นายเสรี สุวรรณภานนท์

  • กราบเรียนท่านประธานครับ ขออนุญาต ท่านประธานครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ ขอกราบเรียนท่านประธานว่าท่านที่ยกมือเพิ่ม กรุณาขานชื่อด้วย เพราะเจ้าหน้าที่เขาบันทึกไม่ถูกว่าใคร มีแต่จำนวนเดี๋ยวไม่มีชื่อท่าน นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เท่าที่ดูแล้วคงไม่เห็นมีท่านใดจะเสนอท่านอื่นอีก แต่ผมต้องกราบเรียนท่านประธานครับว่า ท่านสมาชิกที่เสนอท่านว่าที่ท่านประธาน อาจารย์เทียนฉายนั้น ผมคิดว่าในช่วงเวลานี้นะครับยังไม่ควรเสนอให้ท่านมาทำหน้าที่ ชั่วคราวในขณะนี้ เพราะท่านเป็นบุคคลซึ่งสภาแห่งนี้ได้มีมติให้ท่านเป็นประธานสภาปฏิรูป แห่งชาติ ซึ่งจะต้องมีพิธีการที่จะต้องเข้ารับสนองพระบรมราชโองการ ถ้าหากว่ายังไม่มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท่าน หากท่านมาทำหน้าที่ในขณะนี้ก็เกรงว่า จะทำให้เกิดความไม่เข้าใจหรือความเห็นที่จะกลายเป็นเรื่องของการไม่บังควร หรือการไม่เหมาะสม ผมกราบเรียนเพื่อที่จะได้ให้ท่านพิจารณา มิได้รังเกียจ มิได้ไม่เห็นด้วย แต่คิดว่าเราควรต้องระมัดระวัง เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่บอบบาง กระทบต่อความเห็น ความรู้สึกได้โดยง่าย แล้วก็จะมีผลถึงการทำหน้าที่ในโอกาสต่อไป ถ้าหากว่าจะให้เสนอชื่อ ผมก็จะเสนอชื่อท่านประธานพารณทำหน้าที่ต่อไปในขณะนี้ก่อนนะครับ ก็สุดแล้วแต่นะครับ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผมก็คง ต้องเรียกท่านประธานที่เคารพ ถึงแม้ผมจะไม่เห็นด้วยที่ท่านมาทำหน้าที่ชั่วคราว แต่คำว่า ประธานที่เคารพ มันเป็นประเพณีอันดีงาม ไม่ว่าจะสภาไหนก็ตามควรที่จะต้องใช้ ไม่ใช่ว่าเราจำกัดเวลาเสียจนอะไร ๆ ก็ตัดเสียหมด ประเพณีอันดีงาม วัฒนธรรมที่ดีงาม ในการประชุมร่วมกัน ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่เราควรจะรักษา แต่ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ปฏิรูป ต้องเข้าใจกันให้ชัด สิ่งที่พูดในสภา ผมเชื่อว่าทุกท่านพูดด้วยสาระ มีเหตุผล แต่การที่ใช้เวลามากมันก็อยู่ที่ เนื้อหา มันไม่ได้อยู่ที่ว่าประชาชนเห็นเราพูด ๗ ชั่วโมง แล้วก็บอกว่าน่าผิดหวัง ผมว่าอาจจะ เข้าใจผิดในการทำงานในสภา ในสภาเป็นเรื่องที่ต้องมาพูดกัน ผมถึงกราบเรียนท่านประธานครับ ถ้าสื่อมวลชนเขาจะไปเขียนข้อความอะไร โดยสรุปอย่างไร ต้องปล่อยเขา มันเป็นธรรมชาติ ของเขา เพียงแต่เราไม่ได้เป็นคนสรุปเอง หรือใช้ถ้อยคำดังกล่าวเสียเอง ท่านอย่าไปกังวล ผมเชื่อว่าทุกคนที่เข้ามาในสภาแห่งนี้ เข้ามาด้วยความตั้งใจอันดีที่จะเข้ามาปฏิรูปประเทศ ไม่ได้เข้ามาเล่นการเมือง ผมก็เช่นเดียวกันครับท่านประธาน แต่สิ่งที่ผมพูดในที่ประชุม ผมคิดว่าผมมีความรับผิดชอบต่อการทำงานร่วมกัน และเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ กับการที่ท่านสมาชิก ถ้าหากไม่พูด แต่อาจไปคิด เพราะการตัดสินในสภานั้นขึ้นอยู่กับเสียง ที่จะลงคะแนน ผมถึงกราบเรียนครับว่าถ้าเกิดเราจะบอกว่าประชาชนคิดอย่างนั้นอย่างนี้ ผมก็ไปฟังมาครับ ประชาชนเขาบอกวันแรกที่เราประชุมนั้นนะครับ สมาชิกใช้เวลาเยอะ แต่ก็ตั้งใจทำงาน ขยันจริง ๆ วันแรก ผมว่ามันก็เป็นเรื่องที่ดีครับ เพราะฉะนั้น การเริ่มต้นการทำงานนั้นอย่าเริ่มตำหนิติติง อย่าเริ่มที่จะใช้ความคิดครอบงำคนอื่นตั้งแต่ เริ่มแรก มิฉะนั้นแล้วนี่นะครับเราทำงานเราจะขาดอิสระครับ สมาชิกทุกคนต้องมีอิสระ สมาชิกต้องทำงานด้วยเหตุผล เรามีข้อมูลจากข้างนอกเยอะครับ ที่เราจะต้องพิจารณาแล้ว นำมาวิเคราะห์ ซึ่งในรัฐธรรมนูญชั่วคราวก็ให้อำนาจหน้าที่เราไว้อย่างนี้ ผมไม่อยากเห็นสภา แห่งนี้ทำงานแล้วไปหาผลสรุปข้างนอกมาตัดสินปัญหาในนี้ มันจะกลายเป็นทำงานแบบ ลอกการบ้าน มันไม่ได้ทำงานแบบให้เรามาทำหน้าที่แทนประชาชนแล้ววิเคราะห์เสนอแนะ นี่คือภาระหน้าที่สำคัญ ท่านประธานครับ ผมอยากจะตัดปัญหาเรื่องวันนับเวลา ท่านประธานบอกว่าจะพิจารณา ๒ เรื่อง ผมก็สบายใจว่า ๒ เรื่อง ก็เริ่มจากกรรมาธิการว่า จะเอากี่คน วันประชุมจะเอากี่วัน พอกรรมาธิการท่านให้ความกรุณาในการที่จะอธิบายว่า ประชุมอะไรบ้างนี่นะครับ มันก็ไปติดหล่มตรงนี้อีก แต่ผมใช้เวลานิดเดียวจริง ๆ ผมอ่านรายงานของกรรมาธิการผมกราบเรียนเลยผมไม่เห็นด้วย ที่ท่านนับเวลา ทั้ง ๆ ที่อยู่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตราติด ๆ กันเขียนไม่เหมือนกัน แต่ท่านสรุปว่าเป็นวันเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะไปดูพระราชกฤษฎีกาที่ท่านยกมานี่ครับ ผมก็ไปดูอีกหลายฉบับ พอดีการเปิดประชุมของเรานี่นะครับ มันไม่มีพระราชกฤษฎีกา เปิดประชุม พอท่านไปเทียบเคียงตรงนี้มาผมก็ต้องไปดู พอไปดูแล้วเข้าใจได้ว่า การเปิดประชุมนั้นตามพระราชกฤษฎีกานั้นเป็นเรื่องของการกำหนดวันจะประชุมว่า จะเริ่มประชุมในสมัยประชุมวันไหน เขาก็เลยนับวันแรกในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ส่วนวันที่พระองค์ท่านกำหนดวันให้ไว้ ณ วันที่เท่าไรนั้น ในพระราชกฤษฎีกาทุกฉบับ นั่นละครับคือวันเรียกประชุม แต่ถ้าไม่สบายใจ ท่านไปดูข้อบังคับของการประชุม สภานิติบัญญัติแห่งชาตินะครับ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ ก็เขียนไว้ว่าให้ประธานเรียกประชุมอย่างไร เพราะฉะนั้นวันเรียกประชุมกับวันนัดประชุม กับวันที่ประชุมวันแรก อย่างไรมันก็คนละวัน แต่ผมไม่อยากมาเถียงนะครับ ถ้าหากว่าท่านจะไปสรุปอย่างนี้ก็ฝากท่านที่จะเป็นกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไปนี่นะครับ ถ้าหากว่าท่านต้องการจะให้นับวันไหนก็เขียนให้เหมือนกันเสีย ก็ฝากไว้ตรงนี้ มิฉะนั้นแล้ว พอเขียนไม่ตรงกันเราก็มาหาทางแปลความกัน ซึ่งมันก็ไม่ใช่ข้อยุติครับ และผมก็ไม่อยากให้ สิ่งเหล่านี้มันบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ คนต่อไปเขาต้องมาเปิดอ่านแล้วก็บอกว่าวันที่ เรียกประชุมก็คือวันแรกที่มีการประชุม ผมก็ไม่อยากให้มีความหมายอย่างนั้น มิฉะนั้นแล้ว มันก็ขาดเหตุผลว่าวันเรียกประชุมวันหนึ่ง ถ้าวันนั้นไม่ได้ประชุมวันแรกก็ต้องเลื่อนประชุม แล้ววันแรกที่ประชุมจริง ๆ มันเป็นวันไหนอีกนะครับ มันก็ไม่ตรงกันอยู่แล้วนะครับ ก็คงไม่ อยากใช้เวลาเยอะนะครับ เพียงแต่บันทึกเอาไว้ แล้วก็ขอให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องไปทำหน้าที่ในการยกร่างต่อไป กรุณาช่วยใช้ถ้อยคำ ถ้าจะนับวันเดียวกันขอให้ใช้ ถ้อยคำเหมือนกันนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือเรื่องที่กรรมาธิการท่านได้กรุณาประชุมกัน แล้วก็ไปกำหนดจำนวนคนที่จะเป็นกรรมาธิการ ให้เป็นสัดส่วนของสมาชิก ๑๕ คน คนที่ไม่ได้ เป็นสมาชิก ๕ คน ผมไม่อยากใช้คำว่า คนนอก ท่านประธาน ถ้าใช้คนนอกมันก็เหมือน คนนอก คนใน เหมือนกับคนในเก่งอย่างไร คนในวิเศษกว่าคนข้างนอกอย่างไร คนใน เป็นเทวดาอย่างที่ท่านประธานเคยพูดหรือ ไม่ใช่เลยนะครับ ผมว่าเราต้องมาพูดกันด้วย เหตุผลว่าการที่เรากำหนดคนจะเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๒ ก็ได้บัญญัติเอาไว้ว่า คนที่จะเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้มาจากบุคคล ๒ ส่วนใหญ่ ๆ ก็คือมาจาก สนช. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๕ คน คสช. ๕ คน คณะรัฐมนตรี หรือรัฐบาล ๕ คน รวมแล้ว ๑๕ คน ไม่ต้องรวมประธาน เพราะประธานเป็นที่คาดหวังว่า จะเป็นทั้งคนนอก คนใน ส่วนคนนอก ๑๕ คนนั้นมีสัดส่วนชัดเจนว่าไม่ใช่มาจากสมาชิก ส่วนที่บัญญัติไว้ให้สมาชิก ๒๐ คนนั้นต้องมาพิจารณาว่ามันมีเหตุผลอะไร แล้วทำไมถึงมา บัญญัติ ไม่ระบุไปเสียเลยว่าให้เป็นสมาชิกสัก ๒๐ คนเลย ผมเข้าใจว่าสิ่งที่บัญญัติไว้นี่นะครับ ก็ไม่อยากให้เกิดเดดล็อก (Deadlock) ครับ เจตนาจริง ๆ ก็อยากให้มาจากสมาชิกนั่นละครับ ๒๐ คน แต่ที่ต้องเขียนเปิดเอาไว้นี่นะครับ เพราะว่าคนจะเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเป็นสมาชิกได้นี่มันมีคุณสมบัติต้องห้ามอยู่ อย่างเช่น ห้ามเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ห้ามเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง ถ้าเป็นกรรมาธิการแล้วต้องถูกตัดสิทธิ ไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้ ๒ ปี ตรงนี้แหละครับมันอาจจะเป็นเงื่อนไขว่าอาจจะทำให้ สมาชิกครบหรือไม่ครบจำนวนได้ ส่วนผมที่กราบเรียนท่านประธานตรงนี้นี่นะครับ ผมเรียนว่า ผมไม่มีส่วนได้เสียนะครับ เพราะอย่างไรผมก็เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ ต้องพูดกันให้เข้าใจ เพราะมีคนถามเยอะ สื่อมวลชนก็มาถามบอกว่าผมจะเข้าไปเป็น กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไหม ผมบอกผมเข้าไปไม่ได้เพราะคุณสมบัติผมนี่ครับ ออกจากสมาชิกพรรคการเมืองมา ๒ ปี ๘ เดือน ไม่ถึง ๓ ปี เขาห้ามไว้ แต่ผมก็จะต้องทำ หน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการยกร่าง รัฐธรรมนูญ ซึ่งในรัฐธรรมนูญนี่นะครับให้ความสำคัญสมาชิกตรงไหนครับ ตรงที่ว่า นับแต่วันที่มีการประชุมวันแรกนี่นะครับ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาเสนอแนะต่าง ๆ ไปให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ๖๐ วันครับ ๖๐ วันนี่ทำไมไม่ให้กรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญไปยกร่างเสียเลย มาฟังสมาชิกทำไม ก็เพราะว่ารัฐธรรมนูญให้ความสำคัญว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญคราวนี้อยู่ในความรับผิดชอบ อยู่ในการทำหน้าที่ที่จะต้องจัดทำ ให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้สำเร็จ เพราะกระบวนการในการยกร่างรัฐธรรมนูญนี่นะครับ มีตั้งแต่รับฟังความคิดเห็น ประทานโทษครับ มีตั้งแต่ให้เสนอความคิดเห็น ๖๐ วันแรกหลังจากที่กรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญได้ฟังความคิดเห็นจากสมาชิกแล้ว ก็ให้เป็นความเห็นของสภาไปแล้ว กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องไปทำการยกร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน ๑๒๐ วัน เพราะฉะนั้นการทำหน้าที่ของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนี่นะครับ ท่านอย่าเข้าใจผิดนะครับ วันนั้นผมฟังท่านว่าที่รองประธานพูด ท่านบอกว่ามันเป็นอิสระ จริง ๆ แล้วมันเป็นอิสระ จริง ๆ ในการเขียน แต่การจะเขียนอย่างไรนั้นต้องให้ความสำคัญไปที่สภาปฏิรูปแห่งชาติว่า สภาเขามีความคิดเห็นอย่างไร พิจารณาแล้วเสนออะไรมา