ข้อมูลการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

ปี 2558

ปี 2558

ครั้งที่ 7/2558 วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 11.06 - 15.58 น.

ครั้งที่ 7/2558 วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09.31 - 15.27 น.

เอกสารต้นฉบับ: บันทึกการประชุมบันทึกการออกเสียงและลงคะแนนรายงานการประชุม

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เรียนท่านสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติครับ ขณะนี้มีสมาชิกลงชื่อมาประชุมแล้ว ๑๖๑ ท่าน ครบองค์ประชุมแล้ว ผมขอดำเนินการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาตินะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

แจ้งรับทราบรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการของคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ ขอเรียนเชิญ ท่านประธานหรือผู้แทนของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเข้าประจำที่ ด้วยครับ ท่านคำนูณเรียนเชิญเลยครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพ ผม คำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ ได้รับมอบหมายจากประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้มารายงาน ความคืบหน้าในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ขออนุญาตรายงาน ณ ที่นี้นะครับท่านประธาน

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ผลการพิจารณาในวันนี้จะขอรายงานตามเอกสารที่ทุกท่านจะได้รับแจกจาก คณะอนุกรรมาธิการกลั่นกรอง รวบรวม สังเคราะห์ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ การยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นเอกสารนะครับ ผมจะรายงานในวันนี้ผลการพิจารณา ใน ๒ หมวดนะครับ คือหมวด ๕ การคลังและการงบประมาณ และหมวด ๖ ความสัมพันธ์ ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชนนะครับ ส่วนหมวดการตรวจสอบการใช้ อำนาจรัฐทั้งหมวด พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช จะได้มารายงานในวันพรุ่งนี้ และถ้าไม่เสร็จ ก็จะต่อไปในวันจันทร์หน้านะครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

หมวด ๕ การคลังและการงบประมาณ ผ่านการพิจารณาเมื่อวันพฤหัสบดี ที่แล้วนะครับ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๘ มีรวมทั้งสิ้น ๗ มาตรา หมวดนี้มีความสำคัญ อย่างยิ่งหมวดหนึ่ง เพราะอยู่ในกรอบที่รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี ๒๕๕๗ บัญญัติไว้ถึง ๒ อนุมาตรา คือมาตรา ๓๕ (๗) และมาตรา ๓๕ (๘)

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ใน (๗) กล่าวไว้ว่า กลไกที่มีประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างและขับเคลื่อน ระบบเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน และป้องกันการบริหาร ราชการแผ่นดินที่มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบ เศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

มาตรา ๓๕ (๘) กล่าวไว้ว่า กลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายของรัฐ ให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและตอบสนองต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน โดยสอดคล้องกับ สถานะทางการเงิน การคลังของประเทศ และกลไกการตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงิน ของรัฐที่มีประสิทธิภาพ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

หลักการในหมวด ๕ นี้ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติขึ้น แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ รวมทั้งสิ้น ๖ ประการด้วยกันนะครับ กล่าวคือ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ในประการที่ ๑ ได้มีการวางหลักการใหม่เกี่ยวกับการคลังและ การงบประมาณของประเทศไว้ในมาตรา ๑ ของหมวด ๕ นี้ ว่าการดำเนินนโยบายการคลัง และการงบประมาณของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล หลักประสิทธิภาพและ ความคุ้มค่า หลักการรักษาวินัยทางการคลัง และหลักความเป็นธรรมในสังคม

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ในประการที่ ๒ ได้นิยามคำว่า เงินแผ่นดิน ให้หมายรวมถึงเงินกู้ไว้ด้วย ในมาตรา ๒ ของหมวดนี้นะครับ เงินแผ่นดิน หมายความรวมถึง

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

(๑) เงินรายได้แผ่นดิน เงินกู้ เงินคงคลัง และเงินรายได้จากทรัพย์สิน และสิทธิประโยชน์อื่นที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครอง เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวม

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

(๒) เงินรายได้จากการดำเนินงานหรือจากทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์อื่น ที่หน่วยงานของรัฐถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครอง และใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เป็นการเฉพาะโดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

นี่ก็เป็นการบัญญัตินิยามคำว่า เงินแผ่นดิน ไว้นะครับ เพราะเคยมีปัญหา มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ แล้วว่า เงินกู้โดยกฎหมายพิเศษนั้นถือเป็นเงินแผ่นดินหรือไม่นะครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประการที่ ๓ ได้วางระบบงบประมาณใหม่ที่เรียกเป็นภาษาวิชาการว่า ระบบ งบประมาณสองขา ก็คือจากนี้ไปร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีจะใช้ชื่อเพียงว่า ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี เท่านั้น ไม่ใช่ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปี ความแตกต่างที่แตกต่างออกไปก็คือ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ประจำปีจะต้องนำเสนอทางด้านรายได้ที่นอกเหนือไปจากการประมาณการโดยสังเขปไว้ด้วย ก็คือจะต้องมีความละเอียดขึ้นครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประการที่ ๔ ก็คือให้การจัดสรรงบประมาณ แต่เดิมที่เป็นไปตามหน่วยงาน ตามภารกิจนั้นเพิ่มมิติการจัดสรรงบประมาณตามพื้นที่เข้าไปด้วยนะครับ ทั้ง ๒ ประการนี้ อยู่ในมาตรา ๓ ของหมวดนี้ในวรรคแรกและวรรคสองนะครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

และประการที่ ๕ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี ในชั้นสภาผู้แทนราษฎร หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแปรญัตติลดหรือตัดทอนงบประมาณ จำนวนใดแล้ว จะนำไปใช้ในโครงการอื่นที่ตั้งขึ้นใหม่ไม่ได้ อันนี้จะบัญญัติไว้ในมาตรา ๔ ของหมวดนี้ในวรรคหก ขออนุญาตอ่านนะครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ในกรณีที่มีการแปรญัตติในทางลด หรือตัดทอนรายการ หรือจำนวน ในรายการใด จำนวนรายจ่ายที่ลดหรือตัดทอนนั้นจะนำไปจัดสรรสำหรับรายการ กิจกรรม แผนงาน หรือโครงการที่ตั้งขึ้นใหม่มิได้

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

และประการสุดท้ายของหมวดการคลังและงบประมาณที่แตกต่างออกไป ก็คือบัญญัติให้มีการนำเรื่องไปสู่ศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ ที่ได้จัดตั้งขึ้นมาใหม่นะครับ โดยในมาตรานี้บัญญัติไว้ว่า มาตรา ๗ ของหมวดนี้นะครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด ก่อให้เกิดการใช้จ่ายแผ่นดินอันวิญญูชนพึงเห็นได้ว่าจะก่อให้เกิด ความเสียหายแก่รัฐ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อาจไต่สวนข้อเท็จจริง และสรุปสำนวนยื่นฟ้องต่อศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ และให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการนั้น

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

อันนี้ก็จบหมวด ๕ นะครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ในหมวด ๖ ซึ่งผ่านการพิจารณาเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๘ มีรวมทั้งสิ้น ๕ มาตรานะครับ เป็นหลักการใหม่ที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ นะครับ หมวด ๖ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน จุดที่แตกต่างมีอยู่ ๕ ประการด้วยกันนะครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ในประการที่ ๑ บัญญัติให้มีคณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบ คุณธรรม มีอำนาจหน้าที่พิจารณาเสนอรายชื่อบุคคลที่เห็นสมควรต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงและหัวหน้า ส่วนราชการที่เทียบเท่าปลัดกระทรวง รวมทั้งย้ายหรือให้พ้นจากตำแหน่งนะครับ อันนี้ ก็เป็นไปตามมาตรา ๒ ของหมวดนี้นะครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

องค์ประกอบของคณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบคุณธรรมมี ๗ คน พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจาก ๓ ส่วนนะครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ส่วนแรก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งได้รับเลือกจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน จำนวน ๒ คน

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๒ อดีตปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าซึ่งได้รับเลือกจากอดีต ปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าด้วยกันเอง จำนวน ๓ คน

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

และส่วนที่ ๓ ประธานกรรมการจริยธรรมของทุกกระทรวงเลือกกันเอง ๒ คนนะครับ แล้วก็ให้วุฒิสภาพิจารณาประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรม ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ก็บัญญัติไว้ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรี แถลงต่อสภา ก็เป็นหลักประกันว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินการได้นะครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประการที่ ๓ อันนี้ก็เป็นหลักการใหม่ที่บัญญัติขึ้นมานะครับ ก็คือให้ การสั่งการในการบริหารราชการแผ่นดินให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

และประการที่ ๔ บัญญัติให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่ดำเนินการ ใดซึ่งเป็นการเสี่ยงเป็นการสั่งการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ย่อมได้รับ ความคุ้มครองนะครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ทั้งประการที่ ๓ และประการที่ ๔ ก็เป็นการคุ้มครองข้าราชการประจำ บัญญัติอยู่ในมาตรา ๔ ทั้งวรรคแรกและวรรคสองในบทบัญญัติในส่วนนี้นะครับ ขออนุญาต อ่านรายละเอียด เพราะว่าเป็นบทบัญญัติที่เกิดขึ้นใหม่นะครับ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

มาตรา ๔ วรรคแรกบัญญัติว่า การสั่งการในการบริหารราชการแผ่นดิน ให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนอาจสั่งราชการ ด้วยวาจาได้ แต่ให้ผู้รับคำสั่งบันทึกคำสั่งดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรและเสนอให้ผู้สั่ง ลงนามในภายหลัง ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใดดำเนินการไปโดยปราศจากการสั่งการ ดังกล่าวข้างต้น ย่อมต้องรับผิดตามกฎหมายด้วยตนเอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

วรรคสองบัญญัติไว้ว่า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่ดำเนินการใดซึ่งเป็น การสั่งการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ย่อมได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายบัญญัติ

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประการที่ ๕ ที่เป็นจุดแตกต่างนะครับ ก็คือบัญญัติให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการบริหารราชการแผ่นดินใน ๓ ลักษณะนะครับ ซึ่งบัญญัติอยู่ในมาตรา ๕ ของหมวดนี้

นายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการ ต้นฉบับ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นผลการพิจารณาใน ๒ หมวดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ หมวดการคลังและการงบประมาณ และหมวดความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และประชาชน กราบขอบพระคุณครับท่านประธาน

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ คุณคำนูณ เป็นอันว่าที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการ ยกร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสำหรับวันนี้แล้วนะครับ ขอขอบคุณท่านผู้แทนคุณคำนูณ ผู้แทนของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยนะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม ไม่มี

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ก็มีเรื่องที่ขออนุญาตได้แจ้งต่อที่ประชุมซึ่งไม่ได้ปรากฏในระเบียบวาระ อยู่เรื่องหนึ่ง คือรับทราบมติของที่ประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ในคราวประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ เมื่อวันพุธที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๘ ที่ประชุมได้มีมติเกี่ยวกับการประชุมสภาปฏิรูป แห่งชาติเกี่ยวกับการอภิปรายของสมาชิก โดยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่มีความประสงค์ ขออภิปรายขอให้ลงชื่อผู้ขออภิปรายก่อนเริ่มการประชุม เมื่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะได้ดำเนินการจัดสรรเวลาการอภิปรายได้อย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ ในการประชุม ทั้งนี้เมื่อการอภิปรายดำเนินการไปแล้วสำหรับวาระนั้นเริ่มดำเนินการไปแล้ว ประมาณ ๑ ชั่วโมง สมาชิกจะลงชื่อขออภิปรายเพิ่มเติมอีกไม่ได้ คือต้องลงชื่ออภิปราย ภายใน ๑ ชั่วโมง หลังจากที่เปิดวาระนั้นแล้วนะครับ จึงขอแจ้งที่ประชุมทราบ ขอเชิญ เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติครับ คุณอลงกรณ์ครับ

นายอลงกรณ์ พลบุตร ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิก สปช. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติ ใคร่ขอเสนอญัตติให้มีการเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๒ (๒) โดยที่ขอให้เลื่อนระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่น ๆ ๖.๑ ๖.๒ ๖.๓ ขึ้นพิจารณาก่อน เรื่องด่วน ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

มีสมาชิกท่านใด เห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ถ้าไม่มี ถือว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามนี้นะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ต่อไปเป็นการพิจารณาระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่น ๆ นะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๖.๑ เรื่องตั้งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงานแทนตำแหน่ง ที่ว่าง ขอเชิญท่านประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงานเสนอรายชื่อผู้ที่จะมาเป็น กรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่างครับ ท่าน พลโท เดชา ปุญญบาล

พลโท เดชา ปุญญบาล ต้นฉบับ

คณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงานนะครับ ขอเสนอ นายกิตติ โกสินสกุล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจังหวัดตราด หมายเลข ๓ นะครับ อยู่ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงาน ทดแทน ท่านประสาร มฤคพิทักษ์ ซึ่งได้ลาออกไป นะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอผู้รับรองด้วย นะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ครบนะครับ จะมีสมาชิกท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ถ้าไม่มี ถือว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามนี้นะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๖.๒ ตั้งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการ ยุติธรรม แทนตำแหน่งที่ว่าง ขอเชิญท่านประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและ กระบวนการยุติธรรม เสนอรายชื่อผู้จะมาเป็นกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่างครับ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ขอเสนอชื่อ ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์สังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นกรรมาธิการแทนกรรมาธิการ ในตำแหน่งที่ว่าง ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ครบนะครับ ตามข้อบังคับ จะมีสมาชิกท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ถ้าไม่มี ถือว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามนี้นะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

๖.๓ ตั้งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา แทนตำแหน่งที่ว่าง ขอเชิญท่านประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูป ค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา ได้เสนอรายชื่อผู้จะมาเป็นกรรมาธิการ แทนตำแหน่งที่ว่างครับ

นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ กระผม เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ในฐานะประธานกรรมาธิการคณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา ขอแต่งตั้ง นายประสาร มฤคพิทักษ์ แทนตำแหน่งที่ลาออกคือ คุณกิตติ โกสินสกุล ขอแต่งตั้ง คุณประสาร มฤคพิทักษ์ ครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ครบนะครับ จะมีสมาชิกท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ถ้าไม่มี ถือว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามนี้นะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ต่อไปเป็นการพิจารณาวาระเรื่องด่วน คือร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคได้ยกร่าง เสร็จแล้ว เรื่องนี้ตามที่ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๘ ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบรายงานเรื่องการกำหนดให้มีองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐของคณะกรรมาธิการปฏิรูป การคุ้มครองผู้บริโภค โดยกำหนดให้มีพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... และมอบหมายให้คณะกรรมาธิการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน ซึ่งคณะกรรมาธิการดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เสร็จสิ้นแล้ว จึงได้บรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วนเพื่อให้สภาพิจารณาในวันนี้ ขอเรียนเชิญ คณะกรรมาธิการเข้าประจำที่ด้วยครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เรียนเชิญคณะกรรมาธิการเข้าประจำที่ด้วยครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ก่อนที่ผม จะอนุญาตให้ประธานกรรมาธิการได้แถลงหลักการและเหตุผลในการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติในวันนี้ ผมจะขอให้เลขาธิการได้ชี้แจงขั้นตอนการพิจารณาตามข้อบังคับ ให้ท่านสมาชิกได้รับทราบพอสังเขปก่อนนะครับ เพราะเป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ขอเชิญเลขาธิการชี้แจงครับ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านสมาชิกครับ กระผม นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร ขอเรียนชี้แจงเกี่ยวกับขั้นตอนกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ดังนี้นะครับ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้จะเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม สภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗ ในข้อ ๑๐๒ ถึงข้อ ๑๑๐ จะมีขั้นตอนสรุปได้ดังนี้

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

เมื่อคณะกรรมาธิการเข้าประจำที่เรียบร้อยแล้วนะครับ ประธานในที่ประชุม ก็จะให้ทางท่านประธานกรรมาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แถลงหลักการและเหตุผล เมื่อประธานกรรมาธิการแถลงหลักการและเหตุผลเสร็จเรียบร้อยแล้วนะครับ จะเป็น การอภิปรายของสมาชิก ซึ่งสมาชิกจะอภิปรายโดยเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ หรือจะขอ แก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตรานะครับ โดยการอภิปรายของสมาชิกจะเป็นการอภิปรายรวมกัน ทั้งฉบับนะครับ เว้นแต่ที่ประชุมจะมีมติเห็นเป็นอย่างอื่น เช่น ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ให้พิจารณาเป็นรายมาตราหรือจะเป็นรายหมวดก็ได้นะครับ เมื่อสมาชิกอภิปราย และกรรมาธิการตอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ประธานกรรมาธิการจะสรุปอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะ ปิดการอภิปราย จากนั้นก็จะเป็นการลงมติ ในการลงมตินะครับจะใช้เสียงข้างมาก ในการเห็นชอบ

นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

สำหรับการลงมติ ถ้าสภาลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติโดยไม่มี การแก้ไข ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติก็จะเสนอร่างพระราชบัญญัติให้กับประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาต่อไป แต่ถ้ากรณีที่สภามีมติให้แก้ไขเพิ่มเติม ร่างพระราชบัญญัตินะครับ คณะกรรมาธิการก็จะนำร่างพระราชบัญญัตินั้นกลับไปปรับปรุง แก้ไขตามข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตของทางสมาชิก ในกรณีนี้ถ้าสมาชิกท่านใดที่ประสงค์จะ ขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ ก็ให้ยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมต่อประธานกรรมาธิการ ภายในกำหนด ๗ วันนับจากวันถัดจากวันที่สภามีมตินะครับ เมื่อคณะกรรมาธิการ ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะให้สภาพิจารณาว่าจะเห็นชอบหรือไม่ เห็นชอบ สำหรับแนวทางการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น ทางสำนักงานได้จัดวางไว้ ประจำที่นั่งของท่านสมาชิกแล้วนะครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอเชิญ ท่านประธานกรรมาธิการได้แถลงหลักการและเหตุผล รวมถึงสาระสำคัญโดยสรุปนะครับ ในร่างพระราชบัญญัติ เรียนเชิญครับ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ขอบพระคุณ ท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาตินะคะ แล้วก็เรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านรองประธานสภานะคะ แล้วก็เพื่อนสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันขออนุญาตเสนอ ร่างพระราชบัญญัติอย่างที่ท่านประธานได้เรียนไปแล้ว แล้วก็ขออนุญาตใช้เพาเวอร์พอยท์ (PowerPoint) ด้วยนะคะ ขอเพาเวอร์พอยท์ด้วยค่ะ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ตามที่ท่านประธานสภาได้พูดไปแล้วว่า วันที่ ๕ ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้กรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคไปยกร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนะคะ แล้วก็ขณะนี้เราได้ทำเสร็จแล้ว ก็เลยมานำเรียนนะคะ ขออนุญาตไปสไลด์ถัดไปเลยค่ะ อันนี้ก็เป็นบรรยากาศคราวที่แล้วนะคะ ขออนุญาตไปสไลด์ (Slide) ถัดไปเลยค่ะ กรอบการปฏิรูปของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคเรามี อยู่ ๔ กรอบใหญ่ ๆ นะคะ แล้วก็เรื่ององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนี่ก็เป็น ๑ ใน ๔ กรอบ โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคโดยภาคประชาชนแล้วก็สมัชชา ผู้บริโภคนะคะ อันที่ ๒ ก็คือระบบการเยียวยาและบทลงโทษผู้ที่เอาเปรียบผู้บริโภค อันที่ ๓ ระบบข้อมูลและระบบการป้องกันปัญหาสำหรับผู้บริโภค ระบบการป้องกันการผูกขาดและ การแข่งขันทางการค้า ดิฉันขออนุญาตไปสไลด์ถัดไปนะคะ เพราะฉะนั้นอยากจะเรียนว่า โครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคโดยภาคประชาชนและสมัชชาผู้บริโภคถือเป็นอันหนึ่ง ที่สำคัญที่อยู่ในองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่จะนำเสนอต่อสมาชิกในวันนี้นะคะ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นถัดมาดิฉันไม่ขออนุญาตนำเรียนแล้วนะคะ เนื่องจากว่าทางท่าน เลขาธิการได้พูดไปแล้วนะคะ ก็คือข้อบังคับการประชุมของสภาปฏิรูปแห่งชาตินะคะ ขณะนี้ เราทำร่างพระราชบัญญัติแล้วเสร็จในหมวด ๕ ข้อ ๑๐๒ ข้อ ๑๐๓ ข้อ ๑๐๔ แล้วก็สาระ ที่จะนำเสนอนะคะ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ดิฉันขออนุญาตไปเรื่องหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ ก็ชัดเจนนะคะว่า ให้มีกฎหมายว่าด้วยองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

เหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ ก็เพื่อเป็นการปฏิรูปประเทศ ดิฉันคิดว่าชัดเจนว่าเรื่องนี้ก็เป็น เรื่องหนึ่งที่สำคัญในการปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมเพิ่มขึ้น

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย ตัวแทนผู้บริโภคและนักวิชาการ ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของ หน่วยงานรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนด มาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลย การกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ สนับสนุนให้เกิดโครงสร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ในการคุ้มครองตนเอง และมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักเกณฑ์ร่วมกับหน่วยงานรัฐ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๔ เหตุผลที่เสนอนี่ก็คือเพื่อที่จะประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นสุดท้าย เหตุผลก็เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีผลผลิตที่มี คุณภาพสู่สังคม ทำให้พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการทั้งในระดับ ภูมิภาคและระหว่างประเทศนะคะ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ดิฉันขอไปสาระสำคัญของกฎหมายเลยนะคะ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ ที่สำคัญก็คือ ให้จัดตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น ทำหน้าที่ให้ความเห็นในการตรา การบังคับใช้กฎหมายหรือกฎ และให้ความเห็น ในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผลประโยชน์สาธารณะ ตรวจสอบ และรายงานการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคหรือละเลยการกระทำอันเป็น การคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งจะอยู่ในร่างมาตรา ๕ นะคะ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

สาระสำคัญประการที่ ๒ ของพระราชบัญญัติ ดำเนินการและสนับสนุน ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการคุ้มครองสิทธิของตน (ร่างมาตรา ๑๙ (๓))

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

สนับสนุนการใช้สิทธิร้องเรียนและฟ้องคดีของผู้บริโภค องค์กรผู้บริโภค (ร่างมาตรา ๑๙ (๔))

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ สนับสนุนองค์กรให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ส่งเสริมการศึกษา วิจัย ทดสอบ สินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิ ของผู้บริโภค

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

จัดสมัชชาผู้บริโภคอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (ร่างมาตรา ๑๙ (๘))

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประเด็นที่ ๓ ก็มีประเด็นเรื่องหลักประกัน เรื่องความเป็นอิสระ เพื่อให้การทำหน้าที่ให้ความเห็นข้อเสนอแนะเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีหลักประกันความเป็นอิสระในการดำเนินงาน ดังนี้

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ มีหน่วยธุรการที่สามารถบริหารจัดการได้โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับ บัญชาของภาครัฐ (ร่างมาตรา ๕)

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ กำหนดให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่ชัดเจน แน่นอนและ เพียงพอต่อการดำเนินงานที่เป็นอิสระไม่น้อยกว่า ๓ บาทต่อหัวประชากร (ร่างมาตรา ๘)

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ กรรมการผู้มีอำนาจหน้าที่ ต้องไม่ถูกแทรกแซงจาก ฝ่ายการเมือง รัฐบาล หรือภาคธุรกิจ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประเด็นที่ ๔ เพื่อให้กรรมการที่จะมาทำ หน้าที่ มีความเป็นอิสระ ปลอดจากอิทธิพลทางการเมือง ทุนธุรกิจ และมิให้มีผลประโยชน์ ขัดกัน ในการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคได้แบ่งคณะกรรมการออกเป็น ๒ กลุ่มที่สำคัญ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

กลุ่มที่ ๑ สรรหาจากนักวิชาการ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๗ ด้าน ด้านการเงิน การธนาคาร ด้านบริการสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านบริการสาธารณะ ด้านผลิตภัณฑ์ สุขภาพ ทั้งหมด ๗ ด้าน (ร่างมาตรา ๑๒ (๑))

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ กลุ่มที่คัดเลือกกันเองจากองค์กรผู้บริโภคในภูมิภาคต่าง ๆ รวม ๘ คน (ร่างมาตรา ๑๒ (๒))

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประเด็นที่ ๕ เพื่อให้การดำเนินงานของ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

กำหนดให้สามารถตรวจสอบองค์กรนี้อย่างน้อยใน ๔ ประเด็นนะคะ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ กำหนดให้ต้องเสนอแผนงานและงบประมาณในแต่ละปี ต่อคณะรัฐมนตรี รวมไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ร่างมาตรา ๙)

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ กำหนดให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีและ ประเมินผลการใช้เงิน และเมื่อสิ้นปีบัญชีต้องทำรายงานประจำปีแสดงงบการเงินและบัญชี เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบ (ร่างมาตรา ๑๑)

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๖ ดิฉันขออภัยนะคะ เป็นประเด็นที่ ๖ เพื่อให้การดำเนินงานของ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

จัดให้มีการประชุมสมัชชาองค์กรผู้บริโภคอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง เพื่อประเมิน การดำเนินงานและติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน ตลอดจนรับฟังข้อเสนอแนะจาก ผู้บริโภค (ร่างมาตรา ๑๙ (๘))

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นถัดมา หากกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ มีโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๐ ปี หรือปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐-๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ร่างมาตรา ๓๓)

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ถ้าเราลองมาดูว่าขณะนี้อย่างที่ดิฉันเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกคงจำได้นะคะ ที่ท่าน รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้วท่านเป็นประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ท่านบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ขออภัยที่ต้องเอ่ยชื่อท่านอาจารย์ อาจารย์ได้พูดว่าเราทำไปเลย ไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญ ซึ่งดิฉันก็ได้มีโอกาสไปดูสาระของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องได้พูดถึงไว้ในมาตรา (๑/๒/๒) มาตรา ๓๒ นะคะ สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับ ความคุ้มครอง ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของ หน่วยงานรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนด มาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลย การกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และเสนอทางแก้ไขเยียวยาความเสียหายที่ผู้บริโภค ได้รับ ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้และทักษะที่จำเป็นด้าน การคุ้มครองบริโภค ทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์กรดังกล่าว ด้วยนะคะ อันนั้นก็เป็นสาระที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้เบื้องต้น

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ดิฉันขออนุญาตเรียนสุดท้ายนะคะก็คือเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีประวัติศาสตร์มา ยาวนานนะคะ แล้วก็ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ปี ๒๕๕๐ เสนอร่างผ่านสภาผู้แทนราษฎร ผ่านวุฒิสภา วุฒิสภาแก้ไขตั้งกรรมาธิการร่วม ออกจากกรรมาธิการร่วมผ่านวุฒิสภารอ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา อันนี้ก็คงเป็นที่ไปที่มาด้วยส่วนหนึ่งที่ประกอบกับร่างของ กรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ดิฉันมีข้อเสนอ ๒ ประเด็นต่อสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติ อันที่ ๑ เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... เพื่อให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาแล้วก็ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณา ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ขอเชิญท่านสมาชิกได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นนะครับ เวลาก็คงประมาณท่านละ ๕ นาที เชิญคุณคุรุจิต นาครทรรพ ก่อนนะครับ

นายคุรุจิต นาครทรรพ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม คุรุจิต นาครทรรพ กระผมขอแสดงข้อคิดเห็นและข้อสังเกตต่อร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... ที่คณะกรรมาธิการการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคของ สปช. ได้เป็นผู้เสนอ ดังนี้นะครับ

นายคุรุจิต นาครทรรพ ต้นฉบับ

ประการแรก ก็ด้วยความเคารพนะครับ ผมเองก็เป็นประชาชนและเป็น ผู้บริโภคคนหนึ่งก็ย่อมต้องการได้รับบริการที่ดี สินค้าที่มีคุณภาพ ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ถูกหลอกเสียเงินเสียทองโดยไม่คุ้มค่า แต่อยากจะกราบเรียนท่านประธานผ่านไปทาง ท่านกรรมาธิการว่า การที่เราจะให้การคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเราก็ควรจะออกแบบหรือ คอนเซปชวล ดีไซน์ (Conceptual design) มาตรการกฎหมายหรือโครงสร้างองค์กรต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม ได้รับการเยียวยาแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของเขาอย่างยุติธรรมและภายในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นถ้าเราจะตั้ง องค์การอิสระหรือองค์กรใหม่อะไรขึ้นมาสักอย่างสักอันหนึ่ง เราควรจะต้องมาศึกษาและ วิเคราะห์กันให้ถ่องแท้และถี่ถ้วนก่อนว่าองค์กรนี้จะช่วยทำให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม ได้รับความยุติธรรม และความรวดเร็วในการแก้ปัญหาเยียวยาอย่างไร หรือไม่ ผมมีข้อกังวล และห่วงใยที่อยากจะแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัตินี้ในหลายประเด็นนะครับ เริ่มตั้งแต่การที่ระบุว่าจะให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงาน ของรัฐ คำถามก็คือการคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบันที่ทำโดยรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารนั้น ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายบริหารเลยหรือครับที่จะต้องรับผิดชอบหลักตามกฎหมายที่มีอยู่ องค์กร ของรัฐที่มีอยู่อย่าง สคบ. หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็ดี คณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคก็ดี ไม่มีผลงาน ไม่ได้ทำงานหรือมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเป็นที่พึ่งให้ ความคุ้มครองกับประชาชนผู้บริโภคแล้วกระนั้นหรือ การที่แยกออกมาตั้งองค์กรอิสระ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอำนาจหน้าที่ที่บางประการในมาตรา ๑๙ ที่ดูเหมือนจะซ้ำซ้อนกับ งานของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและ สคบ. จะทำให้เกิดความสับสนในการใช้อำนาจ ตามกฎหมายหรือไม่ ยกตัวอย่างนะครับ ในร่างมาตรา ๑๙ ของร่างพระราชบัญญัตินี้สิ่งที่ น่าจะซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลและฝ่ายบริหารก็คือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การดำเนินคดีแทนผู้บริโภค การส่งเสริมและสนับสนุน ทำไมเราจึง ต้องมีหน่วยงาน ๒ หน่วย อันหนึ่งเป็นของรัฐ อันหนึ่งเป็นองค์กรอิสระมาทำหน้าที่เดียวกัน ซ้ำซ้อนกันและสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น ซึ่งก็จะนำมาสู่ประเด็นที่ ๓ ที่ผมอยากจะ กราบเรียนเสนอต่อนะครับว่าองค์การอิสระนี้รับผิดชอบต่อใคร แอคเคาทะบิลิตี (Accountability) ในร่างนี้ ส่วนใหญ่ที่ดูก็เลือกกันโดยแต่งตั้งโดยสมาคมองค์กรภาคเอกชน เกือบจะล้วน ๆ เสร็จแล้วก็กำหนดให้รัฐบาลและรัฐสภาต้องจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่าย ขององค์การนี้ตามมาตรา ๘ (๒) ทุก ๆ ปี ๓ บาทต่อหัว ซึ่งถ้าประชากรของประเทศมี ๖๘ ล้านคน ก็จะได้รับเงินอุดหนุนไม่ต่ำกว่าปีละ ๒๐๐ ล้านบาท ถูกเอาเปรียบ ก็ไปจัดการให้สำเร็จเรียบร้อย ส่วนองค์การนี้ดิฉันเท่าที่ดูภาพรวมแล้วก็เป็น ลักษณะของการเหมือนกับว่าคอยมอนิเตอร์ (Monitor) คือดูแล้วก็ติดตาม ยังไม่เห็นอำนาจ ในทางปฏิบัติการเหมือนอย่างที่เมื่อกี้ท่านสมาชิกที่ก่อนหน้านี้ได้กล่าวไปแล้วซึ่งก็เห็นตรงกัน ซึ่งความเห็นดิฉันที่ว่าให้รวมกันดิฉันก็เคยคุยนอกรอบกับท่านประธานสารี อ๋องสมหวัง ขออภัยที่เอ่ยนาม แล้วท่านก็บอกว่าในคณะกรรมการปฏิรูปองค์การคุ้มครองผู้บริโภคก็มี ความเห็นเป็น ๒ อย่าง แต่ว่าเสียงข้างมากเห็นว่าไม่ควรจะรวม ควรจะเป็นที่องค์กรอิสระ แต่ในภาพรวมที่เห็นของร่างพระราชบัญญัตินี้ก็เป็นลักษณะเหมือนกับองค์กรนี้ตั้งขึ้นมา โดยเป็นลักษณะของภาคประชาชนที่จะมามอนิเตอร์ มาตรวจสอบดูแล ซึ่งการตรวจสอบ องค์กรนี้ก็ยังเรียกว่าถ้าตั้งขึ้นมาก็คงไม่ทราบมีขนาดใหญ่โตแค่ไหนกับการที่จะต้องไป คุ้มครองผู้บริโภคทั้งประเทศก็คือ ๗๐ ล้านคน ก็ไม่แน่ใจว่าจะได้หรือไม่ ดิฉันก็ฝากตรงนี้ไว้ เนื่องจากเวลาน้อย ดิฉันก็ขอไปมาตรา ๖ เลยนะคะ

นายคุรุจิต นาครทรรพ ต้นฉบับ

มาตรา ๖ ที่บอกว่า ให้องค์การมีสำนักงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ดิฉันมีความเห็นว่าองค์การนี้ควรจะมีสำนักงานอยู่ใน กรุงเทพมหานคร และ ไม่ หรือ นะคะ และจังหวัดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งถ้าหากว่า ตั้งขึ้นทุกจังหวัดคงเป็นไปได้ยาก ในทางปฏิบัติทั้งงบประมาณ ทั้งบุคลากร ทั้งการเริ่มต้น ต่าง ๆ ถ้าหากว่าไม่รวมกับ สคบ. นี่นะคะ ก็คิดว่าจัดเป็นภาคก่อนก็ได้ ตั้งเป็นในกรุงเทพฯ แล้วก็เป็นในภาคต่าง ๆ ด้วย ดิฉันมีประเด็นอื่นอีก แต่ว่าหมดเวลาแล้ว ก็ขอเรียนว่าดิฉัน เห็นด้วยกับสมาชิกที่อภิปรายไปก่อนหน้านี้ทั้ง ๒ ท่าน ทั้งท่านคุรุจิต นาครทรรพ แล้วก็ท่านเฉลิมชัย เฟื่องคอน ที่ประเด็นของการที่มา เป็นต้นว่าที่มาของกรรมการสรรหา ก็ยังมีข้อสงสัยว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และสรุปก็คือในภาพรวมร่างพระราชบัญญัตินี้ยังขาด ความสมบูรณ์ ยังเห็นว่าควรจะต้องมีจุดประเด็นที่จะต้องแก้ไขอีกหลายประเด็นค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณนะครับ เดี๋ยวอภิปรายได้สัก ๕ ท่านแล้วผมจะขอให้กรรมาธิการขยายความหรือตอบเสียทีหนึ่ง นะครับ เชิญท่านถัดไปนะครับ ท่านที่ ๔ คุณจำลอง โพธิ์สุข ครับ

นายจำลอง โพธิ์สุข ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ กระผม จำลอง โพธิ์สุข สปช. จังหวัดชัยนาทครับ ผมขออนุญาตให้ความเห็นในส่วนของ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยเฉพาะในมิติเรื่องของการจัดโครงสร้างองค์กร นั่นก็คือว่า ในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระตรงนี้นั้นผมมองไปที่ในภาพของภูมิภาค ซึ่งทาง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเคยได้ปฏิบัติจัดทำอยู่ ซึ่งครอบคลุมถึงทุกพื้นที่ใน ภูมิภาค ทุกจังหวัดมีองค์กรของ สคบ. อยู่ในพื้นที่โดยในลักษณะของการฝากงานไว้กับทาง จังหวัดก็คือทางสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ก็คือสำนักงานจังหวัดนะครับ ซึ่งตรงนั้นเองก็สามารถที่จะรัน (Run) งานได้มีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง ทีนี้ถ้าหากว่า ในหลักการเราจะมีองค์กรอิสระตรงนี้ขึ้นมาประมาณว่าคู่ขนานกับการทำงานในภาครัฐ ก็คือของ สคบ. ในหลักการผมเห็นด้วยนะครับ เพราะว่าในส่วนที่เป็นการทำงานในภาครัฐ นั้นเองเราก็คงจะประจักษ์แจ้งว่าเรายังขาดประสิทธิภาพประสิทธิผลในเรื่องของการที่จะ ดูแลคุ้มครองผู้บริโภคกับพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ถ้าหากว่ามีองค์กรในลักษณะนี้เกิดขึ้น ก็เชื่อว่าจะสามารถที่จะเติมเต็มในการทำงานของภาครัฐได้มากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นในส่วนที่ ผมจะมีความเห็นก็คงจะประเด็นว่า ในระดับพื้นที่ก็อยากจะเห็นการจัดสร้างองค์กรเป็น การทำ ออร์แกไนเซชันนอล ดีไซน์ (Organizational design) ขององค์กรอิสระตรงนี้ ให้ครอบคลุมทุก ๆ พื้นที่ในภูมิภาคด้วย รายละเอียดเป็นอย่างไรนั้นอาจจะมีประเด็น ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในมาตราว่าด้วยเรื่องของอำนาจหน้าที่ก็คือในมาตรา ๑๙ ก็อยากจะ ฝากเรียนผ่านท่านประธานไปถึงคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย เพื่อที่จะให้เกิด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคให้กับพี่น้องประชาชน ต่อไปครับ ขอขอบคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณมาก นะครับ ถัดไปลำดับที่ ๕ นะครับ ดอกเตอร์ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ เรียนเชิญครับ

นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับท่านประธาน ผม ชิงชัย หาญเจนลักษณ์ หมายเลข ๖๔ ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณท่านกรรมาธิการคุ้มครอง ผู้บริโภคที่ทำเรื่องนี้ออกมาได้รวดเร็วนะครับ มีพระราชบัญญัติ ผมขออภิปรายสั้น ๆ นะครับ คือที่จริงมันก็ต่อเนื่องที่ผมเคยคุย เคยอภิปรายไว้แล้วคือเรื่องความร่วมมือประสานงาน ระหว่างภาคเอกชนแล้วก็ภาคประชาสังคมนะครับ คือท่านผู้อภิปรายท่านแรกพูดไปแล้วถึงเรื่องประสานงานกับภาครัฐที่มีอยู่แล้ว สคบ. อะไรพวกนี้ ซึ่งก็คงจะต้องไปดูก็ผมคงไม่พูดซ้ำ แต่ผมมีความเห็นเพิ่มเติมนิดเดียวครับว่า เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคมันต้องคิดถึงอีกฝั่งหนึ่งฝั่งเอกชนผู้ประกอบการ ผู้ที่ทำผลผลิต ออกมาจะดีหรือไม่ดีนี่ก็อีกเรื่องหนึ่ง แล้วปัญหาก็คือมีผู้ประกอบการที่ทำผลิตผลที่มันไม่ดี ออกมาก็ถึงต้องมีนี่นะครับ แล้วก็เอาเปรียบผู้บริโภคอันนี้ก็คงจริง ทีนี้ถ้าเผื่อจะมี องค์กรอิสระแบบนี้ ผมคิดว่าส่วนหนึ่งน่าที่จะมีความร่วมมือกับทางภาคเอกชนนะครับ อันนี้มันจะได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันนะครับ แล้วอะไรที่มันพูดคุยกันได้ไม่ต้องไปถึงศาล หรือถึงฟ้องร้องผมว่ามันเป็นสิ่งที่ดี เพราะฉะนั้นที่ผมต้องการเสนอก็ค่อนข้างที่จะแบบ ตรงไปตรงมา มาตรา ๑๔ ที่มีคณะกรรมการสรรหา ก็จะเห็นว่าจะมีตัวแทนจากภาคประชาสังคม แล้วก็จะมีจากภาควิชาการ ผมอยากจะขอให้ท่านคณะกรรมาธิการพิจารณาอย่างน้อย ขอมีตัวแทนจากภาคเอกชนเข้าไปร่วมอยู่ด้วย ซึ่งก็คงจะมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่อาจจะ แตกต่างออกไป ที่ผมจะเสนอก็คือขอให้เสนอให้มีผู้แทนของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน หรือที่เราเรียกว่า กกร. นะครับ อันนี้จะเป็นตัวแทนของทั้งสภาหอการค้า อันนี้เรื่องค้าขาย เลยนะครับ สภาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้ผลิต แล้วก็ของสมาคมธนาคารไทยซึ่งจะเป็นเรื่อง ของการเงินการคลัง ถ้าเผื่อได้ผู้แทนจาก กกร. เข้าไปร่วมผมคิดว่าการสรรหาก็คงจะสมบูรณ์แบบ ขึ้นครับ ผมมีแค่นี้ ขอบพระคุณครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ทางท่านกรรมาธิการจะขยายความหรือจะตอบในชั้นนี้ก่อนไหมครับ เชิญครับ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน ดิฉันขอชี้แจงในประเด็นสำคัญ ซึ่งดิฉันคิดว่าขออนุญาตพูดเรื่องความซ้ำซ้อน กับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือหน่วยงานรัฐ ซึ่งดิฉันคิดว่าองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ทำงานซ้ำซ้อน อย่างเช่นยกตัวอย่าง เรื่องฟุตบอล ที่บอกว่าถ้าเราจะฟ้องคดีแล้วก็จะทำให้องค์กรหนึ่งตัดสินใจฟ้องคดี สคบ. อาจจะตัดสินใจ ไม่ฟ้องคดี ดิฉันขอเรียนว่าอำนาจหน้าที่อันนี้อยู่ในมาตรา ๑๙ (๖) ซึ่งมาตรา ๑๙ (๖) พูดไว้ มาตรา ๑๙ (๕) ขออภัย ซึ่งองค์การนี้ไม่ได้มีอำนาจในการฟ้องคดีเอง แต่องค์การนี้ส่งเรื่อง ที่จะฟ้องคดีให้อัยการสูงสุดเป็นคนพิจารณา แล้วก็เช่นเดียวกันนะคะ อย่างสำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็ส่งเรื่องให้กับอัยการเป็นคนพิจารณาเหมือนกัน แล้วก็ถ้า อัยการเห็นว่าสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเคยส่งเรื่องนี้มาแล้ว ดิฉันเชื่อว่า อัยการก็คงไม่พิจารณาซ้ำซ้อน นั่นเป็นประเด็นที่ ๑

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ดิฉันคิดว่าในเชิงหลักการของการฟ้องคดีจะมีความแตกต่างกัน การฟ้องคดีของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากข้อร้องเรียน ของผู้บริโภคที่เป็นปัจเจกชนหรือผู้บริโภค แล้วสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ก็พิจารณาว่า อย่างกรณีบ้านที่อยู่อาศัยมันไม่ได้มีคนอยู่แค่หลังเดียวถูกไหมคะ มี ๔๐๐-๕๐๐ คน เพราะฉะนั้นการฟ้องคดีก็จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในกรณีนั้น ๆ แต่ในส่วนของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเขียนไว้ชัดนะคะว่า การฟ้องคดีจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม นั่นหมายความว่าไม่ใช่กรณีปัจเจกบุคคลที่ ร้องเรียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค แต่จะเป็นประเด็นสาธารณะที่ควรจะ หยิบยกขึ้นมาเพื่อดำเนินการฟ้องคดี แต่องค์การก็ไม่ได้มีสิทธิฟ้องคดีเอง เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่า เพียงแค่ส่งเรื่องให้กับอัยการสูงสุดในการดำเนินการเท่านั้นเองนะคะ แล้วก็ดิฉันก็คิดว่าอันนี้ ก็คงจะเป็นประเด็นที่มีความแตกต่างกัน

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

นอกจากนั้นนะครับก็จะมีในส่วนของบทกำหนดโทษนะครับ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๓ ผมเห็นด้วยกับอาจารย์กิติพงศ์นะครับ เพราะไป ๆ มา ๆ ผมเข้าใจครับจริง ๆ ในร่างของสภาผู้แทนราษฎรไม่มีบทลงโทษตรงนี้ แต่พอมาตรา ๕ ไปแยกออกให้อิสระ เด็ดขาดจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็เกรงว่าจะไม่มีบทลงโทษก็เลยมาใส่ตรงนี้ ซึ่งบทลงโทษดังกล่าวนี้นะครับมีอัตราโทษจำคุก ๑ ปี ถึง ๑๐ ปี ผมเกรงว่าจะทำให้ไม่มีใคร กล้ามาเป็นกรรมการนะครับ น่าจะพิจารณาลดบทลงโทษตรงนี้ลง และสั้น ๆ นิดเดียว ท่านประธานครับ จริง ๆ แล้วในบทลงโทษมาตรา ๓๓ เขามีกระทำผิดต่อหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ ใช่ไหมครับ และมาตรา ๒๐ แต่ปรากฏว่ากรรมาธิการไปตัดมาตรา ๒๐ ออกนะครับ ซึ่งไม่ตรงกับวุฒิสภาเขาอีก อันนี้ขอเหตุผลนะครับ เพราะว่าถ้าจะปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบแล้ว จริง ๆ มันต้องมีมาตรา ๒๐ หรือจริง ๆ รวมถึงมาตรา ๕ ด้วยซ้ำไปด้วยนะครับ ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณนะครับ ถัดไปเชิญหมออำพล จินดาวัฒนะ ครับ

นายอำพล จินดาวัฒนะ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานครับ ผม อำพล จินดาวัฒนะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินะครับ ผมจะขออนุญาตเรียนสัก ๓ ประเด็นนะครับ ซึ่งก็คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับเรื่องนี้นะครับ

นายอำพล จินดาวัฒนะ ต้นฉบับ

ผมคิดว่าเรื่องที่ ๑ คือเรื่องหลักการของกฎหมายฉบับนี้ จริง ๆ แล้วเราพูดกัน ในสภาแห่งนี้ไปเป็นที่เรียบร้อย แล้วก็ได้มีการลงมติกันไปแล้วนะครับ ผมคิดว่าที่เพื่อน สมาชิกยังเป็นห่วงกังวลอยู่ในเรื่องของการจัดตั้งองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคนี่มันขึ้นอยู่กับ วิธีมองเรื่องการอภิบาลระบบในสังคมไทย ถ้าเรายังคุ้นชินแล้วก็คิดว่าการอภิบาลโดยรัฐ เป็นหลัก เราก็จะคิดว่าการคุ้มครองผู้บริโภคก็ควรจะให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมีอยู่แล้วเป็นผู้ทำ ซึ่งอันนี้คงไม่มีใครปฏิเสธนะครับว่าจะต้องมีหน่วยงานของรัฐที่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินการภายใต้การบริหารของฝ่ายบริหารคือรัฐบาลนะครับ ซึ่งก็เหมือนกับที่ผม เคยเปรียบเทียบไว้ว่าเหมือนกับเป็นการแข่งขันฟุตบอลที่ต้องมีผู้จัด มีผู้ที่เป็นกรรมการ และมีผู้เล่น แล้วก็ระบบจะดำเนินการดูแลไป แต่เมื่อสังคมเติบโตและสลับซับซ้อนมากขึ้น นี่ก็เป็นตัวอย่างในประเทศในโลกที่พัฒนาไปแล้ว เขาจะมีการอภิบาลแบบหุ้นส่วนเข้ามา หรือบางคนก็เรียกว่าเป็นการดำเนินการในสังคมหรืออภิบาลสังคมโดยมีภาคที่ ๓ นะครับ คือเทิร์ด ปาร์ตี (Third party) สำหรับเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคนี่ก็เป็นที่ชัดเจนในระดับสากล ว่าการพึ่งรัฐดำเนินการกันเองเป็นระบบปิดนั้นไม่พอเสียแล้ว จำเป็นที่จะต้องมีองค์กรหรือ องค์การต่าง ๆ ที่จะให้สังคมและประชาชนเข้ามาถ่วงดุลและมาเป็นผู้ร่วมเล่น ที่เรียกว่า จะต้องทำให้คนที่เป็นประชาชนที่จะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นผู้ที่สามารถตรวจสอบกำกับ และติดตามได้ เป็นอินฟอร์ม ซิติเซน (Inform citizen) ซึ่งจะต้องมีกลไกที่จะส่งเสริม พลังอำนาจภาคประชาชนให้เข้มแข็งขึ้น ดังนั้นระบบตามกฎหมายฉบับนี้ก็คือการสร้างระบบ เพื่อมาถ่วงดุลและมาร่วมเป็นผู้เล่นในเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภค และจะต้องมี การเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนตลอดเวลาครับ ทีนี้สำหรับในร่างกฎหมาย ฉบับนี้เสียดายอยู่นิดหนึ่งตรงที่ว่า คราวที่แล้วผมได้เสนอว่าควรจะได้เอาฉบับที่ผ่าน ส.ส. และ ส.ว. แล้วมาเป็นหลัก ผมเองไม่เห็นการเปรียบเทียบอันนั้น เพิ่งฟังจากท่านเสรีว่ามีทั้ง เหมือนและต่าง ทำให้เรานี่ลำบากสักนิดหนึ่งว่าตรงไหนเหมือนตรงไหนต่าง แล้วที่เหมือนนั้น ดีไหม แล้วที่ต่างนั้นดีขึ้นหรืออ่อนลง ตรงนี้น่าเสียดาย ซึ่งถ้ามีตรงนั้นก็จะช่วยเป็นประโยชน์ อย่างมากนะครับ

นายอำพล จินดาวัฒนะ ต้นฉบับ

ผมมาประเด็นที่ ๒ คือคณะกรรมการครับ คณะกรรมการมีหลายท่าน พูดไปแล้วนะครับ ตรงนี้เห็นชัดเจนนะครับว่าพอให้อำนาจกรรมการมากก็น่ากลัวครับ ก็จะต้องมีถ่วงดุลกรรมการอีก พอให้อำนาจกรรมการน้อยก็จะกลัวว่าไร้น้ำยา ผมคิดว่าตรงนี้ ต้องถ่วงดุลให้ดี ให้มันเหมาะสมครับ กรรมการองค์การมาจากองค์กรผู้บริโภค มันมี ๒ คำ คือองค์การอิสระแล้วก็ผู้แทนองค์กรผู้บริโภค มันมีอยู่ทั้งหมดก็คือ ๑๖ ท่าน ถ้าดูแล้วนี่ เป็นผู้ที่มาจากองค์กรผู้บริโภคทั้งหมด โดยไม่มีฝ่ายอื่นเข้ามาถ่วงดุล ผมเข้าใจดีจากท่าน เพื่อนสมาชิกได้สะท้อนว่ามันจะเอียงไปไหม มันควรจะมีผู้ทรงคุณวุฒิจากรัฐหรือจากอะไร เข้ามาเสริมไหม หรือจากเอกชน จะมาอย่างไร มาด้วยกลไกตรงไหน ไม่เช่นนั้นก็จะถูกบอกว่า องค์กรนี้เอียงสุดข้างหนึ่งก็คือผู้บริโภค ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ครับ ตรงนี้ถ้าท่านกรรมาธิการ ได้กรุณาลองพิจารณาแล้วปรับเสริมให้มีความสบายใจมากขึ้น คือตอนนี้ผู้แทนผู้บริโภคนี่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ คือมาจาก ๗ คนแรก แล้วมาจากพื้นที่อีก ๘ คน แล้วเลขาก็จะสรรหามาใน กลุ่มเหล่านี้ เพราะฉะนั้นอาจจะเอียงเกินไป ซึ่งเราเคยมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าในสภาวิชาชีพ ต่าง ๆ นั้นเมื่อมีแต่คนที่อยู่ในวิชาชีพนี่จะเอียงครับ เพราะไม่มีการถ่วงดุลในการทำงาน ในองค์ประกอบ คราวนี้ในส่วนของหน้าที่ที่ผมกราบเรียนไปแล้วว่า เมื่อเราให้หน้าที่มาก ก็น่ากลัว หน้าที่น้อยก็เสือกระดาษ หน้าที่ก็ต้องพอดี ๆ ในหน้าที่ในมาตรา ๑๙ ได้เขียนไว้ ทั้งหมด ๑๓ ข้อ ผมจับเรื่องใหญ่ ๆ ได้คือ ข้อที่ ๑ นี่ช่วยคุมทิศ ก็คือจะต้องให้ความเห็นต่อ การออกกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ คุมทิศทางของกฎทั้งหลาย อันนี้ดีนะครับ อันที่ ๒ คือ กำกับรัฐ ก็คือยังมีรัฐต้องทำอยู่นะครับ แล้วก็กำกับในข้อ ๒ อันที่ ๓ คืออินฟอร์ม (Inform) คือสื่อสารให้สังคมทราบ จริง ๆ อันนี้มันจะไปซ้อนอยู่กับเรื่องข้ออื่นด้วย เดี๋ยวผมจะเรียน ข้อที่ ๔ คือช่วยประชาชน ซึ่งจริง ๆ แล้วข้อที่ ๖ ก็คล้ายกัน อาจจะมาเขียนรวมกันให้อยู่ใน กลุ่มนะครับ ข้อที่ ๕ นี่ก็คือลีเกิล แอกชัน (Legal action) คือมีการทำหน้าที่แทนประชาชน นะครับ ข้อที่ ๗ นี่ความรู้ สร้างความรู้ ข้อที่ ๘ นี่เป็นลักษณะเอ็มเพาเวอร์ (Empower) สังคม คือจัดสมัชชา ถ้าท่าน คณะกรรมาธิการจะได้เรียงลำดับบทบาทหน้าที่ที่สำคัญนะครับ เพราะตอนนี้มันจัดแล้ว สลับซับซ้อนกันอยู่ทั้งหมดหลายเรื่อง เพื่อที่จะพูดให้ชัดครับว่าองค์กรนี้เราต้องการให้มี บทบาทหน้าที่ที่สำคัญคืออะไร ขณะนี้ถ้าผมดูเร็ว ๆ นี่นะครับ ตั้งแต่ข้อ ๙ ไปข้อ ๑๓ เป็นเรื่องภายในของสำนักงาน ทั้งหมดนี้ถ้าเราเอาทุกอย่างเอามากนะครับ ก็จะถูกต่อต้าน เยอะว่ารู้สึกว่าจะเอาหน้าที่เยอะนะครับ แต่ก็มีความสำคัญในเรื่องการสร้างความรู้ การให้ข้อมูลกับสังคม การจัดสมัชชาเพื่อให้สังคมได้เรียนรู้เรื่องเหล่านี้นะครับ สิ่งเหล่านี้ เป็นการเอ็มเพาเวอร์เมนต์ (Empowerment) แต่อื่น ๆ นี่ผมอยากจะเสนอว่าให้เรียงลำดับ จะให้ดีนะครับ

นายอำพล จินดาวัฒนะ ต้นฉบับ

สุดท้ายครับท่านประธาน ขออภัยที่เลยเวลานิดหนึ่งจะไม่ยาวนะครับ เรื่องของหมวดที่ ๑ เรื่องขององค์กรครับเป็นประเด็นสุดท้าย องค์กรนี้ก็ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็น เลขาให้กับคณะกรรมการองค์การอิสระนะครับ ผมฝากไว้เพียงนิดเดียวว่า ดูเหมือนว่ามันจะ อยู่อย่างไรกันแน่ เพราะมันเป็นหน่วยงานอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งผมไม่เข้าใจ ความหมายคำนี้ เพราะอย่างไรก็ตามเมื่อเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมามีกฎหมายและไปใช้ งบประมาณมันก็ต้องถูกจัดไปอยู่ระดับหนึ่ง เช่น องค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญนะครับ หรือเป็นศาลหรือเป็นทางรัฐสภาอันนั้นก็แยกไป แต่ดูเหมือนตรงนี้มันเป็นกลไกส่วนหนึ่ง ซึ่งมันเป็นเทิร์ด เซกเตอร์ (Third sector) เข้ามา ใช้เงินรัฐบาลนะครับ ใช้เงินรัฐบาลก็คือ เงินประชาชนนะครับ เพียงแต่ว่าต้องมาจากเงินของฝ่ายบริหาร มันอยู่อย่างไรครับ มันไม่เป็นส่วนราชการแบบราชการนี่ใช่ มันเป็นองค์การมหาชนหรือเปล่าครับ ก็คือ องค์การมหาชนทุกวันนี้ถูกจัดไว้คือ องค์การมหาชนที่มีกฎหมายรองรับ หรือองค์การมหาชน ที่ออกโดยกฤษฎีกา ซึ่งอันนี้ไม่ใช่แน่นอน แต่อันนี้มีกฎหมายรองรับเฉพาะ แต่พอใช้คำว่า หน่วยงานอิสระจากหน่วยงานรัฐนะครับ ผมคิดว่าตรงนี้ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่า มันจะไปจัดชั้นอยู่ตรงไหนของกลุ่มนะครับ แต่การอภิบาลโดยใช้คณะกรรมการชุดนี้ ผมก็เห็นว่าถูกต้อง แต่เพียงแต่ได้เสริมไว้แล้วนะครับว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการนั้น น่าจะพิจารณาให้มีการถ่วงดุลเพื่อจะป้องกันข้อครหาว่ากลไกนี้ คณะกรรมการนี้มีแต่ ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภคทั้งนั้นทั้งหมดนะครับ ซึ่งก็จะเป็นจุดอ่อนนะครับ ในเสียงที่เป็นทั้งหมดนี้ ก็จะกลายเป็นจุดอ่อน ซึ่งก็น่าจะแก้ไขได้นะครับในส่วนเหล่านี้ครับ ๓ ประเด็นครับ ขอบพระคุณท่านประธาน ขออภัยที่เลยเวลาครับ

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณนะครับ ทางกรรมาธิการจะตอบอะไรตรงนี้ไหมครับ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน พอดีเมื่อกี้ดิฉันลืมตอบประเด็นหนึ่งนะคะที่ท่านเฉลิมชัยถาม เรื่องการรับเงิน ในมาตรา ๘ นะคะว่าจะมีหลักประกันอย่างไรว่าถ้าเรารับเงินจากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ กับรายได้อื่นนี่จะทำให้เป็นอิสระจากทุนอย่างไร จริง ๆ จะอยู่ในวรรคสองนะคะจะเขียนไว้ ชัดเจนว่า การรับเงินตาม (๓) และ (๕) นี่ต้องไม่เป็นการกระทำที่ทำให้องค์กรขาดความเป็น อิสระในการดำเนินงาน เพราะฉะนั้นอันนี้ก็จะมีการตรวจสอบไว้อยู่อย่างชัดเจนนะคะ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

แล้วก็ประเด็นที่ ขออภัยนะคะที่ต้องเอ่ยนามท่าน ท่านชิงชัยถามเรื่องว่า ดิฉันก็เห็นด้วยนะคะ แล้วก็ขณะนี้องค์กรผู้บริโภค องค์กรสาธารณประโยชน์ทั้งหลายนี่ มีความร่วมมือกับภาคเอกชนมาก ดิฉันยกตัวอย่างเรื่องหนึ่ง เราทดสอบผักว่ามีสารเคมีนี่ ทดสอบมา ๓ ปี แล้วก็พบว่าใน ๓ ปีนี่ผักตกมาตรฐาน ๓๐ เปอร์เซ็นต์ทุกปี เดิมเราใช้วิธี แถลงข่าวเปิดเผยชื่อ ยี่ห้อ ห้างทั้งหมด พอปีที่ ๓ นี่เราก็เชิญผู้ประกอบการ ร้านค้า ร้านค้าปลีก คนเอาผักเข้ามาขายในห้างคุย ได้ความร่วมมือเยอะเลย และดิฉันคิดว่านี่ก็เป็น ส่วนที่เขียนไว้ชัดเจนในมาตรา ๑๙ (๖) ว่า องค์การนี้จะต้องสนับสนุนและประสานงานกับ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่า ประเด็นนี้ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะว่ามีการเขียนไว้ชัดเจนว่าจะร่วมมือกับภาคเอกชน ในการคุ้มครองผู้บริโภคและภาครัฐในการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไร

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ดิฉันขอมาเรื่องกรรมการสรรหา จริง ๆ กรรมการสรรหา ก็จะมีรูปแบบใน การเขียนกฎหมาย ก็ต้องเรียนว่าคล้าย ๆ กันนะคะว่ากรรมการสรรหาก็จะออกแบบไว้ เรียกว่าคล้ายกันในกฎหมายหลายฉบับ แล้วก็ส่วนผู้แทนของสมาคมสตรีไทย ก็เนื่องจากว่า สมาคมที่เกี่ยวข้องกับสตรีมีหลายองค์กรมากนะคะ ไม่ว่าจะเป็นสภาสตรี สตรีพลิกโฉม ประเทศไทย เครือข่ายผู้หญิงก้าวหน้าต่าง ๆ มีหลายกลุ่มมากนะคะ แต่ว่าสุดท้ายได้ตัดสินใจ อาจจะเรียกว่าเลือกเครือข่ายสตรีที่มีอยู่ในทุกจังหวัดนะคะ แล้วก็อาจจะไปมากกว่าในระดับ จังหวัดมาเป็นกรรมการสรรหา แล้วดิฉันต้องเรียนว่าจริง ๆ ผู้แทนภาคเกษตรที่เสนอ ถ้าเราดู ในมาตรา ๑๒ เราจะเห็นชัดนะคะว่าผู้แทนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจะมีอยู่อย่างน้อย ๗ ด้าน ด้านการเงินการธนาคาร ด้านบริการสาธารณะ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านบริการสุขภาพ ด้านสินค้าและบริการทั่วไป ซึ่งตรงนี้ก็อาจจะมีทั้งสินค้าเกษตร สินค้าที่หลากหลาย มีหลายส่วน แล้วก็บริการด้วย แล้วก็ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ นะคะ เพราะฉะนั้นตรงนั้นคงออกแบบไว้ชัดเจนนะคะว่าจริง ๆ แล้วรวมภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ต้องบอกว่าที่เราไม่เขียนระบุเกษตรกรไว้ชัดเจนเป็นเพราะว่าเกษตรกร อีกฐานะหนึ่งก็เป็นผู้ผลิต คุณก็ผลิตพืชผักต่าง ๆ ที่ให้กับผู้บริโภค เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่า ตรงนี้ก็คงเป็นประเด็นที่ต้องเรียนว่าคงไม่ใช่เป็นผู้ผลิตที่มาเป็นกรรมการโดยตรงนะคะ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

แล้วก็อีกประเด็นหนึ่งที่มีผู้ให้คำแนะนำ ดิฉันคิดว่าส่วนคำแนะนำ ในการแก้ไขกฎหมายกรรมาธิการจะรวบรวมแล้วก็เนื่องจากว่าขั้นตอนของเราก็คงไม่ใช่ ขั้นตอนสุดท้ายที่จะทำกฎหมายฉบับนี้นะคะ แล้วก็ประเด็นที่ท่านเสรีได้ให้คำแนะนำ ซึ่งดิฉัน คิดว่าต้องบอกว่าร่างฉบับนี้เทียบเคียงกับหลายส่วนมาก แล้วก็โดยเฉพาะไม่ใช่ร่างที่ออกจาก วุฒิสภาเสียทีเดียว เพราะว่าหลังจากออกไปที่วุฒิสภาก็มีการแก้ไข เพราะฉะนั้น ส.ส. ก็ไม่รับ หลักการแล้วก็ตั้งกรรมาธิการร่วมมา เพราะฉะนั้นร่างนี้อาจจะคล้ายกับร่างที่ผสมผสาน ทั้งของสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็ทางวุฒิสภา ซึ่งไม่ใช่ร่างของฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ต้องเรียกว่าเป็นร่าง ที่เห็นชอบทั้ง ๒ สภาแล้วนะคะ ในส่วนของกรรมาธิการร่วม

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ส่วนประเด็นการถ่วงดุลก็ดี องค์กรที่จะให้ อันนี้ดิฉันก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ว่านักกฎหมายซึ่งเป็นกฤษฎีกาทั้งในคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเรามี ท่านวรรณชัยเป็นกรรมาธิการ ท่านก็ให้คำแนะนำว่าองค์การนี้ก็เป็นนิติบุคคลแล้วก็มีฐานะ หนึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เพราะฉะนั้นไม่ใช่องค์กรที่เป็นมูลนิธิแน่นอน ก็เป็นหน่วยงานของ รัฐประเภทหนึ่ง แล้วก็ดิฉันคิดว่ากฎหมายออกแบบให้มีความเป็นอิสระเป็นหน่วยงานของรัฐ ประเภทหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันทำงานสร้างเครือข่ายผู้บริโภค แล้วก็ทำหน้าที่เรียกว่าให้ ความเห็นก่อนที่จะมีมาตรการสำหรับผู้บริโภคนะคะ ซึ่งก็ต้องขอบคุณสำหรับคำแนะนำ ที่คิดว่าเราจะเพิ่มเติมกฎหมายไว้อย่างไร แล้วจริง ๆ ที่เพื่อนสมาชิกได้ให้คำแนะนำเราก็ นำไปปรับว่าเราเห็นอย่างไร ซึ่งดิฉันคิดว่าเอกสารเหล่านี้จะถูกนำต่อไปถึงสภานิติบัญญัติ แห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณากฎหมายฉบับนี้ต่อไปค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณนะครับ ถัดไปผู้อภิปราย อาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ครับ

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ท่านประธานครับ ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกไหมครับ เราในฐานะสภาปฏิรูปแห่งชาติ กำลังพิจารณาพระราชบัญญัติฉบับนี้แต่เฉพาะในหลักการ เราจะไม่ลงในรายละเอียด เป็นรายมาตรา เพราะนั่นคือหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เขาจะต้องดำเนินการต่อไป เพราะฉะนั้นผมจะขอพูดในหลักการเพียงแค่สัก ๔-๕ หลักการเท่านั้น

นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ต้นฉบับ

ประการที่ ๑ ผมคิดว่าเราต้องรู้ที่มาของเรื่ององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครอง ผู้บริโภค ถ้าท่านประธานไปดูรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ได้บัญญัติให้มีองค์การอิสระคุ้มครอง ผู้บริโภค แต่ก็ไม่เคยปรากฏเป็นความจริงจนกระทั่งถึงรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ได้แก้ไขเพิ่มเติมจากปี ๒๕๔๐ ในมาตรา ๖๑ ผมจะขออ่านให้ท่านประธานกับ เพื่อนสมาชิกฟังเพื่อจะเข้าใจอุดมการณ์และหลักการของมัน มาตรา ๖๑ บอกว่า สิทธิของ ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง ข้อมูลที่ เป็นความจริงนะครับ และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้ง มีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค นี่วรรคแรก ฟังอย่างนี้แล้วท่านดูกฎหมายที่เขา ร่างนั่นน่ะมันสอดคล้องเลยกับรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ในวรรคที่สองเขียนชัดขึ้นไปอีกบอกว่า ให้มีองค์กรเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ชัดไหมครับ ให้เป็น อิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อ ประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงาน การกระทำที่ละเลย การกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุน งบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย ท่านประธานครับ รัฐธรรมนูญ ในวรรคสองนี่ผมมีส่วนในการเติมเข้าไป เพราะว่าผมเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ แต่หลังจากนั้นมีบทเฉพาะกาลอีกว่าจะต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ออกมาภายใน ๑ ปี แต่แล้วไม่เคยเกิดอะไรขึ้นมาเลย จนกระทั่งประชาชนเข้าชื่อกันร่างเอง ส่งเข้าไปยังสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งกรรมาธิการเพื่อที่จะมาแก้ไขเพิ่มเติม แปรญัตติจากร่างที่ประชาชนเสนอ ผมก็ถูกลากเข้าไปในชั้นกรรมาธิการเพื่อที่จะมาช่วยกัน แก้ไขเพิ่มเติมตกแต่ง ผ่านสภาผู้แทนราษฎรไปเข้าวุฒิสภา ผมก็ถูกลากเข้าไปอยู่ใน กรรมาธิการของวุฒิสภาเพื่อไปตกแต่ง เสริมต่อ แก้ไข เพิ่มเติม เสร็จแล้วพอส่งไป สภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรยังไม่พอใจบางมาตราก็มีการตั้งกรรมาธิการร่วมระหว่าง ๒ สภา ผมก็ถูกลากเข้าไปเป็นกรรมาธิการร่วมใน ๒ สภา ที่ผมเล่าให้ฟังอย่างนี้จะได้เข้าใจว่า ที่มาของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มันผ่านการพิจารณามา ผ่านแล้วผ่านเล่ามาหลายรอบ และที่ร่างที่เราเห็นอยู่ในมือนี่มันคล้ายกับร่างสุดท้ายที่ผ่านการเห็นชอบระหว่าง ๒ สภา แต่ยังไม่ทันจะได้คลอดออกมาเป็นกฎหมาย ปรากฏว่ามีการยุบสภาเสียก่อนโดยรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ เพราะฉะนั้นร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็เลยลอยเท้งเต้งอยู่ ผมว่าถ้าเข้าใจตรงนี้ แล้วก็เข้าใจรัฐธรรมนูญที่กำกับอยู่ ผมว่าเราจะเข้าใจได้ดีว่า ทำไมถึงจะต้องมีงบประมาณ สนับสนุนจากภาครัฐ ทำไมหน่วยงานนี้ต้องเป็นหน่วยงานอิสระ ทำไมหน่วยงานนี้จึงต้องมี หน้าที่ในการทั้งวิจัยและเผยแพร่เพื่อให้ประชาชนรู้ทัน ทำไมต้องมีหน้าที่ให้ความเห็น เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติหรือกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อาจารย์ ถัดไปนะครับ คุณประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ครับ

นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ลำดับที่ ๑๓๓ ผมก็ขอสนับสนุนตัวร่าง พระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคฉบับนี้นะครับว่าน่าจะมีมานาน แล้วก็จะ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้บริโภค แต่ที่ผ่านมาในฐานะผมเองก็เป็นผู้ที่ปฏิบัติด้วยส่วนหนึ่ง จะเห็นได้ว่าแม้ให้มีกฎหมายดีอย่างไร มีสภาพบังคับที่ดีอย่างไร แต่การบังคับใช้ถ้าไม่มี ประสิทธิภาพ ผมว่าตรงนั้นก็คงจะไม่เกิดผลแต่ประการใด ฉะนั้นยังไม่เห็นในส่วนนี้ว่าได้มี การดำเนินการในส่วนที่จะให้มีการติดตามประเมินผลสุดท้ายของการดำเนินคดีอย่างไร หรือไม่ เพราะอะไรไหมครับ เพราะเท่าที่ปรากฏในความเป็นจริงโดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อคดีที่มี การดำเนินการไปจนถึงที่สุด จะถึงที่สุดโดยที่คู่ความไม่มีการอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุด หรือว่า ถึงที่สุดโดยศาลสูงสุดแล้วก็ตาม ทางฝ่ายผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยตรง หรือว่าหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงนั้นจะขาดการติดตามผลสุดท้ายว่าเป็นอย่างไร บางครั้งตัวผู้ถูกดำเนินการเองเขาก็ต้องพยายามที่จะดิ้นรนที่จะหาวิถีทางที่จะให้ตัวเองนั้น หลุดพ้นหรือรอดพ้นจากการดำเนินคดี หรือว่ารอดพ้นจากการจำคุกหรือถูกปรับ ฉะนั้นจะใช้ ทุกวิถีทางในการที่จะแทรกแซง หรือว่าขอร้องก็ดี หรือว่าขู่บังคับก็ดี จนพยานต่าง ๆ หรือ ผู้ที่ร้องทุกข์ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นไม่กล้าที่จะดำเนินการต่อไป แล้วก็ต้องถอยออก ซึ่งอาจจะ เป็นการสมยอมหรือว่าอยู่ในสภาพจำยอมก็แล้วแต่ อันนั้นก็เป็นส่วนหนึ่ง ฉะนั้นถ้ามีในส่วนนี้ นะครับอย่างน้อยก็เป็นหลักประกันได้ว่าจะช่วยดูแล ช่วยคุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริงว่า ผลสุดท้ายผู้ใดก่อกรรมไว้ ผู้นั้นก็ควรจะได้รับกรรมในส่วนนั้น ๆ แต่ในทางปฏิบัติยังมี อีกหลายประการในการที่ผู้บริโภคนั้นถูกเอารัดเอาเปรียบเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นผมถึงเห็นว่า กฎหมายให้ออกไปเท่าไร ถ้าหากว่าเราไม่มีหน่วยงานที่คอยติดตามหรือคอยประสานงาน หรือว่าคอยตรวจสอบว่าการใช้อำนาจรัฐทุกขั้นตอนนั้นเป็นไปโดยถูกต้องหรือว่าดำเนินการ เป็นธรรมกับทุก ๆ ฝ่ายหรือไม่ ตรงนั้นก็เป็นสิ่งที่น่าที่จะเป็นห่วงนะครับ ฉะนั้นผมมาย้อนดู ในตัวร่างพระราชบัญญัติที่เสนอขึ้นมานี่นะครับ ก็คงเช่นเดียวกันครับกับที่หลายท่านห่วงว่า จะลงในรายละเอียดหรือไม่ คงไม่ถึงกับลงในรายละเอียด แต่ว่าคงต้องดูว่าในสิ่งที่บัญญัติ ตัวร่างมีความเหมาะสมหรือไม่ เราคงต้องสะท้อนไปนะครับว่า ถ้าหากว่าหลุดจากตรงนี้ ไปแล้ว แล้วเป็นสิ่งที่ทางสภาปฏิรูปแห่งชาติเห็นมาก่อนนี่ก็น่าที่จะให้เหตุผลหรือว่า ให้ข้อสังเกตติดไปด้วยนะครับ ผมดูอย่างนี้ในตัวร่างนะครับมีหลายส่วนที่คิดว่าน่าที่จะดูด้วย อย่างเช่นกรณีเรื่องของมาตรา ๘ ในมาตรา ๘ นั้นที่ใช้หัวละ ๓ บาทต่อหัวนั้น ไม่ทราบว่า ตัวกฎหมายหรือว่าผู้ร่างนั้นใช้เกณฑ์อะไรเป็นตัวกำหนดในการที่จะกำหนด ๓ บาทต่อหัว แล้วก็จะมีการปรับทุก ๓ ปี ฉะนั้น ๓ บาทต่อหัวนั้นมีเพียงพอที่จะใช้ดำเนินการในการที่จะ ดูแลผู้บริโภคแล้วหรือยัง หรือว่าถ้ามากไปจะเป็นภาระงบประมาณหรือไม่ อันนั้นคงต้องดู เพราะว่าตรงนี้อย่างไรก็แล้วแต่ก็ต้องไปผ่าน ครม. ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวด้วย เช่นเดียวกัน ในมาตรา ๙ ก็เช่นเดียวกัน ก็ขออนุญาตปรับเผื่อไปเลย ฝากเผื่อไปเพื่อจะได้สอดคล้องกับ ทางท่านกรรมาธิการยกร่าง ซึ่งช่วงเช้าเราก็ได้ทราบแล้วว่า ปีงบประมาณต่อ ๆ ไปนั้น ถ้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านนะครับ นั่นก็หมายความว่างบประมาณรายจ่ายประจำปี จะไม่ใช้อีกแล้ว จะใช้เป็น ๒ ขา ก็คือมีการอธิบายทั้ง ๒ ด้าน ทั้งรายรับและรายจ่ายตามที่ ท่านคำนูณ สิทธิสมาน ก็ขออนุญาตเอ่ยนามท่านเพราะไม่เสียหาย ว่าตรงนี้เป็น ๒ ขาแล้ว เป็นงบประมาณประจำปี ไม่มีคำว่า รายจ่าย ก็ปรับเผื่อไปนะครับ

นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ต้นฉบับ

อีกส่วนกรณีหนึ่งเป็นเรื่องของมาตรา ๑๙ ในมาตรา ๑๙ เรื่องที่จะให้ พนักงานอัยการดำเนินการแทนในส่วนสุดท้ายของ (๕) ที่บอกว่า ทั้งนี้ การฟ้องและ การดำเนินคดีดังกล่าว ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิด ในค่าฤชาธรรมเนียมชั้นที่สุด คำว่า ชั้นที่สุด หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า ในชั้นนี้ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จะให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบหรือว่าไม่ต้องยกเว้น ขอความชัดเจนในส่วนนี้ ด้วยนะครับ ก็ขอเลยเวลาอีกนิดเดียว

นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ต้นฉบับ

แล้วก็ในมาตรา ๓๓ นั้นมีหลายท่านเป็นห่วงในเรื่องของโทษว่าจะสูงเกินไป หรือไม่ ผมว่าให้เป็นดุลยพินิจของศาลยุติธรรมเถอะครับ หรือว่าศาลปกครองก็แล้วแต่จะเป็น ผู้พิจารณาอันนี้ว่าตรงนั้นดุลยพินิจได้ที่จะลงโทษ เพราะว่ามีขั้นต่ำ ๑ ปี อันนั้นคือ หลักประกันในการที่จะเปิดโอกาสให้ศาลรอการลงอาญาได้ถ้าเห็นว่าพฤติกรรมของกรรมการ แต่ปัญหาก็คือว่ากรณีที่กรรมการหรือตัวคณะกรรมการกระทำความผิดจะถือเป็นผิดอาญา แผ่นดิน และผิดทั่วไป แล้วต้องให้มีผู้เสียหายร้องทุกข์ กล่าวโทษด้วยหรือไม่ครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกที่เคารพครับ มีผู้ขอลงชื่ออภิปรายเอาไว้อีก ๖ ท่าน ผมจะ ขออนุญาตอ่านชื่อเพื่อที่ว่าท่านจะได้มาเตรียมตัว ท่านแรกคือ คุณโกวิท ศรีไพโรจน์ ท่านที่ ๒ คือ คุณเตือนใจ สินธุวณิก ท่านที่ ๓ คือ คุณประสาร มฤคพิทักษ์ ท่านที่ ๔ คือ คุณสืบพงศ์ ธรรมชาติ ท่านที่ ๕ คือ คุณสุภัทรา นาคะผิว แล้วท่านที่ ๖ คือ คุณทิชา ณ นคร ต่อไปผมขออนุญาตเรียนเชิญท่านสมาชิกคุณโกวิท ศรีไพโรจน์ ครับ

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับท่านประธานครับ ผม โกวิท ศรีไพโรจน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี หมายเลขที่ ๑๙ ท่านประธานครับ ผมคงจะต้องขอใช้โอกาสนี้กราบเรียนท่านประธานผ่านไปยัง คณะกรรมาธิการนะครับ เกี่ยวกับเรื่องของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในหลายประเด็น เอาใน ตัวเรื่องของตัวร่างพระราชบัญญัตินี้ก่อน ตั้งแต่องค์กร มีเพื่อนสมาชิกหลายท่านได้อภิปราย ไปแล้วว่าองค์กรนี้เป็นองค์กรอะไรกันแน่ ระหว่างเป็นองค์กรภาครัฐหรือองค์กรเอกชน ผมอ่านตัวร่างกฎหมายฉบับนี้แล้วก็ฟังท่านประธานกรรมาธิการได้ชี้แจงมาก็ยังไม่ชัดครับ ท่านประธานครับ ท่านประธานก็เป็นนักกฎหมาย การแปลกฎหมายนั้นข้าราชการก็ดี รัฐก็ดี จะทำอะไรก็แล้วแต่ต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ ส่วนเอกชนนั้นทำอะไรก็ได้ถ้ากฎหมาย ไม่ห้าม คราวนี้เมื่อองค์กรนี้ยังมีความไม่ชัดเจน การตั้งองค์กรใด ๆ ขึ้นมานั้นจะต้องมี กฎหมายรองรับเสมอไม่ว่ากองทุนหมู่บ้าน หรือองค์กรอะไรต่าง ๆ ที่เคยมีการตั้งขึ้นมาต้องมี กฎหมายรับรองไว้โดยเสมอ ท่านประธานก็เป็นประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ รัฐธรรมนูญก็ยังไม่ได้คลอดออกมา กรอบขององค์กรนี้จะออกมาอย่างไร

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ต้นฉบับ

ประการต่อมานะครับ เรื่องปัญหาการใช้เงินขององค์กรนี้ก็มีเพื่อนสมาชิก หลายท่านได้อภิปรายไปแล้ว ผมก็ยังเรียนต่อท่านประธานว่าก็ยังเป็นปัญหาว่าการเงินของ การใช้ขององค์กรนี้จะขัดกับนโยบายหรือหลักการของการเงินของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือไม่ก็ยังไม่ทราบ

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ต้นฉบับ

นอกจากนั้นท่านประธานครับ ถ้ามาดูเนื้อหาขององค์กรฉบับองค์กรนี้แล้ว การใช้เงินขององค์กรนี้สามารถออกระเบียบการใช้เงินมาใช้ได้ด้วยตัวเอง การตรวจสอบนั้น มีผู้ตรวจสอบบัญชี มีผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งก็ต้องตรวจสอบตามระเบียบ เพราะฉะนั้น ก็เสมือนกับองค์กรนี้สามารถจะใช้เงินนี้ได้ด้วยตัวเองโดยปราศจากการตรวจสอบหรือ การตรวจสอบทำได้ยากมาก

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ต้นฉบับ

นอกจากนั้นเกี่ยวกับเรื่องของคณะกรรมการ ของผมเองอาจจะพูดแล้ว อาจจะกระเทือนท่านประชาชนหลายท่าน แต่ว่าอย่างไรก็ตามการออกกฎหมายนั้นจะต้อง มองทั้ง ๒ ด้าน องค์กรนี้กรรมการจะมาจากฝ่ายผู้บริโภคทั้งสิ้นไม่ได้มาจากผู้ประกอบการ ซึ่งสามารถจะให้รายละเอียดในการประชุมของคณะกรรมการนี้ได้เลยเหมือนกับ การพิจารณาอะไรจะเป็นการพิจารณาโดยฝ่ายเดียวแท้ ๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความลำเอียง หรือว่าความไม่เป็นธรรมกับอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ต้นฉบับ

นอกจากนั้นนะครับ การฟ้องคดีของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๙ (๕) ถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ ก็ยังขาดหลักการ เพราะว่าการฟ้องคดีนั้นไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะไปฟ้อง มันจะต้องรวมทั้งการตรวจสอบข้อเท็จจริง การตรวจสอบพยานหลักฐาน แล้วประการต่อมา ก็คือทางฝ่ายพนักงานอัยการนั้นเราเป็นทนายแผ่นดินแล้วเราก็ต้องคุ้มครองผู้บริสุทธิ์นี่ ถูกต้องนะครับ แต่เราไม่ใช่เป็นทนายของประชาชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ นี่ก็เป็นอีก เรื่องหนึ่ง เมื่อองค์กรนี้ยังไม่ชัดว่าเป็นองค์กรเอกชนหรือองค์กรภาครัฐมันก็จะขัดหรือว่า อาจจะมีความไม่สอดคล้องกับการทำหน้าที่

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ต้นฉบับ

บทกำหนดโทษครับ ตามมาตรา ๓๓ ก็ยังไม่ชัดเจนครับถ้าหากจะผ่าน หลักการไป อยากจะเพิ่มคำว่า ทุจริต ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ขออนุญาตนะครับ มาตรา ๓๓ ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๙ หรือคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เพราะว่าถ้าหาก ว่ามาดูอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ นั้นค่อนข้างที่จะสุ่มเสี่ยงพอสมควรในการที่จะใช้อำนาจ หน้าที่ไปในทางไม่ชอบก็เกิดขึ้นได้นะครับ แล้วอีกอย่างการตรวจสอบอย่างที่เรียนต่อ ท่านประธานว่าเมื่ออ่านโดยรวมนั้นค่อนข้างจะตรวจสอบลำบาก ผมยอมรับครับว่า ท่านกรรมาธิการมีเจตนาดีแล้วก็ดำเนินการมาได้ดีตั้งแต่ต้น ยอมรับครับว่าทางฝ่าย สคบ. ปัจจุบันนี้ยังทำงานนั้นไม่สามารถจะช่วยเหลือประชาชนได้อย่างครอบคลุมมากนัก แต่ถ้าหาก เราจะต้องเสียงบประมาณแผ่นดินอีกก้อนหนึ่ง เราก็มีหน่วยงานของ สคบ. อยู่แล้วที่จะดูแล ประชาชนเสริมให้เขาเข้มแข็งและแข็งแกร่งกว่านี้ ตรงนี้ก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้วทำได้ ไม่ยาก

นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ต้นฉบับ

นอกจากนั้นนะครับ บางเรื่องบางราวผู้ประกอบการแต่ละผู้ประกอบการนั้น ในการทำกิจการมีหน่วยงานของรัฐกำกับดูแล ไม่ว่าการทำกิจกรรมโรงงาน การตั้งร้านขายของ อะไรต่าง ๆ มีหน่วยงานภาครัฐดูแลมาโดยตลอดเสมือนกับว่าภาครัฐวันนี้ไม่สามารถจะดูแล ประชาชนได้เลย ผมเห็นด้วยนะครับว่าน่าจะมีอะไรเสริมความเข้มแข็งหรือแข็งแกร่งให้กับ ประชาชนผู้บริโภค ผมเองก็เจ็บปวดนะครับในฐานะผู้บริโภคในหลาย ๆ กรณี แต่ว่าในกรณีนี้ นั้นเมื่อออกเป็นกฎหมายนั้นค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องที่อันตรายพอสมควร กฎหมายนั้นเป็น ดาบสองคมนะครับ ไม่ใช่ว่าคิดจะทำอะไรแล้ว ในชั้นนี้นะครับเมื่อรัฐธรรมนูญยังไม่ออก ท่านประธานครับเราอาจจะเห็นด้วยในหลักการแต่ยับยั้งไว้ก่อนจะดีไหมครับ จนกระทั่งเมื่อร่าง รัฐธรรมนูญออกมาให้ชัดเจนแล้วว่าหลักการของรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นอย่างไร การใช้จ่ายเงิน ของภาครัฐเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเงินต่อปี ๒๐๐ กว่าล้านนั้นไม่น้อยนะครับ ก็ฝากเรียน ท่านประธานถึงคณะกรรมาธิการอีกครั้งหนึ่งด้วย ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญท่านสมาชิกเตือนใจ สินธุวณิก ครับ

นางเตือนใจ สินธุวณิก ต้นฉบับ

กราบขอบพระคุณท่านประธานค่ะ ดิฉัน นางเตือนใจ สินธุวณิก สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๐๘๔ สาขาสื่อสารมวลชนค่ะ ขออนุญาตที่จะเสนอแนะแล้วก็ขอมีแง่ความเห็นนะคะ กับมีคำถามที่จะเรียนถาม ท่านประธานกรรมาธิการที่ได้รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภคดังต่อไปนี้นะคะ

นางเตือนใจ สินธุวณิก ต้นฉบับ

สำหรับมาตรา ๑๒ ที่ท่านมีกำหนดว่า ให้มีคณะกรรมการองค์การอิสระ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบพระคุณท่านที่มีด้านสื่อสารมวลชนแล้วก็ โทรคมนาคมด้วยนะคะ อย่างไรก็ตามดิฉันก็ยังอยากจะเห็นว่าเมื่อสักครู่ที่ท่านประธาน กรรมาธิการได้ตอบ ขออนุญาตเอ่ยชื่อท่านชูชาติ อินสว่าง ที่ท่านเสนอเกี่ยวกับเรื่องของ พี่น้องเกษตรกร แล้วท่านประธานบอกว่าอาจจะไปอยู่รวมในเรื่องของด้านสินค้าและบริการ ทั่วไป ขออนุญาตกราบเรียนว่าอย่างไรก็ตามอยากจะสนับสนุนว่าน่าจะเพิ่มเกษตรกรค่ะ เพราะว่าเป็นประชากรส่วนใหญ่ เป็นอาชีพหลักของประเทศไทย และอีกอย่างหนึ่งพี่น้อง เกษตรกรนี่ค่ะ แม้ว่าจะผลิตผลิตผลต่าง ๆ ทางด้านการเกษตรออกมาให้พี่น้องประชาชนนี่ ส่วนใหญ่แล้วพี่น้องเกษตรกรจะมีประเด็นในเรื่องของการถูกเอารัดเอาเปรียบในด้านของ การจะซื้อผลิตผลหรือว่าที่เป็นเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ หรือแม้แต่ปุ๋ยหรืออะไร คือเป็นผู้ที่ได้รับ ผลกระทบมากกว่าการที่จะเป็นผู้ที่จะให้บริการอย่างเดียวนะคะ ก็ขออนุญาตเสนอว่าน่าจะมี ด้านของเกษตรกรเข้ามานะคะ

นางเตือนใจ สินธุวณิก ต้นฉบับ

ต่อไปเป็นเรื่องของมาตรา ๑๔ ค่ะ อยากจะขออนุญาตว่าในเมื่อท่านประธาน กรรมาธิการได้กรุณาเห็นถึงความสำคัญของการที่จะมีเรื่องของสื่อสารมวลชนเข้ามาด้วยนี่ สำหรับคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งที่ท่านว่าในมาตรา ๑๔ นี้นะคะ สำหรับท่านอื่น ๆ ดิฉันมีความเห็นเหมือนกับท่านคณะกรรมาธิการท่านอื่น ๆ หรือว่าสมาชิกนะคะ เกี่ยวกับ เรื่องหมายเลข ๓ หมายเลข ๔ และหมายเลข ๕ ซึ่งดิฉันมีความรู้สึกว่ารู้สึกจะห่างไกล เกี่ยวกับเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภค หรือมีบทบาทเกี่ยวกับเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคไปสัก นิดหนึ่งนะคะ ก็ได้แก่เรื่องของผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทย หรือสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน แล้วก็คณะกรรมการประสานงานองค์การพัฒนาเอกชน อันนี้ก็อยากจะขอให้ท่าน ได้พิจารณาอีกนิดหนึ่งนะคะ แต่อยากจะขออนุญาตที่จะเพิ่มเติมด้านของผู้แทนของ สื่อสารมวลชนเข้าไปด้วยนะคะ เพราะดิฉันคิดว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีลักษณะการทำงาน แล้วก็จรรยาบรรณของการปฏิบัติงานนั้นแตกต่างไป ดังนั้นก็ควรจะมีคณะกรรมการที่จะ คัดสรรในด้านของสื่อสารมวลชนด้วยนะคะ

นางเตือนใจ สินธุวณิก ต้นฉบับ

มีคำถามขออนุญาตเรียนถามท่านประธานกรรมาธิการนิดหนึ่งว่า สำหรับ ในการที่ท่านเพิ่มด้านสื่อสารมวลชนเข้าไปนั้นนี่ขอเรียนถามว่าท่านมุ่งคุ้มครองผู้บริโภค ในการละเมิดของสื่อใช่หรือไม่นะคะ แล้วก็อันนี้เป็นเรื่องเดียวกันกับเรื่องของการกำกับสื่อ โดยภาคประชาชนใช่หรือไม่ เป็นเรื่องของการที่จะให้ความรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับเรื่อง การรู้เท่าทันสื่อหรือไม่ ที่เรียนถามอย่างนี้เพราะว่าดิฉันเองอยู่ในคณะอนุกรรมาธิการที่ เกี่ยวกับเรื่องของการที่จะให้ภาคประชาชนนะคะ คิดว่าท่านประธานเองก็ได้กรุณาเข้าร่วม ประชุมในฐานะผู้ชี้แจงแล้วก็เป็นที่ปรึกษาด้วย ก็จะได้ทำงานให้สอดคล้องกันไปว่าด้านของ การที่จะคุ้มครองผู้บริโภคที่โดนละเมิดโดยสื่อนั้นควรจะอยู่ในภาคไหนอย่างไรนะคะ หรือว่า เราจะไปตั้งเป็นองค์กรอิสระเกี่ยวกับเรื่องของการสมัชชาคุ้มครองสื่อ หรือว่าผู้บริโภคสื่อ อีกขั้นหนึ่งนะคะ

นางเตือนใจ สินธุวณิก ต้นฉบับ

อันที่ ๓ ที่อยากจะขออนุญาตเรียนก็คือ ในมาตรา ๑๙ ค่ะ ขอเรียนว่า ก่อนอื่นดิฉันก็อยากจะขอชมเชยทางท่านกรรมาธิการทุก ๆ ท่านนะคะ ในมาตรา ๑๙ (๔) กับ (๕) ที่ท่านจะทำหน้าที่ในการที่จะเรียกร้องสิทธิหรือว่าดำเนินคดีให้ผู้บริโภคที่ได้รับ การกระทบหรือว่าได้รับการละเมิดนะคะ อันนี้ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ นะคะ น่าชมเชยอย่างยิ่งทีเดียว แต่สำหรับ (๔) ท่านเขียนว่า สนับสนุนการใช้สิทธิร้องเรียนหรือ การดำเนินคดีของผู้บริโภค ตรงนี้ขออนุญาตที่จะเปลี่ยนเป็นว่า เป็นหน้าที่ ไม่ใช่สนับสนุน เฉย ๆ ค่ะ ถ้าเป็นหน้าที่ของท่านในการที่จะเรียกร้องแทนแล้วก็โดยผ่านทางด้านของอัยการ หรืออะไรต่าง ๆ ดิฉันคิดว่าพี่น้องประชาชนที่เป็นผู้บริโภคชาวไทยนี้จะดีใจแล้วก็อนุโมทนาบุญ อย่างยิ่งทีเดียว เพราะว่าพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้กฎหมายนะคะ ดังนั้น พอโดนละเมิดต่าง ๆ แล้วนี่ก็ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร อันนี้ก็คิดว่าอยากจะขออนุญาตว่าให้เป็นหน้าที่ในการที่จะใช้สิทธิร้องเรียนดำเนินคดีแทน ผู้บริโภค แทนการที่จะใช้คำว่า สนับสนุน เท่านั้นนะคะ ก็ขออนุญาตกราบเรียนท่านประธาน กรรมาธิการแล้วก็ท่านประธานเพียงแค่นี้นะคะ กราบขอบพระคุณค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปขอเรียนเชิญคุณประสาร มฤคพิทักษ์ ครับ

นายประสาร มฤคพิทักษ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนประธานที่เคารพ ประสาร มฤคพิทักษ์ สปช. หมายเลข ๑๓๒ ท่านประธานครับ ขออนุญาตเอ่ยนาม เมื่อกี้อาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ได้ชี้ให้เห็นว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ผมเองในระยะที่ทำหน้าที่สมาชิก วุฒิสภาก็ได้มีโอกาสผ่านตาพระราชบัญญัติฉบับนี้ แต่แล้วมันก็มีอันจะต้องยกเลิกหรือว่า สลายไปเพราะเหตุการยุบสภา นั่นแปลว่าเป็นกฎหมายอีกหนึ่งฉบับที่มีสภาพล้มลุก คลุกคลานมาตลอด กฎหมายแบบนี้มีหลายฉบับเหมือนกันนะครับ เช่น กฎหมาย กสทช. ก็มี ลักษณะใกล้เคียงกันนะครับ มีสภาพแบบเดียวกัน ที่ผมพูดอย่างนี้ก็ชี้ให้เห็นว่าตั้งแต่ รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ต่อเนื่องมารัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ก็ได้เห็นความสำคัญกระทั่ง มีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อที่จะให้ก่อเกิดองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และในที่สุดก็มาสู่การประชุมในวันนี้ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดเราได้มีการรับหลักการไปแล้ว ในการพิจารณาเมื่อครั้งก่อน นั่นแปลว่าหลักการโดยรวมของพระราชบัญญัติฉบับนี้ เรารับรองกันไปแล้วนะครับ อย่างไรก็ตามเมื่อมีการนำเข้ามาสู่การพิจารณาอีกครั้งหนึ่งก็มี ข้อที่จะต้องพิจารณานะครับ ซึ่งผมก็ไม่ได้ขัดข้องอะไร แต่ผมเรียนว่าหลักใหญ่ ๆ โดยรวม แล้ว ๘๐-๙๐ เปอร์เซ็นต์ ผมเห็นด้วย ท่านประธานครับ ทุกย่างก้าวของเราตั้งแต่ตื่นนอน จนเข้านอน เราล้วนแต่เป็นผู้บริโภค ทุกคนในที่นี้เป็นผู้บริโภค ตื่นขึ้นมาเปิดทีวี (TV) ดู ก็บริโภคทีวีแล้ว ใช้ยาสีฟันก็บริโภคยาสีฟัน ใช้สบู่ก็เช่นเดียวกัน เปิดมือถือ เปิดไอแพด (iPad) เปิดสมาร์ตโฟน (Smart phone) อะไรก็ตาม เดินบนถนน ไปโรงพยาบาล ไปซื้อยา ที่ร้านขายยา ไปกินก๋วยเตี๋ยว อ่านหนังสือพิมพ์ กระทั่งเข้านอน เราล้วนแต่ต้องรับการบริการ จากผู้ให้บริการและเราก็เป็นผู้บริโภคกันทุกคน จริงอยู่ครับมี สคบ. ซึ่งก็ทำหน้าที่ได้ดี พอสมควรผมยอมรับ แต่ว่าเรื่องของเรื่องก็คือองค์กรนี้ชื่อว่าองค์กรอิสระ คำว่า อิสระ ก็หมายความว่าไปพ้นจากราชการ ไปพ้นจากการเมือง ไปพ้นจากการครอบงำทั้งหลาย ทั้งปวง และโดยบันทึกเหตุผลที่มาก็แจ่มชัดนะครับ ต้องการที่จะลดความเหลื่อมล้ำก่อให้เกิด การมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ก่อให้เกิดการตรวจสอบ ที่วางไว้อย่างนี้นี่ครับคือแนวทางปฏิรูปของ เพราะฉะนั้นพระราชบัญญัตินี้คือตัวช่วยของพี่น้องประชาชนไม่ว่าจะเป็นระดับไหนก็แล้วแต่ เศรษฐีมั่งมีหรือยาจกก็ตามแต่นะครับ เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่สมควรจะมีอย่างยิ่ง แต่ที่สำคัญก็คือว่าเมื่อมีแล้วในทางปฏิบัตินั้นได้ปฏิบัติแค่ไหน ซึ่งเพื่อนสมาชิกก็ได้อภิปราย ไปแล้ว ถ้ามีแล้วก็ควรจะได้ปฏิบัติมิใช่มีเพื่อตั้งหรือว่ามีสักแต่ว่ามี สิ่งที่ผมได้ดูนะครับ สิ่งที่อยากจะเสนอก็คือในเรื่องของหลักการเหตุผลตรงนี้ที่ขึ้นต้นว่า โดยที่เป็นการปฏิรูป ประเทศด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ถ้าหากว่าจะปรับเปลี่ยนเป็นว่า ด้วยมีการกำหนดปฏิรูป ประเทศด้านการคุ้มครองผู้บริโภค น่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่านะครับ และจะชัดกว่าไหม หรือด้วยสภาปฏิรูปแห่งชาติได้กำหนดให้มีการปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ในวรรคแรก นะครับ และตอนสุดท้ายที่บอกว่าบรรทัดที่ ๒ ขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย ผมคิดว่าน่าจะ ตัดคำว่า ด้วย ออกนะครับ เพื่อให้น้ำหนักมีมากขึ้น ก็เป็นว่า สนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินการองค์การอิสระดังกล่าว เอาให้ชัดให้หนักแน่นไปเลย ไม่ต้องมี ด้วย ครับ

นายประสาร มฤคพิทักษ์ ต้นฉบับ

ทีนี้ในหน้าอื่นนะครับ ซึ่งเป็นมาตราต่าง ๆ ในหน้าที่ ๑๔ นะครับ ซึ่งเป็น มาตรา ๑๓ ในข้อ ๔ ว่า เคยได้รับโทษจำคุก น่าจะใช้คำว่า เคยต้องโทษจำคุก หรือไม่ เพราะ คำว่า ได้รับ มักจะเป็นไปในทางบวกนะครับ เคยต้องโทษจำคุก หรือเปล่า อันนี้เป็นต้น

นายประสาร มฤคพิทักษ์ ต้นฉบับ

แล้วในมาตรา ๑๔ อีกมาตราหนึ่งนะครับ ในหน้า ๑๕ ผมอยากจะเพิ่มว่าให้มี เกษตรกรด้วยส่วนหนึ่งในกรรมการสรรหานะครับ เพราะจริง ๆ แล้วเกษตรกรเป็นคน ส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะในการจะสรรหากรรมการมาในทั้งหมดมี ๙ ถ้าจะเพิ่มเป็น ๑๐ เป็นองค์กรเกษตรอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศเรานะครับ อันนี้ผม อยากจะเพิ่มในส่วนนี้

นายประสาร มฤคพิทักษ์ ต้นฉบับ

แล้วก็ในส่วนของบทเฉพาะกาลนะครับที่บอกว่า ให้คณะกรรมการจัดทำ ประมวลจริยธรรมขององค์การให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี ผมว่าที่จริงประมวลจริยธรรม เรารู้กันอยู่แล้วว่ามีอะไรบ้าง อย่างไร ผมว่าแค่ ๖ เดือนก็พอแล้วครับ เพราะ ๑ ปี วาระ ๔ ปี ทำงานไปแล้วปีหนึ่งกว่าประมวลจริยธรรมจะออกมาช้าไป ผมว่าปรับแค่ ๖ เดือนครับ แต่โดยทั่วไปมักจะลงเป็นปีเป็นอะไรกัน ผมว่า ๖ เดือนก็ได้ครับเรื่องเวลา เพราะสิ่งเหล่านี้ รู้กันอยู่ว่าจริยธรรมมีอะไรบ้างนะครับ อันนี้ผมขอปรับนะครับ ถ้า ๖ เดือนได้ก็จะเป็นการดี ยิ่งถ้าความเห็นของผมนะครับ

นายประสาร มฤคพิทักษ์ ต้นฉบับ

ในเรื่องของการบริโภคทั้งหลาย ผมเองเคยประสบโดยตรง เช่น ขึ้นเครื่องบิน บางที ๖ ชั่วโมงครับ เครื่องบินยังไม่ถึง ถามว่าเครื่องบินอยู่ไหน ผมก็ไม่รู้ ถามฝ่ายเจ้าหน้าที่ เขาบอกเครื่องบินยังไม่มา ก็เลยต้องติดแหง็กอยู่ที่สนามบิน เร็ว ๆ ล่าสุดครับจะมาประชุม เมื่อสัปดาห์ก่อน ๑ ชั่วโมงเครื่องบินยังไม่ขึ้นครับ นี่คืออะไร อย่างไร ก็อยากจะให้มีกฎหมาย ลักษณะนี้ว่า ทำอย่างไรให้ผู้ที่เสียเปรียบด้วยประการต่าง ๆ จะได้ดีขึ้นบ้างครับ เพราะฉะนั้น พระราชบัญญัตินี้คือตัวช่วยประชาชนไม่ว่าระดับไหนก็แล้วแต่ สำหรับคนที่จะเสียเปรียบ มากก็คือคนที่อยู่ชนบทละครับ อันนี้ผมต้องกล่าวอย่างนี้ เวลาเขามีอะไร อย่างไร เขาไม่มี สิทธิโต้เถียง เขาพูดไม่ถูก เขาพูดไม่ได้ เขาไม่รู้กฎหมาย หรือเขาไม่มีความรู้มากพอ ก็อยากจะฝากว่าพระราชบัญญัตินี้ออกไปดูให้ดีที่สุดนะครับ แต่ผมเชื่อว่า สนช. กลั่นกรอง อีกทีหนึ่งก็น่าจะดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ล่ะครับ ก็ขอฝากว่าอย่างไรเสียนะครับ ผู้ที่ดูแลกฎหมาย ต่าง ๆ ขอให้มีผลบังคับใช้จริง ๆ อย่าเพียงแต่ว่ามี เพราะจริง ๆ แล้วสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ขณะนี้ กฎหมายต่าง ๆ นั้นบังคับใช้ไม่ทราบจะถึง ๕๐ เปอร์เซ็นต์หรือเปล่า อันนี้ผมขอฝากตรงนี้ นะครับ โดยเฉพาะรัฐบาลและบรรดาผู้ใช้กฎหมายทั้งหลายนะครับ ขอบคุณมากครับ ท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ก็เหลืออีก ๒ ท่านนะครับ เชิญคุณสุภัทรา นาคะผิว ครับ

นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ต้นฉบับ

ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน เรียนท่านสมาชิก ทุกท่านนะคะ ดิฉัน สุภัทรา นาคะผิว สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันเองมีประเด็นที่ อยากจะตั้งข้อสังเกตต่อการพิจารณาหลักการเรื่องของร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ ๒-๓ ประเด็นนะคะ

นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ต้นฉบับ

ประเด็นแรก ดิฉันคิดว่าเราพิจารณาในเชิงหลักการไม่ได้ลงรายละเอียด ในรายมาตรา เพราะอันนั้นไม่ใช่หน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ และดิฉันคิดว่าจะเป็น ความภาคภูมิใจของพวกเราในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในครั้งนี้เป็นอย่างมาก หากว่าพวกเราสามารถร่วมกันผลักดันให้มีกฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้ได้ในช่วงที่เราเป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินะคะ เพราะดิฉันคิดว่า ๑๘ ปีที่ประชาชนทั้งประเทศรอคอย กฎหมายฉบับนี้เนิ่นนาน และนี่จะเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อคนทุกผู้ทุกนามที่อยู่บน ผืนแผ่นดินไทยแห่งนี้นะคะ ดังนั้นดิฉันเองสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ แต่ดิฉันมีประเด็นที่ สำคัญที่อยากจะเสนอแนะ

นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ต้นฉบับ

ข้อแรกก็คือว่า ดิฉันคิดว่ายังมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันและคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ หลักการและเหตุผลที่สำคัญ ซึ่งดิฉันคิดว่าจำเป็นที่จะต้องมีคำอธิบายหรือเขียนให้ชัดเจน เพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพราะหลังจากที่ฟังการอภิปรายของสมาชิก รวมทั้งคนที่อยู่นอกห้อง สภาปฏิรูปแห่งนี้นะคะ ก็ยังมีความเข้าใจว่าทำไมถึงจะต้องมีกฎหมายฉบับนี้ ทำไมต้องมี องค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ในขณะที่มี สคบ. อยู่แล้ว มีหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติ หน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่แล้ว เป็นเรื่องซ้ำซ้อนหรือไม่ ดิฉันคิดว่านี่คือโจทย์ที่จะต้อง แก้ให้ถูกต้องนะคะ เพื่อให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกันในเชิงหลักการ เนื่องจาก ดิฉันมองว่าในช่วงที่เราทำหน้าที่เป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติเรากำลังพูดถึงเรื่องของการที่เรา จะต้องทำให้พลเมืองหรือประชาชนของประเทศไทยนั้นมีความเข้มแข็ง มีความแอคทีฟ (Active) มีความกระตือรือร้น มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและร่วมในการดำเนินการต่าง ๆ นะคะ รูปธรรมของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะที่เป็นผู้บริโภคคือหัวใจ และหลักการสำคัญของกฎหมายฉบับนี้นะคะ ไม่ใช่การไปทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกับ สคบ. หรือ หน่วยงานรัฐที่มีอยู่แล้ว หน่วยงานรัฐที่มีอยู่แล้วก็ทำหน้าที่ต่อไปในฐานะที่เป็นผู้ออกกฎ ผู้ควบคุมกฎ และผู้ที่จะต้องตรวจสอบดูแลให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้บริโภคกับ ผู้ประกอบการ แต่ความเข้มแข็งของผู้บริโภคเป็นทิศทางและเป็นสถานการณ์ที่ทั้งในระดับ สากลทั่วโลกบอกว่าจะทำให้เกิดการยกระดับของการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น อันนั้นเป็นเหตุผลว่าทำไมในรายละเอียดของร่างกฎหมายฉบับนี้จึงได้บรรจุเนื้อหา สาระที่มุ่งที่จะทำให้เกิดความเข้มแข็งของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ดิฉันคิดว่าในหลักการและ เหตุผลของร่างกฎหมายฉบับนี้อาจจะต้องบรรจุข้อความเหล่านี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ ชัดเจนว่าทำไมมันถึงจะต้องมีองค์กรอันนี้ขึ้นมา และดิฉันเองในฐานะที่ได้มีส่วนร่วมใน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอยากจะบอกข้อกังวลใจที่หลายท่านตั้งข้อสังเกตว่า เอ๊ะพอชื่อ องค์กรอิสระแล้วแปลว่าเอาเงินของรัฐไปใช้แล้วไม่ต้องถูกตรวจสอบเลยหรืออย่างไร อยากจะ บอกว่าในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี่นะคะ พูดถึงการตรวจสอบที่เข้มข้นมากนะคะว่าไม่ว่า องค์กรไหนที่ใช้เงินงบประมาณของรัฐจะต้องถูกตรวจสอบทุกระดับ ดังนั้นดิฉันคิดว่า ในตัวร่างกฎหมายเองก็มีความชัดเจนในเรื่องนี้อยู่แล้ว ที่สำคัญมากไปกว่านั้นก็คือว่า ความเข้มแข็งของผู้บริโภคที่จะต้องถูกสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจะเป็นตัวมา หนุนช่วยหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่อยู่แล้วให้มีการทำหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็งและจะต้องมี การประสานความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบนะคะ แล้วดิฉันคิดว่านี่เป็นมิติใหม่ของ สังคมไทยอย่างแท้จริงนะคะ หากเรามีการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตาม ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ดังนั้นดิฉันเองในฐานะที่เป็นผู้บริโภคคนหนึ่งก็หวังว่าจะมีการออก กฎหมายฉบับนี้ในช่วงเวลาที่พวกเราได้เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการเสนอแนะในฐานะสภาปฏิรูป แห่งชาติ ขอบพระคุณค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสุดท้ายแล้วนะครับ เชิญคุณทิชา ณ นคร ครับ

นางทิชา ณ นคร ต้นฉบับ

ขอบพระคุณมากค่ะท่านประธาน ดิฉัน ทิชา ณ นคร สปช. หมายเลข ๐๙๑ ค่ะ ดิฉันคิดว่าจริง ๆ แล้วประเทศไทยเราก็ได้ปรับทิศทางการกระจาย อำนาจสู่ท้องถิ่นมานานแล้วนะคะ โดยการกระจายทั้งภารกิจแล้วก็ทั้งงบประมาณในรูปของ การถ่ายโอนอำนาจสู่ท้องถิ่น แต่ว่าสิ่งที่พวกเราพบเห็นแล้วก็เป็นที่ประจักษ์ก็คือว่า ประชาชนยังไม่ได้รับประโยชน์จากการกระจายอำนาจนั้นอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น การกระจายอำนาจในรูปของการบริการสาธารณะสู่ภาคประชาสังคมเพิ่มเติมขยายส่วน ออกไปจากรูปแบบเดิม จึงเป็นหนึ่งในความหวังของประชาชนนะคะ แนวคิดองค์กรอิสระ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับดิฉันแล้วจึงเป็นการกระจายอำนาจให้กับภาคประชาสังคม ได้เข้ามาทำหน้าที่ปกป้องสิทธิของตนนะคะ ซึ่งเป็นหัวใจที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในเรื่องของ การบ้านการเมืองนะคะ องค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจึงได้ทำหน้าที่ที่สำคัญมากกว่านั้น ก็คือ ทำหน้าที่เปลี่ยนความเป็นประชาชนของพวกเรา จากการที่เป็นผู้รับบริการจากรัฐเป็น ผู้ที่รับผลจากการกระทำทุกอย่างให้เป็นพลเมืองผู้สามารถปกป้องสิทธิของตัวเองได้ ซึ่งหลักการนี้เป็นหลักการที่สำคัญของการสร้างพลเมือง อันเป็นกำลังของเมืองของประเทศ อีกรูปแบบหนึ่งนะคะ ซึ่งหลักการสำคัญขององค์กรคุ้มครองผู้บริโภคนี้ ดิฉันคิดว่า เป็นหลักการที่เป็นราคาที่รัฐจะต้องจ่าย แม้นว่าจำนวนเงินนั้นเมื่อคำนวณแล้วเป็นร้อยล้าน ก็ตาม แต่นี่ก็คือเป็นราคาที่รัฐจะต้องจ่ายในรูปของเงินภาษีอากรของพวกเรา เพื่อเปลี่ยนผ่าน ความเป็นประชาชนสู่ความเป็นพลเมือง และดิฉันเชื่อว่าแรงกระเพื่อมอันนี้นะคะ จะเป็น เจตนารมณ์ที่สำคัญในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วย ดังนั้นถ้าประชาชนไม่เข้มแข็งและประชาชน ทำหน้าที่เป็นผู้รับเพียงอย่างเดียวก็จะเป็นภาระอันหนักอึ้งของรัฐต่อไป ดังนั้นดิฉันเชื่อว่างาน ขององค์กรคุ้มครองผู้บริโภคจะเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอีกรูปแบบหนึ่งที่จะทำให้พลเมืองของเรา เข้มแข็งโดยส่วนตัวดิฉันสนับสนุนค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ ท่านผู้ที่ได้ลงชื่อไว้ได้อภิปรายครบถ้วนแล้วนะครับ ผมจะขอ อนุญาตท่านสมาชิกให้ท่านประธานกรรมาธิการตอบชี้แจงข้อซักถามของท่านสมาชิก แล้วก็สรุปก่อนที่จะลงมตินะครับ เชิญท่านประธานครับ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานนะคะ เนื่องจากว่าบางประเด็นเป็นเทคนิคกฎหมายจะขออนุญาตให้ท่านวรรณชัย ซึ่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายตอบในประเด็นสั้น ๆ นิดหนึ่งค่ะท่านประธาน

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญครับ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ขอบพระคุณค่ะ

นายวรรณชัย บุญบำรุง กรรมาธิการ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานและ ท่านสมาชิกที่เคารพครับ ผม วรรณชัย บุญบำรุง กรรมาธิการนะครับ ขออนุญาตตอบ ประเด็นในเรื่องอำนาจการฟ้องคดีของทางอัยการตามมาตรา ๑๙ (๕) ซึ่งมีกระบวนการที่ว่า ให้อัยการที่ฟ้องคดีในเรื่องผู้บริโภคได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม แต่ว่าไม่รวมถึงความรับผิด ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด แนวความคิดก็คือว่ามันเป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องประโยชน์ สาธารณะเป็นประโยชน์ของสังคมนะครับ รัฐก็เข้ามาดำเนินคดี ฟ้องคดีให้แทนนะครับ ทำนองเดียวกับเหมือนการดำเนินคดีผู้บริโภคของมูลนิธิหรือสมาคมทั่ว ๆ ไป ซึ่งตาม กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคก็จะยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมให้ เพราะมันเป็นในลักษณะ ที่เป็นการดำเนินการที่ไม่ได้แสวงหากำไร ไม่ได้เป็นเรื่องประโยชน์ของเอกชนใด คนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะของผู้บริโภคนะครับ ที่จะเข้ามาคุ้มครองดูแล เพื่อให้การเข้าถึงความยุติธรรมเป็นไปด้วยดี ก็เลยมีการเขียนเรื่อง ยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมให้นะครับ ซึ่งการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมที่เขียนต่อตอนท้ายก็คือ ไม่ได้ให้มีความหมายตีความไปว่าได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมถึงแม้ว่าตัวเองจะต้องรับผิด ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด ความหมายก็คือว่าในการดำเนินคดีนั้นมันอาจจะมีการแพ้ มีชนะในการดำเนินคดี หรือมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอะไรที่มันไม่เป็นประโยชน์ มีการประวิงคดีอะไรต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เวลาอัยการไปฟ้องจะไม่ได้รับยกเว้นพวกนี้นะครับ เพราะฉะนั้นในกรณีที่ทางฝ่ายผู้ประกอบการเขาชนะคดี ศาลก็อาจจะมีการสั่งให้ทางฝ่าย อัยการที่รับผิดชอบฟ้องคดีแทน ต้องรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมก็คือรัฐจะต้องจ่ายให้ เพราะว่า มันไม่เป็นธรรมกับทางฝ่ายผู้ประกอบการที่เขาจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในบางเรื่อง มันก็เลย ลักษณะคล้าย ๆ ว่าถ้าจะฟ้องคดีก็ต้องเป็นคดีที่มันเหมาะสม ที่มันมีความจำเป็นจริง ไม่ใช่ว่าทางคณะกรรมการองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคส่งเรื่องอะไรมาก็ฟ้องหมด โดยไม่คำนึงว่าคดีมันสมควรฟ้องไหม เพราะฉะนั้นมันจะมีกระบวนการที่เรียกความรับผิด ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุดนี่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายพิจารณาความแพ่ง ซึ่งอันนี้ มันก็เป็นธรรม แต่ว่าตรงส่วนตอนเริ่มต้นของตัวเองได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียของตัวเองใน ค่าฤชาธรรมเนียมในการดำเนินคดีในศาล ไม่ว่าจะค่ายื่นคำฟ้องอะไรต่าง ๆ ก็เรียนเป็นข้อมูล ครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านประธานมีอะไรจะเสริมอีกไหมครับ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันเองก็คิดว่าวันนี้เป็นวันหนึ่งที่มีความสำคัญมากเพราะว่าเราคงมี กฎหมายอีกหลายฉบับที่จะเข้ามาพิจารณาของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพราะฉะนั้น ข้อเสนอแนะของท่านสมาชิกทั้งหลายซึ่งอาจจะไม่ใช่รวมถึงเฉพาะวันนี้นะคะ คราวที่แล้ว ที่เรารับหลักการไปเมื่อวันที่ ๕ มกราคม และรวมถึงข้อเสนอแนะต่อการที่จะพัฒนากฎหมาย ฉบับนี้ให้ดีขึ้นแล้วก็เกิดประโยชน์กับผู้บริโภคโดยภาพรวม ดิฉันในฐานะประธานกรรมาธิการ ปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคก็จะนำ เรียกว่า เขียนทุกประการ นะคะ แล้วก็ส่งให้กับในส่วน ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะต้องทำกฎหมายฉบับนี้ต่อไป ซึ่งดิฉันคิดว่าวันนี้เราก็ได้คำแนะนำ ในการที่จะปรับปรุงกฎหมายในหลายประเด็นหลายส่วน ไม่ว่าจะทั้งเรื่องของอำนาจหน้าที่ ที่จะต้องทำให้เกิดความชัดเจน แล้วก็ในส่วนของกรรมการสรรหา องค์ประกอบของ กรรมการสรรหา หรือในส่วนของคณะกรรมการ แล้วก็รวมถึงข้อคิดเห็น ดิฉันคิดว่า ทุกประเด็นทางกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคจะสรุปแล้วก็เสนอแนบไปกับรายงาน ของกฎหมายฉบับนี้เป็นอย่างดีนะคะ ก็ขอรับข้อเสนอแนะแล้วก็ความเห็นในการที่จะพัฒนา กฎหมายฉบับนี้ให้เกิดประโยชน์กับผู้บริโภคโดยส่วนรวม ขอบพระคุณมากค่ะท่านประธาน

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ บัดนี้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระคุ้มครอง ผู้บริโภคก็เสร็จสิ้นลงแล้ว ผมขอเชิญท่านสมาชิกทุกท่านเข้าห้องประชุมเพื่อลงมติครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ ระหว่างที่ท่านสมาชิกเข้าประจำที่ ผมขออนุญาต ทำความเข้าใจในเรื่องการพิจารณาและลงมติในร่างพระราชบัญญัติที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ ดำเนินการนะครับ ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๐๗ บอกว่า เมื่อสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ เสร็จแล้ว หากสภามีมติเห็นชอบ ก็ให้ดำเนินการต่อไปตามข้อ ๑๑๐ ข้อ ๑๑๐ นี่บอกว่า เมื่อสภามีมติเห็นชอบด้วยร่างพระราชบัญญัติแล้ว ให้ประธานสภาเสนอร่างพระราชบัญญัติ ไปให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณา หากเป็นร่างพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ ให้ประธานสภาเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป แต่ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งเห็นได้ชัด ไม่ต้องส่งให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วย การเงินหรือไม่ เพราะเป็นร่างพระราชบัญญัติที่ต้องใช้เงินแผ่นดินในการตั้งองค์การนี้ ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๑ วรรคท้าย พูดไว้ชัดว่า ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติสามารถเสนอ ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป ถ้าสมาชิกเห็นชอบด้วยร่างนี้โดยไม่มีการแก้ไข แต่ในข้อบังคับบอกต่อไปว่า หากสภามีมติ ให้แก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมาธิการแก้ไขร่างพระราชบัญญัตินั้นตามที่สภามีมติ แล้วในวรรคสามของข้อ ๑๐๗ บอกว่า ในกรณีที่สภามีมติให้กรรมาธิการแก้ไขร่าง พระราชบัญญัตินั้น ให้คณะกรรมาธิการนำร่างพระราชบัญญัตินั้นกลับไปแก้ไขเพิ่มเติม โดยสมาชิกแต่ละท่านอาจจะยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันถัดจาก วันที่สภามีมติ แล้วก็คณะกรรมาธิการอาจจะแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ท่านสมาชิก ต้องยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมที่ท่านติดใจและอภิปรายไว้ต่อประธานคณะกรรมาธิการ เมื่อคณะกรรมาธิการได้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติเสร็จสิ้นแล้ว ข้อ ๑๐๘ บอกว่า ให้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นต่อสภา โดยแสดงร่างเดิมและการแก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งรายงานต่อสภาว่ามีการแก้ไขหรือไม่มีการแก้ไขในข้อใดมาตราใดบ้าง และข้อ ๑๐๙ ก็บอกว่า ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น สภาคราว ต่อไปถ้าจะให้แก้ไขเพิ่มเติมลงมติเห็นว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบจะมาขอแก้ไขเพิ่มเติม เนื้อความของร่างนั้นในสภาอีกไม่ได้ แล้วเมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้วก็ให้ส่งให้ประธานสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ถ้าเป็นกฎหมายการเงินก็ให้ส่งให้นายกรัฐมนตรีได้โดยตรง ร่างฉบับนี้ เป็นร่างกฎหมายการเงินแน่ เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องนำส่งประธานสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ แต่ใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๑ วรรคสอง ดำเนินการได้เลย บัดนี้ท่านสมาชิกมา ครบถ้วนแล้วนะครับ ผมจะขอมติจากที่ประชุมว่าจะเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติตามที่ คณะกรรมาธิการเสนอโดยไม่มีการแก้ไข หรือจะเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัตินี้ ตามที่สมาชิกได้อภิปราย ขออนุญาตให้ท่านสมาชิกทุกคนแสดงตนด้วยครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกแสดงตนครบถ้วนหรือยังครับ เชิญครับ บัตรไม่ทำงาน เจ้าหน้าที่ ช่วยดูหน่อยครับ แสดงตนได้ครบทุกท่านหรือยังครับ คุณเกรียงไกร

นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง ต้นฉบับ

ขออนุญาตท่านประธานครับ ผม เกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง ครับ อยากให้ท่านประธานทวนมติอีกสักครั้งหนึ่งครับ เพื่อเป็นที่เข้าใจครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ยังไม่ได้ลงมติครับ เดี๋ยวผมจะบอกมติ แสดงตนก่อนครับ แสดงตนทุกท่านแล้ว ใช่ไหมครับ ถ้าอย่างนั้นขอแสดงผลครับ บัดนี้มีผู้เข้าประชุม ๒๒๕ ท่าน เป็นองค์ประชุม นะครับ เป็นอันว่าครบองค์ประชุม

นายนิมิต สิทธิไตรย์ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม นิมิต สิทธิไตรย์ หมายเลข ๑๑๔ กดไม่ได้ครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ถ้าอย่างนั้นก็เป็น ๒๒๖ ท่านครับ เจ้าหน้าที่ช่วยดูนิดหนึ่ง

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปผมจะขออนุญาตขอมติจากที่ประชุมนะครับว่าท่านสมาชิกผู้ใด เห็นชอบตามที่คณะกรรมาธิการเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้มาโดยไม่ต้องแก้ไขให้กดคำว่า เห็นด้วย ท่านผู้ใดเห็นว่าควรจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์มากกว่านี้ให้กดคำว่า ไม่เห็นด้วย ท่านผู้ใดจะงดออกเสียงให้กดคำว่า งดออกเสียง นะครับ ขออนุญาตเชิญท่านสมาชิกทุกคน ลงมติครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกลงคะแนนทุกท่านหรือยังครับ ท่านสมาชิกลงคะแนนครบทุกท่าน แล้วนะครับ ขออนุญาตแสดงผลด้วยครับ ขอปิดลงคะแนนนะครับ แล้วก็แสดงผลเลยครับ มีผู้เข้าประชุม ๒๒๕ ท่านนะครับ เห็นด้วยให้ส่งไปยังคณะรัฐมนตรีเลยโดยไม่ต้องแก้ไข ๗๒ ท่าน เห็นว่าสมควรจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์กว่านี้ ๑๔๕ ท่าน งดออกเสียง ๗ ท่าน

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เป็นอันว่าที่ประชุมแห่งนี้มีมติว่าให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครอง ผู้บริโภคนำร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้พร้อมข้อสังเกตของท่านสมาชิกกลับไปแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งตามข้อบังคับในข้อ ๑๐๗ วรรคสี่ ท่านสมาชิกอาจจะยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ใน ๗ วัน ๗ วันนะครับที่ประธานกรรมาธิการ ผมจะปรึกษาท่านสมาชิกว่าท่านกรรมาธิการใช้เวลา ๓๐ วันพิจารณาทันไหมครับ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

จะพยายามนะคะ น่าจะทันค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ทันนะครับ

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานกรรมาธิการ ต้นฉบับ

ทันค่ะ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ทันนะครับ ก็ขอให้คณะกรรมาธิการทำงาน ๓๐ วัน แล้วนำกลับมาเสนอ สภาแห่งนี้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง แล้วตามข้อบังคับ ข้อ ๑๐๙ นั้น เมื่อนำกลับมาครั้งนี้สภานี้ จะไปแก้รายละเอียดอีกไม่ได้นะครับ เว้นแต่เป็นการแก้ถ้อยคำที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และคณะกรรมาธิการเห็นชอบด้วยตามข้อบังคับ ข้อ ๑๐๙ เป็นอันว่าจบระเบียบวาระ ในเรื่องนี้นะครับ ขออนุญาตไปสู่ระเบียบวาระที่ ๓

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ไม่มีนะครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่ค้างพิจารณา ไม่มี

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่เสนอใหม่

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เป็นการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อรับฟังความคิดเห็นของท่านสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ที่กำหนดวัตถุประสงค์แห่งการปฏิรูปเอาไว้ในข้อหนึ่งนี่นะครับ ก็คือจะต้องทำให้ กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว ท่านสมาชิกได้ อภิปรายแสดงความเห็นกันมา ที่ผ่านมาในเรื่องระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม ไปแล้ว มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพไปแล้ว ขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนายั่งยืน ไปแล้ว แล้วก็ได้ส่งความเห็นดังกล่าวนั้นไปให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วด้วย วันนี้จะเป็นการอภิปรายเรื่องการปฏิรูปดังกล่าวนี้จะทำให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการ ประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วอย่างไร ท่านสมาชิกได้แสดงความจำนงที่จะ อภิปรายเอาไว้ ๑๒ ท่าน แล้วก็ในคราวประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ครั้งที่ ๔/๒๕๕๘ ในวันอังคารที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา ที่ประชุมแห่งนี้มีมติให้สมาชิกอภิปรายไม่เกิน ท่านละ ๕ นาที สมาชิกทั้ง ๑๒ ท่านนั้น ผมจะอ่านชื่อ ๕ ท่านแรกก่อนนะครับ เพื่อท่านจะ ได้อยู่ในห้องประชุมเตรียมอภิปรายได้ ท่านแรกก็คือ พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ท่านที่ ๒ ก็คือคุณธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ท่านที่ ๓ ก็คือท่าน พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ท่านที่ ๔ คือ คุณวินัย ดะห์ลัน ท่านที่ ๕ คือ คุณณรงค์ พุทธิชีวิน บัดนี้ขอเชิญท่าน พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ได้ให้ความเห็นครับ เชิญครับ

พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนประธานสภาปฏิรูป แห่งชาติที่เคารพ กระผม พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติจากจังหวัดมุกดาหารครับ การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ เรื่อง จะทำอย่างไรให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่าง ทั่วถึง สะดวก รวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนะครับ ผมขอเพิ่มนิดหนึ่ง สิ่งที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยและอธิบดีกรมที่ดินได้มีการประชุมคอนเฟอเรนซ์ (Conference) เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานะครับ เร่งรัดให้เจ้าหน้าที่กรมที่ดินได้เร่งรัดดำเนินการออกโฉนดที่ดิน หรือเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดกับกรมที่ดินให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีอย่างรวดเร็ว อันนี้ผมเห็นด้วยครับ แต่ว่าสำนักงานที่ดินจังหวัดในแต่ละจังหวัดโดยเฉพาะมุกดาหารครับ ยกตัวอย่าง มีประชาชนไปยื่นเรื่องเพื่อขอออกโฉนดที่ดินหรือแบ่งแยกโฉนดที่ดินในขณะนี้ ๒,๐๐๐ เรื่อง แล้วไปยื่น ส.ค. ๑ เพื่อออกโฉนดที่ดิน ๑,๐๐๐ เรื่อง รวมแล้ว ๓,๐๐๐ เรื่อง ๓,๐๐๐ แปลง แต่ว่าเจ้าหน้าที่รังวัดมีอยู่ ๘ คน ๘ คนนี่ทำงานไม่ได้ครบทุกคนในทุกวัน เนื่องจากว่า กล้องโททอลสเตชัน (Total station) มีแค่ ๔ เครื่องเท่านั้นนะครับ เพราะฉะนั้นอยากจะ เร่งรัดกรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดินให้ออกโฉนดรวดเร็วแก่ประชาชน ผมคิดว่า กระทรวงมหาดไทยและกรมที่ดินจะต้องจัดซื้อเครื่องหรือว่ากล้องโททอลสเตชันให้ครบ ช่างทุกคนที่มีอยู่ในจังหวัดนั้น อันนี้จะรวดเร็วนะครับ ประเด็นที่ ๑ ครับ

พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ คือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนนี้ประชาชนขยายเขตไฟฟ้า ประชาชนจะต้องออกเงินสมทบ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นอยากจะให้รัฐออกค่าใช้จ่าย ในการขยายเขตไฟฟ้าให้ประชาชนทั้งหมด

พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๓ ก็คือกรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมชลประทาน และกองบัญชาการทหารพัฒนา อันนี้ผมก็อยากจะให้ดำเนินการไปขุดแหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็น สาธารณะหรือว่าน้ำเพื่อการเกษตรให้กับประชาชนในสวนไร่นาของพี่น้องประชาชน เพื่อจะได้นำน้ำเหล่านั้นเพื่อใช้ในการเกษตรได้ตลอดปี โดยเฉพาะที่ภาคอีสานและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมชลประทาน และกองบัญชาการทหารพัฒนาอยากจะให้เร่งรัดในเรื่องนี้จริง ๆ เพื่อว่าโครงการเศรษฐกิจ พอเพียงที่รัฐบาลหรือว่าใคร ๆ ก็ตามในประเทศไทยในขณะนี้ให้ความสนใจและให้ การส่งเสริมเป็นอย่างดีนั้น ถ้าหากว่าขาดน้ำแล้วประชาชนก็ไม่สามารถที่จะทำการเกษตรได้ ในอดีตที่ผ่านมากรมทรัพยากรน้ำก็ดี ทรัพยากรน้ำบาดาลก็ดี หรือกรมชลประทานก็ดี ก็ได้ ไปจัดทำแหล่งน้ำเฉพาะในห้วยหนองคลองบึงซึ่งเป็นที่สาธารณะเท่านั้น แต่ความคิดของ กระผมและประชาชนในต่างจังหวัดเขาไม่มีเงินทุนที่จะไปจ้างผู้รับเหมาหรือว่าภาคเอกชน จัดทำแหล่งน้ำเหล่านั้นให้กับเขาได้ ก็อยากจะให้ทางรัฐบาลนี่ครับ ได้แก้กฎระเบียบหรือว่า จัดสรรงบประมาณให้กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมชลประทาน และกองบัญชาการทหารพัฒนาได้ทำฝายน้ำล้นในที่สาธารณะ หรือว่าขุดแหล่งน้ำให้ในสวน ไร่นาให้กับเกษตรกรด้วยนะครับ

พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๖ ถนนลูกรัง อันนี้ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ในขณะนี้ผมทราบว่ามีทางหลวงชนบทที่เป็นถนนลูกรังอยู่ประมาณ ๒,๕๐๐ กิโลเมตร จากการสอบถามกรมทางหลวงชนบทแล้วจะต้องใช้เงินงบประมาณทั้งสิ้น ๒๕,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อจะทำถนนลูกรังให้เป็นถนนลาดยางให้ครบทั้งประเทศ ผมก็คิดว่า ในเรื่องเหล่านี้ประชาชนก็สามารถที่จะเข้าถึง ก็คือสามารถใช้ถนนคอนกรีตหรือถนนลาดยาง ได้ทั่วทั้งประเทศนะครับ ก็อยากจะให้กระทรวงคมนาคมและรัฐบาลจัดงบประมาณให้ กรมทางหลวงจำนวน ๒๕,๐๐๐ ล้านบาท ไปทำถนนลูกรังให้เป็นถนนลาดยางให้หมด ทั้งประเทศครับ

พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ต้นฉบับ

ส่วนสุดท้ายครับ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น อันนี้ก็เช่นเดียวกัน ถนนลูกรังอยู่ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็คือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล แล้วก็องค์การบริหารส่วนตำบล มีถนนลูกรังตามหมู่บ้าน ถนนลูกรังเชื่อมจากหมู่บ้าน ถึงหมู่บ้าน เชื่อมจากตำบลถึงตำบล ก็อยากจะให้ถนนลูกรังทั้งหมดเป็นถนนคอนกรีต เนื่องจากว่าประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาเขาก็จะได้ไม่มีฝุ่น ไม่มีภาวะ แล้วก็ลดความเหลื่อมล้ำ ของคนกรุงเทพฯ คนต่างจังหวัดได้ด้วยครับ กราบขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปขออนุญาตเชิญท่านธรรมรักษ์ครับ

นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ท่านสมาชิกทุกท่าน ผม นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ สปช. หมายเลข ๐๙๘ ผมมีข้อสังเกตในเรื่องนี้ดังต่อไปนี้ คือในปัจจุบันนี้นับว่าเรามีความก้าวหน้าในด้านการให้บริการแก่ประชาชนที่สะดวกรวดเร็ว อย่างน่าชื่นชมในหลายหน่วยงานนะครับ อย่างเช่น กรมการกงสุล กรมการขนส่งทางบก กรมที่ดินและอื่น ๆ อีกหลายหน่วยงาน เราจะเห็นว่าประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็ว ยิ่งขึ้นกว่าเดิม เวลานี้เราสามารถขับรถเข้าไปชำระภาษี ต่อทะเบียนรถเพียงไม่กี่นาที ทำพาสปอร์ต (Passport) ในเวลาอันรวดเร็ว ชำระภาษีก็เร็วขึ้นนะครับ ประชาชนมีความพอใจ ในบริการของรัฐเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อนในระดับหนึ่ง ผลการศึกษาว่าทำไมบริการของรัฐ ในหลายหน่วยงานจึงได้รับการปรับปรุงขึ้น ค้นพบว่าปัจจัยสำคัญที่เราดูในหน่วยงานเหล่านี้ แล้วก็เป็นเงื่อนไขที่เรียกว่า คีย์ ซักเซส แฟกเตอร์ (Key success factor) ที่ทำให้หน่วยงาน เหล่านี้สามารถบริการได้ดีขึ้นสรุปได้ ๒ เรื่องนะครับ อาจจะเป็นประเด็น ฮาว ทู (How to) ต่อไปข้างหน้าได้

นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ต้นฉบับ

ในเรื่องแรกผมคิดว่าสำคัญนะครับ เกิดจากในหน่วยงานเหล่านี้เราค้นพบว่า มีผู้นำการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกกรณีศึกษา การเปลี่ยนแปลงเกิดจากการมีสภาวะผู้นำ ในองค์กรซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานเสมอไป แต่บางกรณี ก็เกิดขึ้นจากมีสภาวะผู้นำของข้าราชการในระดับกลาง ๆ ขององค์กรที่จัดให้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันจนสามารถผลักดันการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ค่านิยม หล่อหลอม วัฒนธรรมองค์กร ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐในแต่ละองค์กรมีจิตสำนึกที่เราเรียกว่า เซอร์วิส มายด์ (Service mind) มากขึ้นนะครับ ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางแล้วก็ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงบริการได้อย่างมากขึ้น การเสริมสร้างสภาวะผู้นำก่อให้เกิดการบริหารการเปลี่ยนแปลงร่วมกันในองค์กรไปสู่ วัฒนธรรมการทำงานใหม่ จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง และอาจจะเป็นประเด็นสำคัญยิ่งของ การพิจารณาประเด็นฮาว ทูของการปฏิรูปในแทบทุกเรื่องครับ

นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ มาจากการนำเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยมาใช้ใน การปรับปรุงระบบบริการอยู่เป็นอันมาก แต่ว่าส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังจำกัดอยู่ในการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการให้บริการประชาชนที่เรียกว่า อีเซอร์วิส (e-service) ขั้นพื้นฐาน เช่น การให้ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ (Web site) การรับเรื่องร้องเรียน ดังนั้นในระยะ ต่อไปควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐบริหาร การเปลี่ยนแปลงให้เกิดการพัฒนาระบบเชื่อมโยงงานบริการซึ่งกันและกัน และวางรูปแบบ การให้บริการที่สามารถขอรับบริการจากภาครัฐได้ทุกเรื่อง โดยไม่คำนึงว่าผู้รับบริการจะมา ขอรับ ณ ที่ใด คือหมายความว่าเข้าไปในประตูไหนก็ถูกประตูทั้งสิ้นนะครับ ควรเร่ง การยกระดับการดำเนินงานของศูนย์บริการร่วมที่เรียกว่า วัน สต็อป เซอร์วิส (One stop service) ด้วยการเชื่อมโยงและบูรณาการกระบวนการบริการที่หลากหลายจากส่วนราชการ ต่าง ๆ มาไว้ ณ ที่เดียวกันให้มากที่สุด เพื่อให้ประชาชนสามารถรับบริการได้สะดวกรวดเร็ว และจุดเดียวกันนะครับ จัดเป็นศูนย์รับคำขออนุญาต ศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรี ในภาวะวิกฤติ เป็นต้นนะครับ ควรส่งเสริมให้ส่วนราชการนำเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ เข้ามาใช้ในลักษณะอีเซอร์วิส เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้ง่ายขึ้น มากขึ้น พัฒนารูปแบบการบริการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นผู้เลือกรูปแบบการรับบริการ ที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง คือหมายความว่า พีเพิล เซ็นเตอร์ (People center) มากขึ้นตามความต้องการของแต่ละบุคคลมากขึ้น นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ อาจจะเรียกว่า โมบาย กัฟเวิร์นเมนต์ (Mobile government) ก็ได้นะครับ คือส่งข้อมูลข่าวสารบริการถึงประชาชน แจ้งข่าวภัยธรรมชาติ ข้อมูลการเกษตร ข้อมูลข่าวสารผ่านสังคมออนไลน์ (Online) โซเชียล เน็ตเวิร์ก (Social network) เป็นต้น นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้มีเว็บ (Web) กลางของภาครัฐที่เรียกว่า เว็บ พอร์ทอล (Web portal) นะครับ เพื่อเป็นช่องทางของบริการภาครัฐทุกประเภทให้เชื่อมโยงกับบริการ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกหน่วยงานนะครับ

นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ต้นฉบับ

โดยสรุปผมเห็นว่าการพัฒนาบริการภาครัฐให้กว้างขวาง สะดวก รวดเร็ว หลากหลายวิธีการมากขึ้นในอนาคต มีประเด็นฮาว ทูที่สำคัญยิ่งที่ต้องบริหารจัดการให้เกิดผล คือการสร้างสภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงองค์กรภาครัฐให้เกิดจิตสำนึกการบริการประชาชน ควบคู่ไปกับการปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานด้านโทรคมนาคมสมัยใหม่ให้มี ประสิทธิภาพนะครับ ซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิคที่สุดความสามารถของผมจะเสนอแนะวิธีการ ได้ครับ กระผมขอกราบเรียนเพียงแค่นี้ครับ ขอบพระคุณมากครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปขอเรียนเชิญท่าน พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ครับ

พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ เพื่อนสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติ กระผม พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ขอเรียนเสนอแนะในประเด็นนี้ ดังนี้

พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ต้นฉบับ

การจะทำให้กลไกลของรัฐสามารถให้การบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว ก่อนอื่นรัฐบาลต้องมีนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน ยึดหลักการมี ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งหมายถึงการเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ทรัพยากร ที่ใช้ต้องทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนใหญ่ทั้งในการแก้ความจำเป็นเร่งด่วนและการพัฒนา ทั้งนี้หากพิจารณากลไกของรัฐแบ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญคือ

พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ต้นฉบับ

ประการแรก องค์ยุทธวิธีหรือระบบการปฏิบัติ องค์วัตถุ และองค์บุคคล เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ ควรจะมีการพัฒนา ปรับปรุง หรือการปฏิรูปที่สำคัญคือ

พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ต้นฉบับ

องค์ประกอบแรก ในเรื่องของยุทธวิธีหรือระบบการปฏิบัติ ควรมีการส่งเสริม ให้หน่วยงานของรัฐพัฒนาระบบเชื่อมโยงงานบริการกัน โดยวางรูปแบบการบริการ ประชาชนให้สามารถขอรับการบริการจากภาครัฐได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะ ณ ที่ใด ลักษณะของ ซิงเกิล วินโดว์ (Single window) หรือถ้าต้องการบริการที่หลากหลายจากหลายส่วนราชการ ก็ควรนำมาไว้สถานที่เดียวกัน หรือใกล้เคียงกันแบบศูนย์บริการร่วม เพื่อให้ประชาชน สามารถรับบริการได้สะดวกรวดเร็ว ลักษณะของวัน สต็อป เซอร์วิส ทั้งนี้หน่วยงานต่าง ๆ ควรนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ในลักษณะอีเซอร์วิสให้มากที่สุด แต่ต้องไม่ลืมให้ประชาชนเป็นผู้เลือกรูปแบบการเข้ามารับบริการที่เหมาะสมกับตน นอกจากนี้หน่วยราชการต่าง ๆ ควรมีการทบทวนขั้นตอน ปรับปรุงกระบวนการทำงาน แก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นอุปสรรคให้เกิดความคล่องตัว สามารถ สนองตอบความต้องการประชาชนได้ดีขึ้น หากจำเป็นจะต้องยุบ รวมหน่วยหรือแปรสภาพ ตั้งหน่วยใหม่ ถ้าจำเป็นก็จะต้องทำ ในการนี้ควรยึดหลักการกระจายอำนาจและทรัพยากร ลงไปให้หน่วยที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด

พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ต้นฉบับ

และสุดท้ายในเรื่องนี้เพื่อเป็นการยกระดับความพึงพอใจและสามารถใช้เป็น ตัวเกณฑ์บ่งชี้ความสามารถในการแข่งขันการบริการที่สำคัญได้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ การประกอบธุรกิจ ควรมีมาตรฐานระดับการให้บริการให้ไม่ด้อยไปกว่าประเทศที่เจริญแล้ว แล้วก็มีการประเมินค่าด้วย

พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ต้นฉบับ

สำหรับทางด้านวัตถุ องค์วัตถุนะครับ ซึ่งที่สำคัญก็ได้แก่ อุปกรณ์ เครื่องไม้ เครื่องมือ ทั้งที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ ติดต่อเข้าถึง แลกเปลี่ยนข้อมูล ใช้ในการควบคุม สั่งการ ติดต่อสื่อสาร ตลอดจนที่ใช้เฉพาะในการช่วยเหลือและยานพาหนะต่าง ๆ จะต้องมี การจัดหา ปรับปรุงให้ทันสมัย เหมาะสมและเพียงพอ สามารถตอบสนองภารกิจได้

พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ต้นฉบับ

สำหรับองค์ประกอบสุดท้ายที่จะขอกล่าวถึงซึ่งนับเป็นข้อเสนอแนะสำคัญ ในวันนี้ก็คือในเรื่องขององค์บุคคล ซึ่งองค์บุคคลที่เป็นกลไกของรัฐที่ใกล้ชิดประชาชน มากที่สุดก็คือข้าราชการ ในการนี้เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรมีการพัฒนา ปรับปรุง หรือหากจำเป็นก็ต้องปฏิรูปเพื่อให้ข้าราชการทุกหมู่เหล่ามีคุณสมบัติพื้นฐานที่พึงประสงค์ ๔ ประการ คือ

พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ต้นฉบับ

ประการแรก ต้องมีวิญญาณของความเป็นมืออาชีพ สปิริต ออฟ โพรเฟสชันนอล (Spirit of professional) ในข้อนี้นอกจากจะมีความรู้ ความชำนาญ มีความสามารถแสดงออกให้ประจักษ์ได้ในอาชีพหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว ความเป็น ข้าราชการมืออาชีพจะต้องมีความสามารถในการบริหาร เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ มีความมุมานะอดทน ยึดผลสำเร็จของงานเป็นที่ตั้ง มีทักษะ ในการทำงานเป็นทีม แล้วก็มีระเบียบวินัย

พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ต้นฉบับ

ประการต่อไปในการที่จะเป็นข้าราชการที่ดีของประเทศชาตินั้น ข้าราชการ ดังกล่าวจะต้องได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์และจงรักภักดี อัลลิเจนซ์ (Allegiance) ต่อสถาบันหลักของชาติ จะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อประชาชน ต่อหน่วยงาน ต่อหน้าที่ เพื่อนร่วมงาน และตนเอง และที่สำคัญจะต้องมีความภาคภูมิใจในหน้าที่ รู้สึก เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้รับใช้และช่วยเหลือประชาชน สำหรับคุณสมบัติพื้นฐาน ของข้าราชการต่อไปที่ควรได้รับการปฏิรูปให้มีให้ได้คือ ความมีคุณธรรม จริยธรรม โปร่งใส ยืนหยัดและยึดมั่นในหลักของความถูกต้องชอบธรรมที่เรียกว่า อินทีกริตี (Integrity) ตลอดจนจะต้องมีความเมตตา กรุณา เสียสละ พร้อมจะช่วยเหลือผู้อื่น ในข้อนี้หลายประเทศ ได้มีการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมของข้าราชการที่ต้องยึดถือเป็นส่วนรวมไว้ในลักษณะ ข้อบังคับ หากละเลยไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดทางวินัย

พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ต้นฉบับ

ข้อเสนอแนะสุดท้ายในการปฏิรูปข้าราชการที่จะให้เป็นที่พึ่งของประชาชน ให้การคุ้มครองป้องกันได้นั้น การมีความรักต่อประชาชน เลิฟ ยัวร์ พีเพิล (Love your people) เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดให้ได้ ซึ่งนอกจากความรักต่อประชาชนนี้แล้ว จะต้องทำให้ เขามีสำนึกในการปกป้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ตลอดจนเป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะ มุ่งเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนด้วย

พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก ต้นฉบับ

ที่กล่าวมาทั้งหมดนะครับ ผมขอสรุปว่า ในการที่ทำให้กลไกของรัฐสามารถ บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง รวดเร็วนั้น รัฐจะต้องมีนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีระเบียบ มีระบบการปฏิบัติที่เอื้ออำนวย มีอุปกรณ์เครื่องมือ ต่าง ๆ อย่างเพียงพอ โดยเน้นในลักษณะของซิงเกิล วินโดว์ วัน สต็อป และอีเซอร์วิส และที่ สำคัญต้องมีการปฏิรูปข้าราชการให้มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ ๔ ประการ ซึ่งคุณสมบัติ ดังกล่าวหากนึกถึงพระเจ้าอยู่หัวที่พระองค์ทรงเป็นนักแเล่นใบ เคยอยู่พระองค์เดียวในทะเล เดินทางจากหัวหินข้ามอ่าวมาสัตหีบนานถึง ๑๗ ชั่วโมงจะได้คำว่า เซล (SAIL) ข้าราชการ ของพระองค์ท่านที่จะเป็นหนึ่งของประชาชนได้จะต้องมีจิตวิญญาณในการเป็นมืออาชีพ สปิริต ออฟ โปรเฟสชันนอล คือเอส (S) มีความซื่อสัตย์และจงรักภักดี อัลลิเจนซ์ คือเอ (A) มีคุณธรรม จริยธรรม ยืนหยัดและยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม อินทีกริตี และสุดท้าย ต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง สร้างคนไทยให้อดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง ให้สามารถ ปรับวิกฤติความเป็นพหุสังคมในอนาคตให้เป็นโอกาสของประเทศไทยให้ได้ การตอบคำถาม จึงเริ่มด้วยความเข้าใจสภาพแวดล้อมในอนาคต ปรับทัศนคติใหม่ ใช้ความกล้าหาญ ในการปฏิรูป หากทำได้ย่อมถือได้ว่าเราได้ตอบคำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้กลไกของรัฐสามารถ ให้บริการประชาชนได้อย่างเป็นธรรม ทั่วถึง สะดวก รวดเร็วได้แล้ว ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปเชิญคุณณรงค์ พุทธิชีวิน ครับ

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ณรงค์ พุทธิชีวิน สปช. หมายเลข ๐๗๔ ครับ ท่านประธานครับ ผมมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะอภิปรายใน ประเด็นนี้ เพราะมีความเชื่อว่าถ้าเราไม่สามารถที่จะแก้โจทย์นี้ได้ การปฏิรูปทั้งหมดก็ไม่มี ทางที่จะประสบความสำเร็จ ผมมองว่าถ้าเราสามารถทำให้กลไกของรัฐบริการประชาชน อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว จะทำให้เกิดผลอย่างน้อย ๓ ประการ

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ประการแรกก็คือ ทำให้เกิดประสิทธิภาพ ประหยัดทั้งเวลา เงิน แล้วก็ ความรู้สึก

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ตีโจทย์โดยตรงเลยครับท่านประธานครับ เราสามารถลด การทุจริตคอร์รัปชันได้ โดยเฉพาะประเด็นของการหยอดน้ำมันด้วยการเสียเงินใต้โต๊ะ

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

และประการที่ ๓ ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยต่อกันก็คือทำให้ประชาชน มีความศรัทธาต่อภาครัฐ ด้วยกระบวนการที่มีความเชื่ออย่างนี้ผมมีข้อเสนออย่างน้อย ๔ ประการครับ

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ประการแรก เรามาดูที่กลไกกัน กลไกสำคัญก็คือกลไกที่คน คนที่เป็น คนภาครัฐจากนี้เป็นต้นไป ต้องมีจิตสำนึก ต้องมีวินัย ต้องมีความตระหนักในหน้าที่ว่าตัวเอง ต้องเป็นผู้ให้บริการด้วยความเต็มใจ

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๒ ก็คือต้องมีเครื่องมือของรัฐที่เพียงพอในการให้บริการ ผมรู้สึก อึดอัดเสมอเมื่อบอกว่าอันนั้นไม่มี อันนั้นไม่พอ คำถามก็คือทำไมรัฐไม่จัดให้มีและไม่จัด ให้พอ

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ประการที่ ๓ ครับ ในเรื่องของกลไก ผมอยากที่จะให้กลไกของภาครัฐทุกส่วน สร้างบรรยากาศของความเป็นมิตร บรรยากาศของความเป็นผู้ให้บริการที่พร้อมที่จะเป็น กัลยาณมิตรในการที่จะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเขามาถูกที่ถูกทางแล้ว

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ในส่วนที่ ๒ ครับ คือวิธีการ วิธีการในการที่ทำให้การบริการของภาครัฐ สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง มีประสิทธิภาพ อย่างน้อยต้องมีการให้ข้อมูลในการให้บริการ ไปถึงกลไกของรัฐในส่วนใดก็ตามมีข้อมูลบอกประชาชนให้รู้ว่าเขาจะต้องทำอย่างไร มีอะไรบ้างที่เขาควรจะได้รับบริการอย่างทั่วถึง รวดเร็ว และเป็นสิทธิของเขาที่จะรู้

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

อย่างที่ ๒ ครับ เราจะต้องบอกว่าทำอย่างไรถึงจะเกิดให้ความสะดวก ผมได้ยิน สมาชิกได้พูดถึงแล้วก็มีความเห็นด้วยอย่างยิ่งเลย ระบบอีเซอร์วิสต้องเข้ามาครับ กระบวนการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากนี้เป็นไปต้นเราเพิกเฉยกับมันไม่ได้

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ในส่วนถัดไปครับ ผมคิดว่าเราจะต้องมีที่เฉพาะสำหรับการให้บริการ ประชาชน ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ ในส่วนงานของรัฐโดยทั่วไปนี่ ถ้าเราไปตรงไหนก็ตาม ที่จอดรถของผู้อำนวยการ ที่จอดรถของรองอธิบดี ที่จอดรถของอธิบดี ท่านประธานครับ ผมเรียกร้อง ผมขอร้อง ต่อไปนี้ต้องมีที่จอดรถของประชาชนเป็นการเฉพาะ เพื่อต้องการ บอกว่าไปแล้วประชาชนต้องได้รับการบริการที่พิเศษกว่าเขา ผมเคยดูแลมหาวิทยาลัยครับ ท่านประธานครับ ในที่จอดรถที่สะดวกที่สุดในมหาวิทยาลัยผมเขียนว่า ที่จอดรถสำหรับ ประชาชนและผู้ปกครองนักศึกษา ทุกคนมีที่จอดที่มหาวิทยาลัยที่ผมดูแลที่สุราษฎร์ธานี อย่างนี้แหละครับเป็นเรื่องของการให้บริการที่ทำให้เขามีความรู้สึกว่าเขามีความสำคัญ ถึงเวลาหรือยังครับที่เราจะต้องให้บริการบางเรื่องของรัฐเป็นเรื่องของการแปรรูปเป็นเอกชน รับเรื่องไปในแต่ละเฉพาะกรณีไป ผมอยากใช้คำว่า ไพรเวไทเซชัน (Privatization) เฉพาะเรื่อง เฉพาะกรณีนะครับ ตัวอย่างเห็นชัด ๆ และมีประสิทธิภาพก็คือการทำพาสปอร์ต ของภาครัฐ ผมอยากให้กระบวนการแปรรูปตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถทำได้จริง

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ในการบริการอันที่ ๓ ครับ ผมเห็นว่าเราต้องถึงเวลาที่จะต้องลดข้อจำกัด ในการให้บริการแล้วล่ะ ผมเสนอต่อ สปช. ที่นี่นะครับ ถึงเวลาที่เราจะต้องบริการวันเสาร์ วันอาทิตย์ สำหรับส่วนราชการแล้วกระมัง อย่าลืมนะครับ วันธรรมดานั้นประชาชนเขา ทำงาน แล้วถ้าเราบริการในเวลาทำงานของประชาชน เขาก็รับบริการด้วยความลำบาก ประกาศให้ชัดเจนได้ไหมครับว่า ต่อไปนี้ส่วนราชการทุกที่จะต้องบริการวันเสาร์ วันอาทิตย์ อย่างน้อยครึ่งวัน ผมจะเห็นว่านี่คือความสะดวกที่เกิดขึ้นชัดเจนแน่ ๆ

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๒ ก็คือในเวลาหยุดครับ เห็นพนักงานธนาคารเขาก็ไม่หยุดกันนี่ครับ ตอนพักเที่ยง ทำไมราชการต้องหยุด เพราะฉะนั้นราชการไม่หยุดพักเที่ยง ปรับเวลา เปลี่ยนคน เปลี่ยนเวลา เพื่อให้คนสามารถบริการได้ในช่วงเที่ยง ผมว่าเป็นสิ่งที่วิเศษสุดครับ ท่านประธานครับ

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

และสิ่งที่ลดข้อจำกัดอีกเรื่องหนึ่งก็คือต้องบริการโดยไม่จำแนกคนว่าคนนั้น เป็นใคร จะเป็นใครมาจากไหนก็ตามเขาต้องได้รับการบริการที่ทั่วถึงและเท่าเทียม

นายณรงค์ พุทธิชีวิน ต้นฉบับ

ประการสุดท้าย ในเรื่องของการแจ้งผลการรับบริการ อยากให้ทุกที่ ในส่วนงานของภาครัฐ ประชาชนสามารถโหวตประสิทธิภาพในการบริการได้ เหมือนกับที่ ธนาคารกรุงไทยในสภานี้นะครับ บริการแล้วกดทันทีเลยว่าใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ ตัดสินให้คุณครับ คุณภาพทันทีเลย ผมเชื่อว่ากระบวนการอย่างนี้จะทำให้ประสิทธิภาพงานของภาครัฐ ดีขึ้น สะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพครับท่านประธานครับ ขอบพระคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญคุณจำลอง โพธิ์สุข ครับ

นายจำลอง โพธิ์สุข ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ท่านสมาชิก ผมจำลอง โพธิ์สุข สปช. หมายเลข ๐๕๐ จังหวัดชัยนาทครับ ในเรื่องนี้กระผมมีความเห็นโดยสรุป เป็นประเด็น หลัก ๆ ประเด็นเดียวครับ ก็คือในภาคส่วนของการทำงาน โดยเฉพาะฝ่ายข้าราชการฝ่าย พลเรือนนะครับ ซึ่งเรามีการวัดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการทำงานเป็นปกติอยู่แล้ว โดยเฉพาะนั่นก็คือเรื่องของการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี ซึ่งในนี้ก็จะมี ตัวชี้วัดมีเคพีไอ (KPI) เยอะแยะไปหมดนะครับ หนึ่งในนั้นก็จะเป็นเรื่องของการคิดคำนึงถึง ผู้รับบริการ โดยเฉพาะก็คือพี่น้องประชาชนผู้รับบริการจากรัฐในเรื่องต่าง ๆ นะครับ เรามี คำรับรองอยู่ทุกปีนะครับ ก็อยากจะสนับสนุนให้เรื่องนี้ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป และถ้าเป็น ไปได้ก็อยากจะให้มีการเน้นถึงความสำคัญในตัวชี้วัดเรื่องของการอำนวยความสะดวก การสร้างความสะดวก ความรวดเร็ว และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของราชการ ในกลไกต่าง ๆ โดยให้มีน้ำหนักคะแนนมากที่สุดในทุก ๆ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคก็แล้วแต่นะครับ รวมถึงในเรื่องของการวัดความพึงพอใจ ซึ่งเคพีไอตัวนี้เราก็เคย ทำกันอยู่ทุกปีนะครับ แล้วก็ถึงสิ้นปีทาง ก.พ.ร. ก็ให้มีการวัด มีการประเมินผล แล้วก็มี การให้รางวัลการปฏิบัติงานกันมาประมาณสักเกือบ ๑๐ ปีมาแล้วนะครับ ซึ่งก็จะเห็นได้ว่า ก็มีหลายภาคส่วน หลายหน่วยงานด้วยกันในกรม กองต่าง ๆ โดยเฉพาะฝ่ายพลเรือนก็ได้มี ความกระตือรือร้นมากยิ่งขึ้น เพราะว่าเรามีข้อกำหนดที่เราจะต้องปฏิบัติจัดทำอยู่ ก็คือเคพีไอ ที่ทาง ก.พ.ร. กำหนดให้นี่แหละนะครับ แล้วก็มีการวัดความพึงพอใจ แล้วก็ถึงสิ้นปีก็มานั่ง ลุ้นคะแนนกันเป็นที่สนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือหน่วยงานที่มี เคาน์เตอร์ เซอร์วิส (Counter service) มีการให้บริการประชาชน อันนี้โดยเฉพาะในภูมิภาค เราเห็นชัดนะครับ ยกมือหน่วยงานไหนอยากจะเข้าร่วมในกิจกรรมการวัดความพึงพอใจ ความพึงพอใจนี่เราวัดทุกหน่วยอยู่แล้วนะครับ หรือว่าอีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องของการลด ขั้นตอน ลดกระบวนงานในการให้บริการพี่น้องประชาชน ทำอย่างไรให้สะดวก ให้สั้น ให้เร็ว อันไหนไม่จำเป็นก็ตัดทิ้งไปอะไรต่าง ๆ ประมาณนี้นะครับ เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าการที่เราจะ มีตัวชี้วัดในเรื่องของการที่จะวัดถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการทำงานภาคราชการ โดยเฉพาะฝ่ายพลเรือนผมคิดว่าก็จะช่วยสร้างภาพลักษณ์แล้วก็หลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ อย่าง ที่เราจะต้องมานั่งแก้ตัวแก้ต่างกันนะครับ โดยเฉพาะในระบบราชการ แล้วก็ผมเองผมก็เห็น ด้วยกับสมาชิกหลาย ๆ ท่านในประเด็นอื่น ๆ เรื่องของการที่จะทำอย่างไรที่จะให้กลไกรัฐ ให้บริการพี่น้องประชาชนได้สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง เป็นธรรม แล้วก็เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปเชิญคุณสยุมพร ลิ่มไทย ครับ

นายสยุมพร ลิ่มไทย ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม สยุมพร ลิ่มไทย ครับ ผมคิดว่าปัญหาการให้บริการประชาชนที่เป็นที่ตระหนักกันในประชาชน โดยทั่วไปมันจะมีอยู่ ๒-๓ เรื่องนะครับ เรื่องแรกก็คือเรื่องความล่าช้าจากขั้นตอนต่าง ๆ ที่มากมายเกินความจำเป็นนะครับ เรื่องที่ ๒ ก็คือเรื่องพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานของรัฐ ซึ่งไม่ให้บริการ หรือไม่เต็มใจให้บริการประชาชนนะครับ กับประการที่ ๓ ก็คือความไม่เพียงพอในการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง อันนี้น่าจะเป็นปัญหาหลัก ๆ

นายสยุมพร ลิ่มไทย ต้นฉบับ

ทีนี้ข้อเสนอผมคิดว่าเรื่องแรกผมเข้าใจว่าเดิมนั้นมีระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเร่งรัดปฏิบัติราชการอยู่ แล้วก็ไม่แน่ใจว่าปัจจุบันนี้ได้ปรับฐานะ หรือยกฐานะมาเป็นกฎหมายก็คือเป็นพระราชบัญญัติเร่งรัดการปฏิบัติราชการแล้วหรือไม่ นะครับ ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ก็คืองานบริการประชาชนมันจะต้องมีระเบียบหรือ กฎหมายที่กำหนดไว้ให้ชัดเจนนะครับ ในเรื่องของระยะเวลาว่างานบริการนั้น ๆ จะต้องใช้ เวลามากน้อยแค่ไหน เรื่องอัตราค่าธรรมเนียม เรื่องของขั้นตอนการปฏิบัติ แล้วก็เมื่อกำหนด ไว้ชัดเจนแล้วถ้าหากว่าเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนั้นต้อง สามารถชี้แจงได้ อธิบายได้ แล้วก็ถ้าหากว่าไม่สามารถชี้แจงได้อธิบายได้ก็จะต้องนำไปสู่ การดำเนินการทางวินัยในฐานะที่ไม่ตั้งใจปฏิบัติราชการในการให้บริการประชาชน อันนี้ คิดว่าเป็นเรื่องแรกที่สำคัญนะครับ ส่วนระเบียบหรือกฎหมายที่ควรจะให้ความสำคัญในเรื่อง งานบริการผมคิดว่ามันมีไม่มากเรื่องนะครับ ไม่จำเป็นที่จะเอาเรื่องทั้งหมดมาแต่คิดว่าน่าจะ กำหนดเฉพาะเรื่องที่ใกล้ชิดกับประชาชน แล้วก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของ ประชาชนอย่างแท้จริง มีไม่เท่าไรหรอกครับ ถ้ามองในแง่หน่วยงาน หน่วยงานที่ควรจะต้อง มาเขียนให้ชัดในระเบียบว่าด้วยการเร่งรัดปฏิบัติราชการหรือการให้บริการ ๑. ก็คือโรงพัก นะครับ พูดภาษาชาวบ้าน โรงพัก สถานีตำรวจ ๒. ก็คืออำเภอ หรือเขตสำหรับ ในกรุงเทพมหานคร ๓. ก็คือโรงพยาบาลของรัฐ ๔. ก็คือสำนักงานที่ดิน ๕. ก็คือขนส่ง ประชาชนไปติดต่อเรื่องเกี่ยวกับต่อทะเบียนบ้างอะไรต่าง ๆ บ้างนะครับ ขนส่ง ๖. ก็คือ ไฟฟ้า ๗. ประปา ผมว่า ๗ หน่วยงานหรือ ๗ เรื่องเป็นเรื่องที่น่าจะต้องเอาออกมากำหนดให้ ชัดในเรื่องของการเร่งรัดการปฏิบัติราชการนะครับ

นายสยุมพร ลิ่มไทย ต้นฉบับ

ส่วนประเด็นที่ ๒ ก็คือการที่ทำอย่างไรให้ประชาชนไม่จำเป็นต้องเดินไป ติดต่อหน่วยงานของรัฐโดยตรง มีงานหลายอย่างที่บางท่านได้พูดมาแล้วว่าสามารถที่จะใช้ อีเซอร์วิสได้ แล้วก็บางเรื่องได้ทำแล้วนะครับ งานบริการบางเรื่องสามารถติดต่อได้ทาง โทรศัพท์ บางเรื่องสามารถติดต่อผ่านธนาคาร การชำระค่าธรรมเนียม ชำระเงินต่าง ๆ นี่นะครับ เรื่องเหล่านี้น่าจะพิจารณาออกมาให้ชัดเจนว่าในขณะนี้มีงานบริการอะไรบ้างที่สามารถ ดำเนินการได้โดยใช้ระบบอีเซอร์วิส กำหนดไปเลยครับ บังคับไปเลยว่าเป็นงานที่ให้จัดเป็น ทางเลือกอย่างหนึ่ง ก็คือเป็นอีเซอร์วิส ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วประชาชนไม่จำเป็นต้อง เดินทางเข้าไปหาราชการนะครับ ราชการจำเป็นต้องวิ่งไปหาประชาชนด้วยระบบต่าง ๆ เหล่านี้นะครับ ใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีอยู่เรื่องหนึ่งซึ่งผมจะยกเป็นตัวอย่างว่าทำไม มันต้องไปหน่วยนี้ทุกครั้ง ก็คือในกรณีที่มีเอกสารอะไรก็แล้วแต่ของประชาชน เอกสารทาง ราชการหายต้องไปแจ้งความที่โรงพักก่อน เสร็จแล้วถึงจะไปหน่วยงานที่เป็นเจ้าของเอกสาร เพื่อขอให้ดำเนินการออกเอกสารใหม่ให้ อย่างนี้เป็นตัวอย่างว่าทำไมไม่สามารถไปแจ้งหายได้ที่หน่วยงานซึ่งเป็นเจ้าของเอกสาร จะแก้กฎหมายแก้ระเบียบอะไรก็สามารถแก้ได้ ให้หน่วยงานดังกล่าวนี่นะครับ ทำในลักษณะ ที่เป็น วัน สต็อป เซอร์วิส อย่างแท้จริงนะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องการให้บริการ ประชาชนนี่นะครับเป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการเป็นนโยบายออกมาให้ชัดเจน แล้วก็นำไปสู่ ทางปฏิบัตินะครับ ไม่ควรจะเป็นสิ่งที่ให้แต่ละหน่วยงานพิจารณาปรับปรุงของตัวเองขึ้นมา เพราะถือว่างานบริการนั้นเป็นหัวใจที่ภาครัฐจะต้องทำให้ประชาชนนะครับ ขอขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ที่คุณสยุมพรพูดถึงระเบียบเมื่อสักครู่นี้ความจริงมีการออกพระราชบัญญัติ การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ ได้เสนอให้รัฐบาลเสนอเข้า สนช. ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้วนะครับ กฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญที่น่าติดตามมาก เช่น กำหนดว่าส่วนราชการต้องกำหนดเวลา ในการพิจารณาคำขอของประชาชน กำหนดว่าการที่ระบุว่าเอกสารหรืออะไรไม่ครบ ต้องสามารถระบุให้ครบถ้วนภายในครั้งเดียว ครั้งต่อมาถ้าเขามายื่นอีกแล้วมาบอกว่าไม่ครบ อีกไม่ได้ แล้วก็กำหนดให้ดำเนินการทางวินัยกับตัวข้าราชการและผู้บังคับบัญชา ผู้ละเลย ไม่ทำให้เป็นไปตามกฎหมายนี้ ผมคิดว่ากฎหมายฉบับนี้น่าศึกษามาก และผมคิดว่าน่าจะขึ้น ศาลปกครองกันอีกเป็นคดีจำนวนมาก ต่อไปขออนุญาตเชิญอาจารย์ถวิลวดีครับ

นางถวิลวดี บุรีกุล ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ดิฉัน ถวิลวดี บุรีกุล นะคะ ดิฉันมี ๓-๔ ประเด็นที่จะพูดถึงเรื่องของการที่ว่าทำอย่างไรกลไกของรัฐถึงสามารถบริการ ประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว

นางถวิลวดี บุรีกุล ต้นฉบับ

ประเด็นแรกคือ เรื่องของระบบ การพัฒนาระบบของราชการเพื่อให้เป็นระบบ ที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม

นางถวิลวดี บุรีกุล ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ คือเรื่องของการมีส่วนร่วมโดยสร้างหุ้นส่วนพลเมืองระหว่างภาครัฐ และภาคประชาชน และภาคเอกชน เพราะฉะนั้นตรงนี้สร้างความรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งสร้าง ได้ไม่ยากในเรื่องของการเป็นหุ้นส่วนหลายรูปแบบนะคะ ตัวอย่างเช่น ซิติเซน ชาร์เตอร์ (Citizen charter) หรือทำธรรมนูญพลเมืองที่ทุกคนมีภารกิจที่จะต้องทำร่วมกัน รูปแบบ จะทำอย่างไรมีรายละเอียดนะคะ ซึ่งคงไม่พอที่จะพูดในที่นี้

นางถวิลวดี บุรีกุล ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของการกระจายอำนาจ คำตอบง่ายนิดเดียวสำหรับ กลไกที่จะบริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ก็ต้องกระจายอำนาจให้เป็นจริงนะคะ ถ้ากระจายอำนาจไม่เป็นจริง ท่านไม่ให้ท้องถิ่นมีบทบาทในการให้บริการบ้าง ก็จะมีปัญหา อยู่ร่ำไปนะคะ

นางถวิลวดี บุรีกุล ต้นฉบับ

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การแข่งขันในการทำงาน ใครทำได้ดีกว่ารัฐต้องให้เขา ทำนะคะ แล้วก็ถูกกว่า เพราะฉะนั้นจะต้องมีระบบของคอนเทสอะบิลิตี (Contestability) การแข่งขันกันในการทำงาน นอกจากนี้การจ้างให้ทำ เรื่องใดที่รัฐทำแล้วแพงกว่าก็ต้องจ้าง ให้บุคคลอื่นไปทำ ผู้อื่นไปทำ ไม่ว่าจะเป็นมูลนิธิ หรือภาคประชาสังคม หรือเอกชนต่าง ๆ นะคะ เพราะคุ้มค่ากว่า นอกจากนี้รัฐต้องสนับสนุนให้ผู้อื่นทำแทนตนได้ ไม่ว่าจะเป็นภาค ประชาสังคมหรือเอกชนอื่น ๆ

นางถวิลวดี บุรีกุล ต้นฉบับ

นอกจากนี้ระบบอีกอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างนวัตกรรมในการให้บริการที่ เป็นจริง มีเทคโนโลยีในการยกระดับการบริการและมีรูปแบบในการยกระดับการบริการที่ เป็นเลิศ ทั้งนี้เรื่องของการมีส่วนร่วมก็สำคัญนะคะ มันมีโมเดล (Model) มากมายที่จะสร้าง การมีส่วนร่วมตรงนี้

นางถวิลวดี บุรีกุล ต้นฉบับ

นอกจากนี้ระบบอีกอย่างหนึ่งคือ เรื่องของบุคลากร การพัฒนาบุคลากรต้อง พัฒนาทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตอนนี้ดิฉันพูดถึงเรื่องของประชาชนก่อน ประชาชน เป็นผู้รับบริการและสามารถที่จะเป็นผู้ให้บริการได้ด้วย ประชาชนทำอย่างไรถึงจะให้เขามี โอกาสที่จะมีส่วนร่วมของรัฐในการให้บริการได้และสามารถที่จะดูแลตัวเองได้ นอกจากนี้ ส่วนข้าราชการนะคะ ข้าราชการต้องปรับปรุงตนเอง เพราะฉะนั้นมันจะมีเทคนิคเรื่องของ อินไซด์ เอาต์ (Inside out) คือพัฒนาจากข้างในออกไปว่าจะทำอย่างไร ต้องมีรูปแบบของ การสร้างการบริการที่เป็นเลิศ เริ่มต้นตั้งแต่การทำอะไรที่จะบริการประชาชน ต้องคิดถึงเวลา ราษฎรแทนที่จะคิดถึงเวลาราชการ นอกจากนี้จิตใจใฝ่บริการและวัฒนธรรมการให้บริการ ต้องทำให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง

นางถวิลวดี บุรีกุล ต้นฉบับ

ส่วนประเด็นที่ ๔ คือ เรื่องของระบบตรวจสอบการมีมาตรฐานการบริการ ขั้นต่ำที่จะต้องทำให้เป็นจริงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการให้บริการ ทั้งนี้หมายถึงสิ่งอำนวย ความสะดวกต่าง ๆ ที่จะต้องจัดทำขึ้นในสถานที่ราชการเพื่อให้ประชาชนทั้งหลายสามารถ ที่จะเข้าถึงได้โดยเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางลาด ห้องน้ำ เพราะฉะนั้นความเสมอภาค ในมิติหญิงชายหรือในมิติต่าง ๆ ต้องเอามาพิจารณาในการทำงานของรัฐนะคะ ยกตัวอย่าง ง่าย ๆ ท่านไปสถานที่ราชการ ห้องน้ำข้าราชการสะอาดกว่าห้องน้ำของประชาชน เพราะห้องน้ำข้าราชการติดกุญแจไว้ไม่ให้ประชาชนเข้า อย่างนี้เป็นต้นนะคะ

นางถวิลวดี บุรีกุล ต้นฉบับ

ส่วนประเด็นสุดท้ายคือ การประเมินการให้รางวัลคุณภาพของการให้บริการ ที่เป็นเลิศอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ขวัญกำลังใจกับข้าราชการที่ทำงานได้ดีค่ะ ขอบคุณ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปคุณประทวน สุทธิอำนวยเดช ครับ

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน กระผม ประทวน สุทธิอำนวยเดช สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ รหัส ๑๒๖ จังหวัดลพบุรีครับ ผมขอเสนอ ความคิดเกี่ยวกับกลไกของรัฐให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว มีอยู่ ๒-๓ ประเด็นครับท่านครับ

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ต้นฉบับ

เนื่องจากมีส่วนราชการมากมายที่ทำงานซ้ำซ้อนกัน ส่วนราชการบางส่วนนี่ ว่างงาน ต้องทำเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องเพื่อให้มีผลงาน ส่วนราชการบางส่วนล้น บางส่วนมีงานล้น ครับ เพิ่มอัตรากำลังก็ไม่ได้ครับ จึงต้องทำให้งานบริการประชาชนนั้นไม่ทั่วถึง นี่คือประเด็น ที่ ๑ นะครับ

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ส่วนราชการต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคพยายามผลักดันให้หัวหน้า ส่วนหน่วยงานได้เพิ่มตำแหน่งเป็นระดับผู้อำนวยการระดับสูง ถ้าพูดเหมือนสมัยก่อนก็คือ ระดับ ๙ เพื่อยกระดับหน่วยงานให้ทัดเทียมกับหน่วยงานอื่น ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ก็ใจดีครับ ก็อนุญาตให้ แต่มีเงื่อนไขงบประมาณครับ เงินเดือนของหน่วยงานนั้น ๆ ต้องไม่เพิ่ม ผลติดตามมาก็คือหน่วยงานไหน ๆ ที่มีหัวหน้าส่วนเป็นราชการซี ๙ ต้องตัดทอนกำลังลง ทอนกำลังลงก็คือ พนักงานฝ่ายบริการนั่นแหละครับ ฝ่ายปฏิบัติล่าง ทำให้ข้าราชการระดับ ปฏิบัติงาน การบริการประชาชนน้อยลง เดิมระบบราชการนี่เป็นรูปทรงปิรามิดครับท่านครับ เป็นสามเหลี่ยม แต่ปัจจุบันนี้เป็นทรงกระบอก หัวโต ไหล่กว้าง ขาลีบ ก็งานบริการ ประชาชนก็ด้อยลงไปด้วยครับท่านครับ

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ต้นฉบับ

๓. ปัญหาอีกส่วนก็คือส่วนหน่วยงานจะต้องประกอบไปด้วยฝ่ายต่าง ๆ ครับ เพื่อให้หน่วยงานนั้นดูเหมือนมีภาระงานมาก ๆ แต่ฝ่ายที่มีหน้าที่บริการประชาชนมีเพียง บางส่วน และจะมีแค่ฝ่ายวิชาการกับฝ่ายนโยบาย ก็จะไม่มีหน้าที่บริการประชาชนโดยตรง หากประชาชนติดต่อประสานงานบริการประชาชนก็บอกว่าไม่ว่าง บางทีไม่อยู่ ไปประชุมบ้าง ไปสัมมนาบ้าง ลากิจบ้าง ลาป่วยบ้าง เป็นเวรกรรมของประชาชนครับ ก็คือต้องรอ ๒ วัน ๓ วัน ก็แล้วแต่ว่าฝ่ายหรือเจ้าหน้าที่โดยตรงคนนั้นจะมา ทั้งหมด ๓ ประเด็นนี้ผมขออนุญาต เสนอวิธีการแก้ไขและข้อเสนอนะครับ

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ต้นฉบับ

อันดับแรกก็คือ ลดหน่วยงานที่มีความซ้ำซ้อน ต้องสำรวจครับท่านว่า หน่วยงานไหนที่มีความซ้ำซ้อนกัน แล้วก็เพิ่มอัตรากำลังตรงนั้นมารวมกันเพื่อบริการ ประชาชนให้ทั่วถึง

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ต้นฉบับ

๒. หน่วยงานประกอบไปด้วยฝ่ายกลุ่มงาน จะต้องบูรณาการทดแทนกันได้ จะต้องเป็นวัน สต็อป เซอร์วิส แบบต่อเนื่อง ไม่ใช่แบบเดิน ๆ หยุด ๆ แบบปัจจุบันครับท่าน

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ต้นฉบับ

๓. จะต้องมีจุดบริการประชาชนหรือจุดรับเรื่องเพียงจุดเดียว วัน สต็อป พอยท์ (One stop point) อย่าให้ประชาชนต้องเดินตามโต๊ะต่าง ๆ หลายที่ กระบวนงานต่าง ๆ ให้แต่ละหน่วยงานดำเนินการจนแล้วเสร็จถึงจะคืนเรื่องให้กับประชาชน ตอบประชาชน ให้ชัดเจนว่าคุณจะต้องได้รับคำตอบอย่างไร อย่างที่ท่านประธานบอกว่ามีกฎหมายกำหนดแล้ว นั่นแหละครับท่าน

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ต้นฉบับ

๔. ให้เปลี่ยนกลยุทธ์เกี่ยวกับระบบราชการใหม่ โดยลดขั้นตอนการบังคับ บัญชาให้น้อยลง และให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานมากขึ้นครับ เป็นข้าราชการนี่นะครับท่านต้องหูตากว้างไกล ก้าวรุกฉับไว หัวใจบริการ ก็จะแก้ปัญหาได้ครับ ท่านครับ เพราะรูปแบบของพีพีพี (PPP) ก็ดี รูปแบบของการเอาต์ซอร์สซิง (Outsourcing) ก็ดีนั้น ล้วนแต่เห็นถึงความสำเร็จ นอกเหนือจากนั้นคือบรรดาหน่วยงานของรัฐตั้งแต่กระทรวง ทบวง กรมก็ดี องค์การมหาชน หรือรัฐวิสาหกิจ ต้องปฏิรูปหรือแปรรูปครับ เราวางหลัก เรื่องความสามารถในการแข่งขันคือ คอนเทสอะบิลิตี้วัดเลยครับ วันนี้รัฐวิสาหกิจหลายรัฐ ไม่อยู่ในภาวะแข่งขันได้ บางรัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องบริการ อย่าง ขสมก. รถไฟ มีหนี้สะสมรวมกันกว่า ๑๗๐,๐๐๐ ล้านบาท ไปไม่ได้อีกแล้ว เพราะฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่การบินไทยต้องแปรรูปออกเป็นเอกชนครับ ไม่อย่างนั้นขณะนี้อยู่ในภาวะต้องฟื้นฟู ผมก็เลยนำเสนอหลักในเรื่องของรัฐบาลที่มีขนาดเล็ก แล้วก็เรื่องของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ นะครับ คิดว่าจะทำให้การบริการประชาชนนั้นดีขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอเชิญคุณทิวา การกระสัง ครับ

นายทิวา การกระสัง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ทิวา การกระสัง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๐๙๒ สำหรับการบริการภาครัฐนะครับ ในระบบเท่าที่ผมดูแล้วมีหลักใหญ่ ๆ อยู่ ๔ อย่างด้วยกันนะครับ คือ ๑. โครงสร้าง ๒. ระบบ ๓. บุคลากร ๔. อุปกรณ์ ๕. กฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เท่าที่ผ่านมา ถามว่าเป็นตัวการที่ทำให้การบริการภาครัฐแก่ประชาชนนั้นไม่เป็นไปโดยรวดเร็วหรือไม่ อาจมีส่วนนะครับ สำหรับหลักการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีหรือที่เรียกกันว่า กูด กัฟเวิร์นเนินซ์ (Good governance) ผมได้ยินมานานแล้วนะครับ แต่ก็ไม่ประสบ ความสำเร็จ ทำอย่างไรในการปฏิรูปครั้งนี้ ทำให้ประชาชนของประเทศนี้ได้รับการบริหาร หรือได้รับการบริการจากรัฐอย่างเพียงพอและทั่วถึงนะครับ สิ่งที่อยากให้มีการปฏิรูปผมจะ เสนอ ๑. ก็คือตามที่ท่านสมาชิกบางท่านบอกก็คือตรวจสอบหน่วยงานรัฐทุกหน่วยงานว่า งานกับคนนั้นเท่าเทียมกันหรือไม่ หรือบางหน่วยงานคนเยอะงานน้อย บางหน่วยงาน งานเยอะคนน้อย ก็เกลี่ยให้มันเท่ากันนะครับ สิ่งที่จะต้องทำหรือลดการติดต่อระหว่าง ประชาชนกับรัฐดีที่สุดก็คือจัดตั้งเมนเฟรม (Mainframe) ขนาดใหญ่หรือบิ๊ก เดตา (Big data) ก็คือจัดระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ให้อยู่ในความรับผิดชอบของ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ได้ จากนั้นก็ออกกฎระเบียบต่าง ๆ ในการติดต่อ ราชการของแต่ละกระทรวง ทบวง กรม ให้มันชัดเจน ชัดเจนในการติดต่อประชาชน ต่อหน่วยงานแต่ละรัฐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ จบ ตัดเรื่องการวินิจฉัยสั่งการของแต่ละหน่วยงาน เช่น ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ การยื่นคำร้องข้าราชการระดับ ๓ ระดับ ๒ สามารถตัดสินใจได้ไม่ต้อง บอกว่าต้องผู้บัญชาการระดับสูงตัดสินใจได้อย่างเดียว เรื่องนั้นก่อให้เกิดการทุจริตได้ หลังจากออกกฎระเบียบต่าง ๆ ชัดเจนแล้วก็ให้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เชื่อมเครือข่ายเหล่านี้เข้าไปยังท้องถิ่น เชื่อเถอะท่านประธานครับทุกวันนี้แทบจะทุก หลังคาเรือนของประชาชนคนไทยมีคอมพิวเตอร์อยู่หมด ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์ก็มี โทรศัพท์มือถือ ท่านเทียบดูนะครับว่าทำไมเราถึงเข้าถึงเฟซบุ๊ก (Facebook) ได้ เข้าถึงไลน์ (Line) ได้ ทำไมเราซื้อตั๋วเครื่องบินทางโทรศัพท์มือถือได้ เช็กอิน (Checkin) ทางโทรศัพท์มือถือได้ ถ้าเราเชื่อมข้อมูลขนาดใหญ่เข้าไปในคอมพิวเตอร์แม่ข่ายแล้ว ให้ระเบียบกระทรวง ทบวง กรม เข้าไปอยู่ในทุกท้องที่ เช่น ผมไปติดต่อสำนักงานที่ดิน ผมก็เข้าไปในกรมที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ก็จะออกมาเลยนะครับ ให้ประชาชนผู้ไปติดต่อนั้น ดูระเบียบ หลังจากดูระเบียบแล้วให้เขากรอกข้อความเองเข้าไปในคอมพิวเตอร์ จากนั้นข้อความเหล่านี้มันก็ส่งเข้าไปในสำนักงานที่ดินใช่ไหมครับ สำนักงานที่ดินจะรู้เลยว่า ในแต่ละวันมีคนที่จะมาติดต่อที่สำนักงานตัวเองกี่คน แล้วคนเหล่านั้นกรอกข้อมูลมาแล้ว พอเราเข้าไปในสำนักงานที่ดิน สำนักงานที่ดินก็จะกดชื่อออกมาว่าคุณชื่อนี้ใช่ไหม ข้อมูลก็จะ ออกมาทันทีเลย เราเชื่อมอย่างนี้ได้นี่เชื่อเถอะการติดต่อระหว่างรัฐกับประชาชนจะหมดไป นะครับ ก็จะไม่มีเลยนะครับ ถ้าเรามีกฎระเบียบที่แน่นอน ผมยกตัวอย่างนะครับ หลังจาก เราทำระบบนี้แล้วก็เอาเครื่องมือที่รัฐมี อย่างเช่น ในหมู่บ้านหนึ่งเอาคอมพิวเตอร์ ๑ ตัวก็พอ ให้ไปอยู่ที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน ท่านเชื่อไหมครับท่านประธาน ผู้ใหญ่บ้านเดี๋ยวนี้ไม่มีหรอกครับ จบ ป. ๖ อย่างน้อย ม. ๓ ปริญญาตรี กำนันก็ปริญญาโท ปริญญาเอกกันเต็มไปหมดในประเทศไทยนี้นะครับ และเรา ติดต่อราชการไม่จำเป็นต้องเดินไปที่หน่วยราชการ โทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวก็สามารถ ติดต่อราชการได้นะครับ ให้มันเชื่อมต่อ ลงทุนไม่กี่สตางค์นะครับ เรามีเครื่องมือเต็มไป หมดแล้ว ประชาชนมีเครื่องมือของตัวเองสามารถเชื่อมต่อมาทางราชการได้ โดยเฉพาะ ข้อมูลสาธารณะนะครับ ซึ่งผมเชื่อว่าระเบียบ กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ของกระทรวง ทบวง กรม ก็เป็นข้อมูลสาธารณะไม่เห็นจะต้องปิดอะไรนะครับ ท่านจะตัด ท่านจะลดปัญหา ความเหลื่อมล้ำและลดการทุจริตได้ด้วยครับท่านประธานครับ ผมเสนอลักษณะนี้นะครับ ลงทุนครั้งเดียวจบ เรามีเครื่องมืออยู่เยอะแยะ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. นายก เก็บไว้ ทำอะไรละครับ คอมพิวเตอร์บางทีทิ้งให้มันเสียไปเฉย ๆ เลยนะครับ เอามาใช้ในเรื่องตัวนี้ เชื่อเถอะในอนาคตนะครับประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีการบริการประชาชนที่ดีที่สุด ในโลก ขอขอบพระคุณท่านประธานครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปเชิญคุณชาลี เจริญสุข ครับ

นายชาลี เจริญสุข ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม ชาลี เจริญสุข ครับ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจังหวัดฉะเชิงเทรานะครับ วันนี้ก็ได้โจทย์ที่ดี มาก ๆ นะครับ เพราะว่าจะเกี่ยวพันทั้งในส่วนกรุงเทพมหานครแล้วก็ส่วนภูมิภาค เพื่อนสมาชิกหลายท่านได้อภิปรายว่า การที่เราจะสามารถที่จะใช้กลไกของรัฐแล้วก็ให้มี ความสะดวก สามารถจะให้ความสะดวกและรวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย ผมต้องกราบเรียนว่า ตรงประเด็นที่สุดก็คือการกระจายอำนาจ เพราะว่าประชาชนส่วนใหญ่อยู่ตามภูมิภาคนี่เยอะ แล้วถ้าจะพึ่งพิงในส่วนของรัฐจริง ๆ นี่ก็คือศาลากลางจังหวัดหรืออำเภอ แต่ระบบ การกระจายอำนาจมีมานานแล้ว แต่ผลปรากฏว่าการกระจายอำนาจที่จะให้ประชาชนเข้าถึง อย่างสะดวกรวดเร็ว งบประมาณที่จัดไป ที่ผ่านมานะครับงบประมาณลงไปน้อยมาก เพราะว่าอาจจะเป็นเพราะว่าส่วนกลางนี่อาจจะหวงโดยจะไปใช้งบเอง จนทำให้งบท้องถิ่นที่ เคยบอกว่าจะกระจายอำนาจไป ๓๕ เปอร์เซ็นต์ ที่ผ่านมานะครับ ๒๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ก็ไม่ เคยถึง ๓๕ เปอร์เซ็นต์สักทีหนึ่ง ยุคปฏิรูปนี่ผมอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ว่า มีการเสนอ ว่า เอ๊ะถ้าจะให้ประชาชนมีความสะดวก รวดเร็ว เข้าถึง เสนอมาแล้วประชาชนก็จับตามอง ครับว่าจะมีการเลือกตั้ง กระจายอำนาจ เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเปล่า ตรงนี้นะครับ ในทัศนะของผมผมมองว่าในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด บางจังหวัดพร้อม บางจังหวัด ไม่พร้อม แต่เราเทียบเคียงดูครับว่าจังหวัดที่พร้อม ถ้ามีการเลือกตั้งจริง ๆ ตามภูมิภาคต่าง ๆ นี่ จังหวัดใหญ่ ๆ เชียงใหม่ โคราช หรือทางใต้ ถ้ามีการเลือกตั้งจริง จังหวัดที่พร้อมผมว่า น่าจะทำ เพราะว่าอะไรครับ ดูจากกรุงเทพมหานคร ชีวิตคนเรานี้ฝากไว้เกิด แก่ เจ็บ ตายใช่ไหมครับ เขาก็คงไม่เดินไปที่ศาลากลางหรือที่อำเภอ กรุงเทพฯ นี่เขาเดินไปที่เขต นะครับ สำนักงานเขต ก็มีคนหลายคนจินตนาการว่าไม่อยากให้มีการเลือกตั้ง เพราะว่าบางที ท้องถิ่นบางแห่งหรือระบบราชการเดิมมันจะหายไป แต่ถ้าจะให้กลไกของรัฐบริการให้ ประชาชนอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง ผมว่ามันก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงผมเห็นด้วย เพราะว่า ท้องถิ่นบางท้องถิ่นกำลังเรียกร้องครับว่า เงินที่จะมาใช้ในการบริหารดูแลจังหวัด อย่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดบอกว่ารายได้เก็บงบประมาณนี่ปีละ บางจังหวัดเป็นพันล้าน กรุงเทพมหานครเป็นแสนล้านนะครับ แต่ถามว่าทำอย่างไร มันเกิดความเหลื่อมล้ำ งบประมาณไม่พอบริหาร เพราะว่าเนื่องจากว่าผู้ที่ไปจัดตั้งบริษัท โรงงานนี้มาเสียภาษี ส่วนกลาง ในการเสียภาษีในจังหวัดไม่ได้เสียเลยครับ ก็มาเสียภาษีส่วนกลางซึ่งเป็นบริษัท ใหญ่ ๆ ถ้าจังหวัดนั้นถ้าจะเติบโตได้ผมว่าตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญครับว่างบประมาณต้อง เพียงพอและจะได้พัฒนาจังหวัดได้ ก็เห็นด้วยครับว่าถ้าท้องถิ่นต้องการที่จะพัฒนาตัวเอง ที่จะเรียกร้องให้มีงบประมาณเพิ่มขึ้น จะต้องมีการกระจายอำนาจจริง ๆ ก็ต้องให้มีการกระจายอำนาจแบบที่ว่า คืออาจจะมีการเลือกตั้งบางจังหวัดที่พร้อมที่จะ เลือกตั้ง โดยผมได้ทราบมาว่าทางกรรมาธิการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นได้บอกว่า ถ้าหาก จะมีการกระจายอำนาจจริง เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจริง จะต้องทำประชามติก่อน อันนี้ ก็ถือว่าจะสอดคล้องกับประเด็นที่ตั้งมา เพราะว่าเพื่อนสมาชิกหลายท่านอภิปรายไปแล้วว่า จะทำอย่างไรที่กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็วนะครับ ซึ่งมันก็ คงจะเป็นโจทย์ที่เราตอบกันแบบวนเวียนอยู่แล้วครับ คงจะต้องกราบเรียนท่านประธาน และขอบคุณท่านประธานที่ได้ตั้งโจทย์นี้ ผมก็เลยขออนุญาตที่จะอภิปรายเพียงเท่านี้ครับ ขอบคุณครับ

ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอเชิญคุณธวัช สุวุฒิกุล ครับ

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ธวัช สุวุฒิกุล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๐๙๙ จังหวัดชัยภูมิ ท่านประธานที่เคารพครับ ประเด็นที่เราพูดกันนี้เป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากว่าสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้น ได้ตั้งความหวังไว้อย่างมากในเรื่องนี้ว่า หลังจากที่เราปฏิรูปแล้วจะมีกลไกของรัฐที่จะทำให้ การบริการของประชาชนนั้นสะดวกรวดเร็วนะครับ ซึ่งในส่วนนี้หลายท่านได้อภิปรายซึ่งเป็น ความเห็นที่ผมเห็นด้วย นั่นก็คือปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในปัจจุบัน สำหรับผมเองนั้น อยากจะกราบเรียนต่อท่านประธานและที่ประชุมแห่งนี้ว่า กลไกที่สำคัญที่ผมคิดว่าในภาครัฐ จะต้องทำทันทีใน ๓ เรื่องด้วยกัน

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

เรื่องแรก ก็คือพัฒนาระบบการบริการประชาชน

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ก็คือเสริมสร้างวัฒนธรรมการให้บริการกับประชาชน

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ก็คือการพัฒนาระบบการจัดการข้อร้องเรียนของประชาชน

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ในส่วนของการพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนนั้นประกอบด้วยอย่างนี้ ท่านประธานครับ คือส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐพัฒนาระบบการเชื่อมโยงงานบริการ ซึ่งกันและกัน และวางรูปแบบการให้บริการประชาชนที่สามารถขอรับบริการจากภาครัฐ ได้ทุกเรื่อง โดยไม่คำนึงว่าผู้รับบริการนั้นจะอยู่ที่ใด อันนี้เป็นประการแรก

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ยกระดับการดำเนินงานศูนย์บริการร่วม หรือที่เรียกว่า วัน สต็อป เซอร์วิส แต่คงไม่ใช่อย่างที่ท่านประธานบอกว่า โต๊ะเดียว ๑๖ ลิ้นชัก ตรงนี้จะต้อง มีการเชื่อมโยงบูรณาการกระบวนการให้บริการที่หลากหลายจากส่วนราชการต่าง ๆ มาไว้ที่เดียวกัน ในระบบราชการนั้นเราจะพบอยู่เสมอว่าการประสานราชการนั้นประสบ ความล้มเหลวอย่างยิ่ง

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ในส่วนที่ ๓ นั้นส่งเสริมให้ส่วนราชการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารเข้ามาใช้ในการให้บริการกับประชาชนที่เราเรียกว่าอีเซอร์วิส เพื่อให้สามารถ เข้าถึงการบริการของรัฐได้ง่ายขึ้นและสะดวก

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ในส่วนที่ ๔ นั้นส่งเสริมให้มีเว็บ (Web) กลางของภาครัฐ ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้ ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด ๆ ก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อมูล ข่าวสารให้ความรู้ เรื่องการเปลี่ยนแปลงระบบ การปฏิบัติต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผมคิดว่า ทำได้เลยนะครับ

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

และประการที่ ๕ ก็คือส่งเสริมให้มีการนำระบบการรับประกันคุณภาพ มาตรฐานการให้บริการ ซึ่งตรงนี้ภาครัฐจำเป็นต้องมีเหมือนกับภาคเอกชนที่ว่ามาตรฐาน ในการทำงานเพื่อให้บริการของภาครัฐเป็นที่พึงพอใจของประชาชนนั้นมันจะต้องมีมาตรฐาน ครับ

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ในส่วนของการส่งเสริมวัฒนธรรมการให้บริการนั้น ผมอยากจะเรียนว่า

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

ประการแรก ต้องส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ค่านิยมและหล่อหลอมการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีใจเอื้อเฟื้อที่จะให้บริการกับประชาชน ข้าราชการหลายคนไม่ตระหนักในหน้าที่ หลายคนนั้น เก่งทุกอย่างยกเว้นงานในหน้าที่ อยู่ทุกที่ยกเว้นที่ทำงาน อย่างนี้ประชาชนก็คงไม่ได้รับ บริการที่ดี

นายธวัช สุวุฒิกุล ต้นฉบับ

เป็นอันว่าที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อสังเกต ข้อเสนอแนะของสมาชิกที่ได้แสดง ความเห็นในที่ประชุมนี้ ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติจะได้นำข้อความเห็นทั้งหมดนี่นะคะ ส่งให้กับ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและคณะกรรมาธิการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการต่อไปค่ะ วันนี้หมดระเบียบวาระการประชุมแล้วนะคะ ดิฉันขอขอบพระคุณ ท่านกรรมาธิการ ท่านสมาชิกทุกท่านที่ได้อภิปรายอย่างสร้างสรรค์ค่ะ ปิดประชุมค่ะ