นายเขมทัต สุคนธสิงห์

  • เรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพครับ ผม เขมทัต สุคนธสิงห์ หมายเลข ๐๒๕ ขออนุญาตอภิปรายในเรื่องที่ยังไม่มีผู้พูดนะครับ ในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพครับ ผม เขมทัต สุคนธสิงห์ หมายเลข ๐๒๕ ขออนุญาตอภิปรายในเรื่องที่ยังไม่มีผู้พูดนะครับ ในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก มีหลายท่านพูดไปแล้วเกี่ยวกับกฎหมายจราจร ปัญหาที่เกิดขึ้น ในบางครั้งเราก็เห็นใจผู้ปฏิบัติ เพราะว่าเวลาที่เกิดคดีขึ้นมาผู้ปฏิบัติมักจะไปเข้าข้าง ผู้ที่ทำผิดกฎหมายแต่ได้รับความเสียหาย อันนี้สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือกรณีที่รถยนต์ชนกับ รถจักรยานยนต์หรือรถชนกับคน ทั้ง ๆ ที่รถจักรยานยนต์หรือคนเดินถนนเป็นฝ่ายที่ กระทำผิดกฎหมาย ผู้ที่กระทำถูกกฎหมายจะต้องไปรับโทษ เพราะเขาบอกว่าคุณเป็น รถใหญ่อย่างไร ๆ คุณก็ผิด ทั้ง ๆ ที่ตรงนี้วิธีการบังคับใช้อย่างเป็นธรรมควรจะต้อง ถูกนำมาใช้ เวลานี้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติไปแล้ว เพราะฉะนั้นใครที่ขับรถยนต์ถ้ามีปัญหา กับรถจักรยานยนต์หรือมีปัญหากับคนเดินถนนถึงแม้ว่าจะถูกต้องตามกฎจราจร ก็จะต้อง เตรียมแล้วว่าจะต้องชดใช้อย่างไรทั้ง ๆ ที่เป็นฝ่ายถูก เรื่องนี้ก็อยากจะให้มีการทำให้ ถูกต้องเสียนะครับ ไม่ใช่ว่าเราไม่เห็นใจคนเดินถนนหรือคนใช้รถจักรยานยนต์ แต่ว่าก็ต้อง เห็นใจคนที่ใช้รถยนต์ที่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ถูกต้องด้วยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก มีหลายท่านพูดไปแล้วเกี่ยวกับกฎหมายจราจร ปัญหาที่เกิดขึ้น ในบางครั้งเราก็เห็นใจผู้ปฏิบัติ เพราะว่าเวลาที่เกิดคดีขึ้นมาผู้ปฏิบัติมักจะไปเข้าข้าง ผู้ที่ทำผิดกฎหมายแต่ได้รับความเสียหาย อันนี้สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือกรณีที่รถยนต์ชนกับ รถจักรยานยนต์หรือรถชนกับคน ทั้ง ๆ ที่รถจักรยานยนต์หรือคนเดินถนนเป็นฝ่ายที่ กระทำผิดกฎหมาย ผู้ที่กระทำถูกกฎหมายจะต้องไปรับโทษ เพราะเขาบอกว่าคุณเป็น รถใหญ่อย่างไร ๆ คุณก็ผิด ทั้ง ๆ ที่ตรงนี้วิธีการบังคับใช้อย่างเป็นธรรมควรจะต้อง ถูกนำมาใช้ เวลานี้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติไปแล้ว เพราะฉะนั้นใครที่ขับรถยนต์ถ้ามีปัญหา กับรถจักรยานยนต์หรือมีปัญหากับคนเดินถนนถึงแม้ว่าจะถูกต้องตามกฎจราจร ก็จะต้อง เตรียมแล้วว่าจะต้องชดใช้อย่างไรทั้ง ๆ ที่เป็นฝ่ายถูก เรื่องนี้ก็อยากจะให้มีการทำให้ ถูกต้องเสียนะครับ ไม่ใช่ว่าเราไม่เห็นใจคนเดินถนนหรือคนใช้รถจักรยานยนต์ แต่ว่าก็ต้อง เห็นใจคนที่ใช้รถยนต์ที่ปฏิบัติตามกฎหมายที่ถูกต้องด้วยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีทั้งหลายมี ๓ ประเด็นนะครับ ประเด็นที่ ๑ ก็คือเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายที่ซ้ำซ้อนกันระหว่างหลายหน่วยงานที่บังคับใช้ ผมยกตัวอย่างเช่นกรณีน้ำเสีย มีกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ตัวเลขไว้ค่าหนึ่ง กฎหมายของกรมเจ้าท่าให้ตัวเลขไว้อีกทางหนึ่ง กฎหมายของกรมควบคุมมลพิษก็ให้ตัวเลข ไว้อีกค่าหนึ่ง ตกลงผู้ปฏิบัติไม่รู้จะใช้ค่าไหน เพราะมันโดนหมดทั้ง ๓ ค่านะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีทั้งหลายมี ๓ ประเด็นนะครับ ประเด็นที่ ๑ ก็คือเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายที่ซ้ำซ้อนกันระหว่างหลายหน่วยงานที่บังคับใช้ ผมยกตัวอย่างเช่นกรณีน้ำเสีย มีกฎหมายของกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ตัวเลขไว้ค่าหนึ่ง กฎหมายของกรมเจ้าท่าให้ตัวเลขไว้อีกทางหนึ่ง กฎหมายของกรมควบคุมมลพิษก็ให้ตัวเลข ไว้อีกค่าหนึ่ง ตกลงผู้ปฏิบัติไม่รู้จะใช้ค่าไหน เพราะมันโดนหมดทั้ง ๓ ค่านะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ก็คือวิธีการพิสูจน์ความผิดตามหลักวิทยาศาสตร์ที่เป็น มาตรฐานเดียวกัน ก็ตัวอย่างเดิมเมื่อสักครู่นี้นะครับ เวลาที่จะวัดค่านั้นมันจะต้องมี กระบวนการการวัดที่ถูกต้องตามหลักของกฎหมาย แล้วก็ถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน อันนี้เป็นประเด็นที่ ๒ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะต้องมาตกลงกันแล้วก็ทำให้เป็นค่ากลาง