มิฉะนั้นรัฐธรรมนูญเขาจะไม่เขียนว่า กรรมาธิการจะต้องไปฟังช่วงแรกก่อน ๖๐ วันแล้วไปเริ่มเขียน นี่คือความสำคัญครับ หลังจากที่ท่านเขียน ๑๒๐ วันเสร็จแล้วนะครับ รัฐธรรมนูญบัญญัติว่ากรรมาธิการต้องส่งร่างนี้ กลับสู่สภาให้พิจารณาอีก ๑๐ วันครับ พอพิจารณา ๑๐ วันแล้วทำอย่างไรครับ บอกว่า ให้สมาชิกรวมถึงองค์กรข้างนอกด้วยแต่ผมจะไม่พูดถึง ให้สมาชิกสามารถจะแก้ไข ถ้าตามหลักที่ทำงานในสภาเขาเรียกว่าแปรญัตติ ให้แก้ไขได้ภายในอีก ๓๐ วันครับ ท่านแก้ไขครับ พอแก้ไขเสร็จแล้วนะครับ ส่งไปให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณา ต่ออีก ๖๐ วัน เห็นไหมครับ มันเป็นกระบวนการครับท่านประธาน แล้วหลังจากนั้น นี่นะครับ พอท่านแก้ไขเสร็จแล้วท่านต้องกลับมาขอความเห็นชอบในสภาว่าจะเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบภายใน ๑๕ วันนับตั้งแต่ที่ส่งร่างกลับมา เพราะฉะนั้นกระบวนการเหล่านี้ มันเป็นกระบวนการที่เป็นความสำคัญยิ่งของสภาแห่งนี้ ที่จะต้องรับผิดชอบ ให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เสร็จโดยความเห็นพ้องต้องกัน ผมก็จะกลับมาสู่ที่ว่า สิ่งที่ผม ได้กราบเรียนท่านประธานไปเป็นกระบวนการในการที่จะจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมานี่นะครับ นั่นหมายความว่าเขาให้เสียงของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒๐ คน เพราะ ๒๐ คนนี้ จะสะท้อนความต้องการ ความคิดเห็น หรือข้อมูลไปยังกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าหากว่า ๒๐ คนนี้ซึ่งเป็นสมาชิกนี่นะครับ ท่านจำกัดเพียง ๑๕ คน แล้วที่ส่งมาจาก องค์กรข้างนอก ๑๕ คนนี่ครับ เอาส่วนคนที่ ๑๕ ที่เราจะตั้งกลับกลายไปตั้งคนอื่นซึ่งไม่ใช่ สมาชิก คน ๕ คนนี้ก็จะไปรวมกับ ๑๕ คนที่ถูกส่งเข้ามามันก็จะกลายเป็นเสียง ๒๐ คนนี่ ไม่ใช่สมาชิก ไม่ใช่มาจากสภาโดยตรง สภาก็จะเหลือ ๑๕ คน คนที่ไม่ใช่สมาชิกกลายเป็น ๒๐ คน ไม่รวมประธานนะครับ เพราะประธานอย่างไรก็ได้มา ๒ ทางอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น สิ่งที่สะท้อนนี่นะครับ ถ้าเกิดเสียงในสภาเหลือแค่ ๑๕ คน ท่านจะพิจารณาไปใย พิจารณา ไปทำไม เพราะเสียงมันไปอยู่ข้างนอกสภาหมดแล้ว ท่านพูดให้หนักหนาสาหัสอย่างไรนี่นะครับ โอกาสที่มันจะไม่เป็นไปตามความคิดเห็นของสภานี่มันเกิดขึ้นได้สูงมาก เพราะฉะนั้น เสียง ๑๕ คนในสภามันก็จะทำให้เกิดมีปัญหา หลังจากนั้นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไปร่างอะไรมาตามแต่คนอีก ๒๐ คนจะคิด เสียง ๑๕ คนจากสภาเกิดจะคิดไปเช่นเดียวกับสภา ในที่สุดร่างนี้ก็จะกลับคืนมาสู่การพิจารณาในสภาอีกครั้งหนึ่งในช่วงสุดท้าย เป็นการพิจารณาเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ เมื่อนั้นละครับจะเกิดปัญหาขึ้นมาอีก เพราะว่าคนที่ไปร่างนั้นไม่ได้เชื่อมโยงกับสภาไม่ต้องรับผิดชอบอะไรกับสภา จะคิดอะไร ก็ตามแต่อยากจะคิดก็ว่ากันไป แล้วเมื่อร่างกลับมาแล้วมันไม่ตรงกับแนวคิดในสภาครับ สภาจะไปลงมติอย่างไร จะเห็นด้วยกับที่ยกร่างมาหรือครับ เพราะมันคนละทางกันเสียแล้ว ในที่สุดมันก็จะกลายเป็นว่าเมื่อลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบประเด็นสำคัญ ๆ ไม่ตรงกันนี่ นะครับ ท่านอย่าคิดนะครับว่าคนที่เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเมื่อทำหน้าที่แล้ว อยากจะต้องอยู่ต่อโดยเห็นชอบไปเสีย ไม่ใช่ครับ ผมว่าทุกคนมีความรับผิดชอบ ถ้าเกิด ร่างรัฐธรรมนูญร่างมาแล้วมันไม่ตรงกัน ประเด็นสำคัญดูแล้วมันอาจจะไม่ใช่ปฏิรูปจริง มันเห็นคนละอย่างกัน เขาก็ลงมติไม่เห็นชอบได้ ถ้าร่างนี้กลับมาที่สภาผมกราบเรียนท่านเลยครับ ถ้าหากว่ามันดูแล้วไม่เข้าท่าเข้าทาง มันไม่ได้แก้ปัญหาของประเทศ แต่มันไปรองรับแนวคิด ทางการเมืองของคนบางกลุ่มซึ่งจะหาผลประโยชน์อยู่ อาจจะสร้างปัญหาในเรื่องของการซื้อสิทธิ ขายเสียงไม่ได้ ผมไม่รับครับ ถึงแม้ว่าจะตายตกไปตามกันนี่นะครับ ทั้งสภา ทั้งกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ ถ้ามันไม่ผ่านแล้วก็ตกก็ต้องยอมครับ แต่ผมก็ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น ถ้าไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นท่านต้องให้ความสำคัญเสียงของสมาชิกในสภาครับ เพราะเสียง ของสมาชิกในสภานั้นเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถเยอะมาก แค่คณะผมคณะเดียว ปาไปตั้ง ๔-๕ คนแล้ว ไม่รวมผมนะครับ แล้วท่านก็กำหนดว่าให้มาแต่ละคณะ คณะละ ๑ คน ไม่ตัดสิทธิที่จะให้มาสมัครอีกได้ อะไรอย่างนี้นะครับ แต่ในที่สุดแล้วก็ไปสรุปว่าไม่เกิน ๑๕ คน มันเป็นปัญหาครับท่านประธาน ที่ผมกราบเรียนมาตรงนี้นะครับไม่ใช่เรื่องคนในคนนอก ไม่ใช่เรื่องสมาชิกจะเก่งกว่าคนอื่น ไม่ใช่เรื่องที่สมาชิกมีคุณสมบัติไม่พอ ไม่ใช่สมาชิก เป็นเทวดา ไม่ใช่เลยนะครับ แต่เป็นด้วยเหตุด้วยผลครับ ก็สุดแต่ที่ประชุมจะตัดสินนะครับ ผมให้เหตุผลโดยทำหน้าที่อันสมบูรณ์อันควรจะทำ และคิดว่ามันน่าจะเป็นประโยชน์ กับสภาแห่งนี้ ดีกว่าที่เราพูดกันไป อภิปรายกันไป เสนอความเห็นกันไป พอถึงเวลายกร่าง เป็นคนอื่นซึ่งไม่ใช่สมาชิกไม่ต้องรับผิดชอบต่อสภาเขาก็คิดอย่างอื่น ไม่มีประโยชน์เลยครับ ผมไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้มีสมาชิกเพียง ๑๕ คน แล้วคนที่ไม่ใช่สมาชิกอีก ๕ คน ผมเห็นควรให้มีสมาชิกทั้งหมด ๒๐ คนเพื่อสะท้อนแนวคิด ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้นนำไปพิจารณา ขอบพระคุณครับท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ผม เสรี สุวรรณภานนท์ ผมกราบเรียน ท่านประธานถามให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ไหมครับ ขออนุญาตเป็นว่า ถ้าใครเห็นควรให้ปิด อภิปรายให้กด เห็นด้วย ถ้าใครเห็นว่าไม่ควรให้ปิดอภิปรายให้กด ไม่เห็นด้วย นะครับ มันจะได้กดง่ายครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กราบเรียนท่านประธานหารือท่านสมาชิก ผ่านท่านประธานลักษณะอย่างนี้ได้ไหมครับ จริง ๆ ญัตติเราก็อยู่ในญัตติเดิมนี่แหละครับ ไม่ได้ไปเพิ่มญัตติอะไร เพียงแต่ว่าเรากำลังหาคนที่จะมาเป็นกรรมาธิการ ซึ่งจริง ๆ เราได้ตกผลึกพอสมควรกับการที่เราได้ไปแบ่งสมาชิกไปอยู่ด้านต่าง ๆ ซึ่งก็น่าจะให้โอกาสนี้ ละครับเอามาบริหารจัดการ แล้วมันก็เดินไปตามที่คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ได้กำหนดไว้ มันจะได้ไม่แตกต่าง ก็คือให้แต่ละด้านนี่นะครับ เสนอด้านละ ๑ คน อันนี้เป็นไปตาม กิจการสภานะครับ ส่วนอีก ๕ คนนั้นก็ใช้หลักของกรรมาธิการนั้นแหละครับ แทนที่จะไป พิจารณาจากคนนอกก็ให้กรรมาธิการมาพิจารณาคนในเสียในคุณสมบัติที่ท่านต้องการ อย่างเช่น มาจากหลายด้าน หลายฝ่ายในนี้ก็มีทั้งนั้นแหละครับ กปปส. เสื้อแดง เสื้อเหลือง เสื้ออะไรเยอะแยะไปหมดนะครับ ท่านไม่ต้องไปหาข้างนอกเอาในนี้ถ้าเขาสมัครใจนะครับ ถ้าเขาสมัครใจ แต่ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งนี่นะครับ ผมคิดว่าน่าจะคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ อย่างเช่น เป็นศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ผมเห็น มีหลายท่านแล้วก็พร้อมจะเป็น เราก็เอาคุณสมบัติท่านเหล่านี้ละครับ ให้สมาชิกแต่ละด้าน นั้นไปประชุมกัน คณะกรรมาธิการในด้านของผมนะครับ กระบวนการยุติธรรมต้อง กราบเรียนเลยครับ ยังไม่ได้เลือกใครเลยครับท่าน ไปประชุมกันจริงครับ เวลาประมาณ ครึ่งชั่วโมงเศษ ๆ ที่ได้คุยกันก็ยังหาแนวทางที่ชัดเจนไม่ได้ ก็เลยมีมติว่าให้มาฟังที่ประชุม แห่งนี้ว่าจะเอาอย่างไร จะได้ไปเดินให้มันถูกทางนะครับ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวชุดผม ผมก็คงจะหารือเป็นตัวอย่างว่าให้ไปเลือก ๑ คน แล้วอีกคนอื่นในแต่ละคณะนี่นะครับ อย่าไปให้ท่านเสนอตัวเองเลยบางทีมันก็อายครับ มันก็เหนียมกับการที่จะเสนอตัวเอง ก็ให้แต่ละด้านคุยกันแล้วก็บอกว่า ให้แต่ละด้านเสนอมานะครับเพื่อจะมาเลือก ๕ คน แต่คนหนึ่งมาจากแต่ละด้านแน่นอนแล้ว มันก็จะได้ ๑๕ คนไป ส่วนอีก ๕ คนที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมเป็นศาสตราจารย์ เป็นดอกเตอร์ เป็นครูบาอาจารย์ เป็นคนฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ เอาในสภาเราแห่งนี้ละครับ มันก็ไม่ได้ขัดกับเจตนาอะไร หลักการที่กรรมาธิการกิจการ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ท่านได้ตั้งหลักการไว้นะครับ ผมคิดว่าก็ให้ที่ประชุมนี้ แล้วก็แต่ละด้านช่วยเสนอคนที่เหมาะสม แล้วก็มาให้สภาพิจารณาอีกทีหนึ่ง ข้อสำคัญ ให้เขายินยอมด้วยนะครับ ขอบพระคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ขออนุญาตท่านประธานครับ ผม เสรี ครับท่านประธานต่อเนื่องนิดเดียว ขออนุญาตเสียมารยาทต่อเนื่องจะได้ตรงกันครับ ขออภัยท่านสมาชิกนะครับ คือที่ผมเรียนเมื่อสักครู่นี้ผมเสนอชัดเจนเลยครับท่านประธานว่า ให้แต่ละด้านเสนอมาเลยไม่ต้องให้ท่านมาเลือกในนี้อีกนะครับ เหตุผลสำคัญก็คือ การร่างรัฐธรรมนูญมันต้องมีหลายมิติ เพราะฉะนั้นแต่ละด้านนั้นมันก็ครอบคลุมที่จะให้ ตัวแทนแต่ละด้านนั้นมีส่วนร่วมนำความเห็นต่าง ๆ เข้าไปปรึกษาหารือกันในการยกร่าง รัฐธรรมนูญนะครับ อันนี้ขอให้ชัดเจนตรงนี้นะครับ ไม่ได้ให้ท่านมาแข่งมาเลือกครับ เลือกก็คือแค่ ๕ คนเท่านั้นครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องขออนุญาตท่านเกรียงไกรด้วยนะครับ อันดับแรกที่ท่านประธานเรียกผมตั้งแต่แรก ต้องให้ทำความเข้าใจว่าไม่ใช่ว่าท่านประธาน รู้จักกับผม พิศวาสผม หรือเรียกผมเพราะอยากจะให้พูด ไม่ใช่ ผมยกมือคนแรกนะครับ มิฉะนั้นเดี๋ยวจะเข้าใจผิดว่าท่านประธานอะไรก็เรียกผม ไม่ใช่ สิ่งที่ท่านประธานได้กรุณา พูดถึงสักครู่นี้นะครับ ถ้าจะให้คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ไปพิจารณาจริง ๆ ผมก็ไม่อยาก ขัดข้อง แต่ไป ๆ มา ๆ ไปอีกเดี๋ยวมันก็จะมีปัญหากลับมาสภาไม่เห็นด้วยอีก มันก็จะ กลายเป็นปัญหา สิ่งที่สมาชิกได้เสนอสักครู่นี้นะครับ จริง ๆ มันก็มายุติตรงนี้แล้วละครับว่า จะมาจากแต่ละด้านกับ ๔ ภาค กับมีท่านสมาชิกบางท่าน ท่านสองท่านเสนอว่าให้เลือก ให้ที่ประชุมนี้ลงคะแนนเลือกทั้งหมด ผมว่าตอนนี้มีอยู่ ๒ ประเด็น ๒ ประเด็นนี้ ถ้าจะขอความกรุณาหารือท่านประธานนี่นะครับ ก็ให้สภาตัดสินใจลงมติไปเลยว่า ตกลงแล้วนี่นะครับ เห็นด้วยที่จะให้เอา ๑๕ คน มาแต่ละด้าน กับ ๔ ภาค กับมาลงคะแนน ทั้งสภา นี่ข้อที่ ๑

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๒ เรียนไปเลยครับ ก็ไม่อยากจะลุกขึ้นพูดอีก ก็คือวิธีการนี่นะครับ ถ้าได้ ๑๕ คนไปแล้ว ๕ คนหลังนี้แทนที่เราจะให้สภามาลงมติ ผมเสนอทางออก ให้อีกด้านหนึ่งครับ ก็คือนอกจากได้ชื่อชัดเจนแต่ละด้านแล้วนี่นะครับ จะสมัครเอง หรือกรรมาธิการเสนอมามากกว่า ๑ นั้นนะครับ ให้เอารายชื่อที่ท่านทำใบสมัครอะไรไว้ หรือว่าเสนอชื่อมานี่ ให้คนเหล่านี้ช่วยให้กรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) นัดประชุมเฉพาะคนเหล่านี้ แล้วท่านเหล่านี้นี่นะครับ ลองไปตกลงกันเองก่อนว่าที่เสนอชื่อ มาหลายท่านนี่นะครับ ท่านสามารถจะตกลงกันเองว่าให้เหลือ ๕ ท่าน หรือจะลงคะแนน กันเองให้เหลือ ๕ ท่าน หรือจะจับฉลากให้เหลือกันเอง ๕ ท่าน มันก็ไม่ต้องมาเป็นภาระ กับสภา พอได้ชื่อมาแล้วจึงให้สภาเห็นชอบ มันก็คือจากสภาเสนอนี่แหละนะครับ นี่คือกระบวนการขั้นตอน มันไม่ต้องให้มาแข่งกันในนี้อีก ให้ไปตกลงกันเองก่อน มันตกลง กันได้ครับ อย่างเคยมีอาจารย์มหาวิทยาลัยเยอะแยะไปหมดเลยครับ ในรัฐธรรมนูญเขาเขียนว่า ให้ไปเลือกกันเอง อันนี้ก็คือเสนอแนวทางนะครับ จะได้ง่ายขึ้น กระชับขึ้น ตอนนี้ถ้าจะกรุณา ก็ลงแค่ ๒ มติ มติหนึ่งก็คือที่ท่านคณิศรเสนอไว้ว่าจะเอา ๑๑ ด้าน ๔ ภาค กับท่านอาจารย์ ประสารเสนอไว้ว่าให้ลงคะแนนเลือกทั้งสภา เอารายชื่อทั้งหมดมาให้ลงคะแนนเลือกนะครับ อันนี้ก็จะตัดปัญหาไปได้ทั้งหมดครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ ที่ยกมือคือจะช่วยที่ประชุมนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • คือกราบเรียนท่านอย่างนี้ครับ พอดีมีคนเสนอ ญัตตินี่นะครับ จริง ๆ ท่านประธานคงต้องถาม แต่ท่านกรรมาธิการเสนอว่ามันอาจจะขัดกับ รัฐธรรมนูญหรือไม่นะครับ ถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริงก็ขอให้ผู้เสนอญัตติถอนญัตติเสีย ถ้าท่านถอนมันก็จบตรงนี้ ส่วนกรรมาธิการบอกว่าจะรับไปจัดการผมก็ไม่ขัดข้อง เพียงแต่ว่า ก็ฝากกรรมาธิการว่าสิ่งที่พูดใช้เวลามาตั้งยาวนานว่ามาจากแต่ละส่วน แต่ละภาคนี่ อันนี้ มันเป็นกระบวนการ แต่การที่จะทำให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญก็คือหลังจากได้ชื่อ แล้วที่ประชุมลงมติเห็นชอบกับบุคคลดังกล่าวนั้นมันก็ไม่ได้ขัดกับรัฐธรรมนูญ แต่ผมไม่อยากที่จะให้มันเป็นประเด็น มาไกลถึงขนาดนี้แล้วถ้ากรรมาธิการจะไปจัดการ แต่มันก็ชัดเจนแล้วมาจาก ๒๐ คน ในสภานี้ก็ไม่ขัดข้องนะครับ เราก็ต้องยอมกันบ้างนะครับ เดี๋ยวกรรมาธิการแพ้ทุกเรื่องมันจะยุ่งเหมือนกัน คราวหน้าทำงานลำบาก ก็เอาเป็นขอเสนอ ตามกรรมาธิการก็แล้วกันว่าให้ท่านที่เสนอญัตติกรุณาช่วยถอนเสีย แล้วกรรมาธิการ ท่านก็รับไปช่วยจัดการให้หน่อย ให้ได้ ๒๐ คนมาก็แล้วกันนะครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตประท้วง ท่านประธาน ประท้วงคนแรก คืออย่างนี้ครับ ขออภัยที่ใช้คำนี้ครับ อาจจะไม่เหมาะสม เพียงแต่ว่าเดี๋ยวกลัวธรรมเนียมประเพณีมันจะผิดพลาด สมาชิกเขาเสนอแล้วเขาแค่ยกมือ รับรองญัตติ ถ้าท่านอื่นไม่เห็นด้วยก็ยกมือแล้วก็รับรองญัตติ ท่านต้องให้ลงคะแนนว่า จะให้เป็นแบบไหน ไม่ใช่รับรองญัตติแล้วท่านสรุปว่าส่วนใหญ่เห็นอย่างนี้ มันจะผิดพลาดได้ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตกราบเรียนท่านประธานครับ เมื่อกี้ ท่านอาจารย์เอนกกรุณาเสนอว่าให้กรรมาธิการรับเรื่องช่วยไปทำ แล้วยังไม่ชัดเจนเท่าไรว่า สมาชิกท่านอื่นมีใครขัดข้องไม่เห็นด้วยไหมนะครับ ถ้าไม่เห็นด้วยก็ถือว่าเป็นมติที่สภามอบให้ กรรมาธิการไปดำเนินการ แต่ถ้าหากว่าสมาชิกท่านใดมีมติแล้วก็ขอที่ไม่เห็นด้วย ท่านอาจารย์เอนกก็ยกมือนะครับ แล้วก็ให้สมาชิกรับรอง ถ้ามันเห็นไม่ตรงกันก็ค่อยลงมติ ถ้าในเบื้องต้นขณะนี้นี่นะครับ ท่านอาจารย์เอนกเสนอแล้วนะครับ ไม่มีใครเห็นเป็นอย่างอื่น ก็คงให้กรรมาธิการไปดำเนินการครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออภัยท่านประธานครับ ผมเสรีนะครับ เพียงแต่ว่าผมไม่ได้มาแนะนำอะไรท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ครับ เพียงแต่เมื่อท่านเอนกเสนอแล้วนี่นะครับ มีสมาชิกท่านอื่นไม่เห็นด้วยมีไหม ถ้าไม่มีท่านใดไม่เห็นด้วยนะครับ ก็ถือว่าที่ประชุมมีมติให้ กรรมาธิการรับไปดำเนินการก็ไม่ต้องลงมติอะไรครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กราบเรียนท่านประธานอย่างนี้ได้ไหมครับ เพื่อให้เราทำงานเร็วขึ้น ก็ขอหารือท่านสมาชิกผ่านท่านประธาน แต่ก่อนที่จะถึงตรงนั้น นิดเดียวครับ เพราะเกรงว่าเดี๋ยวท่านสมาชิกจะเข้าใจผิด เหมือนกับไปปิดกั้นแนวคิด หรือข้อคิดเห็นของท่าน เพราะว่ามีการเสนอ พอเริ่มมาก็มีการเสนอว่าให้เห็นความสำคัญ ของจังหวัดกับภาคต่าง ๆ ต้องเรียนว่าสิ่งที่กรรมาธิการท่านเสนอมาผมอ่านแล้วนะครับ แล้วก็เห็นว่าความสำคัญของจังหวัดกับภาคนั้นยังคงมีอยู่นะครับ แล้วในการทำงานนั้น เดี๋ยวจะไปคุยอีกทีหนึ่งตอนที่มีการพิจารณาข้อบังคับการประชุม ซึ่งจะมีเรื่องของอำนาจ หน้าที่กรรมการจากจังหวัด หรือจากภาคอะไรต่าง ๆ นะครับ ตรงนี้ก็เรียนเพื่อความสบายใจว่ายังเห็นความสำคัญของภาคอยู่ เพียงแต่ว่าอยากจะหารือ ท่านประธานว่าเราจะพิจารณากันสัก ๑๕ นาทีดีไหม วันนี้ครับ สิ่งที่ผมกราบเรียนตรงนี้ ก็เพราะว่าไม่ได้ไปปิดกั้นความคิดท่านสมาชิกนะครับ สิ่งที่กรรมาธิการท่านได้กรุณาสรุป แนวทางมาให้นี่นะครับ สมาชิกเรามีใครไม่เห็นด้วยไหม ถ้าหากว่าเห็นด้วยนี่นะครับ เพื่อเป็นการ แก้ปัญหาจากเมื่อวานที่เราได้คุยกันมาทั้งวัน ตรงนี้มันเป็นทางออกว่าในการจะเลือก กรรมาธิการ ๒๐ คนนี้ เขาให้แต่ละด้านที่มีที่มาเดิมอยู่แล้วนั้นไปช่วยกันหาคนมาเป็นตัวแทน คณะละกี่คนก็ได้ อย่างคณะกระบวนการยุติธรรมผมมี ๔ คนครับ แต่บางคณะผมฟังมาแล้ว ไม่มีก็มี เพราะฉะนั้นเอาจำนวนนี่นะครับ มันน่าจะตกผลึกแล้วว่าเอาคนที่ได้รับการเสนอชื่อ แต่ละคณะพรุ่งนี้ให้มายื่นก่อนเที่ยงแล้วก็ให้ที่ประชุมนี้พิจารณา จะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๒ ว่าผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ จำนวน ๒๐ คน มันก็จะเป็นกระบวนการที่ผ่าน การได้มาจากแต่ละกลุ่มแต่ละด้าน ตรงนี้มันจะลดข้อขัดแย้งไปได้ ซึ่งกรรมาธิการท่านทำมา นี่ผมว่ามันยุติปัญหาที่เราจะต้องมานั่งพูดกันต่อไป เพราะพูดไปมันก็คืออย่างนี้ ใช้เวลาอีกมัน ก็อย่างนี้ ผมว่าเราก็มาทำให้เสร็จสัก ๑๕ นาที แล้วก็มาวาระต่อไป มันง่ายแล้วตอนนี้ครับ มันตกผลึกแล้ว ก็เลยกราบเรียนท่านประธานว่าอยากให้มันเร็ว แล้วก็ให้ความสำคัญ แต่ละด้านนี่อยู่ตรงไหน แต่ละด้าน แต่ละจังหวัด ประทานโทษ แต่ละภาคอะไรนี่นะครับ เดี๋ยวเข้าใจว่ากรรมาธิการท่านจะไปทำเป็นใบสมัคร ตอนลงคะแนนก็จะระบุว่ามาจาก ภาคไหน ด้านไหนนะครับ แล้วท่านก็ให้ที่ประชุมนี้ตัดสินกันว่าควรจะมาจากภาคไหม ภาคไหนกี่จังหวัด อันนี้คือให้ความสำคัญอยู่แล้วนะครับ แล้วก็เรียนสุดท้ายว่าทุกอย่าง มันคงไม่ได้อย่างที่เราต้องการได้ทุกเรื่องหรอกนะครับ ตอนนี้เราก็มาตกผลึก ถึงแม้ว่า จะไม่ได้ทุกเรื่อง แต่มันก็ได้อยู่ระดับหนึ่ง แล้วก็น่าจะดีที่สุดกับสภาเราอยู่แล้วนะครับ ส่วนท่านที่ไม่เห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการท่านจะอภิปรายผมก็ว่าไม่ขัดข้อง แต่ถ้าหากว่า ท่านเห็นด้วยแล้วนี่นะครับ เราก็น่าจะยืนตามคณะกรรมาธิการ แล้วไม่ต้องพูดสนับสนุนแล้ว เพราะอย่างไรมันก็อย่างนี้อยู่แล้ว ก็จะเร็วขึ้นนะครับ ขอบคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ผมเรียนท่านประธานว่าท่านประธานมีทางเลือก ๒ ทางเท่านั้นตอนนี้ ท่านไม่ต้องตอบแล้ว ขออนุญาตครับ ท่านจะตัดสินใจให้ลงมติว่าจะปิด หรือไม่ปิดเท่านั้นครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านไปตอบอีกมันก็ต่อกันไปอีกครับท่าน ตอนนี้ ท่านมีทางเลือกอยู่แค่นี้ครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ขออนุญาตท่านประธาน มันมีญัตติที่เขาเสนอขอปิดอยู่นะครับ แล้วก็มีคนที่เขาไม่เห็นด้วยเขาขอเปิดอยู่

    อ่านในการประชุม

  • เมื่อครู่นี้มีครับท่าน แล้วก็มีคนยกมือ ยกมือนั้น คือเสียงรับรองนะครับ ไม่ใช่เสียงลงคะแนนนะครับ เขามีอยู่ ๒ ญัตติ ตรงนี้ขอปิด ตรงนี้ขอเปิด ท่านก็จะลงมติว่าจะเอาอย่างไรจะได้เดินต่อได้ เจ้าหน้าที่ เลขาธิการ ช่วยหน่อยสิครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ สิ่งที่ผมจะกราบเรียนตรงนี้นี่นะครับ ก็อยากจะเรียน ไปยังท่านที่จะสมัครเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งถือว่าเป็นสาระสำคัญของการจะเข้าไป ทำหน้าที่ดังกล่าว ในส่วนที่การจะเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติได้ท่านต้องมีคุณสมบัตินะครับ คุณสมบัติต่าง ๆ ที่แจกไปให้ เช่น ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ไม่มีประวัติที่เขาต้องห้ามไว้นะครับ ถ้าหากว่าท่านเสนอแล้วนี่นะครับ เกิดไปขัด หรือด้วยความหลงลืม หรือด้วยความตั้งใจ ไม่ตั้งใจ แต่คุณสมบัติท่านเกิดขัดขึ้นมาแล้วท่านก็มาสมัคร ผลที่ตามมานี่นะครับ ท่านต้องระวังนะครับ อยู่ในมาตรา ๒๙ ของรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามอะไร ดังกล่าวนี่นะครับ และให้นำความในมาตรา ๙ มาใช้บังคับ มาตรา ๙ นี่นะครับเป็นเรื่องสมาชิก ที่นำมาใช้ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติสิ้นสุดลงเมื่อพ้นจากสมาชิกตามมาตรา ๑๒ (๔) มาตรา ๑๒ เขาว่าอย่างไรครับ มาตรา ๑๒ รัฐธรรมนูญบอกว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้ใดกระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือมีพฤติการณ์อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกก็อาจจะต้องพ้นจากตำแหน่งนะครับ อาจจะต้องพ้นตามมาตรา ๙ (๔) นะครับ ก็เลยกราบเรียนท่านประธาน เป็นห่วงนะครับ เพราะบางท่านขาดคุณสมบัติแต่คิดว่าคนอื่นไม่รู้ แล้วก็เกิดไปสมัครขึ้นมาตอนหลังเกิดไปรู้ ขึ้นมาทำให้กระบวนการที่เขาจะต้องไปยกร่างมันเสียหาย เพราะฉะนั้นท่านต้องระวังตัวเอง แล้วก็มีสภาพบังคับกับการที่อาจจะต้องออกหรือพ้นจากตำแหน่งได้ ก็เลยกราบเรียนเพื่อ ทำความเข้าใจไว้ ณ ที่นี้นะครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ขอความกรุณาเสนอว่าขออนุญาต ท่านเพียงถามมีท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นไหม ถ้าไม่มี ก็เป็นไปตามที่ท่านประธานกล่าวครับ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ขอกราบเรียนท่านประธานในส่วน เรื่องของการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นปัญหาอยู่ในบ้านเมืองเราจนถึงขนาดที่จะต้องมีประเด็น ในเรื่องของการปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ มีการพูดอยู่เสมอครับ ท่านประธานครับว่า บ้านเมืองเรานั้นมีกฎหมายเหมือนไม่มีกฎหมาย มีเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบเหมือนกับไม่มี สังคมขาดระเบียบ ขาดวินัย สิ่งที่เป็นตัวอย่างชัดเจนเมื่อเกิด ระเบิดที่บริเวณใกล้สถานีรถไฟอย่างที่เป็นข่าวที่ผ่านมา คงเป็นเพราะคนไม่กลัวกฎหมาย หรือท้าทายอำนาจรัฐ สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ก็คือการบังคับใช้กฎหมายที่จะต้องหา ตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริงมาลงโทษเอาผิดเอาโทษให้ได้ มิฉะนั้นบ้านเมือง ก็จะไม่สงบเรียบร้อยและเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองไทย สิ่งที่เป็นปัญหา ในบ้านเมืองเรานะครับ เกิดเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายนั้นเป็นปัญหาตั้งแต่ปัญหา ทางการเมือง มีการเผาบ้านเผาเมือง มีการด่าว่าดูหมิ่น หมิ่นประมาทกัน เหมือนกับบ้านเมือง ไม่มีกฎหมาย ใครอยากจะว่าใครก็ว่า ใครอยากจะเผาเมืองก็เผา สังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นักเรียนตีกัน มีคนขับรถแข่งบนถนนสาธารณะสร้างความเดือดร้อนให้คนในสังคม มีการฆ่ากันทำร้ายกัน ลัก วิ่ง ชิง ปล้นเกิดขึ้นในหน้าสื่อมวลชนทุกวี่ทุกวัน คดีในศาล ก็เกิดขึ้นมากมาย มีการละเมิดสถาบันในเว็บไซต์ (Web site) ต่าง ๆ อีกมากมาย แต่ขาดคนรับผิดชอบที่จะเข้ามาแก้ไข สิ่งเหล่านี้คือเป็นเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย ที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรืออาจจะเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายมีปัญหา กฎหมายก็คือ บทบัญญัติของรัฐที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ วางหลักเกณฑ์ไว้เป็นสำคัญ แต่เท่าที่พบนะครับ เกิดประเด็น ปัญหาบังคับการใช้กฎหมาย เช่น อย่างที่กราบเรียนแล้วว่าปัญหาขัดแย้งทางการเมือง ประชาชนในสังคมขาดระเบียบวินัย เจ้าหน้าที่บ้านเมืองหย่อนยานในการปฏิบัติหน้าที่ และมักจะกระทำความผิดเสียเอง คนไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ประชาชนที่ทำผิด เมื่อทำผิดแล้วก็มักจะให้สินบนเพื่อให้ตนเองพ้นผิด อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกัน อาชญากรรมไม่เพียงพอ แล้วก็ยังมีการอนุญาตให้พกอาวุธปืนพกพาได้ในที่สาธารณะ เกร่อไปหมดโดยไม่มีการควบคุม ระบบราชการมีการวิ่งเต้น การเลื่อนชั้น ปรับยศ ไม่เป็นธรรม ข้าราชการไม่ได้รับการเลื่อนชั้นตามความรู้ความสามารถทำให้ ข้าราชการส่วนใหญ่ขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน นี่เป็นปัญหาทั้งสิ้น กฎหมายล้าสมัย กระบวนการยุติธรรมที่มีความล่าช้า ซึ่งความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรมคือความไม่เป็นธรรม มาตรฐานในการตัดสินคดียังไม่มีมาตรฐานเดียวกัน เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญในการแก้ปัญหา มีการทุจริตคอร์รัปชัน (Corruption) ในระบบราชการ เป็นวงกว้าง เจ้าหน้าที่ตำรวจทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการใช้บังคับกฎหมาย มีปัญหามาก ถูกสังคมต้องการให้มีการปฏิรูปก่อนหน่วยงานอื่น ปัญหาของการใช้ดุลยพินิจ ของเจ้าหน้าที่ ปัญหาของดุลยพินิจที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ ความไม่รู้กฎหมาย เพียงพอของพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ สิ่งเหล่านี้คือปัญหาของการบังคับใช้กฎหมาย กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากกว่าควบคุมการใช้อำนาจ นี่คือสิ่งที่จะต้องมาพิจารณา การตีความในทางกฎหมายไม่ตรงกันจนเกิดความขัดแย้งกันขึ้นในสังคม แม้กระทั่ง ทางการเมืองหรือในชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชน แนวทางการแก้ปัญหาการบังคับใช้ กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ รัฐต้องกวดขันข้าราชการและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองให้เคร่งครัด ต่อการบังคับใช้กฎหมาย รัฐต้องกำหนดนโยบายและมาตรการแก้ปัญหาที่ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาต้องจัดคนให้เข้า รับผิดชอบในการบริหารประเทศ จัดหัวหน้าส่วนราชการต้องได้คนดี คนมีความรู้ มีความสามารถเข้าทำหน้าที่เพื่อขับเคลื่อนการทำงานราชการให้มีประสิทธิภาพและ ไม่ให้มีการทุจริตคอร์รัปชัน การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรม อย่างแท้จริง หากเจ้าหน้าที่ราชการที่หย่อนยานและไม่มีผลงานต้องสับเปลี่ยนโยกย้าย ให้คนมีความสามารถเข้ามาทำหน้าที่ ให้เอาผิดเอาโทษและลงโทษเจ้าหน้าที่ที่กระทำ ความผิดเสียเองอย่างจริงจัง รัฐต้องสร้างระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกคน ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย ให้ทำอะไรตามใจตนเองอย่างที่ทำกันอยู่ ต้องบังคับใช้กฎหมาย เอาผิดเอาโทษคนที่ทุจริตคอร์รัปชันและคนที่ทำผิดกฎหมายอย่างจริงจังไม่เลือกปฏิบัติ ต้องขจัดคนชั่วไม่ให้เข้าสู่วิถีทางทางการเมืองและงานราชการ เจ้าหน้าที่ของบ้านเมือง ต้องไม่กระทำความผิดเสียเอง หากเจ้าหน้าที่กระทำความผิดเสียเองต้องได้รับโทษเป็น ๒ เท่าของความผิดของชาวบ้านทั่วไป ต้องมีอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานของ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน และเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ นี่คือส่วนหนึ่งครับท่านประธานครับ ในระยะเวลาจำกัดก็กราบเรียนเพื่อให้เห็นว่า การบังคับใช้กฎหมายในบ้านเมืองเรานั้นมีปัญหาที่ต้องมีการปฏิรูปอย่างจริงจัง ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ขอกราบเรียนท่านประธานในส่วน เรื่องของการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นปัญหาอยู่ในบ้านเมืองเราจนถึงขนาดที่จะต้องมีประเด็น ในเรื่องของการปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ มีการพูดอยู่เสมอครับ ท่านประธานครับว่า บ้านเมืองเรานั้นมีกฎหมายเหมือนไม่มีกฎหมาย มีเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบเหมือนกับไม่มี สังคมขาดระเบียบ ขาดวินัย สิ่งที่เป็นตัวอย่างชัดเจนเมื่อเกิด ระเบิดที่บริเวณใกล้สถานีรถไฟอย่างที่เป็นข่าวที่ผ่านมา คงเป็นเพราะคนไม่กลัวกฎหมาย หรือท้าทายอำนาจรัฐ สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ก็คือการบังคับใช้กฎหมายที่จะต้องหา ตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริงมาลงโทษเอาผิดเอาโทษให้ได้ มิฉะนั้นบ้านเมือง ก็จะไม่สงบเรียบร้อยและเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองไทย สิ่งที่เป็นปัญหา ในบ้านเมืองเรานะครับ เกิดเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายนั้นเป็นปัญหาตั้งแต่ปัญหา ทางการเมือง มีการเผาบ้านเผาเมือง มีการด่าว่าดูหมิ่น หมิ่นประมาทกัน เหมือนกับบ้านเมือง ไม่มีกฎหมาย ใครอยากจะว่าใครก็ว่า ใครอยากจะเผาเมืองก็เผา สังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นักเรียนตีกัน มีคนขับรถแข่งบนถนนสาธารณะสร้างความเดือดร้อนให้คนในสังคม มีการฆ่ากันทำร้ายกัน ลัก วิ่ง ชิง ปล้นเกิดขึ้นในหน้าสื่อมวลชนทุกวี่ทุกวัน คดีในศาล ก็เกิดขึ้นมากมาย มีการละเมิดสถาบันในเว็บไซต์ (Web site) ต่าง ๆ อีกมากมาย แต่ขาดคนรับผิดชอบที่จะเข้ามาแก้ไข สิ่งเหล่านี้คือเป็นเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย ที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรืออาจจะเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายมีปัญหา กฎหมายก็คือ บทบัญญัติของรัฐที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ วางหลักเกณฑ์ไว้เป็นสำคัญ แต่เท่าที่พบนะครับ เกิดประเด็น ปัญหาบังคับการใช้กฎหมาย เช่น อย่างที่กราบเรียนแล้วว่าปัญหาขัดแย้งทางการเมือง ประชาชนในสังคมขาดระเบียบวินัย เจ้าหน้าที่บ้านเมืองหย่อนยานในการปฏิบัติหน้าที่ และมักจะกระทำความผิดเสียเอง คนไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ประชาชนที่ทำผิด เมื่อทำผิดแล้วก็มักจะให้สินบนเพื่อให้ตนเองพ้นผิด อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการป้องกัน อาชญากรรมไม่เพียงพอ แล้วก็ยังมีการอนุญาตให้พกอาวุธปืนพกพาได้ในที่สาธารณะ เกร่อไปหมดโดยไม่มีการควบคุม ระบบราชการมีการวิ่งเต้น การเลื่อนชั้น ปรับยศ ไม่เป็นธรรม ข้าราชการไม่ได้รับการเลื่อนชั้นตามความรู้ความสามารถทำให้ ข้าราชการส่วนใหญ่ขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน นี่เป็นปัญหาทั้งสิ้น กฎหมายล้าสมัย กระบวนการยุติธรรมที่มีความล่าช้า ซึ่งความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรมคือความไม่เป็นธรรม มาตรฐานในการตัดสินคดียังไม่มีมาตรฐานเดียวกัน เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญในการแก้ปัญหา มีการทุจริตคอร์รัปชัน (Corruption) ในระบบราชการ เป็นวงกว้าง เจ้าหน้าที่ตำรวจทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการใช้บังคับกฎหมาย มีปัญหามาก ถูกสังคมต้องการให้มีการปฏิรูปก่อนหน่วยงานอื่น ปัญหาของการใช้ดุลยพินิจ ของเจ้าหน้าที่ ปัญหาของดุลยพินิจที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ ความไม่รู้กฎหมาย เพียงพอของพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ สิ่งเหล่านี้คือปัญหาของการบังคับใช้กฎหมาย กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากกว่าควบคุมการใช้อำนาจ นี่คือสิ่งที่จะต้องมาพิจารณา การตีความในทางกฎหมายไม่ตรงกันจนเกิดความขัดแย้งกันขึ้นในสังคม แม้กระทั่ง ทางการเมืองหรือในชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชน แนวทางการแก้ปัญหาการบังคับใช้ กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ รัฐต้องกวดขันข้าราชการและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองให้เคร่งครัด ต่อการบังคับใช้กฎหมาย รัฐต้องกำหนดนโยบายและมาตรการแก้ปัญหาที่ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาต้องจัดคนให้เข้า รับผิดชอบในการบริหารประเทศ จัดหัวหน้าส่วนราชการต้องได้คนดี คนมีความรู้ มีความสามารถเข้าทำหน้าที่เพื่อขับเคลื่อนการทำงานราชการให้มีประสิทธิภาพและ ไม่ให้มีการทุจริตคอร์รัปชัน การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรม อย่างแท้จริง หากเจ้าหน้าที่ราชการที่หย่อนยานและไม่มีผลงานต้องสับเปลี่ยนโยกย้าย ให้คนมีความสามารถเข้ามาทำหน้าที่ ให้เอาผิดเอาโทษและลงโทษเจ้าหน้าที่ที่กระทำ ความผิดเสียเองอย่างจริงจัง รัฐต้องสร้างระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกคน ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย ให้ทำอะไรตามใจตนเองอย่างที่ทำกันอยู่ ต้องบังคับใช้กฎหมาย เอาผิดเอาโทษคนที่ทุจริตคอร์รัปชันและคนที่ทำผิดกฎหมายอย่างจริงจังไม่เลือกปฏิบัติ ต้องขจัดคนชั่วไม่ให้เข้าสู่วิถีทางทางการเมืองและงานราชการ เจ้าหน้าที่ของบ้านเมือง ต้องไม่กระทำความผิดเสียเอง หากเจ้าหน้าที่กระทำความผิดเสียเองต้องได้รับโทษเป็น ๒ เท่าของความผิดของชาวบ้านทั่วไป ต้องมีอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานของ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน และเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ นี่คือส่วนหนึ่งครับท่านประธานครับ ในระยะเวลาจำกัดก็กราบเรียนเพื่อให้เห็นว่า การบังคับใช้กฎหมายในบ้านเมืองเรานั้นมีปัญหาที่ต้องมีการปฏิรูปอย่างจริงจัง ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ขอเสนอชื่อ ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์สังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นกรรมาธิการแทนกรรมาธิการ ในตำแหน่งที่ว่าง ขอผู้รับรองด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ขอเสนอชื่อ ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์สังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นกรรมาธิการแทนกรรมาธิการ ในตำแหน่งที่ว่าง ขอผู้รับรองด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกนะครับ ขอหารือท่านประธานครับ คือคู่มือที่ส่งมาให้มันจะมีเลข เป็นลำดับและให้เราฝนใช่ไหมครับ

    อ่านในการประชุม

  • แต่คราวนี้รายชื่อมันมีเยอะ สมาชิกได้รับเอกสาร ซึ่งมีรายชื่อของผู้ที่เสนอชื่อไว้นะครับ แต่ละคนชื่อมันเยอะก็จะติ๊กเพื่อความจำตัวเองเราจะ ถือใบนี้เข้าไปในคูหา อันนี้อยากให้ท่านประธานกำหนดให้ชัดเจนว่าเราเอาเข้าไปได้ จะได้ไม่ไปโต้แย้งหรือท้วงกันทีหลังนะครับ แต่ถ้าไม่ให้ถือเข้าไปเลยเลขนี่บางทีมันจำชื่อไม่ได้ ขอความชัดเจนด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ นะครับ เมื่อกี้สมาชิกได้เสนอความเห็นดังกล่าว ผมคิดว่าท่านประธานน่าจะกรุณา ให้ประกาศก็ดีครับ เพราะมีสมาชิกเมื่อกี้ไม่เข้าใจนึกว่าลงคะแนนเสร็จแล้วกลับ แต่ซึ่ง รัฐธรรมนูญบอกว่าสภาต้องเป็นผู้เสนอชื่อ ดังนั้นรายชื่อที่ได้มาต้องให้สภารับรองอีกทีหนึ่ง ถ้าท่านกรุณาช่วยประกาศให้สมาชิกอยู่ลงคะแนนก่อนนะครับ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ ในส่วนของคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ขอเสนอ ท่านวันชัย สอนศิริ ครับ ขอผู้รับรองด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ ต้องกราบเรียนท่านสมาชิกในหัวข้อคำนิยามของกรรมาธิการ อยู่ในข้อ ๓ ที่หมายความว่า กรรมาธิการสามัญหรือกรรมาธิการวิสามัญนั้นจริง ๆ แล้ว เป็นคำย่อ ส่วนรายละเอียดนั้นจะอยู่ในข้อ ๗๙ วรรคสอง ซึ่งจะอธิบายไว้ชัดเจนว่า กรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งสภาตั้งจากสมาชิกของสภานั้น ส่วนกรรมาธิการ วิสามัญมี ๒ ประเภท ก็มีกรรมาธิการวิสามัญประจำสภากับกรรมาธิการวิสามัญทั่วไป อันนี้ในคำนิยามนั้นก็มีความชัดเจนครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ ผมปรึกษาท่านประธาน ท่าน พลเอก เลิศรัตน์แล้วนะครับ ท่านก็อยากให้ตามใจสมาชิกนะครับ แต่มาคิดอีกทีหนึ่งถ้าสมาชิกได้อ่านไปด้วย อย่างน้อย ก็จะได้ทราบข้อบังคับอีกสักรอบหนึ่งนะครับ เวลาไปทำงานจะได้สะดวก ถ้าไปรายข้อ บางท่านไม่ได้อ่านเดี๋ยวก็เลยไม่เข้าใจข้อบังคับอีก คือบางทีเราเร่งรัดเป็นสิ่งที่ดี แต่พอเร่งรัด มาก ๆ นี่นะครับ เดี๋ยวไป ๆ มา ๆ สมาชิกก็อาจจะไม่เข้าใจเลยว่าข้อบังคับมีอะไรบ้าง ผมขออนุญาตประนีประนอมอย่างนี้ได้ไหมครับ ท่านประธานครับ ข้อหารือของท่านสมาชิก อย่างมันมีบางหมวดนี่นะครับ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องมาดูรายละเอียดทั้งหมด อย่างเช่น หมวด ๒ ที่เราพิจารณานี่นะครับ เราได้เลือกประธานกับรองประธานไปแล้ว ถ้าหากเรามาไล่ข้อ มันจะเสียเวลานะครับ ก็ขออนุญาตหารือท่านประธานว่าในหมวด ๑ เรื่องการเลือกนี่ ถึงแม้ว่าจะอ่านหรือแปลอย่างไรมันก็ผ่านไปหมดแล้วนะครับ แต่ถ้าหากสมาชิกยังติดใจข้อความไหนไม่สมควรก็ไปขอแก้ไขในวาระที่สามเรื่องถ้อยคำ เอาอีกทีหนึ่งนะครับ แล้วก็ขอหารือท่านประธาน ถ้าท่านสมาชิกเห็นด้วยก็ผ่านหมวด ๑ ไป แล้วก็ไปเข้าหมวด ๒ หมวด ๒ ก็มีความจำเป็นที่ต้องพูดรายข้อเหมือนกัน ถ้าไม่พูด รายละเอียดสมาชิกก็จะอย่างเมื่อกี้ครับจะงง ๆ ว่าข้อนี้ผ่านไป ข้อนี้ผ่านไป ซึ่งก็จะไม่ได้สาระ เลยนะครับ แล้วเราค่อย ๆ ไป เมื่อกี้ท่านประธานเลิศรัตน์ก็เห็นด้วยแล้วนะครับ กราบขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการนะครับ คือต้องเรียนอย่างนี้ครับว่าในส่วนอำนาจหน้าที่ของ ประธานสภานั้น ท่านต้องดูตั้งแต่ข้อ ๑ ข้อ ๒ ไปด้วยนะครับ กิจการของสภานั้น มันมีหลายเรื่อง มีการบริหารสภาด้วย มันไม่ใช่เฉพาะอำนาจหน้าที่ ถ้าอำนาจหน้าที่นั้น ก็อยู่ในรัฐธรรมนูญว่าสภาปฏิรูปแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๓๑ นะครับ อันนี้ก็คืองานหลัก ส่วนกิจการสภานี่นะครับ มันมีมากกว่าอำนาจหน้าที่แล้วก็มีรายละเอียด ในข้อ ๕ นี้นะครับ ท่านประธานอาจจะไม่ต้องทำเอง ก็อาจตั้งกรรมการหรือคนขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินการใดอันเป็นประโยชน์ เพื่อประโยชน์ต่อกิจการของสภา ก็คือการบริหารสภา คงไม่ใช่อำนาจหน้าที่ในการที่เราเข้ามาทำงานอย่างเดียว มันน่าจะกว้างกว่าครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการนะครับ สิ่งที่ท่านสมาชิกได้เสนอให้ประธานเรียกประชุมนี่นะครับ ที่จริงก็บัญญัติอยู่ในข้อ ๑๔ นะครับ ถ้าประธานเรียกประชุมเป็นพิเศษก็ให้เรียกประชุมได้ ส่วนกระบวนการการเรียกประชุมก็อยู่ในหมวดเรื่องการประชุมครับ มันก็มีบัญญัติไว้แล้วนะครับ เลยไม่ได้มาใส่ไว้ในนี้ ส่วนในข้อ ๑๐ นี่นะครับ ที่พูดถึงว่า (๑) ถึง (๖) นี่นะครับ (๑) ถึง (๕) นี่นะครับเป็นอำนาจหน้าที่ของท่านประธาน ส่วน (๖) นั้นเป็นอำนาจหน้าที่อื่น นอกจาก (๑) ถึง (๕) นี่นะครับ มันอาจจะมีอีกที่บัญญัติไว้ในกฎหมายหรือข้อกำหนดไว้ใน ข้อบังคับข้ออื่น ก็เลยแยกออกมาเป็น (๖) ต่างหาก อันนี้เพื่อความชัดเจนและให้ ครอบคลุมครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนสั้น ๆ ท่านประธานครับ ผม เสรี กรรมาธิการ ก็คือเรียนอย่างนี้ว่าหน้าที่ของเรา จริง ๆ รัฐธรรมนูญก็เขียนให้คลุมหมดให้เอาของ สนช. มาใช้ แต่หน้าที่ของ สนช. เขามีหน้าที่ซักถามผู้บริหารประเทศอย่างที่ท่านสมาชิก ท่านได้พูดถึงนะครับ เพียงแต่ว่าเมื่อสักครู่ท่ำนสมาชิกได้ถามว่าถ้าเกิด กรรมาธิการยกร่างเขาเอาเรื่องเข้ามาแล้วสมาชิกจะตั้งกระทู้ถามกรรมาธิการยกร่าง ได้ไหมนะครับ จริง ๆ แล้วกระทู้ถามก็คือการถาม แล้วกรรมาธิการยกร่างเข้ามานี่นะครับ นำมาเสนอเรื่องสมาชิกก็มีหน้าที่พิจารณา เพราะเมื่อสมาชิกมีหน้าที่พิจารณา สมาชิกก็มีสิทธิจะซักถามได้นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการนะครับ ที่ท่านพูดถึงสื่ออื่น ๆ นี่นะครับ ถ้าดูข้อ ๒๖ ระบุเรื่อง รายงานการประชุม เมื่อกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติตรวจสอบแล้ว ก่อนที่จะเสนอสภารับรองให้ทำสำเนาไว้สามฉบับ และในข้อบังคับนี้ก็รวมถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นนะครับ อันนี้ก็พยายามไม่ให้ มันกว้างขวางอีกทางหนึ่งด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ คือจริง ๆ ในเรื่องของความรับผิดชอบนี่นะครับต้องกราบเรียนว่า ถ้าหากว่าเป็นรัฐมนตรีมาประชุมด้วย หรือสมาชิกพูดกันในห้องประชุมกันเอง ในรัฐธรรมนูญ ก็ให้เป็นเอกสิทธิ์ในการที่ท่านจะไปฟ้องร้องกันไม่ได้ ทีนี้ถ้าเกิดว่าท่านพูดไปแล้ว มีการถ่ายทอดไปข้างนอกแล้วเกิดบุคคลอื่นเขาเสียหายนี่นะครับ มันก็จะมีความรับผิดชอบ ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งก็คือสภาต้องรับผิดชอบ ถ้าสภารับผิดชอบ เขาร้องขอที่ท่านประธาน ท่านประธานก็คือต้องมาแก้ไขปัญหาให้ก็คืออาจจะประกาศขอโทษ ประกาศอะไรเพื่อแสดง ความเป็นจริง อันนี้คือความรับผิดชอบส่วนของสภา แต่ส่วนอีกส่วนหนึ่งที่ท่านต้อง รับผิดชอบส่วนตัว เขาอาจจะไปฟ้องดำเนินคดีข้อหาท่านหมิ่นประมาท ถ้าผ่านอินเทอร์เน็ต ก็อาจจะไปเรื่องของพระราชบัญญัติเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็นเรื่องเขาเสียหาย เขาเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง อันนี้คือค่าเสียหายที่ไปกระทบให้คนอื่นข้างนอกเขาเสียหาย ก็แบ่งเป็น ๒ ส่วน ของสภาที่ต้องแก้ไขปัญหากับที่เขาไปฟ้องคดีต่อศาลเองครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ ในเรื่องการอภิปรายจริง ๆ แล้วก็คงต้องฟังทั้ง ๒ ด้าน ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรนั้น ในทางปฏิบัติท่านประธานถ้าเห็นมีสมาชิกยกมือจำนวนมาก ท่านประธานก็สามารถจะถามก่อนได้ว่าใครเห็นด้วยก็ให้ยกมือให้ปรากฏ ใครไม่เห็นด้วย ก็ยกมือให้ปรากฏ ถ้าหากว่ามีด้านเดียวฝ่ายเดียวก็ไม่ต้องสลับนะครับ มันก็จะเป็น ความเป็นธรรม และมันก็จะทำให้สมาชิกฟังได้ทั้ง ๒ ด้านไปในคราวเดียวกัน แต่ถ้าไม่กำหนด ไว้เลย นี่ละครับจะปัญหาแล้ว ประธานจะไม่สามารถทราบได้ก่อนเลย และไม่สามารถ ลำดับอะไรได้ก่อนด้วยซ้ำ และใครจะยกมือก่อนหลังก็จะเป็นปัญหา ข้อนี้เขียนไว้นะครับ จริงอยู่อาจจะไม่ได้ต้องบอกว่าให้ประธานถามก่อน แต่ก็เป็นอำนาจของท่านประธานที่จะหา ข้อมูลเพื่อจะกำหนดตัวบุคคลอภิปรายได้ก่อน ก็จะสะดวกแก่การทำงาน และมีความชัดเจน สิ่งสำคัญก็คือจะได้ฟัง ๒ ด้าน แล้วก็เป็นธรรมทั้ง ๒ ฝ่าย ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี กรรมาธิการ ผมขออนุญาตให้ข้อมูลแล้วกันนะครับว่าทำไมกรรมาธิการยกร่างจึงต้องใส่ ข้อความตรงนี้ไว้นะครับ เนื่องจากว่าในการทำงานหรือในการอภิปราย ท่านอย่ามองคำว่า อภิปราย อย่างเดียว อภิปรายคือการพูด แต่การอภิปรายนั้นนำไปสู่การตัดสินใจ การตัดสินใจซึ่งท่านจะต้องไปลงคะแนนว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ เพราะฉะนั้นถ้าตัดตรงนี้ออกไปนี่นะครับ ความคิดเห็นกับการที่ท่านต้องไปตัดสินใจ ลงคะแนนมันก็จะเป็นปัญหา ผมก็หารือท่านประธานนี่นะครับ เมื่อกี้ปรึกษาท่านประธาน กรรมาธิการ ท่าน พลเอก เลิศรัตน์แล้วนี่นะครับ ก็คือถ้าหากว่าใช้ถ้อยคำฝ่ายค้าน ฝ่ายสนับสนุน ท่านอาจจะเกิดความรู้สึกไม่ดี กลายเป็น แบ่งฝ่ายแบ่งด้าน แต่ตรงนี้มันจะนำไปสู่การลงมติ ก็ขออนุญาตหารือท่านประธาน ขอแก้ถ้อยคำนิดเดียวว่า สลับกันระหว่างฝ่ายเห็นด้วยและฝ่ายไม่เห็นด้วย มันก็จะได้ สอดคล้อง เอาฝ่ายไม่เห็นด้วยก่อน สลับกันระหว่างฝ่ายไม่เห็นด้วยและฝ่ายเห็นด้วยนะครับ ก็จะได้สอดคล้องกับสิ่งที่ท่านต้องไปตัดสินใจในการลงมติด้วย ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ เรื่องของการอภิปรายไปแล้ว ถ้าหากว่ามีสมาชิกขอปิด เดิมทีมันก็เคยมีปัญหาเพราะว่าใช้เสียงข้างมาก สมาชิกยังไม่ได้อภิปรายอีกเยอะ ตอนหลังข้อบังคับก็เลยให้ความสำคัญไปที่ถ้อยคำที่ท่านเห็นไหมครับ ต่อตอนท้ายนี่ครับว่า ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงผู้ซึ่งยังไม่ได้อภิปรายด้วย แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าเราต้องยอมรับในเสียงส่วนใหญ่หรือเสียงส่วนใหญ่เห็นว่ามีการพูดกัน เยอะแล้ว ข้อมูลครบถ้วนแล้ว กำลังพูดวกวน กำลังพูดซ้ำ จริง ๆ เป็นอำนาจของประธาน ถ้าเกิดประธานท่านใช้ดุลยพินิจปิดเองก็ได้ หรือถ้าท่านประธานไม่ใช้ดุลยพินิจ สมาชิก ท่านอื่นเห็นว่าน่าจะครบถ้วน ท่านก็เสนอปิด ถ้าสมาชิกรับรองถูกต้อง คะแนนเสียงถูกต้อง จำนวนถูกต้อง มันก็ต้องทำตามเสียงส่วนใหญ่ แต่ในข้อบังคับให้ความสำคัญ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงผู้ซึ่งยังไม่ได้อภิปรายด้วย อันนี้คือสาระว่าให้ความสำคัญเสียงส่วนน้อย แต่มีคำถามที่ท่านถามสักครู่นี้นะครับว่าถ้าเกิดมันยังมีสาระอื่นที่อันจำเป็นและต้องการที่จะ พูดต่อนี่นะครับ ก็อย่างที่เราเคยปรากฏนะครับ ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านอนุสรณ์ขอปิด อย่างนี้นะครับ เราก็เห็นว่ามีข้อสาระสำคัญมันก็เป็นเรื่องในที่ประชุมเราก็ขอร้องกันนะครับว่า ท่านขอความกรุณาช่วยถอนญัตติที่ขอปิด ถ้าท่านเห็นด้วย อันนี้คือการตกลงประนีประนอมกัน มันก็เป็นทางออกกับการที่อาจจะมีสาระจริง ๆ ก็สามารถตกลงกันได้ มันไม่ใช่ปิดแล้ว ต้องปิดเลยทันที แต่ถ้าลงมติแล้วขอปิดแล้ว ถ้าเกิดคะแนนเสียงในสภาลงคะแนน เคยมีหลายครั้งครับ มีคนญัตติขอปิดแต่ก็มีคนขอเปิด คะแนนเสียงขอเปิดมากกว่าขอปิด ก็ยังมีอีก อันนี้มันเป็นกระบวนการนะครับ ท่านครับ ที่จะทำให้การประชุมราบรื่น เท่านั้นครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นแรกที่ท่าน ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านอาจารย์เจิมศักดิ์พูดถึง การบันทึกการประชุม จริง ๆ มันก็มีอยู่นะครับ เดี๋ยวคงว่าต่อไปในเรื่องของว่าพูดแล้วถอน ถอนแล้วจะบันทึกกันอย่างไรก็จะมีรายละเอียดนะครับ ทีนี้ส่วนที่ท่านพูดประเด็นถึงเรื่องว่า การขอปิดอภิปรายแล้วก็ไปอภิปรายเรื่องอื่นของตัวเองต่ออย่างนี้นะครับ ต้องให้ท่านดูข้อ ๔๔ นะครับ เรื่องญัตติตามข้อ ๔๓ (๕) กับ (๖) ข้อ ๔๓ (๕) ก็คือเป็นเรื่อง ขอปิดอภิปรายที่ไม่ต้องเสนอญัตติตามข้อบังคับ การปิดอภิปราย แล้วก็ (๖) คือการขอให้ ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษาหรือพิจารณา ๒ กรณีนี้ ข้อ ๔๔ บอกว่า ญัตติตามข้อ ๔๓ (๕) และ (๖) ห้ามเสนอให้คราวเดียวกันกับการอภิปรายของตน ก็เป็นคำตอบที่ท่านถามอยู่ตรงนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานครับ ผม เสรี กรรมาธิการ ต้องกราบเรียนสั้น ๆ นะครับ คือกรณีเดียวกันครับ ก็คือญัตติข้อ ๔๓ (๕) กับ (๖) ห้ามเสนอในคราวเดียวกัน ไม่ว่าอะไรจะก่อนจะหลังก็ห้ามเสนอคราวเดียวกันครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ ระยะเวลาที่กำหนดนี่ครับท่าน ขออนุญาตดูข้อ ๕๖ การอภิปรายต้องอยู่ในประเด็นหรือเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังปรึกษากันอยู่ และอยู่ใน ระยะเวลาที่ประธานกำหนดครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ กราบเรียนประเด็นแรกนะครับ เรื่องอยู่ในมาตรา ๓๙ ของรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องเกี่ยวกับเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว อันนี้คือกระบวนการ ของการร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วนะครับ ในมาตรา ๓๙ บอกว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติอาจตั้งคณะกรรมาธิการขึ้น อันนี้ก็คือเป็นอำนาจ ของสภานะครับ กรรมาธิการอาจจะไม่ใช่กรรมาธิการประจำสภาหรือกรรมาธิการ ตั้งก่อนหน้านี้ก็เป็นได้ เกิดได้ทุกกรณีครับว่าให้มีกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายที่จำเป็น มันไม่ได้ขัดแย้งกันนะครับ แล้วก็มาตรา ๓๙ กับมาตราที่ท่านระบุถึงว่ากระบวนการของ การตราพระราชบัญญัติ ตราพระราชบัญญัติตามข้อ ๘๐ นี่นะครับ ต้องกราบเรียนว่า กระบวนการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘๐ เป็นกระบวนการก่อนครับ ก่อนที่จะมีร่างกฎหมาย ไปถึงสภานะครับ เมื่อสักครู่ที่ท่านยกมาตรา

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนอย่างนี้ครับ ขอบพระคุณครับ คืออย่างนี้ครับ มาตรา ๓๑ ทั้ง ๓ วงเล็บนี่นะครับ ในวรรคสองบอกว่า ถ้าหากว่าดำเนินการตาม (๑) หากเห็นว่าจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมาใช้บังคับ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทำร่างพระราชบัญญัติ นี่เป็นกระบวนการที่สภาจะต้องจัดทำ แต่จะมีกฎหมายให้สภาจัดทำได้มันต้องมีที่มาก่อนครับ ที่มาก็คือเราบัญญัติกำหนดไว้ในข้อ ๘๐ อย่างไรครับ ข้อ ๘๐ วรรคสองที่บอกว่า หากคณะกรรมาธิการคณะใดมีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับให้คณะกรรมาธิการคณะนั้นจัดทำร่าง ก็คือเป็นการกำหนดภาระหน้าที่ความรับผิดชอบว่าแต่ละกรรมาธิการที่แบ่งเป็นด้าน ๆ นั้น ถ้าหากท่านเห็นว่าอาจจะต้องมีกฎหมายที่ต้องยกร่างเกิดขึ้นก็ให้ท่านจัดทำขึ้นมาก่อน พอท่านจัดทำขึ้นมาแล้วก็จะได้ร่างขึ้นมาเพราะฉะนั้นร่างนี้จะผ่านไปในกระบวนการต่อไปได้ก็จะต้องเสนอสภา ท่านจะดูนะครับว่าบรรทัดที่ ๒ บอกว่า หากคณะกรรมาธิการคณะใดเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติขึ้นใช้บังคับ ให้คณะกรรมาธิการคณะนั้นจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อสภาเพื่อพิจารณาต่อไป คำว่าเสนอต่อสภาเพื่อพิจารณาต่อไป นี่นะครับ ก็จะเชื่อมโยงกับมาตรา ๓๑ ของรัฐธรรมนูญว่าเมื่อมีข้อเสนอและเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตรากฎหมายดังกล่าวนี่นะครับก็ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทำร่างพระราชบัญญัติเสนอต่อสภานิติบัญญัติเพื่อพิจารณาต่อไปอันนี้เป็นกระบวนการที่เริ่มต้นจะให้มีกฎหมายเกิดขึ้น โดยเริ่มจากกรรมาธิการก่อนแล้วกรรมาธิการยกร่างเสร็จแล้วก็เข้าสู่สภา สภาพิจารณาตามกระบวนการที่รัฐธรรมนูญ กำหนด ส่วนที่พิจารณาแล้วเป็นเรื่องกฎหมายการเงินขึ้นมาก็เป็นกระบวนการต่อไปว่า ให้ส่งไปให้ ครม. เพราะว่า ครม. เป็นฝ่ายบริหาร ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงิน ก็มีหน้าที่รับผิดชอบว่ากฎหมายฉบับนี้มันจะกระทบกับงบประมาณแผ่นดินอะไรไหม ก็เลยต้องผ่าน ครม. อันนี้เป็นกระบวนการต่อเนื่องกันระหว่างข้อ ๘๐ ในข้อบังคับที่เราทำ เพื่อให้มีกฎหมายเกิดขึ้นจะได้ดำเนินการต่อตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง ไม่ได้ขัดแย้งกันครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ผม เสรี กรรมาธิการ จริง ๆ คำว่า จำเป็น เป็นถ้อยคำที่กำหนดไว้ตั้งแต่วรรคแรกอยู่แล้วคือเป็นคำรวมนะครับว่า หากคณะกรรมาธิการคณะใดเห็นว่ามีความจำเป็น คือจำเป็นอันนี้นะครับ ต้องตราทั้งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แล้วก็จำเป็นทั้งร่างพระราชบัญญัติ ขึ้นใช้บังคับ มันก็อยู่ในความหมายรวมของกฎหมายทั้ง ๒ ส่วนครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี กรรมาธิการนะครับ ผมก็หันซ้ายหันขวานะครับ ปรึกษาท่านใกล้ ๆ บ้าง ท่านประธาน ก็เห็นด้วยนะครับ ก็คือจริง ๆ แล้วข้อความเดิมนี่นะครับ มันก็ไม่ได้เสียหายอะไรหรอก มันก็ครอบคลุมไปทุกเรื่อง อย่างนั้นก็ขออนุญาตใช้ข้อความเดิมได้ไหมครับว่า ทั้งนี้ ในการกระทำกิจการของคณะกรรมาธิการให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ก็ใส่ไม่ต้องระบุครับว่า กรรมาธิการอะไรนะครับ ทั้ง ๒ วรรคนี่นะครับ ข้างล่างด้วยนะครับ มันไม่ได้เกิดความเสียหายอะไร แล้วก็จะสามารถตีความไปที่ท่าน ขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านอลงกรณ์ได้กรุณาให้ความเห็นด้วยนะครับ ถ้าไม่ขัดข้องก็จะได้ผ่านตรงนี้ไปนะครับ ก็คือเอาข้อความเดิมไม่เติมครับ

    อ่านในการประชุม

  • ก็พยายามเอาใจสมาชิกทั้งสภาใครจะขออะไร พยายามจะให้หมดละครับ แต่พอให้ไปให้มาเดี๋ยวจะเป็นปัญหา กราบเรียนท่านประธาน อย่างนี้ครับ เมื่อกี้ท่านประธานผมก็ชัดเจนนะครับว่า เกรงว่าจะไปห่วงเรื่องถ้อยคำถ้ากำหนด เอาไว้ในข้อ ๘๐ โดยไม่กำหนดคณะกรรมาธิการประเภทใดแล้วนี่นะครับ มันก็จะเป็นอย่างที่ ท่านสมาชิกอธิบาย ก็คือส่วนที่ต้องคำนึงถึงทั้งหมดนี่นะครับ มันก็จะต้องไปอยู่ข้อ ๗๙ แต่ข้อ ๘๐ นี่เป็นเรื่องของกรรมาธิการประจำสภา ดังนั้นท่านจึงเลยขอให้ใส่ข้อความ จะได้ไม่ต้องไปย้าย ไม่ต้องไปย้ายข้อนะครับ ขอให้เป็นกรรมาธิการประจำสภานี่นะครับ ทำหน้าที่ตรงนี้โดยคำนึงถึงรายละเอียดต่าง ๆ ตรงนี้ ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองนะครับ ก็จะได้แยกออกมาให้ชัดเจนว่าเป็นส่วนของวิสามัญประจำสภาเท่านั้น ส่วนกรรมาธิการชุดอื่น เมื่อสักครู่ท่านสมาชิกก็แย้งอีกนะครับว่าถ้าไปใส่อย่างนี้เดี๋ยวทุกคณะต้องคำนึงถึงหมดนะครับ ขอให้ไม่ต้องใส่นะครับ ก็เลยไปอยู่ในข้อเท่าไรเมื่อกี้ที่เรียนไป ข้อ ๗๙ ใช่ไหมครับ ข้อ ๗๙ นะครับว่า ถ้ามีการยกร่างกฎหมายแล้วนี่นะครับ ก็ให้เป็นไปตามข้อ ๗๙ นะครับ ดังนั้นเพื่อเจ้าหน้าที่ได้บันทึกชัดเจนนะครับว่าในส่วนข้อ ๘๐ นี้กรรมาธิการ ถ้อยคำว่า กรรมาธิการ ในบรรทัดที่ ๓ ขอให้เป็นกรรมาธิการวิสามัญประจำสภานะครับ แล้วก็วรรคสอง หากคณะกรรมาธิการในประโยคแรกนี่นะครับ คณะใดก็ให้เป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาเช่นเดียว มันก็จะได้เป็นข้อเฉพาะกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภาเท่านั้นจะได้ไม่ต้องสับสนนะครับ ขอเป็นอย่างนี้ครับ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ ผมขอหารือท่านประธานกับท่านสมาชิกอย่างนี้ได้ไหมครับ จากที่เราได้ อภิปรายไปนี่นะครับ ก็จะเห็นแล้วว่าแต่ละท่านก็จะเสนอแนวทางหรือแนวคิดข้อเสนอ ของท่าน ซึ่งบางครั้งก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าที่ได้อภิปรายไปแล้ว ท่านเสนอหรือต้องการ อะไรแน่นะครับ ถ้าจะให้รวดเร็ว แล้วก็ให้ชัดเจน จากการที่เราได้ใช้ระยะเวลาช่วงแรก มาแล้ว ถ้าเกิดเราจะปรับสักนิดหนึ่งได้ไหมว่าไปเลยทีละคณะแล้วตอนนี้ แต่ละคณะ คณะหนึ่งมีท่านใดติดใจไหมนะครับ ถ้าไม่ติดใจก็ผ่านทีละคณะไป แล้วเดี๋ยวตรงถึงคณะใด ท่านก็เอาให้มันตกผลึกในคณะนั้นนะครับ ผมว่ามันน่าจะคืบหน้ามากขึ้นและเร็วขึ้น ก็เลยหารือนะครับ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • อาจารย์ครับ ขออนุญาตครับ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ผมขอบพระคุณคุณคำนูณที่เห็นตรงกับผมเพื่อไม่ให้มันช้านะครับ เพราะประเด็นผม เดี๋ยวก็มานั่งพูดกันอีก ผมก็ขอถอนนะครับ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการนะครับ ผมขออนุญาตเสนอความเห็นนิดเดียวครับ เพื่อให้สมาชิกซึ่งท่านคงจะต้องพิจารณาแล้วก็อภิปรายในรายละเอียดของกรรมาธิการ แต่ละคณะนี่นะครับ ก็อยากจะฝากท่านพิจารณาครับว่าการที่จะกำหนดชื่อของ คณะกรรมาธิการนั้นจะเกี่ยวข้องกับภารกิจงานที่ทำนะครับ งานที่ทำบางครั้งมีหลายเรื่อง ต้องขอให้มีความเชื่อมโยงกัน บางทีท่านก็หวังดีนะครับ พอเสนอไปแล้วมันมี ความเชื่อมโยงไหม แล้วข้อสำคัญก็คือเรามีสมาชิกที่เข้ามาในแต่ละด้านซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละเรื่องอยู่นะครับ สิ่งสำคัญก็คือความรู้ความสามารถและความถนัด รวมถึงความสมัครใจ บางทีเราตั้ง ๆ ไปนี่นะครับ มันแยกกันบ้าง รวมกันบ้าง ก็คือเข้าใจครับ พวกเราก็หวังดีในการจัด แต่ถ้าเราไม่ใช้ข้อมูลเหล่านี้มาตัดสินใจด้วยนะครับ พอถึงตั้งไปแล้ว ผ่านไปแล้ว คนที่เชี่ยวชาญจริง ๆ บางทีมันไปหลายกรรมาธิการไม่ได้ ขอบพระคุณครับ ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เสรี กรรมาธิการ อย่างที่ท่านประธานกรุณาถามสมาชิกว่าติดใจหรือไม่นะครับ ถ้าไม่ติดใจ ก็ผ่านไป แต่ส่วนติดใจในข้อใดก็ขอความกรุณาท่านประธานแขวนไว้ก่อนครับ แล้วเดี๋ยว ผมไปตกลงกันอีกทีก็จะทำให้การประชุมเร็วขึ้นแล้วก็ง่ายขึ้นครับ อาจจะแขวนเป็นคณะไว้ จะได้ง่ายขึ้นครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ กรรมาธิการ คือกราบเรียนท่านประธานอย่างนี้ครับว่า ตอนที่เราคุยกัน ตกลงกันไว้ ก็คือหมายความว่าให้สมาชิกได้อภิปรายไปให้ทั่วแล้ว แล้วหลังจากนั้น กรรมาธิการจะมาปรับแก้นะครับ ถ้าส่วนไหนรับได้ก็จะแก้ แล้วมันก็ผ่านมาเยอะแล้ว และส่วนไหนที่มันติดจริง ๆ นะครับ ก็ขอให้แขวนแล้วไปคุย แต่ตอนนี้ท่านประธานเลิศรัตน์ กับผมก็พยายามจะเคลียร์ แล้วก็จะจบตรงนี้แล้วนะครับ เพียงแต่ว่ามันอาจจะติดอยู่ อีกนิดหน่อย อย่างเช่นของคุณสารีนะครับ ก็ต้องทำความเข้าใจกับท่านเท่านั้นเองว่า ที่ท่านจะตั้งกรรมาธิการชุดใหม่นั้นมันเป็นภารกิจที่ต้องอยู่ในทุกคณะอยู่แล้ว เขาก็เลยไปใส่ ไว้ในข้อ ๘๐ ไม่ใช่ว่าไม่ให้ความสำคัญคุ้มครองผู้บริโภคนะครับตรงนี้ต้องพูดกันให้ชัด ไม่ใช่ว่าไม่ให้ความสำคัญ แต่ให้ความสำคัญให้ทุกคณะ ต้องรับผิดชอบดูแลเรื่องคุ้มครอง ผู้บริโภคในทุก ๆ คณะ นี่ประการที่ ๑

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ เรื่องที่มีสมาชิกขอตัดกรรมาธิการกีฬา ในส่วนนี้ยังไม่มี คนที่อภิปรายในเรื่องว่าควรให้มี เพราะเห็นว่าให้สมาชิกพูดให้ทั่วนะครับ แล้วถ้าเกิด มันตกลงกันได้รับกันได้ก็ไม่ต้องพูดกัน ถ้าหากว่าท่านสมาชิกยังติดใจให้ตัดอย่างนี้ ผมว่ามันก็ต้องพูดกันให้เข้าใจกันนะครับ นิดเดียวนะครับ แต่จริง ๆ เท่าที่ผ่านมาหมดแล้ว ท่านประธานครับ ข้อนี้คงไม่ต้องลงมติอะไร คงติดเรื่องของท่านสารีนิดหนึ่ง แล้วก็กรรมาธิการกีฬาเท่านั้นเองครับ อันอื่นหมดแล้วครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ ในฐานะสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาตินะครับ คือผมสนับสนุนในเรื่องกีฬา แล้วก็ตั้งใจจะอภิปรายตั้งแต่แรก แต่ไม่อยากไปขัดท่านสมาชิกที่กำลังอภิปรายกันอยู่ แต่ก่อนที่จะอภิปรายเรื่องกีฬานะครับ เพื่อความสบายใจของคุณสารีนะครับ ท่านประธานครับ เมื่อสักครู่ที่ปฏิเสธว่าคณะกรรมาธิการกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม อยากจะแยกส่วนของคุ้มครองผู้บริโภคไป สาเหตุสำคัญก็คืองานปฏิรูปกฎหมาย กับกระบวนการยุติธรรมนี่มันมากมายมหาศาล ถ้ามารวมทำไม่ไหว แต่โดยส่วนที่เป็นสมาชิก ส่วนตัวผมก็เข้าใจว่าคุณสารีเป็นบุคคลซึ่งต่อสู้เรื่องคุ้มครองผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน ตลอดชีวิต แล้วประเทศไทยเราก็มีการเอารัดเอาเปรียบกันอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดมา ผมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ในฐานะสมาชิกก็ไม่ทราบว่ากรรมาธิการจะคิดอย่างไร ผมก็ขอเห็นด้วยกับคุณสารีในการที่จะตั้งกรรมาธิการอีกคณะหนึ่งนะครับ แต่ส่วนจะได้ สำเร็จหรือไม่สุดแต่ที่ประชุม ถ้ามีใครคัดค้านก็คงต้องลงมตินะครับ ถ้าเห็นควรประการใด ก็อยู่ที่ประชุมตัดสินใจแล้วกันนะครับ จะได้หมดประเด็นนี้

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนเรื่องกีฬานั้นไม่ยาว นิดเดียวครับ ผมต้องเรียนว่าจากการที่ท่านสมาชิก เห็นร่างข้อบังคับให้มีกรรมาธิการในส่วนของกีฬาดูเหมือนสั้น ๆ นั้นนี่นะครับ แล้วก็ดูเหมือน มีสาระสำคัญน้อย ด้วยความเคารพนะครับว่า ผมคิดว่าเรื่องของการกีฬาในประเทศไทยนั้น เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง และไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น เรื่องของการกีฬานั้นเป็นเรื่องสำคัญ ของทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกันมาตลอด ประเทศไทยต้องปฏิรูปเรื่องกีฬา เนื่องจากว่า การให้ความสำคัญน้อยดังกล่าว ทำให้นักกีฬาของประเทศเราเวลาไปแข่งขันกับ ประเทศอื่น ๆ นั้นมักจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร การกีฬาคือความยิ่งใหญ่ ของประเทศ ประเทศมหาอำนาจแสดงออกซึ่งความมหาอำนาจนั้นในยุคปัจจุบัน ไม่ใช่การสู้รบด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่เป็นการสู้รบในทางกีฬา ถ้าหากว่าประเทศไหน ได้ชัยชนะ ได้เหรียญทอง ได้เหรียญจากการแข่งขันและชนะมาก แสดงว่าประเทศนั้น เป็นประเทศที่เจริญ เป็นประเทศมหาอำนาจ เป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ เป็นประเทศที่ยอมรับ ดังนั้นมันทำให้เห็นถึงสุขภาพของประชาชนในชาติ แต่ประชาชนคนไทยของเราที่เป็น นักกีฬานั้น ใช้ความสามารถส่วนบุคคลกันมาเสียส่วนใหญ่ เรากินน้ำพริกปลาทูแล้วก็ ไปแข่งกับเขา ไม่มีการสนับสนุนที่ดีอย่างจริงจังอย่างเต็มที่ แต่ไปได้เหรียญทองมาได้เงิน เป็นล้าน ได้รางวัลมหาศาล ไปดีอกดีใจตอนที่เขาชนะมาแล้ว แต่ก่อนที่เขาจะไปแข่งขัน ให้ความสำคัญน้อยมาก นี่คือปัญหาของการกีฬาในประเทศไทย ดังนั้นจึงกราบเรียนนะครับว่า การกีฬานั้นผมเห็นด้วยครับในฐานะเป็นสมาชิกคนหนึ่ง เห็นควรว่ามันเป็นความยิ่งใหญ่ของ บ้านเมืองของประเทศจากการแข่งขันที่ผ่านมา ปรากฏว่าเราได้เหรียญทอง ได้เหรียญ การแข่งขันน้อย แต่ประเทศไทยเราไปได้พาราลิมปิก (Paralympic) ไปได้จากผู้ที่พิการ แข่งขันได้จำนวนมาก นี่คือสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ให้เห็นครับ ผมจึงกราบเรียนครับว่า การกีฬาในประเทศไทยนั้นควรต้องมีการปฏิรูปกันอย่างยกใหญ่ ถ้าหากว่าเราจะต้องการให้ ประเทศเราเป็นมหาอำนาจหรือมีความเจริญเทียบเคียงกับประเทศที่เขาเจริญรุ่งเรืองกัน มาก ๆ จึงขอสนับสนุนนะครับว่าให้มีคณะกรรมาธิการกีฬาเพื่อที่จะปฏิรูปให้การกีฬาของเรา เจริญมากขึ้น แต่ผลจะเป็นประการใดก็สุดแต่สมาชิกจะพิจารณาด้วยนะครับ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ เดี๋ยวสับสนนิดหนึ่งครับ

