ถ้ามาดูเนื้อหาขององค์กรฉบับองค์กรนี้แล้ว การใช้เงินขององค์กรนี้สามารถออกระเบียบการใช้เงินมาใช้ได้ด้วยตัวเอง การตรวจสอบนั้น มีผู้ตรวจสอบบัญชี มีผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งก็ต้องตรวจสอบตามระเบียบ เพราะฉะนั้น ก็เสมือนกับองค์กรนี้สามารถจะใช้เงินนี้ได้ด้วยตัวเองโดยปราศจากการตรวจสอบหรือ การตรวจสอบทำได้ยากมาก

    อ่านในการประชุม

  • นอกจากนั้นท่านประธานครับ ถ้ามาดูเนื้อหาขององค์กรฉบับองค์กรนี้แล้ว การใช้เงินขององค์กรนี้สามารถออกระเบียบการใช้เงินมาใช้ได้ด้วยตัวเอง การตรวจสอบนั้น มีผู้ตรวจสอบบัญชี มีผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งก็ต้องตรวจสอบตามระเบียบ เพราะฉะนั้น ก็เสมือนกับองค์กรนี้สามารถจะใช้เงินนี้ได้ด้วยตัวเองโดยปราศจากการตรวจสอบหรือ การตรวจสอบทำได้ยากมาก

    อ่านในการประชุม

  • นอกจากนั้นเกี่ยวกับเรื่องของคณะกรรมการ ของผมเองอาจจะพูดแล้ว อาจจะกระเทือนท่านประชาชนหลายท่าน แต่ว่าอย่างไรก็ตามการออกกฎหมายนั้นจะต้อง มองทั้ง ๒ ด้าน องค์กรนี้กรรมการจะมาจากฝ่ายผู้บริโภคทั้งสิ้นไม่ได้มาจากผู้ประกอบการ ซึ่งสามารถจะให้รายละเอียดในการประชุมของคณะกรรมการนี้ได้เลยเหมือนกับ การพิจารณาอะไรจะเป็นการพิจารณาโดยฝ่ายเดียวแท้ ๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความลำเอียง หรือว่าความไม่เป็นธรรมกับอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้

    อ่านในการประชุม

  • นอกจากนั้นเกี่ยวกับเรื่องของคณะกรรมการ ของผมเองอาจจะพูดแล้ว อาจจะกระเทือนท่านประชาชนหลายท่าน แต่ว่าอย่างไรก็ตามการออกกฎหมายนั้นจะต้อง มองทั้ง ๒ ด้าน องค์กรนี้กรรมการจะมาจากฝ่ายผู้บริโภคทั้งสิ้นไม่ได้มาจากผู้ประกอบการ ซึ่งสามารถจะให้รายละเอียดในการประชุมของคณะกรรมการนี้ได้เลยเหมือนกับ การพิจารณาอะไรจะเป็นการพิจารณาโดยฝ่ายเดียวแท้ ๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความลำเอียง หรือว่าความไม่เป็นธรรมกับอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้

    อ่านในการประชุม

  • นอกจากนั้นนะครับ การฟ้องคดีของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๙ (๕) ถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ ก็ยังขาดหลักการ เพราะว่าการฟ้องคดีนั้นไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะไปฟ้อง มันจะต้องรวมทั้งการตรวจสอบข้อเท็จจริง การตรวจสอบพยานหลักฐาน แล้วประการต่อมา ก็คือทางฝ่ายพนักงานอัยการนั้นเราเป็นทนายแผ่นดินแล้วเราก็ต้องคุ้มครองผู้บริสุทธิ์นี่ ถูกต้องนะครับ แต่เราไม่ใช่เป็นทนายของประชาชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ นี่ก็เป็นอีก เรื่องหนึ่ง เมื่อองค์กรนี้ยังไม่ชัดว่าเป็นองค์กรเอกชนหรือองค์กรภาครัฐมันก็จะขัดหรือว่า อาจจะมีความไม่สอดคล้องกับการทำหน้าที่

    อ่านในการประชุม

  • นอกจากนั้นนะครับ การฟ้องคดีของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๙ (๕) ถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ ก็ยังขาดหลักการ เพราะว่าการฟ้องคดีนั้นไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะไปฟ้อง มันจะต้องรวมทั้งการตรวจสอบข้อเท็จจริง การตรวจสอบพยานหลักฐาน แล้วประการต่อมา ก็คือทางฝ่ายพนักงานอัยการนั้นเราเป็นทนายแผ่นดินแล้วเราก็ต้องคุ้มครองผู้บริสุทธิ์นี่ ถูกต้องนะครับ แต่เราไม่ใช่เป็นทนายของประชาชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ นี่ก็เป็นอีก เรื่องหนึ่ง เมื่อองค์กรนี้ยังไม่ชัดว่าเป็นองค์กรเอกชนหรือองค์กรภาครัฐมันก็จะขัดหรือว่า อาจจะมีความไม่สอดคล้องกับการทำหน้าที่

    อ่านในการประชุม

  • บทกำหนดโทษครับ ตามมาตรา ๓๓ ก็ยังไม่ชัดเจนครับถ้าหากจะผ่าน หลักการไป อยากจะเพิ่มคำว่า ทุจริต ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ขออนุญาตนะครับ มาตรา ๓๓ ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๙ หรือคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เพราะว่าถ้าหาก ว่ามาดูอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ นั้นค่อนข้างที่จะสุ่มเสี่ยงพอสมควรในการที่จะใช้อำนาจ หน้าที่ไปในทางไม่ชอบก็เกิดขึ้นได้นะครับ แล้วอีกอย่างการตรวจสอบอย่างที่เรียนต่อ ท่านประธานว่าเมื่ออ่านโดยรวมนั้นค่อนข้างจะตรวจสอบลำบาก ผมยอมรับครับว่า ท่านกรรมาธิการมีเจตนาดีแล้วก็ดำเนินการมาได้ดีตั้งแต่ต้น ยอมรับครับว่าทางฝ่าย สคบ. ปัจจุบันนี้ยังทำงานนั้นไม่สามารถจะช่วยเหลือประชาชนได้อย่างครอบคลุมมากนัก แต่ถ้าหาก เราจะต้องเสียงบประมาณแผ่นดินอีกก้อนหนึ่ง เราก็มีหน่วยงานของ สคบ. อยู่แล้วที่จะดูแล ประชาชนเสริมให้เขาเข้มแข็งและแข็งแกร่งกว่านี้ ตรงนี้ก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้วทำได้ ไม่ยาก

    อ่านในการประชุม

  • บทกำหนดโทษครับ ตามมาตรา ๓๓ ก็ยังไม่ชัดเจนครับถ้าหากจะผ่าน หลักการไป อยากจะเพิ่มคำว่า ทุจริต ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ขออนุญาตนะครับ มาตรา ๓๓ ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๙ หรือคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เพราะว่าถ้าหาก ว่ามาดูอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ นั้นค่อนข้างที่จะสุ่มเสี่ยงพอสมควรในการที่จะใช้อำนาจ หน้าที่ไปในทางไม่ชอบก็เกิดขึ้นได้นะครับ แล้วอีกอย่างการตรวจสอบอย่างที่เรียนต่อ ท่านประธานว่าเมื่ออ่านโดยรวมนั้นค่อนข้างจะตรวจสอบลำบาก ผมยอมรับครับว่า ท่านกรรมาธิการมีเจตนาดีแล้วก็ดำเนินการมาได้ดีตั้งแต่ต้น ยอมรับครับว่าทางฝ่าย สคบ. ปัจจุบันนี้ยังทำงานนั้นไม่สามารถจะช่วยเหลือประชาชนได้อย่างครอบคลุมมากนัก แต่ถ้าหาก เราจะต้องเสียงบประมาณแผ่นดินอีกก้อนหนึ่ง เราก็มีหน่วยงานของ สคบ. อยู่แล้วที่จะดูแล ประชาชนเสริมให้เขาเข้มแข็งและแข็งแกร่งกว่านี้ ตรงนี้ก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้วทำได้ ไม่ยาก

    อ่านในการประชุม

  • นอกจากนั้นนะครับ บางเรื่องบางราวผู้ประกอบการแต่ละผู้ประกอบการนั้น ในการทำกิจการมีหน่วยงานของรัฐกำกับดูแล ไม่ว่าการทำกิจกรรมโรงงาน การตั้งร้านขายของ อะไรต่าง ๆ มีหน่วยงานภาครัฐดูแลมาโดยตลอดเสมือนกับว่าภาครัฐวันนี้ไม่สามารถจะดูแล ประชาชนได้เลย ผมเห็นด้วยนะครับว่าน่าจะมีอะไรเสริมความเข้มแข็งหรือแข็งแกร่งให้กับ ประชาชนผู้บริโภค ผมเองก็เจ็บปวดนะครับในฐานะผู้บริโภคในหลาย ๆ กรณี แต่ว่าในกรณีนี้ นั้นเมื่อออกเป็นกฎหมายนั้นค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องที่อันตรายพอสมควร กฎหมายนั้นเป็น ดาบสองคมนะครับ ไม่ใช่ว่าคิดจะทำอะไรแล้ว ในชั้นนี้นะครับเมื่อรัฐธรรมนูญยังไม่ออก ท่านประธานครับเราอาจจะเห็นด้วยในหลักการแต่ยับยั้งไว้ก่อนจะดีไหมครับ จนกระทั่งเมื่อร่าง รัฐธรรมนูญออกมาให้ชัดเจนแล้วว่าหลักการของรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นอย่างไร การใช้จ่ายเงิน ของภาครัฐเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเงินต่อปี ๒๐๐ กว่าล้านนั้นไม่น้อยนะครับ ก็ฝากเรียน ท่านประธานถึงคณะกรรมาธิการอีกครั้งหนึ่งด้วย ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • นอกจากนั้นนะครับ บางเรื่องบางราวผู้ประกอบการแต่ละผู้ประกอบการนั้น ในการทำกิจการมีหน่วยงานของรัฐกำกับดูแล ไม่ว่าการทำกิจกรรมโรงงาน การตั้งร้านขายของ อะไรต่าง ๆ มีหน่วยงานภาครัฐดูแลมาโดยตลอดเสมือนกับว่าภาครัฐวันนี้ไม่สามารถจะดูแล ประชาชนได้เลย ผมเห็นด้วยนะครับว่าน่าจะมีอะไรเสริมความเข้มแข็งหรือแข็งแกร่งให้กับ ประชาชนผู้บริโภค ผมเองก็เจ็บปวดนะครับในฐานะผู้บริโภคในหลาย ๆ กรณี แต่ว่าในกรณีนี้ นั้นเมื่อออกเป็นกฎหมายนั้นค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องที่อันตรายพอสมควร กฎหมายนั้นเป็น ดาบสองคมนะครับ ไม่ใช่ว่าคิดจะทำอะไรแล้ว ในชั้นนี้นะครับเมื่อรัฐธรรมนูญยังไม่ออก ท่านประธานครับเราอาจจะเห็นด้วยในหลักการแต่ยับยั้งไว้ก่อนจะดีไหมครับ จนกระทั่งเมื่อร่าง รัฐธรรมนูญออกมาให้ชัดเจนแล้วว่าหลักการของรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นอย่างไร การใช้จ่ายเงิน ของภาครัฐเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเงินต่อปี ๒๐๐ กว่าล้านนั้นไม่น้อยนะครับ ก็ฝากเรียน ท่านประธานถึงคณะกรรมาธิการอีกครั้งหนึ่งด้วย ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม โกวิท ศรีไพโรจน์ จากจังหวัดสุราษฎร์ธานีครับ ต้องขออนุญาตสักนิดหนึ่ง เนื่องจากว่าที่มา ในการทำหน้าที่ของผมนั้นคือการรับฟังเสียงประชาชนที่จะเข้าสู่รัฐธรรมนูญนะครับ จึงต้องกราบเรียนที่มา มิใช่ว่าเป็นนักการเมืองหรืออะไร ข้อ ๔๐ นะครับ เป็นกรณีที่ดูเสมือนว่า จะให้อำนาจท่านประธานเป็นการเด็ดขาด ซึ่งตรงนี้ด้วยความเคารพจริง ๆ ผมก็เชื่อมั่นในตัว ท่านประธาน ท่านรองประธานที่จะวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องอยู่แล้ว แต่ในขณะเดียวกันครับ มันเคยมีในอดีตที่ผ่านมาไม่นานมานี้นะครับ ซึ่งเกิดข้อโต้เถียงเกี่ยวกับเรื่องข้ออำนาจ หรือการวินิจฉัยของท่านประธานสภา เป็นประธานสภาอื่น ไม่ใช่ประธานสภานี้ ว่าจะทำให้เกิดกรณีที่จะใช้คำว่า ตัดตอน หรือว่าจะใช้คำว่า กีดกัน ถ้าหากว่าเกิดกรณีนั้น แต่ว่าผมเชื่อว่าท่านประธานไม่เป็นแน่ แต่อย่างไรก็ตามครับ เมื่อข้อบังคับอยากจะให้ สมบูรณ์ ใคร่จะขอว่าถ้าหากว่าสมาชิกผู้นั้นนี่นะครับ ถ้าไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยนะครับ หรือท่านประธาน ๑. ก็คือว่าถ้าหากท่านประธานไม่ยอมวินิจฉัยนะครับ ก็ไม่ทราบว่าเมื่อไร จะได้คำตอบ นี่ประการที่ ๑ ประเด็นแรกก็คืออยากให้มีกำหนดเวลา เมื่อท่านประธาน วินิจฉัยแล้วเห็นว่าก็ไม่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ อยากจะให้สมาชิกผู้นั้นนี่นะครับ ส่งไปที่ คณะกรรมการประสานงานประจำสภาวินิจฉัยอีกสักครั้งนะครับ แล้วคำวินิจฉัยนี้เป็นอันที่ สิ้นสุดนะครับ ก็จะได้หายคาใจกัน ผมขอกราบเสนอข้อคิดเห็นไว้แค่นี้ครับ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานครับ ท่านประธาน กรรมาธิการครับ คือผมคิดว่าของเรามีคณะกรรมาธิการประสานงานอยู่แล้ว ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒินะครับ เมื่อท่านประธานถึงแม้จะเป็นประธานในกรรมาธิการชุดนั้นก็จริง แต่ว่าอำนาจตรงนี้เป็นอำนาจของท่านประธานแต่ผู้เดียว แต่ถ้าหากว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยจะขอ ยืนยันว่าขอให้หลาย ๆ คนช่วยพิจารณาอีกสักครั้งนะครับ จะได้มีความสมบูรณ์ขึ้นนะครับ นิดเดียวครับ เพราะว่าจะได้มีทางออก แต่ถ้าหากว่าคณะกรรมาธิการประสานงานตรงนี้ มีคำวินิจฉัยอย่างไรแล้ว ผมว่าสมาชิกที่ยื่นญัตติก็น่าจะยุติได้นะครับ ไม่คาใจกันอีก ขอขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาครับ ผม โกวิท ศรีไพโรจน์ จากจังหวัดสุราษฎร์ธานีครับ ผมขออภิปรายสนับสนุนความคิดเห็นของ ท่านอลงกรณ์ พลบุตร ขออภัยที่เอ่ยนามนะครับ เนื่องจากคำว่า การทำงานของสภานี้ เราจะต้องทำงานที่ยึดโยงกับประชาชน อันนี้ผมยังยืนยันตรงนี้ว่า ถ้าหากไม่ว่ากฎหมายก็ดี นโยบายประเทศก็ดี หรือแม้แต่รัฐธรรมนูญก็ดี ถ้าหากว่าเราขาดการยึดโยงกับประชาชน แล้วก็จะมีปัญหา ไม่ใช่ว่าเราจะเอาความเห็นของเราไปกำหนดประชาชนทั้งประเทศ นี่ประการที่ ๑

    อ่านในการประชุม

  • คราวนี้ในข้อ ๗๙ ครับ ข้อ ๗๙ เราพูดถึงคณะกรรมาธิการซึ่งเป็นสามัญ วิสามัญประจำสภา และวิสามัญปกติ คราวนี้การทำหน้าที่ตรงนี้ คำว่า ตั้งแต่ คำว่า ทั้งนี้ การทำงานของคณะกรรมาธิการทุกประเภท ควรจะไปวางไว้เป็นวรรคสามของข้อ ๗๙ เสีย เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าถ้าเป็นคณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ ธรรมดาจะไม่ได้อยู่ตรงนี้เลย ตรงนี้คำว่า ตั้งแต่ คำว่า ทั้งนี้ จะเป็นบทบังคับที่จะใช้กับ กรรมาธิการต่อไปในทุกคณะ ผมกราบเสนอแค่นี้ ขอขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม โกวิท ศรีไพโรจน์ จากจังหวัดสุราษฎร์ธานีครับ ก่อนอื่นคงจะต้องขอขอบคุณสภา ที่เปิดช่องทางหนึ่งช่องทางที่ให้สมาชิกทางใต้แล้วก็แต่ละภูมิภาคได้เข้าไปมีส่วน ในกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับที่จัดทำร่างจากคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับ การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นเสร็จเมื่อวันศุกร์ ขอประทานโทษคณะกรรมาธิการทุกท่าน ด้วยครับ เนื่องจากว่าผมก็อยู่ด้วยนะครับ ตอนนั้นก็มองยังไม่รอบคอบสักนิดหนึ่ง แต่ว่าเมื่อกลับไปแล้วก็เลยเกิดความรู้สึกว่ายังไม่สมบูรณ์อยู่เล็กน้อยนะครับ ไปนอนคิดอยู่ ๓ วัน เหตุผลนะครับ คือเนื่องจากว่าสภานี้มีหน้าที่ต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๗ คือ ๑๐ ด้าน ๑๐ ด้าน บวก ๑ นะครับ คือด้านอื่น ๆ ซึ่งจะต้องดำเนินการทำการปฏิรูป ส่วนที่มาของสภานี้ มาจากสมาชิกประเภทต่าง ๆ ๒ ประเภท คือ ๑. ประเภทที่ทางองค์กรต่าง ๆ ส่งมายัง คณะกรรมการที่คัดเลือกแล้วก็เป็น ๑๗๓ ท่าน ส่วนนอกนั้นก็คือจะสรรหามาจากจังหวัดต่าง ๆ อีก ๗๗ จังหวัด ความยึดโยงระหว่างรัฐธรรมนูญก็ดี กฎหมายก็ดี แนวทางการปฏิรูป ประเทศก็ดี หรือนโยบายของรัฐใด ๆ ต่าง ๆ ก็ดี ต้องยึดโยงกับประชาชน ผมเชื่อว่าท่านผู้ที่ ร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วครับ แล้วก็เหมาะสมมาก ๆ เหตุผลก็คือว่า ท่านผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ได้ยึดโยงประชาชนจากองค์กรต่าง ๆ ซึ่งเสนอบุคคลต่าง ๆ เข้ามายังคณะกรรมการสรรหานะครับ ก็เท่าที่ทราบกันก็คือ ๖,๐๐๐-๗,๐๐๐ ท่าน แล้วก็คัดมาเหลือ ๕๕๐ ท่าน แล้วก็มาเหลือ ๑๗๓ ท่าน แต่ละท่านนี้จะยึดโยงกับสมาชิก แต่ละองค์กรที่ส่งท่านเข้ามา ส่วน ๗๗ จังหวัดนั้นถึงแม้จะไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนโดยตรง เกิดขึ้นเนื่องจากคณะกรรมการสรรหาได้ดำเนินการไปเชิญหรือไปสรรหามาก็ดี แล้วคัดเลือก ให้เหลือ ๕ ท่าน ส่งมาเพื่อจะคัดให้เหลือ ๑ คน ถามว่าพวกเรา ๗๗ จังหวัดนั้นยังไม่ถึงกับว่า ยึดโยงกับประชาชน เพราะฉะนั้นคำถามว่าเมื่อเรามาอยู่ตรงนี้แล้วหน้าที่ที่สำคัญที่สุดก็คือว่า เราจะต้องกลับไปยึดโยงกับประชาชนให้ได้เพื่อการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้น จะต้องทำนำมาสู่การยึดโยงที่รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย หรือแนวทางการปกครองประเทศ นั่นเป็นเรื่องที่สำคัญ อำนาจหน้าที่ของ สปช. นั้นก็ปรากฏตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๑ ละครับ โดยเฉพาะ (๒) เกี่ยวกับการเสนอความเห็นต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วก็โดยหน้าที่ที่สำคัญก็คือให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่ ผมเรียนย้ำตลอดเวลาว่าจะต้องยึดโยงกับประชาชน เพราะว่าเป็นสิ่งที่จะต้องดูแลประชาชน เป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพแล้วก็แนวทางของประเทศนี้ นั่นเป็นหลักนะครับ เมื่อเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญได้รับรองในหลักการนี้จึงได้กำหนดให้สมาชิก ๗๗ คน ที่มาจากแต่ละจังหวัดทำหน้าที่คือเป็นตัวเสริมจากสมาชิกซึ่งมาจากองค์กรแต่ละองค์กร และทำให้รัฐธรรมนูญนี้ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั้งประเทศอีก ๗๗ จังหวัด เป็นการอุดช่องว่างที่ว่าตัวแทนแต่ละท่านนั้นมาจากองค์กรแต่ละองค์กรไม่ครบถ้วน ทีนี้ผมเอง ผมก็ยังเห็นว่าสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่ละท่านนั้นนะครับ ถึงแม้ว่าเท่าที่ปรากฏอยู่ ท่านเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ แต่ละท่านผมไม่ติดใจเรื่อง ความรู้ความสามารถ แต่อย่างไรก็ตามการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญนั้นก่อนที่จะนำสิ่งใดเข้าสู่ รัฐธรรมนูญคงไม่ใช่ตัวท่านเพียงลำพัง ทุกสิ่งทุกอย่างควรจะรับฟังเสียงประชาชนแต่ละด้าน ซึ่งอาจจะมีความเห็นพ้องกันหรือขัดแย้งกัน แล้วท่านก็มาพิจารณาหาจุดสมดุล เพื่อที่จะให้ ประชาชนทุกคนในประเทศนี้ หรือประชาชนส่วนใหญ่นี้ยอมรับในรัฐธรรมนูญฉบับนี้นะครับ ทั้งนี้ ร่างข้อบังคับฉบับนี้เป็นการนำรัฐธรรมนูญนั้นมาสู่แนวการปฏิบัติ ถ้าหากว่าข้อบังคับ ของสภานี้ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ การดำเนินกิจการต่าง ๆ ที่จะประกอบให้เกิดความชอบธรรมในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็อาจจะไม่สมบูรณ์ การจัดทำข้อบังคับในหลายเรื่องผมก็ได้ปรึกษาผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่าน ท่านก็บอกว่า ถ้าอย่างไรก็ให้ผ่านไปก่อนก็จะดี เนื่องจากว่าเราจะได้ทำงานกันได้นะครับ วันนี้ก็เหลือ อยู่เพียง ๔๖ วันแล้วที่สภานี้จะต้องเสนอความเห็นต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ว่าเมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วครับ ท่านครับหากการรับฟังเสียงประชาชนไม่รอบคอบ ไม่รัดกุมหรือไม่ครอบคลุมก็จะได้รัฐธรรมนูญที่ทุกคนยอมรับโดยยาก ทีนี้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • กำลังจะเข้าประเด็นเลยครับ ทั้งนี้ถ้าหากว่าท่าน มาดูข้อ ๘๐ ซึ่งได้แยกองค์กรอาชีพต่าง ๆ ไปเป็นคณะกรรมาธิการต่าง ๆ ค่อนข้างจะ หลากหลาย ตรงนี้เห็นได้ชัดเลยว่าต้องการให้คณะกรรมาธิการต่าง ๆ ดำเนินการ เพื่อจะเสนอข้อคิดเห็นไปยังคณะกรรมาธิการยกร่าง แต่ในส่วน ๗๗ จังหวัดครับ ท่านครับ ๗๗ จังหวัดนี้จะต้องดำเนินการ ทีนี้ในข้อ ๘๔ (๓) เพียงแต่ว่าให้ความสำคัญ เมื่ออ่านข้อบังคับนี้ทั้งหมดก็จะไม่ได้ความสำคัญกับสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๗๗ คน ซึ่งเป็นสัดส่วนซึ่งค่อนข้างจะมากนะครับ ในการทำหน้าที่หรือเอื้อในการทำหน้าที่เลย ในการพิจารณาจัดทำข้อบังคับนั้น ประทานโทษนะครับ ท่านตัวแทนจาก คณะกรรมาธิการยกร่างมาบอกว่าจะขอความสะดวกในการจัดตั้ง คือเราเห็นว่าถ้าหากว่าทำ ได้อยากจะสนับสนุนให้ทำงานง่ายขึ้น แต่ทีนี้ข้อ ๓ หมายความว่าให้จัดตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญขึ้นมาคณะหนึ่ง แล้วก็หลังจากนั้นก็ไปแตกลูกเป็นภาคก็ดี จังหวัดก็ดี ซึ่งผมยังดูแล้ว พิจารณาแล้วก็ยังไม่เอื้อให้พวกเรา ๗๗ คน ในการดำเนินการอย่างน้อย