ข้อมูลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ชุดที่ 26

ปีที่ 1

สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง

ครั้งที่ 21 วันพุธที่ 11 ตุลาคม 2566 เวลา 10.38 - 17.45 นาฬิกา

เอกสารต้นฉบับ: บันทึกการประชุมบันทึกการออกเสียงและลงคะแนนรายงานการประชุมสรุปการประชุม

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ท่านสมาชิก ทุกท่านครับ ก่อนจะเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ผมขออนุญาตให้ท่านสมาชิกได้ ปรึกษาหารือตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๒๔ โดยผมจะให้ มีการปรึกษาหารือตามลำดับรายชื่อและเวลาที่ยื่น โดยขอให้ใช้เวลาท่านละ ๒ นาที ท่านแรกขอเชิญคุณรัชนก สุขประเสริฐ ครับ

นางสาวรัชนก สุขประเสริฐ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

กราบเรียนประธานสภา ดิฉันนางสาวรัชนก สุขประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๒ จังหวัดสมุทรปราการ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันมีเรื่องนำมาปรึกษาหารือกับท่านประธาน ๓ เรื่องค่ะ

นางสาวรัชนก สุขประเสริฐ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ เรื่องปัญหาของถนนสุขุมวิทเส้นบางปู-ตำหรุ เนื่องจากสภาพพื้นผิว ของถนนบริเวณดังกล่าวมีฝาท่ออยู่ในสภาพที่เป็นปัญหากับผู้ใช้รถใช้ถนน ส่งผลให้เกิด อุบัติเหตุมากมายนับครั้งไม่ถ้วน แถมยังส่งผลกระทบต่อรถยนต์ของผู้ใช้รถใช้ถนนด้วย

นางสาวรัชนก สุขประเสริฐ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ปัญหาเรื่องของทางข้ามถนนสะพานลอยบนถนนสุขุมวิท บริเวณหน้าโรงเรียนวัดตำหรุ จากภาพจะเห็นได้ว่าตรงจุดบริเวณนี้ไม่มีจุดข้ามถนน ที่ปลอดภัย ซึ่งตรงบริเวณดังกล่าวมีทั้งโรงเรียนขนาดใหญ่ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของ นักเรียนและผู้ปกครอง ทั้งที่โรงเรียนนี้มีนักเรียนและผู้ปกครองจำนวนมากที่ต้องใช้จุดนี้ ในการข้ามถนน

นางสาวรัชนก สุขประเสริฐ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ปัญหาสุดท้าย เป็นเรื่องของน้ำท่วมขังตามบ้านเรือนของชาวบ้าน หลาย ๆ ครั้งที่มีฝนตกลงมาชาวบ้านมักได้รับผลกระทบเรื่องน้ำท่วมตลอด ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก อย่างในรูปนี่คือบ้านเรือนของพ่อแม่พี่น้องประชาชน หมู่บ้านไทรงามและชุมชนซอยอู่ทอง นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่ดิฉันนำมาเท่านั้น เพราะปัญหาน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวตำบลแพรกษา ตำบลท้ายบ้านใหม่ ตำบลบางปู และตำบลบางปูใหม่ ซึ่งก็เรียกได้ว่ากระทบในทุก ๆ ตำบล ของพื้นที่เขต ๒ จังหวัดสมุทรปราการเลย ดิฉันจึงขอความกรุณาจากท่านประธานประสาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดิฉันกล่าวมาทั้งหมดนี้ด้วย อย่าให้ชาวบ้านต้องทุกข์ทนกับเหตุการณ์แบบนี้อีกต่อไปเลย ขอบคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณชนก จันทาทอง ครับ

นางสาวชนก จันทาทอง หนองคาย ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางสาวชนก จันทาทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เขต ๒ จากพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคมที่ผ่านมาดิฉันได้รับการร้องขอความช่วยเหลือจากแรงงานไทย ในประเทศอิสราเอล ทั้งข้อความที่แสดงความถึงความหวาดกลัวและกำลังหลบหนีกระสุน อยู่ในขณะนั้น ทั้ง Clip ภาพประกอบที่เป็นเพื่อนแรงงานไทยถูกจับตัว และขณะนั้น ได้รับบาดเจ็บ ตอนนี้ยังไม่ทราบชะตาชีวิต

นางสาวชนก จันทาทอง หนองคาย ต้นฉบับ

กระทรวงแรงงานได้ให้ตัวเลข ว่ามีแรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลมากถึง ๒๕,๐๐๐ คน ในจำนวนนี้เป็นแรงงาน ที่มาจากภาคอีสานมากถึง ๑๙,๐๐๐ คน ตัวดิฉันเองได้รับมอบหมายเป็นตัวแทนของ สส. ภาคอีสานจากพรรคเพื่อไทยให้นำเรื่องนี้เข้าหารือในสภาผู้แทนราษฎรอย่างเร่งด่วนที่สุด คนไทยที่ไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลเป็นคนยากจน บางคนต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อส่งตัวเอง ไปในประเทศกลุ่มเสี่ยงเพื่อหาเงินหารายได้กลับมาส่งเสียครอบครัวที่เมืองไทย ตอนนี้ เกิดสงครามในอิสราเอลมีผู้เสียชีวิต แรงงานบางคนต้องถูกจับเป็นตัวประกัน ในตอนนี้ ยังไม่ทราบชะตากรรม และที่เหลือทั้งหมดต้องหลบซ่อนตัวเพื่อที่ให้ตัวเองนั้นมีชีวิตกลับมา จากสถานการณ์เช่นนี้ให้ได้ ดิฉันจึงนำเรียนผ่านท่านประธานสภาไปยังรัฐบาล ไปยังท่านนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

นางสาวชนก จันทาทอง หนองคาย ต้นฉบับ

๑. ช่วยสื่อสารเป็นระยะ ๆ ถึงมาตรการความช่วยเหลือแรงงานไทย ในอิสราเอล

นางสาวชนก จันทาทอง หนองคาย ต้นฉบับ

๒. รัฐบาลมีการช่วยเหลือเยียวยาแรงงานไทยในอิสราเอลที่เสียชีวิต และจะต้องตกงานและถูกส่งตัวกลับมาประเทศไทยเช่นไร เพื่อลดความหวาดกลัว เพื่อลดความวิตกกังวลให้กับแรงงานไทยในอิสราเอล เพื่อเป็นการปลอบขวัญครอบครัว ที่รอคอยการกลับมาของลูกหลาน ซึ่งตอนนี้ไม่ทราบแม้กระทั่งชะตาชีวิตของครอบครัวตัวเอง ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณบุญแก้ว สมวงศ์ ครับ

นายบุญแก้ว สมวงศ์ ยโสธร ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายบุญแก้ว สมวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร พรรคเพื่อไทย ผมขอหารือท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ เนื่องจากผมได้รับร้องเรียนจาก ผู้ใหญ่อ๊อด ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๒ ตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เนื่องจาก ถนนหมายเลข ๒๐๐๒ ตำบลลุมพุก-ศรีฐาน พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อน ถนนถูกน้ำขังมานานถึง ๓ เดือนแล้วแต่ยังไม่ได้ช่วยดูแล ก็อยากฝากท่านประธานผ่านไปยัง กรมทางหลวงชนบทช่วยมาแก้ไขให้กับพี่น้องประชาชนด้วย

นายบุญแก้ว สมวงศ์ ยโสธร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ผมได้รับร้องเรียนจากพี่น้องที่ประสบภัยน้ำท่วม เนื่องจากอยากให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ช่วยเยียวยาในด้านการได้รับผลกระทบโดยเฉพาะไร่นา ของพี่น้องประชาชน ก็อยากฝากท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานโดยเฉพาะกระทรวง เกษตรและสหกรณ์

นายบุญแก้ว สมวงศ์ ยโสธร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ผมได้รับร้องเรียนจากพี่น้องชาวอำเภอคำเขื่อนแก้ว เนื่องจาก ถนนหมายเลข ๒๓ กรมทางหลวง ระหว่างโรงเรียนคำเขื่อนแก้วไปถึงแยกบ้านดอนเขือง และเลยไปยังบ้านดงแคนใหญ่ ซึ่งจุดกลับรถมันห่างกันเป็นกิโลเมตร ก็อยากให้กรมทางหลวง เปิดจุดกลับรถ แล้วก็ทำเกาะกลางระหว่างโรงเรียนคำเขื่อนแก้วไปถึงบ้านดอนเขืองด้วย ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณกัณตภณ ดวงอัมพร ครับ

นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม กัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพฯ เขต ๖ พญาไท ดินแดง ผมขอนำปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องในพื้นที่มาหารือกับท่านประธานเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไข ๓ เรื่องดังนี้

นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ปัญหาที่ ๑ ปัญหาก่อสร้าง Footpath ถนนสุทธิสารวินิจฉัย โครงการนี้เป็น ของสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ร่วมโครงการทั้งหมด ๓ หน่วยงาน คือ ๑. สำนักการโยธา ๒. การประปานครหลวง ๓. NT ปัจจุบันฝังเลขคี่เป็นฝั่งที่มีปัญหา เนื่องจากต้องมีการวางท่อและสายสื่อสาร จึงมีการขุดเจาะถนนทำให้เกิดทั้งเสียงและฝุ่น ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ กลบไม่เรียบ รวมทั้งการวางของสำหรับการก่อสร้างไว้ทำให้คนต้องไป เดินบนถนนมีเหตุให้ได้รับอุบัติเหตุหลายครั้ง พูดกันตามตรงคือมีปัญหามาโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มการก่อสร้าง ตอนนี้สัญญาการก่อสร้างที่สิ้นสุดลงแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ยังไม่แล้วเสร็จ ฝากถึงผู้เกี่ยวข้องช่วยเร่งรัด และในอนาคตหากมีการก่อสร้างที่ต้องทำงาน ร่วมกันหลายหน่วยงานขอให้วางแผนงานบูรณาการให้พร้อมและคำนึงถึงความปลอดภัยของ ประชาชนก่อน

นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ปัญหาที่ ๒ ปัญหาน้ำท่วมดินแดง ฝากท่านประธานไปยังกรุงเทพมหานคร ๒ เรื่อง คือ ๑. จัดหาเครื่องสูบใหม่ให้เพียงพอ เนื่องจากปัจจุบันเครื่องสูบน้ำของเขตดินแดง หลายจุดเก่าและต้องไปยืมจากเขตพญาไท ๒. ขยายท่อระบายน้ำบริเวณซอยวิภาวดีรังสิต ๒ ถึงซอยประชาสงเคราะห์ ๒๗ เพื่อให้น้ำบริเวณดังกล่าวระบายได้เร็วขึ้น รวมถึงการขยายท่อ บริเวณซอยชานเมือง เพราะจุดชานเมืองเป็นจุดรับน้ำจากซอยเปรมสมบัติ นาทอง และผาสุก ในอนาคตควรเปลี่ยนเส้นทางระบายน้ำชานเมืองมาลงยังคลองยายสุ่น น้ำจะไหลไปยัง คลองแสนแสบได้เป็นระยะทางที่สั้นกว่าแทนการใช้คลองนาซองเดิม

นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้าย โครงการฟื้นฟูเมืองระยะที่ ๑ อาคารแปลง G เป็นแฟลต ต้นแบบของดินแดง ฝากท่านประธานไปยังการเคหะแห่งชาติจากพื้นที่คาดหวังให้เป็น Smart Community ของผู้อยู่อาศัยให้มีความสุข ตอนนี้หลายครอบครัวประสบความทุกข์ อาคารสร้างมาไม่กี่ปีเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมภายในห้องมากกว่า ๘๐ ห้อง ทำให้ประชาชนได้รับ ความเดือดร้อนมาก จึงขอนำเรียนท่านประธานไปยังการเคหะแห่งชาติเร่งแก้ไขปัญหา ดังกล่าวและขอให้เป็นบทเรียนสำคัญในการสร้างอาคารต่อไป ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ครับ

นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต ๑ พรรคเพื่อไทย ขออนุญาตปรึกษาหารือท่านประธานสภา ๓ เรื่องครับ

นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ เรื่องถนนทรุดโทรม ถนนหนองแก-ทุ่งเชือก บ้านหนองแก ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถนนเส้นนี้เปรียบเหมือนอุกกาบาต ที่ทำให้พี่น้องประชาชนเกิดอุบัติเหตุมาก ซึ่งถนนเส้นนี้เป็นทางสัญจรของพี่น้องประชาชน หลายสิบหมู่บ้านที่จะสัญจรไปมา กราบเรียนท่านประธานส่งถึงกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นถึงเทศบาลเมืองแจระแมช่วยเร่งซ่อมแซมให้พี่น้องประชาชนด้วยครับ

นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ แยกบ้านนาเมือง ถนนอุบล-ตระการ ทางหลวง เลขที่ อบ.๓๑๕๑ ซึ่งถนนเส้นนี้สร้างเสร็จไปประมาณเกือบ ๒ ปีแล้ว แต่ไฟฟ้าเกาะกลางถนนไม่สามารถ ส่องแสงสว่างให้พี่น้องประชาชนได้นะครับ หลังจากที่ผมสอบถามไปยังสำนักงานทางหลวงที่ ๙ ของอุบลราชธานี สืบทราบมาว่าผู้รับเหมาทำผิดแบบ ทำให้กรมทางหลวงต้องให้ผู้รับเหมา รื้อสายไฟออกทั้งหมด ที่น่าแปลกใจครับท่านประธาน คือเขาทำผิดแบบแล้วกรมทางหลวง ให้ผู้รับเหมาทรงงานได้อย่างไร ฝากท่านประธานถึงกรมทางหลวงให้เร่งแก้ไขปัญหาให้พี่น้อง ประชาชนด้วยครับ

นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ สะพานโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช ถนนสรรพสิทธิประสงค์ ทางหลวงชนบท เลขที่ อบ.๓๐๕๘ ไฟฟ้าแสงสว่างไม่ติดเป็นเวลามา ๓ ปีแล้ว หลังจากที่ผม ไปสืบทราบมา ไปถามกรมทางหลวงชนบท สืบทราบมาว่าโดนขโมยสายไฟ แต่ไม่มีงบประมาณ เพื่อจะมาติดตั้งใหม่ ฝากท่านประธานถึงกรมทางหลวงชนบท เพื่อจะเร่งแก้ไขให้พี่น้องประชาชน ชาวจังหวัดอุบลราชธานีด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ ครับ

นายณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม ณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ประเวศ สะพานสูง พรรคก้าวไกล

นายณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ เดิมทีผมตั้งใจว่าจะใช้พื้นที่นี้ในการที่จะปรึกษาหารือท่านประธานในการที่จะหยุดยั้ง ในเรื่องของการทุบลาน Skateboard RK69 ในเขตประเวศ แต่ว่าล่าสุดทราบมาว่า ทางกรุงเทพมหานครได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดนี้เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องขอขอบคุณท่านผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ช่วยกันผลักดัน ไม่ว่าจะเป็นทางคุณก้อง ศุภโชค ทางคุณจักร จักรพล คุณกันต์ ยงใจยุทธ แล้วก็ท่านอื่น ๆ ที่ช่วยกันครับ ก็ขอให้ทางกรุงเทพมหานครให้พื้นที่ สาธารณะ ให้พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมในการออกแบบพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน แล้วก็ให้ การสนับสนุนกับการกีฬาด้วยครับ

นายณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องของถนนเฉลิมพระเกียรติ ร. ๙ บริเวณหน้า สน. ประเวศ บริเวณนี้ต้องบอกว่าไม่มีทางเท้าเลย ประชาชนเดินลำบากมาก แล้วก็อันตรายมาก ขอให้ ทางกรุงเทพมหานครก็พิจารณาทำทางเท้าให้ประชาชนด้วยโดยไม่ต้องรอการโครงการ ขยายถนนครับ

นายณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ก็เป็นเรื่องน้ำท่วมในเขตประเวศ ก็เป็นพื้นที่ชุมชนอ่อนนุช ๔๐ ไร่ ๑๙ ไร่ แล้วก็ ๑๔ ไร่ รวมไปถึงชุมชนหมู่บ้านทุ่งเศรษฐีก็น้ำท่วมเช่นเดียวกัน เพราะว่าเป็นแอ่งกระทะ เพราะฉะนั้นก็ขอให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการที่จะ ยกระดับถนนรวมถึงทำบ่อส่งน้ำลงในที่ของตาพุก แล้วก็ของอาจารย์พรด้วยครับ

นายณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ จุดกลับรถที่โรงเรียนคลองปักหลัก บริเวณนี้น้ำท่วมฝนตกทีไร น้ำท่วมทุกที พี่น้องประชาชนไม่สามารถที่จะกลับรถได้อย่างสะดวก แล้วก็อันตรายด้วย ขอให้กรมทางหลวงพิจารณาแก้ปัญหานี้ด้วยครับ

นายณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๕ เป็นเรื่องที่พี่น้องประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านนักกีฬา เขตสะพานสูง ก็พบว่ามีปัญหา ก็คือว่าเป็นพื้นที่รับผิดชอบของตำรวจ ก็คือ สน. ประเวศ ซึ่งในบริเวณนี้ สน. ประเวศต้องการที่จะไปดูแลประชาชน แต่ว่าเดินทางยากมาก เพราะว่ากลับรถ ระยะไกลมาก กลับรถนี่ไปไกลถึงถนนพระราม ๙ เลย แล้วก็ใช้เวลาเกิน ๒๐ นาที รวมไปถึง อัตรากำลังก็น้อยด้วย ก็ขอให้มีการแก้ปัญหานี้ เพิ่มในส่วนของอัตรากำลังให้ สน. ประเวศ ดูแลประชาชนได้ดีขึ้น รวมถึงป้องกันบรรเทาสาธารณภัยครับ

นายณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๖ เป็นเรื่องที่ผมเองเคยตั้งกระทู้ถามในสภาไปเมื่อ ๒ สัปดาห์ที่แล้ว วันที่ ๒๘ กันยายน ในพื้นที่เขตประเวศที่พบว่ามีปัญหาโรงขยะอ่อนนุชกลิ่นเหม็น ก็ขอติดตาม ให้มีการดำเนินการตามที่ท่านรัฐมนตรีตอบไว้ในสภาผู้แทนราษฎรด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณหทัยรัตน์ เพชรพนมพร ครับ

นางหทัยรัตน์ เพชรพนมพร อุดรธานี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางหทัยรัตน์ เพชรพนมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต ๒ พรรคเพื่อไทย ดิฉันขอปรึกษาหารือความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดอุดรธานี เขต ๒ ผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้ค่ะ ขอ Slide ที่ ๑ ค่ะ

นางหทัยรัตน์ เพชรพนมพร อุดรธานี ต้นฉบับ

ความเดือดร้อนของพี่น้อง ประชาชน กรณีฝายน้ำล้นห้วยสามพาด บ้านป่าขาม ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลบ้านตาด และสำนักงานทรัพยากรน้ำ ภาค ๓ ได้รับความเสียหายเนื่องจากเกิดอุทกภัยฝนตกหนัก เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๖ เกิดน้ำป่าไหลหลาก เซาะคันกั้นน้ำจนพังทลาย ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้เต็มศักยภาพ ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งดำเนินการซ่อมแซมแก้ไข เนื่องจากฝายแห่งนี้มีความสำคัญต่อประชาชนและเกษตรกรกว่า ๙,๘๗๙ ครัวเรือน ในพื้นที่ ๓ ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านตาด ตำบลทับกุง และตำบลหนองไฮ เป็นฝายชะลอน้ำ ก่อนถึงอ่างเก็บน้ำห้วยสามพาด เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบในฤดูน้ำหลาก เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค ผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและหล่อเลี้ยง น้ำใต้ดินในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะได้รับผลกระทบ จากปรากฏการณ์ El Nino ต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งรุนแรง ดิฉันขอปรึกษาหารือ ท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ในการดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงฝายห้วยสามพาด บ้านป่าขาม ให้พร้อมที่จะรองรับ และเก็บกักน้ำเพื่อพี่น้องประชาชนได้ใช้อุปโภคบริโภคและใช้ในการเกษตรด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ อย่าเพิ่งจับเวลานะครับ ผมขอ Slide ขึ้นก่อน คราวที่แล้ว Slide ผมไม่ขึ้น เวลาพูดไป จะไม่เข้าใจ ขอ Slide ขึ้นก่อนนะครับ OK ครับ เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี เขต ๗ วันนี้ผมมีเรื่อง ปรึกษาหารือท่านประธาน ๕ เรื่องนะครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรื่องแรก ก็คือประชาชน ขอสัญญาณไฟจราจร จุดที่ผมชี้ก็มีปัญหาเรื่องอุบัติเหตุบ่อยครั้งมาก ล่าสุดก็เพิ่งเสียชีวิตไป เด็กนักเรียนชั้นมัธยมเสียชีวิตไปเพราะเกิดอุบัติเหตุ ไม่มีไฟจราจรตรงนี้ ประชาชนขอมา หลายปีมาก ผมไปปรึกษากับทาง อบต. มีการประชุมกัน ผู้ใหญ่บ้านทุกคนเห็นด้วยหมด ทั้ง ๑๔ หมู่ แต่ว่าปัญหานี่ขอมาหลายปีแล้วล่าสุดได้รับอนุญาตจากแขวงทางหลวงนครนายก เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ปรากฏว่าเทศบาลบอกว่าไม่มีงบ ผมก็ไม่รู้ว่าจะต้องรองบจากที่ไหน เพราะว่าปัญหาของประชาชนตายรายวัน งบทั้งหมดประมาณ ๓ ล้านบาท แต่ชีวิตประชาชน แต่ละชีวิตสำคัญกว่า ๓ ล้านบาท จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งไปดูแลด่วนเลยนะครับ ข้อที่ ๒ ขอดู Clip นะครับ อันนี้จะมี Clip ๙ วินาที ท่านอย่าเพิ่งกระพริบตา อันนี้คืออุบัติเหตุที่นักเรียนเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายนที่ผ่านมา เสียชีวิตไปแล้วรายนี้

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ โรงพยาบาลลำลูกกา ตรงนี้ประชาชนแจ้งว่า ๓๐ ปีไม่มีการขยายเลย อยากจะให้มีการขยายเพิ่มเติม แล้วก็ประชาชนชาวลำลูกกา ๓๐ ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นมาเป็น ๒ เท่า ๓ เท่าแล้ว โรงพยาบาลมีแค่ ๓๐ เตียง เวลาจะขยายตึกตรงนั้น ตึกพระอาจารย์อ๊อด ก็คือรับเงินบริจาคจากวัดมาขยายตึก แต่ไม่มีงบจากรัฐบาลลงไปให้ เวลาจะซ่อมแซมก็มีปัญหาไม่มีเงิน และล่างขวาเป็น รพ.สต. ที่จะสร้าง ก็ขอบริจาค จากประชาชนอีก ที่ดินขอบริจาค ราคาตึก ๑๕ ล้านบาทก็ขอทำผ้าป่ามา และล่าสุด โรงพยาบาลอยากจะสร้างตึก ๕ ชั้น ๑๔๐ เตียง งบประมาณร้อยละ ๑๒๐ ล้านบาท ขอไปทางกระทรวงก็ขอมาหลายปีไม่รู้ว่าจะได้เมื่อไร อยากจะให้ท่านได้พิจารณาโรงพยาบาลก่อน ถ้าเราไม่ซื้อเรือดำน้ำ ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท โรงพยาบาลนี้เราสร้างได้ ๓๐๐ ตึกเลย สร้างได้ ครึ่งประเทศเลยนะครับ อยากจะให้พิจารณาตรงนี้ด้วย

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ บริเวณใต้ทางด่วน Motorway อยากจะให้เป็น ๒ เลนเหมือนเดิม เมื่อก่อนเป็น ๒ เลน ตอนนี้เหลือเลนเดียว เวลาสวนกันสวนไม่ได้นะครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ ประชาชนขอไฟส่องทางลำลูกกาเลียบคลอง ๗ ใช้เวลา ๓ ปี ในการซ่อมแซม แต่ไม่มีไฟทางตอนกลางคืนเลยนะครับ อันตรายมาก ๆ แล้วก็ตอนที่ Spec ขยายเส้นทางนี่ไม่ได้ระบุว่าต้องมีไฟส่องทางตอนกลางคืน ผู้รับเหมาก็เลยไม่ติดให้ ตรงนี้ผมติดต่อหลายหน่วยงานมาก แต่แก้ไขไม่ได้เสียที เรื่องง่าย ๆ แค่นี้ก็ยังแก้ไขไม่ได้ ฝากด้วยนะครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้าย ดอนยอ จังหวัดนครนายก เพื่อนผมเองฝากมา ฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ กลิ่นเหม็นมาก แล้วก็แมลงวันเยอะมาก กินข้าวต้องกางมุ้งกัน ตรงนี้อยากจะให้ดูแลด้วย ตอนนี้หน้าฝน ฝนตกขี้หมูไหล คนอะไรก็ไม่มาช่วยกันเลย อยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาช่วยกันด้วยนะครับ ประชาชนเดือดร้อนมาก ๆ เลย ขอบคุณมากครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณรัฐ คลังแสง

นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม รัฐ คลังแสง จากจังหวัดมหาสารคาม เขต ๖ อำเภอกันทรวิชัย อำเภอเชียงยืน และอำเภอชื่นชม ขออนุญาตปรึกษาหารือท่านประธาน ถึงปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ โดยมีหลัก ๆ อยู่ ๓ ปัญหา

นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ

ปัญหาที่ ๑ นั่นคือปัญหาขยะมูลฝอย ตกค้าง ในพิกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคามและบริเวณชุมชนโดยรอบ ในพื้นที่เทศบาล ตำบลท่าขอนยาง และตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีร้านค้า มีชุมชน มีหอพัก มีชุมชนที่เป็นชุมชนขนาดใหญ่ประสบปัญหาขยะมูลฝอยตกค้าง เนื่องจากขาดแคลนรถเก็บขยะ แล้วก็รถที่มีนั้นมีอายุการใช้งานยาวนาน ทำให้ไม่สามารถ ใช้งานได้ จึงขอสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อรถขยะเพิ่มเติมจากหน่วยงานต้นสังกัด นั่นคือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ

ปัญหาที่ ๒ เป็นปัญหาถนนพัง พี่น้องไม่สามารถสัญจรไปมาได้สะดวก เส้นที่ ๑ เป็นถนน อบจ. รหัส มค.ถ. ๑-๐๐๖๒ ช่วงที่ ๑ เป็นช่วงระหว่างมหาวิทยาลัย มหาสารคาม ถึงบ้านดอนหน่อง ตำบลข้ามเรียง อำเภอกันทรวิชัย ขอสนับสนุนงบประมาณ เพื่อซ่อมแซมจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เส้นที่ ๒ เป็นถนนรหัสเดียวกันของ อบจ. ช่วงจากบ้านโพนงาม บ้านดอนดู่ทะลุถึงทางหลวง หมายเลข ๒๑๓ บริเวณ ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ขอสนับสนุนงบประมาณจาก กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเช่นกันครับ เส้นที่ ๓ เป็นถนน อบจ. จากบ้านจาน บ้านท่ากระเสริม ตำบลเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน เชื่อมบ้านกุดจอก บ้านหลุบแซง ตำบลหนองกุง อำเภอชื่นชม ขอสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นครับ

นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ

ปัญหาที่ ๓ เป็นปัญหาอุบัติเหตุตรงบริเวณแยกอันตราย ขอสัญญาณ ไฟจราจรเพื่อลดอุบัติเหตุจุดที่ ๑ เป็นสามแยกจุดตัด ถนนหลวงหมายเลข ๑๒ กับหมายเลข ๒๓๙๑ บริเวณบ้านกู่ทอง ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จุดที่ ๒ สามแยกจุดตัดทางหลวง หมายเลข ๒๓๒๒ กับ ๓๐๑๖ เรียนบ้านโคกสูง ตำบลเชียงยืน จุดที่ ๓ เป็นสามแยกจุดตัด ถนนหลวงหมายเลข ๒๑๘๘ และ ๔๐๐๙ บริเวณบ้านนาศรีนวล ตำบลนาศรีนวล อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ขอความกรุณากรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ช่วยจัดไฟจราจรเพื่อลดอุบัติเหตุให้พี่น้องประชาชน ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมจะขอนำส่งเป็น เอกสารให้ท่านประธานต่อไปครับ ขอบพระคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณณัฐพงษ์ พิพัฒน์ไชยศิริ ครับ

นายณัฐพงษ์ พิพัฒน์ไชยศิริ อุดรธานี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ณัฐพงษ์ พิพัฒน์ไชยศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคก้าวไกล ก่อนอื่น ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง กับเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นภายใต้สภาวะสงครามของ ประเทศอิสราเอล เริ่มต้นในวันเสาร์ที่ผ่านมา ท่านประธานที่เคารพครับ จังหวัดอุดรธานี ของเรามีการส่งแรงงานออกไปเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ในปัจจุบันนี้ในประเทศอิสราเอล มีแรงงานชาวอุดรธานี ๔,๐๐๐ กว่าคนที่ยังตกค้างอยู่ที่นั่น และแรงงานเหล่านี้ครับเขาไปในระบบ เขาไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เสียภาษีไป เพราะฉะนั้นเขาคาดหวังครับว่าภาครัฐ และภาคเอกชนที่ส่งเขาไปนั้นจะมีความรับผิดชอบดูแลให้ชีวิตและทรัพย์สินของเขาปลอดภัย แต่เป็นเรื่องน่าเศร้าในช่วง ๓-๔ วันที่ผ่านมา จาก Page ของผู้แทนราษฎรได้รับการร้องเรียน จากผู้ใกล้ชิดของญาติผู้ประสบเหตุว่ายังไม่มีหน่วยงานไหน องค์กรใดยื่นมือเข้าไปช่วย อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นครับท่านประธาน ผู้แทนราษฎรจึงอยากจะ ขอร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐที่ออกใบอนุญาต ทั้งภาคเอกชนบริษัทจัดหางาน เหล่านี้ถ้าเขามีปัญญาส่งคนเหล่านี้ไปทำงาน เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นก็ต้องมีปัญญา นำกลับมา ถ้าไม่มี ถอดใบอนุญาตเขาครับ

นายณัฐพงษ์ พิพัฒน์ไชยศิริ อุดรธานี ต้นฉบับ

ข้อที่ ๒ ก่อนเข้าไปช่วยบอกเขาทีคนเหล่านี้เป็นคนธรรมดาหาเช้ากินค่ำ ใช้แรงงานเกษตรกรเขาไม่รู้หรอกครับว่าประเทศที่เข้าไปมีความเสี่ยงขนาดไหน และที่สำคัญ คนเหล่านี้ก่อนเขาจะไปกู้หนี้ยืมสินไปครับ เป็นหนี้เป็นสิน แรงงานที่ร้องเรียนเข้ามา ในปัจจุบันนั้นหลายคนไม่กล้ากลับเข้ามาในประเทศ เพราะกลัวว่ากลับมาแล้วจะไม่มีงานทำ จะไม่มีปัญญาใช้หนี้ หนี้สินเหล่านั้นจะตกอยู่กับลูกหลานของพวกเขา

นายณัฐพงษ์ พิพัฒน์ไชยศิริ อุดรธานี ต้นฉบับ

ข้อที่ ๓ คือการโอบรัด คือการดูแลรักษาพวกเขา บอกพวกเขาให้ความมั่นใจ กับเขาครับ รัฐไทยของเราว่าเมื่อเขากลับมาแล้วเขาจะมีงานที่ดีทำ ภาระหนี้สินเหล่านั้น จะไม่ตกอยู่กับลูกหลานของเขา แล้วเมื่อเขากลับมาแล้วลูกหลานของเขาจะมีอนาคตที่ดีได้ ท่านประธาน ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณสาเหะมูหามัด อัลอิดรุส ครับ

นายสาเหะมูหามัด อัลอิดรุส ปัตตานี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสาเหะมูหามัด อัลอิดรุส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี เขต ๕ พรรคประชาชาติ วันนี้กระผมขอหารือท่านประธานไปยังหน่วยงานกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และ ศอ.บต. เพื่อปรับปรุงท่องเที่ยวลานไม้ไผ่ บริเวณปากร่องน้ำบางปูเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้และการท่องเที่ยวป่าชายเลน ในอ่าวปัตตานี ซึ่งสถานที่ดังกล่าวเป็นที่จอดเรือกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญ ของพื้นที่ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนและอ่าวปัตตานี เช่น กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวบูนาดารา ตำบลตะโละกาโปร์ กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวบ้านดาโต๊ะ ตำบลแหลมโพธิ์ กลุ่มชุมชนท่องเที่ยว บางปูอะเมซิ่ง ตำบลบางปู กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวบาราโหม ตำบลบาราโหม กลุ่มชุมชน ท่องเที่ยวสะพานไม้บานา ตำบลบานา ซึ่งโดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นเรือนำเที่ยว มากกว่า ๑๐๐ ลำ เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่นอกเหนือจากการทำอาชีพประมงพื้นบ้าน ซึ่งสภาพปัจจุบันที่ผมได้ลงไปด้วยตัวเองนั้นพบว่าลานไม้ไผ่ดังกล่าวอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม ไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาจัดการดูแลพื้นที่ จึงอยากให้รัฐบาลเข้าดูแลเพื่อเปิดโอกาสพัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่สามารถสร้างรายได้ แล้วก็ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของ ชุมชนท่องเที่ยวอ่าวปัตตานีในอนาคต

นายสาเหะมูหามัด อัลอิดรุส ปัตตานี ต้นฉบับ

อีกเรื่องครับท่านประธาน ผมขอแสดงความเสียใจต่อการเสียชีวิตของชาวไทย ที่เกิดขึ้นจากการปะทะกันระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ และกระผมขอฝากท่านประธาน เรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลไทยให้รักษาความเป็นกลางด้านการเมือง ในกรณีความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ เพราะว่าความขัดแย้งนี้ มีความสลับซับซ้อนมีรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานต่อชีวิตชาวยิว คริสต์ และมุสลิมทั่วโลก ทั้งนี้ประเทศไทยควรสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและควรช่วยเหลือ ประชาชนชาวไทยที่ถูกจับกุมตัวและบางส่วนที่อยู่ในการปะทะอย่างเร่งด่วน สุดท้ายนี้ ผมขอให้สันติภาพและความสงบสุขสู่ประชาชนผู้บริสุทธิ์ในเร็ววันต่อไป ขอขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณพงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ

นายพงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพนะครับ ผม พงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ สมาชิกผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เรื่องน้ำท่วมนะครับ น้ำท่วมตอนนี้ก็กำลังจะไหลเข้า กทม. บางพลัดเป็นบริเวณที่ท่วมเป็นประจำ สาเหตุหลัก ๆ ที่แก้ไขกันไม่ได้หลายปีที่ผ่านมา ก็เป็นเรื่องการทำพนังกั้นน้ำบริเวณแนวแม่น้ำเจ้าพระยา ทางบางพลัดนี่มีอยู่ประมาณ ๑๒ จุด แล้วก็ทางบางกอกน้อยอีกประมาณ ๓ จุด เดี๋ยวขอขึ้น Slide นะครับ

นายพงศ์พันธ์ ยอดเมืองเจริญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

Slide ที่เห็นจะเป็นของ บางพลัด ใน ๑๒ จุดนี่ตัว ๔ จุดมีความล่าช้าในการดำเนินงาน ซึ่งเดี๋ยวผมส่งเอกสารต่อไป ก็จะมีวัดวิมุตยาราม จุดที่ ๑ มีแถว บค. บางพระครู จุดที่ ๒ แล้วก็คลองเตาอิฐ-คลองบางรัก เป็นจุดที่ ๓ จุดที่ ๔ นี่คือแถวร้านอาหารริเวอร์บาร์ ทั้ง ๔ จุดลงไปดูมีความล่าช้า เป็นหลายเดือนแล้ว ซึ่งน้ำเข้ามาก็จะมีการท่วมอีก สำหรับอีก ๖ จุดในส่วนของบางพลัด อยู่ในกระบวนการของการอนุมัติงบประมาณ ก็ขอให้ท่านประธานประสานไปทาง กรุงเทพมหานครช่วยเร่งรัดให้หน่อยนะครับ จุดแรกคือจุดช่วงมัสยิดถึงจุดวัดฉัตรแก้ว จงกลณี จุดที่ ๒ หรือผมเรียกว่าจุดที่ ๖ จุดที่ ๖ นี่ก็คือคลองสะพานถึงคลองมอญ แล้วก็ จุดที่ ๗ แถวปลายซอยจรัญสนิทวงศ์ ๘๒ จุดที่ ๘ ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๖๘ วัดเทพนารี จุดที่ ๙ งานปรับปรุงบริเวณวัดบวรมงคลราชวรวิหาร แล้วก็จุดที่ ๑๐ บริเวณคลองเจ้าครุฑ ทั้งหมด ๖ จุดตรงนี้คือจุดที่เรากำลังเร่งรัดให้อนุมัติงบประมาณนะครับ ส่วนการลงพื้นที่ ของพวกเราก็จะมีจุดเพิ่มเติมที่จะต้องซ่อมก็คือ ๒ จุด บริเวณบางยี่ขัน ซอยสมเด็จพระปิ่นเกล้า ๒ แล้วก็จุดสุดท้ายของบางพลัด จุดที่ ๑๒ คือบริเวณชุมชนวัดภคินีนาถ ซอยราชวิถี ๒๑ ทั้งหมดนี้ก็เป็นของบางพลัด ๑๒ จุด อยากให้ท่านประธานเร่งรัดเดี๋ยวผมส่งรายงานให้นะครับ สำหรับบางกอกน้อยจะมีอยู่ ๓ จุดจุดแรกจะเรียกว่าจุดที่ ๑๓ จุดที่ ๑๓ นี้จะเป็นบริเวณ อู่ต่อเรือพระราชพิธีนะครับ แล้วก็จุดที่ ๑๔ จะอยู่แถวบริเวณวัดระฆัง ทั้ง ๒ จุดนี้ก็มีฟันหลอ หลายเมตร ๒๕ เมตรหรือ ๓๐ เมตรก็อยากให้เร่งทำด้วย แล้วก็จุดที่ ๑๕ จะเป็นน้ำท่วมขัง บริเวณซอย ๓๒-๓๔ ก็ครบทั้งหมด ๑๕ จุดนะครับ แล้วก็ขอเพิ่มเติมตอนนี้ กทม. ทำ MOU กับทางกรมราชทัณฑ์ ซึ่งก็มีความล่าช้าของทางกรมราชทัณฑ์ แล้วก็คุณภาพ ในการจัดการของทางพนักงานด้วยนะครับ ก็กราบเรียนท่านประธานแล้วจะส่งเอกสารไปให้ ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณกาญจนา จังหวะ ครับ

นางสาวกาญจนา จังหวะ ชัยภูมิ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางสาวกาญจนา จังหวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ เขต ๔ พรรคพลังประชารัฐ ดิฉันมีข้อหารือท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และสืบเนื่องที่ดิฉันได้ลงพื้นที่ด้วยตัวเอง ขอ Slide ด้วยค่ะ

นางสาวกาญจนา จังหวะ ชัยภูมิ ต้นฉบับ

ในถนนทางหลวงหมายเลข ๒๑๕๙ ช่วงชัยภูมิ-หนองบัวแดง ระยะทาง ๔๒ กิโลเมตร ข้อมูลสภาพถนนกว้าง ๘ เมตร โดยมีผิวทางกว้าง ๗ เมตร ไหล่ทางข้างละ ๐.๕ เมตร ซึ่งทางหลวงดังกล่าวไม่ได้รับ การพัฒนา ยังคงสภาพเดิมตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง เมื่อครั้งแรกเริ่มปัจจุบันกลายเป็นถนนที่แคบ อีกทั้งจราจรเพิ่มขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็นรถจักรยานยนต์ รถบรรทุกขนาดใหญ่ที่บรรทุกพืชผล ทางการเกษตรไปยังจังหวัดจำนวนมากทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ดิฉันจึงขอเรียนท่านประธาน ฝากไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบสายทางหลวงดังกล่าว ปรับปรุงให้เป็นมาตรฐาน กว้าง ๑๒ เมตร เพิ่มความสะดวกและปลอดภัยแก่พี่น้องประชาชนที่สัญจรไปมา ในเส้นทางหลวงดังกล่าวด้วยค่ะ

นางสาวกาญจนา จังหวะ ชัยภูมิ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เป็นการก่อสร้างข้ามลำน้ำเจา บ้านวังตะกู เป็นหมู่บ้านที่ขาดการพัฒนา ก่อนเดิมสะพานนี้ที่ชาวบ้านบริจาคเงินสมทบโดยการสร้างสะพานเอง โดยไม่ได้ แบบมาตรฐาน และเป็นความเดือดร้อนอันยิ่งใหญ่ของพ่อแม่พี่น้องอำเภอภักดีชุมพล หมู่บ้านวังตะกู ตำบลแหลมทอง เป็นปัญหาความเดือดร้อนของพ่อแม่พี่น้องมาก ในอำเภอภักดีชุมพล ดิฉันฝากหน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งสร้างสะพานให้ได้แบบมาตรฐาน อย่างเร่งด่วนด้วยนะคะท่านประธาน เพราะสะพานข้ามลำน้ำเจานี้ชำรุดมาก ดิฉัน ขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาดำเนินการโดยเร็ว เพื่อความสะดวกและปลอดภัย แก่พี่น้องประชาชนอำเภอภัคดีชุมพล กราบขอบพระคุณท่านประธานค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ ขอเชิญคุณชุติมา คชพันธ์ ครับ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ พัทลุง ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จากภาคใต้ จังหวัดพัทลุงขอ Slide ด้วยค่ะ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ พัทลุง ต้นฉบับ

วันนี้ดิฉันมีความเดือดร้อนจากพี่น้อง ประชาชนจำนวน ๕ เรื่อง เพื่อขอให้มีการดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน

นางสาวชุติมา คชพันธ์ พัทลุง ต้นฉบับ

เรื่องแรก คือการก่อสร้างถนนเพชรเกษม เส้นพัทลุง-สงขลา เส้นนี้ มีความยืดเยื้อยาวนานรถติด ไม่สะดวกในการสัญจร ก่อให้เกิดความรำคาญในการสัญจร แก่พี่น้องประชาชนโดยเฉพาะเวลาที่มีคนป่วยอยู่ในขบวนนั้น บางครั้งอาจจะอันตรายถึงชีวิตได้ จริง ๆ ต้องเสร็จตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ แล้ว แต่ว่าปัจจุบันปี ๒๕๖๖ ยังไม่แล้วเสร็จนะคะ จึงขอให้มี การรีบดำเนินการแล้วก็รีบแก้ไขโดยเร่งด่วนไม่ว่าจะติดขัดเรื่องใดก็ตาม

นางสาวชุติมา คชพันธ์ พัทลุง ต้นฉบับ

ประการต่อมา ความเดือดร้อนประการต่อมาคือพี่น้องชุมชนคลองหมวย ปากทางเข้าออกอำเภอศรีนครินทร์-กงหรา ต้องการให้ติดตั้งไฟจราจรเพื่อความปลอดภัย เนื่องจากพื้นที่นี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ดิฉันขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบดำเนินการโดยเร่งด่วน

นางสาวชุติมา คชพันธ์ พัทลุง ต้นฉบับ

ปัญหาความเดือดร้อนถัดไป คือมีกลิ่นเหม็นมูลสุกร สร้างมลพิษแก่นักเรียน โรงเรียนวัดบ้านสวน และประชาชนที่อาศัยอยู่ที่ตำบลบ้านสวน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบหาทางแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน เนื่องจากทุกวันนี้ประชาชนอยู่ กันอย่างยากลำบากเป็นมลพิษนะคะ บางครั้งนั่งหน้าบ้านก็จะมีกลิ่นติดตัวไปด้วย จึงขอให้มีการรีบดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน

นางสาวชุติมา คชพันธ์ พัทลุง ต้นฉบับ

ประการต่อมา ปัญหาความเดือดร้อนถัดไปเป็นความเดือดร้อนของพี่น้อง จากจังหวัดสงขลา คือเกิดปัญหาจากฝุ่นจากโรงไม้ถึง ๒ แห่ง คือมาจากอำเภอสะเดา และอำเภอหาดใหญ่ เกิดฝุ่นไม้เป็นเวลานานกว่า ๔ ปีแล้ว ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ หาทางแก้ไขโดยเร่งด่วน จากภาพจะเห็นฝุ่นไม้เกาะรถ เกาะเครื่องใช้ไฟฟ้าเต็มไปหมดเลย ประชาชนจำเป็นที่จะต้อง เข้าบ้านปิดประตู ปิดหน้าต่างตลอดเวลา เด็กเล็กไม่สามารถนั่งเล่นหน้าบ้านได้ เนื่องจาก จะมีฝุ่นเข้า ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย

นางสาวชุติมา คชพันธ์ พัทลุง ต้นฉบับ

ประการต่อมา ประการสุดท้ายคือความเดือดร้อนจากพี่น้องจังหวัดตรัง ท่าเรือกันตังทุกวันนี้ทรุดโทรมไม่ได้รับการดูแล มีทรายกองไว้ยาวนานหลายปีแล้ว คนในพื้นที่ไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้ทำประโยชน์เพื่อสาธารณะได้ บางครั้งอยากจะสร้าง เป็นแหล่งท่องเที่ยว อยากจะสร้างเป็นตลาดก็ไม่สามารถทำได้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปบูรณะให้เกิดความเรียบร้อยมากขึ้น เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น ในการท่องเที่ยวด้วย ขอบคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณตรัยวรรธน์ อิ่มใจ

นายตรัยวรรธน์ อิ่มใจ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ตรัยวรรธน์ อิ่มใจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๘ บางบ่อ บางเสาธง ขอ Slide ด้วยครับ

นายตรัยวรรธน์ อิ่มใจ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

กระผมขอนำปัญหาความเดือดร้อน มาปรึกษาหารือกับท่านประธานดังนี้

นายตรัยวรรธน์ อิ่มใจ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ปัญหาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชนผู้ใช้สัญจรถนนรัตนโกสินทร์ สมโภช ๒๐๐ ปี ถนนอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ช่วงกลางคืนมืดมาก ไฟส่องแสงสว่าง ไม่เพียงพอ จนเกิดอุบัติเหตุรถแท็กซี่ชนตอสะพานเสียชีวิต ขอให้ติดตั้งไฟส่องแสงสว่าง ไว้เป็นระยะ และทำงานอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยด้วยครับ

นายตรัยวรรธน์ อิ่มใจ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ พี่น้องประชาชน หมู่ที่ ๑๓ ตำบลบางเสาธง จำนวน ๖๐ กว่าหลังคาเรือน ไม่มีน้ำประปาใช้อุปโภคบริโภคเป็นเวลานานหลายปี ท่อน้ำประปา ไปไม่ถึง ทั้งที่ระยะห่างจากท่อน้ำประปาเพียง ๖๐๐ เมตร ปัจจุบันยังใช้น้ำบาดาลอยู่ครับ

นายตรัยวรรธน์ อิ่มใจ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ซอยน้ำผึ้ง หมู่ที่ ๖ ตำบลคลองด่าน น้ำท่วมถนนขาด ชาวบ้านเดือดร้อนมากครับ ฝากหน่วยงานในพื้นที่เข้าไปดูแลแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น ระยะยาวให้ด้วยครับ

นายตรัยวรรธน์ อิ่มใจ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ การขายน้ำกระท่อม การตรวจสอบคุณภาพของน้ำกระท่อม ปัจจุบันขายกันข้างถนน บนถนนสาธารณะเอากรวยยางกั้นเขต จอดขายปักหลักกัน อย่างถาวรไม่เกรงกลัวกับกฎหมาย ไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ไปแอบซุ่มอยู่ตรงไหน ถึงปล่อยปละละเลย ให้ขายบนถนนแบบนี้ ฝากเรื่องของคุณภาพน้ำกระท่อมด้วยครับ เป็นห่วงประชาชน และเยาวชน ไม่ทราบว่าคุณภาพน้ำกระท่อมนั้น มี อย. หรือเปล่าครับ

นายตรัยวรรธน์ อิ่มใจ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๕ สามแยกไฟแดงบางบ่อ สามแยกโรงเรียนเกวลินวิทยา ไฟจราจร ไม่ติดมาเป็นเวลานานเหมือนถูกทอดทิ้ง ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน จุดนี้มี โรงเรียนอนุบาล โรงพยาบาล ช่วงเช้าเย็นจราจรติดขัดมากครับ ฝากท่านประธานผ่านไปยัง หน่วยงานที่รับผิดชอบ ช่วยดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนด้วย ขอบคุณครับท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณสะถิระ เผือกประพันธุ์ ขอผ่านไปก่อนครับ ต่อไปขอเชิญ คุณนพดล ทิพยชล

นายนพดล ทิพยชล นนทบุรี ต้นฉบับ

เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม นพดล ทิพยชล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต ๔ วันนี้ผมได้รับเรื่องร้องเรียน จากพี่น้องประชาชนเพื่อนำมาหารือกับท่านประธาน มีทั้งหมด ๔ เรื่อง ดังนี้

นายนพดล ทิพยชล นนทบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ตามที่ รฟม. ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ซึ่งได้สร้างเสร็จแล้วนั้น มีช่วงถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งแต่ห้าแยกปากเกร็ดถึงสะพานข้ามคลองประปา เชื่อมต่อไปยัง ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ปัจจุบันมีการคืนพื้นผิวถนนให้แล้ว แต่ยังไม่เรียบร้อยดังสภาพเดิม ดูได้จากภาพ Slide จะเห็นความแตกต่างระหว่างก่อนก่อสร้างและหลังก่อสร้าง พื้นผิวถนน มีความขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้เกิดอันตรายและรถยนต์เสียหายต่อผู้ใช้ท้องถนน เป็นอย่างมากครับท่านประธาน ผมจึงขอเรียนผ่านท่านประธานไปยังกระทรวงคมนาคม ให้ปรับปรุงสภาพถนนแจ้งวัฒนะให้กลับสู่สภาพดีเช่นเดิมโดยเร็วครับ

นายนพดล ทิพยชล นนทบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ยังอยู่ที่ถนนแจ้งวัฒนะครับท่านประธาน ช่วงบริเวณ ห้าแยกปากเกร็ดถึงสะพานข้ามแยกคลองประปา ในขณะนี้ยังมีโครงการก่อสร้างบ่อพัก และท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินของการไฟฟ้านครหลวงที่ได้ดำเนินการอยู่นี้ ประชาชน ได้ร้องเรียนถึงความยากลำบากในการใช้ถนน สังเกตจากภาพ Slide และ Video จะเห็นได้ว่า ฝาท่อปิดไม่สนิท พื้นผิวถนนบริเวณฝาท่อขรุขระก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้ใช้รถใช้ถนน เสี่ยงต่อการเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ผมขอฝากท่านประธานไปยังกระทรวงมหาดไทย และการไฟฟ้านครหลวง ให้ดำเนินการก่อสร้างอย่างระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของ ผู้ใช้รถใช้ถนนด้วยครับ

นายนพดล ทิพยชล นนทบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ปัญหาไฟส่องสว่างถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ซึ่งผมและคณะทำงาน ได้มีการลงพื้นที่ร่วมกับทางหลวงชนบทนนทบุรีด้วย จากภาพ Slide และ Video หลังจาก ที่ได้ลงพื้นที่ร่วมกันไฟส่องสว่างจะกลับมาใช้งานได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ผ่านไป ไม่กี่สัปดาห์ก็ดับอีกแล้วครับท่านประธาน ไฟส่องสว่างไม่ติดทั้งเส้นแบบนี้อาจก่อให้เกิด อุบัติเหตุแก่ผู้ใช้ถนนเป็นอย่างสูงครับ ผมขอฝากท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงคมนาคม ถึงกรมทางหลวงชนบทช่วยเร่งรัดในการซ่อมแซมแก้ไขเพื่อให้ประชาชนจะได้ปลอดภัย ในการสัญจรตอนกลางคืน และขอให้กระทรวงคมนาคมช่วยจัดสรรงบประมาณตามอำนาจ หน้าที่เพื่อให้กรมทางหลวงชนบทมีงบประมาณเพียงพอในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้อง ประชาชนครับ

นายนพดล ทิพยชล นนทบุรี ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้ายครับท่านประธาน มีพี่น้องประชาชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม ต้องกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนทำธุรกิจหลังจากเกษียณอายุ ๕๕ ปี ผมขอฝากท่านประธานไปยัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานให้พิจารณาแก้ไขระเบียบการจ่ายเงินเกษียณอายุเมื่อสมทบถึง ๑๘๐ เดือนและมีอายุครบ ๕๕ ปีให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมสามารถที่จะเลือก รับเงินเกษียณอายุได้ว่าจะรับเป็นแบบบำเหน็จหรือว่าบำนาญ ผมขอรบกวนเวลาสภา เพียงเท่านี้ ขอบพระคุณครับ

นายสังคม แดงโชติ ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายสังคม แดงโชติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑ พรรคภูมิใจไทย จากที่ผมได้ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาของพ่อแม่พี่น้องบ้านด่านสิงขร ตำบลคลองวาน อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันนี้ผมขอหารือผ่านท่านประธาน ในเรื่องของจุดตรวจผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร ตั้งอยู่ที่บ้านไร่เครา ตำบลคลองวาน มีเขตแดน ติดกับจังหวัดมะริด ประเทศเมียนมา ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการเชื่อมต่อไปยัง ฝั่งทะเลอ่าวไทย ซึ่งเป็นจุดที่แคบที่สุดในสยาม ก่อนเหตุการณ์ COVID-19 จุดผ่อนปรน พิเศษด่านสิงขรมีเงินหมุนเวียนจากการค้าไม่ต่ำกว่าเดือนละ ๒๐๐ ล้านบาท แต่หลังจากช่วง COVID-19 การค้าในพื้นที่ดังกล่าวได้เข้าสู่สภาวะซบเซาจากเดิมลง ๗๐ เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้พื้นที่ดังกล่าวยังขาดลานตรวจปล่อยสินค้าที่ใช้สำหรับการนำเข้าส่งออกสินค้า อีกทั้งสาธารณูปโภคในพื้นที่ได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมาก เช่น ป้ายบอกสถานที่ ป้ายบอกทาง อาคารตลาดนัด ไฟฟ้า และถนนสาธารณะ เป็นต้น หากสามารถเปลี่ยนจากจุดผ่อนปรน ให้กลายเป็นด่านถาวรได้จะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้กับระบบ Logistics และสามารถเพิ่มศักยภาพทางการค้าระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อม สำหรับการค้าบริเวณชายแดนให้สามารถต่อยอดธุรกิจไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้สะดวก ยิ่งขึ้นครับ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยว อันจะส่งผลให้ ชาวบ้านในพื้นที่เกิดอาชีพ รายได้ การเพิ่มขึ้นของอัตราค่าจ้าง การจ้างงาน ก่อให้เกิดโอกาส และการเติบโตของโครงสร้างเศรษฐกิจในจังหวัดครับ รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริม การค้า การท่องเที่ยวให้กับชาวบ้าน เช่น การสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน การจัดอบรม การจัดระเบียบผู้ประกอบการร้านค้า หรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ ในพื้นที่ครับ

นายสังคม แดงโชติ ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ

ประการสุดท้ายก็คือเรื่องของผังเมือง ผมอยากส่งเสริมให้มีการแก้ไข ปรับปรุงผังเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้สามารถสร้างโรงงานแปรรูปอาหารทะเล ในพื้นที่ได้ เพื่อรองรับกับภาคประมงและต่อยอดอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป อันจะทำ ให้เศรษฐกิจในพื้นที่ดีขึ้นได้ครับ กระผมจึงนำเรียนผ่านท่านประธานไปยักระทรวงมหาดไทย กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยผลักดันโครงการดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ สูงสุดต่อประชาชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจและด้านการท่องเที่ยว ขอบพระคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณสหัสวัต คุ้มคง ครับ

นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ

สวัสดีครับเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม สหัสวัต คุ้มคง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต ๗ พรรคก้าวไกล อยากจะ ปรึกษาหารือเรื่องที่ประชาชนในพื้นที่แสดงความวิตกกังวลเป็นอย่างมากครับ คือเรื่อง การจัดตั้งโรงไฟฟ้าจำนวน ๒ โรงในพื้นที่ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ผมเล่าอย่างนี้ครับว่าการก่อตั้งโรงไฟฟ้า ๒ โรงนี้เป็นการดำเนินการตามแผนพัฒนากำลัง ผลิตไฟฟ้าของประเทศหรือ PDP ในระยะยาว คำถามผมคืออย่างนี้ครับ ปัจจุบันประเทศไทย มีกำลังสำรองไฟฟ้าที่มากเกินความจำเป็นเกือบ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วทำไมเราต้องสร้าง โรงไฟฟ้าเพิ่ม ทั้งที่ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าจำนวนมากที่แทบไม่ได้ดำเนินการผลิตไฟฟ้าครับ ในพื้นที่เองห่างไปไม่ถึง ๒๐ กิโลเมตร ที่ตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ก็มีโรงไฟฟ้าเช่นกัน เรื่องน่าสนใจอยู่ตรงนี้ครับโรงไฟฟ้าดังกล่าวผลิตไฟฟ้าโดยการเผาขยะ อุตสาหกรรม แต่ละโรงมีกำลังผลิตอยู่ที่ ๙.๙ เมกะวัตต์ ถามว่าทำไมต้องโรงละ ๙.๙ เมกะวัตต์ เพราะว่ามีการระบุไว้ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๘/๒๕๕๘ ว่า การจะตั้งโรงไฟฟ้าถ้ามีกำลังไม่ถึง ๑๐ เมกะวัตต์ ไม่ต้องทำ EIA แต่ทำเพียง COP ก็พอ พูดง่าย ๆ ครับที่ต้องตั้ง ๒ โรงก็เพื่อจะหลบการทำ EIA นั่นละครับ ขอ Slide ด้วยครับ

นายสหัสวัต คุ้มคง ชลบุรี ต้นฉบับ

มาดูแผนที่เราจะเห็นเลยนะครับว่าโรงไฟฟ้า ทั้ง ๒ โรงอยู่ชิดติดกัน และโรงไฟฟ้าทั้งสองนี้อยู่ห่างจากบ้านเรือนประชาชนไม่เกิน ๑๐๐ เมตร และติดกับคลองสาธารณะ ชาวบ้านจะได้รับผลกระทบขนาดไหนครับ ลำคลองนี้ ใช้ทั้งการเกษตรและใช้ประโยชน์ของชาวบ้านนะครับ ตัวผมเองและทีมงานเดินเคาะประตูบ้านถามพ่อแม่พี่น้องทุกคนในพื้นที่ในเขตไม่เกิน ๑ ตารางกิโลเมตร กว่า ๙๐ เปอร์เซ็นต์ไม่มีใครเห็นด้วยเลย เพราะอะไรครับ เพราะนี่คือ โรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากการเผาขยะอุตสาหกรรมที่มาตั้งอยู่หลังบ้านชาวบ้าน ใกล้ชุมชน ขนาดนี้ส่งผลกระทบต่อชุมชนในวงกว้างมาก ๆ มีทั้งสารไดออกซิน สารหนู อลูมิเนียม แคดเมียม ตะกั่ว ปรอท ฝุ่นละอองที่อาจก่อมะเร็ง นี่ยังไม่รวมกลิ่นขยะที่อาจจะรบกวน การใช้ชีวิตของประชาชนอีกนะครับ อย่าลืมว่าภายในรัศมีแค่ ๑ กิโลเมตรมีหมู่บ้านอยู่ นับสิบหมู่บ้าน มีชุมชนอีกหลายชุมชน ลองนึกดูนะครับว่าถ้ามีโรงไฟฟ้าเผาขยะแบบนี้ มาตั้งอยู่หลังบ้านท่านประธานหรือเพื่อนสมาชิกจะรู้สึกอย่างไรกัน เราจะยอมให้เรื่องแบบนี้ เกิดขึ้นกับประชาชนต้องยอมรับความเสี่ยง โดยที่ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้อะไรเลยหรือครับ จากเหตุผลที่ผมยกมาอยากจะปรึกษาหารือผ่านท่านประธานไปยังสำนักนโยบายและแผน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติ ให้ยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าว ทันที และขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการทบทวนประกาศ กระทรวง ฉบับที่ ๘/๒๕๕๘ เรื่องการใช้ COP ด้วยครับ เพราะอาจเป็นการเปิดช่องให้ นายทุนไม่ต้องทำ EIA เหมือนกรณีที่ผมได้นำมาปรึกษาหารือนี้ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณยศวัฒน์ มาไพศาลสิน ครับ

นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน กาญจนบุรี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม ยศวัฒน์ มาไพศาลสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี เขต ๓ อำเภอท่ามะกา อำเภอพนมทวน พรรคภูมิใจไทย ท่านประธานครับ วันนี้ผมเรื่องเร่งด่วน ที่จะพูดในทุก ๆ ช่วงนี้ในทุก ๆ ปี จริง ๆ แล้วไม่ได้อยากพูดในทุก ๆ ปี แต่เป็นเพราะว่า ได้รับการร้องเรียนจากพ่อแม่พี่น้องชาวนาของจังหวัดกาญจนบุรี ผมต้องนำเรียนอย่างนี้ครับ จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีเกษตรกรหรือว่าทำเกษตรกรรมในหลาย ๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอ้อยที่ผมติดตามมาโดยตลอด แต่วันนี้ขอติดตามน้ำให้กับพี่น้องชาวนาครับ เมืองกาญจน์มีเขื่อนใหญ่ด้วยกันอยู่ ๒ เขื่อน ได้แก่ เขื่อนวชิราลงกรณ์แล้วก็เขื่อนศรีนครินทร์ และนอกเหนือจากนั้นเขื่อน ๒ เขื่อนนี้ไม่ใช่แค่ผลิตน้ำ ไม่ใช่แค่เก็บน้ำ ยังผลิตไฟฟ้า แต่ที่สำคัญมันเกี่ยวอะไรกับเรื่องของชาวนา เพราะว่าวันนี้กำลังที่จะเข้าสู่ฤดูการทำนาปรัง พี่น้องชาวนาได้รับข่าวว่าปีนี้อาจจะไม่ได้น้ำทำนาปรัง มันทำให้พี่น้องชาวจังหวัดกาญจนบุรีนั้น เกิดความรู้สึกว่า น้ำที่อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีก็คือน้ำของคนเมืองกาญจน์ที่จะส่งไปยัง จังหวัดต่าง ๆ แต่ทำไมชาวนาของเมืองกาญจน์ถึงจะโดนให้น้ำแค่ผ่านหน้าไป เพราะฉะนั้น ผมพูดในทุกปีผมจึงจะฝากกับท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ โดยเฉพาะที่กำกับดูแลเรื่องของน้ำนั้น ผมคิดว่าท่านสามารถที่จะจัดสรรน้ำ ให้กับพี่น้องชาวจังหวัดกาญจนบุรีในการทำนาปรังได้เหมือนทุก ๆ ปีที่ผ่านมาครับ ชาวนา บอกว่าทุก ๆ ครั้งจะต้องพูดถึงเรื่องนี้ เพราะว่า ๘๐๐,๐๐๐ ไร่ของจังหวัดกาญจนบุรี ที่ไม่อยากให้นำผ่านหน้าไปครับ ฝากท่านประธานไปถึงท่านรัฐมนตรีด้วยครับ กราบขอบพระคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ครับ

นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ระยอง ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม พงศธร ศรเพชรนรินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง พรรคก้าวไกล พื้นที่อำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมา มีเรื่องหารือดังนี้ ขอ Slide ด้วยครับ

นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ระยอง ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ปัญหาพื้นที่ตกสำรวจของ ชุมชนเย็นเซ หมู่ที่ ๒ ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จำนวน ๑๔ หลังคาเรือน รวม ๗๔ คน อาศัยอยู่ในชุมชนมานาน มีใบ ภ.บ.ท. ๕ เคยถูกฟ้องขับไล่จากธนาคารแห่งหนึ่ง ที่ออกเอกสารสิทธิครอบทับที่ดินในชุมชน ซึ่งต่อมาศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องในปี ๒๕๕๔ เนื่องจากพิสูจน์ได้ว่าชาวบ้านอยู่มาก่อน ทางสำนักงานที่ดินก็ได้รังวัดออกโฉนดให้ธนาคารใหม่ โดยกันพื้นที่ของชุมชนเย็นเซออก แต่ไม่มีการรังวัดออกโฉนดให้คนในชุมชนในคราวเดียวกัน ประชาชนติดตามมาตลอด ๑๒ ปีไม่มีความคืบหน้า จึงขอหารือท่านประธานสภา ไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีคำสั่งไปยังกรมที่ดินให้นำที่ดินของ ชุมชนเย็นเซเข้าโครงการบอกดิน เพื่อให้สำนักงานที่ดินจังหวัดระยอง สาขาแกลง ดำเนินการรังวัดจัดสรรเพื่อออกโฉนดให้ประชาชนต่อไป

นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ระยอง ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ อันตรายจากจุดกลับรถบนถนนสุขุมวิท บริเวณ อบต. ห้วยยาง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ๔ จุด คือจุดกลับรถบริเวณหน้าแขวงการทางแกลง บริเวณ ตลาดนัดห้วยยาง บริเวณหน้าสุเทพพันธุ์ไม้ และปากทางเข้าวัดบุนนาคทั้งขาเข้าและขาออก พบว่าทั้ง ๔ จุดไม่มีทางเบี่ยงเพื่อหลบรถข้างหลัง บางจุดมีทางเบี่ยงก็สั้นเกินไปทำให้รถ ที่ตามหลังมาด้วยความเร็วชนท้าย อีกทั้งตอนกลางคืนบริเวณจุดกลับรถทั้ง ๔ จุดมีแสงสว่าง ไม่เพียงพอ ในเดือนธันวาคม ๒๕๖๕-สิงหาคม ๒๕๖๖ มีอุบัติเหตุรวม ๑๕ ครั้ง มีผู้เสียชีวิต ๔ ราย อบต. ห้วยยางได้มีการประสานไปยังแขวงทางหลวง จังหวัดระยอง แต่ไม่มี ความคืบหน้า จึงขอหารือผ่านรัฐสภาไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้มีการสั่งการ ไปยังกรมทางหลวง ขอให้แขวงทางหลวงระยองเร่งเข้ามาสำรวจพื้นที่ และดำเนินการแก้ไข โดยเร็ว

นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ระยอง ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ปัญหาไฟฟ้าส่องสว่างบนทางหลวงในจังหวัดระยองดับหลายจุด เพื่อน ๆ ผู้แทนราษฎรระยองหลายคนได้หารือเรื่องนี้ถึงตอนนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ขอฝากท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้ช่วยกำชับแขวงการทางระยอง ให้เร่งแก้ไขปัญหานี้โดยด่วน ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณอำนาจ วิลาวัลย์ ครับ

นายอำนาจ วิลาวัลย์ ปราจีนบุรี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ อำนาจ วิลาวัลย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี เขต ๑ พรรคภูมิใจไทย ผมมีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธานผ่านไปยังกรมศิลปากร กับสมบัติของชาติโบสถ์เก่า อายุกว่า ๑๐๐ ปี โบสก์เก่าวัดแสงสว่างสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นโบสถ์ก่ออิฐถือปูน ขนาดเล็ก รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๕ ช่องหน้าต่าง ประตูเข้าออกหน้าหลังด้านละ ๒ บาน กลางหน้าบันมีรูปพญาครุฑระบายสี และมีรูปภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปพระพุทธเจ้า ประทับใต้ต้นโพธิ์ ภายในโบสถ์มีพระพุทธสมศรีสุขากรสันติยาธรนรารักษ์มุนิน เป็นพระนาม ที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้ประทานให้ ท่านประธานครับ โบสถ์เก่าหลังนี้ได้ทำการซ่อมแซม มา ๒ ครั้ง เมื่อปี ๒๔๗๐ ครั้งที่ ๒ เมื่อปี ๒๕๑๗ การซ่อมบำรุงครั้งที่ ๒ เป็นที่น่าเสียดาย ที่ชาวบ้านซ่อมแซมโดยการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาโบสถ์จากกระเบื้องดินเผาเป็นกระเบื้อง ลอนเล็ก ทำให้ความสวยงามลดลง ตอนนี้โบสถ์อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมอย่างมาก แต่ถ้าให้ ชาวบ้านซ่อมแซมกันเองผมเกรงว่าโบราณสถานแห่งนี้จะถูกทำลายนี้จะถูกทำลายไป และที่สำคัญองค์พระประธานที่เป็นที่สักการะของชาวบ้านที่สมเด็จพระสังฆราชประทานชื่อให้ มีรอยแตกร้าวในช่วงมือขวาขององค์พระพุทธรูป ถ้าปล่อยไว้ผมเกรงว่าจะเสียหายมากกว่านี้ อยากให้ท่านประธานประสานไปยังกรมศิลปากรให้เข้าไปช่วยซ่อมแซม เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้ ประโยชน์และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพราะนอกจากโบสถ์เก่าหลังนี้แล้วบริเวณวัดยังมี พระธาตุพุทธมงคลสร้างเมื่อสมัย ร. ๒ ตอนนี้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖ และยังมีอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช ตามประวัติศาสตร์ พื้นที่บริเวณนี้ได้เป็นที่ประทับพักแรมก่อนที่ท่านจะยกทัพไปตีเมืองจันท์ และในละแวก เดียวกันยังมีโบราณสถานอีกหลายแห่งให้ท่องเที่ยว มีพระพุทธบาทคู่ มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่วัดสระมรกต และมีต้นศรีมหาโพธิ์อายุกว่า ๒,๐๐๐ ปี ซึ่งนำหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ปัจจุบันเป็นสัญลักษณ์ของเมืองปราจีนบุรี ฝากท่านประธาน ประสานไปยังกรมศิลปากรด้วย ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณทิพา ปวีณาเสถียร ครับ

นางทิพา ปวีณาเสถียร ลำปาง ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ทิพา ปวีณาเสถียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต ๑ พรรคก้าวไกล ดิฉันขอหารือกับท่านประธานในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องตั๋วเครื่องบินของจังหวัดลำปางราคาสูง ที่ผ่านมาจังหวัดลำปางมีสายการบินที่เปิดให้บริการอยู่ ๒ สายการบิน ก็คือบางกอกแอร์เวย์ และนกแอร์ แต่เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาทางสายการบินนกแอร์ได้ยกเลิกใช้เครื่องบิน Q400 เปลี่ยนไปใช้เครื่องบินโบอิ้ง ๗๓๗-๘๐๐ แทน ซึ่งเป็นเครื่องบินที่จุผู้โดยสารได้มากกว่า แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สนามบินลำปางไม่สามารถรองรับอากาศยานขนาด ๑๘๐ ที่นั่งได้ ตามมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ทำให้ปัจจุบันนี้ เหลือเพียงสายการบินเดียวก็คือบางกอกแอร์เวย์ที่ยังให้บริการเพียงสายการบินเดียวเท่านั้น โดยราคาเดินทางไปกลับ ประมาณ ๖,๐๐๐-๘,๐๐๐ บาท เสียงสะท้อนจากคนลำปางบอกว่า นี่ขนาดว่าเป็นสายการบิน Low Cost ราคาแพงขนาดนี้คนจนมีสิทธิไหมคะ แนวทางที่จะ ลดราคาค่าโดยสารได้ ก็คือการขยายสนามบินลำปางปัจจุบันได้ดำเนินการขยายกว้างแล้ว จากเดิม ๓๐ เมตร เป็น ๔๕ เมตร แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับอากาศยานขนาดใหญ่ อย่างโบอิง ๗๓๗ ได้ ต้องรอ Phase 2 ให้เสร็จก่อนโดยจะเริ่มสร้างอีก ๒ ปีข้างหน้า จึงอยากจะให้มีการสร้าง Phase 2 เสร็จโดยเร็วที่สุด และฝากท่านประธานสะท้อนไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดูเรื่องราคาตั๋วโดยสารด้วยว่าขอให้ค่าโดยสารลดลงในช่วงที่ ระหว่างก่อสร้าง เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปางด้วยค่ะ

นางทิพา ปวีณาเสถียร ลำปาง ต้นฉบับ

อีกเรื่องที่ดิฉันจะหารือท่านประธานเกี่ยวกับปัญหาทางข้ามในจังหวัดลำปาง จาก Video ข้างบนเป็น Video เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นข้างหน้าโรงเรียนเทศบาล ๓ มีรถจักรยานยนต์ขับขี่มาแต่มองไม่เห็นเด็กนักเรียนวิ่งข้ามถนน เคราะห์ดีที่เจ้าหน้าที่ มองเห็นก่อนถึงหยุดรถได้ทัน เหตุการณ์นี้ทำให้คนลำปางประสบเหตุมากขึ้น เหตุเพราะว่า ทางม้าลายไม่ชัดเจน จึงอยากให้ท่านประธานประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำทางม้าลายให้กับคนลำปางชัดเจนขึ้น มีป้ายบอกการจราจร มีการบอกว่าระยะทาง ข้างหน้านี้กี่เมตรจะมีทางม้าลายเพื่อที่ให้รถหยุดให้กับคนข้าม เพราะว่ามักจะไม่หยุดกัน และในลำปางมีสถานศึกษามากถึง ๙๒ แห่ง โรงพยาบาล ๔ แห่ง และในตลาดมีชุมชน หลากหลายเยอะแยะ คนก็สัญจรไปมามากหนาแน่นแล้วก็เกิดอุบัติเหตุบ่อยมาก ขอให้ ท่านประธานประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มทางม้าลาย แล้วก็ทำสีให้ชัดเจน เพิ่มจุดที่ทำให้มีไฟสัญญาณจราจรชัดเจนด้วย ขอบคุณมากค่ะท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณษฐา ขาวขำ ครับ

นายษฐา ขาวขำ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

กราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ กระผมนายษฐา ขาวขำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขตอำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอบางขัน และตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง พรรคภูมิใจไทย ขอปรึกษาหารือท่านประธาน เรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ในการใช้ถนนที่คับแคบ มีสภาพชำรุด ไม่มีไฟส่องสว่างทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง จำนวน ๕ สาย ดังนี้

นายษฐา ขาวขำ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

สายที่ ๑ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๓๙ จากบ้านสหกรณ์นิคม ถึงบ้านควนลุงอิน หมู่ที่ ๔ ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง

นายษฐา ขาวขำ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

สายที่ ๒ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๑๐ ตอนที่ ๑ ซึ่งเป็นถนนเชื่อมต่อ ระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดกระบี่ และสุราษฎร์ธานี ซึ่งผ่านพื้นที่ของ ตำบลกรุงหยัน ตำบลกุแหระ และตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่

นายษฐา ขาวขำ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

สายที่ ๓ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๒๘ จากถ้ำพรรณราถึงทานพอ ซึ่งเป็นเส้นทางลัดจากอำเภอถ้ำพรรณราไปยังอำเภอฉวาง และอำเภอพิปูน

นายษฐา ขาวขำ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

สายที่ ๔ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๑๐ ตอนที่ ๒ จากวัดควนสระบัว ถึงสะพานสินปุน โดยผ่านพื้นที่ตำบลท่ายาง ตำบลทุ่งสัง ตำบลบางรูป อำเภอทุ่งใหญ่ เชื่อมต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายษฐา ขาวขำ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

สายที่ ๕ ทางหลวงชนบทหมายเลข นศ.ถ.๑-๐๐๘๖ จากควนเมา บ้านนิคม-เคี่ยมงาม อำเภอบางขัน เชื่อมต่อจังหวัดตรัง จึงกราบเรียนท่านประธาน เพื่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการ ขยายช่องทางจราจรพร้อมติดตั้งไฟ ส่องสว่างถนนสายดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ทั้งถนน ๕ สายดังกล่าวด้วย ขอบคุณมากครับท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ ครับ

นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังสังคมใหม่ ผมมีเรื่องหารือท่านประธาน ๓ เรื่อง

นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ขอให้กรมทางหลวงและแขวงการทางน่านที่ ๑ ช่วยปรับปรุง ถนนสาย ๑๑๖๘ จากบ้านแสงดาว-พระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ถนนสายนี้มีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากที่เข้าไปนมัสการพระธาตุแช่แห้ง แล้วก็ เกิดอุบัติเหตุบ่อย อยากจะให้กรมทางหลวงและแขวงการทางน่านปรับปรุงเป็นถนน ๔ เลน แบบมาตรฐาน

นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ได้รับการร้องเรียนจากองค์การบริหารส่วนตําบลท่าน้าวว่า ได้ติดตามกรมทรัพยากรน้ำบาดาลที่ อบต. ท่าน้าว ได้ทำเรื่องไปเมื่อปี ๒๕๖๓ เพื่อขอ โครงการเจาะบาดาลเป็นสถานีจ่ายน้ำบาดาลเพื่อบริการให้กับประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ชุมชนทหารที่ดินจัดสรรเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ทหารในพื้นที่ตำบลท่าน้าว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ผมได้รับร้องเรียนมาจากกลุ่มเกษตรกรเกี่ยวกับโครงการ พักชำระหนี้ของเกษตรกร รายละไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท แต่ว่ากลุ่มที่เขามีหนี้เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท เขาไม่ได้รับการเยียวยาและไม่ได้รับการพักชำระหนี้ ในกลุ่มนี้กลุ่มที่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท เขาอยากจะขอร้องให้รัฐบาลได้ดูแลแก้ความเหลื่อมล้ำให้กับกลุ่มที่มี หนี้เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท อย่างว่า นาย ก มีหนี้อยู่ ๕๐๐,๐๐๐ บาท แต่จะขอให้รัฐบาล พักชำระหนี้ให้ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลืออีก ๒๐๐,๐๐๐ บาท นาย ก เขาจะ รับผิดชอบเอง จึงอยากจะฝากท่านประธานไปถึงรัฐบาลให้พิจารณาเกี่ยวกับการพักชำระหนี้ กลุ่มที่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาทด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณพิบูลย์ รัชกิจประการ ครับ

นายพิบูลย์ รัชกิจประการ สตูล ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพิบูลย์ รัชกิจประการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย จังหวัดสตูล เขต ๑ ผมขอหารือความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนผมได้ลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชน

นายพิบูลย์ รัชกิจประการ สตูล ต้นฉบับ

ในพื้นที่หมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๖ บ้านปาเต๊ะ ตำบลเจ๊ะบิลัง โดยมีกำนันมะแอ โกบปุเลา และผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๓ นายรอสัก ซูหา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๖ นายนที ตรีทัศน์ ได้นำชาวบ้านทั้ง ๒ หมู่บ้านที่ประสบปัญหา และเดือดร้อนมาพบผมได้พูดคุยปัญหาของพี่น้องประชาชนดังนี้ ปัญหายาเสพติด ทุกประเภท โดยเฉพาะยาบ้าได้แพร่ระบาดจนเป็นปัญหากับชุมชนและสังคมในหมู่บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนวัยทำงานจนนำไปสู่การขาดรายได้ ปัญหาสุขภาพและปัญหาครอบครัว ผมจึงอยากให้กระทรวงมหาดไทยเข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้โดยเร็ว

นายพิบูลย์ รัชกิจประการ สตูล ต้นฉบับ

ปัญหาที่ดินทำกินของชาวบ้านหมู่ที่ ๓ และหมู่ที่ ๖ บ้านปาเต๊ะ ตำบลเจ๊ะบิลัง ส่วนใหญ่จะมีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนและป่าชายเลน แต่ก็ไม่ได้รับ การแก้ปัญหาในการครอบครองถือสิทธิและออกเอกสารสิทธิให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ดังกล่าว ผมจึงอยากให้กรมที่ดิน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้สำรวจออกแบบ แก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างจริงจังและโดยเร็ว

นายพิบูลย์ รัชกิจประการ สตูล ต้นฉบับ

๒. ในปี ๒๕๖๒ ผมเคยหารือปัญหาการสร้างคันกั้นน้ำป้องกันคลื่นเซาะตลิ่ง บนเกาะสาหร่าย หมู่ที่ ๕ และหมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล เวลาผ่านมา ๔ ปีแล้วปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด ผมไปพบกับพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่ง ได้รับความเดือดร้อน ผมจึงขอให้กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมโยธาธิการและผังเมือง อบต. เกาะสาหร่าย อบจ. สตูล และจังหวัดสตูล ร่วมกันแก้ปัญหาเหล่านี้ให้กับประชาชน

นายพิบูลย์ รัชกิจประการ สตูล ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตประชาสัมพันธ์ไปยังพี่น้องประชาชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ในเขตเลือกตั้งที่ ๑ ผมอยากให้พี่น้องประชาชนช่วยกันนำปัญหา และความเดือดร้อนมาแจ้งยังกระผมโดยตรง เพื่อที่จะผมจะได้นำปัญหาความเดือดร้อน ของพี่น้องมาหารือในสภาและหาทางแก้ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนต่อไป ขอบพระคุณมากครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง ครับ

นายศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง สงขลา ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์

นายศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง สงขลา ต้นฉบับ

ผมได้รับเรื่องร้องเรียนถึงความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ รวมถึงนายวงศ์วชิระ ขาวทอง สมาชิกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสงขลา อำเภอรัตภูมิ ถึงปัญหาการก่อสร้างโครงการข้ามแยกต่างระดับในจุดตัด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ และจุดตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๖ หรือที่เรียกว่า แยกคูหาครับท่านประธาน แยกนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะแยกคูหานี้เป็นแยกที่ เชื่อมกับ ๓ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสตูล เนื่องจากโครงการ ก่อสร้างได้ล่าช้าไปกว่าเดิมมาก และด้วยการบริหารจัดการที่ไม่เป็นมืออาชีพของบริษัทรับเหมา ทำให้เกิดปัญหารถติดขัดอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงปัญหาฝุ่นละออง ปัญหาน้ำท่วมขัง ปัญหาเกี่ยวกับไฟส่องแสงสว่างไม่เพียงพอ ทำให้พี่น้องที่สัญจรไปมารวมถึงพี่น้องที่อาศัย บริเวณนั้นได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก ผมจึงขอสะท้อนความเดือดร้อนไปยัง บริษัทรับเหมาขนาดใหญ่ซึ่งเป็น ๒ บริษัท คือ บริษัท ซีพีเอ็น คอร์ป (มหาชน) จำกัด และบริษัท เชียงใหม่สหมิตร จำกัด ทั้ง ๒ บริษัทจดทะเบียนอยู่ที่เชียงใหม่ แต่มารับงานอยู่ที่ สงขลา ไม่แปลกหรอกครับถ้าจะมีฝีมือ แต่ผมกลัวว่าจะมีปัญหาครับท่านประธาน เนื่องจาก ทั้ง ๒ บริษัทมีบุคคลที่เป็นคณะรัฐมนตรีเป็นส่วนเกี่ยวข้องในชุดปัจจุบัน จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ต้องรีบหารือเรื่องนี้ถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ผมจึงอยากแนะนำ ๑. เพิ่มรถฉีดน้ำ และรอบในการฉีดน้ำในพื้นที่ก่อสร้าง ๒. เร่งซ่อมผิวจราจรเป็นหลุมเป็นบ่อให้อยู่ในสภาพ ใช้งานได้ ๓. เร่งวางท่อขุดลอกท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมที่กระทบต่อพี่น้องประชาชน ๔. เร่งเพิ่มป้ายแนะนำผู้ใช้ถนน ไฟแสงสว่างในจุดมืดของโครงการ สุดท้าย อยากให้ ดำเนินการก่อสร้างอย่างต่อเนื่องให้แล้วเสร็จ เพราะอีกไม่กี่วันจะเป็นการทำบุญเดือนสิบ หรือว่าชิงเปรต หน้าฝนก็กำลังเข้ามา ปีใหม่ก็กำลังจะมาถึง หากไม่ได้รับการแก้ไข ได้รับความเดือดร้อนแน่นอน ผมจึงขอสะท้อนปัญหานี้ผ่านทางท่านประธานสภาไปยัง ผอ. สำนักก่อสร้างสะพาน อธิบดีกรมทางหลวง รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้แก้ไขปัญหานี้ให้แล้วเสร็จเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด กราบขอบพระคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณพงษ์มนู ทองหนัก ครับ

นายพงษ์มนู ทองหนัก พิษณุโลก ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม พงษ์มนู ทองหนัก พรรครวมไทยสร้างชาติ วังทอง เนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก วันนี้จะขอนำเรื่องทุกข์และความเดือดร้อนของพี่น้องชาววังทอง เนินมะปราง มาหารือกับท่านประธานเพียงเรื่องเดียว เพราะกลัวว่าหารือหลายเรื่องแล้ว จะไม่ได้รับการตอบรับครับท่านประธาน รวมถึงพี่น้องในเขตอำเภอบางกระทุ่มต่อจากอำเภอวังทองต่อไป ซึ่งความเสียหายในการนี้ นับเป็นหมื่น ๆ ไร่ ความเสียหายนับเป็นร้อย ๆ ล้านบาท ดังนั้นเองผมอยากกราบเรียน ท่านประธานว่าในอดีตปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ท่านจุติ ไกรฤกษ์ เป็นรัฐมนตรีกระทรวงไอซีที ได้เสนอโครงการและของบประมาณจากรัฐบาล รัฐบาลยุคนั้นก็ให้งบประมาณไปดำเนินการ ประมาณ ๗๐ ล้านบาท แต่ว่ากรมชลประทานโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมชลประทาน จังหวัดพิษณุโลกได้ทำเรื่องและทำพนังกั้นน้ำในแคววังทองระยะทางประมาณฝั่งละ ๑๕ กิโลเมตร จากตำบลวังทองผ่านตำบลวังพิกุลไปตำบลแม่ระกาไปตำบลบึงพระ แต่ว่า บังเอิญท่านชลประทานจังหวัดพิษณุโลกแบ่งโครงการเป็น ๒ ตอน ตอน ๑ ทำเสร็จไปแล้ว ตอน ๒ ยังไม่ได้ทำ วันนั้น ปี ๒๕๕๓ ถึงวันนี้ ๒๕๖๖ เป็นระยะเวลา ๑๓ ปีแล้ว ตอนที่ ๒ ยังไม่ได้ทำ ดังนั้นจึงฝากเรื่องนี้ไปยังประธานสภาเพื่อส่งเรื่องไปยังกรมชลประทาน สำนักงานชลประทานจังหวัดพิษณุโลก กรมโยธาธิการและผังเมือง ท่านผู้ว่าราชการ จังหวัดพิษณุโลก ว่าช่วยของบประมาณมาทำพนังกั้นน้ำในเขตตำบลวังทอง ตำบลวังพิกุล ของเขตอำเภอวังทอง ให้พี่น้องประชาชนได้ลืมตาอ้าปากบ้าง เพราะงบประมาณลงทุนนี้ ประมาณ ๓๕ ล้านบาท แต่ว่าไร่นาของพี่น้องที่เสียหายนับหมื่นไร่ งบประมาณเป็น ๑๐๐ ล้านบาทที่เสียไป เชื่อว่าถ้ารัฐบาลทำพนังกั้นน้ำให้กับพี่น้องวังทอง วังพิกุลแล้ว เงินเป็นร้อย ๆ ล้านบาท ที่พี่น้องชาววังทอง วังพิกุลจะได้รับดีกว่าผลประโยชน์จากที่ได้รับ จากเงินดิจิทัลเป็นแน่แท้ ขอบคุณท่านประธานครับ สวัสดีครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณณัฐจิรา อิ่มวิเศษ ครับ

นางสาวณัฐจิรา อิ่มวิเศษ นครราชสีมา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพค่ะ ดิฉัน นางสาวณัฐจิรา อิ่มวิเศษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต ๔ พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันมีปัญหาของพ่อแม่พี่น้องในพื้นที่ดิฉันค่ะ เรื่องที่ ๑ นะคะ ขอ Slide ค่ะ

นางสาวณัฐจิรา อิ่มวิเศษ นครราชสีมา ต้นฉบับ

เนื่องจากผลกระทบจาก ฝนตกหนักส่งผลให้มีน้ำไหลจากตำบลหนองสรวงมายังตำบลพันดุง อำเภอขามทะเลสอ และน้ำได้กัดเซาะสะพานข้ามคลองผักขมชำรุดเสียหาย ส่งผลให้พ่อแม่พี่น้องจำนวน ๔ หมู่บ้าน ได้รับผลกระทบ แล้วก็ความเดือดร้อนในการสัญจรเข้าออกหมู่บ้านนะคะท่าน ถ้ามีฝนตกหนักบริเวณนั้นน้ำจะท่วม ทำให้พ่อแม่พี่น้อง ๔ หมู่บ้าน ขับรถอ้อมไปอีกทาง ก่อนหน้านี้ได้ยื่นเรื่องเข้างบกลางแล้ว แต่ไม่ปรากฏโครงการดังกล่าว ด้วยเหตุนี้จึงอยาก วิงวอนขอความอนุเคราะห์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างสะพาน คอนกรีตเสริมเหล็กข้ามคลองผักขม ตำบลพันดุง เพื่อพ่อแม่พี่น้องได้สัญจรเข้าออกหมู่บ้าน สะดวกค่ะ

นางสาวณัฐจิรา อิ่มวิเศษ นครราชสีมา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านโป่งบูรพา หมู่ที่ ๖ ตำบลโป่งแดง อำเภอขามทะเลสอ จากรูปดังกล่าวจะเห็นได้ว่าน้ำประปามีสีขุ่นแดง ส่งผลให้เสื้อผ้า หรือสุขภัณฑ์ของพ่อแม่พี่น้องตำบลโป่งแดงมีความเสียหาย ผ้าสีขาวซักออกมาเป็นสีแดง หรือสีส้มเลย ผลกระทบทำให้การอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันส่งผลทันที จึงอยากขอ ความอนุเคราะห์ให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินการขยายเขตประปาให้พ่อแม่พี่น้อง ชาวโป่งแดงด้วยค่ะ

นางสาวณัฐจิรา อิ่มวิเศษ นครราชสีมา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ได้รับเรื่องร้องทุกข์จากชาวบ้านตำบลค้างพลูใต้ อำเภอโนนไทย ซึ่งถนนเส้นนี้เป็นถนนเชื่อมหลายตำบล ไม่ว่าจะเป็นค้างพลูใต้ หมู่ที่ ๓ บ้านหนองราง หมู่ที่ ๔ บ้านหนองบัว หมู่ที่ ๘ บ้านกระพี้ หมู่ที่ ๖ ตำบลค้างพลู อำเภอโนนไทย จากที่ดิฉันได้ลง พื้นที่ดังรูปเลยค่ะท่านประธาน เป็นหลุมเป็นบ่อจำนวน ๔ กิโลเมตร และตลอดทั้งเส้น ไม่มีไฟฟ้าแสงสว่างเลยค่ะ จึงขอความอนุเคราะห์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงถนนเส้นนี้ แล้วก็ขอแสงสว่างให้พ่อแม่พี่น้องชาวค้างพลูใต้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ครับ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต ๔ อำเภอบ้านโป่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ กระผม มีความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนชาวอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง นำกราบเรียนท่านประธานเพื่อประสานหน่วยราชการที่รับผิดชอบพิจารณาดำเนินการ ๓ เรื่องครับ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

เรื่องแรกครับ ได้รับการร้องเรียน จากกำนันอภิเดช จันทร์หอม ครับ กำนันตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง ว่าถนนเลียบคลอง ชลประทานสาย +8 ซ้าย พื้นที่หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๑๐ หมูที่ ๑๑ หมู่ที่ ๑๒ และหมู่ที่ ๑๓ ของตำบลหนองกบ ท่านประธานครับ มีสภาพผิวการจราจรชำรุดเสียหาย ซึ่งทีมงานของผมแล้วก็กำนัน รวมถึงผู้ใหญ่บ้านทั้ง ๘ หมู่บ้านที่ได้นำเรียนท่านประธานไป ได้มีความเดือดร้อน จึงได้ขอให้ท่านประธานได้ให้ทางกระทรวงมหาดไทยพิจารณา ดำเนินการ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ขอให้ปรับปรุงถนนแสงชูโตซึ่งเป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อ ระหว่างอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี กับจังหวัดกาญจนบุรีได้มีพื้นผิวการจราจรที่ชำรุด เสียหายตั้งแต่สี่แยกไฟแดงบ้านโป่งผ่านหน้าสำนักงานเทศบาลเมืองท่าผาจนถึง หน้าวัดโกสินารายณ์ จึงขอให้ทางกรมทางหลวงได้พิจารณาดำเนินการปรับปรุงพื้นผิว การจราจรถนนสายแสงชูโตด้วย

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ขอให้ทางกระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ปรับปรุงถนนสายข้างลาดบัวขาว ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง ตั้งแต่สะพาน ท่าผา-ลาดบัวขาว จนถึงเขตตำบลเบิกไพร เนื่องจากปัจจุบันนี้สะพานหน้าสำนักงานเทศบาล ตำบลเบิกไพร ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองปัจจุบันนี้ปิดการจราจร เนื่องจาก มีการขยายสะพานจาก ๒ ช่องจราจร เป็น ๔ ช่องจราจร ต้องใช้สะพานลาดบัวขาว-ท่าผา ในการข้ามฝั่งมาทั้ง ๒ ฝั่งของอำเภอบ้านโป่ง จึงเป็นสะพานที่สำคัญอีกสะพานหนึ่ง ปัจจุบันนี้ ถนนที่เชื่อมต่อสะพานดังกล่าวมีขนาดเล็กแล้วก็ต้องรองรับการจราจรจำนวนมาก จึงขอให้ กระทรวงหมาดไทยพิจารณาดำเนินการ ขอบคุณท่านประธานครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณพิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ ครับ

นางสาวพิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ พิษณุโลก ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน พิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก เขต ๔ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ วันนี้ดิฉันขอเสนอปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ทั้งหมด ๓ ประเด็น ขอ Slide ค่ะ

นางสาวพิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ พิษณุโลก ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ ผ่านท่านประธานไปยังผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะนี้มีน้ำท่วมเป็นปริมาณมากทำให้น้ำท่วมไหลเข้าสู่พื้นที่การเกษตรจำนวนมาก จึงขอให้ พัฒนาแหล่งน้ำ ขุดลอกคลองตะเคียนและบึงตะเคียน หมู่ที่ ๙ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอบางกระทุ่ม ขอให้ทำประตูระบายน้ำที่ตอนนี้ชำรุดเสียหาย รั่วซึมและกักเก็บน้ำไม่อยู่ ประตูปิดเปิด ลำบาก ประชาชนพี่น้องเดือดร้อนหลายตำบลจึงขอความอนุเคราะห์ให้ทำระบบระบายน้ำ พร้อมอาคารประกอบในจุดที่ ๑ บ้านสามเรือน จุดที่ ๒ บ้านปากคลองห้วยแก้ว ตำบลนครป่าหมาก อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

นางสาวพิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ พิษณุโลก ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ เรียนผ่านท่านประธานไปถึงกรมทางหลวงชนบท กระทรวง คมนาคม เนื่องจากมีกระแสน้ำเชี่ยวกรากอย่างรุนแรงทำให้ถนนบริเวณคอสะพานขาด ทำให้ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ จึงขอความอนุเคราะห์ติดตามโครงการซ่อมแซมสะพาน ข้ามคลองกรุงกรัก หมู่ที่ ๕ บ้านโคกสว่าง ตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

นางสาวพิมพ์พิชชา ชัยศุภกิจเจริญ พิษณุโลก ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ เรียนผ่านท่านประธานไปยังกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เนื่องจากบริเวณสะพานดังกล่าวมีทางเท้าที่กีดขวางการสัญจรทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงขอความอนุเคราะห์งบประมาณขยายสะพาน ตรงจุดถนนหมายเลขทางหลวง ๑๑๗ สายพิษณุโลก-นครสวรรค์ กิโลเมตรที่ ๑๐๒ + ๕๕๔ บ้านซ้ายทาง ตำบลบ่อทอง อำเภอบางระกำ ขอบคุณมากค่ะท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณถนอมพงศ์ หลีกภัย ครับ

นายถนอมพงศ์ หลีกภัย ตรัง ต้นฉบับ

กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม ถนอมพงศ์ หลีกภัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง เขต ๑ พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ วันนี้ผมมีเรื่องเร่งด่วนจะหารือท่านประธานเรื่องปัญหาล้นบ่อขยะ ในจังหวัดตรัง

นายถนอมพงศ์ หลีกภัย ตรัง ต้นฉบับ

ในอดีตที่ผ่านมาผมได้รับดำรงตำแหน่ง เป็นรองนายกเทศมนตรีนครตรังได้กำกับดูแลพื้นที่บ่อขยะในจังหวัดตรังเป็นเนื้อที่ประมาณ ๖๐ กว่าไร่ ปัญหาของบ่อขยะในจังหวัดตรังไม่เหมือนปัญหาที่อื่น เพราะว่าบ่อขยะในพื้นที่ จังหวัดตรังอยู่ในเมืองไม่เหมือนกับทางจังหวัดพิษณุโลก ทางพื้นที่ของท่าน สส. พงษ์มนู ทองหนัก ซึ่งบ่อขยะอยู่นอกพื้นที่ ท่านประธานครับ บ่อขยะเทศบาลนครตรังมีท้องถิ่นอื่นที่มาทิ้งในขยะประมาณ ๒๕ อปท. หรือถ้าภาษาอังกฤษเรียกว่า ๒๕ คลัสเตอร์ ซึ่งมารวมอยู่ในบ่อขยะจังหวัดตรังซึ่งเนื้อที่กว่า ๖๐ ไร่ การศึกษามีผลกระทบต่อชาวบ้านละแวกข้างเคียง ๑. น้ำเสียในบ่อขยะได้ลงไปใน แปลงไร่ แปลงนา ได้ลงไปในแม่น้ำลำคลองซึ่งมีแม่น้ำตรังไหลผ่าน ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทางเทศบาลนครตรัง ซึ่งกำกับดูแลโดย ท่านนายกเทศมนตรีนครตรังคือท่านดอกเตอร์สัญญา ศรีวิเชียร ได้จัดการอนุมัติ จ่ายขาดเงินสะสมประมาณ ๑๘๐ ล้านบาทมากำจัดขยะ แต่ว่าท่านประธานครับ เงินที่ทางเทศบาล ทางท้องถิ่นได้กำหนดขึ้นมาไม่เพียงพอ เพราะขยะที่จังหวัดตรังบ้านผม มีขยะเข้าวันละ ๑๓๐ ตัน ตอนนี้ในบ่อขยะ ขยะในพื้นที่มีประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ กว่าตัน กระผมจึงอยากจะเรียนท่านประธานผ่านไปยัง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แล้วก็กระทรวงมหาดไทย ช่วยผ่านงบประมาณในการกำจัดขยะของนครตรังไว้ ณ โอกาสนี้ ด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณศรีโสภา โกฏคำลือ ครับ

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต ๑๐ พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันขอหารือเรื่องเกี่ยวกับความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน จำนวน ๒ เรื่องด้วยกัน

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ดิฉันได้รับความเดือดร้อนจาก นายณัฐวุฒิ มารุ่งเรือง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับแจ้งความ เดือดร้อนในพื้นที่อำเภออมก๋อย อำเภอแม่แจ่ม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับผลกระทบ ภาวะฝนตกหนักตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม ปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบเกิดความเสียหาย แยกเป็นรายพื้นที่ดังต่อไปนี้

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

๑. ดิฉันได้รับแจ้งความเดือดร้อนจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่น นายณัฐพงษ์ อ้ายคำ เรื่องสะพานเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านจำนวนทั้งหมด ๗ แห่ง ในพื้นที่ แม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับความเสียหายอุทกภัยน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่โดยมีสะพานที่ต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุงอย่างเร่งด่วน มีทั้ง ๗ หมู่บ้าน สะพานบ้านห้วยไก่ป่า บ้านห้วยยาง บ้านห้วยขนุน บ้านห้วยปรงโพธิ์ บ้านห้วยปิยอทะ บ้านปะวะชะ บ้านบราโกร

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

๒. เนื่องจากฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากในวันที่ ๒๕ กันยายน ถึงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ จึงเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอย่างมาก ถนนชำรุดเสียหายไม่สามารถสัญจรไปมา ได้สะดวก พนังกั้นน้ำและนาข้าวได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยมีพื้นที่ได้รับความเสียหาย ทั้งหมด ๑๖ หมู่บ้าน เนื่องจากว่าดิฉันมีเวลาจำกัดดิฉันขอไม่กล่าวถึงชื่อหมู่บ้าน

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

๓. ดิฉันได้รับความเดือดร้อนจากนายกเทศมนตรีตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องด้วยวันที่ ๙ ถึงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาได้เกิดพายุฝนตกหนัก จนน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและล้นตลิ่ง ส่งผลให้ทรัพย์สินและพื้นที่ทำเกษตรกรรม ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเสียหาย ได้แก่ น้ำท่วมบ้านเรือน น้ำท่วมในพื้นที่เกษตรกร ถนนและฝายชำรุด ทำให้ประชาชนขาดสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีวิต ในช่วงเกิดภัยพิบัติ เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกลจึงขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดพิจารณา ให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ด้วยค่ะ

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

๔. ในพื้นที่ยังเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณบ้านยังเปียง ตั้งอยู่ในถนนทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๙ ถนนเส้นทางบ้านบ่อหลวงไปทางเมืองตึงระหว่าง แม่ตื่นระหว่างกิโลที่ ๖๘-๗๐ ระยะทางยาวกว่า ๒ กิโลเมตร มีประชาชนอาศัยอยู่ ทั้งริม ๒ ทางหลวงเป็นจำนวนกว่า ๑๐๐ หลังคาเรือน และยังมียังมีโรงเรียนอยู่บนถนนเส้นนี้ ประกอบกับเส้นทางหลักที่ขนส่งสินค้าเดินทางไปยังถนนสายหลัก แต่ถนนเส้นนี้กลับไม่มี ไฟฟ้าส่องสว่าง และมีลักษณะโค้งลาดชัน

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

๑๙/๑ ทำให้ประชาชนสัญจรไปมาค่อนข้างลำบาก จึงอยากขอระบบไฟฟ้าส่องสว่างในเส้นทาง ดังกล่าวค่ะ ยังมีเรื่องมากมายในเขตดิฉันแต่ในระหว่างนี้เกิดอุทกภัยมีหลายพื้นที่ที่ได้รับ ด้วยความที่ว่าในตอนนี้เราจำกัด จึงไม่สามารถพูดถึงทั้งพื้นที่ได้ ต้องขออภัยคนในพื้นที่ เผื่อตอนนี้กำลังรับฟังอยู่ ดิฉันจึงขอรับความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมาให้ ท่านประธานส่งให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รวมถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โปรดจัดสรรงบประมาณเพื่อซ่อมแซมถนนและดำเนินการช่วยเหลืออย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้การสัญจรไปมาของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวกลับมาสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และป้องกัน ไม่ให้ความเสียหายเกิดซ้ำซากในอนาคต ขอบคุณค่ะท่านประธาน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณสุพัชรี ธรรมเพชร ครับ

นางสุพัชรี ธรรมเพชร พัทลุง ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน สุพัชรี ธรรมเพชร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้ดิฉัน ขออนุญาตหารือปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในจังหวัดพัทลุง เขต ๑ เป็นจำนวน ๒ เรื่องด้วยกันนะคะ

นางสุพัชรี ธรรมเพชร พัทลุง ต้นฉบับ

เรื่องแรก ก็คือในเรื่องของการแก้ปัญหา น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ซึ่งวันนี้เป็นช่วงที่ใกล้จะฤดูฝนแล้ว ดิฉันอยากจะหารือ ในเรื่องของปัญหาน้ำท่วมทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งในเทศบาลในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง มีคลองคลองหนึ่งชื่อคลองลางสาด ซึ่งคลองนี้ผ่านไปยังเทศบาลตำบลเขาเจียก ผ่านไปยัง เทศบาลตำบลท่ามิหรำ และผ่านไปยังเทศบาลเมืองพัทลุง มีความยาวกว่า ๒.๕ กิโลเมตร คลองนี้ ณ ปัจจุบันที่เราได้เห็นรูปก็คือปกคลุมไปด้วยหญ้าเป็นจำนวนมากนะคะ แล้วก็ ไม่สามารถที่จะให้น้ำไหลผ่านไปได้ ดิฉันจึงอยากจะนำเรียนท่านประธานผ่านไปยัง ท่านรัฐมนตรี ผ่านไปยังท่านอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ในการแก้ปัญหาระยะสั้น ก็คือขอให้ทำการขุดลอกคลองลางสาดนี้ก่อนเพื่อที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วม และในการแก้ปัญหา ระยะยาวก็คือขอให้ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองเร่งสำรวจ แล้วก็ตรวจดูพื้นที่ ในการดำเนินการทำเขื่อนป้องกันตลิ่ง เพื่อที่จะเพื่อที่ป้องกันไม่ให้เกิดการพังทลายของดิน แล้วก็ให้พี่น้องประชาชนได้มีน้ำใช้ตลอดปี และที่สำคัญก็คือช่วยในการปรับภูมิทัศน์ให้กับ พี่น้องในเขตเทศบาลเมืองพัทลุงด้วยค่ะ

นางสุพัชรี ธรรมเพชร พัทลุง ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ก็เป็นเรื่องของปัญหาน้ำท่วมของพื้นที่ในเขตดิฉันเช่นเดิม ก็คือ ในเขตของอำเภอเขาชัยสน ซึ่งทุกปีปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่ของดิฉัน ก็คือปัญหาน้ำท่วม ของถนนเพชรเกษม ช่วงหมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๙ ของตำบลเขาชัยสน มีปัญหาน้ำท่วมทุก ๆ ครั้ง ทุก ๆ ปี จึงอยากจะให้ท่านประธานช่วยประสานไปยังสำนักงานชลประทานจังหวัดพัทลุง แล้วก็ผ่านไปยังกรมชลประทานช่วยในเรื่องของการทำอ่างเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้น เพราะ ณ วันนี้ มีอ่างเก็บน้ำอยู่อ่างเดียว ก็คืออ่างเก็บน้ำชลประทานท่าเชียด ซึ่งมีทั้ง ๓ คลองมาไหลรวมกัน ก็คือ คลองท่าเชียด คลองตะโหมด คลองโหล๊ะจันกระ ซึ่งไม่สามารถที่จะเก็บน้ำเพียงพอได้ เมื่อฝนตกหนักน้ำก็ไหลออกมา แล้วชลประทานก็ปล่อยน้ำออกมา ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม ของถนนเพชรเกษมได้ค่ะ ขอกราบขอบพระคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณกัลยพัชร รจิตโรจน์ ครับ

นางสาวกัลยพัชร รจิตโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน กัลยพัชร รจิตโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล วันนี้ ดิฉันขอปรึกษาหารือถึงสถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ซึ่งในปัจจุบันมีการระบาด เป็นวงกว้างทั่วประเทศ และเพิ่มสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้ม การระบาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สาธารณสุขไทยกำลังขาดแคลนยาต้านไวรัสที่ใช้รักษา โรคไข้หวัดใหญ่ ที่ชื่อว่า Tamiflu หรือ Generic Name ว่า Oseltamivir ๓๐ มิลลิกรัม ต่อ Capsule ยังไม่รวมไปถึงปัญหาที่ว่าคนที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่รอบนี้หลายคนยังคงป่วย เป็นไข้หวัดใหญ่ เพราะว่าวัคซีนไม่ได้ครอบคลุมทุกสายพันธุ์นะคะ ข้อมูลล่าสุดตั้งแต่ วันที่ ๑ มกราคมถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ มีรายงานผู้ป่วยทั้งหมด ๒๔๘,๓๒๒ คน อัตราป่วยอยู่ที่ ๓๗๕.๕ คน ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน มีรายงานผู้เสียชีวิตตอนนี้ทั้งหมด ๘ ราย ในจังหวัดนครราชสีมา ๕ ราย สงขลา ตาก และพิษณุโลก จังหวัดละ ๑ ราย ณ ตอนนี้เราใช้ Oseltamivir ซึ่งจัดอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และเป็น First Line Drug ของการใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ในตอนนี้ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ที่ผ่านมา กรมการแพทย์และองค์การเภสัชกรรมได้มีข้อเสนอให้ใช้ Favipiravir ที่เราเคยใช้ ในการรักษาโควิดเพื่อใช้ในการรักษาไข้หวัดใหญ่จ่อชงเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อเป็น การรักษาผู้ป่วยเป็นการเฉพาะหน้าไปก่อนค่ะ แต่ท่านประธานคะ ถึงแม้ว่า Favipiravir จะเป็นยาต้านไวรัสเช่นกัน และสามารถรักษา Influenza ได้ แต่ยา Favipiravir มีผลกระทบ ข้างเคียงที่สูง ในหลายประเทศไม่อนุมัติให้ใช้ในการรักษาไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป้าหมาย ของการปรึกษาหารือในวันนี้ ดิฉันต้องการสอบถามไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขว่านอกจากการเพิ่ม Favipiravir ให้เข้าสู่บัญชียาหลักแล้ว ท่านรัฐมนตรี มีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาด ของไข้หวัดใหญ่อย่างไรอีกบ้าง มีอัตราการฉีด วัคซีนเชิงรุกทั่วถึงมากแค่ไหน รวมไปถึงการขาดแคลนยา Oseltamivir ในภาวะเร่งด่วน ขณะนี้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปท่านสุดท้าย คุณธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ครับ

นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน ที่เคารพ ดิฉัน ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ในขณะนี้เกิดน้ำท่วมหลายจุดด้วยกัน และจากการที่ ประสานงานหลายจุดได้รับการแก้ไข มีการตั้งเครื่องสูบน้ำจากทางกรุงเทพมหานคร และอีกหลายจุดยังมีลักษณะในการท่วมซ้ำซาก ดิฉันขอยกตัวอย่างเช่นในพื้นที่ลาดกระบัง บริเวณถนนลาดกระบังตัดกับถนนกิ่งแก้ว หน้าตลาดบัญญัติทรัพย์ ในบริเวณนั้นมีน้ำท่วม เป็นแอ่งใหญ่ เดินทางกันด้วยความยากลำบาก และอีกจุดหนึ่งฝั่งตรงข้ามกัน บริเวณทางเข้า วัดสังฆราชา ซึ่งทั้ง ๒ จุดนี้อยู่ในความดูแลของกรมทางหลวง ทางสำนักงานเขตลาดกระบัง และทาง สก. สุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา สก. เขตลาดกระบัง ได้เคยแจ้งกับดิฉันว่าได้รับการแจ้งจาก กรมทางหลวงว่าจะมาทำการยกระดับถนนให้สูงกว่าระดับท่อระบายน้ำและระดับน้ำในคลอง แต่จนถึงในขณะนี้ดิฉันยังไม่เห็นความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหา พี่น้องประชาชนร้องเรียน มาเป็นจำนวนมาก ดิฉันจึงขอประสานไปยังกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ได้โปรด เข้าแก้ไขปัญหาในบริเวณจุดที่ดิฉันได้เรียนให้ทราบแล้วด้วยค่ะ

นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

อีกจุดหนึ่งเรื่องของไฟฟ้าส่องสว่าง ภายใต้การดูแลของกรมทางหลวง ที่อยู่บริเวณจุดกลับรถใต้สะพาน ใต้ถนน Motorway ช่วงใกล้หมู่บ้านพิศาล แล้วก็ทางเข้า วัดอุทัยธรรมาราม ในบริเวณนี้เป็นจุดอับมืดด้วยนะคะ ถ้าหากว่าเขาไปติดสัญญาณเรื่องของไฟฟ้า จะทำให้พี่น้องประชาชนนั้นมีความปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงติดตั้งกล้องวงจรปิดด้วย เพื่อลดปัญหาอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดิฉันขอให้ทางกรมทางหลวงเข้าไปดูแล พี่น้องประชาชนค่ะ

นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

อีกจุดหนึ่ง ขอประสานการเคหะแห่งชาติได้เข้ากำจัดวัชพืช ลอกคลองลำไส้ไก่ เพื่อเป็นช่องทางในการระบายน้ำ ลดปัญหาน้ำท่วมขังให้กับพี่น้องประชาชนในเคหะร่มเกล้า ลาดกระบัง ขอบพระคุณท่านประธานค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ๔๗๖ คน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ท่านสมาชิก ทุกท่านครับ ขณะนี้มีสมาชิกมาลงชื่อประชุมจำนวน ๓๑๗ คน ครบองค์ประชุม ผมขอเปิด การประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระต่อไปครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ซึ่งไม่อยู่ในระเบียบวาระ จำนวน ๓ เรื่อง

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๑. รับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้ที่มีชื่อในลำดับถัดไป ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่ง ที่ว่าง

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ตามที่ นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ และนายชัยเกษม นิติสิริ ได้มีหนังสือ ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๖ เป็นเหตุให้ สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๐๑ (๓) ของรัฐธรรมนูญนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร จึงได้มีประกาศสภาผู้แทนราษฎร ประกาศให้ผู้มีรายชื่อในลำดับในบัญชีรายชื่อของ พรรคเพื่อไทย เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน ตามรัฐธรรมนูญ ๑๐๕ (๒) จำนวน ๒ คน คือ ๑. นางสาวศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ ๓๐ ๒. นางสาวเพ็ญชิสา หงษ์อุปถัมภ์ชัย ซึ่งอยู่ในอันดับที่ ๓๑ ครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอให้สมาชิกที่มีชื่อทั้ง ๒ ท่านนะครับได้มาปฏิญาณตนในที่ประชุม ก่อนเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๑๕ เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๑๕ กำหนดให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกก่อนที่จะ รับหน้าที่ ผมขอเชิญคุณศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ และคุณเพ็ญชิสา หงษ์อุปถัมภ์ชัย ลุกขึ้นยืน เพื่อปฏิญาณตน พร้อมทั้ง ๒ ท่านนะครับ ผมจะกล่าวนำคำปฏิญาณตน เมื่อผมพูดคำว่า ข้าพเจ้าขอให้กล่าวพร้อมกัน แต่ท่านทั้งสองจะต้องเอ่ยชื่อของท่านในคำกล่าวปฏิญาณด้วย แล้วก็หยุดแค่นั้นไว้ก่อน แล้วผมก็จะนำคำปฏิญาณต่อไปจนสิ้นสุด ท่านทั้งสองก็กล่าวตามผม ผมจะกล่าวช้า ๆ ขอเชิญทั้ง ๒ ท่าน ยืนแล้วนะครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

“ข้าพเจ้า (ผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตาม ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญนั่งครับ ขอแสดงความยินดีทั้ง ๒ ท่านด้วย ดังนั้นจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปัจจุบันเท่าที่มีอยู่ ๔๙๙ ท่าน องค์ประชุมกึ่งหนึ่งต้องเป็น ๒๕๐ ท่านนะครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๒. รับทราบ เรื่อง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ดำเนินการพัฒนา ระบบแจ้งผลและจัดเก็บข้อปรึกษาหารือของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากเดิมมีเพียง สมาชิกเท่านั้นที่จะรับการแจ้งผลและดำเนินการ และสามารถสืบค้นขอปรึกษาหารือ ของตัวเองได้ แต่ในปัจจุบันสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้พัฒนาระบบให้สมาชิก และประชาชนผู้สนใจสามารถสืบค้นข้อมูลและติดตามผลการดำเนินการดังกล่าวได้ด้วย ซึ่งระบบนี้ได้เปิดใช้ตั้งแต่วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาเรียนสมาชิกเพื่อทราบ และอยากเรียนสมาชิกว่าการปรึกษาหรือของท่านสมาชิกในสภานั้นมีประโยชน์มาก ประชาชนก็ให้ความสนใจ สภานี้ก็ต้องขอบคุณฝ่ายที่ดำเนินการเรื่องนี้

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๒.๑ รับทราบการพิจารณารายงานของวุฒิสภา จำนวน ๗ เรื่อง

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ด้วยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้มีหนังสือแจ้งว่าที่ประชุมวุฒิสภา ได้พิจารณารับทราบรายงานดังนี้ ในคราวประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่หนึ่ง) เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๖ มีจำนวน ๒ เรื่อง คือ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๑. รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัวตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ประจำปี ๒๕๖๓ และ ๒๕๖๔

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๒. รายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

การประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เมื่อวันอังคารที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๖ มีจำนวน ๓ เรื่อง คือ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๑. รับทราบรายงานการพัฒนาระบบราชการประจำปี ๒๕๖๔

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๒. รายงานประจำปี ๒๕๖๔ ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๓. รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๕

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

การประชุม ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันอังคารที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ มีจำนวน ๒ เรื่อง คือ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๑. รายงานการตรวจเงินแผ่นดินประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๒. รายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จึงเรียนมาให้ท่านสมาชิกได้รับทราบนะครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๒.๒ รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำนักงาน ศาลยุติธรรม สำหรับปีสิ้นสุด ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ด้วยเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมได้เสนอรายงานของผู้สอบบัญชี และรายงานการเงินสำหรับสำนักงานศาลยุติธรรม เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทราบ ตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติบริหารราชการ ศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ รายละเอียดอยู่ในเอกสารที่เรียนให้สมาชิกทราบแล้วนะครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ผมจะขออนุญาตให้ผู้ที่เข้ามาชี้แจงได้เข้ามาในห้องชี้แจง เชิญครับ มี ๑. นายธานี สิงหนาท ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ๒. นายภพ เอครพานิช รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ๓. นายเผ่าพันธ์ ชอบน้ำตาล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ๔. นางพรนิภา ธนาธรรมนันท์ รองเลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม ๕. นายเสริมศักดิ์ พรหมหาญ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง และ ๖. นางสมบูรณ์ ฐาปนะดิลก นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการพิเศษ ผมขอเชิญ ท่านผู้ชี้แจง เชิญครับ

นายธานี สิงหนาท ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติ กระผม นายธานี สิงหนาท ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ขอชี้แจงประกอบการพิจารณารายงานผล การตรวจสอบและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุด วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ของสำนักงาน ศาลยุติธรรมตามที่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๓๑ กำหนดให้สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นหน่วยรับตรวจตามกฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ ทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของสำนักงานศาลยุติธรรมแล้ว ให้เสนอผลการสอบบัญชีต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีโดยไม่ชักช้า กระผมขอเรียนว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ สำนักงานศาลยุติธรรมได้รับงบประมาณ ในการสนับสนุนจากการจัดของรัฐสภา ศาล และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รายได้จาก งบเงินอุดหนุนรวมทั้งสิ้น จำนวน ๒๐,๐๓๘,๗๗๔,๖๐๐ บาทถ้วน จำแนกเป็น ๑. ค่าใช้จ่าย บุคลากร จำนวน ๑๒,๘๐๑,๙๒๒,๓๐๐ บาทถ้วน ๒. ค่าใช้จ่ายดำเนินงานจำนวน ๔,๒๒๔,๐๑๖,๘๐๐ บาท ๓. ค่าครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง จำนวน ๓,๐๑๒,๘๓๕,๕๐๐ บาทถ้วน ในส่วนของการจัดเก็บเงินรายได้ เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดินสำนักงานศาลยุติธรรม มีการจัดเก็บเงินรายได้ที่เป็นค่าธรรมเนียมศาล และเงินค่าปรับในประกัน รวมถึงรายได้อื่น ๆ เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น ๓,๓๕๘,๒๘๕,๒๑๓.๑๙ บาท ได้มีการนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๓,๓๕๗,๒๐๓,๖๑๓.๕๖ บาท และส่วนที่เหลือเป็นเงิน จำนวน ๑,๐๘๑,๕๙๐.๖๓ บาท ได้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ สำนักงานศาลยุติธรรมมีหน่วยเบิกจ่ายในสังกัดทั้งหมด ๒๘๕ หน่วย การเบิกจ่ายเงินถือปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยรวบรวมผลการดำเนินการทั้งหมดแสดงไว้ในบัญชีแสดงฐานะการเงินและงบประมาณ และดำเนินการทางการเงิน และปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ สำนักงานศาลยุติธรรม จัดทำรายการการเงินภาพรวมให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อตรวจสอบและนำส่ง กระทรวงการคลังภายใน ๙๐ วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณตามพระราชบัญญัติวินัยการเงิน การคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗๐ โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีความเห็นว่า รายงานการเงินของสำนักงานศาลยุติธรรมแสดงฐานะการเงินของสำนักงานศาลยุติธรรม ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ และมีผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดในวันเดียวกัน โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และนโยบายการบัญชี ภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งเป็นการรับรองรายงานการเงินแบบไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้ สำนักงานศาลยุติธรรมได้ดำเนินการนำส่งรายงานการเงินประจำปี พร้อมกับรายงานผล การตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้คณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และเปิดเผยให้สาธารณชนทราบผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา ๗๒ เรียบร้อยแล้ว จึงขอกราบเรียนท่านประธานและสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านทราบ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปเป็น การอภิปรายของท่านสมาชิกครับ ขณะนี้มีผู้ประสงค์และลงชื่อขออภิปราย ๒ ท่าน แล้วนะครับ เพราะฉะนั้นผมขอเชิญท่านแรก คุณเทียบจุฑา ขาวขำ ครับ

นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางเทียบจุฑา ขาวขำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ดิฉันขอมีส่วนร่วมอภิปรายรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงาน การเงินสำนักงานศาลยุติธรรม สำหรับสิ้นสุดปีวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ดิฉันขอตั้งข้อสังเกต มีข้อเสนอแนะอยู่ ๒ ประเด็น ท่านประธานคะ ความยุติธรรมเป็นสิ่งที่พี่น้องประชาชนทุกคน ต้องการ ต้องการความยุติธรรม เพราะว่าบ้านเมืองนี้ถ้าเกิดเหตุขึ้นมา ถ้ามันมีเหตุการณ์ ขึ้นมามันก็มีความยุติธรรมกับความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นจาก ๒ ฝ่ายเป็นคู่กรณี ต่างก็บอกว่า คนนี้ถูกต่างก็บอกว่าคนนี้ผิด เพราะฉะนั้นในเรื่องที่ศาลยุติธรรมที่มารายงานวันนี้ ดิฉันอยากจะขออนุญาตนำเสนอข้อสังเกตไปยังคณะทำงาน เพราะว่าศาลยุติธรรม เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการในการอำนวยความยุติธรรมและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ให้กับพี่น้องประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ความเสมอภาค ดังนั้นประเด็นที่ดิฉันจะขอฝากศาลยุติธรรม ผู้พิพากษา และผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ยุติธรรมทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำว่านอกจากท่านจะต้องพิจารณาคดี ตามพยานหลักฐานแล้ว ดิฉันจึงขอให้ท่านคำนึงถึงความมีเหตุมีผลเป็นพื้นฐานของแต่ละคนด้วย เช่น ถ้ามีพี่น้อง ๒ คน ในกรณีที่มีข้อพิพากษาระหว่างกัน และต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งยากจนก็มีข้อจำกัด มีเรื่องติดขัดหลาย ๆ อย่าง และตามเหตุผล ทางพื้นฐานของเขาเองก็คงขาดงบประมาณ ไม่มีค่าจ้างทนายความ ไม่มีทรัพย์สิน จะเข้าสู่กระบวนการศาล ดังนั้น ศาลยุติธรรมเองก็จะมีทนายความขอแรง หรือภาษากฎหมายเรียกว่า ทนายความที่ศาลตั้งให้ จะคอยให้คำปรึกษาคดีต่อพี่น้อง ประชาชนที่ไม่มีทรัพย์สินในการว่าจ้างทนายความ ซึ่งทนายความขอแรงนี้ ศาลสามารถ จะตั้งให้เข้าไปช่วยพี่น้องประชาชนได้ อันนี้เป็นสิ่งที่ดี ตั้งแต่ในชั้นสอบสวนข้อมูลต่าง ๆ จนถึงฟ้อง ถึงชั้นพิจารณา ในเรื่องนี้ดิฉันเห็นว่าเป็นเรื่องดีมาก ๆ เลยดิฉันต้องขอชื่นชม เพราะค่าจ้างทนายไม่ใช่ค่าจ้างที่ถูก ๆ บางคนกู้หนี้ยืมสินมีดอกเบี้ยนอกระบบเพื่อมาจ้างทนาย ถ้าโชคดีเจอทนายดี ถ้าโชคไม่ดีก็เจอทนายอีกรูปแบบหนึ่งดังนั้น ใน Case นี้ดิฉันเอง ก็อยากจะเสนอ ขอสอบถามเพื่อคลายกังวลว่าทำไมการบริการศาล บริการทนายที่อยู่ในศาล เขาตอบมาว่าที่ใช้ทนายขอแรงในการพิจารณามักจะเจอว่ารับสารภาพนะ บาง Case ก็บอก สู้คดีนะ บาง Case ก็บอกไม่ต้องสู้ รับโทษพอสมควร การให้คำแนะนำอะไรต่าง ๆ ฟังแล้ว ดิฉันคิดว่ามันยังไม่ถูกนะคะ ท่านประธานคะ เรื่องนี้ดิฉันคิดว่าน่าจะเกิดหลาย ๆ ที่เกี่ยวกับ เรื่องทนาย ซึ่งพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่กังวลมาก ขึ้นศาลทีไรก็จะกลัวมาก ๆ ดิฉันได้อ่าน ศึกษาวิจัยของสำนักงานศาลยุติธรรมว่าในเรื่องของการเผยแพร่ในสถาบันวิจัยและพัฒนา รพีพัฒนศักดิ์ และสำนักกฎหมายของศาลยุติธรรมที่เคยทำการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ของทนายขอแรง ก็ยังชี้ให้เห็นว่าทนายขอแรงหรือทนายความที่ศาลตั้งให้ขาดประสิทธิภาพ อยากให้เกิดการพัฒนา ในวิจัยยังบอกถึงวิธีปัญหา และคำแนะนำในการแก้ปัญหา ในเชิงประสิทธิภาพของทนายขอแรง ในวิจัยก็บอกว่าต้องเพิ่มคุณสมบัติและประสบการณ์ ของทนายความ เพราะเหตุผลของทนายความขอแรงบางคนที่ทำมา บางคนก็เพื่อเก็บจำนวนคดีโดยไม่ส่งผล ต่อคดี เพื่อเอาไปสอบอัยการ บางคนก็นำข้อมูลไปสอบอัยการหรือไปสอบผู้พิพากษาเท่านั้น ดิฉันคิดว่าคำแนะนำนี้ควรจัดอบรมให้ทนายความ จะเป็นทนายความขอแรงหรือเพื่อเป็น การจูงใจให้ทนายความ ดิฉันเข้ามาดูประเด็นนี้ในหน้า ๖ ของรายงานงบอบรม หรืองบด้านบุคลากร ท่านบอกว่าในปี ๒๕๖๕ มีงบประมาณเกี่ยวกับบุคลากรจำนวน ๑๖,๐๐๐ ล้านบาท และในหน้า ๒๑ ค่าตอบแทนเงินรางวัลทนายความมีเพียง ๒๐๔ ล้านบาท ประเด็นนี้ดิฉันจึงขอเสนอว่าสำนักงานศาลยุติธรรมควรจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับ ทนายขอแรงให้เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นสิ่งจูงใจในการทำงานของทนายขอแรงตามคำแนะนำ ของงานวิจัยที่ดิฉันได้อ่านมา เพื่อให้ทนายขอแรงได้ตั้งใจทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้มีใจที่ได้ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนนะคะ ดิฉันถือว่าทนายขอแรงก็เป็นบุคคลสำคัญ ที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ลำบากยากจนไม่มีเงินทองทรัพย์สินอะไรเลยที่จะต้องมาจ้าง ทนายเก่ง ๆ มาทำงาน เพื่อต่อสู้คดี เพื่อความยุติธรรมที่พวกเขาถูกกระทำอยู่ อันนี้ก็ขอฝาก ไปทางคณะทำงานด้วย

นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ

ประเด็นสุดท้ายค่ะท่านประธาน ดิฉันได้ดูในหน้าที่ ๒๑ เรื่องงบประมาณ ค่าใช้จ่ายฝึกอบรม ท่านมีงบประมาณเพียง ๒๐๐ ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งดิฉันมองว่ามันน้อย เหลือเกินสำหรับสำนักงานศาลยุติธรรมที่จะต้องดูแลศาลทั้งประเทศ ๒๘๕ ศาล ถ้าเฉลี่ยแล้ว เหลือศาลหนึ่งประมาณไม่เกิน ๑ ล้านบาท เรื่องการอบรมนี้เป็นเรื่องอบรมบุคลากรนะคะ ไม่ได้อบรมท่านผู้พิพากษา ดิฉันไม่ได้มีความหมายดังนั้น แต่ดิฉันหมายถึงการอบรม ในงบ ๒๐๐ ล้านบาทนี้นะคะ ไปใช้อบรมเผยแพร่ให้ความรู้ด้านกฎหมายที่ใช้ใน ชีวิตประจำวันให้กับพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ๗๐ ล้านคนให้มีองค์ความรู้ด้านกฎหมาย เบื้องต้นที่เขาได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ดิฉันจึงขอฝากประเด็นนี้ให้กับผู้บริหารสำนักงาน ศาลยุติธรรมได้พิจารณาถึงความสำคัญ การเผยแพร่ความรู้ข่าวสารให้พี่น้องประชาชนได้เข้าใจ ให้มีความรู้สึกว่ากฎหมายหรือศาลได้อยู่ใกล้ตัวเขาง่าย เขาจะได้มีความอบอุ่น เขาไม่รู้สึกกลัว เวลาขึ้นศาล ดิฉันคิดว่าโครงการเผยแพร่ความรู้ของกฎหมายเบื้องต้นนี้ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงประชาชนในชุมชนนี้ ในหมู่บ้านนี้ ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีจะทำในรูปแบบไหนก็ได้ค่ะ จะจัดอบรมก็ได้ จะส่งข้อมูลข่าวสารในทางวิทยุ ทีวี หรือสื่อสาร Online ก็ได้ ให้พี่น้องประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายของศาลได้มากขึ้น และเขาจะมีความรู้สึกว่าตัวพี่น้องประชาชนเองกับศาล มีความใกล้ชิด มีความใกล้ตัว ดิฉันคิดว่าในการรายงานวันนี้หวังว่าคงจะได้เป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนทั่วไป กราบขอบพระคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณเอกราช อุดมอำนวย

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ก่อนอื่นต้องขอบคุณที่ได้ให้โอกาสสมาชิกได้อภิปราย และขอบคุณ สำนักงานศาลยุติธรรม ท่านผู้ชี้แจงที่ให้เกียรติสภาแห่งนี้มารับฟังความเห็นของตัวแทน พี่น้องประชาชนราษฎรกว่า ๖๐ ล้านคนทั่วประเทศ ท่านประธานครับ ผมขอเริ่มต้นด้วย การตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับงบประมาณประจำปี ๒๕๖๕ ของสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งมีหน่วยงานในสังกัด ๒๘๗ หน่วยงาน หมายถึงว่าศาลต่าง ๆ ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลแรงงาน เมื่อเฉลี่ยแล้วจะได้รับงบประมาณอยู่ที่ ๗๐ ล้านบาทต่อศาลโดยเฉลี่ย ซึ่งเดือนหนึ่งก็จะใช้ สักประมาณ ๖ ล้านบาทต่อศาล ทีนี้ในภาพท่านจะเห็นว่าการจัดสรรถูกออกแบบ เป็น ๓ หมวดใหญ่ ๆ คือ เรื่องของบุคลากร เรื่องของการดำเนินงาน บุคลากรประมาณ ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท แล้วก็ในการดำเนินงานประมาณ ๔,๒๐๐ ล้านบาท แล้วก็เป็น ค่าครุภัณฑ์ ๓,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งจะเห็นว่างบประมาณส่วนใหญ่ถูกใช้กว่าร้อยละ ๖๔ ของงบประมาณทั้งหมด ท่านจะเห็นว่าหากดูรายละเอียดของส่วนนี้มันจะมี เรื่องของการจัดหารถประจำตำแหน่งสูงกว่าร้อยละ ๑๐ หรือประมาณ ๑,๕๐๐ ล้านบาท ซึ่งงบประมาณส่วนดังกล่าวมีรายละเอียดปลีกย่อยคือค่าตอบแทนในการจ่ายรถประจำ ตำแหน่ง น่าจะถูกจัดสรรตามลำดับของตำแหน่งที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการของศาล ยกตัวอย่างเช่น ประธานศาลอุทธรณ์ ท่านอธิบดี ผู้พิพากษาภาค เลขาธิการ และอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นพิพากษาศาลฎีกา จะได้รับสูง อยู่ที่ประมาณ ๔๑,๐๐๐ บาทต่อเดือน ต่อคน ชวนตั้งคำถามว่างบประมาณส่วนนี้เหมาะสมหรือยัง

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ข้อต่อมา ผมชวนดูรายรับของสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งมีเงินเกี่ยวข้องอยู่ ๒ ส่วน ส่วนแรกเป็นการจัดสรรซึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดิน และอีกส่วนหนึ่งมาจาก ค่าธรรมเนียมศาล ค่าปรับผู้ประกัน ๓.๒ พันล้านบาท รวมกันสำนักงานศาลยุติธรรม มีรายได้สูงทีเดียวนะครับ ผมอยากให้ท่านเก็บค่าธรรมเนียมศาลแล้วจากคดีแพ่งต่าง ๆ อบรมเจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมให้มี Service Mind กับพี่น้องประชาชนหน่อย คำแนะนำคือ เวลาพี่น้องประชาชนเดินเข้าศาลต้องเคารพยำเกรงศาลถูกต้อง แต่ว่าเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ถ้าบางทีเขาไม่มีทนายหรือเดินไปโต้ง ๆ นี่ครับ อย่าตวาด อย่าตะคอกเลย เขาคือคนที่ จ่ายค่าธรรมเนียมให้พวกท่านมาทำงาน อยากจะให้ท่านบริการประชาชนให้ดีกว่านี้ เข้าใจว่าท่านมีแรงกดดัน เจ้าหน้าที่บุคลากรอาจจะไม่พอ ทั้งหน้าบัลลังก์ก็ยุ่ง ไหนต้อง Scan CIOS ไหนต้อง Scan e-Filing อีก ท่านเพิ่มคนได้ ไม่ติดใจ ท่านเพิ่มคนได้ ถ้าอัตรามันขาด แล้วในส่วนของคนที่มีหน้าที่จะต้องเจอประชาชนนี่เผลอ ๆ ถ้ามี การ Service ที่ดีจากเจ้าหน้าที่ศาลนี่แทบจะไม่ต้องใช้บริการทนายเลยบางคดี เช่น เป็นจำเลยในคดีแพ่งธรรมดา ท่านผู้พิพากษาก็น่ารักทุกคนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นอยากจะ ให้ท่านปรับในส่วนนี้นะครับ ถ้าท่านจะอบรมเรื่อง Service Mind หรืออะไรไม่ติดใจ สภาแห่งนี้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมมีข้อจำกัด แล้วก็ มีค่าใช้จ่ายที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ๆ ส่วนหนึ่งที่เป็นเครื่องมือของศาลยุติธรรม ในขณะนี้ที่ผมอภิปรายสนับสนุนเลย คือการใช้ระบบ CIOS และ e-Filing มีประสิทธิภาพ มากทีเดียว อย่าให้อะไรมาเป็นข้อจำกัด แต่ฝากนิดหนึ่งครับว่าการดำเนินการชั้นอุทธรณ์ ยังไม่สามารถยื่นผ่าน e-Filing ได้ อย่างไรศาลยุติธรรมถ้าสมมุติว่ามีเวลาข้อความเห็น ของเพื่อนสมาชิกก็จะได้เอาไปเสนอในการแก้ปรับระเบียบกันต่อไป หรือถ้าจะต้องแก้ไข ประมวลกฎหมายแพ่งอะไรก็อาจจะต้องมีการปรับแก้กันต่อไปนะครับ

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้รับเรื่องร้องเรียนนะครับว่า มีประชาชน อยากจะต้องใช้บริการศาลยุติธรรม บางทีเขาก็ไม่มีแรงที่จะต้องไปจ้างทนายในคดีแพ่งก็ดี หรืออะไรอย่างนี้ครับ ผมฝากสิ่งที่ท่านลดได้ก็คือ ค่านำหมาย ค่าหมายศาลนี่ละที่เป็นต้นทุน อย่างหนึ่งเลย หรือแม้กระทั่งการใช้ต้นทุนทางด้านเวลาของผู้ที่เป็นจำเลยในคดีแพ่ง วันเวลา ของวันเสาร์ วันอาทิตย์ ปกติคดีแพ่งจะอยู่วันจันทร์ วันอังคารที่ศาลนัดใช่ไหมครับ เป็นไปได้ไหมครับว่าถ้าจะเปิดโอกาสให้จำเลยมีโอกาสได้มาศาลมากขึ้นและได้รับรู้คดี ของตนมากขึ้น ท่านย้ายคดีพวกนี้ในเมื่อท่านเก็บค่าธรรมเนียมมาแล้วไปใช้เวลาในวันเสาร์ วันอาทิตย์ได้ไหมครับ เพื่อให้พี่น้องที่เป็นจำเลยในคดีแพ่งได้มีโอกาสเข้าถึง เพราะถ้าเขา จะต้องหยุดงาน ๑ วันเพื่อจะไป ยากจนอยู่แล้ว เป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่แล้วก็ต้องเสียเวลา อีก ๑ วัน โดนหักอีก บางทีวันหยุดหมดเวลา ก็ฝากในส่วนนี้เอาไปด้วยนะครับ

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ หากจะพิจารณาแล้วก็จะพบว่าที่มาของเงินในส่วนนี้ โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมศาลมีระเบียบการเก็บค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งศาลจะหักไว้ร้อยละ ๕๐ ก่อนนำส่งคลัง ผมอยากจะสอบถามนะครับว่า นอกจากมีรายได้ในการเสริมงบประมาณเป็นไปได้ไหมครับ ผมเข้าใจว่าหน่วยงานศาล ก็ต้องใช้งบประมาณในส่วนนี้ในการดำเนินการเหมือนกัน แต่เป็นไปได้หรือไม่ว่า อัตรามากกว่านี้ส่งคืนคลังแล้วจัดสรรลงมาตามลำดับ เพื่อจะได้เกิดความโปร่งใสมากขึ้น แต่ว่าถ้าท่านจะมีโครงการเพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนร้อยละ ๕๐ หรือท่านไม่ส่งเลย เราก็ยินดี แต่การที่ท่านส่งมาเพื่อให้สภาแห่งนี้ผ่านขั้นตอนได้พิจารณาก็จะมีความโปร่งใส และมีความชอบธรรมมากขึ้นในการใช้งบประมาณ ท่านประธานครับ จากการตรวจสอบ ในสัดส่วนของค่าธรรมเนียมศาลที่เรียกเก็บจากพี่น้องประชาชน และสัดส่วนที่ถูกไปใช้จ่าย ในการจัดสรรลดตำแหน่งจะเห็นว่า ๕๑ เปอร์เซ็นต์เอามาจากค่าธรรมเนียมศาลเลย อันนี้ผมก็เลยทำตัวเลขมาให้ท่านดูว่าจะปรับได้หรือไม่ และเมื่อพิจารณาข้อจำกัด ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของพี่น้องประชาชนในการเรียกเก็บค่าประกันตัวสูง ๆ บางทีเขาจ่ายไม่ไหว ก็ต้องไปพึ่งการใช้ประกันอิสรภาพ ผมชวนตั้งคำถามว่าการใช้สิทธิ และเสรีภาพมันควรจะเป็นเรื่องของธุรกิจหรือเปล่า เวลาบุคคลที่ไปประกันท่านยังจะต้อง พิจารณาว่ามีความเกี่ยวข้องเป็นสามี ภรรยา เป็นญาติหรือไม่ แต่ว่าบางคดีที่เรียกค่าประกันสูง เป็นหลักหมื่นขึ้นไป ๒๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ บาท บางทีก็ต้องเสียค่าประกันที่จ่ายเปล่าไปเลย เพื่อประกันอิสรภาพตัวเอง ก็อยากให้สำนักงานศาลยุติธรรมทบทวนอัตราที่ใช้ และควรจะ แบ่งเป็นภูมิภาค เพราะอัตรารายได้ของพี่น้องแต่ละศาลไม่เหมือนกัน เช่น ศาลที่ จังหวัดอุบลราชธานี ศาลต่างจังหวัด ศาลจังหวัดขอนแก่นกับศาลในเมือง ศาลในกรุงเทพมหานครแบบนี้ก็อยากให้ท่านลองพิจารณา และยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ต้องแบกรับ อย่างเช่น ค่าส่งหมายศาล ๕๐๐-๑,๕๐๐ บาท แพงกว่าไปรษณีย์นะครับ เป็นไปได้ไหมที่จะปรับให้เหมาะสมลง กระบวนการการยุติธรรมและสิทธิเสรีภาพ ในการประกันตัวนั้นมีราคาที่ต้องจ่ายนะครับท่านประธาน ผมอยากจะสอบถามเป็นเรื่องที่ สำคัญมาก คือเวลาที่คนไทยได้รับอิสรภาพในการประกันตัวจะสาบานตัวก็ดี หรือใช้หลักประกันก็ดีท่านไม่ได้มีการสั่งใช่ไหมครับว่าห้ามเดินทางไปต่างประเทศ หรือเป็นเฉพาะบางคดี แต่ถ้าเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติเกิดมาเผลอกระทำความผิด อย่างเช่น ล่าสุดเป็นชาวฝรั่งเศสที่เผลอไปวิวาทกับราษฎรชาวไทยแล้วเป็นคดีขึ้นมา สุดท้ายเมื่อคดี ถึงศาลต้องถูกยึด Passport ผมถามว่านี่คือการดำเนินการที่เลือกปฏิบัติทางด้านเชื้อชาติ หรือไม่ นี่ก็คือสิ่งที่ผมรวบรวมมาเพื่อฝากท่านประธานไปถึงสำนักงานศาลยุติธรรม ไม่รบกวนเวลาสภาแห่งนี้มากจนเกินไป ฝากด้วยนะครับท่านประธาน ขอบพระคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณปิยชาติ รุจิพรวศิน ครับ

นายปิยชาติ รุจิพรวศิน นครราชสีมา ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม ปิยชาติ รุจิพรวศิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนครราชสีมา เขต ๒ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมในฐานะที่เป็น สส. ตัวแทนของประชาชน วันนี้ผมได้นำข้อซักถาม ข้อสงสัยจากประชาชน รวมถึงเพื่อนทนายความหลายท่านที่ฝากมาหารือผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงาน สำนักงานศาลยุติธรรม ท่านประธานครับ ในการพิจารณาคดีอาญามีหลักกฎหมายสากล ที่สำคัญอยู่ข้อหนึ่งคือหลัก Presumption of Innocent หรือหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่า บริสุทธิ์ นั่นคือการที่ใครคนใดคนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิด ซึ่งมีโทษในทางอาญา จะต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าคนคนนั้นบริสุทธิ์ จนกว่าจะมีการพิสูจน์ความว่า คนคนนั้นเป็นผู้กระทำความผิดจริงถึงจะลงโทษได้ นั่นแสดงให้เห็นว่าเราควรให้ความสำคัญ ต่อการพิจารณาความคดีอาญาของศาลแค่ไหน ซึ่งการที่จะพิจารณาว่าผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้บริสุทธิ์นั้น ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่คู่ความ แต่ละฝ่ายนำมาสืบในคดี ซึ่งพยานหลักฐานที่สำคัญที่สุดในการนำมาพิจารณาคดีอาญา คือพยานบุคคล โดยเฉพาะพยานบุคคลที่เห็นเหตุการณ์ด้วยตัวเอง หรือที่เราเรียกกันว่า ประจักษ์พยาน ปัจจุบันศาลยุติธรรมใช้วิธีการบันทึกคำเบิกความของพยานบุคคล จากปากของผู้พิพากษา ผมขออธิบายให้เห็นภาพว่าในการสืบพยานบุคคล อัยการ หรือทนายความจะเป็นผู้ถามพยาน เมื่อพยานมีการเบิกความใด ๆ ผู้พิพากษาจะบันทึกคำเบิกความของพยาน ใส่เครื่องบันทึกเสียง และปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผู้พิพากษาบางท่าน ขอย้ำว่าบางท่าน อาจบันทึกคำเบิกความโดยละเอียดทุกคำพูด แต่ผู้พิพากษาบางท่านอาจบันทึกคำเบิกความ โดยสรุปตามความเข้าใจของตัวเองหรือไม่ ซึ่งอันที่จริงผู้พิพากษาควรจะบันทึกเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในขณะที่พยานเบิกความโดยละเอียด ไม่ว่าพยานจะเบิกความโดยการร้องไห้ พยานเบิกความโดยการตอบไม่ตรงคำถาม โดยทั่วไปแล้วปัญหาในการสังเกตพฤติกรรม ต่าง ๆ ของพยานในระหว่างเบิกความของศาลชั้นต้นอาจไม่เกิดขึ้นมากนัก เพราะผู้พิพากษา ศาลชั้นต้นได้นั่งพิจารณาคดีด้วยตัวเอง และได้เห็นการสืบพยานทุกขั้นตอน เห็นกิริยาท่าทาง หรือข้อพิรุธต่าง ๆ ของพยาน แต่ในการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา จะพิจารณาคดีจากเพียงเอกสารในสำนวน และคำเบิกความที่ถูกบันทึกเป็นข้อความเท่านั้น อีกทั้งไม่มีโอกาสได้เห็นกิริยาท่าทาง หรือข้อพิรุธต่าง ๆ ในระหว่างการสืบพยาน ของศาลชั้นต้นเลย เราจะเห็นได้ว่าหลาย ๆ ประเทศมีการบันทึก Video การพิจารณาคดีไว้ แม้กระทั่งคดีอื่นนอกจากในคดีอาญาด้วยซ้ำครับ เพราะหลักสำคัญในการพิจารณาคดี ของศาลควรจะเป็นไปอย่างเปิดเผย เพื่อแสดงให้เห็นว่าการพิจารณาคดีเป็นไปด้วย ความถูกต้องและเป็นธรรมต่อคู่ความทุกฝ่าย จริง ๆ แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา คดีอาญามาตรา ๑๗๒ วรรคสี่ และ วรรคห้า ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ ให้มี การบันทึก Video คำเบิกความของพยานบุคคลในการสืบพยานคดีอาญาแล้ว และประธาน ศาลฎีกาก็ได้มีการออกข้อบังคับเกี่ยวกับการบันทึก Video คำเบิกความของพยานบุคคล ในการสืบพยานคดีอาญาดังกล่าวเมื่อปี ๒๕๖๔ ให้สำนักงานศาลยุติธรรมเร่งจัดสรร งบประมาณ และอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอต่อการดำเนินการดังกล่าว ผมจึงขอถาม ผ่านท่านประธานไปยังสำนักงานศาลยุติธรรมว่าปัจจุบันท่านได้ดำเนินการตามข้อบังคับ ดังกล่าวไปถึงไหนแล้ว ปัจจุบันมีศาลที่มีความพร้อมต่อการบันทึก Video ในขณะที่มี การเบิกความของพยานบุคคลในคดีอาญาแล้วบ้างหรือไม่ นี่ก็เป็นระยะเวลากว่า ๑๕ ปีแล้ว นับแต่มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้มีการบันทึก Video การสืบพยานในคดีอาญา ผมจึงอยากเรียนถามท่านว่าเราจะต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหน กว่าที่ศาลยุติธรรมทั้งประเทศจะพร้อมบันทึก Video ในการพิจารณาคดีอาญาได้ทุกศาล และจากที่ผมตรวจสอบดูงบประมาณของสำนักงานศาลยุติธรรมพบว่างบประมาณ น่าจะเพียงพอต่อการจัดหาอุปกรณ์ในการบันทึก Video การพิจารณาคดีอาญาตามกฎหมาย ผมอยากฝากผ่านท่านประธาน ขอให้สำนักงานศาลยุติธรรมดำเนินการตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและข้อบังคับของประธานศาลฎีกาด้วยครับ เพราะไม่เพียง แค่ผู้เสียหายเท่านั้นที่ต้องการได้รับความยุติธรรม แต่ผู้ต้องหาและจำเลยซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหา ก็ต้องการได้รับความยุติธรรมด้วยเช่นกัน อย่าให้ประชาชนในประเทศนี้จะต้องกังวล ว่าวันหนึ่งจะต้องตกเป็นแพะ และต้องเข้าคุกเข้าตะรางจากความไม่พร้อมของกระบวนการ ยุติธรรมเลยนะครับ ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ครับ

นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ท่านประธานค่ะ ดิฉันทนายแจม ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๑๑ พรรคก้าวไกล เรื่องที่จะมาอภิปรายวันนี้เป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับงบการเงินของสำนักงาน ศาลยุติธรรม เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะว่าเมื่อปี ๒๕๖๑ อาจารย์ปิยบุตรก็เคยอภิปราย ไปแล้วก่อนจะถูกตัดสิทธิทางการเมือง ดิฉันคิดว่าทุกคนในสภาแห่งนี้ได้อ่านรายงาน งบการเงินของสำนักงานศาลยุติธรรมแล้วจะมีคำหนึ่งที่เขียนว่าค่าใช้จ่ายในการประชุม ในรายงานเล่มนี้มีระบุเอาไว้ในหมวดค่าใช้สอยว่ามีงบการใช้จ่ายในการประชุมเพิ่มขึ้น ในปี ๒๕๖๔ ๑๑๙ ล้านกว่าบาท ในปี ๒๕๖๕ ค่าในการประชุมในเพิ่มขึ้นเป็น ๓๑๙ ล้านกว่าบาท ตัวเลขส่วนต่างจำนวนนี้เห็นแล้วก็ตกใจ แล้วก็ไปสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ ก็ได้ทราบว่าค่าใช้จ่ายในการจ่ายเบี้ยประชุมของศาลต่อปี มีคนคำนวณไว้ว่าจะตกอยู่ที่ ประมาณปีละ ๒๐๗,๓๖๐,๐๐๐ ล้านบาท คาดว่าใน ๕ ปีแรกจะแตะ ๑,๑๐๐ ล้านบาท ตัวเลขนี้ก็ถือว่าเยอะมาก ๆ เลย ดิฉันทราบดีว่า พ.ร.บ. การจ่ายเบี้ยประชุมมีผ่านไปแล้ว โดยให้เหตุผลในการอนุมัติเบิกจ่ายว่าเพื่อให้การประชุมนั้นมีความเที่ยงธรรม เป็นประโยชน์ ในการพิจารณาพิพากษาให้รอบคอบยิ่งขึ้น เป็นหลักประกันแก่ประชาชนว่าข้าราชการศาล จะอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน สำหรับงบประมาณในการจ่ายเบี้ยจาก พ.ร.บ. ดังกล่าว ดู Slide ถัดไป เบี้ยประชุมรายครั้งของประธานอยู่ที่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาทต่อครั้ง เพื่อความยุติธรรม องค์ประชุมคนละ ๘,๐๐๐ บาท ผู้เข้าร่วมประชุม ๘,๐๐๐ บาท แล้วก็ผู้เข้าร่วมประชุมและเลขานุการก็ประมาณ ๖,๐๐๐ บาท แม้จะมีการกำหนดกรอบ เบี้ยประชุมเอาไว้แล้ว แต่ดิฉันอยากจะบอกว่าตัวเลข ๓๑๙ ล้านกว่าบาทนี้ประชาชน หลายคนก็ยังไม่ทราบว่าเป็นการจ่ายเพื่อให้ศาลมีความเที่ยงธรรม ยุติธรรม แล้วก็ผดุง ความยุติธรรมวันนี้ก็เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ทบทวนว่าปี ๒๕๖๕ นี้ค่าใช้จ่ายในการประชุม จะแตะอยู่ที่เท่าไร ดิฉันขอแสดงความเป็นห่วงเล็กน้อยแล้วกันถึงตัวเลขนี้ อาจจะแบบว่า จะพอหรือเปล่าสำหรับความยุติธรรมหรือว่าในฐานะที่เราใช้อำนาจนิติบัญญัติเหมือนกัน ดิฉันเองก็ไม่อยากได้ยินคำครหาว่าประเทศนี้ ความยุติธรรมนั้นช่างราคาแพงเหลือเกิน เงินเดือนดี มีเบี้ยประชุม สวัสดิการก็ดี การแข่งขันก็ย่อมต้องสูงเป็นธรรมดาเลย ขอเข้าในประเด็นที่ ๒

นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ เป็นประเด็นที่อยากจะพูดถึงการคัดสรร กระบวนการจัดสรร เป็นความเหลื่อมล้ำของการสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา หลาย ๆ คนทราบกันดีเด็กนิติศาสตร์ ทุกคนจะทราบกันดีว่าการจะเป็นผู้พิพากษาจะมีสนามการแข่งขันอยู่ประมาณ ๓ สนาม ด้วยกัน สนามแรกเรียกว่าสนามใหญ่ สนามใหญ่นี้ก็จะมีวุฒิการศึกษาต้องสอบผ่าน เนติบัณฑิต จบปริญญาตรีด้านกฎหมายประกอบอาชีพด้านกฎหมาย ๒ ปี แต่ถ้าสนามเล็ก ก็สอบผ่านเนติบัณฑิต หรือว่าจบปริญญาโทกฎหมายเราจะเรียกว่า ถ้าอยากจะสอบ สนามเล็กไปเรียนปริญญาโทมาถูกไหมคะ จะได้จบสอบสนามเล็กได้นะคะ อีกสนามหนึ่ง ที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่ค่อยรู้ถ้าคนที่อยู่นอกวงการก็อาจจะไม่ทราบ คือมีคำว่าสนามจิ๋วด้วย สนามจิ๋วจะต้องสอบผ่านเนติบัณฑิต แล้วก็จบปริญญาตรีกฎหมายจากต่างประเทศ หลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๒ ปี หรือว่าจบปริญญาโท ด้านกฎหมายต่างประเทศ หลักสูตรไม่น้อยกว่า ๓ ปี หรือจบปริญญาเอกมหาวิทยาลัยในไทย ถ้าสนามใหญ่และสนามจิ๋วเปิดสอบ คนละรอบสามารถใช้วุฒิปริญญาตรีไปสอบสนามใหญ่ได้อีก หมายความว่าถ้าเราจบ เนติบัณฑิต จบปริญญาโทกฎหมายต่างประเทศตามเงื่อนไขนี้นะคะ เราจะมีสิทธิสอบได้ ๓ สนามเลย แต่ถ้าใครที่จบ ป. โท ประเทศไทยก็จะสอบได้ ๒ สนาม สำหรับคนเบี้ยน้อย หอยน้อยเรียนได้แค่ประเทศไทยก็อาจจะสอบได้แค่สนามใหญ่ สนามเดียวเท่านั้น ยิ่งไม่นานมานี้มีการแชร์ผ่านโลก Social ว่าผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนสนามจิ๋วแต่ละตำแหน่ง ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาในปี ๒๕๕๑ มีจำนวน ๒๑ คนที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ เมื่อไม่นานมานี้มีการใช้แชร์โลก Social ตามภาพนี้เลยว่าในสนามจิ๋ว ปี ๒๕๖๑ มีจำนวน ๒๑ คนที่สอบสนามจิ๋วแล้วก็ไม่ได้ประกอบอาชีพ อาจจะตีความได้ว่าพอเรียนจบปุ๊บ ก็อาจจะเรียนจบเข้าสู่สนามสอบทันที หลาย ๆ คนก็รู้กันว่าเอ๊ะถ้าเราเรียนจบปุ๊บเราจะใช้ ช่องทางเข้า เขาเรียกช่องทางแบบ Fast Track ในการที่จะไปเรียนต่างประเทศเพื่อจะ กลับมาแล้วก็มาอ่านหนังสือสอบเพื่อสอบผู้พิพากษาสนามจิ๋วได้เลย เมื่อพิจารณาถึง คะแนนสอบแต่ละสนามจะเห็นว่าคะแนนสอบก็จะค่อนข้างต่างกัน สนามจิ๋วจะให้น้ำหนัก กับการสอบภาษามากกว่าการสอบประเภทอื่น ๆ แต่ถ้าสัดส่วนคะแนนวิชากฎหมาย จะน้อยกว่า แต่ถ้าสนามใหญ่เราจะเน้นที่กฎหมายมากที่สุด ในปี ๒๕๖๐ การสอบสนามใหญ่ มีผู้ผ่านการคัดเลือก ๓๓ คน จาก ๗,๐๐๐ กว่าคน ถือเป็น ๐.๔๗ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ของผู้สมัครทั้งหมด ในขณะที่สนามจิ๋วในปีเดียวกันมีผู้ผ่านการคัดเลือก ๑๑๖ คน จากผู้สมัคร ๓๔๘ คน ถือเป็น ๓๓.๓๓ เปอร์เซ็นต์ของผู้สมัครทั้งหมดในการเป็นผู้พิพากษา หรือแม้กระทั่ง ในปี ๒๕๖๑ อัตราการสอบผ่านสนามใหญ่อยู่ที่ ๑.๗๖ เปอร์เซ็นต์ สนามเล็ก ๑.๔๐ สนามจิ๋ว ก็ผ่านประมาณ ๒๒.๑๘ เปอร์เซ็นต์ จากสถิติก็จะเห็นได้ว่าความเหลื่อมล้ำในการสอบ คัดเลือกผู้ช่วยผู้พิพากษาในสนามจิ๋วมีโอกาสมากกว่า ๑๐ เท่าเป็นอย่างน้อย เมื่อคิดเป็น อัตราผู้สอบผ่านทั้งหมดก็ประมาณ ๑ ต่อ ๖ สนามใหญ่ ๑ ต่อ ๓๗ คน เราก็จะเห็นว่า มีความเหลื่อมล้ำในสนามสอบทั้ง ๓ สนาม อยากจะฝากท่านผู้ชี้แจงด้วยว่าถ้ามีการพิจารณา ในเรื่องนี้จะมีการพิจารณาอย่างไร หรือแม้กระทั่งการเก็บคดี อีกอันหนึ่งที่สำคัญ การเก็บคดี ก็มีการไปขอเก็บคดีเหมือนกัน แจมคิดว่าในวงการนักศึกษากฎหมายเรารู้สิ่งนี้เป็นอย่างดี แต่ประชาชนหลาย ๆ คนไม่ทราบเรื่องนี้ว่าพอจบมาปุ๊บไม่ได้ว่าความจริงก็มี มาขอเก็บคดี ตามศาลเพื่อให้ได้คดีตามจำนวนที่จะสอบผู้พิพากษาได้ แล้วก็เอาเวลาไปอ่านหนังสือสอบ แล้วก็ไปเป็นผู้พิพากษาที่มานั่งตัดสินชะตาชีวิตพวกเราอยู่ทุกวันนี้ค่ะ ด้วยความเหลื่อมล้ำ ของกระบวนการสอบผู้พิพากษา การเก็บคดี หรือว่าเบี้ยประชุม หรือแม้กระทั่งสวัสดิการ ที่มีท่านสมาชิกพูดไปแล้ว เราก็จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือเวลามีการตัดสินต่าง ๆ ด้วยความเหลื่อมล้ำในการคัดเลือกผู้พิพากษา ด้วยสวัสดิการต่าง ๆ นานา สิ่งที่เราได้คืออะไร สิ่งที่เราได้ก็คือความเหลื่อมล้ำในการตัดสิน ในการให้ดุลยพินิจ ในการประกันตัวในแต่ละคดี ทนายอานนท์ นำภา มาตรา ๑๑๒ จำคุก ๔ ปี ไม่รอลงอาญา ไม่ให้ประกัน ทั้ง ๆ ที่ไม่เคย หลบหนีไปไหน เลี้ยงลูกอยู่บ้าน คุณวารุณี จำคุก ๑ ปี ๖ เดือน ไม่ให้ประกัน บอกว่าเชื่อว่า จะหลบหนีทั้ง ๆ ที่ไม่เคยหลบหนี ในขณะเดียวกันคุณอิทธิพล คุณปลื้ม กลับให้ประกัน ทั้ง ๆ ที่มีประวัติหลบหนี หรือแม้กระทั่งคดีของคุณชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ยกฟ้องคดี ฆาตกรรม ชี้หลักฐานไม่เพียงพอ อยากจะให้เห็นว่าด้วยกระบวนการคัดเลือกผู้พิพากษา ด้วยการใช้งบประมาณต่าง ๆ สิ่งที่ประชาชนได้มันคุ้มค่ากับสิ่งที่ประชาชนเสียหรือไม่ อยากฝากไว้เท่านี้ค่ะ ขอบคุณท่านประธานค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณชลธิชา แจ้งเร็ว ครับ

นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายรายงานการเงินของสำนักงานศาลยุติธรรม และขอคำชี้แจงที่ชัดเจนจากผู้ชี้แจงด้วยนะคะ อย่างที่เราทราบกันดีว่าสำนักงาน ศาลยุติธรรมมีหน้าที่ในการดูแลเกี่ยวข้องกับงานธุรการ งานส่งเสริมตุลาการ และงานวิชาการ แล้วก็รวมไปถึงการเสริมสร้างให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไป โดยสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ แต่ว่าหลังจากที่ดิฉันได้อ่านรายงานการเงิน ของสำนักงานศาลยุติธรรม ดิฉันกลับพบว่าการทำรายงานบัญชียังขาดการอธิบาย รายละเอียดที่ชัดเจนอยู่หลายประการ และยิ่งหากเราเปรียบเทียบการใช้งบประมาณ ของสำนักงานศาลยุติธรรมกับการทำงาน ดิฉันก็ยิ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า การใช้งบประมาณดังกล่าวนี้ดูจะไม่สอดคล้องกับประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อ Guarantee สิทธิในกระบวนการยุติธรรมของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ต้องหา ในคดีการเมือง

นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ

โดยประเด็นแรกที่ดิฉันอยากจะขอใช้พื้นที่นี้ในการพูดถึง ก็คือเรื่องของ การใช้งบประมาณกับการใช้กำไล EM กับผู้ต้องหาในคดีทางการเมือง โดยสำหรับประเทศไทย เราได้เริ่มการนำกำไล EM มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหาแล้วก็จำเลย มาสักระยะหนึ่งแล้ว โดยเหตุผลหลัก ๆ เราก็พูดถึงเรื่องของการลดความแออัดข้างในเรือนจำ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสิทธิในการประกันตัว จึงมีการใช้กำไล EM แทนการวาง หลักทรัพย์ในบางส่วน ซึ่งดิฉันต้องขอย้ำในที่นี้ว่าการใช้กำไล EM กับกระบวนการยุติธรรม ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ในต่างประเทศเขาก็มีการใช้กำไล EM กับกระบวนการยุติธรรมกัน เป็นเรื่องปกติมาก ๆ แต่ว่าการใช้อุปกรณ์นี้จะต้องคำนึงถึงหลักความจำเป็น ความได้สัดส่วน แล้วก็ความเหมาะสมด้วยค่ะ เพราะหากการใช้กำไล EM ดังกล่าวนี้ขาดการพิจารณา ถึงหลักการเหล่านั้น ก็ย่อมสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ต้องหาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคดีความของพวกเขาเหล่านั้นยังไม่มีการพิพากษาออกมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ก็จะไปขัดกับหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จากรายงานการเงินดิฉันพบว่า ในปี ๒๕๖๕ มีการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายดำเนินงานไปกว่า ๖๘ ล้านบาท ในโครงการส่งเสริม การนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ EM มาใช้ในการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งไม่มั่นใจว่า จากงบประมาณตรงนี้จะมีงบประมาณอื่นแอบแฝงอยู่ในรายการอื่นหรือไม่ อย่างไรนะคะ ซึ่งก่อนหน้านี้เองมติของ ครม. ในปี ๒๕๖๓ ก็ได้มีการเห็นชอบงบประมาณกว่า ๘๐๐ กว่าล้านบาท ในการเช่ากำไล EM มาใช้ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ถึงปี ๒๕๖๕ ก็เป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลยทีเดียว ประเทศไทยแม้เราจะลงทุนงบประมาณ ไปหลายล้านบาทในโครงการการใช้กำไล EM กับการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อลดความแออัด ในเรือนจำ แต่ดิฉันกลับพบว่าจำนวนของผู้ต้องขังที่ถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดี ในบ้านเรานี่กลับไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด ดิฉันจึงคิดว่าหรือเราเองอาจจะต้อง พิจารณาว่าวิธีการในการลดจำนวนของผู้ต้องขังในเรือนจำอาจจะมีวิธีการอื่นที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพมากกว่า ใช้งบประมาณน้อยกว่าหรือเปล่า นั่นก็คือเรื่องของการยึดหลัก ปล่อยเป็นหลักและขังคือยกเว้น ซึ่งหลักการนี้ก็จะช่วย Guarantee สิทธิในการประกันตัว ของผู้ต้องหาได้อีกด้วย หรือว่าการเลือกในการปฏิรูปเรือนจำนั่นเองก็เป็นอีก ๑ ช่องทาง หากเราศึกษารายละเอียดในคดีทางการเมืองในช่วงปี ๒๕๖๓ เป็นต้นมา เราจะพบว่าศาล ได้เริ่มนำกำไร EM มาใช้กับนักกิจกรรมด้านประชาธิปไตยมากขึ้น อย่างน้อย ๙๘ คน แน่ ๆ แม้ว่าพวกเขาหลายคนจะไม่ได้มีพฤติการณ์ของการหลบหนี การไปยุ่งเหยิง กับพยานหลักฐาน หรือหลายคนเองก็ไม่ได้มีเงื่อนไขการประกันตัวจากศาลว่าห้ามออกนอก ประเท ศ หรือไม่มีเงื่อนไขของ Curfew แต่กลับ ถูกศาลสั่งให้ ใส่กำไล EM อย่างไม่สมเหตุสมผล จึงทำให้สังคมเกิดการตั้งคำถามว่าศาลนั้นมีแนวทาง มีนโยบาย ในการพิจารณาเกณฑ์การพิจารณาในการใช้กำไล EM อย่างไร เพราะแค่เพียงการที่รัฐเอง ต้องการอยากรู้อยากเห็นชีวิตของนักกิจกรรมทางการเมือง ดิฉันก็คิดว่าคงไม่มีน้ำหนัก เพียงพอในการที่จะสั่งให้ผู้ต้องหาในคดีการเมืองติดกำไล EM ได้นะคะ และสิ่งเหล่านี้ก็ทำให้ สังคมยิ่งตั้งคำถามมากขึ้นไปเกี่ยวกับการใช้ดุลยพินิจของผู้พิพากษาอย่างกว้างขวางนะคะ และอีกหลายกรณีก็นำไปสู่การตั้งคำถามถึงการเลือกปฏิบัติของตุลาการต่อผู้ต้องหา ในคดีการเมืองอีกด้วยนะคะ นอกจากนั้นดิฉันยังทราบมาว่าประสิทธิภาพของกำไล EM ที่เราใช้งบประมาณไปเป็นจำนวนมหาศาลนั้นก็มีประสิทธิภาพต่ำมาก มีหลายกรณี ที่มีการร้องเรียนว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ EM นี้มีปัญหาในเชิงเทคนิค Charge ไฟไม่เข้าบ้าง ส่งสัญญาณหรือว่าเสียงสั่นรบกวนผู้ต้องหาที่ใช้กำไล EM อยู่ด้วย ดิฉันจึงคาดหวังว่า เมื่อเราลงทุนงบประมาณไปจำนวนมหาศาลกับกำไล EM ก็คาดหวังว่าเราจะสามารถ ใช้งานมันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านี้นะคะ

นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ

ประเด็นสุดท้ายที่ดิฉันอยากสอบถาม ก็เป็นเรื่องของความล่าช้าของ การดำเนินงานด้านการประกันตัวของศาลยุติธรรม อย่างที่เราทราบกันดีว่าความล่าช้า คือความอยุติธรรม ดิฉันขอยกตัวอย่างเพียงตัวอย่างเดียว ก็คือกรณีของทนายอานนท์ นำภา หลังจากที่ศาลอาญารัชดาได้มีคำพิพากษาจำคุกในคดีมาตรา ๑๑๒ หรือว่ากฎหมาย หมิ่นประมาทกษัตริย์เป็นเวลา ๔ ปี โดยไม่รอลงอาญา ต่อมาทนายความได้มีการยื่นคำร้อง เพื่อขอประกันตัวเพื่อต่อสู้คดีความในระหว่างการอุทธรณ์คดี แต่ว่าจากการตรวจสอบ ดิฉันพบว่าเจ้าหน้าที่ของสำนักงานศาลยุติธรรม ศาลอาญารัชดาได้ใช้เวลามากกว่า ๓ วัน อย่างน้อยประมาณ ๓ วัน กว่าที่จะส่งสำนวนดังกล่าว คำร้องดังกล่าวในการขอปล่อยตัว ชั่วคราวจากศาลชั้นต้นไปที่ศาลอุทธรณ์ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้มันจึงเกิดการตั้งคำถามว่าเหตุใด การทำงานเพื่อส่งคำร้องดังกล่าวจึงมีความล่าช้า หรือเพราะว่าสำนักงานศาลมีบุคลากร ไม่เพียงพอคะ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ต้องพูดกันตามตรงว่ามันจะเกี่ยวข้องกับการจัดสรร งบประมาณของบุคลากร และที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือมันเกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน

นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ

สุดท้ายความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรม ก็เป็น เรื่องสำคัญที่ดิฉันคาดหวังว่าสำนักงานศาลยุติธรรมจะต้องเร่งฟื้นคืนกลับมาอย่างเร่งด่วน แล้วก็การจัดสรรงบประมาณต่าง ๆ ก็อยากให้คำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ขอบคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเป็น ท่านสุดท้ายก็แล้วกันครับ เดี๋ยวทางผู้ชี้แจงจะได้ตอบประเด็นต่าง ๆ ที่ได้มีการซักถาม ขอให้เป็นคุณอลงกต มณีกาศ เป็นท่านสุดท้ายนะครับ เชิญครับคุณอลงกตครับ

นายอลงกต มณีกาศ นครพนม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายแพทย์อลงกต มณีกาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม เขต ๓ พรรคภูมิใจไทย ต้องกราบขอบพระคุณท่านประธานที่ให้โอกาสผมได้อภิปราย ในวาระรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำนักงานศาลยุติธรรม สำหรับปีสิ้นสุด ปี ๒๕๖๕ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ท่านประธานครับ เหตุเกิดที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม อำเภอเรณูนครแต่ก่อนเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอธาตุพนม ตั้งแต่แยกตัวมา จากอำเภอธาตุพนมยังไม่เคยเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้หรือเช่นนี้มาก่อน เรียนว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีชาวบ้านประมาณ ๑๐๐ กว่าคนได้ไปปิดล้อมโรงพักอำเภอเรณูนคร ด้วยเหตุที่ว่าชาวบ้านคิดว่าตำรวจจับแพะและเป็นการยัดยา บังเอิญว่าผมอยู่ในช่วงที่ ไปสัมมนาพรรคที่จังหวัดบุรีรัมย์ ก็ได้มอบหมายให้กับท่าน สจ. ฉลอง แสนรังค์ สจ. ในเขต เรณูนครได้ไปร่วมสังเกตการณ์ ได้ให้ท่านเลขากอบชัย คำไพร ซึ่งเป็นผู้ช่วย สส. ไปร่วมสังเกตการณ์ แล้วก็ท่านผู้ใหญ่นันทกา ไพศาลวัฒนรงค์ ไปร่วมสังเกตการณ์เช่นกัน ประเด็นก็คือว่าตำรวจจับในวันนั้นชาวบ้านถูกจับเป็นคนที่ยากจน เป็นคนยากไร้ แล้วชาวบ้าน ๑๐๐ กว่าคนคิดว่าเป็นคนดีคนที่ช่วยเหลือสังคมในหมู่บ้าน เหตุเกิดลักษณะ เป็นการวางถุงดำอยู่ที่ในกระท่อมปลายนาหรือในไร่นาของชาวบ้านคนนั้น ซึ่งในนั้น ชาวบ้านก็ไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่ ตอนหลังพอนายสุวัฒน์ชัย ต้องขออนุญาตเอ่ยนาม นายสุวัฒน์ชัย คนนี้ไปเปิดถุงดำตรงนี้ ตำรวจก็ซุ่มอยู่ ถ่าย Video อัด Clip ซึ่งในนั้นมียาบ้าอยู่ ๗,๐๐๐ กว่าเม็ด ทางด้านตำรวจที่จับกุม ตำรวจก็ได้เล่าให้กับทีมงานที่ผมส่งไปสังเกตการณ์ฟังว่าได้จับตาดู พฤติกรรม แล้วก็ในแนวทางสอบสวนค่อนข้างจะชัดเจน แต่ประเด็นอย่างไรก็ตาม มันอยู่ที่กระบวนการยุติธรรม ผมกำลังจะเสนอแนะในส่วนของสำนักงานศาลยุติธรรมว่า ทนายจิตอาสานั้นยังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับพี่น้องประชาชนที่ยากจน ที่ไม่มีเงิน ที่จะมาสู้คดีความเองได้ ในวันนั้นการประกันตัวก็ไม่สามารถที่จะทำได้ แล้วโดยส่วนตัวแล้ว ถึงแม้ผมเองจะเป็น สส. หรือมีทีมงาน ที่เป็น สจ. เคยให้นโยบายกันอยู่ตลอดว่าคดียาเสพติด พวกผมจะไม่ขอเข้าไปประกันตัว แต่ว่าจะเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ จะให้ไปเสนอแนะ เป็นข้อคิดอะไรได้ แต่ว่าจะไม่ให้ประกันตัว จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้รับการประกันตัว ญาติพี่น้องก็พยายามผลักดันต่อ นอกจากปิดล้อมพื้นที่โรงพักเรณูนคร แล้วก็ยังได้ไป รวมตัวกันพบท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผมเชื่อว่ากระบวนการยุติธรรม ในประเทศไทยยังเชื่อได้อยู่ เพียงแต่ว่ากว่าจะถึงการตัดสินของศาล ไม่ว่าจะเป็นชั้นอัยการ ไม่ว่าจะเป็นชั้นศาล ผู้ต้องหาที่ยากจนยังลำบากในการที่จะขอความช่วยเหลือต่าง ๆ ญาติพี่น้องไม่มีเงินที่จะมาต่อสู้คดีกระบวนการต่าง ๆ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ผมก็อยากจะให้ ทางสำนักงานศาลยุติธรรมได้เร่งในการที่จะฟื้นฟูประสิทธิภาพ ฟื้นฟูการทำงานของ ทนายจิตอาสา ผมไม่ได้ตำหนิว่าทนายจิตอาสาทำงานไม่เก่ง หรือว่าว่าความไม่เก่ง แต่ประเด็นที่สำคัญก็คือว่าพี่น้องประชาชนไม่มีทางเลือก การต่อสู้คดีความต่าง ๆ หมดเงินแต่ละครั้งนี้ไม่ใช่หลักหมื่น เป็นหลักแสน ๆ ทนายแต่ละครั้งเรียกเงินมาเท่าไร ชาวบ้านก็ต้องยอมจ่ายเพราะว่ากลัวที่จะถูกติดคุก ในรายของคนนี้ก็เช่นกัน เป็นคนโสด เป็นคนเดียวในหมู่บ้าน แล้วบ้านก็เป็นกระต๊อบหลังเล็ก ๆ เอง ญาติพี่น้องไม่ได้มีเงิน ไม่ได้มีลูก ไม่ได้มีอะไรต่าง ๆ เพราะฉะนั้นแล้วความเท่าเทียมกันในสังคมจำเป็นอย่างยิ่ง ในสังคมไทย กราบขอบพระคุณท่านประธานอย่างสูงครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

พอดีมีอีก ๑ ท่าน เพิ่งส่งชื่อ ผมจะให้เป็นการเสนอชื่อท่านสุดท้ายนะครับ ผมอยากจะขอความกรุณา ผู้ที่จะอภิปรายหรือจะซักถามต่อไปกรุณาอย่าไปลงลึกเรื่องคดี เพราะว่าวันนี้เราพิจารณา ถึงเรื่องรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำนักงานศาลยุติธรรม ถ้าเราลงลึกคดี มันจะไม่ค่อยดี เพราะว่านอกจากวาระแล้วก็จะสุ่มเสี่ยง เพราะฉะนั้นผมจึงขอเรียนเชิญ ท่านสุดท้ายเลยนะครับ ท่านจุลพงศ์ อยู่เกษ

นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขอบคุณท่านประธานครับ ผม จุลพงศ์ อยู่เกษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ผมขอถาม คำถามสั้น ๆ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะผู้ชี้แจงหรือเปล่า คือเรื่องข้อบังคับของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราว ผมมี ๒ คำถามคือ

นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

๑. การออกข้อบังคับลักษณ ะนี้องค์กรไหนเป็นคนพิจารณำ ในการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

๒. ข้อบังคับเรื่องการปล่อยตัวชั่วคราวปี ๒๕๔๘ ของเดิมได้กำหนด ผู้ที่จะประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้กว้างขวางมาก เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิก สภาท้องถิ่น แต่ว่าในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ปี ๒๕๖๕ ผมเข้าใจว่าตัดในส่วนนี้ ออกหมด อันนี้จะเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลย โอกาสที่ได้รับการประกันตัว หรือเปล่า ขอบคุณท่านประธานครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ เชิญผู้ชี้แจงครับ

นายธานี สิงหนาท ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ผม นายธานี สิงหนาท ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม ขอชี้แจงที่ประชุมตามลำดับนะครับ

นายธานี สิงหนาท ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม ต้นฉบับ

สำหรับในเรื่องแรกที่ทางที่ประชุมสอบถามเกี่ยวกับทนายความอาสา หรือทนายความขอแรงนั้น ขอกราบเรียนที่ประชุมว่าในปีนี้ท่านประธานศาลฎีกามีนโยบาย ที่สำคัญประการหนึ่ง คือต้องการที่จะจัดหาทนายความที่มีประสิทธิภาพให้กับผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา ซึ่งเดิมทีเดียวแนวทางศาลเองก็จะจัดทนายความอาสา หรือทนายความขอแรงให้ตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดเอาไว้คือคดีที่มีอัตราโทษ ประหารชีวิตหรือจำเลยที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี เราต้องจัดหาทนายความให้ โดยภาคบังคับ ส่วนคดีที่มีโทษจำคุกก็เป็นสิทธิของจำเลยจะเลือกทนายความหรือไม่ก็ได้ แต่ยังขาดอยู่อันหนึ่งคือเวลาที่ศาลเลือกทนายความให้กับตัวจำเลยนั้น ก็จะเป็นการจัดตามคิว ตามระบบไป แต่ในปัจจุบันนี้เราจะเริ่มพัฒนาจัดทนายความที่มีประสิทธิภาพให้เหมาะสม กับคดีที่จำเลยต้องหาในคดีนั้น ๆ อย่างเช่นคดียาเสพติดเราก็จะจัดหาทนายความที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านคดียาเสพติด เคยว่าความผ่านประสบการณ์มาหลายเรื่อง หลายคดี มีประสบการณ์ในการว่าความหลาย ๆ ปี มีความเชี่ยวชาญด้านที่จะต้องว่าความในเรื่องนั้น โดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้จำเลยหรือผู้ต้องหาได้รับประโยชน์จากทนายความที่มีคุณภาพขึ้น มีประสิทธิภาพในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ซึ่งทางสำนักงานศาลยุติธรรมก็เห็นความสำคัญ ของจำเลยในคดีอาญาที่จะต้องมีโอกาสได้รับการจัดหาทนายความในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เพราะประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านไม่รู้กฎบัตรกฎหมาย แม้กระทั่งทนายความเอง บางครั้งก็อาจจะรู้กฎหมายไม่สมบูรณ์ที่สุด เพราะกระบวนการวิธีพิจารณาชั้นศาล อาจจะสลับซับซ้อน ดังนั้นในปัจจุบันเราก็คิดว่าเราจะต้องพัฒนาตรงนี้ไปให้เหมือนกับ หลักสากล โดยจะจัดทนายความที่มีคุณภาพเฉพาะด้านนั้นด้านนี้ให้กับตัวจำเลยที่ถูก ต้องหาดำเนินคดีให้ได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด แล้วงบประมาณที่เราจะจัดสรรให้กับ ทนายความนั้น เราก็จะพยายามจัดสรรงบประมาณค่าตอบแทนทนายความให้สูง เพียงพอกับแล้วกับค่าวิชาชีพของทนายความ

นายธานี สิงหนาท ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม ต้นฉบับ

อีกอันหนึ่งที่ทางที่ประชุมสอบถามเกี่ยวกับการให้บริการประชาชน ในปัจจุบันนี้เราก็จะมีการอบรมพัฒนาเจ้าหน้าที่ของศาลให้มีจิตอาสา มีหน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใสเพื่อที่จะต้อนรับประชาชนที่มาในศาลซึ่งเขามีความทุกข์อยู่แล้ว เราก็ต้องให้เขา มาศาลด้วยความสบายใจ ไม่ให้เขาได้รับทุกข์ต่อไป ในอีกจุดหนึ่งก็คือเราอยากจะบริการ ประชาชน สำหรับคนที่มีคดีความอาจจะไม่จำเป็นต้องมาทำงานหรือมาศาลในวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ เราอาจจะให้ประชาชนมีสิทธิเลือกได้เหมือนกับคลินิกนอกเวลา ซึ่งปีนี้ เป็นนโยบายของท่านประธานศาลฎีกาว่าประชาชนอาจจะเลือกมาศาลในวันหยุดได้ เราจะเปิดทำการศาลวันหยุด อาจจะวันเสาร์ วันอาทิตย์ ให้ประชาชนที่ไม่สะดวก ในการมาศาลในวันทำงานวันจันทร์ถึงศุกร์ อาจจะให้ประชาชนเลือกมาศาลในวันหยุด วันเสาร์ วันอาทิตย์ หรืออาจจะเปิดทำการศาลนอกเวลาการทำงานในวันปกติ อาจจะ เปิดนอกเวลาตอนประมาณ ๔ โมงครึ่งถึง ๒ ทุ่ม แล้วซึ่งทางสำนักงานศาลยุติธรรมตอนนี้ กำลังจัดงบประมาณเพื่อที่จะให้ศาลแพ่ง แล้วก็ศาลเยาวชน แล้วก็ศาลอื่น ๆ อีก หลาย ๆ ศาล ทำงานในวันหยุด

นายธานี สิงหนาท ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม ต้นฉบับ

อีกอันหนึ่งที่ที่ประชุมถามว่าเรามีการยื่นฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางระบบ e-Filing ระบบ CIOS ที่ศาลชั้นต้นได้ แต่ในการอุทธรณ์ การฎีกาเรายังไม่มีระบบนี้ ซึ่งก็จะ ขอตอบในที่ประชุมว่าเรากำลังจะพัฒนาระบบการยื่นอุทธรณ์ ยื่นฎีกาผ่านระบบ e-Filing ระบบทาง CIOS ต่อไป อันนี้เป็นแนวคิดที่เรากำลังจะทำในปีนี้ และในปีนี้ที่เราคิด แล้วก็ท่านถามมาตรงใจเลยคือในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เราแก้ไขกฎหมาย ในมาตรา ๑๗๒ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ แล้ว ๑๐ กว่าปีแล้ว เราแก้ไขกฎหมายเพื่อที่จะให้ศาล ทำการพิจารณาและสืบพยานโดยบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องไว้ แต่เรายังไม่ได้มี การทำอย่างจริงจัง แต่เรามีการทดลองบางศาลแล้ว อย่างเช่นที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ ตอนนี้เรากำลังทดลองทำ แล้วเราก็ลองทำที่ศาลอาญา บางบัลลังก์แล้วนะครับ แล้วปีนี้เราจะจัดงบประมาณไปยังศาลต่าง ๆ เพื่อให้ทุกศาลได้มี การบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในคดีอาญาไว้ โดยเราจะเน้นในคดีอาญาเป็นหลักเลย คดีแพ่งนั้นเราค่อยตามมาทีหลัง แต่คดีอาญาเราจะต้องทำให้ทัน แต่ว่าระบบ e-Hearing ที่เราจะถอด Tape บันทึกทันทีอาจจะต้องพัฒนาอีกต่อไป ซึ่งยังไม่มีระบบใดที่เสถียรที่สุด ในตอนนี้ แต่สำหรับในการบันทึกภาพและเสียงเราจะต้องเร่งทำในปีนี้ตามที่ทางสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรเสนอมา เราก็จะทำให้ในจุดนี้นะครับ

นายธานี สิงหนาท ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม ต้นฉบับ

อีกจุดหนึ่งที่ฝากมาคือในเรื่องของการสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา ตามที่เรา ทราบว่ามีการสอบหลายสนาม สนามใหญ่ สนามเล็ก สนามจิ๋ว แต่ละสนามก็มีการสอบ ได้น้อยมาก ซึ่งเรื่องนี้แล้วทางสำนักงานศาลก็ดี ทางประธานศาลฎีกาก็ดี ได้เห็น ข้อบกพร่องตรงนี้ เรากำลังจะดำเนินการแก้ไขเพื่อที่จะจัดสอบให้มีประสิทธิภาพ แล้วก็ ได้ผู้พิพากษามาทำงานมากขึ้นกว่าเดิม ก็เป็นเรื่องที่ต้องขอกราบขอบคุณสภาแห่งนี้ ที่ให้ความห่วงใยทางศาลยุติธรรมเป็นอย่างมากในเรื่องนี้

นายธานี สิงหนาท ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่งที่มีการสอบถามเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราว การปล่อยชั่วคราว ต้องติด EM ต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องที่ศาลกำลังจะเปลี่ยนระบบใหม่ การใช้ EM อาจจะใช้เป็น เรื่องรองลงไป เราจะใช้ EM น้อยมากเลยตอนนี้ เราจะปล่อยประกันอิสรภาพไป โดยอาจจะไม่ต้องมีการติด EM ต่อไป แล้วเราอาจจะปล่อยชั่วคราวเป็นหลัก และไม่ปล่อย ชั่วคราวเป็นข้อยกเว้นตามหลักที่เราได้เขียนกฎหมายไว้ทุกประเทศ แล้วก็ทุกรัฐธรรมนูญ ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนก่อนที่ศาลจะพิพากษาว่ามีความผิดให้สันนิษฐาน ไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งศาลก็จะคำนึงถึงจุดนี้ในใจของศาลอยู่แล้ว ซึ่งปัจจุบันเราก็อาจจะ ต้องมีการเปลี่ยนทิศทางไปนะครับ

นายธานี สิงหนาท ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม ต้นฉบับ

สำหรับในเรื่องงบประมาณอื่น ๆ ที่ทางสภาได้จัดสรรไปให้ ทางสำนักงานศาล ก็จะพยายามใช้ให้ถูกต้องตามงบและใช้อย่างประหยัดที่สุด ขอชี้แจงไว้เพียงเท่านี้ครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ถ้าไม่มีผู้ใด ขออภิปรายเพิ่มเติม ขอบคุณผู้มาชี้แจงทุกท่านครับ ถือว่าที่ประชุมนี้ได้รับทราบรายงาน ของผู้ตรวจสอบบัญชีและรายงานการเงินของสำนักงานศาลยุติธรรมแล้วนะครับ ขอขอบคุณผู้ชี้แจงทุกท่านครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๓ รับรองรายงานการประชุม ไม่มี

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จ ไม่มี

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๑. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ศึกษา ติดตามและส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี คือ (นายรอมฎอน ปันจอร์ เป็นผู้เสนอ)

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๒. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา และเสนอแนวทางกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ เป็นผู้เสนอ) อยู่ในระเบียบวาระที่ ๕.๗

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๓. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา กระบวนการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (นายซาการียา สะอิ เป็นผู้เสนอ) อยู่ในระเบียบวาระที่ ๕.๑๔

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๔. ญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา และติดตามการเจรจาสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เป็นผู้เสนอ) ซึ่งยังไม่ได้บรรจุระเบียบวาระ เดี๋ยวเจ้าหน้าที่จะแจกญัตตินี้ให้สมาชิกสภา ได้ทราบนะครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ผมเห็นว่าเรื่องทั้ง ๔ เรื่องที่เสนอมานี้เป็นเรื่องทำนองเดียวกัน ผมจึงขอ นำมาพิจารณาและอภิปรายรวมกันตามข้อบังคับ ข้อ ๕๕ (๒) จะมีท่านสมาชิกเห็นเป็น อย่างอื่นบ้างไหมครับ ถ้าไม่มีผู้ใดเสนอเป็นอย่างอื่นก็ถือว่าที่ประชุมนี้เห็นชอบ ก็พิจารณา รวมกันทั้ง ๔ ญัตติเลย เพราะฉะนั้นขอเชิญผู้เสนอญัตติท่านแรกเลย คือคุณรอมฎอน ปันจอร์

นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ขอความสันติจงประสบแด่ท่านเพื่อนสมาชิกและเพื่อนร่วมสังคมที่รับฟังกันอยู่ทางบ้าน ในเวลานี้นะครับ ผม รอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขออภิปรายเพื่อสนับสนุนญัตติที่ผมได้ยื่นเอง ที่จะขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา ติดตามและส่งเสริมการสร้างสันติภาพ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี ผมควรต้องเกริ่นก่อนว่าอย่างที่ท่านประธานได้กล่าวไป ข้างต้นเมื่อสักครู่ ญัตติของผมเป็น ๑ ใน ๓ ญัตติ ตอนแรกผมเข้าใจว่า ๓ ญัตติ ตอนนี้ มี ๔ ญัตติแล้วที่เสนอเข้ามา คือนอกจากตัวผมเองแล้วก็มีเพื่อนจากพรรคประชาชาติ จากพรรคภูมิใจไทย แล้วล่าสุดก็คือจากพรรคเพื่อไทยด้วย ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ต้อง บอกว่าน่ายินดีก็เพราะว่าจริง ๆ แล้วถ้าเราดูบันทึกการประชุมในสภาสมัยที่แล้ว จริง ๆ มีญัตติทำนองเดียวกันยื่นเข้ามา ๖ ญัตติด้วยกันจากหลากหลายพรรคการเมืองทีเดียว ผมต้องขออนุญาตพูดถึงญัตติแรกเมื่อปี ๒๕๖๓ ของคุณหมอเพชรดาว โต๊ะมีนา จากพรรคภูมิใจไทย จากคุณกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ พรรคประชาชาติในปีเดียวกัน คุณอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ จากพรรคพลังประชารัฐในเวลานั้น คุณชวลิต วิชยสุทธิ์ จากพรรคเพื่อไทย จริง ๆ แล้วก็มีจากพรรคอนาคตใหม่ด้วย จากคุณพรรณิการ์ วานิช ในช่วง ปี ๒๕๖๓ หลังจากที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบไปก็มีเพื่อนสมาชิกของผมคือคุณณัฐวุฒิ บัวประทุม เสนอยื่นเข้ามา ๖ ญัตติด้วยกัน แต่จนแล้วจนรอดสภาในสมัยที่แล้วก็ไม่ได้มีการพิจารณา ตั้งวาระนี้ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้เลย ที่ผมพยายามจะไล่เรียงให้ท่านประธาน และเพื่อนสมาชิกดูถึงประวัติศาสตร์ของการเดินทางของญัตตินี้ในช่วง ๔-๕ ปีที่ผ่านมา เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่าจริง ๆ แล้วข้อเสนอในการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเป็นข้อเสนอที่ดำเนิน มาเนิ่นนานเลยจากหลายพรรคการเมืองด้วยกัน จริง ๆ เป็นข้อเสนอที่ดำเนินมีข้อเสนอนี้ อยู่นอกสภาจากประชาชนหลายกลุ่ม จากภาคประชาสังคมทั้งชาวพุทธ ชาวมุสลิมที่เห็นว่า ตัวกระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินอยู่เป็นกระบวนการทางการเมืองที่รับรู้อยู่อย่างจำกัด เป็นการดำเนินการโดยฝ่ายนโยบาย โดยหน่วยงานความมั่นคง แต่เห็นควรว่ารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้น่าจะได้มีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพ มีส่วนในการแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านพื้นที่กลาง ผ่านพื้นที่การสนทนาแห่งนี้ซึ่งเป็นที่สถิตของอำนาจ อธิปไตย เป็นที่อยู่ร่วมกันของตัวแทนของประชาชนจากทั้งประเทศ แทนที่การแก้ไขปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้จะจำกัดอยู่ที่มือของหน่วยงานราชการ หน่วยงานความมั่นคง แล้วก็ การดำเนินการเจรจาสันติภาพที่อาจจะไปคุยกันในต่างประเทศแล้วก็รับรู้อยู่อย่างจำกัด ที่ผมคิดว่าเรื่องนี้สำคัญก็เพราะว่าเราต้องยอมรับอย่างนี้ ผมมีข้อสังเกตอยู่ ๒-๓ ประการว่า เรื่องที่เรากำลังอยากจะเรียกร้องให้ทางสภามีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญนี้

นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องแรก ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องใหญ่ จริง ๆ แล้วเกือบ ๒๐ ปีมานี้มีผู้สูญเสียชีวิตไปแล้ว ๗,๐๐๐ กว่าคน เราใช้งบประมาณไปแล้ว ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท แต่เรื่องที่ใหญ่กว่านั้นคือโดยตัวเนื้อหาสาระของตัวปัญหาเองมันเกี่ยวข้องกับอำนาจอธิปไตย ของประเทศไทย เกี่ยวข้องกับความชอบธรรมในการปกครองเหนือพื้นที่และดินแดน ของจังหวัดชายแดนภาคใต้เหล่านั้น แล้วก็เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ความเป็นมา เรื่องนี้ เรื่องใหญ่ครับ เป็นเรื่องที่การตัดสินใจสำคัญ ๆ เราอาจจะกระทำได้ระดับหน่วยงานก็ได้ แต่เรื่องนี้มันใหญ่เกินตัวเหล่านั้น และจำเป็นอย่างยิ่งที่ข้อตกลงหรือว่าฉันทามติที่จะเกิดขึ้น ควรต้องมีการปรึกษาหารือกันในสภาแห่งนี้ หลายปีมานี้มีการใช้กลไกสภา มีการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญอยู่หลายชุดในช่วงแรก ๆ ของความขัดแย้ง ความรุนแรง แต่เมื่อความรุนแรง มันดำเนินอย่างยาวนานก็ทำให้ดูเหมือนว่าเราจะชาชินกับสถานการณ์ความไม่สงบเหล่านั้น แล้วก็ปล่อยมือให้กับหน่วยงานราชการ ให้กับรัฐบาล ให้กับฝ่ายบริหารในการทำงานเหล่านี้ ข้อเท็จจริงตรงนี้ชัดเจนมากขึ้น โดดเด่นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรัฐประหาร ปี ๒๕๕๗ ที่ดูเหมือนว่าจะพยายามกีดกัน พยายามกันไม่ให้รัฐสภาแห่งนี้เข้าไปมีส่วนร่วม ในการให้คำแนะนำ ติดตามและตรวจสอบการดำเนินนโยบายเหล่านี้

นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ผมคิดว่าเรื่องนี้สำคัญก็เพราะว่าจริง ๆ แล้วโดยในสาระสำคัญ ของมัน มันเชื่อมโยงกันหลายประเด็น ท่านประธานลองพิจารณาจากนโยบายการบริหาร และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้เองที่จริง ๆ แล้วก็มีหลายมิติ หรือแม้กระทั่งแผนงาน บูรณาการขับเคลื่อนจังหวัดชายแดนภาคใต้เองซึ่งเชื่อมโยงหน่วยงานหลากหลายหน่วยงาน ๑๓ กระทรวง ๔๕ หน่วยงาน หรือแม้แต่มิติในการมองก็เชื่อมโยงกับภาระรับผิดชอบของ ฝ่ายนิติบัญญัติที่ซ้อนเหลื่อมกันหลายคณะกรรมาธิการด้วยกัน แน่นอนคงมีคณะกรรมาธิการ ความมั่นคงแห่งรัฐด้วย แต่ต้องไม่ลืมว่ามีทั้งมิติทางศาสนาที่ผู้คนต่างศาสนิกจะอยู่ร่วมกัน ในสังคมพหุวัฒนธรรมที่อาจจะโยงกับเรื่องคณะกรรมาธิการการศาสนา โยงกับเรื่อง คณะกรรมาธิการการศึกษาด้วยเพราะเกี่ยวข้องกับภาษา เกี่ยวข้องกับการศึกษา ในวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย แน่นอนคงต้องเกี่ยวข้องกับคณะกรรมาธิการทหาร คณะกรรมาธิการการตำรวจด้วย และหรือแม้กระทั่งคณะกรรมาธิการการปกครอง และสุดท้ายก็โยงกับมิติในด้านการต่างประเทศด้วย เชื่อมโยงกับขอบข่ายงานของ คณะกรรมาธิการต่างประเทศด้วย นี่คือเหตุผลว่าทำไมสภาแห่งนี้ควรจะต้องมีการจัดตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาเพื่อติดตาม ศึกษา และสนับสนุนการดำเนินนโยบาย ของรัฐบาลในการพูดคุยเจรจาสันติภาพ

นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๓ ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่ารัฐสภาแห่งนี้ทำหน้าที่ได้มากกว่านี้ แม้ว่าที่ผ่านมาการพูดคุยสันติภาพจะเป็นแค่ส่วนหนึ่งของแนวทางการแก้ไขปัญหา ส่วนหนึ่ง หมายความว่าอย่างไรครับ หมายความว่า บรรดาการเจรจาสันติภาพหรือการพูดคุย สันติภาพเป็นหนึ่งในวิธีการที่ดำเนินควบคู่ไปกับมาตรการอื่น ๆ หรือว่าแนวทางอื่นของ ภาครัฐ ทั้งการป้องกันรักษาความสงบ การรักษาความปลอดภัย การสนับสนุนเรื่อง การศึกษา การสนับสนุนเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ปัญหาของมันก็คือว่าแม้จะแตกต่าง หลากหลาย หัวใจสำคัญก็คือการจัดวางความสำคัญที่ดูเหมือนจะไม่ชัดเจนมากนัก นี่คือเหตุผลที่รัฐสภาน่าจะต้องช่วยสะท้อนให้เห็นว่าการสร้างสันติภาพนั้น จุดเน้น จุดสำคัญ จุดคานงัดจริง ๆ อยู่ที่โต๊ะเจรจา อยู่ที่การแสวงหาข้อตกลง

นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ใน Slide ที่ขึ้นโชว์ในเวลานี้ คือผลลัพธ์หนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นหลักสำคัญของกระบวนการสันติภาพ แต่ดูเหมือนว่าจะเป็น ที่รับรู้กันน้อยมากในรัฐสภาแห่งนี้ ในสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ หรือแม้กระทั่งในสังคมไทย จริง ๆ แล้วเอกสารทั้ง ๒ ชิ้นที่อยู่บนจอในเวลานี้คือเอกสารฉันทามติทั่วไปว่าด้วยการพูดคุย สันติภาพในปี ๒๕๕๖ ในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หรือเมื่อปีที่แล้วเป็นเอกสารหลักการทั่วไป ว่าด้วยกระบวนการพูดคุยสันติภาพที่มีการลงนามกัน เอกสารทั้ง ๒ ชุดนี้เป็นผลลัพธ์ที่เป็น ผลมาจากการดำเนินงานร่วมกันของหลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรัฐบาลไทย และขบวนการต่อสู้ปาตานีที่เปิดโต๊ะเจรจา แต่จนกระทั่งถึงบัดนี้หลังจากที่เราได้รัฐบาลใหม่ ดูเหมือนว่ากระบวนการเหล่านี้จะชะงัก และจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐสภาจะคอยกระตุ้นเตือน และสนับสนุนตัวกระบวนการนี้ให้เดินหน้าต่อไป และนี่อาจจะเป็นสิ่งที่เป็นนวัตกรรมในทาง การเมืองของกระบวนการสันติภาพด้วยถ้ารัฐสภาแห่งนี้มีคณะกรรมาธิการที่เดินคู่ไปกับ การดำเนินนโยบายของฝ่ายบริหาร เพราะจะเป็นหลักประกันที่ให้ความมั่นใจ ให้ความเชื่อมั่น ต่อประชาชนในพื้นที่ หรือแม้กระทั่งต่อผู้เห็นต่างที่จะสามารถบรรลุข้อตกลงและสร้าง ฉันทามติที่จะอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมไทยนี้ต่อไปได้อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี

นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

สุดท้ายนี้ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้าง สันติภาพโดยภาพรวมโดยที่แกนกลางของมันคือตัวกระบวนการสันติภาพ เมื่อหลายเดือนก่อน ผมมีโอกาสได้อยู่ในวงคุยที่มีเสียงสะท้อนจากผู้ที่พิการทางขา คือเขาเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในวงด้วย แล้วเขารู้สึกประทับใจมากที่ได้สะท้อนเสียงของเขา เขาพูดถึงเรื่องความปลอดภัย เขาพูดถึง ความปลอดภัยในความหมายที่ปลอดภัยจากความรุนแรง แต่ในขณะเดียวกันก็พูดถึง ความปลอดภัยที่จะได้แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาถึงปัญหาที่เขาเผชิญ ผมคิดว่า อันนี้เป็นข้อคิดที่น่าสนใจ และผมเชื่อว่าในรัฐสภาแห่งนี้ซึ่งเป็นพื้นที่ของการสนทนา พื้นที่ ของการพูดคุย น่าจะเป็นพื้นที่ในการขยายโอกาสในการสร้างสันติภาพ และเน้นย้ำให้รัฐบาล มุ่งมั่นจริงจังทำงานเพื่อตอบสนองต่อความปลอดภัย ความสงบ สันติภาพที่แน่นอน ผ่านมาจากความขัดแย้งกันอย่างสร้างสรรค์ และด้วยเหตุนี้ผมจะขออนุญาตสนับสนุนญัตตินี้ และเรียกร้องให้เพื่อน ๆ สมาชิกช่วยอภิปรายสนับสนุนในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสันติภาพโดยรวมของประเทศนี้ ขอบพระคุณท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ ต่อไปเป็นญัตติทำนองเดียวกัน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๒. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา และเสนอแนวทางกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ เป็นผู้เสนอ)

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอเรียนเชิญท่านได้เสนอญัตติครับ

นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ นราธิวาส ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เขต ๕ ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ ในฐานะผมเป็นคนหนึ่งที่เสนอ ญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องขออนุญาตท่านประธานอภิปรายในเบื้องต้น ก็คือในเรื่องของหลักการและเหตุผล ในส่วนของหลักการก็คือขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาเสนอแนวทางกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไข ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนเหตุผลผมขออนุญาตเรียน ท่านประธานอย่างนี้ว่าปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ยืดเยื้อมานาน เป็นความขัดแย้ง ที่ยืดเยื้อแล้วก็ยืดเยื้อไปเรื่อย ๆ จนไม่สิ้นสุด หลายท่านอาจจะมองปัญหาความไม่สงบ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับ ๑ คือวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗ มาจนถึงวันนี้ก็คือเกือบ ๒๐ ปี เกือบ ๒ ทศวรรษ แต่ความจริงแล้วปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีอยู่ในพื้นที่ เกิดความขัดแย้งหลายสิบปี หลายรัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้ แต่จนแล้วจนรอด จนถึงตอนนี้ปัญหาก็ยังคงอยู่ ผมจึงใช้คำว่าเป็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ ถ้านับตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ เกิดเหตุการณ์ปล้นปืนที่ค่ายปิเหล็ง ปืนหายไปในค่ายกองพันพัฒนาที่ ๔ เจาะไอร้อง ๓๐๐ กว่ากระบอก ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ ก็เกิดเหตุการณ์ที่กรือเซะ มีผู้เสียชีวิต ๑๐๐ กว่าราย ที่ตากใบ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๗ อีกไม่กี่วันก็จะครบรอบแล้ว เสียชีวิตเกือบ ๑๐๐ ราย ๘๐ กว่าราย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ ผ่านมาหลายรัฐบาล พยายามแก้ไขปัญหา ทุ่มงบประมาณหมดไป ๕๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท แต่สิ่งที่ได้คำตอบ ก็คือเหตุการณ์ก็ยังคงอยู่ ปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ต่ำสุด การศึกษาก็ต่ำสุด ถามว่าสภาของเราไม่เคยตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเลยหรือ ไม่ใช่ครับ ท่านประธาน บางท่านอาจจะบอกว่าเบื่อแล้วพูดถึงปัญหาความขัดแย้ง ๓ จังหวัด ทุกยุคทุกสมัยตั้งขึ้นทุกทีทุกคณะ ตั้งไปศึกษาไปปัญหาก็ยังคงอยู่ แต่รอบนี้ไม่ใช่เหมือนเดิม ท่านประธานครับ สภาได้มีการพิจารณาศึกษาปัญหาความขัดแย้งใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหา ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีมาทุกยุค ทุกสมัย แต่นั่นคือการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาภาพรวม แต่สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์การขอให้สภา ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรอบนี้เป็นเรื่องของการเจาะลึกลงไปหาทางออกที่ทุกคนมองว่า ดีที่สุด ดีที่สุดอย่างไรนักวิชาการหลายท่านหลายคนที่ศึกษาเรื่องนี้ทำวิจัยศึกษาความขัดแย้ง ในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นที่มินดาเนา ฟิลิปปินส์ หรือที่อื่น ๆ ที่มีพื้นที่ความขัดแย้ง ทางออกที่ดีที่สุดไม่ใช่การปราบปราม ทางออกที่ดีที่สุดไม่ใช่การออกกฎหมายพิเศษบังคับใช้ กฎหมายพิเศษเราก็เห็นชัดอยู่ ๑๙ ปี ตอนนี้เรากำลังเรียกร้องให้มีการยกเลิก เพราะมันไม่ใช่ คำตอบ ถ้ามันเป็นคำตอบป่านนี้ก็คงสงบไปแล้ว แต่งานวิจัยหลาย ๆ ท่านที่มีการศึกษา ทางออกของความขัดแย้งก็คือการเจรจากับผู้ขัดแย้ง ผู้ขัดแย้งต้องหันหน้าเข้ามาเจรจา ไม่ใช่ การปราบปราม นี่คือเป็นที่มาที่จะให้สภาเรามีการศึกษาเจาะลึกเรื่องเหล่านี้ เพราะยังไม่เคย ปรากฏมาก่อน รอบที่แล้วหลายพรรคการเมืองที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปราย เมื่อสักครู่มีการยื่น แต่ไม่ทันได้มีการอภิปรายบรรจุเข้าระเบียบวาระ ยังไม่ทันได้เข้าอภิปรายในสภา มีการยุบสภาเสียก่อน นี่คือปรากฏการณ์ครั้งแรกที่มีการอภิปรายตั้งคณะกรรมาธิการเรื่องนี้เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ สภาเราจะได้มีส่วนร่วม ปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ใช่เฉพาะแต่เป็นเรื่องของคน ๓ จังหวัด แต่เป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ วันนี้ผมมีความรู้สึกว่าคนอื่น ภาคอื่น ๆ มองปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องปกติ แต่คนที่อยู่ในพื้นที่ถึงแม้ว่าเขาจะชาชิน แต่มันชาชิน บนความเจ็บช้ำ บนความบอบช้ำ และมันตกทอดเป็นมรดกถึงลูกหลานกับความขัดแย้ง ที่มีอยู่ในพื้นที่ ไม่ใช่ว่ารัฐบาลไม่เคยเจรจา สิ่งที่รัฐบาลหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๖ ผมไม่ได้พูดถึงการเจรจาในทางลับ มันมีมาก่อนแล้ว แต่การเจรจาในทางเปิด บนโต๊ะเจรจามันมีเมื่อปี ๒๕๕๖ สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์มีการพูดคุยกับผู้เห็นต่างในขณะนั้น มีการตั้งวงคุย ๓-๔ ครั้ง ปรากฏว่ายกเลิก ไม่สำเร็จ มาครั้งที่ ๒ หลังจากมีการปฏิวัติ รัฐประหารก็มีการตั้งโต๊ะที่ ๒ เจรจากับมารา ปาตานี ฝ่ายที่เห็นต่าง ก็มีการตั้งโต๊ะเจรจา หลายครั้ง มีการตกลงที่จะตั้ง Safe Zone พื้นที่ความปลอดภัย ท้ายที่สุดก็ไม่สำเร็จ พอมีการเลือกตั้งปี ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๓ ก็มีการเจรจาอีกครั้ง เจรจาไม่กี่ครั้งก็เกิดสถานการณ์ โควิด เมื่อสมัยรัฐบาลท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ผ่านมา การเจรจาว่างเว้นไป ๒ ปี กับสถานการณ์โควิด พอสถานการณ์โควิดลดลงก็มีการเจรจาอีกครั้งหนึ่ง นำโดยท่าน พลเอก วัลลภ รักเสนาะ ปรากฏว่ามีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ โต๊ะก็ล้มอีกครั้ง ตรงนี้ต่างหาก ที่ผมจะชี้ให้เห็นว่านี่คือสิ่งที่เราต้องศึกษา สภาของเราต้องมีส่วนร่วมในการศึกษาว่า มันมีข้อบกพร่องอะไร ทำไม ๓ ครั้งที่ผ่านมาถึงไม่สำเร็จ ทำไมฟิลิปปินส์ที่มินดาเนาถึงสำเร็จ มันมีเหตุผลอะไร หลาย ๆ เหตุผลที่เราต้องศึกษา ต้องตั้งคณะกรรมาธิการ นี่คือความจำเป็น ตั้งกรรมาธิการแล้วศึกษาว่าที่ผ่านมา ๓ ครั้งเป็นอย่างไร แล้วก็ถ้าจะเดินต่อไปในรัฐบาลชุดนี้ การตั้งโต๊ะเจรจากระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพซึ่งเป็นทางออกที่ดีที่สุดนี้ควรจะมีกรอบ โครงสร้างอย่างไรบ้าง ใครจะเป็นคู่เจรจา จะตั้งประเด็นเจรจาในเรื่องอะไร พูดคุยในเรื่อง อะไร การมีส่วนร่วมของประชาชนจะต้องทำอย่างไร โดยเอาประสบการณ์ ๓ ครั้งหลัง หรือครั้งสุดท้ายที่มีการตั้ง สล.๓ ว่าเราจะต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่สภาเราต้องมีส่วนร่วม หรือจะต้องมีกฎหมายรองรับไหม เพราะที่ผ่านมาการเจรจาทั้ง ๓ ครั้ง ถามว่าเรามีกฎหมายอะไรรองรับไหม ไม่มีครับ แม้แต่ การหาทางออกพูดคุยว่าจะมีการตั้งเขตปกครองโน้นปกครองนี้ แต่ถ้าไปดูในรัฐธรรมนูญ ในหมวด ๑๔ ในเรื่องของการปกครองท้องถิ่นมันก็ไม่มีกฎหมายรองรับเช่นกัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งว่าหากเราจะเดินหน้าต่อไปที่เรามองว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดนี้ อะไรบ้างที่เราต้องแก้ไข ถ้าจะต้องมีกฎหมายต้องมีกฎหมายอะไรบ้าง สภาเราจะต้อง มีส่วนร่วมอย่างไรบ้างสำคัญอย่างยิ่ง เพราะสิ่งเหล่านี้คือแผนที่ที่จะนำทางความสงบสุข ไม่ใช่เฉพาะกับพี่น้อง ๓ จังหวัด หาก ๓ จังหวัดสงบประเทศไทยก็จะมีความสงบไปด้วย ต่างชาติก็จะกล้ามาลงทุน เพราะ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีทรัพยากรมากมาย ท่านประธานและเพื่อนสมาชิกทุกท่านครับ ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสภาของเราจะช่วยกัน สร้างปรากฏการณ์ สร้างประวัติศาสตร์ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับ กระบวนการสันติภาพ โดยเฉพาะในเรื่องของกระบวนการพูดคุยเป็นครั้งแรก และจะเป็น ไฟฉายส่องทางไปยังพวกเราให้เดินไปสู่เป้าหมาย นั่นคือความสงบสุขจะเกิดขึ้นกับ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปเป็นญัตติทำนองเดียวกันเรื่องต่อไปนะครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๓. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ศึกษากระบวนการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ (นายซาการียา สะอิ เป็นผู้เสนอ)

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เรียนเชิญครับ

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ สันติสุข จงมีแด่ทุกท่านะครับ ผม นายซาการียา สะอิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส ซึ่งประกอบไปด้วยอำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ อำเภอสุคิริน พรรคภูมิใจไทย วันนี้ผมขอ เสนอ ญัตติ เรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา กระบวนการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนอื่นผมต้องขอย้อนไปเมื่อเช้ามืดของ วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗ เมื่อ ๑๙ ปี ๙ เดือนกับอีก ๖ วัน ซึ่งผู้ก่อการ ผู้ก่อเหตุ มีประมาณ ๑๔๐-๑๕๐ คนบุกปล้นปืนไปจากกองพันพัฒนาที่ ๔ ค่ายกรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์หรือค่ายปิเหล็ง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาสหายไปกว่า ๔๑๓ กระบอก มีทหารเวรเสียชีวิต ๔ นาย จุดนั้นนับเป็นจุดเริ่มต้นของสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากวันนั้นจนถึงวันนี้เหตุการณ์ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในวันนั้นผมจำได้แม่น เพราะผมกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย ซึ่งตอนแรกผมก็ไม่ได้คิด อะไรมาก จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๗ ผมตกใจมากเมื่อทราบข่าวว่านายรอฮิม เจ๊ะแว ขออนุญาตเอ่ยนามท่านและคณะถูกศาลอนุมัติหมายจับในข้อหาเป็นกบฏ แบ่งแยกดินแดนและปล้นปืนค่ายกองพันพัฒนาที่ ๔ เพราะอะไรทราบไหมครับท่านประธาน ว่าทำไมผมถึงตกใจขนาดนั้น เพราะว่าคนที่ผมเอ่ยนามเมื่อสักครู่นี้เป็นน้าของผมเอง ซึ่งเป็นครู ท่านไม่เคยมีปืนเป็นของตัวเอง ท่านไม่เคยแม้กระทั่งยิงปืน ถูกคนใส่ร้ายป้ายสี จนต้องสูญเสียอิสรภาพ วันที่น้าของผมถูกปล่อยตัวให้กลับบ้าน เป็น ๑ วันหลังจากวันที่ยาย ผมเสียชีวิต ซึ่งท่านไม่สามารถที่จะดูแลแม่ที่เจ็บป่วยได้ ดังนั้นผมจึงรู้สึกเจ็บปวดเหมือนกับ หลาย ๆ ท่านที่มีความรู้สึกที่อยู่ในพื้นที่ ๓ จังหวัด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในแต่ละครั้งก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน สร้างความสะเทือนใจและความวิตกกังวลต่อประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในพื้นที่เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากระบวนการ การพูดคุยสันติภาพซึ่งได้ถูกนำมาใช้แก้ไขปัญหาในรัฐบาลทุก ๆ รัฐบาลเรื่อยมา เพื่อลด ความสูญเสีย การละเมิดสิทธิมนุษยชน การลดความรุนแรง ความขัดแย้งนั้นสามารถทำได้บ้าง ในบางเวลา แม้ว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวจะไม่บรรลุผล ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการพูดคุย สันติภาพในช่วงของเดือนรอมฎอน คือเดือนที่พี่น้องมุสลิมทั่วโลกได้ถือศีลอด หลายปีที่ผ่านมาเห็นผลได้อย่างชัดเจนว่า ลดความรุนแรงเป็นอย่างมาก แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่สั้น ๆ เท่านั้นเอง ผมได้อ่านนโยบาย การบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. เป็นผู้จัดทำ บอกได้เลยถ้าสามารถทำตามนโยบายที่วางไว้ทั้งหมดได้ เหตุการณ์ ความไม่สงบคงจะสามารถยุติลงได้ แต่สิ่งที่เขียนมาทั้งหมดเป็นแค่นามธรรมยังไม่สามารถ ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้ ผมขอยกตัวอย่าง ๓ ประเด็นในนโยบายนี้ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญต่อ คนในพื้นที่

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

ประเด็นแรก คือเรื่องปัญหาปากท้องของคนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ควรจะเป็นจังหวัดชายแดนที่มีศักยภาพสูงทางเศรษฐกิจ คำนี้ไม่ได้เกินเลยแต่อย่างใด เพราะว่า ๓ จังหวัดมีด่านชายแดน ๔ ด่าน มีพื้นที่ติดทะเลสามารถทำประมงได้ มีพื้นที่ภูเขา มีผลหมากรากไม้เยอะแยะเลย อย่างเช่น ทุเรียน ลองกอง มังคุด เงาะที่ขึ้นชื่อระดับประเทศ เลยก็ว่าได้ มีสนามบินพาณิชย์ มีการคมนาคมที่สะดวกสบาย เมื่อพิจารณาตามข้อมูลนี้ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้น่าจะเป็นพื้นที่ที่ต้องมีรายได้ต่อหัวสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ แน่นอน แต่จากรายงาน GDP ต่อหัวรายจังหวัดพบว่า ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีรายได้ เฉลี่ยต่อหัวเพียง ๖๑,๗๘๗ บาทต่อปี เป็นอันดับสุดท้ายของประเทศ ฟังไม่ผิดครับ ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ยากจนที่สุดในประเทศ มีนักวิชาการ มีผู้รู้มากมายให้เหตุผลไปต่าง ๆ นานา ว่าเกิดจากความผันผวนของราคาพืชผลบ้าง เกิดจากภาพลักษณ์ของเหตุการณ์ความไม่สงบบ้าง ส่งผลต่อภาวะการค้าและการลงทุนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ดังนั้นการสนับสนุนเขตเศรษฐกิจ พิเศษชายแดนใต้จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ๓ จังหวัด การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน เราจะมุ่งเน้นแต่เรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ อย่างเดียวไม่ได้ แต่เราต้องมุ่งเน้นการลงทุนในพื้นที่ทางด้านอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และบริการ โดยมีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวก พร้อมทั้งสิทธิประโยชน์ ที่จะดึงดูดการลงทุน เพื่อให้เกิดการกระจายการลงทุนสู่ภูมิภาค เกิดการจ้างงาน ก่อให้เกิด การกระจายรายได้ ลดปัญหาการว่างงานและการอพยพแรงงาน ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ของรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงสร้างโอกาสให้ประชาชน ได้มีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการพัฒนา ซึ่งสามารถแก้ปัญหาด้านความไม่สงบ ในพื้นที่ อันจะนำไปสู่ความร่มเย็นในพื้นที่ ๓ จังหวัดได้

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ คือเรื่องปัญหาการศึกษา ๓ จังหวัด เป็นที่ทราบกันดีว่าคุณภาพ การศึกษา ๓ จังหวัดต่ำที่สุดในประเทศ หลายคนบอกว่าเกิดจากการศึกษาที่มีการเรียน ศาสนาและสามัญร่วมกันถึงทำให้คุณภาพการศึกษาลดลง แต่การที่ผมได้มีโอกาสได้เรียนต่อ ต่างประเทศ ทำให้ผมทราบว่าหลาย ๆ ประเทศก็มีการศึกษาลักษณะนี้ มีทั้งสามัญแล้วก็ ศาสนาแต่ทำไมเขาถึงมีคุณภาพการศึกษาที่ดีได้ ดังนั้นปัญหาคุณภาพการศึกษาต่ำนั้น ส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับคุณภาพของแม่พิมพ์เป็นสำคัญ ดินดีขนาดไหนถ้าแม่พิมพ์ไม่ดี ก็ไม่สามารถที่จะผลิตแจกันที่สวยงามได้ แต่ในทางกลับกันถ้าแม่พิมพ์ดีแต่ดินที่ทำแจกัน ไม่ค่อยดีมากนักก็สามารถที่จะผลิตแจกันที่สวยงามได้ เพราะฉะนั้นจะให้นักเรียนในพื้นที่ พูดภาษาไทยได้ดีได้อย่างไรในเมื่อครูก็ยังพูดภาษาไทยไม่คล่อง หรือจะให้เด็กเก่ง ภาษาอังกฤษได้อย่างไรในเมื่อครูสอบภาษาอังกฤษยังไม่ผ่านเลย อันนี้ผมว่าไม่ใช่เป็นเฉพาะ เรื่อง ๓ จังหวัด แต่เป็นประเด็นปัญหาของประเทศ ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพครูเป็นส่วน สำคัญอย่างยิ่งที่จะพัฒนาการศึกษาของคนในพื้นที่และประเทศได้ ทุกคนทราบกันดี เงินเดือนที่รัฐ Support ให้กับครูที่จบปริญญาตรีในพื้นที่อยู่ที่ประมาณ ๑๕,๐๐๐ บาท แต่ถามว่าครูได้เงินเดือน ๑๕,๐๐๐ บาทจริงไหม บางโรงเรียนบอกว่าจำเป็นต้องหักเพื่อไปแบ่งให้ครูสอนศาสนาอื่น ๆ เงินเดือนที่ได้จริง คือ ๔,๐๐๐-๖,๐๐๐ บาท ถามว่าคนที่ได้เงินเดือนเท่านี้จะมีกำลังใจสอนนักเรียนได้อย่างไร ในเมื่อตัวเองยังต้องหางานอื่นเพื่อเพิ่มรายได้ของตัวเองและเด็กจะมีคุณภาพการศึกษาดี ได้อย่างไร

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

ประเด็นสุดท้ายคือประเด็นเรื่องปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนมาก ทำให้สถานการณ์ในพื้นที่รุนแรงมากขึ้น มีการทำร้ายตัวเองและผู้อื่น มีการลักขโมย ในทุกพื้นที่ ดังนั้นถ้าเราคิดว่าผู้เสพคือผู้ป่วยต้องนำส่งบำบัด เราจะต้องมีศูนย์บำบัดที่ตาม หลักศาสนบัญญัติมากกว่านี้ และตอนนี้ค่าใช้จ่ายสูงมากประมาณ ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน คนในพื้นที่ไม่สามารถจ่ายได้ สิ่งที่ประชาชนในพื้นที่สะท้อนกลับมา รวมถึงตัวผมเอง จึงจำเป็นจะต้องให้กระบวนการสันติภาพชายแดนใต้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่ การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการศึกษา ปัญหายาเสพติด และอื่น ๆ ที่เป็นรายงาน ที่เป็นนโยบาย ฉะนั้นจึงควรมีการศึกษากระบวนการสันติภาพ ชายแดนใต้ทั้งในส่วนของปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ปัญหาดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ และเพื่อนำการศึกษามาเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ให้เกิดผลสำเร็จ หยุดยั้งความขัดแย้งและความรุนแรงอันจะส่งผลให้ชายแดนภาคใต้ เป็นพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร ดังนั้นผมจึงขอสนับสนุนญัตติดังกล่าว ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔๙ เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษากระบวนการสร้างสันติภาพชายแดนใต้ และส่งผลการพิจารณาให้กับรัฐบาลไปดำเนินการ ซึ่งผมต้องขอขอบคุณคุณหมอเพชรดาว โต๊ะมีนา อดีตผู้สมัครพรรคภูมิใจไทย ขออนุญาตเอ่ยนามครับ เพราะเป็นคนแรก ๆ เลย ที่เสนอญัตติในปี ๒๕๖๓ และเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ผมได้มีโอกาสยื่นญัตติในปีนี้ด้วย

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

สุดท้ายสรุปสั้น ๆ ว่ากระบวนการสันติภาพไม่ได้มีแค่กระบวนการพูดคุย บนโต๊ะเจรจา แต่เป็นการมองภาพในหลากหลายมิติแล้วลงมือทำ ขอบคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ แสดงความเสียใจกับเรื่องของคุณน้าด้วยนะครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๔. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา และติดตามการเจรจาสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ ผู้เสนอ)

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านศรัณย์ครับ

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอ ญัตติ เรื่อง ขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและติดตามการเจรจาสันติภาพ ในจังหวัดชายแดนใต้ ท่านประธานครับ สืบเนื่องตลอดเวลาระยะเวลากว่า ๑๙ ปี ที่ปัญหาชายแดนใต้ยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์ แม้ว่ารัฐบาลทุกยุคทุกสมัยจะมี ความพยายามในการแก้ไขปัญหามาโดยตลอด แต่เหตุการณ์ความรุนแรงต่าง ๆ ก็ยังคงเกิด สืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน บางช่วงเกิดเหตุการณ์มากกว่าปกติ บางช่วงก็มีช่วงที่เหตุการณ์สงบลง ไปบ้างแต่ก็ยังมีเหตุการณ์เกิดขึ้นให้เราต้องมองเห็นและรับทราบถึงปัญหาอยู่ร่ำไป ส่งผลให้ ประเทศไทยสูญเสียทั้งบุคลากร เจ้าหน้าที่ ประชาชนจำนวนมากกว่า ๗,๐๐๐ ราย รัฐบาล ในหลายสมัยใช้งบประมาณแผ่นดินมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท แม้ว่าระยะหลัง ๆ ความสูญเสียและจำนวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะลดน้อยลง แต่ก็ไม่ได้สะท้อนให้เห็นว่า ความขัดแย้งคลี่คลายลงแต่อย่างใด ทำให้ประชาชนในพื้นที่ยังขาดความเชื่อมั่นว่าจะเกิด ความปรองดองที่จะนำไปสู่สันติภาพ สันติสุข ความเป็นธรรม ความเสมอภาคทางกฎหมาย เหมือนกับประชาชนทั้งประเทศอย่างแท้จริง และอีกสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นในทุกคณะกรรมาธิการ ที่มีการตั้งมาตั้งแต่ในอดีตคือการมีส่วนร่วมของตัวแทนภาคประชาชนที่ในกระบวนการ เจรจานั้นมีส่วนร่วมน้อย ซึ่งอาจเป็นเหตุผลสำคัญที่การแก้ไขปัญหาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ เราจึงควรมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นในกระบวนการสร้างสันติภาพถาวรในจังหวัดชายแดนใต้ ๓ จังหวัดชายแดนใต้อย่างที่เพื่อนสมาชิกและผู้ร่วมเสนอญัตติหลาย ๆ ท่านอภิปราย ก่อนหน้านี้ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาในเฉพาะพื้นที่ เป็นปัญหาของทั้งประเทศ เป็นปัญหาที่ ทุกคนมีส่วนร่วมและได้รับผลกระทบ

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ

อีกประเด็นหนึ่งที่หลายครั้งเรามองข้ามไปเมื่อเรามองถึงปัญหาชายแดนใต้ เรามองไปถึงความขัดแย้งต่าง ๆ แต่หลายครั้งที่การแก้ปัญหาถูกมองว่าเป็นการแก้ปัญหา ให้เฉพาะกับประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งความจริงแล้วต้องบอกว่าถ้าประเทศไทยไม่ใช่เฉพาะ ในพื้นที่ ถ้าเราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ โอกาสที่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะกับประชาชนและบุคคล ที่อยู่ในพื้นที่ แต่เกิดขึ้นกับประเทศไทยทั้งประเทศ ต้องขอย้อนความเพราะว่าในสมัยที่แล้ว ผมได้มีโอกาสเป็นกรรมาธิการการท่องเที่ยว หลายครั้งเราไม่เคยทราบว่าในพื้นที่ที่เรากำลัง พูดกันอยู่ พื้นที่ที่เมื่อทุกคนพูดจะคิดถึงแต่ว่ามีปัญหาความรุนแรง มีปัญหาความไม่สงบ จริง ๆ แล้วในพื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนมีทรัพยากรธรรมชาติที่มี มูลค่ามากมาย มีสถานที่ท่องเที่ยว มีผู้คนที่มีความสามารถที่รอโอกาสในการที่จะเติบโต และสร้างสิ่งใหม่ ๆ สิ่งดี ๆ ให้กับประเทศอีกมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะปัญหาความขัดแย้งที่เรามีมาเกือบจะเป็นเวลา ๒๐ ปี เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นว่า เป็นเรื่องสำคัญ และเราหวังว่าในการทำงานของรัฐบาลปัจจุบัน รวมถึงของ สส. ทุกท่าน ในรัฐสภาแห่งนี้ในสมัยนี้เราจะสร้างความแตกต่างและเดินหน้าให้เกิดสันติภาพที่ถาวร และยั่งยืนในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้นจึงขอเสนอญัตติที่กล่าวมาให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและติดตามการเจรจาสันติภาพในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔๙ และข้อ ๕๐ ส่วนเหตุผลและรายละเอียดต่าง ๆ ผมเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกในสภาแห่งนี้อีกหลายท่านก็จะให้ การอภิปรายและสนับสนุนญัตติทั้ง ๔ ญัตติ ขอให้เกิดความสงบกับทุกพื้นที่และประชาชน ทุกท่าน ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ตอนนี้ผู้เสนอญัตติทั้ง ๔ ท่านก็ได้เสนอเรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะเป็นการอภิปราย ๑ แล้วก็ยังไม่ปิดการลงชื่อ จะปิดการลงชื่อหลังจากที่ท่านณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ได้อภิปรายจบแล้วครับ ขอเชิญท่านณัฐวุฒิ บัวประทุม ครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับท่านประธาน ที่เคารพ ผมณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัดอ่างทอง แต่ขอพูดถึงปัญหาของพี่น้องใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ สภาผู้แทนราษฎร ในสมัยที่แล้วชุดที่ ๒๕ ผมเป็นหนึ่งในผู้เสนอญัตติที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องขอให้ สภาพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและแก้ไขปัญหา รวมถึงการสร้าง สันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ ผมอยากชวนเพื่อนสมาชิกขีดเส้นใต้ใหญ่ ๆ คำว่า สันติภาพ แทนคำว่า สันติสุข ไว้เป็นเบื้องแรกก่อนครับ แต่ท้ายที่สุดสภาชุดที่แล้วไม่ได้มีโอกาสที่จะ พิจารณาซึ่งเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง แล้วเราก็ไม่อาจจะใช้ตัวชี้วัดว่าสถานการณ์ ความรุนแรงที่ลดลงในรอบหลายปีกำลังแสดงให้เห็นว่าสันติภาพกำลังเกิดขึ้นในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เราคงไม่สามารถที่จะพูดในเชิงแบบนั้นได้ แต่อย่างไรก็ตามในวันนี้ในเมื่อมี เพื่อนสมาชิกได้เสนอญัตติ ผมเองก็ต้องขออภิปรายสนับสนุนญัตติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของ คุณรอมฎอน ปันจอร์ ที่เกี่ยวข้องในประเด็นเรื่องของสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๑ หากจะว่ากันโดยสถานการณ์นับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี ๒๕๔๗ จนถึงเดือนมีนาคม ปี ๒๕๖๖ ขณะนี้มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วกว่า ๙,๖๒๔ เหตุการณ์ แล้วก็มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน มีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก มีผู้เสียชีวิตถึง ๕,๐๐๐ กว่าคน มีผู้ได้รับบาดเจ็บถึง ๑๒,๐๐๐ คน ต้องเข้าใจว่าในบรรดาผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บต่างก็มีญาติพี่น้อง พ่อแม่ ลูกหลาน ครอบครัว คนรู้จักของคนในสังคมต่าง ๆ ฉะนั้นเวลาที่เราจะพูดถึงประเด็นปัญหาชายแดนใต้ เราคงไม่สามารถพูดแต่เพียงเรื่องแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม ที่เรียก กันว่า Joint Comprehensive Plan towards Peace หรือ JCPP แบบเดียวได้เท่านั้น แต่การจะพูดถึงจังหวัดชายแดนภาคใต้จำเป็นต้องพูดถึงและคำนึงถึงมิติต่าง ๆ ซึ่งเป็นมิติที่ มากไปกว่ามิติเรื่องความมั่นคง นั่นเป็นประการที่ ๑ ที่ผมอยากจะนำเรียน

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ก็คือว่าเราต้องสรุปบทเรียนว่ากระบวนการแสวงหาสันติภาพ ที่ผ่านมานั้นมีอะไร ผมเองก็เคยเป็นหนึ่งในอนุกรรมการอยู่ในคณะกรรมการอิสระ เพื่อการสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติที่เรียกว่า กอส. ก็เคยมีงานวิจัยศึกษากันมาตั้งแต่ ปี ๒๕๔๐ ปลาย ๆ หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่นานนัก แต่วันนี้ผมต้องขอบพระคุณ ทางสภาที่ได้มีการศึกษาเอกสารประกอบการพิจารณา ซึ่งเป็นสิ่งที่พยายามย้ำให้เห็นว่า พี่น้องในต่างประเทศ พี่น้องนักวิชาการ พี่น้องที่สนใจในปัญหาชายแดนภาคใต้เขาพยายาม สรุปให้เราเห็นว่าจากมุมมองของคนภายนอก เช่น กรณีของนักวิชาการที่ชื่อว่าคุณโนเบิร์ต โรเปอร์ส นักวิชาการชาวเยอรมนีได้สรุปว่าปัญหาของกระบวนการสันติภาพในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่สำเร็จมีเงื่อนไขอยู่ทั้งหมด ๙ ประการด้วยกัน

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๑ เช่น กรณีของผู้ที่เข้าร่วมในการพูดคุย ต้องถามว่าได้รับ ฉันทานุมัติอย่างเพียงพอและเข้าใจปัญหาความขัดแย้งเหล่านั้นจริงหรือไม่

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ก็คือมีความเข้าใจต่อสถานะและวิธีการในการลดปัญหา ความขัดแย้งที่ตรงกันหรือไม่ คำว่า สันติภาพ อาจจะเป็นสันติภาพในเชิงบวกที่พวกเรา พยายามทำ หรืออาจจะเป็นสันติภาพในเชิงลบที่พูดแต่เพียงการลดความรุนแรงของ เหตุการณ์ที่เป็นมุมมองของอีกฝ่ายหนึ่ง แบบนี้ก็เรียกว่าไม่ตรงกัน

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๓ ก็คือว่าท่านมีวิธีการสื่อสารต่อการพูดคุยกระบวนการ ต่าง ๆ นั้น อย่างครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๔ คือการขาดการสนับสนุนหรือการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน พี่น้องประชาชนที่เป็นเจ้าของปัญหาอาจจะมีส่วนในการพูดคุยน้อยกว่าพี่น้องที่ทำประเด็น เรื่องความมั่นคงที่ไปจากกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๕ เป็นประเด็นเรื่องของการที่ระบบการแก้ปัญหาไม่เอื้อต่อ กระบวนการ เพราะว่ามองกันที่ตัวชี้วัดเรื่องความรุนแรง จำนวนของความแรงอย่างเดียว ซึ่งไม่ตอบโจทย์

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๖ เป็นเรื่องของสังคมมีความสงสัยต่อกระบวนการ อีกทั้งข้อเสนอ ของพี่น้องสื่อมวลชนที่นำไปสู่กระบวนการนั้นอาจจะไม่ชัดเจน

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๗ เป็นเรื่องของความมั่นคงของกลุ่มอื่น ๆ ที่อาจจะคลางแคลงต่อ กระบวนการพูดคุยและไม่มั่นใจว่ากระบวนการพูดคุยที่จะนำไปสู่การก่อให้เกิดสันติภาพ พวกเขาจะได้รับประโยชน์จากกระบวนการจริง ๆ หรือไม่

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๘ เป็นกระบวนการพูดคุยสันติภาพที่ขาดการสนับสนุนอย่างมากพอ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๙ ก็คือว่าท้ายที่สุดประโยชน์ของการพูดคุยจะไปจบอย่างไร นี่คือเหตุผลที่กระบวนการสันติภาพยังไม่อาจดำเนินการมาถึงขั้นตอนที่สมบูรณ์ได้ นั่นเป็นหมวดหมู่ที่ ๒ ที่ผมอยากจะนำเสนอ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

หมวดหมู่ที่ ๓ ผมมีความจำเป็นที่จะต้องพูดในประเด็นที่แตกต่างจาก เพื่อนสมาชิกท่านอื่น ๆ ซึ่งอาจจะพูดในมุมของความมั่นคง แต่ผมอยากจะพูด มุมของผู้คนในภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องผู้หญิง พี่น้องมลายูมุสลิม พี่น้องเด็ก ๆ สตรี กลุ่มเปราะบางต่าง ๆ ผมยกตัวอย่างให้ท่านเห็นกลุ่มเดียวก็คือกรณีของเด็กกำพร้า ที่ประสบปัญหาจากสถานการณ์ความรุนแรง มีการแบ่งเด็กกำพร้าออกเป็น ๔ กลุ่มด้วยกัน คือเด็กกำพร้าในสภาวะปกติที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ แบบนี้มีกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นคนดูแล แต่เด็กกำพร้าที่เกิดขึ้นจากความรุนแรง ตามจำนวนข้อมูลของ ศอ.บต. และ สสว. ๑๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนด้านวิชาการของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์บอกมีจำนวนถึง ๘,๖๒๖ คน

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กลุ่มที่ ๓ คือเด็กกำพร้าไม่อยู่ในระบบ และกลุ่มนี้ผมเคยอภิปรายตั้งแต่ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ เขาเรียกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการรับรองจาก ๓ ฝ่าย ก็คือทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง บอกได้หรือไม่ว่ามีจำนวนเท่าไร

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กลุ่มที่ ๔ คือเด็กกำพร้า ที่เกิดจากกรณีไม่ใช่ความรุนแรงโดยตรง แต่เกิดขึ้น จากพ่อแม่ที่ไปปฏิบัติการแก้ไขปัญหาชายแดนใต้แล้วประสบปัญหาความรุนแรง เขาอาจจะอยู่ที่อุดรธานี เขาอาจจะอยู่ที่อ่างทอง เขาอาจจะอยู่ที่อุบลราชธานี เชียงใหม่ ต่าง ๆ ก็ได้ ซึ่งก็ไม่มีข้อมูลตัวเลขว่ามีอยู่จำนวนเท่าไร คำถามของผมก็คือว่าในกรณีของ เด็กกำพร้าเหล่านี้อะไรคือเครื่องมือหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาสันติภาพ ถ้ามองระยะสั้นไม่พอ แต่ต้องมองระยะยาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อจิตใจ ผลกระทบ ทางการศึกษา ผลกระทบทางสังคม และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อการทำความเข้าใจระหว่างกัน ว่าความรุนแรงนี้มันเกิดขึ้นเพราะอะไร กรีดแผลต้องกลัดหนอง ถ้าไม่กรีดหนองออก แผลก็ไม่อาจที่จะหายได้อย่างเด็ดขาด ฉะนั้นมุมมองของผมต่อประเด็นเรื่องของญัตตินี้ จึงเป็นมุมมองที่ผมคิดว่าประเด็นเรื่องงบประมาณของการดับไฟไต้ที่ท่านใช้ไปไม่ต่ำกว่า ๘๐๐,๐๐๐ ล้านบาทต้องถูกทบทวน แล้วผมคิดว่าประเด็นเรื่องการพูดคุยในวันนี้หากจะมี การตั้งคณะกรรมาธิการศึกษา ผมขอแบบนี้ได้ไหมว่าการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาต้องขอให้ คลุมถึง ๖ ประเด็นด้วยกัน ๑. คือเชื้อชาติ ๒. คือศาสนา ๓. คืออัตลักษณ์ ๔. คือวัฒนธรรม ๕. คือทัศนคติ ๖. คือความเชื่อและพฤติกรรมท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และแถมด้วยอีกข้อหนึ่ง ก็ได้ ๗. คือการพูดคุยไปถึงเรื่องของการจัดการตนเองของพี่น้องใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ฉะนั้นในภาพรวมทั้งหมดผมเห็นด้วยและสนับสนุนการจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ที่จะพิจารณาศึกษาเรื่องนี้ และผมไม่คิดว่าจะมีเหตุผลหรือประเด็นใดที่มีเพื่อนสมาชิก ไม่สนับสนุนการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาชุดนี้ถ้าท่านเชื่อมั่นในสันติภาพแบบเดียวกับที่ ผมเชื่อ จะไม่มีเพื่อนสมาชิกท่านใดโหวตเป็นอย่างอื่นไปได้ ขอบคุณท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปเป็นท่านณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ และเนื่องจากท่านผ่าตัดดวงตานะครับ จะขออนุญาตสวมแว่นกันแดดแล้วก็ใช้อภิปรายไปด้วย เรียนเชิญท่านณัฏฐ์ชนนครับ

นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ ๗ อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย ตำบลลำไพลของอำเภอเทพา ท่านประธานครับ ความมืดดำ ของปัญหาจังหวัดชายแดนใต้เขาบอกว่าสันติภาพคือสิ่งหลอกลวง สันติสุขคือสิ่งสมมุติ มีผู้อาวุโสท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ เพราะฉะนั้นเขาบอกว่า Hard power มันไม่ใช่ทางแก้ แต่มันมีทางออกก็คือ Soft power มันเป็นแนวทางอีกแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ ในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ผมขอเป็นตัวแทนหมู่บ้านในฐานะคนพุทธคนหนึ่งที่เกิด ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดน ๔ อำเภอ มาบอกถึงความรู้สึกว่าความหวาดระแวงในการใช้ชีวิต ผมขอพูดแทนพี่น้องมุสลิมที่โดนเอารัดเอาเปรียบและถูกกระทำ ปี ๒๕๑๘ ผมเกิดที่ โรงพยาบาลยะลา ศูนย์แม่และเด็กจังหวัดยะลา เติบโต มีครอบครัว เรียนหนังสือ เป็นนักการเมืองท้องถิ่น ทำธุรกิจ และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๒ สมัย ในพื้นที่อำเภอเทพา อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อยของจังหวัดสงขลาซึ่งเป็นพื้นที่ความมั่นคง อยู่มา วันหนึ่งมีการเผาโรงเรียนเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๖ พร้อมกัน ๓๖ แห่ง มีการวางระเบิด รถไฟปี ๒๕๓๕-๒๕๓๗ และมีการจับ ๔ โต๊ะครูอำเภอจะนะเมื่อปี ๒๕๓๕ ปัจจุบัน ศาลยกฟ้อง นี่คือความทรงจำเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว สรุปความเสียหายในชีวิตดังนี้ นับตั้งแต่ ปี ๒๕๔๗ จนถึงปีปัจจุบันประมาณ ๒๐ ปี เหตุความรุนแรง ๙,๖๕๗ ครั้ง มีผู้เสียชีวิต ๕,๘๖๘ ราย เป็นเจ้าหน้าที่ ๒,๒๕๑ ราย และเป็นประชาชนตาดำ ๆ ๓,๖๑๗ ราย มีผู้บาดเจ็บเยอะ ๑๒,๖๕๗ ราย เป็นเจ้าหน้าที่ ๖,๓๓๐ ราย เป็นประชาชน ๖,๓๒๗ ราย ห่างกันไม่กี่คน เพราะฉะนั้นจนถึงวันนี้ปี ๒๕๖๖ ยังหาสาเหตุที่แท้จริงความไม่สงบ ใน ๓ จังหวัดชายแดนไม่ได้เพราะอะไรครับ มีทฤษฎีเยอะในพื้นที่บ้านผม ทฤษฎีเขาเรียกว่า ทฤษฎีเขาว่า เขาว่าอย่างไรครับ ๑. เขาว่าเกิดจากชนชาติสยามและปาตานีในอดีต ๒. เขาว่าผลประโยชน์ของสิ่งผิดกฎหมายในพื้นที่ ๓. ประเทศเพื่อนบ้านสนับสนุน ๔. เกิดจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ๕. เกิดจากการกดขี่จากส่วนกลาง ๖. พวกคลั่งศาสนา ๗. เจ้าหน้าที่ของรัฐสร้างสถานการณ์ ๘. ฝีมือนักการเมือง ๙. เจ้าหน้าที่เลี้ยงไข้ สรุปสาเหตุจริง ๆ เกิดจากอะไรครับ นี่ก็คือทฤษฎีเขาว่าครับท่านประธาน แต่ถ้าจะทำลายคู่แข่งทางการเมือง ทำลายนักธุรกิจ ใน ๓ จังหวัดชายแดน ๔ อำเภอ รู้ไหมทำอย่างไร กล่าวหาว่าค้ายาเสพติด กล่าวหาว่าค้าของเถื่อน กล่าวหาว่าเป็นแนวร่วมและกล่าวหาว่าเป็นผู้รับใช้ราชการ ท่านจะได้ผลดีนักแล สิ่งที่ ประชาชนในพื้นที่ต้องการ ปัญหาปากท้อง ปัญหาที่ดินทำกินเอกสารสิทธิ เรื่องการศึกษา ความเสมอภาค ส่งเสริมเศรษฐกิจ มันก็เป็นปัญหาทั่วไปที่ทุกคนอยากมี ชีวิตทุกคนล้วนอยู่ บนเส้นด้าย ล้วนอยู่บนความตาย ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ ผู้นำศาสนา โต๊ะอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น รวมทั้งสัปปุรุษประจำมัสยิด ผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่น ข้าราชการ แม้แต่ประชาชนตาดำ ๆ เพราะถ้าท่านเลือกเข้าข้างหน่วยงานของรัฐโดนผู้ก่อความไม่สงบหมายหัว โดนขู่และโดนฆ่า แต่ถ้าท่านเลือกอยู่กับผู้ก่อการร้ายโดนเจ้าหน้าที่ของรัฐหมายหัวเช่นกัน ขึ้นบัญชีกำจัด ด้วยวิธีต่าง ๆ และดำเนินตามกฎหมาย อยากจะถามว่าให้เขาเลือกฝ่ายไหน บางครั้งคนเรา มันไม่มีสิทธิเลือกเพราะมันคือความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ใครจะรับรอง ความปลอดภัยและความตายของเขา ทำให้พี่น้องในพื้นที่ภาคใต้เราต้องสูญเสียบุคลากร ท่านรู้ไหมวันนี้คนหนุ่มคนสาวในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดน ๔ อำเภอบ้านผมเกือบ ๕๐๐,๐๐๐ คนไปไหน เรียนจบไม่กลับบ้านไปทำงานรับจ้างทั่วประเทศทุกจังหวัด เพราะ กลับไปบ้านไม่มีงานรองรับ ๒. คนหนุ่มคนสาวไปประกอบอาชีพบริการการท่องเที่ยว ฝั่งอันดามัน ภูเก็ต กระบี่ พังงา ฝั่งอ่าวไทย สมุย พะงัน เกาะเต่า นี่คือวิถีคน ๓ จังหวัด และอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่สำคัญก็คือคนหนุ่มคนสาวประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ชีวิต อพยพไปอยู่ ที่ประเทศมาเลเซีย ไปเปิดร้านต้มยำกุ้ง เขาไปอยู่ด้วยความทรมาน วันนี้รัฐบาลดีใจ หลายคนเดินทางไปเยี่ยมต้มยำกุ้ง ส่งเสริมอาชีพ แต่เราต้องให้เขากลับบ้าน ต้องให้เขา กลับมาสร้างบ้านสร้างเมือง สร้างธุรกิจ สร้าง ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของพวกเรา วันนี้ เราเสียบุคลากรเหล่านี้ไปมากมาย เพราะฉะนั้นวันนี้เราอยากจะสรุปว่าปัญหาชายแดน ภาคใต้มันเหมือนคนตาบอดคลำช้าง ผมเพิ่งผ่าตัดตามา โดนปิดตา ๒ ข้าง ๒๔ ชั่วโมง ความรู้สึกแสนทรมาน จะตายให้ได้ ไม่รู้ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ที่สำคัญ ไม่รู้ว่าเวลาไหน เขาป้อนอาหารแค่รู้ว่าเป็นอาหาร แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร เดินไปไหนก็ไม่ได้ อึดอัดเหมือนใจจะขาด เพราะฉะนั้นมันเลยทำให้ผมนึกถึงคน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มันเหมือนคนปิดตา ๒ ข้างมา ๒๐ ปีแล้ว เมื่อไรจะมีใครมาเปิดให้พวกเขา เห็นแสงสว่าง มีชีวิตปกติในฐานะคนไทยคนหนึ่ง สิ่งที่เขาเรียกร้องคือความสันติสุขและสันติภาพ ในพื้นที่ของบ้านเรา ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ขอปิดการลงชื่อเพื่ออภิปราย เรียนเชิญท่านต่อมา ท่านชุติมา คชพันธ์ ครับ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จากภาคใต้ จังหวัดพัทลุงค่ะ ท่านประธานคะ ดิฉันเป็นลูกหลานชาวใต้ ดิฉันเติบโตมากับพี่น้องชาวใต้และรับรู้ความรู้สึก มาตลอดว่ายังมีพี่น้องของเราอีกบางส่วนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่ไม่ได้เหมือนกับ พวกเราภาคใต้จังหวัดอื่น ๆ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อน ๆ ของเรา เด็ก ๆ น้อง ๆ ของเรา ต้องเติบโตมาท่ามกลางความรู้สึกหวาดกลัว ขอ Slide ด้วยค่ะ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ต้องเติบโตมาท่ามกลาง ความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัย เป็นแบบนี้มาตลอดระยะเวลายาวนาน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเจอ ล้วนแต่ฝังลึกลงไปในจิตใจ เมื่อถึงวันหนึ่งที่เติบโตขึ้นเมื่อถึงวัยทำงานก็ทำให้เกิดปัญหา สมองไหล ปัญหาแรงงานคนรุ่นใหม่ออกไปหางานทำนอกพื้นที่ บางหมู่บ้านก็เลยมีแค่ คนสูงอายุ เด็กและเยาวชน เนื่องจากไม่มั่นใจว่าอยู่ในพื้นที่จะทำมาหากินอะไร แน่นอนค่ะ เมื่อแรงงานออกไปทำงานที่อื่นทำให้ศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ลดน้อยลง แทนที่ ๓ จังหวัดภาคใต้จะเติบโตเหมือนจังหวัดอื่น ๆ กลายเป็นว่าถดถอยไปมากกว่าเดิม มุมมองของสันติภาพสำหรับดิฉัน ดิฉันให้ความสำคัญกับเรื่องสันติภาพ กินได้ไม่แพ้สันติภาพ ด้านอื่น ๆ ในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ในขณะนี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันดิฉันมองว่า ๓ จังหวัดชายแดนใต้ยังมีปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหารอยู่ ทั้งที่จริง ๆ แล้วพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้อุดมสมบูรณ์มาก ๆ เหมาะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม แต่เนื่องจากมี กฎหมายพิเศษอยู่ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทำให้คนหนุ่มสาวจำเป็นจะต้องออกไปหางานทำ ในพื้นที่อื่น ๆ แน่นอนทำให้แรงงานที่จะทำการเกษตรลดน้อยลง จากตัวอย่างที่ดิฉันจะให้ดู นี่คือตัวอย่างปริมาณผลผลิตเนื้อสัตว์ใน ๓ จังหวัดภาคใต้ที่ผลิตขึ้นมาจาก ๓ จังหวัดภาคใต้ ได้แค่ ๗ กิโลกรัมต่อคนต่อปีเท่านั้น เมื่อเทียบกับความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ทั้งหมด ทั่วประเทศที่มีถึง ๕๔ กิโลกรัมต่อคนต่อปี นั่นแปลว่าถ้า ๓ จังหวัดชายแดนใต้มีประชาชน มีแรงงาน มีเกษตรกรมากกว่านี้ผลผลิตที่จะได้ในจังหวัด รายได้ที่จะตามมา ผลิตภัณฑ์ มวลรวมในจังหวัดก็จะมากขึ้นตามมานั่นเอง ต่อมาอีกด้านหนึ่ง ด้านขวามือเป็นตัวอย่าง ปริมาณผลผลิตไข่ไก่ ไข่เป็ดใน ๓ จังหวัดภาคใต้ ผลิตได้เพียง ๑๔.๙ ฟองต่อคนต่อปี เทียบกับความต้องการของคนไทยทั่วประเทศโดยเฉลี่ย ๒๖๗ ฟองต่อคนต่อปี นั่นแปลว่า ความต้องการในประเทศยังมีอีกเยอะ แต่พื้นที่ภาคใต้ยังผลิตได้น้อยเนื่องจากไม่มีประชากร ไม่มีแรงงาน เพราะฉะนั้นถ้าทุกอย่างสงบสันติภาพกินได้ ความมั่นคงทางอาหารที่ใช้ใน จังหวัดเองและข้างนอกก็ได้เช่นเดียวกัน

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ในเรื่องของสันติภาพกินได้ สินค้าชุมชน ธุรกิจเพื่อสังคมต่าง ๆ ก็จะเติบโต เช่นเดียวกัน ดิฉันยกตัวอย่างให้ดูสำหรับในตัวอย่างนี้ก็คือสินค้าที่ทำจากนมแพะ นี่คือนมแพะมาจู เป็นนมแพะที่เกิดจากการรวมตัวของเกษตรกรที่ผลิตนมแพะขึ้นมาให้ได้มาตรฐาน พร้อมสำหรับการจำหน่าย นี่คือเป็นตัวอย่างให้เห็นเลยว่าหากเรามีการส่งเสริมอย่างจริงจัง ก็จะเห็นว่าสามารถที่จะทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่เติบโตได้มากกว่านี้ นี่คือโครงการที่ได้รับ การส่งเสริมจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ดีให้เห็นถึงความพร้อม ว่าเป็นความพร้อมที่สามารถที่จะส่งออกได้หากได้รับการส่งเสริม นั่นแปลว่าสินค้าชุมชน หรือธุรกิจเพื่อสังคมในพื้นที่ยังสามารถเติบโตได้มากกว่านี้หาก ๓ จังหวัดชายแดนใต้ มีสันติภาพ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

สันติภาพต่อเศรษฐกิจฐานรากในมุมมองของดิฉัน น่าเสียดายมากที่ผ่านมา เราเสียโอกาสมามากแล้ว เราเสียโอกาสมาตั้งเท่าไรแล้ว ใครอยากไปเที่ยวเมืองที่มีทหาร คอยถามทางตลอดเวลาว่าจะไปไหน มาจากไหน บ้านอยู่ไหน มากี่คน จะไปไหนต่อ นักท่องเที่ยวที่ไหนเขาอยากจะไปเที่ยวเมืองแบบนั้น นั่นแปลว่าเราเสียโอกาสในการที่จะทำ ท่องเที่ยวชุมชน เราเสียโอกาส เสียรายได้ในการทำท่องเที่ยวมามากแล้ว ดิฉันอยากให้เห็น ภาพสวยงามของ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ที่ดิฉันเคยไปสัมผัสมา นี่เป็นภาพที่สวยงามมาก ๆ มีทะเลหมอกไม่ต่างจากภาคเหนือเลย มีทะเล มีภูมิปัญญา มีวิถีชีวิต มีอัตลักษณ์ชุมชน ที่สวยงามมาก ๆ ดิฉันอยากให้พี่น้องทั่วประเทศได้ไปเห็นภาพนี้ แน่นอนค่ะถ้ามีสันติภาพ สิ่งเหล่านี้ก็จะปรากฏสู่สายตาคนทั้งประเทศและสายตาชาวโลกมากขึ้น เพราะฉะนั้น ดิฉันเชื่อว่าหากการเมืองดี ปากท้องดี ๓ จังหวัดชายแดนใต้มีอนาคตแน่นอน ดิฉันขอเรียกร้อง ให้คืนสันติภาพ คืนลมหายใจ คืนโอกาสเศรษฐกิจที่ดีที่รุ่งเรืองสู่ชายแดนใต้ เพราะฉะนั้น ดิฉันขอสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญสำหรับศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ ไม่มีเหตุผลใดเลยที่เราจะไม่ตั้ง ขอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาเพื่อศึกษาเรื่องนี้ โดยเฉพาะ เพื่อให้ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ของเราพัฒนาเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นต่อไปค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านวรวิทย์ บารู ครับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู ปัตตานี ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม อาจารย์วรวิทย์ บารู เขต ๑ จังหวัดปัตตานี พรรคประชาชาติครับ ชื่อญัตติทั้ง ๓-๔ ญัตติ พูดถึงเรื่องของแสวงหาสันติภาพ คณะกรรมการสันติภาพศึกษาเพื่อสร้างกระบวนการ สันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นี่ก็แสดงว่าพวกเราเห็นว่าการสร้างสันติภาพในจังหวัด ชายแดนภาคใต้เป็นทางที่จะแก้ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ปัญหาที่หมักหมม มานาน ไม่ว่าทางด้านใดที่เราได้ทราบ เราได้ฟังจากเพื่อนสมาชิกล้วนแต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและถูกต้องที่นำมากล่าว ณ ที่ตรงนี้ เพราะนี่คือสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชน คณะกรรมาธิการวิสามัญที่เราเสนอขึ้นมานี้ โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะของคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น แต่มันเป็นปัญหาของประเทศ ที่คนไทยเราทุกคนควรจะรับรู้แล้วก็ควรที่จะนำมาพูดคุยกันในสภาแห่งนี้ ในเรื่องของ สันติภาพเราพยายามที่จะสร้าง พยายามที่จะพูดคุยตั้งแต่สมัยของท่านนายกยิ่งลักษณ์ ซึ่งได้เริ่มขึ้น ซึ่งตอนนั้นผมเป็นสมาชิกวุฒิสภาก็มีคณะกรรมาธิการชุดนี้เช่นเดียวกันศึกษา แก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ แต่วันนี้ชื่อของทั้ง ๔ ญัตติที่ส่งมานี้พูดถึงเรื่องกระบวนการ สันติภาพ ไม่พูดถึงเรื่องปัญหา เรื่องอะไรต่าง ๆ นี่ก็แสดงว่าอย่างที่ผมกล่าวไว้เราเชื่อมั่นว่า สันติภาพจะนำมาซึ่งทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาทางด้านการเมืองที่พี่น้อง สมาชิกสภาผู้แทนพูดเมื่อสักครู่นี้ หรือว่าทางด้านเศรษฐกิจ ถ้าเรามองดูโอกาสที่พี่น้อง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรจะมีวิถีที่มีความจำเริญมีความผาสุกมากกว่าที่เป็นอยู่ ถ้าหากว่าสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ถูกสร้างขึ้นมาหรือว่าเรามีความตั้งใจจริงในการที่จะแก้ปัญหา ผมเข้าใจว่าสังคมในจังหวัดชายแดนใต้ก็น่าที่จะดีกว่านี้เยอะเลยทีเดียว ความพยายาม ในการที่จะมีคณะกรรมการพูดคุยในเรื่องของสันติภาพก็มีมานาน บางทีก็มีเรื่องของบุคคล แต่แน่นอนเหลือเกินว่าในส่วนตัวผมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือว่า Stakeholder ควรอย่างยิ่ง ในการที่จะอยู่ในกระบวนการของการเจรจา นั่นก็คือคณะกรรมการการเจรจา หลายครั้ง ที่ผ่านมาแม้แต่เรื่องที่ไปคุยเรื่องอะไร อย่าว่าแต่ประชาชนในประเทศเลย ประชาชนซึ่งอยู่ใน พื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปัญหานี้ก็ไม่ทราบว่าเข้าไปคุยกันเรื่องอะไร นับประสาอะไรที่ประชาชน ที่กระทบกับปัญหาเขาโดยตรง เขากระทบกับความรุนแรงต่าง ๆ ก็ควรที่จะได้รับรู้ เพราะฉะนั้นตัวแทนในการที่จะเข้าไปพูดคุยนอกเหนือจากภาครัฐอย่างเดียว ผมว่าบุคคล ที่ควรจะเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างยิ่งก็คือภาคประชาสังคม ภาคประชาชน แล้วก็ผู้ที่มีส่วนได้เสีย กับปัญหาหรือความรุนแรงที่เกิดขึ้น เราไม่ใช่ปล่อยเพียงแค่กลุ่มที่เห็นต่างเท่านั้นพูดคุยกับรัฐ เราควรที่จะสร้างกระบวนการสันติภาพโดยผ่านความเห็นชอบ โดยผ่านการร่วมไม้ร่วมมือ ของทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้เสียในพื้นที่ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นภาคประชาสังคม หรือว่าภาคประชาชนอื่น ๆ ไม่ว่าจะในเรื่องของเยาวชน ของอะไร แล้วก็ที่สำคัญเวลาเราไป พูดคุยอะไรควรจะมีการแถลงว่าขณะนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องอะไร ผลเป็นอย่างไร แล้วต่อไป เราจะพูดถึงเรื่องอะไรแล้วเราหวังผลคืออะไร ไม่เช่นนั้นแล้วคนที่พูดก็พูดไป คนที่ทำก็ทำไป ก็จะเข้าไปในอีหรอบเดิมก็คือคนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงนี้ไม่รับรู้ทั้ง ๆ ที่ตัวเองอยากจะรู้ ทั้ง ๆ ที่ตัวเองอยากจะเสนอความเห็นแต่ก็ไม่ได้ เป็นเรื่องของคนต่างหากไกลตัวจากเขา ทำให้ในกระบวนการสันติภาพที่ผ่านมาจึงไม่ได้มีผลเกิดขึ้นพอสมควร ทั้ง ๆ ที่เราเห็น เป็นอย่างยิ่งว่าสันติภาพเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้ สังคมพหุวัฒนธรรมที่นั่น แม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยผมยกตัวอย่างเพื่อนผมยกตัวอย่าง เมื่อสักครู่ว่าบางทีในความรู้สึกคนอีสานที่ไปช่วยแล้วก็โดนถึงแก่ชีวิต ไปช่วยในทางภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของทหารหรือตำรวจ หรืออะไรก็แล้วแต่ ความรู้สึกเกลียดชัง ต่อ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ต่อพี่น้องที่มีความเชื่อหรือเชื้อชาติที่ต่างกันก็เกิดขึ้น อย่างนี้ทำไม ในพื้นที่จึงต้องกำหนดให้คนเหล่านี้ คนในพื้นที่ทำไมจึงไม่เพิ่มกำลังให้เขาได้มีโอกาส ในการแก้ปัญหาพูดคุยกัน โดยคนในทุกภาคส่วนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในที่ตรงนี้ ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของความมั่นคงภาคใต้ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ไม่ใช่มีเรื่องของความมั่นคงอย่างเดียว ความมั่นคงที่ตรงนี้ถ้าครอบคลุมถึงมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมิติทางด้านเศรษฐกิจ มิติทางด้าน การศึกษา สังคม นั่นก็คือในช่องทางที่จะช่วยกันแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้ แต่ถ้าหากว่า มิติความมั่นคงเพียงโฟกัสไปอยู่จุดเดียวก็คือการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์เข้าไปมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้สถานการณ์ไม่ได้ดีขึ้นมากไปกว่าเดิม ยิ่งตั้งด่านมากขึ้นเท่าไร ที่เรามี ความเชื่อมั่นว่าด่านจะช่วยสกัดกั้นอะไรต่ออะไร แต่มันอยู่ตรงข้ามกับความรู้สึก ของประชาชน ก็สร้างความยากลำบากในการสัญจรไปมาของประชาชน ขอขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านกัณวีร์ สืบแสงครับ

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ขออนุญาตเรียนอย่างนี้ว่าขอความสันติจงประสบแด่ทุกท่าน ขอให้สันติภาพจนประสบ แด่ทุกคน ขอสันติภาพที่จะเกิดขึ้นนี้เป็นเส้นสันติภาพที่กินได้ และสันติภาพนี้จะเป็น สันติภาพที่ยั่งยืนให้กับพี่น้อง ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่ปาตานี ผมขออนุญาต อภิปรายสนับสนุนการเสนอญัตติด่วนเรื่องนี้จากเพื่อนสมาชิกจากพรรคก้าวไกลคุณรอมฎอน คุณกมลศักดิ์พรรคประชาชาติ คุณซาการียาพรรคภูมิใจไทย และคุณศรัณย์พรรคเพื่อไทย ในการที่จะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา ติดตามและส่งเสริมการสร้าง สันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี ขออนุญาต Slide ขึ้นนะครับ

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

อันแรก ผมจะขอเสนอในเรื่อง เกี่ยวกับปัญหาและความสำคัญในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตัวนี้ ความสำคัญตรงนี้ ที่เราเห็นชัดเจนในอดีตที่ผ่านมา ตั้งแต่อดีตนะครับ ไม่ใช่แค่ ๑๙ ปีที่ผ่านมา อดีตจนถึง ปัจจุบันนี้การแก้ไขปัญหาไม่ได้แก้ไขปัญหาที่รากเหง้าแห่งปัญหา หลาย ๆ ครั้งมีคนถามว่า เราต่อสู้กับอะไรอยู่ เราต่อสู้กับกลุ่มใดอยู่ ผมขออนุญาตยืนยันอย่างนี้ว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับ กลุ่มที่มีการก่อความรุนแรงใด ๆ ทั้งนั้น เราต่อสู้กับการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ของพี่น้องประชาชน เราต่อสู้กับการปิดกั้นพื้นที่สาธารณะที่ทำให้พี่น้องประชาชนไม่สามารถ มีพื้นที่ที่จะแสดงออกได้ในพื้นที่ ทำให้การมีอัตลักษณ์ของคนพี่น้องในพื้นที่นั้นโดนกดทับ อย่างยาวนาน อันที่ ๒ การจัดตั้งสมมุติฐานและแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ที่ผ่านมาไม่ได้มองถึงรากเหง้าแห่งปัญหาตรงนี้ เลยมองเพียงแค่ว่าปัญหาตรงนี้เป็นแค่ปัญหา ในเชิงบริบทเชิงพื้นที่ ปัญหาเกี่ยวข้องกับความมั่นคง เพราะฉะนั้นเงินงบประมาณต่าง ๆ ที่ผ่านมา ๑๙ ปี เราเห็นแล้วว่าเงิน ๕๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาทได้ลงไปในการแก้ไขปัญหา ในเชิงความมั่นคง ความพยายามในการทำให้จำนวนความรุนแรงลดน้อยถอยลง อันนี้ เป็นการตั้งสมมติฐานและสมการในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือปาตานีตรงนี้ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง เพราะฉะนั้นเราจำเป็นที่จะต้องตั้งสมการใหม่ เราจำเป็นจะต้องตั้งสมมติฐานใหม่ เพราะฉะนั้นการศึกษาแนวทางวิธีการพิจารณาการแก้ไข ปัญหาการสร้างสันติภาพที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ปาตานีตรงนี้จำเป็นต้องมีการพิจารณา และทบทวนอย่างเร่งด่วน ต้องขอขอบคุณครับเพื่อนสมาชิกทั้ง ๔ พรรคการเมืองในการที่ เสนอการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรงนี้

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขอ Slide ถัดไป ทางตัวผมเอง พรรคเป็นธรรมเราได้มีข้อเสนอในการแก้ไข ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือการนำมาซึ่งสันติภาพแบบยั่งยืนที่เกิดขึ้น เราเสนอ ในเรื่อง ๓ ขา แต่ข้อเสนอตรงนี้จำเป็นต้องนำเข้าไปมีการวิเคราะห์พิจารณาในคณะกรรมาธิการ วิสามัญตรงนี้อย่างตรงไปตรงมา และรวมถึงการพิจารณาอย่างที่ทำให้ทุกท่านสามารถ ตกผลึกเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลต่อปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ได้ อันแรก เราทราบดี ทุกท่านทราบดีว่าปัญหาตรงนี้ ๑๙ ปีที่ผ่านมา สส. ในพื้นที่ อย่างเดียวคงไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ เนื่องจากว่าเงิน ๕๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ที่ลงไปแล้วเป็นเงินของพี่น้องประชาชน เป็นเม็ดเงินที่มาจากภาษีอากรพี่น้องประชาชน ทั้งประเทศ ๕๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาทที่ลงไปนี้ ทำไมเราถึงไม่ทราบ ทำไมสภานี้ถึงไม่มีการพูดคุยกันว่าคุณไปทำอะไร การพูดคุยสันติสุข ที่คุณได้พูดคุยกันมาคุณพูดคุยอะไรบ้าง คุณทำอะไรกันบ้าง คน Deal อะไรกันบ้างเราไม่ทราบ พี่น้องในประเทศไทยยังไม่ทราบว่าการแก้ไขปัญหาที่คุณจะสามารถนำมาเสนอมันคืออะไร เพราะฉะนั้นต้องยกระดับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือปาตานีให้เป็น วาระแห่งชาติให้ได้ สส. ทุกท่านในสภาจำเป็นต้องพูดถึง สส. ทุกท่านในที่นี้จำเป็นต้อง วิเคราะห์ถึงปัญหา และจำเป็นต้องวิเคราะห์ถึงแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมด้วยกัน เพราะฉะนั้น อันแรกต้องยกระดับอันนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติให้ได้ การสร้าง การบัญญัติกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ. หรือพระราชกำหนดเกี่ยวกับการสร้างสันติภาพต้องมี การพูดคุย ต้องหารือในคณะกรรมาธิการวิสามัญตรงนี้ว่าเราจำเป็นไหม ที่จะต้องมี พระราชบัญญัติ ต้องมีกฎหมายรองรับ หรือจะเป็นพระราชกำหนดในการสร้างสันติภาพ ให้เกิดขึ้น การพูดคุยสันติสุขที่เกิดขึ้นมาเป็นสิบ ๆ ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ผมทำงานในเวทีระหว่าง ประเทศ ช่วยเหลือในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น ยังไม่เคยเห็นครับว่าจะมีทหารนั่งคุยกับ ทหารและจะสร้างสันติภาพได้ สันติภาพไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปลายกระบอกปืน สันติภาพจำเป็นต้องมีการพูดคุยโดยใช้ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ที่เกิดจากความรุนแรงต่าง ๆ เข้ามาเป็นผู้นำ แล้วให้รัฐบาลกับฝ่ายคู่เจรจามานั่งพูดคุยกันว่า การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นยกระดับให้ได้ ในการที่จะทำให้ เป็นวาระแห่งชาติ ปรับในการพูดคุยสันติสุขนี้ให้เป็นพูดคุยการเจรจาสันติภาพ และให้ภาคประชาสังคม ภาคประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วมในการพูดคุยตรงนี้

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องเกี่ยวกับการพูดคุยอีกอย่างหนึ่งในเวทีระหว่างประเทศผมก็ยังไม่เคยเห็น ว่ามีการพูดคุยกันในพื้นที่อื่น จำเป็นครับ ถ้าคุณมีปัญหาในพื้นที่ตรงนี้คุณต้องมาพูดคุยเจรจา สันติภาพในพื้นที่ตรงนี้ ให้พี่น้องประชาชนผู้ได้รับผลกระทบรับทราบว่าเกิดอะไรขึ้นเอามา คุยที่นี่ เพราะฉะนั้นฝ่ายคู่เจรจาจำเป็นต้องได้รับ Immunity หรือการคุ้มกัน หากจะมี การพูดคุยในพื้นที่ประเทศไทย ในพื้นที่ที่จะเกิดเหตุความมั่นคงเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นต้องมา คุยที่นี่ คนฝ่ายเจรจาจำเป็นต้องได้รับความคุ้มครอง มีการพูดคุยกันเข้ามาในประเทศไทย อันนี้จะเป็นการยกระดับการแก้ไขปัญหาให้เป็นวาระแห่งชาติ

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขาที่ ๒ การแก้ไขปัญหาที่รากเหง้า ก็คือปัญหาที่รากเหง้าคือการปิดกดทับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการที่จะปิดปากพี่น้องประชาชน พื้นที่สาธารณะที่ผู้คนจะสามารถแสดงออกได้ จำเป็นต้องมีการพิจารณายกเลิกหรือแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายพิเศษต่าง ๆ กฎอัยการศึก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน พ.ร.บ. ความมั่นคง จำเป็นต้องมีการพิจารณายกเลิกให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นมาตราต่าง ๆ ที่ทำให้พี่น้องประชาชน ไม่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๖ มาตรา ๒๑๕ ต้องมีการพิจารณาว่าสามารถที่จะต้องมีการยกเลิกในการที่จะ ไม่ให้พี่น้องประชาชนถูกลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงออกของพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นอันนี้จะเป็นขาที่ ๒

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขาที่ ๓ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบราชการ อันนี้ต้องมีการพูดคุยอย่างลึก ในคณะกรรมาธิการวิสามัญตรงนี้ เรามีทั้ง กอ.รมน. เรามีทั้ง ศอ.บต. เรามีทั้งการปกครอง ส่วนภูมิภาค เรามีทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรามีหลายอย่างทับซ้อนกันขึ้นไป เพราะฉะนั้นต้องมีการพูดคุยศึกษากันในคณะกรรมาธิการวิสามัญตรงนี้

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

อันนี้ก็จะเป็น ๓ ขาถ้าเราสามารถทำได้ ถ้าเราสามารถนำข้อเสนอตรงนี้ เข้าไปพูดคุยในคณะกรรมาธิการวิสามัญ ในการแก้ไขปัญหาและการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นได้ เราจะสามารถตกผลึกแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ปาตานีได้อย่างสัมฤทธิผล ขออนุญาต นำเรียนท่านประธานและฝากไปในการที่จะสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิกในการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญในการพิจารณาเกี่ยวกับการศึกษากระบวนการแก้ไขปัญหา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสุไลมาน บือแนปีแน ครับ

นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม สุไลมาน บือแนปีแน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดยะลา พรรคประชาชาติ ขอความสันติสุขจงเกิดขึ้นแด่มวลมนุษย์ชาติ แล้วก็โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเขตพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมเองเป็นคนหนึ่งที่เข้าชื่อเพื่อที่จะสนับสนุนญัตติ ของเพื่อนสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งของท่านกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ เพื่อให้สภาแห่งนี้ ได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางกระบวนการการสร้างสันติภาพ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนสมาชิกก็ได้ นำเสนอแล้วก็ได้สะท้อนถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น วันนี้หลาย ๆ ตัวเลข เราเกิดความสูญเสีย อย่างมากไม่ว่าจะเป็นชีวิตและทรัพย์สิน เรามีแม่หม้ายหลายคนที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ เรามีเด็กกำพร้ามากมาย เรามีภาคธุรกิจที่ทำธุรกิจแล้วเกิดการเจ๊งเนื่องจากสถานการณ์ ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่เกิดในพื้นที่แห่งนี้จังหวัดยะลา และกว่าครึ่งชีวิตของผม ผมใช้ชีวิต อยู่กับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ตั้งแต่ผมเรียนชั้นมัธยมศึกษาด้วยซ้ำไป ในวันนี้ ผมเองถึงแม้ว่าจะเข้ามาร่ำเรียนในกรุงเทพมหานครจะไปต่อที่ต่างประเทศ แต่สุดท้ายท้ายสุด ที่นี่ก็คือบ้านของผม ผมก็หวังแล้วก็มีความหวังว่าวันหนึ่งพื้นที่แห่งนี้จะต้องสงบสุข ในวันนี้ เราได้รัฐบาลใหม่ ประชาชนในพื้นที่ ผมเองก็มีความคาดหวังจากรัฐบาลพลเรือนว่า จะนำวิธีการแก้ปัญหาในพื้นที่โดยการนำการเมืองมาช่วยแก้ปัญหาให้กับพื้นที่ของเรา ฉะนั้นแล้ววันนี้เนื่องจากประชาชนในพื้นที่มีความหวัง รัฐบาลเองก็ต้องทำให้ความหวัง ความคาดหวังของพี่น้องประชาชนให้เกิดเห็นภาพ ให้มีความมั่นใจว่าพื้นที่แห่งนี้ จะต้องสงบให้ได้ กระบวนการสร้างสันติภาพหรือ Peace Process จำเป็นอย่างยิ่งเหมือนที่ เพื่อนสมาชิกได้พูดหลาย ๆ คนว่าจะต้องมีส่วนร่วม Participate ของทุก ๆ ภาคส่วน ไม่ว่า จะเป็นภาคเอกชนก็ดี ภาคการเมืองก็ดี ภาคประชาสังคมก็ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่แห่งนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องให้ความช่วยเหลือกับภาคเอกชน ฉะนั้นแล้วภาคเอกชนก็มีส่วน สำคัญที่จะต้องมาเป็นหนึ่งในกระบวนการพูดคุยหรือว่าหนึ่งในกระบวนการ Peace Process ที่ผมเชื่อว่าควรจะต้องเกิดขึ้น วันนี้บ้านผมเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดยะลา เรามีต้นทุนทางด้านศักยภาพมากมาย ท่านประธานเชื่อไหมว่าเรามีผังเมืองที่ดีที่สุด ในประเทศอยู่ที่ยะลา ติดอันดับโลก อันดับที่ ๒๓ ของโลก แต่ด้วยสถานการณ์ความไม่สงบ ทำให้สิ่งเหล่านี้มันไม่ชัด ถึงแม้ว่าเราจะมีต้นทุนไม่ว่าจะเป็นทางด้านเกษตรกรรมก็ดี เรามีทุเรียนยะลาที่อร่อยที่สุด ผมกล้าพูดได้เลยว่าเป็นทุเรียนที่อร่อยที่สุดในประเทศ ด้วยซ้ำไปเพราะเราเป็นทุเรียนสะเด็ดน้ำ แล้วเรามีความหลากหลาย Multi Culture ทางด้านวัฒนธรรม แต่สิ่งเหล่านี้อย่างที่ผมบอก บางทีเราอาจจะยังขาดในเรื่องของ การ Management เรื่องการบริหารจัดการเรื่องงบประมาณ ทำให้ความรุนแรงมันถูกสื่อ ออกมา ทำให้คนภายนอกไม่กล้าที่จะเข้าไปในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในพื้นที่ของผมเอง เรียนจบมาไม่มีงานทำในพื้นที่ ฉะนั้นแล้วกระบวนการการสร้างสันติภาพเป็นสิ่งที่จำเป็น มันไม่ใช่จำเป็นแค่เฉพาะสำหรับคน ๓ จังหวัดภาคใต้ แต่มันคือเรื่องเดียวกัน มันคือเรื่องของ คนไทยด้วยกัน ประเทศไทยเราเปรียบเสมือนเรือนร่างเดียวกัน คนเชียงใหม่เจ็บเราก็เจ็บด้วย คน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เจ็บ แน่นอนวันนี้เราจะต้องมีความตระหนักร่วมกันว่า สิ่งเหล่านี้มันคือเรื่องของคนทุกคนในประเทศ ผมเองอยู่ในเขตจังหวัดยะลาในเขตเมือง วันนี้ ภาคเอกชนก็บ่นมาหลายเรื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องแหล่งเงินทุน ไม่ว่าจะเป็น Soft loan เอง เมื่อมันมีมาแล้ว แต่วันนี้ทางรัฐบาลก็ยังไม่ได้ให้ความมั่นใจว่ามันจะมีต่อไป เพื่อที่จะดึงดูด เพื่อที่จะยังคงไว้ซึ่งนักธุรกิจยังคงให้อยู่ในพื้นที่ ฉะนั้นแล้วการที่เรามี Soft loan หรือแหล่งเงินทุนที่ทำให้นักธุรกิจในพื้นที่นี้สามารถนำเงินเหล่านี้มาลงทุนในพื้นที่ ควบคู่กับ รัฐบาลเองจะต้องทำ แล้วผมเชื่อว่ารัฐบาลนี้รัฐบาลยุคนี้เป็นรัฐบาลที่เห็นภาพของนักธุรกิจ หรือภาพของการที่จะทำให้เศรษฐกิจบ้านเราดี ฉะนั้นแล้วเศรษฐกิจดีมันต้องดีกันทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่บ้านผมเอง วันนี้ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมหลาย ๆ เรื่อง ในคณะกรรมาธิการก็อาจจะต้องคุยกันเรื่องนี้ว่าจะส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในบ้านผมอย่างไร เพราะว่าวันนี้เรามีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ผมใช้ว่ายัง Virgin ที่สุดในประเทศไทยแล้วกัน เพราะเนื่องจากว่าคนทั่วประเทศได้ชมได้ดูรูปอยากจะไปดู แต่ด้วยความไม่สงบก็ไม่กล้าไป แต่พอไปแล้วเรามีทั้งอาหารที่ดี วันนี้คนมาเลเซียที่ติดอยู่กับ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็เข้ามาเที่ยวในเมืองไทย เข้าใจว่ายอดตัวเลขหลายแสนเป็นล้านคนด้วยซ้ำไป เพื่อมาชม ในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติและมารับประทานอาหาร Halal ที่พื้นที่แห่งนี้ ฉะนั้นแล้ว รัฐบาลเองจะต้องอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวครับ ผมก็เคยหารือในเรื่องของรถไฟ รถไฟรางคู่วันนี้มันไม่ใช่แค่เราจะต้องมองว่าจากกรุงเทพฯ ลงไป วันนี้จะต้องดึงนักท่องเที่ยว จากมาเลเซียขึ้นมา แล้วพื้นที่บ้านผมเป็นพื้นที่จังหวัดยะลาก็ต้องการนักท่องเที่ยวเหมือนกัน ฉะนั้นแล้วรถไฟรางคู่ไม่ใช่ไปสุดที่หาดใหญ่ ไปที่ปาดังเบซาร์ ไม่ใช่ครับ มันจะต้องเริ่มมาจาก ด่านชายแดนที่อยู่ในเขต ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมาเพื่อให้คนมาเลเซียเข้ามาจับจ่าย ใช้สอย เข้ามาท่องเที่ยว และอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวเหล่านี้เพื่อที่จะสร้าง GDP ให้กับคนในพื้นที่ ด้วยเวลาที่จำกัดอาจจะมีอีกหลาย ๆ เวทีที่ได้พูดได้คุยในเรื่องนี้

นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ

สุดท้ายผมหวังเป็นอย่างยิ่งกับรัฐบาลชุดนี้และกับคณะกรรมาธิการชุดนี้ ที่จะไปศึกษาเพื่อให้ครอบคลุมในมิติต่าง ๆ ที่เพื่อนสมาชิกได้นำเสนอเพื่อหาทางออก เพื่อให้ บ้านของผม บ้านเกิดของผมมีความสงบสุขเหมือนที่อื่นบ้าง ขอบคุณมากท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านธิษะณา ชุณหะวัณ ครับ

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพค่ะ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ หรือเขตปทุมวัน เขตสาธร และเขตราชเทวี ดิฉันขออนุญาตนำ Slide ขึ้นค่ะ

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

วันนี้ดิฉันมาพูดอภิปราย เพื่อที่จะสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิกคุณรอมฎอน ปันจอร์ เรื่องความขัดแย้ง ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

๑. คือดิฉันคิดว่าปัญหาของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีคำว่า ความมั่นคง เข้ามาเป็นหลัก ประเด็นนี้มีมิติในความมั่นคงที่มีมิติที่ไม่ได้สร้างความปลอดภัยหรือว่า ภยันตราย แต่ว่ารัฐมิได้คำนึงถึงประเด็นการสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนภายในรัฐ ที่มีการสร้างความหวาดกลัวหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับประชาชนในรัฐ ในหลายประเด็นที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งประเด็นการปัญหาละเมิด สิทธิมนุษยชน การคุกคามที่มีทั้งเด็กหรือเยาวชนในพื้นที่อีกด้วย ประเด็นนี้เกิดขึ้นจากรัฐ เปิดช่องในการเอื้อให้เกิดความรุนแรงโดยรัฐ ซึ่งเป็นกฎหมาย ๓ ฉบับที่เปิดทางให้รัฐ และส่วนกลางมีอำนาจควบคุมประชาชน นั่นคือ ๑. พ.ร.บ. กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๕๔๗ ๒. พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ที่เรารู้จักกัน และ ๓. พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยเป็นกฎหมายที่จัดตั้ง เรารู้จักกันในชื่อ กอ.รมน. หรือกองอำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักรที่มีอำนาจบังคับตามกฎหมาย ๓ ฉบับ ได้เพิ่มอำนาจให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ และอำนาจอธิปไตยให้กับกองทัพในการควบคุมพื้นที่

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

๑. พ.ร.บ. กฎอัยการศึกและ พ.ร.ก. ฉุกเฉินให้อำนาจนี้ในการควบคุม หรือจับกุมผู้ต้องสงสัย ตรวจค้นอาคารหรือสถานที่ต่าง ๆ ดังปรากฏในข่าวที่ผ่านมา ในหลายกรณี ตรวจสอบสิ่งพิมพ์ หนังสือหรือเครื่องมือสื่อสาร หรือเรียกบุคคลใดก็ได้เพื่อให้ ข้อมูล มอบเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบได้

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

๒. พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แม้ว่าในตัวกฎหมายนั้น มิได้กำหนดในเรื่องของอำนาจเหมือนกฎหมายพิเศษใน ๒ ฉบับแรก แต่ก็มีปรากฏในมาตรา ๑๕ ซึ่งถ้ามีเหตุการณ์ที่เป็นความไม่สงบแต่เป็นสถานการณ์ที่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศ เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายพิเศษ

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

๓. พ.ร.ก. ฉุกเฉิน กอ.รมน. ก็มีอำนาจเพื่อที่จะยับยั้งระงับป้องกัน ปราบปรามและบรรเทาได้

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องปัญหากฎหมายพิเศษดังกล่าวที่ได้อภิปรายไปข้างต้นคือการมอง เรื่องความมั่นคงของรัฐเป็นสำคัญ แต่อย่าลืมว่าการที่รัฐนั้นควบคุมขอบเขตที่มากเกินไป เป็นดาบสองคม หรืออาจเป็นช่องโหว่ต่อการสร้างปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่โดยใช้ ข้ออ้างเรื่องความมั่นคง โดยหลาย ๆ กรณีเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาของกฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจที่มากเกินไปในการบังคับโดยรัฐต่อประชาชน ที่กระทบต่อเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างร้ายแรง อย่างเช่นรายงานจาก Amnesty หรือว่าองค์กรนานาชาติที่ทำเรื่องสิทธิมนุษยชนลักษณะเป็นระบบของการซ้อมทรมาน และปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยอย่างโหดเหี้ยมอำมหิตภายใต้รัฐไทย เป็นผลมาจากกฎหมายบัญญัติ เช่นกฎอัยการศึกนำพลเรือนไปขึ้นศาลทหาร มีการจับกุมนอกศาลหรือจับกุมโดยที่ไม่มีหมายศาล หรือจับกุมโดยพลการ หรือที่เรียกว่า Extrajudicial Arrest การวิสามัญฆาตกรรม หรือว่า Extrajudicial Killing การปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยอย่างโหดเหี้ยมเป็นปกติ ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ที่ประกาศกฎอัยการศึก หรือพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยผลกระทบในพื้นที่บทบัญญัติเหล่านี้ก่อให้เกิดประเด็นปัญหา อาทิเช่น ๑. การเอื้ออำนวย ความสะดวกให้เกิดการซ้อมทรมาน โดยมีกฎหมายป้องกันเจ้าหน้าที่ต่อการดำเนินคดี ที่เจ้าหน้าที่กระทำสิ่งเหล่านี้ ๒. การจับกุมโดยไม่มีหมายศาลอย่างที่ดิฉันได้กล่าวไปข้างต้น และขยายเวลาการคุมขังได้อีก ๓. การปฏิเสธร้องขอไม่ให้ไปเยี่ยมผู้ต้องขังเป็นการส่วนตัว การใช้ศูนย์กักกันอย่างไม่เป็นทางการ และขาดความสม่ำเสมอ เป็นอิสระ และการติดตาม ศูนย์กักกันหรือการตรวจสอบโดยภาครัฐ ปัญหาสำคัญคือเพราะผู้ต้องขังในหลาย ๆ ศูนย์กักกัน กรณีนี้พวกเขาอยู่ที่ไหน และเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นปัญหาของการควบคุมตัวที่เสี่ยงต่อ การถูกละเมิดอย่างมาก เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยอมรับอย่างเป็นทางการว่า สถานกักกันเพียง ๒ แห่งที่ไว้สำหรับผู้ต้องสงสัยในการก่อความไม่สงบ คือค่ายอิงคยุทธบริหาร อยู่ที่จังหวัดปัตตานี และศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติแนวหน้าจังหวัดยะลา ๗ รายงาน ได้รายงานชี้ว่าสถานคุมขังอย่างไม่เป็นทางการมีอย่างน้อย ๒๑ แห่งที่ถูกใช้งาน โดย ๑๑ แห่ง เคยควบคุมผู้ต้องขังหรือพยานของญาติผู้ถูกคุมขัง ซึ่งสัมภาษณ์โดย Amnesty ได้รับรายงาน เกี่ยวกับการทรมานที่ค่ายอิงคยุทธบริหารจำนวนมากในจังหวัดปัตตานี ระบุว่าทางการไทย ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการยุติการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่เหมาะสมในพื้นที่สถานกักกัน ซึ่ง Amnesty ได้รับข้อมูลที่น่าเชื่อถือในจังหวัดนราธิวาสค่ายปิเหล็ง ค่ายเฉพาะกิจ วัดสวนธรรมที่ ๓๙ ถึงกลางปี ๒๕๕๑ ฐานทัพจุฬาภรณ์ ค่ายบางอ้อ ตำรวจภูธรรือเสาะ สถานีในจังหวัดปัตตานีวัดช้างให้ กองพันที่ ๒๔ ค่ายทหารพลากูรของค่ายทหารบก ค่ายบางลาน ศูนย์ประสานงานตำรวจกองทัพบก วัดหลักเมือง ค่าย สภ.อ. หนองจิก ในจังหวัดยะลา โรงเรียนฝึกอบรมตำรวจภูธร ภาค ๙ ค่ายทหารพรานบางส่วนกลาง ค่าย ฉก. ๓๙ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ และค่ายกรมทหารราบที่ ๔๑ ค่ายรัตนรังสรรค์ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วก็ค่ายวิภาวดีรังสิต จากประเด็นดังกล่าวดิฉันขอชี้แจง ดังต่อไปนี้ คือประเด็นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนถูกลดทอนเมื่อกล่าวอ้างถึงภัย ความมั่นคง ในประเด็นปัญหาตรงนี้ดิฉันจึงอยากจะตั้งคำถามในลักษณะที่ว่าความมั่นคงนั้น มีขอบเขตเป็นอย่างไร เนื่องจากในสภาวะปัจจุบันการกล่าวอ้างความมั่นคงดูมีความกว้าง จนเกินไป มีขอบเขตที่กว้างจนเกินไปจนไปรุกล้ำในประเด็นของสิทธิมนุษยชนของประชาชน ในพื้นที่ และในอีกแง่มุมหนึ่งคือสร้างความหวาดกลัวและความไม่ไว้วางใจต่อเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างรุนแรง การคุมขังโดยไม่ทราบสถานะความเป็นอยู่ของผู้ที่ถูกคุมขัง การขยายระยะเวลา คุมขังอย่างไม่มีกำหนด หรือการจับกุมโดยไม่มีหมายศาล จับกุมโดยไม่มีหมายจับ หรือประเด็น เรื่องเกี่ยวกับการซ้อมทรมานในค่ายคุมขังเหล่านี้ที่เป็นการกระทำละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่เป็นธรรม

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

บทเรียนหรือการเปรียบเทียบความยุติธรรมที่เปลี่ยนผ่านหรือที่เรียกว่า Transitional Justice ในประเทศต่าง ๆ ได้มีการนำมาใช้เพื่อตอบสนองการละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างเป็นระบบและแพร่หลาย เป็นการแสวงหาการยอมรับในเรื่องของความเจ็บแค้นของผู้ที่ ตกเป็นเหยื่อเพื่อที่จะนำมาซึ่งความยุติธรรม สันติภาพ และความปรองดองในระบอบประชาธิปไตย ที่พร้อมจะฟื้นฟูสถาบันกับความขัดแย้งและสนับสนุนหลักนิติธรรม ซึ่งคำถามคือระบอบประชาธิปไตยที่เพิ่งเริ่มต้นควรคำนึงถึงการละเมิดสิทธิของประชาชน อย่างร้ายแรงอย่างไร ๓ กลไกหลักตอนนี้จะมี ๑. การพิจารณาคดีหรือการดำเนินคดี ๒. การลืมอดีต ๓. การเลือกจุดกึ่งกลาง แม้ว่าจะไม่ค่อยปฏิบัติทั่วไปก็ตาม และความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยน ผ่านของระบบการปกครองที่เป็นเผด็จการหรือสังคมในช่วงความขัดแย้งที่จะเปลี่ยนไปเป็น ประชาธิปไตยหรือสภาวะปกติ อาทิเช่น ในประเทศแอฟริกาใต้ ก่อนและหลังการแบ่งแยก ผิวสีหรือที่เรียกว่า Apartheid กลไกที่ใช้ในการปรองดองเรียกว่า Truth Commission and Reconciliation ที่ถูกใช้โดย Nelson Mandela ในปี ๒๕๓๘ พร้อมมีการฟื้นฟู รักษา และเยียวยากระบวนการในการจัดให้มีการพิจารณาคดีโดยมีพยานผู้เสียหายทั้ง ๒ ฝ่าย และผู้กระทำผิดของทั้ง ๒ ฝ่าย ในประเทศอาร์เจนตินาก่อนและหลังเผด็จการ Pinochet ในปี ๒๕๑๙-๒๕๒๖ กลไกที่ใช้คือกลไกนำสืบสวนการดำเนินคดีอาญาผ่านการใช้การสืบสวน และการรายงานซึ่งนำไปสู่การพิจารณาคดีของ Punta หรือว่าของผู้ดำรงตำแหน่งทหาร ระดับสูงและกลไกการชดใช้สินไหมทดแทน การตั้งคณะกรรมาธิการผู้สูญหายแห่งชาติ จัดให้มีการสอบสวนรายงานการจับเอกสาร ยกเลิกการนิรโทษกรรมทหาร และผ่านกฎหมาย ค่าชดเชย ในประเทศชิลีกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและทำให้มีการสูญหายภายใต้ การปกครองของ Augusto Pinochet ในระหว่างปี ๒๕๑๖-๒๕๓๓ กลไกที่ใช้ก็คือกลไก การนำสอบสวนและการดำเนินคดีอาญามาใช้ผ่านการสอบสวนและรายงาน หรือที่เรียกว่า Rethink Report แล้วก็กลไกการชดใช้หรือกระบวนการการ Reparation กระบวนการ การก่อตั้งคณะกรรมการเพื่อความจริงและการปรองดอง ตัวอย่างความขัดแย้งที่ติดอาวุธ ในสงครามอิสราเอลและปาเลสไตน์ ถ้าท่านได้ติดตามข่าวในปัจจุบันนี้ ถ้าท่านไม่ใช้กลไก ในการที่จะตามหาความจริงและกระบวนการปรองดอง และการสืบสวนสอบสวน เพื่อนำมาซึ่งความสมานฉันท์และสันติภาพ ท่านจะไม่สามารถยุติความขัดแย้งได้เลย จนปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นปาเลสไตน์มีผู้เสียชีวิตที่เป็นพลเรือนมาแล้วถึง ๒๑,๕๐๐ ราย และสงคราม Kosovo ซึ่งมีตัวเลขผู้สูญเสียที่ใกล้เคียงกับของไทยซึ่งก็คือไปถึง ๘,๖๖๑ คน แต่เขาก็ได้รับการชดเชยสินไหมทดแทนและยุติความขัดแย้งได้ โดย Kosovo Albania ก็ได้ ประกาศอิสรภาพไปในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ แต่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ปัจจุบันมี ผู้เสียชีวิตถึง ๗,๕๒๐ ราย ซึ่งมีความใกล้เคียงกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศ Kosovo แต่ปัญหายังไม่มีท่าทีที่จะยุติและสงครามก็ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ที่มีการโจมตีจากทั้ง ๒ ฝ่าย จากผู้ติดอาวุธที่เป็นฝั่ง Islamic Extremist แล้วก็ฝั่งรัฐที่มีความสูญเสียอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าญัตติของคุณรอมฎอนควรจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษและเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง รวมถึงอาชญากรรมสงคราม และการยุติอาชญากรรมต่อพลเรือนไทย ขอบพระคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสุธรรม แสงประทุม

นายสุธรรม แสงประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม สุธรรม แสงประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย ขอให้สันติสุข และสันติภาพจงเกิดขึ้นแก่พี่น้องประชาชนไทยโดยส่วนรวม วันนี้ผมรู้สึกเป็นเกียรติ ที่ได้มีโอกาสมาปรึกษาพูดคุยถึงปัญหาของประเทศไทยที่สั่งสมหมักหมมมานาน โดยเฉพาะ ปัญหาของพี่น้องคนไทย ผมใช้คำว่า คนไทย ซึ่งอาศัยอยู่ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ เขาเป็นคนไทยมานาน แต่เป็นคนไทยที่อยู่โดยสายตาของคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจเขา ความไม่เข้าใจตรงนี้ได้นำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ อย่างมากมาย จริง ๆ ปัญหาไม่ได้เกิด เมื่อ ๑๙ ปีที่แล้ว ปัญหาเกิดขึ้นสั่งสมมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ผมเลยว่างงานไปนาน ถูกกั้นไม่ให้เข้าสภามา ๑๗ ปี ผมก็ใช้เวลาส่วนใหญ่ของผมไปอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ อ่านบันทึกของบาทหลวงต่าง ๆ ที่เข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก็รู้ว่าปัตตานี ๓ จังหวัด ชายแดนใต้ เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยมายาวนานแล้ว บางครั้งก็ได้รับอิสระตามความแข็งแกร่ง หรืออ่อนแอของรัฐส่วนกลาง บางครั้งในสมัยพระนารายณ์ก็ยังมีกบฏมักกะสันเกิดขึ้น ก็มีปัญหาดีบ้าง ขัดแย้งกันบ้าง บานปลายบ้างเกิดขึ้นมาตลอดเวลา จนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มีมาต่อเนื่อง ผมเองก็ได้มีโอกาสไปรับรู้ปัญหาใหญ่ในปี ๒๕๑๘ ตอนนั้นผมเป็นนิสิต นักศึกษา ได้เกิดการสังหารหมู่ขึ้นมาที่สะพานกอตอ ปัตตานี ปี ๒๕๑๘ เขต ๓ จังหวัด ชายแดนใต้ส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก มีการเข้มงวดกวดขันการเดินทางไปมา ถ้าคนเหล่านี้ถูกกล่าวหาขึ้นโรงขึ้นศาลก็ต้องขึ้นศาลทหาร ซึ่งมีการจำกัดจำเขี่ยสิทธิเสรีภาพ มากมาย ในปี ๒๕๑๘ มีทหารนาวิกโยธินตั้งด่านตรวจ พี่น้องประชาชนเดินทางผ่านด่าน เจรจากันด้วยภาษาที่ไม่เข้าใจ ด้วยวัฒนธรรมที่ไม่เข้าใจ ก็มีการสังหาร ๕-๖ คน แล้วก็ ใช้ดาบปลายปืนแทงเสียชีวิตแล้วโยนลงแม่น้ำ ๑ ใน ๖ คนนั้นเกิดไม่ตาย ชื่อ ซือแม บราเซะ อายุ ๑๑ ปี ได้คลานขึ้นฝั่งแล้วเอาความจริงไปบอกต่อพี่น้องประชาชนใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ จึงมีการลุกฮือขึ้นมาต่อสู้ ปรากฏว่ามีคนโดนระเบิดระหว่างชุมนุมล้มตายร่วม ๑๐ กว่าคน ผมเป็นนิสิตปีที่ ๒ จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปร่วมชุมนุมกับพี่น้อง ประชาชนที่มัสยิดกลางปัตตานี เพราะตอนนั้นมีกลุ่มนักศึกษาธรรมศาสตร์ชื่อว่ากลุ่มสลาตัน ซึ่งเป็นนักกิจกรรม มีท่านอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ท่านมุข สุไลมาน ซึ่งตอนหลังก็มาเป็น นักการเมืองที่ยังมาทำเรื่องนี้ต่อ ผมชุมนุมอยู่กับพี่น้องที่ปัตตานีร่วมเกือบ ๖๐ วัน ข้ามปี คือตั้งแต่ธันวาคมปี ๒๕๑๗ จนมกราคมปี ๒๕๑๘ และหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ประกาศยุบสภาระหว่างชุมนุนอยู่นั้น แต่อย่างไรก็ตามด้วยการชุมนุมก็ได้นำมาสู่ การจับกุมบุคคลที่สังหารพี่น้องประชาชน เป็นทหารนาวิกโยธิน แล้วก็นำมาขึ้นศาล เหตุการณ์ก็ละลายหายไปพร้อมกับเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ที่มีการสังหารหมู่ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อนผมที่ร่วมชุมนุมได้ถูกอุ้มหาย ฆ่าตายไปหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ไม่ว่าเป็นปูยุด ดิงเยอรมัน ซึ่งพี่น้องทุกคนก็รู้จักดี มีการอุ้มหาย มีการฆ่า ต่อเนื่องไปอีกจำนวนมาก ผมเป็นคนใต้ก็จริงแต่เป็นคนพุทธ เป็นคนภาคใต้ตอนบน และตอนกลาง การไปชุมนุมร่วมกันกับพี่น้องประชาชนถึงไปรับรู้ปัญหา รับรู้ทุกข์สุขว่า เหตุการณ์ใน ๓ จังหวัดนั้นมีการถูกกดทับ ย่ำยีความรู้สึก ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ว่ากรณี หะยีสุหลง ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนา เป็นตัวแทนของพี่น้องใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ มีการเรียกร้องความเป็นธรรม เพื่อจะรักษาอัตลักษณ์ของเขา รักษาความเชื่อของเขา รักษา วิถีชีวิตที่ดีงามของเขา แต่หะยีสุหลง ก็ถูกอุ้มหายไปหลังจาก จอมพล ผิณ ชุณหะวัณ ซึ่งเป็น คุณทวดของท่านที่อภิปรายจบไปไม่กี่นาทีนี้ ตอนหลังอาจารย์ไกรศักดิ์จึงทำพิธีขอขมา ในการเยียวยาทางจิตใจต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นครั้งนั้น ท่านประธานที่เคารพครับ เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้คนพุทธอย่างผมถึงไปเข้าใจความเป็นจริง ว่าใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ต้นทุนชีวิตของพี่น้องประชาชนราคาต่ำมาก รัฐเองได้กดทับ สร้างความสับสนให้กับพี่น้องประชาชนส่วนอื่น ไม่เข้าใจเขา ที่จริงเขาเป็นคนไทยส่วนหนึ่ง ที่มีคุณค่า มีเอกลักษณ์ที่ดีงาม หลังจากนั้นผมกลับมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้มีโอกาสเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก็เกิดความรุนแรงเดือนมกราคม ปี ๒๕๔๗ ผมและท่านจาตุรนต์ ฉายแสง เราเป็นรัฐบาล เวลานั้นผมเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้ไปช่วยดูแลสถานศึกษาปอเนาะซึ่งเป็นที่อบรมบ่มเพาะจริยธรรม คุณธรรมให้กับลูกหลานพี่น้องมุสลิม เราได้ไปช่วยให้สถานศึกษาเหล่านี้เป็นที่รองรับ ภาระของบ้านเมืองในวิชาอื่น ทางอื่นด้วย ปรากฏว่าสามารถช่วยเหลือไปได้ ๒๐๐ กว่าแห่ง ผมได้คุยกับท่าน พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง ซึ่งวันนั้นท่านเป็นเลขาธิการ ศอ.บต. และวันนี้ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ท่านบอกว่าที่ไปทำไว้ช่วงนั้นมีประโยชน์มาก ทำให้ สถานศึกษาปอเนาะเป็นที่รองรับภาระของบ้านเมืองและแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เยอะ ตอนเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ผมได้ไปช่วยสถานศึกษาตาดีกา ซึ่งเป็นสถานศึกษาทางศาสนาเบื้องต้นที่ผูกพันกับมัสยิด เพื่อให้คนเหล่านั้นรู้สึกเป็นคนไทย เหมือนเรา เราเคารพในเอกลักษณ์ เคารพในคุณค่าของเขา และเขาจะเป็นต้นทุนที่ดีงาม ให้กับบ้านเมืองถ้าได้รับเกียรติได้ศักดิ์ศรี วันนี้ปัญหาของ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ก็คลี่คลายบ้าง ประทุบ้าง ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เพราะเป็นการให้ยาที่ไม่ถูกวิธี เป็นการให้วิธีการแก้ปัญหา ที่เพิ่มต้นทุนให้กับคนเหล่านั้น ในเวลาเดียวกันเราสูญสิ้นชีวิตของประชาชนไปร่วม ๑๐,๐๐๐ คน งบประมาณเกือบล้านล้านบาท สิ่งเหล่านี้เป็นภาระของบ้านเมือง เป็นภาระของพวกเราทุกคน เพราะฉะนั้นการที่เพื่อนจากพรรคการเมืองทั้งหลายได้เสนอญัตติเพื่อให้ตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญไปศึกษาหาข้อเท็จจริง หาทางออก หาทางให้สันติภาพเกิดขึ้น ผมจึงเห็นด้วยอย่างยิ่ง และเชื่อว่าคณะกรรมาธิการชุดนี้ซึ่งประกอบด้วยพรรคการเมืองหลายฝ่าย และพรรคของผม ก็จะส่งท่านจาตุรนต์ ฉายแสง ซึ่งเคยเป็นรองนายกรัฐมนตรีไปรับรู้ ตั้งกรรมการอิสระขึ้นมา เพื่อจะหาทางออกแก้ไข จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำของขวัญที่เรียกว่าทางออกหรือสันติภาพ มาสู่สภาแห่งนี้และมาสู่ประชาชนไทยโดยส่วนรวม ฉะนั้นผมหวังอย่างยิ่งว่าคณะกรรมาธิการ ชุดนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการไปหาทางออก ค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเพื่อจะหาทางเยียวยาแก้ไข หาทางออกที่ถาวรให้เกิดขึ้นกับบ้านเมืองเรา ขอสันติสุขจงมีแก่ทุกท่านอีกครั้งหนึ่ง ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ เชิญท่านพนิดา มงคลสวัสดิ์ ครับ

นางสาวพนิดา มงคลสวัสดิ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันขออนุญาตมีส่วนร่วมในการอภิปรายญัตติเรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา ติดตาม และส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดน ภาคใต้/ปาตานี หากเราจะพูดถึงสันติภาพชายแดนใต้ ส่วนใหญ่เรามักจะพูดถึงมิติของ ความมั่นคงแห่งรัฐเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วยังมีอีกหลายปัญหาที่พี่น้อง ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้กำลังเผชิญหน้าอย่างยากลำบาก และเราในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถ มองข้ามได้นั่นก็คือปัญหาปากท้อง การขาดความมั่นคงทางรายได้ ความเหลื่อมล้ำที่กำลัง เกิดขึ้นอย่างรุนแรงไม่แพ้ด้านอื่น ๆ เลย จากข้อมูลของสภาพัฒน์ทำให้เห็นความรุนแรง ในระดับที่ว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้ติด ๑๐ อันดับจังหวัดแรกที่มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุด หรือมีความยากจนหนาแน่นสูงที่สุดในประเทศ โดยเฉพาะปัตตานีที่มีคนจนมากที่สุด ในประเทศถึง ๓ ปีซ้อน มีสัดส่วนสูงถึง ๔๓.๙๖ เปอร์เซ็นต์ เกือบครึ่งของประชากร ทั้งจังหวัดเป็นผู้ยากจน ทั้ง ๆ ที่ตัวเลขนี้เมื่อเทียบกับ ๓ ปีก่อนที่จะเกิดความไม่สงบในพื้นที่นี้ในปี ๒๕๔๗ ไม่ได้อยู่ใน บัญชียากจนอันดับต้น ๆ เช่นนี้แต่อย่างใด สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจปากท้องในพื้นที่ เป็นปัญหาระดับโครงสร้างที่รัฐต้องเร่งให้ความสำคัญ การขาดตลาดแรงงานที่ใหญ่พอจะ รองรับกับคนรุ่นใหม่รวมถึงประชากรในวัยทำงานกว่า ๑ ล้านคน เด็กเรียนจบแล้วไม่มีงานทำ เกิดภาวะสมองไหลออกจากพื้นที่หมด ภาคเกษตรกรรมก็ไม่สามารถทำรายได้ให้พี่น้อง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่หลุดพ้นกับเส้นความยากจนได้ อีกทั้งปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน การไม่มีเอกสารสิทธิ มิหนำซ้ำในบางพื้นที่ก็กำลังจะถูกประกาศเป็นพื้นที่อุทยานอีก แน่นอนในกรณีเช่นนี้หากพี่น้องประชาชนจะตั้งคำถามต่อรัฐหรือรวมตัวกันเรียกร้อง เพื่อความเป็นธรรมในสิทธิที่ดินทำกินนั้นก็ทำได้ยากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศนี้อย่างมาก เพราะถูกฝ่ายความมั่นคงกำกับด้วยกฎหมายพิเศษที่กระทบกับสิทธิในการรวมกลุ่ม และเสรีภาพในการแสดงออก เมื่อเรามามองดูการบริหารสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนใต้ ที่ทุกโครงการจะมีนามสกุลต่อท้ายว่าเพื่อความมั่นคง จะพบว่าตลอด ๒๐ ปีที่ผ่านมาเราใช้ งบประมาณไปกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท มีกฎหมายพิเศษถึง ๓ ฉบับ ทั้ง พ.ร.ก. ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก พ.ร.บ. ความมั่นคง สูญเสียไปกว่า ๔,๐๐๐ ชีวิต บาดเจ็บไปกว่า ๑๐,๐๐๐ คน ทั้งหมดนี้เป็นต้นทุนที่เราต้องจ่ายแบบไม่สามารถประเมินได้อย่างเป็นรูปธรรม กระบวนการ การสร้างสันติภาพที่เดินหน้ามากว่า ๒๐ ปีนี้มีความคืบหน้าไปมากแค่ไหนแล้ว คุ้มค่าหรือไม่ ที่เราจะดำเนินยุทธศาสตร์เดิมต่อไป สิ่งหนึ่งที่ทำให้ดิฉันต้องลุกขึ้นมาตั้งคำถามคือตัวเลข งบประมาณกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาทที่ดิฉันเพิ่งกล่าวถึงไปเมื่อสักครู่ ก่อให้เกิดตัวเลข ความยากจนสูงที่สุดในประเทศนี้ได้อย่างไร งบประมาณนี้ถูกใช้ไปยึดโยงกับความต้องการ ของพี่น้องประชาชนหรือไม่ ในเมื่อข้อมูลสำคัญที่ดิฉันค้นพบชี้ว่าภายหลังรัฐประหารของ คณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ คสช. ในปี ๒๕๕๗ งบประมาณชายแดนใต้มุ่งเน้นการให้ ความสำคัญกับงานด้านความมั่นคงและโครงการก่อสร้าง หากแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ การศึกษา สวัสดิการ การพัฒนาอาชีพ และรายได้เลย เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คุณรอมฎอน ปันจอร์ ผู้เสนอญัตตินี้เคยให้ความเห็นที่น่าสนใจว่าชายแดนใต้คือสะพาน ไม่ใช่กำแพง เรามองเห็นโอกาสที่ชายแดนใต้จะเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากกว่านี้ เรามี ศักยภาพที่จะเชื่อมต่อข้ามภาษา ข้ามวัฒนธรรม หากไม่อยู่ภายใต้การกำกับทิศทางของ ฝ่ายความมั่นคง สิ่งนี้กระตุ้นเตือนให้เราเห็นถึงโอกาสมากกว่าข้อจำกัดที่เราเห็นมาตลอด เพราะเรามีทั้งความร่ำรวยทางวัฒนธรรม ภาษา ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่พร้อมจะเปิดพื้นที่และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ที่จะสามารถเพิ่มรายได้ต่อหัวประชากร หยุดการส่งต่อความจนรุ่นสู่รุ่นทำให้ชีวิตพี่น้อง ประชาชนดีกว่านี้ สิ่งนี้เน้นย้ำคำนี้ชัดเจนมาก ๆ ว่าปากท้องทุกคนจะอิ่มได้มากกว่านี้หากเรา มีสันติภาพ สุดท้ายนี้ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐสภาแห่งนี้จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญ ในการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ในมิติใหม่ ๆ ที่มุ่งเน้นเอาผลประโยชน์สูงสุดของ พี่น้องประชาชนเป็นที่ตั้ง ยกระดับคุณภาพชีวิตพี่น้องชายแดนใต้ในทุก ๆ ด้าน คำนึงถึง ปากท้องก่อน ลดอำนาจทางการทหารลง ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ เปิดพื้นที่ทางการเมือง ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และดิฉันจึงขอสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญศึกษาและติดตามการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ในการกำหนดอนาคตของตัวเองในทุกมิติผ่านการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อแสวงหา ทางออกร่วมกันด้วยฉันทามติของทุกฝ่าย ในฐานะที่พวกเราทุกคนเป็นผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนของทุกกลุ่มความคิด ความเชื่อ ที่จะมองเห็นทุกโอกาสและความเป็นไปได้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการสร้างสันติภาพชายแดนใต้อย่างแท้จริง ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านอามินทร์ มะยูโซ๊ะ ครับ

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ นราธิวาส ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เขต ๒ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อยู่ในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอร่วมอภิปราย ญัตติด่วนปัญหาในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ทางเพื่อนสมาชิกได้เสนอเข้ามา ผมใช้ เวลาไม่มากเพราะปัญหาหลัก ๆ ก็คือความเหลื่อมล้ำที่ทุก ๆ รัฐบาลพยายามแก้ไข และใช้ งบประมาณมากมายมหาศาลแต่ก็ยังเหมือนงมเข็มอยู่ในทะเล เพราะขาดความจริงใจ ทำงาน คนละทิศคนละทาง ทำงานซ้ำซ้อน วนเวียนอยู่ที่เดิม เกิดเหตุทีหนึ่งก็กลับมาเริ่มใหม่ ทุก ๆ ครั้ง ที่ผมอยากจะสะท้อนปัญหา คือความไม่ต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหา เช่นผู้ปฏิบัติงานราชการ ระดับสูงส่วนใหญ่ย้ายเข้ามาภาคใต้เพียงเพื่อเป็นทางผ่าน ที่ผ่านมาหลาย ๆ ปีข้าราชการ ท้องถิ่นย้ายเข้ามาเพื่อเอาอายุราชการทวีคูณ พอได้หนำใจก็ย้ายออกไป มันเลยเกิดความไม่ต่อเนื่อง ในการสานต่อการแก้ไขปัญหา เพราะระยะเวลาสั้น ๆ ไม่สามารถเข้าใจบริบทของคนในพื้นที่ ได้อย่างถ่องแท้ ดังนั้นข้าราชการทุกคนที่จะเข้ามาทำงานใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ควรจะมี ระยะเวลาการทำงานที่เหมาะสม มีกรอบการทำงานที่ชัดเจน ไม่เอาแล้วย้ายเข้ามาปีเดียว เพื่อเกษียณ

นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ นราธิวาส ต้นฉบับ

อีกเรื่องคือความจริงใจในการหาทางออกใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดนราธิวาสเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นพื้นที่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา ภายใต้กฎหมาย และการบริหารจัดการที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ออกกฎหมายที่ค่อนข้างมี ความเสรี การให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ แก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่พี่น้องที่นี่ กลับไม่ได้รู้สึกพิเศษแต่อย่างใด หรือมีเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้นที่มีความรู้สึกพิเศษ ก่อนที่เราจะ เจอกับภัย COVID-19 พื้นที่ชายแดนไม่ว่าจะเป็นด่านสุไหงโก-ลก ตากใบหรือแม้แต่เบตง เคยเป็นเมืองแห่งความสุข การค้าดี เศรษฐกิจดี และเห็นได้ชัดว่าเศรษฐกิจในพื้นที่จะดี หรือไม่ดีล้วนขึ้นอยู่กับการค้าขายระหว่างประเทศ แต่หลังจากที่เราผ่านภัยโควิดมาได้ ภาครัฐได้ใช้วิธีการหักดิบในหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะการควบคุมการเข้าออกของ นักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของยานพาหนะ ขอเถอะ ขอทางกรมศุลกากร ตำรวจ ทหาร ร่วมกับท้องที่ท้องถิ่น ผู้ประกอบการ และพี่น้องประชาชนร่วมกันหาทางออก อย่างจริงจัง และอย่าใช้ช่องว่างตรงนี้เอาเปรียบชาวบ้านตาดำ ๆ เรื่องนี้ต้องคุยกันยาว เรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ ดังนั้นผมเห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ นี่จะเป็น ครั้งแรกในการแก้ไขปัญหาอย่างจริง ๆ จัง ๆ เสียทีครับ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสรรเพชญ บุญญามณี ครับ

นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสรรเพชญ บุญญามณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กระผมขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายสนับสนุนญัตติเพื่อศึกษาติดตามและส่งเสริมการสร้าง สันติภาพใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาเรื่องความขัดแย้งใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เราต้องยอมรับว่าเป็นปัญหาที่สะสมมานานกว่า ๒๐ ปี นับตั้งแต่เสียงปืนลั่นออกมา เมื่อปี ๒๕๔๗ จวบจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ต่าง ๆ ก็ยังไม่ได้ทุเลาเบาบางลงแต่อย่างใด หนำซ้ำเหตุการณ์ล่าสุดที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเหตุระเบิดที่อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บหลายราย ยังไม่นับรวมกับอดีตที่ผ่านมากว่า ๑๙ ปี มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๗,๕๒๐ คน มีผู้สูญหาย มีผู้บาดเจ็บ มีผู้ล้มตาย ท่ามกลางความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้น แน่นอนที่สุดผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ๓ จังหวัด ๓ จังหวัดของเราเสียโอกาสในการพัฒนาไปเป็นอย่างมาก กระผมคิดว่าโอกาสนี้เป็นโอกาส อันดีที่เราจะได้มีการศึกษาเรื่องนี้ แต่ผมขอท่านประธานว่าขอให้การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้รอบนี้ผมขอให้เป็นครั้งสุดท้ายเสียที เพราะผมเชื่อว่าทุกสภาที่ผ่านมาก็มีการตั้งประเด็นศึกษาเรื่องเกี่ยวกับ ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ ผมขอให้ท่านตั้งใจศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังแล้วก็รอบด้านทุกมิติ ต้องให้ความเป็นธรรม กับทุกภาคส่วน กระผมขอหยิบตัวอย่างการศึกษาที่เขาเรียกว่า Peace Survey ซึ่งเป็นผลการศึกษา ความคิดเห็นของประชาชนต่อกระบวนการการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเครือข่าย ๑๕ องค์กรที่ร่วมมือกันทำการศึกษานี้ ได้ศึกษาทั้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา นักกิจกรรมสังคม ประชาชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องต่างให้ข้อมูลที่สะท้อนความคิด ความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนใน ๓ จังหวัด การศึกษาที่ว่านี้เขาเสนออะไร ข้อสังเกตหนึ่ง ที่น่าสนใจก็คือผู้นำศาสนาและประชาชนลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และสำคัญที่สุดต่อการสร้างสันติภาพในพื้นที่นั้นคือรัฐบาล และทั้ง ๒ กลุ่ม ความคิดเห็น ตรงกันอีกว่าหากต้องการให้กระบวนการพูดคุยประสบความสำเร็จจำเป็นต้องให้ผู้นำศาสนา และอุสตาซเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นกรรมาธิการวิสามัญ ผมก็ขอให้ข้อสังเกตไว้ว่าเป็น ข้อสังเกตที่น่าสนใจและท่านควรจะให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้ด้วย

นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือข้อเสนอด้านการปกครอง ซึ่งประชาชนทั่วไป และผู้นำทางความคิดส่วนใหญ่ต่างเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องพูดคุยกันถึงเรื่องรูปแบบ การปกครองในพื้นที่หากต้องการจะแก้ไขปัญหาระยะยาว สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นคืออะไรครับ สิ่งที่กำลังสะท้อนบอกว่าประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการให้มีการแบ่งแยกดินแดน เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังอยากเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย สิ่งนี้คือสิ่งที่ คณะกรรมาธิการวิสามัญท่านต้องตั้งหลักให้ชัดและตั้งหลักให้มั่น และชัดเจนว่าจะไม่มี การเสนอเรื่องการแบ่งแยกดินแดนเพื่อขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และที่สำคัญไม่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑ คือประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งเดียวจะแบ่งแยกมิได้

นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ อีก ๑ ประการที่ผมไม่พูดเลยไม่ได้ก็คือเรื่องของ การกระจายอำนาจ เพราะการศึกษาพบว่าประชาชนส่วนใหญ่อยากให้มีการกระจายอำนาจ มากขึ้นในรูปแบบพิเศษที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่ นี่คือสิ่งที่พี่น้องประชาชนสะท้อนผ่าน ผลสำรวจการศึกษาของ ๑๕ องค์กร สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่ ความยุติธรรมไม่ใช่เฉพาะในมิติของกฎหมายเท่านั้น เพราะความยุติธรรมในทางกฎหมาย เป็นบรรทัดฐานที่อารยประเทศพึงมี รัฐบาลต้องทำให้คนในพื้นที่ไม่รู้สึกว่าเขาโดนเลือกปฏิบัติ และกรณีการอุ้มฆ่าเหมือนในอดีตที่ผ่านมาตอนนี้ไม่มีแล้ว ถือได้ว่าที่ผ่านมาเราได้แก้ไข ปัญหาเรื่องกฎหมายไปส่วนหนึ่ง แต่นอกเหนือจากสิ่งที่เป็นเรื่องของกฎหมายคือการพัฒนา พื้นที่และการกระจายทรัพยากรต่าง ๆ ที่ควรให้คนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เข้าถึง ความรู้สึกว่าเขาเป็นคนชายขอบในสังคม รวมถึงการเป็นคนชายแดนในประเทศไทย เราควร ให้ความสำคัญกับคนใน ๓ จังหวัดเหมือนกับที่เราให้ความสำคัญกับคนในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในเรื่องของงบประมาณ เพราะในวันนี้รายได้ประชากรต่อหัวของประชากร ใน ๓ จังหวัดท่านประธานทราบไหมครับ เฉลี่ยอยู่ที่ ๖๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี รัฐบาลต้อง อัดฉีดงบประมาณลงไปเพื่อพัฒนาด้านเศรษฐกิจใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจัดสรรที่ดินทำกิน ส่งเสริมให้ใช้พื้นที่นาร้างว่างเปล่าให้สามารถ ปลูกพืชเศรษฐกิจได้ และส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางทางด้านความมั่นคงทางอาหารของโลก เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง เป็นการส่งเสริมการใช้ทรัพยากร หรือต้นทุนที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ ความเป็นธรรมในเรื่องของการศึกษา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เรามีมหาวิทยาลัย ครบทั้ง ๓ จังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ม.อ. ปัตตานี ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ แต่สิ่งที่เราต้องยกระดับคือเราต้องยกระดับ การศึกษาให้สอดคล้องกับสายงาน ให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ เพื่อที่จะให้น้อง ๆ ที่จบ ออกมาใหม่มีงานทำ พอเขามีงานทำ เขามีรายได้ในพื้นที่ ความเสี่ยงที่เขาจะไปยุ่งกับสิ่งต่าง ๆ มันก็อาจจะน้อยลง ผมเลยอยากเห็นสิ่งเหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของ พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ๓ จังหวัด มีงานทำ มีเศรษฐกิจที่ดี หรือที่เขาเรียกว่าสันติภาพกินได้ สุดท้ายครับท่านประธาน ผมหวังว่าคณะกรรมาธิการที่กำลังจะแต่งตั้งขึ้นจะศึกษา แนวทางการแก้ไขปัญหาใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ครอบคลุมทุกมิติ และให้คำนึงถึง ความรู้สึก ผมเน้นว่าให้คำนึงถึงความรู้สึกของคนในพื้นที่ทุกภาคส่วน เพื่อที่จะนำไปสู่ การสร้างสันติภาพและสันติสุขต่อไปในอนาคต กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียน บุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง ยินดีต้อนรับนะครับ ต่อไปเป็นท่านนพพล เหลืองทองนารา ขอสลับลำดับนะครับ ต่อไปเป็นท่านชลธิชา แจ้งเร็ว นะครับ

นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี พรรคก้าวไกล ท่านประธานคะ ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีมาอย่างยาวนานกว่า ๒๐ ปี เราเห็นถึงความพยายามของรัฐในช่วงที่ผ่านมาที่ต้องการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ดังกล่าว แต่สถานการณ์ความขัดแย้งก็ยังคงน่ากังวลยิ่งนัก ดังที่เราเห็นได้จากการใช้ งบประมาณไปกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาทเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง แต่ตัวเลข ของผู้เสียชีวิต ทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐเอง ประชาชน ซึ่งรวมถึงผู้หญิงและเด็กก็ยังมีมากกว่า ๗,๐๐๐ รายด้วยกัน ดิฉันคิดว่าวันนี้เราถึงเวลาแล้วที่จะต้องยอมรับกันอย่างตรงไปตรงมาว่า แนวทางในการดำเนินนโยบายเพื่อสร้างสันติภาพในชายแดนใต้ที่ขาดความชัดเจน ผ่านมุมมองของความมั่นคงแบบเดิม ๆ ไม่อาจใช้ได้อีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้ กฎหมายความมั่นคง หรือการให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่กองทัพ และมีอำนาจพิเศษ ตามกฎหมายความมั่นคงอีกหลายฉบับซึ่งขาดกลไกของการตรวจสอบถ่วงดุลที่มี ประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นการเปิดช่องที่ไม่เอื้อต่อการสร้างสันติภาพ แล้วก็ที่สำคัญ นำไปสู่การเปิดช่องให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขนานใหญ่ในพื้นที่ เช่น การควบคุมตัว โดยพลการ การเสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัว การซ้อมทรมาน การสังหาร นอกกระบวนการยุติธรรมและการเลือกปฏิบัติ เช่น การตรวจ DNA หรือการที่นักเคลื่อนไหว เพื่ออัตลักษณ์มลายูถูกเรียกไปพบ ถูกเรียกไปกดดันเพื่อให้ยุติการทำกิจกรรมรณรงค์ต่าง ๆ ในพื้นที่ของพวกเขา จากรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและกระบวนการสันติภาพ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมาโดยกลุ่มด้วยใจพบว่าการทรมานยังคงเกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการทรมานที่เปลี่ยนไป ไปสู่รูปแบบของการทรมาน ทางด้านจิตใจ จากการที่กลุ่มด้วยใจสัมภาษณ์ผู้ที่ถูกคุมขังกว่า ๔๐ คน เราพบว่ามีอย่างน้อย ถึง ๑๐ คนด้วยกันที่มีประสบการณ์ของการถูกกระทำทรมานและปฏิบัติการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และมีการวิสามัญฆาตกรรมสูงถึง ๑๘ คนในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เอง ก็ไม่มีการเจรจาก่อนการปะทะ ดังนั้นยังรวมไปถึงการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกษา และ พ.ร.ก. ฉุกเฉินอีกกว่า ๑๕๘ คน และเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ก็คือกรณี ของพนักงานบริษัทผู้ให้บริการ Internet แห่งหนึ่งได้เหยียบระเบิดจนขาขาดแล้วก็เสียชีวิต ในเวลาต่อมา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือความไม่ชัดเจนของรัฐบาลในการออกมาชี้แจงว่าจะมี การตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างไร จะมีกระบวนการในการเยียวยาให้กับผู้ที่เสียชีวิต แล้วก็ครอบครัวของเขาอย่างไร สิ่งเหล่านี้แน่นอนว่ายิ่งส่งผลให้ความรุนแรงในแง่ของ ความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่มีเพิ่มมากขึ้น และสิ่งเหล่านี้ก็แน่นอนอีกเช่นเดียวกันว่าจะส่งผลต่อความไว้วางใจของประชาชนในพื้นที่ ต่อกระบวนการสร้างสันติภาพด้วย ดิฉันเชื่อมั่นว่ารากฐานของการสร้างสันติภาพ ที่แท้จริงก็คือการที่รัฐเองจะต้องเคารพในหลักการสิทธิมนุษยชน ซึ่งนั่นรวมไปถึงการเปิด พื้นที่เพื่อให้มีส่วนร่วมแล้วก็การตรวจสอบทั้งจากรัฐสภาเอง แล้วก็รวมไปถึงภาคประชาชน อีกด้วย อีกทั้งยังจะต้องจริงจังกับการค้นหาความจริง ซึ่งที่ผ่านมาดิฉันทราบมาว่ามีการตั้ง คณะกรรมการค้นหาความจริงขึ้นโดยหน่วยงานความมั่นคง แต่ว่าอย่างไรก็ตามกระบวนการ ค้นหาความจริงนี้ก็ยังขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน แล้วก็ที่สำคัญคือไม่มีการเปิดเผย ผลการรายงานข้อเท็จจริงที่ได้มีการตรวจสอบไปแล้วต่อสาธารณะ

นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันในการส่งเสริมให้กระบวนการสันติภาพเกิดขึ้น ได้จริงท่ามกลางความขัดแย้งที่รุนแรงแล้วก็การละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงในพื้นที่ ชายแดนใต้ของเรา คือการที่รัฐไทยจะต้องให้ความสำคัญกับการเยียวยา ซึ่งที่ผ่านมา เราต้องยอมรับกันตามตรงว่าการเยียวยาของรัฐไทยมักจะไปมุ่งเน้นแค่เพียงการเยียวยา ด้วยตัวเงิน แต่ดิฉันกลับมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงพอ เราทราบกันดีว่าการเยียวยาที่ดีจะช่วย บรรเทาทุกข์ทรมานของเหยื่อและครอบครัวได้ รวมไปถึงการคืนศักดิ์ศรีให้กับเหยื่อ แล้วก็ ที่สำคัญคือการยุติวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด การเยียวยาการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง ตามหลักสากลเองก็มีหลายวิธีการด้วยกัน ทั้งการเยียวยาด้วยตัวเงิน แล้วก็การเยียวยาที่ไม่ใช่ ตัวเงิน ซึ่งวันนี้ดิฉันจะขอพูดในรายละเอียดดังนี้

นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ

ประการแรก ก็คือการค้นหาความจริงต่อเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่เกิดขึ้น

นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ คือการที่เราจะต้องคืนความเป็นธรรมให้กับเหยื่อผ่าน กระบวนการยุติธรรมปกติ สิ่งนี้ก็จะเป็นเรื่องของการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิด แล้วก็ยุติการลอยนวลพ้นผิดในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ

ประการที่ ๓ คือการทำให้คืนสู่สภาพเดิม เช่น การชดเชยด้วยตัวเงิน การชดเชยด้วยการคืนทรัพย์สิน แล้วก็ที่สำคัญที่ดิฉันคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมา พูดถึงกันก็คือการชดเชยความเสียหายทางจิตใจ

นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ

ประการที่ ๔ คือการทำให้พอใจหรือการที่รัฐเองจะต้องยอมรับความผิด แล้วก็มีการขอโทษทางสาธารณะ

นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ

ประการที่ ๕ คือการรักษาความทรงจำร่วมกัน

นางสาวชลธิชา แจ้งเร็ว ปทุมธานี ต้นฉบับ

ประการที่ ๖ ก็คือการป้องกันเพื่อมิให้เหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน เกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการปรับปรุงตัวกฎหมายการปฏิรูปโครงสร้าง การทำงานของรัฐเอง และที่สำคัญก็คือการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมนั่นเอง ดิฉันคาดหวัง เป็นอย่างยิ่งว่าในกระบวนการสร้างสันติภาพที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้จะได้เห็นกระบวนการเยียวยา ที่มีประสิทธิภาพที่มากกว่าแค่ตัวเงิน ดิฉันขอย้ำว่าการสร้างสันติภาพจะต้องคำนึงถึงหลักการ สิทธิมนุษยชน ให้ความสำคัญกับการค้นหาความจริงที่จะเปิดช่องให้เกิดการเยียวยา ที่มากกว่าตัวเงินอย่างที่ดิฉันได้นำเรียนไปก่อนหน้านี้ และที่สำคัญคือการนำผู้กระทำความผิด มาลงโทษและการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นอีกในอนาคต นอกจากนั้น กระบวนการสร้างสันติภาพยังจะต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ทั้งจากรัฐสภาเอง ซึ่งเป็นผู้แทนของราษฎรทุก ๆ คน และที่สำคัญก็คือการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอีกด้วย อันนี้จึงเป็นเหตุผลที่ดิฉันขอสนับสนุนญัตติการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา การสร้างสันติภาพในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของพวกเรา ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านมานพ คีรีภูวดล ครับ

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์ และชนเผ่าพื้นเมือง ผมคิดว่าเป้าหมายของการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญครั้งนี้ พวกเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ผู้เสนอญัตติ และผู้อภิปราย รวมถึงพี่น้องประชาชน ที่ติดตามเราอภิปรายในวันนี้ ผมคิดว่าเป้าหมายสูงสุดก็คือว่าเราต้องการสันติภาพ และสันติสุข ผมคิดว่านี่คือบทบาทของรัฐสภาที่จะทำหน้าที่ในการสร้างพื้นที่ สร้างความปลอดภัยและสร้างเวทีโดยเบื้องต้น สรุปแล้วถ้าหากว่ามันมีรูปแบบแนวทางอย่างไรเราก็เสนอให้ฝ่ายบริหาร ผมคิดว่าวันนี้เรามี พื้นที่แบบนี้เป็นพื้นที่ที่มีความถูกต้องและเหมาะสม เหตุผลอย่างนี้ผมคิดว่าจริง ๆ แล้วผมก็ ได้ทราบข่าวตั้งแต่ผมเป็นเด็ก ๆ ความไม่สงบในภาคใต้ แต่ปี ๒๕๔๗ ผมคิดว่าเป็นประเด็น ที่มีความชัดเจนแล้วก็มีความรุนแรงที่เราทราบมาตลอด ๒๐ ปีที่ผ่านมา เราต้องสูญเสียคน ประมาณไม่ต่ำกว่า ๗,๕๐๐ กว่าคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าพี่น้องประชาชน ทั้งไทยพุทธ ไทยมุสลิม หรือพี่น้องที่อยู่ตรงข้ามกับความคิดของพวกเรา เราต้องสูญเสีย งบประมาณไม่ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาทตลอดเวลา ๒๐ ปี ผมคิดว่านี่คือเหตุผลที่เพียงพอ ที่พวกเราจะใช้พื้นที่ตรงนี้ในการสนทนาในการเปิดพื้นที่ให้มีกลไกในการคุยกัน หลายคน บอกว่าเป็นความขัดแย้งในทางประวัติศาสตร์ ทางความเชื่อ หลายคนก็บอกว่าเป็น ความขัดแย้งที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่มีอำนาจในทางกฎหมายหรืออำนาจ นอกกฎหมาย หลายคนก็บอกว่าเป็นเรื่องของความขัดแย้งเรื่องการแบ่งแยกดินแดน ผมคิดว่าทั้งหมดที่เป็นประเด็นข้อสงสัยเหล่านี้พื้นที่รัฐสภาควรจะเป็นพื้นที่ในการออกมา พูดคุยและสื่อสาร การที่พูดคนละครั้ง พูดคนละที พูดคนละมุมจะเป็นพื้นที่ที่จะนำไปสู่ ความเข้าใจที่มีความคลาดเคลื่อนและแตกต่างออกไป อันนี้คือเหตุผลที่ผมคิดว่า มีความสำคัญ ผมคิดว่ารัฐสภาแห่งนี้ไม่ควรปล่อยให้ผู้ใดจะต้องสูญเสียชีวิตจากความรุนแรง ความเข้าใจผิด ความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้อีกแล้ว ที่ผมเสนอและพูดอย่างนี้เพราะว่า พี่น้องชาติพันธุ์ของผมก็สูญเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่ภาคใต้ พี่น้องชาติพันธุ์หลายคนที่อยู่ตาม ชายแดนก็ดี อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นทหารพรานอาสาสมัคร ค่อนข้างที่จะเยอะมากและถูกส่งไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ภาคใต้หลาย ๆ ครั้ง พี่น้องก็ส่งสารมาว่าเราได้สูญเสียพี่น้องของเราจากการทำงานในพื้นที่เพราะฉะนั้นก็คือว่า เราในฐานะพื้นที่รัฐสภาที่จะเปิดให้กับทุกส่วนเข้ามามีพื้นที่ในการสื่อสารเหล่านี้ เราไม่ควร จะให้เกิดการสูญเสียชีวิตที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่ามีความคล้ายคลึง กับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงเหมือนกับพวกผม พี่น้องทางภาคใต้ที่มีพื้นที่ความขัดแย้ง มายาวนาน ผมคิดว่ามีความเหมือนกันอย่างหนึ่งก็คือว่าก็เป็นพี่น้องชาติพันธุ์ที่มี ความแตกต่างทั้งในภาษา ความเชื่อและวิธีปฏิบัติ ตรงนี้ถ้าในทัศนะของผม ผมคิดว่า สังคมไทยเป็นสังคมแบบพหุวัฒนธรรม พหุสังคม เราควรจะหยิบเอาตรงนี้ที่เป็นความแตกต่าง และความหลากหลายเป็นต้นทุนในการพัฒนาประเทศทั้งมิติทางเศรษฐกิจ มิติทางสังคม มิติทางการศึกษา เพื่อนสมาชิกก็อภิปรายไปแล้วว่าทำอย่างไรประเด็นเรื่องของการกระจายอำนาจ หรืออำนาจในการตัดสินใจบางเรื่องทำให้คนพื้นที่กลไกระดับจังหวัดเขามีโอกาสได้ตัดสินใจ ที่จะกำหนดชะตากรรมชีวิตของตัวเอง ผมยกตัวอย่างกรณีเรื่องที่ดินและป่าไม้ พี่น้อง ที่เชียงใหม่ พี่น้องที่แม่ฮ่องสอน พี่น้องภาคเหนือกับพี่น้องทางใต้มีปัญหาเดียวกัน ก็คือกฎหมายทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ประเด็นเรื่องนี้ผมเคยติดตามกรณีการแก้ไขปัญหา เรื่องเทือกเขาบูโด เรื่องนี้ผมคิดว่าวิธีการมองเรื่องสิทธิและวิธีในทางวัฒนธรรม มีความแตกต่าง กรณีเทือกเขาบูโด เรื่องสวนผลไม้กับเรื่องไร่หมุนเวียนแทบจะเป็นเรื่อง เดียวกัน เขามองเรื่องของสิทธิของชุมชนและกระบวนการบริหารโดยชุมชน เพราะฉะนั้น ผมยกตัวอย่างกรณีเรื่องนี้ในประเด็นเรื่องของอำนาจในการบริหารจัดการโดยพื้นที่ และท้องถิ่น ผมคิดว่ากรณีภาคใต้ประเด็นกระจายอำนาจน่าจะเป็นประเด็นหนึ่งที่ คณะกรรมาธิการที่จะเกิดขึ้นในการตั้งครั้งนี้ได้พิจารณาหาทางออก การกระจายอำนาจ ผมคิดว่าหลาย ๆ เรื่องผมคิดว่าอาจจะไม่ได้กระจายทันทีทั้งหมด แต่ว่าเราเริ่มผ่อนคลาย ปลดล็อกทีละเรื่อง ๆ ได้ไหม แล้วค่อยพิสูจน์ให้เห็นว่าอำนาจแล้วก็ศักยภาพของพื้นที่ สามารถทำได้จริง ซึ่งเรื่องนี้หมายถึงที่อื่น ๆ ด้วย แต่ถ้าจะเริ่มต้นที่ทาง ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมคิดว่า เป็นเรื่องหนึ่งที่จะนำไปสู่พื้นที่การเจรจา การพูดคุยหรือพื้นที่ให้เกิดสันติภาพ ผมคิดว่ากลไก ที่สำคัญที่จะนำไปสู่การพูดคุยเหล่านี้นอกจากรัฐสภาแล้ว ผมคิดว่าในส่วนของช่วงที่รัฐสภา มีคณะกรรมาธิการวิสามัญในการพูดคุยเหล่านี้ผมไม่อยากให้ฝ่ายบริหารได้ปล่อยให้มันเป็น พื้นที่สุญญากาศ หลาย ๆ รัฐบาลอาจจะตั้งกลไกมีรูปแบบ มีวิธีการมาบ้างแล้ว ผมคิดว่า อย่างน้อยที่สุดขอให้มันมีกลไกจะเรียกว่าในทางลับก็ได้ จะเรียกว่าในทางเปิดเผยก็ได้ หรือจะมีพื้นที่อื่นใดที่จะนำไปสู่ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ไม่เกิดความรุนแรง ควรจะดำเนินการ โดยเร่งด่วน ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้กรณีความขัดแย้งในต่างประเทศผมคิดว่าถ้าหากว่า ตัวอย่างในต่างประเทศเป็นบทเรียนให้พวกเรา ผมคิดว่าการตั้งเบื้องต้นให้มันมีพื้นที่ระบาย ให้มันมีพื้นที่ทางออก หรือว่าให้มันมีพื้นที่พอที่จะไม่มีการประทุในอันที่เราไม่ต้องการ เกิดขึ้น ผมคิดว่าควรจะดำเนินการ อันนี้หมายถึงว่าในช่วงที่คณะกรรมาธิการได้ศึกษา

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประเด็นต่อไป ในส่วนของคณะกรรมาธิการผมมีข้อเสนออย่างนี้ กรณีต่อเรื่อง การตั้งคณะกรรมาธิการชุดนี้ผมคิดว่าบทบาทของ สส. ในสภาทางฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ผมคิดว่าสัดส่วนของ สส. ควรจะเกิดขึ้น แต่ผมอยากจะเห็นสัดส่วนของบุคคลภายนอก ที่เกี่ยวข้องทั้งในทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวข้องทั้งในทางวิชาการ เกี่ยวข้องทั้งในตัวที่ได้รับ ผลกระทบเข้ามาอยู่ในคณะกรรมาธิการ ซึ่งเรื่องนี้ผมอยากจะเรียกร้องไปทุกพรรคการเมือง หมายถึงโควตาของรัฐบาลด้วยว่ามันไม่ควรจะมีเฉพาะคนที่มีบทบาท หรือเราเรียกว่า ผู้แทนราษฎรตรงนี้เท่านั้น เพราะเรื่องนี้ผมคิดว่าสมาชิกหลายท่านได้อภิปรายไปแล้วว่า มันเป็นประวัติศาสตร์บางส่วนที่จะต้องมีการทำความเข้าใจร่วมกัน ยอมรับร่วมกันว่า มันเกิดอะไรขึ้น เพราะฉะนั้นก็คือว่าประเด็นที่ผมอยากจะฝากทุกพรรคการเมือง เปิดใจ เปิดรับบุคคลภายนอกที่จะทำหน้าที่มาร่วมเป็นกรรมาธิการกับพวกเรา

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ประเด็นสุดท้ายที่ผมอยากจะฝากคณะกรรมาธิการชุดใหม่ ที่จะเกิดขึ้นนี้ ชุดที่แล้วผมได้มีโอกาสอยู่ในคณะกรรมาธิการ แต่มีเนื้อหานี้เกี่ยวข้อง กับเรื่องของความรุนแรงทางภาคใต้ แต่เป็นคณะกรรมาธิการการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในรูปแบบต่าง ๆ ผมได้อยู่ในคณะอนุกรรมาธิการความรุนแรงชายแดนใต้และการกระทำ ความรุนแรงกับพี่น้องชายขอบในพื้นที่ ผมเป็นรองประธานอนุกรรมาธิการ ผมได้อยู่กับ สส. ภาคใต้ ๒-๓ คนแล้วก็ได้ลงพื้นที่ภาคเหนือ คณะกรรมาธิการที่จะเกิดขึ้นรอบนี้ ผมอยากจะให้ท่านได้เอาเอกสารเล่มนี้ ซึ่งมีความชัดเจนในแง่ของข้อเสนอบางประการ มีเอกสารที่ท่านสามารถที่จะต่อยอดได้ในแง่ของการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องทางใต้ เพราะนั่นก็คือว่าอยากจะฝากคณะกรรมาธิการได้เอาเอกสารส่วนที่สำคัญตรงนี้ ในคณะกรรมาธิการ ชุดที่ ๒๕ ประกอบในการทำงานของคณะกรรมาธิการที่จะเกิดขึ้น ได้ด้วยครับ ขอบคุณมากครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านนพพล เหลืองทองนารา ตามด้วยท่านอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล นะครับ

นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นพพล เหลืองทองนารา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จังหวัดพิษณุโลก คนพรหมพิราม ในญัตติที่เสนอมาเกี่ยวกับ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ก็อาจจะสงสัยว่าแล้วพิษณุโลกไปเกี่ยวอะไรกับเขา ในความรู้สึกของผม ผมเองเป็นคนไทย คนหนึ่งในขวานทอง ผมก็ถือว่าทุกส่วนที่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยนั้นเราเป็นพี่น้องกัน ก็เหมือนอย่างที่มีท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อนหน้านี้ได้บอกว่าถ้าคนที่ภาคใต้เจ็บ คนเหนือก็เจ็บเหมือนกัน ผมเองคนพรหมพิรามเราก็เป็นห่วง เราก็ไม่ต้องการให้คนใต้นั้น โดนเอารัดเอาเปรียบ โดนผู้ที่มีอำนาจหรือว่าโดนผู้มีบารมีทั้งหลายในการที่จะไปเอาเปรียบ ในเรื่องที่ไม่สมควรที่จะไปเอาเปรียบ ตั้งแต่มี พ.ร.ก. ฉุกเฉินเกี่ยวกับเรื่อง ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็มีการต่ออายุมาแล้วถึง ๗๓ ครั้ง มีการต่อกันทุก ๆ ๓ เดือน ซึ่งผมเองในแง่มุมนี้อยากจะขอพูดในแง่ของเยาวชน ที่ผมเองก็เคยได้ไปพูดคุยกับน้อง ๆ เยาวชนที่เขามาจาก ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เหมือนกัน ผมก็ถามเขาเริ่มแรกว่าทำไมไม่เรียนที่โน่น ทำไมไม่เรียนหนังสือหนังหาที่ ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ เขาก็บอกว่าพี่รู้ไหมว่าเด็กอย่างพวกหนูเยาวชนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่เรายากจนมีประมาณสักร้อยละ ๑๐ เท่านั้นที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีหน่อย นอกนั้นยากจน เพราะฉะนั้นก็ต้องมาแสวงหา ถ้าอยากเรียนหนังสือนี้ก็ต้องมาหางานทำด้วย มาอะไรด้วยในกรุงเทพฯ ก็ต้องมาเผชิญชีวิตในกรุงเทพฯ สิ่งหนึ่งที่น้อง ๆ เขาอยากจะ ขอร้องทุก ๆ คนบอกว่าคำถามหนึ่งที่พอเพื่อน ๆ ได้รู้ว่าเขามาจาก ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วคำถามที่ออกมาคือเธอพกระเบิดมาหรือเปล่ามันเป็นการตอกย้ำ ผมเองก็อยากจะขอเรียกร้อง อย่างไรก็แล้วแต่พี่น้องใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เขาเองก็เป็นคนไทยเหมือนกับเรา แล้วก็ โดยเฉพาะตัวน้อง ๆ เยาวชนเขาเองก็ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเริ่มต้นของปัญหาต่าง ๆ แล้วก็อย่างที่ท่านสุธรรม แสงประทุม ได้บอกว่าปัญหานี้เกิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว แล้วก็มันก็มีการสั่งสม มีการพัฒนาในรูปแบบของปัญหาหลายหลายอย่าง เพราะฉะนั้นแล้ว ผมเองก็ดีใจที่ในรัฐบาลชุดปัจจุบันท่านเองมีการต่ออายุ รู้สึกว่าจะต่ออายุไปเดือนเดียว เพราะปกติดำเนินการต่ออายุ พ.ร.ก. ก็จะต้องทุก ๆ ๓ เดือน แล้วก็ในการประกาศพื้นที่ของ พ.ร.ก. ปัจจุบันก็เหลือเพียงแค่ ๒๒ อำเภอ ไม่ใช่ ๓๓ อำเภอจากที่ก่อนนั้นเคยประกาศอยู่ ท่านครับ เยาวชนทั้งหลายตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ จนมาถึงปี ๒๕๖๕ ปี ๖๔๖๕ มีเยาวชนได้เสียชีวิต จากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปแล้วถึง ๒๔๓ คน บาดเจ็บอีก ๑,๐๐๐ กว่าคน แล้วก็มีพิการอีก ๓๗ คนซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควรที่น้อง ๆ เยาวชนเหล่านั้นจะได้รับผลกระทบ เพราะฉะนั้นแล้วผมเองก็อยากจะขอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการอย่างที่ทุก ๆ คนในสภานี้ เราเรียกร้องเพื่อให้มีการศึกษาปัญหา แล้วก็ได้มีการแก้ไขปัญหาของ ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้อย่างจริงจังแล้วก็จริงใจ พี่น้องในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะน้อง ๆ เยาวชน ที่ผมได้สอบถามเขาก็มีหัวใจ เขาเองไม่อยากถูกบังคับ เขาเองถ้าเป็นไปได้อยากจะให้มีวิธีการอื่น ที่ดูแลปกป้องพวกเขามากกว่าการใช้กำลัง โดยเฉพาะต้องไปบังคับเขา เขาจะเดินทาง ไปไหนมาไหนก็ต้องมีด่านตรวจมีอะไร เขาบอกไม่สบายใจเลย เพราะฉะนั้นแล้วตรงนี้ ก็ขอฝากท่านกรรมาธิการที่จะเกิดขึ้นได้พิจารณาในเรื่องนี้ด้วย เอาในเรื่องของความรู้สึก มาเป็นหลักว่าถ้าเราทำอย่างนี้แล้วจะมีความรู้สึกอย่างไรกับคนทางภาคใต้ เพราะฉะนั้น ผมเรียกร้องให้การแก้ไขปัญหาครั้งนี้ในการที่จะตั้งคณะกรรมาธิการขอให้เป็นไป ด้วยความตั้งอกตั้งใจ แล้วก็มีความจริงใจในการที่จะแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องใน ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ด้วย กราบขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ต่อด้วยท่านสุรินทร์ ปาลาเร่

นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ผม อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ผมฟังการอภิปรายในเรื่องปัญหา ชายแดนภาคใต้ เราก็ทราบกันดีอยู่ว่าตลอดระยะเวลา ๒๐ ปี ปัญหานี้ความจริงมากกว่า ๒๐ ปีด้วยซ้ำ แล้วเราก็ลงเงิน ๘๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท แล้วเราหมดเงินไป แต่ปัญหา ยังคิดว่าทุกวันนี้เราก็หยิบปัญหานี้ขึ้นมาพูดในสภานี้อยู่ทุกครั้ง ผมเชื่อว่าในประเด็นปัญหา ต่าง ๆ ที่เราทำกันมากว่า ๒๐ ปีด้วยงบประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท เราก็ทำ โดยประเด็นหลักสำคัญก็คือเราพยายามแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคง เราพยายามจะแก้ปัญหา เรื่องการสู้รบ เราพยายามแก้ปัญหาเรื่องที่ทหาร ที่ตำรวจทั้งหลาย ที่ชาวบ้านมาปะทะกัน แล้วเราก็เชื่อด้วยว่าในชุดต่าง ๆ ที่ผ่านมาก็มีการแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เพียงแต่ว่าความพยายามที่มองปัญหาของเรื่อง ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่ เราเทน้ำหนักไปที่ทางด้านความมั่นคงเสียเป็นส่วนใหญ่ ผมอยากเสนอมุมมองที่ต่างจากเดิม ที่ทำกัน เพราะเนื่องจากว่าผมมาจากประสบการณ์ของคนที่ทำงานทางด้านงานสร้างสรรค์ จากที่ลงไปในพื้นที่ที่ผมทำงานร่วมกับคน ไม่ว่าจะเป็นคนในพื้นที่ที่เป็นพุทธ เป็นคนจีน เป็นมุสลิม เขาทำงานสร้างสรรค์ เขาทำงานออกแบบผลิตภัณฑ์ เขาทำงานดนตรี เขาทำงาน ภาพยนตร์ เขาทำงานเรื่องการแสดง ผมเชื่อว่าคนเหล่านั้นเมื่อมาทำงานร่วมกันแล้วก็จะมี ผลงานมีกิจกรรมร่วมกัน มันเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ที่ทำให้คนที่มีพื้นฐาน ภูมิฐานต่างกันเข้ามา คิดในเรื่องเดียวกันได้ แล้วก็ความคิดนั้นจากปีแรกที่ผมลงในพื้นที่ มันก็ขยายความคิดกว้าง มากขึ้น ๆ จนในท้ายที่สุดเขาก็สามารถจัดงานร่วมกันได้ เช่น ที่ปัตตานีเขาก็จัดงานเรื่อง ปัตตานีดีโค้ดขึ้นมา เพราะฉะนั้นกลุ่มคนที่เข้ามาร่วมในงานก็มาจากคนที่หลากหลาย หลังจากที่จัดงานเสร็จ ตัวผลิตภัณฑ์ ตัวการแสดง ตัวอะไรเขาก็ไปทำงานต่อกันในระดับ หมู่บ้าน เขาไปทำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้น เขาใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อไปสู่กระบวนการ สุดท้ายที่เราอยากได้กันมากก็คือเรื่องกระบวนการสันติสุขในเขตพื้นที่ ๓ จังหวัดภาคใต้ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เขาทำกัน เขาก็ผ่านกลุ่มต่าง ๆ ผ่านพื้นที่อย่างเช่นใน Pattani Decode มีกลุ่ม Melayu Living ที่ทำทั้งผลิตภัณฑ์ ทำทั้งเรื่องงานแสดงต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนภาพจำของ ๓ จังหวัดภาคใต้จากคนอื่นที่มองไปกับความรุนแรง แต่กลับมีเรื่องใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ เรามี เรื่องดนตรีพื้นเมือง เรามีเรื่องงานหัตกรรมที่เกิดมาจากสินค้าของวัสดุในภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็น งานจักสาน ไม่ว่าจะเป็นงานผ้า ไม่ว่าจะเป็นตัวงานอาหาร เรามีบางถนน เช่น อาเนาะรู ถนนปัตตานีภิรมย์ ถนนฤาดี ที่เป็นชุมชนใหญ่ของคนทั้ง ๓ ศาสนาเข้าไปอยู่ร่วมกัน ผมว่า สินค้าอย่างเช่น สินค้า Batik ที่พอเริ่มเปิดพื้นที่ได้หลายคนสามารถพัฒนาจนเกิดอาชีพใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ ในกลุ่มอย่างเช่น ผ้า Batik ของบาราโหม สามารถทำเงินในทั้งกลุ่มได้เป็นหลัก แสนบาท ผมเชื่อว่าถ้าเผื่อเราสามารถทำให้สังคมเขาอยู่ในพื้นที่ที่ดีได้ สังคมเขาเปิดพื้นที่ ที่มันปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ผมพยายามกลับไปอ่านในรายงานของประเทศอื่น ๆ อย่างเช่น ไม่ว่าจะเป็นในอินโดนีเซีย ระหว่างตัวรัฐบาลกับกลุ่มอาเจะฮ์ ผมไปอ่านในอังกฤษการต่อสู้ กับกลุ่ม IRA ที่ไอร์แลนด์ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผมพบแล้วก็เป็นข้อตรงกันก็คือการเพิ่มพื้นที่ ปลอดภัยให้มากขึ้น ๆ เพื่อทำให้ปัญหาทางกายภาพมันลดลง แล้วก็สร้างความไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน ผมเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์ที่สร้างกิจกรรมใหม่ ๆ มันจะเป็นวิธีการที่สร้าง ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มันทำให้เกิดพื้นที่ใหม่ ๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่สร้างสรรค์ ที่ในปัจจุบันผมคิดว่าเราขยายพื้นที่สร้างสรรค์เข้าไปในหลายจังหวัด แต่ใน ๓ จังหวัดภาคใต้ เรายังเห็นไม่ชัดเจนมาก ฉะนั้นถ้าเผื่อเราสามารถฝากให้คณะกรรมาธิการลองพิจารณา สร้างพื้นที่สร้างสรรค์ ลองพัฒนาสร้างกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อทำให้คนในพื้นที่สามารถเข้าใจ ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นประเด็นของศิลปะ ประเด็นของการออกแบบ ประเด็นของความรู้ ภูมิปัญญาในพื้นที่ถ้าเอามาแชร์ร่วมกันมันก็จะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ทำให้ ความไว้วางใจในระดับตัวบุคคลแล้วก็จะขยายมาเป็นความไว้วางใจในระดับ Community เกิดขึ้นผมเชื่อว่าความไว้วางใจเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการสร้างสันติสุขแล้วก็เชื่อว่า วิธีทางความคิดสร้างสรรค์จะเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้คนที่มีภูมิหลังต่างกัน แต่มีความเข้าใจซึ่งกันและกันจะเดินเคียงบ่าเคียงไหล่ไปได้ ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับ เชิญท่านสุรินทร์ ปาลาเร่ ครับ

พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ สงขลา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้ก็อยู่ในภาคใต้มาโดยตลอดและปฏิบัติหน้าที่ใน ๓ จังหวัดภาคใต้ ในบั้นปลายชีวิต ปัญหาภาคใต้มีมานานแล้ว สาเหตุสำคัญหลักจริง ๆ ก็มาจากผู้นำ เริ่มต้น ก็สมัย จอมพล ป. พิบูลสงครามใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เอาอารยธรรมตะวันตกมาใช้ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ต้องอย่าลืมว่าใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องศาสนา ศิลปวัฒนธรรมอะไรต่าง ๆ ใช้ภาษามลายูส่วนใหญ่พูดกันเหมือนกับภาษามาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย จอมพล ป. ได้เข้ามาใช้อารยธรรมตะวันตกออกมาบังคับผู้ที่นับถือศาสนา ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนกลายมาเป็นเรื่องการต่อต้านรัฐบาลขึ้นมา หะยีสุหลง ซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จริงมันเรื่องการเมืองต้องการให้ ลูกหะยีสุหลงมาเป็นผู้แทนราษฎรตอนนั้นคือหะยีอามีน โต๊ะมีนา แต่หะยีสุหลงไม่ยินยอม ก็เรียกเชิญมาที่จังหวัดสงขลา โดยผู้เชิญตอนนั้น พลตำรวจโท บุญเลิศ เลิศปรีชา หะยีสุหลง มาด้วยกัน ๔ ท่าน พร้อมด้วยลูกชายคนโตแล้วก็หายไป เขาก็รู้กันทั้งหลายว่าในวันที่ ๑๓ ปี ๒๔๙๗ หะยีสุหลงก็มีการพูดว่าจับไปถ่วงน้ำ ตอนนี้หาศพไม่เจอ นั่นคือความรุนแรง ที่เกิดขึ้น ทั้งที่จริงมันเกิดขึ้นมาสมัยรัฐบาลของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์มาแล้ว เมื่อหะยีสุหลง ประชุมหาแนวทางในการแก้ปัญหา ๗ ข้อของหะยีสุหลงก็มีเรื่องที่ดี ๆ อยู่หลายเรื่อง ยกตัวอย่างภาษาที่ใช้ในราชการให้ใช้ภาษาไทยและภาษามลายู แล้วก็ให้คนใน ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ การรับราชการใช้คนทั้งพุทธแล้วก็มุสลิม ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ในการรับราชการทั้งหมด เราอยู่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งพุทธและมุสลิมอยู่ด้วยกัน แบบพี่น้อง มุสลิมหลายคนก็มีภรรยาเป็นพุทธ พุทธมีภรรยาเป็นมุสลิมและกลับมาเข้า รัฐอิสลามตอนนั้นก็ไม่มีปัญหาอะไร เกิดจาก จอมพล ป. จากเหตุการณ์ตรงนั้น เกิดขบวนการ BRN ขึ้นมา เกิดขบวนการ BNPP ขึ้นมาโดย พันตรี มูฮัมหมัด ไมดิน ซึ่งเป็นลูกของสุลต่านองค์สุดท้ายของปัตตานี ก็ตั้งขบวนการแบ่งแยกดินแดนมาตั้งแต่นั้น นี่คือข้อผิดพลาด แล้วกระผมจะชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงอีกครั้งหนึ่งที่เราเสียหายมาก ก็คือการฆ่าทูตในประเทศไทยโดยเราไม่รู้ว่าสาเหตุมาจากนอกประเทศหรือในประเทศ เราก็ ไปอุ้มอัลรูไวลีนักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย อุ้มแล้วก็ปรากฏหายไป จนกระทั่งความสัมพันธ์ ของเรา ๓๐ กว่าปีขาดไป เราขาดรายได้ไปเท่าไรท่านรู้ไหมครับ เราขาดรายได้เป็น แสนแสนล้านบาท เพราะคนไทยไปทำงานซาอุดีอาระเบียไปไม่ได้ เพิ่งมามีสัญญาณที่ดีขึ้น ในปีที่แล้ว ส่วนปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เฉพาะคิดมา ๑๙ ปี ๔.๘ แสนล้านบาท คนตายที่พวกเราอภิปรายไปแล้วว่าจำนวนมาก และบาดเจ็บจำนวนมาก ที่ร้ายที่สุด ต้องทิ้งถิ่นฐานคนไทยพุทธไม่กล้าอยู่ ทิ้งถิ่นฐานเข้าไปอยู่ในหาดใหญ่ เข้าไปอยู่ใน กรุงเทพมหานคร ไปอยู่ที่ต่าง ๆ มากมายไม่กล้าอยู่ ความแตกแยกเกิดขึ้นจากรัฐ การแก้ปัญหาของเราในช่วงปี ๒๕๔๗ ปี ๒๕๔๘ เราก็ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา กระทั่งว่าเราต้องไปเยียวยาเหตุที่เกิดขึ้น ในกรือเซะก็ดี ในตากใบก็ดี เกิดขึ้นจากการที่ ไม่เข้าใจ เราต้องยอมรับคนบางส่วนถูกหลอกมาบ้าง อะไรบ้าง เราเหมารวมหมด กระบวนการสันติสุขใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งขึ้นมาเหมือนกับหลอกชาวบ้าน ไม่ได้ จริงใจ ซื้อเวลาเสียมากกว่า ในตรงนี้ซื้อเวลามากกว่า วันนี้เป็นเรื่องที่ดีที่ท่านรอง นายกรัฐมนตรีสมศักดิ์ เทพสุทิน เชิญ สส. ที่อยู่ในภาคใต้ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้กับ ๔ อำเภอไปคุยกันว่าเราจะเอากันอย่างไร ถามความเห็น สส. ว่า พ.ร.บ. ฉุกเฉินควรจะ เลิกไหม แล้วเราจะต้องทำอะไรต่อไป จริง ๆ หลักที่จะต้องทำคือความเป็นธรรม ท่านทราบไหมว่าคนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เขาคิดว่าเขาไม่ได้ความเป็นธรรม ผมจะยกตัวอย่างสักเรื่องหนึ่งเรื่องฮัจย์นะครับ เรื่องฮัจย์มีการย้าย พ.ร.บ. ฮัจย์จาก กระทรวงวัฒนธรรมมาอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย คนที่คิดย้ายเขาก็มีส่วนในการผลักดันตรงนี้ หลงคิดว่าย้ายมาอยู่ในกระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงที่ใหญ่มีงบประมาณมากมาย มีนายอำเภออยู่ในพื้นที่ มีผู้ว่าราชการจังหวัด มีอธิบดีกรมการปกครอง ปลัดกระทรวง ท่านเชื่อไหมว่าตั้งแต่ย้ายมา อธิบดีกรมการปกครอง ปลัดกระทรวง เดี๋ยวนี้คนปัจจุบันไม่เคย เข้าประชุมเลยแม้แต่ครั้งเดียว ตลอดระยะเวลาอันมีสมัยท่านปลัดฉิ่งเข้าประชุมอยู่ ๑-๒ ครั้งที่โอนมาใหม่ ๆ แล้วก็ไม่ได้ยกฐานะอะไรขึ้นมาเลย คนที่จะมาต้องยืม ไม่มีข้าราชการ ที่นั่นต้องยืมข้าราชการจากต่างจังหวัดมาอยู่ แล้วระดับที่ไปดูแลคน ๑๓,๐๐๐ กว่าคนเอามา จากไหนครับ เรียกมาช่วยราชการ คนที่อยู่ในหน่วยงานนั้นย้ายออกหมดเพราะไม่ก้าวหน้า ระดับต่ำกว่านายอำเภอเสียอีกที่ไปดูแลในเรื่องกิจการศาสนาของอิสลามทั้ง ๒ พ.ร.บ. พ.ร.บ. การบริหารกิจการศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ และ พ.ร.บ. ฮัจย์ นี่คือความไม่ได้ สนใจของราชการ ความเป็นธรรมต่าง ๆ คนที่ไปทำงานในประเทศมาเลเซียเราได้ไปดูแลไหม ไม่ได้ไปดูแล ขณะนี้ติดคุกอยู่ในประเทศมาเลเซีย ๒๘๐ กว่าคน รวมทั้งเด็กและสตรีโดนขัง อยู่ในคุกในมาเลเซีย ถามว่ากระทรวงการต่างประเทศไปดูแลไหม ไม่ได้ไปดูแลเลย นี่อยู่ในที่ ต่าง ๆ ผมมีรายละเอียดทั้งหมดที่จะส่งให้ท่านประธานว่าใครอยู่ที่ไหน อยู่ในรัฐไหน กี่คน เด็กกี่คน อายุเท่าไรอะไรต่าง ๆ ผมมีรายละเอียดหมด แต่ทางรัฐบาลเราไม่ได้ไปดูแล เรื่องของอิสลามอย่าไปยุ่งดีกว่าเป็นลักษณะอย่างนั้น ฉะนั้นกระบวนการสันติสุขต้องจริงใจ มันไม่จริงใจหรอกครับ ปัญหาเกิดขึ้น ยกตัวอย่างให้ครับ ผมขอเวลาอีกสัก ๑ นาที ทหาร จากภาค ๑ ภาค ๒ ภาค ๓ ภาค ๔ ไป ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้คนในภาคต่าง ๆ เมื่อไป ปฏิบัติหน้าที่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้บางทีก็ถูกระเบิดบ้าง เสียชีวิตบ้าง ต้องเอาศพ ข้ามไปไว้ที่ไหน ถ้าเป็นคนอุบลราชธานีกลับไปอุบลราชธานี ทำให้คนอุบลราชธานีเกลียด ญาติ ๆ พี่น้องเกลียดคนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านเชื่อไหมเหตุเกิดขึ้นใหม่ ๆ คนที่ อยู่ในขบวนการจริง ๆ มันน้อยมาก ถ้าคิดแล้วผมคิดว่ามันยังไม่ถึง ๑ เปอร์เซ็นต์ คนส่วนใหญ่ถ้าคลุมผ้าหน่อยไม่ได้ โรงพยาบาลบางแห่งไม่รับคนที่คลุมฮิญาบ โรงเรียน บางโรงเรียนไม่รับ คนที่มาอยู่ที่นี่เป็นครู เป็น ผอ. คุณอย่าคลุม ขอร้องอย่าคลุม เป็นอย่างนั้น จนกระทั่งมาร้องเรียนฝ่ายการเมือง ฝ่ายการเมืองเขาก็ไปพูด พูดอย่างไรถ้าเขา ไม่ชอบ ต้องให้ความเป็นธรรมด้วย ตอนนี้คนไทยพุทธก็หนีออกมาเยอะ ทำอย่างไรให้เขาอยู่ ในพื้นที่ได้ องค์กรศาสนาไปแก้ปัญหาไม่ให้ใช้ความรุนแรงหลังจากมีการฆ่าพระที่สุไหงปาดี ก็ไปขอร้องผู้นำศาสนาทั้งหมด รวมทั้งอิหม่ามทั้งหมดว่าขอร้องว่าอย่าใช้ความรุนแรงเลย พระไม่รู้เรื่องหรอก นี่ครับมันถึงเบาบางมา พยายามทุกทางแล้วก็ขอขอบคุณครับ ที่จริง อยากจะอภิปรายเรื่องนี้ให้ยาวกว่านี้ แต่เมื่อเวลาจำกัดต้องขอขอบคุณ ฝากไว้ด้วยครับ ขอขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปจะเป็นท่านสุดท้ายของฝ่ายค้านนะครับ เชิญท่านพริษฐ์ วัชรสินธุ ครับ

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม พริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตมีส่วนร่วมในการอภิปรายสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิก คุณรอมฎอน ปันจอร์ ที่ได้เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรนั้นพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อศึกษาติดตามและส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ ท่านประธานครับ หากนับตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืนที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี ๒๕๔๗ รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ก็ได้ใช้เวลารวมกันเกือบ ๒๐ ปี และงบประมาณไปกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อพยายาม จะแก้ไขปัญหา แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏคือประชาชนกลับเสียชีวิตไปแล้ว ๗,๐๐๐ คน บาดเจ็บไปแล้ว ๑๓,๐๐๐ กว่าคนจากความขัดแย้งในพื้นที่ ในขณะที่ประชาชนใช้ชีวิตอยู่ ในพื้นที่ก็มีทั้งรายได้ครัวเรือน อัตราการจ้างงาน และโอกาสทางการศึกษาที่ต่ำที่สุด เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ ทั้งหมดที่ผมพูดนี้ครับท่านประธาน เป็นสัญญาณเตือนภัย ที่ชัดเจนว่าถึงเวลาจริง ๆ ที่เราจำเป็นต้องใช้เวทีคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาเพื่อเร่งระดม ความเห็นจากทุกฝ่ายเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้จริง ดังนั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญที่ผมหวังว่าจะตั้งขึ้น ผมขออนุญาตใช้เวลาสั้น ๆ ในการนำเสนอข้อเสนอที่ผมเรียกว่า ๒ ปรับ ๓ ขยัก ๒ ปรับ ในที่นี้ก็หมายถึงการปรับกรอบในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนใต้ใน ๒ ด้านสำคัญ

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ปรับที่ ๑ คือการปรับเรื่องของเป้าหมาย ผมเห็นด้วยครับที่เพื่อนสมาชิก คุณรอมฎอนนั้นเลือกใช้คำว่าสันติภาพ ในญัตติที่เรากำลังพิจารณาอยู่ ณ เวลานี้ เพราะเรา ต้องตั้งหลักให้ชัดว่าเป้าหมายที่เรามุ่งสู่นั่นคือสันติภาพที่ไม่ใช่แค่ความสงบ ที่ผมพูดแบบนี้ เพราะหากเรามองว่าเป้าหมายคือเพียงความสงบชั่วคราว เราอาจจะหลงคิดว่าการใช้กำลังอาวุธ เพื่อสร้างความหวาดกลัวคือทางออก และมองปัญหานี้เป็นเพียงปัญหาเรื่องความมั่นคง ทางการทหาร แต่หากเราเข้าใจว่าเป้าหมายคือสันติภาพที่ยั่งยืน เราจะเห็นถึงความจำเป็น ในการสร้างความสงบที่มาควบคู่กับความชอบธรรม เป็นความสงบที่ไม่ได้เกิดจากความกลัว แต่เกิดจากการยอมรับของทุกฝ่ายซึ่งต้องอาศัยการแสวงหาทางออกทางการเมือง

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ปรับที่ ๒ คือการปรับทัพ แม้รัฐบาลแต่ละยุคสมัยนั้นก็อาจจะมีแนวทาง ที่แตกต่างกันออกไปบ้าง แต่ปฏิเสธไม่ได้ครับ เพราะที่ผ่านมาผู้รับผิดชอบหลักที่ได้ถูก มอบหมายให้ถือธงนำในการแก้ไขปัญหาชายแดนใต้นั้นคือกองทัพ หรือว่าหน่วยงาน ความมั่นคงอย่าง กอ.รมน.

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ในเมื่อเป้าหมายของเราไม่ใช่เพียงความสงบแต่คือสันติภาพ และในเมื่อ ปัญหานี้ไม่ใช่แค่ปัญหาความมั่นคง แต่คือปัญหาทางการเมืองผมก็เห็นสมควรที่ผู้นำ ในกระบวนการสันติภาพนั้นก็ควรจะปรับจากกองทัพมาเป็นหน่วยงานพลเรือน เมื่อเราปรับ ทั้งเป้าหมายและปรับทัพเช่นนี้ เราจะเห็นได้ชัดว่าการแก้ไขปัญหาชายแดนใต้นั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยวาระทางนโยบายที่ผมขออนุญาตแบ่งออกเป็น ๓ ขยัก

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขยักที่ ๑ สำหรับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า วาระหลักในขยักนี้คือ Demilitarization หรือการปฏิรูปหน่วยงานและกฎหมายความมั่นคงในพื้นที่ การรักษา ความปลอดภัยกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของคนในพื้นที่นั้นเป็น ๒ เป้าหมายที่ต้องทำ ควบคู่กันครับท่านประธาน แต่การที่ชายแดนใต้นั้นมีการประกาศกฎอัยการศึกมาแล้ว ๑๙ ปี มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมาแล้ว ๑๘ ปีก็สะท้อนให้เห็นชัดว่ามาตรการความมั่นคง พิเศษต่าง ๆ นั้นไม่สามารถบรรลุทั้งสองเป้าหมายได้ เพราะในขณะที่ความรุนแรงในพื้นที่ ชายแดนใต้ก็ยังคงมีอยู่ แต่การลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนในนามของกฎหมาย ความมั่นคงก็ยังกลายเป็นชนวนที่เพิ่มความไม่พอใจของประชาชนในพื้นที่ต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้นครับท่านประธาน การแสวงหาสันติภาพในชายแดนใต้นั้นจึงไม่จำเป็นต้องทำให้พื้นที่ ชายแดนใต้เป็นพื้นที่แห่งสภาวะยกเว้นที่ถูกใช้นำร่องสำหรับมาตรการความมั่นคงพิเศษ แต่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากการทบทวนมาตรการความมั่นคงพิเศษทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น การทบทวนการประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่ การทบทวนเรื่องของกฎหมาย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน หรือแม้กระทั่งข้อเสนอเรื่องการยุบ กอ.รมน. ซึ่งปัจจุบันนั้นก็ได้ขยายมาเป็นโครงสร้าง รัฐซ้อนรัฐที่เปิดช่องให้กองทัพนั้นขึ้นมานำพลเรือน

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขยักที่ ๒ เพื่อแก้ปัญหาช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน วาระหลักในขยักนี้คือ Deliberation หรือการสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพ ท่านประธานครับ หากข้อตกลงสันติภาพในอนาคตจะสะท้อนถึงฉันทามติของทุกภาคส่วนในสังคม กระบวนการทั้งหมดนั้นก็ควรจะเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยที่สุด ก็ผ่านกลไกของรัฐสภา ที่ประกอบไปด้วยตัวแทนของประชาชนในทุกภาคส่วน แม้การตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญในวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ผมก็หวังว่าเราจะพิจารณาเพิ่มบทบาท ให้กับรัฐสภาแห่งนี้ได้กลายมาเป็นสะพานที่จะทำให้กระบวนการสันติภาพนั้นมีความยึดโยง กับประชาชนมากขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาหรือการรับรองข้อตกลงสันติภาพ ก่อนมีการตอบตกลง หรือไม่ว่าจะเป็นการใช้พื้นที่ของรัฐสภาเพื่อดำเนินการแก้กฎหมาย ให้สอดคล้องกับข้อตกลงสันติภาพหลังจากมีการตกลงโดยทุกฝ่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขยักที่ ๓ เพื่อแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืน วาระหลักนั้นหลีกหนีไม่พ้น Decentralization หรือการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เราต้องยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า ต้นตอของปัญหาชายแดนใต้นั้นไม่ใช่ความขัดแย้งทางการทหาร แต่คือความชอบธรรม ของรัฐไทยในการปกครองในพื้นที่ภายใต้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย ดังนั้นการแสวงหาสันติภาพคงจะเกิดขึ้นได้ยากหากเราไม่มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนนั้นได้มีส่วนร่วมมากขึ้นในการกำหนดอนาคตของพื้นที่ นอกจาก ข้อเสนอมาตรฐานของพรรคก้าวไกลครับไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอให้ทุกจังหวัดนั้นมีผู้บริหาร สูงสุดที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอให้มีการกระจายอำนาจในการจัดทำบริการ สาธารณะไปสู่ท้องถิ่น หรือไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอในการเพิ่มสัดส่วนงบประมาณที่ถูกแบ่งให้กับ ท้องถิ่นอย่างสมเหตุสมผลมากขึ้นแต่ด้วยบริบทเฉพาะในพื้นที่ชายแดนใต้ การศึกษา ทางเลือกต่าง ๆ ที่หลากหลายของการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษนั้น อาจจะเป็นสิ่งที่เรา ต้องมาร่วมกันคิดเพิ่มเติมกันอย่างจริงจัง ที่ผมพูดแบบนี้ ผมก็พูดด้วยความตระหนักดีว่า หลายฝ่ายนั้นอาจจะกังวลเรื่องการแบ่งแยกดินแดน หรือการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็น สหพันธรัฐ แต่ผมต้องขอยืนยันว่าทางเลือกทั้งหมดที่เรากำลังพูดคุยอยู่ ณ วันนี้ล้วนอยู่ใน กรอบของการคงไว้ซึ่งรูปแบบของรัฐเดี่ยวตามนิยามในรัฐธรรมนูญ ดังนั้นในเมื่อ ๓ วาระ สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปกฎหมายและหน่วยงานความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม บทบาทของรัฐสภาในกระบวนการสันติภาพ หรือว่าไม่ว่าจะเป็นการกระจายอำนาจ สู่ประชาชนในพื้นที่นั้นเป็นวาระที่ล้วนต้องอาศัยการร่วมกันคิดและร่วมกันออกแบบ โดยตัวแทนของหลายกระทรวงและตัวแทนของทุกฝ่ายทางการเมือง ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เพื่อน ๆ สมาชิกในที่นี้จะสนับสนุนญัตติของเพื่อนสมาชิก คุณรอมฎอน ปันจอร์ ให้มีการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างสันติภาพในพื้นที่ชายแดนใต้ที่สะท้อน ฉันทามติของทุกคนอย่างแท้จริงครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปเชิญท่านจาตุรนต์ ฉายแสง

นายจาตุรนต์ ฉายแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม จาตุรนต์ ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ เนื่องจากว่าพรรคเพื่อไทยมีผู้อภิปรายน้อย จึงจะขอเวลาเพิ่มขึ้น อีกเล็กน้อย ผมจะขออภิปรายสนับสนุนญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและติดตามการเจรจาสันติภาพในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ของคุณศรัณย์ ทิมสุวรรณ กับคณะ และสนับสนุนญัตติของ ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีก ๓ ญัตติจาก ๓ พรรคการเมือง เราอภิปรายกันมาในวันนี้ หลายท่านได้พูดถึงประวัติความเป็นมาของเหตุการณ์ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านสุธรรม แสงประทุม พูดย้อนไปถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองก็มีการพยายามไปสร้างความสงบสุขแก้ปัญหาความเดือดร้อน ของประชาชนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีรัฐประศาสโนบายซึ่งดีมากแก้ปัญหา หลายเรื่องได้ตรงจุด หลายเรื่อง หลายข้อยังใช้ได้จนทุกวันนี้ แต่เสียดายที่ผู้มีหน้าที่ในช่วง หลัง ๆ ก็อาจจะไม่ค่อยเข้าใจและถือปฏิบัติมากนัก หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองก็มี ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่กันอย่างมีสันติสุขเป็นส่วนใหญ่ แต่ว่าก็มีเป็น ช่วง ๆ ที่เกิดความไม่สงบ ถูกปราบปรามจากผู้มีอำนาจในขณะนั้น ๆ ส่วนใหญ่ท่านสมาชิกพูดกันถึงเหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อปี ๒๕๔๗ แล้วก็บอกว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของปัญหา ซึ่งความจริงมันเกิดขึ้นมาก่อนนานแล้ว และตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา ความจริง บ้านเมืองเราก็บริหารโดยรัฐบาลทั้งที่เป็นรัฐบาลประชาธิปไตย รัฐบาลไม่เป็นประชาธิปไตย ช่วงเป็นประชาธิปไตยก็เป็นรัฐบาลหลายรัฐบาลจากหลายพรรคการเมือง การแก้ปัญหา ได้บ้าง ไม่ได้บ้างจึงเกิดสลับไปสลับมา ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เป็นผลจากเหตุการณ์เดือนมกราคม ปี ๒๕๔๗ หรือการแก้ปัญหาในขณะนั้นเท่านั้น ผ่านมาหลายปีปัญหายังคงมีอยู่ วันนี้ ท่านสมาชิกได้พูดให้เห็นถึงว่าใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ปัญหาเศรษฐกิจยังหนักหนา สาหัส เศรษฐกิจเติบโตช้า รายได้ต่อหัวต่ำมาก การศึกษาก็มีผลสัมฤทธิ์ต่ำ นอกจากนั้น ปัญหาเหตุการณ์ความรุนแรงถึงแม้จะลดลงบ้างในช่วงหลังนี้ แต่ถ้านับรวม ๆ แล้วก็ยังเป็น ปัญหามากอยู่ ปัญหาใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีมาก ๆ นี้เกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่มีการใช้ งบประมาณ วันนี้ท่านสมาชิกบางท่านพูดถึงงบประมาณรวม ๆ กันปีหนึ่งสัก ๓๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท พูดตัวเลขรวม ๆ ใช้ตัวเลขที่ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท แต่ปัญหาก็ยังคง มีอยู่มาก ผมจะขอให้เหตุผลว่าทำไมสภาจึงต้องเข้ามาดูแลเรื่องนี้ ทำไมคณะกรรมาธิการ ควรจะมีขึ้นและเพื่อศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องนี้ ปัญหาใหญ่ ๆ ที่เราพูดกันมาหรือจะหา อ่านจากหนังสือเอกสารที่เกี่ยวข้องก็จะเห็นว่ามีสัก ๔-๕ เรื่อง การประเมินสถานการณ์ ในเอกสารที่รายงานเกี่ยวกับนโยบายและแผนของการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเมินสถานการณ์สภาพปัญหาแนวโน้มไว้อย่างไม่ชัดเจน ต่างกัน คลุมเครือ จนกระทั่ง ไม่รู้ว่าเห็นว่ามีปัญหามากน้อยแค่ไหน อันนี้เป็นเอกสารทางการของสภาความมั่นคง การกำหนดนโยบายและแผนถูกทำให้กลายเป็นเรื่องร้อยกรอง เอานโยบาย เอายุทธศาสตร์ชาติ เอาแผนพัฒนาเศรษฐกิจ เอาเรื่องความยั่งยืนของสหประชาชาติ เอาเรื่องสิทธิของพลเมือง และสิทธิทางการเมืองทั้งหมดมาร้อยเรียงกันไม่ให้ขัดแย้งกัน แต่ว่าไม่ได้สัมพันธ์กับปัญหาที่ เกิดขึ้นจริง ๆ อันนี้ก็ทำให้เราไม่อาจรู้ได้เลยว่านโยบายและแผนซึ่งเรายังไม่ได้พิจารณากัน ด้วยซ้ำผ่านไปเป็นปีแล้วจะสอดคล้องกับปัญหาหรือไม่

นายจาตุรนต์ ฉายแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ข้อต่อไปก็คือองค์กรบริหาร โครงสร้างองค์กรบริหารใน ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ซึ่งวันนี้ก็พูดกันมาก ขณะนี้ถ้าเราดูเอกสารที่เกี่ยวข้องเราจะหาไม่เจอเลยว่า ศอ.บต. อยู่ตรงไหน ศอ.บต. ไม่รู้อยู่ตรงไหนแล้วครับ กลายเป็นว่าสภาความมั่นคงแห่งชาติ กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบ แล้วก็เป็นผู้รับผิดชอบวางแผนในเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนา แก้ปัญหา อัตลักษณ์ ดูแลเรื่องวัฒนธรรม พหุวัฒนธรรม แต่ดูแลโดยฝ่ายความมั่นคง ท่านสมาชิก เมื่อสักครู่ก็พูดอยู่ว่าการแก้ปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้จะทำโดยฝ่ายความมั่นคง คงจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ หลายท่านก็พูดตรงกัน ควรจะเพิ่มบทบาทของฝ่ายพลเรือน เข้ามาหรือพลเรือนเป็นหลักร่วมด้วยฝ่ายความมั่นคงใช่หรือไม่ เรื่องการมีส่วนร่วมของ ประชาชนก็ยังจำกัด การทำโครงการงบประมาณต่าง ๆ ไม่ได้สอบถามความเห็นของ ประชาชน ผมเคยเป็นรองนายกรัฐมนตรี เคยเป็นรัฐมนตรีไปดูแลปัญหาใน ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ เคยเสนอให้เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น เสนอความคิดเห็น เสนอความต้องการว่าต้องการพัฒนาแบบไหน แต่ปรากฏว่าการพัฒนาของเราเวลาเราสรุป เราก็จะพูดแต่ว่ามีการพัฒนาเศรษฐกิจไปอย่างไร GDP โตเท่าไร แต่เราไม่มีตัวชี้วัดเลยว่า มันตรงกับความต้องการของประชาชนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้แค่ไหน อย่างไร การมีส่วนร่วมของประชาชนน้อย การกระจายอำนาจเพียงพอหรือยัง หน่วยราชการ ฝ่ายความมั่นคงก็จะบอกว่ากระจายแล้ว แต่ประชาชนยังเห็นว่ากระจายไม่พอ คำตอบ ในเรื่องนี้ก็คือว่ากระจายอำนาจไม่พอแน่นอนครับ เพราะการกระจายอำนาจทั้งประเทศ ก็ไม่พอ มันถูกรวบอำนาจไปมากในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยิ่งมีปัญหาการไม่กระจายอำนาจ มันกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลาง หรือกระจุกตัวอยู่ที่หน่วยงาน ของรัฐการกระจายอำนาจก็ต้องทำมากขึ้น สิทธิเสรีภาพ ความไม่ยุติธรรม ความไม่เป็นธรรม ยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่อย่างเนือง ๆ ท่านสมาชิกบางท่านยกตัวอย่างในต่างประเทศ ยกตัวอย่างเรื่องสิทธิมนุษยชนได้อย่างดี เราก็จะเห็นว่าปัญหาเหล่านี้ยังมีอยู่ การที่รัฐบาลก่อน เลื่อน พ.ร.บ. ป้องกันการทรมานและการอุ้มหาย จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยว่า การเลื่อนนั้นไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่ความจริงแล้วจะปกป้องสิทธิเสรีภาพ ของพี่น้องประชาชนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ดีเรื่องหนึ่งก็ถูกเลื่อนไปอย่างน่าเสียดาย มาถึงเรื่องที่ความจริงก็เป็นหัวข้อเรื่องการหาทางสร้างเสริมสันติภาพ มีการเจรจา การเจรจานี้ เรียกว่าเจรจาอะไรยังเรียกไม่ตรงกัน รัฐบาลที่ริเริ่มเรื่องนี้ขึ้นมาเรียกว่าการเจรจาสันติภาพ ตอนหลังก็มาเรียกเป็นการเจรจาสันติสุข แต่ว่าอันนั้นก็ยังไม่สำคัญเท่ากับว่าจะมีกรอบ แนวทางอย่างไร ท่านสมาชิกบางท่านก็พูดไป จะมีกรอบอย่างไร จะมีกฎหมายรับรองหรือไม่ สภาผู้แทนราษฎรควรจะมีบทบาทอย่างไรในการเจรจานี้ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ มีการรายงาน บอกว่าการเคลื่อนไหวใช้ความรุนแรงใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลง แต่มีการเพิ่มพื้นที่ การเคลื่อนไหวทางการเมือง ในรายงานนั้นไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดี ความจริงมีการเคลื่อนไหว ทางการเมืองในสังคมประชาธิปไตยก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องดี เป็นเรื่องดีจะได้ไม่ต้องเกิดเป็น ความรุนแรง แต่รัฐไทยเราก็ยังมีบทบาทจัดการอย่างไม่เหมาะสม ไม่ชัดเจน เวลามีนักศึกษา มาเสนอประเด็นอะไรใหม่ ๆ ขึ้นมาจับดำเนินคดีเอาเป็นเอาตาย แต่ว่าไปเจรจากับขบวนการ ในต่างประเทศ เหมือนกับว่าถ้าอย่างนี้นักศึกษาคงจะต้องสรุปว่าถ้าอยากจะเจรจากับรัฐบาลไทย ก็เดินทางข้ามไปต่างประเทศแล้วไปร่วมเจรจาที่นั่น เพราะเขาเจรจาในเมืองไทย เขาเสนออะไร ในเมืองไทยกลายเป็นถูกจับถูกดำเนินคดีข้อหาร้ายแรง อันนี้เป็นความสับสนทั้งนั้น สภาควรจะมี บทบาทอย่างไร

นายจาตุรนต์ ฉายแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

๑. คือทำความเข้าใจปัญหาและกระบวนการแก้ปัญหา มีบทบาทในการช่วย แก้ปัญหา สร้างสันติภาพ สร้างสันติสุข

นายจาตุรนต์ ฉายแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

๒. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตัวแทนของประชาชน ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และแก้ปัญหา

นายจาตุรนต์ ฉายแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

๓. ส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจ กระจายอำนาจให้สอดคล้องกับ ความต้องการของประชาชนในจังหวัด ให้การพัฒนาต่าง ๆ เป็นการพัฒนาที่ประชาชน ใน ๓ จังหวัดมีความรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของ ได้รับประโยชน์จากการพัฒนา เขาจึงจะรู้สึกว่า ความรุนแรงต่าง ๆ ไม่เป็นประโยชน์เพราะมันขัดขวาง กีดขวางการพัฒนาที่พวกเขา ได้ประโยชน์ ที่พวกเขากำลังจะได้ประโยชน์ ให้ชาว ๓ จังหวัดมีความรู้สึกเช่นเดียวกัน กับประชาชนทั้งประเทศว่าเราทุกคนเป็นเจ้าของประเทศนี้ ได้ประโยชน์จากการพัฒนา ประเทศนี้ร่วมกัน เนื่องจากเราทุกคนเป็นผู้กำหนด ท่านประธานครับ การสื่อสารทำความเข้าใจ กับคนทั้งประเทศ อันนี้สำคัญมากครับ สภาผู้แทนราษฎรต้องทำหน้าที่นี้ คณะกรรมาธิการ ต้องไปศึกษาแล้วเผยแพร่ข้อค้นพบนี้ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ทราบ ทำความเข้าใจ กับประชาชนทั้งประเทศให้เข้าใจว่าปัญหานี้คืออะไร คนส่วนใหญ่ที่อยู่นอก ๓ จังหวัด ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ ๓ จังหวัด เฉพาะเรื่องว่าเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นเมื่อไร ที่ไหน มีคนบาดเจ็บกี่คน มีคนตายกี่คน แล้วก็ลืม ๆ กันไป นาน ๆ ก็มีคนมาบอกว่า ตอนนี้ ๗,๕๐๐ คนแล้ว แต่ไม่มีใครมาบอกว่ามันเกิดปัญหาอะไร อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม แปลว่าอะไร สังคมพหุวัฒนธรรมคืออะไร ความไม่ยุติธรรม ความไม่เป็นธรรมที่เกิดกับ ประชาชนมีอะไรบ้าง ไม่มีใครรู้ เพราะฉะนั้นการที่สภาผู้แทนราษฎรจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้ จึงจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการที่เราจะแก้ปัญหา ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะทำให้ ประชาชนทั้งประเทศเข้าใจว่าปัญหานี้คืออะไร จะช่วยกันทำอย่างไรให้มีการจัดความสัมพันธ์ ที่ถูกต้อง ที่ดีงามระหว่าง ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้กับประชาชนนอก ๓ จังหวัด ซึ่งเป็นพลเมือง ของประเทศไทยด้วยกัน ร่วมสร้างประเทศนี้มาด้วยกัน แล้วก็จะร่วมกันสร้างความเจริญก้าวหน้า ให้ทั้ง ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้และประเทศนี้ทั้งประเทศร่วมกัน เพราะฉะนั้นผมจึงขอสนับสนุน การตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาศึกษา ติดตาม และส่งเสริมเกี่ยวกับการสร้างสันติภาพในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ ตอนนี้มีผู้มาเยี่ยมนะครับ คณะนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ ๒ และคณาจารย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เขตหลักสี่ ยินดีต้อนรับนะครับ ตอนนี้ สมาชิกได้อภิปรายครบถ้วนแล้วนะครับ แล้วก็เป็นไปในทางเดียวกันคือตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ อยากให้ฝ่ายเลขาได้สำรวจรายชื่อกรรมาธิการที่จะเสนอด้วยนะครับ แล้วก็ตามข้อบังคับ ข้อ ๗๕ ผู้เสนอมีสิทธิอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่ง ผู้เสนอญัตติทั้ง ๔ ท่านมีท่านใดจะขอใช้สิทธิไหมครับ มีท่านรอมฎอนนะครับ ถ้าอย่างนี้ก็เป็นการอภิปรายสรุปโดยท่านรอมฎอน ปันจอร์ เรียนเชิญครับ

นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม รอมฎอน ปันจอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล วันนี้ก็ถือว่า ตื่นเต้นมากครับท่านประธาน ถือว่าการอภิปรายของสมาชิกจากหลากหลายพรรคการเมือง ตลอด ๓-๔ ชั่วโมงมานี้เรียกได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์เลยก็ได้ครับ เพราะว่าประเด็นปัญหา เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ร้างจากการอภิปรายในสภาแห่งนี้มาสักระยะใหญ่แล้ว และวันนี้ที่เห็นสมาชิกจากแต่ละฝ่ายลุกขึ้นสนับสนุนญัตตินี้ และเห็นความจำเป็นนี้ ก็ทำให้เห็นว่าการสร้างสันติภาพดูเหมือนจะกลับมามีความหวังอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าคงต้อง วิพากษ์วิจารณ์ตรง ๆ ว่าเราอาจจะเห็นทิศทางของการแก้ไขปัญหา หรือว่าการสร้าง สันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลใหม่พร่าเลือนไปหน่อย ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไร แต่ก็ต้องฝากความหวังว่าบทบาทของสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้จะค้ำจุนค้ำยัน แล้วก็สนับสนุน การสร้างสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝ่ายบริหารด้วย แล้วก็ฝ่ายผู้เห็นต่างและประชาชน ในพื้นที่มากขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร ก็คงต้องติดตามดู ต้องฝากให้ทั้งท่านประธาน แล้วก็ พี่น้องประชาชนที่ติดตามการทำงานของพวกเราในสภาแห่งนี้ได้ติดตามดูว่าเราจะทำงาน กันอย่างไร และจะเพิ่มการมีส่วนร่วมอย่างที่ท่านสมาชิกเมื่อสักครู่ได้พูดถึงบทบาทที่ควรจะเป็น ของสภาผู้แทนราษฎรในกระบวนการสันติภาพ หนึ่งในเรื่องที่สำคัญคือนอกจากการสร้าง ความเข้าใจต่อประเด็นปัญหา หัวใจสำคัญคือการขยายแล้วก็สร้างการมีส่วนร่วมของ ประชาชนให้มากขึ้น ผมอยากจะรบกวนเวลาของสภาแห่งนี้สักเล็กน้อย เพื่อที่จะประมวล ให้เห็นว่าบทบาทหน้าที่ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญนี้จะทำอะไรบ้าง ดูเหมือนจะกว้างขวาง พอสมควร เป็นหน้าที่อันหนึ่งที่กรรมาธิการที่จะได้รับการแต่งตั้งจากสภานี้ต้องตีกรอบ บทบาทให้ชัดเจน ผมพบว่าตลอด ๓-๔ ชั่วโมงมานี้เราพูดถึงสันติภาพในความหมายที่กว้าง แล้วก็ดูเหมือนจะมีความชัดเจนมากกว่ากรอบคิดแบบสันติสุขที่มุ่งเน้นไปเรื่องของความสงบ หรือว่ามุ่งเน้นเรื่องสันติภาพในเชิงลบที่ต้องการเพียงแต่การลดความรุนแรง แต่สันติภาพในความหมายที่เรากำลังอภิปรายนี้ขอบเขตกว้างไกลไปถึงเรื่องเศรษฐกิจ ปากท้อง พูดถึงเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์ พูดถึงกิจการชายแดนที่มีอนาคต เรากำลังพูดถึง การกระจายอำนาจด้วย เหมือนที่หลายท่านได้พูดถึง Decentralization ในความหมาย การคืนอำนาจ การมอบอำนาจให้กับท้องถิ่นในการจัดการตนเอง มีการพูดถึงบทเรียน ของต่างประเทศ ประสบการณ์ของความขัดแย้งที่ได้ข้อตกลงสันติภาพ แล้วก็แปลงข้อตกลง เหล่านั้นสู่การสร้างสันติภาพ การฟื้นฟูความทรงจำผ่านกระบวนการที่พูดถึงความยุติธรรม ในระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการเยียวยาด้วยเงินเท่านั้น ไม่ได้แค่การฟื้นหาความยุติธรรม ในกระบวนการยุติธรรมปกติเท่านั้น แต่หมายถึงการพูดถึงการรักษาความทรงจำ การจัดการ กับความจำทรงจำที่เจ็บปวดของผู้คนไปด้วย เรากำลังพูดถึงบทบาทของรัฐสภาในการปรับปรุง กฎหมายที่มีอยู่ที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างสันติภาพ หรือว่าเป็นข้อจำกัดที่ทำให้เราไม่สามารถ บรรลุถึงข้อตกลงสันติภาพได้ และรวมถึงการบัญญัติกฎหมายใหม่ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นหน้าที่ ของเราในอนาคต ซึ่งต้องคาดหวังว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญจะปูพื้นฐานไปสู่การแปลง บรรดาข้อตกลง หรือว่าฉันทามติที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนี้มาสู่รูปธรรมได้อย่างไร เมื่อครู่นี้ สมาชิกของสภาแห่งนี้ได้พูดถึง 3D Demilitarization Deliberation แล้วก็ Decentralization ซึ่งก็เป็นภาพรวมที่น่าสนใจนอกเหนือจากการปรับทิศทางไปสู่การปรับปรุงระบบงาน ด้านความมั่นคงแล้ว เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย และกระจายอำนาจไปด้วย ในเวลาเดียวกัน ทั้งหมดนี้คงจะต้องคาดหวังว่ากรรมาธิการวิสามัญจะนำเอาประเด็น ที่เป็นข้อเสนอของเพื่อน ๆ สมาชิกเหล่านี้นั่งลงแล้วก็วางกรอบในการทำงานร่วมกันข้ามฝ่าย ข้ามพรรค เพื่อท้ายที่สุดแล้วจะเพิ่มบทบาทของสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ให้มีส่วนร่วมต่อ การสร้างสันติภาพ และผมเชื่อว่าจะหนุนเสริมการทำงานของรัฐบาลไปด้วยในเวลาเดียวกัน

นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

สุดท้าย ผมขออนุญาตใช้เวลานี้สักเล็กน้อยพูดถึงเดือนตุลาคม เรามีเหตุการณ์ ทางการเมืองเยอะแยะ รวมทั้งเหตุการณ์ตากใบที่จะย้อนกลับมาครบวาระอีกครั้ง ในวันที่ ๒๕ ตุลาคมนี้ และเป็นวันครบรอบที่จะเป็นวันเริ่มต้นการนับถอยหลังอายุความ ของโศกนาฏกรรมนี้ด้วย อันนี้เป็นความท้าทายใหญ่ เมื่อสักครู่นี้สมาชิกหลายท่านพูดถึง ประวัติศาสตร์บาดแผล เราคงได้อภิปรายกันในคณะกรรมาธิการวิสามัญ

นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่ง จริง ๆ แล้วถ้าเราสามารถสร้างกลไกภายในสภาแห่งนี้ ก็สามารถช่วยฝ่ายบริหารในการพินิจพิเคราะห์วิเคราะห์ได้อย่างรอบด้าน คือการพิจารณา การบังคับใช้กฎหมายพิเศษ ในระหว่างที่เรากำลังประชุมกันอยู่ ๓-๔ ชั่วโมงมานี้ ผมทราบว่า ทางรัฐมนตรีก็ได้มีการพบปะหารือกับ สส. มีการพบปะหารือกับข้าราชการฝ่ายความมั่นคง ในช่วงเวลาเดียวกันที่เรากำลังคุยนี้ เพื่อที่จะพิจารณาการต่อหรือไม่ต่ออายุการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผมกำลังนึกจินตนาการขึ้น สมมุติว่าในเวลาต่อมา กลไกของสภามีความเข้มแข็งขึ้น แล้วก็มีการปรับเปลี่ยน ปรับปรุงกฎหมายที่ยึดโยง กับหลักการรัฐสภาเป็นใหญ่ หรือ Parliamentary Supremacy การให้ความสำคัญ กับบทบาทของรัฐสภามากขึ้น เผลอ ๆ ว่าการต่ออายุในแต่ละครั้งที่เป็นเหตุผลด้าน ความมั่นคง แต่ว่ามีการลดการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ขนาดนี้ เราน่าจะได้มีการอภิปรายกันในสภาแห่งนี้ด้วย แล้วก็คาดหวังว่ากรรมาธิการวิสามัญนี้ จะเป็นพื้นฐานของการปูทางไปสู่การสร้างระบบการเมืองที่ประชาชนไว้วางใจได้ และสร้าง ข้อตกลงสันติภาพที่เราจะอยู่ร่วมกันได้ในสังคมไทยแห่งนี้ ขอบพระคุณท่านประธานครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

บัดนี้เจ้าของญัตติ ได้สรุปญัตติเสร็จแล้วนะครับ เนื่องจากทั้ง ๔ ญัตตินี้ผู้เสนอและผู้อภิปรายก็ได้เสนอ และอภิปรายตรงกัน คือเห็นสมควรจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ผมจึงขอ อาศัยข้อบังคับ ข้อ ๘๘ เห็นควรจะดำเนินการในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตามที่ผู้เสนอ และอภิปราย มีผู้ใดเห็นเป็นอย่างอื่นบ้างไหมครับ ถ้าไม่มีก็ถือโอกาสนี้ดำเนินการตาม ข้อบังคับ ข้อ ๘๘ คือให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาในเรื่องนี้ต่อไป ผมจึงจะขอถามเรื่องจำนวนกรรมาธิการ เชิญผู้เสนอครับ กรรมาธิการจำนวนกี่ท่านครับ เราจะได้แบ่งสัดส่วนต่อไปครับ

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอกรรมาธิการ จำนวน ๓๕ ท่าน ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ผู้รับรองถูกต้อง จะมีผู้เสนอเป็นอย่างอื่นไหม ถ้าไม่มีก็ถือว่ากรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ ท่าน ขอเชิญ เสนอสัดส่วนของกรรมาธิการ คณะรัฐมนตรี และของพรรคการเมืองครับ คณะรัฐมนตรี ถ้า ๓๕ ท่านนี้ตามสัดส่วนก็ ๘ ท่าน ส่วนกรรมาธิการของพรรคการเมืองที่เหลือก็ ๒๗ ท่าน ถ้าอย่างนั้นก็ขอเสนอตามสัดส่วนของพรรคการเมือง ผมอ่านก่อนแล้วเดี๋ยวจะเสนอไป พรรคก้าวไกล ๘ ท่าน พรรคเพื่อไทย ๘ ท่าน พรรคภูมิใจไทย ๔ ท่าน พรรคพลังประชารัฐ ๒ ท่าน พรรครวมไทยสร้างชาติ ๒ ท่าน พรรคประชาธิปัตย์ ๑ ท่าน พรรคชาติไทยพัฒนา ๑ ท่าน พรรคประชาชาติ ๑ ท่าน เป็นไปตามนี้นะครับ เชิญสัดส่วนของคณะรัฐมนตรี ๘ ท่านครับ

นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร ขอนแก่น ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน สรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ดิฉันได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา ติดตามและส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี ในสัดส่วนของ คณะรัฐมนตรี จำนวนทั้งหมด ๘ ท่าน ดังนี้ ๑. นายวัลลภ นาคบัว ๒. นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ ๓. นายนันพง ศรียานงค์ ๔. นายจาตุรนต์ ฉายแสง ๕. นายซูการ์โน มะทา ๖. นายซาการียา สะอิ ๗. นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ๘. นายอะห์หมัด บอสตา ขอบคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ของคณะรัฐมนตรี ไม่ต้องมีผู้รับรองนะครับ ต่อไปของพรรคการเมือง พรรคก้าวไกล เชิญครับ

นายคุณากร มั่นนทีรัย นนทบุรี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน ผม คุณากร มั่นนทีรัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ขอเสนอบุคคลเข้าร่วม กมธ. วิสามัญพิจารณาศึกษา ติดตามและส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดน ภาคใต้/ปาตานี สัดส่วนพรรคก้าวไกล จำนวน ๘ คน ดังนี้ ๑. นายรอมฎอน ปันจอร์ ๒. นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ ๓. นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ๔. นายกัณวีร์ สืบแสง ๕. นายศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ๖. นางสาวพรรณิการ์ วานิช ๗. นางอัญชนา หีมมิหน๊ะ ๘. นายมะยุ เจ๊ะนะ ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ผู้รับรองถูกต้อง ต่อไปพรรคเพื่อไทย จำนวน ๘ ท่าน เชิญครับ

นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายแพทย์กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา ติดตามและส่งเสริมการสร้างสันติภาพ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี ในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทย จำนวน ๘ ท่าน ดังนี้ ๑. นายสุธรรม แสงประทุม ๒. นายฮานาฟี หมีนเส็น ๓. นายอรรถชาญ เชาวน์วานิชย์ ๔. นายอาหมัดบูรฮัน ติพอง ๕. นายรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช ๖. นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ ๗. นางสาวกฤตทัศชญา ดิษฐเนตร ๘. นายมูหามัดเปาซี อาลีฮา ขอผู้รับรองครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ผู้รับรองถูกต้อง ต่อไปพรรคภูมิใจไทย ๔ ท่าน เชิญครับ

นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ

เรียนประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต ๓ พรรคภูมิใจไทย ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและเสนอแนวทาง กระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย จำนวน ๔ ท่าน ๑. นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ๒. นางสาวเพชรดาว โต๊ะมีนา ๓. นายนัจมุดดีน อูมา ๔. นายจาตุรนต์ เอี่ยมโสภา ขอผู้รับรองด้วยค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ผู้รับรองถูกต้อง ต่อไปพรรคพลังประชารัฐ ๒ ท่าน

นายอัคร ทองใจสด เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายอัคร ทองใจสด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ ขอเสนอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อส่งเสริมสันติภาพชายแดนใต้ ในสัดส่วนของพรรคพลังประชารัฐ จำนวน ๒ ท่าน ๑. ท่านอามินทร์ มะยูโซ๊ะ ๒. ท่านคอซีย์ มามุ ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ผู้รับรองถูกต้อง ต่อไปพรรครวมไทยสร้างชาติ ๒ ท่านครับ

นางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ

สวัสดีค่ะท่านประธาน ดิฉัน กานสินี โอภาสรังสรรค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๑ พรรครวมไทยสร้างชาติ ขอเสนอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและติดตาม การเจรจา สันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ แบบแบ่งเขตสัดส่วน ๑. นายวัชระ ยาวอหะซัน ๒. นายสมโภช โชติชูช่วง

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ผู้รับรองถูกต้อง ต่อไปพรรคประชาธิปัตย์ ๑ ท่านครับ

ว่าที่ร้อยโท ยุทธการ รัตนมาศ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม ว่าที่ร้อยโท ยุทธการ รัตนมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ผมขอเสนอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา ติดตามและส่งเสริม การสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี ในสัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ขอเสนอชื่อท่าน พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ ๑ ท่าน ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ผู้รับรองถูกต้อง ต่อไปพรรคชาติไทยพัฒนา ๑ ท่านครับ

นายเสมอกัน เที่ยงธรรม สุพรรณบุรี ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม เสมอกัน เที่ยงธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา ในสัดส่วนของ พรรคชาติไทยพัฒนา ขอเสนอนายกูเฮง ยาวอหะซัน ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ผู้รับรองถูกต้อง ต่อไปพรรคประชาชาติ ๑ ท่านครับ

นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ ปัตตานี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ พรรคประชาชาติ จังหวัดปัตตานี ขอเสนอกรรมาธิการ วิสามัญเพื่อศึกษาและเสนอแนวทางกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสัดส่วนของพรรคประชาชาติ จำนวน ๑ ท่าน คือ นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ผู้รับรองถูกต้อง เชิญเลขาธิการอ่านรายชื่อครับ

นายสาธิต ประเสริฐศักดิ์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่แทน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

รายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและเสนอแนวทาง การส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ จำนวน ๓๕ คน ๑. นายวัลลภ นาคบัว ๒. นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ ๓. นายนันพง ศรียานงค์ ๔. นายจาตุรนต์ ฉายแสง ๕. นายซูการ์โน มะทา ๖. นายซาการียา สะอิ ๗. นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ๘. นายอะห์หมัด บอสตา ๙. นายรอมฎอน ปันจอร์ ๑๐. นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ ๑๑. นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ๑๒. นายกัณวีร์ สืบแสง ๑๓. นายศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ๑๔. นางสาวพรรณิการ์ วานิช ๑๕. นางสาวอัญชนา หีมมิหน๊ะ ๑๖. นายมะยุ เจ๊ะนะ ๑๗. นายสุธรรม แสงประทุม ๑๘. นายฮานาฟี หมีนเส็น ๑๙. นายอรรถชาญ เชาวน์วานิชย์ ๒๐. นายอาหมัดบูรฮัน ติพอง ๒๑. นายรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช ๒๒. นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ ๒๓. นางสาวกฤตทัศชญา ดิษฐเนตร ๒๔. นายมูฮำหมัดเปาซี อาลีฮา ๒๕. นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ๒๖. นางสาวเพชรดาว โต๊ะมีนา ๒๗. นายนัจมุดดีน อูมา ๒๘. นายจตุรนต์ เอี่ยมโสภา ๒๙. นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ ๓๐. นายคอซีย์ มามุ ๓๑. นายวัชระ ยาวอหะซัน ๓๒. นายสมโภช โชติชูช่วง ๓๓. พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ ๓๔. นายกูเฮง ยาวอหะซัน ๓๕. นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ถูกต้องนะครับ ไม่มีการแก้ไข ต่อไปขอเชิญเสนอกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการครับ

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอระยะเวลาพิจารณา ๙๐ วัน ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ผู้รับรองถูกต้อง มีผู้เสนอกำหนดระยะเวลาในการพิจารณา ๙๐ วัน ไม่มีเสนอเป็นอย่างอื่นก็ถือว่าระยะเวลา การพิจารณาของคณะกรรมาธิการชุดนี้ ๙๐ วันนะครับ จบการพิจารณาระเบียบวาระที่ ๕.๑

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

๒. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา หาแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก เพื่อให้ความเป็นธรรม แก่ผู้ประกอบการและประชาชน และป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ (นางสาวนิตยา มีศรี เป็นผู้เสนอ)

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เนื่องจากมีญัตติทำนองเดียวกันซึ่งยังไม่ได้บรรจุในระเบียบวาระอีก ๑ ฉบับ คือ ญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหากรณีทุจริตการตรวจ สภาพรถนอกสถานที่และการเรียกรับผลประโยชน์การรับจดทะเบียนรถส่วนบุคคล (นายพิชัย แจ้งจรรยาวงศ์ เป็นผู้เสนอ)

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ซึ่งผมเห็นว่าทั้ง ๒ เรื่องนี้ เป็นเรื่องทำนองเดียวกัน สามารถจะรวมระเบียบวาระ ในการประชุมเพื่อพิจารณาพร้อมกันได้ตามข้อบังคับ ข้อ ๕๕ (๒) จะมีสมาชิกท่านใด ขัดข้องไหมครับ ถ้าไม่ขัดข้องก็ถือว่าเห็นชอบให้พิจารณารวมกันเลยนะครับ สำหรับญัตติ ที่ท่านยังไม่เห็นบนโต๊ะเดี๋ยวเจ้าหน้าที่คงจะแจกต่อไป เชิญเจ้าหน้าที่แจกเอกสารได้ครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอเชิญ คุณนิตยา มีศรี ได้เสนอญัตติที่ท่านเสนอมาได้ครับ

นางสาวนิตยา มีศรี สมุทรปราการ ต้นฉบับ

กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นิตยา มีศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๕ พรรคก้าวไกล ดิฉันและเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล ขอนำเสนอญัตติให้ที่ประชุม สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาหาแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก เพื่อให้มีความเป็นธรรม แก่ผู้ประกอบการและประชาชน และป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์

นางสาวนิตยา มีศรี สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เนื่องด้วยปัจจุบันการขนส่งทางบกมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อระบบ เศรษฐกิจในประเทศ ยานพาหนะที่ใช้ในระบบขนส่งทางบกก็จะมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ และมีจำนวนมาก ทำให้ปัจจุบันระบบขนส่งทางบกมีช่องว่างมากมายที่ทำให้เกิดการเรียกรับ ผลประโยชน์จากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การเรียกรับผลประโยชน์จากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนั้น ทำให้ระบบการขนส่งทางบกสร้างความเดือดร้อนทั้งทางตรง ทางอ้อมเป็นวงกว้างต่อ ประชาชน ทั้งปัญหาการจราจร การใช้ถนนสัญจรร่วมกัน อีกทั้งการเรียกรับผลประโยชน์ ของเจ้าหน้าที่ยังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเองอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ รายเล็กหรือรายใหญ่ที่ต้องมาแบกรับภาระในการถูกเรียกรับผลประโยชน์ต่าง ๆ เหล่านั้น ย่อมทำให้เห็นได้ว่าการเรียกรับผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาเป็นวงกว้าง ซึ่งการปราบปรามการเรียกรับผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่อย่างเดียว ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ จึงสมควรให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญเพื่อศึกษารวบรวมกฎหมายที่คลุมเครือ ไม่ทันสมัย ไม่สอดคล้องกับความเป็นปัจจุบัน และรวมถึงกฎหมายที่ไม่สามารถใช้แก้ปัญหาได้จริง เพื่อจะได้เสนอแนวทางแก้ไขกฎหมาย ต่อรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ ด้านเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นดิฉันจึงขอเสนอญัตติดังกล่าวเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาหาแนวทางแก้ปัญหากฎหมายเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก เพื่อให้มีความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการและประชาชน และป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์

นางสาวนิตยา มีศรี สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานและเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ผ่านมาทุกท่าน คงทราบกันมาบ้างแล้วถึงการเรียกรับผลประโยชน์จากรถบรรทุก รถสิบล้อ รถเทรลเลอร์ หรือรถอื่น ๆ ของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจจนเป็นที่กล่าวขานกันในช่วงของเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา จนทำให้นายตำรวจทางหลวงนับสิบนายถูกสั่งย้ายหรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องหลาย ๆ หน่วยงานก็โดนเช่นกัน แม้ในช่วงเวลาดังกล่าวก็มีการปราบปรามไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำให้กระบวนการนี้หายไป ในวันนี้ดิฉันขอนำเอาวิธีการเรียกรับส่วยต่าง ๆ หรือเรียกรับผลประโยชน์ต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ที่เกิดขึ้นมาเล่าให้ท่านประธานและเพื่อนสมาชิก ได้เห็นภาพ และตระหนักถึงความมีอิทธิพล ถึงความเอารัดเอาเปรียบของเจ้าหน้าที่รัฐ ต่อผู้ประกอบการและประชาชน

นางสาวนิตยา มีศรี สมุทรปราการ ต้นฉบับ

อย่างแรก คือส่วย Sticker ส่วย Sticker ก็จะมีผู้ประกอบการบางรายเอง ที่ตั้งตัวรับเรื่อง รับเคลียร์ หรือจะมีผู้มีอิทธิพล หรือเจ้าหน้าที่รัฐเองที่ทำ Sticker ทำพวงกุญแจ ทำบัตรหรือ LINE กลุ่ม เป็นต้น ขายให้กับผู้ประกอบการ เงินที่ขายได้ ก็จะจ่ายให้กับตำรวจทางหลวง ตำรวจภูธร เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก ในส่วนของ การควบคุมน้ำหนัก หรือแม้แต่องค์กรท้องถิ่นบางท้องที่ก็ได้ส่วยนี้เช่นกัน แต่ถ้าถามว่า มีไหมผู้ประกอบการที่ไม่ยอมจ่ายส่วย ไม่ซื้อ Sticker มีค่ะ แต่สุดท้ายเขาเหล่านั้นก็ต้องถูก หาเรื่องจับกุม ถูกก่อกวนจนต้องเข้าระบบการจ่ายส่วย การเรียกรับผลประโยชน์ของ เจ้าหน้าที่ หรือจะเป็นรูปแบบส่วยในเรื่องของการค้าสำนวน โดยปกติแล้วน้ำหนักของรถพ่วง ที่ถูกจำกัดไว้ก็คือห้ามเกิน ๕๐.๕ ตันต่อคัน ก็จะมีรถพ่วงอย่างนี้ ๒ ประเภทที่มีทั้งเจตนา และไม่เจตนา กรณีที่ไม่มีเจตนานะคะ รถพวกนี้จะแบกน้ำหนักเกินแต่ไม่ได้เกินมาก อย่างตาชั่งต้นทางจะมีน้ำหนักอยู่ประมาณ ๕๐ ตัน แต่เข้าด่านชั่งหรือระหว่างทางเข้า ด่านชั่งก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะเกินมาสัก ๕๐-๕๐๐ กิโลกรัมด้วยเหตุสุดวิสัยต่าง ๆ อย่างเช่น น้ำฝนที่ค้างบนผ้าใบ หรือแรงงานที่เขาขนมาเพื่อที่จะขนสินค้าลงปลายทาง แต่รถประเภทนี้จะไม่มีการดัดแปลงใด ๆ จะเป็นการใช้แบบเดิม ๆ ฉะนั้นการเกินในลักษณะ แบบนี้จะเป็นการเกินที่ไม่มีเจตนา เมื่อน้ำหนักเกินมีโทษหนักถึงริบรถ ทำให้พนักงานสอบสวน บางนายใช้เป็นเครื่องมือรีดไถกับผู้ประกอบการหรือเจ้าของรถ คือถ้าเจ้าของรถยอมจ่ายส่วย อยู่ที่ประมาณ ๕๐,๐๐๐-๗๐,๐๐๐ บาทต่อ Case ต่อกรณี พนักงานสอบสวนก็จะทำเป็น สัญญาเช่ารถเท็จขึ้นมา และบันทึกในสำนวนว่าผู้ขับขี่ไม่ใช่ลูกจ้างเจ้าของรถ แต่รถเช่ามาจาก เจ้าของรถอีกทีก็เพื่อที่จะไม่ต้องถูกริบรถนั่นเอง แต่ก็จะมีอีกประเภทหนึ่งที่บรรทุกเกิน โดยเจตนา โดยการแบกน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ ๗๐-๑๐๐ ตันต่อคัน สังเกตง่าย ๆ เลยคือว่า รถประเภทนี้จะมีการดัดแปลงทั้งเพลา ทั้งล้อ เพื่อที่จะให้รับน้ำหนัก ๗๐-๑๐๐ ตันได้ ซึ่งถ้าเจ้าของรถยอมจ่ายส่วยก็จะมีการเปลี่ยนน้ำหนักให้เกินเพียงเล็กน้อย และทำสัญญา เช่ารถเท็จขึ้นมาเช่นกัน เพื่อเปลี่ยนจากโทษหนักให้กลายเป็นโทษเบา และที่สำคัญไม่ถูกริบรถ อันนี้เป็นส่วยเรื่องของการค้าสำนวน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็จะมีหลายหน่วยงาน อย่างเช่น ตำรวจ เจ้าหน้าที่ด่านชั่ง หรือแม้กระทั่งอัยการเองก็อยู่ในกระบวนการนี้ด้วย หรืออีกส่วยหนึ่ง ที่น่าตกใจก็คือส่วยรถยก รถลาก ในกรณีที่รถบรรทุกหรือรถต่าง ๆ เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จำเป็นต้องเร่งคืนพื้นที่เกิดเหตุ และบางเหตุการณ์ต้องใช้รถยก รถลากเพื่อเก็บกู้ หรือขนส่ง เข้าอู่ซ่อม หรือกลับภูมิลำเนา หากรถยก รถลากเหล่านั้นยอมจ่ายส่วย รถยก รถลากเหล่านี้ ก็จะเข้าทำงานในพื้นที่ได้ ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นเจ้าประจำของพื้นที่ เจ้าของรถยก รถลากเหล่านี้ ก็ไปเรียกเก็บค่าบริการที่แพงขึ้นกับผู้ประสบอุบัติเหตุ บางครั้งจาก ๓,๐๐๐-๕,๐๐๐ บาท อาจจะ โดนเรียกเก็บไปถึง ๒๐,๐๐๐-๕๐,๐๐๐ บาทเลยค่ะ แต่หากผู้ประสบอุบัติเหตุ จะหารถพื้นที่อื่นมาใช้บริการก็ถูกกีดกันการเข้าพื้นที่จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งจะกันพื้นที่ไว้ เฉพาะรถที่จ่ายส่วยเท่านั้น นอกจากด้านผู้ประกอบการเจ้าของรถพ่วงหรือรถบรรทุกแล้ว ในด้านของประชาชนเองก็ได้รับความเดือดร้อนไม่แพ้กัน ด้วยเหตุที่การเรียกรับผลประโยชน์ ของเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ หลายครั้งความเดือดร้อนตกหนักมาที่พี่น้องประชาชน อย่างเช่น การจ่ายส่วยเพื่อวิ่งรถนอกเวลา รถบรรทุกน้ำหนักเกินทำให้ถนนหนทางเสียหาย หรือแม้กระทั่ง การจอดติดเวลาข้างถนนจนเกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งพี่น้องประชาชนก็ต้องเสียชีวิต กับสิ่งพวกนี้หลายต่อหลายครั้งมาแล้วเช่นกัน ท่านประธานคะ ปี ๆ หนึ่งลองคิดดูนะคะ มีจำนวนรถบรรทุกมากกว่า ๑ ล้านคัน ถ้า ๕๐๐,๐๐๐ คันติด Sticker หรือยอมจ่ายส่วย อย่างน้อย ๆ มีเดือนละ ๑,๕๐๐ ล้านบาทเลยค่ะ ๑ ปีก็เกือบ ๆ ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ก็เพราะผลประโยชน์นี้ทำให้เกิดผู้มีอิทธิพลมากมาย ทำให้เจ้าหน้าที่หลาย ๆ ท่านถูกแจ้งความ หรือแม้กระทั่งทำให้นายตำรวจยศสูง ๆ เสียชีวิตมาแล้ว ดังนั้นดิฉันหวังว่าญัตตินี้จะได้รับ ความร่วมมือจากฝ่ายรัฐบาล ถูกผลักดันให้มีการพิจารณาศึกษาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับกรมทางหลวง กรมการขนส่งทางบกทั้งหมด ไม่ใช่แค่ส่วยรถบรรทุกที่ดิฉันกล่าวมาเท่านั้น แต่ก็ยังมีลักษณะส่วยอื่น ๆ อีกมากมายที่จะมีเพื่อนสมาชิกขึ้นมาอภิปราย ดิฉันขอว่าเราต้อง มาร่วมกันปราบปรามส่วยเหล่านี้ให้หมดไปด้วยกัน เพื่อที่จะสร้างความปลอดภัยให้กับพี่น้อง ประชาชนและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ ขอบคุณค่ะ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

เจ้าของญัตติต่อไป ก็คือคุณพิชัย แจ้งจรรยาวงศ์ ขอให้ใช้เวลาโดยประมาณ ๑๐ นาทีสำหรับผู้สนับสนุน ต่อไป ก็จะใช้เวลา ๗ นาที ตามที่เราตกลงไว้ครับ เชิญคุณพิชัยครับ

นายพิชัย แจ้งจรรยาวงศ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายพิชัย แจ้งจรรยาวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๓ สืบเนื่องจากที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอญัตติแก้ไขปัญหาส่วยรถบรรทุกไปจนถึงปัญหา ที่ผมจะนำมาพูดในวันนี้ครับ จากกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวเรื่องการทุจริตการตรวจสภาพ รถยนต์นอกสถานที่ หรือตรวจสภาพรถทิพย์ที่จังหวัดสกลนคร โดยมีการเปิดเผยพฤติกรรม การทุจริตดังกล่าวผ่านสื่อมวลชนเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ จากการได้รับการร้องเรียน จากประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่มาอย่างยาวนาน โดยบุคคลเหล่านี้ประสบ ปัญหามีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพรถนอกสถานที่ที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ ของกรมการขนส่งทางบก เช่น การเรียกเก็บภาษีรถยนต์ที่มีค่าธรรมเนียม ๕๕ บาท แต่กลับมี การเรียกเก็บเงินเกินจำนวนตามจริงถึงหลายพันบาท หรือการเรียกเก็บค่าโอนรถ เมื่อผ่อนหมดแล้วเป็นจำนวนหลายพันบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทว่ารถหรูขนาดไหน Grade อะไร หากเป็นรถหรูก็จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแพง ซึ่งไม่เป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้ ในกฎหมาย รวมทั้งได้รับการร้องเรียนจากกลุ่ม Rider หรือผู้ให้บริการรับส่งสินค้า โดยมอเตอร์ไซค์ ซึ่งถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการตรวจสภาพรถที่แพงเกินจริงด้วย จากนั้นเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๖ มีผู้เสียหายซึ่งได้รับผลกระทบได้เปิดเผยถึงขบวนการ และขั้นตอนการทุจริตดังกล่าวเพิ่มเติม โดยระบุว่าขบวนการทุจริตที่เกิดขึ้นมีเจ้าหน้าที่ขนส่ง และบุคคลภายนอกร่วมอยู่ในขบวนการ ซึ่งวิธีการกระทำทุจริตคือเมื่อมีลูกค้านำรถเข้าตรวจ สภาพรถในสถานตรวจสภาพรถภายนอก เจ้าของกิจการจะนำเอกสารของรถคือสมุดคู่มือ เล่มทะเบียน และหมายเลขตัวถังส่งเข้าไปให้ฝ่ายตรวจสภาพรถของขนส่งผ่านตัวแทน ที่ให้บริการรับส่งเอกสารโดยไม่มีการตรวจสภาพรถแต่อย่างใด จากนั้นตัวแทนจะนำไปส่ง ให้กับหน้าม้าของเจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสภาพรถที่อยู่ในสถานตรวจสภาพรถดำเนินการในเรื่อง เอกสาร แล้วส่งต่อไปให้ฝ่ายทะเบียนบันทึกข้อมูล เมื่อแล้วเสร็จก็จะให้ตัวแทนรับส่งเอกสาร นำส่งกลับคืนมาให้ลูกค้า โดยในแต่ละขั้นตอนนั้นมีค่าใช้จ่ายเริ่มตั้งแต่การจ่ายเงินให้กับ ตัวแทนรับส่งเอกสารรอบละประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพรถ ที่ไม่ได้ตรวจจริงแยกตามประเภทรถ โดยรถของผู้เสียหายเป็นรถจักรยานยนต์ต้องเสียคันละ ๓๐๐ บาท แบ่งเป็นจ่ายฝ่ายตรวจสภาพ ๒๐๐ บาท และฝ่ายบันทึกข้อมูล ๑๐๐ บาท โดยไม่มีใบเสร็จรับเงิน และเรียกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ว่าค่าอำนวยความสะดวกหรือค่าส่วย ในการที่ไม่ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ซึ่งเป็นที่มาของการทุจริตการตรวจสภาพรถ หรือการตรวจรถทิพย์ตามที่เป็นข่าว ซึ่งทางผู้เสียหายนำเรื่องนี้เขาร้องเรียนต่อ ป.ป.ช. จังหวัดสกลนคร และมีการลงพื้นที่รับฟังข้อเท็จจริงแล้ว นอกจากนั้นยังมีปัญหาที่เกี่ยวข้อง กับการเรียกรับผลประโยชน์ โดยอาศัยกฎหมายที่ไม่ทันสมัยเป็นเครื่องมือ ทำให้เกิด ความไม่เป็นธรรมกับประชาชน ซึ่งไม่ได้เกิดเฉพาะกับกรณีรถบรรทุกเท่านั้น แต่เกิดกับ ระบบการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ด้วย ดังนั้นข้าพเจ้าเห็นว่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่จำเป็นต้องใช้ยวดยานในการประกอบกิจการ และการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างครอบคลุม จึงควรนำเอาปัญหาเรื่องการจดทะเบียนรถยนต์ มาร่วมพิจารณาด้วย พร้อมทั้งให้มีการติดตามความคืบหน้าปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด และศึกษาหาแนวทางในการแก้ไข เพื่อป้องกันมิให้เกิดการทุจริตในลักษณะนี้ขึ้นอีก ในอนาคต ดังนั้นจึงขอเสนอญัตติเพื่อขอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาศึกษา หาแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีการทุจริตการตรวจสภาพรถนอกสถานที่ และการเรียกรับ ผลประโยชน์จากการรับจดทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เป็นไปตามระเบียบของกรมการขนส่ง ทางบก ขอเชิญชวนเพื่อน ๆ สมาชิกทุกท่านมาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการล้างระบบส่วย ให้หมดไปจากประเทศนี้เสียที ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปก็จะเป็น การอภิปรายของท่านสมาชิก ซึ่งขณะนี้ได้มีผู้ลงชื่อเพื่ออภิปรายจำนวน ๑๗ ท่าน จากพรรคร่วมฝ่ายค้าน ๑๐ ท่าน พรรคร่วมรัฐบาล ๗ ท่าน ผมจะเรียกสลับกันไปแต่ละฝ่าย แล้วก็ขอให้ใช้เวลาท่านละ ๗ นาที เริ่มจากพรรคร่วมฝ่ายค้านก่อนนะครับ คุณภูริวรรธก์ ใจสำราญ เชิญครับ

นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม ภูริวรรธก์ ใจสำราญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๑๒ บางเขน ท่าแร้ง สายไหม ออเงิน และลาดพร้าว จรเข้บัว พรรคก้าวไกล ผมจะใช้เวลาไม่นาน เพราะว่าน่าจะมีเพื่อน สส. ของผมมีประเด็นอภิปรายที่หลากหลาย หลายคน แล้วก็เจาะลึก ลงไปในประเด็นนะครับ แต่ว่าผมอดใจไม่ได้จริง ๆ ครับ เพราะว่าในฐานะ สส. คนหนึ่ง ที่ได้รับเรื่องร้องเรียน แล้วก็ลงพื้นที่ดูปัญหาเรื่องนี้บ่อยมาก ๆ นะครับ ปัญหารถบรรทุก ขนาดใหญ่ที่วิ่งจาก Plant ปูนในพื้นที่ผม หรือไม่ก็คือไปจาก Site งานที่ขนดินเยอะจริง ๆ ครับ วิ่งเข้าซอยเล็กซอยน้อย ทิ้งทั้งดิน ทั้งฝุ่น พร้อมรอยแตกของถนน ผนังกำแพงบ้านเรือน สะเทือน บางทีก็มีรอยร้าวเป็นของขวัญให้ประชาชนดูต่างหน้า นอกจากนี้ก็ยังวิ่งด้วยความเร็ว ทะลุนรกเลย บรรทุกของสูงด้วย เมื่อวิ่งตอนกลางคืนบวกความเร็ว บวกกับการจัดระเบียบ สายสัญญาณต่าง ๆ พาดระหว่างเสาไฟ ผสมกันเข้าไปก็พารูดทั้งสายเสาไฟ สายสัญญาณล้ม เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ผมเคยเข้าไปคุยกับผู้ประกอบการ แล้วก็ถามถึงเรื่องของการติดตั้ง GPS มันมีการติดตั้งจริง ๆ ครับในรถบรรทุกเหล่านั้น แต่ว่ามันเหมือนจะถูกใช้แค่เพื่อดู ตำแหน่งว่าตอนนี้ถึง Site งานหรือยัง ไม่ได้ใช้ประสิทธิภาพให้เกิดการควบคุมความเร็วรถ ทั้งที่จริงสามารถทำได้นะครับ คุณภาพในการขับรถของคนขับก็สามารถควบคุมโดยใช้ ระบบ GPS ได้ แต่ตรงนี้ยังไม่มีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เรามีพระราชบัญญัติ สาธารณสุข มีกฎระเบียบจราจรที่กำหนดโทษ ตำรวจบ้างก็เปรียบเทียบปรับ ปรับบ่อย จนกระทั่งกลายเป็นความไม่เกรงกลัวกันเกิดขึ้น เมื่อมีการลงโทษที่เบา ไม่มีการถอน ใบอนุญาตก็จะทำให้เกิดการกระทำผิดซ้ำ ๆ แล้วสุดท้ายก็จะมีเรื่องส่วย ถึงจะยอมเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ เป็นแบบนี้นะครับ นอกจากนี้ไม่ได้มีเรื่องของการบัญญัติให้ผู้ประกอบการ หรือผู้ว่าจ้างต้องมารับผิดชอบ แต่มันควรจะเป็นความสำคัญที่ผู้ประกอบการแล้วก็ผู้ว่าจ้าง ต้องพร้อมในการให้การดูแลในการปล่อย ก่อนที่จะปล่อยรถบรรทุกออกจาก Site Plant และจะต้องดูแลในเรื่องของความสะอาด การล้างล้อรถ ผ้าใบที่คลุมอย่างแน่นหนา แล้วก็ รวมถึงเรื่องของน้ำหนัก ในขณะที่หน่วยงานต่าง ๆ ควรจะมีการขยายรูปแบบการตรวจชั่งน้ำหนัก การใช้ Weight in Motion เข้าไปสู่หน้า Plant Site งานทั้งหลาย แล้วก็รวมไปถึงเรื่องของ การกำหนดเส้นทางวิ่งด้วย ควรจะวิ่งในเส้นทางที่เป็นเส้นทางหลัก ไม่ใช่เส้นทางที่เป็นตามซอย หรือว่าหมู่บ้านต่าง ๆ เพราะว่าตรงนั้นถนนไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้อยู่แล้ว

นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ นอกจากเรื่องรถบรรทุก ผมมีเรื่องขนส่งอีกเรื่องหนึ่งครับ กว่า ๓ เดือนที่ผมเคยปรึกษาหารือกับท่านประธานสภา เรื่องขนส่งสาธารณะไม่เพียงพอ ในพื้นที่ของกรุงเทพฯ เหนือ กินตั้งแต่สายไหม วัชรพล บางเขน ลงมาลาดพร้าวแล้วก็อีก ในหลาย ๆ เขตก็เจอเหมือนกันครับ ทั้ง ๆ ที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เส้นทางเดินรถ ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่อเนื่องถึง ๒๕๖ เส้นทาง ตั้งแต่ปี ๒๕๖๔ ปัจจุบันปี ๒๕๖๖ บางเส้นทางก็ยังไม่มีการเปิดประมูล ไม่แน่ใจครับว่าติดปัญหาใด แต่ชาวบ้านได้รับปัญหาครับ ตอนนี้ก็ยังไม่มีวี่แววในการดำเนินการ ของเก่ายังไม่จบครับ เมื่อปีที่แล้วกรมการขนส่งทางบก ก็ประกาศเส้นทางหมวด ๑ ตามแนวทางการปฏิรูปรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร แล้วก็จังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องอีก ๗๗ เส้นทาง ในเส้นทางนี้ก็ไร้วี่แวว เส้นทางในพื้นที่ สายไหม วัชรพล บางเขน รามอินทรา ลาดพร้าว เหตุผลคืออะไรไม่แน่ใจ คือไม่สามารถทำกำไร เลยปล่อยเส้นทางเหล่านั้นไปไม่ต้องมาอยู่ในแผนใช่หรือไม่ อย่างไรก็ดีนอกเหนือจากนั้น ก็คือมีเรื่องของนโยบาย ๑ สัมปทานกับ ๑ ผู้ประกอบการ แต่จากการทำประกาศทะเบียนกลาง กำหนดคุณสมบัติของผู้ประสงค์ขออนุญาตประกอบการขนส่ง แล้วก็รวมถึงการทำ TOR หลักเกณฑ์การพิจารณาในหลาย ๆ ข้อ ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยที่ทำอาชีพนี้มานาน ไม่มีศักยภาพ ก็ไม่สามารถจะทำธุรกิจนี้ต่อไปได้ เอื้อต่อทุนใหญ่ แล้วสุดท้ายก็จะมีการทำเป็น เงินทอนกลับมาในการจัดจ้างครั้งนั้น ๆ สุดท้ายแล้วครับ หลาย ๆ สายทุนใหญ่ก็มักจะละทิ้งในเส้นทางนั้นเพราะว่ามันไม่ทำกำไร อีกต่อไปสุดท้าย ขสมก. ก็จะต้องสลับรถมาวิ่งเอง ผู้ประกอบการขนาดเล็กก็ต้องมาเป็น Feeder แทน แต่ว่าก็ไม่สามารถรักษาความถี่ในการบริการได้ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจครับว่า การประกาศในครั้งนั้นกลุ่มทุนใหญ่ถึงจะได้เส้นทางไป ๗๑ เส้นทาง จากทั้งหมด ๗๗ เส้นทาง นี่ก็คือสัมปทานผู้ประกอบการเป็นการผูกขาดโดยเฉพาะ เพราะที่ผ่านมา เราเห็นหลายเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงว่าผู้ประกอบการที่เป็นผู้สัมปทานใหญ่ ๆ นั้น ไม่ได้คำนึงถึงประชาชนแล้วก็ผู้ที่ใช้บริการ ทั้งเรื่องจำนวนรถ จำนวนเที่ยวที่วิ่งต่อวัน ประชาชนเดือดร้อน หลาย ๆ ด้านเราก็ได้แต่เรียกร้องเหล่านั้นไป เพราะว่าสุดท้ายแล้ว เขาก็ไม่ได้ใส่ใจ เกิดปัญหาแล้วซ้ำแล้วซ้ำเล่าครับ การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญครั้งนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าการตั้งครั้งนี้เอาปัญหามาถกแก้จริง ๆ แล้วก็ผลักดันให้สมกับชื่อของญัตติ เพื่อความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ และป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ ก็จะเป็นสิ่งที่ดี แล้วก็เป็นนิมิตหมายที่ดีในการทำงานในครั้งนี้ ขอบคุณมากครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับ ขณะนี้คณะของเทศบาลตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา จำนวน ๒๖ ท่าน ได้เข้ามาฟัง การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งอยู่ชั้นบนของห้องประชุมแห่งนี้ สภาผู้แทนราษฎรขอต้อนรับ ทุกท่านครับ ต่อไปขอเชิญ คุณวิรัช พิมพะนิตย์ ครับ

นายวิรัช พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ และท่านสมาชิก กระผม วิรัช พิมพะนิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดกาฬสินธุ์ เขต ๑ วันนี้ผมขอร่วม อภิปรายพิจารณาแนวทางการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก เพื่อให้ความเป็นธรรม แก่ผู้ประกอบการและประชาชน และป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์

นายวิรัช พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

ประเด็นแรก ที่ทางท่านผู้เสนอญัตติพูดคือเรื่องรถบรรทุก ผมมองแล้วว่า จริง ๆ แล้วรถบรรทุกเกี่ยวกับกรมการขนส่งทางบกน้อยมาก แค่เป็นผู้จดทะเบียนแล้วก็เป็น ผู้ให้ทะเบียน จริง ๆ แล้วการบรรทุกน้ำหนักเกินมันเกี่ยวกับตาชั่ง เกี่ยวกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก ที่เป็นตาชั่งที่ประกอบอยู่ในทางหลวงต่าง ๆ ผู้ที่ควบคุมตาชั่งนี้คืออธิบดีกรมการขนส่งทางบก อธิบดีกรมทางหลวง อธิบดีกรมทางหลวงชนบท แล้วก็ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดีกรมทางหลวง คุมในเส้นทางหลวง อธิบดีกรมทางหลวงชนบทคุมในเส้นทางหลวงชนบท ส่วนผู้ว่าราชการคุมใน อบจ. ถนนของ อบจ. และถนนของท้องถิ่น ท่านประธานที่เคารพครับ วันนี้รถแต่ละคันจำนวน CC จำนวนแรงม้ามากขึ้น จะทำให้การบรรทุกน้ำหนักรถบางคันอย่างรถบรรทุกให้ ๒๕ ตัน แต่ตัวรถปาเข้าไป ๑๐ กว่าตันแล้วนะครับ แต่ว่าต้องประกอบด้วยว่าทุกคนทุกหน่วยงานจะต้อง ประกอบกันอย่างดี ตาชั่งมีอยู่ไม่กี่แห่งบนถนนหลวง แต่พอพวกที่วิ่งแล้วบรรทุกน้ำหนักเกิน ก็ใช้วิธีซิกแซกครับ ถึงตาชั่งไม่เข้าครับ เลี้ยวออกซ้ายออกขวาไปมันก็ปรามกันลำบาก แต่ว่า เจ้าหน้าที่ของตาชั่งโอกาสทุจริตก็น้อยมาก เพราะทุกอย่างมันเป็นคอมพิวเตอร์ Run ขึ้นมา ส่วนกลาง Run ขึ้นมาส่วนภูมิภาค Run ขึ้นทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่แก้แทนกรมทางหลวงนะครับ เพราะฉะนั้นวันนี้สิ่งต่าง ๆ ที่พวกเราทำกันอยู่นี่ คนที่จะต้องดูให้มากที่สุดคือตำรวจทางหลวง กับตำรวจพื้นที่ บุคคลเหล่านี้ เจ้าหน้าที่เหล่านี้คือผู้ดำเนินการจับกุมครับ เพราะฉะนั้นวันนี้ ฝากหลาย ๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบ เอากันจริง ๆ จัง ๆ ครับ ผมก็เห็นด้วยที่ไม่อยากให้ ถนนพัง ไม่อยากให้ประชาชนที่ใช้ถนนกว่าจะได้งบประมาณมาสร้างถนน พอมันลัดจาก ทางหลวงใหญ่ก็ไปวิ่งทางหลวงเล็ก ถนนของชาวบ้านพังหมด แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้ท่านประธานที่เคารพสื่อความหมายนี้ คือวันนี้การจับกุมต้องเจ้าหน้าที่ ตำรวจ จับกุมเสร็จแล้วก็ทำสำนวนส่งฟ้องศาล ส่งอัยการก่อน โดยมากพวกที่ทำผิดกฎหมายหนัก ๆ ไม่ค่อยเป็นไร ท่านประธานที่เคารพครับ กฎหมายอาญาที่น่ากลัวคือประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓ ที่บอกว่าทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อกระทำความผิด หรือเป็นทรัพย์สิน ที่สามารถยึดได้ อย่างรถบรรทุกถ้าบรรทุกน้ำหนักเกินมีสิทธิยึดได้ครับ ตรงนี้ผู้ประกอบการ กลัวที่สุดคือการยึดรถครับ แต่ทว่าวันนี้กลับเป็นว่าเขาใช้วิธีทำสัญญาเช่าซื้อผูกไว้ เพราะฉะนั้น ผู้ขับรถไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ผู้ประกอบการไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินจะยึดรถยึดไม่ได้ครับ แต่ชาวบ้าน Case หนึ่งที่จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นคนบ้านนอกที่ขายนาไปซื้อรถหกล้อ ซื้อรถหกล้อ ไปรับจ้างขนมันสำปะหลัง น้ำหนักเกินแค่ไม่กี่ร้อย แต่ผลปรากฏว่าเจ้าของรถเป็นคนขับ บรรทุกน้ำหนักเกินแล้วก็เป็นเจ้าของรถเอง ผลสุดท้ายศาลสั่งริบ สั่งยึดรถครับ ท่านประธาน ที่เคารพครับ ชีวิตของคนจนโดนอย่างนี้ตลอด แต่คนรวยสัญญาเช่าซื้อ บริษัทเช่าซื้อก็มาร้อง ขัดทรัพย์ไว้ก็ทำให้ไม่มีอะไร

นายวิรัช พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

อีกประเด็นหนึ่งที่จะฝากท่านประธาน คือเรื่องมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ปัจจุบันนี้ คนทุกคน คนกรุงเทพฯ ได้ใช้มากที่สุดคือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง มอเตอร์ไซค์รับจ้างมี ๑๐๐,๐๐๐ กว่าคัน จาก ๕ เขตของขนส่งที่ควบคุมอยู่

นายวิรัช พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

นี่ครับ มอเตอร์ไซค์รับจ้างได้เข้าไปคุย กับผมบอกว่าวันนี้เขามีความเดือดร้อนมาก เพราะอะไรรู้ไหมครับ เพราะว่ามันมีเจ้าที่ จอดบน Footpath ก็เสียสตางค์ จอดอยู่ตรงนี้ก็เสียสตางค์ เสื้อวินตัวหนึ่ง ท่านประธานดูนะครับ เสื้อวินที่ใส่สีส้ม ๆ นี่ละ ในเขตที่เจริญแถวนานา แถวสุขุมวิท ตัวหนึ่งมีราคาถึง ๑ ล้านบาท ถ้าเป็นซอยเล็ก ๆ ๖๐๐,๐๐๐-๘๐๐,๐๐๐ บาท ผมถามบอกว่าแล้วทำไมพวกเรามาขับล่ะ เขาบอกว่าก็ยังดีกว่าอย่างอื่นครับ ขับวันหนึ่งได้ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ บาท ผ่อนเสื้อ ๑,๐๐๐ บาท เหลือไว้ให้ครอบครัว ๕๐๐-๖๐๐ บาท ท่านประธานที่เคารพครับ ผมบอกว่าเขาร้องทุกข์ มาตลอด ผมบอกกับทุกคนว่าวันนี้ทำให้ค่ามอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่งคนลงจากรถไฟฟ้า จะต้องขึ้นรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างก่อนเลยครับ เพราะว่าจะเข้าซอย แล้วปัจจุบันนี้ก็มี การทะเลาะกันเหมือน Slide ที่ผ่านมาที่บริษัท Grab มาร้องเรียนนี่ครับ เพราะอะไรครับ เพราะว่ามอเตอร์ไซค์มันมีวินปากซอยกับวินกลางซอย แต่ถ้าท่านขึ้นกลางซอยไม่มีใครรับ ท่านประธานที่เคารพครับ เพราะฉะนั้นวันนี้ชาวบ้านที่อยู่กลางซอยไม่ได้มีโอกาส เพราะว่า วินก้นซอยก็ไม่กล้ารับกลัวจะผิดคิว วินปากซอยก็ไม่กล้ารับกลัวจะผิดคิว ถ้าเรียก Grab มา ก็ถูกอัดนะครับ เพราะฉะนั้นวันนี้ผมกราบเรียนท่านประธานแก้ไขปัญหาให้หน่อยครับ กรมการขนส่งทางบกก็พยายามแก้อยู่ แต่เจ้าหน้าที่มีน้อยก็เห็นใจทุกคนครับ แต่วันนี้ ในความคิดส่วนตัวผมว่าเอาเข้าคณะกรรมาธิการการคมนาคม แก้ปัญหาไม่ยากครับ เราแก้ปัญหาไม่ต้องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญหรอกครับ เราสามารถแก้ปัญหาส่งมาที่ คณะกรรมาธิการการคมนาคม ผมคิดว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ มนพร เจริญศรี สุรพงษ์ ปิยะโชติ เอาอยู่ครับ กราบขอบคุณท่านประธานที่เคารพครับ แก้ปัญหาให้หน่อยครับ คนเกือบ ๑๐๐,๐๐๐ กว่าคนครับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เพราะฉะนั้น วันนี้คนกรุงเทพฯ ต้องใช้มากที่สุด ใช้มากกว่าแท็กซี่ครับ เพราะฉะนั้นขอบคุณท่านประธาน อีกครั้งหนึ่งด้วยความเคารพครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณปิยรัฐ จงเทพ ครับ

นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม ปิยรัฐ จงเทพ ผู้แทนเขตพระโขนง เขตบางนา พรรคก้าวไกล ขออนุญาตร่วมสนับสนุนญัตติ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับรถบรรทุกและส่วย หรือพูดง่าย ๆ ว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ในวิกฤติของรถบรรทุกซึ่งมีปัญหาทั้งในเรื่องของกฎหมาย ที่ไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อยุคทันต่อสมัย ซึ่งทุกวันนี้เรายังมี พ.ร.บ. การจราจร ทางบก ซึ่งมีมาตั้งแต่ ปี ๒๕๒๒ ก็ถือว่าทุกวันนี้เรายังใช้ตัวนี้บังคับใช้กันอยู่นะครับ เขตบางนา ของผมนั้นมีพื้นที่ที่ต้องพูดถึงว่าเป็นจุดเริ่มต้นของหัวใจของการขนส่ง โดยเฉพาะรถบรรทุก เพราะถนนบางนา-ตราดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการขนส่งรถบรรทุกที่เขตบางนาของผมนี้ ฉะนั้นปัญหาเรื่องรถบรรทุกมีมาตลอดทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่มีถนนบางนา-ตราด และถนนหลายเส้น ถนนสุขุมวิทก็อีกปัญหาหนึ่งซึ่งวิ่งไปทางตะวันออก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมมาดูแล้วปัญหาเรื่อง น้ำหนักเกินเอย ส่วยเอย เรื่องวิ่งนอกเวลาตามเวลากำหนด ปัญหามันเกิดขึ้นอยู่ ๒-๓ จุดนะครับ ท่านประธาน

นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ส่วนแรก คือเรื่องจากตัวผู้ขับขี่เอง จากตัวผู้ขับขี่หมายความว่าผู้ขับรถบรรทุกเอง อาจจะละเมิดกฎหมายด้วยเจตนาของตนเอง หรือด้วยข้อบังคับที่จะต้องวิ่งให้ได้รอบ หรือวิ่ง ให้ได้ตามที่กำหนดนะครับ ส่วนนี้เองก็เป็นส่วนของความรับผิดชอบของผู้ขับขี่ แน่นอนครับ ก็มีกฎหมายเปรียบเทียบปรับ กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของการบังคับใช้กับผู้ขับขี่ อันนี้เราต้อง ยอมรับว่ามีอยู่นะครับ

นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๒ คือเกี่ยวกับส่วนของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ซึ่งแน่นอนครับ ส่วนนี้เองก็จะมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องของที่เราใช้คำว่าส่วยเข้ามา ซึ่งส่วยก็จะมี ๒ ประเภท ส่วยบนดินกับส่วยใต้ดิน ส่วยบนดินคืออะไรครับ คือการที่ยอมจ่ายค่าปรับตามกฎหมายกำหนด จะวิ่งนอกเวลา จะวิ่งน้ำหนักเกินก็ใช้วิธีการออกใบสั่ง จ่ายค่าปรับกันไปก็ถือว่ารอดกันไป แต่ส่วยใต้ดินอันนี้ผมไม่ทราบว่าเป็นตัวเลขเท่าไร ต่อรอบ หรือต่อเหมา ๑ เดือน ๒ เดือน ๑ ปีก็ว่ากันไป อันนี้ต้องยอมรับว่ามันมีปัญหาในส่วนนี้

นายปิยรัฐ จงเทพ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๓ คือส่วนของนายจ้างนะครับ ซึ่งแน่นอนว่าเพื่อนสมาชิกหลายท่าน พูดถึงว่านายจ้างเองก็มีส่วนรับผิดชอบ แต่กฎหมายยังไม่อาจเอื้อมถึงได้เนื่องจากว่ามีช่องโหว่ ทางกฎหมายอยู่ เราพูดกันถึงแค่ ๓ ประเด็นนี้ ผู้ขับขี่ เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และนายจ้าง แต่เราลืมพูดไปถึงอีก ๑ คนที่มีส่วนสำคัญ คือผู้ว่าจ้างครับท่านประธาน ผู้ว่าจ้างเองก็มีส่วนสำคัญ ที่ทำให้การละเมิดกฎหมายเกิดขึ้น เพราะว่ามีเหตุผลปัจจัยทางการค้าเรื่องการคุ้มทุน บางครั้ง ผู้รับจ้างก็ไม่อยากที่จะบรรทุกน้ำหนักเกินหรอกครับ แต่ทำไมต้องบรรทุกเกิน เพราะว่า มันมีเหตุผลต้นทุนของการขนส่ง เนื่องจากผู้ว่าจ้างก็อยากให้บรรทุกรอบเดียวด้วยราคาเท่านี้ แต่ถ้าบรรทุกน้อยกว่านี้เขาต้องบรรทุกหลายเที่ยวก็จะเป็นภาระแก่ผู้ประกอบการที่เป็น ผู้ว่าจ้าง แต่กฎหมายก็ไม่ไปถึงตรงนี้นะครับ อย่าว่าแต่ผู้ว่าจ้างเลย เจ้าของบริษัทรถบรรทุก ก็ยังไม่ถูกดำเนินคดีได้ เนื่องจากว่าจบไปที่ขั้นตอนของผู้ขับขี่ไปแล้ว นี่คือความล้าสมัย ของกฎหมายของเราที่จะต้องนำไปพิจารณาศึกษากัน เขตบางนานอกจากมีเรื่องของ รถบรรทุกที่บรรทุกเกินแล้ว ยังมีเรื่องของการวิ่งในเวลาห้ามวิ่งตามข้อบังคับของเจ้าพนักงาน จราจรทั่วราชอาณาจักร อาศัยความตาม พ.ร.บ. จราจรกำหนดเขตหลายจุดในพื้นที่ กทม. ชั้นในนะครับ มีกำหนดว่าหกล้อ เกินหกล้อห้ามวิ่งกี่โมง ถึงกี่โมง รถสิบล้อห้ามวิ่งกี่โมง ถึงกี่โมง รถพ่วงห้ามวิ่งกี่โมงถึงกี่โมง ผมท้าเลยครับว่าให้เราไปดูได้นะครับ ฝากท่านประธาน ไปดูได้เลยครับว่าในเขตบางนาหรือเขตหัวเมืองชั้นนอกของกรุงเทพมหานครมีหลายจุด ที่รถบรรทุกวิ่งได้เกือบตลอดเวลา โดยยอมจ่ายค่าปรับเป็นครั้ง ๆ หรือจะจ่ายเป็นรายเดือน อันนี้ผมไม่ทราบนะครับ ฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่กลายเป็นเรื่องปกติ เวลาเกิดอุบัติเหตุ ขึ้นมานะครับท่านประธาน ตอนนี้ยังมีคดีค้างคาอยู่ในเขตของผมนี้หลายคดี เกิดอุบัติเหตุ เฉี่ยวชนกันขึ้นมา เนื่องจากว่ารถบรรทุกบรรทุกน้ำหนักที่มากพอแล้ว ด้วยการบังคับ ก็ยากแล้ว ถนนในกรุงเทพมหานครท่านไปดูสุขุมวิท โอ้โฮ รถในช่วงเวลาเร่งด่วนเป็นอะไร ที่สาหัสสากรรจ์พอสมควร ฉะนั้นเมื่อมีการเฉี่ยวชนขึ้นปุ๊บมีผู้เสียชีวิต กลายเป็นว่าถูกดำเนินคดีแค่ผู้ขับขี่ และเผลอ ๆ คู่กรณีซวยด้วย โดนดำเนินคดีไปด้วยก็มีหลาย Case หลายกรณี นี่คือเกิดขึ้นได้แค่นี้ ดำเนินคดีกันได้แค่นี้ นอกนั้นไม่มีทางไปถึงผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของบริษัท นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น ในพื้นที่ ซึ่งเชื่อว่าลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้นทั่วประเทศไม่ใช่แค่ในกรุงเทพมหานคร จึงอยากเรียน ท่านประธานสภาว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและเป็นปัญหาที่สะสมมาเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะกฎหมายที่ยังไม่อาจก้าวทันเกี่ยวกับเรื่องของการขนส่งในปัจจุบัน และการบรรทุก ที่รถบรรทุกมีการพัฒนาศักยภาพ ความสามารถของรถบรรทุกซึ่งเพิ่มทั้งน้ำหนัก เพิ่มทั้ง เครื่องยนต์ขึ้นมาในทุกวันนี้ อย่างไรก็แล้วแต่ฝากท่านประธานไปยังเพื่อนสมาชิก ทุกท่านว่าผมขอสนับสนุนญัตตินี้เพื่อให้เข้าสู่วาระการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ขอขอบคุณท่านประธานครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณธีระชัย แสนแก้ว

นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายธีระชัย แสนแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ ๗ ประกอบไปด้วยอำเภอกุมภวาปี อำเภอประจักษ์ศิลปาคม และอำเภอเมือง ๑ ตำบล กระผมใคร่ขออนุญาตในการที่จะอภิปรายแนวทางในการแก้ไขเกี่ยวข้องกับ เรื่องการขนส่งทางบกที่เพื่อนสมาชิกได้กรุณายื่นญัตติ แต่ผมไม่เห็นด้วยในการที่จะตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้น เพราะว่าเรามีคณะกรรมาธิการการคมนาคมอยู่แล้ว เพื่อที่จะนำเสนอ แต่ผมจะขอชี้แนะกระบวนการ วิธีการ ทั้งประสบการณ์และหลักกติกาต่าง ๆ ให้ท่านประธานได้รับทราบผ่านไปยังคณะผู้บริหารต่อไป ปรากฏจากสื่อมวลชนต่าง ๆ ก็เป็นที่น่าสนใจหลายเรื่องนะครับท่านประธาน ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องส่วยทางหลวง ก่อนที่จะมีส่วยมันก็มีกฎหมายก่อน ถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายมันก็มีส่วยมันก็เท่านั้นเองครับ ท่านประธานครับ ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องส่วยรถบรรทุกมันพูดง่าย ๆ เลยว่า พอรถบรรทุก ขนสินค้าบรรทุกหนักเกินอัตรากำหนด ซึ่งเรื่องนี้ผมมองว่าเกิดจากปัจจัย ๒ อย่าง ก็คือ เกิดจากตัวผู้ประกอบการเอง เกิดจากผู้ขับรถบรรทุกขนส่งสินค้าบรรทุกสินค้าน้ำหนักเกิน ที่มีน้ำหนักมากและจงใจเลี่ยงผิดกฎหมาย ยอมจ่ายเงิน จ่ายส่วยให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐก็มีทั้งหมด แล้วแต่เป็นกฎหมายอะไร ทั้งกรมการขนส่งทางบก ทั้งกรมทางหลวง ทั้ง ทช. ทั้งตำรวจด้วย มีหมดครับ ผู้ประกอบการทุกคนก็น่าจะรู้ในเรื่องลักษณะอย่างนี้ว่า มันเป็นอย่างไร

นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ เกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐมีเจตนาทุจริตเสียเอง โดยใช้อำนาจ โดยมิชอบไปเรียกร้องรับผลประโยชน์เสียเอง อาจจะมองว่าเป็นการตั้งด่าน พอตั้งด่าน แล้วก็เรียก ยกตัวอย่างไม่รู้ว่าตำรวจที่ไหนก็แล้วแต่ แต่ผมไม่ได้เอ่ยอ้างว่าตำรวจบางคน บางหน่วยเท่านั้นเอง ผมจะเอาประสบการณ์ที่ผ่านมา เพราะว่าเวลาเรียกรถบรรทุกน้ำหนัก พอไปถึงด่านก็จะเรียก พอเรียกแล้วขอใบอนุญาตขับขี่หน่อย พอขอใบอนุญาตขับขี่แล้วถูกต้อง ไม่ขาดอายุ แล้วกติกาเรื่องทะเบียนเป็นอย่างไร ได้ต่อใบอนุญาตไหม ต่อ พอต่อใบอนุญาต แล้วก็ติด GPS ไหม ติด พอติด GPS แล้วรอบข้างก้มหน้าก้มหลังดูไปดูมาทุกอย่างถูกต้อง ตามกฎหมายหมด หาเรื่องไม่ได้ พอหาเรื่องไม่ได้ว่าอย่างไร แต่งตัวไม่สุภาพมาคุยกันหน่อย อย่างนี้ก็มีครับท่านประธาน นั่นคือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระบบส่วยรถบรรทุกมันมีมานานแล้ว กระบวนการทั้งผู้ให้และผู้รับมันแก้ไม่ได้ วันนี้ความหมายก็คือว่าพอจ่ายเมื่อก่อนนั้น มันมีการพัฒนานะครับ เมื่อก่อนนั้นมีจ่ายจากจังหวัดนี้อำเภอนี้ จังหวัดนี้จ่ายไปก็ผ่านไป ก็ไปจ่ายจังหวัดอื่น ไปเจอด่านที่ไหนจ่ายที่นั่นครับ มันเป็นเรื่องการจ่าย แต่เดี๋ยวนี้มันพัฒนา ไปถึงเดือนหนึ่งจ่ายทีหนึ่ง มันใช้ระบบลักษณะจ่ายเงินไม่ต้องตั้งด่านเรียกตรวจ บอกว่า รถน้ำหนักเกิน คือลักษณะอย่างนี้มันเป็นเรื่องปกติ ผู้ประกอบการก็เลือกที่จะจ่ายมาตั้งแต่ต้นทาง หรือเดือนหนึ่งจะมีสัญลักษณ์ หรือ Sticker นั่นละครับท่าน Sticker ที่มันเปรียบเทียบกัน เดี๋ยวนี้มันเป็นระบบลักษณะ Easy Pass เหมือนทางด่วนครับ ลักษณะขับผ่านไปเลย เพราะจ่ายเป็นเดือนแล้ว เป็นเหมาจ่ายแบบ Buffet นะครับท่านประธาน คือการตรวจสอบต่าง ๆ เป็นนวัตกรรมใหม่แล้ว อำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่บางคน ให้เจ้าหน้าที่แต่ไม่รู้ละ ผมไม่ได้เอ่ยถึงระบบระดับผู้ใหญ่ ใครฟังไว้ก็ดูเอาเองก็แล้วกัน พวกคุณปฏิบัติเองเกี่ยวกับ เรื่องส่วย ไม่ได้เอ่ยอ้างถึงใคร คนดีก็มี คนชั่วก็มีครับในระบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการไหน ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ท่านประธานครับ พอมีเรื่องส่วยก็มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเข้ามาอีกละครับ พอเพิ่มเข้ามาผู้ประกอบการขนส่งที่เขาคิดคำนวณว่าจะเหลือเท่าไร อะไรอย่างไร เข้าเนื้อ เมื่อปริมาณน้ำหนักสินค้าไม่อย่างนั้นก็จะมีปัญหาอีก ผู้ประกอบการบางรายต้องใช้ช่องทางนี้ ในการที่จะอำนวยความสะดวก ปัญหานี้มันเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศเราเลยนะครับ มันวนเวียนซ้ำซาก เป็นวงจรบังคับกดดันให้ผู้ประกอบการต้องใช้วิธีนี้และช่องทางนี้ เป็นการกระทำผิดกฎหมายครับท่านประธาน เพราะอะไร บางทีถ้ามี Sticker ไม่สามารถ ตรวจได้ บางทีผู้ประกอบการหรือบางคนขนยาเสพติด ขนไปในรถบรรทุกนั่นละ ถ้าไม่ขนยา เสพติดมากขนาดนั้น ท่าน ผบ.ตร. เพิ่งได้เป็น ท่านต่อศักดิ์ สุขวิมล ไปจับได้ จับได้ ๓๐๐ ล้าน ยาเสพติดมันมาเป็นรถบรรทุกนะครับ อันนี้ก็เป็นข่าวอย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว นี่ก็เป็น ช่องทางหนึ่งเวลาเรามี Sticker เวลาเรา Easy Pass ไป เวลาเราจ่ายส่วยไปมันก็จะมีปัญหา ตามมา ท่านครับมันก็มีกฎหมายนะครับถ้ามองไปแล้ว ก็คือเรื่องรถบรรทุกมันมีกฎหมาย กำหนดน้ำหนักว่ารถสี่ล้อน้ำหนักรถเฉย ๆ ๙.๕ ตัน รถหกล้อบรรทุกน้ำหนักไม่เกิน ๑๕ ตัน น้ำหนักรถเฉย ๆ รถบรรทุกสิบล้อต้องบรรทุกไม่เกิน ๒๕ ตัน รถบรรทุกขนาด สิบสองล้อต้องบรรทุกไม่เกิน ๓๐ ตัน กึ่งพ่วงสิบสี่ล้อต้องบรรทุกไม่เกิน ๓๕ ตัน กึ่งพ่วงสิบแปดล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน ๔๕ ตัน รถพ่วงยี่สิบสองล้อต้องบรรทุกไม่เกิน ๕๐ ตัน ปัญหาก็คือว่า หากผู้ขับขี่ฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุก ๖ เดือน ผู้ขับนะครับ บางครั้งก็ถูกยึด ถ้าถูกทางหลวงจับ ข้อหาน้ำหนักเกินก็จับไปให้โรงพัก โรงพักก็ทำคดี ต้องไปวิ่งเสียอัยการครับ ก็พูดตรง ๆ ไม่ได้กล่าวหา ก็ไปเสียเงินเสียทองตรงจุดนั้น บางทีก็ริบทรัพย์ นี่คือกำหนดกฎหมายครับ ท่านประธาน เป็นกฎหมายที่ผู้ประกอบการแม้กระทั่งผู้รักษากฎหมายหรือเจ้าหน้าที่ ก็จับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกินก็เสียทั้งจำทั้งปรับครับท่านประธาน นี่คือปัญหาที่ผมอยากจะขอ กราบเรียนกับท่านทั้งหลายว่า ตอนนี้นวัตกรรมที่เกี่ยวกับเหล็กมันก็ทำให้น้ำหนักรถบรรทุก ไปแล้ว มันก็เลยบรรทุกสินค้าเนื้อ ๆ สินค้ามันได้น้อย เพราะว่ามันจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ระบบอะไรต่าง ๆ อีกนิดหนึ่งครับท่านประธาน เพราะว่าเรื่องนี้มันสำคัญเหลือเกิน ผมเป็น เจ้าของไร่อ้อย แล้วทีนี้เวลารถบรรทุก ๓ เดือนเดี๋ยวก็จะมีปัญหา พอมีปัญหาเราก็พยายาม ในการที่จะมาคุยกันสำหรับทางด้านการเกษตรก็มียกเว้นระบบนะครับ แต่น้ำหนักมันเกินอยู่แล้ว เพราะไร่อ้อยมันจะมีน้ำหนักต้นทางหรือครับ ไร่อ้อยมันไม่มีตราชั่งน้ำหนักหรอกครับ พอผ่านมาเราก็ต้องรู้ ลักษณะอย่างนี้นี่คือประสบการณ์ที่มีมา เพราะฉะนั้นในขณะที่ พี่น้องประชาชนต้องมีปัญหาลักษณะอย่างนี้ ต้นทุนเขาสูงนะครับ แล้วก็มีปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องรถบรรทุกอย่างนี้อีก มุมมองอีก ขออนุญาตเพื่อความชัดเจนนิดหนึ่งนะครับว่า อย่างกรณีพี่น้องชาวไร่อ้อยต้องตัดอ้อยให้ถูกต้องตามฤดูกาล เพราะฉะนั้นน้ำหนักรถบรรทุก มันต้องเกินนิดหน่อย แค่ ๒ เดือนครึ่ง ถึง ๓ เดือน พอ ๒ เดือนครึ่ง ถึง ๓ เดือน ตัดอ้อยวันนี้ ต้องไปเรียงคิวในการส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลภายใน ๔๕-๗๒ ชั่วโมง ไม่อย่างนั้นน้ำหนัก ก็จะลด หลังจากขนเข้ารอโรงงานแล้วน้ำหนักจะลด พี่น้องเกษตรกรก็จะมีมูลค่าต่ำลงมาอีก ความหวานก็ลด นี่คือปัญหาของพี่น้องเกษตรกรที่ได้เจอมา นี่ก็คือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ครับ ผมอยากจะขอกราบเรียนอีกนิดหนึ่งว่าเคยมีมติคณะรัฐมนตรีที่มีการผ่อนผันโดยมีข้อตกลง อะไรต่าง ๆ ลักษณะอย่างนี้ให้กับเกษตรกรผู้ที่ส่งพืชผลทางการเกษตรเข้าสู่โรงงานตามวาระ หรือตามอายุงานของเขา ไม่ว่าจะเป็นข้าว อ้อย มัน ยาง ก็แล้วแต่ ตามฤดูกาลผลิตของเขา อันนี้ต้องอะลุ่มอล่วยให้เขา แล้วก็มีการแนะนำกติกาอะไรต่าง ๆ ให้นิด ๆ หน่อย ๆ เพื่อที่จะให้เขา สะดวกในการจัดกันไป และผมคิดว่าทุกภาคส่วนต้องหันหน้าเข้ามาคุยกันปรึกษาหารือ ทั้งกรมการขนส่งทางบก ทั้งกรมทางหลวง ทั้งอะไรต่าง ๆ ว่าน้ำหนักมันจะเท่าไร มีความเหมาะสม ทั้งตำรวจตำรามาคุยกัน ในแต่ละปีให้คุยกันว่าเราจะต้องหาจุดร่วมกันอย่างไร เพื่อที่จะให้สมดุลน่าจะเป็นการแก้ไขปัญหานี้ วันนี้ผมใคร่ขออภิปรายเพื่อที่จะให้ คำแนะนำบางตัว เพื่อที่จะให้สภานี้เสนอไปยังคณะกรรมาธิการการคมนาคมเพื่อที่จะบริหาร หรือจะแก้ไขปัญหาอะไรเพื่อส่งคณะผู้บริหารของกระทรวงคมนาคมต่อไป หรือรัฐบาลต่อไป ขอกราบขอบพระคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขณะนี้มีผู้ลงชื่อ ทั้งหมด ๑๘ ท่าน ผมขอปิดรายชื่อเลยนะครับ เพราะว่าถ้าอภิปรายทั้งหมดรวมทั้งสรุปด้วย เราคงจะจบได้ในเวลา ๖ โมงเย็น ๑๘.๐๐ นาฬิกา พรุ่งนี้จะได้มาประชุมต่อ คิดว่าไม่มีผู้ใด ขัดข้องถ้าจะปิดรายชื่อแค่นี้นะครับ ต่อไปขอเชิญคุณสรพัช ศรีปราชญ์ ครับ

นายสรพัช ศรีปราชญ์ สระบุรี ต้นฉบับ

เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม สรพัช ศรีปราชญ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอร่วม อภิปรายในญัตติที่มีการเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาหาแนวทางแก้ไข กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก เพื่อให้มีความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการ และประชาชน และป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ คงทราบกันดีว่าจังหวัดสระบุรีบ้านผม เป็นแหล่งวัสดุ วัตถุดิบก่อสร้างขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ของประเทศนี้ ในขณะที่เรา ชาวสระบุรีต้องแบกรับความเดือดร้อนในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ชำรุดทรุดโทรม ไม่ว่าจะเป็น ถนนหนทางในจังหวัดสระบุรีเป็นหลุมเป็นบ่อ ฝุ่น PM2.5 ที่เราไม่ต้องการ PM10 ที่เรา ชาวสระบุรีต้องกลายเป็นผู้รับกรรมจากรถขนส่งขนาดใหญ่ที่ขนส่งวัสดุก่อสร้างไปส่ง ในสถานที่ก่อสร้างทั่วประเทศไทย ท่านประธานครับ เมื่อมีการเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาหาแนวทางแก้ไข ผมจึงขอสนับสนุนอย่างเต็มที่ในฐานะที่เป็นตัวแทน ของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนโดยตรง จากรถขนส่ง ผมมีเหตุผลที่สนับสนุน ประกอบการพิจารณา ซึ่งสาเหตุบางเรื่องผมคิดว่ามีเพื่อนสมาชิกได้กล่าวไปแล้วหลายท่าน แต่ผมจะขอพูดถึงสักเล็กน้อย ดังนี้

นายสรพัช ศรีปราชญ์ สระบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ รถบรรทุกที่วิ่งส่งของบรรทุกน้ำหนักเกินกว่ากฎหมายกำหนด จากที่ผมพบเห็นได้บ่อยในจังหวัดของผม ท่านประธานครับ ท่านจะสังเกตเห็นได้ว่า ถนนในจังหวัดสระบุรีมีด่านชั่งน้ำหนักตามรายทาง มีรถเข้าชั่งบ้างและไม่เข้าชั่งบ้าง ซึ่งผมยอมรับครับว่าผมไม่สามารถรู้ได้เลยว่ารถคันไหนต้องเข้าชั่ง รถคันไหนไม่ต้องเข้าชั่ง หรือต้องสังเกตจากสิ่งพิมพ์บางอย่างที่ติดอยู่ตามตัวรถ หรือต้องดูจาก LINE ในมือถือ ของใครบางคน รถที่ผ่านด่านมีน้ำหนักมากเกิน ชาวบ้านธรรมดาไม่สามารถรับรู้ได้หรอกครับ แล้วเราจะรับรู้ได้อย่างไรล่ะครับ เราจะรับรู้ได้ก็ต่อเมื่อเห็นผลของมัน แล้วดูได้ตรงไหนล่ะครับ ท่านประธาน ชาวบ้านที่ใช้รถใช้ถนนทั่วไปรับรู้ได้ เมื่อเขาเห็นถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนที่พัง ถูกซ่อม ถูกปะแบบทำแล้วทำอีก ซ่อมแล้วซ่อมอีก ซ่อมแล้วก็พังเสียหายอีก รถที่ขับผ่านไปสั่นสะเทือนช่วงล่างแทบพังครับ หรือถ้าโชคร้ายไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ก็พังเสียหายเมื่อตกลงไปในหลุมเหล่านี้ครับ

นายสรพัช ศรีปราชญ์ สระบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ มีการคลุมผ้าปกปิดรถบรรทุกไม่ดี มีเศษหินร่วงหล่นบนถนน เท่าที่ผมหรือประชาชนทั่วไปเห็นนะครับ รถบางคันมีการคลุมผ้าอย่างเสียมิได้ บางครั้ง ก็ทำเป็นพิธีหลอกเจ้าหน้าที่ ประชาชนทั่วไปไม่เคยเห็นเลยว่าตรวจอยู่ตรงไหน หรืออยู่ ตรงจุดไหนของถนน ผลของการกระทำแบบหน้าไหว้หลังหลอกเหล่านั้นทำให้มีเศษปูน เศษดิน เศษหินร่วงบนถนนมากมาย หากมีรถขนาดเล็กตามมาไม่ทิ้งระยะห่าง หินที่หล่นมา จากรถก็ทำเอากระจกหน้ารถแตกกันเป็นประจำ ต้องเสียเงินเสียทองเปลี่ยนกระจกจากสาเหตุที่เขาได้จากรถที่มักง่ายบางคันทำกันอย่าง ไม่คิดถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดการทำถนน ซ่อมถนนเป็นปกติไปแล้ว ทุกเส้นทางในจังหวัดสระบุรี แต่สิ่งที่ผมอยากจะพูดอีกอย่างหนึ่งเพราะเรื่องนี้สร้าง ความเสียหายในวงกว้าง เสียหายอย่างไรหรือครับท่านประธาน เมื่อเรามีการเข้มงวด ในเส้นทางหลัก เหล่ารถบรรทุกหนักเหล่านั้นก็เลี่ยงหลบไปตามถนนสายรองที่ไม่ได้ออกแบบ มาเพื่อรองรับรถบรรทุกน้ำหนักขนาดนั้น ผลเป็นอย่างไรครับ ถนนสายรองเหล่านั้น ก็พังไปด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย ชาวบ้านที่เดิมใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย คนเฒ่าคนแก่ วัยทำงาน ลูกเด็กเล็กแดงใช้ถนนไปทำงาน ไปโรงเรียนต้องคอยระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุจากรถพ่วง รถบรรทุกขนาดใหญ่ บางครั้งเกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บ เสียชีวิตล้มตายไปก็เยอะ ไม่ว่าจะเป็นคน หรือสัตว์เลี้ยงโดยไม่มีเจ้าหน้าที่มาดูแลควบคุมในถนนรองเหล่านั้น ท่านประธานครับ ความเสียหายมันไม่ได้เกิดเฉพาะทรัพย์สินของประชาชนเท่านั้น หากแต่ยังเสียหายต่อ เศรษฐกิจสังคมของประเทศชาติของเราอีก ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อม แม้แต่ ต้องสร้างถนนใหม่ เดี๋ยววันนี้ผมจะพาไปดูปัญหาในจังหวัดของผม ขอ Slide ครับ

นายสรพัช ศรีปราชญ์ สระบุรี ต้นฉบับ

จาก Slide จะเห็นปัญหารถบรรทุก วิ่ง Lane ขวา อันนี้เป็นกล้องของกรมทางหลวงโดยตรงเลยนะครับ ผมถามว่าตอนนี้ มีคนจับหรือเปล่าครับ หรือเราปล่อยเขาวิ่งแช่ได้ครับ รถกระบะบรรทุกเยอะขนาดนี้ถือว่า ผิดกฎหมายไหมครับ ต่อไปเป็นถนนพังจากรถบรรทุกหนัก ตรงนี้ก็เป็นถนนผุ ถนนพัง เหมือนกันครับ ถ้าสังเกตตรงมุมจะเป็นกลุ่มข่าวด่วนสระบุรี ขอขอบคุณกลุ่มข่าวด่วนสระบุรี ที่เอื้อเฟื้อให้ผมเอามาใช้ในการอภิปรายครั้งนี้นะครับ ต่อไปเป็นพฤติกรรมของผู้ขับขี่ มีการขับขี่ประมาท หวาดเสียว เบี่ยงเลน หรือตัดหน้ารถ หรือบางคันจากรูปก็คือบังโคลน ยื่นออกมาอย่างนี้มีการตรวจสอบหรือไม่ครับ ตรงนี้ก็เป็นอีกเช่นเดียวกันที่พบเจอ ในจังหวัดสระบุรี ก็คือไม่มีการคลุมผ้าใบจนหินทำให้กระจกรถแตก ต่อไปก็คืออุบัติเหตุ ที่เกิดจากการบรรทุกของแล้วหล่นลงมาแบบนี้ใครรับผิดชอบครับ ต่อไปเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจาก ความไม่พร้อมของรถ รถ Brake แตกบ้างอะไรบ้าง แบบนี้มีการตรวจสอบสมรรถภาพรถหรือไม่ ท่านประธานครับ นี่เป็นแค่ตัวอย่างที่เราพบเห็นง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดไหนในประเทศนี้ จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมผมจึงสนับสนุนญัตติที่มีการเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาหาแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก เพื่อให้มีความเป็นธรรม แก่ผู้ประกอบการและประชาชน และป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการ และพี่น้องประชาชนอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอเชิญคุณวิชัย สุดสวาสดิ์ ครับ

นายวิชัย สุดสวาสดิ์ ชุมพร ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม วิชัย สุดสวาสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร เขต ๑ พรรครวมไทยสร้างชาติ วันนี้ ผมขออนุญาตท่านประธานอภิปรายสนับสนุนสมาชิกที่เสนอญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก เพื่อให้เป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการและประชาชน และป้องกันในเรื่องของการเรียกรับ ผลประโยชน์ ท่านประธานที่เคารพครับ สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันโดยเฉพาะคนที่ใช้รถใช้ถนน คนที่ตั้งใจในเรื่องของการขับขี่ โดยเฉพาะในเรื่องของการบรรทุกสินค้าทางการเกษตรบ้าง บรรทุกสินค้าบ้าง ใช้น้ำหนักเกิน ใช้เส้นทางที่เหมือนกับเป็นเส้นทางของตัวเองนะครับ โดยเฉพาะผมเองอยู่ที่จังหวัดชุมพร เราต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ กลับไปจังหวัดชุมพร เดินทางจากชุมพรขึ้นมากรุงเทพฯ เพื่อมาประชุมสภา แล้วทุกอาทิตย์ที่เดินทางได้เจอปัญหา แล้วก็เห็นการกระทำความผิดหลายครั้ง โดยเฉพาะพี่น้องผู้ใช้รถใช้ถนน โดยเฉพาะในเรื่องของ รถบรรทุก รถใหญ่ รถตู้ Container ต้องมองสภาพให้ดีว่าถนนที่ล่องใต้ โดยเฉพาะสายเอเชีย ๔๑ นั้น เป็นถนน ๔ ช่องจราจร ทุกวัน ทุกเย็น ทุกชั่วโมงที่เร่งด่วนนั้นรถติด รถมาก แต่ก็เกิดปัญหา ในเรื่องของการกีดขวางจราจรอย่างเห็นได้ชัดทุกวัน โดยเฉพาะพี่น้องที่สัญจรไปมา ใช้รถส่วนตัว รถซึ่งเดินทางสัญจรไปมาจะเกิดอุบัติเหตุด้วยเฉพาะรถบรรทุก โดยเฉพาะรถ ที่วิ่งขวา รถบรรทุก รถตู้ Container ใช้เส้นทางช่องขวาตลอด บางครั้งเปลี่ยนช่องจากซ้าย มาขวาโดยไม่คำนึงถึงรถเล็ก รถส่วนตัว รถเก๋ง รถบรรทุกเล็ก ๆ กลายเป็นเรื่องของการเกิด อุบัติเหตุทุกครั้ง เพราะฉะนั้นแล้วผมนำเรียนท่านประธานด้วยความเคารพว่า เรื่องนี้ถ้าไม่มี การเรียกรับผลประโยชน์จากผู้มีอำนาจ จากคนที่บังคับใช้กฎหมาย ผมเชื่อเหลือเกินว่า รถอย่างนี้ไม่กล้าที่จะทำผิดกฎหมายเรื่องผิดช่องจราจรด้านขวาแน่นอน ผมไม่เคยเห็นครับ เพิ่งเห็นมาไม่กี่ปีนี้รถบรรทุก รถตู้ Container รถบรรทุกต่าง ๆ โดยเฉพาะต้องใช้ความเร็ว ไม่เกินไป ๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง วิ่งขวาตลอดปิดช่องจราจรทำให้รถเล็กรถอื่น ๆ ติดกัน ยาวเหยียด เพราะฉะนั้นแล้วผมนำเรียนท่านประธานด้วยความเคารพว่าวันนี้ผมเองนั้น ดีใจที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอญัตติเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อที่จะให้ผู้ที่บังคับใช้กฎหมายได้เล็งเห็น ถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนผู้ใช้ทางสัญจรไปมาในการเดินทาง โดยเฉพาะพี่น้อง ที่เดินทางจากกรุงเทพฯ สู่ภาคใต้ เราใช้ทางสัญจรไปมาแค่ ๔ ช่องจราจรเท่านั้น เพราะฉะนั้น ถ้าผู้บังคับใช้กฎหมายไม่รับผลประโยชน์ ผมเชื่อว่าการปราบปรามอย่างนี้ไม่เกิดขึ้นแน่นอน โดยเฉพาะเมื่อสักครู่นี้ผมขอพาดพิงไปถึงเพื่อนสมาชิกนิดหนึ่งว่า ท่านสมาชิกเอาแผ่น Slide มา รถเล็กที่บรรทุกหนัก บรรทุกสูงเกิดอุบัติเหตุทุกครั้งและได้เห็นทุกวัน โดยเฉพาะเวลายางแตก ยางระเบิด วิ่งขวาตลอดแล้วก็ล้มบนถนนกีดขวางจราจรตลอดเวลา เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งนี้ ถ้าไม่มีผู้บังคับใช้กฎหมายได้อย่างชัดเจน ผมเชื่อเหลือเกินว่าเรายังต้องเดือดร้อนกันอีกมาก เหมือนกับครั้งหนึ่งพวกเราในพรรครวมไทยสร้างชาติได้เสนอแนวทางในเรื่องการก่อสร้าง เรื่อง Landbridge ก็เพราะเหตุผลเรื่องนี้เป็นปัจจัยสำคัญเหมือนกัน ถ้าเรามีการก่อสร้าง Landbridge เกิดขึ้น ผมเชื่อว่ารถที่ขนถ่ายสินค้า รถที่เกินน้ำหนักไม่น่าจะต้องวิ่งขึ้นมากรุงเทพฯ ได้สัญจรแล้วก็ได้ไปส่งสินค้ากันที่นั่น เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญ แต่ถ้ามองเห็นว่า การก่อสร้างตรงนั้นเพื่อที่จะให้มีช่องถ่ายสินค้าเพื่อทางการเกษตร ตู้ Container จะไม่ต้อง วิ่งผ่านกรุงเทพฯ ผมเชื่อเรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้นกับพี่น้องที่ใช้สัญจรไปมา แน่นอน เพราะสิ่งที่เห็น อยู่ตลอดเวลาก็คือในเรื่องของการบรรทุกเกินน้ำหนัก ตอนนี้ท่านประธานครับ โดยเฉพาะถนน ที่ใช้ในท้องถิ่นทั้งหมด โดยการสร้างของท้องถิ่นกว่าจะได้งบประมาณมาขอแล้วขออีกตลอด แต่ถึงเวลารถบรรทุกเกินน้ำหนัก วิ่งเกินน้ำหนักถนนแตก ถนนเสียหายชำรุด กว่าจะของบประมาณ มาทำการซ่อมการสร้างใหม่ด้วยความยุ่งยาก และลำบากตลอดเวลา เพราะฉะนั้นแล้ว ก็ขอนำเรียนท่านประธานสิ่งนี้ที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอญัตติเพื่อตั้งกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อศึกษาแนวทางในเรื่องการแก้ไขปัญหาเรื่องกฎหมาย ผมคนหนึ่งที่อยากจะสนับสนุน ให้ตั้ง และแก้ไขปัญหากันอย่างเร่งด่วน เพื่อที่จะให้สิ่งนั้นบรรเทาเบาบางให้กับพี่น้อง ที่ใช้รถใช้ถนนกัน โดยเฉพาะถนนในท้องถิ่น กฎหมายยังควบคุมไปถึงปล่อยให้กระบวนการ ในเรื่องของการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขนส่งถมดิน หรือว่าดินที่ขนย้ายมาแล้วถมที่ เรื่องนั้นเป็นอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ของตกลงบนถนนไม่ว่าจะเป็นไม้ยางพารา ไม้บรรทุก กระบะเปลือย วิ่งแล้วไม้ตกอยู่บนถนน อย่างนี้ได้เกิดได้เห็นอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นแล้วผมเชื่อว่าถ้าไม่มีการเรียกรับผลประโยชน์สิ่งนั้นจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน ก็ขอฝาก ท่านประธานด้วยความเคารพ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ได้ ถ้าไม่มีการเอาจริงเอาจังในเรื่องของ การแก้ไขกฎหมาย เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ผมว่าสิ่งนี้เราพูดไปแล้วก็ผ่านไปแค่นั้น ฉะนั้น ก็ขอนำเรียนท่านประธานด้วยความเคารพ ช่วยกันดำเนินการเรื่องนี้เพื่อการแก้ไขปัญหา ให้กับพี่น้องที่ใช้รถใช้ถนนกันตลอดเวลาในช่วงของเทศกาลต่าง ๆ ในช่วงของรถติด ไม่ว่าจะเป็นวันปีใหม่ วันสงกรานต์ที่จะเกิดขึ้นในไม่กี่วันข้างหน้า อย่าให้แบบนี้เกิดขึ้นกับ พี่น้องประชาชน ๑ ชีวิตในการเกิดอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่พวกเราน่าจะควบคุมได้โดยคนที่บังคับ ใช้กฎหมายครับท่านประธาน ขอบคุณมากครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ครับ

ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ

เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขออภิปรายสนับสนุนการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทาง แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก ดังนี้

ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ

รถรับจ้างในภูเก็ตปัจจุบันมีอยู่ ๓ ประเภทครับท่านประธาน คือ ๑. รถรับจ้างป้ายเหลือง หรือ ร.ย.๖ ๒. รถรับจ้างป้ายเขียว หรือ ร.ย.๙ และ ๓. รถรับแจ้งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ร.ย.๑๘ โดยกฎกระทรวง รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ร.ย.๑๘ นั้นเป็นกฎหมายใหม่ที่เพิ่งออกมาบังคับใช้ ส่วนรถป้ายเหลืองและป้ายเขียว เดิมเป็นกฎหมายเก่าที่ออกมาใช้นานแล้ว ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เงื่อนไขของรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือ ร.ย.๑๘ นั้นมีความยืดหยุ่นสูงกว่า ทำให้มีต้นทุนต่ำกว่ารถรับจ้างป้ายเหลืองและป้ายเขียว จนทำให้รถประเภทเดิมแข่งขัน ลำบากครับ ผมอยากให้คณะกรรมาธิการชุดนี้ได้ทำการศึกษาปรับปรุงกฎหมายให้เกิด ความเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันได้ด้วยครับ ผมเห็นป้าย ประชาสัมพันธ์ของกรมการขนส่งทางบก แจ้งว่ามี Application เรียกรถที่ได้รับการรับรอง ทั้งหมด ๗ บริษัท และยังไม่ได้รับการรับรองอีก ๒ บริษัท ทำให้ผมเข้าใจว่า Application ที่ได้รับ การรับรองจะไม่มีรถผิดกฎหมายที่ไม่ได้จดทะเบียน ร.ย.๑๘ ให้บริการ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พบว่า Application ที่ได้รับการรับรองก็ยังมีรถผิดกฎหมายให้บริการอยู่ และรถที่ผิดกฎหมาย หากโดนจับกุมก็จะมีโทษปรับเพียง ๒,๐๐๐ บาทเท่านั้นครับท่านประธาน ซึ่งตรงจุดนี้ ก็อยากจะให้คณะกรรมาธิการศึกษาความเหมาะสมของโทษด้วยครับ เพราะในปัจจุบัน เมื่อถูกปรับก็สามารถกลับมากระทำความผิดซ้ำอีก เนื่องจากรายได้ที่เกิดขึ้นนั้นคุ้มค่ากับ การจ่ายค่าปรับตรงนี้ครับ สาเหตุที่ Application เรียกรถที่ได้รับการรับรองยังมีรถผิดกฎหมาย ให้บริการอยู่ ผมทราบมาว่าหน่วยงานที่รับรอง Application เรียกรถรับจ้างกลับไม่ใช่ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม แต่เป็นสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ซึ่งสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อทั้ง ๒ หน่วยงานนี้ ถือกฎหมายคนละฉบับทำให้รถที่ผิดกฎหมายก็สามารถให้บริการใน Application ที่ได้รับ การรับรองได้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดของทั้ง ๒ หน่วยงานนี้แต่ประการใด แต่เป็นความผิดของ ระบบราชการรวมศูนย์แบบ Silo ของรัฐบาลไทยต่างหาก บางครั้งขนาดกระทรวงเดียวกัน แต่อยู่กันคนละกรมก็ยังไม่คุยกันเลย ผมจึงขอฝากท่านประธานสร้าง LINE Group ให้ ทั้ง ๒ หน่วยงานนี้ให้เขาได้ประสานงานกันด้วยครับ แล้วก่อนที่จะจัดการกับรถผิดกฎหมาย ผมขอให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จัดการกับ Application ที่ไม่ได้รับ การรับรองก่อน มิฉะนั้นแล้วรถผิดกฎหมายก็จะถูกตัดออกจาก Application ที่ได้รับการรับรอง แล้วเขาก็จะไปอยู่กับ Application ที่ไม่ได้รับการรับรองเป็นการเตะหมูเข้าปากหมาครับ ท่านประธาน สุดท้ายแล้วจะทำให้ Application ที่ได้รับการรับรองจะเสียเปรียบในการแข่งขัน เนื่องจาก มี Partner น้อยกว่าคู่แข่ง จนต้องมาขอคืนใบรับรองให้กับทางราชการเพื่อไปอยู่ในกลุ่ม Application ที่ไม่ได้รับการรับรอง ทาง อบจ. จังหวัดภูเก็ตไม่สามารถเดินรถประจำทางได้ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ ของพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พุทธศักราช ๒๕๒๒ ซึ่งเป็นกฎกระทรวงที่เก่ามาก ไม่ได้ระบุหลักเกณฑ์การขออนุญาตเดินรถไว้ ผมขอฝาก ท่านประธานไปยังกระทรวงคมนาคมให้เร่งแก้กฎกระทรวงนี้ให้ด้วยครับ

ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ

สถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนของจังหวัดภูเก็ต ปี ๒๕๖๕ เสียชีวิตทั้งหมด ๑๓๗ ราย เป็นชาวต่างชาติ ๓๒ ราย บาดเจ็บทั้งหมด ๑๗,๑๘๖ ราย เป็นชาวต่างชาติ ๗,๙๑๗ ราย ใน ๙ เดือนแรกของปี ๒๕๖๖ ก็คือปีนี้ เสียชีวิตไปแล้วทั้งหมด ๑๑๙ ราย เป็นชาวต่างชาติ ๒๙ ราย และบาดเจ็บทั้งหมด ๑๖,๐๐๒ ราย เป็นชาวต่างชาติ ๓,๒๔๐ ราย โดยร้อยละ ๘๔ เกิดจากยานพาหนะประเภทรถจักรยานยนต์ และในส่วนของชาวต่างชาตินั้น พบว่ายังมีความสัมพันธ์กับการที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยว ต่างก็คำนึงถึงในการเลือกเดินทางมายังประเทศเพื่อมาท่องเที่ยว เมื่อเราพบว่าอุบัติเหตุ บนท้องถนนของชาวต่างชาติมีสูง และยังมีความสัมพันธ์กับการไม่มีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ ผมจึงขอให้คณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ทำการศึกษาพระราชบัญญัติรถยนต์ มาตรา ๕๖ ว่าสมควรแล้วหรือยังที่จะเพิ่มอัตราโทษผู้ให้เช่ารถจักรยานยนต์ให้แก่นักท่องเที่ยวที่ไม่มี ใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์หรือไม่ อย่างไร เพราะกฎหมายปัจจุบันมีอัตราโทษเพียง ปรับไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาทเท่านั้น

ว่าที่ร้อยตรี สมชาติ เตชถาวรเจริญ ภูเก็ต ต้นฉบับ

ในปี ๒๕๖๕ ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียเข้ามาท่องเที่ยวมาก เป็นอันดับ ๑ จำนวน ๑,๙๔๘,๕๔๙ คน ซึ่งส่วนใหญ่เข้ามาทางบก ผมได้รับเรื่องร้องเรียน จากนายกสมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุงครับว่ารถนำเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย เหล่านั้นไม่สามารถเดินทางออกจากจังหวัดสงขลาได้ เนื่องจากติดเงื่อนไขตามประกาศ จังหวัดสงขลา เรื่องการนำรถโดยสารที่จดทะเบียนต่างประเทศเข้ามาในพื้นที่จังหวัดสงขลา ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ ในข้อที่ ๓ ที่สั่งให้ขนส่งจังหวัดอนุญาตให้รถต่างประเทศ เดินทางออกจากจังหวัดสงขลาได้จนถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เท่านั้น ทำให้หลังจากนั้น รถนำเที่ยวจากประเทศมาเลเซียไม่สามารถทำการท่องเที่ยวเชื่อมโยงไปยังจังหวัดใกล้เคียงได้อีก มีผลให้ประเทศไทยเสียโอกาสจากการท่องเที่ยวสูงมาก ผมจึงขอตั้งคำถามว่าผู้ว่าราชการ จังหวัดสงขลาไปเอาอำนาจสั่งการแบบนี้มาจากไหนครับท่านประธาน ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว ประเทศไทยควรจะอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้ามาจับจ่ายใช้สอย มากที่สุดตามนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรี ผมจึงขอให้คณะกรรมาธิการชุดนี้ รวมถึง ท่านนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย ก็ขอผ่านไปก่อนนะครับ ขอเชิญคุณกิตติภณ ปานพรหมมาศ ครับ

นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม กิตติภณ ปานพรหมมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขต ๔ พรรคก้าวไกล วันนี้จะร่วมอภิปรายในญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทาง การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก เพื่อให้มีความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการ และป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ รวมถึงเป็นธรรมกับประชาชน ท่านประธานครับ ผมขออภิปรายในส่วนของการป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์จาก รถบรรทุก หรือเรียกว่าส่วยรถบรรทุกนั่นเอง ซึ่งมี ๒ หน่วยงาน ที่มีอำนาจตรงในการจัดการ ตรวจจับเรื่องน้ำหนักบรรทุก ก็คือขนส่งทางบกและตำรวจทางหลวง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มี บุคลากรที่ค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบกับจำนวนรถบรรทุกที่วิ่งอยู่ในประเทศไทยทั่วประเทศ แต่ในกรณีจังหวัดนครปฐมทั้ง ๒ หน่วยงาน ทั้งขนส่งและตำรวจทางหลวงกลับอยู่ห่างจาก พื้นที่ที่เป็นสถานประกอบการที่เป็นต้นเหตุของรถบรรทุกขนดินขนทรายเหล่านี้ ก็คือบ่อดิน ซึ่งเป็นต้นเหตุในการสร้างมลภาวะให้พ่อแม่พี่น้อง รวมถึงการที่รถบรรทุกเหล่านั้นหลีกเลี่ยง เส้นทางด่านชั่งของทางหลวง โดยใช้เส้นทางก็คือใช้เส้นทางรองในการวิ่งผ่านชุมชน ซึ่งเป็น พื้นที่ของผมทั้งอำเภอบางเลน อำเภอดอนตูม และอำเภอกำแพงแสน ในพื้นที่ตำบลสระพัฒนา และตำบลห้วยม่วง ที่มีรถบรรทุกที่ผิดกฎหมายบรรทุกน้ำหนักเกินวิ่งผ่านชุมชน รวมถึง สร้างความอันตรายให้กับผู้ที่สัญจรไปมาดังภาพนี้เลยครับ

นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ

ซึ่งถนนก็พัง มีมลภาวะมลพิษ เกิดจากในส่วนนี้โดยเฉพาะเลยครับ ดังนั้นผมจึงขอฝากอีก ๑ ข้อเสนอนะครับ สนับสนุนให้มี การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้เพื่ออยากให้หน่วยงานเกี่ยวกับ อปท. เริ่มตั้งแต่ระดับตำบล ให้มีอำนาจในการกวดขันจับกุมรถบรรทุกที่กระทำผิดได้ เมื่อเราได้หน่วยงานเพิ่มผมก็คิดว่า การที่ผู้ประกอบการจะกระทำผิดนั้นย่อมยากกว่า เพราะว่าการจ่ายสินบนนั้นไม่ใช่เรื่องที่ดี อย่างไรก็ตามยังมีอีก ๑ วิธีที่ทุก อปท. น่าจะรับทราบและอาจจะหลงลืมไปว่ายังมีกฎหมายอีก ๑ ฉบับ ที่สามารถใช้อำนาจได้ก็คือ พ.ร.บ. สาธารณสุข ในหมวด ๕ ก็คือเหตุเดือดร้อนรำคาญ มาตรา ๒๕ (๔) ที่ว่าด้วยการกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน ใด ๆ ก็ตาม สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่น ๆ จนเป็นเหตุ ให้เสื่อมหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งในมาตรา ๒๖ ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือหรือระงับ กำจัด และควบคุมเหตุรำคาญต่าง ๆ เหล่านั้นได้ แต่ถึงแม้จะมีกฎหมายที่จะใช้ได้ก็ตาม แต่ก็ยังไม่ครอบคลุม ดังนั้นเราควรศึกษาเพื่อแก้ไข กฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการขนส่งทางบกทั้งหมด หรือแม้กระทั่งธุรกิจบ่อดินเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ขุดดิน ถมดินก็ตาม ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของสิบล้อขนดินแบกน้ำหนักที่เกิดขึ้น ในทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดของผมจังหวัดนครปฐม ทำให้ถนนทรุด ถนนพัง อปท. กลับทำได้เพียงจับเหตุเดือดร้อนรำคาญเท่านั้น ดังนั้นผมจึงขอตั้งคำถามว่าเราควรมีการทบทวน เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ขุดดิน ถมดินแล้วหรือยัง ซึ่งมันจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการแก้กฎหมาย เกี่ยวกับการขนส่งทางบกเช่นกัน จะเห็นได้ว่าเรื่องของขนส่งทางบกนั้นจำเป็นต้องเชื่อมโยง หลาย ๆ กฎหมายเข้าด้วยกัน และจำเป็นต้องศึกษาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหา ดังกล่าวทั้งหมด

นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ

สุดท้าย ท่านประธานครับ ไม่ว่าจะมีการตั้ง กมธ. วิสามัญชุดนี้หรือไม่ ทุก ๆ ท่านทราบกันดีครับ ข่าวดังในจังหวัดนครปฐมที่ผ่านมาสามารถเชื่อมโยงเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงที่เสียชีวิตจากช่องว่างทางกฎหมายของกรมการขนส่งทางบกที่เปิดช่อง ให้ผู้ประกอบการ หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่เรียกรับผลประโยชน์ได้ ท่านประธานครับ เราต้องยอมรับว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับขนส่งทางบกมีปัญหาจริง ๆ ครับ ผมจึงสนับสนุน ให้มีการตั้ง กมธ. วิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาเหล่านี้และแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณบัญชา เดชเจริญศิริกุล ครับ

นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม บัญชา เดชเจริญศิริกุล แบบบัญชีรายชื่อ พรรคท้องที่ไทย ขออภิปรายสนับสนุนญัตติในเรื่องนี้ สาเหตุปัญหาตามประเด็นในญัตติมาจากการละเลย ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ การไม่จริงจังหลายรัฐบาลที่ผ่านมา สืบเนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของบ้านเมืองในการเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนไปมากแล้ว และเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งของกรมการขนส่งทางบก เจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมทั้ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นใช้ดุลยพินิจแสวงหาผลประโยชน์ ทั้งที่เป็นเงินและอามิสสินจ้างอื่น ๆ การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาแบบไฟไหม้ฟาง มีข้อเสนอให้แก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องทั้งก่อนรัฐประหาร มาแล้วรวมทั้งหมด ๓ ครั้ง กล่าวได้ว่าเป็นปัญหาเรื้อรังของสังคมไทยมาอีกระยะหนึ่ง ก็คือ การเก็บส่วย ที่ผ่านมาที่เห็นเป็นข่าวกันมาตลอดในเรื่องของรถบรรทุกที่ผ่านมาก็สร้าง ความเดือดร้อน ทั้งผู้ประกอบการที่ทำถูกกฎหมายหลายท่านก็เดือดร้อน เกิดการแข่งขัน ที่ไม่ทัดเทียมกัน คนที่บรรทุกตามกฎหมายก็สู้ไม่ได้ คนที่แบกน้ำหนักก็ทำได้แต่ก็ต้อง ไป Clear ทางไม่ต้องวิ่งผ่านตาชั่ง ที่ผ่านมาก็ใส่กัน ๗๐-๘๐ ตัน คนที่ทำถูกกฎหมายก็ลำบาก เป็นการแข่งขันทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม ตอนนี้ในภาคของผู้ประกอบการเองก็ไม่ได้เรียกร้องอะไร ที่จะขนส่งแบกน้ำหนักหรืออะไร ต้องการให้ทุกคน เดินสายกลาง ร่วมไม้ร่วมมือกันบรรทุก ตามที่กฎหมายกำหนดก็จะได้เสมอภาคกัน ในขณะที่สื่อมวลชนเสนอข่าวถนนพังชำรุด หลายสายที่เห็นรถบรรทุกเกิน สร้างถนนไม่ได้มาตรฐาน การจัดสรรงบประมาณซ่อมแซม ถนนที่มีความเหลื่อมล้ำ นอกจากนี้ยังได้รับแจ้งจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสมาพันธ์ การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยว่าสมาพันธ์ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องส่วย แล้วก็นำเรื่องที่เป็นปัญหาในปัจจุบันเพื่อเข้ามาสู่รัฐบาลอย่างจริงจังที่จะช่วยกันแก้ปัญหา ทั้ง ๑๒ สมาคมของขนส่งทางบกที่ร่วมกันต่อสู้กันมานาน ทางสมาพันธ์ก็ขอขอบพระคุณ ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านที่จะช่วยกันมีญัตตินี้ขึ้นมาเพื่อหาความรู้ และความเข้าใจ ในญัตติที่เป็นประเด็นแล้วก็เป็นปัญหากันอยู่ทุกวันนี้ เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่เสร็จสิ้น สักครั้งหนึ่ง ที่ผ่านมาก็แก้ไขปัญหากันอย่างที่เรียนตั้งแต่ต้นเหมือนไฟไหม้ฟาง ใส่เกินถูกจับ แล้วก็ไป Clear กัน พอถูกจับเกินน้ำหนักก็ไปสู่โรงพักให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดี ไปสู่อัยการ สู่ศาลก็เสียค่าปรับกันคันหนึ่ง ๕๐,๐๐๐-๖๐,๐๐๐ บาท ก็ไม่ใช่น้อยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการทั้งหมดไม่อยากทำผิดกฎหมาย แต่ว่าที่ผ่านมาด้วยการแข่งขัน ด้วยสภาพ ของน้ำมันก็ดี ที่ผ่านมาก็ต่อสู้กันเต็มที่

นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ผมจะอธิบายให้เห็นภาพ นิดหนึ่ง รถปัจจุบันที่ได้ดัดแปลงแล้วก็ได้เปลี่ยนแปลงกันมาเยอะแยะมากมาย รถบรรทุก สิบแปดล้อ ยี่สิบสองล้อ ยี่สิบสี่ล้อ รถสิบแปดล้อก็จะใส่ได้ประมาณ ๔๗ ตัน ยี่สิบสองล้อ ตอนนี้ก็คือ ๕๐.๕ ตัน และรถตามภาพที่ ๔ รถได้ดัดแปลงกันมานานมากเป็นสิบปีแล้ว เดี๋ยวเอา ล้อใส่เดี๋ยวเอาล้อออก ซึ่งผู้ประกอบการที่อยากทำให้ถูกกฎหมายก็พยายามดัดแปลงเพื่อให้ ได้น้ำหนักเพิ่มไปตามกฎกติกาของกรมการขนส่งทางบกที่กำหนดขึ้นมา แต่ ณ ปัจจุบัน น้ำหนักได้ถูกกำหนดได้ลดลงไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ ๕๘ ตันลงมาเหลือ ๕๕ ตัน ตอนนี้เหลือ ๕๐.๕ ตัน รถที่ใส่ล้อหน้าที่เป็นล้อหน้าคู่อย่างที่เห็นในภาพที่ ๔ เป็นรถ ๔ คาน สิบสองล้อ ตัวแม่นะครับ ตัวลูกสิบสองล้อ ๓ คาน ปกติก็น่าจะใส่ได้อยู่ประมาณ ๕๕ ตัน แต่ ณ ตอนนี้ถือว่ากลับไปรวมกันอยู่ที่ ๕๐.๕ ทั้งหมด บางคนก็ต้องไปรื้อคานออกก็ต้องไป เสียค่าใช้จ่ายให้กับขนส่งไปเปลี่ยนแปลงสภาพกันอีก กลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มนี้ก็คืออยากจะทำให้ ถูกกฎหมาย แต่ที่ผ่านมาด้วยความเหลื่อมล้ำ ด้วยการปล่อยปละละเลย ส่วย Sticker ที่เห็น เป็นประจำในสื่อก็ยังมีกันเยอะแยะมากมาย ซึ่งทำให้ถนนหนทางโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ในเขตที่กำลังก่อสร้างถนน โดยเฉพาะรถดินรถทรายที่วิ่งไปทำถนนใส่กันแบบเต็มกล่องเลย หนักประมาณ ๘๐-๑๐๐ ตันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นการเอาเปรียบกันมาก ๆ ในการทำธุรกิจ เรื่องขนส่ง ฝากท่านประธานไปถึงคณะกรรมาธิการวิสามัญที่จะตั้งขึ้นมาก็ขอช่วยดูตรงนี้ ให้มีความชัดเจน เพื่อทุกคนจะได้อยู่ในสายกลางขึ้นมา แล้วผู้ประกอบการอีกบางส่วน ในเศรษฐกิจภาวะแบบนี้ก็ยังอยากให้ทาง ธ.ก.ส. สมัยก่อนเมื่อรัฐบาลเพื่อไทยก่อนที่จะมาถึง รัฐบาลนี้ คุณหมอสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ได้เคยให้วงเงิน ธ.ก.ส. ปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการที่มีความไม่คล่องตัวในธุรกิจ ปล่อยกู้ซึ่งเสียหายน้อยมาก ก็อยากให้ นำวาระแบบนั้นกลับเข้ามาอีกเพื่อความคล่องตัว แล้วในการแก้กฎหมายแต่ละอย่างนี้ก็ขอให้ ภาครัฐแจ้งผู้ประกอบการเขานิดหนึ่งเพื่อการทำงานไปคู่กันจะได้ทำให้ถูกกฎหมายด้วย ทั้งผู้ประกอบการและภาครัฐในการเขียนกฎหมายแต่ละอย่างบางครั้งเดียวมันก็มันก็ขัด ต่อความเป็นจริง กราบเรียนท่านประธานครับ ขอบคุณครับ

นายมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณภัณฑิล น่วมเจิม ครับ

นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน ผม ภัณฑิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กทม. เขตคลองเตย เขตวัฒนา ก็ขออภิปรายร่วมในเรื่องญัตติ ของขนส่ง เดี๋ยวรบกวนขอ Slide ด้วยครับ

นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เขตคลองเตยของผมก็เป็นปัญหา ค่อนข้างใหญ่เพราะเป็นที่ตั้งของท่าเรือกรุงเทพ มีรถบรรทุกขนาดใหญ่สิบล้อ Trailer เข้ามา ๑๐-๑๕ เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศวิ่งมาที่ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งส่งผลกระทบไม่ใช่แค่ เรื่องจราจรหรืออุบัติเหตุอย่างเดียว เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องฝุ่น น้ำหนักบรรทุกที่เกิน วิ่งผิดเวลา ทุกอย่างมีส่วยหมดเลยนะครับ ปกติวิ่งได้เฉพาะช่วงเวลาที่ไม่ใช่เร่งด่วน ๖ โมง ถึง ๙ โมงเช้า ๑๐ โมงเช้าห้ามวิ่ง แล้วก็ ๕ โมงเย็นจนถึง ๒ ทุ่มก็ห้ามวิ่ง แต่ปรากฏว่าหน้าบ้านผมเอง เคยมีรถวิ่งเข้ามาชนตูมหน้าบ้านเสียงดังสนั่นหวั่นไหว ออกไปดู คำพูดแรกที่คนขับรถบรรทุก พูดว่าอย่างไรรู้ไหมครับ พูดว่าเขาเสียค่าปรับมาแล้ว เขาไม่ได้รู้สึกผิดเลยที่มาวิ่งผิดเวลา เขาบอกว่าเขาเสียค่าปรับมาแล้ว ไม่ใช่แค่รถบรรทุกอย่างเดียว จริง ๆ คำว่าขนส่งมันก็มี ขนส่งสาธารณะด้วย ก็เลยขอพ่วงประเด็นไปถึงแม้ว่าอาจจะไม่ใช่ประเด็นหลัก แท็กซี่ ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตป้ายดำจอดกันเต็มไปหมดเลย อันนี้ก็เป็นปัญหาเรื่องส่วยเหมือนกัน คือจอดแนวถนนสุขุมวิท จอดในที่ห้ามจอดชัดเจน อันนี้ยังไม่พูดถึงไม่ปลอดภัยต่อผู้โดยสาร ไม่กดมิเตอร์ ไม่รับ พาไปกระทำมิดีมิร้ายหลายอย่าง ส่งผลกระทบต่อเรื่องการท่องเที่ยวด้วย

นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ส่วยทางหลวง อันนี้ผมได้พูดไปแล้วนะครับ ตำรวจพูดทีก็หยุดไปทีหนึ่ง ไปตั้งด่านตรงสรรพาวุธ เขตบางนา เขตพระโขนง แต่ก็ไม่ช่วยนะครับ ร้องเรียนทีแก้ได้ แค่ทีเดียว พรุ่งนี้เอาใหม่แห่กันมาอีกแล้ว รถบรรทุกเข้าไม่ใช่เฉพาะเขตผมเขตเดียวนะครับ มันเข้ามาทุกเส้นหลักในกรุงเทพมหานครเลยที่จะวิ่งเข้ามาท่าเรือ ถนนสุขุมวิท ถนนพระรามที่ ๔ ถนนเส้นหลัก ๆ ที่เป็นแหล่งพาณิชยกรรม มีโรงเรียน มีการจราจรที่ติดขัดอยู่แล้วปล่อยให้วิ่ง เข้ามาได้อย่างไร เห็นก็ผิดอยู่แล้วนะครับ กีดขวางการจราจร อันนี้ไม่ใช่แค่รถบรรทุกอย่างเดียว บางทีจอดแช่เลยนะครับ จอดรอเวลา รวมถึงพวกแท็กซี่ก็เหมือนกัน จอดอย่างเป็นกิจจะลักษณะ โดยไม่ได้เกรงกลัวอะไรเลยทั้งที่รู้ว่าตัวเองทำผิดกฎหมายอยู่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเยอะมาก ถึงมีความจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว หรืออาจจะเป็น อนุกรรมาธิการภายใต้คณะกรรมาธิการการคมนาคม แต่ต้องมีการศึกษาเพราะเกี่ยวข้อง กับหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นกรมการขนส่งทางบก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องร้องตลอด มีกี่ สน. ผมต้องทำหนังสือ ทั้ง LINE หา ทั้งโทรหา ปัญหารายวัน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นก็คือ กทม. ใน Case ของผม และจริง ๆ ถ้าเป็นปริมณฑลก็จะมี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก ในกรณีนี้ไม่ใช่แค่ผู้สัญจรหรือผู้ที่อยู่อาศัยโดยรอบที่กระทบเท่านั้น จริง ๆ มีผู้ประกอบการรถบรรทุก ผู้ขับก็เป็นอีกคนหนึ่ง บางทีมันไม่ใช่รถของเขาเอง เขาไปเช่ามาขับต่างหากอีกทีหนึ่ง เขาก็รู้สึกไม่ปลอดภัยเหมือนกันที่มีกฎกติกาที่ไม่ชัดเจน กฎหมายที่เกี่ยวข้องนะครับ จราจรทางบก ทางหลวง รถยนต์ มันมีช่องว่างให้เกิดการรีดไถ เยอะมาก เพราะมันมีหลายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเยอะมาก ลงไประดับระเบียบเลยนะครับ ว่าด้วยการขนส่งทางบก ว่าด้วยการตรวจสภาพรถ อันนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ปัญหา สิ่งแวดล้อม ควันดำ อันตราย เบรกแตก ตรวจสภาพก็คือเข้าไปตรวจแบบขอไปที รู้ครับ ขับเข้าไปออกมาอย่างไรก็ผ่าน หลักเกณฑ์ขออนุญาตให้รถใช้แก้ไขดัดแปลงเพิ่มเติม บางที มันไม่ใช่ประเภทของเขาด้วยนะครับ ท่านทราบไหมครับ บางทีแต่ละประเภทมันมีส่วย คนละแบบกันด้วยนะครับ อันนี้ผมก็เพิ่งรู้หลังจากได้คุยกับคนขับรถบรรทุก ระเบียบ วิธีการ เงื่อนไขในการบันทึกคะแนนมันไม่มี คือจะยึดใบขับขี่หรือจะตัดแต้มเขาไม่กลัว คือเขาเสีย ค่าปรับไปแล้ว มันอยู่ในต้นทุนของเขาไปแล้วในการประกอบกิจการเดินรถ เขาไม่ได้เกรงกลัว ต่อเรื่องการตัดคะแนนหรือการยึดเลย คืออย่างที่บอกว่าเสียสตางค์ไปแล้ว เขาคิดว่าถูกแล้ว เขาไปได้หมดทุกที่นะครับ สถิตินะครับ อาจจะไม่ต้องลงรายละเอียดมาก แต่ดูตัวเลขใหญ่ ๆ ผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ ปี ๖๕๖๖ หลักแสนที่บาดเจ็บ สถิติจากตำรวจเสียชีวิต ๖๐๐ กว่าราย แล้วสังเกตดูมันจะมีกราฟต่าง ๆ ทุกอายุ หรือเป็นระดับช่วงเวลา ช่วงเวลาที่รถบรรทุกห้ามวิ่ง อย่างที่ผมบอกไป ๖ โมงเช้าถึง ๙ โมงเช้า แล้วก็ช่วงเย็นจนถึง ๓ ทุ่มเป็นช่วงเวลาที่มี อุบัติเหตุเยอะที่สุด เขาถึงไม่อยากให้รถบรรทุกเข้ามาวิ่ง เป็นเวลาที่มีนักเรียน มีการสัญจรเยอะ มีผู้อยู่อาศัยในชุมชนกลับบ้าน ออกจากบ้าน ควรจะต้องกวดขันดูแลไม่ให้มีการนำรถบรรทุก ขนาดใหญ่มาวิ่งในเวลาห้ามวิ่งนะครับ ถ้าเผื่อพูดถึงโดยรวมทั้งประเทศในหน้าถัดไปยิ่งแล้วใหญ่ ผู้เสียชีวิตหลักหมื่นคน ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ นะครับ การขนส่งรถพ่วง รถบรรทุกขนาดใหญ่ มันอันตรายมากเพราะมวลน้ำหนักมันเยอะมาก ด้วยความเร็วนิดเดียว ถ้าเกิดผิดปกติอะไรขึ้นมา ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมโหฬารเลยนะครับ เพราะฉะนั้น การกำหนดมาตรฐานต้องเข้มงวดมาก นี่ยังไม่พูดถึงผู้บาดเจ็บ ส่วนใหญ่จะเป็นมอเตอร์ไซค์ เยอะมากเลยที่เป็นมอเตอร์ไซค์ แล้วก็เป็นคนเดินถนน คนเดินที่ใช้ทางเท้าข้าง ๆ ไม่รู้ว่าวันดีคืนดี จะตายเมื่อไรนะครับ เพราะฉะนั้นผมก็ขอแรงสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกด้วยในประเด็นญัตติ เรื่องขนส่งว่าเราจะต้องมีการศึกษาเรื่องนี้กัน แล้วก็เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในอนาคต ขอบคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ครับ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ต่อญัตติเรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาหาแนวทาง แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก เพื่อให้มีความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการ และประชาชน และป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ ท่านประธานครับ ผมอ่านชื่อญัตติแล้วก็พบ คำสำคัญอยู่ ๓ คำด้วยกัน

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ข้อแรก คือคำว่า แก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ข้อที่ ๒ แยกเป็น ๒.๑ กับ ๒.๒ ครับ ๒.๑ เพื่อให้มีความเป็นธรรม แก่ผู้ประกอบการ และ ๒.๒ มีความเป็นธรรมกับประชาชน

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ข้อที่ ๓ คือคำที่ ๓ เป็นเรื่องของการป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ผมไปทีละคำก็แล้วกันครับ ท่านประธานครับ ทำไมผู้ประกอบการบริการ รถขนส่ง รถบรรทุกจะต้องดิ้นรน หรือหาแนวทางในการจะประกอบสัมมาวิชาชีพนี้ให้ได้ มีหลายปัจจัยครับ หนึ่งในนั้นก็คือศูนย์วิจัยทางเศรษฐกิจหลายสำนักพยากรณ์ว่า ในช่วงปี ๒๕๖๕-๒๕๖๗ ธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าจะเติบโตเฉลี่ย ๓-๕ เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประเทศที่เป็นต้นทางโรงงานของโลก สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น หันกลับมาดู บ้านเรา เราสามารถผลิตสินค้าเกษตรได้มากขึ้น เรามีเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการผลิต สินค้าเกษตรที่เป็นเกษตรแม่นยำ ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นการค้าการขายสินค้าไม่ว่าจะเป็น Offline Online ขยายตัวทุกช่องทาง การขายสินค้าผ่านด่านพรมแดนต่าง ๆ เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่พฤติกรรมการซื้อสินค้าของคนไทย โดยเฉพาะสินค้า Online น่าดีใจครับ คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก เราเป็นมือวางอันดับหนึ่งในการซื้อสินค้า Online สูงสุดของโลก ดังนั้นเวลาเราจะซื้อสินค้า ๑ ชิ้นจะต้องมีต้นทุนที่สามารถแจกแจงชี้แจงได้ว่า เป็นต้นทุนผลิตสินค้าเท่าไร ค่าขนส่งเท่าไร แล้วเราก็พบว่าค่าขนส่งต่อหน่วยสินค้าของไทยนั้น ยังอยู่ในอัตราค่อนข้างสูง ดังนั้นเราต้องไปดูว่าอะไรที่ทำให้ต้นทุนในระบบ Logistics หรือห่วงโซ่การผลิตอาหาร ห่วงโซ่ของการขนส่งนั้นสูงขึ้น ไปไล่เรียงดูแต่ละตัวครับ เราไปพบว่ากฎหมายที่เราใช้นั้นความจริงเพื่อนสมาชิกหลายท่านก็อภิปรายไปก่อนหน้านี้ว่า เป็นกฎหมายเก่าครับ เราใช้พระราชบัญญัติทางหลวง ปี ๒๕๓๕ จะเก่าจะใหม่ก็ว่ากันละครับ แต่ถามว่าเก่าที่ว่านั้นเป็นธรรมกับผู้ประกอบการหรือไม่ และเป็นธรรมกับประชาชนหรือไม่ ไปที่โหมดความเป็นธรรมกับประชาชนครับ มีความพยายามจะออกกฎหมายที่จะพราก ระหว่างรถขนคนกับรถขนของออกจากกัน ทั้งจัด Zoning จัด Timing ให้เวลาเหลื่อมกัน เวลาขนคนกับขนของอย่ามาทับซ้อนกันรถบรรทุกอย่าวิ่งน้ำหนักเกินครับ ผ้าใบต้องคลุม มิดชิด อย่าแช่ขวา เราได้เห็น Sticker รถบรรทุกครับ ขับซ้ายเมียก็ด่า ขับขวาจ่าก็จับ แต่ว่าการป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์เป็นเรื่องยากครับ เพราะตราบใดที่ฝ่ายให้กับ ฝ่ายรับยินยอมพร้อมใจกัน โดยพยายามช่วยกันหาช่องว่างทางกฎหมาย อันนี้ก็เป็นไปด้วย ความยากที่เราจะแก้ไขปัญหาส่วย หรือปัญหาการเรียกรับผลประโยชน์ แต่ถ้าคนที่ปฏิบัติตาม กฎหมายที่ว่าเก่านี่นะครับ เอาให้เห็นภาพชัด ๆ แบบชาวบ้านร้านตลาดอย่างเรานี่ละครับ เช่น ถ้าเราขับรถมาจากมุกดาหารจะมากรุงเทพฯ มาประชุมสภา อย่างน้อย ๆ ต้องเจอ ๑-๒ ด่าน เจ้าหน้าที่ตำรวจบางทีเวลาบังคับใช้กฎหมายก็ตอบคำถามยากครับ เช่น เรื่องของความเร็ว บอกว่าห้ามขับเกิน ๑๒๐ ลงมาเจ้าหน้าที่ก็ถามว่าขับรถ ๑๒๐ เราบอกเราขับไม่ถึง เต็มที่ ก็ ๘๐-๙๐ ตำรวจบอกใช่ ๑๒๐ จะเอาผิดให้ได้ก็เดินไปคลำกระโปรงหน้ารถแล้วบอกว่า ๑๒๐ แน่นอนเพราะว่ากระโปรงหน้าร้อนขนาดนี้แสดงว่า ๑๒๐ เราเห็นทางรอดครับ เราบอกว่ารถรุ่นนี้เครื่องมันอยู่ข้างหลังครับ ตำรวจบอกว่าแสดงว่าต้องขับเร็ว ๒ เท่า ต้องวิ่งเร็ว ๒๔๐ ครับ เพราะมันร้อนจากข้างหลังมาข้างหน้า นี่ครับท่านประธาน คนไม่ใช่ ทำอะไรก็ผิด ดังนั้นเมื่อต้องการความถูกต้องจึงมีความพยายามที่จะดิ้นรน พยายามที่จะ แสวงหาช่องทางที่จะเป็นคนที่ถูกครับ ดังนั้นเรื่องของการเรียกรับผลประโยชน์จะหมดไป มันต้องแก้อย่างเป็นระบบ ความจริงผมทำ Q & A มาเพื่อจะบอกว่า ๓ ปัญหาที่เป็นคำถาม ผมมีคำตอบมาเสร็จครับ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

คำถามที่ ๑ ปัญหาเรื่องความซ้ำซ้อนในการออกประกาศของหน่วยงานแต่ละพื้นที่ ถนนแต่ละเส้นใครจะไปจำครับว่าใครเป็นเจ้าของถนนถูกไหมครับ และการบังคับใช้กฎหมาย แต่ละเส้น แต่ละถนนนั้นมีอิสระต่อกัน นี่พูดแบบสวยงามนะครับ อิสระต่อกัน แต่ถ้าแปล ภาษาชาวบ้านคือต่างคนต่างบังคับใช้ ดังนั้นทางแก้ก็คือทำอย่างไรที่เราจะบูรณาการ แก้กฎหมายให้สอดคล้องสอดรับไปด้วยกัน

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประเด็นปัญหาข้อที่ ๒ วันนี้นายจ้างลอยตัวเนื้อปัญหา คนขับก็ไปเผชิญ ชะตากรรมเองครับ ถูกจับถูกปรับคนขับต้องรับผิดชอบ ทางแก้เห็นอยู่แล้วครับ ก็ไปศึกษา แก้ไขกฎหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการนั้นต้องร่วมรับผิดชอบด้วย

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประเด็นปัญหาข้อที่ ๓ ปกติรถจะสามารถบรรทุกได้วิ่งบนถนนปลอดภัย ๒๑ ตัน แต่ถ้าไปจ่ายส่วยก็จะเลยจาก ๒๑ ตันไปเป็น ๕๐ ตัน ทางแก้ก็มีอยู่ ๒-๓ ทาง ๑. สร้างถนนที่สามารถรองรับน้ำหนักรถได้มากขึ้น ๒. ถ้าบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดแล้ว มันแก้ไม่ได้ก็ต้องไปแก้ไขกฎหมายให้เป็นปัจจุบัน แต่ผมเห็นว่าเรื่องนี้ท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านมนพร เจริญศรี ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม สุรพงษ์ ปิยะโชติ เอาอยู่ครับ และในส่วนของคณะกรรมาธิการสามัญ ชุดของครูมานิตย์ สังข์พุ่ม คณะกรรมาธิการการคมนาคม ผมมั่นใจว่าถ้าได้ศึกษาเรื่องนี้จะแก้ไขปัญหาได้อย่างแน่นอน เพราะผมไม่เคยเห็นครูตกเลข ครูเก่งทุกคน สามารถคำนวณน้ำหนัก อ่านกฎหมายรู้ดูกฎหมายเป็น จึงขอเสนอว่าให้นำเรื่องนี้ ไปให้กับคณะกรรมาธิการการคมนาคมซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญศึกษาเรื่องนี้ หวานเจี๊ยบครับท่านประธาน กราบขอบพระคุณครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ต่อไปขอเชิญ คุณวีรภัทร คันธะ

นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม วีรภัทร คันธะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๖ พรรคก้าวไกล ตัวแทนคนพระประแดงครับ ผมขออนุญาตมีส่วนร่วมในการอภิปรายญัตติขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาหาแนวทางการแก้ไขกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบกเพื่อให้มีความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการและประชาชน และป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ ท่านประธานครับผมเกรงว่าเวลา ๗ นาทีจะไม่ค่อยพอ ถ้าให้เวลาสัก ๗๐ นาทีน่าจะมีเวลาคุยกันได้เยอะกว่านี้ แต่เนื่องจากว่าเรามีระยะเวลาที่จำกัด ก็ขออนุญาตที่จะอภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาส่วยรถบรรทุกในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ขอ Slide ครับ

นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ปัญหาในอำเภอ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรม มีรอยต่อกับทางเขตบางนา เขตคลองเตย อำเภอพระสมุทรเจดีย์ เรื่องนี้เราพูดกันมานานแล้วครับท่านประธาน เพราะว่า เรื่องของรถบรรทุกน้ำหนักเกินมีปัญหามาอย่างต่อเนื่อง และมีปัญหาเรื่องของการวิ่ง ในช่วงเวลาห้ามวิ่งด้วยครับ สาเหตุมาจากการที่บริษัทต้องแบกต้นทุนค่าขนส่ง จึงต้องลดต้นทุน ด้วยการให้รถบรรทุกแบกน้ำหนักเกินในแต่ละรอบของการวิ่งเพื่อลดต้นทุนของบริษัท แล้วการทำรอบในการวิ่งยังต้องวิ่งนอกเหนือจากเวลาที่กำหนด สร้างความเดือดร้อน และความไม่ปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน และที่สำคัญเรื่องนี้คือการทำให้ถนนเสียเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแค่การเรียกรับส่วยของวงการยุติธรรมเท่านั้นนะครับ แต่ยังรวมไปถึงปัญหาการเรียกรับผลประโยชน์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่องนี้ ผมต้องบอกตรง ๆ ครับว่า การยึดรถบรรทุก ยึดก็ไม่ได้เพราะว่าเสียเลนบนถนน ไม่มีที่เก็บพักรถ บังคับจอดก็ไม่ได้เช่นกัน ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นมากมายเหลือเกินในอำเภอพระประแดง จนทำให้การแก้ปัญหารถบรรทุกไม่สามารถแก้ไขได้สักที ผมเข้ามารับตำแหน่ง ๔-๕ เดือนนี้ Traffy Fondue ของผม ๘๐ เปอร์เซ็นต์มีแต่ปัญหาเรื่องของรถบรรทุก และสิ่งที่เกี่ยวข้อง กับรถบรรทุกครับ ปัญหาที่เกี่ยวข้องก็คือเรื่องของสมรรถภาพคนขับรถ จากปัญหาเกี่ยวกับ รถบรรทุกที่ผมว่าไปแล้วนะครับ การขับรถเพื่อทำรอบจำเป็นต้องอดนอน คนขับจึงต้องหา สิ่งกระตุ้น นั่นก็คือเครื่องดื่มชูกำลังและยาเสพติดครับ ยาบ้าและใบกระท่อมมีมากมายเหลือเกิน ในพื้นที่อำเภอพระประแดง เนื่องจากว่าคนโรงงานและคนในแวดวงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ต้องหามรุ่งหามค่ำ ก็ไปพึ่งพายาเสพติด ส่งผลให้สุขภาพคนขับรถมีปัญหา อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และทำให้ธุรกิจยาเสพติดก็เติบโตในพื้นที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ บนถนน และเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินต่อประชาชนในระยะยาว Slide ต่อมาครับ รถบรรทุกวิ่งในซอยเล็กครับท่านประธาน ถนนเล็กนิดเดียวเนื่องจากว่า ในสมัยก่อนอำเภอพระประแดงเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่เป็นรอยต่อของกรุงเทพมหานคร แต่มีชุมชนที่ขยายตัวเข้ามา ค่อย ๆ ขยายตัวเข้ามา ปัจจุบันยังมีโรงงานที่อยู่ร่วมกับชุมชนได้ แต่ในหลาย ๆ จุดชุมชนที่อยู่กลับกลายเป็นว่าปล่อยเด็กเข้ามาอยู่ในบริเวณที่รถบรรทุกวิ่ง ทำให้เกิดอันตราย เกิดอุบัติเหตุที่น่าสลดไปหลายต่อหลายครั้ง ส่วนรถอีกหลายคันจอดรถ บนถนนกันแบบไร้วินัย จอดรอเข้าโรงงาน จอดพักทานอาหาร ใช้พื้นที่บนถนนหลวงจอดแช่ จนเกิดปัญหาการจราจรรถติดมากในพื้นที่พระประแดง ท่านประธานครับ ผมมีข้อเสนอ เบื้องต้นก่อนที่จะมีมติว่าจะให้ตั้งหรือไม่ให้ตั้ง แต่ผมคงต้องบอกว่าปัญหาเหล่านี้จำเป็น จะต้องใช้กลไกในสภาเพื่อหาทางออกของปัญหา

นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

อย่างแรก ผมเสนอในเรื่องของการเจรจาหาพื้นที่ว่างโดยเฉพาะใต้ทางด่วน เพื่อทำจุดพักรถและเป็นจุดยึดรถในเวลาเดียวกัน แล้วก็ส่งเสริมนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาและส่งเสริมระบบการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะเรื่องของการขนส่งด้วยรถไฟ และทางเรือ

นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

นอกจากนี้ผมเสนอให้สร้างความร่วมมือระหว่างโรงงานกับชุมชนทำ CSR ด้วยกัน เพื่อสร้างลักษณะของการอยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นแผนในระยะสั้น ส่วนแผน ในระยะยาวผมเสนอให้การตีเส้นของผังเมือง ขีดสีของผังเมืองต้องมีแผนในการย้ายโรงงาน ออกจากชุมชน เพราะปัจจุบันพระประแดงเป็นพื้นที่ที่ติดกับกรุงเทพมหานคร ห่างเพียง เจ้าพระยากั้นเท่านั้นครับ

นายวีรภัทร คันธะ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

ข้อสุดท้าย ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ในหลาย ๆ ประเทศเรามีศาลจราจร เกิดขึ้นนะครับ เพราะศาลจราจรนี้จะเปรียบเทียบปรับ แล้วก็ดูแล Case ที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์หรือส่วยรถบรรทุก ท่านประธานครับ ผมในฐานะ ที่เป็นคนพระประแดง ผมต้องการให้บ้านเมืองของผมอยู่อย่างสงบสุข โดยที่รถบรรทุก จะต้องลดน้อยลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นศูนย์ เพราะปัจจุบันพระประแดงก็ถือว่าเป็นเมือง แห่งหนึ่ง และอยากจะให้อยู่ร่วมกันด้วยความปลอดภัยไม่มีส่วย ขอบคุณท่านประธานครับ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

ขอเชิญคุณประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี เขต ๗ อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี และอำเภอหนองเสือ ผมขอร่วมอภิปรายเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ แก้กฎหมายขนส่งทางบกเพื่อความเป็นธรรมแล้วก็ป้องกันส่วยทางหลวง จากที่คุณวีรภัทร คันธะ พูดไปสักครู่ก็ปัญหาเดียวกันเลยกับของอำเภอลำลูกกานะครับ ในอำเภอลำลูกกา อำเภอหนองเสือ อำเภอธัญบุรีจะมีรถบรรทุกพ่วงวิ่ง ขอ Slide หน้าที่ ๒ ครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

ถนนขรุขระตามที่เห็นในภาพ เกิดจากรถบรรทุกที่เกินน้ำหนัก บรรทุกน้ำหนักเกิน บรรทุกดิน รถพ่วงวิ่งตลอดเวลา ถนนก็ขรุขระตามภาพเลยนะครับ แล้วก็ต้องซ่อมแซมกันตลอดเวลา แล้วกว่าจะซ่อมก็ใช้ เวลานานนะครับ เพราะว่าทางเทศบาลเองก็ดี หรือว่าทางหลวงชนบทเองก็ดี รู้ว่าสร้างไป ซ่อมไปมันก็จะพังอีก เพราะฉะนั้นผมก็ต้องตามเรื่อย ๆ เพื่อให้มาซ่อมสักทีนะครับ แต่ตรงนี้ ผมตามแล้วซ่อมไปเรียบร้อยแล้วนะครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

ปัญหาต่อไป อันนี้คือป้ายที่ผมไปถ่ายมานะครับ ป้ายห้ามวิ่งในตอนเช้า ช่วงเช้า ๖ โมงเช้า ถึง ๙ โมง แล้วก็ช่วงเย็น ๔ โมงเย็น ถึง ๒ ทุ่ม รถตั้งแต่หกล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งบนถนนเส้นนี้นะครับ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่าเราจะเห็นรถบรรทุกพ่วงวิ่งตลอดเวลาเลย ทั้งรถบรรทุกหนัก รถบรรทุกพ่วงวิ่ง ปัญหาคือการจราจรติดขัดแล้วก็เกิดอุบัติเหตุ ตอนเช้า ก็จะมีนักเรียนขี่มอเตอร์ไซค์ไปโรงเรียน ตอนเย็นก็มีนักเรียนขี่มอเตอร์ไซค์กลับบ้าน ซึ่งก็อันตราย มาก ๆ เลยนะครับ หลายครอบครัวก็แจ้งร้องเรียนมาที่ผม ผมก็พยายามช่วยนะครับ ดังภาพ ต่อไปเราลองมาดูกันครับ ตรงนี้ผมได้แจ้ง สภ. คูคต และ สภ. ลำลูกกาไป ช่วงนั้นจะเห็นว่า ๕ โมงเย็นถนนโล่งเลยนะครับ ๖ ปีที่ผมอยู่ตรงนี้ไม่เคยมีถนนโล่งขนาดนี้มาก่อนนะครับ ตรงนี้คือหน้าหมู่บ้านบ้านฟ้าปิยรมย์ คลอง หก ถนนลำลูกกา ถนนโล่งมาก ๆ หลังจากที่ผมได้แจ้งทาง สภ. คูคตไป แล้วก็ สภ. ลำลูกกาไปแต่ โล่งได้อยู่ประมาณ ๒ เดือนแล้วก็กลับมาเหมือนเดิม อันนี้คือปัญหาที่ผมบอกนะครับ รถใหญ่วิ่งตลอดเวลา ตรงนี้จะเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ก็มีผู้บาดเจ็บแล้วบางครั้งก็ถึงกับ เสียชีวิต เนื่องจากว่าวิ่งตลอดเวลาแล้วถนนก็เล็ก ก็อยากให้มีการแก้ไขนะครับ ตรงนี้ ผมก็จะแยกเป็น ๒ ประเด็น

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

ประเด็นแรก คือคนก็สงสัยว่าที่รถวิ่งได้ตลอดเวลานี้เกิดจากส่วยทางหลวง หรือไม่ อันนี้คือประเด็นแรก ซึ่งทุกคนในที่นี้หรือว่าพรรคก้าวไกลเราเองก็พยายามต่อสู้ กับส่วยทางหลวงมานะครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

อีกประเด็นหนึ่ง ที่ผมก็เห็นใจผู้ประกอบการรถบรรทุกว่าถ้าไม่ให้เขาวิ่งเลย หรือว่าห้ามวิ่งเวลาอย่างนั้นก็อาจจะทำให้ต้นทุนเขาสูงเพิ่มขึ้น การแข่งขันก็จะลำบากขึ้น เพราะฉะนั้นผมก็อาจจะเสนอทางเลือกนะครับ อย่างเช่นเรามาดูกฎหมายกันนะครับ ฝากคณะกรรมการชุดนี้ถ้าตั้งขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นวิสามัญหรืออนุกรรมการนะครับ ฝากพิจารณากฎหมาย อาจจะเพิ่มจากรถหกล้อนะครับ อาจจะเป็นรถสิบล้อขึ้นไปที่ห้ามวิ่ง ในช่วงเร่งด่วน แล้วเวลาเร่งด่วนของเราอาจจะลดเวลาลงมาจากตอนเช้า ๓ ชั่วโมง อาจจะลดลงมาเหลือ ๒ ชั่วโมง ตอนเย็น ๔ ชั่วโมงก็อาจจะลดลงมาเหลือ ๓ ชั่วโมง เพื่อให้มีการเจรจาประนีประนอมกันระหว่างผู้ประกอบการและผู้ใช้รถใช้ถนน อันนี้ อาจจะเป็นข้อเสนอที่อยากจะให้ศึกษาจะได้ดูความเป็นไปได้นะครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

ตรงนี้ก็อีกประเด็นหนึ่ง เมื่อสักครู่เพื่อนก็ได้พูดไปแล้วเรื่องของบังโคลนใหญ่ ดูลักษณะนี้นะครับ ถ้าไม่จ่ายส่วยมีสิทธิไหมครับ ลองดูวิ่งได้ขนาดนี้นะครับ กินไป ๓ เลน แล้วรถเล็ก รถใหญ่ก็มีอุบัติเหตุจากการที่บังโคลนใหญ่ขนาดนี้นะครับ มอเตอร์ไซค์วิ่งสวนมา อาจจะชนได้เลยครับ ตรงนี้ผมก็รณรงค์กับใน Page ของผมให้คนที่มีข้อมูลเกี่ยวกับส่วย Sticker ก็ Add LINE Official มาหาผมได้นะครับ แจ้งข่าวแล้วผมก็จะรวบรวมให้กับดาวเคราะห์น้อย ของพรรคผมนะครับ คุณวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ให้ไปชนกับส่วยต่อไปครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรื่องต่อไปที่ผมจะพูดถึงก็จะเป็นของใบสั่งจราจรนะครับ ใบสั่งจราจรมีสถิติ หลังจากที่เราเปลี่ยนใบสั่งเป็นว่า ถ้าคุณไม่จ่ายค่าปรับนี้ไม่สามารถต่อภาษีได้ อันนี้ถือเป็น ไม้ตายของทางจราจรเลยนะครับ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญนะครับ ลดลงมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มใช้แล้วก็มาพฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ๕ เดือนนะครับ กราฟผู้เสียชีวิตลดลงมาโดยตลอด แสดงว่า การทำลักษณะนี้จะช่วยปรามผู้ใช้รถใช้ถนนให้ระมัดระวังไม่ทำผิดกฎจราจร ซึ่งก็ถือเป็น เรื่องที่ดี แต่เมื่ออาทิตย์ก่อนศาลปกครองกลางก็บอกว่าขอให้เพิกถอนตรงนี้ เพราะว่า การออกใบสั่งแบบนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกปรับไม่มีโอกาสโต้แย้งนะครับ ตรงนี้ก็เป็น เรื่องที่อาจจะต้องไปหาทางทำให้มันเป็นกฎหมายที่ศักดิ์สิทธิ์มากกว่านี้แล้วก็ไม่ผิดกฎหมาย แล้วก็สามารถที่จะลดอุบัติเหตุได้ ลดการเสียชีวิตได้ อันนี้ฝากไว้อีกเรื่องหนึ่ง

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

ส่วนเรื่องที่ ๕ ป้ายจราจรต่าง ๆ เห็นไม่ชัดเจน ตรงนี้บางส่วนก็มีต้นไม้บัง บางส่วนก็เป็นป้ายกลับรถแต่กลับรถไม่ได้ อันนี้ตรงลำลูกกาคลองหกอีกเหมือนกันนะครับ เพราะผมผ่านบ่อย ผมก็ขอยกตัวอย่างหน้าวัดประชุมราษฎร์นะครับ ก่อนหน้านี้ไม่มีสัญญาณ ไฟจราจรแล้วก็รถติด การกลับรถลำบากก็มีการศึกษากันอย่างไรไม่ทราบนะครับ ก็เริ่มทำ ไฟสัญญาณจราจรใช้เวลา ๒ ปีในการทำ ติดตั้งแค่ไฟสัญญาณจราจรใช้เวลา ๒ ปี เปิดใช้มา ๒ เดือนปรากฏว่ารถติดหนักกว่าเดิม รถไปติดในซอยก็เลยปิดการทำงานไปจนถึงปัจจุบันนี้ สร้างมา ๒ ปี ใช้งาน ๒ เดือน แล้วก็ปิดใช้ยาวเลย แต่ก็ไม่มีเครื่องหมายอะไรบอกเลยว่า ไม่ใช้งานแล้ว ถนนก็ยังเบี่ยงให้คนเข้าไปกลับรถ พอกลับไม่ได้ก็ต้องเบี่ยงกลับคืนมา ซึ่งเกิดอุบัติเหตุได้ อันตรายมาก ๆ นะครับ ก็ขอฝากท่านประธานไว้เพียงเท่านี้ไว้พิจารณา แล้วก็ทำป้ายจราจรกันให้ถูกต้อง ขอบคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่านนะครับ ท่านเชตวัน เตือประโคน ท่านเอกราช อุดมอำนวย ท่านธีรัจชัย พันธุมาศ เชิญท่านเชตวัน เตือประโคน

นายเชตวัน เตือประโคน ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพครับ ผม เชตวัน เตือประโคน สส. พรรคก้าวไกล จังหวัดปทุมธานี พื้นที่เทศบาล เมืองคูคต เมืองลำสามแก้ว และเมืองลาดสวาย วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายในญัตติขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาหาแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการขนส่งทางบก เพื่อให้มีความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการและประชาชน และป้องกัน การเรียกรับผลประโยชน์

นายเชตวัน เตือประโคน ปทุมธานี ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ เพื่อน ๆ สมาชิกหลายท่านได้พูดไปแล้วถึงเรื่องปัญหาของ รถบรรทุก ผมคงไม่ขอพูดซ้ำ แต่ที่จะอภิปรายให้ได้รับทราบปัญหาเพื่อร่วมหาทางแก้ไข แก้กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์หรือส่วย นั่นก็คือ มีสาเหตุหลัก ๆ มาจากขนส่งสาธารณะในท้องที่ที่ไม่เพียงพอ ก็เลยทำให้เกิดเรื่องของ ส่วยแท็กซี่ แต่ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้นครับท่านประธาน พื้นที่ของผมเทศบาลเมืองคูคต เมืองลำสามแก้ว และเมืองลาดสวายนี้ พื้นที่ประมาณ ๕๘ ตารางกิโลเมตร มีประชากร อยู่หนาแน่นมาก ๕๘ ตารางกิโลเมตรนี้ประชากรถึง ๑๗๙,๐๐๐ คน พื้นที่เพียงแค่นี้ อัดแน่นไปด้วยผู้คน ชุมชน หมู่บ้านจัดสรร แต่ทว่าปัญหาที่พวกเราเจอก็คือขาดขนส่ง สาธารณะที่ได้มาตรฐานครอบคลุม ทั่วถึง เพียงพอ และตรงต่อเวลา เพื่อที่จะทำให้คนใช้รถ ใช้ถนนนี้วางแผนในการเดินทางของตัวเองได้

นายเชตวัน เตือประโคน ปทุมธานี ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ปัญหาในเรื่องขนส่งสาธารณะที่ไม่เพียงพอนี่เองที่ทำให้ ประชาชนต้องซื้อรถ ครอบครัวละคันสองคันเพื่อให้ตัวเองมีเสรีภาพในการเดินทาง แต่ที่ไหนได้ครับ ซื้อรถมาคิดว่าจะมีเสรีภาพในการเดินทาง กลับกลายเป็นว่าต้องมาติดแหง็ก อยู่บนถนน สำหรับคนที่ไม่มีรถล่ะครับ คนที่ไม่มีรถแน่นอนว่าต้องใช้บริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งพอไปดูรถโดยสารสาธารณะในพื้นที่อย่างรถเมล์ก็พบว่ามีจำนวนน้อยเหลือเกิน ถ้าเทียบกับ เขตพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่มากมายอย่างที่ผมได้ให้ตัวเลขไปแล้ว เมื่อรถเมล์มีน้อยคนก็ต้องคอยนาน และพอรอนานรถแต่ละคันที่มาก็อัดแน่นไปด้วยผู้คนเป็นจำนวนมาก ซึ่งประชาชนที่ไม่มี ทางเลือกมากก็ต้องจำขึ้นไปเบียดกับคนอื่น ๆ บนรถเมล์ที่สภาพส่วนใหญ่ก็เก่ามาก ๆ ย่ำแย่มากครับท่านประธานลองไปดูได้ ในพื้นที่อำเภอลำลูกกาตรงนี้มีรถโดยสาร รถเมล์ ให้บริการน้อยมาก ๆ แล้วก็มีประชาชนแจ้งเรื่องเข้ามาถึงผมว่าอยากให้ช่วยไปแจ้งกับ ทางขนส่งให้เพิ่มจำนวนรถขนส่งสาธารณะตรงนี้ให้มากขึ้นด้วย และเพราะความขาดแคลน รถเมล์นี่เอง และเพราะสภาพของรถเมล์ที่เป็นแบบนี้นี่เอง ที่ทำให้คนหันมาใช้บริการแท็กซี่ ที่เพิ่มความสะดวกสบายขึ้นมาหน่อยนะครับ และความต้องการใช้บริการแท็กซี่นี่เองที่ทำให้ ประชาชนจำนวนมากตั้งข้อสงสัยว่าได้กลายเป็นช่องทางให้เกิดการเรียกรับผลประโยชน์ มีเรื่องของส่วยเกิดขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะในจุดบริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้าคูคต ซึ่งเป็นสถานี ปลายทาง และเป็นส่วนต่อขยายมาจากกรุงเทพมหานคร บริเวณดังกล่าวมีรถแท็กซี่จอดอยู่ เยอะมาก ๆ จอดในที่ห้ามจอด จอดค้างเป็นเวลานาน จอดกีดขวางการจราจร แล้วก็เป็น พื้นที่ที่เคยมีเรื่องของ Sticker แลกกับการจอดแช่ เวลามีแท็กซี่ต่างถิ่นเข้ามาก็จะถูก Mafia ที่คุมวินแท็กซี่ตรงนี้ไล่ให้ออกไปด้วย หรือแม้แต่กรณีที่เคยมีคนมาเล่าให้ผมฟัง เย็นวันที่ฝนตก ซึ่งเป็นวันที่จะมีความต้องการของการใช้แท็กซี่เป็นจำนวนมาก แท็กซี่ท้องถิ่นที่เคยจอดแช่อยู่แล้ว ก็จะได้ลูกค้าออกไป แล้วพอมีแท็กซี่จากที่อื่นเข้ามา ประชาชนเรียกให้แท็กซี่มารับ ก็ปรากฏว่า ยังมีคนคุมวินแท็กซี่ตรงนี้ไล่ให้แท็กซี่คันนั้นออกไป แล้วก็บอกกับประชาชนที่จะเรียกแท็กซี่ว่า ให้รอแท็กซี่ของท้องถิ่นที่กำลังจะกลับเข้ามา ท่านประธานครับ จากข้อมูลของสำนักข่าวแห่งหนึ่งที่ไปลงพื้นที่ตรวจสอบเรื่องนี้ก็พบว่า มีการจ่ายค่าดูแลอย่างนี้จริง ๆ ๓๐๐-๖๐๐ บาทต่อเดือน ผมมีโอกาสได้คุยกับทางกลุ่ม สายไหมต้องรอด ซึ่งเข้าไปช่วยเหลือเหยื่อหลาย ๆ ราย กรณีที่สามารถจับตัวคนร้ายได้ คนที่ทำร้ายร่างกายที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว คุณลุงคนหนึ่งแวะเข้าไปรับผู้โดยสาร แต่ปรากฏว่า ถูกทำร้ายร่างกาย กรณีที่จับตัวคนร้ายได้แบบนี้ผลของคดีก็คือเมื่อคนร้ายรับสารภาพ บอกว่าจะไม่ทำอีก โทษก็เพียงแค่จ่ายค่าปรับแล้วก็รอลงอาญา ซึ่งสุดท้ายพอปล่อยตัว ออกมาก็กลับมาเป็น Mafia คุมวินแท็กซี่อีกเหมือนเดิม ทั้ง ๆ ที่การทำร้ายร่างกายนี้ ไม่ใช่การทะเลาะวิวาทของบุคคลซึ่งจะยอมความกันได้ แต่มันคือการทำร้ายร่างกายของ คนทั่วไปในที่สาธารณะ ซึ่งกรณีนี้ก็เคยมีการเสนอให้เป็นเรื่องของการเพิ่มโทษให้หนักขึ้นกว่า ที่เป็นอยู่ ท่านประธานครับ หากท่านลองไปสอบถามคนในพื้นที่แล้วผมมั่นใจว่าประชาชน จำนวนมากต่างเชื่อว่าวินแท็กซี่บริเวณดังกล่าวนี้มีการเรียกรับผลประโยชน์ ประชาชนเขาเชื่อ อย่างนั้นจริง ๆ ครับ ส่วนข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็คงต้องมีการตรวจสอบ แต่เพราะอะไรครับ ที่ทำให้ประชาชนเชื่อ ก็เพราะสิ่งที่พวกเขาเห็นก็คือสถานีตำรวจอยู่ตรงนั้น แท็กซี่จอดแช่ และมี Mafia คอยไล่แท็กซี่ก็อยู่ตรงนั้น มีผู้ถูกทำร้ายร่างกายก็ตรงนั้นใกล้ ๆ กับสถานีตำรวจ ท่านประธานครับ นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องตั้งคณะกรรมาธิการชุดนี้ครับ ดังนั้นผมจึง เห็นด้วยกับญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาหาแนวทาง แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก เพื่อให้มีความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการ และประชาชน และป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ต่อไปท่านเอกราช อุดมอำนวย ครับ

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพครับ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล ขอบคุณท่านประธานที่ได้เปิดโอกาสให้อภิปรายในเรื่องญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอเกี่ยวกับ การขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การขนส่งทางบกเพื่อให้มีความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการและประชาชน และป้องกัน การเรียกรับผลประโยชน์ ท่านประธานครับ ในเขตดอนเมืองนี้จะมีถนนสายหนึ่งชื่อว่า ถนนกำแพงเพชร ๖ ถนนเส้นนี้มีระยะทางตั้งแต่เขตหลักสี่จรดจนถึงจังหวัดปทุมธานี เป็นเขตติดต่อกัน และการขยายตัวของชุมชนเมืองไม่ว่าจะเป็นพี่น้องในเขตดอนเมือง มีชุมชนมีหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นจำนวนมาก มีการขนบรรทุกหิน ดิน ทราย เพื่อใช้ ในการก่อสร้างจำนวนมาก ในขณะเดียวกันเขตตรงนั้นก็เป็นพื้นที่ที่มีกองทัพอากาศตั้งอยู่ แล้วก็มีการขนบรรทุกในการใช้รถใช้ถนนที่มีขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน การสัญจรบริเวณ ดังกล่าวแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อถนน ต่อพื้นผิวจราจรเป็นปัญหามากทีเดียวครับ เพราะว่ารถบรรทุกที่บรรทุกเกินย่อมทำให้สภาพถนนนั้นพังไว จากระยะการใช้งาน สัก ๑๕ ปีอาจจะลดเหลือสัก ๕ ปี ๑๐ ปีก็พังแล้ว ไม่ถึงด้วยนะครับ และงบประมาณก็ไม่เพียงพอ ที่จะไปซ่อมแซม และปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง นั่นก็คือเรื่องของการกวดขันในเรื่องของ ระยะเวลาที่รถบรรทุกต่าง ๆ ที่ขนส่งนั้นอาจจะมาปะปนกับรถที่สัญจรในช่วงเวลาเร่งด่วน หรือชั่วโมงปกติ เพราะฉะนั้นการกวดขันไม่ว่าจะเป็นทางด้านกฎหมายในเรื่องของระยะเวลา การขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำหนักในการขนส่งย่อมส่งผลกระทบเป็นวงจรกันไป ท่านประธานครับ ทำไมรถขนส่งรถบรรทุกขนาดใหญ่ถึงต้องบรรทุกหลาย ๆ รอบ ผมก็พยายาม มองจากเลนส์ความเป็นผู้ประกอบการ อาจจะเกิดจากปัญหาต้นทุนขนส่งที่ราคาแพง ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างหรือค่าน้ำมันจึงต้องบรรทุกเยอะ ๆ เพื่อให้รอบที่ขนส่งน้อยลง แต่ปัญหา กลายเป็นว่ารัฐต้องมาแบกรับงบประมาณในการซ่อมแซมพื้นถนน ในขณะเดียวกันปัญหานี้ กฎหมายที่มาบังคับใช้ก็อาจจะมีความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการยึดรถ เพราะรถคันหนึ่ง ก็ราคาไม่ใช่น้อย เพราะฉะนั้นการที่รถของผู้ประกอบการจะถูกยึดไปก็ย่อมเป็นปัญหา เพราะฉะนั้นมันมีรายละเอียดปลีกย่อยของการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ ไม่ว่าจะเป็น ตัวผู้ประกอบการก็ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผู้ขับก็ดี หรือไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาครัฐ การบังคับใช้กฎหมายก็ดี ล้วนแต่มีช่องว่างทั้งสิ้น ผมชวนท่านประธานมาดูในรายงาน ที่ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำมา ผมอยากจะนำเสนอให้พี่น้องได้เห็นว่ามีการสำรวจความคิดเห็น ของนิด้า เป็นเรื่องของการเปิดเผยผลสำรวจส่วย Sticker รถบรรทุก ซึ่งเก็บข้อมูล จากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๗ ผลสำรวจบอกว่าร้อยละ ๘๒.๙๐ เห็นว่าส่วนใหญ่มีการบรรทุกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และสาเหตุที่รถบรรทุกเกินกว่า กำหนดนั้นเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งร้อยละ ๗๓ และเพื่อเพิ่มกำไรในธุรกิจขนส่ง ร้อยละ ๖๓.๑๙ และขนาดน้ำหนักที่กฎหมายกำหนดไม่สะท้อนกับความเป็นจริง ร้อยละ ๒๗.๐๗ เนื่องจากกระแสข่าวในช่วงของส่วย Sticker เพราะฉะนั้นข้อมูลจาก สำนักงานการควบคุมยานพาหนะกรมทางหลวงบอกว่าสถานีตรวจน้ำหนัก ๙๗ สถานี ทั่วประเทศมีการร้องเรียนเรื่องน้ำหนักเกินย้อนหลัง ๓ ปี ๑,๔๗๙ เรื่อง และจับได้ ๔๖๘ คัน คือตัวเลขมันสวนทางกับความรู้สึกจริง ๆ เพราะเมื่อดูจากสภาพท้องถนน นี่ขนาดในดอนเมือง ที่อยู่ทางกรุงเทพฯ เหนือยังขนาดนี้ แล้วทั่วประเทศจะมีผู้ที่ลักลอบผิดกฎหมายขนาดไหน ไปดูในต่างประเทศเขามีการสำรวจศึกษาพฤติกรรมผลกระทบของสินบนที่ผู้ขับขี่รถบรรทุก ต้องจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ในประเทศหนึ่ง ซึ่งมีการนำข้อมูลวิจัยมาพบว่ามีการจ่ายสินบน มากกว่า ๖,๐๐๐ ครั้ง และค่าสินบนคิดเป็นร้อยละ ๑๓ ของค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับ การเดินทาง เท่ากับว่าถ้าสามารถศึกษาเรื่องนี้แก้ปัญหาเรื่องนี้ได้จบก็จะทำให้สภาพของ ผู้ประกอบการจะสอดคล้องกับความเป็นจริง ภาครัฐก็ไม่ต้องมาแบกรับในเรื่องของ การซ่อมถนน ซ่อมไปแก้ปัญหาไปไม่จบและกระทบไปถึงพี่น้องประชาชนคนอื่นด้วย ผมจึงอภิปรายวันนี้อยากจะสนับสนุนให้สภาแห่งนี้ช่วยพิจารณากันว่า ตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญชุดนี้เถอะครับ เพื่อศึกษาให้เห็นว่าปัญหาการขนส่งของพี่น้องประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบจะได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น และทำให้ช่วยกันพิจารณาถึงการปรับแก้ กฎระเบียบต่าง ๆ และปกป้องการเรียกรับผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้น หวังว่าเพื่อนสมาชิก แห่งนี้ก็จะได้เห็นความสำคัญของญัตตินี้ที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอ ขอบพระคุณท่านประธานครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านธีรัจชัย พันธุมาศ ตามด้วยท่านวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เชิญท่านธีรัจชัย พันธุมาศ ครับ

นายธีรัจชัย พันธุมาศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม ธีรัจชัย พันธุมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง ขออนุญาตท่านประธานในการอภิปรายญัตติเรื่องแนวทางการแก้ไขกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางบก เพื่อให้มีความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการ ประชาชน และป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์ หัวข้อญัตติตรงนี้เป็นญัตติที่ Classic และมีมา เป็นเวลานาน นั่นก็คือมีส่วยรถบรรทุกน้ำหนักเกินจำนวนมากมาย ตามกฎหมายน้ำหนัก ๕๕ ตัน รถบรรทุกสามารถบรรทุกได้ แต่ในความเป็นจริงรถบรรทุกนั้น ๘๐ ตัน ๑๐๐ ตัน เยอะแยะไปหมดเลย ภาระของพี่น้องประชาชนและผู้แข่งขันในผู้ประกอบการมันไม่เท่ากัน รถบรรทุกในประเทศไทยมีประมาณ ๑ ล้านเศษ ๆ นิด ๆ มีประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คัน ไม่ยอม อยู่ในระบบของส่วยตรงนี้และกำลังต่อสู้อยู่ แต่อีกประมาณ ๗๐๐,๐๐๐-๘๐๐,๐๐๐ คันนั้น อยู่ในระบบส่วย นั่นก็คือยอมจ่ายผลประโยชน์ซึ่งมีประมาณ ๒๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ต่อปี ตรงนี้มันเป็นมูลเหตุจูงใจในการที่จะทำให้อีกประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ คันเอาเปรียบคนอื่น บรรทุกเกินแล้วมาจ่ายส่วย เป็นการกระทำความผิดแล้วก็บรรทุกให้เกินเท่าตัวของบุคคล ที่ทำสุจริต แล้วต้องไปถูกจับ ถูกดำเนินคดี ในส่วนของการดำเนินการตรงนี้ รัฐ ศาลต่าง ๆ ที่ดำเนินคดีนั้นยาก เนื่องจากว่าระบบของรัฐในปัจจุบันนั้นใช้ระบบด่านชั่งน้ำหนัก ถ้าเกินก็จะถูกจับดำเนินคดี โทษปรับจำคุก ๖ เดือน ปรับ ๑๐,๐๐๐ บาทมันน้อย และคนที่ถูกจับคือลูกจ้างที่เป็นผู้ขับรถ ดำเนินคดีขึ้นมา แล้วศาลจะรอการลงโทษให้เพราะว่าไม่ใช่เจ้าของแท้จริง กฎหมายยังไม่มี การก้าวล่วงไปถึงการที่ผู้ประกอบการโดนดำเนินคดีเอง และเจ้าของสินค้าที่ส่งสินค้า น้ำหนักเกินไม่สามารถไปก้าวถึงตรงนั้นทำให้มีการกระทำผิด และคนที่จ่ายระบบส่วยกับ ตำรวจจะไม่เข้าผ่านด่าน ไม่ต้องถูกตรวจสอบก็ไม่เข้าสู่ระบบการถูกดำเนินคดี นั่นหมายความว่า กลุ่มคนกระทำผิดจริง ๆ ที่จ่ายส่วย ๗๐๐,๐๐๐-๘๐๐,๐๐๐ คันนั้นไม่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย นี่คือความอยุติธรรมแก่ผู้ประกอบการนะครับ ท่านประธานที่เคารพครับ ในส่วนของการที่ กระทำตรงนี้มันเกิดความเสียหายอย่างไรบ้าง ถนนซึ่งพังทุกวันและการกระทำไม่ใช่เป็น การละเมิดที่วิ่งปุ๊บพังปั๊บ แต่น้ำหนักเกินมันทำให้ค่อย ๆ พัง และนี่คือภาระที่ภาษีของ ประชาชนทั้งประเทศจะต้องมาซ่อมแซมต่าง ๆ พวกนี้ แต่ประโยชน์กำไรอยู่กับผู้ประกอบการ ที่เห็นแก่ตัวบางกลุ่มเท่านั้นเอง ใช้ระบบกฎหมายปัจจุบันทำไม่ได้ เราจะแก้อย่างไรครับ ระบบด่านชั่งน้ำหนักต้นทุนสูงครับ บางทีก็ฟ้องในด่านที่ตั้งก็มี ในประสบการณ์เข้าไป แถวเขตหนองจอก เขตมีนบุรี เขตลาดกระบังของผมมีนิคมอุตสาหกรรม มีรถบรรทุกวิ่ง เขาใช้ระบบวิ่งเข้าในซอยย่อยแล้วอ้อมผ่านด่านชั่งน้ำหนัก ไม่ต้องผ่าน ไม่ถูกดำเนินคดีครับ ถนนในซอยต่าง ๆ แถวเขตหนองจอก เขตมีนบุรี เขตลาดกระบังพังทลายไปหมดเลย แล้วประชาชนต้องมารับ การซ่อมก็ซ่อมยาก ไปดูเละเทะหมดนะครับ ให้นายกรัฐมนตรี ไปดูด้วยนะครับ เขาเลี่ยงอย่างนี้นะครับ ในประเทศสหรัฐอเมริกาเขาใช้ระบบที่เขาใช้แผ่น ในการที่ดูถนนนะครับ แผ่นชั่งน้ำหนักใช้กล้องถ่าย และการชั่งน้ำหนักแบบเคลื่อนที่ไม่ต้องใช้คน ไม่ต้องใช้ดุลยพินิจนะครับตามถนน รถผ่านก็จะมีประวัติ มีทะเบียน ถ่ายทะเบียนเรียบร้อย น้ำหนักเกินเท่าไร เขาก็บันทึกไว้ เขาใช้ระบบทำโครงสร้างที่สะพาน เอาสะพานขึ้นมา แล้วก็ชั่งน้ำหนักได้เลย รถที่ผ่านสะพานก็ถูกบันทึกทั้งทะเบียนรถ ประวัติ น้ำหนักเกินเท่าไร แต่เขาไม่ใช้คดีอาญาดำเนินนะครับ เขา Check ได้หมดตามระบบแบบนี้แล้ว ของไทยไม่ทำ โบราณอยู่เลยนะครับ และเมื่อได้ประวัติอย่างนั้นแล้วเขาไม่ได้จับคดีอาญาอย่างเดียว เขาถือว่า ผู้ที่กระทำให้ถนนเสียหายต้องมีส่วนร่วมในการซ่อม นั่นก็คือถ้าเกิดว่ามีน้ำหนักเกิน เขาไม่ให้ น้ำหนักเกินตามหลักวิศวกรรมนะครับ และต้องจ่ายค่าธรรมเนียมที่เกินตามอัตราที่เหมาะสม ที่จะให้ซ่อมขึ้นมา โดยที่ทำให้เขาไม่ต้องไปจ่ายส่วย ถ้าทำอย่างนี้มันจะลดการจ่ายส่วย ใครที่รถเกินก็ต้องจ่ายการซ่อมในส่วนนี้ ถ้าละเว้นก็ปรับอัตราก้าวหน้าหลาย ๆ เท่าก็ทำให้ เขาไม่กล้า เป็นเรื่องทางแพ่ง ไม่ใช่ลงโทษจำคุก ๖ เดือนแล้วก็ปรับ ๑๐,๐๐๐ บาท และลงโทษได้เฉพาะลูกจ้าง กรณีอย่างนี้ถ้าเราแก้ไขกฎหมายให้ผู้ประกอบการรถ รวมถึง ในส่วนของเจ้าของสินค้ารับผิดด้วยในส่วนตรงนี้ และต้องชดใช้ค่าเสียหายในอัตราก้าวหน้าด้วย ตรงนี้จะทำให้การแก้กฎหมายของเรานั้นก้าวหน้ายิ่งขึ้น และจะใช้ระบบแก้ไขในเรื่องของ รถบรรทุกน้ำหนักเกิน และลดภาระภาษีต้องใช้ปีหนึ่งหลายหมื่นล้านบาทที่จะทำตรงนี้ ดังนั้นในสิ่งตรงนี้เราเห็นกฎหมายหลายอย่างมีช่องโหว่ กฎหมายของไทยไม่มีระบบว่า ให้ริบรถโดยตรง แต่มีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓ เขาระบุว่าทรัพย์สินที่ใช้ ในการกระทำผิดสามารถริบได้ บางกรณีก็ไม่ริบ เพราะว่ามีการเลี่ยงก็คือทรัพย์สินเหล่านั้น รถอยู่ในสถานะเช่าซื้อ ไม่ใช่เจ้าของในการกระทำความผิด บางทีก็อยู่ระหว่างการขาย ให้คนอื่น กรณีนี้เป็นช่องโหว่ที่ศาลจะไม่ลง ดูสิครับคนที่ถูกดำเนินคดีก็คือลูกจ้าง คนขับรถ ศาลชะลอการลงโทษให้ ในส่วนของรถก็เป็นของบุคคลอื่น เช่าซื้อบ้าง กำลังขายบ้าง ไม่ใช่ทรัพย์สิน ศาลก็ไม่ริบ นี่คือช่องโหว่ที่ไม่สามารถทำได้ เราต้องพยายามแก้ไขอุดช่องว่าง ตรงนี้นะครับ ใช้อัตราค่าธรรมเนียมสูงสุด ซึ่งเราสามารถใช้ได้ในกฎหมายก็คือในส่วนของ พ.ร.บ. กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์ถนนและสะพาน พ.ศ. ๒๔๙๗ มาร่วมใช้กับ พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๙ อย่างบูรณาการ เราแก้กฎหมายตรงนี้ให้สมบูรณ์นะครับ เราจะใช้การเก็บค่าธรรมเนียมที่เกินอัตรา และคำนวณให้ดี ๆ ปรับปรุงเทคโนโลยีไม่ต้องใช้ด่านชั่งน้ำหนักที่ชั่งตามถนน ชั่งสะพาน เหล่านี้ก็จะทำให้ระบบส่วยนั้นหายไป ระบบการทำถนนพัง ผู้รับผิดชอบคือผู้ประกอบการ และผลักดันให้เจ้าของสินค้าที่น้ำหนักเกินนั้นต้องรับผิดชอบด้วย เหล่านี้จึงแก้ที่ต้นเหตุครับ ผมจึงเห็นควรให้ทางสภาผู้แทนราษฎรนั้นได้ตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาเรื่องนี้ และลงรายละเอียด ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เชิญครับ

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สำหรับ เรื่องส่วยรถบรรทุก หรือว่าส่วย Sticker ผมคิดว่าประชาชนทุกท่าน แล้วก็สมาชิกทุกท่าน ในสภาแห่งนี้ก็คงจะทราบถึงความรุนแรงของปัญหานี้ดีอยู่แล้ว คือปีหนึ่ง ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ถ้าเรื่องของตรวจรถทิพย์ เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังอีกก็ประมาณสัก ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ ล้านบาท แค่ ๒ ก้อนนี้ก็ปาไป ๒๐,๐๐๐ กว่าล้านบาทแล้ว ทั้งหมดทั้งมวลผมคิดว่าเรื่องของพฤติกรรม พฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ผมคิดว่าก็เป็นปัญหาหนึ่ง แต่ก็ต้องยอมรับว่ากฎหมายที่ล้าสมัย ก็กลายเป็นเครื่องมือและกลไกให้ตำรวจ และข้าราชการที่ไม่ดีจำนวนไม่น้อยใช้เป็นเครื่องมือ ในการรีดไถกดขี่ประชาชน ยกตัวอย่างง่าย ๆ แต่เดิมพิกัดน้ำหนักรถพ่วง แต่เดิมมีการแบ่งแยก ๖ เพลา ๒๐ ล้อ พิกัดอยู่ที่ ๕๒ ตัน ๖ เพลา ๒๒ ล้อ อยู่ที่ ๕๓ ตัน ๗ เพลา ๒๔ ล้อ ๕๘ ตัน ตอนนี้ไม่ว่ารถพ่วง Size ใหญ่ กลาง เล็ก มีพิกัดอยู่ที่ ๕๐.๕ ตัน พี่น้องรถบรรทุกเขาก็ตั้งคำถามว่า แล้วฉันซื้อรถพ่วงใหญ่มาต้นทุนมากกว่า แต่น้ำหนักบรรทุกกับเท่ารถพ่วงขนาดเล็ก ผมไม่ได้ หมายความว่าจะสนับสนุนให้บรรทุกเกิน แต่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถทบทวนตามหลัก วิศวกรรมว่าคอสะพานรับได้เท่าไร น้ำหนักที่ถนนรับได้มีน้ำหนักแค่ไหน แล้วเรากำหนด น้ำหนักที่มันเหมาะสมให้เหมาะกับทั้งฝ่ายที่ประกอบกิจการ และตามหลักวิศวกรรมที่ทำให้ ถนอมการใช้งานของพื้นถนน มันทำได้ครับ แต่ถ้าเกิดตอนนี้ทุกอย่าง ๕๐.๕ ตัน เกิดปัญหา แน่นอน และยิ่งตอนนี้รถขนทราย รถขนดิน ต่อให้คลุมผ้าใบอย่างไร ขับฝ่าฝน ขับฝ่าพายุ น้ำหนักเกิน ๕๐ กิโลกรัม ๘๐ กิโลกรัมเข้าด่านชั่ง ตำรวจทางหลวงดูสภาพรถก็รู้อยู่แล้วว่า ไม่ได้มีเจตนาดัดแปลง เข้าชั่งก็ไม่มีท่าทีอิดออด มีน้ำหนักชั่งต้นทางก็ไม่เกิน แต่ปรากฏว่า เกิน ๘๐ กิโลกรัม ปรากฏอาศัยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓ ริบรถคันหนึ่ง ๓-๔ ล้านบาท แล้วถ้าเกิดเขาไม่ประสงค์จะให้ริบรถ อยากจะให้เปลี่ยนสำนวนก็ไปรีดไถเงินเขา ๓๐,๐๐๐-๗๐,๐๐๐ บาท ซึ่งพัวพันกับตำรวจท้องที่ด้วย ไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่ด่านชั่งบางคน แล้วก็ตำรวจทางหลวงบางนาย และหลายครั้งพัวพันกับอัยการบางท่านอีกด้วย และเรื่องแบบนี้ มันไม่ใช่แค่มูลค่าเงิน มูลค่าความเสียหายที่ ๒๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท แต่มันพัวพันถึงผู้มีอิทธิพล ในพื้นที่ มีตำรวจเสียชีวิตกับกรณีนี้อย่างน้อย ๒ ราย มีตำรวจเข้าปิ้งถูกตั้งเป็นผู้ต้องหา ผู้ต้องสงสัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทำลายเกียรติยศ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิของวงการตำรวจ อย่างมาก เรื่องแบบนี้เรื่องสำคัญครับ แต่เดิมผมตกใจมากที่ผมทราบว่าวิปรัฐบาลจะไม่ตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญ แต่ก็โชคดีแล้วก็ต้องขอบคุณท่านประธานคณะกรรมาธิการ การคมนาคม ขออนุญาตที่เอ่ยนาม ท่านครูมานิตย์ สังข์พุ่ม เมื่อสักครู่นี้ก็ได้หารือสนทนากัน ท่านมานิตย์ก็บอกผมว่าไม่ต้องกังวล เรื่องนี้ทางคณะกรรมาธิการการคมนาคมก็ให้ ความสำคัญอย่างมาก และจะตั้งเป็นคณะอนุกรรมาธิการ และเปิดพื้นที่ให้กับ สส. ที่สนใจ โดยเฉพาะ สส. จากก้าวไกล และภาคประชาชน ภาคผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็น ตรอ. หรือสมาพันธ์การขนส่งทางบกก็ดี ได้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อชำระสะสางกฎหมายที่ล้าสมัย และเป็นเครื่องมือให้เจ้าหน้าที่ที่ประพฤติมิชอบบางคนใช้เป็นเครื่องมือกลไกในการรีดไถ ประชาชน อย่างนี้ครับท่านประธาน ผมมีอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่พูดก็คงไม่ได้เดี๋ยวมันจะไม่ครบ ก็คือตรวจรถทิพย์ ผมไม่รู้ว่าประเทศนี้เป็นอะไร พอประชาชนจะลืมตาอ้าปากออกรถใหม่ ท่านประธานเคยออกรถใหม่ที่ Dealer ศูนย์รถไหมครับ วันที่ออกรถใหม่เขาจะขอเก็บเงิน ท่านประธาน ถ้าเป็นรถเก๋งก็ ๓,๕๐๐-๔,๐๐๐ บาท แต่ปรากฏว่ามี Bill แค่ ๑,๕๐๐ บาท อีก ๑,๐๐๐ กว่าบาท ๒,๐๐๐ บาท ไม่มี Bill ไปอยู่ที่ไหน ก็ปรากฏว่ารถป้ายแดงนี่นะครับ เพื่อนสมาชิกทุกท่านที่ฟังผมอยู่ ประชาชนที่ฟังอยู่ที่บ้าน รถป้ายแดงต้องมีการตรวจสภาพ แล้วก็มีระเบียบตัวหนึ่งของกรมการขนส่งทางบกที่อนุญาตให้ช่างตรวจสภาพรถตรวจสภาพ นอกสถานที่ได้ แต่จริง ๆ ไม่ได้เดินออกมาตรวจนอกสถานที่นะครับ ขายลายเซ็นเอา และเดือน ๆ หนึ่ง ช่างตรวจสภาพรถรายได้มากกว่าท่านประธานอีก เขาร่ำลือกันว่า ๕๐๐,๐๐๐-๘๐๐,๐๐๐ บาท ต่อเดือน นายช่างที่ทำทุจริตแบบนี้ บางคนบางนายดูสิครับ นี่ยังไม่จบครับ พอผ่อนหมดครับ ไม่ใช่แค่รถเก๋งโดนนะครับ มอเตอร์ไซค์ก็โดน พอผ่อนหมดต้องโอนปิดบัญชี เอาอีกครับ มี Bill แค่หลักร้อยแต่ต้องเสียเงินไปเป็นหลักพัน เงินก็ไปเข้ากระเป๋าพวกนี้อีก ดังนั้น มีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องทบทวนแก้ไขกฎระเบียบ ประกาศกระทรวงต่าง ๆ หลักเกณฑ์ ต่าง ๆ ครับ รถป้ายแดงทำไมต้องตรวจสภาพนอกสถานที่ หรือถ้าจำเป็นสำหรับรถที่มี การดัดแปลงทำไมไม่ให้ ตรอ. ที่ได้ขึ้นทะเบียนเอาไว้เรียบร้อยเป็นผู้ตรวจมันก็จะมีความโปร่งใส มากกว่า นี่ครับผมว่ามันมีหลายเรื่องมาก ๆ ที่ควรจะต้องชำระสะสางกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่มันล้าสมัยแล้วรีดไถประชาชน นี่ผมยังไม่นับกรณีกรมที่ดินนะครับ มีรถใหม่กำลังจะยิ้มแย้ม แจ่มใสก็รีดเขา จะมีบ้านใหม่กำลังจะก่อร่างสร้างตัวก็ไถเขา ประเทศนี้มันเป็นอย่างไร พอประชาชนจะลืมตาอ้าปากนี้ต้องไถให้ได้

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

สุดท้าย ผมฝากเป็นของแถมให้ท่านประธานครับ ทำไมตำรวจถึงชอบตั้งด่าน ในเขตเทศบาลรู้ไหมครับท่านประธาน เพราะว่าถ้าเกิดตั้งด่านนอกเขตเทศบาลเงินค่าปรับ ทั้งหมดเข้าท้องถิ่น แต่ถ้าเกิดตั้งด่านในเขตเทศบาล ๕๐ เปอร์เซ็นต์เข้าเทศบาลครับ อีก ๕๐ เปอร์เซ็นต์เอามาแบ่งจัดสรรอย่างนี้ครับ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ของ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณสัก ๑๐๐ บาท ๔๗.๕๐ บาท เป็นเงินรางวัลนำจับครับ ๙๙ เปอร์เซ็นต์ ของ ๕ เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ หรือประมาณสัก ๑๐๐ บาท ๒.๔๘ บาท เข้ากองทุน เพื่อการสืบสวนและ ๑ เปอร์เซ็นต์ ของ ๕ เปอร์เซ็นต์ หรือสัก ๒ สตางค์ ค่าปรับ ๑๐๐ บาท นี่นะครับ ๒ สตางค์เป็นรายได้เข้าแผ่นดิน เพราะฉะนั้นท่านประธานไม่ต้องตกใจครับ ทำไมเวลานอกเขตเทศบาลไม่เจอด่าน ทำไมเข้าไปในเขตเทศบาลถึงเจอด่านกันยุบยับ อย่างไรก็ตามต้องขอบคุณท่านประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม คุณครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ที่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ แล้วก็เปิดพื้นที่ให้กับทาง สส. ที่มีความสนใจนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพรรคก้าวไกล และภาคประชาชน แล้วหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ข้อสรุป ในคณะอนุกรรมาธิการที่เป็นประโยชน์ แล้วก็ผลักดันการแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นเครื่องมือ ในการรีดไถขูดรีดประชาชนร่วมกันครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านครูมานิตย์ สังข์พุ่ม เชิญครับ

นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สุรินทร์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จากจังหวัดสุรินทร์ ญัตติเรื่องขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาหาแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการขนส่งทางบก เพื่อให้มีความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการและประชาชน ท่านประธาน ที่เคารพครับ จริง ๆ ผมไม่ต้องลุกขึ้นมาอภิปรายก็ได้ในวันนี้ เพราะว่าฟังจากเพื่อนพ้องน้องพี่ ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ได้เข้าใจปัญหาโลกแห่งความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับเรื่อง การจราจร และปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วยทางหลวงก็ดี โดยเฉพาะคุณวิโรจน์ ต้องขอบพระคุณมาก ท่านได้ต่อสู้เรื่องนี้มายาวนานไม่ใช่เพิ่งมาวันนี้ แล้วก็คิดตรงกันกับผม กับพรรคเพื่อไทย วันที่ผมได้รับมอบหมายจากพรรคเพื่อไทย และสภาแห่งนี้ให้เป็นประธาน คณะกรรมาธิการการคมนาคม ก็กำลังจะไปหารือกับคุณวิโรจน์เพื่อจะมาช่วยกันทำ เรื่องเหล่านี้ เพราะนครปฐมโมเดลอาจจะเป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่ง แต่ตรงนั้นมันเป็นปัญหา ที่เกิดทำให้เราเห็น แล้วก็เชื่อแน่ว่ายังมีอีกเยอะแยะมากมายกับเรื่องเหล่านี้ ฉะนั้นวันนี้ ที่ผมได้ไปขอทางพรรคก้าวไกลว่าเราอย่าตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญกันเลย ให้อยู่ใน คณะกรรมาธิการสามัญ เนื่องจากว่าวันนี้คณะกรรมาธิการสามัญก็ตั้งขึ้นแล้ว แล้วก็ประหยัด งบประมาณครับ การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญคณะหนึ่งเราต้องใช้งบประมาณไป ประมาณ ๓ ล้านบาทเป็นอย่างน้อย นี่คือเป็นประเด็นที่ ๑

นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สุรินทร์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ถ้าเราไปตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเยอะ ๆ เพื่อนสมาชิก สภาผู้แทนเรานี่ละครับ เป็นคณะกรรมาธิการทั้งสามัญ ทั้งวิสามัญก็ได้ทำงานกันไม่เต็มที่ ผมก็เลยไปคุยกับคุณวิโรจน์และคุณปกรณ์วุฒิในฐานะประธาน Whip ฝ่ายค้าน บอกว่า ให้เอามาไว้ที่คณะกรรมาธิการการคมนาคมเถอะ จะให้ท่าน สส. ที่สนใจ โดยเฉพาะ ท่าน สส.วิโรจน์ มาเป็นอนุกรรมาธิการช่วยกันทำงาน หรือท่านต่าง ๆ ที่มีความสนใจ ที่ได้เห็นปัญหา ได้เห็นปัญหาเรื่องส่วย ได้เห็นปัญหาเรื่องถนนพัง ได้เห็นปัญหารถบรรทุกเกิน แล้วเมื่อสักครู่ผมก็ได้คุยกับท่านประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ ท่านชัยชนะ เดชเดโช แล้วว่าขอมาที่ตรงนี้ ถ้าตรงไหนที่ขัดข้องก็จะให้คณะกรรมาธิการการตำรวจช่วยเรียก เจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะแน่นอนที่สุดครับ เรื่องส่วย เรื่องเหล่านี้ตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องแน่นอน เพราะตำรวจมีหน้าที่ในการจับปรับ ส่วนขนส่งนั้นก็มีบ้างในบางส่วน ก็เห็นบรรยากาศ ในวันนี้ที่พวกเราในสภาแห่งนี้คิดตรงกัน คิดเหมือนกัน แล้วอยากเดินเข้าไปสู่บำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับพี่น้องทั้งผู้ประกอบการ พี่น้องใช้รถใช้ถนน แล้วก็นำกฎหมายที่บกพร่อง มาแก้กันใหม่ มาทำกันใหม่ ตรงไหนที่มันแย่เราก็แก้ไข มาทำกันเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น ผมคงจะไม่ต้องอภิปรายในรายละเอียดของปัญหาต่าง ๆ ก็พยายามนั่งฟังในฐานะ ที่เป็นครั้งแรก ได้รับมอบหมายจากสภาแห่งนี้ให้เป็นประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม ก็คิดว่านอกจากเรื่องส่วย เรื่องบรรทุกเกินแล้ว ยังมีเรื่องอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง ก็คิดว่าคงจะได้ ทำงานร่วมกันกับพรรคฝ่ายค้าน เพราะเราต่างก็มาจากประชาชน ต่างก็อยากจะมาแก้ไข ปัญหาให้กับประชาชน พรรคผม เพื่อไทยหัวใจคือประชาชน พรรคก้าวไกลก็อยากเห็น ความเจริญรุ่งเรือง พรรคฝ่ายค้านทุกพรรค พรรครัฐบาลทุกพรรค ฉะนั้นวันนี้ขอขอบคุณ เป็นเบื้องต้น แล้วก็คิดว่าบรรยากาศอย่างนี้จะเกิดขึ้นอีกในสภา อย่างน้อย ๆ ก็เป็น การประหยัดงบประมาณแผ่นดิน แล้วก็รีบทำกัน รีบดำเนินการนะครับ ก็ขอขอบพระคุณ ท่านประธาน แล้วก็ขอขอบพระคุณเพื่อนผู้แทนราษฎรซีกฝ่ายค้าน ตั้งแต่ท่านประธาน Whip ฝ่ายค้าน แล้วก็ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่งครับท่านประธาน ขอบพระคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ตามข้อบังคับ ข้อ ๗๕ ท่านผู้เสนอญัตติมีสิทธิที่จะสรุปได้อีก ๑ ครั้ง ท่านผู้เสนอญัตติจะสรุปไหมครับ ถ้าท่านไม่สรุปก็ถือว่าหมดผู้อภิปรายนะครับ เสร็จสิ้นแล้ว เรื่องนี้ผู้เสนอขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการ และขอให้ส่งรัฐบาลไปพิจารณาดำเนินการ ทีนี้ จากการอภิปรายเห็นว่าจะเอาไปให้คณะกรรมาธิการการคมนาคมตั้งคณะอนุกรรมาธิการ ท่านอื่นมีความเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ ถ้าไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น สำหรับญัตติ ทั้ง ๒ ญัตตินี้ก็ส่งให้ทางคณะกรรมาธิการการคมนาคมไปตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณา ทั้ง ๒ ญัตตินี้ ขอบคุณครับ ท่านรัฐมนตรีมีอะไรครับ

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงรายชื่อของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา ติดตาม และส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ ในสัดส่วนคณะรัฐมนตรี คือนายนันพง ศรียานงค์ เปลี่ยนเป็น นายสรพงค์ ศรียานงค์

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ไม่มีท่านใดขัดข้องก็ถือว่าตามนี้นะครับ

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ทางนี้ครับ ขออนุญาตครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอเปลี่ยนแปลงรายชื่อ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา ติดตาม และส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัด ชายแดนภาคใต้/ปาตานี ในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทย จากนายรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช เป็น นางสาวรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ เราประชุมกันมาพอสมควรแล้วนะครับท่านสมาชิก ก็ขอปิด การประชุมครับ