ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม อาจารย์วรวิทย์ บารู จากเขต ๑ ปัตตานี พรรคประชาชาติ ต้องขอขอบคุณ ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินะครับที่ได้มาให้ความรู้ ให้รายละเอียดต่าง ๆ อย่างไรก็ตามเนื่องจากว่าสิทธิมนุษยชนมันเป็นสากล มันเป็นเรื่องของทุกคน ประกอบกับ ประเทศไทยโดยอัตลักษณ์ โดยนิสัยของคนไทยมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อทุกคนที่หนีร้อน มาพึ่งเย็น แต่ในบางกรณีของผู้ลี้ภัยนี่นะครับมันเป็นเรื่องซึ่งน่าเศร้า ตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงเดือนกรกฎาคมได้รับรายงาน อันนี้ผมคิดว่านักสิทธิมนุษยชนก็คงทราบดีมีผู้เสียชีวิต แล้วนะครับซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยจำนวน ๑๓ คน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก และคนเหล่านี้ส่วนใหญ่ ก็จะเป็นคนซึ่งอายุยังไม่มากยังไม่ถึง ๕๐ ปี เพราะฉะนั้นคำถามที่ตามมาก็คือว่าการปฏิบัติ ต่อคนเหล่านี้ในเรื่องของการดูแลสุขภาพ การดูแลทางการแพทย์ของเขาเหล่านี้อย่างที่ผม บอกว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสากล แล้วก็โดยลักษณะของคนไทยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จิตใจ ที่งดงามไม่น่าที่จะเป็นลักษณะอย่างนี้ สูงครับ ๑๓ คน แล้วคำถามเหล่านี้มันจะต้องถูก ตั้งขึ้นมาว่าจากสถานที่อันคับแคบ ผมยกตัวอย่างเช่นว่าผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่ถูกจับทางใต้และถูกส่งมา ส่วนหนึ่งก็ถูกส่งกลับไปยัง ประเทศจีน โดยเฉพาะผู้ลี้ภัยแต่ผู้ชาย ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าอนาคตของเขาจะเป็นอย่างไร และอีกส่วนหนึ่งที่เป็นเด็กและผู้หญิงจะถูกส่งไปที่ตุรกี ทำไมต้องเป็นประเทศตุรกี เพราะ ความสัมพันธ์ของคนเหล่านี้กับเชื้อชาติ เชื้อสายเขาที่อุยกูร์ เพราะว่าเขาค่อนข้างที่จะใกล้ชิด ในการพิสูจน์อัตลักษณ์ก็น่าที่อยู่ใกล้ชิดกับทางตุรกีมาก ผมพูดตรงนี้ ๑๓ คนที่เสียชีวิตไป ๓ คนเป็นอุยกูร์ นอกนั้นก็ไม่ได้เป็นอุยกูร์ ตรงนี้ถ้าหากว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่เป็นสากล แล้วก็ควรที่จะดูแลคนเหล่านี้ไม่ใช่กักขังไว้ที่ ตม. ที่สวนพลู ในสถานที่แคบ ๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งถ้าหากว่าคนเหล่านี้ผมอาจจะเน้นตรงที่ทางออกของหลายผู้ลี้ภัย เช่น อุยกูร์ เขาไม่ต้องการที่อยู่ในประเทศไทย เขาต้องการที่จะไปยังประเทศมาเลเซีย แล้วก็ไปเลือก ประเทศที่สามต่อไป แต่เนื่องจากว่าการเข้ามาของคนเหล่านี้มาในปี ๒๕๕๗ ปีที่ปฏิวัติพอดี แล้วก็เกิดการปฏิบัติต่าง ๆ นานา เพราะฉะนั้นในช่วงเหล่านั้นขณะนี้ ๑๐ ปีแล้วนะครับ ปี ๒๕๕๗ เกือบจะ ๑๐ ปีแล้วคนเหล่านี้ก็อยู่เหมือนเดิม ได้รับการปฏิบัติเหมือนเดิม ทั้ง ๆ ที่ ทางออกมีมากมาย ผมเข้าใจว่าทาง ตม. เองก็คงกระอักกระอ่วน แล้วคนเหล่านี้ไม่ใช่เป็น ผู้ผิด เป็นฆาตกร เป็นผู้ลี้ภัยมาแล้วก็ถูกรับรองโดยกฎหมายสากล ข้อพันธกรณีอะไรต่าง ๆ โดย UN เพราะฉะนั้นผมว่าในสิ่งเหล่านี้ถ้าหากว่ารัฐบาลไทยทำไม่ได้จะส่งไปยังประเทศ ที่เขาต้องการจะไปไม่ได้ก็ควรที่จะปฏิบัติต่อเขาให้ดี หรือถ้าหากความประสงค์ของเขา อย่างเช่นว่า ทางประเทศตุรกีต้องการให้เขาไปอยู่ที่โน่น แล้วคนเหล่านี้ถ้าหากส่งเขาไปเขาก็ จะได้เจอครอบครัวเขาที่โน่น ดูเหมือนว่ามันมีอะไรอยู่ในลักษณะที่ปฏิบัติตรงนี้สำหรับ ประเทศไทย อย่าลืมว่า OAIC ก็ดูในเรื่องเหล่านี้ด้วย กสม. เราก็ต้องระมัดระวัง ในเรื่องเหล่านี้ด้วยนะครับ ผมเข้าใจว่าองค์กรอิสระควรที่จะได้ดำเนินการในลักษณะที่เป็น อิสระ ไม่ใช่ภายใต้ของใครคนใดคนหนึ่งหรือว่ารัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง หากไม่สามารถที่จะ ดำเนินการตามที่เขาต้องการได้ก็ควรที่จะให้หน่วยงาน ยกตัวอย่างเช่นว่า OAIC นั้น เลือกประเทศที่เขาต้องการจะไปให้เขาเลือกประเทศ ให้ผลักตรงนี้ แทนที่จะเป็นประเทศไทย ผลักเขาออกไป เราคุมขังเขา เขาเป็นมนุษย์ ทีนี้เราให้เขาอยู่ในลักษณะที่ไม่มีสุขภาพ อยู่ในอันตราย สภาพที่คับแคบ ท่านสามารถที่ไปดูได้ที่สวนพลู ห้องขังปกติธรรมดานี่ละครับ ทีนี้คนเหล่านี้บางทีสุขภาพอนามัยให้เขาได้ออกกำลังกายให้เขาได้ขยับขยาย ได้ขยับตัวอะไร ต่าง ๆ เหล่านี้ หรือไม่ถ้าหากว่าตั้ง Camp ตั้งอะไรขึ้นมา เขาสามารถที่จะอยู่ในลักษณะ ของชุมชน สุขภาพอนามัยของคนเหล่านี้ก็จะดีขึ้นก็จะได้รับการดูแล ที่สำคัญที่เสียชีวิตไปทั้ง ๑๓ คนปรากฏว่าไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควรในเรื่องลักษณะของทางการแพทย์ เพราะฉะนั้น ผมถือว่าอันนี้มันโหดร้ายจนเกินไปกับลักษณะนิสัยของคนไทยที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อันนี้ ต้องดูเป็นภาพลักษณ์ของประเทศไทยทั้งหมด ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่ของรัฐบาลใด รัฐบาลหนึ่ง แต่ว่าเหล่านี้เป็นภาพลักษณ์ เป็นอัตลักษณ์ของคนไทยที่ถูกยอมรับไปทั่วโลก ไฉนเลยเรามาเจอกรณีเช่นนี้เราละเลย เป็น ๑๐ ปีแล้วได้รับการละเลย ทั้ง ๆ ที่เรามี ในลักษณะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและมีพันธกรณีเหล่านี้กับนานาชาติ อันเป็นสากล อย่างไรก็ตามต้องขอขอบคุณที่ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มี การพูดคุย ผมทราบว่ามีการตั้งคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อที่จะคลี่คลายปัญหาเหล่านี้ได้ ผมยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าถ้าหากว่าเราจัดการไม่ได้ทางออกมันมีอีกเยอะแยะในการที่จะให้ คนเหล่านี้ เพราะคนเหล่านี้ไม่ได้เป็นฆาตกร เขาหนีร้อนมาพึ่งเย็น ขอบคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผมหลายประเด็นนะครับ แต่เพื่อนสมาชิกได้พูดไปแล้ว ผมพยายามที่จะพูดในลักษณะที่ ยังไม่มีการพูดถึงหรือว่ามีการพูดถึงน้อย กองทุนอันนี้ถูกตั้งขึ้นมาถ้านับถึงปัจจุบันก็ ๔๙ ปี เกือบจะ ๕๐ ปีแล้ว เราจะมองว่าเป็นการล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงก็คงไม่ใช่ แต่หลายอย่าง ก็เหมือนกับหน่วยงานภาครัฐโดยทั่วไป บางทีขาดการประเมินผลงานที่ได้ทำไป ก็เลยทำให้ อาจจะมีพี่น้อง อย่างเช่นหลายคนที่ได้พูดไปว่าการประชาสัมพันธ์ดูเหมือนว่าจะอ่อนมาก ก็ทำให้หลายคนไม่รู้จักกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรอันนี้ขึ้นมา ยิ่งถ้าเราเปรียบเทียบกับ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางแล้ว ผมเชื่อเหลือเกินว่าเขาจะรู้จักกองทุนสงเคราะห์ การทำสวนยางมากกว่ากับกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรแน่นอน ทั้ง ๆ ชาวสวนก็เป็น เกษตรกร อันนี้เราเห็นได้ชัดว่าการประชาสัมพันธ์นั้นอ่อนไป เพราะฉะนั้นข้อสรุปตรงนี้จากที่ ได้ลงพื้นที่ไปคุยกับพี่น้องประชาชน เขาก็บอกว่าขอให้ทางกองทุนได้สร้างความเข้มแข็ง ทางด้านการประชาสัมพันธ์ให้แก่สังคมมากกว่านี้ นอกจากนั้นหลายท่านที่ได้พูดไป แต่ว่ามีการเน้นน้อยไปก็คือเรื่องของบุคลากร ทั้งในด้านจำนวนและปริมาณนะครับ แล้วก็ ทางด้านการพัฒนาคุณภาพ ทรัพยากรเหล่านี้ก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เราจะ ละเลยไม่ได้ ถ้าหากว่าเรามองวิสัยทัศน์ของคนเมื่อปี ๒๕๑๗ ที่ให้ความสำคัญที่มองเห็นว่า เกษตรกรนั้นมีความสำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทยแล้วนะครับ เราก็ควรที่จะทำต่อในยุคเรา ให้ดีที่สุด ทุกท่านที่ได้เสนอแนะ ให้ความเห็นต่อคณะกรรมการที่มาชี้แจงในวันนี้ ผมเชื่อว่า ล้วนแต่มีความปรารถนาดีที่จะให้กองทุนมีฟังก์ชันที่ชัดเจน แล้วก็มีประโยชน์ต่อเกษตรกร เราจะเห็นว่าถ้าหากเราดูนะครับ นับตั้งแต่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ เกือบ ๕๐ ปี ๔๙ ปีแล้ว เราก็เห็นว่า เหมือนกับพี่น้องได้พูดไปนะครับ ๑. ก็คือเข้าถึงแหล่งทุนนั้นยาก นอกจากนั้น เกษตรกรก็ยังมีหนี้สินล้นพ้นตัว จากชาวนาที่มีที่ดินทำกินของตนเอง แต่ขณะนี้ก็กลายเป็น ผู้เช่าที่ดินของตนเองเพราะที่ดินนั้นได้ถูกจำนองไปแล้ว อย่างนี้เป็นต้น เหล่านี้คือปัญหาที่ เราจะต้องมีการแก้ไขนะครับ ผมอยากจะย้อนกลับไปตรงที่กิจกรรมข้อ ๑ ของกองทุน ของ พ.ร.บ. ก็คือการส่งเสริม การตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานคุณภาพของผลิตผล เกษตรกรรมขั้นต้น หรือผลิตภัณฑ์อาหาร นี่คือเป็นบทบาทหนึ่งของกองทุนที่จะสนับสนุน แต่ก็เกิดสิ่งที่ตามมาในยุคนี้ก็คือการที่มีบริษัท มีนายทุน มีกลุ่มคน มีเอกชนมาจดทะเบียน รับรองคุณภาพมาตรฐานเกษตรด้านต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรที่แย่อยู่แล้วก็จะต้องเสียค่า ตรงนี้อีก อันนี้ก็เรียนฝากให้กับคณะกรรมการและผู้มาชี้แจงด้วยว่าต้องดูแลในเรื่อง เหล่านี้ด้วย เพราะมีคณะกรรมการที่ดูแลอยู่แล้ว ฟังก์ชันอันนี้ก็ดีนะครับ แต่ถ้าหากว่า มีผู้ที่มาหาประโยชน์จากเกษตรกรอีกทอดหนึ่งก็น่าสงสารเกษตรกรที่มีภาระลำบากอยู่แล้ว นอกจากนั้นที่อยากจะคุยกันตรงนี้อีกอันหนึ่งก็คือในหน้า ๑๕ ในหมายเหตุที่ ๑๓ ภาระผูกพัน มีเงินจ่ายขาด การเงินจัดสรร เงินจ่ายขาดในข้อ ๑ ก็คือกรมส่งเสริมสหกรณ์ ถึงแม้ว่าจะยัง ไม่เบิกนะครับ โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าถึงแหล่งทุน ในการผลิตและการตลาด จำนวน ๕.๔๗ ล้านบาท อันนี้ถ้าเราดูจำนวนมันก็ยังไม่มาก มันเป็นจำนวนเล็กน้อย แล้วก็ผ่านกรมส่งเสริมสหกรณ์ บังเอิญว่าผมอยู่ในแวดวงของสหกรณ์ มีกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ก็ไปคุยกับสหกรณ์ว่าจะช่วยเหลือหนี้สินของเกษตรกร ที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ต่าง ๆ พอพูดถึงสหกรณ์นะครับ ในทางใต้บ้านผมโดยเฉพาะ ในจังหวัดชายแดนใต้ มันเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย เราก็พยายามที่จะชี้ไปทางกรมส่งเสริม สหกรณ์ว่าคุณจะต้องมีเปิดช่องไว้ในลักษณะของสถาบันการเงินหรือสหกรณ์ที่ลักษณะของ ตั้งอยู่บนฐานคุณธรรมที่ไม่มีดอกเบี้ย ซึ่งทางพรรคประชาชาติก็เสนอแก้ไข พ.ร.บ. อันนี้ เปิดช่องให้ทุกคนไปได้ เราจึงจะเห็นว่าเมื่อมีเช่นนี้แล้วก็มีปัญหา การที่พี่น้องเหล่านี้จะเข้าถึง จะแก้ไขปัญหาหนี้สินของตัวเองก็ถูกละเลยไป แถมสหกรณ์บางสหกรณ์ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ ไม่ได้เป็นสหกรณ์การเกษตร เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อะไรต่าง ๆ ซึ่งไม่อาจที่จะ ได้รับความช่วยเหลืออันนี้ได้ ก็ได้รับการแนะนำให้เปลี่ยนเป็นสหกรณ์บริการ แต่ว่าสิ่งที่ มันเป็นรายละเอียดที่ตรงนั้นก็ยังอยู่อีกมากมาย เพราะฉะนั้นที่ตรงนี้ก็จะต้องดูแล อีกอันหนึ่ง ที่ตรงนี้เงินจัดสรรที่เกี่ยวข้องกับปัตตานี ก็คือการให้เงินจัดสรรแก่พี่น้องชาวนาเกลือ ที่ตำบลบานา ประมาณ ๔.๗ ล้านบาท ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ทราบว่าผลเป็นอย่างไร ทางหนึ่งผมจะได้ ติดตามด้วย ขอขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร เขต ๑ จังหวัดปัตตานี พรรคประชาชาติ วันนี้ผมมีประเด็นเรื่องการสัญจรไปมา ของประชาชนในเขตเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำบลรูสะมิแล ตำบลปะกาฮะรัง แล้วก็ตำบลบาราเฮาะ อันเป็นเขตที่ตั้งของถนนหนทางที่กำลังก่อสร้าง มี ๒ ประเด็น

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๑ ก็คือในเรื่องของการก่อสร้างสะพานเลี่ยงเมืองปัตตานี ซึ่งเราก็ไม่ทราบว่าเขาต่อเวลาขยายเวลาสำหรับการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ ไปสอบถามจังหวัด ใช้เวลาอีกประมาณ ๔-๕ เดือน ก็คงจะปลายปี ประชาชนก็เดือดร้อนทางด้านฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำ อันนี้แม่น้ำปัตตานี ส่วนทางด้านตะวันออกก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ถนนก็ยัง ใช้ไม่ได้ อุบัติเหตุเกิดขึ้น อันนั้นเกิดจากการเลี้ยงสัตว์พวกวัวควายถูกรถชน แล้วก็ทำให้ ทรัพย์สินเสียหาย

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ที่สำคัญก็คือการสัญจรไปมาของประชาชน ไม่ใช่เพราะถนนไม่ดี ถนนเล็ก ถนนแคบ แต่ว่าที่มีถนนอยู่แต่ว่าถูกปิดการสัญจรไปมา เชื่อมต่อระหว่างตำบล ถูกปิดอันเนื่องมาจากป้องกัน ผมไม่ทราบว่าป้องกันจากความมั่นคงหรือว่าทางด้านอะไร ไม่ทราบ แต่ปิดไปหลายปีเกือบ ๑๐ ปีแล้ว มันเชื่อมต่อระหว่างตำบลบาราเฮาะกับตำบล ปะกาฮะรัง บนสะพานที่เชื่อมข้ามแม่น้ำปัตตานี ตรงนี้ประชาชนเดือดร้อนมากน่าสงสาร ประชาชนซึ่งจะต้องอ้อมไปไกลมาก แล้วก็ในบริเวณบ้านกัณรี ตำบลรูสะมิแลถูกปิด เช่นเดียวกัน การสัญจรของประชาชนต้องอ้อมไปไกลมาก ตรงนี้เราจะเห็นว่าพี่น้อง ประชาชนเดือดร้อน เราจะเห็นว่ามันมียาม มันมีป้อม มันมีชุดคุ้มครองหมู่บ้าน ตำบล เยอะแยะไป แต่ว่าการปิดทางสัญจรไปมาของประชาชนซึ่งสร้างความยากลำบากในการ สัญจรไปมาต้องเสียเวลา สำหรับประชาชนที่จะใช้ถนนหนทางใช้ระยะเวลายาวนานมากที่ปิด ถนน ซึ่งน่าที่จะมีหนทางในการแก้ไขปัญหา ถ้าหากว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ของการจะเกิด ความรุนแรงก็น่าที่จะแก้ไขด้วยวิธีอื่น เพราะว่าห่างไปนิดหนึ่งก็มีป้อม มีจุดตรวจของชุด ความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายปกครองหรือว่าฝ่ายทหาร ผมเห็นว่าควรจะแก้ไขประเด็น เหล่านี้ เพราะว่าสร้างความยากลำบากในการสัญจรไปมาของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำบลปะกาฮะรังกับตำบลบาราเฮาะสะพานที่ข้ามแม่น้ำปัตตานี ขอขอบคุณครับ ท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพนะครับ ผม ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู จากภาคใต้ แล้วผมก็พยายามที่จะ นำเอาภาพของ SMEs ในทางภาคใต้มาดู เพราะว่าโอกาสถ้าหากเราสามารถที่จะช่วยให้คน ในทางภาคใต้ ๓ จังหวัดชายแดนใต้เข้าถึงแหล่งทุน พัฒนาเขาได้ตามจุดประสงค์ของการจัดตั้ง ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม เกิดทางด้านการเงินและทางด้านการพัฒนา ทางด้านการเงินก็คือการเข้าสู่แหล่งทุน เสริมสภาพคล่อง ขยาย แล้วก็การลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยน ธุรกิจต่าง ๆ ส่วนในการพัฒนาก็คือการพัฒนาความรู้และทักษะ ทีนี้ประเด็นที่สำคัญก็คือ SMEs หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคิดเป็น ๙๙.๕ เปอร์เซ็นต์ของวิสาหกิจทั้งหมด แล้วก็ประมาณ ๗๑.๗ เปอร์เซ็นต์ของการจ้างงาน ทั้งหมด เพราะฉะนั้นมีความสำคัญ เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยมีมูลค่า ประมาณ ๕ ล้านล้านบาท หรือมีสัดส่วน ๓๔ เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในสัดส่วน ของ SMEs ขนาดย่อยหรือ Micro SMEs สร้างรายได้เพียง ๒.๖ เปอร์เซ็นต์ของ GDP ทั้งที่ มีจำนวนมากที่สุด จึงมีลักษณะหัวโตแต่ตัวลีบ ทีนี้ประเด็นเหล่านี้ผมอยากจะอ้างอิง จากธนาคารแห่งประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๔ เมื่อพิจารณาจากสินเชื่อ SMEs ของธนาคารพาณิชย์มีมูลค่าสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ ๓ ล้านล้านบาท คิดเป็นเพียง ๑๙ เปอร์เซ็นต์ ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจทั้งระบบ และมีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อดูสัดส่วนของประเทศ ที่เจริญแล้ว อย่างเช่นเกาหลีใต้มีสัดส่วนของมูลค่าสินเชื่อ SMEs คงค้างธนาคารพาณิชย์ ไม่น้อยกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของวงเงินสินเชื่อธุรกิจทั้งระบบ แล้วก็เพื่อนบ้านของเรา อย่างมาเลเซียก็มีสัดส่วนไม่น้อยกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นว่า SMEs ไทย ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างเพียงพอ ไม่สามารถที่จะให้คนเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่าง เพียงพอ ทีนี้ผมจะวกกลับไปที่จะอ้างอิงถึงรายงานแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้เราดูรายงานที่ตั้งไว้ปี ๒๕๖๖-๒๕๗๐ สำนักยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะขอโอกาสให้พี่น้องอย่างที่ได้กล่าวแล้วก็คือ พี่น้องในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน และได้รับการส่งเสริม พัฒนา และร่วมลงทุน เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ กลุ่มจังหวัด ชายแดนภาคใต้จริง ๆ มีศักยภาพทางด้านการผลิตพืชเศรษฐกิจมากมาย แล้วก็มีความเข้มแข็ง และมีความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางด้านเกษตร ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผลต่าง ๆ มีฐานทรัพยากรทางด้านการท่องเที่ยวที่ครบถ้วน เป็นแหล่งประมง และเป็น พื้นที่ที่มีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าทางด้านเกษตร ปศุสัตว์ ประมง ซึ่งจะสร้างมูลค่าได้เพิ่มขึ้น ทีนี้มันมีอัตลักษณ์สินค้า อัตลักษณ์ที่เป็นผลผลิต ของประจำถิ่นที่จะให้ทาง SME ได้ช่วย อย่างเช่นว่าเรามีส้มโชกุนที่มีชื่อเสียงที่เบตง เรามีทุเรียนที่ทรายขาว เรามีส้มโอที่มีคุณภาพที่ยะรัง มีกล้วยหินที่บันนังสตาที่ที่อื่นไม่มี มีปลากุเลาเค็มที่ตากใบ ลองกองตันหยงมัส แล้วก็ไก่เบตง และที่อื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งสามารถที่จะสร้างคุณค่าการค้าชายแดนและเติบโตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเป็น ศูนย์กลางในการศึกษาที่หลากหลาย สังคมมีความหลากหลายทั้งด้านประวัติศาสตร์ ทั้งด้านวัฒนธรรม แต่กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในปี ๒๕๖๓ มูลค่า เพียงแค่ ๑๓๘,๑๐๖ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๐.๙ ของประเทศเท่านั้นเอง

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาอย่างเป็นธรรม ถ้าเราดูแยกเป็นจังหวัด ปัตตานีเป็นเมืองเศรษฐกิจชีวภาพ มีเขตอุตสาหกรรมชีวภาพอาหารฮาลาลและประมง ประมงตั้งแต่หลายปีมานี้ที่ IUU ก็ทำให้ความยากลำบากที่เกิดขึ้นกับชายแดนใต้ แล้วก็ไม่ปฏิเสธว่าจังหวัดชายแดนใต้จะอยู่ในรั้งท้ายของรายได้เป็นจังหวัดที่ยากจน เพราะฉะนั้นประเด็นก็คือว่า SME จะให้คนเหล่านี้เข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างไร ในขณะที่ จังหวัดยะลาเป็นเมืองเศรษฐกิจชีวภาพและเป็นเมืองท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ที่โดดเด่น สิ่งเหล่านี้ในขณะที่อีกอันหนึ่งที่นราธิวาสเราก็คงปฏิเสธไม่ได้ เป็นเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้า OTOP และอุตสาหกรรมชีวภาพ นี่เป็นความดีงามที่มันมีอยู่ใน จังหวัดชายแดนใต้ ถ้าเราสามารถที่จะสนองตอบจุดประสงค์แรกของ SME ก็คือการให้ พี่น้องประชาชนผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งทุนได้ เมื่อคนมีรายได้และมีชีวิตความเป็นอยู่ดี ปัญหาต่าง ๆ ก็จะค่อยหมดไป ผมขอฝากถึง SME ด้วยครับ ขอขอบคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ขอบคุณท่านประธานครับ ผม อาจารย์วรวิทย์ บารู เขต ๑ ปัตตานี พรรคประชาชาติ ในฐานะที่เคยทำงานที่เป็น คณะกรรมการอยู่คณะหนึ่งของ สสส. แล้วก็ส่วนใหญ่ก็จะเน้นตรงที่ปลายด้ามขวาน คือเขตแดน จังหวัดชายแดนใต้ ก็ชื่นชมในความพยายามของ สสส. ในการที่จะลดเลิกบุหรี่ที่ทางโน้น ซึ่งมันก็ไม่ง่ายนักต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ในทาง ๓ จังหวัดใต้ สสส. ใช้กระบวนการ ที่ใช้ระบบของทางด้านศาสนา เพราะว่าได้ไปทำงานร่วมกับทางผู้นำศาสนา สถาบันการศึกษา ตามจารีตก็ได้ผลตามสมควร พอโควิดมาผมก็ไม่ทราบว่ากิจการที่ทำอยู่เพราะเจอในนี้ออกมา ในภาพรวม ในช่วงหนึ่งของ สสส. รณรงค์ในการไม่ให้คนสูบบุหรี่ เลิกสูบบุหรี่นี่นะครับ ผมถือได้สำเร็จในขั้นที่ค่อนข้างจะดีมาก คือสามารถเอา Poster ข้อความเขตพื้นที่ห้ามสูบ บุหรี่เข้าสู่พื้นที่มัสยิดต่าง ๆ ผมเคยพูดตลอดนะครับว่า การที่นำเข้าไปสู่สถาบันเหล่านั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่อย่างไรก็ตามในความสำเร็จนั้นก็มีอีกหลายส่วน เพราะมันเป็น ข้อความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องของศาสนา ส่วนหนึ่งที่ถือว่าบุหรี่เป็นของต้องห้ามที่เรียกว่า ฮะรอม เขาก็ไม่ต้องมีปัญหาอะไรแล้ว แต่ในอีกส่วนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นการศึกษา ตามจารีต ผมเป็นห่วงในขณะนี้ถ้าเราดูแล้วเยาวชนถ้าหากว่า ๒๕-๔๐ ปี มีแนวโน้มลดลง แต่ว่าในส่วนของก่อนหน้านั้นจากช่วง ๑๕-๒๕ ปีไม่แน่ใจว่าที่ตรงนี้ผลมันเป็นอย่างไร เพราะว่าหลายส่วนนักศึกษาที่เรียนตามระบบของการศึกษาตามจารีตถ้าดูแล้วเกือบจะ ทุกคนที่ยังสูบบุหรี่ เพราะในทางโน้นนอกจากบุหรี่ธรรมดาแล้วที่โดยทั่ว ๆ ไปเขาไม่ค่อยนิยมกัน แต่นิยมในลักษณะบุหรี่ที่เป็นยาเส้นกับใบจาก แล้วเป็นที่แพร่หลายกันมาก เพราะฉะนั้น ในทาง สสส. ได้เก็บข้อมูลมาผมไม่ได้ดูนะครับว่าสถานการณ์ในทางจังหวัดชายแดนใต้ แต่หลายโครงการที่มีประโยชน์มากที่สามารถบังเกิดผลได้ อย่างเช่นว่า เลิกบุหรี่ครอบครัวละ ๑ คน โดยผ่านลูก ลูกภายในครอบครัว โดยทาง สสส. ได้ทำงานร่วมกับทาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี ได้ไปดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ก็ได้ผลมากนะครับ ไม่ทราบว่าขณะนี้โครงการเช่นนั้นเดินอีกหรือไม่ เพราะว่าตั้งแต่โควิดมาผมก็ไม่ทราบแล้ว ไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการชุดนี้แล้ว อย่างไรก็ตามถ้าเราดูในหน้า ๒๖ ก็บอกว่าแนวโน้มของ ยอดจำหน่ายบุหรี่ที่มีความต่อเนื่องที่ส่งผลว่าจะลดลง ผมไม่แน่ใจในทางใต้มันเป็นแหล่งหนึ่ง ของบุหรี่เถื่อน เป็นอาชีพที่มันสามารถสร้างรายได้กันมาก ถึงแม้ว่าจะมีการจับอะไรต่าง ๆ นี่นะครับ เพราะฉะนั้นบุหรี่ที่ถ้าเราดูที่ตรงนี้ลดลง อัตราการจำหน่ายบุหรี่ลดลง แต่ผม ไม่แน่ใจที่มันเข้ามาในลักษณะบุหรี่เถื่อน ซึ่งผมเข้าใจว่าในทางใต้ผู้ที่บริโภคบุหรี่ สูบบุหรี่อยู่นี่ ก็ยังเกือบจะทุกคนนะครับ สูบบุหรี่ที่เป็นยี่ห้อของต่างประเทศทั้งนั้น เป็นบุหรี่เถื่อนทั้งนั้น เข้ามา แล้วก็แม้จะโดนจับเป็นข่าวบ่อย ๆ แต่การใช้บุหรี่ที่เป็นบุหรี่เถื่อนก็ยังสูง เพราะฉะนั้น ตรงนี้ที่เป็นแนวโน้มของการจำหน่ายบุหรี่ลดลง ผมไม่แน่ใจในบุหรี่ที่เป็นบุหรี่เถื่อนซึ่งมันมี มากในทางจังหวัดชายแดนใต้ ก็ไม่แน่ใจว่ามันจะครอบคลุมสิ่งเหล่านี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ผมอยากจะให้ตอนที่เราอยู่พูดให้ความเห็นที่ สสส. ก็คือเรื่องประชาสัมพันธ์ ทำได้ในระดับหนึ่ง การประชาสัมพันธ์ของ สสส. แต่ว่าในอีกหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์สั้นหรืออะไรต่าง ๆ เหล่านี้นะครับ ถ้าหากว่าเราเจาะจริง ๆ ผมว่าทางใต้นี่ไม่ใช่เฉพาะบุหรี่ที่เราเห็นอย่างเดียว มันมีทั้งบุหรี่เถื่อน มีทั้งยาเส้น ใบจาก แล้วก็อีกอันหนึ่งที่เข้ามาใหม่ วัฒนธรรมที่เข้ามา เพราะมันเชื่อมโยงกับทางมาเลเซียก็คือ Baraku Baraku นี่ก็เยอะนะครับ เดี๋ยวนี้ก็หลาย ๆ แห่ง เพราะอาจจะมองว่ามันไม่ได้ผิดกฎหมายอะไร ก็มีการสูบในร้านอาหาร ตามบ้าน ตามอำเภอต่าง ๆ ซึ่งค่อนข้างที่จะออกไปจากในเมือง ก็จะมีการสูบ Baraku เพราะฉะนั้นข้อมูลที่ สสส. เสนอมา ผมให้กำลังใจทางด้านจังหวัดชายแดนใต้ท่านทำได้ค่อนข้างดีมาก และโครงการโดยเฉพาะ อย่างยิ่งโครงการ ๑ ครอบครัว มีคนเลิกบุหรี่โดยอาศัยลูกเข้าไปเดินแล้วก็ได้ผลค่อนข้างดีมาก ฉะนั้นอยากจะให้กำลังใจแก่ท่าน แล้วก็จะให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่ดำเนินมาได้ทำกันในลักษณะ ต่อเนื่อง รณรงค์เพื่อให้คนเลิกบุหรี่ก็เป็นสิ่งที่จะต้องทำต่อไป ผมจะพูดประการเดียวในวันนี้ ผมพูดแต่เฉพาะเรื่องบุหรี่ เน้นในเรื่องบุหรี่เถื่อนในจังหวัดชายแดนใต้ ถ้าหากเราไม่นับตรงนั้น การจำหน่ายที่มันไม่เข้าในระบบที่เราสำรวจ มันก็คงจะมีอีกเยอะครับ ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดปัตตานี พรรคประชาชาติ ได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องชาวประมง ตำบลตันหยงลุโละ

    อ่านในการประชุม

  • เนื่องมาจากโครงการ เมื่อหลายปีมาก่อนนี้เข้าใจว่าทางกรมเจ้าท่าได้ดำเนินการโดยฝ่ายทหารทำการขุดลอกร่องน้ำ อันเป็นร่องน้ำที่ทำมาหากินที่ประชาชนชาวประมงพื้นบ้านเอาเรือออกไปทำมาหากิน หารายได้ในแต่ละวัน แต่ปรากฏว่าจากการทำประชาคมก่อนที่จะดำเนินการก็ได้ตกลงกับ ประชาชนว่าจะขุดลอกเสร็จแล้วก็จะเอาดินโคลนตมนี่ไปทิ้งไว้ที่อื่น แต่ในทางปฏิบัติ ณ วันนี้ ก็เกิดปัญหาเพราะว่าไม่เอาโคลนตม เพียงแต่ว่าลอกเสร็จแล้วเป็นร่องน้ำยังคงอยู่ในพื้นที่ ตอนน้ำลงไม่เป็นไรประชาชนมองเห็นเอาเรือออกไป แต่เวลาน้ำขึ้นก็ทำให้เรือนี้ไปเกยกับโคก และสันดอนที่ตั้งไว้ทั้ง ๒ ข้าง และนานวันเข้าสันดอนเหล่านี้ก็เกิดมีต้นไม้ขึ้นมา ทำให้บริเวณ อ่าวปัตตานีซึ่งเป็นที่ทำมาหากินและประชาชนในบริเวณนั้นทั้งในเขต ๑ แล้วก็เขต ๕ อัน เป็นอ่าวที่ติดต่อกันก็ทำให้เกิดปัญหาในการทำมาหากิน

    อ่านในการประชุม

  • อันที่ ๒ ก็คือในถนนสาย ๔๑๐ ระหว่างที่มาจากยะรังที่จะเข้าในเมืองปัตตานี มีโค้งชื่อบราโอตรงนั้นเกิดอุบัติเหตุบ่อยมาก ทั้งคนที่อยู่อาศัยบริเวณนั้น แล้วก็คนที่ ขับยวดยานพาหนะประสบอุบัติเหตุไม่เว้นแต่ละวัน เกิดได้ทุกวัน ขณะที่ได้รับแจ้งจาก ประชาชนก็ยังเกิดเหตุอยู่ เพราะฉะนั้นตรงนี้ทางประชาชนได้สอบถามทางแขวงการทาง แขวงการทางเองบอกว่าทรัพย์สินเขาก็เสียหาย เขามีเรื่องอยู่ ไว้ให้เรื่องมันจบสิ้นแล้วจะ ดำเนินการแก้ไข ขอขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพ ผม อาจารย์วรวิทย์ บารู เขต ๑ จังหวัดปัตตานี พรรคประชาชาติครับ ชื่อญัตติทั้ง ๓-๔ ญัตติ พูดถึงเรื่องของแสวงหาสันติภาพ คณะกรรมการสันติภาพศึกษาเพื่อสร้างกระบวนการ สันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นี่ก็แสดงว่าพวกเราเห็นว่าการสร้างสันติภาพในจังหวัด ชายแดนภาคใต้เป็นทางที่จะแก้ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ปัญหาที่หมักหมม มานาน ไม่ว่าทางด้านใดที่เราได้ทราบ เราได้ฟังจากเพื่อนสมาชิกล้วนแต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและถูกต้องที่นำมากล่าว ณ ที่ตรงนี้ เพราะนี่คือสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชน คณะกรรมาธิการวิสามัญที่เราเสนอขึ้นมานี้ โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะของคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น แต่มันเป็นปัญหาของประเทศ ที่คนไทยเราทุกคนควรจะรับรู้แล้วก็ควรที่จะนำมาพูดคุยกันในสภาแห่งนี้ ในเรื่องของ สันติภาพเราพยายามที่จะสร้าง พยายามที่จะพูดคุยตั้งแต่สมัยของท่านนายกยิ่งลักษณ์ ซึ่งได้เริ่มขึ้น ซึ่งตอนนั้นผมเป็นสมาชิกวุฒิสภาก็มีคณะกรรมาธิการชุดนี้เช่นเดียวกันศึกษา แก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ แต่วันนี้ชื่อของทั้ง ๔ ญัตติที่ส่งมานี้พูดถึงเรื่องกระบวนการ สันติภาพ ไม่พูดถึงเรื่องปัญหา เรื่องอะไรต่าง ๆ นี่ก็แสดงว่าอย่างที่ผมกล่าวไว้เราเชื่อมั่นว่า สันติภาพจะนำมาซึ่งทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาทางด้านการเมืองที่พี่น้อง สมาชิกสภาผู้แทนพูดเมื่อสักครู่นี้ หรือว่าทางด้านเศรษฐกิจ ถ้าเรามองดูโอกาสที่พี่น้อง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรจะมีวิถีที่มีความจำเริญมีความผาสุกมากกว่าที่เป็นอยู่ ถ้าหากว่าสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ถูกสร้างขึ้นมาหรือว่าเรามีความตั้งใจจริงในการที่จะแก้ปัญหา ผมเข้าใจว่าสังคมในจังหวัดชายแดนใต้ก็น่าที่จะดีกว่านี้เยอะเลยทีเดียว ความพยายาม ในการที่จะมีคณะกรรมการพูดคุยในเรื่องของสันติภาพก็มีมานาน บางทีก็มีเรื่องของบุคคล แต่แน่นอนเหลือเกินว่าในส่วนตัวผมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือว่า Stakeholder ควรอย่างยิ่ง ในการที่จะอยู่ในกระบวนการของการเจรจา นั่นก็คือคณะกรรมการการเจรจา หลายครั้ง ที่ผ่านมาแม้แต่เรื่องที่ไปคุยเรื่องอะไร อย่าว่าแต่ประชาชนในประเทศเลย ประชาชนซึ่งอยู่ใน พื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปัญหานี้ก็ไม่ทราบว่าเข้าไปคุยกันเรื่องอะไร นับประสาอะไรที่ประชาชน ที่กระทบกับปัญหาเขาโดยตรง เขากระทบกับความรุนแรงต่าง ๆ ก็ควรที่จะได้รับรู้ เพราะฉะนั้นตัวแทนในการที่จะเข้าไปพูดคุยนอกเหนือจากภาครัฐอย่างเดียว ผมว่าบุคคล ที่ควรจะเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างยิ่งก็คือภาคประชาสังคม ภาคประชาชน แล้วก็ผู้ที่มีส่วนได้เสีย กับปัญหาหรือความรุนแรงที่เกิดขึ้น เราไม่ใช่ปล่อยเพียงแค่กลุ่มที่เห็นต่างเท่านั้นพูดคุยกับรัฐ เราควรที่จะสร้างกระบวนการสันติภาพโดยผ่านความเห็นชอบ โดยผ่านการร่วมไม้ร่วมมือ ของทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้เสียในพื้นที่ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นภาคประชาสังคม หรือว่าภาคประชาชนอื่น ๆ ไม่ว่าจะในเรื่องของเยาวชน ของอะไร แล้วก็ที่สำคัญเวลาเราไป พูดคุยอะไรควรจะมีการแถลงว่าขณะนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องอะไร ผลเป็นอย่างไร แล้วต่อไป เราจะพูดถึงเรื่องอะไรแล้วเราหวังผลคืออะไร ไม่เช่นนั้นแล้วคนที่พูดก็พูดไป คนที่ทำก็ทำไป ก็จะเข้าไปในอีหรอบเดิมก็คือคนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงนี้ไม่รับรู้ทั้ง ๆ ที่ตัวเองอยากจะรู้ ทั้ง ๆ ที่ตัวเองอยากจะเสนอความเห็นแต่ก็ไม่ได้ เป็นเรื่องของคนต่างหากไกลตัวจากเขา ทำให้ในกระบวนการสันติภาพที่ผ่านมาจึงไม่ได้มีผลเกิดขึ้นพอสมควร ทั้ง ๆ ที่เราเห็น เป็นอย่างยิ่งว่าสันติภาพเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้ สังคมพหุวัฒนธรรมที่นั่น แม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยผมยกตัวอย่างเพื่อนผมยกตัวอย่าง เมื่อสักครู่ว่าบางทีในความรู้สึกคนอีสานที่ไปช่วยแล้วก็โดนถึงแก่ชีวิต ไปช่วยในทางภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของทหารหรือตำรวจ หรืออะไรก็แล้วแต่ ความรู้สึกเกลียดชัง ต่อ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ต่อพี่น้องที่มีความเชื่อหรือเชื้อชาติที่ต่างกันก็เกิดขึ้น อย่างนี้ทำไม ในพื้นที่จึงต้องกำหนดให้คนเหล่านี้ คนในพื้นที่ทำไมจึงไม่เพิ่มกำลังให้เขาได้มีโอกาส ในการแก้ปัญหาพูดคุยกัน โดยคนในทุกภาคส่วนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในที่ตรงนี้ ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของความมั่นคงภาคใต้ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ไม่ใช่มีเรื่องของความมั่นคงอย่างเดียว ความมั่นคงที่ตรงนี้ถ้าครอบคลุมถึงมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมิติทางด้านเศรษฐกิจ มิติทางด้าน การศึกษา สังคม นั่นก็คือในช่องทางที่จะช่วยกันแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้ แต่ถ้าหากว่า มิติความมั่นคงเพียงโฟกัสไปอยู่จุดเดียวก็คือการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์เข้าไปมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้สถานการณ์ไม่ได้ดีขึ้นมากไปกว่าเดิม ยิ่งตั้งด่านมากขึ้นเท่าไร ที่เรามี ความเชื่อมั่นว่าด่านจะช่วยสกัดกั้นอะไรต่ออะไร แต่มันอยู่ตรงข้ามกับความรู้สึก ของประชาชน ก็สร้างความยากลำบากในการสัญจรไปมาของประชาชน ขอขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ๓๒๕ แสดงตนครับ ท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ กระผม ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ ปัตตานี พรรคประชาชาติ ขออภิปรายร่วมแสดงความเห็น แล้วก็เห็นด้วยกับผู้ที่ยื่นญัตติ ท่านประธานครับ กฎหมายที่เราใช้อยู่ที่ออกโดยรัฐบาลที่ผ่านมาถ้าจะเปรียบแล้วก็ราวกับว่ายื่นหมอนให้กับคน ที่กำลังง่วงอย่างเต็มที่ก็เลยเกิดปัญหานี้นะครับ เหมือนที่เราหลาย ๆ คนได้อภิปรายกันไป เราปลดใบเหลืองจาก IUU แต่เราให้ใบแดงแก่ประชาชนของเรา แก่ชาวประมงของเรา อันนี้เป็นสิ่งซึ่งเราจะต้องแก้ไขเป็นความจำเป็นที่เราจะต้องแก้ไขในประเด็นเหล่านี้ การออก กฎหมายเพื่อบังคับใช้นั้นอย่างน้อยเราต้องคำนึงถึงหลาย ๆ อย่าง อย่างน้อยที่สุดวัฒนธรรม การดำรงชีวิต วิธีคิด วิถีที่เขาดำเนินอยู่ของชาวประมง แต่จากการที่ยึดเอากฎหมายประมง ที่ใช้อยู่ทำให้เกิดผลกระทบมากมาย ผลกระทบหนึ่งที่มันเกิดขึ้นในพื้นที่เขตเลือกตั้งของผม เท่าที่ผมทราบและผมลงพื้นที่นี่ทำให้คนเสียชีวิต ๒ คน แล้วก็เกิดในสภาพที่ตกใจยังรักษาอยู่ อีก ๑ คน นี่คือผลกระทบโดยตรงนะครับ ชาวบ้านซึ่งมีวิถีการดำเนินชีวิตในประมงพื้นบ้าน ก็ทำการจับปลาในลักษณะตามที่ตัวเองดำเนินการมา แต่ก็ปรากฏว่าการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ทำให้สิ่งที่ความที่เราไม่แน่ใจที่จะเกิดขึ้นมันก็เกิดขึ้น เกี่ยวกับกฎหมาย ประมงนั้นแน่นอนระเบียบที่มีมากมายจิปาถะที่เกินความจำเป็นจากกฎหมายนี้ จะต้อง ยกเลิก ไร้ความจำเป็น แต่เราก็ให้มันมีขึ้นมาจนเกิดผลกระทบแก่ผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้าน การประมง โดยเฉพาะยังขัดกับวิถีชีวิตที่เขาดำรงอยู่เป็นร้อย ๆ ปี ที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเรา จะพัฒนาการประมงให้อยู่ในสภาวะที่ดีไม่ได้ เราสามารถจะทำเพื่อรักษาไว้ซึ่งประมง ทั้ง ๒ รูปแบบ คือประมงพื้นบ้าน แล้วก็ประมงพาณิชย์ บางครั้งเจ้าหน้าที่ก็จะต้องเข้าใจด้วย ในนโยบายการฟื้นฟูอาชีพประมง เพื่อให้สามารถดำเนินไปได้เป็นคู่ขนานกันไป แต่ถ้าหากว่า เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้ก็จะทำให้ยัดเยียดความผิดเหล่านี้แก่ประชาชน ผู้ซึ่งประกอบอาชีพ แล้วก็บางครั้งก็เกิดการต่อรองโดยใช้ระบบศาลเตี้ย บางทีก็จับไป แล้วก็ต่อรองกันไปก็เรียกรับอะไรต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น แล้วก็ควรที่จะหยุด การใช้วาทกรรม คำพูดที่ว่ากฎหมายประมงแม้เกิดความผิดโดยไม่มีเจตนาก็เป็นความผิด ที่จะต้องลงโทษ อันนี้ชาวบ้านบอกอย่างนี้ เวลาโดนก็ถูกวาทกรรมอันนี้โดยเจ้าหน้าที่ก็พูด อย่างนี้ตลอดมา ซึ่งควรที่จะใช้มาตรการทางด้านการปกครองหลังจากศาลมีคำสั่งหรือว่า ตัดสินแล้วว่าเป็นอย่างไร ก็ควรที่จะใช้กฎหมายอันนี้ขึ้นมา แต่ถ้าหากว่าเจ้าหน้าที่เองก็บังคับ ให้เรือจอด ซึ่งบางทีถ้าเราดูไปมันก็ผิดกฎหมายทางอาญาด้วย เพราะฉะนั้นผมว่าสิ่งหนึ่ง ทำให้เกิดขึ้น แต่ก็บังเกิดอีกสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกัน เรือเล็กพื้นบ้านถูกยัดเยียดความเป็นเรือประมง บังคับให้ออก แล้วก็โดยเครื่องมือการจับปลา บังคับให้เรือประมงซึ่งไม่เคยออกทะเลนอกจะต้องออกทะเลนอก เรือขนาดนั้นไปประกอบอาชีพ ประมงในทะเลนอกนะครับ ผมเข้าใจว่าโดยศักยภาพแล้วมันจะทำอะไรได้ แล้วก็ยิ่งกว่านั้น มันจะเกิดอันตรายไม่มีความปลอดภัย อันนี้เกิดจากการที่กฎหมายมีปัญหา

    อ่านในการประชุม

  • ต่อไปกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎหมายแรงงาน กฎหมายแรงงานนี่ถึงแม้ว่าเรา จะดูเหมือนว่าให้สิทธิแก่แรงงานแต่ก็ให้สิทธิเกินความเป็นจริงจนสร้างวัฒนธรรมที่ ไม่ค่อยดีนักแก่แรงงาน นั่นก็คือแม้จะไม่ทำงานแต่ก็ได้รับค่าจ้าง การออกกฎหมายที่มันมี ดุลยภาพที่คำนึงถึงชาวประมงทั้ง ๒ ลักษณะ คือประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์ รวมทั้ง กฎหมายที่จะประคับประคองให้ชาวประมงไทยไปได้กับกฎหมายนานาชาติก็ควรที่จะกระทำ กันไป สิ่งที่เราควรจะทำเป็นอย่างยิ่งก็คือการให้ความรู้แก่พี่น้องชาวประมงแทนที่เราจะมี กฎหมายแล้วใช้กฎหมายอย่างที่อีกด้านหนึ่งผู้ที่ถูกกฎหมายนี้เล่นงานก็อยู่ด้วยการไม่สบายใจ

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้สิ่งที่เราขาดไปอีกอย่างหนึ่งที่ควรจะทำนะครับ เพื่อนผมมีคานเรือ ซึ่งก่อนหน้านี้เรือทางมาเลเซีย เรือทางไหนก็มาใช้บริการ แล้วก็เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ แก่เขาค่อนข้างเยอะเพราะเขาเป็นคนมีสตางค์ แต่วันนี้ร้าง ร้างจนไม่สามารถจะทำอะไรได้ แล้วก็อีกหลายอย่างที่เราควรจะทำควบคู่กันไป ไม่ใช่เรือที่ทำด้วยไม้เหมือนกับของเรา ไปตีความเอาด้วยกฎหมาย IUU เป็นเรื่องเหล็กที่ออกทะเลกว้างทะเลลึกได้มันก็มีปัญหา อย่างที่เกิดขึ้นแก่ชาวประมงของเรา ส่วนที่จะต้องเพิ่มที่ตรงนี้ก็คือการที่ให้ความรู้กับ ชาวประมงของเราเพื่อพัฒนาเขาให้ไปสู่ความถูกต้องแล้วก็การมีศักยภาพในการจับสัตว์น้ำ ขอบคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม วรวิทย์ บารู สมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี เขต ๑ วันนี้ขอหารือเรื่องการสร้างถนน สาย ๔๒ และถนนสาย ๔๑๐ ที่แยกตะลุโบะ

    อ่านในการประชุม

  • เพราะว่าถนนเส้นนี้ได้รับ การจัดสรรงบประมาณแล้ว แต่สิ่งที่จำเป็นต้องพูดเนื่องจากว่าถนนเส้นนี้มันเคยเปลี่ยน จากรูปแบบเดิม แล้วก็สร้างความยากลำบากแก่คนสัญจรไปมามาก เป็นเวลา ๑๐ กว่าปี ที่ถนนสายนี้เกิดขึ้นแล้วก็มันเป็นมุมอับ ซึ่งหลาย ๆ อย่างที่เกิดอุบัติเหตุ แล้วก็เกิด การฆาตกรรมก็เคยเกิดขึ้นแล้วที่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นที่พูดก็กลัว เพราะว่าสิ่งที่มีการจัดสรร ให้กับทางจังหวัดปัตตานีมักจะถูกโยกย้ายไปที่อื่นเสมอ ที่ตรงนี้ก็เนื่องจากว่าการโยกย้าย เช่นเดียวกันงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ เพราะฉะนั้นจึงอยากจะเรียนท่านประธานว่า เมื่อได้มีการจัดสรรตรงนี้ แล้วก็ความยากลำบากของพี่น้องไม่ใช่เฉพาะแต่จังหวัดปัตตานี ผู้ใช้สัญจรไปมา เป็นถนนที่มุดเข้าใต้สะพาน แล้วมันเป็นนวัตกรรมที่แปลกมาก แล้วก็ที่สร้าง ตรงนี้ผมเข้าใจว่าผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแขวงการทางก็พยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้ แล้วก็มีแบบอะไรเสร็จเรียบร้อยแล้วดังที่เห็นใน Slide นะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ที่อยากจะเรียนตรงนี้ก็คือผมได้รับเชิญให้ไปดูระบบชลประทาน ของพี่น้องผู้ทำงานในเขตตำบลตุยง ตำบลปะกาฮะรัง ซึ่งดูเหมือนว่ามันล่มไปเสียแล้ว ผมอยากที่จะให้กรมชลประทานช่วยดูแลสร้างเสร็จแล้ว ไม่ใช่สร้างเป็นเครื่องประดับ เฉย ๆ นะครับ ผู้คนหลายคนที่ต้องการทำนาในบางจุดบางพื้นที่ก็ไม่สามารถที่จะทำได้ อันเนื่องมาจากว่าระบบมันล่มไปแล้วไม่มีการแก้ไข และไม่มีการซ่อมแซมอะไรต่าง ๆ เลย ทำให้เกษตรกรที่เขาทำเป็นอาชีพเสริมก็ทำไม่ได้ด้วยเช่นเดียวกัน ขอฝากผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยครับ ขอขอบคุณครับ ท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทน ที่เคารพ ผม อาจารย์วรวิทย์ บารู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี เขต ๑ พรรคประชาชาติ ผมเข้าใจว่าเราเดินทางมาไกลผู้ที่มาชี้แจงก็คงจะทราบดี เดินทางมาไกลมาก เราพูดถึงจังหวัดชายแดนใต้แม้เราไม่อยากจะพูดถึงเรื่องที่เป็นจุดดำที่เกิดขึ้นแก่ประชาชน ในจังหวัดชายแดนใต้ ๑๙ ปีตากใบ กี่ปีที่สะพานกอตอ กี่ปีที่กรือเซะ และอีกกี่ปี ๆ หลายกรณีเหลือเกิน เราไม่อยากจะพูดสิ่งต่าง ๆ หรืออยากจะดูว่าการพัฒนาไปสู่จุดใด เราพยายามที่จะปรับทิศทางในการพัฒนาในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนกระทั่ง เห็นพ้องต้องกันว่าในช่วงปี ๒๕๕๓ เราได้ พ.ร.บ. การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เดินทางมาได้ประกาศใช้ปี ๒๕๕๔ ปี ๒๕๕๕ ปี ๒๕๕๖ ปี ๒๕๕๗ ก็เริ่มเปลี่ยนแปลง หลังจากการปฏิวัติรัฐประหาร การเปลี่ยนแปลงตรงนี้เปลี่ยนแปลง ณ จุดสำคัญจะเห็นว่า ในสิ่งที่ประชาชนคิดร่วมกับภาครัฐ อย่างเช่น สมช. อย่างนี้ไม่เคยเดินทางไปไกลสักทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นจะแก้ปัญหาอย่างไร ในเมื่อคนจะแก้ปัญหายืนอยู่คนละทิศคนละทางกับปัญหา เข้าใจปัญหาแต่ตั้งใจที่จะอยู่คนละทิศคนละทางกับปัญหา มันจะแก้กันได้อย่างไร ผมยกตัวอย่าง เช่นว่า ทางผู้ที่เกี่ยวข้อง สมช. นี่เป็นนโยบายแก้ปัญหา แล้วมารายงานกันว่าเราได้ลด ความยากจนของครัวเรือน เราก็ทราบดีจังหวัดปัตตานีคนที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย อยู่ใน ๓ จังหวัดนี้ละครับ ปัตตานียากจนที่สุดก็ไม่พ้นนราธิวาส แล้วก็ยะลา อยู่แค่นี้ละครับ มาดูในเรื่องการศึกษาอีก การศึกษาที่แย่ที่สุดอยู่ท้ายสุดก็ปัตตานี ยะลา นราธิวาส อีกละครับ อยู่อย่างนี้กี่ปี มหกรรมการกระจายหน่วยงานไปทางใต้เพื่อแก้ปัญหา มีส่วนหน้าเยอะแยะก็ กอ.รมน. ภาค ๔ ส่วนหน้า การศึกษาส่วนหน้า ศึกษาธิการส่วนหน้า อะไรต่ออะไรต่าง ๆ มากมาย พยายามที่จะแก้ปัญหา เราก็น้อมรับสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้นะครับ อย่าลืมว่าประเด็นของการได้มา ซึ่ง พ.ร.บ. การบริหารราชการจังหวัดชายแดนใต้เราสานต่อเจตจำนงของประชาชน จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อให้องค์กรนี้เป็นองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนแตะต้องได้ เพราะเรา มองภาพว่า ศอ.บต. นี้มีประชาชนพูดถึงและเข้าใกล้สามารถแตะต้องได้ แต่แล้วหลังปี ๒๕๕๗ ปี ๒๕๕๘ มาก็กลับกลายเป็นว่าถ้าเราดูในหลายนโยบาย กอ.รมน. อยู่ข้างหน้า ไม่ใช่ ศอ.บต. นี่ก็แสดงถึงความไม่ไว้วางใจ เพราะอะไรครับ เพราะอย่างที่ผมบอกถ้าผู้จะแก้ปัญหายังอยู่ ตรงข้ามกับปัญหา อยู่คนละข้างความคิดเกี่ยวกับปัญหานี้ก็ทำให้เกิดช่องว่างในการที่จะ แก้ปัญหา ประชาชนต้องการ ศอ.บต. และเราก็เห็นพ้องต้องกัน สมช. เองก็เห็นพ้องต้องกัน ณ ขณะนั้นเราสร้าง พ.ร.บ. ขึ้นมา ที่สำคัญอยู่ ๆ ประชาชาติต้องเสนอ พ.ร.บ. เพื่อลบล้าง คำสั่ง เราเสนอว่าเราต้องมีสภาที่ปรึกษาใน พ.ร.บ. ศอ.บต. วันดีคืนดีหลังปฏิวัติก็เอาอันนี้ ออกไป แต่คำสั่งระหว่างนั้นก็คือกฎหมาย เวลาจะล้มกฎหมายก็ต้องออก พ.ร.บ. ถ้ายุ่งยากอีกก็ต้องเข้า สภานี้แล้วเราก็ทำไป เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าสิ่งที่เราเห็นแม้ สมช. เองเห็น แต่ในบางครั้ง มันเดินไปไม่ได้ ก่อนที่จะเกิด พ.ร.บ. อันนี้เราก็มองเห็นว่า พตท. ๔๓ ควรจะมาอยู่ภายใต้ ของ ศอ.บต. ควรจะมาอยู่ตรงนี้เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นเอกภาพ แต่แล้วผมก็ไม่ทราบ จะเรียกว่าความดื้อรั้นหรืออะไรก็แล้วแต่ ประชาชนก็สงสัยกันว่าหรือจะให้มันเป็นอยู่อย่างนี้ ตลอดไปปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้ ได้มาแล้วภาคการเมืองก็เห็นด้วย สภานี้ผ่าน สมช. เอง ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องก็ดีใจ แล้วก็เข้าใจ เดินทางมาพร้อมกับหลายกลุ่ม หลาย NGO ก็เห็นด้วย เราเดินทางมาได้เพียงแค่นิดเดียว ไม่ทราบว่า พ.ร.บ. นี้จะสามารถแก้ปัญหา จะสามารถเป็นองค์กรตามเจตนารมณ์ร่วมระหว่างประชาชนกับฝ่ายปฏิบัติ ฝ่ายรับผิดชอบ คือ สมช. แต่มันก็เดินทางไปไม่ถึง สุดท้ายแล้วมันก็ล่ม มันก็ล่มอย่างที่เราเห็น ก็ฉีก พ.ร.บ. ออกมาเป็นชิ้น ๆ มันไม่เดินทางไปไหน ฉะนั้นผมยกตัวอย่างหลายคนก็พูดนะครับ เรื่องของ ความยุติธรรม หลายอย่างที่คิดในรูปแบบใดไม่ทราบ แต่มันประจานความรู้สึกเรา ตลาดกลางเกษตร เดินทางที่ ๔ เลนจะขึ้นมากรุงเทพฯ ก็ต้องผ่านตรงนั้นที่ดอนยาง วันดีคืนดีก็เป็นที่ตั้งของ หน่วยความมั่นคง ตลาดกลางปศุสัตว์ มาที่ใกล้เคียงกันนะครับ สำนักงานแปรรูปผลิตผล การเกษตรร้างอยู่จนทุกวันนี้ ร้างยังไม่มีใครหน่วยงานใดไป นิคมอุตสาหกรรม นิคมอาหาร ฮาลาล ที่ตำบลบ้านน้ำบ่อ จังหวัดปัตตานีก็ร้าง แล้วคิดใหม่ในการที่จะสร้างเมืองอุตสาหกรรม ต้นแบบที่อำเภอจะนะ ทั้ง ๆ ที่ประชาชนต้องลุกขึ้นมานะครับ เราพูดถึงเกษตรสีเขียว บริเวณนั้นถ้าจะเป็นเกษตรสีเขียวเหมาะที่สุดที่จะเป็นเมืองอุตสาหกรรมต้นแบบ เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าเอกภาพในการมองปัญหานี้ยังคงอยู่คนละทิศละทาง เราคงจะพูดถึงเรื่องของ สันติภาพอีกยาวไกล ท่านทราบไหมครับว่ารายได้ของประชาชน ปัตตานี ๖๘,๐๐๐ บาท ในขณะที่เอาก๊าซจากปัตตานีที่เกาะโลซิน บริเวณ JDA เข้าไปผ่านสงขลามาขึ้นที่ระยอง คนปัตตานีได้ ๖๘,๐๐๐ บาทต่อปี คนระยองได้เป็นล้านขึ้นที่ระยอง ในขณะที่ค่าภาคหลวง ไม่ตกเลยที่ปัตตานี แต่ไปตกที่สงขลา ผ่านสงขลาได้เป็นหมื่นล้าน สิ่งเหล่านี้ถ้าหากว่า ฝ่ายตรงข้ามเขาบอกว่า ทำไมเอาทรัพยากรของเราไป มันได้ใจครับ เพราะฉะนั้นสิ่งต่าง ๆ หรือเราจะใช้ความรุนแรงไปข่มขู่เขาตลอดไปเช่นนี้หรือครับ เพราะฉะนั้นผมอยากจะให้ พ.ร.บ. ศอ.บต. ฟังก์ชัน ของ ศอ.บต. ซึ่งบริหารจัดการโดย สมช. กลับไปสู่จุดเดิมเถอะครับ จุดเริ่มต้นของปี ๒๕๕๓ ปี ๒๕๕๔ ที่เราคิดร่วมกันถึง พ.ร.บ. ศอ.บต. คิดว่าสิ่งเหล่านี้ จะแก้ปัญหาได้ ขอขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม วรวิทย์ บารู เขต ๑ ปัตตานี ประชาชาติ ก่อนอื่นก็ต้องแสดงความดีใจกับประชาชน ในอีกพื้นที่ ๒ พื้นที่ คืออำเภอปะนาเระ กับอำเภอรามันที่ได้รับการปลดออกจาก พ.ร.ก. แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงความเศร้าใจกับประชาชนอีกหลายอำเภอที่ยังคงต้องอยู่ ภายใต้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินนะครับ วันนี้ผมมีเรื่องที่จะหารือกับท่านประธาน ๒ ประเด็น ในประเด็นที่ ๒ อาจจะหลายคนก็พูดไปแล้ว

    อ่านในการประชุม

  • แต่จะพูดในประเด็นแรก ก็คือ เรื่องอุบัติเหตุ ณ จุดตรวจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยมาก แล้วก็ถึงแก่ชีวิต ส่วนใหญ่จะถึงแก่ชีวิตเพราะว่าการที่ตั้งจุดตรวจซึ่งเราไม่ทราบว่าจะได้คำนึงถึงเรื่อง ความปลอดภัยในเชิงของวิศวกรรมจราจรหรือไม่ แต่ว่าหลายครั้งที่รถเข้าสู่จุด อันนี้ในพื้นที่ ที่มันแคบอยู่แล้ว อย่างเช่นที่จุดตรวจที่หน้าโรงไฟฟ้าบ้านตะลุโบะ เมื่อสัก ๒ เดือนที่แล้ว ก็ถึงแก่ชีวิตระหว่างรถพ่วงข้างกับรถกระบะ แล้วหลังจากนั้นก็มีรถมอเตอร์ไซค์อีก และไม่ใช่ จุดนี้จุดเดียวนะครับ สิ่งที่ต้องการจะให้ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ตรวจดู น่าจะคืน ผิวจราจรให้กับประชาชนนะครับ การตั้งที่พัก ที่อยู่อาศัยของเจ้าหน้าที่บนถนน ใช้ผิวจราจร เป็นที่ตั้งดูเหมือนว่ามันน่าจะไม่ถูกต้องเพราะว่าความไม่ปลอดภัย อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ประชาชนเป็นผู้ที่รับความเสียหาย ถ้าจะได้มีการแก้ไขก็น่าจะดีมากสำหรับความปลอดภัยของ ประชาชน

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ก็คือการช่วยเหลือหลังน้ำลด ก็อยากที่จะให้รัฐบาลช่วยใส่ใจ ในเรื่องเหล่านี้ เพราะมันสาหัสสากรรจ์มากจริง ๆ ครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ ผม อาจารย์วรวิทย์ บารู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี เขต ๑ พรรคประชาชาติ วันนี้ก็เป็นความสำเร็จอันหนึ่งของมวลมนุษย์ในการที่จะแสวงหาสิทธิเพื่อให้แก่ประชาชน ก็ยินดีด้วยในการที่สภาแห่งนี้ได้ไปช่วยกันหาข้อสรุปเพื่อที่จะไปสู่ปลายสุดของการผ่าน กฎหมายอันนี้ อย่างไรก็ตามพรรคประชาชาติเป็นพรรคที่อยู่ใน ๓ จังหวัดชายแดนถาคใต้ การหาเสียงอย่างที่ท่านเลขาผม ท่านซูการ์โนพูด ไม่ได้หมายความว่าเราปฏิเสธต่อข้อเท็จจริง ของสังคมที่ยอมรับนะครับว่าศาสนาอิสลามนั้นเป็น Dean เป็นวิถีแห่งการปฏิบัติ เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่กระทบต่อชีวิตเขา แน่นอนเหลือเกินนะครับ เป็นวิถีนะครับ มันไม่ใช่เป็น ศาสนาเหมือนความเข้าใจ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ไม่ใช่ครับ เป็นวิถีที่เขาจะต้อง เดินตาม เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้นะครับพรรคประชาชาติของเราไม่ได้อยู่หรือเป็นไปใน ลักษณะไม้ซีกจะไปงัดไม้ซุง แต่เราจำเป็นที่จะต้องอธิบายนะครับ แน่นอนว่ากรอบความคิด เราที่เริ่มต้น แน่นอนต่างกัน เพราะฉะนั้นเราจะหา Core Value ที่ตรงกัน แน่นอนเป็นไป ไม่ได้ ฐานที่มา ของค่านิยมมันต่างกัน เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จึงมีความสำคัญต่อพี่น้อง ประชาชนของเรานะครับ ในประเด็นสิทธินี้เราแสวงหาสิทธิกันเพื่อที่ในระดับโลกนะครับ หลายองค์กรระดับโลกก็คุ้มครองสิทธิ ในขณะที่ UN ไม่สามารถทำอะไรได้เลยต่อการทำลาย สิทธิขั้นพื้นฐานมนุษชนในกรุงเยรูซาเลม ในฉนวนกาซา ในขณะเดียวกันเราแสวงหาสิทธิ แต่เราละเลยต่อสิทธิอันชอบธรรมของพี่น้องประชาชนตามสิทธิที่เขาถูกคุ้มครองโดยศาสนา คุ้มครองโดยลัทธิความเชื่อของเขา นั่นก็คือตัวอย่างที่ชัดเจน หลายแห่ง โรงเรียนหลาย โรงเรียน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้ศาลปกครองตัดสินไปแล้วว่าอนุญาตผ่อนปรนให้เด็ก เหล่านั้นแต่งชุดตามความเชื่อของเขา แต่แน่นอนทางโรงเรียนที่เกี่ยวข้องก็ไม่ได้ ปฏิบัติตาม อีกหลายกรณีหลายอย่างทางรัฐบาลได้พยายามแก้ไขจุดแล้วจุดเล่า แต่ก็ยัง ไม่หมด เหล่านี้ผมอยากจะให้พี่น้องเราในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้คำนึงถึง สิทธิเหล่านี้ด้วย เพราะสิทธิเหล่านี้มีความสำคัญไม่น้อยกว่าสิทธิของเพศสภาพที่เราพูดถึง สิทธิของการที่จะ ปฏิบัติตามความเชื่อของตนเองที่ถูกรับรองโดยรัฐธรรมนูญ ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่าสิทธิ ที่เราหวงแหนที่เราแสวงหา ณ วันนี้ เราเชื่อตามแนวทางที่ศาสนาบอก ผมยกตัวอย่างนะครับ เราเชื่อว่าดอกเบี้ยนั้นคือสิ่งที่ศาสนาห้ามอย่างรุนแรง ตอนนี้เป็นอย่างไรครับ รัฐบาลต้อง แก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบ เราคิดไม่ถึงว่ามนุษย์จะเอาเปรียบมนุษย์ด้วยกันด้วยการโขกสับ ดอกเบี้ยจนกระทั่งรัฐบาลต้องเข้ามา และเราก็เห็นอกเห็นใจคนเหล่านั้น เหล่านี้ก็เป็นสิทธิ เหล่านี้คือสิ่งที่เป็นหน้าที่ของเราร่วมกัน ไม่ใช่เพศสภาพอย่างเดียวนะครับ ที่สำคัญที่เป็นวิถี การดำรงชีวิตในสังคมนี้มันปั่นป่วนไปหมดเช่นเดียวกัน ถ้าหากผมบอกว่าในสภาแห่งนี้ปรากฏ ว่าเรามีความอิสระ แล้วก็เมื่อสักครู่นี้ท่านณัฐวุฒิได้พูดไปแล้วว่าสิ่งที่ประเทศไทยจะต้อง เผชิญข้างหน้านี้คืออะไร ต่อการเกิดของพี่น้องประชาชน ถ้าหากว่าสภานี้เป็นพี่น้องเราตรงนี้ เป็นไปตามลักษณะที่เราแสวงหาทั้งหมด แล้วก็จะถามว่าข้างหน้านี้เราจะหาคนที่เกิดใหม่ ที่ไหน อย่างไร นี่คือสิ่งที่เราไม่ได้เป็นห่วง แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นจริง นี่คือสิ่งที่ความพยายาม ของมนุษย์เช่นเดียวกัน หลายอย่างที่เป็นความพยายามของมนุษย์ที่ไม่ได้สอดคล้อง กับข้อเท็จจริงนะครับ อันนี้ก็เช่นเดียวกันที่เราพยายามที่จะแสวงหาข้อเท็จจริง แสวงหา ความพึงพอใจ แสวงหาสิ่งที่ถูกต้องตามความคิดของเรา แต่แน่นอนสิ่งถูกต้องเหล่านี้ได้ปรากฏ ออกมาอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น วันนี้กรณีของผมไม่ได้โม้ สังคมไทยเราให้ความสำคัญต่อ ตัวเลขมากกว่าศีลธรรม เราให้ความสำคัญกับตัวเลข ๑๗ ปี ๑๘ ปี หรือ ๒๐ ปี แต่เราละเลย เราไม่ให้ความสำคัญต่อศีลธรรมที่มันเป็นไปในสังคมนี้ ผมถามว่าสังคมเราจะไปอย่างไร ๑๗ ปี ๑๘ ปี ๑๙ ปี ๒๐ ปี ถ้าหากว่าละเลยกล้ำกรายในเรื่องของศีลธรรม แน่นอนมันเป็นไปไม่ได้ ทั้งหมด นั่นคือเรื่องที่มันเกิดขึ้นกับสังคมเรา เพราะฉะนั้นในวันนี้พรรคประชาชาติขอร้อง ไม่ได้ให้ เห็นด้วยกับพรรคประชาชาติ แต่ว่าพรรคประชาชาติยืนยันว่าสิ่งเหล่านี้เราไม่ได้หาเสียง แต่เป็น ข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่เขาจะต้องถาม เมื่อวิถีการดำเนินชีวิตของเขาจะถูกสิ่งเหล่านี้เข้ามา เราไม่ได้หาเสียงเพื่อว่าจะต่อต้านจะอะไร ไม่ใช่ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏใน ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ และจะปรากฏแก่สังคมมุสลิมทั่วไป เพราะมันไปกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตหรือ อดีตที่ทางศาสนานะครับ ในขณะที่เราสมาชิกที่เป็นประชาชนเป็นพี่น้องมุสลิม อย่างที่ผมบอก สิ่งที่เขายึดมั่นแน่นอน เป็นสิ่งที่พี่น้องประชาชนชาวมุสลิมถือเป็นเรื่องสำคัญ จะไปโน่นที จะไปนี่ที เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นขอเรียนชี้แจงให้พี่น้องประชาชนแล้วก็ให้เพื่อนสมาชิก ได้รับทราบ ขอขอบคุณครับ ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม วรวิทย์ บารู พรรคประชาชาติ จังหวัดปัตตานี เขต ๑ ครับ ในขณะที่เราอภิปราย ในเรื่องนี้ เรื่องตามที่กรรมาธิการวิสามัญได้รายงานมา ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณประธาน และกรรมาธิการทุกท่านที่ได้ทำงานเรื่องนี้ ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าแล้วก็รวดเร็ว เพราะว่า เมื่อสักครู่นี้ที่เรากำลังอภิปรายอยู่นี้ มีพี่น้องชาวประมงได้โทรมาบอกว่าจะเป็นไปได้ไหม ใช้เวลาในการพิจารณากฎหมายนี้ให้สั้นลง เพราะความเชื่อมั่นของชาวประมงต่อคณะกรรมาธิการ ผมคิดว่าเรื่องความชำนิชำนาญ โดยเฉพาะท่านประธานเขามีความเชื่อมั่นว่าจะทำให้ นำโอกาสกลับคืนมาสู่ความเป็นปกติของการประมงไทยจากการที่เราออกไป ๘-๙ ปี จากการที่ข้อเท็จจริงในการทำประมง อย่างหนึ่งที่เรามีความเห็นที่ต่างกันตั้งแต่ต้น ผมคิดว่า กฎหมาย IUU ที่มาใช้กับเรา มิติในการใช้แรงงานคนหรือสัตว์ ผมว่าระหว่างตะวันตก กับตะวันออกมันต่างกัน ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ นะครับ การใช้ลิงในการขึ้นมะพร้าว ในไม่กี่เดือนมาก่อนก็มีการตื่นตัวกัน ในเรื่องนี้ เพราะว่ามีตะวันตกมาสังเกต แล้วก็จะห้ามในการใช้ผลิตภัณฑ์ทางด้านที่เกิดจาก มะพร้าว เพราะว่าการใช้วิธีนี้ทางตะวันตกบอกว่าเป็นการทรมานสัตว์ อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นต้องขอขอบคุณ ในการที่จะแก้ไขกฎหมายที่กรรมาธิการพิจารณานี้ ก็เป็นการ นำกลับไปสู่ข้อเท็จจริงของตะวันออกแล้วก็อยู่กับสากลได้ สิ่งที่เราต้องพิจารณาในเรื่อง ของการประมงนี้ ประมงเราในประเทศไทยในจังหวัดที่ทำการประมง ๒๒ จังหวัด การที่ อยู่ภายใต้กฎหมายที่เขาทำอะไรไม่ได้ แล้วก็ลงโทษอย่างหนักตลอด ๘ ปีที่ผ่านมานี้ ทำให้ จังหวัดหลาย ๆ จังหวัดที่อาศัยประมงในการดำรงชีวิต แล้วก็ในการประกอบอาชีพนี้มีความ เดือดร้อนมากมาย นอกจากนั้นไม่เพียงแค่นั้น อาชีพที่ต่อเนื่อง ธุรกิจที่ต่อเนื่องจากประมง ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน สถานการณ์การประมงและอาชีพต่อเนื่องและธุรกิจต่อเนื่อง มันมีปัญหาสะพานปลาหลายแห่งซบเซา ท่าเทียบเรือประมงไม่มีการใช้เลย ทำให้ตะกอน ที่เกิดจากการพัดพาก็มากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันมีปัญหาที่ทำให้จังหวัดต่าง ๆ ที่ทำการประมง แล้วก็พื้นที่ที่ใช้ประมงมีปัญหา ประมงพื้นบ้านที่ได้รับการร้องเรียนมา แล้วเราก็เห็นกัน อย่างชัดเจน ในข้อเท็จจริงในส่วนของประมงพื้นบ้านที่ออกไปตกปลา เช่น ปลาอินทรีย์ ก็ออกไปไกลจากฝั่ง ถ้าหากว่ายึดเอา ๓ ไมล์ ก็แน่นอนนะครับ มันเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย แล้วก็ลงโทษรุนแรงด้วย แต่ในข้อเท็จจริงคนเหล่านี้ อย่างเช่นที่บ้านผมที่จังหวัดปัตตานี เขาออกไปทางเกาะโลซินไปตกปลาอินทรีย์ เพราะฉะนั้นเขตพื้นที่เหล่านี้ถ้าหากในกฎหมายนี้ เราได้คำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ด้วย เรือประมงพื้นบ้านสามารถที่จะใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ไม่ได้ ถูกห้ามคือการตกปลาอินทรีย์ อันนี้ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ชาวประมง พี่น้องชาวประมงได้ฝากมา

    อ่านในการประชุม

  • อีกอย่างหนึ่งก็คือธุรกิจต่อเนื่องที่สำคัญมากในหลายจังหวัด ทั้ง ๒๒ จังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดปัตตานีเป็นคานอู่ซ่อมเรือ หรือว่าคานเรือที่ได้รับผลกระทบอย่างยิ่ง จริง ๆ แล้วอู่เรือเหล่านี้เป็นที่ซ่อมเรือของพี่น้องประมงชาวมาเลเซีย แล้วก็ชาวอินโดนีเซีย แต่เนื่องจากว่ากฎหมายดังกล่าวนี้ก็ทำให้อู่เรือ คานเรือเหล่านี้ร้างไปหมด แล้วก็การทดแทน จากภาครัฐก็ยังไม่ทั่ว ไม่ถึง ยังไม่ได้ เพราะฉะนั้นในส่วนของเรือประมงเหล่านี้ที่เป็นของ ต่างชาติ ก็ไม่อาจที่จะมาใช้บริการที่บ้านเราได้ ทำให้อู่ซ่อมเรือหรือว่าคานเรือเหล่านี้ไม่ได้รับ ประโยชน์ เป็นเวลาเกือบ ๑๐ ปี

    อ่านในการประชุม

  • ทีนี้อีกอันหนึ่งที่อยากจะพูดนอกเหนือจากการประมงพื้นบ้าน นอกเหนือจาก ขยายพื้นที่ประมงตามที่ได้พูดแล้วนะครับ ก็ควรที่จะให้การสนับสนุนต้นทุนในการจับสัตว์น้ำ เช่นว่าในเรื่องของน้ำมันเป็นกรณีพิเศษเช่นเดียวกับเรือประมงพาณิชย์ ก็ควรที่จะคำนึงด้วย นอกจากนั้นตามกฎหมายที่ว่าไปอีกอันหนึ่งก็คือการประมงนอกน่านน้ำ จริง ๆ เรามีความสามารถ ที่จะทำได้ แต่ ณ ขณะนี้เรามีเรือไทยที่มีขีดความสามารถทำการประมงในเขตพื้นที่นอก น่านน้ำอยู่ประมาณสัก ๑๐ ลำได้ ทีนี้เราควรที่จะสนับสนุนการประมงนอกน่านน้ำ เพราะว่า สามารถที่จะไปแข่งขันกับไต้หวัน ญี่ปุ่น จีนได้ ซึ่งความสามารถในการจับสัตว์น้ำเหล่านี้ พวกเรามีพอนะครับ แล้วก็อำนวยความสะดวกในการพัฒนาการประมงของเรือประมงเรา แล้วก็เจรจาต่อรองในการเพิ่มการทำประมงในเขตประมงรอบบ้านเราเพื่อที่จะได้ร่วมมือกัน ในการจับสัตว์น้ำ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ก็ขาดไป แต่ก่อนนี้เขาดำเนินการไปด้วยดีนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • อีกอันหนึ่งที่อยากจะฝากกรรมาธิการตรงนี้ก็คือเรื่องของกองทุนครับ กองทุน ต่าง ๆ มี แต่กองทุนประมงยังขาดอยู่ กองทุนสงเคราะห์การยาง กองทุนอะไรต่าง ๆ มี แต่กองทุนประมงยังขาดอยู่ ในขณะที่การประมงได้สร้างรายได้ให้แก่ประเทศชาติ อย่างมหาศาลเลยทีเดียว ก็ขอขอบคุณท่านประธานอีกครั้งหนึ่ง ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพครับผม วรวิทย์ บารู พรรคประชาชาติ เขต ๑ ปัตตานีครับ ยังไม่ทันที่เราจะลืม เหตุการณ์ที่จังหวัดนราธิวาส ที่มูโนะ เหตุการณ์อย่างเดียวกันเกิดขึ้นที่สุพรรณบุรีนะครับ ต้องขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งกับกรณีโศกนาฏกรรม อันเนื่องมาจากการระเบิด ของพลุและดอกไม้ไฟ ๒ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่นานมากนัก ทิ้งระยะเวลาไม่นานจนประชาชน คงจำได้ ผมยังเห็นติดตาติดใจกรณีที่มูโนะ ความเศร้าโศกยังไม่ได้หายไปก็เกิดกรณีที่ สุพรรณบุรีตามมา ร่องรอยของความเสียหายยังปรากฏโดยทั่วไปที่มูโนะ ในขณะที่ร่องรอย ของการฟื้นฟูเพื่อไปสู่สภาพดั้งเดิมที่มีอยู่ที่มูโนะ ดังที่ประชาชนคาดหวังยังห่างไกลไปมาก ยังไม่ได้เห็นเลย ขออภัยที่เอ่ยนามที่ท่านอามินทร์ได้พูดไปนะครับ โศกนาฏกรรมอันนี้ถ้าเรา จะพิจารณาในเรื่องของการได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับอนุญาตก็เชื่อมโยงกับการดูแล การเอา ใจใส่ของภาครัฐ ซึ่งอาจจะปฏิเสธไม่ได้เลยครับ ระเบิดทั้ง ๒ แห่งนี้เหมือนกัน คือเกิดการ ระเบิดเหมือนกัน ถ้าเราพิจารณาว่าละเมิดหรือไม่ละเมิดกฎหมายอันนี้อาจจะต่างกันหรือ เหมือนกันในบางจุดและบางอัน ก็เป็นที่น่าสงสัยนะครับการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับพลุ เกี่ยวกับดอกไม้ไฟ มันมีรายได้มากมายขนาดไหนถึงต้องเสี่ยง ผมก็พยายามที่จะติดตาม เรื่องนี้ กรณีเกิดขึ้นที่มูโนะเราก็ทราบดีว่าที่ตรงนั้นมันก็มีอะไรหลายต่อหลายอย่าง ในลักษณะการผ่อนปรน สินค้าทางมาเลเซียหรือว่าของไทยเรามีการผ่อนปรนบ้าง อย่างไร ก็ตามการประกอบอาชีพในลักษณะเกี่ยวกับดอกไม้ไฟแล้วก็พลุเส้นทางที่มันเดินทางมา ผมก็ ตกใจนะครับ มันมีเส้นทางที่มาจากเหนือแล้วก็เส้นทางที่มาจากสิงคโปร์ ผมก็ไม่ค่อยจะเชื่อใน ตรงนี้นะครับ แต่ปรากฏว่าคนที่ประกอบอาชีพแล้วก็อยู่ในแวดวงที่ชายแดน เขาก็พูดกันว่า ถ้าหากว่าในขณะนี้การประกอบอาชีพอื่น ๆ ตามชายแดนที่ส่งรายได้ให้แก่เขามาก การประกอบอาชีพดอกไม้ไฟแล้วก็พลุเป็นอีกอันหนึ่งที่อยู่ในลำดับต้น ๆ ของรายได้ที่คน ประกอบอาชีพนี้จะได้ ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยว่าคนที่เอาเปรียบสังคม ในลักษณะต้องการ รายได้ที่ดีงามอันนี้ก็ต้องประกอบอาชีพในลักษณะที่ไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้องตามกฎหมาย หรือว่าความปลอดภัยของประชาชน ในสุพรรณบุรีก็เป็นเรื่องหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นมันห่างไกลจากชุมชนในพื้นที่ที่ห่างไกล ไม่ได้อยู่ใน ชุมชนก็โชคดีไป ในขณะที่มูโนะเป็นคลังดอกไม้ไฟที่ใหญ่มากแล้วเวลาระเบิดก็กินพื้นที่กว้างมาก จนวันนี้มันสะท้อนภาพให้แก่เราได้เห็นว่าเวลามันระเบิดนั้น เวลานิดเดียวเสี้ยววินาทีเดียว แต่ในการฟื้นฟูที่จะให้ชีวิตประชาชนกลับไปสู่สภาพเดิมนั้น มันใช้เวลาที่นานแล้วก็ช้า จนประชาชนอยู่ในสภาพซึ่ง ณ วันนี้นั้นก็มีความทุกข์ยาก และที่สำคัญในพื้นที่ที่ความมั่นคง ดูแลอย่างมาก ซึ่งไม่น่าจะเกิดสิ่งเหล่านี้ในพื้นที่เหล่านี้น่าที่จะต้องควบคุมวัตถุอันตราย เหล่านี้โดยฝ่ายความมั่นคง เราก็แปลกใจนะครับว่าสิ่งเหล่านั้นไปปรากฏอยู่แล้วก็เกิด การระเบิดแล้วก็ไม่ทราบว่าแนวทางที่จะดำเนินการกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ในพื้นที่ซึ่งใช้ พ.ร.ก. ตลอดเวลามาเป็นเวลายาวนานมากจะแก้ปัญหากันอย่างไร ในสุพรรณบุรีก็เป็นการโชคดีไป ที่อยู่นอกเหนือจากชุมชน แต่ประชาชนคนทั่วไปเขาก็คิดว่าถ้าจะเปรียบเทียบจำนวนของ วัตถุระเบิดที่สุพรรณบุรีกับมูโนะมันต่างกันมากมาย แต่ว่าผลที่เกิดขึ้นจากการระเบิดนี้ มันส่งผลให้เสียชีวิตที่มากมายทั้ง ๒ แห่ง ผลที่ตามมาจากนั้นมันไม่ใช่เพียงแค่นั้นผลที่ตามมา ก็คือการสูญเสียกำลังสำคัญของครอบครัว ลูก อะไรต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาทางสังคมก็จะตามมา เฉกเช่นเดียวกันกับที่มูโนะนะครับ จนถึงวันนี้ก็ยังเหมือนเดิม แล้วคนในพื้นที่ก็ยังเป็น ในลักษณะที่เรียกร้องให้มีบ้านมีช่องที่เขาจะอาศัยอยู่นะครับ ก็ถึงกับเป็นความเข้าใจ ในเรื่องต่าง ๆ นานาในทางที่เป็นลบต่อราชการจำนวนมากแล้วก็ในเรื่องของคดีก็เช่นเดียวกัน ก็ไม่ทราบว่าไปถึงไหน นี่เวลามันเกิดขึ้นจะบอกว่ามันทำลายหลาย ๆ สิ่ง ทำลายความมั่นใจ ของคนที่เราพูดว่าจะมาลงทุน มันทำลายความมั่นใจของพี่น้องเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางสิงคโปร์ มาเลเซีย หรืออินโดนีเซียที่จะมาลงทุนในทางใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งไม่ค่อยมีคน มาลงทุนอยู่แล้วก็ซ้ำเติมสภาพหรือทำให้สภาพที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยากจนอยู่แล้ว มันก็เพิ่มสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เพราะว่าคนที่เป็นเพื่อนบ้านข้างเคียงซึ่งพอจะมีกำลัง แล้วก็ เข้าใจในวัฒนธรรมและวิถีของการที่จะประกอบอาชีพใดที่จะสร้างรายได้ให้แก่เขาได้ ไม่กล้าที่จะมาลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นี่คือผลซึ่งเราเห็นอย่างชัดเจนนะครับ แล้วเป็นการซ้ำเติมพื้นที่ที่มันแย่อยู่แล้วให้เพิ่มมากขึ้น ขอบพระคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม วรวิทย์ บารู พรรคประชาชาติ เขต ๑ จังหวัดปัตตานี ต้องขอเห็นด้วย แล้วก็ชื่นชม กับผู้ที่เสนอญัตตินี้เพื่อตั้งคณะกรรมาธิการ ขอสนับสนุนในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญคณะนี้นะครับ ปัญหาเรื่องการจัดการขยะนี้ก็เป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งรัฐจะต้องทุ่มเทและ จะต้องจริงจังนะครับ แล้วก็ต้องรับผิดชอบ เพราะว่ามันเป็นสิ่งสำคัญมากต่อวิถีชีวิต ประชาชนกับสุขภาพของประชาชน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากขยะนี้มีมากมาย ถ้าอยู่ใกล้น้ำ ก็คือมลพิษทางน้ำ ถ้าอยู่กลางแจ้งก็มลพิษทางอากาศ แล้วก็มีอีกหลาย ๆ ส่วน ผมยกกรณี ของจังหวัดปัตตานี ขยะนี้ประมาณ ๑๑๖ ตันต่อวัน

    อ่านในการประชุม

  • ก็มีการจัดการไปอยู่ในบริเวณ ที่เทขยะตามระบบ ซึ่งประเทศไทยเองก็มีหลายระบบ แต่ระบบที่มากที่สุด ก็คือระบบที่ไป เทกองกลางแจ้ง ก็ตั้ง ๑,๕๐๐ กว่าแห่ง เพราะฉะนั้นระบบนี้คือระบบที่เราน่าที่จะให้ความ สนใจเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่ความถูกต้องและถูกหลัก นอกเหนือจากสภาพที่มันเป็นจริงของ การจัดการเรื่องขยะนี้ ถ้าเราดูจริง ๆ แล้ว อำนาจอันนี้ถูกถ่ายไปที่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ซึ่งมี ๘,๗๐๐ กว่าแห่งในประเทศนี้ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อไปอยู่ในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น กรมควบคุมมลพิษซึ่งดูแลโดยตรง แต่ในทางปฏิบัติจริง ๆ ผอ. กองสาธารณสุข ของปกครองท้องถิ่นจะดูแลในเรื่องเหล่านี้ เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ต้องมีการสังคายนาในการดูแล ของรัฐบาล ต้องบูรณาการในการจัดการอันนี้ ซึ่งมันเกี่ยวข้องกับงบประมาณ ผมเห็นว่า ถ้าเราปล่อยมันก็จะเกิดปัญหา อย่างเช่นว่าตามที่เราเห็น ในปัตตานีไปตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำ แล้วก็ใกล้กับทางหลวงที่ผ่านไปทางจังหวัดนราธิวาส สุไหงโก-ลก แล้วก็มีที่ตรงนั้นมันเป็น ทิวทัศน์เป็นวิวที่สวยงามมาก เป็นที่ประกอบอาชีพ แล้วก็เป็นร้านอาหารของพี่น้องที่อยู่ใน ชานเมืองออกไป นักท่องเที่ยวหลายแห่งก็จะแวะรับประทานอาหาร แต่เนื่องจากว่า เราเทกลางแจ้ง เทกองกลางแจ้งก็ทำให้กลิ่นที่ไม่ค่อยดีมันก็รบกวน ผมเกรงว่าสิ่งเหล่านี้ก็จะ ทำให้เกิดผลกระทบที่กว้างออกไป นอกจากนั้นมันอยู่ใกล้แม่น้ำ ซึ่งมีการเลี้ยงปลาในกระชัง ในแถวอำเภอยะหริ่ง ตรงนั้นก็มีการเลี้ยงปลาในกระชัง แน่นอนเหลือเกินจากเป็นภูเขาสูง เราอยู่ที่นี่อีกซีกด้านหนึ่งของแม่น้ำที่ถนน นั่งที่ร้านอาหารนอกเหนือจากกลิ่นแล้วเราสามารถเห็น กองพะเนินของอันนี้ได้ เพราะฉะนั้นมันต้องจริงจังแล้วนะครับ ผมเห็นว่าความสะอาดเรียบร้อย ดีนะครับที่ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างหนึ่งความสะอาเรียบร้อยเราสามารถ เห็นได้ เพราะว่าเรากระจายอำนาจไปสู่ประชาชน สิ่งที่เป็นความร่วมมือระหว่างประชาชน หรือสถานที่มาขององค์กรที่มาจากประชาชน เราเชื่อได้ว่าความรัก ความใส่ใจในสิ่งเหล่านี้ มันมีมากกว่าองค์กรที่เราจัดตั้งขึ้นด้วยวิธีการอื่น การบริหารจัดการขยะนี้ผมมีข้อเสนอ ต้องมาดูในเรื่องของกฎหมายว่ากฎหมายที่จะเอื้อต่อการจัดการขยะโดยชุมชนต้องมี ความทันสมัย ร่วมสมัยด้วย ถ้าไม่มีสิ่งนี้นะครับ ในเรื่องของการจัดการงบประมาณก็ดี หรือว่าในการบูรณาการระหว่างหน่วยงานก็ดีก็จะมีปัญหา อันที่ ๒ งบประมาณต้องมี อย่างเพียงพอ รัฐกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่แยกกันต้องมายืนอยู่ที่จุดเดียวกัน ถ้าเราจะให้เอกชนนำ ในการทำจัดการเรื่องขยะนี้ก็ต้องมีความเห็นพ้องต้องกันในแต่ละหน่วยงานตรงนั้น หรือว่ารายจังหวัด ไม่ใช่ว่าเราคนที่แบกหนักก็หนักกันไป ผมได้รับการร้องเรียนจาก ผอ. กองสาธารณสุข ของเทศบาลก็ดี ของ อบต. ก็ดีว่าแทบไม่มีงบประมาณเลย อย่าว่าในเรื่องของการจะจัดการ เพราะว่ามันรวมกันในงบของการบริหารทั่วไปด้วย จึงมีปัญหา มากในเรื่องเหล่านี้ นอกจากนั้นในข้อเสนอต้องมีบุคลากรที่มีองค์ความรู้ในการจัดการขยะ ถ้ายังไม่มีก็ต้องมีการวางแผนในการจัดการ ในเมื่อเราให้งานแก่เขาแล้วความพร้อมเหล่านี้ แผนงานการจัดสร้างบุคลากรก็ต้องมีเช่นเดียวกัน

    อ่านในการประชุม

  • ในประเด็นถัดไปที่อยากจะเสนอตรงนี้ ก็คือเทคโนโลยีมีหลายคนที่ได้พูดไป เทคโนโลยีที่ทันสมัยมีความพร้อมในการจะจัดการ เราจะเห็นว่าระบบการจัดการขยะ ในประเทศไทยมันก็มีหลายระบบ แต่ก็อย่างที่ได้กล่าวไว้ในระบบที่คิดว่าสบาย ๆ ที่สุดก็คือ ระบบประเภทเทกองกลางแจ้ง ซึ่งมันมีผลกระทบมากมาย ส่วนที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ เราก็ อาจจะมีปัญหาในเรื่องของแหล่งงบประมาณ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้อยากจะให้มีเทคโนโลยี แล้วก็มีความพร้อมมากกว่านี้ นอกจากนั้นบุคลากรการจัดการจะต้องมีองค์ความรู้ มีสถานที่ ที่จะฝึกที่จะอะไรเขา คนที่มีความรู้อยู่แล้ว การสร้างบรรยากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมือง ท่องเที่ยวหรือไม่ท่องเที่ยวก็ตาม สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดอันหนึ่งนะครับ ในเรื่องของ การสร้างความตระหนักโรงเรียนเป็นจุดแรกอย่างที่พวกเราได้พูดกันไป อย่างไรก็ตามมี หลายโรงเรียนที่ทำได้ดีมาก โดยไม่ได้รับงบประมาณใด ๆ เลย เพียงแต่ว่าในทางองค์กร เอกชนที่ได้เข้าไปร่วมจนทำให้เกิดผลงาน อย่างโรงเรียนที่พวกเราได้ไปเยี่ยมในจังหวัดยะลา โรงหนึ่งที่ทำได้ดีมาก เป็นธนาคาร เป็นห้องสมุด คล้าย ๆ เป็นห้องปฏิบัติการของขยะ ของเขา เพราะฉะนั้นเหล่านี้จึงอยากจะให้ทางราชการที่เกี่ยวข้องได้ใส่ความดูแลในเรื่องนี้ อย่างจริงจังครับ ขอขอบพระคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ กระผม ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู พรรคประชาชาติ เขต ๑ ปัตตานี อันเนื่องมาจาก การเติบโตของเมือง โดยเฉพาะในเขตเมืองปัตตานีก็ทำให้ต้องขยายออกไปนอกชานเมือง ทำให้บริเวณที่เป็นที่กักเก็บน้ำเดิมที่เป็นลักษณะของแก้มลิงเกิดปัญหา เมื่อมีเมืองขยายไป ก็ทำให้เกิดน้ำท่วม

    อ่านในการประชุม

  • ได้ติดต่อกับทางโยธาธิการจังหวัด เพราะว่าในหมู่ที่ ๙ ตำบลตะลุโบะคือบ้านปูโป๊ะ กับหมู่ที่ ๔ ตำบลบานา บ้านกำปงตารง เกิด ปัญหาเรื่องน้ำท่วม พื้นที่ที่ไม่เคยท่วมมาเลยก็ท่วม แล้วท่วมสูงด้วย สร้างความลำบากต่อ พี่น้องประชาชนในเขตตำบลบานา แล้วก็ตำบลตะลุโบะ รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ด้วย ดังนั้น ทางสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดปัตตานี ได้ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ มันมีพื้นที่ที่เป็นร่องน้ำ เป็นคลองซึ่งต้องรับการแก้ไขเพิ่มเติม ปรับปรุงเพื่อให้ระบายน้ำลงไป ที่คลองบาราโหม ที่ตำบลบาราโหม ซึ่งระยะทางประมาณ ๑,๗๐๐ เมตร สิ่งเหล่านี้ถ้าหากว่า เราได้ดำเนินการตามที่ทางสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดได้เสนอ ก็คงจะแก้ไข ปัญหาน้ำท่วม เพราะได้ลงคลองแล้วก็ออกทะเลทางอ่าวปัตตานี แล้วออกทะเลข้างนอกไป เพราะฉะนั้นจึงนำเสนอตรงนี้เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ซึ่งภาพที่ท่วมในปีที่แล้วที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่เคยท่วมมาเลย เพราะฉะนั้นเดี๋ยวผมจะนำสิ่งที่ได้เตรียมไว้ให้กับสำนักงานเลขาธิการ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดให้ท่านประธานนะครับ ขอขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม วรวิทย์ บารู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี เขต ๑ พรรคประชาชาติ ซึ่งเป็น พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างยิ่ง อันเกิดจาก พ.ร.ก. การประมง ที่เกือบ ๑๐ ปีที่ผ่านมานี้ พี่น้องชาวประมง ผมเข้าใจว่าไม่เฉพาะแต่ในจังหวัดปัตตานีเท่านั้น จังหวัดที่ทำการประมง ๒๒ จังหวัด ก็ได้รับผลกระทบมากมาย อันเนื่องมาจากการที่ผมเข้าใจว่าเรากระทำ อย่างเร่งด่วน โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงของผู้ประกอบการประมง กฎหมายการประมงที่เรา ใช้อยู่คือพระราชกำหนดนั้น ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติหลายอย่างที่เป็นการจำกัดสิทธิ ของพี่น้องประชาชนชาวประมงเป็นอย่างยิ่ง ไม่สอดคล้องกับสภาพการทำประมงที่แท้จริง ของพี่น้องชาวประมงทั้งหลาย การจำกัดพื้นที่สำหรับการทำประมงก็เป็นประเด็นใหญ่เลย วันก่อนที่ผมมีการหารือ ก็บอกว่าพี่น้องประชาชนชาวประมงพื้นบ้านซึ่งเป็นวิถีของเขาในการ ที่จะไปตกปลาอินทรีย์ที่ห่างไกลออกไปที่แถวเกาะโลซิน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เขาทำมาหากินอยู่ พอพระราชกำหนดนี้ออกมาก็ทำลายเขา แล้วก็ทำให้คนที่ยากจนอยู่แล้วในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ก็ยิ่งยากจนลง

    อ่านในการประชุม

  • จึงไม่แปลกเลยนะครับเมื่อพระราชกำหนดนี้ออกมา หลายอย่างที่เป็นตัวชี้วัด ความมี ความจนของพี่น้องประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ก็คือ อันหนึ่งที่รายได้สำคัญ ก็คือได้จากการทำประมง แล้วก็ได้จากยางพารา ขณะนี้การประมงยังไม่ได้รับการแก้ไข ยางพาราพอกระเตื้องขึ้น ก็ต้องขอขอบคุณรัฐบาลที่ดำเนินการ มันเร็วนะครับ เมื่อมันมีอะไร ที่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีประชาชนก็พูด เราลงพื้นที่ประชาชนก็พูดถึงเรื่องราคายางที่มันดีขึ้น เพราะฉะนั้นประมงนี้ก็ต้องขอขอบคุณพี่น้องทุกพรรคที่ได้เสนอ พ.ร.บ. เพื่อแก้ไข พระราชกำหนดการประมงอันนี้ขึ้นมา เพราะมันลักลั่นอยู่มาก ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เราเห็นอยู่ ในจังหวัดที่มีการทำประมงทั้งหลาย

    อ่านในการประชุม

  • โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางจังหวัดชายแดนใต้มันมีพื้นที่ที่ติดต่อกับทะเล ที่ปลายทางมาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งถ้าเราใช้กระบวนการของความเป็นเพื่อนบ้านพี่น้องกัน ปลามหาศาลที่อยู่ในท้องทะเลที่อินโดนีเซียในพื้นที่ที่เป็นประเทศที่ต่อเนื่องกัน ผมเข้าใจว่า เราสามารถที่จะทำประมงต่อไปได้ด้วยความร่วมมืออย่างฉันพี่ฉันน้อง เพราะว่า ประเทศเหล่านั้นในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็ดี การต่อเรือหรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการ จับปลา ก็ยังห่างไกลจากประเทศไทยอยู่ เขาต้องมาพึ่งพาเรือหลายลำจำนวนมากที่จาก ประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น เมื่อเสียหายก็มาซ่อมมาทำกันที่จังหวัดปัตตานี แต่สิ่งเหล่านี้ อู่ต่อเรือทั้งหลาย อู่ซ่อมเรือทั้งหลาย ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามพระราชกำหนดที่ถูกใบเหลืองที่ทาง IUU กำหนดไว้ ซึ่งเป็นเรื่องวิถีของชาวประมงไทยก็ถูก พ.ร.ก. นั้นกำหนดด้วย เลยทำให้ คานเรือต่าง ๆ อู่ซ่อมเรือต่าง ๆ เหล่านี้ก็หมดสภาพ ไม่มีเรือที่มาใช้บริการ แถมอย่างที่ เพื่อนสมาชิกได้พูดไปนะครับ ที่สัญญากับประชาชนเจ้าของเรือว่าจะซื้อ ก็ไม่ได้ดำเนินการ ตามนั้น

    อ่านในการประชุม

  • ๕๐/๑

    อ่านในการประชุม

  • นอกเหนือจากที่กำหนดพื้นที่ ก็ยังกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิรับใบอนุญาต การทำประมงประเภทต่าง ๆ ที่ไม่เอื้อต่อการทำประมง การกำหนดให้การขนถ่ายสัตว์น้ำ ในทะเล สามารถกระทำได้เฉพาะการขนถ่ายไปยังเรือที่จดทะเบียนเท่านั้น นั่นก็เป็นข้อจำกัด ซึ่งมันบั่นทอนการทำอาชีพประมงของผู้ทำประมงอย่างมากเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลในการเสนอ พ.ร.บ. แก้ไขพระราชกำหนด เกือบทศวรรษที่ผ่านมา พ.ร.ก. นี้ใช้มาในปี ๒๕๕๘ จนกระทั่งตอนนี้ปี ๒๕๖๗ ชาวประมงตกอยู่ในสภาพผวา ในสภาพที่สิ้นเนื้อประดาตัวก็มี เพราะว่าอาชีพของเขาจริง ๆ ก็คือลงในทะเลกว้าง นั่นคือ สถานที่ที่เขาทำมาหากิน แต่เมื่อมาถูกกำหนดมันไม่กระทบเพียงแค่เรือนอกน่านน้ำเท่านั้น เรือที่เป็นเรือประมงพื้นบ้านก็มีผลกระทบ ขนาดของเรือที่ออกไปทำการประมงก็ถูกกำหนด แล้วที่สำคัญเมื่อพระราชกำหนดนี้ออกมาก็มีการไล่จับ เราก็ได้เห็นข่าวบ่อย ๆ ไม่ว่าจาก ในทะเลที่นครศรีธรรมราชก็ดีหรือที่อื่น ๆ ก็ดี ที่ปัตตานีบ้านผมในเขตพื้นที่เลือกตั้งของผมนี้ ยืนยันได้เลยว่า ๓ คน ๒ คนเสียชีวิตไปอันเกิดจากการช็อคเมื่อเจ้าหน้าที่ไล่โดยเรือเร็ว อันนี้เกิดมาจากพระราชกำหนดที่อาจจะไม่รู้ข้อเท็จจริงในสภาพที่เป็นจริง วิถีของชาวประมง ไม่ว่าจะเป็นประมงพื้นบ้านหรือประมงพาณิชย์ ถ้าผู้ที่ออกพระราชกำหนดนี้คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ก็คงไม่เกิดในเรื่องของความเศร้าเสียใจที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากยากจนแล้ว คือคนจน มันต้องลงทะเลเพื่อทำประมง จะเป็นประมงพื้นบ้านก็ดี หรือประมงพาณิชย์ก็ดี ประมงอาชีพอะไรต่าง ๆ ก็ดีก็ต้องลงทะเล แต่เมื่อลงไปแล้วประชาชนเจอสภาพการเข้มงวด เพื่อที่จะปลดใบเหลืองที่ IUU กำหนดไว้ ก็ทำให้เราไม่ได้คำนึงถึงพี่น้องชาวประมงของเรา จากการที่ประมงของเราสามารถที่จะประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาการประมง จนติดอันดับ ๑ ใน ๑๐ ของโลกเลยทีเดียว แต่ก็มีปัญหาเรื่องพอออกพระราชกำหนด อันนี้ทำให้เราจะเห็นได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะที่ไหนก็แล้วแต่ที่เป็นแหล่งสะพานปลา แหล่งขึ้นปลาในสะพานปลาต่าง ๆ จากที่ปัตตานี รับปลาจากปัตตานีมาส่งที่มหาชัย ก็แทบร้างไปเลย การทำให้ประมงของเราสิ้นทางทำมาหากิน ก็ส่งผลให้การทำประมงของเรา ที่มันไปข้างหน้า มีความก้าวหน้ากว่าหลายประเทศต้องถดถอยไปด้วยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • สาเหตุสำคัญที่เกิดขึ้นจากประเทศไทยได้ถูกสหภาพยุโรปและ EU เตือนด้วย ใบเหลืองนี้ ก็เนื่องจากว่าการที่เราไม่ได้วางระบบ ที่เขาว่านะครับ ไม่ได้วางระบบการควบคุม การป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งถ้าหากว่าเรามีความรอบคอบมากกว่านี้ พ.ร.ก. ที่ใช้บังคับอยู่จนถึงขณะนี้ก็จะไม่ออกในลักษณะเช่นนั้น อาจจะต้องคำนึงถึงอาชีพหลัก ของไทยอันหนึ่งเลยทีเดียว เราได้รับประทานปลากระป๋อง ซึ่งบางทีเราอาจจะไม่รู้ว่าอันนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ของต่างประเทศ เช่น ถ้าเราดูปลากระป๋องอะยัม ท่านทราบไหมว่าอะยัมนี้ โรงงานผลิตอยู่ที่ปัตตานี แต่ไปติด Sticker ที่ทางมาเลเซีย เหล่านี้คืออาชีพของพี่น้อง ชาวประมง ผู้ประกอบอาชีพไม่ว่าจะเป็นเรือประมงในระดับขนาดไหนก็ตาม แต่ได้สร้าง คุณูปการแก่ประเทศชาติ แถมประชาชนเราก็ทราบใน ๓ จังหวัด การที่จะออกไปในยามค่ำคืน ค่อนข้างที่จะยาก แต่ว่าพี่น้องที่เป็นคนงานเลือกปลา คัดปลา ไม่ว่าจะดึกดื่นขนาดไหน ช่วงไหนก็ตาม เขายังสามารถที่จะมีรถเข้าไปรับในตามหมู่บ้านต่าง ๆ แล้วเขาก็ทำงานมา ได้อย่างดี เป็นรายได้ที่มาเจือจุนครอบครัวได้ อันนี้คือสิ่งที่อยากจะเรียนว่าผลร้ายอันเกิดจาก พ.ร.ก. ที่ใช้บังคับมาถึงเกือบ ๑๐ ปี มันบั่นทอนแล้วมันสร้างผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ หรืออาชีพของประชาชนอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดที่ได้กล่าวแล้ว

    อ่านในการประชุม

  • อีกอย่างหนึ่ง พ.ร.ก. ที่ใช้อยู่ในการยึดเรือก็เป็นสิ่งซึ่งถ้าเราพูดไปก็น่าเวทนา การยึดเรือหรือการริบเรือประมงที่ใช้กระทำความผิด แน่นอนมันคนละหลักการของกฎหมาย ที่ต้องการลงโทษให้ผู้ที่กระทำผิดอย่างเหมาะสม แต่นี่กลับริบเรือของเขา ริบเรือประมง ที่กระทำผิด ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เพื่อที่จะให้กลับตัวเป็นการประกอบอาชีพหรือไม่กระทำผิด กฎหมาย แล้วอาจจะใช้วิธีการพักเรือก็ได้ หรือระงับการใช้ใบอนุญาตทำการประมง ในระยะเวลาที่เหมาะสม อย่างนี้ก็จะเป็นการช่วยให้ทรัพยากรสัตว์น้ำฟื้นตัวมากขึ้น เหล่านี้ คือสิ่งที่อยากจะให้ทุกฝ่าย แต่ผมเชื่อว่าสภานี้ก็คงจะมองเห็นข้อจำกัดต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อที่จะให้คืนอาชีพประมง คืนความเป็น ๑ ใน ๑๐ ของโลกในการจับปลา แล้วก็เป็นหนึ่ง ของอาเซียนในการจับปลานี้ คืนแก่ชาวประมงต่อไป แล้วมันก็จะสร้างรายได้ จะสร้างอาชีพ แล้วที่สำคัญก็คือเศรษฐกิจของชาติก็จะได้รับการแก้ไข แล้วก็ไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการด้วย ขอขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม