กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นะครับ ผมสนับสนุนที่จะให้มี ๒๐ คน จาก สปช. นะครับ ด้วยเหตุผล ๓ ประการครับ
ประการแรก ผมว่าเราก็ไม่น่าจะทำเรื่องง่ายให้มันเป็นเรื่องยากนะครับ ถ้าเราดูตามประเพณีของ สสร. ที่กำหนดสัดส่วนว่าจาก สสร. มีกี่คนก็เทียบเท่ากับเราสมัยนี้ ก็คือสภาปฏิรูปแห่งชาตินี้ สปช. กำหนดไว้กี่คนเขาก็เลือก เขาเลือกวันเดียวสองวันเขาก็จบแล้ว เขาก็ไม่ได้ทำเรื่องที่มันง่าย ๆ ให้มันเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเหมือนกับที่เรากำลังจะทำกันอยู่นี่นะครับ ผมก็อยากให้เรื่องอะไรที่มันง่าย ๆ ก็ให้มันง่าย ๆ ต่อไปนะครับ ก็คือ ๒๐ คน เขาให้เราเลือก เราก็เลือกพวกเราเข้าไป ๒๐ คน มันก็จบแล้วนะครับ
เหตุผลที่ ๒ ผมอยากให้นโยบายต่าง ๆ จาก สปช. ของเราเข้าไปอยู่ ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยครับ ผมยิ่งกลัวมากเลยที่บอกว่าคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอิสระไม่อยากจะฟังพวกเราก็ได้ ผมว่าอันนี้มันอันตรายมาก ทีนี้ถ้าเราอยากให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ฟัง สปช. ผมคิดว่าการให้มีตัวแทน สปช. ๒๐ คนเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเรามีตัวแทนของ สปช. เป็นเสียงข้างมาก โอกาสที่จะให้ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฟังเสียงของ สปช. ก็มีมากยิ่งขึ้นนะครับ โดยเฉพาะ กระบวนการสำคัญที่เราโดยเฉพาะผมอยากให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ต้องทำอย่างมากก็คือกระบวนการรับฟังเสียงประชาชนนะครับ ถ้าเรามองไปในอดีต สภาร่างรัฐธรรมนูญก็มักจะมีปัญหาการไม่รับฟังเสียงจากภาคประชาชน เพราะฉะนั้น ถ้าเราต้องการให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องฟังเสียงจากประชาชน ถ้าเราสภาแห่งนี้เห็นด้วยเราก็สามารถที่จะมอบหมาย ๒๐ ท่านที่เป็นตัวแทน ของเราว่า อย่าลืมไปจัดตั้งกระบวนการรับฟังเสียงประชาชนด้วย นอกเหนือจาก สปช. เราจะมีกรรมาธิการวิสามัญรับฟังเสียงจากประชาชน มีศูนย์รับฟังแล้วมันจะต้องมีตัวเชื่อม นั่นหมายความว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องฟังเสียงประชาชนให้มาก โดยเฉพาะเสียงประชาชนที่ได้ผ่านการสังเคราะห์ วิเคราะห์แล้วจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ แห่งนี้ ผมว่าการที่อยากผลักดันให้เกิดกลไกต่าง ๆ ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามที่สภาปฏิรูปแห่งชาติต้องการนั้น จำเป็นอย่างยิ่งนะครับที่จะต้องมีตัวแทน จากสภาปฏิรูปเป็นเสียงข้างมาก ในความเห็นของผมนะครับ ซึ่งอาจจะผิดก็ได้
เหตุผลที่ ๓ นะครับ อย่าลืมว่าการเข้าไปเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นั้นนะครับ ถูกจำกัดสิทธิไม่ให้ไปทำเรื่องการเมืองอีก ๒ ปี ก็คือจะไปลง ส.ส. ส.ว. ไม่ได้ ถ้ามีในอนาคตนะครับ เพราะฉะนั้นผมก็ไม่เชื่อว่าคนที่เป็นนักการเมืองยินดีที่จะเข้ามา อยู่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นเราจะไปเอาตัวแทนจากพรรคต่าง ๆ เพื่อเข้ามาอยู่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนี้ผมว่าน่าจะลำบากนะครับ ผมขออภัยนะครับที่จะเอ่ยนามท่านอลงกรณ์ แม้แต่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังท้าทายว่า ขอให้ท่านอลงกรณ์ได้ลงเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยแล้วกันนะครับ เพราะเขาเชื่อว่า ท่านคงจะไม่อยากลงมาเพื่อถูกจำกัดสิทธิ ๒ ปีนะครับ ก็เลยเกิดการท้าทาย อันนี้เป็นตัวอย่างง่าย ๆ เพราะฉะนั้นผมเลยมองว่าทำไมเราทำเรื่องง่าย ๆ ให้มันเป็น เรื่องยาก แล้วก็ให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทำให้เกิดสับสนในสังคม ทั้ง ๆ ที่เขากำหนดมา อยู่แล้ว ๒๐ คน เลือกปั๊บก็จบแล้ว ที่เขาทำมาในอดีตเขาก็แป๊บเดียวก็จบแล้ว ของเรา กลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากวุ่นวาย ผมก็จึงอยากให้เลือก ๒๐ คน จาก สปช. เรานะครับ ขอบคุณมากครับท่านประธานครับ
ขอบคุณมากครับท่านประธานครับ กราบเรียนท่านประธานครับ ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ก็เมื่อเสนอปิดอภิปราย แล้วก็มีแค่ ๒ ญัตติ ผมก็อยากให้ท่านประธานดำเนินการไปตามระเบียบที่อนุโลมมานะครับ
ถ้าปิดแล้วก็เหลือแค่ ๒ ญัตติ ๒ ญัตติ ก็มีญัตติหนึ่งก็ตามที่ทางฝ่ายประสานงานได้เสนอมานะครับ กรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติ (ชั่วคราว) แล้วก็อีกญัตติหนึ่งก็ในที่ประชุมนี้เสนอก็คือโควตา ๑๕ คน แล้วเหลือก็เลือก ผมว่าถ้าเราไปตามญัตติมันก็จะจบเร็วครับท่านประธาน ขอบคุณมากครับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ท่านประธาน ก็ถามไปแล้วก็มีคนไม่เห็นด้วย แล้วท่านประธานก็บอกว่าไม่เห็นด้วยยกมือ ไม่มากใช่ไหมครับ ทีนี้ก็ขอให้ลงมติเท่านั้นเองท่านประธาน
เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยครับ เพราะว่า ผมก็ไม่เห็นด้วยว่าจะต้องไปให้กรรมาธิการไปศึกษาอีก มันก็เสียเวลาครับ เพราะว่าการที่ให้ ๑๕ กลุ่มมันก็เหมือนเลือกตั้งเขตนะครับ แล้วก็มาทั้งหมด มันก็เหมือนเลือกตั้งปาร์ตี้ ลิสต์ (Party list) ครับ มันก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นในที่สุดแล้วก็ต้องให้สภานี่เห็นชอบทั้งหมด ๒๐ คน มันก็คือบุคคลที่สภาเสนอ ๒๐ คนนี้ มันก็เหมือนเราเลือกกรรมาธิการอื่น ๆ ครับ ก็บอกแต่ละกลุ่มไปเสนอมาคนละ ๑ คนละ ๒ แล้วจากนั้นใส่ชื่อเสร็จก็อ่านให้สภาเห็นชอบ อีกครั้ง เพราะฉะนั้นกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ที่ไปทำ มันก็ไม่สอดคล้องรัฐธรรมนูญอีกสิครับ มันก็เสนอแต่ละด้านไปครับ ฝ่ายกฎหมายที่ผมไป ก็แต่ละด้านเสนอไป แล้วก็ให้สภานี้รับรองครั้งสุดท้ายก็ไม่เห็นใครโต้เถียงว่าขัดรัฐธรรมนูญ ตรงไหน
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ผมไม่เห็นด้วยกับเรื่องที่คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติ (ชั่วคราว) เสนอ เพราะเมื่อวานนี้ผมฟังแล้วเสียงส่วนใหญ่ก็อยากให้กระจาย ว่าแต่ละด้านก็ควรจะมีตัวแทนตนเองสัก ๑ คน ๑๑ ด้าน แล้วก็บวก ๔ ภาค ก็ ๑๕ คน แล้วที่เหลือก็จะไปเน้นทางการเมืองหรือใครเพิ่มเข้ามา อันนั้นผมก็เห็นด้วย เมื่อวานนี้ ก็พูดกันเยอะเราก็เน้นไปทางนี้ แต่เวลาสรุปมาท่านก็เอาเหมือนเดิม ท่านก็เอาอย่างที่ท่าน อยากได้ ก็คือสมัครแล้วก็เลือกเป็นรายคน ผมไม่รู้เลยว่าคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูป แห่งชาติ (ชั่วคราว) ฟังเราหรือเอาแต่ใจท่านผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ถ้าหาวิธีว่าจะทำอย่างไร ให้มีแต่ตัวแทนแต่ละด้านเข้ามา แล้วก็มีที่เหลือพ่วงเข้ามาด้วยผมก็ยินดี เพราะว่ามันควรจะ กระจายครับ คนที่จะเข้าไปเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อย่างกลุ่มผมด้านสังคม ก็เสนอชื่อกัน ๔ ท่าน เพราะท่านบอกว่าจะไปเลือกกันเองเหลือ ๑ คน แล้วมาเสนอแล้วให้ ที่นี่เห็นชอบไม่ได้ ต้องเสนอมาให้เลือกใหม่หมด แล้วมันจะไปต่างอะไรกับปล่อยให้สมัครกัน ใช่ไหมครับ หรือไม่ก็ต้องให้เราล็อบบี้ (Lobby) กันอีก ในที่สุดเดี๋ยวเราก็ต้องล็อบบี้กันอีก ว่าด้านคุณ คุณเสนอใคร ด้านผม ผมเสนอใคร คุณอย่าลืมนะเลือกผม ผมเลือกคุณ ทำไม ต้องให้เราต้องเอ็กเซอร์ไซส์ (Exercise) ออกกำลังอีกใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้นพรุ่งนี้ก็เกิด กระบวนการแล้ว ด้านผมผมอยากได้คนนี้ ด้านคุณอยากได้ใครบอกมาหน่อย ก็ต้องไปพูดกัน ข้างหลังใช่ไหมครับ เพราะท่านไม่ยอมให้พูดข้างบน แล้วพอพูดข้างหลังก็บอกว่าพวกคุณ ไม่เหมาะสม ปฏิรูปทั้งทียังปฏิรูปหมก ๆ เหมือนเดิม แล้วจะให้ทำอย่างไรล่ะใช่ไหมครับ ก็ทุกคนอยากเห็นว่าตัวแทนแต่ละด้านเข้ามาเพื่อกระจาย เมื่อท่านบอกว่าแต่ละด้านจะไป เลือกแล้วมาเสนอไม่ได้ก็ต้องมาแบบนี้ มาแบบนี้ทุกคนก็ต้องคุยกัน แน่นอนอย่างไรผมก็เลือก แต่ละด้าน ถึงท่านจะเอาอย่างที่ท่านได้โหวตแพ้ก็ไม่เป็นไรผมก็ยังจะเลือกแต่ละด้านของผม แล้วผมก็พูดอย่างเปิดเผย ด้านไหนอยากให้ผมเลือกใครบอกมาผมจะเลือกให้ ผมไม่หมก ใต้โต๊ะ แล้วถ้าผมกระซิบว่าด้านผมจะเลือกใครก็อย่าลืมเลือกด้วยก็แล้วกัน เพราะว่าเขา ไม่ยอมให้เราทำตรง ๆ เขาอยากให้เราออกกำลังบ้าง เพราะฉะนั้นเราก็ต้องออกกำลังกันบ้าง เพราะฉะนั้นแต่ละด้านก็คุย ๆ กันก็แล้วกัน ด้านท่านต้องการใคร ด้านเราต้องการใคร ส่งไลน์ (Line) บอกกันก็ได้เรามีกรุ๊ป (Group) ไลน์อยู่แล้ว ก็เลือกตามจิตวิญญาณของเรา ก็แล้วกัน ถึงคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) เขาไม่สนใจใยดีอยากจะ ฟังสิ่งที่เราต้องการโดยตรง เขียนอ้อม ๆ แอ้ม ๆ และในที่สุดก็คือต้องเลือกทุกคนเราก็ต้อง คุยกันเองจิตวิญญาณที่เราต้องการกระจายแต่ละกลุ่มเราก็ต้องรักษาไว้ แล้วเราก็คุยกันเองว่า แต่ละด้านต้องการใครบ้าง แล้วจากนั้นเราก็เลือกของเราไป เบี้ยวลายลักษณ์อักษรได้ แต่เบี้ยวจิตวิญญาณเราไม่ได้ ขอบคุณมากครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผมไม่ได้คัดค้านท่านประธานนะครับ แต่ผมไม่รู้จะไปฝน ๒๐ ช่องอย่างไรครับท่านประธาน ให้ใครช่วยผมหน่อยได้ไหมครับ อนุโลมได้สักคนไหมท่านประธาน
ขอบคุณมากครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ กรรมาธิการ ท่านประธานครับ บางเรื่องผมยกตัวอย่าง เป็นรูปธรรมเลย เดี๋ยวผมเสนอปฏิรูป พ.ร.บ. สลากกินแบ่งรัฐบาลเข้ามานะครับ ก็อาจจะมี ฝ่ายที่เห็นด้วยกับผมและไม่เห็นด้วย แต่เวลาชูมือมันชูเยอะมากครับท่านประธาน ก็ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย สลับกัน แล้วท่านประธานฟังไปสักระยะหนึ่ง มันชักซ้ำซากแล้วท่านประธานก็อาจจะบอกว่าให้ลงมติได้ แต่ถ้าไม่ให้สลับกันท่านประธาน บางทีเรียงกันตามลำดับยกมือ มีแต่ที่ฝ่ายเห็นด้วยยกเป็นแถวเลย ฟังแล้วมันก็ซ้ำ ซ้ำ ซ้ำ ส่วนฝ่ายไม่เห็นด้วยมันก็ยกเหมือนกันครับ แต่บังเอิญไปอยู่ท้าย ๆ มันก็เลยจะกลายเป็นว่า เราต้องฟังแต่เห็นด้วยไปเรื่อย แล้วก็ไม่เห็นด้วยอาจจะไม่มีโอกาสเลย เพราะฉะนั้นผมว่า ให้โอกาสทั้ง ๒ ฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยสลับกัน แล้วท่านประธานฟังเขาสักระยะหนึ่ง เห็นว่าพอสมควรแล้วก็ให้ยุติการอภิปรายได้แล้วก็ลงมตินะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าตรงนี้ น่าจะควรยังมีอยู่นะครับ เพื่อเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยได้มีโอกาส แสดงความคิดเห็นให้ในที่ประชุมได้ฟังกันอย่างทั่วถึง แล้วเมื่อท่านประธานเห็นว่าอภิปราย พอสมควรไม่จำเป็นต้องให้อภิปรายหมดทุกคนนะครับก็ให้หยุดแล้วก็ลงมติได้ ผมว่าจะเป็น ประโยชน์ มิฉะนั้นอาจจะต้องให้อภิปรายเกือบทุกคน แล้วมันอาจจะทำให้คนอื่นฟังแล้ว เอ๊ะ มันก็ซ้ำซากอยู่นั่นละ ฝ่ายไม่เห็นด้วยก็อยากพูดแต่ไม่มีโอกาสสักทีเพราะไปอยู่ข้างหลัง หรือยกมือทีหลัง ผมคิดว่ากติกาแบบนี้น่าจะเป็นประโยชน์ แล้วผมก็คิดว่าที่ประชุมก็อาจจะ คงไม่เข้มงวด ถ้าท่านประธานจะชี้ผิดพลาดไปบ้าง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย สลับกัน อาจจะ เผลอเข้าใจสลับก็คงไม่มีใครถึงกับลุกขึ้นมาว่าผิดข้อบังคับนะครับ ผมก็คิดว่ามันก็เป็นกติกา ที่จะให้เกิดความรู้สึกว่าทุกฝ่ายได้รับความเป็นธรรมในการแสดงความคิดเห็นระหว่างฝ่ายที่ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ผมอยากขอยืนยันให้มีอยู่เหมือนเดิมครับ ขอบคุณมากครับ ท่านประธานครับ
ครับ กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ครับ คือคณะผมจริง ๆ เดิมใช้แค่ ปฏิรูปสังคมครับ ทีนี้ก็ขอเพิ่ม กันมาเรื่อย ทางชุมชนก็บอกสำคัญมากนะครับต้องให้เน้นชุมชนด้วย ถ้าชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตัวเองได้ทุกอย่างก็จะดี เพราะฉะนั้นขอให้เน้นชุมชน อีกกลุ่มก็บอกเน้นสตรีด้วย ผมก็เลย ใส่ให้หมดเลยครับ ท่านประธานครับ ก็จริง ๆ เดิมปฏิรูปสังคมอย่างเดียวนะครับ แต่เมื่อทุกท่านเห็นว่าของท่านก็สำคัญ คนโน้นก็บอกว่าสำคัญ ต้องใส่ ต้องใส่นะครับ ผมก็ไม่รู้ จะทำอย่างไรครับ ก็เลยต้องใส่ให้หมดครับ ท่านประธานครับ อันนี้ก็ขอความกรุณาแล้วกัน เมื่อท่านได้สตรีแล้วก็ให้ชุมชนเขาได้ด้วยแล้วกันนะครับ ก็คือให้ทุกท่านสบายใจ
เรื่องอุตสาหกรรมเหมือนกันครับ ท่านประธานครับ อุตสาหกรรมนี่อยู่ที่ เศรษฐกิจนะครับ เขาเตรียมพร้อมไว้หมดแล้วครับว่าให้มันสอดรับกัน เพราะฉะนั้น ตอนแรกก็ขอเกษตรอย่างเดียว อีกฝั่งหนึ่งก็บอกว่าไม่ได้ ถ้าเราทำเกษตรอย่างเดียว เราก็พูดถึงแต่ต้นน้ำ เราต้องเน้นปลายน้ำให้ได้ด้วย เพราะฉะนั้นก็ต้องเอา อุตสาหกรรมเกษตรมาใส่นะครับ ทางอุตสาหกรรมก็เจรจากันไปเจรจากันมาครับ อุตสาหกรรมบอกเอา เอาแต่อุตสาหกรรมเกษตรไปก็ไม่ว่ากันนะครับ แต่เอาอุตสาหกรรมไป ไม่ได้ครับ เพราะเขาเตรียมไว้ที่เศรษฐกิจแล้วครับ เพราะเขาบอกเขาแพค (Pack) กันเป็นทีม แม้แต่ท่องเที่ยวครับ เขาก็บอกไปใส่กีฬาไม่ได้ ต้องไปอยู่ที่นั่น เขาแพคกันเป็นทีม เขาเตรียมทีมเขาไว้แล้วนะครับ เขาอยากให้เศรษฐกิจมันบูรณาการเป็นเอกภาพ ไม่อยากให้ เป็นชิ้น เป็นชิ้น เป็นชิ้น หลุด หลุด หลุด ไปอยู่แถวนั้น กว่าจะเจรจาเกษตรอุตสาหกรรมได้นี่ นานเลยนะครับ กว่าทางเศรษฐกิจจะยอมปล่อยมาหน่อยหนึ่งนะครับ อันนี้ก็ขอความเห็นใจ หน่อยแล้วกันนะครับว่าเราก็พยายามประสานทุกกลุ่มให้ได้ แต่เราก็พยายามที่จะให้มันเป็น เอกภาพมากที่สุด แล้วก็พยายามเจรจากันให้มาลงตัว ก็หวังว่าทุกท่านจะเห็นใจด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ ท่านประธานครับ
ครับ แต่ผมขอประเด็นนี้ได้ไหมครับ
ครับ แต่ผมขอประเด็นนี้ได้ไหมครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผมสั้น ๆ นะครับ ผมเห็นด้วยกับท่านประธานทุกกรณีนะครับ เพียงแต่วันจันทร์ วันอังคารนี้ใครขยัน ก็ขอประชุมได้ตั้งแต่ ๘ โมงถึง ๑๐ โมงนะครับท่านประธาน เพราะเมื่อวานนี้ชุดผมก็ประชุม ๘ โมงถึง ๑๐ โมง ก็ ๒ ชั่วโมง แล้วก็มาประชุมที่นี่ต่อ เพราะว่าในระหว่าง ๙ โมงครึ่ง ถึง ๑๐ โมงก็ได้นี่ครับ ก็ขอหารือนะครับ เพราะฉะนั้นผมก็ยังยืนกับท่านประธานนะครับ แล้วก็ใครอยากจะประชุมวันจันทร์ วันอังคาร ผมขอความกรุณาก็คือเริ่มแปดโมงเช้า แล้วก็มาจบที่ ๑๐ โมง เพียงแต่ ๑๐ โมงขอให้เป็นการเปิดประชุมอย่างเป็นทางการนะครับ ๙ โมงครึ่งถึง ๑๐ โมงก็เป็นการหารือ ซึ่งผมว่าหลายชุดก็ทำอยู่แล้ว ซึ่งก็จะไม่กระทบกับ การประชุมของสภาเลย แล้วผมก็ไม่เห็นด้วยว่าเราจะต้องเลื่อนไปประชุมบ่ายนะครับ ท่านประธานครับ ผมว่าปฏิบัติอย่างที่เป็นอยู่นี้ก็ดีแล้วครับ ใครติดขัดเรื่องวันจันทร์ วันอังคาร ก็เริ่ม ๐๘.๐๐-๑๐.๐๐ นาฬิกา ๒ ชั่วโมงก็ได้เนื้อหาพอสมควรครับ แล้วถ้าวันจันทร์ วันอังคาร ๔ ชั่วโมง ผมว่ามากพอสมควรนะครับ นอกนั้นก็ควรจะไปประชุม เวลาอื่นครับ ก็ควรจะไปวันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ อย่าลืมนะครับ ถ้าเราบอกว่าเราจะ ทำงานแค่ ๒ วัน ผมว่ามันไม่มีเหตุผลครับท่านประธานครับ เพราะเรากินเงินเดือน เป็นแสนนะครับ ผมว่าอย่าเอาเหตุผลว่าอยู่ต่างจังหวัด แล้วก็ขอประชุมที่นี่ ๒ วัน ๓ วัน ผมไม่เห็นด้วยครับ ผมว่าเราควรจะเอาเนื้องานแล้วแบบอย่างที่ดีให้คนอื่นเขาเคารพ ดีกว่าครับท่านประธานครับ ขอบคุณมากครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผมสั้น ๆ นะครับ ผมเห็นด้วยกับท่านประธานทุกกรณีนะครับ เพียงแต่วันจันทร์ วันอังคารนี้ใครขยัน ก็ขอประชุมได้ตั้งแต่ ๘ โมงถึง ๑๐ โมงนะครับท่านประธาน เพราะเมื่อวานนี้ชุดผมก็ประชุม ๘ โมงถึง ๑๐ โมง ก็ ๒ ชั่วโมง แล้วก็มาประชุมที่นี่ต่อ เพราะว่าในระหว่าง ๙ โมงครึ่ง ถึง ๑๐ โมงก็ได้นี่ครับ ก็ขอหารือนะครับ เพราะฉะนั้นผมก็ยังยืนกับท่านประธานนะครับ แล้วก็ใครอยากจะประชุมวันจันทร์ วันอังคาร ผมขอความกรุณาก็คือเริ่มแปดโมงเช้า แล้วก็มาจบที่ ๑๐ โมง เพียงแต่ ๑๐ โมงขอให้เป็นการเปิดประชุมอย่างเป็นทางการนะครับ ๙ โมงครึ่งถึง ๑๐ โมงก็เป็นการหารือ ซึ่งผมว่าหลายชุดก็ทำอยู่แล้ว ซึ่งก็จะไม่กระทบกับ การประชุมของสภาเลย แล้วผมก็ไม่เห็นด้วยว่าเราจะต้องเลื่อนไปประชุมบ่ายนะครับ ท่านประธานครับ ผมว่าปฏิบัติอย่างที่เป็นอยู่นี้ก็ดีแล้วครับ ใครติดขัดเรื่องวันจันทร์ วันอังคาร ก็เริ่ม ๐๘.๐๐-๑๐.๐๐ นาฬิกา ๒ ชั่วโมงก็ได้เนื้อหาพอสมควรครับ แล้วถ้าวันจันทร์ วันอังคาร ๔ ชั่วโมง ผมว่ามากพอสมควรนะครับ นอกนั้นก็ควรจะไปประชุม เวลาอื่นครับ ก็ควรจะไปวันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ อย่าลืมนะครับ ถ้าเราบอกว่าเราจะ ทำงานแค่ ๒ วัน ผมว่ามันไม่มีเหตุผลครับท่านประธานครับ เพราะเรากินเงินเดือน เป็นแสนนะครับ ผมว่าอย่าเอาเหตุผลว่าอยู่ต่างจังหวัด แล้วก็ขอประชุมที่นี่ ๒ วัน ๓ วัน ผมไม่เห็นด้วยครับ ผมว่าเราควรจะเอาเนื้องานแล้วแบบอย่างที่ดีให้คนอื่นเขาเคารพ ดีกว่าครับท่านประธานครับ ขอบคุณมากครับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ผมคิดว่าก็สามารถดำเนินการพิจารณาอย่างที่เราเคยปฏิบัติ มาได้นะครับท่านประธานครับ ผมก็เห็นว่าน่าจะดำเนินการได้เลยไม่จำเป็นต้องเลื่อนไป พิจารณา เพราะว่าเรื่องราวเหล่านี้มีพูดกันเยอะมาก ไม่ใช่เฉพาะที่นี่ ที่อื่นผมเชื่อว่าพวกเรา หลายคนก็คงติดตามนะครับ แล้วเราก็เพียงแต่มาพูดคุยกันให้มีข้อมูล แล้วก็เหมือนที่ เคยทำครับท่านประธาน ก็ตามที่คณะกรรมาธิการเสนอบวกความเห็นของพวกเรา แล้วก็เสนอไปนะครับ แล้วก็เป็นดุลยพินิจของฝ่ายบริหาร และผมคิดว่าเราก็ไม่จำเป็นต้องไป ยึดมั่นถือมั่นว่าต้องให้ฝ่ายบริหารทำหนังสือมานะครับ ลอยทางอากาศมาก็รับลูกได้นะครับ ท่านประธาน ผมคิดว่าการทำงานมันต้องการความรวดเร็ว ไม่ต้องคิดถึงเรื่องพิธีการ ถ้าเราเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญอย่างที่ท่านประธานคิด เราก็ควรจะมาถกแล้วก็มีความเห็น ก็ผ่านไป ผู้ตัดสินใจก็ไปพิจารณาแล้วก็ชี้ขาดไป เพราะผู้ตัดสินใจก็ต้องรับผิดชอบเองอยู่แล้ว ขอบคุณมากครับท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ผมคิดว่าก็สามารถดำเนินการพิจารณาอย่างที่เราเคยปฏิบัติ มาได้นะครับท่านประธานครับ ผมก็เห็นว่าน่าจะดำเนินการได้เลยไม่จำเป็นต้องเลื่อนไป พิจารณา เพราะว่าเรื่องราวเหล่านี้มีพูดกันเยอะมาก ไม่ใช่เฉพาะที่นี่ ที่อื่นผมเชื่อว่าพวกเรา หลายคนก็คงติดตามนะครับ แล้วเราก็เพียงแต่มาพูดคุยกันให้มีข้อมูล แล้วก็เหมือนที่ เคยทำครับท่านประธาน ก็ตามที่คณะกรรมาธิการเสนอบวกความเห็นของพวกเรา แล้วก็เสนอไปนะครับ แล้วก็เป็นดุลยพินิจของฝ่ายบริหาร และผมคิดว่าเราก็ไม่จำเป็นต้องไป ยึดมั่นถือมั่นว่าต้องให้ฝ่ายบริหารทำหนังสือมานะครับ ลอยทางอากาศมาก็รับลูกได้นะครับ ท่านประธาน ผมคิดว่าการทำงานมันต้องการความรวดเร็ว ไม่ต้องคิดถึงเรื่องพิธีการ ถ้าเราเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญอย่างที่ท่านประธานคิด เราก็ควรจะมาถกแล้วก็มีความเห็น ก็ผ่านไป ผู้ตัดสินใจก็ไปพิจารณาแล้วก็ชี้ขาดไป เพราะผู้ตัดสินใจก็ต้องรับผิดชอบเองอยู่แล้ว ขอบคุณมากครับท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นะครับ จริง ๆ เรื่องนี้ผมก็ศึกษาจากวิทยานิพนธ์ที่นักศึกษาทำให้ผม เกี่ยวกับเรื่องภาษีนะครับ ผมพบว่าเรื่องการซิกแซกเรื่องภาษีนี่ในระบบสัมปทานมีปัญหา แน่นอนนะครับ ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ ท่านประธานครับ เช่น เขาเอาเครื่องจักรที่เขา ลดหย่อนภาษีเสร็จเรียบร้อยแล้วในประเทศเขาเหลือศูนย์ เขาก็ขายผ่านหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งมาที่ประเทศเราด้วยเงินเยอะ ๆ เขาก็หักค่าเสื่อมได้ใหม่ นั่นก็หมายความว่า เครื่องจักรเดียวหักค่าเสื่อมได้ซ้ำซ้อนซ้ำซาก อันนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งเราไม่สามารถ ตรวจจับได้นะครับ เพราะฉะนั้นระบบสัมปทานท่านประธานอย่าลืมนะครับ เราจะเก็บภาษี ต่อเมื่อหักค่าใช้จ่าย หักค่าเสื่อมทุกอย่างเรียบร้อยแล้วนะครับ ซึ่งเราก็รู้ดีระบบข้ามชาติเขามี กลยุทธ์ในเรื่องเหล่านี้นะครับ เพราะฉะนั้นถึงเราจะพยายามตรวจสอบอย่างไรก็ไม่ใช่ เรื่องง่ายนะครับ ถึงสรรพากรจะทุ่มเทอย่างไรก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ ในการที่จะตรวจสอบ การซิกแซกเรื่องภาษี ไม่ว่าระบบกู้เงินผ่านดอกเบี้ยที่ได้มีการพูดถึงมาแล้ว อันนี้คือจุดอ่อน ของระบบสัมปทานนะท่านประธาน เพราะว่าผู้ลงทุนเขาสามารถซิกแซกพวกนี้ได้นะครับ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้วเราก็ได้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ก็ ๕๐ เปอร์เซ็นต์นี่มันหลังจากกำไรสุทธิ คือหักหมดแล้วเราจึงได้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ที่เราได้แน่นอนก็คือค่าภาคหลวง อันนี้คือ จุดอ่อนของระบบให้สัมปทาน แต่จุดแข็งของระบบให้สัมปทานก็คือว่าผู้ที่ต้องการลงทุนนี่ เขาต้องการระบบนี้เพราะความเสี่ยงมันน้อย ความเสี่ยงมันน้อยเพราะอะไรครับ ท่านประธานครับ เพราะว่าเขาสามารถหักค่าใช้จ่ายอะไรหมดเรียบร้อยแล้วก็มีกำไรจึงจะเอามา แบ่งให้เรา ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่มีกำไรก็ไม่ต้องแบ่ง ก็จบ ก็เสียค่าภาคหลวงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าถ้าเราเปิดช่วงนี้ให้คนมาใช้ระบบไหน ผมเชื่อเลยถ้าระบบ แบ่งปันผลประโยชน์ในช่วงนี้คนก็ไม่อยาก ถ้าอยากมาก็อำนาจต่อรองสูงมากนะครับ เช่น อาจจะให้เราแค่ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ๑๕ หรือ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะว่าราคาพลังงาน มันอยู่ในช่วงขาลงนะครับ พลังงานในช่วงขาลงนี่การแบ่งปันผลผลิต อำนาจต่อรองของ ภาครัฐจะด้อยลงเพราะว่าอะไรครับ เพราะว่าคนที่มาลงทุนมันมีความเสี่ยงสูง ไฮ ริส์ก (High risk) ต้องไฮ รีเทิร์น (High return) นะครับเขาก็ต้องโก่ง เราไม่ยอมก็คือไม่มีอะไร เกิดขึ้นนะครับ เพราะฉะนั้น ๒ ระบบนี้มันอยู่ช่วงจังหวะเวลาด้วย ถ้าถามว่าถ้าคุณอยากจะทำ ช่วงนี้แบ่งปันผลประโยชน์ อำนาจต่อรองนี่เราจะแย่นะครับ แต่สัมปทานมันไม่ต้องนะครับ มันก็ไปได้ แต่ถามว่าผมเฟเวอร์ (Favour) อะไร ผมเฟเวอร์แบ่งปันผลผลิต เพราะว่าผมชอบ ระบบแบ่งปันผลผลิตเพราะอะไร เพราะว่าของเราเป็นหลักประกันว่าเราได้ส่วนแบ่งตามที่ เราต้องการแน่นอนชัดเจนนะครับ เช่นสมมุติว่าออกมา ๒๐ เปอร์เซ็นต์ เราก็ได้ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ขึ้นลงนี่ถ้าน้ำมันขึ้นสูงหรือก๊าซขึ้นสูงเราก็ได้เยอะนะครับ ลงต่ำเราก็ได้น้อย แต่อย่างไร ๆ ถ้ามันสูงกว่าสัมปทานนี่เราก็ได้มากกว่าสัมปทานแน่นอนนะครับ ถ้าสูงกว่า สัมปทานนะครับท่านประธาน เราได้มากกว่าสัมปทานแน่นอนเลย แต่ระบบสัมปทานนี่เราอาจจะได้แค่ค่าภาคหลวงเท่านั้น ขออภัย ผมหมายถึงค่าภาคหลวง คือถ้าระบบแบ่งปันผลผลิตนี่อย่างไรเราก็ต้องขอมากกว่าค่าภาคหลวง อย่างไร เราก็ต้องได้มากกว่าค่าภาคหลวงแน่นอน แต่ระบบสัมปทานไม่แน่ เราอาจจะได้แค่ ค่าภาคหลวงอย่างเดียว ถ้าการลงทุนสูงแล้วผลผลิตที่ออกมามันน้อย หรือราคาที่มันถูก แบบนี้ เพราะฉะนั้นถ้าในทางภาครัฐนี่อย่างไรระบบแบ่งปันผลผลิตมันให้ประโยชน์มากกว่า มันมีหลักประกันมากกว่าที่เราจะได้ผลประโยชน์แล้วมันยืดหยุ่น น้ำมันขึ้นเราก็ได้มาก น้ำมันลงเราก็ได้น้อย แต่ระบบสัมปทานนี่ไม่แน่นะครับ เพราะมันอยู่ที่การยัดค่าใช้จ่ายเข้ามา ได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเรายอมรับได้แค่ไหน อันนี้ผมว่าจุดใหญ่อยู่ตรงนี้ครับท่านประธาน ก็คือเรื่องผลประโยชน์ที่รัฐจะได้ แต่ช่วงนี้อาจจะจังหวะไม่เหมาะในเรื่องแบ่งปันผลผลิต ก็ใช้เวลายกร่างกฎหมายปีหนึ่งผมว่าก็น่าจะเสร็จนะครับ แล้วผมว่าเราใช้ ปตท.สผ. ไปช่วย คุมดูให้แทนได้ เพราะรู้อยู่แล้วขุดเจาะอย่างไร ได้ปริมาณเท่าไร ผมไม่ติดใจเรื่องว่าจะต้อง เสียเวลาไปตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติอะไรผมว่าไม่จำเป็น ผมว่ามันจำเป็นอยู่ตรงผลประโยชน์ กับความเสี่ยงแล้วก็ในช่วงเวลาเท่านั้นเอง แต่ถ้าช่วงเวลานี้ไม่เหมาะแบ่งปันผลผลิต เราเสียเวลาอีกหน่อย น้ำมันดีขึ้น แบ่งปันผลผลิตเราก็อาจจะต่อรองได้ดีขึ้น อันนี้ผมก็ฝาก เป็นข้อคิดเอาไว้ครับ ขอบคุณมากครับท่านประธาน
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นะครับ จริง ๆ เรื่องนี้ผมก็ศึกษาจากวิทยานิพนธ์ที่นักศึกษาทำให้ผม เกี่ยวกับเรื่องภาษีนะครับ ผมพบว่าเรื่องการซิกแซกเรื่องภาษีนี่ในระบบสัมปทานมีปัญหา แน่นอนนะครับ ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ ท่านประธานครับ เช่น เขาเอาเครื่องจักรที่เขา ลดหย่อนภาษีเสร็จเรียบร้อยแล้วในประเทศเขาเหลือศูนย์ เขาก็ขายผ่านหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งมาที่ประเทศเราด้วยเงินเยอะ ๆ เขาก็หักค่าเสื่อมได้ใหม่ นั่นก็หมายความว่า เครื่องจักรเดียวหักค่าเสื่อมได้ซ้ำซ้อนซ้ำซาก อันนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งเราไม่สามารถ ตรวจจับได้นะครับ เพราะฉะนั้นระบบสัมปทานท่านประธานอย่าลืมนะครับ เราจะเก็บภาษี ต่อเมื่อหักค่าใช้จ่าย หักค่าเสื่อมทุกอย่างเรียบร้อยแล้วนะครับ ซึ่งเราก็รู้ดีระบบข้ามชาติเขามี กลยุทธ์ในเรื่องเหล่านี้นะครับ เพราะฉะนั้นถึงเราจะพยายามตรวจสอบอย่างไรก็ไม่ใช่ เรื่องง่ายนะครับ ถึงสรรพากรจะทุ่มเทอย่างไรก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ ในการที่จะตรวจสอบ การซิกแซกเรื่องภาษี ไม่ว่าระบบกู้เงินผ่านดอกเบี้ยที่ได้มีการพูดถึงมาแล้ว อันนี้คือจุดอ่อน ของระบบสัมปทานนะท่านประธาน เพราะว่าผู้ลงทุนเขาสามารถซิกแซกพวกนี้ได้นะครับ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้วเราก็ได้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ก็ ๕๐ เปอร์เซ็นต์นี่มันหลังจากกำไรสุทธิ คือหักหมดแล้วเราจึงได้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ที่เราได้แน่นอนก็คือค่าภาคหลวง อันนี้คือ จุดอ่อนของระบบให้สัมปทาน แต่จุดแข็งของระบบให้สัมปทานก็คือว่าผู้ที่ต้องการลงทุนนี่ เขาต้องการระบบนี้เพราะความเสี่ยงมันน้อย ความเสี่ยงมันน้อยเพราะอะไรครับ ท่านประธานครับ เพราะว่าเขาสามารถหักค่าใช้จ่ายอะไรหมดเรียบร้อยแล้วก็มีกำไรจึงจะเอามา แบ่งให้เรา ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่มีกำไรก็ไม่ต้องแบ่ง ก็จบ ก็เสียค่าภาคหลวงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าถ้าเราเปิดช่วงนี้ให้คนมาใช้ระบบไหน ผมเชื่อเลยถ้าระบบ แบ่งปันผลประโยชน์ในช่วงนี้คนก็ไม่อยาก ถ้าอยากมาก็อำนาจต่อรองสูงมากนะครับ เช่น อาจจะให้เราแค่ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ๑๕ หรือ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะว่าราคาพลังงาน มันอยู่ในช่วงขาลงนะครับ พลังงานในช่วงขาลงนี่การแบ่งปันผลผลิต อำนาจต่อรองของ ภาครัฐจะด้อยลงเพราะว่าอะไรครับ เพราะว่าคนที่มาลงทุนมันมีความเสี่ยงสูง ไฮ ริส์ก (High risk) ต้องไฮ รีเทิร์น (High return) นะครับเขาก็ต้องโก่ง เราไม่ยอมก็คือไม่มีอะไร เกิดขึ้นนะครับ เพราะฉะนั้น ๒ ระบบนี้มันอยู่ช่วงจังหวะเวลาด้วย ถ้าถามว่าถ้าคุณอยากจะทำ ช่วงนี้แบ่งปันผลประโยชน์ อำนาจต่อรองนี่เราจะแย่นะครับ แต่สัมปทานมันไม่ต้องนะครับ มันก็ไปได้ แต่ถามว่าผมเฟเวอร์ (Favour) อะไร ผมเฟเวอร์แบ่งปันผลผลิต เพราะว่าผมชอบ ระบบแบ่งปันผลผลิตเพราะอะไร เพราะว่าของเราเป็นหลักประกันว่าเราได้ส่วนแบ่งตามที่ เราต้องการแน่นอนชัดเจนนะครับ เช่นสมมุติว่าออกมา ๒๐ เปอร์เซ็นต์ เราก็ได้ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ขึ้นลงนี่ถ้าน้ำมันขึ้นสูงหรือก๊าซขึ้นสูงเราก็ได้เยอะนะครับ ลงต่ำเราก็ได้น้อย แต่อย่างไร ๆ ถ้ามันสูงกว่าสัมปทานนี่เราก็ได้มากกว่าสัมปทานแน่นอนนะครับ ถ้าสูงกว่า สัมปทานนะครับท่านประธาน เราได้มากกว่าสัมปทานแน่นอนเลย แต่ระบบสัมปทานนี่เราอาจจะได้แค่ค่าภาคหลวงเท่านั้น ขออภัย ผมหมายถึงค่าภาคหลวง คือถ้าระบบแบ่งปันผลผลิตนี่อย่างไรเราก็ต้องขอมากกว่าค่าภาคหลวง อย่างไร เราก็ต้องได้มากกว่าค่าภาคหลวงแน่นอน แต่ระบบสัมปทานไม่แน่ เราอาจจะได้แค่ ค่าภาคหลวงอย่างเดียว ถ้าการลงทุนสูงแล้วผลผลิตที่ออกมามันน้อย หรือราคาที่มันถูก แบบนี้ เพราะฉะนั้นถ้าในทางภาครัฐนี่อย่างไรระบบแบ่งปันผลผลิตมันให้ประโยชน์มากกว่า มันมีหลักประกันมากกว่าที่เราจะได้ผลประโยชน์แล้วมันยืดหยุ่น น้ำมันขึ้นเราก็ได้มาก น้ำมันลงเราก็ได้น้อย แต่ระบบสัมปทานนี่ไม่แน่นะครับ เพราะมันอยู่ที่การยัดค่าใช้จ่ายเข้ามา ได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเรายอมรับได้แค่ไหน อันนี้ผมว่าจุดใหญ่อยู่ตรงนี้ครับท่านประธาน ก็คือเรื่องผลประโยชน์ที่รัฐจะได้ แต่ช่วงนี้อาจจะจังหวะไม่เหมาะในเรื่องแบ่งปันผลผลิต ก็ใช้เวลายกร่างกฎหมายปีหนึ่งผมว่าก็น่าจะเสร็จนะครับ แล้วผมว่าเราใช้ ปตท.สผ. ไปช่วย คุมดูให้แทนได้ เพราะรู้อยู่แล้วขุดเจาะอย่างไร ได้ปริมาณเท่าไร ผมไม่ติดใจเรื่องว่าจะต้อง เสียเวลาไปตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติอะไรผมว่าไม่จำเป็น ผมว่ามันจำเป็นอยู่ตรงผลประโยชน์ กับความเสี่ยงแล้วก็ในช่วงเวลาเท่านั้นเอง แต่ถ้าช่วงเวลานี้ไม่เหมาะแบ่งปันผลผลิต เราเสียเวลาอีกหน่อย น้ำมันดีขึ้น แบ่งปันผลผลิตเราก็อาจจะต่อรองได้ดีขึ้น อันนี้ผมก็ฝาก เป็นข้อคิดเอาไว้ครับ ขอบคุณมากครับท่านประธาน
ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ สมมุติผมเห็นด้วยกับ ทางเลือกที่ ๔ ผมจะโหวตอย่างไรครับท่านประธาน
ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ สมมุติผมเห็นด้วยกับ ทางเลือกที่ ๔ ผมจะโหวตอย่างไรครับท่านประธาน
แล้วผมจะโหวตอย่างไรครับ ผมอยากเสนอแค่ ทางเลือกที่ ๔ ทางเดียว ผมจะโหวตอย่างไรครับ
แล้วผมจะโหวตอย่างไรครับ ผมอยากเสนอแค่ ทางเลือกที่ ๔ ทางเดียว ผมจะโหวตอย่างไรครับ
ถ้าเช่นนั้นผมเสนอญัตติเลยครับ ผมเสนอ ญัตติว่าขอให้เสนอทุกฉบับไปพร้อมกันหมดทีเดียว ไม่ต้องแยก ๔ ครั้งครับ ถ้าใครเห็นด้วย รับรองด้วยครับ
ถ้าเช่นนั้นผมเสนอญัตติเลยครับ ผมเสนอ ญัตติว่าขอให้เสนอทุกฉบับไปพร้อมกันหมดทีเดียว ไม่ต้องแยก ๔ ครั้งครับ ถ้าใครเห็นด้วย รับรองด้วยครับ
ผมเสนอทั้งก้อนหมดเลยครับท่านประธาน ญัตติเดียวว่า ผมขอเสนอญัตตินะครับ คือเสนอทั้งของกรรมาธิการเสียงข้างมาก เสียงข้างน้อย ทางเลือกสารพัดทางเลือกผมส่งไปก้อนเดียวเลย
ผมเสนอทั้งก้อนหมดเลยครับท่านประธาน ญัตติเดียวว่า ผมขอเสนอญัตตินะครับ คือเสนอทั้งของกรรมาธิการเสียงข้างมาก เสียงข้างน้อย ทางเลือกสารพัดทางเลือกผมส่งไปก้อนเดียวเลย
ท่านประธาน อย่างที่ผมว่าผมจะเอาทางเลือกที่ ๔ ตามท่านอลงกรณ์ ผมจะโหวตอย่างไร
ท่านประธาน อย่างที่ผมว่าผมจะเอาทางเลือกที่ ๔ ตามท่านอลงกรณ์ ผมจะโหวตอย่างไร
ท่านให้รับรองหรือยังครับ ผมยังไม่ได้ยินว่า ท่านประธานว่าให้รับรองญัตติผมหรือเปล่าเลย
ท่านให้รับรองหรือยังครับ ผมยังไม่ได้ยินว่า ท่านประธานว่าให้รับรองญัตติผมหรือเปล่าเลย
ขอให้ท่านถามอีกสักครั้งได้ไหมครับ ถ้ายกแค่ ๒ คน ผมก็ยินดีลงครับ ช่วยถามหน่อยครับ ถ้าเสนอทั้งก้อนไปเลยพร้อมกันหมดทุกเรื่อง ครั้งเดียว ถ้าใครเห็นด้วยกับผมช่วยรับรองด้วยครับ
ขอให้ท่านถามอีกสักครั้งได้ไหมครับ ถ้ายกแค่ ๒ คน ผมก็ยินดีลงครับ ช่วยถามหน่อยครับ ถ้าเสนอทั้งก้อนไปเลยพร้อมกันหมดทุกเรื่อง ครั้งเดียว ถ้าใครเห็นด้วยกับผมช่วยรับรองด้วยครับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ขอต่อเนื่องได้ไหมครับท่านประธาน
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ขอต่อเนื่องได้ไหมครับท่านประธาน
คือถ้าจะมีลงรายละเอียดนะครับท่านประธาน ผมขอเสนอญัตติของคุณศิรินาครับ ก็คือว่ามันมีกี่โมเดล (Model) แล้วก็แต่ละโมเดลนั้นจะใช้ เสียงเท่าไร ๆ แล้วก็แรงกิงไปให้ดู เพราะว่าเราเสนอรายงานภาพรวมทั้งหมดใช่ไหมครับ ท่านประธาน แต่ถ้าเราต้องการแรงกิงก็เป็นโมเดลกี่โมเดลก็เรียงไป แล้วเราก็แรงกิงไปเลยว่า โมเดลนี้กี่เสียง โมเดลนี้กี่เสียง เหมือนคุณศิรินาเสนอไว้แต่เดิมครับ ถ้าจะให้ตัดสินใจว่า จะเลือกรูปแบบไหนนะครับ ผมขอให้ตัดสินใจลงในรายละเอียดครับท่านประธาน แล้วก็ใส่ เข้าไปเลยว่าแต่ละรูปแบบนั้นใครเห็นด้วยกี่เสียง ผมก็ขอเสนอญัตตินี้เป็นอีกญัตติหนึ่งครับ
คือถ้าจะมีลงรายละเอียดนะครับท่านประธาน ผมขอเสนอญัตติของคุณศิรินาครับ ก็คือว่ามันมีกี่โมเดล (Model) แล้วก็แต่ละโมเดลนั้นจะใช้ เสียงเท่าไร ๆ แล้วก็แรงกิงไปให้ดู เพราะว่าเราเสนอรายงานภาพรวมทั้งหมดใช่ไหมครับ ท่านประธาน แต่ถ้าเราต้องการแรงกิงก็เป็นโมเดลกี่โมเดลก็เรียงไป แล้วเราก็แรงกิงไปเลยว่า โมเดลนี้กี่เสียง โมเดลนี้กี่เสียง เหมือนคุณศิรินาเสนอไว้แต่เดิมครับ ถ้าจะให้ตัดสินใจว่า จะเลือกรูปแบบไหนนะครับ ผมขอให้ตัดสินใจลงในรายละเอียดครับท่านประธาน แล้วก็ใส่ เข้าไปเลยว่าแต่ละรูปแบบนั้นใครเห็นด้วยกี่เสียง ผมก็ขอเสนอญัตตินี้เป็นอีกญัตติหนึ่งครับ