อยู่ครับท่านครับ
อยู่ครับท่านครับ
ท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิก สปช. ผม วินัย ดะห์ลัน ครับ หมายเลข ๑๘๕ วันนี้จะคุยกับพวกเราขอเสนอความเห็นในเรื่องของ การบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม วันนี้เราคงต้องยอมรับนะครับว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติเราเข้าสู่โหมดการปฏิรูปสังคมไทยเต็มรูปแบบแล้ว อย่างไรก็ตาม การก้าวไปให้ถึงจุดหมายมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ที่เราร่วมกันสร้างนี่นะครับ ยังมีอุปสรรคอยู่ไม่น้อย อุปสรรคหนึ่งที่อาจฉุดรั้งประเทศไทยให้ถดถอย ก้าวตามสังคมอื่น ไม่ทันก็คือปัญหาการชาชินต่อการละเมิดกฎหมายของคนไทย คำว่า คนไทย ในที่นี้ ในภาพรวมผมไม่ได้หมายถึงทุกคนนะครับ คำถามท้าทายมีอยู่ว่าจะทำอย่างไรจึงสร้างวินัย ให้เกิดขึ้นในคนไทยกระทั่งสามารถบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรมได้ ก่อนอื่น เราก็ควรจะวิเคราะห์กันก่อนนะครับว่าพฤติกรรมการละเมิดกฎหมายของไทยนั้นเป็นอย่างไร เหตุใดคนไทยจึงชาชินกับการละเมิดกฎหมาย และมีหนทางใดที่ช่วยสร้างวินัยให้กับคนไทย ให้ร่วมสร้างสังคม เคารพกฎหมายขึ้นมาได้ ขอตอบคำถามทีละส่วน ดังต่อไปนี้ครับ
ท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิก สปช. ผม วินัย ดะห์ลัน ครับ หมายเลข ๑๘๕ วันนี้จะคุยกับพวกเราขอเสนอความเห็นในเรื่องของ การบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม วันนี้เราคงต้องยอมรับนะครับว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติเราเข้าสู่โหมดการปฏิรูปสังคมไทยเต็มรูปแบบแล้ว อย่างไรก็ตาม การก้าวไปให้ถึงจุดหมายมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ที่เราร่วมกันสร้างนี่นะครับ ยังมีอุปสรรคอยู่ไม่น้อย อุปสรรคหนึ่งที่อาจฉุดรั้งประเทศไทยให้ถดถอย ก้าวตามสังคมอื่น ไม่ทันก็คือปัญหาการชาชินต่อการละเมิดกฎหมายของคนไทย คำว่า คนไทย ในที่นี้ ในภาพรวมผมไม่ได้หมายถึงทุกคนนะครับ คำถามท้าทายมีอยู่ว่าจะทำอย่างไรจึงสร้างวินัย ให้เกิดขึ้นในคนไทยกระทั่งสามารถบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรมได้ ก่อนอื่น เราก็ควรจะวิเคราะห์กันก่อนนะครับว่าพฤติกรรมการละเมิดกฎหมายของไทยนั้นเป็นอย่างไร เหตุใดคนไทยจึงชาชินกับการละเมิดกฎหมาย และมีหนทางใดที่ช่วยสร้างวินัยให้กับคนไทย ให้ร่วมสร้างสังคม เคารพกฎหมายขึ้นมาได้ ขอตอบคำถามทีละส่วน ดังต่อไปนี้ครับ
๑. พฤติกรรมการละเมิดกฎหมายของคนไทย มีรายงานวิจัยทางสังคมวิทยา นานกว่า ๖ ทศวรรษ ที่แสดงว่าพฤติกรรมการละเมิดกฎหมายของคนไทยเกิดขึ้นมา เนิ่นนานแล้ว สิ่งที่น่าห่วงคือพฤติกรรมดังกล่าวทวีมากขึ้นในปัจจุบัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด ในเวลานี้คือการละเมิดกฎจราจร เช่น การจอดรถในที่ห้ามจอด การเมาแล้วขับ ฝ่าฝืนไฟแดง ขับรถย้อนศร แข่งรถบนถนนสาธารณะ นักจิตวิทยาสังคมสรุปว่าการปล่อยให้ผู้ละเมิดชาชิน กับการกระทำความผิดเล็กน้อยโดยผู้รักษากฎหมายไม่ดำเนินการและสังคมไม่มีมาตรการ ลงโทษทางสังคม จะทำให้คนเหล่านี้กระทำความผิดที่ใหญ่โตขึ้นได้ตั้งแต่การละเมิด ทรัพย์สินสาธารณะที่เรียกกันว่าฟรี ไรเดอร์ (Free rider) การเรียกรับสินบน การคอร์รัปชัน ซึ่งเห็นได้ว่าในวันนี้เกิดปรากฏการณ์สังคมไทยให้การยอมรับการโกงกันแล้ว
๑. พฤติกรรมการละเมิดกฎหมายของคนไทย มีรายงานวิจัยทางสังคมวิทยา นานกว่า ๖ ทศวรรษ ที่แสดงว่าพฤติกรรมการละเมิดกฎหมายของคนไทยเกิดขึ้นมา เนิ่นนานแล้ว สิ่งที่น่าห่วงคือพฤติกรรมดังกล่าวทวีมากขึ้นในปัจจุบัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด ในเวลานี้คือการละเมิดกฎจราจร เช่น การจอดรถในที่ห้ามจอด การเมาแล้วขับ ฝ่าฝืนไฟแดง ขับรถย้อนศร แข่งรถบนถนนสาธารณะ นักจิตวิทยาสังคมสรุปว่าการปล่อยให้ผู้ละเมิดชาชิน กับการกระทำความผิดเล็กน้อยโดยผู้รักษากฎหมายไม่ดำเนินการและสังคมไม่มีมาตรการ ลงโทษทางสังคม จะทำให้คนเหล่านี้กระทำความผิดที่ใหญ่โตขึ้นได้ตั้งแต่การละเมิด ทรัพย์สินสาธารณะที่เรียกกันว่าฟรี ไรเดอร์ (Free rider) การเรียกรับสินบน การคอร์รัปชัน ซึ่งเห็นได้ว่าในวันนี้เกิดปรากฏการณ์สังคมไทยให้การยอมรับการโกงกันแล้ว
๒. สาเหตุที่คนไทยชาชินกับการละเมิดกฎหมาย จากงานวิจัยของจอห์น อี เอมบรี แห่งมหาวิทยาลัยเยล และเฮอร์เบิร์ต ฟิลลิปส์ แห่งมหาวิทยาลัยยูซี เบิร์กลีย์ พบว่าต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยชินชากับการละเมิดกฎหมายคือบุคลิกภาพของคนไทยเอง คนไทยมีความเป็นปัจเจกนิยมสูง ไม่ชอบผูกมัด ขาดพลังรวมกลุ่มทางสังคมในระยะยาว มีค่านิยมเพิกเฉย ไม่ต่อสู้แล้วก็ยอมจำนน อย่างไรก็ตามคนไทยมีส่วนดีคือยืดหยุ่นสูง แก้ไขสถานการณ์เก่ง ชอบการมีปฏิสัมพันธ์ ชอบความราบรื่นกลมกลืนของสังคม เข้าใจกฎระเบียบของสังคมได้ง่าย เหตุที่ชอบละเมิดเนื่องจากสิ่งที่คนไทยเรียนรู้ทุกเมื่อ เชื่อวันก็คือสังคมอ่อนแอต่อการลงโทษผู้ละเมิด ในสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าปัญหา ความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยอย่างเนิ่นนานทำให้คนไทยชาชินกับ การละเมิดกฎหมายและกติกาของสังคม การขาดแบบอย่างที่ดีทางด้านการเคารพกฎหมาย จะทำให้คนในสังคมสร้างค่านิยมที่ผิด เข้าใจว่าการละเมิดกฎหมายเป็นสัญญาที่แสดงถึง ความเข้มแข็งและอภิสิทธิ์ซึ่งอันตรายอย่างยิ่ง
๒. สาเหตุที่คนไทยชาชินกับการละเมิดกฎหมาย จากงานวิจัยของจอห์น อี เอมบรี แห่งมหาวิทยาลัยเยล และเฮอร์เบิร์ต ฟิลลิปส์ แห่งมหาวิทยาลัยยูซี เบิร์กลีย์ พบว่าต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยชินชากับการละเมิดกฎหมายคือบุคลิกภาพของคนไทยเอง คนไทยมีความเป็นปัจเจกนิยมสูง ไม่ชอบผูกมัด ขาดพลังรวมกลุ่มทางสังคมในระยะยาว มีค่านิยมเพิกเฉย ไม่ต่อสู้แล้วก็ยอมจำนน อย่างไรก็ตามคนไทยมีส่วนดีคือยืดหยุ่นสูง แก้ไขสถานการณ์เก่ง ชอบการมีปฏิสัมพันธ์ ชอบความราบรื่นกลมกลืนของสังคม เข้าใจกฎระเบียบของสังคมได้ง่าย เหตุที่ชอบละเมิดเนื่องจากสิ่งที่คนไทยเรียนรู้ทุกเมื่อ เชื่อวันก็คือสังคมอ่อนแอต่อการลงโทษผู้ละเมิด ในสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าปัญหา ความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยอย่างเนิ่นนานทำให้คนไทยชาชินกับ การละเมิดกฎหมายและกติกาของสังคม การขาดแบบอย่างที่ดีทางด้านการเคารพกฎหมาย จะทำให้คนในสังคมสร้างค่านิยมที่ผิด เข้าใจว่าการละเมิดกฎหมายเป็นสัญญาที่แสดงถึง ความเข้มแข็งและอภิสิทธิ์ซึ่งอันตรายอย่างยิ่ง
๓. หนทางที่จะนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายกับคนไทยได้อย่างเคร่งครัดและ เป็นธรรม สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างวินัยให้กับคนไทยเท่านั้น คุณเกรียงไกร เจียรประดิษฐ์ แห่งสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินสรุปไว้ในรายงานการศึกษาเมื่อ ๒ ปีที่ผ่านมาว่า เป็นเพราะ คนไทยชาชินอยู่กับการละเมิดกฎหมายเป็นเวลานาน จึงต้องใช้เวลาและกลยุทธ์ในการ แก้ปัญหาซึ่งจำเป็นต้องทำ กลยุทธ์สำคัญก็คืออาศัยกระบวนการหล่อหลอมกล่อมเกลาทาง สังคมผ่านสถาบันหลักต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันมิตรสหายหรือเพียร์ กรุ๊ป (Peer group) สถาบันการศึกษา สถาบันสื่อมวลชนและสถาบันสังคม โดยทุกสถาบัน ต้องประสานมือกันประชาสัมพันธ์เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างวินัย การปลูกฝัง จิตสำนึกสาธารณะให้ประชาชนตระหนักร่วมกันถึงปัญหาการละเมิดผลประโยชน์ของ ส่วนรวม และการละเมิดสิทธิของผู้อื่น สำคัญก็คือการสร้างความตระหนักนี้ให้เกิดขึ้น ในหมู่เด็กและเยาวชน วิธีง่าย ๆ อย่างเช่น การสอนวัฒนธรรมการเข้าคิว การสร้าง บทลงโทษทางสังคม การสร้างความรู้สึกสำนึกผิด การจัดระเบียบและการสร้างความสะอาด ให้เกิดขึ้นกับถนนหนทาง การนำสายไฟฟ้าลงดิน การกำจัดขยะ การจัดระเบียบ หาบเร่แผงลอย หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐแสดงความเข้มงวด เป็นธรรม ตรงไปตรงมาให้ภาคประชาชนได้ให้เห็นบ่อยครั้ง ระเบียบของสังคมที่ค่อย ๆ เกิดขึ้นเหล่านี้ จะช่วยกล่อมเกลาประชาชน ช่วยเร่งสังคมให้เรียนรู้รวดเร็วขึ้น เกิดพลเมืองที่มีวินัยยอมรับ โดยดุษฎีกับการที่ภาครัฐบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้การยอมรับให้ภาคประชาชนได้เข้ามา มีส่วนร่วมจะช่วยกันให้การใช้กฎหมายเกิดความเป็นธรรมและทั่วถึงได้ในที่สุด ขอขอบคุณครับ
๓. หนทางที่จะนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายกับคนไทยได้อย่างเคร่งครัดและ เป็นธรรม สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างวินัยให้กับคนไทยเท่านั้น คุณเกรียงไกร เจียรประดิษฐ์ แห่งสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินสรุปไว้ในรายงานการศึกษาเมื่อ ๒ ปีที่ผ่านมาว่า เป็นเพราะ คนไทยชาชินอยู่กับการละเมิดกฎหมายเป็นเวลานาน จึงต้องใช้เวลาและกลยุทธ์ในการ แก้ปัญหาซึ่งจำเป็นต้องทำ กลยุทธ์สำคัญก็คืออาศัยกระบวนการหล่อหลอมกล่อมเกลาทาง สังคมผ่านสถาบันหลักต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันมิตรสหายหรือเพียร์ กรุ๊ป (Peer group) สถาบันการศึกษา สถาบันสื่อมวลชนและสถาบันสังคม โดยทุกสถาบัน ต้องประสานมือกันประชาสัมพันธ์เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างวินัย การปลูกฝัง จิตสำนึกสาธารณะให้ประชาชนตระหนักร่วมกันถึงปัญหาการละเมิดผลประโยชน์ของ ส่วนรวม และการละเมิดสิทธิของผู้อื่น สำคัญก็คือการสร้างความตระหนักนี้ให้เกิดขึ้น ในหมู่เด็กและเยาวชน วิธีง่าย ๆ อย่างเช่น การสอนวัฒนธรรมการเข้าคิว การสร้าง บทลงโทษทางสังคม การสร้างความรู้สึกสำนึกผิด การจัดระเบียบและการสร้างความสะอาด ให้เกิดขึ้นกับถนนหนทาง การนำสายไฟฟ้าลงดิน การกำจัดขยะ การจัดระเบียบ หาบเร่แผงลอย หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐแสดงความเข้มงวด เป็นธรรม ตรงไปตรงมาให้ภาคประชาชนได้ให้เห็นบ่อยครั้ง ระเบียบของสังคมที่ค่อย ๆ เกิดขึ้นเหล่านี้ จะช่วยกล่อมเกลาประชาชน ช่วยเร่งสังคมให้เรียนรู้รวดเร็วขึ้น เกิดพลเมืองที่มีวินัยยอมรับ โดยดุษฎีกับการที่ภาครัฐบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้การยอมรับให้ภาคประชาชนได้เข้ามา มีส่วนร่วมจะช่วยกันให้การใช้กฎหมายเกิดความเป็นธรรมและทั่วถึงได้ในที่สุด ขอขอบคุณครับ
ขอบพระคุณมากครับท่านประธาน กราบเรียน ท่านประธาน ผม วินัย ดะห์ลัน สมาชิกสภาปฏิรูป หมายเลข ๑๘๕ นะครับ ผมอยากจะ ขอเสนอความเห็นในบางเรื่อง ผมว่าเราคุยกันในเรื่องของการปฏิรูปทั้งสังคม เศรษฐกิจ เรื่องของศีลธรรม เรื่องของโครงสร้าง แต่ดูเหมือนเราจะลืมไปนะครับว่า ทุกอย่างที่เราปฏิรูปนั้น สิ่งหนึ่งถ้าสมมุติว่าเราไม่สามารถที่จะนำประเทศไทยกลับไปสู่เส้นทางการแข่งขันกับประเทศ ต่าง ๆ ในโลกได้เลย การปฏิรูปนั้นแม้ว่าจะสำเร็จ แต่เราก้าวตามโลกไม่ทันแล้ว เพราะฉะนั้น ก็ป่วยการนะครับกับการปฏิรูป สิ่งที่อยากจะแสดงความเห็นก็คือเราอยากจะเห็นการปฏิรูป สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการแข่งขันของประเทศไทย นั่นก็คือการเพิ่มความสามารถทางด้าน การแข่งขันของประเทศ ผมอยากจะพูดถึงเรื่องของการปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมนะครับ ซึ่งในที่นี้นั้นครอบคลุมเรื่องของไอพี (IP) หรือว่า อินเทลเล็กชวล พร็อพเพอร์ตี (Intellectual property) อยู่แล้ว วันนี้ประเทศอื่น หลายประเทศนะครับ เขามองประเทศไทยว่าเป็นประเทศโออีเอ็ม คันทรี (OEM Country) เป็นคำที่ไม่ใช่เป็นคำชมนะครับ เป็นคำที่ค่อนข้างจะดูถูกดูแคลน เรานี่รับจ้างการผลิต อย่างเดียว ผมไปที่ประเทศมาเลเซียมา ได้รับทราบว่าเขาส่งออกผลิตภัณฑ์จำนวนมาก แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เขามาว่าจ้างประเทศไทยในการผลิตแล้วก็ส่งออกไป อาจจะมีมูลค่า ค่อนข้างสูงในมูลค่าในการส่งออกของเขานะครับ เราจะทำการผลิตในลักษณะของ การรับจ้างอย่างเดียวโดยไม่พัฒนาผลิตภัณฑ์และไม่สร้างแบรนดิ้ง (Branding) ย่อมไม่ได้ เราไม่ค่อยสนับสนุนในเรื่องของงานวิจัย เราลืมเรื่องของอาร์แอนด์ดี (R&D) รีเสิร์ช แอนด์ ดีเวลอปเมนท์ (Research and Development) เราไปมุ่งในเรื่องของซีแอนด์ดี (C&D) ก็อปปี้ แอนด์ ดิวพลิเคท (Copy and Duplicate) มากจนเกินไปนะครับ ผมอยากจะ ยกตัวอย่างเรื่องหนึ่ง ผมเพิ่งกลับมาจากการบรรยายที่ในงานเวิลด์ ฮาลาล เดย์ (World Halal Day) ที่สิงคโปร์ เรื่องของฮาลาลนั้นหลายคนเข้าใจว่าเป็นเรื่องของ ผลประโยชน์ในสังคมมุสลิม ไม่ใช่ครับ วันนี้ฮาลาลกลายเป็นผลประโยชน์ของชาติต่าง ๆ นะครับ เพราะในการประชุมเวิลด์ ฮาลาล เดย์ นั้น ปรากฏว่าญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ รวมทั้งรัสเซีย ประกาศตัวเองมาว่าจะเป็นฮาลาลฮับ (Halal Hub) กันไปหมดแล้วนะครับ ตลาดฮาลาลนั้นใหญ่มาก มีมูลค่าถึง ๖,๐๐๐,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา การแข่งขัน ด้านฮาลาลในอนาคตจะเป็นเรื่องของไซแอนซ์ เทคโนโลยี อินโนเวชัน (Science Technology Innovation) อันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง สิ่งที่ประเทศไทยต้องเร่งทำก็คือ เรื่องของการเพิ่มงบประมาณวิจัย ขณะนี้งบประมาณวิจัยของไทยถ้าเทียบกับมูลค่าของจีดีพี (GDP) เราต่ำมาก มาเลเซียมีมูลค่าด้านนี้ในรูปของสัดส่วนนั้นมากกว่าประเทศไทยถึง ๔ เท่า ไต้หวันเท่าที่ทราบ ๘ เท่านะครับ เราไม่ต้องไปเทียบกับสิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น ซึ่งสูงกว่า ประเทศไทยเป็น ๑๐ เท่า ถ้าสมมุติว่าเราต้องการที่จะสนับสนุนการแข่งขันเรื่องของการให้ การสนับสนุนต่อมหาวิทยาลัยวิจัยของประเทศไทย เราพูดกันมาตลอดนะครับ แต่ว่าไม่เคยมี เม็ดเงินลงไปเลย ผมในฐานะที่เป็นนักวิจัยได้เห็น ได้รู้สึกกับการขาดการสนับสนุนในเรื่อง ของงบประมาณทางด้านการวิจัยนะครับ ก็อยากจะให้เรื่องราวเหล่านี้นั้นเป็นรูปธรรม เสียทีนะครับ อยากจะขอเสนอดังนี้นะครับ
อันที่ ๑ ผมอยากจะขยายความสำคัญของกรรมาธิการปฏิรูป ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมที่มีการเขียนไว้ เพียงแต่ว่าอยากจะขอ เปลี่ยนชื่อนิดหนึ่งนะครับ เป็น กรรมาธิการปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิจัย เปลี่ยน วิจัย ไปอยู่ด้านหลังนะครับ เนื่องจากว่าพอเราไปใช้เป็นภาษาอังกฤษแล้วก็ คือ ไซแอนซ์ เทคโนโลยี อินโนเวชัน แอนด์ รีเสิร์ช เอสทีไออาร์ (Science Technology Innovation and Research : STIR) มันก็น่าจะเป็นตัวที่จะบ่งชี้ถึงความสำคัญของงานที่เรา ให้ความสำคัญนี้ได้นะครับ ถ้าสมมุติเราไม่ทำนั้น เราก็คงแข่งขันได้ยากนะครับ
อันที่ ๒ ก็อยากจะให้มีกรรมาธิการปฏิรูปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม แล้วก็ให้ความสำคัญกับงานด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลนะครับ เนื่องจากขณะนี้ อยากจะให้ทราบนะครับว่าประเทศไทยเราเป็นอันดับหนึ่งในเรื่องนี้ ก็ไม่อยากให้งาน ทางด้านนี้นั้นเราลดความสำคัญลง ขณะนี้ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และอีกหลายประเทศ เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องของงานวิทยาศาสตร์ฮาลาลมากขึ้นแล้วนะครับ
อีกประเด็นหนึ่งที่อยากจะพูดถึงนะครับ ก็อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมนี่นะครับ ก็อยากจะสนับสนุนการจัดตั้งกรรมาธิการ ปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากว่าในระบบเศรษฐกิจนั้นเซกชัน (Section) ที่ใหญ่ที่สุดก็คือเซกชันของผู้บริโภค หากภาคประชาชนจะได้รับความสำคัญมากขึ้น ได้รับการแบ่งสรรอำนาจมากขึ้น การจัดตั้งกรรมาธิการปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ก็จะเป็นเรื่องที่ภาคประชาชนสัมผัสได้ เห็นได้ แล้วก็จะเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดนะครับว่า สภาปฏิรูปของเรานั้นมองเห็นประชาชนผ่านทางด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ขอเพียงเท่านี้ครับ ขอบคุณครับ