นางสาวรสนา โตสิตระกูล

  • เรียนท่านประธานค่ะ ดิฉัน นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดิฉันเองเห็นด้วยกับเพื่อนสมาชิกที่เสนอนะคะว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และรูปแบบอนาคตของประเทศไทยนั้นควรจะเป็น สิ่งที่ทำขึ้นมาก่อนและกรรมาธิการวิสามัญที่จะตั้งขึ้นนั้นควรจะเป็นกรรมาธิการเพื่อติดตาม และเชื่อมโยงวิสัยทัศน์และรูปแบบของอนาคต ดิฉันเองเห็นว่าเรามีการตั้งกรรมาธิการขึ้นมา ๑๘ คณะ ซึ่งแต่ละส่วนก็เกรงว่าจะทำงานในลักษณะที่แยกกันไปเป็นส่วน ๆ ดิฉันคิดว่า การจัดทำวิสัยทัศน์แล้วก็รูปแบบอนาคตประเทศไทยมันเหมือนเราเลือกเพลงที่เราจะเล่น ร่วมกันเป็นวงเดียวกัน แล้วควรจะต้องมีวาทยากรที่เป็นผู้ช่วยกำกับให้เพลงนั้นบรรเลงไปใน เพลงเดียวกันไม่ใช่ต่างคนต่างเล่น ทีนี้ประเด็นตรงนี้ดิฉันคิดว่าเมื่อมันมีการแยกกลุ่มต่าง ๆ ออกไปเป็นจำนวนมาก ในกระบวนการที่จะทำให้เดินไปบนทิศทางการปฏิรูป เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ขจัดการทุจริตคอร์รัปชันทั้งหลาย ดิฉันคิดว่า มันต้องมีการดีไซน์ออกแบบก่อน ซึ่งก็เห็นด้วยว่าในช่วงระหว่างการที่เราจะประชุมกัน ในวันที่ ๙ วันที่ ๑๐ นั้นควรจะมีการพูดคุยในเรื่องนี้กันอย่างชัดเจน แล้วก็หลังจากนั้น ในกระบวนการติดตามควรจะมีคณะกรรมการที่พยายามเชื่อมร้อยทุกส่วนเข้าด้วยกัน เพราะ ไม่อย่างนั้นแล้วมันจะเหมือนกับว่าแต่ละคณะกรรมาธิการก็จะทำไปตามเรื่องโดยที่อาจจะ ไม่ได้มาเชื่อมร้อยเข้าหากัน ซึ่งดิฉันเองคิดว่าถ้าหากว่าเราทำได้อย่างนั้นเราก็จะบรรเลงใน เพลงเดียวกันไม่ใช่ต่างคนต่างเล่น แล้วก็มีคณะกรรมการที่หลากหลายจนเกินไป ดิฉันเองก็ เห็นด้วยว่าในส่วนของการรับฟังความเห็นจากประชาชนนั้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องถูก นำเข้ามาพิจารณา เราได้รับฟังความเห็นของประชาชนว่าประเด็นอะไรบ้างที่เป็นประเด็น สำคัญที่เขาต้องการที่จะให้มีการปฏิรูป แล้วสิ่งเหล่านั้นจะต้องถูกนำเข้ามาทำให้มันเป็น ประเด็นในการที่เราจะนำไปสู่การพิจารณาศึกษาแล้วก็เสนอแนะรวมไปถึงแม้แต่การเสนอ เป็นร่างกฎหมายต่าง ๆ ขึ้นมา ดิฉันคิดว่าเรื่องเหล่านี้มันจำเป็นที่จะต้องพยายามมองและเชื่อมโยงกันให้ได้ ดิฉันเองเห็นว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญที่ว่าจัดทำวิสัยทัศน์ พอคำว่า จัดทำ มันกลายเป็นว่าเป็นผู้ที่จะมาทำ ในเรื่องนี้ แต่ดิฉันคิดว่าการจัดทำนั้นมันควรจะเป็นความเห็นร่วมกันของคนทั้งหมด แล้วก็คณะกรรมาธิการชุดนี้ควรจะเป็นคณะกรรมาธิการที่มาเชื่อมร้อยหรือมาติดตามตรงนี้ มากกว่านะคะ ก็ขอเสนอทางกรรมาธิการว่าลองพิจารณาเรื่องนี้ดู ส่วนประเด็นที่ดิฉัน อยากจะถามเพิ่มเติมก็คือว่าการที่ให้สมาชิกแต่ละคนสามารถเลือกได้ ๒ คณะ แต่สำหรับ ในชุดนี้สามารถเลือกเพิ่มเติมนอกเหนือจาก ๒ คณะ ใช่หรือไม่ แล้วก็เลือกได้กี่คณะ เพราะว่าในนี้มีทั้งหมด ๕ คณะ สมมุติว่าแต่ละคนจะขอเข้าไปมีส่วนเป็นกรรมาธิการมากกว่า ๑ คณะได้ไหม เพราะว่าในมาตรานี้ไม่ได้มีการกำหนดไว้ว่ามีข้อกำหนดอะไรบ้าง หรือว่าเป็นไปแล้วแต่ว่าสมาชิกจะเลือกบุคคลคนนั้นเข้าไปอยู่ในคณะไหน แล้วก็สามารถ ลงซ้ำได้หรืออย่างไรคะ ขอความชัดเจนในเรื่องนี้ด้วย ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบพระคุณท่านประธานคะ ดิฉัน นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ คือดิฉันเองคิดว่าถ้าเราดูในข้อ ๘๔ นั้น ใน (๑) คณะกรรมาธิการวิสามัญติดตามและให้ข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญ ดิฉัน ไม่ได้มองว่าแยกออกจากกันนะคะ ดิฉันกลับมองว่าในเรื่องของรัฐธรรมนูญคือกรอบโครงใหญ่ มันอาจจะเป็นประเด็นที่เราจะต้องคิดรูปแบบบางส่วนที่การออกแบบรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องสามารถบรรจุเนื้อหาในการที่เราจะเสนอในเรื่องการปฏิรูปในระยะกลางแล้วก็ระยะยาว เพราะฉะนั้นในส่วนนี้มันต้องมีการออกแบบที่จะให้เดินไปด้วยกัน อย่างที่ดิฉันบอกว่า ในกระบวนการที่เรากำลังทำงานในสภาปฏิรูปมันเหมือนเราเป็นวงออร์เคสตราที่กำลังเล่นเพลง แล้วก็แต่ละคณะกรรมาธิการก็เป็นเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น ซึ่งจะต้องทำให้ประสานร่วมกัน และในส่วนของการเสนอกรอบโครงสำหรับการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้นมันต้องมีพื้นที่ ที่ครอบคลุมประเด็นสำหรับการที่เราจะปฏิรูป การมองวิสัยทัศน์และอนาคตของประเทศไทยอีก อาจจะเป็น ๑๐ ปี ๒๐ ปีข้างหน้า อะไรพวกนี้นะคะ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าส่วนเหล่านี้ ในวิธีการออกแบบการทำงานที่จะต้องเชื่อมโยงตรงนี้มันมีความสำคัญมาก แล้วก็คิดว่าเป็น เรื่องที่เราอาจจะใช้เวลาในการพูดคุย ๒ วัน แต่ถ้าหากว่า ๒ วันนี้อาจจะยังไม่พอก็อาจจะมี การพูดคุยในเรื่องนี้ไปด้วยเพื่อที่จะทำให้เราเห็นว่าในทิศทางอนาคตอีก ๑๐ ปี ๒๐ ปี เราต้องการจะวางในเรื่องอะไรบ้างที่เป็นภาพใหญ่ ๆ ก่อน และส่วนในรายละเอียดก็ค่อย ไปลงในระยะกลางแล้วก็ระยะยาว ดิฉันยังคิดว่ามันต้องเชื่อมโยงกัน มันไม่ควรจะเป็น การแบ่งเป็นส่วน ๆ ที่ไม่มาเชื่อมต่อกันค่ะ อันนี้ก็เสนอเป็นเค้าโครงความคิดของตัวเองก่อน แต่ว่าในแง่ของวิธีการทำงานเราอาจจะต้องไปถกเถียงกันในส่วนนี้ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ในกรรมาธิการพลังงาน ดิฉันเองใคร่จะขอกราบเรียนเป็นเบื้องต้นก่อนว่าในการพิจารณา เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาหารือกับทางท่านนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่องการเปิดสัมปทาน รอบ ๒๑ นั้น ต้องบอกว่าในกระบวนการพิจารณาถึงแม้ว่าจะได้มีการเชิญนักวิชาการจาก หลายภาคส่วนเข้ามา แต่ต้องขอกล่าวว่ากรรมาธิการพลังงานหลาย ๆ ท่าน ท่านเป็น ข้าราชการในกระทรวงพลังงาน หลายท่านเป็นกรรมการในบอร์ด (Board) รัฐวิสาหกิจ ด้านพลังงาน บางท่านก็เป็นที่ปรึกษาของรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นแนวทางของ คณะกรรมาธิการพลังงานจึงมุ่งไปในการที่จะปกป้องและเพื่อที่จะทำให้ข้อเสนอของ กระทรวงพลังงานที่เสนอเรื่องการเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ ในทันทีนั้นมีแนวโน้มที่จะไปสู่ การที่จะสนับสนุนแนวทางนี้ ดังนั้นความเห็นต่าง ๆ ที่แตกต่างจากความเห็นของกรรมาธิการ ในพลังงานนั้นแม้ว่าจะมีการเปิดรับฟัง แต่ก็ไม่ได้มีการนำมาพิจารณาอย่างจริงจัง ก็เป็นเพียงแค่ นำมาเป็นเอกสารประกอบ แต่ว่าไม่ได้มีการนำเอาความเห็นเหล่านั้นที่มีการเสนอข้อเสนอ หลาย ๆ อย่างที่มีความสำคัญในการที่จะปรับปรุง เพื่อให้การบริหารจัดการปิโตรเลียม ในประเทศไทยเป็นไปอย่างยั่งยืน แล้วก็ไม่ได้รับฟังเสียงของประชาชนภายนอก ซึ่งดิฉันคิดว่า เสียงของประชาชนภายนอกในเวลานี้ได้สะท้อนอย่างชัดเจนดังที่ท่านประชา เตรัตน์ ได้มีการนำเสนอข้อมูล ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้นมาจากนักวิชาการที่ไม่ได้มีผลประโยชน์ เกี่ยวข้องกับกิจการด้านปิโตรเลียม แล้วก็มาจากประชาชนในทุกภาคส่วนคือตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ภาคกลาง กรุงเทพฯ ปริมณฑล แล้วก็รวมไปถึงเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค และประชาชนทั่วไป ดังนั้นข้อเสนอหลาย ๆ ส่วน ซึ่งเป็นข้อเสนอที่มีความสำคัญนั้น ไม่ได้ถูกนำมาประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการปฏิรูป หรือบางท่านอาจจะบอกว่า การให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบ ๒๑ นั้นไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป ซึ่งดิฉันคิดว่าประเด็นนี้ เป็นเรื่องของการปฏิรูปอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเมื่อมีการนำเสนอกรอบในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า จะต้องมีการบัญญัติว่า ทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์ประชาชนหรือเพื่อประโยชน์ สาธารณะอย่างสูงสุดนะคะ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อมีการเปลี่ยนแปลง การปฏิรูปนั้นคือการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง ระบบ และกฎหมายที่ล้าหลัง แล้วก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของการปฏิรูปอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ ในครั้งนี้จะผูกพันประเทศไปอย่างน้อย ๒๙-๓๙ ปี ที่ดิฉันกล่าวเช่นนี้เพราะว่าในกระบวนการการให้สัมปทานในการสำรวจและ ผลิตปิโตรเลียมตาม พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ปี ๒๕๑๔ นั้น การให้สัมปทานในการสำรวจสามารถที่จะ ผลิตได้ในขั้นตอนของการสำรวจด้วยถ้าหากพบปิโตรเลียม ซึ่งในกระบวนการสำรวจนั้น มีระยะเวลาสูงสุดคือ ๙ ปี แล้วก็บวกเวลาของการผลิตอีก ๒๐ ปี หลังจากนั้นสามารถที่จะ ต่อได้อีก ๑๐ ปี เพราะฉะนั้นเวลาสูงสุดถ้าหากเราเดินหน้าให้สัมปทานรอบ ๒๑ ในครั้งนี้ ก็คือจะผูกพันอนาคตของประเทศไทยและลูกหลานไป ๒๙-๓๙ ปี แต่ดิฉันคิดว่า ๓๙ ปี เพราะว่าอะไรคะ เพราะว่าในระบบสัมปทานนั้นทรัพยากรปิโตรเลียมนั้นซึ่งในกฎหมาย บัญญัติว่าเป็นของรัฐ แต่เมื่อให้สัมปทานแล้วนี่มันตกเป็นของเอกชนนะคะ เอกชนจะได้รับ เป็นเจ้าของปิโตรเลียมทั้งหมดแล้วก็จ่ายเงินในรูปของค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ แล้วก็อาจจะมีผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษอื่น ๆ เช่น โบนัสในการเซ็นสัญญา หรือโบนัสที่เกิดจากการผลิตในปริมาณต่าง ๆ ตามที่ทางกรรมาธิการ เสียงข้างมากท่านได้มีการระบุไปนี่นะคะ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ในกรรมาธิการพลังงาน ดิฉันเองใคร่จะขอกราบเรียนเป็นเบื้องต้นก่อนว่าในการพิจารณา เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาหารือกับทางท่านนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่องการเปิดสัมปทาน รอบ ๒๑ นั้น ต้องบอกว่าในกระบวนการพิจารณาถึงแม้ว่าจะได้มีการเชิญนักวิชาการจาก หลายภาคส่วนเข้ามา แต่ต้องขอกล่าวว่ากรรมาธิการพลังงานหลาย ๆ ท่าน ท่านเป็น ข้าราชการในกระทรวงพลังงาน หลายท่านเป็นกรรมการในบอร์ด (Board) รัฐวิสาหกิจ ด้านพลังงาน บางท่านก็เป็นที่ปรึกษาของรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นแนวทางของ คณะกรรมาธิการพลังงานจึงมุ่งไปในการที่จะปกป้องและเพื่อที่จะทำให้ข้อเสนอของ กระทรวงพลังงานที่เสนอเรื่องการเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ ในทันทีนั้นมีแนวโน้มที่จะไปสู่ การที่จะสนับสนุนแนวทางนี้ ดังนั้นความเห็นต่าง ๆ ที่แตกต่างจากความเห็นของกรรมาธิการ ในพลังงานนั้นแม้ว่าจะมีการเปิดรับฟัง แต่ก็ไม่ได้มีการนำมาพิจารณาอย่างจริงจัง ก็เป็นเพียงแค่ นำมาเป็นเอกสารประกอบ แต่ว่าไม่ได้มีการนำเอาความเห็นเหล่านั้นที่มีการเสนอข้อเสนอ หลาย ๆ อย่างที่มีความสำคัญในการที่จะปรับปรุง เพื่อให้การบริหารจัดการปิโตรเลียม ในประเทศไทยเป็นไปอย่างยั่งยืน แล้วก็ไม่ได้รับฟังเสียงของประชาชนภายนอก ซึ่งดิฉันคิดว่า เสียงของประชาชนภายนอกในเวลานี้ได้สะท้อนอย่างชัดเจนดังที่ท่านประชา เตรัตน์ ได้มีการนำเสนอข้อมูล ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้นมาจากนักวิชาการที่ไม่ได้มีผลประโยชน์ เกี่ยวข้องกับกิจการด้านปิโตรเลียม แล้วก็มาจากประชาชนในทุกภาคส่วนคือตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ภาคกลาง กรุงเทพฯ ปริมณฑล แล้วก็รวมไปถึงเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค และประชาชนทั่วไป ดังนั้นข้อเสนอหลาย ๆ ส่วน ซึ่งเป็นข้อเสนอที่มีความสำคัญนั้น ไม่ได้ถูกนำมาประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการปฏิรูป หรือบางท่านอาจจะบอกว่า การให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบ ๒๑ นั้นไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป ซึ่งดิฉันคิดว่าประเด็นนี้ เป็นเรื่องของการปฏิรูปอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเมื่อมีการนำเสนอกรอบในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า จะต้องมีการบัญญัติว่า ทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์ประชาชนหรือเพื่อประโยชน์ สาธารณะอย่างสูงสุดนะคะ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อมีการเปลี่ยนแปลง การปฏิรูปนั้นคือการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง ระบบ และกฎหมายที่ล้าหลัง แล้วก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของการปฏิรูปอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ ในครั้งนี้จะผูกพันประเทศไปอย่างน้อย ๒๙-๓๙ ปี ที่ดิฉันกล่าวเช่นนี้เพราะว่าในกระบวนการการให้สัมปทานในการสำรวจและ ผลิตปิโตรเลียมตาม พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ปี ๒๕๑๔ นั้น การให้สัมปทานในการสำรวจสามารถที่จะ ผลิตได้ในขั้นตอนของการสำรวจด้วยถ้าหากพบปิโตรเลียม ซึ่งในกระบวนการสำรวจนั้น มีระยะเวลาสูงสุดคือ ๙ ปี แล้วก็บวกเวลาของการผลิตอีก ๒๐ ปี หลังจากนั้นสามารถที่จะ ต่อได้อีก ๑๐ ปี เพราะฉะนั้นเวลาสูงสุดถ้าหากเราเดินหน้าให้สัมปทานรอบ ๒๑ ในครั้งนี้ ก็คือจะผูกพันอนาคตของประเทศไทยและลูกหลานไป ๒๙-๓๙ ปี แต่ดิฉันคิดว่า ๓๙ ปี เพราะว่าอะไรคะ เพราะว่าในระบบสัมปทานนั้นทรัพยากรปิโตรเลียมนั้นซึ่งในกฎหมาย บัญญัติว่าเป็นของรัฐ แต่เมื่อให้สัมปทานแล้วนี่มันตกเป็นของเอกชนนะคะ เอกชนจะได้รับ เป็นเจ้าของปิโตรเลียมทั้งหมดแล้วก็จ่ายเงินในรูปของค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ แล้วก็อาจจะมีผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษอื่น ๆ เช่น โบนัสในการเซ็นสัญญา หรือโบนัสที่เกิดจากการผลิตในปริมาณต่าง ๆ ตามที่ทางกรรมาธิการ เสียงข้างมากท่านได้มีการระบุไปนี่นะคะ

    อ่านในการประชุม

  • แต่ประเด็นปัญหาก็คือว่า ในระบบสัมปทานนั้นอุปกรณ์การผลิตทั้งหลาย เป็นของเอกชน เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นของเอกชนซึ่งต่างจากระบบแบ่งปันผลผลิต อุปกรณ์ ต่าง ๆ เป็นของรัฐก่อน เพราะฉะนั้นรัฐจะมีความยืดหยุ่นในการจัดการได้มากกว่า แต่เมื่อตกเป็นของเอกชนแล้วนี่ ถ้าหากรัฐได้ให้สัมปทานไปแล้วเป็นเวลา ๒๙ ปี จะต่ออีก ๑๐ ปี ถ้าเกิดรัฐบอกอยากจะเปลี่ยนแปลงมันก็จะเปลี่ยนแปลงได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากว่า อุปกรณ์นั้นเป็นของบริษัท ถ้าหากรัฐจะไม่ต่อสัญญาให้ก็ต้องไปหารายใหม่ ซึ่งการลงทุนนั้น อาจจะทำให้ไม่คุ้ม เพราะฉะนั้นโดยระบบสัมปทานมันเป็นระบบที่ทำให้เอกชนที่ได้รับ สัมปทานนั้นสามารถที่จะได้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องในส่วนนี้

    อ่านในการประชุม

  • แต่ประเด็นปัญหาก็คือว่า ในระบบสัมปทานนั้นอุปกรณ์การผลิตทั้งหลาย เป็นของเอกชน เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นของเอกชนซึ่งต่างจากระบบแบ่งปันผลผลิต อุปกรณ์ ต่าง ๆ เป็นของรัฐก่อน เพราะฉะนั้นรัฐจะมีความยืดหยุ่นในการจัดการได้มากกว่า แต่เมื่อตกเป็นของเอกชนแล้วนี่ ถ้าหากรัฐได้ให้สัมปทานไปแล้วเป็นเวลา ๒๙ ปี จะต่ออีก ๑๐ ปี ถ้าเกิดรัฐบอกอยากจะเปลี่ยนแปลงมันก็จะเปลี่ยนแปลงได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากว่า อุปกรณ์นั้นเป็นของบริษัท ถ้าหากรัฐจะไม่ต่อสัญญาให้ก็ต้องไปหารายใหม่ ซึ่งการลงทุนนั้น อาจจะทำให้ไม่คุ้ม เพราะฉะนั้นโดยระบบสัมปทานมันเป็นระบบที่ทำให้เอกชนที่ได้รับ สัมปทานนั้นสามารถที่จะได้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องในส่วนนี้

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้ปัญหาของการศึกษาในครั้งนี้ของกรรมาธิการพลังงานจึงไม่ได้พิจารณา ในเรื่องที่จะต้องมีการปฏิรูป ดิฉันเองคิดว่าสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นต้องมีหน้าที่ตาม รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี ๒๕๕๗ ในมาตรา ๓๑ ว่ามีหน้าที่ในการศึกษาแล้วก็ให้ข้อเสนอแนะ ต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูป ซึ่งใน ๑๘ ประเด็นนั้นก็มีประเด็นเรื่องพลังงานอยู่ด้วย แต่ถ้าหากว่าเราบอกว่าเราเดินหน้าไปก่อนเลยให้สัมปทานไปเหมือนเดิม ดิฉันเองก็ไม่ทราบว่า อย่างนี้จะเรียกว่าเป็นการปฏิรูปได้อย่างไร แต่ถ้าหากจะบอกว่ากรรมาธิการเสียงข้างมาก ได้มีการลงมติว่าให้เป็นวิธีการที่ให้สัมปทานรอบ ๒๑ โดยในรูปแบบเก่าไปก่อน แล้วหลังจากนั้น ก็ค่อยไปแก้ไขกฎหมายเพื่อที่จะทำเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตในภายหลังนะคะ ซึ่งในสิ่งเหล่านี้ดิฉันเองก็คิดว่าการที่คณะกรรมาธิการเสียงข้างมากนั้นยังเห็นว่าในอนาคต ก็เอาไปทำระบบแบ่งปันผลผลิตได้ แต่ดิฉันคิดว่าประเด็นใหญ่ที่สำคัญที่สุดในเวลานี้ก็คือว่า ๒๙ แปลงในสัมปทานรอบ ๒๑ ที่จะให้นั้นก็ครอบคลุมพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่บนบกในภาคอีสานครอบคลุม ๑๖ จังหวัดนะคะ อันนี้ดิฉันคิดว่าพื้นที่ตรงนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ได้มีการพูดถึง ซึ่งมีบางท่านที่ได้พูดถึงแล้วว่าการที่เราเคยมีสัมปทานสำรวจและ ผลิตปิโตรเลียมในทะเล ถึงแม้ว่าจะมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมแต่ว่าอาจจะเห็นไม่ชัดเจน แต่เมื่อขึ้นมาบนบกแล้วมันก่อผลกระทบ แล้วก็กระทบต่อสิทธิของชุมชนและการทำมาหากิน ของประชาชนอย่างมาก การให้สัมปทานนั้นเป็นการให้สิทธิโดยผูกขาดให้แก่บริษัท เพราะฉะนั้นการจะเข้าไปกำกับดูแลควบคุมนั้นเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เพราะฉะนั้น การละเมิดสิทธิในส่วนนี้จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในขั้นตอนการสำรวจนั้นไม่ต้องทำ อีไอเอ (EIA) ในการกำกับดูแลด้วย ดิฉันเองใคร่ขอประทานอนุญาตท่านประธานในการที่จะแสดงภาพ เพาเวอร์พอยท์ที่ได้ขอประทานอนุญาตไปก่อนหน้านี้แล้ว แล้วที่จริงดิฉันก็ได้ขออนุญาตท่าน ทำเอกสารประกอบเพื่อแจกในที่ประชุมด้วยนะคะ ก็อยากจะขอให้ทางเจ้าหน้าที่ช่วยขึ้น ภาพที่ ๑ แล้วก็ช่วยนำเอกสารแจกให้กับเพื่อนสมาชิกด้วยค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้ปัญหาของการศึกษาในครั้งนี้ของกรรมาธิการพลังงานจึงไม่ได้พิจารณา ในเรื่องที่จะต้องมีการปฏิรูป ดิฉันเองคิดว่าสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นต้องมีหน้าที่ตาม รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี ๒๕๕๗ ในมาตรา ๓๑ ว่ามีหน้าที่ในการศึกษาแล้วก็ให้ข้อเสนอแนะ ต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูป ซึ่งใน ๑๘ ประเด็นนั้นก็มีประเด็นเรื่องพลังงานอยู่ด้วย แต่ถ้าหากว่าเราบอกว่าเราเดินหน้าไปก่อนเลยให้สัมปทานไปเหมือนเดิม ดิฉันเองก็ไม่ทราบว่า อย่างนี้จะเรียกว่าเป็นการปฏิรูปได้อย่างไร แต่ถ้าหากจะบอกว่ากรรมาธิการเสียงข้างมาก ได้มีการลงมติว่าให้เป็นวิธีการที่ให้สัมปทานรอบ ๒๑ โดยในรูปแบบเก่าไปก่อน แล้วหลังจากนั้น ก็ค่อยไปแก้ไขกฎหมายเพื่อที่จะทำเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตในภายหลังนะคะ ซึ่งในสิ่งเหล่านี้ดิฉันเองก็คิดว่าการที่คณะกรรมาธิการเสียงข้างมากนั้นยังเห็นว่าในอนาคต ก็เอาไปทำระบบแบ่งปันผลผลิตได้ แต่ดิฉันคิดว่าประเด็นใหญ่ที่สำคัญที่สุดในเวลานี้ก็คือว่า ๒๙ แปลงในสัมปทานรอบ ๒๑ ที่จะให้นั้นก็ครอบคลุมพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่บนบกในภาคอีสานครอบคลุม ๑๖ จังหวัดนะคะ อันนี้ดิฉันคิดว่าพื้นที่ตรงนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ได้มีการพูดถึง ซึ่งมีบางท่านที่ได้พูดถึงแล้วว่าการที่เราเคยมีสัมปทานสำรวจและ ผลิตปิโตรเลียมในทะเล ถึงแม้ว่าจะมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมแต่ว่าอาจจะเห็นไม่ชัดเจน แต่เมื่อขึ้นมาบนบกแล้วมันก่อผลกระทบ แล้วก็กระทบต่อสิทธิของชุมชนและการทำมาหากิน ของประชาชนอย่างมาก การให้สัมปทานนั้นเป็นการให้สิทธิโดยผูกขาดให้แก่บริษัท เพราะฉะนั้นการจะเข้าไปกำกับดูแลควบคุมนั้นเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เพราะฉะนั้น การละเมิดสิทธิในส่วนนี้จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในขั้นตอนการสำรวจนั้นไม่ต้องทำ อีไอเอ (EIA) ในการกำกับดูแลด้วย ดิฉันเองใคร่ขอประทานอนุญาตท่านประธานในการที่จะแสดงภาพ เพาเวอร์พอยท์ที่ได้ขอประทานอนุญาตไปก่อนหน้านี้แล้ว แล้วที่จริงดิฉันก็ได้ขออนุญาตท่าน ทำเอกสารประกอบเพื่อแจกในที่ประชุมด้วยนะคะ ก็อยากจะขอให้ทางเจ้าหน้าที่ช่วยขึ้น ภาพที่ ๑ แล้วก็ช่วยนำเอกสารแจกให้กับเพื่อนสมาชิกด้วยค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ภาพที่ ๑ เป็นพื้นที่ แปลงสัมปทานในรอบที่ ๒๐ ท่านเห็นไหมคะว่า ภาคอีสานนั้นมีแปลงสัมปทานที่ให้ไปแล้ว ในรอบที่ ๒๐ เกือบเต็มพื้นที่แล้วค่ะ พอมาถึงรอบ ๒๑ ถ้าท่านดูแผนที่ของคณะกรรมาธิการ ซึ่งอยู่ในแฟ้มเอกสารที่ได้ให้นะคะ ก็คือเติมในส่วนว่าง ๆ ทั้งหลายนี่ลงไปทั้งหมด เพราะฉะนั้น มันก็จะกลายเป็นว่าพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งไม่ใช่พื้นที่ว่างเปล่าเหมือนทุ่งกุลาร้องไห้นะคะ แต่เป็นพื้นที่ที่มีชุมชน เป็นพื้นที่ที่มีการทำมาหากินของประชาชน คนเหล่านี้ได้รับผลกระทบ จากการสำรวจ แล้วก็ได้รับผลกระทบทั้งในเรื่องของสุขภาพ ในเรื่องของพื้นที่ทำมาหากิน โดยที่ยังไม่มีกระบวนการเยียวยาอย่างแท้จริง แล้วเวลานี้การสำรวจปิโตรเลียมที่ให้ไปในรอบที่ ๑๙ และ ๒๐ เพิ่งจะมีการสำรวจในภาคอีสานนะคะ แล้วก็ปรากฏว่ามีหลายจังหวัดมาก ที่มีการฟ้องร้องที่ศาลปกครอง ไม่ว่าจะเป็นที่บุรีรัมย์ อุดรธานี ที่โนนสะอาด ที่ขอนแก่น ที่กาฬสินธุ์ ดิฉันคิดว่าการให้สัมปทานรอบ ๒๑ เดินหน้าทันทีโดยที่ไม่มีการพิจารณา ในเรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะกระทบต่อประชาชน แล้วก็จะเกิดความอลหม่านวุ่นวายกัน ในการฟ้องร้องต่าง ๆ เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ดิฉันคิดว่าเป็นประเด็นที่สมควรหรือไม่ ที่สภาแห่งนี้ จะมีการพิจารณาว่าควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายก่อนหรือไม่ แทนที่จะเดินหน้าไป แล้วก็ในกระบวนการที่กรรมาธิการเสียงข้างมากได้พยายามให้เหตุผลก็เป็นเหตุผล เพื่อสร้างความกลัว แล้วก็เพื่อให้ความกลัวนั้นเป็นตัวผลักดันเพื่อนสมาชิกในการที่จะลงมติ เห็นด้วยกับการเดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียมรอบ ๒๑ โดยการกล่าวอ้างว่าก๊าซกำลังจะหมดไป ในอีก ๗ ปีข้างหน้า ถ้าหากว่าไม่รีบให้สัมปทานในตอนนี้เราจะไม่มีก๊าซใช้ ไฟฟ้าจะแพงขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องของการเขียนเสือให้วัวกลัว

    อ่านในการประชุม

  • ภาพที่ ๑ เป็นพื้นที่ แปลงสัมปทานในรอบที่ ๒๐ ท่านเห็นไหมคะว่า ภาคอีสานนั้นมีแปลงสัมปทานที่ให้ไปแล้ว ในรอบที่ ๒๐ เกือบเต็มพื้นที่แล้วค่ะ พอมาถึงรอบ ๒๑ ถ้าท่านดูแผนที่ของคณะกรรมาธิการ ซึ่งอยู่ในแฟ้มเอกสารที่ได้ให้นะคะ ก็คือเติมในส่วนว่าง ๆ ทั้งหลายนี่ลงไปทั้งหมด เพราะฉะนั้น มันก็จะกลายเป็นว่าพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งไม่ใช่พื้นที่ว่างเปล่าเหมือนทุ่งกุลาร้องไห้นะคะ แต่เป็นพื้นที่ที่มีชุมชน เป็นพื้นที่ที่มีการทำมาหากินของประชาชน คนเหล่านี้ได้รับผลกระทบ จากการสำรวจ แล้วก็ได้รับผลกระทบทั้งในเรื่องของสุขภาพ ในเรื่องของพื้นที่ทำมาหากิน โดยที่ยังไม่มีกระบวนการเยียวยาอย่างแท้จริง แล้วเวลานี้การสำรวจปิโตรเลียมที่ให้ไปในรอบที่ ๑๙ และ ๒๐ เพิ่งจะมีการสำรวจในภาคอีสานนะคะ แล้วก็ปรากฏว่ามีหลายจังหวัดมาก ที่มีการฟ้องร้องที่ศาลปกครอง ไม่ว่าจะเป็นที่บุรีรัมย์ อุดรธานี ที่โนนสะอาด ที่ขอนแก่น ที่กาฬสินธุ์ ดิฉันคิดว่าการให้สัมปทานรอบ ๒๑ เดินหน้าทันทีโดยที่ไม่มีการพิจารณา ในเรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะกระทบต่อประชาชน แล้วก็จะเกิดความอลหม่านวุ่นวายกัน ในการฟ้องร้องต่าง ๆ เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ดิฉันคิดว่าเป็นประเด็นที่สมควรหรือไม่ ที่สภาแห่งนี้ จะมีการพิจารณาว่าควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายก่อนหรือไม่ แทนที่จะเดินหน้าไป แล้วก็ในกระบวนการที่กรรมาธิการเสียงข้างมากได้พยายามให้เหตุผลก็เป็นเหตุผล เพื่อสร้างความกลัว แล้วก็เพื่อให้ความกลัวนั้นเป็นตัวผลักดันเพื่อนสมาชิกในการที่จะลงมติ เห็นด้วยกับการเดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียมรอบ ๒๑ โดยการกล่าวอ้างว่าก๊าซกำลังจะหมดไป ในอีก ๗ ปีข้างหน้า ถ้าหากว่าไม่รีบให้สัมปทานในตอนนี้เราจะไม่มีก๊าซใช้ ไฟฟ้าจะแพงขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องของการเขียนเสือให้วัวกลัว

    อ่านในการประชุม

  • แล้วอีกประการหนึ่ง การที่บอกว่าถ้าหากทำระบบพีเอสซี หรือระบบแบ่งปัน ผลผลิตนั้นจะทำให้ต้องเสียเวลา ดิฉันเองคิดว่าไม่จำเป็นต้องเสียเวลา ประชาชนเองก็รอไม่ได้ ที่จะให้ท่านเดินหน้าสัมปทานต่อไปโดยที่ไม่มีการแก้ไขกฎหมายก่อน พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ ผ่านไปแล้ว ๔๔ ปี ดิฉันคิดว่ามันเป็นกฎหมายที่เก่าและล้าหลัง ในช่วงเวลา ๔๔ ปี เราฉีกรัฐธรรมนูญ แก้ไขรัฐธรรมนูญไปหลายฉบับ แต่ปรากฏว่า พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ปี ๒๕๑๔ ยังอยู่ยงคงกระพันยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญของประเทศ เพราะมันคือรัฐธรรมนูญทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีการแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ปี ๒๕๑๔ ดิฉันคิดว่าประชาชนเวลานี้ที่ตื่นตัวขึ้นมาในการที่จะเรียกร้องให้มีการปฏิรูป ระบบปิโตรเลียมอย่างจริงจัง อย่างแท้จริง เสียงของเขาจะไม่ได้รับการรับฟังเลย และดิฉันคิดว่าสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นแทบจะไม่มีความหมายอะไรในการตอบสนองต่อ ความต้องการในปฏิรูปของภาคประชาชน เพราะถ้าท่านลองไปสำรวจดูนะคะ การเรียกร้อง ในเรื่องการปฏิรูปเรื่องของปิโตรเลียมนั้นเป็นการเรียกร้องที่สูงที่สุดในบรรดาความต้องการ ในการปฏิรูปของประชาชน ดิฉันเองเห็นว่าการเปลี่ยนมาเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตนั้น จะช่วยให้เราสามารถที่จะกำกับดูแลและตรวจสอบผลกระทบต่อชุมชนได้ดีกว่าการที่จะให้ สัมปทานเพื่อการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าในกระบวนการที่จะ เปลี่ยนแปลงกฎหมายตรงนี้มันจะเป็นการปฏิรูปอย่างแท้จริง แล้วก็เป็นบทบาทหน้าที่ ที่สำคัญ เพราะดิฉันคิดว่าความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมจะเป็นสาเหตุของ ความขัดแย้งทางการเมืองที่เริ่มต้นมาจากเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน เพราะการพัฒนาที่ผ่านมานั้น ได้สร้างความเหลื่อมล้ำของรายได้ เป็นในลักษณะของรวยกระจุกแล้วก็จนกระจาย และสิ่งที่ ความจนที่กระจายอย่างมากมายในเวลานี้ก็เกิดขึ้นจากการแย่งชิงทรัพยากร ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแร่ ไม่ว่าจะเป็นสัมปทานปิโตรเลียมทั้งหลาย ล้วนแต่ดึงเอาทรัพยากร เพื่อไปสร้างความร่ำรวย แต่ทิ้งภาระในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้กับประชาชน เจ้าของพื้นที่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ดิฉันคิดว่ามันถึงเวลาที่จะต้องมีการปฏิรูปในเรื่องนี้ และถ้าบอกว่า รอบ ๒๑ ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปเป็นสิ่งที่ท่านอาจจะเข้าใจไม่ถูกต้องนะคะ ดิฉันจึงอยากจะให้เพื่อนสมาชิกได้ทบทวนในเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้นนะคะ

    อ่านในการประชุม

  • แล้วอีกประการหนึ่ง การที่บอกว่าถ้าหากทำระบบพีเอสซี หรือระบบแบ่งปัน ผลผลิตนั้นจะทำให้ต้องเสียเวลา ดิฉันเองคิดว่าไม่จำเป็นต้องเสียเวลา ประชาชนเองก็รอไม่ได้ ที่จะให้ท่านเดินหน้าสัมปทานต่อไปโดยที่ไม่มีการแก้ไขกฎหมายก่อน พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ ผ่านไปแล้ว ๔๔ ปี ดิฉันคิดว่ามันเป็นกฎหมายที่เก่าและล้าหลัง ในช่วงเวลา ๔๔ ปี เราฉีกรัฐธรรมนูญ แก้ไขรัฐธรรมนูญไปหลายฉบับ แต่ปรากฏว่า พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ปี ๒๕๑๔ ยังอยู่ยงคงกระพันยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญของประเทศ เพราะมันคือรัฐธรรมนูญทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีการแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ปี ๒๕๑๔ ดิฉันคิดว่าประชาชนเวลานี้ที่ตื่นตัวขึ้นมาในการที่จะเรียกร้องให้มีการปฏิรูป ระบบปิโตรเลียมอย่างจริงจัง อย่างแท้จริง เสียงของเขาจะไม่ได้รับการรับฟังเลย และดิฉันคิดว่าสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นแทบจะไม่มีความหมายอะไรในการตอบสนองต่อ ความต้องการในปฏิรูปของภาคประชาชน เพราะถ้าท่านลองไปสำรวจดูนะคะ การเรียกร้อง ในเรื่องการปฏิรูปเรื่องของปิโตรเลียมนั้นเป็นการเรียกร้องที่สูงที่สุดในบรรดาความต้องการ ในการปฏิรูปของประชาชน ดิฉันเองเห็นว่าการเปลี่ยนมาเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตนั้น จะช่วยให้เราสามารถที่จะกำกับดูแลและตรวจสอบผลกระทบต่อชุมชนได้ดีกว่าการที่จะให้ สัมปทานเพื่อการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าในกระบวนการที่จะ เปลี่ยนแปลงกฎหมายตรงนี้มันจะเป็นการปฏิรูปอย่างแท้จริง แล้วก็เป็นบทบาทหน้าที่ ที่สำคัญ เพราะดิฉันคิดว่าความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมจะเป็นสาเหตุของ ความขัดแย้งทางการเมืองที่เริ่มต้นมาจากเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน เพราะการพัฒนาที่ผ่านมานั้น ได้สร้างความเหลื่อมล้ำของรายได้ เป็นในลักษณะของรวยกระจุกแล้วก็จนกระจาย และสิ่งที่ ความจนที่กระจายอย่างมากมายในเวลานี้ก็เกิดขึ้นจากการแย่งชิงทรัพยากร ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแร่ ไม่ว่าจะเป็นสัมปทานปิโตรเลียมทั้งหลาย ล้วนแต่ดึงเอาทรัพยากร เพื่อไปสร้างความร่ำรวย แต่ทิ้งภาระในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้กับประชาชน เจ้าของพื้นที่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ดิฉันคิดว่ามันถึงเวลาที่จะต้องมีการปฏิรูปในเรื่องนี้ และถ้าบอกว่า รอบ ๒๑ ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปเป็นสิ่งที่ท่านอาจจะเข้าใจไม่ถูกต้องนะคะ ดิฉันจึงอยากจะให้เพื่อนสมาชิกได้ทบทวนในเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้นนะคะ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นต่อมา ดิฉันขอสไลด์ภาพที่ ๒ นะคะ ต้องถามว่าเมื่อเราตั้งคำถามว่า เราจำเป็นจะต้องรีบ ถ้าหากเราไม่รีบเราจะขาดพลังงาน อย่างเช่นที่บอกว่าปริมาณ การสำรองก๊าซจะหมดภายใน ๗ ปี ต้องบอกอย่างนี้นะคะว่าปริมาณสำรองที่ คณะกรรมาธิการเสียงข้างมากได้รายงานมานั้น มันคือปริมาณสำรองที่ขึ้นอยู่กับ สัญญาซื้อขายก๊าซของ ปตท. หรือผู้รับสัมปทาน สัญญาซื้อขายก๊าซนั้นขึ้นอยู่กับ อายุสัมปทานนะคะ แล้วก็สัญญาขายก๊าซที่มากที่สุด ๒ อันดับแรก คือบริษัทยูโนแคล ซึ่งเวลานี้เปลี่ยนมาเป็นเชฟรอนนะคะ ที่เวลานี้ซื้อขายกันวันละ ๑,๒๔๐ ล้านลูกบาศก์ฟุต แล้วก็สัญญาบงกชเหนือและใต้ของ ปตท.สผ. ซื้อขายกันวันละ ๘๗๐ ล้านลูกบาศก์ฟุต อยู่ภายใต้สัมปทานรอบที่ ๑ คือปี ๒๕๑๔ แล้วก็กำลังจะหมดอายุลงในปี ๒๕๖๕ เหลืออีก ๗ ปีนับจากนี้ สอดคล้องกับสิ่งที่กรรมาธิการเสียงข้างมากบอกว่าก๊าซเราจะหมด เพราะฉะนั้นประเด็นที่สำคัญอันหนึ่งก็คือว่า ในระบบสัมปทานนั้นปริมาณสำรองปิโตรเลียมนั้น ไม่ใช่ของประเทศค่ะ เราไม่ได้มีโอกาสรู้ว่าปริมาณสำรองจริง ๆ เป็นเท่าไร แต่ปริมาณสำรอง ที่เอกชนบอกกับรัฐก็คือเป็นไปตามสัญญาที่เขามีสัมปทานอยู่ หรือสัญญาซื้อขายก๊าซด้วยนะคะ เพราะฉะนั้นการที่อ้างว่าก๊าซจะหมดมันคือเป็นสัญญาสัมปทานที่จะหมดในอีก ๗ ปีข้างหน้า ต่างหาก และถามว่าเราจะต้องรีบไหม เพราะว่าไม่เช่นนั้นราคาจะแพงขึ้น ดิฉันให้ท่านดูสไลด์ บนกระดานซึ่งท่านอาจจะเห็นไม่ชัดเจนนะคะ ดิฉันจะขอเรียนเป็นตัวเลข เมื่อก่อนโรงแยกก๊าซซึ่งเป็นโรงแยกก๊าซที่นำก๊าซจากอ่าวไทยมาแยก ตอนนั้นรัฐกำหนดราคา ไว้โรงแยกก๊าซที่ ๓๓๓ เหรียญต่อตัน คือตกประมาณ ๑๐ บาทต่อกิโลกรัมนะคะ มาวันนี้คณะกรรมการ กบง. เพิ่งมีมติไปว่าจะปรับขึ้นราคาโรงแยกก๊าซจาก ๓๓๓ เหรียญ เป็น ๔๘๘ เหรียญต่อตัน คือเท่ากับ ๑๖ บาทต่อกิโลกรัม คุณขึ้นจาก ๑๐ บาทมาเป็น ๑๖ บาทนะคะ แต่เวลานี้ราคาตลาดโลกของก๊าซแอลพีจีอยู่ที่ ๑๔ บาทต่อกิโลกรัม อันนี้เป็น ตัวเลขที่อิงกับราคาโพรเพน (Propane) ของซาอุดิอาระเบียนะคะ เพราะฉะนั้นเวลานี้ ราคาก๊าซที่ขายให้กับประชาชนมันสูงเลยราคาตลาดโลกแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเราจะรีบเร่ง ในการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมรอบ ๒๑ ต้องถามว่าประชาชนจะได้อะไร ในเมื่อประชาชน ก็ต้องซื้อ ไม่ว่าน้ำมันหรือก๊าซในราคาอิงตลาดโลก เวลานี้ราคาตลาดโลกลง แต่ปรากฏว่า ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนเหล่านี้ และต้องบอกเลยนะคะว่าเวลานี้ที่อ้างว่า ประชาชนใช้ราคาก๊าซถูกก็ไม่จริงนะคะ เพราะว่ามีการเก็บเงินกองทุนน้ำมันเอาไปชดเชย โดยใช้วิธีการที่มีความซับซ้อนที่ทำให้เกิดความเข้าใจได้ยาก และต้องบอกว่าที่จริงแล้ว ความต้องการในการที่จะผลักดันให้เปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ ๒๑ แท้จริงแล้วคือเพื่อจะได้ ก๊าซสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพราะว่าอะไรคะ เพราะว่ากรรมาธิการบางท่าน ในกรรมาธิการพลังงาน ในฐานะนักวิชาการอิสระท่านเคยพูดในหลายที่ ที่บอกว่าก๊าซ ในอ่าวไทยเรียกว่า เวต (Wet) ก๊าซ คือก๊าซเปียก ไม่ใช่ก๊าซแห้ง สามารถแยกเอาก๊าซ โพรเพน บิวเทน (Butane) ที่เอามาใช้เป็นแอลพีจี เพราะฉะนั้นมันเหมือนกับไม้สักไม่ควรจะ เอาไปเผา ควรจะเอาไปทำปิโตรเคมีจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ๒๐ เท่า แต่ปรากฏว่า ปิโตรเคมีนั้นซื้อในราคาที่ถูกกว่าชาวบ้านแล้วก็ไม่เคยจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ก๊าซในอ่าวไทย อุปมาแล้วเหมือนกับหม้อข้าว ปิโตรเคมีได้รับการอนุมัติให้กินข้าวในหม้อนี้ร่วมกับ ภาคครัวเรือนก่อน แล้วปรากฏว่ากินไปครึ่งหนึ่งทำให้คนในบ้านไม่พอกิน จะต้องไปนำเข้า ไปซื้อข้าวจากนอกบ้านมา แล้วก็เอากองทุนน้ำมันมาชดเชย เพราะฉะนั้นต้องบอกว่าประชาชน ที่ใช้น้ำมันก็ต้องจ่ายเงินจำนวนมากเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่ออ้างว่ามาอุ้มการใช้ก๊าซหุงต้มของ ภาคครัวเรือน แต่ไม่เคยมีใครพูดเลยว่าปิโตรเคมีซึ่งเป็นธุรกิจของเอกชน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เหตุใดจึงมีสิทธิในการที่จะมาใช้ทรัพยากรในอ่าวไทยครึ่งหนึ่งในราคาที่ถูกกว่าคนอื่นนะคะ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าถึงแม้จะอ้างว่ามันเป็นสัญญาระยะยาว มันเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ในอดีต ต้องบอกว่าในอดีตนั้นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยนั้นไม่ได้แปรสภาพไปเป็นเอกชน เพราะฉะนั้นกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งเคยอยู่ในรัฐวิสาหกิจที่เป็นของรัฐ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นั้น เขาจึงกำหนดให้มีการขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโลก ๔๐ เปอร์เซ็นต์ได้ แต่เวลานี้เมื่อเป็น เอกชน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้วคุณซื้อในราคาต่ำกว่าตลาดโลก ๔๐ เปอร์เซ็นต์ อันนี้ย่อม ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน แล้วก็ยังไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ไม่ต้องเสียภาษีเทศบาล ภาษีแวต (VAT) ก็ผลักให้กับผู้บริโภค

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นต่อมา ดิฉันขอสไลด์ภาพที่ ๒ นะคะ ต้องถามว่าเมื่อเราตั้งคำถามว่า เราจำเป็นจะต้องรีบ ถ้าหากเราไม่รีบเราจะขาดพลังงาน อย่างเช่นที่บอกว่าปริมาณ การสำรองก๊าซจะหมดภายใน ๗ ปี ต้องบอกอย่างนี้นะคะว่าปริมาณสำรองที่ คณะกรรมาธิการเสียงข้างมากได้รายงานมานั้น มันคือปริมาณสำรองที่ขึ้นอยู่กับ สัญญาซื้อขายก๊าซของ ปตท. หรือผู้รับสัมปทาน สัญญาซื้อขายก๊าซนั้นขึ้นอยู่กับ อายุสัมปทานนะคะ แล้วก็สัญญาขายก๊าซที่มากที่สุด ๒ อันดับแรก คือบริษัทยูโนแคล ซึ่งเวลานี้เปลี่ยนมาเป็นเชฟรอนนะคะ ที่เวลานี้ซื้อขายกันวันละ ๑,๒๔๐ ล้านลูกบาศก์ฟุต แล้วก็สัญญาบงกชเหนือและใต้ของ ปตท.สผ. ซื้อขายกันวันละ ๘๗๐ ล้านลูกบาศก์ฟุต อยู่ภายใต้สัมปทานรอบที่ ๑ คือปี ๒๕๑๔ แล้วก็กำลังจะหมดอายุลงในปี ๒๕๖๕ เหลืออีก ๗ ปีนับจากนี้ สอดคล้องกับสิ่งที่กรรมาธิการเสียงข้างมากบอกว่าก๊าซเราจะหมด เพราะฉะนั้นประเด็นที่สำคัญอันหนึ่งก็คือว่า ในระบบสัมปทานนั้นปริมาณสำรองปิโตรเลียมนั้น ไม่ใช่ของประเทศค่ะ เราไม่ได้มีโอกาสรู้ว่าปริมาณสำรองจริง ๆ เป็นเท่าไร แต่ปริมาณสำรอง ที่เอกชนบอกกับรัฐก็คือเป็นไปตามสัญญาที่เขามีสัมปทานอยู่ หรือสัญญาซื้อขายก๊าซด้วยนะคะ เพราะฉะนั้นการที่อ้างว่าก๊าซจะหมดมันคือเป็นสัญญาสัมปทานที่จะหมดในอีก ๗ ปีข้างหน้า ต่างหาก และถามว่าเราจะต้องรีบไหม เพราะว่าไม่เช่นนั้นราคาจะแพงขึ้น ดิฉันให้ท่านดูสไลด์ บนกระดานซึ่งท่านอาจจะเห็นไม่ชัดเจนนะคะ ดิฉันจะขอเรียนเป็นตัวเลข เมื่อก่อนโรงแยกก๊าซซึ่งเป็นโรงแยกก๊าซที่นำก๊าซจากอ่าวไทยมาแยก ตอนนั้นรัฐกำหนดราคา ไว้โรงแยกก๊าซที่ ๓๓๓ เหรียญต่อตัน คือตกประมาณ ๑๐ บาทต่อกิโลกรัมนะคะ มาวันนี้คณะกรรมการ กบง. เพิ่งมีมติไปว่าจะปรับขึ้นราคาโรงแยกก๊าซจาก ๓๓๓ เหรียญ เป็น ๔๘๘ เหรียญต่อตัน คือเท่ากับ ๑๖ บาทต่อกิโลกรัม คุณขึ้นจาก ๑๐ บาทมาเป็น ๑๖ บาทนะคะ แต่เวลานี้ราคาตลาดโลกของก๊าซแอลพีจีอยู่ที่ ๑๔ บาทต่อกิโลกรัม อันนี้เป็น ตัวเลขที่อิงกับราคาโพรเพน (Propane) ของซาอุดิอาระเบียนะคะ เพราะฉะนั้นเวลานี้ ราคาก๊าซที่ขายให้กับประชาชนมันสูงเลยราคาตลาดโลกแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเราจะรีบเร่ง ในการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมรอบ ๒๑ ต้องถามว่าประชาชนจะได้อะไร ในเมื่อประชาชน ก็ต้องซื้อ ไม่ว่าน้ำมันหรือก๊าซในราคาอิงตลาดโลก เวลานี้ราคาตลาดโลกลง แต่ปรากฏว่า ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนเหล่านี้ และต้องบอกเลยนะคะว่าเวลานี้ที่อ้างว่า ประชาชนใช้ราคาก๊าซถูกก็ไม่จริงนะคะ เพราะว่ามีการเก็บเงินกองทุนน้ำมันเอาไปชดเชย โดยใช้วิธีการที่มีความซับซ้อนที่ทำให้เกิดความเข้าใจได้ยาก และต้องบอกว่าที่จริงแล้ว ความต้องการในการที่จะผลักดันให้เปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ ๒๑ แท้จริงแล้วคือเพื่อจะได้ ก๊าซสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพราะว่าอะไรคะ เพราะว่ากรรมาธิการบางท่าน ในกรรมาธิการพลังงาน ในฐานะนักวิชาการอิสระท่านเคยพูดในหลายที่ ที่บอกว่าก๊าซ ในอ่าวไทยเรียกว่า เวต (Wet) ก๊าซ คือก๊าซเปียก ไม่ใช่ก๊าซแห้ง สามารถแยกเอาก๊าซ โพรเพน บิวเทน (Butane) ที่เอามาใช้เป็นแอลพีจี เพราะฉะนั้นมันเหมือนกับไม้สักไม่ควรจะ เอาไปเผา ควรจะเอาไปทำปิโตรเคมีจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ๒๐ เท่า แต่ปรากฏว่า ปิโตรเคมีนั้นซื้อในราคาที่ถูกกว่าชาวบ้านแล้วก็ไม่เคยจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ก๊าซในอ่าวไทย อุปมาแล้วเหมือนกับหม้อข้าว ปิโตรเคมีได้รับการอนุมัติให้กินข้าวในหม้อนี้ร่วมกับ ภาคครัวเรือนก่อน แล้วปรากฏว่ากินไปครึ่งหนึ่งทำให้คนในบ้านไม่พอกิน จะต้องไปนำเข้า ไปซื้อข้าวจากนอกบ้านมา แล้วก็เอากองทุนน้ำมันมาชดเชย เพราะฉะนั้นต้องบอกว่าประชาชน ที่ใช้น้ำมันก็ต้องจ่ายเงินจำนวนมากเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่ออ้างว่ามาอุ้มการใช้ก๊าซหุงต้มของ ภาคครัวเรือน แต่ไม่เคยมีใครพูดเลยว่าปิโตรเคมีซึ่งเป็นธุรกิจของเอกชน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เหตุใดจึงมีสิทธิในการที่จะมาใช้ทรัพยากรในอ่าวไทยครึ่งหนึ่งในราคาที่ถูกกว่าคนอื่นนะคะ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าถึงแม้จะอ้างว่ามันเป็นสัญญาระยะยาว มันเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ในอดีต ต้องบอกว่าในอดีตนั้นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยนั้นไม่ได้แปรสภาพไปเป็นเอกชน เพราะฉะนั้นกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งเคยอยู่ในรัฐวิสาหกิจที่เป็นของรัฐ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์นั้น เขาจึงกำหนดให้มีการขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดโลก ๔๐ เปอร์เซ็นต์ได้ แต่เวลานี้เมื่อเป็น เอกชน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้วคุณซื้อในราคาต่ำกว่าตลาดโลก ๔๐ เปอร์เซ็นต์ อันนี้ย่อม ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน แล้วก็ยังไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ไม่ต้องเสียภาษีเทศบาล ภาษีแวต (VAT) ก็ผลักให้กับผู้บริโภค

    อ่านในการประชุม

  • ดิฉันขอชาร์ต (Chart) อันที่ ๓ นะคะ ไม่ใช่อันนี้ค่ะ ก่อนหน้านี้ อีกอันหนึ่ง ตัวที่เป็นตัวอักษรค่ะ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่กรรมาธิการเสียงข้างมากได้พูดว่า

    อ่านในการประชุม

  • ดิฉันขอชาร์ต (Chart) อันที่ ๓ นะคะ ไม่ใช่อันนี้ค่ะ ก่อนหน้านี้ อีกอันหนึ่ง ตัวที่เป็นตัวอักษรค่ะ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่กรรมาธิการเสียงข้างมากได้พูดว่า

    อ่านในการประชุม

  • ดิฉันขอเรียนว่าเรื่องนี้อยู่ใน เหตุผลเลยค่ะ เหตุผลที่ว่าการรีบเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ ปิโตรเลียมนั้นเป็นประโยชน์กับ ประชาชนอย่างไร แล้วก็ข้ออ้างที่ว่าต้องรีบเปิด เพราะไม่อย่างนั้นเราจะต้องนำเข้าแอลเอ็นจี ทำให้ค่าไฟฟ้านั้นมีราคาแพงนะคะ ที่จริงในเอกสารชิ้นที่ ๓ นี่นะคะ อันนี้ก็เป็นมติชัดเจนนะคะว่าเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ คณะกรรมการนโยบายพลังงาน แห่งชาติ คือ กพช. มีมติเห็นชอบให้ ปตท. ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี กับบริษัท กาตาร์ ลิควิไฟด์ แก๊ส คัมพะนี ลิมิเต็ด ประเทศกาตาร์ ในปริมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ ตันต่อปี อายุสัญญา ๒๐ ปี เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๕๘ เป็นสัญญาซื้อขาย แอลเอ็นจีระยะยาวฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งอันนี้เขาเตรียมไว้แล้วสำหรับการที่จะขายก๊าซ เพื่อมาใช้กับไฟฟ้า เพราะแอลเอ็นจีนั้นไม่ใช่ก๊าซเปียกที่เอามาแยกไปทำก๊าซแอลพีจีได้ แอลเอ็นจีนำเข้ามาก็เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า เพราะฉะนั้นเมื่อเรามีสัญญาซื้อขายก๊าซ ระยะยาวแบบนี้เอาไว้แล้ว เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเป็นห่วงมากว่าเราจะขาดแคลน ไฟฟ้า ดิฉันจะไปเร็ว ๆ นะคะ เพื่อให้เพื่อนสมาชิกท่านอื่นได้มีโอกาสอภิปราย ดิฉันขอภาพที่ ๓

    อ่านในการประชุม

  • ดิฉันขอเรียนว่าเรื่องนี้อยู่ใน เหตุผลเลยค่ะ เหตุผลที่ว่าการรีบเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ ปิโตรเลียมนั้นเป็นประโยชน์กับ ประชาชนอย่างไร แล้วก็ข้ออ้างที่ว่าต้องรีบเปิด เพราะไม่อย่างนั้นเราจะต้องนำเข้าแอลเอ็นจี ทำให้ค่าไฟฟ้านั้นมีราคาแพงนะคะ ที่จริงในเอกสารชิ้นที่ ๓ นี่นะคะ อันนี้ก็เป็นมติชัดเจนนะคะว่าเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ คณะกรรมการนโยบายพลังงาน แห่งชาติ คือ กพช. มีมติเห็นชอบให้ ปตท. ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี กับบริษัท กาตาร์ ลิควิไฟด์ แก๊ส คัมพะนี ลิมิเต็ด ประเทศกาตาร์ ในปริมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ ตันต่อปี อายุสัญญา ๒๐ ปี เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๕๘ เป็นสัญญาซื้อขาย แอลเอ็นจีระยะยาวฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งอันนี้เขาเตรียมไว้แล้วสำหรับการที่จะขายก๊าซ เพื่อมาใช้กับไฟฟ้า เพราะแอลเอ็นจีนั้นไม่ใช่ก๊าซเปียกที่เอามาแยกไปทำก๊าซแอลพีจีได้ แอลเอ็นจีนำเข้ามาก็เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า เพราะฉะนั้นเมื่อเรามีสัญญาซื้อขายก๊าซ ระยะยาวแบบนี้เอาไว้แล้ว เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเป็นห่วงมากว่าเราจะขาดแคลน ไฟฟ้า ดิฉันจะไปเร็ว ๆ นะคะ เพื่อให้เพื่อนสมาชิกท่านอื่นได้มีโอกาสอภิปราย ดิฉันขอภาพที่ ๓

    อ่านในการประชุม

  • ภาพที่ ๓ อันนี้เป็นเอกสารการประชุมเพื่อที่จะเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๑ ในสมัยปี ๒๕๕๔ นะคะ ในเอกสารชิ้นนี้ดิฉันขอภาพต่อไปนะคะ อันนี้มีความชัดเจนนะคะ ซึ่งหลายท่านอาจจะบอกว่าระบบพีเอสซีกับระบบสัมปทานไม่ต่างกันเลย เอกสารของ กระทรวงพลังงานเขียนเอาไว้ต่างกันเลยนะคะ แต่ว่าเอกสารท่านอาจจะเห็นได้ไม่ค่อยชัดเจน คือในเอกสารนั้นเป็นการเปรียบเทียบ ๓ ระบบนะคะ คือระบบสัมปทานช่องที่ ๑ ระบบแบ่งปันผลผลิตหรือพีเอสซีช่องที่ ๒ แล้วก็ระบบสัญญาจ้างผลิตช่องที่ ๓ อันนี้ก็พูด ชัดเจนว่าในช่องที่ ๑ ที่เขียนเอาไว้ก็คือว่าอำนาจของบริษัท คือถ้าหากว่าเป็นระบบสัมปทาน ถือเป็นเอ็กซคลูซีฟ ไรต์ ก็คือเป็นอำนาจผูกขาดของบริษัทโดยตรงเลย ในขณะที่ถ้าหากว่า เป็นระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นรัฐยังมีการควบคุมดูแลตรงนี้อยู่ ดิฉันจะไปอย่างเร็ว ๆ เพื่อให้ เห็นว่าในช่องเหล่านี้ได้บอกไว้ชัดเจนว่า อันสุดท้ายก็ได้นะคะ คัมพะนี เทก (Company take) นี่นะคะ ก็จะบอกเอาไว้เลยว่า สิ่งที่บริษัทจะได้ก็คือ ออล โพรดักชัน (All production) ก็หมายถึงว่าปิโตรเลียมทั้งหมดที่ผลิตได้เป็นของบริษัท แต่ถ้าหากว่า เป็นระบบพีเอสซีบริษัทจะได้เพียงแค่คอสท์ ออยล์ (Cost oil) คือปิโตรเลียม ในส่วนที่เป็นต้นทุนกับส่วนที่เป็นแบ่งปันกำไรของปิโตรเลียมที่ได้มีการประมูลหรือตกลงกัน เอาไว้ และในส่วนที่ท่านเห็นข้างบนนี่นะคะ โพรดักชัน ออนเนอร์ชิพ (Production ownership) พูดชัดเจนนะคะ ถ้าเป็นระบบสัมปทานผลผลิตเป็นของผู้รับสัมปทาน ส่วนระบบพีเอสซี รัฐจะเป็นเจ้าของปิโตรเลียม และเป็นคนจัดสรรแบ่งให้กับเอกชน ดิฉันคิดว่าระบบ ๒ ระบบนี้ถ้าเราดูในเรื่องของความเป็นเจ้าของนั้นมันย่อมมีความสำคัญ มากว่า ความเป็นเจ้าของนั้นทำให้เราสามารถที่จะจัดการระบบต่าง ๆ อย่างยืดหยุ่น แต่ถ้าหากว่า เราไม่ได้สนใจในเรื่องของความเป็นเจ้าของ ก็คือเราก็ต้องอาศัยจมูกคนอื่นหายใจไปเรื่อย ๆ ข้อโต้แย้งในประเด็นที่ว่าสภาพธรณีวิทยาเราเป็นกระเปาะเล็ก ๆ ก็เลยไม่เหมาะสำหรับ ระบบพีเอสซี ซึ่งอันนี้ก็ไม่จริงนะคะ เพราะว่าในอาเซียนทุกประเทศเขาใช้ระบบพีเอสซีกันหมดแล้ว เหลือประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่เป็นระบบสัมปทาน แล้วก็ไม่ใช่ว่าประเทศอื่น ๆ จะมีแต่ แหล่งใหญ่ เขาก็ย่อมมีแหล่งเล็กด้วย จะไปบอกว่าประเทศอื่นแหล่งใหญ่หมดเลย พอมาถึง ประเทศไทยปุ๊บแหล่งเล็กทันที ดิฉันคิดว่ามันก็ดูไม่ค่อยสมเหตุสมผลนะคะ ในกระบวนการ ตรงนี้ดิฉันคิดว่าเวลาเราพูดว่าเป็นกระเปาะเล็ก ๆ ดิฉันคิดว่ามันเป็นมโนภาพว่ากระเปาะเล็ก ๆ คือมีน้อย ดิฉันเองได้มีโอกาสสอบถามเอกชนที่เป็นผู้รับสัมปทานท่านหนึ่งที่ได้มาชี้แจง บริษัทหนึ่งซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ที่ได้มาชี้แจงในกรรมาธิการพลังงานว่า แทนที่จะบอกว่าประเทศไทยนั้นขุดเจาะยาก ต้นทุนสูง ต้องลงแท่น ๕๐๐ แท่น ขณะที่พม่า แค่ ๒๐ แท่น แต่ว่าโดยปกติแล้วบริษัทเขาไม่ได้สนใจว่าจะ ๕๐๐ แท่น หรือ ๒๐ แท่น ตราบเท่าที่เขายังได้กำไร ดิฉันถามว่าถ้าหากมองว่ากระเปาะเล็กนี่ท่านบอกได้ไหม ผลตอบแทนต่อโครงการ ซึ่งเอกชนที่เป็นธุรกิจดิฉันคิดว่าท่านเข้าใจว่าเวลาที่จะมีการลงทุน สิ่งที่ท่านจะต้องรู้คือผลตอบแทนต่อโครงการนั้นคุ้มไหม แล้วกี่เปอร์เซ็นต์นะคะ ดิฉันถามว่า ไออาร์อาร์ (IRR) ของโครงการคืออินเตอร์นอล เรต ออฟ รีเทิร์น (Internal Rate of Return) ในการขุดเจาะปิโตรเลียมในประเทศไทยของท่านกี่เปอร์เซ็นต์ ปรากฏว่าเอกชน ผู้ขุดเจาะรายนั้นตอบว่าเป็นความลับค่ะ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าความลับของเอกชนไม่เป็นไร แต่รัฐของเรารู้ไหม ถ้าเราไม่รู้ว่าผลตอบแทนต่อโครงการนี่เท่าไร หรือกำไรต่อการลงทุนนี่เท่าไร เราจะมีข้อมูลที่จะเสมอบ่าเสมอไหล่กับเอกชนเพื่อที่จะแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับรัฐ อย่างเท่าเทียมกันได้อย่างไร เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าการที่จะเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ ไปโดยผูกพันประเทศไปอีก ๒๙ ปี หรือ ๓๙ ปีนี่นะคะ ดิฉันคิดว่ามันก็ยากแล้วที่เราจะไป แก้ไขและปฏิรูปอะไรได้นะคะ

    อ่านในการประชุม

  • ภาพที่ ๓ อันนี้เป็นเอกสารการประชุมเพื่อที่จะเปิดสัมปทานรอบที่ ๒๑ ในสมัยปี ๒๕๕๔ นะคะ ในเอกสารชิ้นนี้ดิฉันขอภาพต่อไปนะคะ อันนี้มีความชัดเจนนะคะ ซึ่งหลายท่านอาจจะบอกว่าระบบพีเอสซีกับระบบสัมปทานไม่ต่างกันเลย เอกสารของ กระทรวงพลังงานเขียนเอาไว้ต่างกันเลยนะคะ แต่ว่าเอกสารท่านอาจจะเห็นได้ไม่ค่อยชัดเจน คือในเอกสารนั้นเป็นการเปรียบเทียบ ๓ ระบบนะคะ คือระบบสัมปทานช่องที่ ๑ ระบบแบ่งปันผลผลิตหรือพีเอสซีช่องที่ ๒ แล้วก็ระบบสัญญาจ้างผลิตช่องที่ ๓ อันนี้ก็พูด ชัดเจนว่าในช่องที่ ๑ ที่เขียนเอาไว้ก็คือว่าอำนาจของบริษัท คือถ้าหากว่าเป็นระบบสัมปทาน ถือเป็นเอ็กซคลูซีฟ ไรต์ ก็คือเป็นอำนาจผูกขาดของบริษัทโดยตรงเลย ในขณะที่ถ้าหากว่า เป็นระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นรัฐยังมีการควบคุมดูแลตรงนี้อยู่ ดิฉันจะไปอย่างเร็ว ๆ เพื่อให้ เห็นว่าในช่องเหล่านี้ได้บอกไว้ชัดเจนว่า อันสุดท้ายก็ได้นะคะ คัมพะนี เทก (Company take) นี่นะคะ ก็จะบอกเอาไว้เลยว่า สิ่งที่บริษัทจะได้ก็คือ ออล โพรดักชัน (All production) ก็หมายถึงว่าปิโตรเลียมทั้งหมดที่ผลิตได้เป็นของบริษัท แต่ถ้าหากว่า เป็นระบบพีเอสซีบริษัทจะได้เพียงแค่คอสท์ ออยล์ (Cost oil) คือปิโตรเลียม ในส่วนที่เป็นต้นทุนกับส่วนที่เป็นแบ่งปันกำไรของปิโตรเลียมที่ได้มีการประมูลหรือตกลงกัน เอาไว้ และในส่วนที่ท่านเห็นข้างบนนี่นะคะ โพรดักชัน ออนเนอร์ชิพ (Production ownership) พูดชัดเจนนะคะ ถ้าเป็นระบบสัมปทานผลผลิตเป็นของผู้รับสัมปทาน ส่วนระบบพีเอสซี รัฐจะเป็นเจ้าของปิโตรเลียม และเป็นคนจัดสรรแบ่งให้กับเอกชน ดิฉันคิดว่าระบบ ๒ ระบบนี้ถ้าเราดูในเรื่องของความเป็นเจ้าของนั้นมันย่อมมีความสำคัญ มากว่า ความเป็นเจ้าของนั้นทำให้เราสามารถที่จะจัดการระบบต่าง ๆ อย่างยืดหยุ่น แต่ถ้าหากว่า เราไม่ได้สนใจในเรื่องของความเป็นเจ้าของ ก็คือเราก็ต้องอาศัยจมูกคนอื่นหายใจไปเรื่อย ๆ ข้อโต้แย้งในประเด็นที่ว่าสภาพธรณีวิทยาเราเป็นกระเปาะเล็ก ๆ ก็เลยไม่เหมาะสำหรับ ระบบพีเอสซี ซึ่งอันนี้ก็ไม่จริงนะคะ เพราะว่าในอาเซียนทุกประเทศเขาใช้ระบบพีเอสซีกันหมดแล้ว เหลือประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่เป็นระบบสัมปทาน แล้วก็ไม่ใช่ว่าประเทศอื่น ๆ จะมีแต่ แหล่งใหญ่ เขาก็ย่อมมีแหล่งเล็กด้วย จะไปบอกว่าประเทศอื่นแหล่งใหญ่หมดเลย พอมาถึง ประเทศไทยปุ๊บแหล่งเล็กทันที ดิฉันคิดว่ามันก็ดูไม่ค่อยสมเหตุสมผลนะคะ ในกระบวนการ ตรงนี้ดิฉันคิดว่าเวลาเราพูดว่าเป็นกระเปาะเล็ก ๆ ดิฉันคิดว่ามันเป็นมโนภาพว่ากระเปาะเล็ก ๆ คือมีน้อย ดิฉันเองได้มีโอกาสสอบถามเอกชนที่เป็นผู้รับสัมปทานท่านหนึ่งที่ได้มาชี้แจง บริษัทหนึ่งซึ่งเป็นบริษัทใหญ่ที่ได้มาชี้แจงในกรรมาธิการพลังงานว่า แทนที่จะบอกว่าประเทศไทยนั้นขุดเจาะยาก ต้นทุนสูง ต้องลงแท่น ๕๐๐ แท่น ขณะที่พม่า แค่ ๒๐ แท่น แต่ว่าโดยปกติแล้วบริษัทเขาไม่ได้สนใจว่าจะ ๕๐๐ แท่น หรือ ๒๐ แท่น ตราบเท่าที่เขายังได้กำไร ดิฉันถามว่าถ้าหากมองว่ากระเปาะเล็กนี่ท่านบอกได้ไหม ผลตอบแทนต่อโครงการ ซึ่งเอกชนที่เป็นธุรกิจดิฉันคิดว่าท่านเข้าใจว่าเวลาที่จะมีการลงทุน สิ่งที่ท่านจะต้องรู้คือผลตอบแทนต่อโครงการนั้นคุ้มไหม แล้วกี่เปอร์เซ็นต์นะคะ ดิฉันถามว่า ไออาร์อาร์ (IRR) ของโครงการคืออินเตอร์นอล เรต ออฟ รีเทิร์น (Internal Rate of Return) ในการขุดเจาะปิโตรเลียมในประเทศไทยของท่านกี่เปอร์เซ็นต์ ปรากฏว่าเอกชน ผู้ขุดเจาะรายนั้นตอบว่าเป็นความลับค่ะ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าความลับของเอกชนไม่เป็นไร แต่รัฐของเรารู้ไหม ถ้าเราไม่รู้ว่าผลตอบแทนต่อโครงการนี่เท่าไร หรือกำไรต่อการลงทุนนี่เท่าไร เราจะมีข้อมูลที่จะเสมอบ่าเสมอไหล่กับเอกชนเพื่อที่จะแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับรัฐ อย่างเท่าเทียมกันได้อย่างไร เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าการที่จะเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ ไปโดยผูกพันประเทศไปอีก ๒๙ ปี หรือ ๓๙ ปีนี่นะคะ ดิฉันคิดว่ามันก็ยากแล้วที่เราจะไป แก้ไขและปฏิรูปอะไรได้นะคะ

    อ่านในการประชุม

  • อีกประการหนึ่งที่ดิฉันอยากจะตั้งข้อสังเกตนั้นก็คือว่า แปลงปิโตรเลียมที่ให้ ๒๙ แปลง ในรอบ ๒๑ นี้นะคะ ๒๓ แปลงอยู่ในอีสาน ๖ แปลงอยู่ในภาคกลางและ ภาคเหนือตอนล่าง แล้วก็อีก ๖ แปลงอยู่ในทะเล ปรากฏว่าแปลงสัมปทานในส่วนที่ให้ ในทะเลนั้นใกล้กับแหล่งปิโตรเลียมของบริษัทใหญ่ คือใกล้กับแหล่งเอราวัณและบงกช ซึ่งกำลังจะหมดสัมปทานในปี ๒๕๖๕ คืออีก ๗ ปีข้างหน้า แล้วตามกฎหมาย พ.ร.บ. ปิโตรเลียม สัมปทานที่หมดในคราวนี้ไม่สามารถต่อสัมปทานได้อีก รัฐจะต้องเอา กลับมาเป็นของตัวเองแล้วก็บริหารจัดการ ซึ่งอันนี้ที่จริงแล้วผลประโยชน์จะกลับมาให้กับ ประเทศมากขึ้น แต่ปรากฏว่ามีการให้แหล่งปิโตรเลียมที่อยู่ใกล้ชิดกับแปลงเหล่านี้ เป็นการตั้งข้อสังเกตนะคะว่าเป็นการที่จะเอื้อเพื่อที่จะให้เอกชนที่เป็นเจ้าของแหล่งตรงนั้น สามารถที่จะหาทางในการที่จะได้สัมปทานแหล่งเก่าต่อไปหรือไม่ หรือมันถูกปิดล้อมด้วย แหล่งใหม่ที่อยู่ใกล้ชิดกับแปลงในอนาคต ซึ่งอันนี้ดิฉันคิดว่าก็จะทำให้เราเสียประโยชน์ แต่ถ้าหากว่าเราเริ่มจากกระบวนการในการที่จะให้เปลี่ยนมาเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต สิ่งที่เราควรจะทำก็คือการเปลี่ยนแปลงระบบ โดยที่จริง ๆ แล้วไม่มีความจำเป็นต้องหยุดชะงัก หลายท่านบอกว่าจะต้องออกกฎหมายเป็นเวลา ๕-๖ ปี ดิฉันคิดว่านั่นเป็นวาระปกติ แต่นี่เป็นวาระที่อยู่ในช่วงของการปฏิรูป แล้วก็อยู่ในช่วงของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ในอดีตสมัยปี ๒๕๔๙ สนช. สามารถออกกฎหมายเรื่อง พ.ร.บ. กำกับกิจการพลังงาน ๑๐๐ กว่ามาตราภายในเวลา ๔ เดือนเท่านั้นนะคะ เพื่อที่จะป้องกันการฟ้องศาลปกครอง ที่ศาลจะเพิกถอนการแปรรูป ปตท. ในครั้งนั้นนะคะ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าถ้าหากว่า รัฐบาลนั้นเห็นความสำคัญของเรื่องนี้อย่างแท้จริงก็สามารถที่จะใช้เวลาไม่นานในการที่จะ แก้กฎหมายตรงนี้ได้นะคะ แล้วก็โดยเฉพาะอย่างยิ่งดิฉันคิดว่าสิ่งที่จะเป็นปัญหาควรได้รับ การแก้ไขในสมัยนี้

    อ่านในการประชุม

  • อีกประการหนึ่งที่ดิฉันอยากจะตั้งข้อสังเกตนั้นก็คือว่า แปลงปิโตรเลียมที่ให้ ๒๙ แปลง ในรอบ ๒๑ นี้นะคะ ๒๓ แปลงอยู่ในอีสาน ๖ แปลงอยู่ในภาคกลางและ ภาคเหนือตอนล่าง แล้วก็อีก ๖ แปลงอยู่ในทะเล ปรากฏว่าแปลงสัมปทานในส่วนที่ให้ ในทะเลนั้นใกล้กับแหล่งปิโตรเลียมของบริษัทใหญ่ คือใกล้กับแหล่งเอราวัณและบงกช ซึ่งกำลังจะหมดสัมปทานในปี ๒๕๖๕ คืออีก ๗ ปีข้างหน้า แล้วตามกฎหมาย พ.ร.บ. ปิโตรเลียม สัมปทานที่หมดในคราวนี้ไม่สามารถต่อสัมปทานได้อีก รัฐจะต้องเอา กลับมาเป็นของตัวเองแล้วก็บริหารจัดการ ซึ่งอันนี้ที่จริงแล้วผลประโยชน์จะกลับมาให้กับ ประเทศมากขึ้น แต่ปรากฏว่ามีการให้แหล่งปิโตรเลียมที่อยู่ใกล้ชิดกับแปลงเหล่านี้ เป็นการตั้งข้อสังเกตนะคะว่าเป็นการที่จะเอื้อเพื่อที่จะให้เอกชนที่เป็นเจ้าของแหล่งตรงนั้น สามารถที่จะหาทางในการที่จะได้สัมปทานแหล่งเก่าต่อไปหรือไม่ หรือมันถูกปิดล้อมด้วย แหล่งใหม่ที่อยู่ใกล้ชิดกับแปลงในอนาคต ซึ่งอันนี้ดิฉันคิดว่าก็จะทำให้เราเสียประโยชน์ แต่ถ้าหากว่าเราเริ่มจากกระบวนการในการที่จะให้เปลี่ยนมาเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต สิ่งที่เราควรจะทำก็คือการเปลี่ยนแปลงระบบ โดยที่จริง ๆ แล้วไม่มีความจำเป็นต้องหยุดชะงัก หลายท่านบอกว่าจะต้องออกกฎหมายเป็นเวลา ๕-๖ ปี ดิฉันคิดว่านั่นเป็นวาระปกติ แต่นี่เป็นวาระที่อยู่ในช่วงของการปฏิรูป แล้วก็อยู่ในช่วงของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ในอดีตสมัยปี ๒๕๔๙ สนช. สามารถออกกฎหมายเรื่อง พ.ร.บ. กำกับกิจการพลังงาน ๑๐๐ กว่ามาตราภายในเวลา ๔ เดือนเท่านั้นนะคะ เพื่อที่จะป้องกันการฟ้องศาลปกครอง ที่ศาลจะเพิกถอนการแปรรูป ปตท. ในครั้งนั้นนะคะ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าถ้าหากว่า รัฐบาลนั้นเห็นความสำคัญของเรื่องนี้อย่างแท้จริงก็สามารถที่จะใช้เวลาไม่นานในการที่จะ แก้กฎหมายตรงนี้ได้นะคะ แล้วก็โดยเฉพาะอย่างยิ่งดิฉันคิดว่าสิ่งที่จะเป็นปัญหาควรได้รับ การแก้ไขในสมัยนี้

