นายวุฒิพงศ์ ทองเหลา

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม วุฒิพงษ์ ทองเหลา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี พรรคก้าวไกล ในวันนี้ผมจะขอ ร่วมอภิปรายในญัตติเพื่อสนับสนุนการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบ El Nino การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่กำลังมีผลกระทบอย่างรุนแรง ผมต้อง ขอขอบคุณท่านประธานที่ให้โอกาสได้อภิปรายหลังจากปิดรายชื่อไปแล้ว ซึ่งในประเด็น ของผมที่จะอภิปรายในครั้งนี้ ผมนั่งฟังเพื่อนสมาชิกหลายท่านพูด บางท่านพูดถึงแต่ยังไม่มี การลงรายละเอียด ผมจึงสรุปแยกย่อยมาให้ประชาชนได้เข้าใจและเห็นเป็นรูปธรรมว่า สภาพปัญหาของ El Nino ซึ่งอยู่ใกล้เราในขณะนี้มันใกล้กับเรามากแค่ไหน ขอ Slide ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ประเทศเรา ในปัจจุบันนี้ที่ผมจะพูดถึงคือเรามีแม่น้ำหลายสายที่ไหลมาบรรจบกันจนเกิดเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ ที่เราเรียกเป็นกลุ่มชื่อลุ่มน้ำย่อยทั้งหมดในประเทศเราตอนนี้มีประมาณ ๒๒ ลุ่มน้ำ ซึ่งผม ขอยกตัวอย่างหรือโฟกัสยกสภาพปัญหาให้เห็นชัดคือลุ่มน้ำบางปะกงที่มีจังหวัดคาบเกี่ยว ถึง ๖ จังหวัด จากสภาพผลกระทบในเรื่องนี้เอง ในตัวนี้ไม่ใช่แผนที่จังหวัด แต่เป็นแผนที่น้ำ ของลุ่มน้ำบางปะกง ซึ่งลุ่มน้ำบางปะกงจะประกอบไปด้วยจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัด นครนายก จังหวัดสระแก้ว จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเราจะเห็น เส้นสายน้ำจากอ่างเก็บน้ำพระปรงที่จังหวัดสระแก้ว เราจะเห็นแควหนุมานที่ปราจีนบุรี อยู่ทางทิศด้านบน อ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึงจากจังหวัดจันทบุรี ไหลรวมตามแนว Contour ของพื้นที่ภูมิประเทศที่เป็นอุทยาน ไหลรวมผ่านจังหวัดปราจีนบุรีที่เป็นสีฟ้าอยู่ตอนกลาง เราจะเห็นภาพนี้ว่าด้านบนสีเขียว ทางมุมซ้ายมือจะเป็นจังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นแม่น้ำนครนายกไหลมารวมเป็นตัว Y ในจุดสีแดงที่เป็นตัว B เราจะเห็นระยะทางจากปากอ่าวไทย ซึ่งพอพ้นช่วงจากจังหวัด ปราจีนบุรีและจังหวัดนครนายกที่ไหลมาบรรจบกันแล้ว เราจะเห็นว่าหลังจากเส้นนี้เอง เรียกว่าแม่น้ำบางปะกง เราจะเห็นจากจุด A ไปจุด B ในระยะทางรัศมีประมาณ ๗๘ กิโลเมตร เส้นทางนี้มีปัญหาครับท่านประธาน ปัญหาที่ผมจะกล่าวคือในลุ่มน้ำบางปะกง จากภาพนี้เราเห็นเพียงว่าเป็นแม่น้ำสายหลักของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก แต่เพียงเท่านั้น แต่ที่ผ่านมายังหมายถึงประชาชนตลอดลุ่มน้ำที่พี่น้องเกษตรกร ๒ ฝั่งแม่น้ำ ได้รับผลกระทบเช่นกัน นั่นคือภัยพิบัติจากปัญหาน้ำทะเลหนุน จากภาพนี้จะเห็นว่า จากจุด A จนถึงจุด B ที่เป็นลูกศรทางด้านซ้ายมือเป็นระยะทาง ๗๘ กิโลเมตร แต่จุด B นั้น คือจังหวัดปราจีนบุรี หลายท่านไม่ทราบว่าในจังหวัดปราจีนบุรีเองมีน้ำทะเลหนุนไปถึงแล้ว ในจุด B เองจังหวัดปราจีนบุรีมีแมงกะพรุนด้วย จากภาพนี้ที่ผมกล่าวไว้เมื่อสักครู่นี้เราจะ เห็นว่าค่าของน้ำเค็ม ความจริงผมไม่อยากลงรายละเอียดในเรื่องของข้อมูลเชิงเทคนิคเยอะ ที่เป็นกราฟหรือเป็นตัวเลข แต่อธิบายง่าย ๆ อย่างนี้ครับ ค่าตัว PPT คือค่าตัว Part Per Thousand เป็นหน่วยย่อยที่เรียกกรัมต่อลิตรของค่าความเค็ม เราแบ่งระดับน้ำเป็น ค่าความเค็มได้ ๓ ระดับ ๑. คือน้ำทะเล ๒. คือน้ำเค็ม ๓. คือน้ำกร่อย แล้วก็ ๔. คือน้ำจืด ที่เราอุปโภคบริโภค น้ำจืดที่เราอุปโภคบริโภคและใช้ทางการเกษตรคือต้องมีค่าน้อยกว่า ๐.๕ พีพีที ค่าน้ำกร่อยคือค่าที่มีค่าตั้งแต่ ๐.๕-๕ พีพีที แต่เชื่อไหมครับว่าในแม่น้ำบางปะกง หรือในจุด B ที่ผมให้ดูใน Slide ก่อนหน้านี้ มีค่าความเค็มสูงจนชาวนาในพื้นที่ไม่สามารถ นำน้ำไปใช้ทางการเกษตรได้แล้ว ในบางปีค่าความเค็มเพิ่มขึ้นสูงจนถึง ๓๔.๘ พีพีที ซึ่งข้อมูลนี้มีเพียงสำนักงานเดียวที่ผมเห็นว่าทำข้อมูลในเรื่องนี้ ก็ขอให้เครดิตสำนักงาน สิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑๓ จังหวัดชลบุรี ผมอยากจะเรียนอย่างนี้ว่าเรื่องของตัวค่าความเค็มนี้ มีข้อมูลและมีความสำคัญมาก เพราะเนื่องจากทางปากทางหรือว่าปากอ่าวตรงบริเวณแม่น้ำ บางปะกงที่จะเป็นรอยต่อของฉะเชิงเทราและจังหวัดชลบุรี ค่าความเค็มในฤดูฝนจะอยู่ที่ ประมาณ ๑๐.๓ พีพีที แต่ปัจจุบันนี้ค่าความเค็มขึ้นเป็น ๓ เท่า อยู่ที่ ๓๔.๘ พีพีที ซึ่งเทียบเท่ากับค่าความเค็มของน้ำทะเลที่อยู่ในมหาสมุทร ผมกังวลใจเหลือเกินว่า จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดที่อยู่จะถัดจากจังหวัดปราจีนบุรีในอีก ๕-๑๐ ปีข้างหน้า ที่เกษตรกร ที่ชาวประมงน้ำจืดยังไม่ทราบว่าเขากำลังเผชิญอะไร ซึ่งรูปนี้เป็นคำตอบครับ ชาวนาในพื้นที่อำเภอบ้านสร้างได้รับผลกระทบก่อน ข้าวกำลังจะได้เก็บเกี่ยวอยู่ไม่กี่สัปดาห์ ข้าวยืนต้นตายครับ ชาวนาไม่สามารถสูบน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยเข้ามาเพื่อให้เป็นน้ำหล่อเลี้ยง ในนาข้าวได้ จากภาพแรกที่เปิดมาใน Slide เลยก็คือเราจะเห็นเป็นภาพชาวนานั่งเฝ้าน้ำว่า เมื่อไรน้ำกร่อยจะหมดไปหรือน้ำเค็มจะหมดไป ก็เป็นคุณตาท่านหนึ่งที่บอกกับผมว่า เขาไม่สามารถที่จะรอเรื่องนี้ได้ แล้วเขาไม่รู้ว่าน้ำทะเลมันหนุนได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง ไม่ถึง ๑ วัน

