ท่านประธานครับ ขออนุญาตครับ
สืบเนื่องจากท่านสมาชิกหลายท่านนะครับ อาจจะยังใช้วิธีการกดปุ่มไม่เข้าใจ เพราะว่าเป็นช่วงแรก ๆ นะครับ อยากให้ท่านเลขาธิการ ได้ย้ำอีกครั้งหนึ่ง คือต้องกดแสดงตนหลังจากนั้นไฟกระพริบ ปุ่มที่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือไม่แสดงความคิดเห็นก็จะกระพริบขึ้นมาก็จะกดครั้งที่ ๒ ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยครับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ในที่ประชุม ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ตามที่สภาปฏิรูปแห่งชาติได้มีการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ เมื่อวันอังคารที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ โดยที่ประชุมได้มีมติตั้ง คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ขึ้นคณะหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมาธิการ ได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ โดยได้มีการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ โดยสรุปสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
๑. ที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้มีมติเลือกตำแหน่งต่าง ๆ ได้แก่ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นประธานกรรมาธิการ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นรองประธานกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง นางสาวทัศนา บุญทอง เป็นรองประธาน คณะกรรมาธิการ คนที่สอง นายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการ พลโท ฐิติวัจน์ กำลังเอก เป็นผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการ นายวันชัย สอนศิริ เป็นโฆษกคณะกรรมาธิการ นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล เป็นผู้ช่วยโฆษกคณะกรรมาธิการ โดยได้มีการพิจารณาสาระสำคัญหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกิจการของสภาปฏิรูปแห่งชาติ รวมไปถึงที่ท่านประธานชั่วคราวในที่ประชุมจะได้ให้กระผมได้นำเสนอมติของที่ประชุม ของคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวนี้ โดยในที่ประชุมยังได้มีการพิจารณาในเรื่องการนับ ระยะเวลาเริ่มต้นการสรรหาผู้มีคุณสมบัติสมควรเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หลังจาก ได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ทั้งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แนวปฏิบัติในเรื่องของการตราพระราชกฤษฎีกาย้อนหลังและจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึง การแถลงข่าวของคณะรัฐมนตรีในเรื่องการจะดำเนินการสรรหาผู้มีคุณสมบัติสมควร เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญร่วมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ซึ่งเห็นเป็นแนวทางเดียวกัน คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติ (ชั่วคราว) จึงมีความเห็นเป็นที่ยุติว่าให้นับวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เป็นวันเริ่มต้น ของการนับระยะเวลาในการสรรหาบุคคลเข้าเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คือจะต้อง แล้วเสร็จภายในวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ สำหรับข้อพิจารณาในแนวทางการสรรหา ผู้มีคุณสมบัติสมควรเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน ๒๐ คนนั้น ที่ประชุม คณะกรรมาธิการได้พิจารณากำหนดแนวทางในการสรรหาผู้มีคุณสมบัติสมควร เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน ๒๐ คน โดยมีข้อสรุป ดังนี้
๑. คุณสมบัติผู้สมัครเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องไม่ขัดกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
๒. ผู้ได้รับการเสนอชื่อเพื่อรับการคัดเลือกเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ต้องสมัครใจในการได้รับการเสนอชื่อนั้น
๓. กำหนดแนวทางการได้มาซึ่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน ๒๐ คน โดยมีสัดส่วนจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จำนวน ๑๕ คน และจาก บุคคลภายนอก จำนวน ๕ คน สำหรับแนวทางการสรรหา มีดังนี้
๑. การสรรหาจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๑๕ คน โดยการเสนอชื่อ ผู้ที่มีความเหมาะสมและไม่มีลักษณะต้องห้ามจากกลุ่มต่าง ๆ ๑๑ ด้าน ด้านละ ๑ คน และการเสนอชื่อจาก ๔ ภาค ภาคละ ๑ คน รวมเป็นทั้งสิ้น ๑๕ คน โดยกลุ่มต่าง ๆ ทั้ง ๑๑ ด้าน และ ๔ ภาค อาจไม่เสนอชื่อสมาชิกท่านใดเลยก็ได้ ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มีความประสงค์จะสมัครเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและไม่รับการสรรหา จากกลุ่มต่าง ๆ สามารถสมัครขอรับการสรรหาเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ และหากมีผู้ได้รับการสรรหามากกว่า ๑๕ คน ให้ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติลงมติเลือก ให้เหลือจำนวน ๑๕ คน
๒. การสรรหาจากบุคคลภายนอก ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมและไม่มีลักษณะ ต้องห้าม จำนวน ๕ คน ทั้งนี้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) เป็นผู้สรรหาผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมและไม่มีลักษณะต้องห้าม และเสนอให้ สภาปฏิรูปแห่งชาติให้ความเห็นชอบต่อไป
นอกจากนั้น ขออนุญาตท่านประธานนะครับ ได้เสนอรายงานอีก ๑ ข้อ ก็คือ ว่าที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบวันและเวลาประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติทุกวันจันทร์ และวันอังคารของสัปดาห์ ดังนั้นจึงได้มีการเสนอให้มีการประชุมวันจันทร์ที่ ๒๗ ตุลาคม และวันอังคารที่ ๒๘ ตุลาคม เพื่อดำเนินการภารกิจต่อไปครับ ขอบพระคุณท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานครับ กระผม อลงกรณ์ พลบุตร สมาชิก สปช. ความจริงเป็นเพียงการหารือครับ เพราะว่าไม่ได้ จะใช้สิทธิพาดพิงอะไร เพียงแต่ว่าในช่วงของการนำเสนอรายงานของคณะกรรมาธิการ กิจการ สปช. นั้น กระผมเองในฐานะเลขานุการได้นำเสนอแต่เพียงรายงาน แต่ว่ายังไม่ได้ ชี้แจงแสดงเหตุผลในนามของคณะกรรมาธิการ โดยเป็นความตั้งใจที่จะให้ท่านสมาชิก ที่มีความเห็นต่างนั้นได้เสนอความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง แต่ว่ามีกรรมาธิการบางท่านก็มีความเห็นว่า เมื่อได้มีการอภิปรายไประยะหนึ่ง ควรที่กรรมาธิการจะได้ชี้แจงในประเด็นที่เริ่มมีประเด็นที่ซ้ำซ้อน เพื่อให้การประชุมเป็นไป โดยกระชับแล้วก็รวดเร็ว เกิดประสิทธิภาพ ก็เลยถือโอกาสนี้นำหารือท่านประธานนะครับ เพราะว่าหันไปข้างหลังท่านรองประธานท่านก็ยกมือ หมายความว่ากรรมาธิการก็อาจจะ ชี้แจงบางประเด็นไปก่อนสั้น ๆ โดยกระชับเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เพราะว่าเราไม่ได้ชี้แจง ถึงเหตุผลเลยครับท่านประธาน ชี้แจงแต่มติเท่านั้นเอง ก็นำกราบเรียนท่านประธาน ส่วนเรื่องที่บอกผมเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ต้องเรียนว่าไม่มีคุณสมบัติครับ เพราะว่าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
กราบเรียนท่านประธาน ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผมในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการกิจการ สปช. (ชั่วคราว) ใคร่ขอถือโอกาสได้กราบเรียนเพิ่มเติมจากที่ท่านรองประธานดอกเตอร์บวรศักดิ์ได้ชี้แจง แนวคิดหลักของการพิจารณาในการนำเสนอแนวทางการสรรหาที่มีสัดส่วนเป็นสมาชิก สปช. ๑๕ ท่าน และบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอีก ๕ ท่าน ซึ่งนั่นคือหัวใจสำคัญของการพิจารณา และเป็นมติของคณะกรรมาธิการชุดของเรา ท่านสมาชิกหลายท่านได้มีการอภิปราย แสดงความไม่เห็นด้วย ซึ่งก็เป็นปกติและเป็นความงดงามของการทำหน้าที่สมาชิก สปช. ที่มีความเห็นที่แตกต่างและใช้เหตุใช้ผล แต่หัวใจสำคัญที่คณะกรรมาธิการได้พิจารณานั้น โดยเล็งเห็นว่า ไม่ว่าเราจะจัดทำรัฐธรรมนูญสมบูรณ์แบบอย่างไร ไม่ว่าเราจะจัดทำพิมพ์เขียว ปฏิรูปประเทศหรือแผนแม่บทปฏิรูปประเทศได้ดีอย่างไร แต่เมื่อภารกิจเสร็จสิ้นเข้าสู่ภาวะปกติ เข้าสู่การคืนประชาธิปไตยไปสู่ประชาชน ไปสู่การเลือกตั้ง สิ่งที่เรากังวลและไม่มีใคร ให้หลักประกันและให้คำตอบได้ก็คือว่า ถ้าพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองที่เป็นคู่กรณี คู่ขัดแย้งจนก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองในระยะหลายปีที่ผ่านมายังเป็นอยู่เช่นเดิม และด้วยคำกล่าวสั้น ๆ เพียงว่า ทั้งรัฐธรรมนูญและพิมพ์เขียวนั้นเป็นผลพวง ของการรัฐประหาร เป็นผลพวงผลไม้พิษ ทั้งรัฐธรรมนูญและพิมพ์เขียวก็เป็นเพียง กระดาษ ๒ แผ่นเท่านั้นเอง ความทุ่มเทพยายามของพวกเราไม่ว่าจะเป็น สปช. ๒๕๐ ท่าน หรือ สนช. ที่เข้ามาที่ในฐานะของสภานิติบัญญัติ หรือคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๓๖ ท่าน ก็จะเป็นการสูญเปล่า แต่เหนือกว่านั้นก็คือว่าประเทศชาติจะเสียโอกาส เสียเวลา แล้วก็จะเข้าสู่การเริ่มต้น ความขัดแย้งการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้นโดยคำปรารภและเจตนารมณ์ของ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก็ดี หรือการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากภาวะทางตันของวิกฤติ ของประเทศชาติก็ดี ได้บ่งชี้ให้เห็นว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดของประเทศนี้ไม่ใช่ปัญหาศักยภาพ ของประเทศนี้ แต่เป็นปัญหาความขัดแย้งในทางการเมือง เราไม่อาจละเลยมองข้าม สิ่งเหล่านี้ได้ คณะกรรมาธิการได้ใช้เวลาหลายชั่วโมงในการพิจารณาไตร่ตรองดูกันอย่างรอบคอบ ทั้งในเรื่องของเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี ๒๕๕๗ ดูกันถึงเรื่องของการตอบรับ และปฏิเสธหรือท่าทีของพรรคการเมืองก็ดี กลุ่มการเมืองก็ดี แต่ท้ายที่สุดแล้วเราคิดว่า เราควรจะเสนอสิ่งที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับประเทศนี้ ให้กับท่านสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติ ท่านสมาชิกได้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องของประเด็นคุณสมบัติและคุณสมบัติต้องห้าม ซึ่งปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ ถ้าท่านสมาชิกจะได้กรุณาติดตามที่กระผมได้นำเสนอ ในมาตรา ๓๓ ซึ่งก็ได้แจกให้กับท่านสมาชิก บุคคลภายนอกหรือบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกนั้น จะส่งรายชื่อมาจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ในมาตรา ๓๓ ถามผมว่ากลุ่มการเมือง ๒ กลุ่ม ที่เป็นคู่ขัดแย้งและมีความเห็นต่างกันไม่ใช่ความผิดในความเห็นที่แตกต่าง แต่ประเทศของเรา ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้งได้อย่างสันติวิธี แต่ช่วงของการเว้นวรรค ประชาธิปไตย เว้นวรรคให้ประเทศนี้ได้หายใจ ด้วยการเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างอดีต และอนาคต จะต้องเป็นสะพานเชื่อมโยงที่ไม่ใช่นำไปสู่ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยของความขัดแย้ง แตกแยกอีกต่อไป ดังนั้นไม่ว่าจะมีกติกา กฎเกณฑ์อะไรก็แล้วแต่ จะต้องไม่เหนือกว่าความมุ่งมั่น ของพวกเราที่จะต้องทำให้การปฏิรูปนี้สำเร็จ เพราะฉะนั้นการพิจารณาของกรรมาธิการ จึงพิจารณาในประเด็นว่า นอกจากผลงานแล้วต้องดูผลลัพธ์ด้วย ก็คือตัวเอาท์คัม (Outcome) เรามีรัฐธรรมนูญแล้ว เรามีพิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศ พ้นมือจากนี้ไปเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นหน้าที่ที่ประชาชนคนไทยทุกคนจะต้องช่วยกันนำรัฐธรรมนูญ แล้วก็พิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศนั้นนำไปสร้างความเป็นรูปธรรมเพื่อให้มีการปฏิรูปประเทศ ครั้งใหญ่ แต่ถ้าหากว่าไม่มีการดำเนินการดังกล่าวนั้นเราก็จะได้แต่เพียงรัฐธรรมนูญ ได้แต่เพียงพิมพ์เขียว หลังจากนั้นก็ไม่เกิดผลลัพธ์ เพราะฉะนั้นการพิจารณาจึงพิจารณา ทั้งต้นทาง ปลายทาง แล้วก็ข้อกังวลหลายประการ เช่นเดียวกับกรณีของคุณสมบัติ ผมก็ต้องเรียนว่าในแง่ของคุณสมบัตินั้น จริงอยู่ว่าในมาตรา ๓๓ มีคุณสมบัติ และที่เป็นคุณสมบัติข้อห้าม เช่น ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยกเว้นผู้ดำรงตำแหน่ง ใน คสช. สนช. และ สปช. หรือข้อห้ามที่ว่า เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกหรือดำรงตำแหน่งใด ในพรรคการเมืองภายในระยะเวลาสามปีก่อนวันที่รับแต่งตั้ง ท่านรองประธานได้ชี้แจง ในประเด็นที่ว่า ถ้าหากที่ประชุมเห็นด้วยว่าจะเป็น ๑๕ บวก ๕ นั่นหมายความว่า จะต้องมีการติดต่ออย่างเป็นทางการจาก สปช. ลงนามโดยท่านประธาน ส่งไปถึง หัวหน้าพรรค ๓ พรรคดังกล่าว และอีก ๒ กลุ่มการเมือง เป็นหน้าที่ขององค์กรดังกล่าว ที่จะต้องส่งผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติข้อห้ามเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ในเรื่องคุณสมบัติของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กระผมเรียนในข้อเท็จจริงก็คือว่า ใน ๓ พรรคการเมืองใหญ่ ๆ ดังกล่าว ตัวอย่าง พรรคประชาธิปัตย์ก็ดี พรรคเพื่อไทยก็ดี พรรคประชาธิปัตย์มีสมาชิกที่ลงทะเบียนปรากฏในทะเบียนของนายทะเบียนพรรคการเมือง คือ สำนักงาน กกต. ไม่ถึง ๓,๐๐๐,๐๐๐ คนครับ แต่สมาชิกจริงมีอยู่ ๑๐ ล้านคน พรรคเพื่อไทยก็เช่นเดียวกัน ทุกพรรคการเมืองจะมีสมาชิกที่ลงทะเบียนและต้องจ่ายค่าบำรุงอาจจะไม่ถึง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด แต่เมื่อมีการจัดกิจกรรมทางการเมืองก็จะปรากฏแสดงตนขึ้นมา เพราะฉะนั้นข้อกังวลที่ว่าพรรคการเมืองไม่สามารถหาตัวแทนมาเป็นกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ประเด็นนี้ผมเชื่อว่าทำได้ถ้าตั้งใจและเต็มใจที่จะทำ แต่ความหมาย ของความเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองสำคัญมากครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าพรรค ไม่จำเป็นต้องเป็นกรรมการบริหารพรรค ใครก็ได้ที่องค์กรนั้นยอมรับให้เป็นตัวแทน อย่างเป็นทางการ แล้วก็ส่งเข้ามาที่ สปช. ตรงนี้เองคือสิ่งที่ผมคิดว่าเราได้พยายามที่จะเสนอ ทางออก ทางเลือก แล้วก็ต้องการแสดงความบริสุทธิ์ใจของ สปช. ทั้ง ๒๕๐ คน ไม่ต้องการ ถูกมองว่า วันหนึ่งข้างหน้าเราจะถูกตราหน้าว่าเป็นเครื่องมือของผลพวงผลไม้พิษ การรัฐประหาร และที่สำคัญเหนือกว่านั้นก็คือถ้าเราจะเริ่มปฏิรูปประเทศนี้ มันต้องเริ่มด้วยการแก้ปัญหาใหญ่ที่สุดคือแก้ปัญหาความแตกแยก แบ่งสี แบ่งฝักแบ่งฝ่าย จึงไม่ควรที่จะกีดกัน ไม่ควรที่จะเป็นแบ่งฝ่าย เราต้องเริ่มด้วยการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่เรียกว่าคอนฟิเดนซ์ บิลดิ้ง (Confidence building) ในทุกความขัดแย้งของทุกประเทศ เราได้เห็นตัวอย่างว่ามีหนทางเดียวคือแนวทางสันติวิธี มีเวทีเปิดให้ และวันนี้ถามบอกว่า เรามีเวทีที่ไหนบ้างครับ ไม่เหลือเวทีอะไรแม้แต่วันสุดท้ายของเวทีที่จะเจรจากันได้ เมื่อตกลงไม่ได้การรัฐประหารก็เกิดขึ้น ทั้งที่ไม่ใช่ทางเลือกในระบอบประชาธิปไตย แต่เมื่อประเทศไปถึงหนทางตันมันก็เกิดขึ้น วันนี้เรามีโอกาสที่ใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาครับว่า ถ้าเราสามารถที่จะเริ่มต้นด้วยหลักความปรองดอง สมานฉันท์ และนี่คือจุดก้าวแรก ของการปฏิรูปประเทศที่ภารกิจของพวกเรานั้นแบกรับอยู่ทุกคน และกรรมาธิการนั้น ไม่สงสัยในความรู้ความสามารถของทุกท่านครับ ๒๕๐ ท่าน ไม่ว่าจะมาจาก ๑๑ สาขา หรือมาจาก ๗๗ จังหวัด ล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพที่จะเป็น กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ทุกคน เพียงแต่ว่าเมื่อได้รับมอบหมายจากท่านทั้งหลาย ให้ไปพิจารณาในชุดเล็กคือกรรมาธิการกิจการ สปช. (ชั่วคราว) เราก็พิจารณาในส่วนนี้
ประเด็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นมีการยกกันมาก มีการอภิปรายเรื่องนี้พอสมควร ทั้งในสภา สปช. แล้วก็นอกสภา ผมอยากเรียนอย่างนี้ครับว่า ๑๙ ฉบับของรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่เราเปลี่ยนแปลงการปกครองมา ๘๒ ปีแล้ว ฉบับที่ไม่ใช่ชั่วคราว ฉบับที่เป็นฉบับถาวรนั้น ล้วนแล้วแต่มีทั้งที่ให้ตัวแทนพรรคการเมืองเข้ามาเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็อยู่หลายฉบับ ฉบับที่กล่าวได้ว่าเป็นฉบับที่ได้รับการยอมรับว่าทันสมัย ก้าวหน้า มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดคือรัฐธรรมนูญฉบับ พุทธศักราช ๒๕๔๐ ก็มีการมีส่วนร่วมของทุกพรรคการเมือง บางฉบับก็ห้าม บางฉบับก็เปิดโอกาส จึงไม่ใช่หลักเกณฑ์ทั่วไปที่เป็นสากลในการที่จะมากำหนดในเรื่องของความมีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ในสถานการณ์ที่กรรมาธิการได้พิจารณาว่า วันนี้บ้านเมืองไม่ได้อยู่ในภาวะปกติครับ วันนี้บ้านเมืองอยู่ในภาวะไม่ปกติ เราต้องพยายามที่จะก้าวข้ามความขัดแย้ง และทำตน ให้เป็นตัวอย่างของความสมานฉันท์ปรองดองและยึดหลักนี้ให้มั่น วันหน้าประเทศ จะเดินหน้าไปได้ด้วยระบอบประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมเท่านั้นในการหันหน้า เข้าหากัน และหาข้อยุติ ดังสันติวิธีอย่างมีเหตุมีผล แต่ถ้าเราไม่ให้โอกาสเขาในยามที่เรา มีโอกาสที่จะให้ได้เป็นข้อคิดที่น่าสนใจ
ประเด็นเรื่องของการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในกรณีของคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ผมทราบดีเช่นเดียวกันว่าบุคคลที่จะแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญก็คือประธานของเราครับ แต่ในรัฐธรรมนูญมาตรา ๓๒ ได้บัญญัติไว้ชัดเจน เขาไม่ได้ใช้คำว่า ให้กรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญมาจากสมาชิก สนช. มาจาก ครม. มาจากสมาชิก คสช. หรือมาจาก สมาชิก สปช. เขาเขียนเหมือนกันคือเขียนว่า เสนอโดย นั่นแสดงว่ามีนัยสำคัญที่ไม่ได้จำกัด บทบาทหน้าที่ว่าจะต้องมาจากสมาชิกของเราทั้งหมด เช่นเดียวกับไม่ได้มาจากคณะรัฐมนตรี คสช. หรือว่า สนช. ตรงนี้ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่อยากจะให้เห็นว่าเรามีความยืดหยุ่น เป็นหลักความยืดหยุ่นของการที่เราจะนำเสนอในวิถีทางที่ สปช. เห็นว่าควรและเหมาะสม ที่สุด ดังนั้นก็ใคร่ขอถือโอกาสนี้กราบเรียนเพิ่มเติมนะครับ ท่านรองประธานก็ได้ชี้แจง ได้สมบูรณ์แล้ว ผมก็ขออนุญาตเพิ่มเติมบางประเด็น ขอกราบเรียนท่านประธาน ขอบพระคุณครับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะ เลขานุการคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ใคร่ขอโอกาสนี้รายงานถึง ผลของการประชุมของคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ครั้งที่ ๒ ดังต่อไปนี้ ในการประชุมครั้งที่ ๒ เมื่อเช้าวันนี้คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ได้ประชุมพิจารณาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญในสัดส่วนของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ จำนวน ๒๐ คน ดังนี้
๑. บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องเป็น ผู้มีความสามารถ มีความเหมาะสม มีความสมัครใจ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ โดยต้องกรอก ใบสมัครด้วยตัวเอง
๒. สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่ละด้านทั้ง ๑๑ ด้าน และแต่ละภาค ทั้ง ๔ ภาค อาจพิจารณาเสนอชื่อผู้ที่มีความเหมาะสมและไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามด้านละ ๑ คน หรือมากกว่า ๑ คน หรืออาจไม่เสนอชื่อสมาชิกท่านใดเลยก็ได้ ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิสมาชิก สภาปฏิรูปแห่งชาติที่มีความประสงค์จะสมัครเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และไม่ได้รับ การเสนอชื่อจากด้านต่าง ๆ สามารถสมัครขอรับการเลือกเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้เอง โดยต้องดำเนินการสมัครให้แล้วเสร็จภายในวันพุธที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา โดยยื่นใบสมัครที่หน้าห้องประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑
๓. ให้ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาเลือกบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อ หรือสมัครเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน ๒๐ คน จากรายชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ หรือสมัคร โดยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติสามารถเลือกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ไม่เกิน ๒๐ คน และสมาชิกผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดลำดับที่ ๑-๒๐ จะเป็นผู้ได้รับการสรรหา จากสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่มีการลงคะแนนเลือก มากกว่า ๒๐ คน ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย
๔. ในบัตรลงคะแนนให้ระบุรายชื่อสมาชิกผู้กรอกใบสมัคร พร้อมระบุที่มา (ด้านหรือภาค) ของสมาชิกผู้นั้น
ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะดำรงตำแหน่ง เป็นกรรมาธิการในคณะอื่นใดของสภาปฏิรูปแห่งชาติอีกไม่ได้ จนกว่าการดำเนินการยกร่าง รัฐธรรมนูญได้เสร็จสิ้นแล้ว และเพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายใน ๒ ปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ขอบคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธาน ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม นายอลงกรณ์ พลบุตร ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ กิจการ สปช. (ชั่วคราว) ใคร่ถือโอกาสตอบประเด็นที่ท่านสมาชิกได้ยกขึ้นซึ่งเป็นประเด็น ที่แตกต่างและยังไม่มีการพิจารณาในเรื่องนี้ในสภาแห่งนี้ สำหรับวรรคสุดท้ายที่เขียนไว้ว่า ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้นจะดำรงตำแหน่งเป็นกรรมาธิการ ในคณะอื่นใดของสภาปฏิรูปแห่งชาติอีกไม่ได้จนกว่าจะดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ เสร็จสิ้นแล้วนั้น ในส่วนนี้คณะกรรมาธิการได้พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ โดยคำนึงถึง การยึดโยงการทำหน้าที่ระหว่างสมาชิก สปช. ที่รัฐแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้พิจารณาแล้วเห็นว่าภารกิจหน้าที่ในการทำหน้าที่เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น เป็นภาระที่หนักหน่วง เป็นเวลาอย่างน้อยอย่างที่ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้กล่าวถึง ๔-๖ เดือน ขณะเดียวกันการยึดโยงดังกล่าวจะขาดตอนกันมิได้ ดังนั้นในกรณีดังกล่าวนั้น ก็ได้พิจารณาว่าการยึดโยงยังสามารถดำเนินการได้ในหลายลักษณะ
ประการที่ ๑ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นสมาชิก สปช. ยังต้องมา ประชุม สปช. ทุกสัปดาห์
ประการที่ ๒ มีความเป็นไปได้ที่จะมีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการในการ ประสานงานระหว่าง สปช. กับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ประการที่ ๓ มีสมาชิกได้เสนอความเห็นว่าเพื่อไม่ให้เกิดการขาดตอนในสิทธิ ของการเป็นกรรมาธิการคณะต่าง ๆ จะเป็นสามัญหรือวิสามัญก็แล้วแต่เมื่อข้อบังคับ การประชุมของ สปช. เสร็จสิ้นในสัปดาห์หน้านั้น ก็อาจจะแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ เพราะถ้าเป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมาธิการนั้นยังมีสถานะเป็นกรรมาธิการ ไม่มาประชุมก็คือ ขาดการประชุม แต่ว่าเพื่อให้มีการยึดโยง แต่นั่นก็เป็นข้อเสนอส่วนหนึ่งนะครับ คงต้อง พิจารณากันต่อไป แต่ทั้งนี้เพียงเรียนในเบื้องต้นว่าคณะกรรมาธิการกิจการ สปช. (ชั่วคราว) นั้น ได้พิจารณาในประเด็นที่ท่านได้ตั้งคำถามแล้วก็เป็นข้อกังวลตรงกันครับ จึงเรียนชี้แจง ในเบื้องต้นต่อท่านประธานไปถึงท่านสมาชิกครับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิก สปช. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติ ใคร่ขอเสนอญัตติให้มีการเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๒ (๒) โดยที่ขอให้เลื่อนระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่น ๆ ๖.๑ ๖.๒ ๖.๓ ขึ้นพิจารณาก่อน เรื่องด่วน ขอผู้รับรองด้วยครับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิก สปช. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติ ใคร่ขอเสนอญัตติให้มีการเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๒ (๒) โดยที่ขอให้เลื่อนระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องอื่น ๆ ๖.๑ ๖.๒ ๖.๓ ขึ้นพิจารณาก่อน เรื่องด่วน ขอผู้รับรองด้วยครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิก สปช. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สปช. ใคร่ขอกราบเรียนท่านประธานเพื่อเป็นแนวปฏิบัติต่อไปนะครับ ก็คือ เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างข้อบังคับได้ปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้นก็สมควรได้รับ การขอบคุณจากสมาชิกของเรา บัดนี้ภารกิจของท่านเสร็จสิ้นลงแล้วก็ต้องเชิญลงจากบัลลังก์ ที่นั่งครับกลับมาเป็นสมาชิก เพราะตอนนี้กรรมาธิการชุดใหม่ก็คือกรรมาธิการทั้งสภาครับ ก็ขอสมาชิกได้แสดงความขอบคุณร่วมกันนะครับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายอลงกรณ์ พลบุตร ในฐานะกรรมาธิการ ความจริงข้อ ๘๐ นั้นมีข้อความอยู่ ๒ ส่วนที่สำคัญ ซึ่งเผอิญ ท่านกรรมาธิการที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม ผมไม่แน่ใจว่าตอบโจทย์ทั้งหมดหรือเปล่านะครับ คือถ้าดู ข้อ ๘๐ ก็ต้องดูข้อ ๗๙ ซึ่งเป็นข้อเริ่มต้นของหมวด ๔ ว่าด้วยกรรมาธิการ ซึ่งมีกรรมาธิการ อยู่ ๒ ประเภท คือกรรมาธิการสามัญและกรรมาธิการวิสามัญ ส่วนกรรมาธิการวิสามัญนั้น ก็มีอีก ๒ ประเภท คือกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาและกรรมาธิการวิสามัญทั่วไป ประเด็นก็คือว่าพอมาเริ่มข้อ ๘๐ นั้น ถ้าผ่านไป ๒ บรรทัดคงไม่เป็นปัญหาเท่าใดนัก แต่ความจริงผ่าน ๒ บรรทัดแรกนั้นไม่ควรต้องไปเติมคำว่า ประจำสภา เลย เพราะว่า ในกรณีของข้อ ๘๐ นั้นเป็นการกำหนดว่า ให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นเพื่อพิจารณา กระทำกิจการ หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาหรือตามที่สภามอบหมาย ควรจะเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประทานโทษครับ เป็นคณะกรรมาธิการเฉย ๆ ซึ่งครอบคลุมถึงสามัญ วิสามัญ ทั้งวิสามัญประจำสภา แล้วก็วิสามัญทั่วไป เพราะว่า ในบรรทัดที่ ๒ ต่อเนื่องจนกระทั่งจบในวรรคหนึ่งนั้นเป็นเรื่องการให้คำนึงถึงในการดำเนิน กิจการของคณะกรรมาธิการ ถ้าเขียนเช่นนี้ก็เสมือนหนึ่งว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญทั่วไป หรือคณะกรรมาธิการสามัญที่สภาอาจตั้งขึ้นไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องมาคำนึงถึงประเด็น ตั้งแต่ ทั้งนี้ ที่ท่านเขียนไว้ทั้งหมดนี่ครับ ผมเพียงแต่จะสื่อความหมายไปถึงท่านกรรมาธิการ ไม่มีกรรมาธิการยกร่างแล้วนะครับ เป็นอดีตกรรมาธิการยกร่าง เพียงแต่ช่วยกันชี้แจง ในฐานะเป็น ๑ ในกรรมาธิการ ๒๕๐ ท่าน และท่านประธานเป็นประธานกรรมาธิการ ที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมนั้นนะครับ ดังนั้นผมก็เลยขอข้อพิจารณา จากท่านอดีตกรรมาธิการยกร่าง ซึ่งเป็นกรรมาธิการเช่นกันนี่ว่าถ้าจะแก้ไขถ้อยคำ เพื่อให้ครอบคลุมกรรมาธิการทุกชนิดทุกประเภทนี่ก็น่าที่จะเขียนเพียงว่า ให้สภาตั้ง คณะกรรมาธิการขึ้นเพื่อพิจารณา แล้วก็ความต่อไปเลยนะครับ ในวรรคนี้ทั้งวรรคก็คงจะใช้ คำว่า คณะกรรมาธิการ ส่วนต่อไปซึ่งยังไม่ถึงนะครับ ก็ถึงจะเข้าเรื่องในเรื่องของกรรมาธิการ วิสามัญประจำสภา แล้วก็กรรมาธิการวิสามัญในเรื่องกระบวนการและอื่น ๆ ครับ
ท่านประธานครับ กระผม อลงกรณ์ ในฐานะ กรรมาธิการ ขอบพระคุณท่านกรรมาธิการที่ได้ชี้แจง แต่ว่ายิ่งเห็นความชัดเจนว่า ถ้านำข้อความในบรรทัดที่ ๒ ตั้งแต่ ทั้งนี้ ย้ายไปต่อที่ข้อ ๗๙ จะครอบคลุม เพราะมัน เป็นไปไม่ได้ที่ในคณะกรรมาธิการซึ่งมีอยู่ ๒ ประเภท แต่ปรากฏว่า ทั้งนี้ มากำหนดให้เฉพาะ กรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ผมเข้าใจว่าเจตนารมณ์ในการที่จะยกข้อความดังกล่าว เพื่อกำกับถึงความตระหนักในเป้าหมายและกรอบที่จริง ๆ บัญญัติในรัฐธรรมนูญ เป็นเจตนารมณ์เอามาบรรจุไว้ มันควรเริ่มต้นที่ข้อแรกของหมวดว่าด้วยกรรมาธิการ ตรงนั้นจะเกิดความถูกต้องเหมาะสม ส่วนข้อ ๘๐ ท่านก็อาจจะไปเริ่มต้นเอาตรงที่ ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ๑๗ คณะ เพราะว่าข้อความของข้อ ๘๐ ๒ บรรทัดแรกไม่ได้แตกต่างจาก ๒ บรรทัดแรกของข้อ ๗๙ ดังนั้นผมคิดว่าลองร้อยเรียง ให้เกิดความสมบูรณ์ทั้งในเรื่องของการกระชับ กะทัดรัด แล้วก็อยู่ถูกที่ถูกทาง และครอบคลุมในความหมาย ต้องการที่จะกำกับไปถึงกรรมาธิการทั้งสามัญ วิสามัญ ก็เลยหารืออีกครั้งหนึ่งครับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม อลงกรณ์ กรรมาธิการ คงใช้สิทธิถามอีกครั้งเดียวครับ แต่ว่าเป็น ๒ คำถามด้วยกัน
คำถามแรก ก็คือในวรรคสามที่มีการยกร่างว่า ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภาสิบเจ็ดคณะ แต่ละคณะประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าสิบสามคน แต่ไม่เกินยี่สิบเก้าคน ประเด็นนี้เคยตั้งคำถามโดยกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ในสัดส่วนเป็นสมาชิก สปช. ไม่น้อยกว่า ๑๓ คน แต่ว่าไม่เกิน ๒๙ คน ส่วนบุคคลผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกไม่เกินจำนวน ๑ ใน ๔ ถ้าเป็นสัดส่วนอย่างนี้จะตอบโจทย์ ในเรื่องของเพื่อนสมาชิกเพื่อนผู้มีอุดมการณ์เดียวกันที่ต้องการเข้ามาเป็นสมาชิก สปช. ได้จำนวนประมาณสักเท่าไร ๒. ก็คือการคุมเสียงในส่วนนี้ของเราจะเป็นอย่างไร ถ้าหากว่า มีจำนวนถึง ๒๙ คนด้วยกัน
ประเด็นที่ ๒ ที่จะถามก็คือว่า ซึ่งคงให้กรรมาธิการช่วยกันตอบนะครับ ในกรณีของขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แน่นอนที่สุดต้องมีการปฏิรูป หลายด้าน อย่างน้อย ๑๐ บวก ๑ นะครับ แต่หนึ่งนั้นนี่ผมเข้าใจว่ากรรมาธิการยกร่างชุดเดิม ได้พยายามที่จะตอบโจทย์ให้ได้อย่างน้อย ๑๐ บวก ๑ ในสาขาต่าง ๆ แต่ประเด็นที่เป็นโจทย์ และทุกครั้งที่มีการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของเรานะครับ ไม่ว่าจะเป็นโดย ดับเบิลยูอีเอฟ (WEF) ก็ดี ของไอเอ็มดี (IMD) ก็ดี หรือของเวิลด์ แบงก์ (World Bank) ก็ดี ประเด็นหนึ่งที่ผมไม่เห็นในนี้นะครับ ขออภัยครับ แล้วก็อยากฟังว่าอยู่ที่กรรมาธิการชุดใด นั่นก็คือในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน ในเรื่องของอินฟราสตรัคเจอร์ (Infrastructure) ขออภัยที่ต้องกล่าวเป็นภาษาอังกฤษ แน่นอนจะมีเบสิค อินฟราสตรัคเจอร์ (Basic infrastructure) มีเทคโนโลจิคอล อินฟราสตรัคเจอร์ (Technological infrastructure) แล้วก็มีไซแอนติฟิค อินฟราสตรัคเจอร์ (Scientific infrastructure) จะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนครับ ส่วนที่เป็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีมีคำตอบ แต่ส่วนที่เป็นเบสิค อินฟราสตรัคเจอร์ และการจัดอันดับในปีล่าสุดของเรานี่ครับ ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของเราอยู่ในลำดับที่ หลัง ๆ มากทีเดียว ก็เพียงแต่ถามกรรมาธิการว่าในการจัดตรงนี้อยู่ในกรรมาธิการชุดใดนะครับ จริงอยู่อาจจะมีการเสนอให้มีการตั้งเพิ่มเติมได้ แต่ผมอยากให้คิดว่าการจัดลำดับความสำคัญ ต่อโจทย์ใหญ่ ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเรื่องดัชนีชี้วัดของสถาบันจัดอันดับ ขีดความสามารถในการแข่งขันแต่ละครั้ง แต่ละปีแล้วนี่มันมีความชัดเจนอยู่ในตัว ก็เลยขออนุญาตเรียนถามประเด็นนี้ครับ
เรียนท่านประธาน ท่านสมาชิก กระผมในฐานะของกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติและกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ต้องเรียนว่าขณะนี้มีท่านสมาชิกเสนอญัตติเป็น ๒ ญัตติ ๑. ก็คือขอให้เลื่อนไปพิจารณา คราวหน้า เนื่องจากว่ายังศึกษาอ่านเอกสารไม่ทัน ญัตติอีกญัตติหนึ่งก็คือขอให้เดินหน้า พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานที่เสนอในความเห็นเรื่องของการเปิด สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ กระผมใคร่ขอให้เหตุผลและข้อเท็จจริงบางประการ เพื่อประกอบการพิจารณาญัตติทั้งสองครับ การกำหนดวาระประชุมในเรื่องของการพิจารณา รายงานคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานนั้นเป็นมติของคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติ ทั้งนี้สืบเนื่องจากการหารือของท่านนายกรัฐมนตรีในระหว่างการประชุม แม่น้ำ ๕ สาย เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ และอีกอย่างน้อย ๒-๓ วาระ แม้จะไม่มีเอกสารเป็นทางการ แต่ว่าภายใต้การประชุมปรึกษาหารือที่เรียกว่าเป็น คอนซัลเตชัน มิตติง (Consultation meeting) ของแม่น้ำ ๕ สาย เมื่อ ๑๘ พฤศจิกายนนั้น ทำให้ในส่วนของ สปช. เองก็ได้มีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นพิจารณา ในส่วนกรรมาธิการปฏิรูป พลังงานนั้นก็ได้มีการประชุมอย่างต่อเนื่องเป็นการเฉพาะกรณีเรื่องของการเปิดสัมปทาน ปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ภายใต้ข้อหารือ ฝากหารือของท่านนายกรัฐมนตรีโดยผ่าน ท่านประธาน สปช. การใช้เวลาดังกล่าวนั้นความจริงแล้วจะต้องสรุปมีความเห็นภายใน ปี ๒๕๕๗ แต่เนื่องจากทางคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเห็นว่าเรื่องนี้ยังรับฟังข้อมูล ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ยังไม่รอบด้านเพียงพอ จึงได้มีความเห็นว่าขอเวลาอีก ๑๕ วัน คือกลางเดือนมกราคม ๒๕๕๘ ก็จะสรุปรายงานส่งให้ที่ประชุม สปช. ได้พิจารณา ดังนั้นเมื่อมี การประชุมเมื่อบ่ายวันพุธที่แล้วของคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติจึงได้มี ความเห็นว่ากำหนดการที่ล่วงเลยมา แล้วเราขอเลื่อนเวลาของการเสนอความเห็น ข้อปรึกษาหารือของท่านนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้นั้นไม่ควรจะเกินวันที่ ๑๕ อีกแล้ว จึงได้มีมติและให้ผมได้ประสานงานกับท่านประธานและเลขานุการคณะกรรมาธิการ ปฏิรูปพลังงาน ซึ่งได้รับการยืนยันว่าจะมีการประชุมในวันจันทร์ก็คือเมื่อวานนี้ ขณะเดียวกัน ก็เตรียมเอกสารในการที่จะส่งให้สมาชิกในเบื้องต้นได้ จากนั้นก็เป็นกระบวนการที่ดำเนินการมา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นเพียงข้อมูลข้อเท็จจริงที่เรียนรายงานให้กับบรรดาท่านสมาชิกได้ทราบ พร้อมกันนั้นก็ขึ้นกับความเห็นของท่านสมาชิกว่าจะขอเวลาในการเลื่อนพิจารณาไป ในคราวหน้า หรือจะเป็นไปตามญัตติที่มีสมาชิกเสนอว่าจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ในวันนี้ ขอบพระคุณครับ
เรียนท่านประธาน ท่านสมาชิก กระผมในฐานะของกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติและกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ต้องเรียนว่าขณะนี้มีท่านสมาชิกเสนอญัตติเป็น ๒ ญัตติ ๑. ก็คือขอให้เลื่อนไปพิจารณา คราวหน้า เนื่องจากว่ายังศึกษาอ่านเอกสารไม่ทัน ญัตติอีกญัตติหนึ่งก็คือขอให้เดินหน้า พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานที่เสนอในความเห็นเรื่องของการเปิด สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ กระผมใคร่ขอให้เหตุผลและข้อเท็จจริงบางประการ เพื่อประกอบการพิจารณาญัตติทั้งสองครับ การกำหนดวาระประชุมในเรื่องของการพิจารณา รายงานคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานนั้นเป็นมติของคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติ ทั้งนี้สืบเนื่องจากการหารือของท่านนายกรัฐมนตรีในระหว่างการประชุม แม่น้ำ ๕ สาย เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ และอีกอย่างน้อย ๒-๓ วาระ แม้จะไม่มีเอกสารเป็นทางการ แต่ว่าภายใต้การประชุมปรึกษาหารือที่เรียกว่าเป็น คอนซัลเตชัน มิตติง (Consultation meeting) ของแม่น้ำ ๕ สาย เมื่อ ๑๘ พฤศจิกายนนั้น ทำให้ในส่วนของ สปช. เองก็ได้มีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นพิจารณา ในส่วนกรรมาธิการปฏิรูป พลังงานนั้นก็ได้มีการประชุมอย่างต่อเนื่องเป็นการเฉพาะกรณีเรื่องของการเปิดสัมปทาน ปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ภายใต้ข้อหารือ ฝากหารือของท่านนายกรัฐมนตรีโดยผ่าน ท่านประธาน สปช. การใช้เวลาดังกล่าวนั้นความจริงแล้วจะต้องสรุปมีความเห็นภายใน ปี ๒๕๕๗ แต่เนื่องจากทางคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเห็นว่าเรื่องนี้ยังรับฟังข้อมูล ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ยังไม่รอบด้านเพียงพอ จึงได้มีความเห็นว่าขอเวลาอีก ๑๕ วัน คือกลางเดือนมกราคม ๒๕๕๘ ก็จะสรุปรายงานส่งให้ที่ประชุม สปช. ได้พิจารณา ดังนั้นเมื่อมี การประชุมเมื่อบ่ายวันพุธที่แล้วของคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติจึงได้มี ความเห็นว่ากำหนดการที่ล่วงเลยมา แล้วเราขอเลื่อนเวลาของการเสนอความเห็น ข้อปรึกษาหารือของท่านนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้นั้นไม่ควรจะเกินวันที่ ๑๕ อีกแล้ว จึงได้มีมติและให้ผมได้ประสานงานกับท่านประธานและเลขานุการคณะกรรมาธิการ ปฏิรูปพลังงาน ซึ่งได้รับการยืนยันว่าจะมีการประชุมในวันจันทร์ก็คือเมื่อวานนี้ ขณะเดียวกัน ก็เตรียมเอกสารในการที่จะส่งให้สมาชิกในเบื้องต้นได้ จากนั้นก็เป็นกระบวนการที่ดำเนินการมา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นเพียงข้อมูลข้อเท็จจริงที่เรียนรายงานให้กับบรรดาท่านสมาชิกได้ทราบ พร้อมกันนั้นก็ขึ้นกับความเห็นของท่านสมาชิกว่าจะขอเวลาในการเลื่อนพิจารณาไป ในคราวหน้า หรือจะเป็นไปตามญัตติที่มีสมาชิกเสนอว่าจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป ในวันนี้ ขอบพระคุณครับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายอลงกรณ์ พลบุตร ในฐานะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน กรรมาธิการเสียงข้างน้อย ที่ได้สงวนความเห็นต่อกรณีของความเห็นที่มีต่อการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ความจริงแนวทางที่กระผมได้นำเสนอนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นข้อเสนอที่ ๔ นอกเหนือจากที่ คณะกรรมาธิการได้มีการนำเสนอใน ๓ ทางเลือก
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายอลงกรณ์ พลบุตร ในฐานะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน กรรมาธิการเสียงข้างน้อย ที่ได้สงวนความเห็นต่อกรณีของความเห็นที่มีต่อการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ความจริงแนวทางที่กระผมได้นำเสนอนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นข้อเสนอที่ ๔ นอกเหนือจากที่ คณะกรรมาธิการได้มีการนำเสนอใน ๓ ทางเลือก
ทางเลือกที่ ๑ นั้นเป็นข้อเสนอให้เดินหน้าการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ ๒๑ ตามแผนงานที่ดำเนินการอยู่ขณะนี้ ซึ่งได้มีการเปิดรับข้อเสนอตั้งแต่ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เป็นเวลา ๑๒๐ วัน ก็จะสิ้นสุดในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้
ทางเลือกที่ ๑ นั้นเป็นข้อเสนอให้เดินหน้าการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ ๒๑ ตามแผนงานที่ดำเนินการอยู่ขณะนี้ ซึ่งได้มีการเปิดรับข้อเสนอตั้งแต่ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เป็นเวลา ๑๒๐ วัน ก็จะสิ้นสุดในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้
ทางเลือกที่ ๒ ก็คือให้เปลี่ยนมาใช้ในระบบการแบ่งปันผลผลิตหรือที่เรียกว่า โพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ หรือว่าพีเอสซี
ทางเลือกที่ ๒ ก็คือให้เปลี่ยนมาใช้ในระบบการแบ่งปันผลผลิตหรือที่เรียกว่า โพรดักชัน แชริง คอนแทรกต์ หรือว่าพีเอสซี
ข้อเสนอทางเลือกที่ ๓ ก็คือการที่ให้เดินหน้าการเปิดสัมปทานดังกล่าวนั้น โดยที่ในครั้งต่อ ๆ ไปก็ให้ดำเนินการในการพิจารณาศึกษาในระบบของการแบ่งปันผลผลิต
ข้อเสนอทางเลือกที่ ๓ ก็คือการที่ให้เดินหน้าการเปิดสัมปทานดังกล่าวนั้น โดยที่ในครั้งต่อ ๆ ไปก็ให้ดำเนินการในการพิจารณาศึกษาในระบบของการแบ่งปันผลผลิต
ส่วนข้อเสนอที่ ๔ ที่กระผมได้เสนอและสงวนความเห็น เพราะว่ากรรมาธิการ เสียงข้างมากนั้นยังยืนยันในความเห็นเดิม ก็ด้วยสมมุติฐานและหลักคิด หลักการที่แตกต่าง ข้อเสนอของกระผมนั้นก็คือว่า เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาและโอกาสของประเทศให้เดินหน้า ไม่ต้องรอ ก็คือการเดินหน้าในการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ แต่ความแตกต่าง อยู่ตรงที่ว่าให้แบ่งรอบสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ นั้นเป็น ๒ ระยะด้วยกัน
ส่วนข้อเสนอที่ ๔ ที่กระผมได้เสนอและสงวนความเห็น เพราะว่ากรรมาธิการ เสียงข้างมากนั้นยังยืนยันในความเห็นเดิม ก็ด้วยสมมุติฐานและหลักคิด หลักการที่แตกต่าง ข้อเสนอของกระผมนั้นก็คือว่า เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาและโอกาสของประเทศให้เดินหน้า ไม่ต้องรอ ก็คือการเดินหน้าในการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ แต่ความแตกต่าง อยู่ตรงที่ว่าให้แบ่งรอบสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ นั้นเป็น ๒ ระยะด้วยกัน
ระยะที่ ๑ ก็คือเป็นขั้นตอนการเจาะสำรวจ ซึ่งควรจะเป็นสัญญาที่ ๑ การเจาะสำรวจนั้นอย่างที่ท่านกรรมาธิการได้นำเสนอต่อที่ประชุมว่า ตอนนำเสนอข้อเสนอนั้น ก็อยู่ที่ประมาณ ๖ ปี ขณะเดียวกันควรจะมีการแยกออกมาเป็นสัญญาที่ ๒ คือสัญญาผลิต และจำหน่าย เพราะฉะนั้นด้วยข้อเสนอดังกล่าวนั้นก็เท่ากับว่าเป็นการสนองตอบต่อคำตอบ ทุกคำตอบครับ กรรมาธิการเสียงข้างมากนั้นมีความกังวลอย่างยิ่ง และผมก็เห็นด้วยว่า เรารอจากการเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๑ จนมาถึงวันนี้เป็นเวลา ๗ ปี โดยปกติแล้วตั้งแต่ ปี ๒๕๑๔ เรามีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมมา ๒๐ ครั้งด้วยกัน เฉลี่ยแล้วก็ประมาณ ๒ ปี ต่อการเปิด ๑ รอบ คราวนี้ยาวนานกว่าทุกครั้ง ๗ ปี และถ้าหากว่าจะเนิ่นช้าไปกว่านี้ ก็จะมีปัญหาต่อความมั่นคงด้านพลังงานโดยเฉพาะในเรื่องออยล์ แอนด์ แก๊ส (Oil and gas) และภายใต้ภาวะผันผวนของสถานการณ์ของตลาดโลกทางด้านของพลังงานในปัจจุบัน ซึ่งยังเล็งเห็นได้ว่าในอนาคตความผันผวนของสถานการณ์ดังกล่าวนั้นก็ยังจะดำเนินอยู่ต่อไป เพราะในทางเลือกที่ ๔ นั้นก็คือว่าเดินหน้าเปิดรอบ ๒๑ แต่ว่าออกแบบใหม่ ออกแบบเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ เดินหน้าเลยในเรื่องการสำรวจและขุดเจาะ คราวนี้มีทั้งหมด ๒๙ แปลง ด้วยกัน ๒๓ แปลงเป็นบนบก อีก ๖ แปลงเป็นในทะเล ๒๓ แปลงบนบกนั้นอยู่ในภาคกลาง ๖ แปลง อยู่ในภาคอื่น ๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนืออีก ๑๗ แปลงด้วยกัน นี่เรียกว่า เป็นออนชอร์ (Onshore) ส่วนออฟชอร์ (Offshore) ก็มีอยู่ด้วยกัน ๖ แปลง เท่าที่มี การประเมินและยืนยันจากการเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะในส่วนภาครัฐมาก็ยืนยันว่า ถ้ามีผู้ยื่นเสนอที่จะเข้ารับสัมปทานปิโตรเลียมรอบ ๒๑ นั้น ทั้ง ๒๙ แปลงก็จะมีเงินลงทุน ประมาณ ๕,๐๐๐ ล้านบาทโดยอนุโลม ก็หมายความว่า ๑. ถ้าหากว่ารัฐจะลงทุน ในการสำรวจขุดเจาะก็จะใช้เงินลงทุนเทียบเท่ากับการประเมินก็คือ ๕,๐๐๐ ล้านบาท ไม่เกินไปกว่านั้น แต่ถ้าจะเลือกแปลงสัมปทานที่มีศักยภาพก็อาจจะใช้เพียงครึ่งเดียวคือ ๒,๕๐๐ ล้านบาท นี่คือการลงทุนภาครัฐ ถามบอกว่าคุ้ม ไม่คุ้ม และอัตราความเสี่ยง มีมากน้อยแค่ไหนอยู่ที่ความสามารถของหน่วยงานของรัฐในการที่จะเลือกแปลงสัมปทาน ทั้งบนบกหรือในทะเลที่มีศักยภาพ รัฐมีสิทธิเลือกก่อนก็เลือก จะเป็นลักษณะของการจ้าง การสำรวจและขุดเจาะก็ทำได้ทันที หรือจะเป็นการร่วมลงทุน หรือข้อเสนอ
ระยะที่ ๑ ก็คือเป็นขั้นตอนการเจาะสำรวจ ซึ่งควรจะเป็นสัญญาที่ ๑ การเจาะสำรวจนั้นอย่างที่ท่านกรรมาธิการได้นำเสนอต่อที่ประชุมว่า ตอนนำเสนอข้อเสนอนั้น ก็อยู่ที่ประมาณ ๖ ปี ขณะเดียวกันควรจะมีการแยกออกมาเป็นสัญญาที่ ๒ คือสัญญาผลิต และจำหน่าย เพราะฉะนั้นด้วยข้อเสนอดังกล่าวนั้นก็เท่ากับว่าเป็นการสนองตอบต่อคำตอบ ทุกคำตอบครับ กรรมาธิการเสียงข้างมากนั้นมีความกังวลอย่างยิ่ง และผมก็เห็นด้วยว่า เรารอจากการเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๑ จนมาถึงวันนี้เป็นเวลา ๗ ปี โดยปกติแล้วตั้งแต่ ปี ๒๕๑๔ เรามีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมมา ๒๐ ครั้งด้วยกัน เฉลี่ยแล้วก็ประมาณ ๒ ปี ต่อการเปิด ๑ รอบ คราวนี้ยาวนานกว่าทุกครั้ง ๗ ปี และถ้าหากว่าจะเนิ่นช้าไปกว่านี้ ก็จะมีปัญหาต่อความมั่นคงด้านพลังงานโดยเฉพาะในเรื่องออยล์ แอนด์ แก๊ส (Oil and gas) และภายใต้ภาวะผันผวนของสถานการณ์ของตลาดโลกทางด้านของพลังงานในปัจจุบัน ซึ่งยังเล็งเห็นได้ว่าในอนาคตความผันผวนของสถานการณ์ดังกล่าวนั้นก็ยังจะดำเนินอยู่ต่อไป เพราะในทางเลือกที่ ๔ นั้นก็คือว่าเดินหน้าเปิดรอบ ๒๑ แต่ว่าออกแบบใหม่ ออกแบบเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ เดินหน้าเลยในเรื่องการสำรวจและขุดเจาะ คราวนี้มีทั้งหมด ๒๙ แปลง ด้วยกัน ๒๓ แปลงเป็นบนบก อีก ๖ แปลงเป็นในทะเล ๒๓ แปลงบนบกนั้นอยู่ในภาคกลาง ๖ แปลง อยู่ในภาคอื่น ๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนืออีก ๑๗ แปลงด้วยกัน นี่เรียกว่า เป็นออนชอร์ (Onshore) ส่วนออฟชอร์ (Offshore) ก็มีอยู่ด้วยกัน ๖ แปลง เท่าที่มี การประเมินและยืนยันจากการเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะในส่วนภาครัฐมาก็ยืนยันว่า ถ้ามีผู้ยื่นเสนอที่จะเข้ารับสัมปทานปิโตรเลียมรอบ ๒๑ นั้น ทั้ง ๒๙ แปลงก็จะมีเงินลงทุน ประมาณ ๕,๐๐๐ ล้านบาทโดยอนุโลม ก็หมายความว่า ๑. ถ้าหากว่ารัฐจะลงทุน ในการสำรวจขุดเจาะก็จะใช้เงินลงทุนเทียบเท่ากับการประเมินก็คือ ๕,๐๐๐ ล้านบาท ไม่เกินไปกว่านั้น แต่ถ้าจะเลือกแปลงสัมปทานที่มีศักยภาพก็อาจจะใช้เพียงครึ่งเดียวคือ ๒,๕๐๐ ล้านบาท นี่คือการลงทุนภาครัฐ ถามบอกว่าคุ้ม ไม่คุ้ม และอัตราความเสี่ยง มีมากน้อยแค่ไหนอยู่ที่ความสามารถของหน่วยงานของรัฐในการที่จะเลือกแปลงสัมปทาน ทั้งบนบกหรือในทะเลที่มีศักยภาพ รัฐมีสิทธิเลือกก่อนก็เลือก จะเป็นลักษณะของการจ้าง การสำรวจและขุดเจาะก็ทำได้ทันที หรือจะเป็นการร่วมลงทุน หรือข้อเสนอ
อีกประการก็คือว่าให้เอกชนยื่นข้อเสนอในการสำรวจและขุดเจาะโดยมี ออพชัน (Option) ครับ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อภาคเอกชนที่มาลงทุนในการขุดเจาะ สำรวจว่า ภายหลังที่ขุดเจาะสำรวจแล้วคราวนี้จะทราบของจริงละครับว่าจะเป็นแปลงใหญ่ หรือแปลงเล็ก เมื่อทราบศักยภาพของแต่ละหลุม ไม่ว่าจะเป็นแก๊สหรือน้ำมันก็ตาม ก็จะมี การกำหนดรูปแบบสัมปทานผลตอบแทนที่เหมาะสม ก็ต้องอ้างอิงถึงบราซิล โมเดล ประเทศบราซิลเป็นประเทศที่มาค้นพบแหล่งออยล์ แอนด์ แก๊ส ในช่วงระยะหลัง ท่านจำได้นะครับ ปี ๒๕๑๗ บราซิลเป็นประเทศที่เริ่มผลผลิตเอทานอล (Ethanol) เป็นประเทศแรก แล้วก็ใช้เป็นน้ำมันพื้นฐานของประเทศตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ แต่เขาโชคดี ที่วันหนึ่งเขาเจอแหล่งน้ำมันในทะเล แหล่งออยล์ แอนด์ แก๊สในทะเล บราซิลตัดสินใจที่จะใช้ ระบบแบบยืดหยุ่น โดยคิดถึงผลประโยชน์ของประเทศ ความเป็นธรรมของการลงทุน ภาคเอกชน และที่สำคัญความมั่นคงของการเป็นเจ้าของทรัพยากร โดยการใช้ ๒ ระบบครับ ทั้งรูปแบบตอบแทนผลประโยชน์ในรูปสัมปทานคอนเซสชันอย่างที่ประเทศไทยใช้มาตั้งแต่ ปี ๒๕๑๔ พร้อมกันนั้นก็ใช้ระบบของการแบ่งปันผลผลิตที่เรียกว่าพีเอสซี โดยคำนึงถึง หลักเกณฑ์ว่าถ้าเป็นแหล่งใหญ่มีศักยภาพให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตพีเอสซี แต่ถ้าเป็น แปลงเล็กศักยภาพต่ำก็ใช้ระบบสัมปทาน เราสามารถออกแบบได้ทั้งสิ้นครับ ความสามารถ ของภาครัฐ ภาคเอกชนไทยในด้านของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมนั้นเราไม่ได้เป็นสอง รองจากใครนะครับ ไม่อย่างนั้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไม่อยู่ใน ๑ ใน ๕๐๐ ของฟอร์จูน (Fortune) ไม่อยู่ในเกณฑ์ของบริษัทที่มีศักยภาพ และความใหญ่โตของธุรกิจ อยู่ในระดับชั้นนำ ไม่ใช่แค่อาเซียน แต่อยู่ในแรงกิง (Ranking) ของระดับโลกทีเดียว กระทรวงพลังงานของเรานั้นต้องยอมรับว่ามีความก้าวหน้า เรามีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะในส่วนของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติครับ ผมได้ติดตามมาแล้วก็ได้รับ การชื่นชมว่าบุคลากรของเรา โดยเฉพาะในส่วนของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ดูแลในเรื่อง ปิโตรเลียมสัมปทานเหล่านี้นั้นถือว่าเป็นกรมชั้นนำครับ ทั้งในด้านองค์ความรู้และตัวบุคลากร นี่เป็นการให้ข้อคิดเห็นจากบริษัทในระดับโลกที่เขาได้มาทำงานในประเทศไทย เพราะฉะนั้น เราต้องเชื่อมั่นว่าความสามารถของหน่วยงานรัฐของเรา หรือว่ารัฐวิสาหกิจของเรา มีศักยภาพพอที่จะออกแบบและดำเนินการ แล้วเราจะตัดสินอย่างไร ตัดสินเมื่อไร ว่าเราจะเลือกแบบไหน ผมไม่ข้องใจในการพิจารณาของกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานนะครับ ไม่ว่าในส่วนของภาคประชาสังคมที่มีแนวคิดในด้านหนึ่งที่เรียกว่าสกูล ออฟ ทอท (School of thought) ก็อยู่อีกด้านหนึ่ง ในส่วนของกรรมาธิการเสียงข้างมาก ซึ่งแน่นอนก็มี แบคกราวด์ (Background) มีสายสัมพันธ์ มีความผูกพัน มีประสบการณ์ มีทักษะความรู้ ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ผมไม่เคยสงสัยข้อตั้งใจของท่านเหล่านั้น เชื่อว่าท่านยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นสำคัญ เพียงแต่วิธีการเห็นแตกต่างกัน ผมได้สดับตรับฟังตลอดเวลาอย่างน้อย ๒ เดือน และก่อนหน้านั้นก็ติดตามในเรื่อง การประชุมสัมมนาของฝ่ายต่าง ๆ ในที่สุดแล้วก็เห็นประเด็นว่าในเมื่อรอบที่ ๒๐ ที่ผ่านมา เรามีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๐ ปรากฏทั้งหมด ๑๙ แปลง พบ ๑ แปลง อีก ๑๘ แปลงที่เหลือก็เอามาใส่อยู่ในรอบที่ ๒๑ เอาว่า ๑๗ แปลง ๑๘ แปลง บวกกับของใหม่ รวมแล้วก็ ๒๙ แปลง แล้วใน ๒๙ แปลงอย่างที่เรียนว่าส่วนใหญ่เป็นแก๊สครับ และรู้ศักยภาพ พอสมควรว่ามีศักยภาพพอสมควรด้วย โดยเฉพาะที่อยู่บนบก อยู่ออนชอร์ ถ้าเป็นเช่นนี้ มันพอที่จะตัดสินใจในเบื้องต้นว่าถึงเวลาที่เราจะต้องใช้แนวคิดปฏิรูปเป็นแนวคิดหลัก ในการที่จะตัดสินใจและนำเสนอความเห็นเหล่านี้ให้กับทางรัฐบาลเพื่อประกอบการพิจารณา ต่อไป ประเด็นเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานก็ได้รับการตอบโจทย์ ประเด็นในเรื่องของการที่ ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ก็มีเวลาพอ ขณะเดียวกันความมั่นใจในการทบทวนคำว่า ทรัพยากรธรรมชาติก็จะได้รับการยืนยัน ไม่ว่าในระบบของการแบ่งปันหรือระบบของ สัมปทานเดิม ท่านประธานที่เคารพครับ ถ้าในข้อเสนอทางเลือกที่ ๔ นั้นทำไม่ยากเลย เราอาจใช้เวลาอีก ประมาณสัก ๑ เดือนในการที่จะมาออกแบบ ถ้าตัดสินใจว่าเราจะแบ่งระยะเวลาจากนี้ ในเรื่องของการให้สัมปทานด้วยการแบ่งออกเป็นช่วงของการสำรวจขุดเจาะก็ต้องตัดสินใจว่า จะใช้รูปแบบว่ารัฐลงทุนเลือกแปลงที่มีศักยภาพมากที่สุด อย่าลืมนะครับว่าการสำรวจ รอบที่ ๒๐ ที่ให้สัมปทานไป ๑๙ แปลง พบ ๑ แปลงนี่ครับ คราวนี้ ๒๙ แปลงถามว่า เราจะต้องสำรวจขุดเจาะทุกแปลงหรือไม่ ไม่จำเป็น ภาครัฐที่เป็นผู้เสนอข้อมูลทั้งหลายนั้น มีข้อมูลพื้นฐานพอสมควรในการจัดลำดับแปลงที่เราจะเลือกก่อน ในขณะเดียวกันก็สามารถ พิจารณาในอีกทางหนึ่งได้ว่าก็ให้เอกชนเป็นคนเจาะสำรวจใช้อัตราความเสี่ยงเอง ในกรณีนี้ ก็มีออพชันครับ เพราะแม้แต่ในข้อกำหนดเงื่อนไขในการเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ นั้น ก็มีเงื่อนไขอยู่แล้วว่า รัฐสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการเปิดสัมปทานดังกล่าวได้ ในภายหลัง เพราะเราไม่ผูกพันตัวเองถึงขั้นที่ไม่มีความยืดหยุ่นและปิดโอกาสสิทธิของรัฐ ในการที่จะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข แต่ถ้าเราคำนึงว่าในยุคของการที่เราต้องปฏิรูปนั้น มันต้องคิดใหม่บ้างครับ ผมยอมรับเลยว่าตั้งแต่ได้มีการพิจารณาเรื่องนี้มานั้น ปี ๒๕๑๔ มาถึงวันนี้ ๔๔ ปีครับ ๔๔ ปีที่เราอยู่ภายใต้ระบบเดิม แล้วทุกครั้งที่จะเกิดระบบ ความคิดใหม่ขึ้นมาก็บอกว่าเราไม่มีข้อมูลเลย เหมือนอย่างที่กรรมาธิการเสียงข้างมาก ได้ชี้แจงว่าเราไม่มีข้อมูล เราไม่คุ้นกับระบบใหม่ ไม่คุ้นกับข้อเสนอใหม่ ไม่มีหลักทางวิชาการ หลักทางข้อเท็จจริงในประเทศมาพิสูจน์ เพราะฉะนั้นเราก็อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมของเรา และภายใต้กฎหมายที่ล้าหลังซึ่งจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขได้แล้ว แต่กลับกลายเป็น ตัวบทกฎหมายที่ยังเป็นข้ออ้างประการหนึ่งว่าเราก้าวข้ามไม่ได้ แต่แนวคิดปฏิรูปนั้นต้องมา วางเป้าหมายไว้ข้างหน้า ข้อกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ต้องเป็นปัญหารองครับ จะต้องไม่เอา ข้อตัวบทกฎหมายมาเป็นอุปสรรคขวางกั้นความคิดและเจตนารมณ์ของการปฏิรูป ผมไม่เคย รับฟังเลยนะครับ กรณีที่เวลาที่คิดถึงเรื่องการปฏิรูปแล้วนี่ไม่เคยมองถึงข้อจำกัด ด้านกฎหมายและข้อระเบียบ หรือแม้แต่เรื่องของกระบวนการบริหารราชการ เราตั้งเป้าหมายไว้อย่างนี้ คิดว่าจะไปสู่เป้าหมายได้อย่างไรที่เป็นประโยชน์ที่สุด แต่ว่าเป้าหมายตรงนี้คิดตรงกันว่าประโยชน์เพื่อประเทศชาติ ไม่ว่าฝ่ายข้างมากข้างน้อย เห็นตรงกัน เพียงแต่ว่าก้าวไม่ข้าม ยังคิดถึงอุปสรรค ดังนั้นประเด็นที่สำคัญก็คือว่า เรื่องของโอกาสและเวลาของประเทศรอไม่ได้ ข้อเสนอที่ ๔ ตรงกัน แต่กรณีที่สำคัญมากก็คือว่า ในการสำรวจขุดเจาะและผูกกับเรื่องของการให้สัมปทานในขณะนี้นั้น ในขณะที่มีข้อเสนอ ทั้งการรับฟังความคิดเห็นมาจากภาคีภาควิชาการ ประชาชน หรืออีกหลายเวทีก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ครับว่าวันนี้ประเทศไทยมี ๒ แนวคิดนี้ แนวคิดหนึ่งเดินหน้าเรื่องสัมปทาน เหมือนเดิม อีกแนวคิดหนึ่งบอกว่าต้องใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต เพราะเห็นว่ามันเป็น ทรัพยากรของชาติที่รัฐควรเป็นเจ้าของมีสิทธิ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่บางส่วน เช่น ในระบบ ของการสัมปทาน แต่ในแนวคิดปฏิรูปเราก็พยายามหาทางออกที่ดีที่สุด แนวทางที่ดีที่สุด และสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากแนวทางการปฏิรูปในข้อเสนอที่ ๔ คืออะไร คือการพัฒนาบุคลากร ของเราให้ก้าวมาสู่ความสามารถในการที่จะไปสู่การสำรวจขุดเจาะผลิต หรือการมีส่วนร่วม ไม่อย่างนั้นเราก็ยืมจมูกเขาหายใจโดยตลอด ๔๔ ปีมาแล้ว วันข้างหน้าก็ใช้ระบบนี้ต่อไป แม้ว่าจะมีการเสนอในทางเลือกที่ ๓ บอกว่าเดินหน้าไปก่อนแล้วคราวหน้าค่อยศึกษาว่าจะใช้ ระบบอื่น เช่น ระบบพีเอสซี แต่การเดินหน้าครั้งนี้มัน ๓๙ ปีนะครับ ๓๙ ปี ผมไม่แน่ใจว่า ในที่นี้พวกเราจะมีใครยังอยู่ถึงวันนั้นหรือเปล่า ก็ค่อนข้างมั่นใจว่าดูเกณฑ์เฉลี่ยอายุของ พวกเราก็ค่อนข้างยาก เพราะหลักคิดเรื่องปฏิรูปจึงสำคัญมาก และผมก็เห็นใจนะครับ ในส่วนที่เป็นข้าราชการในกระทรวงพลังงาน หรือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ หรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบอร์ดของเครือข่ายการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเขามีผลประโยชน์ในเรื่องของ การมีผลประโยชน์ และต้องรับผิดชอบด้วยต่อเรื่องของการจัดหาผลิตและจำหน่าย ทั้งในเรื่องของแก๊ส เรื่องน้ำมัน เรื่องอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่เขาไปลงทุนเป็นแสนแสนล้าน เรื่องโรงกลั่นน้ำมัน เรื่องการขายแก๊สเข้าสู่โรงไฟฟ้า แต่สมมุติฐานที่กรรมาธิการเสียงข้างมาก สรุปเป็นรายงานผมก็มีข้อโต้แย้ง และอยากที่จะแบ่งปันแนวคิดที่เห็นในมุมต่างว่าสมมุติฐาน ที่บอกมาทั้งหมดนั้นเป็นสมมุติฐานที่ย่ำเท้าอยู่กับที่ ท่านไม่ได้มองอนาคตข้างหน้าว่า วันนี้มันเป็นยุคปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้น วันนี้เราใช้แก๊สที่บอกว่าแก๊สจำเป็นมาก แก๊สนำเข้ามา ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าของพลังงานที่นำเข้า และจะเพิ่มมากขึ้นจนพูดถึงแต่ว่า จากแอลเอ็นจี แก๊สธรรมชาติเหลวที่ต้องขนจากกาตาร์มา ๑๖ เหรียญต่อ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บีทียู แพงกว่าที่เรามี หรือที่เราต้องซื้อจากแหล่งที่เราผลิตมา หรือแม้แต่จากพม่า จาก ๒๐๐ มาเป็น ๖,๐๐๐ อ่านแล้วน่าตกใจ เพราะอะไร เพราะมันอยู่บนสมมุติฐานที่บอกว่า การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นใช้แก๊สธรรมชาติในการเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าร้อยละ ๗๐ แต่อย่าลืมนะครับว่ายุคของการปฏิรูปเราเพิ่งมีมติส่งไป จะส่งให้คณะรัฐมนตรีในสัปดาห์นี้นั้น เรื่องของโซลาร์รูฟเสรี ซึ่งสามารถที่จะผลิตไฟฟ้าทดแทน คัต พีก (Cut peak) ได้อยู่ที่ ๑๐,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ เมกะวัตต์ นี่คือมิติใหม่ของการปฏิรูป นั่นหมายความว่าการใช้เชื้อเพลิง ในการที่จะไปผลิตไฟฟ้า โดยโรงงานไฟฟ้าที่ใช้แก๊สนั้นมีแนวโน้มไม่ได้มีอัตราเพิ่มอย่างที่ สมมุติฐานจากตัวเลขของเดิมข้อมูลเก่า เรากำลังจะศึกษาของการที่จะใช้รถไฟฟ้าทั้งในเมือง และต่างจังหวัดมากขึ้น ๆ แม้แต่ ปตท. เอง และอีกหลายหน่วยงาน แม้แต่การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วันนี้เริ่มมีการติดตั้งสถานีสำหรับชาร์จ (Charge) รถไฟฟ้าแล้ว นี่คือการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่ต้องเอามาประกอบในการพิจารณานำเสนอข้อเสนอ มิฉะนั้นจะดูน่ากลัวน่าตกใจในภาระของความรับผิดชอบที่จะมีต่อการจัดหาในเรื่องของแก๊ส และน้ำมัน ผมเชื่อว่าด้วยศักยภาพของบุคลากรของเรา ด้วยทุน ด้วยเทคโนโลยีในระดับหนึ่ง ของเราที่มีขณะนี้นั้นเรารับมือได้และไม่เสี่ยงเลยครับ การให้สัญญาของการสำรวจและ ขุดเจาะ ๕ หรือ ๖ ปีนั้น มีทางเลือกจะให้รัฐลงทุน ผมเชื่อว่าไม่เกิน ๒,๐๐๐ ล้านบาท หรือถ้ารัฐไม่ลงทุนก็ทำเป็นสัญญาประมูลจ้าง หรือว่าร่วมทุน และมีออพชัน หรือให้สัมปทาน การสำรวจขุดเจาะ แล้วก็มีออพชันว่าท่านขุดเจาะพบได้ว่าเป็นแหล่งอะไร ซึ่งกว่าจะถึงวันนั้น ๕-๖ ปี แต่จากวันนี้เราใช้เวลาไม่ถึง ๑ ปีในการที่จะดูให้รอบคอบ ที่เราบอกเราไม่ค่อยมีความรู้ ไม่ค่อยจะคุ้นเคยกับระบบใหม่ ๆ นั้น เราก็จะใช้เวลานี้เตรียมการให้พร้อม วางพื้นฐานใหม่ ของการปฏิรูปประเทศ และนำ ๒ ระบบมาใช้แบบที่บราซิลใช้ มันไม่ใช่เรื่องของการเอาชนะ แต่มันเป็นเรื่องที่เป็นชัยชนะของประเทศไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และไม่ใช่เรื่องที่จะละเลย ความคิดเห็น อาจจะบอกว่าความคิดเห็นภาคประชาชนนั้นสุดโต่ง แต่ผมก็รับฟังจาก นักวิชาการอิสระที่นำเสนอในเรื่องระบบพีเอสซี คือพอฟังจบผมก็แทบจะตัดสินใจบอก อย่างนั้นผมเอาระบบแบ่งปันผลผลิต แต่พอมาฟังทางฝ่าย ปตท. มาฝั่งทางด้านของ อุตสาหกรรม อย่างเชฟรอนก็มา จากบริษัทเอกชนที่ทำด้านอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและแก๊ส มานำเสนอ ฟังดูแล้วผมก็แทบจะต้องโหวตให้กับทางฝั่งนี้ แต่พอมาออกนอกห้องประชุม มันก็ต้องเอาซ้ายขวามาดู และท้ายที่สุดมันก็เห็นจุดอ่อนของทั้ง ๒ ส่วน และไม่ใช่ แนวความคิดที่ผมจะคิดเอง ผมก็เรียนกรรมาธิการเสียงข้างมากว่า มีอดีตรัฐมนตรีพลังงาน และระดับรัฐมนตรีอีก ๓-๔ ท่านได้แชร์ (Share) ความคิดกับผม แล้วก็เห็นว่าเราน่าแบ่งออกเป็น ๒ ระยะ ทำไมจะต้องผูกมัดตัวเองทั้งสำรวจขุดเจาะ แล้วก็เรื่องของการผลิตจำหน่าย ในรูปของข้อสัญญารวม วันนี้ขนาดว่ารอบ ๒๐ เสนอไป ๑๙ แปลง มี ๑ ราย มันมีอะไร จะต้องสูญเสียกว่านี้ถ้าใช้แนวคิดแบบเดิม ก็ ๒๙ แปลงมันอาจจะมีคนสนใจแค่ ๑ แปลง ๒ แปลง หรือ ๓ แปลง หรือ ๔ แปลง นั่นแสดงว่าระบบเดิมมันอาจจะไม่ได้ผลก็ได้ แต่ไม่มีใครบอกได้ว่าวันนี้สัมปทาน หรือว่าโพรดักชัน แชริง อะไรจะให้ผลประโยชน์สูงที่สุด ดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องให้ผลตอบแทนสูงที่สุดครับ แต่อยู่บนความเป็นธรรมของภาครัฐและเอกชน และประเทศชาติของเรา เพราะเสียงข้างมากก็ยอมรับ และในการชี้แจงก็ยอมรับกันว่า ในส่วนของความรู้ความเข้าใจในเรื่องพีเอสซีนั้นมีน้อยมาก แต่การตัดโอกาสในการพิจารณา ด้วยความไม่รู้ของเรา หรือความไม่มีข้อมูลเพียงพอของเรา มันไม่น่าจะใช่วิธีพิจารณาที่ดี ขณะเดียวกันถ้าจะกระโดดไปเลย บอกถ้าอย่างนั้นหยุดก่อนเถอะรอบที่ ๒๑ ผมก็มีความเห็นว่า หยุดไม่ได้ เพราะภายใต้สมมุติฐานในเรื่องของแหล่งสำรองจะเป็นพี ๑ พี ๒ นั้นมันค่อนข้าง ชัดเจน และภายใต้ความผันผวนของสถานการณ์โลกในเรื่องของออยล์ แอนด์ แก๊ส มันก็ต้อง พยายามสร้างความมั่นคงให้เร็วที่สุด หาที่ยืน ฐานยืนให้เร็วที่สุด รอบ ๒๑ จะเป็นฐานยืน แต่ฐานยืนตรงนี้ไม่จำเป็นจะต้องผูกมัดตัวเองถึงขั้นที่ว่าเมื่อมีเวลาแล้วสามารถแบ่งสัญญา เป็น ๒ ระยะได้ และการแบ่งสัญญาเป็น ๒ ระยะใช้เวลาแค่ไหนครับ ใช้เวลาไม่มากครับ ก็ออกแบบใหม่และตัดสินใจตรงนั้น รัฐลงทุนไว้ ๒,๐๐๐ ล้านบาท ๒,๕๐๐ ล้านบาท แล้วเลือกแปลงที่ดีที่สุด หรือเอกชนที่เสนอมาแล้ว ซึ่งวันนี้ไม่รู้เสนอมากี่รายนะครับ จะสิ้นสุดการยื่นข้อเสนอรอบ ๒๑ นี้วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ก็คุยนอกรอบกัน และสถานการณ์ ตอนนี้เป็นใจที่สุดครับ ค่าเช่า เครื่องมือขุดเจาะ ทีมขุดเจาะถูกที่สุดแล้วตอนนี้ เพราะมันเจ๊งกัน ทั่วโลกครับ ๓ ปีกว่าหาแท่นเจาะไม่ได้เลย หาแท่นผลิตไม่ได้เลย แต่วันนี้แทบจะเลหลัง เพราะหมดตัวกัน เพราะฉะนั้นถ้าเป็นเช่นนี้ผมคิดว่าเรามาออกแบบใหม่ดีไหม ท่านสมาชิกก็ต้องโปรดพิจารณา เพราะข้อมูลข้อเท็จจริงต่าง ๆ นั้นก็ต้องเรียนว่าภาคผนวกที่มีอยู่หนาในแต่ละด้านนั้น มีข้อมูลที่ดีพอสมควร และประกอบการพิจารณานำเสนอของในส่วนกรรมาธิการ เสียงข้างมากก็ดี ในส่วนของกรรมาธิการเสียงข้างน้อย และทางเลือกที่ ๔ ที่ผมนำเสนอ
อีกประการก็คือว่าให้เอกชนยื่นข้อเสนอในการสำรวจและขุดเจาะโดยมี ออพชัน (Option) ครับ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อภาคเอกชนที่มาลงทุนในการขุดเจาะ สำรวจว่า ภายหลังที่ขุดเจาะสำรวจแล้วคราวนี้จะทราบของจริงละครับว่าจะเป็นแปลงใหญ่ หรือแปลงเล็ก เมื่อทราบศักยภาพของแต่ละหลุม ไม่ว่าจะเป็นแก๊สหรือน้ำมันก็ตาม ก็จะมี การกำหนดรูปแบบสัมปทานผลตอบแทนที่เหมาะสม ก็ต้องอ้างอิงถึงบราซิล โมเดล ประเทศบราซิลเป็นประเทศที่มาค้นพบแหล่งออยล์ แอนด์ แก๊ส ในช่วงระยะหลัง ท่านจำได้นะครับ ปี ๒๕๑๗ บราซิลเป็นประเทศที่เริ่มผลผลิตเอทานอล (Ethanol) เป็นประเทศแรก แล้วก็ใช้เป็นน้ำมันพื้นฐานของประเทศตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ แต่เขาโชคดี ที่วันหนึ่งเขาเจอแหล่งน้ำมันในทะเล แหล่งออยล์ แอนด์ แก๊สในทะเล บราซิลตัดสินใจที่จะใช้ ระบบแบบยืดหยุ่น โดยคิดถึงผลประโยชน์ของประเทศ ความเป็นธรรมของการลงทุน ภาคเอกชน และที่สำคัญความมั่นคงของการเป็นเจ้าของทรัพยากร โดยการใช้ ๒ ระบบครับ ทั้งรูปแบบตอบแทนผลประโยชน์ในรูปสัมปทานคอนเซสชันอย่างที่ประเทศไทยใช้มาตั้งแต่ ปี ๒๕๑๔ พร้อมกันนั้นก็ใช้ระบบของการแบ่งปันผลผลิตที่เรียกว่าพีเอสซี โดยคำนึงถึง หลักเกณฑ์ว่าถ้าเป็นแหล่งใหญ่มีศักยภาพให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตพีเอสซี แต่ถ้าเป็น แปลงเล็กศักยภาพต่ำก็ใช้ระบบสัมปทาน เราสามารถออกแบบได้ทั้งสิ้นครับ ความสามารถ ของภาครัฐ ภาคเอกชนไทยในด้านของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมนั้นเราไม่ได้เป็นสอง รองจากใครนะครับ ไม่อย่างนั้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไม่อยู่ใน ๑ ใน ๕๐๐ ของฟอร์จูน (Fortune) ไม่อยู่ในเกณฑ์ของบริษัทที่มีศักยภาพ และความใหญ่โตของธุรกิจ อยู่ในระดับชั้นนำ ไม่ใช่แค่อาเซียน แต่อยู่ในแรงกิง (Ranking) ของระดับโลกทีเดียว กระทรวงพลังงานของเรานั้นต้องยอมรับว่ามีความก้าวหน้า เรามีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะในส่วนของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติครับ ผมได้ติดตามมาแล้วก็ได้รับ การชื่นชมว่าบุคลากรของเรา โดยเฉพาะในส่วนของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติที่ดูแลในเรื่อง ปิโตรเลียมสัมปทานเหล่านี้นั้นถือว่าเป็นกรมชั้นนำครับ ทั้งในด้านองค์ความรู้และตัวบุคลากร นี่เป็นการให้ข้อคิดเห็นจากบริษัทในระดับโลกที่เขาได้มาทำงานในประเทศไทย เพราะฉะนั้น เราต้องเชื่อมั่นว่าความสามารถของหน่วยงานรัฐของเรา หรือว่ารัฐวิสาหกิจของเรา มีศักยภาพพอที่จะออกแบบและดำเนินการ แล้วเราจะตัดสินอย่างไร ตัดสินเมื่อไร ว่าเราจะเลือกแบบไหน ผมไม่ข้องใจในการพิจารณาของกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานนะครับ ไม่ว่าในส่วนของภาคประชาสังคมที่มีแนวคิดในด้านหนึ่งที่เรียกว่าสกูล ออฟ ทอท (School of thought) ก็อยู่อีกด้านหนึ่ง ในส่วนของกรรมาธิการเสียงข้างมาก ซึ่งแน่นอนก็มี แบคกราวด์ (Background) มีสายสัมพันธ์ มีความผูกพัน มีประสบการณ์ มีทักษะความรู้ ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ผมไม่เคยสงสัยข้อตั้งใจของท่านเหล่านั้น เชื่อว่าท่านยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นสำคัญ เพียงแต่วิธีการเห็นแตกต่างกัน ผมได้สดับตรับฟังตลอดเวลาอย่างน้อย ๒ เดือน และก่อนหน้านั้นก็ติดตามในเรื่อง การประชุมสัมมนาของฝ่ายต่าง ๆ ในที่สุดแล้วก็เห็นประเด็นว่าในเมื่อรอบที่ ๒๐ ที่ผ่านมา เรามีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๐ ปรากฏทั้งหมด ๑๙ แปลง พบ ๑ แปลง อีก ๑๘ แปลงที่เหลือก็เอามาใส่อยู่ในรอบที่ ๒๑ เอาว่า ๑๗ แปลง ๑๘ แปลง บวกกับของใหม่ รวมแล้วก็ ๒๙ แปลง แล้วใน ๒๙ แปลงอย่างที่เรียนว่าส่วนใหญ่เป็นแก๊สครับ และรู้ศักยภาพ พอสมควรว่ามีศักยภาพพอสมควรด้วย โดยเฉพาะที่อยู่บนบก อยู่ออนชอร์ ถ้าเป็นเช่นนี้ มันพอที่จะตัดสินใจในเบื้องต้นว่าถึงเวลาที่เราจะต้องใช้แนวคิดปฏิรูปเป็นแนวคิดหลัก ในการที่จะตัดสินใจและนำเสนอความเห็นเหล่านี้ให้กับทางรัฐบาลเพื่อประกอบการพิจารณา ต่อไป ประเด็นเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานก็ได้รับการตอบโจทย์ ประเด็นในเรื่องของการที่ ข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ก็มีเวลาพอ ขณะเดียวกันความมั่นใจในการทบทวนคำว่า ทรัพยากรธรรมชาติก็จะได้รับการยืนยัน ไม่ว่าในระบบของการแบ่งปันหรือระบบของ สัมปทานเดิม ท่านประธานที่เคารพครับ ถ้าในข้อเสนอทางเลือกที่ ๔ นั้นทำไม่ยากเลย เราอาจใช้เวลาอีก ประมาณสัก ๑ เดือนในการที่จะมาออกแบบ ถ้าตัดสินใจว่าเราจะแบ่งระยะเวลาจากนี้ ในเรื่องของการให้สัมปทานด้วยการแบ่งออกเป็นช่วงของการสำรวจขุดเจาะก็ต้องตัดสินใจว่า จะใช้รูปแบบว่ารัฐลงทุนเลือกแปลงที่มีศักยภาพมากที่สุด อย่าลืมนะครับว่าการสำรวจ รอบที่ ๒๐ ที่ให้สัมปทานไป ๑๙ แปลง พบ ๑ แปลงนี่ครับ คราวนี้ ๒๙ แปลงถามว่า เราจะต้องสำรวจขุดเจาะทุกแปลงหรือไม่ ไม่จำเป็น ภาครัฐที่เป็นผู้เสนอข้อมูลทั้งหลายนั้น มีข้อมูลพื้นฐานพอสมควรในการจัดลำดับแปลงที่เราจะเลือกก่อน ในขณะเดียวกันก็สามารถ พิจารณาในอีกทางหนึ่งได้ว่าก็ให้เอกชนเป็นคนเจาะสำรวจใช้อัตราความเสี่ยงเอง ในกรณีนี้ ก็มีออพชันครับ เพราะแม้แต่ในข้อกำหนดเงื่อนไขในการเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ นั้น ก็มีเงื่อนไขอยู่แล้วว่า รัฐสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการเปิดสัมปทานดังกล่าวได้ ในภายหลัง เพราะเราไม่ผูกพันตัวเองถึงขั้นที่ไม่มีความยืดหยุ่นและปิดโอกาสสิทธิของรัฐ ในการที่จะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข แต่ถ้าเราคำนึงว่าในยุคของการที่เราต้องปฏิรูปนั้น มันต้องคิดใหม่บ้างครับ ผมยอมรับเลยว่าตั้งแต่ได้มีการพิจารณาเรื่องนี้มานั้น ปี ๒๕๑๔ มาถึงวันนี้ ๔๔ ปีครับ ๔๔ ปีที่เราอยู่ภายใต้ระบบเดิม แล้วทุกครั้งที่จะเกิดระบบ ความคิดใหม่ขึ้นมาก็บอกว่าเราไม่มีข้อมูลเลย เหมือนอย่างที่กรรมาธิการเสียงข้างมาก ได้ชี้แจงว่าเราไม่มีข้อมูล เราไม่คุ้นกับระบบใหม่ ไม่คุ้นกับข้อเสนอใหม่ ไม่มีหลักทางวิชาการ หลักทางข้อเท็จจริงในประเทศมาพิสูจน์ เพราะฉะนั้นเราก็อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมของเรา และภายใต้กฎหมายที่ล้าหลังซึ่งจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขได้แล้ว แต่กลับกลายเป็น ตัวบทกฎหมายที่ยังเป็นข้ออ้างประการหนึ่งว่าเราก้าวข้ามไม่ได้ แต่แนวคิดปฏิรูปนั้นต้องมา วางเป้าหมายไว้ข้างหน้า ข้อกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ต้องเป็นปัญหารองครับ จะต้องไม่เอา ข้อตัวบทกฎหมายมาเป็นอุปสรรคขวางกั้นความคิดและเจตนารมณ์ของการปฏิรูป ผมไม่เคย รับฟังเลยนะครับ กรณีที่เวลาที่คิดถึงเรื่องการปฏิรูปแล้วนี่ไม่เคยมองถึงข้อจำกัด ด้านกฎหมายและข้อระเบียบ หรือแม้แต่เรื่องของกระบวนการบริหารราชการ เราตั้งเป้าหมายไว้อย่างนี้ คิดว่าจะไปสู่เป้าหมายได้อย่างไรที่เป็นประโยชน์ที่สุด แต่ว่าเป้าหมายตรงนี้คิดตรงกันว่าประโยชน์เพื่อประเทศชาติ ไม่ว่าฝ่ายข้างมากข้างน้อย เห็นตรงกัน เพียงแต่ว่าก้าวไม่ข้าม ยังคิดถึงอุปสรรค ดังนั้นประเด็นที่สำคัญก็คือว่า เรื่องของโอกาสและเวลาของประเทศรอไม่ได้ ข้อเสนอที่ ๔ ตรงกัน แต่กรณีที่สำคัญมากก็คือว่า ในการสำรวจขุดเจาะและผูกกับเรื่องของการให้สัมปทานในขณะนี้นั้น ในขณะที่มีข้อเสนอ ทั้งการรับฟังความคิดเห็นมาจากภาคีภาควิชาการ ประชาชน หรืออีกหลายเวทีก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ครับว่าวันนี้ประเทศไทยมี ๒ แนวคิดนี้ แนวคิดหนึ่งเดินหน้าเรื่องสัมปทาน เหมือนเดิม อีกแนวคิดหนึ่งบอกว่าต้องใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต เพราะเห็นว่ามันเป็น ทรัพยากรของชาติที่รัฐควรเป็นเจ้าของมีสิทธิ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่บางส่วน เช่น ในระบบ ของการสัมปทาน แต่ในแนวคิดปฏิรูปเราก็พยายามหาทางออกที่ดีที่สุด แนวทางที่ดีที่สุด และสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากแนวทางการปฏิรูปในข้อเสนอที่ ๔ คืออะไร คือการพัฒนาบุคลากร ของเราให้ก้าวมาสู่ความสามารถในการที่จะไปสู่การสำรวจขุดเจาะผลิต หรือการมีส่วนร่วม ไม่อย่างนั้นเราก็ยืมจมูกเขาหายใจโดยตลอด ๔๔ ปีมาแล้ว วันข้างหน้าก็ใช้ระบบนี้ต่อไป แม้ว่าจะมีการเสนอในทางเลือกที่ ๓ บอกว่าเดินหน้าไปก่อนแล้วคราวหน้าค่อยศึกษาว่าจะใช้ ระบบอื่น เช่น ระบบพีเอสซี แต่การเดินหน้าครั้งนี้มัน ๓๙ ปีนะครับ ๓๙ ปี ผมไม่แน่ใจว่า ในที่นี้พวกเราจะมีใครยังอยู่ถึงวันนั้นหรือเปล่า ก็ค่อนข้างมั่นใจว่าดูเกณฑ์เฉลี่ยอายุของ พวกเราก็ค่อนข้างยาก เพราะหลักคิดเรื่องปฏิรูปจึงสำคัญมาก และผมก็เห็นใจนะครับ ในส่วนที่เป็นข้าราชการในกระทรวงพลังงาน หรือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ หรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบอร์ดของเครือข่ายการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเขามีผลประโยชน์ในเรื่องของ การมีผลประโยชน์ และต้องรับผิดชอบด้วยต่อเรื่องของการจัดหาผลิตและจำหน่าย ทั้งในเรื่องของแก๊ส เรื่องน้ำมัน เรื่องอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่เขาไปลงทุนเป็นแสนแสนล้าน เรื่องโรงกลั่นน้ำมัน เรื่องการขายแก๊สเข้าสู่โรงไฟฟ้า แต่สมมุติฐานที่กรรมาธิการเสียงข้างมาก สรุปเป็นรายงานผมก็มีข้อโต้แย้ง และอยากที่จะแบ่งปันแนวคิดที่เห็นในมุมต่างว่าสมมุติฐาน ที่บอกมาทั้งหมดนั้นเป็นสมมุติฐานที่ย่ำเท้าอยู่กับที่ ท่านไม่ได้มองอนาคตข้างหน้าว่า วันนี้มันเป็นยุคปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้น วันนี้เราใช้แก๊สที่บอกว่าแก๊สจำเป็นมาก แก๊สนำเข้ามา ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าของพลังงานที่นำเข้า และจะเพิ่มมากขึ้นจนพูดถึงแต่ว่า จากแอลเอ็นจี แก๊สธรรมชาติเหลวที่ต้องขนจากกาตาร์มา ๑๖ เหรียญต่อ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บีทียู แพงกว่าที่เรามี หรือที่เราต้องซื้อจากแหล่งที่เราผลิตมา หรือแม้แต่จากพม่า จาก ๒๐๐ มาเป็น ๖,๐๐๐ อ่านแล้วน่าตกใจ เพราะอะไร เพราะมันอยู่บนสมมุติฐานที่บอกว่า การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยนั้นใช้แก๊สธรรมชาติในการเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าร้อยละ ๗๐ แต่อย่าลืมนะครับว่ายุคของการปฏิรูปเราเพิ่งมีมติส่งไป จะส่งให้คณะรัฐมนตรีในสัปดาห์นี้นั้น เรื่องของโซลาร์รูฟเสรี ซึ่งสามารถที่จะผลิตไฟฟ้าทดแทน คัต พีก (Cut peak) ได้อยู่ที่ ๑๐,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ เมกะวัตต์ นี่คือมิติใหม่ของการปฏิรูป นั่นหมายความว่าการใช้เชื้อเพลิง ในการที่จะไปผลิตไฟฟ้า โดยโรงงานไฟฟ้าที่ใช้แก๊สนั้นมีแนวโน้มไม่ได้มีอัตราเพิ่มอย่างที่ สมมุติฐานจากตัวเลขของเดิมข้อมูลเก่า เรากำลังจะศึกษาของการที่จะใช้รถไฟฟ้าทั้งในเมือง และต่างจังหวัดมากขึ้น ๆ แม้แต่ ปตท. เอง และอีกหลายหน่วยงาน แม้แต่การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วันนี้เริ่มมีการติดตั้งสถานีสำหรับชาร์จ (Charge) รถไฟฟ้าแล้ว นี่คือการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่ต้องเอามาประกอบในการพิจารณานำเสนอข้อเสนอ มิฉะนั้นจะดูน่ากลัวน่าตกใจในภาระของความรับผิดชอบที่จะมีต่อการจัดหาในเรื่องของแก๊ส และน้ำมัน ผมเชื่อว่าด้วยศักยภาพของบุคลากรของเรา ด้วยทุน ด้วยเทคโนโลยีในระดับหนึ่ง ของเราที่มีขณะนี้นั้นเรารับมือได้และไม่เสี่ยงเลยครับ การให้สัญญาของการสำรวจและ ขุดเจาะ ๕ หรือ ๖ ปีนั้น มีทางเลือกจะให้รัฐลงทุน ผมเชื่อว่าไม่เกิน ๒,๐๐๐ ล้านบาท หรือถ้ารัฐไม่ลงทุนก็ทำเป็นสัญญาประมูลจ้าง หรือว่าร่วมทุน และมีออพชัน หรือให้สัมปทาน การสำรวจขุดเจาะ แล้วก็มีออพชันว่าท่านขุดเจาะพบได้ว่าเป็นแหล่งอะไร ซึ่งกว่าจะถึงวันนั้น ๕-๖ ปี แต่จากวันนี้เราใช้เวลาไม่ถึง ๑ ปีในการที่จะดูให้รอบคอบ ที่เราบอกเราไม่ค่อยมีความรู้ ไม่ค่อยจะคุ้นเคยกับระบบใหม่ ๆ นั้น เราก็จะใช้เวลานี้เตรียมการให้พร้อม วางพื้นฐานใหม่ ของการปฏิรูปประเทศ และนำ ๒ ระบบมาใช้แบบที่บราซิลใช้ มันไม่ใช่เรื่องของการเอาชนะ แต่มันเป็นเรื่องที่เป็นชัยชนะของประเทศไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และไม่ใช่เรื่องที่จะละเลย ความคิดเห็น อาจจะบอกว่าความคิดเห็นภาคประชาชนนั้นสุดโต่ง แต่ผมก็รับฟังจาก นักวิชาการอิสระที่นำเสนอในเรื่องระบบพีเอสซี คือพอฟังจบผมก็แทบจะตัดสินใจบอก อย่างนั้นผมเอาระบบแบ่งปันผลผลิต แต่พอมาฟังทางฝ่าย ปตท. มาฝั่งทางด้านของ อุตสาหกรรม อย่างเชฟรอนก็มา จากบริษัทเอกชนที่ทำด้านอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและแก๊ส มานำเสนอ ฟังดูแล้วผมก็แทบจะต้องโหวตให้กับทางฝั่งนี้ แต่พอมาออกนอกห้องประชุม มันก็ต้องเอาซ้ายขวามาดู และท้ายที่สุดมันก็เห็นจุดอ่อนของทั้ง ๒ ส่วน และไม่ใช่ แนวความคิดที่ผมจะคิดเอง ผมก็เรียนกรรมาธิการเสียงข้างมากว่า มีอดีตรัฐมนตรีพลังงาน และระดับรัฐมนตรีอีก ๓-๔ ท่านได้แชร์ (Share) ความคิดกับผม แล้วก็เห็นว่าเราน่าแบ่งออกเป็น ๒ ระยะ ทำไมจะต้องผูกมัดตัวเองทั้งสำรวจขุดเจาะ แล้วก็เรื่องของการผลิตจำหน่าย ในรูปของข้อสัญญารวม วันนี้ขนาดว่ารอบ ๒๐ เสนอไป ๑๙ แปลง มี ๑ ราย มันมีอะไร จะต้องสูญเสียกว่านี้ถ้าใช้แนวคิดแบบเดิม ก็ ๒๙ แปลงมันอาจจะมีคนสนใจแค่ ๑ แปลง ๒ แปลง หรือ ๓ แปลง หรือ ๔ แปลง นั่นแสดงว่าระบบเดิมมันอาจจะไม่ได้ผลก็ได้ แต่ไม่มีใครบอกได้ว่าวันนี้สัมปทาน หรือว่าโพรดักชัน แชริง อะไรจะให้ผลประโยชน์สูงที่สุด ดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องให้ผลตอบแทนสูงที่สุดครับ แต่อยู่บนความเป็นธรรมของภาครัฐและเอกชน และประเทศชาติของเรา เพราะเสียงข้างมากก็ยอมรับ และในการชี้แจงก็ยอมรับกันว่า ในส่วนของความรู้ความเข้าใจในเรื่องพีเอสซีนั้นมีน้อยมาก แต่การตัดโอกาสในการพิจารณา ด้วยความไม่รู้ของเรา หรือความไม่มีข้อมูลเพียงพอของเรา มันไม่น่าจะใช่วิธีพิจารณาที่ดี ขณะเดียวกันถ้าจะกระโดดไปเลย บอกถ้าอย่างนั้นหยุดก่อนเถอะรอบที่ ๒๑ ผมก็มีความเห็นว่า หยุดไม่ได้ เพราะภายใต้สมมุติฐานในเรื่องของแหล่งสำรองจะเป็นพี ๑ พี ๒ นั้นมันค่อนข้าง ชัดเจน และภายใต้ความผันผวนของสถานการณ์โลกในเรื่องของออยล์ แอนด์ แก๊ส มันก็ต้อง พยายามสร้างความมั่นคงให้เร็วที่สุด หาที่ยืน ฐานยืนให้เร็วที่สุด รอบ ๒๑ จะเป็นฐานยืน แต่ฐานยืนตรงนี้ไม่จำเป็นจะต้องผูกมัดตัวเองถึงขั้นที่ว่าเมื่อมีเวลาแล้วสามารถแบ่งสัญญา เป็น ๒ ระยะได้ และการแบ่งสัญญาเป็น ๒ ระยะใช้เวลาแค่ไหนครับ ใช้เวลาไม่มากครับ ก็ออกแบบใหม่และตัดสินใจตรงนั้น รัฐลงทุนไว้ ๒,๐๐๐ ล้านบาท ๒,๕๐๐ ล้านบาท แล้วเลือกแปลงที่ดีที่สุด หรือเอกชนที่เสนอมาแล้ว ซึ่งวันนี้ไม่รู้เสนอมากี่รายนะครับ จะสิ้นสุดการยื่นข้อเสนอรอบ ๒๑ นี้วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ก็คุยนอกรอบกัน และสถานการณ์ ตอนนี้เป็นใจที่สุดครับ ค่าเช่า เครื่องมือขุดเจาะ ทีมขุดเจาะถูกที่สุดแล้วตอนนี้ เพราะมันเจ๊งกัน ทั่วโลกครับ ๓ ปีกว่าหาแท่นเจาะไม่ได้เลย หาแท่นผลิตไม่ได้เลย แต่วันนี้แทบจะเลหลัง เพราะหมดตัวกัน เพราะฉะนั้นถ้าเป็นเช่นนี้ผมคิดว่าเรามาออกแบบใหม่ดีไหม ท่านสมาชิกก็ต้องโปรดพิจารณา เพราะข้อมูลข้อเท็จจริงต่าง ๆ นั้นก็ต้องเรียนว่าภาคผนวกที่มีอยู่หนาในแต่ละด้านนั้น มีข้อมูลที่ดีพอสมควร และประกอบการพิจารณานำเสนอของในส่วนกรรมาธิการ เสียงข้างมากก็ดี ในส่วนของกรรมาธิการเสียงข้างน้อย และทางเลือกที่ ๔ ที่ผมนำเสนอ
สุดท้ายครับท่านประธานครับ เรากำลังก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ตั้งแต่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ รอบประเทศของเรานั้น ธรรมชาติของออยล์ แอนด์ แก๊สนั้น มันโชคดีว่าในภูมิภาคอาเซียนนั้นเป็นแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นเขตไหล่ทวีป เขตทับซ้อน ไทย-กัมพูชา ไทย-เวียดนาม แหล่งไทย-มาเลเซีย หรือในมหาสมุทรอินเดีย ในอ่าวเมาะตะมะ ที่ติดกับพม่าดันไปถึงบังคลาเทศ ลงต่ำไปมีอินโดนีเซีย มีฟิลิปปินส์ และยังมีจีนอีก เรื่องของการเป็นอาเซียนนั้นหลายคนรู้นะครับว่าเราได้เปิดเสรีเปิดกว้างในเรื่องของการค้า และบริการ เรื่องของเสรีด้วยการลงทุน และภาคบริการ เพราะฉะนั้นความร่วมมือในเรื่อง ออยล์ แอนด์ แก๊สนั้นเราพูดกันมานาน เรื่องของแก๊สผลิต การต่อท่อจากแหล่งนาทูน่า ก็อยู่ตอนเหนือของอินโดนีเซีย หรือจะยาวลึกลงไปถึงกาลิมันตันที่เครื่องบินตก หรือไปทาง ซูลาเวซี หรือลงไปถึงทะเลอะราฟูรา มันเป็นการลงทุนในอนาคตร่วมกันในเรื่องของอาเซียน ประชาคมอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมีสาขาด้านพลังงาน มีการประชุม รัฐมนตรีพลังงานร่วมกันทุกปีครับ และภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว กรอบดังกล่าวนี้ ผมเชื่อว่าเรายังมีแหล่งพลังงาน แต่อย่าลืมว่าประเทศโดยเฉพาะกลุ่มซีแอลเอ็มวี (CLMV) ที่อยู่ติดกับเรา เราได้มีบุคลากรมีบริษัทที่พร้อมที่จะเข้าไปลงทุน ร่วมลงทุนรับสัมปทาน มากน้อยแค่ไหน เรามี ปตท.สผ. ครับ แต่ก็ถือว่าน้อยมาก นี่เพราะอะไร เพราะ ๔๐ กว่าปีนั้น เราไม่ได้สร้างบุคลากร เปิดโอกาสอย่างเสรีในการเติบโตของบริษัทด้านปิโตรเลียม ด้านแก๊ส และน้ำมัน เพราะบางระบบนั้น เช่น ในระบบของการสัมปทานเราไม่ต้องทำอะไรเลยครับ ให้สัมปทานไปเอกชนทำหมดทุกอย่าง แล้วก็เก็บภาษีเก็บเบี้ยบ้ายรายทาง ค่าภาคหลวง เทคโนโลยีโนฮาว (Knowhow) ไม่มีเลย มันเหมือนกับการทำโรงงานประกอบรถมอเตอร์ไซค์ ประกอบรถยนต์นั่นละครับ เหมือนเรามีโรงงานผลิตเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อโหล มาทุกวันนี้ ก็ยังเป็นโออีเอ็ม (OEM) อยู่อย่างนั้น ปิโตรเลียมเป็นโออีเอ็มมา ๔๔ ปีแล้ว เพราะฉะนั้น แนวคิดปฏิรูปจะต้องหันกลับมายืนบนขาตัวเอง เริ่มคิดว่าเรามีศักยภาพแล้วล้อมรอบของเรา ไม่ต้องมองไกลไปที่อื่น เรามีแหล่งแก๊ส น้ำมัน แหล่งพลังงานอยู่ในอาเซียนจำนวนมาก แล้วเราจะให้ใครทำละครับ ถ้าเราไม่สามารถที่จะก่อร่างสร้างตัวของเรา และนี่คือโอกาสของเรา ไม่ได้เสียหายอะไรเลย ถ้าเรารู้จักที่จะคิดนอกกรอบบ้าง แต่เป็นกรอบที่ยืนบนฐาน ความมั่นคงด้านพลังงาน และภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันนี้เรียนได้เลยว่าความสนใจ ในการลงทุนด้านการขุดเจาะทั่วโลกน้อยมากครับ ราคามันลงมาจาก ๑๐๐ เหรียญ ลงมาต่ำกว่า ๕๐ เหรียญต่อบาร์เรล แก๊สเป็นเชื้อเพลิงที่ผูกติดราคากับน้ำมันครับ เพราะฉะนั้นสถานการณ์ขณะนี้เหมือนที่ทางกระทรวงพลังงานกำลังปรับโครงสร้างพลังงาน และราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุนยืนกับความเป็นจริงมากที่สุดนะครับ ทำไมถึงบอกว่าช่วงนี้โชคดี ก็เพราะมันเป็นช่วงน้ำมันขาลง ช่วงที่แก๊สขาลง ดังนั้นผมคิดว่า จังหวะนี้ก็ถือว่าเป็นโอกาสของการที่จะนำเรื่องแนวคิดปฏิรูปใหม่ ๆ นั้นเข้ามาพิจารณา ในเรื่องของสัมปทานปิโตรเลียม ไม่ว่ารอบนี้ รอบหน้า หรือรอบต่อ ๆ ไป แต่อย่ามองเพียงแค่ เรื่องของผลตอบแทนค่าภาคหลวงเรื่องของตรงนี้เท่านั้น แต่ให้มองในมิติบริบทของ อุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส ที่วันนี้ในประเทศของเราเป็นเซกเตอร์ (Sector) ใหญ่ที่สุดครับ เป็นเซกเตอร์เศรษฐกิจที่มีมูลค่า แม้แต่ในตลาดหลักทรัพย์ก็ใหญ่ที่สุดครับ คือเซกเตอร์ พลังงาน และวันนี้เรากำลังก้าวสู่โลกใหม่ของการทำพลังงานทดแทน ทั้งไบโอฟิว (Biofuel) ไบโอแก๊ส (Biogas) และท่านประธานครับฝากไว้นิดหนึ่ง จากแนวคิดของ สปช. ในเรื่องของ การกระจายการผลิตไปยังประชาชนและภาคเอกชน แทนที่ในอดีต ๑๐๐ กว่าปี รัฐเป็นผู้จัดหาและผู้ผลิตเท่านั้น แต่แนวคิดใหม่ที่เราเสนอคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญให้บรรจุก็คือ รัฐจะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน ภาคเอกชนนั้น เป็นผู้ใช้ ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายด้วย ถามบอกว่าแต่ก่อนนี้เอทานอลไม่มีใครรู้จักละครับ จนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีดำริริเริ่ม แล้วผมก็ได้ฉายาว่า มิสเตอร์เอทานอล เมื่อ ๑๔-๑๕ ปีที่แล้ว เมื่อเป็นประธานโครงการนี้เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๓ วันนั้นคนไม่มีความเชื่อเลยว่าจะเอาแอลกอฮอล์มาเติมในรถ นอกจากเอาไปกลั่นให้คนกินเป็นเหล้าเท่านั้นเอง แต่วันนี้แก๊สโซฮอล์ขายทั่วประเทศ เรามีบ่อน้ำมันทุกจังหวัด ปลูกอ้อย ปลูกมัน ปลูกปาล์มเป็นเอทานอล เป็นไบโอดีเซล (Biodiesel) ทุกลิตรที่ท่านเติมน้ำมันดีเซลไม่ใช่น้ำมันดีเซล เป็นน้ำมันที่ผสมไบโอดีเซล จากปาล์มของเราที่ปลูกได้เอง ๗ เปอร์เซ็นต์ นั่นเพราะเราคิดในมิติใหม่ ๆ แล้วเรากล้าที่จะ ก้าวเดิน คิดอย่างเดียวไม่กล้าก็เท่ากับศูนย์ วันนี้เราเปลี่ยนจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่ใช้โรงไฟฟ้า หรือโซลาร์ฟาร์ม (Solar farm) ใหญ่ ๆ มาสู่ภาครัฐ ภาคเอกชน โรงเรียน สนาม วัด โรงงาน นิคม นอกจากอาคารบ้านเรือนแล้วเปิดฟรีเลย เราจะมี ๑๐,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ เมกะวัตต์ ตรงนี้ภายในระยะเวลาเพียงแค่ ๑๐ ปี แล้วไบโอแก๊สล่ะครับ ทำไมคิดว่ามีเทนที่เราได้มา ส่วนใหญ่ เรานำเข้าแอลเอ็นจี ผมเห็นตั้งแต่ ปตท. สร้างเทอร์มินอล (Terminal) ในการที่จะรับ แอลเอ็นจีที่จะขนจากตะวันออกกลาง และแหล่งที่เราซื้อไม่ว่ากาตาร์หรือที่ไหนก็ตาม เริ่มตั้งแต่ก่อสร้าง แสดงว่ามองเห็นแล้วว่าในอนาคตแก๊สจะขาด แต่นั่นคือหน้าที่ ปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้วย เป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย คิดถึงการตอบสนองต่อ เจตนารมณ์ของรัฐ และคิดถึงผลกำไร แมกซิไมซ์ โพรฟิต (Maximize profit) ที่มีผลต่อ ตลาดหุ้นของเขา และผู้ถือหุ้นของเขา แต่ขณะเดียวกันประเทศไทยเป็นประเทศที่สามารถที่จะ ผลิตไบโอแก๊สด้วยตัวเองได้ทุกหลังคาเรือนเหมือนกัน โดยเฉพาะที่อยู่ในต่างจังหวัด เราเป็นสังคมเกษตรกรรม เรามีชนบท เรามีดิน น้ำ ลม ไฟที่พร้อม ที่จะใช้ขยะ ใช้มูลคน มูลสัตว์ในการที่จะทำหลุมบ่อไบโอแก๊ส นั่นคือแก๊สมีเทนที่เกิดขึ้น แอลเอ็นจีที่นำเข้ามาวันนี้ จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถูกต้อง เพราะมันไม่มีอะไรทดแทนอย่างไรครับ แต่ไบโอแก๊สของเรา ถ้าเราบอกให้ทำไบโอแก๊สเสรี ส่งเสริม มีมาตรการส่งเสริม มีมาตรการจูงใจ มีหมู่บ้าน ทั้งหมู่บ้านทำไบโอแก๊ส มีวัตถุดิบที่จะผลิตเต็มที่ ต่อท่อไปเป็นครัวเรือน ไม่ต้องซื้อถังละ ๔๐๐ บาทอีกต่อไป เราผลิตได้เองครับ ถ้าเป็นขนาดใหญ่โรงฟาร์ม โรงหมูอย่างที่ทำทุกวันนี้ ไปถามสิครับ เขาทำสำเร็จมาเป็น ๑๐ ปีแล้ว เรามีพลังงานของเรา แต่เราไม่เคยเปลี่ยนวิธีคิด เราคิดแต่ทุนใหญ่ ๆ เทคโนโลยีใหญ่ ๆ แต่แทนที่จะคิดถึงผู้ที่ใช้จริง ๆ อยู่ตามครัวเรือน อยู่ตามบ้าน อยู่ตามโรงงาน อยู่ตามออฟฟิศ (Office) เพราะฉะนั้นถ้าจะบอกว่าเราต้องการ ความมั่นคงด้านแก๊สที่จะหมดไปใน ๗ ปีข้างหน้า เพราะพี ๑ บวกพี ๒ แล้ว เฉลี่ยอัตรา การใช้และการเพิ่มปัจจุบันอยู่ที่ ๖.๔ หรือไม่เกิน ๗ ปี ไม่มีแก๊สแล้ว ถ้าสมมุติฐานอย่างนี้ บริษัทปิโตรเคมีทั้งหลายรอเจ๊งได้เลย และถามบอกว่ารอบ ๒๑ ทันไหม ไม่ทันครับ เปิดวันนี้ สิ้นวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ปิดรับ พิจารณาข้อเสนอเสร็จ ต้นปีหน้ามกราคม ๒๕๕๙ เริ่มขุดเจาะสำรวจอีก ๖ ปี หลังจากนั้น ต้องเริ่มตั้งฐานการผลิต มันเกิน ๗ ปีแล้วครับ แล้วจะอยู่อย่างไรครับ ถ้าเอาสมมุติฐานตรงนี้ มาวางกัน แน่นอนบอกว่าถ้าอย่างนั้นต้องซื้อ ต้องซื้อเสร็จก็ไปสะท้อนในต้นทุนของทุกภาคครับ ผมไม่เคยแยกนะครับว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนั้นเป็นของเอกชนแล้วน่ารังเกียจ ไม่ใช่ นี่คือฐานเศรษฐกิจของประเทศที่ทุกคนมีความสำคัญทั้งสิ้น แต่มันมีโจทย์เล็ก ๆ ว่า ทำไมซื้อราคาถูกกว่าชาวบ้านเขาละครับ มีสิทธิอะไรเหนือประชาชน มันต้องมาปฏิรูป กันหมดละครับ นี่ก็ฝากไว้เป็นอีกโจทย์หนึ่ง เพราะไหน ๆ จะปฏิรูปเรื่องนี้แล้วเราก็ต้อง ปฏิรูปทั้งระบบ และตอบโจทย์ตั้งแต่ต้นจนท้ายสุด ไม่แค่เรื่องการขุดเจาะสำรวจเพื่อผลิต และจำหน่ายต่อไปในส่วนของแปลงสัมปทานปิโตรเลียมเท่านั้น แต่ทั้งอุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ แล้วมันก็จะมาพูดถึงโยงไปเรื่องของการสะท้อนต้นทุน ที่มีการอ้างบอกว่าถ้าเราต้องนำเข้าแอลเอ็นจีมาก ราคาเพิ่มขึ้น แน่นอนมันต้องไปสะท้อน ถ้าใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากก็แน่นอนค่าไฟฟ้าจะต้องเพิ่มขึ้น หรือว่าต้นทุนของปิโตรเคมี ต้องเพิ่มขึ้น แต่เรามองอินดัสทรี (Industry) ใหญ่ ๆ มองอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ มาโดยตลอด ทั้งที่ความจริงแล้วแนวคิดใหม่คือการกระจายออกไปสู่การผลิตที่เราสามารถทำได้ ทั่วทั้งประเทศ เพราะฉะนั้นไบโอแก๊สก็เป็นอีกคำตอบหนึ่งครับที่ทำได้ตั้งแต่ระดับเอสเอ็มอี (SME) ระดับครัวเรือน ระดับกลางไปถึงขนาดใหญ่ได้ เหมือนอย่างที่เราส่งเสริม ถามว่าวันนี้มีไหม มีส่งเสริม แต่ก็เล็ก ๆ น้อย ๆ มันไม่ใช่เป็นทิศทางที่ถือว่า เป็นวาระแห่งชาติที่จะต้องเห็นความสำคัญอย่างแท้จริง ทั้งที่พลังงานเป็นเรื่องความมั่นคง ของชาติ เพราะฉะนั้นผมเลยใคร่ขอถือโอกาสนี้ว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ ขอให้มีความกล้า ที่จะคิด กล้าที่จะทำ และให้คำนึงว่าวันนี้ประเทศกำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านของการปฏิรูป ต้องคิดด้วยมิติของแนวคิดปฏิรูป แต่เพื่อไม่ให้เสียโอกาสและเวลาเราเดินหน้าได้ บริหารจัดการ ทั้งเวลา บริหารจัดการทั้งสัญญา และการตัดสินใจว่าจะใช้รูปแบบไหน ผมก็เลยขอนำเสนอ ข้อเสนอทางเลือกที่ ๔ นะครับ ๑. ก็คือให้เดินหน้า ไม่ต้องรออีกแล้วในการที่จะต้อง มีการสำรวจขุดเจาะสัมปทานรอบที่ ๒๑ โดยที่ให้แบ่งสัญญาเป็น ๒ ส่วน ๑. คือการสำรวจ ขุดเจาะซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณสัก ๕-๖ ปีนั้นเป็นหนึ่งสัญญา สัญญานี้รัฐจะลงทุนเอง โดยเลือกแปลงที่มีศักยภาพมากที่สุด อาจจะลงทุนประมาณ ๒,๐๐๐ ล้านบาท หรือ ๒,๕๐๐ ล้านบาท ซึ่งผมคิดว่าเหลือเกินความคุ้มค่า มันเท่ากับ ๐.๕ เปอร์เซ็นต์ของ มูลค่าทั้งหมด กับ ๒. คือรัฐประมูลจ้างให้มีการขุดเจาะสำรวจ โดยมีออพชันก็คือว่า ถ้าคุณสำรวจขุดเจาะเจอในระหว่างก่อนที่จะเริ่มการผลิตนี่ ภายใน ๑ ปีหลังจากที่เริ่มจาก ปี ๒๕๕๙ แล้วนี่ ใน ๑ ปีรัฐจะออกแบบว่า ถ้าเป็นแปลงใหญ่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต ถ้าเป็นแปลงเล็กก็ใช้ระบบสัมปทานแบบที่บราซิลได้ดำเนินการที่เรียกว่า บราซิล โมเดล เป็นธรรมด้วยกันกับประเทศนี้ และเป็นธรรมกับภาคเอกชนในเรื่องของผลตอบแทน การลงทุน เพราะฉะนั้นในข้อเสนอดังกล่าวนี้ก็จะทำให้เกิดสัญญาระยะที่ ๒ ก็คือว่า เมื่อสำรวจขุดเจาะรู้แล้วว่ามี ไม่มี มีมากมีน้อย ออกแบบรูปแบบผลประโยชน์ได้ภายใน ๑ ปี นับจากนี้ไป เอกชนเขาก็รู้แล้วว่าเขาควรจะเลือกอย่างไหน ถ้าเป็นแปลงใหญ่ แปลงเล็ก จะออกมารูปแบบอย่างไร ตัดสินใจได้ล่วงหน้า ถ้าไม่พอใจจ่ายคืนไป แล้วหลังจากนั้นก็ทำสัญญาสัมปทานในเรื่องผลิตและจำหน่าย มีเวลาครับ ทำไมจะต้องไปติดอยู่ แค่ว่าทำทีเดียวผูกพัน ๓๙ ปี แล้วกระดิกอะไรไม่ได้เลย ซึ่งผมก็เห็นว่าเป็นระบบเดิมก็ดี เพราะใช้มานานแล้ว แล้วก็คิดกันอยู่แค่นั้น แต่วันนี้เรามีโอกาสที่จะทบทวนและมีเวลา ไม่เสียเวลาอย่างที่ได้เรียนไว้ ตอบโจทย์ทุกข้อ แล้วเอกชนก็จะมีความรู้สึกว่าการปฏิรูปครั้งนี้ ไม่ละเลยความเห็นของภาควิชาการ ภาคเอกชนทุกภาคส่วน นอกเหนือจากการได้ข้อมูลจาก กลุ่มบริษัทใหญ่ ๆ จากหน่วยงานภาครัฐแต่เพียงเท่านั้น แล้วเราก็มาหันหน้าเดินหน้า ไปด้วยกัน ก็ต้องขอบคุณท่านประธานครับ ที่ขอใช้เวลาในการอธิบาย เพราะเป็นทางเลือก ที่ไม่เหมือนข้อเสนอของกรรมาธิการเสียงข้างมากและกรรมาธิการที่สงวนความเห็นท่านอื่น ขอบพระคุณครับ
สุดท้ายครับท่านประธานครับ เรากำลังก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ตั้งแต่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ รอบประเทศของเรานั้น ธรรมชาติของออยล์ แอนด์ แก๊สนั้น มันโชคดีว่าในภูมิภาคอาเซียนนั้นเป็นแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นเขตไหล่ทวีป เขตทับซ้อน ไทย-กัมพูชา ไทย-เวียดนาม แหล่งไทย-มาเลเซีย หรือในมหาสมุทรอินเดีย ในอ่าวเมาะตะมะ ที่ติดกับพม่าดันไปถึงบังคลาเทศ ลงต่ำไปมีอินโดนีเซีย มีฟิลิปปินส์ และยังมีจีนอีก เรื่องของการเป็นอาเซียนนั้นหลายคนรู้นะครับว่าเราได้เปิดเสรีเปิดกว้างในเรื่องของการค้า และบริการ เรื่องของเสรีด้วยการลงทุน และภาคบริการ เพราะฉะนั้นความร่วมมือในเรื่อง ออยล์ แอนด์ แก๊สนั้นเราพูดกันมานาน เรื่องของแก๊สผลิต การต่อท่อจากแหล่งนาทูน่า ก็อยู่ตอนเหนือของอินโดนีเซีย หรือจะยาวลึกลงไปถึงกาลิมันตันที่เครื่องบินตก หรือไปทาง ซูลาเวซี หรือลงไปถึงทะเลอะราฟูรา มันเป็นการลงทุนในอนาคตร่วมกันในเรื่องของอาเซียน ประชาคมอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมีสาขาด้านพลังงาน มีการประชุม รัฐมนตรีพลังงานร่วมกันทุกปีครับ และภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว กรอบดังกล่าวนี้ ผมเชื่อว่าเรายังมีแหล่งพลังงาน แต่อย่าลืมว่าประเทศโดยเฉพาะกลุ่มซีแอลเอ็มวี (CLMV) ที่อยู่ติดกับเรา เราได้มีบุคลากรมีบริษัทที่พร้อมที่จะเข้าไปลงทุน ร่วมลงทุนรับสัมปทาน มากน้อยแค่ไหน เรามี ปตท.สผ. ครับ แต่ก็ถือว่าน้อยมาก นี่เพราะอะไร เพราะ ๔๐ กว่าปีนั้น เราไม่ได้สร้างบุคลากร เปิดโอกาสอย่างเสรีในการเติบโตของบริษัทด้านปิโตรเลียม ด้านแก๊ส และน้ำมัน เพราะบางระบบนั้น เช่น ในระบบของการสัมปทานเราไม่ต้องทำอะไรเลยครับ ให้สัมปทานไปเอกชนทำหมดทุกอย่าง แล้วก็เก็บภาษีเก็บเบี้ยบ้ายรายทาง ค่าภาคหลวง เทคโนโลยีโนฮาว (Knowhow) ไม่มีเลย มันเหมือนกับการทำโรงงานประกอบรถมอเตอร์ไซค์ ประกอบรถยนต์นั่นละครับ เหมือนเรามีโรงงานผลิตเสื้อผ้า ตัดเย็บเสื้อโหล มาทุกวันนี้ ก็ยังเป็นโออีเอ็ม (OEM) อยู่อย่างนั้น ปิโตรเลียมเป็นโออีเอ็มมา ๔๔ ปีแล้ว เพราะฉะนั้น แนวคิดปฏิรูปจะต้องหันกลับมายืนบนขาตัวเอง เริ่มคิดว่าเรามีศักยภาพแล้วล้อมรอบของเรา ไม่ต้องมองไกลไปที่อื่น เรามีแหล่งแก๊ส น้ำมัน แหล่งพลังงานอยู่ในอาเซียนจำนวนมาก แล้วเราจะให้ใครทำละครับ ถ้าเราไม่สามารถที่จะก่อร่างสร้างตัวของเรา และนี่คือโอกาสของเรา ไม่ได้เสียหายอะไรเลย ถ้าเรารู้จักที่จะคิดนอกกรอบบ้าง แต่เป็นกรอบที่ยืนบนฐาน ความมั่นคงด้านพลังงาน และภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันนี้เรียนได้เลยว่าความสนใจ ในการลงทุนด้านการขุดเจาะทั่วโลกน้อยมากครับ ราคามันลงมาจาก ๑๐๐ เหรียญ ลงมาต่ำกว่า ๕๐ เหรียญต่อบาร์เรล แก๊สเป็นเชื้อเพลิงที่ผูกติดราคากับน้ำมันครับ เพราะฉะนั้นสถานการณ์ขณะนี้เหมือนที่ทางกระทรวงพลังงานกำลังปรับโครงสร้างพลังงาน และราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุนยืนกับความเป็นจริงมากที่สุดนะครับ ทำไมถึงบอกว่าช่วงนี้โชคดี ก็เพราะมันเป็นช่วงน้ำมันขาลง ช่วงที่แก๊สขาลง ดังนั้นผมคิดว่า จังหวะนี้ก็ถือว่าเป็นโอกาสของการที่จะนำเรื่องแนวคิดปฏิรูปใหม่ ๆ นั้นเข้ามาพิจารณา ในเรื่องของสัมปทานปิโตรเลียม ไม่ว่ารอบนี้ รอบหน้า หรือรอบต่อ ๆ ไป แต่อย่ามองเพียงแค่ เรื่องของผลตอบแทนค่าภาคหลวงเรื่องของตรงนี้เท่านั้น แต่ให้มองในมิติบริบทของ อุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส ที่วันนี้ในประเทศของเราเป็นเซกเตอร์ (Sector) ใหญ่ที่สุดครับ เป็นเซกเตอร์เศรษฐกิจที่มีมูลค่า แม้แต่ในตลาดหลักทรัพย์ก็ใหญ่ที่สุดครับ คือเซกเตอร์ พลังงาน และวันนี้เรากำลังก้าวสู่โลกใหม่ของการทำพลังงานทดแทน ทั้งไบโอฟิว (Biofuel) ไบโอแก๊ส (Biogas) และท่านประธานครับฝากไว้นิดหนึ่ง จากแนวคิดของ สปช. ในเรื่องของ การกระจายการผลิตไปยังประชาชนและภาคเอกชน แทนที่ในอดีต ๑๐๐ กว่าปี รัฐเป็นผู้จัดหาและผู้ผลิตเท่านั้น แต่แนวคิดใหม่ที่เราเสนอคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญให้บรรจุก็คือ รัฐจะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน ภาคเอกชนนั้น เป็นผู้ใช้ ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายด้วย ถามบอกว่าแต่ก่อนนี้เอทานอลไม่มีใครรู้จักละครับ จนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีดำริริเริ่ม แล้วผมก็ได้ฉายาว่า มิสเตอร์เอทานอล เมื่อ ๑๔-๑๕ ปีที่แล้ว เมื่อเป็นประธานโครงการนี้เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๓ วันนั้นคนไม่มีความเชื่อเลยว่าจะเอาแอลกอฮอล์มาเติมในรถ นอกจากเอาไปกลั่นให้คนกินเป็นเหล้าเท่านั้นเอง แต่วันนี้แก๊สโซฮอล์ขายทั่วประเทศ เรามีบ่อน้ำมันทุกจังหวัด ปลูกอ้อย ปลูกมัน ปลูกปาล์มเป็นเอทานอล เป็นไบโอดีเซล (Biodiesel) ทุกลิตรที่ท่านเติมน้ำมันดีเซลไม่ใช่น้ำมันดีเซล เป็นน้ำมันที่ผสมไบโอดีเซล จากปาล์มของเราที่ปลูกได้เอง ๗ เปอร์เซ็นต์ นั่นเพราะเราคิดในมิติใหม่ ๆ แล้วเรากล้าที่จะ ก้าวเดิน คิดอย่างเดียวไม่กล้าก็เท่ากับศูนย์ วันนี้เราเปลี่ยนจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่ใช้โรงไฟฟ้า หรือโซลาร์ฟาร์ม (Solar farm) ใหญ่ ๆ มาสู่ภาครัฐ ภาคเอกชน โรงเรียน สนาม วัด โรงงาน นิคม นอกจากอาคารบ้านเรือนแล้วเปิดฟรีเลย เราจะมี ๑๐,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ เมกะวัตต์ ตรงนี้ภายในระยะเวลาเพียงแค่ ๑๐ ปี แล้วไบโอแก๊สล่ะครับ ทำไมคิดว่ามีเทนที่เราได้มา ส่วนใหญ่ เรานำเข้าแอลเอ็นจี ผมเห็นตั้งแต่ ปตท. สร้างเทอร์มินอล (Terminal) ในการที่จะรับ แอลเอ็นจีที่จะขนจากตะวันออกกลาง และแหล่งที่เราซื้อไม่ว่ากาตาร์หรือที่ไหนก็ตาม เริ่มตั้งแต่ก่อสร้าง แสดงว่ามองเห็นแล้วว่าในอนาคตแก๊สจะขาด แต่นั่นคือหน้าที่ ปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้วย เป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย คิดถึงการตอบสนองต่อ เจตนารมณ์ของรัฐ และคิดถึงผลกำไร แมกซิไมซ์ โพรฟิต (Maximize profit) ที่มีผลต่อ ตลาดหุ้นของเขา และผู้ถือหุ้นของเขา แต่ขณะเดียวกันประเทศไทยเป็นประเทศที่สามารถที่จะ ผลิตไบโอแก๊สด้วยตัวเองได้ทุกหลังคาเรือนเหมือนกัน โดยเฉพาะที่อยู่ในต่างจังหวัด เราเป็นสังคมเกษตรกรรม เรามีชนบท เรามีดิน น้ำ ลม ไฟที่พร้อม ที่จะใช้ขยะ ใช้มูลคน มูลสัตว์ในการที่จะทำหลุมบ่อไบโอแก๊ส นั่นคือแก๊สมีเทนที่เกิดขึ้น แอลเอ็นจีที่นำเข้ามาวันนี้ จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถูกต้อง เพราะมันไม่มีอะไรทดแทนอย่างไรครับ แต่ไบโอแก๊สของเรา ถ้าเราบอกให้ทำไบโอแก๊สเสรี ส่งเสริม มีมาตรการส่งเสริม มีมาตรการจูงใจ มีหมู่บ้าน ทั้งหมู่บ้านทำไบโอแก๊ส มีวัตถุดิบที่จะผลิตเต็มที่ ต่อท่อไปเป็นครัวเรือน ไม่ต้องซื้อถังละ ๔๐๐ บาทอีกต่อไป เราผลิตได้เองครับ ถ้าเป็นขนาดใหญ่โรงฟาร์ม โรงหมูอย่างที่ทำทุกวันนี้ ไปถามสิครับ เขาทำสำเร็จมาเป็น ๑๐ ปีแล้ว เรามีพลังงานของเรา แต่เราไม่เคยเปลี่ยนวิธีคิด เราคิดแต่ทุนใหญ่ ๆ เทคโนโลยีใหญ่ ๆ แต่แทนที่จะคิดถึงผู้ที่ใช้จริง ๆ อยู่ตามครัวเรือน อยู่ตามบ้าน อยู่ตามโรงงาน อยู่ตามออฟฟิศ (Office) เพราะฉะนั้นถ้าจะบอกว่าเราต้องการ ความมั่นคงด้านแก๊สที่จะหมดไปใน ๗ ปีข้างหน้า เพราะพี ๑ บวกพี ๒ แล้ว เฉลี่ยอัตรา การใช้และการเพิ่มปัจจุบันอยู่ที่ ๖.๔ หรือไม่เกิน ๗ ปี ไม่มีแก๊สแล้ว ถ้าสมมุติฐานอย่างนี้ บริษัทปิโตรเคมีทั้งหลายรอเจ๊งได้เลย และถามบอกว่ารอบ ๒๑ ทันไหม ไม่ทันครับ เปิดวันนี้ สิ้นวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ปิดรับ พิจารณาข้อเสนอเสร็จ ต้นปีหน้ามกราคม ๒๕๕๙ เริ่มขุดเจาะสำรวจอีก ๖ ปี หลังจากนั้น ต้องเริ่มตั้งฐานการผลิต มันเกิน ๗ ปีแล้วครับ แล้วจะอยู่อย่างไรครับ ถ้าเอาสมมุติฐานตรงนี้ มาวางกัน แน่นอนบอกว่าถ้าอย่างนั้นต้องซื้อ ต้องซื้อเสร็จก็ไปสะท้อนในต้นทุนของทุกภาคครับ ผมไม่เคยแยกนะครับว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนั้นเป็นของเอกชนแล้วน่ารังเกียจ ไม่ใช่ นี่คือฐานเศรษฐกิจของประเทศที่ทุกคนมีความสำคัญทั้งสิ้น แต่มันมีโจทย์เล็ก ๆ ว่า ทำไมซื้อราคาถูกกว่าชาวบ้านเขาละครับ มีสิทธิอะไรเหนือประชาชน มันต้องมาปฏิรูป กันหมดละครับ นี่ก็ฝากไว้เป็นอีกโจทย์หนึ่ง เพราะไหน ๆ จะปฏิรูปเรื่องนี้แล้วเราก็ต้อง ปฏิรูปทั้งระบบ และตอบโจทย์ตั้งแต่ต้นจนท้ายสุด ไม่แค่เรื่องการขุดเจาะสำรวจเพื่อผลิต และจำหน่ายต่อไปในส่วนของแปลงสัมปทานปิโตรเลียมเท่านั้น แต่ทั้งอุตสาหกรรม ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ แล้วมันก็จะมาพูดถึงโยงไปเรื่องของการสะท้อนต้นทุน ที่มีการอ้างบอกว่าถ้าเราต้องนำเข้าแอลเอ็นจีมาก ราคาเพิ่มขึ้น แน่นอนมันต้องไปสะท้อน ถ้าใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากก็แน่นอนค่าไฟฟ้าจะต้องเพิ่มขึ้น หรือว่าต้นทุนของปิโตรเคมี ต้องเพิ่มขึ้น แต่เรามองอินดัสทรี (Industry) ใหญ่ ๆ มองอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ มาโดยตลอด ทั้งที่ความจริงแล้วแนวคิดใหม่คือการกระจายออกไปสู่การผลิตที่เราสามารถทำได้ ทั่วทั้งประเทศ เพราะฉะนั้นไบโอแก๊สก็เป็นอีกคำตอบหนึ่งครับที่ทำได้ตั้งแต่ระดับเอสเอ็มอี (SME) ระดับครัวเรือน ระดับกลางไปถึงขนาดใหญ่ได้ เหมือนอย่างที่เราส่งเสริม ถามว่าวันนี้มีไหม มีส่งเสริม แต่ก็เล็ก ๆ น้อย ๆ มันไม่ใช่เป็นทิศทางที่ถือว่า เป็นวาระแห่งชาติที่จะต้องเห็นความสำคัญอย่างแท้จริง ทั้งที่พลังงานเป็นเรื่องความมั่นคง ของชาติ เพราะฉะนั้นผมเลยใคร่ขอถือโอกาสนี้ว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ ขอให้มีความกล้า ที่จะคิด กล้าที่จะทำ และให้คำนึงว่าวันนี้ประเทศกำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านของการปฏิรูป ต้องคิดด้วยมิติของแนวคิดปฏิรูป แต่เพื่อไม่ให้เสียโอกาสและเวลาเราเดินหน้าได้ บริหารจัดการ ทั้งเวลา บริหารจัดการทั้งสัญญา และการตัดสินใจว่าจะใช้รูปแบบไหน ผมก็เลยขอนำเสนอ ข้อเสนอทางเลือกที่ ๔ นะครับ ๑. ก็คือให้เดินหน้า ไม่ต้องรออีกแล้วในการที่จะต้อง มีการสำรวจขุดเจาะสัมปทานรอบที่ ๒๑ โดยที่ให้แบ่งสัญญาเป็น ๒ ส่วน ๑. คือการสำรวจ ขุดเจาะซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณสัก ๕-๖ ปีนั้นเป็นหนึ่งสัญญา สัญญานี้รัฐจะลงทุนเอง โดยเลือกแปลงที่มีศักยภาพมากที่สุด อาจจะลงทุนประมาณ ๒,๐๐๐ ล้านบาท หรือ ๒,๕๐๐ ล้านบาท ซึ่งผมคิดว่าเหลือเกินความคุ้มค่า มันเท่ากับ ๐.๕ เปอร์เซ็นต์ของ มูลค่าทั้งหมด กับ ๒. คือรัฐประมูลจ้างให้มีการขุดเจาะสำรวจ โดยมีออพชันก็คือว่า ถ้าคุณสำรวจขุดเจาะเจอในระหว่างก่อนที่จะเริ่มการผลิตนี่ ภายใน ๑ ปีหลังจากที่เริ่มจาก ปี ๒๕๕๙ แล้วนี่ ใน ๑ ปีรัฐจะออกแบบว่า ถ้าเป็นแปลงใหญ่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต ถ้าเป็นแปลงเล็กก็ใช้ระบบสัมปทานแบบที่บราซิลได้ดำเนินการที่เรียกว่า บราซิล โมเดล เป็นธรรมด้วยกันกับประเทศนี้ และเป็นธรรมกับภาคเอกชนในเรื่องของผลตอบแทน การลงทุน เพราะฉะนั้นในข้อเสนอดังกล่าวนี้ก็จะทำให้เกิดสัญญาระยะที่ ๒ ก็คือว่า เมื่อสำรวจขุดเจาะรู้แล้วว่ามี ไม่มี มีมากมีน้อย ออกแบบรูปแบบผลประโยชน์ได้ภายใน ๑ ปี นับจากนี้ไป เอกชนเขาก็รู้แล้วว่าเขาควรจะเลือกอย่างไหน ถ้าเป็นแปลงใหญ่ แปลงเล็ก จะออกมารูปแบบอย่างไร ตัดสินใจได้ล่วงหน้า ถ้าไม่พอใจจ่ายคืนไป แล้วหลังจากนั้นก็ทำสัญญาสัมปทานในเรื่องผลิตและจำหน่าย มีเวลาครับ ทำไมจะต้องไปติดอยู่ แค่ว่าทำทีเดียวผูกพัน ๓๙ ปี แล้วกระดิกอะไรไม่ได้เลย ซึ่งผมก็เห็นว่าเป็นระบบเดิมก็ดี เพราะใช้มานานแล้ว แล้วก็คิดกันอยู่แค่นั้น แต่วันนี้เรามีโอกาสที่จะทบทวนและมีเวลา ไม่เสียเวลาอย่างที่ได้เรียนไว้ ตอบโจทย์ทุกข้อ แล้วเอกชนก็จะมีความรู้สึกว่าการปฏิรูปครั้งนี้ ไม่ละเลยความเห็นของภาควิชาการ ภาคเอกชนทุกภาคส่วน นอกเหนือจากการได้ข้อมูลจาก กลุ่มบริษัทใหญ่ ๆ จากหน่วยงานภาครัฐแต่เพียงเท่านั้น แล้วเราก็มาหันหน้าเดินหน้า ไปด้วยกัน ก็ต้องขอบคุณท่านประธานครับ ที่ขอใช้เวลาในการอธิบาย เพราะเป็นทางเลือก ที่ไม่เหมือนข้อเสนอของกรรมาธิการเสียงข้างมากและกรรมาธิการที่สงวนความเห็นท่านอื่น ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม นายอลงกรณ์ พลบุตร ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่ได้สงวนความเห็นแล้วก็มีข้อเสนอ ที่ได้อภิปราย และเมื่อท่านประธานได้อนุญาตให้คุณรสนาซึ่งเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อย สรุปข้อเสนออีกครั้งหนึ่ง กระผมก็คิดว่าผมควรมีโอกาสสรุปข้อเสนอเช่นเดียวกันครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม นายอลงกรณ์ พลบุตร ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่ได้สงวนความเห็นแล้วก็มีข้อเสนอ ที่ได้อภิปราย และเมื่อท่านประธานได้อนุญาตให้คุณรสนาซึ่งเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อย สรุปข้อเสนออีกครั้งหนึ่ง กระผมก็คิดว่าผมควรมีโอกาสสรุปข้อเสนอเช่นเดียวกันครับ
ข้อเสนอที่เป็นทางเลือกที่ ๔ นะครับ นอกเหนือจากที่ทางคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากได้เสนอ ๑ ๒ ๓ แล้วนั้น ผมได้เสนอ ข้อเสนอที่ ๔ ก็คือว่าให้เดินหน้าการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ในประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงทางพลังงานในอนาคต โดยให้มีการแก้ไขเงื่อนไข บางประการ
ข้อเสนอที่เป็นทางเลือกที่ ๔ นะครับ นอกเหนือจากที่ทางคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากได้เสนอ ๑ ๒ ๓ แล้วนั้น ผมได้เสนอ ข้อเสนอที่ ๔ ก็คือว่าให้เดินหน้าการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ในประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงทางพลังงานในอนาคต โดยให้มีการแก้ไขเงื่อนไข บางประการ
ประการที่ ๑ ก็คือให้มีการแบ่งสัญญาสัมปทานออกเป็น ๒ ระยะด้วยกัน ๑. ก็คือสัญญาสัมปทานการสำรวจและเจาะสำรวจ ๒. ก็คือสัญญาสัมปทานการผลิตและ จำหน่าย โดยที่การแบ่งสัญญาสัมปทานออกเป็น ๒ ระยะนั้นก็เป็นไปตามข้อเท็จจริง ที่ไม่ได้แตกต่างในกระบวนการของสัญญาสัมปทานที่ผ่านมา เพราะว่าในขั้นตอนของ การเจาะสำรวจนั้นจะใช้เวลาประมาณ ๖ ปี จากนั้นภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ในฉบับที่ใช้ บังคับปัจจุบันนั้น เมื่อมีการเจาะสำรวจและเห็นว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนาสู่การผลิตได้ ก็ยังต้องขออนุญาตจากอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอีกครั้งหนึ่ง ใช่ว่าภายใต้ระบบปัจจุบันนั้น จะต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นเมื่อมีการเจาะสำรวจซึ่งต้องใช้เวลาถึง ๖ ปี หรือ ๕ ปี หรือ ๔ ปีก็แล้วแต่ ในส่วนนี้เราควรที่จะกำหนดเงื่อนไขในสัญญาในการเปิดสัมปทาน ปิโตรเลียมรอบ ๒๑ นั้นให้มีความชัดเจนเป็น ๒ ขั้นตอน ในระหว่างของการที่มี การเจาะสำรวจก็เป็นห้วงเวลาที่มีเวลาเพียงพอ อาจใช้เวลาเพียงแค่ ๖ เดือน หรือ ๑ ปี ในการสร้างระบบตอบแทนผลประโยชน์ในระบบแบ่งปันผลผลิต ก็คือตัวที่จะเป็น เงื่อนไขสัญญาสำหรับสัญญาการผลิตและจำหน่าย ซึ่งในประเด็นดังกล่าวนั้นถามบอกว่า ในทางปฏิบัติทำได้หรือไม่ ทำได้ครับ เพราะว่าสัมปทานปิโตรเลียมรอบ ๒๑ ที่เปิดมาตั้งแต่ วันที่ ๒๑ ตุลาคม และจะสิ้นสุดการรับข้อเสนอในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์นั้น ทั้งหมด ๑๒๐ วัน รัฐได้สงวนไว้ในกรณีที่สามารถแก้ไขเงื่อนไขได้อยู่แล้ว ดังนั้นข้อเสนอดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อเสนอที่ตอบทุกโจทย์ครับ ความวิตกกังวลของ กรรมาธิการเสียงข้างมากเกรงว่าจะกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงาน ถ้าหากว่า การเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ นั้นล่าช้าไปเป็นเวลาหลายปี ก็จะไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ในแนวทางที่ ๔
ประการที่ ๑ ก็คือให้มีการแบ่งสัญญาสัมปทานออกเป็น ๒ ระยะด้วยกัน ๑. ก็คือสัญญาสัมปทานการสำรวจและเจาะสำรวจ ๒. ก็คือสัญญาสัมปทานการผลิตและ จำหน่าย โดยที่การแบ่งสัญญาสัมปทานออกเป็น ๒ ระยะนั้นก็เป็นไปตามข้อเท็จจริง ที่ไม่ได้แตกต่างในกระบวนการของสัญญาสัมปทานที่ผ่านมา เพราะว่าในขั้นตอนของ การเจาะสำรวจนั้นจะใช้เวลาประมาณ ๖ ปี จากนั้นภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ในฉบับที่ใช้ บังคับปัจจุบันนั้น เมื่อมีการเจาะสำรวจและเห็นว่ามีศักยภาพที่จะพัฒนาสู่การผลิตได้ ก็ยังต้องขออนุญาตจากอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอีกครั้งหนึ่ง ใช่ว่าภายใต้ระบบปัจจุบันนั้น จะต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นเมื่อมีการเจาะสำรวจซึ่งต้องใช้เวลาถึง ๖ ปี หรือ ๕ ปี หรือ ๔ ปีก็แล้วแต่ ในส่วนนี้เราควรที่จะกำหนดเงื่อนไขในสัญญาในการเปิดสัมปทาน ปิโตรเลียมรอบ ๒๑ นั้นให้มีความชัดเจนเป็น ๒ ขั้นตอน ในระหว่างของการที่มี การเจาะสำรวจก็เป็นห้วงเวลาที่มีเวลาเพียงพอ อาจใช้เวลาเพียงแค่ ๖ เดือน หรือ ๑ ปี ในการสร้างระบบตอบแทนผลประโยชน์ในระบบแบ่งปันผลผลิต ก็คือตัวที่จะเป็น เงื่อนไขสัญญาสำหรับสัญญาการผลิตและจำหน่าย ซึ่งในประเด็นดังกล่าวนั้นถามบอกว่า ในทางปฏิบัติทำได้หรือไม่ ทำได้ครับ เพราะว่าสัมปทานปิโตรเลียมรอบ ๒๑ ที่เปิดมาตั้งแต่ วันที่ ๒๑ ตุลาคม และจะสิ้นสุดการรับข้อเสนอในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์นั้น ทั้งหมด ๑๒๐ วัน รัฐได้สงวนไว้ในกรณีที่สามารถแก้ไขเงื่อนไขได้อยู่แล้ว ดังนั้นข้อเสนอดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อเสนอที่ตอบทุกโจทย์ครับ ความวิตกกังวลของ กรรมาธิการเสียงข้างมากเกรงว่าจะกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงาน ถ้าหากว่า การเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ นั้นล่าช้าไปเป็นเวลาหลายปี ก็จะไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ในแนวทางที่ ๔
ประการที่ ๒ ก็คือว่าในกรณีการเปิดสัมปทานรอบนี้ทั้งหมด ๒๙ แปลงนั้น ๒๓ แปลงเป็นการเจาะสำรวจบนบกครับ อีก ๖ แปลงเป็นการเจาะสำรวจสัมปทานในทะเล เพื่อให้เห็นชัดเจนผมยกตัวอย่างครับท่านประธาน ในข้อเสนอที่ผมได้อภิปรายไปในช่วงแรกนั้น ผมได้เสนอว่าในทั้งหมด ๒๙ แปลงนั้นรัฐอาจจะเลือกมา ๔ แปลงครับ แปลงที่มีศักยภาพสูงสุด ซึ่งความจริงกรรมาธิการควรจะบอกสมาชิกด้วยว่าแปลงทั้งหมดใน ๒๙ แปลงนั้น มี ๔ แปลง ที่ติดกับแปลงบงกชและแปลงเอราวัณของเชฟรอน และของ ปตท.สผ. ซึ่งเป็นแปลง ที่ใหญ่ที่สุดและสัญญาสัมปทานจะหมดลงในอีก ๗ และ ๘ ปีข้างหน้าโดยลำดับ เมื่อสัญญา สัมปทานดังกล่าวหมดลง แท่นเจาะก็ดี ท่อวัสดุอุปกรณ์ทั้งหมดตกเป็นของรัฐ เพราะฉะนั้น แปลงที่เนื้อหอมที่สุดก็คือแปลง ๔ แปลงที่อยู่ติดแปลงใหญ่เหล่านี้ครับ ผมคิดว่าโดยตัวอย่าง อย่างนี้ถ้าในทางรูปธรรมก็คือว่า รัฐบาลโดยข้อเสนอแนะของ สปช. นั้นเสนอไปเลยครับว่า ในเรื่องของ ๔ แปลงดังกล่าวให้เป็นเรื่องของรัฐจะทำการเจาะสำรวจและใช้ระบบแบ่งปัน ผลผลิตซึ่งรัฐได้ประโยชน์มากกว่า ไม่เป็นความจริงที่บอกว่าการแบ่งปันผลผลิตกับระบบ สัมปทานนั้นเหมือนกัน ท่านเคยทำเหมืองไหมครับ ท่านได้ประทานบัตรจากการทำเหมือง ผมขอประทานบัตรผมทำเหมือง ผมผลิตแร่ได้เท่าไร ผมเสียค่าภาคหลวง และบริษัทผมก็ต้อง เสียภาษีนิติบุคคลตามอัตราภาษีที่รัฐกำหนด แน่นอนในส่วนของปิโตรเลียมก็มีคิดในเรื่องของ ภาษีที่สูงกว่าการทำเหมืองแร่ แต่ตัวอย่างยกง่าย ๆ ก็คือว่า ผมทำเหมืองผมผลิตได้เท่าไร เป็นของผม และผมจ่ายคืนรัฐอย่างไร ค่าภาคหลวง ค่าภาษี ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ หรือว่า ในระบบของไทยแลนด์ทรีพลัสก็อาจจะมีในเรื่องของโบนัสเพิ่มเติมหรือว่าการจ่ายล่วงหน้า เมื่อมีการลงนามทำสัญญา แต่กรณีของการแบ่งปันผลผลิตก็คือรัฐเห็นว่าแหล่งแร่นี้ อุดมสมบูรณ์แน่ รัฐบอกตรงนี้รัฐทำเอง จะให้เอกชนมาทำการผลิตหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่แร่ทั้งหมดเป็นของรัฐแล้วก็จ่ายแบ่งปันในรูปของเนื้อแร่ ในกรณีของเสมือนค่าจ้าง การผลิต อย่างนี้เป็นต้น มันมีความแตกต่างอยู่ ดังนั้นถ้าหากว่าในกรณีของรอบ ๒๑ เป็นตัวอย่างรูปธรรมก็คือว่า ใน ๒๙ แปลง สามารถที่จะให้รัฐเริ่มระบบแบ่งปันผลผลิตได้ ในทะเล ๔ แปลง ซึ่งเป็นแปลงที่ทุกคนหมายปองครับ แต่ไม่ควรเหมาโหลยกเข่งว่า ๒๙ แปลง เราไม่มีความรู้เราไม่พร้อม เพราะฉะนั้นยกไปเลย ๒๙ แปลงด้วยระบบสัมปทาน เพราะโดยขั้นตอนของทางปฏิบัติจริง ๆ แล้ว การสำรวจขุดเจาะใช้เวลา ๖ ปี เรามีเวลา เหลือเฟือ และผมเชื่อว่าศักยภาพของหน่วยงานของเรา โดยเฉพาะกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ดี กระทรวงพลังงาน และแม้แต่บุคลากรของเราทางด้านพลังงาน ทั้งที่อยู่ตาม ปตท. ปตท.สผ. และอื่น ๆ เราไม่แพ้หรอกครับ ปิโตรนาส เราไม่แพ้คนอื่น ดังนั้นการที่มากำหนดในเรื่องของ ระบบแบ่งปันผลผลิตในระบบพีเอสซี ผมเชื่อว่าเราศึกษามาระดับหนึ่ง และมีประสบการณ์ จากกรณีการใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตในแปลงเจดีเอระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งทุกวันนี้ก็ใช้ ระบบนี้อยู่แล้ว และตรงนี้จะตอบโจทย์ได้นะครับว่า ในกระแสของการเรียกร้องตื่นตัว ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติของเรานั้นมันมีความจริงประการหนึ่งอยู่ว่า ๔๔ ปีที่ผ่านมา เราได้ใช้ระบบสัมปทาน ก็เหมือนการที่รัฐให้สัมปทานไป แล้วก็ได้เก็บแค่ค่าภาคหลวง ค่าผลกำไร วันนี้ถึงเวลาที่เป็นจุดเปลี่ยนของยุคแห่งการปฏิรูป เราต้องคิดใหม่และคิดว่าเราสามารถทำได้ โดยข้อกฎหมายแล้ว โดยส่วนใหญ่แทบจะไม่ต้องแก้ครับ แล้วการแก้กฎหมายภายใต้ยุคนี้ ทำได้เร็วจึงไม่ควรเป็นข้ออ้าง คิดถึงเป้าหมายประเทศ คิดถึงประโยชน์ประเทศที่ควรที่จะได้ มากกว่า และคิดถึงความเป็นธรรมที่เราจะให้กับภาคเอกชนของการลงทุน สิ่งเหล่านี้จะเป็น คำตอบสำคัญ และการลงมติวันนี้สำคัญมาก ผมให้ความเคารพกรรมาธิการเสียงข้างมาก ทุกท่านนะครับ และกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่แม้จะมีความเห็นแนวทางใกล้เคียง แต่ว่าแตกต่างในข้อเสนอก็ตาม แต่ครั้งนี้มันเป็นเรื่องของ สปช. ทั้งหมด ๒๕๐ คน ที่จะต้อง ตัดสินใจวางหลักคิดใหม่ วางจุดเปลี่ยนใหม่ในด้านพลังงานของประเทศ และนี่คือจุดท้าทาย ครั้งแรกที่เราจะต้องมีการพิจารณาและลงมติ ก็ขอให้ท่านสมาชิกได้กรุณาสนับสนุน ทางเลือกที่ ๔ ครับ เป็นทางเลือกที่ปฏิบัติได้ เป็นประโยชน์ที่สุดมากกว่าทุกระบบ และเป็นการตอบโจทย์ในเรื่องทรัพยากรที่เป็นธรรมชาติของเรา และที่สำคัญเป็นการวาง ระบบใหม่ในการที่ประเทศนี้ควรได้รับมาจากในอดีต แต่วันนี้เรามีเวลาที่เราจะได้มาทบทวน และจะก้าวสู่ยุคใหม่ของการปฏิรูปพลังงานครับ ขอบคุณท่านประธาน
ประการที่ ๒ ก็คือว่าในกรณีการเปิดสัมปทานรอบนี้ทั้งหมด ๒๙ แปลงนั้น ๒๓ แปลงเป็นการเจาะสำรวจบนบกครับ อีก ๖ แปลงเป็นการเจาะสำรวจสัมปทานในทะเล เพื่อให้เห็นชัดเจนผมยกตัวอย่างครับท่านประธาน ในข้อเสนอที่ผมได้อภิปรายไปในช่วงแรกนั้น ผมได้เสนอว่าในทั้งหมด ๒๙ แปลงนั้นรัฐอาจจะเลือกมา ๔ แปลงครับ แปลงที่มีศักยภาพสูงสุด ซึ่งความจริงกรรมาธิการควรจะบอกสมาชิกด้วยว่าแปลงทั้งหมดใน ๒๙ แปลงนั้น มี ๔ แปลง ที่ติดกับแปลงบงกชและแปลงเอราวัณของเชฟรอน และของ ปตท.สผ. ซึ่งเป็นแปลง ที่ใหญ่ที่สุดและสัญญาสัมปทานจะหมดลงในอีก ๗ และ ๘ ปีข้างหน้าโดยลำดับ เมื่อสัญญา สัมปทานดังกล่าวหมดลง แท่นเจาะก็ดี ท่อวัสดุอุปกรณ์ทั้งหมดตกเป็นของรัฐ เพราะฉะนั้น แปลงที่เนื้อหอมที่สุดก็คือแปลง ๔ แปลงที่อยู่ติดแปลงใหญ่เหล่านี้ครับ ผมคิดว่าโดยตัวอย่าง อย่างนี้ถ้าในทางรูปธรรมก็คือว่า รัฐบาลโดยข้อเสนอแนะของ สปช. นั้นเสนอไปเลยครับว่า ในเรื่องของ ๔ แปลงดังกล่าวให้เป็นเรื่องของรัฐจะทำการเจาะสำรวจและใช้ระบบแบ่งปัน ผลผลิตซึ่งรัฐได้ประโยชน์มากกว่า ไม่เป็นความจริงที่บอกว่าการแบ่งปันผลผลิตกับระบบ สัมปทานนั้นเหมือนกัน ท่านเคยทำเหมืองไหมครับ ท่านได้ประทานบัตรจากการทำเหมือง ผมขอประทานบัตรผมทำเหมือง ผมผลิตแร่ได้เท่าไร ผมเสียค่าภาคหลวง และบริษัทผมก็ต้อง เสียภาษีนิติบุคคลตามอัตราภาษีที่รัฐกำหนด แน่นอนในส่วนของปิโตรเลียมก็มีคิดในเรื่องของ ภาษีที่สูงกว่าการทำเหมืองแร่ แต่ตัวอย่างยกง่าย ๆ ก็คือว่า ผมทำเหมืองผมผลิตได้เท่าไร เป็นของผม และผมจ่ายคืนรัฐอย่างไร ค่าภาคหลวง ค่าภาษี ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ หรือว่า ในระบบของไทยแลนด์ทรีพลัสก็อาจจะมีในเรื่องของโบนัสเพิ่มเติมหรือว่าการจ่ายล่วงหน้า เมื่อมีการลงนามทำสัญญา แต่กรณีของการแบ่งปันผลผลิตก็คือรัฐเห็นว่าแหล่งแร่นี้ อุดมสมบูรณ์แน่ รัฐบอกตรงนี้รัฐทำเอง จะให้เอกชนมาทำการผลิตหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่แร่ทั้งหมดเป็นของรัฐแล้วก็จ่ายแบ่งปันในรูปของเนื้อแร่ ในกรณีของเสมือนค่าจ้าง การผลิต อย่างนี้เป็นต้น มันมีความแตกต่างอยู่ ดังนั้นถ้าหากว่าในกรณีของรอบ ๒๑ เป็นตัวอย่างรูปธรรมก็คือว่า ใน ๒๙ แปลง สามารถที่จะให้รัฐเริ่มระบบแบ่งปันผลผลิตได้ ในทะเล ๔ แปลง ซึ่งเป็นแปลงที่ทุกคนหมายปองครับ แต่ไม่ควรเหมาโหลยกเข่งว่า ๒๙ แปลง เราไม่มีความรู้เราไม่พร้อม เพราะฉะนั้นยกไปเลย ๒๙ แปลงด้วยระบบสัมปทาน เพราะโดยขั้นตอนของทางปฏิบัติจริง ๆ แล้ว การสำรวจขุดเจาะใช้เวลา ๖ ปี เรามีเวลา เหลือเฟือ และผมเชื่อว่าศักยภาพของหน่วยงานของเรา โดยเฉพาะกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ดี กระทรวงพลังงาน และแม้แต่บุคลากรของเราทางด้านพลังงาน ทั้งที่อยู่ตาม ปตท. ปตท.สผ. และอื่น ๆ เราไม่แพ้หรอกครับ ปิโตรนาส เราไม่แพ้คนอื่น ดังนั้นการที่มากำหนดในเรื่องของ ระบบแบ่งปันผลผลิตในระบบพีเอสซี ผมเชื่อว่าเราศึกษามาระดับหนึ่ง และมีประสบการณ์ จากกรณีการใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตในแปลงเจดีเอระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งทุกวันนี้ก็ใช้ ระบบนี้อยู่แล้ว และตรงนี้จะตอบโจทย์ได้นะครับว่า ในกระแสของการเรียกร้องตื่นตัว ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติของเรานั้นมันมีความจริงประการหนึ่งอยู่ว่า ๔๔ ปีที่ผ่านมา เราได้ใช้ระบบสัมปทาน ก็เหมือนการที่รัฐให้สัมปทานไป แล้วก็ได้เก็บแค่ค่าภาคหลวง ค่าผลกำไร วันนี้ถึงเวลาที่เป็นจุดเปลี่ยนของยุคแห่งการปฏิรูป เราต้องคิดใหม่และคิดว่าเราสามารถทำได้ โดยข้อกฎหมายแล้ว โดยส่วนใหญ่แทบจะไม่ต้องแก้ครับ แล้วการแก้กฎหมายภายใต้ยุคนี้ ทำได้เร็วจึงไม่ควรเป็นข้ออ้าง คิดถึงเป้าหมายประเทศ คิดถึงประโยชน์ประเทศที่ควรที่จะได้ มากกว่า และคิดถึงความเป็นธรรมที่เราจะให้กับภาคเอกชนของการลงทุน สิ่งเหล่านี้จะเป็น คำตอบสำคัญ และการลงมติวันนี้สำคัญมาก ผมให้ความเคารพกรรมาธิการเสียงข้างมาก ทุกท่านนะครับ และกรรมาธิการเสียงข้างน้อยที่แม้จะมีความเห็นแนวทางใกล้เคียง แต่ว่าแตกต่างในข้อเสนอก็ตาม แต่ครั้งนี้มันเป็นเรื่องของ สปช. ทั้งหมด ๒๕๐ คน ที่จะต้อง ตัดสินใจวางหลักคิดใหม่ วางจุดเปลี่ยนใหม่ในด้านพลังงานของประเทศ และนี่คือจุดท้าทาย ครั้งแรกที่เราจะต้องมีการพิจารณาและลงมติ ก็ขอให้ท่านสมาชิกได้กรุณาสนับสนุน ทางเลือกที่ ๔ ครับ เป็นทางเลือกที่ปฏิบัติได้ เป็นประโยชน์ที่สุดมากกว่าทุกระบบ และเป็นการตอบโจทย์ในเรื่องทรัพยากรที่เป็นธรรมชาติของเรา และที่สำคัญเป็นการวาง ระบบใหม่ในการที่ประเทศนี้ควรได้รับมาจากในอดีต แต่วันนี้เรามีเวลาที่เราจะได้มาทบทวน และจะก้าวสู่ยุคใหม่ของการปฏิรูปพลังงานครับ ขอบคุณท่านประธาน