นายไพบูลย์ นิติตะวัน

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายไพบูลย์ นิติตะวัน ในฐานะสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านการเมือง ท่านประธานครับ ก่อนอื่นผมก็ต้องขออนุญาตว่าที่ผมอภิปรายนี้ไม่ใช่ด้วยความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคณะกรรมาธิการ กิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) นั้น แต่ที่จริงแล้วผมเข้าใจนะครับ เข้าใจที่ใน คณะกรรมาธิการที่ท่านมีข้อเสนอให้ที่ประชุมแห่งนี้พิจารณา ผมเข้าใจว่าเป็นเจตนาดีร่วมกัน ที่อยากจะให้ภาพพจน์ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่อยากจะให้รัฐธรรมนูญที่ยกร่างออกมานั้น เป็นประโยชน์กับประเทศชาติอย่างแท้จริง แต่เป็นเพียงแค่ว่าสิ่งที่ผมต้องการอภิปรายก็ด้วย เหตุผลว่า ในความคิดบางแง่บางมุมนั้นอาจจะเป็นประเด็นที่จะมีผลในทางตรงข้าม ก็จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องขอรบกวนเวลาสภาแห่งนี้ ท่านประธานครับ ประเด็นที่ผมอยากจะอภิปรายไม่เห็นด้วยนั้นก็คือ ในสัดส่วนของ สปช. ที่เสนอชื่อเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ให้เสนอได้ ๒๐ คน แต่คณะกรรมาธิการได้มีความเห็นว่าควรจะจำกัดให้เหลือเพียง ๑๕ คน การที่คณะกรรมาธิการมองว่าควรเหลือ ๑๕ คนนั้นมีเหตุผลหลาย ๆ ประการ ซึ่งท่าน ก็ได้กล่าวกันไปแล้ว แต่ในส่วนผมผมอยากจะเรียนว่าผมไม่เห็นด้วยกับการไปจำกัด เหลือเพียง ๑๕ คน ด้วยเหตุใหญ่ ๆ อยู่ ๓ ประการครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๑ เป็นเรื่องของภาระหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งพวกเรา สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติได้อาสามา เพื่อที่จะมาทำหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจ ปฏิรูปแห่งชาติให้ประสบความสำเร็จ ให้ลุล่วงได้อย่างเป็นรูปธรรม แล้วก็ต้องการที่จะ กระทำให้การปฏิรูปแห่งชาตินั้นมีผลโดยเร็ว เพื่อให้ทันต่อความต้องการของพี่น้องประชาชน ที่เรียกร้องกัน แต่ว่าประเด็นสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นก็คือ เราจะต้องพิจารณาในที่ประชุมแห่งนี้ในคณะกรรมาธิการ เพื่อหาประเด็นของการที่จะต้อง ปฏิรูปแต่ละด้านแต่ละประเด็นทั้งหมดนั้น แน่นอนในหลาย ๆ เรื่องเป็นเรื่องที่นำเสนอ ฝ่ายบริหาร คณะรัฐมนตรีก็ไปดำเนินการแก้ไขได้ แต่ส่วนใหญ่เลยครับผมขออนุญาตกราบเรียน ว่าเป็นเรื่องที่เราจะต้องไปแก้ไขกฎหมาย เป็นเรื่องที่จะต้องไปบรรจุไว้อยู่ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการที่จะให้มีผลอย่างแท้จริงแล้ว แน่นอนในรัฐธรรมนูญนั้นต้องบัญญัติไว้ในเรื่อง การปฏิรูปในประเด็นต่าง ๆ เป็นอยู่ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และนอกจากนั้น ในความคิดส่วนตัวผมแล้วว่าเรายังจะต้องเสนอให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบัญญัติกฎหมาย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูปแต่ละด้านด้วย เพื่อให้พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวนั้นมีผลที่นำไปสู่การปฏิรูปได้อย่างแท้จริง อาจจะมีผลในการที่ ไปยกเลิกกฎหมาย พระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่ออกก่อนหน้านั้น ที่มีผลไปขัดหรือแย้ง ต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูปที่ออกไปนั้นก็ให้สิ้นผลไป ซึ่งจะทำให้ การออกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูปนั้นจะมีผลเป็นรูปธรรม แล้วก็มีผลที่เอาไปใช้งานได้ทันที แต่การทั้งหลายนั้นจะสำเร็จลุล่วงได้ จำเป็นอย่างยิ่งครับ ท่านประธานที่จะต้องมีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเข้าไปเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอยู่แล้วคือ ๒๐ ท่าน ซึ่งเป็นเสียงข้างมากในกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้นถ้าเราไปลดสัดส่วนจำกัดอยู่เหลือเพียง ๑๕ ท่าน ก็จะทำให้เรา กลายเป็นเสียงข้างน้อย การผลักดันภารกิจที่ทุกท่านมุ่งที่จะมาดำเนินการก็คือปฏิรูปประเทศ ให้สำเร็จนั้นก็จะเป็นเรื่องซึ่งยุ่งยากขึ้นมา ดังนั้นจึงเห็นว่าสัดส่วนที่ ๒๐ คนนั้นเป็นโอกาสแล้ว ที่จะทำให้สภาปฏิรูปแห่งชาติเราได้ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ และนอกจากนั้นครับ ท่านประธาน ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๙ ก็ยังบัญญัติไว้อีกครับว่า ในเมื่อมีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญใหม่แล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้นั้น อย่างที่ผมเรียนไปเมื่อกี้ครับ ถ้าเรามีเสียงอยู่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นเสียงข้างมาก เราย่อมเห็น ประโยชน์ของการปฏิรูปแห่งชาติประเด็นต่าง ๆ เป็นสำคัญ ดังนั้นเราย่อมบัญญัติได้ ในรัฐธรรมนูญว่าให้มีบทเฉพาะกาล ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูปแห่งชาติ ก็จะทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วย ความรวดเร็ว นี่คือประเด็นที่ ๑ นะครับ ก็คือความจำเป็นที่จะต้องมีสมาชิก ๒๐ ท่าน อยู่ในกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

    อ่านในการประชุม

  • ในประเด็นที่ ๒ ครับท่านประธาน ในสภาปฏิรูปแห่งชาติแห่งนี้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒๕๐ ท่าน ที่เข้ามาโดยกระบวนการคัดสรรกันโดยใช้มาจาก ๗,๐๐๐ กว่าคนที่อาสาเข้ามา เราได้ ๒๕๐ ท่านนั้นล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ทรงคุณวุฒิ และมีความหลากหลายอย่างครบถ้วนอยู่แล้ว แล้วก็ผ่านกระบวนการสรรหามาด้วยการใช้ เวลาถึง ๒ เดือน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวก็ได้รับการกลั่นกรอง ได้รับการตรวจสอบ จากประชาชนในสังคมทั้งหมดอยู่แล้ว และบุคคลดังกล่าวนั้นถ้าหากไปเป็นกรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญก็จะไม่มีข้อครหาใด ๆ เพราะเป็นการที่ได้เข้าไปดำรงตำแหน่ง ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ ผ่านกระบวนการ มีขั้นมีตอน แล้วก็รวมทั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วก็มีความหลากหลายครบถ้วน จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะไปเป็นกรรมาธิการ ทั้ง ๒๐ ท่าน

    อ่านในการประชุม

  • และในประการสุดท้าย ท่านประธานครับ ถ้าหากเราจำกัดสมาชิก ๑๕ ท่าน เท่านั้นที่ไปเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ แล้วอีก ๕ ท่านเราเสนอให้ไปสรรหา จากบุคคลภายนอกโดยคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) นั้น ผมเกรงว่า การที่ไปมีมติอย่างนั้นจะสร้างปัญหาให้คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) อย่างหนักเลย ในเรื่องจะถูกครหาทุกประการ ในเรื่องจะทำให้เกิดความขัดแย้ง ขึ้นอย่างมากมาย เพราะด้วยเหตุผลสั้น ๆ ก็คือ ท่านประธานครับ เงื่อนไขเวลา เงื่อนไขเวลา เรามีเงื่อนไขเพียงสั้น ๆ เท่านั้นเองไม่กี่วันที่จะทำเรื่องนี้ให้เสร็จตามรัฐธรรมนูญจำกัดเวลาไว้ ก็คือจากวันนี้ไปไม่น่าจะเกิน ๗ วันเท่านั้นเอง ดังนั้นหากดำเนินการเพื่อให้ได้มาโดย คณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) ภายใน ๗ วันนั้น เงื่อนไขต่าง ๆ ผมเชื่อว่า ครหา คำที่บอกว่าเอื้อประโยชน์พรรคพวกหรือเปล่า คำที่บอกว่าทำไมไปเลือกคนโน้น ทำไมไปเลือกคนนี้ เสียงทักท้วงจะเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้นด้วยความเป็นห่วงครับท่านประธาน จึงไม่เห็นด้วยในส่วนนี้ แล้วก็รวมทั้งท่านประธานครับ บุคคลถ้ามาจากภายนอกที่เสนอไว้นั้น มีข้อจำกัดเรื่องรัฐธรรมนูญด้วย เพราะบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ครับ กรรมาธิการ ยกร่างรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ๆ มาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ถ้าเราจะเอาคู่ขัดแย้งทั้งหลายมาซึ่งเป็นพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่มีชื่อปรากฏอยู่นั้น เป็นพรรคใหญ่ แล้วก็รวมทั้งกลุ่มประชาชนต่าง ๆ ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นสมาชิก พรรคการเมืองทั้งสิ้น ดังนั้นโดยข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญนั้นก็จำกัดไว้ แต่ถ้าบอกว่า ก็ไปหาผู้ทรงคุณวุฒิข้างนอก ก็ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีอยู่ในนี้แล้วตั้ง ๒๕๐ ท่านทำไมไม่เอา ก็จะเกิดคำถามขึ้น

    อ่านในการประชุม

  • และประการสุดท้ายครับท่านประธาน ถ้ามีการคัดเลือกไม่ว่าเอาจาก ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาก็ตาม ผลก็คือประชาชนอีกฝ่ายหนึ่งเขาก็จะไม่เห็นด้วย เขาก็จะ วิพากษ์วิจารณ์จะทำให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นอย่างมากมาย จนทำให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ แทนที่เราจะได้ปฏิรูปประเทศตามความที่เราตั้งใจอาสากันมา เราก็มัวแต่จะต้อง ไปยุ่งเกี่ยวกับประเด็นที่ต้องตอบคำถามของสังคมไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ด้วยความเป็นห่วงก็จึงต้องขออนุญาตทักท้วงในประเด็นเรื่องเกี่ยวกับสัดส่วน ๒๐ คน ของสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นให้ลดจำนวนลง จำกัดสิทธิของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้เหลือเพียง ๑๕ คนนั้น ผมเห็นว่าจะสร้างปัญหาให้กับสภาปฏิรูปแห่งชาติ จึงไม่เห็นด้วย กับในประเด็นดังกล่าว แล้วก็พร้อมกันนั้นผมยังอยากจะขอเรียนอีกต่อเหมือนตอนแรก แต่ผมเข้าใจในเจตนาดีของท่านกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (ชั่วคราว) นะครับ ผมคิดว่าท่านจะรับฟังข้อโต้แย้งของผม ด้วยความเคารพครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพและท่านสมาชิก ที่เคารพทุกท่าน ผม นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งในฐานะที่อาสา เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ผมนั้นมีประวัติการทำงานเกี่ยวข้อง กับทางด้านรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด แล้วก็ได้มีการทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกวุฒิสภาสรรหา ภาครัฐ และสมาชิกวุฒิสภาสรรหาภาคอื่น ผมได้ปฏิบัติหน้าที่ในวุฒิสภานั้นได้รับหน้าที่เป็น ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา ในหลาย ๆ ห้วงนั้นได้มีส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ แล้วก็ได้เห็นปัญหาของการบังคับใช้อยู่หลาย ๆ ส่วน และนอกจากนั้นได้ทำหน้าที่ในด้านที่ตรวจสอบ ติดตาม ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน แล้วก็ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในส่วนของฝ่ายบริหาร ได้พบปัญหาอยู่มากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่อาจจะมาจากรัฐธรรมนูญที่อาจจะเขียนไว้ไม่ครอบคลุม จนกระทั่งทำให้ เป็นช่องว่างเกิดปัญหาต่าง ๆ ได้ และนอกจากนั้นผมนอกจากทำงานอยู่ในวุฒิสภาแล้ว ก็ได้มีโอกาสสำคัญที่ไปมีส่วนร่วมกับประชาชนจำนวนหลาย ๆ ล้านท่านที่เข้ามาเคลื่อนไหว ในนามของมวลมหาประชาชน ซึ่งเรียกร้องให้ปฏิรูปประเทศไทย ดังนั้นผมได้รับปากไว้เยอะ แล้วครับว่าจะเข้ามาปฏิรูปประเทศไทยให้ได้ ดังนั้นเมื่อมีโอกาสจึงเข้ามาใน สปช. จึงขอ อาสาเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อนำรัฐธรรมนูญนั้นเป็นรัฐธรรมนูญเพื่อ การปฏิรูปประเทศไทยอย่างแท้จริงครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เคารพ ผม นายไพบูลย์ นิติตะวัน ในฐานะสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการเมือง ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตกราบเรียนผ่านไปยังท่านเพื่อนสมาชิกว่า ข้อบังคับ การประชุมนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำหน้าที่ของสภาแห่งนี้ แต่เพื่อนสมาชิกทุกท่านนั้น ก็ล้วนแล้วแต่อยากจะให้ข้อบังคับนี้นำมาบังคับใช้โดยเร็ว เพื่อที่จะมีการจัดตั้งกรรมาธิการ ด้านต่าง ๆ ได้ แต่ประเด็นการพิจารณานั้นเนื่องจากเราใช้ข้อบังคับของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติอยู่ ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาเป็น ๓ วาระ ซึ่งในขณะนี้เราอยู่ในการ พิจารณาในวาระที่หนึ่งคือในชั้นของการรับหลักการ ผมขออนุญาตรบกวนเวลาเพียงนิดเดียวว่า ถ้าในชั้นรับหลักการนั้น ถ้าเราพิจารณาอภิปรายกันในการรับหลักการก็แน่นอนเราก็คงต้อง รับหลักการ ถ้าเราใช้เวลาในวาระที่หนึ่งเพียงไม่มาก ประเด็นต่าง ๆ ในรายละเอียดนั้น เราก็ไปอภิปรายกันในวาระที่สอง ซึ่งจะพิจารณากันเป็นทีละรายมาตรา ซึ่งบางมาตรานั้น ผมคิดว่าเพื่อนสมาชิกหลายท่านก็คงไม่ติดใจที่จะอภิปรายก็จะทำให้เราไปได้เร็ว แต่ในส่วน มาตราที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกรรมาธิการนั้น ผมเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกจะต้องการใช้เวลา ในการอภิปรายแสดงความคิดเห็นในส่วนนั้นมาก ผมก็ขอท่านประธานเปิดในส่วนนั้น ให้อย่างเต็มที่ แต่ว่าสำหรับส่วนผมนั้นในการพิจารณาในรับเรื่องวาระที่หนึ่ง หลักการของ ข้อบังคับแห่งนี้ ซึ่งมีการยกร่างโดยอิงข้อบังคับของ สนช. แล้วมาปรับโดยกรรมาธิการ ยกร่างข้อบังคับ ที่ขออนุญาตมีท่าน พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช เป็นประธาน กรรมาธิการยกร่างนั้น ผมเห็นว่าครอบคลุมแล้วสอดคล้องกับภารกิจของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ผมจึงเห็นว่าควรรับหลักการไว้พิจารณาครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายไพบูลย์ นิติตะวัน ในฐานะสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านประธานครับ ในวันนี้การอภิปรายเรื่อง การจัดการเกี่ยวกับสัมปทานปิโตรเลียมในรอบที่ ๒๑ นั้น ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น ๒๙ แปลง เรื่องนี้สังคมได้รับรู้ปัญหามาโดยตลอด แล้วก็ในฝ่ายที่ได้เสนอแนวคิดที่จะให้มี การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเปิดให้จัดหาผลประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้นในรูปแบบแบ่งปัน ผลผลิตนั้น ก็ได้เสนอเรื่องนี้มาตั้งหลายปี แล้วผมในฐานะตอนนั้นเป็นสมาชิกวุฒิสภา ก็ได้มีเชิญให้ฝ่ายของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้มาชี้แจงข้อดีข้อเสียของทั้ง ๒ ระบบ ผมขอเรียนนะครับว่าผมได้ถามเจ้าหน้าที่แล้วซึ่งดูแลโดยตรง มีเจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งมาจาก โครงการร่วมไทย-มาเลเซียที่มีรูปแบบการแบ่งปันผลผลิต ซึ่งอยู่ในเขตที่มีการดำเนินการนั้น ผมก็ได้ถามว่าผลการดำเนินการดังกล่าวนั้นเปรียบเทียบกับระบบสัมปทานที่ใช้อยู่นั้น เป็นอย่างไร เขาตอบว่าอย่างไรครับท่านประธาน เขาตอบว่าดีกว่าอย่างแน่นอนนะครับ ดีกว่าอย่างแน่นอนครับ ดีกว่าระบบสัมปทาน แต่ว่าพอถามว่าแล้วเหตุใดจึงไม่ใช้ ระบบแบ่งปันผลผลิต ในนั้นก็มีมาหลายฝ่ายจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ส่วนใหญ่แล้วที่ตอบ ก็คือติดเงื่อนไขของกฎหมาย กฎหมายบัญญัติไว้โดย พ.ร.บ. ไปเกี่ยวข้องอยู่หลายส่วน ในเรื่องการจัดการเรื่องการแบ่ง เรื่องภาษี เรื่องอะไรต่าง ๆ นั้นจึงทำให้ต้องใช้ ระบบสัมปทาน ถ้าจะต้องดำเนินการแบ่งปันผลผลิตต้องใช้เวลาออกกฎหมายนานมาก ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาซึ่งผมก็เข้าใจว่าการออกกฎหมายทำได้ยาก แต่ผมยังคิดว่า ถ้ามีเจตจำนงจริง ๆ เปรียบเทียบแล้วว่าดีกว่า การออกพระราชกำหนดต่าง ๆ ก็ยังทำได้ ถ้าจะทำกันจริง ๆ นะครับ แต่ผมยืนยันว่ารูปแบบการออกโดยลักษณะแบ่งปันผลผลิตนั้น ขนาดเจ้าหน้าที่ที่เขาดูแลโดยตรง เขาบอกผมนะครับ แล้วอย่าว่าแต่ข้อมูลจาก ประเทศเพื่อนบ้านก็ล้วนแล้วแต่ยืนยันไปในทิศทางเดียวกัน ผมจึงเห็นว่าประเทศไทยเราจริง ๆ ทำไมไม่มีการออกแบบทั้ง ๒ แบบไว้ แล้วแน่นอนครับหลายจุดผมก็เชื่อว่าระบบสัมปทาน น่าจะดี แต่หลายจุดก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตถึงจะค่อยเหมาะสม จึงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับประเทศ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายไพบูลย์ นิติตะวัน ในฐานะสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านประธานครับ ในวันนี้การอภิปรายเรื่อง การจัดการเกี่ยวกับสัมปทานปิโตรเลียมในรอบที่ ๒๑ นั้น ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น ๒๙ แปลง เรื่องนี้สังคมได้รับรู้ปัญหามาโดยตลอด แล้วก็ในฝ่ายที่ได้เสนอแนวคิดที่จะให้มี การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเปิดให้จัดหาผลประโยชน์จากปิโตรเลียมนั้นในรูปแบบแบ่งปัน ผลผลิตนั้น ก็ได้เสนอเรื่องนี้มาตั้งหลายปี แล้วผมในฐานะตอนนั้นเป็นสมาชิกวุฒิสภา ก็ได้มีเชิญให้ฝ่ายของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้มาชี้แจงข้อดีข้อเสียของทั้ง ๒ ระบบ ผมขอเรียนนะครับว่าผมได้ถามเจ้าหน้าที่แล้วซึ่งดูแลโดยตรง มีเจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งมาจาก โครงการร่วมไทย-มาเลเซียที่มีรูปแบบการแบ่งปันผลผลิต ซึ่งอยู่ในเขตที่มีการดำเนินการนั้น ผมก็ได้ถามว่าผลการดำเนินการดังกล่าวนั้นเปรียบเทียบกับระบบสัมปทานที่ใช้อยู่นั้น เป็นอย่างไร เขาตอบว่าอย่างไรครับท่านประธาน เขาตอบว่าดีกว่าอย่างแน่นอนนะครับ ดีกว่าอย่างแน่นอนครับ ดีกว่าระบบสัมปทาน แต่ว่าพอถามว่าแล้วเหตุใดจึงไม่ใช้ ระบบแบ่งปันผลผลิต ในนั้นก็มีมาหลายฝ่ายจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ส่วนใหญ่แล้วที่ตอบ ก็คือติดเงื่อนไขของกฎหมาย กฎหมายบัญญัติไว้โดย พ.ร.บ. ไปเกี่ยวข้องอยู่หลายส่วน ในเรื่องการจัดการเรื่องการแบ่ง เรื่องภาษี เรื่องอะไรต่าง ๆ นั้นจึงทำให้ต้องใช้ ระบบสัมปทาน ถ้าจะต้องดำเนินการแบ่งปันผลผลิตต้องใช้เวลาออกกฎหมายนานมาก ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาซึ่งผมก็เข้าใจว่าการออกกฎหมายทำได้ยาก แต่ผมยังคิดว่า ถ้ามีเจตจำนงจริง ๆ เปรียบเทียบแล้วว่าดีกว่า การออกพระราชกำหนดต่าง ๆ ก็ยังทำได้ ถ้าจะทำกันจริง ๆ นะครับ แต่ผมยืนยันว่ารูปแบบการออกโดยลักษณะแบ่งปันผลผลิตนั้น ขนาดเจ้าหน้าที่ที่เขาดูแลโดยตรง เขาบอกผมนะครับ แล้วอย่าว่าแต่ข้อมูลจาก ประเทศเพื่อนบ้านก็ล้วนแล้วแต่ยืนยันไปในทิศทางเดียวกัน ผมจึงเห็นว่าประเทศไทยเราจริง ๆ ทำไมไม่มีการออกแบบทั้ง ๒ แบบไว้ แล้วแน่นอนครับหลายจุดผมก็เชื่อว่าระบบสัมปทาน น่าจะดี แต่หลายจุดก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตถึงจะค่อยเหมาะสม จึงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับประเทศ

    อ่านในการประชุม

  • แล้วนอกจากนั้นยังมีอีกประเด็นหนึ่งครับ ผมถามว่าระบบสัมปทานนั้น ท่านใช้วิธีคิดค่าน้ำมันดิบอย่างไร เขาใช้ราคาน้ำมันที่บ่อเป็นราคาดูไบ บ่อดูไบ คือไปขุด อยู่ที่ประเทศดูไบก็ใช้ราคานี้ ขุดอยู่ที่อ่าวไทยก็ราคานี้ เมื่อใช้ราคาเดียวกันแล้วให้สัมปทาน น้ำมันปิโตรเลียมที่ขุดได้นั้นเป็นของบริษัทผู้ขุด เขาก็ขายในราคาดูไบอยู่ที่ประเทศดูไบ แต่ขายไปสิงคโปร์ ค่าขนส่งเขาประหยัดไปตั้งเท่าไร สิ่งเหล่านี้เราไม่ได้พูด แต่ถ้าเป็น การแบ่งสัดส่วน โดยการใช้ระบบการแบ่งสัดส่วนน้ำมันเป็นของรัฐ เราก็จะมีโอกาสที่จะใช้ น้ำมันที่ขุดขึ้นมาได้นั้นไปใช้เข้าโรงกลั่นประเทศไทยในราคาดูไบ ซึ่งก็ประหยัดค่าขนส่งลงไปอีก ผลประโยชน์เหล่านี้เป็นประโยชน์ที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งโดยหลักในการคิดเชิงธุรกิจแล้ว เห็นว่าการแบ่งสัดส่วนนั้นย่อมเป็นประโยชน์ต่อประเทศในการให้สัมปทานอย่างแน่นอน แต่เมื่ออ้างเหตุว่ารอบที่ ๒๑ นั้นมีความจำเป็นเร่งรัดเข้ามาในห้วงเวลานี้ แต่ถ้าไปใช้วิธี อย่างที่กรรมาธิการเสียงข้างมากเสนอมา ทางเลือกที่ ๑ ที่ ๒ นั้นคงไม่เหมาะ ทางเลือกที่ ๓ ผมเรียนเลยครับ ก็เป็นการหน่วงเวลาเช่นเดียวกัน ระบบการที่จะทำให้เกิดระบบ แบ่งปันผลผลิตก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นผมเสนอทางเลือกที่ ๔ ครับ ทางเลือกที่ ๔ คือ ท่านจะจัดสัมปทานโดยปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ก็ทำได้ แต่ท่านทำได้แค่จำนวนหนึ่ง อาจจะไม่เกินกึ่งหนึ่งเท่านั้น เสร็จแล้วในขณะเดียวกันท่านต้องดำเนินการออกกฎหมาย เพื่อให้เกิดระบบการแบ่งปันผลผลิตในทันที ในเวลาเดียวกัน แล้วอีกครึ่งหนึ่งของ รอบ ๒๑ นั้นไปดำเนินการโดยการแบ่งปันผลผลิต สิ่งที่ผมเรียนเสนอเป็นรูปแบบ ทางเลือกที่ ๔ ผมคิดว่าจะเป็นทางออกที่จะทำให้สังคมของประเทศไทยเราได้ข้อยุติในทางที่ดี และประการสำคัญครับท่านประธาน เราเป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติ ถ้าไปจบโดยทางเลือกที่ ๓ ไม่ใช่งานของสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้วครับ เพราะมันไม่ได้ปฏิรูปอะไรเลย ดังนั้นผมเสนอว่า ทางเลือกที่ ๔ เป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • แล้วนอกจากนั้นยังมีอีกประเด็นหนึ่งครับ ผมถามว่าระบบสัมปทานนั้น ท่านใช้วิธีคิดค่าน้ำมันดิบอย่างไร เขาใช้ราคาน้ำมันที่บ่อเป็นราคาดูไบ บ่อดูไบ คือไปขุด อยู่ที่ประเทศดูไบก็ใช้ราคานี้ ขุดอยู่ที่อ่าวไทยก็ราคานี้ เมื่อใช้ราคาเดียวกันแล้วให้สัมปทาน น้ำมันปิโตรเลียมที่ขุดได้นั้นเป็นของบริษัทผู้ขุด เขาก็ขายในราคาดูไบอยู่ที่ประเทศดูไบ แต่ขายไปสิงคโปร์ ค่าขนส่งเขาประหยัดไปตั้งเท่าไร สิ่งเหล่านี้เราไม่ได้พูด แต่ถ้าเป็น การแบ่งสัดส่วน โดยการใช้ระบบการแบ่งสัดส่วนน้ำมันเป็นของรัฐ เราก็จะมีโอกาสที่จะใช้ น้ำมันที่ขุดขึ้นมาได้นั้นไปใช้เข้าโรงกลั่นประเทศไทยในราคาดูไบ ซึ่งก็ประหยัดค่าขนส่งลงไปอีก ผลประโยชน์เหล่านี้เป็นประโยชน์ที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งโดยหลักในการคิดเชิงธุรกิจแล้ว เห็นว่าการแบ่งสัดส่วนนั้นย่อมเป็นประโยชน์ต่อประเทศในการให้สัมปทานอย่างแน่นอน แต่เมื่ออ้างเหตุว่ารอบที่ ๒๑ นั้นมีความจำเป็นเร่งรัดเข้ามาในห้วงเวลานี้ แต่ถ้าไปใช้วิธี อย่างที่กรรมาธิการเสียงข้างมากเสนอมา ทางเลือกที่ ๑ ที่ ๒ นั้นคงไม่เหมาะ ทางเลือกที่ ๓ ผมเรียนเลยครับ ก็เป็นการหน่วงเวลาเช่นเดียวกัน ระบบการที่จะทำให้เกิดระบบ แบ่งปันผลผลิตก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นผมเสนอทางเลือกที่ ๔ ครับ ทางเลือกที่ ๔ คือ ท่านจะจัดสัมปทานโดยปิโตรเลียมรอบที่ ๒๑ ก็ทำได้ แต่ท่านทำได้แค่จำนวนหนึ่ง อาจจะไม่เกินกึ่งหนึ่งเท่านั้น เสร็จแล้วในขณะเดียวกันท่านต้องดำเนินการออกกฎหมาย เพื่อให้เกิดระบบการแบ่งปันผลผลิตในทันที ในเวลาเดียวกัน แล้วอีกครึ่งหนึ่งของ รอบ ๒๑ นั้นไปดำเนินการโดยการแบ่งปันผลผลิต สิ่งที่ผมเรียนเสนอเป็นรูปแบบ ทางเลือกที่ ๔ ผมคิดว่าจะเป็นทางออกที่จะทำให้สังคมของประเทศไทยเราได้ข้อยุติในทางที่ดี และประการสำคัญครับท่านประธาน เราเป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติ ถ้าไปจบโดยทางเลือกที่ ๓ ไม่ใช่งานของสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้วครับ เพราะมันไม่ได้ปฏิรูปอะไรเลย ดังนั้นผมเสนอว่า ทางเลือกที่ ๔ เป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านประธานครับ ในฐานะผมเสนอวิธีที่ ๕ แล้วก็ ผมอยากจะเรียนอย่างนี้ครับ ถ้าท่านที่บอกว่าให้เสนอเป็นความเห็นของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ไปยังคณะรัฐบาล คณะรัฐบาลถามขอความเห็น เขาไม่ได้ถามอย่างที่กรรมาธิการตอบมา วิธีที่ ๑ วิธีที่ ๒ วิธีที่ ๓ แต่ถ้าท่านจะลงมตินะครับ ผมก็ต้องตั้งคำถามให้ชัดในที่ประชุมด้วย เช่นเดียวกันกับที่ท่านประชากล่าวไว้ คือเช่น ท่านที่ประชุมแห่งนี้ชอบวิธีการแบบระบบ สัมปทาน หรือวิธีการแบบแบ่งปันผลผลิต ก็ต้องมาโหวตกันตรงนี้ก่อนด้วย เพื่อให้เกิด ความชัดเจน แล้วก็ส่วนต่อมาบอกว่าแล้วก็จะเลื่อนหรือไม่เลื่อนนะครับ จะโหวตกัน เลื่อนหรือไม่เลื่อนก็ค่อย ๆ มาว่ากันอีก แล้วก็โหวตกันอีกว่าจะเอา ๔ บ่อ บงกชของ ท่านอลงกรณ์นั้นไปใช้วิธีอย่างที่ท่านอลงกรณ์ว่า ท่านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ท่านต้องโหวต ไปเรื่อย ๆ ครับ ไม่ใช่โหวตแค่ ๓ นะครับ ดังนั้นเมื่อรัฐบาลเขาตั้งโจทย์มาไม่ใช่อย่างนั้น เราทำไมต้องไปทำอย่างนั้นด้วย เมื่อเขาถามความเห็นของสภาปฏิรูปแห่งชาติ เราก็ดำเนินการ เมื่อกี้ก็รับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง มีรายงานทั้งของกรรมาธิการ รายงานของทางชุดของท่านประชา เตรัตน์ และท่านสมาชิกก็อภิปรายกันครอบคลุม ไปทุกประเด็นแล้ว ผมคิดว่านั่นคือความเห็นของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดังนั้นก็ส่งไปอย่างที่ เมื่อกี้เรามีมติ เรามีการยกมือรับรองถูกต้องแล้ว ผมว่าเราลงมติเบื้องต้นก่อนก็แล้วกันครับ แต่ถ้าส่วนว่าแล้วสุดท้ายจะส่งไปอีกครั้งหนึ่งเป็นรายประเด็นต่าง ๆ นั้นผมก็จะยกมือ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อกำหนดประเด็นในการโหวตต่อนะครับ ขอเรียนท่านประธานเพียงเท่านี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ท่านประธานครับ ในฐานะผมเสนอวิธีที่ ๕ แล้วก็ ผมอยากจะเรียนอย่างนี้ครับ ถ้าท่านที่บอกว่าให้เสนอเป็นความเห็นของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ไปยังคณะรัฐบาล คณะรัฐบาลถามขอความเห็น เขาไม่ได้ถามอย่างที่กรรมาธิการตอบมา วิธีที่ ๑ วิธีที่ ๒ วิธีที่ ๓ แต่ถ้าท่านจะลงมตินะครับ ผมก็ต้องตั้งคำถามให้ชัดในที่ประชุมด้วย เช่นเดียวกันกับที่ท่านประชากล่าวไว้ คือเช่น ท่านที่ประชุมแห่งนี้ชอบวิธีการแบบระบบ สัมปทาน หรือวิธีการแบบแบ่งปันผลผลิต ก็ต้องมาโหวตกันตรงนี้ก่อนด้วย เพื่อให้เกิด ความชัดเจน แล้วก็ส่วนต่อมาบอกว่าแล้วก็จะเลื่อนหรือไม่เลื่อนนะครับ จะโหวตกัน เลื่อนหรือไม่เลื่อนก็ค่อย ๆ มาว่ากันอีก แล้วก็โหวตกันอีกว่าจะเอา ๔ บ่อ บงกชของ ท่านอลงกรณ์นั้นไปใช้วิธีอย่างที่ท่านอลงกรณ์ว่า ท่านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ท่านต้องโหวต ไปเรื่อย ๆ ครับ ไม่ใช่โหวตแค่ ๓ นะครับ ดังนั้นเมื่อรัฐบาลเขาตั้งโจทย์มาไม่ใช่อย่างนั้น เราทำไมต้องไปทำอย่างนั้นด้วย เมื่อเขาถามความเห็นของสภาปฏิรูปแห่งชาติ เราก็ดำเนินการ เมื่อกี้ก็รับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง มีรายงานทั้งของกรรมาธิการ รายงานของทางชุดของท่านประชา เตรัตน์ และท่านสมาชิกก็อภิปรายกันครอบคลุม ไปทุกประเด็นแล้ว ผมคิดว่านั่นคือความเห็นของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดังนั้นก็ส่งไปอย่างที่ เมื่อกี้เรามีมติ เรามีการยกมือรับรองถูกต้องแล้ว ผมว่าเราลงมติเบื้องต้นก่อนก็แล้วกันครับ แต่ถ้าส่วนว่าแล้วสุดท้ายจะส่งไปอีกครั้งหนึ่งเป็นรายประเด็นต่าง ๆ นั้นผมก็จะยกมือ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อกำหนดประเด็นในการโหวตต่อนะครับ ขอเรียนท่านประธานเพียงเท่านี้ครับ

    อ่านในการประชุม