กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพ ดิฉัน ตรึงใจ บูรณสมภพ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันจะขอพูดในประเด็น เนื่องจากวันนี้มี ๒ ประเด็นนะคะ จะทำอย่างไรให้มีการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่าง เคร่งครัดและเป็นธรรม แต่จะพูดในประเด็นที่ทำอย่างไรจะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่าง เคร่งครัด เพราะว่าปัจจุบันการบังคับใช้กฎหมายในบ้านเราค่อนข้างจะหย่อนยาน สิ่งแรกเลย อยากจะเปรียบเทียบว่าคนที่ทำผิดก็เหมือนกับคนป่วย ทำอย่างไรที่ไม่ให้คนทำความผิดก่อน หรือทำอย่างไรให้เขาไม่ป่วย ให้มีสุขภาพดี ก็จะต้องมีการอบรม สั่งสอนให้มีการเรียนตั้งแต่ เด็ก ๆ อายุยังน้อย ให้เขารู้จักว่าอะไรผิด อะไรถูก ให้เขารู้จักการมีวินัย ดิฉันอยากจะ ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นซึ่งสอนให้เด็ก หรือประชาชนเป็นคนที่มีระเบียบวินัย ไม่ทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ดิฉันเองเคยลืมกระเป๋าเดินทางใบเล็ก ๆ ไว้หน้าสนามบินแล้วก็ ไปที่โรงแรม ไม่ได้ลืมหรอกคือหยิบไม่ครบ แท็กซี่หยิบไปให้ไม่ครบ ไปตั้ง ๑ ชั่วโมงกลับมา กระเป๋ายังวางอยู่ที่เดิมแล้วคนก็เดินผ่านไปผ่านมา อันนี้เป็นตัวอย่างว่าคนของเขามีระเบียบวินัย ซึ่งเราน่าที่จะเอาอย่าง
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพ ดิฉัน ตรึงใจ บูรณสมภพ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันจะขอพูดในประเด็น เนื่องจากวันนี้มี ๒ ประเด็นนะคะ จะทำอย่างไรให้มีการบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่าง เคร่งครัดและเป็นธรรม แต่จะพูดในประเด็นที่ทำอย่างไรจะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่าง เคร่งครัด เพราะว่าปัจจุบันการบังคับใช้กฎหมายในบ้านเราค่อนข้างจะหย่อนยาน สิ่งแรกเลย อยากจะเปรียบเทียบว่าคนที่ทำผิดก็เหมือนกับคนป่วย ทำอย่างไรที่ไม่ให้คนทำความผิดก่อน หรือทำอย่างไรให้เขาไม่ป่วย ให้มีสุขภาพดี ก็จะต้องมีการอบรม สั่งสอนให้มีการเรียนตั้งแต่ เด็ก ๆ อายุยังน้อย ให้เขารู้จักว่าอะไรผิด อะไรถูก ให้เขารู้จักการมีวินัย ดิฉันอยากจะ ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นซึ่งสอนให้เด็ก หรือประชาชนเป็นคนที่มีระเบียบวินัย ไม่ทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ดิฉันเองเคยลืมกระเป๋าเดินทางใบเล็ก ๆ ไว้หน้าสนามบินแล้วก็ ไปที่โรงแรม ไม่ได้ลืมหรอกคือหยิบไม่ครบ แท็กซี่หยิบไปให้ไม่ครบ ไปตั้ง ๑ ชั่วโมงกลับมา กระเป๋ายังวางอยู่ที่เดิมแล้วคนก็เดินผ่านไปผ่านมา อันนี้เป็นตัวอย่างว่าคนของเขามีระเบียบวินัย ซึ่งเราน่าที่จะเอาอย่าง
ต่อไปก็คือจะต้องมีโทษให้กับผู้ที่ละเลย คือมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายแต่ไม่ทำ จะต้องมีโทษให้กับบุคคลเหล่านี้ด้วย บุคคลเหล่านี้คือใคร ก็จะมียกตัวอย่างเช่น ตำรวจ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือระดับรองลงมานะคะ ซึ่งท่านจะเป็นผู้กำกับดูแลประชาชน เป็นผู้ที่สามารถใช้กฎหมายได้ อัยการที่ไม่สั่งฟ้อง เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่าง ๆ ทุกระดับ คือเราไม่ค่อยจะลงโทษผู้ที่ละเลย ไม่บังคับใช้กฎหมาย ก็จะต้องมีกฎหมายเพิ่มขึ้น ทำอย่างไรจะเอาความผิดกับผู้ที่ละเลยไม่ใช้กฎหมายได้ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก สิ่งต่อไปที่ควรจะทำได้ก็คือให้ประชาชนเป็นหูเป็นตาช่วยดูแลหาผู้กระทำความผิด ประชาชน ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์หรือผู้ที่อาจจะรู้เบาะแสสามารถที่จะฟ้องได้โดยที่มีพยานหลักฐาน เช่น การถ่ายภาพ มีหลักฐานอ้างอิง อาจจะมีรางวัลให้กับประชาชนด้วย สิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยได้ ดิฉันขอยกตัวอย่างเช่น การขับรถ การจราจร ผู้ที่ทำความผิดในเรื่องการขับรถ หรือจอดรถ ในที่ที่ไม่สมควรจอด หรืออะไรก็ตามนะคะ เช่น ฝ่าไฟแดงอะไรต่ออะไร ซึ่งมีกล้องจับอยู่ แต่ก็ไม่ค่อยได้จับเท่าไรนี่ อาจจะให้เด็กนักเรียนก็ได้นะคะผลัดกันมาเป็นเวรดูแล ผู้ขับรถเหล่านี้ แล้วก็ถ่ายภาพเอาไว้ แล้วก็ฟ้องได้ โดยที่มีรางวัลให้ อันนี้เป็นตัวอย่างเท่านั้น แต่ว่าเรื่องอื่น ๆ ก็เช่นกัน อาจจะต้องให้ประชาชนช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ แล้วก็จะต้องมีการคุ้มครองให้ผู้ที่มาแจ้งความ หรือว่ามาฟ้องไม่โดนแอบทำร้าย หรืออะไรก็ตามนะคะ เพราะฉะนั้นในประเด็นนี้ดิฉันก็ขอเสนอ ส่วนการบังคับใช้ อย่างเคร่งครัดก็หมดเวลา ก็คงให้ท่านอื่นพูด ขอบคุณค่ะ
ต่อไปก็คือจะต้องมีโทษให้กับผู้ที่ละเลย คือมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายแต่ไม่ทำ จะต้องมีโทษให้กับบุคคลเหล่านี้ด้วย บุคคลเหล่านี้คือใคร ก็จะมียกตัวอย่างเช่น ตำรวจ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือระดับรองลงมานะคะ ซึ่งท่านจะเป็นผู้กำกับดูแลประชาชน เป็นผู้ที่สามารถใช้กฎหมายได้ อัยการที่ไม่สั่งฟ้อง เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่าง ๆ ทุกระดับ คือเราไม่ค่อยจะลงโทษผู้ที่ละเลย ไม่บังคับใช้กฎหมาย ก็จะต้องมีกฎหมายเพิ่มขึ้น ทำอย่างไรจะเอาความผิดกับผู้ที่ละเลยไม่ใช้กฎหมายได้ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก สิ่งต่อไปที่ควรจะทำได้ก็คือให้ประชาชนเป็นหูเป็นตาช่วยดูแลหาผู้กระทำความผิด ประชาชน ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์หรือผู้ที่อาจจะรู้เบาะแสสามารถที่จะฟ้องได้โดยที่มีพยานหลักฐาน เช่น การถ่ายภาพ มีหลักฐานอ้างอิง อาจจะมีรางวัลให้กับประชาชนด้วย สิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยได้ ดิฉันขอยกตัวอย่างเช่น การขับรถ การจราจร ผู้ที่ทำความผิดในเรื่องการขับรถ หรือจอดรถ ในที่ที่ไม่สมควรจอด หรืออะไรก็ตามนะคะ เช่น ฝ่าไฟแดงอะไรต่ออะไร ซึ่งมีกล้องจับอยู่ แต่ก็ไม่ค่อยได้จับเท่าไรนี่ อาจจะให้เด็กนักเรียนก็ได้นะคะผลัดกันมาเป็นเวรดูแล ผู้ขับรถเหล่านี้ แล้วก็ถ่ายภาพเอาไว้ แล้วก็ฟ้องได้ โดยที่มีรางวัลให้ อันนี้เป็นตัวอย่างเท่านั้น แต่ว่าเรื่องอื่น ๆ ก็เช่นกัน อาจจะต้องให้ประชาชนช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ แล้วก็จะต้องมีการคุ้มครองให้ผู้ที่มาแจ้งความ หรือว่ามาฟ้องไม่โดนแอบทำร้าย หรืออะไรก็ตามนะคะ เพราะฉะนั้นในประเด็นนี้ดิฉันก็ขอเสนอ ส่วนการบังคับใช้ อย่างเคร่งครัดก็หมดเวลา ก็คงให้ท่านอื่นพูด ขอบคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ตรึงใจ บูรณสมภพ สมัครด้านการเมือง ผู้หญิงคนเดียวนะคะ เคยเป็น ส.ว. มา ๖ ปี เป็นประธาน กรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม ประธานกรรมาธิการวิสามัญ การผังเมืองและการใช้พื้นที่ การตั้งถิ่นฐานและการผังเมืองค่ะ คือดิฉันเองชำนาญหลายด้าน ด้านสถาปัตยกรรม ผังเมือง ด้านวัฒนธรรม ด้านจริยธรรม คุณธรรม ด้านพลังงาน พลังงานเคยทำเรื่องพลังงานทดแทน แล้วก็อยากจะให้มีรัฐธรรมนูญที่สนับสนุนส่งเสริม การใช้พลังงานทดแทนทั้งภาคเอกชนแล้วก็ภาครัฐ เพราะว่าภาคเอกชนเองต้องเลิกกิจการ กันไปมากมายนะคะ ด้านการศึกษาก็เป็นอาจารย์มา ๔๐ กว่าปี เป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้านพัฒนาสังคม เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส แล้วก็ ด้านธรรมาภิบาล การปราบปรามและป้องกันการทุจริต เนื่องจากว่ามีความสามารถ หลาย ๆ ด้านก็เลยอยากจะมาร่างรัฐธรรมนูญ เพราะว่าจะได้ประสานกับด้านต่าง ๆ ถ้าไปทำ ปฏิรูปดิฉันก็ต้องทำได้น้อยด้าน เพราะฉะนั้นก็เลยคิดว่าจากประสบการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ดิฉันก็จะได้ดูรัฐธรรมนูญ ข้อบกพร่องในปี ๒๕๔๐ ปี ๒๕๕๐ เพื่อที่จะมาปรับปรุงแก้ไข ในบางเรื่องที่ยังไม่ชัดเจน หรือควรที่จะแก้ไข โดยเฉพาะเวิร์ดดิง (Wording) ต่าง ๆ ค่ะ เพราะฉะนั้นดิฉันก็เป็นเท็น อิน วัน (Ten in one) นะคะ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ตรึงใจ บูรณสมภพ ในข้อ ๗๙ ที่ให้กรรมาธิการแต่ละคณะเป็นผู้เสนอชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็น สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง รวมทั้งกรรมการสรรหา ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ อันนี้ก็คือดิฉันคิดว่าสมาชิกหลาย ๆ ท่านคงจะเห็นด้วยแล้วว่าให้พวกเรา สปช. เป็นผู้ที่เลือกสมาชิกที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แล้วก็รวมทั้งกรรมการสรรหาซึ่งเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิด้วย แต่ตามที่ท่านดุสิต เครืองาม เสนอให้ตัดคำว่า วิสามัญ ออกจาก คณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูปด้านต่าง ๆ และท่านประธานกรรมาธิการยกร่าง ท่านเลิศรัตน์ ก็เห็นด้วย ซึ่งคิดว่าทุก ๆ ท่านได้เห็นด้วยแล้วว่าควรจะเอาออก แต่เมื่อเอาออกแล้ว ก็ต้องแก้ไขในข้อ ๗๙ วรรคสอง ดิฉันจะขออ่านนะคะเสนอว่า คณะกรรมาธิการสามัญ ประกอบด้วยบุคคลซึ่งสภาตั้งจากสมาชิกของสภาเท่านั้น ส่วนคณะกรรมาธิการซึ่งเป็น ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมี ๒ ประเภทคือ คณะกรรมาธิการประจำสภาและคณะกรรมาธิการ วิสามัญ คณะกรรมาธิการวิสามัญในที่นี้ก็คือ คณะกรรมาธิการวิสามัญ ๕ คณะในข้อ ๘๔ สำหรับในข้อ ๘๐ (๑๕) ที่มีสมาชิกเสนอตั้งแต่วาระที่หนึ่ง ให้นำคำว่า ปฏิรูปค่านิยม ออก ดิฉันกลับมีความเห็นว่าควรจะมีไว้ เพราะว่าปัจจุบันค่านิยมของคนไทยเป็นปัญหาใหญ่ ของบ้านเมือง เช่น ค่านิยมนับถือคนรวย ค่านิยมที่จะต้องใช้ของแพง ๆ พวกแบรนด์เนม (Brandname) ต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่แอฟฟอร์ด (Afford) ไม่ไหว ซึ่งค่านิยมเหล่านี้จะต้องปฏิรูป ให้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยมที่เห็นการทุจริตเป็นเรื่องธรรมดา ดิฉันคิดว่าอันนี้ก็ต้อง แก้ไขนะคะ จะต้องมีการปฏิรูป แล้วก็เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย ขอบคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานค่ะ มันจะมีข้อ ๗๙ นะคะ ที่เมื่อตัดคำว่า วิสามัญ ออกแล้วจะต้องแก้ไขเวิร์ดดิ้ง (Wording) ในวรรคสอง เพราะว่า ถ้าท่านอ่านนะคะ บรรทัดแรกโอเค คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งสภา ตั้งจากสมาชิกของสภาเท่านั้น ส่วนคณะกรรมาธิการเราจะต้องมีคำจำกัดความว่า ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกจะมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการประจำสภา และคณะกรรมาธิการวิสามัญ ต้องแก้ข้อ ๗๙ ด้วยค่ะ
แล้วอันนี้คนอ่านก็จะไม่เข้าใจ
ขอบคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ตรึงใจ บูรณสมภพ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันสั้น ๆ ก็เห็นด้วยกับท่านคุณหมอพรพันธุ์ว่า คณะกรรมาธิการวิสัยทัศน์ควรจะทำในเต็มรูปของที่ประชุม ไม่ใช่ทำกันเฉพาะ คณะกรรมาธิการ เพราะว่าถ้าคณะกรรมาธิการทำออกมาแล้วก็ต้องมาให้ที่ประชุมรับรอง เห็นชอบอีกที ซึ่งก็จะต้องเสียเวลาคิดกันอีกทีอีกรอบหนึ่ง เพราะฉะนั้นถ้าทำทีเดียวเลย ในที่ประชุมใหญ่ดิฉันคิดว่าจะดีกว่า อาจจะทำตุ๊กตาขึ้นมาหรืออะไรหลาย ๆ แบบ ขอบคุณค่ะ
ดิฉัน ศาสตราจารย์เกียรติคุณตรึงใจ บูรณสมภพ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันเองก็ได้ฟังข้อมูลทั้ง ๒ ฝ่ายมาเป็นเวลานานพอสมควร เพราะว่าก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าระบบไหนจะดีกว่า อย่างไรก็ตามดิฉันคิดว่าระบบสัมปทานที่ รัฐบาลกำลังจะทำ ถ้ามีอยู่ระบบเดียวก็คงไม่ใช่ระบบที่ถูกต้อง อะไรก็ตามที่ทำโดยที่เราเอง ไม่ได้ศึกษาอีกด้านหนึ่ง อีกระบบหนึ่ง ซึ่งอาจจะดีกว่าก็ได้นะคะ เพราะฉะนั้นด้วยเหตุการณ์ เฉพาะหน้าท่านบอกว่า ถ้าเผื่อว่าทำระบบแบ่งปันผลผลิตจะเสียเวลาถึง ๕ ปี ซึ่งดิฉันคิดว่า ถ้าทำงานกันจริง ๆ มันก็ไม่น่าจะถึง ๕ ปี อาจจะทำเสร็จในปีเดียวก็ได้ แต่ว่าด้วยหลักของ เศรษฐกิจเฉพาะหน้าท่านก็อาจจะใช้ระบบสัมปทาน แต่ในโอกาสต่อไปท่านจะต้องคิด ณ เดี๋ยวนี้ว่าระบบการแบ่งปันผลผลิตก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่รัฐบาลก็อาจจะได้ผลประโยชน์ มากกว่าที่ท่านบอกว่าจะเป็นการเสี่ยง ดิฉันคิดว่าท่านมีหน้าที่ที่จะต้องศึกษาในเรื่องการเสี่ยง การที่จะต้องลงทุน นักธุรกิจก็ยังจะต้องเสี่ยงในการลงทุน การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง แม้กระทั่งยกตัวอย่างการเล่นหุ้นก็มีความเสี่ยงแต่เราก็ยังเล่น โดยเราก็อาจจะศึกษาว่า หุ้นตัวไหนดี ไม่ดี เราก็ต้องศึกษาข้อมูลเหมือนกัน แล้วการเล่นหุ้นนี้ ดิฉันยกตัวอย่าง เปรียบเทียบนะคะ เราอาจจะไม่ได้เล่นทั้งหมดด้วยจำนวนเงินที่มี เราอาจจะกันส่วนหนึ่ง ไว้บ้างนะคะ แต่เราสามารถที่จะเสี่ยงได้ เพราะฉะนั้นดิฉันเองยังคิดว่าระบบแบ่งปันผลผลิต ก็เป็นระบบที่เราควรจะต้องเสี่ยง ไม่ใช่ยกประโยชน์หรือทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ซึ่งคนไทยทุกคนเป็นเจ้าของไปให้กับบริษัทต่างชาติเปิดสัมปทาน จัดสัมปทานเข้ามาประมูล รับสัมปทานแต่ฝ่ายเดียว เพราะว่าเราเองไม่มีความรู้เพียงพอดังที่ท่านได้พูดไว้ ดิฉันคิดว่า ความรู้เหล่านี้จะต้องมีคนรู้ เรามีคนที่มีความสามารถเยอะ แล้วก็สามารถไปหาความรู้ได้ ความรู้เหล่านี้ไม่ใช่เกินกำลังของคนไทยที่จะต้องไปพึ่งชาวต่างชาติอยู่ตลอดเวลานะคะ เราไปเอาทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดไปให้กับต่างชาติแล้วเราก็ได้ผลประโยชน์เพียงส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเราลงทุนเสี่ยงด้วยเราก็จะได้ผลประโยชน์อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ ดิฉันคิดว่าการสำรวจ เรายังไม่ได้สำรวจทั้งประเทศ เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงว่าเรามีแก๊สธรรมชาติเหลือเท่านี้ มีน้ำมันเท่านี้ ดิฉันว่าไม่เป็นความจริง เราจะต้องสำรวจต่อ แม้แต่ระบบสัมปทานเอง ก็ต้องใช้เวลาในการสำรวจเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นดิฉันขอสรุปว่าน่าที่จะเลือกทางเลือกที่ ๓ ก็คือใช้ ๒ ระบบผสมกันนะคะ แต่ขอให้เริ่มศึกษาระบบแบ่งปันผลผลิตเพื่อที่จะใช้ได้ ในโอกาสต่อไป หรือในระบบสัมปทานที่ว่ามีบริษัทเข้ามาประมูล ๒๐ กว่ารายก็อาจจะ พิจารณาคัดเลือกให้เหลือเพียงบริษัทที่จำเป็น ไม่จำเป็นจะต้องให้ทุกบริษัท แล้วก็เก็บ ส่วนหนึ่งมาเป็นการบริหารแบบรัฐ ร่วมกับเอกชนด้วยระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งดิฉันคิดว่า จะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติได้มากกว่าหรือเพียงพอแทนการงอมืองอเท้าทำแต่ระบบ สัมปทานเพียงอย่างเดียว ขอบคุณค่ะ
ดิฉัน ศาสตราจารย์เกียรติคุณตรึงใจ บูรณสมภพ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันเองก็ได้ฟังข้อมูลทั้ง ๒ ฝ่ายมาเป็นเวลานานพอสมควร เพราะว่าก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าระบบไหนจะดีกว่า อย่างไรก็ตามดิฉันคิดว่าระบบสัมปทานที่ รัฐบาลกำลังจะทำ ถ้ามีอยู่ระบบเดียวก็คงไม่ใช่ระบบที่ถูกต้อง อะไรก็ตามที่ทำโดยที่เราเอง ไม่ได้ศึกษาอีกด้านหนึ่ง อีกระบบหนึ่ง ซึ่งอาจจะดีกว่าก็ได้นะคะ เพราะฉะนั้นด้วยเหตุการณ์ เฉพาะหน้าท่านบอกว่า ถ้าเผื่อว่าทำระบบแบ่งปันผลผลิตจะเสียเวลาถึง ๕ ปี ซึ่งดิฉันคิดว่า ถ้าทำงานกันจริง ๆ มันก็ไม่น่าจะถึง ๕ ปี อาจจะทำเสร็จในปีเดียวก็ได้ แต่ว่าด้วยหลักของ เศรษฐกิจเฉพาะหน้าท่านก็อาจจะใช้ระบบสัมปทาน แต่ในโอกาสต่อไปท่านจะต้องคิด ณ เดี๋ยวนี้ว่าระบบการแบ่งปันผลผลิตก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่รัฐบาลก็อาจจะได้ผลประโยชน์ มากกว่าที่ท่านบอกว่าจะเป็นการเสี่ยง ดิฉันคิดว่าท่านมีหน้าที่ที่จะต้องศึกษาในเรื่องการเสี่ยง การที่จะต้องลงทุน นักธุรกิจก็ยังจะต้องเสี่ยงในการลงทุน การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง แม้กระทั่งยกตัวอย่างการเล่นหุ้นก็มีความเสี่ยงแต่เราก็ยังเล่น โดยเราก็อาจจะศึกษาว่า หุ้นตัวไหนดี ไม่ดี เราก็ต้องศึกษาข้อมูลเหมือนกัน แล้วการเล่นหุ้นนี้ ดิฉันยกตัวอย่าง เปรียบเทียบนะคะ เราอาจจะไม่ได้เล่นทั้งหมดด้วยจำนวนเงินที่มี เราอาจจะกันส่วนหนึ่ง ไว้บ้างนะคะ แต่เราสามารถที่จะเสี่ยงได้ เพราะฉะนั้นดิฉันเองยังคิดว่าระบบแบ่งปันผลผลิต ก็เป็นระบบที่เราควรจะต้องเสี่ยง ไม่ใช่ยกประโยชน์หรือทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ซึ่งคนไทยทุกคนเป็นเจ้าของไปให้กับบริษัทต่างชาติเปิดสัมปทาน จัดสัมปทานเข้ามาประมูล รับสัมปทานแต่ฝ่ายเดียว เพราะว่าเราเองไม่มีความรู้เพียงพอดังที่ท่านได้พูดไว้ ดิฉันคิดว่า ความรู้เหล่านี้จะต้องมีคนรู้ เรามีคนที่มีความสามารถเยอะ แล้วก็สามารถไปหาความรู้ได้ ความรู้เหล่านี้ไม่ใช่เกินกำลังของคนไทยที่จะต้องไปพึ่งชาวต่างชาติอยู่ตลอดเวลานะคะ เราไปเอาทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดไปให้กับต่างชาติแล้วเราก็ได้ผลประโยชน์เพียงส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเราลงทุนเสี่ยงด้วยเราก็จะได้ผลประโยชน์อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ ดิฉันคิดว่าการสำรวจ เรายังไม่ได้สำรวจทั้งประเทศ เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงว่าเรามีแก๊สธรรมชาติเหลือเท่านี้ มีน้ำมันเท่านี้ ดิฉันว่าไม่เป็นความจริง เราจะต้องสำรวจต่อ แม้แต่ระบบสัมปทานเอง ก็ต้องใช้เวลาในการสำรวจเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นดิฉันขอสรุปว่าน่าที่จะเลือกทางเลือกที่ ๓ ก็คือใช้ ๒ ระบบผสมกันนะคะ แต่ขอให้เริ่มศึกษาระบบแบ่งปันผลผลิตเพื่อที่จะใช้ได้ ในโอกาสต่อไป หรือในระบบสัมปทานที่ว่ามีบริษัทเข้ามาประมูล ๒๐ กว่ารายก็อาจจะ พิจารณาคัดเลือกให้เหลือเพียงบริษัทที่จำเป็น ไม่จำเป็นจะต้องให้ทุกบริษัท แล้วก็เก็บ ส่วนหนึ่งมาเป็นการบริหารแบบรัฐ ร่วมกับเอกชนด้วยระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งดิฉันคิดว่า จะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติได้มากกว่าหรือเพียงพอแทนการงอมืองอเท้าทำแต่ระบบ สัมปทานเพียงอย่างเดียว ขอบคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉันมีความเห็น เช่นเดียวกับคุณประสาร มฤคพิทักษ์ เพราะว่าเราพูดกันมาทั้งวันนะคะ แต่เราไม่ได้สรุป ข้อเสนอที่เราพูดหรืออภิปรายให้กับรัฐบาล เราทำหน้าที่เหมือนกับบุรุษไปรษณีย์เท่านั้น ก็คือผ่านให้เรามาพูด ๆ แล้วก็มอบให้รัฐบาลทั้งหมด ดิฉันคิดว่ารัฐบาลไม่มาฟังที่เราพูดกัน ทั้งวันแน่นอน เพียงแต่อ่านเอกสาร เพราะฉะนั้นก็เหมือนกับว่าเราไม่ได้ให้ความเห็นอะไร กับรัฐบาลนะคะ ดิฉันเองอยากจะให้ลงมติว่า จะชะลอหรือว่าให้เปิดสัมปทานไปเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉันมีความเห็น เช่นเดียวกับคุณประสาร มฤคพิทักษ์ เพราะว่าเราพูดกันมาทั้งวันนะคะ แต่เราไม่ได้สรุป ข้อเสนอที่เราพูดหรืออภิปรายให้กับรัฐบาล เราทำหน้าที่เหมือนกับบุรุษไปรษณีย์เท่านั้น ก็คือผ่านให้เรามาพูด ๆ แล้วก็มอบให้รัฐบาลทั้งหมด ดิฉันคิดว่ารัฐบาลไม่มาฟังที่เราพูดกัน ทั้งวันแน่นอน เพียงแต่อ่านเอกสาร เพราะฉะนั้นก็เหมือนกับว่าเราไม่ได้ให้ความเห็นอะไร กับรัฐบาลนะคะ ดิฉันเองอยากจะให้ลงมติว่า จะชะลอหรือว่าให้เปิดสัมปทานไปเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