กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ประสาร มฤคพิทักษ์ สปช. ด้านการเมือง ขอเรียนยืนยันเห็นด้วยกับข้อเสนอศาสตราจารย์ ดอกเตอร์เทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นประธานเฉพาะคราว เป็นที่รับรู้ เป็นที่เปิดเผย ไม่มีอะไร ปิดบังเลยครับ ขอยืนยันตามนี้ครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ประสาร มฤคพิทักษ์ สปช. ด้านการเมืองนะครับ ผมคิดว่าน่าคิดที่ว่า ๑๕ คน เป็นคนเลือก ๑ คน แล้ว ๑ คนก็ได้เป็น ในขณะที่มาตรา ๓๒ (๒) บอกว่า ผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ จำนวนยี่สิบคน ใช่หรือไม่ว่า ๑๕ คนหรือ ๑๖ คนในแต่ละด้านมาจำกัดสิทธิบุคคลอื่น ที่จะเลือก ผมยกตัวอย่างด้านการเมืองมีผู้สนใจ ๗ คนด้วยกันนะครับ อาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นราชบัณฑิต เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๑๗ และต่อเนื่อง มาอีกหลายฉบับ นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เป็นรองประธาน สสร. ปี ๒๕๕๐ คุณไพบูลย์ นิติตะวัน ก็เป็นคนที่สนใจแล้วก็มีความมุ่งมั่น แล้วก็มีข้อคิดดี ๆ ดอกเตอร์อมร วาณิชวิวัฒน์ ผมเรียนว่าผมรักพี่เสียดายน้องครับ เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ผมขออนุญาต เอาละ แต่ละด้านนี่ไม่ว่ากัน แต่ว่าแต่ละด้านไม่ใช่เสนอเพียง ๑ สามารถเสนอได้มากกว่า ๑ จะ ๕ คน ๗ คน ๑๐ คนก็ได้ แล้วก็ใช้วินิจฉัยของทั่วทั้งที่ประชุมเป็นผู้เลือก แต่ในการที่จะ เลือกก็ขึ้นชื่อไว้บนจอนี้ครับ ว่าการเมืองมีเท่าไร กฎหมายยุติธรรมมีเท่าไร การศึกษา มีเท่าไรก็ว่ากันไป แล้วก็ใช้วิจารณญาณของแต่ละคนเลือกเอาเองว่ามาจากแต่ละด้าน ให้ครบด้านก็แล้วกัน แล้วก็ลงคะแนนกันโดย ๑ เลือกได้ ๒๐ อาจจะใช้เวลาในการ นับคะแนนยาวหน่อยนะครับ แต่ทางเทคนิคทำได้ในการกระจายการนับคะแนนเป็นกลุ่ม ผมว่าด้วยวิธีเช่นนี้มันจะเท่ากับว่า สปช. ทั้งหมดเป็นผู้ลงมติ หรือวินิจฉัยในการเลือก ไม่ใช่ให้ ๑๕ คนมาเลือก ถ้าเผื่ออย่างนี้ก็ขอเสนอเป็นญัตติด้วยว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะเลือก และผมคิดว่าเป็นวิธีที่เป็นประชาธิปไตย เปิดกว้าง และต้อนรับบุคคลได้มากกว่า เพื่อมิให้ บุคคลที่มีบทบาทสำคัญ มีความหมาย มีความรู้ความสามารถหลุดออกไปตั้งแต่วงแรกเลย ถ้าเผื่อใช้ด้านละ ๑ คน ก็แปลว่าอีก ๔-๕ คนที่เขามีความสามารถเขากระเด็นออกไป ทันทีทันใด โดยไม่ได้ให้ที่ประชุมทั้งหมดได้วินิจฉัย ขอเรียนเสนอเป็นญัตติด้วยครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ประสาร มฤคพิทักษ์ ผมอยากจะขอความกรุณานะครับ กระบวนการเรื่องสำนักงาน เรื่องฟัง ความเห็น เรื่องอะไรต่อมิอะไรเป็นขั้นต่อไป ขณะนี้สิ่งที่คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติ (ชั่วคราว) ได้นำเสนอคือผลสรุปการประชุม วันนี้เอาเรื่องนี้ก่อนครับ ถ้าเผื่อ ไปอภิปรายอะไรที่เป็นวันข้างหน้าคงจะจบไม่ได้วันนี้ ขอความกรุณาครับ ให้พิจารณาว่า จะรับหรือไม่รับสิ่งที่คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ได้นำเสนอ สำหรับผมเองผมเห็นด้วยและขอให้เดินตามนี้ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ ประสาร มฤคพิทักษ์ สปช. ๑๓๒ ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตทบทวนประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับ การบังคับใช้กฎหมายเล็กน้อย เหตุเกิดที่สโมสรกองทัพบก เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ปีที่แล้ว ในการประชุม ๗ ฝ่าย ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ ผบ.ทบ. ได้ตั้งคำถามกับผู้แทนของ รัฐบาลว่า ตกลงยืนยันที่จะไม่ลาออกทั้งคณะหรือรายบุคคลใช่หรือไม่ คำตอบของตัวแทน รัฐบาลก็คือนาทีนี้ไม่ลาออก คำตอบกลับมาจาก ผบ.ทบ. ก็คือ ถ้าเช่นนั้นนาทีนี้ผมขอ ยึดอำนาจการปกครอง นี่เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ทุกคนรับรู้ ผมขอเรียนที่ประชุม ได้รับทราบเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กน้อย เพื่อนผมคนหนึ่งเป็นเพื่อนกับรัฐมนตรีซึ่งทำหน้าที่ อยู่ ณ เวลานั้นก่อนที่จะยึดอำนาจ โทรศัพท์ไปแล้วก็บอกว่าคุณ ผมขอร้องหน่อย รัฐมนตรี ถามกลับว่าขอร้องอะไร เพื่อนผมก็บอกว่า ไม่ต้องพูดถึงความถูกความผิด ไม่ต้องพูดถึงใครดี ใครไม่ดี แต่ขอให้คำนึงถึงว่าขณะนี้บ้านเมืองไม่มีทางออก รัฐมนตรีถามกลับมาว่า แล้วอย่างไร เพื่อนผมบอกว่า คุณและคณะลาออกเถอะ วุฒิสภาเขาอยากจะตั้ง นายกรัฐมนตรีก็ตั้งไม่ได้เพราะว่ามีรัฐมนตรีอยู่จำนวนหนึ่ง เขาก็ตอบกลับมาบอกว่า ผมไม่ได้ทำอะไรผิด นายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้ทำอะไรผิด คุณต่างหากต้องมาช่วยผมแก้ปัญหา เขาใช้คำนี้นะครับ คุณต่างหากต้องมาช่วยผมแก้ปัญหา ขณะที่พูดนี้เป็นการพูดก่อนที่ ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินกรณี คุณถวิล เปลี่ยนศรี ท่านประธานครับ ก่อนหน้านั้นก็คงจะ นึกภาพออกว่าการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปไม่ได้เลย คนตายไป ๒๑ คน คุณวสุ สุฉันทบุตร ใครต่อใครเยอะแยะ เจ็บอีกหลายพันคน เอาอาวุธขึ้นมาใช้กันอย่างโจ๋งครึ่ม แต่แล้วก็ไม่สามารถจะจับมือใครดมได้แม้แต่เพียงคนเดียว แต่พอหลังจากนั้นเป็นต้นมา ทุกท่านทราบนะครับ คลังอาวุธขอนแก่น โมเดล คลังแสงที่สมุทรสาคร ที่มีนบุรี ที่ชลบุรี เอามารวบรวมกันเหมือนจะเป็นกองทัพกองทัพหนึ่ง ไม่รู้ไปทำศึกกับใคร ทำไมสามารถที่จะ จับกุมได้ กระทั่งตัวบุคคลก็มีการจับ ผมกำลังเรียนให้ทราบว่านี่คือเงื่อนไขทางการเมือง ที่เปลี่ยนไป เมื่อสังคมยืนอยู่ในหลักยุติธรรมในหลักกฎหมาย และใช้อำนาจอย่างถูกต้อง การเคารพกฎหมายก็เป็นเรื่องเป็นไปได้ นั่นเป็นกรณีศึกษาเรื่องหนึ่ง ผมมีอีกกรณีหนึ่ง ที่ผมอยากจะขออนุญาตหยิบมายกเป็นตัวอย่าง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ เรื่องของกรมอุทยานแห่งชาติ เป็นการแถลงของอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาตินะครับ บอกว่าครึ่งหลังของปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา กรมอุทยานสามารถทวงคืนผืนป่า ยึดคืนพื้นที่ได้ มากกว่า ๓๐,๐๐๐ ไร่ และสามารถจับกุมการกระทำผิดได้ ๖,๙๐๕ คดี มีผู้กระทำผิด ๓,๕๕๕ ราย เรื่องยึดไม้พะยูง เรื่องคดีบุกรุกป่า เรื่องสัตว์ป่า ๔๙๓ คดี อะไรต่อมิอะไร เยอะแยะนะครับ ผลงานสำคัญคือการทวงคืนผืนป่าอุทยานสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต ที่มีกลุ่มนายทุนทั้งไทยและ ต่างชาติ นักการเมือง นักธุรกิจ ผู้มีอิทธิพลเข้าไปรุกยึดครองพื้นที่ที่ได้ชื่อว่ามีมูลค่ามหาศาล เป็นผลสำเร็จ จน คสช. ยกย่องให้เป็นการทวงคืนผืนป่านำร่องของประเทศ นี่ก็เป็น อีกตัวอย่างหนึ่งที่เรียนให้ทราบว่าพอเหตุการณ์มันคลี่คลาย พออำนาจที่ไม่เป็นธรรม มันคลายตัวลงไป มันก็เกิดผลในทางที่จะทำให้กฎหมายเป็นมรรคเป็นผลขึ้นมา ท่านประธานครับ นั่นคือสิ่งที่ผมได้เรียนให้ที่ประชุมทราบ
กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ ประสาร มฤคพิทักษ์ สปช. ๑๓๒ ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตทบทวนประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับ การบังคับใช้กฎหมายเล็กน้อย เหตุเกิดที่สโมสรกองทัพบก เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ปีที่แล้ว ในการประชุม ๗ ฝ่าย ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ ผบ.ทบ. ได้ตั้งคำถามกับผู้แทนของ รัฐบาลว่า ตกลงยืนยันที่จะไม่ลาออกทั้งคณะหรือรายบุคคลใช่หรือไม่ คำตอบของตัวแทน รัฐบาลก็คือนาทีนี้ไม่ลาออก คำตอบกลับมาจาก ผบ.ทบ. ก็คือ ถ้าเช่นนั้นนาทีนี้ผมขอ ยึดอำนาจการปกครอง นี่เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ทุกคนรับรู้ ผมขอเรียนที่ประชุม ได้รับทราบเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กน้อย เพื่อนผมคนหนึ่งเป็นเพื่อนกับรัฐมนตรีซึ่งทำหน้าที่ อยู่ ณ เวลานั้นก่อนที่จะยึดอำนาจ โทรศัพท์ไปแล้วก็บอกว่าคุณ ผมขอร้องหน่อย รัฐมนตรี ถามกลับว่าขอร้องอะไร เพื่อนผมก็บอกว่า ไม่ต้องพูดถึงความถูกความผิด ไม่ต้องพูดถึงใครดี ใครไม่ดี แต่ขอให้คำนึงถึงว่าขณะนี้บ้านเมืองไม่มีทางออก รัฐมนตรีถามกลับมาว่า แล้วอย่างไร เพื่อนผมบอกว่า คุณและคณะลาออกเถอะ วุฒิสภาเขาอยากจะตั้ง นายกรัฐมนตรีก็ตั้งไม่ได้เพราะว่ามีรัฐมนตรีอยู่จำนวนหนึ่ง เขาก็ตอบกลับมาบอกว่า ผมไม่ได้ทำอะไรผิด นายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้ทำอะไรผิด คุณต่างหากต้องมาช่วยผมแก้ปัญหา เขาใช้คำนี้นะครับ คุณต่างหากต้องมาช่วยผมแก้ปัญหา ขณะที่พูดนี้เป็นการพูดก่อนที่ ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินกรณี คุณถวิล เปลี่ยนศรี ท่านประธานครับ ก่อนหน้านั้นก็คงจะ นึกภาพออกว่าการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปไม่ได้เลย คนตายไป ๒๑ คน คุณวสุ สุฉันทบุตร ใครต่อใครเยอะแยะ เจ็บอีกหลายพันคน เอาอาวุธขึ้นมาใช้กันอย่างโจ๋งครึ่ม แต่แล้วก็ไม่สามารถจะจับมือใครดมได้แม้แต่เพียงคนเดียว แต่พอหลังจากนั้นเป็นต้นมา ทุกท่านทราบนะครับ คลังอาวุธขอนแก่น โมเดล คลังแสงที่สมุทรสาคร ที่มีนบุรี ที่ชลบุรี เอามารวบรวมกันเหมือนจะเป็นกองทัพกองทัพหนึ่ง ไม่รู้ไปทำศึกกับใคร ทำไมสามารถที่จะ จับกุมได้ กระทั่งตัวบุคคลก็มีการจับ ผมกำลังเรียนให้ทราบว่านี่คือเงื่อนไขทางการเมือง ที่เปลี่ยนไป เมื่อสังคมยืนอยู่ในหลักยุติธรรมในหลักกฎหมาย และใช้อำนาจอย่างถูกต้อง การเคารพกฎหมายก็เป็นเรื่องเป็นไปได้ นั่นเป็นกรณีศึกษาเรื่องหนึ่ง ผมมีอีกกรณีหนึ่ง ที่ผมอยากจะขออนุญาตหยิบมายกเป็นตัวอย่าง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ เรื่องของกรมอุทยานแห่งชาติ เป็นการแถลงของอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาตินะครับ บอกว่าครึ่งหลังของปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา กรมอุทยานสามารถทวงคืนผืนป่า ยึดคืนพื้นที่ได้ มากกว่า ๓๐,๐๐๐ ไร่ และสามารถจับกุมการกระทำผิดได้ ๖,๙๐๕ คดี มีผู้กระทำผิด ๓,๕๕๕ ราย เรื่องยึดไม้พะยูง เรื่องคดีบุกรุกป่า เรื่องสัตว์ป่า ๔๙๓ คดี อะไรต่อมิอะไร เยอะแยะนะครับ ผลงานสำคัญคือการทวงคืนผืนป่าอุทยานสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต ที่มีกลุ่มนายทุนทั้งไทยและ ต่างชาติ นักการเมือง นักธุรกิจ ผู้มีอิทธิพลเข้าไปรุกยึดครองพื้นที่ที่ได้ชื่อว่ามีมูลค่ามหาศาล เป็นผลสำเร็จ จน คสช. ยกย่องให้เป็นการทวงคืนผืนป่านำร่องของประเทศ นี่ก็เป็น อีกตัวอย่างหนึ่งที่เรียนให้ทราบว่าพอเหตุการณ์มันคลี่คลาย พออำนาจที่ไม่เป็นธรรม มันคลายตัวลงไป มันก็เกิดผลในทางที่จะทำให้กฎหมายเป็นมรรคเป็นผลขึ้นมา ท่านประธานครับ นั่นคือสิ่งที่ผมได้เรียนให้ที่ประชุมทราบ
แต่อีกนิดหนึ่งครับนิดเดียวเท่านั้นเองนะครับ ขออนุญาต เพื่อนผมที่เป็นอดีต ส.ส. ปชป. ส่งจดหมายมาให้ผมดู ในนี้บอกว่าเป็นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ผมเอ่ยชื่อได้ครับ ขออภัย คุณวัชระ เพชรทอง บอกคณะกรรมการตำรวจ มีการประชุมเมื่อ ๗ มกราคม ๒๕๕๘ พิจารณาโยกย้ายข้าราชการตำรวจทั่วประเทศ ในที่นี้นายตำรวจคนหนึ่ง พันตำรวจเอก ถูกกล่าวหาจากการแถลงข่าวของ มีชื่อคนนะครับ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษว่าคนคนนี้ พันตำรวจเอกคนนี้เป็นผู้จ้างวาน สิบตำรวจตรี บัณฑิต สิทธิทุม เป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้ยิงวัดพระแก้ว ผมไปเปิดดูข่าว ก็พบว่าข่าววันที่ ๑๒ ธันวาคมนะครับ คนคนนี้อดีต ตชด. มือยิงระเบิดอาร์พีจี (RPG) ใส่วัดพระแก้ว ตกพลาดใส่กระทรวงกลาโหมมีความผิดตามฟ้องพิพากษาจำคุก ๓๘ ปีนะครับ แต่แล้วก็มาได้รับตำแหน่งเป็นผู้กำกับ สน. บวรมงคล นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งนะครับว่า ถึงแม้มันคลี่คลายไปในทางที่ว่าหลักกฎหมาย หลักยุติธรรมได้รับความเคารพ ในหลาย ๆ กรณี แต่แล้วก็มีเหตุการณ์แบบนี้ปรากฏขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็ต้องถามไปที่ ผบ.ตร. ครับว่า เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรทั้ง ๆ ที่มีคดีติดตัวขนาดนี้ ผมเรียนว่ากรณีที่ผมยกตัวอย่าง ขึ้นมานั้นเป็นกรณีที่ชี้ให้เห็นว่าถ้าบ้านเมืองดำรงหลักยุติธรรม ยืนอยู่ได้มั่นคง ในเชิงกฎหมาย ในเชิงหลักยุติธรรม และเจ้าหน้าที่มีความพยายามที่เป็นจริง ก็สามารถที่จะ ทำให้กฎหมายเป็นกฎหมาย ทำให้คนผิดได้รับโทษ และทำให้คนดีได้รับการตอบแทนที่ถูกต้อง ขอบคุณครับ
แต่อีกนิดหนึ่งครับนิดเดียวเท่านั้นเองนะครับ ขออนุญาต เพื่อนผมที่เป็นอดีต ส.ส. ปชป. ส่งจดหมายมาให้ผมดู ในนี้บอกว่าเป็นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ผมเอ่ยชื่อได้ครับ ขออภัย คุณวัชระ เพชรทอง บอกคณะกรรมการตำรวจ มีการประชุมเมื่อ ๗ มกราคม ๒๕๕๘ พิจารณาโยกย้ายข้าราชการตำรวจทั่วประเทศ ในที่นี้นายตำรวจคนหนึ่ง พันตำรวจเอก ถูกกล่าวหาจากการแถลงข่าวของ มีชื่อคนนะครับ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษว่าคนคนนี้ พันตำรวจเอกคนนี้เป็นผู้จ้างวาน สิบตำรวจตรี บัณฑิต สิทธิทุม เป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้ยิงวัดพระแก้ว ผมไปเปิดดูข่าว ก็พบว่าข่าววันที่ ๑๒ ธันวาคมนะครับ คนคนนี้อดีต ตชด. มือยิงระเบิดอาร์พีจี (RPG) ใส่วัดพระแก้ว ตกพลาดใส่กระทรวงกลาโหมมีความผิดตามฟ้องพิพากษาจำคุก ๓๘ ปีนะครับ แต่แล้วก็มาได้รับตำแหน่งเป็นผู้กำกับ สน. บวรมงคล นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งนะครับว่า ถึงแม้มันคลี่คลายไปในทางที่ว่าหลักกฎหมาย หลักยุติธรรมได้รับความเคารพ ในหลาย ๆ กรณี แต่แล้วก็มีเหตุการณ์แบบนี้ปรากฏขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็ต้องถามไปที่ ผบ.ตร. ครับว่า เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรทั้ง ๆ ที่มีคดีติดตัวขนาดนี้ ผมเรียนว่ากรณีที่ผมยกตัวอย่าง ขึ้นมานั้นเป็นกรณีที่ชี้ให้เห็นว่าถ้าบ้านเมืองดำรงหลักยุติธรรม ยืนอยู่ได้มั่นคง ในเชิงกฎหมาย ในเชิงหลักยุติธรรม และเจ้าหน้าที่มีความพยายามที่เป็นจริง ก็สามารถที่จะ ทำให้กฎหมายเป็นกฎหมาย ทำให้คนผิดได้รับโทษ และทำให้คนดีได้รับการตอบแทนที่ถูกต้อง ขอบคุณครับ
กราบเรียนประธานที่เคารพ ประสาร มฤคพิทักษ์ สปช. หมายเลข ๑๓๒ ท่านประธานครับ ขออนุญาตเอ่ยนาม เมื่อกี้อาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ได้ชี้ให้เห็นว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ผมเองในระยะที่ทำหน้าที่สมาชิก วุฒิสภาก็ได้มีโอกาสผ่านตาพระราชบัญญัติฉบับนี้ แต่แล้วมันก็มีอันจะต้องยกเลิกหรือว่า สลายไปเพราะเหตุการยุบสภา นั่นแปลว่าเป็นกฎหมายอีกหนึ่งฉบับที่มีสภาพล้มลุก คลุกคลานมาตลอด กฎหมายแบบนี้มีหลายฉบับเหมือนกันนะครับ เช่น กฎหมาย กสทช. ก็มี ลักษณะใกล้เคียงกันนะครับ มีสภาพแบบเดียวกัน ที่ผมพูดอย่างนี้ก็ชี้ให้เห็นว่าตั้งแต่ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ต่อเนื่องมารัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ก็ได้เห็นความสำคัญกระทั่ง มีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อที่จะให้ก่อเกิดองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และในที่สุดก็มาสู่การประชุมในวันนี้ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดเราได้มีการรับหลักการไปแล้ว ในการพิจารณาเมื่อครั้งก่อน นั่นแปลว่าหลักการโดยรวมของพระราชบัญญัติฉบับนี้ เรารับรองกันไปแล้วนะครับ อย่างไรก็ตามเมื่อมีการนำเข้ามาสู่การพิจารณาอีกครั้งหนึ่งก็มี ข้อที่จะต้องพิจารณานะครับ ซึ่งผมก็ไม่ได้ขัดข้องอะไร แต่ผมเรียนว่าหลักใหญ่ ๆ โดยรวม แล้ว ๘๐-๙๐ เปอร์เซ็นต์ ผมเห็นด้วย ท่านประธานครับ ทุกย่างก้าวของเราตั้งแต่ตื่นนอน จนเข้านอน เราล้วนแต่เป็นผู้บริโภค ทุกคนในที่นี้เป็นผู้บริโภค ตื่นขึ้นมาเปิดทีวี (TV) ดู ก็บริโภคทีวีแล้ว ใช้ยาสีฟันก็บริโภคยาสีฟัน ใช้สบู่ก็เช่นเดียวกัน เปิดมือถือ เปิดไอแพด (iPad) เปิดสมาร์ตโฟน (Smart phone) อะไรก็ตาม เดินบนถนน ไปโรงพยาบาล ไปซื้อยา ที่ร้านขายยา ไปกินก๋วยเตี๋ยว อ่านหนังสือพิมพ์ กระทั่งเข้านอน เราล้วนแต่ต้องรับการบริการ จากผู้ให้บริการและเราก็เป็นผู้บริโภคกันทุกคน จริงอยู่ครับมี สคบ. ซึ่งก็ทำหน้าที่ได้ดี พอสมควรผมยอมรับ แต่ว่าเรื่องของเรื่องก็คือองค์กรนี้ชื่อว่าองค์กรอิสระ คำว่า อิสระ ก็หมายความว่าไปพ้นจากราชการ ไปพ้นจากการเมือง ไปพ้นจากการครอบงำทั้งหลาย ทั้งปวง และโดยบันทึกเหตุผลที่มาก็แจ่มชัดนะครับ ต้องการที่จะลดความเหลื่อมล้ำก่อให้เกิด การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ก่อให้เกิดการตรวจสอบ ที่วางไว้อย่างนี้นี่ครับคือแนวทางปฏิรูปของ เพราะฉะนั้นพระราชบัญญัตินี้คือตัวช่วยของพี่น้องประชาชนไม่ว่าจะเป็นระดับไหนก็แล้วแต่ เศรษฐีมั่งมีหรือยาจกก็ตามแต่นะครับ เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่สมควรจะมีอย่างยิ่ง แต่ที่สำคัญก็คือว่าเมื่อมีแล้วในทางปฏิบัตินั้นได้ปฏิบัติแค่ไหน ซึ่งเพื่อนสมาชิกก็ได้อภิปราย ไปแล้ว ถ้ามีแล้วก็ควรจะได้ปฏิบัติมิใช่มีเพื่อตั้งหรือว่ามีสักแต่ว่ามี สิ่งที่ผมได้ดูนะครับ สิ่งที่อยากจะเสนอก็คือในเรื่องของหลักการเหตุผลตรงนี้ที่ขึ้นต้นว่า โดยที่เป็นการปฏิรูป ประเทศด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ถ้าหากว่าจะปรับเปลี่ยนเป็นว่า ด้วยมีการกำหนดปฏิรูป ประเทศด้านการคุ้มครองผู้บริโภค น่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่านะครับ และจะชัดกว่าไหม หรือด้วยสภาปฏิรูปแห่งชาติได้กำหนดให้มีการปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ในวรรคแรก นะครับ และตอนสุดท้ายที่บอกว่าบรรทัดที่ ๒ ขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย ผมคิดว่าน่าจะ ตัดคำว่า ด้วย ออกนะครับ เพื่อให้น้ำหนักมีมากขึ้น ก็เป็นว่า สนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินการองค์การอิสระดังกล่าว เอาให้ชัดให้หนักแน่นไปเลย ไม่ต้องมี ด้วย ครับ
กราบเรียนประธานที่เคารพ ประสาร มฤคพิทักษ์ สปช. หมายเลข ๑๓๒ ท่านประธานครับ ขออนุญาตเอ่ยนาม เมื่อกี้อาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ได้ชี้ให้เห็นว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ผมเองในระยะที่ทำหน้าที่สมาชิก วุฒิสภาก็ได้มีโอกาสผ่านตาพระราชบัญญัติฉบับนี้ แต่แล้วมันก็มีอันจะต้องยกเลิกหรือว่า สลายไปเพราะเหตุการยุบสภา นั่นแปลว่าเป็นกฎหมายอีกหนึ่งฉบับที่มีสภาพล้มลุก คลุกคลานมาตลอด กฎหมายแบบนี้มีหลายฉบับเหมือนกันนะครับ เช่น กฎหมาย กสทช. ก็มี ลักษณะใกล้เคียงกันนะครับ มีสภาพแบบเดียวกัน ที่ผมพูดอย่างนี้ก็ชี้ให้เห็นว่าตั้งแต่ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ต่อเนื่องมารัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ก็ได้เห็นความสำคัญกระทั่ง มีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อที่จะให้ก่อเกิดองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และในที่สุดก็มาสู่การประชุมในวันนี้ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดเราได้มีการรับหลักการไปแล้ว ในการพิจารณาเมื่อครั้งก่อน นั่นแปลว่าหลักการโดยรวมของพระราชบัญญัติฉบับนี้ เรารับรองกันไปแล้วนะครับ อย่างไรก็ตามเมื่อมีการนำเข้ามาสู่การพิจารณาอีกครั้งหนึ่งก็มี ข้อที่จะต้องพิจารณานะครับ ซึ่งผมก็ไม่ได้ขัดข้องอะไร แต่ผมเรียนว่าหลักใหญ่ ๆ โดยรวม แล้ว ๘๐-๙๐ เปอร์เซ็นต์ ผมเห็นด้วย ท่านประธานครับ ทุกย่างก้าวของเราตั้งแต่ตื่นนอน จนเข้านอน เราล้วนแต่เป็นผู้บริโภค ทุกคนในที่นี้เป็นผู้บริโภค ตื่นขึ้นมาเปิดทีวี (TV) ดู ก็บริโภคทีวีแล้ว ใช้ยาสีฟันก็บริโภคยาสีฟัน ใช้สบู่ก็เช่นเดียวกัน เปิดมือถือ เปิดไอแพด (iPad) เปิดสมาร์ตโฟน (Smart phone) อะไรก็ตาม เดินบนถนน ไปโรงพยาบาล ไปซื้อยา ที่ร้านขายยา ไปกินก๋วยเตี๋ยว อ่านหนังสือพิมพ์ กระทั่งเข้านอน เราล้วนแต่ต้องรับการบริการ จากผู้ให้บริการและเราก็เป็นผู้บริโภคกันทุกคน จริงอยู่ครับมี สคบ. ซึ่งก็ทำหน้าที่ได้ดี พอสมควรผมยอมรับ แต่ว่าเรื่องของเรื่องก็คือองค์กรนี้ชื่อว่าองค์กรอิสระ คำว่า อิสระ ก็หมายความว่าไปพ้นจากราชการ ไปพ้นจากการเมือง ไปพ้นจากการครอบงำทั้งหลาย ทั้งปวง และโดยบันทึกเหตุผลที่มาก็แจ่มชัดนะครับ ต้องการที่จะลดความเหลื่อมล้ำก่อให้เกิด การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ก่อให้เกิดการตรวจสอบ ที่วางไว้อย่างนี้นี่ครับคือแนวทางปฏิรูปของ เพราะฉะนั้นพระราชบัญญัตินี้คือตัวช่วยของพี่น้องประชาชนไม่ว่าจะเป็นระดับไหนก็แล้วแต่ เศรษฐีมั่งมีหรือยาจกก็ตามแต่นะครับ เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่สมควรจะมีอย่างยิ่ง แต่ที่สำคัญก็คือว่าเมื่อมีแล้วในทางปฏิบัตินั้นได้ปฏิบัติแค่ไหน ซึ่งเพื่อนสมาชิกก็ได้อภิปราย ไปแล้ว ถ้ามีแล้วก็ควรจะได้ปฏิบัติมิใช่มีเพื่อตั้งหรือว่ามีสักแต่ว่ามี สิ่งที่ผมได้ดูนะครับ สิ่งที่อยากจะเสนอก็คือในเรื่องของหลักการเหตุผลตรงนี้ที่ขึ้นต้นว่า โดยที่เป็นการปฏิรูป ประเทศด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ถ้าหากว่าจะปรับเปลี่ยนเป็นว่า ด้วยมีการกำหนดปฏิรูป ประเทศด้านการคุ้มครองผู้บริโภค น่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่านะครับ และจะชัดกว่าไหม หรือด้วยสภาปฏิรูปแห่งชาติได้กำหนดให้มีการปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ในวรรคแรก นะครับ และตอนสุดท้ายที่บอกว่าบรรทัดที่ ๒ ขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย ผมคิดว่าน่าจะ ตัดคำว่า ด้วย ออกนะครับ เพื่อให้น้ำหนักมีมากขึ้น ก็เป็นว่า สนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินการองค์การอิสระดังกล่าว เอาให้ชัดให้หนักแน่นไปเลย ไม่ต้องมี ด้วย ครับ
ทีนี้ในหน้าอื่นนะครับ ซึ่งเป็นมาตราต่าง ๆ ในหน้าที่ ๑๔ นะครับ ซึ่งเป็น มาตรา ๑๓ ในข้อ ๔ ว่า เคยได้รับโทษจำคุก น่าจะใช้คำว่า เคยต้องโทษจำคุก หรือไม่ เพราะ คำว่า ได้รับ มักจะเป็นไปในทางบวกนะครับ เคยต้องโทษจำคุก หรือเปล่า อันนี้เป็นต้น
ทีนี้ในหน้าอื่นนะครับ ซึ่งเป็นมาตราต่าง ๆ ในหน้าที่ ๑๔ นะครับ ซึ่งเป็น มาตรา ๑๓ ในข้อ ๔ ว่า เคยได้รับโทษจำคุก น่าจะใช้คำว่า เคยต้องโทษจำคุก หรือไม่ เพราะ คำว่า ได้รับ มักจะเป็นไปในทางบวกนะครับ เคยต้องโทษจำคุก หรือเปล่า อันนี้เป็นต้น
แล้วในมาตรา ๑๔ อีกมาตราหนึ่งนะครับ ในหน้า ๑๕ ผมอยากจะเพิ่มว่าให้มี เกษตรกรด้วยส่วนหนึ่งในกรรมการสรรหานะครับ เพราะจริง ๆ แล้วเกษตรกรเป็นคน ส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะในการจะสรรหากรรมการมาในทั้งหมดมี ๙ ถ้าจะเพิ่มเป็น ๑๐ เป็นองค์กรเกษตรอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศเรานะครับ อันนี้ผม อยากจะเพิ่มในส่วนนี้
แล้วในมาตรา ๑๔ อีกมาตราหนึ่งนะครับ ในหน้า ๑๕ ผมอยากจะเพิ่มว่าให้มี เกษตรกรด้วยส่วนหนึ่งในกรรมการสรรหานะครับ เพราะจริง ๆ แล้วเกษตรกรเป็นคน ส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะในการจะสรรหากรรมการมาในทั้งหมดมี ๙ ถ้าจะเพิ่มเป็น ๑๐ เป็นองค์กรเกษตรอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศเรานะครับ อันนี้ผม อยากจะเพิ่มในส่วนนี้
แล้วก็ในส่วนของบทเฉพาะกาลนะครับที่บอกว่า ให้คณะกรรมการจัดทำ ประมวลจริยธรรมขององค์การให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี ผมว่าที่จริงประมวลจริยธรรม เรารู้กันอยู่แล้วว่ามีอะไรบ้าง อย่างไร ผมว่าแค่ ๖ เดือนก็พอแล้วครับ เพราะ ๑ ปี วาระ ๔ ปี ทำงานไปแล้วปีหนึ่งกว่าประมวลจริยธรรมจะออกมาช้าไป ผมว่าปรับแค่ ๖ เดือนครับ แต่โดยทั่วไปมักจะลงเป็นปีเป็นอะไรกัน ผมว่า ๖ เดือนก็ได้ครับเรื่องเวลา เพราะสิ่งเหล่านี้ รู้กันอยู่ว่าจริยธรรมมีอะไรบ้างนะครับ อันนี้ผมขอปรับนะครับ ถ้า ๖ เดือนได้ก็จะเป็นการดี ยิ่งถ้าความเห็นของผมนะครับ
แล้วก็ในส่วนของบทเฉพาะกาลนะครับที่บอกว่า ให้คณะกรรมการจัดทำ ประมวลจริยธรรมขององค์การให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี ผมว่าที่จริงประมวลจริยธรรม เรารู้กันอยู่แล้วว่ามีอะไรบ้าง อย่างไร ผมว่าแค่ ๖ เดือนก็พอแล้วครับ เพราะ ๑ ปี วาระ ๔ ปี ทำงานไปแล้วปีหนึ่งกว่าประมวลจริยธรรมจะออกมาช้าไป ผมว่าปรับแค่ ๖ เดือนครับ แต่โดยทั่วไปมักจะลงเป็นปีเป็นอะไรกัน ผมว่า ๖ เดือนก็ได้ครับเรื่องเวลา เพราะสิ่งเหล่านี้ รู้กันอยู่ว่าจริยธรรมมีอะไรบ้างนะครับ อันนี้ผมขอปรับนะครับ ถ้า ๖ เดือนได้ก็จะเป็นการดี ยิ่งถ้าความเห็นของผมนะครับ
ในเรื่องของการบริโภคทั้งหลาย ผมเองเคยประสบโดยตรง เช่น ขึ้นเครื่องบิน บางที ๖ ชั่วโมงครับ เครื่องบินยังไม่ถึง ถามว่าเครื่องบินอยู่ไหน ผมก็ไม่รู้ ถามฝ่ายเจ้าหน้าที่ เขาบอกเครื่องบินยังไม่มา ก็เลยต้องติดแหง็กอยู่ที่สนามบิน เร็ว ๆ ล่าสุดครับจะมาประชุม เมื่อสัปดาห์ก่อน ๑ ชั่วโมงเครื่องบินยังไม่ขึ้นครับ นี่คืออะไร อย่างไร ก็อยากจะให้มีกฎหมาย ลักษณะนี้ว่า ทำอย่างไรให้ผู้ที่เสียเปรียบด้วยประการต่าง ๆ จะได้ดีขึ้นบ้างครับ เพราะฉะนั้น พระราชบัญญัตินี้คือตัวช่วยประชาชนไม่ว่าระดับไหนก็แล้วแต่ สำหรับคนที่จะเสียเปรียบ มากก็คือคนที่อยู่ชนบทละครับ อันนี้ผมต้องกล่าวอย่างนี้ เวลาเขามีอะไร อย่างไร เขาไม่มี สิทธิโต้เถียง เขาพูดไม่ถูก เขาพูดไม่ได้ เขาไม่รู้กฎหมาย หรือเขาไม่มีความรู้มากพอ ก็อยากจะฝากว่าพระราชบัญญัตินี้ออกไปดูให้ดีที่สุดนะครับ แต่ผมเชื่อว่า สนช. กลั่นกรอง อีกทีหนึ่งก็น่าจะดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ล่ะครับ ก็ขอฝากว่าอย่างไรเสียนะครับ ผู้ที่ดูแลกฎหมาย ต่าง ๆ ขอให้มีผลบังคับใช้จริง ๆ อย่าเพียงแต่ว่ามี เพราะจริง ๆ แล้วสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ขณะนี้ กฎหมายต่าง ๆ นั้นบังคับใช้ไม่ทราบจะถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์หรือเปล่า อันนี้ผมขอฝากตรงนี้ นะครับ โดยเฉพาะรัฐบาลและบรรดาผู้ใช้กฎหมายทั้งหลายนะครับ ขอบคุณมากครับ ท่านประธานครับ
ในเรื่องของการบริโภคทั้งหลาย ผมเองเคยประสบโดยตรง เช่น ขึ้นเครื่องบิน บางที ๖ ชั่วโมงครับ เครื่องบินยังไม่ถึง ถามว่าเครื่องบินอยู่ไหน ผมก็ไม่รู้ ถามฝ่ายเจ้าหน้าที่ เขาบอกเครื่องบินยังไม่มา ก็เลยต้องติดแหง็กอยู่ที่สนามบิน เร็ว ๆ ล่าสุดครับจะมาประชุม เมื่อสัปดาห์ก่อน ๑ ชั่วโมงเครื่องบินยังไม่ขึ้นครับ นี่คืออะไร อย่างไร ก็อยากจะให้มีกฎหมาย ลักษณะนี้ว่า ทำอย่างไรให้ผู้ที่เสียเปรียบด้วยประการต่าง ๆ จะได้ดีขึ้นบ้างครับ เพราะฉะนั้น พระราชบัญญัตินี้คือตัวช่วยประชาชนไม่ว่าระดับไหนก็แล้วแต่ สำหรับคนที่จะเสียเปรียบ มากก็คือคนที่อยู่ชนบทละครับ อันนี้ผมต้องกล่าวอย่างนี้ เวลาเขามีอะไร อย่างไร เขาไม่มี สิทธิโต้เถียง เขาพูดไม่ถูก เขาพูดไม่ได้ เขาไม่รู้กฎหมาย หรือเขาไม่มีความรู้มากพอ ก็อยากจะฝากว่าพระราชบัญญัตินี้ออกไปดูให้ดีที่สุดนะครับ แต่ผมเชื่อว่า สนช. กลั่นกรอง อีกทีหนึ่งก็น่าจะดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ล่ะครับ ก็ขอฝากว่าอย่างไรเสียนะครับ ผู้ที่ดูแลกฎหมาย ต่าง ๆ ขอให้มีผลบังคับใช้จริง ๆ อย่าเพียงแต่ว่ามี เพราะจริง ๆ แล้วสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ขณะนี้ กฎหมายต่าง ๆ นั้นบังคับใช้ไม่ทราบจะถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์หรือเปล่า อันนี้ผมขอฝากตรงนี้ นะครับ โดยเฉพาะรัฐบาลและบรรดาผู้ใช้กฎหมายทั้งหลายนะครับ ขอบคุณมากครับ ท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม ประสาร มฤคพิทักษ์ มาทีหลังแล้วเครื่องมันปิดไปก่อน ขอแสดงตนครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ประสาร มฤคพิทักษ์ นะครับ ท่านประธานครับ ในใบที่เพิ่งแจกตารางกำหนดการแผ่นเดียวที่เพิ่งได้รับ ทุกคนนี้นะครับบอกว่า ๑๐ โมง ถึง ๑๐ โมง ๒๐ นาที แล้วก็แบ่งกันไปตามคณะ เวลานี้ ๑๐ โมง ๔๐ นาที เวลามันล่ามา ๔๐ นาที แปลว่าเราต้องขยับไปตามเวลาที่เป็นจริง ใช่ไหมครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม ประสาร มฤคพิทักษ์ นะครับ ผมคิดว่าตรงนี้เป็นเส้นแบ่งที่ควรจะขีดชัดเจนนะครับ ถ้าเผื่อเราลงมติ รับไปทั้งหมดก็แปลว่าเข้าทางที่จะต้องเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ แต่เดี๋ยวนี้ความแจ่มชัดอยู่ตรงว่า ให้เปิดหรือให้ชะลอ ผมคิดว่านี่คือเส้นแบ่งที่ชัดเจน แล้วการลงมติวันนี้ควรจะแจ่มชัดตรงนี้ ถ้าเผื่อเหมาไปเลยทั้งหมดนี่นะครับเท่ากับว่าเรารับรองตามมติเสียงข้างมากของกรรมาธิการ ถ้าอย่างนั้นผมเห็นว่าควรชะลอ แล้วผมจะลงมติอย่างไร ดังนั้นขอเสนอให้มีความชัดเจนครับว่า ลำดับแรกคือจะรับเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ หรือไม่ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย แล้วถึงมาลำดับที่ ๒ ว่าจะอย่างไร ผมคิดว่าอย่างนี้ก็จะแจ่มชัดมากกว่า มิฉะนั้นถ้าผมยกมือก็กลายเป็นว่า ผมรับรองรอบ ๒๑ ให้เปิดสัมปทานครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม ประสาร มฤคพิทักษ์ นะครับ ผมคิดว่าตรงนี้เป็นเส้นแบ่งที่ควรจะขีดชัดเจนนะครับ ถ้าเผื่อเราลงมติ รับไปทั้งหมดก็แปลว่าเข้าทางที่จะต้องเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ แต่เดี๋ยวนี้ความแจ่มชัดอยู่ตรงว่า ให้เปิดหรือให้ชะลอ ผมคิดว่านี่คือเส้นแบ่งที่ชัดเจน แล้วการลงมติวันนี้ควรจะแจ่มชัดตรงนี้ ถ้าเผื่อเหมาไปเลยทั้งหมดนี่นะครับเท่ากับว่าเรารับรองตามมติเสียงข้างมากของกรรมาธิการ ถ้าอย่างนั้นผมเห็นว่าควรชะลอ แล้วผมจะลงมติอย่างไร ดังนั้นขอเสนอให้มีความชัดเจนครับว่า ลำดับแรกคือจะรับเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ หรือไม่ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย แล้วถึงมาลำดับที่ ๒ ว่าจะอย่างไร ผมคิดว่าอย่างนี้ก็จะแจ่มชัดมากกว่า มิฉะนั้นถ้าผมยกมือก็กลายเป็นว่า ผมรับรองรอบ ๒๑ ให้เปิดสัมปทานครับ ขอบคุณครับ
ท่านประธานครับ ประสาร มฤคพิทักษ์ ผมคิดว่าเราเดินหน้าในการลงมติได้ เอาละ ส่งให้กับรัฐบาลก็ส่ง แต่ว่าขอให้แสดงมตินะครับ คือจะเดินหน้าเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ หรือจะเลื่อน นี่ประเด็นที่ ๑ นะครับ
ท่านประธานครับ ประสาร มฤคพิทักษ์ ผมคิดว่าเราเดินหน้าในการลงมติได้ เอาละ ส่งให้กับรัฐบาลก็ส่ง แต่ว่าขอให้แสดงมตินะครับ คือจะเดินหน้าเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ หรือจะเลื่อน นี่ประเด็นที่ ๑ นะครับ
ประเด็นที่ ๒ ก็คือว่าสัมปทานหรือพีเอสซีนะครับ ผมคิดว่าลงมติอย่างนี้ได้ แล้วก็ถ้าอย่างนี้เราก็จะแจ่มชัดเท่ากับเราตัดสินใจในเรื่องที่ควรตัดสินใจ เพียงแค่ส่งไปนี่ เป็นการไม่ตัดสินใจในเรื่องที่ควรตัดสินใจ แล้วผมคิดว่าเราทำหน้าที่ไม่สมศักดิ์ศรีครับ ขอบคุณครับ ขอเสียงรับรองครับ ถ้าเผื่อเห็นด้วยกับผมครับ ขอบคุณครับ
ประเด็นที่ ๒ ก็คือว่าสัมปทานหรือพีเอสซีนะครับ ผมคิดว่าลงมติอย่างนี้ได้ แล้วก็ถ้าอย่างนี้เราก็จะแจ่มชัดเท่ากับเราตัดสินใจในเรื่องที่ควรตัดสินใจ เพียงแค่ส่งไปนี่ เป็นการไม่ตัดสินใจในเรื่องที่ควรตัดสินใจ แล้วผมคิดว่าเราทำหน้าที่ไม่สมศักดิ์ศรีครับ ขอบคุณครับ ขอเสียงรับรองครับ ถ้าเผื่อเห็นด้วยกับผมครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนประธานที่เคารพ ประสาร มฤคพิทักษ์ สปช. ครับ ท่านประธานครับ ผมคิดว่าฉบับมีส่วนร่วมคงไม่มีปัญหาอะไรนะครับ ไม่มีประเด็นขัดแย้ง แต่ประเด็นขัดแย้งมี ๒ ประเด็น ๑. จะเปิดเดินหน้าเปิดรอบ ๒๑ หรือเลื่อนนะครับ มีทางเลือกทางใดทางหนึ่ง ๒. สัมปทานหรือพีเอสซี ผมยืนยันให้มีการลงมติ ใน ๒ ประเด็นนี้ ขอเสียงรับรองด้วยครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนประธานที่เคารพ ประสาร มฤคพิทักษ์ สปช. ครับ ท่านประธานครับ ผมคิดว่าฉบับมีส่วนร่วมคงไม่มีปัญหาอะไรนะครับ ไม่มีประเด็นขัดแย้ง แต่ประเด็นขัดแย้งมี ๒ ประเด็น ๑. จะเปิดเดินหน้าเปิดรอบ ๒๑ หรือเลื่อนนะครับ มีทางเลือกทางใดทางหนึ่ง ๒. สัมปทานหรือพีเอสซี ผมยืนยันให้มีการลงมติ ใน ๒ ประเด็นนี้ ขอเสียงรับรองด้วยครับ ขอบคุณครับ
ท่านประธานครับ ผม ประสาร มฤคพิทักษ์ อีกครั้งนะครับ สปช. เมื่อลงมติกันไปแล้วว่าส่งนี่นะครับ ทีนี้ตามข้อเสนอหน้า ๑๔ ให้ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ ๒๑ ด้วยระบบสัมปทาน ตรงนี้ครับที่ผมขอให้มี การลงมติว่าเห็นด้วยกับการให้เปิดสัมปทานหรือให้ชะลอ เพราะผมต้องการออกเสียงว่า ผมจะชะลอการเปิดสัมปทาน ทีนี้จะลงมติกันอย่างไรก็สุดแท้แต่ที่ประชุมครับ แต่ผมต้องการ จะลงมติว่าไม่เห็นด้วยกับการให้เปิดสัมปทานรอบ ๒๑ ขอพิจารณาด้วยครับ ขอบคุณครับ
ท่านประธานครับ ผม ประสาร มฤคพิทักษ์ อีกครั้งนะครับ สปช. เมื่อลงมติกันไปแล้วว่าส่งนี่นะครับ ทีนี้ตามข้อเสนอหน้า ๑๔ ให้ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ ๒๑ ด้วยระบบสัมปทาน ตรงนี้ครับที่ผมขอให้มี การลงมติว่าเห็นด้วยกับการให้เปิดสัมปทานหรือให้ชะลอ เพราะผมต้องการออกเสียงว่า ผมจะชะลอการเปิดสัมปทาน ทีนี้จะลงมติกันอย่างไรก็สุดแท้แต่ที่ประชุมครับ แต่ผมต้องการ จะลงมติว่าไม่เห็นด้วยกับการให้เปิดสัมปทานรอบ ๒๑ ขอพิจารณาด้วยครับ ขอบคุณครับ