ท่านประธานครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิก สปช. เป็นกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) นะครับ ผมขออนุญาตที่ประชุมได้เรียนเพิ่มเติมจากที่ท่านเลขานุการได้รายงานไปแล้วนะครับ เพื่อว่าในส่วนการพิจารณาถัดจากนี้ไปก็อาจจะได้ ทำให้ได้ประหยัดเวลาแล้วก็รวดเร็วมากขึ้น นะครับ ท่านสมาชิกครับ ผมอยากเรียนอย่างนี้ว่า เมื่อสักครู่เราได้ยินท่านสยุมพรได้พูดไปแล้ว เราก็กำลังอยู่ในบรรยากาศในการเข้ามาทำงานกันใหม่ในเรื่องของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งก็ไม่เคยมีมาก่อน แล้วก็เรากำลังดำเนินการทำงานกันนะครับ ผมอยากจะกราบเรียนว่า ผมได้มีโอกาสเข้าไปเป็นผู้ประสาน ไม่ได้เป็นตัวแทน เป็นผู้ประสานของกลุ่มทางด้านสังคม เพื่อเข้าไปทำงานในกรรมาธิการชั่วคราวตรงนี้ กราบเรียนท่านสมาชิกเพื่อน ๆ ครับว่า วันประชุมวันนั้นบรรยากาศดีมากนะครับ เป็นลักษณะที่เราไม่ได้เอากรอบการทำงาน แบบสภาการเมืองมาใช้ ได้มีการปรึกษาหารือกันในเรื่องของการทำงานนะครับ จริง ๆ แล้ว ประเด็นสำคัญที่กรรมาธิการจะพิจารณาหรือจะคุยกัน คือเรื่องของเราจะทำงานให้ประสบ ความสำเร็จได้อย่างไรตามภารกิจที่เราจะต้องทำนะครับ แต่เนื่องจากมีเรื่องเร่งด่วนเรื่องนี้ ก็เลยได้มีการต้องรีบปรึกษาเรื่องนี้กันนะครับ เราได้คุยกันว่าเราอาจจะต้องพยายาม ลดลักษณะของกรอบ วิธี และวัฒนธรรมในเรื่องของสภาการเมืองลง ซึ่งสอดคล้องกับ ที่ท่านสยุมพรพูดเมื่อเช้านะครับ เราคุยกันเช่น วันนั้นเราคุยกันว่าท่านประธานก็ไม่ต้องบอกว่า ท่านประธานที่เคารพ ท่านบอกไม่ต้องก็ได้นะครับ มันจะประหยัดเวลาขึ้นมา หรือแม้แต่ การแนะนำตัวนะครับ เมื่อสักครู่ผมก็พยายามจะแนะนำตัวชื่อผมเฉย ๆ และบอกเป็นสมาชิก ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปบอกว่าสายไหน มาจากไหน อะไร อย่างไร อันนั้นเป็นที่มาของพวกเรา แล้วเราก็พูดสั้น เขาบอกวัตถุประสงค์ในการพูดตรงนี้ก็เพียงแต่ให้เจ้าหน้าที่จดบันทึก ได้ถูกต้องว่าใครเป็นคนพูดนะครับ บางทีเวลาพูดถึงชื่อใครเราก็จะมีว่า ขออภัยที่เอ่ยนาม เราก็คุยกันว่าแบบนี้ก็อาจจะไม่จำเป็นนะครับ เพราะว่าเราพูดเพื่ออ้างอิงแล้วก็พูดสืบเนื่องไป แล้วก็เราคุยกันว่าเวลาประชุมเสร็จแล้วก็จะเน้นการบันทึกสาระสำคัญการประชุมแทนที่ จะไปเน้นรายละเอียดเรื่องรายละเอียดปลีกย่อยนะครับ ผมกราบเรียนตรงนี้ก็เพื่อจะให้เห็น บรรยากาศว่าสิ่งเหล่านี้สภาเราเพิ่งประชุมใหญ่วันที่ ๒ เองนะครับ เราจะช่วยกันสร้าง วัฒนธรรมในการที่เราไปสู่เนื้อหากันได้อย่างไร ก็กราบเรียนว่าในกรรมาธิการกิจการสภา ปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ได้มีการพูดคุยกัน ที่ผมขออนุญาตตัดสินใจเรียนตรงนี้เพราะว่า ในระบบการรายงานสิ่งเหล่านี้ยังไม่มี แล้วก็เป็นการเริ่มต้นตรงนี้ ถ้าเราได้คุยกันนะครับ มันก็จะทำให้เราทำงานได้ไปในทิศทางที่ผมคิดว่าสมาชิกเห็นตรงกันแล้วก็อยากจะให้ ไปทางนี้นะครับ
ประเด็นที่ ๒ กราบเรียนคือว่ากรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) วันนั้นเราก็คุยกันเร็วมากในกลุ่มต่าง ๆ แล้วก็ส่งผู้แทนเข้าไปนะครับ เราตระหนักว่า ผู้ที่เข้าไปไม่ได้เป็นผู้แทนที่จะมีอำนาจเต็มในการไปทำอะไร แต่เราย่อส่วนเพื่อจะให้ไป คุยกันในวงเล็กขึ้น เพื่อที่จะให้มีข้อเสนอต่าง ๆ ซึ่งระบบตรงนี้ก็จะต้องกลับมารายงานแบบนี้ เพื่อให้สภาใหญ่ตัดสินใจในเรื่องสำคัญนะครับ เพราะฉะนั้นประเด็นตรงนี้ก็เป็นประเด็น วิธีการทำงานให้ราบรื่นมากขึ้น เหมือนกับเมื่อเช้าที่เราแยกกลุ่มกันไปก็จะทำให้เราได้เข้าใจ ในเรื่องต่าง ๆ ที่ได้คุยเรื่องสำคัญ ๆ ก็จะทำให้การทำงานสภาใหญ่มันเร็วขึ้นนะครับ ผมกราบเรียนอย่างนี้ครับว่าพอเราพูดถึงเรื่องด่วนก็คือที่ท่านเลขานุการได้รายงานไปแล้ว เรื่องของ ๒๐ คนที่เราต้องส่งเข้าไปเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เรื่องตรงนี้จริง ๆ แล้ว มี ๒ ประเด็น ประเด็นที่ ๑ ก็คือว่าจะเป็นจำนวนเท่าไร จริง ๆ ตอนนี้ก็ง่าย ๆ ตรงไปตรงมา คือ ๑๕ บวก ๕ ที่ทางกรรมาธิการได้เสนอมา และประเด็นที่ ๒ คือเรื่องวิธีการที่ได้มานะครับ อันนี้รายละเอียดผมจะขออนุญาตไม่ลง เดี๋ยวก็ได้คุยกันต่อไป คราวนี้ผมอยากกราบเรียน ประเด็นเรื่อง ๑๕ ๕ หรือ ๒๐ ๐ ผมกราบเรียนว่าในกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ได้รายงานมาเรื่องของ ๑๕ ๕ ก็คือคนนอก ๕ คน เหตุผลต่าง ๆ มีอยู่ว่ากัน อันนี้ ก็เป็นเรื่องการอภิปรายกันไป แล้วก็มีมตินะครับ ผมอยากกราบเรียนว่าไม่ว่าเสนอประเด็นอะไรมา ไม่ได้หมายความว่าประเด็นอื่นเช่น ประเด็น ๒๐ ๐ จะหายไป เพราะในการพิจารณาของเรา ในวันนั้นเราก็มีเสียงที่ใกล้เคียงกัน มันไม่ใช่เรื่องขาวหรือดำ เรื่องแพ้หรือชนะ ที่ผมกราบเรียนตรงนี้เพราะว่าพอหลังจากนั้นบรรยากาศออกไปสู่สังคม มันจะเริ่มมีคำที่ใช้ นะครับว่า จ่อดึงคนนอกนะครับ หรือดึงคนนอก แล้วมันไปไกลกว่านั้นคือล้มมติกรรมาธิการ หรือคว่ำ หรือหัก ซึ่งผมคิดว่าบรรยากาศแบบนี้มันจะพาให้สภาของเรา บรรยากาศในการ ทำงานเข้าไปสู่ความขัดแย้งในประเด็นคล้าย ๆ แบบการเมือง ที่ผมเรียนตรงนี้เพราะผมคิดว่า ในการเสนอของกรรมาธิการมาก็อาจจะมีทางเลือกหนึ่งทางเลือกนั้นก็มีข้อดีและข้อเสีย ซึ่งผมไม่ลงรายละเอียดนะครับ ในขณะเดียวกัน ทางเลือกที่ไม่ได้เสนอก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าเราเห็นแบบนี้เวลาเราเข้ามาในสภาใหญ่ ถ้ามีอะไรที่ความเห็นแตกต่างกันเราก็ไม่ได้ เอาชนะคะคานกัน เราก็ไม่ได้มีใครแพ้ใครชนะ แต่เรามาตัดสินใจเพื่อจะเลือกทางเลือกที่ดี ถ้าที่ประชุมใหญ่เห็นกับที่ทางกรรมาธิการเสนอไว้แล้วก็เลือก มันก็ไปได้ แต่ถ้าไม่เห็น และมีการเสนอญัตติที่เลือกเป็นอย่างอื่น มันก็เป็นวิถีที่ควรจะเป็น ผมเองผมรู้สึกว่า เราไม่ควรจะมีประเด็นคำว่า หัก คำว่า แพ้ คำว่า ชนะ คำว่า คว่ำ ซึ่งอันนี้แน่นอนครับ เราไปกำกับสังคมทั้งสังคมไม่ได้ แต่ในบรรยากาศของพวกเราที่เป็นสมาชิกอยู่ในนี้ ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ตรงกันนะครับเรื่องเหล่านี้ก็จะไม่เป็นเรื่องที่จะไปทำให้บานปลายไป แล้วเราจะได้มีเวลาที่จะมาพิจารณาในเนื้อหาสาระต่อไป ผมขอประทานโทษ ที่ใช้เวลาตรงนี้ กราบเรียนให้เห็นว่า ๑. บรรยากาศในการที่เราจะทำงาน ซึ่งเราคงต้องช่วยกัน เพื่อจะ ขับเคลื่อนให้ไปเป็นวัฒนธรรม ในอันหนึ่งนะครับ ประเด็นที่ ๒ ที่กราบเรียนแล้วว่าอาจจะ ทำให้เราพยายามที่จะทำให้ไม่เกิดความขัดแย้งนะครับ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องแพ้เรื่องชนะ ขอกราบขอบพระคุณที่ประชุมครับ กราบขอบคุณท่านประธานครับ
ท่านประธานครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ กรรมาธิการนะครับ ผมขออนุญาตคงไม่อภิปรายเรื่องตัวเนื้อ แต่ผมอยากจะลองเคลียร์ (Clear) ประเด็น ผมคิดว่าประเด็นมันมีชัดเจนและมีเพียงแค่ ๒ เท่านั้น ซึ่งเราน่าจะไปลงมติ หรืออะไรกันก็ว่าไป ผมอยากกราบเรียนกลับมาที่งานของกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติ (ชั่วคราว) ซึ่งกรรมาธิการกิจการนี้เสนอ ๒ เรื่อง คือเรื่องคนในคนนอกซึ่งจบไปแล้ว คือเป็น ๒๐ กับ ๐ แต่ตอนเสนอไว้นี่เป็นเสนอ ๑๕ กับ ๕ แล้วเราได้เสนอเรื่องที่ ๒ ไว้นะครับ คือเรื่องที่มาสำหรับ ๑๕ ของคนใน สปช. ที่มา ๑๕ ตรงนี้ก็คือพูดชัดเจนอยู่ในรายงาน การประชุมหน้า ๒ นะครับ ซึ่งขณะนี้ไม่ได้ใช้สำหรับ ๑๕ ก็เป็นการใช้สำหรับ ๒๐ ไม่ใช่ ๑๕ แล้วนะครับ ซึ่งในนี้เขียนไว้ชัดเจนนะครับ ข้อเสนอคือสรรหาจากสมาชิกสภา เพียงแต่ว่า ๑๕ คนนี้ก็คือ ๒๐ คน โดยเสนอชื่อผู้เหมาะสมและไม่มีลักษณะต้องห้ามจาก กลุ่มต่าง ๆ ๑๑ ด้าน ด้านละ ๑ คน เสนอจากภาค ๔ ภาค ภาคละ ๑ คน ก็เป็น ๑๕ คน โดยกลุ่มต่าง ๆ ๑๑ ด้าน และ ๔ ภาคอาจไม่เสนอชื่อสมาชิกท่านใดเลยก็ได้ ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่มีความประสงค์จะสมัครเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และไม่ได้รับการสรรหาชื่อ คือเสนอชื่อจากกลุ่มนะครับสามารถสมัครได้ ก็หมายความว่า สิ่งที่จะเกิดก็คือใน ๑๑ บวก ๔ นี้นะครับ ต้องเสนอได้ไม่เกิน ๑ คน แต่เสนอของกรรมาธิการ กิจการก็คือไม่ใช่โควตานะครับ เป็นสิทธิเสนอ แล้วก็มีคนสมัครได้มากกว่านั้นอีก ซึ่งเราก็เชื่อว่า สมัครได้เกิน ๒๐ คนแน่นอน รวมทั้ง ๑๑ บวก ๔ และที่สมัครนะครับ แล้วที่เสนอไว้นี้ก็คือ มาให้ที่ประชุมนี้เป็นคนเลือกครับ ผมคิดว่าอันนี้ชัดเจน เป็นมติ เป็นญัตติหนึ่งที่ชัดเจนเสนออยู่ คราวนี้ที่ท่านสมาชิกเสนอนี้เป็นอีกแบบหนึ่งคือ ๑๑ บวก ๔ นี้ขอเป็นโควตาที่แน่นอน ส่วนอีก ๕ อาจจะไม่ครบก็ได้นะครับโควตา เพราะเมื่อกี้มีเรียนว่าบางด้านอาจจะไม่เสนอ ก็อาจจะไม่ครบ ๑๕ แล้วก็มีสมัครได้อีก แล้วที่ประชุมสภามาเลือกเฉพาะที่สมัครนะครับ ซึ่งผมพยายามจะแยกออกเป็น ๒ ส่วนเท่านั้น ซึ่งมันก็ง่ายครับ หรือถ้าเกิดตามกรรมาธิการ เสนอนี้ก็คือหมายความว่าทุกคนไม่ใช่เป็นโควตามาจาก ๑๑ บวก ๔ มีแต่ได้รับการเสนอมา แล้วที่ประชุมเลือกเหมือนญัตติของคุณประสาร คราวนี้ก็มีอันเดียวคือว่าขอเป็นโควตาเลย ๑๑ บวก ๔ แล้วที่เหลือสมัครแล้วมาเลือกกันตรงนี้ ซึ่งตรงนี้อาจจะมีรายละเอียดอีกนิดหนึ่ง ว่าวิธีการจะว่าอย่างไร ซึ่งเป็นรายละเอียดย่อยไป ผมยังคิดว่าข้อวินิจฉัยมี ๒ ข้อใหญ่ เท่านั้นเองครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ กรรมาธิการครับ ผมจะลองขออนุญาตอาจจะเป็นตัวแทน กรรมาธิการนะครับ แต่ก็เพื่อจะอธิบายความว่าที่กรรมาธิการได้เสนอวันนี้มันอยู่บนหลัก อะไรบ้างนะครับ
หลักอันที่ ๑ ก็คือว่าถ้าท่านดูจากที่มีมติออกมานี่นะครับ เป็นการเสนอ หลักที่ ๑ คือหลักของการที่สมัครใจนะครับ ยังมีอยู่
หลักที่ ๒ ก็คือหลักของการที่มีคุณสมบัติครบถ้วน
หลักที่ ๓ ก็คือยังมีหลักของการที่ให้ ๑๑ บวก ๔ นะครับ มีสิทธิกลั่นกรอง มีสิทธิพิจารณา และมีสิทธิเสนอนะครับ
หลักถัดมา สำคัญก็คือว่าเป็นหลักที่ไม่ได้ไปตัดสิทธิของสมาชิกในการเลือก ตัวแทน ๒๐ คนในการที่จะเข้าไปเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผมย้ำตรงนี้ นะครับ หลักนี้ไม่ได้ตัดสิทธิในการเลือก ๒๐ คน เพราะเราต้องเสนอไป ๒๐ คน ซึ่งหลักนี้ จะตรงกันข้ามกับหลักที่แบ่งโควตาให้กับ ๑๑ บวก ๔ ไปเบ็ดเสร็จ เพราะหลักนั้นหมายความว่า เราได้มอบให้คน ๑๐ กว่าคนไปเลือก ๑ คนแทนเรา แล้วเอาเข้ามาเพื่อให้ที่นี่รับรองเท่านั้น เพราะฉะนั้นหลักตรงนี้จะแตกต่างกันนะครับ ซึ่งมีหลายคนพูดถึงว่าเป็นเอกสิทธิ์ของ สปช. ของสมาชิกเราที่จะต้องมีสิทธิแต่ละคนเลือกผู้แทนได้ ๒๐ คนนะครับ ไม่ได้มีผู้แทน ของเราอีกทีหนึ่ง คือประมาณ ๑๐ กว่าคนในแต่ละด้านไปเลือกมาแล้วก็ได้ไปเลยนะครับ ในขณะเดียวกันนั้นกรรมาธิการก็ได้พยายามที่จะยืดหยุ่นแล้วก็พบกันครึ่งทาง ในระหว่างของ การที่ ๑๑ บวก ๔ ท่านก็ยังต้องการที่จะมีการเสนอแล้วก็มองคนที่เหมาะสมในด้านของท่าน เพราะฉะนั้นการออกแบบของวิธีการถึงมีการออกแบบว่าเมื่อเสนอและสมัครแล้ว สมัครและเสนอนี่นะครับ จะระบุด้านไว้ข้างท้ายนะครับ แล้วการพูดคุยกันของพวกเรา เราย่อมจะรู้ว่าในด้านนั้น ๆ ท่านใดเป็นคนถูกเสนอมาในด้านของท่าน แล้วก็เป็นดุลยพินิจ ของพวกเราซึ่งมีเอกสิทธิ์ในการเลือก ๒๐ คนเป็นคนพิจารณา ด้วยหลักการตรงนี้เราคาดว่า สมาชิกของเรานี้ก็จะเลือกแบบกระจายเพื่อให้ความสำคัญกับด้านและกลุ่ม ๑๑ บวก ๔ ด้วย แต่ในขณะเดียวก็ไม่ได้ไปตัดสิทธิบังคับว่าเขาจะต้องเลือกตามนั้น ซึ่งหลักแรกที่ผมเรียนแล้ว หลักที่เรายึดโยงว่าจะต้องให้มีโควตาคือเลือกมาแล้วได้เลยนี่ มันเป็นการไปตัดสิทธิที่เราจะมี สิทธิเลือกใน ๒๐ คนนะครับ อันนี้ผมอยากจะเป็นการอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่ผมได้อยู่ ในคณะกรรมาธิการนะครับ แล้วก็อาจจะอธิบายได้ไม่ครบถ้วน แต่ผมคิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ รอมชอมที่สุดครับ ท่านยังมีสิทธิที่จะเสนอสมัครและเสนอในด้านของท่านนะครับ และเรามี การพูดคุยกันนอกรอบก็ได้ครับว่าในด้านต่าง ๆ ของท่านนั้นท่านเสนอใคร ซึ่งอันนี้เป็น การทำงานแบบร่วมกัน แต่จะไปผูกมัดให้ว่าที่ท่านเสนอแล้วต้องได้เลย มันกลายเป็นการตัดสิทธิ ในการที่สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเลือก ๒๐ คน ก็จะกลายเป็นแต่ละคนเหลือสิทธิในการเลือก เพียง ๕ คน และอีก ๑๕ คนนั้นถูกเลือกโดยคนเพียง ๑๐ กว่าคนในแต่ละกลุ่มด้านครับ อันนี้ ก็คือเหตุผลที่เราหาทางออกร่วมกัน แต่สิ่งที่เราอยากจะได้ผมคิดว่าเราจะได้ไม่แตกต่างกัน กับในแนวทางที่เรายังเห็นไม่ตรงกันอยู่ตั้งแต่เมื่อวานครับ อันนี้ก็ขออนุญาตลองพยายาม อธิบายในส่วนที่ผมในฐานะกรรมาธิการแล้วก็เข้าใจในส่วนที่เราพยายามหาทางออกร่วมกัน ขอบพระคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ กราบเรียนท่านประธานว่า เมื่อเราจะพูดกันถึงเรื่องทำอย่างไรให้มีการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างเคร่งครัดและ เป็นธรรม ผมคิดว่าปัจจุบันนี้เราต้องยอมรับว่าการบังคับใช้กฎหมายมันไม่เสมอกันและ ไม่เป็นธรรม ถามว่าเรื่องนี้มันเกิดจากอะไร มันเกิดจากพฤติกรรมผู้คน เกิดจากคุณธรรม จริยธรรมเท่านั้นหรือ ผมอยากกราบเรียนว่าเท่าที่ศึกษาติดตามแล้ว คิดว่าเรื่องนี้รากเหง้า มันคือปัญหาเชิงโครงสร้างครับ ไม่ใช่เชิงของเรื่องศีลธรรม หรือการปฏิบัติ หรือการเรียกร้อง ให้ผู้คนอย่างโน้นอย่างนี้นะครับ ผมอยากกราบเรียนว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นเชิงโครงสร้าง ชัดเจน แล้วก็เมื่อพูดแล้วนี่มันจะโยงใยไปในเรื่องหลายมิติด้วยกันนะครับ ท่านประธาน ที่เคารพครับ เมื่อเช้านี้ผมเพิ่งได้รับข้อมูลจากนักวิจัยชุมชนที่อยู่ทางภาคเหนือได้ส่งเข้ามา แล้วก็มีการปรารภว่าสภาพต่าง ๆ ที่มันเกิดในปัจจุบันนี้ในจังหวัดยากจนแห่งหนึ่ง ในภาคเหนือนะครับ เขาเข้าไปวิจัยในชุมชนขณะนี้ เขาพบว่าประชาชนมีความหวาดระแวง หน่วยงานของรัฐอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ ปกครอง มีการเข้าไปจับกุมชาวบ้าน ซึ่งสามารถที่จะตั้งกรณีเกือบทุกกรณีได้หมดนะครับ ก็คือเอากฎหมายใดมาก็กระทบไปหมด ไม่ว่าเรื่องป่าสงวนที่จะออกมา แล้วก็ออกมาแล้ว แล้วก็เป็นการทับที่ชาวบ้าน ที่เขาอยู่กันมาก่อน พวกเขาเป็นคนพื้นถิ่นครับ ทำมาหากินอยู่ที่นั่นมานาน วันนี้ป่าเสื่อมโทรมไปมาก มีนายทุนเข้าไปจ้างชาวบ้านตัดไม้ฝากไว้กับชาวบ้าน ชาวบ้าน ก็ได้รับเงินเล็กน้อยแต่เสี่ยงเป็นผู้ถูกจับแทนนายทุน เขาอยากจะทำสัมมาชีพครับ ที่เราพูดกันนี่ แต่เขาก็คิดไม่ออก วันนี้ปลูกข้าวก็ไม่พอกินครับ ยาเสพติดระบาดเข้าไป หนี้นอกระบบมากมาย นายทุนก็เล่นงานผ่านเจ้าหน้าที่คือการบังคับใช้กฎหมาย ไม่มีใครไป ส่งเสริมพวกเขาอย่างจริงจังที่จะทำอาชีพแบบพึ่งตนเองได้นะครับ ถูกมองว่าเขาเป็นภัยต่อ ความมั่นคง คอยถูกจับรีดไถ ปัญหาเหล่านี้เชื่อมโยงพัวพันไปหมดครับ รัฐมีอำนาจล้นฟ้าครับ มีกฎหมายมากมายที่จะเล่นงานชาวบ้านในทุกเรื่อง ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหน จะทำอะไร ทรัพยากรน้อยลงไปเรื่อย ๆ นะครับ ข้างนอกดูดทรัพย์ไป ผมอยากจะเรียนว่าเมื่อเราพูด ประเด็นนี้เราต้องเห็นรากเหง้าเหล่านี้ แล้วก็ไม่ใช่เพียงแต่ว่ามาให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่ เข้มงวด เพราะกฎหมายที่ถูกสร้างออกมานะครับ ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อให้ คนข้างบนปกครองคนข้างล่าง มองว่าประชาชนคือผู้ที่ถูกปกครอง กฎหมายส่วนใหญ่ รวมศูนย์อำนาจครับ รัฐบาล ราชการมีอำนาจล้นฟ้า ซึ่งมันก็เป็นไปตามสิ่งที่เราพัฒนา มานาน อันนี้เป็นเรื่องของเชิงโครงสร้าง ทุกวันนี้กฎหมายมีไว้ลงโทษคนเล็กคนน้อย คนไม่มีอำนาจ ไม่มีเงินถูกขังคุก คนมีอำนาจล้นฟ้า มีเงิน ศาลตัดสินแล้วก็จะอ้างว่าป่วย นอนโรงพยาบาลได้สบายครับ คนจนเก็บแผ่นซีดี (CD) ไปขาย แผ่นซีดีเก่าก็ถูกจำคุกหัวโต คนอยู่กับป่าครับ วันดีคืนดีก็มีกฎหมายประกาศเป็นป่าสงวน เป็นอุทยานทับที่ของเขา ชาวบ้านก็ถูกจับกรณีบุกรุกที่ของตัวเอง ที่ดินสาธารณะถูกออกกรรมสิทธิ์ให้กับนายทุน ที่ดินบนภูเขาสูงชันนายทุนไปใช้เกลื่อนตาไปหมดนะครับ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหา เชิงโครงสร้างครับ เพราะว่าสังคมเรานั้นบูชาคนมีอำนาจยศถาบรรดาศักดิ์ และออกกฎหมายต่าง ๆ ให้อำนาจคนข้างบน เป็นวัฒนธรรมอำนาจนิยมครับ มีคนวิจารณ์ ถึงขนาดว่าสุนัขเห็นคนที่มีอำนาจ มียศถาบรรดาศักดิ์ยังกระดิกหางเข้าหาครับ แต่ถ้าคนเล็กคนน้อยคนยากจน สุนัขยังวิ่งไล่กัดและวิ่งหนีครับ สิ่งเหล่านี้เป็นโครงสร้าง ที่ทับถมมานานนะครับ เพราะฉะนั้นถ้าเราพูดถึงเรื่องการบังคับใช้กฎหมายถ้าเราไม่ระวัง เราก็ยิ่งจะบังคับเข้มงวดไปเล่นงานกับคนเล็กคนน้อย คนยากคนจนนะครับ การบังคับใช้ กฎหมายอันนี้ก็จะยิ่งทำให้เกิดความอยุติธรรมมากขึ้นในสังคมครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะต้อง พูดกันให้ถึงรากถึงแก่นในการปฏิรูป คือต้องปฏิรูประบบและโครงสร้างการบริหารราชการ แผ่นดินนะครับ ก่อนที่ปัญหาความขัดแย้ง ความไม่ลงตัวกันในการใช้อำนาจบังคับใช้ กฎหมายจะมีความทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ กราบเรียนท่านประธานว่า เมื่อเราจะพูดกันถึงเรื่องทำอย่างไรให้มีการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปอย่างเคร่งครัดและ เป็นธรรม ผมคิดว่าปัจจุบันนี้เราต้องยอมรับว่าการบังคับใช้กฎหมายมันไม่เสมอกันและ ไม่เป็นธรรม ถามว่าเรื่องนี้มันเกิดจากอะไร มันเกิดจากพฤติกรรมผู้คน เกิดจากคุณธรรม จริยธรรมเท่านั้นหรือ ผมอยากกราบเรียนว่าเท่าที่ศึกษาติดตามแล้ว คิดว่าเรื่องนี้รากเหง้า มันคือปัญหาเชิงโครงสร้างครับ ไม่ใช่เชิงของเรื่องศีลธรรม หรือการปฏิบัติ หรือการเรียกร้อง ให้ผู้คนอย่างโน้นอย่างนี้นะครับ ผมอยากกราบเรียนว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นเชิงโครงสร้าง ชัดเจน แล้วก็เมื่อพูดแล้วนี่มันจะโยงใยไปในเรื่องหลายมิติด้วยกันนะครับ ท่านประธาน ที่เคารพครับ เมื่อเช้านี้ผมเพิ่งได้รับข้อมูลจากนักวิจัยชุมชนที่อยู่ทางภาคเหนือได้ส่งเข้ามา แล้วก็มีการปรารภว่าสภาพต่าง ๆ ที่มันเกิดในปัจจุบันนี้ในจังหวัดยากจนแห่งหนึ่ง ในภาคเหนือนะครับ เขาเข้าไปวิจัยในชุมชนขณะนี้ เขาพบว่าประชาชนมีความหวาดระแวง หน่วยงานของรัฐอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ ปกครอง มีการเข้าไปจับกุมชาวบ้าน ซึ่งสามารถที่จะตั้งกรณีเกือบทุกกรณีได้หมดนะครับ ก็คือเอากฎหมายใดมาก็กระทบไปหมด ไม่ว่าเรื่องป่าสงวนที่จะออกมา แล้วก็ออกมาแล้ว แล้วก็เป็นการทับที่ชาวบ้าน ที่เขาอยู่กันมาก่อน พวกเขาเป็นคนพื้นถิ่นครับ ทำมาหากินอยู่ที่นั่นมานาน วันนี้ป่าเสื่อมโทรมไปมาก มีนายทุนเข้าไปจ้างชาวบ้านตัดไม้ฝากไว้กับชาวบ้าน ชาวบ้าน ก็ได้รับเงินเล็กน้อยแต่เสี่ยงเป็นผู้ถูกจับแทนนายทุน เขาอยากจะทำสัมมาชีพครับ ที่เราพูดกันนี่ แต่เขาก็คิดไม่ออก วันนี้ปลูกข้าวก็ไม่พอกินครับ ยาเสพติดระบาดเข้าไป หนี้นอกระบบมากมาย นายทุนก็เล่นงานผ่านเจ้าหน้าที่คือการบังคับใช้กฎหมาย ไม่มีใครไป ส่งเสริมพวกเขาอย่างจริงจังที่จะทำอาชีพแบบพึ่งตนเองได้นะครับ ถูกมองว่าเขาเป็นภัยต่อ ความมั่นคง คอยถูกจับรีดไถ ปัญหาเหล่านี้เชื่อมโยงพัวพันไปหมดครับ รัฐมีอำนาจล้นฟ้าครับ มีกฎหมายมากมายที่จะเล่นงานชาวบ้านในทุกเรื่อง ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหน จะทำอะไร ทรัพยากรน้อยลงไปเรื่อย ๆ นะครับ ข้างนอกดูดทรัพย์ไป ผมอยากจะเรียนว่าเมื่อเราพูด ประเด็นนี้เราต้องเห็นรากเหง้าเหล่านี้ แล้วก็ไม่ใช่เพียงแต่ว่ามาให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่ เข้มงวด เพราะกฎหมายที่ถูกสร้างออกมานะครับ ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อให้ คนข้างบนปกครองคนข้างล่าง มองว่าประชาชนคือผู้ที่ถูกปกครอง กฎหมายส่วนใหญ่ รวมศูนย์อำนาจครับ รัฐบาล ราชการมีอำนาจล้นฟ้า ซึ่งมันก็เป็นไปตามสิ่งที่เราพัฒนา มานาน อันนี้เป็นเรื่องของเชิงโครงสร้าง ทุกวันนี้กฎหมายมีไว้ลงโทษคนเล็กคนน้อย คนไม่มีอำนาจ ไม่มีเงินถูกขังคุก คนมีอำนาจล้นฟ้า มีเงิน ศาลตัดสินแล้วก็จะอ้างว่าป่วย นอนโรงพยาบาลได้สบายครับ คนจนเก็บแผ่นซีดี (CD) ไปขาย แผ่นซีดีเก่าก็ถูกจำคุกหัวโต คนอยู่กับป่าครับ วันดีคืนดีก็มีกฎหมายประกาศเป็นป่าสงวน เป็นอุทยานทับที่ของเขา ชาวบ้านก็ถูกจับกรณีบุกรุกที่ของตัวเอง ที่ดินสาธารณะถูกออกกรรมสิทธิ์ให้กับนายทุน ที่ดินบนภูเขาสูงชันนายทุนไปใช้เกลื่อนตาไปหมดนะครับ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหา เชิงโครงสร้างครับ เพราะว่าสังคมเรานั้นบูชาคนมีอำนาจยศถาบรรดาศักดิ์ และออกกฎหมายต่าง ๆ ให้อำนาจคนข้างบน เป็นวัฒนธรรมอำนาจนิยมครับ มีคนวิจารณ์ ถึงขนาดว่าสุนัขเห็นคนที่มีอำนาจ มียศถาบรรดาศักดิ์ยังกระดิกหางเข้าหาครับ แต่ถ้าคนเล็กคนน้อยคนยากจน สุนัขยังวิ่งไล่กัดและวิ่งหนีครับ สิ่งเหล่านี้เป็นโครงสร้าง ที่ทับถมมานานนะครับ เพราะฉะนั้นถ้าเราพูดถึงเรื่องการบังคับใช้กฎหมายถ้าเราไม่ระวัง เราก็ยิ่งจะบังคับเข้มงวดไปเล่นงานกับคนเล็กคนน้อย คนยากคนจนนะครับ การบังคับใช้ กฎหมายอันนี้ก็จะยิ่งทำให้เกิดความอยุติธรรมมากขึ้นในสังคมครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะต้อง พูดกันให้ถึงรากถึงแก่นในการปฏิรูป คือต้องปฏิรูประบบและโครงสร้างการบริหารราชการ แผ่นดินนะครับ ก่อนที่ปัญหาความขัดแย้ง ความไม่ลงตัวกันในการใช้อำนาจบังคับใช้ กฎหมายจะมีความทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
สุดท้ายผมอยากจะกราบเรียนว่า หัวใจคือการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจครับ ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน ลดอำนาจส่วนกลาง เพิ่มอำนาจให้กับชุมชนท้องถิ่น ทำให้พื้นที่ในการดูแลทุกเรื่องเล็กลงครับ การจัดโครงสร้างอภิบาลแบบหุ้นส่วนจะต้องเข้ามา แทนที่จะให้แบบรัฐ แล้วรัฐเป็นใหญ่อยู่อย่างเดียวแบบที่ผ่าน ๆ มา ต้องสร้างกลไก ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้น สังคม พลเมือง ชุมชน ประชาชนต้องมีระบบ ที่จะเข้ามาใช้อำนาจถ่วงดุลบริหารจัดการร่วมกับรัฐแล้วถ่วงดุลรัฐ การบังคับใช้กฎหมาย ก็จะต้องถูกให้มันลงไปในระดับชุมชนท้องถิ่น แล้วก็ให้มีการดำเนินการโดยรัฐ และชุมชนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมนะครับ เพื่อจะทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายในระดับที่ ประชาชนและชาวบ้านนั้นตรวจสอบได้แล้วมีส่วนร่วมได้ ไม่ใช่ปล่อยให้อำนาจกฎหมายนั้น ล้นฟ้าอยู่ข้างบน แล้วก็บังคับใช้แต่กับคนที่เขาไม่มีทางสู้ ไม่มีทางเลือก แต่คนที่มีอำนาจ มีโอกาสในสังคมนั้นกลับได้ถูกยกเว้นในการบังคับใช้กฎหมาย ขอบพระคุณท่านประธานครับ
สุดท้ายผมอยากจะกราบเรียนว่า หัวใจคือการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจครับ ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน ลดอำนาจส่วนกลาง เพิ่มอำนาจให้กับชุมชนท้องถิ่น ทำให้พื้นที่ในการดูแลทุกเรื่องเล็กลงครับ การจัดโครงสร้างอภิบาลแบบหุ้นส่วนจะต้องเข้ามา แทนที่จะให้แบบรัฐ แล้วรัฐเป็นใหญ่อยู่อย่างเดียวแบบที่ผ่าน ๆ มา ต้องสร้างกลไก ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้น สังคม พลเมือง ชุมชน ประชาชนต้องมีระบบ ที่จะเข้ามาใช้อำนาจถ่วงดุลบริหารจัดการร่วมกับรัฐแล้วถ่วงดุลรัฐ การบังคับใช้กฎหมาย ก็จะต้องถูกให้มันลงไปในระดับชุมชนท้องถิ่น แล้วก็ให้มีการดำเนินการโดยรัฐ และชุมชนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมนะครับ เพื่อจะทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายในระดับที่ ประชาชนและชาวบ้านนั้นตรวจสอบได้แล้วมีส่วนร่วมได้ ไม่ใช่ปล่อยให้อำนาจกฎหมายนั้น ล้นฟ้าอยู่ข้างบน แล้วก็บังคับใช้แต่กับคนที่เขาไม่มีทางสู้ ไม่มีทางเลือก แต่คนที่มีอำนาจ มีโอกาสในสังคมนั้นกลับได้ถูกยกเว้นในการบังคับใช้กฎหมาย ขอบพระคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินะครับ ผมจะขออนุญาตเรียนสัก ๓ ประเด็นนะครับ ซึ่งก็คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับเรื่องนี้นะครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินะครับ ผมจะขออนุญาตเรียนสัก ๓ ประเด็นนะครับ ซึ่งก็คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับเรื่องนี้นะครับ
ผมคิดว่าเรื่องที่ ๑ คือเรื่องหลักการของกฎหมายฉบับนี้ จริง ๆ แล้วเราพูดกัน ในสภาแห่งนี้ไปเป็นที่เรียบร้อย แล้วก็ได้มีการลงมติกันไปแล้วนะครับ ผมคิดว่าที่เพื่อน สมาชิกยังเป็นห่วงกังวลอยู่ในเรื่องของการจัดตั้งองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคนี่มันขึ้นอยู่กับ วิธีมองเรื่องการอภิบาลระบบในสังคมไทย ถ้าเรายังคุ้นชินแล้วก็คิดว่าการอภิบาลโดยรัฐ เป็นหลัก เราก็จะคิดว่าการคุ้มครองผู้บริโภคก็ควรจะให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีอยู่แล้วเป็นผู้ทำ ซึ่งอันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธนะครับว่าจะต้องมีหน่วยงานของรัฐที่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินการภายใต้การบริหารของฝ่ายบริหารคือรัฐบาลนะครับ ซึ่งก็เหมือนกับที่ผม เคยเปรียบเทียบไว้ว่าเหมือนกับเป็นการแข่งขันฟุตบอลที่ต้องมีผู้จัด มีผู้ที่เป็นกรรมการ และมีผู้เล่น แล้วก็ระบบจะดำเนินการดูแลไป แต่เมื่อสังคมเติบโตและสลับซับซ้อนมากขึ้น นี่ก็เป็นตัวอย่างในประเทศในโลกที่พัฒนาไปแล้ว เขาจะมีการอภิบาลแบบหุ้นส่วนเข้ามา หรือบางคนก็เรียกว่าเป็นการดำเนินการในสังคมหรืออภิบาลสังคมโดยมีภาคที่ ๓ นะครับ คือเทิร์ด ปาร์ตี (Third party) สำหรับเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคนี่ก็เป็นที่ชัดเจนในระดับสากล ว่าการพึ่งรัฐดำเนินการกันเองเป็นระบบปิดนั้นไม่พอเสียแล้ว จำเป็นที่จะต้องมีองค์กรหรือ องค์การต่าง ๆ ที่จะให้สังคมและประชาชนเข้ามาถ่วงดุลและมาเป็นผู้ร่วมเล่น ที่เรียกว่า จะต้องทำให้คนที่เป็นประชาชนที่จะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นผู้ที่สามารถตรวจสอบกำกับ และติดตามได้ เป็นอินฟอร์ม ซิติเซน (Inform citizen) ซึ่งจะต้องมีกลไกที่จะส่งเสริม พลังอำนาจภาคประชาชนให้เข้มแข็งขึ้น ดังนั้นระบบตามกฎหมายฉบับนี้ก็คือการสร้างระบบ เพื่อมาถ่วงดุลและมาร่วมเป็นผู้เล่นในเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภค และจะต้องมี การเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนตลอดเวลาครับ ทีนี้สำหรับในร่างกฎหมาย ฉบับนี้เสียดายอยู่นิดหนึ่งตรงที่ว่า คราวที่แล้วผมได้เสนอว่าควรจะได้เอาฉบับที่ผ่าน ส.ส. และ ส.ว. แล้วมาเป็นหลัก ผมเองไม่เห็นการเปรียบเทียบอันนั้น เพิ่งฟังจากท่านเสรีว่ามีทั้ง เหมือนและต่าง ทำให้เรานี่ลำบากสักนิดหนึ่งว่าตรงไหนเหมือนตรงไหนต่าง แล้วที่เหมือนนั้น ดีไหม แล้วที่ต่างนั้นดีขึ้นหรืออ่อนลง ตรงนี้น่าเสียดาย ซึ่งถ้ามีตรงนั้นก็จะช่วยเป็นประโยชน์ อย่างมากนะครับ
ผมคิดว่าเรื่องที่ ๑ คือเรื่องหลักการของกฎหมายฉบับนี้ จริง ๆ แล้วเราพูดกัน ในสภาแห่งนี้ไปเป็นที่เรียบร้อย แล้วก็ได้มีการลงมติกันไปแล้วนะครับ ผมคิดว่าที่เพื่อน สมาชิกยังเป็นห่วงกังวลอยู่ในเรื่องของการจัดตั้งองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคนี่มันขึ้นอยู่กับ วิธีมองเรื่องการอภิบาลระบบในสังคมไทย ถ้าเรายังคุ้นชินแล้วก็คิดว่าการอภิบาลโดยรัฐ เป็นหลัก เราก็จะคิดว่าการคุ้มครองผู้บริโภคก็ควรจะให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีอยู่แล้วเป็นผู้ทำ ซึ่งอันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธนะครับว่าจะต้องมีหน่วยงานของรัฐที่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินการภายใต้การบริหารของฝ่ายบริหารคือรัฐบาลนะครับ ซึ่งก็เหมือนกับที่ผม เคยเปรียบเทียบไว้ว่าเหมือนกับเป็นการแข่งขันฟุตบอลที่ต้องมีผู้จัด มีผู้ที่เป็นกรรมการ และมีผู้เล่น แล้วก็ระบบจะดำเนินการดูแลไป แต่เมื่อสังคมเติบโตและสลับซับซ้อนมากขึ้น นี่ก็เป็นตัวอย่างในประเทศในโลกที่พัฒนาไปแล้ว เขาจะมีการอภิบาลแบบหุ้นส่วนเข้ามา หรือบางคนก็เรียกว่าเป็นการดำเนินการในสังคมหรืออภิบาลสังคมโดยมีภาคที่ ๓ นะครับ คือเทิร์ด ปาร์ตี (Third party) สำหรับเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคนี่ก็เป็นที่ชัดเจนในระดับสากล ว่าการพึ่งรัฐดำเนินการกันเองเป็นระบบปิดนั้นไม่พอเสียแล้ว จำเป็นที่จะต้องมีองค์กรหรือ องค์การต่าง ๆ ที่จะให้สังคมและประชาชนเข้ามาถ่วงดุลและมาเป็นผู้ร่วมเล่น ที่เรียกว่า จะต้องทำให้คนที่เป็นประชาชนที่จะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นผู้ที่สามารถตรวจสอบกำกับ และติดตามได้ เป็นอินฟอร์ม ซิติเซน (Inform citizen) ซึ่งจะต้องมีกลไกที่จะส่งเสริม พลังอำนาจภาคประชาชนให้เข้มแข็งขึ้น ดังนั้นระบบตามกฎหมายฉบับนี้ก็คือการสร้างระบบ เพื่อมาถ่วงดุลและมาร่วมเป็นผู้เล่นในเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภค และจะต้องมี การเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนตลอดเวลาครับ ทีนี้สำหรับในร่างกฎหมาย ฉบับนี้เสียดายอยู่นิดหนึ่งตรงที่ว่า คราวที่แล้วผมได้เสนอว่าควรจะได้เอาฉบับที่ผ่าน ส.ส. และ ส.ว. แล้วมาเป็นหลัก ผมเองไม่เห็นการเปรียบเทียบอันนั้น เพิ่งฟังจากท่านเสรีว่ามีทั้ง เหมือนและต่าง ทำให้เรานี่ลำบากสักนิดหนึ่งว่าตรงไหนเหมือนตรงไหนต่าง แล้วที่เหมือนนั้น ดีไหม แล้วที่ต่างนั้นดีขึ้นหรืออ่อนลง ตรงนี้น่าเสียดาย ซึ่งถ้ามีตรงนั้นก็จะช่วยเป็นประโยชน์ อย่างมากนะครับ
ผมมาประเด็นที่ ๒ คือคณะกรรมการครับ คณะกรรมการมีหลายท่าน พูดไปแล้วนะครับ ตรงนี้เห็นชัดเจนนะครับว่าพอให้อำนาจกรรมการมากก็น่ากลัวครับ ก็จะต้องมีถ่วงดุลกรรมการอีก พอให้อำนาจกรรมการน้อยก็จะกลัวว่าไร้น้ำยา ผมคิดว่าตรงนี้ ต้องถ่วงดุลให้ดี ให้มันเหมาะสมครับ กรรมการองค์การมาจากองค์กรผู้บริโภค มันมี ๒ คำ คือองค์การอิสระแล้วก็ผู้แทนองค์กรผู้บริโภค มันมีอยู่ทั้งหมดก็คือ ๑๖ ท่าน ถ้าดูแล้วนี่ เป็นผู้ที่มาจากองค์กรผู้บริโภคทั้งหมด โดยไม่มีฝ่ายอื่นเข้ามาถ่วงดุล ผมเข้าใจดีจากท่าน เพื่อนสมาชิกได้สะท้อนว่ามันจะเอียงไปไหม มันควรจะมีผู้ทรงคุณวุฒิจากรัฐหรือจากอะไร เข้ามาเสริมไหม หรือจากเอกชน จะมาอย่างไร มาด้วยกลไกตรงไหน ไม่เช่นนั้นก็จะถูกบอกว่า องค์กรนี้เอียงสุดข้างหนึ่งก็คือผู้บริโภค ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ครับ ตรงนี้ถ้าท่านกรรมาธิการ ได้กรุณาลองพิจารณาแล้วปรับเสริมให้มีความสบายใจมากขึ้น คือตอนนี้ผู้แทนผู้บริโภคนี่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ คือมาจาก ๗ คนแรก แล้วมาจากพื้นที่อีก ๘ คน แล้วเลขาก็จะสรรหามาใน กลุ่มเหล่านี้ เพราะฉะนั้นอาจจะเอียงเกินไป ซึ่งเราเคยมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าในสภาวิชาชีพ ต่าง ๆ นั้นเมื่อมีแต่คนที่อยู่ในวิชาชีพนี่จะเอียงครับ เพราะไม่มีการถ่วงดุลในการทำงาน ในองค์ประกอบ คราวนี้ในส่วนของหน้าที่ที่ผมกราบเรียนไปแล้วว่า เมื่อเราให้หน้าที่มาก ก็น่ากลัว หน้าที่น้อยก็เสือกระดาษ หน้าที่ก็ต้องพอดี ๆ ในหน้าที่ในมาตรา ๑๙ ได้เขียนไว้ ทั้งหมด ๑๓ ข้อ ผมจับเรื่องใหญ่ ๆ ได้คือ ข้อที่ ๑ นี่ช่วยคุมทิศ ก็คือจะต้องให้ความเห็นต่อ การออกกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ คุมทิศทางของกฎทั้งหลาย อันนี้ดีนะครับ อันที่ ๒ คือ กำกับรัฐ ก็คือยังมีรัฐต้องทำอยู่นะครับ แล้วก็กำกับในข้อ ๒ อันที่ ๓ คืออินฟอร์ม (Inform) คือสื่อสารให้สังคมทราบ จริง ๆ อันนี้มันจะไปซ้อนอยู่กับเรื่องข้ออื่นด้วย เดี๋ยวผมจะเรียน ข้อที่ ๔ คือช่วยประชาชน ซึ่งจริง ๆ แล้วข้อที่ ๖ ก็คล้ายกัน อาจจะมาเขียนรวมกันให้อยู่ใน กลุ่มนะครับ ข้อที่ ๕ นี่ก็คือลีเกิล แอกชัน (Legal action) คือมีการทำหน้าที่แทนประชาชน นะครับ ข้อที่ ๗ นี่ความรู้ สร้างความรู้ ข้อที่ ๘ นี่เป็นลักษณะเอ็มเพาเวอร์ (Empower) สังคม คือจัดสมัชชา ถ้าท่าน คณะกรรมาธิการจะได้เรียงลำดับบทบาทหน้าที่ที่สำคัญนะครับ เพราะตอนนี้มันจัดแล้ว สลับซับซ้อนกันอยู่ทั้งหมดหลายเรื่อง เพื่อที่จะพูดให้ชัดครับว่าองค์กรนี้เราต้องการให้มี บทบาทหน้าที่ที่สำคัญคืออะไร ขณะนี้ถ้าผมดูเร็ว ๆ นี่นะครับ ตั้งแต่ข้อ ๙ ไปข้อ ๑๓ เป็นเรื่องภายในของสำนักงาน ทั้งหมดนี้ถ้าเราเอาทุกอย่างเอามากนะครับ ก็จะถูกต่อต้าน เยอะว่ารู้สึกว่าจะเอาหน้าที่เยอะนะครับ แต่ก็มีความสำคัญในเรื่องการสร้างความรู้ การให้ข้อมูลกับสังคม การจัดสมัชชาเพื่อให้สังคมได้เรียนรู้เรื่องเหล่านี้นะครับ สิ่งเหล่านี้ เป็นการเอ็มเพาเวอร์เมนต์ (Empowerment) แต่อื่น ๆ นี่ผมอยากจะเสนอว่าให้เรียงลำดับ จะให้ดีนะครับ
ผมมาประเด็นที่ ๒ คือคณะกรรมการครับ คณะกรรมการมีหลายท่าน พูดไปแล้วนะครับ ตรงนี้เห็นชัดเจนนะครับว่าพอให้อำนาจกรรมการมากก็น่ากลัวครับ ก็จะต้องมีถ่วงดุลกรรมการอีก พอให้อำนาจกรรมการน้อยก็จะกลัวว่าไร้น้ำยา ผมคิดว่าตรงนี้ ต้องถ่วงดุลให้ดี ให้มันเหมาะสมครับ กรรมการองค์การมาจากองค์กรผู้บริโภค มันมี ๒ คำ คือองค์การอิสระแล้วก็ผู้แทนองค์กรผู้บริโภค มันมีอยู่ทั้งหมดก็คือ ๑๖ ท่าน ถ้าดูแล้วนี่ เป็นผู้ที่มาจากองค์กรผู้บริโภคทั้งหมด โดยไม่มีฝ่ายอื่นเข้ามาถ่วงดุล ผมเข้าใจดีจากท่าน เพื่อนสมาชิกได้สะท้อนว่ามันจะเอียงไปไหม มันควรจะมีผู้ทรงคุณวุฒิจากรัฐหรือจากอะไร เข้ามาเสริมไหม หรือจากเอกชน จะมาอย่างไร มาด้วยกลไกตรงไหน ไม่เช่นนั้นก็จะถูกบอกว่า องค์กรนี้เอียงสุดข้างหนึ่งก็คือผู้บริโภค ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ครับ ตรงนี้ถ้าท่านกรรมาธิการ ได้กรุณาลองพิจารณาแล้วปรับเสริมให้มีความสบายใจมากขึ้น คือตอนนี้ผู้แทนผู้บริโภคนี่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ คือมาจาก ๗ คนแรก แล้วมาจากพื้นที่อีก ๘ คน แล้วเลขาก็จะสรรหามาใน กลุ่มเหล่านี้ เพราะฉะนั้นอาจจะเอียงเกินไป ซึ่งเราเคยมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าในสภาวิชาชีพ ต่าง ๆ นั้นเมื่อมีแต่คนที่อยู่ในวิชาชีพนี่จะเอียงครับ เพราะไม่มีการถ่วงดุลในการทำงาน ในองค์ประกอบ คราวนี้ในส่วนของหน้าที่ที่ผมกราบเรียนไปแล้วว่า เมื่อเราให้หน้าที่มาก ก็น่ากลัว หน้าที่น้อยก็เสือกระดาษ หน้าที่ก็ต้องพอดี ๆ ในหน้าที่ในมาตรา ๑๙ ได้เขียนไว้ ทั้งหมด ๑๓ ข้อ ผมจับเรื่องใหญ่ ๆ ได้คือ ข้อที่ ๑ นี่ช่วยคุมทิศ ก็คือจะต้องให้ความเห็นต่อ การออกกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ คุมทิศทางของกฎทั้งหลาย อันนี้ดีนะครับ อันที่ ๒ คือ กำกับรัฐ ก็คือยังมีรัฐต้องทำอยู่นะครับ แล้วก็กำกับในข้อ ๒ อันที่ ๓ คืออินฟอร์ม (Inform) คือสื่อสารให้สังคมทราบ จริง ๆ อันนี้มันจะไปซ้อนอยู่กับเรื่องข้ออื่นด้วย เดี๋ยวผมจะเรียน ข้อที่ ๔ คือช่วยประชาชน ซึ่งจริง ๆ แล้วข้อที่ ๖ ก็คล้ายกัน อาจจะมาเขียนรวมกันให้อยู่ใน กลุ่มนะครับ ข้อที่ ๕ นี่ก็คือลีเกิล แอกชัน (Legal action) คือมีการทำหน้าที่แทนประชาชน นะครับ ข้อที่ ๗ นี่ความรู้ สร้างความรู้ ข้อที่ ๘ นี่เป็นลักษณะเอ็มเพาเวอร์ (Empower) สังคม คือจัดสมัชชา ถ้าท่าน คณะกรรมาธิการจะได้เรียงลำดับบทบาทหน้าที่ที่สำคัญนะครับ เพราะตอนนี้มันจัดแล้ว สลับซับซ้อนกันอยู่ทั้งหมดหลายเรื่อง เพื่อที่จะพูดให้ชัดครับว่าองค์กรนี้เราต้องการให้มี บทบาทหน้าที่ที่สำคัญคืออะไร ขณะนี้ถ้าผมดูเร็ว ๆ นี่นะครับ ตั้งแต่ข้อ ๙ ไปข้อ ๑๓ เป็นเรื่องภายในของสำนักงาน ทั้งหมดนี้ถ้าเราเอาทุกอย่างเอามากนะครับ ก็จะถูกต่อต้าน เยอะว่ารู้สึกว่าจะเอาหน้าที่เยอะนะครับ แต่ก็มีความสำคัญในเรื่องการสร้างความรู้ การให้ข้อมูลกับสังคม การจัดสมัชชาเพื่อให้สังคมได้เรียนรู้เรื่องเหล่านี้นะครับ สิ่งเหล่านี้ เป็นการเอ็มเพาเวอร์เมนต์ (Empowerment) แต่อื่น ๆ นี่ผมอยากจะเสนอว่าให้เรียงลำดับ จะให้ดีนะครับ
สุดท้ายครับท่านประธาน ขออภัยที่เลยเวลานิดหนึ่งจะไม่ยาวนะครับ เรื่องของหมวดที่ ๑ เรื่องขององค์กรครับเป็นประเด็นสุดท้าย องค์กรนี้ก็ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็น เลขาให้กับคณะกรรมการองค์การอิสระนะครับ ผมฝากไว้เพียงนิดเดียวว่า ดูเหมือนว่ามันจะ อยู่อย่างไรกันแน่ เพราะมันเป็นหน่วยงานอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งผมไม่เข้าใจ ความหมายคำนี้ เพราะอย่างไรก็ตามเมื่อเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมามีกฎหมายและไปใช้ งบประมาณมันก็ต้องถูกจัดไปอยู่ระดับหนึ่ง เช่น องค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญนะครับ หรือเป็นศาลหรือเป็นทางรัฐสภาอันนั้นก็แยกไป แต่ดูเหมือนตรงนี้มันเป็นกลไกส่วนหนึ่ง ซึ่งมันเป็นเทิร์ด เซกเตอร์ (Third sector) เข้ามา ใช้เงินรัฐบาลนะครับ ใช้เงินรัฐบาลก็คือ เงินประชาชนนะครับ เพียงแต่ว่าต้องมาจากเงินของฝ่ายบริหาร มันอยู่อย่างไรครับ มันไม่เป็นส่วนราชการแบบราชการนี่ใช่ มันเป็นองค์การมหาชนหรือเปล่าครับ ก็คือ องค์การมหาชนทุกวันนี้ถูกจัดไว้คือ องค์การมหาชนที่มีกฎหมายรองรับ หรือองค์การมหาชน ที่ออกโดยกฤษฎีกา ซึ่งอันนี้ไม่ใช่แน่นอน แต่อันนี้มีกฎหมายรองรับเฉพาะ แต่พอใช้คำว่า หน่วยงานอิสระจากหน่วยงานรัฐนะครับ ผมคิดว่าตรงนี้ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่า มันจะไปจัดชั้นอยู่ตรงไหนของกลุ่มนะครับ แต่การอภิบาลโดยใช้คณะกรรมการชุดนี้ ผมก็เห็นว่าถูกต้อง แต่เพียงแต่ได้เสริมไว้แล้วนะครับว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการนั้น น่าจะพิจารณาให้มีการถ่วงดุลเพื่อจะป้องกันข้อครหาว่ากลไกนี้ คณะกรรมการนี้มีแต่ ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภคทั้งนั้นทั้งหมดนะครับ ซึ่งก็จะเป็นจุดอ่อนนะครับ ในเสียงที่เป็นทั้งหมดนี้ ก็จะกลายเป็นจุดอ่อน ซึ่งก็น่าจะแก้ไขได้นะครับในส่วนเหล่านี้ครับ ๓ ประเด็นครับ ขอบพระคุณท่านประธาน ขออภัยที่เลยเวลาครับ
สุดท้ายครับท่านประธาน ขออภัยที่เลยเวลานิดหนึ่งจะไม่ยาวนะครับ เรื่องของหมวดที่ ๑ เรื่องขององค์กรครับเป็นประเด็นสุดท้าย องค์กรนี้ก็ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็น เลขาให้กับคณะกรรมการองค์การอิสระนะครับ ผมฝากไว้เพียงนิดเดียวว่า ดูเหมือนว่ามันจะ อยู่อย่างไรกันแน่ เพราะมันเป็นหน่วยงานอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งผมไม่เข้าใจ ความหมายคำนี้ เพราะอย่างไรก็ตามเมื่อเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมามีกฎหมายและไปใช้ งบประมาณมันก็ต้องถูกจัดไปอยู่ระดับหนึ่ง เช่น องค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญนะครับ หรือเป็นศาลหรือเป็นทางรัฐสภาอันนั้นก็แยกไป แต่ดูเหมือนตรงนี้มันเป็นกลไกส่วนหนึ่ง ซึ่งมันเป็นเทิร์ด เซกเตอร์ (Third sector) เข้ามา ใช้เงินรัฐบาลนะครับ ใช้เงินรัฐบาลก็คือ เงินประชาชนนะครับ เพียงแต่ว่าต้องมาจากเงินของฝ่ายบริหาร มันอยู่อย่างไรครับ มันไม่เป็นส่วนราชการแบบราชการนี่ใช่ มันเป็นองค์การมหาชนหรือเปล่าครับ ก็คือ องค์การมหาชนทุกวันนี้ถูกจัดไว้คือ องค์การมหาชนที่มีกฎหมายรองรับ หรือองค์การมหาชน ที่ออกโดยกฤษฎีกา ซึ่งอันนี้ไม่ใช่แน่นอน แต่อันนี้มีกฎหมายรองรับเฉพาะ แต่พอใช้คำว่า หน่วยงานอิสระจากหน่วยงานรัฐนะครับ ผมคิดว่าตรงนี้ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่า มันจะไปจัดชั้นอยู่ตรงไหนของกลุ่มนะครับ แต่การอภิบาลโดยใช้คณะกรรมการชุดนี้ ผมก็เห็นว่าถูกต้อง แต่เพียงแต่ได้เสริมไว้แล้วนะครับว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการนั้น น่าจะพิจารณาให้มีการถ่วงดุลเพื่อจะป้องกันข้อครหาว่ากลไกนี้ คณะกรรมการนี้มีแต่ ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภคทั้งนั้นทั้งหมดนะครับ ซึ่งก็จะเป็นจุดอ่อนนะครับ ในเสียงที่เป็นทั้งหมดนี้ ก็จะกลายเป็นจุดอ่อน ซึ่งก็น่าจะแก้ไขได้นะครับในส่วนเหล่านี้ครับ ๓ ประเด็นครับ ขอบพระคุณท่านประธาน ขออภัยที่เลยเวลาครับ
ท่านประธานครับ
ท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ ขอประทานโทษพี่ประชาครับ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ ผมขออนุญาตท่านประธาน เสนอญัตติตามข้อบังคับ ข้อ ๓๙ ข้อ ๔๐ ขออนุญาตอธิบายนิดเดียวครับ ท่านประธานครับ ก่อนที่จะเดินหน้าต่อไปนะครับ กระผมคิดว่าเรื่องที่นำเสนอที่คณะกรรมาธิการได้กรุณา นำเสนอวันนี้เป็นเรื่องสำคัญ แล้วก็อาจจะเรียกว่าในเชิงประเด็นตั้งแต่เราทำงานกันมา เรื่องนี้เป็นประเด็นที่แหลมคม แล้วก็มีความเห็นรอบด้านอย่างมากนะครับ คราวนี้ผมเรียน ปรึกษาเพื่อจะเสนอญัตติคืออย่างนี้ครับ ผมเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ แล้วก็เป็นเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปชัดเจน เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติแล้วก็ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ เราเขียนไว้ในข้อเสนอของรัฐธรรมนูญด้วย มีความสำคัญจริงครับ สำคัญมาก และถ้าผมฟัง นอกจากเอกสารจะมีการพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องฝ่ายบริหาร พูดถึงเรื่องเวลาที่จำกัดนะครับ แต่วันนี้ทางสมาชิกเราได้รับเอกสารทั้งหมดผมวัดดูแล้วหนา ๓ นิ้วฟุตที่อยู่ตรงนี้ ซึ่งเราเพิ่ง ได้รับวันนี้ กรรมาธิการท่านเพิ่งสรุปเสร็จเมื่อหกโมงเย็นเมื่อวานนี้นะครับ ผมอยากจะเรียนว่า อ่านไม่ทันหรอกครับ ขณะนี้ฟังท่านชี้แจงนั้นก็เป็นหนังด้านหนึ่ง ซึ่งจะมีอีกหลายด้านมาก ซึ่งท่านประธานกำลังจะอนุญาตให้พี่ประชาได้นำเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่งหรือเปล่า ผมไม่แน่ใจนะครับ ข้อมูลมากจริง ๆ ครับ แล้วมีความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย ประเด็นที่จะสืบเนื่องมาก็คือว่า สปช. เราในการพิจารณาเรื่องเหล่านี้คงจะต้องมีอิสระ ในการพิจารณาอย่างสูง ประเด็นที่ผมอยากจะเรียนเสนอคือว่าถ้าเราไม่สร้างบรรทัดฐาน ในการทำงานตรงนี้ เราจะใช้ความเร่งด่วนเข้ามา แล้วก็เอกสารขนาดนี้ ความเห็นขนาดนี้ เราจะไปในวันนี้แล้วก็โดยอ้างเงื่อนไขต่าง ๆ นั้น กระผมคิดว่าจะมีปัญหาเรื่องบรรทัดฐาน และความสง่างามของสภาของเรานะครับ ผมไม่มีการตีรวนอะไรทั้งสิ้น ยังไม่ไปสู่ เนื้อหาสาระอะไร แล้วก็ยังไม่ได้บอกว่าความคิดความเห็นอยู่ตรงด้านไหน อย่างไร วันนี้คงจะมี สมาชิกอภิปรายในด้านต่าง ๆ เยอะ ผมขออนุญาตเรียนอย่างนี้ครับ การอภิปราย ในระเบียบวาระนี้ก็ควรจะเดินหน้าต่อไป สิ่งที่ผมอยากจะกราบเรียนเสนอเป็นญัตตินะครับ เพื่อสร้างบรรทัดฐานในการทำงานเรื่องยากนะครับ บังเอิญเมื่อสักครู่นี้ท่านกรรมาธิการ ท่านบอกว่ามันจะไปเกี่ยวพันกับทางฝ่ายบริหารที่เขาเปิดสัมปทานซึ่งจะเริ่มในเดือนหน้า เรายังมีเวลานิดหนึ่งครับ เนื่องจากเรื่องนี้เราได้ยินเรื่องการหารือที่ไม่เป็นทางการ เพราะในรายงานไม่มีการพูดประเด็นของฝ่ายบริหารหารือใด ๆ ทั้งสิ้น ก็เป็นการหารือ แบบไม่เป็นทางการเป็นเวลาหลายเดือนมาแล้ว แต่ไม่ได้มีการระบุในรายงาน วันนี้ก็มีการ ส่งรายงานเข้ามาแล้วเป็นการอ้างการศึกษาของกรรมาธิการ ไม่มีการอ้างถึงเรื่อง ความเร่งด่วนอะไรอย่างอื่นนะครับ แต่แน่นอนเราเข้าใจได้ว่ามันเป็นเรื่องสัมพันธ์กัน แล้วก็เดือนหน้าจะมีการเดินหน้าต่อหรืออะไรทำนองนี้นะครับ ผมจึงขออนุญาตอย่างนี้ครับ ท่านประธาน ขออนุญาตใช้ข้อบังคับ ข้อ ๓๙ และข้อ ๔๐ ขอเสนอญัตติครับว่า ระเบียบวาระนี้ วันนี้ควรจะพิจารณาเดินหน้าต่อไป เราสมาชิกจะได้ฟังรอบด้านครับ และได้แสดงความเห็น กันอย่างเต็มที่ แต่ถ้าวันนี้มีการลงมติเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ผมคิดว่าจะขาดความสง่างาม และรวบรัดจนเกินไป ผมเสนอญัตติว่า ๑. ดำเนินการพิจารณาเรื่องนี้ไปครับ แต่ขอเสนอญัตติเพื่อความสบายใจของทุกฝ่ายครับ ขอเลื่อนการลงมติเรื่องนี้เป็นการประชุม สปช. คราวถัดไป ก็เพื่อมิให้ชักช้าครับ เพื่อเราจะได้กลับไปอ่านไปศึกษา ฟังข้อมูลวันนี้ให้รอบด้าน แล้วเรามาลงมติกันในการประชุม สปช. คราวต่อไป ผมขอเสนอญัตตินี้ขอเสียงรับรองจาก สมาชิกครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ ขอประทานโทษพี่ประชาครับ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ ผมขออนุญาตท่านประธาน เสนอญัตติตามข้อบังคับ ข้อ ๓๙ ข้อ ๔๐ ขออนุญาตอธิบายนิดเดียวครับ ท่านประธานครับ ก่อนที่จะเดินหน้าต่อไปนะครับ กระผมคิดว่าเรื่องที่นำเสนอที่คณะกรรมาธิการได้กรุณา นำเสนอวันนี้เป็นเรื่องสำคัญ แล้วก็อาจจะเรียกว่าในเชิงประเด็นตั้งแต่เราทำงานกันมา เรื่องนี้เป็นประเด็นที่แหลมคม แล้วก็มีความเห็นรอบด้านอย่างมากนะครับ คราวนี้ผมเรียน ปรึกษาเพื่อจะเสนอญัตติคืออย่างนี้ครับ ผมเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ แล้วก็เป็นเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปชัดเจน เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติแล้วก็ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ เราเขียนไว้ในข้อเสนอของรัฐธรรมนูญด้วย มีความสำคัญจริงครับ สำคัญมาก และถ้าผมฟัง นอกจากเอกสารจะมีการพูดถึงเกี่ยวกับเรื่องฝ่ายบริหาร พูดถึงเรื่องเวลาที่จำกัดนะครับ แต่วันนี้ทางสมาชิกเราได้รับเอกสารทั้งหมดผมวัดดูแล้วหนา ๓ นิ้วฟุตที่อยู่ตรงนี้ ซึ่งเราเพิ่ง ได้รับวันนี้ กรรมาธิการท่านเพิ่งสรุปเสร็จเมื่อหกโมงเย็นเมื่อวานนี้นะครับ ผมอยากจะเรียนว่า อ่านไม่ทันหรอกครับ ขณะนี้ฟังท่านชี้แจงนั้นก็เป็นหนังด้านหนึ่ง ซึ่งจะมีอีกหลายด้านมาก ซึ่งท่านประธานกำลังจะอนุญาตให้พี่ประชาได้นำเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่งหรือเปล่า ผมไม่แน่ใจนะครับ ข้อมูลมากจริง ๆ ครับ แล้วมีความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย ประเด็นที่จะสืบเนื่องมาก็คือว่า สปช. เราในการพิจารณาเรื่องเหล่านี้คงจะต้องมีอิสระ ในการพิจารณาอย่างสูง ประเด็นที่ผมอยากจะเรียนเสนอคือว่าถ้าเราไม่สร้างบรรทัดฐาน ในการทำงานตรงนี้ เราจะใช้ความเร่งด่วนเข้ามา แล้วก็เอกสารขนาดนี้ ความเห็นขนาดนี้ เราจะไปในวันนี้แล้วก็โดยอ้างเงื่อนไขต่าง ๆ นั้น กระผมคิดว่าจะมีปัญหาเรื่องบรรทัดฐาน และความสง่างามของสภาของเรานะครับ ผมไม่มีการตีรวนอะไรทั้งสิ้น ยังไม่ไปสู่ เนื้อหาสาระอะไร แล้วก็ยังไม่ได้บอกว่าความคิดความเห็นอยู่ตรงด้านไหน อย่างไร วันนี้คงจะมี สมาชิกอภิปรายในด้านต่าง ๆ เยอะ ผมขออนุญาตเรียนอย่างนี้ครับ การอภิปราย ในระเบียบวาระนี้ก็ควรจะเดินหน้าต่อไป สิ่งที่ผมอยากจะกราบเรียนเสนอเป็นญัตตินะครับ เพื่อสร้างบรรทัดฐานในการทำงานเรื่องยากนะครับ บังเอิญเมื่อสักครู่นี้ท่านกรรมาธิการ ท่านบอกว่ามันจะไปเกี่ยวพันกับทางฝ่ายบริหารที่เขาเปิดสัมปทานซึ่งจะเริ่มในเดือนหน้า เรายังมีเวลานิดหนึ่งครับ เนื่องจากเรื่องนี้เราได้ยินเรื่องการหารือที่ไม่เป็นทางการ เพราะในรายงานไม่มีการพูดประเด็นของฝ่ายบริหารหารือใด ๆ ทั้งสิ้น ก็เป็นการหารือ แบบไม่เป็นทางการเป็นเวลาหลายเดือนมาแล้ว แต่ไม่ได้มีการระบุในรายงาน วันนี้ก็มีการ ส่งรายงานเข้ามาแล้วเป็นการอ้างการศึกษาของกรรมาธิการ ไม่มีการอ้างถึงเรื่อง ความเร่งด่วนอะไรอย่างอื่นนะครับ แต่แน่นอนเราเข้าใจได้ว่ามันเป็นเรื่องสัมพันธ์กัน แล้วก็เดือนหน้าจะมีการเดินหน้าต่อหรืออะไรทำนองนี้นะครับ ผมจึงขออนุญาตอย่างนี้ครับ ท่านประธาน ขออนุญาตใช้ข้อบังคับ ข้อ ๓๙ และข้อ ๔๐ ขอเสนอญัตติครับว่า ระเบียบวาระนี้ วันนี้ควรจะพิจารณาเดินหน้าต่อไป เราสมาชิกจะได้ฟังรอบด้านครับ และได้แสดงความเห็น กันอย่างเต็มที่ แต่ถ้าวันนี้มีการลงมติเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ผมคิดว่าจะขาดความสง่างาม และรวบรัดจนเกินไป ผมเสนอญัตติว่า ๑. ดำเนินการพิจารณาเรื่องนี้ไปครับ แต่ขอเสนอญัตติเพื่อความสบายใจของทุกฝ่ายครับ ขอเลื่อนการลงมติเรื่องนี้เป็นการประชุม สปช. คราวถัดไป ก็เพื่อมิให้ชักช้าครับ เพื่อเราจะได้กลับไปอ่านไปศึกษา ฟังข้อมูลวันนี้ให้รอบด้าน แล้วเรามาลงมติกันในการประชุม สปช. คราวต่อไป ผมขอเสนอญัตตินี้ขอเสียงรับรองจาก สมาชิกครับ
รับญัตติคือหมายความว่า
รับญัตติคือหมายความว่า
อภิปรายต่อไป เดินต่อไปแล้วก็วันนี้ยังไม่ลงมติ ถูกต้องไหมครับ
อภิปรายต่อไป เดินต่อไปแล้วก็วันนี้ยังไม่ลงมติ ถูกต้องไหมครับ
ครับ ก็คือเพื่อเคลียร์ (Clear) ความเข้าใจครับ เพราะเราก็เด็กใหม่ด้วยกัน ก็คือหมายความว่าไปลงมติในการประชุม สปช. คราวต่อไป ขอบพระคุณครับท่านประธาน
ครับ ก็คือเพื่อเคลียร์ (Clear) ความเข้าใจครับ เพราะเราก็เด็กใหม่ด้วยกัน ก็คือหมายความว่าไปลงมติในการประชุม สปช. คราวต่อไป ขอบพระคุณครับท่านประธาน
ท่านประธานครับ
ท่านประธานครับ
ได้ครับ
ได้ครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกครับ คืออยากกราบเรียนอย่างนี้ครับว่า สิ่งที่ผมเสนอสักครู่นี้ทุกอย่าง ก็พิจารณาไปตามเดิมนะครับ มีการฟังความคิดความเห็น แต่เนื่องจากเราขอความกรุณาว่า ถ้าเราพิจารณาและลงมติวันนี้เลยนี่นะครับ เอกสารหนาขนาดนี้แล้วก็เราไม่สามารถศึกษา ได้ทันและรอบคอบ เราก็ได้เสนอญัตติที่มีผู้รับรองไปแล้ว ก็คือไม่มีอะไรมากเลยครับ และทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นการตีรวน แต่เป็นการทำให้การทำงานของสภาเรามีมาตรฐาน แล้วก็สง่างาม ผมไม่ได้มีประเด็นเรื่องว่ามีฝ่ายบริหารเสนอเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ไม่มีประเด็นเหล่านั้นเลยนะครับ วันนี้เราฟังกันให้รอบด้าน อภิปรายให้รอบด้าน แล้วก็กลับไปศึกษาเอกสารอะไรต่าง ๆ เพิ่มเติม แล้วก็เพียงแต่ว่าญัตติสักครู่นี้ก็คือ เรามาลงมติกันในการประชุม สปช. คราวถัดไป ซึ่งผมคำนวณเวลาจากที่ท่านกรรมาธิการ พูดแล้วไม่ได้มีปัญหาเรื่องของเวลาเลยนะครับ แล้วก็ไม่ได้มีการเอาชนะคะคานอะไรกัน ซึ่งอันนี้ผมอยากจะกราบเรียนว่าเป็นไปได้ไหมครับเพื่อนสมาชิก ในเมื่อผมได้เสนอ ญัตติแล้ว และมีผู้รับรองแล้วถ้าจะไม่ต้องมาโหวตเอาชนะคะคานกัน ท่านกรุณาถอนญัตติ ที่จะต้องให้ลงมติในวันนี้ เพื่อเราจะได้ทำงานด้วยความนุ่มนวลแล้วรอบคอบ แล้วก็มี ความสง่างามครับ ผมต้องการอธิบายสังคมให้ได้เท่านั้นว่าเสนอมา กรรมาธิการเพิ่งเสร็จ เมื่อเย็นวาน เอกสารเพิ่งมาวางให้เราเช้านี้หนาขนาดนี้นะครับ แล้วเราก็ลงมติวันนี้ไปได้เลย ถึงแม้ว่าเรื่องนี้มีการพูดในสังคม ยิ่งพูดกว้างแสดงว่ามีประเด็นที่ต้องดูให้รอบคอบครับ ถ้าเราจะทิ้งเวลาลงมติไปในการประชุมคราวหน้า ซึ่งก็อยู่ในเดือนมกราคมนี้ไม่ได้เสีย อะไรเลยนะครับ ผมขอความกรุณาเพื่อนสมาชิกลองใคร่ครวญสักนิดหนึ่งว่าท่านจะขอถอน ญัตตินี้ไหม เพราะผมได้เสนอแล้ว และมีผู้เห็นชอบญัตตินี้ไปแล้ว
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกครับ คืออยากกราบเรียนอย่างนี้ครับว่า สิ่งที่ผมเสนอสักครู่นี้ทุกอย่าง ก็พิจารณาไปตามเดิมนะครับ มีการฟังความคิดความเห็น แต่เนื่องจากเราขอความกรุณาว่า ถ้าเราพิจารณาและลงมติวันนี้เลยนี่นะครับ เอกสารหนาขนาดนี้แล้วก็เราไม่สามารถศึกษา ได้ทันและรอบคอบ เราก็ได้เสนอญัตติที่มีผู้รับรองไปแล้ว ก็คือไม่มีอะไรมากเลยครับ และทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นการตีรวน แต่เป็นการทำให้การทำงานของสภาเรามีมาตรฐาน แล้วก็สง่างาม ผมไม่ได้มีประเด็นเรื่องว่ามีฝ่ายบริหารเสนอเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ไม่มีประเด็นเหล่านั้นเลยนะครับ วันนี้เราฟังกันให้รอบด้าน อภิปรายให้รอบด้าน แล้วก็กลับไปศึกษาเอกสารอะไรต่าง ๆ เพิ่มเติม แล้วก็เพียงแต่ว่าญัตติสักครู่นี้ก็คือ เรามาลงมติกันในการประชุม สปช. คราวถัดไป ซึ่งผมคำนวณเวลาจากที่ท่านกรรมาธิการ พูดแล้วไม่ได้มีปัญหาเรื่องของเวลาเลยนะครับ แล้วก็ไม่ได้มีการเอาชนะคะคานอะไรกัน ซึ่งอันนี้ผมอยากจะกราบเรียนว่าเป็นไปได้ไหมครับเพื่อนสมาชิก ในเมื่อผมได้เสนอ ญัตติแล้ว และมีผู้รับรองแล้วถ้าจะไม่ต้องมาโหวตเอาชนะคะคานกัน ท่านกรุณาถอนญัตติ ที่จะต้องให้ลงมติในวันนี้ เพื่อเราจะได้ทำงานด้วยความนุ่มนวลแล้วรอบคอบ แล้วก็มี ความสง่างามครับ ผมต้องการอธิบายสังคมให้ได้เท่านั้นว่าเสนอมา กรรมาธิการเพิ่งเสร็จ เมื่อเย็นวาน เอกสารเพิ่งมาวางให้เราเช้านี้หนาขนาดนี้นะครับ แล้วเราก็ลงมติวันนี้ไปได้เลย ถึงแม้ว่าเรื่องนี้มีการพูดในสังคม ยิ่งพูดกว้างแสดงว่ามีประเด็นที่ต้องดูให้รอบคอบครับ ถ้าเราจะทิ้งเวลาลงมติไปในการประชุมคราวหน้า ซึ่งก็อยู่ในเดือนมกราคมนี้ไม่ได้เสีย อะไรเลยนะครับ ผมขอความกรุณาเพื่อนสมาชิกลองใคร่ครวญสักนิดหนึ่งว่าท่านจะขอถอน ญัตตินี้ไหม เพราะผมได้เสนอแล้ว และมีผู้เห็นชอบญัตตินี้ไปแล้ว
ใช่ครับ อันนี้ไม่ได้มีปัญหานั้นครับท่านประธาน
ใช่ครับ อันนี้ไม่ได้มีปัญหานั้นครับท่านประธาน
เพียงแต่ผมฝากท่านครับว่า ถ้าเผื่อเราจะไปให้ มันสง่างามแล้วร่วมกันสร้างสรรค์ เมื่อกี้ผมเรียนแล้วว่าเราไม่ได้มีการตีรวนนะครับ ทุกอย่างไปได้ตามระบบ
เพียงแต่ผมฝากท่านครับว่า ถ้าเผื่อเราจะไปให้ มันสง่างามแล้วร่วมกันสร้างสรรค์ เมื่อกี้ผมเรียนแล้วว่าเราไม่ได้มีการตีรวนนะครับ ทุกอย่างไปได้ตามระบบ
ถูกต้องครับ
ถูกต้องครับ
ขอบพระคุณครับท่าน
ขอบพระคุณครับท่าน
ท่านประธานครับ ผมคิดว่าไม่น่าจะถูกต้องนะครับ เพราะญัตติผมเสนอเป็นญัตติแรก ก็คืออภิปรายวันนี้จนจบแล้วก็ไปลงมติคราวต่อไป ต้องเป็นมติแรกครับ ญัตติแรกครับ
ท่านประธานครับ ผมคิดว่าไม่น่าจะถูกต้องนะครับ เพราะญัตติผมเสนอเป็นญัตติแรก ก็คืออภิปรายวันนี้จนจบแล้วก็ไปลงมติคราวต่อไป ต้องเป็นมติแรกครับ ญัตติแรกครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ กราบเรียนท่านประธานครับ ผมเข้าใจ ท่านประธานและเข้าใจท่านสมาชิกทั้งหลาย แต่เนื่องจากว่ามันจะมีการลงมติหลายเรื่อง เรียงกันนะครับ แล้วก็ที่เราเคยลง เราลงตั้งแต่เห็นด้วยกับรายงาน แล้วก็เห็นด้วยกับ การนำความเห็นทั้งหมดพร้อมกันไปส่ง คราวนี้กรณีนี้เนื่องจากมี ๒ ฉบับ แล้วก็มีเสียงข้างมาก เสียงข้างน้อย ผมอยากจะขออนุญาตท่านประธานทำความเข้าใจให้ชัดก่อนว่าจะโหวตกี่ครั้ง แล้วโหวตแต่ละอันนี่โหวตอะไร ถ้าเกิดสมมุตินะครับ โหวตตั้งแต่ว่าคณะกรรมาธิการ ปฏิรูปพลังงานเสนอมานี่ เขาเสนอทางเลือกมา ๓ ทาง แล้วก็เขียนไว้ชัดเจนในนั้นว่า เขาเลือกให้เสนอทางเลือกที่ ๓ แล้วเขาเขียนว่า ขออนุญาตท่านประธานนะครับ ตรงนี้ต้องมี ความชัดเจนเพราะว่าเรื่องนี้แหลมคมมาก แล้วก็มติผมฟังสุ้มเสียงท่านประธานดูเหมือนว่า จะเป็นการลงมติเพื่อส่งไปให้รัฐบาลทั้งหมด ถ้าเป็นอย่างนั้นกรรมาธิการชุดนี้เขาเสนอว่า ให้ดำเนินการรอบที่ ๒๑ หรือตามนี้นะครับ แล้วก็เสียงข้างน้อยสงวนไว้ แล้วก็บอกว่า จึงเรียนมาเพื่อส่งรายงานเปิดสัมปทานรอบนี้ ก็คือถ้าเป็นโหวตแบบนี้ ก็คือถ้าเห็นด้วยกับ รายงานฉบับนี้ก็คือเห็นด้วยทางเลือกนะครับ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวต้องไล่ไปทีละอัน ถ้าเป็นแบบนี้ คือที่ประชุมเห็นด้วยกับทางเลือกที่เสนอนะครับ ในขณะเดียวกันเสียงส่วนน้อยเขามี ทางเลือกที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ก็หมายความว่าเอาไปประกอบ ก็อาจจะมีบอกว่านำไป ประกอบด้วย แสดงว่ามติของสภาออกไป ก็คือมติบอกว่า สปช. เห็นด้วยกับทางเลือกนี้ และนำความเห็นอื่นไปประกอบ ผมอยากจะขออนุญาตทำความเข้าใจให้ชัดเจนครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ กราบเรียนท่านประธานครับ ผมเข้าใจ ท่านประธานและเข้าใจท่านสมาชิกทั้งหลาย แต่เนื่องจากว่ามันจะมีการลงมติหลายเรื่อง เรียงกันนะครับ แล้วก็ที่เราเคยลง เราลงตั้งแต่เห็นด้วยกับรายงาน แล้วก็เห็นด้วยกับ การนำความเห็นทั้งหมดพร้อมกันไปส่ง คราวนี้กรณีนี้เนื่องจากมี ๒ ฉบับ แล้วก็มีเสียงข้างมาก เสียงข้างน้อย ผมอยากจะขออนุญาตท่านประธานทำความเข้าใจให้ชัดก่อนว่าจะโหวตกี่ครั้ง แล้วโหวตแต่ละอันนี่โหวตอะไร ถ้าเกิดสมมุตินะครับ โหวตตั้งแต่ว่าคณะกรรมาธิการ ปฏิรูปพลังงานเสนอมานี่ เขาเสนอทางเลือกมา ๓ ทาง แล้วก็เขียนไว้ชัดเจนในนั้นว่า เขาเลือกให้เสนอทางเลือกที่ ๓ แล้วเขาเขียนว่า ขออนุญาตท่านประธานนะครับ ตรงนี้ต้องมี ความชัดเจนเพราะว่าเรื่องนี้แหลมคมมาก แล้วก็มติผมฟังสุ้มเสียงท่านประธานดูเหมือนว่า จะเป็นการลงมติเพื่อส่งไปให้รัฐบาลทั้งหมด ถ้าเป็นอย่างนั้นกรรมาธิการชุดนี้เขาเสนอว่า ให้ดำเนินการรอบที่ ๒๑ หรือตามนี้นะครับ แล้วก็เสียงข้างน้อยสงวนไว้ แล้วก็บอกว่า จึงเรียนมาเพื่อส่งรายงานเปิดสัมปทานรอบนี้ ก็คือถ้าเป็นโหวตแบบนี้ ก็คือถ้าเห็นด้วยกับ รายงานฉบับนี้ก็คือเห็นด้วยทางเลือกนะครับ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวต้องไล่ไปทีละอัน ถ้าเป็นแบบนี้ คือที่ประชุมเห็นด้วยกับทางเลือกที่เสนอนะครับ ในขณะเดียวกันเสียงส่วนน้อยเขามี ทางเลือกที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ก็หมายความว่าเอาไปประกอบ ก็อาจจะมีบอกว่านำไป ประกอบด้วย แสดงว่ามติของสภาออกไป ก็คือมติบอกว่า สปช. เห็นด้วยกับทางเลือกนี้ และนำความเห็นอื่นไปประกอบ ผมอยากจะขออนุญาตทำความเข้าใจให้ชัดเจนครับ
คราวนี้มาในอันที่ ๒ อันที่ ๒ มีการไปรับฟังความเห็น เขาก็มีความเห็น ข้อเสนอมา คำถามผมคือว่าจะลงมติเห็นด้วยกับข้อเสนอของเขาใช่ไหม หรือทั้งหมดนี้เอาแค่ว่า ทั้งฉบับนี้ และ ๒ ฉบับนี้ รวมทั้งที่สภาอภิปรายทั้งหมด
คราวนี้มาในอันที่ ๒ อันที่ ๒ มีการไปรับฟังความเห็น เขาก็มีความเห็น ข้อเสนอมา คำถามผมคือว่าจะลงมติเห็นด้วยกับข้อเสนอของเขาใช่ไหม หรือทั้งหมดนี้เอาแค่ว่า ทั้งฉบับนี้ และ ๒ ฉบับนี้ รวมทั้งที่สภาอภิปรายทั้งหมด
เสนอไปเพื่อให้รัฐบาล โดยไม่ได้ลงความเห็น เห็นด้วยกับรายงาน ผมขออนุญาตเคลียร์ตรงนี้ ถ้าท่านประธานตรงนี้ชัดเจน เดี๋ยวเราก็จะได้ โหวต สรุปว่าโหวตกี่ทีนะครับ ประเด็นใดบ้างแล้วกี่ครั้ง ด้วยความขอบพระคุณครับ
เสนอไปเพื่อให้รัฐบาล โดยไม่ได้ลงความเห็น เห็นด้วยกับรายงาน ผมขออนุญาตเคลียร์ตรงนี้ ถ้าท่านประธานตรงนี้ชัดเจน เดี๋ยวเราก็จะได้ โหวต สรุปว่าโหวตกี่ทีนะครับ ประเด็นใดบ้างแล้วกี่ครั้ง ด้วยความขอบพระคุณครับ
ท่านประธานที่เคารพครับ อำพลครับ ตรงนี้ครับ ตรงหน้าอาจารย์
ท่านประธานที่เคารพครับ อำพลครับ ตรงนี้ครับ ตรงหน้าอาจารย์
อยู่หลังห้องเลยครับ
อยู่หลังห้องเลยครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ ไม่มีอะไรครับ ด้วยความเคารพท่านประธาน มีการโหวตไปเรียบร้อยแล้ว แต่ผมขออนุญาตอธิบายมติซึ่งท่านประธานได้สรุปสักครู่นะครับ มันจะทำให้สับสนอยู่ เล็กน้อย ต้องขอประทานโทษท่านประธานจริง ๆ คือผมคิดว่ามติ ขณะนี้ที่จะขอมติคือ เห็นด้วยกับการส่งรายงาน ผมเรียกว่าของคณะกรรมาธิการเป็นฉบับ ๑ นะครับ เห็นด้วยกับ การส่งรายงานฉบับ ๑ และฉบับที่ ๒ และการอภิปรายทั้งหมดในสภาไปให้รัฐบาล ไม่ได้พูด เสียงข้างมากข้างน้อยอะไรทั้งนั้นนะครับ เห็นด้วยกับการส่งรายงาน ไม่ได้เห็นด้วยกับ รายงานนะครับ เห็นด้วยกับการส่งรายงาน ผมเรียกว่าฉบับที่ ๑ ก็แล้วกัน และฉบับที่ ๒ และความเห็นทั้งหมดในสภาไปให้รัฐบาลแค่นี้เองครับ ไม่ต้องพูดเสียงข้างมากข้างน้อย ไม่ได้พูดอะไรทั้งสิ้นครับ เพราะว่าเขาเสนอรายงานนะครับ แล้วเสียงข้างมากข้างน้อยอยู่ในนี้ อยู่แล้ว แล้วก็ของประชาชนก็เสนอรายงานนี้อยู่แล้ว และความเห็นทั้งหมดที่มีการอภิปราย ในวันนี้ส่งให้รัฐบาลทั้งหมดเพื่อไปพิจารณามีแค่นี้เองครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ ไม่มีอะไรครับ ด้วยความเคารพท่านประธาน มีการโหวตไปเรียบร้อยแล้ว แต่ผมขออนุญาตอธิบายมติซึ่งท่านประธานได้สรุปสักครู่นะครับ มันจะทำให้สับสนอยู่ เล็กน้อย ต้องขอประทานโทษท่านประธานจริง ๆ คือผมคิดว่ามติ ขณะนี้ที่จะขอมติคือ เห็นด้วยกับการส่งรายงาน ผมเรียกว่าของคณะกรรมาธิการเป็นฉบับ ๑ นะครับ เห็นด้วยกับ การส่งรายงานฉบับ ๑ และฉบับที่ ๒ และการอภิปรายทั้งหมดในสภาไปให้รัฐบาล ไม่ได้พูด เสียงข้างมากข้างน้อยอะไรทั้งนั้นนะครับ เห็นด้วยกับการส่งรายงาน ไม่ได้เห็นด้วยกับ รายงานนะครับ เห็นด้วยกับการส่งรายงาน ผมเรียกว่าฉบับที่ ๑ ก็แล้วกัน และฉบับที่ ๒ และความเห็นทั้งหมดในสภาไปให้รัฐบาลแค่นี้เองครับ ไม่ต้องพูดเสียงข้างมากข้างน้อย ไม่ได้พูดอะไรทั้งสิ้นครับ เพราะว่าเขาเสนอรายงานนะครับ แล้วเสียงข้างมากข้างน้อยอยู่ในนี้ อยู่แล้ว แล้วก็ของประชาชนก็เสนอรายงานนี้อยู่แล้ว และความเห็นทั้งหมดที่มีการอภิปราย ในวันนี้ส่งให้รัฐบาลทั้งหมดเพื่อไปพิจารณามีแค่นี้เองครับ ขอบพระคุณครับ