ขอบคุณครับท่านประธาน วสันต์ ภัยหลีกลี้ นะครับ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๑๗๘ ครับ จะขออนุญาตแสดงความเห็นนิดหนึ่งครับว่า การได้มาของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่อยากให้มาในลักษณะที่เป็นโควตาครับ คืออยากให้ดูคุณสมบัติเป็นหลัก คือถ้าเราจะให้ทางด้านต่าง ๆ หรือว่าภาคต่าง ๆ เสนอชื่อก็ได้ หรือว่าสมาชิกจะสมัครใจเสนอตัวก็ได้นะครับ ไม่ควรจะไปจำกัดว่าในแต่ละด้าน ในแต่ละกลุ่มนี่เสนอได้แค่ ๑ คน แม้กรรมาธิการจะบอกว่าไม่ตัดสิทธิของคนอื่นที่จะสมัคร แต่จริง ๆ ก็คือว่าแนวคิดพื้นฐานผมคิดว่าควรจะใช้คุณสมบัติ ความเหมาะสม ความรู้ ความสามารถเป็นหลัก มากกว่าที่จะไปแบ่งว่ามาจากกลุ่มนี้ ๑ กลุ่มนั้น ๑ แล้วก็ ภาคนั้น ๑ ภาคนี้ ๑ อยากให้เป็นโดยสมัครใจ แล้วก็มีคุณสมบัติ เสนอตัว แล้วก็อาจจะ มีการอภิปรายสั้น ๆ หลังจากนั้นก็ให้ที่ประชุมใหญ่เป็นคนคัดเลือก ๒๐ คนที่ได้คะแนนสูงสุดครับ ท่านประธานครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาและเพื่อนสมาชิกครับ ผม วสันต์ ภัยหลีกลี้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๑๗๘ ด้านสื่อสารมวลชนนะครับ อยากกราบเรียนที่ประชุมดังนี้ครับว่า ผมคิดว่าในที่ประชุมก็คงเห็นคล้ายกันว่าอยากเห็น ความหลากหลายของที่มาของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนะครับ แต่ว่านอกจาก ความหลากหลายแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องความสมัครใจแล้วก็คุณสมบัติความรู้ ความสามารถนะครับ เห็นด้วยครับที่กลุ่มแล้วก็ด้านต่าง ๆ จะเสนอผู้สมัครเพื่อที่จะมาเป็น กรรมาธิการ อย่างไรก็ตามจะต้องไม่ตัดสิทธิของผู้อื่นที่ประสงค์จะสมัครโดยตรงนะครับ หรือว่าถ้าหากกลุ่มจะเสนอมากกว่า ๑ คนก็สามารถจะทำได้
– ๑๕/๑ ที่สำคัญก็คือต้องไม่ตัดสิทธิของสมาชิกทั้งสภาในการที่จะเลือกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง ๒๐ คนนะครับ เพราะว่าถ้าหากว่าเราไปกำหนดเป็นโควตากำหนดไปว่าแต่ละด้านต้องการันตี ๑ คนนะครับ แต่ละภาคต้องการันตี ๑ คน ก็เท่ากับว่าเราจะไปตัดสิทธิของสมาชิกทั้งหมด ที่จะเลือก ๒๐ คน ซึ่งก็เสี่ยงต่อการที่จะขัดกับรัฐธรรมนูญนะครับ ผมคิดว่าการแยกออกไป เป็นด้านต่าง ๆ นั้นนะครับ เราแยกกันเพราะว่าเป็นที่มาของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และในระยะเริ่มต้นก็เป็นขั้นตอนเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกัน แต่การทำงานของเรา จะต้องทำงานในภาพรวมของสภาปฏิรูปแห่งชาติทั้งหมดนะครับ เมื่อมีการสมัครมาในแต่ละด้าน ถ้าหากว่าเราไปล็อกไปเลือกเป็นด้าน ๆ ไป เราก็จะมีกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอยู่ ๒ ประเภท ๒ ชั้น คือเหมือนกับพลเมืองชั้นหนึ่งนะครับ ที่ผ่านการเลือกแล้วก็ที่นั่นการันตี ตำแหน่งมา ในขณะที่มีชั้นสองคือเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ แล้วก็มีอยู่แค่ ๕ คน ดังนั้นผมคิดว่า ควรจะเป็นที่ชัดเจนนะครับว่าสภาแห่งนี้ควรจะเลือกทั้ง ๒๐ คน แล้วก็ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด อันดับ ๑-๒๐ ก็คือผู้ที่สมควรจะเป็นกรรมาธิการ เป็นตัวแทนของพวกเราทั้งหมดที่จะ เสียสละไปยกร่างรัฐธรรมนูญนะครับ ในขณะที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทั้งหมดก็ยัง สามารถที่จะแบ่งงานกันได้ไปทำงานในด้านกรรมาธิการด้านต่าง ๆ ที่จะมีขึ้นในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นกรรมาธิการสามัญหรือกรรมาธิการวิสามัญนะครับ ผมขออนุญาตยกตัวอย่างของ ด้านสื่อสารมวลชนนะครับ เราคุยกันในกลุ่มเราเห็นว่าควรจะมีตัวแทนทางด้าน สื่อสารมวลชนเข้าไปเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และมีผู้ที่เหมาะสมอย่างเช่น อาจารย์มานิจ สุขสมจิตร นะครับ แต่เราคิดว่าไม่ควรที่จะไปล็อกเป็นโควตาเอาไว้ เราก็เสนอ แล้วก็เห็นว่าท่านเหมาะสมก็หวังว่าที่ประชุมนี้จะเลือกท่านเข้าไปนะครับ แต่ว่าเวลา ท่านทำงานก็คงไม่ได้ทำงานเฉพาะด้าน ก็คงทำงานในแง่ของภาพรวม สุดท้ายนะครับ ผมคิดว่า คือการทำงานเราก็คงอยากจะเห็นตัวแทนจากทางด้านภูมิภาค แล้วก็ตัวแทนจากผู้หญิงเข้ามาเป็น กรรมาธิการอยู่ด้วยนะครับ ดังนั้นตอนเลือกก็เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ คือผมคิดว่าตอนเลือก หวังว่าเราจะเลือกให้มีความหลากหลาย แต่ว่าต้องไม่ขัดกับหลักการที่ว่าที่ประชุมนี้จะต้อง เลือกทั้ง ๒๐ คน แล้วก็ไม่มีการล็อกโควตาไม่มีการบล็อกโหวตครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานและเพื่อนสมาชิกครับ ผมคิดว่าการที่ผู้สมัครได้มีโอกาสแสดงวิสัยทัศน์และแนะนำตัวสัก ๓ นาทีนะครับ คงจะทำให้ ที่ประชุมได้รู้จักแล้วก็พอที่จะตัดสินใจได้นะครับ แต่ว่าสิ่งที่อยากให้ทางสำนักเลขาธิการช่วย ก็คือว่าช่วยรายชื่อทั้ง ๓๑ ท่านที่สมัครนะครับมีใครบ้าง มาจากด้านไหน จากภาคไหน นะครับ ตรงนี้จะช่วยให้เวลาลงคะแนนเราจะสามารถดูได้ชัดเจนขึ้นครับ เพราะผมคิดว่า ถ้าหากเราจะต้องทำสำเนาทั้งหมดนะครับ ใบสมัครของผู้สมัครทั้งหมดจะใช้เวลานานมาก แล้วก็ผมคิดว่าจะสิ้นเปลืองทรัพยากรด้วยนะครับ ขอบพระคุณครับ
กระผม นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ในฐานะกรรมาธิการ ปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เสนอ พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป ครับ
กราบเรียนท่านประธานและเพื่อนสมาชิกครับ เพื่อให้การเลือกกรรมการประสานงานนี้เป็นไปด้วยดีนะครับ คือจะขออนุญาตเสนอว่าให้ผู้ที่ อาสามาทำหน้าที่นี้ได้มีโอกาสแนะนำตัวให้เพื่อนสมาชิกได้รู้จักแล้วก็ได้ทราบความตั้งใจนะครับ สักไม่เกิน ๒ นาทีครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานสภาและเพื่อนสมาชิกครับ มีท่านเพื่อนสมาชิกบางท่านได้ขอให้ทางกรรมาธิการช่วยกรุณาสรุปสาระสำคัญอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าน่าจะทำให้การพิจารณาในวาระที่สองเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็วนะครับ คือสาระสำคัญของร่างระเบียบข้อบังคับนี้มีอะไรบ้างเราจะได้ไปเน้นในจุดที่ควรจะเน้น แล้วก็จะได้พิจารณาในจุดที่ควรจะข้ามไปโดยเร็วครับ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการประชุม ผมคิดว่าอาจจะไม่ได้มีข้อถกเถียงอะไรมาก นอกจากประเด็นเกี่ยวกับเรื่องกรรมาธิการครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานและเพื่อนสมาชิกครับ ผม วสันต์ ภัยหลีกลี้ นะครับ ผมคิดว่าในเรื่องที่เราพูดคุยกันนะครับเกี่ยวกับที่มา ผมคิดว่า ที่มาที่มาจากการเลือกของกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานี่นะครับ ก็เป็นเรื่อง ที่ดีแล้วนะครับ แต่ว่าอยากให้รับฟังความคิดเห็นของกรรมาธิการชุดต่าง ๆ ด้วยนะครับ ในขณะเดียวกันในเรื่องของจำนวน เราเสนอเป็นสัดส่วนก็น่าจะดีแล้วนะครับ แต่ว่าจำนวน ของกรรมาธิการค่อนข้างจะเห็นด้วยกับท่านทองฉัตรนะครับว่าอาจจะเยอะเกินไป น่าจะลดจำนวนลงหน่อยนะครับ
สำหรับเรื่องจำนวนกรรมาธิการนะครับ ผมคิดว่าควรจะขึ้นอยู่กับภารกิจ ของการปฏิรูปเป็นหลักนะครับ เห็นด้วยกับที่ท่านอาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ได้พูดก่อนหน้านี้ ควรจะเป็นเรื่องใหญ่แล้วก็เรื่องที่จำเป็นต้องปฏิรูป เป็นเรื่องเชิงโครงสร้าง แล้วก็เป็นจุดคานงัด ที่จะช่วยให้เราปฏิรูปแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้ไปในทิศทางที่ดีแล้วก็ยั่งยืนนะครับ ผมคิดว่าที่ควรพิจารณาก็คือดูว่าวันนี้เรามีวิกฤติอะไรที่เป็นเรื่องใหญ่ ๆ เช่น วิกฤติเรื่องการเมือง เรื่องการศึกษา เรื่องพลังงาน นอกจากนั้นก็คือว่าในเชิงโครงสร้างใหญ่ ของบ้านเมืองเราตอนนี้มีปัญหาอะไร เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เช่น ปัญหาถ้ามองในแง่ ของเศรษฐกิจ เรื่องของปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการส่งออก คือดูในเชิงโครงสร้าง ดูเรื่องใหญ่ ๆ แล้วก็กำหนดกรรมาธิการตามนั้นนะครับ ผมค่อนข้างเห็นด้วยครับว่าด้านกีฬานี่อาจจะ ปลีกย่อยเกินไปนะครับ ขณะที่ด้านเศรษฐกิจนี่อาจจะสามารถแยกออกได้อีกนะครับ เป็นไฟแนนเชียล เซคเตอร์ กับเป็นเรียล เซคเตอร์นะครับ
ในส่วนของประธานกรรมาธิการนะครับ ในช่วงท้ายที่บอกว่า กรรมาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมาธิการได้คณะเดียวนะครับ ผมคิดว่าอันนี้อาจจะเป็นการจำกัด เกินไปหรือเปล่าครับ คือที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่ว่าจะสมัครเป็นประธานกรรมาธิการอะไรนะครับ แต่มีความรู้สึกว่าตอนที่เราคุยกันเรื่องกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนะครับ ตอนนั้นเราพูด กันว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนี่จะมีภารกิจมาก แล้วก็ทำงานหามรุ่งหามค่ำ ทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันนะครับ แล้วตอนแรกสุดก็มีความคิดว่าไม่ควรจะไปเป็นกรรมาธิการใด กรรมาธิการหนึ่งเลย ตอนหลังก็บอกว่าให้เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ได้ แต่วันนี้เราให้ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นกรรมาธิการได้ ๑ คณะ ขณะที่ประธานกรรมาธิการ คณะหนึ่งไม่สามารถที่จะไปเป็นกรรมาธิการคณะใดได้อีกเลยนะครับ ผมคิดว่า ถ้าเปรียบเทียบกันในเชิงนี้แล้วอาจจะดูขาดตรรกะหน่อยนะครับ ก็เลยคิดว่าไม่ควรจะไป จำกัดข้อนั้นครับ ก็นำเรียนเพื่อที่ประชุมโปรดพิจารณานะครับ ขอบพระคุณครับ
ท่านประธานครับ เพื่อนสมาชิก ผม วสันต์ ภัยหลีกลี้ สปช. ด้านสื่อสารมวลชน มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่อง (๑๑) นิดหนึ่งครับ คือ (๑๑) จริง ๆ ในด้านสื่อสารมวลชนเคยอภิปรายกันมาแล้วว่าคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชน และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันนี้ครอบคลุมถึงเรื่องของ กสทช. แล้วก็ครอบคลุมถึงงาน เกี่ยวกับทางด้านโทรคมนาคม แต่ว่าเราคุยกันว่าถ้าหากว่างานทางด้านโทรคมนาคมถ้าเป็น ในเชิงของวิทยาศาสตร์ เป็นในเชิงของเพียว เทคโนโลยี (Pure technology) ก็ให้ไปอยู่ใน กลุ่ม ๑๗ ครับ (๑๗) แต่ถ้าหากว่าเกี่ยวพันกับเรื่องของคอนเทนท์ (Content) เกี่ยวกับ เนื้อหา เกี่ยวกับการกำกับดูแล เรกกูเลชัน (Regulation) ต่าง ๆ ก็ให้อยู่ในตรงกลุ่มนี้ ดังนั้น คิดว่าไม่ควรจะต้องเพิ่มเติมคำว่า กิจการโทรคมนาคม เข้าไปในตรงนี้นะครับ
ประการที่ ๒ ครับ ท่านประธานและเพื่อนสมาชิกครับ ผมคิดว่าประเด็น เรื่องการกีฬาอาจจะเป็นประเด็นที่ค่อนข้างจะยิบย่อย หรือว่าเล็กน้อยควรจะตัดออกไป มี เพื่อนสมาชิกอภิปรายในเรื่องนี้อยู่จำนวนมาก
ครับผม
ขออนุญาตครับท่านประธาน เพื่อนสมาชิกครับ คือจริง ๆ เรื่องนี้มีการคุยกันในคณะกรรมาธิการด้านสื่อสารมวลชนมาแล้วนะครับ ก็มีการแยกกันชัดเจนครับว่าถ้าเป็นเทคโนโลยีหรือว่าวิทยาศาสตร์ทางด้าน กิจการโทรคมนาคมก็ให้ไปอยู่ (๑๗) แต่ว่าถ้าเป็นเรื่องของเรกกูเลชัน เรื่องของคอนเทนท์ หรือเนื้อหา การกำกับดูแลซึ่งจะเกี่ยวโยงกับเรื่องจริยธรรม เรื่องของการสื่อสาร เนื้อหาของ การสื่อสารให้อยู่ใน (๑๑) นะครับ คือไม่ได้ตกหล่นครับ อยู่ แล้วก็ยังเห็นพ้องกันด้วยครับว่า ชื่อใช้ชื่อว่าสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศก็เพียงพอครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม วสันต์ ภัยหลีกลี้ ขออนุญาตสนับสนุนกับท่านที่ได้อภิปรายไปทั้ง ๒ ท่านนะครับ คือเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ ที่ท่านอาจารย์บวรศักดิ์เสนอนะครับว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญควรจะได้มีโอกาสที่จะ มาเล่า แล้วก็มารายงานให้ที่ประชุมทราบถึงความคืบหน้าของการยกร่างรัฐธรรมนูญนะครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม วสันต์ ภัยหลีกลี้ ขออนุญาตสนับสนุนกับท่านที่ได้อภิปรายไปทั้ง ๒ ท่านนะครับ คือเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ ที่ท่านอาจารย์บวรศักดิ์เสนอนะครับว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญควรจะได้มีโอกาสที่จะ มาเล่า แล้วก็มารายงานให้ที่ประชุมทราบถึงความคืบหน้าของการยกร่างรัฐธรรมนูญนะครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ
ประการที่ ๒ ครับ ที่ท่าน สปช. วันชัยได้เสนอนะครับ เห็นด้วยว่าการหารือ ในวันจันทร์และวันอังคารที่เคยได้มีการพูดคุยกันไว้ ควรจะเป็นเรื่องการปฏิรูปเรื่องหลัก ๆ ไม่อย่างนั้นแล้วผมคิดว่าเราอาจจะสับสนในเรื่องบทบาทของเราเองนะครับ ส่วนเรื่อง การประชุมของอนุกรรมาธิการในเวลาที่มีการประชุมใหญ่ของ สปช. วันจันทร์และวันอังคาร ก็ค่อนข้างเห็นด้วยว่าควรจะงดเว้นเพื่อที่จะให้การประชุมได้มาร่วมกันพิจารณาในเรื่องที่ สำคัญ ๆ แต่ก็เห็นว่าเรื่องที่พูดคุยกันควรจะเป็นเรื่องสำคัญ ๆ ซึ่งท่านประธานก็ได้ให้ นโยบาย อย่างเช่นการประชุมวันสองวันนี้ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่สำคัญแล้วก็เป็นเรื่องหลักของ การปฏิรูป ทีนี้ปัญหาในการประชุมอนุกรรมาธิการเท่าที่ทราบ เรามักจะมีปัญหาว่าในช่วง วันพฤหัสบดี หรือวันศุกร์อาจจะไม่ค่อยสะดวกสำหรับ สปช. ที่มาจากต่างจังหวัด ทำให้มี ข้อจำกัดว่าการประชุมก็จะไปอยู่ประมาณวันพุธหรือไม่เกินวันพฤหัสบดีเช้า ตรงนี้ผมคิดว่า เราควรจะต้องแก้ไขปัญหาข้อจำกัดนี้นะครับ เพราะว่าการปฏิรูปที่เราจะช่วยกันดำเนินการนี้ ถ้าหากว่าเราทำงานกันอยู่แค่ ๓ วัน หรือ ๓ วันครึ่งนะครับ มันก็คงจะเป็นไปด้วย ความล่าช้า แล้วก็คงจะไม่สมกับความคาดหวังของสังคมนะครับ มีสิ่งที่เราจะต้องทำ จำนวนมากแล้วก็มีระยะเวลาที่จำกัด ผมคิดว่าการประชุมของอนุกรรมาธิการควรจะสามารถ ประชุมได้จนถึงวันศุกร์ ถ้าหากว่าไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ผมก็เห็นด้วยกับที่ท่านวันชัย เสนอว่า อย่างน้อยวันจันทร์หรือวันอังคารช่วงเช้าอาจจะต้องมีการประชุมกรรมาธิการได้ แล้วเปิดอภิปรายทั่วไปในช่วงบ่าย คือไม่อย่างนั้นเราจะมาชนกันในวันพุธหรือพฤหัสบดีเช้า เท่านั้น อยากขอเสนอว่าควรจะสามารถที่จะประชุมได้อย่างน้อย ๕ วัน เว้นแต่ว่าคณะไหน ที่เร่งด่วนมากจะประชุมเสาร์ อาทิตย์ด้วยก็คงจะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ส่วนเรื่องการตั้ง คณะอนุกรรมาธิการนะครับ ผมคิดว่าที่ผ่านมาอนุกรรมาธิการก็มีจำนวนมากแล้วก็ กระจัดกระจายย้ายกันไปทำงาน สิ่งที่ผมคิดว่าอยากจะเห็นก็คือว่าการทำงานของ สภาปฏิรูปแห่งชาติมีโฟกัส (Focus) ที่ชัดเจนนะครับ เรามีเวลาน้อยเรื่องอะไรสำคัญ ๆ ที่จะต้องร่วมกันทำร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้นในช่วงของสมัยสภาปฏิรูปแห่งชาติแห่งนี้ ผมคิดว่าคงจะต้องให้มีโฟกัสที่ชัดเจน มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน แล้วก็สามารถทำให้เกิด เป็นมรรคเป็นผลได้ครับ ขอบพระคุณครับ ท่านประธานครับ
ประการที่ ๒ ครับ ที่ท่าน สปช. วันชัยได้เสนอนะครับ เห็นด้วยว่าการหารือ ในวันจันทร์และวันอังคารที่เคยได้มีการพูดคุยกันไว้ ควรจะเป็นเรื่องการปฏิรูปเรื่องหลัก ๆ ไม่อย่างนั้นแล้วผมคิดว่าเราอาจจะสับสนในเรื่องบทบาทของเราเองนะครับ ส่วนเรื่อง การประชุมของอนุกรรมาธิการในเวลาที่มีการประชุมใหญ่ของ สปช. วันจันทร์และวันอังคาร ก็ค่อนข้างเห็นด้วยว่าควรจะงดเว้นเพื่อที่จะให้การประชุมได้มาร่วมกันพิจารณาในเรื่องที่ สำคัญ ๆ แต่ก็เห็นว่าเรื่องที่พูดคุยกันควรจะเป็นเรื่องสำคัญ ๆ ซึ่งท่านประธานก็ได้ให้ นโยบาย อย่างเช่นการประชุมวันสองวันนี้ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่สำคัญแล้วก็เป็นเรื่องหลักของ การปฏิรูป ทีนี้ปัญหาในการประชุมอนุกรรมาธิการเท่าที่ทราบ เรามักจะมีปัญหาว่าในช่วง วันพฤหัสบดี หรือวันศุกร์อาจจะไม่ค่อยสะดวกสำหรับ สปช. ที่มาจากต่างจังหวัด ทำให้มี ข้อจำกัดว่าการประชุมก็จะไปอยู่ประมาณวันพุธหรือไม่เกินวันพฤหัสบดีเช้า ตรงนี้ผมคิดว่า เราควรจะต้องแก้ไขปัญหาข้อจำกัดนี้นะครับ เพราะว่าการปฏิรูปที่เราจะช่วยกันดำเนินการนี้ ถ้าหากว่าเราทำงานกันอยู่แค่ ๓ วัน หรือ ๓ วันครึ่งนะครับ มันก็คงจะเป็นไปด้วย ความล่าช้า แล้วก็คงจะไม่สมกับความคาดหวังของสังคมนะครับ มีสิ่งที่เราจะต้องทำ จำนวนมากแล้วก็มีระยะเวลาที่จำกัด ผมคิดว่าการประชุมของอนุกรรมาธิการควรจะสามารถ ประชุมได้จนถึงวันศุกร์ ถ้าหากว่าไม่สามารถทำแบบนั้นได้ ผมก็เห็นด้วยกับที่ท่านวันชัย เสนอว่า อย่างน้อยวันจันทร์หรือวันอังคารช่วงเช้าอาจจะต้องมีการประชุมกรรมาธิการได้ แล้วเปิดอภิปรายทั่วไปในช่วงบ่าย คือไม่อย่างนั้นเราจะมาชนกันในวันพุธหรือพฤหัสบดีเช้า เท่านั้น อยากขอเสนอว่าควรจะสามารถที่จะประชุมได้อย่างน้อย ๕ วัน เว้นแต่ว่าคณะไหน ที่เร่งด่วนมากจะประชุมเสาร์ อาทิตย์ด้วยก็คงจะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ส่วนเรื่องการตั้ง คณะอนุกรรมาธิการนะครับ ผมคิดว่าที่ผ่านมาอนุกรรมาธิการก็มีจำนวนมากแล้วก็ กระจัดกระจายย้ายกันไปทำงาน สิ่งที่ผมคิดว่าอยากจะเห็นก็คือว่าการทำงานของ สภาปฏิรูปแห่งชาติมีโฟกัส (Focus) ที่ชัดเจนนะครับ เรามีเวลาน้อยเรื่องอะไรสำคัญ ๆ ที่จะต้องร่วมกันทำร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้นในช่วงของสมัยสภาปฏิรูปแห่งชาติแห่งนี้ ผมคิดว่าคงจะต้องให้มีโฟกัสที่ชัดเจน มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน แล้วก็สามารถทำให้เกิด เป็นมรรคเป็นผลได้ครับ ขอบพระคุณครับ ท่านประธานครับ
ขออนุญาตท่านประธานนิดเดียวครับ คือเรากำลัง จะลงมติกันในเรื่องญัตติที่ท่านเพื่อนสมาชิกได้หารือ ๒ ญัตตินะครับ ญัตติหนึ่งเสนอว่า เรื่องที่นำเสนอนี้มันเป็นเรื่องใหญ่
ขออนุญาตท่านประธานนิดเดียวครับ คือเรากำลัง จะลงมติกันในเรื่องญัตติที่ท่านเพื่อนสมาชิกได้หารือ ๒ ญัตตินะครับ ญัตติหนึ่งเสนอว่า เรื่องที่นำเสนอนี้มันเป็นเรื่องใหญ่
นิดเดียวครับ ท่านประธานครับ
นิดเดียวครับ ท่านประธานครับ
ผมอยากเรียนข้อมูลเพิ่มเติมนิดหนึ่งครับว่า ญัตติที่ คุณหมออำพลเสนอที่บอกว่าขอให้วันนี้มีการอภิปรายต่อ
ผมอยากเรียนข้อมูลเพิ่มเติมนิดหนึ่งครับว่า ญัตติที่ คุณหมออำพลเสนอที่บอกว่าขอให้วันนี้มีการอภิปรายต่อ
แต่ไปลงมติคราวหน้านะครับ
แต่ไปลงมติคราวหน้านะครับ
เนื่องจากคราวหน้าเป็นวันจันทร์เรานัดสัมมนา
เนื่องจากคราวหน้าเป็นวันจันทร์เรานัดสัมมนา
ใช่ครับ ก็เลยจะขออนุญาตให้ข้อมูลตรงนี้นะครับ ถ้าเราจะอย่างไร จะต้องมีการขยับหรือไม่ครับ ขอบคุณครับ
ใช่ครับ ก็เลยจะขออนุญาตให้ข้อมูลตรงนี้นะครับ ถ้าเราจะอย่างไร จะต้องมีการขยับหรือไม่ครับ ขอบคุณครับ
กราบเรียน ท่านประธานและท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติครับ ผม วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ ขออนุญาตเสริมท่านประธานแล้วก็อธิบายเรื่องเพิ่มเติมในบางส่วน ก่อนอื่นต้อง ขอขอบคุณสำหรับกำลังใจความคิดเห็น แล้วก็ข้อเสนอแนะของท่านผู้มีเกียรติทุกท่านที่ได้กรุณา อภิปรายแล้วก็ได้ให้คำแนะนำนะ หลายอย่างที่ท่านได้ให้คำแนะนำหรือช่วยชี้แนะ ทาง กสม. ก็ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว โดยเฉพาะในเรื่องของการทำงานเชิงรุก กสม. พยายามที่จะ ทำงานให้รวดเร็วโดยตระหนักว่าการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ แล้วก็ เป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว อย่างที่ท่านบอกว่าความยุติธรรมที่ล่าช้า คือความอยุติธรรม เรามีการปรับปรุงกระบวนการในการทำงาน โดยเฉพาะในเรื่องของ การตรวจสอบ แล้วก็ประสานการคุ้มครอง เรื่องที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากจะมี การร้องเรียนเข้ามาบางส่วน คณะกรรมการได้หยิบยกขึ้นมาพิจารณาเอง แล้วก็นอกจาก การตรวจสอบซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลานานหน่อยเนื่องจากว่าอาจจะมีกระบวนการจะต้อง รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายทุกด้าน ดูข้อกฎหมายแล้วก็นำมาเปรียบเทียบกับหลัก สิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ทาง กสม. ให้ความสำคัญกับเรื่องการประสานการคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน การประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนสามารถทำได้เร็ว แล้วก็สามารถที่จะ ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที บ่อยครั้งมากกว่าการตรวจสอบ ก็ในช่วงที่ผ่านมา กสม. ก็ให้ ความสำคัญกับการประสานการคุ้มครองแล้วก็ประสานการให้ความช่วยเหลือ นอกเหนือจาก การตรวจสอบ อย่างที่ท่านตระหนักว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องสากล แล้วก็เป็นเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับทุกคนมีงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ มากมาย ในส่วนของรายงาน เท่าที่เราได้รายงานก็จะมีทั้งสถานการณ์พิเศษแล้วก็สถานการณ์ด้านสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม การรายงานก็อาจจะไม่สามารถ ที่จะรายงานได้อย่างครบถ้วน ทุกเรื่องทุกประเด็น แต่ก็จะน้อมรับข้อเสนอแนะของท่านไปดู ไปพิจารณาในรายละเอียดเรื่องที่ท่านอยากจะให้ความสำคัญมากขึ้น
ผมขออนุญาตนำเรียนว่าในการประสานการคุ้มครอง คือเราทำงานเชิงรุก โดยมีการลงพื้นที่ไปเปิดคลินิกสิทธิมนุษยชนนะครับ ก็คือว่าแทนที่จะตั้งรับรอให้คนมา ร้องเรียนเราก็ลงพื้นที่ไป แล้วก็ไปรับเรื่องร้องเรียนในกลุ่มชุมชนหรือว่าในสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิสถานะบุคคลหรือว่าคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ แล้วการเปิดสำนักงานที่ภาคใต้ก็เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่เราต้องการที่จะให้ กสม. สามารถ เข้าถึงได้ง่าย ได้สะดวกขึ้น ภาคใต้สถานการณ์การละเมิดสิทธิอาจจะรุนแรง ก็เลยเป็นที่ที่เราไปเปิดสำนักงานเป็นแห่งแรก ส่วนภาคอีสานอย่างที่ท่านประธานบอกนะครับ ขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการดำเนินการ แล้วเดือนกันยายนเดือนหน้านี้ก็จะมีการเปิดอย่างเป็นทางการ แล้วก็ยังมีแผนงานที่จะเปิดที่จังหวัดภาคเหนืออีกด้วย อันนี้ก็เป็นในส่วนที่เราจะให้สามารถ เข้าถึงกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ง่ายขึ้น มากขึ้นนะครับ
ในเรื่องเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ กสม. ขออนุญาตนำเรียนครับว่า ในการทำหน้าที่ของประชาชนนั้น กสม. ได้ทำหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระ กล้าหาญ ซื่อสัตย์ สุจริต แล้วก็ปราศจากอคติในการใช้ดุลยพินิจ เรามีที่มาจากหลายด้านด้วยกันในการทำงาน ก็ทำงานเป็นองค์คณะแล้วก็ช่วยกันดู ก็ยืนยันครับว่าในการทำงานมีความเป็นอิสระ แล้วก็เป็นความอิสระจากทุกฝ่าย ทุกด้าน อย่างไรก็ตามครับ เราก็ตระหนักถึงความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับทุกฝ่าย ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน เพื่อที่จะขับเคลื่อนเรื่องการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เรื่องของการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับการเฝ้าระวังนะครับ
ขออนุญาตนำเรียนว่าเรื่องแผนงานบูรณาการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเราอาจจะได้รับงบประมาณจากส่วนนี้ด้วย ขอเรียนว่าไม่ได้มีผลต่อเรื่องของความเป็นอิสระ ของ กสม. แต่แต่อย่างใด แผนงานที่เราดำเนินการก็เป็นไปตามยุทธศาสตร์ แล้วก็เป็นไป ตามทิศทางของ กสม. แล้วก็ในการดำเนินงานเราก็มีความเป็นอิสระอย่างเต็มที่ ตัวชี้วัด ก็เป็นเรื่องกว้าง ๆ เท่านั้นเองครับ
ในเรื่องเกี่ยวกับบทบาทอำนาจหน้าที่ของ กสม. ก็ขออนุญาตนำเรียนว่า กสม. ตระหนักดีครับว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของ กสม. เอาไว้ ซึ่งเราเห็นว่ามีบางเรื่องที่อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเรามีความไม่เป็นอิสระ โดยเฉพาะ มาตรา ๒๔๗ (๔) ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตรา ๒๖ (๔) ด้วย เรื่องที่จะต้องชี้แจง สถานการณ์สิทธิมนุษยชนโดยไม่ชักช้าหากมีการรายงานไม่ถูกต้อง อยากจะนำเรียนว่า เราเห็นว่าบทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหารกับบทบาทหน้าที่ขององค์กรอิสระหรือสถาบันสิทธิ มีความแตกต่างกัน หน้าที่ในการชี้แจงบางเรื่องเราเห็นว่าเป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร ในขณะที่ องค์กรอิสระก็จะทำหน้าที่โดยอิสระของตัวเองอยู่แล้ว ทั้งในเรื่องของการตรวจสอบ หรือเรื่องของการรายงานสถานการณ์สิทธิต่าง ๆ เช่นเดียวกันบทบาทในการทำงาน หลายต่อหลายเรื่อง กสม. เองมีบทบาทในฐานะที่เป็นเหมือนผู้แนะนำ เป็นเหมือนผู้ตรวจสอบ แล้วก็เสนอแนะทั้งในเรื่องของการแก้ไขกฎหมาย ในเรื่องของการดำเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ แต่ว่า กสม. เองบางเรื่องอาจจะไม่ได้มีอำนาจ หน้าที่ที่จะไปลงในแง่ของการปฏิบัติเองนะครับ
ในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ท่านได้กรุณาแนะนำมาหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับเสรีภาพในการชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิคนพิการ เรื่องของผู้สูงอายุ สิทธิเด็ก สิทธิทางการศึกษา หรือว่าเรื่องเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยนะครับ ก็ขอน้อมรับที่จะไปพูดคุยกัน แล้วก็ไปขับเคลื่อนร่วมกับภาคีเครือข่ายนะครับ อยากเรียนว่า กสม. เองให้ความสำคัญกับ ภาคีเครือข่ายเป็นอย่างยิ่งนะครับ ทั้งในแง่การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายระหว่างประเทศ ในประเทศ ทั้งที่เป็นภาครัฐ ภาคประชาสังคม แล้วก็เอกชน รวมทั้งฝ่ายวิชาการ แล้วก็หน่วยงานต่าง ๆ นะครับ ในช่วงปีสองปีนี้เรามีงานสมัชชาสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แล้วเราก็มีการให้น้ำหนักกับเรื่องกับประเด็นบางประเด็นเป็นกรณีพิเศษเพื่อที่จะกำหนด เป้าหมาย เพื่อที่จะกำหนดเรื่องที่เราจะขับเคลื่อนร่วมกับภาคีเครือข่ายให้มีความชัดเจน แล้วก็ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากที่สุดนะครับ ก็ขออนุญาตเรียนนะครับว่าอย่างปีที่แล้วเราก็ ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เราให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิสถานะ บุคคลนะครับ เราให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของโควิด เรื่องของกลุ่ม หลากหลายทางเพศ แล้วปีนี้เราก็ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม มีการพูดถึงเรื่องการซ้อมทรมาน เรื่องของการอุ้มหายนะครับ แล้วก็มีการตั้งอนุกรรมการ ขึ้นมาติดตามเรื่องนี้ มีการขับเคลื่อนเรื่องนี้ มีข้อเสนอแนะไปถึงรัฐบาล เรื่องเกี่ยวกับ การผลักดัน พ.ร.บ. การต่อต้านการทรมาน แล้วก็การอุ้มหาย มีการพูดคุยกับรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรมในเรื่องเกี่ยวกับหลักการต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหาหรือว่า จำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ หรือหลัก Presumption of Innocent อย่างที่ท่านอาจารย์ชูศักดิ์ ได้กรุณาพูดถึง เราได้พูดถึงเรื่องปัญหาการอายัดตัว พูดถึงเรื่องของสิทธิในการประกันตัว แล้วก็เรื่องของทะเบียนประวัติอาชญากร ซึ่งที่ผ่านมามีการรวมเอาไว้หมด เมื่อท่านพิมพ์ลายนิ้วมือ ก็จะมีอยู่ในทะเบียนประวัติอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจากการที่ กสม. ได้เสนอแนะ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ตอบรับแล้วก็มีการแก้ไข หลังสุด ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แก้ไขระเบียบ แล้วก็มีการแยกบัญชีออกมาอย่างชัดเจน ระหว่างบัญชีของผู้ที่ถูกกล่าวหา คนที่เป็นจำเลยกับคนที่ศาลตัดสินถึงที่สุดแล้วว่าเป็นผู้ที่ กระทำความผิด นอกจากนั้นก็จะมีการแยกบัญชีของเด็กและเยาวชน รวมทั้งบัญชีของ ผู้ที่ได้รับการล้างมลทินอะไรพวกนี้ด้วย ดังนั้นตัวนี้ผมคิดว่าประชาชนโดยทั่วไปนับเป็น สิบ ๆ ล้านที่ได้รับการคุ้มครองในเรื่องนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะแถลงเรื่องนี้อีกครั้ง ในวันศุกร์หน้า
ในเรื่องเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติก็ต้องเรียนว่าปีนี้สมัชชาสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็จะให้ความสำคัญนอกเหนือจากเรื่องของสิทธิชุมชน เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน เรื่องเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เรื่องสถานะบุคคล เราให้ความสำคัญกับเรื่องของ การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลก็จะมีการผลักดัน เสนอแนะให้มีการออกกฎหมาย พ.ร.บ. ขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล เพื่อที่จะให้การคุ้มครองบุคคลต่าง ๆ ครอบคลุมขึ้น ขณะเดียวกันก็มีประเด็นในเรื่องของความรุนแรงในครอบครัวด้วยที่เราให้ความสำคัญ ซึ่งความรุนแรงในครอบครัวนี้ก็จะครอบคลุมถึงทั้งสตรี ทั้งเด็ก ทั้งผู้พิการ แล้วก็ผู้สุงอายุ รวมทั้งกลุ่มคนหลากหลายทางเพศด้วย อันนี้ก็เป็นกระบวนการในการทำงานของ กสม. ที่พยายามทำงานเชิงรุก คือแทนที่จะตั้งรับแล้วก็ตรวจสอบเป็นรายกรณี เราก็จะพยายามรวบรวมเรื่อง หรือว่าทำการศึกษาวิจัย หรือตั้งเวทีพูดคุย เสวนากันนะครับ แล้วก็นำเสนอข้อเสนอเพื่อที่จะให้มีการแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ รวมทั้งให้มีการแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ อย่างรวดเร็วแล้วก็ทันท่วงทีครับ ผมขออนุญาตยกตัวอย่างนะครับ ในเรื่อง เกี่ยวกับการแก้ปัญหา ก่อนหน้านี้ทาง ครม. มีมติเรื่องให้ความเห็นชอบกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค ซึ่งก็ตัดโรควัณโรคออกไป เท้าช้างยังอยู่ แต่ว่าก็ไปเพิ่มโรคจิตกับโรคอารมณ์ผิดปกติเข้ามา ซึ่งตรงนี้ทาง กสม. ก็ได้จัดเวทีคุยกับภาคีเครือข่ายคนพิการนะครับ แล้วก็มีข้อเสนอแนะ ไปทาง ครม. และทาง ก.พ. จนท้ายสุดทางคณะรัฐมนตรีก็ได้กรุณาทบทวนแล้วก็แก้ไข ตัดเรื่องโรคจิตแล้วก็เรื่องอารมณ์ผิดปกติออกไปจากกฎ ก.พ. มีอีกหลายเรื่องที่ กสม. ได้ ดำเนินการ แต่อาจจะไม่ได้มีโอกาสชี้แจงบ้าง ไม่ได้มีโอกาสสื่อสารบ้างนะครับ จริง ๆ เราก็ ตระหนักดีนะครับว่าการสื่อสารกับสาธารณะเป็นเรื่องที่สำคัญนะครับ ก็พยายามที่จะสื่อสาร มีแถลงข่าวประจำสัปดาห์ทุกสัปดาห์ มีกรณีที่อาจจะเรียกว่านำมาสื่อสารกับสังคมเป็น เหมือนกับกรณีศึกษาว่ามีการละเมิดสิทธิเรื่องแบบนี้ ๆ มันขัดกฎหมาย หรือว่าขัดหลักการ สิทธิมนุษยชนอย่างไร กสม. มีข้อเสนอแนะอย่างไรนะครับ ทาง กสม. ก็พยายามที่จะ แถลงข่าวทุกสัปดาห์นะครับ นอกจากนั้นก็จะมีออกแถลงการณ์บ้างนะครับ แต่ว่าเนื่องจาก เรื่องสิทธิมนุษยชนนี่กว้างขวางและบางทีมีประเด็นที่เกี่ยวพัน แล้วก็มีความซับซ้อน ในหลาย ๆ เรื่องนะครับ เราก็ไม่ได้แถลงทุกเรื่อง ทุกประเด็น โดยเฉพาะประเด็นที่จะต้อง ตรวจสอบนะครับ เราก็จะต้องใช้เวลาแล้วก็จะต้องพิจารณา แล้วก็ให้ความเป็นธรรมกับ ทุกฝ่ายนะครับ นอกจากนั้นก็มีการร่วมมือกับภาคีต่าง ๆ ในการที่จะผลิตสื่อเพื่อที่จะสร้าง ความตระหนักในเรื่องของสิทธิมนุษยชน อย่างงบประมาณที่เพิ่มขึ้นที่ท่านได้ถามเรื่อง เกี่ยวกับการสื่อสารในปี ๒๕๖๕ เรามีผลิตวีดิทัศน์ในเรื่องเกี่ยวกับการจับอย่างระวังเป็นเรื่อง เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การจับกุมสิทธิของผู้ต้องหา เรามีการพูดถึงเรื่องของรักต้องไม่ละเมิด ไม่ใช่ว่าเรารักใครชอบใครแล้วเราก็ไปกะเกณฑ์หรือว่าไปควบคุม หรือไปกำหนดจนไป ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ก็มีอีกหลายเรื่องที่ กสม. อาจจะได้ดำเนินการแต่ก็อาจจะไม่ได้สื่อสาร ในวงกว้าง ก็ต้องขอบพระคุณท่านที่กรุณาได้ซักถามแล้วก็ได้นำเสนอ มีโอกาสก็จะได้ชี้แจง ในรายละเอียด แล้วก็เข้าใจว่าท่านศยามลจะมีเพิ่มเติมครับ ขอบพระคุณครับ
ขอบคุณ ท่านประธานครับ ท่านประธานและท่านผู้มีเกียรติครับ ก็ขออนุญาตตอบ ๒-๓ ประเด็น ที่ท่านได้กรุณาซักถามเพิ่มเติมนะครับ กรณีเรื่องของคนพิการก็อย่างที่ได้เรียนว่า ก็เป็นประเด็นที่ทาง กสม. ได้จับแล้วก็ได้ทำงานร่วมกับทางภาคีเครือข่ายอยู่ มีหลายประเด็น ด้วยกัน อย่างเช่น เรื่องโรคร้ายแรง กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรคร้ายแรง หรืออย่างที่มีการออก พระราชกำหนดป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือ Cyber นี่ก็มี ประเด็นที่คุ้มครองสิทธิของประชาชนทั่วไปในเรื่องของทรัพย์สินที่จะไม่ถูกหลอก โดยเฉพาะ Application ดูดเงิน แต่ว่าก็อาจจะกระทบกับสิทธิของผู้พิการทางสายตาที่จะเข้าถึง Application ของธนาคาร อันนี้ทาง กสม. ก็ได้คุยกับทางสมาคมคนพิการ ทางสมาคม คนตาบอดแห่งประเทศไทย คุยกับทางธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกระทรวง DES แล้วก็ทางตำรวจ Cyber เพื่อที่จะหาทางออกแล้วก็คุ้มครองสิทธิ ของผู้พิการ
สำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวก็มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาเป็นระยะ อยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องการโดยสารเครื่องบิน เรื่องผู้พิการทางสายตาที่จะโดยสาร ทางเครื่องบินมีโควตา เรื่องของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่อาจจะไม่ได้รับความสะดวก ในการเดินทาง หรือมีประเด็นเรื่องแบตเตอรี่ Lithium ที่จะนำขึ้นเครื่อง กสม. ก็ได้พิจารณา เรื่องเหล่านี้ แล้วก็มีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้มีการแก้ไข บางกรณี ก็อาจจะมีข้อเสนอให้มีการเยียวยาด้วยนะครับ หลายเรื่องก็ได้รับการตอบรับแล้วก็ ดำเนินการ แต่บางเรื่องก็อาจจะอยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งทาง กสม. ก็จะติดตาม แล้วก็ จะร่วมกับภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนแล้วก็ผลักดันต่อไป อันนั้นเป็นเรื่องของสิทธิ ของคนพิการนะครับ
ส่วนเรื่องของการมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะสิทธิของผู้ต้องหา หรือว่าคนที่เป็นจำเลย ก็เห็นด้วยกับทางท่านทวี สอดส่อง ขออนุญาตที่เอ่ยนามนะครับ เรื่องนี้ได้คุยกับทางอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งท่านปลัดกระทรวงยุติธรรม แล้วก็ผู้ที่เกี่ยวข้อง เห็นไปในทิศทางเดียวกับท่านว่าผู้ที่ถูกกล่าวหายังต้องสันนิษฐานไว้ก่อน ว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ดังนั้นการที่นำตัวไปควบคุมเอาไว้กับผู้ต้องขังเด็ดขาดก็เป็นเรื่องที่ ไม่ถูกหลัก เราก็มีข้อเสนอตั้งแต่เรื่องที่ควรจะพิจารณาว่ามีแนวทางในการดำเนินการ อื่น ๆ ไหม อย่างเช่น เรื่องกำไลอิเล็กทรอนิกส์ หรือว่าเรื่องที่ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่เอาตัวมาขัง แม้กระทั่งเรื่องที่ว่าถ้าอยู่ในเรือนจำแล้วจะมีการแยกส่วนอย่างไรให้ชัดเจน รวมถึงเรื่องที่ว่า สามารถที่จะควบคุมตัวอยู่ที่บ้านหรืออยู่ที่สถานที่ข้างนอกได้หรือเปล่า โดยที่นับรวมว่าเขาได้ ถูกคุมขังแล้ว ถ้าศาลตัดสินว่าเขามีความผิดก็ให้นับรวมตัวนี้ด้วย เพราะปัจจุบันการที่ศาล ปล่อยตัวแล้วก็ติดกำไลอิเล็กทรอนิกส์ แต่ว่าต้องอยู่ที่บ้านอาจจะไปไหนไม่ได้ ๒๔ ชั่วโมง ยกเว้นจะต้องขออนุญาตกรณีนี้ก็คือไม่ถูกนำตัวไปคุมขัง แต่เมื่อถูกตัดสินว่ามีความผิด ก็ไม่สามารถที่จะหักออกได้ครับ เรื่องพวกนี้ทาง กสม. ก็ได้คุยกับทางกระทรวงยุติธรรม แล้วก็พยายามที่จะหาทางแก้ไขปัญหาตรงนี้อยู่ ก็ทราบว่าคงจะต้องมีการแก้ไขระเบียบของ ทางราชทัณฑ์เพื่อที่จะให้การดูแลเรื่องนี้เป็นไปตามหลักการได้มากยิ่งขึ้น เข้าใจว่า บางเรือนจำก็มีสภาพความพร้อมมากกว่าบางแห่ง ในขณะที่เรือนจำเก่าก็จะมีปัญหา ในการแยกส่วนอยู่ แต่ก็พยายามที่จะขับเคลื่อนร่วมกันนะครับ
ผมขออนุญาตมาที่ท่านอดิศร เพียงเกษ ขออนุญาตที่เอ่ยนามนะครับ เรื่องที่ ท่านได้ถามเรื่องเกี่ยวกับการรัฐประหารในครั้งที่แล้ว จริง ๆ ก็ต้องถือว่าการรัฐประหาร เป็นการละเมิดสิทธิของพลเมือง เป็นการขัดกับหลักประชาธิปไตย ก็คงเห็นตรงกัน แต่ปัญหา ก็คืออย่างนี้ว่าเมื่อมีการรัฐประหารแล้วองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญก็ถูกยุบตามไปด้วยนะครับ เหมือนกับที่ฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่ได้ Function ต่อ องค์กรอิสระทาง กสม. ก็ไม่มีสภาพแล้ว ไม่ได้นั่งทำงานกินเงินแสนต่อไป ขณะเดียวกันในเรื่องเกี่ยวกับการลี้ภัยของผู้ที่อาจจะมี ความเห็นต่าง แล้วก็ได้รับผลกระทบจากเหตุทางการเมือง ขออนุญาตเรียนว่าจริง ๆ ปัญหา หลายอย่างการแก้ไขอาจจะต้องเป็นการแก้ไขในระดับนโยบายในเรื่องทางการเมืองนะครับ การเมืองอาจจะช่วยแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งเท่าที่ได้ติดตามก็คิดว่าน่าจะมีแนวโน้มไปในทาง ที่ดีไหมครับ เพราะว่าจริง ๆ คนไทยทุกคนที่อยู่ต่างประเทศสามารถที่จะกลับมาเมืองไทยได้ ทั้งนั้น ถ้ามีคดีก็อาจจะต้องเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ถ้าไม่ติดคดีอะไรก็สามารถ ที่จะกลับมาได้ แต่ผมคิดว่าบางเรื่องเป็นเรื่องที่ต้องใช้การเมืองเข้าแก้ไข ซึ่งสภาจะมีส่วน ในเรื่องนี้มากครับ ต้องขออนุญาตเรียนชี้แจงอย่างนี้ครับ ขอบคุณครับ