กราบเรียน ท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านสมาชิกครับ กระผม นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร ขอเรียนชี้แจงเกี่ยวกับขั้นตอนกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ดังนี้นะครับ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้จะเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม สภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗ ในข้อ ๑๐๒ ถึงข้อ ๑๑๐ จะมีขั้นตอนสรุปได้ดังนี้
กราบเรียน ท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านสมาชิกครับ กระผม นายธงชัย ดุลยสุข รองเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร ขอเรียนชี้แจงเกี่ยวกับขั้นตอนกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ดังนี้นะครับ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินี้จะเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม สภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗ ในข้อ ๑๐๒ ถึงข้อ ๑๑๐ จะมีขั้นตอนสรุปได้ดังนี้
เมื่อคณะกรรมาธิการเข้าประจำที่เรียบร้อยแล้วนะครับ ประธานในที่ประชุม ก็จะให้ทางท่านประธานกรรมาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แถลงหลักการและเหตุผล เมื่อประธานกรรมาธิการแถลงหลักการและเหตุผลเสร็จเรียบร้อยแล้วนะครับ จะเป็น การอภิปรายของสมาชิก ซึ่งสมาชิกจะอภิปรายโดยเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ หรือจะขอ แก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตรานะครับ โดยการอภิปรายของสมาชิกจะเป็นการอภิปรายรวมกัน ทั้งฉบับนะครับ เว้นแต่ที่ประชุมจะมีมติเห็นเป็นอย่างอื่น เช่น ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ให้พิจารณาเป็นรายมาตราหรือจะเป็นรายหมวดก็ได้นะครับ เมื่อสมาชิกอภิปราย และกรรมาธิการตอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ประธานกรรมาธิการจะสรุปอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะ ปิดการอภิปราย จากนั้นก็จะเป็นการลงมติ ในการลงมตินะครับจะใช้เสียงข้างมาก ในการเห็นชอบ
เมื่อคณะกรรมาธิการเข้าประจำที่เรียบร้อยแล้วนะครับ ประธานในที่ประชุม ก็จะให้ทางท่านประธานกรรมาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แถลงหลักการและเหตุผล เมื่อประธานกรรมาธิการแถลงหลักการและเหตุผลเสร็จเรียบร้อยแล้วนะครับ จะเป็น การอภิปรายของสมาชิก ซึ่งสมาชิกจะอภิปรายโดยเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ หรือจะขอ แก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตรานะครับ โดยการอภิปรายของสมาชิกจะเป็นการอภิปรายรวมกัน ทั้งฉบับนะครับ เว้นแต่ที่ประชุมจะมีมติเห็นเป็นอย่างอื่น เช่น ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ให้พิจารณาเป็นรายมาตราหรือจะเป็นรายหมวดก็ได้นะครับ เมื่อสมาชิกอภิปราย และกรรมาธิการตอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ประธานกรรมาธิการจะสรุปอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะ ปิดการอภิปราย จากนั้นก็จะเป็นการลงมติ ในการลงมตินะครับจะใช้เสียงข้างมาก ในการเห็นชอบ
สำหรับการลงมติ ถ้าสภาลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติโดยไม่มี การแก้ไข ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติก็จะเสนอร่างพระราชบัญญัติให้กับประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาต่อไป แต่ถ้ากรณีที่สภามีมติให้แก้ไขเพิ่มเติม ร่างพระราชบัญญัตินะครับ คณะกรรมาธิการก็จะนำร่างพระราชบัญญัตินั้นกลับไปปรับปรุง แก้ไขตามข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตของทางสมาชิก ในกรณีนี้ถ้าสมาชิกท่านใดที่ประสงค์จะ ขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ ก็ให้ยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมต่อประธานกรรมาธิการ ภายในกำหนด ๗ วันนับจากวันถัดจากวันที่สภามีมตินะครับ เมื่อคณะกรรมาธิการ ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะให้สภาพิจารณาว่าจะเห็นชอบหรือไม่ เห็นชอบ สำหรับแนวทางการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น ทางสำนักงานได้จัดวางไว้ ประจำที่นั่งของท่านสมาชิกแล้วนะครับ
สำหรับการลงมติ ถ้าสภาลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติโดยไม่มี การแก้ไข ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติก็จะเสนอร่างพระราชบัญญัติให้กับประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาต่อไป แต่ถ้ากรณีที่สภามีมติให้แก้ไขเพิ่มเติม ร่างพระราชบัญญัตินะครับ คณะกรรมาธิการก็จะนำร่างพระราชบัญญัตินั้นกลับไปปรับปรุง แก้ไขตามข้อเสนอแนะหรือข้อสังเกตของทางสมาชิก ในกรณีนี้ถ้าสมาชิกท่านใดที่ประสงค์จะ ขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ ก็ให้ยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมต่อประธานกรรมาธิการ ภายในกำหนด ๗ วันนับจากวันถัดจากวันที่สภามีมตินะครับ เมื่อคณะกรรมาธิการ ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะให้สภาพิจารณาว่าจะเห็นชอบหรือไม่ เห็นชอบ สำหรับแนวทางการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น ทางสำนักงานได้จัดวางไว้ ประจำที่นั่งของท่านสมาชิกแล้วนะครับ
ข้อ ๑๕ การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือ เว้นแต่เมื่อได้บอกนัดในที่ประชุมแล้ว ต้องแจ้งให้สมาชิกที่ไม่ได้มาประชุมทราบ
การนัดประชุมให้นัดล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน แต่ถ้าประธานสภา เห็นสมควรจะนัดเร็วกว่านั้นก็ได้หรือนัดประชุมโดยวิธีอื่นใดก็ได้เมื่อเห็นว่าเป็นเรื่องด่วน
ข้อ ๑๖ ให้ส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับ หนังสือนัดประชุม แต่ประธานสภาจะให้ส่งเพิ่มเติมอีกในเวลาใดก็ได้ ตามที่เห็นว่าจำเป็น หรือสมควร
ข้อ ๑๗ การนัดประชุมหรือการส่งเอกสารตามข้อ ๑๕ หรือข้อ ๑๖ เมื่อประธานสภาเห็นสมควรอาจดำเนินการทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยี สารสนเทศประเภทอื่นเพิ่มเติมด้วยก็ได้ เว้นแต่การจัดส่งเอกสารลับให้เป็นไปตามที่ ประธานสภากำหนด
ข้อ ๑๘ การจัดระเบียบวาระการประชุมให้จัดลำดับ ดังต่อไปนี้
(๑) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
(๒) รับรองรายงานการประชุม
(๓) เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
(๔) เรื่องที่ค้างพิจารณา
(๕) เรื่องที่เสนอใหม่
(๖) เรื่องอื่น ๆ
ในกรณีที่ประธานสภาเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วน จะจัดไว้ในลำดับใด ของระเบียบวาระการประชุมก็ได้
ข้อ ๑๙ ให้สมาชิกผู้มาประชุมลงชื่อในสมุดที่จัดไว้ก่อนเข้าประชุมทุกคราว และเมื่อมีสัญญาณให้เข้าประชุม ให้สมาชิกเข้านั่งในที่ที่จัดไว้
เมื่อมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม
เมื่อมีสมาชิกมาลงชื่อครบองค์ประชุมและมีสัญญาณให้เข้าประชุมแล้ว ให้ประธานดำเนินการประชุมได้
เมื่อประธานขึ้นบัลลังก์ ให้ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมยืนขึ้นจนกว่าประธานได้นั่งลง
ข้อ ๒๐ เมื่อพ้นกำหนดเวลาประชุมไปสามสิบนาทีแล้ว จำนวนสมาชิก ยังไม่ครบองค์ประชุม ประธานจะสั่งให้เลื่อนการประชุมไปก็ได้
ข้อ ๒๑ เมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมหรือพ้นกำหนดเวลาประชุมไป สามสิบนาทีแล้ว ประธานสภาและรองประธานสภาไม่อาจมาประชุมได้ ให้เลขาธิการแจ้งให้ ที่ประชุมสภาทราบ ในกรณีเช่นนี้ให้เลขาธิการขออนุมัติที่ประชุมสภา เพื่อเชิญสมาชิก ผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมสภาเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมสภา เพื่อดำเนินการ เลือกประธานเฉพาะคราวสำหรับการประชุมครั้งนั้น โดยให้นำความในข้อ ๖ วรรคหนึ่ง วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า วรรคหก วรรคเจ็ด และวรรคแปด มาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนการลงคะแนนเลือกประธานเฉพาะคราว ให้กระทำเป็นการเปิดเผยตามข้อ ๖๘
ข้อ ๒๒ ในการประชุมสภา ให้ที่ประชุมพิจารณาเฉพาะเรื่องที่มีอยู่ในระเบียบ วาระการประชุม และต้องดำเนินการพิจารณาตามลำดับระเบียบวาระการประชุมที่จัดไว้ เว้นแต่ที่ประชุมสภาจะลงมติเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒๓ ผู้ใดประสงค์จะกล่าวถ้อยคำต่อที่ประชุมสภา ให้ยกมือขึ้นพ้นศีรษะ และให้เจ้าหน้าที่บันทึกไว้ตามลำดับ เมื่อประธานอนุญาตแล้วจึงยืนขึ้นกล่าวได้ และต้องเป็น คำกล่าวกับประธานเท่านั้น
ข้อ ๒๔ ถ้ารัฐมนตรีขอแถลงหรือชี้แจงเรื่องใดต่อที่ประชุมสภา ให้ประธาน พิจารณาอนุญาต
สมาชิกอาจซักถามเพื่อความกระจ่างแจ้งในเรื่องที่แถลงหรือชี้แจงนั้นก็ได้
ข้อ ๒๕ ประธานมีอำนาจปรึกษาหารือที่ประชุมในปัญหาใด ๆ กำหนดวิธีการ ตรวจสอบองค์ประชุม สั่งพักการประชุม เลื่อนการประชุม หรือเลิกการประชุมได้ตามที่ เห็นสมควร
ถ้าประธานสภาลงจากบัลลังก์โดยไม่ได้สั่งอย่างใด และไม่มีรองประธาน ปฏิบัติหน้าที่แทนให้เลิกการประชุม
ข้อ ๒๖ รายงานการประชุม เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติตรวจแล้ว ก่อนที่จะเสนอให้สภารับรอง ให้ทำสำเนาวางไว้สามฉบับ รวมถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ณ ที่ซึ่งสำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎรได้ประกาศกำหนดไว้ ไม่น้อยกว่าสามวัน เพื่อให้สมาชิกตรวจดูได้
รายงานการประชุมทุกครั้งจะต้องมีรายชื่อสมาชิกที่มาประชุม ที่ลาการประชุม ที่ขาดการประชุม บันทึกผลการแสดงตน และบันทึกการออกเสียง ลงคะแนนโดยเปิดเผยซึ่งปรากฏรายชื่อสมาชิก
สมาชิกมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมรายงานการประชุมดังกล่าวให้ตรงตามที่ เป็นจริงโดยยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมต่อประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ถ้าคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่ยอมแก้ไข เพิ่มเติมให้ตามที่ขอ สมาชิกผู้นั้นมีสิทธิที่จะยืนยันคำขอแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อขอให้สภาวินิจฉัย
ข้อ ๒๗ ในการตรวจรายงานการประชุมครั้งใด ถ้ามีผู้ใดกล่าวถ้อยคำ หรือข้อความใด ๆ และได้มีการถอนหรือถูกสั่งให้ถอนถ้อยคำหรือข้อความนั้นแล้ว ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาว่าสมควรจะตัดถ้อยคำ หรือข้อความดังกล่าวออกหรือไม่ ถ้าเห็นสมควรให้ตัดออก ให้บันทึกว่า “มีการถอนคำพูด” หรือ “ถูกสั่งให้ถอนคำพูด” แล้วแต่กรณี ไว้ในรายงานการประชุมสภาครั้งนั้น ส่วนถ้อยคำ หรือข้อความที่ตัดออก ให้บันทึกไว้ในรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญ กิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติด้วย
ข้อ ๒๘ รายงานการประชุมครั้งใด เมื่อได้วางสำเนาไว้เพื่อให้สมาชิก ตรวจดูแล้ว ถ้ามีการแก้ไขเพิ่มเติมในภายหลังโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติแก้ไขเพิ่มเติมเองหรือโดยสมาชิกขอแก้ไขเพิ่มเติมก็ตาม ในคราวที่สภาพิจารณา รับรองรายงานการประชุมนั้น คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติจะต้อง แถลงต่อที่ประชุมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว
ข้อ ๒๙ เมื่อสภาได้รับรองรายงานการประชุมครั้งใดแล้ว ให้ประธานสภา ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
รายงานการประชุมที่ได้รับรองแล้ว แต่ประธานสภายังไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ เป็นหลักฐาน หรือรายงานการประชุมที่ยังมิได้มีการรับรองเพราะเหตุที่สภาสิ้นสุดลง หรือเหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ ให้เลขาธิการบันทึกเหตุนั้นไว้ และเป็นผู้รับรอง ความถูกต้องของรายงานการประชุมนั้น
ข้อ ๓๐ สภาอาจมีมติไม่ให้จดรายงานการประชุมลับครั้งใดทั้งหมด หรือแต่เพียงบางส่วนก็ได้ แต่ให้มีบันทึกเหตุการณ์ไว้
ข้อ ๓๑ การเปิดเผยรายงานการประชุมลับ ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญ กิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาและเสนอความเห็นเพื่อให้สภามีมติว่าจะเปิดเผยหรือไม่
ข้อ ๓๒ สภาอาจมีมติห้ามโฆษณาข้อความอันเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดินที่ได้กล่าวหรือปรากฏในการประชุมก็ได้
ข้อ ๓๓ ในกรณีที่สมาชิกกล่าวถ้อยคำในที่ประชุมที่มีการถ่ายทอด ทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ อันอาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรี หรือสมาชิกได้รับความเสียหาย บุคคลนั้นมีสิทธิร้องขอต่อประธานสภาภายในกำหนดเวลา สามเดือนนับแต่วันที่มีการประชุมครั้งนั้น เพื่อให้มีการโฆษณาคำชี้แจง
การยื่นคำร้องต้องทำเป็นหนังสือพร้อมคำชี้แจงประกอบข้อเท็จจริง อย่างชัดเจนและอยู่ในประเด็นที่ผู้ร้องอ้างว่าก่อให้เกิดความเสียหายเท่านั้น
ข้อ ๓๔ ให้เป็นอำนาจของประธานสภาที่จะวินิจฉัยว่าคำร้องและคำชี้แจง ที่ผู้ร้องกล่าวอ้างมานั้นเป็นไปตามข้อ ๓๓ หรือไม่
ให้ประธานสภาวินิจฉัยคำร้องและคำชี้แจงให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
ในกรณีที่ประธานสภาวินิจฉัยว่าคำร้องและคำชี้แจงไม่เป็นไปตามข้อ ๓๓ ให้ยกคำร้องเสียและแจ้งให้ผู้ร้องทราบ
คำวินิจฉัยของประธานสภาให้ถือเป็นเด็ดขาด
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ประธานสภาได้วินิจฉัยว่าคำร้องและคำชี้แจงเป็นไปตาม ข้อ ๓๓ ให้ประธานสภาจัดให้มีการโฆษณาโดยวิธีปิดประกาศคำชี้แจงไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ไว้ ณ บริเวณสภาที่ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ และโฆษณาโดยวิธีการอื่นตามที่ ประธานสภาเห็นสมควร
ข้อ ๓๖ เมื่อประธานสภาดำเนินการตามข้อ ๓๕ แล้วให้แจ้งผู้ร้อง ผู้กล่าวถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย และที่ประชุมสภารับทราบในโอกาสแรก ที่มีการประชุม
ข้อ ๓๗ ให้เลขาธิการเป็นผู้พิมพ์และโฆษณารายงานการประชุม ทั้งนี้ นอกจากรายงานการประชุมลับที่สภามีมติไม่ให้เปิดเผย
ข้อ ๙๐ เพื่อลดภาระผู้มาชี้แจงแก่คณะกรรมาธิการ ให้ประธาน คณะกรรมาธิการที่ประสงค์จะเรียกบุคคลตามข้อ ๘๙ แจ้งชื่อบุคคล ตำแหน่ง เรื่องที่ขอให้ ชี้แจง วันและเวลาที่ขอให้มาชี้แจง ให้เลขาธิการทราบล่วงหน้าสามวัน และให้เลขาธิการ แจ้งให้ประธานคณะกรรมาธิการสามัญทุกคณะและประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญทราบ
เมื่อประธานคณะกรรมาธิการสามัญหรือประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่งแล้ว ปรากฏว่ามีกรณีที่คณะกรรมาธิการซึ่งตนเป็นประธานอยู่นั้น กำลัง หรือกำลังจะพิจารณาหรือศึกษาเรื่องนั้น หรือเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนั้น และประสงค์จะเลือกบุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งมาชี้แจงด้วย ประธานคณะกรรมาธิการ ที่ได้รับแจ้งอาจขอให้มีการประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการ หรืออาจส่งผู้แทนไปร่วมในการ พิจารณาของคณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งได้ ในกรณีนี้ ให้ถือว่าผู้แทนที่ส่งไปตามวรรคนี้ เป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่การสอบถามหรือแสดง ความคิดเห็นในเรื่องที่คณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งพิจารณา แต่จะลงมติในเรื่องนั้นมิได้
ให้นำความในข้อนี้ไปใช้บังคับแก่การดำเนินการของคณะอนุกรรมาธิการด้วย โดยอนุโลม
ข้อ ๙๑ สมาชิกและผู้ซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมาธิการมีสิทธิเข้าฟัง การประชุมคณะกรรมาธิการ
ในกรณีประชุมลับ ผู้ที่จะเข้าฟังการประชุมได้ต้องเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การประชุม และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมาธิการ
ข้อ ๙๒ ภายใต้ข้อบังคับข้อ ๙๑ ผู้เสนอญัตติมีสิทธิชี้แจงแสดงความเห็น ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้ตลอดเรื่อง ส่วนผู้แปรญัตติมีสิทธิชี้แจงแสดงความเห็น ได้เฉพาะที่แปรญัตติไว้
การชี้แจงแสดงความเห็นตามวรรคหนึ่ง ผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติ อาจมอบหมายเป็นหนังสือให้สมาชิกอื่นกระทำการแทนได้ โดยยื่นต่อประธาน คณะกรรมาธิการ
ข้อ ๙๓ ให้เลขาธิการประกาศกำหนดการประชุมคณะกรรมาธิการไว้ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และมีหนังสือนัดผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติ มาชี้แจงประกอบญัตติหรือคำแปรญัตติ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๙๔ ถ้าผู้แปรญัตติหรือผู้รับมอบหมายไม่มาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ ตามนัดจนเวลาล่วงไปเกินกว่าสามสิบนาทีนับแต่เวลาที่ได้เริ่มพิจารณาคำแปรญัตติใด ให้คำแปรญัตตินั้นเป็นอันตกไป เว้นแต่คณะกรรมาธิการจะพิจารณาเห็นสมควรผ่อนผัน ให้เป็นกรณีพิเศษก่อนเสร็จการพิจารณาเรื่องนั้น
ข้อ ๙๕ ถ้าผู้แปรญัตติหรือผู้รับมอบหมายไม่เห็นด้วยกับมติของ คณะกรรมาธิการในข้อใดจะสงวนคำแปรญัตติในข้อนั้นไว้เพื่อขอให้สภาวินิจฉัยก็ได้
ข้อ ๙๖ กรรมาธิการผู้ใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมาธิการในข้อใด จะสงวนความเห็นในข้อนั้นไว้เพื่อขอให้สภาวินิจฉัยก็ได้
ข้อ ๙๗ เมื่อคณะกรรมาธิการได้กระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องใด ๆ หรือตามที่สภามอบหมายเสร็จแล้ว ให้รายงานต่อสภา
ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ หากเห็นว่ามีกรณีที่จำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมาธิการจัดทำ ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเสนอมาพร้อมกับรายงาน ตามวรรคหนึ่งด้วย
ข้อ ๙๗ วรรคสาม
ในที่ประชุมสภา คณะกรรมาธิการมีสิทธิแถลง ชี้แจง หรือแก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวกับการกระทำดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ในการนี้ คณะกรรมาธิการจะมอบหมายให้ บุคคลใด ๆ แถลงหรือชี้แจงแทนก็ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากประธานสภา
ข้อ ๙๘ ในกรณีที่สภาเห็นด้วยกับรายงานของคณะกรรมาธิการ ให้ประธานสภาส่งรายงานไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบ แห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการเสนอมาพร้อมกับรายงานตามข้อ ๙๗ ให้นำข้อบังคับ ในหมวด ๕ การจัดทำร่างพระราชบัญญัติมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๙๙ ถ้ามีมติของสภาให้คณะกรรมาธิการใดกระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องใดให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด และคณะกรรมาธิการจะกระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องนั้นไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนด ประธานคณะกรรมาธิการ หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนต้องรายงานให้ประธานสภาทราบโดยด่วน
ในกรณีดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานสภาเสนอต่อที่ประชุมสภา และที่ประชุมสภาอาจลงมติให้ขยายเวลาที่กำหนดไว้ได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน หรือให้ตั้งคณะกรรมาธิการใหม่แทนคณะเดิม หรือให้ดำเนินการอย่างอื่นสุดแต่ที่ประชุมสภา จะเห็นสมควร
ข้อ ๑๐๐ กรรมาธิการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
ข้อ ๑๐๐ กรรมาธิการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) สภาสิ้นสุดลง
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
(๔) มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นใหม่แทนคณะเดิมตามข้อ ๙๙
(๕) สภามีมติให้พ้นจากตำแหน่ง
(๖) สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๙ (๕) ของรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๑๐๑ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำ สภาคณะใดว่างลง ให้ประธานคณะกรรมาธิการแจ้งเป็นหนังสือต่อประธานสภา เพื่อขอให้ สภาตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างลง สำหรับคณะกรรมาธิการวิสามัญหากตำแหน่งกรรมาธิการ ในคณะใดว่างลง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญจะแจ้งเป็นหนังสือต่อประธานสภา เพื่อขอให้สภาตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างหรือไม่ก็ได้
หมวด ๕
การจัดทำร่างพระราชบัญญัติ
____________
ข้อ ๑๐๒ ในกรณีที่สภาเห็นว่ามีกรณีจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติขึ้นใช้ บังคับตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ สภาอาจให้คณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก็ได้
ข้อ ๑๐๓ เมื่อคณะกรรมาธิการ ตามข้อ ๑๐๒ ได้ดำเนินการตามที่สภา มอบหมายเสร็จแล้ว ให้คณะกรรมาธิการจัดทำร่างพระราชบัญญัติเสนอต่อสภา
ให้ประธานสภาบรรจุร่างพระราชบัญญัติเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็น เรื่องด่วนเพื่อให้สภาพิจารณา
ข้อ ๑๐๔ ในกรณีที่คณะกรรมาธิการเห็นควรให้มีการตราร่างพระราชบัญญัติ ที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาประเทศและสังคมในระยะยาวให้คณะกรรมาธิการดำเนินการ จัดทำร่างพระราชบัญญัติเสนอต่อสภา
ข้อ ๑๐๕ ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภาต้องแบ่งเป็นมาตรา และต้องมี บันทึกประกอบดังต่อไปนี้
(๑) หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
(๒) เหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
(๓) บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น ให้กำหนดโดยชัดแจ้ง
ในกรณีที่มีการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายเดิม ให้ระบุมาตราที่ต้องการแก้ไข เพิ่มเติมหรือยกเลิกไว้ในหลักการหรือจะระบุไว้ในเหตุผลด้วยก็ได้
ข้อ ๑๐๖ ในการประชุมสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภา ให้ประธานคณะกรรมาธิการเป็นผู้แถลงหลักการและเหตุผลต่อที่ประชุมสภา และให้ประธาน ดำเนินการให้สมาชิกซักถามและอภิปรายร่างพระราชบัญญัติรวมกันทั้งฉบับ เว้นแต่ที่ประชุม จะลงมติเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๑๐๗ เมื่อสภาได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเสร็จแล้ว หากสภามีมติ เห็นชอบให้ดำเนินการต่อไปตามข้อ ๑๑๐
การออกเสียงลงคะแนนให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ ให้ถือเอา เสียงข้างมากเป็นประมาณ
หากสภามีมติให้แก้ไขเพิ่มเติม ให้คณะกรรมาธิการแก้ไขร่างพระราชบัญญัตินั้น ตามที่สภามีมติ
ในกรณีที่คณะกรรมาธิการนำร่างพระราชบัญญัติกลับไปแก้ไขเพิ่มเติม ตามวรรคสาม สมาชิกอาจยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันถัดจาก วันที่สภามีมติ ในการนี้คณะกรรมาธิการอาจแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร
คำขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ยื่นต่อประธานคณะกรรมาธิการ