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ก็คือวิธีการพิสูจน์ความผิดตามหลักวิทยาศาสตร์ที่เป็น มาตรฐานเดียวกัน ก็ตัวอย่างเดิมเมื่อสักครู่นี้นะครับ เวลาที่จะวัดค่านั้นมันจะต้องมี กระบวนการการวัดที่ถูกต้องตามหลักของกฎหมาย แล้วก็ถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน อันนี้เป็นประเด็นที่ ๒ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะต้องมาตกลงกันแล้วก็ทำให้เป็นค่ากลาง

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๓ อันนี้เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเองมีความเข้าใจในเรื่องของ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่เพียงพอ หลักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวัดค่า ต่าง ๆ นั้นจะต้องมีค่าความเบี่ยงเบนหรือเราเรียกว่าทอเลอแรนซ์ (Tolerance) ที่กำหนดไว้ตามหลักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการสอบเทียบเครื่องมือวัดที่ใช้ในการตรวจวัด ในกรณีนี้ก็จะเป็นที่ถกเถียงกัน เจ้าหน้าที่ที่ไม่เข้าใจ ยกตัวอย่างเช่นการวัดค่ามิติ กำหนดมา กี่มิลลิเมตรหรือกี่เมตรก็จะใช้ค่าตรงนั้นผิดเลยไม่ได้ ซึ่งในทางปฏิบัติจริง ๆ เป็นไปไม่ได้ การใช้ไม้เมตร ๒ อันหรือตลับเมตร ๒ อันมาวัดก็ให้ค่าต่างกันแล้ว เพราะฉะนั้นตรงนี้ ควรจะต้องมีการกำหนดมาตรฐาน ขออนุญาตย้อนกลับไปวิธีพิสูจน์ความผิดเมื่อสักครู่ ประเด็นที่ ๒ เพิ่มเติมนิดหนึ่ง อย่างการวัดควันดำของรถบรรทุกก็ดี การวัดเสียง ที่เกินมาตรฐานของรถยนต์ก็ดี ถ้าไม่กำหนดวิธีการที่ถูกต้องไว้ประชาชนก็จะถูกบังคับใช้ ที่ไม่เป็นธรรมนะครับ อันนี้ก็อาจจะอยู่ในส่วนของคุ้มครองผู้บริโภค แต่ว่ากฎหมายที่เกี่ยวกับ เทคโนโลยีทั้งหมดนี้ควรจะต้องมีการดำเนินการตามหลักการซึ่งทำได้นะครับ แต่ว่าหน่วยงาน ที่บังคับใช้นั้นไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดค่าความเบี่ยงเบน แล้วก็การสอบเทียบเครื่องมือวัด ทั้ง ๆ ที่ในอุตสาหกรรมวันนี้การสอบเทียบเครื่องมือวัด ให้ถูกต้องเป็นเรื่องจำเป็น การสอบเทียบเครื่องมือวัดอีกอันหนึ่งซึ่งท่านประธานอาจจะพอ มองเห็น การใช้เครื่องมือวัดที่เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น เครื่องวัดความดันต่าง ๆ ถ้าผิดพลาด ก็อาจจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะฉะนั้นตรงนี้ควรจะต้องมีกฎหมายมาบังคับใช้

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๓ อันนี้เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเองมีความเข้าใจในเรื่องของ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่เพียงพอ หลักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวัดค่า ต่าง ๆ นั้นจะต้องมีค่าความเบี่ยงเบนหรือเราเรียกว่าทอเลอแรนซ์ (Tolerance) ที่กำหนดไว้ตามหลักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการสอบเทียบเครื่องมือวัดที่ใช้ในการตรวจวัด ในกรณีนี้ก็จะเป็นที่ถกเถียงกัน เจ้าหน้าที่ที่ไม่เข้าใจ ยกตัวอย่างเช่นการวัดค่ามิติ กำหนดมา กี่มิลลิเมตรหรือกี่เมตรก็จะใช้ค่าตรงนั้นผิดเลยไม่ได้ ซึ่งในทางปฏิบัติจริง ๆ เป็นไปไม่ได้ การใช้ไม้เมตร ๒ อันหรือตลับเมตร ๒ อันมาวัดก็ให้ค่าต่างกันแล้ว เพราะฉะนั้นตรงนี้ ควรจะต้องมีการกำหนดมาตรฐาน ขออนุญาตย้อนกลับไปวิธีพิสูจน์ความผิดเมื่อสักครู่ ประเด็นที่ ๒ เพิ่มเติมนิดหนึ่ง อย่างการวัดควันดำของรถบรรทุกก็ดี การวัดเสียง ที่เกินมาตรฐานของรถยนต์ก็ดี ถ้าไม่กำหนดวิธีการที่ถูกต้องไว้ประชาชนก็จะถูกบังคับใช้ ที่ไม่เป็นธรรมนะครับ อันนี้ก็อาจจะอยู่ในส่วนของคุ้มครองผู้บริโภค แต่ว่ากฎหมายที่เกี่ยวกับ เทคโนโลยีทั้งหมดนี้ควรจะต้องมีการดำเนินการตามหลักการซึ่งทำได้นะครับ แต่ว่าหน่วยงาน ที่บังคับใช้นั้นไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดค่าความเบี่ยงเบน แล้วก็การสอบเทียบเครื่องมือวัด ทั้ง ๆ ที่ในอุตสาหกรรมวันนี้การสอบเทียบเครื่องมือวัด ให้ถูกต้องเป็นเรื่องจำเป็น การสอบเทียบเครื่องมือวัดอีกอันหนึ่งซึ่งท่านประธานอาจจะพอ มองเห็น การใช้เครื่องมือวัดที่เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น เครื่องวัดความดันต่าง ๆ ถ้าผิดพลาด ก็อาจจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะฉะนั้นตรงนี้ควรจะต้องมีกฎหมายมาบังคับใช้

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องสุดท้ายเกี่ยวกับกฎหมายที่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจตัดสิน โดยใช้ความเห็นของเจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษี ในกรมต่าง ๆ กรมศุลกากร กรมสรรพากรก็จะมีหลายความเห็น ผมแนะนำให้มี คณะกรรมการกำหนดเกณฑ์แล้วก็ประกาศเกณฑ์ให้สังคมรับรู้ เปิดเผยและโปร่งใส แล้วต้องปรับปรุงให้ทันสมัย ในขณะเดียวกันก็จะต้องบังคับใช้กับผู้ที่หาช่องว่างหรือรูโพรง ของกฎหมายนี้อย่างเคร่งครัด กราบขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องสุดท้ายเกี่ยวกับกฎหมายที่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจตัดสิน โดยใช้ความเห็นของเจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษี ในกรมต่าง ๆ กรมศุลกากร กรมสรรพากรก็จะมีหลายความเห็น ผมแนะนำให้มี คณะกรรมการกำหนดเกณฑ์แล้วก็ประกาศเกณฑ์ให้สังคมรับรู้ เปิดเผยและโปร่งใส แล้วต้องปรับปรุงให้ทันสมัย ในขณะเดียวกันก็จะต้องบังคับใช้กับผู้ที่หาช่องว่างหรือรูโพรง ของกฎหมายนี้อย่างเคร่งครัด กราบขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม