กราบเรียนท่านประธาน ดิฉัน ถวิลวดี บุรีกุล นะคะ ดิฉันมี ๓-๔ ประเด็นที่จะพูดถึงเรื่องของการที่ว่าทำอย่างไรกลไกของรัฐถึงสามารถบริการ ประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว
กราบเรียนท่านประธาน ดิฉัน ถวิลวดี บุรีกุล นะคะ ดิฉันมี ๓-๔ ประเด็นที่จะพูดถึงเรื่องของการที่ว่าทำอย่างไรกลไกของรัฐถึงสามารถบริการ ประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว
ประเด็นแรกคือ เรื่องของระบบ การพัฒนาระบบของราชการเพื่อให้เป็นระบบ ที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ประเด็นแรกคือ เรื่องของระบบ การพัฒนาระบบของราชการเพื่อให้เป็นระบบ ที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม
เรื่องที่ ๑ คือเรื่องของการมีส่วนร่วมโดยสร้างหุ้นส่วนพลเมืองระหว่างภาครัฐ และภาคประชาชน และภาคเอกชน เพราะฉะนั้นตรงนี้สร้างความรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งสร้าง ได้ไม่ยากในเรื่องของการเป็นหุ้นส่วนหลายรูปแบบนะคะ ตัวอย่างเช่น ซิติเซน ชาร์เตอร์ (Citizen charter) หรือทำธรรมนูญพลเมืองที่ทุกคนมีภารกิจที่จะต้องทำร่วมกัน รูปแบบ จะทำอย่างไรมีรายละเอียดนะคะ ซึ่งคงไม่พอที่จะพูดในที่นี้
เรื่องที่ ๑ คือเรื่องของการมีส่วนร่วมโดยสร้างหุ้นส่วนพลเมืองระหว่างภาครัฐ และภาคประชาชน และภาคเอกชน เพราะฉะนั้นตรงนี้สร้างความรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งสร้าง ได้ไม่ยากในเรื่องของการเป็นหุ้นส่วนหลายรูปแบบนะคะ ตัวอย่างเช่น ซิติเซน ชาร์เตอร์ (Citizen charter) หรือทำธรรมนูญพลเมืองที่ทุกคนมีภารกิจที่จะต้องทำร่วมกัน รูปแบบ จะทำอย่างไรมีรายละเอียดนะคะ ซึ่งคงไม่พอที่จะพูดในที่นี้
อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของการกระจายอำนาจ คำตอบง่ายนิดเดียวสำหรับ กลไกที่จะบริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ก็ต้องกระจายอำนาจให้เป็นจริงนะคะ ถ้ากระจายอำนาจไม่เป็นจริง ท่านไม่ให้ท้องถิ่นมีบทบาทในการให้บริการบ้าง ก็จะมีปัญหา อยู่ร่ำไปนะคะ
อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของการกระจายอำนาจ คำตอบง่ายนิดเดียวสำหรับ กลไกที่จะบริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ก็ต้องกระจายอำนาจให้เป็นจริงนะคะ ถ้ากระจายอำนาจไม่เป็นจริง ท่านไม่ให้ท้องถิ่นมีบทบาทในการให้บริการบ้าง ก็จะมีปัญหา อยู่ร่ำไปนะคะ
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การแข่งขันในการทำงาน ใครทำได้ดีกว่ารัฐต้องให้เขา ทำนะคะ แล้วก็ถูกกว่า เพราะฉะนั้นจะต้องมีระบบของคอนเทสอะบิลิตี (Contestability) การแข่งขันกันในการทำงาน นอกจากนี้การจ้างให้ทำ เรื่องใดที่รัฐทำแล้วแพงกว่าก็ต้องจ้าง ให้บุคคลอื่นไปทำ ผู้อื่นไปทำ ไม่ว่าจะเป็นมูลนิธิ หรือภาคประชาสังคม หรือเอกชนต่าง ๆ นะคะ เพราะคุ้มค่ากว่า นอกจากนี้รัฐต้องสนับสนุนให้ผู้อื่นทำแทนตนได้ ไม่ว่าจะเป็นภาค ประชาสังคมหรือเอกชนอื่น ๆ
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การแข่งขันในการทำงาน ใครทำได้ดีกว่ารัฐต้องให้เขา ทำนะคะ แล้วก็ถูกกว่า เพราะฉะนั้นจะต้องมีระบบของคอนเทสอะบิลิตี (Contestability) การแข่งขันกันในการทำงาน นอกจากนี้การจ้างให้ทำ เรื่องใดที่รัฐทำแล้วแพงกว่าก็ต้องจ้าง ให้บุคคลอื่นไปทำ ผู้อื่นไปทำ ไม่ว่าจะเป็นมูลนิธิ หรือภาคประชาสังคม หรือเอกชนต่าง ๆ นะคะ เพราะคุ้มค่ากว่า นอกจากนี้รัฐต้องสนับสนุนให้ผู้อื่นทำแทนตนได้ ไม่ว่าจะเป็นภาค ประชาสังคมหรือเอกชนอื่น ๆ
นอกจากนี้ระบบอีกอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างนวัตกรรมในการให้บริการที่ เป็นจริง มีเทคโนโลยีในการยกระดับการบริการและมีรูปแบบในการยกระดับการบริการที่ เป็นเลิศ ทั้งนี้เรื่องของการมีส่วนร่วมก็สำคัญนะคะ มันมีโมเดล (Model) มากมายที่จะสร้าง การมีส่วนร่วมตรงนี้
นอกจากนี้ระบบอีกอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างนวัตกรรมในการให้บริการที่ เป็นจริง มีเทคโนโลยีในการยกระดับการบริการและมีรูปแบบในการยกระดับการบริการที่ เป็นเลิศ ทั้งนี้เรื่องของการมีส่วนร่วมก็สำคัญนะคะ มันมีโมเดล (Model) มากมายที่จะสร้าง การมีส่วนร่วมตรงนี้
นอกจากนี้ระบบอีกอย่างหนึ่งคือ เรื่องของบุคลากร การพัฒนาบุคลากรต้อง พัฒนาทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตอนนี้ดิฉันพูดถึงเรื่องของประชาชนก่อน ประชาชน เป็นผู้รับบริการและสามารถที่จะเป็นผู้ให้บริการได้ด้วย ประชาชนทำอย่างไรถึงจะให้เขามี โอกาสที่จะมีส่วนร่วมของรัฐในการให้บริการได้และสามารถที่จะดูแลตัวเองได้ นอกจากนี้ ส่วนข้าราชการนะคะ ข้าราชการต้องปรับปรุงตนเอง เพราะฉะนั้นมันจะมีเทคนิคเรื่องของ อินไซด์ เอาต์ (Inside out) คือพัฒนาจากข้างในออกไปว่าจะทำอย่างไร ต้องมีรูปแบบของ การสร้างการบริการที่เป็นเลิศ เริ่มต้นตั้งแต่การทำอะไรที่จะบริการประชาชน ต้องคิดถึงเวลา ราษฎรแทนที่จะคิดถึงเวลาราชการ นอกจากนี้จิตใจใฝ่บริการและวัฒนธรรมการให้บริการ ต้องทำให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ระบบอีกอย่างหนึ่งคือ เรื่องของบุคลากร การพัฒนาบุคลากรต้อง พัฒนาทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ตอนนี้ดิฉันพูดถึงเรื่องของประชาชนก่อน ประชาชน เป็นผู้รับบริการและสามารถที่จะเป็นผู้ให้บริการได้ด้วย ประชาชนทำอย่างไรถึงจะให้เขามี โอกาสที่จะมีส่วนร่วมของรัฐในการให้บริการได้และสามารถที่จะดูแลตัวเองได้ นอกจากนี้ ส่วนข้าราชการนะคะ ข้าราชการต้องปรับปรุงตนเอง เพราะฉะนั้นมันจะมีเทคนิคเรื่องของ อินไซด์ เอาต์ (Inside out) คือพัฒนาจากข้างในออกไปว่าจะทำอย่างไร ต้องมีรูปแบบของ การสร้างการบริการที่เป็นเลิศ เริ่มต้นตั้งแต่การทำอะไรที่จะบริการประชาชน ต้องคิดถึงเวลา ราษฎรแทนที่จะคิดถึงเวลาราชการ นอกจากนี้จิตใจใฝ่บริการและวัฒนธรรมการให้บริการ ต้องทำให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
ส่วนประเด็นที่ ๔ คือ เรื่องของระบบตรวจสอบการมีมาตรฐานการบริการ ขั้นต่ำที่จะต้องทำให้เป็นจริงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการให้บริการ ทั้งนี้หมายถึงสิ่งอำนวย ความสะดวกต่าง ๆ ที่จะต้องจัดทำขึ้นในสถานที่ราชการเพื่อให้ประชาชนทั้งหลายสามารถ ที่จะเข้าถึงได้โดยเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางลาด ห้องน้ำ เพราะฉะนั้นความเสมอภาค ในมิติหญิงชายหรือในมิติต่าง ๆ ต้องเอามาพิจารณาในการทำงานของรัฐนะคะ ยกตัวอย่าง ง่าย ๆ ท่านไปสถานที่ราชการ ห้องน้ำข้าราชการสะอาดกว่าห้องน้ำของประชาชน เพราะห้องน้ำข้าราชการติดกุญแจไว้ไม่ให้ประชาชนเข้า อย่างนี้เป็นต้นนะคะ
ส่วนประเด็นที่ ๔ คือ เรื่องของระบบตรวจสอบการมีมาตรฐานการบริการ ขั้นต่ำที่จะต้องทำให้เป็นจริงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการให้บริการ ทั้งนี้หมายถึงสิ่งอำนวย ความสะดวกต่าง ๆ ที่จะต้องจัดทำขึ้นในสถานที่ราชการเพื่อให้ประชาชนทั้งหลายสามารถ ที่จะเข้าถึงได้โดยเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางลาด ห้องน้ำ เพราะฉะนั้นความเสมอภาค ในมิติหญิงชายหรือในมิติต่าง ๆ ต้องเอามาพิจารณาในการทำงานของรัฐนะคะ ยกตัวอย่าง ง่าย ๆ ท่านไปสถานที่ราชการ ห้องน้ำข้าราชการสะอาดกว่าห้องน้ำของประชาชน เพราะห้องน้ำข้าราชการติดกุญแจไว้ไม่ให้ประชาชนเข้า อย่างนี้เป็นต้นนะคะ
ส่วนประเด็นสุดท้ายคือ การประเมินการให้รางวัลคุณภาพของการให้บริการ ที่เป็นเลิศอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ขวัญกำลังใจกับข้าราชการที่ทำงานได้ดีค่ะ ขอบคุณ
ส่วนประเด็นสุดท้ายคือ การประเมินการให้รางวัลคุณภาพของการให้บริการ ที่เป็นเลิศอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ขวัญกำลังใจกับข้าราชการที่ทำงานได้ดีค่ะ ขอบคุณ
กราบเรียนท่านประธานและท่านสมาชิก ดิฉันชื่อ ถวิลวดี บุรีกุล เป็นผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาของสถาบันพระปกเกล้า ดิฉันเป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๘๕ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ดิฉันเรียนหนังสือ ระดับมัธยมศึกษาที่จังหวัดพิษณุโลกนะคะ แต่ว่าก็มีโอกาสได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ ต่างประเทศในฐานะเป็นนักเรียนเอเอฟเอส (AFS) แล้วก็จบปริญญาตรีคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยมหิดล ด้านสิ่งแวดล้อม แล้วก็ปริญญาเอกหลักสูตรนานาชาติที่นิด้า แล้วก็ได้เป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัยอินเดียน่า ยูนิเวอร์ซิตี้ แต่ว่างานประจำ ที่ดิฉันทำส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาวิจัยทางด้านการเมืองการปกครอง การพัฒนา ประชาธิปไตย นโยบายสาธารณะ และการสร้างธรรมาภิบาล ซึ่งทำให้ดิฉันได้ทำเอกสาร วิชาการประกอบการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อปี ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา แล้วก็งานวิจัยของดิฉัน เคยได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยมจากสภาวิจัยแห่งชาติ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เป็นผลงาน วิทยานิพนธ์ทางด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ครั้งที่ ๒ เป็นผลงานวิจัยดีเยี่ยม ทางด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์เช่นเดียวกัน ในการจัดทำตัวชี้วัดการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี และล่าสุดได้รับรางวัลดีนะคะ สาขาสังคมวิทยา และผลงานที่เกี่ยวข้อง กับรัฐธรรมนูญก็คือดิฉันเคยเป็นกรรมาธิการวิสามัญในการบันทึกเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ทั้ง ๒ ฉบับที่ผ่านมา คือปี ๒๕๔๐ และปี ๒๕๕๐ และเป็นประธานอนุกรรมาธิการจัดทำ ฐานข้อมูลรัฐธรรมนูญทั้ง ๒ ฉบับนะคะ นอกจากนี้ผลงานอีกอย่างหนึ่งที่ดิฉันภาคภูมิใจก็คือ เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งเป็น สัดส่วนของภาคประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ดิฉันมั่นใจว่า ประสบการณ์และความสามารถของดิฉันที่ทำมาโดยตลอด โดยเฉพาะในเรื่องของงาน วิชาการจะช่วยจรรโลงในกระบวนการสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะการเขียน รัฐธรรมนูญครั้งนี้ที่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติในระยะยาวนะคะ ขอบคุณ