ข้อมูลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ชุดที่ 26

ปีที่ 1

สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง

ครั้งที่ 8 วันพุธที่ 17 มกราคม 2567 เวลา 10.28 - 16.31 นาฬิกา

เอกสารต้นฉบับ: บันทึกการประชุมบันทึกการออกเสียงและลงคะแนนรายงานการประชุมสรุปการประชุม

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ที่ประชุมครับ จะมีการหารือก่อนตามข้อบังคับ ข้อ ๒๔ นะครับ ขอเชิญสมาชิกท่านแรก เลยครับ ท่านฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ครับ

นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ

เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๓ อำเภอถลาง ตำบลกระทู้ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธานดังนี้ ขอสไลด์ด้วยครับ

นายฐิติกันต์ ฐิติพฤติกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ พี่น้องชาวคอเอน ขอท่าเรือ ชุมชน บริเวณชุมชนท่าต้นโด บ้านคอเอน หมู่ที่ ๒ ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นชุมชนริมชายฝั่งประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน เพื่อความสะดวกในการประกอบอาชีพ การคมนาคมทางน้ำและการจอดเรือประมง ฝากให้กรมเจ้าท่าและทาง อบต. ไม้ขาว ดำเนินการสร้างท่าเรือชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องบ้านคอเอนด้วยครับ

นายฐิติกันต์ ฐิติพฤติกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ รถบรรทุกขนมูลดินจากสนามบินนานาชาติจังหวัดภูเก็ต ไปถมที่ดิน ของเอกชน ไม่มีผ้าใบคลุม ส่งผลให้ฝุ่นจากดินที่บรรทุกฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ กระทบต่อ ผู้ใช้ทางที่สัญจรไปมา โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวที่มีผู้ป่วยติดเตียง และผู้สูงอายุจำนวนมาก รวมถึงการขับรถบรรทุกโดยประมาทฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร บ่อยครั้งเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกวดขันดำเนินการตามกฎหมายด้วยครับ

นายฐิติกันต์ ฐิติพฤติกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ บริเวณหาดท่าหลา ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันไม่มีความชัดเจนเรื่องของกรรมสิทธิ์ที่ดิน บ้างก็ว่าเป็นทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ บ้างก็ว่าเป็น ที่ดินของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฝากไปยังกรมที่ดินเร่งรัดให้กับ เทศบาลตำบลป่าคลอก เพื่อที่จะได้ขออนุญาตเขาใช้พื้นที่ในการปรับปรุงสภาพพื้นที่ และสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อพัฒนาพื้นที่เป็นจุดท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้ ให้ทางจังหวัดภูเก็ตปรับปรุงซ่อมแซมห้องน้ำบริเวณหาดท่าหลาด้วยครับ

นายฐิติกันต์ ฐิติพฤติกุล ภูเก็ต ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ ปัจจุบันการจราจรในจังหวัดภูเก็ตติดขัดมาก โดยเฉพาะถนน เทพกระษัตรีหรือทางหลวงหมายเลข ๔๐๒ ซึ่งเป็นถนนสายหลัก ฝากไปยังกระทรวง คมนาคมเร่งเชื่อมต่อถนนในหลาย ๆ จุด เพื่อความคล่องตัวทางจราจรโดยให้จัดเวทีรับฟัง ความคิดเห็นจากประชาชนชาวภูเก็ตเพื่อได้รับฟังข้อมูลและนำไปดำเนินการต่อได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ขอข้ามท่านฐิติมาก่อนนะครับ เชิญท่านวีระพล จิตสัมฤทธิ์ ครับ

นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผมวีระพล จิตสัมฤทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต ๖ พรรคเพื่อไทย ขอหารือต่อท่านประธานดังนี้นะครับ

นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

ขออุโมงค์ทางลอดทางหลวงหมายเลข ๒๔ และขอขยายถนน ทล.๒๒๐ สายขุขันธ์-วังหิน จังหวัดศรีสะเกษ เป็นถนน ๔ เลน จากที่เคย หารือมาแล้วเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๓ ได้ถนน ๔ เลนมา ๑.๓ กิโลเมตร วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ได้ถนน ๔ เลนมา ๒๕ กิโลเมตร เป็นงบผูกพัน ๓ ปี และวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๖ ซึ่งก็ยังขาดอีก ๔.๕ กิโลเมตรจะครบ ๔ เลนทั้งสาย ก็คือจากสำนักงานเขตพื้นที่ ประถมศึกษา ศรีสะเกษ เขต ๓ ไปสามแยกบ้านกันแต ซึ่งก็คือจาก ทล.๒๒๐ ไปบรรจบ ทั่วโลก ทล.๒๔ ตรงจุดนี้มีพี่น้องประชาชนผู้ที่มาติดต่อราชการ รวมทั้งเพื่อน สส. ด้วยกันเห็นควร ว่าอยากให้กรมทางหลวง ได้ออกแบบตรงสามแยกนี้ใหม่ โดยไม่ต้องกลับรถ กล่าวคือให้ทำ สะพานให้รถที่มาจาก ทล.๒๔ วิ่งข้ามทางแยกและรถที่มาจาก ทล.๒๒๐ ให้ลอดใต้สะพาน เป็นลักษณะอุโมงค์ทางลอดตรงสามแยกบ้านกันแต และอีกจุดหนึ่งก็คือ บริเวณแยกหัวช้าง อยากได้เป็นอุโมงค์ทางลอดเช่นเดียวกัน ซึ่งนายก อบต. สำโรงพลัน นายประสบผล สุภาพ เป็นผู้ร้องขอมา

นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

สำหรับทางหลวง ทล.๒๒๐ อยู่ระหว่างการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ยังไม่ได้ทำ เกาะกลางถนนแล้วก็จุดกลับรถ มี อบต. ๓ แห่ง ก็คือนายก อบต. ดองกำเม็ด นายคำวงษ์ จันทสุข นายก อบต. หัวเสือ นายเมธา จันครา นายก อบต. สำโรงตาเจ็น นายอภิพัฒน์ สมพงษ์ ได้มีการประชาคมชาวบ้านขอให้ปรับจุดกลับรถใหม่เพื่อความเหมาะสมตามความจำเป็น แล้วก็ความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน จึงขอให้ท่านประธานส่งเรื่องไปยังกรมทางหลวง เพื่อพิจารณาแก้ไข แล้วก็จัดสรรงบประมาณครับ ขออนุญาตท่านประธานส่งเป็นเอกสาร เพิ่มเติมด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านธิษะณา ชุณหะวัณ ครับ ถ้าอย่างนั้นขอเชิญท่านณพล เชยคำแหง ครับ

นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายณพล เชยคำแหง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลำภู นครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน เขต ๓ พรรคเพื่อไทย วันนี้มีประเด็นที่จะขออนุญาตหารือกับท่านประธาน ๓ เรื่องนะครับ

นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ เรื่องของปัญหาแสงสว่างที่เชื่อมระหว่างพื้นที่หลายตำบล หลายจุด ทีเดียวนะครับ ตั้งแต่ตำบลบ้านโคก ตำบลนาดี ตำบลนาสี ตำบลบุญทัน ไปเชื่อมกับอำเภอ สุวรรณคูหา และถนนทางหลวงชนบทที่แยกจากบ้านนาคำไปยังอำเภอนากลางถึงสามแยก นาด่าน ซึ่งพี่น้องประชาชนในบริเวณนี้มีกันอยู่อย่างหนาแน่น ต้องลำบากมากเนื่องจากว่า แสงสว่างในช่วงกลางคืนนั้นมืดมิดกันหลายพื้นที่เลยทีเดียว แล้วขณะเดียวกันรถที่ใช้บริเวณ ผ่านจุดนี้ก็เป็นรถบรรทุกที่ขนผลิตผลทางการเกษตรจำนวนมาก ทำให้เด็ก ๆ ที่กลับจาก โรงเรียน หรือคนที่จะต้องออกจากบ้านไปทำธุระก็จะเกิดความเสี่ยงภัยเป็นอย่างยิ่งครับ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก้ปัญหาเรื่องนี้โดยด่วน เพื่อความปลอดภัยและยกระดับ คุณภาพชีวิตด้านความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนครับ

นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ จังหวัดหนองบัวลำภูของผมเป็นจังหวัดที่ทำการเกษตรเป็น ส่วนใหญ่ แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขต ๓ ของผมก็คือ อำเภอนากลางกับอำเภอ สุวรรณคูหา มีการเพาะปลูกการเกษตรไม่ว่าจะเป็น อ้อย ยางพารา ข้าว ข้าวโพดและ ปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะในช่วงเพาะปลูกเริ่มแรกชาวเกษตรกรต้องใช้น้ำเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันหลายพื้นที่น้ำขาดแคลน ไม่ว่าจะเป็นต้องขุดลอกคลองตื้นเขิน ซึ่งก็เป็นหัวใจ สำคัญของการเกษตรนะครับ ไม่ว่าจะเป็นห้วย หนอง คลอง บึง ระบบน้ำทางการเกษตร โดยเฉพาะการเจาะบาดาล ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือขาดแคลนเรื่องงบประมาณในการที่จะ เจาะบาดาลเพื่อจัดหาแหล่งน้ำทางการเกษตร แล้วการขุดลอกห้วย คลอง บึงต่าง ๆ ผมจึง อยากขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำโครงการ เพื่อผลักดันให้เกิดน้ำในพื้นที่เกษตรกร ได้นะครับ อีกนิดหนึ่งครับ

นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ เรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องของเส้นทางถนนจำนวน ๒ เส้น เส้นที่ ๑ คือ บ้านบุญทัน หมู่ที่ ๑ ไปบ้านต่างแคน อำเภอนาด้วง ระยะทาง ๑.๕ กิโลเมตร เส้นที่ ๒ เป็น เส้นบ้านโคกนก อำเภอนาด้วง จำนวนระยะทาง ๒๔ กิโลเมตร ซึ่งเป็นเขตเทศบาลตำบล บุญทัน ซึ่งถนนเส้นนี้แต่ก่อนทหารกองช่างได้ไปเป็นผู้บุกเบิก เป็นถนนกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๔ กิโลเมตร แต่เวลาล่วงเลยผ่านมาหลายปีไม่มีการซ่อมบำรุงเลย จึงอยากให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำถนนลาดยาง หรือซ่อมให้มันเกิดการใช้ได้อย่างปลอดภัยในพื้นที่ครับ อันนี้ก็เป็นเรื่องของจังหวัดหนองบัวลำภู เขต ๓ ขอบคุณท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านพิมพ์กาญจน์ กีรติวิราปกรณ์ ครับ

นางสาวพิมพ์กาญจน์ กีรติวิราปกรณ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียน ท่านประธานรัฐสภาและประชาชนผู้ทรงอำนาจสูงสุดของประเทศทุกท่าน ดิฉัน พิมพ์กาญจน์ กีรติวิราปกรณ์ ผู้แทนราษฎรจากเขตคลองสามวา พรรคก้าวไกล ขอสไลด์ด้วยค่ะ

นางสาวพิมพ์กาญจน์ กีรติวิราปกรณ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ นั่นคือรูปของบรรดาแรงงานพลัดถิ่นในเขตของดิฉันค่ะ อยู่ในบริเวณโซนสุเหร่าคลองหนึ่ง หรืออีกชื่อก็คือย่านกีบหมู ส่วนหนึ่งของปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณนี้ซึ่งแก้ไม่หาย นอกจากเรื่องของโครงสร้างถนน ก็คือการที่นายจ้างมาจอดรถเพื่อเจรจาว่าจ้างหรือรับส่ง แรงงาน แรงงานเหล่านี้ใช้ชีวิตอยู่บนเส้นด้ายกับการรอคอยงานที่ไม่รู้ว่าจะมาถึงหรือไม่ ด้วยสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้พวกเขายิ่งไม่มีทางเลือก หางานยากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เป็นแรงงาน ข้ามชาติก็ถูกเอารัดเอาเปรียบโดนเรียกส่วย ส่วนคนพื้นที่ก็เหนื่อยหน่ายกับปัญหาของ การจราจรและปัญหาเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สไลด์นี้นะคะ ชายคนนี้ คือหนึ่งในแรงงานพลัดถิ่นแล้วก็เป็นคนไร้บ้าน เมื่อเขาไม่ได้รับการว่าจ้างงานเขาก็ต้อง เดินหาทางประทังชีวิตเท่าที่เขาจะทำได้ ด้วยการลงไปในบึงน้ำแหล่งน้ำธรรมชาติในเขต คลองสามวา เพื่อจะเก็บฝักบัวมาขายประทังชีวิตต่อไป ดิฉันจึงขอใช้พื้นที่นี้ปรึกษาหารือ ผ่านรัฐสภาอันทรงเกียรติไปยังทางกระทรวงแรงงาน ให้เร่งแก้ไขปัญหาแรงงานพลัดถิ่น แล้วก็แรงงานข้ามชาติในเขตของดิฉันอย่างจริงจังและรอบคอบ ด้วยการช่วยพัฒนาทักษะ แรงงาน สร้างกลไกสนับสนุนให้พวกเขามีทางเลือกในชีวิต ปราบปรามเรื่องการค้ามนุษย์และ เอาเปรียบแรงงานให้จริงจัง รวมถึงการจัดการลงทะเบียนแรงงานข้ามชาติถูกกฎหมายและ มีประสิทธิภาพ เพราะหน่วยงานท้องถิ่นจะแก้ไขได้ก็ในเรื่องของการปรับปรุงถนนเท่านั้น แต่ปัญหาที่ฝังรากลึกไปกว่านั้นอยู่ในอำนาจของรัฐบาล และนี่คือปัญหาแรงงานที่ไม่เคย มีการเข้ามาดูแลส่งเสริมพัฒนาสวัสดิภาพของเขาอย่างจริงจัง ปล่อยให้พวกเขาติดกับดัก ความยากจนอยู่ที่นี่ และไม่มีทางที่จะกลับบ้านเกิดได้เลย ท่านประธานค่ะ ดิฉันเชื่อว่า หากทางกระทรวงแรงงานเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ ทำงานร่วมกับดิฉันซึ่งเป็น สส. เขต และ ขยายผลไปยังพื้นที่อื่นของประเทศต่อไป ดิฉันมั่นใจว่าไม่ใช่แค่เพียงคุณภาพชีวิตของ คนคลองสามวาจะดีขึ้น แต่คุณภาพชีวิตของแรงงานทั้งประเทศ และความมั่นคงทางแรงงาน ของประเทศก็จะดีขึ้นตามลำดับไปด้วย ขอบคุณค่ะ

นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม รัฐ คลังแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม เขต ๖ อำเภอกันทรวิชัย อำเภอ เชียงยืน และอำเภอชื่นชม จากพรรคเพื่อไทย ขออนุญาตหารือถึงปัญหาความเดือดร้อนของ พี่น้องประชาชนในพื้นที่

นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ

ปัญหาที่ ๑ เป็นเรื่องของคลองส่งน้ำ เพื่อการเกษตรชำรุด เส้นที่หนึ่งเป็นคลองส่งน้ำดาดคอนกรีตจากบ้านเขวาโดนไปบ้านแสนสุข ตำบลนาสีนวน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยคลองเส้นนี้องค์การบริหาร ส่วนตำบลนาสีนวนได้รับถ่ายโอนภารกิจมาจากกรมชลประทาน แต่เนื่องจากขาดแคลน งบประมาณไม่สามารถดูแลพื้นที่ได้ทำให้คลองชำรุดทรุดโทรม ดูจากแผนที่คลองเส้นนี้ จะรับน้ำจากบริเวณห้วยเชียงส่ง ดึงน้ำผ่านบ้านเขวาโดนไปสู่ปลายทางคือบ้านแสนสุข โดยเส้นสีน้ำเงินนั้นคือคลองในส่วนที่ยังสามารถใช้การได้ แต่ในจุดบริเวณเส้นสีแดงระยะทาง กว่า ๒ กิโลเมตรไม่สามารถใช้การได้ จึงขอสนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริม การปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยสนับสนุนงบประมาณมาให้ อบต. ได้ซ่อมแซมพื้นที่ โดยหาก ซ่อมแซมแล้วพื้นที่ทางการเกษตรที่ได้รับผลประโยชน์มีไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ ไร่ มีบ้านหนองอุ่ม บ้านแหย่ง บ้านเขวาโดน และบ้านแสนสุข ส่วนคลองเส้นที่ ๒ เป็นคลองส่งน้ำดาดคอนกรีต พร้อมสถานีสูบน้ำจากลำน้ำชี บริเวณบ้านส้มโฮง ตำบลเขวาใหญ่ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม โดยหน่วยงานนี้หน่วยงานที่รับโอนภารกิจจากกรมชลประทานเช่นกัน ก็คือ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาใหญ่ ดูจากแผนที่จะมีสถานีสูบน้ำซึ่งตอนนี้ใช้การไม่ได้ จะสูบน้ำจากลำน้ำชีขึ้นไปหาบ้านส้มโฮง ระยะทางเส้นสีแดงคือส่วนที่ใช้การไม่ได้ระยะทาง ๑.๘ กิโลเมตร ซึ่งถ้าเส้นนี้สามารถซ่อมแซมและใช้การได้จะสามารถส่งน้ำต่อขึ้นไปอย่างเส้น สีน้ำเงินไปหาบ้านเขวาใหญ่ บ้านเขวาน้อย ตำบลเขวาใหญ่ได้นะครับ พื้นที่เกษตรที่จะได้รับ ผลประโยชน์จากการซ่อมแซมก็จะมี บ้านส้มโฮง บ้านเขวาใหญ่ บ้านเขวาน้อย ตำบลเขวาใหญ่ และอีกตำบลข้างเคียง นั่นก็คือตำบลขามเรียง บริเวณบ้านกุดหัวช้าง กราบขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสกล สุนทรวาณิชย์กิจ ครับ

นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม สกล สุนทรวาณิชย์กิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี เขต ๔ พรรคก้าวไกล วันนี้ ขอปรึกษาท่านประธานสภา จำนวน ๓ เรื่องครับ

นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอคลองหลวง แจ้งขอดับไฟล่าช้า ทำหมู่บ้านเดือดร้อน โดยเฉพาะประชาชนในหมู่บ้าน อินดี้ วิลาจจิโอ้ ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ได้รับผลกระทบจากการ ดับไฟในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เบื้องต้นทราบว่าการไฟฟ้าขอดับไฟเพื่อให้เทศบาลเมือง คลองหลวงตอกเสาเข็มสร้างกำแพงกั้นน้ำ วอน ๒ หน่วยงานช่วยชี้แจงว่าเหตุใดประกาศออก ตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ แต่ประชาชนได้รับหนังสือแจ้งก่อนวันดำเนินงานเพียง ๑-๒ วัน และขอร้องไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กำชับหน่วยงานในสังกัดในเรื่องของการ ประชาสัมพันธ์ทั้ง Online และ Offline โดยผมขอเสนอให้แจ้งเตือนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ เพื่อให้ประชาชนสามารถเตรียมตัว ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบครับ

นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ปัญหาซ้ำซาก ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมากคือ แท็กซี่ รังสิต บริเวณใต้ทางยกระดับใกล้เมเจอร์รังสิต ไม่กดมิเตอร์โก่งราคา กีดขวางการจราจร แจ้งไปยังสำนักงานขนส่งปทุมธานี เทศบาลนครรังสิต แขวงทางหลวงปทุมธานี สภ. ประตูน้ำ จุฬาลงกรณ์หลายครั้งแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น ล่าสุดมีผู้โดยสารถูกเรียกเก็บเงิน ๒,๔๐๐ บาท กักขัง ไม่ให้ลงจากรถและข่มขู่ถ้าไม่ให้จะทำร้ายร่างกาย สุดท้ายต้องยืมหัวหน้างานมาจ่าย จึงขอฝากไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมช่วยดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อกู้ ภาพลักษณ์ของจังหวัดปทุมธานีครับ

นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ ปทุมธานี ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้าย ปัญหาภายในหน่วยงานเทศบาล แต่ประชาชนกลับเป็นผู้ รับกรรมครับ ถนนทางเข้าพื้นที่ตำบลคลองสาม ในช่วงเทศบาลนครรังสิตมีปัญหาไฟ ส่องสว่างที่ดับหลายดวง ปิดกั้นทัศนวิสัยและพื้นถนนไม่เรียบ ขรุขระ รถที่วิ่งสัญจรไปมา ด้วยความเร็วสูงมักประสบอุบัติเหตุ ทราบว่าเทศบาลนครรังสิตมีการเสนอของบประมาณ ดำเนินโครงการไปแล้วแต่ไม่ผ่าน ด้วยปัญหาภายใน วอนหน่วยงานโปรดเห็นใจประชาชน และขอฝากท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยช่วยสนับสนุน ปรับปรุง แก้ไขอุดหนุนโครงการและคลี่คลายปัญหาดังกล่าว ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านองอาจ วงษ์ประยูร ครับ

นายองอาจ วงษ์ประยูร สระบุรี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายองอาจ วงษ์ประยูร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี พรรคพลังประชารัฐ ท่านประธานครับ ขณะนี้โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากสภาพที่เสื่อมโทรม ผุพังเกินซ่อมแซม สภาพเสื่อมอาคารของอาคารสนับสนุน บริการ และอาคารที่พักของเจ้าหน้าที่อย่างที่ปรากฏที่จอนะครับ ผมได้ส่ง Location ของ โรงพยาบาลพระพุทธบาทมาให้ด้วย เพราะว่ากระทรวงสาธารณสุขอาจจะลืมไปว่า มีโรงพยาบาลนี้อยู่ในประเทศ โรงพยาบาลพระพุทธบาทเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด ๓๑๕ เตียง ด้วยความที่คุณหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทุกท่านทำงานกันอย่างหนัก ไม่เห็นแก่ เหน็ดแก่เหนื่อย มีความรับผิดชอบสูง ไม่ย่อท้อต่อภารกิจหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีพี่น้อง ประชาชนมาใช้บริการกันอย่างทั่วสารทิศ ไม่ว่าจะเป็นที่อำเภอบ้านหมอ อำเภอหนองโดน อำเภอดอนพุด และจังหวัดใกล้เคียง อย่างเช่นที่ จังหวัดลพบุรี จังหวัดอยุธยา จังหวัด เพชรบูรณ์ก็มาใช้บริการ ท่านประธานครับ ปัญหาที่ตามมาก็คืองานที่หนักแล้วก็ขาด ความพร้อมในการรองรับการบริการ ขาดเงินบำรุงโรงพยาบาล ติดลบต่อเนื่องมาโดยตลอด หลายปีมานี้ไม่ได้รับการดูแลที่ดีจากกระทรวงสาธารณสุข เหมือนกับถูกทอดทิ้ง โรงพยาบาล ถูกทอดทิ้งมาโดยตลอด ณ วันนี้ความหวัง ขวัญกำลังใจของโรงพยาบาลพระพุทธบาทของเรา ก็เริ่มดีขึ้น เนื่องในโอกาสที่เราได้รัฐมนตรีคนใหม่ ๒ ท่านมาดูแลกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง ๒ ท่าน ก็คือท่านรัฐมนตรี คุณหมอชลน่าน ศรีแก้ว และท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการ สันติ พร้อมพัฒน์ ท่านเป็นรัฐมนตรีที่มีหัวใจรักประชาชน เห็นใจและรู้ เข้าใจปัญหา โรงพยาบาลในชนบทและในต่างจังหวัดเป็นอย่างดีครับ ก็ขอฝากท่านประธานไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ท่านรัฐมนตรีทั้ง ๒ ท่านให้ช่วยดูแลปัญหาในโรงพยาบาลพระพุทธบาท ด้วยครับ

นายองอาจ วงษ์ประยูร สระบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ปัญหาภัยแล้งจาก El Nino กำลังสร้างปัญหาให้กับเกษตรกรของ จังหวัดสระบุรี ล่าสุดท่านชัยวิรัตน์ ตั้งชัยวรรณา ท่าน สจ. เขตอำเภอหนองโดนร้องเรียนมา ว่าระดับน้ำในคลองสันโท คลองบ้านประดู่ ตำบลดอนทอง ขณะนี้แห้งจนไม่สามารถ จะสูบน้ำเข้านาได้ แล้วก็ไม่สามารถจะผลิตประปาหมู่บ้านได้ ก็ฝากทางกรมชลประทาน ได้ช่วยเร่งรัดจัดการแก้ปัญหาให้กับพี่น้องในเขตจังหวัดสระบุรี โดยเฉพาะอำเภอหนองโดน ด้วยครับ กราบขอบพระคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านนิตยา มีศรี ครับ

นางสาวนิตยา มีศรี สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรียนประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นิตยา มีศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๕ พรรคก้าวไกล ขอสไลด์ ขึ้นด้วยนะคะ

นางสาวนิตยา มีศรี สมุทรปราการ ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ ภาพที่จะเห็นต่อไป เป็นคลองระบายน้ำจากสนามบินสุวรรณภูมิลงสู่อ่าวไทย มีความยาวประมาณ ๑๖ กิโลเมตร มีถนน ๒ ฟากฝั่งแนวคลอง คลองส่งน้ำสุวรรณภูมิอยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน แต่บริเวณถนนทั้ง ๒ ฟากฝั่งเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของ อบจ. จังหวัดสมุทรปราการค่ะ ดิฉันขอฝากท่านประธานผ่านไปยังกรมชลประทานเข้ามาดูแลพื้นที่ที่ท่านรับผิดชอบด้วย ๒ ข้างทางเต็มไปด้วยขยะ แท่งปูน Barrier หากรถเสียหลักลงข้างทางไปแทนที่จะเจ็บ เล็กน้อยหรือเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่อาจจะต้องสังเวยชีวิตเลย ก็ไม่เกินจริงนะคะ ท่านประธาน ก่อนหน้านี้มีประชาชนต้องเสียชีวิตมาแล้วถึง ๒ ศพจากแท่งปูน Barrier เหล่านี้ รวมถึงตลิ่งทั้ง ๒ ฝั่งของคลองยังมีพงหญ้าที่รกสูง ไม่ได้รับการดูแล จนหลาย ๆ ครั้ง ได้กลายเป็นแหล่งอาชญากรรมได้นะคะ ที่ผ่านมาชาวบ้านอดรนทนไม่ได้ก็ต้องจุดไฟเผาเอง ถ้ายังปล่อยให้ชาวบ้านต้องแก้ปัญหาเองแบบนี้ จังหวัดสมุทรปราการคงหนีไม่พ้นเมืองที่มีค่า PM สูงเป็นอันดับต้น ๆ แน่ ๆ เลยค่ะ อันที่จริงแล้วทั้ง ๒ ฟากฝั่งที่กรมชลประทานกันพื้นที่ ไว้สามารถพัฒนาให้เป็นประโยชน์ได้มากกว่านี้นะคะ กว่าการปล่อยให้หญ้าขึ้นเฉย ๆ ด้วยซ้ำ อย่างไรก็ขอฝากกรมชลประทานไปคิดต่อด้วยนะคะว่าควรที่จะทำอย่างไรให้มันได้ประโยชน์ มากกว่านี้ และขอฝากท่านประธานผ่านไปยัง อบจ. จังหวัดสมุทรปราการอีกหน่วยงานหนึ่ง ที่มีความรับผิดชอบในพื้นถนนว่าหลายปีแล้วที่โครงการปรับปรุงพื้นถนนคลองส่งน้ำ สุวรรณภูมิอนุมัติมา แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จ ในจุดที่อับสายตาก็ไม่มีไฟส่องสว่างแบบนั้น

นางสาวนิตยา มีศรี สมุทรปราการ ต้นฉบับ

และเรื่องสุดท้ายที่พี่น้องประชาชนตำบลราชาเทวะฝากคำถามถึง ป.ป.ช. ว่า คดีเสาไฟกินรีไปถึงไหนแล้ว ดิฉันขอฝากท่านประธานผ่านไปยัง ป.ป.ช. ด้วยนะคะ และ ขอความกรุณา ป.ป.ช. ช่วยตอบคำถามนี้ให้กับพี่น้องประชาชนด้วย เพราะตอนนี้เสาไฟกินรี ก็ยังมีการติดตั้งอยู่อีก ทั้ง ๆ ที่ไม่มีที่จะติดแล้วก็ยังจะติดอยู่อย่างนั้น ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านซาการียา สะอิ ครับ

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายซาการียา สะอิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เขต ๔ ประกอบไปด้วย อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ อำเภอสุคิริน พรรคภูมิใจไทย ท่านประธานครับ จากการที่ได้ลงพื้นที่หลังน้ำท่วมหนักใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ทำให้ ทราบว่าไม่ใช่เฉพาะบ้านเรือนและทรัพย์สินเสียหายครับท่านประธาน แต่ยังมีวัด มัสยิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนหลายแห่งได้รับความเสียหาย โรงเรียนบางแห่งยังไม่สามารถ เปิดการเรียนการสอนได้ปกติ เนื่องจากมีเอกสาร อาคาร ครุภัณฑ์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ การเรียนการสอนที่ยังไม่สามารถใช้งานได้นะครับ ฝากท่านประธานไปยังกระทรวงศึกษาธิการ สพป. สพม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเร่งความช่วยเหลือด้วยครับ ท่านประธานครับ สืบเนื่องจากน้ำท่วม ไม่ได้เลือกแต่เฉพาะโรงเรียนรัฐนะครับ เพราะฉะนั้นก็ยังมีโรงเรียน เอกชนอีกหลายแห่งที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ เช่น โรงเรียนปอเนาะ สถาบันปอเนาะ ตาดีกา โรงเรียนสอนศาสนาในวัดที่ไม่ได้รับการเยียวยาเนื่องจากไม่มีงบประมาณ ซึ่งการ สำรวจเบื้องต้นทั้ง ๓ จังหวัดจะต้องใช้งบประมาณ ประมาณ ๔๒ ล้านบาท อันนี้เป็นข้อมูล จากวันที่ ๑๔ มกราคมที่ผ่านมา แต่อาจจะมีเพิ่มเติมนิดหน่อยนะครับ ฝากท่านประธานไปยัง นายกรัฐมนตรีช่วยสนับสนุนโดยใช้งบกลางมาช่วยเหลือพี่น้องโรงเรียนเอกชนด้วยครับ เพราะว่าทางโรงเรียนก็ไม่รู้จะทำอย่างไร คนที่เรียนก็คือลูกหลานของเราเองเหมือนกัน นะครับ

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

เรื่องต่อไปจะเป็นเรื่องของการขอขึ้นเงินเดือนของโต๊ะครูและผู้ช่วยโต๊ะครู โรงเรียนปอเนาะนะครับ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและ เงื่อนไข ว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันปอเนาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้ได้เงินอุดหนุนค่าบริหารจัดการสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน ๑,๐๐๐ บาท ต่อค่าตอบแทนโต๊ะครู ผู้ช่วยโต๊ะครู จำนวน ๒,๐๐๐ บาทต่อคน จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ๑๗ ปี ผ่านไปไม่มีการขึ้นเงินเดือนหรือทำใด ๆ เลยครับท่านประธาน เป็นที่ทราบดีว่าค่าใช้จ่าย ปัจจุบันสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ อัตราเงินเฟ้อ ๑๗ ปีผ่านไป เปลี่ยนแปลงมากครับ ดังนั้น อยากฝากไปยังกระทรวงศึกษาธิการหากสามารถเพิ่ม ค่าตอบแทนโต๊ะครูและผู้ช่วยโต๊ะครูจากเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท เป็น ๓,๐๐๐ บาท ค่าบริหาร จัดการจาก ๑,๐๐๐ บาท เป็น ๒,๐๐๐ บาท ให้เสมอภาคเช่นเดียวกับศูนย์อิสลามศึกษา ประจำมัสยิดหรือตาดีกา จะใช้งบประมาณเงินเดือนประมาณแค่ ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน หรือประมาณปีละ ๑๖ ล้านบาทครับท่านประธาน ขอบคุณมากครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านทรงยศ รามสูต ครับ

นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม ทรงยศ รามสูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน พรรคเพื่อไทย

นายทรงยศ รามสูต น่าน ต้นฉบับ

ขอหารือท่านประธานผ่านไปยังกรมธนารักษ์ และท่านนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงการคลังนะครับ เพื่อแก้ไขหลักเกณฑ์ในการ การเก็บค่าเช่าในกรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้นะครับ คือเมื่อ ๒ วันก่อนชาวบ้านบ้านธงน้อย หมู่ที่ ๓ ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน นำโดยผู้ใหญ่กีรติและท่าน สท. สนั่นได้มาหารือปรึกษา ผมว่าทางกรมอนามัยอยากจะสร้างประปาก็ไปสร้างที่บ้านธงน้อย ที่โรงเรียนบ้านธงน้อย มีหนังสือคือทางโรงเรียนได้มอบที่ดิน ๑๖ ตารางวาให้ก่อสร้างอาคาร เป็นประปาผิวน้ำ ๑๖ ตารางวา ซึ่งที่ผ่านมาบริหารมา ๑๐ กว่าปีก็ไม่มีปัญหา ปรากฏว่าโรงเรียนสัก ๑๐ กว่าปี ก็ยุบไป ชาวบ้านก็บริหารมาก็ไม่มีปัญหา แต่พอโรงเรียนถูกยุบ ทางกรมธนารักษ์ก็เข้ามาดูแล ซึ่งโอนเสร็จเรียบร้อยในปี ๒๕๖๓ ปัญหาเกิดขึ้นในปี ๒๕๖๓ หลังจากทางกรมธนารักษ์ เข้ามาดูแล เริ่มเก็บค่าเช่าปีละ ๓๔,๒๐๐ บาท ซึ่งทางกรมธนารักษ์ก็ใจดีให้หน่วยงานราชการ เป็นคนเช่า เพราะว่าถ้าชาวบ้านเช่าจะแพง เทศบาลตำบลดู่ใต้ก็เลยเป็นคู่สัญญาเช่า แต่ภาระ ค่าเช่าเป็นของหมู่บ้าน และพื้นที่ก็ใจดีลดให้ แต่ค่าเช่าก็ยังแพงอยู่ ปัญหาก็คือชาวบ้านก็เลย ต้องผลักภาระในการเก็บค่ามิเตอร์หน่วยน้ำจาก ๘-๙ บาทเป็นหน่วยละ ๑๑ บาท ทำความ เดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน ก็เลยอยากจะฝากภาครัฐ โดยเฉพาะกรมธนารักษ์ให้ปรับ หลักเกณฑ์ตรงนี้ ก็เห็นใจกรมธนารักษ์นะครับ เพราะว่าถ้าไม่ทำก็ผิดมาตรา ๑๕๗ เพราะฉะนั้นจะเป็นไปได้ไหมครับกรณีนี้ผมว่าน่าจะเป็นกรณีตัวอย่างและจะเกิดขึ้น ทั่วประเทศ เพราะหน่วยงานของภาครัฐ โรงเรียนถูกยุบเพราะปริมาณนักเรียนลดลง เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่แก้ไข เราเข้าไปทำอะไรในโรงเรียน อีกหน่อยจะต้องเสียค่าเช่านะครับ ฉะนั้นก็อยากจะฝากให้ภาครัฐแก้ไขหลักเกณฑ์ในการเก็บค่าเช่านี้ โดยเฉพาะบ้านธงน้อย หมู่ที่ ๓ นี้เป็นที่ตั้งของพระตำหนักของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ เพราะฉะนั้นก็ฝากให้ดูแลด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านคำพอง เทพาคำ ครับ

นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม คำพอง เทพาคำ ผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จาก ภาคอีสานครับ คุณพ่อประเสริฐ ธนาสนธ์ และชาวบ้านดอนงิ้ว อำเภอวารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี มีอาชีพประมงพื้นบ้านในแหล่งน้ำกุดปลาขาว กุดศรีมังคละ กุดบ้าน ที่ขอให้ กรมประมงได้ผ่อนปรนให้ชาวบ้านได้ทำมาหากินในแหล่งน้ำด้วยนะครับ เพราะเป็นอาชีพ ดั้งเดิม การจับปลามันคือค่าข้าวสาร ค่าน้ำ ค่าไฟ เรือนชานบ้านช่องอะไรต่าง ๆ ได้จาก การประกอบอาชีพประมงขอจับสักเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมได้หรือไม่ ให้ชาวบ้านได้มี ที่ยืนยังชีพด้วยนะครับ

นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

คุณองค์การ ชัยบุตร ผู้แทนราษฎรได้รับร้องเรียนจากประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบจากเส้นทางรถไฟบ้านไผ่-นครพนม ว่าค่าชดเชยการเวนคืน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ของราคาประเมิน อย่างนายธำรงค์ อุทามาศ ราคาประเมิน ๔ ล้านบาท ได้เพียง ๒ ล้านบาท เขาจะต้องออกจากที่ดินตลอดชีพ ตลอดชีวิต ตลอดชาตินี้ ก็ให้ราคาใกล้เคียงกับราคา ประเมินด้วยนะครับ

นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

พี่น้องชาวเขาคอก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ร้องเรียนคัดค้าน การสำรวจออกสัมปทานบัตรขุดแร่หินที่เขาคอก ซึ่งเมื่อก่อนเป็นป่าชุมชนพี่น้องเคยได้ใช้ ประโยชน์ ในการทำมาหากิน แต่ตอนนี้คืนให้กรมป่าไม้แล้ว ก็จะให้นายทุนไประเบิดหิน เขากระโดงก็ไปแล้ว เขาอังคารก็กำลังจะขุด เขาคอกจะขุดอีก ชาวบ้านคัดค้านมาตลอด แต่ไม่มีใครให้ความสนใจครับ

นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ทรัพยากรชายฝั่งทะเลตรังตอนนี้เสียหายอย่างหนักเลยนะครับ ปลาพะยูน ก็เกยตื้นตาย แต่เงียบนะครับ ตอนนี้ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก็มีเฉพาะ เรื่องของการหารายได้จากนักท่องเที่ยว แต่ไม่สนใจเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ของแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาตินะครับ

นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองอุบลราชธานีพี่น้องบอกว่าขอให้มีการสร้างทาง ยกระดับจากวารินชำราบไปอุบลราชธานี จากอุบลราชธานีไปวารินชำราบนะครับ เพื่อที่จะ ไม่ต้องเสี่ยงนั่งรถทหารในช่วงน้ำท่วมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย

นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ถนนเส้นโนนดินแดง ปะคำ ละหานทราย นางรอง บุรีรัมย์ ชำรุดอย่างหนัก ชาวอีสานหลังจากปีใหม่เขาบอกว่าให้ท่านประธานไปดูแลด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ สวัสดีครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านษฐา ขาวขำ ครับ

นายษฐา ขาวขำ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

กราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ กระผม นายษฐา ขาวขำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขตอำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอบางขัน ตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง พรรคภูมิใจไทย ขอปรึกษาหารือท่านประธานเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน เพื่อให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขจำนวน ๒ เรื่อง ดังนี้ครับ

นายษฐา ขาวขำ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองสังข์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่ของตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ ซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการมาตั้งแต่ ปี ๒๕๖๑ โดยการดำเนินการดังกล่าวจะต้องใช้พื้นที่บางส่วน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพี่น้อง ประชาชน จำนวน ๑๘๒ ครัวเรือน ซึ่งประชาชนกลุ่มนี้ครับท่านประธานเป็นกลุ่มซึ่งเคย อพยพมาจากอำเภอพิปูน เมื่อสมัยครั้งที่เกิดอุทกภัยใหญ่สมัยปี ๒๕๓๑ และครั้งนี้ก็ต้อง อพยพเป็นครั้งที่ ๒ นะครับ ซึ่งกรมชลประทานได้ตกลงว่าจะจัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ให้กับพี่น้องประชาชนในกลุ่มนี้ ขณะนี้การดำเนินการก่อสร้างได้ดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง บ้านเรือนก็มีการทุบ รื้อ แล้วก็ส่วนของกรมชลประทานเองก็ยังไม่สามารถที่จะจัดหาที่ดิน ทำกินและที่อยู่อาศัยให้กับพี่น้องประชาชนตามที่ได้ตกลงกันไว้ ทำให้ประชาชนได้รับ ความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก จึงขอให้ดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังและเร่งด่วนด้วยนะครับ

นายษฐา ขาวขำ นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

ส่วนเรื่องที่ ๒ เรื่องของน้ำกัดเซาะตลิ่ง แม่น้ำตรังซึ่งเป็นแม่น้ำอยู่แนวเขต ระหว่างจังหวัดตรังกับจังหวัดนครศรีธรรมราช ในช่วงที่ฤดูฝนมวลน้ำจะมีกระแสแรงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ไหลผ่านหมู่ที่ ๓ ตำบลหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช น้ำได้กัดเซาะตลิ่งเป็นบริเวณกว้างและเพิ่มขึ้นทุกปี ในขณะนี้การกัดเซาะถึงหมู่บ้านทางถนน เข้าหมู่บ้านนะครับ แต่หากปล่อยไว้คาดว่าทางเข้าหมู่บ้านจะถูกตัดขาดไม่สามารถที่จะ ใช้สัญจรไปมาได้ จึงขอให้กรมโยธาธิการและผังเมืองได้โปรดพิจารณาในเรื่องของ การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งในพื้นที่ดังกล่าวด้วย ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านเอกราช อุดมอำนวย ครับ

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกลครับ วันนี้ผมขอหารือท่านประธานในประเด็นความเดือดร้อนของพี่น้อง คนดอนเมืองประเด็นดังต่อไปนี้ครับ

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องแรก ที่หมู่บ้านพิพรพงษ์ ๑ ทางเข้าหมู่บ้านปากซอยวิภาวดี ๔๑ ป้ายหายไปทำให้เวลาพี่น้องสัญจรเกิดความสับสนขับเลยซอยบ้างนะครับกลางคืนก็มอง ไม่เห็น แล้วก็ทางกลับรถก็ไกล ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลด้วยนะครับ

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ วันที่ ๑๕ มกราคม ที่ผ่านมา ขสมก. เพิ่งมีการประกาศ เปลี่ยนเลขสายรถโดยสารประจำทาง ๓๖ สาย ซึ่งทำให้เกิดความสับสนในเลขโดยสาร แล้วก็สับสนในเส้นทางเดินรถแทนที่ ขสมก. จะใช้เลขที่จำง่าย แต่ว่าเจอ Font ที่เล็ก แล้วก็บางอ่านยากอีกนะครับ ก็ฝาก ขสมก. ดูแลเรื่องนี้ด้วยนะครับ นอกจากนี้ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ปีที่แล้วมีการหยุดเดินรถชั่วคราวของรถเมล์สายสีฟ้า BLK เนื่องจากช่างเขา ประท้วงทำให้มีรถวิ่งน้อย นอกจากนี้ GPS ของ ขสมก. ที่เชื่อมกับระบบก็ใช้งานไม่ได้มา ๑๐ กว่าวันแล้ว ฝากท่านประธานไปถึง ขสมก. แล้วก็กรมขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ดูแลเรื่องดังกล่าวด้วยนะครับ

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ในประเด็นถัดมา ผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องชุมชนศรีดอนเมืองครับ ตอนนี้เขาเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจากทางเข้าออกจากเดิมที่กว้างตอนนี้มีสภาพที่แคบ แล้วก็ขรุขระทำให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้พิการยากลำบากมากยิ่งขึ้น ก็ฝากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลให้กับพี่น้องประชาชนด้วย

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้ายครับท่านประธาน ฝากไปถึงกระทรวงยุติธรรมระบบ CIOS ของสำนักงานศาลยุติธรรมในการขอพิจารณาคดี Online หรือคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ตอนนี้ มีการปิดระบบ ฝากกระทรวงยุติธรรมประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกความยุติธรรม ให้สอดรับกับยุคสมัย แล้วก็นโยบายในการอำนวยความยุติธรรมต้องสะดวกรวดเร็ว และทันสมัย ขอบพระคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย ครับ

นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ

กราบเรียนประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด นครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย

นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ จากที่ผมได้ลงพื้นที่ รับฟังปัญหาข้อร้องเรียนและปัญหาผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ณ ที่สำนักงานองค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองกรด นำโดยนายฉลอง จำนงค์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกรด และท่านกำนันบัญชา ชื่นชาติ และผู้ใหญ่ทุกหมู่และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลทุกท่าน ปัญหาขอขยายเขตประปาส่วนภูมิภาค เนื่องจากตำบลหนองกรดเป็นตำบลใหญ่มีพื้นที่ ประมาณ ๘๓,๐๐๐ กว่าไร่ มี ๑๗ หมู่บ้านประชากรหนาแน่น มีจำนวนประชากร ๒๐,๐๐๐ กว่าคน และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครสวรรค์ ๔ กิโลเมตร แต่น้ำประปาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีทั้งใช้ประปาส่วนภูมิภาคและประปาหมู่บ้าน ประปาหมู่บ้านยังไม่มีคุณภาพ ประปา ส่วนภูมิภาคไม่ทั่วถึง ปัญหาอุปสรรคแหล่งน้ำดิบและงบประมาณที่จะดำเนินการขยายเขต จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาจัดสรรงบประมาณและบรรเทาความเดือดร้อน ให้พี่น้องประชาชนด้วยครับ

นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ โครงการวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำประปา หมู่ที่ ๑ ถึง หมู่ที่ ๙ ตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี พี่น้องชาวตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี ฝากขอบคุณประปา ส่วนภูมิภาค เขตที่ ๑๐ ที่ได้ขอรับการจัดสรรงบประมาณปี ๒๕๖๗ ไว้แล้วนั้น ตามปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ฉบับปรับปรุงว่าแล้วเสร็จ เดือนพฤษภาคม

นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ขอขอบคุณการประปาส่วนภูมิภาค เขต ๑๐ ที่อนุมัติก่อสร้างสถานี จ่ายน้ำประปาตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ขนาด ๑,๐๐๐ ล้าน ลูกบาศก์เมตร การประปาส่วนภูมิภาคสาขาพยุหะคีรีครับ กราบขอบพระคุณครับ

นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ หมู่ที่ ๑ เชื่อมต่อหมู่ที่ ๗ ตำบลยางตาล อำเภอโกรกพระ จังหวัด นครสวรรค์ ผิวจราจรมีปัญหาชำรุดเสียหายเวลาสัญจรไปมาเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง พี่น้อง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและได้รับการร้องเรียนเป็นอย่างมาก ฝากท่านประธานสภา นำปัญหาทั้งหลายที่กล่าวมาข้างต้นส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งแก้ปัญหาให้ พี่น้องประชาชนโดยเร่งด่วนครับ กราบขอบพระคุณท่านประธานสภามากครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านทิสรัตน์ เลาหพล ครับ

นางสาวทิสรัตน์ เลาหพล กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน นางสาวทิสรัตน์ เลาหพล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ตัวแทนของชาวเขตบางแค เขตหนองแขม พรรคก้าวไกลค่ะ ดิฉันขอ นำเสนอความเดือดร้อนที่ได้รับร้องเรียนมาจากประชาชนในพื้นที่ดังนี้ค่ะ

นางสาวทิสรัตน์ เลาหพล กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องแรก ไฟส่องสว่างปัญหา โลกแตกที่ชาวบ้านเอือม ไฟส่องสว่างในความรับผิดชอบของสำนักโยธาธิการ กทม. ซอยเพชรเกษม ๘๑ ถนนพุทธมณฑล สาย ๒ ถึงสาย ๓ และถนนบางแวกยังไม่ได้รับการ แก้ไข ดิฉันแจ้งแล้วแจ้งอีกก็เป็นแค่ลมปากค่ะส่วนไฟส่องสว่างสำนักงานเขตเป็นคนดูแล ตัวโคมไฟสำรองที่เก็บไว้ซ่อมมีไม่เพียงพอ จะมีสักครั้งไหม ใน กทม. ที่ไฟทุกดวงจะติด และนี่ไม่ใช่แค่ปัญหาของเขตดิฉันนะคะ แต่เป็นเกือบทุกเขตค่ะ จึงขอให้ผู้ว่าราชการและ สำนักการโยธา กทม. เร่งรัดเข้าไปดำเนินการแก้ไขโดยด่วนค่ะ

นางสาวทิสรัตน์ เลาหพล กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ น้ำเน่าในคลอง ประชาชนร้องเรียนเข้ามากันมากตั้งแต่สิงหาคม จนถึงปัจจุบัน ในเขตบางแค หนองแขม น้ำในคลองและลำกระโดงไม่ไหลเวียนทำให้เกิดน้ำ เน่าเสียทำให้สัตว์น้ำและสวนต่าง ๆ เกิดผลกระทบ เนื่องจากน้ำที่ส่งลงมามีไม่เพียงพอ มิหนำซ้ำประตูระบายน้ำภาษีเจริญ และประตูสมุทรสาครไม่เปิดให้ดันน้ำย้อนกลับเข้ามา และยังไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาแก้ไข ขอให้สำนักการระบายน้ำ กทม. ช่วยมาแก้ไขโดยด่วน

นางสาวทิสรัตน์ เลาหพล กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ขอให้มีมาตรการป้องกันฝุ่นในช่วงหน้าร้อนที่จะถึงนี้ เนื่องจาก ในช่วงนี้เปลี่ยนผ่านระหว่างฤดู กระแสลมจะอ่อนแรงลงทำให้ฝุ่นลอยอยู่บนอากาศเป็น จำนวนมาก เช่น PM10 และ PM2.5 ขอให้กรมควบคุมมลพิษหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาดำเนินการมาตรการควบคุมการก่อสร้าง การกำจัดขยะ และควบคุมมลพิษทาง โรงงานต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด และดิฉันขอใช้โอกาสนี้เชิญชวนพี่น้องประชาชนติดตาม การพิจารณาร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาดในวันนี้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านศักดิ์ ซารัมย์ ครับ

นายศักดิ์ ซารัมย์ บุรีรัมย์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดิ์ ซารัมย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคภูมิใจไทย จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในพื้นที่อำเภอ คูเมือง อำเภอลำปลายมาศ และอำเภอหนองหงส์ วันนี้มีเรื่องหารือท่านประธานอยู่ ๒ เรื่อง

นายศักดิ์ ซารัมย์ บุรีรัมย์ ต้นฉบับ

เรื่องแรกก็คือเรื่องประตูระบายที่กันท่าชนะ ชำรุด ไม่สามารถที่จะเก็บกักน้ำได้ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของลำน้ำมาศ ซึ่งฝายน้ำล้นแห่งนี้ มีประชาชนที่รับผิดชอบอยู่หลายตำบล ไม่ว่าจะเป็นตำบลโคกกลาง ตำบลหนองโดนและ ตำบลบ้านยาง ซึ่งประชาชนส่วนมากแล้วทำการเกษตร ทำไร่ทำนาหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยว แล้วชาวบ้านไปปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อทำอาชีพเสริม และขณะนี้น้ำแห้งขอด ฝายน้ำล้น ไม่สามารถที่จะเก็บกักน้ำได้ จึงขอเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรม ชลประทาน หรือหน่วยงานอื่นที่มีความรับผิดชอบได้เข้าไปตรวจสอบซ่อมแซมฝายน้ำล้นที่ กระผมได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งมีความเดือดร้อนของประชาชนเป็นจำนวนมาก

นายศักดิ์ ซารัมย์ บุรีรัมย์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ครับเรื่องโรงพยาบาลหนองหงส์ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ซึ่งเป็น การรองรับการแก้ปัญหาในการใช้น้ำดิบในการแก้ปัญหา โรงพยาบาลหนองหงส์มีพื้นที่ทั้ง ๗ ตำบล ซึ่งเป็นพื้นที่ของกระผม แล้วก็พื้นที่ของท่าน สส. พรชัย ศรีสุริยันโยธิน ซึ่งขาดแคลนน้ำดิบในการหล่อเลี้ยงโรงพยาบาล ประชากรที่จะเข้ารับการรักษาดูแลพื้นที่นั้น ประมาณ ๕๐,๐๐๐ กว่าคน แล้วก็วัน ๆ หนึ่ง ที่คนป่วยที่เข้าไปดูแลรักษา รักษา ในโรงพยาบาลนั้นประมาณ วันละ ๔๐๐ คน ผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่พักนอนนั้นประมาณ วันละ ๔๐-๕๐ คน ปริมาณการใช้น้ำแต่ละวันเกือบ ๑๐๐,๐๐๐ ลิตรนะครับ ฉะนั้น หลักการ ในการบริหารจัดการน้ำวันนี้ขาดแคลน เนื่องจากฤดูแล้งจึงขอเรียนไปยังหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมชลประทาน หรือแม้แต่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้เข้าไปสำรวจ ตรวจสอบเพื่อวางแผนการจัดหาน้ำที่จะต้องจัดทำรองรับผลิตน้ำสะอาดให้ดีขึ้นครับ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับเชิญท่าน สกุณา สาระนันท์ ครับ

นางสกุณา สาระนันท์ สกลนคร ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน สกุณา สาระนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต ๖ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานค่ะ ดิฉันมีเรื่องหารือต่อท่านประธานดังต่อไปนี้นะคะ

นางสกุณา สาระนันท์ สกลนคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ความเดือดร้อนจากมลพิษ น้ำเน่าเสีย ของพี่น้องชาวอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนครค่ะ อำเภอพังโคนเป็นอำเภอที่มีที่ตั้ง เป็นจุดเชื่อม ๔ อำเภอ นั่นหมายถึงเป็นศูนย์กลางและมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่การพัฒนาเมืองก็มักจะมีปัญหาควบคู่ไปกับปัญหามลพิษ เมื่อปลายปีที่ผ่านมาดิฉันได้หารือ ประเด็นนี้ร่วมกับนายกฤษฎา วงศ์กาฬสินธุ์ นายกเทศบาลตำบลพังโคน และนายวัฒนา วิชะนา นายกเทศบาลตำบลพังโคนศรีจำปา เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก น้ำทิ้ง แหล่งน้ำต่อแหล่งน้ำอุปโภคบริโภครวมถึงผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรเป็นวงกว้าง ซึ่งก็ได้ข้อสรุปว่าพื้นที่นี้ควรมีโรงบำบัดน้ำเสียค่าเพื่อแก้ปัญหาทั้งที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน และรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หลังจากนั้นดิฉันได้ยื่นเรื่องนี้ต่อท่านเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง มหาดไทยค่ะ และดิฉันขอขอบพระคุณท่านรัฐมนตรีเป็นอย่างมากที่ใส่ใจต่อปัญหาพี่น้อง ชาวอำเภอพังโคน และขอบคุณผู้อำนวยการองค์การบริหารน้ำเสีย ที่เร่งรัดกำหนดวันลงพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวค่ะ

นางสกุณา สาระนันท์ สกลนคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ดิฉันได้รับข้อร้องเรียนจากนายสุรศักดิ์ โพธิ์ศรี นายกองค์การ บริหารส่วนตำบลขัวก่าย อำเภอวานรนิวาส ในเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง บนถนน ทางหลวง สาย ๒๓๐๗ บริเวณบ้านโนนสว่าง-บ้านขาม และสาย ๒๓๐๘ หน้าโรงเรียน ภูดินแดงจนกระทั่งถึงบ้านโพนแพงค่ะ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวไม่มีไฟส่องสว่าง ดิฉัน จึงเรียนผ่านท่านประธานไปยังแขวงการทางจังหวัดสกลนคร เพื่อพิจารณาแก้ปัญหาดังกล่าว ขอบพระคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสุรพันธ์ ไวยากรณ์ ครับ

นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ นนทบุรี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตอำเภอเมืองนนทบุรี พรรคก้าวไกล วันนี้ มีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธานเกี่ยวกับความเดือดร้อนและปัญหาที่สำคัญของอำเภอเมือง นนทบุรี ๑ เรื่องดังนี้นะครับ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ดูตามภาพเลยนะครับ

นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ นนทบุรี ต้นฉบับ

มีบันไดหนีไฟของคอนโดมิเนียมที่กำลัง ก่อสร้างริมถนนรัตนาธิเบศร์ถล่มลงมา ทางผมและเทศบาลนครนนทบุรีก็ได้เข้าไปตรวจสอบ พื้นที่ทันทีนะครับ แต่ในเรื่องของการตรวจสอบ ทางเทศบาลเองก็ได้ระงับการก่อสร้างไป ๗ วัน ส่วนทางโครงการก็มีการเยียวยากับผู้เสียหายตามขั้นตอนนะครับ มีบ้านเรือนเสียหาย ๓ หลัง แต่หลังจากนั้นครับท่านประธาน ผมต้องการทราบถึงสาเหตุและอุบัติเหตุในครั้งนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากอะไร จึงได้ติดต่อไปยังเทศบาลนครนนทบุรี ก็ยังไม่ได้รับการแจ้ง จึงได้ประสานงานสภาวิศวกรสภาวิศวกรแห่งประเทศไทยและวิศวกรรมสถาน ทั้ง ๒ หน่วยงานนี้ แจ้งกลับมาว่าไม่ได้รับการติดต่อให้เข้าไปตรวจสอบในอุบัติเหตุครั้งนี้ ผมจึงย้อนกลับไปเช็กที่ เทศบาลนครนนทบุรี กลับพบว่าเทศบาลนครนนทบุรีเข้าไปตรวจสอบกับสมาคมวิศวกร โครงสร้างไทย ซึ่งท่านประธานครับ พอผมเช็กแล้วที่ตั้งของสมาคมวิศวกรโครงสร้างไทย ถ้าดูตามรูปก็คืออยู่ข้างกับเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ สถานที่ไม่ชัดเจนนะครับ แต่มีเบอร์โทร ไม่เป็นอะไรครับท่านประธาน ผมโทรไปมากกว่า ๑๐ สาย ก็ไม่มีคนรับ หลังจากนั้นก็โทรไป อีกหลายวันก็ไม่มีคนรับเหมือนกัน ผมก็เลยไม่แน่ใจว่าช่องทางที่เทศบาลนครนนทบุรีติดต่อ กับหน่วยงานนี้ทางช่องทางไหน ผมกังวลเรื่องนี้มากครับท่านประธาน เพราะว่าผมเองก็เป็น สมาชิกของสภาวิศวกรเหมือนกัน จึงอยากเรียนท่านประธานไปถึง ๓ หน่วยงาน ก็คือ เทศบาลนครนนทบุรี ว่าทำไมไม่เอาหน่วยงานที่มีมาตรฐานและได้รับความเชื่อถืออย่าง สภาวิศวกรหรือวิศวกรรมสถานเข้าไปตรวจสอบ หน่วยงานที่ ๒ ก็คือสภาวิศวกรและ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ใครเป็นผู้รับรองและอนุญาตสมาคมเหล่านี้ครับ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านชลัฐ รัชกิจประการ ครับ

นายชลัฐ รัชกิจประการ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม ชลัฐ รัชกิจประการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย วันนี้ผมขอหารือเรื่องข้อพิพาทระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ครับ เนื่องจากคนไทยในเกาหลีใต้ มีกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คน ที่ขึ้นทะเบียนแรงงาน กระทรวงแรงงาน กว่า ๕๐,๐๐๐ คน ที่เหลือต้องบอกว่าเป็นแรงงานที่เข้าไปในประเทศแบบไม่ได้ขึ้นทะเบียน หรือเรียกว่าผีน้อย ผมอยากหารือในประเด็นนี้ครับ เพราะเนื่องจากเรื่องที่เกิดขึ้นในอิสราเอล ข้อพิพาทและความรุนแรงที่เกิดขึ้น ต้องบอกว่าเราไม่ได้มีแผนรองรับ แล้วตั้งแต่เมื่อวาน ที่ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ หรือ คิม จ็อง อึน (Kim Jong Un) ประกาศว่าเขาไม่กลัวที่จะมี ความรุนแรงกับเกาหลีใต้หากถ้าเขาอยากรวมแผ่นดิน เขาบอกว่าการที่รวมแผ่นดินแบบไม่มี ความรุนแรงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากเกาหลีใต้เป็นศัตรูเบอร์ ๑ ของเขา เพราะฉะนั้น ผมอยากฝากไปทางกรรมาธิการแรงงาน กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศครับ อยากให้ทำแผนรองรับเรื่องฉุกเฉินเรื่องนี้หากมีความรุนแรงเกิดขึ้น เนื่องจากต้องบอกว่าการซ้อมรบวันที่ ๕ ถึงวันที่ ๖ ของเกาหลีเหนือแล้วมีกระสุนปืนใหญ่ ที่ข้ามมาฝั่งเกาหลีใต้เกือบ ๓๐๐ ลูก เป็นความตึงเครียดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตั้งแต่ ๗๐ ปี ที่ผ่านมา สุดท้ายผมอยากฝากไปถึงชาวไทยที่เกาหลีบอกว่าทุกท่านคือฮีโร่ของประเทศไทย ทุกท่านนำเงินกลับเข้ามาในประเทศไทย เอาเงินกลับมาให้ที่บ้าน แต่ผมย้ำเสมอว่าชีวิตก็ยัง สำคัญที่สุดครับ สุดท้ายเงินทองเป็นของนอกกายครับ ไม่ตายก็หาใหม่ได้ ขอบคุณครับ ท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านคริษฐ์ ปานเนียม ครับ

นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ ผม คริษฐ์ ปานเนียม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมี ๓ ประเด็นเร่งด่วน ที่ต้องขอหารือท่านประธานครับ ขอสไลด์ด้วยครับ

นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ

ประเด็นแรก พื้นที่หาดทรายทองจากงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติงาน ๕ ปีของกรมเจ้าท่า มีงบประมาณเพื่อรื้อหาดทรายทองทิ้ง ซึ่งเดิมทีสร้าง เมื่อปี ๒๕๔๗ ด้วยงบบูรณาการจังหวัดสมัยผู้ว่า CEO ครับ ที่กรมเจ้าท่าเองมอบอำนาจ ให้กับผู้ว่าดำเนินการ วันนี้พื้นที่หาดทรายทองสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวและกระตุ้น เศรษฐกิจได้จริงตามเจตจำนงในการสร้าง และในทางกฎหมายต้องตีความว่ากรมเจ้าท่ายังมี อำนาจกำกับดูแลอยู่หรือไม่เมื่อพื้นที่ดังกล่าวสิ้นสุดทางน้ำแล้ว ผมได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ ท่านประธานสภาผ่านไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อยื่นร้องทุกข์นะครับ และยื่นร้องทุกข์ต่อ ประธานกรรมาธิการคมนาคมแล้ว หากใช้งบประมาณของรัฐเดี๋ยวก็สร้างเดี๋ยวก็รื้ออยู่อย่างนี้ ราษฎรชาวตากเดือดร้อนครับ และต้องการที่จะใช้ประโยชน์ในพื้นที่นี้อีกต่อไป

นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ

ประเด็นถัดมาครับท่านประธาน ประชาชนชาวจังหวัดตากได้ยื่นหนังสือ ต่อประธานกรรมาธิการที่ดินและสิ่งแวดล้อม เพื่อขอให้ตรวจสอบการอนุญาตประทานบัตร ประเภทเหมืองหินบริเวณหมู่ที่ ๘ ตำบลแม่ท้อ ซึ่งเป็นการอนุญาตให้สัมปทานที่ล้าหลัง เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าต้นน้ำชั้น A เป็นพื้นที่ติดกับอุทยานแห่งชาติลานสางและอุทยาน แห่งชาติตากสินมหาราช และยังเป็นป่าต้นน้ำที่มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ใช้หล่อเลี้ยงผู้คน มากกว่า ๔ ตำบลนะครับ และน้ำจากที่นี่จะไหลลงสู่แม่น้ำปิง ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างนะครับ ฝากไปถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หากได้ยิน ข้อหารือของผมต่อท่านประธานในวันนี้ขอให้พิจารณาใช้มติ ครม. ยกเลิกการอนุญาต ประทานบัตรนี้โดยเร็วครับ ประชาชนสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด และไม่อยากตกอยู่ ในสภาวะกลุ่มเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจต่อไปครับ

นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ

ประเด็นสุดท้ายครับท่านประธาน หลังน้ำท่วมอำเภอสามเงา จังหวัดตาก โครงสร้างพื้นฐานเสียหายอย่างมากครับ งบประมาณท้องถิ่นไม่เพียงพอ ฝากรัฐบาล ประสานงานอุดหนุนงบประมาณเพื่อซ่อมแซมเป็นการด่วนนะครับ โดยเฉพาะถนนหนทาง และสะพานที่ขาด ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านเรืองวิทย์ คูณวัฒนาพงษ์ ครับ

นายเรืองวิทย์ คูณวัฒนาพงษ์ สุรินทร์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายเรืองวิทย์ คูณวัฒนาพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๗ จังหวัดสุรินทร์ พรรคภูมิใจไทย ซึ่งดูแลพื้นที่อำเภอปราสาท อำเภอลำดวน

นายเรืองวิทย์ คูณวัฒนาพงษ์ สุรินทร์ ต้นฉบับ

กระผมมีเรื่องจะปรึกษาหารือ เกี่ยวกับอ่างเก็บน้ำสุวรรณภา ซึ่งมี ๔ เรื่องที่ผมจะมาปรึกษาหารือท่านประธาน เรื่องการ ปรับปรุงคันดินรอบอ่างสุวรรณภา ปรับปรุงภูมิทัศน์อ่างสุวรรณภา ขุดลอกทางน้ำเข้าและ ทางระบายน้ำออก ปรับปรุงประตูน้ำเข้า ๓ จุด อ่างสุวรรณภาเป็นอ่างที่อยู่คู่อำเภอปราสาท มาเนิ่นนาน ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านปะอาว หมู่ที่ ๑ ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เพื่อใช้ในการผลิตน้ำทั้งด้านอุปโภคบริโภคหล่อเลี้ยงประชาชนในเขตเทศบาลทั้งหมด อีกทั้ง ยังเป็นแหล่งน้ำเพื่อการท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ ให้กับประชาชนในพื้นที่อีกด้วย

นายเรืองวิทย์ คูณวัฒนาพงษ์ สุรินทร์ ต้นฉบับ

ด้านปัญหา ปัจจุบันมีปริมาณน้ำดิบไม่เพียงพอ หากปีใดเกิดฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง จะทำให้ขาดแคลนน้ำที่จะมาผลิตน้ำประปา แหล่งน้ำสำรองอยู่ห่างไกลประมาณ ๕ กิโลเมตร คือห้วยตาลวก ปีใดถ้าแล้งก็เกิดการขาดน้ำ ไม่เพียงพอเหมือนกันครับ อ่างเก็บน้ำแห่งนี้ดูแล พื้นที่ทั้งหมด ๗ ชุมชน ๒,๗๘๐ ครัวเรือน รวมถึงโรงพยาบาลปราสาทด้วยซึ่งเป็นหัวใจหลัก ในการดูแลพ่อแม่พี่น้อง

นายเรืองวิทย์ คูณวัฒนาพงษ์ สุรินทร์ ต้นฉบับ

แนวทางการแก้ปัญหา ก็คือต้องเก็บกักน้ำ ขุดลอกเพิ่มเติม ยังมีพื้นที่ ที่สามารถขุดลอกได้อีก ๒๕๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ขุดลอกทางน้ำเข้า เพราะว่าอ่างแห่งนี้ ต้องพึ่งพานำเข้าจากธรรมชาติ ขยายบริเวณพื้นผิวการจราจรด้านบนใช้เพื่อการพักผ่อน หย่อนใจ ออกกำลังกาย สุดท้ายนี้ผมก็อยากฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมชลประทาน ช่วยเข้ามาแก้ไขวางแผนในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อการกักเก็บน้ำของพื้นที่เทศบาล ตำบลกังแอน ขอบคุณมากครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านวิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก ครับ

นายวิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก ลำพูน ต้นฉบับ

เรียนประธานสภาที่เคารพครับ ผม วิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน เขต ๑ อำเภอเมือง อำเภอแม่ทา และอำเภอบ้านธิ จากพรรคก้าวไกลครับ ขอสไลด์นะครับ

นายวิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก ลำพูน ต้นฉบับ

ผมมีเรื่องหารือท่านประธานอยู่ ๓ เรื่องครับ เรื่องที่ ๑ ติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างถนนทางหลวงหมายเลข ๑๑๓๖ เส้นทางดังกล่าวเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างทางแยกทางรถไฟตำบลเหมืองง่าไปยังซุปเปอร์ไฮเวย์ เส้นทางดังกล่าวสัญญาก่อสร้างหมดอายุสัญญามาเป็นเวลานานแล้ว จึงอยากให้แขวงทาง หลวงจังหวัดลำพูนเร่งติดตามความคืบหน้าของโครงการดังกล่าวด้วยนะครับ

นายวิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก ลำพูน ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๓๓ เส้นทางดังกล่าวช่วงกิโลเมตร ที่ ๑๘-๒๒ มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้งนะครับ จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุของ สภ. ทากาศ จะพบว่ามากกว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เกิดขึ้นในช่วงเวลาช่วงเย็นจนถึงเวลากลางคืน จึงอยากให้ แขวงทางหลวงจังหวัดลำพูนมาติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ ถนนเส้นทางดังกล่าวครับ

นายวิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก ลำพูน ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้ายครับท่านประธาน จากการลงพื้นที่ร่วมกับคุณวีระเดช ภู่พิสิฐ ที่ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ผู้ปกครองได้แจ้งกับทางผมว่าตอนนี้ลูกหลานของ เขาอายุแค่เพียง ๑๐ ขวบ กลับกลายเป็นผู้เสพยาเสพติดไปแล้วนะครับ แรก ๆ ผู้ค้ายาจะให้ น้อง ๆ ได้เสพยาฟรีครับ เมื่อเริ่มเสพยาเสพติดติดแล้วจะให้ขายเม็ดละ ๒๐ บาทครับ ถ้าน้อง ๆ คนไหน ไม่มีเงินที่จะซื้อผู้ค้าก็จะให้เป็นเด็กส่งยาแทนครับ เรื่องนี้ผมจึงอยากจะ ฝากไปถึงท่านนายกรัฐมนตรีและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เรื่องปัญหาดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่เร่งด่วน ในช่วงวันเด็กที่ผ่านมาท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้ของขวัญให้กับน้อง ๆ ทุกคน ทางผู้ปกครองเอง ก็อยากได้ของขวัญนี้เช่นเดียวกันครับ ของขวัญที่ผู้ปกครองอยากได้เรียบง่ายมากครับ ก็คือคืนน้อง ๆ ที่หลงผิดเข้าสู่อ้อมกอดของผู้ปกครองอีกครั้งครับ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านวรวิทย์ บารู ครับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู ปัตตานี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม วรวิทย์ บารู เขต ๑ ปัตตานี ประชาชาติ ก่อนอื่นก็ต้องแสดงความดีใจกับประชาชน ในอีกพื้นที่ ๒ พื้นที่ คืออำเภอปะนาเระ กับอำเภอรามันที่ได้รับการปลดออกจาก พ.ร.ก. แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงความเศร้าใจกับประชาชนอีกหลายอำเภอที่ยังคงต้องอยู่ ภายใต้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินนะครับ วันนี้ผมมีเรื่องที่จะหารือกับท่านประธาน ๒ ประเด็น ในประเด็นที่ ๒ อาจจะหลายคนก็พูดไปแล้ว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู ปัตตานี ต้นฉบับ

แต่จะพูดในประเด็นแรก ก็คือ เรื่องอุบัติเหตุ ณ จุดตรวจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยมาก แล้วก็ถึงแก่ชีวิต ส่วนใหญ่จะถึงแก่ชีวิตเพราะว่าการที่ตั้งจุดตรวจซึ่งเราไม่ทราบว่าจะได้คำนึงถึงเรื่อง ความปลอดภัยในเชิงของวิศวกรรมจราจรหรือไม่ แต่ว่าหลายครั้งที่รถเข้าสู่จุด อันนี้ในพื้นที่ ที่มันแคบอยู่แล้ว อย่างเช่นที่จุดตรวจที่หน้าโรงไฟฟ้าบ้านตะลุโบะ เมื่อสัก ๒ เดือนที่แล้ว ก็ถึงแก่ชีวิตระหว่างรถพ่วงข้างกับรถกระบะ แล้วหลังจากนั้นก็มีรถมอเตอร์ไซค์อีก และไม่ใช่ จุดนี้จุดเดียวนะครับ สิ่งที่ต้องการจะให้ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ตรวจดู น่าจะคืน ผิวจราจรให้กับประชาชนนะครับ การตั้งที่พัก ที่อยู่อาศัยของเจ้าหน้าที่บนถนน ใช้ผิวจราจร เป็นที่ตั้งดูเหมือนว่ามันน่าจะไม่ถูกต้องเพราะว่าความไม่ปลอดภัย อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ประชาชนเป็นผู้ที่รับความเสียหาย ถ้าจะได้มีการแก้ไขก็น่าจะดีมากสำหรับความปลอดภัยของ ประชาชน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู ปัตตานี ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ก็คือการช่วยเหลือหลังน้ำลด ก็อยากที่จะให้รัฐบาลช่วยใส่ใจ ในเรื่องเหล่านี้ เพราะมันสาหัสสากรรจ์มากจริง ๆ ครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านบุญเลิศ แสงพันธุ์ ครับ

นายบุญเลิศ แสงพันธุ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายบุญเลิศ แสงพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๗ จังหวัดสมุทรปราการ วันนี้ผมมี เรื่องปรึกษาหารือท่านประธาน ๒ เรื่องครับ

นายบุญเลิศ แสงพันธุ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ครับปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงในเขตอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ท่านประธานครับปัญหานี้เป็นปัญหา เรื้อรังมายาวนานส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้านอำเภอพระสมุทรเจดีย์ อย่างมาก น้ำทะเลหนุนท่วมถนนหลายเส้นทางเช่น ถนนคลองสวนบ้านล่าง ถนนคลองสวน ประชาอุทิศ ถนนซอยกระทิงแดง และโดยเฉพาะถนนสุขสวัสดิ์ป้อมพระจุลฯ ตั้งแต่สามแยก พระสมุทรเจดีย์ไปจนถึงปากซอยวัดแหลมฟ้าผ่ามีปริมาณน้ำท่วมทั้งถนนระยะทาง ๓ กิโลเมตร โดยบางจุดมีน้ำท่วมสูง ๘๐-๙๐ เซนติเมตร ตามภาพเลยนะครับ

นายบุญเลิศ แสงพันธุ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

ทั้งเทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่า โดยนายเฉลิมพล สิทธิพันธุ์ นายกเทศบาลตำบลแหลมฟ้าผ่าต้องลงพื้นที่ ช่วยเหลือบริการ ประชาชนเป็นประจำ สภาพรถที่เห็นอันนี้คือการผุพังของน้ำทะเล แล้วก็โดยจำนวนมากเลย นะครับ ปัญหาน้ำท่วมยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ พ่อค้าแม่ค้าต้องหยุดร้าน ลูกจ้าง คนขาย ขาดรายได้ สร้างผลกระทบเป็นห่วงโซ่ ท่านประธานดูรูปครับ หลายรูปเลยพ่อค้าแม่ค้า ขายของไม่ได้นะครับ และนี่คืองานโรงเรียนว่าเด็กที่ผ่านมา พ่อแม่ผู้ปกครองต้องมาดู การแสดงของลูก ๆ แต่ต้องมานั่งดูน้ำแทนนะครับ กว่าน้ำจะลด กว่ารอลูกที่จะได้มีการแสดง เด็ก ๆ ลูกหลานของท่านนะครับได้มีการฝึกซ้อมเพื่อวันนี้ คงจะเป็นสิ่งที่เด็ก ๆ อยากได้ มากกว่าคำขวัญวันเด็กนะครับ ก็ฝากหน่วยงานเดียวที่เกี่ยวข้องรบกวนช่วย ประสานงาน แล้วก็ดำเนินการด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านพิพิธ รัตนรักษ์ ได้ทราบว่ามีการขอสลับชื่อจากท่านวิทยา เป็นท่าน พิพิธ อันนี้ยืนยันไหมครับ

นายพิพิธ รัตนรักษ์ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ

ถูกต้องครับ เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายพิพิธ รัตนรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๒ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับผมขออนุญาตหารือท่านประธานสักเรื่องเดียวครับ คือเรื่องปัญหาของการคมนาคมการเดินทางสัญจรไปมาของนักท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในอำเภอ เกาะสมุย อำเภอเกาะพะงัน และตำบลเกาะเต่า ช่วงนี้ต้องยอมรับว่าเป็นช่วงเทศกาล นักท่องเที่ยว ได้มีปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนคือไฟฟ้าสาธารณะที่อยู่ ในความดูแลความรับผิดชอบของกรมทางหลวง กับกรมทางหลวงชนบท ต้องยอมรับว่า ในอำเภอเกาะสมุยนั้นกรมทางหลวงแผ่นดินดูแลรับผิดชอบอยู่ ไฟฟ้าสาธารณะสายหลักเกิด การชำรุด นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ ชาวบ้าน ใช้สัญจรไปมาในเวลาค่ำคืน เกิดอุบัติเหตุ มีความจำเป็นที่กระผมต้องขอความอนุเคราะห์ไปยังท่านประธานสภาหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าสมุยหรือพะงัน ส่วนอำเภอพะงันนั้นอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมทาง หลวงชนบท มีถนนหลายสายนะครับ ไม่ว่าจะเป็นสายบ้านใต้-ท้องนายปาน สายบ้านใต้-หาดริ้น ตลอดจนสายท้องศาลา-โฉลกหลำ สายหลัก ซึ่งนักท่องเที่ยวสัญจรไปมาเกิดอุบัติเหตุ มากมายหลายครั้ง กระผมขอฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบกรุณาช่วย ดำเนินการให้ด้วยนะครับ เพราะว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากมาย และเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับการท่องเที่ยวของอำเภอเกาะสมุย อำเภอเกาะพะงัน และ ตำบลเกาะเต่าด้วยครับ ท่านประธานครับ ขอบคุณมากครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับเชิญท่านวัชระ ยาวอหะซัน

นายวัชระ ยาวอหะซัน นราธิวาส ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม วัชระ ยาวอหะซัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ อำเภอเมือง อำเภอยี่งอ จังหวัด นราธิวาส พรรครวมไทยสร้างชาติครับ วันนี้ผมขอหารือเรื่องฝนตกน้ำท่วมและการบูรณาการ ของจังหวัดนราธิวาสโดยเฉพาะจังหวัดของผมนะครับ เนื่องจากว่าวันที่ ๒๓-๒๔-๒๕ ได้เกิด ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือแล้วก็เข้ามาปะทะกับหย่อมกดอากาศของประเทศมาเลเซีย เข้ามา ทำให้น้ำท่วมหนักในรอบ ๑๐๐ ปี วันนั้นกรมอุตุนิยมวิทยาตรวจได้ ๖๕๐ มิลลิเมตร หนักมากครับ ถ้าเปรียบเทียบน้ำนิ่งก็คือระดับเอว เยอะมากครับ

นายวัชระ ยาวอหะซัน นราธิวาส ต้นฉบับ

ภาพที่เห็นก็คือก่อนที่จะมีน้ำท่วม น้ำตกซีโปปีที่แล้วนะครับ แล้วก็มีกลุ่มบิ๊กไบค์มาให้ถุงยังชีพ มอบอุปกรณ์กีฬา มอบเงิน จำนวนหนึ่ง อันนี้สภาพปีที่แล้วเราจะเห็นอยู่ แต่ปีนี้ปรากฏว่าน้ำตกซีโปของเราหาย คลองรับน้ำจากน้ำตก กว้าง ๒๐ เมตร ลึกประมาณ ๕-๖ เมตร วันนี้หายเรียบปกคลุมด้วย ทราย หิน ทำให้ชาวบ้าน นักท่องเที่ยวเข้าไปไม่ได้ ก็เป็นแหล่งผลิตแหล่งของลองกอง หอมหวานก็เกิดที่นี่ภูเขานี้ หลาย ๆ ภูเขาก็พังถล่มลงมาไม่ว่าจะเป็นเขาพะเพ็ง เขาทางจะแนะ แล้วก็ทางอำเภอเมืองได้กระทบเป็นอย่างมาก ก็ต้องสู้กันไป ทางพรรคผมก็ช่วยได้เยอะ แล้วก็การดำเนินการหลังน้ำท่วมก็จะมีทางกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรมต้องเข้าไปดูแล ก็ไปดำเนินการหลาย ๆ เรื่อง ถนนหนทาง แล้วก็คอสะพานทรุดหมด ตรงนี้ก็ต้องฝากท่านประธานไปยังหน่วยงาน รับผิดชอบครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านประมวล พงศ์ถาวราเดช ครับ

นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ กระผม ประมวล พงศ์ถาวราเดช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขต ๓ พรรคประชาธิปัตย์ สืบเนื่องจากตั้งแต่ปี ๒๕๖๗ El Nino ทำให้ปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้น อย่างรุนแรง แต่รัฐบาลยังไม่ได้ดำเนินการเตรียมพร้อมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำให้ พี่น้องประชาชนทั่วประเทศ มีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำในการอุปโภคและบริโภค ซึ่งในพื้นที่ เขตเลือกตั้งของผม ผมได้รับการร้องเรียนจากท่านสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด กำนันและผู้ใหญ่บ้าน ตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีปัญหาเรื่อง น้ำอุปโภคและบริโภคอย่างรุนแรง จึงอยากให้กรมชลประทานจัดสรรงบประมาณ เพื่อก่อสร้างฝายห้วยตาชุบ หมู่ที่ ๕ บ้านหุบผึ้ง ตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นการเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่

นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ได้รับการร้องเรียนจาก สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตพื้นที่ห้วยทรายดังกล่าวข้างต้น อยากให้กรมทรัพยากรน้ำ ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อไปก่อสร้างแหล่งน้ำในห้วยมะขาม หมู่ที่ ๘ บ้านลานไทร ตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อแก้ปัญหาน้ำอุปโภคและบริโภค ดังกล่าวด้วย

นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ได้รับการร้องเรียนจากนายอิศรา กาญจนรัตน์ นายกเทศมนตรี ตำบลบ้านกรูด และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ไม่มีน้ำประปาใช้จึงอยากให้กรมทรัพยากรน้ำ จัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างแหล่งน้ำและกระจายระบบผลิตน้ำประปาให้พี่น้องประชาชน ที่อยู่ในพื้นที่ในเขตเทศบาลดังกล่าว ซึ่งตอนนี้เริ่มไม่มีน้ำในการบริโภคอุปโภคแล้วครับ

นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ ได้รับการร้องเรียนจากท่านกำนัน วิเชียร เกตุนาม และผู้ใหญ่ ประสงค์ สมทรง ให้กรมชลประทานไปก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองพันลำ หมู่ที่ ๖ ตำบล กำเนิดนพคุณ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องแหล่งน้ำต่อไปขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญ ท่านปรเมษฐ์ จินา ครับ

นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ แล้วก็สมาชิกทุกท่าน ผม ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๕ วันนี้ก็จะมีปัญหาที่จะมานำเรียนท่านประธานเพื่อแจ้งไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไข เนื่องจากว่าในส่วนของการทำงานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นองค์การการบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลและองค์การ บริหารส่วนตำบล พบว่าหนังสือที่เขาขออนุญาตใช้ของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อก่อสร้างถนน หรือว่าโครงการที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการด้วยกัน มันก็จะติดขัดจากการตามไปดูที่ หน่วยงานก็พบว่ากองไว้เป็น ๑๐,๐๐๐ เรื่อง เพราะฉะนั้นเวลาจะดำเนินการก็ค่อนข้างที่จะ ประสบกับปัญหาทั้งประเทศ ก็อยากจะฝากทางคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ได้เชิญทาง กรมบัญชีกลางที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง ที่แก้ปัญหาในเรื่องของการอุทธรณ์ที่ไม่เป็น มรรคเป็นผล แล้วก็ในส่วนของกรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ช่วยกันแก้ปัญหานี้ด้วย

นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องของการพัฒนา สืบเนื่องจากว่าในส่วนของจังหวัด สุราษฎร์ธานี มีการสร้างถนนสาย ๔๔ หรือว่าถนนเซาท์เทิร์น ทีนี้ในส่วนเขตรับผิดชอบของผม อำเภอพระแสงก็จะมีอยู่จุดหนึ่ง เรียกว่าเป็นสามแยก พอมีถนนสายนี้ขึ้นมาจากอำเภอชัยบุรี ที่อำเภอพระแสง แล้วก็ทะลุไปถนนสาย ๔๔ น่าจะมีการตัดเป็นสี่แยกเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการ เดินทาง การขนส่ง แล้วก็การสัญจรของพี่น้องประชาชน ซึ่งก็ประกอบไปด้วยหลายจังหวัด ตั้งฝั่งอันดามัน ทั้งในส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเอง แล้วก็จังหวัดใกล้เคียง

นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ก็คงจะเป็นเรื่องข้อเสนอแนะ สืบเนื่องจากว่าในพื้นที่อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางท่านนายอำเภอ ทางท่านเกษตรอำเภอ ทางปศุสัตว์อำเภอ แล้วก็ ทางผู้อำนวยการนิคมสร้างตนเองหรือว่าผู้ปกครองนิคม ท่านได้เห็นนโยบายของรัฐบาลว่า จะมีโคเงินล้านนะครับ เขาก็ได้ระดมความคิดกัน แล้วก็อาสาสมัครน่าที่จะเป็นพื้นที่นำร่อง ในการที่จะทำเรื่องของโคพันธุ์ใหม่ นั่นก็คือโคศรีวิชัยก็จะเป็น Brand ให้กับประเทศไทย เหมือนกับว่าโควากิวของญี่ปุ่น เหมือนกับโคสกลนครโพนยางคำ อันนี้ก็นำเสนอทาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงไปดำเนินการตรงนี้เป็นพื้นที่นำร่องให้ด้วย ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ แต่ทั้งสภาเรายินดีต้อนรับนักเรียน แล้วก็คณะอาจารย์จากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงหเสนี) ยินดีต้อนรับครับ ขอเชิญท่านสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ครับ

นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย

นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผมได้รับ การประสานงานจากร้อยตำรวจเอก ไชยา ทางทอง ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดูน ว่าเมื่อปี ๒๕๖๕จังหวัดศรีสะเกษ ได้ปรับปรุงเกาะกลางน้ำที่อ่างเก็บน้ำหนองคณะโดยใช้ งบประมาณ ๒๗ ล้านบาท ก่อสร้างถนนลาดยางเข้าออกหนองคณะเป็นอย่างดี มีถนนรอบ เกาะกลางน้ำ ท่านประธานครับ ตามที่จังหวัดศรีสะเกษได้ปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถือว่า เป็นเรื่องดีครับ ประชาชนได้ไปออกกำลังกายและเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างดีของอำเภอ กันทรารมย์ แต่ยังขาดหลายสิ่งหลายอย่างที่จะต้องปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างในที่แห่งนี้ โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลดูนยังไม่มีงบประมาณที่จะดำเนินการ ท่านประธานครับ ความต้องการของประชาชนที่อยากจะปรับปรุงกว่ากลางน้ำแห่งนี้คือ ต้องการอาคารหรือ โดมขนาดใหญ่และห้องน้ำเพื่อให้ประชาชนได้พักผ่อนในเวลากลางวัน และในช่วงที่ไปออก กำลังกายจะได้มีสถานที่พัก เพราะเกาะกลางน้ำแห่งนี้ไม่มีร่มเงาที่จะพักผ่อนได้ในช่วงเวลา กลางวัน ถ้ามีอาคารหรือห้องน้ำอนาคตต่อไปจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง ฝาก ท่านประธานผ่านไปยังกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น สำนักงบประมาณ ช่วยอนุมัติ งบประมาณให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลดูนด้วย

นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ผมได้รับการร้องเรียนจากนางเพ็ญศรี ปักปิ่น สมาชิกองค์การ บริหารส่วนตำบลจาน หมู่ที่ ๑๕ ตำบลจาน จังหวัดศรีสะเกษ เรื่อง ไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ซึ่งผมเคยหารือไปครั้งหนึ่งแล้วแต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ฝากท่านประธานผ่านไปยัง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกระทรวงมหาดไทย

นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ผมได้รับการร้องเรียนจากนายจำลอง เบ้าทอง อดีตกำนันตำบลทาม บ้านจี่ หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๑๑ ไม่มีน้ำประปาใช้ ชาวบ้านเดือดร้อนต้องใช้เครื่องปั๊มน้ำใช้เอง ฝากท่านประธานผ่านไปยังกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ ขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีครับ ท่านเศรษฐา ทวีสิน ที่ท่านได้ สั่งการให้กรมการค้าภายในไปซื้อหอมแดงที่จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วยอำเภอกันทรารมย์ อำเภอราษีไศล อำเภอยางชุมน้อย ผมในนามตัวแทนพี่น้องเกษตรกรปลูกหอมแดง ขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีไว้ในโอกาสนี้ แล้วระยะนี้พริกสดอำเภอกันทรารมย์ เริ่มออกสู่ ท้องตลาดราคาตกต่ำมาก เมื่อปีที่แล้วระยะนี้กิโลกรัมละ ๒๕ บาท ถึง ๓๐ บาทต่อปี ราคา วันนี้กิโลกรัมละ ๑๕ บาท ต้นทุนกิโลกรัมละ ๒๐ บาท เกษตรกรอยู่ไม่ได้ ฝากท่านประธาน ผ่านไปยังกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสุรทิน พิจารณ์ ครับ

นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม สุรทิน พิจารณ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ สส. บัญชีรายชื่อ ๓-๔ เรื่องที่กราบเรียน ท่านประธานมีปัญหาทั้งนั้นครับ

นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องแรก คือถนนซอยแม่ชี หมู่ที่ ๑ ตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัด ปทุมธานี อันนี้ก็ขอมานานแล้วเป็นหลุมเป็นบ่อ ท่านประธานครับ ฝากไปที่กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทยด้วย อันนี้ก็ขอคอนกรีตมา

นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ กรมทางหลวงนำรถแบคโฮไปรื้อแผงขายของ ของพี่น้องชาวรังสิต สัปดาห์ที่แล้วก็หารือ ปรากฏว่ามาถึงวันนี้ก็ปิดอีกท่านประธานครับ เรื่องไม่ได้เคลื่อนไปไหน เลยพี่น้องมาเดินขบวนอีกแล้วครับ มายื่นหนังสืออีกแล้วที่สภาวันนี้ อันนี้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมไปแก้ปัญหาด้วย

นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ก็กรมทางหลวงอีก ท่านประธานครับ คือเรื่องที่ ๓ นี้กรมทางหลวง ไปสร้างถนนยโสธร อุบลราชธานี ที่หน้าโรงเรียนบ้านตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ๔ เลนก็จริง แต่ว่าไม่มีไหล่ทาง แคบเกินไป พี่น้องบอกว่ามันไม่ได้มาตรฐานนะครับ คนร้อง คือ พันตรี คฑาวุธ แจ้งประจักษ์ เป็นผู้ร้องมา

นายสุรทิน พิจารณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ คือเรื่องประปาส่วนภูมิภาค ปรากฏว่าได้ขยายประปาไปที่อำเภอ หนองเสือ ไปถึงตรงนั้น แต่ตำบลใกล้ ๆ ตำบลบึงกา ๓ หมู่ที่ ๑ ตำบลบึงกาสาม ใกล้ ๆ น้ำประปาไม่ได้ไปถึง อยากจะให้ประปาส่วนภูมิภาคได้ขยายไปถึง หมู่ที่ ๑ ตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานีด้วย เพราะว่าน้ำบาดาลที่ให้พี่น้องสูบขึ้นมาจากลำคลอง เอามาดื่มเลย มันดื่มไม่ได้พี่น้องมันสกปรก มันสีแดงนะครับ ปัญหาทั้งนั้น อันนี้ฝากไปที่ การประปาส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทยอีกล่ะครับ ที่ดูแลปัญหาของพี่น้องทั้งหมด ขอบคุณท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านร่มธรรม ขำนุรักษ์ ครับ

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ร่มธรรม ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้กระผม ขออนุญาตนำปัญหาและความต้องการของพี่น้องประชาชนมาหารือดังต่อไปนี้

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

๑. ขอให้กระทรวงคมนาคมได้ติดตั้งซ่อมแซมและเปิดใช้ไฟส่องสว่างตลอด บนถนนสายเอเชีย ซึ่งเป็นเส้นทางจราจรหลัก โดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุงการสัญจรกลางคืน มืดมากครับ เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และขอให้เร่งรัดการซ่อมแซมปรับปรุงถนนสายนี้ เพราะล่าช้ามานานประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างมากครับ

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

๒. ขอให้กระทรวงคมนาคมและสำนักงบประมาณได้พิจารณาก่อสร้าง ท่าเทียบเรือริมทะเลสาบในชุมชนที่มีความเหมาะสมในจังหวัดพัทลุง เช่น ในตำบลนาปะขอ ตำบลฝาละมี ตำบลดอนประดู่ ตำบลปากพะยูน ตำบลเกาะหมาก และตำบลเกาะนางคำ เพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมการท่องเที่ยว และเพื่อให้ชาวประมงสามารถนำสัตว์น้ำ มาวางขายได้

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

๓. ขอให้กระทรวงมหาดไทย กรมที่ดิน ได้แก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อน ระหว่าง พื้นที่สาธารณประโยชน์กับพื้นที่ที่พี่น้องประชาชนครอบครองโดยชอบในจังหวัดพัทลุง และให้ออกเอกสารสิทธิโดยเร็ว เช่น ในพื้นที่ควนโนราห์ ควนพระ ควนช้างตาย ควนเปลวนาม ทุ่งผีปั้นรูป หาดไข่เต่า ทางอ้ายมุย เป็นต้น

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

๔. ขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำแนวเขต ป่าอนุรักษ์ในจังหวัดพัทลุงให้แล้วเสร็จ ทั้งในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด อุทยาน แห่งชาติเขาปู่เขาย่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทะเลน้อย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทะเลหลวงและ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทะเลสาบ เพื่อให้พี่น้องประชาชนสามารถออกเอกสารสิทธิได้อย่าง รวดเร็ว ซึ่งพี่น้องทุกอำเภอได้เรียกร้องมาเป็นเวลายาวนานครับ

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

๕. ขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้พิจารณาจัดสร้างสนามกีฬาแบบ มาตรฐาน ๑ แห่ง ในพื้นที่ ๖ อำเภอตอนใต้ของจังหวัดพัทลุง ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีสักแห่งเดียว ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย และเพื่อรองรับการจัดการแข่งกีฬาระดับชาติ และระดับนานาชาติ

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

๖. ขอให้กระทรวงดิจิทัล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งแก้ไขปัญหาแก๊ง Call Center และการหลอกโกงเงินทางโทรศัพท์และทาง Online ทุกรูปแบบ เพราะพี่น้องประชาชนคนพัทลุงและคนไทยทั้งประเทศได้รับความเสียหาย ในทรัพย์สินเป็นจำนวนมากครับ

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

๗. สุดท้ายครับ ขอให้กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงบประมาณได้พิจารณา เพิ่มเงินเดือนและสวัสดิการของครูให้เหมาะสมครับ และขอให้แก้ไขปัญหาหนี้สินและ ลดภาระของครู พร้อมกับพัฒนาครูเพื่อให้ได้ทำหน้าที่ให้ความรู้นักเรียนและเยาวชนได้อย่าง เต็มศักยภาพ ขอบคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านพิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ ครับ

นางสาวพิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ดิฉัน พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดเพชรบูรณ์ พรรค พลังประชารัฐ ขอหารือเรื่องความเดือดร้อนของ Rider หรือพนักงานส่งอาหารที่ได้รับ ผลกระทบจากการปรับโครงสร้างค่ารอบใหม่นี้พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ของบริษัทแห่งหนึ่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคมที่ผ่านมา ดิฉันได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้อง Rider จังหวัดเพชรบูรณ์ เรื่องการประกาศปรับโครงสร้างค่ารอบใหม่ โดยจากเดิม เมื่อปี ๒๕๖๕ ค่ารอบเริ่มต้นอยู่ที่ ๒๓ บาทต่อ Order ปี ๒๕๖๖ ค่ารอบเริ่มต้นจะอยู่ที่ ๑๙ บาทต่อ Order และเดิมค่ารอบงานพ่วงจะเท่ากันกับค่ารอบ Order ปกติ แต่จาก นโยบายของบริษัทที่จะประกาศใช้ในวันที่ ๒๓ มกราคมนี้ ราคารอบเริ่มต้นจะเหลืออยู่ที่ ๑๗ บาทต่อ Order แต่ค่ารอบงานพ่วงอยู่เหลืออยู่ที่ ๘ บาทต่อ Order โดยบริษัทอ้างว่า การเปลี่ยนแปลงค่ารอบนั้นจะถูกนำไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของ พนักงาน Rider ประเด็นก็คือพี่น้อง Rider ได้แจ้งว่าบริษัทยังไม่ได้เคยสอบถามหรือหารือกันกับพนักงานว่า ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพหรือประสบปัญหาอุปสรรคในการทำงานอะไรบ้าง แต่กลับประกาศใช้นโยบายใหม่ในทันที ซึ่งปัญหาลักษณะนี้มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำกับอาชีพ Rider ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามดิฉันก็เชื่อว่าบริษัทน่าจะมีธรรมาภิบาล มีหลักการและเหตุผล เพียงพอที่จะใช้นโยบายนี้ในการเพิ่มสวัสดิการให้กับพนักงาน อาชีพ Rider อาจจะดูเป็น อาชีพเล็ก ๆ แต่อาชีพเล็ก ๆ เหล่านี้ก็มีเกียรติมีศักดิ์ศรีไม่แพ้จากอาชีพอื่น ๆ ดิฉันจึงอยาก หารือท่านประธานผ่านไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและกระทรวง พม. กรุณาให้ ความสำคัญและเร่งคลี่คลายปัญหาเหล่านี้โดยเร็ว รวมถึงวิงวอนไปยังบริษัทที่ดำเนินธุรกิจ ในลักษณะเช่นนี้ ให้มีการพูดคุยกับพนักงานเพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและ มีความสุขในการทำงานค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านชญาภา สินธุไพร ครับท่าน

นางสาวชญาภา สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ชญาภา สินธุไพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต ๘ พรรคเพื่อไทย ดิฉันมีเรื่อง ปรึกษาหารือความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ๒ เรื่อง ดังนี้ค่ะ

นางสาวชญาภา สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ สืบเนื่องจากดิฉันได้รับหนังสือร้องทุกข์จากพี่น้องประชาชน บ้านสนามชัย หมู่ที่ ๑๓ ตำบลส่วนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ประสบปัญหา เรื่องน้ำไม่เพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค เนื่องจากระบบประปาผิวดินไม่สามารถ ส่งกำลังน้ำได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของพี่น้องประชาชน ส่งผลให้ไม่มีน้ำใช้เพียงพอ ต่อการอุปโภคบริโภค การเกษตร การปศุสัตว์ โดยเฉพาะในฤดูแล้งมักจะประสบปัญหา ซ้ำซาก ประชาชนต้องไปขอรถน้ำจากองค์การบริหารส่วนตำบลสวนจิกเพื่อนำน้ำมาแจกจ่าย ต่อพี่น้องประชาชน แต่ก็ยังไม่เพียงพอ หนำซ้ำพี่น้องประชาชนยังต้องควักเงินซื้อน้ำจาก เอกชนเพื่อนำมาใช้ในครัวเรือนอีก ซึ่งระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานนี้องค์การบริหาร ส่วนตำบลสวนจิกไม่มีงบประมาณเพียงพอในการดำเนินการแก้ไขดังกล่าว จึงหารือ ท่านประธานผ่านไปยังกรมการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ให้จัดสรร งบประมาณเข้าไปดูแลแก้ไขเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนด้วยค่ะ

นางสาวชญาภา สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ พี่น้องประชาชนประสบปัญหาเส้นทางสัญจรไม่สะดวก คือถนน ทางหลวงชนบท หมายเลข ๒๓๙๒ ระยะทาง ๓ กิโลเมตร เชื่อมระหว่างบ้านดงยางหมู่ที่ ๑๔ ตำบลดู่น้อย อำเภอจัตุรพักตรพิมานกับตำบลโนนสว่าง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด และถนนทางหลวงชนบท รหัสสายทาง รอถ. ๑๖๖-๐๙ ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร จากบริเวณสามแยกวัดป่าศรีมงคล บ้านหัวหนองแวง หมู่ที่ ๑๔ ตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ทั้ง ๒ เส้นทางผิวถนนชำรุดเสียหายอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่มี ประชาชนสัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก และยังใช้เป็นเส้นทางในการขนส่งสินค้าการเกษตร แต่เนื่องด้วยถนนเกิดการชำรุดจึงมักเกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้งและไม่ปลอดภัยต่อการสัญจร ไปมาของพี่น้องประชาชน จึงขอหารือท่านประธานผ่านไปยังกรมทางหลวงชนบท กระทรวง คมนาคม ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อซ่อมแซมถนนดังกล่าวให้แล้วเสร็จเพื่ออำนวย ความสะดวกและความปลอดภัยในการสัญจรของพี่น้องประชาชนด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านอนุรัตน์ ตันบรรจง ครับ

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง พะเยา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาครับ ผม อนุรัตน์ ตันบรรจง สมาชิกสภาผู้แทน เขต ๒ จังหวัดพะเยา พรรคพลังประชารัฐ วันนี้จะขอ หารือกับท่านประธานเรื่องถนนนะครับ ถนนที่ อบต. เทศบาลหรือ อบจ. ที่ได้รับส่งมอบ ในการดูแลจากกรมทางหลวงหรือกรมทางหลวงชนบท หรือย้อนไปเมื่อในอดีตที่ยาวนาน ก็คือรับมอบจาก รพช. วันนี้ผมเชื่อว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีเขตเลือกตั้งเป็นของตัวเอง ก็จะได้รับเรื่องร้องเรียนเรื่องว่าถนนไม่มีงบประมาณในการซ่อมแซมบำรุง เพราะว่าถนน บางเส้นต้องใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูง ปัจจุบันถนนในประเทศไทยกว่า ๗๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร กระทรวงคมนาคมโดยกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทนั้นได้รับผิดชอบอยู่ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร ๒ กรมร่วมกันนะครับ แต่ปัจจุบันนี้ อปท. หรือองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นนั้นได้รับผิดชอบกว่า ๖๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร ผมอยากจะหารือท่านประธานผ่าน ไปยังกระทรวงมหาดไทยให้จัดสรรงบประมาณลงสู่ อบต. และเทศบาล เพื่อที่จะซ่อมสร้าง ถนนให้พ่อแม่พี่น้องราษฎรได้ใช้ถนนอย่างมีความสุข และความปลอดภัย วันนี้น้ำไหล ไฟสว่าง หนทางต้องดี

นายอนุรัตน์ ตันบรรจง พะเยา ต้นฉบับ

และเรื่องสุดท้ายครับ ผมอยากจะฝากท่านประธานหารือไปยังกรมบัญชีกลาง ในการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง ให้คัดเลือกด้วยความเป็นธรรมนะครับ ไม่ใช่ว่าวันนี้ มีการ e-Bidding มีการฟันราคากันแล้วไม่สามารถที่จะสร้างโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ ให้แล้วเสร็จได้ รวมถึงโครงการนี้ไม่สามารถที่สร้างได้อย่างมีคุณภาพ ถนนก็พังแล้วพังอีก นะครับ ก็ขอฝากท่านประธานหารือไปยังกรมบัญชีกลางด้วย ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านกัณวีร์ สืบแสง ครับ

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธาน ขอเริ่มต้นซาลาม ขอความสันติจงประสบแด่ทุกท่าน วันนี้ผมขออนุญาตหารือท่านประธาน ผ่านไปยังท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำฝ่ายบริหาร และรวมถึงผู้อำนวยการรักษา ความมั่นคงภายในแห่งราชอาณาจักร ในการที่มีการย้อนแย้งกันของความพยายามในการ สร้างสันติภาพแบบยั่งยืนให้เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และรวมถึง ๔ อำเภอ ของจังหวัดสงขลา หรือที่เราเรียกว่า ปาตานี ความย้อนแย้งกันตรงนี้ก็คือว่าเราพยายามจะ สร้างสันติภาพที่ยั่งยืน แต่ว่าการบังคับใช้กฎหมาย การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำต่อบุคคล นักกิจกรรมต่าง ๆ ตอนนี้ยังเป็นข้อครหาอยู่ นักกิจกรรมทั้งหมด ๙ คน ได้มีหมายเรียกจาก ทางตำรวจในพื้นที่ที่เขามีการพยายามมีการจัดทำในเรื่องการแสดงอัตลักษณ์ ในการที่ ช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ในการที่แสดงออกในเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางด้าน การเมือง แต่โดนหมายจับ หมายเรียกครับ ขอประทานโทษครับ คนแรก ขออนุญาตเอ่ยนาม คุณมูฮัมหมัดอาลาดี เด็งนิ ตอนนี้เป็นนักกิจกรรมที่เป็นคนที่จัดงานในเรื่องฮารีรายอ ในการ ใส่ชุดมลายู ก็โดนเรียกเข้ามา มีการแจ้งข้อหาในการที่บอกว่าคุณใส่ชุดมลายูเข้ามาเพื่อเป็น การยุยง ปลุกปั่น อั้งยี่และซ่องโจร เอาคนเข้ามา แล้วก็มามีการปลุกปั่นกัน อันนี้เป็นสิ่งหนึ่ง ที่มีการพูดคุยกันเรียบร้อยแล้ว แต่ก็โดนนะครับ ตอนนี้เป็นกรณีในปี ๒๕๖๕ ซึ่งเราเห็นแล้ว ครับว่าจริง ๆ มันมีความพยายามในการที่จะปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของ พี่น้องประชาชน ตอนนี้อยู่ในเรื่องเกี่ยวกับความยุติธรรม คนที่ ๒ คุณซาฮารี เจ๊ะหลง เป็นคน นำในเรื่องเกี่ยวกับการจัดทำ Page ขึ้นมา ซึ่ง Page หนึ่ง เรียกว่า พ่อบ้านใจกล้า พ่อบ้าน ใจกล้านี้เป็นการรวบรวมระดมทุนในการช่วยเหลือ ครอบครัวที่รับผลกระทบจาก การวิสามัญฆาตกรรม หัวหน้าครอบครัวถูกวิสามัญฆาตกรรม แต่ว่าไม่มีการเยียวยา เนื่องจากว่ากฎกติกาต่าง ๆ ของประเทศไทยเราไม่ยอมให้ เพราะฉะนั้นเขาก็เลยโดนข้อหา ในการที่เอาเงินเข้ามาและใช้เอง อันนี้เป็นสิ่งหนึ่ง อีกคนหนึ่งครับ คุณอาเต็ฟ โซ๊ะโก เป็นคนที่มี การจัดทำเรื่องเกี่ยวกับการทำสำรวจประชามติ การทำประชามติว่าควรจะทำประชามติ ในการพิจารณาตัวเองหรือไม่ ก็เลยโดนข้อหาเหมือนกัน และน้อง ๆ กลุ่มกิจกรรมทั้งหลาย ทั้ง ๓ กรณีนี้ ตอนนี้วันนี้นั่งอยู่ที่คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ในการเรียกร้องถึงความไม่เป็นธรรมอันนี้ถ้าการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม มันเป็น ความอยุติธรรม เพราะฉะนั้นครับอยากจะเรียนท่านประธานผ่านไปยังท่านนายกรัฐมนตรี ช่วยพิจารณาในการใช้กฎหมายตัวนี้ที่บังคับใช้อย่างไม่เป็นธรรมด้วยครับ ขอบคุณ ท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านฐิติมา ฉายแสง ครับ

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ฐิติมา ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา เขต ๑ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ เรื่องหารือมี ๒ เรื่องนะคะ

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ดิฉันได้รับการร้องเรียนจาก Page Facebook ของคุณสุวิทย์ ซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านมาย-กรีน บางพระ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา แจ้งว่าเขาและเพื่อนนั้นในชีวิตประจำวันต้องข้ามถนนทาง หลวงสาย ๓๑๔ ตรงหน้าร้านสะดวกซื้อสาขาบ้านใหญ่ ปากทางถนนเกษมราษฏร์พัฒนา เพื่อขึ้นรถรับส่งของบริษัทไปทำงาน ซึ่งจุดนี้ไม่มีสะพานลอยคนข้าม และถนนสาย ๓๑๔ เป็นถนน ๘ เลน จึงเสี่ยงกับอันตรายเป็นอย่างมาก จึงอยากจะขอสะพานลอยกับกรมทางหลวง เพื่อลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน และถ้าให้ดีขอสะพานลอยนี้มีหลังคาด้วยนะคะ เพราะว่าถนน ๘ เลนมันก็ไกลหน่อย แดดฝนก็จะได้ช่วยประชาชนได้นะคะ

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ดิฉันได้รับการร้องเรียนจากคุณสุรพล พลอยน้ำเพชร นายกองค์การ บริหารส่วนตำบลเกาะไร่ ว่าประชาชนที่สัญจรไปมาช่วงถนนสาย ฉช.๒๐๐๔ ระหว่าง กิโลเมตรที่ ๒๒+๕๐๐ ถึง ๑๔+๗๐๐ และกิโลเมตรที่ ๑๓+๖๐๐ ถึงกิโลเมตรที่ ๑๔+๑๐๐ ตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับความเดือดร้อน ในตอนกลางคืน เนื่องจากว่าไม่มีไฟส่องสว่างค่ะ ทำให้มีความอันตรายเกิดขึ้นได้ ก็ขอ ไฟส่องสว่างจากทางหลวงชนบทด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านธิษะณา ชุณหะวัณ ครับ

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สส. แบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร เขต ๒ ค่ะ

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ดิฉันอยากขอปรึกษาหารือ กับท่านประธานถึงปัญหาการไล่รื้อถอนที่อยู่อาศัยของประชาชนและชาวบ้านในชุมชน หลังวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร โดยผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวคือสำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีไล่รื้อถอนดังกล่าวเป็นเวลาหลายปี และในหลายคดีนั้นได้ผ่านศาลชั้นฎีกาและมีคำพิพากษาสูงสุดไปเกือบทั้งหมดแล้วค่ะ ท่านประธาน แต่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาดิฉันได้เดินทางไปสังเกตการณ์การพิจารณาคดีของ ชาวบ้านที่ถูกทนายความผู้รับมอบอำนาจจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ฟ้องร้อง ซึ่งในขั้นตอนนี้ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ยังคงประสบปัญหากับการหาที่อยู่อาศัยใหม่และ การย้ายออกจากพื้นที่ส่งผลกระทบให้ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งศาลได้ค่ะ เนื่องด้วย การขาดการเข้าถึงและเยียวยาจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสถาบันการพัฒนา ชุมชน หรือ พอช. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ที่ได้รับมอบหมายจากมติของ ครม. ให้มีหน้าที่ช่วยเหลือจัดหาที่อยู่ อาศัยแก่กลุ่มชาวบ้านดังกล่าวค่ะ ความล่าช้าและความไม่ใส่ใจที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานรัฐ ที่ต้องให้ความช่วยเหลือส่งผลให้ชาวบ้านกว่า ๒๐-๓๐ คน ต้องถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ตามหมายศาลและนำตัวไปจำคุกจนกว่าจะยอมย้ายออกจากพื้นที่ตามคำสั่งศาล หลายคน ต้องใช้เงินที่มีอยู่ไม่มาก หาเช้ากินค่ำนะคะท่านประธานไปเพื่อประกันตัวเองออกมาในราคา ๒,๐๐๐ บาท เพื่อหาทางเจรจากับทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจากที่ดิฉันได้มอบหมายให้ผู้ติดตามลงไปให้ความช่วยเหลือพบว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่แม้แต่จะยอมออกหมายเลขรับหนังสือขอเจรจาให้ ชาวบ้านที่ส่งหนังสือไปด้วยซ้ำค่ะ ชาวบ้านในวันจันทร์ที่ผ่านมานะคะเป็นเพียงเคสแรกและ จะมีอีกหลายสิบเคสตามมา ตามที่ดิฉันได้ฟังคำพิพากษาของศาลท่านมีแนวคำพิพากษาที่จะ ให้โอกาสขยายระยะเวลาครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว จึงถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องด่วนอย่างมาก และมีอีกหลายสิบคนที่ต้องประสบปัญหาเดียวกันหากไม่ได้รับการแก้ไขและช่วยเหลือ อย่างทันท่วงทีในวันจันทร์นี้ ชาวบ้านผู้เดือดร้อนเหล่านี้และไม่ได้มีญาติพี่น้องที่อื่น ๆ ไม่สามารถย้ายเข้าไปอยู่ด้วยกันได้ พวกเขาหลายคนอาศัยอยู่ในที่ดินเหล่านี้ตั้งแต่บรรพบุรุษ และไม่มีเงินทุนหรือโอกาสที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น ตั้งแต่เกิดจนตายหลายคนรู้จักแต่พื้นที่ดินนี้ และอยู่ที่นี่ พวกเขาหมดหลังพิงในการหาที่อยู่อาศัยอื่นแล้วค่ะท่านประธาน นี่ยังไม่รวมถึง ปัจจัยสภาวะเศรษฐกิจที่สภาวะข้าวยากหมากแพงเช่นนี้ นับตั้งแต่วันที่ดิฉันได้พูดอยู่และ วันนี้นับถอยหลังไปเรื่อย ๆ ดิฉันขอนำเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอให้ช่วยติดตาม ต่อกรณีที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนเร็วที่สุดค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับ สมาชิกทุกท่านที่ได้ลงชื่อในการหารือก็เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วนะครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ๔๗๒ คน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขณะนี้ มีสมาชิกมาลงชื่อประชุมทั้งหมด ๒๙๘ ท่าน ครบองค์ประชุม ผมขอเปิดการประชุมและ ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผมขออนุญาตนำเรื่องของการปฏิญาณตนของท่านละออง ติยะไพรัช และ ท่านณณัฏฐ์ หงส์ชูเวช ขึ้นมาก่อน ท่านใดมีข้อขัดข้องไหมครับ สมาชิก ๒ ท่านจะได้ร่วม ประชุมกับเราหลังจากนี้เป็นต้นไปเลย ขออนุญาตนะครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

รับทราบประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไป ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่ง ที่ว่าง

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ตามที่ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง และ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ได้มีหนังสือ ขอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๗ เป็นเหตุให้ สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๐๑ (๓) ของรัฐธรรมนูญนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร จึงได้มีประกาศสภาผู้แทนราษฎร ประกาศให้ผู้มีชื่อในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของ พรรคเพื่อไทยเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน ตามมาตรา ๑๐๕ (๒) ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ลำดับที่ ๑ นางสาวละออง ติยะไพรัช ลำดับที่ ๓๒

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ลำดับที่ ๒ นายณณัฏฐ์ หงส์ชูเวช ลำดับที่ ๓๓

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

จึงขอแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เรื่องต่อมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปฏิญาณตนในที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๑๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๑๕ กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องปฏิญาณตนในที่ประชุม ก่อนเข้ารับปฏิบัติหน้าที่ ขอเชิญท่านละออง ติยะไพรัช และท่านณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช กรุณา ยืนขึ้นเพื่อกล่าวคำปฏิญาณตน โดยผมจะเป็นผู้กล่าวนำและโปรดระบุชื่อท่านในตอนต้น

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

“ข้าพเจ้า (ผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญนั่ง ยินดีต้อนรับครับ ดังนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปัจจุบันจะมีผู้ที่ปฏิบัติ หน้าที่อยู่ ๔๙๙ ท่าน และมีองค์ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง คือ ๒๕๐ ท่าน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ก่อนที่จะพิจารณาเรื่องต่อไปจะขอนำเรื่องการขอขยายระยะเวลาของ คณะกรรมาธิการตามระเบียบวาระที่ ๗.๒ และ ๗.๓ และเรื่องแจ้งที่ยังไม่ได้บรรจุระเบียบ วาระขึ้นมาพิจารณาก่อน สมาชิกท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ ไม่มี ผมขอดำเนินการ ตามนี้นะครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๗.๒ คณะกรรมาธิการแก้ปัญหาหนี้สิน ความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ ขอขยายระยะเวลาการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง ญัตติเพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาค่าครองชีพ สูงและปัญหาหนี้สินครัวเรือน เพื่อหาแนวทางแก้ไขการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบ ที่เกี่ยวข้องออกไปอีก ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ด้วยประธานคณะกรรมาธิการ นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ ได้มีหนังสือแจ้งดังนี้ เพราะฉะนั้นจะขอขยายระยะเวลาการพิจารณา ๓๐ วัน คือนับตั้งแต่วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗ เป็นการขอขยายครั้งที่ ๑ ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๐๖ มีสมาชิกท่านใดจะเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ ไม่มีนะครับถือว่าที่ประชุมเห็นชอบให้คณะกรรมาธิการขยายเวลาตามที่ร้องขอครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๗.๓ คณะกรรมาธิการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ขอขยายระยะเวลาอีก ๙๐ วัน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ด้วยประธานคณะกรรมาธิการ นายจักรัตน์ พั้วช่วย ได้มีหนังสือแจ้งว่าเพื่อให้ การพิจารณาศึกษาข้อมูลเป็นไปอย่างรอบคอบทุกมิติจะขอให้ขยายระยะเวลาการพิจารณา ศึกษาออกไปอีก ๙๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๗ เป็นการขอขยาย ครั้งที่ ๑ ตามข้อบังคับ ข้อ ๑๐๖ เพื่อประโยชน์ในการทำงานของคณะกรรมาธิการ มีสมาชิกท่านใด เห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ ถ้าไม่มี ถือว่าที่ประชุมเห็นชอบตามที่คณะกรรมาธิการร้องขอครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปเป็นกรรมาธิการสุดท้ายที่มีการขอยืดระยะเวลา คณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) เพื่อแก้ปัญหาการพนันผิดกฎหมายและเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ ขอขยาย ระยะเวลาการพิจารณาออกไปอีก ๙๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๗

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ด้วยประธานคณะกรรมาธิการ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ มีหนังสือแจ้งดังนี้ ก็จะเป็นการขอขยายออกไปอีก ๙๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ ๒๕ มกราคม เป็นไปตามข้อบังคับ ข้อ ๑๐๖ และเป็นการขอขยายครั้งที่ ๑ มีท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ ไม่มี ถือว่า ที่ประชุมอนุมัติตามที่กรรมาธิการร้องขอครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เรื่องที่ ประธานแจ้งต่อที่ประชุม เรื่องต่อไป ขออนุญาตนำสไลด์ขึ้นนะครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๑. เป็นการปรับปรุง Website ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในส่วนที่เรา เรียกว่าเป็นแฟ้มผลงาน สส. ก็คือเอาประวัติแล้วก็ผลการทำงานของท่านนะครับ แบ่งเป็น ข้อมูลที่มีการเปิดเผย โดยสอดคล้องไปตามกฎหมายอยู่แล้ว อันนี้จะปรากฏอยู่ในช่องที่ ๑ ด้านซ้าย ส่วนช่องที่ ๒ จะเป็นข้อมูลที่เปิดเผยได้เมื่อได้รับความยินยอมจากบุคคลผู้เป็น เจ้าของข้อมูล เมื่อท่านออกไปข้างหน้าที่มีจุดเซ็นชื่อก็จะมีเจ้าหน้าที่ในการอธิบาย ทีนี้ การกรอกของท่านและการอนุญาตของท่านจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหน้า Website ดังนี้นะครับ อันนี้เป็นแบบฟอร์มที่จะขอให้ท่านได้ Tick นะครับ แล้วก็ตอนนี้ช่องทาง ที่ประชาชนจะติดตามท่านส่วนใหญ่จะเป็นตาม Social Media หรือเป็นเบอร์โทรศัพท์ ที่ท่านสร้างขึ้นมาใหม่ก็กรุณา Update ลงไปด้วยนะครับ ทางประชาชนจะสามารถติดตาม ช่องทางการทำงานของท่านได้โดยตรง อันนี้จะเป็นรูปแบบก่อนปรับปรุงเป็นรูปของผมเอง ก็จะมีแค่ชื่อแล้วก็ไม่มีรายละเอียดใด ๆ แต่หลังจากปรับปรุงใหม่จะเป็นดังนี้ ก็จะมีชื่อ มีประวัติ แล้วก็มีผลการทำงาน เวลาที่ท่านอภิปราย หรือว่าตั้งกระทู้ หรือว่าท่านมีชื่ออยู่ ในกรรมาธิการชุดใดชุดหนึ่ง หรือมีคณะทำงาน ทุกอย่างจะโดน Update ลงไปที่หน้า Website นี้ พี่น้องประชาชนก็จะติดตามผลงานของพวกท่านได้ง่ายขึ้น ส่วนพวกท่านเองก็ ไม่จำเป็นต้องได้รับ CD หรือ DVD ที่จะบันทึกการตั้งกระทู้แยกเฉพาะหรือไม่ต้องไปตัดตาม YouTube ด้วยตัวเอง ก็จะมา Download ที่ Link ที่นี่ได้เลย ส่วนเรื่องที่อาจจะเป็นประเด็น ที่ต้องทำความเข้าใจนิดหนึ่งก็คือเรื่องของการเปิดเผยรายชื่อของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ แล้วก็ผู้ช่วย สส. ก็ต้องเรียนว่าเป็นไปด้วยเจตนาที่ไม่ให้ใครสามารถที่จะแอบอ้างว่าเป็นผู้ช่วย สส. แล้วไปเรียกรับผลประโยชน์หรือไปกระทำการผิดกฎหมายใด ๆ ได้ รวมถึงอันที่ ๒ ก็คือ เราจะสามารถ Update ทีมงานที่เราจะไม่ต้องเข้าไปที่ตัวเจ้าหน้าที่โดยตรงอีกต่อไปแล้วก็จะ Update ได้ที่ Website นี้ ซึ่งจะมีการ Update รายชื่อ ๑ เดือนต่อ ๑ ครั้ง แล้วผู้ช่วย ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการทั้งหมดจะมีการเปิดเผยแค่เพียงรายชื่อและนามสกุล แต่จะไม่มี การเปิดเผยรายละเอียดอื่น ๆ เลย ก็จะเป็นแค่ชื่อกับนามสกุลเท่านั้นอันนี้ก็แล้วแต่ท่านว่า จะยินยอมให้เปิดเผยหรือไม่ แต่คิดว่าถ้าเป็นการยินยอมก็จะเกิดผลประโยชน์ต่อความ โปร่งใสแล้วก็การทำงานของพวกท่านเองด้วย อันนี้ก็เป็นเรื่องแจ้งให้ทราบเท่านี้ครับ แฟ้มผลงาน สส. มันก็จะบรรจุไปจนยุบสภาเลยหรือว่าสภาสิ้นสุดอายุ ท่านใดมีผลงานใด ๆ หรือถ้าแฟ้มผลงาน สส. ซึ่งเราเชื่อมระบบ API หลังบ้านไม่ได้มีข้อมูลของท่านแต่อย่างไร ก็ช่วยไปบอกทางเจ้าหน้าที่ที่ฝ่ายสารสนเทศด้วย เราก็จะได้ Update ผลงานของท่านให้กับ พี่น้องประชาชนได้ทราบอย่างที่เป็น Update ที่สุด

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๒.๑ รับทราบการพิจารณารายงานของวุฒิสภาจำนวน ๓ เรื่อง

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ด้วยสำนักเลขาธิการวุฒิสภาได้มีหนังสือแจ้งว่าวุฒิสภาได้พิจารณา รับทราบรายงาน ๒ ฉบับ ดังนี้

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๑. ด้วยในคราวประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันจันทร์ที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๗ ได้รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของ กองทุนพัฒนาน้ำบาดาล สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๒. ด้วยในคราวประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันอังคารที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๗ ได้รับทราบรายงาน ๒ เรื่อง เรื่องที่ ๑ รายงานกิจการ ประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและการนำเข้า แห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ และเรื่องที่ ๒ รายงานประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และสำนักงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จึงขอแจ้งให้ที่ประชุมทราบครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

มีข้อมูลที่สื่อสารผิดพลาดนะครับ ในส่วนของการขยายของคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) เป็นการขยาย ๓๐ วัน ไม่ใช่ ๙๐ วัน ขอบันทึกไว้ในที่ประชุมและแจ้งให้กับ ที่ประชุม แล้วก็กรรมาธิการทราบครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ทางสภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะผู้บริหารครูและนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของห้องเรียนต้นแบบโรงเรียนสายบุรีอิสลามวิทยา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ยินดีต้อนรับครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๒.๒ รับทราบรายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี งบประมาณ ๒๕๖๕

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๒.๓ รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๒.๕ รับทราบรายงานการตรวจสอบสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ประจำปี งบประมาณ ๒๕๖๔ หน่วยงานที่จะเข้าชี้แจงต่อที่ประชุมขออนุญาตเลื่อนการชี้แจงรายงาน ดังกล่าวต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรออกไปก่อน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะรับทราบรายงานใน ๒.๔ รายงานเดียวนะครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๒.๔ รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ด้วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทราบ ตามมาตรา ๒๔ วรรคสอง ก็จะขอเชิญทาง ผู้แทนจากหน่วยงานเข้าร่วมชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุมนะครับ ตอนนี้มีสมาชิกที่จะมีข้อติด ใจซักถามทั้งหมด ๔ ท่าน เป็นฝ่ายรัฐบาล ๓ ท่าน แล้วก็ฝ่ายค้าน ๑ ท่าน ขอเชิญผู้มีรายชื่อ ดังต่อไปนี้เข้าร่วมชี้แจงในที่ประชุมครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๑. นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๒. นายโอภาส เที่ยงงามดี ผู้อำนวยการสำนักบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือ เกษตรกรและรับเรื่องราวร้องเรียน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๓. นางสาวพิรุฬลักษณ์ หีบแก้ว นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๔. นางสาวจินตนา โกมลหิรัญ นักวิชาการการเงินและบัญชีชำนาญการ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๕. นายศรัณย์กรณ์ เรืองดิษฐ์ นิติกร

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๖. นายสรณลักษณ์ ศิริวรรณางกูล นิติกร

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๗. นางสาวจิราพร เมืองรมย์ นักวิชาการการเงินและบัญชี

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณที่ให้เกียรติมาชี้แจงในวันนี้นะครับ ในช่วงต้นจะขอทางผู้แทนจาก หน่วยงานได้สรุปรายงานแล้วก็ประเด็นสำคัญให้กับทางสภาทราบ แล้วต่อมาก็จะเป็น การอภิปรายของทางสมาชิก ขอเชิญผู้แทนจากหน่วยงานครับ

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

สวัสดีครับ ผม นายปรีชา พันธุ์วา ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผมได้รับ มอบหมายและได้รับบัญชาจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า และท่านปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านประยูร อินสกุล ให้มา นำเรียนเสนอรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชีและงบการเงินของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ผมขออนุญาตสรุปข้อมูลทั่วไปโดยสังเขปของ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรนะครับ มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๕๑๗ และมีพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พุทธศักราช ๒๕๕๔ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๔ ให้จัดตั้งกองทุนในสำนักงานปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินตามมาตรา ๖ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและ ใช้จ่ายช่วยเหลือหรือส่งเสริมเกษตรกรในกิจการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๗ สำหรับเงินและ ทรัพย์สินที่กำหนดไว้ในมาตรา ๖ คือ

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

๑. เงินและทรัพย์สิน และหนี้สินที่โอนมาจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรตาม พระราชบัญญัติเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๗

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

๒. เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตั้งแต่ จัดตั้งกองทุนมาก็ยังไม่ได้รับเงินตัวนี้

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

๓. เงินค่าธรรมเนียมการส่งออกและธรรมเนียมการนำเข้าที่กำหนดไว้ ในพระราชบัญญัติฉบับนี้

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

๔. เงินกู้โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

๕. ดอกผลของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

๖. เงินหรือสินทรัพย์อื่นที่มีผู้มามอบให้

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

วัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรมีวัตถุประสงค์

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

๑. ส่งเสริมการผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

๒. การส่งเสริมการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

๓. การรักษาเสถียรภาพของราคาและการจำหน่ายผลผลิตเกษตรกรรมขั้นต้น หรือผลิตภัณฑ์อาหาร

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

๔. การดำเนินการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อเป็นการป้องกันและขจัดภัยอันจะ เป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

๕. การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปหรือการตลาดและผลิตผล เกษตรกรรมขั้นต้น

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

๖. การติดตามดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับการช่วยเหลือและส่งเสริมจาก กองทุน

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

ขออนุญาตนำเรียนถึงองค์ประกอบของกองทุนนะครับ ตามมาตรา ๑๔ มีท่านปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน มีกรรมการทั้งสิ้น ๒๓ ท่าน ประกอบด้วยหน่วยงานของรัฐ ๑๓ คน ผู้ทรงคุณวุฒิอีก ๑๐ คน ทางด้านเกษตรกรนะครับ และตามมาตรา ๒๑ ให้คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ตั้งอนุกรรมการ ซึ่งทางกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ก็ได้ตั้งคณะอนุกรรมการ ๒ อนุ อนุกรรมการแรกคือดูแลทางจังหวัด ภาคเหนือและภาคใต้ อนุกรรมการที่ ๒ ภาคกลางและภาคอีสานสำหรับการอนุมัติ การช่วยเหลือ ตามมาตรา ๒๒ คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์มีอนุมัติโครงการได้ไม่เกิน ๑๐๐ ล้านบาท หากเกิน ๑๐๐ ล้านบาทต้องเป็นอำนาจของ ครม. สำหรับสถานการณ์เงิน ของกองทุน สิ้นสุด ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ กองทุนมีเงินสดทั้งสิ้น ๓,๕๐๐ ล้านบาทเศษ มีลูกหนี้ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรทั้งหมดเป็นหน่วยงานราชการ ๙ หน่วย มีโครงการ ทั้งหมด ๒๘ โครงการ เป็นองค์กรเกษตรกรซึ่งประกอบด้วยวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ การเกษตรอีก ๑๒ หน่วยงาน รวมทั้งหมดที่ได้รับอนุมัติไปแล้ว ๕๑ โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น ๓,๑๐๐ ล้านบาทเศษ และกองทุนมีรายได้ค้างรับอยู่ ๒๔๕ ล้านบาทเศษ เมื่อสิ้นปี ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ กองทุนมีสินทรัพย์ รวมทั้งสิ้น ๖,๙๐๐ ล้านบาทเศษ สำหรับ ในปี ๒๕๖๖ กองทุนได้อนุมัติเงินให้กับวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ไปทั้งหมด ๒๘ โครงการ เป็นเงิน ๑,๖๐๐ ล้านบาทเศษ สำหรับในปี ๒๕๖๖ กองทุนมีรายได้จำนวนทั้งสิ้น ๓๖ ล้านบาท มีรายจ่ายอยู่ที่ ๒๒ ล้านบาท มีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายอยู่ ๑๓ ล้านบาทเศษ และรายงาน ดังกล่าวสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่มีข้อทักท้วงและข้อสังเกตแต่ประการใด จึงขออนุญาต กราบเรียนมาด้วยความเคารพครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ ต่อไปเป็นการอภิปรายของทางสมาชิก ตอนนี้ยังไม่ปิดเข้าชื่อนะครับ มีส่ง รายชื่อมาทั้งหมด ๕ ท่าน ฝ่ายค้าน ๒ ท่าน และฝ่ายรัฐบาล ๓ ท่าน ท่านใดจะลงชื่อ ก็สามารถเข้ามาได้เลยนะครับ จะเรียนเชิญท่านแรก เชิญท่านชุติมา คชพันธ์ ครับ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ชุติมา คชพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จากภาคใต้ จังหวัดพัทลุง ก่อนอื่นดิฉันอยากจะบอกว่าดิฉันดีใจมาก ๆ ที่ประเทศเรามีกองทุนดี ๆ อย่าง กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพราะกองทุนนี้เป็นกองทุนที่มีประโยชน์และช่วยเกษตรกร ได้เยอะมาก ดิฉันมั่นใจเช่นนั้นนะคะ แต่เมื่อดิฉันอ่านรายงานการเงินย้อนหลัง ดูรายงาน การทำงานย้อนหลังหลายปีที่ผ่านมาดิฉันก็ยังคงเกิดคำถามค่ะ ดิฉันสงสัยมาก ๆ เลยว่า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรนี้สงเคราะห์ใครกันแน่ กองทุนนี้ทั่วถึงและเท่าเทียมหรือไม่ และอนาคตมีวางไว้อย่างไรบ้าง

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ดิฉันสงสัยอีกประการหนึ่งก็คือ สัดส่วนการให้กู้เงินของเกษตรกรที่มีอยู่ตอนนี้ยังน้อยเกินไป ควรจะให้มากกว่าการกู้ผ่าน กรมและกระทรวงต่าง ๆ ควรจะให้เกษตรกรเสนอโครงการกับกองทุนโดยตรง แทนที่จะ เสนอผ่านกระทรวง กรมต่าง ๆ เหตุผลที่ดิฉันต้องการให้เป็นแบบนั้นก็เพราะว่าหนี้สูญ ส่วนใหญ่มาจากกระทรวงต่าง ๆ นี่ละค่ะ มาจากกรม มาจากหน่วยงานต่าง ๆ ท่านก็น่าจะทราบดีว่าเวลาที่ท่านให้กู้ไป ท่านให้กรมปศุสัตว์ ให้กระทรวงมหาดไทย ให้หน่วยงานไหนก็ตาม ท่านเก็บคืนมาได้แค่ไหน ท่านน่าจะเห็นตัวเลขกันอยู่แล้ว แต่เมื่อ เราไปเทียบนะคะ เราให้วิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ กู้ ไม่น่าเชื่อเลยค่ะ เขากลับคืนได้มากกว่า ดิฉันเลยสงสัยว่าเกณฑ์ในการให้เหมือนกันหรือไม่ เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเกณฑ์ในการ พิจารณาผ่านกรม กองต่าง ๆ กระทรวงต่าง ๆ ที่ให้ไปจะเหมือนกับผ่านคณะกรรมการของ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร อันนี้ดิฉันสงสัยนะคะ เพราะหนี้สูญเยอะเหลือเกิน

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการต่อมาที่ดิฉันมีข้อสังเกตก็คือว่าในปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมาเมื่อดูปริมาณ ที่ได้มากที่สุดคือปศุสัตว์ ได้มากสุดถึง ๒๔ โครงการจาก ๓๐ โครงการ เยอะมากนะคะ แล้วโครงการอื่น ๆ ทำไมได้น้อยจังเลย ต่อมาเมื่อเราไปดูวงเงิน ดิฉันเห็นวงเงินที่ได้อยู่ที่ ประมงมากที่สุด คือ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดเลย แล้วก็เมื่อเราดูอีกจริง ๆ พืชสวน พืชไร่ น้อยเกินไปค่ะ เป็นแค่ ๑ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง และเมื่อดิฉันไปดู เทียบเลยนะคะ ปี ๒๕๖๕ และปี ๒๕๖๔ เทียบกัน ดิฉันก็เกิดคำถามอีกค่ะ ก็คือว่าในส่วนของปศุสัตว์อย่างที่ ท่านเห็นในตัวอย่างนี้ ในปศุสัตว์ได้ไปในปี ๒๕๖๔ ก็เป็นปศุสัตว์เยอะที่สุด พอปี ๒๕๖๕ วงเงินจากที่เคยได้ปี ๒๕๖๔ ๕๐ ล้านบาท เพิ่มขึ้นไปเป็น ๗๐๐ กว่าล้านบาท แต่คราวนี้ ไปหนักที่ประมง มีอยู่โครงการหนึ่งได้ไป ๕๐๐ ล้านบาท อันนี้ก็อีกแล้วค่ะ เป็นสิ่งที่ดิฉัน สงสัยอีกแล้วว่าให้กรมประมงตั้ง ๕๐๐ ล้านบาท คือเป็นโครงการเสริมสภาพคล่องให้กับ ผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ดิฉันขอบอกเลยว่าดิฉันไม่ได้มีปัญหากับการให้เงินกับผู้เลี้ยงกุ้ง ดิฉันยินดี หากทางพี่น้องผู้เลี้ยงกุ้งเกิดมีปัญหาด้านสภาพคล่อง อันนี้ไม่เป็นอะไร แต่ดิฉันก็ยังสงสัยว่า ทำไมหนักไปทางนี้เยอะเหลือเกิน ประเทศนี้ไม่ได้มีแค่ผู้เลี้ยงกุ้งนะคะ ประเทศนี้ยังมีผู้เลี้ยงหมู ถ้าท่านบอกว่าท่านช่วยเขาเพราะเขาขาดสภาพคล่อง แล้วพี่น้องผู้เลี้ยงหมูของเรา ฟาร์มหมู ของเราก็ขาดสภาพคล่องเช่นกัน ชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ ขาดสภาพคล่องเช่นกัน แล้วทำไม ท่านเทไปโครงการเดียวตั้ง ๕๐๐ ล้านบาท อันนี้ดิฉันสงสัยมาก ๆ เลยนะคะ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ต่อมาค่ะ เมื่อดิฉันไปดูต่อในเรื่องของเงินกู้ ปี ๒๕๖๕ ปรากฏว่าเงินกู้ระยะยาว มีมากขึ้นแปลว่าอะไรคะ ยิ่งยาวยิ่งเสี่ยงสูง ท่านก็เห็นอยู่แล้วว่าจำนวนที่ยังเก็บเงินไม่ได้ มากตั้งเท่าไร ยกตัวอย่างในนี้ ดำเนินคดีบังคับคดีไป ๒๑ โครงการ ๓๗๘ ล้านกว่า ๆ เป็นไป ได้ว่าหนี้สูญอาจจะมากขึ้นอีก แล้วโครงการเหล่านี้บางโครงการตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ นี่ปี ๒๕๖๖ แล้ว ๓๐ ปีแล้วท่านยังค้างคากันอยู่เลย และอย่างที่บอกไปส่วนใหญ่ก็มาจากหน่วยงานต่าง ๆ กรมต่าง ๆ กระทรวงต่าง ๆ เยอะมากเลย แล้วที่มีปัญหาอีกก็คือว่ากระทรวงต่าง ๆ เมื่อมี ปัญหาเข้าท่านก็ไปฟ้องบังคับคดีกับเกษตรกรอีก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรากำลังแก้กันอยู่เราแก้ ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงทางหรือไม่ ไม่ได้แก้ที่ต้นตอหรือไม่ ดิฉันอยากจะฝากให้ไปดูด้วยนะคะ เพราะว่ามันไม่ควรจะเป็นหน่วยงานที่ไปฟ้องร้องหรือว่ากระทรวงไหนไปฟ้องร้องเกษตรกร เสียเอง เราตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไม่ใช่หรือคะ ดิฉันอยากจะให้ท่านย้อนกลับไปดู ประวัติเหล่านี้แล้วก็ช่วยกันแก้ปัญหาให้ดีขึ้นจริง ๆ ให้ตอบโจทย์เกษตรกรจริง ๆ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ต่อมาประการสุดท้ายที่ดิฉันอยากจะฝากไป คือดิฉันไม่แน่ใจเลยว่าทุกวันนี้ เกณฑ์ในการคัดเลือกของท่านเป็นอย่างไร ดิฉันไปดูรายชื่อ ดูโครงสร้างของคณะกรรมการ ดิฉันชื่นชมและเชื่อมั่นในวิจารณญาณของคณะกรรมการทุกท่านนะคะ เรียนด้วยความเคารพ ในที่นี้ แต่ดิฉันก็ยังสงสัยอยู่ดี เพราะดูจากผลแล้วมันดูย้อนแย้งกันเหลือเกิน ประการต่อมา ที่ดิฉันอยากจะฝากไว้ก็คือว่ากองทุนได้คำนึงถึงสินค้าเกษตรที่มีอยู่ว่ามีอนาคตมากน้อย แค่ไหน ท่านได้ให้ทุนความช่วยเหลือกับกลุ่มนั้นมากน้อยแค่ไหน และได้คำนึงถึงการลด สินค้านำเข้าและเพิ่มการส่งออกหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่นสินค้าเกษตรบางตัวเราต้องนำเข้าอยู่ เยอะมาก กลุ่มนี้ดิฉันแทบไม่เห็นรายชื่อที่ท่านให้เงินกู้เลย ในขณะเดียวกันที่เราสามารถ ส่งออกได้มีศักยภาพดิฉันก็เห็นน้อยเหลือเกิน เพราะฉะนั้นอยากจะฝากว่าในการให้เงินกู้ นอกจากให้ในประเภทที่ว่าเหมือนซ่อม ซ่อมที่มีปัญหาอยู่แล้ว ท่านสร้างด้วยได้ไหมคะ คือให้ กลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพ กลุ่มเกษตรที่มีศักยภาพโดยเฉพาะเกษตรแปรรูป หรือจะเป็นของสด ก็แล้วแต่ที่มีศักยภาพให้เงินทุนเขาเยอะ ๆ แล้วก็ที่มีศักยภาพในประเทศอยู่แล้ว มีความ ต้องการอยู่แล้วที่เป็นพืชเศรษฐกิจหรือพืชแห่งอนาคตที่มีความต้องการซื้อในประเทศอยู่แล้ว ก็ตามก็ส่งเสริมกันเยอะ ๆ ดิฉันขอยกตัวอย่างโกโก้ โกโก้มีความต้องการสูงมาก ตอนนี้ธุรกิจ เครื่องดื่มกำลังไปได้ดี ท่านรู้ใช่ไหมคะว่ามีการนำเข้าโกโก้แต่ละปีสูงมาก เหตุใดเรายังต้อง นำเข้าอีกคะ ทำไมเราไม่ส่งเสริมเกษตรกรในประเทศเราให้ปลูกให้เยอะ ๆ ถ้าเขาไม่มีทุน ท่านก็ให้เขามากู้เงินไปสิคะ ถ้าท่านบอกว่าตอนนี้ที่เรามีตัวเลขอยู่แค่นี้เพราะว่าเราให้แค่นี้ เขาส่งเรื่องมาน้อย เขาส่งโครงการมาน้อย คำถามคือท่านประชาสัมพันธ์น้อยไปหรือไม่ หรือเกณฑ์ของท่านไม่ตอบโจทย์เขาหรือไม่ หรือจริง ๆ แล้วท่านต้องทบทวนหรือไม่ ทำไมถึงไม่สามารถที่จะตอบโจทย์เกษตรกรทุกกลุ่มได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่จะเป็นพืชเศรษฐกิจที่จะช่วยประเทศเราได้ในอนาคต เพราะฉะนั้นดิฉัน คิดว่าเราคงต้องมานั่งทบทวนกันถึงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ แล้วก็ต้องมองไปถึงอนาคตมากขึ้น นอกจากจะให้เงินเพื่อซ่อมอย่างที่ดิฉันบอก ท่านต้องให้เงินกู้เกษตรกร เพื่อสร้าง เพื่อให้ เศรษฐกิจของประเทศนี้ดีขึ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานรากซึ่งก็มาจากเกษตรกรของเรานี่ล่ะ นโยบายเกษตรเพิ่มมูลค่าก็มีแล้วสำหรับรัฐบาลนี้ ดิฉันเห็นกองทุนเกษตรกรก็ยังคงทำงาน ไม่สอดคล้องกันอยู่ ดิฉันขอฝากไว้เพียงแค่นี้ ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับ เชิญท่านเทอดชาติ ชัยพงษ์ ครับ

นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม เทอดชาติ ชัยพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๕ พรรคเพื่อไทยครับ ท่านประธาน ผมเห็นหัวข้อการรายงานของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สำนักปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์แล้วก็มีความสนใจที่จะศึกษาในรายละเอียด แล้วก็ได้พูดถึงในประเด็น ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่เป็นข้อซักถามและปัญหาจากพี่น้องเกษตรกรหลายเรื่อง

นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ

ประเด็นแรก การมีกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะเรา จะได้มีทุนให้กับเกษตรกรในการดำเนินการเกี่ยวกับผลผลิตของเกษตรกรไทย ท่านประธาน ประเทศไทยเราเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นสุวรรณภูมิ เพราะฉะนั้นพื้นที่ของประเทศไทยจึงเป็น พื้นที่เพาะปลูก เราจึงมีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องของพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่าชาวนา ชาวไร่ ชาวสวนที่เป็นเกษตรกรทั้งหมด ฉะนั้นการมีกองทุนที่จะให้เกษตรกรเหล่านี้ได้มา ประกอบอาชีพให้ประสบความสำเร็จ ให้ต่อยอดผลผลิต ให้มีรายได้ที่สูงขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก แต่การที่เรามีกองทุนแล้วยังมีกลุ่มเกษตรกรอีกหลายส่วน ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนเหล่านี้ เพราะฉะนั้นทำอย่างไรครับท่านประธานที่เราจะให้ทาง เกษตรกรทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนเหมือน ๆ กันตามความต้องการและปัญหาที่เขา ค้นพบ จากรายงานฉบับนี้เราจะเห็นว่าสินทรัพย์หมุนเวียนนั้นลดลงในปี ๒๕๖๕ ประมาณ พันกว่าล้าน กองทุนยอดคงเหลือนั้นมี ๓,๕๐๐ กว่าล้านบาท แต่เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๖๔ นั่นก็แสดงว่าเรายังมีสถานะของกองทุนที่มั่นคงและสามารถที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรได้ อย่างไรก็ตามการเข้าถึงแหล่งทุนของเกษตรกรทุกคน รวมถึง แผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ที่ทางกองทุนได้นำเสนอในรายงานฉบับนี้ผมก็ยังเห็นว่ามันยังไม่ครอบคลุมและทั่วถึง เพราะฉะนั้นกองทุนนี้ไม่ได้ตั้งมาปี ๒ ปี แต่ตั้งมานานแล้ว เป็นกองทุนที่สามารถที่จะ ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรได้ ฉะนั้นทำอย่างไรที่เราจะให้กองทุนเหล่านี้ขยายผลไปยังพี่น้อง เกษตรกรได้อย่างทั่วถึง ในฤดูกาลผลิตต่าง ๆ ฤดูฝนเราทำนา เรามีผลไม้ในแต่ละภูมิภาค ตามฤดูกาลที่อุดมสมบูรณ์ ถ้าเรามีส่วนที่จะช่วยเกษตรกรเหล่านั้นได้ มีทุนที่จะส่งเสริม การผลิต ผมเชื่อว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศมันจะลดลงกับพี่น้องเกษตรกร อย่างไร ก็ตามเราก็ถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ แล้วต่อไปนี้ก็จะเหลือแต่กระดูกจริง ๆ เพราะฉะนั้นทำอย่างไร หลายปีที่ผ่านมานี้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำแล้วก็ไม่เสถียร ไม่มี กลไกที่เหมาะสมในการที่จะช่วยเหลือ การที่มีทุนให้เขาเข้ามาดำเนินการนั้นจึงเป็นเรื่อง สำคัญ ผมสนใจตรง Output Outcome ของการทำงานของกองทุนตรงนี้ เพราะฉะนั้น กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร Output สำคัญที่สุด ถ้าเราดำเนินการโครงการต่อปีที่เราเสนอ แผนงานหรือโครงการไปยังเป็นกลุ่มเดิม ยังมีเท่าเดิมมันก็ไม่สามารถขยายผลได้และ ไม่ครอบคลุมอย่างทั่วถึง และ Outcome ที่ผ่านมาเราก็ยังไม่สามารถจะช่วยเหลือให้พี่น้อง เกษตรกรมีรายได้ มีผลผลิตที่สูงขึ้นได้ นั่นจึงเป็นโจทย์ใหญ่นะครับ เรามีความอุดมสมบูรณ์ในบ้านเมือง เรามีพี่น้องเกษตรกรที่เขาไม่มีปัญหาในการที่จะต่อรอง กับภาครัฐ แต่เขามีปัญหาที่จะบอกกล่าวกับพี่น้องที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนหลายจังหวัด ที่พูดแล้วพูดอีก พูดซ้ำแล้วซ้ำอีก ปีแล้วปีเล่าก็ยังคงเดิม เปลี่ยนวิธีคิดได้แล้วครับ กองทุน สงเคราะห์เกษตรกรครับ เราจะต้องให้พี่น้องเกษตรกรนั้นได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง แล้วก็ต้องดูด้วยว่าใครที่ได้อยู่ในกองทุนแล้วมียอดกู้ต่าง ๆ และมีปัญหาเรื่องการชำระหนี้ เราจะทำกลไกอย่างไรที่ให้เขาไม่ผิดนัด ทำกลไกอย่างไรไม่ให้เขาได้รับการฟ้องร้อง มันเหมือนกับเป็นการซ้ำเติมเขาเหล่านั้น แน่นอนครับ การกู้เงินมาลงทุนย่อมจะต้องคืนเขา แต่เมื่อผลผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ นั้นผลผลิตไม่ได้ราคาดีแล้วจะเอาอะไรมาคืน นี่คือ ปัญหาใหญ่ เพราะฉะนั้นกลไกที่เราจะต้องทำให้การจ่ายคืนยอดหนี้ต่าง ๆ และทำให้ ประชาชนนั้นได้มีผลผลิตที่สูงขึ้น มีรายได้ที่สูงขึ้นนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะฉะนั้นถ้าเรายัง ซ้ำเติมเขาอยู่ บ้านเราก็จะอยู่กันอย่างนี้ละครับ ผมเองก็คงยอมไม่ได้ในฐานะที่เป็นผู้แทนของ พี่น้องเกษตรกรทั้งหมด ผมก็ได้คุยกับพี่น้องผมว่ามีกองทุนมากมายครับ กองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรก็เป็นอีก ๑ กองทุน ฉะนั้นเราจะทำอย่างไรให้พี่น้องทั้งหมดนั้นได้เข้าถึงกองทุน เหล่านี้ ได้เข้าถึงแหล่งทุนเหล่านี้ได้ ฉะนั้นผมดูในรายงานนี้ผมอยากทราบผลการดำเนินงาน อีกเรื่องหนึ่งก็คือ การดำเนินคดีระหว่าง อ.ต.ก. กับลูกหนี้เกษตรกรนั้นจบอย่างไร แล้วจะมี แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร ทั้งคนที่คืนหนี้ได้และไม่คืนหนี้ได้ แล้วมีวิธีการอย่างไรที่จะช่วย ให้เขาเหล่านั้นได้คืนหนี้ได้ ก็จะอยู่กันแบบ Win Win ทั้งกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ทั้งพี่ น้องเกษตรกรและความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเรื่องของการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องของ งานอาชีพด้านการเกษตรซึ่งเป็นผลผลิตหลักของประเทศไทย ผมมีข้อเสนอแนะครับ

นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ

ประการแรก กองทุนสงเคราะห์เพื่อเกษตรกรนั้นเราต้องทำอย่างไรให้ ประชาชนพี่น้องเกษตรกรได้เข้าถึงแหล่งทุนเหล่านี้อย่างทั่วถึง แผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการมาลองไป Re ดูครับ ถ้าทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จงบประมาณใหม่ ปีใหม่ เราทำแบบใหม่ได้ไหม เราทำวิธีการใหม่ได้ไหม ให้พี่น้องประชาชนได้เข้าถึงแหล่งทุนเหล่านั้น

นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ กลไกตลาด ถ้าเรามีส่วนช่วยเหลือที่จะสร้างกลไกตลาด อย่างแท้จริงให้เขาได้มีผลผลิตที่มีราคาที่สูงขึ้น มีรายได้ที่มากขึ้นก็จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ และฐานะของเขา แล้วท้ายที่สุด การนำเข้าพืชผลต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อผลผลิตของพี่น้อง เกษตรกร อันนี้ก็เป็นกลไกสำคัญที่เราจะต้องกลับมาทบทวน ผมอยากเรียนว่ากองทุน สงเคราะห์เกษตรกรมีประโยชน์ แต่อย่างไรก็ตามเราจะทำอย่างไรให้กองทุนเหล่านี้ให้พี่น้อง ประชาชน ให้พี่น้องเกษตรกรได้เข้าถึงแหล่งทุนเหล่านี้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ฝากกองทุนไว้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านองค์การ ชัยบุตร ครับ

นายองค์การ ชัยบุตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม องค์การ ชัยบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล มุกดาหารการส่งเข้าประกวดครับท่านประธาน ต่อรายงานของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ผมจำได้ว่าคราวที่แล้วผมเองก็ได้เป็นคนเสนอแนะแล้วก็ได้ติติงไปหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ที่มาของเงิน ของเงินนี่ผมย้ำตลอดเวลาว่ามันคือเงินเกษตรกรนะครับ ฟังจากท่านรายงาน แล้วว่ารัฐบาลก็ไม่เคยให้เลยตั้งแต่ตั้งกองทุนมาในปี ๒๕๑๗ นี้ ผมเห็นก็แปลก เมื่อมันเป็น เงินเกษตรกรจากการนำเข้า ส่งออก เกือบ ๓๐ ปีที่แล้ว มันเป็นสินค้าเกษตรทั้งหมด แต่เงิน ส่วนนี้ได้มาอยู่ในกำกับของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในนามกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ที่เปลี่ยนมาแล้ว ๒-๓ รอบ ประเด็นนี้เป็นประเด็นอ่อนไหวครับท่านประธาน ผมก็เห็นใจ เจ้าหน้าที่ เมื่อปล่อยไปแล้ว เก็บไม่ได้ การติดตามก็ไม่มี เพราะ ๑. ผ่านหน่วยงานในพื้นที่ เช่น จังหวัด กรม กองต่าง ๆ กู้ไปแล้วไปผ่านให้องค์กรเกษตรกรก็เกิดปัญหาเรื่ององค์กร ไม่เข้มแข็งบ้าง อะไรบ้าง ส่วนหนึ่งก็เป็นความหวังดีของเจ้าหน้าที่ว่าอยากจะให้องค์กรต่าง ๆ พอได้มีเงินหมุนเวียน เช่น โครงการจัดหาปุ๋ย ตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ ปี ๒๕๓๙ ปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมายังมียอดค้างชำระอยู่ ตามความเห็นของผมแล้ว ท่านรายงานมาก็ถูกต้องเพราะว่าท่านมีหน้าที่รายงาน แต่การที่จะชำระสะสางเรื่องค้างเก่า ซึ่งมันเป็นหนี้ ถ้าความเข้าใจของผมว่าหนี้จะสูญแล้ว อย่างไรก็ตามไม่ได้หรอกครับ กลุ่มละ ๑-๒ ล้านบาทนี้อยากให้ท่านมีแนวทางที่ชัดเจน ในรายงานนี้เห็นท่านรายงานว่าจะจำหน่าย หนี้สูญนี้ ๑ องค์กรเท่านั้น แต่ดีขึ้นมามาก อันนี้ชมเชย เที่ยวที่แล้ววุ่นวายกว่านี้ ดูในรายงาน แต่อันนี้ดีขึ้นมาก แสดงว่าท่านนำข้อที่สภาติติงเที่ยวที่แล้วไปทำปรับปรุงมาในปี ๒๕๖๕ แต่ส่วนที่อยากจะเพิ่มเติมคืออยากเห็นกองทุนนี้ให้เกษตรกรได้เข้าถึงมาก ผมเข้าใจว่า ปัจจุบันนี้การเข้าถึงกองทุนเกษตรกรมันเป็นลักษณะเกษตรกรที่คุ้นเคยกันมันเอื้อต่อกัน และไปเอื้อกับกลุ่มผลประโยชน์ทางการเกษตรด้วย อันนี้เท็จจริงอย่างไรผมไม่ทราบ แต่มองดูมันจะเป็นอย่างนั้น ถ้าปล่อยเงินกู้ที่มีประสิทธิภาพจริง ๆ กลุ่มต่าง ๆ เขาก็ต้องมี ความสามารถที่จะชำระเงินกู้ได้นะครับท่านประธาน ในส่วนต่อไปขั้นตอนยุ่งยากมาก กว่าจะ เข้าถึงแหล่งเงินทุนยุ่งยากมาก มีหลายขั้นตอน ๑. ทำไมต้องให้จดวิสาหกิจชุมชน มันมี ข้อจำกัดในทางปฏิบัติ และข้อปฏิบัตินั้นอาจจะไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในสถานการณ์ ปัจจุบันด้วยครับท่านประธาน กู้ไปแล้วมันอยู่ในกรอบ ต้องใช้เงินตามกรอบ ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งข้อเท็จจริงกับสถานการณ์จริงมันต่างกัน มันก็เลยมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจ กู้ไปแล้ว ไม่สามารถที่จะทำให้เม็ดเงินกองทุนนั้น เงินกู้ที่ได้รับอนุมัตินั้นงอกเงยตามวัตถุประสงค์ ตามความต้องการของกลุ่ม อันนี้ก็เป็นปัญหาหนึ่งครับท่านประธาน ฝากท่านที่มาชี้แจงได้หา แนวทาง ผมอยู่กับเกษตรกรมานานผมก็รู้ว่ามันจะเปลี่ยนไปทางไหน สำคัญที่กลุ่ม ถ้ากลุ่มดี ก็โอเค ถ้ากลุ่มไม่ดีก็พัง พังทั้งกลุ่ม กลุ่มมีทั้งคนดีและไม่ดี เราก็ตรวจสอบไม่ได้ว่าใครดี ใครไม่ดี ผมก็ยอมอยู่เหมือนกัน บางคนก็มาหาผลประโยชน์จากกลุ่ม ได้แล้วก็ไป อันนี้ก็เป็น ปัญหาของกรรมการกลุ่มด้วย ฝากท่านว่ามันมีช่องทางใหม่ไหมที่จะให้เกษตรกรเข้าถึง อาจจะรวมกันไม่ถึง ๑๐ คน ท่านประธาน เอา ๕ คน เม็ดเงินก็จะน้อยลงมาเอา ๕ คน ตายเป็นตาย กู้ไปแล้วต้องคืนนะ ต้องให้ได้นะ อย่างนี้มันจะตามกันง่ายท่านประธาน และให้ คนอายุน้อย ๆ กู้ อายุ ๓๐ ปีให้กู้เลย เหมือนแบงก์เขาทำทุกวันนี้ เขาจะได้มีเครดิตยาว ๆ ถ้าแก่แล้วไปกู้เขาไม่ให้กู้เพราะเครดิตมันจะไม่มี สมรรถภาพในการใช้เงินคืน อายุก็มาก โอกาสที่จะหาเงินทุนมาคืนก็ยากนอกจากขอลูกขอหลานไปใช้หนี้ ขยายฐานอายุให้กู้น้อย ๆ ผมเคยพูดเรื่อง Young Smart ท่านจำได้ไหม Young Smart เขาเข้มแข็งมากในประเทศไทย ทุกวันนี้เขาก็เข้มแข็ง เขาทำกันเอง ผมเคยไปสัมผัสในพื้นที่ เขาบอกว่าท่าน สส. ช่วยหาทุน ให้หน่อย ผมบอกว่ามีกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรท่านไปติดต่อเลย กลุ่ม Young Smart นี้ กลุ่มเข้มแข็ง ท่านต้องหาตลาดใหม่ไปที่กลุ่มนี้ทั่วประเทศ ผมมั่นใจว่ากองทุนจะงอกเงย และไม่ได้ติดตามหนี้ แล้วหนี้เสียก็จะไม่เพิ่ม อันนี้ปล่อยไปเยอะ การติดตามก็ได้มาน้อย ไม่สอดคล้องกันครับท่านประธาน ขอบคุณมาก

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ผมขอปิดการลงชื่อเพื่อเข้าอภิปราย ต่อไปจะเป็นท่านธีระชัย แสนแก้ว ครับ

นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายธีระชัย แสนแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ขออนุญาต ท่านประธานไปยังผู้ชี้แจง ผมมีข้อสังเกตในรายงาน ฉบับนี้ ๒ ประเด็น

นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ

ประเด็นแรก กระผมได้อ่านรายงานฉบับนี้พบว่ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เป็นกองทุนที่มีความสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพราะว่ากองทุนนี้มีประโยชน์ สำหรับพี่น้องเกษตรกรอย่างมากเพราะเป็นการเปิดโอกาสให้พี่น้องเกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุน มีดอกเบี้ยต่ำ เป็นกองทุนที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อให้เงินทุนหมุนเวียนในกลุ่ม ของพี่น้องเกษตรกรทั้งประเทศ ท่านประธานครับ ผมได้อ่านรายงานตารางที่เกี่ยวกับเรื่องกู้ยืมเงินระยะสั้นและระยะยาว ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ ฉบับนี้ครับ ตารางรายละเอียดให้กู้ระยะสั้น ปี ๒๕๖๕ มีโครงการ ๒ โครงการ คือโครงการปลูกข้าวปลอดภัย ลดการใช้เคมีของวิสาหกิจชุมชน อุตสาหกรรมการผลิตครบวงจรจังหวัดอุทัยธานี และโครงการพัฒนาธุรกิจรวบรวมผลผลิต ทางด้านการเกษตรจิ้งหรีดเพื่อฟื้นฟูวิสาหกิจชุมชน แต่สิ่งที่เป็นประเด็นคือทั้ง ๒ โครงการนี้ ครับท่านประธาน ล้วนเป็นโครงการที่ค้างชำระทั้ง ๒ โครงการ อย่างโครงการปลูกข้าว ครบวงจรจังหวัดอุทัยธานี ค้างชำระ ๓,๐๕๐,๐๐๐ บาท ส่วนโครงการจิ้งหรีดค้างชำระ ๕ ล้านบาท กู้ ๕ ล้านบาทก็ค้าง ๕ ล้านบาท แล้วรายงานของปี ๒๕๖๔ กระผมได้อภิปราย โครงการปลูกข้าวครบวงจรของจังหวัดอุทัยธานีก็มีปัญหาหนี้ค้างชำระ ผมจำได้เมื่อประมาณ ๒-๓ เดือนที่ผ่านมานั้นก็ค้างชำระ ๓,๔๐๐,๐๐๐ บาท นี่ก็มาถึงปี ๒๕๖๕ แล้วก็เหมือนเดิม สรุปว่าท่านได้ชำระหนี้ไปเพียง ๓๖๐,๐๐๐ บาทเท่านั้นเอง

นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ

ในส่วนเงินที่กู้ยืมระยะยาว ทั้งหมด ๗๕ โครงการ และทั้งหมด ๗๕ โครงการ ที่เป็นเงินกู้ระยะยาวก็มีปัญหาค้างชำระหนี้ทั้งนั้น และตัวเลขที่ค้างชำระนี้คงไม่ใช่น้อย ๆ ครับท่านประธาน ที่ผมบอกว่าไม่ใช่น้อย ๆ ก็คือรวมหนี้ค้างทั้งหมด ๗๕ โครงการ ค้างชำระ ตั้ง ๓,๑๐๐ ล้านบาท นี่มากกว่าเงินกองทุนที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาลเมื่อปี ๒๕๖๕ ถึง ๔ เท่า เลยนะครับ เพราะในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ กองทุนได้รับเงินเข้าเพียง ๗๖๐ ล้านบาท เท่านั้นเอง แล้วหลายโครงการที่อยู่ในระหว่างดำเนินคดีหรือบังคับคดีระหว่างหน่วยงานรัฐ กับกลุ่มเกษตรกร จะเห็นได้ว่าโครงการเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ หรือปี ๒๕๓๑ นี่ก็เป็นเวลา ๓๐ ปีแล้ว แต่ทำไมช่องหมายเหตุยังอย่างแจ้งว่าอยู่ในระหว่างดำเนินคดี ถ้าคดีตามปกติ มันหมดอายุความแล้วหรือเปล่า หรือท่านจะบูรณาการอย่างไร ท่านจะ Reengineering อย่างไรกับ ๓๐ กว่าปีนี้ เพื่อพี่น้องเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรเหล่านั้นที่กู้เงินไปหรือเอาไป ซื้อปุ๋ยที่ผ่าน อ.ต.ก. ทำโน่นทำนี่ไปแล้วเป็นหนี้เป็นสิน หรือจะให้เป็นหนี้สูญไหม คราวที่แล้ว ผมบอกให้มันเป็นหนี้สูญไหม หรือคนที่กู้ไปแล้วยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ อย่างไร มันจะได้ตั้งต้น ใหม่สักที ต่อไปการตั้งวิสาหกิจชุมชนท่านต้องสำรวจ ก็คือกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นคนที่ตั้ง วิสาหกิจชุมชน ตั้งกลุ่มจดทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร แล้วเวลาจดก็ให้ดูละเอียดหน่อย พอถึงเวลาเป็นวิสาหกิจชุมชนก็เหลือแต่ ๒ ผัวเมียและลูก ลูกเขยและลูกสะใภ้ ผัวเป็น ประธาน เมียเป็นรองประธาน ลูกเป็นเลขานุการ ลูกเขยเป็นกรรมการ ก็อยู่ในนั้นครับ เพราะฉะนั้นก็กินกันอยู่ในนั้น ในครอบครัวเดียวกัน ท่านไป Check ดูในประเทศไทย มีวิสาหกิจเท่าไร แล้วก็ไป Reengineering ใหม่เสีย มันจะได้แน่น ผมขออนุญาตยกตัวอย่าง ข้อ ๗ ของโครงการเพื่อเกษตรกรก็คือการจัดหาปุ๋ย จัดหาปุ๋ยในปี ๒๕๒๘ กู้ไปก็เอาไปให้กัน เฉย ๆ พอเอาไปให้กันเฉย ๆ แล้วก็กู้แล้วก็ไปส่งให้เกษตรกร แล้วก็เก็บหนี้เก็บสินไม่ได้จนถึง ทุกวันนี้ จะเอาอย่างไรก็ว่ากันไป ท่านไป Reengineering ใหม่เสีย ในการประชุมครั้งที่แล้ว ผมก็อภิปรายเรื่องนี้ครับ แล้วถ้ามารายงานปีหน้าอีก มีอีกผมก็จะอภิปรายอีกครับ เพราะว่า มันเป็นตัวเลขเดิม ๆ เพราะฉะนั้นท่านไปจัดการเสีย จะฟ้องหรือให้เขาเป็นหนี้สูญ หรือจะเอาอะไรอย่างไรก็แล้วแต่ หรือรัฐบาลจะมาช่วยเหลือเขาอะไรก็ว่ากันไป ค้างชำระ อยู่อย่างนี้ โครงการนี้ก็มีหนี้ค้างชำระอีก ๕๙๐,๐๐๐ บาท ส่วนช่องค้างชำระก็ยังค้างชำระ จำนวนเท่าเดิม ส่วนช่องหมายเหตุเขียนว่า การดำเนินคดีหรือบังคับคดี อ.ต.ก. จำนวน ๒ คดี เกษตรกร ๒ ราย รายมูลค่าเท่ากับยอดค้างชำระ เหมือนเดิมครับท่านประธาน นี่มันทำให้งง ท่านลอกมาจากปี ๒๕๖๔ หรือเปล่า แล้วปี ๒๕๖๖ ท่านจะลอกแบบนี้อีกหรือเปล่า แล้วมา รายงานฉบับปี ๒๕๖๕ โครงการจัดหาปุ๋ยปี ๒๕๒๘ ปี ๒๕๒๙ อีก รายละเอียดยอดค้างชำระ ก็หมายเหตุช่องเท่าเดิม เป๊ะ ๆ เลย แล้วทีนี้เกิดตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ แล้วครับโครงการนี้ ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๙ นับเวลานี้ก็ ๓๘ ปีเข้าไป กระผม ขออนุญาตท่านประธานไปยังผู้ชี้แจงว่าเหตุใดช่องหมายเหตุท่านระบุเพียงว่า อยู่ระหว่าง การดำเนินคดีหรือบังคับคดี ไม่ใช่เพราะโครงการนี้เป็นโครงการเดียวนะครับ อีกหลาย ๆ โครงการที่เป็นโครงการเงินกู้ระยะยาว ระบุนะครับ ก็ระบุเพียงเท่านี้ กระผมอยากจะขอให้ ท่านปรับปรุงรายงานฉบับปีต่อ ๆ ไปว่าอยากให้ท่านได้ Update ข้อมูลช่องหมายเหตุหน่อย ว่าตอนนี้ดำเนินการถึงไหน เพียงไร ผู้กู้ ผู้ถูกฟ้อง ผู้ถูกฟ้องยังอยู่หรือไม่ และเขียนในแนว การดำเนินการบังคับชำระหนี้ ก็ยังดีนะครับเขียนแนวทางไว้

นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ครับท่านประธาน มี ๒ ประเด็นเท่านั้น กระผมขออนุญาต เสนอแนะไปยังคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์เพื่อการเกษตรกรว่าท่านมีแนวทางในการ พิจารณาในการจ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่านี้ได้หรือไม่ แล้วอยากให้ท่านมีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการติดตามหนี้ที่ท่านคิดว่าจะสูญ และไม่ได้รับการชำระคืนอย่างใกล้ชิด เพราะท่านสามารถบริหารจัดการหนี้และให้กู้ยืมได้ดี ยิ่งขึ้นมากกว่านี้ ท่านจะสามารถนำเงินกองทุนเหล่านั้นมาให้เกษตรกรอื่น ๆ ที่เขาจะได้กู้ ไม่ใช่ว่าเอาไปค้างกระจุกอยู่พวกหนึ่งก็ชำระหนี้ไม่ได้ เดี๋ยวนี้จบปริญญาตรีเขาไปเลี้ยงควายครับ ควายตัวละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ๓๐๐,๐๐๐ บาท ควายงามครับ ยกตัวอย่างนะครับ ก็ยังมีอีก เกษตรกรอื่น ๆ ที่เขาต้องการอยากจะกู้เข้าไป แล้วก็อย่าไปมีช่องทางให้กับพวกนี้ ต้องดู รายละเอียด ไม่ใช่ว่าพวกกันเอง ดูแลทำเป็นผู้นำเกษตรกรเสร็จแล้วก็มาขอกู้ได้ง่ายด้วยความ เกรงอกเกรงใจกัน ท่านต้องรู้ข้อเท็จจริงเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ตั้งกลุ่มขึ้นมาอย่างที่ผมได้เรียน เมื่อต้น แล้วทำเป็นโอ้โฮนะครับ นั่นล่ะไม่อยากจะพูด เพราะผมเป็นเกษตรกร ผมถึงได้รู้ว่า ผู้นำเกษตรกรมันอย่างไร ของจริง ของปลอมก็มี ท่านไม่ต้องเกรงใจ ท่านเอาของจริงเข้ามา ว่าเลย วิสาหกิจชุมชนนี้การที่จะตั้งให้สำรวจเลย สำรวจเอาจริงเอาจังกับวิสาหกิจชุมชน นะครับ เพราะการบริหารงานของวิสาหกิจชุมชนมันต้องเป็นสาธารณะ มันต้องเพื่อสมาชิก ไม่ใช่เพื่อครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง อันนี้มีเยอะแยะทั่วประเทศ ผมได้กล่าวถึงใครนะครับ เพียงแต่ว่าเรียนรู้ พัฒนาจากวิสาหกิจรวมกับสหกรณ์ บางทีกลุ่มเกษตรกร คล้าย ๆ กันหมด นะครับ เพราะฉะนั้นเอาจริงเอาจังสักที ผมเห็นใจพี่น้องเกษตรกรนะครับ เพราะฉะนั้นการที่ จะเข้าถึงแหล่งเงินเป็นสิ่งที่ดีที่ผมกราบเรียนไปเบื้องต้น ณ วันนี้ให้ท่านบูรณาการใหม่เสีย Reengineering ใหม่เสีย สำนักปลัดกระทรวงสั่งการเสีย กองทุนสงเคราะห์นี้ตั้งมานานแล้ว ก็ขอขอบคุณท่านประธานมา ณ โอกาสนี้ และขอขอบคุณท่านผู้ชี้แจงทุกท่านที่จะนำไปปรับปรุง ในคราวหน้า ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านศักดินัย นุ่มหนู ครับ

นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ผมคิดว่าในส่วนของ รายงานผมไม่มีอะไรติดใจ แต่ว่าอยากที่จะฝากภารกิจสำคัญให้กับทางคณะกรรมการกองทุน สงเคราะห์เกษตรกรใน ๒ ประเด็นด้วยกันครับท่านประธาน

นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ

เรื่องแรก ผมก็คิดว่าไหน ๆ สมาชิกผู้ทรงเกียรติได้พูดถึงกันพอสมควร ประเด็นเรื่องของการที่จะเข้าถึงในเรื่องของกองทุนสงเคราะห์นี้ที่พี่น้องประชาชนและ พี่น้องชาวเกษตรกรจะเข้าถึงได้อย่างไร แล้วก็มีการให้ความรู้ความเข้าใจว่ากลไก หรือกระบวนการต่าง ๆ นี้ผมยังคิดว่าเรื่องนี้ยังมีการรับรู้ไม่มากนักในส่วนของพี่น้อง เกษตรกร ก็อยากที่จะให้ในส่วนของทางคณะกรรมการกองทุนนี้ได้สร้างการรับรู้ที่มี ประสิทธิภาพให้มากขึ้นว่าเขาจะเข้ามาใช้ในกรณี ในเหตุไหน อย่างไรได้บ้าง อันนี้ก็เป็น ประเด็นหนึ่งที่อยากจะได้ฝากไปทางคณะกรรมการ เพราะผมยังคิดว่าหลาย ๆ คนที่เรา มีโอกาสได้พบกับพี่น้องเกษตรกรเองก็ยังไม่ได้ทราบเรื่องนี้

นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ผมคิดว่าก็เป็นเรื่องสำคัญว่าที่อยากเห็นการพัฒนาบทบาทของ กองทุนสงเคราะห์ที่จะเข้าไปมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกร ผมยกตัวอย่างครับท่านประธาน อย่างกรณีที่ทางคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการลงพื้นที่ไปที่จังหวัดฉะเชิงเทราก็ดี จังหวัดสมุทรปราการก็ดี ไปพบกับพี่น้องที่มี การเพาะเลี้ยงปลากะพง แล้วก็ปลากะพงมีราคาตกต่ำ แล้วก็สร้างความเสียหาย สร้างภาระ การขาดทุนที่เป็นภาระให้กับพี่น้องเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ก็ยังคิดว่ากองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรนี้จะเข้าไปช่วยดูแลอย่างเร่งด่วนได้อย่างไรที่จะไม่ให้เกิดปัญหาเป็นวงกว้าง แล้วก็ สร้างผลกระทบต่อพี่น้องเกษตรกรจนหลายคนตอนนี้ติดหนี้เป็นร้อยล้านก็มีครับ ท่านประธาน แล้วก็อีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องของการที่กองทุนจะได้เข้าไปสนับสนุนในเรื่องของ การลดต้นทุนปัจจัยการผลิตของพี่น้องเกษตรกร หลาย ๆ ปัญหาที่เรามีปัญหาลักลอบ การนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะส่วนหนึ่งก็คือว่า ต้นทุนอาหาร ต้นทุนปัจจัยการผลิตของเรามีราคาสูง ผมยกตัวอย่างเรื่องของหมูเถื่อนก็ดี อย่างน้อยก็เป็นที่มาที่ไปทำให้เห็นชัดว่าต้นทุนการผลิตของเรามีราคาสูงมาก เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะเข้าไปส่งเสริม เข้าไปช่วยเหลือตรงนี้ได้จะทำให้ต้นทุนการผลิตของ พี่น้องเกษตรกรลดลง แล้วก็สามารถที่จะเสริมสร้างศักยภาพของการแข่งขันได้

นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ

อีกส่วนหนึ่งครับท่านประธาน ก็คือเรื่องของกลุ่มสหกรณ์การเกษตรต่าง ๆ กลุ่มสหกรณ์การเกษตรต่าง ๆ เท่าที่ผมได้สัมผัสได้พูดคุย โดยเฉพาะเรื่องของสหกรณ์ เรื่องของการแปรรูปก็ดี สหกรณ์การเกษตรที่ต้องการที่จะนำสินค้าเกษตรในการที่จะ รวมกลุ่มและสร้างอำนาจของการต่อรอง บางทีก็ยังขาดแคลนในเรื่องของเงินทุน ตรงนี้ ถ้าหากว่าทางกองทุนนี้สามารถที่จะเข้าไปช่วยสนับสนุนเป็นการเสริมพลังให้กับสหกรณ์ ทางการเกษตร สหกรณ์การแปรรูปสินค้าเกษตรต่าง ๆ ก็จะเป็นการสร้างศักยภาพที่ทำให้ เขามีความมั่นคงเข้มแข็งมากขึ้น

นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นรูปธรรมชัดเจนอันหนึ่งที่ผมเจอมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่จังหวัด ตราด มีเรือประมงของพี่น้องชาวประมงที่เกาะช้าง เรือไปล่มที่ทะเลแล้วก็มีการสูญหายกัน ณ วันนี้ก็ยังไม่พบว่าเขาทั้งหมดนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ แต่ก็ผ่านมาหลายวันแล้ว ทีนี้ การช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่เป็นชาวประมงที่เขาประสบภัยก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าพี่น้อง ชาวประมงเองเขาจะได้รับสิทธิหรือเข้าถึงเงินช่วยเหลือจากกรณีเหตุเภทภัยอะไรต่าง ๆ เหล่านี้มันเป็นอย่างไรได้บ้าง อันนี้ผมก็ลองไปถามเขาดูแล้ว ทางสมาคมประมงก็ดี กลุ่มอาชีพประมง ทั้งประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน เวลาเขาเจอวิกฤติต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ไม่สามารถที่จะรับรู้ว่าสิทธิที่เขาพึงได้ในเรื่องของเงินกองทุนหรือเงินช่วยเหลือต่าง ๆ ตรงนี้ เป็นอย่างไรบ้าง และอีกอันหนึ่งสถานการณ์ปัจจุบันนี้มีพี่น้องเกษตรกรอีกหลายส่วน โดยเฉพาะชาวประมงนี้อยากจะย้ำอีกนิดหนึ่งว่าในช่วงฤดูมรสุมก็ไม่สามารถที่จะทำมาหากิน ออกทะเลทำการประมงได้เลย พวกเขาเองก็ไม่แน่ใจว่าจะไปทำอาชีพอะไรเพราะว่าไม่ได้มี เรือกสวนไร่นา ก็ยังคิดว่าตรงนี้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรจะเข้าไปช่วยส่งเสริมและ สนับสนุนให้พวกเขาสามารถที่จะมีเม็ดเงินในการที่จะไปประกอบอาชีพอื่น ๆ อะไรต่าง ๆ ได้บ้าง ผมก็เลยอยากที่จะย้ำตรงนี้ใน ๒ เรื่องด้วยกัน ก็คือ ๑. เรื่องของการที่จะให้พี่น้อง เกษตรกรนั้นสามารถที่จะเข้าถึงในส่วนตรงนี้ได้ เข้าถึงกองทุนได้อย่างไร อันที่ ๒ ก็คือ เรื่องของภารกิจที่กองทุนนี้อาจจะต้องมีความฉับไว มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อไม่ให้พี่น้อง เกษตรกรได้รับผลกระทบจากการทำมาหากินของเขา ก็ฝากไว้ ๒ ประเด็นนี้ ขอบคุณมากครับ ท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านนิพนธ์ คนขยัน ครับ

นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นิพนธ์ คนขยัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ เขตเลือกตั้งที่ ๓ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ ขออนุญาตอภิปรายรับทราบรายงานกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร วันนี้ พี่น้องประชาชนคนไทยในชาติส่วนใหญ่แล้ว ๔๐ กว่าเปอร์เซ็นต์เป็นพี่น้องภาคเกษตรกร ภาคเกษตรกรรม ท่านประธานครับ กองทุนนี้เป็นกองทุนที่ดี เพราะให้พี่น้องเกษตรกร มีเงินทุนได้ทำมาหากิน แต่อยากเรียนฝากผ่านท่านประธานไปยังผู้มาชี้แจง ตั้งข้อสังเกตอยู่ ประมาณ ๒ ประเด็นครับ

นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ

ประเด็นแรก วันนี้พี่น้องเกษตรกรทุกสาขาอาชีพต้องการเงินทุนนี้เพื่อไป พัฒนาอาชีพของตนเองให้มีรายได้จุนเจือในครอบครัว มีรายได้เพิ่ม จากเพื่อนสมาชิก หลายท่านได้อภิปรายว่าและเขาเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างไร อันนี้ประเด็นแรก เพราะความหวัง ของพี่น้องเกษตรกรภาคเกษตรกรรมทุกสาขาอาชีพต้องการทุน ต้องการหยิบยืมทุนที่มี ดอกเบี้ยต่ำ

นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ หลายท่านวันนี้ยืมแล้วไม่จ่าย ผมอยากตั้งข้อสังเกตการไม่จ่าย ๑. การยืมไปลงทุนแล้วสินค้าเกษตรที่ไปทำนั้นมีปัญหาตลาด ทำแล้วขายไม่ได้ ทำแล้ว ขายราคาถูกมันก็ต้องเป็นธรรมชาติครับ ก็ไม่มีเงินใช้หนี้ เพราะทำแล้วขาดทุน อันนี้เข้าใจ ผมคิดของผมเองนะครับ ทำไมไม่มีเงินใช้หนี้ ก็เพราะทำแล้วมันขายไม่ได้ ทำแล้วราคามันต่ำ ราคามันตก หรือมันวิกฤติภัยธรรมชาติต่าง ๆ เป็นสาเหตุหนึ่ง แต่สาเหตุหนึ่งที่ผมอยาก นำเรียนนะครับท่านประธานที่เคารพ ข้าราชการ ผมขออนุญาตอ่านในหมวดหนึ่งที่มี เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรลงไป ข้อสังเกตผมอยากฝากในภาระผูกพัน กองทุน สงเคราะห์เกษตรกรมีภาระผูกพันกับหน่วยงานของรัฐและองค์กร มีองค์กรหนึ่งครับที่กู้เงิน ผ่านองค์กรนี้ องค์กรส่งเสริมของกรมส่งเสริมสหกรณ์ วันนี้ผมพูดตลอดเรื่องส่งเสริมสหกรณ์ สหกรณ์เป็นสิ่งที่ดี ผมเคยยกพระราชดำรัสของในหลวง พ่อหลวงเรารัชกาลที่ ๙ ท่านเคยมี พระราชดำรัสในการส่งเสริมสหกรณ์นำมาใช้ วันนี้เอาจังหวัดบึงกาฬบ้านผมครับ ไม่เอาที่อื่น หรอก ท่านสหกรณ์จังหวัด ฝากนะครับท่านส่งเสริมสหกรณ์ สหกรณ์จังหวัดทุกท่านนะครับ ท่านมีหน้าที่ส่งเสริมให้สหกรณ์ยืนโดยลำแข้งของเขาได้ สหกรณ์ที่ดีชมเชยครับ ขอบคุณ แต่สำหรับสหกรณ์ที่ไม่เข้าท่า ผมใช้คำนี้นะครับ ไม่ส่งเสริมตามตัวหนังสือของกรมส่งเสริม สหกรณ์ ท่านต้องเปลี่ยนความคิดของท่านใหม่ ท่านต้องเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของท่านใหม่ แล้ว ยกตัวอย่างบึงกาฬ ผมพูดมาตลอด ข้าราชการดีส่งเสริม ถ้าข้าราชการไม่ดีต้องเปลี่ยน แนวคิดของท่านใหม่แล้ว ท่านมีหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ท่านมีหน้าที่ส่งเสริมเกษตรกร สถาบัน เกษตรกร ท่านต้องส่งเสริม ไม่ใช่ว่าเอาอำนาจหน้าที่ของท่านไปทำ ไม่ส่งเสริม ดีไม่ดี ไปกลั่นแกล้งคนอื่น ใช้ไม่ได้ครับท่านประธานที่เคารพ มันเป็นเหตุให้มีหนี้ค้างเมื่อสักครู่ ที่เพื่อนสมาชิกพูด มันค้างเพราะไม่ส่งเสริมนี่ละครับ มันมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ผม กราบเรียนท่านประธานว่า ๑. สินค้าเกษตรไม่เป็นราคา วันนี้ถ้าสินค้าเกษตรเป็นราคา ท่านประธานที่เคารพ บ้านผมนะครับ เพื่อนสมาชิกทุกท่านคงเหมือนกัน โดยเฉพาะอีสาน บ้านผมบึงกาฬยางพาราล้านกว่าไร่ ถ้าลองเป็นราคาดูสิ ภาคใต้มากที่สุดในประเทศ จังหวัด บึงกาฬอันดับหนึ่งของภาคอีสาน สินค้าเกษตรทุกตัวถ้ามีราคารับรองว่าพี่น้องเกษตรกร ไม่เบี้ยวหนี้แน่ครับถ้ามีเงิน วันนี้ไม่มีเงินก็เลยไม่มีที่จะจ่าย ผมคิดอย่างนั้นนะครับ ท่านประธาน เลยเป็นเหตุให้ว่าวันนี้ที่กู้ยืมเงินของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรทำไมถึงไม่จ่าย ด้วยประการนี้ครับที่ผมคิด ดังนั้นวันนี้เป็นกำลังใจครับท่านคณะกรรมการกองทุน สิ่งไหน ที่เป็นหนี้ก็ต้องตาม อย่างที่ผมกราบเรียนว่าเป็นหนี้เพราะขาดทุน เป็นหนี้เพราะสินค้าไม่ได้ราคา ก็ต้องพิจารณา เป็นราย ๆ ไปเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหา ดังนั้นเป็นกำลังใจนะครับ และฝากว่า วันนี้ยางก้อนถ้วยครับท่านประธาน ดีใจครับพี่น้องมีการแจ้งข่าวมาแล้ว วันนี้ยางก้อนถ้วย พักค้างคืนกิโลกรัมละ ๒๘.๑๐ บาท วันนี้พี่น้องชาวสวนยางดีใจครับ ถ้าปราบยางเถื่อนไม่ให้ เข้ามาได้ยิ่งจะเป็นโคตรดีครับท่านประธาน ฝากผู้มีอำนาจสกัดยางเถื่อนอย่าให้เข้ามา แปรรูป เพิ่มมูลค่ายางให้มากที่สุด เชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะมีรายได้จากยางพารา จะมีรายได้จาก ภาคเกษตรทุกตัวดีมากครับท่านประธาน กราบขอบคุณอีกครั้งหนึ่งครับท่านประธาน ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะนักเรียนระดับชั้นมัธยมปีที่ ๔-๖ โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จากจังหวัดขอนแก่น จำนวน ๑๓๕ ท่าน ยินดีต้อนรับนะครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ต่อไปเป็นสมาชิก ๒ ท่านสุดท้าย เชิญท่านฐิติมา ฉายแสง และท่านนพพล เหลืองทองนารา เชิญท่านฐิติมาครับ

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ฐิติมา ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทยค่ะ ท่านประธาน กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรดิฉันให้ความสำคัญมากนะคะ เมื่อสักไม่กี่เดือนก่อน กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรก็เข้ามายังสภาแห่งนี้ได้มานำเสนอ แล้วดิฉันก็ได้พูดไปเยอะเลย ที่พูดไปเยอะก็คือว่าทำให้ สส. ในสภาแห่งนี้ได้รู้จักกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรมากขึ้น เพราะหลายคนบอกว่าไม่เคยได้ยินเลย ไม่เคยได้ยินเลย พี่น้องประชาชนหลายคนในพื้นที่ ที่ดิฉันไปสืบเสาะถามมาหลายคนก็ไม่รู้จัก เพราะฉะนั้นเมื่อไม่รู้จักก็ไม่ได้ประโยชน์ ถูกไหม ทีนี้มีอยู่วันหนึ่งดิฉันไปประชุมกับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านธรรมนัส พรหมเผ่า ก็ได้นำข้อมูลไปให้ท่านได้รู้จักกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรด้วย เพราะว่าท่านเพิ่งจะเข้ามารับหน้าที่ ดังนั้นจึงคิดว่าท่านคงไม่รู้เหมือนกัน พอท่านเห็นท่านก็ สนใจค่ะ สนใจก็ค่อนข้างจะหันไปถามทางผู้ที่ดูแลกองทุนอยู่ ก็ยังไม่ค่อยได้คำตอบอะไรกัน มากมาย ถามว่าตอนนั้นเราพูดเรื่องอะไรกัน เราพูดเรื่องของการเก็บค่าธรรมเนียม ท่านประธานคะ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรมีหน้าที่ได้หลายอย่างมาก มีประโยชน์มาก ในมาตรา ๗ ของ พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรนั้นบอกไว้ว่าจะรับจำนำก็ได้ รับซื้อก็ได้ จะสนับสนุนวัสดุทางการเกษตรก็ได้ จะช่วยเหลือเกษตรกรในการลดต้นทุนทางการเกษตร อะไรก็ได้เยอะแยะไปหมด มีอยู่ข้อหนึ่งที่บอก ดำเนินการอื่นใดอันเป็นประโยชน์ให้กับพี่น้อง เกษตรกร คำนี้ละค่ะ ประโยคนี้ละค่ะที่น่าสนใจมาก ท่านสามารถทำได้เยอะ แต่ถามว่า ท่านได้ทำอะไรมากน้อยแค่ไหน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ ที่ท่านตั้งกองทุนมาดูแล้วไม่ค่อยจะมี เพราะฉะนั้นเราจึงต้องให้ความสำคัญและมาพูดจากันตอนนี้นะคะ ทีนี้กองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรที่ดิฉันอยากจะมุ่งเน้นไปก็คือในอำนาจหน้าที่ของท่านตามมาตรา ๙ ของกองทุน สงเคราะห์เกษตรกรที่มีอำนาจให้ท่านสามารถเก็บค่าธรรมเนียม ท่านประธานลองคิดดูนะคะ พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง ที่ดิฉันพูดในสภาหลายครั้งเลย ปลากะพงนำเข้าจาก มาเลเซียราคาต่ำกว่า ๒๐ บาท ทุกชนิด ทุกระดับของการขายปลากะพง ๒๐ บาทตลอด ยกตัวอย่างสมมุติว่าปลาราคา ๑๓๐ บาท ปลากะพงนำเข้าจากประเทศมาเลเซียก็จะเป็น ๑๑๐ บาท ต่ำกว่า ๒๐ บาท ถามว่าเราสามารถที่จะใช้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โดยรัฐมนตรีได้รับอนุมัติจาก ครม. เพื่อที่จะเก็บค่าธรรมเนียมการนำเข้า ๒๐ บาท ต่อกิโลกรัม เพื่อที่จะให้ราคาของปลากะพงนำเข้ามานั้นมาราคาเท่ากับปลากะพงบ้านเรา เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรบ้านเรา ไม่อย่างนั้นถามว่าพี่น้องเกษตรกรเขาจะสู้ได้อย่างไร ลองคิดดูเวลาปลากะพงนำเข้ามา ทางกรมประมงต้องตรวจสอบ ดีอยู่ตอนนี้เพิ่มขึ้นการตรวจ สารเคมี ตรวจเชื้อยาปฏิชีวนะอะไรก็แล้วแต่ เพิ่มจาก ๒ เปอร์เซ็นต์เป็น ๑๐ เปอร์เซ็นต์ถือว่าดี แต่ว่ามันไม่ใช่การช่วยแค่นั้น มันต้องช่วยอย่างอื่นด้วยไม่อย่างนั้นจะสู้เขาได้อย่างไร ดังนั้น จึงขอถามผู้ชี้แจงว่าการเก็บค่าธรรมเนียมการนำเข้าปลากะพงจากมาเลเซียทำได้ไหม และจะทำ อย่างไร ท่านต้องตอบนะคะ ไม่อย่างนั้นพี่น้องเกษตรกรเขารอคำตอบอยู่ การจัดหาประโยชน์ อย่างอื่นอีกนะคะ ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ที่มีคุณภาพเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรในราคาที่ เป็นธรรมท่านก็สามารถทำได้ เพราะฉะนั้นในการที่ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรไม่ว่าเขาจะ เป็นอยู่ด้านใดก็แล้วแต่ท่านควรจะลงไปช่วยมากกว่านี้ ดิฉันดูในหน้า ๑๘ ของเล่มนี้ ดูแล้วจะ เจอว่าโครงการที่ท่านจัดสรรเงินให้จะเป็นเรื่องของปศุสัตว์เสียส่วนใหญ่ เพราะว่ามีเรื่องของ แพะ เรื่องของโคถึง ๓๐ ล้านบาท มีกุ้งในโครงการเสริมสภาพคล่องกับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ๕๐๐ ล้านบาท อันนั้นดี แต่ก็อาจจะยังไม่ได้ทั่วถึงก็ไม่เป็นอะไร แต่ปศุสัตว์ ๓๐ ล้านบาท แต่พอมาดูปลาท่านประธาน ปลาดิฉันนับแล้ว ๕ ล้านบาท คนเลี้ยงปลามันเยอะมาก อย่างในพื้นที่ของดิฉันเลี้ยงปลาเยอะทีเดียว ปลารวมที่มักจะพูดกันปลาเบญจพรรณก็คือ ปลารวม ปลากะพงเยอะ แต่เขาไม่ค่อยได้รับการช่วยเหลือ แล้วการเข้าถึงของเขามันยาก หรือเปล่าถึงได้แค่ ๕ ล้านบาท ถูกไหมคะ ทั้งประเทศแค่ ๕ ล้านบาท ไม่ได้พูดว่าจังหวัด ฉะเชิงเทรา ทั้งประเทศแค่ ๕ ล้านบาท เพราะฉะนั้นจึงอยากจะให้ทางกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรนั้นได้ทำงานมากขึ้น ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จี้ลงไปเยอะ ๆ ให้ท่านธรรมนัสลงไปจี้กับกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้มากขึ้น ๆ ให้คนรู้จักมากขึ้น ให้คน เข้าถึงมากขึ้น ให้ความช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรมากขึ้น สรุปนะคะ อยากจะให้ท่านได้ตอบ มาว่าการเก็บค่าธรรมเนียมการนำเข้าและส่งออกที่รัฐมนตรีไปขออนุมัติกับ ครม. ท่านจะทำ ได้ไหม เพราะในประวัติศาสตร์ของท่าน ท่านทำแค่ครั้งสองครั้ง ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ ไม่เคยทำ อีกเลย แล้วจะมีเงินเข้ากองทุนได้อย่างไร เงินจากกองทุนตั้งแต่ต้นเลยที่ท่านเคยมีมามันก็ ร่อยหรอเพราะท่านไม่เก็บเข้าไป มันร่อยหรอไปเรื่อย ๆ แล้วท่านจะช่วยเหลือพี่น้อง ประชาชนได้อย่างไร นี่คือหนทางหนึ่งที่ท่านจะได้เงินเข้าสู่กองทุนและช่วยเหลือพี่น้อง เกษตรกรไปพร้อมกัน ขอบพระคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านนพพล เหลืองทองนารา ครับ

นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นพพล เหลืองทองนารา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จังหวัดพิษณุโลก คนพรหมพิรามครับ ในส่วนของกองทุนที่มารายงานต่อสภาในครั้งนี้ คือกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ซึ่งอย่างที่ท่าน สส. ฐิติมาได้พูดไปเมื่อสักครู่นี้ว่าจริง ๆ แล้ว กองทุนนี้ประวัติความเป็นมาก็ยาวนานนะครับ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ จนกระทั่งมาปรับปรุงแก้ไข อีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๕๔ ท่านครับ ผมเองได้พูดถึงตั้งแต่เป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรมา แล้วก็ มีการมารายงานในเรื่องของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ผมเองทุกครั้งผมต้องพูด แล้วผม ก็ยังไม่เคยได้รับคำตอบเสียทีหนึ่ง โดยเฉพาะในส่วนที่กองทุนให้เกษตรกรหรือว่าองค์กร ของเกษตรกรได้กู้ไปแล้วไม่จ่าย แล้วไม่สามารถที่จะจ่ายคืนกองทุนได้ ท่านเองในการ รวบรวมข้อมูลท่านเพื่อที่จะเอามาวิเคราะห์ว่าเหตุใด ทำไมเขาเอาไปแล้วเขาถึงไม่ประสบ ความสำเร็จ ผมเองก็ขอท่าน ขอมานานแล้ว ท่านก็ไม่เคยส่งให้ผมเสียทีหนึ่ง เวลามารายงาน ต่อสภาว่าทำไม เป็นเพราะอะไร พวกเราก็อยากจะรู้ว่าเป็นเพราะอะไร ท่านครับ แล้วเมื่อไร ท่านจะจบเสียที ผมก็เคยถามไว้หลาย ๆ ครั้งว่าในส่วนของลูกหนี้ที่ยังค้างชำระต่อท่าน ท่านจะทำอย่างไร จะคาราคาซังอย่างนั้น ท่านจะตัดเป็นหนี้สูญเหมือนอย่างที่มีท่าน สส. พรรคเพื่อไทยได้พูดไปแล้ว ผมเองก็อยากจะทราบ เพราะลูกหนี้บางรายที่ขอกู้จากท่านไปตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ จนบัดนี้ มันกี่ปีแล้ว ผมก็อยากจะให้ท่านได้ชี้ชัดออกมาว่าท่านจะทำอย่างไร จะปล่อยคาราคาซัง อย่างนี้หรือ แต่ผมเองผมก็ไม่เข้าใจในแง่มุมของกฎหมาย หรือว่าท่านยังติดค้าง มันยังมี ในส่วนของกฎหมายที่ท่านยังทำอะไรไม่ได้ แต่มันมีกฎหมายอะไรที่มันยาวขนาดนั้นหรือครับ ตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ จนมาถึงบัดนี้ แล้วมันคาราคาซัง เพราะถ้าอย่างนี้มันก็ต้องปรับปรุงในเรื่อง ของกฎหมายเมืองไทยกันใหม่แล้ว เพราะว่าระยะเวลามันไม่ควรจะยาวนานกันขนาดนี้ ต้องให้เป็น ๒ ช่วงอายุคนหรือเปล่าผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน ท่านครับ ใน พ.ศ. ๒๕๖๕ ท่านได้รับ อนุมัติเงินในส่วนของกองทุนของท่านคือ ๗๖๑ ล้านบาท ใน ๗๖๑ ล้านบาทนี้มันเป็น งบลงทุนอยู่ ๘๐๐,๐๐๐ กว่าบาท ผมไม่เข้าใจผมอยากรู้ เพราะว่าถ้าให้ผมอ่าน ถ้าให้ผม เข้าใจตอนนี้ บอกว่าเป็นงบประจำ ๗๖๐,๕๓๐,๐๐๐ บาท ที่เหลืออีก ๘๐๐,๐๐๐ กว่าบาท เป็นงบลงทุน ผมคิดว่าทุกคนเข้าใจเหมือนผมว่างบประจำคือเงินเดือน ค่าใช้จ่ายอะไร ทั้งหลาย ค่าน้ำ ค่าไฟทั้งหลาย เงินขนาดนี้ ๗๖๑ ล้านบาทจะเป็นงบประจำ ๗๖๐ ล้านบาท เหลืองบลงทุนจะให้เขาปล่อยกู้หรือจะทำอะไรก็แล้วแต่อยู่ ๘๐๐,๐๐๐ กว่าบาท ช่วยตอบให้ ผมทราบด้วยเถอะนะครับว่ามันคืออะไร อยากทราบ ท่านครับ ในส่วนของหนี้ทั้งหลาย เป็นห่วงจริง ๆ ว่าท่านจะทำอย่างไร เหตุที่ผมบอกว่าเป็นห่วงจริง ๆ ก็เพราะว่าถ้าท่านยัง ไม่สามารถที่จะยุติได้ การให้กู้กับพี่น้องเกษตรกรรายอื่น รายใหม่ มันก็จะลำบากอยู่ เหมือนกัน แล้วตอนนี้เราก็รู้กันอยู่ว่าเกษตรกรต้องการความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นจากทาง รัฐบาลโดยตรงนี้หรือว่ากองทุนต่าง ๆ ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมา เขาเองเขายังรอคอยอยู่อีกเยอะ แล้วถ้าท่านไม่ยอมที่จะสะสางปัญหา คนที่เอาเงินมาให้ท่านเขาก็ไม่อยากจะเต็มใจให้ หรอกครับ แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่รู้เหตุผลด้วยซ้ำว่าท่านเอาเงินไปแล้ว แล้วพอเขาไม่มา จ่ายหนี้ให้ท่าน ท่านก็ไม่ได้อธิบายให้เขาฟังว่าเหตุผลอะไรมันถึงเป็นแบบนั้น คนจ่ายเงินให้ เงินท่านมาทำงานก็ไม่อยากจะให้นะครับ ในส่วนสุดท้ายที่ผมจะต้องขอย้ำกับท่าน อยากจะรู้ เหมือนเดิมก็คือว่าอยากจะให้ท่านได้วิเคราะห์ออกมาได้ไหมว่าในส่วนที่เป็นหนี้อยู่ ที่ยังติด ค้างทางกองทุนอยู่นี้มันเป็นเพราะสาเหตุอะไรบ้าง พวกเราก็อยากรู้ เพราะเราอยากจะใช้ บทเรียนตรงนี้ โอเค ก็เข้าใจอยู่ครับว่าอาจจะเก็บเงินไม่ได้แล้ว อาจจะไม่ได้มีการชำระหนี้ มาแล้ว แต่ถ้าเพื่อเกษตรกรก็ไม่เป็นอะไรหรอกครับ แต่ว่าเราอยากจะรู้สาเหตุมันเป็น เพราะอะไร เพื่อที่จะได้มาปรับปรุงในโครงการอื่น ๆ ที่จะมีเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ใช่ว่าจะ คาดคั้น เร่งรัดเอาหนี้สิน ต้องให้เกษตรกรต้องเอามาคืน ๆ มันไม่ใช่อย่างนั้น เราเป็นรัฐบาล รัฐบาลไม่ได้ค้ากำไรแบบนั้น แต่ว่าเราต้องการที่จะเอาบทเรียนตรงนั้นขึ้นมาเพื่อที่จะเอามา ปรับปรุง พอเรารู้ว่าโครงการลักษณะอย่างนี้ แล้ววิธีการดำเนินการแบบนี้พอทำไปแล้ว มันล้มเหลวเราก็จะได้มาปรับปรุงในวันข้างหน้า ผมขอฝากทางกองทุนด้วย ขอบคุณมากครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ตอนนี้สมาชิกได้อภิปรายตามที่ได้ลงชื่อแล้ว ต่อไปจะเป็นการตอบชี้แจงของ ทางหน่วยงาน เรียนเชิญครับ

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับ กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก่อนอื่นผมต้องขอกราบขอบพระคุณในข้อเสนอ ข้อชี้แนะต่าง ๆ ที่ท่านสมาชิกสภา ผู้ทรงเกียรติได้เสนอกับพวกเราไป ผมขออนุญาตคำถามและข้อเสนอแนะ ผมขอ Group เป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้ประมาณ ๓ หมวด

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

ประเด็นแรก คือการที่จะเข้าถึงกองทุน ทำไมเกษตรกรถึงไม่สามารถที่จะขอ ใช้เงินกองทุนได้โดยตรงเลย ทำไมต้องผ่านองค์กรเกษตรกร ก็เป็นข้อจำกัดของ พระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจากมาตรา ๑๘ (๑) บอกไว้ว่า การพิจารณาอนุมัติหรือเสนอ ความเห็นอนุมัติจัดสรรเงินกองทุน ทั้งต่อรัฐมนตรี หรือเป็นอำนาจของประธานกองทุน หรือคณะกรรมการกองทุนเองนั้นต้องเป็นไปตามที่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเกษตรกร เสนอก็เลยเป็นที่มาของข้อจำกัดที่ไม่สามารถที่จะให้เกษตรกรได้เข้าถึงกองทุนโดยตรง

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ที่มีปัญหาก็คือการเร่งรัดติดตามชำระหนี้ที่ได้ยืมกองทุน ไปแล้วและไม่สามารถชำระได้ ท่านปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านประธาน คณะกรรมการกองทุนก็ได้ประชุม แล้วก็ไล่แต่ละโครงการเลยว่าโครงการนี้เป็นอย่างไร ทำไม ถึงไม่สามารถชำระเงินกองทุนได้ ตลอดระยะเวลาถ้าเลยระยะเวลาชำระมา ขออนุญาตที่ต้อง ยกตัวอย่างนะครับ อย่างเช่นของ อ.ต.ก. มีหนี้ที่จะต้องชำระเราประมาณ ๓๙๕ ล้านบาท ณ วันนี้อัยการได้สั่งให้ อ.ต.ก. ชำระหนี้ให้กับกองทุน ข้อมูลปัจจุบันทาง อ.ต.ก. ก็ได้ส่งแผน ชำระหนี้มาให้เราแล้ว เบื้องต้นงวดแรก อ.ต.ก. ก็ชำระหนี้มาให้เราแล้วประมาณ ๓ ล้านบาทเศษ และคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรก็ได้อนุมัติแผนชำระหนี้ของ อ.ต.ก. แล้ว ส่วนเรื่องการเก็บธรรมเนียมการนำเข้า จริง ๆ ตั้งแต่เริ่มกองทุนตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ เราก็ได้เงิน มาเป็นเงินหมุนเวียนของกองทุนจากค่า Premium ข้าว ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ เป็นเงิน ๙,๙๐๐ ล้านบาทเศษ การเก็บค่าธรรมเนียมก็มีการประชุมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ของเรากับกระทรวงพาณิชย์ การจัดเก็บก็ต้องเข้ากับกฎเกณฑ์ของ WTO ซึ่งมีสินค้า ที่สามารถจะเก็บค่าธรรมเนียมนำเข้าได้เพียง ๓ ชนิดเท่านั้น ๑. ปลาป่น ๒. ถั่วเหลือง ๓. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สำหรับข้อเสนอของท่าน สส. ผู้ทรงเกียรติผมก็จะกลับเอาไปเสนอ ผู้บังคับบัญชาของผมต่อไปนะครับ เป็นข้อเสนอที่ทำให้กองทุนได้เข้าถึงเกษตรกร ได้ทั่วถึง

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

สำหรับโครงการปลูกข้าวปลอดภัยลดใช้สารเคมีที่เกิดปัญหาไม่สามารถชำระ หนี้ได้ ก็คือ ๑. ปัญหาของราคาสินค้าเกษตรตกต่ำนั่นเอง เกษตรกรไม่สามารถชำระเงินได้ ตามแผน อันนี้ก็จริงครับ ทางคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรก็ได้เข้าไปเร่งรัดในพื้นที่แล้ว เพื่อจะปรับโครงสร้างสายงานในการชำระหนี้ของเขา ส่วนโครงการเลี้ยงจิ้งหรีด ก็ประสบภัย น้ำท่วม เราได้เข้าไปขยายเวลาในการชำระหนี้ของกลุ่มแล้ว ก็ต้องให้โอกาสอีกสักครั้งในการ ดำเนินงานของกลุ่ม

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

สำหรับที่บอกว่าการอนุมัติโครงการล่าช้า แล้วก็การที่จะเข้าถึงกองทุน จริง ๆ หน่วยงานของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีหน่วยงานที่อยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ คือท่านเกษตรและสหกรณ์จังหวัด เราก็ได้ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่เกษตรและสหกรณ์ จังหวัดไปแล้วว่าทำอย่างไรที่จะช่วยเหลือเกษตรกรให้เข้าถึงเงินกองทุนนี้ได้ แต่ปัญหาที่ นำเรียนนะครับ วิสาหกิจชุมชนมันก็เป็นการตั้งมานานแล้วว่าจะต้องใช้บุคคลถึง ๗ คนขึ้นไป ถึงจะตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนได้ อันนี้เป็นข้อกำหนดของการตั้งวิสาหกิจชุมชน ขออนุญาตกราบเรียนนะครับ โครงการที่ค้างคาที่เสนอมาที่กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรแล้ว แล้วยังไม่ได้รับการพิจารณา อยู่ระหว่างดำเนินการ ณ วันนี้ตัวเลขกลม ๆ ก็คือเหลืออยู่ ประมาณ ๙๐ โครงการ ซึ่ง ณ วันนี้กับปีที่แล้ว ปีแล้วเหลืออยู่ ๒๕๐ โครงการ ผมก็เลย ประชุมกับพรรคพวกทีมงานของผมว่า ๙๓ โครงการนี้เราจะทำอย่างไรให้แล้วเสร็จ จะได้เป็น การตอบสนองความต้องการของเกษตรกรได้ ซึ่งเราก็ทำ Timeline มาว่าเราจะดำเนินการ ให้แล้วเสร็จภายในไม่เกิน ๖ เดือน ก็ขออนุญาตกราบเรียนนะครับ สำหรับข้อเสนอแนะที่มัน ต้องไปแก้กฎเกณฑ์ ซึ่งต้องไปแก้ระเบียบ สมาชิกครับ เดี๋ยวผมจะสรุปให้ผู้บังคับบัญชา อันไหนที่เป็นประโยชน์กับกองทุนก็จะดำเนินการ แต่จริง ๆ แล้วเป็นประโยชน์ทั้งหมด ทุกข้อเสนอแนะครับ ผมขออนุญาตใช้เวลาสั้น ๆ แค่นี้ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ สภายินดีต้อนรับนิสิตจากกันจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วก็คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด แล้วก็ข้าราชการของ อบจ. กาฬสินธุ์ยินดีต้อนรับ นะครับ สมาชิกครับ ยังมีท่านใดติดใจไหม เป็นท่านฐิติมาก่อน แล้วก็มาอีกท่านหนึ่งนะครับ เชิญท่านฐิติมาครับ

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ฐิติมา ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคเพื่อไทยค่ะ ก็คงอยากจะได้คำตอบเรื่องเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม ท่านผู้ชี้แจงคะ อยากจะรู้ว่ามันทำ ได้ไหม เพราะว่าไม่รู้จะหาทางออกให้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงเขาอย่างไร เพราะเขา โดนจากสินค้านำเข้าจากมาเลเซีย ซึ่งไปห้ามไม่ได้นะคะท่านประธาน การนำเข้าปลากะพง จากมาเลเซียเราไปห้ามเขาไม่ได้ เมื่อห้ามไม่ได้แล้วราคาต่ำกว่าทุก ๆ ครั้งที่ ๒๐ บาท ต่อกิโลกรัม แล้วเราจะหาทางออกช่วยเขาอย่างไร ในเมื่อกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรก็ไม่ได้ ช่วยในปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ให้กับพี่น้องผู้เลี้ยงปลากะพง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าอาหาร เขาก็หนักอยู่ ไฟฟ้าก็หนักอยู่ เพราะฉะนั้นต้องตอบเรื่องนี้ให้ได้ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านชุติมาครับ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ชุติมา คชพันธ์ สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ดิฉันยังติดใจในประเด็นเรื่อง การเข้าถึงนะคะ เมื่อสักครู่ที่ท่านบอกว่าติดกฎกระทรวง ติดกฎหมาย ติดข้อบังคับอะไร ต่าง ๆ นานามากมาย เอาอย่างนี้ดีไหมคะ ดิฉันมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เพื่อน ๆ สมาชิก หลายคนก็ติดใจ และดิฉันก็ติดใจมาก ๆ เช่นกัน ดิฉันอยากจะให้ปัญหานี้จบ ถ้าท่านติดขัด ตรงไหน ติดขัดเรื่องอะไร ท่านส่งข้อมูลให้สภาแล้วส่งต่อให้ดิฉันได้ไหมคะ ดิฉันยินดีที่จะรับ เป็นเจ้าภาพเพื่อให้ขับเคลื่อนต่อไปได้ เพราะไม่เช่นนั้นทุกปี ๆ ท่านมารายงานก็จะเจอปัญหา เดิม ๆ แล้วพี่น้องเกษตรกรของเราก็จะขาดโอกาส ไม่ทั่วถึง ไม่เท่าเทียมกันแบบนี้อยู่ต่อไป แล้วถ้าเกิดอันไหนที่ท่านเสนอ ครม. ได้เลย แก้เลยก็ยินดีค่ะ ท่านเสนอได้เลย แต่ถ้าบอกว่า จะเสนอสภา ท่านแจ้งเลย ดิฉันยินดี แล้วก็ดิฉันเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกทั้ง ๕๐๐ คนในที่นี้ยินดี ที่จะแก้กฎหมายนั้น แก้ข้อบังคับนั้นเพื่อพี่น้องเกษตรกรทุกคน เพราะฉะนั้นท่านส่งข้อมูล เพิ่มเติมได้เลย ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ มีสมาชิกท่านใดยังติดใจซักถามอะไรเพิ่มเติมไหม จะเป็นการตอบในรอบ สุดท้าย ขอเชิญทางผู้ชี้แจงครับ

นายปรีชา พันธุ์วา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับ ขออนุญาตเรื่องค่าธรรมเนียมนะครับ ผมขออนุญาตนำกลับไปถาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดี๋ยวผมจะส่งข้อมูลมาทีหลังได้ไหมครับ วันนี้ผมตอบตรงนี้เนื่องจากว่า เป็นงานที่ไม่เคยปฏิบัติเลย ในข้อกำหนดของ WTO ก็มีแค่ ๓ รายการเท่านั้น ผมขออนุญาต กลับไปนำเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วก็จะส่งข้อมูลให้ภายหลัง ขออนุญาตด้วย ความเคารพจริง ๆ ครับ แล้วก็ท่าน สส. ชุติมา ขออนุญาตที่ต้องเอ่ยชื่อครับ ยินดีครับ เดี๋ยวผมจะทำตามที่ท่านสั่งเต็มที่เลยครับ เพราะผมก็อยากจะทำให้กองทุนนี้มันเข้าถึง ประชาชนได้จริง ๆ ทั้งหลายทั้งปวงก็มีประโยชน์ต่อเกษตรกร ยินดีครับ เดี๋ยวผมส่งข้อมูลให้ ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ จบการอภิปรายซักถามแล้วนะครับ ถือว่าที่ประชุมรับทราบรายงานของผู้สอบ บัญชีและรายงานการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ แล้วนะครับ ขอบคุณผู้แทนจากหน่วยงานทุก ๆ ท่าน แล้วก็มีการบ้านเยอะเลย แล้วก็มีอะไรให้ทางสภาร่วมมือรับใช้ซึ่งกันและกันก็บอกได้เลยนะครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๓ รับรองรายงานการประชุม

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

- รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๖ ปีที่ ๑ (สมัยสามัญ ประจำปีครั้งที่หนึ่ง)

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครั้งที่ ๑ วันอังคารที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครั้งที่ ๒ วันพุธที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๖

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครั้งที่ ๓ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครั้งที่ ๔ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๖

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครั้งที่ ๕ วันพุธที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๖

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครั้งที่ ๖ วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๖

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครั้งที่ ๗ วันพุธที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๖

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครั้งที่ ๘ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๖

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ครั้งที่ ๙ วันพุธที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๖

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ซึ่งรายงานการประชุมทั้งหมดได้วางไว้ให้ท่านสมาชิกได้ตรวจสอบแล้วก่อนที่จะ เสนอให้ทางสภารับรอง ถ้าไม่มีสมาชิกท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นจะถือว่าที่ประชุมรับรอง รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรทั้ง ๙ ครั้งครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่กรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ไม่มี

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เรื่องด่วน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

- ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) จากการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ผ่านมาที่ประชุมได้เห็นชอบให้รวม พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันตามระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑-๗ โดยผู้เสนอได้ แถลงหลักการและเหตุผล จากนั้นสมาชิกได้อภิปรายกันพอสมควร และประธานของ ที่ประชุมได้สั่งปิดการประชุมเพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไปคือวันนี้ ในการนี้ผม ขอเชิญผู้แทนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจง ข้อเท็จจริงต่อที่ประชุมตามข้อบังคับ ข้อ ๗๖ และข้อ ๑๑๓ วรรคสอง ขอเชิญผู้มีรายชื่อ ต่อไปนี้เข้าร่วมในที่ประชุมครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผู้แทนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๑. นางสาวคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ๒. นายวิษณุ อรรถวานิช ๓. นางสาววีณาริน ลุลิตานนท์ ๔. นายดนัยภัทร โภควณิช ๕. นายธีระวุฒิ เต็มสิริวัฒนกุล

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๑. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๒. นางสาวปรียาภรณ์ เกราะแก้ว ผู้อำนวยการกองกฎหมาย

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๓. นายพันศักดิ์ ถิรมงคล ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

กรมควบคุมมลพิษ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๔. นายเชาว์ลิต แจ้งอักษร ผู้อำนวยการส่วนพัฒนากฎหมาย กรมควบคุม

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

มลพิษ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๕. ดอกเตอร์บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน สำนักงาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เราจะเริ่มที่การอภิปรายของทางสมาชิกก่อนนะครับ ตอนนี้รายชื่อที่อยู่ในมือ ก็คือฝ่ายค้านทั้งหมด ๑๒ ท่าน แล้วก็ฝ่ายรัฐบาล ๑๐ ท่าน แล้วก็เป็นการปิดรายชื่อ ผู้อภิปรายแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นเราพิจารณาวาระที่ ๑ ในวันนี้ได้ค่อนข้างแน่นอนแล้ว นะครับ ก็อยากให้ที่ประชุมได้เตือนเพื่อนสมาชิกให้มาลงมติด้วยนะครับ ขอเชิญท่านแรกของ ฝ่ายค้าน ท่านกัลยพัชร รจิตโรจน์

นางสาวกัลยพัชร รจิตโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน ที่เคารพ ดิฉัน กัลยพัชร รจิตโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล วันนี้จะมาขออภิปรายสนับสนุนญัตติ ร่าง พ.ร.บ. ฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดน ของพรรคก้าวไกล ดิฉันขออภิปรายในแง่มุมของการสาธารณสุขเป็นหลัก มลภาวะทาง อากาศถือเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่สุดตัวหนึ่งของปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ นอกจาก ตัวเลขทางสถิติที่เพื่อน ๆ ได้พูดมากันเยอะแยะตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วแล้วนะคะ ดิฉันขอพูดถึง สิ่งที่เราเห็นอยู่กับตาเลยก็คือท่านสามารถมองเห็นไปที่ขอบฟ้าว่ามันมัวขนาดไหน แล้วก็ ทุก ๆ ลมหายใจที่เราหายใจเข้าไปก็จะติดขัดไม่เต็มปอด ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนอากาศไม่มี พรมแดน อากาศเข้าถึงทุกคน เราหายใจด้วยอากาศเดียวกัน นอกจากฝุ่นพิษจะมีผลต่อ สุขภาพของแต่ละคนแล้ว ยังมีผลต่อระบบสุขภาพโดยรวมด้วยค่ะ จะเปรียบเทียบสถิตินะคะ ตัวเลขผู้ป่วยเป็นโรคปอดอุดกลั้นเรื้อรังที่มีผลจากมลพิษ ปี ๒๕๖๒-๒๕๖๕ ๔ ปีมีคนป่วย เป็นโรคนี้ ๑๘,๐๐๐ คน ตกประมาณปีละ ๔,๕๐๐ คน ซึ่งก็ถือว่าเยอะแล้วนะคะ แต่ว่า ตัวเลขเพียงแค่ปี ๒๕๖๖ ปีเดียวที่เราเจอฝุ่น PM2.5 หนักที่สุด มีผู้ป่วยโรคนี้เพิ่มขึ้นเป็น ๒๐,๐๐๐ คนต่อปี ยังไม่นับค่าใช้จ่าย นอกจากโรคนี้แล้วยังมีโรคทางเดินหายใจชนิดอื่น มะเร็งปอด โรคหัวใจ และหลอดเลือด อายุไขที่สั้นลงและความเสียโอกาส และความทุกข์ ทรมานของคนในครอบครัว ต่อจากนี้ดิฉันจะขอเข้าไปในรายละเอียดร่างของพรรคก้าวไกล เทียบกับร่างของ ครม. ในมุมของสาธารณสุข สไลด์ขึ้นเลยค่ะ

นางสาวกัลยพัชร รจิตโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ในส่วนมาตรา ๙ วรรคสอง ของร่าง พ.ร.บ. ฝุ่นพิษ ฉบับก้าวไกล เขียนไว้ชัดเจนว่า รัฐมีหน้าที่ให้สิทธิในการเข้าถึงระบบ สุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงและคัดกรองโรคอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียมกัน ๒ ร่างนี้มีข้อที่เหมือนกันคือการเข้าถึงการรักษา โดยของ ครม. เพิ่มด้วยว่าโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่าย จุดนี้เป็นจุดที่ดีค่ะ ดิฉันคิดว่ายังไม่เพียงพอที่จะรักษาโรคที่เกิดจากฝุ่น PM2.5 เป็นโรคเรื้อรัง เป็นภัยที่มองไม่เห็น ใช้เวลาดำเนินโรคนานมากนะคะ กว่าจะเห็นมีอาการ กว่าจะเห็นฟิล์มเอกซเรย์มีรอยโรคแล้วกว่าจะได้รักษาก็มักจะสายเกินไป แล้วเป็นการรักษา แบบประคับประคองให้ออกซิเจนเพียงเท่านั้น ดิฉันเสนอให้ทาง ครม. หรือทางกรรมาธิการ วิสามัญที่ตั้งขึ้นนี้พิจารณาการประเมินความเสี่ยงด้วยค่ะ เพราะเมื่อเราสามารถประเมิน รอยโรคตั้งแต่เริ่มต้นเราจะได้เข้ารับการรักษาได้ทันการณ์ หรือแม้กระทั่งว่าผู้ป่วยไม่เป็นโรค เขาก็สามารถปรับ Lifestyle ให้เข้ากับฝุ่นที่มากขึ้นทุกวัน ๆ เหล่านี้ได้ โดยดิฉันขอเสนอให้ รัฐจัดสรรเพิ่มสิทธิประโยชน์ ซึ่งก็แปลว่าไม่เสียค่าใช้จ่ายในการคัดกรองโรคมะเร็งปอด แล้วก็ โรคปอดในกลุ่มเสี่ยง เฉพาะพื้นที่เสี่ยงก็ได้ค่ะถ้าท่านกังวลว่าจะเป็นการเสียทุนของรัฐมาก เกินไป พื้นที่เสี่ยงได้แก่ ภาคเหนือของประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ภาคตะวันออก สระบุรี แล้วก็ Zone ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมมาก ๆ โดยการคัดกรองที่เป็นมาตรฐานของ ทั่วโลกเลยคือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยปริมาณรังสีต่ำ หรือว่าเรียกว่า Low-dose CT Scan ค่ะ ถ้าทำเพียงแค่เอกซเรย์ปอดธรรมดาไม่เพียงพอ และไม่มีความไวพอที่จะจับ รอยโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ส่วนอีกมิติหนึ่งคือมิติเรื่องการต่างประเทศ จุดนี้คือในร่าง ครม. ตัวบทไม่ได้มีความครอบคลุมที่เพียงพอถึงกลไกในระดับภูมิภาคและนานาชาติ กล่าวคือ พูดแค่กว้าง ๆ ในมาตรา ๖ (๕) ระบุว่าสร้างความร่วมมือในการแก้ไขภาวะมลพิษทางอากาศ รวมไปถึงการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศและนานาชาติ โดยมีกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่ในการประสานงาน แต่ว่าดิฉันอยากให้ท่านระบุ ไปให้ชัดเจนเลยถึงกลไกความร่วมมือในประชาคมอาเซียนที่ท่านได้เคยเซ็นไปแล้ว ตอนรัฐบาลของท่านเองได้ไปเซ็นสัตยาบันที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ไว้ วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๐๐๓ หรือปี ๒๕๔๖ เป็นการลงสัตยาบันความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน หรือว่า ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution ท่านสามารถลงไปใน พ.ร.บ. ได้อย่างชัดเจนเลยว่าเราจะเน้นความร่วมมือระหว่างประชาคมอาเซียน เพราะใคร ๆ ก็รู้ว่า ASEAN มีผลกระทบจาก PM2.5 มากที่สุดในตอนนี้ ทั้งนี้เพื่อทำให้มั่นใจว่าจะมี การบูรณาการและมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาทั้งในระดับประเทศและในระดับ ภูมิภาคเข้าด้วยกัน มีความต่อเนื่องและมีข้อผูกพันกันทางกฎหมายระหว่างประเทศ ฝากไว้ เพียงเท่านี้นะคะ ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านอัครแสนคีรี โล่ห์วีระ ครับ ยังไม่อยู่ในห้องประชุมนะครับ ฝ่ายรัฐบาล ท่านต่อไปพร้อมไหมครับ ท่านเทียบจุฑา ขาวขำ เชิญครับ

นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางเทียบจุฑา ขาวขำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ดิฉันขอร่วมอภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศ สะอาด พ.ศ. .... ตามที่คณะรัฐมนตรีและเพื่อนสมาชิกได้เสนออีกทั้ง ๖ ฉบับ ท่านประธาน เกี่ยวกับเรื่องปัญหาฝุ่นเป็นพิษหรืออากาศไม่บริสุทธิ์เป็นเสียส่วนใหญ่นี้ ส่วนมากจะเห็น ง่าย ๆ ได้จากในกรุงเทพมหานคร ถ้าเพื่อนสมาชิกหรือท่านประธานมองไปข้างนอกอาคาร ก็จะเห็นหมอกควันขึ้นมากมายหนาแน่น นี่ละคะถือเป็นอากาศเป็นพิษ เพราะฉะนั้นปัญหา อากาศเป็นพิษทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองที่เรียกกันว่า PM2.5 หรือ PM10

นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ

ซึ่งปัจจุบันดิฉันก็พูดแล้ว พูดย้ำอีก มีมากที่สุดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากนั้นยังไม่พอ ยังขยายไปยังต่างจังหวัด ทุกภูมิภาคค่ะท่านประธาน ต้องเผชิญกับปัญหาอากาศเป็นพิษอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะอะไร เพราะมลพิษอากาศไม่สะอาดอันนี้ ซึ่งตอนนี้เราไม่สามารถจะควบคุมได้ มันเกิดจากอะไร แหล่งมลพิษทางอากาศนี้ เช่น เกิดจากการสร้างถนน เกิดจากการสร้างอาคาร เกิดจาก เรื่องของมลพิษภาวะรถยนต์ จากโรงงาน จากอุตสาหกรรมต่าง ๆ จากการสร้างรถไฟ เผาป่า เผาเศษวัสดุเกษตร แล้วยังไม่พอยังมีหมอกควันข้ามแดนอีก อย่างจังหวัดดิฉันจังหวัด อุดรธานีก็มีหมอกควันข้ามแดน ในจังหวัดอุดรธานีนี้จะเห็นได้ว่าหมอกควันที่เป็นปกติที่อยู่ ในเกณฑ์ในช่วงเดือนมกราคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ค่อนข้างจะเป็นปกติ แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ จะเป็นสีแดง แต่พอมาเป็นปลายเดือนธันวาคมเข้ามาห้วงเดือนพฤษภาคมจะเป็นเกณฑ์สีแดง PM2.5 เกินมาตรฐานเป็นพื้นที่สีแดง ดูสิคะ ขนาดพื้นที่จังหวัดอุดรธานีเป็นพื้นที่ป่าไม้พื้นที่ สีเขียวเยอะ อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้ธรรมชาติเยอะ แล้วบางอำเภอก็เป็นพื้นที่สีน้ำตาล อันนี้เป็นข้อมูลจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี ปัญหามันเกิด จากอะไรเกิดจากหมอกควันที่พี่น้องประชาชนได้เผาฟางหญ้าเกษตรต่าง ๆ เพราะพื้นที่ตรงนี้ เป็นพื้นที่อยู่ใกล้กับป่าสงวนพื้นที่อำเภอบ้านผือ น้ำโสม นายูง เป็นพื้นที่ป่าสงวน ป่าแห่งชาติ ป่าอนุรักษ์ และพื้นที่เกษตร เขต ส.ป.ก. และพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศลาว โดยเฉพาะอำเภอ นายูง จะได้รับผลพวงจากหมอกควันข้ามแดนของจังหวัดอุดรธานี ดังนั้นปัญหามลพิษถือว่าเป็นอากาศก็ส่งผลกระทบต่อเรื่องสุขภาพชีวิตความเป็นอยู่ของ พี่น้องประชาชน ดิฉันเป็นห่วงมากเลย เพราะเป็นเรื่องฝุ่นละอองพอหายใจเข้าสู่ปอดแล้ว มันไม่ได้หายใจเข้าสู่ปอดอย่างเดียว ฝุ่นละอองอย่างเดียว ยังนำสารพิษเข้าไปสู่ในร่างกาย ของเราด้วย ทำให้เกิดการสุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคหลาย ๆ โรคเกิดขึ้น เช่น ที่ใกล้ ๆ ตัว ก็คือโรคระบบทางเดินหายใจ เป็นภูมิแพ้ หายใจไม่สะดวก ไอ จาม แสบคัน คันตามเนื้อ ตามตัว บางทีก็จะลามไปถึงโรคหัวใจด้วย เพราะฉะนั้นผลกระทบเรื่องสุขภาพแล้ว ผลกระทบเรื่องการภูมิทัศน์แย่แล้ว ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงกว่าปกติ วิสัยทัศน์แย่ มันปกคลุมไปด้วยหมอกมองไม่เห็นถนนหนทาง เกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ บางทีก็ไปทำลาย สิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยโลหะทำให้สึกกร่อนได้ง่าย นี่คือปัญหาของมลพิษสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ดิฉันว่าปัญหานี้มันเป็นปัญหาที่สำคัญที่ส่งผลกระทบด้านสุขภาพ ด้านชีวิตความเป็นอยู่ของ พี่น้องประชาชน ส่งผลกระทบถึงด้านการท่องเที่ยว ทำให้สถิตินักท่องเที่ยวลดลง เพราะอากาศไม่ดี อันนี้ก็ทำให้ส่งผลกระทบไปให้กับประชาชน ทำมาค้าขายก็ไม่คล่องตัว เศรษฐกิจก็แย่ลง นี่ละค่ะท่านประธานเป็นเรื่องที่สำคัญดิฉันจำเป็นจะต้องมาอภิปราย สนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ดิฉันก็อยากจะขอยกตัวอย่างจาก World Bank นะคะ ท่านประธาน World Bank บอกว่าปัญหาของมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 PM10 นี้เป็นปัญหา สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดโรคร้าย ๆ หลายโรค แล้วก็ทำให้บุคคลหรือคนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร แทนที่จะต้องทำงาน จะต้องเรียนหนังสือ แต่ต้องมาเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทั่วโลกนี้ มีประมาณ ๙ ล้านกว่าคนจากมลพิษนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากพิษทางอากาศค่ะท่านประธาน ตัวเลข ๙ ล้านกว่าคนนี้มากกว่าผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ จากวัณโรคด้วยจากสภาพปัญหา ดังนี้ ดิฉันอยากจะขอยกตัวอย่างให้ท่านประธานได้ทราบว่ามีประเทศที่เขาบริหารจัดการ มลพิษทางอากาศที่ประสบผลสำเร็จนี้คือประเทศแคนาดา เมืองแวนคูเวอร์ แล้วก็ประเทศ เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน เขาก็จัด Zoning ในเรื่องของการปล่อยมลพิษเลย ประเทศญี่ปุ่นเขา ก็ติดตั้งระบบแจ้งเตือนหมอกควันต่าง ๆ ดังนั้น ดิฉันเห็นว่าร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นร่าง พ.ร.บ. ที่สำคัญ เพราะจากที่ดิฉันได้ศึกษามีหลาย ๆ มาตราได้กำหนดมาตรฐานและมาตรการในการ กำหนดในการไปปฏิบัติให้กฎหมายใช้ได้อย่างดี เช่น กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมาย เป็นแม่บท เป็นหลักในการแก้ปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศแล้วก็มีคณะกรรมการระดับชาติ ระดับประเทศคอยกำกับการดูแล เช่น นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน แล้วก็มีมาตรการควบคุม มลพิษหรือโรคทางอากาศชัดเจน มีมาตรการให้อำนาจหน้าที่กับเจ้าพนักงานอากาศสะอาด พนักงานอากาศสะอาดมีอำนาจควบคุมและให้ถ้อยคำ สอบปากคำได้อย่างเต็มที่ ตามอำนาจ เพื่อให้ยุติการเกิดอากาศเป็นพิษ ดังนั้น ดิฉันขอสนับสนุนเพื่อให้พี่น้องได้มีสุขภาพดี มีสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ดังนั้นดิฉันมั่นใจว่าร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ จะนำพาพี่น้องประชาชนทุกคนมีความสุข มีสุขภาพดี มีความสุข ดิฉันจึงขอสนับสนุนรับ หลักการร่าง พ.ร.บ. บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดฉบับนี้ ขอบคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

อีก ๓ ท่านนะครับ ท่านแรก ท่านวิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก ท่านที่ ๒ ท่านจำลอง ภูนวนทา ท่านที่ ๓ ท่านพุธิตา ชัยอนันต์ เชิญท่านวิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก เชิญครับ

นายวิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก ลำพูน ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม วิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน เขต ๑ อำเภอเมือง อำเภอ แม่ทาและอำเภอบ้านธิ สังกัดพรรคก้าวไกลครับ วันนี้ผมขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะมาร่วมอภิปราย สนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการอากาศสะอาดที่มีเพื่อนสมาชิกได้อภิปรายกัน อย่างหลากหลายมิติครับ ในครั้งนี้ผมขอนำเสนอในมิติทางด้านของการท่องเที่ยวจากสภาวะ อากาศในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะฝุ่นควัน PM2.5 ถ้าเรา ไม่มีการบริหารจัดการอากาศสะอาดที่มีประสิทธิภาพ เราก็จะพบปัญหามลพิษทางอากาศ เข้าสู่ภาวะวิกฤติเพิ่มมากขึ้น ขอสไลด์ขึ้นด้วยนะครับ

นายวิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก ลำพูน ต้นฉบับ

ซึ่งปัจจุบันจังหวัดลำพูนเองก็จะเป็น อีกหนึ่งจังหวัดที่จะได้รับผลกระทบนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งพ่อแม่พี่น้องของจังหวัดลำพูนก็จะมี รายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคการเกษตร และรายได้อีกส่วนหนึ่งก็คือรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่จะมาในจังหวัดลำพูนก็จะมีการท่องเที่ยวอยู่ ๒ ส่วนหลัก ๆ ก็คือ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จากสถิตินักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว ที่จังหวัดลำพูน จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผมจะนำเรียนท่านประธานไปดูเฉพาะ ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ ถึงปี ๒๕๖๖ ช่วงต้นปี ๒๕๖๒ มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวที่จังหวัดลำพูนมากถึง ๓๑๐,๐๐๐ คน แต่ท่านประธานจะเห็นว่า จุดที่กราฟจะมีฝุ่น PM2.5 สะสมอยู่ที่ประมาณ ๑๑๒ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกิน ค่ามาตรฐาน เพราะค่ามาตรฐานเราจะต้องไม่เกินที่ ๓๗.๕ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อมาดูในช่วงต้นปี ๒๕๖๓ ปริมาณฝุ่น PM2.5 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ๑๑๐ ซึ่งไม่ต่างจาก ปี ๒๕๖๒ แต่จะเห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงไปเหลือเพียง ๒๓๐,๐๐๐ กว่าคน ลดไปถึง ๒๔.๖๘ เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากในบางวันของจังหวัดลำพูนมีค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานไปมาก จากการลงทุนในปี ๒๕๖๓ ณ จุดวัดคุณภาพที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนมีค่าเกินมาตรฐานไปถึง ๓๕๘ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเลย เกินค่ามาตรฐานมากเกือบ ๑๐ เท่า ทำให้ความ เชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวที่จะมาท่องเที่ยวที่จังหวัดลำพูนลดลง ในปี ๒๕๖๔ และ ปี ๒๕๖๕ เราทุกคนทราบดีว่าเราเกิดภาวะวิกฤติโควิด-๑๙ ซึ่งทำให้รายได้จากการท่องเที่ยว จะลดลง เป็นเรื่องของภัยพิบัติทางโรคระบาดนะครับ และในปี พ.ศ. ๒๕๖๖ วิกฤติโควิด เริ่มดีขึ้น ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวก็จะเริ่มกลับมา จังหวัดลำพูนเองก็ได้รับผลนี้ เหมือนกัน นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นที่จะกลับมาเที่ยวที่จังหวัดลำพูนมากถึง ๓๘๑,๕๖๐ คน แต่ท่านประธานจะเห็นว่าฝุ่น PM2.5 ก็จะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ค่าเฉลี่ย ๓ เดือน ที่ผ่านมาจะอยู่ที่ ๑๐๗ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถ้าเราไม่มีการบริหารจัดการอากาศ สะอาดที่มีประสิทธิภาพ ความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวก็จะลดลง ถ้าจากสถิตินักท่องเที่ยว ปี ๒๕๖๖ ๓๐๐,๐๐๐ กว่าคน ถ้าเราไม่มีการบริหารจัดการอากาศบริสุทธิ์ที่มีประสิทธิภาพ ในปีนี้ฝุ่น PM2.5 จะกลับมาและนักท่องเที่ยวจะมีความเชื่อมั่นลดลงครับ การสูญเสียโอกาส ทางด้านการท่องเที่ยวเที่ยวของจังหวัดลำพูนจะลดลงไปถึง ๑ ใน ๔ หรือประมาณ ๑๑๗ ล้านบาท อันนี้ยังไม่รวมถึงการสูญเสียโอกาสทางด้านอื่น ๆ อีกนะครับ เมื่อพูดถึง การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติจังหวัดลำพูนเราก็จะนึกถึง วัดพระธาตุหริภุญชัยที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนนะครับ และถ้านักท่องเที่ยวจะไปท่องเที่ยวทางธรรมชาติเราก็จะไปนึกถึงที่น้ำตกก้อหลวงที่อุทยาน แห่งชาติแม่ปิงที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมาทางคณะก้าวหน้าร่วมกับ ท้องถิ่นจะมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับพ่อแม่พี่น้อง ชาติพันธุ์ จากภาพท่านประธาน อันนี้คือภาพมุมสูงของบ้านเรือนของพี่น้องชาติพันธุ์ซึ่งอยู่ใน พื้นที่หุบเขาจะเห็นว่าถ้ามีอากาศที่โปร่ง จะเห็นทัศนียภาพที่สวยงาม ผมเองก็เป็นคนหนึ่ง ที่เคยได้ไปสัมผัสธรรมชาตินี้ ถือว่าเราได้ไปสัมผัสเรื่องของอากาศที่บริสุทธิ์ ถ้าท่านประธาน รวมถึงเพื่อนสมาชิกทุกท่านถ้าจะไปเที่ยวที่สะพานขาวทาชมภูครับ ท่านประธานลองนึกภาพ นะครับ ถ้าเราจะไปถ่ายภาพเราอยากจะเห็นภาพทางด้านซ้ายหรือทางด้านขวามือ แน่นอน ทุกท่านอยากเห็นภาพทางด้านซ้ายมือมากกว่าครับ แต่ภาพทางด้านขวามือเป็นภาพถ่าย เมื่อปี ๒๕๖๓ ค่าฝุ่น PM ที่เกินมาตรฐานเกือบ ๑๐ เท่า ทำให้ทัศนียภาพและความเชื่อมั่น ของภาคการท่องเที่ยวของจังหวัดลำพูนลดลง อันนี้ยังไม่รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของ พ่อแม่พี่น้องในจังหวัดลำพูนของผมนะครับ และการทำกิจกรรมในพื้นที่โล่ง ทุก ๆ ท่าน เวลาเราจะออกไปออกกำลังกายในที่โล่งเราก็ต้องการสุขภาพที่ดี แต่ถ้าเราไม่มีการบริหาร จัดการอากาศบริสุทธิ์ที่ดี ผมเองก็ไม่เชื่อมั่นว่าเวลาเราจะไปออกกำลังกายในที่โล่ง เราจะได้สุขภาพที่ดีกลับคืนมา ดังนั้นผมคิดว่าเราควรจะนำปัญหาฝุ่น PM2.5 มาพิจารณา ร่วมกันเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นปัญหา ฝุ่นควันที่เกิดจากการเผาในพื้นที่โล่ง การเผาในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และ ฝุ่นควันจากการขนส่ง แล้วยังรวมไปถึงฝุ่นควันที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านเราควรจะ พิจารณาให้ครอบคลุมทุกมิติ ดังนั้นผมจึงขอสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการ อากาศสะอาดทั้ง ๗ ร่างในครั้งนี้ ขอบคุณครับท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เดี๋ยวจะทบทวนลำดับท่านที่จะอภิปราย ท่านแรก ท่านจำลอง ภูนวนทา ท่านที่ ๒ ท่านประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ท่านที่ ๓ ท่านเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ท่านที่ ๔ ท่านพุธิตา ชัยอนันต์ เชิญท่านจำลอง ภูนวนทา ครับ

นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม จำลอง ภูนวนทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๓ พรรคพลังประชารัฐ ท่านประธานครับ ผมเป็นหนึ่งในสมาชิกที่ให้ การสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด จึงขอร่วม Jam ใคร่ขอเวลาท่านประธานเพื่อร่วม Jam ในการอภิปรายในครั้งนี้ ท่านประธานครับ รัฐมีหน้าที่ในการจัดการสภาพแวดล้อมให้ อากาศมีความสะอาดเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตพี่น้องประชาชนโดยทั่วไป ขอสไลด์เลยครับ

นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ บ้านผมโดยหลักแล้ว มีอาชีพเกษตรกร บ้านผมเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีปัญหาในการเผาอ้อยใน ๕ จังหวัด การเผาอ้อยก็เป็นมูลเหตุหนึ่งในการทำให้เกิดสภาพอากาศไม่สะอาด ท่านประธานครับ อากาศที่ไม่สะอาดเกิดจากอะไรสาเหตุครับท่านประธาน เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาในที่โล่ง เช่นภาพที่ท่านประธานได้ชมเมื่อสักครู่นะครับ ที่ท่านประธานเห็นนี้ บ้านผมเรียกหิมะดำ เกิดจากการเผา แล้วฝุ่นสีดำนี้จะปลิวมาตก ท่านเห็นไหมครับหลังคารถ ภาพที่ ๒ หลังคารถขาว ๆ จะปกคลุมไปด้วยหิมะดำ ท่านประธานครับ นี่คือการเผาในที่โล่ง มลพิษอีกอย่างหนึ่งเกิดจากพิษการก่อสร้าง พิษจากยานพาหนะอันเกิดจากการเผาไหม้ ความไม่สมบูรณ์ของสันดาปของเครื่องยนต์ทำให้เกิดควันดำ แล้วก็เป็นการทำลายอากาศ อีกประเด็นหนึ่งนะครับท่านประธาน โรงงานที่ก่อสร้างขึ้นมาแล้วสร้างความรำคาญให้กับ พี่น้องประชาชนก็คือโรงไฟฟ้าชีวมวล หลายแห่งพี่น้องประชาชนเดือดร้อน รัฐควรจะส่งเสริม โรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตไฟฟ้าที่สะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานน้ำ ท่านประธานครับ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าเราจะออกกฎหมายฉบับไหน เข้มงวดแค่ไหนก็ตาม มันขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองหรือผู้รักษากฎหมาย ผมเกรงว่าร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้เมื่อผ่านสภาออกไปเป็นกฎหมายแล้ว ผมเกรงที่สุดครับ ผมเกรงเรื่องความเสมอภาค ของกฎหมายจะนำไปใช้ไม่เกิดความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชนอย่างเสมอภาค ท่านประธานครับ สิ่งที่ผมมองเห็นความสำคัญที่สุดในการทำให้ประเทศชาติมีอากาศ ที่สะอาด ให้เกิดอากาศที่พี่น้องประชาชนสูดเข้าไปแล้วเป็นคุณต่อชีวิต มีอยู่เรื่องหนึ่งที่สำคัญ ที่สุดคือการสร้างจิตสำนึกให้กับพี่น้องประชาชนให้มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเอง ทำลงไปว่าดีหรือไม่ดีแค่ไหน เพราะฉะนั้นการสร้างแรงจูงใจจะเป็นเรื่องสำคัญครับ ท่านประธาน กรณีตัดอ้อยเมื่อสักครู่นี้ ผมได้มีโอกาสลงไปสัมผัสด้วยตัวผมเอง ไปถาม ชาวบ้านว่าถ้าไม่เผาตัดอ้อยได้ไหม เขาก็บอกว่าได้ แต่ว่าแรงงานหายาก ท่านประธานทราบ ไหมว่าอ้อยที่นำไปขายโดยไม่ได้เผาเป็นอ้อยสด เขาเรียกอ้อยสด ได้ราคาดีกว่าอ้อยที่ถูก ไฟเผาเกือบ ๒๐๐ บาทนะครับท่านประธาน แต่ว่าเกษตรกรให้คำตอบกับผมว่าไม่สามารถที่ จะทำได้เนื่องจากว่า ๑. หาคนงานอยาก ค่าแรงแพง ผมก็ถามว่าเครื่องมือทุ่นแรงก็คือ อุปกรณ์ในการตัดอ้อย มีไหม มี ท่านจะเห็นภาพนี้ครับ ก็คือรถตัดอ้อย รถตัดอ้อยจะตัดอ้อย สดใส่รถบรรทุกเพื่อนำส่งโรงงานอุตสาหกรรม ท่านประธานครับ ผมสังเกตและคิดได้ว่า การทำแบบนี้มันต้องได้รับการอุดหนุน ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ เช่น การที่ประเทศไทย เรามีวิทยาลัยอาชีวะ มีวิทยาลัยเทคนิค มีเอกอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งสามารถวิจัยและ พัฒนาเครื่องมือในการตัดอ้อยให้ทันสมัยและราคาถูก พี่น้องประชาชนเข้าถึงได้ อีกอย่างหนึ่งครับท่านประธาน การที่เราจะสร้างจิตสำนึกให้พี่น้องประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการลดมลภาวะในครั้งนี้รัฐจะต้องออกแรง โดยเฉพาะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาครัฐ โดยเฉพาะการให้การสนับสนุนงบประมาณ ท่านประธานครับ ระดับจังหวัดควรจะมี ผู้ว่าราชการจังหวัด มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับอำเภอควรจะมีนายอำเภอและกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ระดับตำบลควรจะมีกำนันเป็นประธานร่วมกับนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความร่วมมือตรวจสอบในการใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และต้องให้การสนับสนุน งบประมาณ ไม่ใช่มอบแต่หน้าที่นะครับ ต้องให้งบประมาณเขาไปด้วยเพื่อสะดวกและ การทำงานแบบมีประสิทธิภาพ สิ่งสุดท้ายที่ผมจะนำกราบเรียนท่านประธาน ผมว่าถ้าหาก เราเพิ่มงบประมาณให้กับผู้ที่ทำการเกษตรปลูกอ้อยหรือปลูกข้าว ผู้ใดก็ตามที่ไม่เผาซังข้าว ไม่เผาอ้อยควรจะอนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมให้เขาอีกตันละ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ผมถาม เกษตรกรแล้วครับ เขาบอกเขาพอใจ และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้ลืมตาอ้าปากได้ด้วย เป็นการสร้างจิตสำนึกให้พี่น้องประชาชนที่เป็นเกษตรกรให้ความร่วมมือกับภาครัฐมากขึ้น จึงกราบเรียนท่านประธานมาด้วยความเคารพครับท่านประธาน ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ เชิญครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม ประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล จังหวัดปทุมธานี เขต ๗ อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี และอำเภอหนองเสือ วันนี้ ผมขอมี ส่วนร่วมอภิปรายสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดน พ.ศ. .... ของ พรรคก้าวไกล ที่เสนอโดย นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ กับคณะ รวมทั้งสนับสนุนอีก ๖ ร่าง ไปพร้อม ๆ กัน ท่านประธานครับ จังหวัดปทุมธานีบ้านผมมีสัญลักษณ์เป็นดอกบัวแล้วก็ ต้นข้าว ซึ่งแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ แล้วจังหวัดปทุมธานีก็เป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของ ภาคกลางมาช้านาน จังหวัดปทุมธานีมีพื้นที่ ๙๕๐,๐๐๐ ไร่ ๑ ใน ๔ เป็นพื้นที่ทำนานะครับ ท่านประธาน ข้าวหอมปทุมธานีก็ได้ขึ้นทะเบียนบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือที่เรียกว่า GI ที่มี คุณภาพและมีชื่อเสียง สินค้าเกษตรของเรานอกจากข้าวหอมแล้วเรายังมีกล้วยหอมปทุมธานี แล้วก็ยังมีปลาดุกที่เป็นที่ภูมิใจของคนปทุมธานี ที่ผมกล่าวถึงเรื่องการเกษตรเพราะอะไร เพราะว่าจังหวัดปทุมธานีเรามีความภูมิใจที่เราเป็นพื้นที่เกษตร อุตสาหกรรม แล้วก็มีชุมชน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมาช้านานนะครับท่านประธาน แล้วเกิดอะไรขึ้น ขอสไลด์นะครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

สิ่งที่เกิดขึ้นคืออำเภอลำลูกกา ขึ้นอันดับต้น ๆ ของประเทศฝุ่นพิษมากที่สุด ในวันที่ ๘ คืออยู่อันดับ ๑ ในวันที่ ๑๑ คืออยู่ อันดับ ๒ ของประเทศไทย ตรงนี้คือปัญหาเกิดจากอะไร ลองดูนะครับ นี่คือการเผานา ที่บอกว่าอยู่ติดกับหมู่บ้าน อันนี้คือหมู่บ้านจัดสรรถ่ายลงไป เผาที่นาประมาณนี้เลยนะครับ ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับประชาชน ผมจึงอยากจะสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด ฉบับนี้ให้กับการหยุดเผานา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะต้องเห็นใจเกษตรกรด้วย โดยการเยียวยาเขา ให้เหมาะสมนะครับท่านประธาน อันนี้คือโรคที่เกิดจากฝุ่นมลพิษทางอากาศ จะเห็นว่า ปี ๒๕๖๓ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ปี ๒๕๖๖ ขึ้นมาเป็น ๑๖ เปอร์เซ็นต์ อันตรายมากขึ้นเรื่อย ๆ ฝุ่นพิษก็เกิดทั้งทางเดินหายใจ ผิวหนังอักเสบ ตาอักเสบ มะเร็งปอดด้วย อันนี้คือปัญหาของ ประเทศไทยของเรา ตรงนี้ลองดูการเสียชีวิตจากโควิด เราเห็นว่าโควิดนี้อันตรายร้ายแรง ใช่ไหมครับ ในปี ๒๐๑๙ ผู้เสียชีวิตในประเทศไทย ๖๑ ราย แต่ผู้เสียชีวิตจากมลพิษ ในอากาศของประเทศไทย ๓๑,๐๑๘ ราย มากกว่ากันมหาศาลเลย และจำนวนผู้เสียชีวิตจาก โควิดทั้งหมดตั้งแต่มีมาแล้วจนถึงปัจจุบันนี้ในประเทศไทย ๓๔,๐๐๐ ราย ซึ่งพอ ๆ กับ ผู้เสียชีวิตจากปัญหาอากาศแค่ปีเดียว เราลองมาดูนะครับ เราเห็นว่าโควิดอันตรายแล้ว มลพิษในอากาศอันตรายกว่าเยอะครับ แล้วเราใช้เงินในการต่อกรกับโควิดเท่าไร พ.ร.บ. เงินกู้ ๓ ฉบับ ๑.๙ ล้านล้านบาท แล้วเราควรจะใช้งบสู้กับอากาศเท่าไรดีครับ ผมฝากเป็น ข้อคิดนะครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

ต่อไปผมก็จะพูดถึงกฎหมายของต่างประเทศนะครับท่านประธาน กฎหมาย ของต่างประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายมาตั้งแต่ปี ๑๙๗๐ หรือว่า ๕๔ ปีที่แล้ว มีการแก้ไขหลายครั้ง มีการควบคุมให้เข้มข้นขึ้นทุกครั้ง มีการควบคุม ๖ ตัว ก็คือมีโอโซน มี PM มีซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ แล้วก็ตัวตะกั่ว ฝุ่น PM ก็คือตัวปัญหาสำคัญที่สุด แล้วก็ปัจจุบันทางประเทศสหรัฐอเมริกากำลังดูเรื่องของ Greenhouse Gases ก๊าซเรือนกระจกนะครับ ซึ่งกำลังตัดสินใจกันอยู่ว่าจะอยู่ใน พ.ร.บ. อากาศสะอาดหรือว่าควรจะแยกไปอีกตัวหนึ่ง ส่วนประเทศจีน เราลองมาดูกันว่าประเทศจีน ทำอย่างไรบ้าง ปี ๒๐๐๐ หรือ ๒๔ ปีที่แล้วก็เริ่มมีการยกระดับคุณภาพอากาศ โดยการ ตรวจสอบ ก็คือ PM2.5 PM10 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ แล้วก็โอโซน แยกการควบคุมการปล่อยมลพิษจากแหล่งที่อยู่กับที่ กับแหล่งที่เคลื่อนที่ได้ โดยแหล่งที่ เคลื่อนที่ได้ควบคุมตั้งแต่เชื้อเพลิงแล้วก็การปล่อยอากาศพิษซึ่งมีการควบคุมอย่างเข้มข้น จึงไม่แปลกใจว่ารถยนต์ปัจจุบันนี้ของประเทศจีนเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้ากันมากมาย ด้วยการ ควบคุมอย่างเข้มข้นนะครับ การกำหนดมาตรฐานเหล่านี้ทำให้เกิดอะไรขึ้น ค่าเฉลี่ย PM2.5 ในเมืองใหญ่ ๆ ตั้งแต่ ปี ๒๐๑๓-๒๐๒๑ ลดลงถึง ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ๔๐ เปอร์เซ็นต์นะครับท่าน แล้วก็จำนวนผู้ป่วย จากระบบทางเดินหายใจแล้วก็มลพิษลดลงอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่า PM2.5 จะลดลงแต่เขายังมี ปัญหาเรื่องของก๊าซโอโซนอยู่ แผนในอนาคตของจีนจะทำอย่างไรต่อ ก็จะเพิ่มมาตรการ ควบคุมเข้มข้นกับรถยนต์พาหนะเรื่องการใช้เชื้อเพลิงแล้วก็การปล่อยมลพิษ เข้มข้นขึ้น เรื่อย ๆ อย่างที่ผมได้กล่าวไป การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาเรื่องโอโซนที่ประเทศจีน นะครับ และนอกจากนี้ก็จะเพิ่มการลงทุนในพลังงานสะอาดแล้วก็เทคโนโลยีสีเขียว ส่วน ประเทศญี่ปุ่นเราลองมาดูกัน ประเทศญี่ปุ่นจะมีชุดกฎหมายอยู่หลายฉบับเริ่มตั้งแต่ ปี ๑๙๖๘ กฎหมายควบคุมมลพิษในอากาศ แล้วก็มีกฎหมายพื้นฐานสิ่งแวดล้อม ปี ๑๙๙๓ กฎหมายควบคุมเสียงยานยนต์ ปี ๑๙๙๘ ระเบียบยานยนต์ ควบคุมไนโตรเจนไดออกไซด์ และ PM ในปี ๒๐๐๑ และนอกจากนี้ล่าสุดก็มีแผนรับมือโลกร้อนในปี ๒๐๑๖ ตั้งแต่ญี่ปุ่น มีกฎหมายในปี ๑๙๖๘ ก็ส่งผลให้อากาศดีขึ้นอย่างมาก ราคาค่าซัลเฟอร์ ค่าไนโตรเจนลดลง อย่างเห็นได้ชัด ค่าฝุ่น PM2.5 ลดลงด้วยนะครับ แต่ก็ยังมีปัญหามลพิษในเมืองใหญ่ ๆ โดยเฉพาะย่านอุตสาหกรรม ในอนาคตของญี่ปุ่นทำอย่างไร ก็เหมือนจีนเลยครับ ออกกฎหมายควบคุมเข้มข้นขึ้นแล้วก็เน้นให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งสนับสนุน เรื่องเทคโนโลยีพลังงานสะอาดครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ประเทศไทยของเรามีรายงานวิจัยชื่อว่า ภาระชีวิตจาก มลพิษทางอากาศของประเทศไทย ปี ๒๕๖๔ ประเมินเฉพาะจังหวัดได้ค่าเฉลี่ยที่ประชากร แต่ละคนได้รับจาก PM2.5 คือ ๒๑.๓ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ ประชากรเสียชีวิตจากวัยอันควรถึง ๒๙,๐๐๐ คน แล้วก็มีการเสนอต่อว่าหากเราลดความเข้มข้น ของ PM2.5 นี้ไปได้ตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำที่ ๕ ไมโครกรัม จำนวนผู้เสียชีวิตจะ ลดลงถึงร้อยละ ๗๗ หรือเราสามารถรักษาผู้เสียชีวิตได้ถึง ๒๒,๐๐๐ ชีวิตนะครับ

นายประสิทธิ์ ปัทมผดุงศักดิ์ ปทุมธานี ต้นฉบับ

อันสุดท้าย ข้อเสนอแนะของผมก็คือว่าเราก็ดูตามมาตรฐานของประเทศต่าง ๆ ที่เขาเจริญแล้ว ที่เขาได้ทำเรื่องการควบคุมมลพิษที่ได้ผล อย่างเช่น สหรัฐ จีน ญี่ปุ่น ก็คือ ให้ร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาดของเราฉบับนี้ให้เราดูเป้าหมายในอนาคตด้วยว่า PM2.5 ปัจจุบันเราจะตั้งค่าที่เท่าไร ในอนาคต ๕ ปี ๑๐ ปีข้างหน้าเราจะตั้งค่าเป็นอย่างไร เตรียมไว้ เลยนะครับ อย่ารอให้เกิดขึ้นแล้วเราค่อยมาแก้ปัญหากัน แล้วนอกจากนี้ควรจะดูถึง การควบคุมสารพิษอื่น ๆ ด้วย เช่น ก๊าซโอโซนแล้วก็ก๊าซเรือนกระจก แล้วก็การวางแผน รับมือกับโลกร้อนด้วย นอกจากนี้ผมก็ยังเสนอให้ท่านลองดูเรื่องของการพัฒนาพลังงาน สะอาดกับเทคโนโลยีสีเขียวด้วย เพราะว่าแต่ละนาทีที่เราเสียไป ทุกนาทีที่รัฐช้าคือทุกราคาที่ ประชาชนต้องจ่ายครับ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ เชิญครับ

นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม เกชา ศักดิ์สมบูรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทย สร้างชาติ ท่านประธานครับ ทุกวันนี้เราต้องยอมรับว่าพ่อแม่พี่น้องของเรานั้น รวมทั้ง ประชาชนที่อยู่ในประเทศไทยของเราจำนวนไม่น้อยที่มีอาการเจ็บป่วยจากโรคทางเดิน หายใจ ส่วนหนึ่งเกิดจากการสูดเอาฝุ่น PM2.5 ที่มีค่ามาตรฐานเกินเข้าไป ซึ่งปัจจุบันนั้น ปลิวว่อนอยู่เต็มไปหมด เราคงอยู่เฉยกันไม่ได้นะครับ เราจะต้องมาร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกัน ในการแก้ปัญหาในครั้งนี้ สาเหตุหลัก ๆ ก็มีเพียงไม่กี่สาเหตุ

นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ก็คือ เรื่องไฟไหม้ป่า ไฟไหม้ป่าเกิดจากการที่เกิดจากธรรมชาติ ในฤดูแล้ง กิ่งไม้ ต้นไม้เสียดสีกันเองมันก็เกิด อันนี้ไปได้โดยถือว่าเป็นอุบัติเหตุ แต่ส่วนหนึ่ง ก็เกิดจากฝีมือมนุษย์ ไม่ว่าเผาป่าเพื่อจะล่าสัตว์ หาของป่าเพื่อให้เห็ดขึ้น เพื่อให้หญ้าหวาน ผักหวานขึ้นมาจะได้เก็บผักเหล่านี้ได้ และยังเผาขยะในครัวเรือนอีกที่อยู่ในบริเวณบ้าน อันนี้ เราก็ต้องควรจะแก้ไขโดยการที่ฝังกลบหรือให้จัดการเรื่องขยะเปียก

นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีอยู่จำนวนมากในประเทศไทย ที่ใช้ตั้งแต่ถ่านหินลิกไนต์ น้ำมันดีเซล ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันทดแทน โรงงานเหล่านี้ อาจจะอยู่ห่างไกลชุมชน แต่ด้วยปล่องควันที่สูงอาจจะปลิวมาถึงชุมชนได้ อันนี้เราต้องแก้ไข ให้มลภาวะได้ลดน้อยลงไป

นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ เกิดจากพื้นที่เกษตรกรรมตั้งแต่นาข้าว ไร่อ้อย ถ้านาข้าว อย่างเมื่อสักครู่ที่ท่านได้อภิปรายไปคือเรื่องการเผานาข้าว แต่นาข้าวนั้นยังแก้ไขโดยการ ไถฝังกลบได้ แต่เกิดจากการไถพรวนมีฝุ่นกระจายก็มีฝุ่นได้เช่นกัน จากการเผาอ้อย ทำไมจึงต้องมีการเผาอ้อย การเผาอ้อยมีมาแต่ดั้งเดิมมานานแล้วหลายสิบปี เพราะว่า สมัยก่อนนั้นเราใช้แรงงานคนในการตัดอ้อยเพื่อนำไปสู่โรงงานน้ำตาล กรณีที่อ้อยยาวมาก แล้วก็ล้มเปะปะกันทำให้แรงงานนั้นตัดอ้อยได้ยากก็จึงมีการจุดไฟเผาอ้อยกันเมื่อก่อนนี้ แต่เมื่อก่อนนี้ไม่มีเน้นเรื่องมาตรฐานอะไรก็แล้วแต่ก็ยังพอทนกันได้ แต่สมัยก่อนนั้น ถ้าเป็นอ้อยไฟไหม้โรงงานยังตัดราคา ๓๐ บาทบ้าง ๕๐ บาทบ้างเมื่อก่อนนี้ แต่ปัจจุบันนั้น โรงน้ำตาลต้องการอ้อยก็จึงไม่มีการตัดราคา เพียงแต่ว่าเวลารัฐชดเชยนั้นของภาคเกษตรกร ไร่อ้อยนี้อ้อยสดก็จะได้เพียงฝ่ายเดียว อ้อยไฟไหม้ก็จะไม่ได้รับการอุดหนุนในส่วนนี้ เราจะทำอย่างไรให้เกษตรกรได้ใช้เครื่องจักรในการตัดอ้อยให้ได้เกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เครื่องจักรนั้นมีราคาคันละประมาณ ๑๒ ล้านบาท ถ้าต้องไปจัด Finance ก็เสียดอกเบี้ย อีกประมาณ ๔-๕ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นผมขอให้ทางรัฐได้มีโครงการส่งเสริมทางด้าน สินเชื่อจากธนาคารของรัฐ ก็คืออาจจะเป็นธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์ได้ลดอัตราดอกเบี้ยเครื่องมือเครื่องจักรเหล่านี้ให้กับพี่น้องเกษตรกร โดยลดอัตรา ดอกเบี้ยให้เหลือ ๐.๑ เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้พี่น้องเกษตรกรได้ใช้เครื่องจักรในการ ดำเนินการตัดอ้อยแก้ปัญหาการเผาไร่อ้อยต่อไป

นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ เป็นเรื่องที่เกิดจากการคมนาคม เพราะว่าปัจจุบันถนนดินลูกรังของ เรานั้นยังมีอีกเป็นจำนวนมากในชนบท เมื่อรถวิ่งก็จะมีฝุ่นละออง มีฝุ่นฟุ้งกระจายไปทั่ว รวมทั้งฝุ่นที่ตกบนถนนที่เกิดจากรถทำตกหล่นไว้อะไรก็แล้วแต่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ไปดำเนินการเก็บและแก้ไขนะครับ

นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๕ เป็นเรื่องเกิดจากการก่อสร้าง การก่อสร้างถนนขนาดใหญ่ที่ยาว ๆ หลาย ๆ สิบกิโลเมตรก็ต้องผ่านชุมชน ผ่านย่านเศรษฐกิจอะไรก็แล้วแต่ ถมดินในย่านชุมชน ใหญ่ ๆ บ้านจัดสรรจำนวนมากในเมืองหลวงนี่ แล้วการก่อสร้างอาคารสูง ๆ ก็ต้องป้องกัน สิ่งเหล่านี้ให้ดี

นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๖ เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งอันนี้เราห้ามไม่ได้นะครับ เกิดจากพายุหมุน หรือพายุทอร์นาโดต่างประเทศอะไรก็แล้วแต่ แล้วก็พายุลมแรง ๆ ที่เวลาลมกระโชก ก็จะทำให้เกิดฝุ่นมลพิษได้

นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๗ คือเกิดจากนอกราชอาณาจักร เช่น ภูเขาไฟ ไฟไหม้ป่าขนาดใหญ่ ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านเราก็ได้รับผลกระทบมาแล้ว

นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๘ เกิดจากการใช้รถยนต์หรือยานพาหนะ เกิดจากการสันดาปของ เครื่องยนต์ เกิดควันไอเสียในรถรุ่นเก่า ๆ ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศไทยเราได้ใช้มาตรฐานของ EURO 4 แล้วนะครับ แต่เมื่อก่อนนั้นเราใช้มาตรฐาน EURO 1 EURO 2 EURO 3 มาตลอด ปัจจุบันนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ประกาศมาตรการให้มาตรฐานรถยนต์ประเทศบ้านเรานั้น ไปใช้ที่มาตรฐานคือ EURO 5 อันนี้ก็ทำให้ลดมลภาวะไปได้ส่วนหนึ่ง

นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

อีกส่วนหนึ่งก็คือเกิดจากการเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะตำรวจตั้งด่าน ตรวจจับรถควันดำทำให้รถติด ๓ กิโลเมตร ๔ กิโลเมตร ๕ กิโลเมตร เป็นจำนวนมากนะครับ ทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ โดยเฉพาะรถบรรทุก รถโดยสาร รถขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้เกียร์ต่ำและต้องเร่งเครื่องยนต์ในรอบสูงในการออกตัวอยู่ตลอดเป็นสาเหตุทำให้เกิด อุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสารอารมณ์หงุดหงิด หน้าที่ตรวจควันดำก็ต้องเป็นหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกหรือสถานตรวจสภาพเอกชน ที่มีหน้าที่ดูแลในเรื่องนี้ ท่านจะเห็นว่าเวลาไปตั้งด่านนั้นก็จะมีร่มไปกางไว้ข้างถนน ซึ่งผม ดูแล้วว่ามันไม่น่าดูเลยนะครับ เพราะเรานั้นเป็นเมืองท่องเที่ยว เราต้องเชิญชวนชาวต่างชาติ มาเที่ยวบ้านเรา แต่มาเห็นสภาพมีการไปเรียกรถข้างทางเข้ามาแล้วก็เอาร่มไปกางไว้ นอกจากนี้นโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรมยังได้ร่วมมือ กันขับเคลื่อนนโยบายสะอาดให้กับภาคอุตสาหกรรมเพื่อเป็นการจูงใจให้นักลงทุนเข้ามา ลงทุน สร้างงานสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเพื่อแข่งขันในด้านการส่งสินค้าไปต่างประเทศ ในการลงทุนจากภาษีคาร์บอน สุดท้ายนี้ผมก็ขอสนับสนุนร่าง พ.ร.บ บริหารจัดการ เพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... ในทุก ๆ ฉบับที่เสนอมาเข้าสภาในวันนี้ ขอบคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านพุธิตา ชัยอนันต์ เชิญครับ

นางสาวพุธิตา ชัยอนันต์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน ดิฉัน พุธิตา ชัยอนันต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคก้าวไกล ท่านประธาน ที่เรา พิจารณากฎหมายทั้ง ๗ ฉบับในวันนี้เป็นเพราะว่ากฎหมายเดิมที่มีอยู่นั้นไม่ครอบคลุม ไม่ตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมลพิษ มลภาวะ ทางอากาศหรือทางน้ำก็ดี ทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมาเวลาชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจาก การปล่อยมลพิษจากผู้ประกอบการจากโรงงาน น้อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำหน้าที่ เป็นกลางอย่างที่ควรจะเป็น หลายครั้งมีการเพิกเฉย หลายครั้งดูราวกับว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะเข้าข้างฝั่งผู้ประกอบการ โรงงาน กลุ่มทุนมากกว่าคุ้มครองปกป้องชาวบ้าน ในมิติ ทางเศรษฐกิจ ทางการเมืองและสังคม โดยเฉพาะในระบอบอุปถัมภ์แบบไทย ๆ เราปฏิเสธ ไม่ได้เลยว่าอาจจะส่งผลให้รัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐเอื้อผลประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน กลุ่มธุรกิจ มากกว่าประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องถูกแก้ไขโดยกฎหมาย เพื่อสร้างความเป็นธรรม เพื่อรับรองสิทธิและคุ้มครองเสียงของประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อย ทีนี้เรามาดูที่ร่างกฎหมายฉบับของ ครม. ฉบับนี้กันค่ะ

นางสาวพุธิตา ชัยอนันต์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

มาตรา ๘๑ ดิฉันขออนุญาต อ่านเลยนะคะ มาตรา ๘๑ หมวด ๙ โทษอาญา ผู้ใดแพร่หรือไขข่าวที่ไม่เป็นความจริง เกี่ยวกับอันตรายจากแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศโดยมีเจตนาที่จะทำลายชื่อเสียงหรือ ความไว้วางใจของสาธารณชนต่อการดำเนินกิจการโดยชอบด้วยกฎหมายของแหล่งกำเนิด มลพิษนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เห็นอะไรไหมคะท่านประธาน โทษจำคุกมาจากไหนคะ มาดูกันต่อ มาตรา ๘๑ วรรคสอง หากการแพร่หรือไขข่าวตามวรรคหนึ่งกระทำโดยการประกาศ โฆษณา หรือออกข่าวทาง หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอย่างอื่น ผู้กระทำความผิดต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โทษจำคุก ๑ ปี ๕ ปี มาจากไหนคะ มีไว้ทำไม ต้องถามผู้ร่างกฎหมายฉบับนี้มีเจตนาเพื่ออะไร ท่านประธาน กฎหมายฉบับนี้โดยเฉพาะมาตรา ๘๑ นี้ดูผิวเผินเหมือนกับว่าจะให้ความเป็นธรรมแก่ ฝั่งผู้ประกอบการ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรายังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่จะคุ้มครองผู้ประกอบการ ในกรณีที่ถูกข้อมูลเท็จโจมตีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมาย หมิ่นประมาท หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ท่านประธานคะ การเปิดโปง การตั้งคำถามต่อ การกระทำความผิดของผู้ประกอบการ หรือการตั้งข้อสังเกตโดยประชาชน โดยสื่อมวลชน เมื่อได้รับเบาะแสหรือข้อเท็จจริงเบื้องต้นมาแล้ว แล้วป่าวประกาศออกไปเพื่อเฝ้าระวังจับตา สิ่งนี้ควรจะเป็นสิทธิและเสรีภาพที่จะกระทำได้ ไม่ใช่มาเขียนกฎหมายแบบนี้เพื่อมาขู่ ประชาชนและสื่อมวลชน ไม่ควรอย่างยิ่งนะคะ ไหนให้สัมภาษณ์บอกว่าจะไม่มีการเอื้อ นายทุน แล้วมาตรา ๘๑ ฉบับนี้คืออะไร โทษจำคุกที่เขียนมานี้ ๑ ปี ๕ ปีคืออะไรคะ เดี๋ยวดิฉันจะยกตัวอย่างให้ฟัง ให้เห็นภาพกันชัด ๆ นะคะ สมมุติว่ามีบริษัท A เป็นบริษัท ขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาล ต่อข้าราชการท้องถิ่น และผู้มีอำนาจในสังคม แต่บริษัทนี้ มีการปล่อยมลพิษทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนกันอย่างมาก พวกเขาจะหันหน้าไปพึ่งใครคะ ความหวังของพวกเขาไม่ใช่คนธรรมดาหรอกหรือที่กล้าออกมาพูด กล้าออกมาตั้งคำถาม ความหวังของพวกเขา ไม่ใช่สื่อมวลชนหรือที่กล้าออกมาตีแผ่เผยแพร่ข้อมูล ที่ก้าวออกมา ตั้งคำถาม ขุดคุ้ย หรือความหวังของพวกเขาจะอยู่ที่กฎหมายที่จะคุ้มครองรับรองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนคนธรรมดาหรือกฎหมายที่จะเอื้อให้เกิดการตรวจสอบเพื่อเพิ่มโทษ ทางอาญาหรือโทษทางสังคมให้กับผู้ประกอบการที่กระทำความผิดตามกฎหมายฉบับนี้ เพื่อกระตุ้นความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่หรือคะที่จะช่วยให้เสียงของคนตัวเล็ก ตัวน้อยดังขึ้น สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่หรือคะที่จะช่วยสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชน ท่านประธานคะ ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... ฉบับของ ครม. ที่เป็นผู้เสนอนั้นมีปัญหาอยู่ที่มาตรา ๘๑ ที่เขียนในลักษณะที่คลุมเครือ ตีความได้ กว้างขวาง เอื้อให้มีการฟ้องร้อง ปิดปากประชาชนและสื่อมวลชน ข่มขู่ด้วยระวางโทษจำคุก การเขียนกฎหมายในลักษณะนี้เป็นการข่มขู่ ตัดตอน ระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนและ สาธารณชน วันนี้ดิฉันจะโหวตเห็นชอบให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านในวาระแรกนะคะ แต่ต้อง มีการแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ และมาตรา ๘๑ ฉบับนี้จะต้องถูกตัดออกไป ไม่มีความจำเป็น ใด ๆ เลยค่ะ เพราะเรามีกฎหมายที่คุ้มครองผู้ประกอบการอยู่แล้ว เขียนมาแบบนี้เพื่ออะไร ท่านประธานคะ มันไม่สำคัญเลยว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะต้องผ่านและบังคับใช้จะต้องเป็น ร่างกฎหมายของพรรคก้าวไกลเท่านั้น จะเป็นร่างฉบับไหนก็ได้ แต่ขอให้ประชาชนได้รับ ประโยชน์จริง ๆ ไม่ใช่สอดไส้ สกปรก เขียนมาเพื่อพวกพ้องตัวเอง เพื่อกลุ่มนายทุนที่พวกคุณ รับใช้มา ไม่ใช่ ดิฉันจะขอสนับสนุนทุกร่างในวันนี้ทั้ง ๗ ฉบับ แล้วจะคอยติดตามว่าจะมี การแก้ไขกฎหมายและตัดมาตรา ๘๑ นี้ออกหรือเปล่า ขอบคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ท่านกรวีร์ ปริศนานันทกุล อยู่ไหมครับ ถ้าไม่อยู่ ต่อไปท่านจุฬาลักษณ์ ขันสุธรรม เชิญครับ

นางจุฬาลักษณ์ ขันสุธรรม เชียงราย ต้นฉบับ

เรียนประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน จุฬาลักษณ์ ขันสุธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดเชียงราย เขต ๖ อำเภอแม่สาย แม่ฟ้าหลวง แล้วก็อำเภอแม่จัน ๔ ตำบล พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันขอมีส่วนร่วมในการ อภิปรายเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดทั้งหมด ๗ ฉบับด้วยกัน ซึ่งวันนี้ก็เป็นแสง แห่งความหวังของพ่อแม่พี่น้องในเขตพื้นที่ของดิฉันพอสมควรที่ร่าง พ.ร.บ. ชุดนี้ได้เข้ามา ในสภาในวาระแรก ในเรื่องของวาระรับหลักการ เพราะว่าอยากจะนำพาท่านประธานแล้วก็ เพื่อนสมาชิกทุกท่านได้กลับไปดูในเขตพื้นที่ของดิฉันเมื่อปี ๒๕๖๖ ปีที่ผ่านมานี้ว่า สถานการณ์หมอกควัน PM2.5 ในเขตพื้นที่ของดิฉันเป็นอย่างไรบ้าง

นางสาวจุฬาลักษณ์ ขันสุธรรม เชียงราย ต้นฉบับ

ในพื้นที่ของดิฉันที่ดูแลอยู่ ก็คืออำเภอแม่สาย ขอยกตัวอย่าง ๑ อำเภอนี้ซึ่งมีปัญหาหมอกควัน PM2.5 ถ้าทุกท่าน เห็นภาพนี้แล้วท่านจะเห็นได้ว่ามันเป็นภาพที่มัวอย่างนี้ตลอด แล้วเป็นภาพที่ชัดเจนในความ เป็นจริงด้วยนะคะ ภาพถ่ายเมื่อประมาณ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ค่าสูงสุดของฝุ่นควัน ที่นั่นอยู่ที่ ๗๗๐ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกท่านจะฟังไม่ผิดนะคะ อยู่ที่ ๗๗๐ ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร แล้วก็จะอยู่ที่ระหว่างนี้จนถึง ๘๐๐ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็น ระยะเวลาถึง ๙๐ วันในเขตพื้นที่อำเภอแม่สาย ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้นดิฉันได้มีโอกาส ได้ลงพื้นที่แล้วก็ได้เข้าไปดูในสถานที่ คือก็เป็นหนึ่งในผู้ประสบภัยด้วยที่จะต้องสูดลมอากาศ อย่างนี้เป็นระยะเวลายาวนาน เป็นปัญหาของพ่อแม่พี่น้องประชาชนเป็นระยะเวลาเกือบ ๑๐ ปีมาแล้ว ซึ่งไม่มีใครที่จะสะท้อน หรือแม้กระทั่งเสียงของเขาเองที่สะท้อนไปถึง หน่วยงานภาครัฐ โดยที่มีกลุ่มภาคประชาชนหรือว่ากลุ่มภาคเอกชนได้ออกมาเรียกร้องว่า เขาทำป้าย Vinyl กันเองว่า ชาวแม่สายไม่ไหวแล้ว PM2.5 อันตรายมาก ๆ ไป จนถึงว่าอยาก ให้มีการ Pray for Maesai นะคะ จากข้อมูลทั้งหมด และเพื่อนสมาชิกของดิฉันได้อภิปราย ไปแล้วเกี่ยวกับที่มาของหมอกควัน PM2.5 ว่าเกิดจากอะไรบ้าง แล้วก็มีข้อมูลที่สนับสนุน หลากหลาย โดยเฉพาะพื้นที่ของดิฉันเป็นพื้นที่ชายแดนทางด้านเหนือเลย ก็จะติดกับ ประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด จากข้อมูลในทุก ๆ ภาคส่วนก็จะระบุไว้ว่าจะเป็นเรื่องของ หมอกควันข้ามแดนมาที่ภาคเหนือได้รับผลกระทบอย่างหนัก มีความสัมพันธ์อย่างเป็น นัยสำคัญระหว่างพื้นที่เพาะปลูกภาคเกษตรทางเขตพื้นที่ของประเทศเพื่อนบ้าน แล้วก็ การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยที่มีประกาศกระทรวงของกระทรวงพาณิชย์กำหนดว่าไม่เสีย ภาษีในการนำเข้า ภาษีในการนำเข้าอยู่ที่ ๐ บาท ก็เป็นการเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่าง พื้นที่เพาะปลูกที่มีเพิ่มมากขึ้นและมีผลผลิตการนำเข้าที่เชื่อมโยงกัน อันนี้เป็นจุดความร้อน ที่อยู่บริเวณล้อมรอบพื้นที่ประเทศไทยของเรา โดยเฉพาะภาคเหนือซึ่งมีจุดความร้อนที่สีเข้ม มาก ๆ ส่วนตัวของดิฉันก็มีโอกาสได้ร่วมกันกับพ่อแม่พี่น้องภาคประชาชนแล้วก็ภาคประชาสังคม ในพื้นที่อำเภอแม่สาย อย่างที่ดิฉันกล่าวเรียนไปแล้วว่าพ่อแม่พี่น้องที่นั่นพยายามที่จะ ส่งเสียงของเขาว่าขอความช่วยเหลือด้วย ขอการแก้ไขด้วย มีหนังสือไปถึงหน่วยงาน ทางกรมการปกครองเพื่อจะมีหนังสือไปถึงจังหวัดเพื่อให้ประกาศภัยพิบัติก็ได้ เพราะว่า ถึงแม้สภาพอากาศแบบนี้ก็ไม่น่าจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวแล้ว เขาก็ยินดีที่จะประกาศเป็น เขตภัยพิบัติ แล้วก็อาจจะเสียหายในเชิงของภาคเศรษฐกิจนะคะ ดิฉันก็มีโอกาสได้ลงพื้นที่ แล้วก็ไปบริเวณลานหน้าอำเภอแม่สายเลย ก็มีหน่วยหน่วยงานภาคประชาสังคม ภาคประชาชนก็มาเรียกร้อง และหลังจากนั้นเราก็จัดตั้งกลุ่มในการที่จะเสวนาร่วมกัน กู้ลมหายใจชาวแม่สาย-เชียงราย ร่วมกันกับท้องถิ่นในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและจับประเด็นนี้ ตลอด เราก็เชิญหน่วยงานที่ดูแลในพื้นที่ป่า หน่วยงานดับไฟ อปท. ท้องถิ่นต่าง ๆ รับฟัง ความคิดเห็นจากพ่อแม่พี่น้องในพื้นที่แล้วก็หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ ได้รับฟัง ข้อเสนอด้วย แล้วครั้งสุดท้ายล่าสุดที่เราได้จัดเวทีเสวนาในระดับจังหวัดเราก็ให้พี่น้องในภาค ประชาชนและภาคสังคมได้นำเสนอเป็นข้อเสนอมายังพรรคก้าวไกล แล้วหลังจากนั้นดิฉัน แล้วก็เพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่านก็ขับเคลื่อนอออกมาเป็นรูปแบบของพระราชบัญญัติฝุ่นพิษ แล้วก็การก่อมลพิษข้ามพรมแดน ซึ่งมีรายละเอียดอย่างชัดเจนในร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้นะคะ อันนี้คือที่มาทั้งหมดของการที่ทำไมดิฉันถึงรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับพ่อแม่พี่น้อง ในเขตพื้นที่ของดิฉัน เพราะว่าอย่างน้อยเราได้เห็นแสงสว่างเพียงเล็กน้อยในตอนนี้ว่าเริ่มมี การขับเคลื่อนแล้ว และเริ่มมีกฎหมายที่จะมารองรับแล้ว แต่สิ่งที่ดิฉันอยากจะฝากเป็น เหมือนข้อกังวลและเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับเนื้อหาในข้อกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นร่าง พ.ร.บ. ของรัฐบาลหรือว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติของทางพรรคก้าวไกล หรือว่าในส่วนใด ดิฉัน อยากให้มีการตรวจสอบย้อนหลังเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ควรจะมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แห่งชาติตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะกรรมการกำกับ ตรวจสอบฝุ่นพิษและก่อมลพิษข้ามแดนประจำจังหวัด ให้ทำรายงานผลการดำเนินงานต่อ สภาผู้แทนราษฎรด้วย เพราะว่าไม่เพียงแต่เรารอให้เกิดสถานการณ์ปัญหาขึ้นแล้วมี การตรวจสอบย้อนหลัง ก็คือมันเป็นวิธีการที่มีเหตุเกิดแล้วและมีการตรวจสอบย้อนหลัง ก็ต้องตกเป็นภาระของพ่อแม่พี่น้องประชาชนที่จะต้องเรียกร้องสิทธิของตัวเองเพื่อได้รับ การเยียวยาต่าง ๆ ตามขั้นตอน แต่การมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมหรือคณะกรรมการกำกับ ตรวจสอบฝุ่นพิษเพื่อที่จะติดตามและรายงานผลการดำเนินงานต่อสภาอยู่เสมอ ๆ จะเป็น การป้องกันและเป็นวิธีการที่จะตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานต่าง ๆ และจะทำให้ หมอกควันลดลงได้ในที่สุด ดิฉันขอฝากข้อกังวลนี้และนำเสนอไปยังคณะกรรมาธิการที่กำลัง จะจัดตั้งขึ้นด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล ท่านจักรวาลอยู่ไหมครับ ท่านจักรวาล ยังไม่อยู่นะครับ ต่อไปเชิญท่านอัคร ทองใจสด อยู่ไหมครับ ถ้าไม่อยู่ไปที่ท่านมานพ คีรีภูวดล อยู่ใช่ไหมครับ เชิญครับ

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับท่านประธาน เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ท่านประธานครับ ผมขออนุญาต มีส่วนร่วมในการอภิปรายร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาดนะครับ ผมอภิปรายเรื่องของไฟป่าและ หมอกควัน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๒ แล้วก็เพื่อนสมาชิกหลายคนก็บอกว่ามันรุนแรงขนาดนั้นหรือ วันนี้ผมคิดว่าความสุกงอมของปัญหาและการรับรู้ในสังคมมีความพร้อมนะครับ ผมเข้าใจว่า นอกจากเงื่อนไขทางธรรมชาติที่พวกเราควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นความกดอากาศ กระแสลม แต่ว่าสิ่งที่มันเป็นสาเหตุที่มนุษย์ก่อขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาคขนส่ง อุตสาหกรรม ก่อสร้าง เกษตร แล้วก็ภาคป่า ผมอยากจะลงลึกในกรณีภาคป่าครับท่านประธาน เดี๋ยวสิ่งที่ผมจะเปิด คลิปนี้เกี่ยวข้องกับพี่น้องที่อยู่ในภาคป่า โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนในภาคเหนือ ไล่ตั้งแต่ จังหวัดตากไปถึงเชียงราย ๙ จังหวัด ฝ่ายโสตผมขอคลิปด้วยครับ นี่เป็นข้อตกลงระหว่าง ผู้บริหารประเทศก็คือท่านรัฐมนตรี

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ผมคิดว่าอันนี้เป็นจุดเริ่มต้น ระหว่างพี่น้องประชาชนกับผู้บริหารที่ได้มีโอกาสได้คุยกันในกรณีสาเหตุของฝุ่นควันที่อยู่ ในภาคป่าครับท่านประธาน ท่านประธานทราบไหมว่าในพื้นที่ของภาคเหนือมีป่าค่อนข้าง ที่จะเยอะ ๖๐ เปอร์เซ็นต์เป็นป่าเต็งรังคือป่าผลัดใบ เพราะฉะนั้นคือความเสี่ยงที่สุดที่จะ เกิดไฟในพื้นที่ตรงนี้ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพี่น้องประชาชนครับ เขตอุทยาน เขตป่าสงวน ในประเทศไทยที่ไม่มีชุมชนตั้งอยู่มีที่เดียวครับคืออุทยานเขาใหญ่ครับท่านประธาน นอกนั้น พี่น้องประชาชนตั้งอยู่ก่อนที่กฎหมายจะประกาศเกือบทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นกุญแจสำคัญก็คือ การจะทำอย่างไรให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ได้มีบทบาท ได้มีส่วนร่วม ซึ่งผมก็เข้าใจว่า ตลอดที่ผ่านมาพี่น้องประชาชนเขาก็มีองค์ความรู้ และหลายพื้นที่ก็พยายามทำงาน ใช้คำ ภาษาที่หรูหน่อยก็ได้ก็คือว่าบูรณาการหรือการมีส่วนร่วมค่อนข้างที่จะได้ดีมากครับ พี่น้อง ประชาชนได้บอกกับพี่น้องส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในฐานะที่ผู้ถืองบประมาณว่าเราไม่ควร จะแยกว่าเป็นกรมป่าไม้ เป็นกรมอุทยานหรือว่าหน่วยนั้นหน่วยนี้ เพราะว่าไฟป่ามันไม่เคย แยกกรมครับท่านประธาน เพราะฉะนั้นคือการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง การใช้พื้นที่ในการ บริหารงานโดยมีหน่วยงานส่วนต่าง ๆ เข้ามา ผมเชื่อมั่น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ครับ ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๐ ตอนนี้ปี ๒๕๖๗ แล้ว ๑๐ กว่าปี ผมเชื่อมั่น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ว่าเรื่องความรู้ เรื่องเทคโนโลยี เรื่องกระบวนการบริหารพอมีอยู่ แต่ว่าระบบในการจัดการให้แต่ละส่วน มีบทบาทในการดำเนินการอย่างไร ผมคิดว่านี่ยังเป็นปัญหาอยู่ โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ ครับท่านประธาน ผมยกตัวอย่างเชียงใหม่มีอยู่ ๒,๕๐๐ กว่าหมู่บ้าน หมู่บ้านที่อยู่ในเขตป่า และหมู่บ้านที่อยู่ติดกับป่ามีประมาณครึ่งหนึ่ง มีประมาณ ๑,๒๐๐ กว่าหมู่บ้าน ผมถามว่า หมู่บ้านที่มันมีไฟเกิดซ้ำซาก ไฟเกิดตลอดเกิดทุกปีสาเหตุมันคืออะไร และที่สำคัญคือเขามี รูปแบบการบริหารการจัดการอย่างไร การจัดการไฟป่าท่านประธานครับ ผมยืนยัน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ว่าถ้าหากว่าคนที่จะบริหารจัดการไฟป่าถ้าไม่เข้าใจระบบนิเวศป่าผมคิดว่า อันนี้ยากมาก เพราะว่าท่านจะเอาวิธีคิดหรือว่ากระบวนทัศน์อีกแบบหนึ่งเข้ามาครอบ ซึ่งมัน จะเกิดความขัดแย้งกับผู้คนในพื้นที่อีก ป่าของเราก็มีไม่เยอะครับท่านประธาน มีประมาณสัก ๕-๖ รูปแบบ ไล่ตั้งแต่ป่าชายเลน ป่าพรุ ขึ้นมาเป็นป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขาครับ เพราะฉะนั้นก็คือมันมีบางประเภทที่มีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดไฟส่วนใหญ่ ก็จะเป็นป่าผลัดใบ กรณีที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีเวทีกับพี่น้อง ภาคประชาสังคมและองค์กรภาคีในจังหวัดเชียงใหม่ อันนี้คือตัวอย่างครับท่านประธาน ถ้าหากว่าเราตรึงพื้นที่ของเชียงใหม่ ๑,๒๐๐ กว่าหมู่บ้าน เชียงรายก็เหมือนกัน ตาก ก็เหมือนกัน ถ้าเรามีกองทุนสนับสนุนให้กับพี่น้องประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของ ส่วนราชการต่าง ๆ เราจะเห็นว่าเรื่องนี้กระบวนการตัดสินใจ รูปแบบการทำงานก็จะเป็นของ คนพื้นที่ ความรับผิดชอบสิ่งที่มันจะเกิดขึ้นก็เป็นของคนพื้นที่ เพราะฉะนั้นก็คือเราสามารถ ที่จะติดตามว่าทั้งหมดที่มาเป็นพื้นที่เสี่ยงนี้มันมีจุดไหนที่มันมีความเปราะบางและจุดไหน ที่จะไปเติมลงไป อันนี้คือประเด็นกรณีเรื่องของพื้นที่ในเขตป่าครับท่านประธาน ทีนี้ในพื้นที่ เกษตร ตอนนี้เรายังมีพื้นที่เกษตรที่อยู่ในเขตป่า ไม่ว่าจะอยู่ในเขตอุทยานหรือเขตป่าสงวน หรือเขตใด ๆ ของรัฐ ปัญหาตอนนี้ก็คือที่มันไม่ชอบด้วยกฎหมายครับท่านประธาน เรามี นโยบายจะทำ คทช. เรามีนโยบายหลาย ๆ เรื่องที่จะออกเอกสารสิทธิในพื้นที่ของรัฐต่าง ๆ วันนี้การดำเนินการล่าช้า เพราะนั่นคือรูปแบบของพี่น้องประชาชนที่จะพัฒนารูปแบบ การเกษตรที่มันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงในสิทธิไม่มี ความเสี่ยงตรงนี้พี่น้อง ประชาชนไม่กล้าที่จะลงทุนครับ ส่วนราชการก็เข้าไม่ได้ กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทานต่าง ๆ จะเข้ามาพัฒนาโครงสร้างในการดำเนินการการเกษตรก็ไม่สามารถ ที่จะเข้าได้ อันนี้คือเป็นประเด็นสำคัญ ผมทราบว่าท่านปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมก็มาด้วยนะครับ ผมคิดว่ากรณีโครงการแม่แจ่มโมเดลที่ท่านดำเนินการลงไป การมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลระบบต่าง ๆ เพื่อที่จะแยกป่ากับที่ทำกินออกมาโดยการมี ส่วนร่วมของท้องถิ่น อบต. เทศบาล แล้วก็องค์กรประชาชน หลังจากนั้นก็คือค่อยไปรับรอง เรื่องสิทธิว่าจะอยู่ในเงื่อนไขใด ๆ ที่กฎหมายให้มา แบบนี้ต่างหากที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา กรณีภาคเกษตร ท่านประธานครับ สุดท้ายนี้ผมคิดว่าเรื่องทั้งหมดนี้ผมยกเป็นหลักการแล้วข้อเท็จจริง ในพื้นที่ เป็นหน้าที่ของกรรมาธิการในชุดนี้ที่มาจากผู้เสนอทุกร่าง ที่มาจากทั้งภาครัฐบาล แล้วก็ในส่วนของฝ่ายค้านจะต้องเอาประเด็นข้อเท็จจริงตรงนี้เขียนลงไปในกฎหมาย แล้วก็ เปิดพื้นที่ให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ในเขตป่าซึ่งมีจำนวนมาก โดยเฉพาะในภาคเหนือได้มี ส่วนร่วมในเชิงงบประมาณและการบริหารจัดการครับ ขอบคุณมากครับท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เชิญครับ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานที่เคารพ หลายปีที่ผ่านมานั้นชีวิตคนไทยต้องเปื้อนฝุ่น แต่ถ้าเราไม่แก้ปัญหา แบบบูรณาการจริงจัง จากชีวิตเปื้อนฝุ่นจะกลายเป็นชีวิตที่จมฝุ่นในที่สุดครับท่านประธาน ในแต่ละปีมีการเก็บสถิติตัวเลข มีคนไทยมากกว่า ๙.๒ ล้านคนได้รับผลกระทบจากปัญหา ฝุ่นพิษ ดังนั้นถึงเวลาที่เราต้องลุกขึ้นมาช่วยกันสนับสนุนผลักดันร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด ในอดีตเขาบอกว่าถ้าอยากหนาวต้องขึ้นไปทางภาคเหนือครับ ไปดอยอ่างขาง ไปดอย อินทนนท์ ตื่นเช้ามาก็นึกถึงเพลงเบิร์ดครับ หมอกจาง ๆ และควันคล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้ แต่วันนี้ไม่ต้องไปถึงภาคเหนือ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ตื่นเช้ามาเราก็เจอหมอกจาง ๆ และควัน ซึ่งมันเจือไว้ด้วยปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 สิ่งที่เราต้องเริ่มคิดเราไม่ได้เริ่มตั้งแต่วันนี้ พรรคเพื่อไทยนั้นถือว่าเป็นตัวจริงเสียงจริงที่จะนำเสนอและมุ่งเน้นแนวทางในการแก้ไข ปัญหาอย่างเป็นระบบ เป็นขั้น เป็นตอน มีวิวัฒนาการ ในช่วงของการเลือกตั้งนั้นพรรคเพื่อไทย เสนอแผนในการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ไว้ ๓ ขั้นตอน คือระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว พอเราได้รัฐบาล สมัยก่อนนี้ผู้นำรัฐบาลเวลาไปเยือนต่างประเทศเคยมีนโยบาย Slogan ว่า เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า วันนี้ไปเยือนเพื่อนบ้านครับ รัฐบาลก็ต้องไปขอความ ร่วมมือ ถ้ารักกันจริง ห่วงใยกันจริง อย่าสร้างปัญหาฝุ่นพิษ แล้วก็ลอยเข้าไปในพื้นที่ของ ประเทศเพื่อนบ้าน ต้องช่วยกันตั้งแต่ต้นทางของปัญหา การประชุมเวทีระดับโลก เช่น เวที COP28 สส. ดอกเตอร์ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ คนสวยลาดกระบัง คนงามกรุงเทพฯ ไปฟัง แล้วก็ได้ยืนยันว่าภายใต้การทำงานร่วมกันของรัฐสภาไทย รัฐบาลภายใต้การนำของ พรรคเพื่อไทยเรามีความมุ่งมั่นตั้งใจจะแก้ไขปัญหา Climate Change อันกระทบจาก โลกร้อน รวมถึงปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ประชาชนมีความหวังมาเป็นระยะ ๆ แล้วก็ตั้งคำถาม ว่าเมื่อไรล่ะ เอาสักทีเถอะ และวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น เป็นหมุดหมายสำคัญที่เราจะแก้ปัญหา ฝุ่นพิษ PM2.5 แบบบูรณาการอย่างเป็นระบบ ย้อนไปดูว่าตอนหาเสียงเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย พูดเรื่องแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ๓ ระยะไว้อย่างไรบ้าง ระยะสั้น เราจะเน้นการเตือนภัย เมื่อเกิดปัญหา ฝุ่นพิษมาไม่ต้องตกใจครับ มาตรการระยะสั้นแจกหน้ากากอนามัย สั่งหยุด โรงเรียน หยุดทำงาน มีแผนป้องกันการดับไฟป่าตลอดปี ไปประเทศเพื่อนบ้าน ไปเยือน ต่างประเทศก็ขอความร่วมมือ แผนระยะกลาง เราจะให้ความสำคัญกับการออกกฎหมาย ควบคุมการก่อสร้างที่เป็นปัจจัยสำคัญในการก่อมลพิษทางอากาศ เราจะออกมาตรการทาง ภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมรายใหญ่ เราจะแก้ไขปัญหา การเผาพื้นที่การเกษตร เช่น สำหรับการทำเกษตรแบบต้นทุนต่ำ เวลาเก็บเกี่ยวพืชผล การเกษตรเสร็จเรียบร้อยก็ใช้ไฟเผา ต่อไปต้องไม่สามารถทำได้ครับ เราจะมีการปล่อยน้ำเข้าไป ในระบบชลประทานหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เราจะประสานโรงงานน้ำตาลซึ่งเป็นต้นทางในการรับซื้ออ้อย ต้องซื้ออ้อยสดและส่งเสริม ให้ได้ราคา และปฏิเสธการซื้ออ้อยเผา แผนระยะยาวเราจะประกาศใช้ พ.ร.บ. อากาศสะอาด เพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ปัญหาฝุ่นพิษนั้นมันสะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำและสะท้อน โครงสร้างทางสังคมที่บิดเบี้ยวมาก่อนหน้านี้ เราต้องออกแบบผังเมืองใหม่เพื่อลดปัญหา การจราจร เราต้องประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อนบ้านต้องหยุดฝุ่นข้ามพรมแดน และการจัดตั้งคณะกรรมการครบทุกกระทรวงเพื่อจัดการเรื่องฝุ่น ที่ผ่านมานั้นเราแก้ปัญหา แบบลูบหน้าปะจมูก ขายผ้าเอาหน้ารอด เหมือนสามีภรรยานอนเตียงเดียวกันแต่ฝันคนละเรื่อง ต่างคนต่างทำ เช่น เกิดปัญหาฝุ่นพิษบังคับใช้กฎหมายโดยการใช้ พ.ร.บ. การสาธารณสุข แค่นั้นครับ ถ้าไปเผาป่าก็ผิด พ.ร.บ. ป่าไม้ เผาในพื้นที่ป่าสงวนก็ผิด พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ เราต้องไม่แก้แบบแยกส่วน แต่เราต้องแก้แบบเชื่อมโยงบูรณาการ ท่านประธานครับ บางช่วง บางเวลานั้นสำหรับบางคน คำว่า รัก มันกลายเป็นฝุ่นไปแล้ว แต่การแก้ปัญหาฝุ่นพิษ เพื่อให้ได้อากาศสะอาดนั้นต้องไม่กลายเป็นฝุ่น ต้องไม่วูบวาบ ต้องไม่เป็นแสงสว่างที่ ปลายอุโมงค์ที่เป็นความหวัง แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงแสงไฟหน้ารถของรถที่สวนทางมา เท่านั้น บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะลุกขึ้นมาร่วมกันแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ถึงเวลาที่คนไทย จะมีอากาศสะอาดภายใต้ พ.ร.บ. อากาศสะอาด ผมขอสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด ทั้ง ๗ ร่าง และเชื่อมั่นว่าในยุคของเราปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปัญหาที่หมักหมมและแก้ ไม่ได้มาเป็นระยะเวลานานจะสำเร็จเสร็จสิ้นและแก้ได้ในยุคนี้ เหมือนอย่างที่เราไปประกาศ ในหลายเวทีว่าได้เวลาพรรคเพื่อไทย ได้เวลารัฐบาลที่จะแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน และผมเชื่อว่าในการโหวตช่วงหลังจากนี้ประชาชนจะจับตาและจะได้เห็นความจริงใจของ พวกเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายนิติบัญญัติที่จะเป็นหมุดหมายและจุดเริ่มต้นอันดีในการ แก้ปัญหาฝุ่นพิษครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขออนุญาตไปที่ท่านอัคร ทองใจสด แล้วก็ตามด้วยท่านณัฐวุฒิ บัวประทุม เชิญครับ

นายอัคร ทองใจสด เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายอัคร ทองใจสด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ พวกท่านทราบไหมว่าใน ๑ วันมนุษย์ เราหายใจเอาอากาศเข้าไปมากกว่า ๑๐,๐๐๐ ลิตร เพราะฉะนั้นอากาศที่สะอาดจึงเป็น สิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และทุกคนในทุกที่ควรมีสิทธิที่จะได้รับอากาศ ที่บริสุทธิ์เท่ากัน แต่ในทางกลับกันประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาใหญ่ที่เมืองทั้งเมืองถูก ปกคลุมไปด้วยหมอกควัน ซึ่งมลพิษทางอากาศนั้นนับว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อ การใช้ชีวิตของประชาชนทุกภาคส่วน ทุกท่านคงคุ้นชินกับคำว่า PM2.5 เป็นอย่างดีกันแล้ว ในหลายปีที่ผ่านมาฝุ่นพิษชนิดนี้ส่งผลร้ายให้กับสุขภาพของเราและระบบทางเดินหายใจ ของเรา โดยข้อมูลจากระบบทางข้อมูลด้านการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หรือ Health Data Center ในเดือนพฤศจิกายน ปี ๒๕๖๖ ระบุว่าจากเขตสุขภาพทั้งหมด ๑๓ แห่ง ทั่วประเทศมีผู้ป่วยจากโรคมลพิษทางอากาศกว่า ๙.๒ ล้านคน สะท้อนให้เห็นว่าความรุนแรง ที่เกิดขึ้นจากปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 นี้รุนแรงมาก ไม่เพียงเท่านั้นผลจาก PM2.5 ยังก่อให้เกิด มูลค่าความเสียหายทางด้านสุขภาพ คิดเป็น ๖ เปอร์เซ็นต์ ของ GDP ปี ๒๕๖๒ ผมจึงอยาก มาสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ทั้ง ๗ ร่างเกี่ยวกับอากาศสะอาด ซึ่งเราจะได้ควบคุมมลพิษ ทางอากาศจากแหล่งกำเนิด ซึ่งอยากให้รุ่นลูกรุ่นหลานของเราได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างสดใสและ ปลอดภัย ในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยเรามีการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการเจริญเติบโตทั้งด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด แต่อย่างไรก็ตาม ท่านประธานการพัฒนานั้นต้องแลกมาด้วยอากาศที่เป็นพิษจากทั้งโรงงานอุตสาหกรรม สารเคมี การก่อสร้าง รวมไปถึงการจราจรและระบบขนส่งมวลชน ในปัจจุบันเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ Air Quality Index หรือ AQI แบ่งเป็น ๕ ระดับ โดยจะใช้สีเป็นสัญลักษณ์มีคะแนนตั้งแต่ ๐ ถึงมากกว่า ๒๐๐ โดยหาก AQI มีค่าสูงมากกว่า ๑๐๐ บ่งบอกถึงค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศที่มากเกินมาตรฐานและอาจส่งผลถึงการใช้ ชีวิตประจำวันของประชาชนทุกคน ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ไอคิวแอร์ ซึ่งเป็นบริษัทที่มี ความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีคุณภาพอากาศโดยตรวจวัดปฏิบัติตามมาตรฐาน USAQI ระบุว่าประเทศไทยถูกจัดให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีมลพิษมากที่สุดในโลกอยู่อันดับที่ ๒๕ มีค่าเฉลี่ย AQI อยู่ที่ ๑๑๔ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและ ประชาชนที่มีร่างกายอ่อนแอ มากไปกว่านั้นจังหวัดใหญ่ ๆ ที่มีประชากรหนาแน่นและ มีความเจริญทางเศรษฐกิจมากเช่นจังหวัดเชียงใหม่นับว่าเป็นจังหวัดที่มีค่า AQI สูงเป็น อันดับต้น ๆ ของประเทศ และเมื่อปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาสำนักข่าวรายงานว่าจังหวัดเชียงใหม่ ติด Top เมืองอากาศแย่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ ๑ จากฝุ่นควัน PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานที่ ๑๖๒ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากไฟป่าทั้ง ๓๓ จุด นอกจากนี้จังหวัด เพชรบูรณ์บ้านผมก็ยังมีบางช่วงที่ค่า AQI สูงเกินกว่ามาตรฐานปกติ นอกจากนี้ผลกระทบ PM2.5 ไม่เพียงแต่ทำลายสุขภาพและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึง การสัญจรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทางถนน ทางอากาศและทางน้ำ สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าอากาศ สะอาดเป็นสิ่งจำเป็นและรอไม่ได้สำหรับประเทศเราครับ ท้ายที่สุดนี้ครับท่านประธาน พ.ร.บ. สะอาดเป็นสิ่งที่เร่งด่วนและจำเป็นสำหรับสังคมปัจจุบัน ทุกจังหวัดไม่ว่าจะค่า AQI สูงหรือต่ำประชาชนทุกคนก็ควรได้อากาศบริสุทธิ์เหมือน ๆ กัน ผมเล็งเห็นว่าการจัด การปัญหามลพิษทางอากาศนี้ไม่สามารถทำได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่สามารถทำได้เพียง ผู้ใดผู้หนึ่ง แต่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาค ประชาชนในการพัฒนานโยบายที่มีประสิทธิภาพและมีการดำเนินการให้เข้าถึงทุกฝ่าย เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะด้วยทางใดก็ตาม ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับ ต่อไปท่านณัฐวุฒิ บัวประทุม เชิญครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ท่านประธาน ที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัดอ่างทอง ท่านประธานครับ ผมใส่ชื่อไว้หากเกิดกรณีที่อาจจะมีการไม่เซ็นอนุมัติ ร่างพระบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่งผมก็จะได้อภิปรายถึงหลักการว่าเพราะเหตุใดท่านถึงให้ ความสำคัญต่อร่าง พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับอากาศสะอาดหรือฝุ่นพิษไม่เท่าเทียมกัน แต่ไม่เป็นอะไร ในเมื่อวานนี้ทั้ง ๗ ร่างนั้นได้รับการรับรองและเข้าสู่สภาแห่งนี้ผมก็คงต้องพูดแทนพี่น้องชาว จังหวัดอ่างทองว่าขณะนี้สถานการณ์เรื่องของฝุ่นพิษ มลพิษต่าง ๆ ในจังหวัดอ่างทองนั้น เป็นอย่างไร ผมยกตัวอย่างให้ท่านประธานเห็นนะครับ ท่านประธานเองก็ขึ้นเครื่องบิน เดินทางจากจังหวัดเชียงรายอาจจะผ่านจังหวัดอ่างทองอยู่บ้าง จังหวัดอ่างทองเล็ก ๆ ของเรานี้มีด้วยหรือครับเรื่องฝุ่นพิษ แต่ถ้าเราดูตามข่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือน ธันวาคมที่ผ่านมาก็ชัดเจนว่าฝุ่นพิษ PM2.5 ของจังหวัดอ่างทองนั้นขึ้นอันดับ ๑ ของประเทศ อย่างไม่น่าเชื่อ บางครั้งเป็นอันดับ ๒ บางครั้งเป็นอันดับ ๓ บางวันเป็นอันดับ ๔ อันดับ ๕ อันดับ ๖ อันดับ ๗ อันดับ ๘ แล้วเกือบทั้งหมดอยู่ใน ๑๐ อันดับแรกโดยตลอด ทางฝ่ายรัฐ ราชการมีข้อมูลหรือไม่ว่าจังหวัดเล็ก ๆ อย่างจังหวัดอ่างทองที่เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ แต่ เพราะเหตุใด ไม่ได้มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ไม่ได้มีการเผาป่า ไม่ได้มีผลิตภัณฑ์เรื่อง ของการเกษตรขนาดใหญ่ แต่ทำไมฝุ่นพิษมันถึงมากมายขนาดนั้น ผมยกตัวอย่างให้ท่านเห็น นะครับ เอาแค่วันที่ ๑๐ มกราคมซึ่งเป็นวันหนึ่งที่มีค่า PM2.5 เกินค่าเฉลี่ยโดยตลอด ที่ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ๑๐๑.๑๓๕๘ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ๙๘.๗๖๔๑ ที่อำเภอ ป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ๘๘.๐๙๕๕ ที่อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ๙๑.๒๓๙๓ ที่อำเภอ แสวงหา จังหวัดอ่างทอง ๘๔.๘๖๑๘ ที่อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง ๘๑.๓๗๖๔ อำเภอ วิเศษชัยชาญ ๘๖.๑๓๔๘ นี่เกินค่าเฉลี่ยของมลพิษโดยตลอด มีคำตอบไหมครับว่าเกิดอะไร ขึ้น สิ่งที่คณะทำงานทีมงานพรรคก้าวไกลจังหวัดอ่างทอง และทีมงานของพรรคก้าวไกลบอก ให้ Monitor นะ เพราะว่าจุดที่เรียกว่าจุด Hotspot ในอ่างทองเกิดน้อยมากครับ บางวันมีแค่ ๓ จุดเอง แต่เราเห็น Hotspot ในจังหวัดเพื่อนบ้านเป็นจำนวนมาก เราก็ตั้งคำถามง่าย ๆ ครับ ผมเอง ก็ต้องตั้งคำถามว่าร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาดทั้ง ๗ ฉบับนั้นมีคำตอบต่อสิ่งที่ผมจะถามเหล่านี้ หรือไม่

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

คำถามประการที่ ๑ ที่ทีมงานก้าวไกลอ่างทองถามผู้ว่าราชการจังหวัดก็คือว่า ๑. เทคโนโลยีการตรวจวัดค่าฝุ่นตามมาตรฐานได้มาตรฐานหรือไม่ อย่างไร ตั้งอีกจุดหนึ่ง ไม่เหมือนกันนะครับ ผมเองตั้งในบ้านบางวันขึ้นไป ๑๐๐ กว่า แต่ตั้งอีกจุดหนึ่งที่ห่าง จากบ้านไม่ถึง ๕๐๐ เมตร ลงไปนั่งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบางครั้งก็งงเหมือนกันว่าวันนี้ เป็นหมอกหรือควัน ลงไปนั่งคุยกับแม่น้ำอยากจะถามว่าวันนี้เธอเป็นอย่างหมอกหรือควัน ซึ่งเราก็แยกไม่ออก

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

คำถามประการที่ ๒ ก็คือระบบการเตือนภัยในระดับพื้นที่หรือชุมชนอยู่ที่ใด เราเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังต้องเข้าไป Search เลยว่าวันนี้ GISTDA บอกแบบใด อย่างไร แต่เสียงตามสายที่อยู่ในชุมชนหรือแม้กระทั่งจังหวัดไม่ได้มีการเตือนนะครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

คำถามประการที่ ๓ ก็คือแล้วกลุ่มเปราะบางอย่างไร ผมพูดแค่ลง Twitter ว่าวันนี้พี่น้องชาวอ่างทองมีฝุ่นเกิน ปรากฏว่ามีชาวบ้านร้องมาถึงผมบอกว่าขอบพระคุณมาก นอนโรงพยาบาลมาแล้ว ๕ วันด้วยอาการภูมิแพ้ สิ่งเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นคนตั้งครรภ์ ไม่ว่า จะเป็นเด็ก ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย โรคต่าง ๆ ที่มีลักษณะเฉพาะเขาก็ต้อง ได้รับการเตือนภัยหรือการป้องกันเป็นพิเศษ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๔ ก็คือตกลงการลดการเผานั้นทำได้จริงหรือไม่ ไร่อ้อยเอาอย่างไร นาข้าวเอาอย่างไร นาข้าวที่ท่านไปรณรงค์มีการเอากรณีของการเอาฟางข้าวไปทำอย่างนั้น อย่างนี้ มันไม่ได้ตอบโจทย์นะครับ เพราะโจทย์คือการเผาไปที่ตอหรือซังของข้าวที่อยู่ ในพื้นนา

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๕ ก็คือเรื่องของรถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถบรรทุก รถขนทราย ซึ่งก็ต้องขอบพระคุณว่าทุกโครงสร้างของคณะกรรมการในระดับจังหวัดมีขนส่งจังหวัด มีตำรวจที่ดูแลสิ่งเหล่านี้ แต่ท่านคุมได้จริงหรือไม่ แล้วเดี๋ยวผมจะตั้งคำถามต่อ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๗ ก็คือมลพิษที่เป็นเรื่องของการดูแลโรงงานต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งมีสภาพไม่เหมือนกัน ที่ผมต้องตั้งคำถามว่าจะทำแบบนี้ได้จริงหรือไม่ เพราะอย่างที่ผม นำเรียนว่าโครงสร้างที่ตั้งไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่าง พ.ร.บ. การบริหารจัดการเพื่ออากาศ สะอาดของคณะรัฐมนตรีนั้นบอกว่าต้องมีคณะกรรมการระดับจังหวัด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า มันข้ามจังหวัดมาครับ มันข้ามจากจังหวัดข้างเคียง มันข้ามจังหวัด มันข้ามมาจากประเทศ เพื่อนบ้าน แบบนี้การมีโครงสร้างของกรรมการจังหวัดตอบคำถามเหล่านี้ได้หรือไม่ ท่านชี้แจงให้พี่น้องชาวอ่างทอง ชี้แจงให้พี่น้องประเทศไทยได้ยินชัด ๆ ได้ไหมครับว่ามันตอบ ได้จริง ๆ นะว่าโครงสร้างในระดับจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ นั่นเป็นหมวดหมู่แรกที่เป็น หมวดหมู่ใหญ่หมวดหมู่ที่ ๒ ที่ผมอยากจะนำเรียนครับ เพราะว่าโครงสร้างที่ท่านสร้างไว้มี โครงสร้างในระดับชาติออกเป็น ๒ ชุดด้วยกัน ชุดหนึ่งดูเรื่องนโยบาย ชุดหนึ่งดูเรื่อง การบริหาร ผมยกตัวอย่างครับ ในมือของผมเป็นรายงานการตรวจสอบที่ ๗๘/๒๕๖๖ ของ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อโรงงานเอกชนแห่งหนึ่งที่ทำเรื่องอุตสาหกรรมสิ่งทอ ท่านประธานทราบไหมครับว่าโรงงานแห่งนี้มีการถูกร้องเรียนทั้งสิ้นตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ เป็น จำนวน ๓๕๓ ครั้งด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยก๊าซที่เรียกว่า CSO เกินค่ามาตรฐาน ท่านต้องไปแบบผมครับ ไปนั่งอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงงานในหน้าหนาว เหมือนผู้ว่าราชการจังหวัด อ่างทองท่านปัจจุบันไปนั่ง แล้วท่านจะรู้ว่ากลิ่นมันเหม็นแบบใด แสบจมูกแบบใด นี่นั่งแค่ ครึ่งชั่วโมงนะครับ ตกลงการที่ท่านสร้างโครงสร้างให้มีกรรมการในระดับชาติ กรรมการนโยบาย กรรมการบริหารจัดการ ผมยกตัวอย่างแค่อันเดียว โรงงานในจังหวัด อ่างทองร้องไป ๓๐๐ กว่าครั้งในรอบเกือบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา โครงสร้างระดับชาติจะแก้ปัญหา เหล่านี้ได้อย่างไร ซึ่งแน่นอนครับทั้งหมดทั้งมวลที่ผมพูดเหล่านี้นั่นเป็นประเด็นที่ผมคิดว่า ร่าง พ.ร.บ. ฝุ่นมลพิษและมลพิษข้ามพรมแดนของก้าวไกลนั้น ผมก็ไม่อยากแข่งต่อท่าน นะครับ แต่จริง ๆ ถ้าท่านกาก้าวไกลฝุ่นภัยต้องลดลงแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามวันนี้เอาเป็นว่า เราเอาตรงกันไปตรงกันมาครับ ในเมื่อหลักการของกฎหมายทั้ง ๗ ฉบับนั้นเป็นหลักการที่มี ความใกล้เคียงกัน และท่านประธานอาจารย์วันมูหะมัดนอร์ มะทา ท่านก็พูดชัดตั้งแต่ การประชุมครั้งที่แล้วว่าเราจะพิจารณาร่วมกันและลงมติครั้งเดียวกัน ก็เชื่อว่าสภาแห่งนี้ จะเป็นตัวแทนพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งประเทศรับหลักการร่างกฎหมายทั้ง ๗ ฉบับพร้อมกันเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ มลพิษให้เกิดขึ้นอย่างถาวรในประเทศไทย ขอบคุณครับท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่านนะครับ ท่านแรก ท่านวุฒิพงศ์ ทองเหลา ท่านที่ ๒ ท่านชิตวัน ชินอนุวัฒน์ ท่านที่ ๓ ท่านบัญชา เดชเจริญศิริกุล เตรียมพร้อมนะครับ ต่อไปท่านวุฒิพงศ์ ทองเหลา เชิญครับ

นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา ปราจีนบุรี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม วุฒิพงศ์ ทองเหลา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี พรรคชาติพัฒนากล้า ขอร่วม อภิปรายร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการอากาศสะอาด พ.ศ. .... ในครั้งนี้ด้วย ซึ่งก่อนอื่น ผมต้องเรียนว่าทั้งผมเองและพรรคชาติพัฒนากล้าขอสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้

นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา ปราจีนบุรี ต้นฉบับ

เนื่องจากอากาศสะอาดเป็นสิทธิโดย พื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับโดยที่ไม่ต้องเรียกร้อง ด้วยสถานการณ์หมอกควันและมลพิษ ทางอากาศที่ทวีความรุนแรงในปัจจุบัน ตามมาตรา ๔๗ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการดูแลหรือ บริการในเรื่องของสุขภาพ สาธารณสุขของรัฐและมีสิทธิได้รับการป้องกันขจัดโรคและ อันตรายจากรัฐ ซึ่งสอดคล้องกับการกำหนดให้มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลในสิทธิขั้นพื้นฐานของ ประชาชนที่ควรได้รับตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผมขอเข้าเรื่องในส่วนที่มาของ ผลกระทบหรือแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศในประเทศไทยจากสถานการณ์หมอกควันและ มลพิษทางอากาศเพื่ออภิปรายให้เห็นภาพครับท่านประธาน ในเรื่องของแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลกระทบทางอากาศที่เราพยายามอภิปรายกันมาจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยผม ขออนุญาตให้ดูตามสไลด์ที่หนึ่ง จากภาพเราจะเห็นว่านี่คือประเทศจีนที่มีปัญหาเรื่องมลพิษ ติดอันดับสูงที่สุดในโลกในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ภาพด้านซ้ายและภาพขวาแตกต่างกัน อย่างสิ้นเชิงโดยมีนัยสำคัญ เมื่อได้เห็นภาพนี้ในฐานะที่ผมเคยทำงานด้านการวิเคราะห์ ระบบ หรือ System Engineer ผมเกิดความสงสัยว่าเขาทำอย่างไร ใช้เวลาเท่าไร แล้วมี การวางแผนและติดตามอย่างไร แต่ทราบได้ทันทีเลยครับท่านประธานว่ามันไม่ง่ายที่จะสร้าง นโยบายและเอาไปปฏิบัติจริงได้แบบนี้ เมื่อลองคลี่เข้าไปดูไส้ในจะพบว่าประเทศจีนลงมือ ทำมาไม่ต่ำกว่า ๕ ปี ในขณะที่วันนี้เราเพิ่งเริ่ม ความสำคัญในเรื่องของมลพิษทางอากาศ ผลลัพธ์จึงปรากฏออกมาอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศจีนแล้ว ซึ่งในช่วงตั้งแต่ปี ๒๐๑๓- ๒๐๑๖ ประเทศจีนความหนาแน่นของ PM2.5 มีการลดลงในแต่ละมณฑลอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีดัชนีชี้วัด ตัวอย่างเช่น เหอเป่ยลดลง ๓๓ เปอร์เซ็นต์ หรือมณฑลเซี่ยงไฮ้ที่ลดลง ๒๗ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในปลายปีที่แล้วผมเดินทางไปที่มณฑลเซี่ยงไฮ้ แล้วก็เห็นตามนั้นจริง ๆ ในภาพก่อนหน้านั้นจริง ๆ เพื่อให้เป็นการไม่ลองผิดลองถูกผมจึงแอบไปลอกการบ้าน ในกระบวนการแก้ปัญหาในประเทศจีนในเรื่องของมลพิษทางอากาศไม่เพียงเพราะ PM2.5 หรือ PM10 แต่ยังหมายรวมถึงค่าของ AQI หรือที่เราทราบดีว่าเป็นเรื่องของ Air Quality Index ที่เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศในแต่ละประเทศนะครับ ผมขอยกตัวอย่างคำพูดสั้น ๆ ง่าย ๆ ในช่วงโควิดที่ผ่านมาคือคำว่า Cluster แน่นอนว่า เมื่อเราทราบ Cluster เราจะรู้ว่า ใครเป็นผู้ดูแล กระทรวง ทบวง กรมไหน เช่น Cluster ของยานพาหนะ Cluster ของไฟป่า Cluster ของอุตสาหกรรม Cluster ของการก่อสร้างหรือแม้กระทั่ง Cluster ของโรงงาน ไฟฟ้าที่มีการใช้งาน แต่ว่าในบางประเทศมีการยกเลิกแล้ว หรือแม้กระทั่งเตาหลอมที่ บางประเทศไม่อนุญาตให้ใช้ คร่าว ๆ นะครับ ประเทศจีนแบ่งแหล่งกำเนิดเป็น Cluster ทางมลพิษ เมื่อทราบแหล่งกำเนิดอย่างที่เรียนนะครับว่ามาตรการต่าง ๆ ที่จะมีแต่ละ กระทรวงเข้าไปกำกับดูแลก็จะส่งเสริมออกมาเป็นนโยบาย ในส่วนนี้เป็น Cluster หนึ่งที่เป็น ตัวอย่างที่ประเทศจีนมีการผลักดันส่งเสริมให้เกิดขึ้นจริงเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า ๕ ปีแล้ว ภาพด้านซ้ายมือ ทะเบียนเป็นสีเขียวไล่เฉดสีเป็นสีขาวซึ่ง Sensor ป้ายทะเบียนแล้วนะครับ ส่วนภาพทางด้านขวามือเป็นป้ายทะเบียนสีน้ำเงิน เป็นรถนั่งส่วนบุคคลในประเทศจีน ซึ่งป้ายทางด้านซ้ายมือจะเป็นรถไฟฟ้าหรือพลังงานสะอาด EV ล้วน ส่วนป้ายสีน้ำเงินจะเป็น ป้ายเครื่องยนต์สันดาปที่ยังใช้น้ำมันอยู่ หรือเป็น Hybrid ซึ่งจะเห็นว่าประเทศจีนมีการส่งเสริมในเรื่องนี้นะครับ ก็คือในรถยนต์ส่วนบุคคลที่เป็น รถไฟฟ้านั้นภาครัฐสนับสนุนให้มีการออกทะเบียนรถฟรี โดยปกติแล้วรถนั่งส่วนบุคคลของ ประเทศจีนจะมีค่าออกป้ายทะเบียนค่อนข้างสูง ถ้าคำนวณเป็นเงินก็คือประมาณ ๓๐,๐๐๐ หยวน หรือประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ กว่าบาท ไม่ใช่เฉพาะการซื้อรถ เขายังต้องชำระ ในส่วนนี้ แต่รัฐส่งเสริมในเรื่องของป้ายทะเบียนฟรี ก็มีการผลักดันแล้วใช้จริง จนปัจจุบัน รถไฟฟ้า หรือรถ EV ในประเทศจีนมีใช้ค่อนข้างสูง แล้วก็เป็นการลดเรื่องของมลพิษในส่วน Cluster ของพาหนะ แล้วขอยกตัวอย่างอีกสัก Cluster หนึ่งครับท่านประธานซึ่งเป็น Cluster สุดท้าย ซึ่งถ้าผมไม่พูดถึงเรื่องนี้เลยก็คงไม่ได้ ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ เป็นต้นมาประเทศจีน ยกเลิกอุตสาหกรรมในประเทศในกลุ่มสำคัญอย่างมีนัยครับ เพราะประเทศจีนทราบและ ตระหนักดีว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวได้สร้างมลพิษและควบคุมไม่ได้ การสร้างผลกระทบมาก เกินไปที่จะอนุญาตให้มีได้ในประเทศ ซึ่งบางประเทศใน EU ก็ยกเลิกในส่วนนี้เช่นกัน แต่เขา มีการ Action และดำเนินการมาก่อนประเทศเรา มากกว่า ๕ ปีแล้ว

นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา ปราจีนบุรี ต้นฉบับ

ในส่วนแรกที่ผมจะพูดถึงคืออุตสาหกรรมที่เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน ประเทศจีน ยกเลิกเกือบหมดแล้วครับ แทบไม่เหลือเลย ใช้พลังงานเขื่อน ใช้พลังงานเรื่องของแสงอาทิตย์ พลังงานคลื่น พลังงานลม ส่วนต่อมาคือเรื่องของบ่อขยะอุตสาหกรรมหรือบ่อขยะที่เป็น ครัวเรือน ซึ่งประเทศจีนไม่มีให้ตั้งบ่อขยะในลักษณะ Landfill หรือเป็นกองภูเขา แล้วก็ ส่งผลกระทบในเรื่องของชั้นบรรยากาศโลก การสร้างสภาวะเรือนกระจกลดลง ไม่เฉพาะตัว PM2.5 และ PM10 ส่วนต่อมาคือโรงหลอมในลักษณะหม้อ IF หรือที่ทราบดีว่าเป็นเตาหลอม โดยที่ไม่มีการใช้การ Arc หรือเป็นประเภทของการหลอมที่ลักษณะใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นอันตราย ต่อสุขภาพอย่างมาก ซึ่งประเทศจีนก็ยกเลิกไป แต่ในการยกเลิกของประเทศจีนถือว่าเป็นข่าวดี หรือข่าวร้ายไม่ทราบที่ทำให้โรงงานเหล่านี้ที่ผมพูดมาทั้งหมดเดินทางมาประเทศไทยตั้งแต่ ปี ๒๕๖๐ ปัจจุบันอุตสาหกรรมที่มีการยกเลิกเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นบ่อฝังกลบ โรงไฟฟ้าถ่าน หินแม้แต่ว่าโรงหลอมวัสดุเหลือใช้ทางมลพิษที่สร้างมลพิษอย่างรุนแรงเดินทางมาประกอบ กิจการในประเทศไทยเป็นจำนวนมากอย่างมีนัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ เลือดตกค้าง ทั้งดินและทั้งน้ำ ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติเป็นอย่างมาก

นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา ปราจีนบุรี ต้นฉบับ

สุดท้ายครับท่านประธาน เป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก หลังยุติภาคอุตสาหกรรม ในประเทศจีนที่ส่งผลต่อผลกระทบทางด้านอากาศ ประเทศไทยอ้าแขนรับเข้ามาทั้งหมดเลย จึงเป็นเรื่องดีหากร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ รวมถึงอุตสาหกรรมมลพิษที่ผมได้กล่าวไป ภาครัฐ จะไม่ต้องตามควบคุมและต้องเสียงบประมาณในการตามแก้ไขปัญหาในระยะยาว ผมจึง ขอสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการอากาศสะอาด พ.ศ. .... ให้เกิดขึ้น ในประเทศไทยโดยเร็ว เพื่อประชาชนจะไม่ต้องเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานในเรื่องของอากาศ บริสุทธิ์ที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ ขอบคุณครับท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชิญครับ

นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๑ อำเภอเมือง จากพรรคก้าวไกล ขอสไลด์ด้วยนะครับ

นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ในทุก ๆ วัน ช่วงปลายปีและต้นปีผมจะได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและจัดการเผาที่เกิด มลพิษในพื้นที่ ทุกคนเฝ้ารอที่จะเห็นการประกาศหยุดเผา ห้ามเผาขยะมูลฝอย กิ่งไม้ ใบไม้ และการเผาในพื้นที่โล่งทุกชนิด เพราะฝุ่น PM2.5 มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของ ประชาชน ก่อนอื่นผมขอนำเรียนเรื่องค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในช่วงเวลาห้ามเผา วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ปี ๒๕๖๖ ที่อำเภอแม่สายเกินมาตรฐาน ๖๙ วัน สูงสุด ๕๔๖ ไมโครกรัม ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๖ อำเภอเมืองเชียงราย เกินมาตรฐาน ๖๑ วัน สูงสุด ๔๐๗ ไมโครกรัม ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖ อำเภอเชียงของ เกินมาตรฐาน ๗๐ วัน สูงสุด ๓๓๘ ไมโครกรัม ณ วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๖ ผลการศึกษาการถอดบทเรียน แบบ Overhaul สามารถสรุปโดยรวมได้ ๓ ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้นะครับ

นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ

๑. เชิงปัญหา ในระดับจังหวัดเราเห็นว่าระบบ Single Command สามารถ เชื่อมโยงการทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันของทั้งจังหวัด แต่ยังขาดบุคลากรในด้าน ประชาสัมพันธ์และการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และในระดับ อำเภอพบว่ามีปัญหาไฟป่าในพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอ รวมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่เข้าไปดับไฟ ได้ยาก กำลังคนขาดความเชี่ยวชาญและขาดอุปกรณ์การดับไฟที่มีคุณภาพ

นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ

๒. เชิงนโยบาย การระดมทรัพยากรในมือทั้งเป็นรูปธรรมและนามธรรม เข้ามาร่วมกันทำงานเพื่อเป้าหมายในความสำเร็จในภารกิจเป็นระบบที่มีความเป็นเอกภาพ ในช่วงที่เกิดวิกฤติ มีความจำเป็นอย่างยิ่งในภาพรวมของจังหวัด และมีข้อเสนอให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมบูรณาการทั้งกำลังคนและงบประมาณ รวมถึงการทำงานร่วมกับ ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นรูปธรรมมากกว่านี้

นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ

๓. เชิงสังคม มิติทางสังคมและผลกระทบมีการพูดถึงกันน้อยมาก มีเพียง การพูดถึงเครือข่ายในพื้นที่และกล่าวถึงภาคประชาชน อาทิเช่น มูลนิธิกระจกเงา เป็นต้น ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับผลกระทบของ PM2.5 และผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ นี่คือเสียงสะท้อนจากประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ในพื้นที่สู่การรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอในระดับนโยบาย ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการ เพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดให้ มีการพัฒนาและบูรณาการการบริหารจัดการปัญหามลพิษทางอากาศให้เป็นระบบ ลดสาเหตุเกิดมลพิษที่แหล่งกำเนิดและป้องกันการปล่อยมลพิษ ฝุ่น ควัน และกลิ่นเข้าสู่ สภาพแวดล้อมและชั้นบรรยากาศ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพอากาศ ระบบการเฝ้าระวัง ระบบการเตือนภัย และระบบการจัดการในสถานการณ์วิกฤติจากมลพิษทางอากาศ ตลอดจนถึงการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อให้เกิด อากาศสะอาด ในวันนี้ผมขออภิปรายสะท้อนปัญหาจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในช่วงเวลา วิกฤติเพื่อจะได้เป็นข้อมูลให้พระราชบัญญัตินี้ครอบคลุมในทุกบริบทโดยมีข้อเสนอดังนี้

นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ

๑. เพิ่มการใช้เครื่องมือในการตรวจจับ Hotspot ของ NASA ที่มีประสิทธิภาพ มาประกอบการทำงาน

นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ

๒. การดับไฟตามจุด Hotspot ใช้เวลาในการเดินทางนานและยาก ควรสร้าง จุดเฝ้าระวังให้มองเห็นได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยจ้างประชาชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วม ในส่วนนี้ ต้องมีการจัดสรรงบประมาณ

นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ

๓. การจัดหาอุปกรณ์เตรียมพร้อม ๒๔ ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นไม้ตบให้เพียงพอ อุปกรณ์ก็ควรจะมีน้ำหนักเบาเนื่องจากการเดินพื้นที่ป่าใช้พาหนะเข้าไปถึงได้ยากมาก

นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ

๔. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการโอนภารกิจไฟป่าแล้วสามารถ เปลี่ยนงบลงทุนเป็นงบดำเนินการเพื่อจัดสรรงบประมาณมาสนับสนุนการปฏิบัติงานได้

นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ

สุดท้ายนี้ครับท่านประธาน ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้จะเป็น ประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง เป็นแนวทางการทำงานให้เจ้าหน้าที่เพื่ออากาศสะอาด และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านบัญชา เดชเจริญศิริกุล เชิญครับ

นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม บัญชา เดชเจริญศิริกุล แบบบัญชีรายชื่อ พรรคท้องที่ไทย ท่านประธานครับ ผมในนามพรรคท้องที่ไทยผมขอสนับสนุนทั้ง ๗ ร่าง โดยเฉพาะของรัฐบาลและของทุกท่านที่เสนอมา การจัดการเรื่องอากาศสะอาดเป็นเรื่อง ที่น่าจะทำมาตั้งนานแล้ว แต่ว่าหลังจากนี้กว่าจะได้ทำ กว่าจะได้ดำเนินการ กว่ากฎหมาย จะสะเด็ดน้ำมันต้องผ่านคณะกรรมการอีกอย่างน้อย ๒-๓ ระดับ เช่น คณะกรรมการนโยบาย อากาศสะอาดจากแหล่งกำเนิด คณะกรรมการการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดจาก การเผาในที่โล่ง และคณะกรรมการจัดการอากาศสะอาดจากจังหวัด แล้วก็กรุงเทพมหานคร จากยานพาหนะ และมลพิษข้ามแดน จะเห็นได้ว่าอีกเยอะแยะมากมายเลยครับที่จะต้อง ดำเนินการ โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้เป็นการแก้ไขปัญหาโดยปลายเหตุ เช่น ๗๖ จังหวัดที่มีพี่น้องกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอยู่ ท่านนายอำเภอก็จะได้กำชับตลอดเลยว่าถ้ามีจุด Hotspot ขึ้นตรงไหน ผ่านพื้นที่ใคร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต้องไปดูแล้วก็ไปดับ ก็ทำอย่างนี้มากันทุกปีครับ ผมมี ข้อเสนอแนะอย่างนี้ครับท่านประธานว่า จริง ๆ แล้วกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ได้ สนับสนุนโครงการอยู่โครงการหนึ่ง เช่น การปลูกต้นปอเทือง ขอสไลด์ด้วยครับ

นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

อันนี้คือภาพแรกหลังจาก ฤดูเก็บเกี่ยว ยกตัวอย่างจากนาข้าวก็จะเห็นตอซังแบบนี้ครับ พอหลังจากนี้สักแป๊บหนึ่ง ในช่วงนี้เลยก็เริ่มเผาขึ้นในพื้นที่โล่ง พอเกิดเผาปัญหาตรงนี้ขึ้นมา จุด Hotspot ขึ้น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ตรงไหนก็ต้องรีบไปดับกันแบบนี้ ก็ทำกันมาแบบนี้ทุกปีครับ อันนี้คือ วิธีที่ช่วยนะครับ โดยเฉพาะการปลูกปอเทืองมีประโยชน์หลายอย่างเลย เช่น หลังจากฤดู เก็บเกี่ยวแล้วปกติทุกรัฐบาลก็จะสนับสนุนค่าเก็บเกี่ยวให้กับพี่น้องประชาชนเกษตรกร ที่ทำนาทุก ๆ ปี อย่างปีที่ผ่านมานี้ก็ ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ลองเพิ่มงบประมาณอีกสักนิดหนึ่ง ผมเชื่อว่ามันคุ้มค่าแล้วก็คุ้มทุนมากสำหรับการเผา ก็จะแก้ปัญหาเรื่องนี้ไปเลยจาก ๑๕,๐๐๐ ล้านบาทก็ลดการเผาได้ประมาณสัก ๒-๓ ล้านไร่ แล้วหลังจากนั้นคืออะไร สิ่งที่ เขียว ๆ ที่เป็นอากาศ ที่เป็นต้นปอเทืองทั้งประเทศไทยไม่ว่าจะภาคไหนนะครับนักท่องเที่ยวมา ช่วงเดือนมกราคม เดือนกุมภาพันธ์ เดือนมีนาคมส่วนใหญ่เป็นช่วงฤดูเผา มันก็จะเปลี่ยนเป็น ภาพสีเขียวทั้งประเทศให้เห็นเลย ได้เรื่องอากาศสะอาด PM2.5 ก็จะลดน้อยลงไป อันนี้เป็น เรื่องที่รัฐบาลแล้วก็เพื่อนสมาชิกทุกท่านควรช่วยกันคิดแล้วก็ช่วยกันทำ อันนี้คือสิ่งที่ทำได้เลย ในช่วงปีใหม่นี้ เพราะว่าพืชชนิดนี้มีอายุแค่ประมาณสัก ๖๐ วัน หลังจากนั้นก็จะไถกลบ เพื่อเป็นปุ๋ยของดินต่อไป อันนี้เป็นเรื่องของการช่วยลดต้นทุนในการผลิตผลผลิตของพี่น้อง เกษตรกรที่ทำนา ถ้าสิ่งนี้ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย อันนี้คือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุก่อน ไม่ใช่ว่าพอเกิดการเผาตรงไหนก็ไปไล่ดับไล่เผากัน ในผืนนามันไม่สามารถไปดับได้ทั้งหมด หรอกครับเพราะว่ามันมีคันนา ได้แต่เอาคนวิ่งไปดับ ช่วงกลางคืนมันก็ทำอะไรไม่ได้ เช่น ภูเขาก็เหมือนกันครับ มันก็ไหม้ตลอด อย่างเช่น แถว ๆ ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย เวลาเผา ก็ไม่มีใครไปดับได้อยู่แล้ว มันก็จะเกิด PM2.5 มัวไปทั้งประเทศไทยนะครับ ผมในนามพรรค ท้องที่ไทยก็ขอสนับสนุนทั้ง ๗ ร่างนี้ กราบขอบคุณครับท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อีก ๕ ท่านสุดท้ายท่านได้เตรียมตัวนะครับ ท่านแรก ท่านธิษะณา ชุณหะวัณ ท่านที่ ๒ ท่านนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ ท่านที่ ๓ ท่านกัณตภณ ดวงอัมพร ท่านที่ ๔ ท่านณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ท่านที่ ๕ ท่านจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ เชิญท่านธิษะณา ชุณหะวัณ เชิญครับ

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธิษะณา ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตกรุงเทพมหานคร เขต ๒ พรรคก้าวไกล ดิฉันมาอภิปรายสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาดค่ะ เนื่องจากปัญหาฝุ่น PM2.5 ยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่องและกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยตรงและไม่เห็นว่าสถานการณ์จะดีขึ้นค่ะ อากาศสะอาดเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานค่ะ ขอสไลด์ด้วยค่ะ

นางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ถือเป็นสิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งนะคะ และเป็นความเป็นความตายของประชาชนค่ะ เพราะทุกคน ควรจะได้รับคุณภาพอากาศที่ดีต่อสุขภาพโดยไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงต่อ ผลกระทบจากมลพิษที่มีค่าวัดเกินมาตรฐานที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็งปอด โรคผิวหนัง หรือโรคหอบหืดที่มักตรวจพบในประชากร ที่เป็นเด็กเล็กด้วยค่ะ จากรายงานข่าวของ BBC Thailand พบว่าหลายพื้นที่ในประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมไปถึงหลายจังหวัดทางภาคเหนือกำลัง ประสบปัญหามลพิษทางอากาศโดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวและยังไม่มีวี่แววที่จะลดลง อีกทั้ง ในเชิงของเศรษฐกิจเองทางธนาคารโลกก็ยังได้ระบุว่ามลภาวะทางอากาศทำให้เกิดมูลค่า ความเสียหายทางสุขภาพที่มีสัดส่วนมากถึง ๖ เปอร์เซ็นต์ GDP ในปี ๒๕๖๒ และแนะนำให้ประเทศไทยเพิ่มแนวทางการแก้ไขในด้านนโยบายให้มากขึ้นค่ะท่านประธาน ที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานและองค์กร ทั้งภาคการเมืองและภาคประชาสังคมพยายาม ผลักดันและเสนอร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด รวมไปแล้วไม่ต่ำกว่า ๖ ฉบับ ไม่ว่าจะเป็น ร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาดฉบับประชาชน หรือโดยเครือข่ายอากาศสะอาด หรือร่าง พ.ร.บ. บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของสำนักงาน ป.ย.ป. หรือแม้แต่ทาง ครม. คณะรัฐมนตรี ก็ได้มีการชี้แจงที่จะนำร่าง พ.ร.บ. บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... เสนอต่อรัฐสภา และทางพรรคเพื่อไทยเองก็มี พ.ร.บ. อากาศสะอาดเพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานซึ่งทราบกัน ดีอยู่แล้วว่าอยู่ในช่วงพิจารณา ในส่วนของพรรคก้าวไกลค่ะ ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. ฝุ่นพิษ และการก่อพิษมลพิษข้ามพรมแดน ซึ่งมีหลักการที่สอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด เช่นกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแหล่งกำเนิดของปัญหามลพิษในและ นอกราชอาณาจักร มาตรการในการควบคุม กำหนดข้อกำหนดทางแพ่งและอาญาที่เพิ่มเติม ให้มีการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ประกอบการ และจะต้อง ครอบคลุมทั้งระบบตั้งแต่ต้นสายถึงปลายสายค่ะ รวมไปถึงแนะนำว่าให้มีการใช้เทคโนโลยี เข้ามาตรวจสอบ ให้มีโทษทางสังคม แล้วก็ผ่านการประกาศข้อมูลของแหล่งกำเนิดที่มาจาก ผู้ประกอบการทั้งในและนอกประเทศ โดยที่กล่าวมาข้างต้นดิฉันเห็นว่าสามารถนำ เรื่องร้องเรียนไปพิจารณาพร้อม ๆ กันกับฉบับอื่น ๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตามประเด็นที่สำคัญ อยู่ที่ข้อถกเถียงเรื่องมลพิษที่มาจากนอกราชอาณาจักรค่ะ ด้วยปัญหาเรื้อรังของฝุ่น PM2.5 ที่มาจากการเผาไฟในพื้นที่โล่งแจ้งในพื้นที่เกษตรกรรม กิจการระดับอุตสาหกรรมและการใช้ เชื้อเพลิง Fossil ของยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นต้นตอเหล่านี้มาจากประเทศเพื่อนบ้านค่ะ ท่านประธาน ซึ่งยังคงเป็นปัญหาระหว่างพรมแดน แต่ที่หนักที่สุดคือโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานไฟฟ้าถ่านหินหรือ Fossil Fuel มารร้ายของ Global Warming ไม่ใช่ เกษตรกรหรือคนตัวเล็กตัวน้อยแต่อย่างใด แต่เป็นกลุ่มนายทุนผูกขาดทางการไฟฟ้า อย่างเช่นบริษัทขึ้นตัวย่อด้วย ก แล้วก็นิคมอุตสาหกรรมจะนะอย่างเช่น อุตสาหกรรมเหมือง ถ่านหินของอำเภออมก๋อย และการปล่อยสารเคมีและสิ่งปฏิกูล ไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ ทางน้ำ ทางพื้นดิน ซึ่งสุดท้ายแล้ว พ.ร.บ. อากาศสะอาดก็อาจจะไม่พอในการจัดการมลภาวะ จากทุกช่องทางดิฉันกล่าวมาก่อนหน้านี้ รัฐบาลต้องมีความเด็ดขาดกับการปฏิรูป กระบวนการ EIA ที่ไม่เป็นกลางและสามารถที่จะ Lobby ได้โดยนายทุนผูกขาดค่ะ ที่สำคัญต้องมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ไม่ปิดกั้น ผู้เห็นต่างในการเข้าร่วมประชาพิจารณ์ ตัวอย่างเช่น นิคมอุตสาหกรรมจะนะ ดิฉันเคยแจ้งไป แล้วตอนที่ไปร่วมขบวนหน้าสหประชาชาติว่ามีการปิดกั้นผู้เห็นต่างไม่ให้เข้าร่วมทำ ประชาพิจารณ์ มีการออกหมายจับกุมผู้ออกมาต่อต้านโครงการนิคมอุตสาหกรรมหรือ ออกมาชุมนุมโดยสันติค่ะ จากข้อมูลที่ท่านเห็นในสไลด์เป็นข้อมูลของสถาบันสุขภาพ แห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุขและบริหารมนุษย์ของสหรัฐอเมริกา มลภาวะทางอุตสาหกรรมถูกสงสัยว่าเป็นต้นเหตุของมะเร็งหลายชนิดค่ะโดยเฉพาะมะเร็ง ต่อมน้ำเหลืองด้วย โดยพิจารณาจากความเกี่ยวพันทางการสัมผัสทางด้านเคมี เรามี การทำการศึกษาการควบคุมมลภาวะทั้ง ๔ ภาคของสหรัฐอเมริกา โดยที่สถานที่ตั้งมีการวิจัย จากผู้ติดเชื้อทั้งหมด ๘๖๔ ราย และการควบคุมใน ๖๘๔ รายในช่วง ๑๐ ปีก่อนที่จะมี การ Establish หรือมีการก่อตั้งอุตสาหกรรมขึ้นมา และมีการปล่อยสารเคมีที่เป็นสารพิษ ออกมา ๑๕ ประเภทด้วยกัน ซึ่งได้ประเมินความเสี่ยงแล้วจากสถานที่หนึ่ง จากอุตสาหกรรม ไปยังสถานที่ที่ใกล้ที่สุดกับชุมชนค่ะ อย่างต่ำคือ ๐.๕ กิโลเมตร ท่านจะเห็นในสไลด์จะมี อุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างเช่น อุตสาหกรรมการแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์ และบริเวณพื้นที่ ใกล้เคียงของที่อยู่อาศัยที่มีความเชื่อมั่นว่าจะไม่มีการเผยแพร่มลภาวะที่จะส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพ และช่วงความเชื่อมั่นส่วนมากจะอยู่ที่ ๓ กิโลเมตร ในรัศมี ๓ กิโลเมตรขึ้นไป เท่านั้น และโรงงานผลิตโลหะต่าง ๆ โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็น ที่จะต้องอยู่ห่างไกลจากที่อยู่อาศัย ในสูตรคำนวณที่อยู่ในสไลด์ดังต่อไปนี้ การต่อต้าน Green Washing หรือการโฆษณาของบริษัทที่โฆษณาตัวเองว่ารักสิ่งแวดล้อม แต่แท้จริงแล้วเป็นผู้ทำลายสิ่งแวดล้อมเสียเอง รวมถึงความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ นายทุนขนาดใหญ่ หรือ Accountability นั่นเอง เช่น นายทุนผูกขาดอุตสาหกรรมการไฟฟ้า และโรงงานถ่านหินที่ปล่อยมลภาวะมากที่สุด ประเทศไทยเป็นภาคีข้อตกลงปารีสในปี ๒๕๕๙ ได้ลงสัตยาบันไปแล้ว และข้อตกลงเกียวโต ปี ๒๕๔๐ จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อตกลง ทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยสุจริต หรือภาษาลาตินเรียกว่า Pacta Sunt Servanda ความตกลง ปารีสให้ลงนามอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๙ ซึ่งตรงกับวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนิวยอร์ก และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ มีประเทศร่วมให้สัตยาบันกว่า ๕๕ ประเทศและมีระดับการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกร่วมกันมากกว่า ๕๕ เปอร์เซ็นต์ของโลก นับตั้งแต่นั้นมาประเทศต่าง ๆ มีการเข้า ร่วมข้อตกลงมากขึ้นจนปัจจุบันมี ๑๙๕ ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยที่ให้สัตยาบันใน วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๙ ความตกลงปารีส มุ่งเน้นให้ประเทศภาคีเกิดการเสริมสร้างและ ตอบสนองจากภัยคุกคามความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยจำกัดการเพิ่มขึ้นของ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า ๒ องศาเซลเซียส การลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงสร้างทางการเงิน หรือ Climate Finance กลไก การสร้างความโปร่งใส หรือ Transparency การทบทวนการดำเนินการระดับโลกหรือ Global Stocktake การให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านการพัฒนาการถ่ายทอด เทคโนโลยีที่จะลดโลกร้อน การเสริมสร้างศักยภาพของประเทศที่กำลังพัฒนา อย่างเช่น ผู้ประกอบการที่จำเป็นที่จะต้อง Add Cost ในการที่จะทำเข้ากับข้อตกลงนะคะ โดยประเทศ ที่เป็นภาคีต้องมีข้อเสนอแนะที่ดำเนินการแล้ว ชื่อว่า National Determine Contribution ของประเทศในทุก ๆ ๕ ปี ซึ่งจากการคาดการณ์ประเทศไทยจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มากที่สุดในปี ๒๕๗๓ และจะพยายามลดให้เป็น Net Zero ให้เร็วที่สุดในครึ่งหลังของ ศตวรรษนี้เพื่อให้เป็นความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ๒๖๐๘ รวมถึงการตั้งเป้าการลดก๊าซเรือน กระจกลงให้ได้ร้อยละ ๒๐-๒๕ ภายในปี ๒๕๗๓ และร่างแผนตามแนวทางของการลดก๊าซ เรือนกระจกในปี พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๕ ผลการดำเนินการ ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนมาใช้ พลังงานหมุนเวียน การจำกัดทุนผูกขาดในอุตสาหกรรมการผลิตการไฟฟ้าที่สร้างมลภาวะ การอนุรักษ์พันธุ์พืชสัตว์ป่าและลดการทำลายป่าเพื่อแก้ไขการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายแล้วก็ ค้าพืชพันธุ์ที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากตลาดมืดสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีสูงถึง ๒๐,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี การตัดไม้ทำลายป่าและการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย จึงกลายเป็นกิจกรรมสำหรับกลุ่มอาชญากร และมีความเชื่อมโยงมากขึ้นเกี่ยวกับความรุนแรง ด้านอาวุธ การค้ามนุษย์ การขนยาเสพติดข้ามแดน และอาชญากรรมข้ามชาติอื่น ๆ ที่รัฐ จำเป็นที่จะต้องจัดการควบคู่กันไปด้วยค่ะ ดังนั้นเราต้องแก้ไขปัญหานี้ในเชิงโครงสร้าง การเจาะไปที่การตรวจ Check ควบคุมและสร้างความรับผิดชอบในทุกระดับ ไม่ว่าจะผ่าน กลไกหรือแนวทางใด ๆ ที่กำหนดไว้ในการลดมลพิษทางอากาศ การบังคับใช้กฎหมาย การกำหนดราคาคาร์บอน หรือ Carbon Pricing การกำหนดคาร์บอนเครดิต อีกทั้งยังต้อง ร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสื่อสารกับสาธารณชนให้เข้าใจในกลไกนี้ด้วย โดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต้องมีความชัดเจนเข้าใจง่าย เข้าถึงได้ และรวมถึงการเจรจา กับประเทศเพื่อนบ้าน และมีข้อตกลงเป็นพหุภาคีหรือทวิภาคีในการควบคุมมลภาวะทาง อากาศ ทางน้ำ ทางดิน และต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องค่ะท่านประธาน ดิฉันอยากฝากไว้ มันคงเป็นเรื่องน่าเศร้าถ้าหากประชาชนต้องเผชิญกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและยัง ไม่สามารถมีอากาศบริสุทธิ์ที่จะหายใจได้ หรือสิทธิในการเข้าถึงอากาศสะอาด เพราะสิ่งนี้แทบ จะเป็นสิ่งเดียวที่ทุกคนจะมีได้ ดิฉันหวังว่าในอนาคตไม่มีใครต้องซื้ออากาศบริสุทธิ์ในการ หายใจ เพราะอากาศคือคุณภาพชีวิต คือสิ่งที่ธรรมชาติให้มา อากาศที่บริสุทธิ์เป็นปัจจัยหลัก ต่อสุขภาพของมนุษย์ และกรณีนายแพทย์กฤตไท ดิฉันต้องขออภัยที่เอ่ยนามนะคะ เรื่องของ นายแพทย์ท่านนี้เป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างมาก ท่านเป็นปูชนียบุคคลที่ทำให้สังคม ตระหนักถึงปัญหามลภาวะ ดิฉันไม่อยากเห็นความสูญเสียของบุคคลที่มีคุณภาพแบบนี้ ไปอีกแล้วเพราะอากาศที่ไม่สะอาด มีผู้เสียชีวิต ๑๒๕.๕ รายต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน ในปีปัจจุบันนี้จากมะเร็งปอด และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากที่เพื่อนสมาชิกอภิปรายในกราฟก่อนหน้านี้ รวมไปถึง ภัยพิบัติต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายป่า และมลภาวะจาก อุตสาหกรรมต่าง ๆ มารร้ายของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศไม่ใช่เกษตรกรหรือคน ตัวเล็กตัวน้อย แต่เป็นกลุ่มนายทุนผูกขาดและเป็นรัฐที่ให้สัมปทานกับกลุ่มทุนโดยไม่คำนึงถึง ผลกระทบต่อชีวิตของคนและสุขภาพในประเทศเรา สุดท้ายดิฉันหวังว่ารัฐบาลจะนำ ร่าง พ.ร.บ. ทุกฉบับเข้าไปพิจารณาเพื่อให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดกับคุณภาพชีวิตของ ประชาชน ขอบพระคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ต่อไป ท่านนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ เชิญครับ

นายนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ นนทบุรี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม นนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล จังหวัดนนทบุรี พื้นที่บางบัวทอง ไทรน้อย ก่อนอื่นก็ต้องขอยินดีกับพี่น้อง ประชาชนชาวไทยมาก ๆ ที่ผู้บริหารของประเทศเรามีความตื่นรู้ในเรื่องของสิทธิขั้นพื้นฐาน ของประชาชนที่จะได้รับโอกาสที่ดีในการดำรงชีวิตประจำวัน จึงเกิดเป็นการเสนอ ร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดขึ้นมา ที่ยื่นเข้ามาพร้อมกันทั้งหมด ๗ ร่างด้วยกัน พรรคก้าวไกลก็คือหนึ่งในผู้ยื่นนะครับ คือ สส. ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ นะครับ ในจังหวัดนนทบุรี พื้นที่บางบัวทอง ไทรน้อย ยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และยังถือเป็นจังหวัดที่มีจุด Hotspot แจ้งเตือนเรื่องการลักลอบเผา ผมเห็นด้วยแล้วก็พร้อมสนับสนุนในหลักการแต่มีความกังวล ถึงความทุกข์ร้อนใจของพี่น้องเกษตรกรผู้ทำนา เมื่อไม่นานมานี้ตัวผมเองมีโอกาสได้ไป ร่วมงานในพื้นที่อำเภอไทรน้อยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรี ภายใต้นโยบาย Kick Off ไถกลบตอซัง สร้างดินยั่งยืน ฟื้นสิ่งแวดล้อม หัวใจหลักของงานนี้นะครับ คือการรณรงค์ในเรื่องของลดการเผาหลังฤดูเก็บเกี่ยวเพื่อลดฝุ่น PM2.5 ที่เป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจที่อาจคร่าชีวิตของมนุษย์ได้โดยหน่วยงานที่เป็น เจ้าภาพในการถ่ายทอดนโยบายความรู้ก็คือกรมพัฒนาที่ดิน หลายท่านในที่นี้อาจจะยัง ไม่เข้าใจความหมายของการไถกลบตอซัง ผมขออธิบายสั้น ๆ เพื่อให้ผู้รับฟังอภิปรายจะได้ เข้าใจเนื้อหา การไถกลบตอซังคือกระบวนการงดการเผาภายหลังการเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นโดย การปล่อยน้ำเข้าไปในนาในระดับน้ำที่ท่วมวัสดุที่เราจะหมักไว้เพื่อให้ตอซังมันเกิด การย่อยสลายเองแล้วก็ทำเพื่อเตรียมแปลงพร้อมที่ปลูกข้าวในกระบวนการต่อไป เสร็จสิ้น ทั้งหมดกระบวนการไม่เกิน ๓๐ วัน ท่านประธานครับ นโยบายและหลักวิชาการถือว่า ยอดเยี่ยม แต่เราทำแบบนี้มาหลายปีติดต่อกันแล้วนะครับ ทำไมกลับไม่ได้รับความนิยมจาก กลุ่มเกษตรกรชาวนา เพราะอะไรรู้ไหมครับ ชาวนาบอกกับผมว่าวิธีที่ภาครัฐแนะนำมาเขา พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและปฏิบัติตาม หากภาครัฐดูแลในส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับ ชาวนาและรับประกันการเก็บเกี่ยว ซึ่งอาจจะหายไป ๑ รอบฤดูเก็บเกี่ยว หากทำตามที่ ภาครัฐนำเสนอ ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีเอง พื้นที่นาในอำเภอบางบัวทอง แล้วในอำเภอ ไทรน้อยล้วนแล้วแต่เป็นนาปรัง บางพื้นที่สามารถทำนาได้ ๓ รอบเพาะปลูกลองคิดดูครับว่า หากบ้านไหนมีนาเช่า นาแปลงใหญ่ แล้วจะต้องปฏิบัติตามนโยบายของภาครัฐโดยไม่ได้รับ การเยียวยา ช่วยเหลือ โอบอุ้มเขาในระยะแรก เขาจะต้องสูญเสียรายได้ไป ๑ รอบการผลิตซึ่ง เป็นเงินหลักหมื่นถึงหลักแสนบาทต่อพื้นที่การทำนา ชาวนาบางท่านบอกกับผมว่าเขาลอง ปฏิบัติตามนโยบายภาครัฐแล้ว โดยหลังฤดูเก็บเกี่ยวก็ได้ทำการจ้างรถมาเก็บฟางอัดก้อน แต่จะทำอย่างไรครับ ในเมื่อฟางเหล่านั้นไม่สามารถขายได้ไม่มีคนรับซื้อ ต้องนำมากองทิ้งไว้ที่ ริมคันนาเพื่อให้มันย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติไปเป็นดิน ชาวนาทุกข์ระทมนะครับ ทำไม คนทำนาจะต้องมีน้ำตาแห่งความยากลำบากตลอดเวลา ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ถูกออกแบบไว้ รองรับพวกเขาเลย มันจึงเกิดการลักลอบเผาอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากยังมีความเชื่อว่า กระบวนการเผาจะทำให้ผลผลิตออกมาดี และใช้ระยะเวลารอบการเพาะปลูกอย่างรวดเร็ว เห็นไหมครับ สิ่งที่ชาวนาได้รับผลกระทบจากนโยบายของท่าน ด้วยเหตุนี้ผมจึงขอโอกาสพูด ถึงนโยบายของพรรคก้าวไกลที่จะช่วยเสนอให้พี่น้องเกษตรกรได้ให้ความร่วมมือในการลดฝุ่น PM2.5 เป็นตัวดึงดูด ซึ่งจะเป็นการช่วยสุขภาพของพี่น้องประชาชนผ่านไปยังรัฐบาลดังนี้

นายนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ นนทบุรี ต้นฉบับ

๑. เปลี่ยนเกษตรแบบเผาให้เป็นเกษตรที่ใช้เครื่องจักร ท่านนำเทคโนโลยี มาสิครับ เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยเหลือเขา ไม่ใช่ไปบอกให้เขาทำตามนโยบายท่าน แล้วเขาต้องไปดิ้นรนหากันเอาเอง ควักเงินจากกระเป๋าตัวเอง แล้วใครจะไปทำครับ

นายนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ นนทบุรี ต้นฉบับ

๒. เปลี่ยนขยะที่ต้องเผาเป็นเงินในกระเป๋าเกษตรกร ท่านมีนโยบายมารองรับ การแปรรูปเขาสิครับ ท่านลงทุนในเรื่องการต่อยอดให้เป็นสินค้าชุมชนสิครับในเรื่องของฟาง หรือว่าอะไรก็แล้วแต่ และอย่างสุดท้ายคือหาตลาดรองรับให้เขาด้วย มันจะได้ครบจบ กระบวน

นายนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ นนทบุรี ต้นฉบับ

๓. ทุนสร้างตัว ๑๐๐,๐๐๐-๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท สร้างให้ผู้ประกอบการ แปรรูปวัสดุการเกษตร เขาจะได้มีทุนไปคิดสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ไปต่อยอดเพื่อนำวัสดุ เหลือใช้หลังเก็บเกี่ยวไปเป็นสินค้าหรือไปทำเป็นอาหารสัตว์ก็ว่าไป

นายนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ นนทบุรี ต้นฉบับ

๔. ให้รับรองมาตรฐาน GMP เกษตรอินทรีย์ ส่งสินค้าดีไปทั่วโลก ก็คือทำให้ เขาฟรีครับ เพื่อจูงใจให้เขาเข้ามาร่วมกับเรา ให้เขาอยากมาเป็นเกษตรที่ไม่ต้องเผาอีกต่อไป เราตระหนักดีว่าการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถทำได้ทันที เป็นนโยบาย แบบ Quick Win แต่เราเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหา PM2.5 คือการตระหนักถึงปัญหา ที่จัดสรรงบประมาณลงไปในการแก้ไขปัญหา บังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมา หลายประเทศที่พัฒนาแล้วแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้นได้ เราเชื่อว่าถ้าเรามีรัฐบาลที่ดีปัญหานี้ก็จะ ดีขึ้นได้เช่นกัน ขอบพระคุณครับท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ต่อไปท่านกัณตภณ ดวงอัมพร

นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม กัณตภณ ดวงอัมพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตพญาไท ดินแดง วันนี้ ผมขอร่วมอภิปรายร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการอากาศสะอาด ขอสไลด์ครับ

นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

จากสไลด์ท่านประธาน จะเห็นได้ว่ากรุงเทพมหานครของเราส้มทั้งกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่ส้มของก้าวไกลนะครับ แต่เป็นส้มที่เกิดจากการวัดค่าฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพมหานครเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จะเห็นได้ว่า ปริมาณฝุ่นอยู่ในขั้นที่ทำลายสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมากครับ หากเรามาดูค่าฝุ่น PM2.5 ย้อนหลัง ๓ ปี ในปี ๒๐๒๑-๒๐๒๓ ค่าฝุ่น PM2.5 นั้นในกรุงเทพมหานครมีค่าสูง อยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม ทั้ง ๔ เดือนนี้ผมขอเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าปรากฏการณ์ ฤดูฝุ่นครับ พอผ่านพ้นเดือนมีนาคมไปแล้วกรุงเทพมหานครก็จะกลับเข้ามาสู่ฤดูกาลปกติ ผมขออนุญาตนำเรียนข้อมูลเปรียบเทียบและจัดเรียงลำดับของโลกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วครับ ท่านประธาน จะพบว่าประเทศไทยมีค่าฝุ่น PM2.5 เฉลี่ยเป็นอันดับที่ ๑๒ ของโลกนะครับ แพ้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียและลาวที่เขามีค่า PM2.5 ดีกว่าบ้านเรา คราวนี้ เราลองมาดูภาพกว้างกันบ้าง จะพบว่าจุดสีเขียวที่แสดงว่าอากาศดี ไม่มีมลพิษ ยังมีอยู่ ในหลายหลากประเทศทั่วโลก แม้แต่กระทั่งพื้นที่สีเขียวในดงสีแดงของสีส้มก็มีพอให้เห็นบ้าง ในประเทศจีนบางส่วนหรือประเทศสหรัฐอเมริกาบางส่วน แล้วในต่างประเทศเขามี การบริหารจัดการค่าฝุ่น PM2.5 อย่างไร วันนี้ผมขอยกตัวอย่าง ๒ ประเทศ ได้แก่ ๑. ประเทศอินเดีย อินเดียเป็นดินแดนแห่งศรัทธา เขามีการบริหารจัดการง่าย ๆ ๔ เรื่อง เรื่องที่ ๑ เขามีการแจกก๊าซ LPG แทนการใช้ถ่านหินเพื่อลดการสร้างมลพิษในครัวเรือน เรื่องที่ ๒ เอกชนรับซื้อซากการเกษตร เรื่องที่ ๓ มีการห้ามใช้เครื่องยนต์เก่าที่จะทำให้ เกิดเขม่า เรื่องที่ ๔ มีการจัดระเบียบรถที่จะเข้ามาเมืองในวันคู่ วันคี่ ในเมืองนิวเดลี รัฐเขา จัดการอย่างจริงจังในการแก้ปัญหา แล้วก็สามารถขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาได้อย่าง เป็นรูปธรรม เรื่องนี้สวดมนต์ฝุ่นไม่หายแน่นอนครับ ประเทศที่ ๒ ประเทศมหาอำนาจอย่างจีน ก่อนอื่นเราต้องยอมรับกันก่อนว่าประเทศจีนมีการพัฒนาการแข่งขันในการใช้พลังงานไฟฟ้า ทั้งจากรถยนต์ รถเมล์ รถส่วนบุคคล หรือแม้กระทั่ง Scooter ไฟฟ้า ทำให้รัฐบาลสนับสนุนของประเทศจีนบวกกับการใช้กฎหมายออกมาใช้บังคับทำให้ ฝุ่น PM2.5 ของจีนลดลงได้อย่างเป็นรูปธรรม มาดูกันแบบใกล้ตัวครับ กทม. ครับ สัดส่วน การทำให้เกิดฝุ่นในกรุงเทพมหานครมากถึง ๖๐ เปอร์เซ็นต์จากการจราจร ข้อมูลจาก Global Traffic Scorecard ปี ๒๐๑๗ ได้ระบุไว้ว่าไทยครอง Champ ครับ เป็นประเทศที่มี สภาพการจราจรติดขัดที่สุดในโลก ผมเชื่อว่าปัญหารถติด รถยนต์ กทม. เป็นส่วนหนึ่งในการ สร้างมลพิษ แต่ก็มีอีกส่วนหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างรถเมล์ ขสมก. ในตำนานนะครับ ผมถือว่า เป็นตำนานที่ยังมีลมหายใจเพราะมีควันที่ดำมาก แล้วก็ไม่ยอมเปลี่ยนไปใช้รถเมล์ EV สักที ต้องรอให้เอกชนนำหน้ารัฐก่อนหรือครับ ทำไมรัฐไม่สนับสนุนหรือแก้ไขปัญหาเหล่านี้ อย่างจริงจังครับ ผลกระทบเกิดขึ้นโดยตรงกับพี่น้องประชาชนแน่นอนครับ ยิ่งประชาชน ในเขตบ้านผม พญาไท ดินแดง เป็นพื้นที่ที่มีผู้อยู่อาศัยแออัดอยู่แล้ว เดี๋ยวการเคหะก็จะขึ้น ตึกใหม่มีห้องเพิ่มขึ้นอีกกว่า ๑๔,๐๐๐ ห้อง ประชาชนชาวดินแดงก็จะเพิ่มขึ้นมาอีก แล้วประชาชนอันเป็นที่รักของผมจะต้องมาเจอสภาพอากาศที่เลวร้ายในช่วงฤดูฝุ่นอย่างนี้ อีกหรือครับ ยิ่งในเขตผมนะครับ ผู้สูงอายุจำนวนมาก ฝุ่น PM2.5 ทำลายสุขภาพคนไปมาก พอสมควรเลย ผมลงพื้นที่พบประชาชนในเขตพื้นที่พญาไทชาวบ้านก็เดินมาจับมือผม ถามว่า ช่วยแก้ปัญหาฝุ่นหน่อยได้ไหม เขาแค่อยากเปิดบ้านรับอากาศ เขาแค่อยากมีอากาศถ่ายเทดี ในบ้านบ้าง อยากเปิดหน้าต่างคอนโดมิเนียม อยากออกไปใช้ชีวิตอย่างสบายใจในช่วง วันหยุดบ้าง สำหรับกลุ่มเปราะบางอย่างผู้สูงอายุการได้รับฝุ่นอย่างต่อเนื่องแค่เพียงไม่กี่วัน ระบบคุ้มกันในร่างกายก็ลดต่ำลงด้วยทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้พวกเขาต้องป่วย ต้องเข้าไปรับ การรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้น ไม่ใช่เรื่องดีเลยนะครับ เพราะประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ แน่นอนครับ หากปริมาณฝุ่นมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่ได้รับการแก้ไข ผู้ที่ได้รับ ผลกระทบคือประชาชนคนไทยทุกคน ท่านประธานครับ สำหรับร่างพระราชบัญญัติทั้งหมด ที่ส่งเข้ามาในสภามีการออกแบบโครงสร้างอย่างที่เห็นในสไลด์นะครับ แบ่งหน้าที่การจัดตั้ง คณะกรรมการ ๓ คณะ แบ่งหน้าที่ดูเหมือนจะชัดเจน แต่ก็คงต้องไปในชั้นกรรมาธิการต่อไป พิจารณาว่ามันมีหน้าที่ซ้ำซ้อนกันอยู่หรือไม่ และฝากท่านประธานนำร่างของพรรค ก้าวไกลไปร่วมพิจารณาด้วยนะครับ พอดีท่านนายกรัฐมนตรีเพิ่งเซ็นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมก็ กลัวตกหล่น เรื่องการปรับเงินสำหรับผู้กระทำความผิดเข้าสู่กองทุน ที่มีผู้เสนอมานั้นมีทั้ง เป็นกองทุนใหม่เพิ่งจัดขึ้นมาเลยคือกองทุนอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพของ ครม. ที่ใช้ กองทุนเดิมอยู่คือกองทุนสิ่งแวดล้อมของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หากเข้าสู่การพิจารณาก็อยากให้ดูถึงจุดที่ชัดเจนในกองทุนดังกล่าวว่ามีการซ้ำซ้อนกัน ระหว่างกองทุนหรือไม่ แล้วจะแก้ไขอย่างไร

นายกัณตภณ ดวงอัมพร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

สุดท้ายผมตั้งข้อสังเกตไว้อย่างนี้ครับ เรามีทั้งโทษปรับ โทษจำ มีลงโทษทาง อาญา แล้วถ้าหากภาคเอกชน ประชาชนทำดี ร่วมกันแก้ไขปัญหา PM2.5 ผมคิดว่าทำดี ควรมีรางวัลครับ พระราชบัญญัติดังกล่าวควรเน้นให้ความสำคัญในการตอบแทนพวกเขา หรือไม่อย่างไรเพื่อเป็นแรงจูงใจในการช่วยกันแก้ไขปัญหา PM2.5 นี้ จากการอภิปราย ข้างต้นของผมนะครับ ผมขอสนับสนุนร่างกฎหมายนี้ให้ผ่านและให้ประกาศใช้เพื่อแก้ปัญหา ที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนทุกคน และผมก็ขอวิงวอนเพื่อน ๆ ในห้องสุริยันแห่งนี้ให้ผ่าน กฎหมายร่างนี้ไปด้วยกัน ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ท่านต่อไปท่านณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ เชิญครับ

นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล จากพี่น้องชาวบางบอน บางขุนเทียนครับ ท่านประธานครับ วันนี้วาระในสภาผู้แทนราษฎรของเรากำลังจะกำหนดตัวหนังสือที่ไปกำหนดอนาคต ชีวิต และผู้คนภายนอกอีกมากมาย ความจริงแล้วเรื่องราวเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเข้าสภาครับ กฎหมายต่าง ๆ ที่เราเขียนกันมาในวันนี้ถ้าเกิดบังคับใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา ๕ หน้าที่ของรัฐ ในหลาย ๆ มาตรา ในหมวด ๕ มีกำหนดไว้ชัดเจนว่าหน้าที่ของรัฐควรที่จะดูแลพี่น้องประชาชนอย่างไร และ สิทธิขั้นพื้นฐานของพี่น้องประชาชนเลยก็คือการมีชีวิตอยู่ในบ้านนี้เมืองนี้ผ่านการหายใจ เพราะถ้าไม่หายใจคงอยู่เป็นประชากรในประเทศไทยไม่ได้ ท่านประธานครับ ผมจะพูด เรื่องราวเหล่านี้ให้คล้องไปกับเรื่องของสวัสดิการที่เกิดขึ้น และมันกลายเป็นความคุ้นชินของ พี่น้องประชาชนไปแล้ว รัฐธรรมนูญ มาตรา ๕๖ หมวด ๕ ระบุไว้ว่ารัฐควรจัดทำระบบ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้ดี มีคุณภาพ นั่นคือน้ำไหล ไฟสว่าง เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของ พี่น้องประชาชน แต่วันนี้เวลาใช้น้ำพี่น้องประชาชนก็ต้องจ่ายค่าไฟไปด้วย เพราะระบบ คุณภาพน้ำมันไม่มีแรงดันที่มากพอให้พี่น้องประชาชนนั้นต้องจ่ายค่าน้ำอย่างเดียว มันเลย จำเป็นว่าทุกการใช้น้ำต้องจ่ายค่าไฟไปด้วย นี่คือสิ่งที่ผมอยากจะหยิบยกขึ้นมาว่ารัฐไม่เคยให้ ความสำคัญรัฐธรรมนูญ หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐได้ดีพอ จึงต้องมี พ.ร.บ. อื่น ๆ อีกมากมาย จนมาถึงวันนี้สถานการณ์โลกเปลี่ยนไป น้ำไหล ไฟสว่าง กลายเป็นเรื่องคุ้นชินของพี่น้อง ประชาชนไปแล้วว่ามันบริหารจัดการได้เพียงเท่านี้ พอมาถึงวันนี้การหายใจของพี่น้อง ประชาชนกำลังต้องเสียค่าไฟเพิ่มไปด้วย เมื่อก่อนทุกบ้านต้องมีเครื่องปั๊มน้ำจนเรามองเป็น เรื่องปกติ แล้วถ้าเกิดไม่มีเครื่องปั๊มน้ำ น้ำจะไหลเอื่อย น้ำจะไม่ไหล เป็นเรื่องปกติของพี่น้อง ประชาชนไปแล้ว ทุกวันนี้กลายเป็นเครื่องกรองอากาศ เครื่องฟอกอากาศต้องมีทุกบ้านครับ ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไรถ้าเกิดท่านอยากหายใจให้สะดวกปลอดภัย และอนาคตจะเลวร้าย มากยิ่งขึ้น เผลอ ๆ ต้องไปแถมในโครงการหมู่บ้านทุกหมู่บ้านด้วยซ้ำ นี่คือเรื่องที่มันกำลังจะ เกิดขึ้นว่าพี่น้องประชาชนจะเพิ่มค่าใช้จ่ายไปเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงเล็กน้อยแต่มันเป็น ค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนคนไทยเลย รายได้ก็น้อยพออยู่แล้ว แต่รัฐ บริหารจัดการไม่ดีจนทำให้ค่าครองชีพต้องเสียค่าโน่น นี่ นั่น เพิ่มมากมาย ท่านประธาน ในช่วงหาเสียง ผมเองลงพื้นที่หาเสียงแล้วก็ไปเจอครอบครัว ๆ หนึ่ง เงินเดือนอยู่ประมาณ ๗๐,๐๐๐-๘๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน แต่ต้องทำงานภาคสนาม เขาจับมือผมแล้วก็บอกว่า ที่บ้านแฟนซื้อเครื่องฟอกอากาศให้เต็มทุกห้องเลยเพราะเป็นภูมิแพ้ แต่ฉันไม่สามารถกลั้น หายใจไปหายใจที่บ้านได้ เหตุการณ์นี้หมายความว่าอย่างไรครับ หมายความว่าไม่ว่าจะยากดี มีจนเงินเดือนเรือนแสน หรือหาเช้ากินค่ำวันละ ๓๐๐ บาท รัฐกำลังทำให้เขาตายผ่อนส่ง อย่างเท่าเทียม นี่คือเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้น และวันนี้ร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาดได้บัญญัติ ตัวหนังสือขึ้นมาเพื่อที่จะบอกว่าพี่น้องคนไทยควรจะมีอากาศสะอาดหายใจได้แล้ว แล้วที่ผ่านมา รัฐทำอะไรอยู่ ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับอธิบดีกรม กอง ทุกกรมกอง เกี่ยวข้องกับรัฐมนตรี ทุกกระทรวง ทุกรัฐบาล ทุกสมัย เพราะรัฐมนตรีทุกคนอยู่ได้ต้องหายใจครับ แล้วก็ ไม่สามารถกลั้นหายใจไปหายใจที่บ้านด้วย และเวลามาหายใจที่สภาวันนี้ก็ไม่ได้คุณภาพ อากาศดีเด่อะไรท่านประธาน นี่ค่าเครื่องวัด วัดไว้บอกว่าอยู่ที่ ๓๕ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หมายความว่าอยู่ในเกณฑ์พอใช้ครับ นี่ขนาดในสภาผู้แทนราษฎรยังคุณภาพอากาศพอใช้ รัฐมนตรีนั่งกันหลาย ๆ คนยังหายใจหายคอเพียงแค่คุณภาพอากาศพอใช้ แล้วออกไป ข้างนอกพี่น้องประชาชนที่ทำงานหาเช้ากินค่ำที่อยู่กลางแจ้งมากกว่าในห้องแอร์เขาจะทำ อย่างไร สุดท้ายครับ เมื่อคุณภาพอากาศไม่ดี คุณภาพชีวิตก็ไม่ดี สุขภาพก็ไม่ดี ค่าใช้จ่าย ก็ต้องจ่ายไปเรื่อย ๆ เพื่อประคับประคองชีวิตให้อยู่ได้อยู่รอดในบ้านนี้เมืองนี้ นั่นหมายความว่า อย่างไรครับ นี่เราไม่ต้องไปพูดถึงพื้นที่จังหวัดที่มันสุ่มเสี่ยงมาก ๆ เมื่อสักครู่ สส. กัณตภณ ยกตัวอย่างแล้ว อยู่ในอันดับที่เท่าไรของโลก ๑๒ พื้นที่ผมติด Top 5 ทุกสัปดาห์ ในกรุงเทพมหานคร บางบอน บางขุนเทียน ติด Top 5 ตลอด พื้นที่เพื่อนสมาชิกผมอยู่ ทางด้านขวามือ ท่านชุติพงศ์ จังหวัดระยอง นี่พื้นที่เขตอุตสาหกรรมนะครับ หายใจหายคอทุกวัน ทำร้ายร่างกายทุกวัน ได้ค่าแรง ๔๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ต้องตัดออก ค่าดูแลสุขภาพไป ๕๐ บาท ๖๐ บาท ไปแล้ว นั่นหมายความว่าจะอยู่ได้อย่างไร และท่านชุติพงศ์ ฝากไว้บอกว่าไม่ต้องให้เสียเวลาสภา มันไม่ใช่แค่เรื่องอากาศอย่างเดียว ยังมีเรื่องกลิ่นอีก จะหายใจหายคอเข้าไปไม่ว่าจะเป็นคุณภาพกลิ่น วันนี้หน่วยงานภาครัฐทำอย่างไร ต้องมี นักดมกลิ่น เอากันอย่างนี้หรือครับการตรวจคุณภาพ มันไม่มีเครื่องไม้เครื่องมืออะไรที่มัน พอจะมีมาตรฐานให้กับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนได้มากกว่านี้ใช่ไหม เพราะฉะนั้น วันนี้ร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาดของทุกหน่วยงาน นั่นหมายความว่าเป็นฉันทามติแล้วว่า ทุกหน่วยงานไม่ว่าภาคประชาชน ไม่ว่าจะฝ่ายรัฐบาล ไม่ว่าจะฝ่ายค้าน เห็นตรงกันว่าเรื่องนี้ ควรแก้ และควรแก้มานานแล้ว และไม่ควรรีรอต่อไปจากนี้อีกแล้ว ไม่ควรจะนำข้อกฎหมาย ไม่ควรจะนำตัวอักษรมากำหนดชีวิตของพี่น้องประชาชนอีกต่อไปแล้ว วันนี้ท่านทำได้ทันที บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ผมกล่าวไว้ทุกหน่วยงานท่านทำได้ทันที ไม่ว่าท่านจะอยู่กระทรวงไหน กรม กองไหน ถ้าท่านจริงใจมากกว่านี้ ถ้าท่านจริงจังมากกว่านี้ มันควรที่จะสำเร็จลุล่วง ไปได้แล้ว เพราะฉะนั้นวันนี้ครับท่านประธาน เรากำลังมองว่าสิ่งที่รัฐควรทำ แต่กำลังเกรงใจ กลุ่มทุนหรือไม่ วันนี้เรามีกลุ่มทุนร้านสะดวกซื้อ เรามีกลุ่มทุนที่ผูกขาดภาคเกษตรกรรม ภาคเกษตรกร แล้วเขาพยายามลดต้นทุนของเขา แต่ในการลดต้นทุนของเขาทำให้ผล ประกอบการงอกเงยนั้นมันกำลังแลกด้วยชีวิตของพี่น้องประชาชนคนไทยอีกหลายล้านคน ท่านประธาน ผมใช้เวลาเพิ่มเติมตรงนี้ไม่มากท่านประธาน เพราะว่าผมกำลังจะโยงให้เห็นว่า การเกรงใจกลุ่มทุนมันมีต้นทุนมหาศาล คือพี่น้องประชาชนที่เลือกท่านมา เพราะฉะนั้นวันนี้ กฎหมายก็ส่วนหนึ่ง สภาวันนี้ผ่านแน่นอน แต่ความจริงใจของรัฐบาลที่จะดำเนินการเรื่อง อากาศของพี่น้องประชาชนคือต้องยุติการเกรงใจกลุ่มทุนได้แล้ว และส่งต่อเรื่องราวเหล่านี้ เป็นวาระสำคัญของชาติ และจะนำพาพี่น้องประชาชนให้สุขภาพดีขึ้น ให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แล้วจะเป็นหน้าที่ของรัฐตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หมวด ๕ อย่างชัดเจน ขอบคุณครับ ท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับนักศึกษาและอาจารย์ คณะนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร สภาผู้แทนราษฎร ยินดีต้อนรับนะครับ ต่อไปผู้อภิปรายท่านสุดท้าย แล้วก็จะมีผู้สรุปอีก ๔ ท่าน เชิญท่านจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ครับ

นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพครับ กระผม นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จังหวัดศรีสะเกษ ท่านประธานครับ ร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๗ ฉบับนั้นผมได้ พิจารณา ได้อ่านแล้วมีความเห็นว่าสมควรที่จะสนับสนุนและรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ ทั้ง ๗ ฉบับดังกล่าวครับ ประเด็นที่ผมขอให้ข้อมูลกับท่านประธานก็คือเรื่องของอากาศ สะอาดนั้นเป็นเรื่องที่พรรคการเมือง ประชาชน เห็นร่วมกันจนอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นวาระ แห่งชาติก็ว่าได้ พรรคเพื่อไทยในขณะที่มีการหาเสียงเลือกตั้งก็มีการออกนโยบายทวงคืน อากาศสะอาดและแก้ไขปัญหา PM2.5 ที่ทุกต้นตอ พรรคการเมืองอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน จึงถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนในสังคมในประเทศไทยเห็นร่วมกัน ท่านประธานครับ ตัวผมเองก็ประสบปัญหาเรื่อง PM2.5 เช่นเดียวกัน แต่เดิมยังไม่เข้าใจว่าเกิดปัญหา เนื่องจาก PM2.5 คือมีอาการว่าบางครั้งตื่นเช้าขึ้นมาก็จะมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอโดยไม่ทราบสาเหตุ ต่อมาจึงทราบว่าอาการอย่างนี้เป็นเรื่องของ PM2.5 เป็นเรื่องของอากาศไม่สะอาดไม่ดี เท่าที่ควรครับท่านประธาน สำหรับร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๗ ฉบับนั้นผมมีข้อสังเกตหรือ ข้อกังวลดังนี้

นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ มีการตั้งคณะกรรมการในหลายระดับ แต่ละร่างก็มีการตั้ง คณะกรรมการจำนวนไม่เท่ากัน เรียกชื่อต่าง ๆ กัน อาจจะเรียกว่าเป็นคณะกรรมการ นโยบายบ้าง คณะกรรมการบริหารบ้าง คณะกรรมการระดับจังหวัดบ้าง หรือเรียกว่า คณะกรรมการวิชาการบ้าง มีหลายระดับ การตั้งคณะกรรมการนั้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ในมาตรา ๗๗ ในวรรคท้ายมีเขียนไว้ชัดเจนว่า การใช้ระบบคณะกรรมการในกฎหมายนั้นให้กระทำเท่าที่ จำเป็น ก็ขออนุญาตฝากประเด็นนี้ให้กับคณะกรรมาธิการวิสามัญที่จะพิจารณาในโอกาส ต่อไปว่าเมื่อมีการพิจารณาก็ขอให้มีการตั้งคณะกรรมการเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะมิฉะนั้น ก็อาจจะมีความซ้ำซ้อนหรือเกิดอุปสรรคในการทำงานได้ครับ

นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

อีกประเด็นหนึ่งที่ผมพบประเด็นปัญหา ก็คือเรื่องของอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ ในร่างพระราชบัญญัติ เมื่อเทียบกับอำนาจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครับท่านประธาน ถ้าหากว่าไปดูพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ จะมีการระบุอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ในมาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ ครับท่านประธาน ก็จะมีกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ และในกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการ กรมควบคุมมลพิษซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานของกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็มีกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งผมจะขออนุญาตยกตัวอย่างแค่บางหน่วยงานนะครับ อย่างเช่น กองจัดการคุณภาพ อากาศและเสียง กองควบคุมมลพิษ ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ ถ้าหากดูอำนาจหน้าที่ของ หน่วยงานต่าง ๆ แล้วเราจะพบว่ามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพอากาศ โดยตรงครับท่านประธาน เมื่อเรามีการตราพระราชบัญญัติขึ้นมา มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ ให้กับคณะกรรมการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับนโยบาย ระดับบริหาร หรือระดับจังหวัดก็ดี อำนาจหน้าที่ต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นอำนาจหน้าที่ที่บางส่วนก็ซ้ำหรือซ้อนกับอำนาจของ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งถ้าหากว่ามีอำนาจที่ซ้ำและ ซ้อนกันนี้มันก็จะมีปัญหาในทางปฏิบัติว่าเวลาข้าราชการจะรับคำสั่งนั้นจะปฏิบัติตามคำสั่ง ของรัฐมนตรี อธิบดี หรือคณะกรรมการ หรือเจ้าพนักงานอากาศสะอาดที่จะได้มีการตั้งต่อไป ก็เป็นประเด็นที่อาจจะมีปัญหาในทางปฏิบัติได้ แต่อย่างไรก็ดีผมเชื่อว่าความไม่สะดวก หรือข้อขัดข้องบางส่วนเหล่านี้ สามารถที่จะแก้ไขได้ในชั้นของกรรมาธิการวิสามัญครับ ก็ฝาก ความกังวลในประเด็น ๒-๓ เรื่องนี้ไปยังคณะกรรมการวิสามัญที่จะได้มีการพิจารณาต่อไป

นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

และสุดท้ายผมขออนุญาตฝากความเห็นว่า การแก้ไขปัญหา PM2.5 นั้น สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยไม่จำเป็นต้องรอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอาจจะทำให้การแก้ไขมีความเป็นบูรณาการมากขึ้น มีความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานมากขึ้น แต่ด้วยโครงสร้างของกฎหมายในปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษมีอำนาจหน้าที่ที่จะแก้ไขปัญหาในเรื่องของอากาศ ในเรื่องของ PM2.5 อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าหากว่ากรมควบคุมมลพิษหรือกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจน ครม. จะได้มีการบังคับใช้กฎหมาย อย่างจริงจัง ผมเชื่อว่าก็จะสามารถแก้ไขปัญหา PM2.5 ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ขอบพระคุณครับ ท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ตามข้อบังคับ ข้อ ๗๕ ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติมีสิทธิที่จะสรุปได้อีก ๑ ครั้ง ๗ ฉบับก็จะมีตัวแทน ๔ ฉบับที่จะขอสรุป เชิญท่านแรก ท่านคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ครับ

นางสาวคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

เรียน ท่านประธาน ในฐานะที่เป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับประชาชน ขออนุญาตสรุป ดังต่อไปนี้

นางสาวคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ประการแรก สิทธิของประชาชนในอากาศสะอาดควรเป็นฐานในการออกแบบ กฎหมายอากาศสะอาดที่พึงประสงค์ ทั้งสิทธิเชิงเนื้อหาและสิทธิเชิงกระบวนการ สิทธิของ ประชาชนอันนี้จะก่อให้เกิดหน้าที่ของรัฐตามมา

นางสาวคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ในฐานะประชาชนที่ต้องการมีชีวิตยืนโดยไม่ตายก่อนวัยอันควร ขอสรุปว่าบุคลิกของกฎหมายอากาศสะอาดที่พึงประสงค์ควรต้องสอดคล้องกับหลักการ พัฒนาที่ยั่งยืนที่สร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยอากาศ สะอาดสามารถส่งมอบและสร้างให้เกิดความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชน ทุกหมู่เหล่า รวมทั้งสร้างให้มิติสิ่งแวดล้อมกับมิติสุขภาพไม่ตัดขาดออกจากกัน

นางสาวคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ประการที่ ๓ เพื่อสร้างความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ความเป็นธรรมและ ลดความเหลื่อมล้ำ กฎหมายอากาศสะอาดต้องไม่ปล่อยให้ผู้ก่อมลพิษลอยนวล ต้องไม่เอา เงินภาษีของประชาชนทั่วไปมาชดเชยความเสียหายแทนผู้ก่อมลพิษ แต่ต้องให้ผู้ก่อมลพิษ เป็นผู้รับผิดชอบ ตามหลัก Polluters Pays Principle ไม่ใช่ Taxpayer Pays Principle

นางสาวคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ประการที่ ๔ เนื่องจากวงจรการเกิดฝุ่นพิษและมลพิษทางอากาศเป็นปัญหา ลูกโซ่ที่ซับซ้อน เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ส่วนหนึ่งมาจากระบบเดิมที่มันไม่เอื้อ ไม่ตอบโจทย์ การแก้ปัญหา จึงจำเป็นที่จะต้องปรับวิธีคิดกระบวนทัศน์และต้องนำเอาเครื่องมือกลไก นวัตกรรมกลไกทางกฎหมายบางอย่างเข้ามาช่วยสนับสนุนในการออกกฎหมายอากาศ สะอาดฉบับนี้ มากกว่าการอาศัยแต่ระบบเดิม ๆ ตัวอย่างเช่น เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ การกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการบูรณาการ เป็นต้น

นางสาวคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ประการที่ ๕ ปัญหามลพิษทางอากาศ ฝุ่นพิษที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นปัญหาความมั่นคงในรูปแบบหนึ่งที่กระทบต่อสังคมทุกหมู่เหล่า ทุกภาคส่วน ถ้าจะ แก้ปัญหาแบบขอไปที แก้แบบปะผุ ไม่ยอมรื้อปรับระบบกลไกใหม่ ๆ มาใช้ก็จะแก้ปัญหา ไม่ได้แล้วก็วนอยู่ในอ่าง แล้วก็จะพบกับความไม่มั่นคงในรูปแบบนี้

นางสาวคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ประการที่ ๖ สุดท้ายนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในทุกเรื่อง รวมทั้งเรื่องอากาศ ที่ไม่สะอาด เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของคนในชาติ เป็นประโยชน์ส่วนรวม เป็น Public Interest ที่อยู่เหนือประโยชน์ส่วนตน ส่วนกลุ่ม หรืออยู่เหนือการแบ่งค่ายขั้วความคิด ทางการเมืองและอยู่เหนือเกมทางการเมือง

นางสาวคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้นฉบับ

ดังนั้นจึงขอเชิญชวนทุก ๆ ท่าน และทุกพรรคให้ร่วมกันสนับสนุนให้มี กฎหมายอากาศสะอาดและเป็นกฎหมายอากาศสะอาดฉบับที่ใช่ คือ ๑. สามารถแก้ปัญหา อากาศไม่สะอาดให้มันยั่งยืนและได้มาซึ่งอากาศสะอาดที่ยั่งยืน ๒. คือสามารถจรรโลง หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างจริงจัง และ ๓. คือสามารถนำมาสู่ความยุติธรรม ทางสิ่งแวดล้อมได้ ขอบพระคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านที่ ๒ ท่านอลงกต มณีกาศ แทนท่านอนุทิน ชาญวีรกูล เชิญครับ

นายอลงกต มณีกาศ นครพนม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายแพทย์อลงกต มณีกาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม พรรคภูมิใจไทย กฎหมายฉบับนี้ในส่วนของพรรคภูมิใจไทย ผมขออนุญาตเป็นตัวแทนของท่านอนุทิน ชาญวีรกูล และคณะเป็นผู้สรุป ท่านประธานครับ กฎหมายอากาศเพื่อประชาชนเป็น กฎหมายที่กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศที่ปลอดภัยกับสุขภาพของพี่น้องประชาชน คนไทยทั้งประเทศ ไม่ว่าคนรวยหรือคนจน ไม่ว่าจะอยู่จังหวัดไหนสมควรที่จะได้รับอากาศ ที่สะอาดและปราศจากมลภาวะ ซึ่งในเนื้อหาท่านนายกรัฐมนตรีก็จะเป็นประธาน คณะกรรมการ และคณะกรรมการในชุดนี้ก็จะทำหน้าที่ประสานงานเพื่อจัดทำฐานข้อมูล Big Data ระดับประเทศ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน แล้วก็ยังช่วยกำหนดระบบ การเฝ้าระวัง แล้วก็ทำหน้าที่ควบคุม กำกับ เพื่อให้แต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการ ตามมาตรฐานคุณภาพเพื่ออากาศสะอาด และเน้นการบริหารจัดการทางความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศในประเด็นมลพิษทางอากาศข้ามแดนนะครับ รวมถึงใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์และมาตรการทางภาษีมาช่วยในการบริหารจัดการ ที่สำคัญครับท่านประธาน กฎหมายฉบับนี้ผมเชื่อว่าพี่น้องประชาชนสามารถที่จะมีส่วนร่วม ในการที่จะได้มาซึ่งอากาศสะอาดอย่างแท้จริง ผมได้ฟังเพื่อนสมาชิกอภิปรายตั้งแต่สัปดาห์ ที่ผ่านมาแล้วก็วันนี้ จะเห็นได้ว่าเพื่อนสมาชิกไม่ว่าจะเป็นทั้งซีกฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล ส่วนใหญ่ก็มีความเป็นห่วงเป็นใยในสถานการณ์เรื่องของอากาศที่เป็นพิษในครั้งนี้ และเห็น ตรงกันว่าอยากจะให้มีกฎหมายฉบับนี้ร่างออกมาโดยเร็ว ซึ่งจากข้อมูลการรับฟัง ความคิดเห็นและข้อมูลจากผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เห็นด้วยที่จะ ร่างกฎหมายฉบับนี้ หวังอย่างยิ่งว่าเพื่อนสมาชิกจะช่วยกันลงมติรับหลักการกฎหมาย ทั้ง ๗ ฉบับนี้ กราบขอบพระคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านชัยมงคล ไชยรบ แทนท่านตรีนุช เทียนทอง เชิญครับ

นายชัยมงคล ไชยรบ สกลนคร ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ชัยมงคล ไชยรบ สกลนคร พรรคพลังประชารัฐ ขอเป็นตัวแทนท่านตรีนุช เทียนทอง ในนาม พรรคพลังประชารัฐ สรุปร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... โดยภาพรวมเท่าที่เราได้ฟังมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วได้เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ เป็นกฎหมายแห่งความเท่าเทียมที่ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจนต่างมีสิทธิที่ได้รับ อากาศโดยทั่วถ้วนหน้ากัน และร่างกฎหมายฉบับนี้มีความเหมือนที่แตกต่าง เหมือนกัน ในหลักการ หลักการที่บอกว่าวันนี้ภาวะของโลก ภาวะของประเทศไทยถูกคุกคามโดย PM2.5 ซึ่งเป็นสภาวะที่ทำลายและทำร้ายสุขภาพของประชาชน และมีความเหมือน ในเป้าประสงค์ที่จะหยิบยื่นอากาศดี ๆ ให้กับประชาชนโดยทั่วถ้วนหน้าเช่นกัน แต่ความ แตกต่างก็มีเหมือนกันในหลักการและรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่โดยภาพสรุปแล้ววันนี้ ขอแสดงความชื่นชมต่อสภาของเราที่ได้เห็นท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้กระตือรือร้นในการ ที่จะอภิปรายอรรถาธิบายให้ผู้คนได้รับทราบถึงที่มาที่ไปของ PM2.5 มีบ้างที่ไปค้นข้อมูลทาง วิชาการ มีบ้างที่ได้ตำหนิติเตียนบางร่างที่ไม่มีความเหมาะสมซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ใน ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้บอกให้เห็นว่าหลักการต้นน้ำคือแหล่งกำเนิดมลภาวะ ไม่ว่าจะเป็น หมอกควัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์สันดาปที่มีอายุมาก ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น ต่างเป็นภัยต่อ สุขภาพของพี่น้องประชาชน ดังนั้นเมื่อมีต้นน้ำก็มีกลางน้ำ กลางน้ำตามร่างโดยภาพสรุป จะได้เห็นคณะกรรมการ ๓ ระดับ ระดับแรกมีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน แล้วก็มีระดับ รองลงมาก็มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรเป็นประธาน และระดับท้องถิ่นก็มี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน แต่สิ่งสำคัญทุกร่างต่างให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของ พี่น้องประชาชน กราบเรียนท่านประธานด้วยความเคารพ วันนี้เราได้แลเห็นสภาแห่งนี้ ได้แสดงความเป็นห่วงใยต่อพี่น้องประชาชนจนร่วมกันเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้ ผมได้เคย นำเสนอว่าร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นร่างกฎหมายฉบับความปรองดอง เป็นร่างกฎหมายที่ ก้าวข้ามความขัดแย้ง ดังได้เห็นจากการอภิปรายที่ผ่านมาเรามิได้แบ่งฝ่ายค้านหรือ ฝ่ายรัฐบาล หากแต่ต่างร่วมกันอภิปรายถึงจุดอ่อน จุดด้อยของแต่ละร่างเท่านั้น นับเป็น ความห่วงใยของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีต่อประชาชน เป็นภาพงดงามทางการเมือง อยากเห็นภาพงดงามเช่นนี้ในการลงมติที่ทุกท่านจะได้ลงมติด้วยความสบายใจว่า เราสนับสนุนเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและความเท่าเทียมของพี่น้องประชาชน อากาศนั้น ไม่ว่ายากดีมีจนต่างมีสิทธิรับอากาศดีและอากาศไม่ดีเท่า ๆ กัน อยากเห็นการลงมติวันนี้ ไร้คนงดออกเสียง อยากเห็นการลงมติวันนี้ไร้ซึ่งผู้คัดค้าน เพื่อหยิบยื่นสิ่งดี ๆ ให้กับพี่น้อง ประชาชน และบอกเล่าให้ประชาชนได้รับทราบว่าวันนี้นักการเมืองเฉกเช่นพวกเราทั้งหลายต่างมี ความรับผิดชอบต่อสังคมต่อบ้านเมือง อย่ามองนักการเมืองในแง่ที่เลวร้าย เพราะฉะนั้น ก็วิงวอนท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านสนับสนุนร่างนี้เถอะครับ แล้วก็ให้เป็นเอกฉันท์ เถอะครับ เพื่อภาพที่ปรากฏต่อประชาชนจะเป็นภาพงดงามทางการเมือง ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ท่านสมาชิกที่อยู่ตามห้องประชุม เหลือท่านผู้สรุป ๑ ท่าน ทางวิปช่วยประสาน ให้เข้ามาในห้องประชุมเลยนะครับ ต่อไปท่านสุดท้ายที่จะสรุป ท่านภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชิญครับ

นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขออภิปรายสรุปเนื้อหา ในร่างพระราชบัญญัติฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดน พ.ศ. .... ของผมและพรรคก้าวไกล ในวันนี้ ปัญหานี้เพื่อนสมาชิกพรรคก้าวไกลเราได้อภิปรายที่มาของปัญหาทั้งจากภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ลงไปถึงภาคใต้ แน่นอนครับ ปัญหาที่มันกระทบตั้งแต่เหนือจดใต้ แบบนี้ นี่คือปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องแก้ไขกันทั้งระบบ สส. ภัสริน สส. กัลยพัชร สส. พิมพ์กาญจน์ได้พูดถึงเรื่องของการเข้าตรวจโรคและสวัสดิการในการรับการรักษา อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมไปแล้ว ซึ่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ระบุไว้อย่างชัดเจน สส. มานพ สส. รภัสสรณ์ สส. เพชรรัตน์ ก็ได้พูดถึงการกระจายอำนาจว่าทำไมต้องกระจายอำนาจ ในการจัดการปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไฟป่า หรือ PM2.5 ต่าง ๆ ซึ่งตรงนี้ผมขอทิ้งไว้เป็น คำถามกับภาคประชาชนว่าท่านต้องการที่จะมีหัวเรือในการขับเคลื่อนระดับจังหวัดโดยคนที่ ท่านเลือกเข้ามา นั่นก็คือนายก อบจ. คนที่ท่านมั่นใจแน่นอนว่าอยู่ต่อเนื่อง ๔ ปี มีงบประมาณในการบริหารจัดการ หรือท่านต้องการผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีอายุเฉลี่ยเพียง ๑-๒ ปีแล้วก็ไป และอีกคำถามหนึ่งให้ประชาชนได้ตั้งคำถามไว้ นั่นก็คือเรื่องของการกระจาย อำนาจกับรัฐบาลชุดนี้ เราเห็นกันในอภิปรายงบประมาณไปแล้ว ท้องถิ่นของบไป ๑,๗๐๙ ล้านบาทในการบริหารจัดการไฟป่า แต่รัฐบาลกลับให้แค่ ๕๐ ล้านบาทเท่านั้นเอง นี่ก็เป็นคำถามที่ผมฝากประชาชนได้ตัดสินกันในระหว่างที่กฎหมายนี้กำลังพิจารณา ในขั้นตอนต่อไป สส. ฉัตรจากโคราชก็ได้มีการพูดถึงเรื่องไฟเกษตร โคราชเปิดหีบอ้อยไฟไหม้ หีบแรกมีเท่าไรครับ ๗๐๐,๐๐๐ ตัน เพราะฉะนั้นร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ต้องมีการระบุ ชัดเจนในการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีการจัดทำงบประมาณที่มันเกี่ยวข้องกับ มาตรการ เพิ่มมาตรการ และลดแรงจูงใจในการเผาในภาคเกษตรกรรมให้มันชัดเจนยิ่งขึ้น สส. จุฬาลักษณ์ก็มีการพูดถึงการนำเข้าข้าวโพดอาหารสัตว์ที่มีที่มาจากการเผา เพราะ ในจังหวัดเชียงรายบางปีนั้น Hotspot แทบไม่มี แต่ค่า PM2.5 พุ่งทะลุเกิน ๖๐๐-๗๐๐ ด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นในส่วนนี้พระราชบัญญัติของพรรคก้าวไกล เราก็ระบุชัดเจนว่าเราต้อง มีการห้ามการนำเข้าข้าวโพดอาหารสัตว์ที่มีที่มาจากการเผาอย่างชัดเจน ทีนี้เราโยงมาถึง เรื่องของฝ่ายบริหารกันสักเล็กน้อย ในเรื่องการออกประกาศการนำเข้าข้าวโพดอาหารสัตว์ ในปี ๒๕๖๗ นี้ได้มีการออกประกาศมาแล้ว ฉบับนี้เป็นแค่ปีเดียว นั่นคือปี ๒๕๖๗ แต่สิ่งที่ น่าผิดหวังเหมือนกัน สิ่งที่ผมได้อภิปรายในกระทู้ถามสดเมื่อเดือนธันวาคมและเสนอแนะ ในการที่จะจัดทำเรื่องของการระบุพิกัดละติจูด ลองจิจูด ชัดเจนของผู้ที่นำเข้าข้าวโพด อาหารสัตว์ ตรงนี้ก็ไม่มี รายละเอียดยังไม่มีอะไรเลย ไม่ได้ต่างอะไรกับประกาศในตอนชุดที่แล้ว ในปี ๒๕๖๖ เลย เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ค่อนข้างที่จะผิดหวัง และผมได้ขอหนังสือรับรองว่า สินค้าที่นำเข้าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจากทางกระทรวงพาณิชย์ไป กระทรวงพาณิชย์ ส่งกลับมาแค่แบบฟอร์ม Form D เท่านั้นเอง ซึ่งไม่ได้ตรงตามที่ผมขอด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้น ผมขอใช้ช่องทางนี้ในการร้องขอเอกสารว่าที่ผ่านมาเขาเอาอะไรมารับรองว่าข้าวโพดอาหาร สัตว์ที่นำเข้ามาไม่ได้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และพูดกันถึงเรื่องการแจ้งเตือนที่วันนี้เพื่อน สมาชิกทั้งฝั่งรัฐบาลและฝั่งฝ่ายค้านเองพูดกันเป็นเสียงเดียวกันเลยว่าเราต้องมีการแจ้งเตือน ให้ชัดเจน ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็มีการระบุชัดเจนมากที่สุดว่าการแจ้งเตือนต้องเกิดขึ้น เฉพาะพื้นที่เมื่อมีค่า PM2.5 เกินกว่าค่ามาตรฐานที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กำหนดไว้มากกว่า ๒๔ ชั่วโมง ซึ่ง สส. การณิก ก็ได้พูดถึงตรงนี้อย่างชัดเจนไปแล้ว ทีนี้เราก็ ต้องมีการพูดต่อว่าเราจะให้คณะกรรมการอะไรเป็นคณะกรรมการหลัก ซึ่งตรงนี้ร่าง พระราชบัญญัติฝุ่นพิษและการก่อมลพิษของพรรคก้าวไกลเราก็ได้ใช้คณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เราใช้สิทธิของเดิมที่มีอยู่แล้วมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเรื่องของ การจัดทำรายงานในการนำเสนอต่อสภา ที่ผ่านมาปัญหา PM2.5 ภาครัฐ หน่วยงานต่าง ๆ แก้ไขปัญหากันอย่างไรเราไม่เคยรู้เลย เพราะฉะนั้นเราจะเห็นรายงานฉบับนี้เข้ามาสู่สภา ทุก ๆ ปี ทำอะไรไปบ้าง แก้ปัญหา PM2.5 ฝุ่นพิษอย่างไรบ้าง และที่สำคัญที่สุดเราจะได้เห็น ผู้แทนราษฎรของเราพูดแทนพวกเราในสภา เอาปัญหาของพวกเรามาเข้าสภา แนะนำ เสนอแนะผ่านสภาแห่งนี้ได้ และสิ่งที่สำคัญที่สุดในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้คือ เราต้องจัดการปัญหาที่ต้นตอ นั่นก็คือการจัดทำรายงานการปล่อยมลพิษทางอากาศ ครอบคลุมทั้งระบบ Supply Chain ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และสิ่งที่ สส. พุธิตาได้กล่าวไว้ ในการอภิปรายเมื่อเช้านี้นั่นก็คือเราต้องจัดบังคับโทษให้ชัดเจน ทางแพ่ง ทางอาญา เสร็จแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดเราต้องเปิดเผยรายชื่อผู้กระทำผิดให้สาธารณะได้รับทราบด้วย ไม่ใช่เป็นการบังคับโทษกับผู้ที่เปิดเผยรายชื่อนะครับ ในส่วนของปัญหานี้การแก้ไขปัญหา เราต้องเดินไป ๒ ทางพร้อม ๆ กัน นั่นก็คือฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ส่วนของ ฝ่ายบริหารนั้นผมได้อภิปรายในการเสนอแนะแนวทางในการอภิปรายแถลงนโยบายไปแล้ว ๑ ครั้ง การอภิปรายงบประมาณไปแล้วอีก ๑ ครั้ง เพราะฉะนั้นในวันนี้เราจะมา Focus กัน ที่ฝ่ายนิติบัญญัติ หลังจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อผมเชื่อว่าประชาชนหลายท่านอาจจะยัง ไม่ทราบ ประชาชนหลายท่านอาจจะเข้าใจว่าเมื่อผ่านวาระที่ ๑ แล้วเราจะมีกฎหมายฉบับนี้ ทันที วันนี้ผมขอเรียนให้ประชาชนทุกท่านเข้าใจอย่างนี้ว่าหลังจากผ่านวาระที่ ๑ ในวันนี้ จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณากฎหมายต่าง ๆ ต่อไป และจะมีการนำข้อดีของ แต่ละร่างพระราชบัญญัติมาประกบเพื่อให้เราได้พระราชบัญญัติที่มันตอบโจทย์และแก้ไข ปัญหานี้ให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึง เพราะฉะนั้นในกฎหมายฉบับนี้ผมอยากให้เป็น กฎหมายฉบับแรกที่ประชาชนทุกคนช่วยกันติดตามในขั้นตอนของคณะกรรมาธิการ เพราะว่าหลาย ๆ ครั้งเราเห็นหลายร่างกฎหมายผ่านร่างแรกไปแล้วก็หายไปเลย ไม่ได้กลับ เข้ามาในสภาด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นวันนี้ผมขอเชิญชวนประชาชนทุกคนติดตาม ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กันต่อไปว่าสุดท้ายแล้วเราจะได้ร่างพระราชบัญญัติฉบับไหนที่มา บังคับใช้แก้ปัญหา PM2.5 ให้กับประเทศไทย และวันนี้ขอขอบคุณทุกท่าน แน่นอนครับ อาจจะไม่ใช่คำถามแล้ว เพราะผมเชื่อว่าทุกท่านมีมติที่จะรับหลักการอยู่แล้ว ขอขอบคุณ ทุกท่านที่จะลงมติรับหลักการกับทุกร่าง ทั้งร่างของคณะรัฐมนตรีและร่างของพรรคก้าวไกล ในวันนี้นะครับ เพราะฉะนั้นวันนี้สิ่งที่อยากให้ทุกท่านติดตามอีกครั้งหนึ่งนั่นก็คือการจัดทำ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ต่อไปในอนาคต ขอบคุณท่านประธานครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ก่อนลงมตินะครับผมขอตรวจสอบองค์ประชุม เชิญท่านสมาชิกเข้าห้องประชุมครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญท่านสมาชิกใช้สิทธิแสดงตนเลยนะครับ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

ผมขออนุญาตครับ กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม อรรถกร ศิริลัทธยากร สส. จังหวัดฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ ผมขออนุญาตเรียนท่านประธานว่าเนื่องจากกฎหมายนี้เป็นกฎหมาย สำคัญ แล้วเพื่อนสมาชิกของพรรคร่วมรัฐบาลอีกหลายท่านเขาก็อยากจะมาลงมติด้วย แต่ว่า เผอิญเขาอยู่ในห้องงบประมาณซึ่งกว่าจะมาจากชั้น ๔ มาถึงชั้น ๒ มันใช้เวลาสักนิดหนึ่ง ก็เลยจะขออนุญาตท่านประธานรอเพื่อนสมาชิกสักนิดหนึ่งให้เขาได้มาร่วมลงมติกับพวกเรา นะครับ ขอบพระคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ยินดีครับ

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ

ท่านประธาน ที่เคารพ กระผม จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ หมายเลข ๖๐ แสดงตนครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านจุลพันธ์แสดงตนครับ

นายณัฐพงษ์ สุปริยศิลป์ น่าน ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ผม ณัฐพงษ์ ๑๒๙ แสดงตนครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑๒๙ แสดงตนครับ

นายนิติพล ผิวเหมาะ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ นิติพล หมายเลข ๑๘๗ แสดงตนครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๑๘๗ แสดงตนครับ

นางสาวชญาภา สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ

ท่านประธาน ๐๗๐ แสดงตนค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๐๗๐ ครับ แสดงตนกันหมดแล้ว ปิดการแสดงตนแล้วนะครับ เชิญแสดงผลครับ มีผู้เข้าร่วมประชุม ๔๓๗ ท่าน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ต่อไปผมจะถามมติจากที่ประชุมว่าจะรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการ เพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... และร่างทำนองเดียวกันทั้ง ๗ ฉบับหรือไม่ เชิญท่านสมาชิกใช้ สิทธิออกเสียงลงคะแนน ผู้ใดเห็นด้วย ควรรับหลักการ โปรดกดปุ่ม เห็นด้วย ผู้ใดเห็นว่า ไม่ควรรับหลักการ โปรดกดปุ่ม ไม่เห็นด้วย ผู้ใดเห็นว่าควรงดออกเสียง โปรดกดปุ่ม งดออกเสียง เชิญท่านสมาชิกได้ใช้สิทธิเลยครับ

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย จังหวัดเชียงใหม่ หมายเลข ๖๐ เห็นชอบครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านจุลพันธ์เห็นชอบครับ

นางสาวชญาภา สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ ชญาภา สินธุไพร ๐๗๐ เห็นด้วยค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๐๗๐ เห็นด้วยครับ

นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ๒๐๒ เห็นชอบครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๒๐๒ เห็นด้วยครับ เรียบร้อยแล้วขอปิดการลงคะแนนนะครับ

นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ เหลืออีก คนหนึ่ง วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ๓๒๗ เห็นด้วยครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๓๒๗ เห็นด้วยครับ

นางสาวการณิก จันทดา เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ ๐๑๙ การณิก เห็นด้วยค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๐๑๙ เห็นด้วยครับ หมดหรือยังครับ หมดแล้วนะครับ เห็นด้วย ๔๓๘ ท่าน บวกอีก ๕ ท่าน เป็น ๔๔๓ ท่าน ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง ไม่มี ไม่ลงคะแนน ๑ ท่าน เป็นอันว่าที่ประชุมรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... และร่างทำนองเดียวกันทั้ง ๗ ฉบับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอเชิญเสนอคณะกรรมาธิการครับ วิปครับ

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอจำนวนกรรมาธิการ ๓๙ ท่าน ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

มีผู้เสนอคณะกรรมาธิการ ๓๙ ท่าน มีท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ ถ้าไม่มีเห็นเป็นอย่างอื่น ที่ประชุมกำหนดให้มีกรรมาธิการ ๓๙ ท่าน สัดส่วนของคณะรัฐมนตรี ๖ ท่านสัดส่วนกรรมาธิการผู้แทนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๑๓ ท่าน สัดส่วนกรรมาธิการแต่ละพรรคการเมือง ๒๐ ท่าน เชิญคณะรัฐมนตรีเสนอรายชื่อกรรมาธิการครับ

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... สัดส่วน ครม. ๖ ท่าน ๑. นางสาวปรียาพร สุวรรณเกษ ๒. นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ๓. นายวิชิต จรัสสุขสวัสดิ์ ๔. นายไพฑูรย์ มหาพัณณาภรณ์ ๕. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ และ ๖. นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญผู้แทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเสนอรายชื่อกรรมาธิการ จำนวน ๑๓ ท่าน เชิญครับ

นางสาวคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ผู้แทนเสนอกฎหมายภาคประชาชน ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ผู้แทนเสนอกฎหมายภาคประชาชนขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญในสัดส่วนของประชาชน ๑๓ ท่าน ดังนี้ ๑. นางสาวคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ๒. วิษณุ อรรถวานิช ๓. นายธนาชัย สุนทรอนันตชัย ๔. นายดนัยภัทร โภควณิช ๕. นายวิรุฬ ลิ้มสวาท ๖. นางสาววีณาริน ลุลิตานนท์ ๗. นางสาวพรเพ็ญ วงศ์กิจมโนชัย ๘. นางสาวกัญฐณา อภิรภากรณ์ ๙. นางอารายา แก้วประดับ ๑๐. นางทิพย์พาพร ตันติสุนทร ๑๑. นางนิศานาถ รัตนนาคินทร์ ๑๒. นางสาวกัญญารัตน์ โคตรภูเขียว ๑๓. นางสาวโสรยา ชมขวัญ ขอบพระคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ดังนั้นสัดส่วนกรรมาธิการของแต่ละพรรคการเมืองเป็นดังนี้ พรรคก้าวไกล จำนวน ๖ ท่าน พรรคเพื่อไทย ๖ ท่าน พรรคภูมิใจไทย ๓ ท่าน พรรคพลังประชารัฐ ๒ ท่าน พรรครวมไทยสร้างชาติ ๒ ท่าน พรรคประชาธิปัตย์ ๑ ท่าน เชิญพรรคก้าวไกลครับ

ว่าที่ร้อยตรีหญิง อรพรรณ จันตาเรือง เชียงใหม่ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน อรพรรณ จันตาเรือง พรรคก้าวไกล ขอเสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... สัดส่วนพรรคก้าวไกล จำนวน ๖ คน ๑. นายวรภพ วิริยะโรจน์ ๒. นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ ๓. นายกฤช ศิลปชัย ๔. นายสรพัช ศรีปราชญ์ ๕. นางสาวอชิชญา อ๊อตวงษ์ ๖. รองศาสตราจารย์ธนพล เพ็ญรัตน์ ขอบคุณค่ะท่านประธาน ขอผู้รับรองด้วยค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ ต่อไปพรรคเพื่อไทย ๖ ท่านครับ

นางสาวธัญธารีย์ สันตพันธุ์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธัญธารีย์ สันตพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๖ จังหวัดอุบลราชธานี ขอเสนอ รายชื่อกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... ในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทย จำนวน ๖ ท่าน ดังนี้ ๑. นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ ๒. นายภาณุ พรวัฒนา ๓. นายรวี เล็กอุทัย ๔. นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี ๕. นายชนินทร์ ทองธรรมชาติ ๖. รองศาสตราจารย์ศันสนีย์ เอื้อพันธ์วิริยะกุล ขอผู้รับรองค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

มีผู้รับรองถูกต้องครับ ต่อไปพรรคภูมิใจไทย ๓ ท่านครับ

นายประดิษฐ์ สังขจาย พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม ประดิษฐ์ สังขจาย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอเสนอรายชื่อคณะกรรมาธิการสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย ๓ ท่าน ๑. นายอลงกต มณีกาศ ๒. นายธนากิจ ไพบูลย์ชัย ๓. นายอำนาจ วิลาวัลย์ ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

มีผู้รับรองถูกต้อง ต่อไปพรรคพลังประชารัฐ ๒ ท่านครับ

นายอัคร ทองใจสด เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายอัคร ทองใจสด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ ผมขอเสนอชื่อ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการอากาศสะอาด พ.ศ. .... ในสัดส่วนของพรรคพลังประชารัฐ จำนวน ๒ ท่าน ดังนี้ ๑. นายไพบูลย์ นิติตะวัน ๒. ว่าที่พันตรี สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

มีผู้รับรองถูกต้องครับ พรรครวมไทยสร้างชาติ ๒ ท่านครับ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต ๔ พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ ผมขอเสนอรายชื่อผู้ที่ ไปนั่งเป็นคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... ๒ ท่านครับ ๑. นางสาวพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ ๒. นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ ขอผู้รับรองครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

มีผู้รับรองถูกต้องครับ ต่อไปพรรคประชาธิปัตย์จำนวน ๑ ท่านครับ

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ร่มธรรม ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กระผม ขออนุญาตเสนอรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาด พ.ศ. .... ในสัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ๑ ท่านคือ ศาสตราจารย์สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ขอผู้รับรอง ด้วยครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

มีผู้รับรองถูกต้องครับ เชิญท่านเลขาธิการอ่านรายชื่อกรรมาธิการครับ

นางวัชราภรณ์ รัตนโกเศศ จันทร์เจริญ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ

รายชื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... จำนวน ๓๙ ท่าน ๑. นางสาวปรียาพร สุวรรณเกษ ๒. นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ ๓. นายวิชิต จรัสสุขสวัสดิ์ ๔. นายไพฑูรย์ มหาพัณณาภรณ์ ๕. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ๖. นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ๗. นางสาวคนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม ๘. นายวิษณุ อรรถวานิช ๙. นายธนาชัย สุนทรอนันตชัย ๑๐. นายดนัยภัทร โภควณิช ๑๑. นายวิรุฬ ลิ้มสวาท ๑๒. นางสาววีณาริน ลุลิตานนท์ ๑๓. นางสาวพรเพ็ญ วงศ์กิจมโนชัย ๑๔. นางสาวกัญฐณา อภิรภากรณ์ ๑๕. นางอารายา แก้วประดับ ๑๖. นางทิพย์พาพร ตันติสุนทร ๑๗. นางนิศานาถ รัตนนาคินทร์ ๑๘. นางสาวกัญญารัตน์ โคตรภูเขียว ๑๙. นางสาวโสรยา ชมขวัญ ๒๐. นายวรภพ วิริยะโรจน์ ๒๑. นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ ๒๒. นายกฤช ศิลปชัย ๒๓. นายสรพัช ศรีปราชญ์ ๒๔. นางสาวอชิชญา อ๊อตวงษ์ ๒๕. รองศาสตราจารย์ธนพล เพ็ญรัตน์ ๒๖. นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ ๒๗. นายภาณุ พรวัฒนา ๒๘. นายรวี เล็กอุทัย ๒๙. นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี ๓๐. นายชนินทร์ ทองธรรมชาติ ๓๑. รองศาสตราจารย์ศันสนีย์ เอื้อพันธ์วิริยะกุล ๓๒. นายอลงกต มณีกาศ ๓๓. นายธนา กิจไพบูลย์ชัย ๓๔. นายอำนาจ วิลาวัลย์ ๓๕. นายไพบูลย์ นิติตะวัน ๓๖. ว่าที่พันตรี สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม ๓๗. นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ ๓๘. นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ ๓๙. ศาสตราจารย์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญกำหนดระยะเวลาแปรญัตติครับ

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอระยะเวลาแปรญัตติ ๑๕ วัน ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ผู้รับรองถูกต้องครับ แปรญัตติ ๑๕ วัน กรณีการรับหลักการแห่งพระราชบัญญัติมากกว่า ๑ ฉบับ คือ ๗ ฉบับนี้จะใช้ร่างใดเป็นหลักครับ

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอให้ร่างรัฐบาลเป็น ร่างหลักครับ ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

มีผู้รับรองถูกต้อง ใช้ร่างของรัฐบาลเป็นร่างหลักนะครับ เป็นอันสิ้นสุดวาระในการรับรอง กฎหมายฉบับนี้ ขอบคุณท่านผู้เสนอกฎหมายทุกท่าน แสดงความยินดีด้วยในวาระที่ ๑ นะครับ ขอบคุณเพื่อนสมาชิกครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๕.๑ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาการแก้ไขปัญหาลักลอบขโมยสายไฟฟ้า ซึ่ง นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ เป็นผู้เสนอ ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

จากการประชุมครั้งที่ผ่านมาได้มีการรวมญัตติทำนองเดียวกันตามระเบียบ วาระที่ ๕.๑ ถึง ๕.๓ โดยผู้เสนอได้แสดงเหตุผล จากนั้นสมาชิกได้อภิปรายกันเป็นเวลา พอสมควรจึงมีการปิดประชุม แล้วก็วันนี้จะมีการดำเนินการประชุมต่อ จะเป็นการอภิปราย ของเพื่อนสมาชิกต่อนะครับ ตอนนี้ที่ผมได้รายชื่อมาจะมี ๔ ท่าน ของฝ่ายค้านนะครับ เริ่มจากท่านเฉลิมพงศ์ แสงดี พร้อมไหมครับ

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ขออนุญาตครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย อยากหารืออย่างนี้ครับ คือเสียงท่านประธานเบา ขอความกรุณาหน่อยครับ ช่วย Check เสียงนิดหนึ่งเพราะว่า เสียงท่านประธานเบา แล้วบางครั้งการสื่อสารมันอาจจะมีปัญหาได้ครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เดี๋ยวจะพูดเสียงดีขึ้นไหมครับตอนนี้ ผมขอดำเนินตามระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา ๕.๑ ญัตติ เรื่อง สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการแก้ไขปัญหา ลักลอบขโมยสายไฟฟ้าที่เราค้างจากการประชุมครั้งก่อน ตอนนี้จะมีการอภิปรายต่อของ เพื่อนสมาชิกทั้งหมด ๔ ท่าน เรียนเชิญท่านเฉลิมพงศ์ แสงดี ครับ

นายเฉลิมพงศ์ แสงดี ภูเก็ต ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ผม เฉลิมพงศ์ แสงดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต เขต ๒ พรรคก้าวไกล วันนี้ต้องขอขอบคุณท่านประธานที่กรุณาให้ผมได้ร่วมอภิปรายในญัตติ เรื่อง ขอให้ สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาลักลอบขโมย สายไฟฟ้า ท่านประธานครับ ผมรู้สึกยินดีที่ได้มีเพื่อนสมาชิกเสนอญัตติที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องไฟฟ้าเข้ามาพูดคุยในสภาแห่งนี้ เพราะประเด็นพลังงานไฟฟ้า นอกจากนั้นยังมีประเด็น สายไฟที่ถูกขโมยแล้วยังจำเป็นต้องขยายความไปถึงความมั่นคงทางพลังงานซึ่งถือเป็นปัจจัย สำคัญทางเศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ ไม่ว่าไฟฟ้าดับจากการถูกตัดหรือลักลอบขโมยสายไฟ หรือเป็นสาเหตุอื่นใดก็ตามย่อมกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมที่ต้องใช้ไฟฟ้า ท่านประธาน ลองพิจารณาดูนะครับ ถนนเส้นหนึ่งมีกิจการร้านค้า มีคลินิกหมอ มีโรงเรียน มีโรงแรม ถ้าเกิดอยู่ดี ๆ ไฟดับแล้วเขาจะไม่มีเครื่องปั่นไฟเป็นของตนเอง กิจการหรือกิจกรรมที่ใช้ ไฟฟ้าก็ต้องสะดุดยุติลงทันที ท่านประธานครับ ที่จังหวัดภูเก็ตของผมมีเหตุการณ์สด ๆ ร้อน ๆ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ งานซ่อมแซมไฟฟ้าแสงสว่าง รหัส ๒๑๔๓๑ บนถนน ทางหลวง ๔๐๒๔ ตอน บางคู-ตีนเขา ระหว่างกิโลเมตร ๒+๒๐๐ ๒+๗๐๐ ปริมาณงาน ๑๐ ต้น ไฟฟ้าดับหมดเพราะสายไฟถูกขโมย จนถึงตอนนี้ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ นอกจากนี้ยังมีการโจรกรรมสายไฟฟ้าที่ถนนสาย ๔๐๒๙ ป่าตอง กิโลเมตรที่ ๐+๙๐๐ สายขนาด ๓ คูณ ๑๐ Square Millimeter ยาว ๑๕ เมตร ซึ่งถนนสายนี้ทางท้องถิ่นเทศบาลป่าตองเคยทำหนังสือขออนุญาตแขวงทางหลวงชนบทว่า ให้โอนถ่ายมอบถนนและสายไฟแสงสว่างให้กับเทศบาลดูแล แต่แขวงทางหลวงชนบทก็ไม่ได้ อนุญาตให้เทศบาลป่าตองได้ดูแลแสงสว่างบนถนนเส้นนี้ เพราะด้วยเหตุผลว่าถ้าปริมาณงาน ลดลงก็จะไม่มีงานที่จะต้องให้ทำ แค่นี้เป็นการยกตัวอย่างนะครับ ผมยังมีข้อมูลภาพรวม จากการสำรวจข้อมูลอุปกรณ์แสงไฟสว่างที่อำนวยความปลอดภัยบางประเภทเพื่องาน ซ่อมบำรุง โดยสำนักงานทางหลวงชนบทที่ ๑๔ กระบี่ แขวงทางหลวงชนบทภูเก็ต สำรวจ เมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ได้สำรวจจำนวนเสาไฟฟ้าข้างทางที่ต้องการปรับปรุงมีจำนวน ๒๑๓ ต้น มีระยะสายไฟที่ชำรุดถึง ๑๕,๐๐๐ เมตร หรือเป็นระยะที่ยาวถึง ๑๕ กิโลเมตร มีหม้อแปลงไฟฟ้าชำรุด ๑ จุด ตู้ควบคุมไฟชำรุด ๒ จุด ท่านประธานครับ สายไฟที่ชำรุดเป็น ระยะยาว ๑๕ กิโลเมตรนั้น ๙๐ เปอร์เซ็นต์เกิดจากการขโมยสายไฟฟ้า ลองนึกภาพดูนะครับ ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตรนั้นจะมีประชาชน ๒ ข้างทางที่ได้รับผลกระทบมากขนาดไหน นี่ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ที่เราจะละเลยได้ ผมไม่แน่ใจว่าญัตตินี้สุดท้ายแล้วเพื่อนสมาชิกเสียงข้างมาก จะสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นหรือไม่ แต่ในเมื่อเราเอาภาษีประชาชน จำนวนมากต้องใช้ให้คุ้มค่ากับต้นทุนที่เราผลิตไฟฟ้า เราก็ควรต้องระมัดระวังให้ประชาชน ได้รับความคุ้มค่ามากที่สุด ท่านประธานครับ ผมก็ต้องขอบคุณผู้เสนอญัตติและคณะที่เสนอ ญัตติเข้ามา ประชาชนถูกบังคับต้องใช้ค่าไฟแพง แบกรับกำลังการผลิตส่วนเกินที่เกิดจาก การที่รัฐบาลทำสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนมากเกินไป ต้องเสียเงินให้กับการเช่าโรงไฟฟ้า ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะถูกรวมกับค่าไฟของพ่อแม่พี่น้องประชาชนที่ต้องจ่าย บอบช้ำกับเรื่อง ค่าไฟแพงมามากพอสมควร อย่าให้ประชาชนต้องมาบอบช้ำกับเรื่องโจรขโมยลักสายไฟ อีกเลย โจรที่ไม่ได้เรียนหนังสือขโมยอาจได้แค่สายไฟ แต่โจรที่มีการศึกษาอาจจะขโมย สัมปทานครับท่านประธาน ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ท่านกฤชขอถอนนะครับ จะเป็นท่านเอกราช อุดมอำนวย อยู่ไหมครับ ท่านสรวีย์ ศุภปณิตา เพื่อนสมาชิกจะใช้สิทธิไหมครับจากพรรคก้าวไกล ลองช่วยสอบถามด้วย นะครับ ตอนนี้เหลือ ๓ ท่าน ท่านเอกราช อุดมอำนวย ท่านสรวีย์ ศุภปณิตา แล้วก็ท่านสิริน สงวนสิน ไม่ต้องรีบครับ สบาย ๆ วันนี้ญัตติเราไม่ได้เยอะ

นายสรวีย์ ศุภปณิตา ปทุมธานี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ กระผม นายสรวีย์ ศุภปณิตา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ขออภิปรายญัตติ เรื่อง ปัญหาการลักลอบขโมยสายไฟ ปัญหานี้เป็น ปัญหาใหญ่ครับ เดือดร้อนไปทั่วประเทศ ในจังหวัดปทุมธานีก็มีปัญหามาก พี่น้องประชาชน ร้องเรียนมาว่าไฟฟ้าไม่ติด พอไปร้องเรียน ไปสอบกับเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบปรากฏว่า สายไฟหายครับ ขอสไลด์ด้วยครับ

นายสรวีย์ ศุภปณิตา ปทุมธานี ต้นฉบับ

สายไฟหายไปทั้งชุด พร้อมทั้งอุปกรณ์ มีหม้อแปลงไฟฟ้า แม้กระทั่งสายไฟที่อยู่ใต้ดินก็ยังโดนขุดขึ้นมาครับ อุปกรณ์ในตู้ขโมย ก็เอาไปหมด ปัญหาใหญ่มากครับ ประชาชนเดือดร้อน เมื่อมีคนร้ายมาลักไปชาวบ้าน เดือดร้อนเป็นพื้นที่กว้าง ปัญหาใหญ่ก็คือแสงสว่างไม่มี พี่น้องประชาชนต้องสัญจรในเวลา ค่ำคืนก็จะเกิดอุบัติเหตุ เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก แล้วอุปกรณ์ ที่ขโมยไปนี้เป็นราคาแพง เมื่อการไฟฟ้าจะมาติดตั้งใหม่งบประมาณประจำปีก็หมด ต้องรอ งบประมาณปีใหม่ครับ ไฟก็ดับเป็นปี ๆ กว่าจะนำสายไฟชุดใหม่มาแก้ไขได้ มูลค่าที่เสียหาย ก็จำนวนมาก ต่อมาคนร้ายเมื่อลักขโมยสายไฟไปต้องนำไปขาย ขายทั้งเปลือกมันไม่มีราคา ต้องไปเผา ไปหาจุดเผา ถึงเวลาเผาควันมันเหม็น ทำลายสิ่งแวดล้อม ประชาชนที่อยู่ใกล้ ที่เผาก็เดือดร้อนกันไปทั่ว ผู้ป่วยติดเตียงก็อาการหนักขึ้น เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องตามแก้ไข กันไป เมื่อเกิดเหตุแล้วจำเป็นต้องตัดวงจรการลักลอบขโมยสายไฟด้วยการขอให้ร้านรับซื้อ ของเก่างดการรับซื้อสายไฟ ถ้าขอไม่สำเร็จก็จำเป็นต้องออกกฎหมายบังคับห้ามรับซื้อสายไฟ หรือทองแดงหรืออลูมิเนียมที่เกิดจากลักสายไฟ ซึ่งร้านรับซื้อของเก่าดูด้วยวิจารณญาณ ก็ทราบว่าเป็นสายไฟเก่าที่ลักขโมยมา ต้องออกกฎหมายงดรับซื้อเพื่อให้ตัดวงจรในการ ลักขโมยสายไฟอย่างเด็ดขาด และคาดว่าเมื่อห้ามรับซื้อสายไฟเก่าที่ขโมยมาแล้วโอกาสที่จะ ลักลอบตัดสายไฟก็จะน้อยลงครับ ขอบคุณท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านเอกราช อุดมอำนวย ครับ

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธาน ที่ผมต้องลุกอภิปรายในญัตตินี้เนื่องจากว่าพี่น้องประชาชนในเขตดอนเมือง ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาของสายไฟที่ถูกลักขโมยโดยโจรซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนปัจจุบันนี้ ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้ ทางสัญจรของพี่น้องประชาชนก็มืด ท่านประธานครับปัญหา นี้เกิดเรื้อรังมาไม่ใช่แค่เพิ่งเกิด แต่ว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นขบวนการ ดังนั้นใน ฐานะที่เป็นผู้แทนของพี่น้องประชาชนอยากจะเสนอมาตรการที่จะทำให้หน่วยงานรัฐ มีมาตรการในการป้องกัน

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ นอกจากจะเรื่องของการป้องกันแบบเป็นระบบแล้วนั่นก็คือ เรื่องของการซ่อมไฟถนนกำแพงเพชร ๖ ซึ่งมีการกระทำมากกว่า ๒๐ ครั้ง แล้วถนนก็มืด แบบที่ท่านประธานเห็น ท่านประธานครับ ในเสาไฟ ๑ ต้นมีอะไรบ้าง เห็นไหมครับ มีโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นทองแดง ทองแดงที่ปอกแล้ว โจรที่ลักขโมยสายไฟก็จะนำสายไฟ ไปเผาเพื่อเอาทองแดงมาแล้วก็นำไปขายนะครับ สัดส่วนในสายไฟ ๑ เส้นมีมูลค่ามากทีเดียว นี่คือมูลค่ารับซื้อต่อกิโลกรัม ก็จะเห็นว่าแนวทางของการแก้ปัญหาในปัจจุบัน

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

๑. ก็คือเรื่องของตำรวจที่ดูแลในพื้นที่ในการดำเนินการกระทำผิด แต่ว่า มันเป็นแนวของการปราบปราม ซึ่งการป้องกันจะต้องมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็น จุดที่ใช้ในการตัดสายไฟจะต้องมีวิธีการที่รัดกุมมากกว่านี้

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

๒. ต้องขอความร่วมมือจากประชาชนในการช่วยกัน ร่วมกันเป็นหูเป็นตา ในการแจ้งเบาะแส ทั้งรณรงค์เรื่องของโทษการกระทำความผิดซึ่งเป็นความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฐานลักทรัพย์ หรือว่าการลักทรัพย์ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ สาธารณะ หรือว่าผู้ที่ซื้อ รับซื้อสายไฟหรือว่าผู้ที่รับซื้อสายไฟ ทองแดงต่าง ๆ นี้ก็ผิดในฐานะ ที่เป็นผู้รับของโจรมีโทษทางอาญา ท่านประธานจะเห็นว่ามูลค่าความเสียหายของการตัดสายไฟมันไม่ได้มีที่ประเทศไทยนะครับ มีที่อเมริกา ที่อินเดีย แอฟริกาใต้ บราซิล ต่างมีมูลค่าความเสียหายที่เกิดเรื่องของการตัด สายไฟนี้ด้วย

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

การจัดการปัญหา CCTV จะร่วมกันวิเคราะห์ในการตรวจจับการเคลื่อนไหว ครอบคลุมเป็นวงกว้าง แล้วก็มีระบบแจ้งเตือนที่จะสามารถทำให้เจ้าหน้าที่รับรู้ได้ว่าเกิด การตัดหรือลักขโมยสายไฟ แล้วก็เป็นหลักฐานที่สำคัญที่สามารถทำให้ตำรวจเอาผิดได้ เพราะพฤติกรรมบางพฤติกรรมสามารถติดตามได้ง่ายเพราะว่าเป็นกลุ่มที่ทำซ้ำ เรื่องของการ เคลือบสายไฟ ไม่ว่าจะเป็นการรับซื้อ การขโมยต้องระบุที่มาของสายไฟให้ได้ จะต้องหา วิธีการเพื่อจะได้เห็นตรวจสอบได้ว่าที่มาของสายไฟนั้นมาอย่างไร แล้วก็การแก้ปัญหาที่ดี ที่สุดเลยคือสายไฟทั้งหมดถ้าอยู่ใต้ดินก็จะมีจุดที่ทำให้คนที่ทุจริตจะไปตัดสายไฟมีจุดที่จะ ลักลอบตัดได้น้อยลง

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

สายไฟลงดินดีอย่างไรครับท่านประธาน ๑. ก็คือระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่มั่นคง ลดปัญหาไฟดับจากภัยธรรมชาติและอุบัติเหตุ ๒. ก็คือสามารถที่จะรองรับไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ๓. ก็จะทำให้ทัศนียภาพสวยงาม แต่อาจจะลงทุนเยอะ แต่การลงทุนก็มีความคุ้มค่า ทำให้ ทัศนียภาพสวยงาม มีความปลอดภัย แล้วก็จะสามารถจัดการปัญหาได้อย่างชัดเจน แล้วก็ ไม่มีสายไฟห้อยระโยงระยางให้โจรขโมยลักไป ดังนั้นผมก็ฝากไปยังผู้ที่เสนอญัตติหรือ กรรมาธิการ เรามีแนวทางตัวอย่างแนวทางการพิจารณาสายไฟลงดิน ไม่ว่าจะเป็นที่ ต่างประเทศ ที่สหรัฐอเมริกาพิจารณาถึงความแน่นหนาของประชากร ดูเรื่องของความ น่าจะเป็นของแผ่นดินไหว สามารถที่เอามาเป็นแนวทางที่จะนำไฟฟ้าลงดิน นี่คือข้อเสนอ ที่ผมได้มีนะครับ ขอบพระคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสิรินครับ

นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

กราบสวัสดีท่านประธานที่เคารพ ผม สิริน สงวนสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตตลิ่งชันและเขตทวีวัฒนาครับ วันนี้ผม ขออนุญาตมาอภิปรายสนับสนุนการตั้งกรรมการวิสามัญเพื่อป้องกันปัญหาการขโมยสายไฟ การติดตั้งเสาไฟฟ้า การติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการ สัญจรให้ผู้ใช้รถใช้ถนนตอนกลางคืน แต่ปัญหานี้บางทีสายไฟพวกนี้หรือว่าไฟส่องสว่างก็มี การดับบ้างเป็นเรื่องธรรมดา ไฟที่ติดไว้ก็ต้องมีการเสียบ้าง แต่หลายครั้งไฟส่องสว่างที่ติดไว้ กลับเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่างเช่นการขโมยสายไฟฟ้ากัน อย่างในเขตผมพื้นที่ เลียบทางรถไฟตลิ่งชันมีการขโมยหลายครั้งมากในรอบปีหนึ่ง บางทีเราแจ้งหน่วยงานไป หน่วยงานก็ไม่สามารถจัดการปัญหาได้อย่างเร็วทันท่วงทีเพียงพอตามความต้องการนะครับ เรื่องนี้ผมก็เคยประสานไปหลายรอบ ไม่ว่าจะเป็นการหารือ ปีที่แล้วเขตผมไฟดับทั้งเส้น ยาวเป็นกิโลเมตร เส้นเลียบทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ปัญหานี้ผมก็ได้คุยกับ หน่วยงานหลายหน่วยงานก็ได้ทราบว่ามันมีปัญหาเกี่ยวกับการขโมยสายไฟฟ้าทำให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่รับผิดชอบไม่สามารถดูแลซ่อมแซมได้ หรือว่าจะเป็นจำนวน ตำรวจในพื้นที่ก็ไม่เพียงพอต่อการลาดตระเวน ผมจึงคิดว่าปัญหานี้ควรจะต้องเอามาคุยกัน ในกรรมาธิการวิสามัญ จากสถิติของกรมทางหลวงเมื่อปี ๒๕๖๕ มีสายไฟหายไปมูลค่ากว่า ๓๐ ล้านบาท ซึ่งในปี ๒๕๖๔ ก็หายไปจำนวนไม่แตกต่างกันมาก ประมาณ ๒๕ ล้านบาท ผมก็เลยคิดว่าการป้องกันเป็นเรื่องที่เราสมควรจะต้องทำอย่างด่วน ผมจึงขอสนับสนุน ญัตตินี้ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ตอนนี้สมาชิกที่ได้เข้าชื่อก็ได้อภิปรายเสร็จสิ้นแล้ว ต่อไปจะเป็นการใช้สิทธิ อภิปรายสรุป มีผู้เสนอญัตติท่านใดจะขอใช้สิทธิไหมครับ ท่านอัครเดช ท่านสกลจะใช้สิทธิ สรุปไหมครับ ต้องแสดงความจำนงด้วย ผมจะให้ดำเนินการประชุมต่อ มีการแจ้งชื่อเข้ามา ท่านสกลสรุปไหมครับ เชิญท่านสกลครับ

นายสกล สุนทรวาณิชย์กิจ ปทุมธานี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม สกล สุนทรวาณิชย์กิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปทุมธานี เขต ๔ พรรคก้าวไกล ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่านที่ได้มาร่วมอภิปรายในญัตตินี้ จากที่ได้รับฟัง เพื่อนสมาชิกมาก็เห็นว่าปัญหาลักขโมยสายไฟไม่ได้ส่งผลกระทบในวงแคบ ๆ พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ส่งผลกระทบวงกว้างในพื้นที่หลายจังหวัด มีเพื่อน สส. เป็น สส. เขตหลายท่านด้วย เข้ามาร่วมอภิปราย ก็มีหลายจังหวัดเลย และยังส่งผลไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่ได้มีเพียงแค่กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วก็ยังมี อย่างกรมชลประทานที่ท่านณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ได้อภิปรายไปในสัปดาห์ที่แล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็มีทั้งเรื่องของอาชญากรรม อุบัติเหตุ แล้วก็เรื่องการเกษตรด้วย ในการ ใช้น้ำกับประตูน้ำทำงานไม่ได้เพราะโดนลักตัดสายไฟไป จากเท่าที่ฟังเพื่อนสมาชิกอภิปราย ผู้ก่อเหตุมีทั้งรายเล็กไปจนถึงรายใหญ่ที่ลงทุนปลอมตัวมาเป็นเจ้าหน้าที่ มาตบตาประชาชน แล้วลักขโมยสายไฟไป ก็จะเห็นได้ว่าแรงจูงใจเกิดจากราคาทองแดงที่มีราคาสูง การเฝ้าระวัง การลักตัดที่ต่ำ โอกาสในการถูกจับได้ยาก แล้วก็การเข้าถึงพื้นที่ของทองแดงได้ง่าย อย่างเช่น ช่อง Service ก็เปิดได้ง่าย มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการลักตัดสายไฟก็มีทั้งมูลค่า ทางตรงคืองบประมาณแผ่นดินที่เราต้องเสียไปในการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ ในการปรับปรุง ซ่อมแซมขึ้นมาแลกกับรายได้เพียงไม่กี่ร้อยกับลงทุนไปหลักหลายพัน หลายหมื่น หลายแสน เพื่อให้ผู้ลักตัดสายไฟก็ได้กำไรประทังชีวิตไป ต้นทุนทางอ้อมก็คือต้นทุนเวลาและเงินที่เรา สูญเสียไปกับประชาชนทุก ๆ คนในพื้นที่นั้น ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุก็เข้าโรงพยาบาลหรือ เสียชีวิตก็เป็นต้นทุนที่ประเมินราคาไม่ได้ แล้วก็การก่ออาชญากรรมกับประชาชนในพื้นที่ ที่ไฟดับก็เป็นความเสียหายที่ประเมินค่าได้เช่นกันกับผู้ใช้ถนนหนทาง จะเห็นได้ว่าปัญหา ลักตัดสายไฟนี้มันก็เกิดขึ้นมานานแล้ว มันไม่ได้เพิ่งเกิดต้นปีนี้ บางท่านก็บอกว่าเกิดมา ๕ ปี ๑๐ ปีแล้วก็ยังไม่จบ ถ้าเกิดปัญหามันแก้ง่าย ๆ เช่น แจ้งตำรวจจับก็จบแล้ว ผมเชื่อว่าเราก็ คงไม่มีปรึกษาหารือกันทุกเช้าว่าในพื้นที่ถูกลักตัดสายไฟ รวมไปถึงมาตั้งญัตตินี้ ผมก็คิดว่า ในวัตถุประสงค์จุดหนึ่งที่เราอยากจะมาคุยกันเรื่องปัญหาการลักตัดสายไฟในพื้นที่ คือไม่ใช่ เพียงแค่จับคนร้ายให้ได้ แต่อีกส่วนหนึ่งคือเราต้องการให้ไฟติดขึ้นมาโดยเร็วด้วย เพราะว่า มันก็ยังมีขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ตามกฎหมาย ตามงบประมาณที่จะทำให้ไฟติด ไม่ใช่ว่า ดับปุ๊บซ่อมปั๊บ แต่ว่ามันกลับมีหลายขั้นตอนมา แล้วโจรก็ยิ่งได้ใจ พอเขาตัดสายไฟไปแล้ว เขาก็เอาไปขาย – ขายแล้วจับไม่ได้เขาก็ยิ่งทวีขึ้นมาอีก อันนี้เราก็หาทางป้องกัน หลายท่านก็เสนอเรื่องของ การคุยกับทางผู้รับซื้อของเก่า ก็แน่นอนนะครับ เราก็มีหลายประเด็นที่ต้องพิจารณากัน จากการพิจารณาญัตติลักตัดสายไฟนี้ ผมก็เชื่อว่าถ้าเราได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ในการบูรณาการความร่วมมือจากทั้งฝั่งจับผู้ร้าย จากฝั่งป้องกัน แล้วก็ฝั่งทำไฟติดสว่าง ไม่ว่า มันจะติดข้อกฎหมายใด ๆ ก็ตามนี้เราต้องแก้ไขปัญหานี้ให้ได้อย่างยั่งยืน เพราะว่ามันไม่สนุก ที่เราจะต้องมาคอยผ่านไปอีก ๔-๕ ปี ผ่านไปอีก ๑๐ ปีแล้วก็มาคุยปัญหาเดิม ๆ ซึ่งเรา หาทางป้องกันอย่างยั่งยืนกันดีกว่านะครับ อย่างไรก็ดีก็ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่าน ที่มาร่วมอภิปรายอีกรอบหนึ่ง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าปัญหานี้จะได้รับการศึกษาและป้องกัน แก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมครับ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านอัครเดช ครับ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต ๔ อำเภอบ้านโป่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ ผมเป็น ผู้เสนอญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา แก้ไขปัญหาลักลอบการขโมยสายไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญ แล้วก็มีเพื่อนสมาชิก ได้ร่วมกันเสนอญัตติร่วมอีก ๒ ญัตติ ก็เป็นปัญหาที่แสดงให้เห็นว่าเป็นที่สนใจของ เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะว่าเป็นปัญหาที่พี่น้องประชาชนก็คงจะได้ร้องเรียน มายังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นคนที่ใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชน จึงได้มีเพื่อน สส. ด้วยกันได้ยื่นญัตติร่วมกันเสนอมาพร้อมกับเรื่องที่ผมได้เสนอในครั้งนี้ ก็ต้องขอขอบคุณ เพื่อนสมาชิกด้วย และที่สำคัญก็มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ณ ที่แห่งนี้ได้ร่วมกันลงชื่อ อภิปรายหลายสิบท่าน แล้วก็แต่ละท่านก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าปัญหาเรื่องของการ ลักลอบตัดสายไฟฟ้านี้เป็นปัญหาที่สำคัญซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลจะต้องลงมาแก้ไข ปัญหา การลักลอบตัดสายไฟฟ้าไม่ใช่เป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของทางราชการ เท่านั้น แต่เมื่อมีการลักลอบการตัดไฟฟ้าแล้วนี้นอกจากจะเสียหายในเรื่องงบประมาณ ที่จะต้องไปซื้อสายไฟฟ้ามาติดตั้งให้กับถนนที่โดนตัดสายไฟฟ้านี้ สิ่งที่สำคัญคือพี่น้อง ประชาชนมีปัญหาเรื่องอุบัติเหตุ ปัญหาเรื่องการจี้ปล้น ซึ่งท่านก็ได้รับฟังที่เพื่อนสมาชิก แห่งนี้ได้อภิปรายให้ท่านประธานได้รับฟัง หลายพื้นที่มีปัญหาเหมือนกัน ก็คือพอเวลาไฟฟ้าดับ ก็เกิดปัญหาอุบัติเหตุ พอเวลาไฟฟ้าบนถนนดับก็มีปัญหาเรื่องการจี้ปล้น อันนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้น จริงในพื้นที่ ก็เลยอยากจะเรียนท่านประธานว่าปัญหาเหล่านี้จะต้องให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไข อย่างจริงจัง จริง ๆ แล้วปัญหานี้ถ้าท่านประธานได้ฟังเพื่อนสมาชิกได้อภิปรายในห้องนี้ ได้เสนอวิธีการแก้ปัญหาให้รัฐบาล ได้ใช้ในการดำเนินการกับผู้ที่กระทำความผิด หลายมาตรการด้วยกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่จะอภิปรายในที่นี้เพียงอย่างเดียวผมคิดว่าก็คง จะไม่ได้ข้อสรุป สิ่งที่สำคัญก็คือการที่รัฐสภาแห่งนี้จะได้เสนอแนวทางในการให้รัฐบาล ไปดำเนินการด้วยการตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ทีนี้พอมาตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ท่านประธานครับ ตอนนี้สภาของเราก็มีทั้งกรรมาธิการสามัญที่เริ่มทำงานเต็มที่ แล้วก็กรรมาธิการวิสามัญ โดยเฉพาะจากนี้ไปอีกประมาณ ๓ เดือน ก็คือกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ก็ทำให้ตอนนี้ สส. แต่ละท่าน นั่งกรรมาธิการกันหลายชุด พอนั่งกรรมาธิการกันหลายชุดก็ทำให้มีปัญหาเรื่ององค์ประชุมบ้าง กรรมาธิการ หรือ สส. ก็มีภารกิจในพื้นที่ด้วย ก็ทำให้การทำงานของกรรมาธิการที่จะตั้งขึ้น ใหม่นี้ก็จะไม่เต็มประสิทธิภาพ ก็เลยได้มีการพูดคุยกันในที่ประชุมระหว่างประธานสภา ก็คือท่านประธานวันมูหะมัดนอร์ มะทา กับประธานคณะกรรมาธิการสามัญ ๓๕ คณะ เราก็ประชุมกันว่าญัตติไหนที่เราไม่สามารถที่จะตั้งกรรมาธิการวิสามัญได้ ไม่ว่าจะเหตุผล อะไรก็แล้วแต่ อาจจะเป็นปัญหาที่ไม่ใหญ่โตมาก หรือเป็นปัญหาที่ใหญ่ก็จริงแต่เนื่องจาก กรรมาธิการวิสามัญนี้ก็ต้องใช้บุคลากรเยอะ ใช้องค์ประชุมเยอะมากขึ้นไปอีก แล้วก็เป็น การสิ้นเปลืองงบประมาณก็เสนอให้ส่งให้กรรมาธิการสามัญไปดำเนินการ กรรมาธิการสามัญปัจจุบันนี้ท่านประธานก็คงทราบว่า ๑. กรรมาธิการสามัญตั้งได้ ๒ อนุกรรมาธิการ ในที่ประชุมร่วมระหว่างประธานสภากับประธานคณะกรรมาธิการสามัญ ๓๕ คณะก็เลยได้ข้อสรุปร่วมกันว่าถ้าเราตั้งอนุที่ ๓ ได้ก็จะเป็นการแบ่งเบาไม่ต้องให้ เจ้าหน้าที่ไปรับภารกิจในการที่จะต้องตั้งกรรมาธิการวิสามัญ แล้วก็เป็นการได้เนื้องานด้วย ฉะนั้นก็เลยขอให้เพื่อนสมาชิกที่จะเสนอญัตติคู่กับผมอีก ๒ ท่านได้เข้าใจว่าถ้าผมในฐานะ ที่เป็นผู้เสนอญัตติหลักได้เสนอให้มีการส่งปัญหานี้ให้อนุกรรมาธิการไปดำเนินการ ซึ่งกรรมาธิการที่จะรับไปดำเนินการก็คือกรรมาธิการการตำรวจ ซึ่งเมื่อช่วงเช้านี้ผมก็ได้คุย กับท่านประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจก็คือท่าน สส. ชัยชนะ เดชเดโช ท่านก็มาจาก พรรคประชาธิปัตย์ แล้วก็เป็นพรรคฝ่ายค้านด้วยท่านก็รับไปดำเนินการ ก็คิดว่าท่านก็คง จะได้ไปคุยกับทางพรรคก้าวไกลซึ่งเป็นผู้เสนอญัตติด้วย แต่ในส่วนของฝั่งรัฐบาลก็เห็น ร่วมด้วยกันว่าเราจะตั้งในส่วนของอนุกรรมาธิการที่ขึ้นกับกรรมาธิการการตำรวจมาจัดการ ปัญหาเรื่องนี้ แล้วปัญหาเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ผมคิดว่าให้กรรมาธิการการตำรวจไปดูแลตรงที่สุด ครับท่านประธาน ถ้าเราจัดการกับผู้ลักลอบตัดสายไฟได้อย่างจริงจัง แล้วดำเนินการให้ เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเลย ผมคิดว่าโจรผู้ร้ายที่จะมาตัดสายไฟฟ้าก็คงจะไม่มี แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ทุกวันนี้เจ้าหน้าที่หน่วยงานมารายงาน เวลาเราประชุมกันก็ดีหรือเวลาไปติดตามก็ดี เจ้าหน้าที่มักจะบอกว่าพอไปลงบันทึกประจำวันไปแจ้งความแล้วก็ไม่สามารถจับผู้กระทำ ความผิดได้ อันนี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมมันถึงเกิดกันอย่างแพร่หลาย แล้วเกิดหลายพื้นที่ เพราะว่าผู้ที่กระทำความผิดไม่ได้รับการจับกุม ฉะนั้นก็เลยอยากจะเสนอว่าถึงเวลาหรือยัง ที่เราจะต้องมีหน่วยงาน ๆ หนึ่งขึ้นมาจัดการผู้ที่ลักลอบทำลายทรัพย์สินของทางราชการ โดยเฉพาะเรื่องของการไฟฟ้า ก็ต้องเสนอให้ทางอนุกรรมาธิการหรือกรรมาธิการที่สภาแห่งนี้ ตั้งขึ้นได้รับไปศึกษาถึงความจำเป็นครั้งนี้ ฉะนั้นผมเองในฐานะที่เป็นผู้เสนอญัตตินี้ แล้วก็ เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาเรื่องนี้ แล้วเป็นปัญหาที่พี่น้องประชาชนโดยเฉพาะ ในเขตผมนะครับท่านประธาน ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ร้องเรียนกันมาก ร้องเรียน จนกระทั่งคิดว่าเจ้าหน้าที่ไม่ทำอะไร แต่จริง ๆ แล้วทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ กรมทางหลวงก็ดี เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ดีก็ตามจับ ล่าสุดก็ไปจับได้ กำนันที่ตำบลเขาขลุง ขอประกาศชื่อนะครับ กำนันประสงค์ ตันอำนวย ก็ได้รับใบเชิดชูเกียรติจากท่านนายอำเภอ บ้านโป่งด้วย ไปดักจับ ๓ คืนติด ไปลักลอบตัดสายไฟที่ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง อย่างนี้ครับ มันต้องจับแบบนี้ แล้วก็ทำแบบจริงจังแบบนี้ แต่มันจะมีสักกี่พื้นที่ที่ทำจริงจังแล้วเกิดผล สัมฤทธิ์แบบนี้ที่จะทำให้โจรขโมยไม่กล้าลักลอบตัดสายไฟ ก็เลยขอให้ท่านประธานว่าให้ส่ง เรื่องนี้ให้อนุกรรมาธิการในสัดส่วนของกรรมาธิการการตำรวจรับไปดำเนินการ ก็เลย ขออนุญาตได้อภิปรายถึงความจำเป็นที่ผมจะไม่เสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญ แต่ส่งให้ อนุกรรมาธิการในสังกัดของกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร รับไปดำเนินการเพื่อ ศึกษาเรื่องนี้ให้รัฐบาลไปดำเนินการ ขออนุญาตกราบเรียนท่านประธาน ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ผู้เสนอญัตติก็ได้ใช้สิทธิสรุปครบถ้วนแล้ว โดยที่ท่านอัครเดชได้สรุปไว้ว่าจะมี การเปลี่ยนนะครับ จากเสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญก็จะส่งไปที่คณะกรรมาธิการสามัญ คือคณะกรรมาธิการการตำรวจ ทางท่านสกลเห็นด้วยไหมครับ แล้วก็อีกแนวทางหนึ่งของ ท่านณัฐวุฒิก็เป็นแนวทางเดียวกัน เนื่องจากญัตตินี้ผู้เสนอก็เห็นตรงกันนะครับ แต่ว่าจำเป็น ต้องถามที่ประชุมว่าเราจะเห็นด้วยกับการที่ส่งไปคณะกรรมาธิการตำรวจหรือไม่ อย่างไร ทางวิปมีเรื่องจะประสานหรือเปล่าครับ อันนี้ส่งคณะกรรมาธิการการตำรวจนะครับ ถ้าไม่มีท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นก็ถือว่าที่ประชุมเห็นชอบนะครับ ต่อไปจะเป็นการกำหนด ระยะเวลาในการพิจารณาของกรรมาธิการครับ

นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศรัณย์ ทิมสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย พรรคเพื่อไทย ขอเสนอระยะเวลา ๙๐ วัน ขอผู้รับรองด้วยครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

มีผู้รับรองถูกต้องนะครับ ก็เป็นมติของที่ประชุมครับ ส่งให้กับคณะกรรมาธิการการตำรวจ ศึกษาแล้วส่งกลับมาที่สภาในเวลา ๙๐ วัน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ที่ประชุมครับ ระเบียบวาระของวันนี้จริง ๆ มีเท่านี้แต่ว่าทางวิปได้ประสานว่า จะขอนำญัตติที่ ๕.๔ ซึ่งจะเป็นการพิจารณาในวันพรุ่งนี้ให้ผู้เสนอญัตติได้แถลงเปิดก่อน แล้วสำหรับสมาชิกที่จะอภิปรายก็จะให้เข้าชื่อแล้วก็อภิปรายในวันพรุ่งนี้ เพราะฉะนั้นผมขอ นำเข้าสู่ระเบียบวาระที่ ๕.๔ นะครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๕.๔ ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาและหาแนวทางแก้ไขปัญหากรณีผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในพื้นที่พักพิงชั่วคราว ๙ แห่ง ในประเทศไทย และผู้หนีภัยจากการสู้รบตามแนวชายแดนไทย-พม่า (นายมานพ คีรีภูวดล และนางสาวธิษะณา ชุณหะวัณ เป็นการเสนอ)

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เนื่องจากมีญัตติทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับคือ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๑. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อศึกษาและหาแนวทางการบริหารจัดการ รวมถึงการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยความไม่สงบ ชาวเมียนมา (นายกัณวีร์ สืบแสง เป็นผู้เสนอ) อยู่ในระเบียบวาระที่ ๕.๑๘

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

๒. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาและศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยจากการสู้รบตามแนวชายแดนไทย- เมียนมา (นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร เป็นผู้เสนอ)

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ซึ่งผมเห็นว่าทั้ง ๓ ญัตตินี้เป็นเรื่องทำนองเดียวกัน สามารถรวมระเบียบวาระ ในการประชุมเพื่อนำมาพิจารณาและลงมติพร้อมกันได้ตามข้อบังคับ ข้อ ๕๕ (๒) และ (๔) จะมีท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นไหมครับ ถ้าไม่มี ผมขอดำเนินการประชุมตามนี้ ก็จะเป็นการแถลง ทั้ง ๓ ฉบับตามลำดับ เริ่มจากท่านมานพ คีรีภูวดล และท่านธิษะณา ชุณหะวัณ เรียนเชิญครับ

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับท่านประธาน เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ท่านประธานครับ ผมในฐานะที่เป็นผู้เสนอญัตติในนาม ของพรรคก้าวไกลร่วมกับคุณธิษะณา ชุณหะวัณ พรรคก้าวไกลมีความห่วงใยในเรื่องของกรณี ผู้ลี้ภัยและผู้หนีภัยจากการสู้รบในกรณีประเทศเมียนมา ก่อนที่ผมจะลงรายละเอียดอธิบาย เหตุผล ท่านประธานครับ ตามข้อบังคับนี้ผมก็จะต้องอ่านญัตติให้จบก่อนที่ผมจะให้เหตุผล ประกอบ ญัตติที่ผมได้นำเสนอขออนุญาตท่านประธานได้อ่านให้กับท่านประธานแล้วก็ เพื่อนสมาชิกได้รับทราบถึงที่มาที่ไปในการตั้งญัตติครั้งนี้

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

พื้นที่พักพิงชั่วคราวในประเทศไทยเกิดขึ้นนานกว่า ๓๐ กว่าปีเพื่อรับรอง ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในประเทศพม่ามีอยู่ทั้งหมด ๙ แห่ง ๔ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๔ แห่ง จังหวัดตาก ๓ แห่ง จังหวัดราชบุรี ๑ แห่ง จังหวัดกาญจนบุรี ๑ แห่ง มีจำนวน ประชากรที่อยู่ใน Camp ผู้พักพิงไม่ต่ำกว่า ๗๐,๐๐๐ คน โดยประเทศไทยคาดหวังว่าจะให้ คนเหล่านี้เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเพียงชั่วคราวแล้วจะส่งกลับเมื่อสถานการณ์สู้รบ ดีขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้ว ๓๐ กว่าปีสถานการณ์การสู้รบในประเทศพม่ายังไม่มีท่าทีที่จะ หยุดลง กรณีสถานะชั่วคราวของผู้คนที่อยู่ในศูนย์พักพิงเต็มไปด้วยปัญหา ข้อจำกัดทาง กฎหมาย ทั้งการถูกจำกัดให้อยู่ในแต่พื้นที่ ไม่สามารถที่จะเดินทางเข้าออกนอกพื้นที่พักพิงได้ ผู้คนจึงได้แต่รอคอยว่าความช่วยเหลือที่จะหารายได้มาหล่อเลี้ยงชีวิตและครอบครัวนั้น เป็นไปด้วยความยากลำบาก การเข้าถึงบริการสาธารณะ สิทธิขั้นพื้นฐานในการักษาพยาบาล การศึกษาแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย บ้านเรือนยังไม่มีความมั่นคงเป็นแค่ไม้ไผ่ มุงหลังคาด้วย ใบตองตึง มีสภาพแออัด บ่อยครั้งที่จะเกิดไฟไหม้และลุกลามไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ สถานการณ์การสู้รบในประเทศพม่ายังคงมีความต่อเนื่องและมีความรุนแรงมากขึ้นหลังจาก มีการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เมื่อรัฐบาลทหารพม่าได้ก่อรัฐประหารขึ้นมา ส่งผลให้เกิดสงครามการเมืองในประเทศ ประชาชนได้ลุกขึ้นมาต่อต้านการต่อสู้กับรัฐบาล ทหาร มีผู้คนถูกสังหารเป็นจำนวนมาก หลายหมื่นคนได้หลบหนีไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งหมายถึงประเทศไทยด้วย กลุ่มทหารชาติพันธุ์ต่าง ๆ ได้ลุกขึ้นมาจับปืนต่อสู้กับทหารพม่า โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดน เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้จำนวนผู้ลี้ภัยจากประเทศพม่าทะลักเข้ามา ในประเทศไทยมากขึ้น ด้วยปัญหาเดิมของผู้ลี้ภัยจากการสู้รบใน ๙ ที่พักพิงที่อยู่ในประเทศไทย ยังคงเผชิญกับปัญหา ยังขาดความมั่นคงในชีวิต โอกาสที่จะกลับบ้านแทบไม่มี โอกาสที่จะไป ประเทศที่สามมีน้อยมาก ประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาการเข้ามาของผู้หนีภัยสู้รบอย่างต่อเนื่อง ตราบใด ที่ประเทศพม่ายังไม่มีความสงบ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเร่งแก้ไขปัญหา ผู้หนีภัยจากการสู้รบที่ยืดเยื้อมานานกว่า ๓๐ กว่าปี และเพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อม ที่จะรับมือกับผู้หนีภัยกลุ่มใหม่ที่จะเข้ามาอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน และคาดว่าอาจจะ เพิ่มมากขึ้นถ้าหากมีความรุนแรง ดังนั้นจึงขอเสนอญัตติเพื่อให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในพื้นที่ พักพิงชั่วคราว ๙ แห่งในประเทศไทย และผู้หนีภัยสู้รบตามแนวชายแดนพม่า ตามข้อบังคับ การประชุมผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔๙ ต่อไปผมจะอธิบายเนื้อหาประกอบที่มี ความจำเป็น

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ อย่างที่ผมได้ นำเรียนท่านประธานว่าพรรคก้าวไกลซึ่งมีเพื่อนสมาชิกที่มาจากหลากหลายกลุ่ม กลุ่มที่สนใจ เรื่องของสิทธิมนุษยชน กลุ่มที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มที่อยู่กับคนชายขอบ เราให้ ความสำคัญเรื่องนี้โดยเฉพาะผู้ลี้ภัย ท่านประธานทราบไหมครับ ผู้ลี้ภัยที่อยู่ในที่พักพิง ชั่วคราว ๙ แห่งใน ๔ จังหวัด ๘ อำเภอ อยู่มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๗ ในร่างที่ผมยกผมบอกว่า ๓๐ กว่าปี แต่ข้อเท็จจริงวันนี้ก็คือ ๔๐ ปีเต็มครับ ปี ๒๕๒๗ ปีนี้ ๒๕๖๗ ปัญหาที่เราเจอ สถานะของผู้ลี้ภัยทั้ง ๙ Camp ประมาณ ๗๐,๐๐๐ กว่าคนนี้ยังไม่ถือว่าเป็นผู้ลี้ภัยที่เรา เรียกว่า Refugee ตามความหมายสากลนะครับ เพราะฉะนั้นรัฐจึงใช้คำว่า ที่พักพิงชั่วคราว แต่การอยู่ชั่วคราวในกลุ่มของพี่น้องประชาชนที่ลี้ภัยในที่นี้อยู่ชั่วคราวมา ๔๐ ปี เหตุผล ทั้งหมดนี้เกิดจากการที่ประเทศไทยไม่ได้ไปลงนามข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องของ ผู้ลี้ภัย อันนี้จึงเป็นข้อจำกัดและเป็นอุปสรรคที่เราจะไปรับรองว่าประเทศไทยมีผู้ลี้ภัย จริงหรือเปล่า ซึ่งในข้อเท็จจริงก็มี ประสบการณ์ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ดำเนินการ หลายเรื่อง ผมก็ยังเป็นเด็ก ๆ อยู่ครับท่านประธาน ผมคิดว่าสงครามอินโดจีนกรณีที่เกิดขึ้นเขมร แดงแตก ผมคิดว่าประสบการณ์ตรงนี้ประเทศไทยได้ใช้องค์ความรู้จากสหประชาชาติ ได้ดำเนินการกรณีผู้ลี้ภัยจากอินโดจีนในการแก้ไขปัญหา มีการจัด Camp เมื่อสถานการณ์สงบ มีการส่งกลับ และส่วนหนึ่งก็ไปประเทศที่สาม แต่ในพื้นที่ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ผมกล่าวมาทั้ง ๙ ศูนย์นี้ กระบวนการดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ผมคิดว่าที่ผ่านมาสถานะของผู้อยู่อาศัยตรงนี้ เอาเข้าจริง ๆ เราก็ถามว่ามันมีกฎหมายอะไรรับรองหรือรองรับว่ากระบวนการจัดการให้มัน มีศูนย์พักพิงมันมีกฎหมายอะไรไหม ซึ่งผมอยู่ในคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการ ชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ผมได้สอบถามเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องนี้ นะครับ เป็นนโยบายของความมั่นคง เป็นนโยบาย เป็นมติ ครม. เพราะฉะนั้นก็คือทางออก ข้อเท็จจริงที่มันมีอยู่นี้สืบเนื่องมาจากที่เราไม่ได้ไปรับรองกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องของผู้ลี้ภัย ระหว่างประเทศ อันนี้คือเป็นประการที่ ๑ ทีนี้ส่วนที่เป็นข่าวดี ผมคิดว่า ณ วันนี้ข้าหลวงใหญ่ ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ในปี ๒๕๖๗ นี้มีนโยบายที่จะอพยพ มีนโยบายที่จะโยกย้ายผู้ลี้ภัย ทั้ง ๙ Camp ไปยังประเทศที่สาม ซึ่งถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมี นโยบายที่จะรับผู้อพยพเหล่านี้ กระบวนการดำเนินการผมคิดว่าเรื่องนี้มีความจำเป็น ที่จะต้องมาพูดในสภาแห่งนี้เพื่อที่จะทำให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสาน ความร่วมมืออย่างเป็นระบบครับท่านประธาน วันนี้คำถามของผมก็คือว่า ๗๗,๐๐๐ กว่าคน ที่อยู่ใน Camp ตามข้อมูลของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งบางข้อมูลก็ไม่ตรงกันอีกครับ ท่านประธาน เราจะทำอย่างไรให้ระบบการที่จะเข้าถึงสิทธิที่จะไปประเทศที่สามมันมี ความโปร่งใสแล้วก็ตรงกับวัตถุประสงค์ความต้องการของคนที่อยากไปจริง ๆ ผมคิดว่าอันนี้ เป็นเรื่องสำคัญ วันนี้เรามีภาคีที่เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ส่วนในประเทศไทยเองผมคิดว่าหนีไม่พ้นที่สำคัญก็คือกระทรวงมหาดไทยที่จะต้อง ดำเนินการจัดระบบระเบียบแล้วก็มีกระบวนการคัดกรอง ซึ่งผมทราบว่าในขั้นตอนนี้ได้มี การประสานงานไปแล้วหลายศูนย์อยู่ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ดี แต่ปัญหามันไม่ได้เกิดขึ้นตรงนี้ครับ ท่านประธาน ๗๐,๐๐๐ กว่าคนนี้สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นคือว่าผมเชื่อมั่น แล้วก็หลายคนก็บอกว่า ไม่ได้ไปทั้งหมด ไม่ได้ไปประเทศที่สามหรือไปทั้งหมด อันนี้คือปัญหาที่ประเทศไทยจะต้องคิด จะกลับมาตุภูมิก็กลับไม่ได้ บางคนก็ไม่รู้ว่าตัวเองมาจากไหนด้วยซ้ำไปเพราะว่าเกิดอยู่ในศูนย์ นั่นละครับท่านประธาน ตอนนี้อายุ ๔๐ กว่าปีแล้ว ถามว่าประเทศต้นทางอยู่ที่ไหน เขาก็ไม่ทราบเพราะว่าเขาก็เกิดในศูนย์ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมคิดว่ากรรมาธิการวิสามัญที่จะ เกิดขึ้นที่จะมีองค์ประกอบทั้ง สส. ในสภาแห่งนี้ ผู้เชี่ยวชาญ ส่วนราชการจะต้องมานั่งคิดว่า กลุ่มที่หลงเหลือที่ไม่ได้ไปและกลับประเทศต้นทางไม่ได้เราจะบริหารจัดการอย่างไร ผมคิดว่า อันนี้เป็นประเด็นสำคัญ ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าหากว่าจะทำให้เขามีสถานะบางอย่างที่ อาศัยอยู่ในประเทศนี้ แต่ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องของการพัฒนาเรื่องสัญชาติหรือ ๆ สถานะบุคคล แต่บุคคลสามารถที่จะดำรงอยู่ได้ในประเทศที่ที่อยู่อาศัยเดิมของเขาคือตรงนี้ที่เขาเกิดมา เนื่องจากว่าไปประเทศที่สามก็ไม่ได้ หรือไม่อยากไป หรือจะกลับต้นทางไม่ได้ ผมคิดว่าจุดนี้ เป็นจุดสำคัญที่กรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรจะต้องช่วยกันพิจารณาว่ามันมีความจำเป็น จะต้องหาทางออกในมาตรการ ซึ่งอาจจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องของข้อกฎหมาย ข้อระเบียบ ต่าง ๆ และจะต้องเตรียมความพร้อมในแง่ของความรู้สึก ความเข้าใจของสังคมด้วยว่า คนเหล่านี้จะอยู่ในสถานะอะไรในแผ่นดินไทยครับท่านประธาน

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ส่วนที่ ๒ ครับท่านประธาน สิ่งที่ผมอยากจะพูดถึงที่หนีไม่ได้เลยนะครับ ผมคิดว่าตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อปี ๒๐๒๑ ที่ทหารได้เข้าไปยึดอำนาจของรัฐบาลที่มาจาก การเลือกตั้ง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านวันนี้ผมคิดว่าได้ส่งผลกระทบกับ พวกเรา กลุ่มนี้ผมถือว่าเป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยใหม่ครับท่านประธาน กลุ่มแรก ๙ Camp นี้เป็น ผู้ลี้ภัยเดิมตั้งแต่ปี ๒๕๒๗ กลุ่มผู้ลี้ภัยใหม่นี้ผมแบ่งคร่าว ๆ เป็น ๓ กลุ่มใหญ่ ๆ กลุ่มที่เป็น พี่น้องประชาชนที่หลบหนีเข้ามาตามชายแดนต่าง ๆ ซึ่งทางราชการเรียกว่า ผภสม. ผภสม. ก็คือผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา ที่ผ่านมาครับท่านประธาน ในช่วงสถานการณ์ที่มัน เคร่งเครียดมาก ๆ โดยเฉพาะที่จังหวัดตากและแม่ฮ่องสอน จำนวนตัวเลขที่เข้ามาอาศัย ความสงบหรือว่าหนีภัยจากประเทศพม่ามีประมาณ ๕๐,๐๐๐ กว่าคน ตอนนี้ก็ถูกส่งกลับ ไปแล้วเพราะว่าในประเทศต้นทางหรือพื้นที่ที่เขาอยู่มันก็สามารถที่จะมีความสงบระดับหนึ่ง ตัวเลขที่อยู่ในมือผมตอนนี้ฟังจากส่วนราชการไม่น่าจะถึง ๒,๐๐๐ คนแล้วในบางจุด แต่สิ่งที่ มันเป็นปัญหาที่ผมคิดว่ากรรมาธิการที่จะเกิดขึ้น หรือรัฐสภา หรือฝ่ายบริหารจะต้องช่วยกัน พิจารณาก็คือเราไม่สามารถที่จะคาดคะเนได้เลยว่าประเทศต้นทางของเพื่อนบ้านเราจะมี ความสงบสันติสุขเมื่อไร ดูจากสถานการณ์นะครับท่านประธาน วันนี้เราจะเห็นว่ามันมีกลุ่ม กองกำลังต่าง ๆ ที่มีการปะทะกันแต่ละจุด ไม่ว่าจะเป็นทางเหนือ ทางทิศตะวันตกที่ติดกับ ประเทศอินเดีย แล้วก็ทางทิศตะวันออกที่ติดกับประเทศเรา ซึ่งบ้านเรามีพื้นที่ชายแดนติดต่อ กับทางประเทศเมียนมา ๒,๔๐๐ กว่ากิโลเมตร เพราะฉะนั้นคือเราไม่มีทางเลยที่จะสกัด หรือไม่ยอมรับข้อเท็จจริงเวลาพี่น้องประชาชนอีกฝั่งหนึ่งหนีความตายมาพึ่งพวกเรา จุดนี้ ผมเข้าใจว่าเราจะทำอย่างไรให้มันมีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับพี่น้องประชาชนที่หนีความตาย ท่านนายกรัฐมนตรีก็พูดถึงเรื่องของระเบียงมนุษยธรรม ตรงนี้ผมคิดว่าบทบาทของประเทศไทย ในฐานะที่เคยเป็นผู้นำ ASEAN ผมคิดว่าเรื่องนี้จะต้องแสดงออกให้มันชัดเจน จะต้องมีบทบาทที่ชัดเจนในการที่จะวางบทบาทกับกรณีความขัดแย้งภายในประเทศของ เพื่อนบ้านคือกรณีพม่านะครับ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ผมคิดว่าถ้าหากว่าเรามีกรรมาธิการ วิสามัญขึ้นมา เราจะได้หยิบยกขึ้นมาว่าระเบียงมนุษยธรรมที่เราพูดกันนี้หน้าตามันจะเป็น อย่างไร ระบบบริหารจะเป็นอย่างไร ศักยภาพของประเทศไทยเพียงพอไหม หรือจำเป็น จะต้องเอาความร่วมมือจากต่างประเทศเข้ามาร่วมมือ อันนี้คือกลุ่มแรกนะครับ กลุ่มเหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็จะข้ามไปข้ามมาระหว่างชายแดน ตอนนี้หน่วยงานที่ดูแลส่วนใหญ่ก็คือจะเป็น ความมั่นคงคือทหาร

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กลุ่มที่ ๒ กลุ่มนี้ผมคิดว่าเป็นปัญหาในระบบมาก ๆ ที่ยังเป็นปัญหาในระบบ การบริหารจัดการในกฎหมายไทย รวมถึงกระบวนการต่าง ๆ กลุ่มที่หนีภัยเข้าไปอยู่ในเมือง ชั้นใน ไม่ว่าจะเป็นที่กรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็นที่เชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นที่ภูเก็ต กลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มหนีภัยทางการเมือง กลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มที่หนีภัยการประหัตประหารสืบ เนื่องมาจากความขัดแย้งในพื้นที่ สิ่งสำคัญตอนนี้ก็คือว่าเรายังไม่มีระบบข้อมูลที่ชัดเจนว่า กลุ่มเหล่านี้จะจัดอยู่ในกลุ่มผู้ลี้ภัยประเภทไหน ไม่ใช่ ผภสม. แต่เป็นกลุ่มที่เข้าไปอยู่ชั้นใน ในเมือง กลุ่มเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนชั้นกลางครับท่านประธาน กลุ่มที่มีการศึกษา กลุ่มที่มีทักษะอาชีพที่ดี บางคนเข้ามาแล้วมี Passport แต่วันนี้ต่อ Visa ไม่ได้แล้ว บางคน เข้ามาโดยผิดกฎหมาย กลุ่มเหล่านี้ข้อมูลจากองค์กรภาคประชาชนบอกว่าอาจจะมีถึง ประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน และสถานะของเขาจะอยู่ในสถานะอะไร ผู้ลี้ภัย หรือผู้ที่จะอาศัยอยู่ ในประเทศไทยในบทบาทอย่างไร ข้อมูลตรงนี้ในส่วนราชการที่เราสอบถามมานะครับ ท่านประธาน ๑. ไม่มีข้อมูล ๒. ไม่รู้จะบริหารจัดการอย่างไร และกลุ่มเหล่านี้จะเป็นกลุ่มที่จะ ทรงพลังมาก ๆ ในการเปลี่ยนแปลงประเทศของเขาด้วย เพราะฉะนั้นเรื่องความมั่นคงก็ดี เรื่องของการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพก็ดี กลุ่มเหล่านี้ผมคิดว่าถ้าหากเรามีกรรมาธิการ โดยมาตรการของฝ่ายบริหารก็ดี โดยมาตรการที่จะต้องแก้ไขระเบียบต่าง ๆ ก็ดี ถ้ากลุ่ม เหล่านี้ได้อยู่ในส่วนหนึ่งของผู้ลี้ภัยที่เราจะเรียกอย่างไรก็ได้ แต่ว่าเขาควรจะมีสถานะ เหตุผล ที่จะต้องมีสถานะครับท่านประธาน อันที่ ๑ ก็คือว่าเขาสามารถที่จะไปต่อ ต่อในประเทศ ที่สามได้เพราะว่าเขาก็มี Passport อยู่ บางคนอาจจะไม่มี ๒. ก็คือว่าเป็นแรงงานที่ถือว่า มีทักษะที่ดีครับท่านประธาน เราจะทำอย่างไรให้กลุ่มเหล่านี้มีบทบาทในการที่จะมาทำงาน ในประเทศไทยให้เรา โดยเฉพาะดูแลกลุ่มผู้ลี้ภัยที่อยู่ใน Camp หรือว่าโดยเฉพาะดูแลกลุ่ม ผู้ลี้ภัยตามชายแดนที่จะต้องใช้บุคลากรที่ทั้งเป็นนักการศึกษา เรื่องของอนามัย เรื่องสุขภาพ เรื่องการแปลภาษาต่าง ๆ เหล่านี้ ผมคิดว่าถ้าเรายกระดับกลุ่มนี้มีสถานะขึ้นมา การจะอาศัย ศักยภาพของบุคลากรจำนวนนี้มาช่วยแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยอีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นประโยชน์กับ ประเทศไทยครับท่านประธาน

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กลุ่มที่ ๓ นี้ก็ถือว่าเป็นกลุ่มผู้อพยพที่กลุ่มใหญ่ ซึ่งมันจะซ้อน ๆ กับแรงงาน ครับท่านประธาน ผมขออนุญาตใช้คำว่า ผู้ลี้ภัยทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากความไม่สงบ ในประเทศพม่า ท่านประธาน กลุ่มเหล่านี้ค่อนข้างที่จะเยอะแล้วก็กระจัดกระจายไปหลาย ประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากว่าการประกอบอาชีพ การทำมาหากินในประเทศต้นทาง ในเมืองตัวเองไม่สามารถดำเนินการได้ สถานการณ์การสู้รบไม่สามารถที่จะประกอบอาชีพ โดยปกติได้ การแสวงหาความอยู่รอด การแสวงหาทางเศรษฐกิจจึงเป็นทางเลือกที่พวกเขา ต้องไป บางคนมาทั้งครอบครัวนะครับประธานแล้ววันนี้เราไม่แน่ใจเลยว่าตรงที่มาชอบด้วย กฎหมายมีจำนวนเท่าไร ที่หนีเข้ามาแล้วผิดกฎหมายมีจำนวนเท่าไร เราไม่มีระบบเลย ท่านประธาน แล้วกลุ่มคนเหล่านี้เราไม่แน่ใจเลยว่าจริง ๆ แล้วคือเป็นกลุ่มคนที่มีศักยภาพ ในแง่ของทักษะแรงงานหรือเป็นแรงงานพื้นฐานทั่วไป อันนี้เราไม่มีระบบข้อมูล ผมคิดว่า อันนี้เป็นประเด็นปัญหา

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประเด็นสุดท้ายครับท่านประธาน ผมคิดว่ามันมีประเด็นเรื่องของนิยาม ความหมายของคำว่า ความมั่นคง ตรงนี้ผมคิดว่าก็สามารถที่จะมาถกมาเถียงกัน ในกรรมาธิการวิสามัญได้ สิ่งหนึ่งที่ผมตั้งคำถาม ผมอยู่ในคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดน ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ คำถามของผมคือว่าถ้าคนเหล่านี้ มันไม่มีระบบฐานข้อมูล ไม่ได้มีชื่อบนโต๊ะ แล้วหลบ ๆ ซ่อน ๆ อย่างนี้ อะไรคือความมั่นคง ยิ่งเราไม่มีข้อมูล ยิ่งเราไม่มีระบบที่ติดตามประเมินและดำเนินการกับกลุ่มต่าง ๆ ที่ผมกล่าว มาทั้งหมดเหล่านี้ ผมคิดว่าอันนี้ต่างหากที่เป็นอุปสรรคและจะเป็นปัญหาแห่งความมั่นคง เพราะฉะนั้นโดยรวมแล้วผมเข้าใจว่ากรณีผู้ลี้ภัยทั้ง ๒ กลุ่ม กลุ่มแรกที่ผมใช้คือกลุ่มผู้ลี้ภัย ดั้งเดิมที่อยู่มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๗ ค.ศ. ๑๙๘๔ ท่านประธาน ปีนี้ ๔๐ ปีแล้วทิศทางที่จะต้อง จัดการ ไม่ว่าจะไปประเทศที่สาม ไม่ว่าจะอยู่ต่อเนื่องจะต้องมีความชัดเจนในแง่ของ กระบวนการและระบบ กลุ่มที่มาใหม่ผมคิดว่ามันมีอยู่ ๓ กลุ่มที่ผมว่านะครับ สำหรับพี่น้อง ชาวบ้านที่อยู่ตามชายแดนผมคิดว่าถ้าสงบก็กลับได้ แต่สำคัญที่สุดก็คือว่าที่เราพูดถึง เรื่องระเบียงมนุษยธรรม ผมคิดว่ามันจำเป็นจะต้องเกิดขึ้นและจะต้องมีระบบบริหารจัดการ อีก ๒ กลุ่มคือผู้หนีภัยทางการเมือง การประหัตประหารไม่มีระบบข้อมูล แล้วก็ผู้ที่หนีภัย ทางเศรษฐกิจเราก็ไม่มีข้อมูล ทั้งหมดนี้ผมอยากจะเสนอต่อท่านประธาน แล้วก็ เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่าเราควรจะมีกรรมาธิการวิสามัญ เราควรจะมีกระบวนการ ศึกษาเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ และที่สำคัญคือเราเป็นหนึ่งในประเทศ ASEAN และเราเคย เป็นหนึ่งแกนหลัก เราเป็นผู้ก่อตั้ง ASEAN สถานการณ์แบบนี้ประเทศไทยไม่สามารถที่จะหนี ความรับผิดชอบได้ครับ ขอบคุณมากครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านกัณวีร์ สืบแสง ครับ

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ท่านประธานครับ วันนี้ผมมาเสนอญัตติเรื่องการขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและหาแนวทางการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหา ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา หรือ ผภสม. แต่จริง ๆ แล้วผมอยากจะเรียกว่าผู้ลี้ภัย ท่านประธานครับ ขออนุญาตที่จะอ่านตัวญัตติที่ผมเสนอเข้ามาให้ทางที่ประชุมสภาทราบ ผ่านทางท่านประธาน หลังรัฐบาลเมียนมา พ.ศ. ๒๕๖๔ หลังการรัฐประหารที่สำคัญ ในสถานการณ์การสู้รบภายในประเทศเมียนมาทวีความรุนแรงขึ้นจากการประเมินด้วยดัชนี สันติภาพโลก เมื่อปี ๒๕๖๖ ระดับสันติภาพของเมียนมาตกต่ำลง ๗ ลำดับ จากปีก่อนหน้า อยู่ในลำดับที่ ๑๔๕ จากทั้งหมด ๑๖๓ ส่งผลให้พลเรือนเมียนมาเสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย ๖,๓๓๗ คน กลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศมากกว่า ๑.๓ ล้านคน และตกอยู่ในภาวะ ของความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมประมาณ ๑๗.๖ ล้านคน เท่าที่มีการเก็บข้อมูลได้ระหว่าง กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยสถาบันสันติภาพวิจัยออสโล และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยจะพบว่าเหตุการณ์ความรุนแรงเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๖ และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๘๗ ปัญหาดังกล่าวไม่ได้มีเพียงมิติด้านความมั่นคง ชายแดนเท่านั้น หากแต่ยังเป็นผลมาจากการเมืองระหว่างประเทศที่ไทยจำเป็นต้องทบทวน แนวนโยบายและการดำเนินการในเชิงรุกมากยิ่งขึ้นในกรอบพหุภาคีทั้งในระดับภูมิภาคและ ระดับโลกเพื่อมิให้ประเทศโดยเฉพาะชุมชนชายแดนตกอยู่ในสภาพตั้งรับต่อปัญหาเพียง อย่างเดียว ทั้งในรูปแบบพื้นที่พักพิงชั่วคราวที่มีอยู่แล้ว ๙ แห่งที่รองรับผู้ลี้ภัยการสู้รบเดิม อยู่แล้ว ๗๗,๐๐๐ กว่าคน และในรูปแบบพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวในห้วงปีที่ผ่านมา จึงมี ความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเร่งปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการทั้งการเตรียมพร้อม การป้องกัน และการจัดการระเบียบชายแดนอย่างสมดุลระหว่างมิติความมั่นคงกับ สิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม ตลอดจนการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาในเชิงรุกในเวที ระหว่างประเทศระดับพหุภาคีอย่างสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงขอเสนอญัตติด่วนเพื่อขอให้ที่ประชุม สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและหาแนวทางการบริหารจัดการ และการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาหรือ ผภสม. ตามข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔๙ และข้อ ๕๐ เพื่อดำเนินการศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยเร่งด่วน ให้ทันต่อสถานการณ์ของปัญหาที่มีพลวัตสูง ทั้งนี้เหตุผลและรายละเอียดผมจะขอ ชี้แจงอภิปรายตอนนี้ครับท่านประธาน

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ตามที่เพื่อนสมาชิกคือท่านมานพ ได้ชี้แจงไปถึง สถานการณ์ต่าง ๆ เราเห็นว่าสถานการณ์ในประเทศเมียนมาหลังจากที่เกิดรัฐประหาร วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ สถานการณ์ได้เลวร้ายลง เริ่มต้นตั้งแต่การใช้ความรุนแรง และมี การลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ มีพี่น้องชาวเมียนมาออกมาต่อสู้โดยอหิงสา เรียกร้องให้อำนาจกลับคืนมาสู่พี่น้องประชาชนโดยเร็ว แต่กลับกันครับ รัฐบาลที่มาจาก ทหารยังใช้อำนาจ ใช้กำลังการเข้าห้ำหั่นทำให้การลิดรอนสิทธิมนุษยชนได้มีความรุนแรงมาก ยิ่งขึ้น ดังนั้น มีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ ๑๐ กว่าล้านคนแล้ว ตอนนี้ครับท่านประธาน จากประสบการณ์การทำงานของผมในประเทศเมียนมาในตำแหน่งสุดท้ายก่อนจะมาเป็น นักการเมืองที่ทำงานกับ UNHCR ที่ดูบริเวณชายแดนตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเมียนมา ทั้งหมดที่ติดกับชายแดนไทย ทราบดีครับว่าตอนนี้มีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศมากกว่า ๓๐๐,๐๐๐ คนที่รอการลี้ภัยหนีการประหัตประหารเข้ามาประเทศไทยตอนใดก็ได้ เราเห็นว่า สถานการณ์เมียนมานี้มีการขึ้นลงอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๑๕ ตอนนั้นจริง ๆ แล้ว เราเห็นครับท่านประธานว่ามันมีแสงสว่างปลายอุโมงค์ที่เราเห็นว่ามีการเซ็นสัญญายุติ การหยุดยิง NCA (National Ceasefire Agreement) ระหว่างรัฐบาลเมียนมากับทางกลุ่ม ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ตอนนั้นเราเห็นว่าการแก้ไขปัญหาเรื่องผู้หนีภัยการสู้รบหรือผู้ลี้ภัยที่เข้ามา อยู่ในประเทศไทยที่ท่านมานพได้พูดไปตั้งแต่ตอนแรกว่าตอนนี้อยู่ในประเทศไทย ๔๐ ปีแล้ว เรา สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยการส่งกลับผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นกำเนิด คือแนวทางการแก้ไข ปัญหาที่ดีที่สุดในเรื่องสถานการณ์ผู้ลี้ภัย คือ ๑. การเดินทางกลับประเทศมาตุภูมิโดยสมัครใจ หรือเรียกว่า Voluntary Repatriation ณ ตอนนั้นครับ ค.ศ. ๒๐๑๙ ทางรัฐบาลไทยกับ รัฐบาลเมียนมาได้ทำงานร่วมกันในการส่งกลับผู้ลี้ภัยที่อยู่บริเวณชายแดนในพื้นที่พักพิง ทั้งหมด ๙ แห่งได้เดินทางกลับไป ตั้งแต่ปี ๒๐๑๙-๒๐๒๐ เดินทางกลับไป ๑,๐๐๐ กว่าคน มีการเดินทางกลับ การส่งกลับระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเมียนมา ส่งกลับโดยมี ความช่วยเหลือสนับสนุนขององค์การระหว่างประเทศอย่าง UNHCR แล้วก็ IOM ได้เดินทาง กลับส่งกลับ และรวมทั้งภาคประชาสังคมกลุ่ม CBO ต่าง ๆ ด้วยมีการส่งกลับไป แต่หลังจาก ได้เกิดรัฐประหารขึ้น การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด ๑ ใน ๓ ก็คือการเดินทางกลับประเทศมาตุภูมิ โดยสมัครใจนั้นก็ได้ยุติลง ที่ผมเรียนไปในตัวญัตติที่ผมเสนอไป ๗๑,๐๐๐ กว่าคนนั้น เป็นข้อมูลของทางราชการ แต่ถ้าเราไปดูข้อมูลของทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย แห่งสหประชาชาติเราจะเห็นว่าในจำนวนผู้ลี้ภัยในพื้นที่พักพิงทั้ง ๙ แห่งบริเวณชายแดน ที่อยู่ในประเทศไทยมีจำนวน ๙๑,๐๐๐ กว่าคน ๙๑,๐๐๐ กว่าคนนี้ยังไม่สามารถที่จะ เดินทางกลับประเทศมาตุภูมิได้โดยสมัครใจ ไม่มีทางครับถ้าสถานการณ์ในเมียนมายังไม่ถูก แก้ไข เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรกับกลุ่ม ๙๑,๐๐๐ กว่าคนนี้ที่จะสามารถหาแนวทาง การแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนได้ ในทางเวทีโลก ในทางประชาคมโลกเราเห็นว่าจะมี แนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องผู้ลี้ทั้งหมด ๓ อย่าง อันแรกที่เรียนไปคือ Voluntary Repatriation การเดินทางกลับประเทศมาตุภูมิโดยสมัครใจ อันที่ ๒ Resettlement การเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม ในพื้นที่พักพิงทั้งหมด ๙ แห่ง ๙๑,๐๐๐ คนนี้ ตั้งแต่มีพื้นที่พักพิงเกิดขึ้นในประเทศไทย เราได้ส่งคนไปตั้งถิ่นฐานใหม่ประเทศที่สามแล้ว แสนกว่าคน แต่ยังคงเหลืออยู่ ๙๑,๐๐๐ กว่าคน และจริง ๆ แล้วถ้าเราจะสามารถพิจารณาได้ นะครับว่าในจำนวนการเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม ทั่วโลก ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ที่มีจำนวนประชากรผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศรอบโลกมีทั้งหมด ๑๐๐ ล้านคน การไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในแต่ละปีโควตาจะมีแค่ ๑ เปอร์เซ็นต์ มองง่าย ๆ ก็คือแต่ละปีจะมีคน สามารถเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ประเทศที่สามได้แค่ ๑ ล้านคน ประเทศไทยคือ ๑ ในจำนวน ๑๐๐ กว่าประเทศที่มีผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ ประเทศไทยไม่ได้ถูกจัดลำดับ ความสำคัญเร่งด่วนในการที่จะเอาโควตาของผู้ลี้ภัยที่อยู่ในประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่ พักพิงชายแดนไปตั้งถิ่นฐานใหม่ เพราะฉะนั้น ๙๑,๐๐๐ กว่าคนตามที่คุณมานพได้อภิปราย ไปตอนแรกว่าจะมีการเดินทางไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามอีกประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน โดยประเทศสหรัฐอเมริกาก็เป็นจำนวนน้อย ๗๐,๐๐๐ กว่าคนอย่างไรก็ยังคงอยู่ครับ ถ้าเรา ยังไม่มีการแก้ไขปัญหาในข้อที่ ๓ ในวงการสหประชาชาติก็คือ Local Integration การผสมผสาน กลมกลืนในประเทศที่ขอลี้ภัย Local Integration นี้จะทำอย่างไร หากประเทศไทยเรายังไม่มี นโยบาย หากประเทศไทยเรายังไม่มีกฎหมายที่รองรับว่าคน ๆ นี้มีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ปัญหา เรื่องผู้ลี้ภัยในประเทศไทยเรามองไม่เห็นหรอกครับ เราชอบซุกปัญหาไว้ใต้พรม เราไม่เคยมีว่ามี ผู้ลี้ภัยที่เป็นอย่างทางการ ที่ได้รับสถานะอย่างทางการในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีช่วงอินโดจีนเท่านั้นที่มีผู้ลี้ภัยเข้ามาประมาณเป็นล้านคน เดินทาง กลับประเทศมาตุภูมิได้ ๑ ล้านกว่าคน ๑ ล้านคนไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม หลังจากนั้น เราไม่มีผู้ลี้ภัยเลยในประเทศไทย ประเทศไทยปัจจุบันนี้ ๙๑,๐๐๐ คน เราเรียกว่าผู้หนีภัย จากการสู้รบ คนที่หนีเข้ามาใหม่หลังจากการรัฐประหารตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เราเรียกว่าผู้หนีภัยความไม่สงบจากเมียนมาเท่านั้น เราไม่มีผู้ลี้ภัย ตรงนี้มันเป็นปัญหา อย่างไรครับ ทำไมมันถึงมีความสำคัญที่ผมอยากจะมุ่งเน้นว่า คำว่า ผู้ลี้ภัย ยังไม่ได้ถูกยอมรับ ในประเทศไทย เนื่องจากว่าหากเราไม่ถูกยอมรับ คนที่ลี้ภัยเข้ามา คนที่หนีภัยการประหัต ประหาร หนีความตายมาจากประเทศอื่น ๆ ที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเพื่อรองรับ การช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมจะไม่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนทางมนุษยธรรมใด ๆ เลย จากเวทีโลกถ้าพวกเขายังไม่มีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย เพราะฉะนั้นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนของประเทศไทย จำเป็นต้องมีการพิจารณาให้ดีว่าตอนนี้เราสามารถที่จะนำการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน หรือที่ เรียกว่า Durable Solutions ในเรื่องเกี่ยวกับวงการเวทีระหว่างประเทศมาปรับใช้ได้มาก น้อยขนาดไหน ประสบการณ์ของผม ผมเห็นครับ ในการที่ทำงานทั้งจากทางสำนักงาน สภาความมั่นคงแห่งชาติดูแลเรื่องนโยบายเกี่ยวกับผู้หนีภัยการสู้รบ การทำงานกับ UNHCR ในประเทศเมียนมา เป็นประเทศสุดท้ายที่ผมได้ทำงานกับ UNHCR ผมเห็นว่าการแก้ไข ปัญหาตรงนี้ไม่สามารถทำงานเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงเพียงอย่างเดียว การจะพิจารณา การแก้ไขปัญหา การจะศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหามันมากกว่าเรื่องความมั่นคง การพิจารณาการแก้ไขปัญหานี้มันมากกว่าเรื่องการต่างประเทศ การพิจารณาการแก้ไข ปัญหานี้มันมากกว่าเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย มันเป็นการร่วมมือกันกันทำงานกันหลาย ๆ กระทรวง เป็นการร่วมมือกันทำงานเกี่ยวกับหลาย ๆ คน หลาย ๆ องค์กรที่มีความเกี่ยวเนื่อง ตอนนี้เรามีกฎหมายหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นสถานะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ. ตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งเป็น พ.ร.บ. หลัก เป็นกฎหมายหลัก ๆ ในการดูแลเรื่อง ผู้ลี้ภัย แต่เราไม่สามารถใช้งานทางด้านความมั่นคงมาบริหารจัดการเกี่ยวข้องกับเรื่อง ผู้หนีภัยได้อย่างแน่นอน วันนี้คุณมานพก็ได้พูดอีกเรื่องครับ ขอประทานโทษที่ต้องเอ่ยนาม ท่านหลายครั้ง เราจะได้พูดเรื่องอย่างเดียวกันคือระเบียงมนุษยธรรม Humanitarian Corridor ที่ท่านมานพท่านได้พูดไว้ ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับระเบียงมนุษยธรรมที่จำเป็นจะต้องมีการเตรียม ความพร้อม ตอนนี้ที่ผมเรียนไปว่าจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ กว่าคนผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ ที่อยู่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ที่อยู่ในฝั่งเมียนมาพร้อมที่จะเข้ามาเสมอในประเทศไทย เราเห็นว่าหลังจากที่เกิดสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นมีคนลี้ภัยเข้ามาในไทย สิ่งที่ไทยทำ ได้ตามศักยภาพ ตามทรัพยากรที่เรามีคือให้เขาอยู่เป็นการชั่วคราวจริง ๆ เป็นเวลา เป็นวัน เป็นเดือน แล้วเราก็ส่งเขากลับไปประเทศต้นกำเนิดคือประเทศเมียนมา แล้วบอกว่า สถานการณ์ในเมียนมาดีแล้ว ดีขึ้น สามารถกลับไปได้ แต่จริง ๆ แล้วกลับได้ไหม ถ้าเป็นเรา เราหนีตายมาวัน ๒ วันแล้วเราจะเดินทางกลับไปนั้นผมคงไม่ไป แล้วผมก็เชื่อว่าเพื่อน ๆ สมาชิกก็คงจะไม่กลับเช่นกัน เราต้องคำนึงถึงบนหลักของมนุษยธรรม เราต้องคำนึงในหลัก สิทธิมนุษยชนว่าเราจะดูแลคนให้เหมือนคนได้อย่างไร เพราะฉะนั้น Humanitarian Corridor คือพื้นที่ที่จำเป็นจะต้องมีการระดมสรรพกำลัง มีการระดมทรัพยากรต่าง ๆ ในการ ให้การสนับสนุนทางด้านสิทธิมนุษยชนและงานมนุษยธรรม การทำงานมนุษยธรรมนี้ไม่ใช่ แค่เอาของไปให้ ไม่ใช่งานการกุศล งานมนุษยธรรม คือการทำงานให้คนที่ได้รับการช่วยเหลือ สามารถยืนด้วยขาตัวเอง สามารถพึ่งพิงตัวเอง ไม่ต้องพึ่งภาษีของพี่น้องประชาชนของคน ไทย ถ้าจะเอาผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่าเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเขาก็ต้องสามารถยืนด้วยขา ของตัวเองได้ ถ้าเขาไม่สามารถยืนด้วยขาของตัวเขาเองได้เขาจะเป็นภาระให้กับประเทศไทย มุมมองทางด้านเรื่องเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในประเทศไทย เราใช้เลนส์ในการมองเป็นแค่งาน ความมั่นคงเท่านั้น เพราะฉะนั้นผู้ลี้ภัยที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คือ Threat คือภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นนโยบายต่าง ๆ ที่ตอบสนอง ในการให้ความช่วยเหลือกับผู้ลี้ภัยจึงเป็นนโยบายเพียงแค่การตั้งรับ ไม่ใช่เชิงรุก Humanitarian Corridor นี้จะเป็นการระดมสรรพกำลังของทั้งองค์การระหว่างประเทศ ของทั้งประเทศผู้ให้ความสนับสนุนเรื่องสิทธิมนุษยชน เพื่อให้การสนับสนุนทาง ด้านมนุษยธรรมร่วมมือกัน มีกลุ่มภาคประชาสังคม มีกลุ่ม NGOs ทั้งต่างประเทศและ ภายในประเทศ มีกลุ่มภาคประชาสังคมที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ เขามีศักยภาพในการ ให้ความช่วยเหลือ เพียงแต่ว่ายังไม่มีความร่วมมือที่เรียก Coordinate เขาเรียกว่ากลุ่มคนที่ สามารถจะรวมตัวกันได้ และสามารถที่จะใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ตรงนั้นในการช่วยเหลือ มนุษยธรรมให้กับผู้ที่ต้องการได้อย่างแท้จริง Humanitarian Corridor นี้จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาว่าจะมีรูปแบบอย่างไร เราจำเป็น ต้องสร้างรูปแบบ Model ต่าง ๆ ให้ได้ในการดูแลผู้ลี้ภัย ผู้ลี้ภัยตามที่ท่านมานพได้พูดไป มีหลายกลุ่ม ในประเทศไทยการที่เราจะดูแลแค่ผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมานั้นมันจะ สร้างรูปแบบหรือสร้าง Model ในการดูแลกลุ่มผู้ลี้ภัยต่าง ๆ ที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ใช่แค่ ผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาที่เข้ามาในประเทศไทย ยังมีผู้ลี้ภัยที่เราเรียกว่าผู้ลี้ภัยในเมืองหรือว่า Urban Refugee ซึ่งมีอยู่ ๕,๐๐๐ กว่าคน และมาจากหลายประเทศ เรายังมีชาวอุยกูร์ที่ยัง อยู่ในห้องกักของ สตม. เรายังมีชาวโรฮิงญาที่ยังอยู่ล้นห้องกักและล้นห้องขังต่าง ๆ นานา ในประเทศไทย หากเราสามารถสร้าง Model ที่เกี่ยวข้อง หากสามารถสร้าง Model ที่ดูแล เรื่องผู้ลี้ภัยได้ในประเทศไทย เราจะสามารถดูแลบริหารจัดการผู้ลี้ภัยต่าง ๆ นานาได้ พอเรา ไปมองในเรื่องเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยที่อยู่ในบริเวณชายแดนทั้ง ๙ แห่ง เราเห็นครับว่าครั้งล่าสุดที่เรา พยายามจะสร้าง Model ก็คือเราเรียกว่า U-Turn Policy นโยบายในการ U-Turn คือให้คน ที่อยู่ในพื้นที่พักพิงทั้ง ๙ แห่งนี้เดินทางกลับประเทศต้นกำเนิดด้วยความสมัครใจ หลังจากนั้น ไปทำการพิสูจน์สัญชาติที่ประเทศต้นกำเนิด ได้รับบัตรอนุญาต ได้รับบัตรประชาชน ได้รับ Passport แล้วกลับมาทำงานในประเทศไทยได้ ผู้ลี้ภัยต่าง ๆ ที่อยู่ดังนี้แล้วมีความประสงค์ จะกลับมาเมืองไทยสามารถที่จะเข้ามาตาม U-Turn Policy เพียงแต่ว่าตอนนี้เขาไม่สามารถ เดินทางกลับประเทศเมียนมาได้ สถานการณ์ความไม่สงบรุนแรงเยอะ ถ้าเขากลับไปเขาก็โดน ประหัตประหาร ดังนั้นหากเราสามารถสร้าง Model ตรงนี้ได้คณะกรรมาธิการวิสามัญที่จะ มาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนในเรื่องเกี่ยวกับผู้หนีภัยหรือผู้ลี้ภัยที่มาจาก เมียนมานี้จะสามารถสร้างรูปแบบในการดูแลกลุ่มคนพวกนี้ ยกตัวอย่างเช่นการสร้าง One Stop Service การสร้างจุด ๆ หนึ่งที่เขาไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นกำเนิด ก็เขามา จากประเทศเมียนมาอยู่แล้ว ทำไมต้องให้เขาเดินทางกลับไปประเทศต้นกำเนิดโดยที่ตอนนี้ เขายังไม่สามารถกลับได้ เราสามารถสร้างรูปแบบได้ เราสามารถสร้างความร่วมมือระหว่าง ประเทศไทยกับประเทศเมียนมาในการพิสูจน์สัญชาติพวกเขาว่าเขาเป็นคนที่มาจากเมียนมา จริง ๆ ดังนั้นกรรมาธิการวิสามัญที่ผมได้เสนอญัตติตรงนี้ขึ้นไปจะทำการพิจารณารูปแบบ แนวทางการช่วยเหลือ การให้ความสนับสนุนทางด้านมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน มันเป็น งานที่มากกว่างานทางด้านความมั่นคง มันเป็นงานที่มากกว่างานทางด้านการต่างประเทศ มันเป็นงานที่มากกว่างานทางด้านเกี่ยวกับแรงงาน เพราะว่าเรื่องแรงงานนี้สำคัญนะครับ ก็ท่านประธาน เรื่องแรงงาน ๙๑,๐๐๐ กว่าคนนี้ถ้าเราไม่สามารถให้เขากลับไปประเทศต้น กำเนิดได้โดยสมัครใจ เราไม่สามารถให้เขาไปตั้งถิ่นฐานใหม่ประเทศที่สามได้ เขาต้องอยู่ ในประเทศไทย และเขาจะทำอะไรล่ะ ที่เขาจะได้ไม่เป็นภาระให้กับประเทศไทยอีก เขาก็ต้อง กลับมาทำงาน เขาต้องออกจากค่ายพื้นที่พักพิงผู้หนีภัยการสู้รบบริเวณชั่วคราวบริเวณ ชายแดนของไทย ออกมาทำงานให้เป็นแรงงานข้ามชาติที่สามารถทำงานได้ เสียภาษีอากร ให้กับประเทศไทย ร่วมกันพัฒนาชาติไทยต่อไปโดยการเสียภาษีอากร อันนี้เป็นสิ่งที่จะต้องมี ความคิด การศึกษา วิธี ว่าจะมีกฎหมายรูปแบบอะไรบ้าง ตอนนี้เรามีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้ง พ.ร.บ. ตรวจคนเข้าเมือง กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน ถ้าสมมุติว่า พ.ร.บ. ตรวจคนเข้าเมือง บอกว่าให้เขาอยู่เป็นการชั่วคราวได้ในประเทศไทยจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น แล้วเรา เปลี่ยนแปลงกฎกระทรวงของกระทรวงแรงงานให้เขาสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องตาม กฎหมาย เราจะเพิ่มศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้กับคนที่ไม่สามารถยืนด้วยขาตัวเองได้ ตอนนี้ เรามองเขาเป็น Threat เรามองเขาเป็นภัยคุกคาม อย่าไปมองครับ เรามองว่าคนทุกคนมี ศักยภาพเท่าเทียมกัน คนทุกคนสามารถเข้าร่วมกับพวกเรา ช่วยพัฒนาประเทศไทยผ่านการ ทำงานของเขา แต่การจะศึกษาพิจารณาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนนี้จำเป็น จะต้องทำงานข้ามกระทรวง จำเป็นต้องทำงานข้ามคณะกรรมาธิการสามัญต่าง ๆ ดังนั้นนี่จึง เป็นเหตุผลที่ผมได้เสนอญัตติในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาหาแนวทาง การบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา เพราะเนื่องจากว่า การบริหารจัดการงานทางด้านผู้ลี้ภัยมันมากกว่างานทางด้านความมั่นคง มันมากกว่า งานการต่างประเทศ มันมากกว่างานทางด้านสิทธิมนุษยชน มันเป็นส่วนรวม เพราะฉะนั้น นี่คือเหตุผลที่ผมขอเสนอครับท่านประธาน ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปเป็นผู้เสนอญัตติท่านสุดท้าย ขอเชิญท่านสรัสนันท์ อรรณนพพร ครับ

นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร ขอนแก่น ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพค่ะ ดิฉัน สรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต ๙ พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันในนามของพรรคเพื่อไทยขอร่วมเสนอญัตติต่อสภา ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยจากการสู้รบตามแนวชายแดน ไทย-เมียนมา ด้วยสาเหตุหลายประการดังนี้

นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร ขอนแก่น ต้นฉบับ

เห็นพ้องต้องกันกับท่านสมาชิกที่เสนอไปอีก ๒ ญัตติว่า สืบเนื่องจาก สถานการณ์ความไม่สงบของประเทศเมียนมาเกิดความรุนแรง เกิดการรบราฆ่าฟัน มีสงคราม กลางเมืองกันมาต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า ๔๐ ปี เพราะฉะนั้นมันส่งผลกระทบถึงประชาชน คนเมียนมาในทุกหย่อมหญ้า ที่ผ่านมามีการอพยพข้ามฝั่งมาที่ประเทศไทยเพื่อที่จะหลบภัย สงครามเป็นจำนวนมาก ประเทศไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านกับเมียนมามีดินแดนติดต่อกัน ถึง ๒,๒๐๐ กิโลเมตร หน้างานเพื่อรับมือกับประชากรที่หนีภัยสงครามเข้ามาตามชายแดน รัฐบาลไทยได้กรุณาให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่ผู้หลบภัย มีที่พักชั่วคราว มีอาหาร มียารักษา จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวตั้งแต่ปี ๒๕๒๗ เป็นต้นมาจนถึงทุกวันนี้ และ ยังคงต้องแบกภาระความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นความรุนแรงของสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ในเมียนมาตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันมีศูนย์ พักพิงชั่วคราวอยู่ ๙ แห่ง ๔ จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน ตาก ราชบุรี และกาญจนบุรี รองรับ ผู้หนีภัยเป็นจำนวนมากกว่า ๗๐,๐๐๐ ไปจนถึง ๑๐๐,๐๐๐ คน แล้วแต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ วันนั้น ๆ เนิ่นนานกว่า ๔๐ ปี ศูนย์พักพิงเหล่านี้มีผู้คนเข้าออกเป็นจำนวนมาก สะท้อนให้ เห็นว่าความรุนแรงจากประเทศต้นทางไม่ได้ลดลงเลย ซ้ำร้ายเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็มี การรัฐประหารเพิ่มขึ้นไปอีก มีแนวโน้มว่าสถานการณ์จะยังคงสืบเนื่องต่อไปโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งตอนนี้ที่มีการสู้รบกันอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าประเทศไทยให้การช่วยเหลือโดยรองรับ ผู้อพยพโดยชั่วคราวเท่านั้น จึงจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยแนวปกติ สากลที่ทำอยู่มีอยู่ ๓ หลัก แล้วรัฐบาลไทยก็มีความพยายามที่จะนำหลักปฏิบัติทั้ง ๓ อันนี้ เข้ามาช่วยเหลือผู้อพยพในกลุ่มดังกล่าว

นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร ขอนแก่น ต้นฉบับ

แนวทางแรก คือจะต้องส่งผู้หลบภัยไปสู่มาตุภูมิตามหลักมนุษยธรรม แล้วก็ ด้วยความสมัครใจ รวมไปถึงภายใต้ความปลอดภัยว่าส่งไปแล้วจะได้รับความปลอดภัยนั้น หรือไม่ ซึ่งเป็นบางส่วนเท่านั้นค่ะ ผู้อพยพบางส่วนมีเจตนารมณ์ที่จะกลับไปมาตุภูมิตัวเอง ค่อนข้างน้อยจากจัดสัดส่วนที่เรารับอยู่เป็นจำนวนมาก

นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร ขอนแก่น ต้นฉบับ

แนวทางที่ ๒ คือ Resettlement Program ก็คือการที่ทางราชการไทย รวมถึง UNHCR แล้วก็ NGOs ต่าง ๆ ร่วมมือกันเพื่อที่จะประสานประเทศที่สามให้รับ ผู้อพยพนี้ให้ไปเป็นผู้ลี้ภัยแล้วก็ตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรในประเทศนั้น ๆ เราจะเห็นหลาย ประเทศที่รับกลุ่มคนเหล่านี้ไป แล้วที่ผ่านมาเราก็ได้ส่งคนไปที่ประเทศที่สามเพื่อที่จะ ลี้ภัยกว่าแสนคน แต่ในขณะเดียวกันมันไม่สามารถรองรับจำนวนที่มากขึ้นในแต่ละวันได้เลย ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ประเทศที่สามที่รับผู้ลี้ภัยได้ปรับลดโควตาการรับผู้ลี้ภัยจากทวีป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงเป็นจำนวนมาก จึงทำให้การแก้ไขปัญหาแนวทางนี้เป็นไปได้ ด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะทุกวันนี้ที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะส่งไป

นางสาวสรัสนันท์ อรรณนพพร ขอนแก่น ต้นฉบับ

แนวทางที่ ๓ คือ Local Integration ก็คือการแก้ไขปัญหาโดยมีส่วนร่วม การปรับตัวกับประเทศที่พำนักอยู่ ณ ตอนนี้ก็คือประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกัน ทางประเทศไทยก็ยังไม่ได้มีแนวทางที่ชัดเจน แล้วก็ยังไม่ได้มีแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการ แก้ไขอย่างมีส่วนร่วม ขณะเดียวกันการช่วยเหลือต่าง ๆ ที่ผ่านมาเรามองว่างบประมาณ ที่ช่วยเหลือไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้หลบภัยที่เข้ามาเป็นจำนวนมากและอย่างต่อเนื่อง เงินบริจาคต่าง ๆ ที่มาจากองค์กรไม่ว่าจะเป็นจากทาง UN หรือว่าประเทศที่พัฒนาแล้วต่าง ๆ ผ่าน NGOs ๑๓ องค์กรมันมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันจำนวนผู้ลี้ภัย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดการขาดแคลน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการดำรงชีวิต ประจำวัน อาหารก็มีจำนวนลดลง แล้วก็รวมไปถึงการดูแลเรื่องสาธารณสุข เรื่องหยูกยา ต่าง ๆ รวมไปถึงการศึกษา เพราะฉะนั้นยังมีปัญหาต่าง ๆ อีกมากมายภายในค่ายพักพิงที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ๑. คือความยากจน ๒. ปัญหาสาธารณสุข ๓. ปัญหาเด็กไร้สัญชาติ หรือว่าจะเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ การเอารัดเอาเปรียบจากกลุ่มคนต่าง ๆ ที่ดูแลค่ายพักพิงเหล่านี้ สถานะทางกฎหมาย ที่เรียกว่า ผู้หลบหนีภัยสงคราม เราไม่สามารถใช้คำว่า ผู้ลี้ภัย ได้ เพราะว่าประเทศไทยไม่ได้ มีการเซ็นสนธิสัญญาในการร่วมที่จะช่วยเหลือดูแลผู้ลี้ภัย เพราะฉะนั้นกลุ่มคนเหล่านี้ เราเรียกว่า ผู้หลบภัยทางสงคราม ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ไม่สามารถออกจากค่ายพักพิงชั่วคราวได้ การที่ข้ามเส้นไปนั้นเขาจะเป็นคนที่ลักลอบเข้าเมืองทันที รวมไปถึงจะต้องถูกดำเนินคดี ตามกฎหมายในฐานะผู้ที่ลักลอบเข้ามา เพราะฉะนั้นการที่ถูกกักบริเวณไม่สามารถไปไหน มาไหนได้เป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งที่ทำให้คนที่อพยพมาอยู่ศูนย์พักพิงเหล่านี้ ไม่สามารถ ที่จะใช้ชีวิตอย่างปกติได้ ไม่สามารถทำมาหากินได้ ปัญหาเหล่านี้สั่งสมมากว่า ๔๐ ปี ปีนี้ เข้าปีที่ ๔๐ แล้ว ความช่วยเหลือทางด้านอาหาร ทางยา แล้วก็ที่พักพิงก็ยังคงไม่พอเพียงอยู่ดี กลุ่มคนเหล่านี้ต้องมีช่องทางในการสามารถช่วยเหลือตัวเองเพื่อลดภาระให้กับประเทศไทย รวมไปถึงองค์กรต่าง ๆ แต่ในวันนี้เรายังไม่มีการศึกษา ยังไม่มีการเอาจริงเอาจังที่จะหา แนวทางที่ชัดเจนอย่างยั่งยืน จึงมีความจำเป็นที่สภา รวมไปถึงรัฐบาลด้วยอาจจะต้องมา ร่วมกันถกเถียงเพื่อศึกษาร่วมกันหาทางออก มันจะเป็นประโยชน์มากสำหรับการทำงาน ของรัฐบาลค่ะ แล้วก็รวมไปถึงประชาชนคนไทยที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้ ที่สำคัญกว่านั้นคือ เรามีความจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องช่วยเพื่อนมนุษย์ที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก เพียงแค่เพราะว่าเขา เลือกประเทศที่จะเกิดไม่ได้ มีหลายความเห็นบอกว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะเปิดโอกาสให้ กลุ่มคนเหล่านี้โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวที่มีศักยภาพสามารถเป็นแรงงานได้หรือไม่ คนที่มี ความพร้อมอยู่แล้วเปิดโอกาสให้เขาทำมาหากินเป็นแรงงานช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยขณะนี้ประเทศไทยก็เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มันจะมีแนวทางไหนไหมที่จะสามารถปฏิบัติได้ โดยที่ไม่กระทบกับความมั่นคง แล้วก็อธิปไตยของประเทศไทย ดิฉันมองว่าแนวทางที่จะ สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการแบบมีส่วนร่วม ไม่ใช่ เป็นการที่รัฐบาลหรือว่าผู้มีอำนาจสั่งงานลงมาอย่างเดียว ต้องรับฟังเพื่อที่จะมีแนวทางไป แก้ไขปัญหาต่อไปค่ะ จากการสู้รบของประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นต้นตอของปัญหานี้ ดิฉันมองว่า ประเทศไทยที่ผ่านมาได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วก็ปัญหาเรื่องศูนย์พักพิงที่เรา กำลังถกกำลังพิจารณาเหล่านี้เป็นหนึ่งในปัญหาปลายทางเท่านั้น นอกจากที่จะช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยสงครามแล้ว การระงับยับยั้งสงครามในประเทศเมียนมานำมาซึ่งสันติสุขนี้จึงเป็น เป้าหมายสูงสุดของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศไทยรวมไปถึง ASEAN ก็ให้ ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นภายใต้รัฐบาลใหม่ดิฉันก็เชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาล แล้วก็เล็งเห็นว่าทางรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ดิฉันเห็นสมควรว่าสภาชุดนี้รวมไปถึง สิ่งที่เพื่อนสมาชิกทุกคนกำลังพิจารณาจะให้ความเห็นชอบในการศึกษาพิจารณาแนวทาง และนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เพื่อสุดท้ายแล้วเราจะมีทางออกที่ดีที่สุด ได้สำหรับทุกภาคส่วน เพราะฉะนั้นไม่ว่ามติของสภาจะออกมาในลักษณะไหน ไม่ว่าจะมา ด้วยกลไกรูปแบบไหนเพื่อที่จะถกหาข้อสรุปแล้วก็แนวทางนโยบายต่าง ๆ ที่จะนำมาซึ่ง ผลสำเร็จได้ก็ขออนุญาตให้ท่านสมาชิกเห็นชอบในการลงมติครั้งนี้ด้วย กราบขอบพระคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ทางผู้เสนอญัตติทั้ง ๓ ญัตติก็ได้แถลงหลักการและเหตุผลเรียบร้อยแล้วนะครับ แล้วจากการประสานงานของวิปก็คือจะหยุดการอภิปรายไว้เพียงเท่านี้ก่อน แล้วก็สมาชิก ที่มาลงชื่อก็จะเริ่มต้นอภิปรายในวันพรุ่งนี้ ทีนี้ได้รับการประสานจากทางวิปรัฐบาลจะมี การแก้ไขชื่อกรรมาธิการวิสามัญใช่ไหมครับ เรียนเชิญเลยครับ

นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดเชียงราย ขออนุญาตแก้ไขรายชื่อกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการ เพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... ในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรี โดยจะขอเสนอชื่อ นายสุวิทย์ มังคละแทน นายไพฑูรย์ มหาพัณณาภรณ์ ค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอเชิญผู้รับรองด้วยครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ผู้รับรองถูกต้อง เป็นการแก้ไขรายชื่อนะครับ ที่ประชุมครับ การประชุมของวันนี้มีวาระ เพียงเท่านี้ มีท่านใดจะเสนออะไรเพิ่มเติมไหมครับ ไม่มี ผมขอปิดการประชุม พบกันพรุ่งนี้ครับ