ข้อมูลการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

ปี 2558

ปี 2558

ครั้งที่ 8/2558 วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 11.00 - 13.58 น.

ครั้งที่ 8/2558 วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09.30 - 15.23 น.

เอกสารต้นฉบับ: บันทึกการประชุมบันทึกการออกเสียงและลงคะแนนรายงานการประชุม

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ ก่อนจะเริ่มประชุมตามระเบียบวาระมีท่านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ยื่นขอปรึกษาหารือสภาแห่งนี้ก่อนที่จะเข้าระเบียบวาระการประชุมไว้ ๘ ท่านนะครับ ท่านแรกผมขอเรียนเชิญท่านสมาชิกโกวิทย์ ทรงคุณ ครับ

นายโกวิทย์ ทรงคุณ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ กระผม นายโกวิทย์ ทรงคุณ สปช. ๐๑๘ กราบเรียนท่านปรึกษาหารือที่ไปร่วมเวทีกับ ท่านดอกเตอร์ถวิลวดี เวทีหาทางออกสานพลังประชาชนเพื่อปฏิรูปประเทศไทย ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญร่วมกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า ณ ห้องประชุมโรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อเสนอแนะระหว่างสภาปฏิรูปแห่งชาติและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน คณะอนุกรรมาธิการ บันทึกเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญและจัดทำจดหมายเหตุยกร่างรัฐธรรมนูญ เจ้าหน้าที่จาก สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สถาบันพระปกเกล้า ตลอดจนประชาชนที่ได้รับ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีทางสถิติโดยมุ่งหวังให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วม ในร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ กระผมได้ร่วมงานวันที่ไปร่วมกับดอกเตอร์ถวิลวดี มีกงสุลของ สถานทูตญี่ปุ่นมาร่วมรับฟังด้วย แล้วก็ได้รับจดหมายจากชนเผ่าทั้งหมด ๒๐๐ กว่าคน เวทีนี้เป็นเวทีที่ดีที่สุด ขอสนับสนุนครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกท่านต่อไปคือคุณณรงค์ พุทธิชีวิน ครับ ท่านต่อไปคือคุณชาลี เจริญสุข ครับ คุณสืบพงศ์ ธรรมชาติ ครับ

นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม สืบพงศ์ ธรรมชาติ สปช. นครศรีธรรมราช ๒๑๖

นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ก็คือเรื่องกรรมาธิการวิสามัญจดหมายเหตุและเจตนารมณ์ ขณะนี้เรามีคณะกรรมาธิการชุดนี้ ถ้าหากว่ามีเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิรูป ไม่ว่าเอกสาร หรือเรื่องของเสียงหรืออะไรก็แล้วแต่ที่เป็นข้อมูลก็ขอให้มอบให้กับคณะกรรมาธิการชุดนี้ ซึ่งอยู่ใกล้กับห้อง สสส. ข้างล่างนะครับ มีห้อง ๆ หนึ่ง

นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ คือเรื่องระบบเศรษฐกิจยางแห่งชาติซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ผมเป็นคน ภาคใต้ซึ่งมีการทำยางมากทีเดียว ผมกลับไปบ้านก็มีผู้พูดเรื่องราคายางกันค่อนข้างมาก ผมคิดว่าเรื่องระบบเศรษฐกิจแห่งชาติเรื่องยางเป็นเรื่องที่ต้องคิดและต้องทำเพื่อให้เกิด ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนที่ว่านะครับ ทราบว่าคุณอุทัย สอนหลักทรัพย์ ได้ทำเรื่องนี้ เอาไว้ ถ้าอย่างไรก็น่าจะเอาเรื่องเหล่านี้มาพิจารณากันและเสนอต่อไป เพื่อให้เรื่องของยางซึ่งเป็น เศรษฐกิจสำคัญที่หล่อเลี้ยงประเทศไทยมายาวนานนั้นได้มีการพัฒนาเพื่อให้ประเทศไทยเรา ยั่งยืนมั่งคั่งต่อไปให้จงได้ และปัจจุบันนี้ยางมีปลูกทั้งเหนือ อีสาน และใต้ด้วยแล้วนะครับ ถ้าหากว่าเราไม่แก้ปัญหาให้ยั่งยืนก็จะเกิดความมั่งคั่งแห่งชาติไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องรู้คุณ ของยางว่ายางหล่อเลี้ยงประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องนี้ต้องรีบทำ ๓๐ บาท ๔๐ บาทหรือ ๕๐ บาท ผมว่าถ้าปรับได้แก้ได้ก็ต้องรีบทำครับ เมื่อก่อนนี้ราคายางขึ้นสูงไปถึงเกือบ ๒๐๐ บาทนะครับ อย่างไรก็ตามเรื่องของราคายาง ที่ต่ำลงเป็นเพราะเรื่องของโลก เพราะปลูกกันมาก แต่มีทางแก้ ถนนที่ทำด้วยยางที่ว่านั้น มีบ้างแล้ว ถ้าหากไปใช้ได้ก็ควรจะทำ พื้นที่นครศรีธรรมราชมีอยู่ประมาณ ๑๐ กว่ากิโลเมตร ที่ทำด้วยยางแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่เราสามารถคิดได้ แปลได้ ประยุกต์ใช้ยางให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด เพราะถ้าหากเราไม่ไปช่วย พี่น้องชาวสวนยาง อีกหน่อยชาวสวนยางไม่มีพลัง ไม่มีแรงที่จะทำ ประเทศไทยเราก็จะ ลำบากครับ ขอบคุณมากท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ครับ คุณภัทรียาครับ

นางภัทรียา สุมะโน ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉัน ภัทรียา สุมะโน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติค่ะ ขอใช้เวลานี้หารือท่านประธานเรื่องการให้บริการของ ศูนย์ประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูปนะคะ ซึ่งศูนย์นี้ทางกรรมาธิการวิสามัญประชาสัมพันธ์ เพื่อการปฏิรูปซึ่งดิฉันเป็นโฆษกคณะกรรมาธิการอยู่นี่นะคะได้ริเริ่มจัดขึ้น เพื่อให้บริการด้าน การประชาสัมพันธ์และข้อมูลข่าวสารแก่สมาชิกของเรานะคะ สมาชิก สปช. แต่ว่าสมาชิก ยังไม่ค่อยรู้จักศูนย์นี้เลยนะคะ ก็เลยจะขออนุญาตตรงนี้ว่า อยากจะแนะนำว่าศูนย์นี้นะคะ อยู่ชั้นล่างของอาคารแห่งนี้ด้านที่จะเดินออกไปอาคาร ๓ จะอยู่ซ้ายมือนะคะ ซึ่งเมื่อก่อน มีป้ายว่าห้องน้ำนั่นแหละค่ะ เอาห้องน้ำออก แล้วติดป้ายศูนย์ประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป สีเขียวไว้ ซึ่งตรงนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากท่านเลขาธิการสำนักงานสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาตินี่ได้ให้ความอนุเคราะห์ทุกอย่างเลย ทั้งสถานที่ ทั้งการทำความสะอาด จัดอุปกรณ์สำนักงาน แล้วก็ยังจัดเจ้าหน้าที่ ประชาสัมพันธ์ถึง ๔ คนของสภาไปนั่งอยู่ตรงนั้นให้บริการในเรื่องของข้อมูลข่าวสาร แล้วก็ที่สำคัญก็คือว่าการแถลงข่าว อย่างท่านจะจัดแถลงข่าวที่ไหน อย่างไร เราจะจัดให้เลย ประสานให้ทุกอย่าง แล้วก็การแจกเพรส รีลีส (Press release) ต่าง ๆ ซึ่งตอนนี้เริ่มแล้ว แต่ว่ายังไม่ค่อยมีใครทราบ

นางภัทรียา สุมะโน ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ทางคณะกรรมการประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูปนี้ก็ได้ ขอเวลาทางผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาว่า ในรายการมองรัฐสภานี่นะคะ ก็คือในช่วง ๙ โมงเช้าถึง ๑๐ โมง วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เราขอวันจันทร์และวันอังคารให้เป็น เวลาของ สปช. โดยเฉพาะ กรรมาธิการทั้ง ๒๓ คณะนี้สามารถที่จะไปออกอากาศรายการนี้ โดยประสานกับเราที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูปนะคะ จะมีเจ้าหน้าที่จัดให้ ตรงนี้ดิฉัน จะได้จัดการประสานโฆษกกรรมาธิการทั้ง ๒๓ คณะ ให้เชิญมาเข้ากลุ่มไลน์ (Line) ของเรา กลุ่มไลน์ของศูนย์ประชาสัมพันธ์แห่งนี้ ซึ่งชื่อว่ากลุ่มพิราบขาวติดจรวดนะคะ อันนี้แปลว่าสื่อสารโดยรวดเร็วค่ะ อันนี้ถ้าเห็นชื่อนี้ก็รีบรับคำเชิญนะคะ เราจะได้ ประสานงานในเรื่องของการนำท่านไปออกอากาศในวันจันทร์และวันอังคาร รายการ มองรัฐสภาต่อไปค่ะ ขอบคุณค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญอาจารย์วันชัย สอนศิริ ครับ

นายวันชัย สอนศิริ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม วันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านประธานครับ เรื่องที่ผมจะหารือต่อท่านประธาน ผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้นก็คือเรื่องการปฏิรูปศาสนา พระสงฆ์ และวัด ทราบว่า ท่านประธานเองก็สนใจเรื่องศาสนามากทีเดียว ผมอ่านแนวทางปฏิบัติวัตรปฏิบัติของ ท่านประธานแล้วชื่นใจ แต่ท่านประธานคงทราบนะครับ ท่านประธานก็บวชในวัดแล้วก็ปฏิบัติในหลายที่หลายแห่ง เงิน ผู้หญิง คำสอนที่ผิดเพี้ยนเบี่ยงเบนพระธรรมวินัยถือว่าเป็นอันตรายต่อพระสงฆ์ซึ่งเป็น ตัวแทนของศาสนาอย่างยิ่ง เงินก็อาจเฉพาะองค์ เฉพาะรูป เฉพาะวัด ผู้หญิงก็เช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดของศาสนาครับท่านประธาน คือคำสอนที่ผิดเพี้ยนเบี่ยงเบน พระธรรมวินัย รวมทั้งการกระทำเชิงพุทธพาณิชย์ด้วย เอาศาสนามาค้าขายทำมาหากินด้วย ระบบการตลาดครับท่านประธาน ผมกำลังจะพูดเรื่องวัดพระธรรมกาย เรื่องธุดงควัตร ที่ออกมาปฏิบัติจาริกในกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล เรื่องนี้ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่เบี่ยงเบน ผิดเพี้ยนคำสอนต่อพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง และเป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนา ท่านประธานคงทราบนะครับ ถ้าศึกษากันจริง ๆ แล้วคำว่า ธุดงค์ นั้นเป็นองค์คุณ เครื่องกำจัดกิเลสที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานหรือประพฤติปฏิบัติ อยู่ป่าช้าเป็นวัด ถือโคนต้นไม้เป็นวัด อย่างนี้เป็นต้น แต่การกระทำดังกล่าวนั้นเป็นลักษณะของการพีอาร์ (PR) การตลาด เป็นลักษณะของการเชิงพาณิชย์ ที่สำคัญที่สุดท่านประธานคงทราบแล้ว คนเขาด่ากันทั้งบ้านทั้งเมืองแล้วขืนทำกันอยู่ได้อย่างไร รถราติดกันมโหฬารมหาวินาศสันตะโร จะพีอาร์ไปหาอะไรกันนักหนา ผมจึงอยากให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาเถรสมาคม หยุดการกระทำอย่างนี้ หรือว่าแพ้เงิน แพ้อำนาจ อิทธิพลอื่นใด จนไม่สามารถที่จะกระทำการใด ๆ ได้ ผมจึงกราบเรียนต่อท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องหยุดเสียทีกับคำสอนที่ผิดเพี้ยนแบบนี้ครับท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ก็ต้องฝากคณะกรรมาธิการปฏิรูปศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนาของอาจารย์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ไปดูด้วยนะครับ ไม่ทราบท่านอาจารย์เนาวรัตน์มาถึงหรือยัง ท่านจะได้รับตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ต่อไปได้เลย ถ้ายังมาไม่ถึงนะครับ ก็ขออนุญาตให้เป็นคิวของ ท่าน พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ เชิญครับ

พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนประธานสภาปฏิรูป แห่งชาติที่เคารพ กระผม พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติ ท่านประธานครับ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและอธิบดีกรมที่ดิน ได้มีการจัดประชุมคอนเฟอเรนซ์ (Conference) ระหว่างกระทรวงมหาดไทย กรมที่ดิน และสำนักงานที่ดินจังหวัดทั่วประเทศ เกี่ยวกับการเร่งรัดให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานกรมที่ดิน ทุกแห่งทั่วประเทศได้เร่งรัดดำเนินการให้การออกโฉนดที่ดินให้เสร็จเรียบร้อย รวดเร็ว และเป็นธรรมกับประชาชน กระผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ แต่จากการที่กระผมเองและ พี่น้องประชาชนในจังหวัดมุกดาหารได้ไปยื่นคำร้องเพื่อขอออกโฉนดที่ดิน แบ่งแยกโฉนดที่ดิน และขอออกโฉนดที่ดินจาก น.ส. ๓ ก เป็นโฉนดที่ดิน ขอออก ส.ค. ๑ เป็นโฉนดที่ดิน ในจังหวัดมุกดาหารรวมแล้ว ๓,๐๐๐ เรื่องที่ค้างอยู่ท่านประธานครับ แต่ทีนี้ผมก็ได้ไปถาม เจ้าหน้าที่ว่าเป็นเพราะเหตุใดคิวในการรังวัดออกโฉนดที่ดินถึงล่าช้าตั้งแต่ปี ๖ เดือนถึง ๒ ปี ๓ ปีก็มี ได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินจังหวัดมุกดาหารว่า ในจังหวัดมุกดาหาร มีช่างรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินอยู่ ๘ คน ๙ คนทั้งหัวหน้าฝ่ายรังวัด แต่อุปกรณ์เครื่องมือ ที่สำคัญในการใช้รังวัดออกโฉนดที่ดินนั้นก็คือกล้องโทเทิล สเตชัน (Total station) มีเจ้าหน้าที่อยู่ ๘ คน แต่ว่ามีกล้องอยู่ ๔ ตัวครับ การปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่คนหนึ่ง รังวัดคนหนึ่ง จะทำงานได้เดือนหนึ่งได้แค่ ๑๐ แปลงต่อคน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการรังวัดออกโฉนดที่ดินก็คือกล้องโทเทิล สเตชันนะครับ อยากจะให้ทางกรมที่ดินจัดสรรงบประมาณจัดซื้อกล้องโทเทิล สเตชันให้กับสำนักงานที่ดิน จังหวัดมุกดาหารเพิ่มขึ้นอีก ๕ เครื่อง ให้ครบกับตัวเจ้าหน้าที่จะได้รังวัดออกโฉนดที่ดิน ๓,๐๐๐ แปลงให้เสร็จในเวลาอันรวดเร็วครับ กราบขอบคุณครับท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผมนึกว่าเฉพาะครูบาอาจารย์เท่านั้นที่พูดเรื่องเดียวกันหลาย ๆ ครั้ง ท่าน พันตำรวจโท จิตต์ นี่ก็ใกล้เป็นครูบาอาจารย์ไปทุกทีแล้วนะครับ ท่านห่วงว่าเครื่องมือเครื่องไม้จะมีไม่พอ ก็ฝากให้กรมที่ดินช่วยดูด้วย เชิญอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ครับ

นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ เรื่องของผมเป็น เรื่องเบา ๆ ครับ คือผมคิดว่าสภาแห่งนี้ค่อนข้างจะเครียดแล้วก็วังเวงสักหน่อย ผมก็เลยเอา เพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พวกเราอาจจะ ไม่ทราบว่าทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้ ๓ เพลง ซึ่งเป็นเพลงสำคัญ ซึ่งแสดงถึงพัฒนาการของ ดนตรีไทยด้วยครับ ๓ เพลง คือ ๑. ราตรีประดับดาว ๒. โหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง ๓. เขมรลออองค์ ที่ว่าสำคัญก็คือว่าเพลงเขมรลออองค์นั้นทรงพระราชนิพนธ์แบบขนบเดิม คือหมายความว่า ถ้าร้องก็ร้องเอื้อนแบบเดิม แต่เพลงราตรีประดับดาวนี้เป็นพัฒนาการใหม่ซึ่งใส่คำร้องไปใน ทำนองแบบศัพท์ภาษาสมัยใหม่ที่เรียกว่าเนื้อเต็ม คือหมายความว่าเอื้อนน้อย อันนี้เป็น พัฒนาการมาสู่เพลงไทยสากลปัจจุบัน แล้วก็เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่งมีนัยที่ส่อเค้าสำคัญ มาก ๆ ทรงใช้เสียงของคลื่นจริง ๆ เข้ามาอยู่ในเพลง แล้วก็เพลงนี้มีประวัติที่น่าสนใจตรงที่ว่า คุณอิงอรหรือคุณศักดิ์เกษม หุตาคม ซึ่งเป็นนักประพันธ์ผู้ล่วงลับไปแล้ว ท่านเคยเล่าให้ผมฟังว่า สมัยท่านเป็นลูกเสืออยู่โรงเรียนมหาวชิราวุธที่สงขลา ท่านมีหน้าที่ไปตั้งแถวเพื่อเฝ้าหาด ซึ่งหาดทรายที่แหลมสน ซึ่งมีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้า รำไพพรรณีประทับเป็นส่วนพระองค์อยู่ที่นั่น และท่านเล่าให้ฟังว่าแรงบันดาลใจอันนั้น ท่านเลยมาแต่งเรื่องดรรชนีนางครับ ผมคิดว่าอยากให้ฟังเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง ที่เป็นลีลาสมัยใหม่สักนิดหนึ่งครับ

นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ต้นฉบับ

เท่านี้ละครับ คือผมอยากหารือว่าช่วงที่ก่อน เปิดสภามีเวลาว่างอยากให้เปิดเพลงพวกนี้เป็นบรรยากาศ แล้วก็เป็นมงคลแก่หูของชาวสภา ด้วยครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ดีครับ ก็ขอบพระคุณท่านอาจารย์เนาวรัตน์ที่กรุณาแนะนำทั้งในฐานะที่เป็นประธาน กรรมาธิการปฏิรูปศิลปะ วัฒนธรรม การศาสนา ค่านิยม แล้วก็ยังเป็นศิลปินแห่งชาติด้วย และบังเอิญในปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมาองค์การการศึกษาและวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่ายูเนสโก (UNESCO) ของโลกได้ถวายการยกย่องเจ้านายในพระบรมราชจักรีวงศ์ ๒ พระองค์ ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก พระองค์แรกก็คือสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในโอกาส ๑๕๐ ปี พระบรมราชสมภพ พระองค์ที่ ๒ ก็คือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาส ๑๒๐ ปี พระบรมราชสมภพ แล้วก็ในโอกาส ๑๐๐ ปีที่เสด็จกลับมาทรงรับใช้ ประเทศชาติ เป็นคำแนะนำที่ดีผมก็จะได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของสภาดำเนินการตามข้อเสนอนั้น ต่อไป ต่อไปขออนุญาตเชิญคุณณรงค์ พุทธิชีวิน ครับ

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ณรงค์ พุทธิชีวิน ครับ ท่านประธานครับ ผมมาจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีอยู่ภาคใต้ สิ่งหนึ่งที่ต้องรับภาระมาก็คือ ความทุกข์ความยากของพี่น้องที่นั่น และผมเข้าใจว่าขณะนี้ก็รวมถึงพี่น้องทางอีสานด้วย เรื่องราคายางแล้วก็ปาล์มน้ำมัน สิ่งหนึ่งที่ชาวบ้านเขาบอกกล่าวมาก็คือเขาไม่ประสงค์ที่จะ มาชุมนุมอะไรหรอกนะครับ แต่เขาอยากให้คนที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ ของเขา เรื่องของการเรียกร้องราคายาง ๖๐ บาท เป็นเรื่องที่ไม่เหนือวิสัยที่จะช่วยเหลือ กันได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้ก็คือราคายางขึ้นไปถึง ๖๓ บาทแล้วครับท่านประธานครับ ดูในรายการแล้ว แต่ผมเพิ่งขายยางเมื่อวานซืนต่อรองเต็มที่แล้วได้ ๔๗ บาท ขณะที่รัฐบาลบอกว่า ขึ้น ๖๐ บาทไปแล้ว แต่ผมเองซึ่งแน่นอนว่าพี่น้องชาวสวนยางก็อยู่ในฐานะแบบเดียวกับผม นี่แหละ ไปขายในร้านยางรายย่อยได้ ๔๗ บาทเท่านั้น เขาบอกว่าถ้าจะขายได้ ๕๕ บาท ไม่ถึง ๖๓ บาทนะครับ เขาไม่ได้บอกนะครับว่าให้ไปขายที่โลกพระจันทร์ แต่เขาบอกว่า ให้ไปซื้อขายที่โคออป (CO-op) หรือสหกรณ์ หรือไม่ก็ขายที่ตลาดกลาง ท่านประธานครับ ชาวบ้านถ้าจะไปขายที่ตลาดกลางต้องต่อคิวกัน ๒ วัน แล้วก็จะถูกคัดยางออกเอายาง ประเภทดี ๆ เข้าไป ผลที่เกิดขึ้นก็คือนายทุนอีกละครับที่เอายางเหล่านี้ไปขายได้ แต่ชาวบ้านก็ยัง ๔๗ บาทเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมอยากจะกราบเรียนผ่าน ท่านประธานไป ก็คือถ้าบอกกล่าวรัฐบาลที่รับผิดชอบได้ ก็คือให้ดูแลราคาที่ถูกต้อง แล้วก็ตรงกับชาวบ้านมากที่สุด นั่นเรื่องยางนะครับ เรื่องปาล์มน้ำมันชาวบ้านพอที่จะลืมตา อ้าปากได้ในช่วงนี้ครับ เพราะปาล์มน้ำมันมันน้อย แต่ไปสั่งนำเข้าปาล์มน้ำมันเสียอีก ก็กลายเป็นว่าราคาปาล์มน้ำมันก็ตกเหมือนเดิม ดูแลชาวบ้านให้ทั่วถึงนะครับ ขอบพระคุณครับ ท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ ขออนุญาตเรียนให้ท่านสมาชิกทราบว่าวันนี้คณะครูและนักเรียนโรงเรียน บ้านแม่ชะปู จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๖๑ คน ได้ขอเข้ามาฟังการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ อยู่ด้านบนนะครับ ต่อไปผมขออนุญาตเชิญคุณชาลีครับ

นายชาลี เจริญสุข ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพครับ ผม ชาลี เจริญสุข ครับ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดฉะเชิงเทราครับ วันนี้ต้องขอขอบคุณท่านประธานครับที่ให้โอกาสหารือในเรื่องสำคัญก็คือเรื่องของ ในกรุงเทพมหานครซึ่งเราจะทราบกันว่าเราจะมีจังหวัดปริมณฑลอยู่ทั้งหมด ๖ จังหวัด ด้วยกัน แต่เนื่องจากผมมาจากจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทราเราเคยหารือหรือเสนอ ข้อเรื่องนี้ว่า ทำไมจังหวัดฉะเชิงเทราไม่ได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดปริมณฑล รอบกรุงเทพมหานคร ซึ่งเปรียบเสมือนวงรอบนี่นะครับ แต่วงรอบมันไม่ครบมันเว้นวรรคด้วย จังหวัดหนึ่งจึงเกิดความเหลื่อมล้ำครับ ในเรื่องของการพัฒนาระหว่างกรุงเทพมหานครกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา เขตติดต่อนี้ถนนหนทางยังเป็นถนนฝุ่นอยู่มากมาย เพื่อนสมาชิก หลายท่านก็ได้พูดไปแล้วว่าถนนฝุ่นในประเทศไทยนี้เยอะมาก แต่เชื่อไหมครับว่าอยู่ติดกับ กรุงเทพมหานคร

นายชาลี เจริญสุข ต้นฉบับ

และประเด็นที่ ๒ ที่ผมจะกราบเรียนว่า ถ้ามีการบรรจุจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นปริมณฑลแล้ว วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ จะถึงเออีซี (AEC) จังหวัดฉะเชิงเทราเช่นกันครับ จะเป็นเส้นทางที่ออกไปประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดก็คือกัมพูชา เส้นทางหลายเส้นทาง ปรากฏว่ายังทำไม่เสร็จเลยครับ แล้วเราจะเชื่อมโยงเออีซีได้อย่างไร เช่น ถนนสายมีนบุรีเป็น ๔ ช่องจราจรปัจจุบัน ปัจจุบันกรุงเทพมหานครขยายเป็น ๖ ช่องจราจร เขตติดต่อกรุงเทพฯ แล้วปรากฏว่าตรงกลางนั้นยังเป็น ๔ ช่องจราจร ปรากฏว่าจังหวัดฉะเชิงเทรามีงบอีกนิดหน่อยมาทำเป็น ๖ ช่องจราจร ปรากฏว่า ๖ มาเจอ ๔ ไปเจอ ๖ รถติดมากครับ แล้วก็เส้นอื่น ๆ อีกมากมายครับ ดังนั้นจึงเรียนฝากหารือว่า อยากที่จะให้มีการประชุมปรึกษาหารือในเรื่องของภาคปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร โดยบรรจุจังหวัดฉะเชิงเทราและกระทรวงคมนาคมร่วมกันพัฒนาอย่างจริงจังที่จะเชื่อมโยง เส้นทางเพื่อสู่เออีซีครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญคุณเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง ครับ

นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับท่านประธาน กราบเรียน ท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพอย่างสูง ผม เกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง นายกสมาคม สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๐๑๕ ก่อนที่จะ หารือท่านประธานครับ ผมอยากจะกราบเรียนเพื่อน ๆ ที่ประชุมว่าวันนี้เป็นวันทหารผ่านศึก ซึ่งวันทหารผ่านศึกนั้นขณะนี้มีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลทหาร พี่อย่าเพิ่งกดเวลาได้ไหม เป็นวันทหารผ่านศึกซึ่งเป็นวันที่สำคัญที่สุด พวกเราน่าจะแสดงออกซึ่งให้เขาเหล่านั้นว่า แสดงน้ำใจ ดอกป๊อปปี้ตอนนี้มีจำหน่ายด้านนอกนะครับผมแจ้งเพื่อทราบก่อน เผื่อเพื่อน ๆ พวกเราที่อยากจะช่วยเหลือทหารผ่านศึก ครอบครัว และทหารที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ที่อยู่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ เป็นเงินเล็กน้อยท่านประธานครับ เพราะวันทหารผ่านศึกนั้น จัดตั้งเป็นวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ของทุกปี ท่านประธานครับ ในประเด็นที่ผมจะหารือในวันนี้ เป็นประเด็นที่สำคัญมากสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น พวกเราเองนั้นมีวิศวกร พวกเรามีวิศวกรไฟฟ้า มีวิศวกรโยธา มีช่าง แต่ปรากฏว่าเวลาเรา ขยายเขตไฟฟ้า ประปา ท่านประธานครับ เราสามารถดำเนินการเองได้ แต่รัฐวิสาหกิจ เหล่านั้นไม่ยินยอม ผมไม่ทราบว่ากฎหมายข้อใด อย่างไร ผมอยากฝากไปถึงผู้มีอำนาจ หรือผู้ที่จะปฏิรูปประเทศ อย่างเทศบาลหลายเทศบาลหรือ อบต. หลาย อบต. เขาจะขยาย ๑ กิโลเมตร ซึ่งเขาใช้วิศวกรไฟฟ้าคำนวณเอง เป็นเงินประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ กว่าบาท เขายื่นเรื่องไปที่การไฟฟ้า ปรากฏว่าการไฟฟ้าไม่ยินยอม ต้องให้ช่างที่การไฟฟ้าเท่านั้น ไปสำรวจ ท่านประธานครับ แล้วเราก็ยื่นไปใหม่ให้ช่างไฟฟ้า ต้องไปเสียเงินก่อน ค่าสำรวจ ประมาณการ ๕,๐๐๐ บาท เสร็จแล้วไปสำรวจจาก ๒๐๐,๐๐๐ บาท ที่พวกเราคำนวณเอง โดยประมาณนะครับท่านประธานครับ เขาคำนวณมา ๕๒๐,๐๐๐ บาท เราปฏิเสธไม่ได้เลย แล้วเดี๋ยวนี้ท่านประธานครับ ประชาชนที่จะขยายเขตไฟฟ้าทั่วประเทศต้องสมทบทุนเงิน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำตามที่รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นบ่งบอก พอเราอุดหนุนเงินไปเราถามว่าการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างทำอย่างไร เหลือเงินกลับคืน มาไหม ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ นี่เป็นการเอาเปรียบของรัฐวิสาหกิจ ท่านประธานครับ นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการปฏิรูปประเทศที่จะต้องแก้ไข แล้วไปดูพนักงานรัฐวิสาหกิจ เหล่านั้นท่านประธานครับ มีแต่ลูกท่านหลานเธอ มีแต่เจ้าของรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานทั้งสิ้น ชาวนาตาดำ ๆ บ้านผมเรียนหนังสือเก่งอย่างไรก็สอบเข้าไม่ได้ เพราะเป็นการรับกันภายใน ท่านประธานครับ นี่เราจะลดความเหลื่อมล้ำ เราจะปฏิรูปประเทศ ผมอยากให้ท่านประธาน หรือคณะที่จะปฏิรูปพลังงาน ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ นำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมโดยเร่งด่วน เพื่อผลประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครับท่านประธาน ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณมากนะครับ ท่านสมาชิกที่ได้ยกประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจขึ้นหารือ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

บัดนี้ได้มีผู้เข้ามาลงชื่อเข้าประชุมแล้ว ๑๔๒ ท่าน ซึ่งองค์ประชุมกึ่งหนึ่งคือ ๑๒๕ คน ครบเป็นองค์ประชุมแล้วนะครับ ผมขออนุญาตดำเนินการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตามระเบียบวาระนะครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอให้ท่านผู้แทนของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือ พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช เป็นผู้ชี้แจงความคืบหน้าในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ เชิญครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ กระผม พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะผู้แทนของคณะกรรมาธิการ ใคร่ขออนุญาตกราบเรียนผ่าน ท่านประธานไปยังท่านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติถึงความคืบหน้าในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ของคณะกรรมาธิการ โดยในวันนี้กระผมใคร่ขออนุญาตชี้แจงใน ๒ เรื่องที่อยู่ในส่วนที่ ๕ คือองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของภาคที่ ๓ เป็นตอนที่ ๑ คือคณะกรรมการการเลือกตั้ง และตอนที่ ๒ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ในส่วนของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น ในมาตราแรกได้กำหนดให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วยกรรมการ ๕ คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตาม คำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ประจักษ์ การสรรหากรรมการการเลือกตั้งให้ดำเนินการดังนี้

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ต้นฉบับ

กลุ่มที่ ๑ ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการ การเลือกตั้ง จำนวน ๒ คน และ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ต้นฉบับ

กลุ่มที่ ๒ ให้คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งสรรหาผู้สมควรเป็น กรรมการการเลือกตั้ง จำนวน ๓ คน

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ต้นฉบับ

คณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง สำหรับกลุ่มที่ ๒ นั้น ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจาก ๕ ฝ่าย ฝ่ายแรกคือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๔ คน ซึ่งเลือกโดย ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ๒ คน และเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ๒ คน กลุ่มที่ ๒ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๓ คน ซึ่งเลือกโดยพรรคการเมืองและกลุ่มการเมือง ฝ่ายรัฐบาล ๑ คน และเลือกโดยพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองฝ่ายค้าน ๒ คน

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ต้นฉบับ

กลุ่มที่ ๓ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑ คน ซึ่งเลือกโดยคณะรัฐมนตรี

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ต้นฉบับ

กลุ่มที่ ๔ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ คน ซึ่งเลือกโดยอธิการบดี ในสถาบันอุดมศึกษา และ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ต้นฉบับ

กลุ่มที่ ๕ คือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ คน ซึ่งเลือกโดยสมัชชาคุณธรรม แห่งชาติ ก็จะมีกรรมการสรรหาจำนวน ๑๒ คน ที่เป็นผู้แทนของทั้ง ๓ อำนาจ และภาคประชาชน และภาคการศึกษา มติในการสรรหาดังกล่าวต้องลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คือต้องมี จำนวนไม่น้อยกว่า ๘ คน เหตุผลที่เราใช้มติ ๒ ใน ๓ เพราะว่าเราให้เลือกมาเป็นจำนวน เท่ากับตำแหน่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะเลือก ไม่ได้เลือกมา ๒ เท่า ประธานวุฒิสภาในมาตรา ๔ ก็จะเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติให้ความเห็นชอบผู้ได้รับ การสรรหาโดยการลงคะแนนลับ ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบในรายชื่อใดหรือว่าทั้งหมด หรือบางส่วนให้ส่งรายชื่อนั้นกลับไปยังที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา หรือคณะกรรมการสรรหา กรรมการการเลือกตั้งแล้วแต่กรณี เพื่อให้ดำเนินการสรรหาใหม่ อันนี้ก็จะต่างจาก รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ที่เมื่อส่งกรรมการท่านใดที่วุฒิสภาไม่เห็นชอบกลับไป กรรมการสรรหา ก็จะไปประชุมกัน ถ้ามีมติเอกฉันท์ก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ เลย ส่งให้ประธานวุฒิสภา นำขึ้นทูลเกล้าฯ เลย คือสามารถที่จะโอเวอร์รูล (Overrule) มติของวุฒิสภาได้ กรณีในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ก็จะเป็นอันว่าต้องไปสรรหาคนใหม่มา ในมาตรา ๓ กรรมการการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๖ ปี มาตรา ๘ ก็จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และควบคุมการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและ ผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ตรงนี้มีข้อสังเกตก็คือว่าได้ตัดหน้าที่การจัดการเลือกตั้งออก เพราะฉะนั้นจะมีหน้าที่ควบคุม การเลือกตั้ง ประธานกรรมการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องทั้ง ๓ ฉบับ หรือถ้าจะมีเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการเลือกตั้งทั้งหมดและกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในมาตรา ๙ จะพูดถึง อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ทั้งหมด ๑๐ ประการ แล้วก็มาตรา ๙ (๑๑) นี่ก็ยังมีอำนาจหน้าที่อื่นที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอีก ๗-๘ ข้อนะครับ เพราะฉะนั้นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งจะมีเหมือนที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ จะมีเหมือนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพียงแต่ว่ายกเว้นอำนาจในการ จัดการเลือกตั้งซึ่งจะไปอยู่ในมาตรา ๑๐ ให้มีคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวง สาธารณสุข และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งจากข้าราชการในหน่วยงาน หน่วยงานละ ๑ คน เป็นองค์คณะ ๗ คนนะครับ ทำหน้าที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติ แล้วก็ได้กำหนดไว้ว่าคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง และการพ้นจากตำแหน่ง ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้งนั้นจะไปบัญญัติไว้ใน กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยในเรื่องของ อำนาจหน้าที่นั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วยอำนาจในการแต่งตั้ง คณะกรรมการในระดับ พื้นที่ก็คือคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำจังหวัด ซึ่งต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่ได้เป็น บุคลากรในภาครัฐรวมอยู่ด้วย ตรงนี้ผมจะขออนุญาตเรียนอธิบายเหตุผลในการที่ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ออกแบบการจัดการเลือกตั้งเป็น ๒ องค์กร ก็โดยที่ ในหลักทั่วไปในการบริหารจัดการกิจการที่มีความสำคัญของชาติทั้งในประเทศเราเองและ ในสากล เรามักจะแยกผู้ดำเนินการกับผู้ตรวจสอบออกเป็น ๒ องค์กร ก็คือแยก โอเปอเรเตอร์ (Operator) กับ เรกกูเลเตอร์ (Regulator) ออกเป็น ๒ หน่วยงานที่จะทำให้ มีการตรวจสอบถ่วงดุลและการจัดการนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นไปด้วยความโปร่งใส สุจริต ยุติธรรม เพราะฉะนั้นตรงนี้ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ออกแบบให้มี คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งขึ้นมาก็โดยที่ว่า ในการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการ การเลือกตั้งหรือ กกต. มีภาระหน้าที่ที่ค่อนข้างมาก มีอำนาจหน้าที่ในทุก ๆ เรื่อง มีการดำเนินการในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งในทุก ๆ กรณี เพราะฉะนั้น จึงทำให้การทำงานของ กกต. อาจจะมีงานที่ค่อนข้างมาก เราจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาชุดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ๗ คน ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการจัดตั้ง คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำจังหวัดซึ่งจะกำหนดไว้ในกฎหมายก็ประมาณ ๗-๙ คน โดยในส่วนนั้นจะต้องมีภาคเอกชนหรือภาคประชาสังคมที่จะเข้ามาเป็นกรรมการด้วย เพราะฉะนั้นคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะมีหน้าที่หลักคือการจัดการ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง เราได้กำหนดที่จะให้มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน ๒๕๐ คน ซึ่งจะมานำเรียนให้ ท่านสมาชิกได้รับทราบต่อไปในขั้นตอนต่อ ๆ ไป เมื่อเราแบ่งประเทศไทยเป็น ๒๕๐ เขตเลือกตั้งก็จะมีคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง ประจำเขตจะอยู่ที่ประมาณ ๕ คน ซึ่งจะได้รับการเสนอแนะจากคณะกรรมการจัดการ เลือกตั้งประจำจังหวัดมายังคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งส่วนกลางเพื่อแต่งตั้งบุคคล เหล่านั้น เพราะฉะนั้นนี่คือหน้าที่ที่จะกำหนดไว้ให้คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งรับผิดชอบ ตรงนี้ในความเป็นจริงแล้วเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไป หรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นอกจากบุคลากรของ กกต. จำนวนประมาณ ๒,๕๐๐ คนแล้วจะมีเจ้าหน้าที่จาก กระทรวง ทบวง กรม อีกประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน เข้ามารับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง ตั้งแต่ประจำเขตเลือกตั้ง และประจำหน่วยเลือกตั้งซึ่งมีนับหมื่นหน่วย แล้วแต่ละหน่วยจะมี เจ้าหน้าที่อีก ๙ คน ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการจัดการเลือกตั้งประจำหน่วย เพราะฉะนั้น ในรูปแบบที่ออกแบบนี้ก็จึงให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้งอยู่แล้วในระดับบน ได้เป็นคนในภาคเดียวกัน แต่ก็จะมีการถ่วงดุล แม้แต่ในกรรมการจัดการเลือกตั้ง ที่จะมีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนในการพิจารณา ซึ่งเราก็มีความเชื่อว่าจะมีประสิทธิภาพในการ จัดการเลือกตั้งเพิ่มมากขึ้น แล้วก็จะมีการถ่วงดุลภายในคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งเอง นอกจากนี้หน้าที่ที่เหลืออยู่ทั้งหมดเป็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งยังคงมี คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดที่ดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการ การเลือกตั้งส่วนกลางจะมีหน้าที่ที่สำคัญในการที่จะวินิจฉัยการเลือกตั้งทั้งสิ้นทั้งปวงตั้งแต่ การจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง การกำหนดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิสมัคร รับเลือกตั้ง และตลอดจนกฎเกณฑ์ในการลงคะแนนเสียงต่าง ๆ ยกเว้นการดำเนินการ ด้านธุรการที่เกี่ยวกับการลงคะแนนและการนับคะแนน การประกาศผลการเลือกตั้ง ก็ยังคงเป็นอำนาจของกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. นอกจากนั้น กกต. ยังมีอำนาจ ในการสืบสวนสอบสวนและสั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ในทั้ง ๒ กรณี เช่น กรณีที่การจัดการ เลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยคณะกรรมการเชื่อว่าไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมก็ให้จัดการเลือกตั้งใหม่ นั่นคือ การให้ใบเหลืองผู้จัดการเลือกตั้ง และการให้ใบเหลืองผู้ที่ชนะการเลือกตั้ง ถ้ากรรมการ กกต. เห็นว่าดำเนินการโดยมีการทุจริตก็จะให้จัดการเลือกตั้งใหม่ แต่อำนาจในการให้ใบแดงนั้น จะไปอยู่ที่ศาลอุทธรณ์กลาง หรือที่เราเรียกว่าศาลอุทธรณ์ที่กรุงเทพฯ นี้ ในการพิจารณา ซึ่งจะเป็นการพิจารณาที่กำหนดขึ้นโดยวิธีพิจารณาคดีเลือกตั้งที่ศาลฎีกาเป็นผู้กำหนด เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จะเป็นรูปแบบใหม่ของการจัดการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมว่า การจะได้ใบแดงนั้น หรือการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นจะดำเนินการในรูปแบบที่เป็น แบบเดียวกันคือศาลเป็นผู้ให้ ไม่ใช่ว่า ๓๐ วันแรก กกต. เป็นผู้ให้แล้วที่เหลือให้ศาลเป็นผู้ให้ แล้วก็ยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่ถูกฟ้องว่าทำการทุจริตในการเลือกตั้งสามารถยื่นฎีกาได้ แต่อันนี้ก็ต้อง เป็นไปตามระเบียบของศาลฎีกาว่าจะให้ยื่นฎีกาได้ในกรณีใดบ้างนะครับ เพราะฉะนั้น ในการดำเนินการของ กกต. ของการจัดการเลือกตั้งจึงได้กำหนดเป็นแนวทางอย่างที่ผมได้ กราบเรียนให้ท่านสมาชิกได้รับทราบ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ในเรื่องสุดท้ายผมขออนุญาตเรียนชี้แจงถึงคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ในมาตรา ๑ การตรวจเงินแผ่นดินให้กระทำโดยคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอีก ๖ คน กรรมการสรรหา คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจะเป็นคณะกรรมการในรูปแบบเดียวกับคณะกรรมการสรรหา กกต. กลุ่มที่ ๒ แต่ว่าไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน เพราะว่าเราจะให้ผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็น ผู้ดำเนินการสรรหา เพราะฉะนั้นผู้ทรงคุณวุฒิที่มาในแต่ละองค์คณะนั้นก็ไม่จำเป็นจะต้อง เป็นคนเดิม ก็เป็นหน้าที่ของผู้คัดเลือก ไม่ว่าจะเป็นที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา หรือว่าจะเป็น ตัวแทนของพรรคการเมือง เขาก็จะพิจารณาว่าในแต่ละกรรมการนั้นควรจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ด้านไหนที่จะมาสรรหาในแต่ละกรณี คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินก็จะเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน โดยอย่างน้อยต้องมีข้อห้ามไม่ให้บุคคลซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง กรรมการในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามส่วนนี้มาแล้ว เข้ารับการสรรหา เพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐองค์กรอื่นอีก ผมขออธิบายนิดหนึ่งว่า เราได้แยกแยะคำว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ถ้าท่านไปดูรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ท่านจะเห็นเพียงแต่ว่าองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยที่รัฐธรรมนูญซึ่งมี ๒๐๐-๓๐๐ มาตรา ได้พูดถึงองค์กรต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา หรือองค์กรอื่น ๆ เช่น องค์กรที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่าง ๆ เพราะฉะนั้นองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งหมด ที่รัฐธรรมนูญกล่าวถึง ก็คือองค์กรตามรัฐธรรมนูญนั่นเอง จึงทำให้เราต้องขีดวงว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่อยู่ในกลุ่มนี้ ที่เริ่มตั้งแต่ กกต. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ป.ป.ช. แล้วก็คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ที่จะได้กล่าวต่อไปในครั้งหน้านี่นะครับ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้ชัดเจนนะครับ ๔-๕ องค์กรนี้จะเรียกชื่อตามนี้ สิ่งที่ผมได้กราบเรียนก็คือว่า ถ้าใครอยู่ในองค์กรไหน แล้วไม่สามารถจะไปสมัครรับเลือก การสรรหาเป็นกรรมการในองค์กรอื่นอีก ไม่ว่าจะเคยพ้นมาแล้ว หรือไม่ว่าจะเป็นอยู่แล้วเห็นเขาเปิดใหม่แล้วขอลาออกเพื่อจะไป สมัครในที่ใหม่ อันนี้ก็จะต้องห้ามไว้นะครับ

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ในส่วนของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินนั้น อำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ก็ยังเป็นไปตามที่กำหนดไว้เหมือนเดิมนะครับ น่าจะไปกำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ผมขออนุญาตใช้เวลาเพียงแค่นี้กราบเรียนแก่ ท่านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติผ่านท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณมากท่านผู้แทนของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ชี้แจงการจัดทำ ร่างรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับองค์กรอิสระ ๒ องค์กรสำคัญไปแล้วนะครับคือ กกต. กับคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

บัดนี้ ผมขออนุญาตดำเนินการตามระเบียบวาระที่กำหนดไว้นะครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม ไม่มี

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ไม่มี

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องค้างพิจารณา ไม่มี

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปก็จะเป็นการพิจารณาระเบียบวาระที่ ๕ เป็นเรื่องที่เสนอใหม่ ซึ่งเป็นการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อรับฟังความคิดเห็นของท่านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เรื่อง จะทำอย่างไรให้มีการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา ๒๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ วรรคสอง กำหนดให้มีการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ๑๑ ด้าน แล้วก็ระบุไว้ชัดว่าเพื่อให้มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรมได้พูดกันไปแล้ว เพื่อให้มี กลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพได้พูดกันไปแล้ว เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืนก็ได้พูดไปแล้ว และเมื่อวานนี้สภาแห่งนี้ก็ได้อภิปรายเรื่องการทำให้กลไกของรัฐ สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว วันนี้ก็จะมีการอภิปรายให้ข้อคิด ความเห็นเรื่องจะต้องทำให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม จนถึงเวลานี้ มีผู้เข้าชื่อการอภิปรายไว้ ๑๑ ท่าน ผมจะขอเริ่มที่คุณเสรี สุวรรณภานนท์ เชิญเลยครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ขอกราบเรียนท่านประธานในส่วน เรื่องของการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นปัญหาอยู่ในบ้านเมืองเราจนถึงขนาดที่จะต้องมีประเด็น ในเรื่องของการปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ มีการพูดอยู่เสมอครับ ท่านประธานครับว่า บ้านเมืองเรานั้นมีกฎหมายเหมือนไม่มีกฎหมาย มีเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบเหมือนกับไม่มี สังคมขาดระเบียบ ขาดวินัย สิ่งที่เป็นตัวอย่างชัดเจนเมื่อเกิด ระเบิดที่บริเวณใกล้สถานีรถไฟอย่างที่เป็นข่าวที่ผ่านมา คงเป็นเพราะคนไม่กลัวกฎหมาย หรือท้าทายอำนาจรัฐ สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ก็คือการบังคับใช้กฎหมายที่จะต้องหา ตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริงมาลงโทษเอาผิดเอาโทษให้ได้ มิฉะนั้นบ้านเมือง ก็จะไม่สงบเรียบร้อยและเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองไทย สิ่งที่เป็นปัญหา ในบ้านเมืองเรานะครับ เกิดเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายนั้นเป็นปัญหาตั้งแต่ปัญหา ทางการเมือง มีการเผาบ้านเผาเมือง มีการด่าว่าดูหมิ่น หมิ่นประมาทกัน เหมือนกับบ้านเมือง ไม่มีกฎหมาย ใครอยากจะว่าใครก็ว่า ใครอยากจะเผาเมืองก็เผา สังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นักเรียนตีกัน มีคนขับรถแข่งบนถนนสาธารณะสร้างความเดือดร้อนให้คนในสังคม มีการฆ่ากันทำร้ายกัน ลัก วิ่ง ชิง ปล้นเกิดขึ้นในหน้าสื่อมวลชนทุกวี่ทุกวัน คดีในศาล ก็เกิดขึ้นมากมาย มีการละเมิดสถาบันในเว็บไซต์ (Web site) ต่าง ๆ อีกมากมาย แต่ขาดคนรับผิดชอบที่จะเข้ามาแก้ไข สิ่งเหล่านี้คือเป็นเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย ที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรืออาจจะเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายมีปัญหา กฎหมายก็คือ บทบัญญัติของรัฐที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ วางหลักเกณฑ์ไว้เป็นสำคัญ แต่เท่าที่พบนะครับ เกิดประเด็น ปัญหาบังคับการใช้กฎหมาย เช่น อย่างที่กราบเรียนแล้วว่าปัญหาขัดแย้งทางการเมือง ประชาชนในสังคมขาดระเบียบวินัย เจ้าหน้าที่บ้านเมืองหย่อนยานในการปฏิบัติหน้าที่ และมักจะกระทำความผิดเสียเอง คนไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ประชาชนที่ทำผิด เมื่อทำผิดแล้วก็มักจะให้สินบนเพื่อให้ตนเองพ้นผิด อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกัน อาชญากรรมไม่เพียงพอ แล้วก็ยังมีการอนุญาตให้พกอาวุธปืนพกพาได้ในที่สาธารณะ เกร่อไปหมดโดยไม่มีการควบคุม ระบบราชการมีการวิ่งเต้น การเลื่อนชั้น ปรับยศ ไม่เป็นธรรม ข้าราชการไม่ได้รับการเลื่อนชั้นตามความรู้ความสามารถทำให้ ข้าราชการส่วนใหญ่ขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน นี่เป็นปัญหาทั้งสิ้น กฎหมายล้าสมัย กระบวนการยุติธรรมที่มีความล่าช้า ซึ่งความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรมคือความไม่เป็นธรรม มาตรฐานในการตัดสินคดียังไม่มีมาตรฐานเดียวกัน เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญในการแก้ปัญหา มีการทุจริตคอร์รัปชัน (Corruption) ในระบบราชการ เป็นวงกว้าง เจ้าหน้าที่ตำรวจทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการใช้บังคับกฎหมาย มีปัญหามาก ถูกสังคมต้องการให้มีการปฏิรูปก่อนหน่วยงานอื่น ปัญหาของการใช้ดุลยพินิจ ของเจ้าหน้าที่ ปัญหาของดุลยพินิจที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ ความไม่รู้กฎหมาย เพียงพอของพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ สิ่งเหล่านี้คือปัญหาของการบังคับใช้กฎหมาย กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากกว่าควบคุมการใช้อำนาจ นี่คือสิ่งที่จะต้องมาพิจารณา การตีความในทางกฎหมายไม่ตรงกันจนเกิดความขัดแย้งกันขึ้นในสังคม แม้กระทั่ง ทางการเมืองหรือในชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชน แนวทางการแก้ปัญหาการบังคับใช้ กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ รัฐต้องกวดขันข้าราชการและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองให้เคร่งครัด ต่อการบังคับใช้กฎหมาย รัฐต้องกำหนดนโยบายและมาตรการแก้ปัญหาที่ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาต้องจัดคนให้เข้า รับผิดชอบในการบริหารประเทศ จัดหัวหน้าส่วนราชการต้องได้คนดี คนมีความรู้ มีความสามารถเข้าทำหน้าที่เพื่อขับเคลื่อนการทำงานราชการให้มีประสิทธิภาพและ ไม่ให้มีการทุจริตคอร์รัปชัน การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรม อย่างแท้จริง หากเจ้าหน้าที่ราชการที่หย่อนยานและไม่มีผลงานต้องสับเปลี่ยนโยกย้าย ให้คนมีความสามารถเข้ามาทำหน้าที่ ให้เอาผิดเอาโทษและลงโทษเจ้าหน้าที่ที่กระทำ ความผิดเสียเองอย่างจริงจัง รัฐต้องสร้างระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกคน ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย ให้ทำอะไรตามใจตนเองอย่างที่ทำกันอยู่ ต้องบังคับใช้กฎหมาย เอาผิดเอาโทษคนที่ทุจริตคอร์รัปชันและคนที่ทำผิดกฎหมายอย่างจริงจังไม่เลือกปฏิบัติ ต้องขจัดคนชั่วไม่ให้เข้าสู่วิถีทางทางการเมืองและงานราชการ เจ้าหน้าที่ของบ้านเมือง ต้องไม่กระทำความผิดเสียเอง หากเจ้าหน้าที่กระทำความผิดเสียเองต้องได้รับโทษเป็น ๒ เท่าของความผิดของชาวบ้านทั่วไป ต้องมีอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานของ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน และเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ นี่คือส่วนหนึ่งครับท่านประธานครับ ในระยะเวลาจำกัดก็กราบเรียนเพื่อให้เห็นว่า การบังคับใช้กฎหมายในบ้านเมืองเรานั้นมีปัญหาที่ต้องมีการปฏิรูปอย่างจริงจัง ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผมจะขออนุญาตอ่านรายชื่อ ๕ ท่านไว้ก่อนนะครับ ท่านต่อไปจะเป็นคุณทิวา การกระสัง คุณวันชัย สอนศิริ พลตำรวจตรี ปรีชา สมุทระเปารยะ คุณชัย ชิดชอบ แล้วก็คุณตรึงใจ บูรณสมภพ นะครับ ขออนุญาตเชิญคุณทิวา การกระสัง ครับ

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ทิวา การกระสัง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เลขที่ ๐๙๒ และขอกราบเรียนท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ในสภานี้นะครับ เนื่องจากว่าผมประกอบอาชีพหนึ่งคือทนายความนะครับ เกี่ยวข้อง แล้วก็เป็นผู้ใช้กฎหมายนะครับ อยากจะฝากกราบเรียน มีประเด็นอยู่ ๒ ประเด็นที่จะ กราบเรียนนะครับ

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

อันดับแรกก็คือความยุติธรรมเบื้องต้น หน่วยงานที่ทำหน้าที่และรับผิดชอบ คือสำนักงานตำรวจแห่งชาติและเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้สอบสวนนะครับ เมื่อมีการแจ้งความแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนตามที่ทราบนะครับ ที่อยากจะฝาก กราบเรียนก็คือให้เปลี่ยนวิธีคิดและระบบการศึกษาในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พยายามเน้น ให้ทางตำรวจนั้นมีแนวคิดว่าทำหน้าที่เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ไม่ใช่ทำหน้าที่เอาคนที่ถูกกล่าวหาเข้าคุก จากการที่มีการสอนว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่ก็คือ เมื่อมีการกล่าวหาแล้วจะต้องพยายามเอาคนที่ถูกกล่าวหาแล้วก็นำเข้าคุกหรือถูกลงโทษ ให้ได้เพื่อเป็นผลงานนั้น ก่อให้เกิดการสืบสวนสอบสวนที่ขาดความยุติธรรมเช่นเดียวกัน เช่น มีข่าวบ่อย ๆ ว่ามีการสร้างพยานหลักฐานหรือปั้นพยานหลักฐานขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ถูกกล่าวหา ถูกลงโทษ เนื่องจากกระบวนการศึกษาไม่ให้รายละเอียดว่าพนักงานสืบสวนสอบสวน มีหน้าที่หลักคืออำนวยความยุติธรรมทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งฝ่ายผู้เสียหายและฝ่ายที่ถูกกล่าวหา ผมชอบระบบไต่สวนที่มีการหาพยานหลักฐานก่อนแล้วค่อยจับกุม อาจจะเกิดความเสียหายได้ เช่น ถ้ามีความผิดประเภทความผิดฆาตกรต่อเนื่องอย่างนี้ กว่าจะหาพยานหลักฐานได้ก็ทำผิด ไปเรื่อย ๆ แต่ระบบกล่าวหานี่เมื่อถูกกล่าวหาแล้วพนักงานสอบสวนสามารถออกหมายเรียก ออกหมายเรียกไม่มาแล้วก็ออกหมายจับได้ หรือถ้าเป็นความผิดซึ่งหน้าก็จับได้ทันที ทำให้กระบวนการในการสอบสวนสืบสวนนั้นหาพยานหลักฐานในภายหลัง ถ้าพยานหลักฐานไม่เพียงพอก็มีการสร้างพยานหลักฐานขึ้นให้มันเพียงพอนะครับ ระบบนี้ ควรจะมีการปรับปรุงหรือไม่ก็ฝากไปยังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่าเราใช้ระบบ การสืบสวนสอบสวนเป็นระบบผสมได้หรือไม่ ก็คือคดีบางคดีนั้นใช้ระบบไต่สวน คดีบางคดี ใช้ระบบสืบสวนสอบสวนนะครับ เพราะว่าโดยปกติกฎหมายของไทยผมดูแล้วก็ใช้ระบบทั้ง ๒ ระบบคละเคล้ากันไปนะครับ

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

อีกกระบวนการหนึ่งก็คือกระบวนการในชั้นพนักงานอัยการ นี่ก็เช่นเดียวกัน ผมเจอท่านอัยการหลาย ๆ ท่านนะครับ ท่านอัยการหลาย ๆ ท่านก็ดี อัยการหลาย ๆ ท่าน ถูกสอนมาเช่นเดียวกัน ก็คือว่าผลงานของอัยการก็คือว่าความ จำเลยนั้นต้องผิดแล้วก็ต้อง เข้าคุก มีการสอนหรือว่าซ้อมพยานนอกเหนือจากที่มีการสืบสวนสอบสวนมานะครับ ผมเคยถามท่านอัยการว่าท่านมีหน้าที่ในการเอาคนเข้าคุกหรือมีหน้าที่อำนวยความยุติธรรม ให้กับผู้ต้องหาหรือจำเลย ถ้าว่าความแบบนี้นะครับ บางท่านนี่ถามความนี่ถามไม่เป็น ด้วยซ้ำไปนะครับ ใช้ซักถามเป็นถามนำอย่างนี้นะครับ ซึ่งเรื่องเหล่านี้กระบวนการ ในการเรียนการสอนก็ต้องทำใหม่ ถ้าไม่แน่จริง ๆ ก็อย่าส่งไปต่างจังหวัดเลยครับ เพราะว่าให้ ว่าความในฝ่ายวิชาการก็ได้ เช่น บางทีท่านอัยการที่จบจากเมืองนอกมาท่านก็ถามความ ไม่เป็น ส่งไปอยู่ต่างจังหวัดก็ถามนำอย่างเดียวเลยนะครับ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ก็ควรจะปรับปรุง เรื่องระบบการเรียนการสอนอีกนะครับ

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

อีกระบบหนึ่งก็คือที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งนะครับ กระบวนการในการ พิจารณาคดีเลือกตั้งใช้ระบบไต่สวนนะครับ ระบบไต่สวนก็คือว่าทั้ง ๒ ฝ่ายนั้น ส่งพยานหลักฐานให้แก่อีกฝ่ายนะครับ รายงานข้อบังคับของศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องกับ คดีเลือกตั้ง ท่านให้ใช้ระบบไต่สวนนะครับ ฝ่ายผู้ที่ถูกกล่าวหาจะเสียเปรียบเนื่องจากว่า มันขัดกันทั้ง ๒ กฎหมาย ทั้ง ๒ หลัก เนื่องจากระบบไต่สวนในชั้นคณะกรรมการการเลือกตั้ง ปิดเป็นความลับ ไม่สามารถจะทราบได้เลยว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาเป็นใคร ผู้กล่าวหานั้นให้การ ว่าอย่างไร ผู้ที่ถูกกล่าวหาพอไปให้การในชั้น กกต. นี่นะครับ ก็ให้การไม่ถูก ว่าประเด็นที่เรากล่าวหานั้นคืออะไร บอกประเด็นสั้น ๆ ว่ามีคนกล่าวหาว่าท่านใช้ตัวแทน ซื้อเสียง พอไปให้การในชั้น กกต. ก็อ้างพยานไปไม่ถูก ไม่ตรงตามประเด็น พอขึ้นไปสู่ กระบวนการพิจารณาในศาลเอาพยานมาดู ฝ่ายผู้ที่ถูกกล่าวหานี่จะเสียเปรียบเนื่องจากว่า ไม่สามารถจะอ้างพยานหลักฐานได้ในชั้น กกต. นะครับ ท่านจะต้องแก้กฎหมายว่า ในชั้นคณะกรรมการการเลือกตั้ง การแจ้งข้อกล่าวหาให้กับผู้ที่ถูกกล่าวหาต้องชัดและ สามารถที่จะนำทนายเข้าไป แล้วก็ทนายสามารถจะดำเนินการได้ ไม่ใช่ให้ทนายไปนั่งฟังเฉย ๆ เหมือนคดีเลือกตั้งในทุกวันนี้นะครับ เพราะฉะนั้นการที่ท่านจะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดย สุจริตและเที่ยงธรรมจะต้องทุกกระบวนการ ไม่ใช่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งเท่านั้น ในระบบการสืบสวนสอบสวน ไต่สวน ซึ่งจะมีศาลเลือกตั้งต่อไปในอนาคต ในความยุติธรรม ในเบื้องต้นต้องชัดแจ้งและให้ทุกฝ่ายสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มความสามารถนะครับ เมื่อนั้นประเทศนี้ก็สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเป็นธรรม สุดท้ายขอขอบคุณ ท่านประธานแล้วก็เพื่อนสมาชิกทุกท่านที่ให้โอกาสอภิปรายในครั้งนี้ ขอขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปเชิญท่านสมาชิกวันชัย สอนศิริ ครับ

นายวันชัย สอนศิริ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม วันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านประธานครับ จะทำอย่างไรให้มีการบังคับใช้กฎหมาย เป็นไปอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม นั่นหมายความว่ากฎหมายนี่มันใช้ได้ดีอยู่แล้ว แต่การบังคับใช้กฎหมายของเรานั้นมีปัญหา รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวจึงกำหนดไว้ว่าจะต้องมีการบังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัดและ เป็นธรรม เป็นเรื่องที่สภาปฏิรูปแห่งชาติต้องคิดและต้องทำ ท่านประธานที่เคารพครับ ทุกองค์กรเริ่มตั้งแต่ตำรวจหรือกระบวนการอื่น ๆ ที่มีการสืบสวน สอบสวนและจับกุมคุมขัง ผู้กระทำผิด ไม่ว่าจะหน่วยงานใดก็ตามที่เกี่ยวกับเรื่องนี้รวมทั้งตำรวจ อัยการ และไปศาล จนกระทั่งสุดท้ายไปเรือนจำ ในสภาปฏิรูปแห่งชาติแม้แต่กรรมาธิการกฎหมายและ กระบวนการยุติธรรม เราพูดกันอยู่ตลอดเวลาครับท่านประธานและท่านสมาชิกที่เคารพครับ ๑. ต้องอิสระ ๒. ปราศจากการแทรกแซง ๓. ต้องไม่ถูกครอบงำ เท่านี้ละครับ การบังคับใช้ กฎหมายหรือการบังคับในเรื่องอื่นใดในบ้านนี้เมืองนี้จะเป็นไปด้วยความสุจริตเที่ยงธรรม และโปร่งใส ๒ เรื่องครับเป็นตัวแทรกแซงและเป็นเรื่องใหญ่ในบ้านนี้เมืองนี้ครับท่านประธาน เงินกับอำนาจครับ เงินกับอำนาจทำให้ไม่มีอิสระ เงินกับอำนาจทำให้มีการแทรกแซง เงินกับอำนาจทำให้เกิดการครอบงำ แม้แต่ในสภานี้ท่านประธานที่เคารพครับ ไม่ว่าจะเป็น ส.ส. ส.ว. หรือรัฐมนตรี บางคนนี่ผมรู้จักเป็นข้าราชการดีแสนดี พอมาอยู่ในสภานี้แพ้เงิน แพ้อำนาจครับท่านประธาน ไม่ได้ยุคนี้นะครับ ไม่ใช่สภานี้ เดี๋ยวนี้ บางคนเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ น่าเคารพนับถือของบ้านของเมือง พอเจอเงินกับอำนาจ เพี้ยนครับท่านประธานครับ เพราะฉะนั้นผมจึงกราบเรียนต่อท่านประธานที่เคารพว่าถ้าเราจะดูหลักการของข้าราชการ กับการเมืองแล้ว ข้าราชการไม่ว่าจะเป็นข้าราชการประจำหรือข้าราชการการเมือง กับพ่อค้านักธุรกิจครับท่านประธาน พ่อค้านักธุรกิจนั้นทำงานเพื่ออะไรครับ เพื่อเงินและ ผลกำไร พ่อค้านักธุรกิจนั้นทำงานเพื่อครอบครัว ตัวเอง วงศ์ตระกูล บริษัท บริวาร พ่อค้านักธุรกิจครับท่านประธาน หาช่องว่างทางกฎหมายทุกรูปแบบ พ่อค้านักธุรกิจครับ ใต้ดิน บนดิน ใต้โต๊ะ บนโต๊ะ เล่ห์กล มนต์คาถา เพื่อผลกำไร เอาครับ ปัจจุบันอาจจะมี ระบบธรรมาภิบาลมากขึ้นก็ตาม แต่ข้าราชการคืออะไรครับท่านประธาน ทำงาน เพื่อเกียรติยศและศักดิ์ศรีครับ ข้าราชการทำงานเพื่อส่วนรวมเพื่อประชาชนครับ ข้าราชการ ทำงานโดยคุมกฎกติกาและเอากฎหมายเป็นตัวตั้ง สุดท้ายครับข้าราชการยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม ๒ องค์กรนี้เขาห้ามลัดวงจรกันครับ แต่ในความเป็นจริงเวลามันมีเงินกันเยอะ ๆ เงินมาก ๆ คนที่มีเงินเยอะ ๆ พ่อค้านักธุรกิจดันไปยืนอยู่สายข้าราชการการเมือง แล้วก็คุมข้าราชการประจำ นี่ละครับจึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายของบ้านเรานั้น ไม่เคร่งครัดและไม่เป็นธรรม เพราะเอาแนวคิดของความเป็นพ่อค้านักธุรกิจมายืนอยู่ ซีกข้าราชการประจำครับ เพราะฉะนั้นผมจึงกราบเรียนต่อท่านประธานที่เคารพว่า กลไกทางการเมืองที่ท่านประธานกำลังเป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเรื่องสำคัญครับ ที่จะทำให้ได้คนดีเข้ามามีอำนาจ มาเป็นข้าราชการการเมือง และคนดี พอมามีอำนาจนาน ๆ ก็เพี้ยนเหมือนกันครับท่านประธาน เพราะฉะนั้นกลไกถ่วงดุลและ การตรวจสอบนี้จึงสำคัญในการที่ว่าเขาใช้อำนาจรัฐนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม ตรงนี้จึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายโดยผู้คุมนโยบาย ซึ่งมาจากการเลือกตั้งนั้นสำคัญ

นายวันชัย สอนศิริ ต้นฉบับ

และประการสุดท้ายครับท่านประธาน กลไกบริหารราชการแผ่นดิน โดยข้าราชการนั้นที่ท่านกำลังร่างรัฐธรรมนูญและพวกเรากำลังปฏิรูปนั้นต้องให้คนดีมีที่ยืน และอยู่ได้ มียศ มีตำแหน่ง มีฐานะ คนชั่วต้องถูกขจัดออกไป เวลาเราปฏิรูปตำรวจครับ ตำรวจเขาบอกมันมีคนไม่ดีอยู่ประมาณแค่ ๑๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นในวงการเขาครับ แต่คน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ท่านประธานดันมีอำนาจครับ นี่คือความเลวร้ายครับ เพราะฉะนั้น เราจะต้องสร้างกลไกตรงนี้ให้คนดีเข้ามามีอำนาจแล้วเขามีที่ยืน เมื่อนั้นครับผมเชื่อว่า การบังคับใช้กฎหมายจะเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมและสุจริตครับท่านประธาน ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปเชิญท่าน พลตำรวจตรี ปรีชา สมุทระเปารยะ ครับ

พลตำรวจตรี ปรีชา สมุทระเปารยะ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม พลตำรวจตรี ปรีชา สมุทระเปารยะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจังหวัดสมุทรปราการ ประเด็นที่จะอภิปรายในวันนี้ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะเกี่ยวกับหลักประกันของ ความเป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งส่วนมากจะมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้พ้นจากคำครหาที่ว่าปฏิบัติหลายมาตรฐาน เรื่องนี้ขอพูดเฉพาะในเรื่องการใช้ กฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของตำรวจ ซึ่งผมได้เคย ปฏิบัติหน้าที่มาเป็นระยะเวลากว่า ๓๐ ปี ผมมีความเห็นว่าการที่จะให้มีการบังคับใช้ กฎหมายในเรื่องนี้เน้นอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างเคร่งครัด และจะต้องเป็นธรรมด้วย ในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจนะครับ มีส่วนที่เกี่ยวข้องอยู่ ๒ กระบวนการ กระบวนการแรกคือกระบวนการแจ้งข้อหาจับกุมผู้ต้องหา ซึ่งจะต้องมี การทำบันทึกการแจ้งข้อหาและจับกุมตัวผู้ต้องหาในเบื้องต้นเพื่อนำส่งพนักงานสอบสวน กระบวนการที่ ๒ ในชั้นกระบวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ซึ่งทั้ง ๒ กระบวนการนี้ ในความเห็นของผม ผมเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียง หรือการถ่ายทำวีดิทัศน์ไว้ทุกครั้ง ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุมในขณะที่ทำบันทึกการแจ้ง ข้อหาและจับกุมผู้ต้องหา และในชั้นการสอบสวนปากคำผู้ต้องหา รวมทั้งพยานที่เกี่ยวข้อง ของพนักงานสอบสวน ต้องจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงไว้ทุกครั้งเช่นกัน ทั้งนี้ต้องมี การกำหนดระยะเวลาในการที่จะเก็บไฟล์ (File) ที่บันทึกเหล่านั้นไว้เพื่อสามารถใช้เป็น พยานหลักฐานยืนยันในชั้นศาลได้กรณีที่ผู้ต้องหาหรือพยานกลับคำให้การ ในทางกลับกัน อีกนัยหนึ่งเพื่อเป็นหลักประกันในการที่ผู้ต้องหาจะได้รับความเป็นธรรมเบื้องต้น อย่างแน่นอนว่าจะไม่ถูกทำร้าย ถูกบังคับขู่เข็ญต่าง ๆ นานาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ทำการ จับกุม และจะได้รับความเป็นธรรมจากการสอบสวนของพนักงานสอบสวน อาจจะมีคำถาม คำพูดที่เพราะ ๆ ซึ่งท่านอาจจะไม่เคยได้ยินจากพนักงานสอบสวนมาก่อน แต่ถ้าหากว่า มีการบันทึกภาพและเสียงเช่นนี้ แน่นอนครับพนักงานสอบสวนจะต้องปรับปรุงถ้อยคำ ในการพูดการจาต่าง ๆ นอกจากนี้ผมเห็นว่ากระบวนการสอบสวนซึ่งในขณะนี้ยังไม่ทราบว่า จะไปอยู่กับฝ่ายใดก็ตาม หากยังอยู่กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผมก็คิดว่าน่าจะช่วย กู้ภาพลักษณ์ของตำรวจให้ดีขึ้นได้ โรงพักหรือสถานีตำรวจก็อาจจะไม่ใช่สถานที่น่าหวาดกลัวอีกต่อไป เพราะจะเป็นการล้าง ภาพลักษณ์เรื่องการซ้อมหรือการทำร้ายผู้ต้องหาก็จะหมดสิ้นไป ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิในการที่ ผู้ต้องหาหรือพยานจะบันทึกภาพและเสียงได้เช่นเดียวกัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกรณี มีข้อสงสัย ในปัจจุบันนี้การบันทึกภาพและเสียงไม่น่าจะเป็นอุปสรรคในการดำเนินการต่อไปแล้ว ของทุก ๆ ฝ่าย อีกทั้งจะยุติปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการค้าสำนวน เพราะการแก้ไขเปลี่ยนแปลง คำให้การของผู้ต้องหาและพยานจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีกต่อไป เนื่องจากแต่ละฝ่าย ก็มีบันทึกภาพและเสียงเอาไว้ก็จะเกิดการระแวงซึ่งกันและกัน สุดท้ายนี้ใน การดำเนินการ บันทึกภาพและเสียงตามที่ได้กล่าวมานี้ ผมเห็นว่าถ้าหากเห็นว่าเป็นผลดีก็อาจจะนำไปใช้กับ กระบวนการยุติธรรมอื่น ๆ เช่น อัยการและศาลก็จะทำให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรม และการบังคับใช้กฎหมายได้สมดังเจตนารมณ์ที่ต้องการ คือเป็นไปอย่างเคร่งครัดและ เป็นธรรม ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปขอเรียนเชิญท่านอาจารย์ตรึงใจ บูรณสมภพ ครับ

นางตรึงใจ บูรณสมภพ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพ ดิฉัน ตรึงใจ บูรณสมภพ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันจะขอพูดในประเด็น เนื่องจากวันนี้มี ๒ ประเด็นนะคะ จะทำอย่างไรให้มีการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่าง เคร่งครัดและเป็นธรรม แต่จะพูดในประเด็นที่ทำอย่างไรจะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่าง เคร่งครัด เพราะว่าปัจจุบันการบังคับใช้กฎหมายในบ้านเราค่อนข้างจะหย่อนยาน สิ่งแรกเลย อยากจะเปรียบเทียบว่าคนที่ทำผิดก็เหมือนกับคนป่วย ทำอย่างไรที่ไม่ให้คนทำความผิดก่อน หรือทำอย่างไรให้เขาไม่ป่วย ให้มีสุขภาพดี ก็จะต้องมีการอบรม สั่งสอนให้มีการเรียนตั้งแต่ เด็ก ๆ อายุยังน้อย ให้เขารู้จักว่าอะไรผิด อะไรถูก ให้เขารู้จักการมีวินัย ดิฉันอยากจะ ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นซึ่งสอนให้เด็ก หรือประชาชนเป็นคนที่มีระเบียบวินัย ไม่ทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ดิฉันเองเคยลืมกระเป๋าเดินทางใบเล็ก ๆ ไว้หน้าสนามบินแล้วก็ ไปที่โรงแรม ไม่ได้ลืมหรอกคือหยิบไม่ครบ แท็กซี่หยิบไปให้ไม่ครบ ไปตั้ง ๑ ชั่วโมงกลับมา กระเป๋ายังวางอยู่ที่เดิมแล้วคนก็เดินผ่านไปผ่านมา อันนี้เป็นตัวอย่างว่าคนของเขามีระเบียบวินัย ซึ่งเราน่าที่จะเอาอย่าง

นางตรึงใจ บูรณสมภพ ต้นฉบับ

ต่อไปก็คือจะต้องมีโทษให้กับผู้ที่ละเลย คือมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายแต่ไม่ทำ จะต้องมีโทษให้กับบุคคลเหล่านี้ด้วย บุคคลเหล่านี้คือใคร ก็จะมียกตัวอย่างเช่น ตำรวจ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือระดับรองลงมานะคะ ซึ่งท่านจะเป็นผู้กำกับดูแลประชาชน เป็นผู้ที่สามารถใช้กฎหมายได้ อัยการที่ไม่สั่งฟ้อง เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่าง ๆ ทุกระดับ คือเราไม่ค่อยจะลงโทษผู้ที่ละเลย ไม่บังคับใช้กฎหมาย ก็จะต้องมีกฎหมายเพิ่มขึ้น ทำอย่างไรจะเอาความผิดกับผู้ที่ละเลยไม่ใช้กฎหมายได้ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก สิ่งต่อไปที่ควรจะทำได้ก็คือให้ประชาชนเป็นหูเป็นตาช่วยดูแลหาผู้กระทำความผิด ประชาชน ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์หรือผู้ที่อาจจะรู้เบาะแสสามารถที่จะฟ้องได้โดยที่มีพยานหลักฐาน เช่น การถ่ายภาพ มีหลักฐานอ้างอิง อาจจะมีรางวัลให้กับประชาชนด้วย สิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยได้ ดิฉันขอยกตัวอย่างเช่น การขับรถ การจราจร ผู้ที่ทำความผิดในเรื่องการขับรถ หรือจอดรถ ในที่ที่ไม่สมควรจอด หรืออะไรก็ตามนะคะ เช่น ฝ่าไฟแดงอะไรต่ออะไร ซึ่งมีกล้องจับอยู่ แต่ก็ไม่ค่อยได้จับเท่าไรนี่ อาจจะให้เด็กนักเรียนก็ได้นะคะผลัดกันมาเป็นเวรดูแล ผู้ขับรถเหล่านี้ แล้วก็ถ่ายภาพเอาไว้ แล้วก็ฟ้องได้ โดยที่มีรางวัลให้ อันนี้เป็นตัวอย่างเท่านั้น แต่ว่าเรื่องอื่น ๆ ก็เช่นกัน อาจจะต้องให้ประชาชนช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ แล้วก็จะต้องมีการคุ้มครองให้ผู้ที่มาแจ้งความ หรือว่ามาฟ้องไม่โดนแอบทำร้าย หรืออะไรก็ตามนะคะ เพราะฉะนั้นในประเด็นนี้ดิฉันก็ขอเสนอ ส่วนการบังคับใช้ อย่างเคร่งครัดก็หมดเวลา ก็คงให้ท่านอื่นพูด ขอบคุณค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เรียนเชิญอาจารย์วินัย ดะห์ลัน ครับ ถ้ายังไม่อยู่ในห้องก็ขอ

นายวินัย ดะห์ลัน ต้นฉบับ

อยู่ครับท่านครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญครับ ขออภัย

นายวินัย ดะห์ลัน ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิก สปช. ผม วินัย ดะห์ลัน ครับ หมายเลข ๑๘๕ วันนี้จะคุยกับพวกเราขอเสนอความเห็นในเรื่องของ การบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม วันนี้เราคงต้องยอมรับนะครับว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติเราเข้าสู่โหมดการปฏิรูปสังคมไทยเต็มรูปแบบแล้ว อย่างไรก็ตาม การก้าวไปให้ถึงจุดหมายมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ที่เราร่วมกันสร้างนี่นะครับ ยังมีอุปสรรคอยู่ไม่น้อย อุปสรรคหนึ่งที่อาจฉุดรั้งประเทศไทยให้ถดถอย ก้าวตามสังคมอื่น ไม่ทันก็คือปัญหาการชาชินต่อการละเมิดกฎหมายของคนไทย คำว่า คนไทย ในที่นี้ ในภาพรวมผมไม่ได้หมายถึงทุกคนนะครับ คำถามท้าทายมีอยู่ว่าจะทำอย่างไรจึงสร้างวินัย ให้เกิดขึ้นในคนไทยกระทั่งสามารถบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรมได้ ก่อนอื่น เราก็ควรจะวิเคราะห์กันก่อนนะครับว่าพฤติกรรมการละเมิดกฎหมายของไทยนั้นเป็นอย่างไร เหตุใดคนไทยจึงชาชินกับการละเมิดกฎหมาย และมีหนทางใดที่ช่วยสร้างวินัยให้กับคนไทย ให้ร่วมสร้างสังคม เคารพกฎหมายขึ้นมาได้ ขอตอบคำถามทีละส่วน ดังต่อไปนี้ครับ

นายวินัย ดะห์ลัน ต้นฉบับ

๑. พฤติกรรมการละเมิดกฎหมายของคนไทย มีรายงานวิจัยทางสังคมวิทยา นานกว่า ๖ ทศวรรษ ที่แสดงว่าพฤติกรรมการละเมิดกฎหมายของคนไทยเกิดขึ้นมา เนิ่นนานแล้ว สิ่งที่น่าห่วงคือพฤติกรรมดังกล่าวทวีมากขึ้นในปัจจุบัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด ในเวลานี้คือการละเมิดกฎจราจร เช่น การจอดรถในที่ห้ามจอด การเมาแล้วขับ ฝ่าฝืนไฟแดง ขับรถย้อนศร แข่งรถบนถนนสาธารณะ นักจิตวิทยาสังคมสรุปว่าการปล่อยให้ผู้ละเมิดชาชิน กับการกระทำความผิดเล็กน้อยโดยผู้รักษากฎหมายไม่ดำเนินการและสังคมไม่มีมาตรการ ลงโทษทางสังคม จะทำให้คนเหล่านี้กระทำความผิดที่ใหญ่โตขึ้นได้ตั้งแต่การละเมิด ทรัพย์สินสาธารณะที่เรียกกันว่าฟรี ไรเดอร์ (Free rider) การเรียกรับสินบน การคอร์รัปชัน ซึ่งเห็นได้ว่าในวันนี้เกิดปรากฏการณ์สังคมไทยให้การยอมรับการโกงกันแล้ว

นายวินัย ดะห์ลัน ต้นฉบับ

๒. สาเหตุที่คนไทยชาชินกับการละเมิดกฎหมาย จากงานวิจัยของจอห์น อี เอมบรี แห่งมหาวิทยาลัยเยล และเฮอร์เบิร์ต ฟิลลิปส์ แห่งมหาวิทยาลัยยูซี เบิร์กลีย์ พบว่าต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยชินชากับการละเมิดกฎหมายคือบุคลิกภาพของคนไทยเอง คนไทยมีความเป็นปัจเจกนิยมสูง ไม่ชอบผูกมัด ขาดพลังรวมกลุ่มทางสังคมในระยะยาว มีค่านิยมเพิกเฉย ไม่ต่อสู้แล้วก็ยอมจำนน อย่างไรก็ตามคนไทยมีส่วนดีคือยืดหยุ่นสูง แก้ไขสถานการณ์เก่ง ชอบการมีปฏิสัมพันธ์ ชอบความราบรื่นกลมกลืนของสังคม เข้าใจกฎระเบียบของสังคมได้ง่าย เหตุที่ชอบละเมิดเนื่องจากสิ่งที่คนไทยเรียนรู้ทุกเมื่อ เชื่อวันก็คือสังคมอ่อนแอต่อการลงโทษผู้ละเมิด ในสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าปัญหา ความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยอย่างเนิ่นนานทำให้คนไทยชาชินกับ การละเมิดกฎหมายและกติกาของสังคม การขาดแบบอย่างที่ดีทางด้านการเคารพกฎหมาย จะทำให้คนในสังคมสร้างค่านิยมที่ผิด เข้าใจว่าการละเมิดกฎหมายเป็นสัญญาที่แสดงถึง ความเข้มแข็งและอภิสิทธิ์ซึ่งอันตรายอย่างยิ่ง

นายวินัย ดะห์ลัน ต้นฉบับ

๓. หนทางที่จะนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายกับคนไทยได้อย่างเคร่งครัดและ เป็นธรรม สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างวินัยให้กับคนไทยเท่านั้น คุณเกรียงไกร เจียรประดิษฐ์ แห่งสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินสรุปไว้ในรายงานการศึกษาเมื่อ ๒ ปีที่ผ่านมาว่า เป็นเพราะ คนไทยชาชินอยู่กับการละเมิดกฎหมายเป็นเวลานาน จึงต้องใช้เวลาและกลยุทธ์ในการ แก้ปัญหาซึ่งจำเป็นต้องทำ กลยุทธ์สำคัญก็คืออาศัยกระบวนการหล่อหลอมกล่อมเกลาทาง สังคมผ่านสถาบันหลักต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันมิตรสหายหรือเพียร์ กรุ๊ป (Peer group) สถาบันการศึกษา สถาบันสื่อมวลชนและสถาบันสังคม โดยทุกสถาบัน ต้องประสานมือกันประชาสัมพันธ์เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างวินัย การปลูกฝัง จิตสำนึกสาธารณะให้ประชาชนตระหนักร่วมกันถึงปัญหาการละเมิดผลประโยชน์ของ ส่วนรวม และการละเมิดสิทธิของผู้อื่น สำคัญก็คือการสร้างความตระหนักนี้ให้เกิดขึ้น ในหมู่เด็กและเยาวชน วิธีง่าย ๆ อย่างเช่น การสอนวัฒนธรรมการเข้าคิว การสร้าง บทลงโทษทางสังคม การสร้างความรู้สึกสำนึกผิด การจัดระเบียบและการสร้างความสะอาด ให้เกิดขึ้นกับถนนหนทาง การนำสายไฟฟ้าลงดิน การกำจัดขยะ การจัดระเบียบ หาบเร่แผงลอย หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐแสดงความเข้มงวด เป็นธรรม ตรงไปตรงมาให้ภาคประชาชนได้ให้เห็นบ่อยครั้ง ระเบียบของสังคมที่ค่อย ๆ เกิดขึ้นเหล่านี้ จะช่วยกล่อมเกลาประชาชน ช่วยเร่งสังคมให้เรียนรู้รวดเร็วขึ้น เกิดพลเมืองที่มีวินัยยอมรับ โดยดุษฎีกับการที่ภาครัฐบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้การยอมรับให้ภาคประชาชนได้เข้ามา มีส่วนร่วมจะช่วยกันให้การใช้กฎหมายเกิดความเป็นธรรมและทั่วถึงได้ในที่สุด ขอขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปขออนุญาตเรียนเชิญ พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ครับ

พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนประธานสภาปฏิรูป แห่งชาติที่เคารพ กระผม พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติจากจังหวัดมุกดาหาร จากการที่มีให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อรับฟังความคิดเห็นของ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในเรื่องจะทำอย่างไรให้มีการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่าง เคร่งครัดและเป็นธรรม ท่านประธานครับ จากการที่ผมได้รับราชการตำรวจมา ๒๘ ปี ปรากฏว่าการบังคับใช้กฎหมายในหลายกระทรวง ทบวง กรม ที่มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้ กฎหมาย ก็ขอยกตัวอย่างก็คือสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็เคยได้มีการปฏิรูปสำนักงานตำรวจ แห่งชาติจากกรมตำรวจมาเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการขนส่ง การออกใบอนุญาตใบขับขี่ต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ในอำนาจของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติทั้งนั้น ต่อมาก็ได้มีการแบ่งหน้าที่ออกไปจัดตั้งเป็น กรมการขนส่งทางบก ก็มีการถ่ายโอนอำนาจจากตำรวจ แล้วก็ข้าราชการตำรวจหลายคน ก็ได้โอนย้ายตำแหน่งไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวด้วย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์นะครับ แต่ทีนี้ในเรื่องการจับกุมคุมขัง การสอบสวนของพนักงานสอบสวนและตำรวจก็ดี ผมคิดว่า ในปัจจุบันนี้มันเป็นเนื้อเดียวกันนะครับ คือมีการย้ายไปย้ายมาสลับตำแหน่งกัน และการทำหน้าที่ของพนักงานสอบสวนก็ไม่มีโอกาสเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งปัจจุบัน เนื่องจากว่ามีการเทียบยศ เทียบตำแหน่ง การทำหน้าที่ของพนักงานสอบสวน จึงไม่มีความเป็นอิสระ ถูกกดดัน หรือว่าจากการที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้กำกับต้องคอย สอดส่องดูแลให้ปฏิบัติหน้าที่ บางอย่างบางครั้งก็อาจจะไม่ได้รับความยุติธรรม กับประชาชนบ้าง เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ผมจึงเห็นควรให้มีการแยกงานสอบสวนออกจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็คือให้มีการตั้งกรมสอบสวนคดีอาญาขึ้นในประเทศไทยนะครับ คือตำรวจมีหน้าที่ในการสืบสวน ป้องกัน ปราบปราม จับกุม แล้วก็นำส่งพนักงานสอบสวน ดำเนินคดี ในส่วนนี้ผมคิดว่าจะมีความเป็นธรรมมากขึ้นสำหรับพี่น้องประชาชน ส่วนที่จะให้ งานสอบสวนไปอยู่กับสำนักงานอัยการนั้นผมคิดว่าไม่เห็นด้วย เนื่องจากว่าพนักงานอัยการ มีกำลังอัตราน้อยไม่เพียงพอ แม้แต่การสอบสวนคดีเด็กและเยาวชนในปัจจุบันก็ยังมีปัญหา อยู่มาก มีการนำพยานและผู้ต้องหาไปสอบปากคำที่สำนักงานอัยการ อันนี้ก็ไม่คล่องตัวและ ไม่มีความเป็นธรรมสำหรับพี่น้องประชาชนนะครับ

พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ต้นฉบับ

ในส่วนของตุลาการ ในส่วนของตุลาการนี่ผมก็อยากจะให้มีการปฏิรูป เช่นเดียวกันนะครับ คือปฏิรูปการใช้ดุลยพินิจ ก็คือการที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ ไปยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาล ศาลก็จะใช้ดุลยพินิจในการไม่อนุญาตให้มี การประกันตัว ทั้ง ๆ ที่หลักทรัพย์ของประชาชนก็มีเพียงพอ และบางทีเป็นคดีเล็กน้อย ไม่ใช่คดีที่มีการกำหนดอัตราโทษสูง ทางตุลาการศาลยุติธรรมในเบื้องต้นก็ยังไม่ให้ประกันตัว บางคนต่อสู้คดีตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ถูกจำคุกมาตลอดทั้ง ๆ ที่เขาก็ได้ ต่อสู้คดี แต่เขาก็มีหลักทรัพย์ในการยื่นประกันตัวในระหว่างอุทธรณ์หรือระหว่างฎีกา ผมก็อยากจะให้การบังคับใช้กฎหมาย ในการใช้ดุลยพินิจของตุลาการให้มีความเป็นธรรม กับพี่น้องประชาชนมากกว่าการที่จะเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งประชาชนหลายคนเขาก็มา ร้องเรียน หรือว่ามาบ่นให้ทราบว่าการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ตำรวจก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี หรือการใช้ดุลยพินิจของตุลาการศาลก็ดี ประชาชน ไม่มีความพึงพอใจจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว แต่ก็ไม่มีอะไรที่จะไปโต้แย้งหรือคัดค้านได้ เนื่องจากว่าเป็นประชาชนอำนาจไม่มี ก็อยากจะให้สภาปฏิรูปแห่งชาติได้มีการกำหนด มาตรการการบังคับใช้กฎหมายให้เร่งรัดให้มีความเป็นธรรมมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และสิ่งที่พูดกันมากในปัจจุบันก็คือเรื่องตำรวจเก็บส่วยต่าง ๆ นี่ครับ ผมก็อยากจะให้ ทุกอย่างที่อยู่ใต้ดินให้เอาขึ้นมาเป็นกฎหมายให้บังคับใช้กับพี่น้องประชาชน การทุจริตคอร์รัปชันในส่วนของตำรวจ หรือว่าหน่วยงานอื่นก็ตาม ก็จะได้หมดสิ้นไปจาก ประเทศไทยครับ กราบขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปเชิญคุณเฉลิมชัย เฟื่องคอน ครับ

นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพครับ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน สมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติ ๐๕๑ จากจังหวัดอุตรดิตถ์ครับ หัวข้อเรื่อง จะทำอย่างไรให้มีการบังคับใช้กฎหมาย เป็นไปอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กระผมขออธิบายถึงองค์กรที่ปฏิบัติหน้าที่ ในกระบวนการยุติธรรม ในระดับต้นน้ำคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ในระดับกลางน้ำ สำนักงานอัยการสูงสุด และในระดับปลายน้ำคือศาล ท้ายที่สุดก็คือ เรือนจำ ในกระบวนการยุติธรรมในระดับต้นน้ำ ถ้าดูถึงสภาพการบริหารของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว ๒.๓ แสนคนนะครับ ๑. โยกย้ายไม่เป็นธรรม เล่นพรรคเล่นพวก เสียเงินเข้าสู่ตำแหน่ง ผู้บังคับบัญชาขายตำแหน่ง ให้ลูกน้องตั้งเป็น แก๊งรับย้าย เลื่อนตำแหน่ง ๒. คือรวมศูนย์อำนาจในการโยกย้ายทุกตำแหน่ง สายการบังคับบัญชายาวเกินไป การเมือง แทรกแซง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ครับ สำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติทำผิดกฎหมายเสียเอง เปิดบ่อน หวยเถื่อน น้ำมันเถื่อน รีดไถประชาชน ค้ามนุษย์ ค้ายาเสพติด หน่วยงานตำรวจ มีมากเกินไป ถ้าเราไปเที่ยวทะเลเราก็จะมีตำรวจน้ำ ถ้าเราอยู่บนถนนขับรถ ก็มีตำรวจทางหลวง ตำรวจจราจร แถมบางครั้งก็มีด่านเก็บสตางค์อีกด้วย ถ้าเราเข้าป่า มีตำรวจป่าไม้ ขึ้นรถไฟก็มีตำรวจรถไฟ ถ้าเราไปเที่ยวพัทยาก็มีตำรวจท่องเที่ยว รวมทั้งตำรวจโรงพักภูธร นครบาล ตชด. และตำรวจสอบสวนกลาง และหน่วยตำรวจ อีกหน่วยหนึ่งที่สำคัญก็คือ กรมสอบสวนคดีพิเศษถูกแทรกแซงทางการเมือง ในอดีตที่ผ่านมา ผู้บริหารไปรับใช้นักการเมือง รัฐบาลใช้ตำรวจหน่วยนี้ไปรังแกฝ่ายตรงข้าม คราวที่แล้ว หน่วยงานนี้ก็เกือบล่มสลาย น่าจะยุบหรือไม่ก็ตั้งเป็นหน่วยงานองค์กรอิสระ ทั้ง ๆ ที่ เงินเดือนค่าตอบแทนหน่วยงานสอบสวนคดีพิเศษก็มาก แต่ก็ไม่ใช่เหตุผล ถ้าให้คะแนน การบังคับใช้กฎหมายและความเป็นธรรม หน่วยงานตำรวจควรจะให้สัก ๕๐ เปอร์เซ็นต์ จะทำอย่างไรให้ตำรวจมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม โอนหน่วยงาน ของบางหน่วยที่มีมากเกินไปไปขึ้นตรงกับส่วนราชการที่รับผิดชอบโดยตรงจะได้ทำงานได้ คล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพ ควรกระจายอำนาจตำรวจให้ไปอยู่จังหวัดส่วนกลาง ตำรวจท้องถิ่นหรือทำให้สายการบังคับบัญชาสั้นลง ส่วนกระบวนการยุติธรรมในระดับกลางน้ำ ก็จะมีสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดนี้เงินเดือนสูงนะครับ เป็นแสน ส่วนใหญ่แล้วก็มีความรู้จบปริญญาตรีขึ้นไป ของเขามีคณะกรรมการบริหารงานบุคคล เรียกว่า คณะกรรมการอัยการล้วน ๆ ไม่มีนักการเมืองเข้ามาแทรกแซง การโยกย้าย ในแต่ละครั้งก็มีความเป็นธรรม การเมืองแทรกแซงยาก การใช้กฎหมายเคร่งครัด และเป็นธรรม .ถ้าให้คะแนนในระดับกลางน้ำของสำนักงานอัยการสูงสุดนี้ก็ประมาณ ๘๐-๙๐ เปอร์เซ็นต์ กระบวนการยุติธรรมปลายน้ำคือระบบศาล อันนี้เงินเดือนก็อยู่ใน ระดับเดียวกันนะครับ ความรู้ความสามารถมีความเชี่ยวชาญ คุณวุฒิก็จบปริญญาตรีขึ้นไป เป็นส่วนใหญ่ และมีคณะกรรมการตุลาการเป็นองค์คณะในการบริหารงานบุคคล ไม่มีนักการเมืองเข้ามาแทรกแซง การโยกย้ายทุกครั้งผู้พิพากษาจะรู้ล่วงหน้า โยกย้าย เป็นธรรมการเมืองแทรกแซงไม่ได้ การใช้กฎหมายเคร่งครัดเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ หากยังไม่เป็นธรรมบ้าง ก็คือความล่าช้าในการพิจารณาคดีครับ ขอบคุณมากครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปขอเรียนเชิญอาจารย์ประเสริฐ ชิตพงศ์ ครับ

นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ชิตพงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดสงขลานะครับ ท่านประธานครับ เรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายนะครับ แล้วก็การบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไป อย่างเคร่งครัดและเป็นธรรมนั้น ผมเชื่อมั่นว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ ๒ ส่วนนะครับ ส่วนหนึ่งก็คือตัวบทกฎหมายเองแล้วก็ผู้บังคับใช้กฎหมาย แต่อีกภาคส่วนหนึ่งก็คือภาคส่วนทางสังคมที่ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของการบังคับใช้ กฎหมายและถูกการใช้กฎหมายมาบังคับ ซึ่งในส่วนที่เป็นโครงสร้างทางกฎหมาย แล้วก็การบังคับใช้กฎหมายนั้นผมคงจะไม่ไปแตะต้องในส่วนนั้นมาก เพราะคิดว่ามีท่านผู้รู้ ทางกฎหมาย แล้วก็มีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายอยู่มากมาย แล้วก็มีหลายท่านก็ได้ให้ความเห็นไปแล้ว แต่อยากจะมีความเห็นในเรื่องที่เกี่ยวกับทางสังคม ซึ่งในทางสังคมมันมีประเด็นที่เป็นปัญหาและประเด็นที่เป็นโอกาสอยู่ ประเด็นที่เป็นปัญหานั้น ก็คือในสังคมไทยในเรื่องของการมีอภิสิทธิ์นะครับ มีอภิสิทธิ์ในรูปแบบต่าง ๆ มันทำให้ เรื่องของการใช้กฎหมายก็เลยกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาขาดความเป็นธรรม เพราะฉะนั้นทำอย่างไรในการปฏิรูปในคราวนี้วัฒนธรรมของคนไทยต้องมาปรับตัวกันมาก พอสมควร วัฒนธรรมในเรื่องของการใช้อภิสิทธิ์ทั้งในแง่ของผู้ใช้นะครับ ผู้ใช้อภิสิทธิ์ แล้วก็ผู้ที่มีส่วนในการที่จะทำให้เกิดการใช้อภิสิทธิ์และผู้ที่ได้รับการเสียเปรียบจากการที่ มีผู้ใช้อภิสิทธิ์นั้น ๆ ไปใช้อภิสิทธิ์เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้กฎหมาย เพราะฉะนั้นผมคิดว่า เราต้องมาคิดหาทางในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ในทางที่จะทำให้สังคมเกิดสำนึกร่วม ในการที่จะทำให้มองเรื่องการใช้อภิสิทธิ์ต่าง ๆ การเลือกปฏิบัติ รวมทั้งการที่มีการถูกลงโทษ จากการที่มีการใช้อภิสิทธิ์เหล่านั้นขึ้นมาด้วย ในรูปแบบต่าง ๆ กันซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ ทางสังคม เพราะว่าในกระบวนการทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายนั้น ก็มีการดำเนินการอยู่แล้ว แต่กระบวนการทางสังคมที่จะมีส่วนเข้ามาช่วยในเรื่องของ การบังคับใช้กฎหมายแล้วก็ใช้อย่างเป็นธรรม ทำอย่างไรให้เรื่องของการอภิสิทธิ์ต่าง ๆ หรือเรื่องของการที่มีความรู้สึกว่าถ้าได้กระทำอะไรที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแล้วนี่เป็นสิ่ง ซึ่งมีความรู้สึกว่าเป็นการที่มีความแตกต่าง มีความรู้สึกได้รับการยกย่องจากกลุ่มคน ที่ไม่เคารพกฎหมายด้วยกันนี่แหละ ทำอย่างไรเราถึงจะสามารถลดในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ลงมาให้ได้นะครับ เพราะฉะนั้นในการปฏิรูปอยากให้มองไปถึงการสร้างวัฒนธรรมของ การลดการใช้อภิสิทธิ์และการที่เราจะมาให้ความสำคัญกับผู้ที่มีการเคารพในกฎหมาย เช่น การปลูกฝัง สิ่งเหล่านี้มาจากครอบครัว มาจากสถานศึกษา มาจากโรงเรียน แล้วก็มีการปลูกฝังให้การเคารพกฎหมายเป็นสิ่งซึ่งเป็นการยอมรับในสังคม เป็นการทำให้ ผู้ที่เคารพกฎหมายอย่างจริงจังได้รับการยกย่อง มีการปลูกฝังทัศนคติ มีการดำเนินการ อะไรต่าง ๆ ในหลาย ๆ ด้าน รณรงค์ให้ภาคส่วนต่าง ๆ ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ได้รับ ให้ผู้ที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายและเคารพในกฎหมายได้รับเกียรติได้รับการยอมรับนับถือ ในประเด็นต่าง ๆ ที่ผมกราบเรียนไปอาจจะเป็นเรื่องทางนามธรรมอยู่มาก แต่ผมคิดว่า ถ้าเราจะปฏิรูปแล้ว การปฏิรูปวัฒนธรรมในสังคมไทยให้เรื่องของการเคารพกฎหมาย เป็นเรื่องซึ่งถือว่าเป็นเกียรติมีศักดิ์มีศรีและได้รับการยกย่องมากกว่าการไปยกย่อง คนที่ไม่เคารพหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือใช้อภิสิทธิ์ต่าง ๆ และทำให้เกิด การผิดกฎหมายขึ้นมา แต่คนเหล่านั้นได้รับการยกย่องอยู่นะครับ เพราะฉะนั้นต้องช่วยกัน สร้างจะเรียกว่า รณรงค์หรือสร้างบรรทัดฐานหรือหล่อหลอมกล่อมเกลาผู้คนตั้งแต่ เป็นเยาวชนอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างที่ผมได้กราบเรียนแล้วตั้งแต่ครอบครัว สถานศึกษา และในสังคมนะครับ เพราะฉะนั้นก็อยากจะมองไปในแนวทางที่มันเป็นนามธรรม แต่ทำอย่างไรให้นามธรรมเหล่านั้นเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้นะครับ ก็ขออนุญาตที่จะกราบเรียน ท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผมจะขออนุญาตอ่านชื่อท่านสมาชิกที่แสดงความจำนงเอาไว้นะครับ เพื่อประโยชน์ในการ เตรียมตัว ท่านต่อไปคือ คุณสืบพงศ์ ธรรมชาติ ต่อด้วยคุณหมออำพล จินดาวัฒนะ คุณกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ คุณธวัช สุวุฒิกุล แล้วก็คุณประทวน สุทธิอำนวยเดช ขอเชิญคุณสืบพงศ์ ธรรมชาติ ครับ

นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม รองศาสตราจารย์สืบพงศ์ ธรรมชาติ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ในประเด็นอภิปรายทั่วไป ทำอย่างไรให้มีการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม คำ ๒ คำนี้เป็นคำ ที่มีความหมายมาก บังคับใช้กฎหมายก็คือการที่พยายามใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะคำว่าบังคับนี่ต้องทำครับ เป็นธรรมก็คือถูกต้องและเป็นจริง ธรรมะ ภาษาสันสกฤต ถ้า ธรรมะ ม ๒ ตัว บาลี ความหมายเดียวกันครับ คือความจริงในภาษาไทย เพราะในการ บังคับกฎหมายและให้เป็นธรรมนั้นผมว่า

นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ ต้นฉบับ

ข้อที่ ๑ ผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องปฏิบัติจริงครับ รับผิดชอบในหน้าที่และ มีวินัย ซึ่งเป็นคุณธรรม จริยธรรม ๒ ประการนี้ หน้าที่ก็คือหน้าที่ของท่านต้องทำตามหน้าที่ ถ้าไม่ทำตามหน้าที่ละเลยหน้าที่ ถือว่าผิดครับ ผิดทั้งกฎหมาย ผิดทั้งคุณธรรมและจริยธรรม ทีนี้ผู้ที่จะบังคับใช้กฎหมายก็มีอยู่ ๑. ตำรวจ ๒. อัยการ และ ๓. คือศาลครับ ตามที่ ท่านผู้อภิปรายหลายท่านได้อภิปรายไปแล้ว ในขั้นต้นของตำรวจนั้นในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งพี่น้องตำรวจ ๒-๓ ท่านได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นไปแล้วว่าต้องใช้อย่างเป็นธรรม อย่าเห็นแก่พรรคแก่พวก อย่าเห็นแก่อามิสสินจ้าง ซึ่งที่ผ่านมานั้นบางท่านก็อภิปรายไปแล้วว่า ถ้ามีอามิสสินจ้างแล้วกฎหมายก็จะไม่เป็นกฎหมาย ตัวกฎหมายมีเป็นลายลักษณ์ชัดเจนครับ ภาษาไทยอ่านชัด แต่บางทีก็พยายามจะตีความกฎหมายให้เบี่ยงเบนไปก็มีเหมือนกัน ที่จริงภาษาไทยมันก็ไม่ค่อยจะโอ้เอ้อะไรมากนักหรอกครับ เข้าใจได้ง่าย แล้วก็มีการถามกันว่า คนดีเป็นอย่างไร ก็เป็นลักษณะการถามแบบเล่นลิ้นและเล่นสำนวนกันก็มี ที่จริงรู้อยู่แล้วว่า คนดีเป็นอย่างไร และความจริงความถูกต้องคืออย่างไร บางคนยังมาตีสำนวนว่าธรรมะของ อีกคนหนึ่งว่าอย่างนี้ แต่ของอีกคนหนึ่งว่าอย่างนั้น แต่ที่จริงคำว่า ธรรมะคือความถูกต้อง ความดีงาม ความไพเราะ ความน่าฟัง อะไรเหล่านี้คือธรรมะ หรืออย่างท่านพุทธทาสบอก ธรรมะคือหน้าที่ อันนี้ชัดมากนะครับ เพราะถ้าทำหน้าที่ก็คือท่านปฏิบัติธรรมะครับ ปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้นกลุ่มของผู้ใช้กฎหมายทั้ง ๓ กลุ่ม ซึ่งผมเชื่อว่าแต่ละกลุ่มนั้น ได้คัดมาอย่างดีแล้วครับ แต่ว่าการคัดมาอย่างดีบางทีก็เผลอครับ ได้ที่ไม่ดีเข้าไปก็มี แต่บางที ดีตั้งแต่ต้น แต่พอไปตอนกลางและตอนปลายกลับไม่ดีก็มี เพราะมีบางสิ่งบางอย่างเข้าไปดึง ทำให้ไม่ดีได้ครับ นี่คือส่วนที่หนึ่งนะครับ ผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องรับผิดชอบในหน้าที่และ มีวินัย คือบังคับตัวเองให้ได้ครับ มา ๕,๐๐๐,๐๐๐ ก็ทำเฉยไว้ครับ อดกลั้นเอาไว้ มา ๑๐ ล้านก็เฉยไว้อดกลั้นเอาไว้ได้ไหม นี่คือความมีวินัย

นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ ต้นฉบับ

ข้อที่ ๒ มีมาตรการลงโทษอย่างจริงจังกับผู้ที่ไม่ใช้กฎหมายไม่เป็นไปตามนั้น เพราะฉะนั้นถ้าใครทำไม่ถูกต้อง ไม่บังคับใช้กฎหมาย และใช้อย่างไม่เป็นธรรม ถ้ามีหลักฐาน พอผมว่าต้องเอาจริงครับท่านประธาน ถ้าไม่เอาจริงละก็จะได้ใจแล้วก็เหลิงไปเรื่อย ต้องลงโทษกันจริงจัง นี่คืออันที่ ๑ ผู้ใช้กฎหมายไม่ทำตามที่ควรจะทำ

นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ ต้นฉบับ

ข้อที่ ๓ ผู้ใช้กฎหมายซึ่งเรามีอยู่จำนวนมากทั้ง ๓ กลุ่ม ผมว่าในกลุ่มของ แต่ละกลุ่มนั้นพัฒนากันเองนะครับ พัฒนากันเอง เพราะผมเชื่อว่าในกลุ่มนั้นจะต้องมีคนดี คนมีธรรมะสูงอยู่ไม่น้อย เพราะฉะนั้นพัฒนากันเอง นำมาอบรมว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ทั้งอบเข้าไปให้อุ่น ๆ ให้ร้อน ๆ แล้วก็รมเข้าไปนานเข้าก็เปลี่ยนพฤติกรรมได้เช่นเดียวกัน ผมว่านะครับ อันนี้คือส่วนหนึ่งนะครับ และอีกส่วนหนึ่งสุดท้ายก็คือระยะยาว สร้างคนดีคนเก่งให้ได้ด้วยระบบการศึกษา ท่านเลขาธิการ สพฐ. ท่านดอกเตอร์กมล รอดคล้าย ก็ได้คุยกันเมื่อเช้าว่าเราจะแก้ปัญหานี้ อย่างไร สร้างคนดี คนเก่งให้เกิดคนรุ่นใหม่ขึ้นมา และป้อนคนดีคนเก่งเข้าไปในกลุ่มของ กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ไม่ว่าจะเป็นอัยการ ไม่ว่าจะเป็นทหาร แต่ผมเชื่อว่าทั้ง ๓ กลุ่ม คนดีมากกว่าคนไม่ดีครับ ผมเชื่ออย่างนั้นท่านประธานครับ เพราะฉะนั้นเราต้องให้คนดี เป็นผู้ที่ทำให้คนที่ไม่ดีนั้นดีตามลำดับ แต่ถ้าไม่ดีจริง จงใช้กฎหมายแล้วลงโทษตามมาตรการ และข้อกำหนดที่กำหนดเอาไว้ครับท่านประธานครับ ขอบพระคุณมากครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

คุณหมออำพลขอเลื่อนไปก่อนนะครับ ก็ขอเชิญคุณกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ครับ

นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติครับ เรื่องการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทยเราพูดกันมา เยอะมากนะครับ เรามีกฎหมายหลายฉบับ มีปัญหาทีหนึ่งก็เสนอกฎหมายทุกครั้ง เรามีกฎหมายเป็นร้อย ๆ รวมกฎกระทรวงก็เป็นแสนฉบับ และถามว่าทำไมการบังคับใช้ กฎหมายถึงไม่ได้มีประสิทธิภาพ ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าสำคัญมาก ผมขอพูดว่า มี ๓ ล นะครับ

นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ต้นฉบับ

ล ที่ ๑ คือลดกฎหมายเสียหน่อย เรามีกฎหมายมากมาย มีกฎหมายเฟ้อมาก เราต้องลดกฎหมายที่ไม่มีความจำเป็น กฎหมายที่มอบดุลยพินิจให้ภาครัฐ กฎหมาย ที่ให้อำนาจต่าง ๆ แก่องค์กรของรัฐในการใช้อำนาจ การขออนุญาต การจดแจ้งต่าง ๆ ที่เราคุยกันซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชัน ทำอย่างไรที่เราจะลดกฎหมายที่ไม่มีความจำเป็นลง

นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ต้นฉบับ

ล ที่ ๒ คือลดอำนาจของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการตรากฎหมาย ลดการใช้ อำนาจที่ไม่จำเป็นของเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ไหม ยกตัวอย่างที่ผมเคยพูดหลายครั้งก็คือ คดีหมิ่นประมาทที่เป็นความผิดส่วนตัวของเอกชน ทำไมเจ้าหน้าที่ภาครัฐจะต้องไปดูแล ความเสียหายคนนั้น คนนั้นควรจะไปหาทนายฟ้องคดีเอง รัฐจะต้องเอาอัยการ เอาตำรวจ เคยมีผลวิจัยทีดีอาร์ไอ (TDRI) ถ้าผมจำไม่ผิดบอกว่าคดี ๑ คดีรัฐต้องใช้เงินประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ กว่าบาทต่อ ๑ คดี ในทางเศรษฐศาสตร์ไม่คุ้มกันนะครับ ทำอย่างไรที่ลดอำนาจ ให้อำนาจที่จำเป็นเท่านั้นที่อยู่กับตำรวจ ตำรวจนี้เป็นองค์กรที่มีปัญหาเรื่องบังคับใช้กฎหมาย มากที่สุดของประเทศไทย ทุกเรื่องให้ตำรวจหมดเลยครับ จราจร สารพัด ถ้าเราลดอำนาจ ตรงนี้ลงได้ การใช้อำนาจก็จะน้อยไป ก็จะลดน้อยลง อาทิตย์ที่แล้วคนขับรถของผมขับรถมา จอดล้ำเส้นเขาบอกว่าตำรวจจราจรยืนปรับเป็นร้อยคนครับ ผมถามว่าเสียเงินหรือเปล่า บอกเสียค่าปรับหรือเปล่า เสีย แล้วเสียได้ใบเสร็จไหม ไม่ได้ คนละ ๒๐๐ บาท เพราะวันดีคืนดี ท่านนึกใช้กฎหมายท่านก็ใช้กฎหมาย อันนี้ผมไม่อยากจะว่าตำรวจจราจรนะครับ อันนี้คือ สิ่งที่เราเห็นกันจนชินตาว่าเป็นเรื่องปกติ ถ้าลดอำนาจของเขาให้ลง ลดอำนาจกฎหมายลง ก็จะแก้ปัญหานี้ได้

นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ต้นฉบับ

การลดต่อไปที่ลดก็คือลดหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายลงให้เหลือจำเป็น จริง ๆ ได้ไหมครับ ให้ตำรวจดูแลเรื่องความสงบเรียบร้อยจริง ๆ อย่าไปดูแลเรื่องสารพัด ใบอนุญาตให้หน่วยงานอื่นเป็นคนดูแล ไปตรวจจับทีหนึ่งใบอนุญาตตำรวจก็ได้ สจ. ก็ได้ เทศบาลก็ได้ อันนี้มันไม่ใช่แล้วละครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าต้องลด แล้วไปเพิ่มครับ เพิ่มอะไรครับ เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาสังคม การบังคับใช้กฎหมายโดยต้องเขียน กฎหมายให้ประชาสังคมหรือชุมชนมีสิทธิฟ้องร้องคดีแพ่ง อาญา ปกครองได้ ถ้าหากโดยรัฐ ไม่ปฏิบัติตามเมื่อได้ร้องเรียนไปตามกำหนดแล้ว วันนี้เราจะเห็นครับ การก่อสร้างผิดระเบียบ การทำอะไรผิดระเบียบ ถ้าหน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการเอกชนทำไม่ได้ จะทำอย่างไร จะเพิ่มอำนาจให้กับภาคประชาสังคม อันนี้ผมคิดว่าสำคัญมากที่จะสร้างความเข้มแข็ง ในรัฐธรรมนูญใหม่เราพูดถึงการมีส่วนร่วม ในทางการเมืองของประชาสังคม เพราะฉะนั้นเราต้องเพิ่มอำนาจตรงนี้ให้ แก้ไขกฎหมาย ก็จำเป็น เพิ่มกลไกของโซเชียล มีเดีย (Social media) การละเมิดผิดกฎหมาย การจอดรถ ก็ไปจอดรถที่คนพิการ ใช้โซเชียล มีเดียเป็นการลงโทษประจาน แต่ว่าต้องมีการตรวจสอบ เสียก่อนนะครับ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวอาจจะถูกฟ้องได้ ทำอย่างไรให้สื่อเผยแพร่คนผิดกฎหมาย และต้องเพิ่มการศึกษาว่าการผิดกฎหมายนั้นถึงแม้ไม่กระทบท่านในด้านส่วนตัว แต่กระทบ ส่วนรวมท่านต้องเทก แอกชัน (Take action) เราเห็นคนสูบบุหรี่ในสวนสาธารณะ เราก็ไม่กล้าไปบอกเขา เราเห็นคนสูบบุหรี่ในที่ผิดกฎหมายเราก็ไม่กล้าไปบอกเขาเพราะกลัว ถูกต่อว่าว่าไม่ใช่เรื่องของคุณ ทำอย่างไรให้สังคมไทยรู้สึกว่าการมีส่วนร่วมในการบังคับใช้ กฎหมายเป็นหน้าที่ของประชาชนไทยทุกคนนะครับ ผมคิดว่าเราต้องสร้างวัฒนธรรม สร้างการศึกษา ผมฝากให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาเอาเรื่องนี้ไปใส่ เรื่องการบังคับใช้กฎหมายนี่ แล้วเลิกเสียทีเถอะครับว่าถ้าอยากจะมีอะไรต้องออกกฎหมาย ทุกครั้ง ก่อนออกกฎหมายคิดให้ดีก่อนว่าออกแล้วบังคับใช้อย่างไร ผมคิดว่าปัญหาการบังคับใช้ กฎหมายของไทยเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก แล้วก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา กราบขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปคุณประทวน สุทธิอำนวยเดช ครับ

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ กระผม ประทวน สิทธิอำนวยเดช ครับ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๑๒๖ จังหวัดลพบุรี ท่านครับ ทำอย่างไรให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม ผมขออนุญาตนำเรียน ข้อมูลให้สภาแห่งนี้มีอยู่ด้วยกัน ๒-๓ เรื่อง การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และเป็นธรรมเป็นภาระหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรม พวกเราทุกคนคงทราบดีนะครับ โดยเริ่มจากตำรวจ จะเน้นการป้องกันปราบปรามและอาชญากรรม จับกุมผู้ต้องหา อัยการเป็นผู้กระทำสำนวนคดี ศาลเป็นผู้ตัดสินคดีครับ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดูแลกำกับกฎหมายตาม พ.ร.บ. ต่าง ๆ ตามกรม ตามกระทรวง ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ แต่ที่ผ่านมาครับท่าน ปล่อยปละละเลย เลือกปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ที่ดีก็มีมากครับ และเจ้าหน้าที่ที่ไม่ดีก็มีเช่นกัน เจ้าหน้าที่ที่ไม่ดีนี่ละครับ เป็นตัวบ่อเกิดของปัญหา มีการซื้อตำแหน่ง มีการได้มาของอำนาจหน้าที่ อันนี้ละครับ เป็นรากเหง้าของปัญหาที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ข้าราชการที่เป็นใหญ่เป็นโตนี่ครับจะซื้อตำแหน่ง เขาจะอำนวยความสะดวกหรืออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนได้อย่างไร เขาจะต้อง ถอนทุน อันนี้เราคุยกันเรื่อย แล้วก็ผมติดตามข่าวทางสื่อ แม้แต่ทางสภาผู้แทนราษฎร ก็พูดกันอย่างนี้ว่าที่มาของอำนาจ ที่มาของตำแหน่ง ถ้ามีการซื้อสิทธิขายเสียงจะไม่ได้มา ซึ่งความยุติธรรมนะครับท่าน อันนี้ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่เราพูดกัน การปฏิบัติหน้าที่ของ ตำรวจเป็นอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม ใครเป็นผู้ตรวจสอบครับ มีการให้ข้อมูลกับ ประชาชนหรือไม่ ถ้าประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมจะร้องเรียนได้ไหม คดีดัง ๆ โชคดีครับ ที่มีสื่อมวลชนออกข่าวแล้วก็เป็นปากเป็นเสียงตามข่าวให้ ตำรวจก็มีการแถลง มีการให้ข้อมูล ตามวาระไป แต่ถ้าคดีอยู่ขั้นของอัยการครับท่าน ใครล่ะจะติดตาม แล้วก็ในเรื่องของ ถ้าศาลล่ะครับ ศาลตัดสินมีความยุติธรรมเพียงพอหรือไม่ ใครเป็นผู้ตรวจสอบ ถ้าไม่ถูกต้องประชาชนจะพึ่งใคร รัฐบาลครับมีสภาเป็นผู้ตรวจสอบ ส.ส. มีประชาชน เป็นผู้ตรวจสอบครับ ข้าราชการทั่วไปก็มี ป.ป.ช. คอยตรวจสอบ แต่ตุลาการละครับ ใครเป็นผู้ตรวจสอบหรือคานอำนาจ แต่ถ้าบอกว่าตุลาการตรวจสอบกันเองได้ รัฐบาลตรวจสอบกันเองได้ไม่ต้องชี้แจงสภา ข้าราชการล่ะ ถ้าบอกกระทรวงนั้นตรวจสอบกันได้ ไม่ต้องมี ป.ป.ช. ครับ ประเทศชาติคงล่มจมครับท่าน ประชาธิปไตยมีอำนาจอยู่ ๓ อำนาจ ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันคือบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ต้องตรวจสอบกันได้และคานอำนาจ กันได้ครับท่านประธาน ข้อเสนอแนะของผมในเรื่องของการแก้ไขปัญหาที่ผมได้กล่าว ไปแล้วนี่นะครับมีอยู่ด้วยกัน ๓-๔ ข้อ

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ต้นฉบับ

ข้อแรกคือปรับระบบการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการให้มีคุณธรรม ซึ่งเราเพียรพยายามว่าข้าราชการต้องมีคุณธรรม คุณธรรมประกอบด้วยอะไร พยายามที่จะ เสริมเข้าไป ก.พ.ร. ใส่เข้าไป ก.พ. ใส่เข้าไป หน่วยงานต้นสังกัดก็ใส่เข้าไปแต่ละหน่วย แต่บุคคลผู้นั้นซึ้งในคุณธรรมหรือยัง ถ้าไม่ได้ครับท่านประธาน สอบเอาครับ ใช้วิธีสอบ เลื่อนตำแหน่ง ใช้ข้อสอบเป็นคนตัดสิน เราไม่มีหนทางไหนแล้วครับ

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ต้นฉบับ

๒. กำจัดข้าราชการที่ไม่ดีอย่าให้มีอำนาจ เดี๋ยวประชาชนจะเดือดร้อน กระบวนการกำจัดพวกเราก็ต้องคิดกันในสภาปฏิรูปแห่งชาติว่าจะกำจัดข้าราชการที่ไม่ดี อย่างไร

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ต้นฉบับ

๓. ส่งเสริมให้กำลังใจข้าราชการที่ทำงานดีและมีคุณธรรมให้ก้าวหน้า อันนี้ผู้บังคับบัญชาระดับแต่ละกรม กอง แต่ละกระทรวงก็ต้องดู แล้วก็ต้องให้ความเป็นธรรม อย่างจริงจัง

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ต้นฉบับ

๔. จัดตั้งองค์กรประชาชนครับท่าน คอยตรวจสอบปฏิบัติหน้าที่กระบวนการ ยุติธรรม ตั้งแต่ตำรวจ อัยการถึงศาลครับ ซึ่งดูแล้วมันยาก ผมก็ว่าเรากำลังจะคิดกันว่า จะทำอย่างไรต่อไปนะครับ อันนี้ถ้าเราสามารถมีการคานอำนาจกันได้ทั้ง ๓ หลัก ตั้งแต่ในเรื่องของการบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ แล้วผมเชื่อว่าความยุติธรรม จะเกิดแน่นอนครับท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปท่านอาจารย์ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ครับ

นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ ในประเด็นที่เรา กำลังอภิปรายนี้ผมเห็นว่าการที่เราจะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและเป็นธรรมนั้น เราคงต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ ซึ่งในความเห็นของผม ณ ชั้นนี้เห็นว่ามีปัจจัย ที่สัมพันธ์กันอยู่ ๔ ด้านด้วยกัน อันที่ ๑ ก็คือเรื่องขององค์กรหรือหน่วยงานที่มีอำนาจ บังคับใช้กฎหมาย เรื่องที่ ๒ อยู่ที่ตัวกฎหมายที่อาจจะไม่รัดกุม หรือว่ามีเนื้อหาไม่ทันต่อ เงื่อนไขทางสังคมที่เปลี่ยนไปเร็ว ปัจจัยที่ ๓ ก็คือตัวผู้ที่เจตนาตั้งใจที่จะไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย แล้วประเด็นที่ ๔ ก็คือการควบคุมทางสังคมนะครับ เราคงต้องปฏิรูปทั้ง ๔ ด้าน ให้พร้อมกัน ผมคิดว่าเรารู้มานาน โดยเฉพาะทางด้านอาชญาวิทยานะครับ อย่างเช่น นักอาชญาวิทยา อเมริกันชื่อเจมส์ วิลสัน กับ จอร์จ เคลียริ่ง ก็มีชื่อเสียงในการนำ ทฤษฎีที่เรียกว่า ทฤษฎีกระจกหน้าต่างแตก มาอธิบายให้เห็นว่าการที่คนหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเพราะสังคมนี่เกิดในสภาพไร้ระเบียบ การไร้ระเบียบนั้นเกิดจาก เมื่อมีผู้ทำผิด เจ้าหน้าที่ปล่อยปละละเลยไปทีละเล็กทีละน้อยจนผู้คนมองเห็นว่าเรื่องเหล่านี้ ไม่มีใครสนใจก็เลยทำให้ผู้ที่เจตนา หรือว่ามีแนวโน้มที่จะไม่ทำตามกฎหมายนั้นได้ใจ หรือมีแรงจูงใจที่จะไม่ทำตามกฎหมายนะครับ แล้วเมื่อทำกันอย่างนี้มากเข้าก็กลายเป็น โรคระบาด ทั้งบ้านทั้งเมืองก็จะกลายเป็นไม่ทำตามกฎหมายกันไป จนกระทั่งอยู่ในภาวะที่ เราเห็นว่าไม่เกรงกลัวกฎหมายหรือมีเงินก็ซื้อกฎหมายได้ อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น ถ้าจากทฤษฎีอย่างนี้เราควรจะปฏิรูปโดยเฉพาะใน ๔ ด้านที่ผมเรียนมา

นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

เรื่องแรกก็คือเรื่องของหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายนั้นหรือมีอำนาจหน้าที่นั้น เราคงต้องปรับรื้อใน ๓-๔ เรื่องด้วยกัน เรื่องแรกก็คือว่าการที่จะต้องพัฒนาหรือทำให้ผู้นำ ผู้บังคับบัญชาในทุกระดับนั้นมีจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการรู้ เป็นผู้ที่มีความรู้จริง ในเรื่องที่ทำ ใช้ดุลยพินิจอย่างเที่ยงธรรม มีกลไกในการตรวจสอบ สอบทานการตัดสินใจ ของเขาอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เขาพร้อมที่จะรับผิด

นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

อันที่ ๒ ต้องรื้อระบบบริหารงานบุคคลของหน่วยงานเหล่านี้ ตั้งแต่ การไปสรรหา คัดเลือก อบรม ให้รางวัล เลื่อนตำแหน่ง ประเมินผล ลงโทษวินัย ซึ่งเวลานี้ หน่วยราชการไทยเราเรื่องการบริหารงานบุคคลนั้นต้องยอมรับว่ายังอยู่ในชั้นที่เรียกว่า ไม่ทันสมัย ไม่ทันเหตุการณ์ ทำให้เราไม่ค่อยได้คนที่สมควรจะมาเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจรัฐ ได้แต่คนที่อยากจะเป็น อันนี้เป็นปัญหาของประเทศไทยจริง ๆ และเมื่อเราได้คนสมควร มาเป็นแล้วเราก็ไม่มีความสามารถที่จะรักษาเขาไว้ด้วย อยู่ได้ไม่นานเขาก็หนีไป เพราะเขาอยู่ไม่ได้นะครับ

นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ประการที่ ๓ ก็คือว่าต้องไม่ลืมว่าเราละเลยการปลูกฝังอุดมการณ์และ คุณธรรมของการเป็นข้าราชการที่ดีหรือตำรวจที่ดี เจ้าหน้าที่ที่ดีมานานนะครับ เราปล่อยให้ เป็นเรื่องของกลไกตลาดหรือแล้วแต่คนตัวใครตัวมันนะครับ ทำให้คนในยุคปัจจุบันกลายเป็น คนซึ่งไม่มีหลัก ไม่มีอุดมคติ ไม่มีอุดมการณ์ในการดำรงชีวิตนะครับ ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่ ประเทศอื่นที่เขาก้าวหน้าดีกว่าเรามีวินัยนั้น เขาไม่ได้ปล่อยปละละเลยเรื่องนี้

นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ซึ่งเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องจริง ๆ ก็คือเรื่องปรับปรุงกฎหมาย ผมคิดว่าเวลานี้น่าจะต้องเร่งออกกฎหมายที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ ในการอนุมัติ อนุญาต จับกุม ลงโทษปรับอะไรต่าง ๆ นี่ต้องประกาศให้ประชาชนทราบ อย่างชัดเจนว่าเรื่องต่าง ๆ นั้นมีขั้นตอน วิธีการ เงื่อนไข หลักเกณฑ์ ตัดสินใจอย่างไร ชาวบ้านสามารถจะอุทธรณ์ได้อย่างไรแล้วทำเป็นคู่มือ ซึ่งเรื่องนี้ก็น่าดีใจซึ่งเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคมที่ผ่านมานี้ก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวก ในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการขึ้น แต่ว่าก็ยังเพิ่งประกาศใช้ แต่ต้องการกฎหมาย ทำนองอย่างนี้มากขึ้นอีกตั้งเยอะนะครับในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องการอนุญาต

นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ ที่ต้องเร่งทำก็คือว่า เวลานี้การลงโทษผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย แม้ว่าจะทำอย่างรุนแรงหรือจริงจังก็ตาม แต่ไม่เป็นที่รู้เห็นทั่วกันครับ มีแต่เรื่องรู้ว่า คนไหนทำผิดบ้าง แต่กว่าจะรู้ว่าเขาถูกลงโทษแค่ไหนอย่างไร คนทั่วไปไม่รู้ หรือรู้ก็ลืมไปแล้ว หรือรู้อย่างที่ทำให้คนฝ่าฝืนก็ไม่อายนะครับ คนที่เห็นอยู่รอบข้างก็ไม่เกรงกลัวตามไปด้วย

นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

และประการสุดท้าย ก็คือต้องสร้างแรงกดดันทางสังคมครับ เวลานี้ สื่อสาธารณะในเรื่องของทีวีสาธารณะนะครับ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งเว็บไซต์ ตลอดจน เฟสบุ๊ค (Facebook) หรือโซเชียล มีเดีย ทำให้คนในบ้านเมืองสว่างมากขึ้นนะครับ ไม่ได้มืดสลัว ผมคิดว่าต้องทำให้คนที่จะทำผิดคิดว่าไม่คุ้ม ทำให้เจ้าหน้าที่ทำความผิดได้ยาก และทำให้คนรู้สึกว่ารู้สึกสนุกกับการถือเป็นธุระที่จะคอยตะโกนคอยบอกว่า อะไรไม่ดีเกิดขึ้นนะครับ เพราะโซเชียล มีเดียนั้นทำให้เขาไม่ต้องไปปะทะกับผู้กระทำ ความผิดโดยตรง เป็นสื่อที่เราน่าจะต้องรีบใช้ประโยชน์จากมัน ขอสรุปว่าในเรื่องนี้จะต้อง ทำไปพร้อมกันปฏิรูปทั้ง ๔ ด้านสัมพันธ์กัน คือหน่วยงาน องค์กรภาครัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ระบบและกลไกกฎหมายและสร้างแรงกดดันทางสังคมครับ ขอบคุณมากครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปเชิญคุณเปรื่อง จันดา ครับ

นายเปรื่อง จันดา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพครับ ผม รองศาสตราจารย์เปรื่อง จันดา สมาชิกเลขที่ ๑๔๒ จากเพชรบูรณ์ครับ ก็ขออนุญาตกราบเรียนท่านประธานในเรื่องของการใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม ผมอยากให้เติมคำว่า ทั่วถึง ไปด้วยนะครับ ความเหลื่อมล้ำทางสังคมในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นได้ว่ามีอยู่ ๓ เรื่องที่เป็นเรื่องที่ชัดเจน

นายเปรื่อง จันดา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ คือความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากโอกาสทางการศึกษาของ พี่น้องประชาชน ซึ่งการศึกษานั้นเป็นพื้นฐานในการพัฒนาชีวิตของผู้คน เพราะการศึกษา เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต โอกาสอย่างนี้ก็ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมมาโดยตลอด

นายเปรื่อง จันดา ต้นฉบับ

ความเหลื่อมล้ำประการที่ ๒ ความเหลื่อมล้ำจากการเข้าสู่การรักษาพยาบาล โดยระบบสวัสดิการของสาธารณสุขของรัฐบาล ทำให้เกิดการรักษาพยาบาลด้วย หลายมาตรฐาน

นายเปรื่อง จันดา ต้นฉบับ

ความเหลื่อมล้ำประการที่ ๓ เป็นความเหลื่อมล้ำที่ยิ่งใหญ่นะครับ เป็นความเหลื่อมล้ำที่เรากำลังอภิปรายกันอยู่ขณะนี้ ก็คือความเหลื่อมล้ำในการบังคับใช้ กฎหมายโดยเคร่งครัดและเป็นธรรมนะครับ ผมคิดว่าทั้ง ๓ เรื่องนี้ก็ขออนุญาตนำเสนอ ในที่ประชุมแห่งนี้ว่า

นายเปรื่อง จันดา ต้นฉบับ

ประการที่ ๑ ที่เราจะสามารถแก้ไขได้ในความเป็นธรรมก็คือ ผู้รักษากฎหมาย อย่างที่หลายท่านได้อภิปรายมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ไม่ว่าจะเป็น อัยการ ไม่ว่าจะเป็นศาล กระบวนการเหล่านี้จะต้องเป็นผู้ที่มีจิตสำนึกที่จะรับผิดชอบ ในหน้าที่ในฐานะที่เป็นข้าราชการ เพราะคำว่า ข้าราชการ นั้นมาจาก ๓ คำที่เราน่าจะจำ ให้ขึ้นใจในฐานะที่เป็นข้าราชการ ข้า แปลว่าผู้รับใช้ ราชะ ราชา แปลว่าพระเจ้าแผ่นดิน การ แปลว่างาน ฉะนั้นผู้ที่เป็นข้าราชการทั้งหลายก็คือผู้ที่รับใช้งานต่างพระเนตรพระกรรณ ซึ่งเป็นเรื่องของความมีศักดิ์ศรี เป็นเรื่องของความมีเกียรติ ฉะนั้นบุคคลที่เป็นผู้รักษา ความยุติธรรม เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นผู้ที่รักษาเกียรติอันนี้ด้วยความมีจิตสำนึก รับผิดชอบว่าการบังคับใช้กฎหมายจะต้องบังคับโดยเคร่งครัด ทั่วถึง และเป็นธรรม กับประชาชนทุกคนที่กระทำผิดกฎหมาย

นายเปรื่อง จันดา ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ เรื่องระยะเวลา ผมเป็นผู้หนึ่งที่เคยอยู่ในกระบวนการของศาล แล้วก็ใช้เวลานานพอสมควรกว่าศาลจะพิจารณาสิ้นสุดกระบวนการของศาลเป็นเวลา ๕ ปี ทำให้กระทบกับการบริหารจัดการ กระทบกับองค์กร และกระทบกับบุคคล ซึ่งผมคิดว่า เวลาเหล่านี้ถ้าในกระบวนการต่าง ๆ ถ้าได้กระชับเวลาลงและทำไปอย่างรวดเร็ว ทำไปอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ระยะเวลาของการพิจารณาในการบังคับใช้กฎหมายนั้น ได้เห็นมรรคเห็นผล ผมคิดว่าจะทำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น ไม่อยากจะให้มีคำพังเพยว่า ยิ่งมีความล่าช้าเท่าไร ความเป็นธรรมก็ยิ่งลดน้อยลงเท่านั้น

นายเปรื่อง จันดา ต้นฉบับ

ประการที่ ๓ ผมอยากจะเสนอว่ากระบวนการบังคับใช้กฎหมายจะต้อง ไม่ถูกเลือกปฏิบัติและไม่ถูกละเว้น โดยเฉพาะมีการใช้อภิสิทธิ์ชนเกิดขึ้น อย่าให้คำกล่าวที่ หลายประเทศเขาบอกว่า การมีอภิสิทธิ์ชนนั้นจะไม่มีในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่อภิสิทธิ์ชน จะใช้ได้ในประเทศที่ด้อยพัฒนาเท่านั้น ฉะนั้นเราอย่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีการใช้อภิสิทธิ์ชน โดยการที่ทำให้กฎหมายได้ถูกเลือกปฏิบัติและมีการละเว้นกับบุคคลบางกลุ่ม บางสถานะ

นายเปรื่อง จันดา ต้นฉบับ

ประการที่ ๔ ผมอยากจะเสนอว่าการใช้หลักของการบังคับใช้กฎหมายนั้น น่าจะมีอยู่ ๒ หลักง่าย ๆ ก็คือคนดีต้องได้รับการยกย่อง ได้รับรางวัลจากสังคม ฉะนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการใช้บังคับกฎหมายทั้งหลายที่จะให้เกิดความเป็นธรรม ใครที่เกี่ยวข้องได้ทำดีให้กับสังคมควรได้รับการยกย่อง คนที่ไม่ดีควรได้รับการลงโทษ

นายเปรื่อง จันดา ต้นฉบับ

ประการที่ ๕ อาจจะซ้ำกับบางท่าน การให้การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะคดีที่ยังอยู่ในความสนใจของประชาชนเป็นหมู่มากควรจะได้รับการประชาสัมพันธ์ ให้ทราบว่าคดีเหล่านั้นไปถึงไหนแล้ว อย่างน้อยอันที่ ๑ เป็นแบบอย่างเพื่อไม่ให้เกิด การกระทำซ้ำ ประการที่ ๒ เป็นการทำให้เกิดความหลาบจำกับผู้ที่ได้กระทำ แล้วก็เป็นไป อย่างสาสมกับการกระทำ ก็คือมีการลงโทษอย่างสาสมกับพฤติกรรมโดยเจตนาของ ผู้ที่กระทำการอันเป็นการผิดกฎหมาย ฉะนั้นผมคิดว่ากระบวนการทั้ง ๔-๕ ประการ ที่ผมได้นำเสนอนั้นคงจะเป็นประโยชน์ในการที่จะทำให้กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย เป็นไปอย่างเคร่งครัด ทั่วถึง และเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชนครับ ขอบคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ ต่อไปขอเชิญท่านเกษมสันต์ จิณณวาโส ค่ะ

นายเกษมสันต์ จิณณวาโส ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม เกษมสันต์ จิณณวาโส สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๑๖ ประเด็นที่อยากจะนำเรียน แล้วก็หารือ แล้วก็ฝากประเด็นไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด พ.ร.บ. ป่าไม้ หรือเรื่องอุทยานแห่งชาติ หรือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องป่าชายเลน ผมอยากเรียน อย่างนี้ครับว่า ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา คดีความได้เพิ่มมากจากที่ติดตามได้ว่าคดีทั้งหมด มีประมาณ ๗๐๐ คดี เพิ่มเป็นประมาณ ๓,๕๐๐ กว่าคดี คดีส่วนใหญ่อยู่ในขั้นของ การสอบสวนของพนักงาน ทีนี้ประเด็นของขั้นการสอบสวนของพนักงานก็พบว่า มันมีความล่าช้า อย่างเช่นในปี ๒๕๕๗ การกระทำผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ป่าไม้ หรืออุทยานแห่งชาติ หรือทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีอยู่ประมาณ ๓,๔๒๗ คดี ซึ่งเป็นคดีที่ส่งให้อัยการไป ๑๐๔ คดี แล้วก็อยู่ในกระบวนการพิพากษาของศาลหรือตัดสินไปแล้วนี่เพียง ๓ คดี เมื่อมาดูพื้นที่ของ ความเสียหายเราก็พบว่าจากปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา พื้นที่ความเสียหายมันเพิ่มขึ้นจาก ๑๓.๓ ล้านไร่ เป็น ๘๕ ล้านไร่ สิ่งที่อยากจะนำเรียนอย่างนี้ครับว่าในการดำเนินคดีของ พนักงานเจ้าหน้าที่เราก็ใช้กฎหมายตามมาตรา ๒๒ ของ พ.ร.บ. อุทยานก็คือว่าถ้าเกิดเจอ ผู้กระทำผิดเราก็เข้าไปรื้อถอน หรือแม้แต่ใช้อำนาจตามกฎหมาย มาตรา ๒๕ ของ พ.ร.บ. ป่าไม้ ในลักษณะเดียวกัน แต่บางคดีซึ่งมีการบุกรุก แผ้วถาง หรือก่อสร้างมานี่ และเป็นคดีที่มีผู้ต้องหา การสู้คดีหรืออะไรต่าง ๆ กว่าจะเสร็จถึงศาลฎีกาใช้เวลานาน ผมอยากกราบเรียนอย่างนี้ครับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นผู้คนอาจจะมองว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ก็ดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชก็ดี หรือแม้แต่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งผมเคยทำงานอยู่ทั้ง ๒ หน่วยงาน มักจะถูก ตัดพ้อต่อว่าว่าเมื่อเราดำเนินคดีกับผู้ที่ทำลายทรัพยากร สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ ที่อยู่พื้นที่เราก็จะพบว่าจะมีคนโน้นคนนี้ซึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลายเข้ามาขอร้อง ขออย่างโน้นอย่างนี้ คนเป็นอธิบดีก็จะลำบากใจ สิ่งที่เราทำได้ก็คือว่าเราก็ต้องบอกว่า เดี๋ยวเราติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อน ทุกครั้งที่ติดต่อเจ้าหน้าที่ก็มีอย่างเดียวที่ผมทำก็คือบอกให้ เจ้าหน้าที่รีบส่งคดีเสีย ส่งคดีให้พนักงานสอบสวน เมื่อเราส่งคดีไปยังพนักงานสอบสวนแล้ว การที่คนโน้นคนนี้จะมาขอให้เราช่วยเหลือนั้นมันกระทำไม่ได้ แต่สิ่งเหล่านี้เมื่อเราทำตาม กฎหมายนี่มันก็ปรากฏอย่างนี้ว่าถูกกดดันบ้าง ถูกร้องเรียนบ้าง ถูกย้ายบ้าง ตรงนี้ต่างหาก คือสิ่งที่ผมคิดว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าซึ่งเป็นคนที่ดูแลพื้นที่อยู่ จำนวนมากซึ่งก็เสี่ยงภัย ค่าตอบแทนก็ต่ำ บางครั้งก็ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ตรงนี้ต่างหาก คือสิ่งที่ผมคิดว่าเมื่อเรามองว่าการบังคับใช้กฎหมายเป็นมุมลบกับผู้ใช้อำนาจรัฐ แต่เราต้อง มองเหมือนกันว่าบุคคลภายนอกไม่ได้มองเลยว่าในฐานะที่เป็นผู้ใช้อำนาจนั้นได้รับผลกระทบ อะไรบ้าง ผมยกตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่ง ท่านอาจจะเคยได้ยินคดีโลกร้อน ณ เวลานั้นผมเป็น อธิบดีกรมอุทยานครับ หนังสือพิมพ์รุมหาว่ากลั่นแกล้งผู้ยากจน ผมบอกว่าเราไม่ได้กลั่นแกล้ง คดีสิ้นสุด ศาลตัดสินแล้วว่ากระทำผิด ถึงมีการฟ้องร้องทางแพ่งเรียกค่าเสียหาย ซึ่งถ้าเป็น พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารเราก็จะเรียกค่าเสียหายประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ บาทต่อไร่ แต่ถ้าเป็น พื้นที่ป่าทั่วไปนี่นะครับก็จะประมาณ ๖๘,๐๐๐ บาทต่อไร่ ตรงนี้คือการฟ้องแพ่งนะครับ เพื่ออะไร เพื่อที่จะเอาเงินที่ฟ้องเมื่อชนะคดีแล้วเอามาฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกทำลาย ตรงนี้คือสิ่งที่ผมอยากจะกราบเรียนกับท่านประธานว่าในอีกมุมมองหนึ่งนี่มันมีกระจก ที่สะท้อนให้เห็นว่าตัวพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นบางทีไม่ได้ละเลยหรอกนะครับ แต่ก็มีประเด็นที่ อยากจะฝากไว้ว่าบางครั้งการกระทำผิดของผู้ต้องหากรณีที่เป็นบุคคลต่างด้าวอยากจะขอ ความกรุณาว่าให้ดำเนินคดีในเรื่องการลักลอบเข้าเมืองก่อน อย่าดำเนินคดีในกรณีความผิด ที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ทางด้านทรัพยากรแต่เพียงอย่างเดียว เพราะว่าถ้าดำเนินคดีในกรณี ลักลอบเข้าเมืองแล้วก็จะมีการลงโทษ หลังจากที่ลงโทษเสร็จสิ้นแล้วถึงส่งตัวกลับเพื่อให้เกิด ความหลาบจำ ตรงนี้ผมอยากจะขออนุญาตฝากท่านประธานไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อกรุณา ทราบถึงเรื่องของการใช้อำนาจทางกฎหมาย ขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอขอบพระคุณค่ะ ต่อไปขอเชิญท่านเขมทัต สุคนธสิงห์ ค่ะ

นายเขมทัต สุคนธสิงห์ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพครับ ผม เขมทัต สุคนธสิงห์ หมายเลข ๐๒๕ ขออนุญาตอภิปรายในเรื่องที่ยังไม่มีผู้พูดนะครับ ในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

นายเขมทัต สุคนธสิงห์ ต้นฉบับ

เรื่องแรก มีหลายท่านพูดไปแล้วเกี่ยวกับกฎหมายจราจร ปัญหาที่เกิดขึ้น ในบางครั้งเราก็เห็นใจผู้ปฏิบัติ เพราะว่าเวลาที่เกิดคดีขึ้นมาผู้ปฏิบัติมักจะไปเข้าข้าง ผู้ที่ทำผิดกฎหมายแต่ได้รับความเสียหาย อันนี้สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือกรณีที่รถยนต์ชนกับ รถจักรยานยนต์หรือรถชนกับคน ทั้ง ๆ ที่รถจักรยานยนต์หรือคนเดินถนนเป็นฝ่ายที่ กระทำผิดกฎหมาย ผู้ที่กระทำถูกกฎหมายจะต้องไปรับโทษ เพราะเขาบอกว่าคุณเป็น รถใหญ่อย่างไร ๆ คุณก็ผิด ทั้ง ๆ ที่ตรงนี้วิธีการบังคับใช้อย่างเป็นธรรมควรจะต้อง ถูกนำมาใช้ เวลานี้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติไปแล้ว เพราะฉะนั้นใครที่ขับรถยนต์ถ้ามีปัญหา กับรถจักรยานยนต์หรือมีปัญหากับคนเดินถนนถึงแม้ว่าจะถูกต้องตามกฎจราจร ก็จะต้อง เตรียมแล้วว่าจะต้องชดใช้อย่างไรทั้ง ๆ ที่เป็นฝ่ายถูก เรื่องนี้ก็อยากจะให้มีการทำให้ ถูกต้องเสียนะครับ ไม่ใช่ว่าเราไม่เห็นใจคนเดินถนนหรือคนใช้รถจักรยานยนต์ แต่ว่าก็ต้อง เห็นใจคนที่ใช้รถยนต์ที่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ถูกต้องด้วยนะครับ

นายเขมทัต สุคนธสิงห์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีทั้งหลายมี ๓ ประเด็นนะครับ ประเด็นที่ ๑ ก็คือเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายที่ซ้ำซ้อนกันระหว่างหลายหน่วยงานที่บังคับใช้ ผมยกตัวอย่างเช่นกรณีน้ำเสีย มีกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ตัวเลขไว้ค่าหนึ่ง กฎหมายของกรมเจ้าท่าให้ตัวเลขไว้อีกทางหนึ่ง กฎหมายของกรมควบคุมมลพิษก็ให้ตัวเลข ไว้อีกค่าหนึ่ง ตกลงผู้ปฏิบัติไม่รู้จะใช้ค่าไหน เพราะมันโดนหมดทั้ง ๓ ค่านะครับ

นายเขมทัต สุคนธสิงห์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ก็คือวิธีการพิสูจน์ความผิดตามหลักวิทยาศาสตร์ที่เป็น มาตรฐานเดียวกัน ก็ตัวอย่างเดิมเมื่อสักครู่นี้นะครับ เวลาที่จะวัดค่านั้นมันจะต้องมี กระบวนการการวัดที่ถูกต้องตามหลักของกฎหมาย แล้วก็ถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน อันนี้เป็นประเด็นที่ ๒ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะต้องมาตกลงกันแล้วก็ทำให้เป็นค่ากลาง

นายเขมทัต สุคนธสิงห์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ อันนี้เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเองมีความเข้าใจในเรื่องของ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่เพียงพอ หลักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวัดค่า ต่าง ๆ นั้นจะต้องมีค่าความเบี่ยงเบนหรือเราเรียกว่าทอเลอแรนซ์ (Tolerance) ที่กำหนดไว้ตามหลักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการสอบเทียบเครื่องมือวัดที่ใช้ในการตรวจวัด ในกรณีนี้ก็จะเป็นที่ถกเถียงกัน เจ้าหน้าที่ที่ไม่เข้าใจ ยกตัวอย่างเช่นการวัดค่ามิติ กำหนดมา กี่มิลลิเมตรหรือกี่เมตรก็จะใช้ค่าตรงนั้นผิดเลยไม่ได้ ซึ่งในทางปฏิบัติจริง ๆ เป็นไปไม่ได้ การใช้ไม้เมตร ๒ อันหรือตลับเมตร ๒ อันมาวัดก็ให้ค่าต่างกันแล้ว เพราะฉะนั้นตรงนี้ ควรจะต้องมีการกำหนดมาตรฐาน ขออนุญาตย้อนกลับไปวิธีพิสูจน์ความผิดเมื่อสักครู่ ประเด็นที่ ๒ เพิ่มเติมนิดหนึ่ง อย่างการวัดควันดำของรถบรรทุกก็ดี การวัดเสียง ที่เกินมาตรฐานของรถยนต์ก็ดี ถ้าไม่กำหนดวิธีการที่ถูกต้องไว้ประชาชนก็จะถูกบังคับใช้ ที่ไม่เป็นธรรมนะครับ อันนี้ก็อาจจะอยู่ในส่วนของคุ้มครองผู้บริโภค แต่ว่ากฎหมายที่เกี่ยวกับ เทคโนโลยีทั้งหมดนี้ควรจะต้องมีการดำเนินการตามหลักการซึ่งทำได้นะครับ แต่ว่าหน่วยงาน ที่บังคับใช้นั้นไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดค่าความเบี่ยงเบน แล้วก็การสอบเทียบเครื่องมือวัด ทั้ง ๆ ที่ในอุตสาหกรรมวันนี้การสอบเทียบเครื่องมือวัด ให้ถูกต้องเป็นเรื่องจำเป็น การสอบเทียบเครื่องมือวัดอีกอันหนึ่งซึ่งท่านประธานอาจจะพอ มองเห็น การใช้เครื่องมือวัดที่เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น เครื่องวัดความดันต่าง ๆ ถ้าผิดพลาด ก็อาจจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะฉะนั้นตรงนี้ควรจะต้องมีกฎหมายมาบังคับใช้

นายเขมทัต สุคนธสิงห์ ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้ายเกี่ยวกับกฎหมายที่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจตัดสิน โดยใช้ความเห็นของเจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษี ในกรมต่าง ๆ กรมศุลกากร กรมสรรพากรก็จะมีหลายความเห็น ผมแนะนำให้มี คณะกรรมการกำหนดเกณฑ์แล้วก็ประกาศเกณฑ์ให้สังคมรับรู้ เปิดเผยและโปร่งใส แล้วต้องปรับปรุงให้ทันสมัย ในขณะเดียวกันก็จะต้องบังคับใช้กับผู้ที่หาช่องว่างหรือรูโพรง ของกฎหมายนี้อย่างเคร่งครัด กราบขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอขอบพระคุณค่ะ ต่อไปขอเชิญคุณหมออำพล จินดาวัฒนะ ค่ะ

นายอำพล จินดาวัฒนะ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ กราบเรียนท่านประธานว่า เมื่อเราจะพูดกันถึงเรื่องทำอย่างไรให้มีการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างเคร่งครัดและ เป็นธรรม ผมคิดว่าปัจจุบันนี้เราต้องยอมรับว่าการบังคับใช้กฎหมายมันไม่เสมอกันและ ไม่เป็นธรรม ถามว่าเรื่องนี้มันเกิดจากอะไร มันเกิดจากพฤติกรรมผู้คน เกิดจากคุณธรรม จริยธรรมเท่านั้นหรือ ผมอยากกราบเรียนว่าเท่าที่ศึกษาติดตามแล้ว คิดว่าเรื่องนี้รากเหง้า มันคือปัญหาเชิงโครงสร้างครับ ไม่ใช่เชิงของเรื่องศีลธรรม หรือการปฏิบัติ หรือการเรียกร้อง ให้ผู้คนอย่างโน้นอย่างนี้นะครับ ผมอยากกราบเรียนว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นเชิงโครงสร้าง ชัดเจน แล้วก็เมื่อพูดแล้วนี่มันจะโยงใยไปในเรื่องหลายมิติด้วยกันนะครับ ท่านประธาน ที่เคารพครับ เมื่อเช้านี้ผมเพิ่งได้รับข้อมูลจากนักวิจัยชุมชนที่อยู่ทางภาคเหนือได้ส่งเข้ามา แล้วก็มีการปรารภว่าสภาพต่าง ๆ ที่มันเกิดในปัจจุบันนี้ในจังหวัดยากจนแห่งหนึ่ง ในภาคเหนือนะครับ เขาเข้าไปวิจัยในชุมชนขณะนี้ เขาพบว่าประชาชนมีความหวาดระแวง หน่วยงานของรัฐอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ ปกครอง มีการเข้าไปจับกุมชาวบ้าน ซึ่งสามารถที่จะตั้งกรณีเกือบทุกกรณีได้หมดนะครับ ก็คือเอากฎหมายใดมาก็กระทบไปหมด ไม่ว่าเรื่องป่าสงวนที่จะออกมา แล้วก็ออกมาแล้ว แล้วก็เป็นการทับที่ชาวบ้าน ที่เขาอยู่กันมาก่อน พวกเขาเป็นคนพื้นถิ่นครับ ทำมาหากินอยู่ที่นั่นมานาน วันนี้ป่าเสื่อมโทรมไปมาก มีนายทุนเข้าไปจ้างชาวบ้านตัดไม้ฝากไว้กับชาวบ้าน ชาวบ้าน ก็ได้รับเงินเล็กน้อยแต่เสี่ยงเป็นผู้ถูกจับแทนนายทุน เขาอยากจะทำสัมมาชีพครับ ที่เราพูดกันนี่ แต่เขาก็คิดไม่ออก วันนี้ปลูกข้าวก็ไม่พอกินครับ ยาเสพติดระบาดเข้าไป หนี้นอกระบบมากมาย นายทุนก็เล่นงานผ่านเจ้าหน้าที่คือการบังคับใช้กฎหมาย ไม่มีใครไป ส่งเสริมพวกเขาอย่างจริงจังที่จะทำอาชีพแบบพึ่งตนเองได้นะครับ ถูกมองว่าเขาเป็นภัยต่อ ความมั่นคง คอยถูกจับรีดไถ ปัญหาเหล่านี้เชื่อมโยงพัวพันไปหมดครับ รัฐมีอำนาจล้นฟ้าครับ มีกฎหมายมากมายที่จะเล่นงานชาวบ้านในทุกเรื่อง ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหน จะทำอะไร ทรัพยากรน้อยลงไปเรื่อย ๆ นะครับ ข้างนอกดูดทรัพย์ไป ผมอยากจะเรียนว่าเมื่อเราพูด ประเด็นนี้เราต้องเห็นรากเหง้าเหล่านี้ แล้วก็ไม่ใช่เพียงแต่ว่ามาให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่ เข้มงวด เพราะกฎหมายที่ถูกสร้างออกมานะครับ ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อให้ คนข้างบนปกครองคนข้างล่าง มองว่าประชาชนคือผู้ที่ถูกปกครอง กฎหมายส่วนใหญ่ รวมศูนย์อำนาจครับ รัฐบาล ราชการมีอำนาจล้นฟ้า ซึ่งมันก็เป็นไปตามสิ่งที่เราพัฒนา มานาน อันนี้เป็นเรื่องของเชิงโครงสร้าง ทุกวันนี้กฎหมายมีไว้ลงโทษคนเล็กคนน้อย คนไม่มีอำนาจ ไม่มีเงินถูกขังคุก คนมีอำนาจล้นฟ้า มีเงิน ศาลตัดสินแล้วก็จะอ้างว่าป่วย นอนโรงพยาบาลได้สบายครับ คนจนเก็บแผ่นซีดี (CD) ไปขาย แผ่นซีดีเก่าก็ถูกจำคุกหัวโต คนอยู่กับป่าครับ วันดีคืนดีก็มีกฎหมายประกาศเป็นป่าสงวน เป็นอุทยานทับที่ของเขา ชาวบ้านก็ถูกจับกรณีบุกรุกที่ของตัวเอง ที่ดินสาธารณะถูกออกกรรมสิทธิ์ให้กับนายทุน ที่ดินบนภูเขาสูงชันนายทุนไปใช้เกลื่อนตาไปหมดนะครับ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหา เชิงโครงสร้างครับ เพราะว่าสังคมเรานั้นบูชาคนมีอำนาจยศถาบรรดาศักดิ์ และออกกฎหมายต่าง ๆ ให้อำนาจคนข้างบน เป็นวัฒนธรรมอำนาจนิยมครับ มีคนวิจารณ์ ถึงขนาดว่าสุนัขเห็นคนที่มีอำนาจ มียศถาบรรดาศักดิ์ยังกระดิกหางเข้าหาครับ แต่ถ้าคนเล็กคนน้อยคนยากจน สุนัขยังวิ่งไล่กัดและวิ่งหนีครับ สิ่งเหล่านี้เป็นโครงสร้าง ที่ทับถมมานานนะครับ เพราะฉะนั้นถ้าเราพูดถึงเรื่องการบังคับใช้กฎหมายถ้าเราไม่ระวัง เราก็ยิ่งจะบังคับเข้มงวดไปเล่นงานกับคนเล็กคนน้อย คนยากคนจนนะครับ การบังคับใช้ กฎหมายอันนี้ก็จะยิ่งทำให้เกิดความอยุติธรรมมากขึ้นในสังคมครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะต้อง พูดกันให้ถึงรากถึงแก่นในการปฏิรูป คือต้องปฏิรูประบบและโครงสร้างการบริหารราชการ แผ่นดินนะครับ ก่อนที่ปัญหาความขัดแย้ง ความไม่ลงตัวกันในการใช้อำนาจบังคับใช้ กฎหมายจะมีความทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

นายอำพล จินดาวัฒนะ ต้นฉบับ

สุดท้ายผมอยากจะกราบเรียนว่า หัวใจคือการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจครับ ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน ลดอำนาจส่วนกลาง เพิ่มอำนาจให้กับชุมชนท้องถิ่น ทำให้พื้นที่ในการดูแลทุกเรื่องเล็กลงครับ การจัดโครงสร้างอภิบาลแบบหุ้นส่วนจะต้องเข้ามา แทนที่จะให้แบบรัฐ แล้วรัฐเป็นใหญ่อยู่อย่างเดียวแบบที่ผ่าน ๆ มา ต้องสร้างกลไก ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้น สังคม พลเมือง ชุมชน ประชาชนต้องมีระบบ ที่จะเข้ามาใช้อำนาจถ่วงดุลบริหารจัดการร่วมกับรัฐแล้วถ่วงดุลรัฐ การบังคับใช้กฎหมาย ก็จะต้องถูกให้มันลงไปในระดับชุมชนท้องถิ่น แล้วก็ให้มีการดำเนินการโดยรัฐ และชุมชนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมนะครับ เพื่อจะทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายในระดับที่ ประชาชนและชาวบ้านนั้นตรวจสอบได้แล้วมีส่วนร่วมได้ ไม่ใช่ปล่อยให้อำนาจกฎหมายนั้น ล้นฟ้าอยู่ข้างบน แล้วก็บังคับใช้แต่กับคนที่เขาไม่มีทางสู้ ไม่มีทางเลือก แต่คนที่มีอำนาจ มีโอกาสในสังคมนั้นกลับได้ถูกยกเว้นในการบังคับใช้กฎหมาย ขอบพระคุณท่านประธานครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ ต่อไปขอเชิญท่านชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ค่ะ

นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับท่านประธานครับ ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ หมายเลข ๖๔ ผมขอสั้น ๆ นะครับ ผมจะไม่พูดถึงเรื่องการใช้กฎหมาย แล้วก็เรื่องของตำรวจ ซึ่งมีผู้อภิปรายหลายท่านพูดไปถึงแล้วนะครับ ผมเห็นว่า ไม่ว่าหน่วยงานใดในภาครัฐก็มีทั้งเจ้าหน้าที่ดีและไม่ดี ซึ่งก็เป็นเหมือนกันทุกประเทศนะครับ เราจะเห็นตัวอย่างหลายกรณีมากในสหรัฐอเมริกา ผมอยากจะพูดในแง่ที่แตกต่างไปในเรื่อง การติดตามการใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นหัวข้ออภิปรายทั่วไปของวันนี้ ซึ่งผมอยากจะพูดถึง ๒ กรณีที่จะใช้เป็นการติดตามการใช้กฎหมายนี่นะครับ ๑. หลายท่านก็พูดเหมือนกันคือ เรื่องของโซเชียล มีเดีย อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องของแมส มีเดีย (Mass media) เรื่องของ โซเชียล มีเดีย ผมคิดว่าน่าที่จะเป็นวิธีการที่จะได้ผลดียิ่ง ไม่ว่าจะใช้ในระบบของไลน์ เฟสบุ๊ค หรืออะไรที่แบบเดียวกัน ทำนองเดียวกัน แต่ทั้งนี้จะต้องมีการตรวจสอบเป็นการพูดถึง มีการกล่าวอ้างซึ่งจะเลยข้อเท็จจริงไปมากหรือเปล่า ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของ ผู้ที่ถูกกล่าวหาหรือผู้ที่เสียหายจะต้องมีการโต้ตอบโดยใช้วิธีการทางโซเชียล มีเดียเหมือนกัน คือตอนนี้ประเทศไทยเราก็มูฟ (Move) ไปอยู่ทางที่เราเรียกว่า ดิจิทัล อิโคโนมี (Digital economy) แต่ผมอยากจะเรียกว่าเป็นดิจิทัล เนชัน (Digital nation) มากกว่า ซึ่งอันนี้จะใช้เรื่องระบบของโซเชียล มีเดียมากขึ้น เพราะฉะนั้นทั้ง ๒ ข้างน่าจะใช้เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญในการติดตามเรื่องการใช้กฎหมายนะครับ

นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องของแมส มีเดีย บ้านเราที่ยังขาดอยู่ใน เรื่องของแมส มีเดีย ซึ่งต่างประเทศทำกันเยอะ คือเรื่องของที่เราเรียกว่า อินเวสติเกตีฟ รีพอร์ต (Investigative report) ซึ่งอันนี้ก็ควรจะได้รับการสนับสนุนให้มีการสร้างสรรค์ มีการจัดทำเรื่องอินเวสติเกทีฟ รีพอร์ตให้มากขึ้น เรื่องการตรวจสอบนี่ผมก็คิดว่าเป็น เรื่องของสังคมทุกส่วนที่จะต้องดูแล แต่ผมอยากจะขอเน้นว่าในขณะนี้เรามีภาคประชาสังคม ซึ่งค่อนข้างจะเข้มแข็ง เมื่อวานเราก็ได้รับฟังเรื่องขององค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภค ผมคิดว่าเป็นหน้าที่สำคัญอันหนึ่งขององค์กรที่เราเรียกว่า ภาคประชาสังคม ที่จะต้องตรวจสอบเรื่องการใช้แมส มีเดีย แล้วก็เรื่องของการใช้โซเชียล มีเดีย ในการบังคับ การใช้กฎหมายที่ถูกต้องและเป็นธรรมนะครับ

นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่งซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ ขอประทานโทษได้เอ่ยนาม ท่านอาจารย์ ประเสริฐได้พูดไว้แล้ว คือเราต้องสร้างสังคมที่มีความเข้าใจในเรื่องการใช้กฎหมาย ในเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งอันนี้จะต้องผ่านการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยมาจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยมีการกำหนด ในหลักสูตรในเรื่องที่เราเรียกว่าซีวิก เอดดูเคชัน (Civic education) ซึ่งเรื่องของ ซีวิก เอดดูเคชันนี้ไม่ใช่จะช่วยได้เฉพาะในเรื่องการใช้กฎหมายเท่านั้น จะเป็นเครื่องมือสำคัญ อีกอย่างหนึ่งที่จะมีการปรับปรุงแล้วก็มีการยกระดับเรื่องการเมืองการปกครองของไทยขึ้นไป อยู่ในระดับที่จะเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบได้ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ ท่านประธานครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอขอบพระคุณค่ะ ต่อไปขอเชิญท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ค่ะ

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง โจทย์ของเราในวันนี้ก็คือว่าการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดเราจะทำอย่างไร ที่จะให้เราบังคับใช้กฎหมายได้ ท่านประธานสังเกตเห็นเหมือนกับผมไหมครับว่าทุกวันนี้ คนกลัวเจ้าหน้าที่ แต่ว่าไม่กลัวกฎหมาย รู้ว่าตัวเองทำผิดกฎหมาย แต่จะเหลียวซ้ายแลขวาว่า มีเจ้าหน้าที่หรือเปล่า ถ้าไม่มีเจ้าหน้าที่ ผิดกฎหมายก็ทำ ทำแล้วอาจจะรู้สึกโก้หรูด้วยซ้ำว่า เราเป็นผู้กล้า เราเป็นคนทำซึ่งไม่ละอายต่อสายตาคนอื่น แต่กลัวเจ้าหน้าที่จับ ผมว่าอันนี้คือ ปัญหาใหญ่ของคนที่ทำผิดกฎหมาย คนที่ทำผิดกฎหมายอาจจะมีความรู้สึกก็ได้ว่ากฎหมาย ที่ออกมาเขาไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดกฎหมาย ในการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เขาต้องมีวินัย อันนี้ก็สะท้อนกลับมาหาผู้ที่ออกกฎหมายทั้งหลายได้ว่า เราเคยไปรับฟังความเห็น เราเคยให้ เขามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงหรือไม่ นั่นก็เป็นโจทย์ที่มองกลับไปกลับมาได้ทั้ง ๒ ทาง ขณะเดียวกันท่านประธานครับ เรานิยมที่จะให้กฎหมายลงโทษแรง ๆ สังคมไทยมีความนิยม อย่างนั้น ผมนั่งอยู่ในสภาแห่งนี้มานาน คนชอบว่าต้องลงโทษแรง ๆ มันจะได้เข็ดหลาบ แต่ท่านประธานครับ เมื่อลงโทษแรง แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยเลือกปฏิบัติ โทษแรงก็เลย กลายเป็นแหล่งทำมาหากินของเจ้าหน้าที่ ขณะเดียวกันท่านประธาน ถ้าโทษไม่แรง แต่เจ้าหน้าที่ตรวจจับเอาจริงเอาจังสม่ำเสมอ ผมเชื่อว่าพฤติกรรมของคนจะเปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นนี่ก็เป็นประเด็นที่ ๒ ที่ผมคิดว่าเราจะต้องคิด แทนที่จะเอาโทษแรง ๆ แต่โทษ ไม่ต้องแรง แต่ให้แรงบันดาลใจ แรงจูงใจที่ให้มีการตรวจจับอย่างสม่ำเสมอหรือเอนฟอร์ซ (Enforce) คราวนี้ถ้าเราตั้งหลักอย่างนี้ได้ ก็ต้องกลับมานั่งดูว่าทุกวันนี้ที่คนไม่กลัวกฎหมาย แต่ว่ากลัวเจ้าหน้าที่ คนไม่กลัวกฎหมายก็เพราะว่าทุกวันนี้เรารู้ว่าคนไทยนั้นอยู่ใน ระบบอุปถัมภ์ ซึ่งสามารถจะมีพวกพ้องวิ่งเต้นให้สินบน ท่านประธานครับ คนที่เรียนหนังสือ ในมหาวิทยาลัย ในโรงเรียนยังนิยมติดสินบนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไปบนบานศาลกล่าวก็คือ ไปติดสินบนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใช่ไหมครับ เช่นเดียวกันเลยครับ สังคมไทยก็นิยมที่จะไป ติดสินบนเจ้าหน้าที่ แล้วอาจารย์วันชัยก็พูดไปแล้วว่าพอเงินกับอำนาจมาคนมันเสีย ผมก็จะไม่พูดซ้ำ เพราะฉะนั้นพอเป็นอย่างนี้ทั้งระบบอุปถัมภ์และสินบนก็เลยเกิดความล่าช้า หน่วงเหนี่ยว เลือกปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ ก็เพื่อผลประโยชน์ของตนเองที่สูงกว่าผลประโยชน์ ของส่วนรวม คนที่เป็นเจ้าหน้าที่ถ้ามองกลับไปในมุมของเจ้าหน้าที่ก็น่าเห็นใจ เจ้าหน้าที่ ที่รักษากฎหมายในสังคมไทยต้องเป็นนักสังคมวิทยาชั้นยอด คนที่ตัวเองจะจับแต่งตัวอย่างไร ขับรถแบบไหน เป็นใคร เดี๋ยวกูซวย ตกลงเขาต้องเป็นนักสังคมวิทยาที่จะรู้ว่า ถ้าเป็นชาวบ้านว่าไปอีกอย่างหนึ่งเคร่งครัดได้ แต่ถ้าเจอเจ้านาย เจอระดับสูงก็เป็น อีกอย่างหนึ่ง ตกลงนี่ละครับ นี่คือปัญหาของสังคมไทยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นท่านประธานครับ เราจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมในเรื่องระเบียบวินัย ไม่ใช่มีคนหนึ่ง ตั้งกฎเกณฑ์ตั้งระเบียบวินัยแล้วให้คนอื่นปฏิบัติ แต่ต้องให้เขามีส่วนร่วมตั้งแต่ในบ้าน ในครอบครัวว่ากฎเกณฑ์อันนี้เราจะทำอย่างไรดี ถ้าลูกหรือเด็กนี่มีส่วนร่วมในการกำหนด กฎเกณฑ์และมาช่วยกันรักษา ผมคิดว่ามันต้องเริ่มตั้งแต่ในครอบครัว ในชุมชนจนถึงสภา ไม่ใช่เราอยากจะออกกฎหมายอย่างไรก็ออก แต่ต้องไปฟังชาวบ้าน ขณะนี้เราขาดการมีส่วนร่วม ที่ประชาชนจะช่วยตรวจจับหรือดูแลกฎหมาย ท่านประธานครับ ในแคนาดา ผมทราบและ ผมเคยไปอยู่ที่นั่น ปรากฏว่าคนที่เอาผิดกับคนที่จอดรถผิดกีดขวางจราจรก็ดี จอดผิดที่ก็ดี ซึ่งมันเป็นสิ่งประจำวันของพวกเรา เขาให้เอกชนนั่นน่ะเป็นคนให้ใบสั่งครับท่านประธาน ไม่จำเป็นเลยเรื่องจราจรจะต้องเป็นตำรวจ เรื่องจราจรเป็นเรื่องของท้องถิ่นในการช่วยกัน ดูแล และท้องถิ่นก็ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการให้ใบสั่ง แล้วเสร็จแล้วก็จะต้องไปถูกค่าปรับ ประชาชนก็รู้สึกว่าตัวเขาเองมีส่วนร่วมในการช่วยกันดูแล เพราะฉะนั้นท่านประธานครับ เรื่องนี้ก็กลับมาถึงที่เราพูดกันว่าเราต้องแยกระหว่างโอเปอเรเตอร์กับเรกกูเลเตอร์ บางทีเราให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น และเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเรกกูเลเตอร์ในการที่ บางครั้งคนที่ทำผิดกฎหมาย ประชาชนน่าจะช่วยกันบังคับใช้กฎหมายและรัฐช่วยกันกำกับ ตรวจสอบอีกทีหนึ่ง หลายท่านพูดเมื่อเช้านี้ว่าการบันทึกภาพและเสียงของการจับกุม ของการสอบสวนน่าจะช่วยได้ที่จะทำให้เจ้าหน้าที่ไม่เลือกปฏิบัติหรือรับสินบน และขณะเดียวกันผมเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในบ้านเมืองเมื่อเร็ว ๆ นี้ เมื่อคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตรวจสอบผู้ที่มีอำนาจในบ้านเมืองที่ละเว้น ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย พระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดิน จนกระทั่ง ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดและในที่สุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติถอดถอนและขณะนี้เรื่องกำลังไป ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ้าถูกลงโทษทางอาญา ผมว่าน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่เรกกูเลเตอร์ต้องทำงานกับเจ้าหน้าที่ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์คะ ต่อไปขอเชิญท่านคณิศร ขุริรัง ค่ะ

นายคณิศร ขุริรัง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม คณิศร ขุริรัง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดหนองบัวลำภูครับ ประเด็นทำอย่างไรให้การบังคับใช้ กฎหมายเป็นไปอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม ผมขอแยกเป็น ๒ ประเด็นใหญ่ ๆ ครับ ท่านประธานครับ

นายคณิศร ขุริรัง ต้นฉบับ

ประเด็นแรก ประเด็นการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างเคร่งครัด และผมขอเติมนะครับ และให้เกิดผลตามเป้าประสงค์

นายคณิศร ขุริรัง ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ประเด็นของการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดความเป็นธรรม เมื่อเราพิจารณาถึงหลักนิติรัฐ ซึ่งหมายถึงการปกครองประเทศโดยกฎหมาย หรือเป็นหลักประกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร หรือหน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่าผู้มีอำนาจปกครองย่อมมีอำนาจเพียงเท่าที่ กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น ส่วนประชาชนซึ่งถือว่าเป็นเจ้าของอำนาจย่อมมีสิทธิและเสรีภาพ ตราบเท่าที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้ เพราะฉะนั้นการบังคับใช้กฎหมายให้เกิด ความเคร่งครัด คนต้องมองดูในประเด็นดังต่อไปนี้ครับ ท่านประธานครับ

นายคณิศร ขุริรัง ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ ตัวกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ กฎหมายที่ออกมาบังคับใช้นั้น ต้องเป็นเรื่องของสิ่งครอบคลุม จัดการในเรื่องที่ต้องการให้เกิดหรือต้องบัญญัติมาจากพื้นฐาน ทำให้บ้านเมืองเกิดความสุข เกิดความสงบสุข ให้พลเมืองของประเทศสามารถ ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎระเบียบ ไม่ทำลาย หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อน ไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบ และผู้ออกกฎหมายนั่นก็คือ ฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องพิจารณาในการออกกฎหมายอย่างรอบคอบถี่ถ้วนก่อนที่จะมอบให้ ฝ่ายบริหารนำไปบังคับใช้

นายคณิศร ขุริรัง ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ผู้มีหน้าที่ออกกฎหมาย ผู้มีหน้าที่ออกกฎหมายนั้นต้องแสดง เจตจำนงที่ชัดเจนในเรื่องที่จะเสนอกฎหมายที่จะออก คำนึงถึงผลดีผลเสีย และทั้งนี้จะต้อง คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ

นายคณิศร ขุริรัง ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ สำหรับผู้นำกฎหมายไปบังคับใช้ ผู้นำกฎหมายไปบังคับใช้กับ ประชาชนนั้นจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีความเข้าใจในตัวบทกฎหมายที่จะนำไปบังคับใช้กับ ประชาชน ต้องนำวิธีสังเกตการณ์ สังเกต เข้าใจถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อจะได้นำ กฎหมายที่ตราไว้ไปบังคับใช้ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด

นายคณิศร ขุริรัง ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๔ ประชาชนผู้อยู่ภายใต้กฎหมาย ผู้อยู่ภายใต้การบังคับใช้ กฎหมายจะต้องน้อมรับ เข้าใจกฎหมาย กฎระเบียบ การปฏิบัติเพื่อไม่ให้ขัดต่อสิ่งที่กฎหมาย บัญญัติไว้ และที่สำคัญการเข้าถึงความเข้าใจในการบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายบริหารนั้น จะช่วยลดความขัดแย้ง การต่อต้าน และเกิดภาวะข้ออ้างที่ว่าไม่รู้กฎหมาย

นายคณิศร ขุริรัง ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าจะพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง ในการบังคับใช้กฎหมายนั้นก็คือการเลือกปฏิบัติ หรือที่เราได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ว่า สองมาตรฐาน หากจะพิจารณาตามตัวบทกฎหมายแล้วเราไม่เคยมีข้อบัญญัติคำว่า สองมาตรฐาน แต่เราจะพบอยู่บ่อย ๆ ว่า คำที่อยู่ใกล้เคียงกันนั้นคือการเลือกปฏิบัติ การเลือกปฏิบัติหมายถึงอะไรครับ การเลือกปฏิบัติหมายถึง การเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา เพศ อายุ ความพิการ อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นในเรื่องความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การอบรม และความคิดเห็นทางการเมืองนั้นจะเลือกปฏิบัติมิได้ สิ่งที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย หากไม่ทำให้ประชาชนทราบถึงข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วน หรือมิได้แยกแยะอย่างชัดเจนว่า การกระทำใดสมควรที่จะต้องมีการปฏิบัติแตกต่างกันแล้วก็อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดและ มีความคิดที่มองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติหรือสองมาตรฐานดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งจะนำมาสู่ ความขัดแย้ง การต่อต้าน ก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมาครับท่านประธานครับ ดังนั้นตามที่ผมได้กราบเรียนท่านประธานมาข้างต้น หากประชาชนคนไทยทุกคนนำข้อคิด ความเห็นที่กล่าวมามาปฏิบัติ ประเทศของพวกเราก็จะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และเป็นธรรมอย่างแน่นอนครับ ขอบพระคุณครับท่านประธานครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอขอบพระคุณค่ะ ต่อไปดิฉันจะขออนุญาตเรียนรายนามที่เหลืออยู่นะคะ ท่านไพโรจน์ พรหมสาส์น ท่านทวีกิจ จตุรเจริญคุณ ท่านธวัช สุวุฒิกุล ท่านประสาร มฤคพิทักษ์ และท่านอมร วาณิชวิวัฒน์ ค่ะ ต่อไปขอเรียนเชิญท่านไพโรจน์ พรหมสาส์น ค่ะ

นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ไพโรจน์ พรหมสาส์น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ ในหัวข้อที่นำสู่การอภิปรายในวันนี้ ผมคิดว่าเป็นหัวข้อที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่เราอยากจะเห็นอยากให้เป็นไป แล้วก็เป็น ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปหลายเรื่องหลายอย่าง ก็ขอถือโอกาสฝากไปยัง คณะกรรมการที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังและ ต่อเนื่องด้วย กระผมเห็นด้วยกับหลายท่านที่ได้อภิปรายไปแล้วนะครับ อย่างไรก็ตามกระผม ก็มีข้อคิดเห็นหรือข้อสังเกตบางประการที่จะนำเรียนต่อท่านประธานและที่ประชุมนะครับ

นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ต้นฉบับ

ในประการแรกนั้นทุกคนก็คงยอมรับว่ามนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์สังคมในทาง สังคมวิทยา นอกเหนือจากเรายังมีกฎทางศาสนา กฎระเบียบทางสังคมแล้ว กฎหมายเป็น สิ่งสำคัญที่จะให้เราอยู่กันในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน คนที่ทำผิดกฎหมายก็ต้องได้รับโทษทัณฑ์ตามกฎหมาย

นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ต้นฉบับ

เพราะฉะนั้นในประเด็นต่อไป กฎหมายนั้นจะต้องเป็นกฎหมายที่เป็นธรรม กฎหมายที่ได้รับการยอมรับ กฎหมายที่ถูกต้อง กฎหมายที่เหมาะสม จึงจะได้รับการยอมรับ ในการปฏิบัติ จะทำอย่างไรที่จะให้กฎหมายนั้นมีลักษณะที่สามารถที่คนจะยอมรับ ยอมปฏิบัติ หรือเชื่อถือ ถ้ากฎในทางศีลธรรม ทางศาสนานั้นเราคิดว่าทุกคนส่วนใหญ่ยอมรับ แล้วก็ปฏิบัติตาม ถ้าหากว่าสามารถทำได้เช่นนั้นก็คิดว่าการที่จะบังคับใช้กฎหมาย ก็คงจะเป็นไปอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แล้วก็เป็นที่ยอมรับกัน

นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ต้นฉบับ

ในประการถัดไปก็คือว่าเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ใช่เฉพาะตำรวจ อัยการ ศาลเท่านั้นละครับ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายปกครอง สรรพสามิต สรรพากร ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายจะต้องบังคับใช้กฎหมายนั้นอย่างจริงจังต่อเนื่อง เสมอภาคและเป็นธรรม นั่นเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดจะทำอย่างไรจึงจะทำให้ความเชื่อถือ ต่อกฎหมายนั้นเกิดขึ้นในเมื่อได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมแล้วก็เสมอภาค ผู้คนที่จะเคารพ และเชื่อฟังตามกฎหมายนั้นก็คงจะเป็นเรื่องที่เราคงจะต้องกล่อมเกลากันในพฤตินิสัยตั้งแต่ แรกเกิดจนกระทั่งโตเข้ามาอยู่ในสังคมเป็นประชาชนพลเมือง มันก็น่าจะเป็นลักษณะที่ว่า เป็นนิสัยประจำชาติ เหมือนอย่างบางชาติที่เราเห็นแล้วเขามีลักษณะนิสัยประจำชาติที่ดีมาก ผมยกย่องอย่างคนญี่ปุ่น ไม่มีหรอกครับของที่จะหายเราวางทิ้งไว้ เคยไปเล่นกอล์ฟบางสนาม ลืมสร้อยคอลืมอะไรไว้ คนญี่ปุ่นเก็บออกมาแล้วเอามาดู เอ๊ะนี่ของใครถามหาเจ้าของ ถ้าเป็นสังคมไทยเราอาจจะเก็บไปเลย อะไรทำนองนั้นนะครับ ทำผิดกฎหมายเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คิดว่าคนไม่เห็นไม่รู้มีอีกมาก เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ที่เราจะทำอย่างไรจะปลูกฝังค่านิยมทางสังคมให้คนได้รู้ได้เข้าใจและประพฤติปฏิบัติตั้งแต่ ในบ้าน ในวัด ในโรงเรียน ในสังคม ในประเทศชาติทุกเรื่องทุกอย่างจะต้องเป็นเรื่องที่ เอาจริงเอาจังเหมือนอย่างในบางประเทศ หรือหลายแห่งที่เขาสามารถปฏิบัติจัดทำกัน นอกเหนือจากผู้ที่ทำผิดกฎหมายจะต้องถูกลงโทษลงทัณฑ์ตามข้อบัญญัติที่กฎหมาย กำหนดแล้ว การแซงก์ชัน (Sanction) โดยสังคม โซเชียล แซงก์ชัน (Social sanction) ผมคิดว่า มีความสำคัญอย่างมาก จะทำอย่างไรคนที่ทำผิดกฎหมายที่ไม่ถูกไม่ต้องจะไม่ได้รับ การยอมรับจากสังคม จะถูกประณามหยามเหยียดอะไรก็สุดแล้วแต่ในทางที่เหมาะสม ผมคิดว่าอันนั้นจะเป็นทางช่วยได้อีกทางหนึ่ง

นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ต้นฉบับ

เพราะฉะนั้นในท้ายที่สุดก็คงจะยืนยันว่าในเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และเราคงจะ หาทางที่จะทำอย่างไรให้การดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราปล่อยปละละเลยกันมานานเหลือเกิน ทำอะไรได้ตามใจคือ คนไทยแท้ มันไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น เราไปอยู่ในสังคมที่เขาอยู่ในระเบียบ กฎหมาย การประพฤติปฏิบัติที่ดีก็ผ่านกันมาก็เยอะ แต่ว่าทำอย่างไรเราจะทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นในบ้าน ในวัด ในโรงเรียน ในหมู่บ้าน ในตำบล ในอำเภอ ในจังหวัดและทั่วทั้งประเทศ ให้เห็นว่า การทำผิดกฎหมายนั้นไม่เป็นสิ่งพึงบังควรทำอย่างยิ่ง ทุกคนต้องเคารพต่อกฎหมาย ต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อสังคมและประเทศชาติ กระผมก็คงมีข้อสังเกตเรียนฝากไว้ เพียงแค่นี้ครับ ขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอขอบพระคุณค่ะ ต่อไปขอเชิญท่านทวีกิจ จตุรเจริญคุณ ค่ะ

นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ ผม ทวีกิจ จตุรเจริญคุณ สปช. จังหวัดตากครับ ทำอย่างไรถึงมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและ เป็นธรรมนะครับ ส่วนหนึ่งคำว่า เป็นธรรม แล้วก็การใช้กฎหมาย เราก็ส่วนมากจะคุยถึงทาง เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัตินะครับ ผมว่าเราต้องมาดูเกี่ยวกับเรื่องของโครงสร้างเหมือนกันว่า โครงสร้างโดยเฉพาะตำรวจ โครงสร้างได้รับความเป็นธรรมไหม แล้วเขาจะทำงานได้แบบ เคร่งครัดไหม เราบอกเริ่มต้นตั้งแต่ผู้มีสตางค์หน่อยก็เรียนโรงเรียนนายร้อยสามพรานนะครับ ผู้ที่ไม่มีสตางค์หน่อยก็เรียนโรงเรียนนายสิบนะครับ ซึ่งมีอยู่หลายแห่งนะครับ โรงเรียนนายร้อยจบมาก็ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ไปทำงานตำแหน่งต่ำที่สุดก็คือร้อยตรีนะครับ เรียนโรงเรียนของพลตำรวจจบมาก็ไปทำงานสถานที่ต่าง ๆ ในหน้าที่ของพลตำรวจนะครับ สิ่งหนึ่งที่เราจะสังเกตเห็นว่าเราเจอนายดาบอยู่ที่โรงพักอายุ ๕๐ ปีนะครับ แต่ร้อยตรีอายุ ๒๒ ปีเองก็ไปสั่งนายดาบทำงาน อย่างนี้ประสบการณ์ยังไม่มีเลยจะสั่งได้ไหมครับ และมันจะได้ผลไหม เช่น นายดาบ จ่าหรือนายสิบเขาจะลงพื้นที่ เพราะนายดาบ นายสิบ พวกนี้จะไม่ค่อยได้ย้าย ส่วนมากจะอยู่พื้นที่ ที่จะย้ายก็นายร้อย นายพันอะไรอย่างนี้ พันเอกอะไรพวกนี้ ส่วนนายดาบ หรือจ่า หรือนายสิบอะไรพวกนี้เขาจะทำงานพื้นที่แล้วก็ จะขึ้นโดยตำแหน่งไปตลอด เพราะฉะนั้นกลุ่มพวกนี้จะทำงานหนักนะครับ ส่วนจะเป็น ร้อยตรี ร้อยโทอะไรที่ย้ายมาตามโรงพักมาถึงก็สั่งการเพราะว่าตำแหน่งสูงกว่า แต่อาวุโส ทุกอย่างต่ำกว่าหมดละครับ ประสบการณ์ก็ต่ำ อะไรก็ต่ำ มันเลยทำให้ประสิทธิภาพ ในการทำงานในสถานีตำรวจแต่ละที่มันไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ไม่ค่อยมีประสิทธิผลเท่าที่ควร ผมก็มีเพื่อนเป็นตำรวจนะครับ เป็นนายดาบอะไรพวกนี้ก็มีอยู่ เขาบอกว่าท่าน สปช. ช่วยไปอภิปรายหรือช่วยไปบอกในสภาปฏิรูปแห่งชาติหน่อยได้ไหมว่าควรจะเหลือแค่ จะเอาโรงเรียนนายร้อยก็โรงเรียนนายร้อยไปอย่างเดียว จะโรงเรียนพลตำรวจก็เอา พลตำรวจอย่างเดียวมันจะได้เสมอภาค แล้วเวลาโตมันก็บอกว่ามันจะได้โตไปพร้อม ๆ กัน ไม่ใช่พอจบนายร้อยเด็กตัวกระเปี๊ยกเลี๊ยกก็มาสั่งนายดาบทำงานได้ทุกที่นะครับ สิ่งหนึ่งที่เรา จะถามต่อก็คือว่า มันถึงเวลาหรือยังที่เราจะปฏิรูปตำรวจกันอย่างจริงจังนะครับ เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่เราคุยอยู่เขาก็บอกว่าความเหลื่อมล้ำมันก็เกิดอย่างนี้ มันก็ทำให้ตำรวจ ที่เขาทำงานมา ๒๐ ปี ๓๐ ปี กลุ่มนี้จะไม่ค่อยมีกำลังใจในการทำงาน แม้กระทั่ง เราได้ยินข่าวมาก็คือว่าตำรวจฆ่าตัวตายนะครับ ที่ฆ่าตัวตายเราก็บอกว่า บางสื่อก็บอกว่า ถูกกดดันหรือเปล่านะครับ ก็เรียนท่านประธานนะครับ แล้วก็ท่านสมาชิก สปช. พวกเรานะครับ ผมว่าสิ่งหนึ่งการปฏิรูปของตำรวจ เราต้องทำว่าทำอย่างไรไม่ให้ มีการเหลื่อมล้ำ ไม่เช่นนั้นทั้งหมดก็ยุบไปหมดเลย ไปเรียนโรงเรียนนายร้อยสามพราน ให้หมดเลย และจบออกมาก็มาเริ่มเป็นตำรวจนายพลอย่างนี้ได้หรือเปล่าผมก็ไม่ทราบนะครับ เพราะว่าผมไม่ได้อยู่ในส่วนราชการ สิ่งหนึ่งที่อยากจะเห็นภาพไปว่าความเหลื่อมล้ำ มันเกิดขึ้นอย่างนี้นะครับ และเราบอกว่าเราขอให้ใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด มันจะเคร่งครัดได้อย่างไร และมันจะเป็นธรรมกับการทำงานของส่วนราชการได้อย่างไร สิ่งหนึ่งที่อยากฝากไว้ก็คือผมว่าเรื่องนี้เราต้องปฏิรูปในสายอาชีพของตำรวจว่า ความเท่าเทียมกัน จบออกมาเหมือน ๆ กัน ถ้าจะเลื่อนตำแหน่งไปถึงนายพลเลยก็ได้ มันต้องได้พอ ๆ กัน ได้เท่า ๆ กัน จึงอยากจะเรียนท่านประธานนะครับ ขอบคุณมากครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากค่ะ ต่อไปขอเชิญท่านธวัช สุวุฒิกุล ค่ะ

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ธวัช สุวุฒิกุล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๐๙๙ จังหวัดชัยภูมิ ท่านประธานที่เคารพครับ การบังคับใช้ กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรมนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นความหวังของ พี่น้องประชาชน และเป็นความหวังของพวกเราสภาปฏิรูปแห่งชาติทุกคนที่จะคิดว่า การทำเรื่องนี้ภายหลังที่เรามีการปฏิรูปแล้วสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในบ้านในเมือง มีคำ ๒ คำ ที่สำคัญในหัวข้อนี้ก็คือเรื่องของกฎหมายและการบังคับใช้ เพราะฉะนั้นผมอยากจะเรียนว่า ท่านสมาชิกได้อภิปรายไปมากแล้วถึงปัญหาที่เกิด แต่ผมอยากจะนำเรียนว่าสิ่งที่มันเกิดนั้น สาเหตุที่เกิดนั้นเป็นผลเพราะว่า ๒ เรื่องที่ผมจะพูดครับ

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

อันแรก คือด้านกฎหมาย สั้น ๆ ท่านครับ มีอยู่ ๔ เรื่องที่เราต้องรีบไป ดำเนินการ ก็คือเรื่องของการปรับปรุงกฎหมายที่ล้าสมัยให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบัน สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมที่มันเป็นอยู่ในขณะนี้

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้า บริการ แรงงาน และการลงทุนเพื่อรองรับเออีซีที่จะเกิดขึ้นในปี ๒๕๕๘ ในกฎหมาย หลายฉบับยังระบุว่าประเทศที่มีพื้นที่ชิดกัน บัดนี้อาเซียน (ASEAN) ไม่มีชิดกันท่านครับ เพราะต้องไปดูกฎหมายตรงนี้

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ในประการที่ ๓ ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปราม การทุจริตคอร์รัปชันให้มีความกระชับ รวดเร็ว รัดกุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ประการที่ ๔ พัฒนากฎหมายสำคัญต่อส่วนรวม ได้แก่ กฎหมายคุ้มครอง ผู้บริโภค ซึ่งเมื่อวานก็ได้ผ่านการพิจารณาของสภาแห่งนี้ไปแล้ว และกฎหมายอีกหลายเรื่อง ที่กระทบต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน คือกฎหมายสิ่งแวดล้อมครับ

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

อีกด้านหนึ่งครับ เป็นเรื่องของด้านการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งก็ไปเกี่ยวข้องกับ กระบวนการยุติธรรม

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ในประการแรกนั้นผมว่าการสร้างระบบการตรวจสอบกระบวนยุติธรรม อย่างเป็นรูปธรรมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ และต้องมีมาตรการที่ลงโทษบังคับใช้กฎหมายที่ กระทำผิด คือการลงโทษผู้บังคับใช้กฎหมายที่กระทำผิดต้องลงโทษอย่างรุนแรง เพราะเรา ในฐานะผู้มีอำนาจใช้กฎหมายและไปใช้ผิด เพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมมีความโปร่งใส และเป็นธรรมครับ

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ในประการถัดไป จะต้องมีกลไกในการเสริมสร้างให้พี่น้องประชาชน ได้มีความรับรู้ในเรื่องกฎหมาย กระบวนการขั้นตอน แนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ และรวมถึงกระบวนการยุติธรรมภาคประชาชน

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม นอกจากในภาพรวมแล้วผมอาจจะ แยกเป็นส่วน ๆ เช่น ระบบงานตำรวจต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารตำรวจ แห่งชาติให้มีการกระจายอำนาจซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่แล้ว

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

๒. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ภายใต้กระทรวง ไม่ขึ้นอยู่กับฝ่ายการเมือง แต่มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเพื่อความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการดูแลเรื่องนี้ เพิ่มจำนวนตำรวจ หรือจัดให้มีเจ้าหน้าที่อาสาสมัคร หรือตำรวจชุมชนเพื่อช่วยเหลือ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นการแบ่งเบางานของพนักงานตำรวจ ปรับปรุงสถานีตำรวจ ให้เป็นศูนย์บริการความปลอดภัยกับภัยสังคมแบบเบ็ดเสร็จ ตั้งหน่วยงานสอบสวนและ แยกอำนาจการสืบสวนออกจากอำนาจงานสอบสวนอย่างชัดเจน เพื่อให้ระบบงานสอบสวน เป็นอิสระจากการบังคับบัญชามีขอบเขตอย่างชัดเจน นั่นในด้านของตำรวจ

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ในด้านของอัยการครับ ต้องมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ ห้ามไม่ให้ พนักงานอัยการไปเป็นผู้บริหารรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรอื่นอย่างเด็ดขาด อันนี้ก็กำลัง ดำเนินการอยู่ ปรับให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรที่ไม่ขึ้นกับฝ่ายบริหาร การเมือง เพื่อความเป็นกลางและปราศจากการแทรกแซง

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

และประการสุดท้ายในเรื่องของอัยการ กำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่ ชัดเจนในการพิจารณาสั่งฟ้อง ยื่นฟ้อง และให้อัยการสามารถจ้างทนายความแก้ต่าง ในอรรถคดีได้

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ในส่วนของศาลยุติธรรม ปรับปรุงระบบศาลยุติธรรมให้เป็นระบบเปิด รัฐควร ส่งเสริมให้มีการนำรูปแบบของกระบวนการยุติธรรมที่เป็นทางเลือกมากขึ้น การจัดตั้งศาล ให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาคดีเฉพาะเรื่อง เช่น คดีศาลทุจริตคอร์รัปชัน เป็นต้น

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ในประการสุดท้าย การมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง สร้างกลไกสนับสนุนให้ประชาชน กลุ่มประชาชน ภาคสังคมมีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย สร้างกลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของตำรวจ อัยการ ทนายความและตุลาการ และสุดท้ายพัฒนากลไกการใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือก ให้มากขึ้น ขอกราบขอบพระคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอขอบพระคุณค่ะ ต่อไปขอเชิญท่านประสาร มฤคพิทักษ์ ค่ะ

นายประสาร มฤคพิทักษ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ ประสาร มฤคพิทักษ์ สปช. ๑๓๒ ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตทบทวนประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับ การบังคับใช้กฎหมายเล็กน้อย เหตุเกิดที่สโมสรกองทัพบก เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ปีที่แล้ว ในการประชุม ๗ ฝ่าย ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ ผบ.ทบ. ได้ตั้งคำถามกับผู้แทนของ รัฐบาลว่า ตกลงยืนยันที่จะไม่ลาออกทั้งคณะหรือรายบุคคลใช่หรือไม่ คำตอบของตัวแทน รัฐบาลก็คือนาทีนี้ไม่ลาออก คำตอบกลับมาจาก ผบ.ทบ. ก็คือ ถ้าเช่นนั้นนาทีนี้ผมขอ ยึดอำนาจการปกครอง นี่เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ทุกคนรับรู้ ผมขอเรียนที่ประชุม ได้รับทราบเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กน้อย เพื่อนผมคนหนึ่งเป็นเพื่อนกับรัฐมนตรีซึ่งทำหน้าที่ อยู่ ณ เวลานั้นก่อนที่จะยึดอำนาจ โทรศัพท์ไปแล้วก็บอกว่าคุณ ผมขอร้องหน่อย รัฐมนตรี ถามกลับว่าขอร้องอะไร เพื่อนผมก็บอกว่า ไม่ต้องพูดถึงความถูกความผิด ไม่ต้องพูดถึงใครดี ใครไม่ดี แต่ขอให้คำนึงถึงว่าขณะนี้บ้านเมืองไม่มีทางออก รัฐมนตรีถามกลับมาว่า แล้วอย่างไร เพื่อนผมบอกว่า คุณและคณะลาออกเถอะ วุฒิสภาเขาอยากจะตั้ง นายกรัฐมนตรีก็ตั้งไม่ได้เพราะว่ามีรัฐมนตรีอยู่จำนวนหนึ่ง เขาก็ตอบกลับมาบอกว่า ผมไม่ได้ทำอะไรผิด นายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้ทำอะไรผิด คุณต่างหากต้องมาช่วยผมแก้ปัญหา เขาใช้คำนี้นะครับ คุณต่างหากต้องมาช่วยผมแก้ปัญหา ขณะที่พูดนี้เป็นการพูดก่อนที่ ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินกรณี คุณถวิล เปลี่ยนศรี ท่านประธานครับ ก่อนหน้านั้นก็คงจะ นึกภาพออกว่าการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปไม่ได้เลย คนตายไป ๒๑ คน คุณวสุ สุฉันทบุตร ใครต่อใครเยอะแยะ เจ็บอีกหลายพันคน เอาอาวุธขึ้นมาใช้กันอย่างโจ๋งครึ่ม แต่แล้วก็ไม่สามารถจะจับมือใครดมได้แม้แต่เพียงคนเดียว แต่พอหลังจากนั้นเป็นต้นมา ทุกท่านทราบนะครับ คลังอาวุธขอนแก่น โมเดล คลังแสงที่สมุทรสาคร ที่มีนบุรี ที่ชลบุรี เอามารวบรวมกันเหมือนจะเป็นกองทัพกองทัพหนึ่ง ไม่รู้ไปทำศึกกับใคร ทำไมสามารถที่จะ จับกุมได้ กระทั่งตัวบุคคลก็มีการจับ ผมกำลังเรียนให้ทราบว่านี่คือเงื่อนไขทางการเมือง ที่เปลี่ยนไป เมื่อสังคมยืนอยู่ในหลักยุติธรรมในหลักกฎหมาย และใช้อำนาจอย่างถูกต้อง การเคารพกฎหมายก็เป็นเรื่องเป็นไปได้ นั่นเป็นกรณีศึกษาเรื่องหนึ่ง ผมมีอีกกรณีหนึ่ง ที่ผมอยากจะขออนุญาตหยิบมายกเป็นตัวอย่าง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ เรื่องของกรมอุทยานแห่งชาติ เป็นการแถลงของอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาตินะครับ บอกว่าครึ่งหลังของปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา กรมอุทยานสามารถทวงคืนผืนป่า ยึดคืนพื้นที่ได้ มากกว่า ๓๐,๐๐๐ ไร่ และสามารถจับกุมการกระทำผิดได้ ๖,๙๐๕ คดี มีผู้กระทำผิด ๓,๕๕๕ ราย เรื่องยึดไม้พะยูง เรื่องคดีบุกรุกป่า เรื่องสัตว์ป่า ๔๙๓ คดี อะไรต่อมิอะไร เยอะแยะนะครับ ผลงานสำคัญคือการทวงคืนผืนป่าอุทยานสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต ที่มีกลุ่มนายทุนทั้งไทยและ ต่างชาติ นักการเมือง นักธุรกิจ ผู้มีอิทธิพลเข้าไปรุกยึดครองพื้นที่ที่ได้ชื่อว่ามีมูลค่ามหาศาล เป็นผลสำเร็จ จน คสช. ยกย่องให้เป็นการทวงคืนผืนป่านำร่องของประเทศ นี่ก็เป็น อีกตัวอย่างหนึ่งที่เรียนให้ทราบว่าพอเหตุการณ์มันคลี่คลาย พออำนาจที่ไม่เป็นธรรม มันคลายตัวลงไป มันก็เกิดผลในทางที่จะทำให้กฎหมายเป็นมรรคเป็นผลขึ้นมา ท่านประธานครับ นั่นคือสิ่งที่ผมได้เรียนให้ที่ประชุมทราบ

นายประสาร มฤคพิทักษ์ ต้นฉบับ

แต่อีกนิดหนึ่งครับนิดเดียวเท่านั้นเองนะครับ ขออนุญาต เพื่อนผมที่เป็นอดีต ส.ส. ปชป. ส่งจดหมายมาให้ผมดู ในนี้บอกว่าเป็นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ผมเอ่ยชื่อได้ครับ ขออภัย คุณวัชระ เพชรทอง บอกคณะกรรมการตำรวจ มีการประชุมเมื่อ ๗ มกราคม ๒๕๕๘ พิจารณาโยกย้ายข้าราชการตำรวจทั่วประเทศ ในที่นี้นายตำรวจคนหนึ่ง พันตำรวจเอก ถูกกล่าวหาจากการแถลงข่าวของ มีชื่อคนนะครับ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษว่าคนคนนี้ พันตำรวจเอกคนนี้เป็นผู้จ้างวาน สิบตำรวจตรี บัณฑิต สิทธิทุม เป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้ยิงวัดพระแก้ว ผมไปเปิดดูข่าว ก็พบว่าข่าววันที่ ๑๒ ธันวาคมนะครับ คนคนนี้อดีต ตชด. มือยิงระเบิดอาร์พีจี (RPG) ใส่วัดพระแก้ว ตกพลาดใส่กระทรวงกลาโหมมีความผิดตามฟ้องพิพากษาจำคุก ๓๘ ปีนะครับ แต่แล้วก็มาได้รับตำแหน่งเป็นผู้กำกับ สน. บวรมงคล นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งนะครับว่า ถึงแม้มันคลี่คลายไปในทางที่ว่าหลักกฎหมาย หลักยุติธรรมได้รับความเคารพ ในหลาย ๆ กรณี แต่แล้วก็มีเหตุการณ์แบบนี้ปรากฏขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็ต้องถามไปที่ ผบ.ตร. ครับว่า เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรทั้ง ๆ ที่มีคดีติดตัวขนาดนี้ ผมเรียนว่ากรณีที่ผมยกตัวอย่าง ขึ้นมานั้นเป็นกรณีที่ชี้ให้เห็นว่าถ้าบ้านเมืองดำรงหลักยุติธรรม ยืนอยู่ได้มั่นคง ในเชิงกฎหมาย ในเชิงหลักยุติธรรม และเจ้าหน้าที่มีความพยายามที่เป็นจริง ก็สามารถที่จะ ทำให้กฎหมายเป็นกฎหมาย ทำให้คนผิดได้รับโทษ และทำให้คนดีได้รับการตอบแทนที่ถูกต้อง ขอบคุณครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณมากค่ะ ท่านสมาชิกคะ ขณะนี้มีคณาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค ราชสิทธาราม กรุงเทพฯ ได้มาสังเกตการประชุมค่ะ ขอต้อนรับนะคะ ต่อไปเป็น การอภิปรายท่านสุดท้ายค่ะ ท่านอมร วาณิชวิวัฒน์ ค่ะ ขอเชิญค่ะ

นายอมร วาณิชวิวัฒน์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพครับ แล้วก็กราบเรียนท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติครับ ผม อมร วาณิชวิวัฒน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการเมือง และในฐานะประธานอนุกรรมาธิการการศึกษา การบังคับใช้กฎหมายนะครับ ผมเนื่องจากเวลามีจำกัดอยู่ประมาณ ๕ นาที ผมขอความเป็น รูปธรรมนะครับว่า การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ บังเอิญท่านรองประธาน ซึ่งทำหน้าที่ประธาน ผมเข้าใจเอาเองนะครับว่าท่านมีส่วนที่จะต้องดูแลเรื่องกายภาพ หรือว่าทัศนียภาพต่าง ๆ ที่อยู่ในสภาแห่งนี้ มีข้อร้องเรียนมานานพอสมควร ผมเองมองว่า เป็นเรื่องจุกจิกแล้วก็คิดว่าอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมานำเข้าสู่การพูดจากันในสภาแห่งนี้ ซึ่งอาจจะเสียเวลา แต่ประเด็นเรื่องที่เราจะพูดถึงประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น ผมคิดว่าเบื้องต้นในฐานะที่พวกเราเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม คงจะต้องเป็นจุดเริ่มต้นก่อน เรื่องหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือเรื่องของการจัดการจราจรภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่จอดรถต่าง ๆ ทางรัฐสภานั้นได้จัดที่จอดรถให้กับพวกสมาชิก ของเรา ผมไม่ไปล่วงเกินของ สนช. แต่ว่าในส่วนของ สปช. นี่ผมเข้าใจเอาเองนะครับว่า ทางสภานั้นที่เขาดินวนานี่ ผมได้ให้คนขับรถของผมทุกครั้งนะครับ ถ้าที่จอดรถในสภาเต็ม ไม่มีการซ้อนสองนะครับ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของอันตรายอย่างยิ่งนะครับ แล้วก็ไม่มีความเป็น ระเบียบเรียบร้อย เวลาผมยกมือไปกราบสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๗ หรือแม้กระทั่งไปสักการะพระสยามเทวาธิราช ผมรู้สึกไม่สบายใจนะครับ เพราะว่าผมต้องการ จะกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ได้ต้องการกราบไหว้รถยนต์ที่ไปจอดเรียงราย ซึ่งเป็นเรื่องที่ ไม่น่าบังควรอย่างยิ่ง แล้วก็เป็นเรื่องที่สะท้อนนะครับ เพราะว่าบางทีมีชาวต่างชาติเดินทาง มาเยี่ยมชมกิจการของรัฐสภา เขาก็ตั้งคำถามว่าทำไมรถรามันเยอะขนาดนี้ แล้วจริง ๆ แล้ว การจอดในที่ซึ่งห้ามจอด จริง ๆ แล้วการซ้อนสองตรงบริเวณหน้าพระสยามเทวาธิราช ตรงนั้นมันไม่ใช่ที่จอดรถนะครับ เพราะว่าในเมื่อทางรัฐสภาจัดที่จอดไว้ให้พวกเราที่ เขาดินวนาแล้ว คนขับรถของผมมาพูดให้ฟังเสมอบอกว่าไม่มีใครไปจอดเลยครับ ตรงนั้นสูญเปล่า ผมก็เลยฝากตรงนี้ในเบื้องต้นเพื่อให้เห็นภาพเป็นรูปธรรมว่า เบื้องต้นเลยนะครับ คนที่มีหน้าที่ในการออกกฎเกณฑ์กติกาไปบังคับคนอื่นเขานี่ เราจำเป็น จะต้องประพฤติตัวเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีให้กับสังคมก่อน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ ผมไม่ได้โทษ คนส่วนใหญ่นะครับ แต่ผมคิดว่าคงจะมีคนส่วนน้อยและอาจจะเป็นความมักง่ายของ พลขับเองที่อาจจะเอาใจเจ้านาย เพราะคิดว่าเจ้านายอาจจะเรียกใช้อย่างไรจะได้อยู่ใกล้ตัว จะได้มาถึงเนื้อถึงตัวได้เร็ว เอาละครับเรื่องนั้นจบไป ผมคิดว่าในฐานะของประธาน อนุกรรมาธิการปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมายเรามีการศึกษากันหลายเรื่อง เราคิดว่า ประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ได้ผลบางทีเราอาจจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการ เสริมต่าง ๆ มาบังคับใช้ไม่ว่าจะเป็นมาตรการที่เข้มข้นดังที่เคยนำเรียนมาก่อนหน้านี้แล้ว แล้วก็มีหลายคนก็ปฏิเสธมองว่ามันเป็นเรื่องที่เพ้อเจ้อบ้าง หรืออาจจะเป็นเรื่องที่ไกล ความเป็นจริง อย่างเช่นการวางมาตรการการตรวจสอบภาษีย้อนหลังสำหรับการแสดง ความมีอยู่จริงของทรัพย์สิน หนี้สินในการตรวจสอบการทุจริต เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วผมเชื่อว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์มักจะไม่ชอบความไม่สะดวก ไม่สบาย อย่างที่เรียนให้ท่านทราบถึงตัวอย่างข้างต้น ผมก็เลยคิดว่าการมีแนวความคิด อย่างกรณี การจัดตั้งศาลจราจรในอนาคตก็จะเป็นบทเรียนหนึ่ง แล้วก็จะเป็นรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยแก้ไข ปัญหาการละเมิดกฎหมายจราจรได้อย่างดี วันนี้เป็นเรื่องอันตรายมากครับ ผมขับรถ หรือนั่งไปในรถ มีรถมอเตอร์ไซค์คันใหญ่ ๆ ขับด้วยความเร็วประมาณ ๑๖๐-๑๗๐ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ในขณะที่รถของพวกเราวิ่งอยู่กันประมาณ ๖๐-๘๐ กิโลเมตร อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น แต่ละครั้งมันอันตรายถึงชีวิต และร้ายแรงมาก บังคับใช้กฎหมายไม่ได้ ในอดีตที่ผ่านมา หลาย ๆ เรื่องซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้าก็มีการถกเถียงกันว่าภาพถ่ายทางการจราจรนั้น จะเอามาบังคับใช้ได้หรือไม่ ผมเข้าใจว่าในเรื่องนี้วันนี้ได้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวแล้ว ผมก็คิดว่าเรื่องนี้ก็อาจจะต้องเป็นเรื่องหนึ่งที่เทคโนโลยีต่าง ๆ อาจจะต้องนำมาใช้ แล้วก็การยึดหรือการบังคับทรัพย์เอาเป็นของแผ่นดินอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ในการกระทำ ความผิดอย่างกรณีเหมือนกับเด็กแว้น เด็กที่ออกมาทำความเดือดร้อนรำคาญต่าง ๆ ก็จะเป็นมาตรการหนึ่ง

นายอมร วาณิชวิวัฒน์ ต้นฉบับ

ประการต่อมาผมคิดว่ากรอบเวลาที่ท่านสมาชิกหลายท่านกำหนดขึ้นนั้น ผมมีความเห็นด้วย เพราะว่ากรอบเวลาที่กำหนดขึ้นมาในอดีตที่ผ่านมาไม่ต้องอะไรมาก เรื่องการเงินเป็นตัวอย่าง ผมขอเวลาอาจจะเกินสัก ๑-๒ นาทีนะครับ ในเรื่องของกรอบเวลา เห็นได้ชัดเลยครับเรื่องของการทุจริตในฝ่ายการเงิน บางครั้งผลงานผู้รับเหมา อะไรต่าง ๆ ทำเสร็จเรียบร้อยก็หน่วงเวลาในการจ่ายเงิน เหตุผลง่าย ๆ ก็คงทราบกันดีว่าการหน่วงเวลา ต่าง ๆ การหาข้ออ้างต่าง ๆ ขึ้นมานั้น ก็เป็นการเรียกรับผลประโยชน์ทางอ้อม ซึ่งในเรื่องที่ เกิดขึ้นนั้นบางครั้งในอดีตที่ผ่านมาก็ไม่มีใครที่จะกล้าดำเนินการต่าง ๆ เพราะฉะนั้น การกำหนดกรอบเวลาขึ้นมา แล้วก็มีการกำหนดโทษในการประกอบด้วยว่าถ้าหาก ดำเนินการแล้วเสร็จ หรือว่าเรื่องใดก็ตามนั้นจะต้องมีกรอบเวลาในการดำเนินการ ให้แล้วเสร็จในระยะเวลาเท่าใด หากไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จในกรอบเวลาดังกล่าวนั้น ผู้บังคับใช้กฎหมายหรือว่าผู้มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนั้นจะต้องได้รับโทษด้วยก็จะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่ง

นายอมร วาณิชวิวัฒน์ ต้นฉบับ

ประการสุดท้ายครับ ท่านประธานที่เคารพครับ ในคณะของเรามีแนวความคิด ที่จะสร้างตัวแบบขึ้นมานะครับ เพราะว่าเรามองว่าหลาย ๆ อย่างการบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ผล เพราะเราอาจจะบังคับใช้ผิดตัว ผมย้อนกลับไปเรื่องของการก่อความเดือดร้อนรำคาญของ เด็กวัยรุ่นที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ รถยนต์ราคาแพง หรืออะไรก็ตามนี่นะครับในสังคมเรา ทุกวันนี้ ผมคิดว่าสถาบันครอบครัวมีปัญหา อย่างการอภิปรายกันภายในอนุกรรมาธิการของเรามองว่าเรื่องของเด็กและเยาวชนนั้น เรามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กและเยาวชนอยู่ ซึ่งตัวพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือแม้กระทั่งครูบาอาจารย์อย่างผมเองนี่เมื่อลูกศิษย์ลูกหาไปกระทำความผิด เด็กช่างกล เวลาไปตีรันฟันแทง ผู้ที่รับผิดชอบไม่ใช่พ่อแม่ผู้ปกครองหรือตัวเด็กเท่านั้นนะครับ จะต้องเป็นตัวผู้เกี่ยวข้องแม้กระทั่งครูบาอาจารย์ด้วย เพราะฉะนั้นในมาตรการบังคับ ที่มีการพูดคุยกันนี่เราอาจจะใช้เรื่องของการกักกันบริเวณหรืออะไรต่าง ๆ ซึ่งคงเป็นปัญหา อยู่อย่างหนึ่งว่าความผิดอาจจะไม่ได้อยู่ที่เด็ก อาจจะอยู่ที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ได้มีเวลาให้กับ ลูกหลาน เพราะฉะนั้นการกักบริเวณอาจจะไม่ใช่ตัวเด็ก อาจจะต้องเป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครอง บางคนที่จะต้องอยู่คู่กับเด็กให้นั่งจ้องหน้ากันคุยกันให้รู้เรื่อง อบรมอุปนิสัยหรือพัฒนานิสัย ต่าง ๆ เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นในเรื่องสุดท้ายที่จะนำเรียนก็คือ เราคิดว่าเราจะมีการตั้ง คณะกรรมการเร่งรัดการบังคับใช้กฎหมายเกิดขึ้น เพราะว่าในคณะนี่ก็ได้มีการพูดกันว่า มาตรการหลาย ๆ อย่าง แม้ว่าอาจจะดูซ้ำซ้อนกับเรื่องของสิ่งที่หน่วยงานของรัฐอาจจะทำอยู่ อย่างความสูญเสียที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาต่าง ๆ ของเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้น เราคิดว่าปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นก็เพราะว่าผู้บังคับใช้กฎหมายอาจจะละเลย หรือไม่มีประสิทธิภาพ แต่หากเรามีคณะกรรมการกลาง มีเครื่องไม้เครื่องมือในการบังคับใช้ กฎหมายที่เอามาช่วยเสริมตรงนี้ได้นี่ก็อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้ ก็เลยนำกราบเรียน เป็นภาพรวมให้ที่ประชุมได้รับทราบครับ ขอขอบพระคุณ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ค่ะ ขอขอบพระคุณมากค่ะ แล้วก็ขอเรียนข้อมูลนะคะว่ากิจการเรื่องของการจราจรก็ดี ในเรื่องของการดูแลสถานที่ก็ดีเป็นเรื่องของสำนักงานเลขาธิการค่ะ ประธาน รองประธาน มีหน้าที่ดูแลกิจการของ สปช. ค่ะ ท่านสมาชิกคะ ขณะนี้สมาชิกที่ได้แจ้งความประสงค์ที่จะ อภิปรายเพื่อให้ความเห็นเรื่องจะทำอย่างไรถึงจะทำให้การบังคับกฎหมายเป็นไปอย่าง เคร่งครัดและเป็นธรรม จำนวน ๒๗ ท่านนะคะได้อภิปรายครบแล้ว ท่านก็ได้รับฟังมา ตั้งแต่เช้านะคะ จึงครบแล้วตามที่มีผู้ประสงค์ไว้ ดังนั้นดิฉันคงจะต้องขอมติจากที่ประชุมว่า จะเห็นด้วยกับความเห็น ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะจากสมาชิกที่ได้อภิปรายมาตั้งแต่เช้านี้ หรือไม่นะคะ ก่อนที่จะขอมติดิฉันคงจะต้องขอตรวจสอบองค์ประชุมก่อนค่ะ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกที่อยู่ข้างนอกขอเชิญค่ะ

นายอมร วาณิชวิวัฒน์ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ขออนุญาตท่านประธานครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญค่ะ

นายอมร วาณิชวิวัฒน์ ต้นฉบับ

เกรงว่าเดี๋ยวลงมติไปแล้วจะต้องเดินทาง กันไปหมดนะครับ ผมขออนุญาตชี้แจงว่าที่ได้นำเรื่องอาจจะจุกจิกต้องกราบขออภัยนะครับ ที่นำเรียนท่านประธานนี่ ผมทราบดีว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องการบริหารจัดการภายในของรัฐสภา แต่ว่าผมเข้าใจดีว่าเจ้าหน้าที่เองนี่คงไม่มีอำนาจไปขอร้องหรือไปบังคับใช้กฎหมายได้ตรงนี้ แล้วก็เรื่องนี้มันเกี่ยวกับพวกเราโดยรวม เพราะฉะนั้นก็เลยขออนุญาตนำกราบเรียน ท่านประธานเพื่อที่จะผ่าน

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ยินดีค่ะ ไม่เป็นไรค่ะ

นายอมร วาณิชวิวัฒน์ ต้นฉบับ

ขอขอบพระคุณครับ ท่านครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกเข้ามาหมดแล้วใช่ไหมคะ เชิญค่ะ ถ้าเผื่อว่าท่านเข้ามาเรียบร้อยแล้วท่านกรุณา แสดงตนค่ะ ท่านกรุณาเสียบบัตรและกดที่ช่องแสดงตนนะคะ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ใครที่ยังไม่ได้แสดงตน ขอเชิญค่ะ ทุกท่านเรียบร้อยนะคะ

นายศานิตย์ นาคสุขศรี ต้นฉบับ

ขออนุญาตครับ ผม ศานิตย์ ๑๙๔ ครับ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

บวกท่าน ๑๙๔ ท่านศานิตย์ด้วยค่ะ ถ้าเผื่อว่าทุกท่านแสดงตนแล้ว ขอปิดการแสดงตนค่ะ ขอส่งผลเลยค่ะ มีผู้เข้าร่วมประชุม ๒๒๕ ท่าน เป็นองค์ประชุมค่ะ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ต่อไปดิฉันคงจะขอมติจากที่ประชุมนี้ว่าท่านจะเห็นด้วยกับความเห็น ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสมาชิกซึ่งได้อภิปรายในที่ประชุมนี้ทั้ง ๒๗ ท่านหรือไม่ ซึ่งหากท่านเห็นชอบจะได้ส่งไปให้กับคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการ ยุติธรรม แล้วก็คณะกรรมาธิการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไปค่ะ ดิฉันคงจะขอมติจากที่ประชุมนี้ว่า ถ้าเผื่อท่านเห็นด้วย ท่านกรุณากดปุ่ม เห็นด้วย หากท่านไม่เห็นด้วยกับข้อสังเกต ข้อเสนอแนะที่ได้กล่าวมาตั้งแต่เช้า ท่านกดปุ่ม ไม่เห็นด้วย หากท่านเห็นว่าควรงดออกเสียง ท่านไม่ประสงค์จะออกเสียง ท่านโปรดกดปุ่ม งดออกเสียง ค่ะ ขอเชิญค่ะ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ทุกท่านลงมติแล้วนะคะ ขอปิดลงมติค่ะ ขอเชิญส่งผลเลยค่ะ ผู้เข้าประชุมทั้งหมด ๒๒๖ ท่าน เห็นด้วย ๒๒๑ ท่าน ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง ๕ ท่านค่ะ เป็นอันว่าที่ประชุม เห็นด้วยกับข้อสังเกต ข้อเสนอแนะที่ได้อภิปรายมาตั้งแต่เช้า ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะได้นำส่งไปให้กับคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมและ คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไปนะคะ เป็นอันเสร็จการอภิปรายทั่วไป ในหัวข้อนี้นะคะ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่น ๆ ไม่มีค่ะ

นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ต้นฉบับ

วันนี้หมดระเบียบวาระการประชุมแล้วนะคะ ดิฉันขอขอบพระคุณ ท่านสมาชิกทุกท่านที่ได้อภิปรายและมาประชุมโดยพร้อมเพรียงกันค่ะ ปิดประชุมค่ะ