เรียนท่านสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่เคารพ กระผม นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ขณะนี้มีสมาชิก ลงชื่อมาประชุมจำนวน ๒๒๕ ท่าน เป็นองค์ประชุมได้แล้ว ตามข้อบังคับ ข้อ ๒๐ วรรคสองครับ ผมขออนุญาตกราบเรียนว่าเนื่องจากมีภารกิจเร่งด่วนนะครับ ประกอบกับได้มีรายงาน ของคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ได้เสนอรายงานต่อสภาปฏิรูป แห่งชาติ ผมจึงได้ขออนุญาตมีหนังสือเชิญท่านสมาชิกมาประชุมเป็นครั้งที่ ๒ นะครับ ครั้งนี้ เป็นการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๗ วันจันทร์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ นะครับ ก่อนที่จะ ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม ผมขออนุญาตเรียนต่อที่ประชุมว่า เนื่องจากยังไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาปฏิรูป แห่งชาติ ผมจึงต้องขออนุญาตดำเนินการโดยเชิญผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดนะครับ คือขออนุญาต เรียนเชิญท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ขึ้นมาทำหน้าที่เป็นประธานชั่วคราว เพื่อดำเนินการเลือกประธานเฉพาะคราวนะครับ ผมขออนุญาตให้ท่านรองเลขาธิการ ไปเรียนเชิญท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ขึ้นทำหน้าที่เป็นประธานชั่วคราวครับ
๑. นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด ๒. นายกาศพล แก้วประพาฬ ๓. นายกิตติ โกสินสกุล ๔. นางกัญญ์ฐญาณ์ ภู่สวาสดิ์ ๕. นายกงกฤช หิรัญกิจ ๖. นายกมล รอดคล้าย ๗. นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ๘. นางกอบแก้ว จันทร์ดี ๙. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ๑๐. นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ๑๑. นายกิตติภณ ทุ่งกลาง ๑๒. นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ๑๓. นางกูไซหม๊ะวันซาฟีหน๊ะ มนูญทวี ๑๔. นายเกริกไกร จีระแพทย์ ๑๕. นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง ๑๖. นายเกษมสันต์ จิณณวาโส ๑๗. นายโกเมศ แดงทองดี ๑๘. นายโกวิทย์ ทรงคุณ ๑๙. นายโกวิท ศรีไพโรจน์ ๒๐. นายไกรราศ แก้วดี
๒๑. นายไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ๒๒. นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์ ๒๓. พลตำรวจตรี ขจร สัยวัตร์ ๒๔. พลอากาศเอก ขวัญชัย เอี่ยมรักษา ๒๕. นายเขมทัต สุคนธสิงห์ ๒๖. นายเข็มชัย ชุติวงศ์ ๒๗. พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร ๒๘. นายคณิศร ขุริรัง ๒๙. นายคำนูณ สิทธิสมาน ๓๐. นายคุรุจิต นาครทรรพ ๓๑. นายจรัส สุทธิกุลบุตร ๓๒. นายจรัส สุวรรณมาลา ๓๓. พันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา ๓๔. นายจรูญ จึงยิ่งเรืองรุ่ง ๓๕. พลเอก จิระ โกมุทพงศ์ ๓๖. พลเอก จิรพันธ์ เกษมศานติ์สุข ๓๗. พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ ๓๘. ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ ๓๙. นายจีระรัตน์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ๔๐. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ๔๑. นางจุรี วิจิตรวาทการ ๔๒. นายจิรวัฒน์ เวียงด้าน ๔๓. นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์ ๔๔. นายจุมพล รอดคำดี ๔๕. นายจุมพล สุขมั่น ๔๖. นายเจน นำชัยศิริ ๔๗. นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ ๔๘. พลอากาศเอก เจษฎา วิจารณ์ ๔๙. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ๕๐. นายจำลอง โพธิ์สุข ๕๑. นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน ๕๒. นายเฉลิมพล ประทีปะวณิช ๕๓. นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ ๕๔. นางชัชนาถ เทพธรานนท์ ๕๕. นายชัย ชิดชอบ ๕๖. นายชัยพร ทองประเสริฐ ๕๗. นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ๕๘. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ๕๙. นายชาลี เจริญสุข ๖๐. นายชาลี เอียดสกุล ๖๑. นายชาลี ตั้งจีรวงษ์ ๖๒. พลเรือเอก ชาญชัย เจริญสุวรรณ ๖๓. นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ ๖๔. นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ ๖๕. นายชิตชัย จิวะตุวินันท์ ๖๖. นายชูชัย ศุภวงศ์ ๖๗. นายชูชาติ อินสว่าง ๖๘. พลเอก ชูศิลป์ คุณาไทย ๖๙. นายเชิดชัย วงศ์เสรี ๗๐. นายเชื้อ ฮั่นจินดา ๗๑. นายฐิติ วุฑฒิโกวิทย์ ๗๒. พลโท ฐิติวัจน์ กำลังเอก ๗๓. นางฑิฆัมพร กองสอน ๗๔. นายณรงค์ พุทธิชีวิน ๗๕. นายณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร ๗๖. นายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา ๗๗. นายดิเรก ถึงฝั่ง ๗๘. นายดำรงค์ พิเดช ๗๙. นายดุสิต เครืองาม ๘๐. นายดุสิต ลีลาภัทรพันธุ์ ๘๑. พลโท เดชา ปุญญบาล ๘๒. นายเดชฤทธิ์ ปัญจะมูล ๘๓. นางตรึงใจ บูรณสมภพ ๘๔. นางเตือนใจ สินธุวณิก ๘๕. นางถวิลวดี บุรีกุล ๘๖. นายถาวร เฉิดพันธุ์ ๘๗. นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ๘๘. นายทนงศักดิ์ ทวีทอง ๘๙. นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ ๙๐. นางสาวทัศนา บุญทอง ๙๑. นางทิชา ณ นคร ๙๒. นายทิวา การกระสัง ๙๓. นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ๙๔. นายเทียนชัย ปิ่นวิเศษ ๙๕. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
๙๖. พันเอก ธนศักดิ์ มิตรภานนท์ ๙๗. นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ๙๘. นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ๙๙. นายธวัช สุวุฒิกุล ๑๐๐. นายธวัชชัย ยงกิตติกุล ๑๐๑. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร ๑๐๒. นายธวัชชัย อุ่ยพานิช ๑๐๓. นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ ๑๐๔. นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ ๑๐๕. นายธำรง อัศวสุธีรกุล ๑๐๖. พลโท นคร สุขประเสริฐ ๑๐๗. นางนรีวรรณ จินตกานนท์ ๑๐๘. นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ ๑๐๙. พลโท นาวิน ดำริกาญจน์ ๑๑๐. นายนิฟาริด ระเด่นอาหมัด ๑๑๑. นายนิคม มากรุ่งแจ้ง ๑๑๒. นายนิพนธ์ คำพา ๑๑๓. นายนิพนธ์ นาคสมภพ ๑๑๔. นายนิมิต สิทธิไตรย์ ๑๑๕. นายนิรันดร์ พันทรกิจ ๑๑๖. นายนิอาแซ ซีอุเซ็ง ๑๑๗. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ๑๑๘. นายนำชัย กฤษณาสกุล ๑๑๙. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ๑๒๐. นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ ๑๒๑. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ๑๒๒. นายบุญถิ่น มั่นเกษวิทย์ ๑๒๓. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช ๑๒๔. นางเบญจวรรณ สร่างนิทร ๑๒๕. นายประชา เตรัตน์
“ประกาศสภาปฏิรูปแห่งชาติ
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
_______________
ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๓๒ กำหนดให้มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยกรรมาธิการจำนวนสามสิบหกคน ซึ่งประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติแต่งตั้งจากบุคคล ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเสนอเป็นประธานกรรมาธิการ ผู้ซึ่งสภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ จำนวนยี่สิบคน ผู้ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เสนอฝ่ายละห้าคน บัดนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีได้เสนอรายชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญครบถ้วนแล้ว จึงแต่งตั้งบุคคลที่แต่ละฝ่ายเสนอดังกล่าวเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย
๑. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
๒. นายกระแส ชนะวงศ์
๓. นายกฤต ไกรจิตติ
๔. นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์
๕. นายคำนูณ สิทธิสมาน
๖. นายจรัส สุวรรณมาลา
๗. นายจรูญ อินทจาร
๘. นายจุมพล สุขมั่น
๙. นายเจษฎ์ โทณะวณิก
๑๐. นายชูชัย ศุภวงศ์
๑๑. นายเชิดชัย วงศ์เสรี
๑๒. นายดิสทัต โหตระกิตย์
๑๓. นางถวิลวดี บุรีกุล
๑๔. นางทิชา ณ นคร
๑๕. พลโท นคร สุขประเสริฐ
๑๖. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
๑๗. นางนรีวรรณ จินตกานนท์
๑๘. พลโท นาวิน ดำริกาญจน์
๑๙. นายบรรเจิด สิงคะเนติ
๒๐. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
๒๑. นายปกรณ์ ปรียากร
๒๒. นายประชา เตรัตน์
๒๓. นายประสพสุข บุญเดช
๒๔. นายปรีชา วัชราภัย
๒๕. นายไพบูลย์ นิติตะวัน
๒๖. นายมานิจ สุขสมจิตร
๒๗. นายมีชัย วีระไวทยะ
๒๘. พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ
๒๙. พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช
๓๐. นายวิชัย ทิตตภักดี
๓๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์
๓๒. นายวุฒิสาร ตันไชย
๓๓. นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา
๓๔. นายสุจิต บุญบงการ
๓๖. นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์
จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
นายเทียนฉาย กีระนันทน์
ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ”
รายชื่อผู้สมัครกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ จำนวน ๑๐ ท่านนะครับ ๑. นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ๒. นายประสาร มฤคพิทักษ์ ๓. นายธวัช สุวุฒิกุล ๔. พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ๕. นางฑิฆัมพร กองสอน ๖. นายนิมิต สิทธิไตรย์ ๗. นายทิวา การกระสัง ๘. นางสาวรสนา โตสิตระกูล ๙. นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และ ๑๐. นายคณิศร ขุริรัง
คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ จำนวน ๒๙ ท่าน ๑. ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒. รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง ๓. เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๔. พลโท ฐิติวัจน์ กำลังเอก ๕. นางเบญจวรรณ สร่างนิทร ๖. นายวันชัย สอนศิริ ๗. นายพงศ์โพยม วาศภูติ ๘. นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร ๙. นายสมชัย ฤชุพันธุ์ ๑๐. นายเกริกไกร จีระแพทย์ ๑๑. นายอลงกรณ์ พลบุตร ๑๒. นายสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ๑๓. นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ ๑๔. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ๑๕. นายอำพล จินดาวัฒนะ ๑๖. นางพรรณี จารุสมบัติ ๑๗. พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป ๑๘. นายนิรันดร์ พันทรกิจ ๑๙. พลเรือเอก อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ ๒๐. นายเขมทัต สุคนธสิงห์ ๒๑. นายวิทยา กุลสมบูรณ์ ๒๒. พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ๒๓. นายประสาร มฤคพิทักษ์ ๒๔. นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ๒๕. นางฑิฆัมพร กองสอน ๒๖. นายนิมิต สิทธิไตรย์ ๒๗. นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล ๒๘. นางสาวรสนา โตสิตระกูล และ ๒๙. นายคณิศร ขุริรัง
“พระบรมราชโองการ
ประกาศ
แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
________________
(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่สภาปฏิรูปแห่งชาติได้ลงมติเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้เป็นประธานและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คือ
๑. นายเทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
๒. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่หนึ่ง
๓. นางสาวทัศนา บุญทอง เป็นรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่สอง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงแต่งตั้งให้ผู้มีนามดังกล่าวเป็นประธาน และรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาล ปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ”
“ร่าง
ข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ
พ.ศ. ....
____________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ วรรคสอง และมาตรา ๓๑ วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ สภาปฏิรูป แห่งชาติจึงตราข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติพ.ศ. ....”
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ มีมติให้ ประกาศใช้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ คำว่า
“ข้อบังคับ” หมายความว่า ข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. ....
“ประธานสภา” หมายความว่า ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
“รองประธานสภา” หมายความว่า รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
“สภา” หมายความว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติ
“ประธาน” หมายความว่า ประธานของที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ
“สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
“กรรมาธิการ” หมายความว่า กรรมาธิการสามัญหรือกรรมาธิการวิสามัญ
“ร่างพระราชบัญญัติ” หมายความรวมถึง ร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญด้วย
“บริเวณสภา” หมายความว่า อาณาบริเวณอันเป็นขอบเขตของสภาปฏิรูป แห่งชาติ และให้หมายความรวมถึงอาคารที่ทำการต่าง ๆ และอาคารที่ทำการสภาปฏิรูป แห่งชาติด้วย
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ
“การประชุม” หมายความว่า การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ
“รัฐธรรมนูญ” หมายความว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
ข้อ ๔ ให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติรักษาการตามข้อบังคับนี้ และมีอำนาจ ออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามข้อบังคับนี้
หมวด ๑ การเลือกประธานสภาและรองประธานสภา ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗
หมวด ๒
อำนาจและหน้าที่ของประธานสภา
รองประธานสภา และเลขาธิการ
__________
ข้อ ๑๐ ประธานสภามีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นประธานของที่ประชุมสภา
(๒) ควบคุมและดำเนินกิจการของสภา
(๓) ควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมสภาตลอดถึง บริเวณสภา
(๔) เป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก
(๕) แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการ ของสภา
(๖) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับนี้
ข้อ ๑๑ รองประธานสภามีอำนาจและหน้าที่ช่วยประธานสภาในกิจการ อันเป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานสภา หรือปฏิบัติการตามที่ประธานสภามอบหมาย
เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภา หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่สามารถ ปฏิบัติหน้าที่ได้ ในกรณีที่มีรองประธานสองคน ให้รองประธานคนที่หนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ประธานสภา ถ้ารองประธานสภาคนที่หนึ่งไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภาคนที่สองเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภา
ข้อ ๑๒ เลขาธิการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) นัดประชุมสภา และนัดประชุมคณะกรรมาธิการครั้งแรก
(๒) เชิญผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมสภาและที่ประชุม คณะกรรมาธิการเข้าปฏิบัติหน้าที่
(๓) ช่วยประธานในการควบคุมการนับคะแนนเสียง
(๔) จัดทำรายงานการประชุมและบันทึกการออกเสียงลงคะแนน
(๕) ยืนยันมติของสภาไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง
(๖) รักษาสรรพเอกสารและข้อมูลของสภา
(๗) ควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานสภากำหนดไว้
(๘) กำกับดูแลการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตาม กฎหมายและข้อบังคับอย่างมีประสิทธิภาพ
(๙) หน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
(๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามที่ประธานสภามอบหมาย
หมวด ๓
การประชุม
__________
ส่วนที่ ๑
วิธีการประชุม
__________
ข้อ ๑๓ การประชุมย่อมเป็นการเปิดเผย เว้นแต่ประธานสภา คณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา ร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ
การประชุมเปิดเผย ให้บุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุมได้ตามระเบียบ ที่ประธานสภากำหนด และประธานสภาต้องจัดให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมทาง เครื่องขยายเสียงและวิทยุโทรทัศน์วงจรปิดภายในบริเวณสภา โดยจัดให้มีล่ามภาษามือด้วย ส่วนการถ่ายทอดสดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโดยวิธีอื่น ที่ประชาชนทั่วไปสามารถรับได้อย่างทั่วถึง ให้เป็นไปตามที่ประธานสภากำหนด เว้นแต่ เมื่อมีการพิจารณาการปฏิรูปด้านต่าง ๆ หรือการเสนอแนะ พิจารณาและให้ความเห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญให้มีการถ่ายทอดสด
การประชุมลับ ห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุม เว้นแต่ผู้ที่ได้รับ อนุญาตจากประธาน และห้ามใช้เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพ หรือเครื่องมือสื่อสาร ใด ๆ ยกเว้นการบันทึกของสภา
ข้อ ๑๔ การประชุมให้เป็นไปตามกำหนดที่สภามีมติไว้ แต่ประธานสภา จะสั่งงดการประชุมครั้งใดก็ได้เมื่อเห็นว่าไม่มีเรื่องที่สมควรจะบรรจุเข้าระเบียบวาระ การประชุม
ในกรณีที่ประธานสภาเห็นสมควร หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาให้เรียกประชุม เป็นพิเศษ ก็ให้เรียกประชุมได้
ส่วนที่ ๒
การเสนอญัตติ
__________
ข้อ ๓๘ ญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานสภา และต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน ทั้งนี้ เว้นแต่ข้อบังคับนี้ได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๓๙ ญัตติที่เสนอต่อสภาเพื่อพิจารณา ต้องเป็นญัตติที่เกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของสภาเท่านั้น
ข้อ ๔๐ ให้เป็นอำนาจของประธานสภาที่จะวินิจฉัยว่าญัตติใดเป็นญัตติที่ เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสภาหรือไม่ และเมื่อวินิจฉัยแล้วหากเป็นญัตติที่ไม่เกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของสภา ให้แจ้งผู้เสนอญัตติทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประธานสภาวินิจฉัย
ข้อ ๔๐ วรรคสอง
ให้ประธานสภาบรรจุญัตติที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสภาตามวรรคหนึ่ง เข้าระเบียบวาระการประชุมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประธานสภาวินิจฉัย
ข้อ ๔๑ ญัตติขอให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาคณะใดคณะหนึ่ง หรือญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา ถ้าสมาชิก เป็นผู้เสนอต้องมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน
ญัตติตามวรรคหนึ่ง กรณีขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญแล้วแต่กรณีนั้น จะต้องระบุกิจการหรือเรื่องให้ชัดเจนและไม่ซ้ำ หรือซ้อนกัน และจะต้องไม่ซ้ำหรือซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ประจำสภาคณะต่าง ๆ
ให้เป็นอำนาจของประธานสภาที่จะวินิจฉัยว่าญัตติใดเป็นญัตติตามวรรคสอง หรือไม่ และเมื่อวินิจฉัยแล้วให้แจ้งผู้เสนอทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ประธานสภาวินิจฉัย
ข้อ ๔๒ ญัตติต่อไปนี้ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าหรือเป็นหนังสือ
(๑) ขอให้ปรึกษาเป็นเรื่องด่วน
(๒) ขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
(๓) ขอให้ลงมติตามข้อ ๓๐ หรือข้อ ๓๒
(๔) ญัตติในข้อ ๔๓ ข้อ ๖๗ ข้อ ๖๘ ข้อ ๖๙ ข้อ ๑๒๖ หรือข้อ ๑๓๑ วรรคสอง
(๕) ญัตติที่ประธานอนุญาตตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๔๓ เมื่อที่ประชุมกำลังพิจารณาญัตติใดอยู่ ห้ามเสนอญัตติอื่นขึ้นมา พิจารณา เว้นแต่ญัตติ ดังต่อไปนี้
(๑) ขอให้รวมระเบียบวาระการประชุมที่เป็นเรื่องเดียวกัน ทำนองเดียวกัน หรือเกี่ยวเนื่องกันเพื่อพิจารณาพร้อมกัน
(๒) ขอให้ส่งปัญหาไปยังคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณา หรือขอให้บุคคลใด ส่งเอกสารหรือมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น
(๓) ขอให้รวมหรือแยกประเด็นพิจารณาหรือลงมติ
(๔) ขอให้เลื่อนการปรึกษาหรือพิจารณา
(๕) ขอให้ปิดอภิปราย ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงผู้ยังไม่ได้อภิปรายด้วย
(๖) ขอให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษาหรือพิจารณา
ญัตติตาม (๒) (๔) (๕) หรือ (๖) เมื่อที่ประชุมลงมติเห็นชอบตามที่เสนอแล้ว ห้ามไม่ให้เสนอญัตติอื่นในข้อนี้อีก
ข้อ ๔๔ ญัตติตามข้อ ๔๓ (๕) และ (๖) ห้ามเสนอในคราวเดียวกับ การอภิปรายของตน
ข้อ ๔๕ ในกรณีที่ที่ประชุมลงมติให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษาหรือพิจารณา ให้ญัตติเดิมเป็นอันตกไป
ข้อ ๔๖ ญัตติที่เสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ผู้เสนอและผู้รับรองต้องลงลายมือชื่อ ในญัตตินั้น
ข้อ ๔๗ ญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ให้ผู้รับรองแสดงการรับรอง โดยวิธียกมือขึ้นพ้นศีรษะ
ข้อ ๔๘ การแก้ไขเพิ่มเติมญัตติหรือการถอนญัตติที่ประธานสภาสั่งบรรจุ ระเบียบวาระการประชุมและได้ส่งให้สมาชิกแล้ว จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอม ของที่ประชุมสภา
ข้อ ๔๙ การถอนคำแปรญัตติจะกระทำเมื่อใดก็ได้ แต่การขอแก้ไขเพิ่มเติม คำแปรญัตติจะกระทำได้เฉพาะภายในกำหนดเวลาแปรญัตติ
ข้อ ๕๐ การถอนชื่อจากการเป็นผู้ร่วมกันเสนอญัตติใด หรือจากการเป็น ผู้รับรอง จะกระทำได้เฉพาะก่อนที่ประธานสภาสั่งบรรจุญัตตินั้นเข้าระเบียบวาระ การประชุม ในกรณีที่ประธานสภาสั่งบรรจุญัตตินั้นเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว จะถอนชื่อได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของที่ประชุมสภา
ข้อ ๕๑ ญัตติใดถึงวาระพิจารณาในที่ประชุมแล้ว การเสนอญัตติซึ่งมีลักษณะ ทำนองเดียวกันจะกระทำมิได้
ญัตติหรือคำแปรญัตติใดถึงวาระพิจารณาในที่ประชุมแล้ว ถ้าผู้เสนอญัตติ หรือผู้แปรญัตติไม่ชี้แจงในที่ประชุม หรือผู้เสนอญัตติหรือผู้แปรญัตติไม่อยู่ในที่ประชุม โดยไม่มีผู้ชี้แจงแทนในฐานะผู้รับมอบหมาย ญัตติหรือคำแปรญัตตินั้นเป็นอันตกไป เว้นแต่ ที่ประชุมสภาจะพิจารณาเห็นเป็นอย่างอื่น
การมอบหมายให้ชี้แจงแทนต้องมอบแก่สมาชิกและทำเป็นหนังสือยื่นต่อ ประธานสภา
ข้อ ๕๒ ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามมิให้นำญัตติซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกัน ขึ้นเสนออีก เว้นแต่ประธานสภาจะอนุญาตในเมื่อพิจารณาเห็นว่าพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป
ส่วนที่ ๓
การอภิปราย
_________
ข้อ ๕๓ ผู้มีสิทธิอภิปรายก่อนคือผู้เสนอญัตติ แต่ถ้าผู้เสนอญัตติมีหลายคน ให้ประธานอนุญาตให้ใช้สิทธิอภิปรายก่อนได้เพียงคนเดียว
กรรมาธิการซึ่งได้สงวนความเห็น กรรมาธิการผู้รับมอบหมายจากกรรมาธิการ ซึ่งได้สงวนความเห็น ผู้แปรญัตติซึ่งได้สงวนคำแปรญัตติ หรือสมาชิกผู้รับมอบหมายจาก ผู้แปรญัตติซึ่งได้สงวนคำแปรญัตติไว้ในขั้นคณะกรรมาธิการให้มีฐานะเสมือนเป็นผู้แปรญัตติด้วย
ข้อ ๕๔ เมื่อผู้อภิปรายก่อนตามข้อ ๕๓ ได้อภิปรายแล้ว การอภิปราย ในลำดับต่อไปจะต้องเป็นการอภิปรายสลับกันระหว่างฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุน เว้นแต่ในวาระของฝ่ายใดไม่มีผู้อภิปราย อีกฝ่ายหนึ่งจึงอภิปรายซ้อนได้
การอภิปรายไม่สนับสนุนและไม่คัดค้านย่อมกระทำได้โดยไม่ต้องสลับ และมิให้นับเป็นวาระอภิปรายของฝ่ายใด
ข้อ ๕๔ เมื่อผู้อภิปรายก่อนตามข้อ ๕๓ ได้อภิปรายแล้ว การอภิปราย ในลำดับต่อไปให้คำนึงถึงการอภิปรายสลับกันระหว่างผู้เห็นด้วยและผู้ไม่เห็นด้วย เว้นแต่ ในวาระของฝ่ายใดไม่มีผู้อภิปราย อีกฝ่ายหนึ่งจึงอภิปรายซ้อนได้ ตัดวรรคสองออกนะครับ
ข้อ ๕๕ ถ้ามีผู้ขออภิปรายหลายคน ประธานจะให้คนใดอภิปรายก็ได้ แต่ให้คำนึงถึงผู้เสนอญัตติ ผู้แปรญัตติ ผู้รับรองญัตติหรือผู้รับรองคำแปรญัตติ และผู้ซึ่ง ยังไม่ได้อภิปรายด้วย
ข้อ ๕๖ การอภิปรายต้องอยู่ในประเด็นหรือเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังปรึกษา กันอยู่ภายในระยะเวลาที่ประธานกำหนด โดยต้องไม่ฟุ่มเฟือย วนเวียน ซ้ำซาก หรือซ้ำกับ ผู้อื่น หรือใช้ภาษาต่างประเทศโดยไม่จำเป็น และห้ามมิให้นำเอกสารใด ๆ มาอ่าน หรือนำวัตถุใด ๆ มาแสดงในที่ประชุมสภา เว้นแต่ประธานจะอนุญาต
ห้ามผู้อภิปรายแสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ ใส่ร้าย หรือเสียดสีบุคคลใด และห้ามกล่าวถึงพระมหากษัตริย์หรือออกชื่อสมาชิกหรือบุคคลใดโดยไม่จำเป็น
หากประธานเห็นว่าผู้อภิปรายฝ่าฝืน ให้ประธานเตือนผู้อภิปรายทราบก่อน หากผู้อภิปรายยังฝ่าฝืนอีก ประธานจะให้ผู้นั้นหยุดอภิปรายก็ได้
ข้อ ๕๗ ถ้าประธานเห็นว่าผู้ใดได้อภิปรายพอสมควรแล้ว ประธานจะให้ผู้นั้น หยุดอภิปรายก็ได้
ข้อ ๕๘ สมาชิกผู้ใดต้องการประท้วงว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับ ให้ยืนและยกมือ ขึ้นพ้นศีรษะ ประธานต้องให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง แล้วให้ประธานวินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืน ข้อบังคับตามที่ประท้วงหรือไม่ คำวินิจฉัยของประธานถือเป็นเด็ดขาด ให้นำความ ในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่ผู้ถูกอภิปรายพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใด อันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น และเมื่อประธานวินิจฉัยว่าการอภิปรายนั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ผู้อภิปรายต้องถอนคำพูดตามคำสั่งของประธาน
ข้อ ๕๙ เมื่อมีผู้ประท้วงตามข้อ ๕๘ ผู้อภิปรายอาจถอนคำพูดของตน หรือตามคำวินิจฉัยของประธานได้
ถ้าผู้อภิปรายไม่ถอนคำพูดตามคำวินิจฉัยของประธาน ให้ประธานบันทึก การไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยไว้ในรายงานการประชุม
ข้อ ๖๐ การอภิปรายเป็นอันยุติ เมื่อ
(๑) ไม่มีผู้ใดอภิปราย
(๒) ที่ประชุมลงมติให้ปิดอภิปราย
(๓) ที่ประชุมลงมติให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษา
ข้อ ๖๑ ในกรณีที่ประธานพิจารณาเห็นว่าได้อภิปรายกันพอสมควรแล้ว หรือมีผู้เสนอญัตติตามข้อ ๔๓ (๕) จะขอให้ที่ประชุมวินิจฉัยว่าจะปิดอภิปรายหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงผู้ซึ่งยังไม่ได้อภิปรายด้วย
ข้อ ๖๒ เมื่อการอภิปรายได้ยุติแล้ว ห้ามผู้ใดอภิปรายอีก เว้นแต่ที่ประชุม จะต้องลงมติในเรื่องนั้น จึงให้ผู้ซึ่งมีสิทธิอภิปรายก่อนคนใดคนหนึ่งในแต่ละญัตติ มีสิทธิอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ที่ประชุมจะลงมติ เมื่อการอภิปราย ได้สิ้นสุดแล้วให้ประธานให้สัญญาณแจ้งสมาชิกที่มาประชุมทราบก่อนลงมติ
ข้อ ๖๓ ประธานอาจอนุญาตให้บุคคลใด ๆ ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุมสภาก็ได้
ข้อ ๖๔ ถ้าประธานให้สัญญาณด้วยการเคาะค้อนหรือยืนขึ้น ให้ผู้ที่กำลังพูด หยุดพูดและนั่งลงทันที และให้ทุกคนนั่งฟังประธาน
ในกรณีอ่านพระบรมราชโองการ หรือกระแสพระราชดำรัส ให้ผู้อยู่ใน ที่ประชุมสภายืนฟังด้วยอาการสำรวมตลอดเวลาที่อ่าน
ส่วนที่ ๔
การลงมติ
___________
ข้อ ๖๕ ในกรณีที่จะต้องมีมติของสภา ให้ประธานมีสัญญาณให้สมาชิกทราบ เพื่อแสดงตนก่อนลงมติ
ข้อ ๖๖ การลงมติต้องมีสมาชิกมาแสดงตนครบองค์ประชุม โดยให้ถือเอา เสียงข้างมาก เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับนี้
