นายจำลอง โพธิ์สุข

  • กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ กระผม จำลอง โพธิ์สุข สปช. จังหวัดชัยนาทครับ ผมขออนุญาตให้ความเห็นในส่วนของ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยเฉพาะในมิติเรื่องของการจัดโครงสร้างองค์กร นั่นก็คือว่า ในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระตรงนี้นั้นผมมองไปที่ในภาพของภูมิภาค ซึ่งทาง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเคยได้ปฏิบัติจัดทำอยู่ ซึ่งครอบคลุมถึงทุกพื้นที่ใน ภูมิภาค ทุกจังหวัดมีองค์กรของ สคบ. อยู่ในพื้นที่โดยในลักษณะของการฝากงานไว้กับทาง จังหวัดก็คือทางสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ก็คือสำนักงานจังหวัดนะครับ ซึ่งตรงนั้นเองก็สามารถที่จะรัน (Run) งานได้มีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง ทีนี้ถ้าหากว่า ในหลักการเราจะมีองค์กรอิสระตรงนี้ขึ้นมาประมาณว่าคู่ขนานกับการทำงานในภาครัฐ ก็คือของ สคบ. ในหลักการผมเห็นด้วยนะครับ เพราะว่าในส่วนที่เป็นการทำงานในภาครัฐ นั้นเองเราก็คงจะประจักษ์แจ้งว่าเรายังขาดประสิทธิภาพประสิทธิผลในเรื่องของการที่จะ ดูแลคุ้มครองผู้บริโภคกับพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ถ้าหากว่ามีองค์กรในลักษณะนี้เกิดขึ้น ก็เชื่อว่าจะสามารถที่จะเติมเต็มในการทำงานของภาครัฐได้มากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นในส่วนที่ ผมจะมีความเห็นก็คงจะประเด็นว่า ในระดับพื้นที่ก็อยากจะเห็นการจัดสร้างองค์กรเป็น การทำ ออร์แกไนเซชันนอล ดีไซน์ (Organizational design) ขององค์กรอิสระตรงนี้ ให้ครอบคลุมทุก ๆ พื้นที่ในภูมิภาคด้วย รายละเอียดเป็นอย่างไรนั้นอาจจะมีประเด็น ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในมาตราว่าด้วยเรื่องของอำนาจหน้าที่ก็คือในมาตรา ๑๙ ก็อยากจะ ฝากเรียนผ่านท่านประธานไปถึงคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย เพื่อที่จะให้เกิด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคให้กับพี่น้องประชาชน ต่อไปครับ ขอขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ กระผม จำลอง โพธิ์สุข สปช. จังหวัดชัยนาทครับ ผมขออนุญาตให้ความเห็นในส่วนของ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยเฉพาะในมิติเรื่องของการจัดโครงสร้างองค์กร นั่นก็คือว่า ในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระตรงนี้นั้นผมมองไปที่ในภาพของภูมิภาค ซึ่งทาง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเคยได้ปฏิบัติจัดทำอยู่ ซึ่งครอบคลุมถึงทุกพื้นที่ใน ภูมิภาค ทุกจังหวัดมีองค์กรของ สคบ. อยู่ในพื้นที่โดยในลักษณะของการฝากงานไว้กับทาง จังหวัดก็คือทางสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ก็คือสำนักงานจังหวัดนะครับ ซึ่งตรงนั้นเองก็สามารถที่จะรัน (Run) งานได้มีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง ทีนี้ถ้าหากว่า ในหลักการเราจะมีองค์กรอิสระตรงนี้ขึ้นมาประมาณว่าคู่ขนานกับการทำงานในภาครัฐ ก็คือของ สคบ. ในหลักการผมเห็นด้วยนะครับ เพราะว่าในส่วนที่เป็นการทำงานในภาครัฐ นั้นเองเราก็คงจะประจักษ์แจ้งว่าเรายังขาดประสิทธิภาพประสิทธิผลในเรื่องของการที่จะ ดูแลคุ้มครองผู้บริโภคกับพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ถ้าหากว่ามีองค์กรในลักษณะนี้เกิดขึ้น ก็เชื่อว่าจะสามารถที่จะเติมเต็มในการทำงานของภาครัฐได้มากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นในส่วนที่ ผมจะมีความเห็นก็คงจะประเด็นว่า ในระดับพื้นที่ก็อยากจะเห็นการจัดสร้างองค์กรเป็น การทำ ออร์แกไนเซชันนอล ดีไซน์ (Organizational design) ขององค์กรอิสระตรงนี้ ให้ครอบคลุมทุก ๆ พื้นที่ในภูมิภาคด้วย รายละเอียดเป็นอย่างไรนั้นอาจจะมีประเด็น ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในมาตราว่าด้วยเรื่องของอำนาจหน้าที่ก็คือในมาตรา ๑๙ ก็อยากจะ ฝากเรียนผ่านท่านประธานไปถึงคณะกรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย เพื่อที่จะให้เกิด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคให้กับพี่น้องประชาชน ต่อไปครับ ขอขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ท่านสมาชิก ผมจำลอง โพธิ์สุข สปช. หมายเลข ๐๕๐ จังหวัดชัยนาทครับ ในเรื่องนี้กระผมมีความเห็นโดยสรุป เป็นประเด็น หลัก ๆ ประเด็นเดียวครับ ก็คือในภาคส่วนของการทำงาน โดยเฉพาะฝ่ายข้าราชการฝ่าย พลเรือนนะครับ ซึ่งเรามีการวัดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการทำงานเป็นปกติอยู่แล้ว โดยเฉพาะนั่นก็คือเรื่องของการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี ซึ่งในนี้ก็จะมี ตัวชี้วัดมีเคพีไอ (KPI) เยอะแยะไปหมดนะครับ หนึ่งในนั้นก็จะเป็นเรื่องของการคิดคำนึงถึง ผู้รับบริการ โดยเฉพาะก็คือพี่น้องประชาชนผู้รับบริการจากรัฐในเรื่องต่าง ๆ นะครับ เรามี คำรับรองอยู่ทุกปีนะครับ ก็อยากจะสนับสนุนให้เรื่องนี้ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป และถ้าเป็น ไปได้ก็อยากจะให้มีการเน้นถึงความสำคัญในตัวชี้วัดเรื่องของการอำนวยความสะดวก การสร้างความสะดวก ความรวดเร็ว และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของราชการ ในกลไกต่าง ๆ โดยให้มีน้ำหนักคะแนนมากที่สุดในทุก ๆ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคก็แล้วแต่นะครับ รวมถึงในเรื่องของการวัดความพึงพอใจ ซึ่งเคพีไอตัวนี้เราก็เคย ทำกันอยู่ทุกปีนะครับ แล้วก็ถึงสิ้นปีทาง ก.พ.ร. ก็ให้มีการวัด มีการประเมินผล แล้วก็มี การให้รางวัลการปฏิบัติงานกันมาประมาณสักเกือบ ๑๐ ปีมาแล้วนะครับ ซึ่งก็จะเห็นได้ว่า ก็มีหลายภาคส่วน หลายหน่วยงานด้วยกันในกรม กองต่าง ๆ โดยเฉพาะฝ่ายพลเรือนก็ได้มี ความกระตือรือร้นมากยิ่งขึ้น เพราะว่าเรามีข้อกำหนดที่เราจะต้องปฏิบัติจัดทำอยู่ ก็คือเคพีไอ ที่ทาง ก.พ.ร. กำหนดให้นี่แหละนะครับ แล้วก็มีการวัดความพึงพอใจ แล้วก็ถึงสิ้นปีก็มานั่ง ลุ้นคะแนนกันเป็นที่สนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือหน่วยงานที่มี เคาน์เตอร์ เซอร์วิส (Counter service) มีการให้บริการประชาชน อันนี้โดยเฉพาะในภูมิภาค เราเห็นชัดนะครับ ยกมือหน่วยงานไหนอยากจะเข้าร่วมในกิจกรรมการวัดความพึงพอใจ ความพึงพอใจนี่เราวัดทุกหน่วยอยู่แล้วนะครับ หรือว่าอีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องของการลด ขั้นตอน ลดกระบวนงานในการให้บริการพี่น้องประชาชน ทำอย่างไรให้สะดวก ให้สั้น ให้เร็ว อันไหนไม่จำเป็นก็ตัดทิ้งไปอะไรต่าง ๆ ประมาณนี้นะครับ เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าการที่เราจะ มีตัวชี้วัดในเรื่องของการที่จะวัดถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการทำงานภาคราชการ โดยเฉพาะฝ่ายพลเรือนผมคิดว่าก็จะช่วยสร้างภาพลักษณ์แล้วก็หลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ อย่าง ที่เราจะต้องมานั่งแก้ตัวแก้ต่างกันนะครับ โดยเฉพาะในระบบราชการ แล้วก็ผมเองผมก็เห็น ด้วยกับสมาชิกหลาย ๆ ท่านในประเด็นอื่น ๆ เรื่องของการที่จะทำอย่างไรที่จะให้กลไกรัฐ ให้บริการพี่น้องประชาชนได้สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง เป็นธรรม แล้วก็เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ท่านสมาชิก ผมจำลอง โพธิ์สุข สปช. หมายเลข ๐๕๐ จังหวัดชัยนาทครับ ในเรื่องนี้กระผมมีความเห็นโดยสรุป เป็นประเด็น หลัก ๆ ประเด็นเดียวครับ ก็คือในภาคส่วนของการทำงาน โดยเฉพาะฝ่ายข้าราชการฝ่าย พลเรือนนะครับ ซึ่งเรามีการวัดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการทำงานเป็นปกติอยู่แล้ว โดยเฉพาะนั่นก็คือเรื่องของการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี ซึ่งในนี้ก็จะมี ตัวชี้วัดมีเคพีไอ (KPI) เยอะแยะไปหมดนะครับ หนึ่งในนั้นก็จะเป็นเรื่องของการคิดคำนึงถึง ผู้รับบริการ โดยเฉพาะก็คือพี่น้องประชาชนผู้รับบริการจากรัฐในเรื่องต่าง ๆ นะครับ เรามี คำรับรองอยู่ทุกปีนะครับ ก็อยากจะสนับสนุนให้เรื่องนี้ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป และถ้าเป็น ไปได้ก็อยากจะให้มีการเน้นถึงความสำคัญในตัวชี้วัดเรื่องของการอำนวยความสะดวก การสร้างความสะดวก ความรวดเร็ว และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของราชการ ในกลไกต่าง ๆ โดยให้มีน้ำหนักคะแนนมากที่สุดในทุก ๆ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคก็แล้วแต่นะครับ รวมถึงในเรื่องของการวัดความพึงพอใจ ซึ่งเคพีไอตัวนี้เราก็เคย ทำกันอยู่ทุกปีนะครับ แล้วก็ถึงสิ้นปีทาง ก.พ.ร. ก็ให้มีการวัด มีการประเมินผล แล้วก็มี การให้รางวัลการปฏิบัติงานกันมาประมาณสักเกือบ ๑๐ ปีมาแล้วนะครับ ซึ่งก็จะเห็นได้ว่า ก็มีหลายภาคส่วน หลายหน่วยงานด้วยกันในกรม กองต่าง ๆ โดยเฉพาะฝ่ายพลเรือนก็ได้มี ความกระตือรือร้นมากยิ่งขึ้น เพราะว่าเรามีข้อกำหนดที่เราจะต้องปฏิบัติจัดทำอยู่ ก็คือเคพีไอ ที่ทาง ก.พ.ร. กำหนดให้นี่แหละนะครับ แล้วก็มีการวัดความพึงพอใจ แล้วก็ถึงสิ้นปีก็มานั่ง ลุ้นคะแนนกันเป็นที่สนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือหน่วยงานที่มี เคาน์เตอร์ เซอร์วิส (Counter service) มีการให้บริการประชาชน อันนี้โดยเฉพาะในภูมิภาค เราเห็นชัดนะครับ ยกมือหน่วยงานไหนอยากจะเข้าร่วมในกิจกรรมการวัดความพึงพอใจ ความพึงพอใจนี่เราวัดทุกหน่วยอยู่แล้วนะครับ หรือว่าอีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องของการลด ขั้นตอน ลดกระบวนงานในการให้บริการพี่น้องประชาชน ทำอย่างไรให้สะดวก ให้สั้น ให้เร็ว อันไหนไม่จำเป็นก็ตัดทิ้งไปอะไรต่าง ๆ ประมาณนี้นะครับ เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าการที่เราจะ มีตัวชี้วัดในเรื่องของการที่จะวัดถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการทำงานภาคราชการ โดยเฉพาะฝ่ายพลเรือนผมคิดว่าก็จะช่วยสร้างภาพลักษณ์แล้วก็หลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ อย่าง ที่เราจะต้องมานั่งแก้ตัวแก้ต่างกันนะครับ โดยเฉพาะในระบบราชการ แล้วก็ผมเองผมก็เห็น ด้วยกับสมาชิกหลาย ๆ ท่านในประเด็นอื่น ๆ เรื่องของการที่จะทำอย่างไรที่จะให้กลไกรัฐ ให้บริการพี่น้องประชาชนได้สะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง เป็นธรรม แล้วก็เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ

    อ่านในการประชุม