ขอบพระคุณท่านประธานนะคะ ดิฉัน นรีวรรณ จินตกานนท์ เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ ดิฉันไม่มีอาชีพอะไร ในขณะนี้ เป็นข้าราชการบำนาญ สังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพราะฉะนั้นดิฉัน เป็นตำแหน่งวิชาการ เป็นรองศาสตราจารย์นะคะ ดิฉันก็เลยตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะอุทิศตนเอง ให้กับเรื่องของการปฏิรูปและเรื่องของการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งสามารถจะอุทิศได้เต็มที่นะคะ ตัวดิฉันเองในแง่ของการเมืองเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาสรรหา ภาควิชาการ รุ่นล่าสุดนะคะ แล้วก็เป็นรองประธานกรรมาธิการหลายคณะ เช่น เรื่องของพลังงาน เรื่องของการศึกษา ดิฉันเป็นประธานในเรื่องของอนุกรรมาธิการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนพลังงานพอเพียง แล้วก็เป็นประธานอนุกรรมาธิการในด้านของการเตรียมความพร้อมของประชาชนสู่ ประชาคมอาเซียน ในด้านของการศึกษาดิฉันคิดว่าดิฉันเป็นผู้ที่มีโอกาสอย่างดีมาก ดิฉันได้ เรียนในโรงเรียนที่เรียกว่าขัดเกลา บ่มเพาะ ดิฉันมาเป็นอย่างนี้นะคะ ดิฉันได้เรียนที่สาธิต ปทุมวัน ดิฉันได้เรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ดิฉันเป็นสายวิทยาศาสตร์มาโดยตลอด แล้วดิฉันก็ได้เข้าไปที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ว่าบังเอิญดิฉันก็โชคดีอีกดิฉันได้รับทุน ไปจบปริญญาตรีที่ประเทศออสเตรเลียด้วยทุนโคลัมโบ แล้วก็ไปจบปริญญาโทที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาด้วยทุนฟอร์ด ดิฉันคิดว่าตัวเองมีความโชคดีมากแล้วก็ได้รับโอกาสที่ทำให้เป็น อย่างนี้ แล้วก็พร้อมเสมอที่จะให้โอกาสกับคนอื่นหรือพยายามที่จะให้ทุกคนมีโอกาสทัดเทียมกัน ดิฉันก็เลยได้ทำงานด้านวิชาการควบคู่กับงานด้านพัฒนาสังคม พัฒนาการศึกษา พัฒนา เศรษฐกิจ แล้วก็ตลอดไปจนถึงการพัฒนาสตรีด้วย ดิฉันพร้อมเสมอแล้วก็ยินดีที่จะทำงาน ด้วยความรู้หลากหลายที่ได้สะสมไว้ในตัว ประสบการณ์หลากหลายเพื่อประโยชน์ของสังคม ขอบพระคุณค่ะ
ขอบพระคุณท่านประธานนะคะ ดิฉันพยายาม จะให้สั้นที่สุดนะคะ แล้วก็ส่วนที่ท่านอภิปรายก็คงจะชัดเจนว่าประเด็นไหน ดิฉันอยากจะให้ ยืนยันนะคะ หลาย ๆ เรื่องนี่หลาย ๆ ท่านได้พูดไปแล้ว ดิฉันก็จะขอเสริมบางประเด็นที่ดิฉัน อาจจะต้องการยืนยันจริง ๆ นี่นะคะ
ประเด็นแรกเลยดิฉันคิดว่าสิ่งที่ท่านกรรมาธิการได้เสนอมาส่วนใหญ่เราก็ เห็นด้วยนะคะ โดยส่วนตัวดิฉันก็อยากจะขอเพียงบางประเด็น อันแรกก็คือเรื่องของจำนวน สมาชิกในกรรมาธิการ แล้วก็สัดส่วนสมาชิกภายนอก ซึ่งดิฉันเห็นด้วยกับที่กรรมาธิการเสนอ ที่เสนอว่า ๑๓-๒๙ แล้วก็ภายนอก ๒๕ เปอร์เซ็นต์ คือดิฉันมองว่าเหตุผลหนึ่งที่ดิฉันเห็นด้วย ตรงนี้นะคะ สำหรับท่านที่ไม่เห็นด้วยก็คือว่า สปช. นี่เป็นงานในลักษณะของการระดมสมอง เบ็ดเสร็จแล้วมากที่สุด ๓๖ ก็ไม่น่าจะมากเกินไป ในส่วนที่ว่าสัดส่วนของภายนอก ให้สรรหามาจากผู้ที่เสนอตัวเข้ารับการสรรหาเป็น สปช. ดิฉันก็เห็นด้วย เพราะว่าท่านก็เป็น อาสาสมัครเหมือนเราสมศักดิ์ศรีทุกประการ แต่ในส่วนที่ดิฉันเห็น อาจจะเห็นต่างจากที่ กรรมาธิการ แล้วก็เห็นด้วยกับเพื่อนสมาชิกที่ได้เสนอก็คือว่า ดิฉันเห็นว่าเห็นด้วยแล้วก็คงจะ ยืนยันนะคะว่า ผู้ที่เสนอชื่อควรจะเป็นตัวกรรมาธิการที่เกี่ยวข้อง เพราะเหตุว่าเขาย่อม จะต้องรู้ว่าเขาจะทำงานกับใครได้บ้างนะคะ แล้วก็ใครบ้างที่เหมาะสม เขาขาดตรงไหน เขาเกินตรงไหน ดิฉันคิดว่าตรงนั้นก็น่าจะเป็นกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องเป็นคนเสนอนะคะ ส่วนวิธีการว่าจะไปให้คนอื่นเสนอเข้ามาแล้วมาพิจารณาอะไรทั้งหลาย ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่อง ของขั้นตอนที่ไปจัดการกันเองได้ภายในนะคะ
ทีนี้ประเด็นถัดไปก็คือว่า ในเรื่องของการท่องเที่ยวแล้วก็อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ดิฉันก็เห็นด้วยว่าควรจะมีกรรมาธิการนะคะ ดิฉันมาจากกรรมาธิการเศรษฐกิจ แล้วก็ดิฉันเข้าใจว่าผู้ที่เสนอในเรื่องของการท่องเที่ยวท่านก็คงจะไม่ขัดข้องที่จะให้แยกเป็น กรรมาธิการต่างหากนะคะ แต่ในเรื่องของการกีฬาดิฉันก็เห็นด้วยกับหลาย ๆ ท่านว่าควรจะ คงอยู่ ไม่เห็นด้วยที่จะทิ้งไปนะคะ แต่ทีนี้ถ้าเราเอาการกีฬาไปไว้กับการศึกษา เพราะว่า เรื่องของการพัฒนาเยาวชน พัฒนาคนทั้งหลาย การศึกษามันหนักมาก ดิฉันมาจาก ภาคการศึกษาเหมือนกัน ถ้าถามว่าการกีฬาเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวไหม เกี่ยวนะคะ เพราะเหตุว่าถ้าเรามีเรื่องของกีฬา แล้วถ้าสมมุติว่าเราก็ต้องไปไกลถึงการแข่งขันมันก็จะมี เรื่องของการท่องเที่ยวต่าง ๆ เวลามีมาแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกประเทศ เพราะฉะนั้นก็เลยอยากจะเสนอว่าให้คงการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการกีฬาไว้ด้วยกันเหมือนเดิมนะคะ ใน (๑๑) ในเรื่องของการปฏิรูปการสื่อสารมวลชน แล้วก็เทคโนโลยีสารสนเทศ ดิฉันขออภัย ภาษาอังกฤษคงจะหมายความว่า เป็นอินฟอร์เมชัน เทคโนโลยี (Information technology) ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ขัดข้อง แต่ว่าเมื่อสักครู่มีท่านสมาชิก ได้เสนอแล้วว่ามันมีเทคโนโลยีที่สำคัญมาก ๆ ต่อการปฏิรูป ต่อการพัฒนาประเทศ อีกอันหนึ่งก็คือเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม การปฏิรูปทั้งหลายตอนนี้ต้องอาศัย เทคโนโลยีอันนี้ ไม่ว่าจะเป็นดิจิทัล อิโคโนมี (Digital economy) ของท่านนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลดช่องว่างของโอกาสเข้าสู่การศึกษา เข้าสู่สาธารณสุข เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมที่เราเรียกย่อ ๆ ว่าไอซีที นี่สำคัญมาก ทีนี้ถ้าจะไปให้รวมกับเรื่องของสื่อสารมวลชน ดิฉันก็คิดว่ามันอาจจะต้องการอะไรที่มากกว่านั้น หรือเปล่านะคะ ถ้าจะไปไว้กับ ๑๗ ดิฉันขอเสนอแล้วกันนะคะว่าไว้กับ ๑๗ ได้ไหม ๑๗ นี่เป็นเรื่องของการปฏิรูปวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคม คือดิฉันต้องการให้เน้น เพราะเหตุว่าเทคโนโลยีตัวนี้สำคัญจริง ๆ ตอนนี้มันเข้ามาในชีวิต แล้วเยาวชนก็ได้ถูกเทคโนโลยีอันนี้เข้าไปเยอะแยะแล้ว พวกเราก็เหมือนกันก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นก็ขออนุญาตเรียนว่าเอาไปไว้ตรงนั้นจะดีไหมนะคะ ก็เรียนเสนอให้ชัดเจนว่า ดิฉันเห็นว่าควรจะอยู่ตรงนั้น ดิฉันก็มีประเด็นเพียงแค่นี้ ขอบพระคุณท่านประธานค่ะ
อย่างที่ดิฉันเรียนว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและ โทรคมนาคมมันเป็นเทคโนโลยีที่กระทบทุกภาคส่วนที่เรากำลังจะปฏิรูป แล้วมันก็สำคัญต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ของเรา กระทบโอกาสทั้งหลายทั้งปวงของแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การศึกษา เรื่องสาธารณสุข ดิฉันก็เลยคิดว่าน่าจะไปอยู่ในเรื่องของวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี แล้วก็นวัตกรรมใหม่ ๆ เพราะตรงนั้นก็กระทบเรื่องอื่น ๆ อยู่เหมือนกัน ดิฉันติดใจว่า น่าจะอยู่ตรงนี้ ถ้าสื่อสารมวลชนดิฉันก็เกรงว่าเดี๋ยวจะเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและ โทรคมนาคมไปให้เฉพาะเรื่องของสื่อสารมวลชน ขอบพระคุณค่ะ
ประเด็นที่ดิฉันจะพูดก็ประเด็นเดียวกับ ท่านเกริกไกร ขออภัยที่ต้องเอ่ยนามท่านนะคะ เพราะว่าเศรษฐกิจมันอยู่รัฐธรรมนูญ แล้วคำนี้ คงจะหายไปไม่ได้นะคะ ขอบพระคุณค่ะ