หมายเลข ๖๔ ต้องขอประทานโทษด้วยครับ
ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ หมายเลข ๖๔ ครับ
ขอบคุณครับท่านประธานครับ ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ หมายเลข ๖๔ ผมขอสั้น ๆ นะครับ ผมจะไม่พูดถึงเรื่องการใช้กฎหมาย แล้วก็เรื่องของตำรวจ ซึ่งมีผู้อภิปรายหลายท่านพูดไปถึงแล้วนะครับ ผมเห็นว่า ไม่ว่าหน่วยงานใดในภาครัฐก็มีทั้งเจ้าหน้าที่ดีและไม่ดี ซึ่งก็เป็นเหมือนกันทุกประเทศนะครับ เราจะเห็นตัวอย่างหลายกรณีมากในสหรัฐอเมริกา ผมอยากจะพูดในแง่ที่แตกต่างไปในเรื่อง การติดตามการใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นหัวข้ออภิปรายทั่วไปของวันนี้ ซึ่งผมอยากจะพูดถึง ๒ กรณีที่จะใช้เป็นการติดตามการใช้กฎหมายนี่นะครับ ๑. หลายท่านก็พูดเหมือนกันคือ เรื่องของโซเชียล มีเดีย อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องของแมส มีเดีย (Mass media) เรื่องของ โซเชียล มีเดีย ผมคิดว่าน่าที่จะเป็นวิธีการที่จะได้ผลดียิ่ง ไม่ว่าจะใช้ในระบบของไลน์ เฟสบุ๊ค หรืออะไรที่แบบเดียวกัน ทำนองเดียวกัน แต่ทั้งนี้จะต้องมีการตรวจสอบเป็นการพูดถึง มีการกล่าวอ้างซึ่งจะเลยข้อเท็จจริงไปมากหรือเปล่า ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของ ผู้ที่ถูกกล่าวหาหรือผู้ที่เสียหายจะต้องมีการโต้ตอบโดยใช้วิธีการทางโซเชียล มีเดียเหมือนกัน คือตอนนี้ประเทศไทยเราก็มูฟ (Move) ไปอยู่ทางที่เราเรียกว่า ดิจิทัล อิโคโนมี (Digital economy) แต่ผมอยากจะเรียกว่าเป็นดิจิทัล เนชัน (Digital nation) มากกว่า ซึ่งอันนี้จะใช้เรื่องระบบของโซเชียล มีเดียมากขึ้น เพราะฉะนั้นทั้ง ๒ ข้างน่าจะใช้เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญในการติดตามเรื่องการใช้กฎหมายนะครับ
ขอบคุณครับท่านประธานครับ ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ หมายเลข ๖๔ ผมขอสั้น ๆ นะครับ ผมจะไม่พูดถึงเรื่องการใช้กฎหมาย แล้วก็เรื่องของตำรวจ ซึ่งมีผู้อภิปรายหลายท่านพูดไปถึงแล้วนะครับ ผมเห็นว่า ไม่ว่าหน่วยงานใดในภาครัฐก็มีทั้งเจ้าหน้าที่ดีและไม่ดี ซึ่งก็เป็นเหมือนกันทุกประเทศนะครับ เราจะเห็นตัวอย่างหลายกรณีมากในสหรัฐอเมริกา ผมอยากจะพูดในแง่ที่แตกต่างไปในเรื่อง การติดตามการใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นหัวข้ออภิปรายทั่วไปของวันนี้ ซึ่งผมอยากจะพูดถึง ๒ กรณีที่จะใช้เป็นการติดตามการใช้กฎหมายนี่นะครับ ๑. หลายท่านก็พูดเหมือนกันคือ เรื่องของโซเชียล มีเดีย อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องของแมส มีเดีย (Mass media) เรื่องของ โซเชียล มีเดีย ผมคิดว่าน่าที่จะเป็นวิธีการที่จะได้ผลดียิ่ง ไม่ว่าจะใช้ในระบบของไลน์ เฟสบุ๊ค หรืออะไรที่แบบเดียวกัน ทำนองเดียวกัน แต่ทั้งนี้จะต้องมีการตรวจสอบเป็นการพูดถึง มีการกล่าวอ้างซึ่งจะเลยข้อเท็จจริงไปมากหรือเปล่า ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของ ผู้ที่ถูกกล่าวหาหรือผู้ที่เสียหายจะต้องมีการโต้ตอบโดยใช้วิธีการทางโซเชียล มีเดียเหมือนกัน คือตอนนี้ประเทศไทยเราก็มูฟ (Move) ไปอยู่ทางที่เราเรียกว่า ดิจิทัล อิโคโนมี (Digital economy) แต่ผมอยากจะเรียกว่าเป็นดิจิทัล เนชัน (Digital nation) มากกว่า ซึ่งอันนี้จะใช้เรื่องระบบของโซเชียล มีเดียมากขึ้น เพราะฉะนั้นทั้ง ๒ ข้างน่าจะใช้เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญในการติดตามเรื่องการใช้กฎหมายนะครับ
อีกเรื่องหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องของแมส มีเดีย บ้านเราที่ยังขาดอยู่ใน เรื่องของแมส มีเดีย ซึ่งต่างประเทศทำกันเยอะ คือเรื่องของที่เราเรียกว่า อินเวสติเกตีฟ รีพอร์ต (Investigative report) ซึ่งอันนี้ก็ควรจะได้รับการสนับสนุนให้มีการสร้างสรรค์ มีการจัดทำเรื่องอินเวสติเกทีฟ รีพอร์ตให้มากขึ้น เรื่องการตรวจสอบนี่ผมก็คิดว่าเป็น เรื่องของสังคมทุกส่วนที่จะต้องดูแล แต่ผมอยากจะขอเน้นว่าในขณะนี้เรามีภาคประชาสังคม ซึ่งค่อนข้างจะเข้มแข็ง เมื่อวานเราก็ได้รับฟังเรื่องขององค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภค ผมคิดว่าเป็นหน้าที่สำคัญอันหนึ่งขององค์กรที่เราเรียกว่า ภาคประชาสังคม ที่จะต้องตรวจสอบเรื่องการใช้แมส มีเดีย แล้วก็เรื่องของการใช้โซเชียล มีเดีย ในการบังคับ การใช้กฎหมายที่ถูกต้องและเป็นธรรมนะครับ
อีกเรื่องหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องของแมส มีเดีย บ้านเราที่ยังขาดอยู่ใน เรื่องของแมส มีเดีย ซึ่งต่างประเทศทำกันเยอะ คือเรื่องของที่เราเรียกว่า อินเวสติเกตีฟ รีพอร์ต (Investigative report) ซึ่งอันนี้ก็ควรจะได้รับการสนับสนุนให้มีการสร้างสรรค์ มีการจัดทำเรื่องอินเวสติเกทีฟ รีพอร์ตให้มากขึ้น เรื่องการตรวจสอบนี่ผมก็คิดว่าเป็น เรื่องของสังคมทุกส่วนที่จะต้องดูแล แต่ผมอยากจะขอเน้นว่าในขณะนี้เรามีภาคประชาสังคม ซึ่งค่อนข้างจะเข้มแข็ง เมื่อวานเราก็ได้รับฟังเรื่องขององค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภค ผมคิดว่าเป็นหน้าที่สำคัญอันหนึ่งขององค์กรที่เราเรียกว่า ภาคประชาสังคม ที่จะต้องตรวจสอบเรื่องการใช้แมส มีเดีย แล้วก็เรื่องของการใช้โซเชียล มีเดีย ในการบังคับ การใช้กฎหมายที่ถูกต้องและเป็นธรรมนะครับ
อีกเรื่องหนึ่งซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ ขอประทานโทษได้เอ่ยนาม ท่านอาจารย์ ประเสริฐได้พูดไว้แล้ว คือเราต้องสร้างสังคมที่มีความเข้าใจในเรื่องการใช้กฎหมาย ในเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งอันนี้จะต้องผ่านการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยมาจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยมีการกำหนด ในหลักสูตรในเรื่องที่เราเรียกว่าซีวิก เอดดูเคชัน (Civic education) ซึ่งเรื่องของ ซีวิก เอดดูเคชันนี้ไม่ใช่จะช่วยได้เฉพาะในเรื่องการใช้กฎหมายเท่านั้น จะเป็นเครื่องมือสำคัญ อีกอย่างหนึ่งที่จะมีการปรับปรุงแล้วก็มีการยกระดับเรื่องการเมืองการปกครองของไทยขึ้นไป อยู่ในระดับที่จะเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบได้ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ ท่านประธานครับ
อีกเรื่องหนึ่งซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ ขอประทานโทษได้เอ่ยนาม ท่านอาจารย์ ประเสริฐได้พูดไว้แล้ว คือเราต้องสร้างสังคมที่มีความเข้าใจในเรื่องการใช้กฎหมาย ในเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งอันนี้จะต้องผ่านการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยมาจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยมีการกำหนด ในหลักสูตรในเรื่องที่เราเรียกว่าซีวิก เอดดูเคชัน (Civic education) ซึ่งเรื่องของ ซีวิก เอดดูเคชันนี้ไม่ใช่จะช่วยได้เฉพาะในเรื่องการใช้กฎหมายเท่านั้น จะเป็นเครื่องมือสำคัญ อีกอย่างหนึ่งที่จะมีการปรับปรุงแล้วก็มีการยกระดับเรื่องการเมืองการปกครองของไทยขึ้นไป อยู่ในระดับที่จะเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์แบบได้ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ ท่านประธานครับ
ขอบพระคุณครับท่านประธาน ผม ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ หมายเลข ๖๔ ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณท่านกรรมาธิการคุ้มครอง ผู้บริโภคที่ทำเรื่องนี้ออกมาได้รวดเร็วนะครับ มีพระราชบัญญัติ ผมขออภิปรายสั้น ๆ นะครับ คือที่จริงมันก็ต่อเนื่องที่ผมเคยคุย เคยอภิปรายไว้แล้วคือเรื่องความร่วมมือประสานงาน ระหว่างภาคเอกชนแล้วก็ภาคประชาสังคมนะครับ คือท่านผู้อภิปรายท่านแรกพูดไปแล้วถึงเรื่องประสานงานกับภาครัฐที่มีอยู่แล้ว สคบ. อะไรพวกนี้ ซึ่งก็คงจะต้องไปดูก็ผมคงไม่พูดซ้ำ แต่ผมมีความเห็นเพิ่มเติมนิดเดียวครับว่า เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคมันต้องคิดถึงอีกฝั่งหนึ่งฝั่งเอกชนผู้ประกอบการ ผู้ที่ทำผลผลิต ออกมาจะดีหรือไม่ดีนี่ก็อีกเรื่องหนึ่ง แล้วปัญหาก็คือมีผู้ประกอบการที่ทำผลิตผลที่มันไม่ดี ออกมาก็ถึงต้องมีนี่นะครับ แล้วก็เอาเปรียบผู้บริโภคอันนี้ก็คงจริง ทีนี้ถ้าเผื่อจะมี องค์กรอิสระแบบนี้ ผมคิดว่าส่วนหนึ่งน่าที่จะมีความร่วมมือกับทางภาคเอกชนนะครับ อันนี้มันจะได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันนะครับ แล้วอะไรที่มันพูดคุยกันได้ไม่ต้องไปถึงศาล หรือถึงฟ้องร้องผมว่ามันเป็นสิ่งที่ดี เพราะฉะนั้นที่ผมต้องการเสนอก็ค่อนข้างที่จะแบบ ตรงไปตรงมา มาตรา ๑๔ ที่มีคณะกรรมการสรรหา ก็จะเห็นว่าจะมีตัวแทนจากภาคประชาสังคม แล้วก็จะมีจากภาควิชาการ ผมอยากจะขอให้ท่านคณะกรรมาธิการพิจารณาอย่างน้อย ขอมีตัวแทนจากภาคเอกชนเข้าไปร่วมอยู่ด้วย ซึ่งก็คงจะมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่อาจจะ แตกต่างออกไป ที่ผมจะเสนอก็คือขอให้เสนอให้มีผู้แทนของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน หรือที่เราเรียกว่า กกร. นะครับ อันนี้จะเป็นตัวแทนของทั้งสภาหอการค้า อันนี้เรื่องค้าขาย เลยนะครับ สภาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้ผลิต แล้วก็ของสมาคมธนาคารไทยซึ่งจะเป็นเรื่อง ของการเงินการคลัง ถ้าเผื่อได้ผู้แทนจาก กกร. เข้าไปร่วมผมคิดว่าการสรรหาก็คงจะสมบูรณ์แบบ ขึ้นครับ ผมมีแค่นี้ ขอบพระคุณครับ
ขอบพระคุณครับท่านประธาน ผม ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ หมายเลข ๖๔ ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณท่านกรรมาธิการคุ้มครอง ผู้บริโภคที่ทำเรื่องนี้ออกมาได้รวดเร็วนะครับ มีพระราชบัญญัติ ผมขออภิปรายสั้น ๆ นะครับ คือที่จริงมันก็ต่อเนื่องที่ผมเคยคุย เคยอภิปรายไว้แล้วคือเรื่องความร่วมมือประสานงาน ระหว่างภาคเอกชนแล้วก็ภาคประชาสังคมนะครับ คือท่านผู้อภิปรายท่านแรกพูดไปแล้วถึงเรื่องประสานงานกับภาครัฐที่มีอยู่แล้ว สคบ. อะไรพวกนี้ ซึ่งก็คงจะต้องไปดูก็ผมคงไม่พูดซ้ำ แต่ผมมีความเห็นเพิ่มเติมนิดเดียวครับว่า เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคมันต้องคิดถึงอีกฝั่งหนึ่งฝั่งเอกชนผู้ประกอบการ ผู้ที่ทำผลผลิต ออกมาจะดีหรือไม่ดีนี่ก็อีกเรื่องหนึ่ง แล้วปัญหาก็คือมีผู้ประกอบการที่ทำผลิตผลที่มันไม่ดี ออกมาก็ถึงต้องมีนี่นะครับ แล้วก็เอาเปรียบผู้บริโภคอันนี้ก็คงจริง ทีนี้ถ้าเผื่อจะมี องค์กรอิสระแบบนี้ ผมคิดว่าส่วนหนึ่งน่าที่จะมีความร่วมมือกับทางภาคเอกชนนะครับ อันนี้มันจะได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันนะครับ แล้วอะไรที่มันพูดคุยกันได้ไม่ต้องไปถึงศาล หรือถึงฟ้องร้องผมว่ามันเป็นสิ่งที่ดี เพราะฉะนั้นที่ผมต้องการเสนอก็ค่อนข้างที่จะแบบ ตรงไปตรงมา มาตรา ๑๔ ที่มีคณะกรรมการสรรหา ก็จะเห็นว่าจะมีตัวแทนจากภาคประชาสังคม แล้วก็จะมีจากภาควิชาการ ผมอยากจะขอให้ท่านคณะกรรมาธิการพิจารณาอย่างน้อย ขอมีตัวแทนจากภาคเอกชนเข้าไปร่วมอยู่ด้วย ซึ่งก็คงจะมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่อาจจะ แตกต่างออกไป ที่ผมจะเสนอก็คือขอให้เสนอให้มีผู้แทนของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน หรือที่เราเรียกว่า กกร. นะครับ อันนี้จะเป็นตัวแทนของทั้งสภาหอการค้า อันนี้เรื่องค้าขาย เลยนะครับ สภาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้ผลิต แล้วก็ของสมาคมธนาคารไทยซึ่งจะเป็นเรื่อง ของการเงินการคลัง ถ้าเผื่อได้ผู้แทนจาก กกร. เข้าไปร่วมผมคิดว่าการสรรหาก็คงจะสมบูรณ์แบบ ขึ้นครับ ผมมีแค่นี้ ขอบพระคุณครับ
ผม ชิงชัย ครับท่านประธาน หมายเลข ๖๔ เท่าที่ศึกษาดูแล้วก็มีการพูดคุยกันกับท่านกรรมาธิการบางคน ผมก็คิดว่าเรื่องที่เสนอมานี่ น่าที่จะให้เบื้องหลังแล้วก็เรื่องของข้อเท็จจริงได้เพียงพอ เพราะจริง ๆ แล้วระบบที่ใช้อยู่ ตอนปัจจุบันมันก็แค่ ๒ ระบบเท่านั้น เรื่องสัมปทานหรือเรื่องโพรดักชัน แชริง (Production sharing) นะครับ ทีนี้มันขึ้นอยู่กับที่นโยบาย ที่จริงท่านพรายพลก็พูดได้ชัดมากว่าการ แตกต่างนี่มันไม่ค่อยมีอะไรแตกต่างทั้งนั้นนะครับ ตอนนี้ปัญหาที่สำคัญก็คือ เรื่องของระยะเวลาความเร่งรีบ เพราะว่ามันมากระเทือนถึงเศรษฐกิจภาพรวมของ ประเทศด้วย เรื่องพลังงานนี่เป็นเรื่องสำคัญมาก แล้วก็เศรษฐกิจปีนี้ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ว่า จะเรียกว่าเป็นเศรษฐกิจขาลงก็ได้นะครับ เรื่องส่งออกอะไรต่ออะไรนี่จะลงหมด ขาดดุลอะไรต่าง ๆ ก็จะตามมา เรื่องภาษีที่เราได้รับยกเว้นอะไรก็ถูกยกเลิกไปแล้ว ผมคิดว่า จำเป็นที่จะต้องมีรายได้เพิ่ม แล้วก็เรื่องลดดุลนี่ เรานำเข้ามันเกินกว่าล้านล้านบาทแล้ว เรื่องพลังงาน อันที่จริงถ้าเผื่อเดินหน้าได้ผมก็อยากจะสนับสนุนมติที่ทางคณะกรรมาธิการ เสนอไว้ครับ ขอบพระคุณครับ
ผม ชิงชัย ครับท่านประธาน หมายเลข ๖๔ เท่าที่ศึกษาดูแล้วก็มีการพูดคุยกันกับท่านกรรมาธิการบางคน ผมก็คิดว่าเรื่องที่เสนอมานี่ น่าที่จะให้เบื้องหลังแล้วก็เรื่องของข้อเท็จจริงได้เพียงพอ เพราะจริง ๆ แล้วระบบที่ใช้อยู่ ตอนปัจจุบันมันก็แค่ ๒ ระบบเท่านั้น เรื่องสัมปทานหรือเรื่องโพรดักชัน แชริง (Production sharing) นะครับ ทีนี้มันขึ้นอยู่กับที่นโยบาย ที่จริงท่านพรายพลก็พูดได้ชัดมากว่าการ แตกต่างนี่มันไม่ค่อยมีอะไรแตกต่างทั้งนั้นนะครับ ตอนนี้ปัญหาที่สำคัญก็คือ เรื่องของระยะเวลาความเร่งรีบ เพราะว่ามันมากระเทือนถึงเศรษฐกิจภาพรวมของ ประเทศด้วย เรื่องพลังงานนี่เป็นเรื่องสำคัญมาก แล้วก็เศรษฐกิจปีนี้ก็เป็นที่ทราบกันอยู่ว่า จะเรียกว่าเป็นเศรษฐกิจขาลงก็ได้นะครับ เรื่องส่งออกอะไรต่ออะไรนี่จะลงหมด ขาดดุลอะไรต่าง ๆ ก็จะตามมา เรื่องภาษีที่เราได้รับยกเว้นอะไรก็ถูกยกเลิกไปแล้ว ผมคิดว่า จำเป็นที่จะต้องมีรายได้เพิ่ม แล้วก็เรื่องลดดุลนี่ เรานำเข้ามันเกินกว่าล้านล้านบาทแล้ว เรื่องพลังงาน อันที่จริงถ้าเผื่อเดินหน้าได้ผมก็อยากจะสนับสนุนมติที่ทางคณะกรรมาธิการ เสนอไว้ครับ ขอบพระคุณครับ
ท่านประธานครับ เมื่อกี้ผมก็ได้พูดไปบ้างแล้ว คือเรื่องนี้เข้าใจว่ามันก็มีอยู่ที่จะต้องพิจารณาก็แค่ ๒ ระบบที่จะนำทรัพยากรโดยเฉพาะ ปิโตรเลียมมาใช้ ก็มีระบบสัมปทานซึ่งทำมานานพอสมควร แล้วก็ระบบที่เรียกว่าพีเอสซี ซึ่งเข้าใจว่านอกจากอินโดนีเซีย มาเลเซียก็รู้สึกใช้อยู่ด้วยนะครับ คือทั้ง ๒ ระบบนี้ ถ้าเผื่อดูแล้วมันจะไม่ต่างกันอย่างท่านกรรมาธิการพรายพลว่า คือผลประโยชน์ของรัฐมันก็ได้ แล้วแต่จะกำหนดนะครับ ความเป็นเจ้าของก็ยังเป็นของรัฐ เรื่องอัตราเสี่ยงก็เหมือนกัน ที่มันจะแตกต่างก็คือเรื่องการควบคุมของรัฐ
ท่านประธานครับ เมื่อกี้ผมก็ได้พูดไปบ้างแล้ว คือเรื่องนี้เข้าใจว่ามันก็มีอยู่ที่จะต้องพิจารณาก็แค่ ๒ ระบบที่จะนำทรัพยากรโดยเฉพาะ ปิโตรเลียมมาใช้ ก็มีระบบสัมปทานซึ่งทำมานานพอสมควร แล้วก็ระบบที่เรียกว่าพีเอสซี ซึ่งเข้าใจว่านอกจากอินโดนีเซีย มาเลเซียก็รู้สึกใช้อยู่ด้วยนะครับ คือทั้ง ๒ ระบบนี้ ถ้าเผื่อดูแล้วมันจะไม่ต่างกันอย่างท่านกรรมาธิการพรายพลว่า คือผลประโยชน์ของรัฐมันก็ได้ แล้วแต่จะกำหนดนะครับ ความเป็นเจ้าของก็ยังเป็นของรัฐ เรื่องอัตราเสี่ยงก็เหมือนกัน ที่มันจะแตกต่างก็คือเรื่องการควบคุมของรัฐ
ไม่ครับ คืออย่างนี้ที่ผมเห็นด้วยก็คือว่า ผมเห็นด้วยว่าควรจะต้องเอาข้อเสนอแนะของกรรมาธิการนำมาพิจารณาและผมเอง ถ้าเผื่อผมได้พูดตอนนี้ ผมก็อยากจะพูดไปเลยว่า ผมขอสนับสนุนเท่านั้นครับท่าน
ไม่ครับ คืออย่างนี้ที่ผมเห็นด้วยก็คือว่า ผมเห็นด้วยว่าควรจะต้องเอาข้อเสนอแนะของกรรมาธิการนำมาพิจารณาและผมเอง ถ้าเผื่อผมได้พูดตอนนี้ ผมก็อยากจะพูดไปเลยว่า ผมขอสนับสนุนเท่านั้นครับท่าน
ขอบคุณครับท่านประธาน ผมขอสั้น ๆ นะครับ เอาเรื่องประเด็นใหญ่เลย ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณกรรมาธิการทั้งเสียงข้างมากและ ข้างน้อยที่ให้ข้อมูลนี้ครบถ้วน แล้วก็รู้สึกมากเลยนะครับ แต่ผมอยากจะมาเอาเป็นอาจจะ เรื่องประเด็นที่เพิ่มเติมมากกว่านะครับ คือเรื่องของผมนี่อยากจะดึงเรื่องพลังงาน เรื่องปิโตรเลียมมันมาเกี่ยวกับภาพเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศไทยนะครับ คือปีนี้ เท่าที่ทราบกันอยู่แล้วเศรษฐกิจของไทยนี่คงจะมีปัญหามากนะครับ ไม่ว่าจะเรื่องการส่งออก การลงทุนจากต่างประเทศที่เรียกว่าเอฟดีไอ (FDI) นะครับ เมื่อต้นปีนี้เราก็สูญเสีย ที่เราเรียกว่าจีเอสพี (GSP) ไปแล้ว การยกเว้นภาษีขาเข้าจากตลาดใหญ่ ๆ ของเรา ทั้งอียู (EU) แล้วก็ทั้งสหรัฐ แล้วก็เป็นช่วงซึ่งเราจะต้องมีความจำเป็นในการใช้งบประมาณ ค่อนข้างสูง มีการพูดถึงเรื่องการสร้างอินฟราสตรักเจอร์ (Infrastructure) นะครับ โดยเฉพาะทางรถไฟที่จะเชื่อมโยง ซึ่งอันนี้ก็จะมีผลกระทบโดยตรงกับทางชุมชน ทางความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของเราต่อไปที่จะเข้าไปแข่งขันกับตลาดอาเซียนนะครับ ตอนนี้ความสามารถในการแข่งขันของเรานี่ก็ลดลงไปเรื่อย ๆ เพราะยังมีปัญหา เรื่องการศึกษา เรื่องภาษา มันมีหลายเรื่องมาก เพราะฉะนั้นข้อสรุปของผมนี่ก็คือว่าเราคง จะต้องเดินหน้าเรื่องขุดหา จัดหาปิโตรเลียมมาให้โดยเร็วที่สุดนะครับ เพราะนอกจากจะเป็น การเสริมรายได้แล้วก็ยังเป็นการลดดุลจากการนำเข้า ซึ่งจากการนำเข้าเรานี่ทุกท่านก็ทราบว่า มันมากกว่าล้านล้านบาทถ้าเผื่อเราไม่รีบทำตอนนี้มันก็เพิ่มไปเรื่อย ๆ นะครับ การขาดดุล มันก็จะมากขึ้นไปเรื่อย ๆ แล้วอีกอย่างมันก็คล้าย ๆ ว่าเรามีขุมทรัพย์ไม่รู้จะมากน้อย แค่ไหนนี่นะครับ และในเวลาที่เรากำลังยากจนกำลังอยากต้องการใช้เงินเราก็ไม่ขุดมาใช้ อันนี้ผมคิดว่ามันก็เป็นเรื่องซึ่งสร้างความลำบากให้ตนเองนะครับ การใช้ระบบพีเอสซี ผมก็ได้ยินแล้วก็มีข้อดีมากมาย แต่ปัญหาก็คือต้องใช้เวลามากนะครับ จะต้องมีการเตรียม กฎหมายใหม่ เตรียมสถาบันองค์กรที่จะต้องมารองรับ ซึ่งผมคิดว่า ๕ ปีอย่างน้อยนี่ก็อาจจะ ยังเริ่มไม่ได้ และภายใน ๕ ปีนี่เราก็ไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นนะครับ เศรษฐกิจของเราจะไป ทางรูปไหน อินฟราสตรัคเจอร์เราจะทำได้มากน้อยแค่ไหน เงินทองเราจะเอามาจากไหน คือช่วงนี้เป็นเศรษฐกิจไทยซึ่งเราจะต้องดูรายได้ทุกแห่งทุกอย่างนะครับ ไม่ใช่ว่าเรามีที่อื่น แล้วอันนี้เราคอยได้หรือไม่ได้ คือเราต้องดูทุกอย่างเพราะว่ามันงวดเข้ามาทุกทีแล้วนะครับ
ขอบคุณครับท่านประธาน ผมขอสั้น ๆ นะครับ เอาเรื่องประเด็นใหญ่เลย ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณกรรมาธิการทั้งเสียงข้างมากและ ข้างน้อยที่ให้ข้อมูลนี้ครบถ้วน แล้วก็รู้สึกมากเลยนะครับ แต่ผมอยากจะมาเอาเป็นอาจจะ เรื่องประเด็นที่เพิ่มเติมมากกว่านะครับ คือเรื่องของผมนี่อยากจะดึงเรื่องพลังงาน เรื่องปิโตรเลียมมันมาเกี่ยวกับภาพเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศไทยนะครับ คือปีนี้ เท่าที่ทราบกันอยู่แล้วเศรษฐกิจของไทยนี่คงจะมีปัญหามากนะครับ ไม่ว่าจะเรื่องการส่งออก การลงทุนจากต่างประเทศที่เรียกว่าเอฟดีไอ (FDI) นะครับ เมื่อต้นปีนี้เราก็สูญเสีย ที่เราเรียกว่าจีเอสพี (GSP) ไปแล้ว การยกเว้นภาษีขาเข้าจากตลาดใหญ่ ๆ ของเรา ทั้งอียู (EU) แล้วก็ทั้งสหรัฐ แล้วก็เป็นช่วงซึ่งเราจะต้องมีความจำเป็นในการใช้งบประมาณ ค่อนข้างสูง มีการพูดถึงเรื่องการสร้างอินฟราสตรักเจอร์ (Infrastructure) นะครับ โดยเฉพาะทางรถไฟที่จะเชื่อมโยง ซึ่งอันนี้ก็จะมีผลกระทบโดยตรงกับทางชุมชน ทางความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของเราต่อไปที่จะเข้าไปแข่งขันกับตลาดอาเซียนนะครับ ตอนนี้ความสามารถในการแข่งขันของเรานี่ก็ลดลงไปเรื่อย ๆ เพราะยังมีปัญหา เรื่องการศึกษา เรื่องภาษา มันมีหลายเรื่องมาก เพราะฉะนั้นข้อสรุปของผมนี่ก็คือว่าเราคง จะต้องเดินหน้าเรื่องขุดหา จัดหาปิโตรเลียมมาให้โดยเร็วที่สุดนะครับ เพราะนอกจากจะเป็น การเสริมรายได้แล้วก็ยังเป็นการลดดุลจากการนำเข้า ซึ่งจากการนำเข้าเรานี่ทุกท่านก็ทราบว่า มันมากกว่าล้านล้านบาทถ้าเผื่อเราไม่รีบทำตอนนี้มันก็เพิ่มไปเรื่อย ๆ นะครับ การขาดดุล มันก็จะมากขึ้นไปเรื่อย ๆ แล้วอีกอย่างมันก็คล้าย ๆ ว่าเรามีขุมทรัพย์ไม่รู้จะมากน้อย แค่ไหนนี่นะครับ และในเวลาที่เรากำลังยากจนกำลังอยากต้องการใช้เงินเราก็ไม่ขุดมาใช้ อันนี้ผมคิดว่ามันก็เป็นเรื่องซึ่งสร้างความลำบากให้ตนเองนะครับ การใช้ระบบพีเอสซี ผมก็ได้ยินแล้วก็มีข้อดีมากมาย แต่ปัญหาก็คือต้องใช้เวลามากนะครับ จะต้องมีการเตรียม กฎหมายใหม่ เตรียมสถาบันองค์กรที่จะต้องมารองรับ ซึ่งผมคิดว่า ๕ ปีอย่างน้อยนี่ก็อาจจะ ยังเริ่มไม่ได้ และภายใน ๕ ปีนี่เราก็ไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้นนะครับ เศรษฐกิจของเราจะไป ทางรูปไหน อินฟราสตรัคเจอร์เราจะทำได้มากน้อยแค่ไหน เงินทองเราจะเอามาจากไหน คือช่วงนี้เป็นเศรษฐกิจไทยซึ่งเราจะต้องดูรายได้ทุกแห่งทุกอย่างนะครับ ไม่ใช่ว่าเรามีที่อื่น แล้วอันนี้เราคอยได้หรือไม่ได้ คือเราต้องดูทุกอย่างเพราะว่ามันงวดเข้ามาทุกทีแล้วนะครับ
แล้วก็อีกเรื่องหนึ่งนะครับที่ผมคิดว่า แล้วมีการพูดถึงเหมือนกันว่าถ้าเผื่อเรา คอยเกินไป เรื่องความสำคัญของปิโตรเลียมนี่มันก็อาจจะลดลงไป ก็มีการพูดคุยถึงระบบ การใช้ไฮโดรเจนมาในรถนะครับ มีการศึกษาวิจัยโดยบริษัทโตโยต้า ถ้าเผื่อพวกนี้ เกิดขึ้นมาได้จริง โดยสามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องการที่ว่าจะมีการระเบิดขึ้นมาได้นี่ ผมคิดว่า ความสำคัญของปิโตรเลียมนี่มันก็จะลดน้อยไป แต่การศึกษาค้นคว้านี่ก็คงอย่างน้อยอีก ๕ ปี ในช่วงนี้เราก็น่าที่จะเอาของเรานี่ซึ่งขุมทรัพย์นี้เอาออกมาใช้เสียก่อน ถ้าเผื่อคอยไป ๕ ปี จำนวนมันอาจจะลดลงไป ค่าของมันก็จะลดลงไป ผมก็ยอมรับนะครับว่ามันมีปัญหา ที่ได้ฟังจากคุณรสนาหรือทางท่านกรรมาธิการเสียงส่วนน้อย ปัญหาทางสังคมมีนะครับ คือถ้าเผื่อเป็นเรื่องของการพัฒนา เรื่องของการใช้ทรัพยากรหรือการจัดสรร ทรัพยากรธรรมชาติมันจะมีปัญหาตลอดนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชุมชนทางด้านสังคม อันนี้ผมคิดว่าก็คงจะต้องฝากไว้ว่าถ้าเผื่อเรานำเสนอนี่มันก็ต้องเสนอแนะว่ามันจะต้องมี การศึกษาผลกระทบทางสังคมให้ลึกซึ้ง ถ้าเผื่อเดินหน้าไปแล้วในเรื่องของให้สัมปทาน ก็คงจะต้องมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อจะติดตามผลเป็นมอนิเตอริ่ง แมกคานิซึม (Monitoring mechanism) แล้วก็นำผลที่ศึกษาได้มานี่มาปรับปรุงใช้ต่อไปนะครับ ปัญหาบางเรื่องก็รู้สึกว่า ได้รับการพิจารณาแล้วภายใต้ที่เราเรียกว่าไทยแลนด์ทรีพลัสนะครับ อันนี้ก็อาจจะดูเรื่อง ต่อไปได้
แล้วก็อีกเรื่องหนึ่งนะครับที่ผมคิดว่า แล้วมีการพูดถึงเหมือนกันว่าถ้าเผื่อเรา คอยเกินไป เรื่องความสำคัญของปิโตรเลียมนี่มันก็อาจจะลดลงไป ก็มีการพูดคุยถึงระบบ การใช้ไฮโดรเจนมาในรถนะครับ มีการศึกษาวิจัยโดยบริษัทโตโยต้า ถ้าเผื่อพวกนี้ เกิดขึ้นมาได้จริง โดยสามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องการที่ว่าจะมีการระเบิดขึ้นมาได้นี่ ผมคิดว่า ความสำคัญของปิโตรเลียมนี่มันก็จะลดน้อยไป แต่การศึกษาค้นคว้านี่ก็คงอย่างน้อยอีก ๕ ปี ในช่วงนี้เราก็น่าที่จะเอาของเรานี่ซึ่งขุมทรัพย์นี้เอาออกมาใช้เสียก่อน ถ้าเผื่อคอยไป ๕ ปี จำนวนมันอาจจะลดลงไป ค่าของมันก็จะลดลงไป ผมก็ยอมรับนะครับว่ามันมีปัญหา ที่ได้ฟังจากคุณรสนาหรือทางท่านกรรมาธิการเสียงส่วนน้อย ปัญหาทางสังคมมีนะครับ คือถ้าเผื่อเป็นเรื่องของการพัฒนา เรื่องของการใช้ทรัพยากรหรือการจัดสรร ทรัพยากรธรรมชาติมันจะมีปัญหาตลอดนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชุมชนทางด้านสังคม อันนี้ผมคิดว่าก็คงจะต้องฝากไว้ว่าถ้าเผื่อเรานำเสนอนี่มันก็ต้องเสนอแนะว่ามันจะต้องมี การศึกษาผลกระทบทางสังคมให้ลึกซึ้ง ถ้าเผื่อเดินหน้าไปแล้วในเรื่องของให้สัมปทาน ก็คงจะต้องมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อจะติดตามผลเป็นมอนิเตอริ่ง แมกคานิซึม (Monitoring mechanism) แล้วก็นำผลที่ศึกษาได้มานี่มาปรับปรุงใช้ต่อไปนะครับ ปัญหาบางเรื่องก็รู้สึกว่า ได้รับการพิจารณาแล้วภายใต้ที่เราเรียกว่าไทยแลนด์ทรีพลัสนะครับ อันนี้ก็อาจจะดูเรื่อง ต่อไปได้
ผมก็เลยขอสรุปสั้น ๆ ว่าเราน่าที่จะเดินหน้าเรื่องสัมปทานนี้ไปก่อนนะครับ ไม่อย่างนั้นเราจะไม่ทันกาลที่จะมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของเรา แล้วก็ดำเนินล่วงหน้า ต่อได้ในการพัฒนา ขอบพระคุณครับท่านประธานครับ
ผมก็เลยขอสรุปสั้น ๆ ว่าเราน่าที่จะเดินหน้าเรื่องสัมปทานนี้ไปก่อนนะครับ ไม่อย่างนั้นเราจะไม่ทันกาลที่จะมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของเรา แล้วก็ดำเนินล่วงหน้า ต่อได้ในการพัฒนา ขอบพระคุณครับท่านประธานครับ