ท่านประธานครับ ขออนุญาตครับ
กระผม นายสุชาติ นวกวงษ์ สมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติ ๒๑๘ นะครับ ประเด็นมันคือว่าท่านประธานต้องทำให้ชัดเจนนะครับ ระหว่าง ๒๐ หรือระหว่างคนภายในกับคนภายนอก ขณะนี้เราชัดเจนอยู่แล้วนะครับ เพื่อจะลงมติว่า จะเอาแบบไหน ผมว่าท่านประธานดำเนินการได้แล้วครับ ขอบคุณครับ
กระผม นายสุชาติ นวกวงษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมนะครับ หมายเลข ๒๑๘ ครับ ท่านประธานครับ ในกรณี ที่คณะกรรมาธิการได้นำเสนอแนวทางในการได้มาซึ่งกรรมาธิการ จำนวน ๒๐ คนนี่นะครับ อันนี้ผมไม่ติดใจครับ เพราะว่าอย่างไรก็ต้องมีข้อสรุปเพื่อเดินทางไปสู่การปฏิบัตินะครับ แต่มีประเด็นอยู่เรื่องหนึ่งนะครับ คือว่าทำไมต้องจบในพรุ่งนี้ วันนี้ไม่ได้หรือครับ ท่านประธาน อันนี้ข้อที่ ๑ นะครับ เดี๋ยวครับ ยังไม่หมดครับ ท่านประธานครับ ยังไม่หมดครับ ทำไมต้องวันพรุ่งนี้นะครับ แล้วต้องเที่ยงด้วยนะครับ วันนี้ไม่ได้หรือนะครับ ข้อที่ ๒ ครับ
เดี๋ยวท่านค่อยตอบก็ได้ครับ เดี๋ยวท่านมีเวลาตอบครับ เพราะว่าอันนี้ก็คงจะเป็นเรื่องของการถามเพื่อล้างความค้างในใจว่าทำไมต้องเป็นพรุ่งนี้ ๑๒.๐๐ นาฬิกานะครับ
ข้อที่ ๒ แล้วผมจะทราบได้อย่างไรว่าผู้สมัครมีทั้งหมดกี่คนหรือว่าเสนอชื่อมากี่คน ข้อที่ ๒ นะครับ เพราะฉะนั้นควรจะต้องมีการเปิดเผยรายชื่อด้วยนะครับ
ข้อที่ ๓ ครับ อันนี้เป็นคำปรารภของกระผมเองนะครับ ดังที่ผมได้เคยเรียนกับท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติตั้งแต่วันโน้นแล้วนะครับ ผมเรียน ตรงนี้อีกครั้งหนึ่งครับ ผมมีแม่เป็นผู้หญิงนะครับ เพราะฉะนั้นผมยังเน้นสัดส่วนของการมี สุภาพสตรีอยู่ในคณะกรรมาธิการนะครับ ถ้าใครเห็นด้วยกรุณาหัวเราะเถอะครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
ท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม สุชาติ นวกวงษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๒๑๘ ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมครับ ก่อนที่จะมีการลงคะแนนเลือกตั้งผู้เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กระผมขอหารือ ท่านประธานสักประเด็นหนึ่งได้ไหมครับ เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ ท่านประธานครับ จากข้อมูล ที่ท่านประธานได้แจ้งเมื่อสักครู่นี้แจ้งว่ามีผู้สมัครในด้านต่าง ๆ ทั้งสิ้นนะครับ ๓๑ คน กระผมจึงขอหารือท่านประธานว่าขอให้ผู้สมัครทั้ง ๓๑ คน ได้แนะนำตัวเองว่าเป็นใคร ชื่ออะไร แล้วก็สมัครในนามด้านใดเพื่อจะได้เป็นที่รับทราบกันทุกคน แล้วก็บุคคลภายนอก ก็จะได้รับทราบด้วยครับ นี่คือข้อหารือท่านประธานจะอนุญาตไหมครับ หรือขอหารือ ที่ประชุมครับ
ขอผู้สนับสนุนด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
ขอไม่เกิน ๒ นาทีครับ ท่านประธานครับ
ครับผม ขอบพระคุณท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม สุชาติ นวกวงษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๒๑๘ ครับ ขอพูดถึงเรื่องข้อ ๘๔ โดยเนื้อหาแล้ว ผมไม่ได้ติดใจข้อ ๑ ข้อ ๔ และข้อ ๕ แต่ว่าก็ยังคิดไม่ออกนะครับเกี่ยวกับเรื่อง (๒) (๓) แต่เห็นด้วยกับอาจารย์หมอพรพันธุ์ ขออภัยที่ต้องเอ่ยนามนะครับ คือเราจะมองรูปแบบของ ประเทศไทย เรามองคนเดียวคงไม่ได้นะครับท่านประธาน อย่างผมกำหนดสมมุติผมคิดว่า ประเทศไทยในอนาคตอีก ๕๐ ปีข้างหน้า ในสายตาของนายสุชาติ ของอาจารย์สุชาติจะเป็น อย่างไร ผมก็คิดไปนะครับว่าจะต้องเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้นะครับ มีภูมิประเทศสวยงาม มีสิ่งแวดล้อมที่ดีผมก็คิดไป แต่ว่าคนอื่นเขาคิดแบบผมหรือเปล่า เพราะฉะนั้นในแง่มุม ของการกำหนดรูปแบบ แล้วก็วิสัยทัศน์มองประเทศไทย มันต้องกำหนดจุดร่วม จุดร่วมนี่ อาจจะกำหนดโดยที่ประชุมนี้ว่าประเทศไทยในอีก ๕๐ ปีข้างหน้า จะมีทิศทางและรูปแบบ ที่ประชาชนสามารถมองเห็นได้อย่างไรนะครับ ผมกำหนดว่า ๕๐ ปีข้างหน้า ซึ่งเวลานั้น ผมก็ไม่อยู่แล้วครับ ท่านประธานครับ และในที่นี้หลายคนก็ไม่อยู่เหมือนกัน แต่ว่าในทิศทาง ของรัฐธรรมนูญก็จะกำหนดไว้ว่าประเทศไทยในอีก ๕๐ ปีข้างหน้านี้จะมีภาพอย่างไร ดังนั้นจึงต้องกำหนดนะครับ คิดว่ากำหนดร่วมกันในที่ประชุม หรือว่าจะกำหนดร่วมกัน เมื่อเวลาเราประชุมด้วยกันก็ได้ครับ กำหนดเป็นระยะไกลที่สุดคือ ๕๐ ปี อันนี้ผมเสนอนะครับ ๕๐ ปี อันนี้เป็นแผนไกลสุดเท่าที่คิดได้นะครับ แล้วก็มีแผนระยะกลางก็อาจจะ ๓๐ ปี แล้วก็ระยะใกล้คือ ๑๐ ปี อย่างนี้เป็นต้นนะครับ นี่คือแผนขั้นที่ ๑ คือจะมองประเทศไทย อย่างไร แล้วก็กำหนดเป้าหมายนะครับ ทีนี้ใครที่จะเป็นคนที่คิดวิธีหาว่าประเทศไทย ควรจะมีรูปแบบแบบไหนนะครับท่านประธานครับ เรามีกรรมาธิการทั้งหมด ๑๘ ชุด คณะกรรมาธิการ ๑๘ ชุดนี้ก็จะมีกรอบความคิดการทำงานที่แตกต่างกัน อย่างเช่น สมมุติผมอยู่ที่กรรมาธิการสิ่งแวดล้อม ผมก็จะมองว่าในอนาคตนี่นะครับ แล้วผมก็จะชักชวน เพื่อนกรรมาธิการในกลุ่มนี้ให้ช่วยกันมองว่าอีก ๕๐ ปีข้างหน้าประเทศไทยในด้าน สิ่งแวดล้อม ควรจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร แล้วช่วยกันคิดออกแบบและนำเสนอ ต่อที่ประชุม กำหนดกรอบอย่างนี้นะครับ และเวลาเดียวกันทางด้านสาธารณสุข อย่างเช่น คุณหมอพรพันธุ์ เป็นต้น ขออภัยที่ต้องเอ่ยนาม ท่านก็อาจจะไปช่วยกันมองว่า อีก ๕๐ ปีข้างหน้า ประเทศไทยในระบบสุขภาวะที่ดีจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นเมื่อกำหนด วิสัยทัศน์ หรือว่าแนวมองของประเทศไทยได้แล้วนะครับ แต่ละด้านก็นำมาเสนอที่นี่ หรือว่าเสนอในที่ประชุม แล้วก็กำหนดเป็นทิศทางร่วมกัน เมื่อกำหนดเป็นทิศทางร่วมกัน เสร็จแล้วนะครับ กรรมาธิการ ๑๘ ด้านนั้นก็ไปจัดทำรายละเอียด การจัดทำรายละเอียดนั้น ก็ต้องใช้เวลา ขณะที่จัดทำรายละเอียดก็ประชุมเรื่องอื่น ๆ ไปด้วย ดังนี้นะครับ ผมคิดว่า เราสามารถที่จะมองเห็นว่าประเทศไทยในอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เวลาเดียวกันนะครับ เมื่อเรามองเห็นว่าประเทศไทยข้างหน้าในอนาคตจะเป็นอย่างไรแล้ว เราก็เอา ทิศทางเหล่านี้ไปยึดโยงกับประชาชนนะครับ ไปรับฟังความคิดเห็นของเขาด้วยว่าในสายตา ของประชาชนนะครับ อีก ๕๐ ปีข้างหน้า พวกประชาชนทั้งหลายที่อยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ๗๗ จังหวัดนะครับคิดอย่างไร คิดอย่างไร เพราะฉะนั้นผมก็มาคิดถึงข้อ ๓ นะครับ ท่านประธาน ข้อ ๓ ที่บอกว่าต้องมีการรับฟังความคิดเห็นและการส่วนร่วมของประชาชนใน ภาคต่าง ๆ ผมยังคิดว่ามีความจำเป็นในการที่เราจะต้องไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพราะว่าถ้าหากว่าเราไม่รับฟังความคิดเห็นประชาชนนะครับ เท่ากับว่าเราออกแบบ รัฐธรรมนูญอยู่บนขาของเราเองซึ่งไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนเลย เพราะฉะนั้นถ้าหากว่า เราบอกว่าภาคมันใหญ่ไป ผมขอเป็นอนุภาคได้ไหมครับ อนุภาคหมายความว่าอย่างไร ในภาคอีสานแบ่งเป็น ๒ อนุภาค คืออนุภาคอีสานตอนบนกับอนุภาคอีสานตอนล่าง ภาคเหนือ ก็เช่นกันครับ ก็จะมีภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ส่วนภาคกลางก็จะมีภาคตะวันตก ภาคตะวันออกนะครับ ภาคใต้ก็จะมีภาคใต้ตอนบน ตอนล่าง ถ้าหากว่าเราบอกว่าภาคมันใหญ่ไปเราขอเป็นอนุภาค แล้วไปทำการรับฟัง ความเห็นของประชาชนในกลุ่มนั้น ๆ ส่วนจะจัดตั้งคณะกรรมการไปรับฟังหรือว่า กรรมาธิการไปรับฟังอย่างไรนี่นะครับขอให้ที่ประชุมช่วยกันคิดนะครับ ในชั้นต้นนี้ ท่านประธานครับ ผมเห็นว่าเราต้องกำหนดกรอบระยะเวลาของการออกแบบประเทศไทย ให้ชัดเจนก่อน ซึ่งอาจจะไปกำหนดได้เมื่อเวลาประชุมร่วมกันนะครับ ในเบื้องต้นขอคิด เท่านี้ครับ ท่านประธานครับ ขอบคุณครับ
ท่านประธานครับ ที่จริงผมไม่ได้ติดใจเรื่องของ รายละเอียดทั้งหมดนะครับ แต่ผมมีคำถามผ่านท่านประธานไปถึงกรรมาธิการว่ากรณีที่เรา ทำกฎหมายหรือร่างพระราชบัญญัติเสร็จแล้ว เราก็ส่งไปที่สภานิติบัญญัติแห่งชาตินะครับ เราจะมีทางรู้ได้อย่างไรว่า หรือว่าเราจะทราบได้อย่างไรว่ากฎหมายหรือพระราชบัญญัติ ที่เราได้เสนอไปนั้นยังคงเจตนารมณ์ตามที่เราได้ตั้งเป้าหมายไว้ หรือว่ามันมีการเปลี่ยนแปลง ในรายละเอียดไปอย่างไรบ้าง อันนี้เราจะทราบได้อย่างไรครับว่าเรายังคงอยู่หรือไม่ครับ ท่านประธานครับ ขอบคุณครับ
ถามทั้งหมดครับ มันเหมือนว่าจะมีข้อสรุปว่า เมื่อเราทำพระราชบัญญัติเสร็จแล้วใช่ไหมครับ ที่ประชุมสภานี้ก็ลงมติเห็นชอบตามที่ กรรมาธิการได้นำเสนอเป็นรายละเอียดตามมาตราต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว แล้วก็ส่งไปให้ที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือว่าอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเจตนารมณ์ ของกฎหมายฉบับนั้น หรือว่าพระราชบัญญัติฉบับนั้นไม่ได้ถูกแก้ไขไปจากสิ่งที่เราได้ กระทำไปและส่งไปเราจะดำรงไว้ได้อย่างไรครับ ท่านประธานครับ
สุชาติ นวกวงษ์ ครับ ก็ไม่ติดใจครับ ถ้าหากว่า มีช่องทางที่จะเดินตามไปดูว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้น หรือพระราชบัญญัตินั้นยังถูกต้อง ตามที่สภาได้คิดไว้นะครับ ก็ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม สุชาติ นวกวงษ์ ครับ ท่านประธานครับ ในข้อ ๑๑๕ ตรงช่องที่วรรคสอง ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ตามมาตรา ๓๒ วรรคสามของรัฐธรรมนูญ และให้ ประธานสภา ตรงนี้ครับ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ประธานสภาเรา ถ้าอย่างนั้นก็เข้าใจครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม สุชาติ นวกวงษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒๑๘ ครับ ท่านประธานครับ เรื่องที่จะหารือ ท่านประธานมีอยู่ ๒ เรื่องครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม สุชาติ นวกวงษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒๑๘ ครับ ท่านประธานครับ เรื่องที่จะหารือ ท่านประธานมีอยู่ ๒ เรื่องครับ
เรื่องที่ ๑ คือเรื่องของการใช้เวลาในการอภิปรายนะครับ เวลาที่กำหนดให้ผม หารือนี่ ๒ นาทีผมทราบนะครับ อันนี้รับได้นะครับ เรื่องที่อภิปรายในประเด็นซึ่งทางสภา หรือว่าทางจัดเข้ากับรูปการประชุมของสภานี่นะครับ บางครั้งท่านประธานครับ การอภิปรายใช้เวลามากกว่า ๗ นาทีเยอะเลยครับ อย่างเช่นกรณีเมื่อวานนี้นะครับ เป็นการประชุมเรื่องของการเลือกตั้งอย่างไร ปรากฏว่ามีการอภิปรายยาวมากนะครับ บางครั้งก็เลยเวลาไปมาก ผมก็ใคร่จะขอความกรุณาท่านประธานนะครับ เราเคยตกลงกันไว้ แล้วว่า เราควรจะใช้เวลาในการอภิปรายประมาณ ๗ นาทีเท่านั้นนะครับในเรื่องต่าง ๆ เพราะฉะนั้นผมใคร่ขอความกรุณาท่านประธานนะครับ ช่วยกรุณากำกับเวลาด้วยครับ บางครั้งอาจจะมียืดหยุ่นบ้าง แต่ไม่ควรจะมากนักนะครับ
เรื่องที่ ๑ คือเรื่องของการใช้เวลาในการอภิปรายนะครับ เวลาที่กำหนดให้ผม หารือนี่ ๒ นาทีผมทราบนะครับ อันนี้รับได้นะครับ เรื่องที่อภิปรายในประเด็นซึ่งทางสภา หรือว่าทางจัดเข้ากับรูปการประชุมของสภานี่นะครับ บางครั้งท่านประธานครับ การอภิปรายใช้เวลามากกว่า ๗ นาทีเยอะเลยครับ อย่างเช่นกรณีเมื่อวานนี้นะครับ เป็นการประชุมเรื่องของการเลือกตั้งอย่างไร ปรากฏว่ามีการอภิปรายยาวมากนะครับ บางครั้งก็เลยเวลาไปมาก ผมก็ใคร่จะขอความกรุณาท่านประธานนะครับ เราเคยตกลงกันไว้ แล้วว่า เราควรจะใช้เวลาในการอภิปรายประมาณ ๗ นาทีเท่านั้นนะครับในเรื่องต่าง ๆ เพราะฉะนั้นผมใคร่ขอความกรุณาท่านประธานนะครับ ช่วยกรุณากำกับเวลาด้วยครับ บางครั้งอาจจะมียืดหยุ่นบ้าง แต่ไม่ควรจะมากนักนะครับ
เรื่องที่ ๒ ครับท่านประธานครับ เรื่องที่ ๒ คือเรื่องการเชื่อมโยงกับโรดแมพ (Roadmap) ของรัฐบาลนะครับ รัฐบาลได้เสนอโรดแมพในเรื่องของการทำงาน เพื่อการปฏิรูปหลายเรื่องนะครับ คณะกรรมาธิการ ๑๘ ด้านของเรานี่นะครับ ก็ควรจะได้ เชื่อมโยงกับโรดแมพของรัฐบาลด้วยเช่นเดียวกัน แต่ในคณะกรรมาธิการ ๑๘ ด้านนี่นะครับ มีคณะอนุกรรมาธิการต่าง ๆ ผมจำไม่ได้ว่ามีเท่าไรนะครับ แต่ถ้าหากว่าคณะอนุกรรมาธิการ เหล่านั้นได้เชื่อมโยงกับโรดแมพของรัฐบาลก็จะทำให้การทำงานของเรา สปช. กับโรดแมพ ของรัฐบาลมีความเชื่อมโยงกันเป็นเนื้อเดียวกันและบรรลุสู่เป้าหมายที่ต้องการปฏิรูป ได้มากยิ่งขึ้นครับ ผมขอใช้เวลาไม่เกิน ๒ นาทีเท่านี้ครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
เรื่องที่ ๒ ครับท่านประธานครับ เรื่องที่ ๒ คือเรื่องการเชื่อมโยงกับโรดแมพ (Roadmap) ของรัฐบาลนะครับ รัฐบาลได้เสนอโรดแมพในเรื่องของการทำงาน เพื่อการปฏิรูปหลายเรื่องนะครับ คณะกรรมาธิการ ๑๘ ด้านของเรานี่นะครับ ก็ควรจะได้ เชื่อมโยงกับโรดแมพของรัฐบาลด้วยเช่นเดียวกัน แต่ในคณะกรรมาธิการ ๑๘ ด้านนี่นะครับ มีคณะอนุกรรมาธิการต่าง ๆ ผมจำไม่ได้ว่ามีเท่าไรนะครับ แต่ถ้าหากว่าคณะอนุกรรมาธิการ เหล่านั้นได้เชื่อมโยงกับโรดแมพของรัฐบาลก็จะทำให้การทำงานของเรา สปช. กับโรดแมพ ของรัฐบาลมีความเชื่อมโยงกันเป็นเนื้อเดียวกันและบรรลุสู่เป้าหมายที่ต้องการปฏิรูป ได้มากยิ่งขึ้นครับ ผมขอใช้เวลาไม่เกิน ๒ นาทีเท่านี้ครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
ท่านประธานครับ ต่ออีกนิดหนึ่งครับท่านประธานครับ ผมใช้เวลา ๒ นาทีนั้นไปแล้ว ตอนนี้คือส่วนที่ผมคิดเห็นนี่นะครับ เรื่องของการอภิปราย ในช่วงบ่ายนี่ว่าด้วยเรื่องตั้งแต่นี้เป็นต้นไปนี่ครับ ว่าด้วยเรื่องของการให้สัมปทาน ๒๑ นะครับ แล้วก็เรื่องของการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการหรือในวิสามัญทั่วไปนี่นะครับ อันนี้ก็ควรจะกำกับเวลาครับท่านประธานครับ ควรจะกำกับเวลา อาจจะให้เวลา ๑๐ นาที ๗ นาทีครั้งที่แล้วมันจำกัดมากเกินไป ก็ให้เวลาสัก ๑๐ นาทีหรือ ๑๕ นาทีครับ ท่านประธาน เพื่อว่าจะได้มีคนอภิปรายมากขึ้นและมีสาระมากขึ้นครับ คนที่จะอภิปรายนั้น ควรจะต้องกำกับความคิดรวบยอดของตัวท่านเองนี่ให้อยู่ภายใน ๑๐ นาทีครับ
ท่านประธานครับ ต่ออีกนิดหนึ่งครับท่านประธานครับ ผมใช้เวลา ๒ นาทีนั้นไปแล้ว ตอนนี้คือส่วนที่ผมคิดเห็นนี่นะครับ เรื่องของการอภิปราย ในช่วงบ่ายนี่ว่าด้วยเรื่องตั้งแต่นี้เป็นต้นไปนี่ครับ ว่าด้วยเรื่องของการให้สัมปทาน ๒๑ นะครับ แล้วก็เรื่องของการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการหรือในวิสามัญทั่วไปนี่นะครับ อันนี้ก็ควรจะกำกับเวลาครับท่านประธานครับ ควรจะกำกับเวลา อาจจะให้เวลา ๑๐ นาที ๗ นาทีครั้งที่แล้วมันจำกัดมากเกินไป ก็ให้เวลาสัก ๑๐ นาทีหรือ ๑๕ นาทีครับ ท่านประธาน เพื่อว่าจะได้มีคนอภิปรายมากขึ้นและมีสาระมากขึ้นครับ คนที่จะอภิปรายนั้น ควรจะต้องกำกับความคิดรวบยอดของตัวท่านเองนี่ให้อยู่ภายใน ๑๐ นาทีครับ
ครับ ๑๐ นาทีหรือ ๑๕ นาทีครับ
ครับ ๑๐ นาทีหรือ ๑๕ นาทีครับ
๑๐ นาทีครับท่านประธาน
๑๐ นาทีครับท่านประธาน
ท่านประธานครับ นับใหม่เถอะครับท่านประธานครับ ระหว่าง ๕ นาที กับ ๑๐ นาทีนี่นะครับ ขอความกรุณานับใหม่เถอะครับ ไม่มีปัญหาครับ เรื่องของ ๕ นาทีก็ได้
ท่านประธานครับ นับใหม่เถอะครับท่านประธานครับ ระหว่าง ๕ นาที กับ ๑๐ นาทีนี่นะครับ ขอความกรุณานับใหม่เถอะครับ ไม่มีปัญหาครับ เรื่องของ ๕ นาทีก็ได้
มี ๑๐ นาทีครับท่านครับ ไม่มี ๗ นาที
มี ๑๐ นาทีครับท่านครับ ไม่มี ๗ นาที
ท่านประธานครับ ผมไม่ติดใจครับ เรื่อง ๕ นาที หรือ ๑๐ นาทีนะครับ ข้อติดใจของผมคือว่าทำเวลาให้กระชับ เพราะฉะนั้นการให้เวลา ๕ นาทีหรือ ๑๐ นาที มันเป็นการแสดงว่าทางผู้อภิปรายได้เตรียมตัวมาเพื่อที่จะบอกว่า ต้องการอะไร ความต้องการอะไรนี่ครับเป็นการกระชับเวลา เพื่อที่จะให้ทำงานให้ชัดเจน มากขึ้น ส่วนข้อหารือหรือประเด็นอื่น ๆ ซึ่งสมาชิกผู้อภิปรายต้องการจะเสริมขอให้ส่งเป็น รายละเอียดครับ นำเสนอต่อครับ เป็นแนวความคิดครับท่านประธานครับ ขอบคุณครับ
ท่านประธานครับ ผมไม่ติดใจครับ เรื่อง ๕ นาที หรือ ๑๐ นาทีนะครับ ข้อติดใจของผมคือว่าทำเวลาให้กระชับ เพราะฉะนั้นการให้เวลา ๕ นาทีหรือ ๑๐ นาที มันเป็นการแสดงว่าทางผู้อภิปรายได้เตรียมตัวมาเพื่อที่จะบอกว่า ต้องการอะไร ความต้องการอะไรนี่ครับเป็นการกระชับเวลา เพื่อที่จะให้ทำงานให้ชัดเจน มากขึ้น ส่วนข้อหารือหรือประเด็นอื่น ๆ ซึ่งสมาชิกผู้อภิปรายต้องการจะเสริมขอให้ส่งเป็น รายละเอียดครับ นำเสนอต่อครับ เป็นแนวความคิดครับท่านประธานครับ ขอบคุณครับ
ท่านประธานครับ ขอความกรุณาแป๊บหนึ่งครับ สุชาติ นวกวงษ์ นะครับ เรียนท่านประธานที่เคารพ เนื่องจากว่ามีกรรมาธิการบางท่าน ประชุมอยู่ที่อาคาร ๓ ชั้น ๗ อาจจะลงมาไม่ทัน ตอนนี้กำลังวิ่งลงมาครับ ผมมองภาพแล้ว กำลังวิ่งลงมานะครับ ขอเวลานิดหนึ่งครับ เดี๋ยวอาจจะตกลิฟท์ก็ได้ครับ ท่านประธานครับ ขอความกรุณาสักนิดหนึ่งครับ ท่านประธานครับ
ท่านประธานครับ ขอความกรุณาแป๊บหนึ่งครับ สุชาติ นวกวงษ์ นะครับ เรียนท่านประธานที่เคารพ เนื่องจากว่ามีกรรมาธิการบางท่าน ประชุมอยู่ที่อาคาร ๓ ชั้น ๗ อาจจะลงมาไม่ทัน ตอนนี้กำลังวิ่งลงมาครับ ผมมองภาพแล้ว กำลังวิ่งลงมานะครับ ขอเวลานิดหนึ่งครับ เดี๋ยวอาจจะตกลิฟท์ก็ได้ครับ ท่านประธานครับ ขอความกรุณาสักนิดหนึ่งครับ ท่านประธานครับ
ท่านประธานครับ สุชาติ นวกวงษ์ ครับ ขอความกรุณา ล้างจอใหม่ได้ไหมครับ เพื่อที่จะได้ลงมติพร้อมกัน
ท่านประธานครับ สุชาติ นวกวงษ์ ครับ ขอความกรุณา ล้างจอใหม่ได้ไหมครับ เพื่อที่จะได้ลงมติพร้อมกัน
ครับผม ขอบคุณมากครับท่านประธานครับ
ครับผม ขอบคุณมากครับท่านประธานครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ กระผม สุชาติ นวกวงษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒๑๘ ครับ ท่านประธานครับ สิ่งที่พูดนี่ไม่ได้เข้าข้างใคร แต่พูดจากความรู้สึกที่มีความสัมผัสอยู่นะครับท่านประธาน บนฐานของทรัพยากรครับ ท่านประธาน ทรัพยากรเป็นของประเทศ เป็นของประชาชนคนไทย ปิโตรเลียม เป็นทรัพยากรของประเทศ ดังนั้นผมไม่บอกว่าปิโตรเลียมเป็นของคนไทยหรือเปล่า ท่านคิดเอานะครับ พ.ร.บ. ปิโตรเลียมเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ มีการแก้ไขบ้าง แต่ผมก็ไม่รู้ว่า แก้ไขนั้นให้ประโยชน์ไปถึงใคร พ.ร.บ. ปิโตรเลียมแก้ไขมา สิ่งที่ได้คือผลประโยชน์ก็จริง แต่ว่าตอบไม่ได้ว่าผลประโยชน์นั้นตกกับคนไทยหรือไม่ หรือว่าไปตกกับใคร หรือว่าตกกับ หน่วยงานของรัฐเท่านั้น เพราะฉะนั้นกฎหมายปิโตรเลียมนี้จึงให้ความสงสัยกับคนไทย มาตลอดว่าให้ผลประโยชน์กับคนไทยจริงหรือไม่ ภายใต้คอนเซพต์ (Concept) ว่าทรัพยากร เป็นของคนไทย เป็นของประเทศไทย เพราะฉะนั้นต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนไทย ใครเป็นผู้ให้สัมปทานครับท่านประธาน ภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียมต้องมีการให้สัมปทาน หน่วยงานของรัฐที่ให้สัมปทานก็คือกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ณ วันนี้เป็นการให้สัมปทาน รอบที่ ๒๑ ประมาณ ๒๘-๒๙ แปลง ทั้งบนดินแล้วก็ในน้ำ พื้นที่ให้สัมปทานแต่ละพื้นที่ ประมาณ ๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ถ้าเราคูณด้วย ๓๐ แปลง ก็ได้พื้นที่ที่สำรวจประมาณ ๑,๒๐๐ ตารางกิโลเมตร อยู่จังหวัดไหนบ้างในรายละเอียดก็มีอยู่นะครับ เวลาเดียวกัน ผมก็ยังสงสัยว่าพื้นที่ ๑,๒๐๐ ตารางกิโลเมตรนี้มีอะไรซุกซ่อนอยู่ข้างใน ผมจะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่สำรวจหรือให้สัมปทานไปนั้นให้ข้อมูลกับผม ให้ข้อมูลกับประชาชนจริงหรือไม่จริง ดังนั้นเมื่อผมมีข้อสงสัย ผมต้องถามต่อให้ได้ว่าสิ่งที่ปรากฏ สิ่งที่บรรจุไว้ สิ่งที่เขียนใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมให้ประโยชน์กับคนไทยสูงสุดหรือยัง ข้อที่ ๓ ผลประโยชน์ครับท่านประธาน ผลประโยชน์ที่ได้ใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมบอกว่าใช้ระบบสัมปทาน สัมปทานก็คือบอกว่า จะแบ่งกันกับคนที่ใช่เป็นเจ้าของสัมปทาน แต่ผมก็ไม่ทราบว่าค่าภาคหลวงหรือสัมปทานที่ได้ เป็นจริงหรือเปล่า แต่ถ้าหากว่าผันไปใช้ระบบใหม่ที่เราเรียกว่าระบบแบ่งปันผลประโยชน์ ถ้าท่านประธานขายของได้ ๑๐๐ บาท ถ้าท่านประธานหาเงินได้ ๑,๐๐๐ บาท แล้วผมบอกว่า ขอแบ่งกันคนละครึ่ง อย่างนี้จะเห็นตัวเลขชัดเจนว่าเอาผลประโยชน์มาแบ่งกันดีกว่าไหม ถ้าหากว่าเป็นสัมปทานนี่ครับ ไม่สามารถระบุตัวเลขได้เลย เพราะว่าเป็นตัวเลขของเก่า พูดมาแล้วก็ยังสงสัยอยู่ ดังนั้นในความเห็นของผมจึงบอกว่าการแบ่งผลประโยชน์บนฐานของ การที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประชาชนคนไทย ถามต่อไปครับ ท่านประธาน ถามว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ ผมไม่ประหลาดใจในการที่ประเทศญี่ปุ่นบอกว่า ค้นพบวิธีการใช้แก๊สไฮโดรเจนในการที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ต้องใช้เวลาพัฒนาอีก ๕-๖ ปี หรือ ๑๐ ปี ดังนั้นประเทศไทยก็มีเวลาเพียงพอที่จะพัฒนากฎหมายฉบับใหม่ขึ้นมา เพื่อรองรับความเสี่ยงนี้เช่นเดียวกัน เรามีความเสี่ยง ใช่ครับ แต่ความเสี่ยงนี้เรารอได้ รอได้เพื่อจะบอกว่าสิ่งที่เราต้องการให้กับประชาชนคนไทยนั้นคุ้มค่าที่สุด ท่านประธานครับ ดังนั้นในความเห็นของผมนี่นะครับ ความเสี่ยงเราสามารถที่จะรอเวลาได้ แต่ผลประโยชน์ ต่างหากครับท่านประธาน ผลประโยชน์ที่ประชาชนคนไทยจะได้รับนี่เป็นสิ่งที่เราควรจะ บรรลุ เราควรจะคำนึงถึงมากที่สุด ดังนั้นท่านประธานครับ ผมจึงเห็นว่าการให้สัมปทาน ปิโตรเลียมรอบใหม่นี้ควรจะชะลอไว้เพื่อคิดถึงสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคนไทย ภายใต้ข้อสงสัยว่า พระราชบัญญัติปิโตรเลียมนี่ดีจริงหรือไม่จริง เราไปพิสูจน์กันก่อน เพราะว่าข้อมูลที่ผมได้รับมานี่ครับ ผมไม่เชื่อว่าข้อมูลที่หน่วยรัฐให้เรา มานี่เป็นข้อมูลจริงหรือไม่จริง เป็นข้อมูลที่บอกให้ผมฟังข้างเดียวนะครับ ผมอยากได้ข้อมูล อีกฝั่งหนึ่งนะครับ ข้อมูลของประชาชนนี่ละครับ เอามาตอบกันนะครับ กรณีนี้ผมจึงขอ สนับสนุนให้มีการชะลอไว้ก่อนครับท่านประธาน ขอบคุณครับท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ กระผม สุชาติ นวกวงษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒๑๘ ครับ ท่านประธานครับ สิ่งที่พูดนี่ไม่ได้เข้าข้างใคร แต่พูดจากความรู้สึกที่มีความสัมผัสอยู่นะครับท่านประธาน บนฐานของทรัพยากรครับ ท่านประธาน ทรัพยากรเป็นของประเทศ เป็นของประชาชนคนไทย ปิโตรเลียม เป็นทรัพยากรของประเทศ ดังนั้นผมไม่บอกว่าปิโตรเลียมเป็นของคนไทยหรือเปล่า ท่านคิดเอานะครับ พ.ร.บ. ปิโตรเลียมเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ มีการแก้ไขบ้าง แต่ผมก็ไม่รู้ว่า แก้ไขนั้นให้ประโยชน์ไปถึงใคร พ.ร.บ. ปิโตรเลียมแก้ไขมา สิ่งที่ได้คือผลประโยชน์ก็จริง แต่ว่าตอบไม่ได้ว่าผลประโยชน์นั้นตกกับคนไทยหรือไม่ หรือว่าไปตกกับใคร หรือว่าตกกับ หน่วยงานของรัฐเท่านั้น เพราะฉะนั้นกฎหมายปิโตรเลียมนี้จึงให้ความสงสัยกับคนไทย มาตลอดว่าให้ผลประโยชน์กับคนไทยจริงหรือไม่ ภายใต้คอนเซพต์ (Concept) ว่าทรัพยากร เป็นของคนไทย เป็นของประเทศไทย เพราะฉะนั้นต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนไทย ใครเป็นผู้ให้สัมปทานครับท่านประธาน ภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียมต้องมีการให้สัมปทาน หน่วยงานของรัฐที่ให้สัมปทานก็คือกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ณ วันนี้เป็นการให้สัมปทาน รอบที่ ๒๑ ประมาณ ๒๘-๒๙ แปลง ทั้งบนดินแล้วก็ในน้ำ พื้นที่ให้สัมปทานแต่ละพื้นที่ ประมาณ ๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ถ้าเราคูณด้วย ๓๐ แปลง ก็ได้พื้นที่ที่สำรวจประมาณ ๑,๒๐๐ ตารางกิโลเมตร อยู่จังหวัดไหนบ้างในรายละเอียดก็มีอยู่นะครับ เวลาเดียวกัน ผมก็ยังสงสัยว่าพื้นที่ ๑,๒๐๐ ตารางกิโลเมตรนี้มีอะไรซุกซ่อนอยู่ข้างใน ผมจะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่สำรวจหรือให้สัมปทานไปนั้นให้ข้อมูลกับผม ให้ข้อมูลกับประชาชนจริงหรือไม่จริง ดังนั้นเมื่อผมมีข้อสงสัย ผมต้องถามต่อให้ได้ว่าสิ่งที่ปรากฏ สิ่งที่บรรจุไว้ สิ่งที่เขียนใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมให้ประโยชน์กับคนไทยสูงสุดหรือยัง ข้อที่ ๓ ผลประโยชน์ครับท่านประธาน ผลประโยชน์ที่ได้ใน พ.ร.บ. ปิโตรเลียมบอกว่าใช้ระบบสัมปทาน สัมปทานก็คือบอกว่า จะแบ่งกันกับคนที่ใช่เป็นเจ้าของสัมปทาน แต่ผมก็ไม่ทราบว่าค่าภาคหลวงหรือสัมปทานที่ได้ เป็นจริงหรือเปล่า แต่ถ้าหากว่าผันไปใช้ระบบใหม่ที่เราเรียกว่าระบบแบ่งปันผลประโยชน์ ถ้าท่านประธานขายของได้ ๑๐๐ บาท ถ้าท่านประธานหาเงินได้ ๑,๐๐๐ บาท แล้วผมบอกว่า ขอแบ่งกันคนละครึ่ง อย่างนี้จะเห็นตัวเลขชัดเจนว่าเอาผลประโยชน์มาแบ่งกันดีกว่าไหม ถ้าหากว่าเป็นสัมปทานนี่ครับ ไม่สามารถระบุตัวเลขได้เลย เพราะว่าเป็นตัวเลขของเก่า พูดมาแล้วก็ยังสงสัยอยู่ ดังนั้นในความเห็นของผมจึงบอกว่าการแบ่งผลประโยชน์บนฐานของ การที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประชาชนคนไทย ถามต่อไปครับ ท่านประธาน ถามว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ ผมไม่ประหลาดใจในการที่ประเทศญี่ปุ่นบอกว่า ค้นพบวิธีการใช้แก๊สไฮโดรเจนในการที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ต้องใช้เวลาพัฒนาอีก ๕-๖ ปี หรือ ๑๐ ปี ดังนั้นประเทศไทยก็มีเวลาเพียงพอที่จะพัฒนากฎหมายฉบับใหม่ขึ้นมา เพื่อรองรับความเสี่ยงนี้เช่นเดียวกัน เรามีความเสี่ยง ใช่ครับ แต่ความเสี่ยงนี้เรารอได้ รอได้เพื่อจะบอกว่าสิ่งที่เราต้องการให้กับประชาชนคนไทยนั้นคุ้มค่าที่สุด ท่านประธานครับ ดังนั้นในความเห็นของผมนี่นะครับ ความเสี่ยงเราสามารถที่จะรอเวลาได้ แต่ผลประโยชน์ ต่างหากครับท่านประธาน ผลประโยชน์ที่ประชาชนคนไทยจะได้รับนี่เป็นสิ่งที่เราควรจะ บรรลุ เราควรจะคำนึงถึงมากที่สุด ดังนั้นท่านประธานครับ ผมจึงเห็นว่าการให้สัมปทาน ปิโตรเลียมรอบใหม่นี้ควรจะชะลอไว้เพื่อคิดถึงสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคนไทย ภายใต้ข้อสงสัยว่า พระราชบัญญัติปิโตรเลียมนี่ดีจริงหรือไม่จริง เราไปพิสูจน์กันก่อน เพราะว่าข้อมูลที่ผมได้รับมานี่ครับ ผมไม่เชื่อว่าข้อมูลที่หน่วยรัฐให้เรา มานี่เป็นข้อมูลจริงหรือไม่จริง เป็นข้อมูลที่บอกให้ผมฟังข้างเดียวนะครับ ผมอยากได้ข้อมูล อีกฝั่งหนึ่งนะครับ ข้อมูลของประชาชนนี่ละครับ เอามาตอบกันนะครับ กรณีนี้ผมจึงขอ สนับสนุนให้มีการชะลอไว้ก่อนครับท่านประธาน ขอบคุณครับท่านประธาน
ท่านประธานครับ ขอเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่ง สุชาติครับ ท่านประธานครับ ที่ส่งรายงานไปนี่ผมอาจจะเหมือนกับท่านอำพลนะครับ คือไม่ได้แปลว่า ผมเห็นด้วยกับรายงานนะครับ ส่งไปในแง่ของความเห็นรวม ผมไม่ได้เห็นด้วยกับรายงาน เพราะฉะนั้นต้องเขียนให้ชัด ๆ ว่าคนที่ไม่เห็นด้วยก็มีนะครับ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่า สมาชิกทั้งสภาเห็นด้วยกับรายงาน ไม่ใช่นะครับท่านประธาน
ท่านประธานครับ ขอเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่ง สุชาติครับ ท่านประธานครับ ที่ส่งรายงานไปนี่ผมอาจจะเหมือนกับท่านอำพลนะครับ คือไม่ได้แปลว่า ผมเห็นด้วยกับรายงานนะครับ ส่งไปในแง่ของความเห็นรวม ผมไม่ได้เห็นด้วยกับรายงาน เพราะฉะนั้นต้องเขียนให้ชัด ๆ ว่าคนที่ไม่เห็นด้วยก็มีนะครับ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่า สมาชิกทั้งสภาเห็นด้วยกับรายงาน ไม่ใช่นะครับท่านประธาน
เห็นชอบให้ส่งรายงานครับ ไม่ได้แปลว่าเห็นชอบ รายงานนะครับ แค่นี้ครับท่านประธานครับ
เห็นชอบให้ส่งรายงานครับ ไม่ได้แปลว่าเห็นชอบ รายงานนะครับ แค่นี้ครับท่านประธานครับ
ท่านประธานครับ มีทางเลือกที่ ๓ นะครับ ก็คือให้ชะลอไปก่อนนี่ครับ ได้ไหมครับ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และชะลอนี่ครับ ได้ไหมครับ ท่านประธานครับ สุชาติครับ อาจารย์ครับ
ท่านประธานครับ มีทางเลือกที่ ๓ นะครับ ก็คือให้ชะลอไปก่อนนี่ครับ ได้ไหมครับ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และชะลอนี่ครับ ได้ไหมครับ ท่านประธานครับ สุชาติครับ อาจารย์ครับ
เลื่อนไปก่อนครับ คือถ้าเห็นด้วยแปลว่าเห็นด้วยกับ เปิดสัมปทาน ถ้าไม่เห็นด้วยคือไม่ให้เปิดสัมปทาน แต่ของผมคือบอกว่าให้รัฐบาล ชะลอไปนะครับ เป็นทางเลือกที่ ๓ เพราะฉะนั้นต้องลงมติ ๓ รอบ ถ้าหากว่าเห็นด้วย กับที่ผมบอกว่าให้รัฐบาลชะลอไปได้ไหมครับท่านประธานครับ
เลื่อนไปก่อนครับ คือถ้าเห็นด้วยแปลว่าเห็นด้วยกับ เปิดสัมปทาน ถ้าไม่เห็นด้วยคือไม่ให้เปิดสัมปทาน แต่ของผมคือบอกว่าให้รัฐบาล ชะลอไปนะครับ เป็นทางเลือกที่ ๓ เพราะฉะนั้นต้องลงมติ ๓ รอบ ถ้าหากว่าเห็นด้วย กับที่ผมบอกว่าให้รัฐบาลชะลอไปได้ไหมครับท่านประธานครับ
ทำไมไม่ได้ครับท่านประธาน ก็ในเมื่อมันเป็น ความเห็นนะครับท่านประธาน
ทำไมไม่ได้ครับท่านประธาน ก็ในเมื่อมันเป็น ความเห็นนะครับท่านประธาน
มันซ้อนกันอย่างไรครับท่านประธาน ก็ในเมื่อเห็นด้วย กับไม่เห็นด้วย และมีอีกอันหนึ่งคือให้ชะลอไปนี่ไม่ได้หรือครับ ผมก็จะยอมนั่งลงครับ ถ้าท่านประธานบอกว่าไม่ได้เพราะอะไรครับท่านประธานครับ
มันซ้อนกันอย่างไรครับท่านประธาน ก็ในเมื่อเห็นด้วย กับไม่เห็นด้วย และมีอีกอันหนึ่งคือให้ชะลอไปนี่ไม่ได้หรือครับ ผมก็จะยอมนั่งลงครับ ถ้าท่านประธานบอกว่าไม่ได้เพราะอะไรครับท่านประธานครับ
อย่างนั้นยืนครับท่านประธาน เพราะว่าผมก็ไม่เข้าใจ ท่านประธาน ถ้าเผื่อผมยกมือก็ว่าผมเห็นด้วย ก็แปลว่าเห็นด้วยกับรอบสัมปทาน
อย่างนั้นยืนครับท่านประธาน เพราะว่าผมก็ไม่เข้าใจ ท่านประธาน ถ้าเผื่อผมยกมือก็ว่าผมเห็นด้วย ก็แปลว่าเห็นด้วยกับรอบสัมปทาน
อย่างนั้นนั่งลงก็ได้ครับท่านประธาน แต่ท่านประธาน ต้องอธิบายนะครับ
อย่างนั้นนั่งลงก็ได้ครับท่านประธาน แต่ท่านประธาน ต้องอธิบายนะครับ