    อ่านในการประชุม

  • ขอกลับไปที่ Slide เดิมครับ สุดท้ายในภาพเหตุการณ์นี้เราจะเห็นว่า มีรถบรรทุกน้ำประมาณ ๖,๐๐๐ ลิตร พยายามระบายน้ำลงทุ่งนาเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นรถของกรมชลประทานซึ่งเก่ามาก รถ ๑ คันบรรทุกน้ำแล้วจ่ายน้ำลงในทุ่งนาได้แค่ ๒ ไร่ แต่พื้นที่นาที่ได้รับผลกระทบในปีนั้น ๘๐๐ ไร่

    อ่านในการประชุม

  • Slide สุดท้ายสั้น ๆ ครับ ผมอยากจะมีข้อเสนอต่อกรรมาธิการที่กำลัง จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือหน่วยงานใดก็ตามที่กำลังแก้ปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อน ตั้งแต่ผมยัง ไม่เป็นผู้แทนราษฎร จนถึงปัจจุบัน ๒๐ กว่าปี ผมเห็นคุยกันเรื่องภัยแล้งวนเวียนอยู่อย่างนี้ ไม่จบสักที ผมมีข้อเสนอแนะครับ หลังจากนี้เราต้องให้เวลา ๕-๒๐ ปี หรือมากกว่านั้น เราต้องยอมรับว่ายังไม่เคยมีการทำระบบการเก็บข้อมูลในลุ่มน้ำต่าง ๆ น้ำไม่ใช่มีแค่น้ำท่วม หรือน้ำแล้ง แต่มันยังมีน้ำเค็ม มีการปล่อยของเสียลงน้ำ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรกคือระบบ Monitor เราต้องรู้ว่าน้ำจืดอย่างข้างสภาตอนนี้ เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำจืดเราก็ต้องรู้ ระบบ Forecast ก็คือพยากรณ์ล่วงหน้าเรื่องของความเค็ม ครอบคลุมลุ่มน้ำทั้งขึ้นทั้งร่อง มี Message แจ้งเตือนผู้ที่ใช้น้ำหรือเกษตรกร

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายไม่อยากให้ลงทุนเยอะ Scenario ที่จะเกิดขึ้นใน ๕-๑๐ ปี ในการที่ เรากำลังต่อสู้กับสภาวะโลกร้อนหรือ El Nino เราจะไม่สามารถเอางบประมาณไปใช้ โดยฟุ่มเฟือยได้ แต่ว่าเราต้องมีการทำ Scenario จากเบื้องต้นก็คือ Monitor แล้วก็ Forecast ไล่มาจนถึงการทำ Scenario ที่ถูกต้อง อันนี้เป็น ๓ ข้อเสนอสั้น ๆ ของผม ก็ขอจบการอภิปรายนะครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม วุฒิพงษ์ ทองเหลา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี เขต ๒ พรรคก้าวไกล จากเอกสารพิจารณาพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ทางเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่อยู่ในมือกระผมนะครับ กระผมเห็นด้วยในการผลักดัน ข้อเสนอ พ.ร.ก. ฉบับนี้ แต่ผมยังรู้สึกผิดหวังในรายละเอียดที่ไม่มีการกล่าวถึงในบางเรื่อง ของ พ.ร.ก. ฉบับนี้นะครับ แก่นแกนที่สำคัญของพระราชกำหนดเพื่อที่จะมา Action และเป็นวิธีการและมาตรการในการช่วยเหลือประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมของ พ.ร.ก. ฉบับนี้ ยังมีปัญหาอยู่ สิ่งที่ผมอยากจะนำเสนอนะครับ แล้วก็ผมมองว่าในความผิดหวังที่ผมเห็นว่าใน ๑ ปีที่ผ่านมา ปัญหาอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนเพิ่มถึง ๒๙๖,๐๐๐ คดี เฉลี่ย ๕๒๕ คดีต่อวัน ตามที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปรายไปแล้ว ทุกสถานีตำรวจอาจจะต้องทำคดีนี้ ๕-๖ คดีต่อวัน ลองนึกตามผมดูนะครับ ในกรณีนี้ในประเด็นที่ผมพูดน่าจะไม่ซ้ำ หากขโมยจะขึ้นบ้าน ของทุกคนนี่ขโมยจะต้องมีอุปกรณ์งัดแงะ เช่น ชะแลงเหล็ก คีมตัด เหล็กงัดที่เป็น Tool หรือเครื่องมือถูกต้องไหมครับ เพื่อที่จะเข้าไปลักทรัพย์สินในบ้านของเรา แต่ในกรณีนี้ เราจะเรียกว่า แก๊ง Call Center หรืออาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจำเป็นต้องมี Tool เช่นกันก็เรียกว่า เครื่องมือ นะครับ ผมจึงขออนุญาตเกริ่นให้ท่านประธานและท่านรัฐมนตรี กระทรวงดิจิทัลได้ทราบที่มาและจุดเริ่มต้นของเครื่องมืองัดบ้านของแก๊ง Call Center ขออนุญาตขึ้น Slide ครับ

    อ่านในการประชุม

  • จากตรงนี้เองจะเห็นว่าความเป็นมา เบื้องต้นเป็นอย่างไรนะครับ ช่วง พ.ศ. ๒๕๕๔ สั้น ๆ ในตอนนั้นเองอุปกรณ์งัดแงะ ยังไม่มีนะครับ ย้อนกลับไปเมื่อ ๑๐ กว่าปีที่แล้วโทรศัพท์บ้านเรายังเป็นสายเคเบิลปกติ ๑ สายต่อ ๑ บ้าน หรือประมาณถ้าองค์กรนั้นต้องการโทรศัพท์ ๕ เครื่องเราจะใช้สายเคเบิล โทรศัพท์ประมาณ ๕ เส้น ต่อมาในช่วง พ.ศ. ๒๕๕๕- ๒๕๖๑ เริ่มมีการนำระบบ IP Phone แล้วก็ Voice IP เข้ามาใช้ สิ่งนี้คือเครื่องมืองัดแงะในตอนนั้นซึ่งยังไม่ได้รับความนิยม เนื่องจาก Internet Protocol Provider ที่ให้บริการในประเทศเรายังค่อนข้างมีปัญหา เสถียรภาพในการนำมาใช้ยังไม่ค่อยดีนะครับ นับจาก พ.ศ. ๒๕๖๑ ทางด้านขวามือที่เป็น Highlight สีแดง ๆ จนถึงปัจจุบันเริ่มมีการนำระบบ IP Phone Voice IP เข้ามาใช้ใน Application มือถือเรา แล้วขั้นตอนต่าง ๆ ในองค์กรหรือบริษัท รวมถึงในรัฐสภาที่เราใช้ ในปัจจุบันก็อาจจะเป็นการใช้เรื่องของ Voice IP ซึ่งมันมีทั้งประโยชน์และโทษครับ ท่านประธาน ประโยชน์คือการลดภาระค่าใช้จ่ายในองค์กรขนาดใหญ่ ๑ เบอร์ ๑ หมายเลข หรือ ๑ สัญญาณเคเบิลโทรศัพท์สามารถที่จะเปลี่ยนเป็น ๑๐๐ หมายเลข ๓๐๐ หมายเลข หรือถึง ๕๐๐ หมายเลข User ได้ นี่คือช่องทางที่แก๊ง Call Center นำมาใช้นะครับ ผมขออนุญาตไป Slide ถัดไปสั้น ๆ เราจะเห็นในขั้นตอนต่อไปก็คือขั้นตอนของการที่จะงัด บ้านเข้าไปใช้ประโยชน์ในการหลอกลวงล้วงข้อมูลของประชาชนด้วยวิธีการเป็นร้อยเป็นพันวิธี แต่ขั้นตอนที่จะมีมีเครื่องมือและ Tool ก็มีสั้น ๆ ครับ แก๊ง Call Center จะมีการใช้อุปกรณ์ ซึ่งเป็น Hardware ตัวหนึ่ง ซึ่งผมจะเรียกมันว่า IP PAX นะครับ ขอ Slide ถัดไปครับ เราจะเห็นอุปกรณ์เหล่านี้ที่ยังไม่มีการขึ้นทะเบียน อุปกรณ์เหล่านี้ก็คือตัว IP PBX มันจะเป็น อุปกรณ์ Hardware ซึ่งมันไม่มีบ้านเลขที่ ขโมยขึ้นบ้านเราไม่สามารถจับได้ เพราะว่า เขาไร้ร่องรอย เช่นเดียวกันในการที่เราออกไปในโลกของ Internet หรือ IP ต่าง ๆ หรือ Protocol ต่าง ๆ อย่างเช่นที่ท่านรัฐมนตรีชัยวุฒิได้เคยบล็อก Protocol ของ Website โป๊ Website พนันก็สามารถทำได้เพราะเรารู้ว่า IP Address ปลายทางคืออะไร แต่สิ่งที่ผม กำลังพูดอยู่ Hardware เหล่านี้ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นรูปธรรมกับ กสทช. Hardware เหล่านี้สามารถขึ้นทะเบียนได้ แล้ว End Shift Lock หลอกของมันได้ว่ามันเป็น บ้านเลขที่อะไรโดยให้ Provider หรือผู้ให้บริการอย่างเช่น ทีโอที เอไอเอส ทรู กำหนด Hardware ตัวนี้เพื่อขายในประเทศ ฉะนั้นเองแก๊ง Call Center เมื่อมีการลักขโมยของ ที่เรียกว่าโดยการเข้ามา Hack ในมือถือให้ชาวบ้านโอนเงิน ประชาชนโอนเงินไป อย่างน้อย ๆ ขั้นตอนนี้จะเป็นเขื่อนสำคัญในประเทศเรา ซึ่งถ้าเขาต้องใช้คนไทยในการเดินทางไปเพื่อ Hack ข้อมูลยังต่างประเทศก็จะทำได้ยากขึ้นนะครับ ใช้ Internet ต่างประเทศ เพราะว่าขั้นตอนก็จะเพิ่มค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เข้ามาอย่างที่ทราบดี ซึ่งขอ Slide ถัดไปครับ ผมก็จะสรุปแล้ว ง่าย ๆ ครับ เมื่ออุปกรณ์ยังไม่มีการรับรอง ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนกับ กสทช. เรา Search Lazada ครับ Shoppee ครับ จะพบเลยอุปกรณ์เหล่านี้มีจำหน่ายทั่วไป มีเพียงความรู้ ในการต่อ Hardware ง่าย ๆ ก็สามารถที่จะใช้โทรศัพท์ เป็นแก๊ง Call Center ได้แล้ว เราไม่นับรวมวิธีการนะครับ หลายร้อยหลายพันรูปแบบเบื้องหลังในการที่จะโจรกรรมข้อมูล ในการ Apply ในการ Remote เข้ามาในมือถือหรือคอมพิวเตอร์ของเรา

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายครับ เขื่อนด่านแรกถ้าไม่มีส่วนนี้ในการที่จะดูแลเรื่องของ การ Monitor ให้ประชาชน หรือ Firewall หรือต่าง ๆ ในเรื่องของ Security เราไป แก้ปัญหากันที่ปลายเหตุ ตำรวจต้องทำงานหนักมากขึ้น กระทรวงต้องทำงานหนัก มากขึ้นนะครับ แต่เราย้อนกลับไปในส่วนของ Hardware ส่วนของการที่เป็น Protocol

    อ่านในการประชุม

  • เส้นทางของการเชื่อมต่อข้อมูล ไปยังมือถือของประชาชน ของผมก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ให้ข้อมูลในวันนี้ ในส่วนของผม ก็มีประมาณนี้ครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม วุฒิพงศ์ ทองเหลา สมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี เขต ๒ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีประเด็นความเดือดร้อนในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีจะนำหารือท่านประธาน ๔ ประเด็น ดังต่อไปนี้ครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๑ ปัญหาอุบัติเหตุบริเวณ ศาลปู่โทน ศาลปู่โทนเป็น ๑ ใน ๕ จุดที่เกิดอุบัติเหตุเป็นลำดับต้น ๆ ของประเทศไทยครับ บนทางหลวง ๓๐๔ หลักกิโลเมตรที่ ๒๑๐-๒๑๔ ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัด ปราจีนบุรี เส้นทางนี้เป็นประตูเชื่อมไปยังภาคอีสานครับท่านประธาน ระยะทางยาวลงเขา เกือบ ๔ กิโลเมตร ความชัน ๗ เปอร์เซ็นต์ ทางโค้ง ๗ เปอร์เซ็นต์ รถบรรทุกต้องเบรก ตลอดเวลาครับ จนผ้าเบรกไหม้และ Brake ไม่อยู่ ส่งผลให้ Brake แตกในที่สุด การแก้ไข สภาพถนนทำได้ยาก เนื่องจากทั้งซ้ายและขวาเป็นอุทยานแห่งชาติครับ จากสถิติจะพบ การเกิดอุบัติเหตุ ๔ ครั้งต่อเดือน และปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบริเวณศาลปู่โทนนี้แต่ละครั้ง การกู้รถที่พลิกคว่ำใช้ระยะเวลานานตั้งแต่ ๓ จนถึง ๑๒ ชั่วโมง ประชาชนที่สัญจรบน เส้นทางนี้ก็ต่างหวาดกลัวครับ และกล่าวขานว่าเป็นโค้งที่มีความอันตรายและเป็นอาถรรพ์ แต่ผมไม่เชื่อครับท่านประธาน เพราะว่าจากสถิติที่ผ่านมาในปี ๒๕๖๖ อุบัติเหตุนั้นลดลง ๒๕ เปอร์เซ็นต์นะครับ จากเรื่องดังกล่าวนี้เกิดจากการที่กรมทางหลวงออกคำสั่งให้รถพ่วง เข้าจอดพร้อมกันได้ในบริเวณ โดยมีการลงทะเบียนให้รถบัส แล้วก็รถบรรทุกเข้าจอดเพื่อ บันทึกเวลา เหมือนว่าจะดีแล้วแต่ยังพบปัญหาเรื่องในจุดพักรถที่มีข้อจำกัดที่สามารถเข้าจอด ได้น้อย โดยรถพ่วงได้เข้าจอดพร้อมกันเพียง ๖๗ คันเท่านั้น ทำให้รถที่เข้าจอดคิวบันทึกเวลา ต้องล้นออกไปเป็นทางยาวครับ เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมตาม Slide นี้ครับ จุดที่ เป็นจุด A นะครับ ผมได้หารือกับแขวงทางหลวงปราจีนบุรี ท่านอนุชาได้รับทราบข้อมูล เพิ่มเติมว่า ถ้าหากเราเพิ่มจุดจอดรถในจุด A ตามภาพก่อนถึงจุด B เราจะสามารถรองรับรถ ที่เข้าจอดได้ถึง ๓๐ คัน มีห้องน้ำให้บริการและเป็นแรงจูงใจให้รถที่เดินทางไกลอยากจอดพัก เพื่อลดอุบัติเหตุในช่องทางดังกล่าว

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นต่อมาครับ ประเด็นเรื่องนี้ยังอยู่ที่อำเภอนาดีครับท่านประธาน บริเวณช่วงทางหลวง ๓๒๙๐ หลักกิโลเมตรที่ ๖-๗ หน้าโรงพยาบาลนาดี ถึงหน้าโรงเรียน มณีเสวตรอุปถัมภ์มีการก่อสร้างถนนในเส้นทางตั้งแต่ต้นปีนะครับ จากภาพมุมมองของแผนที่จะเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นชุมชนและมีการก่อสร้างเป็น โรงพยาบาลและโรงเรียนที่ควรเร่งทำ แต่ว่าที่ผ่านมาการก่อสร้างมีการเปิดผิวการจราจร ซึ่งเป็นภาระในชุมชนและเป็นการก่อสร้างในพื้นที่ที่อื่นที่กินเวลานาน ผมสงสารเด็กนักเรียน กว่าพันชีวิตที่เสี่ยงอันตรายหลังเลิกเรียนมายืนรอผู้ปกครองตลอดแนวถนนก็เกรงเหลือเกิน ว่าจะเกิดอุบัติเหตุครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นต่อมา มาที่อำเภอศรีมหาโพธิ สามแยกบ้านเอื้ออาทร ชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่ในบริเวณท่าตูม สามแยกบ้านเอื้ออาทร ต้องการให้มีไฟแดงหรือไฟสัญญาณ จราจร ที่ผ่านมาเกิดอุบัติเหตุรายวัน ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวเป็นชุมชนขนาดใหญ่และเป็น เขตนิคม ๓๐๔

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นสุดท้ายครับ ท่านประธาน เนื่องจากประเด็นนี้เป็นความเดือดร้อน เร่งด่วนที่มีผลต่อสุขภาพของชาวบ้านในพื้นที่ ผมจึงขอความกรุณาท่านประธานเพิ่มเวลา หารือสัก ๓๐ วินาที ขออธิบายสั้น ๆ ในประเด็นนี้ดังนี้ เรื่องมีอยู่ว่าโรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่ ตำบลท่าตูม อำเภอศรีมหาโพธิ มีการจ้างวานโรงงานแห่งหนึ่งเช่นกันเพื่อขนย้าย กากอุตสาหกรรมโดยไม่ได้มีใบ Manifest หรือการได้รับการอนุญาตการขนย้าย กากอุตสาหกรรมออกไปนอกพื้นที่ ส่งผลให้ในพื้นที่บ้านสามขา-บ้านหว้าเอน ตำบลศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากกองฝุ่นสีเทา กากอุตสาหกรรมขนาดเท่าภูเขาประมาณสายตา น่าจะขนมาทิ้งเป็นจำนวนประมาณ ๑๐,๐๐๐ ตัน ส่งผลเสียกลิ่นเหม็นต่อชุมชนและโรงเรียนประจำหมู่บ้านที่ห่างออกไป เพียงไม่ถึง ๔๐๐ เมตร

    อ่านในการประชุม

  • ในเรื่องนี้ผมต้องกราบเรียน ท่านประธาน แล้วก็ฝากวิงวอนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเนื่องจากชาวบ้านเดินทางไปใน ทุกพื้นที่แล้วก็ยังไม่ได้รับคำตอบ ขอบคุณมากครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม วุฒิพงศ์ ทองเหลา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี พรรคก้าวไกล จากเหตุการณ์ น้ำท่วมอุโมงค์ทับลานในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายนที่ผ่านมา สัปดาห์ที่แล้ว นับเป็นน้ำป่าจากฝั่งเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลานซึ่งไหลบ่ามารวมกันบริเวณอุโมงค์ ทับลาน หรือ Wildlife Corridor บนทางหลวงสาย ๓๐๔ อุโมงค์ที่ด้านบนนั้นเป็นพื้นที่ สีเขียวเชื่อมระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ขอ Slide ขึ้นด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • และอุทยานแห่งชาติทับลานเพื่อให้ สัตว์ป่าสามารถสัญจรผ่านไปมา และยังเป็นประตูเชื่อมระหว่างจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัด นครราชสีมาเข้าด้วยกัน จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการก่อสร้างอุโมงค์ทับลานแล้วเสร็จ เมื่อปี ๒๕๖๒ นับเป็นการใช้งานมายังไม่ครบ ๕ ปีครับท่านประธาน เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม อุโมงค์ไปแล้ว ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓ หลังจากการสร้างตัว ประตูทับลานได้ประมาณ ๑ ปี เกิดระดับน้ำสูงตามภาพ ๒ เมตร อุโมงค์เปิดใช้งานเมื่อครั้ง ล่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ ๒๘ กันยายน เป็นการท่วมครั้งที่ ๒ สำหรับอุโมงค์นี้ กระผม ขออนุญาตไล่ลำดับสาเหตุที่มาว่าเหตุใดอุโมงค์ที่อยู่บนพื้นที่สูงในแนว Contour ภูเขา ป่าเขาใหญ่ และป่าทับลานจึงมีเหตุการณ์น้ำท่วมบ่อยครั้ง จากภาพนี้จะเป็นแผนที่อย่างง่าย เราจะเห็นว่า ฝั่งทางด้านขวามือจะเป็นป่าเขาใหญ่ซึ่งมีเส้นทางน้ำสีฟ้าไล่ยาวลงมาจากเขตอุทยาน ส่วนเส้นสีแดงด้านขวามือจะเป็นป่าทับลานซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำนะครับ เราจะเห็นว่าจุดที่เกิด คอขวดตามที่ลูกศรชี้จะเป็นจุดที่อยู่ปลายปล่องอุโมงค์ด้านบน ทางเชื่อมไปที่ตัวถนนเส้น ๓๐๔ ทางไปโคราช ส่วนตอนล่างนั้นบรรจบกับปราจีนบุรี เราจะเห็นว่าจุดนี้เองจะมีมวลน้ำมาก ในแผนที่ในการระบายน้ำนี้เราจะเกิดปัญหาว่าการระบายน้ำลงมาในลำคลองในเส้นทางน้ำที่ เป็นลำคลองชื่อคลองยาง สีฟ้า ๆ นั้นไม่ทัน โดยจุดรับน้ำคลองยางจะเป็นจุดที่เรียกว่า ลำน้ำ พระยาธารในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ คลองวังมืดในอุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งไหลมา บรรจบกันในระหว่างเส้นเหนือจากจุดที่เป็นคอขวด ในจุดที่ลูกศรชี้นี้เองมีขนาดแคบ และหักศอก ขนาดลำคลองกว้างประมาณ ๘-๑๐ เมตร เมื่อมีน้ำป่าต้นฤดูฝนไหลหลาก มาจากบริเวณทางป่าเขาใหญ่และป่าทับลานแน่นอนครับว่าไม่สามารถรับการไหลของน้ำป่า ลงสู่แม่น้ำสายใหญ่ได้ทัน เราจะเห็นภาพมุมสูงชัดเจนว่าในระหว่างที่มีน้ำป่ามวลมหาศาล ไหลลงมาจากทางฝั่งป่าเขาใหญ่และทับลาน จุดบริเวณที่เป็นคอขวดจะเป็นจุดที่เป็นหักศอก ของลำคลอง ซึ่งกว้างประมาณเพียงแค่ ๘-๑๐ เมตร และเรายังจะเห็นส่วนที่มีการสร้างเป็น แนวกำแพงป้องกันสัตว์ออกนอกพื้นที่หรือ Guide fence ที่อุทยานเขามาสร้างไว้ จากภาพเราจะเห็นมุมบนว่าตัว Guide fence ที่เป็นแนวเขตล้มพังระเนระนาดจากการสร้าง กีดขวางมวลน้ำขนาดใหญ่ซึ่งเป็นน้ำป่าต้นฤดูที่ไม่ได้คำนึงถึงช่วงเวลาน้ำหลากบวกกับบริเวณ ลำคลองมีลักษณะตื้นเขิน บางช่วงตื้นเพียงแค่ ๕๐ เมตร ผมจะให้ดูมุมล่างชัด ๆ ในการสร้าง แนว Guide fence กีดขวางทางน้ำนะครับ Guide fence ทั้งหมดในระยะทางซึ่งทาง อุทยานได้สร้างไว้ล้มพัง เมื่อสักครู่เราเห็นจากภาพมุมสูงแล้วว่าเป็นแนวทางขวางทางน้ำ อย่างไร แน่นอนครับลักษณะเป็น Contour ภูเขา น้ำไหลจากข้างบนลงข้างล่าง ต่อมา ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ใช่เหตุการณ์เพียงแค่อุโมงค์ทับลานที่เราเห็นในข่าวเพียงอย่างเดียวที่มี การท่วมและรถไม่สามารถสัญจรไปได้เป็นระยะเวลาครึ่งวัน หรือในปี ๒๕๖๓ เป็นระยะเวลา นานถึง ๒ วัน ที่ทางประตูเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดนครราชสีมาและปราจีนบุรีไม่สามารถจะผ่าน สัญจรได้ ใน Slide นี้เองจะเป็น Video ไม่แน่ใจว่าสามารถเปิดได้ไหมนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ตัว Slide นี้เดี๋ยวผมอธิบายภาพ ขออนุญาตให้ดูภาพก่อนนะครับ ตรงนี้ถ้าเราได้ยินเสียงด้วยมันจะเป็นเสียงของกระแสน้ำป่า ที่ค่อนข้างรุนแรง ผมอธิบายไปก็คือในพื้นที่นอกจากตัวประตูอุโมงค์อุทยานทับลาน ซึ่งเรา จะเห็นในข่าวว่ารถไม่สามารถสัญจรผ่านได้และเกิดน้ำท่วม แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นชาวบ้าน บริเวณตำบลบุพราหมณ์ หมู่ที่ ๗ และหมู่ที่ ๑๐ ไล่ลงมาตั้งแต่ทางอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ชาวบ้านอยู่กันด้วยความยากลำบากครับ ต้องอพยพหนีน้ำ รถต้องขับออกมาจอดในพื้นที่ที่ปลอดภัย ระดับน้ำสูงถึงอก และมีความเชี่ยวมากนะครับ เราจะเห็นว่าผลกระทบไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ตัวประตูอุโมงค์มีปัญหา แต่ชาวบ้านที่อาศัย อยู่ในบริเวณก็ใช้ชีวิตได้ยากลำบากเช่นกัน หากคร่าว ๆ ที่ผมพอจะสรุปแล้วภายหลังจาก การสร้างอุโมงค์ทับลานเกิดขึ้นตามผลการศึกษาผลกระทบ EIA ต้องระบุว่ามีการประเมินผล กระทบของการก่อสร้างหลังใช้งาน แต่ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาผลกระทบจากหน่วยงานใด ที่เข้ามาประเมินการใช้งานผลกระทบปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจากข้อสังเกตทางเชื่อมอุโมงค์ ค่อนข้างสูง หากสัตว์ป่าที่จะต้องข้ามตัวอุโมงค์เชื่อว่าต้องมีแข้งขาหักครับ นอกจากที่ข้ามไป แล้วต้องเจอกับลำคลองอีก การข้ามฝั่งระหว่างทับลานและป่าเขาใหญ่ เพื่อที่จะมีการผสม พันธุ์ของสัตว์ป่าก็ทำได้ยาก

    อ่านในการประชุม

  • ข้อเสนอแนะ ส่วนที่ ๑ ในการแก้ปัญหา ควรปรับปรุงรั้วน้ำทางสัตว์ใหม่ไม่ให้ กีดขวางทางน้ำที่ไหลจากป่าเขาใหญ่และป่าทับลาน

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนที่ ๒ คือเร่งขุดลอกคลองวังมืด ซึ่งเป็นคลองสำคัญที่จะเชื่อมลงสู่แม่น้ำ ปราจีนบุรีที่มีขนาดเล็กและตื้นเขินให้สามารถรองรับปริมาณน้ำจำนวนมากได้ อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์น้ำท่วมทั้ง ๒ ครั้ง ในปี ๒๕๖๓ และปีที่ผ่านมาก็คือปีนี้ การก่อสร้าง ทางธรรมชาตินั้นถึงแม้จะมีการคำนึงถึง และเตรียมการสำหรับการตรวจสอบผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นกับสัตว์ป่าเหล่านั้น เราต้องตั้งคำถามด้วยครับว่าการออกแบบโครงการที่ต้องคำนึงถึง แนวโน้มการเกิดภัยพิบัติขึ้นตามธรรมชาติเราได้คำนึงถึงมันมากน้อยเพียงใด และในอนาคต ที่จะเกิดขึ้นอีกในภัยพิบัติที่ใหญ่กว่านี้ หรือปริมาณฝนในป่าเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติ ทับลานเราจะต้องมีการเตรียมตัวรับมืออย่างไร ฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญ กับเรื่องนี้ อย่างเร่งด่วนนะครับ ขอบคุณมากครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ วุฒิพงศ์ ทองเหลา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี รหัส ๓๕๖ ขอแสดงตนครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี วุฒิพงศ์ ทองเหลา ขอลงมติเห็นด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผมวุฒิพงศ์ ทองเหลา สมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี พรรคชาติพัฒนากล้า ในวันนี้ผมมีประเด็นปัญหาในจังหวัดปราจีนบุรีมานำเรียนต่อท่านประธาน ๓ เรื่องด้วยกันดังนี้ ขอสไลด์ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาที่หนึ่ง ๓ โรงเรียนในพื้นที่ จังหวัดปราจีนบุรีมีปัญหาเรื่องของหน้าโรงเรียนขาดสะพานลอย ได้แก่ โรงเรียนศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมหาโพธิ โรงเรียนบ้านทุ่งประพาส อำเภอศรีมหาโพธิ และโรงเรียนบ้านทับลาน อำเภอนาดี ซึ่งทั้ง ๓ โรงเรียนนี้เคยเกิดอุบัติเหตุใหญ่เมื่อประมาณ ๔-๕ ปีที่แล้วคุณครู เสียชีวิตและในปัจจุบันยังเสียงเกิดอุบัติเหตุในทุกวันตอนเช้าและตอนเย็น

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาเรื่องที่ ๒ สไลด์ถัดไปครับ ถนนระหว่างบ้านคลองทรายถึงบ้านบุสูง ระยะทางเพียง ๒.๘ กิโลเมตร แต่จะเห็นว่าสภาพถนนเหมือนอุกกาบาตครับ ถนนเส้นนี้ มีการก่อสร้างมายาวนานแล้วแต่ว่าในระยะเวลา ๑๐ ปีย้อนหลังมีแต่การซ่อม ยังไม่มี การปรับปรุงพัฒนา ทั้งเรื่องของถนนและไฟส่องสว่าง

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาเรื่องที่ ๓ ปัญหาสุดท้ายครับ เรื่องของผิวถนนชำรุด เราจะเห็นว่า จากภาพจะเห็นการวางแนวท่อระบายน้ำ ในพื้นที่ดังกล่าวเองเป็นพื้นที่ประจันตคาม เป็นถนนสายหัตถกรรม จังหวัดปราจีนบุรี เป็นถนนสายเศรษฐกิจที่จะมีการขายของจักสาน มีการก่อสร้างวางท่อระบายน้ำในบริเวณระยะทาง ๑ กิโลเมตร หลังจากมีการก่อสร้าง วางท่อระบายน้ำตามภาพแล้วรถที่จอดสัญจรเป็นไปด้วยความยากลำบาก และจะเห็น บริเวณไหล่ทางระยะทางประมาณ ๑.๕ เมตร มีการปะผุและซ่อมก่อนถึงบริเวณรางน้ำ จึงฝากเรียนท่านประธานเพื่อแก้ไขปัญหา แล้วก็หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยรับผิดชอบ ดำเนินการด้วยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม วุฒิพงศ์ ทองเหลา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี พรรคชาติพัฒนากล้า ขอร่วม อภิปรายร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการอากาศสะอาด พ.ศ. .... ในครั้งนี้ด้วย ซึ่งก่อนอื่น ผมต้องเรียนว่าทั้งผมเองและพรรคชาติพัฒนากล้าขอสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้

    อ่านในการประชุม

  • เนื่องจากอากาศสะอาดเป็นสิทธิโดย พื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับโดยที่ไม่ต้องเรียกร้อง ด้วยสถานการณ์หมอกควันและมลพิษ ทางอากาศที่ทวีความรุนแรงในปัจจุบัน ตามมาตรา ๔๗ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการดูแลหรือ บริการในเรื่องของสุขภาพ สาธารณสุขของรัฐและมีสิทธิได้รับการป้องกันขจัดโรคและ อันตรายจากรัฐ ซึ่งสอดคล้องกับการกำหนดให้มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลในสิทธิขั้นพื้นฐานของ ประชาชนที่ควรได้รับตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผมขอเข้าเรื่องในส่วนที่มาของ ผลกระทบหรือแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศในประเทศไทยจากสถานการณ์หมอกควันและ มลพิษทางอากาศเพื่ออภิปรายให้เห็นภาพครับท่านประธาน ในเรื่องของแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลกระทบทางอากาศที่เราพยายามอภิปรายกันมาจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยผม ขออนุญาตให้ดูตามสไลด์ที่หนึ่ง จากภาพเราจะเห็นว่านี่คือประเทศจีนที่มีปัญหาเรื่องมลพิษ ติดอันดับสูงที่สุดในโลกในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ภาพด้านซ้ายและภาพขวาแตกต่างกัน อย่างสิ้นเชิงโดยมีนัยสำคัญ เมื่อได้เห็นภาพนี้ในฐานะที่ผมเคยทำงานด้านการวิเคราะห์ ระบบ หรือ System Engineer ผมเกิดความสงสัยว่าเขาทำอย่างไร ใช้เวลาเท่าไร แล้วมี การวางแผนและติดตามอย่างไร แต่ทราบได้ทันทีเลยครับท่านประธานว่ามันไม่ง่ายที่จะสร้าง นโยบายและเอาไปปฏิบัติจริงได้แบบนี้ เมื่อลองคลี่เข้าไปดูไส้ในจะพบว่าประเทศจีนลงมือ ทำมาไม่ต่ำกว่า ๕ ปี ในขณะที่วันนี้เราเพิ่งเริ่ม ความสำคัญในเรื่องของมลพิษทางอากาศ ผลลัพธ์จึงปรากฏออกมาอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศจีนแล้ว ซึ่งในช่วงตั้งแต่ปี ๒๐๑๓- ๒๐๑๖ ประเทศจีนความหนาแน่นของ PM2.5 มีการลดลงในแต่ละมณฑลอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีดัชนีชี้วัด ตัวอย่างเช่น เหอเป่ยลดลง ๓๓ เปอร์เซ็นต์ หรือมณฑลเซี่ยงไฮ้ที่ลดลง ๒๗ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในปลายปีที่แล้วผมเดินทางไปที่มณฑลเซี่ยงไฮ้ แล้วก็เห็นตามนั้นจริง ๆ ในภาพก่อนหน้านั้นจริง ๆ เพื่อให้เป็นการไม่ลองผิดลองถูกผมจึงแอบไปลอกการบ้าน ในกระบวนการแก้ปัญหาในประเทศจีนในเรื่องของมลพิษทางอากาศไม่เพียงเพราะ PM2.5 หรือ PM10 แต่ยังหมายรวมถึงค่าของ AQI หรือที่เราทราบดีว่าเป็นเรื่องของ Air Quality Index ที่เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศในแต่ละประเทศนะครับ ผมขอยกตัวอย่างคำพูดสั้น ๆ ง่าย ๆ ในช่วงโควิดที่ผ่านมาคือคำว่า Cluster แน่นอนว่า เมื่อเราทราบ Cluster เราจะรู้ว่า ใครเป็นผู้ดูแล กระทรวง ทบวง กรมไหน เช่น Cluster ของยานพาหนะ Cluster ของไฟป่า Cluster ของอุตสาหกรรม Cluster ของการก่อสร้างหรือแม้กระทั่ง Cluster ของโรงงาน ไฟฟ้าที่มีการใช้งาน แต่ว่าในบางประเทศมีการยกเลิกแล้ว หรือแม้กระทั่งเตาหลอมที่ บางประเทศไม่อนุญาตให้ใช้ คร่าว ๆ นะครับ ประเทศจีนแบ่งแหล่งกำเนิดเป็น Cluster ทางมลพิษ เมื่อทราบแหล่งกำเนิดอย่างที่เรียนนะครับว่ามาตรการต่าง ๆ ที่จะมีแต่ละ กระทรวงเข้าไปกำกับดูแลก็จะส่งเสริมออกมาเป็นนโยบาย ในส่วนนี้เป็น Cluster หนึ่งที่เป็น ตัวอย่างที่ประเทศจีนมีการผลักดันส่งเสริมให้เกิดขึ้นจริงเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า ๕ ปีแล้ว ภาพด้านซ้ายมือ ทะเบียนเป็นสีเขียวไล่เฉดสีเป็นสีขาวซึ่ง Sensor ป้ายทะเบียนแล้วนะครับ ส่วนภาพทางด้านขวามือเป็นป้ายทะเบียนสีน้ำเงิน เป็นรถนั่งส่วนบุคคลในประเทศจีน ซึ่งป้ายทางด้านซ้ายมือจะเป็นรถไฟฟ้าหรือพลังงานสะอาด EV ล้วน ส่วนป้ายสีน้ำเงินจะเป็น ป้ายเครื่องยนต์สันดาปที่ยังใช้น้ำมันอยู่ หรือเป็น Hybrid ซึ่งจะเห็นว่าประเทศจีนมีการส่งเสริมในเรื่องนี้นะครับ ก็คือในรถยนต์ส่วนบุคคลที่เป็น รถไฟฟ้านั้นภาครัฐสนับสนุนให้มีการออกทะเบียนรถฟรี โดยปกติแล้วรถนั่งส่วนบุคคลของ ประเทศจีนจะมีค่าออกป้ายทะเบียนค่อนข้างสูง ถ้าคำนวณเป็นเงินก็คือประมาณ ๓๐,๐๐๐ หยวน หรือประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ กว่าบาท ไม่ใช่เฉพาะการซื้อรถ เขายังต้องชำระ ในส่วนนี้ แต่รัฐส่งเสริมในเรื่องของป้ายทะเบียนฟรี ก็มีการผลักดันแล้วใช้จริง จนปัจจุบัน รถไฟฟ้า หรือรถ EV ในประเทศจีนมีใช้ค่อนข้างสูง แล้วก็เป็นการลดเรื่องของมลพิษในส่วน Cluster ของพาหนะ แล้วขอยกตัวอย่างอีกสัก Cluster หนึ่งครับท่านประธานซึ่งเป็น Cluster สุดท้าย ซึ่งถ้าผมไม่พูดถึงเรื่องนี้เลยก็คงไม่ได้ ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ เป็นต้นมาประเทศจีน ยกเลิกอุตสาหกรรมในประเทศในกลุ่มสำคัญอย่างมีนัยครับ เพราะประเทศจีนทราบและ ตระหนักดีว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวได้สร้างมลพิษและควบคุมไม่ได้ การสร้างผลกระทบมาก เกินไปที่จะอนุญาตให้มีได้ในประเทศ ซึ่งบางประเทศใน EU ก็ยกเลิกในส่วนนี้เช่นกัน แต่เขา มีการ Action และดำเนินการมาก่อนประเทศเรา มากกว่า ๕ ปีแล้ว

    อ่านในการประชุม

  • ในส่วนแรกที่ผมจะพูดถึงคืออุตสาหกรรมที่เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน ประเทศจีน ยกเลิกเกือบหมดแล้วครับ แทบไม่เหลือเลย ใช้พลังงานเขื่อน ใช้พลังงานเรื่องของแสงอาทิตย์ พลังงานคลื่น พลังงานลม ส่วนต่อมาคือเรื่องของบ่อขยะอุตสาหกรรมหรือบ่อขยะที่เป็น ครัวเรือน ซึ่งประเทศจีนไม่มีให้ตั้งบ่อขยะในลักษณะ Landfill หรือเป็นกองภูเขา แล้วก็ ส่งผลกระทบในเรื่องของชั้นบรรยากาศโลก การสร้างสภาวะเรือนกระจกลดลง ไม่เฉพาะตัว PM2.5 และ PM10 ส่วนต่อมาคือโรงหลอมในลักษณะหม้อ IF หรือที่ทราบดีว่าเป็นเตาหลอม โดยที่ไม่มีการใช้การ Arc หรือเป็นประเภทของการหลอมที่ลักษณะใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นอันตราย ต่อสุขภาพอย่างมาก ซึ่งประเทศจีนก็ยกเลิกไป แต่ในการยกเลิกของประเทศจีนถือว่าเป็นข่าวดี หรือข่าวร้ายไม่ทราบที่ทำให้โรงงานเหล่านี้ที่ผมพูดมาทั้งหมดเดินทางมาประเทศไทยตั้งแต่ ปี ๒๕๖๐ ปัจจุบันอุตสาหกรรมที่มีการยกเลิกเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นบ่อฝังกลบ โรงไฟฟ้าถ่าน หินแม้แต่ว่าโรงหลอมวัสดุเหลือใช้ทางมลพิษที่สร้างมลพิษอย่างรุนแรงเดินทางมาประกอบ กิจการในประเทศไทยเป็นจำนวนมากอย่างมีนัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ เลือดตกค้าง ทั้งดินและทั้งน้ำ ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติเป็นอย่างมาก

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายครับท่านประธาน เป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก หลังยุติภาคอุตสาหกรรม ในประเทศจีนที่ส่งผลต่อผลกระทบทางด้านอากาศ ประเทศไทยอ้าแขนรับเข้ามาทั้งหมดเลย จึงเป็นเรื่องดีหากร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ รวมถึงอุตสาหกรรมมลพิษที่ผมได้กล่าวไป ภาครัฐ จะไม่ต้องตามควบคุมและต้องเสียงบประมาณในการตามแก้ไขปัญหาในระยะยาว ผมจึง ขอสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการอากาศสะอาด พ.ศ. .... ให้เกิดขึ้น ในประเทศไทยโดยเร็ว เพื่อประชาชนจะไม่ต้องเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานในเรื่องของอากาศ บริสุทธิ์ที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม วุฒิพงศ์ ทองเหลา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี เขต ๔ อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอประจันตคาม อำเภอนาดี พรรคชาติพัฒนากล้า วันนี้ผมมีเรื่องหารือความเดือดร้อน ในพื้นที่ต่อท่านประธาน ๔ เรื่องด้วยกัน ดังนี้ ขอสไลด์ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาที่ ๑ แหล่งน้ำในคลองท่าแห ตำบลบ้านหอย อำเภอประจันตคาม มีพืชและผักตบชวาปกคลุมในระยะทางกว่า ๔ กิโลเมตร ส่งผลให้ปัจจุบันน้ำดิบที่ผลิตประปาหมู่บ้านเปลี่ยนเป็นสีดำและเริ่มส่งกลิ่นเหม็น โดยในหมู่บ้านมีผลกระทบแล้วกว่า ๔ หมู่บ้าน เกินกำลัง อบต. บ้านหอยจะแก้ไข จึงฝากถึง หน่วยงานชลประทานเร่งช่วยแก้ไขปัญหาครับ

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาที่ ๒ ปัญหาเรื่องไฟฟ้าส่องสว่าง ทางหลวงเส้น ปจ.๓๐๑๖ บริเวณ บ้านคลองโสม หมู่ที่ ๖ ตำบลศรีมหาโพธิ อำเภอศรีมหาโพธิ ดับมาเป็นเวลาร่วมปีแล้ว

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาที่ ๓ ยังอยู่ที่เรื่องไฟฟ้าส่องสว่าง ทางหลวง ๓๐๔ หลักกิโลเมตรที่ ๑๒๘ ถึงหลักกิโลเมตรที่ ๑๕๒ ไฟฟ้าส่องสว่างดับตลอดทาง เนื่องจากเส้นทางบริเวณดังกล่าว เป็นทางเชื่อมไปยังภาคอีสาน แล้วยังเป็นถนนเส้นหลักที่ใช้สัญจรในเขตนิคม ๓๐๔ จึงทำให้ เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุของผู้ที่สัญจรไปอย่างมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาเรื่องสุดท้าย ปัญหาที่ ๔ จากการหารือเมื่อประมาณเดือนกันยายนปีที่แล้ว เรื่องลานจอดจุดพักรถบริเวณทางหลวง ๓๐๔ ศาลเขาปู่โทน ในบริเวณดังกล่าวมีเรื่องของ การผลักดันเรื่องบริเวณจุดจอดรถขนส่งหรือรถบรรทุกเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุตามภาพที่ขึ้น ในสไลด์ ปัจจุบันจังหวัดปราจีณบุรีได้เริ่มมีการผลักดันโครงการลานจุดพักรถแล้ว แต่ผมยังมี ความกังวลในเรื่องความล่าช้าเนื่องจากต้องขออนุญาตกับพื้นที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงอยากเรียนฝากท่านประธานให้ช่วยประสานไปยังกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อช่วยเร่งรัดการขอใช้พื้นที่ทำโครงการเพื่อช่วยลดอุบัติเหตุและ การเสียชีวิตของประชาชนที่สัญจรในบริเวณเส้นทางดังกล่าว ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผมวุฒิพงศ์ ทองเหลา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีน พรรคชาติพัฒนากล้า ในวันนี้ผมขอร่วมอภิปรายในญัตติ เรื่อง การพิจารณาศึกษาแนวทางบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและจังหวัดในพื้นที่เขตป่าสงวน เพื่อลดขั้นตอนการอนุมัติของอธิบดี ตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ จังหวัดปราจีนบุรีมีลักษณะแผนที่ตามภูมิศาสตร์ เป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งพื้นที่ครึ่งหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรีนั้นคือพื้นที่เขตอุทยานและ เขตป่าสงวน โดยเฉพาะในพื้นที่รับผิดชอบของผมมีถึง ๓ อุทยานและป่าสงวนด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลานและป่าสงวนแควระบม ป่าสียัด ในวันนี้ผมมีตัวอย่างประเด็นปัญหาในจังหวัดปราจีน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ในระดับประเทศที่กำลังรอการแก้ไข แต่จะแก้ไขอย่างไร ผมเองก็ยังไม่สามารถคิดได้เลยครับ ท่านประธาน ถ้าหากเราไม่ลดขั้นตอนการอนุมัติของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ลง เริ่มกันที่ประเด็นปัญหาที่ ๑ ขอสไลด์ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ปัญหาในเรื่องนี้เองเป็นปัญหาน้ำท่วมอุโมงค์ทับลานครับท่านประธาน เราจะเห็นว่าในรูปนี้ฝั่งทางด้านขวามือเป็นป่าเขาใหญ่ ซ้ายมือเป็นอุทยานแห่งชาติทับลาน เส้นสีน้ำเงินที่ลากลงมานี้คือเส้นน้ำที่เรียกว่าคลองยาง เป็นคลองยาง ซึ่งจะมาบรรจบกันกับเส้นสีแดงที่เป็นอุทยานแห่งชาติทับลาน แล้วบริเวณ ด้านล่างเป็นอุโมงค์ ตามรูปเมื่อสักครู่ที่เราเห็นอุโมงค์มีลักษณะน้ำท่วม รถไม่สามารถสัญจร ผ่านอุโมงค์ได้ บางครั้งน้ำท่วมอุโมงค์เป็นระยะเวลาถึง ๒ วัน ทำให้รถติดเป็นระยะทาง หลายกิโลเมตรข้ามไปโคราชไม่ได้ ติดอยู่ที่จังหวัดปราจีนหรือติดอยู่ฝั่งโคราชข้ามมาจังหวัด ปราจีนไม่ได้ ในภาพนี้เป็นภาพมุมสูงครับ เราจะเห็นในช่วงที่มีปัญหาน้ำป่า แนวเขตสีแดง ที่เป็นฝั่งขวามือคือพื้นที่ของชาวบ้าน ส่วนทางด้านซ้ายมือที่เป็นเขตป่า คือที่มีต้นไม้เยอะ ๆ แล้วเป็นสีเขียวนี้ เป็นจุดที่เกิดคอขวดครับ น้ำไหลบ่าลงมาจาก Contour ของภูเขาที่เป็น พื้นที่สูง แต่ไม่สามารถไหลผ่านลงไปได้ เพราะเป็นแนวทางโค้ง ซึ่งในพื้นที่นี้เองอยากให้ดูภาพ ๆ หนึ่งซึ่งเป็นสไลด์ต่อไป เราจะเห็นว่าอุทยานไม่ได้คุยกับใครเลย ป่าไม้ไม่ได้คุยกับใครเลย เอา Fend กั้นสัตว์ป่าไปกั้นขวางไว้เพียงเพื่อว่ากันชาวบ้านเข้าไปในพื้นที่เขตป่า แล้วไม่ให้ สัตว์ป่าออกมานอกอุทยาน ซึ่งเป็นปัญหามากในบริเวณนั้นมันไม่เฉพาะตัวน้ำที่ท่วมอุโมงค์ ทับลาน แต่รวมถึงบ้านเรือนชาวบ้านกว่า ๑๐๐ หลังคาเรือน ขอวิดีโอสั้น ๆ ให้ทางสมาชิก และท่านประธานได้รับชมครับ

    อ่านในการประชุม

  • อันนี้เป็นเรื่องที่ยากลำบาก สำหรับ ชาวบ้านในพื้นที่ เพราะว่าน้ำป่าไหลหลากมาในช่วงเวลากลางคืน มีผู้ป่วยติดเตียง มีคนแก่ เก็บรถกันไม่ทัน ในเรื่องนี้เองที่ผ่านมาการแก้ปัญหายังรอคอยการอนุญาตเพื่อเข้าไป Clear ในพื้นที่อยู่นะครับ แล้วก็เศษกิ่งไม้สิ่งกีดขวางในบริเวณที่ผ่านแนวรั้วของอุทยานไป ไม่สามารถทำได้เลย จึงเกิดเป็นคอขวดดังภาพที่ผมให้ดู ปัจจุบันในบริเวณพื้นที่ทางอุทยาน ทางป่าไม้ ท่านกลัวสัตว์ป่าจะไม่สามารถข้ามไปผสมพันธุ์กันได้ครับ แต่ท่านไม่กลัวประชาชน ในพื้นที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุน้ำป่าเลย

    อ่านในการประชุม

  • ต่อมาในประเด็นปัญหาที่ ๒ ผมยังเหลือเวลาอยู่ไม่นานนัก อยากให้ดู เป็นคลิปวิดีโออีกคลิปหนึ่งประมาณ ๔๕ วินาที ซึ่งผมคิดว่าจะเป็นการดีกว่าการอธิบายครับ ท่านประธานครับ จากวิดีโอคลิปที่ผมนำมาเปิดตัดต่อให้ดูในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ ๔๐ วินาที ให้เพื่อนสมาชิกและท่านประธานได้ทราบ ต้องกล่าวอย่างนี้ครับว่าฝั่งขวามือ เป็นอุทยานแห่งชาติทับลาน ซ้ายมือเป็นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ถนนเพียงระยะ ๑ เมตร ที่จะขยับออกไปเพื่อแก้แนวที่รถจะหักเลี้ยว หรือว่าจะมีเนินที่จะชะลอความเร็วของรถ ที่เดินทางลงเขามาในระยะทาง ๓ กิโลเมตร ไม่สามารถทำได้ทั้งซ้ายและขวาครับ ติดเงื่อนไข ของอุทยาน ที่ผ่านมาทางผมเองได้ประสานงานเพื่อขออนุญาตใช้พื้นที่ แม้กระทั่งขยายถนน ไม่ได้ แต่ขออนุญาตแค่ว่ามีพื้นที่จอดรถ เพื่อให้รถบรรทุกที่วิ่งลงจากเขาได้จอดพัก ให้ตัวปั๊มลมของรถบรรทุกได้สามารถที่จะบรรจุลมเข้าไปเพื่อลงต่อ ให้เบรกที่ร้อนไม่จับตัว แล้วสามารถที่จะคลายความร้อนลงก่อน ซึ่งทุกวันนี้ยังรออยู่ครับ ตามเอกสารที่ได้เรียน ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ฉบับนี้ก็ยังรออยู่ ซึ่งอุบัติเหตุเกิดขึ้นเดือนหนึ่ง หลายครั้งครับ ไม่ใช่ ๑ ครั้ง ซึ่งในเรื่องนี้มันยากต่อการแก้ปัญหานะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ผมจึงสนับสนุนญัตตินี้เพื่อลดการอนุมัติของอธิบดีในการขออนุญาต การใช้พื้นที่ป่า จากเหตุผลที่ผ่านมาครับท่านประธาน การขอจัดทำโครงการเพื่อขออนุญาต เข้าไปในพื้นที่ป่า เพื่อบรรเทาผลกระทบและปัญหานั้นล่าช้า และไม่เคยได้รับการตอบสนอง จากกรมป่าไม้และกรมอุทยานฯ หน่วยงานต้องร้องขอครับ ทำโครงการส่งไปถึงท่าน ก็เหมือนกับมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ครับ เพียงแต่มองเห็นแสงสว่างอยู่ไกล ๆ แต่ไม่เคยไปถึง ขอบคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม