กราบเรียนท่านประธานครับ กระผม นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ครับ สปช. ด้านเศรษฐกิจนะครับ ผมมี ๒ เรื่องจะเรียน ท่านประธานครับ
เรื่องที่ ๑ ก็คือเห็นด้วยกับที่ท่านอาจารย์บวรศักดิ์ได้กล่าวไว้ว่ากรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญนั้นไม่ควรดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการคณะอื่น เพราะว่าภารกิจอื่น ของท่านนั้นหนักมากนะครับ แต่หากจะร่วมเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของคณะกรรมาธิการ ชุดใดชุดหนึ่ง อันนี้ผมอยากจะเสนอว่าผมเห็นด้วยนะครับ
เรื่องที่ ๒ เราได้ลงมติไปแล้วในการปฏิบัติตามที่คณะกรรมาธิการกิจการ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ได้เสนอมาแล้วนะครับ ทีนี้ผมก็อยากจะกราบเรียน ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติว่าในการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นสาขาไหน สื่อไหนก็ตาม ซึ่งผมคิดว่าวันนี้จะมีการสัมภาษณ์กันเยอะแยะ ผมอยากกราบเรียนว่าการจะ นำเสนอข้อมูลใด ๆ ความคิดเห็นใด ๆ นั้นคงต้องแสดงความคิดเห็นด้วยความระมัดระวัง เป็นอย่างยิ่งนะครับ ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ ต้องเรียนก่อนเพราะผมเป็นหนึ่ง ในสมาชิกด้านเศรษฐกิจของสภาแห่งนี้ ๑ ใน ๑๖ คนนะครับ ในตอนแรกในด้านเศรษฐกิจ ของเรา เราก็บอกว่าอยากจะให้มีไม่กี่ชุดเพื่อที่จะได้ไม่มีมากชุดจนเกินไป แต่ในเมื่อสมาชิกหลายท่านแสดงความห่วงใยว่างานเศรษฐกิจเป็นงานใหญ่นะครับ แล้วก็มี หลายด้านจะไปรวมกันอยู่ภายใต้เศรษฐกิจก็อาจจะดูแลไม่ทั่วถึงนะครับ เช่น การท่องเที่ยว เป็นเรื่องสำคัญ รายได้อันดับ ๒ ของประเทศ การส่งออกรายได้อันดับ ๑ ของประเทศนะครับ การเงิน การคลัง โครงสร้างพื้นฐาน แล้วก็โลจิสติกส์นะครับ ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องสำคัญ ระดับประเทศหมดและระดับภูมิภาคนะครับ มีท่านสมาชิกบางท่านเห็นว่าน่าจะรวม กรรมาธิการชุดที่ ๖ กับชุดที่ ๗ เข้าด้วยกัน ก็คือชุดเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง แล้วก็ ชุดการเกษตรและอุตสาหกรรมไว้ด้วยกัน ผมจึงมีข้อมูลจะเรียนนำเสนอเป็นเบื้องต้น ดังนี้ครับว่า รายได้จากการส่งออกของประเทศไทยนั้นเป็นอันดับ ๑ ตามมาด้วยรายได้จาก การท่องเที่ยวอันดับ ๒ นะครับ แล้วโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ที่เราพูดกันบ่อย ๆ นะครับ อยากจะเรียนว่าประเทศไทยนั้นอยู่ล้าหลังสิงคโปร์ ๓-๔ อันดับ และอยู่ล้าหลังมาเลเซีย ๑๐ อันดับ นี่เป็นตัวเลขการจัดอันดับของโลจิสติกส์ เพอร์ฟอร์เมินซ อินเด็กซ์ (Logistic Performance Index) หรือแอลพีไอ (LPI) ซึ่งจัดเมื่อปี ๒๕๕๗ โดยธนาคารโลกนะครับ เพราะฉะนั้นทั้ง ๓ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเออีซี (AEC) แล้วก็เอฟทีเอ (FTA) นะครับ ในฐานะ ที่เป็น ๑ ใน ๑๖ ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านเศรษฐกิจ จึงขอบคุณท่านสมาชิก ผู้ทรงเกียรติทุกท่านที่เห็นว่าด้านเศรษฐกิจนั้นควรจะต้องดูแลให้ทั่วถึง โดยที่ถ้าสมมุติว่า ทางสมาชิกผู้ทรงเกียรตินั้นเห็นว่าควรจะต้องแยกเป็นคณะต่าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุม และให้สมาชิกทุกท่านได้เข้ามามีส่วนร่วมในกรรมาธิการแต่ละคณะ ผมขออนุญาตเรียนว่า ผมเป็น ๑ ใน ๑๖ ท่าน ซึ่งอยากจะพูดว่าโดยส่วนตัวผม ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว ขอบพระคุณครับ
กราบเรียนท่านประธานครับ ผม สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ ครับ ด้านเศรษฐกิจ กระผมเห็นด้วยครับในการที่จะมีตำแหน่งแรพพอร์เทอร์ ประจำกรรมาธิการแต่ละชุด เพราะว่าจะเป็นตำแหน่งที่จะช่วยรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ สรุปประเด็นสำคัญ ๆ ในการประชุมกรรมาธิการแต่ละครั้ง ซึ่งทั่วโลกเขาใช้กันนะครับ ทีนี้ผมมีข้อสังเกตอยู่ข้อหนึ่งอยากจะเรียนท่านประธานนะครับว่าตรงที่ว่าซึ่งเคยทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์นั้น ผมคิดว่าอยากจะให้เติมไปนิดหนึ่งว่า ซึ่งเคยทำรายงาน ทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ เพราะว่าปริญญาโทสมัยนี้ไม่ต้องทำวิจัยก็ได้นะครับ ทำรายงานก็ได้นะครับ เพราะฉะนั้นถ้าได้ผูกไว้ว่าต้องทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์อย่างเดียว มันก็อาจจะต้องเป็น การจำกัดขอบเขตมากจนเกินไป นั่นข้อที่ ๑ ข้อที่ ๒ ผมเรียนตรง ๆ นะครับว่าตำแหน่งนี้ หายากครับ ไม่ใช่หาง่ายนะครับ ถ้าสมมุติว่าทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบอกว่าหาได้ง่าย ผมก็อยากจะหาคนทำงานที่บริษัทผมด้วยครับ ขอบคุณครับ
ขอบคุณท่านประธานครับ มีแก้นิดเดียวครับ เพื่อให้มันถูกต้องตามทำนองคลองธรรมนะครับ หน้า ๑๕ (๗) กรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและการค้าบริการครับ ที่ถูกต้องต้องเป็น การค้าบริการ
ตามหลักเกณฑ์ของศัพท์ที่ใช้กันนะครับ เขาเรียกแม้กระทั่งในเออีซีก็ใช้คำว่า การค้าบริการ ครับ
ขอบคุณครับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๒๑๑ ครับ เป็นครั้งแรกที่ ท่านประธานเรียกชื่อผมถูกนะครับ เรียกนามสกุลผมถูกครับ ด้วยความเคารพนะครับ ผมคิดว่าประเด็นที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้วก็กรรมาธิการทั้งคณะนี่นะครับ กรรมาธิการปฏิรูปพลังงานได้พิจารณานะครับ ผมคิดว่าทั้งหมดเราพิจารณาอยู่บนพื้นฐาน ความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศนะครับ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ แล้วก็ความถูกต้องเหมาะสมกับภาวการณ์มีน้ำมันในประเทศไทยและมีแก๊สใช้ อย่างเพียงพอนะครับ ผมเชื่อมั่นว่าคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานไม่ได้บอกว่า สัมปทานดีที่สุด หรือพีเอสซีดีที่สุด เพราะว่าในหลายประเทศนี่นะครับก็มีการเปลี่ยนจาก พีเอสซีเป็นสัมปทาน เช่น รัสเซีย คาซัคสถาน เคยทำพีเอสซีช่วงปี ๒๕๓๐ ต่อมาก็เปลี่ยนไปใช้ สัมปทานนะครับ นอร์เวย์ อังกฤษ ปัจจุบันนี้เขาใช้สัมปทานอยู่นะครับ เพราะฉะนั้น ถ้าห่วงเรื่องเกี่ยวกับสมบัติของปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดิน อยู่ใต้ทะเลออกมาแล้วจะเป็นของคนอื่น พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ปี ๒๕๑๔ มาตรา ๒๓ ได้ตราไว้ชัดเจนว่า ปิโตรเลียมเป็นของรัฐครับ ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ไปขุดหาและจำหน่ายปิโตรเลียมที่ผลิตได้โดยแบ่งปันผลประโยชน์ให้รัฐ ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นปริมาณสำรองปิโตรเลียมย่อมเป็นของชาติ ทั้งโดยนิตินัยและ พฤตินัย อันนี้เป็นความเห็นของนักวิชาการอิสระด้านพลังงาน และอดีตรองประธาน คณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ท่านยังมีความเห็นต่อไปว่า ทั้ง ๒ ระบบนี้ ในทางปฏิบัติไม่แตกต่างกันมากนัก ยกเว้นในระบบแบ่งปันผลผลิตจะมีการจัดตั้งองค์กร มาควบคุมการบริหาร การสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมของผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด มากกว่าระบบสัมปทาน
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หมายเลข ๒๑๑ ครับ เป็นครั้งแรกที่ ท่านประธานเรียกชื่อผมถูกนะครับ เรียกนามสกุลผมถูกครับ ด้วยความเคารพนะครับ ผมคิดว่าประเด็นที่สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้วก็กรรมาธิการทั้งคณะนี่นะครับ กรรมาธิการปฏิรูปพลังงานได้พิจารณานะครับ ผมคิดว่าทั้งหมดเราพิจารณาอยู่บนพื้นฐาน ความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศนะครับ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ แล้วก็ความถูกต้องเหมาะสมกับภาวการณ์มีน้ำมันในประเทศไทยและมีแก๊สใช้ อย่างเพียงพอนะครับ ผมเชื่อมั่นว่าคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานไม่ได้บอกว่า สัมปทานดีที่สุด หรือพีเอสซีดีที่สุด เพราะว่าในหลายประเทศนี่นะครับก็มีการเปลี่ยนจาก พีเอสซีเป็นสัมปทาน เช่น รัสเซีย คาซัคสถาน เคยทำพีเอสซีช่วงปี ๒๕๓๐ ต่อมาก็เปลี่ยนไปใช้ สัมปทานนะครับ นอร์เวย์ อังกฤษ ปัจจุบันนี้เขาใช้สัมปทานอยู่นะครับ เพราะฉะนั้น ถ้าห่วงเรื่องเกี่ยวกับสมบัติของปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดิน อยู่ใต้ทะเลออกมาแล้วจะเป็นของคนอื่น พ.ร.บ. ปิโตรเลียม ปี ๒๕๑๔ มาตรา ๒๓ ได้ตราไว้ชัดเจนว่า ปิโตรเลียมเป็นของรัฐครับ ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ไปขุดหาและจำหน่ายปิโตรเลียมที่ผลิตได้โดยแบ่งปันผลประโยชน์ให้รัฐ ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นปริมาณสำรองปิโตรเลียมย่อมเป็นของชาติ ทั้งโดยนิตินัยและ พฤตินัย อันนี้เป็นความเห็นของนักวิชาการอิสระด้านพลังงาน และอดีตรองประธาน คณะกรรมาธิการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ท่านยังมีความเห็นต่อไปว่า ทั้ง ๒ ระบบนี้ ในทางปฏิบัติไม่แตกต่างกันมากนัก ยกเว้นในระบบแบ่งปันผลผลิตจะมีการจัดตั้งองค์กร มาควบคุมการบริหาร การสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมของผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด มากกว่าระบบสัมปทาน
ข้อที่ ๒ เท่าที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีจำนวนประเทศที่เลือกใช้ระบบสัมปทาน หรือระบบแบ่งปันผลผลิตเท่า ๆ กัน แต่ก็มีหลายประเทศที่ใช้ทั้ง ๒ ระบบไปพร้อม ๆ กัน ไทยก็ใช้ระบบพีเอสซีกับมาเลเซียที่เขตเจดีเอนะครับ นอกจากนี้ท่านประธานครับ ด้วยความเชื่อมั่นว่ากรรมาธิการปฏิรูปพลังงานนี้มองเห็นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก เราจึงได้เสนอว่าน่าจะเสนอทางเลือกที่ ๓ ก็คือ ๑. ใช้สัมปทานไปก่อน แล้วก็ศึกษาทางด้าน พีเอสซีนะครับ ไม่ใช่เราไม่เห็นด้วย เราบอกให้ศึกษาระบบพีเอสซีไปในตัวด้วยนะครับ แล้วก็ขณะเดียวกันผมคิดว่าสิ่งที่กรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเราคงต้องดูต่อไปก็คือเรื่องของ เห็นด้วยกับที่กรรมาธิการบางท่านที่บอกว่า เราควรต้องมีการดูแลสภาพแวดล้อมและ สุขภาพประชาชนในเขตพื้นที่ที่มีการสำรวจขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งผมคิดว่าเรื่องนี้ทางหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องต้องรับไปดูแล เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องศึกษาและเทคนิคต่าง ๆ ให้ลึกและมาก ด้านการสำรวจว่าการขุดเจาะสำรวจน้ำมันนั้นมันถูกต้องตามหลักเทคนิค หรือไม่ หรืออาจจะจ้างเอาต์ซอร์ส (Outsource) เป็นที่ปรึกษาได้ไหม อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ กระทรวงพลังงานต้องนำไปปฏิบัติต่อนะครับ แล้วก็ขณะเดียวกันเตรียมการในการศึกษา กฎหมายฉบับต่าง ๆ ทั้ง พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ร.บ. สรรพสามิต พ.ร.บ. สรรพากร พ.ร.บ. ศุลกากร และ พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อมให้ดีนะครับ ท่านประธานครับ ด้วยความเชื่อมั่นว่า สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทุกท่านนั้นมีความรักในประเทศชาติ มีความรักในประชาชน คนไทยทุกคน และผมก็เชื่อมั่นว่ากรรมาธิการปฏิรูปพลังงานทั้งหมดซึ่งมีผม อยู่ในนั้นด้วยนะครับ เผอิญผมไม่ได้เป็นกรรมการของสถาบันน้ำมันใด ๆ ผมไม่ได้เป็น กรรมการของหน่วยงานใด ๆ ของรัฐนะครับ ผมเข้ามาด้วยความตั้งมั่นว่าจะทำการปฏิรูป ระบบพลังงานในประเทศไทย และจากการที่ผมได้เกี่ยวข้องในการฟังอภิปรายทั้งผู้เชี่ยวชาญ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่เชิญมา ผมมีความเชื่อมั่นว่ากรรมาธิการปฏิรูปพลังงานทุกท่าน รวมทั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทุกท่านมีความรักในประเทศไทย และไม่ว่าจะเป็น ระบบไหนก็ตาม ผมคิดว่าทุกคนตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานความว่า ๑. ความมั่นคง ด้านพลังงานประเทศไทยนะครับ ๒. ความมีน้ำมันใช้อย่างพอเพียงในอนาคต และ ๓. ประเทศไทยไม่ได้มีน้ำมันมากเหมือนกับ ต่างประเทศ เหมือนในประเทศตะวันออกกลาง เพราะฉะนั้นการจะให้ใครมาลงทุนไม่ใช่เป็น เรื่องที่จะทำได้ง่าย ๆ มันต้องมีเงื่อนไขพอที่เขาเห็นว่าเขาจะมีผลประโยชน์เพียงพอ ที่เขาจะมาลงทุน ไม่อย่างนั้นไม่มีใครเข้ามาครับ ดังนั้นผมเชื่อมั่นว่าสิ่งที่กรรมาธิการ ปฏิรูปพลังงานได้เสนอมานั้นเป็นสิ่งที่ทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติครับท่านประธานครับ ขอบคุณครับ
ข้อที่ ๒ เท่าที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีจำนวนประเทศที่เลือกใช้ระบบสัมปทาน หรือระบบแบ่งปันผลผลิตเท่า ๆ กัน แต่ก็มีหลายประเทศที่ใช้ทั้ง ๒ ระบบไปพร้อม ๆ กัน ไทยก็ใช้ระบบพีเอสซีกับมาเลเซียที่เขตเจดีเอนะครับ นอกจากนี้ท่านประธานครับ ด้วยความเชื่อมั่นว่ากรรมาธิการปฏิรูปพลังงานนี้มองเห็นประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก เราจึงได้เสนอว่าน่าจะเสนอทางเลือกที่ ๓ ก็คือ ๑. ใช้สัมปทานไปก่อน แล้วก็ศึกษาทางด้าน พีเอสซีนะครับ ไม่ใช่เราไม่เห็นด้วย เราบอกให้ศึกษาระบบพีเอสซีไปในตัวด้วยนะครับ แล้วก็ขณะเดียวกันผมคิดว่าสิ่งที่กรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเราคงต้องดูต่อไปก็คือเรื่องของ เห็นด้วยกับที่กรรมาธิการบางท่านที่บอกว่า เราควรต้องมีการดูแลสภาพแวดล้อมและ สุขภาพประชาชนในเขตพื้นที่ที่มีการสำรวจขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งผมคิดว่าเรื่องนี้ทางหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องต้องรับไปดูแล เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องศึกษาและเทคนิคต่าง ๆ ให้ลึกและมาก ด้านการสำรวจว่าการขุดเจาะสำรวจน้ำมันนั้นมันถูกต้องตามหลักเทคนิค หรือไม่ หรืออาจจะจ้างเอาต์ซอร์ส (Outsource) เป็นที่ปรึกษาได้ไหม อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ กระทรวงพลังงานต้องนำไปปฏิบัติต่อนะครับ แล้วก็ขณะเดียวกันเตรียมการในการศึกษา กฎหมายฉบับต่าง ๆ ทั้ง พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ร.บ. สรรพสามิต พ.ร.บ. สรรพากร พ.ร.บ. ศุลกากร และ พ.ร.บ. สิ่งแวดล้อมให้ดีนะครับ ท่านประธานครับ ด้วยความเชื่อมั่นว่า สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทุกท่านนั้นมีความรักในประเทศชาติ มีความรักในประชาชน คนไทยทุกคน และผมก็เชื่อมั่นว่ากรรมาธิการปฏิรูปพลังงานทั้งหมดซึ่งมีผม อยู่ในนั้นด้วยนะครับ เผอิญผมไม่ได้เป็นกรรมการของสถาบันน้ำมันใด ๆ ผมไม่ได้เป็น กรรมการของหน่วยงานใด ๆ ของรัฐนะครับ ผมเข้ามาด้วยความตั้งมั่นว่าจะทำการปฏิรูป ระบบพลังงานในประเทศไทย และจากการที่ผมได้เกี่ยวข้องในการฟังอภิปรายทั้งผู้เชี่ยวชาญ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่เชิญมา ผมมีความเชื่อมั่นว่ากรรมาธิการปฏิรูปพลังงานทุกท่าน รวมทั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทุกท่านมีความรักในประเทศไทย และไม่ว่าจะเป็น ระบบไหนก็ตาม ผมคิดว่าทุกคนตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานความว่า ๑. ความมั่นคง ด้านพลังงานประเทศไทยนะครับ ๒. ความมีน้ำมันใช้อย่างพอเพียงในอนาคต และ ๓. ประเทศไทยไม่ได้มีน้ำมันมากเหมือนกับ ต่างประเทศ เหมือนในประเทศตะวันออกกลาง เพราะฉะนั้นการจะให้ใครมาลงทุนไม่ใช่เป็น เรื่องที่จะทำได้ง่าย ๆ มันต้องมีเงื่อนไขพอที่เขาเห็นว่าเขาจะมีผลประโยชน์เพียงพอ ที่เขาจะมาลงทุน ไม่อย่างนั้นไม่มีใครเข้ามาครับ ดังนั้นผมเชื่อมั่นว่าสิ่งที่กรรมาธิการ ปฏิรูปพลังงานได้เสนอมานั้นเป็นสิ่งที่ทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติครับท่านประธานครับ ขอบคุณครับ