นางสาวจุฬาลักษณ์ ขันสุธรรม

  • ในพื้นที่ของดิฉันที่ดูแลอยู่ ก็คืออำเภอแม่สาย ขอยกตัวอย่าง ๑ อำเภอนี้ซึ่งมีปัญหาหมอกควัน PM2.5 ถ้าทุกท่าน เห็นภาพนี้แล้วท่านจะเห็นได้ว่ามันเป็นภาพที่มัวอย่างนี้ตลอด แล้วเป็นภาพที่ชัดเจนในความ เป็นจริงด้วยนะคะ ภาพถ่ายเมื่อประมาณ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ค่าสูงสุดของฝุ่นควัน ที่นั่นอยู่ที่ ๗๗๐ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกท่านจะฟังไม่ผิดนะคะ อยู่ที่ ๗๗๐ ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร แล้วก็จะอยู่ที่ระหว่างนี้จนถึง ๘๐๐ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็น ระยะเวลาถึง ๙๐ วันในเขตพื้นที่อำเภอแม่สาย ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้นดิฉันได้มีโอกาส ได้ลงพื้นที่แล้วก็ได้เข้าไปดูในสถานที่ คือก็เป็นหนึ่งในผู้ประสบภัยด้วยที่จะต้องสูดลมอากาศ อย่างนี้เป็นระยะเวลายาวนาน เป็นปัญหาของพ่อแม่พี่น้องประชาชนเป็นระยะเวลาเกือบ ๑๐ ปีมาแล้ว ซึ่งไม่มีใครที่จะสะท้อน หรือแม้กระทั่งเสียงของเขาเองที่สะท้อนไปถึง หน่วยงานภาครัฐ โดยที่มีกลุ่มภาคประชาชนหรือว่ากลุ่มภาคเอกชนได้ออกมาเรียกร้องว่า เขาทำป้าย Vinyl กันเองว่า ชาวแม่สายไม่ไหวแล้ว PM2.5 อันตรายมาก ๆ ไป จนถึงว่าอยาก ให้มีการ Pray for Maesai นะคะ จากข้อมูลทั้งหมด และเพื่อนสมาชิกของดิฉันได้อภิปราย ไปแล้วเกี่ยวกับที่มาของหมอกควัน PM2.5 ว่าเกิดจากอะไรบ้าง แล้วก็มีข้อมูลที่สนับสนุน หลากหลาย โดยเฉพาะพื้นที่ของดิฉันเป็นพื้นที่ชายแดนทางด้านเหนือเลย ก็จะติดกับ ประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด จากข้อมูลในทุก ๆ ภาคส่วนก็จะระบุไว้ว่าจะเป็นเรื่องของ หมอกควันข้ามแดนมาที่ภาคเหนือได้รับผลกระทบอย่างหนัก มีความสัมพันธ์อย่างเป็น นัยสำคัญระหว่างพื้นที่เพาะปลูกภาคเกษตรทางเขตพื้นที่ของประเทศเพื่อนบ้าน แล้วก็ การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยที่มีประกาศกระทรวงของกระทรวงพาณิชย์กำหนดว่าไม่เสีย ภาษีในการนำเข้า ภาษีในการนำเข้าอยู่ที่ ๐ บาท ก็เป็นการเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่าง พื้นที่เพาะปลูกที่มีเพิ่มมากขึ้นและมีผลผลิตการนำเข้าที่เชื่อมโยงกัน อันนี้เป็นจุดความร้อน ที่อยู่บริเวณล้อมรอบพื้นที่ประเทศไทยของเรา โดยเฉพาะภาคเหนือซึ่งมีจุดความร้อนที่สีเข้ม มาก ๆ ส่วนตัวของดิฉันก็มีโอกาสได้ร่วมกันกับพ่อแม่พี่น้องภาคประชาชนแล้วก็ภาคประชาสังคม ในพื้นที่อำเภอแม่สาย อย่างที่ดิฉันกล่าวเรียนไปแล้วว่าพ่อแม่พี่น้องที่นั่นพยายามที่จะ ส่งเสียงของเขาว่าขอความช่วยเหลือด้วย ขอการแก้ไขด้วย มีหนังสือไปถึงหน่วยงาน ทางกรมการปกครองเพื่อจะมีหนังสือไปถึงจังหวัดเพื่อให้ประกาศภัยพิบัติก็ได้ เพราะว่า ถึงแม้สภาพอากาศแบบนี้ก็ไม่น่าจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวแล้ว เขาก็ยินดีที่จะประกาศเป็น เขตภัยพิบัติ แล้วก็อาจจะเสียหายในเชิงของภาคเศรษฐกิจนะคะ ดิฉันก็มีโอกาสได้ลงพื้นที่ แล้วก็ไปบริเวณลานหน้าอำเภอแม่สายเลย ก็มีหน่วยหน่วยงานภาคประชาสังคม ภาคประชาชนก็มาเรียกร้อง และหลังจากนั้นเราก็จัดตั้งกลุ่มในการที่จะเสวนาร่วมกัน กู้ลมหายใจชาวแม่สาย-เชียงราย ร่วมกันกับท้องถิ่นในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและจับประเด็นนี้ ตลอด เราก็เชิญหน่วยงานที่ดูแลในพื้นที่ป่า หน่วยงานดับไฟ อปท. ท้องถิ่นต่าง ๆ รับฟัง ความคิดเห็นจากพ่อแม่พี่น้องในพื้นที่แล้วก็หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ ได้รับฟัง ข้อเสนอด้วย แล้วครั้งสุดท้ายล่าสุดที่เราได้จัดเวทีเสวนาในระดับจังหวัดเราก็ให้พี่น้องในภาค ประชาชนและภาคสังคมได้นำเสนอเป็นข้อเสนอมายังพรรคก้าวไกล แล้วหลังจากนั้นดิฉัน แล้วก็เพื่อนสมาชิกหลาย ๆ ท่านก็ขับเคลื่อนอออกมาเป็นรูปแบบของพระราชบัญญัติฝุ่นพิษ แล้วก็การก่อมลพิษข้ามพรมแดน ซึ่งมีรายละเอียดอย่างชัดเจนในร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้นะคะ อันนี้คือที่มาทั้งหมดของการที่ทำไมดิฉันถึงรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับพ่อแม่พี่น้อง ในเขตพื้นที่ของดิฉัน เพราะว่าอย่างน้อยเราได้เห็นแสงสว่างเพียงเล็กน้อยในตอนนี้ว่าเริ่มมี การขับเคลื่อนแล้ว และเริ่มมีกฎหมายที่จะมารองรับแล้ว แต่สิ่งที่ดิฉันอยากจะฝากเป็น เหมือนข้อกังวลและเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับเนื้อหาในข้อกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นร่าง พ.ร.บ. ของรัฐบาลหรือว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติของทางพรรคก้าวไกล หรือว่าในส่วนใด ดิฉัน อยากให้มีการตรวจสอบย้อนหลังเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ควรจะมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แห่งชาติตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะกรรมการกำกับ ตรวจสอบฝุ่นพิษและก่อมลพิษข้ามแดนประจำจังหวัด ให้ทำรายงานผลการดำเนินงานต่อ สภาผู้แทนราษฎรด้วย เพราะว่าไม่เพียงแต่เรารอให้เกิดสถานการณ์ปัญหาขึ้นแล้วมี การตรวจสอบย้อนหลัง ก็คือมันเป็นวิธีการที่มีเหตุเกิดแล้วและมีการตรวจสอบย้อนหลัง ก็ต้องตกเป็นภาระของพ่อแม่พี่น้องประชาชนที่จะต้องเรียกร้องสิทธิของตัวเองเพื่อได้รับ การเยียวยาต่าง ๆ ตามขั้นตอน แต่การมีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมหรือคณะกรรมการกำกับ ตรวจสอบฝุ่นพิษเพื่อที่จะติดตามและรายงานผลการดำเนินงานต่อสภาอยู่เสมอ ๆ จะเป็น การป้องกันและเป็นวิธีการที่จะตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานต่าง ๆ และจะทำให้ หมอกควันลดลงได้ในที่สุด ดิฉันขอฝากข้อกังวลนี้และนำเสนอไปยังคณะกรรมาธิการที่กำลัง จะจัดตั้งขึ้นด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน จุฬาลักษณ์ ขันสุธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย อำเภอแม่สาย อำเภอแม่ฟ้าหลวง แล้วก็อำเภอแม่จัน ๑๐ ตำบล พรรคก้าวไกลค่ะ

    อ่านในการประชุม

  • วันนี้ดิฉันขอมีส่วนร่วม ในการอภิปรายการเสนอญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ หรือว่า NEC ท่านประธานคะ ดิฉันเป็น ตัวแทนของพ่อแม่พี่น้องจากอำเภอแม่สาย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจ พิเศษแล้วเมื่อปี ๒๕๕๘ แล้วก็ในการอภิปรายในเวลานี้ก็จะมีโอกาสพูดถึงผลกระทบการถอด บทเรียนถึงพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเรียบร้อยแล้วว่า เกิดผลกระทบ อะไรในพื้นที่บ้างเพื่อจะเป็นเหมือนข้อเสนอแนะ หรือข้อสังเกตให้กับกรรมาธิการที่กำลัง จะศึกษาเรื่องนี้ต่อไปนะคะ ซึ่งก่อนอื่นดิฉันต้องขออธิบายผ่านท่านประธานไปถึงพ่อแม่พี่น้อง ทางบ้านของดิฉันก่อนนะคะว่า หลักการและความเป็นมาแล้วก็วัตถุประสงค์ในการกำหนด พื้นที่ใดให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษว่า เป็นเพราะอะไรหรือเป็นมาอย่างไร ซึ่งในการ กำหนดพื้นที่ใดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นกรอบความร่วมมือของกลุ่มประเทศที่มีที่ตั้ง ของประเทศเขตกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง ๖ ประเทศ ก็คือไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม แล้วก็จีนมณฑลยูนนาน เพื่อจะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพื่อกระจายความเจริญ การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของ ประชาชน และเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ทั้งในประเทศและประเทศภูมิภาค ซึ่งโดยหลักการตรงนี้ต้องได้รับความร่วมมือทั้งหมดในการดำเนินการ แล้วก็ได้รับการ สนับสนุนจากทุกฝ่ายเพื่อจะพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไปด้วยกันนะคะ ซึ่งในแผนพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ หรือ NEC ใน ๔ จังหวัดด้วยกัน ก็คือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง อันนี้เป็นแผนที่จะเกิดการพัฒนาเกิดขึ้น ก็คือมาพัฒนา Creative Ecosystem ให้เอื้อต่อการเป็นเมืองสร้างสรรค์ พัฒนาสินค้า และบริการสร้างสรรค์ สร้าง Brand และส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ พัฒนา ด้านการศึกษาและวิจัยและบุคลากรด้านสร้างสรรค์ ซึ่งถ้าเรามองจากภาพรวมแล้ว เราเห็น ถึงแผนแล้วก็ทิศทางที่ดีมาก ๆ ถึงการที่จะเห็นการพัฒนาในเศรษฐกิจด้านเหล่านี้ และเป็น ความท้าทายมาก ๆ แล้วก็เป็นความหวังของพ่อแม่พี่น้องประชาชนด้วยว่าจะเห็นสิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นในพื้นที่ของตัวเอง แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้นค่ะท่านประธาน ดิฉันมีสิ่งหนึ่งที่อยากจะ พาเพื่อนสมาชิกทุกท่านรวมถึงท่านประธาน และพ่อแม่พี่น้องทางบ้านได้ย้อนกลับไปดูถึง บทเรียนเมื่อครั้งที่ประเทศของเราได้มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับแรก เมื่อปี ๒๕๐๓ ซึ่งได้ประกาศใช้ในระหว่างปี ๒๕๐๔ จนถึงปี ๒๕๐๙ ซึ่งยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในตอนนั้นก็ได้กำหนดไว้ โดยหลักคิด ที่บอกว่า น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดีมีงานทำ บำรุงความสะอาด ซึ่งอันนี้ต้องบอกว่าเป็น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับแรก ๆ ปี ๒๕๐๔ มา และปัจจุบันนี้ ประเทศเราก็มาถึงฉบับที่ ๑๓ แล้ว ซึ่งทำให้เห็นว่าตลอดระยะเวลา ๖๐ ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ ปี ๒๕๐๔-๒๕๖๗ ประเทศไทยเราประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาแล้ว ถึง ๑๒ ฉบับ แม้ว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจ ประชาชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นบ้าง แต่ผลที่กระทบกลับทำให้เกิดช่องว่างเรื่องรายได้ แล้วก็ทรัพย์สิน ระหว่างชนชั้น ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่จะกำหนดทิศทางเศรษฐกิจด้วยตัวเอง ในพื้นที่ของเขา มีแต่คำสั่งที่สั่งลงมาจากข้างบนลงล่างที่ไม่ได้สนใจประชาชนว่าเขาจะได้รับ ผลกระทบอะไรผ่านการพัฒนาพื้นที่ของตัวเอง และเราก็พบว่ายุทธศาสตร์แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับแรกและจนถึงปัจจุบัน เราก็ยังเห็นว่ายุทธศาสตร์นี้ ก็ยังไม่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่จริง ๆ เรายังเห็นถึงการยังไม่ได้แก้ไขในเรื่องน้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ หรือว่าบำรุงความสะอาดได้อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ แต่ว่าในสิ่งที่ดิฉันร่วม อภิปรายในช่วงเวลานี้ก็คือว่า ไม่ใช่ว่าดิฉันไม่เห็นด้วยกับญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอเพื่อจะ เห็นการพัฒนาในอนาคตต่อไป แต่ว่าดิฉันอยากจะมานำเสนอหรือว่าข้อสังเกตว่าพื้นที่ที่มี การถูกตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแล้วเกิดผลกระทบอะไรบ้างในพื้นที่นะคะ ซึ่งดิฉันก็จะขอยกตัวอย่างสภาพปัญหาในพื้นที่อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน แล้วก็ อำเภอเชียงของ ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงรายนะคะว่า เมื่อเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแล้ว เกิดปัญหาอะไร ยกตัวอย่างอย่างเช่นอำเภอแม่สายค่ะ อำเภอแม่สายถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ ที่พัฒนาด่านชายแดนเพื่อจะรองรับการค้าและการท่องเที่ยว และพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขต อุตสาหกรรม ในอำเภอแม่สายกำหนดหมู่บ้านแม่น้ำจำ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๑๑ แล้วก็บ้านจ้อง หมู่ที่ ๑ ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย พื้นที่ ๓ แปลงที่ติดกับถนนพหลโยธิน พื้นที่เนื้อที่ ทั้งหมด ๗๐๐ กว่าไร่ถูกกำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรม ซึ่งพื้นที่ตรงนี้เดิมทีเป็นพื้นที่ เพาะปลูกของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ แล้วกลุ่มผู้ผลิตยาสูบนี้ก็สร้างรายได้ดูแลครัวเรือน และครอบครัวของเขาถึง ๑,๒๐๐ ครัวเรือน เขาจะต้องเสียสละที่ดินตรงนี้เพื่อยกให้กับรัฐ ในการที่จะเป็นพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรมที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทำให้ชาวบ้านกลุ่มนี้ ขาดรายได้ในการเลี้ยงดูตัวเองแล้วก็ครอบครัว และแถมยังไม่ได้ค่าเวนคืนที่เป็นธรรมแล้วก็ เหมาะสมสำหรับเขา อันนี้คือหนึ่งปัญหาในพื้นที่อำเภอแม่สาย และอำเภอเชียงแสนก็เป็น ลักษณะเดียวกันอย่างนี้นะคะ ไปถึงที่อำเภอเชียงของ พี่น้องชุมชนท้องถิ่นตำบลบุญเรือง ซึ่งเขาได้ดูแล แล้วก็ร่วมกันรักษาอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งน้ำพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ ๓,๐๐๐ กว่าไร่ แต่ ปรากฏว่าเมื่อถูกประกาศเป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษแล้ว พื้นที่ตรงนี้กลับกลายเป็นพื้นที่ ที่จะเป็นนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งชาวบ้านก็หมดสิทธิในการที่จะเข้าไปมีอำนาจเข้าไปใช้ เข้าไป ดูแล หรือมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พื้นที่แหล่งน้ำตรงนี้เลย อันนี้ก็เป็นผลกระทบอย่างหนึ่ง หลังจากที่มีการประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษ เราจะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดปัญหาแบบนี้แล้ว ชาวบ้านกลับเป็นคนที่ได้รับผลกระทบ เขากลับเป็นคนต้องสละทั้งที่ดิน ต้องเสียสละทั้ง อัตลักษณ์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ดั้งเดิมของเขาที่เป็นอยู่ตลอดมา เพราะมีโครงการ หรือว่ามีโครงการใหญ่ ๆ เกิดขึ้นในพื้นที่ของเขา ซึ่งเขาไม่ได้รับผลประโยชน์อะไรเลย เพราะฉะนั้นดิฉันจึงอยากจะนำเสนอไปยังกรรมาธิการที่จะจัดตั้งขึ้น ที่จะศึกษาในเรื่องนี้ อย่างละเอียด เพราะว่าเราตั้งใจที่อยากจะให้ประชาชนได้รับประโยชน์และมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่สิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้นตอบโจทย์ถึงสิ่งที่เราตั้งใจนั้นหรือเปล่า ดิฉันขอฝากท่านประธาน เพียงเท่านี้ค่ะ ขอบพระคุณค่ะท่านประธาน

    อ่านในการประชุม