เสียงข้างมากนั้น ในกรณีมีความเห็นของที่ประชุมสภามีสองฝ่าย ให้ถือเอา จำนวนคะแนนเสียงฝ่ายที่มากกว่า และในกรณีความเห็นของที่ประชุมสภามีเกินสองฝ่าย ให้ถือเอาจำนวนคะแนนเสียงฝ่ายที่มากที่สุด
ในกรณีมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่ง เป็นเสียงชี้ขาด การออกเสียงชี้ขาดของประธาน ให้กระทำเป็นการเปิดเผยโดยจะให้เหตุผล หรือไม่ก็ได้
ข้อ ๖๗ ภายใต้บังคับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การออกเสียงลงคะแนน ให้กระทำเป็นการเปิดเผย เว้นแต่เมื่อสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน ขอให้กระทำเป็นการลับจึงให้ลงคะแนนลับ แต่ถ้ามีสมาชิกคัดค้านและมีผู้รับรองมากกว่า หนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกในที่ประชุมสภาก็ให้ลงคะแนนโดยเปิดเผย
ข้อ ๖๘ การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยมีวิธีปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนตามที่ประธานสภากำหนด
(๒) ยกมือขึ้นพ้นศีรษะพร้อมกับแสดงบัตรลงคะแนน ผู้เห็นด้วยให้แสดง บัตรลงคะแนนสีน้ำเงิน ผู้ไม่เห็นด้วยให้แสดงบัตรลงคะแนนสีแดง ส่วนผู้ไม่ออกเสียงให้แสดง บัตรลงคะแนนสีขาว โดยบัตรลงคะแนนดังกล่าวให้สมาชิกลงลายมือชื่อและหมายเลข ประจำตัวสมาชิกกำกับไว้ด้วย
(๓) เรียกชื่อสมาชิกตามลำดับอักษรให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นรายคน ตามวิธีที่ประธานกำหนด
(๔) วิธีอื่นใดซึ่งที่ประชุมเห็นสมควรเฉพาะกรณี
การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยนั้นให้ใช้วิธีตาม (๑) จะใช้วิธีตาม (๒) (๓) หรือ (๔) ได้ ต่อเมื่อสมาชิกเสนอญัตติและที่ประชุมสภาอนุมัติ หรือเมื่อมีการ นับคะแนนเสียงใหม่ตามข้อ ๗๕
การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยตาม (๑) ให้ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนได้ จนกว่าประธานจะได้สั่งปิดการออกเสียงลงคะแนน
การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยตาม (๒) ให้ประธานสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปรับ บัตรลงคะแนนจากสมาชิกมาเพื่อดำเนินการตรวจนับคะแนนต่อไป
ข้อ ๖๙ การออกเสียงลงคะแนนลับมีวิธีปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนตามที่ประธานสภากำหนด
(๒) เขียนเครื่องหมายบนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้ ผู้เห็นด้วย ให้เขียนเครื่องหมายถูก (√) ผู้ไม่เห็นด้วยให้เขียนเครื่องหมายกากบาท (×) ส่วนผู้ไม่ออกเสียง ให้เขียนเครื่องหมายวงกลม (o)
(๓) วิธีอื่นใดซึ่งที่ประชุมเห็นสมควรเฉพาะกรณี
การออกเสียงลงคะแนนลับตาม (๑) ให้ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนได้ จนกว่าประธานจะได้สั่งปิดการออกเสียงลงคะแนน
เมื่อจะมีการออกเสียงลงคะแนนลับตาม (๒) ให้สมาชิกนั่งลงในที่ที่จัดไว้ และให้ประธานสั่งให้เจ้าหน้าที่แจกกระดาษและซองให้แก่สมาชิกทุกคน และเมื่อสมาชิก เขียนเครื่องหมายบนแผ่นกระดาษใส่ซองแล้ว ให้ประธานสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปรับมา เพื่อส่งให้แก่กรรมการตรวจนับคะแนนดำเนินการต่อไป และในการตรวจนับคะแนน ให้ประธานเชิญสมาชิกจำนวนห้าคนเป็นกรรมการตรวจนับคะแนน
ข้อ ๗๐ ก่อนออกเสียงลงคะแนนลับ ให้ประธานให้สัญญาณแจ้งสมาชิกทราบ เพื่อพร้อมที่จะออกเสียงลงคะแนนลับ
ข้อ ๗๑ ลำดับการลงมตินั้นให้ลงมติในญัตติสุดท้ายก่อนแล้วย้อนเป็นลำดับ ไปหาญัตติต้น แต่มิให้ถือว่าความผิดพลาดในการเรียงลำดับดังกล่าวมานี้เป็นเหตุให้มติที่ได้ ลงคะแนนและนับคะแนนเสร็จแล้วเป็นอันเสียไป
ข้อ ๗๒ ประธานมีอำนาจสั่งให้รวมหรือแยกประเด็นพิจารณาหรือลงมติ เว้นแต่ที่ประชุมสภาจะมีมติเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๗๓ สมาชิกซึ่งเข้ามาในที่ประชุมระหว่างการออกเสียงลงคะแนน อาจออกเสียงลงคะแนนได้ก่อนประธานสั่งปิดการนับคะแนน
ข้อ ๗๔ เมื่อได้นับคะแนนเสียงเสร็จแล้ว ให้ประธานประกาศมติต่อที่ประชุม สภาทันที ถ้าเรื่องใดที่รัฐธรรมนูญ หรือข้อบังคับนี้กำหนดไว้ว่ามติจะต้องประกอบด้วย คะแนนเสียงถึงจำนวนเท่าใด ก็ให้ประกาศด้วยว่าคะแนนเสียงถึงจำนวนที่กำหนดไว้นั้น หรือไม่
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าได้ประกาศมติต่อที่ประชุมสภาจากผลการออกเสียง ลงคะแนนด้วยวิธีตามข้อ ๖๙ (๒) และ (๓) แล้ว ให้ประธานสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำลาย บัตรออกเสียงลงคะแนนนั้นด้วย
ข้อ ๗๕ ในการนับคะแนนเสียงครั้งใด ถ้าสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรอง ไม่น้อยกว่าสิบคนให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่ ก็ให้มีการนับใหม่ เว้นแต่คะแนนเสียง มีความต่างกันเกินกว่าสิบคะแนนจะขอให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่มิได้
การนับคะแนนเสียงใหม่ดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ให้เปลี่ยนวิธีลงคะแนน เป็นวิธีดังกล่าวตามข้อ ๖๘ หรือข้อ ๖๙ ซึ่งอยู่ในลำดับถัดไป แล้วแต่กรณี เว้นแต่รัฐธรรมนูญ หรือข้อบังคับนี้กำหนดวิธีลงคะแนนไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น
เมื่อได้มีการนับคะแนนเสียงโดยวิธีดังกล่าวในข้อ ๖๘ (๓) แล้ว จะขอให้ มีการนับคะแนนเสียงใหม่อีกมิได้
ข้อ ๗๖ ญัตติใดไม่มีผู้คัดค้าน ให้ประธานถามที่ประชุมว่ามีผู้เห็นเป็นอย่างอื่น หรือไม่ เมื่อไม่มีผู้เห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าที่ประชุมลงมติเห็นชอบด้วยกับญัตตินั้น
ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับแก่เรื่องอื่นใดที่รัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับนี้ กำหนดให้ที่ประชุมวินิจฉัยโดยการออกเสียงลงคะแนน
ข้อ ๗๗ ให้เลขาธิการจัดทำบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิก แต่ละคนและเปิดเผยบันทึกการลงมติดังกล่าวไว้ ณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ เว้นแต่การออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ
ข้อ ๗๘ สมาชิกที่ไม่แสดงตนเพื่อลงมติในที่ประชุมสภาตามข้อ ๖๕ เกินกว่า หนึ่งในสามของจำนวนครั้งที่มีการแสดงตนเพื่อลงมติทั้งหมดในรอบระยะเวลาเก้าสิบวัน ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงตามมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๙ (๕) ของรัฐธรรมนูญ วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของแต่ละรอบระยะเวลาให้เป็นไปตามที่ประธานสภากำหนด
กรณีที่สมาชิกไม่แสดงตนเพื่อลงตามวรรคหนึ่งเนื่องจากได้ลาการประชุม โดยได้รับอนุญาตจากประธานสภาหรือสมาชิกไปทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ มิให้ถือว่าสมาชิกผู้นั้นไม่แสดงตนเพื่อลงมติและมิให้นับจำนวนครั้ง ที่มีการแสดงตนเพื่อลงมติ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สมาชิกได้รับอนุญาตให้ลาการประชุม หรือไปทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ รวมเป็นจำนวนครั้งที่สมาชิกผู้นั้น ไม่ได้แสดงตนเพื่อลงมติตามวรรคหนึ่ง
การอนุญาตให้ลาการประชุมตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ประธานสภากำหนด
เลขาธิการต้องมีหนังสือแจ้งให้สมาชิกแต่ละคนทราบถึงจำนวนครั้งที่สภา มีมติ และจำนวนครั้งที่สมาชิกคนนั้นได้แสดงตนเพื่อลงมติในรอบสามสิบวันที่ผ่านมา และอาจดำเนินการทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ด้วยก็ได้
ในกรณีที่ปรากฏว่าสมาชิกผู้ใดไม่ได้แสดงตนเพื่อลงมติเกินกว่าจำนวนครั้ง ที่ได้กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้เลขาธิการแจ้งให้ประธานสภาทราบและให้ประธานสภา แจ้งให้สมาชิกผู้นั้นและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบถึงการสิ้นสุดสมาชิกภาพโดยเร็ว
สมาชิกที่ได้รับแจ้งถึงการสิ้นสุดสมาชิกภาพตามวรรคห้าอาจใช้สิทธิโต้แย้ง เป็นหนังสือถึงความถูกต้องของการบันทึกการแสดงตนเพื่อลงมติได้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ ได้รับแจ้งตามวรรคห้าเพื่อให้ประธานสภาวินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานสภาถือเป็นที่สุด
ข้อ ๘๑ การดำรงตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาตามข้อ ๘๐ ให้ที่ประชุมตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้นคณะหนึ่ง และให้สมาชิกแต่ละคนแสดงความจำนง โดยยื่นต่อคณะกรรมาธิการสามัญตามแบบที่คณะกรรมาธิการสามัญกำหนด เพื่อที่จะ ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาได้ไม่เกินสามคณะ โดยเรียงตามลำดับ ความต้องการ ในกรณีที่คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาคณะใดมีสมาชิกยื่นแสดง ความจำนงจะดำรงตำแหน่งไว้น้อยกว่าหรือเกินกว่าจำนวนที่จะมีได้ในคณะกรรมาธิการ คณะนั้น ให้ใช้วิธีเฉลี่ยโดยหารือกับสมาชิกที่เกี่ยวข้องหรือใช้วิธีจับสลาก ทั้งนี้ การบรรจุ สมาชิกในคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภานั้นให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกแก่สมาชิก ที่ได้รับการสรรหามาในด้านนั้น ๆ
การเลือกคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ให้ที่ประชุมสภาพิจารณา เลือกจากรายชื่อสมาชิกที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมาธิการสามัญตามวรรคหนึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาคณะใดที่มีจำนวนกรรมาธิการ ไม่น้อยกว่าสิบสามคน ให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ทันที
ข้อ ๘๒ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในระหว่างคณะกรรมาธิการ วิสามัญประจำสภาคณะต่าง ๆ ที่อาจมีความไม่ชัดเจนหรืออาจมีความซ้ำซ้อนกันอยู่ และทำให้เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการตามภารกิจ ให้เป็นอำนาจของ ที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาและประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา ที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาว่าจะให้คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาคณะใด มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้น
หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ประธานสภากำหนด
ข้อ ๘๓ ให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติขึ้น คณะหนึ่งมีจำนวนไม่เกินยี่สิบแปดคน ประกอบด้วยประธานสภาเป็นประธาน คณะกรรมาธิการ รองประธานสภาคนหนึ่งซึ่งประธานสภามอบหมายเป็นรองประธาน คณะกรรมาธิการ ผู้แทนคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาตามข้อ ๘๐ วรรคสาม ทุกคณะ คณะละหนึ่งคน และเลขาธิการเป็นกรรมาธิการ และให้ที่ประชุมสภาเลือกสมาชิกสภาจาก ตัวแทนในแต่ละด้านอีกไม่เกินแปดคน
คณะกรรมาธิการวิสามัญตามวรรคหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณา หรือศึกษาเรื่องใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาเรื่องอื่นใดตามที่สภามอบหมายหรือตามที่ประธานสภา มอบหมาย
(๒) ตรวจรายงานการประชุมและพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการเปิดเผย รายงานการประชุมลับ
(๓) ตรวจสอบการไม่แสดงตนของสมาชิกตามมาตรา ๒๙ ประกอบมาตรา ๙ (๕) ของรัฐธรรมนูญ
(๔) กระทำกิจการหรือพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมาธิการอื่นของสภา
(๕) ประสานงานระหว่างสภากับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศาล องค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในกิจการของคณะกรรมาธิการ
(๖) ประสานงานกับคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาทุกคณะและสมาชิก เกี่ยวกับการพิจารณารายชื่อสมาชิกหรือบุคคลใด ๆ ที่จะเสนอให้ที่ประชุมสภาเลือกเป็น กรรมาธิการสามัญหรือกรรมาธิการวิสามัญตามข้อ ๘๕ ข้อ ๑๐๒ และข้อ ๑๓๑ แล้วแต่กรณี เพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสมและเป็นธรรม
(๗) การประสานงานระหว่างคณะกรรมาธิการซึ่งจะเรียกบุคคลมาชี้แจงตาม ข้อ ๘๙ และข้อ ๙๐ เพื่อลดภาระของผู้มาชี้แจง
(๘) เสนอแนะต่อประธานสภาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบงานสภา และการดำเนินกิจการในด้านต่าง ๆ ของสภา
(๙) เสนอแนะต่อประธานสภาเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก
(๑๐) ให้มีการจัดตั้งศูนย์รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน เกี่ยวกับการปฏิรูปและการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อรวบรวมข้อมูลส่งคณะกรรมาธิการ วิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน
ข้อ ๘๔ ให้มีคณะกรรมาธิการวิสามัญดังต่อไปนี้
(๑) คณะกรรมาธิการวิสามัญติดตามและให้ข้อเสนอแนะการยกร่าง รัฐธรรมนูญ
(๒) คณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และรูปแบบอนาคตประเทศไทย
ข้อ ๘๔ (๓) นะครับ
(๓) คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม ของประชาชน โดยให้พิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำภาคหรือจังหวัด ตามความเหมาะสม
(๔) คณะกรรมาธิการวิสามัญประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป
(๕) คณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำจดหมายเหตุและเจตนารมณ์ในการปฏิรูป ของสภา
ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติเร่งดำเนินการจัดตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญตามวรรคหนึ่งโดยกำหนดองค์ประกอบ จำนวนกรรมาธิการ และอำนาจหน้าที่ เสนอต่อสภาเพื่อให้ความเห็นชอบโดยเร็ว
กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผม นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ขออนุญาตเสนอให้ สภาปฏิรูปแห่งชาติรับรองรายงานการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ จํานวน ๓๗ ครั้ง ดังนี้
รายงานการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ครั้งที่ ๔/๒๕๕๘ วันอังคารที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๕/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๖/๒๕๕๘ วันอังคารที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๗/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๘/๒๕๕๘ วันอังคารที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๙/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๘ วันอังคารที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๑๕/๒๕๕๘ วันอังคารที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๑๖/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๘ วันอังคารที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๑๙/๒๕๕๘ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๒๑/๒๕๕๘ วันอังคารที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๒๒/๒๕๕๘ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๒๓/๒๕๕๘ วันอังคารที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๒๔/๒๕๕๘ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๒๕/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๒๖/๒๕๕๘ วันอังคารที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๒๗/๒๕๕๘ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๒๘/๒๕๕๘ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๒๙/๒๕๕๘ เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๓๐/๒๕๕๘ เป็นพิเศษ วันเสาร์ ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๓๑/๒๕๕๘ เป็นพิเศษ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๓๒/๒๕๕๘ วันอังคารที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๓๓/๒๕๕๘ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๓๔/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๓๕/๒๕๕๘ วันอังคารที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๓๖/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๓๗/๒๕๕๘ วันอังคารที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๓๘/๒๕๕๘ เป็นพิเศษ วันพุธที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๓๙/๒๕๕๘ วันจันทร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ครั้งที่ ๔๐/๒๕๕๘ วันอังคารที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ซึ่งรายงานการประชุมดังกล่าวได้วางไว้ให้ท่านสมาชิกได้ตรวจดูตั้งแต่วันพุธที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๘ บริเวณห้องรับรองสมาชิก ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ และได้วางไว้ที่ ห้องสมุดรัฐสภาก่อนที่จะเสนอให้ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติรับรองแล้ว ขอบพระคุณครับ
๑. นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด
๒. นายกาศพล แก้วประพาฬ
๓. นายกิตติ โกสินสกุล
๔. นางกัญญ์ฐญาณ์ ภู่สวาสดิ์
๕. นายกงกฤช หิรัญกิจ
๖. นายกมล รอดคล้าย
๗. รองศาสตราจารย์กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล
๘. นางกอบแก้ว จันทร์ดี
๙. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล
๑๐. ศาสตราจารย์พิเศษกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์
๑๑. นายกิตติภณ ทุ่งกลาง
๑๒. นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์
๑๓. นางกูไซหม๊ะวันซาฟีหน๊ะ มนูญทวี
๑๔. นายเกริกไกร จีระแพทย์
๑๕. นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง
๑๖. นายเกษมสันต์ จิณณวาโส
๑๗. นายโกเมศ แดงทองดี
๑๘. นายโกวิทย์ ทรงคุณ
๑๙. นายโกวิท ศรีไพโรจน์
๒๐. นายไกรราศ แก้วดี
๒๑. นายไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ
๒๒. นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์
๒๓. พลตํารวจตรี ขจร สัยวัตร์
๒๔. พลอากาศเอก ขวัญชัย เอี่ยมรักษา
๒๕. นายเขมทัต สุคนธสิงห์
๒๖. นายเข็มชัย ชุติวงศ์
๒๗. พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร
๒๘. นายคณิศร ขุริรัง
๒๙. นายคํานูณ สิทธิสมาน
๓๐. นายคุรุจิต นาครทรรพ
๓๑. นายจรัส สุทธิกุลบุตร
๓๒. ศาสตราจารย์จรัส สุวรรณมาลา
๓๓. พันตํารวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา
๓๔. นายจรูญ จึงยิ่งเรืองรุ่ง
๓๕. พลเอก จิระ โกมุทพงศ์
๓๖. พลเอก จิรพันธ์ เกษมศานติ์สุข
๓๗. พันตํารวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์
๓๘. ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์
๓๙. นายจีระรัตน์ นพวงศ์ ณ อยุธยา
๔๐. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี
๔๑. นางจุรี วิจิตรวาทการ
๔๒. นายจิรวัฒน์ เวียงด้าน
๔๓. นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์
๔๔. นายจุมพล รอดคําดี
๔๕. นายจุมพล สุขมั่น
๔๖. นายเจน นําชัยศิริ
๔๗. นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ
๔๘. พลอากาศเอก เจษฎา วิจารณ์
๔๙. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
๕๐. นายจําลอง โพธิ์สุข
๕๑. นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน
๕๒. นายเฉลิมพล ประทีปะวณิช
๕๓. นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ
๕๔. ศาสตราจารย์เกียรติคุณชัชนาถ เทพธรานนท์
๕๕. นายชัย ชิดชอบ
๕๖. นายชัยพร ทองประเสริฐ
๕๗. นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ
๕๘. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช
๕๙. นายชาลี เจริญสุข
๖๐. นายชาลี เอียดสกุล
๖๑. นายชาลี ตั้งจีรวงษ์
๖๒. พลเรือเอก ชาญชัย เจริญสุวรรณ
๖๓. นายชาติชาย ณ เชียงใหม่
๖๔. นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์
๖๕. นายชิตชัย จิวะตุวินันท์
๖๖. นายชูชัย ศุภวงศ์
๖๗. นายชูชาติ อินสว่าง
๖๘. พลเอก ชูศิลป์ คุณาไทย
๖๙. นายเชิดชัย วงศ์เสรี
๗๐. นายเชื้อ ฮั่นจินดา
๗๑. นายฐิติ วุฑฒิโกวิทย์
๗๒. พลโท ฐิติวัจน์ กําลังเอก
๗๓. นางฑิฆัมพร กองสอน
๗๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณรงค์ พุทธิชีวิน
๗๕. นายณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร
๗๖. นายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา
๗๗. นายดิเรก ถึงฝั่ง
๗๘. นายดํารงค์ พิเดช
๗๙. ศาสตราจารย์ดุสิต เครืองาม
๘๐. นายดุสิต ลีลาภัทรพันธุ์
๘๑. พลโท เดชา ปุญญบาล
๘๒. นายเดชฤทธิ์ ปัญจะมูล
๘๓. ศาสตราจารย์เกียรติคุณตรึงใจ บูรณสมภพ
๘๔. นางเตือนใจ สินธุวณิก
๘๕. นางถวิลวดี บุรีกุล
๘๖. นายถาวร เฉิดพันธุ์
๘๗. นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์
๘๘. นายทนงศักดิ์ ทวีทอง
๘๙. นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ
๙๐. นางสาวทัศนา บุญทอง
๙๒. นายทิวา การกระสัง
๙๓. นายเทียนฉาย กีระนันทน์
๙๔. นายเทียนชัย ปิ่นวิเศษ
๙๕. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
๙๖. พันเอก ธนศักดิ์ มิตรภานนท์
๙๗. นายธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์
๙๘. นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์
๙๙. นายธวัช สุวุฒิกุล
๑๐๐. นายธวัชชัย ยงกิตติกุล
๑๐๑. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร
๑๐๒. นายธวัชชัย อุ่ยพานิช
๑๐๓. นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์
๑๐๔. นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์
๑๐๕. นายธํารง อัศวสุธีรกุล
๑๐๖. พลโท นคร สุขประเสริฐ
๑๐๗. รองศาสตราจารย์นรีวรรณ จินตกานนท์
๑๐๘. ศาสตราจารย์นันทวัฒน์ บรมานันท์
๑๐๙. พลโท นาวิน ดําริกาญจน์
๑๑๐. นายนิฟาริด ระเด่นอาหมัด
๑๑๑. นายนิคม มากรุ่งแจ้ง
๑๑๒. นายนิพนธ์ คําพา
๑๑๓. นายนิพนธ์ นาคสมภพ
๑๑๔. นายนิมิต สิทธิไตรย์
๑๑๕. นายนิรันดร์ พันทรกิจ
๑๑๖. นายนิอาแซ ซีอุเซ็ง
๑๑๗. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
๑๑๘. นายนําชัย กฤษณาสกุล
๑๑๙. ศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
๑๒๐. นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์
๑๒๑. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
๑๒๒. นายบุญถิ่น มั่นเกษวิทย์
๑๒๓. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช
๑๒๔. นางเบญจวรรณ สร่างนิทร
๑๒๕. นายประชา เตรัตน์
๑๒๖. นายประทวน สุทธิอํานวยเดช
๑๒๗. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์
๑๒๘. นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด
๑๓๐. นางประภาศรี สุฉันทบุตร
๑๓๑. นายประมนต์ สุธีวงศ์
๑๓๒. นายประสาร มฤคพิทักษ์
๑๓๓. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
๑๓๔. พลเอก ประสูตร รัศมีแพทย์
๑๓๕. รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ชิตพงศ์
๑๓๖. นายประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์
๑๓๗. นายปราโมทย์ ไม้กลัด
๑๓๘. ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีชา เถาทอง
๑๓๙. นายปรีชา บุตรศรี
๑๔๐. พลตํารวจตรี ปรีชา สมุทระเปารยะ
๑๔๑. นายปิยะวัติ บุญ-หลง
๑๔๒. รองศาสตราจารย์เปรื่อง จันดา
๑๔๓. นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ
๑๔๔. นายพงศ์โพยม วาศภูติ
๑๔๕. นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช
๑๔๖. นายพนา ทองมีอาคม
๑๔๗. นายพรชัย มุ่งเจริญพร
๑๔๘. นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์
๑๔๙. นางพรรณวีรินทร์ รัตนวานิช
๑๕๐. นางพรรณี จารุสมบัติ
๑๕๑. นายพรายพล คุ้มทรัพย์
๑๕๒. นายพลเดช ปิ่นประทีป
๑๕๓. พลเอก พอพล มณีรินทร์
๑๕๔. พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป
๑๕๕. รองศาสตราจารย์พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร
๑๕๖. นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา
๑๕๗. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม
๑๕๘. นายเพิ่มศักดิ์ เชื้อชาติ
๑๕๙. นายไพฑูรย์ หลิมวัฒนา
๑๖๐. นายไพบูลย์ นิติตะวัน
๑๖๑. นายไพบูลย์ นลินทรางกูร
๑๖๒. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น
๑๖๓. นาวาอากาศเอก ไพศาล จันทรพิทักษ์
๑๖๔. นางภัทรียา สุมะโน
๑๖๕. พลเอก ภูดิศ ทัตติยโชติ
๑๖๖. พลอากาศเอก มนัส รูปขจร
๑๖๗. นายมนู เลียวไพโรจน์
๑๖๘. นายมนูญ ศิริวรรณ
๑๖๙. นายมานิจ สุขสมจิตร
๑๗๐. นายมีชัย วีระไวทยะ
๑๗๑. พันตํารวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ
๑๗๒. พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
๑๗๓. นางสาวรสนา โตสิตระกูล
๑๗๔. พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช
๑๗๕. นายวรรณชัย บุญบํารุง
๑๗๖. พลเอก วรวิทย์ พรรณสมัย
๑๗๗. นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา
๑๗๘. นายวสันต์ ภัยหลีกลี้
๑๗๙. พลเอก วัฒนา สรรพานิช
๑๘๐. นายวันชัย สอนศิริ
๑๘๑. นายวัลลภ พริ้งพงษ์
๑๘๒. นายวิชัย ด่านรุ่งโรจน์
๑๘๓. พลเอก วิชิต ยาทิพย์
๑๘๔. นายวิทยา กุลสมบูรณ์
๑๘๕. นายวินัย ดะห์ลัน
๑๘๖. นายวิบูลย์ คูหิรัญ
๑๘๗. นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์
๑๘๘. นายวิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร
๑๘๙. นายวิวัฒน์ ศัลยกําธร
๑๙๐. นายวีระศักดิ์ ภูครองหิน
๑๙๑. พลเอก วุฒินันท์ ลีลายุทธ
๑๙๒. รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย
๑๙๓. นายไวกูณฑ์ ทองอร่าม
๑๙๔.
๑๙๔. นายศานิตย์ นาคสุขศรี
๑๙๕. นายศักรินทร์ ภูมิรัตน
๑๙๗. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์
๑๙๘. นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา
๑๙๙. พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก
๒๐๐. ศาสตราจารย์ศุภชัย ยาวะประภาษ
๒๐๑. นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
๒๐๒. นายสมเกียรติ ชอบผล
๒๐๓. นายสมเดช นิลพันธุ์
๒๐๔. นายสมชัย ฤชุพันธุ์
๒๐๕. ศาสตราจารย์สมบัติ ธํารงธัญวงศ์
๒๐๖. นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา
๒๐๗. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ
๒๐๘. นายสยุมพร ลิ่มไทย
๒๐๙. นายสรณะ เทพเนาว์
๒๑๐. นายสังศิต พิริยะรังสรรค์
๒๑๑. นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์
๒๑๒. นางสาวสารี อ๋องสมหวัง
๒๑๓. นายสิระ เจนจาคะ
๒๑๔. พันเอก สิรวิชญ์ นาคทอง
๒๑๕. นางสีลาภรณ์ บัวสาย
๒๑๖. รองศาสตราจารย์สืบพงศ์ ธรรมชาติ
๒๑๗. ศาสตราจารย์กิตติคุณสุกัญญา สุดบรรทัด
๒๑๘. รองศาสตราจารย์สุชาติ นวกวงษ์
๒๑๙. นายสุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง
๒๒๐. นายสุธรรม ลิ้มสุวรรณเกษม
๒๒๑. นายสุพร สุวรรณโชติ
๒๒๒. นางสาวสุภัทรา นาคะผิว
๒๒๓. พลเรือเอก สุรินทร์ เริงอารมณ์
๒๒๔. นายสุวัช สิงหพันธุ์
๒๒๕. นายสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ
๒๒๗. นายเสรี สุวรรณภานนท์
๒๒๘. นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ
๒๒๙. นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์
๒๓๐. นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ
๒๓๑. นายอนันตชัย คุณานันทกุล
๒๓๒. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล
๒๓๓. พลเรือเอก อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ
๒๓๔. นายอมร วาณิชวิวัฒน์
๒๓๕. นายอมรวิชช์ นาครทรรพ
๒๓๖. นางสาวอรพินท์ สพโชคชัย
๒๓๗. นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ
๒๓๘. นายอลงกรณ์ พลบุตร
๒๓๙. นางสาวอ่อนอุษา ลําเลียงพล
๒๔๐. นางอัญชลี ชวนิชย์
๒๔๑. พลตํารวจโท อาจิณ โชติวงศ์
๒๔๒. พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย
๒๔๓. นายอําพล จินดาวัฒนะ
๒๔๔. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง
๒๔๕. นายอุดม ทุมโฆสิต
๒๔๖. นายอุทัย สอนหลักทรัพย์
๒๔๗. นางอุบล หลิมสกุล
๒๔๘. พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ
๒๔๙. นายเอกราช ช่างเหลา
๒๕๐. ศาสตราจารย์พิเศษเอนก เหล่าธรรมทัศน์