กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม เกษมสันต์ จิณณวาโส สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๑๖ ประเด็นที่อยากจะนำเรียน แล้วก็หารือ แล้วก็ฝากประเด็นไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด พ.ร.บ. ป่าไม้ หรือเรื่องอุทยานแห่งชาติ หรือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องป่าชายเลน ผมอยากเรียน อย่างนี้ครับว่า ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา คดีความได้เพิ่มมากจากที่ติดตามได้ว่าคดีทั้งหมด มีประมาณ ๗๐๐ คดี เพิ่มเป็นประมาณ ๓,๕๐๐ กว่าคดี คดีส่วนใหญ่อยู่ในขั้นของ การสอบสวนของพนักงาน ทีนี้ประเด็นของขั้นการสอบสวนของพนักงานก็พบว่า มันมีความล่าช้า อย่างเช่นในปี ๒๕๕๗ การกระทำผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ป่าไม้ หรืออุทยานแห่งชาติ หรือทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีอยู่ประมาณ ๓,๔๒๗ คดี ซึ่งเป็นคดีที่ส่งให้อัยการไป ๑๐๔ คดี แล้วก็อยู่ในกระบวนการพิพากษาของศาลหรือตัดสินไปแล้วนี่เพียง ๓ คดี เมื่อมาดูพื้นที่ของ ความเสียหายเราก็พบว่าจากปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา พื้นที่ความเสียหายมันเพิ่มขึ้นจาก ๑๓.๓ ล้านไร่ เป็น ๘๕ ล้านไร่ สิ่งที่อยากจะนำเรียนอย่างนี้ครับว่าในการดำเนินคดีของ พนักงานเจ้าหน้าที่เราก็ใช้กฎหมายตามมาตรา ๒๒ ของ พ.ร.บ. อุทยานก็คือว่าถ้าเกิดเจอ ผู้กระทำผิดเราก็เข้าไปรื้อถอน หรือแม้แต่ใช้อำนาจตามกฎหมาย มาตรา ๒๕ ของ พ.ร.บ. ป่าไม้ ในลักษณะเดียวกัน แต่บางคดีซึ่งมีการบุกรุก แผ้วถาง หรือก่อสร้างมานี่ และเป็นคดีที่มีผู้ต้องหา การสู้คดีหรืออะไรต่าง ๆ กว่าจะเสร็จถึงศาลฎีกาใช้เวลานาน ผมอยากกราบเรียนอย่างนี้ครับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นผู้คนอาจจะมองว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ก็ดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชก็ดี หรือแม้แต่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งผมเคยทำงานอยู่ทั้ง ๒ หน่วยงาน มักจะถูก ตัดพ้อต่อว่าว่าเมื่อเราดำเนินคดีกับผู้ที่ทำลายทรัพยากร สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ ที่อยู่พื้นที่เราก็จะพบว่าจะมีคนโน้นคนนี้ซึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลายเข้ามาขอร้อง ขออย่างโน้นอย่างนี้ คนเป็นอธิบดีก็จะลำบากใจ สิ่งที่เราทำได้ก็คือว่าเราก็ต้องบอกว่า เดี๋ยวเราติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อน ทุกครั้งที่ติดต่อเจ้าหน้าที่ก็มีอย่างเดียวที่ผมทำก็คือบอกให้ เจ้าหน้าที่รีบส่งคดีเสีย ส่งคดีให้พนักงานสอบสวน เมื่อเราส่งคดีไปยังพนักงานสอบสวนแล้ว การที่คนโน้นคนนี้จะมาขอให้เราช่วยเหลือนั้นมันกระทำไม่ได้ แต่สิ่งเหล่านี้เมื่อเราทำตาม กฎหมายนี่มันก็ปรากฏอย่างนี้ว่าถูกกดดันบ้าง ถูกร้องเรียนบ้าง ถูกย้ายบ้าง ตรงนี้ต่างหาก คือสิ่งที่ผมคิดว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าซึ่งเป็นคนที่ดูแลพื้นที่อยู่ จำนวนมากซึ่งก็เสี่ยงภัย ค่าตอบแทนก็ต่ำ บางครั้งก็ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ตรงนี้ต่างหาก คือสิ่งที่ผมคิดว่าเมื่อเรามองว่าการบังคับใช้กฎหมายเป็นมุมลบกับผู้ใช้อำนาจรัฐ แต่เราต้อง มองเหมือนกันว่าบุคคลภายนอกไม่ได้มองเลยว่าในฐานะที่เป็นผู้ใช้อำนาจนั้นได้รับผลกระทบ อะไรบ้าง ผมยกตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่ง ท่านอาจจะเคยได้ยินคดีโลกร้อน ณ เวลานั้นผมเป็น อธิบดีกรมอุทยานครับ หนังสือพิมพ์รุมหาว่ากลั่นแกล้งผู้ยากจน ผมบอกว่าเราไม่ได้กลั่นแกล้ง คดีสิ้นสุด ศาลตัดสินแล้วว่ากระทำผิด ถึงมีการฟ้องร้องทางแพ่งเรียกค่าเสียหาย ซึ่งถ้าเป็น พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารเราก็จะเรียกค่าเสียหายประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ บาทต่อไร่ แต่ถ้าเป็น พื้นที่ป่าทั่วไปนี่นะครับก็จะประมาณ ๖๘,๐๐๐ บาทต่อไร่ ตรงนี้คือการฟ้องแพ่งนะครับ เพื่ออะไร เพื่อที่จะเอาเงินที่ฟ้องเมื่อชนะคดีแล้วเอามาฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกทำลาย ตรงนี้คือสิ่งที่ผมอยากจะกราบเรียนกับท่านประธานว่าในอีกมุมมองหนึ่งนี่มันมีกระจก ที่สะท้อนให้เห็นว่าตัวพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นบางทีไม่ได้ละเลยหรอกนะครับ แต่ก็มีประเด็นที่ อยากจะฝากไว้ว่าบางครั้งการกระทำผิดของผู้ต้องหากรณีที่เป็นบุคคลต่างด้าวอยากจะขอ ความกรุณาว่าให้ดำเนินคดีในเรื่องการลักลอบเข้าเมืองก่อน อย่าดำเนินคดีในกรณีความผิด ที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ทางด้านทรัพยากรแต่เพียงอย่างเดียว เพราะว่าถ้าดำเนินคดีในกรณี ลักลอบเข้าเมืองแล้วก็จะมีการลงโทษ หลังจากที่ลงโทษเสร็จสิ้นแล้วถึงส่งตัวกลับเพื่อให้เกิด ความหลาบจำ ตรงนี้ผมอยากจะขออนุญาตฝากท่านประธานไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อกรุณา ทราบถึงเรื่องของการใช้อำนาจทางกฎหมาย ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม เกษมสันต์ จิณณวาโส สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๑๖ ประเด็นที่อยากจะนำเรียน แล้วก็หารือ แล้วก็ฝากประเด็นไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด พ.ร.บ. ป่าไม้ หรือเรื่องอุทยานแห่งชาติ หรือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องป่าชายเลน ผมอยากเรียน อย่างนี้ครับว่า ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา คดีความได้เพิ่มมากจากที่ติดตามได้ว่าคดีทั้งหมด มีประมาณ ๗๐๐ คดี เพิ่มเป็นประมาณ ๓,๕๐๐ กว่าคดี คดีส่วนใหญ่อยู่ในขั้นของ การสอบสวนของพนักงาน ทีนี้ประเด็นของขั้นการสอบสวนของพนักงานก็พบว่า มันมีความล่าช้า อย่างเช่นในปี ๒๕๕๗ การกระทำผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ป่าไม้ หรืออุทยานแห่งชาติ หรือทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีอยู่ประมาณ ๓,๔๒๗ คดี ซึ่งเป็นคดีที่ส่งให้อัยการไป ๑๐๔ คดี แล้วก็อยู่ในกระบวนการพิพากษาของศาลหรือตัดสินไปแล้วนี่เพียง ๓ คดี เมื่อมาดูพื้นที่ของ ความเสียหายเราก็พบว่าจากปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา พื้นที่ความเสียหายมันเพิ่มขึ้นจาก ๑๓.๓ ล้านไร่ เป็น ๘๕ ล้านไร่ สิ่งที่อยากจะนำเรียนอย่างนี้ครับว่าในการดำเนินคดีของ พนักงานเจ้าหน้าที่เราก็ใช้กฎหมายตามมาตรา ๒๒ ของ พ.ร.บ. อุทยานก็คือว่าถ้าเกิดเจอ ผู้กระทำผิดเราก็เข้าไปรื้อถอน หรือแม้แต่ใช้อำนาจตามกฎหมาย มาตรา ๒๕ ของ พ.ร.บ. ป่าไม้ ในลักษณะเดียวกัน แต่บางคดีซึ่งมีการบุกรุก แผ้วถาง หรือก่อสร้างมานี่ และเป็นคดีที่มีผู้ต้องหา การสู้คดีหรืออะไรต่าง ๆ กว่าจะเสร็จถึงศาลฎีกาใช้เวลานาน ผมอยากกราบเรียนอย่างนี้ครับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นผู้คนอาจจะมองว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ก็ดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชก็ดี หรือแม้แต่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งผมเคยทำงานอยู่ทั้ง ๒ หน่วยงาน มักจะถูก ตัดพ้อต่อว่าว่าเมื่อเราดำเนินคดีกับผู้ที่ทำลายทรัพยากร สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ ที่อยู่พื้นที่เราก็จะพบว่าจะมีคนโน้นคนนี้ซึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลายเข้ามาขอร้อง ขออย่างโน้นอย่างนี้ คนเป็นอธิบดีก็จะลำบากใจ สิ่งที่เราทำได้ก็คือว่าเราก็ต้องบอกว่า เดี๋ยวเราติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อน ทุกครั้งที่ติดต่อเจ้าหน้าที่ก็มีอย่างเดียวที่ผมทำก็คือบอกให้ เจ้าหน้าที่รีบส่งคดีเสีย ส่งคดีให้พนักงานสอบสวน เมื่อเราส่งคดีไปยังพนักงานสอบสวนแล้ว การที่คนโน้นคนนี้จะมาขอให้เราช่วยเหลือนั้นมันกระทำไม่ได้ แต่สิ่งเหล่านี้เมื่อเราทำตาม กฎหมายนี่มันก็ปรากฏอย่างนี้ว่าถูกกดดันบ้าง ถูกร้องเรียนบ้าง ถูกย้ายบ้าง ตรงนี้ต่างหาก คือสิ่งที่ผมคิดว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าซึ่งเป็นคนที่ดูแลพื้นที่อยู่ จำนวนมากซึ่งก็เสี่ยงภัย ค่าตอบแทนก็ต่ำ บางครั้งก็ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ตรงนี้ต่างหาก คือสิ่งที่ผมคิดว่าเมื่อเรามองว่าการบังคับใช้กฎหมายเป็นมุมลบกับผู้ใช้อำนาจรัฐ แต่เราต้อง มองเหมือนกันว่าบุคคลภายนอกไม่ได้มองเลยว่าในฐานะที่เป็นผู้ใช้อำนาจนั้นได้รับผลกระทบ อะไรบ้าง ผมยกตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่ง ท่านอาจจะเคยได้ยินคดีโลกร้อน ณ เวลานั้นผมเป็น อธิบดีกรมอุทยานครับ หนังสือพิมพ์รุมหาว่ากลั่นแกล้งผู้ยากจน ผมบอกว่าเราไม่ได้กลั่นแกล้ง คดีสิ้นสุด ศาลตัดสินแล้วว่ากระทำผิด ถึงมีการฟ้องร้องทางแพ่งเรียกค่าเสียหาย ซึ่งถ้าเป็น พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารเราก็จะเรียกค่าเสียหายประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ บาทต่อไร่ แต่ถ้าเป็น พื้นที่ป่าทั่วไปนี่นะครับก็จะประมาณ ๖๘,๐๐๐ บาทต่อไร่ ตรงนี้คือการฟ้องแพ่งนะครับ เพื่ออะไร เพื่อที่จะเอาเงินที่ฟ้องเมื่อชนะคดีแล้วเอามาฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกทำลาย ตรงนี้คือสิ่งที่ผมอยากจะกราบเรียนกับท่านประธานว่าในอีกมุมมองหนึ่งนี่มันมีกระจก ที่สะท้อนให้เห็นว่าตัวพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นบางทีไม่ได้ละเลยหรอกนะครับ แต่ก็มีประเด็นที่ อยากจะฝากไว้ว่าบางครั้งการกระทำผิดของผู้ต้องหากรณีที่เป็นบุคคลต่างด้าวอยากจะขอ ความกรุณาว่าให้ดำเนินคดีในเรื่องการลักลอบเข้าเมืองก่อน อย่าดำเนินคดีในกรณีความผิด ที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ทางด้านทรัพยากรแต่เพียงอย่างเดียว เพราะว่าถ้าดำเนินคดีในกรณี ลักลอบเข้าเมืองแล้วก็จะมีการลงโทษ หลังจากที่ลงโทษเสร็จสิ้นแล้วถึงส่งตัวกลับเพื่อให้เกิด ความหลาบจำ ตรงนี้ผมอยากจะขออนุญาตฝากท่านประธานไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อกรุณา ทราบถึงเรื่องของการใช้อำนาจทางกฎหมาย ขอบพระคุณครับ
ไม่เห็นชอบครับ
ขอบคุณครับท่านประธาน กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพ ผม เกษมสันต์ จิณณวาโส สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๑๖ สิ่งที่อยากจะนำเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เนื่องจากว่าหลาย ๆ เรื่องที่เราพูดคุยกัน สิ่งที่สำคัญนี่อยากจะเรียนย้ำว่าเรื่องพลังงานของประเทศไทย ส่วนใหญ่เรานำเข้าจาก ต่างประเทศ สิ่งที่เราจะเป็นปัญหามากก็คือการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะว่าเรื่องของ การนำเข้าพลังงานมีมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื้อเพลิงในหลายรูปแบบ ทั้งน้ำมัน ทั้งก๊าซธรรมชาติ สิ่งที่ผมอยากนำเรียนก็คือว่า ในเรื่องของการให้สัมปทานขุดเจาะ ปิโตรเลียมที่เราฟังกันมานี่ สมมุติว่าเราตัดสินใจวันนี้อีก ๕ ปีข้างหน้าเราถึงจะได้รับอานิสงส์ จากการตัดสินใจ ที่ผ่านมาเราก็พบว่าอย่างการขุดเจาะน้ำมันหรือก๊าซในอ่าวไทย เราขุดไป จำนวนมาก สิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับผมหรือหน่วยงานของผมก็คือเรื่องของการทำอีไอเอ คือการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เรื่องตรงนี้เป็นประเด็นหนึ่งที่ หลายหน่วยงานเขาพยายามมองว่าอีไอเอเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา แต่อยากกราบเรียนว่า อีไอเอเป็นเครื่องมือที่ยืนยัน คิดไปล่วงหน้าว่าถ้าเกิดปัญหาอะไรในอนาคต เราจะลด หรือบรรเทา หรือแก้ไข หรือเยียวยาเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างไร ทีนี้เรื่องนี้ก็มาเกี่ยวข้องกับ เรื่องของการให้สัมปทาน เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ตัดสินใจวันนี้ตามที่กรรมาธิการเสียงข้างมาก ได้นำเสนอ ซึ่งผมเห็นด้วย แล้วก็สนับสนุนเต็มที่ว่าการตัดสินใจที่จะเปิดแปลงสัมปทานที่ ๒๑ ในการประมูลครั้งนี้ ซึ่งมีทั้งในเรื่องของสัมปทานทั้งบนบก ทั้งในทะเล รวมทั้ง ๒๓ แปลง เมื่อถึงเวลาจำนวนพื้นที่ที่ไปกำหนดไว้ว่าจะใช้พื้นที่กี่ตารางกิโลเมตร ในข้อเท็จจริงเวลาจะไป ดำเนินการจริง ๆ มันต้องไปทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องไปกำหนด พื้นที่ ต้องไปกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการสำรวจขุดเจาะ เพราะฉะนั้น หลายคนที่เป็นห่วง หลาย ๆ ภาพรวมผมเชื่อว่ามาตรการที่กำหนดก่อนการอนุญาต สมมุติว่าเราเปิดให้มีการยื่นวันนี้ ซึ่งจะมีการปิดการยื่นคำขอในเดือนกุมภาพันธ์ แล้วกว่าจะ คัดเลือกเข้ากระบวนการอะไรต่าง ๆ นี่ สมมุติว่าภายในสิ้นปีนี้แล้วเสร็จ ยังตอบไม่ได้เลยครับว่า ในอีก ๕ ปีข้างหน้าการแก้ไขปัญหาเรื่องความมั่นคงทางด้านพลังงานเรา เรายังอยู่ในภาวะ ความเสี่ยงหรือไม่ เพราะฉะนั้นการที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ดี หรือกระทรวงพลังงานก็ดี ได้เสนอแนวทางเลือกต่อรัฐบาลที่จะให้มีการเปิดแปลงสัมปทานใหม่ ส่วนแนวคิดเรื่องของ พีเอสซีนั้นผมคิดว่ามันเป็นเรื่องใหม่จริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องที่เราจะต้องไปออกกฎหมาย เราจะต้องไปทำสร้างกระบวนการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ให้กับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ผู้เข้าไป กำกับ รวมทั้งระบบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ พวกนี้ ผมคิดว่าถ้าเป็นไปได้เราสามารถทำงาน คู่ขนานกันไป ก็หมายความว่าเราเดินเหมือนกับทางเลือกที่ ๓ ครับ ก็คือเราศึกษาไปด้วย พร้อมเมื่อไรแล้วถ้ามีความเห็นสอดคล้องกับท่านสมาชิกหลาย ๆ ท่าน แนวทางของพีเอสซี ก็อาจจะเป็นแนวทางเลือกที่ดีในอนาคต แต่ ณ วันนี้ถ้าเราไม่ตัดสินใจดำเนินการอย่างใด อย่างหนึ่ง ผมคิดว่าความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทยอยู่ในภาวะความเสี่ยงนะครับ ผมขออนุญาตท่านประธานเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาไว้เพียงเท่านี้ ขอบพระคุณครับ
ขอบคุณครับท่านประธาน กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพ ผม เกษมสันต์ จิณณวาโส สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๑๖ สิ่งที่อยากจะนำเสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เนื่องจากว่าหลาย ๆ เรื่องที่เราพูดคุยกัน สิ่งที่สำคัญนี่อยากจะเรียนย้ำว่าเรื่องพลังงานของประเทศไทย ส่วนใหญ่เรานำเข้าจาก ต่างประเทศ สิ่งที่เราจะเป็นปัญหามากก็คือการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะว่าเรื่องของ การนำเข้าพลังงานมีมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื้อเพลิงในหลายรูปแบบ ทั้งน้ำมัน ทั้งก๊าซธรรมชาติ สิ่งที่ผมอยากนำเรียนก็คือว่า ในเรื่องของการให้สัมปทานขุดเจาะ ปิโตรเลียมที่เราฟังกันมานี่ สมมุติว่าเราตัดสินใจวันนี้อีก ๕ ปีข้างหน้าเราถึงจะได้รับอานิสงส์ จากการตัดสินใจ ที่ผ่านมาเราก็พบว่าอย่างการขุดเจาะน้ำมันหรือก๊าซในอ่าวไทย เราขุดไป จำนวนมาก สิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับผมหรือหน่วยงานของผมก็คือเรื่องของการทำอีไอเอ คือการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เรื่องตรงนี้เป็นประเด็นหนึ่งที่ หลายหน่วยงานเขาพยายามมองว่าอีไอเอเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา แต่อยากกราบเรียนว่า อีไอเอเป็นเครื่องมือที่ยืนยัน คิดไปล่วงหน้าว่าถ้าเกิดปัญหาอะไรในอนาคต เราจะลด หรือบรรเทา หรือแก้ไข หรือเยียวยาเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างไร ทีนี้เรื่องนี้ก็มาเกี่ยวข้องกับ เรื่องของการให้สัมปทาน เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ตัดสินใจวันนี้ตามที่กรรมาธิการเสียงข้างมาก ได้นำเสนอ ซึ่งผมเห็นด้วย แล้วก็สนับสนุนเต็มที่ว่าการตัดสินใจที่จะเปิดแปลงสัมปทานที่ ๒๑ ในการประมูลครั้งนี้ ซึ่งมีทั้งในเรื่องของสัมปทานทั้งบนบก ทั้งในทะเล รวมทั้ง ๒๓ แปลง เมื่อถึงเวลาจำนวนพื้นที่ที่ไปกำหนดไว้ว่าจะใช้พื้นที่กี่ตารางกิโลเมตร ในข้อเท็จจริงเวลาจะไป ดำเนินการจริง ๆ มันต้องไปทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องไปกำหนด พื้นที่ ต้องไปกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการสำรวจขุดเจาะ เพราะฉะนั้น หลายคนที่เป็นห่วง หลาย ๆ ภาพรวมผมเชื่อว่ามาตรการที่กำหนดก่อนการอนุญาต สมมุติว่าเราเปิดให้มีการยื่นวันนี้ ซึ่งจะมีการปิดการยื่นคำขอในเดือนกุมภาพันธ์ แล้วกว่าจะ คัดเลือกเข้ากระบวนการอะไรต่าง ๆ นี่ สมมุติว่าภายในสิ้นปีนี้แล้วเสร็จ ยังตอบไม่ได้เลยครับว่า ในอีก ๕ ปีข้างหน้าการแก้ไขปัญหาเรื่องความมั่นคงทางด้านพลังงานเรา เรายังอยู่ในภาวะ ความเสี่ยงหรือไม่ เพราะฉะนั้นการที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็ดี หรือกระทรวงพลังงานก็ดี ได้เสนอแนวทางเลือกต่อรัฐบาลที่จะให้มีการเปิดแปลงสัมปทานใหม่ ส่วนแนวคิดเรื่องของ พีเอสซีนั้นผมคิดว่ามันเป็นเรื่องใหม่จริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องที่เราจะต้องไปออกกฎหมาย เราจะต้องไปทำสร้างกระบวนการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ให้กับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ผู้เข้าไป กำกับ รวมทั้งระบบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ พวกนี้ ผมคิดว่าถ้าเป็นไปได้เราสามารถทำงาน คู่ขนานกันไป ก็หมายความว่าเราเดินเหมือนกับทางเลือกที่ ๓ ครับ ก็คือเราศึกษาไปด้วย พร้อมเมื่อไรแล้วถ้ามีความเห็นสอดคล้องกับท่านสมาชิกหลาย ๆ ท่าน แนวทางของพีเอสซี ก็อาจจะเป็นแนวทางเลือกที่ดีในอนาคต แต่ ณ วันนี้ถ้าเราไม่ตัดสินใจดำเนินการอย่างใด อย่างหนึ่ง ผมคิดว่าความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทยอยู่ในภาวะความเสี่ยงนะครับ ผมขออนุญาตท่านประธานเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาไว้เพียงเท่านี้ ขอบพระคุณครับ