นายศักดิ์ ซารัมย์

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดิ์ ซารัมย์ พรรคภูมิใจไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ เขตพื้นที่ อำเภอลำปลายมาศ อำเภอหนองหงส์ มีอยู่ ๓ ตำบล ตำบลไทยสามัคคี ตำบลเสาเดียว ตำบลสระทอง และอำเภอคูเมือง ตำบลเกาะสำราญ จากการที่กระผมได้พบปะพี่น้อง ประชาชนแล้วก็พบข้อปัญหาหลายเรื่องที่จะต้องมานำเรียนท่านประธานสภาเพื่อจัดการ แก้ปัญหา

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก เรื่องเอกสารสิทธิที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ อำเภอลำปลายมาศ โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลแสดงแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศเป็นพื้นที่ การเกษตร ส่วนมากแล้วประชาชนยังไม่มีที่ทำกิน ส่วนมีที่ทำกินแล้วก็จะมีเอกสารสิทธิที่ดิน แต่สิ่งหนึ่งที่ยังมีอยู่คือในพื้นที่นั้นยังมีคอกทำเลเลี้ยงสัตว์ที่ประชาชนเข้าไปจับจองที่ดิน ที่ทำกินมาช้านาน แต่ยังไม่สามารถที่จะออกเอกสารสิทธิที่ดินได้ ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวนั้นเป็น คอกทำเลเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่ และมีประชาชนเข้าไปอยู่ในพื้นที่ประมาณ ๕๐๐ ครัวเรือน ซึ่งไม่สามารถที่จะออกเอกสารสิทธิได้ ฉะนั้นในวันนี้ถ้าหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นกรมที่ดินสามารถใช้กลไกของรัฐ ใช้ข้อกฎหมายเข้าไปสำรวจตรวจสอบ เพื่อที่ จะออกเอกสารสิทธิที่ดินให้ประชาชน ก็จะถือว่าเป็นเรื่องที่สมควรที่จะออกให้

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องสุดท้าย เรื่องการจัดการปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันมีโรงเรียนขนาดเล็กอยู่ ๖,๐๐๐ กว่าโรง โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอลำปลายมาศ อำเภอหนองหงส์ อำเภอคูเมือง อำเภอบ้านใหม่ อำเภอนาโพธิ์ อำเภอพุทไธสง ซึ่งมีโรงเรียนขนาดเล็กอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะที่อำเภอ ลำปลายมาศมีโรงเรียนขนาดเล็กอยู่ ๕๐ กว่าโรงเรียน ซึ่งมีจำนวนนักเรียน ๑๒๐ คนลงมา แต่ในจำนวน ๕๐ โรงเรียนนั้นไม่มีผู้บริหารโรงเรียนอยู่ ๑๙ โรงเรียน ฉะนั้นความยุ่งยาก ในการบริหารโรงเรียนนั้นมีปัญหาล่าช้า ก็เรียนฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะทำอย่างไร จะแก้ไขปัญหาอย่างไร จะยุบรวมหรือจะสร้างเครือข่ายเพื่อแก้ปัญหาให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบันมีปัญหามาก โดยเฉพาะครูโดยเฉลี่ยแล้วโรงเรียนละ ๔ คนต่อโรงเรียน ฉะนั้น ในการแก้ปัญหานั้นล่าช้ามาก เช่นครูสอนอยู่ทุกชั้นเรียน ไม่ว่าจะเป็นชั้นอนุบาล ไม่ว่าจะเป็น ชั้นประถมศึกษา ครู ๔ คนสอนอยู่ ๔ ชั้นเรียน ทำทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นอาหารกลางวัน ไม่ว่าจะเป็นข้อราชการ หรือเป็นครูใหญ่ก็ได้เป็น ฉะนั้นปัญหามันเกิดขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะ ในเรื่องของงบประมาณที่ได้จัดทำขึ้นงบประมาณน้อยมาก โรงเรียนขนาดเล็กควรจะมี การจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอาหารกลางวัน ๒๗ บาทต่อหัวต่อวัน บางโรงเรียน โดยเฉพาะ ผมขอยกตัวอย่าง โรงเรียนบ้านหนองซอแซในพื้นที่อำเภอลำปลายมาศมีนักเรียน ๔๖ คน ฉะนั้นวันหนึ่งได้รับ อาหารกลางวันเพียง ๑,๒๐๐ บาทน้อยมาก และเงินอุดหนุนรายหัวที่ได้รับจัดสรรแต่ละปี ปีหนึ่ง ๓๖๕ วันได้รับจัดสรรงบประมาณจากทางราชการนักเรียน ๔๖ คน หัวละ ๑,๗๐๐ บาท ๑,๘๐๐ บาท โดยเฉลี่ยแล้วก็วันละ ๙ บาท ใน ๑ ปีการศึกษา หรือ ๒ ปีการศึกษานี้นักเรียน ๔๖ คนได้รับงบประมาณไปแค่ ๘๐,๐๐๐ กว่าบาททั้งปี ฉะนั้นในการบริหารโรงเรียนนั้น ถ้าขาดงบประมาณไปแล้วไม่สามารถที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ ฉะนั้นวันนี้ก็ขอนำปัญหา ด้านการศึกษามาเรียนท่านประธานครับ กราบขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดิ์ ซารัมย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคภูมิใจไทย จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในพื้นที่อำเภอ คูเมือง อำเภอลำปลายมาศ และอำเภอหนองหงส์ วันนี้มีเรื่องหารือท่านประธานอยู่ ๒ เรื่อง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรกก็คือเรื่องประตูระบายที่กันท่าชนะ ชำรุด ไม่สามารถที่จะเก็บกักน้ำได้ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของลำน้ำมาศ ซึ่งฝายน้ำล้นแห่งนี้ มีประชาชนที่รับผิดชอบอยู่หลายตำบล ไม่ว่าจะเป็นตำบลโคกกลาง ตำบลหนองโดนและ ตำบลบ้านยาง ซึ่งประชาชนส่วนมากแล้วทำการเกษตร ทำไร่ทำนาหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยว แล้วชาวบ้านไปปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อทำอาชีพเสริม และขณะนี้น้ำแห้งขอด ฝายน้ำล้น ไม่สามารถที่จะเก็บกักน้ำได้ จึงขอเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรม ชลประทาน หรือหน่วยงานอื่นที่มีความรับผิดชอบได้เข้าไปตรวจสอบซ่อมแซมฝายน้ำล้นที่ กระผมได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งมีความเดือดร้อนของประชาชนเป็นจำนวนมาก

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ครับเรื่องโรงพยาบาลหนองหงส์ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ซึ่งเป็น การรองรับการแก้ปัญหาในการใช้น้ำดิบในการแก้ปัญหา โรงพยาบาลหนองหงส์มีพื้นที่ทั้ง ๗ ตำบล ซึ่งเป็นพื้นที่ของกระผม แล้วก็พื้นที่ของท่าน สส. พรชัย ศรีสุริยันโยธิน ซึ่งขาดแคลนน้ำดิบในการหล่อเลี้ยงโรงพยาบาล ประชากรที่จะเข้ารับการรักษาดูแลพื้นที่นั้น ประมาณ ๕๐,๐๐๐ กว่าคน แล้วก็วัน ๆ หนึ่ง ที่คนป่วยที่เข้าไปดูแลรักษา รักษา ในโรงพยาบาลนั้นประมาณ วันละ ๔๐๐ คน ผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่พักนอนนั้นประมาณ วันละ ๔๐-๕๐ คน ปริมาณการใช้น้ำแต่ละวันเกือบ ๑๐๐,๐๐๐ ลิตรนะครับ ฉะนั้น หลักการ ในการบริหารจัดการน้ำวันนี้ขาดแคลน เนื่องจากฤดูแล้งจึงขอเรียนไปยังหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมชลประทาน หรือแม้แต่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้เข้าไปสำรวจ ตรวจสอบเพื่อวางแผนการจัดหาน้ำที่จะต้องจัดทำรองรับผลิตน้ำสะอาดให้ดีขึ้นครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม