ขอบพระคุณ ท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาตินะคะ แล้วก็เรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านรองประธานสภานะคะ แล้วก็เพื่อนสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันขออนุญาตเสนอ ร่างพระราชบัญญัติอย่างที่ท่านประธานได้เรียนไปแล้ว แล้วก็ขออนุญาตใช้เพาเวอร์พอยท์ (PowerPoint) ด้วยนะคะ ขอเพาเวอร์พอยท์ด้วยค่ะ
ขอบพระคุณ ท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาตินะคะ แล้วก็เรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านรองประธานสภานะคะ แล้วก็เพื่อนสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันขออนุญาตเสนอ ร่างพระราชบัญญัติอย่างที่ท่านประธานได้เรียนไปแล้ว แล้วก็ขออนุญาตใช้เพาเวอร์พอยท์ (PowerPoint) ด้วยนะคะ ขอเพาเวอร์พอยท์ด้วยค่ะ
ตามที่ท่านประธานสภาได้พูดไปแล้วว่า วันที่ ๕ ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้กรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคไปยกร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนะคะ แล้วก็ขณะนี้เราได้ทำเสร็จแล้ว ก็เลยมานำเรียนนะคะ ขออนุญาตไปสไลด์ถัดไปเลยค่ะ อันนี้ก็เป็นบรรยากาศคราวที่แล้วนะคะ ขออนุญาตไปสไลด์ (Slide) ถัดไปเลยค่ะ กรอบการปฏิรูปของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคเรามี อยู่ ๔ กรอบใหญ่ ๆ นะคะ แล้วก็เรื่ององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนี่ก็เป็น ๑ ใน ๔ กรอบ โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคโดยภาคประชาชนแล้วก็สมัชชา ผู้บริโภคนะคะ อันที่ ๒ ก็คือระบบการเยียวยาและบทลงโทษผู้ที่เอาเปรียบผู้บริโภค อันที่ ๓ ระบบข้อมูลและระบบการป้องกันปัญหาสำหรับผู้บริโภค ระบบการป้องกันการผูกขาดและ การแข่งขันทางการค้า ดิฉันขออนุญาตไปสไลด์ถัดไปนะคะ เพราะฉะนั้นอยากจะเรียนว่า โครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคโดยภาคประชาชนและสมัชชาผู้บริโภคถือเป็นอันหนึ่ง ที่สำคัญที่อยู่ในองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่จะนำเสนอต่อสมาชิกในวันนี้นะคะ
ตามที่ท่านประธานสภาได้พูดไปแล้วว่า วันที่ ๕ ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้กรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคไปยกร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนะคะ แล้วก็ขณะนี้เราได้ทำเสร็จแล้ว ก็เลยมานำเรียนนะคะ ขออนุญาตไปสไลด์ถัดไปเลยค่ะ อันนี้ก็เป็นบรรยากาศคราวที่แล้วนะคะ ขออนุญาตไปสไลด์ (Slide) ถัดไปเลยค่ะ กรอบการปฏิรูปของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคเรามี อยู่ ๔ กรอบใหญ่ ๆ นะคะ แล้วก็เรื่ององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนี่ก็เป็น ๑ ใน ๔ กรอบ โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคโดยภาคประชาชนแล้วก็สมัชชา ผู้บริโภคนะคะ อันที่ ๒ ก็คือระบบการเยียวยาและบทลงโทษผู้ที่เอาเปรียบผู้บริโภค อันที่ ๓ ระบบข้อมูลและระบบการป้องกันปัญหาสำหรับผู้บริโภค ระบบการป้องกันการผูกขาดและ การแข่งขันทางการค้า ดิฉันขออนุญาตไปสไลด์ถัดไปนะคะ เพราะฉะนั้นอยากจะเรียนว่า โครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคโดยภาคประชาชนและสมัชชาผู้บริโภคถือเป็นอันหนึ่ง ที่สำคัญที่อยู่ในองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่จะนำเสนอต่อสมาชิกในวันนี้นะคะ
ประเด็นถัดมาดิฉันไม่ขออนุญาตนำเรียนแล้วนะคะ เนื่องจากว่าทางท่าน เลขาธิการได้พูดไปแล้วนะคะ ก็คือข้อบังคับการประชุมของสภาปฏิรูปแห่งชาตินะคะ ขณะนี้ เราทำร่างพระราชบัญญัติแล้วเสร็จในหมวด ๕ ข้อ ๑๐๒ ข้อ ๑๐๓ ข้อ ๑๐๔ แล้วก็สาระ ที่จะนำเสนอนะคะ
ประเด็นถัดมาดิฉันไม่ขออนุญาตนำเรียนแล้วนะคะ เนื่องจากว่าทางท่าน เลขาธิการได้พูดไปแล้วนะคะ ก็คือข้อบังคับการประชุมของสภาปฏิรูปแห่งชาตินะคะ ขณะนี้ เราทำร่างพระราชบัญญัติแล้วเสร็จในหมวด ๕ ข้อ ๑๐๒ ข้อ ๑๐๓ ข้อ ๑๐๔ แล้วก็สาระ ที่จะนำเสนอนะคะ
ดิฉันขออนุญาตไปเรื่องหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ ก็ชัดเจนนะคะว่า ให้มีกฎหมายว่าด้วยองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
ดิฉันขออนุญาตไปเรื่องหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ ก็ชัดเจนนะคะว่า ให้มีกฎหมายว่าด้วยองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
เหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
เหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ประเด็นที่ ๑ ก็เพื่อเป็นการปฏิรูปประเทศ ดิฉันคิดว่าชัดเจนว่าเรื่องนี้ก็เป็น เรื่องหนึ่งที่สำคัญในการปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมเพิ่มขึ้น
ประเด็นที่ ๑ ก็เพื่อเป็นการปฏิรูปประเทศ ดิฉันคิดว่าชัดเจนว่าเรื่องนี้ก็เป็น เรื่องหนึ่งที่สำคัญในการปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมเพิ่มขึ้น
ประเด็นที่ ๒ ให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย ตัวแทนผู้บริโภคและนักวิชาการ ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของ หน่วยงานรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนด มาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลย การกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค
ประเด็นที่ ๒ ให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย ตัวแทนผู้บริโภคและนักวิชาการ ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของ หน่วยงานรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนด มาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลย การกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค
ประเด็นที่ ๓ สนับสนุนให้เกิดโครงสร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ในการคุ้มครองตนเอง และมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักเกณฑ์ร่วมกับหน่วยงานรัฐ
ประเด็นที่ ๓ สนับสนุนให้เกิดโครงสร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ในการคุ้มครองตนเอง และมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักเกณฑ์ร่วมกับหน่วยงานรัฐ
ประเด็นที่ ๔ เหตุผลที่เสนอนี่ก็คือเพื่อที่จะประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
ประเด็นที่ ๔ เหตุผลที่เสนอนี่ก็คือเพื่อที่จะประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
ประเด็นสุดท้าย เหตุผลก็เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีผลผลิตที่มี คุณภาพสู่สังคม ทำให้พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการทั้งในระดับ ภูมิภาคและระหว่างประเทศนะคะ
ประเด็นสุดท้าย เหตุผลก็เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีผลผลิตที่มี คุณภาพสู่สังคม ทำให้พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการทั้งในระดับ ภูมิภาคและระหว่างประเทศนะคะ
ดิฉันขอไปสาระสำคัญของกฎหมายเลยนะคะ
ดิฉันขอไปสาระสำคัญของกฎหมายเลยนะคะ
ประเด็นที่ ๑ ที่สำคัญก็คือ ให้จัดตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น ทำหน้าที่ให้ความเห็นในการตรา การบังคับใช้กฎหมายหรือกฎ และให้ความเห็น ในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผลประโยชน์สาธารณะ ตรวจสอบ และรายงานการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคหรือละเลยการกระทำอันเป็น การคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งจะอยู่ในร่างมาตรา ๕ นะคะ
ประเด็นที่ ๑ ที่สำคัญก็คือ ให้จัดตั้งองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น ทำหน้าที่ให้ความเห็นในการตรา การบังคับใช้กฎหมายหรือกฎ และให้ความเห็น ในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผลประโยชน์สาธารณะ ตรวจสอบ และรายงานการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคหรือละเลยการกระทำอันเป็น การคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งจะอยู่ในร่างมาตรา ๕ นะคะ
สาระสำคัญประการที่ ๒ ของพระราชบัญญัติ ดำเนินการและสนับสนุน ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการคุ้มครองสิทธิของตน (ร่างมาตรา ๑๙ (๓))
สาระสำคัญประการที่ ๒ ของพระราชบัญญัติ ดำเนินการและสนับสนุน ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการคุ้มครองสิทธิของตน (ร่างมาตรา ๑๙ (๓))
สนับสนุนการใช้สิทธิร้องเรียนและฟ้องคดีของผู้บริโภค องค์กรผู้บริโภค (ร่างมาตรา ๑๙ (๔))
สนับสนุนการใช้สิทธิร้องเรียนและฟ้องคดีของผู้บริโภค องค์กรผู้บริโภค (ร่างมาตรา ๑๙ (๔))
ประเด็นที่ ๓ สนับสนุนองค์กรให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
ประเด็นที่ ๓ สนับสนุนองค์กรให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
ส่งเสริมการศึกษา วิจัย ทดสอบ สินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิ ของผู้บริโภค
ส่งเสริมการศึกษา วิจัย ทดสอบ สินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิ ของผู้บริโภค
จัดสมัชชาผู้บริโภคอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (ร่างมาตรา ๑๙ (๘))
จัดสมัชชาผู้บริโภคอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง (ร่างมาตรา ๑๙ (๘))
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประเด็นที่ ๓ ก็มีประเด็นเรื่องหลักประกัน เรื่องความเป็นอิสระ เพื่อให้การทำหน้าที่ให้ความเห็นข้อเสนอแนะเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีหลักประกันความเป็นอิสระในการดำเนินงาน ดังนี้
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประเด็นที่ ๓ ก็มีประเด็นเรื่องหลักประกัน เรื่องความเป็นอิสระ เพื่อให้การทำหน้าที่ให้ความเห็นข้อเสนอแนะเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องมีหลักประกันความเป็นอิสระในการดำเนินงาน ดังนี้
ประเด็นที่ ๑ มีหน่วยธุรการที่สามารถบริหารจัดการได้โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับ บัญชาของภาครัฐ (ร่างมาตรา ๕)
ประเด็นที่ ๑ มีหน่วยธุรการที่สามารถบริหารจัดการได้โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับ บัญชาของภาครัฐ (ร่างมาตรา ๕)
ประเด็นที่ ๒ กำหนดให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่ชัดเจน แน่นอนและ เพียงพอต่อการดำเนินงานที่เป็นอิสระไม่น้อยกว่า ๓ บาทต่อหัวประชากร (ร่างมาตรา ๘)
ประเด็นที่ ๒ กำหนดให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่ชัดเจน แน่นอนและ เพียงพอต่อการดำเนินงานที่เป็นอิสระไม่น้อยกว่า ๓ บาทต่อหัวประชากร (ร่างมาตรา ๘)
ประเด็นที่ ๓ กรรมการผู้มีอำนาจหน้าที่ ต้องไม่ถูกแทรกแซงจาก ฝ่ายการเมือง รัฐบาล หรือภาคธุรกิจ
ประเด็นที่ ๓ กรรมการผู้มีอำนาจหน้าที่ ต้องไม่ถูกแทรกแซงจาก ฝ่ายการเมือง รัฐบาล หรือภาคธุรกิจ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประเด็นที่ ๔ เพื่อให้กรรมการที่จะมาทำ หน้าที่ มีความเป็นอิสระ ปลอดจากอิทธิพลทางการเมือง ทุนธุรกิจ และมิให้มีผลประโยชน์ ขัดกัน ในการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคได้แบ่งคณะกรรมการออกเป็น ๒ กลุ่มที่สำคัญ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประเด็นที่ ๔ เพื่อให้กรรมการที่จะมาทำ หน้าที่ มีความเป็นอิสระ ปลอดจากอิทธิพลทางการเมือง ทุนธุรกิจ และมิให้มีผลประโยชน์ ขัดกัน ในการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคได้แบ่งคณะกรรมการออกเป็น ๒ กลุ่มที่สำคัญ
กลุ่มที่ ๑ สรรหาจากนักวิชาการ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๗ ด้าน ด้านการเงิน การธนาคาร ด้านบริการสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านบริการสาธารณะ ด้านผลิตภัณฑ์ สุขภาพ ทั้งหมด ๗ ด้าน (ร่างมาตรา ๑๒ (๑))
กลุ่มที่ ๑ สรรหาจากนักวิชาการ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๗ ด้าน ด้านการเงิน การธนาคาร ด้านบริการสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านบริการสาธารณะ ด้านผลิตภัณฑ์ สุขภาพ ทั้งหมด ๗ ด้าน (ร่างมาตรา ๑๒ (๑))
ประเด็นที่ ๒ กลุ่มที่คัดเลือกกันเองจากองค์กรผู้บริโภคในภูมิภาคต่าง ๆ รวม ๘ คน (ร่างมาตรา ๑๒ (๒))
ประเด็นที่ ๒ กลุ่มที่คัดเลือกกันเองจากองค์กรผู้บริโภคในภูมิภาคต่าง ๆ รวม ๘ คน (ร่างมาตรา ๑๒ (๒))
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประเด็นที่ ๕ เพื่อให้การดำเนินงานของ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประเด็นที่ ๕ เพื่อให้การดำเนินงานของ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
กำหนดให้สามารถตรวจสอบองค์กรนี้อย่างน้อยใน ๔ ประเด็นนะคะ
กำหนดให้สามารถตรวจสอบองค์กรนี้อย่างน้อยใน ๔ ประเด็นนะคะ
ประเด็นที่ ๑ กำหนดให้ต้องเสนอแผนงานและงบประมาณในแต่ละปี ต่อคณะรัฐมนตรี รวมไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ร่างมาตรา ๙)
ประเด็นที่ ๑ กำหนดให้ต้องเสนอแผนงานและงบประมาณในแต่ละปี ต่อคณะรัฐมนตรี รวมไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ร่างมาตรา ๙)
ประเด็นที่ ๒ กำหนดให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีและ ประเมินผลการใช้เงิน และเมื่อสิ้นปีบัญชีต้องทำรายงานประจำปีแสดงงบการเงินและบัญชี เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบ (ร่างมาตรา ๑๑)
ประเด็นที่ ๒ กำหนดให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีและ ประเมินผลการใช้เงิน และเมื่อสิ้นปีบัญชีต้องทำรายงานประจำปีแสดงงบการเงินและบัญชี เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบ (ร่างมาตรา ๑๑)
ประเด็นที่ ๖ ดิฉันขออภัยนะคะ เป็นประเด็นที่ ๖ เพื่อให้การดำเนินงานของ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
ประเด็นที่ ๖ ดิฉันขออภัยนะคะ เป็นประเด็นที่ ๖ เพื่อให้การดำเนินงานของ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
จัดให้มีการประชุมสมัชชาองค์กรผู้บริโภคอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง เพื่อประเมิน การดำเนินงานและติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน ตลอดจนรับฟังข้อเสนอแนะจาก ผู้บริโภค (ร่างมาตรา ๑๙ (๘))
จัดให้มีการประชุมสมัชชาองค์กรผู้บริโภคอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง เพื่อประเมิน การดำเนินงานและติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน ตลอดจนรับฟังข้อเสนอแนะจาก ผู้บริโภค (ร่างมาตรา ๑๙ (๘))
ประเด็นถัดมา หากกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ มีโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๐ ปี หรือปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐-๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ร่างมาตรา ๓๓)
ประเด็นถัดมา หากกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ มีโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๐ ปี หรือปรับตั้งแต่ ๒๐,๐๐๐-๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ร่างมาตรา ๓๓)
ถ้าเราลองมาดูว่าขณะนี้อย่างที่ดิฉันเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกคงจำได้นะคะ ที่ท่าน รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้วท่านเป็นประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ท่านบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ขออภัยที่ต้องเอ่ยชื่อท่านอาจารย์ อาจารย์ได้พูดว่าเราทำไปเลย ไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญ ซึ่งดิฉันก็ได้มีโอกาสไปดูสาระของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องได้พูดถึงไว้ในมาตรา (๑/๒/๒) มาตรา ๓๒ นะคะ สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับ ความคุ้มครอง ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของ หน่วยงานรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนด มาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลย การกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และเสนอทางแก้ไขเยียวยาความเสียหายที่ผู้บริโภค ได้รับ ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้และทักษะที่จำเป็นด้าน การคุ้มครองบริโภค ทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์กรดังกล่าว ด้วยนะคะ อันนั้นก็เป็นสาระที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้เบื้องต้น
ถ้าเราลองมาดูว่าขณะนี้อย่างที่ดิฉันเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกคงจำได้นะคะ ที่ท่าน รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้วท่านเป็นประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ท่านบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ขออภัยที่ต้องเอ่ยชื่อท่านอาจารย์ อาจารย์ได้พูดว่าเราทำไปเลย ไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญ ซึ่งดิฉันก็ได้มีโอกาสไปดูสาระของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องได้พูดถึงไว้ในมาตรา (๑/๒/๒) มาตรา ๓๒ นะคะ สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับ ความคุ้มครอง ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของ หน่วยงานรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนด มาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลย การกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และเสนอทางแก้ไขเยียวยาความเสียหายที่ผู้บริโภค ได้รับ ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้และทักษะที่จำเป็นด้าน การคุ้มครองบริโภค ทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์กรดังกล่าว ด้วยนะคะ อันนั้นก็เป็นสาระที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้เบื้องต้น
ดิฉันขออนุญาตเรียนสุดท้ายนะคะก็คือเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีประวัติศาสตร์มา ยาวนานนะคะ แล้วก็ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ปี ๒๕๕๐ เสนอร่างผ่านสภาผู้แทนราษฎร ผ่านวุฒิสภา วุฒิสภาแก้ไขตั้งกรรมาธิการร่วม ออกจากกรรมาธิการร่วมผ่านวุฒิสภารอ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา อันนี้ก็คงเป็นที่ไปที่มาด้วยส่วนหนึ่งที่ประกอบกับร่างของ กรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ดิฉันมีข้อเสนอ ๒ ประเด็นต่อสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติ อันที่ ๑ เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... เพื่อให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาแล้วก็ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณา ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน
ดิฉันขออนุญาตเรียนสุดท้ายนะคะก็คือเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีประวัติศาสตร์มา ยาวนานนะคะ แล้วก็ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ ปี ๒๕๕๐ เสนอร่างผ่านสภาผู้แทนราษฎร ผ่านวุฒิสภา วุฒิสภาแก้ไขตั้งกรรมาธิการร่วม ออกจากกรรมาธิการร่วมผ่านวุฒิสภารอ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา อันนี้ก็คงเป็นที่ไปที่มาด้วยส่วนหนึ่งที่ประกอบกับร่างของ กรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ดิฉันมีข้อเสนอ ๒ ประเด็นต่อสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติ อันที่ ๑ เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... เพื่อให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาแล้วก็ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณา ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน
ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน ดิฉันขอชี้แจงในประเด็นสำคัญ ซึ่งดิฉันคิดว่าขออนุญาตพูดเรื่องความซ้ำซ้อน กับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือหน่วยงานรัฐ ซึ่งดิฉันคิดว่าองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ทำงานซ้ำซ้อน อย่างเช่นยกตัวอย่าง เรื่องฟุตบอล ที่บอกว่าถ้าเราจะฟ้องคดีแล้วก็จะทำให้องค์กรหนึ่งตัดสินใจฟ้องคดี สคบ. อาจจะตัดสินใจ ไม่ฟ้องคดี ดิฉันขอเรียนว่าอำนาจหน้าที่อันนี้อยู่ในมาตรา ๑๙ (๖) ซึ่งมาตรา ๑๙ (๖) พูดไว้ มาตรา ๑๙ (๕) ขออภัย ซึ่งองค์การนี้ไม่ได้มีอำนาจในการฟ้องคดีเอง แต่องค์การนี้ส่งเรื่อง ที่จะฟ้องคดีให้อัยการสูงสุดเป็นคนพิจารณา แล้วก็เช่นเดียวกันนะคะ อย่างสำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็ส่งเรื่องให้กับอัยการเป็นคนพิจารณาเหมือนกัน แล้วก็ถ้า อัยการเห็นว่าสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเคยส่งเรื่องนี้มาแล้ว ดิฉันเชื่อว่า อัยการก็คงไม่พิจารณาซ้ำซ้อน นั่นเป็นประเด็นที่ ๑
ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน ดิฉันขอชี้แจงในประเด็นสำคัญ ซึ่งดิฉันคิดว่าขออนุญาตพูดเรื่องความซ้ำซ้อน กับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือหน่วยงานรัฐ ซึ่งดิฉันคิดว่าองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ทำงานซ้ำซ้อน อย่างเช่นยกตัวอย่าง เรื่องฟุตบอล ที่บอกว่าถ้าเราจะฟ้องคดีแล้วก็จะทำให้องค์กรหนึ่งตัดสินใจฟ้องคดี สคบ. อาจจะตัดสินใจ ไม่ฟ้องคดี ดิฉันขอเรียนว่าอำนาจหน้าที่อันนี้อยู่ในมาตรา ๑๙ (๖) ซึ่งมาตรา ๑๙ (๖) พูดไว้ มาตรา ๑๙ (๕) ขออภัย ซึ่งองค์การนี้ไม่ได้มีอำนาจในการฟ้องคดีเอง แต่องค์การนี้ส่งเรื่อง ที่จะฟ้องคดีให้อัยการสูงสุดเป็นคนพิจารณา แล้วก็เช่นเดียวกันนะคะ อย่างสำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็ส่งเรื่องให้กับอัยการเป็นคนพิจารณาเหมือนกัน แล้วก็ถ้า อัยการเห็นว่าสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเคยส่งเรื่องนี้มาแล้ว ดิฉันเชื่อว่า อัยการก็คงไม่พิจารณาซ้ำซ้อน นั่นเป็นประเด็นที่ ๑
ประเด็นที่ ๒ ดิฉันคิดว่าในเชิงหลักการของการฟ้องคดีจะมีความแตกต่างกัน การฟ้องคดีของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากข้อร้องเรียน ของผู้บริโภคที่เป็นปัจเจกชนหรือผู้บริโภค แล้วสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ก็พิจารณาว่า อย่างกรณีบ้านที่อยู่อาศัยมันไม่ได้มีคนอยู่แค่หลังเดียวถูกไหมคะ มี ๔๐๐-๕๐๐ คน เพราะฉะนั้นการฟ้องคดีก็จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในกรณีนั้น ๆ แต่ในส่วนของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเขียนไว้ชัดนะคะว่า การฟ้องคดีจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม นั่นหมายความว่าไม่ใช่กรณีปัจเจกบุคคลที่ ร้องเรียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค แต่จะเป็นประเด็นสาธารณะที่ควรจะ หยิบยกขึ้นมาเพื่อดำเนินการฟ้องคดี แต่องค์การก็ไม่ได้มีสิทธิฟ้องคดีเอง เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่า เพียงแค่ส่งเรื่องให้กับอัยการสูงสุดในการดำเนินการเท่านั้นเองนะคะ แล้วก็ดิฉันก็คิดว่าอันนี้ ก็คงจะเป็นประเด็นที่มีความแตกต่างกัน
ประเด็นที่ ๒ ดิฉันคิดว่าในเชิงหลักการของการฟ้องคดีจะมีความแตกต่างกัน การฟ้องคดีของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากข้อร้องเรียน ของผู้บริโภคที่เป็นปัจเจกชนหรือผู้บริโภค แล้วสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ก็พิจารณาว่า อย่างกรณีบ้านที่อยู่อาศัยมันไม่ได้มีคนอยู่แค่หลังเดียวถูกไหมคะ มี ๔๐๐-๕๐๐ คน เพราะฉะนั้นการฟ้องคดีก็จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในกรณีนั้น ๆ แต่ในส่วนของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเขียนไว้ชัดนะคะว่า การฟ้องคดีจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม นั่นหมายความว่าไม่ใช่กรณีปัจเจกบุคคลที่ ร้องเรียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค แต่จะเป็นประเด็นสาธารณะที่ควรจะ หยิบยกขึ้นมาเพื่อดำเนินการฟ้องคดี แต่องค์การก็ไม่ได้มีสิทธิฟ้องคดีเอง เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่า เพียงแค่ส่งเรื่องให้กับอัยการสูงสุดในการดำเนินการเท่านั้นเองนะคะ แล้วก็ดิฉันก็คิดว่าอันนี้ ก็คงจะเป็นประเด็นที่มีความแตกต่างกัน
นอกจากนั้นนะครับก็จะมีในส่วนของบทกำหนดโทษนะครับ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๓ ผมเห็นด้วยกับอาจารย์กิติพงศ์นะครับ เพราะไป ๆ มา ๆ ผมเข้าใจครับจริง ๆ ในร่างของสภาผู้แทนราษฎรไม่มีบทลงโทษตรงนี้ แต่พอมาตรา ๕ ไปแยกออกให้อิสระ เด็ดขาดจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็เกรงว่าจะไม่มีบทลงโทษก็เลยมาใส่ตรงนี้ ซึ่งบทลงโทษดังกล่าวนี้นะครับมีอัตราโทษจำคุก ๑ ปี ถึง ๑๐ ปี ผมเกรงว่าจะทำให้ไม่มีใคร กล้ามาเป็นกรรมการนะครับ น่าจะพิจารณาลดบทลงโทษตรงนี้ลง และสั้น ๆ นิดเดียว ท่านประธานครับ จริง ๆ แล้วในบทลงโทษมาตรา ๓๓ เขามีกระทำผิดต่อหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ ใช่ไหมครับ และมาตรา ๒๐ แต่ปรากฏว่ากรรมาธิการไปตัดมาตรา ๒๐ ออกนะครับ ซึ่งไม่ตรงกับวุฒิสภาเขาอีก อันนี้ขอเหตุผลนะครับ เพราะว่าถ้าจะปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบแล้ว จริง ๆ มันต้องมีมาตรา ๒๐ หรือจริง ๆ รวมถึงมาตรา ๕ ด้วยซ้ำไปด้วยนะครับ ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ
นอกจากนั้นนะครับก็จะมีในส่วนของบทกำหนดโทษนะครับ บทกำหนดโทษ มาตรา ๓๓ ผมเห็นด้วยกับอาจารย์กิติพงศ์นะครับ เพราะไป ๆ มา ๆ ผมเข้าใจครับจริง ๆ ในร่างของสภาผู้แทนราษฎรไม่มีบทลงโทษตรงนี้ แต่พอมาตรา ๕ ไปแยกออกให้อิสระ เด็ดขาดจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ก็เกรงว่าจะไม่มีบทลงโทษก็เลยมาใส่ตรงนี้ ซึ่งบทลงโทษดังกล่าวนี้นะครับมีอัตราโทษจำคุก ๑ ปี ถึง ๑๐ ปี ผมเกรงว่าจะทำให้ไม่มีใคร กล้ามาเป็นกรรมการนะครับ น่าจะพิจารณาลดบทลงโทษตรงนี้ลง และสั้น ๆ นิดเดียว ท่านประธานครับ จริง ๆ แล้วในบทลงโทษมาตรา ๓๓ เขามีกระทำผิดต่อหน้าที่ตามมาตรา ๑๙ ใช่ไหมครับ และมาตรา ๒๐ แต่ปรากฏว่ากรรมาธิการไปตัดมาตรา ๒๐ ออกนะครับ ซึ่งไม่ตรงกับวุฒิสภาเขาอีก อันนี้ขอเหตุผลนะครับ เพราะว่าถ้าจะปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบแล้ว จริง ๆ มันต้องมีมาตรา ๒๐ หรือจริง ๆ รวมถึงมาตรา ๕ ด้วยซ้ำไปด้วยนะครับ ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ
ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน พอดีเมื่อกี้ดิฉันลืมตอบประเด็นหนึ่งนะคะที่ท่านเฉลิมชัยถาม เรื่องการรับเงิน ในมาตรา ๘ นะคะว่าจะมีหลักประกันอย่างไรว่าถ้าเรารับเงินจากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ กับรายได้อื่นนี่จะทำให้เป็นอิสระจากทุนอย่างไร จริง ๆ จะอยู่ในวรรคสองนะคะจะเขียนไว้ ชัดเจนว่า การรับเงินตาม (๓) และ (๕) นี่ต้องไม่เป็นการกระทำที่ทำให้องค์กรขาดความเป็น อิสระในการดำเนินงาน เพราะฉะนั้นอันนี้ก็จะมีการตรวจสอบไว้อยู่อย่างชัดเจนนะคะ
ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน พอดีเมื่อกี้ดิฉันลืมตอบประเด็นหนึ่งนะคะที่ท่านเฉลิมชัยถาม เรื่องการรับเงิน ในมาตรา ๘ นะคะว่าจะมีหลักประกันอย่างไรว่าถ้าเรารับเงินจากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ กับรายได้อื่นนี่จะทำให้เป็นอิสระจากทุนอย่างไร จริง ๆ จะอยู่ในวรรคสองนะคะจะเขียนไว้ ชัดเจนว่า การรับเงินตาม (๓) และ (๕) นี่ต้องไม่เป็นการกระทำที่ทำให้องค์กรขาดความเป็น อิสระในการดำเนินงาน เพราะฉะนั้นอันนี้ก็จะมีการตรวจสอบไว้อยู่อย่างชัดเจนนะคะ
แล้วก็ประเด็นที่ ขออภัยนะคะที่ต้องเอ่ยนามท่าน ท่านชิงชัยถามเรื่องว่า ดิฉันก็เห็นด้วยนะคะ แล้วก็ขณะนี้องค์กรผู้บริโภค องค์กรสาธารณประโยชน์ทั้งหลายนี่ มีความร่วมมือกับภาคเอกชนมาก ดิฉันยกตัวอย่างเรื่องหนึ่ง เราทดสอบผักว่ามีสารเคมีนี่ ทดสอบมา ๓ ปี แล้วก็พบว่าใน ๓ ปีนี่ผักตกมาตรฐาน ๓๐ เปอร์เซ็นต์ทุกปี เดิมเราใช้วิธี แถลงข่าวเปิดเผยชื่อ ยี่ห้อ ห้างทั้งหมด พอปีที่ ๓ นี่เราก็เชิญผู้ประกอบการ ร้านค้า ร้านค้าปลีก คนเอาผักเข้ามาขายในห้างคุย ได้ความร่วมมือเยอะเลย และดิฉันคิดว่านี่ก็เป็น ส่วนที่เขียนไว้ชัดเจนในมาตรา ๑๙ (๖) ว่า องค์การนี้จะต้องสนับสนุนและประสานงานกับ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่า ประเด็นนี้ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะว่ามีการเขียนไว้ชัดเจนว่าจะร่วมมือกับภาคเอกชน ในการคุ้มครองผู้บริโภคและภาครัฐในการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไร
แล้วก็ประเด็นที่ ขออภัยนะคะที่ต้องเอ่ยนามท่าน ท่านชิงชัยถามเรื่องว่า ดิฉันก็เห็นด้วยนะคะ แล้วก็ขณะนี้องค์กรผู้บริโภค องค์กรสาธารณประโยชน์ทั้งหลายนี่ มีความร่วมมือกับภาคเอกชนมาก ดิฉันยกตัวอย่างเรื่องหนึ่ง เราทดสอบผักว่ามีสารเคมีนี่ ทดสอบมา ๓ ปี แล้วก็พบว่าใน ๓ ปีนี่ผักตกมาตรฐาน ๓๐ เปอร์เซ็นต์ทุกปี เดิมเราใช้วิธี แถลงข่าวเปิดเผยชื่อ ยี่ห้อ ห้างทั้งหมด พอปีที่ ๓ นี่เราก็เชิญผู้ประกอบการ ร้านค้า ร้านค้าปลีก คนเอาผักเข้ามาขายในห้างคุย ได้ความร่วมมือเยอะเลย และดิฉันคิดว่านี่ก็เป็น ส่วนที่เขียนไว้ชัดเจนในมาตรา ๑๙ (๖) ว่า องค์การนี้จะต้องสนับสนุนและประสานงานกับ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่า ประเด็นนี้ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะว่ามีการเขียนไว้ชัดเจนว่าจะร่วมมือกับภาคเอกชน ในการคุ้มครองผู้บริโภคและภาครัฐในการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไร
ดิฉันขอมาเรื่องกรรมการสรรหา จริง ๆ กรรมการสรรหา ก็จะมีรูปแบบใน การเขียนกฎหมาย ก็ต้องเรียนว่าคล้าย ๆ กันนะคะว่ากรรมการสรรหาก็จะออกแบบไว้ เรียกว่าคล้ายกันในกฎหมายหลายฉบับ แล้วก็ส่วนผู้แทนของสมาคมสตรีไทย ก็เนื่องจากว่า สมาคมที่เกี่ยวข้องกับสตรีมีหลายองค์กรมากนะคะ ไม่ว่าจะเป็นสภาสตรี สตรีพลิกโฉม ประเทศไทย เครือข่ายผู้หญิงก้าวหน้าต่าง ๆ มีหลายกลุ่มมากนะคะ แต่ว่าสุดท้ายได้ตัดสินใจ อาจจะเรียกว่าเลือกเครือข่ายสตรีที่มีอยู่ในทุกจังหวัดนะคะ แล้วก็อาจจะไปมากกว่าในระดับ จังหวัดมาเป็นกรรมการสรรหา แล้วดิฉันต้องเรียนว่าจริง ๆ ผู้แทนภาคเกษตรที่เสนอ ถ้าเราดู ในมาตรา ๑๒ เราจะเห็นชัดนะคะว่าผู้แทนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจะมีอยู่อย่างน้อย ๗ ด้าน ด้านการเงินการธนาคาร ด้านบริการสาธารณะ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านบริการสุขภาพ ด้านสินค้าและบริการทั่วไป ซึ่งตรงนี้ก็อาจจะมีทั้งสินค้าเกษตร สินค้าที่หลากหลาย มีหลายส่วน แล้วก็บริการด้วย แล้วก็ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ นะคะ เพราะฉะนั้นตรงนั้นคงออกแบบไว้ชัดเจนนะคะว่าจริง ๆ แล้วรวมภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ต้องบอกว่าที่เราไม่เขียนระบุเกษตรกรไว้ชัดเจนเป็นเพราะว่าเกษตรกร อีกฐานะหนึ่งก็เป็นผู้ผลิต คุณก็ผลิตพืชผักต่าง ๆ ที่ให้กับผู้บริโภค เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่า ตรงนี้ก็คงเป็นประเด็นที่ต้องเรียนว่าคงไม่ใช่เป็นผู้ผลิตที่มาเป็นกรรมการโดยตรงนะคะ
ดิฉันขอมาเรื่องกรรมการสรรหา จริง ๆ กรรมการสรรหา ก็จะมีรูปแบบใน การเขียนกฎหมาย ก็ต้องเรียนว่าคล้าย ๆ กันนะคะว่ากรรมการสรรหาก็จะออกแบบไว้ เรียกว่าคล้ายกันในกฎหมายหลายฉบับ แล้วก็ส่วนผู้แทนของสมาคมสตรีไทย ก็เนื่องจากว่า สมาคมที่เกี่ยวข้องกับสตรีมีหลายองค์กรมากนะคะ ไม่ว่าจะเป็นสภาสตรี สตรีพลิกโฉม ประเทศไทย เครือข่ายผู้หญิงก้าวหน้าต่าง ๆ มีหลายกลุ่มมากนะคะ แต่ว่าสุดท้ายได้ตัดสินใจ อาจจะเรียกว่าเลือกเครือข่ายสตรีที่มีอยู่ในทุกจังหวัดนะคะ แล้วก็อาจจะไปมากกว่าในระดับ จังหวัดมาเป็นกรรมการสรรหา แล้วดิฉันต้องเรียนว่าจริง ๆ ผู้แทนภาคเกษตรที่เสนอ ถ้าเราดู ในมาตรา ๑๒ เราจะเห็นชัดนะคะว่าผู้แทนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจะมีอยู่อย่างน้อย ๗ ด้าน ด้านการเงินการธนาคาร ด้านบริการสาธารณะ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านบริการสุขภาพ ด้านสินค้าและบริการทั่วไป ซึ่งตรงนี้ก็อาจจะมีทั้งสินค้าเกษตร สินค้าที่หลากหลาย มีหลายส่วน แล้วก็บริการด้วย แล้วก็ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ นะคะ เพราะฉะนั้นตรงนั้นคงออกแบบไว้ชัดเจนนะคะว่าจริง ๆ แล้วรวมภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ต้องบอกว่าที่เราไม่เขียนระบุเกษตรกรไว้ชัดเจนเป็นเพราะว่าเกษตรกร อีกฐานะหนึ่งก็เป็นผู้ผลิต คุณก็ผลิตพืชผักต่าง ๆ ที่ให้กับผู้บริโภค เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่า ตรงนี้ก็คงเป็นประเด็นที่ต้องเรียนว่าคงไม่ใช่เป็นผู้ผลิตที่มาเป็นกรรมการโดยตรงนะคะ
แล้วก็อีกประเด็นหนึ่งที่มีผู้ให้คำแนะนำ ดิฉันคิดว่าส่วนคำแนะนำ ในการแก้ไขกฎหมายกรรมาธิการจะรวบรวมแล้วก็เนื่องจากว่าขั้นตอนของเราก็คงไม่ใช่ ขั้นตอนสุดท้ายที่จะทำกฎหมายฉบับนี้นะคะ แล้วก็ประเด็นที่ท่านเสรีได้ให้คำแนะนำ ซึ่งดิฉัน คิดว่าต้องบอกว่าร่างฉบับนี้เทียบเคียงกับหลายส่วนมาก แล้วก็โดยเฉพาะไม่ใช่ร่างที่ออกจาก วุฒิสภาเสียทีเดียว เพราะว่าหลังจากออกไปที่วุฒิสภาก็มีการแก้ไข เพราะฉะนั้น ส.ส. ก็ไม่รับ หลักการแล้วก็ตั้งกรรมาธิการร่วมมา เพราะฉะนั้นร่างนี้อาจจะคล้ายกับร่างที่ผสมผสาน ทั้งของสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็ทางวุฒิสภา ซึ่งไม่ใช่ร่างของฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ต้องเรียกว่าเป็นร่าง ที่เห็นชอบทั้ง ๒ สภาแล้วนะคะ ในส่วนของกรรมาธิการร่วม
แล้วก็อีกประเด็นหนึ่งที่มีผู้ให้คำแนะนำ ดิฉันคิดว่าส่วนคำแนะนำ ในการแก้ไขกฎหมายกรรมาธิการจะรวบรวมแล้วก็เนื่องจากว่าขั้นตอนของเราก็คงไม่ใช่ ขั้นตอนสุดท้ายที่จะทำกฎหมายฉบับนี้นะคะ แล้วก็ประเด็นที่ท่านเสรีได้ให้คำแนะนำ ซึ่งดิฉัน คิดว่าต้องบอกว่าร่างฉบับนี้เทียบเคียงกับหลายส่วนมาก แล้วก็โดยเฉพาะไม่ใช่ร่างที่ออกจาก วุฒิสภาเสียทีเดียว เพราะว่าหลังจากออกไปที่วุฒิสภาก็มีการแก้ไข เพราะฉะนั้น ส.ส. ก็ไม่รับ หลักการแล้วก็ตั้งกรรมาธิการร่วมมา เพราะฉะนั้นร่างนี้อาจจะคล้ายกับร่างที่ผสมผสาน ทั้งของสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็ทางวุฒิสภา ซึ่งไม่ใช่ร่างของฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ต้องเรียกว่าเป็นร่าง ที่เห็นชอบทั้ง ๒ สภาแล้วนะคะ ในส่วนของกรรมาธิการร่วม
ส่วนประเด็นการถ่วงดุลก็ดี องค์กรที่จะให้ อันนี้ดิฉันก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ว่านักกฎหมายซึ่งเป็นกฤษฎีกาทั้งในคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเรามี ท่านวรรณชัยเป็นกรรมาธิการ ท่านก็ให้คำแนะนำว่าองค์การนี้ก็เป็นนิติบุคคลแล้วก็มีฐานะ หนึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เพราะฉะนั้นไม่ใช่องค์กรที่เป็นมูลนิธิแน่นอน ก็เป็นหน่วยงานของ รัฐประเภทหนึ่ง แล้วก็ดิฉันคิดว่ากฎหมายออกแบบให้มีความเป็นอิสระเป็นหน่วยงานของรัฐ ประเภทหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันทำงานสร้างเครือข่ายผู้บริโภค แล้วก็ทำหน้าที่เรียกว่าให้ ความเห็นก่อนที่จะมีมาตรการสำหรับผู้บริโภคนะคะ ซึ่งก็ต้องขอบคุณสำหรับคำแนะนำ ที่คิดว่าเราจะเพิ่มเติมกฎหมายไว้อย่างไร แล้วจริง ๆ ที่เพื่อนสมาชิกได้ให้คำแนะนำเราก็ นำไปปรับว่าเราเห็นอย่างไร ซึ่งดิฉันคิดว่าเอกสารเหล่านี้จะถูกนำต่อไปถึงสภานิติบัญญัติ แห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณากฎหมายฉบับนี้ต่อไปค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน
ส่วนประเด็นการถ่วงดุลก็ดี องค์กรที่จะให้ อันนี้ดิฉันก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ว่านักกฎหมายซึ่งเป็นกฤษฎีกาทั้งในคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเรามี ท่านวรรณชัยเป็นกรรมาธิการ ท่านก็ให้คำแนะนำว่าองค์การนี้ก็เป็นนิติบุคคลแล้วก็มีฐานะ หนึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เพราะฉะนั้นไม่ใช่องค์กรที่เป็นมูลนิธิแน่นอน ก็เป็นหน่วยงานของ รัฐประเภทหนึ่ง แล้วก็ดิฉันคิดว่ากฎหมายออกแบบให้มีความเป็นอิสระเป็นหน่วยงานของรัฐ ประเภทหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันทำงานสร้างเครือข่ายผู้บริโภค แล้วก็ทำหน้าที่เรียกว่าให้ ความเห็นก่อนที่จะมีมาตรการสำหรับผู้บริโภคนะคะ ซึ่งก็ต้องขอบคุณสำหรับคำแนะนำ ที่คิดว่าเราจะเพิ่มเติมกฎหมายไว้อย่างไร แล้วจริง ๆ ที่เพื่อนสมาชิกได้ให้คำแนะนำเราก็ นำไปปรับว่าเราเห็นอย่างไร ซึ่งดิฉันคิดว่าเอกสารเหล่านี้จะถูกนำต่อไปถึงสภานิติบัญญัติ แห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณากฎหมายฉบับนี้ต่อไปค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน
เรียนท่านประธานนะคะ เนื่องจากว่าบางประเด็นเป็นเทคนิคกฎหมายจะขออนุญาตให้ท่านวรรณชัย ซึ่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายตอบในประเด็นสั้น ๆ นิดหนึ่งค่ะท่านประธาน
เรียนท่านประธานนะคะ เนื่องจากว่าบางประเด็นเป็นเทคนิคกฎหมายจะขออนุญาตให้ท่านวรรณชัย ซึ่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายตอบในประเด็นสั้น ๆ นิดหนึ่งค่ะท่านประธาน
ขอบพระคุณค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันเองก็คิดว่าวันนี้เป็นวันหนึ่งที่มีความสำคัญมากเพราะว่าเราคงมี กฎหมายอีกหลายฉบับที่จะเข้ามาพิจารณาของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพราะฉะนั้น ข้อเสนอแนะของท่านสมาชิกทั้งหลายซึ่งอาจจะไม่ใช่รวมถึงเฉพาะวันนี้นะคะ คราวที่แล้ว ที่เรารับหลักการไปเมื่อวันที่ ๕ มกราคม และรวมถึงข้อเสนอแนะต่อการที่จะพัฒนากฎหมาย ฉบับนี้ให้ดีขึ้นแล้วก็เกิดประโยชน์กับผู้บริโภคโดยภาพรวม ดิฉันในฐานะประธานกรรมาธิการ ปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคก็จะนำ เรียกว่า เขียนทุกประการ นะคะ แล้วก็ส่งให้กับในส่วน ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะต้องทำกฎหมายฉบับนี้ต่อไป ซึ่งดิฉันคิดว่าวันนี้เราก็ได้คำแนะนำ ในการที่จะปรับปรุงกฎหมายในหลายประเด็นหลายส่วน ไม่ว่าจะทั้งเรื่องของอำนาจหน้าที่ ที่จะต้องทำให้เกิดความชัดเจน แล้วก็ในส่วนของกรรมการสรรหา องค์ประกอบของ กรรมการสรรหา หรือในส่วนของคณะกรรมการ แล้วก็รวมถึงข้อคิดเห็น ดิฉันคิดว่า ทุกประเด็นทางกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคจะสรุปแล้วก็เสนอแนบไปกับรายงาน ของกฎหมายฉบับนี้เป็นอย่างดีนะคะ ก็ขอรับข้อเสนอแนะแล้วก็ความเห็นในการที่จะพัฒนา กฎหมายฉบับนี้ให้เกิดประโยชน์กับผู้บริโภคโดยส่วนรวม ขอบพระคุณมากค่ะท่านประธาน
เรียนท่านประธาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันเองก็คิดว่าวันนี้เป็นวันหนึ่งที่มีความสำคัญมากเพราะว่าเราคงมี กฎหมายอีกหลายฉบับที่จะเข้ามาพิจารณาของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพราะฉะนั้น ข้อเสนอแนะของท่านสมาชิกทั้งหลายซึ่งอาจจะไม่ใช่รวมถึงเฉพาะวันนี้นะคะ คราวที่แล้ว ที่เรารับหลักการไปเมื่อวันที่ ๕ มกราคม และรวมถึงข้อเสนอแนะต่อการที่จะพัฒนากฎหมาย ฉบับนี้ให้ดีขึ้นแล้วก็เกิดประโยชน์กับผู้บริโภคโดยภาพรวม ดิฉันในฐานะประธานกรรมาธิการ ปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคก็จะนำ เรียกว่า เขียนทุกประการ นะคะ แล้วก็ส่งให้กับในส่วน ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะต้องทำกฎหมายฉบับนี้ต่อไป ซึ่งดิฉันคิดว่าวันนี้เราก็ได้คำแนะนำ ในการที่จะปรับปรุงกฎหมายในหลายประเด็นหลายส่วน ไม่ว่าจะทั้งเรื่องของอำนาจหน้าที่ ที่จะต้องทำให้เกิดความชัดเจน แล้วก็ในส่วนของกรรมการสรรหา องค์ประกอบของ กรรมการสรรหา หรือในส่วนของคณะกรรมการ แล้วก็รวมถึงข้อคิดเห็น ดิฉันคิดว่า ทุกประเด็นทางกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคจะสรุปแล้วก็เสนอแนบไปกับรายงาน ของกฎหมายฉบับนี้เป็นอย่างดีนะคะ ก็ขอรับข้อเสนอแนะแล้วก็ความเห็นในการที่จะพัฒนา กฎหมายฉบับนี้ให้เกิดประโยชน์กับผู้บริโภคโดยส่วนรวม ขอบพระคุณมากค่ะท่านประธาน
จะพยายามนะคะ น่าจะทันค่ะ
จะพยายามนะคะ น่าจะทันค่ะ
ทันค่ะ
ทันค่ะ
กราบเรียนท่านประธาน ดิฉัน สารี อ๋องสมหวัง คณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค เสนอ นายวิทยา กุลสมบูรณ์ ขอบพระคุณค่ะ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน สารี อ๋องสมหวัง นะคะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันขอเสนอเพิ่ม (๑๘) ให้มีคณะกรรมาธิการ การคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะ เพื่อการปฏิรูปด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ดิฉันมีเหตุผลสนับสนุนหลายประการ ดิฉันคิดว่าเพื่อนสมาชิกในห้องนี้ทุกคนไม่เคยมี คงไม่มีใครไม่เคยถูกเอาเปรียบนะคะ ปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคมีตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย ซื้อของไม่ได้ของ โทรศัพท์ ๙๙ สตางค์ต่อนาที แต่เราไม่เคยโทรได้เลย ๙๙ สตางค์ต่อนาที ดิฉันเชื่อว่านั่นเป็นเรื่องที่เป็น เรื่องพื้นฐานมากที่การเอารัดเอาเปรียบยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ดิฉันขออนุญาตยกตัวอย่างนะคะ เรามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคมากกว่า ๒๒ ฉบับ มีหลายหน่วยงานที่ดูแล เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค แต่เราก็ยังไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้จริง
ประเด็นที่ ๓ เรามี ๑๑ กระทรวง ๑๓ หน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เรื่องอาหารปลอดภัย เรามีคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ๓ ปีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และมูลนิธิชีววิถีทดสอบสารเคมีในพืชผัก เราพบว่า ๓๐ เปอร์เซ็นต์ตกมาตรฐานทุก ๓ ปี ความไม่ปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นเรื่องที่สำคัญอีกประการหนึ่งนะคะ เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าเราจะมีหน่วยงานจำนวนมาก มีกฎหมายหลายฉบับ มีหน่วยงานที่ดูแล จำนวนไม่น้อย หรือแม้กระทั่งดิฉันยกตัวอย่างนะคะว่าการโกงกันหรือการเอาเปรียบกัน ในการคุ้มครองผู้บริโภค คนที่ต้องการแม้เพียงไปออกกำลังกายก็ต้องไปดูข้อมูล ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนสมาชิกคงงงนะคะว่าทำไมเราจะออกกำลังกายเราต้องไปดูข้อมูล ในตลาดหลักทรัพย์ สถานออกกำลังกายบางแห่งอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่พบว่า ข้อมูลในตลาดหลักทรัพย์บอกเลยนะคะว่าเขามีหนี้สินมากกว่าทุน แต่ว่าผู้บริโภคที่ไป ออกกำลังกายเราก็ต้องการออกกำลังกายเท่านั้นเอง เราไม่ได้จำเป็นต้องไปดูข้อมูล ในตลาดหลักทรัพย์นะคะ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าขณะนี้เรามีปัญหาเรื่อง การเอารัดเอาเปรียบที่ยังแก้ไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการผูกขาด การมีอำนาจเหนือตลาด ที่กรรมการแข่งขันทางการค้ายังไม่สามารถจัดการได้ เรามีปัญหาเรื่องโครงสร้างราคา ที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค เราเป็นประเทศที่ผลิตรถยนต์ แต่เราใช้รถยนต์ที่มีคุณภาพ ดิฉันไม่แน่ใจนะคะว่าต่ำกว่าประเทศญี่ปุ่นหรือเปล่า ทั้ง ๆ ที่เราส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น แล้วราคาถูกกว่าผู้บริโภคที่ประเทศไทยใช้งานนะคะ โครงสร้างเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญ เป็นปัญหาพื้นฐานของทุกคน เพราะว่าทุกคนก็เป็นผู้บริโภคตั้งแต่เกิดจนตาย แล้วก็การคุ้มครองผู้บริโภคก็คงไม่ใช่แค่การซื้อการใช้สินค้าเท่านั้น แต่รวมถึงการที่ เราจะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้มีความเป็นพลเมือง ดิฉันติดตามข่าวที่มีข้อมูลเรื่องการไปดูงาน ของกรรมการ หน่วยงานอิสระบางหน่วยงานที่ไปต่างประเทศ ๑๒๒-๑๒๙ วัน แต่สิ่งที่เขาคุยกัน ก็คือว่าถ้าลด ๕๐ เปอร์เซ็นต์แล้วเราจะไปต่างประเทศพอหรือเปล่านะคะ แทนที่เขาจะออกมา แล้วก็บอกว่าเขาขอโทษ เขาขอลาออก เขาผิดไปแล้ว เหมือนอย่างที่ดิฉันคิดว่า ทุกคนคาดหวัง เพราะฉะนั้นการปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภค หรือการปฏิรูป การคุ้มครองผู้บริโภคมีความสำคัญ แล้วดิฉันยิ่งฟังหลายด้านที่พูดถึงนะคะ ดิฉันตอนแรก ก็คาดหวังว่าการคุ้มครองผู้บริโภคจะไปอยู่กับเศรษฐกิจไหม เราคุยเรื่องการเงิน การคลัง ต้องมีเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยหรือเปล่า หรือเราคุยเรื่องต่าง ๆ จะมีเรื่องการคุ้มครอง ผู้บริโภคอยู่ในนั้นไหม แต่ดิฉันคิดว่าวันนี้คงมีความสำคัญที่เราจะต้องเพิ่มอีกวงเล็บหนึ่งคือ (๑๘) เรื่องคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อทำให้เรื่องเหล่านี้ชัดเจน มากขึ้นกับการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน การผูกขาด การมีอำนาจ เหนือตลาด โครงสร้างราคาที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งผู้บริโภคเองเราก็อาจจะต้องคิดเรื่อง การสนับสนุนธุรกิจในประเทศ ธุรกิจขนาดเล็ก หรือธุรกิจที่ดี เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าขณะนี้ ผู้บริโภคนอกจากมีปัญหาอย่างที่ดิฉันพูดไปแล้วก็คือว่าผู้บริโภคไม่มีทางเลือกเลยนะคะ หลายคนบอกว่าข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจสำหรับผู้บริโภคไม่มีนะคะ หรือเราจะทำอย่างไรที่จะทำให้คณะชุดนี้ช่วยกันคิดมากขึ้นว่าสภาพปัจจุบันนี้เราจะมี คุณภาพชีวิตมากกว่าปกติได้อย่างไร มีคุณภาพชีวิตที่จะอยู่ในประเทศนี้ มีอาหารที่ดี ขึ้นรถเมล์แล้วก็ปลอดภัย เดินทางไปต่างจังหวัดแล้วก็ปลอดภัยนะคะ ดิฉันคิดว่าก็อยากให้ เพิ่มคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคให้ชัดเจน เพราะเราก็มีหน่วยงาน จำนวนมากที่ดูแลการคุ้มครองผู้บริโภคแต่ก็ยังไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้จริง ขอบพระคุณมากค่ะท่านประธาน
นิดหนึ่งค่ะท่านประธาน เรียนท่านประธาน สารี อ๋องสมหวัง คือดิฉันจริง ๆ ก็ต้องขอบคุณที่ไปเพิ่มด้านหน้าเป็นพรีแอมเบิล (Preamble) ว่ามีเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคนะคะ แต่ดิฉันก็อยากจะให้เพิ่ม (๑๘) ก็คิดว่าอันนี้อยากให้ กรรมาธิการเปลี่ยนใจ ขอบคุณค่ะ
ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน ดิฉันก็คิดว่าพอจะ ไปอยู่ที่กรรมาธิการกระบวนการยุติธรรมเขาก็ไม่เห็นด้วย ซึ่งจริง ๆ การปฏิรูปกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ถ้าฝั่งผู้บริโภคเราคิดว่าก็คือต้องปฏิรูปกระบวนการทำกฎหมาย ในรัฐสภา จากบทเรียนขององค์กรผู้บริโภคก็คิดว่าเป็นเรื่องของการปฏิรูปกระบวนการ ทำกฎหมายในรัฐสภา หรือแม้กระทั่งการที่ผู้บริโภคเองติดคุกแทนค่าปรับอย่างนี้ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่ามันก็มีเนื้อในทุกเรื่องเห็นด้วยนะคะ เพราะฉะนั้นก็คิดว่ามันก็คงยาก แล้วดิฉันต้องพูดว่าเราพูดกันเยอะเรื่องกรอบใหญ่ แต่ขณะที่ถ้าเราดูการอภิปรายหรือฟัง การอภิปราย ดิฉันคิดว่าเรายังคิดแบบเศรษฐกิจแบบเดิม เรายังคิดเศรษฐกิจแบบเดิมทั้งหมด เพราะฉะนั้นดิฉันว่าเรื่องกีฬา ดิฉันคิดว่าเรื่องกีฬาคือดิฉันก็ไม่อยากจะเปรียบเทียบว่า มันใหญ่มันเล็กหรือมันอะไร แต่ดิฉันคิดว่าเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคถ้ามันสามารถไปอยู่ในเนื้อ ของทุกคณะ แล้วต้องมีข้อเสนอเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในแต่ละคณะ จริง ๆ ดิฉันก็คิดว่า ถ้าทำได้แบบนั้นก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ฟังดูแล้วแม้กระทั่งจะเอาเรื่องผู้บริโภคไปอยู่กระบวนการ ยุติธรรม เขาก็ยังไม่สนใจเลย เพราะฉะนั้นมันจะเกิดขึ้นจริงได้อย่างไร ดิฉันคิดว่าการปฏิรูป ครั้งนี้เราคงไม่ได้คิด ดิฉันคิดว่าทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจก็ต้องเปลี่ยนทิศทางของการที่จะทำ ในด้านต่าง ๆ ก็ต้องเปลี่ยน เพราะฉะนั้นดิฉันก็คิดว่าเราก็ไม่ควรจะยึดติด การที่จะมี กรรมาธิการขึ้นมาอีก ๑ คณะ เพื่อทำเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคโดยภาพรวมก็อาจจะมี ความสำคัญ ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานนะคะ สารี อ๋องสมหวัง ๒๑๒ นะคะ ไม่ทราบท่านประธานจะให้อภิปราย
กราบเรียนท่านประธานนะคะ สารี อ๋องสมหวัง ๒๑๒ นะคะ ไม่ทราบท่านประธานจะให้อภิปราย
ค่ะ ถ้าอย่างนั้นดิฉันก็ไม่มีข้อคิดเห็นนะคะ แต่ดิฉันก็คิดว่าตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญ
ค่ะ ถ้าอย่างนั้นดิฉันก็ไม่มีข้อคิดเห็นนะคะ แต่ดิฉันก็คิดว่าตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญ
แล้วก็อยากให้มีระยะเวลาในการที่ศึกษา แล้วก็ตัดสินใจนะคะ เพราะว่าเราเกี่ยวข้องกับอย่างน้อยประชาชนอย่างภาคอีสาน ๔ จังหวัด เท่านั้นเองเรียกว่าจะไม่มีแปลงสัมปทานนี้เกี่ยวข้อง ใน ๒๐ จังหวัด ๑๖ จังหวัดเกี่ยวข้อง แล้วก็ภาคเหนืออีกนะคะ อีกประมาณ ๑๐ จังหวัด เพราะฉะนั้น ๒๖ จังหวัดที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องนี้และดิฉันถือว่าเป็นเรื่องการปฏิรูปแน่นอน เพราะว่าเกิดสมมุติเราเขียนไว้ใน รัฐธรรมนูญว่าทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นสมบัติของชาติ ไม่มีความหมายเลยนะคะ สิ่งที่เรา กำลังคิดกันเรื่องรัฐธรรมนูญไม่มีความหมายเลย เพราะว่าเรากำลังจะทำเรื่องนี้อย่างน้อย ๒๙ ปีถึง ๓๙ ปี เพราะฉะนั้นการเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญไม่มีความหมายเลย ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน
แล้วก็อยากให้มีระยะเวลาในการที่ศึกษา แล้วก็ตัดสินใจนะคะ เพราะว่าเราเกี่ยวข้องกับอย่างน้อยประชาชนอย่างภาคอีสาน ๔ จังหวัด เท่านั้นเองเรียกว่าจะไม่มีแปลงสัมปทานนี้เกี่ยวข้อง ใน ๒๐ จังหวัด ๑๖ จังหวัดเกี่ยวข้อง แล้วก็ภาคเหนืออีกนะคะ อีกประมาณ ๑๐ จังหวัด เพราะฉะนั้น ๒๖ จังหวัดที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องนี้และดิฉันถือว่าเป็นเรื่องการปฏิรูปแน่นอน เพราะว่าเกิดสมมุติเราเขียนไว้ใน รัฐธรรมนูญว่าทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นสมบัติของชาติ ไม่มีความหมายเลยนะคะ สิ่งที่เรา กำลังคิดกันเรื่องรัฐธรรมนูญไม่มีความหมายเลย เพราะว่าเรากำลังจะทำเรื่องนี้อย่างน้อย ๒๙ ปีถึง ๓๙ ปี เพราะฉะนั้นการเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญไม่มีความหมายเลย ขอบพระคุณค่ะ ท่านประธาน
ตอนนี้ก็ได้ค่ะท่านประธาน
ตอนนี้ก็ได้ค่ะท่านประธาน
เรียนท่านประธานนะคะ แล้วก็เพื่อนสมาชิก ทุกท่านนะคะ ดิฉันมีประเด็นสำคัญหลายประเด็นที่คิดว่าอยากจะขออนุญาตอภิปราย แล้วก็ก่อนอื่นดิฉันต้องบอกว่า ดิฉันไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของกรรมาธิการปฏิรูป พลังงานนะคะ เพราะว่าหลายเหตุผลที่อยากจะชี้แจง
เรียนท่านประธานนะคะ แล้วก็เพื่อนสมาชิก ทุกท่านนะคะ ดิฉันมีประเด็นสำคัญหลายประเด็นที่คิดว่าอยากจะขออนุญาตอภิปราย แล้วก็ก่อนอื่นดิฉันต้องบอกว่า ดิฉันไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของกรรมาธิการปฏิรูป พลังงานนะคะ เพราะว่าหลายเหตุผลที่อยากจะชี้แจง
ประเด็นที่ ๑ ดิฉันคิดว่าการที่เราจะรีบดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รอบที่ ๒๑ โดยที่ใช้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ นั้น เป็นเรื่องที่ควรจะต้องปรับปรุงก่อน เราจะเรียกว่า จะให้สัมปทานพื้นที่ทั้งหมด ๖๖,๔๖๓ ตารางกิโลเมตร ซึ่งดิฉัน ลองคำนวณเกือบ ๑๓ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ของประเทศ ซึ่งครอบคลุม ๒๖ จังหวัดภาคอีสาน พี่ ๆ ที่อยู่ภาคอีสานนี่ขณะนี้ยกเว้น ๔ จังหวัดเท่านั้นเอง คือบึงกาฬ หนองคาย สุรินทร์ และเลย และในภาคเหนืออีก ๑๐ จังหวัดนะคะกับภาคกลาง พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ลพบุรีและสุพรรณบุรี และรวมทั้งอ่าวไทย อีก ๖ แปลง ซึ่งผลกระทบที่เกิดจากประชาชนจากรายงานของกรรมาธิการรับฟัง ความคิดเห็น ดิฉันเห็นในรายงานมี ๒ จังหวัดที่ชัดเจน ดิฉันอยากพูดถึงนะคะว่า อย่างเช่น มีการวางระเบิดเพื่อทำการสำรวจถึง ๖,๙๐๐ ลูก ทำให้ชาวบ้านอำเภอสตึก บุรีรัมย์นี่ได้รับ ผลกระทบ บ้านเรือนพังเสียหาย ผนังบ้านแตกร้าว พื้นทรุด อันนี้ยังเป็นเรื่องทรัพย์สิน
ประเด็นที่ ๑ ดิฉันคิดว่าการที่เราจะรีบดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รอบที่ ๒๑ โดยที่ใช้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ นั้น เป็นเรื่องที่ควรจะต้องปรับปรุงก่อน เราจะเรียกว่า จะให้สัมปทานพื้นที่ทั้งหมด ๖๖,๔๖๓ ตารางกิโลเมตร ซึ่งดิฉัน ลองคำนวณเกือบ ๑๓ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ของประเทศ ซึ่งครอบคลุม ๒๖ จังหวัดภาคอีสาน พี่ ๆ ที่อยู่ภาคอีสานนี่ขณะนี้ยกเว้น ๔ จังหวัดเท่านั้นเอง คือบึงกาฬ หนองคาย สุรินทร์ และเลย และในภาคเหนืออีก ๑๐ จังหวัดนะคะกับภาคกลาง พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ลพบุรีและสุพรรณบุรี และรวมทั้งอ่าวไทย อีก ๖ แปลง ซึ่งผลกระทบที่เกิดจากประชาชนจากรายงานของกรรมาธิการรับฟัง ความคิดเห็น ดิฉันเห็นในรายงานมี ๒ จังหวัดที่ชัดเจน ดิฉันอยากพูดถึงนะคะว่า อย่างเช่น มีการวางระเบิดเพื่อทำการสำรวจถึง ๖,๙๐๐ ลูก ทำให้ชาวบ้านอำเภอสตึก บุรีรัมย์นี่ได้รับ ผลกระทบ บ้านเรือนพังเสียหาย ผนังบ้านแตกร้าว พื้นทรุด อันนี้ยังเป็นเรื่องทรัพย์สิน
ประเด็นที่ ๒ การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลกระทบต่อด้านสุขภาพของชาวบ้านชัดเจนที่กาฬสินธุ์ โนนสะอาด แล้วก็อุดรธานีนะคะ ชาวบ้านเกิดอาการปากเบี้ยว เป็นโรคทางระบบประสาท และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดิน หายใจ ซึ่งเป็นผลจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่าที่จากการขุดเจาะแก๊สธรรมชาติ ที่ขาดระบบการป้องกันตามมาตรฐานสากล ซึ่งอันนี้ก็เป็นประเด็นที่เกิดขึ้นจริง ดิฉันคิดว่า เราไม่จำเป็นต้องใช้ระบบสัมปทานเท่านั้นที่จะต้องมีการดำเนินการนะคะ และดิฉันเห็นว่า สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ การสัมปทานจะทำให้เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลยภายใน อย่างน้อย ๒๙ ปี หรือ ๓๙ ปี ถ้าเราขยายไปอีก ๑๐ ปีนะคะ แล้วก็ดิฉันขอไม่เห็นด้วยกับ เหตุผลที่อ้างว่า การเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๑ เพื่อปริมาณสำรองพลังงานปิโตรเลียมนะคะ แล้วพลังงานเรากำลังจะหมดไป เราไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ต้องนำเข้าพลังงาน ทุกประเภท ดิฉันเห็นว่าการนำเสนอข้อมูลในลักษณะดังกล่าวเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน นะคะ แล้วก็เป็นการกดดันและไม่ได้สร้างทางเลือกในการจัดการเรียกว่าการบริหารจัดการ พลังงานที่เหมาะสมของประเทศ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด และดิฉันคิดว่า เรื่องนี้ด้วยหลายเหตุผล ๑. ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่อ้างว่าหมดนั้น ไม่ใช่ความมีอยู่จริง ของปริมาณก๊าซธรรมชาติที่สำรวจพบทั้งหมด ซึ่งอันนี้ดิฉันคิดว่ากรรมาธิการพลังงานรู้ดีนะคะ ซึ่งอันนี้เรียกว่าเทคนิค ก็เป็นเรื่องที่ก้าวหน้าไปมากในปัจจุบัน ๒. ปริมาณที่สำรองก๊าซธรรมชาติ เป็นปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ค้นพบเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้รับสัมปทาน ขุดเจาะผลิตก๊าซธรรมชาติในแหล่งต่าง ๆ ที่ได้ทำสัญญาการซื้อขายก๊าซระยะยาวกับ ปตท. แล้ว และอายุของสัญญาก็มักจะสอดคล้องกับสัญญาสัมปทานปิโตรเลียม ดังนั้น เมื่ออายุสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติหรือสัญญาสัมปทานใกล้จะหมดก็มิได้หมายความว่า ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติหมดลงไปด้วยนะคะ อย่างเช่น ที่เราสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๑ ที่รัฐบาลให้กับยูโนแคล และทุกท่าน คงทราบนะคะว่ายูโนแคลนี่ทรัพย์สินของยูโนแคล ๖๐ เปอร์เซ็นต์เป็นทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยแล้วก็ให้กับเชฟรอน ซึ่งยูโนแคลนี่ก็ขายให้กับเชฟรอน โดยที่จริง ๆ ซีนุก (CNOOC) ก็ซื้อ แต่ว่ารัฐบาลอเมริกาก็ไม่ให้ซื้อ ให้เชฟรอนเป็นคนซื้อนะคะ เพราะฉะนั้น ดิฉันคิดว่าการที่บอกว่าเราจะหมดอายุสัญญาสัมปทาน แล้วก็จะทำให้ปริมาณ สำรองก๊าซหมดนี่เป็นเรื่องที่ไม่เป็นจริงทั้งหมดนะคะ แล้วก็เราจะหมดอายุสัมปทานอย่างที่ คุณรสนาได้พูดไปก็คืออีก ๗ ปีนะคะ เพราะฉะนั้นการให้ข้อมูลที่บอกว่าเราจะต้องรีบ ดำเนินการ เราจะต้องสำรวจและผลิต อันนี้ดิฉันเชื่อว่าเรายังมีเวลานะคะ แล้วก็กรรมาธิการ ได้พูดในรายงานนะคะว่าเรื่องนี้ต้องใช้เวลา ๕ ปี ถ้าเราใช้ระบบอื่นโดยเฉพาะระบบแบ่งปัน ผลผลิต ดิฉันได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาตินะคะ ก็ขออนุญาตเรียน ท่านประธานว่า ดิฉันได้มีโอกาสสอบถามขณะนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณา กฎหมายไปแล้ว ๗๒ ฉบับ กฎหมาย ๕๓ ฉบับ ผ่านวาระสาม มี ๒๘ ฉบับที่เราประกาศใช้แล้ว ๓๕ ฉบับนี่รอ เรียกว่ารอลงราชกิจจานุเบกษา เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าการที่เราจะแก้ กฎหมายปิโตรเลียม ไม่ได้ใช้ระยะเวลานานถึง ๕ ปีอย่างที่กรรมาธิการให้ข้อมูลกับ เพื่อนสมาชิกนะคะ ดิฉันคิดว่าอันนี้ไม่เป็นเหตุเป็นผลที่ควรจะต้องดำเนินการ อีกประเด็นหนึ่งที่ดิฉันคิด
ประเด็นที่ ๒ การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลกระทบต่อด้านสุขภาพของชาวบ้านชัดเจนที่กาฬสินธุ์ โนนสะอาด แล้วก็อุดรธานีนะคะ ชาวบ้านเกิดอาการปากเบี้ยว เป็นโรคทางระบบประสาท และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดิน หายใจ ซึ่งเป็นผลจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่าที่จากการขุดเจาะแก๊สธรรมชาติ ที่ขาดระบบการป้องกันตามมาตรฐานสากล ซึ่งอันนี้ก็เป็นประเด็นที่เกิดขึ้นจริง ดิฉันคิดว่า เราไม่จำเป็นต้องใช้ระบบสัมปทานเท่านั้นที่จะต้องมีการดำเนินการนะคะ และดิฉันเห็นว่า สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ การสัมปทานจะทำให้เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลยภายใน อย่างน้อย ๒๙ ปี หรือ ๓๙ ปี ถ้าเราขยายไปอีก ๑๐ ปีนะคะ แล้วก็ดิฉันขอไม่เห็นด้วยกับ เหตุผลที่อ้างว่า การเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๑ เพื่อปริมาณสำรองพลังงานปิโตรเลียมนะคะ แล้วพลังงานเรากำลังจะหมดไป เราไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ต้องนำเข้าพลังงาน ทุกประเภท ดิฉันเห็นว่าการนำเสนอข้อมูลในลักษณะดังกล่าวเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน นะคะ แล้วก็เป็นการกดดันและไม่ได้สร้างทางเลือกในการจัดการเรียกว่าการบริหารจัดการ พลังงานที่เหมาะสมของประเทศ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด และดิฉันคิดว่า เรื่องนี้ด้วยหลายเหตุผล ๑. ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่อ้างว่าหมดนั้น ไม่ใช่ความมีอยู่จริง ของปริมาณก๊าซธรรมชาติที่สำรวจพบทั้งหมด ซึ่งอันนี้ดิฉันคิดว่ากรรมาธิการพลังงานรู้ดีนะคะ ซึ่งอันนี้เรียกว่าเทคนิค ก็เป็นเรื่องที่ก้าวหน้าไปมากในปัจจุบัน ๒. ปริมาณที่สำรองก๊าซธรรมชาติ เป็นปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ค้นพบเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้รับสัมปทาน ขุดเจาะผลิตก๊าซธรรมชาติในแหล่งต่าง ๆ ที่ได้ทำสัญญาการซื้อขายก๊าซระยะยาวกับ ปตท. แล้ว และอายุของสัญญาก็มักจะสอดคล้องกับสัญญาสัมปทานปิโตรเลียม ดังนั้น เมื่ออายุสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติหรือสัญญาสัมปทานใกล้จะหมดก็มิได้หมายความว่า ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติหมดลงไปด้วยนะคะ อย่างเช่น ที่เราสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๑ ที่รัฐบาลให้กับยูโนแคล และทุกท่าน คงทราบนะคะว่ายูโนแคลนี่ทรัพย์สินของยูโนแคล ๖๐ เปอร์เซ็นต์เป็นทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยแล้วก็ให้กับเชฟรอน ซึ่งยูโนแคลนี่ก็ขายให้กับเชฟรอน โดยที่จริง ๆ ซีนุก (CNOOC) ก็ซื้อ แต่ว่ารัฐบาลอเมริกาก็ไม่ให้ซื้อ ให้เชฟรอนเป็นคนซื้อนะคะ เพราะฉะนั้น ดิฉันคิดว่าการที่บอกว่าเราจะหมดอายุสัญญาสัมปทาน แล้วก็จะทำให้ปริมาณ สำรองก๊าซหมดนี่เป็นเรื่องที่ไม่เป็นจริงทั้งหมดนะคะ แล้วก็เราจะหมดอายุสัมปทานอย่างที่ คุณรสนาได้พูดไปก็คืออีก ๗ ปีนะคะ เพราะฉะนั้นการให้ข้อมูลที่บอกว่าเราจะต้องรีบ ดำเนินการ เราจะต้องสำรวจและผลิต อันนี้ดิฉันเชื่อว่าเรายังมีเวลานะคะ แล้วก็กรรมาธิการ ได้พูดในรายงานนะคะว่าเรื่องนี้ต้องใช้เวลา ๕ ปี ถ้าเราใช้ระบบอื่นโดยเฉพาะระบบแบ่งปัน ผลผลิต ดิฉันได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาตินะคะ ก็ขออนุญาตเรียน ท่านประธานว่า ดิฉันได้มีโอกาสสอบถามขณะนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณา กฎหมายไปแล้ว ๗๒ ฉบับ กฎหมาย ๕๓ ฉบับ ผ่านวาระสาม มี ๒๘ ฉบับที่เราประกาศใช้แล้ว ๓๕ ฉบับนี่รอ เรียกว่ารอลงราชกิจจานุเบกษา เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าการที่เราจะแก้ กฎหมายปิโตรเลียม ไม่ได้ใช้ระยะเวลานานถึง ๕ ปีอย่างที่กรรมาธิการให้ข้อมูลกับ เพื่อนสมาชิกนะคะ ดิฉันคิดว่าอันนี้ไม่เป็นเหตุเป็นผลที่ควรจะต้องดำเนินการ อีกประเด็นหนึ่งที่ดิฉันคิด
ค่ะ ดิฉันขออีก ๒ นาทีค่ะท่านประธาน
ค่ะ ดิฉันขออีก ๒ นาทีค่ะท่านประธาน
ดิฉันขอประเด็นเดียวค่ะ ท่านประธานนะคะ คือดิฉันคิดว่าจริง ๆ เรายังมีตัวเลขที่บอกว่าถ้าเราไม่เปิดจะทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่า เรียกว่า ค่าพลังงานแพง ซึ่งจริงแล้วมันก็ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป ขณะนี้เราใช้ราคาพลังงานที่เป็น ราคาตลาดโลกอยู่แล้วนะคะ ดิฉันยกตัวอย่างเช่น ค่าแก๊ส ซึ่งเราจ่ายแพงกว่าหลายภูมิภาค อย่างเช่นขณะนี้ที่ กบง. อนุมัติ ๑๖ บาท ๑๐ สตางค์ แต่ขณะที่ตลาดโลกหรือว่า ตลาดในระดับภูมิภาคหลายภูมิภาคจะอยู่ที่ ๑๔ บาทเท่านั้นเองนะคะ แล้วก็ดิฉัน อยากเรียนนะคะว่า ๓๙ ปีนี่เรากำลังทำรัฐธรรมนูญ แล้วก็รัฐธรรมนูญเราเองนี่ อยากจะเห็นว่าปิโตรเลียมเป็นเรียกว่าทรัพยากรของชาติ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าถ้าเราทำไป ๓๙ ปีนี่มันไม่มีความหมายกับการทำรัฐธรรมนูญของกรรมาธิการจัดทำรัฐธรรมนูญ แล้วก็เรื่องนี้เป็นเรื่องปฏิรูปชัดเจนนะคะว่าเราบอกว่าเราต้องเอ็มเพาเวอร์ (Empower) ประชาชน แต่ขณะนี้ดิฉันเชื่อว่าในเรื่องพลังงานนี่ประชาชนตื่นตัวมาก ต้องการกลไกที่ดีของ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน ดิฉันจะส่งรายงานที่เป็นเอกสารนะคะ ซึ่งมีประเด็นอีกหลายประเด็นเพิ่มเติม ดิฉันจริง ๆ ไม่ได้นำเสนอนะคะ อีก ๓-๔ ประเด็นที่ ควรจะต้องได้เสนอแล้วก็ไม่ได้เสนอ ขอบพระคุณค่ะ
ดิฉันขอประเด็นเดียวค่ะ ท่านประธานนะคะ คือดิฉันคิดว่าจริง ๆ เรายังมีตัวเลขที่บอกว่าถ้าเราไม่เปิดจะทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่า เรียกว่า ค่าพลังงานแพง ซึ่งจริงแล้วมันก็ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป ขณะนี้เราใช้ราคาพลังงานที่เป็น ราคาตลาดโลกอยู่แล้วนะคะ ดิฉันยกตัวอย่างเช่น ค่าแก๊ส ซึ่งเราจ่ายแพงกว่าหลายภูมิภาค อย่างเช่นขณะนี้ที่ กบง. อนุมัติ ๑๖ บาท ๑๐ สตางค์ แต่ขณะที่ตลาดโลกหรือว่า ตลาดในระดับภูมิภาคหลายภูมิภาคจะอยู่ที่ ๑๔ บาทเท่านั้นเองนะคะ แล้วก็ดิฉัน อยากเรียนนะคะว่า ๓๙ ปีนี่เรากำลังทำรัฐธรรมนูญ แล้วก็รัฐธรรมนูญเราเองนี่ อยากจะเห็นว่าปิโตรเลียมเป็นเรียกว่าทรัพยากรของชาติ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าถ้าเราทำไป ๓๙ ปีนี่มันไม่มีความหมายกับการทำรัฐธรรมนูญของกรรมาธิการจัดทำรัฐธรรมนูญ แล้วก็เรื่องนี้เป็นเรื่องปฏิรูปชัดเจนนะคะว่าเราบอกว่าเราต้องเอ็มเพาเวอร์ (Empower) ประชาชน แต่ขณะนี้ดิฉันเชื่อว่าในเรื่องพลังงานนี่ประชาชนตื่นตัวมาก ต้องการกลไกที่ดีของ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน ดิฉันจะส่งรายงานที่เป็นเอกสารนะคะ ซึ่งมีประเด็นอีกหลายประเด็นเพิ่มเติม ดิฉันจริง ๆ ไม่ได้นำเสนอนะคะ อีก ๓-๔ ประเด็นที่ ควรจะต้องได้เสนอแล้วก็ไม่ได้เสนอ ขอบพระคุณค่ะ
ท่านประธานคะ ดิฉันขออนุญาตนิดหนึ่งได้ไหมคะ
ท่านประธานคะ ดิฉันขออนุญาตนิดหนึ่งได้ไหมคะ
คือดิฉันด้วยความเคารพทุกท่านนะคะ พี่ ๆ ทุกท่าน ดิฉันก็เป็นน้องใหม่ แต่ดิฉันคิดว่าเรากำลังหลบการตัดสินใจ แล้วก็เราไม่กล้า ตัดสินใจในเรื่องที่เราควรจะต้องตัดสินใจ คือดิฉันก็ไม่คิดว่าเราจะต้องมีมติเพื่อส่งรายงานนะคะ ดิฉันคิดว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลต้องการ รัฐบาลต้องการให้เรามาศึกษาว่าเราจะมีความเห็น ต่อเรื่องนี้อย่างไร แล้วก็ขอความเห็น แต่ว่ารัฐบาลจะทำเหมือนเรา หรือทำไม่เหมือนเรา ดิฉันคิดว่านี่ไม่ใช่ประเด็น แต่ว่าเรานี่กำลังหลบการตัดสินใจ กำลังไม่ตัดสินใจ ดิฉันคิดว่านี่ไม่ควรที่จะเป็นการตัดสินใจของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันเห็นด้วยกับ คุณประชานะคะว่า เราควรจะมีจุดยืนที่ชัดเจน เราไม่จำเป็นต้องหลบการตัดสินใจ และดิฉันคิดว่าดิฉันก็ไม่สบายใจ จริง ๆ อาจจะเสียงข้างมากจะเป็นอย่างไรไม่มีใครทราบนะคะ แต่ดิฉันคิดว่านี่ก็คือการตัดสินใจจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ รัฐบาลจะทำ ไม่ทำดิฉันคิดว่านี่เป็น อีกประเด็นหนึ่ง แต่เราต้องตัดสินใจว่าเรามีความเห็นต่อเรื่องการสัมปทานแบบไหนนะคะ แบบแบ่งปันผลผลิตหรือแบบสัมปทานแบบเดิมเราจะเอาอย่างไร ดิฉันคิดว่านี่เป็นเรื่องที่ เราต้องตัดสินใจ ไม่ใช่เรามีมติแบบไม่ตัดสินใจแล้วไม่มีอะไรเลยทั้ง ๆ ที่เราทำข้อมูลมาจาก หลายส่วนมาก ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน
คือดิฉันด้วยความเคารพทุกท่านนะคะ พี่ ๆ ทุกท่าน ดิฉันก็เป็นน้องใหม่ แต่ดิฉันคิดว่าเรากำลังหลบการตัดสินใจ แล้วก็เราไม่กล้า ตัดสินใจในเรื่องที่เราควรจะต้องตัดสินใจ คือดิฉันก็ไม่คิดว่าเราจะต้องมีมติเพื่อส่งรายงานนะคะ ดิฉันคิดว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลต้องการ รัฐบาลต้องการให้เรามาศึกษาว่าเราจะมีความเห็น ต่อเรื่องนี้อย่างไร แล้วก็ขอความเห็น แต่ว่ารัฐบาลจะทำเหมือนเรา หรือทำไม่เหมือนเรา ดิฉันคิดว่านี่ไม่ใช่ประเด็น แต่ว่าเรานี่กำลังหลบการตัดสินใจ กำลังไม่ตัดสินใจ ดิฉันคิดว่านี่ไม่ควรที่จะเป็นการตัดสินใจของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันเห็นด้วยกับ คุณประชานะคะว่า เราควรจะมีจุดยืนที่ชัดเจน เราไม่จำเป็นต้องหลบการตัดสินใจ และดิฉันคิดว่าดิฉันก็ไม่สบายใจ จริง ๆ อาจจะเสียงข้างมากจะเป็นอย่างไรไม่มีใครทราบนะคะ แต่ดิฉันคิดว่านี่ก็คือการตัดสินใจจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ รัฐบาลจะทำ ไม่ทำดิฉันคิดว่านี่เป็น อีกประเด็นหนึ่ง แต่เราต้องตัดสินใจว่าเรามีความเห็นต่อเรื่องการสัมปทานแบบไหนนะคะ แบบแบ่งปันผลผลิตหรือแบบสัมปทานแบบเดิมเราจะเอาอย่างไร ดิฉันคิดว่านี่เป็นเรื่องที่ เราต้องตัดสินใจ ไม่ใช่เรามีมติแบบไม่ตัดสินใจแล้วไม่มีอะไรเลยทั้ง ๆ ที่เราทำข้อมูลมาจาก หลายส่วนมาก ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ทุกท่านนะคะ ดิฉัน สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ขออนุญาตขอบคุณท่านสมาชิกทั้ง ๑๔ ท่านที่กรุณาให้ข้อเสนอแนะกับสภาองค์กร ของผู้บริโภค ดิฉันขอใช้ PowerPoint แล้วก็จะตอบคำถามไปด้วยทุกคำถามนะคะ
อย่างที่ทุกท่านทราบนะคะว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ ขององค์กรผู้บริโภค และเดิมเราต้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ จนกระทั่งถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แล้วก็มีพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค สภาเป็นองค์กรน้องใหม่ ปีนี้เป็นปีที่ ๒ ที่มีโอกาสมารายงานในรัฐสภา ปีที่แล้วเรามีโอกาส ทำงานประมาณ ๓ เดือน ปีนี้ปี ๒๕๖๕ ทำงานครบ ๑ ปี แล้วสภาเองเราได้กำหนดยุทธศาสตร์ของสภาไว้ใน ๕ ด้านที่สำคัญ ซึ่งดิฉันคิดว่าท่านสมาชิก ก็คงจะได้เห็นแล้วนะคะ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแรกเลย ก็คือการทำหน้าที่ในฐานะที่จะเป็นผู้แทน ผู้บริโภค โดยผ่านการสนับสนุน การดำเนินงาน และการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งมี กำหนดไว้ทั้งหมด ๘ ด้าน แล้วก็การทำงานเชิงรุกในการพัฒนาข้อเสนอนโยบาย และมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค การสร้างเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในการทำงาน ซึ่งขณะนี้ ก็อาจจะยังมีข้อจำกัดอยู่ที่ท่านสมาชิกได้เรียน แล้วก็การสื่อสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคค่ะ
จะเห็นว่าคราวที่แล้วใน ๓ เดือน ที่ดิฉันได้มีโอกาสมาสภาก็ได้ให้คำแนะนำ เราได้กลับไปทำทุกรายการที่ที่ประชุมได้ให้คำแนะนำ ดิฉันไม่ขอลงรายละเอียดนะคะ
ขอไปถึงผลงานนะคะ จะเห็นว่าอย่างที่ท่านสมาชิกได้แนะนำว่าข้อเสนอ ของสภาเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ แล้วก็ดิฉันคิดว่าขณะนี้เรามีข้อจำกัดในเรื่องของการที่ จะผลักดันข้อเสนอนโยบายไม่น้อย และปีนี้สภาองค์กรของผู้บริโภคเอง โดยคณะกรรมการนโยบายของสภาองค์กรของผู้บริโภคได้มีแนวทางที่จะทำงาน กับทุกพรรคการเมือง เราคิดว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็มีหน้าที่ในการที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งแน่นอนเราทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนผู้บริโภคในการกำหนด นโยบาย เราก็อยากเห็นคุณภาพชีวิตของประชาชนเช่นเดียวกัน
ซึ่งอย่างที่แต่ละท่านได้เรียนว่าข้อเสนอที่เราเสนอ แล้วก็เป้าหมาย หมุดหมายที่เราอยากเห็นใน ๘ ด้าน เป็นเรื่องที่น่าสนใจและเป็นเรื่องที่สำคัญ อย่างเช่นกรณี ดิฉันขอตอบคำถามเรื่องกรณีรถรับส่งนักเรียนว่าขณะนี้เราได้มี อาจจะเรียกว่ารูปธรรม หรือต้นแบบของโรงเรียนที่ทำงานเรื่องรถรับส่งนักเรียน แต่ว่าเมื่อต้นแบบเหล่านี้ไม่ได้ถูก นำไปใช้ สภาเองอาจจะไม่ใช่หน่วยงานที่จะไปกระจายการปฏิบัติงาน เพราะฉะนั้นเราก็ต้อง อาศัยความร่วมมือของหน่วยงานอื่น ๆ ในการที่จะทำให้เกิดต้นแบบของรถรับส่งนักเรียน แล้วเราคิดว่ารถรับส่งนักเรียนต้องมีหน่วยงานท้องถิ่นที่จะเข้ามาสนับสนุนให้เกิดการทำงาน เรื่องรถรับส่งนักเรียน
ส่วนประเด็นที่ ๒ ถ้ามองเรื่องบริการขนส่งมวลชน ก็จะเห็นว่าข้อเสนอ ของสภาองค์กรของผู้บริโภคที่อยากเห็น เดินออกไป ๕๐๐ เมตร เจอป้ายรถเมล์ หรือมี บริการราคาที่สามารถทำให้ทุกคนทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดเข้าถึงบริการขนส่ง มวลชน ทุกคนขึ้นได้ทุกวัน ไม่เกินร้อยละ ๑๐ อันนี้ก็ต้องถือว่าหลายพรรคการเมืองได้มี แนวทางในการที่จะผลักดัน ไม่ว่าจะเป็นบริการสาธารณะที่อยากเห็นเรื่องตั๋วใบเดียว และขณะนี้จริง ๆ ก็จะมีพระราชบัญญัติตั๋วใบเดียว ตั๋วร่วมบริการ เรื่องเดินรถต่าง ๆ ซึ่งสภาองค์กรของผู้บริโภคก็คิดว่าเราจะทำงานกับทุกพรรคการเมืองในการผลักดันให้เกิดตั๋ว ร่วมโดยสารที่ครอบคลุมทุกบริการทั้งคนในกรุงเทพมหานครและในต่างจังหวัด
ขออนุญาตว่าในส่วนของบริการสาธารณสุข เราจะเห็นว่าถึงแม้เราจะมี หลักประกันด้านบริการสาธารณสุข แต่ว่าบริการด้านฉุกเฉินก็ยังถือเป็นปัญหาที่สำคัญ ของผู้บริโภค เนื่องจากอย่างเราไม่ว่าจะอยู่ในกรุงเทพฯ หรืออยู่ในต่างจังหวัดโรงพยาบาล ของรัฐไม่ได้มีอยู่ทุกที่ บางครั้งในกรุงเทพฯ เราพึ่งโรงพยาบาลเอกชนถึง ๖๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นเมื่อเราไปใช้บริการฉุกเฉิน ซึ่งเรามีนโยบายว่าฉุกเฉินไปได้ทุกที่ แต่ว่าเมื่อเราทำ ฉุกเฉินแล้ว โรงพยาบาลกับเราก็ตีความกรณีฉุกเฉินที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นหลายครั้งเมื่อผู้บริโภคไปใช้บริการก็ถูกเรียกเก็บเงิน ซึ่งสภาองค์กรของผู้บริโภคเอง ก็ได้ทำข้อเสนอไปอย่างน้อย ๔ หน่วยงาน ว่ากรมการค้าภายในต้องกำกับค่ารักษาพยาบาล ในกรณีฉุกเฉินที่เมื่อประชาชนไปใช้งาน ถึงแม้ว่าเราไม่ฉุกเฉินไม่ใช่เก็บค่ารักษาพยาบาล ที่เรียกว่า Fee for Service หรือเก็บตามการรักษาของเรา แต่ควรจะเก็บตามอัตรา ที่เรียกเก็บของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เรียกว่า Fee Schedule ซึ่งเป็น การเก็บค่ารักษาพยาบาลที่มีขอบเขตที่จำกัด แล้วก็ข้าราชการเองเมื่อใช้หลัง ๗๒ ชั่วโมง ไม่มีเจ้าภาพก็ต้องอยู่ต่อที่โรงพยาบาลเอกชน เพราะฉะนั้นคุณก็ต้องจ่ายเงินแบบ Fee for Service หรือว่าบัตรทอง ประกันสังคม ถ้าหาเตียงให้คนไข้ไม่ได้ก็ต้องจ่ายแบบ Fee for Service แทนที่เราจะใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เราก็ต้องจ่ายเงินโดยที่ไม่มี ขีดจำกัดในการควบคุม ดิฉันคิดว่าอันนี้ก็เป็นประเด็นที่สำคัญ แล้วก็จากการทำงาน ของสภาองค์กรของผู้บริโภคขณะนี้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเองได้เตรียมที่จะขยาย อย่างน้อยดิฉันเชื่อว่าจะมีการขยายเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินที่รวมถึงสีส้ม ที่จะทำให้ผู้บริโภค ได้รับการดูแลมากขึ้น
แล้วก็จากที่ท่านฐากรถามเรื่องความสำเร็จของสภา ดิฉันคิดว่าอันนี้ก็คงเป็น คำตอบส่วนหนึ่งนะคะ แล้วก็เรื่องการกำกับกรณีอาหารกัญชา ก็เป็นรูปธรรมที่สำคัญที่เราได้ ทำให้เห็นว่ากัญชาไม่ใช่มีอยู่ในทุกที่ ไม่ใช่มีอยู่ในอาหารทุกประเภท เพราะฉะนั้นจะทำให้ เกิดการกำกับอย่างไร แต่ดิฉันคิดว่าเส้นแบ่งระหว่างกัญชาเสรีกับกัญชาทางการแพทย์ขณะนี้ มีข้อจำกัดมากทีเดียว และสภาองค์กรของผู้บริโภคคงได้ร่วมมือกับทุกพรรคการเมือง ในการทำงานเรื่องนี้นะคะ
ส่วนที่คุณรัฐถามว่าทำไมด้านอสังหาริมทรัพย์เราถึงสามารถแก้ปัญหาได้ น้อยกว่าในด้านอื่น ๆ ดิฉันขออนุญาตเรียนว่าด้านอสังหาริมทรัพย์เป็นเรื่องที่สภาองค์กร ของผู้บริโภคใช้การฟ้องคดี เพราะฉะนั้นที่ไม่สำเร็จก็คือคดีเหล่านั้นยังอยู่ในการดำเนินการ อย่างเช่น ดิฉันขอเอ่ยชื่อบริษัท เนื่องจากว่าสภาเองเราก็ได้รับอนุญาตให้เอ่ยชื่อบริษัท ก็จะมี การเรียก สมมุติว่าเราซื้อบ้านแล้วเราไปกู้ธนาคาร ธนาคารไม่ผ่าน บริษัทก็ริบทั้งเงิน Down เงินจอง หรือขอให้สภายอมรับเงินที่ต่ำมาก อย่างที่หลายท่านบอกนะคะว่าเราเจรจา ไกล่เกลี่ยแบบไหนที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครอง ซึ่งดิฉันขออนุญาตยืนยันว่า โดยหลักการแล้วถ้าเป็นความพอใจของผู้บริโภคเราก็จะยอมยุติคดี หรือบางคดี เราก็อยากเห็นเป็นคดีตัวอย่างที่จะเดินหน้า อย่างเช่นกรณีการยึดเงิน Down เงินจอง ของผู้บริโภคจำนวนมากในกรณีที่ซื้อไม่ผ่าน ซึ่งขณะนี้สภาองค์กรของผู้บริโภคเองจริง ๆ เราได้ทำข้อเสนอไปแล้วนะคะว่าต้องจัดการที่ต้นทางคือต้องทำให้เกิด เรียกว่าสัญญา มาตรฐานหรือสัญญาที่ยึดโยงกับข้อสัญญาที่เป็นธรรม แต่ว่าก็อาจจะไม่ได้ง่ายเหมือนที่ดิฉัน พูดนะคะ เพราะหลายเรื่องก็ต้องอาศัยระยะเวลา
ส่วนที่ถามว่าเราสำเร็จ ๙๑ เปอร์เซ็นต์จริงไหม ดิฉันก็ขอยืนยันว่าสิ่งที่ เราดำเนินการเป็นไปตามนั้น เรื่องข้อร้องเรียน จำนวนข้อร้องเรียน แต่ดิฉันขอน้อมรับ ความผิดพลาดเรื่องจำนวนที่อาจจะไม่ตรงกัน ซึ่งอันนี้จริง ๆ ก็ได้รับทราบ แล้วก็ได้จัดการ ไปแล้ว เนื่องจากว่าเรามีหน่วยงานประจำจังหวัดประมาณ ๑๕ หน่วยงาน เพราะฉะนั้น หลายหน่วยงานอาจจะรับเรื่องร้องเรียนจากการไปจัดเวทีรับเรื่องร้องเรียน แล้วอาจจะไม่ได้ ใส่เข้าไปในระบบ Online มาบันทึกทีหลัง เพราะฉะนั้นทำให้จำนวนเรื่องร้องเรียนไม่ตรงกัน ซึ่งอันนี้เราก็ได้จัดการไปแล้ว คิดว่าปีหน้าไม่น่าจะเกิดปัญหานี้ขึ้น หรือว่าขณะนี้เท่าที่ เราตรวจสอบอย่างน้อยในรอบ ๓ เดือนที่ผ่านมาเรื่องนี้ก็ไม่เกิดขึ้นแล้ว ก็ขออนุญาต เรียนด้วย แล้วก็ต้องขอบคุณนะคะ จริง ๆ สภาองค์กรของผู้บริโภคก็ให้ความสำคัญเรื่องนี้ ไม่น้อย
ส่วนประเด็นคำถาม อันนี้ก็จะเห็นว่าเรื่องร้องเรียนที่เราได้ให้การช่วยเหลือ เป็นตัวเลข ๙๑ เปอร์เซ็นต์ ตามที่ดำเนินการได้จริง แล้วก็มีมูลค่าการเยียวยาความเสียหาย ถึง ๒๘๖ ล้านบาท แต่แน่นอนดิฉันก็เชื่อว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคมีมูลค่า มากกว่านี้มากมายมหาศาล อย่างเช่นเรื่องการฉ้อโกง Online ล่าสุดตัวเลขปี ๒๕๖๕ เราเสียเงินไปกับโจร Online ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท แล้วก็ในตัวเลขที่มากที่สุดก็เป็นเรื่องของ การลงทุน Online แล้วก็ซื้อของไม่ได้ของ ซื้อของไม่ตรงปก หรือแม้กระทั่งเรื่องความรัก ต่าง ๆ ที่เข้ามาแล้วทำให้เป็นมูลค่ามากมายกว่าที่สภาองค์กรของผู้บริโภคทำงาน และขณะนี้ สภาองค์กรของผู้บริโภคได้ทำความร่วมมือไปอย่างน้อยกับ ๑๐ หน่วยงาน ทั้งกระทรวง DE ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ปคบ. DSI เรียกว่าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องการฉ้อโกง Online ทำอย่างไรที่ จะทำให้ อย่างเช่นระงับบัญชีทันที ซึ่งหลายท่านก็คงทราบ ถึงแม้ว่าเราจะพูดกันว่าขอให้ ระงับบัญชีทันที ขณะนี้เรื่องกรณีร้องเรียนล่าสุดก็ยังไม่มีการระงับบัญชีทันที
ประเด็นที่ ๒ ก็คือให้จำกัดวงเงิน เหมือนที่ท่าน สส. ทั้งหลายเวลาจะโอนเงิน ก็จะถูกจำกัดวงเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท แต่ขณะนี้การจำกัดวงเงินเมื่อเราโอนเงินไปต่างประเทศ ไม่มีการจำกัดวงเงิน เพราะฉะนั้นก็ทำให้โอกาสที่มิจฉาชีพจะทำไปซื้อ Cryptocurrency ก็ดี หรือเกิดความเสียหายมากขึ้นต่อผู้บริโภคเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เลย เพราะฉะนั้นเราก็ได้เสนอ ไปแล้วทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยที่จะให้จำกัดวงเงินในการโอนเงิน ต่างประเทศนะคะ
ประเด็นที่ ๓ ดิฉันคิดว่าขณะนี้เรามีข้อมูลที่เป็นถังกลางว่าใครบ้าง เป็นบัญชีม้า ขณะที่เราโอนเงินทุกคนก็จะได้รับการเตือนนะคะว่าระวังมิจฉาชีพ หรือโอน ถูกคนไหม ดิฉันคิดว่าอันนี้ที่ธนาคารทำเป็นเรื่องที่ดีมาก ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้ ธนาคารดำเนินการเป็นเรื่องที่ดีมาก อย่างน้อยมันก็กระตุกต่อมการโอนเงินของเรา เพราะฉะนั้นก็หวังว่าถ้าเป็นบัญชีม้าก็ขอให้ขึ้นเลยว่าบัญชีม้า คุณแน่ใจนะว่าคุณจะโอน นี่คือ บัญชีม้านะคะ เพราะว่าเขามี Database เรื่องบัญชีม้า เพราะฉะนั้นดิฉันก็หวังว่าสิ่งที่ จะเกิดขึ้น อย่างน้อยขณะนี้เราจัดการบัญชีม้าได้มาก แต่ว่าเรายังไม่สามารถเอาเงินมาคืน ให้กับผู้บริโภคได้นะคะ
ส่วนเรื่องของการที่ตั้งคำถามว่ามียอดผู้เข้าถึงข้อมูล ๔ ล้านครั้ง อันนี้เป็น เรื่องของการส่งเสริมการรวมตัว และอย่างที่ท่านประธานได้รายงาน เราพยายามที่จะทำให้ เกิดสมาชิกอย่างน้อย ๑ จังหวัด ๑ องค์กร จริง ๆ จังหวัดนนทบุรีเรามีอยู่ ๔ องค์กร อย่างไร ดิฉันคิดว่าทำความร่วมมือได้ ๔ องค์กรในจังหวัดนนทบุรีก็มีความเข้มแข็ง เพียงแต่เรามี หลักเกณฑ์ว่าการที่คุณจะขึ้นเป็นหน่วยประจำจังหวัดอย่างน้อยต้องมี ๕ องค์กร แล้วก็ ต้องมีระบบการบริหารจัดการ เหมือนอย่างที่หลายท่านถามว่าเรามีหลักเกณฑ์อย่างไร ในการยุบหน่วย หรือเรามีหลักเกณฑ์อย่างไรในการตั้งหน่วย คือการที่คุณจะตั้งหน่วย อย่างน้อยคุณต้องมีความร่วมมือที่จะสามารถทำงานได้ในระดับจังหวัด เพราะฉะนั้นเรียกว่า ต้องมีเพื่อนอย่างน้อยไม่ว่าจะ ๕ อำเภอ หรือ ๕ องค์กร ที่จะร่วมกันผลักดันงานในระดับ จังหวัด อันนี้ก็เป็นหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายได้กำหนดไว้
แล้วเรื่องการสนับสนุนหน่วยงานประจำจังหวัดก็ดี หน่วยงานเขตพื้นที่ก็ดี ดิฉันคิดว่าเป็นภารกิจที่สำคัญของสภาองค์กรของผู้บริโภคมาก เพราะว่าไม่ใช่พอเรามี สภาองค์กรของผู้บริโภคแล้วเพื่อนเราตายหมด ทุกอย่างมาคอขวดที่สภาองค์กรของผู้บริโภค ดิฉันคิดว่าท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็คงไม่อยากเห็นบรรยากาศแบบนั้น และขณะนี้ เรามีความพยายามมากที่จะทำให้เรามีสมาชิกทุกจังหวัด โดยที่เขาจะได้รับการสนับสนุน ทั้งงบในเชิงของการบริหารงาน งบในการดำเนินการ แต่ว่าก็ต้องเป็นไปตามแผนและยุทธศาสตร์ของสภาองค์กรของผู้บริโภค ส่วนสมาชิก ท่านก็จะเห็นว่าเรามีการสนับสนุนสมาชิกเพื่อให้เริ่มทำงาน ดิฉันคิดว่าเป็นงบประมาณ ที่น้อยมาก ตั้งแต่ ๓๐,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท ในการสนับสนุนการทำกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานร้องเรียนปัญหาของคุณ ในพื้นที่ของคุณเอง หรือการผลักดันประเด็น ที่เป็นประเด็นเฉพาะที่สภาองค์กรของผู้บริโภคกำหนดในแต่ละปีนะคะ
ขออนุญาตไป Slide ถัดไปอีกนิดหนึ่งนะคะ อันนี้จะเห็นว่า
ได้ค่ะ ถ้าอย่างนั้นดิฉันต้องขออภัยที่บางคำถามอาจจะไม่ได้ตอบท่านสมาชิกทุกท่าน ทั้งหมด ๑๓ ท่านที่ได้กรุณาให้ข้อคิดเห็น และรวมทั้งเรื่องของการจ้างที่ปรึกษา ๘ ล้านบาท จริง ๆ เป็นการทำงานกับ ๑๐ จังหวัด ๑๐ มหาวิทยาลัย ในการที่ทำงานนะคะ แล้วดิฉัน ได้ตอบไปแล้วเรื่อง ๑,๔๐๐ เรื่องร้องเรียนว่าเป็น ๙๑ เปอร์เซ็นต์จริง ๆ แล้วก็สถานะยุติ หมายถึงว่าผู้ร้องพอใจ การเจรจาสำเร็จ แล้วก็เราฟ้องคดี เพราะฉะนั้นหลักเกณฑ์ เรื่องการยุบหน่วยดิฉันได้พูดไปแล้ว แล้วก็ขอบคุณสำหรับท่านที่ได้แนะนำ ดิฉันคิดว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคเราก็เป็นน้องใหม่ แล้วเราก็อยากเห็นว่าการทำงานที่จะร่วมมือกับ ทุกพรรคการเมืองในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งปีนี้สภาองค์กรของผู้บริโภคเรามี กฎหมายอย่างน้อย ๖ ฉบับ ซึ่งฉบับแรก ก็คือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค อย่างที่ ท่านแนะนำว่าเราน่าจะปรับปรุง ฉบับที่ ๒ กฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อสินค้าที่ชำรุด บกพร่อง Lemon Law ซึ่งเราทำมาตั้งนานมากแล้ว ถ้าใครจำได้ก็คือกรณีทุบรถที่หน้า ITV จนขณะนี้ประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งทำหลังเราเขามีกฎหมายฉบับนี้ไปแล้ว ขณะนี้บ้านเรายัง ไม่เกิด ฉบับที่ ๓ พ.ร.บ. อากาศสะอาดเพื่อประชาชน พ.ศ. .... ซึ่งอันนี้สภาสนับสนุนองค์กร อื่น ๆ ในการทำกฎหมายฉบับนี้ ฉบับที่ ๔ เรียกว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการ ระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ที่เราจะเข้าไปช่วยสนับสนุนการดำเนินการ แล้วก็มีเรื่อง พ.ร.บ. กัญชา กัญชง พ.ศ. .... ที่กำลังพูดคุยกัน รวมถึงบำนาญประชาชน ดิฉันก็หวังว่าเราจะมี บำนาญของประชาชนซึ่งเป็นกฎหมายที่ควรจะเกิดขึ้น โดยสรุปก็ประมาณนั้น แล้วจะเห็นว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคเองเรามีงานอยู่ ๔ งานหลัก ๆ ก็คืองานตั้งรับ งานให้การช่วยเหลือ ผู้บริโภค ซึ่งเราก็พยายามที่จะลดความซ้ำซ้อนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยที่มีคณะทำงานร่วมมือกัน ไม่ว่าจะลดความซ้ำซ้อนในการฟ้องคดี สนับสนุนการทำงาน กันมากขึ้น แน่นอนงานเชิงรุกเราอาจจะยังทำได้จำกัด และดิฉันก็หวังว่างานเชิงรุกโดยเฉพาะ การจัดทำข้อเสนอนโยบาย จะได้รับการสนับสนุนจากท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากขึ้น งานเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเราเตรียมการไว้มากทีเดียว ปีนี้จาก ๔๑ จังหวัด ปีหน้า ปี ๒๕๖๗ เราคาดหวังว่าอย่างน้อยเราจะมี ๖๐ จังหวัด ที่เป็นสมาชิกของสภาองค์กร ของผู้บริโภค แล้วหลายท่านพูดเรื่องเบี้ยยังชีพที่เป็นสิทธิ หรือเรียกว่าสงเคราะห์ วันที่ ๑๘ นี้ ถ้าท่านสนใจเราจัดเวทีเรื่องนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาองค์กรของผู้บริโภค ส่วนงานสื่อสารสาธารณะเราก็อยากจะทำอย่างเข้มข้นต่อไป ก็ต้องขอบคุณท่านประธาน ขอบคุณท่านสมาชิกทุกท่าน และดิฉันต้องขอโทษด้วยถ้าเกิดว่ามีคำถามไหนที่อาจจะ ไม่ได้ตอบ แต่ก็ยินดีนะคะ เดี๋ยวจะตอบอย่างเป็นทางการในคำถามต่าง ๆ มาถึง สภาผู้แทนราษฎรอีกทีหนึ่ง ขอบพระคุณมากค่ะท่านประธาน สวัสดีค่ะ
ท่านประธานคะ ดิฉันมีนิดเดียว
คือเห็นว่าท่านสมาชิกช่วยสนับสนุนให้สภาองค์กรของผู้บริโภคพูดเรื่องงบประมาณ ดิฉันขออนุญาตเรียนนะคะ สภาเกิดขึ้นวันที่ทำงานเป็นทางการ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เราได้ทุนประเดิม ๓๕๐ ล้านบาท แล้วทุนประเดิมนั้นจริง ๆ คณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติว่าให้สภาขอรับปี ๒๕๖๕ แต่ปี ๒๕๖๕ สภาไม่ได้รับงบประมาณเลย จริง ๆ พยายามที่จะแปรญัตติ แล้วก็ท่านสมาชิกหลายท่าน ที่อยู่ในที่นี้ก็ได้ช่วยเหลือสภาองค์กรของผู้บริโภค แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดที่ไม่ได้มี การแปรญัตติงบประมาณ เพราะฉะนั้นปี ๒๕๖๕ สภาไม่ได้รับงบประมาณ ปี ๒๕๖๖ ขณะนี้ ได้รับการสนับสนุน ๑๕๓ ล้านบาท แล้วก็ปี ๒๕๖๗ เรายังไม่ทราบ ทราบแต่ว่างบประมาณ ของสภาอยู่ในบัญชีงบประมาณ แต่ว่ายังไม่ได้ทราบอย่างเป็นทางการ แต่ขณะนี้ ทุกหน่วยงานสามารถใช้งบไปพลางก่อน แต่ขณะที่สภาองค์กรของผู้บริโภคเราไม่มีงบ ไปพลางก่อนเลย เพราะฉะนั้นดิฉันก็หวังว่าท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะสนับสนุน โดยที่ สภาจะของบประมาณจากคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นงบที่จะขอใช้ไปพลางก่อนในปี ๒๕๖๗ ก็หวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากท่านสมาชิกทุกท่านนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