ท่านประธานและท่านสมาชิกทุกท่านครับ กระผม ไพโรจน์ พรหมสาส์น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการปกครองท้องถิ่นนะครับ ก่อนที่เราจะพิจารณาข้อพิจารณาของคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) กระผมขอกราบเรียนเบื้องต้นว่า โดยที่กระผมเองนั้นเคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ แล้วก็เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยนะครับ ก็อยากจะกราบเรียนว่า สิ่งที่เรากำลังจะปฏิบัติจัดทำร่วมกันนี้เป็นความสำคัญอย่างยิ่งยวดนะครับ ที่ว่าเราจะต้องทำ ให้สำเร็จตามเป้าหมายหรือตามกรอบเวลาที่กำหนด โดยลักษณะโครงสร้างของรัฐธรรมนูญนั้น เขาจะมีประเด็นหลัก ๆ ที่จะต้องเอาไปเขียนหรือไปพูดไปทำกันในคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญนั้นอยู่ในรัฐธรรมนูญทั้งหมดนะครับ เรื่องหลัก ๆ ก็คือในเรื่องของสิทธิเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทย เรื่องรูปแบบของรัฐสภา เรื่องของคณะรัฐมนตรี แล้วก็กระบวนการยุติธรรม แถมท้ายอาจจะเป็นการปกครองท้องถิ่น เพราะฉะนั้นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง ๓๖ คนนี้ เวลาเราประชุมกันเราจะแบ่งกันเป็นอนุกรรมาธิการหรือกรอบด้านต่าง ๆ ก่อนที่ผมจะไปถึงสิ่งที่ท่านกรรมาธิการเสนอนะครับ เพื่อที่เราจะเข้าไปทำหน้าที่ตรงนั้น เราควรจะได้รู้เสียก่อนว่าจะไปทำอะไรนะครับ ซึ่งบางท่านก็อาจจะรู้ว่าอยู่ในนี้ประมาณ ๑๐ คนนะครับ ก็คงจะกรอบด้านต่าง ๆ คราวที่แล้วมีเพียง ๓ กรอบนะครับ คือ สิทธิเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทย แล้วก็เรื่องการเมืองการปกครอง แล้วก็กระบวนการยุติธรรม แต่คราวนี้ เนื่องจากเวลาจำกัดมากนะครับ เราต้องร่างให้เสร็จภายใน ๑๒๐ วัน เพราะฉะนั้น ก็คงจะต้องมีอย่างน้อย ๔-๕ กรอบ เพราะฉะนั้นท่านที่ไม่สามารถจะเข้าไปเป็นกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญในสัดส่วนของเรา ๒๐ คน ก็ยังจะไปอยู่ในคณะอนุกรรมาธิการแต่ละด้าน เพื่อที่จะช่วยกันทำงานเชื่อมโยงกับทางสภาและคณะกรรมาธิการต่าง ๆ ของเราที่จะส่ง ความคิดเห็นไป ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องหลัก ๆ นะครับ เพราะฉะนั้นก็อยากจะกราบเรียนว่า สิ่งที่เราต้องทำโดยเร่งด่วนนั้น ก็คือการที่จะทำอย่างไรนอกเหนือจากเราเลือกสรร กรรมาธิการในสัดส่วนของเรา ๒๐ คนที่จะไปอยู่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ก็คือจะต้องหาทางที่จะรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน จากทุกภาคส่วนให้เร็วที่สุด เท่าที่จะเร็วได้ นั่นคือต้องตั้งคณะกรรมาธิการฝ่ายรับฟังความคิดเห็นขึ้นมาทันทีเลยครับ คงรอนานไม่ได้พร้อมคณะอื่น เพื่อที่จะรับฟังในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพื่อที่จะได้ ทำงานนั้นเลย เพราะว่าเรามีเวลาเพียง ๖๐ วัน ไม่ถึงด้วยซ้ำไปที่จะต้องเสนอแนะสิ่งที่จะไป บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นภายในวันที่ ๑๙ ธันวาคม เดือนเศษ ๆ เท่านั้นเองนะครับ อันนี้เป็นประการแรกที่ผมอยากจะนำเรียนที่ประชุม เพราะฉะนั้นวันนี้เราน่าที่จะได้ตกลงกัน ว่าน่าจะได้สมาชิกจากสัดส่วนของเราทั้ง ๒๐ คน ตามที่คณะกรรมาธิการประสานงานได้ไปทำการบ้าน และเสนอเรามานั้น ส่วนใหญ่ผมก็เห็นด้วยนะครับว่าเมื่อวานเราตกลงกันแล้วว่าไม่เสนอ เป็นภาค เป็นแต่ละด้าน แต่ว่ายังให้เสนอหรือจะเสนอก็ได้นะครับ แล้วเราในแต่ละกลุ่ม เมื่อตอนบ่ายโมงเราก็ไปประชุมกันแล้วก็มีเสนอบ้างไม่เสนอบ้างก็สุดแล้วแต่ แต่ว่าให้ สามารถแสดงความจำนงที่จะสมัครตรงได้ ก็มีอยู่ประเด็นเดียวว่าเมื่อสมัครไปแล้ว ทำบัญชี รายชื่อแล้ว ตอนก่อนที่จะโหวตกันลงคะแนน ในนี้อาจจะไม่ได้เขียนไว้เพิ่มเติม ผมก็อยากจะ เพิ่มเติมว่าน่าจะเปิดโอกาสให้แสดงตนนะครับ ไม่ต้องแสดงวิสัยทัศน์ เป็นใครมาจากไหน เห็นรูปร่างหน้าตาหน่อย ก่อนที่เราจะเลือกจากที่สมัคร ๓๐-๔๐ คน เหลือเพียง ๒๐ คนนะครับ
อีกประการหนึ่ง ก็คือที่บอกว่าไม่ให้ผู้ที่ได้รับการสรรหาหรือคัดเลือกไปเป็น กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสังกัดไปอยู่ในคณะกรรมาธิการคณะอื่น ผมว่าออกจะแข็งไป นิดหนึ่ง ถ้าเป็นไปได้ผมอยากจะขอไว้สักหนึ่ง อย่างน้อยที่สุดก็จากด้านที่เขา อย่างผมอยู่ การปกครองท้องถิ่นถ้าสมมุติผมได้เป็นผมจะได้มาเชื่อมโยงกับคณะกรรมาธิการทางด้าน ท้องถิ่น หรือด้านเศรษฐกิจ หรือด้านไหนก็แล้วแต่ ก็คงไม่เสียหายอะไรนะครับ นี่เป็น ความคิดเห็นที่ว่าส่วนใหญ่เราก็เห็นด้วยกับท่านกรรมาธิการ มี ๒ ประเด็นที่อยากเพิ่มเติมคือ ๑. ให้แสดงตัวก่อนที่จะเลือกตั้ง ๒. ไม่ถึงกับเป็นกติกาหรือกฎเหล็กว่าไม่ให้สังกัดอะไรเลย อยากจะขอไว้สักหนึ่งคณะอย่างน้อยนะครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ไพโรจน์ พรหมสาส์น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ ในหัวข้อที่นำสู่การอภิปรายในวันนี้ ผมคิดว่าเป็นหัวข้อที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่เราอยากจะเห็นอยากให้เป็นไป แล้วก็เป็น ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปหลายเรื่องหลายอย่าง ก็ขอถือโอกาสฝากไปยัง คณะกรรมการที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังและ ต่อเนื่องด้วย กระผมเห็นด้วยกับหลายท่านที่ได้อภิปรายไปแล้วนะครับ อย่างไรก็ตามกระผม ก็มีข้อคิดเห็นหรือข้อสังเกตบางประการที่จะนำเรียนต่อท่านประธานและที่ประชุมนะครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ไพโรจน์ พรหมสาส์น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ ในหัวข้อที่นำสู่การอภิปรายในวันนี้ ผมคิดว่าเป็นหัวข้อที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่เราอยากจะเห็นอยากให้เป็นไป แล้วก็เป็น ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปหลายเรื่องหลายอย่าง ก็ขอถือโอกาสฝากไปยัง คณะกรรมการที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังและ ต่อเนื่องด้วย กระผมเห็นด้วยกับหลายท่านที่ได้อภิปรายไปแล้วนะครับ อย่างไรก็ตามกระผม ก็มีข้อคิดเห็นหรือข้อสังเกตบางประการที่จะนำเรียนต่อท่านประธานและที่ประชุมนะครับ
ในประการแรกนั้นทุกคนก็คงยอมรับว่ามนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์สังคมในทาง สังคมวิทยา นอกเหนือจากเรายังมีกฎทางศาสนา กฎระเบียบทางสังคมแล้ว กฎหมายเป็น สิ่งสำคัญที่จะให้เราอยู่กันในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน คนที่ทำผิดกฎหมายก็ต้องได้รับโทษทัณฑ์ตามกฎหมาย
ในประการแรกนั้นทุกคนก็คงยอมรับว่ามนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์สังคมในทาง สังคมวิทยา นอกเหนือจากเรายังมีกฎทางศาสนา กฎระเบียบทางสังคมแล้ว กฎหมายเป็น สิ่งสำคัญที่จะให้เราอยู่กันในสังคมด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน คนที่ทำผิดกฎหมายก็ต้องได้รับโทษทัณฑ์ตามกฎหมาย
เพราะฉะนั้นในประเด็นต่อไป กฎหมายนั้นจะต้องเป็นกฎหมายที่เป็นธรรม กฎหมายที่ได้รับการยอมรับ กฎหมายที่ถูกต้อง กฎหมายที่เหมาะสม จึงจะได้รับการยอมรับ ในการปฏิบัติ จะทำอย่างไรที่จะให้กฎหมายนั้นมีลักษณะที่สามารถที่คนจะยอมรับ ยอมปฏิบัติ หรือเชื่อถือ ถ้ากฎในทางศีลธรรม ทางศาสนานั้นเราคิดว่าทุกคนส่วนใหญ่ยอมรับ แล้วก็ปฏิบัติตาม ถ้าหากว่าสามารถทำได้เช่นนั้นก็คิดว่าการที่จะบังคับใช้กฎหมาย ก็คงจะเป็นไปอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แล้วก็เป็นที่ยอมรับกัน
เพราะฉะนั้นในประเด็นต่อไป กฎหมายนั้นจะต้องเป็นกฎหมายที่เป็นธรรม กฎหมายที่ได้รับการยอมรับ กฎหมายที่ถูกต้อง กฎหมายที่เหมาะสม จึงจะได้รับการยอมรับ ในการปฏิบัติ จะทำอย่างไรที่จะให้กฎหมายนั้นมีลักษณะที่สามารถที่คนจะยอมรับ ยอมปฏิบัติ หรือเชื่อถือ ถ้ากฎในทางศีลธรรม ทางศาสนานั้นเราคิดว่าทุกคนส่วนใหญ่ยอมรับ แล้วก็ปฏิบัติตาม ถ้าหากว่าสามารถทำได้เช่นนั้นก็คิดว่าการที่จะบังคับใช้กฎหมาย ก็คงจะเป็นไปอย่างจริงจังและต่อเนื่อง แล้วก็เป็นที่ยอมรับกัน
ในประการถัดไปก็คือว่าเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ใช่เฉพาะตำรวจ อัยการ ศาลเท่านั้นละครับ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายปกครอง สรรพสามิต สรรพากร ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายจะต้องบังคับใช้กฎหมายนั้นอย่างจริงจังต่อเนื่อง เสมอภาคและเป็นธรรม นั่นเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดจะทำอย่างไรจึงจะทำให้ความเชื่อถือ ต่อกฎหมายนั้นเกิดขึ้นในเมื่อได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมแล้วก็เสมอภาค ผู้คนที่จะเคารพ และเชื่อฟังตามกฎหมายนั้นก็คงจะเป็นเรื่องที่เราคงจะต้องกล่อมเกลากันในพฤตินิสัยตั้งแต่ แรกเกิดจนกระทั่งโตเข้ามาอยู่ในสังคมเป็นประชาชนพลเมือง มันก็น่าจะเป็นลักษณะที่ว่า เป็นนิสัยประจำชาติ เหมือนอย่างบางชาติที่เราเห็นแล้วเขามีลักษณะนิสัยประจำชาติที่ดีมาก ผมยกย่องอย่างคนญี่ปุ่น ไม่มีหรอกครับของที่จะหายเราวางทิ้งไว้ เคยไปเล่นกอล์ฟบางสนาม ลืมสร้อยคอลืมอะไรไว้ คนญี่ปุ่นเก็บออกมาแล้วเอามาดู เอ๊ะนี่ของใครถามหาเจ้าของ ถ้าเป็นสังคมไทยเราอาจจะเก็บไปเลย อะไรทำนองนั้นนะครับ ทำผิดกฎหมายเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คิดว่าคนไม่เห็นไม่รู้มีอีกมาก เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ที่เราจะทำอย่างไรจะปลูกฝังค่านิยมทางสังคมให้คนได้รู้ได้เข้าใจและประพฤติปฏิบัติตั้งแต่ ในบ้าน ในวัด ในโรงเรียน ในสังคม ในประเทศชาติทุกเรื่องทุกอย่างจะต้องเป็นเรื่องที่ เอาจริงเอาจังเหมือนอย่างในบางประเทศ หรือหลายแห่งที่เขาสามารถปฏิบัติจัดทำกัน นอกเหนือจากผู้ที่ทำผิดกฎหมายจะต้องถูกลงโทษลงทัณฑ์ตามข้อบัญญัติที่กฎหมาย กำหนดแล้ว การแซงก์ชัน (Sanction) โดยสังคม โซเชียล แซงก์ชัน (Social sanction) ผมคิดว่า มีความสำคัญอย่างมาก จะทำอย่างไรคนที่ทำผิดกฎหมายที่ไม่ถูกไม่ต้องจะไม่ได้รับ การยอมรับจากสังคม จะถูกประณามหยามเหยียดอะไรก็สุดแล้วแต่ในทางที่เหมาะสม ผมคิดว่าอันนั้นจะเป็นทางช่วยได้อีกทางหนึ่ง
ในประการถัดไปก็คือว่าเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ใช่เฉพาะตำรวจ อัยการ ศาลเท่านั้นละครับ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายปกครอง สรรพสามิต สรรพากร ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายจะต้องบังคับใช้กฎหมายนั้นอย่างจริงจังต่อเนื่อง เสมอภาคและเป็นธรรม นั่นเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดจะทำอย่างไรจึงจะทำให้ความเชื่อถือ ต่อกฎหมายนั้นเกิดขึ้นในเมื่อได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมแล้วก็เสมอภาค ผู้คนที่จะเคารพ และเชื่อฟังตามกฎหมายนั้นก็คงจะเป็นเรื่องที่เราคงจะต้องกล่อมเกลากันในพฤตินิสัยตั้งแต่ แรกเกิดจนกระทั่งโตเข้ามาอยู่ในสังคมเป็นประชาชนพลเมือง มันก็น่าจะเป็นลักษณะที่ว่า เป็นนิสัยประจำชาติ เหมือนอย่างบางชาติที่เราเห็นแล้วเขามีลักษณะนิสัยประจำชาติที่ดีมาก ผมยกย่องอย่างคนญี่ปุ่น ไม่มีหรอกครับของที่จะหายเราวางทิ้งไว้ เคยไปเล่นกอล์ฟบางสนาม ลืมสร้อยคอลืมอะไรไว้ คนญี่ปุ่นเก็บออกมาแล้วเอามาดู เอ๊ะนี่ของใครถามหาเจ้าของ ถ้าเป็นสังคมไทยเราอาจจะเก็บไปเลย อะไรทำนองนั้นนะครับ ทำผิดกฎหมายเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คิดว่าคนไม่เห็นไม่รู้มีอีกมาก เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ที่เราจะทำอย่างไรจะปลูกฝังค่านิยมทางสังคมให้คนได้รู้ได้เข้าใจและประพฤติปฏิบัติตั้งแต่ ในบ้าน ในวัด ในโรงเรียน ในสังคม ในประเทศชาติทุกเรื่องทุกอย่างจะต้องเป็นเรื่องที่ เอาจริงเอาจังเหมือนอย่างในบางประเทศ หรือหลายแห่งที่เขาสามารถปฏิบัติจัดทำกัน นอกเหนือจากผู้ที่ทำผิดกฎหมายจะต้องถูกลงโทษลงทัณฑ์ตามข้อบัญญัติที่กฎหมาย กำหนดแล้ว การแซงก์ชัน (Sanction) โดยสังคม โซเชียล แซงก์ชัน (Social sanction) ผมคิดว่า มีความสำคัญอย่างมาก จะทำอย่างไรคนที่ทำผิดกฎหมายที่ไม่ถูกไม่ต้องจะไม่ได้รับ การยอมรับจากสังคม จะถูกประณามหยามเหยียดอะไรก็สุดแล้วแต่ในทางที่เหมาะสม ผมคิดว่าอันนั้นจะเป็นทางช่วยได้อีกทางหนึ่ง
เพราะฉะนั้นในท้ายที่สุดก็คงจะยืนยันว่าในเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และเราคงจะ หาทางที่จะทำอย่างไรให้การดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราปล่อยปละละเลยกันมานานเหลือเกิน ทำอะไรได้ตามใจคือ คนไทยแท้ มันไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น เราไปอยู่ในสังคมที่เขาอยู่ในระเบียบ กฎหมาย การประพฤติปฏิบัติที่ดีก็ผ่านกันมาก็เยอะ แต่ว่าทำอย่างไรเราจะทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นในบ้าน ในวัด ในโรงเรียน ในหมู่บ้าน ในตำบล ในอำเภอ ในจังหวัดและทั่วทั้งประเทศ ให้เห็นว่า การทำผิดกฎหมายนั้นไม่เป็นสิ่งพึงบังควรทำอย่างยิ่ง ทุกคนต้องเคารพต่อกฎหมาย ต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อสังคมและประเทศชาติ กระผมก็คงมีข้อสังเกตเรียนฝากไว้ เพียงแค่นี้ครับ ขอบพระคุณครับ
เพราะฉะนั้นในท้ายที่สุดก็คงจะยืนยันว่าในเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และเราคงจะ หาทางที่จะทำอย่างไรให้การดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราปล่อยปละละเลยกันมานานเหลือเกิน ทำอะไรได้ตามใจคือ คนไทยแท้ มันไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น เราไปอยู่ในสังคมที่เขาอยู่ในระเบียบ กฎหมาย การประพฤติปฏิบัติที่ดีก็ผ่านกันมาก็เยอะ แต่ว่าทำอย่างไรเราจะทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นในบ้าน ในวัด ในโรงเรียน ในหมู่บ้าน ในตำบล ในอำเภอ ในจังหวัดและทั่วทั้งประเทศ ให้เห็นว่า การทำผิดกฎหมายนั้นไม่เป็นสิ่งพึงบังควรทำอย่างยิ่ง ทุกคนต้องเคารพต่อกฎหมาย ต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อสังคมและประเทศชาติ กระผมก็คงมีข้อสังเกตเรียนฝากไว้ เพียงแค่นี้ครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานและท่านสมาชิก ผู้ทรงเกียรติทุกท่านครับ กระผม นายไพโรจน์ พรหมสาส์น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๑๖๒ การที่ผมได้แสดงความจำนงสมัครเข้าเป็นคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญในสัดส่วนของ สปช. โดยตรงนั้นก็เพราะกระผมเห็นว่ากระผม มีความพร้อม มีความรู้ มีความสามารถ และประสบการณ์ที่จะไปช่วยในการร่างรัฐธรรมนูญ หรือจัดทำรัฐธรรมนูญให้สำเร็จตามเป้าหมาย เพื่อประกอบการพิจารณาในการออกเสียง เลือกตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ กระผมขอเรียนแนะนำตัวเองย่อ ๆ ดังนี้ครับ กระผมเรียนสำเร็จทางด้านรัฐศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิติศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แล้วก็มีโอกาสไปเรียนต่างประเทศสำเร็จปริญญาโท ทางรัฐศาสตร์จากประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบการณ์ในอดีตของผมนั้นก็อยู่ในแวดวง ราชการมาตลอดนะครับ คือเคยเป็นรองอธิบดีกรมการปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และเกษียณตำแหน่งสุดท้ายรองปลัดกระทรวงมหาดไทย นอกเหนือจากนั้นกระผมยังมีโอกาสที่จะเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ในระหว่างนั้น เช่น กรรมการการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น กรรมการกลางบริหารบุคคล อบต. กรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา หรือ ก.ร. กรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ และสมาชิกสภา ร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเมื่อปี ๒๕๕๐ นะครับ ณ ปัจจุบันแม้ว่า จะเกษียณเกือบ ๑๐ ปีแล้วนะครับ ผมก็ยังทำงานต่อเนื่องมาตลอด คือขณะนี้ก็เป็นกรรมการ พัฒนาระบบราชการ ผู้ทรงคุณวุฒิหรือ ก.พ.ร. เป็นประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบ ราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมการปกครองส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น หรือ อ.ก.พ.ร. ภูมิภาค และท้องถิ่น เป็นกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ รวมทั้งเป็นสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติด้านการปกครองท้องถิ่น หมายเลข ๑๖๒ ความมุ่งมั่นของกระผมก็คือ การที่จะมุ่งเข้าไปมีส่วนร่วมในการยกร่างและจัดทำรัฐธรรมนูญตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด ให้แล้วเสร็จแล้วก็สามารถที่จะประกาศใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศครับ
ท่านประธานสภาและท่านสมาชิกที่เคารพรัก กระผม นายไพโรจน์ พรหมสาส์น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อถึงบทนิยามว่าด้วย กรรมาธิการ กระผมก็อยากจะกราบเรียนว่าในเมื่อดูข้อบังคับโดยละเอียดถี่ถ้วนแล้วจะเห็นว่า คำว่า กรรมาธิการ ไปบัญญัติเอาไว้ โดยเฉพาะในข้อ ๗๙ ข้อ ๘๐ ข้อ ๘๑ ข้อ ๘๓ ข้อ ๘๔ และข้อ ๙๐ ที่กระผมยกตรงนี้ขึ้นมาก็เพราะว่าเมื่อดูข้อ ๗๙ แล้วจะกำหนดไว้ว่า ประเภท ของกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือกรรมาธิการสามัญหรือกรรมาธิการวิสามัญ แต่พอไปดูใน ข้อ ๘๐ ซึ่งเรามีวัตถุประสงค์ที่จะตั้งบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นกรรมาธิการ โดยหลักทั่วไป ของร่างข้อบังคับของสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภาก็จะเป็นกรรมาธิการสามัญ แต่เราใช้คำว่า กรรมาธิการวิสามัญ ก็ไม่เป็นไรนะครับ แต่พอข้อ ๘๑ พูดถึงการที่เราจะสมัครเข้าเป็น กรรมาธิการชุดต่าง ๆ ให้มีกรรมาธิการสามัญขึ้นมาเพื่อที่จะทำหน้าที่ในการที่จะรับพิจารณาว่า ใครควรจะไปอยู่กรรมาธิการชุดใด ซึ่งความจริงอันนี้ก็ทำหน้าที่เพียงชั่วคราวตรงนั้นก็น่าจะ เสร็จไปแล้ว ความจริงน่าจะเป็นกรรมาธิการวิสามัญมากกว่านะครับ ข้อ ๘๓ ไปพูดถึง กรรมาธิการวิสามัญต่าง ๆ ซึ่งมี ๑๗ คณะ เรามี ๑๑ ด้าน แล้วก็เพิ่มเข้ามาเป็น ๑๗ คณะ ซึ่งอันนี้ก็โอเคครับเป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อที่จะให้บุคคลภายนอกเข้ามาได้ ข้อ ๘๔ ไปพูดถึงกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภา ซึ่งอันนี้ตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญ เดี๋ยวถึงตอนนั้น ผมจะอภิปรายอีกครั้งหนึ่ง แต่โดยหลักแล้วมันน่าจะเป็นกรรมาธิการสามัญ เพราะว่า ต้องทำหน้าที่ตลอดไประหว่างที่เราประชุมสภาอยู่ ข้อ ๙๐ ก็พูดถึงกรรมาธิการวิสามัญอีก ๕ คณะ เพราะฉะนั้นเมื่อดูข้อ ๘๐ กับข้อ ๙๐ แล้วก็จะแยกไม่ออกว่ากรรมาธิการวิสามัญ ๑๗ คณะ หรือว่ากรรมาธิการวิสามัญ ๕ คณะ เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมอยากจะแขวนไว้นิดหนึ่ง เผื่อว่าเราอาจจะให้นิยามคำว่า กรรมาธิการ เป็นกรรมาธิการสามัญ กรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งจะแยกออกเป็นกรรมาธิการวิสามัญเฉย ๆ กรรมาธิการวิสามัญเฉพาะกิจ กิจการสภา แล้วก็กรรมาธิการวิสามัญเฉพาะกิจนะครับก็สุดแล้วแต่ ซึ่งมันจะทำให้เกิดข้อแตกต่างกัน ระหว่างกรรมาธิการวิสามัญ กรรมาธิการวิสามัญเฉพาะกิจ โดยเฉพาะตามข้อ ๘๔ นั้น เป็นกรรมาธิการวิสามัญซึ่งคิดว่าจะขึ้นมาทำหน้าที่ชั่วคราว ก็ขออนุญาตกราบเรียนต่อที่ประชุม เพื่อโปรดพิจารณาครับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม ไพโรจน์ พรหมสาส์น ครับ กระผมออกจะเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ที่ท่านประธานได้กล่าวเมื่อสักครู่นี้ ว่าเราจะต้องเร่งรีบที่จะออกข้อบังคับ แล้วก็รีบแต่งตั้งกรรมาธิการให้เร็วที่สุด เพราะผมเข้าใจว่าการตั้งกรรมาธิการต่าง ๆ นั้นก็เพื่อจะทำหน้าที่แทนสมาชิกของเราที่จะไป ศึกษาพิจารณาในแต่ละด้าน ข้อสำคัญนั้นมีกรอบเวลาที่เราจะต้องเสนอข้อคิดเห็นเสนอแนะ ไปยังกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายในวันที่ ๑๙ นี้ เรื่องหลัก ๆ ที่สำคัญจะต้องเร่ง เป็นพิเศษนะครับ และก่อนหน้านี้ก็มีการประสานกันเป็นการภายในว่าน่าจะมีการสัมมนา นอกรอบในเร็ว ๆ นี้เพื่อที่จะหาข้อสรุป แล้วก็รีบดำเนินการให้แล้วเสร็จ เพื่อที่จะได้ส่ง ข้อสำคัญที่ควรจะไปอยู่ในรัฐธรรมนูญนะครับ อย่างเช่น งานของคณะกรรมาธิการ ด้านการปฏิรูปการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น แล้วก็ทั้ง ๔-๕ เรื่องนี้จะต้องเร่งเป็นพิเศษ เมื่อได้ฟังการอภิปราย ตั้งแต่เช้ามาผมก็เห็นว่า ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าควรจะยืนหลัก ๑๑ ด้านที่เป็นที่มา ของพวกเราทั้งหมด ที่มีกรรมาธิการในแต่ละด้าน หรือเราแบ่งเป็นด้าน ๆ นั้น โดยอาจจะ ปรับเปลี่ยนชื่อที่กรรมาธิการที่ตั้งเพียงเล็กน้อย ๑๑ ด้าน ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งนะครับ เพียงแต่ว่าอาจจะปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในคณะที่ ๕ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษานะครับ ผมจะขอเปลี่ยนเป็น คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรม เอาศิลปวัฒนธรรมที่อยู่ข้างท้ายมารวมไว้ในนี้เลยไปด้วยกันได้เลยนะครับ อีกอันหนึ่งก็คือ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านพิสิฐซึ่งท่านเคยเป็นกรรมาธิการยกร่างเมื่อปี ๒๕๕๐ แล้วได้ปฏิรูปการเงิน การคลังไปเยอะเลยนะครับ ก็คือคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ บวกการเงิน การคลังเข้าไปเลย อันนี้ก็มโหฬารแล้วนะครับ ใหญ่โตมโหฬารที่จะกำหนด ในเชิงนโยบายว่ากำหนดกรอบนโยบายด้านการเงิน การคลังอะไร อย่างไร รวมทั้ง เรื่องเศรษฐกิจด้วยนะครับ เดี๋ยวส่วนการท่องเที่ยวอุตสาหกรรม เดี๋ยวแยกไปเดี๋ยวผมจะ เพิ่มเติมนะครับ อีกอันหนึ่งก็คือคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร ก็เพิ่มอุตสาหกรรม เข้าไปด้วย อุตสาหกรรมการเกษตรเข้าให้อยู่ในนี้เลย นั่นเป็นความเห็นส่วนตัวของผมที่คิดว่า ๑๑ ด้าน รวมทั้งข้อ ๑๑ ที่บอกว่าคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยี สารสนเทศ ส่วนอีก ๔ คณะที่จะเพิ่มมา ๑๑ บวก ๔ เป็น ๑๕ ก็คือคณะกรรมาธิการสามัญ ปฏิรูปสังคมและชุมชน เอาสั้น ๆ แค่นั้นเราไปเขียนในภารกิจว่าคำว่า ชุมชน นั้นรวมเรื่องเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อให้ยาวเหยียด เวลาท่านพิมพ์นามบัตรมันจะได้พอ ไม่อย่างนั้นยาวไม่พอนะครับ ใส่ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษนะครับ เอาเป็นว่า คณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคมและชุมชน เป็นคณะที่ ๑๒ คณะที่ ๑๓ ก็คือคณะกรรมาธิการปฏิรูปแรงงานนี่มันเฉพาะไป เรามีกรรมการทำเรื่องนี้ ผมขอผนวกเป็นคณะกรรมาธิการพัฒนาปฏิรูปอุตสาหกรรมและแรงงาน มันจะอยู่ด้วยกัน ตรงนี้นะครับ อุตสาหกรรมและแรงงานไปด้วยกันได้นะครับ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก นอกจาก อุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมของเราที่มีการลงทุนจากต่างประเทศ ในประเทศ มากมายเลย จะต้องหาทางแก้ปัญหาเรื่องแรงงาน ซึ่งขณะนี้เราขาดแคลนมากถึงกับจะต้องใช้ แรงงานจากต่างประเทศ คณะที่ ๑๔ ก็คือตัดไป คณะที่ ๑๔ คณะกรรมาธิการปฏิรูปด้าน การปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ อันนี้ไม่ต้องเลย เพราะเป็นกลไกที่กำหนดไว้แล้ว ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา ๓๕ ที่ว่า ให้กำหนดการจัดทำรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุม ด้านต่าง ๆ และ (๓) ก็บอกแล้ว กลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐอะไรต่าง ๆ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องตั้งขึ้นมา หรือท่านอาจจะไปตั้งอนุกรรมการก็สุดแล้วแต่นะครับ ตกลงคณะกรรมาธิการที่ถัดไป คือคณะกรรมาธิการปฏิรูปการท่องเที่ยวและกีฬา เอาการท่องเที่ยวมาก่อน ขออยู่ด้วยกัน ตัดตรงที่ว่า ปฏิรูปกีฬา ขอเป็น การท่องเที่ยวและกีฬา คณะสุดท้ายก็คือในเรื่องของ คณะกรรมาธิการปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม อันนี้สำคัญมากนะครับ ถ้าเราไม่ให้ความสนใจที่เราจะปฏิรูปในเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มันไปไม่ได้นะครับ เพราะเราจะต้องเอาความรู้ เอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้น กระผมคิดว่าในภาพรวมนั้นอยากจะขอให้มีการสรุปให้ชัดเจนว่า ๑๑ ด้าน เราโอเคไหม และอีก ๔ ด้าน ที่เราจะเพิ่มขึ้นมาเป็น ๑๕ คณะ แล้วก็สมาชิกของเรามี ๒๕๐ คน ๑๕ คณะ เดิมแต่ละด้านเราก็มีระหว่าง ๑๔-๑๘ คน เพราะฉะนั้นบวกเข้าไป ๗๗ คนนี้อาจจะต้องสลาย เข้าไปอยู่ใน ๑๕ คณะนี้ แล้วก็เพิ่มบุคคลภายนอกเข้ามาก็คิดว่าสามารถจะลงตัวได้ เพราะฉะนั้นวันนี้ข้อบังคับควรจะเสร็จ แล้วรีบตั้งกรรมาธิการให้เร็วที่สุดครับ ขอบพระคุณครับ
ขออนุญาตครับท่านประธานครับ กระผม ไพโรจน์ พรหมสาส์น สปช. ครับ ผมขอย้อนนิดเดียวพอดีผมยกมือตอนข้อ ๘๓ แล้วไม่ทันนะครับ คือผมสงสัยเพียงนิดเดียว ขอคำตอบจากคณะกรรมาธิการกิจการสภา บรรทัดสุดท้ายของวรรคข้อ ๘๓ ที่บอกว่าในวรรคแรก และให้ที่ประชุมสภาเลือกสมาชิกสภา จากตัวแทนในแต่ละด้านอีกไม่เกิน ๘ คน ก็ในเมื่อเรามี ๑๘ คนจากแต่ละคณะแล้วทำไม จะต้องมี ๘ คนนี้อีกนะครับ ขอคำตอบครับ
ท่านประธานครับ กระผม ไพโรจน์ พรหมสาส์น สปช. นะครับ ผมอยากจะเรียนว่าผมได้พลิกดูข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี ๒๕๕๗ นี่แหละครับ ในข้อ ๙๑ เขาเปิดกว้างไว้นะครับ ให้คณะกรรมาธิการแต่ละคณะ เลือกประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก และตำแหน่งอื่นตามความจำเป็นจาก กรรมาธิการในคณะนั้น ๆ อันนี้เขาเป็นอย่างนี้เลยนะครับ ฉะนั้นเราจะมาปิดให้มันแคบเข้า ตั้งจากสมาชิกเท่านั้น เดี๋ยวตั้งไม่ได้เราจะมีปัญหาต้องมาแก้ไขข้อบังคับอีก ผมอยากจะเรียนว่า เอามาตรฐาน สนช. ที่เขามีอยู่แล้วจะดีไหม ร่างเดิมที่ท่านร่างมาดีแล้ว อย่าไปเปลี่ยน เลยครับ
ไม่เห็นชอบครับ