นายประเสริฐ ชิตพงศ์

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ชิตพงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดสงขลานะครับ ท่านประธานครับ เรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายนะครับ แล้วก็การบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไป อย่างเคร่งครัดและเป็นธรรมนั้น ผมเชื่อมั่นว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ ๒ ส่วนนะครับ ส่วนหนึ่งก็คือตัวบทกฎหมายเองแล้วก็ผู้บังคับใช้กฎหมาย แต่อีกภาคส่วนหนึ่งก็คือภาคส่วนทางสังคมที่ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของการบังคับใช้ กฎหมายและถูกการใช้กฎหมายมาบังคับ ซึ่งในส่วนที่เป็นโครงสร้างทางกฎหมาย แล้วก็การบังคับใช้กฎหมายนั้นผมคงจะไม่ไปแตะต้องในส่วนนั้นมาก เพราะคิดว่ามีท่านผู้รู้ ทางกฎหมาย แล้วก็มีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายอยู่มากมาย แล้วก็มีหลายท่านก็ได้ให้ความเห็นไปแล้ว แต่อยากจะมีความเห็นในเรื่องที่เกี่ยวกับทางสังคม ซึ่งในทางสังคมมันมีประเด็นที่เป็นปัญหาและประเด็นที่เป็นโอกาสอยู่ ประเด็นที่เป็นปัญหานั้น ก็คือในสังคมไทยในเรื่องของการมีอภิสิทธิ์นะครับ มีอภิสิทธิ์ในรูปแบบต่าง ๆ มันทำให้ เรื่องของการใช้กฎหมายก็เลยกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาขาดความเป็นธรรม เพราะฉะนั้นทำอย่างไรในการปฏิรูปในคราวนี้วัฒนธรรมของคนไทยต้องมาปรับตัวกันมาก พอสมควร วัฒนธรรมในเรื่องของการใช้อภิสิทธิ์ทั้งในแง่ของผู้ใช้นะครับ ผู้ใช้อภิสิทธิ์ แล้วก็ผู้ที่มีส่วนในการที่จะทำให้เกิดการใช้อภิสิทธิ์และผู้ที่ได้รับการเสียเปรียบจากการที่ มีผู้ใช้อภิสิทธิ์นั้น ๆ ไปใช้อภิสิทธิ์เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้กฎหมาย เพราะฉะนั้นผมคิดว่า เราต้องมาคิดหาทางในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ในทางที่จะทำให้สังคมเกิดสำนึกร่วม ในการที่จะทำให้มองเรื่องการใช้อภิสิทธิ์ต่าง ๆ การเลือกปฏิบัติ รวมทั้งการที่มีการถูกลงโทษ จากการที่มีการใช้อภิสิทธิ์เหล่านั้นขึ้นมาด้วย ในรูปแบบต่าง ๆ กันซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ ทางสังคม เพราะว่าในกระบวนการทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายนั้น ก็มีการดำเนินการอยู่แล้ว แต่กระบวนการทางสังคมที่จะมีส่วนเข้ามาช่วยในเรื่องของ การบังคับใช้กฎหมายแล้วก็ใช้อย่างเป็นธรรม ทำอย่างไรให้เรื่องของการอภิสิทธิ์ต่าง ๆ หรือเรื่องของการที่มีความรู้สึกว่าถ้าได้กระทำอะไรที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแล้วนี่เป็นสิ่ง ซึ่งมีความรู้สึกว่าเป็นการที่มีความแตกต่าง มีความรู้สึกได้รับการยกย่องจากกลุ่มคน ที่ไม่เคารพกฎหมายด้วยกันนี่แหละ ทำอย่างไรเราถึงจะสามารถลดในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ลงมาให้ได้นะครับ เพราะฉะนั้นในการปฏิรูปอยากให้มองไปถึงการสร้างวัฒนธรรมของ การลดการใช้อภิสิทธิ์และการที่เราจะมาให้ความสำคัญกับผู้ที่มีการเคารพในกฎหมาย เช่น การปลูกฝัง สิ่งเหล่านี้มาจากครอบครัว มาจากสถานศึกษา มาจากโรงเรียน แล้วก็มีการปลูกฝังให้การเคารพกฎหมายเป็นสิ่งซึ่งเป็นการยอมรับในสังคม เป็นการทำให้ ผู้ที่เคารพกฎหมายอย่างจริงจังได้รับการยกย่อง มีการปลูกฝังทัศนคติ มีการดำเนินการ อะไรต่าง ๆ ในหลาย ๆ ด้าน รณรงค์ให้ภาคส่วนต่าง ๆ ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ได้รับ ให้ผู้ที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายและเคารพในกฎหมายได้รับเกียรติได้รับการยอมรับนับถือ ในประเด็นต่าง ๆ ที่ผมกราบเรียนไปอาจจะเป็นเรื่องทางนามธรรมอยู่มาก แต่ผมคิดว่า ถ้าเราจะปฏิรูปแล้ว การปฏิรูปวัฒนธรรมในสังคมไทยให้เรื่องของการเคารพกฎหมาย เป็นเรื่องซึ่งถือว่าเป็นเกียรติมีศักดิ์มีศรีและได้รับการยกย่องมากกว่าการไปยกย่อง คนที่ไม่เคารพหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือใช้อภิสิทธิ์ต่าง ๆ และทำให้เกิด การผิดกฎหมายขึ้นมา แต่คนเหล่านั้นได้รับการยกย่องอยู่นะครับ เพราะฉะนั้นต้องช่วยกัน สร้างจะเรียกว่า รณรงค์หรือสร้างบรรทัดฐานหรือหล่อหลอมกล่อมเกลาผู้คนตั้งแต่ เป็นเยาวชนอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างที่ผมได้กราบเรียนแล้วตั้งแต่ครอบครัว สถานศึกษา และในสังคมนะครับ เพราะฉะนั้นก็อยากจะมองไปในแนวทางที่มันเป็นนามธรรม แต่ทำอย่างไรให้นามธรรมเหล่านั้นเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้นะครับ ก็ขออนุญาตที่จะกราบเรียน ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ชิตพงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากจังหวัดสงขลานะครับ ท่านประธานครับ เรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายนะครับ แล้วก็การบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไป อย่างเคร่งครัดและเป็นธรรมนั้น ผมเชื่อมั่นว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ ๒ ส่วนนะครับ ส่วนหนึ่งก็คือตัวบทกฎหมายเองแล้วก็ผู้บังคับใช้กฎหมาย แต่อีกภาคส่วนหนึ่งก็คือภาคส่วนทางสังคมที่ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของการบังคับใช้ กฎหมายและถูกการใช้กฎหมายมาบังคับ ซึ่งในส่วนที่เป็นโครงสร้างทางกฎหมาย แล้วก็การบังคับใช้กฎหมายนั้นผมคงจะไม่ไปแตะต้องในส่วนนั้นมาก เพราะคิดว่ามีท่านผู้รู้ ทางกฎหมาย แล้วก็มีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายอยู่มากมาย แล้วก็มีหลายท่านก็ได้ให้ความเห็นไปแล้ว แต่อยากจะมีความเห็นในเรื่องที่เกี่ยวกับทางสังคม ซึ่งในทางสังคมมันมีประเด็นที่เป็นปัญหาและประเด็นที่เป็นโอกาสอยู่ ประเด็นที่เป็นปัญหานั้น ก็คือในสังคมไทยในเรื่องของการมีอภิสิทธิ์นะครับ มีอภิสิทธิ์ในรูปแบบต่าง ๆ มันทำให้ เรื่องของการใช้กฎหมายก็เลยกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาขาดความเป็นธรรม เพราะฉะนั้นทำอย่างไรในการปฏิรูปในคราวนี้วัฒนธรรมของคนไทยต้องมาปรับตัวกันมาก พอสมควร วัฒนธรรมในเรื่องของการใช้อภิสิทธิ์ทั้งในแง่ของผู้ใช้นะครับ ผู้ใช้อภิสิทธิ์ แล้วก็ผู้ที่มีส่วนในการที่จะทำให้เกิดการใช้อภิสิทธิ์และผู้ที่ได้รับการเสียเปรียบจากการที่ มีผู้ใช้อภิสิทธิ์นั้น ๆ ไปใช้อภิสิทธิ์เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้กฎหมาย เพราะฉะนั้นผมคิดว่า เราต้องมาคิดหาทางในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ในทางที่จะทำให้สังคมเกิดสำนึกร่วม ในการที่จะทำให้มองเรื่องการใช้อภิสิทธิ์ต่าง ๆ การเลือกปฏิบัติ รวมทั้งการที่มีการถูกลงโทษ จากการที่มีการใช้อภิสิทธิ์เหล่านั้นขึ้นมาด้วย ในรูปแบบต่าง ๆ กันซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ ทางสังคม เพราะว่าในกระบวนการทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายนั้น ก็มีการดำเนินการอยู่แล้ว แต่กระบวนการทางสังคมที่จะมีส่วนเข้ามาช่วยในเรื่องของ การบังคับใช้กฎหมายแล้วก็ใช้อย่างเป็นธรรม ทำอย่างไรให้เรื่องของการอภิสิทธิ์ต่าง ๆ หรือเรื่องของการที่มีความรู้สึกว่าถ้าได้กระทำอะไรที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแล้วนี่เป็นสิ่ง ซึ่งมีความรู้สึกว่าเป็นการที่มีความแตกต่าง มีความรู้สึกได้รับการยกย่องจากกลุ่มคน ที่ไม่เคารพกฎหมายด้วยกันนี่แหละ ทำอย่างไรเราถึงจะสามารถลดในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ลงมาให้ได้นะครับ เพราะฉะนั้นในการปฏิรูปอยากให้มองไปถึงการสร้างวัฒนธรรมของ การลดการใช้อภิสิทธิ์และการที่เราจะมาให้ความสำคัญกับผู้ที่มีการเคารพในกฎหมาย เช่น การปลูกฝัง สิ่งเหล่านี้มาจากครอบครัว มาจากสถานศึกษา มาจากโรงเรียน แล้วก็มีการปลูกฝังให้การเคารพกฎหมายเป็นสิ่งซึ่งเป็นการยอมรับในสังคม เป็นการทำให้ ผู้ที่เคารพกฎหมายอย่างจริงจังได้รับการยกย่อง มีการปลูกฝังทัศนคติ มีการดำเนินการ อะไรต่าง ๆ ในหลาย ๆ ด้าน รณรงค์ให้ภาคส่วนต่าง ๆ ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ได้รับ ให้ผู้ที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายและเคารพในกฎหมายได้รับเกียรติได้รับการยอมรับนับถือ ในประเด็นต่าง ๆ ที่ผมกราบเรียนไปอาจจะเป็นเรื่องทางนามธรรมอยู่มาก แต่ผมคิดว่า ถ้าเราจะปฏิรูปแล้ว การปฏิรูปวัฒนธรรมในสังคมไทยให้เรื่องของการเคารพกฎหมาย เป็นเรื่องซึ่งถือว่าเป็นเกียรติมีศักดิ์มีศรีและได้รับการยกย่องมากกว่าการไปยกย่อง คนที่ไม่เคารพหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือใช้อภิสิทธิ์ต่าง ๆ และทำให้เกิด การผิดกฎหมายขึ้นมา แต่คนเหล่านั้นได้รับการยกย่องอยู่นะครับ เพราะฉะนั้นต้องช่วยกัน สร้างจะเรียกว่า รณรงค์หรือสร้างบรรทัดฐานหรือหล่อหลอมกล่อมเกลาผู้คนตั้งแต่ เป็นเยาวชนอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างที่ผมได้กราบเรียนแล้วตั้งแต่ครอบครัว สถานศึกษา และในสังคมนะครับ เพราะฉะนั้นก็อยากจะมองไปในแนวทางที่มันเป็นนามธรรม แต่ทำอย่างไรให้นามธรรมเหล่านั้นเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้นะครับ ก็ขออนุญาตที่จะกราบเรียน ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานครับ กระผม ประเสริฐ ชิตพงศ์ จังหวัดสงขลา ขออนุญาตนิดเดียวท่านประธานครับ ใน (๑๗) ที่ท่านเลิศรัตน์ ต้องขออภัยนะครับ ได้บอกว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา วิจัยและนวัตกรรม ผมอยากจะขออนุญาตเปลี่ยนว่าเป็น ปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา จะได้ไหมครับ เพราะว่าทรัพย์สินทางปัญญามันเป็นสุดท้ายของ ทุกอย่างต้องวิจัยก่อนนวัตกรรมเกิดขึ้นแล้วถึงจะไปจดทรัพย์สินทางปัญญา อยากเอา ทรัพย์สินทางปัญญาไปไว้ท้ายครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ประเสริฐ ชิตพงศ์ สปช. สงขลา ขออนุญาตที่จะมีความเห็นในข้อ ๘๔ (๓) บังเอิญได้มีโอกาสคุยกับ ท่านประชาเมื่อสักครู่หลังจากที่ท่านได้นำเสนอใน (๓) แล้ว แล้วก็ได้มีโอกาสคุยกันอย่าง เร่งด่วนกับสมาชิก สปช. ได้มาจากจังหวัดหลาย ๆ ท่านว่า ใน (๓) นั้นอย่างที่ท่านเลิศรัตน์ได้ กรุณาหลังจากที่ได้รับฟังท่านประชาแล้ว บอกว่าให้คงไว้ว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญ รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนเอาไว้เพียงแค่นั้น แล้วดูเหมือนว่าจะให้ตัดประโยคที่ตามหลังมาทั้งหมดเลยของอนุนี้ ได้คุยกับท่านประชา แล้วก็ได้สอบถามโดยเร่งด่วนกับ สปช. จังหวัด หลายท่านเลยนะครับ เพราะเรากังวลว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ในระดับจังหวัดจะทำงานลำบากโดยที่ไม่มีผู้ที่จะเข้ามาร่วมเลย ก็อยากจะขอให้ คงไว้ในประโยคตั้งแต่ที่บอกว่า โดยให้พิจารณาจัดตั้งอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัด ขอเสนอเป็นว่าให้เหลือเป็นประจำจังหวัด ตามความเหมาะสมนะครับ คือในเรื่องของระดับภาคนี้จะเอาหรือไม่ตามที่ท่านโกวิท ได้กรุณาอภิปรายนั้น อันนั้นก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งนะครับ แต่ว่าในระดับจังหวัดอยากจะ ขอให้คงไว้นะครับ ไม่เช่นนั้นแล้วจะไม่มีแขนขาที่จะทำงานเลยในระดับจังหวัดนะครับ ผมขออนุญาตที่จะคงประโยคนั้นไว้ แต่ว่าอาจจะตัดคำว่า ประจำภาค หรือจะให้มีหรือไม่ ก็ได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาประเด็นที่ท่านโกวิทได้พิจารณา แต่ส่วนที่ได้ปรึกษากับ ท่านประชา ซึ่งท่านเป็นผู้เสนอในตอนต้นของอนุนี้ก็ขออนุญาตที่จะคงอนุประจำจังหวัด ไว้นะครับ ตามความเหมาะสมนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ผมไม่มีประเด็นที่จะติดใจแล้ว เพราะว่าท่านเลิศรัตน์ได้กรุณาชี้แจงไปแล้วครับในกรณีที่ สนช. เขาตั้งกรรมาธิการ โดยกรรมาธิการเอาคนนอกไม่ได้ เพราะเขาไม่มีคนนอก ท่านได้ชี้แจงไปแล้วครับ

    อ่านในการประชุม