    อ่านในการประชุม

  • มิได้ ท่านประธานครับ ร่างเดิมนี่หมายความว่า เติมคำว่า กรรมาธิการประจำ มีอยู่ ๒ จุดนะครับ วรรคแรกมี ๑ จุดนะครับ กรรมาธิการ บรรทัดที่ ๓ วิสามัญประจำ นะครับ มีเพิ่มไปครับท่านประธานครับ เดี๋ยวจะร่างเดิม เดี๋ยวมันจะกลับไปที่เดิมครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ขออนุญาตครับ เมื่อสักครู่ มีผู้แก้ขอเอาคำว่า และทรัพย์สินทางปัญญา ไปไว้ท้ายใช่ไหมครับ

    อ่านในการประชุม

  • แก้ให้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ ขอเรียนท่านสมาชิกที่ได้เสนอความเห็นว่าการที่คณะกรรมาธิการ ได้แต่งตั้งผู้เตรียมงานนี่นะครับ ก็คือเข้ามาช่วยการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ อันนี้คือประเด็นสำคัญนะครับ ซึ่งผมเชื่อว่าในการทำงานของคณะกรรมาธิการทุกคน มีความรับผิดชอบ เพราะนี่คือเรื่องสำคัญของบ้านเมือง ผมเชื่อว่าการจะหาคนเข้ามานั้น ท่านจะต้องเลือกคนที่ช่วยงานท่านให้ได้มากที่สุด ผมไม่เชื่อว่าท่านจะไปเลือกคนที่ท่านรู้จัก คนที่สนิทสนมเพื่อให้มามีตำแหน่ง เพราะในวรรคนี้นะครับ เป็นเรื่องที่เราหาบุคคลมาช่วย ท่านเป็นผู้เตรียมรายงานซึ่งสำคัญมาก สำคัญกับผลงานที่จะเกิดขึ้น สำคัญต่อผลสำเร็จ ของงานที่ต้องหาผู้มีความรู้มาช่วยอย่างแท้จริง คราวนี้สิ่งที่ท่านวิตกหรือมีคำถามว่าจะหาคน ที่ไหน ผมก็มีความคิดเหมือนกันนะครับ จริง ๆ แล้วมีเยอะครับอย่างที่ท่านประธานพูด คนที่จบปริญญาโทเดี๋ยวนี้มีมาก แต่การจบปริญญาโทนี่นะครับ บางครั้งจบแล้วไม่เคยทำวิจัย บางครั้งไม่เคยทำวิทยานิพนธ์ แต่เราใส่เป็นคุณสมบัติสำคัญไว้เพื่อให้เขามีประสบการณ์ ในการวิเคราะห์ ในการรวบรวมหาข้อมูล นั่นละครับเขาจะเอาประสบการณ์เขานี่ละครับ มาช่วย โดยเราอย่าไปห่วงว่าจะต้องเป็นความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เราจะทำในเรื่องนั้นอย่างเดียว ดังนั้นคนที่จะมานี่นะครับ วิธีการนี่ไม่ยากเลยครับ นอกจากคนที่มาสมัครรอบก่อนเราแล้ว ไม่ได้ ท่านลองไปดูเลยครับ มีคนที่จบปริญญาโทเยอะ แล้วเป็นครูบาอาจารย์ก็เยอะนะครับ แล้วเขามีเวลาพร้อมที่จะมาช่วย อันนี้ข้อที่ ๑

    อ่านในการประชุม

  • ข้อที่ ๒ การกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ผมก็อยากจะเสนอท่านประธาน เหมือนกันครับ ท่านประกาศรับเลยครับ สภาปฏิรูปแห่งชาติต้องการบุคลากรที่เข้ามาเป็น ผู้ช่วยเตรียมงาน ก็เหมือนรับสมัครงานครับ แล้วเขาก็มีประวัติ เราสามารถเลือกได้ เพราะเราจะมีหลักสำคัญคือเราต้องเลือกคนที่มีความรู้ความสามารถจริง มาช่วยเราไม่ใช่มาเป็นภาระให้เรานะครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้ถ้ามีการประกาศรับนี่ครับ ผมว่าเยอะมาก แล้วเขาก็ต้องมาทำงานครับต้องเต็มเวลา ทำงานเต็มที่ มีความรู้จริง ๆ นี่คือจะช่วยงานท่านได้ ผมว่าที่ท่านประธานเสนอบุคลากรที่มาช่วยงานตรงนี้ครับ มันช่วยงานเราได้เยอะ แต่นอกจากนี้ท่านก็สามารถหาผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญงาน เลขานุการ ตามดุลยพินิจของท่านได้อีกส่วนหนึ่งอยู่แล้วไม่เกี่ยวกัน แต่บุคคลนี้คือคนที่ต้องมีมืออาชีพ มาช่วยท่านนะครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี กรรมาธิการ คือการตั้งอนุกรรมาธิการเป็นแต่ละคณะนะครับ คณะใครคณะมันนะครับ แล้วก็คณะก็ตั้งกันเองได้ ไม่ใช่ไปตั้งข้ามคณะกัน ตรงหรือเปล่าไม่ทราบนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตเสริมนิดหนึ่งครับท่านประธานครับ ผม เสรี กรรมาธิการ คือกราบเรียนท่านอย่างนี้ครับว่าถ้าเป็นสภาอื่นเขาอาจจะกำหนดว่า ไม่เกินกี่คณะ แต่ในคณะกรรมาธิการเราได้พิจารณาแล้วนะครับ เราเห็นว่าภารกิจของเรา ๑. สั้น ๒. เชื่อว่าสมาชิกทุกท่านการตั้งอนุกรรมาธิการนั้นคือต้องมาทำงานในภารกิจสำคัญ ของท่านจริง ๆ แล้วก็เชื่อว่าด้วยความมีเกียรติของพวกเราคงจะไม่ไปตั้งเพื่อนกันมา คนรู้จักกันมา เพื่อให้มีบัตรนะครับ เพราะว่าส่วนใหญ่การเมืองจะใช้วิธีนี้เยอะพูดตามตรง แต่เราเชื่อด้วยสุจริตว่าท่านจะต้องหาคนที่มาทำภารกิจสำคัญ เพราะฉะนั้นอนุกรรมาธิการ ที่ท่านตั้งก็เลยไม่จำกัด เมื่อไม่จำกัดนะครับ ด้วยความเคารพท่าน ท่านต้องหาคนที่มาทำงาน ให้ท่านนะครับ ตรงนี้มันก็จะช่วยงานท่านได้ ถ้าเราไปจำกัดไปนะครับ เกิดมีภารกิจสำคัญ ๆ เกิดขึ้นมันก็จะติดปัญหา เลยให้เกียรติกันนะครับ เชื่อว่าท่านคงจะดูแลรักษาผลประโยชน์ ของท่านเองครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตครับ กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผมเห็นด้วยกับท่านประธาน เพราะคำว่า ตำแหน่งอื่น นี่มันกว้าง แล้วมันอาจจะเกิดปัญหา ในอนาคตได้ ถ้าท่านเจตนาที่จะให้ ประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก เป็นสมาชิก นี่ครับ ก็ขอย้ายข้อความ ซึ่งเป็นสมาชิก นี่นะครับ ให้คณะกรรมาธิการแต่ละคณะเลือก ประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก ซึ่งเป็นสมาชิก

    อ่านในการประชุม

  • จากผู้เป็นสมาชิกครับ และตำแหน่งอื่น ตามความจำเป็นจากกรรมาธิการในคณะนั้น ก็จะทำให้คลายตัวขึ้นครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณครับ ผม เสรี กรรมาธิการครับ พอดีจะเติม ข้อความว่า จนกว่าจะมีกรรมาธิการชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ต่อไป แต่ได้ตกลงกับ ท่านประธานเลิศรัตน์ว่าให้เติมเฉพาะ ให้คณะกรรมาธิการที่สภาตั้งไว้ ก็คือทุกคณะที่ตั้งไว้ คงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติหน้าที่เสร็จสิ้น ก็คือความหมายเดียวกัน แต่เติมข้อความคำเดียวเท่านั้นเองมันก็จะรวมหมด

    อ่านในการประชุม

  • มิได้ครับท่านประธาน จะกราบเรียนท่านประธาน เพียงแต่ว่าที่ท่านพูดมานั้นก็ให้บันทึกไว้

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ผม เสรีครับ เรื่องลงมติครับท่านประธาน ขอกราบเรียนเรื่องลงมตินิดหนึ่งครับ

    อ่านในการประชุม

  • ผม เสรีครับ เรื่องลงมติครับท่านประธาน ขอกราบเรียนเรื่องลงมตินิดหนึ่งครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในเรื่องลงมตินี่นะครับ คือเท่าที่ฟัง มันก็มีหลายความเห็น แล้วเรื่องดังกล่าวนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ แนวทางของการทำงานของ สภาปฏิรูปแห่งชาติเองก็คงที่จะต้องรวบรวมแนวทางต่าง ๆ ในการที่จะเอาเหตุผล ข้อมูลนี่นะครับส่งให้กับรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ส่วนที่กรรมาธิการทั้งเสียงส่วนใหญ่ เสียงข้างน้อย หรือกรรมาธิการเสนอความเห็นล้วนเป็น ข้อมูลสำคัญทั้งนั้น

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในเรื่องลงมตินี่นะครับ คือเท่าที่ฟัง มันก็มีหลายความเห็น แล้วเรื่องดังกล่าวนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ แนวทางของการทำงานของ สภาปฏิรูปแห่งชาติเองก็คงที่จะต้องรวบรวมแนวทางต่าง ๆ ในการที่จะเอาเหตุผล ข้อมูลนี่นะครับส่งให้กับรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ส่วนที่กรรมาธิการทั้งเสียงส่วนใหญ่ เสียงข้างน้อย หรือกรรมาธิการเสนอความเห็นล้วนเป็น ข้อมูลสำคัญทั้งนั้น

    อ่านในการประชุม

  • เพราะฉะนั้นในการลงมตินี่นะครับ ผมขอหารือ ท่านประธานว่าจะเป็นไปได้ไหมครับว่า ในเนื้อหาสาระทั้งหมดเหล่านี้เราลงมติไปพร้อม กันเลยว่าส่งไปรัฐบาลให้หมด แทนที่จะเรามาส่งแล้วเกิดมีมติ เกิดมีชนะ มีแพ้ขึ้นมานี่นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เพราะฉะนั้นในการลงมตินี่นะครับ ผมขอหารือ ท่านประธานว่าจะเป็นไปได้ไหมครับว่า ในเนื้อหาสาระทั้งหมดเหล่านี้เราลงมติไปพร้อม กันเลยว่าส่งไปรัฐบาลให้หมด แทนที่จะเรามาส่งแล้วเกิดมีมติ เกิดมีชนะ มีแพ้ขึ้นมานี่นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • เปล่า ไม่ใช่ ผมหารือท่านประธานว่าจะส่งไป ทั้งหมด ทั้งเสียงส่วนมาก เสียงส่วนน้อยของกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นแล้วก็ส่งไป พร้อม ๆ กันนะครับ โดยเป็นมติในคราวเดียวกันแล้วส่งไปทั้งเหตุผลทั้งข้อมูล ทั้งหมดเลยนี่นะครับ จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน โปรดวินิจฉัยด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เปล่า ไม่ใช่ ผมหารือท่านประธานว่าจะส่งไป ทั้งหมด ทั้งเสียงส่วนมาก เสียงส่วนน้อยของกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นแล้วก็ส่งไป พร้อม ๆ กันนะครับ โดยเป็นมติในคราวเดียวกันแล้วส่งไปทั้งเหตุผลทั้งข้อมูล ทั้งหมดเลยนี่นะครับ จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน โปรดวินิจฉัยด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ผมพาดพิงนิดหนึ่งครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ผมพาดพิงนิดหนึ่งครับ

    อ่านในการประชุม

  • ไม่ใช่ครับ ท่านประธานบอกว่าผมไม่ได้เข้ามา นี่นะครับ คนฟังข้างนอก ผมเสียหายครับ

    อ่านในการประชุม

  • ไม่ใช่ครับ ท่านประธานบอกว่าผมไม่ได้เข้ามา นี่นะครับ คนฟังข้างนอก ผมเสียหายครับ

    อ่านในการประชุม

  • ผมได้ยินครับ เพราะว่าผมก็อยู่ที่จอโทรทัศน์ แล้วผมก็ไปสัมมนาของตำรวจ แต่ผมก็ติดตามฟัง แต่ท่านบอกว่าผมไม่อยู่ในห้อง คนฟังเขาจะคิดอย่างไรครับ ด้วยความเคารพครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ผมได้ยินครับ เพราะว่าผมก็อยู่ที่จอโทรทัศน์ แล้วผมก็ไปสัมมนาของตำรวจ แต่ผมก็ติดตามฟัง แต่ท่านบอกว่าผมไม่อยู่ในห้อง คนฟังเขาจะคิดอย่างไรครับ ด้วยความเคารพครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • มิใช่ครับ ผมฟังอยู่หน้าจอโทรทัศน์ครับ

    อ่านในการประชุม

  • มิใช่ครับ ผมฟังอยู่หน้าจอโทรทัศน์ครับ

    อ่านในการประชุม

  • อยู่ด้านข้างนี่นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อยู่ด้านข้างนี่นะครับ

    อ่านในการประชุม