ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน เรียนท่านสมาชิก ทุกท่านนะคะ ดิฉัน สุภัทรา นาคะผิว สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันเองมีประเด็นที่ อยากจะตั้งข้อสังเกตต่อการพิจารณาหลักการเรื่องของร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ ๒-๓ ประเด็นนะคะ
ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน เรียนท่านสมาชิก ทุกท่านนะคะ ดิฉัน สุภัทรา นาคะผิว สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันเองมีประเด็นที่ อยากจะตั้งข้อสังเกตต่อการพิจารณาหลักการเรื่องของร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ ๒-๓ ประเด็นนะคะ
ประเด็นแรก ดิฉันคิดว่าเราพิจารณาในเชิงหลักการไม่ได้ลงรายละเอียด ในรายมาตรา เพราะอันนั้นไม่ใช่หน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ และดิฉันคิดว่าจะเป็น ความภาคภูมิใจของพวกเราในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในครั้งนี้เป็นอย่างมาก หากว่าพวกเราสามารถร่วมกันผลักดันให้มีกฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้ได้ในช่วงที่เราเป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินะคะ เพราะดิฉันคิดว่า ๑๘ ปีที่ประชาชนทั้งประเทศรอคอย กฎหมายฉบับนี้เนิ่นนาน และนี่จะเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อคนทุกผู้ทุกนามที่อยู่บน ผืนแผ่นดินไทยแห่งนี้นะคะ ดังนั้นดิฉันเองสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ แต่ดิฉันมีประเด็นที่ สำคัญที่อยากจะเสนอแนะ
ประเด็นแรก ดิฉันคิดว่าเราพิจารณาในเชิงหลักการไม่ได้ลงรายละเอียด ในรายมาตรา เพราะอันนั้นไม่ใช่หน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ และดิฉันคิดว่าจะเป็น ความภาคภูมิใจของพวกเราในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในครั้งนี้เป็นอย่างมาก หากว่าพวกเราสามารถร่วมกันผลักดันให้มีกฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้ได้ในช่วงที่เราเป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินะคะ เพราะดิฉันคิดว่า ๑๘ ปีที่ประชาชนทั้งประเทศรอคอย กฎหมายฉบับนี้เนิ่นนาน และนี่จะเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อคนทุกผู้ทุกนามที่อยู่บน ผืนแผ่นดินไทยแห่งนี้นะคะ ดังนั้นดิฉันเองสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ แต่ดิฉันมีประเด็นที่ สำคัญที่อยากจะเสนอแนะ
ข้อแรกก็คือว่า ดิฉันคิดว่ายังมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันและคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ หลักการและเหตุผลที่สำคัญ ซึ่งดิฉันคิดว่าจำเป็นที่จะต้องมีคำอธิบายหรือเขียนให้ชัดเจน เพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพราะหลังจากที่ฟังการอภิปรายของสมาชิก รวมทั้งคนที่อยู่นอกห้อง สภาปฏิรูปแห่งนี้นะคะ ก็ยังมีความเข้าใจว่าทำไมถึงจะต้องมีกฎหมายฉบับนี้ ทำไมต้องมี องค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ในขณะที่มี สคบ. อยู่แล้ว มีหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติ หน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่แล้ว เป็นเรื่องซ้ำซ้อนหรือไม่ ดิฉันคิดว่านี่คือโจทย์ที่จะต้อง แก้ให้ถูกต้องนะคะ เพื่อให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกันในเชิงหลักการ เนื่องจาก ดิฉันมองว่าในช่วงที่เราทำหน้าที่เป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติเรากำลังพูดถึงเรื่องของการที่เรา จะต้องทำให้พลเมืองหรือประชาชนของประเทศไทยนั้นมีความเข้มแข็ง มีความแอคทีฟ (Active) มีความกระตือรือร้น มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและร่วมในการดำเนินการต่าง ๆ นะคะ รูปธรรมของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะที่เป็นผู้บริโภคคือหัวใจ และหลักการสำคัญของกฎหมายฉบับนี้นะคะ ไม่ใช่การไปทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกับ สคบ. หรือ หน่วยงานรัฐที่มีอยู่แล้ว หน่วยงานรัฐที่มีอยู่แล้วก็ทำหน้าที่ต่อไปในฐานะที่เป็นผู้ออกกฎ ผู้ควบคุมกฎ และผู้ที่จะต้องตรวจสอบดูแลให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้บริโภคกับ ผู้ประกอบการ แต่ความเข้มแข็งของผู้บริโภคเป็นทิศทางและเป็นสถานการณ์ที่ทั้งในระดับ สากลทั่วโลกบอกว่าจะทำให้เกิดการยกระดับของการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น อันนั้นเป็นเหตุผลว่าทำไมในรายละเอียดของร่างกฎหมายฉบับนี้จึงได้บรรจุเนื้อหา สาระที่มุ่งที่จะทำให้เกิดความเข้มแข็งของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ดิฉันคิดว่าในหลักการและ เหตุผลของร่างกฎหมายฉบับนี้อาจจะต้องบรรจุข้อความเหล่านี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ ชัดเจนว่าทำไมมันถึงจะต้องมีองค์กรอันนี้ขึ้นมา และดิฉันเองในฐานะที่ได้มีส่วนร่วมใน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอยากจะบอกข้อกังวลใจที่หลายท่านตั้งข้อสังเกตว่า เอ๊ะพอชื่อ องค์กรอิสระแล้วแปลว่าเอาเงินของรัฐไปใช้แล้วไม่ต้องถูกตรวจสอบเลยหรืออย่างไร อยากจะ บอกว่าในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี่นะคะ พูดถึงการตรวจสอบที่เข้มข้นมากนะคะว่าไม่ว่า องค์กรไหนที่ใช้เงินงบประมาณของรัฐจะต้องถูกตรวจสอบทุกระดับ ดังนั้นดิฉันคิดว่า ในตัวร่างกฎหมายเองก็มีความชัดเจนในเรื่องนี้อยู่แล้ว ที่สำคัญมากไปกว่านั้นก็คือว่า ความเข้มแข็งของผู้บริโภคที่จะต้องถูกสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจะเป็นตัวมา หนุนช่วยหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่อยู่แล้วให้มีการทำหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็งและจะต้องมี การประสานความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบนะคะ แล้วดิฉันคิดว่านี่เป็นมิติใหม่ของ สังคมไทยอย่างแท้จริงนะคะ หากเรามีการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตาม ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ดังนั้นดิฉันเองในฐานะที่เป็นผู้บริโภคคนหนึ่งก็หวังว่าจะมีการออก กฎหมายฉบับนี้ในช่วงเวลาที่พวกเราได้เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการเสนอแนะในฐานะสภาปฏิรูป แห่งชาติ ขอบพระคุณค่ะ
ข้อแรกก็คือว่า ดิฉันคิดว่ายังมีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันและคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ หลักการและเหตุผลที่สำคัญ ซึ่งดิฉันคิดว่าจำเป็นที่จะต้องมีคำอธิบายหรือเขียนให้ชัดเจน เพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพราะหลังจากที่ฟังการอภิปรายของสมาชิก รวมทั้งคนที่อยู่นอกห้อง สภาปฏิรูปแห่งนี้นะคะ ก็ยังมีความเข้าใจว่าทำไมถึงจะต้องมีกฎหมายฉบับนี้ ทำไมต้องมี องค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ในขณะที่มี สคบ. อยู่แล้ว มีหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติ หน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่แล้ว เป็นเรื่องซ้ำซ้อนหรือไม่ ดิฉันคิดว่านี่คือโจทย์ที่จะต้อง แก้ให้ถูกต้องนะคะ เพื่อให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกันในเชิงหลักการ เนื่องจาก ดิฉันมองว่าในช่วงที่เราทำหน้าที่เป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติเรากำลังพูดถึงเรื่องของการที่เรา จะต้องทำให้พลเมืองหรือประชาชนของประเทศไทยนั้นมีความเข้มแข็ง มีความแอคทีฟ (Active) มีความกระตือรือร้น มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและร่วมในการดำเนินการต่าง ๆ นะคะ รูปธรรมของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะที่เป็นผู้บริโภคคือหัวใจ และหลักการสำคัญของกฎหมายฉบับนี้นะคะ ไม่ใช่การไปทำหน้าที่ซ้ำซ้อนกับ สคบ. หรือ หน่วยงานรัฐที่มีอยู่แล้ว หน่วยงานรัฐที่มีอยู่แล้วก็ทำหน้าที่ต่อไปในฐานะที่เป็นผู้ออกกฎ ผู้ควบคุมกฎ และผู้ที่จะต้องตรวจสอบดูแลให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้บริโภคกับ ผู้ประกอบการ แต่ความเข้มแข็งของผู้บริโภคเป็นทิศทางและเป็นสถานการณ์ที่ทั้งในระดับ สากลทั่วโลกบอกว่าจะทำให้เกิดการยกระดับของการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น อันนั้นเป็นเหตุผลว่าทำไมในรายละเอียดของร่างกฎหมายฉบับนี้จึงได้บรรจุเนื้อหา สาระที่มุ่งที่จะทำให้เกิดความเข้มแข็งของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ดิฉันคิดว่าในหลักการและ เหตุผลของร่างกฎหมายฉบับนี้อาจจะต้องบรรจุข้อความเหล่านี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ ชัดเจนว่าทำไมมันถึงจะต้องมีองค์กรอันนี้ขึ้นมา และดิฉันเองในฐานะที่ได้มีส่วนร่วมใน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอยากจะบอกข้อกังวลใจที่หลายท่านตั้งข้อสังเกตว่า เอ๊ะพอชื่อ องค์กรอิสระแล้วแปลว่าเอาเงินของรัฐไปใช้แล้วไม่ต้องถูกตรวจสอบเลยหรืออย่างไร อยากจะ บอกว่าในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี่นะคะ พูดถึงการตรวจสอบที่เข้มข้นมากนะคะว่าไม่ว่า องค์กรไหนที่ใช้เงินงบประมาณของรัฐจะต้องถูกตรวจสอบทุกระดับ ดังนั้นดิฉันคิดว่า ในตัวร่างกฎหมายเองก็มีความชัดเจนในเรื่องนี้อยู่แล้ว ที่สำคัญมากไปกว่านั้นก็คือว่า ความเข้มแข็งของผู้บริโภคที่จะต้องถูกสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจะเป็นตัวมา หนุนช่วยหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่อยู่แล้วให้มีการทำหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็งและจะต้องมี การประสานความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบนะคะ แล้วดิฉันคิดว่านี่เป็นมิติใหม่ของ สังคมไทยอย่างแท้จริงนะคะ หากเรามีการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตาม ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ดังนั้นดิฉันเองในฐานะที่เป็นผู้บริโภคคนหนึ่งก็หวังว่าจะมีการออก กฎหมายฉบับนี้ในช่วงเวลาที่พวกเราได้เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการเสนอแนะในฐานะสภาปฏิรูป แห่งชาติ ขอบพระคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพและท่าน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉัน สุภัทรา นาคะผิว ดิฉันจบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิตจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นนักศึกษาโครงการเรียนดีจากชนบทของท่านอาจารย์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เมื่อจบการศึกษาดิฉันจึงมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำงานเพื่อสังคมและ คืนภาษีอากรที่ประชาชนส่งดิฉันเรียนมาตลอด ๔ ปี ๒๐ กว่าปีที่ดิฉันทำงานกับผู้ด้อยโอกาส ในสังคม เริ่มต้นจากการทำงานกับกลุ่มของผู้หญิง ดิฉันเคยเป็นหัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิสตรี ของมูลนิธิเพื่อนหญิง และได้มาทำงานทางด้านสุขภาพและการส่งเสริมคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนของคนที่มีความเปราะบางทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นแรงงานข้ามชาติ พนักงาน บริการทางเพศ กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ ผู้ใช้ยาเสพติด เด็กและเยาวชน รวมทั้ง ผู้หญิง ก็ได้ทำงานมาตลอดเกือบ ๓๐ ปี ดิฉันเคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ สังคมหรือรางวัลอโชก้าเฟลโลว์ (Ashoka fellows) ขององค์กรอโชก้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ของประเทศไทย ในปี ๒๕๔๗ เคยเป็นสตรีดีเด่นของกรุงเทพมหานคร สาขาพิทักษ์สิทธิสตรี เมื่อปี ๒๕๕๑ ดิฉันขอเสนอตัวเพราะว่าอยากจะเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม มาทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับประวัติศาสตร์ที่จะปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งจะมุ่งไปสู่การลด ความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย ที่ให้ความคุ้มครองมนุษย์ทุกคนอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในประเทศไทย ขอเป็น ตัวแทนคนรุ่นใหม่และคนที่เป็นผู้ด้อยโอกาสในสังคม ขอให้ท่านสมาชิกพิจารณาด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
ท่านประธานคะ ดิฉันยกมือนานมากแล้วค่ะ
ท่านประธานคะ ดิฉันยกมือนานมากแล้วค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ ดิฉัน สุภัทรา นาคะผิว ค่ะ จริง ๆ ดิฉันแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในห้องนี้ตลอดเวลานะคะ เพราะอยู่ที่ห้องกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ดิฉันติดตามประเด็นตลอดทั้งวัน แล้วก็คิดว่าประชาชนเองทั่วประเทศ ก็กำลังติดตามเรื่องนี้กับพวกเราเช่นเดียวกัน เมื่อกี้ที่ชิงลงมติไปนี่ดิฉันคิดว่า ดิฉันยกมือนะคะ แต่ว่าท่านประธานไม่เห็นแล้วดิฉันคิดว่าดิฉันไม่สบายใจเช่นเดียวกัน ในการที่ลงมติแบบที่ทำไปเมื่อสักครู่ เพราะว่าดิฉันคิดว่าตัวเองก็มีวิจารณญาณเพียงพอ จากรับฟังข้อมูลเสร็จแล้วว่าโจทย์มันมีอยู่แค่ ๒ ข้อที่เราจะต้องตัดสินใจนะคะ
ขอบพระคุณค่ะ ดิฉัน สุภัทรา นาคะผิว ค่ะ จริง ๆ ดิฉันแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในห้องนี้ตลอดเวลานะคะ เพราะอยู่ที่ห้องกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ดิฉันติดตามประเด็นตลอดทั้งวัน แล้วก็คิดว่าประชาชนเองทั่วประเทศ ก็กำลังติดตามเรื่องนี้กับพวกเราเช่นเดียวกัน เมื่อกี้ที่ชิงลงมติไปนี่ดิฉันคิดว่า ดิฉันยกมือนะคะ แต่ว่าท่านประธานไม่เห็นแล้วดิฉันคิดว่าดิฉันไม่สบายใจเช่นเดียวกัน ในการที่ลงมติแบบที่ทำไปเมื่อสักครู่ เพราะว่าดิฉันคิดว่าตัวเองก็มีวิจารณญาณเพียงพอ จากรับฟังข้อมูลเสร็จแล้วว่าโจทย์มันมีอยู่แค่ ๒ ข้อที่เราจะต้องตัดสินใจนะคะ
อันแรกก็คือว่า เราคิดว่าเราจะให้รัฐบาลนี้มีความเห็นว่าจะให้รัฐบาลนี้ เดินหน้าต่อในการให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ หรือว่าจะชะลอไว้ อันนี้คืออันที่ ๑ ซึ่งจริง ๆ ญัตตินี้คุณประสารเสนอก่อนท่านวิริยะอีกนะคะ
อันแรกก็คือว่า เราคิดว่าเราจะให้รัฐบาลนี้มีความเห็นว่าจะให้รัฐบาลนี้ เดินหน้าต่อในการให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ หรือว่าจะชะลอไว้ อันนี้คืออันที่ ๑ ซึ่งจริง ๆ ญัตตินี้คุณประสารเสนอก่อนท่านวิริยะอีกนะคะ
อันที่ ๒ ก็คือว่า แล้วเราจะเอาระบบสัมปทานแบบไหน ระหว่างสัมปทาน แบบเดิมหรือว่าจะเอาระบบแบ่งปันผลผลิต มี ๒ ข้อ ซึ่งดิฉันคิดว่าดิฉันตัดสินใจได้ว่าดิฉัน จะเลือกอะไรใน ๒ อย่างนี้นะคะ ดังนั้นถ้าโหวตแบบนี้มันเหมือนกับรู้สึกว่าตัวเองไปเห็นด้วย ซึ่งดิฉันไม่ได้เห็นด้วยกับรายงานของคณะกรรมาธิการเช่นเดียวกันนะคะ ดิฉันเห็นด้วยกับ เสียงของประชาชนที่ส่งเสียงมาจากทั่วประเทศมากกว่า ดังนั้นนี่ดิฉันคิดว่าการโหวตไป เมื่อสักครู่นี้ว่าโหวตให้ส่งทั้งหมดก็ยังพอรับได้ค่ะ แต่ว่าต้องมีมากกว่านั้นว่าเราต้อง ตัดสินใจค่ะ
อันที่ ๒ ก็คือว่า แล้วเราจะเอาระบบสัมปทานแบบไหน ระหว่างสัมปทาน แบบเดิมหรือว่าจะเอาระบบแบ่งปันผลผลิต มี ๒ ข้อ ซึ่งดิฉันคิดว่าดิฉันตัดสินใจได้ว่าดิฉัน จะเลือกอะไรใน ๒ อย่างนี้นะคะ ดังนั้นถ้าโหวตแบบนี้มันเหมือนกับรู้สึกว่าตัวเองไปเห็นด้วย ซึ่งดิฉันไม่ได้เห็นด้วยกับรายงานของคณะกรรมาธิการเช่นเดียวกันนะคะ ดิฉันเห็นด้วยกับ เสียงของประชาชนที่ส่งเสียงมาจากทั่วประเทศมากกว่า ดังนั้นนี่ดิฉันคิดว่าการโหวตไป เมื่อสักครู่นี้ว่าโหวตให้ส่งทั้งหมดก็ยังพอรับได้ค่ะ แต่ว่าต้องมีมากกว่านั้นว่าเราต้อง ตัดสินใจค่ะ