ๆ พวกเรา ๗๗ คน จะเข้ามาในคณะกรรมาธิการนี้ได้สักกี่คน ผมขอแปรญัตติเช่นนี้ครับ ผมขอว่าให้ตัดข้อ ๓ นี้ ออกทั้งหมด เหตุผลเนื่องจากว่าถ้าหากมาดูข้อ ๘๓ (๑๐) ก็จะเห็นได้ชัดอยู่แล้วว่าสภานี้ มีศูนย์รับฟังความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะจากประชาชนเกี่ยวกับการปฏิรูปตรงนี้ครบถ้วนแล้ว แต่ขอเสนอญัตติว่าให้เพิ่มให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและมีส่วนร่วม ของประชาชนภูมิภาคเหนือ ๑ คณะกรรมาธิการ ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑ คณะกรรมาธิการ ภูมิภาคกลางและภาคตะวันออก ๑ คณะกรรมาธิการ และภูมิภาคใต้อีก ๑ คณะกรรมาธิการ ผมขอแปรญัตติเช่นนี้ขอเสียงสนับสนุนด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม โกวิท ศรีไพโรจน์ ท่านประธานครับ ผมอยากจะใคร่ขอหารือท่านประธานเล็กน้อย คืออย่างนี้ครับ เดิมตั้งแต่เมื่อสักครู่ผมเองผมได้ขอเสนอแปรญัตติในฐานะที่วันนี้ตอนนี้กำลังพิจารณา อยู่ในฐานะกรรมาธิการเต็มสภา ทุกท่านเป็นกรรมาธิการ และผมเองผมได้ขอความกรุณา แปรญัตติ มีเพื่อนสมาชิกได้ยกมือรับรองการแปรญัตติตรงนี้ไว้แล้ว เพียงแต่ว่าท่านประธาน ได้ขอให้มีการอภิปรายไปได้อีกสักช่วงหนึ่งก่อน ผมเองผมก็เลยนั่งนิ่งอยู่ แต่ว่าก็กลายเป็น การอภิปรายเรื่องอื่นไป เมื่อสักครู่มีผู้รับรองเรียบร้อยแล้ว ตรงนี้ผมเองผมใคร่จะขออนุญาต ท่านประธานถึงเพื่อนสมาชิกอีกสักเล็กน้อย คืออย่างนี้ครับ เมื่อเราได้รับหน้าที่รับ พระบรมราชโองการมาแล้วก็สำนึกในหน้าที่ครับ ถึงแม้จะไม่มีเงินสักบาทก็ต้องทำให้ได้นะครับ ตอนนี้ถามว่าทำไปแล้วหรือยัง ใช้เงินใช้ทองตัวเองไปบางส่วนแล้วหรือยัง ก็ทำแล้วครับ เพราะเนื่องจากเวลามันกระชั้นเหลือเกิน ตรงนี้เข้าใจครับ แต่ว่าการเป็น สปช. ไม่ใช่ว่านั่ง แล้วรอให้ประชาชนมาหา เราต้องวิ่งเข้าหาประชาชนครับ แต่ว่าอย่างไรก็ตามให้พวกเราไป ทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับส่งพวกเราไปรบ กระสุนดินดำ กำลังพล อะไรต่าง ๆ นั้นไม่มี ก็ไม่เป็นไรครับ แต่ว่าจะให้สัมฤทธิ์ผลนั้นคงจะยากพอสมควร ครั้งแรกอันนี้ผมเรียนตรง ๆ ครับท่านประธานว่าเมื่อมีการพูดคุยในคณะกรรมาธิการนั้นบางท่านคิดว่าจะให้ตั้งเป็น วิสามัญทั้ง ๗๗ จังหวัดด้วยซ้ำ ซึ่งตรงนี้ก็ผ่านไปในส่วนหนึ่งแล้ว แต่พอมาช่วงหลัง ก็มีการติงกันว่าสภาต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก แล้วก็ต้องหาเจ้าหน้าที่ของสภาไปอีก ๗๗ ชุด ซึ่งมันวุ่นวายโกลาหลมาก แล้วก็กลายเป็นว่าตัดตรงนี้ไป แต่พอผมกลับไปแล้ว ในการทำงานในแต่ละภูมิภาคซึ่งจะแตกมาจังหวัดมันอาจจะทำงานได้ลำบากขึ้น เพราะเนื่องจากถ้าหากมีส่วนกลางอยู่ส่วนเดียว การทำงานมันค่อนข้างจะล่าช้า เมื่อสักครู่ ผมขอแปรญัตติไปแล้วว่าขอให้ยกเลิก (๓) ตัดทิ้งเสีย แต่เพิ่มมาเป็นกรรมาธิการวิสามัญ รับฟัง โทษนะครับ จะเอาตรงการมีส่วนร่วมหรือรับฟังความคิดเห็นมาก่อน แต่ว่าขอเป็น ภาคเหนือ ภาคกลาง และตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตรงนี้ผมยังคง คำแปรญัตติไว้ครับ ขอร้องเพื่อนสมาชิกผ่านท่านประธานนะครับว่า จะให้เราทำงานนั้น ขอความกรุณาจะได้ทำงานได้เต็มที่ยิ่งขึ้น แล้วก็ถ้าหากมีอะไร คือพวกเราในแต่ละกลุ่มภูมิภาค จะได้ทำงานได้เร็วขึ้น ขอกราบเรียนท่านประธานเพียงแค่นี้ละครับ ขอขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ขออนุญาต ๒ เรื่องนะครับ เฉพาะในประเด็นที่ท่าน

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ขออนุญาต ๒ เรื่องนะครับ เฉพาะในประเด็นที่ท่าน

    อ่านในการประชุม

  • ผมไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ผมไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ผมขออภิปรายตรงนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ผมขออภิปรายตรงนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ใช่ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ใช่ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตนิดเถอะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตนิดเถอะครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ คืออย่างนี้ ท่านประธานครับ จากการที่รัฐบาลได้ส่งปัญหามายังสภาแห่งนี้ สภาแห่งนี้ได้ขอให้ทาง ท่านคณะกรรมาธิการช่วยศึกษาให้เรา เมื่อท่านคณะกรรมาธิการได้ศึกษาให้เราก็ได้เสนอ ความเห็นมา ๓ ทางเลือก มี ๓ ทางเลือก แล้วทางกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ควรจะเสนอทางเลือกที่ ๓ แต่อย่างไรก็ตามนี่คือความเห็นของกรรมาธิการ สิ่งที่รัฐบาล ต้องการก็คือว่าความเห็นของสภาแห่งนี้ ไม่ใช่ความเห็นของกรรมาธิการ หรือความเห็นของ ท่านสมาชิก สภานี้ต้องทำหน้าที่เสนอความเห็นของสภาครับท่านประธาน แต่ว่าส่วนที่ว่า เมื่อมีความเห็นของสภาแล้ว จะมีความเห็นของมวลสมาชิกและของกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ไปด้วยอย่างไรนั้น อันนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าหากว่าท่านประธานจะเลือกส่งไปทั้งหมดก็ดี หรือว่าจะรวบรวมส่งอะไรไปทั้งหมดก็ดี คำถามคือ อะไรคือความเห็นของสภา ความเห็น ของสภาที่จะต้องวินิจฉัยเรื่องนี้มันต้องมีนะครับ เพราะฉะนั้นผมเองจากการที่ตั้งแต่เช้า ผมไม่ได้ขออนุญาตท่านประธานในการอภิปราย เนื่องจากว่าผมไม่ได้มีความรู้ความชำนาญ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อผมไม่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วผมก็ต้องไม่อภิปราย แล้วฟังท่านกรรมาธิการและสมาชิกทั้งหลายได้อภิปรายมาเพื่อประกอบการตัดสินใจ แต่เมื่อจะถึงคราวตัดสินใจซึ่งเป็นความเห็นของสภาไม่ใช่ความเห็นของกระผม ไม่ใช่ความเห็นของท่านกรรมาธิการ ตรงนี้สภาต้องตัดสินใจครับท่านประธาน เพราะฉะนั้น การที่ผมเองผมไม่ได้อภิปรายมาตั้งแต่ตอนกลางวัน ไม่ใช่ว่าผมไม่มีความเห็น ผมฟังอยู่ครับ เมื่อฟังอยู่แล้วผมจะมีความเห็นไปทางด้านใดด้านหนึ่ง นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้น ผมกราบเรียนท่านประธานครับว่า เมื่อทางฝ่ายกรรมาธิการมีทางเลือกอยู่ทั้งหมด ๓ ทางเลือก เอาละครับ จบอยู่ตรงที่ว่า ๒ ทางเลือกคือทางเลือกที่ ๒ คือทางฝ่าย กรรมาธิการเสียงข้างน้อย ประทานโทษคือท่านรสนา ถ้าผมไม่จำผิด และทางเลือกที่ ๓ คือของท่านกรรมาธิการ รวมทั้งทางเลือกที่ ๔ ของท่านอลงกรณ์ครับ ผมขอประธานก็คือ อย่างนี้ครับ ก็คือว่าขอให้มีมติของสภาครับว่าเราจะเลือกทางเลือกที่เท่าไร ส่วนความเห็น ของมวลสมาชิกและความเห็นของกรรมาธิการ ผมไม่ขัดข้องหรอกครับส่งประกอบไป ผมมีความเห็นแค่นี้ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ คืออย่างนี้ ท่านประธานครับ จากการที่รัฐบาลได้ส่งปัญหามายังสภาแห่งนี้ สภาแห่งนี้ได้ขอให้ทาง ท่านคณะกรรมาธิการช่วยศึกษาให้เรา เมื่อท่านคณะกรรมาธิการได้ศึกษาให้เราก็ได้เสนอ ความเห็นมา ๓ ทางเลือก มี ๓ ทางเลือก แล้วทางกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ควรจะเสนอทางเลือกที่ ๓ แต่อย่างไรก็ตามนี่คือความเห็นของกรรมาธิการ สิ่งที่รัฐบาล ต้องการก็คือว่าความเห็นของสภาแห่งนี้ ไม่ใช่ความเห็นของกรรมาธิการ หรือความเห็นของ ท่านสมาชิก สภานี้ต้องทำหน้าที่เสนอความเห็นของสภาครับท่านประธาน แต่ว่าส่วนที่ว่า เมื่อมีความเห็นของสภาแล้ว จะมีความเห็นของมวลสมาชิกและของกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ไปด้วยอย่างไรนั้น อันนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าหากว่าท่านประธานจะเลือกส่งไปทั้งหมดก็ดี หรือว่าจะรวบรวมส่งอะไรไปทั้งหมดก็ดี คำถามคือ อะไรคือความเห็นของสภา ความเห็น ของสภาที่จะต้องวินิจฉัยเรื่องนี้มันต้องมีนะครับ เพราะฉะนั้นผมเองจากการที่ตั้งแต่เช้า ผมไม่ได้ขออนุญาตท่านประธานในการอภิปราย เนื่องจากว่าผมไม่ได้มีความรู้ความชำนาญ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อผมไม่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วผมก็ต้องไม่อภิปราย แล้วฟังท่านกรรมาธิการและสมาชิกทั้งหลายได้อภิปรายมาเพื่อประกอบการตัดสินใจ แต่เมื่อจะถึงคราวตัดสินใจซึ่งเป็นความเห็นของสภาไม่ใช่ความเห็นของกระผม ไม่ใช่ความเห็นของท่านกรรมาธิการ ตรงนี้สภาต้องตัดสินใจครับท่านประธาน เพราะฉะนั้น การที่ผมเองผมไม่ได้อภิปรายมาตั้งแต่ตอนกลางวัน ไม่ใช่ว่าผมไม่มีความเห็น ผมฟังอยู่ครับ เมื่อฟังอยู่แล้วผมจะมีความเห็นไปทางด้านใดด้านหนึ่ง นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้น ผมกราบเรียนท่านประธานครับว่า เมื่อทางฝ่ายกรรมาธิการมีทางเลือกอยู่ทั้งหมด ๓ ทางเลือก เอาละครับ จบอยู่ตรงที่ว่า ๒ ทางเลือกคือทางเลือกที่ ๒ คือทางฝ่าย กรรมาธิการเสียงข้างน้อย ประทานโทษคือท่านรสนา ถ้าผมไม่จำผิด และทางเลือกที่ ๓ คือของท่านกรรมาธิการ รวมทั้งทางเลือกที่ ๔ ของท่านอลงกรณ์ครับ ผมขอประธานก็คือ อย่างนี้ครับ ก็คือว่าขอให้มีมติของสภาครับว่าเราจะเลือกทางเลือกที่เท่าไร ส่วนความเห็น ของมวลสมาชิกและความเห็นของกรรมาธิการ ผมไม่ขัดข้องหรอกครับส่งประกอบไป ผมมีความเห็นแค่นี้ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม