นายชาติชาย ณ เชียงใหม่

  • กราบเรียนท่านประธานครับ ในประเด็นที่เรา กำลังอภิปรายนี้ผมเห็นว่าการที่เราจะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและเป็นธรรมนั้น เราคงต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ ซึ่งในความเห็นของผม ณ ชั้นนี้เห็นว่ามีปัจจัย ที่สัมพันธ์กันอยู่ ๔ ด้านด้วยกัน อันที่ ๑ ก็คือเรื่องขององค์กรหรือหน่วยงานที่มีอำนาจ บังคับใช้กฎหมาย เรื่องที่ ๒ อยู่ที่ตัวกฎหมายที่อาจจะไม่รัดกุม หรือว่ามีเนื้อหาไม่ทันต่อ เงื่อนไขทางสังคมที่เปลี่ยนไปเร็ว ปัจจัยที่ ๓ ก็คือตัวผู้ที่เจตนาตั้งใจที่จะไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย แล้วประเด็นที่ ๔ ก็คือการควบคุมทางสังคมนะครับ เราคงต้องปฏิรูปทั้ง ๔ ด้าน ให้พร้อมกัน ผมคิดว่าเรารู้มานาน โดยเฉพาะทางด้านอาชญาวิทยานะครับ อย่างเช่น นักอาชญาวิทยา อเมริกันชื่อเจมส์ วิลสัน กับ จอร์จ เคลียริ่ง ก็มีชื่อเสียงในการนำ ทฤษฎีที่เรียกว่า ทฤษฎีกระจกหน้าต่างแตก มาอธิบายให้เห็นว่าการที่คนหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเพราะสังคมนี่เกิดในสภาพไร้ระเบียบ การไร้ระเบียบนั้นเกิดจาก เมื่อมีผู้ทำผิด เจ้าหน้าที่ปล่อยปละละเลยไปทีละเล็กทีละน้อยจนผู้คนมองเห็นว่าเรื่องเหล่านี้ ไม่มีใครสนใจก็เลยทำให้ผู้ที่เจตนา หรือว่ามีแนวโน้มที่จะไม่ทำตามกฎหมายนั้นได้ใจ หรือมีแรงจูงใจที่จะไม่ทำตามกฎหมายนะครับ แล้วเมื่อทำกันอย่างนี้มากเข้าก็กลายเป็น โรคระบาด ทั้งบ้านทั้งเมืองก็จะกลายเป็นไม่ทำตามกฎหมายกันไป จนกระทั่งอยู่ในภาวะที่ เราเห็นว่าไม่เกรงกลัวกฎหมายหรือมีเงินก็ซื้อกฎหมายได้ อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น ถ้าจากทฤษฎีอย่างนี้เราควรจะปฏิรูปโดยเฉพาะใน ๔ ด้านที่ผมเรียนมา

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานครับ ในประเด็นที่เรา กำลังอภิปรายนี้ผมเห็นว่าการที่เราจะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและเป็นธรรมนั้น เราคงต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ ซึ่งในความเห็นของผม ณ ชั้นนี้เห็นว่ามีปัจจัย ที่สัมพันธ์กันอยู่ ๔ ด้านด้วยกัน อันที่ ๑ ก็คือเรื่องขององค์กรหรือหน่วยงานที่มีอำนาจ บังคับใช้กฎหมาย เรื่องที่ ๒ อยู่ที่ตัวกฎหมายที่อาจจะไม่รัดกุม หรือว่ามีเนื้อหาไม่ทันต่อ เงื่อนไขทางสังคมที่เปลี่ยนไปเร็ว ปัจจัยที่ ๓ ก็คือตัวผู้ที่เจตนาตั้งใจที่จะไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย แล้วประเด็นที่ ๔ ก็คือการควบคุมทางสังคมนะครับ เราคงต้องปฏิรูปทั้ง ๔ ด้าน ให้พร้อมกัน ผมคิดว่าเรารู้มานาน โดยเฉพาะทางด้านอาชญาวิทยานะครับ อย่างเช่น นักอาชญาวิทยา อเมริกันชื่อเจมส์ วิลสัน กับ จอร์จ เคลียริ่ง ก็มีชื่อเสียงในการนำ ทฤษฎีที่เรียกว่า ทฤษฎีกระจกหน้าต่างแตก มาอธิบายให้เห็นว่าการที่คนหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเพราะสังคมนี่เกิดในสภาพไร้ระเบียบ การไร้ระเบียบนั้นเกิดจาก เมื่อมีผู้ทำผิด เจ้าหน้าที่ปล่อยปละละเลยไปทีละเล็กทีละน้อยจนผู้คนมองเห็นว่าเรื่องเหล่านี้ ไม่มีใครสนใจก็เลยทำให้ผู้ที่เจตนา หรือว่ามีแนวโน้มที่จะไม่ทำตามกฎหมายนั้นได้ใจ หรือมีแรงจูงใจที่จะไม่ทำตามกฎหมายนะครับ แล้วเมื่อทำกันอย่างนี้มากเข้าก็กลายเป็น โรคระบาด ทั้งบ้านทั้งเมืองก็จะกลายเป็นไม่ทำตามกฎหมายกันไป จนกระทั่งอยู่ในภาวะที่ เราเห็นว่าไม่เกรงกลัวกฎหมายหรือมีเงินก็ซื้อกฎหมายได้ อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น ถ้าจากทฤษฎีอย่างนี้เราควรจะปฏิรูปโดยเฉพาะใน ๔ ด้านที่ผมเรียนมา

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรกก็คือเรื่องของหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายนั้นหรือมีอำนาจหน้าที่นั้น เราคงต้องปรับรื้อใน ๓-๔ เรื่องด้วยกัน เรื่องแรกก็คือว่าการที่จะต้องพัฒนาหรือทำให้ผู้นำ ผู้บังคับบัญชาในทุกระดับนั้นมีจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการรู้ เป็นผู้ที่มีความรู้จริง ในเรื่องที่ทำ ใช้ดุลยพินิจอย่างเที่ยงธรรม มีกลไกในการตรวจสอบ สอบทานการตัดสินใจ ของเขาอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เขาพร้อมที่จะรับผิด

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรกก็คือเรื่องของหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายนั้นหรือมีอำนาจหน้าที่นั้น เราคงต้องปรับรื้อใน ๓-๔ เรื่องด้วยกัน เรื่องแรกก็คือว่าการที่จะต้องพัฒนาหรือทำให้ผู้นำ ผู้บังคับบัญชาในทุกระดับนั้นมีจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการรู้ เป็นผู้ที่มีความรู้จริง ในเรื่องที่ทำ ใช้ดุลยพินิจอย่างเที่ยงธรรม มีกลไกในการตรวจสอบ สอบทานการตัดสินใจ ของเขาอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เขาพร้อมที่จะรับผิด

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๒ ต้องรื้อระบบบริหารงานบุคคลของหน่วยงานเหล่านี้ ตั้งแต่ การไปสรรหา คัดเลือก อบรม ให้รางวัล เลื่อนตำแหน่ง ประเมินผล ลงโทษวินัย ซึ่งเวลานี้ หน่วยราชการไทยเราเรื่องการบริหารงานบุคคลนั้นต้องยอมรับว่ายังอยู่ในชั้นที่เรียกว่า ไม่ทันสมัย ไม่ทันเหตุการณ์ ทำให้เราไม่ค่อยได้คนที่สมควรจะมาเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจรัฐ ได้แต่คนที่อยากจะเป็น อันนี้เป็นปัญหาของประเทศไทยจริง ๆ และเมื่อเราได้คนสมควร มาเป็นแล้วเราก็ไม่มีความสามารถที่จะรักษาเขาไว้ด้วย อยู่ได้ไม่นานเขาก็หนีไป เพราะเขาอยู่ไม่ได้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๒ ต้องรื้อระบบบริหารงานบุคคลของหน่วยงานเหล่านี้ ตั้งแต่ การไปสรรหา คัดเลือก อบรม ให้รางวัล เลื่อนตำแหน่ง ประเมินผล ลงโทษวินัย ซึ่งเวลานี้ หน่วยราชการไทยเราเรื่องการบริหารงานบุคคลนั้นต้องยอมรับว่ายังอยู่ในชั้นที่เรียกว่า ไม่ทันสมัย ไม่ทันเหตุการณ์ ทำให้เราไม่ค่อยได้คนที่สมควรจะมาเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ใช้อำนาจรัฐ ได้แต่คนที่อยากจะเป็น อันนี้เป็นปัญหาของประเทศไทยจริง ๆ และเมื่อเราได้คนสมควร มาเป็นแล้วเราก็ไม่มีความสามารถที่จะรักษาเขาไว้ด้วย อยู่ได้ไม่นานเขาก็หนีไป เพราะเขาอยู่ไม่ได้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๓ ก็คือว่าต้องไม่ลืมว่าเราละเลยการปลูกฝังอุดมการณ์และ คุณธรรมของการเป็นข้าราชการที่ดีหรือตำรวจที่ดี เจ้าหน้าที่ที่ดีมานานนะครับ เราปล่อยให้ เป็นเรื่องของกลไกตลาดหรือแล้วแต่คนตัวใครตัวมันนะครับ ทำให้คนในยุคปัจจุบันกลายเป็น คนซึ่งไม่มีหลัก ไม่มีอุดมคติ ไม่มีอุดมการณ์ในการดำรงชีวิตนะครับ ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่ ประเทศอื่นที่เขาก้าวหน้าดีกว่าเรามีวินัยนั้น เขาไม่ได้ปล่อยปละละเลยเรื่องนี้

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๓ ก็คือว่าต้องไม่ลืมว่าเราละเลยการปลูกฝังอุดมการณ์และ คุณธรรมของการเป็นข้าราชการที่ดีหรือตำรวจที่ดี เจ้าหน้าที่ที่ดีมานานนะครับ เราปล่อยให้ เป็นเรื่องของกลไกตลาดหรือแล้วแต่คนตัวใครตัวมันนะครับ ทำให้คนในยุคปัจจุบันกลายเป็น คนซึ่งไม่มีหลัก ไม่มีอุดมคติ ไม่มีอุดมการณ์ในการดำรงชีวิตนะครับ ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่ ประเทศอื่นที่เขาก้าวหน้าดีกว่าเรามีวินัยนั้น เขาไม่ได้ปล่อยปละละเลยเรื่องนี้

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ซึ่งเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องจริง ๆ ก็คือเรื่องปรับปรุงกฎหมาย ผมคิดว่าเวลานี้น่าจะต้องเร่งออกกฎหมายที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ ในการอนุมัติ อนุญาต จับกุม ลงโทษปรับอะไรต่าง ๆ นี่ต้องประกาศให้ประชาชนทราบ อย่างชัดเจนว่าเรื่องต่าง ๆ นั้นมีขั้นตอน วิธีการ เงื่อนไข หลักเกณฑ์ ตัดสินใจอย่างไร ชาวบ้านสามารถจะอุทธรณ์ได้อย่างไรแล้วทำเป็นคู่มือ ซึ่งเรื่องนี้ก็น่าดีใจซึ่งเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคมที่ผ่านมานี้ก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวก ในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการขึ้น แต่ว่าก็ยังเพิ่งประกาศใช้ แต่ต้องการกฎหมาย ทำนองอย่างนี้มากขึ้นอีกตั้งเยอะนะครับในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องการอนุญาต

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ซึ่งเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องจริง ๆ ก็คือเรื่องปรับปรุงกฎหมาย ผมคิดว่าเวลานี้น่าจะต้องเร่งออกกฎหมายที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ ในการอนุมัติ อนุญาต จับกุม ลงโทษปรับอะไรต่าง ๆ นี่ต้องประกาศให้ประชาชนทราบ อย่างชัดเจนว่าเรื่องต่าง ๆ นั้นมีขั้นตอน วิธีการ เงื่อนไข หลักเกณฑ์ ตัดสินใจอย่างไร ชาวบ้านสามารถจะอุทธรณ์ได้อย่างไรแล้วทำเป็นคู่มือ ซึ่งเรื่องนี้ก็น่าดีใจซึ่งเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคมที่ผ่านมานี้ก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวก ในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการขึ้น แต่ว่าก็ยังเพิ่งประกาศใช้ แต่ต้องการกฎหมาย ทำนองอย่างนี้มากขึ้นอีกตั้งเยอะนะครับในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องการอนุญาต

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๓ ที่ต้องเร่งทำก็คือว่า เวลานี้การลงโทษผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย แม้ว่าจะทำอย่างรุนแรงหรือจริงจังก็ตาม แต่ไม่เป็นที่รู้เห็นทั่วกันครับ มีแต่เรื่องรู้ว่า คนไหนทำผิดบ้าง แต่กว่าจะรู้ว่าเขาถูกลงโทษแค่ไหนอย่างไร คนทั่วไปไม่รู้ หรือรู้ก็ลืมไปแล้ว หรือรู้อย่างที่ทำให้คนฝ่าฝืนก็ไม่อายนะครับ คนที่เห็นอยู่รอบข้างก็ไม่เกรงกลัวตามไปด้วย

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๓ ที่ต้องเร่งทำก็คือว่า เวลานี้การลงโทษผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม กฎหมาย แม้ว่าจะทำอย่างรุนแรงหรือจริงจังก็ตาม แต่ไม่เป็นที่รู้เห็นทั่วกันครับ มีแต่เรื่องรู้ว่า คนไหนทำผิดบ้าง แต่กว่าจะรู้ว่าเขาถูกลงโทษแค่ไหนอย่างไร คนทั่วไปไม่รู้ หรือรู้ก็ลืมไปแล้ว หรือรู้อย่างที่ทำให้คนฝ่าฝืนก็ไม่อายนะครับ คนที่เห็นอยู่รอบข้างก็ไม่เกรงกลัวตามไปด้วย

    อ่านในการประชุม

  • และประการสุดท้าย ก็คือต้องสร้างแรงกดดันทางสังคมครับ เวลานี้ สื่อสาธารณะในเรื่องของทีวีสาธารณะนะครับ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งเว็บไซต์ ตลอดจน เฟสบุ๊ค (Facebook) หรือโซเชียล มีเดีย ทำให้คนในบ้านเมืองสว่างมากขึ้นนะครับ ไม่ได้มืดสลัว ผมคิดว่าต้องทำให้คนที่จะทำผิดคิดว่าไม่คุ้ม ทำให้เจ้าหน้าที่ทำความผิดได้ยาก และทำให้คนรู้สึกว่ารู้สึกสนุกกับการถือเป็นธุระที่จะคอยตะโกนคอยบอกว่า อะไรไม่ดีเกิดขึ้นนะครับ เพราะโซเชียล มีเดียนั้นทำให้เขาไม่ต้องไปปะทะกับผู้กระทำ ความผิดโดยตรง เป็นสื่อที่เราน่าจะต้องรีบใช้ประโยชน์จากมัน ขอสรุปว่าในเรื่องนี้จะต้อง ทำไปพร้อมกันปฏิรูปทั้ง ๔ ด้านสัมพันธ์กัน คือหน่วยงาน องค์กรภาครัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ระบบและกลไกกฎหมายและสร้างแรงกดดันทางสังคมครับ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • และประการสุดท้าย ก็คือต้องสร้างแรงกดดันทางสังคมครับ เวลานี้ สื่อสาธารณะในเรื่องของทีวีสาธารณะนะครับ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งเว็บไซต์ ตลอดจน เฟสบุ๊ค (Facebook) หรือโซเชียล มีเดีย ทำให้คนในบ้านเมืองสว่างมากขึ้นนะครับ ไม่ได้มืดสลัว ผมคิดว่าต้องทำให้คนที่จะทำผิดคิดว่าไม่คุ้ม ทำให้เจ้าหน้าที่ทำความผิดได้ยาก และทำให้คนรู้สึกว่ารู้สึกสนุกกับการถือเป็นธุระที่จะคอยตะโกนคอยบอกว่า อะไรไม่ดีเกิดขึ้นนะครับ เพราะโซเชียล มีเดียนั้นทำให้เขาไม่ต้องไปปะทะกับผู้กระทำ ความผิดโดยตรง เป็นสื่อที่เราน่าจะต้องรีบใช้ประโยชน์จากมัน ขอสรุปว่าในเรื่องนี้จะต้อง ทำไปพร้อมกันปฏิรูปทั้ง ๔ ด้านสัมพันธ์กัน คือหน่วยงาน องค์กรภาครัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ระบบและกลไกกฎหมายและสร้างแรงกดดันทางสังคมครับ ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ชาติชาย ณ เชียงใหม่ เป็นศาสตราจารย์สาขารัฐประศาสนศาสตร์ที่สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ เคยสอนแล้วก็ทำวิจัยในเรื่องการเมือง การเลือกตั้ง การบริหาร ราชการแผ่นดิน การพัฒนาภูมิภาค การพัฒนาชนบท เรื่องของธรรมาภิบาล แล้วก็เรื่อง บทบาทของเอ็นจีโอ (NGO) ทางการเมือง แล้วก็การพัฒนา ในอดีตที่ผ่านมานั้นเคยเป็น อนุกรรมการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๖ ฉบับที่ ๗ และฉบับที่ ๘ โดยเฉพาะฉบับที่ ๘ นั้นเป็นในเวลาที่ควบคู่กันกับที่ขณะนั้นเรากำลังร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ มีการชูเรื่องของคนเป็นศูนย์กลางในเรื่องของการพัฒนาบ้านเมืองของเรา ซึ่งวันนี้เราก็กลับมาทำในเรื่องนี้ให้เป็นจริงจังอีกครั้งหนึ่งนะครับ นอกจากนั้นก็เคยเป็น กรรมการในคณะกรรมการการกระจายอำนาจ ๒ สมัย ๘ ปี ปี ๒๕๔๗ ถึงปี ๒๕๕๕ เคยเป็น ประธานคณะทำงานร่างปรับปรุงกฎหมายแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นใน ๒ รัฐบาล ทั้งของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์และรัฐบาล นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ นอกจากนั้นก็ยังเป็นอนุกรรมการในด้านของการพัฒนาระบบ ราชการของ ก.พ.ร. อยู่ ๓ คณะในปัจจุบัน ผมมองว่าเรื่องของรัฐธรรมนูญนั้น ผมอยากจะผลักดันให้รัฐธรรมนูญนั้นเป็นกลไกในการเปลี่ยนผ่านทางด้านของการเมือง สังคม เศรษฐกิจของบ้านเราให้คนไทยเรานั้นได้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลัง สลับซับซ้อนและไม่แน่นอน ขณะเดียวกันก็อยากจะให้รัฐธรรมนูญนั้นเป็นกลไกทำให้เรา ก้าวพ้นหลุดจากสังคมโครงสร้างที่เหลื่อมล้ำที่มีแต่ความขัดแย้งไปสู่สังคมที่อาจจะคิดต่างได้ แต่เรียนรู้ด้วยกัน อยู่ด้วยกัน แล้วก็ไปด้วยกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ส่วนเรื่องของ กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญนั้นผมมองว่าที่อาสาเข้ามาเป็นคนหนึ่งที่จะยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ก็อยากจะเห็นการเริ่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นจุดหนึ่งที่จะเริ่มผลักดันให้ สังคมไทยนั้นก้าวไปด้วยกัน เรียนรู้ไปด้วยกันนะครับ สุดท้ายก็อยากจะให้รัฐธรรมนูญนั้น มันง่าย แล้วก็เป็นเรื่องที่ประชาชนเข้าใจง่าย เข้าถึงได้ แล้วเห็นได้ทุกวันว่ามีรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่แล้วชาวบ้านได้อะไรครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผม ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ครับ ผมขอสนับสนุนการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ด้วยเหตุผลสำคัญ ๓ ประการนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผม ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ครับ ผมขอสนับสนุนการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ด้วยเหตุผลสำคัญ ๓ ประการนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประการแรก เป็นเหตุผลทางด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ โดยเฉพาะการมีพลังงานก๊าซและน้ำมันที่พอเพียงต่อความต้องการของประเทศซึ่งจะมีมากขึ้น ทุกขณะ ในขณะที่แหล่งพลังงานทางเลือกอื่นนั้นยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาให้มาทดแทน เพื่อจะปรับโครงสร้างของแหล่งพลังงานของประเทศให้ได้สมดุล ซึ่งก็น่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๕-๑๐ ปีข้างหน้านะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประการแรก เป็นเหตุผลทางด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ โดยเฉพาะการมีพลังงานก๊าซและน้ำมันที่พอเพียงต่อความต้องการของประเทศซึ่งจะมีมากขึ้น ทุกขณะ ในขณะที่แหล่งพลังงานทางเลือกอื่นนั้นยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาให้มาทดแทน เพื่อจะปรับโครงสร้างของแหล่งพลังงานของประเทศให้ได้สมดุล ซึ่งก็น่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๕-๑๐ ปีข้างหน้านะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ เพื่อที่จะรักษาภาพลักษณ์ที่ดีในยุคปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องของ การค้า การลงทุนกับภาคเอกชนที่รัฐจะมี ไม่ว่าจะเป็นเอกชนของประเทศไทย หรือของต่างประเทศ ตลอดจนสร้างความมั่นใจในการลงทุนของธุรกิจต่อเนื่องที่ต้องพึ่งพา เรื่องของปิโตรเลียมนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ เพื่อที่จะรักษาภาพลักษณ์ที่ดีในยุคปัจจุบันเกี่ยวกับเรื่องของ การค้า การลงทุนกับภาคเอกชนที่รัฐจะมี ไม่ว่าจะเป็นเอกชนของประเทศไทย หรือของต่างประเทศ ตลอดจนสร้างความมั่นใจในการลงทุนของธุรกิจต่อเนื่องที่ต้องพึ่งพา เรื่องของปิโตรเลียมนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๓ เพื่อไม่ให้เสียโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ เพราะแม้ว่าขณะนี้ ราคาน้ำมันในตลาดโลกอาจจะลดลง แต่ว่านั่นก็คงจะเป็นปรากฏการณ์เพียงชั่วคราวนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๓ เพื่อไม่ให้เสียโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ เพราะแม้ว่าขณะนี้ ราคาน้ำมันในตลาดโลกอาจจะลดลง แต่ว่านั่นก็คงจะเป็นปรากฏการณ์เพียงชั่วคราวนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อย่างไรก็ตามในการที่จะมีการเปิดให้มีสัมปทานปิโตรเลียมในรอบใหม่นี้ ผมขอเสนอว่าน่าจะต้องดำเนินการควบคู่กันไป ก็คือการทบทวนปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่าง ๆ ของการให้สิทธิในการสำรวจและการผลิตปิโตรเลียมอย่างน้อยใน ๔ ประการ ดังต่อไปนี้ เพื่อที่จะรักษาประโยชน์ของประเทศของเรา แล้วก็เพื่อจะส่งเสริมให้การบริหารจัดการ ทรัพยากรพลังงานนั้นโปร่งใส มีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมแล้วก็เป็นธรรมนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อย่างไรก็ตามในการที่จะมีการเปิดให้มีสัมปทานปิโตรเลียมในรอบใหม่นี้ ผมขอเสนอว่าน่าจะต้องดำเนินการควบคู่กันไป ก็คือการทบทวนปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่าง ๆ ของการให้สิทธิในการสำรวจและการผลิตปิโตรเลียมอย่างน้อยใน ๔ ประการ ดังต่อไปนี้ เพื่อที่จะรักษาประโยชน์ของประเทศของเรา แล้วก็เพื่อจะส่งเสริมให้การบริหารจัดการ ทรัพยากรพลังงานนั้นโปร่งใส มีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมแล้วก็เป็นธรรมนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประการแรก ขอเสนอว่าควรจะปรับดุลแห่งอำนาจในการตัดสินใจใช้ ทรัพยากรพลังงาน นั่นก็คือว่าคงต้องจัดให้มีกลไกที่จะทำให้การตัดสินใจใช้ทรัพยากรพลังงาน โดยเฉพาะในกรณีที่เราพูดถึงเรื่องของการให้สัมปทานปิโตรเลียม สำรวจแล้วก็ผลิตจะต้องให้ น้ำหนักแก่ความคิด ความต้องการในการรักษาประโยชน์ของมหาชน แล้วก็ผู้มีส่วนได้เสีย ที่ได้ดุลยภาพกับการให้น้ำหนักแก่กลไกตลาด และการแข่งขันทางธุรกิจ ที่ผ่านมานั้นอาจจะให้ น้ำหนักในเรื่องของกลไกตลาด การแข่งขันทางธุรกิจมากกว่าความคิด ความต้องการ หรือประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของผู้มีส่วนได้เสีย ผู้รับผลกระทบ ทั้งนี้จะต้องจัดให้มี ตัวแทนของกลุ่มองค์กรภาคประชาชน กลุ่มผู้บริโภคได้เข้าร่วมเป็นกรรมการในการตัดสินใจ พิจารณาอนุมัติให้บริการให้สัมปทานเรื่องของพลังงานในรอบนี้เลย เพื่อที่จะทำให้เกิด การมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางมากขึ้นกว่าที่ผ่านมานะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประการแรก ขอเสนอว่าควรจะปรับดุลแห่งอำนาจในการตัดสินใจใช้ ทรัพยากรพลังงาน นั่นก็คือว่าคงต้องจัดให้มีกลไกที่จะทำให้การตัดสินใจใช้ทรัพยากรพลังงาน โดยเฉพาะในกรณีที่เราพูดถึงเรื่องของการให้สัมปทานปิโตรเลียม สำรวจแล้วก็ผลิตจะต้องให้ น้ำหนักแก่ความคิด ความต้องการในการรักษาประโยชน์ของมหาชน แล้วก็ผู้มีส่วนได้เสีย ที่ได้ดุลยภาพกับการให้น้ำหนักแก่กลไกตลาด และการแข่งขันทางธุรกิจ ที่ผ่านมานั้นอาจจะให้ น้ำหนักในเรื่องของกลไกตลาด การแข่งขันทางธุรกิจมากกว่าความคิด ความต้องการ หรือประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของผู้มีส่วนได้เสีย ผู้รับผลกระทบ ทั้งนี้จะต้องจัดให้มี ตัวแทนของกลุ่มองค์กรภาคประชาชน กลุ่มผู้บริโภคได้เข้าร่วมเป็นกรรมการในการตัดสินใจ พิจารณาอนุมัติให้บริการให้สัมปทานเรื่องของพลังงานในรอบนี้เลย เพื่อที่จะทำให้เกิด การมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางมากขึ้นกว่าที่ผ่านมานะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ คงจะต้องปรับระบบการให้สิทธิในการสำรวจ แล้วก็ผลิต ปิโตรเลียม คงจะต้องเร่งแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียมฉบับปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๓๒ นั้น ให้มีระบบในการให้สิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมหลายระบบมากขึ้นกว่าจะมีแค่ ระบบสัมปทานอย่างเดียว อาจจะมีระบบแบ่งผลผลิต ระบบจ้างผลิต หรือระบบอื่น ๆ ที่จะคิดกันขึ้นมาได้อีกนะครับ ทั้งนี้จะต้องมีกลไกที่ยืดหยุ่นว่าแต่ละระบบนั้น ก็จะต้อง สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ในภูมิภาคต่าง ๆ ไม่ว่าบนบกหรือทะเล สภาพการแข่งขันในแต่ละช่วงเวลานะครับ ซึ่งก็จะแปรเปลี่ยนไปตามรูปการณ์ของเหตุการณ์ ต่าง ๆ นะครับ ตรงนี้ก็คือจะต้องไปปรับปรุง พ.ร.บ. ปิโตรเลียมนั่นเองนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ คงจะต้องปรับระบบการให้สิทธิในการสำรวจ แล้วก็ผลิต ปิโตรเลียม คงจะต้องเร่งแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียมฉบับปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๓๒ นั้น ให้มีระบบในการให้สิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมหลายระบบมากขึ้นกว่าจะมีแค่ ระบบสัมปทานอย่างเดียว อาจจะมีระบบแบ่งผลผลิต ระบบจ้างผลิต หรือระบบอื่น ๆ ที่จะคิดกันขึ้นมาได้อีกนะครับ ทั้งนี้จะต้องมีกลไกที่ยืดหยุ่นว่าแต่ละระบบนั้น ก็จะต้อง สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ในภูมิภาคต่าง ๆ ไม่ว่าบนบกหรือทะเล สภาพการแข่งขันในแต่ละช่วงเวลานะครับ ซึ่งก็จะแปรเปลี่ยนไปตามรูปการณ์ของเหตุการณ์ ต่าง ๆ นะครับ ตรงนี้ก็คือจะต้องไปปรับปรุง พ.ร.บ. ปิโตรเลียมนั่นเองนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๓ ควรจะปรับปรุงระบบและกลไก วิธีการจัดเก็บผลประโยชน์ ให้แก่รัฐ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดกันมากนะครับ เป็นเรื่องซึ่งเป็นการรักษาประโยชน์ แล้วก็เป็นเรื่องทำให้ลดการที่เรียกว่าไม่โปร่งใส ประโยชน์ทับซ้อนอะไรต่าง ๆ นี่นะครับ ขอเรียนว่าในชั้นนี้เรื่องของกลไกวิธีการปฏิรูปเรื่องจัดเก็บภาษีแล้วก็เรียกเก็บผลประโยชน์นั้น ควรจะต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงว่า ๑. ต้องจูงใจการลงทุนผู้ประกอบการ ๒. ต้องรักษา ประโยชน์ของประเทศชาติ ๓. ต้องส่งเสริมประสิทธิภาพในการจัดการของผู้ประกอบการ เช่น เรื่องการหักค่าใช้จ่าย ซึ่งการคำนวณภาษีนั้นน่าจะต้องกำหนดว่าให้หักได้เฉพาะ ที่เกิดขึ้นในประเทศเราเท่านั้น เป็นต้น

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๓ ควรจะปรับปรุงระบบและกลไก วิธีการจัดเก็บผลประโยชน์ ให้แก่รัฐ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พูดกันมากนะครับ เป็นเรื่องซึ่งเป็นการรักษาประโยชน์ แล้วก็เป็นเรื่องทำให้ลดการที่เรียกว่าไม่โปร่งใส ประโยชน์ทับซ้อนอะไรต่าง ๆ นี่นะครับ ขอเรียนว่าในชั้นนี้เรื่องของกลไกวิธีการปฏิรูปเรื่องจัดเก็บภาษีแล้วก็เรียกเก็บผลประโยชน์นั้น ควรจะต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงว่า ๑. ต้องจูงใจการลงทุนผู้ประกอบการ ๒. ต้องรักษา ประโยชน์ของประเทศชาติ ๓. ต้องส่งเสริมประสิทธิภาพในการจัดการของผู้ประกอบการ เช่น เรื่องการหักค่าใช้จ่าย ซึ่งการคำนวณภาษีนั้นน่าจะต้องกำหนดว่าให้หักได้เฉพาะ ที่เกิดขึ้นในประเทศเราเท่านั้น เป็นต้น

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๔ ควรจะต้องมีการตรวจสอบการมีผลประโยชน์ทับซ้อน นั่นก็คือ คงจะต้องจัดให้มีระบบตรวจสอบการบริหาร การสำรวจ และการผลิตปิโตรเลียมของ ผู้ประกอบการแต่ละรายนะครับ โดยภาคประชาชนนั้นเข้าไปมีส่วนร่วม แล้วก็มีระบบ การรายงานถึงผลการดำเนินงานการสำรวจและการผลิตปิโตรเลียมให้สาธารณชนทราบทุกปี ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๔ ควรจะต้องมีการตรวจสอบการมีผลประโยชน์ทับซ้อน นั่นก็คือ คงจะต้องจัดให้มีระบบตรวจสอบการบริหาร การสำรวจ และการผลิตปิโตรเลียมของ ผู้ประกอบการแต่ละรายนะครับ โดยภาคประชาชนนั้นเข้าไปมีส่วนร่วม แล้วก็มีระบบ การรายงานถึงผลการดำเนินงานการสำรวจและการผลิตปิโตรเลียมให้สาธารณชนทราบทุกปี ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม