กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ คณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญนะครับ กระผม ทิวา การกระสัง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จากจังหวัดบุรีรัมย์นะครับ ก็ขอเรียนเหมือนท่านเสรีนะครับว่า การบอกว่าตนเองมาจากไหนนั้น ก็คงไม่ก่อให้เกิดความแตกแยก เพราะว่าคนเราคงจะไม่ลืมรากเหง้าของตัวเองว่ามาจากไหน นะครับ สิ่งที่ผมจะให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องข้อเท็จจริงว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เสนอให้กับคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๕ ท่านเข้ามาเป็นนี่ผมจะไม่พูดนะครับ ผมจะกล่าวในเรื่องของเจตนาของรัฐธรรมนูญนี้ เนื่องจากว่าเคยไปศึกษาแล้วก็เรียนเรื่อง การร่างกฎหมายมานะครับ การอ่านกฎหมายหรือการอ่านอะไรก็ตามเราจะต้องดู เจตนารมณ์นะครับ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ท่านไปดูในหน้าที่ ๒ นะครับ หน้า ๒ บรรทัดที่ ๑๕ บอกว่า รัฐธรรมนูญนี้ต้องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง จัดให้มีกฎหมายที่จำเป็นเร่งด่วน จัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและองค์กรต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญนี้ให้ความสำคัญกับสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นลำดับแรกนะครับ เมื่อดูเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนี้แล้วท่านก็ไปดูหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาตินะครับ การอ่านกฎหมายต้องอ่านหลาย ๆ มาตรานะครับ ดูมาตรา ๒๓ อำนาจหน้าที่มีอยู่ ๑๑ ด้าน ผมคิดว่า ๑๑ ด้านนี้สภาปฏิรูปแห่งชาติ ความเห็นของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินี้ จะต้องเข้าไปอยู่ในรัฐธรรมนูญซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องนำไปใช้นะครับ จากการที่รัฐธรรมนูญนี้ให้ความสำคัญกับสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือสภานี้ จึงกำหนดจำนวนคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในมาตรา ๓๒ ที่กำหนดให้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติสามารถเสนอได้ ๒๐ คน เป็นการแสดงให้เห็นว่าเจตนาแรกเลย ต้องการให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้นมาจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒๐ คน ผมเสนอเพียงแค่นี้ จากการที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอบุคคลที่ไม่ได้เป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๕ คนเข้ามานั้น ก็ไม่ได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญนะครับ ถ้าดูแล้วไม่ได้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ว่าขัดต่อเจตนาหรือไม่ ผมอยากให้ท่านสมาชิกทุกท่านนำไปพิจารณา แล้วก็ขอให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทุกท่านพิจารณาในประเด็นนี้ด้วยนะครับ สุดท้ายนี้ ก็ขอขอบคุณท่านประธานนะครับที่ให้โอกาส และคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญทุกท่านนำแนวคิดหรือว่าความเห็นของผมนั้นไปเพื่อใช้ในการพิจารณา คัดเลือกบุคคลเข้ามาเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในส่วนของที่เป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้วยครับ ขอขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ทิวา การกระสัง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เลขที่ ๐๙๒ และขอกราบเรียนท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ในสภานี้นะครับ เนื่องจากว่าผมประกอบอาชีพหนึ่งคือทนายความนะครับ เกี่ยวข้อง แล้วก็เป็นผู้ใช้กฎหมายนะครับ อยากจะฝากกราบเรียน มีประเด็นอยู่ ๒ ประเด็นที่จะ กราบเรียนนะครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ทิวา การกระสัง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เลขที่ ๐๙๒ และขอกราบเรียนท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ในสภานี้นะครับ เนื่องจากว่าผมประกอบอาชีพหนึ่งคือทนายความนะครับ เกี่ยวข้อง แล้วก็เป็นผู้ใช้กฎหมายนะครับ อยากจะฝากกราบเรียน มีประเด็นอยู่ ๒ ประเด็นที่จะ กราบเรียนนะครับ
อันดับแรกก็คือความยุติธรรมเบื้องต้น หน่วยงานที่ทำหน้าที่และรับผิดชอบ คือสำนักงานตำรวจแห่งชาติและเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้สอบสวนนะครับ เมื่อมีการแจ้งความแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนตามที่ทราบนะครับ ที่อยากจะฝาก กราบเรียนก็คือให้เปลี่ยนวิธีคิดและระบบการศึกษาในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พยายามเน้น ให้ทางตำรวจนั้นมีแนวคิดว่าทำหน้าที่เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ไม่ใช่ทำหน้าที่เอาคนที่ถูกกล่าวหาเข้าคุก จากการที่มีการสอนว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่ก็คือ เมื่อมีการกล่าวหาแล้วจะต้องพยายามเอาคนที่ถูกกล่าวหาแล้วก็นำเข้าคุกหรือถูกลงโทษ ให้ได้เพื่อเป็นผลงานนั้น ก่อให้เกิดการสืบสวนสอบสวนที่ขาดความยุติธรรมเช่นเดียวกัน เช่น มีข่าวบ่อย ๆ ว่ามีการสร้างพยานหลักฐานหรือปั้นพยานหลักฐานขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ถูกกล่าวหา ถูกลงโทษ เนื่องจากกระบวนการศึกษาไม่ให้รายละเอียดว่าพนักงานสืบสวนสอบสวน มีหน้าที่หลักคืออำนวยความยุติธรรมทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้เสียหายและฝ่ายที่ถูกกล่าวหา ผมชอบระบบไต่สวนที่มีการหาพยานหลักฐานก่อนแล้วค่อยจับกุม อาจจะเกิดความเสียหายได้ เช่น ถ้ามีความผิดประเภทความผิดฆาตกรต่อเนื่องอย่างนี้ กว่าจะหาพยานหลักฐานได้ก็ทำผิด ไปเรื่อย ๆ แต่ระบบกล่าวหานี่เมื่อถูกกล่าวหาแล้วพนักงานสอบสวนสามารถออกหมายเรียก ออกหมายเรียกไม่มาแล้วก็ออกหมายจับได้ หรือถ้าเป็นความผิดซึ่งหน้าก็จับได้ทันที ทำให้กระบวนการในการสอบสวนสืบสวนนั้นหาพยานหลักฐานในภายหลัง ถ้าพยานหลักฐานไม่เพียงพอก็มีการสร้างพยานหลักฐานขึ้นให้มันเพียงพอนะครับ ระบบนี้ ควรจะมีการปรับปรุงหรือไม่ก็ฝากไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าเราใช้ระบบ การสืบสวนสอบสวนเป็นระบบผสมได้หรือไม่ ก็คือคดีบางคดีนั้นใช้ระบบไต่สวน คดีบางคดี ใช้ระบบสืบสวนสอบสวนนะครับ เพราะว่าโดยปกติกฎหมายของไทยผมดูแล้วก็ใช้ระบบทั้ง ๒ ระบบคละเคล้ากันไปนะครับ
อันดับแรกก็คือความยุติธรรมเบื้องต้น หน่วยงานที่ทำหน้าที่และรับผิดชอบ คือสำนักงานตำรวจแห่งชาติและเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้สอบสวนนะครับ เมื่อมีการแจ้งความแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนตามที่ทราบนะครับ ที่อยากจะฝาก กราบเรียนก็คือให้เปลี่ยนวิธีคิดและระบบการศึกษาในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พยายามเน้น ให้ทางตำรวจนั้นมีแนวคิดว่าทำหน้าที่เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ไม่ใช่ทำหน้าที่เอาคนที่ถูกกล่าวหาเข้าคุก จากการที่มีการสอนว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่ก็คือ เมื่อมีการกล่าวหาแล้วจะต้องพยายามเอาคนที่ถูกกล่าวหาแล้วก็นำเข้าคุกหรือถูกลงโทษ ให้ได้เพื่อเป็นผลงานนั้น ก่อให้เกิดการสืบสวนสอบสวนที่ขาดความยุติธรรมเช่นเดียวกัน เช่น มีข่าวบ่อย ๆ ว่ามีการสร้างพยานหลักฐานหรือปั้นพยานหลักฐานขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ถูกกล่าวหา ถูกลงโทษ เนื่องจากกระบวนการศึกษาไม่ให้รายละเอียดว่าพนักงานสืบสวนสอบสวน มีหน้าที่หลักคืออำนวยความยุติธรรมทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้เสียหายและฝ่ายที่ถูกกล่าวหา ผมชอบระบบไต่สวนที่มีการหาพยานหลักฐานก่อนแล้วค่อยจับกุม อาจจะเกิดความเสียหายได้ เช่น ถ้ามีความผิดประเภทความผิดฆาตกรต่อเนื่องอย่างนี้ กว่าจะหาพยานหลักฐานได้ก็ทำผิด ไปเรื่อย ๆ แต่ระบบกล่าวหานี่เมื่อถูกกล่าวหาแล้วพนักงานสอบสวนสามารถออกหมายเรียก ออกหมายเรียกไม่มาแล้วก็ออกหมายจับได้ หรือถ้าเป็นความผิดซึ่งหน้าก็จับได้ทันที ทำให้กระบวนการในการสอบสวนสืบสวนนั้นหาพยานหลักฐานในภายหลัง ถ้าพยานหลักฐานไม่เพียงพอก็มีการสร้างพยานหลักฐานขึ้นให้มันเพียงพอนะครับ ระบบนี้ ควรจะมีการปรับปรุงหรือไม่ก็ฝากไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าเราใช้ระบบ การสืบสวนสอบสวนเป็นระบบผสมได้หรือไม่ ก็คือคดีบางคดีนั้นใช้ระบบไต่สวน คดีบางคดี ใช้ระบบสืบสวนสอบสวนนะครับ เพราะว่าโดยปกติกฎหมายของไทยผมดูแล้วก็ใช้ระบบทั้ง ๒ ระบบคละเคล้ากันไปนะครับ
อีกกระบวนการหนึ่งก็คือกระบวนการในชั้นพนักงานอัยการ นี่ก็เช่นเดียวกัน ผมเจอท่านอัยการหลาย ๆ ท่านนะครับ ท่านอัยการหลาย ๆ ท่านก็ดี อัยการหลาย ๆ ท่าน ถูกสอนมาเช่นเดียวกัน ก็คือว่าผลงานของอัยการก็คือว่าความ จำเลยนั้นต้องผิดแล้วก็ต้อง เข้าคุก มีการสอนหรือว่าซ้อมพยานนอกเหนือจากที่มีการสืบสวนสอบสวนมานะครับ ผมเคยถามท่านอัยการว่าท่านมีหน้าที่ในการเอาคนเข้าคุกหรือมีหน้าที่อำนวยความยุติธรรม ให้กับผู้ต้องหาหรือจำเลย ถ้าว่าความแบบนี้นะครับ บางท่านนี่ถามความนี่ถามไม่เป็น ด้วยซ้ำไปนะครับ ใช้ซักถามเป็นถามนำอย่างนี้นะครับ ซึ่งเรื่องเหล่านี้กระบวนการ ในการเรียนการสอนก็ต้องทำใหม่ ถ้าไม่แน่จริง ๆ ก็อย่าส่งไปต่างจังหวัดเลยครับ เพราะว่าให้ ว่าความในฝ่ายวิชาการก็ได้ เช่น บางทีท่านอัยการที่จบจากเมืองนอกมาท่านก็ถามความ ไม่เป็น ส่งไปอยู่ต่างจังหวัดก็ถามนำอย่างเดียวเลยนะครับ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ก็ควรจะปรับปรุง เรื่องระบบการเรียนการสอนอีกนะครับ
อีกกระบวนการหนึ่งก็คือกระบวนการในชั้นพนักงานอัยการ นี่ก็เช่นเดียวกัน ผมเจอท่านอัยการหลาย ๆ ท่านนะครับ ท่านอัยการหลาย ๆ ท่านก็ดี อัยการหลาย ๆ ท่าน ถูกสอนมาเช่นเดียวกัน ก็คือว่าผลงานของอัยการก็คือว่าความ จำเลยนั้นต้องผิดแล้วก็ต้อง เข้าคุก มีการสอนหรือว่าซ้อมพยานนอกเหนือจากที่มีการสืบสวนสอบสวนมานะครับ ผมเคยถามท่านอัยการว่าท่านมีหน้าที่ในการเอาคนเข้าคุกหรือมีหน้าที่อำนวยความยุติธรรม ให้กับผู้ต้องหาหรือจำเลย ถ้าว่าความแบบนี้นะครับ บางท่านนี่ถามความนี่ถามไม่เป็น ด้วยซ้ำไปนะครับ ใช้ซักถามเป็นถามนำอย่างนี้นะครับ ซึ่งเรื่องเหล่านี้กระบวนการ ในการเรียนการสอนก็ต้องทำใหม่ ถ้าไม่แน่จริง ๆ ก็อย่าส่งไปต่างจังหวัดเลยครับ เพราะว่าให้ ว่าความในฝ่ายวิชาการก็ได้ เช่น บางทีท่านอัยการที่จบจากเมืองนอกมาท่านก็ถามความ ไม่เป็น ส่งไปอยู่ต่างจังหวัดก็ถามนำอย่างเดียวเลยนะครับ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ก็ควรจะปรับปรุง เรื่องระบบการเรียนการสอนอีกนะครับ
อีกระบบหนึ่งก็คือที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งนะครับ กระบวนการในการ พิจารณาคดีเลือกตั้งใช้ระบบไต่สวนนะครับ ระบบไต่สวนก็คือว่าทั้ง ๒ ฝ่ายนั้น ส่งพยานหลักฐานให้แก่อีกฝ่ายนะครับ รายงานข้อบังคับของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องกับ คดีเลือกตั้ง ท่านให้ใช้ระบบไต่สวนนะครับ ฝ่ายผู้ที่ถูกกล่าวหาจะเสียเปรียบเนื่องจากว่า มันขัดกันทั้ง ๒ กฎหมาย ทั้ง ๒ หลัก เนื่องจากระบบไต่สวนในชั้นคณะกรรมการการเลือกตั้ง ปิดเป็นความลับ ไม่สามารถจะทราบได้เลยว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาเป็นใคร ผู้กล่าวหานั้นให้การ ว่าอย่างไร ผู้ที่ถูกกล่าวหาพอไปให้การในชั้น กกต. นี่นะครับ ก็ให้การไม่ถูก ว่าประเด็นที่เรากล่าวหานั้นคืออะไร บอกประเด็นสั้น ๆ ว่ามีคนกล่าวหาว่าท่านใช้ตัวแทน ซื้อเสียง พอไปให้การในชั้น กกต. ก็อ้างพยานไปไม่ถูก ไม่ตรงตามประเด็น พอขึ้นไปสู่ กระบวนการพิจารณาในศาลเอาพยานมาดู ฝ่ายผู้ที่ถูกกล่าวหานี่จะเสียเปรียบเนื่องจากว่า ไม่สามารถจะอ้างพยานหลักฐานได้ในชั้น กกต. นะครับ ท่านจะต้องแก้กฎหมายว่า ในชั้นคณะกรรมการการเลือกตั้ง การแจ้งข้อกล่าวหาให้กับผู้ที่ถูกกล่าวหาต้องชัดและ สามารถที่จะนำทนายเข้าไป แล้วก็ทนายสามารถจะดำเนินการได้ ไม่ใช่ให้ทนายไปนั่งฟังเฉย ๆ เหมือนคดีเลือกตั้งในทุกวันนี้นะครับ เพราะฉะนั้นการที่ท่านจะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดย สุจริตและเที่ยงธรรมจะต้องทุกกระบวนการ ไม่ใช่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งเท่านั้น ในระบบการสืบสวนสอบสวน ไต่สวน ซึ่งจะมีศาลเลือกตั้งต่อไปในอนาคต ในความยุติธรรม ในเบื้องต้นต้องชัดแจ้งและให้ทุกฝ่ายสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มความสามารถนะครับ เมื่อนั้นประเทศนี้ก็สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเป็นธรรม สุดท้ายขอขอบคุณ ท่านประธานแล้วก็เพื่อนสมาชิกทุกท่านที่ให้โอกาสอภิปรายในครั้งนี้ ขอขอบพระคุณครับ
อีกระบบหนึ่งก็คือที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งนะครับ กระบวนการในการ พิจารณาคดีเลือกตั้งใช้ระบบไต่สวนนะครับ ระบบไต่สวนก็คือว่าทั้ง ๒ ฝ่ายนั้น ส่งพยานหลักฐานให้แก่อีกฝ่ายนะครับ รายงานข้อบังคับของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องกับ คดีเลือกตั้ง ท่านให้ใช้ระบบไต่สวนนะครับ ฝ่ายผู้ที่ถูกกล่าวหาจะเสียเปรียบเนื่องจากว่า มันขัดกันทั้ง ๒ กฎหมาย ทั้ง ๒ หลัก เนื่องจากระบบไต่สวนในชั้นคณะกรรมการการเลือกตั้ง ปิดเป็นความลับ ไม่สามารถจะทราบได้เลยว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาเป็นใคร ผู้กล่าวหานั้นให้การ ว่าอย่างไร ผู้ที่ถูกกล่าวหาพอไปให้การในชั้น กกต. นี่นะครับ ก็ให้การไม่ถูก ว่าประเด็นที่เรากล่าวหานั้นคืออะไร บอกประเด็นสั้น ๆ ว่ามีคนกล่าวหาว่าท่านใช้ตัวแทน ซื้อเสียง พอไปให้การในชั้น กกต. ก็อ้างพยานไปไม่ถูก ไม่ตรงตามประเด็น พอขึ้นไปสู่ กระบวนการพิจารณาในศาลเอาพยานมาดู ฝ่ายผู้ที่ถูกกล่าวหานี่จะเสียเปรียบเนื่องจากว่า ไม่สามารถจะอ้างพยานหลักฐานได้ในชั้น กกต. นะครับ ท่านจะต้องแก้กฎหมายว่า ในชั้นคณะกรรมการการเลือกตั้ง การแจ้งข้อกล่าวหาให้กับผู้ที่ถูกกล่าวหาต้องชัดและ สามารถที่จะนำทนายเข้าไป แล้วก็ทนายสามารถจะดำเนินการได้ ไม่ใช่ให้ทนายไปนั่งฟังเฉย ๆ เหมือนคดีเลือกตั้งในทุกวันนี้นะครับ เพราะฉะนั้นการที่ท่านจะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดย สุจริตและเที่ยงธรรมจะต้องทุกกระบวนการ ไม่ใช่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งเท่านั้น ในระบบการสืบสวนสอบสวน ไต่สวน ซึ่งจะมีศาลเลือกตั้งต่อไปในอนาคต ในความยุติธรรม ในเบื้องต้นต้องชัดแจ้งและให้ทุกฝ่ายสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มความสามารถนะครับ เมื่อนั้นประเทศนี้ก็สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเป็นธรรม สุดท้ายขอขอบคุณ ท่านประธานแล้วก็เพื่อนสมาชิกทุกท่านที่ให้โอกาสอภิปรายในครั้งนี้ ขอขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ทิวา การกระสัง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๐๙๒ สำหรับการบริการภาครัฐนะครับ ในระบบเท่าที่ผมดูแล้วมีหลักใหญ่ ๆ อยู่ ๔ อย่างด้วยกันนะครับ คือ ๑. โครงสร้าง ๒. ระบบ ๓. บุคลากร ๔. อุปกรณ์ ๕. กฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เท่าที่ผ่านมา ถามว่าเป็นตัวการที่ทำให้การบริการภาครัฐแก่ประชาชนนั้นไม่เป็นไปโดยรวดเร็วหรือไม่ อาจมีส่วนนะครับ สำหรับหลักการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีหรือที่เรียกกันว่า กูด กัฟเวิร์นเนินซ์ (Good governance) ผมได้ยินมานานแล้วนะครับ แต่ก็ไม่ประสบ ความสำเร็จ ทำอย่างไรในการปฏิรูปครั้งนี้ ทำให้ประชาชนของประเทศนี้ได้รับการบริหาร หรือได้รับการบริการจากรัฐอย่างเพียงพอและทั่วถึงนะครับ สิ่งที่อยากให้มีการปฏิรูปผมจะ เสนอ ๑. ก็คือตามที่ท่านสมาชิกบางท่านบอกก็คือตรวจสอบหน่วยงานรัฐทุกหน่วยงานว่า งานกับคนนั้นเท่าเทียมกันหรือไม่ หรือบางหน่วยงานคนเยอะงานน้อย บางหน่วยงาน งานเยอะคนน้อย ก็เกลี่ยให้มันเท่ากันนะครับ สิ่งที่จะต้องทำหรือลดการติดต่อระหว่าง ประชาชนกับรัฐดีที่สุดก็คือจัดตั้งเมนเฟรม (Mainframe) ขนาดใหญ่หรือบิ๊ก เดตา (Big data) ก็คือจัดระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ให้อยู่ในความรับผิดชอบของ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ได้ จากนั้นก็ออกกฎระเบียบต่าง ๆ ในการติดต่อ ราชการของแต่ละกระทรวง ทบวง กรม ให้มันชัดเจน ชัดเจนในการติดต่อประชาชน ต่อหน่วยงานแต่ละรัฐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ จบ ตัดเรื่องการวินิจฉัยสั่งการของแต่ละหน่วยงาน เช่น ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ การยื่นคำร้องข้าราชการระดับ ๓ ระดับ ๒ สามารถตัดสินใจได้ไม่ต้อง บอกว่าต้องผู้บัญชาการระดับสูงตัดสินใจได้อย่างเดียว เรื่องนั้นก่อให้เกิดการทุจริตได้ หลังจากออกกฎระเบียบต่าง ๆ ชัดเจนแล้วก็ให้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เชื่อมเครือข่ายเหล่านี้เข้าไปยังท้องถิ่น เชื่อเถอะท่านประธานครับทุกวันนี้แทบจะทุก หลังคาเรือนของประชาชนคนไทยมีคอมพิวเตอร์อยู่หมด ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์ก็มี โทรศัพท์มือถือ ท่านเทียบดูนะครับว่าทำไมเราถึงเข้าถึงเฟซบุ๊ก (Facebook) ได้ เข้าถึงไลน์ (Line) ได้ ทำไมเราซื้อตั๋วเครื่องบินทางโทรศัพท์มือถือได้ เช็กอิน (Checkin) ทางโทรศัพท์มือถือได้ ถ้าเราเชื่อมข้อมูลขนาดใหญ่เข้าไปในคอมพิวเตอร์แม่ข่ายแล้ว ให้ระเบียบกระทรวง ทบวง กรม เข้าไปอยู่ในทุกท้องที่ เช่น ผมไปติดต่อสำนักงานที่ดิน ผมก็เข้าไปในกรมที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ก็จะออกมาเลยนะครับ ให้ประชาชนผู้ไปติดต่อนั้น ดูระเบียบ หลังจากดูระเบียบแล้วให้เขากรอกข้อความเองเข้าไปในคอมพิวเตอร์ จากนั้นข้อความเหล่านี้มันก็ส่งเข้าไปในสำนักงานที่ดินใช่ไหมครับ สำนักงานที่ดินจะรู้เลยว่า ในแต่ละวันมีคนที่จะมาติดต่อที่สำนักงานตัวเองกี่คน แล้วคนเหล่านั้นกรอกข้อมูลมาแล้ว พอเราเข้าไปในสำนักงานที่ดิน สำนักงานที่ดินก็จะกดชื่อออกมาว่าคุณชื่อนี้ใช่ไหม ข้อมูลก็จะ ออกมาทันทีเลย เราเชื่อมอย่างนี้ได้นี่เชื่อเถอะการติดต่อระหว่างรัฐกับประชาชนจะหมดไป นะครับ ก็จะไม่มีเลยนะครับ ถ้าเรามีกฎระเบียบที่แน่นอน ผมยกตัวอย่างนะครับ หลังจาก เราทำระบบนี้แล้วก็เอาเครื่องมือที่รัฐมี อย่างเช่น ในหมู่บ้านหนึ่งเอาคอมพิวเตอร์ ๑ ตัวก็พอ ให้ไปอยู่ที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน ท่านเชื่อไหมครับท่านประธาน ผู้ใหญ่บ้านเดี๋ยวนี้ไม่มีหรอกครับ จบ ป. ๖ อย่างน้อย ม. ๓ ปริญญาตรี กำนันก็ปริญญาโท ปริญญาเอกกันเต็มไปหมดในประเทศไทยนี้นะครับ และเรา ติดต่อราชการไม่จำเป็นต้องเดินไปที่หน่วยราชการ โทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวก็สามารถ ติดต่อราชการได้นะครับ ให้มันเชื่อมต่อ ลงทุนไม่กี่สตางค์นะครับ เรามีเครื่องมือเต็มไป หมดแล้ว ประชาชนมีเครื่องมือของตัวเองสามารถเชื่อมต่อมาทางราชการได้ โดยเฉพาะ ข้อมูลสาธารณะนะครับ ซึ่งผมเชื่อว่าระเบียบ กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ของกระทรวง ทบวง กรม ก็เป็นข้อมูลสาธารณะไม่เห็นจะต้องปิดอะไรนะครับ ท่านจะตัด ท่านจะลดปัญหา ความเหลื่อมล้ำและลดการทุจริตได้ด้วยครับท่านประธานครับ ผมเสนอลักษณะนี้นะครับ ลงทุนครั้งเดียวจบ เรามีเครื่องมืออยู่เยอะแยะ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. นายก เก็บไว้ ทำอะไรละครับ คอมพิวเตอร์บางทีทิ้งให้มันเสียไปเฉย ๆ เลยนะครับ เอามาใช้ในเรื่องตัวนี้ เชื่อเถอะในอนาคตนะครับประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีการบริการประชาชนที่ดีที่สุด ในโลก ขอขอบพระคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ทิวา การกระสัง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๐๙๒ สำหรับการบริการภาครัฐนะครับ ในระบบเท่าที่ผมดูแล้วมีหลักใหญ่ ๆ อยู่ ๔ อย่างด้วยกันนะครับ คือ ๑. โครงสร้าง ๒. ระบบ ๓. บุคลากร ๔. อุปกรณ์ ๕. กฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เท่าที่ผ่านมา ถามว่าเป็นตัวการที่ทำให้การบริการภาครัฐแก่ประชาชนนั้นไม่เป็นไปโดยรวดเร็วหรือไม่ อาจมีส่วนนะครับ สำหรับหลักการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีหรือที่เรียกกันว่า กูด กัฟเวิร์นเนินซ์ (Good governance) ผมได้ยินมานานแล้วนะครับ แต่ก็ไม่ประสบ ความสำเร็จ ทำอย่างไรในการปฏิรูปครั้งนี้ ทำให้ประชาชนของประเทศนี้ได้รับการบริหาร หรือได้รับการบริการจากรัฐอย่างเพียงพอและทั่วถึงนะครับ สิ่งที่อยากให้มีการปฏิรูปผมจะ เสนอ ๑. ก็คือตามที่ท่านสมาชิกบางท่านบอกก็คือตรวจสอบหน่วยงานรัฐทุกหน่วยงานว่า งานกับคนนั้นเท่าเทียมกันหรือไม่ หรือบางหน่วยงานคนเยอะงานน้อย บางหน่วยงาน งานเยอะคนน้อย ก็เกลี่ยให้มันเท่ากันนะครับ สิ่งที่จะต้องทำหรือลดการติดต่อระหว่าง ประชาชนกับรัฐดีที่สุดก็คือจัดตั้งเมนเฟรม (Mainframe) ขนาดใหญ่หรือบิ๊ก เดตา (Big data) ก็คือจัดระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ให้อยู่ในความรับผิดชอบของ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ได้ จากนั้นก็ออกกฎระเบียบต่าง ๆ ในการติดต่อ ราชการของแต่ละกระทรวง ทบวง กรม ให้มันชัดเจน ชัดเจนในการติดต่อประชาชน ต่อหน่วยงานแต่ละรัฐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ จบ ตัดเรื่องการวินิจฉัยสั่งการของแต่ละหน่วยงาน เช่น ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ การยื่นคำร้องข้าราชการระดับ ๓ ระดับ ๒ สามารถตัดสินใจได้ไม่ต้อง บอกว่าต้องผู้บัญชาการระดับสูงตัดสินใจได้อย่างเดียว เรื่องนั้นก่อให้เกิดการทุจริตได้ หลังจากออกกฎระเบียบต่าง ๆ ชัดเจนแล้วก็ให้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เชื่อมเครือข่ายเหล่านี้เข้าไปยังท้องถิ่น เชื่อเถอะท่านประธานครับทุกวันนี้แทบจะทุก หลังคาเรือนของประชาชนคนไทยมีคอมพิวเตอร์อยู่หมด ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์ก็มี โทรศัพท์มือถือ ท่านเทียบดูนะครับว่าทำไมเราถึงเข้าถึงเฟซบุ๊ก (Facebook) ได้ เข้าถึงไลน์ (Line) ได้ ทำไมเราซื้อตั๋วเครื่องบินทางโทรศัพท์มือถือได้ เช็กอิน (Checkin) ทางโทรศัพท์มือถือได้ ถ้าเราเชื่อมข้อมูลขนาดใหญ่เข้าไปในคอมพิวเตอร์แม่ข่ายแล้ว ให้ระเบียบกระทรวง ทบวง กรม เข้าไปอยู่ในทุกท้องที่ เช่น ผมไปติดต่อสำนักงานที่ดิน ผมก็เข้าไปในกรมที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ก็จะออกมาเลยนะครับ ให้ประชาชนผู้ไปติดต่อนั้น ดูระเบียบ หลังจากดูระเบียบแล้วให้เขากรอกข้อความเองเข้าไปในคอมพิวเตอร์ จากนั้นข้อความเหล่านี้มันก็ส่งเข้าไปในสำนักงานที่ดินใช่ไหมครับ สำนักงานที่ดินจะรู้เลยว่า ในแต่ละวันมีคนที่จะมาติดต่อที่สำนักงานตัวเองกี่คน แล้วคนเหล่านั้นกรอกข้อมูลมาแล้ว พอเราเข้าไปในสำนักงานที่ดิน สำนักงานที่ดินก็จะกดชื่อออกมาว่าคุณชื่อนี้ใช่ไหม ข้อมูลก็จะ ออกมาทันทีเลย เราเชื่อมอย่างนี้ได้นี่เชื่อเถอะการติดต่อระหว่างรัฐกับประชาชนจะหมดไป นะครับ ก็จะไม่มีเลยนะครับ ถ้าเรามีกฎระเบียบที่แน่นอน ผมยกตัวอย่างนะครับ หลังจาก เราทำระบบนี้แล้วก็เอาเครื่องมือที่รัฐมี อย่างเช่น ในหมู่บ้านหนึ่งเอาคอมพิวเตอร์ ๑ ตัวก็พอ ให้ไปอยู่ที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน ท่านเชื่อไหมครับท่านประธาน ผู้ใหญ่บ้านเดี๋ยวนี้ไม่มีหรอกครับ จบ ป. ๖ อย่างน้อย ม. ๓ ปริญญาตรี กำนันก็ปริญญาโท ปริญญาเอกกันเต็มไปหมดในประเทศไทยนี้นะครับ และเรา ติดต่อราชการไม่จำเป็นต้องเดินไปที่หน่วยราชการ โทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวก็สามารถ ติดต่อราชการได้นะครับ ให้มันเชื่อมต่อ ลงทุนไม่กี่สตางค์นะครับ เรามีเครื่องมือเต็มไป หมดแล้ว ประชาชนมีเครื่องมือของตัวเองสามารถเชื่อมต่อมาทางราชการได้ โดยเฉพาะ ข้อมูลสาธารณะนะครับ ซึ่งผมเชื่อว่าระเบียบ กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ของกระทรวง ทบวง กรม ก็เป็นข้อมูลสาธารณะไม่เห็นจะต้องปิดอะไรนะครับ ท่านจะตัด ท่านจะลดปัญหา ความเหลื่อมล้ำและลดการทุจริตได้ด้วยครับท่านประธานครับ ผมเสนอลักษณะนี้นะครับ ลงทุนครั้งเดียวจบ เรามีเครื่องมืออยู่เยอะแยะ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. นายก เก็บไว้ ทำอะไรละครับ คอมพิวเตอร์บางทีทิ้งให้มันเสียไปเฉย ๆ เลยนะครับ เอามาใช้ในเรื่องตัวนี้ เชื่อเถอะในอนาคตนะครับประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีการบริการประชาชนที่ดีที่สุด ในโลก ขอขอบพระคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพนะครับ คณะกรรมาธิการที่ยกร่างข้อบังคับนะครับ ผม ทิวา การกระสัง จากบุรีรัมย์นะครับ ถึงแม้ว่า สภาปฏิรูปมีสมาชิกบางท่านเห็นว่าเป็นสภาทางวิชาการ ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการ ออกฎหมายก็ตาม ขอความกรุณาท่านไปดูในรัฐธรรมนูญชั่วคราวนะครับ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๙ นะครับ ซึ่งทั้ง ๓ มาตรานี้นะครับ ท่านไปดู มาตรา ๓๙ ผมจะไม่อ่านนะครับ ให้ท่านไปดูเองว่าลักษณะนะครับ ผมสรุปว่าเมื่อสภาปฏิรูป เสนอแนะแก่คณะกรรมาธิการยกร่างแล้ว คณะกรรมาธิการยกร่างจะต้องร่างให้แล้วเสร็จ ภายใน ๓๑๐ วันนี่ครับ พอเสร็จแล้วต้องยื่นไป สนช. สนช. ส่งกลับมา สภาปฏิรูปมีอำนาจ ในการแก้ไขแล้วก็ส่งกลับไปใหม่ ถ้าหากไม่เห็นชอบสภาปฏิรูปก็เป็นอันหมดวาระ จะต้องตั้งใหม่นะครับ ท่านไปดูมาตรา ๓๙ ถ้าหากเห็นชอบนะครับ มาตรา ๓๙ นี่เป็นหลักสำคัญเลยนะครับ เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อประโยชน์ในการจัดให้มี ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่จำเป็น ในการนี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติ อาจแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่จำเป็นก็ได้ เมื่อมีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญใหม่แล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่าง ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้นั้น ท่านดูมาตรา ๓๙ นะครับ มาตรา ๓๙ เป็นการบัญญัติให้สภาปฏิรูปมีอำนาจลักษณะของการออกกฎหมายเลยนะครับ เพราะฉะนั้น ข้อบังคับผมได้อ่านหมดแล้ว ของท่านคณะกรรมาธิการ โดยท่าน พลเอก เลิศรัตน์ เป็นประธานนี่นะครับ ผมถือว่าร่างนี้ครอบคลุมและสมบูรณ์ที่สุด ถึงแม้เป็นสภาทางวิชาการ แต่มีลักษณะของการเสนอกฎหมาย แนะนำกฎหมายนะครับ และมาตรา ๓๙ นี่ถือว่าเป็น การออกกฎหมายที่จำเป็น เมื่อมีรัฐธรรมนูญแล้วต้องมีกฎหมายลูก ซึ่งตรงนี้เป็นหลักสำคัญ ถ้าเราไม่มีข้อบังคับการประชุมหรือไม่กำหนดในเรื่องเกี่ยวกับข้อบังคับ เราก็จะทำ ไม่ได้เลยนะครับ เพราะว่าข้อบังคับนี้ต้องออกโดยรัฐธรรมนูญ ผมมีความเห็นแค่นี้ เพราะฉะนั้นข้อบังคับนี้ขอเพื่อนท่านสมาชิกทั้งหลายควรจะเห็นชอบนะครับ ขอขอบพระคุณครับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ทิวา การกระสัง นะครับ คืออย่างนี้นะครับ ผมขอทบทวนในข้อ ๑๘ นะครับ ในข้อ ๑๘ เมื่อเทียบกับร่างข้อบังคับ การประชุม สนช. และจะมีข้อ ๓ ใช้คำว่า กระทู้ถาม ผมเข้าใจอยู่ว่าสภาเรานี้อาจจะ ไม่มีการกระทู้ถามในสภานะครับ ผมกลัวว่าจะมีปัญหาในช่วงที่กรรมาธิการยกร่าง ซึ่งจะต้องมาชี้แจงในแต่ละข้อนะครับ ในแต่ละข้อนี่ทางสมาชิกเราสามารถที่จะตั้งกระทู้ถาม ตรงนั้นได้หรือเปล่าครับ อันนี้ขอเหตุผลในข้อ ๑๘ ขอย้อนทบทวนนิดหนึ่งนะครับ ขอกราบขอบพระคุณครับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ทิวา การกระสัง จากบุรีรัมย์นะครับ ท่านกรรมาธิการยกร่างแล้วก็ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทุกท่านนะครับ การลงมติโดยเสียงส่วนใหญ่นี้นะครับ ถ้าเป็นเรื่องปกติธรรมดานี่นะครับ อาจจะไม่ต้อง จำเป็น แต่ถ้าท่านไปดูในมาตรา ๒๗ มาตรา ๓๑ (๒) มาตรา ๓๙ ท่านดูดี ๆ นะครับ มาตรา ๓๑ ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ในหน้าที่ ๑๑ บอกว่า ในการดำเนินการตาม (๑) หากว่ากรณีใดจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ขึ้นใช้บังคับ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อสภานิติบัญญัติ แห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป
ในกรณีเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญให้จัดทำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
รัฐธรรมนูญชั่วคราวให้สภานี้ร่างกฎหมายนะครับ กฎหมายใช้บังคับกับคน ทั้งประเทศ เป็นกฎหมายที่จำเป็นนะครับ ก็คือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน การอภิปรายใด ๆ ต้องมีคนเห็นและสนับสนุนนะครับ ถ้าหากไม่มี สภานี้ไม่ใช้เสียงส่วนใหญ่ อภิปรายไปจะใช้บังคับได้อย่างไร ท่านไปดูมาตรา ๓๙ ด้วยนะครับ มาตรา ๓๙ เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อประโยชน์ในการ จัดให้มีร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่จำเป็น เมื่อมีกฎหมายนี้นะครับ การอภิปราย การลงมติก็ต้องจำเป็นเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการที่ คณะกรรมาธิการยกร่างให้มีการอภิปรายและลงมติ ผมว่าชอบแล้วนะครับ ขอขอบพระคุณครับ
ท่านครับ นิดเดียวครับท่านครับ
คืออย่างนี้นะครับ ผมกราบเรียนท่านประธานแล้วก็ ขออภัยท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ที่บอกว่าอ่านจากมาตรา ๓๙ นะครับ ขอโทษ ผมขอชี้แจง สักนิดหนึ่งนะครับ ท่านดูมาตรา ๓๑ นะครับท่านอาจารย์ ผมก็เคารพท่าน ท่านดูมาตรา ๓๑ เขียนว่า สภาปฏิรูปมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) นะครับ อันนี้ผมไม่อ่าน แต่ท่านมาดู ในหน้าที่ ๑๑ ในการดำเนินการตาม (๑) หากกรณีเป็นการจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทำร่าง ไม่ได้ให้กรรมาธิการนะครับ เมื่อร่างเสร็จแล้วถ้าเป็นร่าง เกี่ยวกับการเงินหรือประกอบรัฐธรรมนูญให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีนะครับ ให้สภานี้ เป็นคนทำร่างนะครับ แค่นี้ละครับท่านประธาน ขอขอบพระคุณครับ เพราะฉะนั้น ผมสนับสนุนแนวคิดของท่านอาจารย์เสรีนะครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ทิวา การกระสัง จากจังหวัดบุรีรัมย์ครับ กระผมขอกราบเรียนไปยังคณะกรรมาธิการยกร่าง ทุกท่านนะครับ ผมติดใจนะครับ ติดใจในย่อหน้าสุดท้ายที่ใช้คำว่า หากคณะกรรมาธิการ คณะใดเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ ให้คณะกรรมาธิการคณะนั้นจัดทำร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าวเสนอต่อสภาเพื่อพิจารณาต่อไป ผมขอเสนอความเห็นว่าร่างข้อบังคับดังกล่าวนี้ จะขัดต่อมาตรา ๓๑ กับมาตรา ๓๙ รัฐธรรมนูญชั่วคราวหรือเปล่าครับ ผมเรียนไปยัง คณะกรรมาธิการดู ผมขออนุญาตอ่านนะครับ มาตรา ๓๑ บัญญัติว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อปฏิรูปด้านต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๗ ก็ ๑๑ ข้อนะครับ เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบ แห่งชาติและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง บัญญัติต่อไปในหน้าที่ ๑๑ นะครับ ย่อหน้านี้บอกว่า ในการดำเนินการตาม (๑) หากว่ากรณีใดจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นใช้บังคับ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป ในกรณีเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้จัดทำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการต่อไป มาตรา ๓๑ นี้จะโยงไปถึงมาตรา ๓๙ นะครับ มาตรา ๓๙ บอกว่า เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีร่างพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่จำเป็น ในการนี้ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติอาจแต่งตั้ง คณะกรรมาธิการขึ้นเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่จำเป็นก็ได้ แต่เมื่อมีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้นะครับ ท่านมาดู มาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง ใช้คำว่า ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในรัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่าคณะกรรมาธิการคณะใดเห็นว่า จำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ ให้คณะกรรมาธิการนั้นจัดทำร่าง ไม่ได้ให้คณะกรรมาธิการจัดทำร่างเองนะครับ ให้สภาเป็นคน ดำเนินการ อันนี้ผมตั้งข้อสังเกตไว้ข้อ ๑ นะครับ แล้วกฎหมายที่สภาจะทำได้มีอยู่แค่ ๓ ฉบับ ๑. พระราชบัญญัติที่จำเป็นอย่างยิ่ง ๒. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ๓. พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน การที่ข้อกำหนดใช้คำว่า หรือพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ จะมองให้เห็นว่าสภานี้ออกกฎหมายอะไรก็ได้นะครับ ควรจะแก้ใช้คำว่า พระราชบัญญัติอื่น ที่จำเป็น อันนี้สภาต้องเป็นคนพิจารณาเองว่าร่างที่ทำนั้นจำเป็นหรือไม่ เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๑ (๑) หรือไม่ อันนี้อันหนึ่งนะครับ พระราชบัญญัติที่สภานี้ต้องร่าง และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีก็คือร่างเกี่ยวกับการเงินกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ๒ อย่าง เท่านั้นที่เสนอคณะรัฐมนตรีนะครับ ถ้าเป็นกฎหมายอื่นที่จำเป็นไม่ต้องเสนอถ้าดูตามนี้นะครับ มาตรา ๓๙ บอกว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติอาจตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาร่างกฎหมาย ที่จำเป็นก็ได้ ไม่ได้บอกว่าคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งนั้นมีหน้าที่ในการจัดทำร่างนะครับ พิจารณาเท่านั้น ถ้ามาดูกฎหมายทุก ๆ ฉบับที่เกี่ยวเนื่องกันก็จะเห็นว่าผู้ที่ร่างกฎหมาย สภาต้องเป็นคนดำเนินการ แต่วิธีการเป็นอย่างไรนั้นผมว่าน่าจะผ่านจากสภานี้อาจจะตั้งเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายนั้น ๆ เป็นการเฉพาะก็ได้ แต่คณะกรรมาธิการทั้ง ๑๑ นี่นะครับ คณะกรรมาธิการท่านใดอยากจะออกกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญก็เสนอมายังสภา สภาก็จะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นคณะ ๆ เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายนั้นนะครับ ไม่ใช่จัดทำร่างเอง ส่วนใครจะเป็นคนจัดทำร่างนั้น สภานี้ก็เป็นคนพิจารณาต่อไป ผมเรียนแค่เสนอความเห็นไว้นะครับ มันจะไปโยงเข้าถึง ผมจะอภิปรายต่อไปว่า คงจะไม่เสียเวลาท่าน ขอความกรุณาท่านอาจารย์เสรีนะครับ หมวด ๕ เกี่ยวกับการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ ผมก็อยากจะให้บอกว่าเป็นพระราชบัญญัติ อะไรบ้างที่เราจะทำได้นะครับ ไม่อย่างนั้นจะเป็นพระราชบัญญัติทั่วไป พระราชบัญญัติ ที่จำเป็น พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงิน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เพราะว่า ชั้นของกฎหมายก็จะพิจารณาเป็นขั้น ๆ ไปใช่ไหมครับ จะมีรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ
ใช่ครับ มันโยงเข้าไปผมก็เลยอยากจะพูดว่า มันจะเกี่ยวโยงกันไปตรงนี้นะครับ เรียนเสนอไว้เท่านี้นะครับ ท่านอาจารย์เสรีช่วยกรุณา อธิบายตรงนี้สักนิดหนึ่งนะครับ ขอขอบพระคุณครับ
มาตรา ๓๑ (๑) ครับ แล้วก็มาหน้าที่ ๑๑ ครับ เป็นย่อหน้าที่ ๒ (๑) ครับผม
ท่านอาจารย์นิดหนึ่งนะครับ ที่ผมจะเสนอความเห็น นิดหนึ่งก็คือพระราชบัญญัติ ผมว่าถ้าใช้คำว่า พระราชบัญญัติอื่นที่จำเป็นตามรัฐธรรมนูญ เลยได้ไหมครับ เพราะว่าไม่อย่างนั้นจะเสนอพระราชบัญญัติอะไรก็ได้อย่างนี้นะครับ ถ้าเกิดว่าจะเพิ่มคำว่า พระราชบัญญัติอื่นที่จำเป็น ซึ่งรัฐธรรมนูญเขียนไว้ในมาตรา ๓๑ ก็เขียน มาตรา ๓๙ ก็เขียนนะครับ ซึ่งในข้อบังคับใช้คำว่า พระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ ถ้าเราจะใช้คำว่า หรือพระราชบัญญัติอื่นที่จำเป็น ที่จะต้องออกนะครับ เพราะว่ากฎหมาย ให้เราต้องจำเป็นเท่านั้นนะครับ ไม่ใช้คำว่า พระราชบัญญัติ ซึ่งจะหมายความว่า เป็นพระราชบัญญัติทั่วไปครับท่าน ท่านคณะกรรมาธิการนะครับ อันนี้ขอเรียนเสนอไว้เฉย ๆ ท่านไปพิจารณาก็แล้วกันนะครับ ขอขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ทิวา การกระสัง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดบุรีรัมย์นะครับ ผมขอตั้งข้อสังเกต สักนิดหนึ่งนะครับ เนื่องจากว่าเราไปแก้ไขในข้อ ๘๐ ย่อหน้าที่ ๓ เรื่องเกี่ยวกับชื่อของ คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็น คณะกรรมการ เฉย ๆ นะครับ ทีนี้มาดูในข้อ ๑๐๒ ใช้คำว่า สภาอาจให้คณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก็ได้นะครับ ซึ่งไม่มีข้อความเหมือนข้อ ๘๐ ผมคิดว่าคณะกรรมการสามัญและวิสามัญเป็นผู้พิจารณาในนี้ คิดว่าน่าจะเป็นคณะกรรมการตามข้อ ๘๐ ข้อ ๘๑ ข้อ ๘๓ และข้อ ๘๔ ผมอยากจะเรียนว่า ถ้าเราเพิ่มคำว่า คณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก็ได้ น่าจะครอบคลุมนะครับ ขอขอบพระคุณครับ
ขอโทษนะครับ ก็คือครั้งแรกข้อ ๘๐ ใช้คำว่า สภาวิสามัญ ใช่ไหมครับ พอไปตัดคำว่า วิสามัญ ออก มันก็จะกลายเป็นสภากรรมาธิการ ไม่ติดใจนะครับ ถ้าอาจารย์ชี้แจงอย่างนั้นนะครับ ขอขอบคุณครับ คือข้อ ๘๐ ท่านดู นิดหนึ่ง ใช้คำว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปคณะนั้นคณะนี้นะครับ พอข้อ ๑๐๒ เราใช้ วิสามัญ เหมือนเดิมพอไปตัดอันแรกออก แต่ถ้าเป็นไปตามนั้นที่อาจารย์ชี้แจงก็ไม่เป็นไรครับ ผมไม่ติดใจครับ
ผมไม่ติดใจครับ
ไม่เห็นชอบครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ เพื่อนสมาชิกทุกท่าน ผม ทิวา การกระสัง สมาชิกเลขที่ ๐๙๒ ครับ การอภิปรายที่เมื่อวานนี้กับการอภิปราย ในวันนี้ที่เกี่ยวกับเรื่องการทุจริตนั้นเป็นการอภิปรายทั่วไปตามมาตรา ๒๗ ใช่ไหมครับ ท่านประธาน ตามรัฐธรรมนูญนี้ไม่กำหนดเวลานะครับ เพราะฉะนั้นการอภิปรายเหล่านี้ เป็นเรื่องสำคัญนะครับ เป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปในครั้งนี้ เรื่องหลัก ๆ ก็คือ ๑. ทำอย่างไรให้การเลือกตั้งนั้นเป็นธรรมและสุจริต ๒. ทำอย่างไรจะให้มีการลด หรือขจัดการทุจริตในชาติ ๓. ทำอย่างไรจะให้ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เราควรจะ เปิดโอกาสให้สมาชิกในสภานี้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เพราะว่าความเห็นของสภานี้ นำเข้าสู่ประเด็นร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูกนะครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ เพื่อนสมาชิกทุกท่าน ผม ทิวา การกระสัง สมาชิกเลขที่ ๐๙๒ ครับ การอภิปรายที่เมื่อวานนี้กับการอภิปราย ในวันนี้ที่เกี่ยวกับเรื่องการทุจริตนั้นเป็นการอภิปรายทั่วไปตามมาตรา ๒๗ ใช่ไหมครับ ท่านประธาน ตามรัฐธรรมนูญนี้ไม่กำหนดเวลานะครับ เพราะฉะนั้นการอภิปรายเหล่านี้ เป็นเรื่องสำคัญนะครับ เป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปในครั้งนี้ เรื่องหลัก ๆ ก็คือ ๑. ทำอย่างไรให้การเลือกตั้งนั้นเป็นธรรมและสุจริต ๒. ทำอย่างไรจะให้มีการลด หรือขจัดการทุจริตในชาติ ๓. ทำอย่างไรจะให้ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เราควรจะ เปิดโอกาสให้สมาชิกในสภานี้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เพราะว่าความเห็นของสภานี้ นำเข้าสู่ประเด็นร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูกนะครับ
ผมขอ ๒๐ นาทีอย่างน้อย
ผมขอ ๒๐ นาทีอย่างน้อย