กราบเรียนท่านประธานและ ท่านสมาชิกที่เคารพครับ ผม วรรณชัย บุญบำรุง กรรมาธิการนะครับ ขออนุญาตตอบ ประเด็นในเรื่องอำนาจการฟ้องคดีของทางอัยการตามมาตรา ๑๙ (๕) ซึ่งมีกระบวนการที่ว่า ให้อัยการที่ฟ้องคดีในเรื่องผู้บริโภคได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม แต่ว่าไม่รวมถึงความรับผิด ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด แนวความคิดก็คือว่ามันเป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องประโยชน์ สาธารณะเป็นประโยชน์ของสังคมนะครับ รัฐก็เข้ามาดำเนินคดี ฟ้องคดีให้แทนนะครับ ทำนองเดียวกับเหมือนการดำเนินคดีผู้บริโภคของมูลนิธิหรือสมาคมทั่ว ๆ ไป ซึ่งตาม กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคก็จะยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมให้ เพราะมันเป็นในลักษณะ ที่เป็นการดำเนินการที่ไม่ได้แสวงหากำไร ไม่ได้เป็นเรื่องประโยชน์ของเอกชนใด คนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะของผู้บริโภคนะครับ ที่จะเข้ามาคุ้มครองดูแล เพื่อให้การเข้าถึงความยุติธรรมเป็นไปด้วยดี ก็เลยมีการเขียนเรื่อง ยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมให้นะครับ ซึ่งการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมที่เขียนต่อตอนท้ายก็คือ ไม่ได้ให้มีความหมายตีความไปว่าได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมถึงแม้ว่าตัวเองจะต้องรับผิด ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด ความหมายก็คือว่าในการดำเนินคดีนั้นมันอาจจะมีการแพ้ มีชนะในการดำเนินคดี หรือมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอะไรที่มันไม่เป็นประโยชน์ มีการประวิงคดีอะไรต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เวลาอัยการไปฟ้องจะไม่ได้รับยกเว้นพวกนี้นะครับ เพราะฉะนั้นในกรณีที่ทางฝ่ายผู้ประกอบการเขาชนะคดี ศาลก็อาจจะมีการสั่งให้ทางฝ่าย อัยการที่รับผิดชอบฟ้องคดีแทน ต้องรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมก็คือรัฐจะต้องจ่ายให้ เพราะว่า มันไม่เป็นธรรมกับทางฝ่ายผู้ประกอบการที่เขาจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในบางเรื่อง มันก็เลย ลักษณะคล้าย ๆ ว่าถ้าจะฟ้องคดีก็ต้องเป็นคดีที่มันเหมาะสม ที่มันมีความจำเป็นจริง ไม่ใช่ว่าทางคณะกรรมการองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคส่งเรื่องอะไรมาก็ฟ้องหมด โดยไม่คำนึงว่าคดีมันสมควรฟ้องไหม เพราะฉะนั้นมันจะมีกระบวนการที่เรียกความรับผิด ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุดนี่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายพิจารณาความแพ่ง ซึ่งอันนี้ มันก็เป็นธรรม แต่ว่าตรงส่วนตอนเริ่มต้นของตัวเองได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียของตัวเองใน ค่าฤชาธรรมเนียมในการดำเนินคดีในศาล ไม่ว่าจะค่ายื่นคำฟ้องอะไรต่าง ๆ ก็เรียนเป็นข้อมูล ครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานและ ท่านสมาชิกที่เคารพครับ ผม วรรณชัย บุญบำรุง กรรมาธิการนะครับ ขออนุญาตตอบ ประเด็นในเรื่องอำนาจการฟ้องคดีของทางอัยการตามมาตรา ๑๙ (๕) ซึ่งมีกระบวนการที่ว่า ให้อัยการที่ฟ้องคดีในเรื่องผู้บริโภคได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม แต่ว่าไม่รวมถึงความรับผิด ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด แนวความคิดก็คือว่ามันเป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องประโยชน์ สาธารณะเป็นประโยชน์ของสังคมนะครับ รัฐก็เข้ามาดำเนินคดี ฟ้องคดีให้แทนนะครับ ทำนองเดียวกับเหมือนการดำเนินคดีผู้บริโภคของมูลนิธิหรือสมาคมทั่ว ๆ ไป ซึ่งตาม กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคก็จะยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมให้ เพราะมันเป็นในลักษณะ ที่เป็นการดำเนินการที่ไม่ได้แสวงหากำไร ไม่ได้เป็นเรื่องประโยชน์ของเอกชนใด คนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะของผู้บริโภคนะครับ ที่จะเข้ามาคุ้มครองดูแล เพื่อให้การเข้าถึงความยุติธรรมเป็นไปด้วยดี ก็เลยมีการเขียนเรื่อง ยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมให้นะครับ ซึ่งการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมที่เขียนต่อตอนท้ายก็คือ ไม่ได้ให้มีความหมายตีความไปว่าได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมถึงแม้ว่าตัวเองจะต้องรับผิด ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด ความหมายก็คือว่าในการดำเนินคดีนั้นมันอาจจะมีการแพ้ มีชนะในการดำเนินคดี หรือมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอะไรที่มันไม่เป็นประโยชน์ มีการประวิงคดีอะไรต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เวลาอัยการไปฟ้องจะไม่ได้รับยกเว้นพวกนี้นะครับ เพราะฉะนั้นในกรณีที่ทางฝ่ายผู้ประกอบการเขาชนะคดี ศาลก็อาจจะมีการสั่งให้ทางฝ่าย อัยการที่รับผิดชอบฟ้องคดีแทน ต้องรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมก็คือรัฐจะต้องจ่ายให้ เพราะว่า มันไม่เป็นธรรมกับทางฝ่ายผู้ประกอบการที่เขาจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในบางเรื่อง มันก็เลย ลักษณะคล้าย ๆ ว่าถ้าจะฟ้องคดีก็ต้องเป็นคดีที่มันเหมาะสม ที่มันมีความจำเป็นจริง ไม่ใช่ว่าทางคณะกรรมการองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคส่งเรื่องอะไรมาก็ฟ้องหมด โดยไม่คำนึงว่าคดีมันสมควรฟ้องไหม เพราะฉะนั้นมันจะมีกระบวนการที่เรียกความรับผิด ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุดนี่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายพิจารณาความแพ่ง ซึ่งอันนี้ มันก็เป็นธรรม แต่ว่าตรงส่วนตอนเริ่มต้นของตัวเองได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียของตัวเองใน ค่าฤชาธรรมเนียมในการดำเนินคดีในศาล ไม่ว่าจะค่ายื่นคำฟ้องอะไรต่าง ๆ ก็เรียนเป็นข้อมูล ครับ ขอบคุณครับ
สวัสดีครับ ผม วรรณชัย บุญบำรุง ตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานะครับ รับผิดชอบงาน ทางด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอด แล้วก็จบการศึกษาปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท ปริญญาเอก จากประเทศฝรั่งเศส ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับทางด้านรัฐธรรมนูญนั้น ผมเคยเป็นทีมงานของสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาในการเขียนรัฐธรรมนูญ ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ แล้วก็ เป็นอนุกรรมาธิการทางด้านกระบวนการยุติธรรม นอกจากนี้ผมก็เป็นกรรมาธิการของรัฐสภา ในร่างกฎหมายต่าง ๆ จากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจำนวนหลายสิบฉบับ แล้วก็งาน ทางด้านวิชาการนั้นผมก็เป็นอาจารย์พิเศษทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ของนักศึกษาปริญญาโท ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชนหลายแห่ง แล้วก็ เขียนตำราและบทความทางด้านกระบวนการยุติธรรม สำหรับเรื่องแนวความคิดทางด้าน กระบวนการยุติธรรมนั้นผมมีความมุ่งมั่นในด้านที่จะปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ ประชาชนผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ ขอบคุณครับ