    อ่านในการประชุม

  • ดิฉันขอภาพต่อไปนะคะ คือดิฉันเองเสนอว่าระบบการแบ่งปันผลผลิตนั้น นักวิชาการเสนอว่ารัฐบาลสามารถใช้การสำรวจไปก่อนเลย ซึ่งการสำรวจเพื่อรู้ข้อมูลนั้น ไม่ได้ใช้เงินมาก ประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญคือประมาณ ๓๐ ล้านบาท หลายท่านอาจจะ บอกว่าเรามีปิโตรเลียม ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท แล้วก็คิดว่าถ้าเปิดสัมปทาน ปิโตรเลียมนี้แล้วจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศมา ๕,๐๐๐ ล้านบาท ๕,๐๐๐ ล้านบาทนั้น เป็นเพียงแค่ ๑ เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าปิโตรเลียมใน ๑ ปีของประเทศไทยเท่านั้น ถ้าหากรัฐบาลจะใช้จ่ายเงินไม่ต้องถึง ๕,๐๐๐ ล้านบาท สำรวจเป็นรายแปลง แล้วแปลงไหน มีศักยภาพเราก็เปิดประมูลในระบบพีเอสซีสามารถทำได้ ท่านดูอันนี้เป็นเอกสารเกี่ยวกับ การจ่ายภาษีนะคะ ดิฉันขอผ่านไปเร็ว ๆ อีกสัก ๒-๓ หน้า หน้าท้ายสุดของแผ่นนี้นะคะ เอกสารชิ้นนี้ท่านจะเห็นนะคะว่า ค่าสำรวจทางธรณีวิทยา ทางธรณีฟิสิกส์ ทางธรณีเคมี แล้วก็ทุกอย่างที่เอกชนสำรวจสามารถเอามาหักภาษีได้ เพราะฉะนั้นรัฐเองมีส่วนช่วย ในการสำรวจของเอกชน มันขึ้นอยู่กับว่ารัฐจ่ายเงินก่อนหรือจ่ายเงินทีหลัง เพราะฉะนั้น ดิฉันคิดว่าถ้าหากทำเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตนี่ รัฐจ่ายเงินเพียงเล็กน้อยในการสำรวจ ไม่ต้องสำรวจหมดทั้ง ๒๙ แปลงก็ได้ แล้วก็สำรวจในแหล่งที่มีศักยภาพ แล้วในขณะเดียวกัน ก็แก้ไขกฎหมายไปด้วย เพื่อที่จะไม่ให้ประเทศชาติเสียเปรียบ เพราะว่าในเอกสาร การเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมนั้น ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมของเรา ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ดิฉันคิดว่า จริง ๆ แล้วภาษีเงินได้นิติบุคคลของเอกชนอาจจะเอาแค่ ๒๐ เปอร์เซ็นต์เหมือนกับ ภาษีนิติบุคคลในธุรกิจเอกชนอื่น และมาเก็บเพิ่มจากปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไร ซึ่งให้เก็บ ส่วนแบ่งกำไรเป็นขั้นบันไดแบบเดียวกับการเก็บค่าภาคหลวง จะทำให้รัฐมีโอกาสได้รับ ผลตอบแทนที่เหมาะสมกว่า เช่น ถ้าหากว่าเอกชนลงทุนมากแล้วเป็นแหล่งเล็ก รัฐอาจจะ ช่วยเหลือในการที่จะไม่เก็บส่วนแบ่งมาก เพราะว่าดิฉันคิดว่าการร่วมทุนกับเอกชนนั้น รัฐไม่ได้ต้องการจะเอาเปรียบ ระบบพีเอสซีไม่ใช่ระบบที่จะเอาเปรียบเอกชน แต่เป็นระบบที่ ถ้าหากว่าเอกชนได้น้อย รัฐก็เก็บน้อย ถ้าเอกชนได้มาก รัฐก็เก็บมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ดิฉันคิดว่า มันเป็นประเด็นข้อถกเถียงกันค่อนข้างมาก แล้วก็อยู่ในการนำเสนอของคณะนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย แต่ปรากฏว่าข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำไปคำนึงถึงในการทำข้อเสนอ เพราะฉะนั้นดิฉันเองคิดว่าประเด็นที่สำคัญก็คือเราไม่จำเป็นจะต้องหยุดการสำรวจ เพราะฉะนั้นสิ่งที่กรรมาธิการเสียงข้างมากเสนอว่า ถ้าเราเลือกระบบพีเอสซีแล้วทุกอย่าง จะหยุดชะงัก มันไม่จำเป็นที่ต้องหยุดชะงัก ดิฉันคิดว่าเราสามารถดำเนินเรื่องต่อไปได้นะคะ แล้วในขณะเดียวกันก็เปลี่ยนแปลงกฎหมายที่ล้าสมัย เพราะใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ปี ๒๕๑๔ ในมาตรา ๕๖ ระบุไว้ชัดเจนนะคะว่า ผู้รับสัมปทานที่ได้รับสัมปทานไปแล้วนี่ พบปิโตรเลียม ถ้าไม่ได้ส่งออกจะขายในประเทศไทยก็ให้ขายในราคาอิงราคาการนำเข้า เพราะฉะนั้นเท่ากับว่าเราเองต้องซื้อทรัพยากรในประเทศของเราในราคาอิงการนำเข้า ดิฉันคิดว่ามันเหมือนกับเราทำกับข้าวในบ้านนะคะ แต่เสร็จแล้วเวลาเรากินข้าว เขาบอก เราต้องจ่ายราคาอาหารเหลาบวกค่านำส่ง ค่าดีลิเวอรี (Delivery) ด้วย ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว จะมีประโยชน์อะไรที่เราจะประหยัดด้วยการทำอาหารกินเองในบ้าน อุปมาเช่นเดียวกัน ถ้าหากว่าประชาชนจะต้องซื้อก๊าซ ซื้อน้ำมัน ในราคานำเข้า แล้วเราจะรีบร้อนในการที่จะให้ สัมปทานรอบ ๒๑ ไปเพื่ออะไร แล้วดิฉันคิดว่าเรื่องของความมั่นคงทางพลังงานนั้น มันไม่สามารถที่จะทิ้งไว้อยู่ในมือของเอกชน รัฐจะต้องเข้ามาดูแลกำกับอย่างใกล้ชิด ระบบพีเอสซีนั้นรัฐจะต้องเข้ามาดูแลกำกับอย่างใกล้ชิด แต่สิ่งที่อ้างกันก็คือว่า เราไม่ไว้ใจ นักการเมืองที่จะมาจากการเลือกตั้งต่อไปในอนาคต ดิฉันคิดว่าถ้าเราบอกว่าเราไม่ไว้ใจ นักการเมือง แล้วเราไว้ใจกลุ่มทุนที่อยู่เบื้องหลังนักการเมืองและเบื้องหลังข้าราชการหรือไม่ ดิฉันคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในเวลานี้คือเราต้องระมัดระวังที่จะไม่ให้กลุ่มทุนพลังงาน ซึ่งเวลานี้ ดิฉันบอกว่ากลุ่มทุนพลังงานนี่เป็นกลุ่มทุนที่ไม่จำเป็นต้องมีสัญชาตินะคะ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศนี่ แล้วพลังงานเป็นเรื่องสำคัญ ท่านเห็นอยู่ในเวลานี้เขาบอกว่าบางทีน้ำมัน มันขาดแคลน มันแพง ราคามันก็แพง แต่เวลาประเทศขนาดใหญ่เขาสู้กันนี่ราคาน้ำมัน ก็ดิ่งเหวแบบนี้ แล้วเราจะหวังพึ่งแต่เอกชนอย่างเดียวได้อย่างไร ดิฉันคิดว่ากระบวนการ ในการที่เราจะปฏิรูปในสภาแห่งนี้เพื่อตอบสนองต่อการเรียกร้องของประชาชนในประเทศ ทั้งหมด ในเรื่องการปฏิรูปพลังงานปิโตรเลียมนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก แล้วถ้าหากท่านบอกว่า ขอให้ให้เรื่องนี้ไปก่อนเถอะ เพราะมันไม่ใช่การปฏิรูป ให้รัฐบาลทำต่อไป ดิฉันคิดว่ามันก็จะ ไม่เหลืออะไรให้เราปฏิรูปแล้วค่ะในเรื่องของพลังงาน เพราะว่าถ้าหากว่าเราเปิดโอกาสให้มี การเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ โดยไม่ทบทวนว่าประชาชนที่อยู่บนบก แล้วก็พื้นที่สัมปทาน บนบกทั้งหลายนั้นไปกระทบต่อสิทธิชุมชน ไปกระทบต่อความเป็นอยู่และการทำมาหากิน ของประชาชนอย่างไรบ้าง ดิฉันคิดว่าเราได้ทอดทิ้งประชาชนที่อยู่ข้างนอก แล้วดิฉันเองก็ใคร่ ขอฝากถึงเพื่อนสมาชิกใน สปช. นะคะว่า สปช. เป็นความหวังของภาคประชาชนที่จะนำพา การปฏิรูปอย่างแท้จริงเพื่อจะลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม แล้วการลด ความเหลื่อมล้ำที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องของพลังงาน เพราะราคาพลังงานที่ถีบตัวแพงขึ้น ทุกวันในเวลานี้มันสร้างปัญหามาก แม้แต่ก๊าซหุงต้มถังละ ๔๐๐ บาท ดิฉันคิดว่าประชาชน เดือดร้อนมาก เมื่อวานนี้ดิฉันเจอเจ้าหน้าที่ในสภาก็มาบอกดิฉันว่าตอนนี้แย่มากเลย ราคาก๊าซถังละ ๔๐๐ บาท เวลานี้ กบง. ก็ยังจะขึ้นราคาต่อไปนะคะ แทนที่จะต้องลดราคาลง ทั้ง ๆ ที่ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลงควรจะทำให้ราคาก๊าซลดลง แต่ปรากฏว่าราคาก๊าซ กำลังจะขึ้นสวนราคาของน้ำมัน เพราะฉะนั้นดิฉันเองเห็นว่าอยากจะฝากเพื่อนสมาชิก ทั้งหลายในการพิจารณา ถึงแม้ว่าเอกสารจะมีมากมายแล้วก็ท่านอาจจะไม่มีเวลาอ่าน แต่ดิฉันเชื่อว่าถ้าหากท่านได้ทบทวนเป็นอย่างดีว่า ถ้าเราจะมองว่าเราจำเป็นต้องอยู่ในโลก หรือในสังคมนี้ตามในระบบอย่างที่มันเป็นอยู่ มันสมควรหรือไม่ สิ่งนี้เรียกว่าการปฏิรูป หรือไม่ ดิฉันคิดว่าเราต้องคิดไปมากกว่านั้นว่า เราต้องการสังคมที่ควรจะเป็นแบบไหน ที่เราจะปฏิรูป เพราะฉะนั้นดิฉันเชื่อว่าถ้าหากเพื่อนสมาชิกจะได้ช่วยกันทบทวนว่ากรณีนี้ การเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ ไม่ใช่คำตอบ คำตอบคือขอให้มีการแก้ไขกฎหมาย แล้วเรื่องนี้ ไม่ได้กระทบกับความมั่นคงในเรื่องของพลังงาน ดิฉันเชื่อว่าพลังงานในเวลานี้จะมี การเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมาย กรรมาธิการเสียงข้างมากก็ได้พูดเองนะคะว่าในอนาคต มันจะมีพลังงานใหม่ ๆ ขึ้นมา เกรงว่าถ้ามีพลังงานใหม่ ๆ แล้ว พลังงานแบบเก่าจะไม่ได้ มีการใช้เลยต้องรีบใช้ให้หมด ดิฉันคิดว่าสิ่งที่ใช้นั้นก็ก่อผลกระทบด้วย ดิฉันเองอยากจะได้ฟัง เพื่อนสมาชิกที่มาจากภาคอีสานด้วยเหมือนกัน ที่ท่านได้มีโอกาสพูดในที่ประชุมกรรมาธิการว่า ถ้าเราจะสนใจแต่ความมั่นคงทางพลังงาน เราไม่สนใจความมั่นคงทางอาหาร เราไม่สนใจ ความมั่นคงในเรื่องสิ่งแวดล้อม เราไม่สนใจเรื่องสุขภาพประชาชนด้วยหรือ ดิฉันคิดว่า สิ่งเหล่านี้จะต้องเอามาพิจารณาอย่างรอบคอบ และดิฉันเชื่อมั่นว่าสังคมที่เป็นอยู่ในเวลานี้ ไม่ใช่สิ่งดีที่สุดที่เราจะต้องยึดมั่นและคงระบบให้เป็นไป แต่เราจะต้องช่วยกันคิดถึงสังคม ที่ควรจะเป็นค่ะ เพราะถ้าเราไม่สามารถทำให้การปฏิรูปไปสู่สังคมที่ควรจะเป็น สภาปฏิรูป แห่งชาติของเราก็อาจจะไม่มีความหมายในการมีอยู่เลยด้วยซ้ำไปนะคะ ดิฉันขอกราบ ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ดิฉันขอภาพต่อไปนะคะ คือดิฉันเองเสนอว่าระบบการแบ่งปันผลผลิตนั้น นักวิชาการเสนอว่ารัฐบาลสามารถใช้การสำรวจไปก่อนเลย ซึ่งการสำรวจเพื่อรู้ข้อมูลนั้น ไม่ได้ใช้เงินมาก ประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญคือประมาณ ๓๐ ล้านบาท หลายท่านอาจจะ บอกว่าเรามีปิโตรเลียม ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท แล้วก็คิดว่าถ้าเปิดสัมปทาน ปิโตรเลียมนี้แล้วจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศมา ๕,๐๐๐ ล้านบาท ๕,๐๐๐ ล้านบาทนั้น เป็นเพียงแค่ ๑ เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าปิโตรเลียมใน ๑ ปีของประเทศไทยเท่านั้น ถ้าหากรัฐบาลจะใช้จ่ายเงินไม่ต้องถึง ๕,๐๐๐ ล้านบาท สำรวจเป็นรายแปลง แล้วแปลงไหน มีศักยภาพเราก็เปิดประมูลในระบบพีเอสซีสามารถทำได้ ท่านดูอันนี้เป็นเอกสารเกี่ยวกับ การจ่ายภาษีนะคะ ดิฉันขอผ่านไปเร็ว ๆ อีกสัก ๒-๓ หน้า หน้าท้ายสุดของแผ่นนี้นะคะ เอกสารชิ้นนี้ท่านจะเห็นนะคะว่า ค่าสำรวจทางธรณีวิทยา ทางธรณีฟิสิกส์ ทางธรณีเคมี แล้วก็ทุกอย่างที่เอกชนสำรวจสามารถเอามาหักภาษีได้ เพราะฉะนั้นรัฐเองมีส่วนช่วย ในการสำรวจของเอกชน มันขึ้นอยู่กับว่ารัฐจ่ายเงินก่อนหรือจ่ายเงินทีหลัง เพราะฉะนั้น ดิฉันคิดว่าถ้าหากทำเป็นระบบแบ่งปันผลผลิตนี่ รัฐจ่ายเงินเพียงเล็กน้อยในการสำรวจ ไม่ต้องสำรวจหมดทั้ง ๒๙ แปลงก็ได้ แล้วก็สำรวจในแหล่งที่มีศักยภาพ แล้วในขณะเดียวกัน ก็แก้ไขกฎหมายไปด้วย เพื่อที่จะไม่ให้ประเทศชาติเสียเปรียบ เพราะว่าในเอกสาร การเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมนั้น ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมของเรา ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ดิฉันคิดว่า จริง ๆ แล้วภาษีเงินได้นิติบุคคลของเอกชนอาจจะเอาแค่ ๒๐ เปอร์เซ็นต์เหมือนกับ ภาษีนิติบุคคลในธุรกิจเอกชนอื่น และมาเก็บเพิ่มจากปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไร ซึ่งให้เก็บ ส่วนแบ่งกำไรเป็นขั้นบันไดแบบเดียวกับการเก็บค่าภาคหลวง จะทำให้รัฐมีโอกาสได้รับ ผลตอบแทนที่เหมาะสมกว่า เช่น ถ้าหากว่าเอกชนลงทุนมากแล้วเป็นแหล่งเล็ก รัฐอาจจะ ช่วยเหลือในการที่จะไม่เก็บส่วนแบ่งมาก เพราะว่าดิฉันคิดว่าการร่วมทุนกับเอกชนนั้น รัฐไม่ได้ต้องการจะเอาเปรียบ ระบบพีเอสซีไม่ใช่ระบบที่จะเอาเปรียบเอกชน แต่เป็นระบบที่ ถ้าหากว่าเอกชนได้น้อย รัฐก็เก็บน้อย ถ้าเอกชนได้มาก รัฐก็เก็บมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ดิฉันคิดว่า มันเป็นประเด็นข้อถกเถียงกันค่อนข้างมาก แล้วก็อยู่ในการนำเสนอของคณะนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย แต่ปรากฏว่าข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำไปคำนึงถึงในการทำข้อเสนอ เพราะฉะนั้นดิฉันเองคิดว่าประเด็นที่สำคัญก็คือเราไม่จำเป็นจะต้องหยุดการสำรวจ เพราะฉะนั้นสิ่งที่กรรมาธิการเสียงข้างมากเสนอว่า ถ้าเราเลือกระบบพีเอสซีแล้วทุกอย่าง จะหยุดชะงัก มันไม่จำเป็นที่ต้องหยุดชะงัก ดิฉันคิดว่าเราสามารถดำเนินเรื่องต่อไปได้นะคะ แล้วในขณะเดียวกันก็เปลี่ยนแปลงกฎหมายที่ล้าสมัย เพราะใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ปี ๒๕๑๔ ในมาตรา ๕๖ ระบุไว้ชัดเจนนะคะว่า ผู้รับสัมปทานที่ได้รับสัมปทานไปแล้วนี่ พบปิโตรเลียม ถ้าไม่ได้ส่งออกจะขายในประเทศไทยก็ให้ขายในราคาอิงราคาการนำเข้า เพราะฉะนั้นเท่ากับว่าเราเองต้องซื้อทรัพยากรในประเทศของเราในราคาอิงการนำเข้า ดิฉันคิดว่ามันเหมือนกับเราทำกับข้าวในบ้านนะคะ แต่เสร็จแล้วเวลาเรากินข้าว เขาบอก เราต้องจ่ายราคาอาหารเหลาบวกค่านำส่ง ค่าดีลิเวอรี (Delivery) ด้วย ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว จะมีประโยชน์อะไรที่เราจะประหยัดด้วยการทำอาหารกินเองในบ้าน อุปมาเช่นเดียวกัน ถ้าหากว่าประชาชนจะต้องซื้อก๊าซ ซื้อน้ำมัน ในราคานำเข้า แล้วเราจะรีบร้อนในการที่จะให้ สัมปทานรอบ ๒๑ ไปเพื่ออะไร แล้วดิฉันคิดว่าเรื่องของความมั่นคงทางพลังงานนั้น มันไม่สามารถที่จะทิ้งไว้อยู่ในมือของเอกชน รัฐจะต้องเข้ามาดูแลกำกับอย่างใกล้ชิด ระบบพีเอสซีนั้นรัฐจะต้องเข้ามาดูแลกำกับอย่างใกล้ชิด แต่สิ่งที่อ้างกันก็คือว่า เราไม่ไว้ใจ นักการเมืองที่จะมาจากการเลือกตั้งต่อไปในอนาคต ดิฉันคิดว่าถ้าเราบอกว่าเราไม่ไว้ใจ นักการเมือง แล้วเราไว้ใจกลุ่มทุนที่อยู่เบื้องหลังนักการเมืองและเบื้องหลังข้าราชการหรือไม่ ดิฉันคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในเวลานี้คือเราต้องระมัดระวังที่จะไม่ให้กลุ่มทุนพลังงาน ซึ่งเวลานี้ ดิฉันบอกว่ากลุ่มทุนพลังงานนี่เป็นกลุ่มทุนที่ไม่จำเป็นต้องมีสัญชาตินะคะ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศนี่ แล้วพลังงานเป็นเรื่องสำคัญ ท่านเห็นอยู่ในเวลานี้เขาบอกว่าบางทีน้ำมัน มันขาดแคลน มันแพง ราคามันก็แพง แต่เวลาประเทศขนาดใหญ่เขาสู้กันนี่ราคาน้ำมัน ก็ดิ่งเหวแบบนี้ แล้วเราจะหวังพึ่งแต่เอกชนอย่างเดียวได้อย่างไร ดิฉันคิดว่ากระบวนการ ในการที่เราจะปฏิรูปในสภาแห่งนี้เพื่อตอบสนองต่อการเรียกร้องของประชาชนในประเทศ ทั้งหมด ในเรื่องการปฏิรูปพลังงานปิโตรเลียมนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก แล้วถ้าหากท่านบอกว่า ขอให้ให้เรื่องนี้ไปก่อนเถอะ เพราะมันไม่ใช่การปฏิรูป ให้รัฐบาลทำต่อไป ดิฉันคิดว่ามันก็จะ ไม่เหลืออะไรให้เราปฏิรูปแล้วค่ะในเรื่องของพลังงาน เพราะว่าถ้าหากว่าเราเปิดโอกาสให้มี การเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ โดยไม่ทบทวนว่าประชาชนที่อยู่บนบก แล้วก็พื้นที่สัมปทาน บนบกทั้งหลายนั้นไปกระทบต่อสิทธิชุมชน ไปกระทบต่อความเป็นอยู่และการทำมาหากิน ของประชาชนอย่างไรบ้าง ดิฉันคิดว่าเราได้ทอดทิ้งประชาชนที่อยู่ข้างนอก แล้วดิฉันเองก็ใคร่ ขอฝากถึงเพื่อนสมาชิกใน สปช. นะคะว่า สปช. เป็นความหวังของภาคประชาชนที่จะนำพา การปฏิรูปอย่างแท้จริงเพื่อจะลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม แล้วการลด ความเหลื่อมล้ำที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องของพลังงาน เพราะราคาพลังงานที่ถีบตัวแพงขึ้น ทุกวันในเวลานี้มันสร้างปัญหามาก แม้แต่ก๊าซหุงต้มถังละ ๔๐๐ บาท ดิฉันคิดว่าประชาชน เดือดร้อนมาก เมื่อวานนี้ดิฉันเจอเจ้าหน้าที่ในสภาก็มาบอกดิฉันว่าตอนนี้แย่มากเลย ราคาก๊าซถังละ ๔๐๐ บาท เวลานี้ กบง. ก็ยังจะขึ้นราคาต่อไปนะคะ แทนที่จะต้องลดราคาลง ทั้ง ๆ ที่ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ลดลงควรจะทำให้ราคาก๊าซลดลง แต่ปรากฏว่าราคาก๊าซ กำลังจะขึ้นสวนราคาของน้ำมัน เพราะฉะนั้นดิฉันเองเห็นว่าอยากจะฝากเพื่อนสมาชิก ทั้งหลายในการพิจารณา ถึงแม้ว่าเอกสารจะมีมากมายแล้วก็ท่านอาจจะไม่มีเวลาอ่าน แต่ดิฉันเชื่อว่าถ้าหากท่านได้ทบทวนเป็นอย่างดีว่า ถ้าเราจะมองว่าเราจำเป็นต้องอยู่ในโลก หรือในสังคมนี้ตามในระบบอย่างที่มันเป็นอยู่ มันสมควรหรือไม่ สิ่งนี้เรียกว่าการปฏิรูป หรือไม่ ดิฉันคิดว่าเราต้องคิดไปมากกว่านั้นว่า เราต้องการสังคมที่ควรจะเป็นแบบไหน ที่เราจะปฏิรูป เพราะฉะนั้นดิฉันเชื่อว่าถ้าหากเพื่อนสมาชิกจะได้ช่วยกันทบทวนว่ากรณีนี้ การเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ ไม่ใช่คำตอบ คำตอบคือขอให้มีการแก้ไขกฎหมาย แล้วเรื่องนี้ ไม่ได้กระทบกับความมั่นคงในเรื่องของพลังงาน ดิฉันเชื่อว่าพลังงานในเวลานี้จะมี การเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมาย กรรมาธิการเสียงข้างมากก็ได้พูดเองนะคะว่าในอนาคต มันจะมีพลังงานใหม่ ๆ ขึ้นมา เกรงว่าถ้ามีพลังงานใหม่ ๆ แล้ว พลังงานแบบเก่าจะไม่ได้ มีการใช้เลยต้องรีบใช้ให้หมด ดิฉันคิดว่าสิ่งที่ใช้นั้นก็ก่อผลกระทบด้วย ดิฉันเองอยากจะได้ฟัง เพื่อนสมาชิกที่มาจากภาคอีสานด้วยเหมือนกัน ที่ท่านได้มีโอกาสพูดในที่ประชุมกรรมาธิการว่า ถ้าเราจะสนใจแต่ความมั่นคงทางพลังงาน เราไม่สนใจความมั่นคงทางอาหาร เราไม่สนใจ ความมั่นคงในเรื่องสิ่งแวดล้อม เราไม่สนใจเรื่องสุขภาพประชาชนด้วยหรือ ดิฉันคิดว่า สิ่งเหล่านี้จะต้องเอามาพิจารณาอย่างรอบคอบ และดิฉันเชื่อมั่นว่าสังคมที่เป็นอยู่ในเวลานี้ ไม่ใช่สิ่งดีที่สุดที่เราจะต้องยึดมั่นและคงระบบให้เป็นไป แต่เราจะต้องช่วยกันคิดถึงสังคม ที่ควรจะเป็นค่ะ เพราะถ้าเราไม่สามารถทำให้การปฏิรูปไปสู่สังคมที่ควรจะเป็น สภาปฏิรูป แห่งชาติของเราก็อาจจะไม่มีความหมายในการมีอยู่เลยด้วยซ้ำไปนะคะ ดิฉันขอกราบ ขอบพระคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะกรรมาธิการพลังงาน เสียงข้างน้อยนะคะ คือก่อนที่จะพูดสรุปดิฉันอยากจะให้ขอแก้ไขความเข้าใจผิดในบางเรื่อง ที่มีการอภิปรายกันนะคะ อย่างประเด็นการยกตัวอย่างเรื่องว่ามีการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งมีนัยว่าประชาชนเป็นการเผยแพร่ข้อมูลว่าประเทศไทยเป็นซาอุดิอาระเบียมีพลังงานมาก ดิฉันอยากจะขอชี้แจงตรงนี้ว่าข้อมูลที่มีการพูดในแง่นี้นี่นะคะ ไม่ใช่ข้อมูลของประชาชน แต่เป็นคำพูดของอดีตรักษาการอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ คุณทรงภพ พลจันทร์ ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เอเอสทีวี ผู้จัดการ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๔ นะคะว่า ขนาดพื้นที่แผ่นดินอีสาน ๒๐ จังหวัด ซึ่งมีที่ดิน ๑๖๘,๕๕๔ ตารางกิโลเมตร คาดว่า มีแหล่งปิโตรเลียมที่อีสานเป็นพื้นที่ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ซึ่งคาดว่า ถ้าหากว่ามีการพบก๊าซธรรมชาติสูงถึง ๕-๑๐ ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็น ๑ ใน ๓ ของปริมาณในอ่าวไทย ชั้นความหนา ๑-๒ กิโลเมตร มีโครงสร้างที่ใหญ่มากกินพื้นที่กว่า ๑๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ยันศักยภาพรองรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เพื่อผลิตก๊าซเอ็นจีวี ป้อนได้ทั้งอีสานคาดว่าใหญ่กว่าซาอุดิอาระเบีย นี่คือคำพูดของอดีตอธิบดี กรมเชื้อเพลิงธรรมชาตินะคะ ไม่ใช่คำพูดของประชาชน ซึ่งอันนี้นำไปพูดว่าประชาชน เอาเรื่องนี้มากล่าวจนเป็นเรื่องที่เป็นการมโนเอาเอง แล้วก็เป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือนะคะ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะกรรมาธิการพลังงาน เสียงข้างน้อยนะคะ คือก่อนที่จะพูดสรุปดิฉันอยากจะให้ขอแก้ไขความเข้าใจผิดในบางเรื่อง ที่มีการอภิปรายกันนะคะ อย่างประเด็นการยกตัวอย่างเรื่องว่ามีการเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งมีนัยว่าประชาชนเป็นการเผยแพร่ข้อมูลว่าประเทศไทยเป็นซาอุดิอาระเบียมีพลังงานมาก ดิฉันอยากจะขอชี้แจงตรงนี้ว่าข้อมูลที่มีการพูดในแง่นี้นี่นะคะ ไม่ใช่ข้อมูลของประชาชน แต่เป็นคำพูดของอดีตรักษาการอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ คุณทรงภพ พลจันทร์ ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เอเอสทีวี ผู้จัดการ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๔ นะคะว่า ขนาดพื้นที่แผ่นดินอีสาน ๒๐ จังหวัด ซึ่งมีที่ดิน ๑๖๘,๕๕๔ ตารางกิโลเมตร คาดว่า มีแหล่งปิโตรเลียมที่อีสานเป็นพื้นที่ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ซึ่งคาดว่า ถ้าหากว่ามีการพบก๊าซธรรมชาติสูงถึง ๕-๑๐ ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็น ๑ ใน ๓ ของปริมาณในอ่าวไทย ชั้นความหนา ๑-๒ กิโลเมตร มีโครงสร้างที่ใหญ่มากกินพื้นที่กว่า ๑๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ยันศักยภาพรองรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เพื่อผลิตก๊าซเอ็นจีวี ป้อนได้ทั้งอีสานคาดว่าใหญ่กว่าซาอุดิอาระเบีย นี่คือคำพูดของอดีตอธิบดี กรมเชื้อเพลิงธรรมชาตินะคะ ไม่ใช่คำพูดของประชาชน ซึ่งอันนี้นำไปพูดว่าประชาชน เอาเรื่องนี้มากล่าวจนเป็นเรื่องที่เป็นการมโนเอาเอง แล้วก็เป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือนะคะ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนประเด็นที่ ๒ ที่มีการพูดว่าประเทศมาเลเซียนั้นราคาน้ำมันถูกเพราะว่า รัฐบาลตั้งงบประมาณไปอุดหนุน อันนี้ดิฉันได้มีโอกาสไปมาเลเซียเอง แล้วก็ได้รับทราบว่า มาเลเซียนั้นใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต กำไรของบริษัทปิโตรนาสส่งให้กับรัฐบาลเท่ากับ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณแผ่นดิน และรัฐบาลได้กันเงินบางส่วนจากกำไรนั้นมา เพื่อที่จะเป็นเงินเหมือนกับเป็นการปันผลให้กับประชาชนโดยการมาลดราคาน้ำมันที่หน้าปั๊ม อันนี้คือข้อเท็จจริงนะคะ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนประเด็นที่ ๒ ที่มีการพูดว่าประเทศมาเลเซียนั้นราคาน้ำมันถูกเพราะว่า รัฐบาลตั้งงบประมาณไปอุดหนุน อันนี้ดิฉันได้มีโอกาสไปมาเลเซียเอง แล้วก็ได้รับทราบว่า มาเลเซียนั้นใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต กำไรของบริษัทปิโตรนาสส่งให้กับรัฐบาลเท่ากับ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณแผ่นดิน และรัฐบาลได้กันเงินบางส่วนจากกำไรนั้นมา เพื่อที่จะเป็นเงินเหมือนกับเป็นการปันผลให้กับประชาชนโดยการมาลดราคาน้ำมันที่หน้าปั๊ม อันนี้คือข้อเท็จจริงนะคะ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนประเด็นที่ดิฉันเองได้สงวนความเห็นในฐานะเสียงข้างน้อยไว้ ดิฉันเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการปิโตรเลียมนั้นเป็นวิสัยทัศน์นะคะ แล้วก็เป็น เจตจำนงทางการเมือง ดิฉันดูจากตัวอย่างของมาเลเซีย มาเลเซียเปลี่ยนแปลงระบบจาก สัมปทานมาเป็นพีเอสซีในปี ๒๕๑๗ เมื่อเกิดวิกฤติน้ำมันในปี ๒๕๑๖ เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงนี้มันเกิดขึ้นทันทีเพียงเวลา ๑ ปีนะคะ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพบกับ วิกฤตการณ์ ดิฉันเองคิดว่าในโอกาสที่เรากำลังอยู่ในช่วงการปฏิรูป การที่เราจะอ้างเหตุผลว่า ไม่สมควรที่จะเปลี่ยนแปลงเพราะว่าใช้เวลานานต้องไปแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ เหล่านี้ ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนประเด็นที่ดิฉันเองได้สงวนความเห็นในฐานะเสียงข้างน้อยไว้ ดิฉันเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารจัดการปิโตรเลียมนั้นเป็นวิสัยทัศน์นะคะ แล้วก็เป็น เจตจำนงทางการเมือง ดิฉันดูจากตัวอย่างของมาเลเซีย มาเลเซียเปลี่ยนแปลงระบบจาก สัมปทานมาเป็นพีเอสซีในปี ๒๕๑๗ เมื่อเกิดวิกฤติน้ำมันในปี ๒๕๑๖ เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงนี้มันเกิดขึ้นทันทีเพียงเวลา ๑ ปีนะคะ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพบกับ วิกฤตการณ์ ดิฉันเองคิดว่าในโอกาสที่เรากำลังอยู่ในช่วงการปฏิรูป การที่เราจะอ้างเหตุผลว่า ไม่สมควรที่จะเปลี่ยนแปลงเพราะว่าใช้เวลานานต้องไปแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ เหล่านี้ ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ดิฉันอยากจะชี้แจงเพิ่มเติมนะคะว่า เมื่อเราพูดถึงระบบสัมปทาน และพีเอสซีแล้ว เราบอกว่ามันอาจจะไม่ได้มีความแตกต่างกันมาก อันที่จริงแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบพีเอสซีหรือระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นต้องถือว่าเป็นการออกแบบ กฎหมายที่สอดคล้องกับหลักอธิปไตยเหนือดินแดน เพราะว่าการให้สัมปทานในการสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมนั้นเกือบจะเท่ากับเป็นการให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต และถ้าท่านดู แผนที่ในอีสานที่ดิฉันได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ก็คือมันเต็มพื้นที่ เหลือช่องว่างอีกนิดหนึ่ง ซึ่งจะให้ในรอบที่ ๒๑ ซึ่งในส่วนนี้ดิฉันคิดว่าระบบที่เป็นระบบแบ่งปันผลผลิตรัฐเป็นเจ้าของ จะสามารถดูแลประชาชนได้มากกว่า สามารถกำกับเพื่อที่จะไม่ให้มีผลกระทบต่อสิทธิของ ชุมชนได้ดีกว่า และระบบการจัดการปิโตรเลียมในเวลานี้ไม่สามารถใช้อำนาจจากส่วนกลาง เข้าไปตัดสินนะคะ เพราะว่ามันกระทบต่อสิทธิของชุมชน ด้วยเหตุนี้ดิฉันคิดว่าเราไม่ควรจะ มองแต่เพียงแค่เรื่องผลประโยชน์ในเรื่องของตัวเงิน ในระบบของพีเอสซีนั้นระบบการแบ่งปันนั้น จะได้ประโยชน์มากกว่า และสิ่งที่จะได้ประโยชน์มากกว่านั้นก็คือว่ารัฐยังคงความเป็นเจ้าของอยู่ เพราะว่าในปัจจุบันนี้พื้นที่ในแปลงสัมปทานนั้นที่มีการให้ไป บริษัทเอกชนหลายแห่งนำไปขายโอนต่อทำกำไรในตลาดหลักทรัพย์ อย่างเช่นกรณี แหล่งปิโตรเลียมแหล่งนงเยาว์ในอ่าวไทย ซึ่งมีการเทรด (Trade) กันในตลาดหุ้นที่สิงคโปร์ โดยที่มีการกำไร ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยที่ประเทศชาติไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่สิ่งเหล่านี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าระบบเป็นพีเอสซีหรือระบบแบ่งปันผลผลิต เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่า ในกระบวนการจัดการในเรื่องของปิโตรเลียมนั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประเทศ ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบรัฐธรรมนูญที่เรากำลังจะร่างขึ้นมานะคะ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ดิฉันอยากจะชี้แจงเพิ่มเติมนะคะว่า เมื่อเราพูดถึงระบบสัมปทาน และพีเอสซีแล้ว เราบอกว่ามันอาจจะไม่ได้มีความแตกต่างกันมาก อันที่จริงแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบพีเอสซีหรือระบบแบ่งปันผลผลิตนั้นต้องถือว่าเป็นการออกแบบ กฎหมายที่สอดคล้องกับหลักอธิปไตยเหนือดินแดน เพราะว่าการให้สัมปทานในการสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมนั้นเกือบจะเท่ากับเป็นการให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต และถ้าท่านดู แผนที่ในอีสานที่ดิฉันได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ก็คือมันเต็มพื้นที่ เหลือช่องว่างอีกนิดหนึ่ง ซึ่งจะให้ในรอบที่ ๒๑ ซึ่งในส่วนนี้ดิฉันคิดว่าระบบที่เป็นระบบแบ่งปันผลผลิตรัฐเป็นเจ้าของ จะสามารถดูแลประชาชนได้มากกว่า สามารถกำกับเพื่อที่จะไม่ให้มีผลกระทบต่อสิทธิของ ชุมชนได้ดีกว่า และระบบการจัดการปิโตรเลียมในเวลานี้ไม่สามารถใช้อำนาจจากส่วนกลาง เข้าไปตัดสินนะคะ เพราะว่ามันกระทบต่อสิทธิของชุมชน ด้วยเหตุนี้ดิฉันคิดว่าเราไม่ควรจะ มองแต่เพียงแค่เรื่องผลประโยชน์ในเรื่องของตัวเงิน ในระบบของพีเอสซีนั้นระบบการแบ่งปันนั้น จะได้ประโยชน์มากกว่า และสิ่งที่จะได้ประโยชน์มากกว่านั้นก็คือว่ารัฐยังคงความเป็นเจ้าของอยู่ เพราะว่าในปัจจุบันนี้พื้นที่ในแปลงสัมปทานนั้นที่มีการให้ไป บริษัทเอกชนหลายแห่งนำไปขายโอนต่อทำกำไรในตลาดหลักทรัพย์ อย่างเช่นกรณี แหล่งปิโตรเลียมแหล่งนงเยาว์ในอ่าวไทย ซึ่งมีการเทรด (Trade) กันในตลาดหุ้นที่สิงคโปร์ โดยที่มีการกำไร ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยที่ประเทศชาติไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่สิ่งเหล่านี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าระบบเป็นพีเอสซีหรือระบบแบ่งปันผลผลิต เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่า ในกระบวนการจัดการในเรื่องของปิโตรเลียมนั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ประเทศ ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบรัฐธรรมนูญที่เรากำลังจะร่างขึ้นมานะคะ

    อ่านในการประชุม

  • ในอีกประเด็นหนึ่งดิฉันคิดว่าประชาชนที่อยู่บนพื้นที่ที่จะมีการให้สัมปทาน ปิโตรเลียมนั้นจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนเหล่านั้น สิ่งที่ทางกรรมาธิการ เสียงข้างมากบอกว่าการสำรวจนั้นเหมือนทำอัลตร้าซาวด์หรือมีผลกระทบน้อย ดิฉันคิดว่า สิ่งเหล่านี้มันเป็นการพูดกันบนห้องประชุมที่นี่ แต่ว่าไม่ได้มีการลงไปดูในพื้นที่ว่าประชาชน ประสบความทุกข์ยากอย่างไรบ้างนะคะ ดิฉันคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เราต้องคำนึงถึงว่า ความรีบร้อนในการเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ นั้น ในขณะที่ประชาชนได้รับผลกระทบ แต่ได้รับ ผลประโยชน์น้อย และเราก็ยังต้องซื้อราคาพลังงานอิงราคาตลาด ซึ่งเวลานี้รัฐบาล ก็มีแนวโน้มว่าจะต้องผลักราคาต่าง ๆ ให้อิงราคาตลาดโลกมากที่สุด เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่า ข้ออ้างต่าง ๆ ว่าจะต้องรีบร้อน ถ้าหากไม่รีบ ประชาชนจะต้องจ่ายแพง เวลานี้ประชาชน จ่ายแพงอยู่แล้วนะคะ

    อ่านในการประชุม

  • ในอีกประเด็นหนึ่งดิฉันคิดว่าประชาชนที่อยู่บนพื้นที่ที่จะมีการให้สัมปทาน ปิโตรเลียมนั้นจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนเหล่านั้น สิ่งที่ทางกรรมาธิการ เสียงข้างมากบอกว่าการสำรวจนั้นเหมือนทำอัลตร้าซาวด์หรือมีผลกระทบน้อย ดิฉันคิดว่า สิ่งเหล่านี้มันเป็นการพูดกันบนห้องประชุมที่นี่ แต่ว่าไม่ได้มีการลงไปดูในพื้นที่ว่าประชาชน ประสบความทุกข์ยากอย่างไรบ้างนะคะ ดิฉันคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เราต้องคำนึงถึงว่า ความรีบร้อนในการเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ นั้น ในขณะที่ประชาชนได้รับผลกระทบ แต่ได้รับ ผลประโยชน์น้อย และเราก็ยังต้องซื้อราคาพลังงานอิงราคาตลาด ซึ่งเวลานี้รัฐบาล ก็มีแนวโน้มว่าจะต้องผลักราคาต่าง ๆ ให้อิงราคาตลาดโลกมากที่สุด เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่า ข้ออ้างต่าง ๆ ว่าจะต้องรีบร้อน ถ้าหากไม่รีบ ประชาชนจะต้องจ่ายแพง เวลานี้ประชาชน จ่ายแพงอยู่แล้วนะคะ

    อ่านในการประชุม

  • และอีกประการหนึ่ง ระบบสัมปทานใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมนั้นเป็นการกีดกัน รายใหม่ เนื่องจากว่าหลักเกณฑ์เรื่องของภาษี รายเก่าที่มีแปลงสัมปทานที่ได้กำไรแล้ว สามารถนำเอาแปลงที่กำลังสำรวจมาหักค่าใช้จ่ายจากแปลงที่ตัวเองได้กำไรตรงนี้อยู่ ซึ่งอันนี้ เอกชนรายใหม่จะไม่มีโอกาสในการที่จะมาหักภาษีแบบนี้ เพราะฉะนั้นการที่เอกชนรายเก่านั้น ได้ข้อมูล เนื่องจากว่าแปลงอยู่ใกล้เคียงย่อมได้ข้อมูลมากกว่า แล้วก็สามารถที่จะใช้ ผลประโยชน์จากทางด้านเรื่องภาษีทำให้เกิดแนวโน้มที่จะเกิดการผูกขาด เพราะฉะนั้น การให้สัมปทานในครั้งนี้จะเป็นการทำให้เกิดการผูกขาดในกลุ่มเดิม ซึ่งก็จะมีอยู่เพียง ๓ รายใหญ่ ๆ ในอ่าวไทยเท่านั้นเองนะคะ ดิฉันเองเห็นว่า สปช. ของเราจะต้องเป็น ความหวังของประชาชน เพราะว่าประชาชนเวลานี้เขากำลังตื่นตัวเรื่องเกี่ยวกับการปฏิรูป เรื่องพลังงาน เป็นประเด็นที่ร้อนที่สุด แต่ในขณะนี้ที่เราอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ประเทศยังใช้กฎอัยการศึกอยู่ ซึ่งทำให้ประชาชนไม่สามารถที่จะออกมาส่งเสียง หรือเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้ การที่ สปช. จะตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องใดก็ตามในเวลานี้ที่จะให้ เดินหน้าเรื่องสัมปทานรอบ ๒๑ ไปโดยไม่ฟังเสียงของประชาชนเลย ดิฉันก็เกรงว่า สปช. เรากำลังรับเผือกร้อนมานะคะ คือรัฐบาลเขามีแนวโน้มเขาจะทำของเขาอยู่แล้ว โดยที่การกำหนดเวลาที่เข้มงวดแล้วก็รวดเร็วจนเราไม่มีเวลาที่จะพิจารณาในรายละเอียด เป็นเรื่องการโยนเผือกร้อนมาให้กับ สปช. แล้ว สปช. นั้นเมื่อเราเป็นผู้ที่จะรับรอง ความชอบธรรมของรัฐบาลในการเดินหน้ารอบ ๒๑ ต่อไป เท่ากับเราทอดทิ้งที่จะไม่ฟังเสียง ของประชาชนนะคะ ดิฉันเองนี่อยากให้มีการทำประชามติด้วยซ้ำไปจากประชาชน ถ้าหากเราเชื่อมั่นว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ทรัพยากรเป็นของประชาชน ประชาชนจะต้องมีสิทธิในการที่เขาจะแสดงความเห็น แต่ถ้าหากว่าเรามาตัดสินกัน เพียงใน สปช. ๒๕๐ คน แล้วรัฐบาลก็รับเอาสิ่งนี้ไปว่าเป็นความชอบธรรมแล้วนี่ ดิฉันก็เกรงว่า เสียงของประชาชนข้างนอกอาจจะตำหนิว่า สปช. นั้นไม่ได้เป็นที่พึ่งกับประชาชน เพราะฉะนั้น ดิฉันเองก็อยากจะขอเสนอนะคะว่า ในการที่สภาของเรานี่นะคะ ถ้าหากว่าจะไม่เดินตาม ข้อเสนอของกรรมาธิการเสียงข้างมาก ดิฉันในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยนะคะ ดิฉันยังขอเสนอนะคะว่า ขอให้มีการชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ ๒๑ และให้รัฐบาลดำเนินการ ดังต่อไปนี้

    อ่านในการประชุม

  • และอีกประการหนึ่ง ระบบสัมปทานใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมนั้นเป็นการกีดกัน รายใหม่ เนื่องจากว่าหลักเกณฑ์เรื่องของภาษี รายเก่าที่มีแปลงสัมปทานที่ได้กำไรแล้ว สามารถนำเอาแปลงที่กำลังสำรวจมาหักค่าใช้จ่ายจากแปลงที่ตัวเองได้กำไรตรงนี้อยู่ ซึ่งอันนี้ เอกชนรายใหม่จะไม่มีโอกาสในการที่จะมาหักภาษีแบบนี้ เพราะฉะนั้นการที่เอกชนรายเก่านั้น ได้ข้อมูล เนื่องจากว่าแปลงอยู่ใกล้เคียงย่อมได้ข้อมูลมากกว่า แล้วก็สามารถที่จะใช้ ผลประโยชน์จากทางด้านเรื่องภาษีทำให้เกิดแนวโน้มที่จะเกิดการผูกขาด เพราะฉะนั้น การให้สัมปทานในครั้งนี้จะเป็นการทำให้เกิดการผูกขาดในกลุ่มเดิม ซึ่งก็จะมีอยู่เพียง ๓ รายใหญ่ ๆ ในอ่าวไทยเท่านั้นเองนะคะ ดิฉันเองเห็นว่า สปช. ของเราจะต้องเป็น ความหวังของประชาชน เพราะว่าประชาชนเวลานี้เขากำลังตื่นตัวเรื่องเกี่ยวกับการปฏิรูป เรื่องพลังงาน เป็นประเด็นที่ร้อนที่สุด แต่ในขณะนี้ที่เราอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ประเทศยังใช้กฎอัยการศึกอยู่ ซึ่งทำให้ประชาชนไม่สามารถที่จะออกมาส่งเสียง หรือเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้ การที่ สปช. จะตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องใดก็ตามในเวลานี้ที่จะให้ เดินหน้าเรื่องสัมปทานรอบ ๒๑ ไปโดยไม่ฟังเสียงของประชาชนเลย ดิฉันก็เกรงว่า สปช. เรากำลังรับเผือกร้อนมานะคะ คือรัฐบาลเขามีแนวโน้มเขาจะทำของเขาอยู่แล้ว โดยที่การกำหนดเวลาที่เข้มงวดแล้วก็รวดเร็วจนเราไม่มีเวลาที่จะพิจารณาในรายละเอียด เป็นเรื่องการโยนเผือกร้อนมาให้กับ สปช. แล้ว สปช. นั้นเมื่อเราเป็นผู้ที่จะรับรอง ความชอบธรรมของรัฐบาลในการเดินหน้ารอบ ๒๑ ต่อไป เท่ากับเราทอดทิ้งที่จะไม่ฟังเสียง ของประชาชนนะคะ ดิฉันเองนี่อยากให้มีการทำประชามติด้วยซ้ำไปจากประชาชน ถ้าหากเราเชื่อมั่นว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ทรัพยากรเป็นของประชาชน ประชาชนจะต้องมีสิทธิในการที่เขาจะแสดงความเห็น แต่ถ้าหากว่าเรามาตัดสินกัน เพียงใน สปช. ๒๕๐ คน แล้วรัฐบาลก็รับเอาสิ่งนี้ไปว่าเป็นความชอบธรรมแล้วนี่ ดิฉันก็เกรงว่า เสียงของประชาชนข้างนอกอาจจะตำหนิว่า สปช. นั้นไม่ได้เป็นที่พึ่งกับประชาชน เพราะฉะนั้น ดิฉันเองก็อยากจะขอเสนอนะคะว่า ในการที่สภาของเรานี่นะคะ ถ้าหากว่าจะไม่เดินตาม ข้อเสนอของกรรมาธิการเสียงข้างมาก ดิฉันในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อยนะคะ ดิฉันยังขอเสนอนะคะว่า ขอให้มีการชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ ๒๑ และให้รัฐบาลดำเนินการ ดังต่อไปนี้

    อ่านในการประชุม

  • ๑. ให้แยกส่วนการสำรวจและการผลิตออกจากกัน โดยให้รัฐเป็นผู้ดำเนินการ สำรวจเองเสียก่อน เพื่อให้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการเปิดประมูลและการให้สิทธิ ผลิตปิโตรเลียมอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมต่อไป

    อ่านในการประชุม

  • ๑. ให้แยกส่วนการสำรวจและการผลิตออกจากกัน โดยให้รัฐเป็นผู้ดำเนินการ สำรวจเองเสียก่อน เพื่อให้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการเปิดประมูลและการให้สิทธิ ผลิตปิโตรเลียมอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมต่อไป

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตแทนระบบ สัมปทานเพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนได้เป็นเจ้าของทรัพยากรที่ผลิตได้อย่างแท้จริง และใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ซึ่งนอกจากจะเป็นการมองผลประโยชน์ในภาพรวมของ การพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมของประเทศไทยแล้วยังจะเป็นความสอดคล้องกับระบบ ปิโตรเลียมในประชาคมอาเซียนทั้งหมดที่ใช้ระบบพีเอสซีหรือระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งหาก มีการทำสัญญาหรือข้อตกลงใด ๆ ในกิจการปิโตรเลียมกับประเทศเพื่อนบ้านจะได้ใช้ระบบ เดียวกันทั้งอาเซียน ดิฉันก็ใคร่ขอเสนอนะคะว่าข้อเสนอของดิฉันก็คือขอให้ชะลอแล้วก็แก้ไข สิ่งเหล่านี้เพื่อให้เป็นการปฏิรูปในการบริหารจัดการปิโตรเลียมอย่างแท้จริง ขอบคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตแทนระบบ สัมปทานเพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนได้เป็นเจ้าของทรัพยากรที่ผลิตได้อย่างแท้จริง และใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ซึ่งนอกจากจะเป็นการมองผลประโยชน์ในภาพรวมของ การพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมของประเทศไทยแล้วยังจะเป็นความสอดคล้องกับระบบ ปิโตรเลียมในประชาคมอาเซียนทั้งหมดที่ใช้ระบบพีเอสซีหรือระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งหาก มีการทำสัญญาหรือข้อตกลงใด ๆ ในกิจการปิโตรเลียมกับประเทศเพื่อนบ้านจะได้ใช้ระบบ เดียวกันทั้งอาเซียน ดิฉันก็ใคร่ขอเสนอนะคะว่าข้อเสนอของดิฉันก็คือขอให้ชะลอแล้วก็แก้ไข สิ่งเหล่านี้เพื่อให้เป็นการปฏิรูปในการบริหารจัดการปิโตรเลียมอย่างแท้จริง ขอบคุณค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตท่านประธานคะ รสนาค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • ขออนุญาตท่านประธานคะ รสนาค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • คือเรื่องนี้จริง ๆ ต้องโหวตระหว่าง เสียงข้างน้อยและเสียงข้างมากนะคะ เพราะว่าถ้าไม่ฟังในส่วนของเสียงของประชาชนตรงนั้น ไม่เป็นไร เพราะว่าดิฉันเองเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อย คือโดยระบบของการโหวตนั้น ก็ต้องโหวตระหว่างเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อย ในเสียงข้างน้อยดิฉันเห็นว่ากรรมาธิการ เสียงข้างมากนั้นยังขาดความเป็นอิสระ แล้วก็มีการเชิญนักวิชาการอิสระที่มีความเห็นแตกต่างนั้น ไม่ได้ถูกเอามาคำนึงถึงอย่างมากพอ และดิฉันคิดว่าในส่วนของการศึกษา ในส่วนของ การรับฟังเสียงของนักวิชาการแล้วก็ประชาชนนั้นก็นำมาสู่ข้อสรุปในแง่ที่ว่า มันยังมีระบบที่ ดีกว่าในการที่ว่าการไม่เดินหน้าไปสู่การเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ นั้น มีวิธีการที่ไม่ได้เสียเวลา ก็คือการเสนอให้รัฐบาลนั้นทำการสำรวจไปก่อน ซึ่งดิฉันเองได้เสนอไปก่อนหน้านี้แล้วว่า ขอให้รัฐบาลดำเนินการแยกส่วนการสำรวจกับการผลิตออกจากกัน โดยให้รัฐเป็น ผู้ทำการสำรวจก่อนเพื่อให้มีข้อมูลเพียงพอต่อการเปิดประมูลในการให้สิทธิการผลิต ปิโตรเลียมอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม แล้วก็ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต แทนระบบสัมปทาน มีการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งดิฉันคิดว่า อันนี้เป็นบทบาทหน้าที่ของ สปช. ถ้าหากว่าเราบอกว่าเราเดินหน้าเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ ไป โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ดิฉันคิดว่าอันนี้ไม่ใช่หน้าที่ของ สปช. นะคะ เพราะว่าอันนี้ เป็นหน้าที่ที่รัฐบาลสามารถทำไปได้เอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเสียงของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ไปรับรองความชอบธรรมที่รัฐบาลจะดำเนินการเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ แต่ดิฉันคิดว่า สภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามมาตรา ๓๑ คือให้มีการศึกษาแล้วก็เสนอแนะทางเลือกต่าง ๆ แต่การเดินหน้าไปโดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น ดิฉันคิดว่าอันนี้ไม่ใช่หน้าที่ของสภาปฏิรูป แห่งชาตินะคะ เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าจะมีการโหวตระหว่าง ๒ อันนี้ ดิฉันคิดว่าก็ต้องโหวต ระหว่างเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อยค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • คือเรื่องนี้จริง ๆ ต้องโหวตระหว่าง เสียงข้างน้อยและเสียงข้างมากนะคะ เพราะว่าถ้าไม่ฟังในส่วนของเสียงของประชาชนตรงนั้น ไม่เป็นไร เพราะว่าดิฉันเองเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อย คือโดยระบบของการโหวตนั้น ก็ต้องโหวตระหว่างเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อย ในเสียงข้างน้อยดิฉันเห็นว่ากรรมาธิการ เสียงข้างมากนั้นยังขาดความเป็นอิสระ แล้วก็มีการเชิญนักวิชาการอิสระที่มีความเห็นแตกต่างนั้น ไม่ได้ถูกเอามาคำนึงถึงอย่างมากพอ และดิฉันคิดว่าในส่วนของการศึกษา ในส่วนของ การรับฟังเสียงของนักวิชาการแล้วก็ประชาชนนั้นก็นำมาสู่ข้อสรุปในแง่ที่ว่า มันยังมีระบบที่ ดีกว่าในการที่ว่าการไม่เดินหน้าไปสู่การเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ นั้น มีวิธีการที่ไม่ได้เสียเวลา ก็คือการเสนอให้รัฐบาลนั้นทำการสำรวจไปก่อน ซึ่งดิฉันเองได้เสนอไปก่อนหน้านี้แล้วว่า ขอให้รัฐบาลดำเนินการแยกส่วนการสำรวจกับการผลิตออกจากกัน โดยให้รัฐเป็น ผู้ทำการสำรวจก่อนเพื่อให้มีข้อมูลเพียงพอต่อการเปิดประมูลในการให้สิทธิการผลิต ปิโตรเลียมอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม แล้วก็ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต แทนระบบสัมปทาน มีการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ซึ่งดิฉันคิดว่า อันนี้เป็นบทบาทหน้าที่ของ สปช. ถ้าหากว่าเราบอกว่าเราเดินหน้าเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ ไป โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ดิฉันคิดว่าอันนี้ไม่ใช่หน้าที่ของ สปช. นะคะ เพราะว่าอันนี้ เป็นหน้าที่ที่รัฐบาลสามารถทำไปได้เอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเสียงของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ไปรับรองความชอบธรรมที่รัฐบาลจะดำเนินการเปิดสัมปทานรอบ ๒๑ แต่ดิฉันคิดว่า สภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ ตามมาตรา ๓๑ คือให้มีการศึกษาแล้วก็เสนอแนะทางเลือกต่าง ๆ แต่การเดินหน้าไปโดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น ดิฉันคิดว่าอันนี้ไม่ใช่หน้าที่ของสภาปฏิรูป แห่งชาตินะคะ เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าจะมีการโหวตระหว่าง ๒ อันนี้ ดิฉันคิดว่าก็ต้องโหวต ระหว่างเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อยค่ะ

    อ่านในการประชุม