ข้อมูลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ 26
ปีที่ 1
สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง
ครั้งที่ 7 วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 11.07 - 19.27 นาฬิกา
เอกสารต้นฉบับ: บันทึกการประชุมรายงานการประชุมสรุปการประชุม
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เรียนท่านสมาชิก ทุกท่านครับ ก่อนที่จะเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม ผมจะอนุญาตให้ท่านสมาชิกได้หารือ ตามข้อบังคับคนละ ๓ นาที โดยจะเรียกชื่อตามลำดับที่ได้แจ้งไว้นะครับ ผมจะเรียกชื่อ เพื่อเตรียมตัวไว้ ๓ ท่านก่อน ท่านแรก คุณประมวล พงศ์ถาวราเดช ท่านที่ ๒ ท่านสุรเกียรติ เทียนทอง ท่านที่ ๓ ท่านธนา กิจไพบูลย์ชัย เชิญท่านที่ ๑ ท่านประมวลครับ
นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายประมวล พงศ์ถาวราเดช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พรรคประชาธิปัตย์ กราบเรียนท่านประธานไปถึงหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่
นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เรื่องราคามะพร้าวตกต่ำ พื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นพื้นที่ ที่ปลูกมะพร้าวมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ราคามะพร้าวผลใหญ่ผลละ ๖-๗ บาท ทำให้พี่น้องชาวสวนมะพร้าวมีรายรับไม่พอต่อการครองชีพ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปแก้ไขโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะกรมการค้าต่างประเทศซึ่งดูแลการนำเข้า กรมศุลกากร และความมั่นคงซึ่งดูแลการลักลอบนำมะพร้าวเข้า กรมการค้าภายในซึ่งดูระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกาต่าง ๆ เพราะฉะนั้นอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปเร่งรัดแก้ไขโดยด่วน
นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เรื่องการประปาส่วนภูมิภาค พื้นที่ในอำเภอบางสะพานน้อย และอำเภอบางสะพาน ซึ่งการประปาส่วนภูมิภาคไม่มีแหล่งน้ำเพียงพอที่จะใช้อุปโภคบริโภค ให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ทุกปีขาดแคลนน้ำซ้ำซาก เพราะฉะนั้นอยากให้การประปา ส่วนภูมิภาคดำเนินการแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน ซึ่งเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว การประปาส่วนภูมิภาค เข้าไปดำเนินการในพื้นที่ ซึ่งอยู่ที่บ้านเกาะยายฉิม มีพื้นที่อยู่ประมาณ ๒๐ ไร่ สามารถที่จะขุด เพื่อทำแหล่งเก็บน้ำให้กับพี่น้องประชาชนใน ๒ อำเภอนี้ ซึ่งขณะนี้เป็นการขาดแคลนน้ำ อย่างหนัก โดยการประปาส่วนภูมิภาคเช่า Mobile Plant ไปผลิตน้ำจากลำห้วย ลำคลอง ต่าง ๆ เพื่อให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ใช้บริการของการประปาส่วนภูมิภาค
นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เรื่องร่องน้ำคลองกรูด ขอให้กรมเจ้าท่าเข้าไปแก้ไขให้พี่น้อง ประชาชนในคลองกรูดโดยเร่งด่วน พี่น้องไม่สามารถเอาเรือออกไปทำมาหากินได้ เพราะฉะนั้นกรมเจ้าท่าสามารถที่จะดำเนินการขุดลอกร่องน้ำให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ใน พื้นที่คลองกรูดของตำบลชัยเกษมออกไปหากิน เพื่อประกอบอาชีพให้กับพี่น้องประชาชน ในพื้นที่
นายประมวล พงศ์ถาวราเดช ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ
ส่วนเรื่องสุดท้าย ขอให้กรมป่าไม้ โดยขออนุญาตกรมป่าไม้อนุญาต ให้หน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าชลประทานหรือการไฟฟ้าภูมิภาคที่ขอใช้พื้นที่ในอำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพานให้อนุญาต เพื่อจะได้แก้ปัญหาเรื่องต่าง ๆ ให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ใน เขตพื้นที่โดยเร่งด่วนด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ คุณประมวลมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณสุรเกียรติ เทียนทอง ครับ
นายสุรเกียรติ เทียนทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม สุรเกียรติ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ วันนี้ผมขอหารือท่านประธานในประเด็นความเดือดร้อนของ พี่น้องประชาชนที่ใช้รถ ใช้ถนน ใช้เส้นทางของถนนกำแพงเพชร ๖ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Local road ปัญหานี้เริ่มต้นตั้งแต่อุโมงค์บางซื่อยาวไปจนถึงวัดเสมียนนารี เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง แล้วก็ไปจบที่ตำบลหลักหก จังหวัดปทุมธานี ประเด็นปัญหา ของถนนเส้นนี้แบ่งเป็น ๒ ประเด็นหลัก ๆ
นายสุรเกียรติ เทียนทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นแรก คือเรื่องผิวจราจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตของหลักสี่ และดอนเมืองก็มีการชำรุดเสียหาย เป็นหลุมเป็นบ่อค่อนข้างลึก ทำให้พี่น้องประชาชน ที่สัญจรไปมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถจักรยานยนต์จะประสบอุบัติเหตุกันบ่อยครั้งครับ
นายสุรเกียรติ เทียนทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ปัญหาที่ ๒ พอตกกลางคืนเข้าก็จะเจอกับปัญหาใหญ่กว่าคือไฟสาธารณะ ด้วยถนนเส้นนี้เป็นถนนที่อยู่ใต้รถไฟฟ้าสายสีแดงพาดผ่านถึง ๑๐ สถานี ตอนนี้ไฟส่องสว่าง มีเฉพาะใต้สถานี ระหว่างสถานีถึงสถานีขาดการดูแล ทำให้มืด การสัญจรไปมาตอนกลางคืน พี่น้องประชาชนเกิดความหวาดกลัว เป็นที่ซ่องสุมของขโมยขโจรแล้วก็ยาเสพติด วันดีคืนดี ทางทีมงานเขตจตุจักร เขตหลักสี่ พรรคเพื่อไทยได้รับแจ้งอยู่บ่อยครั้งในเหตุร้าย แล้วพอ เข้าไปที่เกิดเหตุก็จบด้วยการวิ่งไล่จับขโมยที่มาขโมยสายไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ฝังลงดินก็ดี ทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนก็ดี ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาใหม่ เป็นปัญหาเรื้อรัง ที่เกิดขึ้นมานานแล้ว ในปีที่แล้วอดีต สส. สุรชาติ เทียนทอง ก็เคยนำเรื่องนี้มาหารือในสภา แห่งนี้แล้ว และได้ทำจดหมายถึงการรถไฟแห่งประเทศไทยไปแล้วในปีที่แล้วถึง ๓ ครั้ง ก็ต้อง ขอบคุณครับท่านประธาน ขอบคุณสภาอันศักดิ์สิทธิ์และทรงเกียรติแห่งนี้ ในครั้งนี้ ได้ประสานไปทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะมีวาระหารืออีกครั้งในสภาวันนี้ แต่สัปดาห์ ที่ผ่านมาก็ได้พบว่ามีหน่วยงานเข้าไปซ่อมแซมไฟส่องสว่างบางจุด อย่างเมื่อวานนี้ผมเห็น ในสื่อได้มีการเอามาออกว่าไฟบนถนนกำแพงเพชร ๖ สว่างแล้ว ติดแล้ว ก็เป็นการติด เฉพาะจุด จุดแค่เขตจตุจักรเท่านั้น ในอีก ๒ เขต เขตดอนเมืองแล้วก็เขตหลักสี่ยังไม่ได้รับ การแก้ไขดูแล ถ้าเกิดว่าท่านสามารถแก้ไขปัญหานี้โดยใช้เวลาแค่ ๕-๗ วันในเขตจตุจักร จุดเดียว อย่างไรก็ฝากอีก ๒ เขตครับท่านประธาน ใช้เวลาน่าจะไม่เกิน ๑๐-๑๔ วัน ก็ฝาก หน่วยงานการรถไฟแห่งประเทศไทย อย่างไรท่านมีแผนในอนาคตอยู่แล้วว่าจะยกพื้นที่นี้ ให้ กทม. แต่เห็นแผนที่ท่าน Plan ไว้เกือบ ๒ ปีแล้ว อย่างไรฝากท่านช่วยประชุมกัน บูรณาการ แก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชนให้จบเสียที ขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณธนา กิจไพบูลย์ชัย ครับ
นายธนา กิจไพบูลย์ชัย ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายธนา กิจไพบูลย์ชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต ๓ พรรคภูมิใจไทย อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอศรีรัตนะ อำเภอกันทรลักษ์ เฉพาะตำบลจานใหญ่ ตำบลตระกาจ ตำบลกระแชง ตำบลภูเงิน อำเภอโนนคูณเฉพาะตำบลหนองกุง ตำบลเหล่ากวาง ตำบลโนนค้อ กระผมขอกราบขอบพระคุณทุกคะแนนเสียงที่พี่น้อง ศรีสะเกษ เขต ๓ เลือกผมมาในวันนี้ครับ วันนี้ผมมีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธานทั้งหมด ๓ เรื่อง เพื่อฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายธนา กิจไพบูลย์ชัย ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา ตั้งอยู่บนถนนทางหลวงหมายเลข ๒๐๘๕ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอเบญจลักษ์ มีนักเรียนประมาณ ๑,๒๐๐ คน สภาพปัจจุบันบริเวณหน้าโรงเรียนเป็นถนน ๔ ช่องจราจร และอยู่ในช่วงทางโค้ง เกิดอุบัติเหตุกับนักเรียน ผู้ใช้ทาง บุคลากรครูอยู่บ่อย ๆ จึงมี ความต้องการก่อสร้างสะพานลอยเพื่อความปลอดภัยแก่นักเรียน บุคลากรครู และผู้ใช้ทาง
นายธนา กิจไพบูลย์ชัย ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ วิทยาลัยเทคนิคกันทรลักษ์ อำเภอกันทรลักษ์ ตั้งอยู่บน ถนนทางหลวงหมายเลข ๒๐๘๕ มีนักเรียนจำนวน ๒,๕๐๐ คน สภาพปัจจุบันบริเวณ หน้าโรงเรียนเป็นถนน ๔ ช่องจราจร มีปริมาณรถสัญจรจำนวนมาก เนื่องจาก เป็นถนนสายหลักและฝั่งตรงข้ามเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ช่วงเช้ามีรถเข้าออกจำนวนมาก จึงมีความต้องการก่อสร้างทางลอด โดยทางลอดใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ ๒๐ ล้านบาท ผมขอขอบคุณข้อมูลจากท่าน ผอ. รพี ตั้งทรงสุวรรณ์ ผอ. แขวงทางหลวง ศรีสะเกษที่ ๒
นายธนา กิจไพบูลย์ชัย ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย เป็นเรื่องโรงเรียนบ้านตูม โรงเรียนบ้านตูมเป็นโรงเรียน ขยายโอกาสประจำตำบลตูม มีนักเรียนจำนวน ๑,๑๘๒ คน ปัจจุบันโรงเรียนจัดการเรียน การสอนจำนวน ๔๑ ห้องเรียน มีห้องเรียนที่ใช้ได้จริงแค่เพียง ๒๔ ห้องเรียน ยังขาดแคลน ห้องเรียนจำนวน ๑๗ ห้อง สำหรับอาคารเรียนใหม่ทางโรงเรียนรอการอนุมัติ จากกระทรวงศึกษาธิการมานานหลายปีแล้ว จึงฝากท่านประธานให้เร่งรัดอนุมัติงบประมาณ กับกระทรวงศึกษาธิการด้วย นอกเหนือจากนั้นบ้านพักครูของโรงเรียนยังมีแค่ ๓ ห้อง ยังขาดอีก ๑๙ ห้อง ซึ่งคุณครูต้องเดินทางไปพักในตัวเมือง โรงอาหารก็ยังไม่มี ขาดแคลน โรงอาหาร โดยในปัจจุบันใช้อาคารอเนกประสงค์ในการรับประทานอาหารและต้องแบ่งเวลา รับประทานอาหารเป็น ๓ ช่วงเวลา สนามเด็กเล่นก็มีสภาพเก่าและทรุดโทรม เกิดอันตราย กับน้อง ๆ เด็ก ๆ อยู่บ่อย ๆ ครับ
นายธนา กิจไพบูลย์ชัย ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
และสุดท้ายนี้ โรงเรียนบ้านตูมยังเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนยากจน ๑,๑๘๑ คน หรือ ๙๙.๙ เปอร์เซ็นต์ จากการสำรวจตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้มีความลำบากทางด้านอาหารเพราะว่าเป็นโรงเรียนขยายโอกาส เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์การเรียนที่ไม่เพียงพอ ผมขอขอบคุณข้อมูลจากท่าน ผอ. สิทธิวัฒน์ ธนบูลย์พิพัฒน์ ผอ. โรงเรียนบ้านตูม จึงฝากท่านประธานไปยังกระทรวงคมนาคม กระทรวงศึกษาธิการ ให้เร่งรัดสำรวจและดำเนินการอนุมัติงบประมาณเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนด้วย ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปผมจะเรียกไว้เผื่อเตรียมตัวอีก ๓ ท่านต่อเนื่องกัน ท่านแรก คุณจรยุทธ จตุรพรประสิทธิ์ ท่านที่ ๒ คุณศาสตรา ศรีปาน และท่านที่ ๓ คุณสิงหภณ ดีนาง เตรียมตัว ๓ ท่านครับ เชิญคุณจรยุทธ จตุรพรประสิทธิ์ ครับ
นายจรยุทธ จตุรพรประสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม จรยุทธ จตุรพรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๓ ยานนาวา บางคอแหลม พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีประเด็นในพื้นที่เขตยานนาวา ขอนำมาหารือกับ ท่านประธานครับ ประเด็นที่ผมนำมาหารือกับท่านประธานในวันนี้ ผมเชื่อว่าไม่ได้เกิดขึ้น เฉพาะในเขตพื้นที่ของผม แต่เกิดขึ้นในหลาย ๆ พื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
นายจรยุทธ จตุรพรประสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นที่ผมอยากจะ นำมาหารือกับท่านประธาน คือเรื่องการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะประเด็นเรื่องโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ ปัญหานี้เคยถูกนำมา หารือในสภาชุดที่แล้วโดยพี่ป๊อป วรรณวรี ตะล่อมสิน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล เขตยานนาวา เขตบางคอแหลม ขออภัยที่ต้องเอ่ยนาม แต่ไม่เสียหายครับ เมื่อปลายปีที่แล้วมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาผ่านทางพี่ป๊อปและผ่านทางผม เรื่องโรงงาน คอนกรีตผสมเสร็จมาสร้างในพื้นที่เขตยานนาวาตรงข้ามวัดปริวาสราชสงคราม ผมและพี่ป๊อปได้ดำเนินการตรวจสอบ และในที่สุดโรงงานดังกล่าวได้รื้อถอนออกไปเมื่อต้นปี มาวันนี้โรงงานนี้ได้ย้ายไปก่อสร้างฝั่งตรงข้าม ปัจจุบันนี้โรงงานนี้ได้เปิดดำเนินกิจการเรียบร้อย ที่ผ่านมาเคยมีประกาศในกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖ อนุโลมให้โรงงานคอนกรีตผสมเสร็จไม่ต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่ต่อมากรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการยกเลิกประกาศดังกล่าว มีผลให้โรงงานคอนกรีต ผสมเสร็จกลับไปอยู่ภายใต้นิยามโรงงานใน พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยประกาศ ดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓
นายจรยุทธ จตุรพรประสิทธิ์ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นต่อมาผังเมืองของเขตยานนาวานั้นแบ่งออกเป็น ๒ โซน Zone หนึ่ง คือสีแดง และอีก Zone หนึ่งคือสีน้ำตาล โรงงานที่มาตั้งอยู่บนพื้นที่ฝั่งสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งความหมายของผังเมืองสีนี้คือที่อยู่อาศัยประเภทหนาแน่น ถ้าเห็นในภาพจุดสีเทา คือโรงงานที่เคยตั้งอยู่ จุดสีเหลืองคือสถานที่ปัจจุบันของโรงงานที่กำลังตั้งอยู่ ที่เห็นในรูปคือ โรงงานดังกล่าวที่ก่อสร้างเสร็จแล้วและกำลังดำเนินกิจการอยู่ ผมอยากจะหารือท่านประธาน ฝากไปยังปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอธิบดี กรมโยธาธิการและผังเมือง อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการตรวจสอบ โรงงานคอนกรีตผสมเสร็จดังกล่าวว่าดำเนินการโดยถูกต้องหรือไม่ ทั้งเรื่องใบอนุญาตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ทั้งเรื่องข้อกฎหมายเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง โรงงานและเรื่องกฎหมายผังเมือง ขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตอบชัด ๆ และช่วยตีความกฎหมาย ให้ผมและพี่น้องประชาชนรับทราบเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณศาสตรา ศรีปาน ครับ
นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ เพื่อนสมาชิกทุกท่านครับ ผม นายศาสตรา ศรีปาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เด็กหาดใหญ่ พรรครวมไทยสร้างชาติ สงขลา เขต ๒ ครับ วันนี้ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ปกครอง ในอำเภอหาดใหญ่ เทศบาลนครหาดใหญ่ จากผู้ปกครองและคุณครูโรงเรียนสมานคุณ วิทยาทาน ในอำเภอหาดใหญ่ ว่ามีการยักยอกแล้วก็ปลอมแปลงเอกสารเป็นเท็จ เป็นเงิน อุดหนุนที่ทางรัฐให้โรงเรียนเอกชน เป็นโครงการเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ
นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ
ซึ่งใน Slide โครงการนี้ก็จะเป็นโครงการ ที่รัฐอุดหนุนหนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบ แล้วก็กิจกรรมอะไรต่าง ๆ ซึ่งวันนี้ ผู้ปกครองแล้วก็คุณครูต่าง ๆ ก็ได้ร้องเรียนมาทางผมเป็นจำนวนมาก รวมถึงวันนี้เรื่องนี้ ก็ปรากฏในสื่อหลายที่ด้วยกันที่เป็นข่าวมาเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา วิธีการโกงนะครับ ซึ่งที่ผม ได้รับเรื่องมาก็คือว่าให้เซ็น เอาบัตรประชาชนแต่ไม่ให้กรอก ไม่ให้ Tick ตรงเรื่องหนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียนอะไรต่าง ๆ เครื่องแบบ ผู้ปกครองไม่เคยได้เงินนะครับ ไม่เคยได้เงินมา บางคนเรียนตั้งแต่อนุบาลจนจบยังไม่ได้เงิน มูลค่าความเสียหายเป็น ๑๐ ล้านบาท ตอนนี้ ยังไม่มีคำชี้แจงใด ๆ จากผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งวันนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ผมอยาก จะให้เข้าไปตรวจสอบแล้วก็เข้าไปดู วันนี้สงสารเด็กครับ เขาถามว่าทำไมถึงไม่บอกเร็ว ๆ เนิ่น ๆ ก็กลัวครับ บางทีครูไปสู้ก็โดนไล่ออก ผู้ปกครองโรงเรียนนี้ก็หาเช้ากินค่ำไม่อยาก ไปต่อสู้ก็เลยปล่อยผ่านไปเรื่อย ๆ เวลาผ่านไปก็โดนโกง แล้วก็มีความเคลือบแคลงสงสัย
นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ
เดี๋ยวผมพาไปเที่ยวโรงอาหารต่อ อาหารครับ เยาวชนของชาติไทยต้องกิน อาหารแบบนี้ สมควรหรือเปล่าครับ วันนี้ไม่ว่ายายมี ยายมา ตาสี ตาสา หรือว่าจะเป็น ลูกของนักธุรกิจที่จ่ายค่าเทอมเป็นแสนก็ต้องได้รับโภชนาการที่ครบ ๕ หมู่ ได้รับอาหาร ที่พอเพียงในแต่ละวัน นี่คือเวรกรรมของเด็ก สุขลักษณะในโรงเรียนก็ไม่ได้ เด็ก ๆ หลายคน เข้าโรงพยาบาลเนื่องจากในโรงอาหารทำอาหารผิดสุขลักษณะ เพราะฉะนั้นผมฝากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องนะครับ ฝากกระทรวงศึกษาธิการ สตง. ป.ป.ช. แล้วก็ สช. เขต ๒ จังหวัดสงขลา เข้ามาตรวจสอบโดยด่วนนะครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณสิงหภณ ดีนาง ครับ
นายสิงหภณ ดีนาง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสิงหภณ ดีนาง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เขต ๖ พรรคเพื่อไทย ผมมีเรื่องหารือท่านประธานอยู่ประมาณ ๒ เรื่อง
นายสิงหภณ ดีนาง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เกี่ยวกับการกำจัดวัชพืช ด้วยกระผมได้รับการร้องเรียนจาก นายอรุณ โพธิ์ปัฒสา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังหินลาด นายสมชาย อ้วนพรมมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ และนายชัยยา เรืองเจริญ นายกเทศบาล ตำบลภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น พร้อมกับพี่น้องประชาชน เกี่ยวกับการกำจัดวัชพืช ในเขตพื้นที่ทั้ง ๓ ตำบล กล่าวคือ ขอ Slide ด้วยครับ
นายสิงหภณ ดีนาง ขอนแก่น ต้นฉบับ
๑. อ่างเก็บน้ำภูนกยูง บ้านนาดี หมู่ที่ ๙ ตำบลวังหินลาด ๒. อ่างเก็บน้ำหนองทอน หมู่ที่ ๒ และบึงหนองบัว หมู่ที่ ๕ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมพร จังหวัดขอนแก่น ๓. อ่างเก็บน้ำหนองสมอ หมู่ที่ ๑ เทศบาลตำบลภูผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากอ่างเก็บน้ำทั้ง ๔ แห่ง เป็นแหล่งน้ำที่ประชาชน ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร การประมง และเป็นน้ำดิบผลิตน้ำประปา รวมทั้งเป็น แหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนของพี่น้องประชาชนมาโดยตลอด แต่ปัจจุบันนี้มีวัชพืชปกคลุมผิวน้ำ ภายในอ่างเก็บน้ำดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้เต็มที่ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง ๓ แห่ง ยังขาดเครื่องจักรและงบประมาณในการดำเนินการ ดังกล่าว จึงเรียนมายังท่านประธานผ่านไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้กรุณา ตั้งงบประมาณเป็นการเร่งด่วนด้วยครับ
นายสิงหภณ ดีนาง ขอนแก่น ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เรื่องถนนชำรุดเสียหายและขอขยายไหล่ทาง ด้วยกระผมได้รับ การร้องเรียนจากนายอรุณ โพธิ์ปัฒสา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังหินลาด และนายชัยยา เรืองเจริญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น พร้อมกับพี่น้องประชาชนทั้ง ๒ ตำบล เกี่ยวกับถนนชำรุด ดังนี้ ๑. โครงการซ่อมแซม ถนน Asphaltic Concrete สายบ้านฝายหิน หมู่ที่ ๔ ถึงบ้านโป่งแห้ง ตำบลวังหินลาด ๒. โครงการซ่อมแซมถนน Asphaltic Concrete สาย ทล.๒๒๘ บ้านฝายหิน ตำบลวังหินลาด ๓. โครงการสร้างถนน Asphaltic Concrete สายบ้านหนองทุ่ม ไปบ้านนาคำน้อย หมู่ที่ ๑๑ ตำบลวังหินลาด ๔. ขยายไหล่ทางทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๓๖๑ ตอนแยกหนองเขียด-ภูผาม่าน ระยะทางประมาณ ๑๓ กิโลเมตร ด้วยถนนทั้ง ๔ โครงการดังกล่าวมีความชำรุดเสียหายเนื่องจากการใช้งานมานาน ประกอบกับปริมาณการจราจรหนาแน่นมากขึ้น และการขนส่งพืชไร่ทางการเกษตร ออกสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะถนนสาย ๒๓๖๑ เข้าสู่อำเภอภูผาม่าน เป็นถนนเพียง ๒ ช่องจราจร มีความคับแคบมาก และเป็นถนนสู่แหล่งท่องเที่ยว ซึ่ง ณ ขณะนี้อำเภอภูผาม่านกำลังได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงในด้านการท่องเที่ยว เป็นอย่างมากของจังหวัดขอนแก่น กระผมจึงขอหารือมายังท่านประธานผ่านไปยัง กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดงบประมาณ ในการซ่อมแซมและขยายไหล่ทางเป็นการเร่งด่วนด้วย ฉะนั้นกระผมจึงเรียนมายัง ท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอ่างเก็บน้ำและโครงการ ถนนดังกล่าวข้างต้นให้กับชาวบ้านต่อไปด้วยครับ พร้อมนี้ขอส่งเอกสารผ่านไปยัง ท่านประธานเพื่อส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปผมจะเรียกเพื่อเตรียมตัวอีก ๓ ท่าน คือ ท่านแรก คุณนรินทร์ คลังผา ท่านที่ ๒ คุณโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย ท่านที่ ๓ คุณอัคร ทองใจสด ขอเชิญคุณนรินทร์ คลังผา ครับ
นายนรินทร์ คลังผา ลพบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายนรินทร์ คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เขต ๔ พรรคภูมิใจไทย ปัญหาข้อร้องเรียน ที่มาหารือกับท่านประธานมีอยู่ ๓ เรื่อง
นายนรินทร์ คลังผา ลพบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เรื่องเกี่ยวกับน้ำท่วมตลาดเทศบาลตำบลโคกสำโรง และตำบล ข้างเคียง ตามรูปภาพ ตั้งแต่ปี ๒๕๖๔ ปี ๖๔๖๕ ต่อเนื่องมาเลย ทั้ง ๒ ปี ฝนตกชุกเมื่อใด น้ำจากเขาทางด้านทิศใต้และด้านตะวันออกเฉียงใต้จะไหลเข้ามาตลาดอย่างรวดเร็ว ลงคลอง ห้วยยางแล้วมาถึงตลาดอย่างรวดเร็ว ทำให้น้ำท่วมฉับพลัน สร้างความเสียหายกับราษฎร ในพื้นที่เป็นจำนวนหลายพันครัวเรือน ซึ่งการแก้ไขปัญหานั้นก็ต้องฝากเรียนท่านประธานไปถึงกรมชลประทานในการแก้ไขปัญหา ในการสร้างฝายกันน้ำไว้ก่อนหน้าที่ให้น้ำมันกันออกไปลำคลองด้านอื่นสัก ๓-๔ จุด แล้วก็ขุดลอกคลองเพื่อรับน้ำจากคลองห้วยยางไปคลองห้วยปลาหมอ แล้วจาก คลองห้วยปลาหมอไปฝายหนองชนะชัย หมู่ที่ ๓ ตำบลเกาะแก้ว ซึ่งตรงนี้มีที่ทางสาธารณะ อยู่ประมาณ ๒๐ ไร่ ซึ่งจะทำเป็นโครงการแก้มลิงได้ สำหรับเก็บกักน้ำเพื่อไม่ให้น้ำไหลลง ไปสู่พื้นที่ลุ่มต่ำ คือตำบลโคกสำโรงบางส่วน ตำบลถลุงเหล็ก ตำบลวังจั่น และอำเภอบ้านหมี่ บางส่วน เพื่อป้องกันน้ำไปเพิ่มในของคลองชัยนาท-ป่าสัก ของอำเภอบ้านหมี่ นี่คือโครงการ ที่จะช่วยในการป้องกันน้ำท่วมโคกสำโรงได้ในระยะยาว ต้องฝากเรียนท่านประธาน ถึงกรมชลประทานให้ดำเนินการเร่งด่วนครับ
นายนรินทร์ คลังผา ลพบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เรื่องถนนเส้น ลบ.๒๐๕ ซึ่งน้ำท่วมก็คือเส้นที่ท่วมอยู่ พอน้ำท่วม เสร็จแล้วถนนก็ชำรุดเสียหายทำให้เกิดหลุมบ่อ การสัญจรไปมา ไปรูปถนนเลยครับ นี่ฝายต่าง ๆ ที่พังเสียหายต้องไปซ่อมแซม ต้องสร้างใหม่หมด ถนน ลบ.๒๐๕ ผ่านอำเภอ โคกสำโรงซึ่งน้ำท่วม พอหมดจากน้ำท่วมแล้วถนนก็ชำรุดเสียหาย รถสัญจรไปมาลำบาก แล้วไฟจราจรก็จะมืดในยามค่ำคืน ก็อยากให้ทางท่านประธานฝากไปถึงทางกรมทางหลวง ช่วยกรุณาในการซ่อมสร้างทางหลวงเส้น ๒๐๕ และมีทางหลวงเส้น ๓๓๒๖ เส้นจาก อำเภอโคกสำโรงไปอำเภอสระโบสถ์ มีหลายช่วงที่เป็นชุมชนและถนนแคบ ต้องขยาย ช่องทางเป็น ๔ เลน จากบ้านดงมะรุม หมู่ที่ ๒ ตำบลดงมะรุม อำเภอโคกสำโรง และบ้านคลองมะเกลือของตำบลนิยมชัย อำเภอสระโบสถ์ ซึ่งหนทางเหล่านี้โรงงานน้ำตาล เมื่อเปิดเมื่อไรรถสิบล้อจะวิ่งอ้อยเยอะ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ขอให้ท่านได้แจ้ง ทางกรมทางหลวง
นายนรินทร์ คลังผา ลพบุรี ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่ง ฝากท่านประธานครับ ตอนนี้ช่วงนี้ทางเขต ๔ ซึ่ง ๔ อำเภอ และอำเภอข้างเคียงฝนแล้งมาก เกษตรกรเดือดร้อน ขอฝนเทียมกันกับผมมา ผมเลยขอฝาก ท่านประธานเรื่องของการขอฝนเทียมและการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ประสบปัญหา ภัยแล้งในเขต ๔ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย ครับ
นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย ชัยภูมิ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายแพทย์โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย ขอปรึกษาหารือปัญหาของพี่น้องประชาชนเขต ๑ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ๓ เรื่องด้วยกันครับ
นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย ชัยภูมิ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เรื่องถนนทางหลวงสาย ๒๐๒ ช่วงตั้งแต่สี่แยกโรงต้มไปถึง บ้านกุดเวียน ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร คับแคบ เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ประชาชนสูญเสียชีวิตจำนวนมากโดยเฉพาะนักเรียน ประชาชนขอให้ทางหลวงขยายช่องจราจรจาก ๒ ช่องจราจร เป็น ๔ ช่องจราจร เพื่อให้ การเดินทางสะดวก และขอเพิ่มเติมก็คือขอเพิ่มไฟฟ้าแสงสว่างบริเวณแยกเข้าหมู่บ้าน ตลอดระยะทาง ๒๐๒ จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ กระทรวงคมนาคม แขวงการทางจังหวัดชัยภูมิ พิจารณาดำเนินการด้วยครับ
นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย ชัยภูมิ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ปัญหาขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคของพี่น้อง ชาวบ้านโนนก้านตง ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ก่อนหน้านี้พี่น้องประชาชน ต้องใช้น้ำร่วมกับหมู่บ้านข้างเคียง ไม่มีประปาผิวดินเป็นของตัวเอง พี่น้องจำนวน ๖๕ หลังคาเรือน หรือกว่า ๓๐๐ ชีวิต วันนี้ไม่มีน้ำสะอาดสำหรับการใช้อุปโภคบริโภค จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการจัดสร้างประปาผิวดิน บ้านโนนก้านตง ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ฝาก อบต. ลาดใหญ่ และกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่นช่วยพิจารณาดำเนินการด้วยครับ
นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย ชัยภูมิ ต้นฉบับ
และเรื่องที่ ๓ เป็นปัญหาเรื่องแรงดันน้ำประปาของพี่น้องชาวบ้านชีลอง หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๑๕ หมู่ที่ ๑๗ ตำบลชีลอง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ แรงดันน้ำประปา ส่วนภูมิภาคต่ำมาก ไม่สามารถใช้ได้ โดยเฉพาะเวลาเร่งด่วนประชาชนมีปัญหาการใช้น้ำ เพราะฉะนั้นฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ การประปาชัยภูมิ และเทศบาล ตำบลชีลอง ช่วยพิจารณาดำเนินการ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับน้ำประปาที่ใสสะอาด แล้วก็มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้ ขอกราบขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณอัคร ทองใจสด เชิญครับ
นายอัคร ทองใจสด เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
เรียนท่านสภาประธานสภาที่เคารพ ผม นายอัคร ทองใจสด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า น้ำเป็นต้นกำเนิดของหลายสรรพสิ่ง น้ำเป็นสิ่งที่เราใช้อุปโภคบริโภคกันทุกคน แต่เมื่อน้ำน้อย เกินไปก็เกิดปัญหาภัยแล้ง เมื่อน้ำมากเกินไปก็เกิดปัญหาอุทกภัย ๒ ปัญหานี้เกิดขึ้น ที่บ้านผมครับ วิเชียรบุรีและศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำป่าสัก เป็นหัวใจหลัก ซึ่งมีความยาวราว ๆ ๓๕๐ กิโลเมตร ไหลผ่านตั้งแต่เหนือสุดจนถึงใต้สุด ของจังหวัด แต่ปัญหาก็คือความลาดชันของแม่น้ำป่าสัก จุดสูงสุดของความลาดชันอยู่ที่ ๑๙๐ เมตร ส่วนจุดต่ำสุดอยู่ที่อำเภอศรีเทพ อยู่ที่ประมาณ ๔๐ เมตร จากความลาดชันนี้ ทำให้วิเชียรบุรีและศรีเทพไม่สามารถเก็บกักน้ำได้จากแม่น้ำป่าสักและไหลออกไปจังหวัดอื่น เกือบหมด ผมจึงอยากหารือ ๒ ประเด็นหลัก คือปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำท่วม
นายอัคร ทองใจสด เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
สำหรับปัญหาภัยแล้ง เพชรบูรณ์จะมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมดเกือบ ๓๐๐,๐๐๐ ครัวเรือน โดยทำเกษตรไปแล้วเกือบ ๑๐๐,๐๐๐ ครัวเรือน คิดเป็น ๓๘ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของคนในพื้นที่ ทุกคนต่างหวังว่าน้ำฝนจะตกมา ในปริมาณที่พอเพียงและตกต้องตามฤดูกาล แต่ฝนกลับไม่ตก และน้ำก็กักเก็บไม่พอ ยกตัวอย่างในพื้นที่อำเภอวิเชียรบุรี มีพืชผลเสียหายทางการเกษตรกว่า ๑,๐๐๐ ไร่ จากปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะข้าวและข้าวโพด เช่น ตำบลทรัพย์สมบูรณ์ ตำบลสระประดู่ และตำบลพุเตย ถ้าประเมินมูลค่าความเสียหายถ้าเป็นข้าวก็ตกที่ ๑,๐๐๐ ไร่ ๑,๐๐๐ ไร่ ก็ตกอยู่ที่ ๗.๙ ล้านบาท ถ้าเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก็ตกอยู่ที่ ๑๑.๒ ล้านบาท สิ่งนี้ทำให้เห็นว่า เกษตรกรมีรายได้ลดลงจากการขายพืชผลทางการเกษตร แทนที่จะมีเงินไปจ่ายค่าเทอมลูก แทนที่จะมีเงินไปจ่ายในการใช้ชีวิตประจำวันหรือว่าจ่ายหนี้สิน ผมจึงขอฝากถึงหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องช่วยเพิ่มแหล่งเก็บน้ำ ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ ถ้ามีวิธีที่ไวกว่านี้ผมก็จะยินดีอย่างยิ่งครับ
นายอัคร ทองใจสด เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
ปัญหาที่ ๒ คือปัญหาเรื่องอุทกภัย อาจจะดูย้อนแย้งกับปัญหาแรก แต่เป็น ปัญหาที่ต้องป้องกันอย่างเร่งด่วน เพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่เกิดน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง แต่ในหลายปีที่ผ่านมาความรุนแรงของปัญหานี้ทวีคูณยิ่งขึ้น เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐาน ของวิเชียรบุรีและศรีเทพตั้งอยู่ช่วงทางผ่านน้ำ และเป็นจุดที่อยู่ต่ำกว่าอำเภออื่น ๆ ทำให้น้ำ จากตอนเหนือไหลลงมาท่วม ๒ อำเภอนี้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับแม่น้ำป่าสักนั้นตื้นเขิน จึงไม่สามารถจุน้ำทั้งหมดไว้ได้ การระบายน้ำจึงเป็นไปได้ยากและช้ามาก ถ้าจะทำให้เห็น ภาพแห่งความเดือดร้อนนี้ชัดเจนมากขึ้น
นายอัคร ทองใจสด เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
นี่คือภาพน้ำท่วมที่หน้าเทศบาล ตำบลพุเตยที่หน้าบ้านผมเองในปีที่แล้ว และยังมีอีกหลายพื้นที่ที่น้ำท่วมขังสูงถึง ๑๕๐ เซนติเมตร ไม่ว่าจะเป็นตำบลท่าโรง พุขาม นาสนุ่น และศรีเทพ รถไม่สามารถสัญจรได้ เราต้องใช้เรือในการนำส่งอาหารและส่งของใช้จำเป็น จากเหตุการณ์นี้ประชาชนได้รับ ความเดือดร้อนเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของ บ้านเรือน หรือพืชผล ทางการเกษตร ข้าวของเสียหายเรายังซ่อมได้ สร้างได้ สิ่งที่เสียหายเรายังซ่อมใหม่ สร้างใหม่ได้ แต่สิ่งที่ถูกพัดไปกับน้ำคือความรู้สึกกับหัวใจของพี่น้องประชาชนที่ได้รับ ผลกระทบ ผมจึงอยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยขยายเส้นทางน้ำให้น้ำมีทางไป แล้วไม่ว่าจะใช้พื้นที่ไหนที่เป็นประโยชน์ที่ใช้ได้ อย่างเช่น ส.ป.ก. หรือว่าพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ก็อาจจะเป็นไปได้ ผมจึงอยากให้เราช่วยกันป้องกันแทนที่เราจะแก้ไข ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
หมดเวลาครับ ขอบคุณมากครับ ต่อไปผมจะเรียก ๓ ท่าน คือ คุณปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ ท่านที่ ๒ คือ คุณพีระเดช ศิริวันสาณฑ์ แต่คนลำดับที่ ๖ ท่านขอเปลี่ยนไปเป็นคนสุดท้าย เพราะฉะนั้น จึงให้ลำดับที่ ๗ อภิปรายแทน คือคุณบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เชิญคุณปัญญารัตน์ครับ
นางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน ปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขต ๒ พรรคก้าวไกล ขอหารือท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงความเดือดร้อน ของประชาชนในพื้นที่ ๕ เรื่อง ขอ Slide ค่ะ
นางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ การก่อสร้าง ถนนคอนกรีตในซอยบางกร่าง ๖๓/๑-๒ ซึ่งได้มีการประมูลมาตั้งแต่วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๕ ขณะนี้เลยกำหนดมานานแล้ว แต่ถนนก็ยังสร้างไม่เสร็จค่ะ ฝนตกมาทีไรถนนก็จะเละมาก ดังภาพที่เห็นบน Slide ประชาชนเดือดร้อนมาก จึงขอฝาก ท่านประธานไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จด้วยค่ะ
นางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ชุมชนลานมะขวิด หมู่ที่ ๙ ตำบลบางกร่าง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ต้องการไปพบแพทย์เดือดร้อนมาก การเดินทางเข้าออกลำบากเพราะว่าทางเดิน ยังไม่เป็นพื้นคอนกรีต จึงทำให้ไม่สามารถเข็นรถผู้ป่วยไปหาหมอได้ ชาวบ้านได้มี ความประสงค์แบ่งที่ดินบางส่วนให้กับเทศบาลกว่า ๒ ปีแล้ว แต่ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ ดิฉันทราบมาว่าเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม เทศบาลเมืองบางกร่างได้ทำประชาคมแผนพัฒนาเมือง แต่ยังไม่เห็นการตั้งงบประมาณแก้ไขปัญหาทั้ง ๒ เรื่องดังกล่าว เห็นแต่งบอื่น ๆ เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ ๒๔ ล้านบาท ดิฉันจึงขอหารือมายังท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาให้ประชาชนในเรื่องเร่งด่วนก่อนค่ะ
นางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ความเดือดร้อนของครูและผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลนนทบุรี เรื่องให้ย้ายโรงเรียนออกจากพื้นที่ เนื่องจากจะมีการปรับปรุงศาลากลางหลังเก่า ครู โรงเรียน ผู้ปกครอง และดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการปรับปรุงศาลากลางหลังเก่า ให้สวยเด่นเป็นสง่า เป็น Landmark ของจังหวัดนนทบุรี แต่ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดสรรสถานที่และงบประมาณในการย้ายไปสถานที่แห่งใหม่ให้เหมาะสม ตามหนังสือ ของกรมธนารักษ์ ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๐ ที่ให้อยู่ได้จนกว่าจะมีพื้นที่ที่เหมาะสม ดิฉันจึง ขอหารือท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ไขปัญหาให้โดยเร็วด้วยค่ะ
นางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ สมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้รับเงิน ค่าปลงศพ ด้วยภรรยาของนายแพทย์ประทาน หรือนัฎพงศ์ อนันตบุรี ได้มาร้องเรียนว่า ไม่สามารถรับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ของคู่สมรสที่ถึงแก่กรรมได้ เนื่องจากถูกลบชื่อออกจาก ทะเบียนสมาชิกโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ เพื่อความโปร่งใสและเป็นธรรม ดิฉันจึงขอหารือ ท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงและให้ความเป็นธรรม แก่ผู้เสียหายด้วยค่ะ
นางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย เงินปลงศพ ๓,๐๐๐ บาทที่ได้ล่าช้า เนื่องจากประชาชน ในซอยพิบูลสงคราม ๑๑ ตำบลสวนใหญ่ ได้ร้องเรียนมาว่ามารดาของตนได้เสียชีวิตไป หลายเดือนแล้ว แต่เงินค่าปลงศพสำหรับผู้ยากไร้จำนวน ๓,๐๐๐ บาท ลำดับที่ ๕,๙๖๖ ยังไม่ได้รับ สอบถามไปยังเจ้าหน้าที่แจ้งว่าต้องให้รอก่อน จึงเรียนท่านประธานผ่านไปยัง กระทรวง พม. ว่าเหตุใดจึงมีความล่าช้า จะสามารถเร่งรัดจ่ายเงินได้เมื่อไร และมีข้อกฎหมาย ข้อบังคับหรือกระบวนการใดที่เป็นอุปสรรคหรือไม่ ขอบคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณพีระเดช ศิริวันสาณฑ์ ครับ
นายพีระเดช ศิริวันสาณฑ์ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ พีระเดช ศิริวันสาณฑ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ พรรคภูมิใจไทย เรื่องความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนมีจำนวนมาก แต่ด้วยความที่มีเวลาจำกัดหารือได้เพียง ๓ นาที ผมขออนุญาตฝากสัก ๓ เรื่อง
นายพีระเดช ศิริวันสาณฑ์ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรื่องแรก ผมต้องขออนุญาต ฝากทางสภา ทางท่านประธาน ฝากเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือกรมชลประทาน เรื่องสะพานข้ามคลองอนุศาสนนันท์หรือคลองชัยนาท-ป่าสัก ตั้งอยู่ที่อำเภอตาคลี ตำบลตาคลี อยู่ที่ กม.๕๓+๙๔๐ สะพานแห่งนี้สร้างตั้งแต่ปี ๒๕๐๑ ๖๐ กว่าปี จริง ๆ แล้ว ความเดือดร้อนตัวนี้ผมได้รับแจ้งจากพี่น้องประชาชนตั้งแต่ผมยังไม่ได้เป็นผู้แทนราษฎร เมื่อสัก ๒ ปีที่แล้ว ก็ได้ฝากท่านชาดา ไทยเศรษฐ์ ช่วยประสานงานผ่านกรมชลประทาน จริง ๆ แล้วกรมชลประทานก็รับปากทุกปี แต่จนถึงปีนี้ก็ยังไม่ได้ ล่าสุดผมเองได้มีโอกาส ประสานงานผ่านกรมชลประทาน ก็รับปากว่าจะให้งบประมาณเหลือจ่ายในปีนี้ ท่านดูสิครับ สภาพความเดือดร้อนอันตรายมาก ผู้ใช้สัญจรไปมากว่า ๑,๐๐๐ ครัวเรือน กลัวเหลือเกินว่า มันจะเกิดเหตุก่อนที่จะได้เปลี่ยนสะพาน ผมไม่อยากให้มีความเสียหายเกิดขึ้นก่อน มีความสูญเสียเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยทำนะครับ
นายพีระเดช ศิริวันสาณฑ์ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ผมต้องฝากเรื่องถนนคลอง ๗ ขวา เป็นถนนของกรมชลประทาน อีกเหมือนกันครับ ถนนเส้นนี้สร้างมาน่าจะไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปี แล้วไม่มีการบูรณะซ่อมแซมเลย แล้วผมเข้าใจว่าช่วงหลัง ๆ กรมชลประทานเองไม่มีงบในการซ่อมแซมสะพาน ไม่มีงบ ในการก่อสร้างถนน สภาพถนนแทบจะสัญจรไปมาไม่ได้แล้ว จริง ๆ แล้วหลาย ๆ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น อบต. อบจ. ซึ่งผมเรียนปรึกษา ก็อยากจะเข้ามาช่วย แต่ด้วยความที่เป็นพื้นที่ ของกรมชลประทานก็เลยไม่สามารถทำอะไรได้ ผมก็ฝากไว้ครับ
นายพีระเดช ศิริวันสาณฑ์ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
อีกเรื่องเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย การก่อสร้างรถไฟรางคู่จากลพบุรี ไปปากน้ำโพที่ช่วงอำเภอตาคลี มีการก่อสร้างสะพานเกือกม้า ๒ แห่ง ทำให้วิถีชีวิต ของคนตาคลีเปลี่ยน จากเดิมทีเดียวที่ข้ามทางรถไฟได้เลย มันกลายเป็นต้องใช้เกือกม้า แล้วปรากฏว่าถนนเส้นนี้สร้างตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ ปีนี้ ๒๕๖๖ และทราบว่าจริง ๆ แล้วน่าจะหมด สัญญาแล้ว แต่มีการต่อสัญญาอีก ๒๐ เดือน ทุกครั้งที่มีการประชุมกัน มีการร้องเรียนกันไป ไม่มีรายละเอียด ไม่มีแม้กระทั่งป้ายโครงการ ก็ยังไม่ทราบเลยครับ แล้วที่สำคัญรถไฟรางคู่ อันนี้ทำให้ทางน้ำเปลี่ยนแปลง เมื่อฝนตกทีไรก็เกิดน้ำท่วม เพราะฉะนั้นเป็นความเดือดร้อน อย่างถึงที่สุด ผมขออนุญาตฝากท่านประธานกราบเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอบพระคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณบุญชัย กิตติธาราทรัพย์
นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต ๓ พรรคพลังประชารัฐ วันนี้ผมขออนุญาตหารือท่านประธานถึงความเดือดร้อนของ พี่น้องประชาชนในพื้นที่ครับ
นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เรื่องของช้างป่า ช่วง ๑ ปีที่ผ่านมามีช้างป่าจากป่าภูหลวง จังหวัดเลย ได้ออกมาหากินในหลาย ๆ หมู่บ้านของพี่น้องในตำบลศิลา และตำบลตาดกลอย อำเภอหล่มเก่า และยังทำลายพืชผลทางการเกษตรของพี่น้อง รวมถึงที่อยู่อาศัย จึงอยากเรียน ท่านประธานสภาไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้ช่วยกันผลักดันช้างป่าให้กลับเข้าไปอยู่ในป่าดังเดิม
นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เรื่องถนนทางหลวง หมายเลข ๒๑ ตอนสักหลงถึงกกกะทอน ช่วงหลักกิโลเมตรที่ ๒๘๖+๗๐๐ ถึง ๒๘๙+๗๐๐ ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงถนนแคบและมีเนินสูงมักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และในเวลากลางคืนจะมืดมาก ไม่มีไฟฟ้าข้างทางทั้งที่เป็นเขตชุมชน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกครั้งทำให้เกิดการสูญเสีย ทั้งทรัพย์สินและชีวิตของผู้ใช้เส้นทางเส้นนี้ จึงอยากฝากท่านประธานถึงหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องช่วยเร่งดำเนินการขยายถนนเป็น ๔ เลนให้ด้วยครับ
นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เรื่องไฟแสงสว่างและสัญญาณไฟจราจรที่สามแยกบ้านกกกะทอน บนถนนทางหลวง หมายเลข ๒๑ ตัดกับถนนทางหลวง หมายเลข ๒๒๑๖ ซึ่งเป็นบริเวณ ชุมชน มีจำนวนประชากรที่จะใช้เส้นทางสัญจรอย่างหนาแน่นและมักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงขอฝากท่านประธานสภาถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมทางหลวงให้ช่วย ดำเนินการติดตั้งไฟสัญญาณจราจรและไฟแสงสว่างด้วยครับ
นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ เรื่องถนนถ่ายโอน ในหลาย ๆ พื้นที่ของเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะเขต ๓ ของกระผมได้ถ่ายโอนถนนมาหลายเส้น แต่เส้นที่มีปัญหา วันนี้ผมขอพูดถึง เส้นอำเภอหล่มเก่าถึงอำเภอหล่มสัก ทางหลวงหมายเลข ๒๐๑+๑๐๑๐๐ ตอนแยกทางหลวง ๒๐๓ ซึ่งเป็นถนนที่ใช้ระหว่างบ้านหนองสว่างถึงบ้านฝายนาแซง ตำบลฝายนาแซง ระยะทาง ประมาณ ๓-๔ กิโลเมตร สภาพถนนมีรอยแตกร้าวและเป็นหลุมเป็นบ่อ จึงอยากฝาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นช่วยจัดงบประมาณให้มา ปรับปรุงถนนเส้นนี้ด้วยครับ
นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๕ เรื่องการสร้างอ่างเก็บน้ำทางตอนเหนือของอำเภอหล่มเก่า ซึ่งเป็น ต้นน้ำของแม่น้ำป่าสัก ในฤดูฝนจะมีน้ำเป็นจำนวนมากไหลผ่านจากอำเภอหล่มเก่า ผ่านอำเภอหล่มสักถึงอำเภอเมือง และหลาย ๆ อำเภอในจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งทำให้เกิด อุทกภัยและน้ำท่วมในหลาย ๆ พื้นที่ พอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำใช้เลย เพราะเป็นที่ลาดชันสูง ฉะนั้นจึงอยากเรียนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมชลประทานให้ช่วยเร่งรัด ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเลา ตำบลตาดกลอย อ่างเก็บน้ำห้วยบักกูด ตำบลศิลา อ่างเก็บน้ำหินโง่น ตำบลศิลา ซึ่งเป็นกิ่งสาขาของแม่น้ำป่าสัก จะได้ลดปัญหาน้ำท่วม และกักเก็บน้ำไว้ให้พี่น้องเกษตรกรได้ใช้ และสร้างเศรษฐกิจให้พี่น้องเกษตรกร และยังพัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปผมจะเรียกให้เตรียมตัวอีก ๓ ท่านนะครับ ท่านแรกคือ คุณสิริน สงวนสิน คนที่ ๒ คือคุณอรรถพล ไตรศรี คนที่ ๓ คือคุณสุไลมาน บือแนปีแน เชิญคุณสิรินครับ
นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
สวัสดีท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายสิริน สงวนสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตตลิ่งชันและเขตทวีวัฒนา พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องจะมาปรึกษาท่านประธาน เป็นเรื่องที่ผมอยากจะให้ชื่อเรื่องว่า ก้าวเดียวก็เสียวได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมได้รับเรื่องร้องทุกข์มาจากชุมชนริมทางรถไฟชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน มาเป็นเวลานานแล้ว เรื่องนี้มีปัญหาเกี่ยวกับทางเท้าที่บริเวณถนนเลียบทางรถไฟ ที่ไม่ปลอดภัยและขาดเป็นบางช่วงครับ
นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในการดูแล ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ทางสำนักงานเขตจึงไม่สามารถมีอำนาจเข้ามาดูแล หรือซ่อมแซมได้ คือชุมชนจะตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างถนนราชพฤกษ์และถนนชัยพฤกษ์ จากจุดที่ ๑ ถ้าเราเดินมาจากถนนราชพฤกษ์ เดินผ่านมามันก็จะมี Footpath ใช้ประมาณ ๖๐๐ เมตร แต่เมื่อเราเดินเลยหมู่บ้านร่มรื่นไป Footpath ก็จะหายไป หลังจากที่เราเดินเลย มาระยะทาง ๖๐๐ เมตร ที่ชาวบ้านต้องใช้ทางนี้เพื่อจะเดินกลับชุมชน ซึ่งมีอันตราย ค่อนข้างสูงเพราะมีดงหญ้ารกรุงรัง แล้วก็มีการนำขยะมาทิ้ง หรือถ้าเราเดินมาจาก ถนนชัยพฤกษ์ ถนนชัยพฤกษ์ก็จะมีระยะทางไปถึงชุมชนประมาณ ๓๕๐ เมตร ซึ่งเรามี ทางเท้าแค่ประมาณ ๔๕ เมตรเท่านั้น ซึ่งถนนชัยพฤกษ์เองมีสถานที่สำคัญมากมาย ทั้งโรงเรียน ตลาด และสถานที่ทำงาน ก็อยากจะฝากท่านประธานเรียนไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ท่านผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยช่วยมาดูแลตรงนี้ แล้วก็สร้างทางเท้า ให้เชื่อมต่อและให้มีความปลอดภัยด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณอรรถพล ไตรศรี ครับ
นายอรรถพล ไตรศรี พังงา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายอรรถพล ไตรศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพังงา เขต ๑ พรรคภูมิใจไทย วันนี้ ผมขอนำหารือกับท่านประธาน ๒ เรื่อง ผมได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้าน โดยเฉพาะ อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอเมือง เกี่ยวกับการกำจัดวัชพืชบนเกาะกลางถนน
นายอรรถพล ไตรศรี พังงา ต้นฉบับ
แขวงการทางจังหวัดพังงาได้มีการประกาศ ให้เป็นแขวงการทางจังหวัดพังงาเมื่อปี ๒๕๕๘ เมื่อก่อนแขวงการทางจังหวัดพังงายังไม่ได้มี แล้วถนนทางหลวงทั้งหมดของจังหวัดพังงาอยู่ในความดูแลของแขวงการทางจังหวัดภูเก็ตด้วย โดยเฉพาะอำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอท้ายเหมือง อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอกะปง การดูแล สายทางตามภาพที่ท่านเห็นถนนหนทาง จังหวัดพังงาเป็นจังหวัดท่องเที่ยว มีรายได้จากการท่องเที่ยวติดลำดับ ๑-๑๐ จากรายได้งบประมาณในปี ๒๕๖๒ จึงเห็นสภาพ ของถนนทั้ง ๒ ข้างทางไม่มีการตกแต่งแล้วก็ไม่มีการตัดแต่งต้นไม้ จึงอยากให้หน่วยงาน แขวงทางหลวงภูเก็ตแล้วก็แขวงทางหลวงพังงาที่รับผิดชอบของถนนทางหลวงพังงาช่วยกัน มาดูแลด้วยนะครับ
นายอรรถพล ไตรศรี พังงา ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับถนนอีกสายหนึ่ง เป็นถนนขึ้นสู่เขานางหงส์ เป็นถนน เพชรเกษมสาย ๔ ดั้งเดิม ตอนนี้มีการลาดผิวจราจรใหม่เรียบร้อย แล้วก็เป็นถนนที่ใช้ ในการสัญจรจากเขาหลักเข้าสู่อำเภอเมือง อำเภอทับปุด แล้วก็เข้าสู่จังหวัดกระบี่ เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวอีกจุดหนึ่ง แต่ว่าถนนสายนี้เมื่อลาดยางแล้ว ต้นไม้อยู่ในเขตของป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้เป็นผู้ดูแลด้วย แต่เวลาแขวงการทางดำเนินการตกแต่งต้นไม้ก็มีปัญหาเกี่ยวกับ กรมป่าไม้ จึงอยากให้ท่านประธานช่วยประสานให้กรมป่าไม้ แล้วก็ทางหลวงท้องถิ่น จังหวัดพังงาช่วยเข้าไปดำเนินการ อันนี้ก็ฝากท่านประธานนำเรียนให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการต่อไปครับ
นายอรรถพล ไตรศรี พังงา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ อันนี้ผมได้รับการประสานจาก ท่านธราธิป ทองเจิม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา ขออนุญาตที่ได้เอ่ยนาม เกี่ยวกับ อาคารศูนย์จริยธรรมศึกษาวัฒนธรรมของจังหวัดพังงา เป็นศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปกรรม วัฒนธรรมและอันดามัน เป็นการเรียนรู้ของอาคารทั้งหมดเกี่ยวกับ ๖ จังหวัดภาคใต้ โดยกรมศิลปกรเป็นผู้ออกแบบและใช้งบประมาณของกระทรวงวัฒนธรรม ๑๘๘ ล้านบาท แต่ตอนนี้การส่งมอบให้กับ อบจ. ไม่ถูกต้อง สร้างเสร็จเมื่อปี ๒๕๕๔ จึงมีเหตุจำเป็นที่จะต้อง ให้กรมศิลปากรส่งมอบอาคารให้กับกรมธนารักษ์ เพื่อกรมธนารักษ์จะได้ส่งมอบให้กับ อบจ. ต่อไป อันนี้ตามสภาพที่ท่านเห็นอาคารต่าง ๆ เริ่มทรุดโทรมตามกาลเวลา เพราะ อบจ. ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้ ตั้งงบประมาณในการพัฒนาก็ไม่สามารถเข้าไปซ่อมแซมได้ เพราะผิดระเบียบอยู่ จึงอยากหารือท่านประธานเพื่อนำเรื่องทั้งหมดให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมศิลปากร กรมธนารักษ์ และ อบจ. ช่วยกันประสานงานให้อาคารนี้เป็นที่เชิดชู การท่องเที่ยว แล้วก็อยู่ในเขตของการท่องเที่ยวด้วย ขอบพระคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณสุไลมาน บือแนปีแน ครับ
นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม สุไลมาน บือแนปีแน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดยะลา ประกอบไปด้วย อำเภอเมืองยะลา อำเภอยะหา ในส่วนของตำบลยะหา บาโงยซิแน และตาชี วันนี้ผมมี เรื่องจะหารือกับท่านประธานอยู่ ๓ เรื่องด้วยกัน
นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ
เรื่องแรก คือเรื่องที่พี่น้องประชาชนอยากที่จะให้ขยายถนนทางหลวง หมายเลข ๔๐๖๕ ตอนบ้านเนียง-ยะหา ซึ่งถนนเส้นนี้ถือว่าเป็นถนนเส้นหลักของพี่น้อง ชาวยะหาที่สัญจรเข้าไปสู่เมืองยะลา และอีกทั้งยังเป็นทางเชื่อมระหว่างอำเภอเมืองยะลา ผ่านอำเภอยะหา ผ่านอำเภอบันนังสตาไปสู่เบตงซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจ และอีกทั้งยังเป็น ทางเชื่อมระหว่างอำเภอเมืองยะลา อำเภอยะหา ไปสู่อำเภอกาบัง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ปัจจุบันถนนเส้นนี้มีปริมาณการจราจรที่หนาแน่นมาก แล้วก็เกิดอุบัติเหตุ บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตบริเวณทางโค้งยาลอ ซึ่งในบางช่วงของถนนนี้ยังคงเป็น คอขวดอยู่ครับ ยังมีผิวจราจรกว้างเพียงแค่ ๑๒ เมตร ฉะนั้นแล้ววันนี้อยากจะประสาน ผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทำการขยายในช่วง กม.๐+๒๐๐ ถึง กม.๔ และอีกช่วงหนึ่งก็คือช่วง กม.๕ ถึง กม.๙ เพื่อให้พี่น้องสามารถสัญจรได้อย่างสะดวก และเป็นการพัฒนาเมือง สำคัญที่สุดคือเป็นการลดปัญหาอุบัติเหตุอีกด้วย
นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ก็คืออยากจะปรึกษาหารือกับท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องในตำบลลำใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องสมาชิก อบต. และนายก อบต. ทั้งตำบลลำใหม่และตำบลลำพะยา ในเรื่องของน้ำกัดเซาะผิวจราจรบริเวณ ถนนสายต้นพิกุล-ต้นตันหยี ซึ่งเป็นทางเชื่อมระหว่าง ๒ ตำบล หมู่บ้านกำปงบลูกา ก็คือ ตำบลลำใหม่ไปสู่บ้านกือแดหรือว่าตำบลลำพะยา เนื่องจากพอฝนตกทำให้น้ำกัดเซาะ ทำให้ผิวจราจรเกิดการกัดเซาะ ทำให้เหลือผิวจราจรอยู่แค่ Lane เดียว ทำให้การสัญจร ลำบาก แล้วก็เกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อพี่น้องประชาชนที่สัญจร ฉะนั้นแล้วอยากจะฝาก ท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งดำเนินการออกแบบ ดำเนินการก่อสร้าง เขื่อนกันตลิ่งเพื่อทำให้ผิวจราจรสามารถสัญจรได้อย่างสะดวก และปลอดภัยนะครับ
นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย เป็นเรื่องของปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำซากในเขตเทศบาลเมือง สะเตงนอก สะเตงนอกถือว่าเป็นเมืองที่เจริญอย่างเร็วมาก ทำให้มีการปลูกบ้านที่อยู่อาศัย มีการถมที่ทำให้การบริหารจัดการน้ำไม่ทันกับความเจริญเติบโตของเมือง วันนี้ผมได้รับเรื่อง ร้องเรียนจากหลายหมู่บ้านมากเลย โดยเฉพาะอย่างหมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๑๐ และหมู่ที่ ๑๒ ซึ่งเป็นบริเวณที่ติดกัน เมื่อฝนตกก็จะมีน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน ฉะนั้นแล้ววันนี้อยากจะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทำการศึกษา ทำ Master plan ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ทำการสำรวจเก็บค่าระดับค่า Contour เพื่อเป็น Data ในการแก้ปัญหาต่อไป
นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ
ท้ายที่สุดก็อยากจะฝากในช่วงใกล้ฤดูฝนอยากจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมในเรื่องของน้ำท่วม ในเรื่องของเครื่องสูบน้ำ และทำการขุดลอกคูคลอง เพื่อรับน้ำท่วมที่จะมาถึง ขอบคุณมากครับ ท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปผมก็จะเรียก ๒ ชื่อเพื่อเตรียมตัวนะครับ ท่านแรกคือคุณพงษ์มนู ทองหนัก ท่านที่ ๒ คือท่านเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล ท่านที่ ๓ คือท่านยศวัฒน์ มาไพศาลสิน เชิญคุณพงษ์มนูครับ
นายพงษ์มนู ทองหนัก พิษณุโลก ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิก ผู้ทรงเกียรติ ผม พงษ์มนู ทองหนัก พรรครวมไทยสร้างชาติ จากวังทอง เนินมะปราง วันนี้ จะขอหารือกับท่านประธานสัก ๒ ประการ ในเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องอำเภอวังทอง และพี่น้องอำเภอเนินมะปราง
นายพงษ์มนู ทองหนัก พิษณุโลก ต้นฉบับ
ประการแรก เกี่ยวกับความปลอดภัยในเรื่องชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้อง ที่ใช้เส้นทางหลวง หมายเลข ๑๑ จากอำเภอวังทองไปอำเภอสากเหล็ก บริเวณกิโลเมตรที่ ๑๐ บ้านกกไม้แดงแยกไปอำเภอเนินมะปราง ซึ่งเป็นสามแยกที่มีการจราจรค่อนข้างแออัด รวมทั้งวันพฤหัสบดีและวันเสาร์ในช่วงบ่าย ๆ ก็จะมีตลาดนัดของชาวบ้านมาทำการค้าขาย แต่ปรากฏว่าที่สามแยกนี้ไม่ค่อยมีสัญญาณไฟส่องสว่างที่ชัดเจน และไม่มีสัญญาณไฟฉุกเฉิน เพื่อป้องกันและเตือนภัยให้กับพี่น้องที่ใช้รถ ใช้ถนน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของตำบลดินทองได้สอบถามไปยังกรมทางหลวงแล้วว่าทำไมจุดนี้แสงสว่างจึงมีน้อย สัญญาณไฟกะพริบหรือไฟฉุกเฉินเพื่อเตือนให้ชาวบ้านได้ใช้อย่างระมัดระวังทำไมไม่มี ทางกรมทางหลวงได้แจ้งตอบมาว่าไม่มีงบประมาณ แต่ช่วงอื่นมีงบประมาณทำมา แต่ช่วงที่สำคัญนี้ดันไม่มีงบประมาณครับ ท่านประธาน ดังนั้นจึงขอหารือกับท่านประธาน ช่วยประสานไปยังกรมทางหลวง หมายเลข ๑๑ ช่วงกิโลเมตรที่ ๑๐ ให้ไปติดสัญญาณ ไฟฉุกเฉินและสัญญาณไฟจราจรต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้อง ชาวอำเภอวังทองและชาวอำเภอเนินมะปราง
นายพงษ์มนู ทองหนัก พิษณุโลก ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ เป็นเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรในอำเภอ เนินมะปราง อำเภอวังทอง รวมถึงอำเภอบางกระทุ่ม ซึ่งฤดูนี้เป็นฤดูฝน พี่น้องส่วนใหญ่ ในเขตนั้นจะมีอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำข้าวโพด ปลูกพริก ปลูกฟักทอง แต่มาช่วงนี้ ปีนี้เกิดฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง ขณะนี้ราษฎรในเขตของอำเภอวังทอง ตำบลวังนกแอ่น บ้านกลาง ชัยนาม ดินทอง หนองพระ พันชาลี ท่าหมื่นราม และทั้งอำเภอเนินมะปราง ส่วนอำเภอ บางกระทุ่ม ตำบลเนินกุ่ม และตำบลวัดตายมได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ข้าวที่หว่านไว้ ขึ้นมายาวประมาณ ๑ คืบไม่มีน้ำ กำลังจะยืนต้นตาย พริก ฟักทองของพี่น้องก็กำลังจะตาย เช่นกัน ดังนั้นจึงขอหารือกับท่านประธานว่าช่วยประสานไปยังกรมฝนหลวงที่อยู่นครสวรรค์ ช่วยทำฝนเทียม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องราษฎรในเขตอำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง และบางกระทุ่มด้วย จักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ขอเชิญคุณเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล ครับ
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์ จากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผมมีเรื่องหารือ ท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒ เรื่องด้วยกัน ขอ Slide ด้วยครับ
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ก็คือปัญหา ภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคมที่ผ่านมา เกิดน้ำท่วมแล้วก็ดินโคลนถล่มเป็นบริเวณกว้างในท้องที่ตำบล แม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปิดทับหลายหมู่บ้านทำให้ท่อประปาได้รับ ความเสียหาย ไฟดับ แล้วก็สะพานขาดหลายจุด หมู่บ้านที่ได้รับความเสียหายหนัก ๒ หมู่บ้าน ก็คือบ้านแม่ตอละ หมู่ที่ ๒ เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมหมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต ๑ ราย มีบ้านที่เสียหายโดยสิ้นเชิง ๔ หลัง แล้วก็จะต้องสร้างใหม่ ๑๖ หลัง แล้วก็เสียหาย ในระดับที่สามารถซ่อมแซมได้อยู่ ๔๙ หลัง
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
๒. ก็คือบ้านโตแฮ หมู่ที่ ๕ เกิดดิน Slide ด้านล่าง นี่คือหมู่บ้านโตแฮ ดิน Slide สีแดงเกือบจะถึงหมู่บ้านอยู่แล้ว บ้านหลายหลังก็กำลังจะไหลลงไปแล้ว สิ่งที่ เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ทางนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลแม่สามแลบและชุมชนแจ้งมาว่า ขณะนี้ชาวบ้านกำลังต้องการรับความช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ๑. ก็คือเรื่องเครื่องจักรซ่อมแซมเส้นทางที่ถูกดิน Slide ปิดทับ ๒. ก็คือ ต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญลงไปสำรวจประเมินหมู่บ้านที่มีความเสี่ยง แล้วก็สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ก็คือว่ากรณีหมู่บ้านโตแฮ และหมู่บ้านแม่ตอละอาจจะจำเป็นต้องย้ายบ้านบางหลัง หรืออาจจะทั้งหมู่บ้านออกจากพื้นที่เสี่ยง ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ต้องขอความกรุณา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันบูรณาการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยนะครับ
นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กรณีที่ ๒ ก็คือกรณีปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตำบลเขาค้อเป็นชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ๑๒ หมู่บ้าน ประชากร ๑๕,๐๐๐ คน ถูกขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสุดทับที่ของชาวบ้าน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ หลายปีที่ผ่านมาธนารักษ์ในพื้นที่ไม่อนุญาตให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งท้องถิ่นจัดทำ โครงการพัฒนาใด ๆ โดยเฉพาะเรื่องน้ำเป็นปัญหาที่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน เป็นอย่างมาก ทาง อบต. เข็กน้อย ได้พยายามที่จะจัดทำโครงการเพื่อจัดทำประปาให้แก่ หมู่บ้านแล้ว แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ใช้พื้นที่ในการจัดทำโครงการ เพราะฉะนั้นขอความกรุณาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ธนารักษ์จังหวัดเพชรบูรณ์ กองทัพภาคที่ ๓ แล้วก็สำนักงานเจ้าท่าสาขาพิษณุโลก ได้โปรด พิจารณาถึงความเดือดร้อนของชาวบ้าน เรื่องน้ำเป็นปัญหาใหญ่ช่วยเร่งรัดให้มีการอนุญาต ให้ อบต. เข็กน้อย ใช้พื้นที่ในการจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ ชาวบ้านทั้งตำบลด้วย ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไป คุณยศวัฒน์ มาไพศาลสิน ครับ
นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน กาญจนบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ยศวัฒน์ มาไพศาลสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี เขต ๓ อำเภอท่ามะกา อำเภอพนมทวน พรรคภูมิใจไทย ท่านประธานครับ เมืองกาญจน์ของผมนั้นถือว่า เป็นเมืองหลวงแห่งน้ำตาลทราย เพราะฉะนั้นวันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยที่ผมจะเอาปัญหา ของพ่อแม่พี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อยมาถึงท่านประธานสภาผ่านไปยังกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงอุตสาหกรรม
นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน กาญจนบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ เมื่อ ๒ ปีที่ผ่านมา ประเทศเราแล้วก็ทั่วโลกมีปัญหาเกี่ยวกับสภาวะมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะบ้านเรา ก็คือ PM2.5 แล้วส่วนใหญ่จะบอกว่าโดยเฉพาะในฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือว่าฤดูกาล ตัดอ้อยนั้นจะมีปัญหาเกี่ยวกับทางอากาศมาก เพราะว่าต้นทุนที่สูงของการเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้เกษตรกรชาวไร่จำเป็นจะต้องจุดไฟเผาอ้อย เพื่อที่จะได้ลดค่าใช้จ่ายในต้นทุน เพราะว่า ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีมีรถตัดอ้อย มีรถคีบอ้อย จึงทำให้จำเป็นที่จะต้องลดต้นทุน เพราะว่า มีค่าใช้จ่ายจากพลังงาน ค่าน้ำมันที่สูงขึ้นที่เราไม่เคยปฏิเสธได้เลย ไม่เคยลดครับ แล้วยังจะ รวมถึงค่าปุ๋ย ค่ายา เพราะฉะนั้นทางเลือกนี้เป็นทางเลือกที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ใช้ แต่เมื่อ ๒ ปีนั้นรัฐบาลมีนโยบายขอความร่วมมือที่จะให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยนั้นได้ช่วยลด ปัญหา PM2.5 นั่นก็คือจะชดเชยรายได้ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย แต่วันนี้ความมั่นใจของพี่น้อง ชาวเกษตรกรลดลง เพราะอะไรครับ เมื่อปีงบประมาณปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ เงินเยียวยา ที่ทางรัฐบาลนั้นจะมอบให้กับพี่น้องชาวไร่อ้อยนั้นไม่เป็นไปตามที่ได้พูดเอาไว้ก็คือล่าช้า จึงส่งผลทำให้เกษตรกรนั้นมีต้นทุนที่สูงกว่าเดิม เพราะทุก ๆ รายส่วนใหญ่จะต้องไป กู้จากธนาคาร กู้จากเถ้าแก่ต่าง ๆ มา เพราะฉะนั้นปีนี้ผมจึงฝากท่านประธานไปยัง กระทรวงอุตสาหกรรม แล้วก็โดยเฉพาะคณะ ครม. ให้ช่วยพิจารณา แล้วก็ให้มอบนโยบาย ที่ชัดเจน ไม่ใช่ขอความอนุเคราะห์จากชาวไร่ก่อนและมาให้งบประมาณหรือว่าเงินชดเชย เยียวยาอ้อยทีหลัง ล่าสุดครับ พี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อยบอกว่าเขาขอไม่ให้เราจุดต้นทุน เราสูงขึ้น เราก็ยินดี แต่หลังจากนั้นนโยบายออกมาบอกว่ารายไหนที่มีอ้อยไฟไหม้จะไม่ให้เงิน เยียวยาเลย แบบนี้เป็นการหักหลังเกษตรกรหรือเปล่าครับ ฝากท่านประธานไปถึง กระทรวงอุตสาหกรรมและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านครับ ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ผมขอเรียกชื่อ ๓ ท่านเพื่อเตรียมตัวนะครับ ท่านแรก คือคุณเกษม อุประ ท่านที่ ๒ คือคุณจำลอง ภูนวนทา ท่านที่ ๓ คือคุณยอดชาย พึ่งพร ขอเชิญคุณเกษมครับ
นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม เกษม อุประ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย ขอนำปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนหารือท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ถนนทางหลวงแผ่นดินสายบ้านม่วง-กุดเรือคำ ซึ่งอยู่ใน ความรับผิดชอบของแขวงการทางบึงกาฬ สำนักงานทางหลวงที่ ๓ สกลนคร ในช่วงสะพาน ข้ามลำน้ำห้วยซางช่วงบ้านโคกก่อง-บ้านจำปาดง ซึ่งขณะนี้สะพานชำรุดเสียหาย เสาตอหม้อสะพานแตกร้าว ทรุด ตัวสะพาน พื้นสะพานก็ทรุด ทำให้เป็นทางต่างระดับ และในขณะเดียวกันขอบสะพานและราวสะพานก็แตกร้าวบิดเบี้ยวไปมา ทำให้เกิดอุบัติเหตุ บ่อยครั้ง และเนื่องจากว่าในบริเวณใกล้เคียงนี้ของสะพานมันเป็นช่วงที่เขาทำนาเกลือ และทำให้มีดินทรุดตัวอยู่บ่อยครั้ง เป็นอันตรายต่อการสัญจรไปมา อยากจะฝากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน เพราะเส้นทาง ดังกล่าวเป็นเส้นทางบ้านม่วง เชื่อมระหว่างบึงกาฬ-หนองคาย กับจังหวัดสกลนคร
นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ
และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นการสืบเนื่องในข้อที่ ๒ นั่นก็คือเราใช้ ทางเลี่ยง นั่นก็คือใช้ทางหลวงชนบทบ้านสรสีห์ไปบ้านห้วยน้ำเที่ยงซึ่งเป็นทางคับแคบ และทำให้ถนนเสียหาย อยากฝากทางหลวงชนบทแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วนด้วย
นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ
แล้วเรื่องที่ ๓ นั่นก็คือปัญหายาเสพติด ซึ่งระบาดอย่างหนักในจังหวัดสกลนคร และโดยเฉพาะพื้นที่ของกระผม ซึ่งปัจจุบันนี้เห็นคนบ้า คนวิกลจริต คนจิตฟั่นเฟือน เดินตามถนนมากมาย และบางทีก็ไปบุกรุก ไปปีนบ้าน ลักขโมย สร้างความเดือดร้อน ความหวาดผวาให้แก่พี่น้องประชาชน อันนี้อยากจะฝากกราบเรียนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปัญหาที่สำคัญที่สุดในเรื่องของยาเสพติด ถ้าการจับก็คงจะไม่แก้ไขปัญหาเท่าที่ควร เพราะเขาไม่กลัว จึงอยากจะให้มีการแก้ปัญหาโดยการยึดทรัพย์ จะเป็นการสร้างปัญหา แก้ไขปัญหาในระยะยาวให้แก่พี่น้องประชาชน กราบขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณจำลองครับ
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม จำลอง ภูนวนทา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขต ๓ พรรคพลังประชารัฐ ก่อนอื่นผมหารือท่านประธานนะครับ ๓ นาทีน้อยไป อยากจะเพิ่มเป็น ๕ นาที เพราะว่า ปัญหาในพื้นที่ของแต่ละพื้นที่ของแต่ละจังหวัดมีปัญหาเยอะแยะตามที่ผมนั่งฟังตลอด การประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ผ่านมา ในเวลาจำกัดนี้ผมจะขอหารือท่านประธานเกี่ยวกับ พื้นที่ของกระผมที่พี่น้องประชาชนเดือดร้อนอยู่ประมาณ ๒-๓ เรื่อง
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
เรื่องแรก เป็นเรื่องแหล่งน้ำ บ้านผมถูกเวนคืนสร้างเขื่อนลำปาว เป็นระยะเวลานานแล้วที่พี่น้องประชาชนกระทบในการทำมาหากินและการนำน้ำขึ้นมาใช้ บ้านผมอยู่ฝั่งตะวันตกของเขื่อนลำปาว แต่ไม่สามารถนำน้ำขึ้นมาได้ ทางองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น อปท. หรือเทศบาลได้ร่วมมือกันเพื่อเสนอโครงการขึ้นมาขอใช้น้ำ ก็ได้รับ ความอนุเคราะห์จาก ฯพณฯ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ของกระผม ได้อนุมัติโครงการไป ๗๖ ล้านบาท อยู่ในโครงการ ผมกลัวว่าโครงการจะตกไป จึงนำมาฝากท่านประธานครับ
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เรื่องถนนทางหลวงเส้นอำเภอหนองกุงศรี-อำเภอท่าคันโท เส้น ๒๐๐๙ คับแคบ ตลอดระยะเวลาที่ผมเสนอตัวเล่นการเมืองสมัยอยู่ท้องถิ่นก็เห็น เป็นอย่างนี้มาตลอด ไม่ได้รับการแก้ไขเลย เกิดอุบัติเหตุ แล้วบ้านผมเป็นพื้นที่เกษตร ทำเกษตรไร่อ้อย รถสิบล้อเยอะ รถเล็กสัญจรไปมาไม่สะดวก ควรจะมีไหล่ทางครับ ท่านประธาน
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เรื่องน้ำประปา ที่ทางท้องถิ่นได้ขอใช้พื้นที่ น.ส.ล. หรือว่าหนังสือ สำคัญที่ดินหลวง ปรากฏว่ามันล่าช้า ด้วยสำนักงานน้ำแห่งชาติ โดยท่านประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานนโยบายน้ำแห่งชาติ ได้อนุมัติโครงการไป ๘ โครงการ แต่อีก ๒ โครงการ ต้องใช้ที่ดิน น.ส.ล. ปรากฏว่าต้องผ่านคณะกรรมการหลายคณะกรรมการ ช้ามากครับ ต่อไปรวบรัด ได้ไหมว่าอยู่ที่เดียว การขออะไรก็ตามถ้ามีขั้นตอนเยอะแยะก็จะทำให้ความล่าช้าเกิดขึ้น ผลประโยชน์ก็จะไม่ตกถึงประชาชนอย่างทั่วถึง อย่างทันทีและรวดเร็วทันใจ
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ทีนี้อีกเรื่องหนึ่ง เรื่องถนนเชื่อมระหว่างเส้นทางหลวงชนบทตำบลโคกเครือ ระยะทาง ๓ กิโลเมตร ผ่านบ้านนางามไปเส้นทางหลวงสายห้วยยางดง-ท่าคันโท ปรากฏว่า เวลาหน้าฝนเด็กไปโรงเรียนไม่ได้ ของบประมาณผ่านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ขออนุญาตท่านประธานอีกสักนิดหน่อยครับ มันเป็นเรื่องจำเป็นครับ ปรากฏว่าเกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นไม่ยอมให้เงินอุดหนุนสักที ขอทุกปี ๆ ก็ไม่ได้รับการอุดหนุน อาจจะเกิดจากอะไรหรือเปล่าก็ไม่ทราบครับ ท่านประธาน จึงขอฝาก ท่านประธานแค่นี้ครับ ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณยอดชายครับ
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม ยอดชาย พี่งพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขตเมืองพัทยาและเทศบาลเมือง หนองปรือ วันนี้ผมมีทั้งหมด ๔ ประเด็น ที่จะหารือกับท่านประธาน
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ตามที่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ร้องเรียนมายังผมว่าบุตรหลาน มีสุขอนามัยภายในโรงเรียนที่ไม่ดี ห้องน้ำสกปรกไม่พร้อมใช้งาน จึงทำให้น้อง ๆ นักเรียน ไม่เข้าห้องน้ำที่โรงเรียน โดยเฉพาะนักเรียนผู้หญิงที่ต้องอั้นหนักอั้นเบาเพื่อกลับมา เข้าห้องน้ำที่บ้าน จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านสุขภาพของเด็ก ๆ ได้ครับ
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ เนื่องด้วยมีพี่น้องประชาชนทุกข์ร้อนกับปัญหาคนไร้บ้าน ทั้งที่มีสติรับรู้ได้และคนไร้บ้านที่มีปัญหาทางจิต ในเขตเมืองพัทยา หนองปรือ โดยเฉพาะ เมืองพัทยาซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก ปัญหาดังกล่าวนี้สะท้อนเชิงโครงสร้าง ของประเทศเราครับ ทั้งนี้คนไร้บ้านที่เป็นปัญหารุนแรง ในพื้นที่คือคนไร้บ้านที่มีปัญหา ทางจิต ทำร้ายนักท่องเที่ยว ด่าทอประชาชน และทำลายสิ่งของ คนไร้บ้านดังกล่าวจะอาศัย อยู่ตามแหล่งท่องเที่ยว สถานประกอบการที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง ก็จะไปจับจองด้านหน้า มีสิ่งของ ขยะเต็มบริเวณพื้นที่ ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ จึงทำให้เสียภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ไม่สมกับการบริหารจัดการของเมืองที่บอกว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกครับ
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ เนื่องด้วยเมืองพัทยาเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ทั่วโลก และนั่นก็หมายถึงภาคแรงงานด้วยเช่นกันที่หลั่งไหลเข้ามาในพื้นที่ หวังจะสร้างงาน สร้างเงิน ยกระดับฐานะความเป็นอยู่ ก็มีทั้งแรงงานชาวไทยและชาวต่างชาติ และปัญหานี้ ก็เป็นปัญหาแรงงานต่างด้าวที่แย่งงานคนไทยครับ ซึ่งเป็นอาชีพที่สงวนไว้สำหรับคนไทย เช่น หาบเร่แผงลอยทั้งในตลาดและตลอดแนวชายหาด ทั้งหาดพัทยาและหาดจอมเทียน ที่มีทั้งรถเข็น รถซาเล้ง ที่ต่างด้าวเป็นเจ้าของจำนวนมาก อีกอย่างเป็นการกีดขวางการจราจร แล้วก็รวมไปถึงอาชีพงานนายหน้าค้าที่ดิน ซึ่งเป็นอาชีพที่สงวนไว้ให้คนไทยตามประกาศของ กระทรวงแรงงาน นายหน้าต่างด้าวที่ทำงานในเมืองพัทยามีจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อ นายหน้าคนไทยเป็นอย่างมาก ด้วยการสื่อสารที่ดีกว่า การเข้าถึงลูกค้าที่ง่ายกว่าเนื่องจาก พูดภาษาเดียวกันครับ ท่านประธาน
นายยอดชาย พึ่งพร ชลบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้าย อาคารร้าง สร้างไม่เสร็จตั้งเด่นเป็นตระหง่านอยู่บนจุดที่เป็น Landmark ของเมืองพัทยา ตั้งโชว์นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ประกาศผลงาน การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน คอนโดมิเนียมร้างนี้เริ่มก่อสร้าง เมื่อปี ๒๕๕๑ นับตอนนี้ก็ผ่านไป ๑๕ ปีแล้วครับ และในปี ๒๕๖๑ ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุด ว่าเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบ ณ วันนี้ผ่านมา ๕ ปีแล้วก็ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้น เคยมีอดีตนายกเมืองพัทยาท่านหนึ่งประกาศเชิญชวนเอกชนให้มาทำการเสนอราคา เพื่อรื้อถอนในปี ๒๕๖๓ แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปใด ๆ คอนโดมิเนียมร้างนี้ก็ยังยืนหยัดประกาศ ผลงานของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างต่อเนื่อง ประชาชนจึงสอบถามไปยังผู้แทนราษฎรว่าขอประสาน ดำเนินการเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมร้างนี้ได้แล้ว เพราะไม่ไหวกับการตอบคำถามนี้ ต่อนักท่องเที่ยว มากี่ปี ๆ ก็ยังตั้งอยู่ จนพี่น้องประชาชนในพื้นที่รวมถึงตัวกระผมที่ต้อง อับอาย กระอักกระอ่วนใจในการที่ตอบคำถามของนักท่องเที่ยว ใครไม่อาย แต่ผมอายครับ ทั้ง ๔ ประเด็นนี้ จึงฝากท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขให้เป็น รูปธรรมอย่างเร่งด่วน ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปผมจะเรียกอีก ๓ ท่าน เตรียมตัวนะครับ ท่านแรก คุณพันธ์ศักดิ์ บุญแทน ท่านที่ ๒ คุณพรรณสิริ กุลนาถศิริ ท่านที่ ๓ คุณสังคม แดงโชติ เชิญคุณพันธ์ศักดิ์ครับ
นายพันธ์ศักดิ์ บุญแทน สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายพันธ์ศักดิ์ บุญแทน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๔ พรรครวมไทยสร้างชาติ กระผมขออนุญาตท่านประธานเพื่อนำปัญหาความเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกรชาวสวนยางพารา ซึ่งที่รู้จักกันดีว่าเป็นเศรษฐกิจ ของประเทศไทย ถูกขับเคลื่อนด้วยภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ ถูกกำหนดอัตราความก้าวหน้าและเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยผลผลิตยางพารา และปาล์มน้ำมันมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ท่านประธานที่เคารพครับ ผมขอนำปัญหา ความเดือดร้อน โดยเฉพาะปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางพารา มานำเรียนต่อ ท่านประธานสภาเพื่อบอกกล่าวไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม หน่วยงานหลักที่ดูแลด้านนี้ว่า ราคายางตกต่ำมากครับ ราคายางขายกันในท้องตลาด ณ เวลาวันนี้ขายได้เพียงกิโลกรัมละ ๓๐ กว่าบาทเท่านั้น ถือว่าเป็นราคายางที่ตกต่ำมาก ไม่คุ้มทุน แต่จำต้องรับสภาพ เพราะตลอดชีวิตตั้งแต่บรรพบุรุษหาเลี้ยงชีพด้วยการทำสวนยางพารามาโดยตลอด ในขณะที่ ราคาน้ำมัน ราคาปุ๋ยกลับมีอัตราพุ่งสูงขึ้นตลอด ค่าครองชีพสูงขึ้น รายจ่ายสูงขึ้นตาม ราคาน้ำมัน แต่รายรับชาวสวนยางพาราชักหน้าไม่ถึงหลัง ทั้ง ๆ ที่ผลผลิตจากน้ำยางพารา สามารถนำไปสู่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย กระผมขอยกตัวอย่างว่าวันนี้ ล้อยางรถยนต์ยี่ห้อหนึ่งที่ผลิตจากประเทศเกาหลีตีตลาดล้อยางรถยนต์ประเทศไทย อย่างมากมาย ทั้งที่ประเทศเกาหลีแทบจะไม่มียางสักต้น แต่มีกำลังผลิตส่งออกมาขาย ในประเทศไทยเราซึ่งเป็นประเทศที่มีวัตถุดิบด้านยางพาราเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ บริษัทผลิตยางรถยนต์ในประเทศไทย แน่นอนที่สุดครับ ต้องซื้อวัตถุดิบราคายางตลาดโลก แต่เรามีมาตรการอย่างไร ในระยะยาวไหมครับ ทั้งในด้านกฎหมายที่จะกำหนดให้ผู้ผลิต ต้องซื้อวัตถุดิบในประเทศไทย ได้รับการประกันราคาที่มั่นคง จากการที่ผมได้ลงพื้นที่ได้สัมผัสกับพี่น้องชาวสวนยางพาราพวกเขาบอกว่าไม่ได้หวังว่า วันนี้ราคายางพาราต้องทะลุถึงกิโลกรัมละ ๑๐๐ บาท แต่ขอเพียงราคายางพารากิโลกรัมละ ๖๐ บาทก็พออยู่ได้ เกษตรกรก็ยังพออยู่ได้ จับจ่ายใช้สอยได้ดีมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้องค์กร เศรษฐกิจและการค้าอื่น ๆ ขยายตัวได้มากยิ่งขึ้น กระผมในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้ทราบปัญหาความเดือดร้อนเรื่องปากท้องของพี่น้องประชาชน ขอนำปัญหาราคา ยางพาราที่ตกต่ำเรียนต่อท่านประธานสภา เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาส่วนนี้ต่อไป ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณพรรณสิริครับ
นางพรรณสิริ กุลนาถสิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย พรรคเพื่อไทย ดิฉันขอเสนอปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดสุโขทัยด้านน้ำท่วม ภัยแล้ง ปัญหาการกักเก็บและระบายน้ำในพื้นที่ราบลุ่มต่ำลำน้ำยมสายเก่า ขอ Slide ค่ะ
นางพรรณสิริ กุลนาถสิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
ลำน้ำยมสายเก่ามีประตูระบายน้ำ ที่มีระดับต่ำมากในพื้นที่ตลอดสาย ๘๙ กิโลเมตร พี่น้องประชาชนประสบปัญหาโดยตลอด ในการนี้จึงขอเร่งรัดการแก้ไขปัญหาไปยังกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน ๓ เรื่อง
นางพรรณสิริ กุลนาถสิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ขอเร่งรัดในเรื่องของการสร้างประตูระบายน้ำวังลึกกิโลเมตรที่ ๔๙ ซึ่งประตูนี้ได้อยู่ในแผนของกรมชลประทานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน ผู้นำองค์กรท้องถิ่นท้องที่ได้สำรวจไว้เมื่อ ๓-๔ ปีที่ผ่านมา จะยังประโยชน์แก่พี่น้องจำนวน ๖ ตำบลด้วยกัน ก็คือ ตำบลสามเรือน ตำบลวังลึก ตำบลเกาะตาเลี้ยง ตำบลไกรใน รวมทั้ง ในจังหวัดพิษณุโลก คือตำบลศรีภิรมย์และตำบลตลุกเทียม ถ้าแก้ปัญหาได้จะช่วยเหลือ พี่น้องถึง ๘๕๐ ครัวเรือน ในพื้นที่เกษตรกรรม ๕,๗๐๐ ไร่
นางพรรณสิริ กุลนาถสิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ขอเร่งรัดให้ปรับปรุงแล้วก็ซ่อมแซมประตูระบายน้ำคลองด่าน กิโลเมตรที่ ๕๘ ในพื้นที่แห่งนี้จะมีความครอบคลุมในพื้นที่เกษตรกรรม ๔๘,๐๐๐ ไร่ ครอบคลุมพี่น้องประชาชน ๗๓๐ ครัวเรือน มีประตูระบายน้ำซึ่งเก่ากว่า ๒๐ ปี แล้วก็ต่ำมาก ในการนี้ กรมชลประทานก็ได้ออกสำรวจแล้ว แล้วก็บรรจุเข้าในแผน แต่ว่าคงจะมีความล่าช้า ในการดำเนินงาน จึงขอเร่งรัดเพื่อให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนตำบลไกรใน ตำบลป่าแฝก ตลอดจนตำบลเกาะตาเลี้ยง ตำบลไกรกลาง รวมทั้งพื้นที่โดยรอบไปยัง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนต่อไป
นางพรรณสิริ กุลนาถสิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ขอเร่งศึกษาสำรวจพื้นที่ระบายน้ำคลองทรายและคลองตะโก ซึ่งอยู่เหนือจากประตูคลองด่านเมื่อสักครู่นี้ประมาณ ๒๐๐-๖๐๐ เมตรด้วยกัน ๒ ประตูนี้ ไม่สามารถกักเก็บแล้วก็ระบายน้ำไปให้พี่น้องประชาชนได้ ขอให้เร่งศึกษาสำรวจ เป็นความเดือดร้อนของพี่น้องเป็นอย่างมาก ในการนี้ ท่านอานันท์ สงสัย นายกองค์การ บริหารส่วนตำบลไกรใน พร้อมด้วยผู้นำท้องที่ท้องถิ่นได้เรียนหารือ และดิฉันได้ร่วมสำรวจ ด้วยแล้วเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคมที่ผ่านมา จึงขอเร่งรัดไปยังกรมชลประทาน กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนโดยเร็ว ขอบพระคุณมากค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณสังคม แดงโชติ ครับ
นายสังคม แดงโชติ ประจวบคีรีขันธ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายสังคม แดงโชติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑ พรรคภูมิใจไทย วันนี้ผมมีเรื่องมาหารือกับท่านประธาน เนื่องจากได้รับการร้องเรียนมาจากพ่อแม่พี่น้อง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรื่องสะพานข้ามแยกจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งอย่างที่ทุกท่านทราบ กันดีว่าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นเส้นทางหลักและเป็นประตูสู่ภาคใต้ ในรายละเอียดของ ถนนเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข ๔ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นถนนขนาด ๔ ช่องจราจร มีคูน้ำกั้นกลาง ตรงจุดตัดแยกประจวบคีรีขันธ์ ก.ม. ที่ ๓๐๙+๐๖๒ ฝั่งซ้ายจะเป็น ถนนประจวบคีรีขันธ์มุ่งหน้าสู่ตัวเมือง ฝั่งขวาจะเป็นถนนหนองเสือมุ่งหน้าสู่บ้านหนองเสือ และจุดแยกเกาะหลัก ก.ม. ที่ ๓๑๒+๐๐๐ ฝั่งด้านซ้ายเป็นถนนเกาะหลักมุ่งหน้าสู่ตัวเมือง ฝั่งขวาเป็นถนนเพชรเกษมหนองต้นนุ่นมุ่งหน้าสู่ตำบลเกาะหลัก โดยระยะทางระหว่าง ๒ แยกจุดตัด มีความยาวทั้งหมด ๒.๙๓๘ กิโลเมตร ซึ่งในปัจจุบันใช้สัญญาณไฟจราจร ควบคุมทั้ง ๒ จุดแยก โดยปกติมีปริมาณรถสัญจรมากกว่า ๓๐,๐๐๐ คันต่อวัน และมากกว่า ๔๒ เปอร์เซ็นต์เป็นรถบรรทุกหนัก แต่ในชั่วโมงเร่งด่วนหรือเทศกาลวันหยุดยาวการจราจร จะมีความหนาแน่นมากขึ้นกว่าปกติหลายเท่าตัว ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด ระยะยาวหลายกิโลเมตรทั้ง ๒ แยกจุดตัด ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องปรับสัญญาณไฟจราจรด้วยมือ แทนการใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อเร่งระบายการจราจร นอกจากนี้ยังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ทำให้ส่งผลต่อผู้ใช้รถใช้ถนนต้องสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังส่งผลต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ผมจึงอยากขอความกรุณาเรียนผ่านท่านประธานไปยังท่านอธิบดี กรมทางหลวงในฐานะที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง โปรดช่วยพิจารณาเร่งดำเนิน โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกทั้ง ๒ จุดตัด เพื่อเชื่อมแยกประจวบและแยกเกาะหลัก และก่อสร้างปรับปรุงเพิ่มช่องจราจรจาก ๔ ช่องจราจร เป็น ๖ ช่องจราจร ผมต้อง กราบขอบพระคุณท่านประธานและท่านอธิบดีกรมทางหลวง เพราะนี่คือความหวัง ของพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และทุก ๆ ท่านที่เดินทางสัญจร สู่ ๑๔ จังหวัดภาคใต้ที่ตั้งตารอกันมาอย่างยาวนาน ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปผมจะเรียก ๓ ท่าน เตรียมตัวนะครับ คุณภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ คุณร่มธรรม ขำนุรักษ์ คุณศิรสิทธิ์ สงนุ้ย เชิญคุณภัทรพงษ์ครับ
นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอหางดง และสันป่าตอง พรรคก้าวไกล
นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ที่ผมอยากจะปรึกษาหารือกับท่านประธานในวันนี้คือปัญหา พื้นผิวถนนคลองชลประทาน ๒๒ ซ้าย ตำบลหนองแก๋ว อำเภอหางดง ที่ชำรุดเสียหายหนัก มาเป็นเวลานาน เสียหายหนักขนาดที่ประชาชนพูดกันติดตลกเลยว่าถ้าหากมาสัญจรเส้นนี้ นอกจากจะเห็นความเสียหายแล้วยังสามารถทดสอบช่วงล่างรถยนต์ของท่านเองได้ด้วย ผมขอฝากท่านประธานประสานไปยังกรมชลประทานผู้มีอำนาจรับผิดชอบถนนสายนี้ ถึงการแก้ไขอย่างยั่งยืน แต่ถ้าหากว่าการทำถนนนั้นไม่ใช่ภารกิจหลักของกรมชลประทาน ผมขอให้กรมชลประทานพิจารณาในการถ่ายโอนภารกิจนี้ให้เป็นทางหลวงท้องถิ่น หรือทางหลวงชนบทให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้งบประมาณมาแก้ไขอย่างยั่งยืนให้กับ ประชาชนต่อไป
นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ มากันตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง กับฝายไม้ไร่รอ ฝายคอนกรีตขนาดใหญ่แห่งนี้ถูกถ่ายโอนภารกิจให้กับ อบต. น้ำบ่อหลวงที่มีงบประมาณ รายจ่ายไม่ถึง ๓๕ ล้านบาทต่อปี งบประมาณแค่นี้กับโครงการที่ใหญ่ขนาดนี้ เพียงพอ ไหมครับท่านประธาน ไม่พอหรอกครับ ฝายขาด ฝายชำรุดปีหนึ่ง ๑-๒ ครั้ง อปท. ไม่มี งบประมาณในการซ่อมแซม เกษตรกรที่ใช้น้ำจากฝายนี้ต้องลงขันรวมเงินกันเองไร่ละ ๒๐๐ บาท นี่ไม่ใช่หน้าที่ของประชาชนครับ นี่จึงเป็นหน้าที่ของสภาแห่งนี้ที่จะหาหน่วยงาน ที่มีความพร้อมในด้านองค์ความรู้ ในด้านบุคลากร และในด้านงบประมาณมาแก้ไขปัญหานี้ ให้ยั่งยืนกับประชาชนต่อไป
นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ยังอยู่กันที่อำเภอสันป่าตอง สี่แยกทุ่งเสี้ยว โครงการขนาด ๑๔.๕ ล้านบาท กลางสี่แยกเลยครับ อาคารแห่งนี้ถูกสร้างมาเพื่อเป็นศูนย์ข้อมูล การท่องเที่ยวอำเภอสันป่าตอง แต่สร้างเสร็จมาแล้วกว่า ๑ ปี ก็ยังไม่มีการทำอะไรเลย ถูกทิ้งไว้ไม่ต่างกับอนุสาวรีย์ ผมขอฝากท่านประธานประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไขให้อาคารแห่งนี้ได้ใช้ตามประโยชน์เต็มศักยภาพ ผลักดันการท่องเที่ยว วัฒนธรรมโดยคนในชุมชนของอำเภอสันป่าตองครับ
นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๔ ผมขอฝากท่านประธานประสานไปยังกระทรวงคมนาคม ถึงการติดตั้งสัญญาณไฟเขียวไฟแดงข้ามถนนทางม้าลายทางหลวง ๑๐๘ ๒ จุดด้วยกัน จุดแรกคือหน้าตลาดสดเทศบาลตำบลหางดง จุดที่ ๒ คือหน้าโรงเรียนสันป่าตอง (สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร) เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุกับผู้คนที่ข้ามถนน โดยเฉพาะกับเด็กและผู้ปกครองครับ
นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้าย ทางหลวง ๑๐๘ เกิดอุบัติเหตุบ่อยมากครับท่านประธาน ในบริเวณสี่แยก โดยเฉพาะสี่แยกสะเมิงรถขับกันค่อนข้างไวครับเส้นนี้ ทีนี้เวลาไฟเขียว จะเปลี่ยนเป็นไฟเหลืองเกิดอะไรขึ้นครับท่านประธาน เบรกไม่ทันสิครับ เกิดอุบัติเหตุ บ่อยมาก เพราะฉะนั้นผมขอฝากท่านประธานประสานไปยังกระทรวงคมนาคมนะครับ ประสานติดตั้งเครื่องนับเวลาถอยหลังสัญญาณไฟเขียวไฟแดงให้กับพ่อแม่พี่น้องชาวหางดง และสันป่าตอง การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของผมหรือประโยชน์ของ ท่านประธาน แต่เพื่อประโยชน์ของคนหางดง สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณร่มธรรมครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ร่มธรรม ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ผมขออนุญาต นำปัญหาของพี่น้องประชาชนมาอภิปรายหารือดังต่อไปนี้
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๑. ผมได้รับการประสานงานจากท่าน สส. ยุทธการ รัตนมาศ ขอให้หน่วยงาน ที่รับผิดชอบได้รีบเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาไฟป่าพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๒. ขอให้ท่านประธานได้มีหนังสือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ ทั้งยาง ปาล์ม และพืชอื่น ๆ แก้ไขปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งปุ๋ย ยาปราบศัตรู ค่าแรง และค่าเครื่องจักร แก้ไขปัญหาผลผลิตล้นตลาด เช่น มังคุด เงาะ และขอให้มีโครงการ ประกันรายได้ให้พี่น้องต่อไป เช่น ประกันรายได้พี่น้องเกษตรกรที่ปลูกข้าว มันสำปะหลัง ยาง ปาล์ม และข้าวโพด
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๓. ขอให้ท่านประธานได้มีหนังสือไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และสำนักงบประมาณ เพื่อจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างสนามบินพัทลุง ทราบว่า จากการศึกษาความเป็นไปได้พบว่ามีความเหมาะสมทั้งเรื่องจำนวนผู้โดยสารและสถานที่ ก่อสร้าง จึงขอให้เร่งรัดการดำเนินการขั้นตอนต่อไป เพราะการมีสนามบินจะเป็นโอกาส ของจังหวัดพัทลุงและพื้นที่ใกล้เคียงในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการท่องเที่ยว การสร้าง รายได้ การขนส่ง และการเดินทางสัญจร
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๔. ขอให้ท่านประธานได้มีหนังสือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูพื้นที่ ลุ่มน้ำทะเลสาบพัทลุงหรือ Lagoon เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งด้านประมง ท่องเที่ยว และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แก้ไขปัญหาการตื้นเขินของทะเลสาบ แก้ไขปัญหา การประมงผิดกฎหมายเช่นไซหนอน พร้อมการก่อสร้างศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อปล่อยลง ทะเลสาบ และ Aquarium เพื่อรวบรวมสัตว์น้ำที่หายากในพื้นที่
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๕. ขอให้ท่านประธานได้มีหนังสือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพิจารณาก่อตั้งคณะแพทย์และโรงพยาบาลแพทย์ ศูนย์เฉพาะทางในมหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อรองรับผู้ป่วย ในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อผลิตบัณฑิตคณะแพทย์และรองรับสังคมผู้สูงวัย ซึ่งปัจจุบัน มีคณะพยาบาลศาสตร์แล้ว หากคณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อตั้งโรงพยาบาลศูนย์และคณะแพทย์ ก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนลงไปได้มาก ทั้งในเรื่องค่าใช้จ่าย และการเข้าถึงบริการได้ทันเวลา
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๖. ขอให้ท่านประธานได้มีหนังสือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพิจารณาก่อสร้างโครงการอาคารผู้ป่วยนอก ๖ ชั้นของโรงพยาบาลตะโหมด เพื่อให้เป็น Node รองรับผู้ป่วยใน ๖ อำเภอ Zone ใต้ของจังหวัดพัทลุง และขอให้สนับสนุน งบประมาณให้โรงพยาบาลตะโหมดจัดซื้อรถเอกซเรย์เคลื่อนที่เพื่อการบริการเชิงรุก และลดความแออัดในสถานพยาบาล
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๗. ขอให้ท่านประธานมีหนังสือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักนโยบายและแผน และกรมควบคุมมลพิษ เพื่อแก้ไข ปัญหาขยะที่สถานีขนถ่ายขยะของเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว ซึ่งปัจจุบันมีขยะ ตกค้างกว่า ๒๐,๐๐๐ ตัน ขอให้พิจารณาเปลี่ยนวัตถุประสงค์จากสถานีขนถ่ายขยะ เป็นศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย เพื่อการบริหารจัดการต้นทางได้ และขอให้มีการสนับสนุน งบประมาณเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดการขยะต่อไป หากเป็นศูนย์กำจัดขยะแล้ว จะช่วยแก้ไขปัญหาขยะได้ใน ๖ อำเภอ Zone ใต้ของจังหวัดพัทลุง ช่วยลดค่าใช้จ่าย ในการขนขยะ ช่วยลดปัญหาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมครับท่านประธาน ขอบคุณ มากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณศิรสิทธิ์ครับ
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม ศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร เขต ๓ พรรคก้าวไกล ขอปรึกษาหารือความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสาคร ฝากท่านประธาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ถนนบ้านแพ้ว-พระประโทน ถนนเส้นหลักจากจังหวัดสมุทรสาคร ที่เชื่อมต่อไปยังจังหวัดนครปฐมและราชบุรี แต่ปัจจุบันถนนชำรุดและเป็นลูกคลื่น ตลอดทั้งเส้น จึงขอฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดสรรงบประมาณ บำรุงแก้ไขลาดยางหรือเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กต่อไป
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ขอให้พิจารณาจัดสรรงบประมาณโครงการก่อสร้างทางคู่ขนาน และสะพานข้ามคลองขุดบ้านบ่อ กม.๓๙+๓๒๗ และคลองท่าแร้ง กม.๓๙+๙๖๔ เพื่อรองรับ ปริมาณการจราจรให้เกิดความต่อเนื่องและเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทางบนโครงข่าย ทางหลวงและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมผิวทาง
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ขอให้พิจารณาจัดสรรงบประมาณโครงการก่อสร้างทางกลับรถ ทางขาเข้ากรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับโครงการก่อสร้างสะพานยกระดับ อำเภอบ้านแพ้ว เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ ขอให้พิจารณาจัดสรรงบประมาณโครงการก่อสร้างสะพานยกระดับ หรืออุโมงค์ลอดบริเวณแยกถนนเศรษฐกิจ ๑ ถนนบางปลา สค.๔๐๐๙ เพื่อให้การจราจร ถนนเส้นดังกล่าวเกิดความคล่องตัวและความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๕ เรื่องนี้ได้มีอดีตสมาชิกหลายท่าน และประชาชนร้องเรียน เป็นจำนวนมากมานับสิบ ๆ ปี จึงขอฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ โรงงานปล่อยน้ำเสียและฟื้นฟูคลองภาษีเจริญ คลองสี่วาพาสวัสดิ์และคลองสาขาต่าง ๆ โดยเร่งด่วนและยั่งยืนต่อไป
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๖ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาสัญญาณไฟจราจรจุดกลับรถ เลยโรงพยาบาลบ้านแพ้ว เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ อยู่บ่อยครั้ง
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๗ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่ง และพิจารณาแนวป้องกันชะลอคลื่นในพื้นที่ต่าง ๆ ของตำบลพันท้ายนรสิงห์ ตำบลโคกขาม ตำบลบางหญ้าแพรก โดยเฉพาะตำบลบางกระเจ้าในหมู่บ้านแป๊ะกงที่ประสบปัญหา อยู่ตอนนี้ ตำบลบ้านบ่อ ตำบลบางโทรัด ตำบลกาหลง ตำบลนาโคก โดยมีระยะทาง แนวชายฝั่งประมาณ ๔๒ กิโลเมตร
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๘ ขอให้พิจารณาอนุมัติโครงการประตูระบายน้ำคลองตัน ๑ ในปีงบประมาณนี้ เพื่อไม่ให้บ้านเรือนประชาชนและพื้นที่การเกษตรจำนวนมากเสียหาย ซึ่งถูกน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๙ ขอให้ รฟท. และ สนข. พิจารณาโครงการการก่อสร้างถนนลาดยาง เลียบทางรถไฟช่วงตำบลท่าจีนถึงตำบลนาโคก เพราะมีพี่น้องประชาชนเดือดร้อน ในการเดินทางสัญจรเป็นจำนวนมาก
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑๐ เรื่องสุดท้าย เนื่องจากจังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่ติดทะเล และด้วยภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ทำให้มีน้ำทะเลหนุนสูงในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเข้าท่วมบ้านเรือน ของพี่น้องประชาชน ซึ่งต้องประสบปัญหาภาวะเช่นนี้มาอย่างยาวนาน จึงขอฝาก ท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืนต่อไป ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณสรชัด สุจิตต์ ผมขอเรียก ๓ ท่านสุดท้ายเลย ก็มีคุณสรชัด สุจิตต์ คุณรำพูล ตันติวณิชชานนท์ แล้วก็คุณกิตติ์ธัญญา วาจาดี ซึ่งอยู่ในลำดับที่ ๖ ขอเป็นท่านสุดท้าย คุณกิตติ์ธัญญา วาจาดี ถ้ามาแล้วก็เตรียมตัวด้วยครับ เชิญคุณสรชัดครับ
นายสรชัด สุจิตต์ สุพรรณบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสรชัด สุจิตต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา วันนี้ผมมีเรื่องกราบเรียนถึงท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓ เรื่อง
นายสรชัด สุจิตต์ สุพรรณบุรี ต้นฉบับ
เรื่องแรก ก็คือเรื่องคลองระบายน้ำ ร.๖ ของโครงการชลประทานดอนเจดีย์ ซึ่งคลองแห่งนี้นั้นเป็นของคลองที่รับน้ำจากอำเภอเลาขวัญผ่านอำเภออู่ทอง ลงไปยังพื้นที่ ตอนล่าง คืออำเภอเมือง อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง ซึ่งในคลองนี้ก็เป็น คลองระบายน้ำอันสำคัญ ปัจจุบันประตูระบายน้ำนี้ได้ชำรุดมาเป็นระยะเวลาค่อนข้าง นานแล้ว ยังไม่ได้ทำการดำเนินการซ่อมแซม ก็ต้องขอไปยังทางกรมชลประทานให้ช่วย ดำเนินการในการเสริมคันคลองด้วย แล้วก็ทำประตูอาคารบังคับน้ำ ซึ่งอันนี้ก็สามารถ จะช่วยเหลือพื้นที่ของเกษตรกรรม แล้วก็สามารถจะรองรับในการเก็บน้ำในช่วงฤดูแล้ง ในพื้นที่ตอนบนได้รับประโยชน์
นายสรชัด สุจิตต์ สุพรรณบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ก็จะเป็นเรื่องของทุ่งหนองเกวียนเข็น ซึ่งทุ่งแห่งนี้เป็นทุ่งลุ่มต่ำ อยู่ติดกับบึงลาดน้ำเตียน ซึ่งเป็นบึงที่รับน้ำตั้งแต่อำเภอเลาขวัญแล้วก็อำเภอหนองปรือ ของจังหวัดกาญจนบุรี ผ่านอำเภอหนองหญ้าไซแล้วก็อำเภออู่ทองมายังพื้นที่ตรงนี้ พื้นที่เหล่านี้ บังเอิญจะมีทุ่งติดบึงอยู่ก็คือทุ่งหนองเกวียนเข็นเป็นพื้นที่ถึง ๑๕,๖๐๐ ไร่ กินพื้นที่ถึงตำบลเจดีย์ ตำบลหนองโอ่งของอำเภออู่ทอง และตำบลศาลาขาวของอำเภอเมือง พื้นที่ตรงนี้ก็คือทำให้น้ำนั้นเวลาฝนตกมาระบายไม่ได้ก็จะท่วมบ้านเรือนของพี่น้องประชาชน แล้วก็ยังท่วมไร่นาสวนผสมต่าง ๆ มากมาย และทุกครั้งทางกรมชลประทานเองนั้น แล้วก็หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็ต้องเร่งดำเนินการ แก้ไขปัญหาโดยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำอยู่เป็นประจำเพื่อช่วยเหลือในพื้นที่เหล่านี้ ทางชุมชน ก็มีการร้องขออยากได้เครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเป็นอาคารถาวร เพื่อสามารถจะแก้ไขปัญหา ได้ทัน ไม่ต้องคอยมานั่งติดตั้งเครื่อง
นายสรชัด สุจิตต์ สุพรรณบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เป็นเรื่องของผู้ที่ใช้น้ำในคลองมะขามเฒ่าอู่ทองตั้งแต่คลอง ๑๖ ถึงคลอง ๒๐ ตั้งแต่อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอเมือง และอำเภออู่ทองที่ใช้น้ำ ปัจจุบันนี้ ข้าวกำลังออกรวง มีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นจะมีผลกระทบต่อ ผลผลิตของเกษตรกร ต้องขอบคุณทางกรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่มาช่วยเหลือ แต่ระยะเวลานั้นอาจจะไม่เพียงพอ ชุมชนอาจจะขอต่อระยะเวลาในการช่วยเหลือ อีกประมาณ ๑๕ วัน ขอกราบขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณรำพูลครับ
นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน รำพูล ตันติวณิชชานนท์ เขต ๙ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ก่อนอื่นดิฉันขอกราบขอบพระคุณพี่น้องเขต ๙ ซึ่งมีอำเภอนาจะหลวย อำเภอบุณฑริก ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร ที่มอบความไว้วางใจให้ดิฉันมาทำหน้าที่แทนในสภาแห่งนี้ ดิฉันมีเรื่องหารือท่านประธานทั้งหมด ๕ เรื่องด้วยกัน ขอ Slide ด้วยค่ะ
นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เป็นต้นไม้ตายซาก ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งอยู่ทางหลวงหมายเลข ๒๒๔๘ กิโลเมตรที่ ๗๘ ซึ่งใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง และใกล้บ้านเรือนชาวบ้าน ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน พายุรุนแรงมาก แล้วถ้าเกิดว่าต้นไม้ล้มทับ หลังคาเรือนชาวบ้านใครจะรับผิดชอบ เพราะฉะนั้นดิฉันอยากให้ท่านประธานพิจารณา ในปัญหานี้นะคะ
นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องน้ำท่วมซ้ำซากซึ่งเกิดในเขตชุมชนเทศบาลบุณฑริก เป็นเขตเศรษฐกิจทางหลวงหมายเลข ๒๒๔๘ ท่วมมานานนับ ๑๐ ปี ฝนตกทีไรน้ำไหลหลาก เข้าบ้านเรือนชาวบ้านและร้านค้าทุกปีตลอด ดิฉันก็เห็นมาตั้งนานจนดิฉันอายุมากขึ้น ๖๐ กว่าปีแล้ว ก็ยังเหมือนเดิม ไม่มีการแก้ไข ทางหลวงมีระบบระบายน้ำไม่เพียงพอ เพราะฉะนั้นขอให้ทางหลวงช่วยแก้ไขด้วยนะคะ
นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ถนนนี้เป็นถนน ๑๐๐ ศพค่ะ มืดมาก ทั้ง ๆ ที่มีต้นไฟฟ้าส่องสว่าง ท่านประธานเห็นไหมคะ ต้นไม้บดบัง กิ่งไม้บดบัง แต่ทางหลวงเพิกเฉยไม่ไปตัดแต่งกิ่งไม้ เลยทำให้มืด แล้วถนนแคบไม่มีไหล่ทาง ถนนเส้นนี้เป็นถนนเชื่อมหลายอำเภอ จากอำเภอบุณฑริก ไปอำเภอนาจะหลวย ถึงอำเภอน้ำยืน ซึ่งมีรถบรรทุก ๑๘ ล้อพ่วง แล้วก็รถทัวร์วิ่งตลอด ชาวบ้านที่เทียวไปเทียวมาหลบรถพ่วงบางทีก็ลงข้างทางเกิดอุบัติเหตุ ตายหลายศพ และรถมอเตอร์ไซค์นักเรียนโดนรถใหญ่ดูดเข้าไป แรงดูดเข้าไปในล้อรถ แล้วก็เหยียบเด็กนักเรียนตายหลายศพเลยเรียกว่าถนน ๑๐๐ ศพ อยากให้กรมทางหลวง ขยายไหล่ทางและเลื่อนไฟส่องสว่างออกไปอีกเพราะอยู่ติดกับริมถนนเลย เพราะฉะนั้น อุบัติเหตุตรงนี้จะเกิดบ่อยถึงเรียกว่าถนน ๑๐๐ ศพ
นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ ทางหลวงหมายเลข ๒๑๗๒ หน้าโรงเรียนนาโพธิ์พิทยา นักเรียน ถูกรถเฉี่ยว จะเห็นว่าเกิดอุบัติเหตุบ่อยมาก ถนนเส้นนี้ขาดการบูรณะซ่อมแซมมาหลายสิบปี เท่าที่ดิฉันจำได้ไม่มีการลาดผิวจราจรเลย เพราะฉะนั้นอยากให้ทางกรมทางหลวงได้ดูแลด้วย
นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๕ อันนี้เป็นถนน ๒ สี ที่อุบลราชธานีมีแม่น้ำ ๒ สี แต่ที่บ้านดิฉัน มีถนน ๒ สี เพราะฉะนั้นอยากให้กรมทางหลวงดูแลด้วย โดยเฉพาะบ้านจงเจริญมีหลุม ทำ ให้เกิดอุบัติเหตุหลายราย เพราะฉะนั้นอยากได้ไฟส่องทางสำหรับถนนสายนี้ ทางหลวง สาย ๒๑๘๒ ดิฉันก็มีเรื่องหารือท่านประธานทั้งหมด ๕ เรื่อง เพื่อจะส่งไปหน่วยงาน ที่รับผิดชอบก็คือกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ขอบคุณท่านประธานค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทาน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านสุดท้าย คุณกิตติ์ธัญญา วาจาดี เชิญครับ
นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพค่ะ ดิฉัน นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต ๔ อำเภอวารินชำราบ อำเภอสำโรง ตำบลสำโรง ตำบลโคกก่อง ตำบลบอน พรรคเพื่อไทย ท่านประธานที่เคารพคะ ดิฉันนำปัญหาที่พี่น้องประชาชนได้รับ ความเดือดร้อนและต้องการการแก้ไขทั้งหมด ๓ เรื่องด้วยกัน
นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องแรก คือการขอขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ดิฉันได้รับเรื่องร้องเรียนนี้ มาจากท่านเด่นไพศาล วงษาลี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง และสมาชิก สภา อบต. ทุกท่าน แจ้งว่าทางบ้านหนองจำนัก หมู่ที่ ๖ ตำบลโคกก่อง อำเภอสำโรง มีความต้องการขยายเขตไฟฟ้าเพื่อการเกษตร ดิฉันจึงขอผ่านไปยังหน่วยงานไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง ดูแลประชาชนในพื้นที่นี้ด้วยค่ะ
นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เร่งนำงบประมาณเข้าซ่อมแซมผิวถนนจราจรที่ขรุขระ เส้นทางที่ ๑ คือทางหลวงหมายเลข ๒๓๑ แยกลือคำหาญ ตลาดเจริญศรี เชื่อมไปโยงแยกบัวท่าบัวเทิง เส้นทางนี้ได้รับการชำรุดตลอดเส้นทาง เส้นทางที่ ๒ หมายเลข ๒๔ วารินชำราบ-เดชอุดม ถนนทั้ง ๒ เส้นนี้พื้นผิวจราจรได้รับการชำรุดเสียหายมาก ขาดเพียงแค่งบประมาณ ในการซ่อมแซม ดิฉันต้องขอกราบขอบพระคุณท่านวินัย รัชบุตร ผู้อำนวยการแขวงทางหลวง ที่ ๒ ท่านได้ลงพื้นที่ไปพร้อมกับดิฉันเพื่อดูว่าจะแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้อย่างไรต่อไป ในการซ่อมแซมนี้ดิฉันฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม โปรดจัดสรร งบประมาณลงมาดูแลพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ผ่าน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีทำให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ผู้ใช้เส้นทางนี้เสียหาย ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เราจะต้องป้องกันไว้ก่อนค่ะ
นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณหน้าแยกหนองตาโผ่นไปจนถึง ตลาดแม่กิมเตียง เป็นการแก้ไขปัญหาที่อยากจะให้ยั่งยืน ท่านประธานคะ น้ำที่ระบายช้า และท่วมขังทำให้เกิดความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนผู้ใช้เส้นทางนี้ ดิฉันอยากจะ ขอเสนอคือการทำคลองระบายน้ำให้ยั่งยืน ทางหลวงหมายเลข ๑ เคยก่อสร้างไว้แล้ว จนถึงห้วยไผ่ แต่ทีนี้การระบายน้ำยังไม่จบค่ะ ขอคลองระบายน้ำให้ยาวไปถึงคลองคำนางรวย เพื่อจะนำลงไประบายที่กุดปลาขาวก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังและน้ำระบายช้า ได้ดีที่สุด
นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ
อีก ๑ ข้อค่ะท่านประธาน การจะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในบริเวณชุมชนได้ดี คือการขุดลอกคลองค่ะ ดิฉันขอฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลสิ่งนี้ เพราะอำเภอ วารินชำราบเป็นอำเภอที่น้ำท่วมบ่อยและท่วมหนักในทุก ๆ ปี ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเข้าปรึกษาหารือต่อท่านประธานในวันนี้จะนำไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเร่งแก้ไข ปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไป กราบขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ จบการหารือทั้ง ๓๐ ท่านแล้วนะครับ
นายเซีย จำปาทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ หารือ ท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
คุณเซียหรือเปล่า เมื่อสักครู่นี้
นายเซีย จำปาทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ก็มี ๒ ท่าน ที่จะขอหารือ ซึ่งผมอนุญาตเพราะถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวกับการจัดการประชุม ท่านแรก คือท่านเซีย จำปาทอง ขอหารือสั้น ๆ เรื่องการจัดระเบียบวาระประชุมซึ่งมีข้อเสนอ ต่อไปคุณจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ก็ขอหารือหลังจากจบหารือนี้แล้วนะครับ คือท่านจะขอหารือ เรื่อง พ.ร.บ. เพื่อที่จะให้รัฐบาลยืนยัน เดี๋ยวท่านคงจะมีข้อมูลมา ผมขอเรียนให้จบ สิ่งที่ ผมเรียนไปก็คือว่า ๓๐ ท่านอาจจะเกินเวลาไปบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ละคน ซึ่งผมเห็นว่า เมื่อเป็นความเดือดร้อนของประชาชนผมก็อนุญาตให้ ผมต้องขออภัยเวลาที่เกินไป แล้วตอนนี้วาระเรื่องกระทู้ถาม เรื่องอะไรเรายังไม่มี เพราะฉะนั้นก็อนุญาตให้ผ่อนผันให้เกิน บ้างเล็กน้อยได้ใน ๓ นาทีที่ขอ ต่อไปผมอยากจะขออนุญาตให้คุณเซีย จำปาทอง ได้หารือ เชิญครับ
นายเซีย จำปาทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม เซีย จำปาทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนเครือข่ายผู้ใช้ แรงงาน ผมขอหารือท่านประธานเรื่องวาระการประชุม เนื่องจากมีเรื่องเร่งด่วนที่ประชาชน สอบถามผ่านพรรคก้าวไกลมาเป็นจำนวนมาก กรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงนามในระเบียบกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งส่งผลกระทบและสร้างความสับสนกับพ่อแก่แม่เฒ่าและพี่น้อง ประชาชนเป็นจำนวนมาก ผมมีข้อกังวลอย่างมากในเรื่องดังกล่าว เพราะปัจจุบันพ่อแก่ แม่เฒ่ากว่าจะได้รับเงินบำนาญผู้สูงอายุก็ต้องมีอายุ ๖๐ ปี แล้วก็ได้เพียงแค่เดือนละ ๖๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ตามอายุ อย่างมากก็ ๑,๐๐๐ บาท ถามว่าพอใช้หรือไม่ ไม่พอ หรอกครับ ๖๐๐ บาทต่อเดือน น้อยกว่าค่าอาหารของบางคนในแต่ละวันด้วยซ้ำ การปรับเปลี่ยนระเบียบดังกล่าวถือว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเลือดเย็นอย่างมาก ท่านกำลังเปิดช่องให้มีการทำลายระบบสวัสดิการถ้วนหน้า เปลี่ยนไปใช้ระบบอนาถา ต้องพิสูจน์ความจน ใช้การเลือกปฏิบัติทำร้ายพ่อแก่แม่เฒ่าผู้สร้างคุณูปการต่อบ้านเมือง อย่างมากมายมหาศาลเกินกว่าจะพูดหมดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ผมขอหารือท่านประธาน ขอให้ท่านบรรจุวาระการถามกระทู้ในวาระการประชุมโดยเร็ว แม้ขณะนี้จะเป็นรัฐบาล รักษาการก็ตาม แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้กลับกลายเป็นว่าสภาผู้แทนราษฎรไม่สามารถ ตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลได้ จะเชิญรัฐมนตรีมาสอบถามเหตุผลและรายละเอียด ก็ทำไม่ได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใหญ่แล้วก็สำคัญมาก และมีผลกระทบกับพี่น้องประชาชน เป็นจำนวนมาก จึงขอให้ท่านประธานบรรจุวาระกระทู้ถามสดในสัปดาห์หน้า ไม่ต้องรอให้มี การตั้งรัฐบาล ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เดี๋ยวจะให้ ท่านรองประธานที่ดูแลในเรื่องของจัดกระทู้ถามสด กระทู้ถามทั่วไป ได้รับไปพิจารณา ขอบคุณคุณเซียมากครับ อันนี้เข้าใจครับ เป็นความเดือดร้อนแล้วก็วิพากษ์วิจารณ์โดยทั่วไป ต่อไปขอเชิญคุณจุลพันธ์ครับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ผมขอหารือ ท่านประธานในเรื่องของกลไกการทำงานของเราตามกรอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๔๗ กำหนดในเรื่องของกรณีที่กฎหมายจากสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ผ่านมา ไม่ว่าจะอยู่ในชั้นวาระที่หนึ่ง อยู่ในชั้นที่บรรจุในระเบียบวาระ หรือจบวาระที่สองแล้ว รอการเข้าพิจารณา แล้วมันยังค้างคาอยู่นี่นะครับ มันมีกลไกหนึ่งที่พวกเราเรียกกันว่า การยืนยันกฎหมาย แต่เนื่องด้วยในรัฐธรรมนูญไปกำหนดในวรรคสองของมาตรา ๑๔๗ ในเรื่องของกรอบเวลาด้วย กรอบเวลาที่ได้เรียนนี้เขาบอกว่าถ้าคณะรัฐมนตรีจะให้ ความเห็นชอบให้พิจารณาต่อไปได้จะยืนยันหรือไม่ แต่ต้องทำคำร้องขอภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก ซึ่งเราก็ทราบกันดีว่าวันเรียกประชุมสภาครั้งแรก คือวันรัฐพิธี วันที่ ๓ กรกฎาคม ๖๐ วันจะครบวาระวันที่ ๓๑ สิงหาคมนี้แล้ว ใกล้มากแล้ว ในขณะที่เรายังไม่สามารถหานายกรัฐมนตรีได้ ผมเข้าใจว่าในกรณีดีที่สุดถ้าเราจะสามารถ หานายกรัฐมนตรีได้ตามที่พวกผมคาดหวังไว้มันก็ปลายสัปดาห์นี้ต้นสัปดาห์หน้า อย่างเร็ว ก็ต้องไปขั้นตอนในการตั้งคณะรัฐมนตรี ขั้นตอนในการโปรดเกล้าฯ แนวโน้มคือ อาจจะไม่ทันวันที่ ๓๑ สิงหาคม แต่ท่านประธานครับ กฎหมายที่ค้างอยู่ในสภา จากชุดก่อนมายังชุดปัจจุบันนี้มีกฎหมายที่มีความสำคัญหลายอย่าง หลายตัว ยกตัวอย่าง กฎหมายที่ยังมีการถกเถียงกันจำนวนมากในเรื่องของ พ.ร.บ. กัญชา กัญชง พ.ร.บ. เรื่องการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งครูเขาแต่งดำกันทั้งประเทศ เราจะ เอาอย่างไร มีกฎหมายซึ่งเป็นกฎหมายก้าวหน้าที่พวกผมให้ความสนับสนุน พรรคเพื่อไทยเองให้การสนับสนุนทั้ง พ.ร.บ. ประมง พ.ร.บ. แก้ไขประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือที่เรียกว่าสมรสเท่าเทียมก็เป็นกฎหมายที่เราอยากจะ ผลักดันให้เดินหน้าต่อแล้วจะมาลงมติเห็นชอบกัน มันจะได้จบแล้วก็ประกาศใช้ เป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน แต่ผมกลัวว่ากลไกที่จะเกิดขึ้นจะกลายเป็นว่าเราต้องโยน อำนาจในการวินิจฉัยว่าจะยืนยันกฎหมายหรือไม่ไปยังรัฐบาลรักษาการ หากเราโยนอำนาจนี้ ไปให้รัฐบาลรักษาการ เพราะด้วยกรอบเวลาตามรัฐธรรมนูญต้องจบภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม เกิดเขาปัดตกกฎหมายอย่างสมรสเท่าเทียม อย่างประมงมานี่เป็นเรื่องใหญ่นะครับ เพราะฉะนั้นผมอยากจะเรียนถามท่านประธาน เพราะพวกผมมีความตั้งใจที่จะเดินหน้า กฎหมายที่เป็นประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเหล่านี้ ท่านประธานมีแนวทางอย่างไรในการที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องของกรอบเวลาตามรัฐธรรมนูญ แล้วเราจะเดินหน้าอย่างไรเพื่อให้กฎหมายเหล่านี้ที่มีประโยชน์ได้เดินหน้าต่อ โดยที่ เป็นอำนาจของประชาชน โดยที่คณะรัฐมนตรีที่มาจากสภาชุดเราเป็นคนดำเนินการ ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ คุณจุลพันธ์มากครับ อันนี้เนื่องจากว่าเป็นกำหนดโดยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง แล้วก็เป็นอำนาจของฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรีจะต้องเป็นคนเสนอยืนยันภายใน ๖๐ วัน ซึ่งอันนี้ก็ไม่ได้บอกว่าคณะรัฐมนตรีชุดไหน ชุดปัจจุบัน หรือชุดที่จะมีต่อไปก็ได้ แต่ถ้าหาก ไม่เสนอภายใน ๖๐ วัน ก็จะมีปัญหาอย่างที่คุณจุลพันธ์พูดถึง กฎหมายอาจจะต้องเสนอใหม่ หรือตกไป ขอบคุณที่เสนอครับ ก็ต้องหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องจะทำอย่างไร มีข้อเสนอที่ดีไหม เชิญครับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ด้วยความเคารพครับ ผม จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ผมเข้าใจครับว่าขณะนี้ Whip ก็ยังไม่มี กลไกสภาก็ยังไม่ครบถ้วน แต่มีวิธีการครับ หากท่านประธานจะได้กรุณานัดประชุมตัวแทนพรรคการเมืองเหมือนเวลาที่ ท่านประธานจะประชุมในเรื่องวาระและเอาเรื่องนี้หยิบยกมาเป็นเรื่องที่หารือกัน ผมมี ข้อเสนอ คือเราทำหนังสือโดยความเห็นชอบจากเพื่อนสมาชิกทุกพรรคการเมืองไปยัง คณะรัฐมนตรี ถ้าหากว่ามีความจำเป็นจริง ๆ อย่างที่ท่านประธานว่า กฎหมายกำหนดว่า เขาจะต้องเป็นคนยืนยันแทนเรา เราจะได้แจ้งเขาไปว่าอย่างน้อยก็ให้ยืนยันมาให้หมดดีกว่า ดีกว่าไปปัดกฎหมายที่เป็นประโยชน์ตก มันน่าจะมีทางออกที่เรามาหารือร่วมกันได้ในนาม ของตัวแทนพรรคที่มาอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ อันนี้น่าจะเป็นทางออกที่ดีเพื่อที่ จะยืนยันว่ากฎหมายที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ยังอยู่ ก็เป็นห่วงกฎหมายทั้งเรื่องประมง ทั้งเรื่อง สมรสเท่าเทียม ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ คุณจุลพันธ์มากครับ ก็จะได้หารือดำเนินการที่ท่านแนะนำต่อไปโดยเร็ว มีคุณณัฐวุฒิ ยกมือด้วย เชิญคุณณัฐวุฒิครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ สืบเนื่องจากประเด็นที่หารือ เนื่องจากเพื่อให้ครบถ้วนทุกกระบวนความ ผมสนับสนุนประเด็นของท่านจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ จากพรรคเพื่อไทย และต้องขอบพระคุณ ท่านประธานที่ได้กรุณาให้แนวทางเรื่องของการพูดคุยกันครับ แต่ผมคิดว่ามีอยู่ ๓-๔ ประเด็นที่จำเป็นต้องเพิ่มเติมเพื่อให้ครบวงจรแล้วก็ทวงสัญญาแทนพี่น้องประชาชน
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ ในที่ประชุมสภาแห่งนี้เราเคยท้วงติงกันถึงเรื่องของการตั้ง คณะกรรมาธิการสามัญ ๓๕ คณะ ตามข้อบังคับ และท่านประธานได้กรุณามอบหมายให้ ท่านรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นผู้นัดหมายในการพูดคุยกัน ซึ่งนับจากวันที่ ท่านประธานได้มอบหมายผมเข้าใจว่าวันนี้พ้นระยะเวลาเกินกว่า ๑๐ วัน ยังไม่ได้มีการนัดหมาย ตัวแทนพรรคการเมืองเข้าพูดคุยกันถึงเรื่องคณะกรรมาธิการสามัญคณะต่าง ๆ ว่าตกลง สภาเราจะเดินหน้ากันอย่างไร เอาเข้าจริง ๆ ถ้านับสัปดาห์หน้าอีกสัปดาห์ถัดไป เรามาถึง ครึ่งทางของสมัยประชุมแล้ว คณะกรรมาธิการสามัญยังไม่เกิดขึ้นเลย ทั้งที่มีข้อบังคับชัดเจน นั่นเป็นประเด็นที่ ๑ ที่ผมอยากจะนำเรียนท่านประธาน อยากจะฝากว่าหากมีการนัดหมายกัน ก็ขอให้รวมถึงการประชุมเรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ ๓๕ คณะด้วยครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ผมคิดว่าเราตีความเป็นอื่นไปไม่ได้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง ในกรณีที่บอกว่าคณะรัฐมนตรีสามารถยืนยันกลับมาได้ เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๔๗ วรรคสองนั้น บอกว่าถ้าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ ตั้งขึ้นใหม่เท่านั้นนะครับ ไม่ได้มีความหมายบอกว่าคณะรัฐมนตรีรักษาการหรือรัฐมนตรีที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ฉะนั้น อาจจะเป็นการยาก ก็คงขึ้นอยู่กับว่าเราจะเดินหน้าในการตั้ง ครม. ใหม่ได้เร็วหรือไม่ แล้วเรานับวัน ครม. ใหม่นั้นวันใด ผมก็ยังเชื่อมั่นว่าถ้ากระบวนการเดินหน้าปกติอาจจะ เกิดขึ้นทันก็ได้ แต่พวกผมไม่รอและคาดหมายว่าอาจจะยังไม่สามารถที่จะดำเนินได้ทัน ไม่เป็นไรครับ เป็นดำริท่านประธาน พรรคก้าวไกลยินดีที่จะเข้าร่วมการประชุมที่จะเกิดขึ้น แต่มีอีก ๒ ประเด็นที่อยากจะนำเรียนท่านประธาน และผมคิดว่าเพื่อทำให้การทำหน้าที่ ของพวกเราเดินหน้าต่อได้อย่างสมบูรณ์ครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ เนื่องจากว่าในตัวกฎหมายที่เสนอ มีทั้งกฎหมายที่มาจาก รัฐบาล มีทั้งกฎหมายที่มาจาก สส. เข้าชื่อกันเสนอ แล้วก็มีกฎหมายที่พี่น้องประชาชน เข้าชื่อกันเสนอ ปรากฏว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้วท่านประธานเดินทางไปอินโดนีเซีย เพื่อนสภา ชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เพื่อนพี่น้องชาติพันธุ์เดินทางกันมาเต็มเลยที่สภาแห่งนี้ มาพบท่านประธาน ท่านก็ได้มอบหมายให้พบท่านรองประธานสภา คนที่หนึ่ง เขาก็ถาม เรื่องร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าเมืองแห่งประเทศไทย ก็บังเอิญว่าไปบรรจุอยู่แล้ว เราก็ถามว่าบรรจุแบบนี้แล้วตกลงไปเลยไหม ปรากฏว่าทางเจ้าหน้าที่สภา ต้องขอบพระคุณ เป็นอย่างยิ่งเลย เพราะผมก็ไม่มีความรู้ เขาบอกว่าตาม พ.ร.บ. เข้าชื่อ ปี ๒๕๖๒ ไม่จำเป็นต้องเข้าชื่อใหม่ครับ ในกรณีแบบนี้ แต่เวลายังสับสนนะครับ เดี๋ยวผมจะถาม ท่านประธานว่าตกลงเวลาเป็นเท่าไร เขาบอกว่าให้กรณีของผู้ริเริ่มยกร่างเดิมทำแบบเดียวกับ กรณีร้องขอต่อ ครม. เลย คือมาร้องที่สภาแล้วขอให้สภาบรรจุสิ่งที่เคยค้างอยู่แล้ว เช่น พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมืองนี่เข้าสู่การพิจารณาได้เลย ไม่ต้องไปรับฟังความคิดเห็นใหม่ ไม่ต้องเข้าชื่อใหม่ ไม่ต้องเอาเอกสารมาตรวจใหม่ อยู่ที่สภาบรรจุอย่างเดียว แต่สิ่งที่ผมสับสน นิดเดียวก็คือว่าทางเจ้าหน้าที่คณะแรกที่ผมเจอนี่บอกว่าต้องภายใน ๖๐ วัน นับจากวันที่ ครม. เข้ามาสู่ ๖๐ วันแล้ว และนับจากอันนั้นไป ๖๐ วัน บวกกับรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง แต่ทางเจ้าหน้าที่บางท่านก็บอกว่า ๑๒๐ วัน ปัญหาก็คืออย่างที่ผมเรียนว่า ตกลงเป็นเวลากี่วันกันแน่ และผมอยากจะนำเรียนท่านประธานว่าผมเชื่อมั่นว่าในท้ายที่สุด จะต้องมีหนังสือจากท่านประธานไปถึงประชาชนที่ริเริ่ม ในทุก ๆ ฉบับเลยที่ค้างการพิจารณา เพื่อให้เขามายืนยันหรือให้เขามาร้องต่อสภา เพราะว่าถ้าไม่มีหนังสือไปนี่สภาไม่รู้นะครับ พี่น้องสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยที่มาสัปดาห์ที่แล้วก็ไม่รู้ พวกผมก็ไม่รู้ ดีว่าทางเจ้าหน้าที่สภาได้ให้คำแนะนำ อันนี้เป็นประเด็นที่ผมอยากจะนำเรียนเป็นประการที่ ๓ ท่านประธานครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๔ เป็นประการสุดท้าย ต้องขอบพระคุณทางตัวแทนพรรคเพื่อไทย ท่านยืนยันชัดเจน สมรสเท่าเทียมท่านเอาแน่ ประเด็นก็คือว่าพรรคก้าวไกลรอไม่ได้ครับ สัปดาห์ที่แล้วพรรคก้าวไกลยื่นร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ บวก บวกก็คือบวกอีก ๖๘ มาตรา ที่เรียกว่าสมรสเท่าเทียม ทีนี้กฎหมายฉบับนี้เคยบรรจุมาแล้ว เคยพิจารณาไปถึงวาระที่สองแล้ว ถ้า ครม. ไม่ยืนยัน ถ้าไม่สามารถเอากลับมาพิจารณาได้ แต่เคยรับฟังความคิดเห็นมาหมดแล้ว พี่น้องประชาชน ไปอ่านทั้งหมด ๑,๔๐๐,๐๐๐ คน ผมก็ท้าทายว่าสภาชุดที่ ๒๖ จะมีร่างกฎหมายอื่น ที่คนไปอ่านเกิน ๑,๔๐๐,๐๐๐ คน พี่น้องประชาชนไปแสดงความเห็น ๕๐,๐๐๐ กว่าคน ผมก็ท้าทายว่าชุดที่ ๒๖ เราเอาให้ทะลุ ๕๐,๐๐๐ คน ที่ไปแสดงความคิดเห็นในร่างกฎหมาย แต่ประเด็นก็คือว่าพรรคก้าวไกลยื่นไปแล้ว ฉะนั้นถ้าทางธุรการท่านตรวจได้เร็วท่านไม่ต้อง รับฟังความคิดเห็นใหม่ ผมขอเลยครับว่าบรรจุวาระได้ไหม เอาประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์สมรสเท่าเทียมกลับมาพิจารณาแบบนี้ก็จะเร็วครับ และไม่เสียของ ไม่เสียเวลา สภาแห่งนี้ ก็ต้องขอบพระคุณท่านประธานที่ได้กรุณา ผมมี ๔ ประเด็น แต่ ๒ ประเด็นหลัง อยากจะนำเรียนท่านประธานนำไปสู่ทางปฏิบัติว่าท่านจะมีดำริอย่างไร โดยเฉพาะประเด็น เรื่องของกฎหมายประชาชนที่เข้าชื่อและค้าง และกฎหมายเดิม เนื้อหาแบบเดิมเป๊ะ ของพรรคการเมืองที่ยืนยันกลับเข้ามา ซึ่งไม่จำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นใหม่ อย่างไรก็ตาม ทางพรรคก้าวไกลยินดีและอยากจะเข้าร่วมกระบวนการพูดคุย เราอยากตั้งคณะกรรมาธิการ นี่ใจสั่นทุกวันเลย อยากทำงานครับท่านประธาน ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ คุณณัฐวุฒิมากครับ ข้อเสนอทั้ง ๔ ข้อ ก็จะได้นำไปหารือกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป และขอยืนยัน กับท่านว่าถ้าเป็นความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนที่พวกเราต้องการ เราก็จะ พยายามทำให้มันเร็วและดีที่สุด โดยที่ไม่ขัดต่อข้อกฎหมายและข้อบังคับ อะไรที่พอแก้ไขได้ ก็จะพยายาม ถ้าเป็นเรื่องของความเดือดร้อน ความต้องการของประชาชนที่พวกเรานำมา เราก็จะมาหารือ โดยเฉพาะการหารือร่วมของพวกเรา ขอบคุณครับ ต่อไปผมอยากจะขอ นำเข้าสู่ระเบียบวาระนะครับ เพราะขณะนี้องค์ประชุมของเราครบองค์ประชุมแล้ว ๓๙๗ คน แต่มีผู้ยกมือครับ เชิญครับ อันนี้ก็ถือว่าก่อนระเบียบวาระ ได้ครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ กระผม นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ ขออนุญาตได้หารือท่านประธานในประเด็นเรื่องของการพิจารณา วาระรับทราบในหน่วยงานที่มาหารือแล้วก็ชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรของเราครับ เพราะว่า เมื่อวานนี้ได้มีการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรครวมไทยสร้างชาติ เราก็ได้มี ความเห็นกันครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอโทษครับ ต้องการเปลี่ยนวาระหรืออย่างไรครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
ไม่ครับ ขออนุญาตหารือท่าน ประธานนิดหนึ่งครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
หารือ เชิญครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
นิดเดียวครับท่านประธาน เนื่องจากยังมีความสับสนในเรื่องของการพิจารณาในเรื่องของวาระการรับทราบ อยากให้ ท่านประธานได้กำหนดให้ชัดเจนไปเลยว่าในเรื่องของการรับทราบในแต่ละวัน เพราะที่ผ่านมา มีการกระโดดข้ามกันไปข้ามกันมา ทำให้สมาชิกที่เตรียมตัวอภิปรายไม่สามารถที่จะอภิปราย ในประเด็นที่ตัวเองเตรียมข้อมูลแล้วก็ประเด็นในการอภิปรายได้ ฉะนั้นก็เลยขออนุญาตให้ ท่านประธานได้กำหนดประเด็นแล้วก็เรื่องในการรับทราบให้ชัดเจน เพื่อที่สมาชิกจะได้ อภิปรายได้ถูกต้องครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เห็นด้วยกับเพื่อนสมาชิกว่าอยากให้มีการเร่งตั้งคณะกรรมาธิการ สามัญ เพราะว่าปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมีเป็นจำนวนมาก วันนี้ ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเราสามารถใช้กลไกคณะกรรมาธิการสามัญเข้ามา ขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้พี่น้องประชาชนได้ อย่างผมเองรับเรื่อง ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมาทุกวัน ถ้าเรามีคณะกรรมาธิการสามัญ ก็สามารถ ใช้กลไกตรงนี้มาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนได้ ก็เลยขออนุญาตให้ ท่านประธานช่วยเร่งรัดกระบวนการในการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้าย มีความเห็นว่าเพื่อนสมาชิกในที่ประชุมก็คือเรื่องกระทู้ถามสด ด้วยวาจา ถ้ามีประเด็นที่สำคัญ ถ้าท่านรัฐมนตรีถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงของการรักษาการ ถ้าเป็นประเด็นที่พี่น้องประชาชนให้ความสนใจอยากให้ท่านประธานได้ให้รัฐมนตรีมาชี้แจง โดยเฉพาะเรื่องของเบี้ยผู้สูงอายุ เพราะวันนี้ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน อยากให้ ทางรัฐบาลได้มาชี้แจงให้ทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็พี่น้องประชาชนได้เข้าใจ ในนโยบายของรัฐบาลที่แท้จริง ไม่อย่างนั้นก็จะเกิดความสับสนในสังคม ขอบคุณ ท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ส่วนเรื่องที่จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าเดี๋ยวเราเริ่มปฏิบัติตั้งแต่วันนี้ว่าอะไรที่เราจะรับทราบบ้าง กี่เรื่อง เพื่อความพร้อม แล้วก็เตรียมตัวของพวกเรา
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ๔๘๘ คน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
บัดนี้องค์ประชุม ครบแล้ว ๔๐๑ ท่าน ผมขอดำเนินการเปิดการประชุมตามระเบียบวาระต่อไปนะครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มี
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เรื่อง ๒.๑ รับทราบการพิจารณารายงานของวุฒิสภา
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้มีหนังสือแจ้งว่า ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันอังคารที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ที่ประชุม ได้รับทราบการพิจารณา ๓ เรื่อง คือ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๑. รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ และรายงานการประเมินผลการใช้เงินและทรัพย์สิน สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๒. รายงานของผู้ตรวจสอบบัญชีและรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ และรายงานการตรวจสอบการประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน สำหรับปี ๒๕๖๓ ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๓. รายงานของผู้ตรวจสอบบัญชีและรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ และรายงานการประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน สำหรับ ปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไประเบียบ วาระเพื่อทราบ ตามที่ได้ออกระเบียบวาระไปเพื่อรับทราบรายงานของหน่วยงานต่าง ๆ ตามที่ท่านได้แนะนำมาเมื่อสักครู่ ผมเห็นว่าเพื่อการพิจารณาเรื่องดังกล่าวเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงขอปรับระเบียบวาระการประชุมจากเดิมเล็กน้อย โดยเฉพาะในวันนี้ ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ได้ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความพร้อมที่สามารถจะเข้ามา ชี้แจงได้แล้ว และเนื่องจากข้อบังคับ ข้อ ๒๘ กำหนดว่าต้องดำเนินการพิจารณาตาม ระเบียบวาระที่ที่ประชุมจัดไว้ เว้นแต่ที่ประชุมจะเป็นอย่างอื่น ผมก็อยากจะทำตาม คำแนะนำว่าเอาหน่วยงานที่มีความพร้อมและได้ประสานงานเรียบร้อยแล้ว จะได้ไม่ต้อง เสียเวลาให้เขามารอ ก็จะขอเปลี่ยนแปลงตามระเบียบวาระที่จัดไว้ให้ คือ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๑. รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานเงินกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ตามระเบียบวาระที่ ๒.๒
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๒. รับทราบรายงานการปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๖๕ สภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งบรรจุเดิมในระเบียบวาระ ๒.๑๒
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๓. รับทราบรายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งอยู่ในวาระ ๒.๖ ขึ้นมาเป็นลำดับที่ ๒ ลำดับที่ ๓ รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปี ๒๕๖๕ สภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งอยู่ในวาระที่ ๒.๑๒
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๔. รับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของกองทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี ๒๕๖๓ และประจำปีบัญชี ๒๕๖๔ ซึ่งอยู่ในวาระเดิม ๒.๑๘
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๕. รับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุน ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ซึ่งอยู่ในระเบียบวาระ ๒.๒๐
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ถ้าไม่มีผู้ใดเห็นเป็นอย่างอื่น ก็จะเรียงตามลำดับ ๑-๕ ในวันนี้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ผมขออนุญาตนิดหนึ่งครับ ผม ฐากร ตัณฑสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยสร้างไทย ขออนุญาตท่านประธานครับ อย่างที่ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้อภิปรายไปเมื่อสักครู่ว่า วาระการประชุมแจกเราก่อนมาตั้งแต่วันพฤหัสบดีแล้ว ซึ่งผมเรียนท่านประธานตรง ๆ ว่า ผมเตรียมการที่จะอภิปรายเรียงวาระต่าง ๆ ที่ออกมา เรื่องที่สำคัญนะครับ ของสำนักงาน คณะกรรมการ กสทช. เกี่ยวกับเรื่องแก๊ง Call Center ต่าง ๆ ที่เราเตรียมมา
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เกี่ยวกับเรื่องของสำนักงานคณะกรรมการกิจการพลังงาน เรื่องค่าไฟแพง ท่านประธานครับ วันนี้เราเตรียมข้อมูลมาเราไม่มีสิทธิอภิปรายอะไรเลย มันทำให้ปัญหาต่าง ๆ ที่มันเรียงมาทั้งหมด ผมเรียนท่านประธานว่า ๔-๕ วัน เราเตรียม ข้อมูลกันมาทั้งหมด แต่เราอภิปรายไม่ได้ พี่น้องประชาชนก็ยังได้รับความเดือดร้อนอยู่ อยากจะเรียนท่านประธานว่าถ้าเป็นไปได้ ขออนุญาตท่านประธาน กราบเรียนด้วย ความเคารพจริง ๆ ว่าเกิดหน่วยงานยังไม่พร้อมอย่าบรรจุวาระครับ เพราะว่าผมเตรียม ข้อมูลมาผมก็เหนื่อยเหมือนกันครับ วันเสาร์ วันอาทิตย์ ต้องนั่งเตรียมข้อมูลเพื่อที่จะ อภิปราย ทำเป็น Chart เพื่อที่จะให้ประชาชนพี่น้องได้เข้าใจในส่วนนี้ ขออนุญาต ท่านประธานด้วยความเคารพจริง ๆ ว่าขอให้แจกวาระการประชุมที่ออกไปให้เราเตรียมการ ในการที่จะอภิปรายได้อย่างแม่นยำด้วยครับท่านประธาน กราบขอบพระคุณท่านประธาน เป็นอย่างยิ่งครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ และเห็นใจครับ คงต้องมีการปรับปรุงที่จะต้องประสานงานก่อนที่จะออกระเบียบวาระ แต่บางครั้งอาจจะได้รับทราบผลการประสานงานในภายหลัง แต่จะพยายามทำตาม คำแนะนำของท่าน เพราะฉะนั้นตอนนี้ไม่มีผู้ใดเห็นเป็นอย่างอื่นนะครับ เฉพาะวันนี้ ขอดำเนินการตาม ๕ เรื่องที่บรรจุไว้ เชิญครับ
นายวิทยา แก้วภราดัย แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม วิทยา แก้วภราดัย พรรครวมไทยสร้างชาติ ขออนุญาตต่อเนื่องสักนิดหนึ่งครับ วันนี้ท่านให้ ระเบียบวาระเรา ซึ่งจะได้พิจารณาเรียงตั้งแต่ ๑ ไปถึง ๕ เรื่อง ถ้าจะกรุณาท่านลองตรวจ ความพร้อมดูว่าพรุ่งนี้เราจะพิจารณาเรื่องอะไรบ้าง เพื่อนสมาชิกจะได้เตรียมการไว้ก่อน จะได้ไม่เป็นการเสียเวลา ส่วนสัปดาห์ต่อไปถ้าเป็นไปได้ท่านแจ้งก่อนวันประชุมล่วงหน้า สักวันหนึ่ง พรรคการเมืองแต่ละพรรคเขาจะได้ประชุมพรรค แล้วก็เตรียมสมาชิกที่จะไป ศึกษาและมาร่วมแสดงความคิดเห็นในสภา จะเป็นการสะดวกขึ้นครับ ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
รับไว้ แล้วเดี๋ยว จะประสานงานเรื่องนี้ให้ท่านวิทยา เชิญท่านอดิศรครับ
นายอดิศร เพียงเกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม อดิศร เพียงเกษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ขอร่วมส่วนในการหารือ ผมขอถามท่านประธานด้วยความเกรงใจ ระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ส่ง เอกสารรายงานของตัวเองมาหน่วยงานไหนใหญ่กว่ากัน สภาผู้แทนราษฎร แน่นอน ยืดหยุ่นได้ แต่ผมนั่งอยู่ตรงนี้ยืดหยุ่นจนไม่รู้มันจะขาดแล้ว หน่วยงานไม่ให้ความเคารพ ผมพูดว่ารายงานของท่านต้องเป็นปัจจุบันด้วย หลายครั้งหลายคราก็เหมือนเดิม ผมเลยพูด วันนี้ไปถึงหน่วยงาน ถ้าเขาไม่ยื่น เขาไม่มา เรามีมาตรการอะไร ไม่รับรายงานเขาเลย ไหมครับ ทีนี่กว่าจะเข้ามาได้แต่ละคนเลือดโชกนะครับ อยากจะมาตรวจสอบ ผมจึง ขออนุญาตว่าหน่วยงานให้ความเคารพต่อสภาผู้แทนราษฎร ยื่นแล้วต้องพร้อมทุกเมื่อ เพื่อประชาชน ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ คิดว่าคงไม่มีขัดข้องแล้วนะครับ บรรจุตามนี้ ส่วนข้อเสนอแนะของท่านทั้งหลายก็รับไป แล้วก็จะแจ้งให้หน่วยงานทราบ แล้วก็เข้าใจว่าเมื่อถึงเวลาแล้วสภาผู้แทนราษฎรก็อยากจะ พิจารณาให้ทันด่วน แล้วก็ได้เตรียมตัวล่วงหน้า เป็นเรื่องที่ดีที่พวกเราสนใจ เพราะฉะนั้นไม่มี ผู้ใดขัดข้อง ผมก็เริ่มตามระเบียบวาระเลยนะครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
รับทราบเรื่องที่ ๑ เชิญเจ้าหน้าที่ผู้ที่จะรายงานเข้ามาในห้องประชุมได้ครับ ขออนุญาตนะครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๒.๒ รับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญเจ้าหน้าที่ที่จะมาชี้แจงพร้อมแล้วเชิญครับ ถ้าพร้อมแล้ว เชิญครับ สำหรับผู้ชี้แจง
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพทุกท่าน กระผม พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับ มอบหมายจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านเฉลิมชัย ศรีอ่อน ให้มา นำเสนอ เรื่อง รายงานของผู้ตรวจสอบบัญชีและงบการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
โดยข้อมูลทั่วไปกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติกองทุน สงเคราะห์เกษตรกร พุทธศักราช ๒๕๕๔ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔ ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรในสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินตามมาตรา ๖ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่าย ช่วยเหลือหรือส่งเสริมเกษตรกร ในกิจการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๗ โดยให้สำนักงาน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนและดำเนินการ เบิกจ่ายกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งเงินและทรัพย์สินที่กำหนดในมาตรา ๖ ซึ่งประกอบ ไปด้วยเงินและทรัพย์สิน สิทธิและหนี้สินที่โอนมาจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ตามพระราชบัญญัติ พุทธศักราช ๒๕๑๗ เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณ รายจ่ายประจำปี เงินค่าธรรมเนียมการส่งออกและธรรมเนียมการนำเข้าที่กำหนดไว้ ตามพระราชบัญญัตินี้ เงินกู้โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ดอกผลของกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกร และสุดท้าย เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้มอบให้ครับ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
สำหรับวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ซึ่งกำหนดในมาตรา ๗ กำหนดให้ใช้จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ข้อ ๑ ส่งเสริมการผลิต ผลิตผล เกษตรกรรมขั้นต้น หรือผลิตภัณฑ์ อาหาร
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ข้อ ๒ การส่งเสริม การตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานคุณภาพของผลิตผล เกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ข้อ ๓ การรักษาเสถียรภาพของราคาและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม ขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ข้อ ๔ การดำเนินการที่จำเป็นและเร่งด่วน เพื่อป้องกันและขจัดภัยอันจะเป็น ผลเสียหายแก่เกษตรกร
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ข้อ ๕ การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาการผลิต การแปรรูปหรือการตลาด ซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วม ในการดำเนินการ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ข้อ ๖ การติดตามดำเนินงานตามโครงการที่รับการช่วยเหลือหรือส่งเสริม จากกองทุน
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ซึ่งผู้มีสิทธิที่จะขอใช้เงินกองทุนนี้ ประกอบด้วย ๒ ส่วนหลัก ๆ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ส่วนแรก ก็คือหน่วยงานของราชการ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม รวมทั้งจังหวัดต่าง ๆ รวมถึง รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้ง
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ส่วนที่ ๒ ก็คือองค์กรเกษตรกร ซึ่งจะประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนที่ได้ จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ ประมง สหกรณ์นิคม ชุมนุมสหกรณ์ดังกล่าว รวมถึงกลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วย สหกรณ์ แล้วก็องค์กรเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร อันนี้ ผู้ที่จะมีสิทธิขอใช้กู้ยืมเงินจากกองทุนสงเคราะห์ได้
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
สำหรับสถานะการเงินของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สิ้นสุด ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ กองทุนมีเงินสดอยู่จำนวนทั้งสิ้น ๓,๐๙๔.๔๓ ล้านบาท มีลูกหนี้กองทุน สงเคราะห์เกษตรกรทั้งหมด ได้แก่ หน่วยราชการ ๘ หน่วย ๓๑ โครงการ องค์กรเกษตรกร ซึ่งประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร ทั้งหมด ๑๖ หน่วย รวมทั้งหมด ที่ได้รับอนุมัติไป ๔๗ โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น ๓,๓๖๔.๗๒ ล้านบาท แล้วกองทุนมีรายได้ ค้างรับอยู่ ๓๑๘ ล้านบาทเศษ รวมแล้วกองทุนมีเงินจำนวนทั้งหมด ๖,๗๒๒.๖๑ ล้านบาท โดยในปี ๒๕๖๔ เองกองทุนได้อนุมัติเงินให้กับวิสาหกิจชุมชนแล้วก็สหกรณ์ไปทั้งหมด ๑๐ โครงการ เป็นเงิน ๕๐.๘๙๖ ล้านบาท
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
สำหรับในปี ๒๕๖๖ กองทุนมีรายได้จำนวนทั้งสิ้น ๒๕,๖๐๑,๓๐๐ บาท แล้วก็มีรายจ่ายอยู่ประมาณ ๑๐.๒๗๒ ล้านบาท มีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย จำนวน ๑๕.๓๔ ล้านบาท และในรายงานดังกล่าวเองสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินไม่มีข้อทักท้วง และข้อสังเกตแต่ประการใด จึงขอกราบเรียนมาด้วยความเคารพครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ หมดประเด็นชี้แจงแล้วใช่ไหมครับ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
หมดแล้วท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ตอนนี้มีผู้สนใจที่จะขอซักถามในวาระนี้ทั้งหมด ๑๙ ท่าน ผมก็จะเรียกตามลำดับ โดยที่จะขอ ความกรุณาท่านอภิปราย ๕-๗ นาที ไม่ควรจะเกิน ๗ นาที แต่ถ้าเห็นว่าประเด็นใด ที่ได้พูดกันแล้วก็คงจะไม่ต้องอภิปรายซ้ำ หรือว่าท่านจะไปอภิปรายในวาระต่อไปก็ได้ เพราะว่าประเด็นมันซ้ำกันอยู่ แต่ว่าที่ให้รายชื่อมาทั้งหมด ๑๙ ท่าน ผมจะเรียกตามลำดับ ก็จะให้เตรียมตัวไว้สัก ๓ ท่านก่อน ท่านแรก คือคุณณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ ๗ นาที ท่านต่อไป ท่านชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร ๗ นาที เรียนเชิญ ๒ ท่านนี้ก่อน คุณณัฏฐ์ชนนครับ
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ ๗ อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย ตำบลลำไพรของอำเภอเทพา ๑. ท่านประธานครับ ท่านรู้จัก กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรหรือเปล่า ๒. และมีคำถามจากพี่น้องบอกว่าประชาชนเกษตรกร ได้ประโยชน์อะไรจากกองทุนนี้ ๓. งบประมาณจากรัฐบาลโดยผ่านกระทรวงการคลัง ปีละเท่าไร ท่านประธานครับ จริง ๆ แล้วกองทุนนี้มีมานานแล้วตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ สมัยท่านอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และได้แถลงนโยบาย ในสภาผู้แทนราษฎร เป็นระยะเวลา ๔๙ ปีแล้วครับ วันนี้เราใช้กฎหมายพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ปี ๒๕๕๔ เพราะฉะนั้น หลายปีที่ผ่านมามันมีความล้าสมัยของกฎหมาย เพราะฉะนั้นเราเสนอให้มีการแก้กฎหมาย กองทุนนี้ในอนาคตให้ทันกับเหตุการณ์ ท่านประธานครับ กองทุนนี้เหมือนที่ผู้ชี้แจงได้บอก เมื่อสักครู่นี้ มีเป้าหมายเพื่อทุนหมุนเวียนให้กับเกษตรกร สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านประธานครับ ปรากฏว่าปี ๒๕๖๔ ตามเอกสารฉบับนี้ได้รับงบประมาณ ๗๓๔ ล้านบาท เป็นงบลงทุน ๒.๗ ล้านบาท งบประจำ ๗๐๐ กว่าล้านบาท นี่ก็คือสิ่งที่ท่านได้ชี้แจง ภารกิจ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของดอกเบี้ยที่ให้เกษตรกรได้กู้ยืม ท่านประธานครับ วันนี้เพื่อนสมาชิก หลายคนที่เป็น สส. ก็ยังสงสัยว่ากองทุนนี้มันคืออะไร เกี่ยวกับการยางหรือเปล่า เกี่ยวกับ กองทุนเกษตรกรหรือเปล่า วันนี้ต้องเคลียร์ให้ชัด ท่านประธานครับ มีพี่น้องเกษตรกรถามว่า
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
ข้อ ๑ ท่านผู้มาชี้แจง กลุ่มเกษตรกรไม่ผ่านมาตรฐาน ไม่สามารถเข้าถึง แหล่งทุนของกองทุนได้ เพราะอะไรครับ เพราะกลุ่มเกษตรกรที่ตั้งขึ้นมาครับ ท่านประธาน อยู่ ๆ ท่านจะไปขอเงินจากกองทุนนี้ ไม่ได้ เพราะมีข้อกำหนดว่าต้องตั้งไว้ไม่ต่ำกว่า ๒ ปี เพราะฉะนั้นเกษตรกรจับกลุ่มตั้งกองทุนเพื่อจะเริ่มทำในเรื่องของธุรกิจไม่สามารถทำได้ครับ เพราะต้องรอให้ครบ ๒ ปี แต่เมื่อครบ ๒ ปี เงินเหล่านี้มันไม่จำเป็น เพราะฉะนั้น ฝากกองทุนนี้ไปพิจารณาระยะเวลา ๒ ปีที่ท่านกำหนดมันนานเกินไปสำหรับเกษตรกร
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
ลำดับต่อไป มีการบอกว่าต้องผ่านมาตรฐานของสหกรณ์ ๕ ข้อ ท่านประธาน มันเป็นรายละเอียดที่กลุ่มเกษตรกรที่ตั้งขึ้นไม่สามารถที่จะไปขอกองทุนได้อย่างรวดเร็ว และทันใจ สิ่งที่สำคัญที่สุดท่านประธานครับ
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
ข้อ ๒ ระยะเวลาในการปล่อยกู้กองทุนสงเคราะห์น้อยเกินไป ไม่เหมาะสมกับ การประกอบอาชีพ ท่านประธานครับ กองทุนนี้ได้เงินจากรัฐบาลให้หน่วยงานในสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กู้ ๕ ปี ไม่ว่าจะเป็นกรมประมง กรมปศุสัตว์ และกรมอื่น ๆ ตามที่ท่านชี้แจง เอาเงินของรัฐบาลให้หน่วยงานของรัฐกู้เป็นระยะเวลา ๕ ปี แต่หน่วยงาน ของรัฐที่ท่านให้กู้ไป ไม่ว่าจะเป็นกรมประมง กรมปศุสัตว์ หรือกรมส่งเสริมการเกษตร ไปกู้ให้เกษตรกรปีต่อปี นี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้น
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
ข้อ ๓ ท่านประธานครับ การค้ำประกันเงินกู้ เมื่อกองทุนนี้จะให้เกษตรกรกู้ ต้องมีการค้ำ ให้สหกรณ์ ให้สมาชิกที่เป็นกรรมการไปกู้เซ็นทั้งหมด เพราะฉะนั้นวาระของ สหกรณ์ต่าง ๆ ๒ ปีครับ แต่ในการค้ำประกันเงินกู้เหล่านี้ต้องรับภาระหลังจากหมดวาระแล้ว ปรากฏว่ากรรมการส่วนใหญ่ไม่ว่าเป็นกรรมการสหกรณ์ กรรมการอาชีพอื่น ๆ ไม่สามารถ จะไปกู้ได้ เพราะเขาไม่อยากลงนาม เพราะลงนามแล้วจะติดตัวเขาไปด้วย เพราะฉะนั้น เงินก็ไม่สามารถจะไปกู้จากกองทุนท่านได้ และสิ่งที่สำคัญสมาชิกในกองทุนเหล่านี้ สมาชิก ในกลุ่มก็ไม่สามารถได้เงินมา นี่ก็คือหลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้เป็นกำแพง
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
ลำดับต่อไป เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะทำในข้อ ๔ ก็คือ กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง กลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อย ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกองทุนนี้ได้ เพราะฉะนั้น กองทุนนี้ดอกเบี้ยต่ำมากครับท่านประธาน ๐ เปอร์เซ็นต์ แต่พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางผม ไปกู้กับกองทุนอื่น หน่วยงานของรัฐ ๒ เปอร์เซ็นต์ ชาวไร่อ้อยไปกู้ ๒ เปอร์เซ็นต์ แต่หน่วยงานของท่าน ๐ เปอร์เซ็นต์ แต่พวกผมไม่สามารถจะเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกองทุน ท่านได้
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ในข้อ ๕ เกษตรกรบอกว่าอยากให้กองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรในเรื่องของช่วยเหลือภัยพิบัติ สวัสดิการเกี่ยวกับเรื่องของเกษตรกรคล้ายกับ ประกันสังคมของพี่น้องแรงงาน เพราะฉะนั้นนี่คือสิ่งที่พี่น้องเกษตรกรอยากให้ท่านเข้ามา ช่วยเหลือ
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
ข้อ ๖ ขอให้ปรับปรุง พ.ร.บ. กองทุนฉบับนี้ ปี ๒๕๕๔ เหมือนที่ผมได้กล่าว ให้คล้ายกับสถาบันการเงิน เพราะหน่วยงานที่รับเงินไปจากท่านไม่สามารถจะไปเรียกเก็บ จากคนที่มากู้ได้เพราะไม่มีอำนาจ ไม่มีพนักงาน เพราะฉะนั้นนี่ก็คือสิ่งที่จะฝากกองทุน เกษตรกรว่าสิ่งเหล่านี้คือเสียงสะท้อนจากพี่น้องชาวสวนและพี่น้องเกษตรกร หวังเป็น อย่างยิ่งว่านี่คือสิ่งที่ท่านต้องไปปรับปรุงในอนาคตเพื่อเกษตรกรของประเทศไทย ขอบคุณ มากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร ครับ
นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานครับ กระผม ชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ขออภิปรายเกี่ยวกับรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ โดยมีหลัก ๆ ๓ ประเด็น ดังนี้
นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
จากข้อมูลรายงานการเงินและรายงานประจำปีของกองทุน ผมได้เห็น การปรับทิศทางของกองทุน จากที่เคยให้หน่วยราชการกู้มาเป็นการให้สถาบันเกษตรกรกู้ มากขึ้น ซึ่งก็ได้แก่ทั้งสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน ซึ่งก็ดูเหมือนว่าการปรับทิศทางนี้จะมา ถูกทาง เพราะอย่างน้อยสัดส่วนในการผิดนัดชำระหนี้ก็ลดลง เพราะว่าในส่วนของการให้ สถาบันเกษตรกรกู้โดยคิดดอกเบี้ยต่ำมากที่ระดับ ๑-๒ เปอร์เซ็นต์นั้น เมื่อเทียบกับ แหล่งเงินกู้อื่น ๆ ถือว่าเป็นการกู้ได้ถูกมาก ๆ ซึ่งก็จะช่วยเกษตรกรได้มาก แล้วก็น่าจะเป็น เหตุผลที่ทำให้สถาบันเกษตรกรชำระเงินคืนได้ตรงเวลา ขอ Slide ขึ้นด้วยนะครับ
นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
แต่จำนวนสถาบันเกษตรกร ที่ได้รับประโยชน์จากกองทุนในแต่ละปีถ้าเราดูจำนวน ถ้าเรามาดูจำนวนของสถาบัน เกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากกองทุนนี้ในแต่ละปี ถ้าเรามาดูยอดหนี้ค้างชำระ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ปี ๒๕๖๔ เรามีลูกหนี้อยู่ ๒๗ ราย เป็นสถาบันเกษตรกรเพียงแค่ ๑๙ แห่ง นอกนั้นเป็นหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอีก ๘ แห่ง ซึ่งเทียบกับ ขนาดของกองทุนที่มีสินทรัพย์สุทธิอยู่ที่ ๖,๗๘๐ ล้านบาท แต่มีองค์กรเกษตรกรได้ประโยชน์ เพียง ๑๙ แห่ง
นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นคำถามที่ ๑ ของผมจึงอยากตั้งคำถามไปยังท่านผู้ชี้แจงผ่านไปทาง ท่านประธานว่าทำไมจำนวนสถาบันเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากกองทุนในแต่ละปีนี้ จึงน้อยมาก ๆ เทียบกับขนาดของกองทุน ซึ่งถ้าเรามาดูหนี้ค้างชำระเราก็พอจะเดาได้ เพราะว่าเงินในกองทุนส่วนใหญ่จะไปจมอยู่กับหนี้เก่า ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ปี ๒๕๖๔ เรามี หนี้ค้างชำระรวมอยู่ ๓,๑๙๓ ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ค้างชำระของหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจถึง ๓,๐๙๕ ล้านบาท หรือคิดเป็น ๙๗ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหนี้ก้อนใหญ่ ๆ ก็จะมี กรมส่งเสริมสหกรณ์ ๑,๖๑๘ ล้านบาท มีกรมปศุสัตว์ ๑,๒๐๔ ล้านบาท แล้วก็มี อ.ต.ก. ๑๕๒ ล้านบาท เป็นต้น
นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สำหรับประเด็นที่ ๒ จึงอยากจะเรียนท่านประธานผ่านไปถึงท่านผู้ชี้แจงว่า ให้ช่วยอธิบายหน่อยว่ากองทุนมีวิธีการเร่งรัดหนี้สินจากหน่วยงานราชการ หน่วยงาน รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่เป็นหนี้สินเรื้อรัง บางหนี้ก็ติดหนี้มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ มาจนถึงปี ๒๕๕๗ เป็นหนี้สินเรื้อรังตั้งแต่โบราณกาล รวมทั้งหนี้สินที่เพิ่งเกิดภายในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกับกรมปศุสัตว์ที่เกิดขึ้นหลังปี ๒๕๕๗ ว่าท่านมีแนวทางในการเร่งรัดหนี้สินเหล่านี้ อย่างไร เพื่อที่จะให้ได้เงินเข้ามาปล่อยให้กับองค์กรการเกษตรมากขึ้น
นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
และประเด็นที่ ๓ เป็นเรื่องของตัวชี้วัดของกองทุนและการประเมินผล การดำเนินงานของกองทุน ซึ่งถ้าเรามาดูตัวชี้วัดไม่ว่าจะเป็นด้านการเงินหรือด้านการตอบสนอง ประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เราจะไม่เห็นตัวชี้วัดที่บ่งชี้ถึงผลสำเร็จในวงกว้าง หรือ Impact ที่ได้รับในวงกว้างจากการดำเนินงานของกองทุน ซึ่งอันนี้ก็จะกลับมาเชื่อมโยง กับประเด็นที่ ๑ ว่าทำไมจำนวนสถาบันการเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากกองทุนถึงมีจำนวน น้อยมาก ตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้สะท้อนลงไปในการประเมินผลการดำเนินการหรือตัวชี้วัดของ กองทุน
นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ผมจึงขอตั้งประเด็นคำถามที่ ๓ ว่าอยากจะให้ท่านลองพิจารณาดูว่าการนำเงิน ของกองทุนไปลง โดยสนับสนุนกับสถาบันเกษตรกรโดยใช้กลไกหลักที่มีอยู่ เช่น ธ.ก.ส. จะได้ ผลประโยชน์ในวงกว้างมากกว่าที่กองทุนดำเนินการอยู่หรือไม่ แล้วก็มีข้อเสนอแนะ เช่น การใช้เงินกองทุนเพื่อไปเป็นหลักประกันเงินกู้ให้กับสถาบันเกษตรกร หรือเพื่อให้เป็น เบี้ยประกันภัยสินเชื่อให้กับเกษตรกรที่กู้ยืมเงินกับ ธ.ก.ส. แล้วประสบภัยพิบัติ ถ้าหากมี การประสบภัยพิบัติเกิดขึ้นเนื่องจากได้ทำประกันไว้แล้ว หนี้ในส่วนนั้นก็ไม่จำเป็นต้อง ชำระคืนเนื่องจากว่าประสบกับภัยพิบัติ หรืออาจจะใช้ปล่อยกู้ดอกเบี้ย ๐ เปอร์เซ็นต์ เพื่อสนับสนุนนโยบายทางด้านการเกษตร เช่น ให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรขอตรวจรับ มาตรฐาน GAP : Good Agriculture Practice หรือว่ามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น ก็มีประเด็นที่อยากจะเรียนท่านประธานผ่านไปยังท่านผู้ชี้แจงให้ช่วยชี้แจงใน ๓ ประเด็น ดังกล่าว ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านร่มธรรม ขำนุรักษ์ ครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ร่มธรรม ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กระผม ขออภิปรายให้ความเห็นในวาระรับทราบรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชีและรายงานการเงิน ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ท่านประธานครับ แม้ว่ารัฐบาลชุดนี้โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ทุ่มเทในการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร ในทุกด้าน ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง และน้ำ อีกทั้งยังมีการช่วยเหลือและส่งเสริมเกษตรกร ในด้านต่าง ๆ แต่เพราะเรามีปัญหาที่สั่งสมมาอย่างยาวนานจึงไม่สามารถแก้ไขได้ภายใน ระยะเวลาที่ผ่านมา และมีประเด็นให้ผมได้มาอภิปรายในวันนี้ ท่านประธานที่เคารพครับ เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตร และอาหารที่สำคัญของโลก แต่ที่ผ่านมาเรายังมีปัญหาด้านการผลิตทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีหนี้สินและขาดที่ดินทำกิน อีกทั้งยังมีต้นทุน การผลิตที่สูงขึ้นทุกปีขณะที่ราคาผันผวนเอาแน่เอานอนไม่ได้ รวมทั้งยังต้องเผชิญภัยแล้ง น้ำท่วม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการทำการเกษตร จากสภาวะข้างตนนี้ส่งผลให้เกษตรกรมีความสามารถในการแข่งขันต่ำ และมีการพัฒนา ที่ไม่ยั่งยืน ทำให้เกษตรกรของไทยส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ จึงต้องพึ่ง ความช่วยเหลือจากภาครัฐในด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรซึ่งเป็นทุนหมุนเวียน ซึ่งผมมองว่ามีวัตถุประสงค์ที่ดีที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ในทุกปัญหาที่ประสบอยู่ ทั้งในด้านการส่งเสริมการผลิต การแปรรูป การรับรอง และพัฒนา มาตรฐานของการผลิต การตลาด ตลอดจนการช่วยเหลือเกษตรกรในยามมีภัยพิบัติ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ประเด็นที่ผมติดใจที่จะอภิปรายในรายงาน ของผู้ตรวจสอบบัญชีนี้คือเรื่องที่มติ ครม. และคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ได้อนุมัติเงินให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ไปดำเนินการ แต่ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้ รวมเป็นเงิน กว่า ๒๓,๒๑๓,๘๘๐ บาท ประกอบด้วยเงินจ่ายขาด ๒ โครงการ และเงินจัดสรร ๗ โครงการ อยากสอบถามว่าขณะนี้ได้มีการจ่ายเงินให้กลุ่มเกษตรกรเหล่านั้นแล้วหรือยัง เพราะผม กังวลว่าหากยังไม่จ่ายหรือเกิดการล่าช้าก็อาจจะส่งผลกระทบและสร้างความเดือดร้อน ต่อเกษตรกร โดยโครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่สำคัญที่รัฐควรสนับสนุนอย่างยิ่ง เช่น โครงการส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุน ในการผลิตและการตลาดยังไม่ได้เบิกจ่าย ซึ่งผมคิดว่าโครงการนี้มีความสำคัญต่อรายได้ และกลุ่มของกลุ่มตัวเกษตรกรเองที่เป็นส่วนสำคัญช่วยให้หลุดพ้นความยากจนได้ เช่นเกษตรกรอาจจะมีเงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือสามารถกู้เงินไปลงทุนในการผลิต ไปซื้ออุปกรณ์เครื่องมือและมีเงินปันผลในแต่ละปี ซึ่งรัฐควรเข้าไปสร้างความเข้มแข็ง ให้กับเกษตรกรทุก ๆ กลุ่ม นอกจากนี้ยังมีโครงการเลี้ยงโคเนื้อของวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองขาม จังหวัดชัยภูมิ และในชุมชนบ้านมิตรภาพ จังหวัดขอนแก่น โครงการเลี้ยงแพะเนื้อของวิสาหกิจชุมชน เกษตรพอเพียงประชารัฐ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส และโครงการเลี้ยงแกะ ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรฟาร์มฟื้นฟูบ้านคลองคตซึ่งค้างจ่าย ผมคิดว่ารัฐ ควรสนับสนุนการเลี้ยงโคเนื้อ แพะ และแกะ เพื่อทดแทนการนำเข้าโดยทั้งแพะและแกะ เป็นปศุสัตว์ที่ประเทศมุสลิมต้องการเป็นอย่างมาก และหากมีการส่งเสริมจะช่วยผลักดัน เพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
สำหรับอีกโครงการที่น่าสนใจคือโครงการส่งเสริมอาชีพของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มทำนาเกลือบานา จังหวัดปัตตานีที่ค้างจ่าย ทั้งนี้ผมคิดว่ารัฐบาลควรสนับสนุน การทำนาเกลือ เพราะเกลือมีมูลค่าสูงมาก เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกครัวเรือน และสามารถ พัฒนาเป็นสินค้าส่งออกได้ แต่ในความเป็นจริง ท่านประธานครับ ปรากฏว่าการทำนาเกลือ ในประเทศนี้กลับลดน้อยลง ท่านประธานที่เคารพครับ ปัจจุบันเกษตรกรของไทยส่วนใหญ่ อยู่ในสภาพอ่อนแอและเป็นเรื่องที่สำคัญที่รัฐไม่ควรมองข้าม จึงต้องเร่งมาตรการเพื่อให้ เกษตรกรไทยหลุดพ้นจากความยากจน ผมจึงขอเสนอให้เร่งแก้ไขปัญหาโดยให้ความสำคัญ กับปัญหาเร่งด่วน และพัฒนาอย่างเป็นระบบในระยะยาว สำหรับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน รัฐบาลควรดำเนินการดังนี้
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๑. ช่วยเหลือด้านรายได้และสวัสดิการแก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถ ยังชีพอยู่ได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น การประกันรายได้ให้กับเกษตรกรในยามที่ราคา พืชผลการเกษตรตกต่ำ ทั้งข้าว มันสำปะหลัง ยาง ปาล์ม และข้าวโพด เป็นต้น
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๒. พัฒนาเกษตรกรให้มีทักษะความรู้การใช้เทคโนโลยี การบริหารจัดการ การประกอบการและการเงิน และทักษะต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการดำรงอาชีพเพื่อให้สามารถ แข่งขันได้ ต่อยอดให้กับเกษตรกรไปสู่การเป็นผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๓. ส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าถึงและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ ตลาดสินค้า พัฒนาทักษะเฉพาะในการหาข้อมูลสินค้า ราคา และตลาดสินค้า ทั้งในระดับ ภายในและภายนอกประเทศ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
สำหรับการแก้ไขปัญหาและพัฒนาด้านการเกษตรในระยะยาว รัฐบาล ควรดำเนินการ ดังนี้
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๑. แก้ไขปัญหาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกทางด้าน เกษตรกรรม เช่น ระบบการขนส่ง ที่ดินทำกิน และระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๒. ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการของกลุ่มและเครือข่ายเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจชุมชน ซึ่งจะเป็นพลังต่อรอง เป็นศูนย์รวมของ ความช่วยเหลือถ่ายทอดความรู้ ส่งเสริมให้กลุ่มมีการบริหารจัดการทั้งด้านการเงิน วัตถุดิบ และเครื่องจักร การลดต้นทุน การผลิต การจัดจำหน่าย การจัดหาตลาดรองรับ และช่วยให้มี สินค้าและบริการใหม่ ๆ ได้อย่างยั่งยืน เช่น การสนับสนุนเงินทุนให้กลุ่มประมงท้องถิ่น และการสนับสนุนเกษตรแปลงใหญ่ เป็นต้น
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๓. การประกันภัยพืชผล เป็นโครงการที่รัฐจะต้องส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารความเสี่ยงทางการเงินของเกษตรกรไทย โดยเป็นการถ่ายโอนความเสี่ยงของเกษตรกรไปยังผู้ประกันภัย ซึ่งในระยะยาวยังสามารถ ช่วยลดความกดดันต่อภาระของงบประมาณของภาครัฐได้อีกด้วย
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
ทั้งหมดนี้ผมจึงขอสอบถามท่านประธานไปยังผู้ชี้แจง เพื่อขอทราบเหตุผล และความคืบหน้าในบางโครงการที่อยู่ในรายงานนี้ และมีข้อเสนอแนะบางประการไปยัง รัฐบาลและกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อให้ช่วยเหลือเกษตรกรซึ่งเป็นอาชีพหลัก ของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศให้มีรายได้และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ ผมทราบดีว่ารัฐบาลนี้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว โดยเฉพาะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่เพราะเรามีปัญหาที่สะสมมานาน จึงมีปัญหา ให้ผมได้มาอภิปรายในวันนี้ และขอถือโอกาสนี้ให้กำลังใจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนในการแก้ไข ปัญหาด้านการเกษตรต่อไป เพราะในวันใดที่เราแก้ไขปัญหาการเกษตรได้วันนั้นคือวันที่เรา แก้ไขปัญหาประเทศได้ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านวิรัช พิมพะนิตย์ ครับ
นายวิรัช พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร กระผม วิรัช พิมพะนิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ ก็ต้องยอมรับว่าเงินทุนสงเคราะห์เกษตรกรตั้งมาแต่ดำริโดยท่านนายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ แล้วก็มีผลใช้บังคับ วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔ เป็นกองทุนที่ดี ท่านประธานที่เคารพครับ เกษตรกรรายย่อย เกษตรกรที่ทำ ไม่ได้เข้าถึงในวงเงินตัวนี้เลย ดอกเบี้ยสวยหรู หน่วยราชการ ฟรี ชาวบ้าน ๒ บาท แต่เกษตรกร ชาวบ้านไม่มีสิทธิได้ใช้ ต้องไปกู้ ธ.ก.ส. กองทุนต่าง ๆ ชาวบ้านวันนี้เป็นหนี้เป็นสินเยอะมาก กู้ทุกอย่างเพื่อจะมา ดำรงชีวิตในการเกษตร ไม่กู้แต่กับระเบิด ต้องกราบเรียนว่าวันนี้จังหวัดผมผลิตข้าว ผลิตมันสำปะหลัง ผลิตอ้อย ผลิตยางพารา แล้วก็ผลิตกล้วยน้ำว้า สิ่งต่าง ๆ พวกนี้เขาต้อง ใช้เวลา มะม่วงด้วย อีกอย่างหนึ่งที่ถือว่ามากที่สุดในประเทศไทย ยกตัวอย่างข้าวกว่าจะไถ ครั้งแรก ไถครั้งที่ ๒ หว่าน ใช้เวลาอย่างน้อย ๆ ๗ เดือนครับถึงจะได้เก็บผลผลิต ช่วงเวลา ๗ เดือนนี่ลงทุนทั้งนั้น อย่างทุกวันนี้ไม่มีหรอกที่จะเอากระบือมาไถนา ต้องจ้างเครื่องจักร ทั้งนั้น แล้วเงินทุนทุกอย่างที่ต้องใช้ในเวลา ๗ เดือนเขาต้องไปกู้มา ต้องกราบเรียน ท่านประธานที่เคารพผ่านไปถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันนี้ ๑๔ หน่วยงานที่ไปอยู่ใน จังหวัด กรมส่งเสริม กรมการข้าว กรมอะไรทั้งหลาย ๑๔ หน่วยงาน มากที่สุดของทุกกระทรวง กระทรวงพาณิชย์เพื่อไปกำหนดราคาแต่ว่าล้มเหลว จากข้าวกาฬสินธุ์ ข้าวเขาวงที่ดังที่สุด ในประเทศไทย ดังที่สุดไปทั่วโลกวันนี้หมด การส่งออกข้าวที่เราเคยเป็นอันดับ ๑ เดี๋ยวนี้ เวียดนามเอาไปกินหมดแล้ว ผมจึงกราบเรียนท่านประธานที่เคารพว่าวันนี้กองทุนอย่าคิดถึง แต่ว่าให้ส่วนราชการ ประชาชนตาดำ ๆ เขาอยากจะกู้เหมือนกัน ทำอย่างไรที่เขาจะได้เข้าถึง การกู้ดอกเบี้ยต่ำบ้าง พืชผลการเกษตร มะม่วง วันนี้ที่หน้าสวนเก็บวัตถุดิบขายกิโลกรัมละ ๕ บาท แต่ผมมาดู อ.ต.ก. ๗๐ บาท พ่อค้าคนกลางเท่านั้นที่จะเป็นคนร่ำรวย แต่ว่าเกษตรกร ยิ่งปลูกยิ่งจน วันนี้ใครก็ตามที่ต่อไปอยากเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อยากเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หาเลือกคนที่สนใจกับเกษตรกรหน่อยครับ ไม่ใช่ ดูแต่กรมชลประทานที่เงินเยอะ ๆ เพราะฉะนั้นวันนี้มันจะต้องเอาคนที่มีจิตสำนึก ในการเกษตรเข้าไปดูในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์บ้าง ท่านประธานที่เคารพครับ วันนี้ เกษตรกรตายหมดแล้วครับ บ้านผม ๙๘๐,๐๐๐ กว่าคน เป็นเกษตรกร ๘๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ทุกวันนี้เขาไม่มีกินครับ ลูกหลานต้องไปทำงานกรุงเทพฯ เหลือแต่คนแก่ที่จะเป็น เกษตรกรที่จะพยุงชีวิตตัวเอง มีอะไรไหมที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๑๔ หน่วยงาน ที่ไปอยู่ในจังหวัด อย่างเกษตรอำเภอ เกษตรตำบล เขาเข้าถึงนะครับ เขาเป็นคนที่อยากจะ ทำงาน แต่ว่าหน่วยงานราชการเคยส่งเสริมให้เขาทำงานที่เป็นรูปธรรมไหม วันนี้ถ้าสินค้า ตัวไหนดีรวมกันปลูกอย่างเดียว รวมกันปลูก Demand Supply ไม่มีเลย แต่ถามว่าวันนี้ ยุบทั้งหมดเถอะครับ หน่วยงานที่เข้าไปแล้วถ้าไม่ทำให้เขาดีขึ้น ผมกราบเรียนพี่น้อง ประชาชนผ่านท่านประธานว่าวันนี้เขาอยากได้คนที่ส่งเสริมเขา คนที่เข้าไปดูแลเขา คนที่ไป สร้างเสริมให้เขาได้มีโอกาสลืมตาอ้าปากได้ อย่างบ้านผมมีเขื่อนลำปาวใช้อยู่ มีการประมง มีกุ้งก้ามกรามที่ดีที่สุดในประเทศไทย แต่ก็ถูกกดราคาครับ
นายวิรัช พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
เพราะฉะนั้นวันนี้ผมต้องกราบเรียน การเลี้ยงกุ้งเป็นพื้นที่ที่เลี้ยงกุ้งมากที่สุดในประเทศไทย ขอบคุณนะครับ ก็ต้องบอกว่า ท่านประธานที่เคารพครับ ทำอย่างไรที่จะช่วยให้ชาวบ้านได้มีโอกาสลืมตาอ้าปาก ได้เข้าถึง กองทุนดอกเบี้ย ๒ บาท วันนี้เกษตรกรบ้านผม ผมเคยถามเขาสมัยเมื่อ ๓๐ ปีที่เล่นการเมืองใหม่ ๆ ถามเขาว่า เป็นหนี้เท่าไร เขาบอก ๕๐,๐๐๐ บาท อาทิตย์ที่แล้วไปถามลุงเป็นหนี้เท่าไร ๕๐๐,๐๐๐ บาท ไม่มีโอกาสที่จะได้เล็กลงเลยครับ มีแต่เพิ่มขึ้น ผมถามแล้วเมื่อไรจะหมด เขาบอกเดี๋ยวก็หมด สส. เมื่อตายหมดครับ เพราะว่าไปยืมเงิน ธ.ก.ส. เขามีฌาปนกิจครับ ยืมเท่าไรถ้าตายปุ๊บ ลบหนี้ เพราะฉะนั้นวันนี้ชีวิตของคนอีสาน ของคนกาฬสินธุ์ต้องคอยอย่างเดียวคือตาย ถึงจะหมดหนี้ หาคนดี ๆ มาทำหน่อยครับ เป็นรัฐมนตรี รัฐมนโท เป็นอธิบดี เป็นอะไรต่าง ๆ ให้มันคิดถึงเกษตรกรหน่อย ไม่ใช่ว่าวันนี้ทุกคนเข้ามา ไม่อยากคิดเลยครับ เอาคนที่ไม่มี ความชำนาญงานล้มเหลวทั้งระบบ ผมกราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผ่านไปถึงพี่น้อง ทำอะไรขาดทุนหมดครับ อย่างปลูกข้าว ท่านประธานคิดดูสิครับว่าวันนี้จะได้ไหม ปลูกอ้อย ใครเป็นคนกำหนดราคา แป๊บเดียวครับท่านประธาน คนกำหนดราคาคือพ่อค้าคนกลาง ปลาในกระชังเหมือนกันครับ คนขายอาหารก็คือนายทุน แล้วขายไป ขายไปจนครบ ตักขึ้นมา ขายก็ต้องขายให้นายทุน เราไม่ได้มีสิทธิกำหนดราคาเองเลยครับ ผลผลิตทางการเกษตร และข้าวมากที่สุด ต้องกราบเรียนท่านประธานครับ วันนี้ถึงเวลาแล้วที่คณะรัฐมนตรีใหม่ แล้วก็ท่าน สส. ผู้ทรงเกียรติที่นั่งในสภา เรามาช่วยเกษตรกรซึ่งเป็นคนทั้งประเทศ คนที่มาก ที่สุดของประเทศไทย ผมกราบเรียนท่านประธานว่าคนหวังพึ่งกับ สส. ชุดนี้ รัฐบาลชุดนี้ ตลอดไปครับ ขอขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านสัญญา นิลสุพรรณ ครับ
นายสัญญา นิลสุพรรณ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม นายสัญญา นิลสุพรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ เขต ๓ พรรครวมไทยสร้างชาติ ก็ขออนุญาตอีกครั้งหนึ่งที่ผมได้อภิปราย เรื่องของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ซึ่งผมได้ดูจากรายงานแล้วก็อดไม่ได้ที่จะขออภิปราย เพราะว่าจากรายงานเราได้ทราบถึงกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ท่านทำอะไรบ้าง ท่านเอา เงินไปใช้อะไรบ้าง ซึ่งผมบอกได้ว่าก็มีประโยชน์กับพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่งได้เรียน ตรง ๆ เลย ผมเองได้พูดถึงเกษตรกรเกือบทุกครั้งที่มีโอกาสที่ได้อภิปราย เพราะว่าเป็นหัวใจ หลักจริง ๆ แล้วในพื้นที่ผม ๓ อำเภอ อำเภอชุมแสง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอบรรพตพิสัย ก็ทำอาชีพเกษตรกรเป็นหลักอยู่แล้ว ซึ่ง ๔ ปีที่ผ่านมาที่ผมทำหน้าที่ก็ได้มุ่งเน้นเรื่องของ การพัฒนาแหล่งน้ำ และได้มีโอกาสได้พบกับวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ ในพื้นที่ ที่ได้ทำกิจกรรมกันอยู่ ก็ได้ทราบและได้เห็นว่ามีช่องทางอีกช่องทางหนึ่งแล้วที่เราจะได้ ช่วยกันส่งเสริม ซึ่งได้เห็นจากรายงานก็ได้ทราบว่าท่านอาจจะทำได้ไม่ทั่วถึง ด้วยงบประมาณ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ แต่ผมก็อยากฝากความหวังไว้ว่าในอนาคตเองถ้าทำอย่างจริงจังแล้วก็ ทุ่มเทงบประมาณลงไปช่วยจริง ๆ ผมเห็นความตั้งใจของพี่น้องประชาชนแล้วเขายินดี เขาพร้อมที่จะทำอาชีพของตัวเองให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งผมจะฝากไว้อีกนิดหนึ่ง คือกลุ่มผู้เลี้ยงโคกระบือของอำเภอเก้าเลี้ยวก็ขอไว้ประมาณหลายปี มารู้เหตุผลว่าไม่ได้ เพราะว่าจากรายงานที่ท่านนำมาในวันนี้ แต่อย่างไรก็ตามก็ฝากไว้ด้วยว่าก็เป็นความหวัง เหมือนกันที่ทางกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคกระบือของอำเภอเก้าเลี้ยวจะได้รับการสนับสนุน งบประมาณตรงนี้นะครับ
นายสัญญา นิลสุพรรณ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ส่วนเรื่องต่อไปเรื่องที่ผมอยากจะฝากไว้อีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องแหล่งน้ำ ผมคงจะพูดเป็นหลัก ๆ อย่างท่านอาจจะได้เห็นในทุกวันนี้นะครับ ราคาพืชผลทางการเกษตร ยกตัวอย่างเรื่องข้าว วันนี้พิสูจน์ให้เห็นว่ากลไกตลาดวันนี้พี่น้องประชาชนขายได้ ๑๐,๐๐๐ กว่าบาท ถึง ๑๒,๐๐๐ บาท ลงมาบ้าง อันนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าถ้าเราส่งเสริมปัจจัย ทางการผลิต โดยเฉพาะเรื่องน้ำให้กับพี่น้องเกษตรกรผลิตผลของเกษตรกรที่ผลิตได้ มันก็ราคา สงคราม วันนี้โลกมีสงคราม และอาหารเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการ เรามาเปลี่ยน วิกฤติเป็นโอกาส เราก็รู้อยู่ว่าเรากำลังจะเข้าสู่ภาวะโลกร้อนหรือว่า El Niño หรือว่าภาวะ ภัยแล้งที่เราจะต้องเผชิญอีกอย่างแน่นอนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมอยากเห็นกองทุน สงเคราะห์เกษตรกรได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องตรงนี้ ก็คือผมเห็นท่านมีรายงานเรื่องของ การไปพัฒนาระบบน้ำให้กับพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่นี่ ระบบของพลังงานแสงอาทิตย์ ท่านผู้บริหารครับ ถ้าท่านมีส่วนเข้าไปได้ไม่ต้องรอของกระทรวงพลังงาน กองทุนทดแทน พลังงาน ถ้ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกรสามารถที่จะจัดสรรงบประมาณลงไปช่วยเหลือ เพราะว่าก็อย่างที่ทราบว่ามีเกษตรกรในหลายพื้นที่ต้องการเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะพิษณุโลก นครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร Zone ต่าง ๆ ก็ต้องการการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะว่า Zone นั้นเป็น Zone ที่แดดดีที่สุด แดดแรงมีทำ Solar Cell แล้วมีประสิทธิภาพ มากที่สุด อันนี้ผมอยากเห็นว่าถ้าทางกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรจะได้สามารถไปช่วยเหลือ อย่างตำบลหนองกระเจา ตำบลไผ่สิงห์ อำเภอชุมแสง อย่างที่ผมได้หารือไปครั้งที่แล้ว ยังทำนาไม่ได้แม้สักครั้งเดียว เพราะว่าเขาเป็นพื้นที่ดอนน้ำส่งไม่ถึง ถ้าจะต้องซื้อน้ำก็ต้องใช้ ไฟฟ้าซึ่งสูงอีก แต่ถ้าเรามีพลังงานแสงอาทิตย์ไปช่วยก็จะทำให้ลดต้นทุนพี่น้องเกษตรกรได้ อันนี้ฝากท่านนะครับ ถ้าไม่ได้ผิดอะไร ถ้าท่านจะสามารถจัดสรรโครงการเหล่านี้ได้ ผมไม่แน่ใจว่าที่ผ่านมาโครงการเหล่านี้ได้ขอผ่านกรมส่งเสริมสหกรณ์หรือกรมส่งเสริม การเกษตรไปบ้างหรือเปล่า แต่ว่าในรายงานยังไม่ได้เห็นโครงการเหล่านี้ แต่ว่าถ้ามีผมว่า ก็จะเป็นประโยชน์ให้กับพี่น้องเกษตรกรแล้วก็จะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นเรื่องของกองทุน สงเคราะห์เกษตรกรที่จะได้ทำประโยชน์ นอกจากเราให้กู้อย่างเดียว ผมว่ามาทำตรงนี้ก็จะ เป็นอะไรที่น่าจะมีประโยชน์มาก ๆ ก็ขอฝากท่านผู้บริหารกองทุนนะครับ
นายสัญญา นิลสุพรรณ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
แต่สุดท้ายก็ขอบคุณทางท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ท่านป้องกันภัย จังหวัดนครสวรรค์ ท่านนายอำเภอชุมแสง ท่านผู้บริหารท้องที่ท้องถิ่นที่ขณะนี้กำลัง เร่งระดมกันไปช่วยเหลือภัยแล้งของพี่น้องของตำบลหนองกระเจา ตำบลไผ่สิงห์ ที่ผมได้ นำเรียนเมื่อสักครู่ก็ขอให้แก้ปัญหานี้กันได้นะครับ ก็ขอบคุณท่านประธาน ขอบคุณหน่วยงาน ที่มาชี้แจง ขอบคุณทุกท่านครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ หลังจากที่ท่านฐิติมา ฉายแสง อภิปรายเสร็จก็จะปิดการลงชื่อเพื่ออภิปราย เชิญท่านฐิติมาครับ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ฐิติมา ฉายแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา เขต ๑ พรรคเพื่อไทย ขอ Slide ด้วยนะคะ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ วันนี้ดิฉันขออภิปราย เรื่องรายงานการเงินของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ท่านประธานคะ รายงานฐานะการเงิน ประจำปี ๒๕๖๔ รวมสินทรัพย์ทั้งสิ้น ๖,๗๘๑ ล้านบาท ประกอบด้วยหลักการสำคัญ ๆ ก็คือเงินสด เงินฝากธนาคาร ๓,๒๕๗ ล้านบาท เงินให้กู้ยืมระยะสั้น ระยะยาว ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท มีทุนเกือบ ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ดิฉันจะไม่ขอลงรายละเอียดอะไร แต่ว่าสิ่งที่ดิฉันไปค้นคว้ามาคืออยากจะรู้ว่าภารกิจอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. กองทุน สงเคราะห์เกษตรกรนั้นมีอะไรบ้าง ดูที่มาตรา ๗ บอกว่าภารกิจหรือกิจการตามที่โครงการ ที่จ่ายเงินจากกองทุน
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ข้อ ๑ บอกว่าส่งเสริมการผลิต ผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ผลิตภัณฑ์อาหาร จัดหาปุ๋ยในราคาที่เป็นธรรมก็ทำได้ ช่วยเรื่องลงทุนในการผลิต รักษา จำหน่ายก็ได้ จัดหา แหล่งน้ำที่ดินก็ได้ แล้วดูดอกจันที่สีเขียวอันแรก ดำเนินการอื่นใดอันจะเกิดประโยชน์ ต่อการผลิต โอ้โฮ กว้างใหญ่ไพศาลมากเลยท่านประธาน ประโยชน์นี่นะคะ ต่อมาคือ ตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพก็ได้ด้วย รักษาเสถียรภาพราคา จะซื้อ รับจำนำสินค้า เกษตรก็ได้ ขายสินค้าเกษตรภายในประเทศ ส่งออกก็ได้ ดูสีเขียวต่อไปนะคะ ความจำเป็น เร่งด่วนเพื่อป้องกันขจัดภัยที่จะเป็นผลเสียต่อเกษตรกร ท่านประธานคะ El Niño เอย โลกร้อนอะไร ๆ ก็แล้วแต่ สามารถช่วยได้หมดเลยเพราะว่าเกษตรกรเขาเผชิญหมด ศึกษาวิจัย พัฒนาการผลิต ท่านประธานคะ ประโยชน์หลายอย่างที่กองทุนเกษตรกรนั้น สามารถทำได้
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ทีนี้มาดูอันนี้ค่ะท่านประธาน ดูงบการแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ดูว่ารายได้ที่กองทุนนี้ได้มา ดูทั้งเล่มไม่เห็นอะไรเลยนอกจากรายได้อื่น ซึ่งในปี ๒๕๖๔ บอกว่ามีดอกเบี้ยเงินกู้ให้กู้ยืม ให้ค่าเบี้ยปรับ รายได้อื่น ๒๕.๖ ล้านบาท ทั้งปีมีรายได้ ๒๕.๖ ล้านบาท มีแค่นี้จริง ๆ ท่านประธาน ดิฉันก็เลยมาดูที่ พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์ เกษตรกร มาตรา ๙ บอกไว้ว่าอะไร บอกว่า ครม. มีอำนาจกำหนดให้ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า เสียค่าธรรมเนียมการส่งออก เสียค่าธรรมเนียมการนำเข้า ท่านประธานคะ ดิฉันไม่เห็น ตัวเลขของรายได้จากค่าธรรมเนียมนี้เลยค่ะ ในขณะที่ประเทศไทยส่งออกข้าวปีละเท่าไรคะ ประมาณ ๘ ล้านตัน ส่งออกไก่แช่แข็ง นี่ยกตัวอย่างนะคะ ๑ ล้านตัน ไม่มีค่าธรรมเนียม แบบนี้เลยหรือคะ แล้วก็สงสัยว่าไม่ได้เก็บ นั่นก็หมายความว่าแทนที่เราจะมีเงินมาช่วย เกษตรกรกลับไม่มี แล้วก็แสดงว่าไม่ได้ทำตามภารกิจใช่ไหมคะ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
มาดูที่คณะกรรมการค่ะท่านประธาน คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกร มี Big ทางเศรษฐกิจทั้งนั้นเลยค่ะ คนแรก ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวง มหาดไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผอ. สำนักงบประมาณ อธิบดีกรม เต็มไปหมดเลย การค้าต่างประเทศ อะไรเต็มไปหมด แล้วยังมีผู้จัดการ ธ.ก.ส. และกรรมการอีกรวม ๒๓ คน ท่านประธาน ๒๓ คน ปี ๒๕๖๔ ทำภารกิจอะไร
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ท่านประธานมาดูที่กระแสเงินสดกันบ้าง กระแสเงินสดคือกองทุนนี้ให้เงินกู้ กับเกษตรกรอย่างไร ปี ๒๕๖๓ ให้ ๖๐๐ กว่าล้านบาท ปี ๒๕๖๔ ให้ ๑๓.๑๓ ล้านบาท ท่านประธาน กองทุนนี้สำคัญมากนะคะ แล้วก็ทั้งปี ๒๕๖๔ ให้แค่นี้ มันเกิดอะไรขึ้นคะ จึงสงสัยมาก ๆ แล้วก็จริง ๆ แล้วกองทุนนี้สามารถช่วยเหลือเกษตรกรผู้เดือดร้อนได้มากมาย ท่านจะให้ความรู้กับเกษตรกร ท่านจะช่วยอย่างที่บอกไปตอนต้น เยอะแยะไปหมด ในพื้นที่ ของดิฉันชาวนา ชาวสวน เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาต่าง ๆ นานา มีปัญหาทั้งสิ้น เขายังคงทำสิ่งที่ เขาทำมาชั่วชีวิตเป็น Generation ยังผิดอยู่ก็ได้ น่าจะต้องให้ความรู้ กองทุนนี้ก็สามารถที่จะ ศึกษาวิจัยแล้วเอามาช่วย แต่ไม่ได้ทำ ทีนี้มาดูว่าเขาสามารถช่วยอะไร ดิฉันไปคุยกับพ่อแม่ พี่น้องเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งเขาก็อยากได้ห้องเย็น เพื่อช่วยรักษาระดับราคาของสัตว์น้ำทะเล ก่อนที่จะขนสินค้านั้นไปถึงมหาชัย อยากได้ห้องเย็น ช่วยได้แต่ไม่ช่วย ชาวเกษตรกร เขาอาจจะเข้าไม่ถึงท่านหรือเปล่า หรือเขาไม่รู้จักท่าน ท่านรู้ไหมว่าดิฉันไปหาพี่น้อง เกษตรกรทั้งหลาย ทั้งเพศชาย เพศหญิง ทั้งอาชีพเขาจะปลูกโน่นปลูกนี่ เขาจะทำอะไร ลองดูนะคะ คนแรกเป็นชาวนา นี่หลายอำเภอ หลายตำบล คนที่ ๒ ชาวนา คนที่ ๓ ชาวนา ไม่รู้จักท่านเลย ปลูกมะม่วงรู้จักไหม ไม่รู้จัก เลี้ยงกุ้งรู้จักไหม ไม่รู้จัก เลี้ยงปลากะพงรู้จักไหม ไม่รู้จัก เลี้ยงปลารวมรู้จักไหม นี่คือพื้นที่ของดิฉัน ไม่รู้จัก เลี้ยงโคที่มีปัญหา Lumpy skin อะไรก็แล้วแต่ ไม่รู้จัก ต้องหาทางช่วยของตัวเองตลอด เลี้ยงสุกรรู้จักไหม ไม่รู้จัก สมาชิก สภาเกษตรกรสำคัญมากเลยเพิ่งจะเลือกตั้งกันไปหยก ๆ ถามว่ารู้จักไหม ไม่รู้จัก วิสาหกิจ ชุมชนคนสุดท้ายที่ในตารางนี้เขาช่วยตัวเอง เขาหาเงินกันเอง ไม่ได้มาขอเงินกองทุนท่านเลย เขาก็ไม่รู้จัก และสำคัญมาก ๆ คืออะไรคะ ดิฉันถามเกษตรอำเภอ เกษตรอำเภอบอกว่าไม่รู้จักกองทุน สงเคราะห์เกษตรกร อยากจะบอกว่าบ้าไปแล้วท่านประธาน กองทุนนี้สำคัญมาก ช่วยเหลือ ได้เยอะมากดังที่ดิฉันพูดตั้งแต่ต้น แต่แล้วไม่ได้ช่วยเกษตรกรให้ทั่วถึงดีจริง นี่คือตัวอย่าง จากฉะเชิงเทรา เพราะฉะนั้นขอฝากเถอะค่ะ ฝากว่าให้ช่วยเกษตรกรมากกว่านี้ เพราะท่านมี ศักยภาพทำได้แต่ไม่ทำ ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ครับ
นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต ๔ อำเภอบ้านโป่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตได้อภิปรายแสดงความคิดเห็นถึงรายงานงบประจำปีของกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรที่ทางสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินยื่นมาให้ทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้มาพิจารณาแล้วก็แสดงความคิดเห็น ท่านประธานครับ ตอนนี้เกษตรกรของบ้านเรา มีปัญหาเรื่องหนี้สินกันเป็นจำนวนมาก เกษตรกรก็รวมถึงทั้งเกษตรกรที่ปลูกพืช เกษตรกร ที่เลี้ยงสัตว์ และอีกกลุ่มหนึ่งก็คือเกษตรกรที่ทำการประมง ที่จังหวัดราชบุรีของกระผมนั้น เกษตรกรที่ปลูกพืชนั้นก็จะเป็นข้าวแล้วก็อ้อย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ก็คือการทำปศุสัตว์นั้น ก็จะมีวัวนม ซึ่งเราก็มีสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งดูแล พี่น้องเกษตรกรที่เลี้ยงวัวนม ซึ่งเป็นอาชีพพระราชทานที่เราชาวจังหวัดราชบุรีมีความภูมิใจ นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงวัวเนื้อ มีการเลี้ยงสุกร เลี้ยงไก่ ส่วนอาชีพที่ ๓ คืออีกกลุ่มหนึ่งก็คือ กลุ่มประมง ที่จังหวัดราชบุรีของผม โดยเฉพาะที่อำเภอบ้านโป่งนั้นมีการเลี้ยงปลาสวยงาม ก็ถือว่าเป็นเกษตรกรอีกกลุ่มหนึ่ง มีการเลี้ยงปลากระชัง มีการเลี้ยงกุ้งในจังหวัดราชบุรี โดยเฉพาะที่อำเภอบางแพก็มีการเลี้ยงกุ้งเป็นจำนวนมาก เกษตรกรที่มีอาชีพดังกล่าวนั้น ปัจจุบันนี้มีหนี้สินครัวเรือนเยอะมาก จากข้อมูลสำนักงานสถิติมีการให้ข้อมูลว่าปัจจุบันนี้ หนี้สินครัวเรือน ๔๕๐,๐๐๐ บาทต่อครัวเรือน ๕๗ เปอร์เซ็นต์ของหนี้ครัวเรือนเกินศักยภาพ ที่เกษตรกรจะใช้หนี้ได้ สูงมากครับ ๕๗ เปอร์เซ็นต์ ๔๓ เปอร์เซ็นต์ ยังพอที่จะมีรายได้ สาเหตุที่เกษตรกรมีศักยภาพในการใช้หนี้ต่ำมาจาก ๓ ปัญหาด้วยกัน ๑. คือรายได้น้อย รายได้น้อยเกิดจากอะไรครับ ราคาพืชผลสินค้าเกษตร ราคาสินค้าของปศุสัตว์นั้นต่ำ อันนี้ก็คือปัญหาเรื่องรายได้น้อย เรื่องที่ ๒ ก็คือรายได้ไม่สม่ำเสมอ คือปีนี้ขายได้ราคาสูง ปีต่อไปขายได้ราคาต่ำ พี่น้องเกษตรกรก็ไม่สามารถจัดการเรื่องของรายได้ เรื่องของค่าใช้จ่ายได้ เพราะอะไรครับ เพราะว่าราคาสินค้าเกษตรนั้นไม่สม่ำเสมอ แล้วก็สุดท้ายก็มาเจอ เรื่องรายได้ผันผวน เกษตรกรไทยเจอปัญหาเรื่องรายได้ผันผวนจากเรื่องของภัยพิบัติบ้าง อย่างล่าสุดที่อำเภอบ้านโป่งผมก็เจอปัญหาเรื่องของภัยแล้ง การทำนาปีได้ผลผลิต เพราะว่าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาเรื่องของโรคระบาด ซึ่งเกษตรกรไทยมีปัญหาตรงนี้ทุกกลุ่มสาขาอาชีพ ล่าสุดผู้เลี้ยงปลาสวยงามก็เจอปัญหา เรื่องของกฎหมาย วันหนึ่งเลี้ยงปลาเรืองแสงได้ วันต่อมารัฐบาลโดยกรมประมง ก็ออกกฎหมายไม่สามารถเลี้ยงปลาเรืองแสงได้ เพราะว่ามีปัญหาเรื่อง GMO อันนี้ก็ทำให้ เกษตรกรที่เลี้ยงปลาสวยงามในเขตอำเภอบ้านโป่งนั้นมีความเดือดร้อนจากกฎหมาย ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้ง ๓ เรื่องนี้ รายได้น้อย รายได้ไม่สม่ำเสมอ แล้วก็รายได้ผันผวน จึงเป็นปัญหาเรื้อรังที่ทำให้เกษตรกรไทยนั้นมีหนี้ครัวเรือนสะสมเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิน ศักยภาพที่เกษตรกร จะชำระหนี้ได้ ไม่ว่าจะหนี้ที่กู้ยืมเงินมาจากสถาบันการเงิน ธนาคาร พาณิชย์หรือธนาคารของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น ธ.ก.ส. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ปัญหา ตรงนี้ต้องให้รัฐเข้าไปช่วยดูแล กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรนั้นก็เป็นอีกกองทุนหนึ่ง ในหลาย ๆ กองทุนที่เป็นกลไกของรัฐในการเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรที่มีปัญหาเรื่องเงินทุน เงินหมุนเวียน นอกจากนี้ยังมีกองทุนอีกหลายกองทุน ท่านประธานครับ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร นอกจากนี้รัฐบาลที่ผ่านมาก็มีโครงการประกันรายได้ ให้เกษตรกรได้ลืมตาอ้าปากได้ ก็คือโครงการประกันรายได้ข้าวแล้วก็พืช ๕ ชนิด ไม่ว่าจะเป็น ยางพารา ปาล์ม ซึ่งพืช ๕ ชนิดนี้รัฐบาลใช้งบประมาณไปจำนวนมากในการที่จะประกัน รายได้ให้กับเกษตรกร นี่ก็เป็นอีกกลไกหนึ่งนอกจากกองทุนที่มีอยู่ ฉะนั้นวันนี้กองทุน สงเคราะห์เกษตรกรเป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะมาช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร สิ่งที่ผมเห็น ในงบประมาณ เพื่อนสมาชิกหลายท่านอภิปรายไป งบประมาณน้อยมากครับท่านประธาน ดูจากทุนนะครับ ๙,๐๐๐ ล้านบาท ทรัพย์สิน ๖,๐๐๐ กว่าล้านบาท ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนเกษตรกรในประเทศไทยที่มีอยู่ และเทียบกับหนี้สะสมของเกษตรกร ที่มีอยู่ เราจะทำอย่างไรที่เราจะช่วยเหลือปลดภาระนี้ให้กับพี่น้องเกษตรกร เป็นไปได้ไหม ที่เราจะรวมกองทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กองทุน สงเคราะห์เกษตรกร กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โครงการต่าง ๆ มารวมกัน แล้วก็ทำ หน้าที่ในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาหนี้สะสมที่มีอยู่ของเกษตรกรอย่างจริงจัง อย่างแท้จริง อันนี้คือสิ่งที่ผมอยากจะได้ฝากท่านประธานไปถึงรัฐบาลใหม่ที่จะมีขึ้นว่าเราจะแก้ไขปัญหา หนี้สินให้กับพี่น้องเกษตรกรอย่างไร วันนี้ต้องเป็นวาระแห่งชาตินะครับ แล้วก็ผมคิดว่า รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาจะต้องทำนโยบายนี้อย่างเป็นจริงเป็นจัง เพื่อให้เกษตรกรไทยลืมตา อ้าปากได้ ไม่ใช่เรามีกองทุนหลาย ๆ กองทุน แล้วแต่ละกองทุนนั้นถ้าเทียบแล้วเกษตรกรเรา มีหนี้เป็นแสนล้านบาท แต่เรามีกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพียงไม่กี่พันล้านบาท มันไม่สามารถ แก้ปัญหาได้อย่างจริงจังครับ อันนี้คือสิ่งที่อยากแสดงความคิดเห็นให้กับท่านประธาน แล้วก็ ฝากไปยังรัฐบาลใหม่ที่จะตั้งขึ้นในอนาคตด้วย ขอบคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านชัชวาล แพทยาไทย ครับ
นายชัชวาล แพทยาไทย ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติทุกท่าน กระผม นายชัชวาล แพทยาไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต ๗ ลูกอีสาน ดินแดนถิ่นทุ่งกุลาร้องไห้ เกษตรวิสัย ปทุมรัตต์ เมืองสรวง แหล่งเพาะปลูกข้าวหอมมะลิขึ้นชื่อของประเทศไทยครับ วันนี้ต้องขออนุญาตร่วมอภิปรายถึงรายงานเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร อาจจะมี บางประเด็นที่ซ้ำเพื่อนสมาชิก อาจจะมีบางประเด็นที่ส่งเสริมต้องขอโอกาสเพื่อนสมาชิก ทุกท่าน ในพื้นที่ของกระผมส่วนใหญ่พี่น้องประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกร แต่ปัญหา ที่สำคัญของการเป็นเกษตรกรคือต้องเผชิญกับอุปสรรคนานาประการ ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติ ราคาต้นทุนการผลิต และราคาผลผลิตที่มีการผันผวนอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่พอจะเป็นความหวัง ของพี่น้องเกษตรกรนั่นก็คือแหล่งทุนครับ เพื่อใช้ในการรับมืออุปสรรคเหล่านี้ กองทุน สงเคราะห์เกษตรกร ซึ่งริเริ่มกำเนิดขึ้นในสมัยรัฐบาล ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการตราพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรขึ้นมา หากมองตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งกองทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงาน ด้านการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรให้ดำเนินไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ หากจะกล่าว ในมุมของผู้แทนราษฎรครับท่านประธาน ผมได้รับทราบถึงปัญหาของพี่น้องประชาชน เกษตรกร เรื่องทุนถือเป็นเรื่องที่สำคัญในการทำการเกษตร โดยเฉพาะเป้าหมายของภาครัฐ ที่พยายามผลักดันยุทธศาสตร์เกษตร ๔.๐ ดังนั้นในการดำเนินการในด้านเกษตรจึงจำเป็น จะต้องมีเงินทุนในการประกอบกิจการตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางการผลิต ก่อนอื่นผมต้องขอชื่นชมก่อนว่าการมีกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรจะเป็นเสมือนตัวกลาง ในการสร้างเกษตรกรยุคใหม่หรือเกษตร ๔.๐ ได้ เพราะเป็นแหล่งเงินทุนที่มีดอกเบี้ยน้อย เป็นช่องทางให้แก่เกษตรกรที่ต้องการสร้างวิธีการผลิต การแปรรูป หรือสร้างการตลาด แบบใหม่ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย แต่ท่านประธานครับ กระบวนการขั้นตอน กว่าจะได้มาซึ่งเงินทุนในการประกอบกิจการทางการเกษตรมันช่างยากเสียเหลือเกินครับ ด้วยเงื่อนไขของกองทุนหลายประการ หลักเกณฑ์เงื่อนไขที่มีหลายประการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ ทำให้กระผมให้คำนิยามว่าเป็นเงื่อนไขที่ขัดขวางการสร้างเกษตร ๔.๐ และที่สำคัญ เป็นหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำลังกดให้เกษตรกรดูเป็นผู้ไม่มีศักยภาพด้วยการสร้างรูปแบบ การประเมินที่มีความยุ่งยากเพื่อจำกัดวงเงินกู้ ทั้งที่หากมองในภาพความเป็นจริงแล้วเกษตรกรไทยไม่แพ้เกษตรกรชาติใดในโลกครับ เราสามารถผลิตข้าวที่มีชื่อเสียงอย่างข้าวหอมมะลิทุ่งกะลาร้องไห้ในพื้นที่ร้อยเอ็ดของผม ให้ชาวโลกได้รับประทาน และยังมีอีกหลายโครงการที่ทางเกษตรกรได้ยื่นเรื่องไป กว่าจะได้มาซึ่งเงินกู้ใช้เวลานานมาก ที่สำคัญการยื่นโครงการเพื่อขอกู้เงินกับกองทุนดังกล่าว จะต้องทำการยื่นแผนธุรกิจแล้วก็เอกสารเยอะแยะมากมาย เดชะบุญท่านกำลังเอาสิ่งที่ พี่น้องเกษตรกรไม่ถนัดไปเป็นเงื่อนไขในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน มิหนำซ้ำท่านยังเอาระเบียบ ของธนาคารพาณิชย์มาใช้ในการประเมิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกษตรกรหลายคนถอดใจ นำไปสู่ การไม่มีแรงจูงใจในการดำเนินกิจการ การที่จะสร้างผู้ประกอบการทางการเกษตร แบบสมัยใหม่ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรควรจะมีการลดเงื่อนไข ลดระยะเวลาพิจารณา ในการกู้ยืมเงินให้แก่เกษตรกร เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการดำเนินกิจการทางการเกษตร สมัยใหม่
นายชัชวาล แพทยาไทย ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
ประเด็นต่อมา ติดปัญหาเรื่องการตลาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคา ผลผลิตทางการเกษตรไม่สมดุลกับรายจ่ายหนี้ของเกษตรกร ท่านประธานที่เคารพครับ ตามที่ผมได้ทราบมาว่าในแต่ละจังหวัดเรามีสภาเกษตรจังหวัดเป็นของตนเอง เพื่อให้ การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรจังหวัดในการเป็นตัวแทนของเกษตรกร อย่างแท้จริง เราควรจะมีการบูรณาการในการให้สภาเกษตรจังหวัดเป็นตัวกลางในการหาตลาด หรือร่วมกับเกษตรจังหวัดในการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าการเกษตร และหาตลาดรับรอง ให้แก่เกษตรกรร่วมกัน ประกอบการเสริมสร้างการเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ให้แก่ เกษตรกร ผ่านการเสนอโครงการของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สิ่งเหล่านี้ผมมองว่า ในระยะยาวเราจะสร้างพื้นที่รองรับสินค้าการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นราคาโค กระบือ ราคาสุกร ตอนนี้กำลังลดลงอย่างมาก สินค้าการเกษตรกำลังล้นตลาด ตอนนี้พื้นที่อีสานบ้านผม เลี้ยงวัวไว้เอาปุ๋ย ปลูกข้าวเอาเฟียงให้วัว เพราะราคาวัวตอนนี้ออกจากคอกนี่ถูกมาก แต่ก่อนตัวหนึ่ง ๓๐,๐๐๐-๔๐,๐๐๐ บาท ตอนนี้ ๑๕,๐๐๐ บาท ยังไม่มีคนซื้อเลยครับ ท่านประธาน ถูกจนชาวบ้านไม่กล้าขายแล้วครับ มิหนำซ้ำราคาข้าวที่เป็นผลผลิตหลัก ของเกษตรกรไม่เป็นราคา เราจะทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้สามารถกลับมามีราคาในอนาคตได้ กองทุนสงเคราะห์เกษตรจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากครับ
นายชัชวาล แพทยาไทย ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้ายครับ ผมขอฝากไว้ การให้กู้ของกองทุนแก่หน่วยงานภาครัฐ หลาย ๆ หน่วยงานกลายเป็นหนี้เสีย ท่านจะทำอย่างไรถึงจะสามารถนำหนี้เสียเหล่านี้ กลับคืนมา เพื่อนำมาส่งเสริมเกษตรกรอย่างจริงจังตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งกองทุน ในการดำเนินงานด้านการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรให้ดำเนินไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ ผมขอฝากข้อเสนอ และประเด็นคำถามผ่านท่านประธานไปยังผู้ชี้แจง ด้วยความเคารพครับ ท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ เชิญท่านจำลอง ภูนวนทา พร้อมไหมครับ อย่างนั้นผมขอข้ามก่อน ขอเป็น ท่านกิตติภณ ปรานพรหมมาศ ครับ
นายกิตติภณ ปรานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กิตติภณ ปรานพรหมมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขต ๔ พรรคก้าวไกล อำเภอบางเลน อำเภอดอนตูม อำเภอกำแพงแสน ในพื้นที่ตำบลสระพัฒนา และตำบลห้วยม่วง วันนี้หลังจากที่ผมได้ศึกษารายงานการเงินของกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกร ปี ๒๕๖๔ ในฉบับนี้ ผมขอร่วมอภิปรายให้ความเห็นรายงานฉบับนี้สะท้อน การจัดการการเงินของกองทุน โดยแบ่งได้ ๓ ประเด็นที่ผมจะอภิปรายดังต่อไปนี้
นายกิตติภณ ปรานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ผมขอกล่าวถึงสัดส่วนหน่วยงานการกู้ยืมที่ปรากฏในรายงาน ของรายงานการเงินฉบับนี้ หากวิเคราะห์และมองตามสัดส่วนแล้วจะพบว่าที่ผ่านมา หน่วยงานของรัฐได้รับการสนับสนุนเงินกู้มากที่สุด หากนับจากรายงานฉบับนี้ ถึง ๓๑ โครงการ ซึ่งองค์กรเกษตรกรอย่างสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนได้รับอนุมัติเพียง ๑๖ โครงการเท่านั้น จาก ๔๗ โครงการ ซึ่งผมขอตั้งข้อสังเกตว่าที่ผ่านมามีการปล่อยเงินกู้ อย่างไม่สมเหตุสมผลไปยังหน่วยงานรัฐ อย่างกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนงานราชการอื่น ๆ หรือไม่ อย่างไร ซึ่งปรากฏในรายงานฉบับนี้กว่า ๑๐ กว่าโครงการ จาก ๓๑ โครงการ เป็นหนี้สูญที่อยู่ในการบังคับคดี ผมในฐานะผู้แทนราษฎรขอตั้งคำถามเรียนท่านประธาน ผ่านไปยังผู้ชี้แจงว่ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกรในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการจะมี วิธีการติดตามนำเงินคืนได้อย่างไร เพราะบางโครงการเป็นโครงการที่ดำเนินการมาแล้ว กว่า ๓๐ ปี ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ปี ๒๕๕๔ ด้วย เหตุผลต่อมาจากหนี้ที่ไม่ได้รับการชำระจากหน่วยงานรัฐเมื่อเทียบดูในงบการเงินอาจดู สอดคล้องกับการรับชำระคืนจากลูกหนี้ที่ลดลงจากปี ๒๕๖๓ ถึงกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ตามรายงานการเงินฉบับนี้ หรือเพราะว่าการติดตามเร่งรัดหนี้ค้างนั้นเป็นอุปสรรคสำคัญ เนื่องจากมีข้าราชการหรือผู้รับผิดชอบไม่ยอมเซ็นรับผิดชอบหนี้ในกรมนั้น ๆ หรือไม่
นายกิตติภณ ปรานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ประการต่อมา ในสัดส่วนของการปล่อยเงินกู้ให้กับองค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชนนั้น จากรายงานงบประมาณฉบับนี้ก็มีปัญหาคล้าย ๆ กันเช่นกัน ผมจึงมี ข้อกังวลว่ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกรนั้นได้มีการติดตามดำเนินการโครงการการจัดการ เงินกู้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ และก่อนถึงระยะเวลาการชำระกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรนั้น ในฐานะพี่เลี้ยงได้มีการติดตามผลผลิตของโครงการซึ่งเป็นผลผลิตสินค้าที่จะแปรเปลี่ยน เป็นเงินสดที่จะใช้หนี้คืนกองทุนอย่างไรบ้าง
นายกิตติภณ ปรานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ในประเด็นวัตถุประสงค์อีกประเด็นหนึ่ง ประเด็นที่ ๓ ผมขอยกตัวอย่าง โครงการหนึ่งในโครงการรายงานการเงินฉบับนี้ เป็นโครงการกรณีสหกรณ์โคนมแห่งหนึ่ง ที่มีการกู้เงินกว่า ๕๐ ล้านบาท โดยวัตถุประสงค์ของโครงการคือการเพิ่มประสิทธิภาพ การแปรรูปนม UHT
นายกิตติภณ ปรานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
นำเงินทุนมาเพื่อซื้อวัตถุดิบ อย่างน้ำนมดิบและ Packaging ซึ่งคงดูแล้วอาจจะไม่แปลกอะไรหากไม่ได้นำโครงการ ดังกล่าวมาเทียบกับบริบทกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เมื่อ ๒ สัปดาห์ที่แล้ว ตามภาพเลยครับ ขอบคุณนะครับ ทุกสื่อออกข่าวเกี่ยวกับน้ำนมดิบที่ขาดตลาด จึงขออนุญาตนำมา เปรียบเทียบเป็นตัวอย่างเพื่อเชื่อมโยงว่าทุกโครงการควรมีการประเมิน วิเคราะห์สถานการณ์ ล่วงหน้า หากมีการปล่อยกู้ในระยะเวลานี้ ๑ ปี หรือ ๒ ปีก่อนหน้า เงินทุนก้อนนี้จะถูกใช้ ในการซื้อน้ำนมดิบหรือไม่ อย่างไร และในราคาที่เป็นธรรมกับเกษตรกรโคนมมากน้อย เพียงใด ประเด็นนี้ผมอยากชวนคิดนะครับ หากเรามีเทคโนโลยีการเก็บข้อมูล Data ที่หลากหลายที่จะคาดเดาปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อโครงการและนำมาวิเคราะห์ การปล่อยกู้และมีการใช้ประกอบข้อมูลก็คิดว่าน่าจะทำให้มีประสิทธิภาพในการชำระหนี้ มากขึ้น
นายกิตติภณ ปรานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ภาพถัดมา ผมขอกล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่อธิบายปรากฏการณ์ ของอาหารสัตว์ที่ราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด ๒-๓ ปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่ากองทุนสงเคราะห์ ภายใต้การดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบและเข้าใจแนวโน้ม เรื่องนี้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีราคาพุ่งสูงขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๖๔ ถึงปี ๒๕๖๖ กว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ต่อกิโลกรัม สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ทุกหย่อมหญ้า ผมจึงอยากเรียนถามท่านประธานสอบถามผ่านไปยังผู้ชี้แจงว่าท่านได้มี โครงการเชิงรุกในการค้นหาโครงการจากหน่วยงานรัฐหรือองค์กรการเกษตรกรที่วิจัย พัฒนาการดำเนินการแก้ไขประเด็นนี้หรือไม่ อย่างไร เพราะผมคิดว่าราคาอาหารสัตว์ ที่สูงขึ้นนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเกษตรทั้งระบบครับ
นายกิตติภณ ปรานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ ผมก็อยากเสนอแนะสั้น ๆ ฝากไว้ประมาณ ๓ ข้อ จากการอ่าน รายงานฉบับนี้นะครับ
นายกิตติภณ ปรานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ข้อแรก สิ่งที่ผมอยากให้เพิ่มเติมคือการส่งเสริมกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ก็คือการสนับสนุนโครงการซึ่งเป็นโครงการที่ไม่ใช่นิติบุคคลเพื่อเฟ้นหาเกษตรกรรุ่นใหม่ และโครงการใหม่ ๆ ให้เข้าถึงกองทุนได้มากขึ้น
นายกิตติภณ ปรานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ข้อ ๒ ควรต้องมีการวิเคราะห์ผลประโยชน์การดำเนินการของโครงการ ในกองทุนว่ามีการคุ้มทุนในมิติเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร แล้วนั่นจะเป็นปัจจัยที่สามารถ เก็บเงินจากผู้กู้ได้ครบถ้วน
นายกิตติภณ ปรานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ข้อสุดท้าย จะดีหรือไม่ถ้าเราเปลี่ยนกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรส่วนหนึ่ง เป็นการผลักดันเชิงรุก ทำงานเชิงรุกเพื่อค้นหา เฟ้นหาโครงการที่มีความหลากหลาย และมีประสิทธิภาพที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มกับเกษตรกรไทยให้มีชีวิตที่ดีขึ้น นำเม็ดเงินเข้าสู่ กองทุนเพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกรที่มีความเดือดร้อนให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านกรวีร์ ปริศนานันทกุล ครับ
นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ กรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดอ่างทอง พรรคภูมิใจไทย ขออนุญาต ที่จะได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องของวาระรับทราบรายงานของผู้สอบบัญชีและการเงิน ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ก่อนที่จะได้มีการนำเสนอเรื่องรายงานมาให้สภาแห่งนี้ รับทราบ ผมก็ได้ไปเปิดดูว่ากองทุนตรงนี้เรามีหน้าที่ มีบทบาท มีเป้าประสงค์ของการทำงาน อย่างไรบ้าง ดีใจครับ แล้วก็ต้องบอกว่าเป็นความรู้ใหม่ ซึ่งตัวผมเองแม้กระทั่งอยู่กับพี่น้อง เกษตรกรอยู่ในพื้นที่เป็นผู้แทนมา ๑๐ กว่าปี ก็เพิ่งจะรู้ว่ามีกองทุนเพื่อที่จะสงเคราะห์ เกษตรกรอยู่ด้วย พอย้อนเข้าไปดูว่าเจตนาของการที่จะมีกองทุนแห่งนี้ขึ้นมา เรามีกองทุน แบบนี้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ก็ดีใจครับ แล้วก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับพี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องเกษตรกรรายเล็ก รายน้อย รายย่อย ที่อยู่ตามต่างจังหวัด อยู่ตาม ชนบท จังหวัดอ่างทอง ยกตัวอย่างมีพื้นที่ในการทำเกษตรกรรมจำนวนมาก มีพี่น้อง เกษตรกรที่ประกอบอาชีพชาวนาเป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้าไปดูตามวัตถุประสงค์แล้วผมคิดว่า พี่น้องเกษตรกรควรที่จะได้รับประโยชน์จากกองทุนอย่างนี้เป็นอันมาก วันนี้เอาเฉพาะ เรื่องของการสอบบัญชีและการเงิน เพราะว่าผมพยายามที่จะหาเอกสาร ท่านไม่ได้มาสรุป รายงานการดำเนินงานประจำปี แต่เป็นเรื่องของการรายงานเรื่องของการสอบบัญชี และการเงิน ก็จะฝากเฉพาะประเด็นเรื่องของบัญชีและการเงินให้กับท่านได้ทราบ
นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ประเด็นแรก คือผมไปดูในกองทุน ขนาดของกองทุนนี้ต้องยอมรับว่า ถือว่า ไม่ใช่กองทุนเล็ก ๆ เลย มีสินทรัพย์ขนาดของกองทุนอยู่ถึง ๖,๗๘๑ ล้านบาท ในปี ๒๕๖๔ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ๓,๒๐๐ กว่าล้านบาท ท่านประธานครับ ถามว่าเงิน ๓,๒๐๐ กว่าล้านบาท ที่จะเป็นกองทุนเพื่อที่จะให้เกษตรกรเข้าถึงเงินกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ย ที่ต่ำ ต่ำคือ ๐-๒ เปอร์เซ็นต์ พี่น้องเกษตรกรถ้ารวมกลุ่มผ่านวิสาหกิจชุมชนกู้ดอกเบี้ยต่ำมาก ไม่ถึง ๒ เปอร์เซ็นต์ แต่น่าเสียดายครับ พอไปดูในรายละเอียดของการปล่อยกู้ ซึ่งมี ในเอกสารแนบนะครับ ทั้งหมดมีหลายโครงการ ผมต้องบอกลูกค้าส่วนใหญ่เพราะคนที่กู้ ก็ถือเป็นลูกค้าของกองทุน คนที่กู้ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานของรัฐอยู่ในกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เพื่อนสมาชิกหลายคนได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมา แล้วไปดูว่าทั้งหมดนี้ท่านมี ลูกค้าอยู่เพียงแค่ ๒๓ ราย ที่มีวงเงินกู้ที่ปรากฏอยู่ในรายงานประมาณ ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท ใน ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท ผมไปดูว่าวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พี่น้องเกษตรกร รายเล็กรายน้อย ดูจากไหนครับ ดูจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ดูจากกลุ่มเกษตรกรที่เขา รวมกลุ่มกัน น่าเสียดาย ไม่น่าเชื่อในเล่ม ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาทนี้ มีกลุ่มวิสาหกิจเพียงแค่ ๗ กลุ่มเท่านั้น ในวิสาหกิจ ๗ กลุ่มนี้ ผมบวกเลขไปแล้วในวงเงินที่ปล่อยกู้ไปตอนนี้ ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท ใน ๗ กลุ่มนี้พี่น้องวิสาหกิจชุมชนจากทั่วทั้งประเทศมีวงเงินกู้อยู่เพียงแค่ ๒๐ กว่าล้านบาท น้อยมากเมื่อเทียบกับสัดส่วนขนาดใหญ่ของกองทุนที่มีเงินทุนหมุนเวียนและยังมีเงินสด ฝากอยู่ในบัญชี ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท คำถามของผมที่จะต้องฝากท่านประธานไปยัง หน่วยงานที่มาชี้แจงก็คือว่าเราจะไปกอดเงินตรงนี้ไว้ทำอะไรครับ นอกจากนั้นยังไม่พอ ในรายงานท่านยังบอกว่ากระทรวงการคลังในปี ๒๕๖๔ อนุมัติเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีให้กับท่านอีก ๗๐๐ กว่าล้านบาท ผมก็ถามว่าในเมื่อกองทุนมี เรามีเงินสด อยู่ในกองทุน ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท แล้วเราจะต้องไปใช้งบประมาณประจำปีอีก ๗๐๐ กว่าล้านบาท ตรงนี้ไปเพื่ออะไรกันครับ ดังนั้นสิ่งที่อยากจะฝากถึงท่านและเป็นคำถาม ต่อท่านใน ๒-๓ ข้อที่เมื่อสักครู่นี้ผมได้สอบถามไป เรื่องของเงินสดที่คงค้าง เรื่องของ การเข้าถึงของพี่น้องเกษตรกร ผมไปดูในพันธกิจของท่านครับ และเป็นเป้าประสงค์หนึ่ง ของท่าน และอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ของปี ๒๕๖๕ บอกว่ามีแค่ ๒ ข้อ เรื่องที่ ๑ เรื่องของ การบริหารจัดการภายใน และเรื่องที่ ๒ คือเรื่องของการประชาสัมพันธ์ให้กับพี่น้องเกษตรกร ได้รับทราบ ผมตั้งเป้าหมายไว้นะครับ ถ้าท่านกลับมารายงานอีกครั้งหนึ่งในปีต่อ ๆ ไป ผมคาดหวังที่อยากจะเห็นพี่น้องเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มของเกษตรกรรายเล็กรายน้อย ที่ไม่ใช่องค์กร ที่ไม่ใช่หน่วยงานของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์เข้าถึงกองทุนนี้ให้ได้มากขึ้น เป็นไปได้ไหมครับ ที่ท่านจะทำงานร่วมกับ ทางเกษตรจังหวัด ร่วมกับทางเกษตรอำเภอ ร่วมกับประมงอำเภอ ร่วมกับประมงจังหวัด หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีเครือข่ายอยู่ครอบคลุมในระดับตำบล ในระดับอำเภอทุกจังหวัด ทำอย่างไรให้พี่น้องเกษตรกรเหล่านี้เข้าถึงเงินกองทุนตรงนี้ ให้ได้มากขึ้น เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์จากเงินที่ยังคงค้างอยู่ในนี้ ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาทตรงนี้ เปิดโอกาสให้เขาได้เข้าถึงให้มากขึ้นกว่านี้ นี่คือสิ่งที่อยากจะฝากไป
นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
และท้ายที่สุดครับ ผมขอบคุณท่านประธานแล้วก็ขอบคุณทางผู้ที่มาชี้แจง ที่ได้กรุณาให้ความเข้าใจและมารายงานต่อสภาแห่งนี้ได้รับทราบว่าท่านเอาเงินตรงนี้ไปทำ อะไรบ้าง ครั้งหน้ามาหวังว่าจะมีรายละเอียดที่เพิ่มเติมมากกว่านี้ให้กับผู้แทนราษฎรของเขา จะได้ตรวจสอบ ได้ติดตามในการทำหน้าที่ แล้วหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในปีต่อ ๆ ไป กลุ่มพี่น้อง เกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องเกษตรกรรายเล็กรายน้อย ซึ่งวันนี้เขามีปัญหาเยอะมาก พี่น้องเกษตรกรชาวนาที่จังหวัดอ่างทองวันนี้ราคาข้าวเกวียนละ ๑๐,๐๐๐ กว่าบาท ท่านประธานอยู่ที่พิษณุโลก ท่านประธานก็ทราบดีครับ ในช่วงระยะเวลาที่ผมเป็น ผู้แทนราษฎรมา ๑๐ กว่าปี ราคาข้าว ๑๐,๐๐๐ กว่าบาทแทบจะไม่มีนะครับ แต่น่าเสียดาย ตอนนี้ราคาข้าวดี น้ำทำท่าจะไม่มีอีกแล้ว กองทุนตรงนี้ละครับ ที่จะมาช่วยเหลือพี่น้อง เกษตรกรเพราะมันเป็นวัตถุประสงค์ของกองทุน ก็ฝากท่านประธานไปยังผู้ที่มาชี้แจงว่า ฝากประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้จากผู้แทนราษฎร เพื่อที่จะได้ไปปรับปรุงและทำให้กองทุนนี้ เข้าถึงพี่น้องเกษตรกรได้มากกว่านี้ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านสกุณา สาระนันท์ ครับ
นางสาวสกุณา สาระนันท์ สกลนคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน สกุณา สาระนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย ดิฉันจะขออภิปราย รายงานผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรปี ๒๕๖๔ ก่อนที่ดิฉัน จะอภิปรายเนื้อหาของรายงานฉบับนี้ ดิฉันขอแสดงความเห็นต่อภาพรวมของรายงานก่อน ด้วยรายงานนี้เป็นรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของหน่วยงานสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดินหรือ สตง. ข้อมูลนำเสนอจึงเป็นข้อมูลทางบัญชีเสียส่วนใหญ่ เป็นการรายงานการใช้จ่ายเงินว่าถูกต้องตามกฎ ระเบียบหรือไม่ เป็นรายงานสถานะการเงิน ของกองทุน กล่าวคือดิฉันพบแต่งบการเงินต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวเลขแสดงข้อเท็จจริง แต่ไม่ได้ แสดงการวิเคราะห์ที่ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกองทุน โดยเฉพาะข้อมูลนี้ไม่สามารถเชื่อมไปหาคำตอบว่ากองทุนนี้ให้ความสำเร็จของเกษตรกร เกิดขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร ท่านประธานคะ เวลาเราอ่านรายงานประจำปีของบริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก่อนจะถึงเนื้อหาส่วนที่จะเป็นงบการเงินก็มักจะมีบทนำ ซึ่งบทนำก็จะเกริ่นถึงผลงานโดยรวมของบริษัทนั้น ๆ โดยทำเป็นกราฟหรือว่าแผนภูมิ พร้อมคำอธิบาย อ่านแล้วก็จะเข้าใจผลการดำเนินงานของบริษัทว่าเป็นอย่างไร เทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ท่านประธานคะ ทุกครั้งที่เวลาที่ สตง. เข้ามารายงานต่อสภา ก็จะรายงานเพียงการใช้เงินตามระเบียบ ตามกฎต่าง ๆ ว่าง่าย ๆ ว่าจะรายงานประเภท Compliance Audit นอกจากนี้ก็จะรายงาน Financial Audit ซึ่งเป็นการรายงานสถานะ การเงินของกองทุนว่าเป็นอย่างไร แต่ สตง. ไม่เคยรายงาน Performance Audit ทั้งที่ การรายงานในส่วนนี้มีความสำคัญมาก เพราะว่ามันจะสะท้อนผลสัมฤทธิ์ของการใช้ งบประมาณว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ ท่านประธานคะ ในสภาแห่งนี้เราอยากเห็น การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของการใช้งบประมาณว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ดิฉันอยาก ทราบว่าการบริหารกองทุน ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท แก้ปัญหาให้เกษตรกรได้มากน้อยแค่ไหน มากกว่าการที่จะมาตรวจสอบว่ามันมีการใช้ถูกต้องทางกฎระเบียบทางการเงินแค่ไหน อย่างไร ดิฉันและเพื่อนสมาชิกหลายคนได้อภิปรายเรื่องนี้ในสภา ชุดที่ ๒๕ ในสภา ที่ผ่านมา หลายครั้งว่า สตง. จะสามารถรายงานตามคำร้องขอของสภาได้เมื่อไร ภายในสภา ชุดที่ ๒๖ นี้ได้หรือไม่ ขอให้ตัวแทนจาก สตง. ได้ตอบคำถามนี้ด้วยนะคะ
นางสาวสกุณา สาระนันท์ สกลนคร ต้นฉบับ
ประเด็นต่อมา ด้วยรายงานฉบับนี้เป็นรายงานสำหรับปี พ.ศ. ๒๕๖๔ เวลาผ่านมาร่วม ๒ ปี ดิฉันก็เลยคิดว่าถ้าเราอภิปรายเฉพาะงบประมาณในปี ๒๕๖๔ นี้ อาจจะไม่ได้ให้ประโยชน์ต่อสภานี้เท่าที่ควร จึงได้ไปค้นข้อมูลในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ มาร่วม ประกอบการอภิปราย โดยมีประเด็นดังต่อไปนี้
นางสาวสกุณา สาระนันท์ สกลนคร ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ตามหมายเหตุที่ ๑๖ หัวข้อรายได้อื่น ดิฉันพบว่ามีรายได้อื่น ซึ่งไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นรายได้อะไร จำนวนประมาณ ๑๗๔ ล้านบาท เทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งมีรายได้อื่นเพียง ๒.๗ ล้านบาท เพิ่มขึ้นมามากถึง ๑๗๐ ล้านบาท ดิฉันจึงอยากให้ตัวแทน จากกองทุนได้ลุกขึ้นมาชี้แจงว่ารายได้อื่นที่ว่ามานี้มาจากอะไรค่ะ
นางสาวสกุณา สาระนันท์ สกลนคร ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ตามหมายเหตุที่ ๒๒ หัวข้อค่าใช้จ่ายอื่น ดิฉันพบว่ามีเงินจ่ายขาด เพิ่มขึ้นมาอีก ๖ ล้านบาท เป็นเงินจ่ายให้แก่โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อเข้าถึงแหล่งทุนค่ะ ประเด็นนี้ขอให้ทางกองทุนได้ชี้แจงด้วยว่าโครงการนี้มีการดำเนินการ อย่างไร เพราะกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโดยตัวของมันก็คือแหล่งทุนอยู่แล้ว จึงขอตั้ง คำถามว่าเกษตรกรมีอุปสรรคใดในการเข้าถึงแหล่งทุน เหตุใดต้องมีโครงการนี้ และจะถือว่า เป็นการดำเนินงานซ้ำซ้อนหรือไม่
นางสาวสกุณา สาระนันท์ สกลนคร ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ตามหมายเหตุที่ ๒๓ ดิฉันพบว่ามีการยืดเวลาชำระคืน ให้โครงการ ๒ โครงการ ซึ่งทำให้ตัวเลขในรายงานเงินให้กู้ระยะสั้นและเงินให้กู้ระยะยาว ในงบแสดงฐานะการเงินมีการเปลี่ยนแปลง ดิฉันจึงอยากให้ทางกองทุนชี้แจงว่า ทั้ง ๒ โครงการ เป็นโครงการอะไร ทางกองทุนยืดเวลาชำระคืนด้วยเหตุผลอะไร และขอทราบด้วยว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความล่าช้านี้ นอกจากนี้ดิฉันขอตั้ง ข้อสังเกตเพิ่มเติมที่น่าสนใจคือกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรมีรายรับมากกว่ารายจ่าย ว่าง่าย ๆ ก็คือมีกำไร กำไรปี ๒๕๖๓ ๒๕ ล้านบาท ปี ๒๕๖๔ ๑๕ ล้านบาท เมื่อเห็นตัวเลขนี้ ดิฉันก็เกิดคำถามขึ้นมาว่าการสร้างผลกำไรจากเงินของเกษตรกรที่ทุกข์ยากอยู่แล้ว เป็นภารกิจของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรหรือไม่ ผู้บริหารกองทุนอาจจะให้คำตอบว่าต้องมี กำไรเพื่อขยายความช่วยเหลือแก่เกษตรกรในวงกว้างมากขึ้น ดิฉันก็ต้องย้อนถามว่าการทำกำไรกับเกษตรกรที่มีความยากลำบากอยู่แล้วมันเป็นนโยบาย ของรัฐหรือไม่ และมันใช่ภารกิจของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรหรือเปล่า และดิฉัน ก็ตั้งคำถามเลยไปยัง สตง. ว่าการบริหารกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรจนมีกำไรมันถือว่า เป็นความล้มเหลวหรือความสำเร็จของกองทุน หากกองทุนเองยังแสวงหาผลกำไร กับเกษตรกร แล้วกองทุนนี้จะต่างอะไรกับธุรกิจเงินกู้ เงินด่วนทั่ว ๆ ไป หรือกองทุนนี้ อาจจะต้องเปลี่ยนชื่อกองทุนจาก สงเคราะห์เกษตรกร เป็น กองทุนธุรกิจเกษตรกร น่าจะ เหมาะสมกว่า
นางสาวสกุณา สาระนันท์ สกลนคร ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้าย ทุกวันนี้เราต่างก็ทราบดีว่าภาคการเกษตรของเราประสบ ปัญหาวิกฤติหลายเรื่อง โดยเฉพาะผลผลิตต่อหน่วยเราต่ำมาก ค่าเฉลี่ยผลผลิตข้าวต่อไร่ ของประเทศไทยต่ำกว่าแทบทุกประเทศ รวมถึงประเทศกัมพูชา แล้วเราก็ทราบดีว่าสาเหตุ ของปัญหานั้นคืออะไร หลัก ๆ ก็คือเราขาดความรู้ความสามารถในการที่จะเข้าไปใช้ กับการเกษตรกรรม และการพัฒนาหรือแก้ปัญหานี้ต้องอาศัยการทำงาน บูรณาการร่วมกับ หลายภาคส่วน ต้องข้ามหน่วยงาน ข้ามกรม ข้ามกระทรวง ดิฉันจึงขอตั้งคำถามฝากไปยัง กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรว่าท่านมีแผนงานรับมือเพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกับ หน่วยงานดังกล่าวนี้อย่างไร ท่านอาจจะคิดว่านี่มันไม่ใช่ภารกิจของกองทุน ปล่อยให้ กรมวิชาการเกษตร ปล่อยให้กรมปศุสัตว์หรือคนที่มีภารกิจทำ ถ้าอย่างนั้นดิฉันก็ตั้งคำถาม ต่อไปว่าแล้วกองทุนนี้จะต่างอะไรจากธุรกิจปล่อยเงินกู้ทั่ว ๆ ไป ท่านประธาน ดิฉันขอฝาก ข้อคิด รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อให้ผู้บริหารกองทุนได้พิจารณาทบทวนเพื่อความสำเร็จ ตามภารกิจของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกร ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ เชิญท่านคริษฐ์ ปานเนียม ครับ
นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม คริษฐ์ ปานเนียม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก เขต ๑ พรรคก้าวไกล ผมขอร่วมอภิปราย เนื้อหารายงานการเงินของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ มีความห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรที่เป็นหนี้จากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ที่มีการให้กู้ยืมระยะยาว จำนวนเงิน ๒,๑๖๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๖๔ และ ๑,๖๕๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๖๓ ซึ่งเป็นเงินที่จัดสรรให้หน่วยงานรัฐหรือองค์กรเกษตรกู้ยืมตามที่ได้รับอนุมัติจาก คณะกรรมการ เพื่อนำไปดำเนินงานตามแผน แต่ต้องส่งคืนตามกำหนดมากกว่า ๑ ปี ในกรณี ผิดนัดชำระต้องเสียค่าปรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓ นับตั้งแต่วันที่ผิดนัดชำระ จนถึงวันที่ ชำระสิ้นสุด เรียนท่านประธานสภาครับ ในรายงานงบการเงินฉบับนี้ปรากฏหมายเหตุที่ ๑๓ ภาระผูกพัน มีเพื่อนสมาชิกได้ชี้แจงไปบ้างแล้ว แต่ผมก็ขอเสริมเพราะคิดเห็นเช่นเดียวกัน เพราะมีหน่วยงานของรัฐและองค์กรเกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้แล้ว แต่ยังไม่ได้เบิกจ่ายแต่อย่างใด เป็นเงินถึง ๒๓ ล้านบาทเศษ ก็ประกอบด้วยเงินจ่ายขาด ๒ โครงการ เงินจัดสรรอีก ๗ โครงการ ในส่วนนี้ไม่ขอลงรายละเอียดนะครับ รายงานชิ้นนี้ ชี้ให้เห็นว่าผลของการปฏิบัติงานล่าช้าหรือไม่ แทนที่หน่วยงานที่ได้รับเงินอุดหนุนจะนำไป ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน พี่น้องเกษตรกร สิ่งนี้ไม่มีรายละเอียดแนบมาว่าเพราะเหตุใด ผมเห็นว่าทำให้ประชาชน พี่น้องเกษตรกรขาดโอกาสครับ แม้แต่ภาครัฐ แม้แต่องค์กรเกษตรกร ก็ขาดโอกาสที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเช่นกัน
นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ
ประเด็นต่อมา ตามเอกสารกู้ยืมเงินระยะสั้นโครงการจัดหาปุ๋ยเคมี ที่สนับสนุนสินเชื่อจัดหาปุ๋ย ๗ รายการ ย้อนไปตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ ถึงปี ๒๕๔๑ ปรากฏ ในเอกสารอุดหนุนให้กับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ทราบมาว่ามีเกษตรกร ๑๗๐ ราย ถูกดำเนินคดีเป็นเงินถึง ๘๓ ล้านบาท ทำให้เห็นว่าการคัดกรองโครงการและประสิทธิภาพ ในการคัดสรรที่จะช่วยเหลือเกษตรกรเข้าร่วมโครงการนั้นขาดการติดตาม ขาดการดูแล การมีส่วนร่วมในการสงเคราะห์เขาเพื่อส่งให้พี่น้องเกษตรกรนั้นถึงฝั่งให้ได้ ยังมีอีก หลายโครงการ เช่น โครงการเก็บข้าวเปลือก โครงการน้ำนมดิบ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าว ของสหกรณ์ โครงการบริหารจัดการลำไย เกลือทะเล ยางพารา ปรากฏว่ามีลูกหนี้ ถูกดำเนินคดีมากมาย แน่นอนครับ เป็นหนี้ก็ต้องใช้ แต่มันควรจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ นี่มันคือ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรนะครับ ไม่ใช่กองทุนซ้ำเติมเขา เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร โดยมีหมายเหตุตามท้ายราชกิจจานุเบกษา ให้เหตุผลของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ว่ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ซึ่งตราขึ้นเพื่อช่วยเหลือ เกษตรกรให้หลุดพ้นจากหนี้สิน มีที่ทำกินเป็นของตนเองและสามารถเพิ่มผลผลิต และมีรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้นในการกู้ยืมระยะสั้นต้องคัดกรองและช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ให้ถึงฝั่ง ในส่วนของการกู้ยืมระยะยาวก็ไม่ควรให้เกิดภาวะตกค้าง เบิกจ่ายไม่ทัน ทำให้ขาด เงินทุนที่จะไปช่วยเหลือเกษตรกรตามเจตนารมณ์
นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ
สุดท้ายครับ นี่ไม่ใช่การกลัดกระดุม แต่เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เมื่อได้รับการพิจารณาแล้วก็เหมือนกับซิป รูดเร็ว เรียบร้อย แน่น สวยงามทั้ง ๒ ฝั่ง ทั้งภาครัฐ และประชาชน เกษตรกรก็ Happy แต่รูดไม่ระมัดระวังมันก็หนีบเนื้อเรา เป็นหนี้ ถูกดำเนินคดี เปลี่ยนจากประชาชนเกษตรกรธรรมดาให้กลายเป็นเกษตรกรที่มีหนี้ และถูกดำเนินคดี แบบนี้มันจะตรงตามเจตนารมณ์ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรได้อย่างไร ท่านประธาน ฝากไปถึงกองทุนนะครับ ทำอย่างไรก็ได้ให้มันตรงตามเจตนารมณ์ของกองทุน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ เชิญท่านประภาพร ทองปากน้ำ ครับ
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย เขต ๓ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานที่เคารพ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนและเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับเกษตรกร ที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินกู้จากธนาคาร ซึ่งดิฉันนับว่าเป็นเรื่องดีที่จะทำให้พี่น้องเกษตรกร มีช่องทางในการเข้าถึงทุนดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนสมาชิกได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์การขอกู้เงิน ของกองทุนไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยกองทุนแบ่งผู้กู้เป็น ๒ ประเภท ประเภทแรก เป็นหน่วยงานรัฐเป็นผู้กู้ โดยให้กลุ่มองค์กรเกษตรกรเสนอโครงการและทำสัญญา กับหน่วยงาน และประเภทที่ ๒ เป็นองค์กรเกษตรกร เช่น กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจ ชุมชน เป็นผู้กู้โดยตรง โดยให้ส่วนราชการรับรองและตรวจสอบข้อมูล เมื่อดิฉันศึกษา เข้าไปที่รายงานประจำปี ๒๕๖๔ ถึงการใช้งบประมาณกองทุน ดิฉันมองว่าข้อมูลที่ท่าน ส่งผ่านมายังสภายังมีความไม่สมเหตุสมผล โดยที่ดิฉันมีข้อสังเกตในภาพรวมดังต่อไปนี้ ท่านประธานคะ ข้อสังเกตทั้งหมดแยกออกเป็น ๔ ประเด็น รบกวนขอ Slide ด้วยนะคะ หน้าตารางค่ะ
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
ตัวเลขอาจจะเล็กนิดหนึ่งนะคะ ท่านประธาน ขออภัย ประเด็นแรกสัญญาที่อยู่ระหว่างบังคับคดีหรืออาจจะเป็นหนี้สูญ มีมากกว่าร้อยละ ๑๐ เป็นสัญญาที่หน่วยงานรัฐเป็นผู้กู้โดยตรง แล้วให้เกษตรกรเป็นผู้ไปทำ โครงการมา โดยเงินกู้ของบางหน่วยงานอาจถูกตีเป็นหนี้สูญถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งดิฉัน คาดว่าสาเหตุอาจจะเกิดจากการที่หน่วยงานของภาครัฐผู้ให้กู้ไม่ได้ติดตามดำเนินโครงการ และการใช้จ่ายเงิน หรือท่านอาจจะละเลยการตรวจสอบจึงทำให้โครงการล้มเหลว เกษตรกร ไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ได้
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ มีสัญญาโครงการที่กำลังปรับโครงสร้างหนี้กว่าร้อยละ ๘๗ และมีแนวโน้มจะนำไปสู่การบังคับคดีหรืออาจเป็นหนี้สูญ แม้ว่าท่านจะขยายแผน การชำระหนี้ให้แล้ว แต่กลุ่มผู้กู้ก็ยังไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ก้อนนี้ได้ค่ะ
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ จากการรับทราบข้อมูลจากในพื้นที่ กรณีการกู้เงินแบบองค์กร เกษตรกรเสนอกู้เอง ดิฉันทราบมาว่ามีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มเป็นผู้ไปช่วยเขียนโครงการเพื่อให้ สอดคล้องกับการประกอบธุรกิจของตนเอง ประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญนะคะท่านประธาน ถ้าเป็นข้อเท็จจริงและเกิดขึ้นจริง ก็จะตอบคำถามข้างต้นของดิฉันได้ว่าทำไมโครงการ ที่กองทุนปล่อยเงินกู้ไปจึงไม่ประสบความสำเร็จและเป็นหนี้สูญ เพราะมันไม่สะท้อนถึง ความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเกษตรกร ดิฉันขอฝากท่านประธานไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้ช่วยตรวจสอบประเด็นสำคัญประเด็นนี้ด้วย ดิฉันไม่อยากให้เงินของแผ่นดิน เข้ากระเป๋าของกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เกษตรกรไทยควรได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนนี้ ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยค่ะ
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๔ ประเด็นสุดท้ายค่ะท่านประธาน ผลการชำระเงินกู้จาก ๔๘ โครงการที่ขอกู้มา มีการนำเงินมาปิดยอดโครงการเพียง ๓ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๑ ซึ่งดิฉันขอถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก และตัวเลขที่ต่ำมากนี้อาจจะสะท้อนการบริหารจัดการ โครงการที่ไม่ค่อยเป็นผลสำเร็จ ดิฉันจึงขอตั้งข้อเสนอให้คณะกรรมการกองทุนมีมาตรฐาน ในการปล่อยเงินกู้แก่โครงการให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ เพราะในแต่ละพื้นที่ก็จะมี ปัญหาของเกษตรกรที่ต่างกัน และขอให้ท่านเปิดโอกาสให้กลุ่มเกษตรกรรายย่อยได้รับ การจัดสรรเงินกู้ให้ได้ง่ายขึ้น ดิฉันอยากขอร้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านตระหนักถึงปัญหา ของการใช้เงินกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับเจตนารมณ์ที่กองทุนเราได้จัดตั้งขึ้นมา เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพ่อแม่พี่น้องเกษตรกรไทยทุกท่านได้อย่างแท้จริง ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านองค์การ ชัยบุตร ครับ
นายองค์การ ชัยบุตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม องค์การ ชัยบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล มุกดาหาร ส่งเข้าประกวดครับท่านประธาน ขออนุญาตขออภิปรายและร่วมแลกเปลี่ยนรายงาน ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ก่อนอื่นผมอดน้อยใจไม่ได้ ตัวผมเองก็มีโอกาสเข้าไป รับบริการสมัยเป็นเกษตรกรในฐานะประธานสหกรณ์การเกษตรเกือบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา ผมมี ๒ ประเด็นที่จะอภิปราย คือทำไมหน่วยงานของรัฐตั้งเป็นสถาบันการเงินล่ะ กองทุนมันมีเงิน ตั้งแต่สมัยปี ๒๕๑๗ ค่า Premium ต่าง ๆ เกือบหมื่นล้านบาท และ ครม. มีมติให้หยุด การเก็บค่า Premium นำเข้า ส่งออก พวกข้าว พวกสินค้าเกษตรปี ๒๕๒๙ เงินพวกนี้เป็น เงินให้เปล่า เป็นเงินเปล่านะครับ เป็นรายได้ของประเทศที่จะมาจุนเจือให้กับเกษตรกร แต่รัฐบาลสมัยนั้นมีมติให้ยุติ ยกเลิกการเก็บ ถ้าเก็บมาทุกวันนี้ ปล่อยเงินกู้ให้เกษตรกร โดยไม่มีดอกเบี้ยก็ได้ ในที่มาของแหล่งเงินก็บอกว่ามาจากภาษี มาจากงบประมาณ ของประเทศ อ่านแล้วในรายงานไม่มีว่าภาษีประเทศท่านจ่ายให้องค์กรนี้ปีละเท่าไร กี่เปอร์เซ็นต์ ไม่มี มีแต่เงินค้างเก่าที่ดำเนินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แล้วทำไมหน่วยงาน ของรัฐพวกนี้เขียนโครงการเข้าไปเอาแล้วไม่บอกชาวบ้าน ๑. ชาวบ้านไม่ได้เขียนเอง ถ้าผ่านหน่วยงานของรัฐ ถ้าผ่านสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ก็มาช่วยกันเขียนกับประธาน กรรมการ ประธานเซ็นหน่อย ๕๐๐,๐๐๐ บาทนะ เงินหมุนเวียนและระยะสั้น ว่าจั่งซี่ แหมนี่คือภาษาบ้านผม ความเข้าใจ การมีส่วนร่วมก็เลยไม่มี หน่วยงานของรัฐไปกู้มาเป็น ๐ ไม่มีดอกเบี้ยสักบาทเลย แต่ผ่านองค์กรของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นกรม กองต่าง ๆ ในสังกัด ของราชการ ร้อยละ ๓ บาท ทั้งเบี้ยปรับ เบี้ยอะไร จ่ายหนี้ไม่ตรง ปรับ ฟ้องดำเนินคดี กรรมการ นั่นเห็นไหม ผลที่ตามมากรรมการนั่นละครับคือผู้รับผิดชอบ คนที่เอาสตางค์ ไปใช้จ่ายแล้วไม่ยอมมาชำระหนี้ก็คือเกษตรกร คือสมาชิกองค์กรเกษตรกรนั่นละครับ นี่คือปัญหาหนึ่ง ทุกวันนี้ก็ยังดำเนินคดีอยู่ ผมเองก็ส่วนหนึ่งอยู่ในนั้นด้วย นี่คือปัญหา ๒. การที่จะให้องค์กรเกษตรกรเขียนเอง มันไม่มีหรอกครับ เขาเขียนไม่เป็น เพราะขั้นตอน มันยุ่งยาก รำพึงรำพัน พรรณนาตั้งแต่การเขียนโครงการ วัตถุประสงค์ การใช้หนี้คืน ผลที่คาดว่าจะได้รับ อะไรทั้งหมดประเมินมา มาหลายโพดแท้บาดนี่ ตาย ๆ นี่คืออุปสรรคหนึ่ง ในฐานะที่เป็นเกษตรกรเก่าและเป็นลูกชาวนาที่รู้เรื่องอย่างนี้มา เงินส่วนนี้ถ้าจะเปิดโหวต จริง ๆ ถ้าจะเปิดกว้างท่านต้องเปลี่ยนกติกาใหม่ทั้งหมดเลย ถ้าเป็นไปได้ที่แล้ว ๆ มา ให้เป็น ๐ ได้ไหม เกษตรกรจะได้ลืมตาอ้าปากได้ อย่าไปมัวเอาเขาเถอะ อย่าเอา เพราะหน่วยงานของรัฐไปฟ้องเกษตรกรมันจะสงเคราะห์ได้อย่างไรล่ะ ถ้าเขาไม่มีก็ไม่ต้องเอา ครม. หารือเข้าสภาขอจำหน่ายหนี้สูญเป็นรายปีไปเลย ไม่กระทบการเงินนะครับ ท่านประธาน นี่ตรงไปตรงมา ถ้าท่านจะกรุณาจากการอนุมัติเงินกู้เป็นกลุ่ม เป็นองค์กร ท่านมาเปลี่ยนวิธีการได้ไหม เกษตรกรยุคใหม่ที่เขาเรียนจบมา ทั้งสายอาชีพ สายเกษตรต่าง ๆ เขาไม่ได้ทำงานราชการหรือทำงานบริษัท เขากลับไปอยู่บ้าน เขาไม่มีทุน เขาอยากทำเกษตร เขาก็ไม่มีทุน คนรุ่นใหม่พวกนี้ เช่นอะไร เช่น Young Smart Farmer ต่าง ๆ จังหวัดต่าง ๆ มีมาแล้ว ๓๐๐ กว่าคน กลุ่มคนพวกนี้เป็นกำลังหลักที่จะพัฒนาเกษตรของประเทศไทย ในอนาคต ในวันข้างหน้า กลุ่มนี้น่าสนใจครับ ฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย กติกาที่มีอยู่ถ้ามันไม่ทันสมัยพูดง่าย ๆ ก็เปลี่ยนเถอะครับ ผมไปถามว่ารู้จักกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรไหม ปลัดอำเภอก็ยังไม่รู้ เกษตรอำเภอก็ยังไม่รู้อีก ผมเองก็เพิ่งรู้ชัดเจนวันนี้นะครับ ผมไปสืบค้นมา ให้ทีมงานไปสืบค้นมารายงานท่าน เพิ่งรู้ว่าขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ในพื้นที่คือเกษตรและสหกรณ์จังหวัด หน่วยงานนี้ก็ไม่เคยแพร่งพรายว่า องค์กรสงเคราะห์เกษตรกร ถ้าใครจะกู้เงินต้องมากู้ที่เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนะ ไม่มี มีแต่ หน่วยงานอื่นไปบอก ไปเขียนโครงการ ความเข้าใจมันก็เลยไม่มี
นายองค์การ ชัยบุตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นต่อมาผมตั้งข้อสังเกตว่าทำไมให้ ครม. เป็นคนอนุมัติตั้งแต่ ๑๐๐ ล้านบาทขึ้นไป อันนี้เป็นการจ่ายเพื่อหวังผลทางการเมืองหรือไม่ ผมไม่ทราบ เพราะมีหลายองค์กรที่กู้ ๕๐-๑๐๐ ล้านบาทก็มี ในส่วนหนึ่ง NPA NPL ในรายงานนี้ไม่มี ผมมั่นใจและเข้าใจว่า สตง. ก็ไม่ได้ลงลึกเข้าไป ก็เป็นการตรวจสอบเพียงปลายเหตุเท่านั้น อันนี้เป็นการมาบ่นแล้วก็มาบอกว่าถึงเวลาแล้วกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรต้องดูแล ประชาชนผู้เป็นรากหญ้าจริง ๆ โดยเฉพะช่วงโควิดที่ผ่านมาเขาไม่มีทางไป ไม่รู้จะไปไหน บ้านก็ขาย เมียก็หนี ลูกก็ออกจากการศึกษา ตรงนี้คือปัญหา กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ต้องปรับบทบาทอย่างใหญ่หลวง ๑๘๐ องศา หรือ ๓๖๐ องศาทันทีครับท่านประธาน ผมอยากให้ฟัง Clip เสียงจาก Young Smart รุ่นใหม่ที่เขาสะท้อนมา ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์ เชิญหน่อย
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ท่านองค์การ Video นานไหมครับ
นายองค์การ ชัยบุตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธาน ๑ นาทีกว่า ๆ ครับ ขอบคุณมากครับท่านประธาน นี่คือเสียงของพี่น้องเกษตรกรคนรุ่นใหม่ ครั้งต่อไป ผมอยากจะเห็นวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์ท่านก็มีนะครับ ที่ผมไป Search มานี่ท่านดีมาก ท่านมีวิเคราะห์จุดแข็ง จุดด้อย จุดอะไรของท่านในปี ๒๕๖๖ ก็หวังว่าเอกสารที่ผมโชว์ อยู่ในมือนี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนา ปรับปรุงองค์กรเกษตรกรให้เป็นที่พึ่งของพี่น้อง ประชาชนต่อไป ขอบคุณมากครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ เชิญท่านพลากร พิมพะนิตย์ ครับ
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพลากร พิมพะนิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่เป็นรากฐานของสังคมไทย เกษตรกรไทย กับภาระหนี้สินคือของคู่กัน เพราะอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่ต้องใช้ปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางธรรมชาติไม่สามารถกำหนดได้ ปัจจัยเรื่องของสภาพพื้นที่ที่ดินทำกิน ปัจจัยเรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการเกษตร ปัญหาการตลาด การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ปัญหาผลผลิตล้นตลาด ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดภาระหนี้สินของเกษตรกร อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ วันนี้กระผมจึงขอขอบคุณคณะผู้ตรวจสอบบัญชีกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรที่มารับฟังปัญหาต่าง ๆ วันนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วผมคิดว่าควรมาพร้อมกับผลดำเนินงาน ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ซึ่งมาให้ผู้แทนราษฎรได้ชี้แนะนำเสนอปัญหาจากพี่น้อง ประชาชนโดยตรงผ่านไปยังคณะกรรมการดำเนินงานต่าง ๆ ซึ่งประเด็นที่ผมเป็นห่วง มีอยู่หลายประเด็น ยกตัวอย่าง เช่น
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ เกณฑ์การเข้าถึงกองทุนเกษตรกร ซึ่งจะเป็นองค์กรนิติบุคคล หรือกลุ่มเกษตรกร จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับเกษตรกรรายย่อยที่ไม่สามารถรวมกลุ่มได้ เกษตรกรจึงมีวิธีเข้าถึงกองทุนแตกต่างกันหลายรูปแบบ ยังดีที่ในอดีตในสมัยรัฐบาล ไทยรักไทยได้เคยนำกองทุนหมู่บ้านพักหนี้เกษตรกรยังพอช่วยประทังชีวิตเงินหมุนเวียน ให้เกษตรกรในชนบทพอลืมตาอ้าปากได้บ้าง แต่ปัจจุบันนี้กองทุนเกษตรกรเน้นแก้ไขปัญหา หนี้ในระบบสถาบันการเงินเป็นหลัก โดยที่เกษตรกรรายย่อย กลุ่มที่ไม่มีหลักทรัพย์ ไม่สามารถเข้าถึงกองทุนได้ ก่อให้เกิดหนี้นอกระบบและปัญหาสังคมที่ตามมา กองทุน จะมีนโยบายที่จะช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มนี้อย่างไรครับ
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ สิ่งที่น่าเป็นห่วง ขณะนี้ไม่ทราบว่ากองทุนเตรียมแผนรองรับ การใช้เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรกรณีวิสาหกิจชุมชนหรือไม่ เนื่องจากไม่มีความชัดเจน มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติงานระหว่างปี กรณีวิสาหกิจชุมชนสมาชิกต้องค้ำประกัน เงินกู้ทุกคน หากสมาชิกบางรายไม่เข้าใจรายละเอียดของโครงการและหลักเกณฑ์การใช้ เงินกองทุนเท่าที่ควร ขาดความมั่นใจในการดำเนินโครงการจึงลาออกจากวิสาหกิจชุมชน จะทำให้เกิดปัญหาในการบริหารโครงการไม่สามารถเดินไปตามแผนที่วางไว้หรืออาจทำให้ ต้องทำสัญญากู้ยืมใหม่ ส่งผลกระทบให้การดำเนินโครงการล่าช้าอาจมีผลกระทบต่อ การชำระเงินคืนของกองทุน
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ เกษตรกรผู้ห่างไกลกว่าจะเดินทางมาติดต่อกองทุนในแต่ละจังหวัด ใช้เวลาเป็นวัน อัตรากำลังไม่สอดคล้องกับงานที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น การประชาสัมพันธ์ ไม่ทั่วถึง อย่างที่เพื่อนสมาชิกหลายท่านได้พูดไปแล้วว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของคนในพื้นที่ ทั้งเกษตรกรและผู้นำชุมชนไม่รู้จักกองทุนนี้เลย แม้แต่ตัวผมเองก็เพิ่งรู้จักกองทุนนี้ก่อนวาระ จะเข้าประชุมไม่กี่วัน แล้วจะให้พี่น้องประชาชนเอาความรู้ที่ไหนมากู้กองทุนเกษตรกรนี้
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ประการสุดท้าย สิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมของเกษตรกรคือเรื่องภัยธรรมชาติ แนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ การรับมือและการช่วยเหลือเกษตรกร ฝนแล้ง น้ำท่วม ภัยพิบัติ ต่าง ๆ นี่จะเป็นสิ่งที่เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรทั้งด้านการเกษตรทำให้การเกษตรไม่สามารถ เกิดผลผลิตและชำระหนี้ได้ตามกำหนด จึงขอกราบเรียนท่านประธานสภาฝากไปยัง หน่วยงานว่ามีวางแผนกรอบนโยบายที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรต่อไปอย่างไร ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ เชิญท่านจำลอง ภูนวนทา ครับ
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม จำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ เขต ๓ พรรคพลังประชารัฐ พอผมได้ศึกษาข้อมูลจากกองทุน สงเคราะห์เกษตรกรทำให้ผมรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจแทนเกษตรกร เพราะว่าวัน ๆ ผมลงพื้นที่ หรือแม้แต่อยู่ที่บ้าน อยู่ที่สำนักงาน ก็จะมีเกษตรกรมาร้องเรียนเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ การเข้าถึงกองทุน ท่านประธานครับ กองทุนสามารถทำได้หลาย ๆ อย่าง ส่งเสริมแม้แต่ทำ ระบบน้ำ ดูแลการประกอบอาชีพเกษตรกร สำหรับผมได้ประสบกับความเดือดร้อน ของประชาชนด้วยตัวเอง คือกลุ่มเกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ในกระชัง สำหรับผู้ที่ เลี้ยงไก่เวลาไปกู้เงินจาก ธ.ก.ส. ธ.ก.ส. ก็จะปล่อยกู้ให้เกษตรกร แต่คนที่ได้ดูแลการก่อสร้าง และควบคุมการใช้จ่ายงบที่ได้รับการกู้ยืมจาก ธ.ก.ส. นั้นกลับเป็นเจ้าของธุรกิจคือพ่อค้า คนกลาง ตอนนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ จากความรู้สึกส่วนตัวผมผมคิดว่าเป็นทาสของนายทุน ฉะนั้นหากมีองค์กรสงเคราะห์เกษตรกรแบบนี้แล้ว สมควรจะทำงานเชิงรุกเพื่อเข้าถึงชีวิต วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรเหล่านั้นได้เข้าใจว่ายังมีกองทุนสงเคราะห์ ที่คอยดูแลและเป็นพี่เลี้ยงให้กับเกษตรกร บ้านผมเกษตรกรกลุ่มหนึ่งก็ทำไร่มัน ไร่อ้อย และทำมะม่วง ปลูกมะม่วงมหาชนกที่ขึ้นชื่อที่สุดส่งต่างประเทศ แต่เป็นการปลูก ตามยถากรรม รัฐบาลชุดที่แล้วได้พยายามทำ ได้มีกองทุนจัดสรรน้ำเกี่ยวกับสูบน้ำ ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ยังไม่เพียงพอ อยากฝากไปยังกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรว่า
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ข้อแรก ใครมาเป็นรัฐบาลก็ตาม ควรจะจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้กับ กองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ผมอ่านดูแล้วรายละเอียดมีทั้งเงินที่ยังไม่ได้รับการชำระ มีทั้งหนี้สินที่เกษตรกรกู้ยืมไม่ได้รับการชำระ และมีทั้งกองทุนสงเคราะห์มีกำไร สำหรับ ผมแล้วนะครับ กำไรจากหยาดเหงื่อแรงงาน น้ำตาของประชาชนที่กู้ยืมจากเงินทุนสงเคราะห์ ผมถือว่าเป็นการขาดทุน ส่วนกองทุนสงเคราะห์หากขาดทุนจากการกระทำหรือการช่วยเหลือ เกษตรกรแบบนี้แล้วผมถือว่าเป็นกำไร กำไรด้านไหนครับท่านประธาน กำไรด้านสร้าง คุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชนได้มีชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการพัฒนาบุคลากรของชาติ เป็นการช่วยเหลือพ่อแม่พี่น้องที่เป็นเกษตรกร สามารถมีเงินดูแลคุณภาพชีวิตตัวเอง และส่งลูกไปเรียนได้
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผมเป็นลูกเกษตรกร ประสบปัญหาชีวิตมาตลอด ปัจจุบันนี้ ผมดีใจที่มีกองทุน แต่จะดีใจมากขึ้นถ้าหากกองทุนสงเคราะห์ทำงานเชิงรุกตามที่ ผมกราบเรียนท่านประธาน ท่านประธานครับ ขณะนี้ผมอยากให้กองทุนสงเคราะห์ลงไปดู แม้แต่สหกรณ์การเกษตร ดอกเบี้ยก็สูงกว่า ธ.ก.ส. นี่คือความเดือดร้อนที่สะท้อนจากพี่น้อง ประชาชนมายังตัวกระผม ท่านประธานครับ กองทุนสงเคราะห์ไม่ควรจะดีใจกับกำไรที่ได้ จากการลงทุน แต่ควรจะดีใจถ้าหากการลงทุนกับเกษตรกรแล้วขาดทุน แล้วก่อให้เกิด คุณภาพชีวิตกับพี่น้องประชาชนในทางที่เป็นเชิงบวกมากขึ้น และทำให้พี่น้องอยู่ดีกินดี เพราะฉะนั้นผมจึงมีข้อเสนอแนะไปยังกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ๒ ประเด็นครับ
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ข้อแรก อยากจะให้ของบประมาณเพิ่มเติม ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็ตาม ให้มาก ๆ ขึ้น หรือจัดตั้งเป็นธนาคารพิเศษเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ให้เกษตรกรเข้าถึงกองทุน อย่างง่ายและสะดวกรวดเร็ว ท่านประธานครับ เกิดเป็นเกษตรกร ถ้าด้วยความรู้สึกส่วนตัว ผมพยายามที่จะบอกพี่น้องประชาชนตลอดว่าเกษตรกรนั้นเป็นอาชีพที่มีคุณค่าและมีเกียรติ ที่ควรยกย่อง ท่านประธานทราบไหมครับ เวลาไปงานที่พี่น้องประชาชนเสียชีวิต เขาไม่กล้า แม้แต่จะบอกว่าอาชีพเกษตรกร แต่บอกว่าอาชีพอิสระ เห็นไหมครับ แต่ผมดีใจแล้ววันนี้ที่มี กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ผมจึงนำเสนอว่าควรจะเพิ่มงบให้มากกว่านี้
นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ข้อ ๒ ผมกราบเรียนท่านประธานไปแล้วว่าควรจะทำงานในเชิงรุก โดยมี อัตรากำลังในองค์กรเพื่อเข้าถึงประชาชน และไปชี้แจงวิธีปฏิบัติ วิธีทำงานให้กับประชาชน ได้เข้าใจ ได้รับรู้ นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านปิยะนุช ยินดีสุข ครับ
นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข นครราชสีมา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต ๗ พรรคเพื่อไทย วันนี้เป็นการรายงานผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ก่อนอื่นต้องขอให้ข้อมูลก่อนว่ากองทุน สงเคราะห์เกษตรกรนี้ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายช่วยเหลือ หรือส่งเสริม เกษตรกรในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในกิจการตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พุทธศักราช ๒๕๕๔ โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะกรรมการบริหารกองทุน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในด้านที่ดินทำกิน การลงทุนเพื่อประกอบอาชีพ เกษตรกรรม การจัดหาปัจจัยการผลิต และการแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ท่านประธานคะ ประเทศไทยของเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรไทย หรือไม่น้อยกว่า ๓๐ ล้านคน ๘ ล้านกว่าครัวเรือน มีอาชีพเกษตรกร จาก Website ข้อมูลสถิติ เราจะทราบ กันดีว่าจังหวัดนครราชสีมาหรือที่เรียกว่าโคราช คือศูนย์กลางด้านการเกษตร มีจำนวน ประชากรที่ทำอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุดในประเทศไทยถึง ๓๒๒,๓๒๐ ครัวเรือน รองลงมา จากจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอาชีพนี้ถือเป็นรายได้หลักของประเทศไทย ของจังหวัดเราเลย ก็ว่าได้ ดังนั้นการพัฒนาด้านการเกษตรจึงเป็นการพัฒนาที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะส่งผลให้ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเรามีรายได้สูงขึ้น และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ท่านประธานคะ ไม่ว่าเราจะทำธุรกิจอะไร สิ่งที่สำคัญมากที่สุดก็คือเงินทุน หากไม่มีเงินทุน หมุนเวียน หรือในภาษาพูดเราเรียกกันว่าสายป่าน ยิ่งโดยเฉพาะถ้าเป็นธุรกิจที่เพิ่งเปิดใหม่ หากสายป่านไม่ยาวพอ โอกาสที่จะถูกปิดตัวไปตั้งแต่ช่วงแรกมีความเป็นไปได้สูงค่ะ ดิฉันจึง ขอชื่นชมกองทุนก่อนเลยว่าเป็นกองทุนที่มีประโยชน์ เพราะว่าทำให้พี่น้องเกษตรกรไปกู้ ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก เพียงอัตราร้อยละ ๑ ร้อยละ ๒ หรือไม่คิดดอกเบี้ย ก็คือร้อยละ ๐ ก็มี และการบริหารกองทุนเป็นในลักษณะของกองทุนหมุนเวียน คือเมื่อกู้ไปแล้ว ชำระจะครบตามจำนวนสัญญาแล้ว เกษตรกรก็สามารถกลับมากู้ได้อีก ซึ่งถือว่าเป็น การช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรได้เป็นอย่างมาก เพราะว่าเขาไม่ต้องไปหากู้เงินจากแหล่งกู้อื่น ที่มีดอกเบี้ยแพง หรือในปัจจุบันปัญหาที่พบมากในสังคมไทยก็คือการกู้เงินนอกระบบ ท่านประธานคะ หลังจากที่ดิฉันได้ดูรายงานการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรฉบับนี้ ดิฉันพบข้อสังเกตแล้วก็ข้อเสนอแนะอยู่ ๓ ประเด็น
นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข นครราชสีมา ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ดิฉันมีกลุ่มของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ รวมถึงกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนด้วย ทั้งอำเภอประทาย อําเภอลําทะเมนชัย อำเภอโนนแดง และอำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา เขาอยากจะยื่นกองทุนเป็นจำนวนมากเลย แต่เขาติดปัญหาสำคัญ อย่างหนึ่งคือเขียนแผนธุรกิจไม่เป็น เขียนแผนโครงการไม่เป็น ไม่รู้ว่าจะต้องไปปรึกษาใคร ที่ไหน อย่างไร บางคนส่งแผนโครงการไปแล้วไม่ผ่าน โดยที่เขาไม่รู้เลยว่าไม่ผ่านตรงจุดไหน รายละเอียดเป็นอย่างไร และต้องแก้ไขแบบไหน หนักไปกว่านั้นนะคะ บางคนส่งโครงการ ไปแล้วเป็นปีแต่ยังไม่ผ่านการพิจารณาสักที ดิฉันจึงอยากฝากท่านประธานไปยังทางกองทุน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าควรจะมีการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ออก Booth ประชาสัมพันธ์ตามหน่วยงานต่าง ๆ ทางสื่อโฆษณาหรือช่องทาง Social เพื่อให้ เกษตรกรได้ทราบถึงข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการเขียนแผนธุรกิจ ซึ่งจะทำให้พี่น้อง เกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรชาวรากหญ้าสามารถเข้าถึงกองทุนนี้ได้อย่างกว้างขวาง และทั่วถึง
นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข นครราชสีมา ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ดิฉันได้ย้อนไปดูข้อมูลสถิติของจำนวนวิสาหกิจชุมชน จาก Website ของกองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ มีจำนวนวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการยืนยันจดทะเบียนถูกต้องแล้วอยู่ทั้งสิ้น ๙๗,๑๑๕ แห่ง แต่พบว่าการดำเนินงานในปี ๒๕๖๔ ของกองทุนนี้มีเพียงไม่ถึง ๒๐ โครงการ เท่านั้นที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนนี้ ซึ่งนับเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก ๆ และเมื่อดิฉัน เข้าไปดูเอกสารรายงานการเงินฉบับนี้ ยิ่งพบว่าเงินสดของกองทุนยังมีเหลือกว่า ๓,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งตรงนี้กองทุนควรรีบพิจารณาโครงการต่าง ๆ ให้เร็วมากขึ้น และกระจายเงินกู้ไปยังกลุ่มของพี่น้องเกษตรกรหรือวิสาหกิจชุมชนให้มากกว่านี้ค่ะ
นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข นครราชสีมา ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ดิฉันพบว่าส่วนมากกองทุนจะอนุมัติเงินสนับสนุนให้กับ ส่วนราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตรที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือหน่วยงาน ของรัฐ ยกตัวอย่าง เช่น อ.ต.ก. กู้มากกว่าที่จะให้พี่น้องชาวเกษตรกรเป็นผู้กู้ค่ะ ซึ่งดิฉันพบว่าบางหน่วยงาน บางองค์กร บางแห่งนะคะท่านประธาน มีการกู้เงินไปหลายร้อย ล้านบาท เป็นระยะเวลา ๒๐-๓๐ ปีก็มี แต่ก็ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทำให้เขามีการปรับ โครงสร้างหนี้อยู่บ่อยครั้ง ดิฉันเห็นควรว่ากองทุนควรจะเพิ่มมาตรการในการติดตาม การชำระหนี้ โดยเฉพาะในส่วนของภาครัฐและองค์กรขนาดใหญ่ให้รัดกุมมากขึ้น เพื่อแก้ไข ปัญหาหนี้ค้างชำระหรือหนี้สูญค่ะ
นางสาวปิยะนุช ยินดีสุข นครราชสีมา ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ค่ะท่านประธาน ดิฉันอยากฝากท่านประธานไปยังกองทุนว่า กองทุนนี้จะเกิดประโยชน์สูงสุดถ้าทำให้พี่น้องเกษตรกรเข้าถึงกองทุนได้มากที่สุด เพราะเป็น แหล่งทุนที่จะทำให้พวกเขาหลุดพ้นจากปัญหาความยากจนได้ ท่านประธานคะ ยิ่งโดยในช่วงนี้ ประเทศไทยประสบกับปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง แมลงลง โรคระบาดบังเกิด เก็บเกี่ยวผลผลิต ก็ไม่ได้ หนำซ้ำขายก็ไม่ออก และยิ่งไปกว่านั้น ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำเป็นอย่างมาก เป็นปัญหาใหญ่เลยนะคะ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรจึงเป็นเหมือนทางหวังของพวกเรา เพราะฉะนั้นดิฉันจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในปีต่อ ๆ ไปทางกองทุนจะกระจายเงินกู้ให้แก่ กลุ่มเกษตรกรได้มากกว่านี้ และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือต้องเอื้อประโยชน์ให้แก่พี่น้องเกษตรกร อย่างแท้จริง ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านธีระชัย แสนแก้ว ครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายธีระชัย แสนแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้ง ที่ ๗ ประกอบไปด้วยอำเภอกุมภวาปี อำเภอประจักษ์ศิลปาคม และอำเภอเมือง ๑ ตำบล คือตำบลหนองไผ่ ขออนุญาตท่านประธาน ผ่านไปยังผู้ชี้แจง ผมมีข้อสังเกตในรายงานฉบับนี้ ๒ ประเด็น ดังนี้
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ผมได้อ่านรายงานหน้า ๑๙ และตารางเกี่ยวกับเรื่องการเงิน ให้กู้ยืมเงินระยะสั้น ระยะยาว ฉบับนี้ ซึ่งเงินที่ให้กู้ยืมระยะสั้นมีโครงการเดียว คือโครงการ ปลูกข้าวปลอดภัยลดการใช้สารเคมี ของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอุตสาหกรรมผลิตข้าว ครบวงจร อุทัยธานี มีหนี้ค้างชำระอยู่ ๓,๔๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนเงินที่ให้กู้ยืมระยะยาว มี ๔๘ โครงการ มีเพียง ๓ โครงการเท่านั้นที่ได้ชำระหนี้ครบเรียบร้อย และปิดโครงการแล้ว ที่เหลืออีก ๔๕ โครงการมีปัญหาชำระหนี้ล่าช้าเกินกำหนดชำระ หลายโครงการอยู่ใน ระหว่างการดำเนินคดี หรือบังคับคดีระหว่างหน่วยงานของรัฐกับกลุ่มเกษตรกร ผมก็ดู ๆ ไปแล้วกองทุนสงเคราะห์นี้ตั้งมานานแล้ว พอตั้งมานาน สะสมกันมา ผมก็คิดว่ามันไม่ใช่ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรหรอกครับ ผมคิดว่าเป็นกองทุนออมหนี้เกษตรกรมากกว่า ผมก็ อ่านเดี๋ยวนี้ละครับ แล้วก็พูดเดี๋ยวนี้ หลายโครงการเกิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๒๘ ปี ๒๕๓๒ ปี ๒๕๓๖ ก็มีเวลา ๓๐ กว่าปีแล้ว แต่ทำไมในช่องหมายเหตุดันแจ้งว่าอยู่ระหว่างดำเนินคดี และบังคับคดีครับท่านประธาน ผมขออนุญาตตัวอย่าง ข้อ ๗ ขององค์การตลาด เพื่อเกษตรกรหรือ อ.ต.ก. โครงการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในฤดูการผลิต ๒๘/๒๙ โครงการนี้มีหนี้ค้างชำระอยู่ ๕๙๙,๑๔๗ บาท ในช่องค้างชำระ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ก็ยังค้างชำระจำนวนเท่าเดิม ในส่วนช่องหมายเหตุเขียนว่า การดำเนินคดีหรือบังคับคดี ระหว่าง อ.ต.ก. กับเกษตรกร จำนวน ๒ คดี และเกษตรกรจำนวน ๒ ราย มูลค่ารวมแล้ว ก็เท่าเดิม ๕๙๐,๐๐๐ บาทเหมือนเดิม ตัวเลขเท่าเดิม เท่ากับยอดค้างชำระครับ นี่คือ โครงการนี้เกิดตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ ซึ่งกำหนดชำระครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๙ ผมจึงขออนุญาตท่านประธานผ่านไป ยังผู้ชี้แจง เพราะเหตุใดในช่องหมายเหตุท่านระบุเพียง อยู่ระหว่างการดำเนินคดีหรือบังคับคดี ไม่ใช่เฉพาะโครงการนี้เพียงโครงการเดียวเท่านั้น อีกหลาย ๆ โครงการที่เป็นโครงการ เงินให้กู้ระยะยาว ก็ระบุเพียงเท่านี้ครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ แม้ที่ผ่านมาทั้งรัฐบาล และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความพยายามทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ โดยได้ให้ความช่วยเหลือพี่น้อง เกษตรกรหลายรูปแบบ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ลดปัญหาความไม่เท่าเทียมทางด้าน เศรษฐกิจ และเพิ่มโอกาสให้พี่น้องเกษตรกรที่สามารถเข้าหาแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น แต่ข้อเท็จจริงที่เราทราบกันอยู่นั้น ทั้งนโยบายและกองทุนต่าง ๆ กลับไม่สามารถแก้ไข ปัญหาหนี้สินของพี่น้องเกษตรกรของเราได้อย่างยั่งยืน พี่น้องเกษตรกรยังไม่มีรายได้ ที่สามารถทำให้หลุดพ้นจากวัฏจักรความยากจนได้เลย เดี๋ยวกู้กองทุนนี้ พอใช้หนี้หมดก็ไปกู้ กองทุนโน้น วนเวียนกันไปกันมาเรื่อย ๆ แม้รัฐบาลมีนโยบายทั้งการพักชำระหนี้เกษตรกร การให้กู้เงินดอกเบี้ยต่ำ หรือการปรับโครงสร้างหนี้สิน ก็ยังไม่สามารถสร้างให้พี่น้อง ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างแท้จริง ผมมีความเห็นว่าเราต้องมอง เราต้องมอง ทิศทางระดับนโยบายในภาพรวมครับท่านประธานคือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควรตั้งคณะทำงานในเชิงบริหาร ขึ้นมา ๑ ชุด เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ พี่น้องเกษตรกร อยู่ภายใต้คณะกรรมการชุดนี้เพียงชุดเดียว โดยคณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ ได้วางกรอบนโยบายเพื่อให้ขับเคลื่อน และบูรณาการดำเนินการของกองทุนต่าง ๆ ซึ่งมี เยอะแยะไปหมด โดยเฉพาะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีกองทุนเยอะจริง ๆ ภายใต้ การกำกับของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการตั้งกองทุน นั้น ๆ การพิจารณาให้ทุนจะต้องไม่มีผลเป็นการขยายวัตถุประสงค์เกินวัตถุประสงค์เดิม ของกองทุน นอกจากนี้การดำเนินงานของกองทุนจะต้องไม่เน้นแต่เพียงบทบาทให้กับบริการ สินเชื่อเท่านั้น ควรมีระบบการประเมิน และติดตามตรวจสอบลูกหนี้ให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น รวมทั้งเพิ่มบทบาทและพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพราะฉะนั้นผมอยากจะขอกราบเรียนกับท่านผู้ชี้แจงว่าที่เป็นหนี้เยอะ ๆ ๔๐ กว่าโครงการ ท่านทำให้มีการปรับโครงสร้างหนี้สินให้หนี้เป็น ๐ ได้ไหม ๓๐ กว่าปีแล้ว ขอถามหน่อยว่า ตอนนี้ผู้ที่เป็นหนี้เกษตรกรยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ครับ เพราะตัวเลขมันเท่ากัน กู้ปี ๒๕๒๘ จนถึง ขณะนี้ก็ยังมีตัวเลขเดิม ๆ มันเป็นตัวเลขที่เสียแล้ว ถ้าทำให้หนี้เป็น ๐ ได้ ตั้งต้นใหม่ก็จะดีนะครับ หรือจะมีวิธีการอย่างไร คิดเป็นรายปีกี่ปีแล้ว อย่างนั้นก็ต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้สินอะไร ต่าง ๆ ให้เป็นกระบวนการ หรือไม่ก็มีการยกเลิก ๓๐ ปี ๔๐ ปี ๕๐ ปี หรือผู้เสียชีวิตแล้ว ดำเนินการมาด้วยความจริงใจ ด้วยความเต็มใจ แต่มันเกิดเป็นหนี้เป็นสินด้วยเหตุ จากนโยบายหรือด้วยเหตุอะไรก็แล้วแต่ แห้งแล้งหรืออะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ เราก็ควร พิจารณาให้เป็นราย ๆ ขององค์กรสถาบันเกษตรกรต่อไป ขอกราบขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปเชิญท่านรวี เล็กอุทัย ครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพครับ กระผม นายรวี เล็กอุทัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต ๓ พรรคเพื่อไทย ขออนุญาต Slide ขึ้นด้วยครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
จากการที่ผมได้ตรวจสอบรายงานการเงิน ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ซึ่งถ้าพิจารณา ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนนี้แล้ว นับได้ว่าเป็นวัตถุประสงค์ที่ดี แล้วก็เป็นปัจจัยที่จะ ช่วยเหลือสนับสนุนแก่เกษตรกร โดยเฉพาะการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า สถาบันการเงินทั่ว ๆ ไป อีกทั้งยังเป็นกองทุนที่มีเงินทุนเกือบถึง ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท แต่เมื่อพิจารณาถึงผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกองทุนแล้ว โดยเฉพาะ ในส่วนของสถานะลูกหนี้ในปี ๒๕๖๔ จะพบว่ามีลูกหนี้ค้างชำระเงินคืนเกือบ ๓,๒๐๐ ล้านบาท ถึงแม้จะลดลงจากปี ๒๕๖๓ อยู่ที่ ๓,๔๖๓ ล้านบาท ในเดือนเดียวกัน แต่เป็นการชำระเงินคืนจำนวน ๒๗๙ ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณเพียงแค่ ๘ เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ซึ่งเมื่อผมลองเจาะไปที่ลูกหนี้ส่วนใหญ่แต่ละราย จะพบว่ามีอัตราการชำระเงินคืน ที่ไม่มาก ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าโครงการยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้ แต่ก็มีอีกเกือบครึ่ง เช่นเดียวกันของโครงการทั้งหมดที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก นั่นก็คือมีลูกหนี้ที่ไม่สามารถ ชำระหนี้ได้ตามกำหนดระยะเวลา อีกทั้งแผนการชำระเงินในหลายโครงการได้มีการขยาย เวลาออกไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นการบังคับคดี ซึ่งไม่ทราบได้เลยว่าจะต้องดำเนินการไป ยาวนานแค่ไหน และจะสิ้นสุดลงเมื่อไร ผมจึงอยากฝากท่านประธานผ่านไปยังผู้ชี้แจง ให้ช่วยกรุณาตอบประเด็นซักถามตรงนี้ด้วยนะครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ยกตัวอย่าง จากหน้าแรก ในรายละเอียดเงินให้กู้ยืมระยะยาวของโครงการ จัดหาปุ๋ยเพื่อเกษตรกร จะเห็นว่าทุกโครงการจะต้องมีการขยายเวลาการชำระเงินออกไป ทั้งหมดจนกว่าจะมีการเสร็จสิ้นการบังคับคดี ซึ่งคิดเป็นมูลค่าค้างชำระรวมทั้งหมด กว่า ๘๒ ล้านบาท นี่แค่โครงการเดียวนะครับ ขณะที่ลูกหนี้ที่มียอดค้างชำระมากที่สุด ๒ อันดับแรก ก็คือกรมปศุสัตว์ กับกรมส่งเสริมสหกรณ์ มีมูลหนี้คงเหลือทั้งหมดที่ยัง ค้างชำระอยู่ประมาณ ๑,๒๐๐ ล้านบาท แล้วก็ ๑,๖๐๐ ล้านบาท ตามลำดับ รวมกันแล้ว ประมาณ ๒,๘๐๐ ล้านบาท หรือคิดเป็น ๘๗.๕ เปอร์เซ็นต์ของยอดหนี้คงเหลือทั้งหมด ในเดือนกันยายน ๒๕๖๔ นอกจากนี้ในงานวิจัยของ TDRI หรือ Thailand Development Research Institute หรือสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ได้สรุปภาพรวม ของปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานของกองทุนเอาไว้หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินงานที่ทับซ้อนกันหรือคล้ายคลึงกันของกองทุนต่าง ๆที่อยู่ในกำกับของ ส่วนราชการ เช่นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เองก็มีหลายกองทุน เช่น กองทุน หมุนเวียนเพื่อการกู้ยืม กองทุนปฏิรูปที่ดิน กองทุนพัฒนาสหกรณ์ กองทุนจัดรูปที่ดิน กองทุนหมุนเวียนเพื่อการชลประทาน และอีกหลาย ๆ กองทุนที่อาจจะมีวัตถุประสงค์ ที่ไปในทิศทางเดียวกัน หรือมีความซ้ำซ้อนกันจนทำให้มีกลุ่มเกษตรกรบางกลุ่มที่ได้รับ ผลประโยชน์ที่ซ้ำซ้อน ทำให้ความช่วยเหลือนั้นกระจุกอยู่เพียงแค่บางกลุ่มเท่านั้น อีกทั้งการช่วยเหลือที่เกิดขึ้นนั้น ถ้าหากว่าวิเคราะห์ดี ๆ แล้ว ต้นเหตุของปัญหาของเกษตรกร อาจจะไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง ผลที่ได้จากกองทุนโดยส่วนใหญ่จะเป็นเพียงแค่ การอุดหนุนเงินทุนเท่านั้น แต่ในอีกมุมหนึ่งยังเป็นการเพิ่มหนี้สะสมให้กับเกษตรกรอีกด้วย เพราะในความเป็นจริงเกษตรกรเขาต้องเจอกับปัญหามากมาย โดยเฉพาะเรื่องของปัญหา ราคาผลผลิตที่ตกต่ำ แต่หากต้องเจอนะครับ หรือนอกจากนั้นการขายที่ได้ต่ำกว่าต้นทุน ในการผลิตที่ลงไป รวมถึงมีผลผลิตแต่ก็ไม่มีตลาดรองรับ ดังนั้นเมื่อได้รับการอุดหนุนสินเชื่อ แม้จะในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำก็ตาม แต่หากต้องเจอกับปัญหาการขาดทุนจากการขายสินค้า ก็จะไม่สามารถชำระเงินคืนได้ ไม่สามารถหาเงินมาชำระเงินคืนได้ และอาจจะต้อง ชำระเงินคืนที่มากกว่าที่ควรจะเป็นด้วยซ้ำจากกรณีที่ต้องถูกดำเนินคดี โดยสรุปนะครับ ท่านประธาน ผมมองว่ากองทุนนี้ยังมีปัญหาในเรื่องของการขาดระบบการติดตามประเมินผล ที่ไม่ใช่เพียงการวัดจากแค่ยอดเงินอนุมัติเงินทุนและผลของการชำระเงินคืน แต่ควรดูผลลัพธ์ ของโครงการด้วยว่าตรงตามวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์จริงหรือไม่ รวมถึงควรมี การเพิ่มฐานข้อมูลของเกษตรกรให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อสามารถช่วยเหลือได้อย่าง ตรงจุด มีประสิทธิภาพ และไม่ซ้ำซ้อนกับแผนงานประจำครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
สุดท้ายครับ ผมฝากว่าทางกองทุนควรมีการบริหารจัดการความเสี่ยง ทางการเงินที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของกองทุนเอง และไม่เป็นการสร้างภาระหนี้สินเพิ่มเติมให้กับเกษตรกรด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านนรเสฎฐ์ ศิริโรจนกุล ครับ
นายนรเสฎฐ์ ศิริโรจนกุล นครราชสีมา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายนรเสฎฐ์ ศิริโรจนกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา เขตอำเภอปักธงชัยและวังน้ำเขียว พรรคเพื่อไทย การเกษตร ทั้ง ๔ ประเภท ไม่ว่าจะเป็นด้านกสิกรรม ปศุสัตว์ การประมง และด้านป่าไม้ ประชาชน ส่วนใหญ่ของประเทศไทยนี้ล้วนประกอบอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ทำให้อาชีพนี้เป็นอาชีพ ที่มีบทบาทและความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่อง ของการผลิตพืชผลเพื่อส่งออกและบริโภคภายในประเทศ อีกทั้งภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่อาชีพเกษตรกรรมนี้ก็ยังเป็นอาชีพที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตรกรที่อยู่ในเขตชนบทหรือตามแนวชายแดน กลุ่มเหล่านี้เราจะทำอย่างไรให้เขาได้รับ การสนับสนุนการช่วยเหลือ ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และผลิตพืชผลให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยปัญหาภาคการเกษตรของไทยในปัจจุบันประกอบไปด้วยหลาย ๆ ด้าน
นายนรเสฎฐ์ ศิริโรจนกุล นครราชสีมา ต้นฉบับ
เนื่องจากเกษตรกรไทยยังคงต้องพึ่งสภาพอากาศฝนฟ้า ซึ่งปัจจุบันนี้ มีความผันผวนเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ไม่สามารถคาดเดาปริมาณผลผลิตได้ เช่นสภาพอากาศ ดีได้ผลผลิตมาก ก็อาจจะทำให้มีปริมาณสินค้าล้นตลาด ส่งผลให้ราคาตกต่ำกระทบต่อรายได้ ของเกษตรกร แต่เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น น้ำท่วม หรือภัยแล้ง หรือว่าในปัจจุบันที่เกิดภาวะ El Niño ที่ทำให้ภัยแล้งเกิดขึ้นในหลาย ๆ พื้นที่ เช่น ในอำเภอปักธงชัย แล้วก็วังน้ำเขียว ตามที่ผมได้ลงพื้นที่และได้พบปะพี่น้องมา ไม่ว่าจะเป็นทุ่งนา ไร่มัน สิ่งที่ผมได้ยินจากพี่น้อง ก็คือปัญหาเรื่องน้ำ ฝนที่แล้ง แล้วก็การทำนา การทำพืชผลทางการเกษตรที่อยู่นอกเขต ชลประทาน ซึ่งจะต้องอาศัยน้ำจากน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้ผลผลิตโดยรวม ของประเทศที่อาจจะมีแนวโน้มลดลง จริงอยู่ครับ ราคาอาจจะสูงขึ้น แต่เกษตรกรก็ยังมี รายได้น้อยอยู่ดี ซึ่งสุดท้ายก็จะไม่พอต่อการชำระหนี้ และเนื่องจากประเทศไทยก็ไม่ได้เป็น ประเทศเดียวที่ทำเกี่ยวกับการเกษตร ต่อให้เราสามารถควบคุมปริมาณที่อยู่ในประเทศให้มี สูงหรือต่ำได้ เราก็ยังไม่สามารถที่จะกำหนดราคาของตลาดโลกได้
นายนรเสฎฐ์ ศิริโรจนกุล นครราชสีมา ต้นฉบับ
ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ ครับท่านประธาน ก็คือเรื่องของต้นทุน ที่ปัจจุบันนี้มีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าสารเคมี ค่าน้ำ ค่าไฟ ต่าง ๆ รวมไปถึงค่าอาหารสำหรับการเลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงหมู เลี้ยงวัว ล้วนเป็น ปัจจัยที่สำคัญและส่งผลต่อการผลิตทั้งสิ้น สำหรับกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเป็นกองทุน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียน ช่วยเหลือ แล้วก็ส่งเสริมเกษตรกร เป็นการดีครับ ท่านประธาน ที่เราได้มีกองทุนแบบนี้สนับสนุนให้กับพ่อแม่พี่น้อง เกษตรกรบ้านเรา แต่ผมมี ข้อสงสัยบางประการครับท่านประธาน เพราะในขณะนี้ผมเชื่อว่ามีเกษตรกรอีกหลายคนที่ยัง ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนก้อนนี้ได้ เนื่องจากบางคนอาจจะยังไม่ทราบเสียด้วยซ้ำว่ามีกองทุน ประเภทนี้อยู่เพื่อคอยช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกร หรือว่าบางกลุ่มอาจจะสามารถเข้าถึง และรับทราบข้อมูลเบื้องต้นของกองทุน แต่ก็ยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของ หลักเกณฑ์ในการขอใช้เงินของกองทุน การเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ อีกทั้งยังมีขั้นตอน ในการพิจารณาอนุมัติโครงการอีกมากมายนะครับท่านประธาน พืชผลทางการเกษตร บางอย่างเป็นพืชผลที่ต้องปลูกอยู่ในช่วงฤดูกาล แล้วก็ต้องใช้ต้นทุนในการเพาะปลูก หากเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยุ่งยากแล้วก็ล่าช้า อาจจะทำให้ปลูกพืชได้ไม่ทันตามฤดูกาล สุดท้ายแล้วเกษตรกรเหล่านี้ก็ยังต้องไปพึ่งการกู้หนี้ยืมสิน หรือว่าการกู้นอกระบบอยู่ดี เพื่อมาลงทุน ซึ่งเงินทุนเหล่านี้มักจะมีดอกเบี้ยที่สูง กองทุนนี้อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีหลาย ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเป็นไปได้มากน้อย เพียงใดที่หลาย ๆ หน่วยงานจะร่วมมือกัน เช่น ฝ่ายปกครอง ฝ่ายท้องถิ่น หรือฝ่ายต่าง ๆ ที่มีความใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนหรือเกษตรกร ได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ของกองทุน แล้วก็ให้ความรู้ ความช่วยเหลือในการเขียนโครงการ ประสานโครงการต่าง ๆ มายังกลุ่มของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้มากและสะดวกยิ่งขึ้น
นายนรเสฎฐ์ ศิริโรจนกุล นครราชสีมา ต้นฉบับ
สุดท้ายครับท่านประธาน หากเกษตรกรได้กู้ยืมเงินจากกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรแล้ว แล้วเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำท่วม รวมถึง โรคระบาดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น COVID-19 ดังที่ผ่านมาไม่นานนี้ หรือว่าจะเป็นปัญหา ที่เกี่ยวกับราคาของผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำ ทำให้พวกเขาขาดทุน อาจจะส่งผลให้ เกษตรกรเหล่านี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ทางกองทุนมีแนวทางในการแก้ไข หรือ ช่วยเหลือเกษตรกรเหล่านี้อย่างไรครับ เพื่อให้บรรเทาความเดือดร้อน และเพื่อให้เงินของ กองทุนไม่เป็นหนี้เสีย ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านเทียบจุฑา ขาวขำ ครับ
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางเทียบจุฑา ขาวขำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต ๑๐ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ดิฉันขอร่วมอภิปรายรับทราบรายงานผู้สอบบัญชี และรายงาน การเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ปี ๒๕๖๔ ตามพระราชบัญญัติ มาตรา ๔ กองทุน ก็หมายถึงกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เกษตรกร ก็หมายถึงผู้ประกอบการด้านเกษตรกรรม
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ดิฉันขอร่วมอภิปรายนะคะท่านประธาน เกี่ยวกับเรื่องกองทุน สงเคราะห์ อันนี้ดิฉันมีข้อสนใจ ให้ความสนใจอย่างยิ่ง เพราะกองทุนฉบับนี้ รายการนี้ เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรอย่างมาก เพราะเปิดโอกาสให้เกษตรกรสามารถเข้าถึง แหล่งเงินทุนเข้ากู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ และเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนเป็นเงินทุนหมุนเวียน ในการใช้จ่ายประกอบอาชีพของกลุ่มพี่น้องเกษตรกร ดิฉันมีข้อสังเกตและจะขออนุญาต ยกตัวอย่างปัญหาที่จังหวัดอุดรธานี ของจังหวัดอุดรธานีมีกลุ่มเกษตรกรให้ความสนใจ กับกองทุนนี้มากเกือบ ๒๖ กลุ่ม ซึ่งก็ทำรายการขอกู้กับกองทุน แต่ดิฉันเองก็ไม่ทราบว่า ติดปัญหาอะไรถึงไม่ผ่าน ๒๖ กลุ่ม เขาก็บอกว่ากองทุนที่จังหวัดอุดรธานี ที่ผ่านสหกรณ์ จังหวัดอุดรธานี ได้รับเงินเพียง ๑๐ ล้านบาท ดิฉันว่าก็เพียงพอน้อยนิด เพราะว่าประชาชน ในจังหวัดอุดรธานี ๑,๕๐๐,๐๐๐ กว่าคน แล้วมีผู้สนใจ ๒๖ กลุ่ม ดิฉันคิดว่าคงไม่เพียงพอ ในการช่วยเหลือและสนับสนุนพี่น้องเกษตรกรเป็นทุนในการประกอบอาชีพได้ ดิฉันจึง ขอฝากท่านประธานผ่านไปยังผู้ชี้แจงที่เกี่ยวข้องว่ากองทุนสนับสนุนการเกษตร สงเคราะห์ การเกษตรนี้มันสำคัญนะคะ เป็นไปได้ไหมเพิ่มวงเงินให้พี่น้องเกษตรกรที่สนใจทั้งประเทศค่ะ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการส่งเสริมอาชีพหรือประกอบอาชีพของครัวเรือนได้
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ เกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างของหน่วยงาน ซึ่งโครงสร้างของ หน่วยงานที่ถ่ายโอนภารกิจจากกรมส่งเสริมการเกษตรมายังกรมส่งเสริมสหกรณ์ ทำให้พี่น้อง เกษตรกรหนักใจนะคะ ไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา ปัญหาจึงตกอยู่กับผู้ที่ ค้ำประกัน ผู้ที่จะค้ำประกันของกลุ่มเกษตรกรที่เป็นหลักประกันก็คือ คณะกรรมการเกษตรกร เป็นผู้ค้ำประกัน จึงจะต้องรับผิดชอบหนี้แทนกองทุนเกษตรกร ปัญหาที่ดิฉันได้พบกรณี กลุ่มเกษตรกรที่ผิดชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันมีการชำระหนี้แทนเกษตรกรแล้ว ก็ทำให้มีเงิน จำนวนหนึ่งเกินเงินต้นตามสัญญาหรือตามคำพิพากษา แต่ไม่สามารถลดหนี้ได้เพราะอำนาจ การอนุมัติให้ลดหนี้ อำนาจอยู่ที่ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ผ่านมาดิฉันขอยกตัวอย่าง จังหวัดอุดรธานี ได้ดำเนินการขอลดหนี้ในกรณีกลุ่มเกษตรกรแล้ว ใช้ชำระหนี้เกินเงินต้น ตามสัญญาไปแล้วแต่ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติแต่อย่างใด ดิฉันเห็นว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่ง ดิฉันคิดว่าเรื่องเงินกู้ ของกองทุนสหกรณ์การเกษตร ที่สำคัญมีข้อสังเกตระยะเวลาการกู้เงินของกองทุน ในหน้า ๑๓ หมายเหตุที่ ๗ เรื่องเงินกู้ยืมระยะสั้น ให้กู้เงินกับเกษตรกรที่จะกู้เป็นกลุ่ม กำหนดระยะเวลาคืนชำระหนี้สั้นเหลือเกินเพียง ๑ ปี เงินกองทุนนี้เป็นเงินสงเคราะห์ เกษตรกร ทำไมถึงมีระยะเวลาชำระหนี้ภายใน ๑ ปี ดิฉันยกตัวอย่างพี่น้องเกษตรกร จังหวัดอุดรธานีที่มีอาชีพปศุสัตว์ ที่เลี้ยงโคเนื้อ โคนม หรือว่ากระบือ เดี๋ยวนี้กระบือเป็นที่ สนใจของพี่น้องประชาชนไม่ว่าจะเป็นประเภทเนื้อ หรือกระบือสวยงาม กำลังเป็นประเด็นที่ สนใจของเกษตรกร อันนี้ในประเภทปศุสัตว์นี้จะต้องใช้เวลาเลี้ยงประมาณ ๓ ปี ถึงจะขาย ได้เงินมาชำระหนี้ได้ ดิฉันเห็นว่าเงื่อนไขการชำระเงินมันไม่สอดคล้องแล้วก็ไม่เหมาะสม กับการส่งเสริมอาชีพด้านปศุสัตว์กับพี่น้องเกษตรกรเลย เพราะระยะเวลามันสั้นเหลือเกิน จะต้องรีบชำระหนี้ภายใน ๑ ปี
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้าย ดิฉันขอฝากท่านประธานผ่านไปยังผู้ชี้แจง ในหน้า ๑๕ หมายเหตุที่ ๑๓ ภาระผูกพันนะคะ ในรายงานฉบับนี้บอกถึงภาระผูกพันกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรว่ามีภาระผูกพันกับหน่วยงานของรัฐและองค์กรเกษตรที่เกิดจากโครงการที่ผ่าน การอนุมัติจากมติคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการสงเคราะห์การเกษตร แต่ยังไม่ได้ เบิกจ่ายเงินอีก ๒๓ ล้านบาท ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ดิฉันจึงอยากเรียนถาม ผ่านท่านประธานไปยังผู้ชี้แจง หรือผู้เกี่ยวข้องว่าตอนนี้มีการเบิกจ่ายเงินไปแล้วกี่โครงการ และมีโครงการใดบ้างที่ยังไม่ได้รับการเบิกจ่ายเงิน เหตุใดยังไม่มีการเบิกจ่ายเงินดังกล่าว ทั้งทีได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสงเคราะห์ เกษตรกรแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ ครับ
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพค่ะ ดิฉัน สุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต ๗ พรรคเพื่อไทย อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอโขงเจียม อำเภอสิรินธร อำเภอพิบูลมังสาหาร เฉพาะตำบลระเว และตำบลทรายมูล ดิฉันขอร่วมอภิปรายรายงานการเงินกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกร จากที่ดิฉันได้ศึกษาข้อมูลทำให้ดิฉันได้ทราบว่ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกรได้ดำเนินงาน มากว่า ๔๐ ปี ซึ่งทางกองทุนก็มีงบประมาณมากพอสมควร เห็นได้ว่าได้ให้ความช่วยเหลือ พี่น้องเกษตรกรมากมาย ทั้งในรูปของเงินกู้ เงินอุดหนุน เงินสมทบ และโครงการต่าง ๆ ซึ่งทางกองทุนได้ความช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้าน การเงิน ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้การประกันรายได้และลดภาระหนี้สิน ปัญหาภัยพิบัติ ทางกองทุนก็ได้ช่วยเหลือ ทั้งปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วม ฝนแล้ง พายุ หรือโรคระบาด และภัย ธรรมชาติอื่น ๆ นอกจากนี้ก็ได้ช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาทางด้านการตลาด ไม่ว่าจะหาตลาด หรือส่งเสริมการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร และช่วยจัดจำหน่ายผลผลิต ทางการเกษตรด้วยค่ะ
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
สุดท้ายค่ะ ทางกองทุนก็ไม่ได้ทิ้งที่จะช่วยพี่น้องเกษตรกรในด้านของการผลิต ได้จัดหาปัจจัยส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร ซึ่งดิฉัน ได้เห็นว่าวัตถุประสงค์ของกองทุนได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ซึ่งอาชีพ เกษตรกรก็ถือว่าเป็นอาชีพหลักที่พี่น้องประชาชนได้ทำคู่กับประเทศไทย อยู่คู่กับคนไทย มานาน บางครั้งดิฉันก็ยังสงสัยและถามกับตัวเองเสมอว่าการเป็นกระดูกสันหลังของชาติ มันต้องลำบาก มันต้องยากจนขนาดนี้เลยหรือ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องขอบพระคุณทาง คณะกรรมการกองทุนที่ได้ให้ความช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรตลอดมาค่ะ
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานค่ะ ดิฉันซึ่งเป็นผู้แทนไทบ้าน ได้คลุกคลีอยู่กับพี่น้องชาวไร่ชาวนาชาวสวนอยู่เป็นประจำ พ่อแม่พี่น้องของดิฉันเป็นคนขยันขันแข็ง หนักเอาเบาสู้ แต่ด้วยโชคชะตาที่ไม่สามารถ กำหนดได้ ความไม่แน่นอนของปัญหาภัยพิบัติ น้ำท่วม ฝนแล้ง หรือว่าการบริหารจัดการ ของรัฐบาลที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนยากจนข้นแค้นอย่างหนักทำการเกษตรก็ขาดทุน เลี้ยงวัว ทำปศุสัตว์ก็ขาดทุน ปลูกอ้อย ปลูกมัน ปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด ทุกชนิดค่ะ ขาดทุน ทุกอย่าง ทำด้วยความเหนื่อยยากลำบาก แล้วก็โดนกดราคาจนแทบไม่เหลือกำไร อย่าว่า แทบไม่เหลือกำไรเลยค่ะ น่าจะไม่เหลือกำไรเลยจริง ๆ มันไม่มีกำไรเลยค่ะ ซึ่งดิฉันได้เข้าใจ ความรู้สึกของพี่น้องประชาชนค่ะ ขาดทุนอย่างไรวันนี้ก็ยังคงต้องทำต่อ เพราะนี่คืออาชีพ ถ้าไม่ทำก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรกินนะคะ เพราะเป็นเกษตรกรกันมาทั้งชีวิต จากที่เราดูตาม เอกสารจากตัวเลข พบว่ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกรในปัจจุบันมีปัญหาไม่มีเสถียรภาพ ทางการเงิน เหตุมาจากไม่ได้รับการชำระหนี้จากประชาชน ก็อย่างที่ดิฉันได้กล่าวไปข้างต้น ชาวบ้านทุกข์ซ้ำทุกข์ซ้อน ทำการเกษตรก็ขาดทุน จะหาเงินที่ไหนมาชำระหนี้ใช่ไหมคะ ถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากเป็นหนี้ค่ะ คงไม่มีใครอยากถูกฟ้องร้อง คงไม่มีใครอยากถูก ดำเนินคดี แต่วันนี้ทำอย่างไรล่ะคะ วันนี้มันไม่มีทางเลือก แค่จะหาเงินมาจุนเจือครอบครัว หาเงินมาซื้ออาหารใส่ปากประทังชีวิตในแต่ละวันมันก็ลำบากแล้ว ดิฉันเข้าใจสภาพปัญหา ที่เกิดขึ้นค่ะ ก็มีความเห็นใจทั้งเกษตรกร พี่น้องประชาชน รวมทั้งเห็นใจทางกองทุน เบื้องต้น ดิฉันก็ขอเป็นกำลังใจให้ทางกองทุนให้มุ่งมั่นตั้งใจทำงานให้สมกับวัตถุประสงค์ของกองทุน ซึ่งวันนี้ดิฉันมีข้อเสนอฝากทางกองทุนนำไปพิจารณาเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ที่ดิฉันได้กล่าวไปข้างต้น
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
อย่างแรก การปล่อยเงินให้กู้ยืมหรือเงินให้ขาดแก่พี่น้องเกษตรกร นอกจาก ให้เงินแล้ว อยากจะฝากทางกองทุนให้ความรู้พี่น้องเกษตรกรไปด้วย ให้เงินพร้อมกับ ให้ความรู้เพื่อนำเอาไปแปรรูป เพื่อนำเอาไปต่อยอดเพื่อที่จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจาก พี่น้องเกษตรกรบางรายยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง หรือหลาย ๆ ครั้ง บ่อยครั้ง ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง อ้างความชื้นบ้าง ความสะอาดบ้าง อะไรต่าง ๆ นานา เพื่อหาทางเอาเปรียบพี่น้องเกษตรกรค่ะ
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
ข้อ ๒ กองทุนควรเร่งรัดชำระหนี้โดยการขายทรัพย์สินของกองทุน ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ และหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำมาชำระหนี้สินกองทุน ควรจัดทำ แผนชำระหนี้อย่างรัดกุม และดำเนินการตามแผนอย่างเคร่งครัด ต่อมาดิฉันเห็นว่า การดำเนินงานของกองทุนหรือการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนยังยาก อยากขอให้ทางกองทุน ได้จัดให้มีช่องทางให้ประชาชนสามารถร้องเรียนได้ หรือสอบถาม และให้ประชาชนสามารถ รับรู้การดำเนินงานของกองทุนค่ะ
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรถือเป็นกองทุนที่มีความสำคัญต่อพี่น้องประชาชน เกษตรกรคนไทย กองทุนควรเร่งรัดแก้ไขปัญหาเพื่อให้กองทุนสามารถดำเนินการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างทั่วถึง
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
สุดท้ายขอฝากค่ะ ขอฝากท่านประธานไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้ง กองทุน คนจนไม่ได้จนเพราะขี้เกียจนะคะ แต่บางทีเขาทำสุดความสามารถแล้วแต่มันก็ยังจน วันนี้ก็ขอบพระคุณทางกองทุนที่สละเวลามาในวันนี้ ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านสรวงศ์ เทียนทอง ครับ
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ สรวงศ์ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว เขต ๓ พรรคเพื่อไทยครับ วันนี้ขออนุญาตยืนพูด ใน ๒ สถานะครับท่านประธาน สถานะแรก ก็คือเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนเกษตรกร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อีกสถานะหนึ่ง ก็คือสถานะที่ตัวเองก็เป็นเกษตรกรครับ ท่านประธาน ก่อนอื่นต้องตอบคำถามของท่าน สส. ฐิติมา ฉายแสง ก่อนเลยครับ ผมเอง ก็เพิ่งรู้ครับว่ามีกองทุนนี้อยู่ เมื่อสักครู่ท่านขึ้น Chart มาเต็มที่เลยนะครับ ไปทำสำรวจมา ๑๐ กว่าราย ไม่รู้จักเลยกองทุนนี้ วันนี้ตอบคำถามท่านครับว่าผมเองคนหนึ่งก็ไม่รู้จัก แล้วก็ไม่เคยทราบเลยว่ามีกองทุนนี้อยู่ สงสัยไหมครับท่านประธาน กองทุนเล็ก ๆ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เงินก็ไม่เยอะ แต่ทำไมพี่ ๆ น้อง ๆ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของพวกเราให้ความสำคัญในการอภิปรายเยอะขนาดนี้ เพราะพวกเราลงพื้นที่ครับ พวกเรา เห็นถึงปัญหาของพี่น้องเกษตรกร ปัญหาใหญ่ที่สุดก็คือเรื่องเงินทุน ง่าย ๆ เลยครับ ยกตัวอย่างตัวผมเอง ๔ ปีที่แล้วเริ่มทำการเกษตร มีคนแนะนำว่าให้ไปเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. สิ เขามีเครือข่ายนะ ดีนะ ผมก็ไปคุยกับ ธ.ก.ส. ท่านประธานทราบไหมครับว่า ณ วันนั้นที่ผม ไปคุยกับ ธ.ก.ส. ดอกเบี้ย MRR ลูกค้าใหม่เท่าไร วันที่ผมไปคุยจำตัวเลขได้ขึ้นใจครับ ๙.๒๗ เปอร์เซ็นต์ครับพี่น้อง สิ่งที่เกิดขึ้นคือออกมาจากธนาคารแทบไม่ทันครับ วันนี้ก่อนเข้า ที่ประชุม ผม Check กับทาง ธ.ก.ส. ดอกเบี้ย ณ ปัจจุบัน ๖.๙๗๕ สิ่งเหล่านี้ละครับ คือต้นทุนในการใช้ชีวิต ต้นทุนในการทำมาหากินของพี่น้องเกษตรกร อย่างที่ท่าน สส. วิชัย จากกาฬสินธุ์ได้พูดไปเมื่อเช้านี้ เกษตรกรก็ไม่ต่างอะไรจากข้าราชการของประเทศไทยทุกคน กู้ทุกอย่าง ยกเว้นระเบิด แล้วเรามองหาจริง ๆ พี่น้องเกษตรกรมองหาจริง ๆ ว่าใครที่จะเป็น ที่พึ่งให้เขาได้ ผมขออนุญาตแยกชื่อกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรออกเป็น ๒ คำ กองทุน ท่านประธานครับ กองทุนมันจะมีระเบียบการจัดตั้งกองทุนของมันอยู่ ก็คือได้รับเงิน สนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นเงินไม่เยอะ แต่การจัดเก็บรายได้ ของกองทุน ถ้าเราดูในเอกสารหน้า ๑๗ เราจะเห็นได้ชัดครับ ไม่ต้องดูตัวเลขย้อนไกล ดูปี ๒๕๖๔ รายได้อื่น ๆ ทั้งหมด ๒๕,๖๐๐,๐๐๐ บาท แต่รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากจากสถาบัน การเงินเกือบ ๑๕ ล้านบาท เกือบ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ของรายได้ของกองทุนนี้มาจากเงินฝาก จากสถาบันการเงินอื่น ๆ พูดง่าย ๆ ก็คืออยู่เฉย ๆ เอาเงินไปฝากธนาคารก็ได้ดอกเบี้ยมา ที่เหลือก็เป็นรายได้อื่น ๆ ที่ได้จากการชำระในการกู้ยืมของเกษตรกร อีกคำหนึ่งก็คือคำว่า สงเคราะห์ คำว่า สงเคราะห์ อยากจะจำแนกแล้วก็อยากจะขอความชัดเจนจากหน่วยงานนี้ จริง ๆ เลย วันนี้เสียดายไม่ได้มา คำว่า สงเคราะห์ จะต้องถึงขนาดใช้คำว่า เกษตรกรผู้ยากไร้ หรือไม่ ถึงจะมีสิทธิเข้าโครงการ ถึงจะมีสิทธิกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินแห่งนี้
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่งท่านประธานครับ ผมขออนุญาตขึ้น Slide นะครับ
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
วันนี้หน่วยงานไม่ได้มา แต่ก็ขอฝาก ไปครับ ขอเป็นหน้า ๑ ประเด็นที่น่าเปลี่ยนแปลงของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ซึ่งถ้าเราดู วัตถุประสงค์และหน้าที่ของหน่วยงานนี้ พรรคเพื่อไทยยิ้มเลยครับ เพราะมันตรงกับ Slogan ของพวกเราที่ใช้หาเสียงเลย ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ท่าน สส. ฐิติมาพูดไป เมื่อเช้านะครับ นโยบายต่าง ๆ แล้วก็วัตถุประสงค์ต่าง ๆ ในการทำงานมันดีเหลือเกิน มันครอบคลุมทุกอย่างเลย แต่ท่านประธานครับ ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ๖ ข้อที่ใส่ลงมา ในวัตถุประสงค์ ผมขออนุญาตเพิ่มอีก ๓ ข้อ คือ การส่งเสริมเข้าถึงการตลาด และแนวพัฒนา ผลิตภัณฑ์อันต่อเนื่องจากกระบวนการการแปรรูป อีกข้อหนึ่ง ส่งเสริมการเข้าถึง การสนับสนุนทางการเงิน สภาพคล่อง ให้สามารถดำเนินงานและรักษาส่วนแบ่ง ทางการตลาดได้อย่างยั่งยืน ข้อสุดท้าย ส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกร หลายกลุ่ม ต่างประเภท มีการผลิตและการค้าที่เชื่อมโยงและสนับสนุนซึ่งกันและกันภายใน เครือข่าย
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ อีกเรื่องหนึ่งที่หลาย ๆ ท่านได้อภิปรายไปก็คือเรื่องของ การเข้าถึง แล้วก็การอนุมัติเงินกู้ต่าง ๆ ให้กับเกษตรกร ถ้าเรามองลงไปในโครงสร้าง ของคณะนี้ เราจะเห็นได้เลยว่ามีแต่ตัวแทนของภาครัฐทั้งหมด ๒๓ คน เป็นตัวแทน จากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง เลขาธิการคณะโน้นคณะนี้ต่าง ๆ เป็นตัวแทนของภาครัฐ ๑๓ คน แล้วก็เป็นผู้ทรงคุณวุฒิอีก ๑๐ คนซึ่งก็มาจากการคัดสรร จากภาครัฐอยู่ดี ผมขอเสนอให้เพิ่มและเปลี่ยนเอาภาคเกษตรกรผู้ปฏิบัติงานจริง ผู้อยู่ใน สายงานจริง และผู้รู้ปัญหาจริง เข้าไปเป็นโครงสร้างให้กับกองทุนนี้ด้วย เพื่ออะไรครับ เพื่อเราจะได้รู้ปัญหาจริง ๆ และจะได้แก้ปัญหาให้ถูกจุด อย่างไรก็กราบขอบพระคุณ หน่วยงานที่เข้ามาชี้แจงวันนี้ ถ้ามีโอกาสก็ฝากไปถึงกองทุนช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร หน่วยงานนี้ด้วยครับ กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ ต่อไปท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู เชิญครับ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู ปัตตานี ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผมหลายประเด็นนะครับ แต่เพื่อนสมาชิกได้พูดไปแล้ว ผมพยายามที่จะพูดในลักษณะที่ ยังไม่มีการพูดถึงหรือว่ามีการพูดถึงน้อย กองทุนอันนี้ถูกตั้งขึ้นมาถ้านับถึงปัจจุบันก็ ๔๙ ปี เกือบจะ ๕๐ ปีแล้ว เราจะมองว่าเป็นการล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงก็คงไม่ใช่ แต่หลายอย่าง ก็เหมือนกับหน่วยงานภาครัฐโดยทั่วไป บางทีขาดการประเมินผลงานที่ได้ทำไป ก็เลยทำให้ อาจจะมีพี่น้อง อย่างเช่นหลายคนที่ได้พูดไปว่าการประชาสัมพันธ์ดูเหมือนว่าจะอ่อนมาก ก็ทำให้หลายคนไม่รู้จักกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรอันนี้ขึ้นมา ยิ่งถ้าเราเปรียบเทียบกับ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางแล้ว ผมเชื่อเหลือเกินว่าเขาจะรู้จักกองทุนสงเคราะห์ การทำสวนยางมากกว่ากับกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรแน่นอน ทั้ง ๆ ชาวสวนก็เป็น เกษตรกร อันนี้เราเห็นได้ชัดว่าการประชาสัมพันธ์นั้นอ่อนไป เพราะฉะนั้นข้อสรุปตรงนี้จากที่ ได้ลงพื้นที่ไปคุยกับพี่น้องประชาชน เขาก็บอกว่าขอให้ทางกองทุนได้สร้างความเข้มแข็ง ทางด้านการประชาสัมพันธ์ให้แก่สังคมมากกว่านี้ นอกจากนั้นหลายท่านที่ได้พูดไป แต่ว่ามีการเน้นน้อยไปก็คือเรื่องของบุคลากร ทั้งในด้านจำนวนและปริมาณนะครับ แล้วก็ ทางด้านการพัฒนาคุณภาพ ทรัพยากรเหล่านี้ก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เราจะ ละเลยไม่ได้ ถ้าหากว่าเรามองวิสัยทัศน์ของคนเมื่อปี ๒๕๑๗ ที่ให้ความสำคัญที่มองเห็นว่า เกษตรกรนั้นมีความสำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทยแล้วนะครับ เราก็ควรที่จะทำต่อในยุคเรา ให้ดีที่สุด ทุกท่านที่ได้เสนอแนะ ให้ความเห็นต่อคณะกรรมการที่มาชี้แจงในวันนี้ ผมเชื่อว่า ล้วนแต่มีความปรารถนาดีที่จะให้กองทุนมีฟังก์ชันที่ชัดเจน แล้วก็มีประโยชน์ต่อเกษตรกร เราจะเห็นว่าถ้าหากเราดูนะครับ นับตั้งแต่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ เกือบ ๕๐ ปี ๔๙ ปีแล้ว เราก็เห็นว่า เหมือนกับพี่น้องได้พูดไปนะครับ ๑. ก็คือเข้าถึงแหล่งทุนนั้นยาก นอกจากนั้น เกษตรกรก็ยังมีหนี้สินล้นพ้นตัว จากชาวนาที่มีที่ดินทำกินของตนเอง แต่ขณะนี้ก็กลายเป็น ผู้เช่าที่ดินของตนเองเพราะที่ดินนั้นได้ถูกจำนองไปแล้ว อย่างนี้เป็นต้น เหล่านี้คือปัญหาที่ เราจะต้องมีการแก้ไขนะครับ ผมอยากจะย้อนกลับไปตรงที่กิจกรรมข้อ ๑ ของกองทุน ของ พ.ร.บ. ก็คือการส่งเสริม การตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานคุณภาพของผลิตผล เกษตรกรรมขั้นต้น หรือผลิตภัณฑ์อาหาร นี่คือเป็นบทบาทหนึ่งของกองทุนที่จะสนับสนุน แต่ก็เกิดสิ่งที่ตามมาในยุคนี้ก็คือการที่มีบริษัท มีนายทุน มีกลุ่มคน มีเอกชนมาจดทะเบียน รับรองคุณภาพมาตรฐานเกษตรด้านต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรที่แย่อยู่แล้วก็จะต้องเสียค่า ตรงนี้อีก อันนี้ก็เรียนฝากให้กับคณะกรรมการและผู้มาชี้แจงด้วยว่าต้องดูแลในเรื่อง เหล่านี้ด้วย เพราะมีคณะกรรมการที่ดูแลอยู่แล้ว ฟังก์ชันอันนี้ก็ดีนะครับ แต่ถ้าหากว่า มีผู้ที่มาหาประโยชน์จากเกษตรกรอีกทอดหนึ่งก็น่าสงสารเกษตรกรที่มีภาระลำบากอยู่แล้ว นอกจากนั้นที่อยากจะคุยกันตรงนี้อีกอันหนึ่งก็คือในหน้า ๑๕ ในหมายเหตุที่ ๑๓ ภาระผูกพัน มีเงินจ่ายขาด การเงินจัดสรร เงินจ่ายขาดในข้อ ๑ ก็คือกรมส่งเสริมสหกรณ์ ถึงแม้ว่าจะยัง ไม่เบิกนะครับ โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าถึงแหล่งทุน ในการผลิตและการตลาด จำนวน ๕.๔๗ ล้านบาท อันนี้ถ้าเราดูจำนวนมันก็ยังไม่มาก มันเป็นจำนวนเล็กน้อย แล้วก็ผ่านกรมส่งเสริมสหกรณ์ บังเอิญว่าผมอยู่ในแวดวงของสหกรณ์ มีกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ก็ไปคุยกับสหกรณ์ว่าจะช่วยเหลือหนี้สินของเกษตรกร ที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ต่าง ๆ พอพูดถึงสหกรณ์นะครับ ในทางใต้บ้านผมโดยเฉพาะ ในจังหวัดชายแดนใต้ มันเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย เราก็พยายามที่จะชี้ไปทางกรมส่งเสริม สหกรณ์ว่าคุณจะต้องมีเปิดช่องไว้ในลักษณะของสถาบันการเงินหรือสหกรณ์ที่ลักษณะของ ตั้งอยู่บนฐานคุณธรรมที่ไม่มีดอกเบี้ย ซึ่งทางพรรคประชาชาติก็เสนอแก้ไข พ.ร.บ. อันนี้ เปิดช่องให้ทุกคนไปได้ เราจึงจะเห็นว่าเมื่อมีเช่นนี้แล้วก็มีปัญหา การที่พี่น้องเหล่านี้จะเข้าถึง จะแก้ไขปัญหาหนี้สินของตัวเองก็ถูกละเลยไป แถมสหกรณ์บางสหกรณ์ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ ไม่ได้เป็นสหกรณ์การเกษตร เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อะไรต่าง ๆ ซึ่งไม่อาจที่จะ ได้รับความช่วยเหลืออันนี้ได้ ก็ได้รับการแนะนำให้เปลี่ยนเป็นสหกรณ์บริการ แต่ว่าสิ่งที่ มันเป็นรายละเอียดที่ตรงนั้นก็ยังอยู่อีกมากมาย เพราะฉะนั้นที่ตรงนี้ก็จะต้องดูแล อีกอันหนึ่ง ที่ตรงนี้เงินจัดสรรที่เกี่ยวข้องกับปัตตานี ก็คือการให้เงินจัดสรรแก่พี่น้องชาวนาเกลือ ที่ตำบลบานา ประมาณ ๔.๗ ล้านบาท ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ทราบว่าผลเป็นอย่างไร ทางหนึ่งผมจะได้ ติดตามด้วย ขอขอบคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านอดิศร เพียงเกษ เชิญครับ
นายอดิศร เพียงเกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายอดิศร เพียงเกษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ตอนที่ พวกเราไปหาเสียงกันจำได้ไหมครับ มีหลายคนหลายพรรคทักทายประชาชนที่มาฟังปราศรัย เรือนหมื่นเรือนแสน ผมขออนุญาตพูดเป็นภาษาอีสาน สวัสดีครับ ผู้เป็นหนี้ ธ.ก.ส. ทุกผู้ทุกคน คือสวัสดีคนที่มาฟังที่เป็นหนี้ ธ.ก.ส. ทุก ๆ คน ประชาชนเฮเลยครับ เพราะทุกคนก็เป็นหนี้ กันทั้งนั้น ภาษิตอีสานมีต่อมาว่า ควมคึดมีบ่แพ้ ทุนสิค้าบ่มี ความคิดของเกษตรกรเยอะแยะ จะทำโน่นทำนี่ แต่หาทุนไม่มีที่จะทำตามความคิด ไม่ทราบว่าทางภาคเหนือของท่านประธาน มีภาษิตคำคมเหมือนอีสานบ้านผมไหม สรุปได้ง่าย ๆ ว่าเกษตรกรมีความคิดแต่อยากจะเข้าหา แหล่งทุน กองทุนนี้มีมานานผมก็ทราบ ผู้ตรวจราชการตอนผมอยู่ตำแหน่งก็ยังไม่ใหญ่โตเท่าไร ก็ดีครับ ให้กำลังใจกัน ทุกคนอยากมีเงินทุน ผมขอถามท่านผู้มาชี้แจงว่าระหว่าง ธ.ก.ส. กับระหว่างกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรใครใช้บริการมากกว่ากัน และมีส่วนเกี่ยวเนื่องกัน หรือเปล่า ผลสัมฤทธิ์ที่เกษตรกรหรือกองทุนของเกษตรกรต่าง ๆ ใช้บริการ อันไหนจะบรรลุ มากกว่ากัน ผมอ่านในรายงานนะครับ ในหน้า ๑ ผมพยายามอ่านตีความ ตอนแรกก็จะ ไม่ขึ้นมาพูดหรอก แต่อ่านเจอว่าข้อมูลอื่น ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อมูลอื่น ในหน้า ๑ ข้อมูลอื่นประกอบด้วยข้อมูลซึ่งรวมอยู่ในรายงานประจำปี แต่ไม่รวมถึงงบการเงิน และรายงานของผู้สอบบัญชีที่อยู่ในรายงานประจำปีนั้น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน คาดว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจะได้รับรายงานประจำปีภายหลังวันที่รายงาน ของผู้สอบบัญชีนี้ ความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินต่อรายงานการเงิน ไม่ครอบคลุมถึงข้อมูลอื่น และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินไม่ได้ให้ความเชื่อมั่นต่อ ข้อมูลอื่น ถัดมาอีก ๓-๔ บรรทัด ข้อมูลอื่นมันคืออะไรครับ จนป่านนี้สำนักงานการตรวจเงิน แผ่นดินได้ประสานงานข้อมูลอื่น มันเป็นข้อมูลอะไรจากท่านหรือยัง ผมอ่านแล้วไม่ค่อย เข้าใจครับ เพราะผมจบกฎหมาย อ่านบัญชีซ้ายขวาก็ไม่ค่อยรู้เรื่องหรอก แต่ว่าข้อมูลอื่น จับได้ว่ามันมีเงินซ่อนเร้นอยู่หรือเปล่า เงินพวกนี้มันข้อมูลอื่นไปทำอะไร อย่างไร ช่วยกรุณาตอบ ด้วยนะครับ แต่ถึงอย่างไรผมก็ให้กำลังใจให้เกษตรกรได้เข้าสู่แหล่งเงินทุน เวลาผลผลิต ไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ท่านก็อย่าเพิ่งไปฟ้องไปร้องเขานะครับ ให้โอกาสในการทำมาหากิน เอากระเป๋าซ้ายไปใส่กระเป๋าขวา ให้กองทุนมีความมั่นคง ให้เกษตรกรมีฐานะที่ดีอยู่ในสังคม ขอกราบขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านอดิศร เพียงเกษ ครับ ต่อไปท่านนพพล เหลืองทองนารา ครับ
นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ และผู้มาให้คำชี้แจงกับสภาในวันนี้ ผม นพพล เหลืองทองนารา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรคเพื่อไทย คนพรหมพิราม ท่านครับ ในส่วนของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ก็เหมือนอย่างที่ท่าน ส.ส. ฐิติมาท่านได้พูด อย่าว่าแต่เกษตรกรเลยครับ ขนาดผมเองผมก็ยังไม่รู้จักเลย จริง ๆ นะครับ ผมเพิ่งจะมาได้รู้จักหน่วยงานของท่านเมื่อมาเป็นผู้แทนราษฎรรอบหลังนี่เอง ผมเองก็สงสัย เหมือนกัน จริง ๆ แล้วในเรื่องของการประชาสัมพันธ์หน่วยงานของท่านถือว่ามีความสำคัญ มากนะครับ ผมแปลกใจมากเหลือเกินว่าท่านทำงานกันอย่างไร ทำไมคนส่วนใหญ่ได้มี การสำรวจกันมาแล้วถึงไม่ได้รู้จักหน่วยงานท่าน จริง ๆ หน่วยงานท่านถ้าดูตามชื่อแล้ว ผมเองยอมรับว่าหน่วยงานท่านน่าจะมีประโยชน์ต่อกลุ่มเกษตรกรมาก แต่ในเมื่อเขาไม่รู้จัก แล้วจะให้เขาไปติดต่ออย่างไร แล้วยิ่งมาดูในรายงานงบการเงินของท่าน ผมขอถามหน่อยเถอะ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ท่านได้ชี้แจงไว้ว่ามีงบประชาสัมพันธ์ ๑,๔๐๐,๐๐๐ กว่าบาท ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท ท่านเอาไปทำอะไรบ้างในเงินจำนวนนี้ ถามว่าเปรียบเทียบกับฐานะ ของท่าน มีเงินอยู่หลายพันล้านบาท ๖,๐๐๐-๗,๐๐๐ ล้านบาท กับงบประชาสัมพันธ์แค่ ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท มันจิ๊บจ๊อย แต่ว่า ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาทนี่ผมมีความรู้สึกว่านั่นคือ เป็นของท่านเมื่อปี ๒๕๖๔ แล้วผมก็คิดว่าในเมื่อถ้าท่านตั้งอย่างนี้แล้ว ในปี ๒๕๖๕ ก็คงจะมี งบประชาสัมพันธ์นี้ด้วย แต่ว่านี่มันปี ๒๕๖๖ พอมีการสอบถามไปแล้วไม่มีคนรู้จัก หน่วยงานท่าน แล้วลำดับต่อมาที่ผมหาไม่เจอ ผมอาจจะไม่ใช่นักบัญชีก็ได้ ผมก็เลยสงสัย ตรงที่ท่านบอกว่ารายได้ที่กระทรวงการคลังจัดให้ท่าน ๗๐๐ กว่าล้านบาท แต่ว่าเป็นงบ ในการลงทุนอยู่ ๒ ล้านกว่าบาท ที่เหลืออีก ๗๐๐ กว่าล้านบาท เป็นงบประจำ คำว่า งบประจำ อย่างที่ทราบ ๆ กัน หรือแม้แต่ความเข้าใจผม ก็คือเป็นพวกเงินเดือน พวกอะไร เหล่านี้ เป็นค่าใช้จ่ายในสำนักงาน ถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริงผมว่าน่าจะมีหน่วยงานลักษณะ อย่างนี้ที่มารับผิดชอบหรือมาส่งเสริมเกษตรกรอยู่เยอะแยะ ควรจะต้องยุติได้แล้วกระมังครับ ถ้าได้เงินจากกระทรวงการคลังมา ๗๐๐ กว่าล้านบาท แต่เป็นงบลงทุนอยู่ ๒ ล้านกว่าบาท แล้วอีก ๗๐๐ กว่าล้านบาท ท่านเขียนไว้ว่าเป็นงบประจำ อย่างไรช่วยสร้างความกระจ่าง ให้กับผมด้วยนะครับ เพราะผมก็สงสัยจริง ๆ ท่านครับ แล้วพูดถึงโดยเฉพาะในส่วน การดำเนินงานที่ท่านได้ดำเนินการงานมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ ตาม พ.ร.บ. ครั้งแรก แล้วก็มี การปรับปรุงในปี ๒๕๕๔ ท่านครับ สิ่งที่ท่านได้ให้การสนับสนุนไปตามโครงการต่าง ๆ ถือว่า มีประโยชน์มากนะครับ แต่ทีนี้ปัญหาก็คือว่าหน่วยงานราชการที่ได้รับงบประมาณจากท่านไป ที่มาขอโครงการจากท่านไป ส่วนใหญ่ระยะแรก ๆ จะเป็นการไปซื้อปุ๋ย มีหลายหน่วยงาน มากเลยที่วันนี้ท่านยังตั้งค้างรับอยู่เลย ไม่ว่าจะเป็นค้างรับเรื่องเบี้ยปรับ เรื่องอะไรก็สุดแล้วแต่ เยอะแยะไปหมด ตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ ก็มี ย้อนหลังไปกว่านั้นก็มี แล้วท่านก็ยังอนุมัติโครงการนี้ ทุก ๆ ปี ท่านครับ ท่านไม่มีระเบียบ ไม่มีมาตรการอะไรบ้างหรือในการที่จะมาควบคุมในส่วน ตรงนี้นะครับ แล้วที่สำคัญท่านครับ อย่างนี้หน่วยงานกลางที่มาเอาเงินจากท่านไปแล้วไปให้ เกษตรกรกู้อีกทีหนึ่งก็สบายสิ เสือนอนกิน ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ก็ตั้งบัญชีค้างไว้อย่างนี้ เขาก็ถือว่าไม่ใช่เงินเขา ในฐานะที่ท่านเป็นเจ้าของเงินท่านไม่เดือดร้อนบ้างหรือครับ หรือคิดว่านี่มันเป็นเงินภาษีของราษฎร ไม่ใช่เงินในกระเป๋าท่าน ท่านเลยเฉย ๆ เพราะฉะนั้น เงินเดือนเงินดาวทั้งหลาย งบบุคลากรเมื่อปี ๒๕๖๔ ตั้ง ๖ ล้านบาท ๗ ล้านบาท ถ้าอย่างนั้น ผมเสียดายมาก จริง ๆ ในเรื่องของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรผมไม่ค่อยอยากเห็นกำไร หรอกครับ เพราะกำไรนั่นหมายความว่าในเมื่อท่านมีกำไร คนที่จะต้องเสียก็คือเกษตรกร ผมไม่อยากเห็นแล้วครับ ขาดทุนก็ได้ไม่มีปัญหา แต่มันต้องขาดทุนด้วยสมเหตุสมผล แต่อันนี้ ท่านครับ ผมอยากทราบว่าท่านจะมีมาตรการอะไรในการที่จะให้ได้เงินที่ท่านปล่อยออกไป ให้หน่วยราชการ และหน่วยราชการไปปล่อยต่ออีกทีหนึ่ง ท่านจะมีมาตรการอะไร อย่างไรไหม ที่จะมีการเร่งรัด หรือท่านจะปล่อยไปอีก ๑๐ ปี ก็แล้วแต่บุญแต่กรรม แต่ยถาว่าจะได้ ไม่ได้ อย่างนั้นมันไม่ถูกนะครับ ในฐานะที่ท่านเป็นคนรับผิดชอบแล้วก็ได้รับ ผลประโยชน์ จะค่าตอบแทนในด้านไหนก็ตามจากกองทุนนี้ ซึ่งมันก็เป็นเงินของภาษีอากร ผมเองขอฝากท่านด้วย ๑. งบประจำ ๗๐๐ กว่าล้านบาท ประจำอย่างไรบ้าง ๒. ในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ ท่านครับ เอาใหม่เถอะครับ ประชาสัมพันธ์ให้ได้ทั่วถึง ให้คนได้รู้จักว่าตัวกองทุนของท่าน มีตัวตน และ ๓. ในเรื่องของมาตรการต่าง ๆ ที่ท่านได้ดำเนินงานไป แล้วก็ยังเป็นการตั้งบัญชี ค้างรับอยู่เยอะมาก ในรายงานฉบับนี้ทั้งเล่มแทบจะ ๑ ใน ๓ จะเป็นของที่ติดค้างอยู่ แล้วผม ก็ไม่รู้ว่าท่านจะทำอย่างไร ผมอยากจะทราบตรงนี้นะครับ กราบขอบพระคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เชิญครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ โดยหลักการ เหตุผล วัตถุประสงค์ของกองทุนนั้นถือว่าเป็นหลักการที่ดี ยิ่งถ้าเราไปดูความสำคัญของปัญหา ๔๐ กว่าปีที่ผ่านไปนั้นเราได้เห็นว่าถ้าทำได้ตาม วัตถุประสงค์ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรนั้นจะเป็นตัวช่วยที่จะนำพาพี่น้องเกษตรกร ออกจากความยากจน แต่ว่าเราไม่สามารถจะดูเพียงแค่หลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ เท่านั้น เพราะถ้าดูแค่นั้นเหมือนกับการที่เราไปอ่านหนังสือชี้ชวน แล้วเป็นหนังสือชี้ชวนที่ดี แต่ทำงานจริงผลการปฏิบัติการนั้นอาจจะไม่ตรงปกก็เป็นได้ ท่านประธานที่เคารพครับ ผมขออนุญาตตั้งข้อสังเกตในชื่อกองทุน กองทุนชื่อว่า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ถ้าเราไป ตีความหรือแปลความหมายของคำว่าสงเคราะห์ น่าจะหมายถึงการให้โดยไม่มีเงื่อนไข ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน หรือเป็นการให้ที่ผู้รับแทบจะไม่มีสิทธิได้รับแต่ก็ได้รับด้วย แต่ในความเป็นจริงกองทุนดังกล่าวนั้นไม่ได้ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรแบบชนิดที่เรียกว่า ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย กองทุนมีเงื่อนไขครับ แล้วก็มีอุปสรรคพอสมควร ที่จะทำให้ เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงกองทุนนี้ได้ ดังนั้นผมขออนุญาตตั้งข้อสังเกตว่าถ้าเราตั้งกองทุน สงเคราะห์พี่น้องเกษตรกรขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือจริงนั้น เราต้องไปรู้จักพี่น้องเกษตรกรก่อนว่า ถ้าเขาไม่เข้าร่วมโครงการนี้ กองทุนนี้ ปกติเขาจะลงทุน จะเลี้ยงวัว เลี้ยงหมู จะปลูกผัก ปลูกพืช เขากู้อะไรครับ ก็พบว่าจำนวนมากของพี่น้องเกษตรกรนั้นกู้ ธ.ก.ส. ถ้า ธ.ก.ส. เต็มวงเงินแล้ว ก็ไปรอลูก Free Kick คือมาตรการเงินช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาจากภาครัฐ ซึ่งมีเป็นฤดูกาล ดังนั้นข้อจำกัดของพี่น้องเกษตรกรที่เข้าถึงกองทุนนี้เป็นไปด้วย ความยากลำบาก พอมีกองทุนนี้ขึ้นมาพี่น้องเกษตรกรก็มีความสุขแล้วก็คาดหวังว่านี่คือ แสงสว่างจากปลายอุโมงค์ที่สว่างวาบขึ้น แท้จริงแล้วมันอาจจะเป็นเพียงแค่ไฟจากหน้ารถ ที่วิ่งสวนทางมา ไม่ได้เป็นแสงสว่างที่เป็นความมั่นคงยั่งยืนแต่อย่างใด ดังนั้นผมมีข้อสังเกต ที่จะแนบไปพร้อมความห่วงใย สัก ๕ ประการครับท่านประธาน
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ ชื่อกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร แต่ทำจริงเหมือนจะสงเคราะห์ เฉพาะส่วนราชการ หรือองค์กรภาคเกษตรกรรมขนาดใหญ่ เช่น อ.ต.ก. มีบางองค์กร ผมไม่ต้องลงไปลึกถึงขั้นระบุชื่อองค์กรนะครับ เป็นองค์กรภาคการเกษตรขนาดใหญ่ เข้าถึง การกู้ กู้เงินไป ๓๐๐-๔๐๐ ล้านบาท แล้วกู้นานมากก็ไม่สามารถใช้คืนได้ จะใช้คำว่า Haircut จะใช้คำว่าปรับโครงสร้างหนี้ก็ว่ากันไป ตั้งคำถามว่าถ้าเงิน ๓๐๐-๔๐๐ ล้านบาทนั้น ไม่กระจุกตัวอยู่เฉพาะองค์กรภาคการเกษตรขนาดใหญ่ หรือส่วนราชการขนาดใหญ่ มันกระจายไปยังพี่น้องเกษตรกร พี่น้องเกษตรกรจะเข้าถึงแหล่งทุน แล้วป่านนี้พี่น้อง เกษตรกรของไทยจะสามารถลืมตาอ้าปากได้มากขนาดไหน อย่างไร ดังนั้นตั้งข้อสังเกตว่า แทนที่ท่านจะกระจุกเงิน ๓๐๐-๔๐๐ ล้านบาท ไปไว้กับองค์กรทางการเกษตรขนาดใหญ่ ท่านควรจะกระจายไปยังเกษตรกรรายย่อย หรือองค์กรทางการเกษตรขนาดเล็กลงไป
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ เกษตรกรที่ไปยื่นคำขอกู้ กว่าจะรู้ว่าผ่านหรือไม่ผ่านใช้เวลานาน มากเลยครับ บางคนยื่นไปแล้วก็เงียบไปเสียเฉย ๆ ถ้าร้องเป็นเพลงก็ต้องบอกว่ากลับตัว ก็ไม่ได้ ให้ไปต่อไปก็ไปไม่ถึง ไม่มีสัญญาณตอบรับจากเลขหมายที่ท่านเรียก เป็นไปได้หรือไม่ ที่ทางกองทุนจะกำหนด Timeline ว่าถ้ายื่นเรื่องเข้ามาภายใน ๒ สัปดาห์หรือ ๑ เดือน จะต้องมีคำตอบกลับไปยังเกษตรกรที่เป็นเจ้าของเรื่องที่ขอยื่นกู้เข้าไป
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๓ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรนั้นท่านต้อง Make it Easy ครับ ทำเรื่องอยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย แล้วต้องผ่อนปรนหลักเกณฑ์บางอย่าง คือถ้าท่านไป ทำตัวเหมือนกับเงื่อนไขของธนาคารพาณิชย์ เกษตรกรไทยก็ไม่สามารถเข้าถึงท่านได้เลยครับ ดังนั้นแทนที่จะทำให้เงื่อนไขมันยากขึ้น ท่านควรจะผ่อนปรนหลักเกณฑ์ กติกา เพื่อให้พี่น้อง เกษตรกรเข้าถึงได้โดยง่าย
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๔ ความยุ่งยากมาพร้อมกับความล่าช้า เวลาไปยื่นกู้นะครับ จะต้องไปเขียนแผนธุรกิจ เป็นไปได้ไหมครับที่กองทุนจะมีเจ้าหน้าที่ถ้าพี่น้องเกษตรกร ทำแบบ Step by Step จับมือทำครับ แผนธุรกิจที่ว่านี้บางทีเขาเขียนไม่เป็นครับ ถ้าเจ้าหน้าที่จะได้ลงพื้นที่ไปดูสิครับว่าเขาเลี้ยงหมูอย่างไร โครงการโคล้านตัวจะเข้าถึง จะวัวเนื้อ วัวนมทำอย่างไร และความล่าช้าที่สูญเสียไป ๓-๔ ปี ถ้าเขาได้รับการอนุมัติ ได้รับเงินกองทุนมาป่านนี้วัวอาจจะล้นคอก หมูอาจจะล้นฟาร์มไปแล้ว นี่คือความเสียโอกาส ที่พี่น้องเกษตรกรเข้าไม่ถึงกองทุนนี้
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๕ ในภาคของการลงทุนครับท่านประธาน เราเคยได้ยินคำว่า กองทุนรวม แต่สำหรับมาตรการในการช่วยเหลือ ในการส่งเสริมให้พี่น้องเกษตรกรเข้าถึง แหล่งทุนนั้น คงไม่ใช้คำว่า กองทุนรวม ผมอยากใช้คำว่า รวมกองทุน ทำไมต้องรวมกองทุน วันนี้แต่ละกองทุนนั้นมีความซ้ำซ้อน แต่ละกองทุนมีการบริหารจัดการแบบเป็นเอกเทศ บางกองทุนนั้นมีเงินงบประมาณ มีเงินในกองทุนไปซุกซ่อนอยู่ในหมวดต่าง ๆ ที่มีคนหา ไม่เจอ แล้วที่สุดก็ใช้เงินไม่หมดครับ พี่น้องเกษตรกรเข้าไม่ถึง ดังนั้นถ้าเราสามารถที่จะจัด โครงสร้างของกองทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลดความซ้ำซ้อน และเอามาบูรณาการร่วมกันในแต่ละกองทุน เป็นบริการแบบ One Stop Service ให้พี่น้อง เกษตรกรเข้าถึงโดยง่าย จะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรมากกว่า ผมต้องขอขอบคุณ ทางเจ้าหน้าที่กองทุนที่ให้ความใส่ใจ แล้วก็ดูแลพี่น้องเกษตรกรไทย แต่เราไม่สามารถดูได้ แค่หนังสือชี้ชวน ต้องทำให้ตรงปกด้วยครับ กราบขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านอนุสรณ์นะครับ ท่านผู้ชี้แจง เชิญครับ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพทุกท่าน ก่อนอื่นต้องกราบขอบพระคุณท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านที่ได้กรุณาให้ข้อเสนอแนะ ข้อแนะนำในการบริหารกองทุน ในส่วนหนึ่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เองก็ขอน้อมรับ ในข้อเสนอแนะทุก ๆ ข้อที่ท่านได้กรุณาให้ข้อสังเกต ให้ข้อเสนอแนะ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของกองทุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างมาก ในเรื่องการได้เห็นภาพ มีการสะท้อนถึงภาพในการดำเนินงานของเราทั้งหมด ก็ขออนุญาต กราบเรียนนะครับ ผมจดทุกประเด็นไว้ มีท่านสมาชิกได้กรุณาทั้งหมดประมาณ ๒๘ ท่าน ที่ได้กรุณาให้ข้อเสนอแนะ ข้อสังเกต หรือมีคำถาม ผมก็ขออนุญาต อาจจะไม่ได้ตอบ ทุกคำถาม เพราะเนื่องจากว่าหลัก ๆ แล้วที่ผมพยายาม Scope มาในหลาย ๆ เรื่อง ผมขอ อนุญาตกราบเรียนก่อนที่ผมจะตอบคำถามนะครับ การรายงานที่ผ่านมาเป็นของปี ๒๕๖๔ แล้วก็ขออนุญาตเรียนท่านว่าในช่วงดังกล่าวก่อนหน้านี้ อาจจะเรื่องการประชาสัมพันธ์ หรือเรื่องอะไรต่าง ๆ อาจจะยังไม่ทั่วถึงหรือยังไม่แพร่หลาย อันนี้ต้องขอรับด้วยใจจริง ๆ ว่า อาจจะยังไม่ทั่วถึง ก็ขอรับไว้ แล้วจริง ๆ ตอนนี้ทางกระทรวงเอง โดยท่านปลัดกระทรวง ท่านรัฐมนตรีเองก็พยายาม ให้ประชาสัมพันธ์เรื่องกองทุนนี้โดยผ่านทั้งสื่อต่าง ๆ รวมทั้งส่วนราชการในสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประจำจังหวัดต่าง ๆ หลาย ๆ จังหวัดได้กรุณามาชี้แจง ทำความเข้าใจในเรื่องของกองทุนนี้เพื่อจะไปเผยแพร่ให้กับพี่น้องเกษตรกร ผมขออนุญาต กราบเรียนว่ากองทุนนี้เดิมเราตั้งมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ ในปี ๒๕๑๗ มันมีข้อจำกัดก็คือเกษตรกร ที่จะขอกู้เงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรต้องผ่านส่วนราชการ ต้องผ่านส่วนราชการ มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือกรมนอกอย่างเช่น กระทรวงมหาดไทยต่าง ๆ ต้องทำโครงการผ่านมาก่อนนะครับ แล้วทางส่วนราชการก็มา ขอกู้เงินจากกองทุน เมื่อได้รับอนุมัติแล้วทางส่วนราชการก็เอาไปปล่อยให้กับพี่น้องเกษตรกร อีกทีหนึ่งไปดูแล แต่มาเมื่อปี ๒๕๕๔ ได้มีการปรับพระราชบัญญัติแบบใหม่ ให้องค์กรของ เกษตรกรสามารถเข้ามากู้เงินกับกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรได้โดยตรง ก็จะมีวิสาหกิจชุมชน มีสหกรณ์ต่าง ๆ ก็เข้ามากู้ ผมขออนุญาตเรียนสถานะของกองทุน ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ให้ท่านกรุณาทราบนิดหนึ่ง ปัจจุบัน ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ มีหน่วยราชการ ที่ขอกู้เงินทั้งหมด ๙ หน่วยงาน ๓๕ โครงการ เป็นเงิน ๓,๒๕๑ ล้านบาท ขออนุญาต กราบเรียนว่าหน่วยราชการไม่ได้เพิ่มแล้วครับ เพราะกองทุนมีข้อกำหนดว่าถ้าหน่วยราชการไหน ที่กู้ยืมไปแล้วยังมีหนี้ค้างชำระ หรือหนี้ยังไม่เป็นปัจจุบัน ทางกองทุนก็จะไม่ให้ ทางหน่วยราชการได้กู้แล้ว แต่ว่าจะมีองค์กรเกษตรกรเราอนุมัติไปแล้ว ๗๐ องค์กร ๗๐ โครงการ เม็ดเงินอาจจะไม่มาก ๓๐๐ กว่าล้านบาท เนื่องจากว่าองค์กรเกษตรกร หรือวิสาหกิจชุมชนเองบางทีกู้แค่อย่างมากก็ ๓ ล้านบาท ไม่เกิน ๕ ล้านบาท และขออนุญาต เรียนว่าปัจจุบันนี้มีโครงการที่เสนอมาอยู่ในมือของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน ๒๕๕ โครงการ ตอนนี้เงินที่อยู่ในมือที่จะพิจารณาให้พี่น้องเกษตรกร ๑,๑๘๑ ล้านบาท อยู่ในมือ ขออนุญาตกราบเรียนว่ามันก็จะมีปัญหาอย่างที่ท่านว่า ทำอย่างไรจะได้ให้ ความรวดเร็ว ทางผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เองก็จะมีนโยบายในการกระจาย อำนาจไปสู่จังหวัด แทนที่จะมาอนุมัติในกรุงเทพฯ อย่างเดียว ก็จะเป็นให้ทางจังหวัด ได้พิจารณาอนุมัตินะครับ ได้อนุมัติแล้วก็มาเบิกจ่ายที่กรุงเทพฯ อันนี้จะเป็นในเรื่องของ ความรวดเร็ว ได้มีการซักซ้อม มีการดำเนินการ ในส่วนตรงนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว รวมทั้ง เข้มข้นในเรื่องของการประชาสัมพันธ์ให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้นครับ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
อีกส่วนหนึ่ง ผมขออนุญาตตอบในเรื่องของประชาสัมพันธ์ ก็ขออนุญาต จะเรียนตอบอย่างนี้ครับว่าเราก็พยายามเร่งให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างเข้มข้น อย่างที่ ผมเรียนแล้ว ทั้งสื่อ ทั้งใช้หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เอง หน่วยงานเครือข่าย ทั้งจังหวัดอะไรต่าง ๆ ที่อยู่ในจังหวัดได้มีการประชาสัมพันธ์ด้วย อันนี้ผมขออนุญาตเรียน นิดหนึ่งนะครับ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
อันที่ ๒ อย่างที่หลาย ๆ ท่านได้กรุณาให้ข้อสังเกตเรื่องการเขียนโครงการ พี่น้องเกษตรกรอาจจะเขียนไม่ได้ แต่เรียนว่าตอนนี้เราได้ให้ทางหน่วยงานสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เอง ในภูมิภาคที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ถ้าขอกู้เรื่องปศุสัตว์ ก็จะให้ทางท่านปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์อำเภอได้กรุณาเข้าไปในเรื่องของการดูแล ในการแนะนำ เป็นพี่เลี้ยงในการเขียนโครงการให้กับพี่น้องเกษตรกรด้วย อันนี้เราได้มี การสั่งการ ได้มีการให้ไปเรียบร้อยแล้วนะครับ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
อันต่อไป เรื่องการหารายได้ ก็ต้องขอบพระคุณครับ ขอบพระคุณท่านฐิติมา ขออนุญาตเอ่ยนามท่านครับ ในเรื่องของกองทุนเอง มันมีส่วนหนึ่งที่จะสามารถหารายได้ ก็คือในมาตรา ๙ ได้กำหนดไว้ในเรื่องคณะรัฐมนตรี โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจ ประกาศชนิดหรือประเภทของผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม ขั้นตอนผลิตภัณฑ์ อาหารที่ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือการธรรมเนียมนำเข้า ก็จะมีกรณีต่าง ๆ ดังนี้ เรียนว่าตอนนี้เองเราก็ได้มีการให้ทางทีมงานหรือผู้เชี่ยวชาญได้มีการศึกษา ใน ๒ ประเด็นนี้ด้วยว่าจะหารายได้จากค่าธรรมเนียมการส่งออก การนำเข้าได้อย่างไร ก็ขออนุญาตกราบเรียนว่าตอนที่ได้มีแก้ไขพระราชบัญญัติตัวนี้ ได้มีการพูดเรื่องนี้อย่างเป็น วงกว้างว่าจะไปซ้ำซ้อนกับกระทรวงพาณิชย์ไหม อะไรต่าง ๆ ตอนนั้นเราก็ได้มีการถกกัน แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ก็จะขอรับที่ท่านกรุณาให้ข้อคิดเห็นไว้นะครับ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ผมขออนุญาตประเด็นต่อไป ประเด็นในวงเงินที่บอกว่าสำนักงบประมาณ ให้กองทุนแต่ละปี ๗๐๐ ล้านบาท ขออนุญาตกราบเรียนอย่างนี้ครับ ๗๐๐ ล้านบาท ไม่ใช่ จากงบประมาณแผ่นดินครับ ก็งบกองทุนนี่ละ เพียงแต่ว่าทางกรมบัญชีกลางได้อนุมัติกรอบ งบประมาณให้เราว่าปีนี้เราใช้จ่าย ๗๐๐ ล้านบาท ส่วนใน ๗๐๐ ล้านบาท จะเป็นทั้ง ค่าอำนวยการ อย่างเช่น ค่าอำนวยการต่าง ๆ ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าอะไรต่าง ๆ รวมถึงเงิน ในการพิจารณาที่จะอนุมัติให้กับพี่น้องเกษตรกรด้วย วงเงิน ๗๐๐ ล้านบาท แต่อย่างไร ก็แล้วแต่ ถ้าในปีนั้นมีการอนุมัติเพิ่มขึ้นเราก็ขอเปิดวงเงินงบประมาณเพิ่มยิ่งขึ้นด้วย อันนี้เรียนในเรื่องงบประมาณครับ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ส่วนในปี ๒๕๕๔ ที่บอกว่า ๙ โครงการ ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ๒๓ ล้านบาท ก็ขออนุญาตกราบเรียนว่าตอนนั้นที่อนุมัติเป็นอนุมัติปลายปี หลังจากอนุมัติแล้วก็ยังจ่าย ไม่ทัน เพราะเราอยู่ในรายงาน พอหลังจากนั้นในปี ๒๕๖๕ เราก็ได้จ่ายเงินจำนวน ๒๓ ล้านบาท ทุกโครงการหมดไปเรียบร้อยแล้วนะครับ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ส่วนข้อคำถามหลาย ๆ คำถาม ขออนุญาตกราบเรียน โดยเฉพาะของท่าน ที่ถาม ท่านสกุณา สาระนันท์ ก็ขออนุญาตอย่างนี้ครับ ขออนุญาตกราบเรียนว่า ที่ท่านถามว่า รายได้อื่นจำนวน ๑๗๔ ล้านบาท มาจากไหน ท่านสมาชิกหลายท่านอาจจะมีคำตอบไปแล้ว ก็คือรายได้หลักส่วนหนึ่งมาจากเงินที่เราฝากไว้กับ ธ.ก.ส. แล้วก็ดอกเบี้ยปรับของหน่วยงาน เรามีครับ เวลาหน่วยงานไม่ชำระ ชำระไม่ตรงเวลา ก็จะมีดอกเบี้ยปรับของหน่วยงาน แล้วก็ ในปีนั้นเองมีเงินชำระคืนของโครงการหมุนเวียนกองทุน จำนวน ๓ โครงการ เป็นเงินอีก ๑๕๓ ล้านบาท ก็เลยทำให้มีรายได้ ที่ว่ารายได้มันเพิ่มขึ้น ทำไมถึง ๑๗๔ ล้านบาท มีการชำระคืน ๓ โครงการ บวกกับรายได้จากเงินที่เราไปฝาก แล้วก็ดอกเบี้ยปรับด้วยครับ อันนี้ก็ขออนุญาตกราบเรียนครับ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ปี ๒๕๖๕ ที่ได้อนุมัติจำนวนทั้งหมด ๕๐๐,๐๐๐ กว่าบาท ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ อันนี้เรียนว่าในการอนุมัติโครงการบางโครงการจะมีค่าบริหาร โครงการ ประกอบไปด้วยเป็นเรื่องของการติดตาม การกำกับดูแลต่าง ๆ มีหลาย ๆ ประเด็น
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ส่วนในเรื่องการเร่งรัดในการชำระหนี้ ขออนุญาตกราบเรียนอย่างนี้ครับว่า ทางท่านปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เอง ตอนนี้ได้มีการประชุมลูกหนี้ทั้งหมด โดยเฉพาะลูกหนี้ที่เป็นส่วนราชการ ได้มีการมารับทราบสถานะของลูกหนี้เป็นอย่างไรบ้าง มีการเร่งรัดอย่างไร และมีแผนงานโครงการอย่างไรที่จะมีการชำระหนี้ อันนี้ได้มีการพูดคุย และมีการประชุมร่วม แล้วทางปลัดกระทรวงก็สั่งการให้ติดตามโดยเคร่งครัด และประกอบ กับในเรื่องของการติดตาม เรียนเป็น ๒ ประเด็นครับ ในส่วนของส่วนราชการเองก็ได้ให้ เจ้าหน้าที่ในระดับของจังหวัดเข้าไปดู ไปติดตามโครงการของพี่น้องเกษตรกรที่ได้กู้เงิน จากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรไปทั้งหมดมีประเด็นอะไรบ้าง มีปัญหาอะไรบ้างต่าง ๆ ก็ได้มี การเข้าไปดูในเรื่องของแผนเพื่อการฟื้นฟูอะไรต่าง ๆ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ในส่วนของส่วนกลางเองเราก็จะมีการติดตามออกเป็นไตรมาส เป็นรายเดือน จริง ๆ แล้วขออนุญาตกราบเรียนว่าตอนนี้ในส่วนขององค์กรเกษตรกรที่ขอกู้เงินจากเรามา ยังไม่มีองค์กรไหนที่เรียกว่าเป็นหนี้ค้างชำระ แต่อย่างไรก็แล้วแต่เราให้เขารายงาน การดำเนินงานมาด้วยทุกรายไตรมาส เราก็จะดูว่ารายไตรมาสไหนที่มีประเด็นที่ยังคงค้าง ไม่สามารถชำระได้เราก็จะเข้าไปดูเป็นกรณีพิเศษ แต่อย่างไรก็ตามเราส่งเรื่องนี้ให้ทาง ภูมิภาคได้กรุณาไปดำเนินการทั้งหมดแล้วครับ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ส่วนเรื่องอื่น ๆ ที่ท่านได้กรุณา หลาย ๆ เรื่องก็ขออนุญาตรับข้อสังเกต ข้อเสนอแนะของท่านนะครับ เราจดไว้ทุกอย่างแล้ว ไม่ว่าจะท่านอดิศร เพียงเกษ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
๖๙/๑ ขออนุญาตเจ้านายที่เคารพนะครับ ก็ขออนุญาตนิดหนึ่ง ที่ท่านบอกว่ากองทุนนี้กับ ธ.ก.ส. มันเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร การบริหารงานอย่างไรก็แล้วแต่ ขอเรียนอย่างนี้ครับ กองทุนนี้ เราเรียนแล้วว่าถ้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มเกษตรกรกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยเราต่ำ ร้อยละ ๑ ถ้าเป็นกรณีผลิตร้อยละ ๑ ถ้ารวบรวมร้อยละ ๒ ครับ ธ.ก.ส. อาจจะดอกเบี้ยสูงกว่านี้ และกรณีของเราก็มีบางส่วนภายใต้ข้อจำกัดของกองทุน ก็คือผู้ที่มากู้ต้องเป็นกลุ่มเกษตรกร หรือวิสาหกิจชุมชน หรือเป็นองค์กรเกษตรกร ถ้า ธ.ก.ส. อาจจะเป็นรายเดี่ยวได้ อันนี้ ก็ขออนุญาตกราบเรียนด้วยความเคารพครับ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
ผมขออนุญาตโดยสรุปในการตอบคำถามนะครับ ก็ขอกราบขอบพระคุณ ทุกท่านด้วยความเคารพอย่างยิ่งที่ได้กรุณาให้ข้อสังเกต ให้ข้อเสนอแนะ และเป็นตัวตน หลาย ๆ ท่านได้บอกให้ไปดูกองทุนทั้งหมดที่จะสามารถมีการปรับปรุง หรือมีการแก้ไข อย่างไรได้บ้าง พวกผมก็จะขออนุญาตน้อมรับไปดูทั้งหมด ผมเรียนว่าตอนนี้ที่จะเน้นหนัก ก็เรื่องการประชาสัมพันธ์ อย่างหลาย ๆ ท่านบอกว่ายังไม่รู้เลย ก็ขออนุญาตว่าจะรับ ข้อสังเกตทั้งหมดไปพิจารณาด้วย ขอบคุณมากครับ
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สงขลา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ ๗ อำเภอนาทวี สะบ้าย้อย ตำบลลำไพลของอำเภอเทพา ท่านประธานครับ ก็ขอบคุณตัวแทน ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรนะครับ สั้น ๆ ครับ หนี้เสียที่ท่านได้ระบุเมื่อครู่ สรุปแล้ว ส่วนใหญ่หนี้เสียที่เกิดจากกองทุนนี้ก็คือหนี้จากหน่วยงานของรัฐสังกัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ประมง หนี้กรมปศุสัตว์ และหนี้กรมอื่น ๆ ที่ท่าน ไม่สามารถเรียกเก็บได้ในขณะนี้ นี่คือหนี้ก้อนใหญ่ ส่วนในหนี้ที่ ๒ ก็คือหนี้ที่ปล่อยให้กับ กองทุนกลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ ท่านประธานครับ เพราะฉะนั้นหน่วยงานของท่านปล่อยให้กับ หน่วยงานของรัฐดอกเบี้ยเท่าไร และปล่อยให้กับเกษตรกรเท่าไร เพราะใน พ.ร.บ. ปี ๒๕๕๔ เขียนไว้ชัดเจนครับ เป้าหมายก็คือให้เกษตรกรไม่เหมือนปี ๒๕๑๗ เพราะฉะนั้นกองทุนนี้ ต้องตอบคำถามและไป Clear หนี้เสียของท่านภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อย่าผลัดกันเกาหลังโดยที่เอาเงินของรัฐ ท่านเอาเงินไป ไปกู้ให้กับหน่วยงานภายในของท่าน มันไม่มีกระทรวงอื่นหรอกครับ เพราะฉะนั้นเป้าหมายสูงสุดคือเกษตรกร ฝากขอบคุณครับ
พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้นฉบับ
กราบขอบพระคุณมากครับ ที่ผมเรียนแล้วว่าท่านปลัดกระทรวงกำลังเร่งเรื่องนี้อยู่ และผม ก็ได้มีการประชุมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เป็นหนี้ ผมไล่แต่ละ โครงการทั้งหมด ตั้งแต่ผมได้มีโอกาสมารับผิดชอบกองทุนนี้ ก็ขอเรียนว่าผมเพิ่งมา รับผิดชอบกองทุนนี้ แล้วก็เล็งเห็นเหมือนที่ท่านเห็นนะครับ ก็ขออนุญาตครับ ผมเรียนว่า ดอกเบี้ยที่ผมเรียนแล้ว ถ้าเป็นวิสาหกิจชุมชน ถ้าใช้ในเรื่องของการผลิต เช่น ไปผลิตโคต้นน้ำ โคอะไรต่าง ๆ ดอกเบี้ยร้อยละ ๑ เท่านั้น แต่ถ้าเป็นแบบในการรวบรวมสินค้า หรือทำเป็น เชิงธุรกิจมากยิ่งขึ้น อันนี้จะดอกเบี้ยร้อยละ ๒ แต่ว่ากองทุนถ้าสำหรับหน่วยราชการเอง เราไม่ได้คิดดอกเบี้ย ฉะนั้นอย่างที่ท่านบอกว่ากองทุนทำไมถึงมีกำไร จริง ๆ กำไรของกองทุน เรา เราไม่ได้มีครับ เรามีรายได้จากเงินฝากที่เราเอาไปฝากเท่านั้นเอง ไปฝากกับ ธ.ก.ส. ได้ดอกเบี้ยเพิ่มแค่นั้นเอง ขออนุญาตกราบขอบพระคุณทุกท่านครับ ขอบพระคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
มีท่านใดติดใจสงสัยอีกไหมครับ ไม่มีนะครับ ถ้าไม่มี ก็ถือว่าที่ประชุมรับทราบรายงานของ ผู้สอบบัญชี และรายงานการเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ แล้ว ต้องขอขอบคุณท่านผู้ชี้แจงนะครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ต่อไป ๒.๖ รับทราบรายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๖ รับทราบรายงานการเงินแผ่นดินประจำปี ๒๕๖๕ ตามที่ กระทรวงการคลังเสนอ และให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทราบ ตามมาตรา ๗๕ วาระ ๓ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ ปี ๒๕๖๑ รายละเอียดปรากฏตามเอกสาร ที่ได้จัดวางไว้ให้ท่านสมาชิกแล้ว มีท่านสมาชิกมีประเด็นที่ติดใจที่จะซักถามนะครับ ดังนั้น ในการนี้ผมขออนุญาตให้ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุม ตามข้อบังคับ ข้อ ๗๖ ขอเชิญผู้มีรายชื่อต่อไปนี้เข้าร่วมชี้แจงในที่ประชุม ๑. นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนา ระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ท่านที่ ๒ ท่านณฐากัญ กัจฉมาภรณ์ ผู้อำนวยการกองบัญชี ภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ท่านที่ ๓ ท่านอรพรรณ นาคมหาชลาสินธุ์ นักบัญชีเชี่ยวชาญ กรมบัญชีกลาง ท่านที่ ๔ คุณรุ่งวิไล โคตรสาลี ผู้อำนวยการกลุ่มงานประมวลบัญชีแผ่นดิน กรมบัญชีกลาง ท่านที่ ๕ ท่านสุธาวรรณ ศักดิ์โกศล ผู้อำนวยการสำนักบริหารหลักทรัพย์ ของรัฐ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ท่านที่ ๖ ท่านอุษณีย์ มหากิจศิริ เลขานุการกรม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ท่านที่ ๗ ท่านยอดเยาวมาลย์ สุคนธพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหนี้สาธารณะและเงินคงคลัง สำนักงานบริหาร หนี้สาธารณะ ท่านที่ ๘ ท่านสุเนตรา เล็กอุทัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านบริหารการชำระหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ท่านสุดท้าย ท่านศุภชัย ตั้งวัฒนากร ผู้อำนวยการ กองเทคโนโลยีการสำรวจและฐานข้อมูลที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ เชิญเข้าประจำที่ เรียบร้อยนะครับ มีท่านสมาชิกที่สนใจที่จะให้อภิปรายข้อคิดเห็น ท่านแรก ท่านศิริกัญญา ตันสกุล เชิญท่านครับ
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานค่ะ ศิริกัญญา ตันสกุล สมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ขอให้ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์ นำ Slide ขึ้นด้วยค่ะ
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
การอภิปรายครั้งนี้ก็เป็น ครบรอบ ๔ ปี ที่ดิฉันได้อภิปรายรายงานการเงินแผ่นดินครั้งแรกเมื่อประมาณ ๔ ปีที่แล้ว ก็จะขอชื่นชมว่าหลังจากที่ได้อภิปรายไปครั้งแรกที่มีงบการเงินมาอย่างเดียว ๒-๓ ปีให้หลังนี้ รายงานการเงินแผ่นดินได้มีการทำบทวิเคราะห์มาด้วย ซึ่งก็จะเป็นมาตรฐานที่หลาย ๆ ประเทศ ทำกันเวลาที่มีการรายงานการเงินแผ่นดิน จะมีในส่วนที่เรียกว่า MD&A เหมือนเป็นคำอธิบาย ของฝ่ายบริหารว่ารายการในงบการเงินนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรที่มีนัยสำคัญ ก็ขอชื่นชมค่ะ ถึงแม้ว่าบทวิเคราะห์อาจจะยังสามารถที่จะปรับปรุงให้มีความละเอียดได้มากกว่านี้ ซึ่งอาจจะมีการพูดคุยกันในรายละเอียดต่อไป
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องแรก อยากจะทำความเข้าใจก่อน ดิฉันก็เพิ่งเข้าใจในเรื่องของรายงาน การเงินแผ่นดินจริง ๆ จัง ๆ พอมาอ่าน ตอนแรกคิดว่ามันจะเป็นงบการเงินแบบงบการเงินรวม หรือว่าเป็น Consolidated Financial Statement แต่ปรากฏว่าพออ่านไปอ่านมาแล้ว เข้าใจว่ามันไม่ได้เป็นการรวม เลยอยาก Check ความเข้าใจว่าที่ดิฉันเข้าใจนี้ถูกต้องหรือไม่ ว่าตัวสินทรัพย์ หนี้สินต่าง ๆ ไม่ได้เป็นการรวมของหน่วยงานราชการอื่น ๆ มาไว้ในที่เดียว แต่จะนำมาเฉพาะส่วนราชการที่มีอำนาจบริหารจัดการแทนรัฐบาล ยกตัวอย่าง เช่น กรมบัญชีกลางที่ดูแลเงินคงคลัง ดังนั้นทั้งด้านรายได้ รายจ่าย งบประมาณแผ่นดินต่าง ๆ ก็จะปรากฏอยู่ในรายงานงบการเงินฉบับนี้ มีกรมธนารักษ์ที่ดูแลที่ราชพัสดุ เราก็จะเห็นว่า ในส่วนของสินทรัพย์ก็จะมีการรายงานเรื่องเกี่ยวกับที่ราชพัสดุว่ามูลค่าการประเมิน เป็นเท่าไร สคร. ที่ดูแลเงินลงทุนรัฐวิสาหกิจ แล้วก็ สบน. ที่ดูแลเงินกู้ของแผ่นดิน แต่ก็ยังมี อีกหลายรายการที่ไม่ได้รวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินทุนหมุนเวียน หรือว่ารัฐวิสาหกิจก็จะมา ในรูปแบบของเงินลงทุนในหุ้นตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น ถูกต้องใช่ไหมคะอันนี้ ผู้ชี้แจงอาจจะพยักหน้าถ้าดิฉันเข้าใจถูก ดิฉันจะได้อภิปรายต่อ ดิฉันน่าจะเข้าใจถูกแล้ว ทีนี้พอมาดูในรายละเอียด อย่างที่บอกว่ามันไม่ได้เป็นการรวมสินทรัพย์ทั้งหมดของ หน่วยราชการ ดังนั้นสินทรัพย์ตัวหลัก ๆ ที่จะมาปรากฏก็คือคิดเป็น ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ของสินทรัพย์ทั้งหมดก็คือที่ราชพัสดุ ในรายงานทั้งบทวิเคราะห์ก็มีการระบุว่าที่ราชพัสดุมีอยู่ ๑๐.๕๖ ล้านไร่ แต่ในความเข้าใจของเรา เราเข้าใจมาตลอดว่าที่ราชพัสดุมีอยู่ ๑๒ ล้านไร่กว่า ดังนั้นส่วนที่หายไปใช่หรือไม่ว่าเป็นที่ราชพัสดุที่ใช้ประโยชน์เพื่อความลับเกี่ยวกับความมั่นคง ของประเทศในราชการกระทรวงกลาโหมอีกประมาณ ๒.๖ ล้านไร่ อันนี้ก็เป็นคำถามนะคะ ทีนี้พอมาดูก็จะเป็นการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ สิ่งที่น่ากังวลก็คือความเสี่ยง จะมีเรื่องของ ข้อพิพาทระหว่างที่ดินราชพัสดุกับที่ดินประชาชน ซึ่งตรงนี้ได้มีการวิเคราะห์หรือไม่ว่า ความเสี่ยงจากข้อพิพาทเหล่านี้อาจจะมีผลต่อการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่เป็นที่ราชพัสดุ แล้วที่สำคัญก็คือว่ามีการไปทำข้อตกลงที่จะมีการสำรวจและเรียกคืนที่ราชพัสดุ โดยกรมธนารักษ์ ซึ่งในบทวิเคราะห์ก็มีการพูดถึงเรื่องนี้เช่นเดียวกัน แต่ว่าไม่ได้มีการพูดถึง ความคืบหน้าของการสำรวจและเรียกคืนที่ราชพัสดุว่าคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว หลังจากที่ได้มี การออกระเบียบมาเมื่อปี ๒๕๖๒ ทางพรรคก้าวไกลเองก็มีการติดตามในเรื่องของ การเรียกคืนที่ราชพัสดุ หรือว่าการทำข้อตกลงในการใช้ที่ราชพัสดุกับทางกองทัพในการทำ สวัสดิการต่าง ๆ ของกองทัพว่ามีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว ถ้ามีตัวแทนจากกรมธนารักษ์ ก็ฝากให้ได้ตอบคำถามนี้กับพวกเราด้วยนะคะ แล้วก็มีการพูดถึง Capital Charge ด้วย อันนี้ดิฉันก็ตามมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ ไม่มั่นใจว่าได้เริ่มมีการปรับใช้หรือยังในการที่จะเหมือน แสดงมูลค่าที่แท้จริงของการที่หน่วยงานราชการต่าง ๆ มาใช้ที่ดินของที่ราชพัสดุโดยที่ อาจจะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใด ๆ แต่ว่าจริง ๆ แล้วที่ราชพัสดุตรงนั้นอาจจะอยู่ในใจกลางเมือง ที่สามารถจะนำไปใช้หาประโยชน์ได้มากกว่านั้นมาก
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนของสินทรัพย์มีเรื่องที่น่าสนใจอีกค่ะ ดิฉันไปดูเรื่องของเงินลงทุน หลักทรัพย์เผื่อขาย ก็มีคำถามหลายเรื่องว่าทำไมภาครัฐจึงมีตัวเลือกที่จะไปลงทุน ในหลักทรัพย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในธนาคารต่าง ๆ ก็มีทั้ง SCB ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ซึ่งดิฉันเข้าใจว่าน่าจะเป็นผลพวงมาจากช่วงวิกฤติเศรษฐกิจหรือไม่ แต่ก็มี บางอันที่ดิฉันก็ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ อย่างเช่นบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือว่า อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ก็อยากที่จะทราบเหตุผลด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ในส่วน ของเงินลงทุนหลักทรัพย์เผื่อขาย ยังมีการพูดถึงกองทุนรวมวายุภักษ์ ๑ ซึ่ง ณ วันที่มี การประเมินมูลค่า Fair Price อยู่ที่ประมาณ ๓๒๐,๐๐๐ ล้านบาท พอไปดูรายงานประจำปี ซึ่งปีอาจจะไม่ตรงกับตัวรายงานการเงินแผ่นดิน ของปี ๒๕๖๕ ของกองทุนวายุภักษ์เราพบว่า ผลตอบแทน Years to Date ตั้งแต่ตั้งกองทุนมา ติดลบ ๓.๖ เปอร์เซ็นต์ ก็เลยอยากสอบถามว่า สรุปแล้วทางรัฐบาลหรือว่าผู้ที่มีอำนาจบริหารจัดการแทนรัฐ มีนโยบายอย่างไรในการลงทุน ทั้งตัวหลักทรัพย์แล้วก็ตัวกองทุน มีเจตนาที่จะเพิ่มเงินลงทุนในตรงนี้เพื่อเป็นการพยุง ตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ หรือว่าจะลดการลงทุนตรงนี้เพื่อนำเงินมาใช้ในประโยชน์อย่างอื่น
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ต่อไปเป็นหมวดของเงินลงทุนทั่วไป จำนวนไม่มากนะคะ ๓๓,๐๐๐ ล้านบาท แต่ว่าถ้าเราดูตัวรายละเอียดเราจะมีคำถามมากมายว่าทำไมรัฐต้องไปลงทุนในบริษัทเหล่านี้ ถ้าหลาย ๆ บริษัทเป็นบริษัทที่ต้องลงทุนตามนโยบายและทำความเข้าใจได้ ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ทริสเรทติ้ง บรรษัทประกันภัยต่อแห่งเอเชีย แต่ก็มีหลาย ๆ บริษัทที่ไม่มั่นใจว่า เพราะเหตุใดยังจำเป็นที่จะต้องลงทุน เป็นนโยบายอะไร อย่างเช่น บริษัท ชลสิน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำเหมืองแร่ เข้าใจว่าได้รับมาตอนที่มีการทำเหมืองแร่ทองคำ แล้วก็เป็น บริษัทลูกของบริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ แต่ว่าจนถึงวันนี้แล้วเรายังจำเป็นที่จะต้องถือหุ้นเหล่านี้ อยู่หรือไม่ ที่สำคัญค่ะ มันมีหุ้นที่ได้มาจากนิติเหตุหรือว่าการยึดทรัพย์ แล้วก็เป็นบริษัทที่ประกอบ กิจการอาบ อบ นวด ถูกยึดทรัพย์มาเนื่องจากว่า ปปง. ตรวจพบว่ามีการค้าประเวณี ที่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นบริษัท PARLIAMENT TURKISH BATH COMPANY LIMITED DAVIS DIAMOND STAR CO., LTD. DAVIS COPA CABANA Co., LTD. หลาย ๆ ท่าน ในที่นี้อาจจะคุ้นเคยกับชื่อ ซึ่งเป็นบริษัทอาบ อบ นวด ก็ทราบดีว่าได้มาจากการยึดทรัพย์ แต่อยากสอบถามว่าเมื่อไรจะขาย มันก็อาจจำเป็นที่จะต้องมีการที่จะจำหน่ายออกไป ตามระเบียบของปี ๒๕๖๒ ว่าด้วยการจำหน่ายและซื้อขายหลักทรัพย์ของรัฐบาล
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
หน้าต่อไป เรื่องของหนี้สินค่ะ หนี้สินมีอยู่ ๙.๘ ล้านล้านบาท ถ้าพวกเรา จำกันได้ คือสินทรัพย์มีอยู่เพียงแค่ ๘.๓ ล้านล้านบาท เท่ากับว่าสินทรัพย์สุทธิติดลบไปแล้ว ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ หลาย ๆ ประเทศก็เป็นแบบนี้เช่นเดียวกัน แต่ว่าอยากที่จะ โน้ตไว้ถ้าประชาชนติดตามอยู่ ก็คือว่าตัวหนี้สินที่ปรากฏในรายงานการเงินแผ่นดินนี้ ไม่เท่ากับหนี้สาธารณะนะคะ เพราะว่ามีแค่ในส่วนที่รัฐบาลกู้โดยตรงเท่านั้น สิ่งที่อยากจะ สอบถามคืออย่างนี้ค่ะ อย่างที่ดิฉันได้สอบถามไปว่าเงินทุนหมุนเวียนไม่ได้รวมอยู่ใน งบการเงินฉบับนี้ สินทรัพย์ หนี้สินของรัฐวิสาหกิจไม่ได้รวมอยู่ในงบการเงินฉบับนี้ แต่มันมี เจ้าหนี้รอการชดเชยตามมาตรา ๒๘ ตาม พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง อีกประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ที่ทางหน่วยงานก็ลงบัญชีว่ารัฐบาลเป็นลูกหนี้รอการชดเชย หรือว่า เป็นลูกหนี้ที่ค้างจ่ายเงินสมทบ อย่างเช่นกรณีของกองทุนประกันสังคม แต่ไม่ปรากฏรายการ หนี้สินในรายงานการเงินแผ่นดินฉบับนี้ ก็อยากสอบถามว่าแบบนี้มันจะไป Book ลงตรงไหน ในทางบัญชี ในเมื่ออีกฝั่งหนึ่งเขา Book ไปแล้วว่ารัฐบาลเป็นหนี้เขา แต่ว่าทางรัฐบาลเอง ไม่ได้ระบุว่าเป็นหนี้ ตรงนี้จะมีทางแก้ไขในทางบัญชีอย่างไร
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สุดท้ายค่ะ สั้น ๆ ในเรื่องของรายจ่าย ในรายจ่ายส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ รายจ่ายงบประมาณประจำปี ทีนี้ปัญหาก็มีอยู่ว่าในปีงบประมาณปี ๒๕๖๕ ทางสภานี้ ได้อนุมัติเงินให้กับทางรัฐบาลไปใช้ ๓.๑ ล้านล้านบาท ใช้จริง ๕๒.๙ ล้านล้านบาท ใช้จริง ไม่เท่ากับที่อนุมัติไป ไม่ได้น่าแปลกใจเพราะว่าก็จะเกิดการเบิกจ่ายล่าช้าไม่ทันปีงบประมาณนี้ เป็นเรื่องที่เราเข้าใจได้ แต่ที่เราเจอก็คือว่าบางกระทรวงใช้งบประมาณมากกว่าที่ได้ขออนุมัติ ไปจากทางสภา ยกตัวอย่างเช่นกระทรวงกลาโหม อนุมัติไป ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท แต่ว่า ใช้จริง ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็นต้น ในขณะที่บางกระทรวงก็ใช้ไม่ถึง ซึ่งอันนั้นก็จะเป็น เรื่องที่เบิกจ่ายไม่ทันก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ แต่ที่เบิกจ่ายเกินอยากทราบว่าเป็นเพราะสาเหตุ อะไร หรือว่าเป็นเทคนิคในทางบัญชีที่มีการรวมเรื่องของงบบำเหน็จบำนาญเข้าไปไว้ที่ งบของกระทรวง แทนที่จะมาเอาไว้แยกเป็นงบกลางแบบเวลาที่เราดูงบประมาณ ก็จะมี เรื่องสอบถามกับทางผู้ชี้แจงเท่านี้ค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านศิริกัญญานะครับ ต่อไปท่านจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ เชิญครับ
นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ กระผม นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จากจังหวัดศรีสะเกษ ท่านประธานครับ เกี่ยวกับรายงานการเงินแผ่นดิน ก็เป็นรายงานการเงินในภาพรวมของรัฐบาลไทย ไม่รวมธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ต้อง ขอบคุณท่านผู้ที่อภิปรายก่อนหน้านี้ที่ได้ดูโดยภาพรวมแล้ว ในส่วนของผมมีประเด็นที่มี ข้อสงสัย ผมดูรายงานการเงินแผ่นดิน ท่านประธานครับ ในหน้า ๖๓ ระะบุในตารางบอกว่า หนี้สาธารณะจำนวน ๑๐,๓๗๓,๙๓๗ บาท แต่พอผมดูในเอกสารอีกฉบับหนึ่ง เป็นเอกสาร ของกรมบัญชีกลางเช่นเดียวกัน เป็นรายงานการเงินแผ่นดิน เป็นบทวิเคราะห์ อยู่ในหน้า ๔๑ กลับปรากฏว่าหนี้สาธารณะที่ปรากฏอยู่ในเอกสารจะเขียนเป็นตัวเลข ๑๐,๓๘๗,๕๕๕ บาท กลายเป็นว่าเอกสาร ๒ ฉบับที่ออกจากกรมบัญชีกลางเหมือนกัน แต่ปรากฏว่าตัวเลข ไม่ตรงกันครับ ผมก็ไม่แน่ใจว่าเอกสารตัวไหนจะถูกต้องกว่า แต่เบื้องต้นในการอภิปรายก็จะขออนุญาตใช้ข้อมูลตามรายงานการเงินแผ่นดิน ก็คือตัวเลข ๑๐.๓๗ ล้านล้านบาท ท่านประธานครับ สาเหตุที่ผมให้ความสนใจกับหนี้สาธารณะเป็นพิเศษ ก็เนื่องจากว่าในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมา หนี้สาธารณะของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงอย่างน่าตกใจครับ จาก ๗.๘ ล้านบาท ในปี ๒๕๖๓ ๙.๓ ล้านบาท ในปี ๒๕๖๔ ส่วนในปี ๒๕๖๕ ก็กลายเป็น ๑๐.๓๗ ล้านล้านบาท มีอัตราการเพิ่มที่สูงมาก ถ้าคิดเป็นสัดส่วน ในปีปัจจุบันถ้าใช้ตัวเลข ๑๐.๓๗ ก็จะเป็นอัตรา ๖๐.๔๑ เปอร์เซ็นต์ ถ้าใช้ตัวเลข ๑๐.๓๘ ก็จะเป็น ๖๐.๔๙ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูง ที่กล่าวว่า เป็นตัวเลขที่สูงก็เพราะว่าก่อนหน้านี้ ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลัง ปี ๒๕๖๑ ในมาตรา ๕๐ คณะกรรมการนโยบายการเงิน การคลังได้กำหนดในปี ๒๕๖๑ ว่าสัดส่วน หนี้สาธารณะต่อ GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมควรจะเป็นแค่ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ด้วย ความกังวลว่าเมื่อมีการกู้เงินมาก ๆ ก็จะทำให้สัดส่วนตัวนี้เพิ่มขึ้น คณะกรรมการนโยบาย การเงินการคลัง โดยมีท่านนายกรัฐมนตรี ก็คือ พลเอก ประยุทธ์ ท่านก็ได้ขยายสัดส่วน หนี้สาธารณะ จากไม่เกิน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ เป็น ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เพื่อรองรับการกู้เงิน ซึ่งก็ทำให้ปัจจุบันอยู่ที่ ๖๐.๔ เปอร์เซ็นต์ โดยประมาณ ตัวเลขตัวนี้เป็นตัวเลข ณ สิ้นกันยายน ปี ๒๕๖๕ จนถึงปัจจุบันนี้ก็มีการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผมคิดว่าก็คงจะเข้าใกล้ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ไปเรื่อย ๆ ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่เราจะต้องระมัดระวัง สาเหตุที่บอกว่าจะต้อง ระมัดระวังก็เนื่องจากว่าโดยภาพรวมใน World Bank ธนาคารโลกเคยทำผลวิจัยออกมา บอกว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะสำหรับประเทศกำลังพัฒนาเช่นเดียวกับประเทศไทย ไม่ควร จะเกิน ๖๔ เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ Cato Journal ท่านก็ไปสังเคราะห์มาจาก หลาย ๆ รายงานแล้วก็มีข้อเสนอแนะไว้ว่าสำหรับประเทศกำลังพัฒนา อัตรานี้ไม่ควรจะเกิน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศไทยของเราก็เกินไปเรียบร้อยแล้ว แล้วอัตรานี้นะครับ ในประเทศไทยเองก็เคยมีนักวิจัยของไทย ขออนุญาตเอ่ยนาม ไม่เสียหายครับ ท่านตัง กาญจนพาสน์ และคณะ ก็ได้ศึกษาเศรษฐกิจของประเทศไทย แล้วก็ได้มีผลวิจัยออกมา ในปี ๒๕๖๓ บอกว่าอัตราหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ประมาณ ๔๒ เปอร์เซ็นต์ จะเป็นอัตราที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย อันนี้ก็เทียบให้ดูว่าต่างประเทศ ดูอย่างไร แล้วคนไทยเองดูอย่างไร แล้วปัจจุบันนี้มีอีกทีหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ก็คือ ประเทศสหภาพยุโรป สหภาพยุโรปมีนโยบายว่าประเทศที่อยู่ใน EU อยู่ใน Common Currency จะต้องมีอัตราหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ Public Debt ต่อ GDP ไม่เกิน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าเกินก็จะต้องลดลง ไม่ลดลงในอัตรา ๑ เปอร์เซ็นต์ต่อปี ก็ต้องลดลง ในอัตรา ๐.๕ เปอร์เซ็นต์ต่อปี เพราะฉะนั้นประเทศไทยของเราก็อยู่ในสถานะที่น่ากังวล พอสมควร แต่อย่างไรก็ดีด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน และการใช้จ่ายงบประมาณในปัจจุบัน ผมยังเชื่อว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมก็จะยังขึ้นต่อไปอีก อาจจะเข้าใกล้ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ภายใน ๒ ปี หรือ ๓ ปี ก็คงจะเข้าใจอัตรานั้น ก็เป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่ง โดยความเห็นส่วนตัวของผม ผมมีความเห็นว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ถ้าทำได้ ในอนาคตก็ไม่ควรจะเกินกว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ที่ผมกล่าวเช่นนั้นก็เนื่องจากได้ดูจาก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ก็มีอัตราส่วน หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ ๔๑ เปอร์เซ็นต์เศษ อัตรา ๔๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ เป็นอัตราที่ เป็นไปได้ ประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีเศรษฐกิจไม่ต่างจากเรามากนัก สมัยก่อนก็อยู่ในระดับ เดียวกันใกล้ ๆ กับประเทศไทย เราก็เคยแข่งขันกับประเทศอินโดนีเซียมาก่อน ก็มีอัตราส่วน หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ประมาณ ๔๑ เปอร์เซ็นต์เศษ แล้วก็มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ มีการประเมินว่าในระยะเวลาอนาคตอันใกล้ ประเทศอินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจ ใหญ่เป็นอันดับ ๕ ของโลกในเวลาไม่นาน ประเทศไทยของเราก็ไม่ทราบว่าจะอยู่ที่อันดับ เท่าไร ก็มีความกังวลท่านประธานครับ ก็อยากจะเห็นของเรามีความเจริญก้าวหน้า เช่นเดียวกัน อัตราหนี้สินต่อ GDP มีผลต่อการกู้เงินของรัฐบาลไทย การเข้าถึงเงินกู้ คนที่เป็นหนี้มากจะกู้ก็ต้องกู้ดอกเบี้ยแพง เพราะฉะนั้นการมีอัตราหนี้สาธารณะต่อ GDP สูง ๆ ไม่เป็นผลดีต่อประเทศไทย ถ้าหากว่าสามารถทำได้ก็ต้องช่วยกันหาทางแก้ไข แต่ในขณะที่เราต้องใช้เงินอยู่ในขณะนี้ก็อาจจะไม่สามารถลดทันที แต่การใช้จ่ายงบประมาณ จะต้องมีการควบคุมอย่างเหมาะสมด้วยความระมัดระวัง การใช้จ่ายงบประมาณจะต้อง ไม่สุรุ่ยสุร่าย ใช้จ่ายในเรื่องที่มีผลต่อการปรับโครงสร้างประเทศ ทำอย่างไรให้ประเทศ ของเรามีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ทำอย่างไรให้ประเทศของเรามีผลิตภาพสูงขึ้น ทำอย่างไรให้เรามีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำอย่างไรให้คนไทยมีการศึกษาที่ดีขึ้น มีทักษะ มี Skill ที่ดีขึ้น ทำอย่างไรให้โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง รถไฟ หรือท่าอากาศยาน ได้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นโครงสร้างของประเทศที่ใกล้เคียงกับ ประเทศที่พัฒนาแล้วยิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็ขออนุญาตฝากความกังวลว่าการใช้จ่ายงบประมาณ ขณะนี้ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เราไม่สามารถตราพระราชบัญญัติ งบประมาณฉบับใหม่เพื่อใช้งบประมาณของปี ๒๕๖๗ ได้ ทำให้น่าจะต้องใช้งบประมาณ ของปี ๒๕๖๖ ไปพลางก่อนหลายเดือน อาจจะถึง ๕ เดือน หรือ ๖ เดือน ซึ่งก็จะทำให้ การใช้จ่ายงบประมาณต้องมีการสูญเสียโดยไม่จำเป็นไปอีกจำนวนหนึ่ง ก็ขออนุญาตฝาก ความกังวลไปยังท่านประธานว่าทำอย่างไรเราจึงจะมีรัฐบาลชุดใหม่โดยไม่ชักช้า แล้วก็มี การตราพระราชบัญญัติงบประมาณปี ๒๕๖๗ ซึ่งจะเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน มากกว่างบประมาณปี ๒๕๖๖ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เลยมา ๓ นาทีครึ่ง ต่อไปท่านสุดท้ายนะครับ ท่านอนุชา บูรพชัยศรี เชิญครับ
นายอนุชา บูรพชัยศรี แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ผมมีโอกาสได้อ่านในส่วนของรายงานการเงินแผ่นดินที่วันนี้ได้มารายงานให้กับที่ประชุมสภา แห่งนี้ได้รับทราบ ไม่ได้มีข้อสังเกตหรือว่าข้อห่วงใยเป็นกรณีพิเศษ แต่อยากที่จะ Highlight สำคัญ ๆ ที่ผมคิดว่าอยากให้สมาชิกสภาแห่งนี้แล้วก็พี่น้องประชาชนได้มีโอกาสรับทราบ อย่างเช่นในเรื่องของผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ที่ผ่านมาก็มี การขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนก่อน ซึ่งถ้าเกิดเราดูในตอนปัจจุบัน ขออนุญาตที่จะเอา ตัวเลขที่เป็นปัจจุบันหน่อย เพราะว่าที่ส่งมาเป็นปี ๒๕๖๕ ซึ่งก็อาจจะไม่ Update เท่าไร แต่ถ้าเกิดเอาล่าสุดที่มาดูจะเห็นว่าผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง ๙ เดือนแรก ของปีงบประมาณ ๒๕๖๖ คือตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๕ จนถึงมิถุนายน ๒๕๖๖ พูดง่าย ๆ ว่าต่อจากรายงานของการเงินแผ่นดินฉบับนี้ เราก็ยังเห็นแนวโน้มหรือ Trend ที่ไปในทิศทางที่ดี แล้วก็สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณด้วยซ้ำไปถึง ๗.๕ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็สูงกว่ารายได้ในช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง ๕.๒ เปอร์เซ็นต์ อันนี้ก็เป็น ส่วนที่ต้องบอกว่าเป็นข่าวดี แล้วก็ต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่อาจจะทำให้หลาย ๆ คนที่ตั้งข้อสังเกต ในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันของท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะได้มี ความสบายใจในเรื่องของตัวเลขมากขึ้น นอกเหนือจากนั้นในเรื่องของรายได้ ถ้าเราย้อน กลับไป ดูจากรายงานการเงินแผ่นดิน ก็จะเห็นว่าส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มรายได้ที่มีสัมพันธ์ กับทางด้านเศรษฐกิจสูง นั่นหมายความว่า S Curve ต่าง ๆ เป้าหมายที่รัฐบาลได้ดำเนิน นโยบายมาเริ่มที่จะ Shift ไปแนวนั้นแล้วตามที่มี กลุ่มรายได้ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน แล้วก็ กลุ่มรายได้ที่มาจากการค้าระหว่างประเทศที่มีการขยายขึ้นจากปีก่อนก่อน แต่อย่างไรก็ดี การจัดเก็บรายได้ก็ยังคงต่ำกว่าก่อนที่จะเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างแน่นอน ซึ่งอันนี้ก็เป็น Trend หรือว่าเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นอยู่แล้วทั่วโลก
นายอนุชา บูรพชัยศรี แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สำหรับวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ก็มี การปรับตัวลดลงเล็กน้อย แล้วก็มีการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายเพื่อที่จะชำระหนี้และภาระผูกพัน จากการดำเนินนโยบายในอดีตที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าในส่วนต่าง ๆ อันนี้อาจจะ ต้องพูดถึงเรื่องของก่อนหน้านี้ด้วยที่มีภาระผูกพันหนี้ต่าง ๆ มา รวมถึงรายจ่ายสวัสดิการ ในเรื่องของบุคลากรของรัฐด้วย สำหรับสิ่งที่สำคัญก็คือในเรื่องของระดับเงินคงคลัง เท่าที่ได้ อ่านดูก็คือว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน จากการเกินดุลเงินสดของภาคงบประมาณ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ในส่วนของเท่าที่ดูก็คือระดับคงคลังมีการปรับตัวสูง ๆ ขึ้นต่อเนื่อง จาก ณ สิ้นปีงบประมาณ ๒๕๖๒ นั่นหมายถึง ๔ ปีที่ผ่านมาระดับเงินคงคลังมีการเพิ่มมาก ขึ้นสูงขึ้นมาเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าเราจะมีสถานการณ์ COVID-19 ก็ดี แต่ตรงนี้ก็ยังสามารถที่จะ ดำเนินการทำให้ระดับเงินคงคลังสูงขึ้น สะท้อนถึงสภาพคล่องการเบิกจ่ายงบประมาณ ที่ยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้
นายอนุชา บูรพชัยศรี แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในส่วนที่ท่านสมาชิกได้พูดถึงเรื่องของระดับหนี้สาธารณะ ซึ่งถ้าดูที่ สิ้นปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ก็จะเห็นว่าอยู่ที่ ๖๐.๔ เปอร์เซ็นต์ต่อ GDP ซึ่งตรงนี้ก็ต้องบอกว่า เพิ่มขึ้นมาจากการดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวในช่วงวิกฤติ COVID-19 แล้วถ้าเกิด เราพูดถึงเรื่องของนี้สัดส่วนสาธารณะต่อ GDP เอา Update กว่านั้นอีกนิดหนึ่ง มาอยู่ที่ สิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ก็จะปรับขึ้นมาเล็กน้อยอยู่ที่ ๖๑.๓ เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้ก็ยังอยู่ ในกรอบที่คณะกรรมการกำหนดไว้ไม่เกิน ๗๐ เปอร์เซ็นต์ สำหรับสัดส่วนภาระหนี้ ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ กรอบที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ไม่เกิน ๓๕ เปอร์เซ็นต์ แต่ปรากฏว่าสัดส่วนหนี้ที่เกิดขึ้นจริงอยู่ที่ ๓๐.๙๑ เปอร์เซ็นต์ ถ้าเรา ไปดูสัดส่วนอื่น เช่นสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด จะเห็นว่ากรอบที่คณะกรรมการกำหนดไว้ไม่เกิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขสัดส่วนหนี้ที่เกิดขึ้น จริงอยู่เพียงแค่ ๑.๖๓ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อีกส่วนหนึ่งก็คือสัดส่วนภาระหนี้สาธารณะที่เป็น เงินตราต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ กรอบที่คณะกรรมการ กำหนดให้ไว้ไม่เกิน ๕ เปอร์เซ็นต์ สัดส่วนที่เกิดขึ้นจริงอยู่เพียงแค่ ๐.๐๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นต้องเรียน ท่านประธานอย่างนี้ครับว่าในภาวะปกติรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ เพื่อนำไปใช้ในการลงทุน โดยกว่า ๗๕ เปอร์เซ็นต์ของเงินกู้เป็นการกู้เพื่อโครงการดำเนินการ โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของคมนาคมขนส่ง พลังงาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ การศึกษา และที่อยู่อาศัย โดยเรื่องของหนี้สาธารณะก็ยังอยู่ ในส่วนที่รับได้ ซึ่งที่ผ่านมาก็ต้องเรียนว่ารัฐบาลของท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถที่จะบริหารหนี้สาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีต้นทุนที่เหมาะสม แล้วก็ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อีกทั้งหนี้กว่า ๙๘ เปอร์เซ็นต์ อันนี้สำคัญมากครับท่านประธาน เป็นหนี้เงินสกุลบาท จึงช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ นอกจากนี้รัฐบาลก็ได้มี การชำระเงินเป็นหนี้ก่อนครบกำหนด ซึ่งทำให้เรื่องของดอกเบี้ยอะไรต่าง ๆ แล้วก็ต้นทุน ต่าง ๆ สามารถที่จะดำเนินการได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญครับท่านประธาน ก็คือในส่วนของ ทางด้าน Fitch Ratings ซึ่งก็เป็นบริษัทที่จัดอันดับความน่าเชื่อถือ ล่าสุดเมื่อประมาณ กลางเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาก็ให้ Credit Rating ที่ Triple B Plus หรือว่า BBB+ ซึ่งเป็น Rate ค่อนข้างที่จะดี แล้วก็ที่สำคัญก็คือมีการพูดถึงว่าภาคการคลังสาธารณะ หรือว่า Public Finance คาดการณ์ว่าการขาดดุลการคลังของไทยจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการขาดดุลที่ลดลงก็สะท้อนถึงรายได้ที่เป็นภาษีที่เก็บมากขึ้น แล้วการสิ้นสุดของมาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 เรื่องของภาคการเงินต่างประเทศเองก็ยังคง แข็งแกร่ง เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและสถานการณ์น้ำมันที่คลี่คลายลงไป นอกเหนือจากนั้นทาง Fitch Ratings เองก็ยังบอกว่าปัจจัยที่สำคัญที่มีการอาจจะปรับเพิ่ม อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศได้ก็คือการลดลงของสัดส่วนหนี้ต่อภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้อง กับ GDP อันนี้เป็นส่วนที่ Fitch Ratings ได้กล่าวถึง เพราะฉะนั้นอยากจะเรียนท่านประธาน ในขั้นสุดท้ายก่อนสรุปนี้ก็คือว่าที่ผ่านมารัฐบาลของท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ใช้ นโยบายการคลังและงบประมาณเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน แล้วก็ภาค ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 แล้วก็ในเรื่องของ ความขัดแย้งในภูมิรัฐศาสตร์ในโลกนี้ ขณะที่การก่อหนี้กว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ก็ยังเป็นหนี้ เพื่อการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อการเติบโต อย่างยั่งยืน ซึ่งบางประเทศเองตอนนี้ก็ยังนำแนวทางของประเทศไทยไปดำเนินการ เป็น Model ในการพัฒนาประเทศของเขาด้วย อันนี้เป็นสิ่งที่อยากจะ Highlight ให้ทางด้าน สภาผู้แทนราษฎรและพี่น้องประชาชนได้รับทราบครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านผู้ชี้แจงครับ
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพทุกท่านนะคะ ดิฉัน นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบ บัญชี กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ขออนุญาตนำเรียนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ กรมบัญชีกลางก่อนนะคะ ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบพระคุณท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทุกท่านที่กรุณาอภิปราย แล้วก็ชี้แนะข้อเสนอแนะ แนวทางต่าง ๆ รวมถึงให้ข้อคิดเห็น ที่เกี่ยวข้องสำหรับวันนี้
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
ในส่วนที่จะขออนุญาตนำเรียนช่วงแรกที่เกี่ยวกับของกรมบัญชีกลาง กรณีของท่านศิริกัญญา ขออนุญาตที่เอ่ยนามท่าน เกี่ยวกับเรื่องของบัญชีที่ท่านบอกว่า ในส่วนของเงินกองทุนหมุนเวียนหรือว่าของรัฐวิสาหกิจที่อาจจะมีการบันทึกเป็นลูกหนี้ รอการชดเชยต่าง ๆ แต่ว่าในส่วนของภาครัฐบาลยังไม่ได้มีการบันทึกในส่วนนี้นะคะ ก็ขออนุญาตนำเรียนว่ากรณีของการจัดทำรายงานการเงินแผ่นดินของกรมบัญชีกลาง เผอิญว่าทางกรมบัญชีกลางเองเราได้มีการจัดทำรายงานตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ แล้วก็นโยบายการบัญชีภาครัฐสำหรับบัญชีการเงินแผ่นดิน ซึ่งรวมถึงมาตรฐานการจัดทำรายงานการเงินแผ่นดินที่เรากำหนดขึ้นมาเฉพาะในส่วนของ การจัดทำรายงานการเงินแผ่นดิน ซึ่งมีกรอบในการดำเนินการที่ชัดเจนว่าเราจะรวมในส่วน ของตัวเลขทางการเงินจากหน่วยงานทั้ง ๔ หน่วยงานหลัก ที่ท่านได้กรุณานำเรียนไป ตอนแรกนั้นถูกต้องแล้ว เพราะฉะนั้นในส่วนที่เกี่ยวข้องของทุนหมุนเวียนรัฐวิสาหกิจ ก็จะไปอยู่อีกรายงานหนึ่ง ที่เราเรียกว่ารายงานการเงินรวมภาครัฐ อันนั้นจะอยู่อีก รายงานหนึ่ง จะมีอยู่เช่นเดียวกันนะคะ
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
สำหรับประเด็นที่ ๒ ที่ท่านได้กรุณาถามว่ากรณีของงบประมาณ ที่บางกระทรวงอาจจะมีการใช้จ่าย จากตัวเลขที่ท่านนำเรียนบอกว่าอาจจะมีการใช้จ่าย เกินกว่ากรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร อันนี้ขออนุญาตเรียนเป็นภาพรวมว่า น่าจะเป็นกรณีที่เป็นการใช้จ่ายเงินงบกลางที่จะต้องมีการเบิกจ่ายตามความจำเป็น ที่แต่ละหน่วยอาจจะมีการขอเบิกงบกลาง แต่ว่าส่วนนี้ก็เป็นงบที่โดยทั่วไปจะเบิกจ่ายจากที่ กรมบัญชีกลาง แต่ว่ากรณีของกระทรวงกลาโหมที่ท่านนำเรียนเรื่องตัวเลข บังเอิญว่า ในงบของเรานี้ไม่ได้แจงรายละเอียดตรงนี้ เข้าใจว่าอาจจะเป็นตัวเลขอีกแหล่งที่ท่านอาจจะ นำไปเจอตัวเลขตรงนั้น ในส่วนนี้เดี๋ยวขอให้ทางกรมบัญชีกลางเราได้ไปตรวจสอบตัวเลข อีกนิดหนึ่ง เพราะว่าโดยรวมแล้วจะไม่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเกินกว่าที่ได้รับ จัดสรรค่ะ
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับส่วนของที่ราชพัสดุ รวมถึงในเรื่องของหนี้ แล้วก็ในส่วนของเงินลงทุนต่าง ๆ จะขออนุญาตให้ท่านผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กรุณา นำเรียนท่านต่อไปค่ะ ขออนุญาตเริ่มจากที่ราชพัสดุก่อนนะคะ ขอบพระคุณค่ะ
นายศุภชัย ตั้งวัฒนากร ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีการสำรวจและฐานข้อมูล ที่ราชพัสดุ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทรงเกียรติทุกท่าน กระผม นายศุภชัย ตั้งวัฒนากร ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีการสำรวจ และฐานข้อมูลที่ราชพัสดุ ผู้แทนกรมธนารักษ์ครับ ขอตอบคำถามที่เกี่ยวข้องตามที่ ท่านสมาชิกได้ให้เกียรติถามดังต่อไปนี้ครับ
นายศุภชัย ตั้งวัฒนากร ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีการสำรวจและฐานข้อมูล ที่ราชพัสดุ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ ในเรื่องกรณีที่ท่านได้ให้ข้อสังเกตว่าที่ราชพัสดุมี ๑๐.๕ ล้านไร่ แล้วทำไมแตกต่างไปกับที่ทราบมาว่าคือประมาณ ๑๒.๗ ล้านไร่ กรณี ๑๐.๕ ล้านไร่ ที่เราได้ ลงมาในบัญชีทรัพย์สิน เนื่องจากเป็นการนำส่งขึ้นทะเบียนที่ได้มีการตรวจสอบการได้มาของ ที่ราชพัสดุมีความครบถ้วน ถูกต้อง แล้วก็เป็นที่ราชพัสดุค่อนข้างจะ ๘๐-๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป สำหรับที่ที่หายไป ๒ ล้านกว่าไร่ ที่ท่านได้สังเกตมา ก็คือเป็นการสงวนหวงห้ามซึ่งมี การทับซ้อนกับหน่วยงานของรัฐอื่นเป็นจำนวนมาก แล้วส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ที่เป็น การสงวนหวงห้ามของความมั่นคงและพื้นที่อนุรักษ์ เช่น ป่าไม้ ซึ่งตอนนี้เราอยู่ระหว่าง การดำเนินการโครงการ One map ซึ่ง ๙ หน่วยงานจะมาคุยกันว่าส่วนไหนเป็นของใคร เพื่อที่จะดูจากการใช้ประโยชน์ที่แท้จริง เมื่อมีการสรุปแล้วก็ผ่านมติ ครม. ในการประกาศใช้ ตอนนี้ก็ดำเนินการไปแล้วประมาณ ๓ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งก็ประมาณ ๑๑ จังหวัด ตอนนี้ก็มี การดำเนินการให้ครบถ้วนแล้ว เราก็จะนำส่วนนั้นละครับที่มีมติมาว่าเป็นของกรมธนารักษ์ มาขึ้นทะเบียนไปเป็น ๑๐ กว่าล้านไร่ขึ้นไปตามที่ท่านให้ข้อสังเกต อันนี้คือข้อที่ ๑ นะครับ
นายศุภชัย ตั้งวัฒนากร ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีการสำรวจและฐานข้อมูล ที่ราชพัสดุ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ เรื่องเกี่ยวกับการพิพาทกับที่ราษฎร หรือที่ของหน่วยงานอื่น กรณีที่พิพาทกับหน่วยงานของรัฐด้วยกันก็อย่างที่แจ้งครับ ก็คือดำเนินการตามโครงการ One Map ก็คือว่าใครได้สิทธิก่อน หรือว่าใครมีหลักฐานที่ดีกว่าก็จะได้ Slide มาเป็น ของหน่วยงานนั้น ๆ สำหรับกรณีที่พิพาทกับที่ดินเอกชนหรือราษฎร กรณีนี้มีการทับซ้อน เป็นที่ราชพัสดุจำนวนมาก ก็มีการดำเนินการเป็น ๒ แนวทาง
นายศุภชัย ตั้งวัฒนากร ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีการสำรวจและฐานข้อมูล ที่ราชพัสดุ ต้นฉบับ
แนวทางที่ ๑ ถ้าเรามีการดำเนินการสำรวจรังวัด โดยที่ราษฎรได้ให้ ความยินยอม ให้ความร่วมมือ หน่วยงานของรัฐก็คือกรมธนารักษ์ก็จะมีการจัดให้เช่า โดยการช่วยเหลือเยียวยาให้กับราษฎรผู้ที่อยู่มาก่อน หรือว่าอยู่มาโดยสุจริต ให้เช่าเป็นโครงการธนารักษ์ประชารัฐ ซึ่งดำเนินการมาทุกปี
นายศุภชัย ตั้งวัฒนากร ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีการสำรวจและฐานข้อมูล ที่ราชพัสดุ ต้นฉบับ
แนวทางที่ ๒ ถ้าราษฎรหรือเอกชนมีความต้องการที่จะโต้แย้งสิทธิ หรือไม่ยินยอมที่จะเข้าสู่กระบวนการของรัฐในการช่วยเหลือเยียวยา ก็จะมีการเข้าสู่ กระบวนการพิสูจน์สิทธิซึ่งเป็นโครงการของ คทช. ซึ่งปัจจุบันนี้ก็เรียกว่า คพร. ก็คือ คณะกรรมการพิสูจน์สิทธิที่ดินของรัฐ เดิมก็คือ กปร. แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนชื่อไปแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สิทธิ ถ้าสิทธิเป็นที่ดินของชาวบ้านหรือราษฎรเราก็จะยินยอม รับรองแนวเขตให้กับชาวบ้านไปสามารถออกเอกสารสิทธิได้นะครับ แต่กรณีที่ชาวบ้าน ไม่ยินยอมแล้วพิสูจน์สิทธิว่าเป็นที่ดินของรัฐ เราก็ยังเปิดโอกาสให้ราษฎรผู้ที่โต้แย้งกับเรา สามารถมาเช่ากับเราได้ โดยที่เราคิดในอัตราที่ผ่อนปรนแล้วก็ช่วยเหลืออย่างดีที่สุดครับ
นายศุภชัย ตั้งวัฒนากร ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีการสำรวจและฐานข้อมูล ที่ราชพัสดุ ต้นฉบับ
สำหรับประเด็นที่ ๓ การเรียกคืนที่ราชพัสดุ ตามที่ท่านได้สอบถามมานะครับ ปัจจุบันกรมธนารักษ์ได้มีการออกตรวจสอบในแต่ละจังหวัด เนื่องจากต้องขอแจ้งก่อนว่า ธนารักษ์พื้นที่จะมีสำนักงานอยู่ที่เดียวในจังหวัด เจ้าหน้าที่บุคลากรก็มีจำนวนจำกัด ก็จะมี การออกตรวจสอบ เมื่อพบว่าหน่วยงานใดปล่อยปละละเลยให้มีการบุกรุกหรือว่ามีการใช้ ประโยชน์ไม่เป็นไปตามภารกิจหรือหน้าที่เราก็จะมีการทำหนังสือเรียกคืน และหากว่า ส่วนราชการส่วนใดมีความประสงค์ส่งคืนเราก็ดำเนินมาจัดประโยชน์บ้าง แล้วก็ไปดำเนินการ จัดให้เช่า หรือว่าไปให้หน่วยงานอื่นที่ว่ามีความจำเป็นที่ใช้เข้ามาใช้ประโยชน์แทนบ้าง
นายศุภชัย ตั้งวัฒนากร ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีการสำรวจและฐานข้อมูล ที่ราชพัสดุ ต้นฉบับ
สำหรับกรณีที่ว่าการเรียกคืนของเรา มันจะมีปัญหาตรงที่ว่าบางครั้งการเรียกคืน หน่วยงานราชการเขาอาจจะเข้าใจว่าเขาเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ก็เลยต้องมีการเจรจากันบ้าง เป็นนโยบายที่ว่าคล้าย ๆ กับละเอียดอ่อน ต้องค่อย ๆ คุยกันในการที่จะไปทำหนังสือว่า ขอเอาคืนเลยก็จะมีปัญหาภายหลังในเรื่องของการโต้แย้งกันไปโต้แย้งกันมา แล้วปัจจุบัน เราก็มีการเรียกคืนแล้วก็นำมาจัดหาประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันก็อยู่ที่ประมาณร้อยละ ๘ ของที่ราชพัสดุ ซึ่งส่วนใหญ่ที่ว่าร้อยละ ๘ ก็จริง แต่จะเป็นกรณีที่ว่าช่วยเหลือราษฎร เสียส่วนใหญ่ ก็เลยทำให้เหมือนกับมูลค่าของเราในการจัดหาประโยชน์มันดูน้อย ไม่เป็นไป ตาม ROA เพราะว่ามันเป็นการช่วยเหลือผ่อนปรนเป็นหลัก แล้วก็ในกรณีที่ว่าส่วนราชการ ที่ใช้ผิดวัตถุประสงค์ในการทำสวัสดิการเชิงธุรกิจ ตอนนี้เราก็มีการเจรจาของแต่ละหน่วยงาน เช่น ของทางกองทัพบก ของกองทัพอากาศ แล้วก็หน่วยงานอื่น ๆ กองทัพเรืออย่างนี้ครับ มีการเจรจาเพื่อให้เขาเข้าใจว่าอะไรคือสวัสดิการภายใน อะไรคือสวัสดิการเชิงธุรกิจ เพื่อให้ เขาเข้าสู่กระบวนการในการจัดให้เช่าตามโครงการครับ
นายศุภชัย ตั้งวัฒนากร ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีการสำรวจและฐานข้อมูล ที่ราชพัสดุ ต้นฉบับ
สำหรับข้อ ๔ เรื่องของ Capital Charge ที่ท่านได้ติดตามมาเป็นเวลานาน แล้วนะครับ ก็จะขอชี้แจงว่าปัจจุบันนี้เราได้จ้างให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษาเสร็จแล้ว เสร็จแล้วก็ส่งมาที่กรมธนารักษ์แล้วครับ ตอนนี้กรมธนารักษ์ก็ดำเนินการนำสู่คณะกรรมการ ในเรื่องของด้านกฎหมายเพื่อจะมีการแก้ไขแล้วก็ปรับปรุง เช่น ตาม พ.ร.บ. ปี ๒๕๖๒ เขาได้ระบุว่าผู้ใช้ก็คือส่วนราชการ ถ้าเราจะนำมาเก็บค่าเช่ามันก็ต้องมาศึกษาว่าเกณฑ์ใด ที่คิดว่าส่วนราชการนั้นใช้พื้นที่แค่นี้เพียงพอแล้ว เพราะว่ามีหลายหน่วยงานในกรมธนารักษ์ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียนต่าง ๆ สถานีอนามัย โรงพัก ที่ว่าการอำเภอ เราต้องมาคิดก่อนว่า ความจำเป็นแล้วก็เกณฑ์ที่เขาควรจะได้รับในการใช้เท่าไร ส่วนที่เหลือเราจะมาปรับ ในการคิดเป็น Capital Charge เท่าไร ตรงนี้ก็ต้องใช้เวลานิดหนึ่งครับ เพราะว่าต้องแก้ เรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ก็ขอเรียนให้ทราบเบื้องต้นเท่านี้ก่อนครับ ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ไม่มีสมาชิกท่านใดติดใจสงสัยในงบประมาณนะครับ ก็ถือว่าที่ประชุมรับทราบรายงาน การเงินของแผ่นดินประจำปีงบประมาณ
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ขออนุญาตค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญท่านศิริกัญญาครับ
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ผู้ชี้แจงยังเหลืออีกท่านหนึ่ง ที่ยังไม่ได้ชี้แจงค่ะ จากทาง สคร. ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เชิญครับ
นางสาวสุธาวรรณ ศักดิ์โกศล ผู้อำนวยการสำนักบริหารหลักทรัพย์ของรัฐ สำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา แล้วก็ท่านสมาชิก สภาผู้ทรงเกียรติทุกท่านนะคะ ดิฉัน นางสาวสุธาวรรณ ศักดิ์โกศล ผู้อำนวยการสำนักบริหาร หลักทรัพย์ของรัฐ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ก็จะขอชี้แจงในส่วนของ ประเด็นที่ท่านศิริกัญญา ขออภัยที่เอ่ยนามนะคะ ได้สอบถามไว้ในเรื่องขององค์ประกอบของ เงินลงทุน จะขอสรุปเป็นสัก ๒ ประเด็นแล้วกัน ก็คือเป็นเรื่องของเงินลงทุน ในส่วนของ เงินลงทุนที่เป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย กับเงินลงทุนทั่วไป ที่ท่านได้สอบถามมาในลักษณะว่า ส่วนใหญ่แล้วเป็นหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ทำไมเราถึงถือ แล้วก็ทำไมถึงไม่ขาย อันนี้ก็ต้องเรียนให้ทราบว่าเนื่องจากหลักทรัพย์พวกนี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นหลักทรัพย์ที่ได้ มาจากการยึดทรัพย์ และโดยนิติเหตุกับหลักทรัพย์ที่มีนโยบายให้ถือครอง ซึ่งต้องเรียนว่า ที่ผ่านมากระทรวงการคลังเองเราก็ได้พยายามจำหน่ายหลักทรัพย์ในบางส่วนไปบ้างแล้ว แต่ว่าการจำหน่ายก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จในทุกครั้ง ซึ่งตัวนี้ในเรื่องของวิธีการจำหน่าย หรือราคาที่จำหน่ายก็ทำให้เรามีปัญหาอุปสรรคอยู่บ้าง อย่างไรก็ดีเราก็ได้พยายาม ดำเนินการที่จะจำหน่ายต่อไปอยู่นะคะ
นางสาวสุธาวรรณ ศักดิ์โกศล ผู้อำนวยการสำนักบริหารหลักทรัพย์ของรัฐ สำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ คือเรื่องของกองทุนรวมวายุภักษ์ ที่ท่านได้ให้ข้อสังเกตไว้ ในเรื่องของผลตอบแทนติดลบ อันนี้ต้องขอประทานอภัยว่าพอดีดิฉันไม่ได้นำข้อมูลตรงนี้ ติดมา เดี๋ยวถ้าอย่างไรจะขอตรวจสอบข้อมูลตรงนี้อีกครั้งหนึ่งก่อน แต่ว่าเท่าที่มีการรายงาน ในทุกครั้ง ผลตอบแทนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันน่าจะไม่ได้ติดลบสูงถึงขนาดนี้ ขอบพระคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ไม่มีใครติดใจแล้วนะครับ ถือว่าที่ประชุมรับทราบรายงานการเงินแผ่นดิน ประจำปี งบประมาณ ๒๕๖๕ ต้องขอบคุณผู้ชี้แจงทั้งหมดนะครับ ขอบคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
๒.๑๒ รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๖๕ สภาองค์กร ของผู้บริโภค
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ด้วยเลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคได้เสนอรายงานผล การปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๖๕ สภาองค์กรของผู้บริโภค ต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทราบ ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๖๒ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ได้จัดวางไว้ให้ท่านสมาชิกแล้ว มีท่านสมาชิกติดใจ ที่จะซักถาม ผมจึงขออนุญาตให้ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจงข้อเท็จจริง ต่อที่ประชุมตามข้อบังคับ ข้อ ๓๑ ขอเชิญผู้มีรายชื่อต่อไปนี้เข้าชี้แจงต่อที่ประชุม ท่านแรก คุณบุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค ท่านที่ ๒ ท่านสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ท่านที่ ๓ ท่านสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล รองเลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ท่านที่ ๔ ท่านณัฐฐิญา ภู่ริยะพันธ์ หัวหน้าฝ่ายงานเลขาธิการ ท่านที่ ๕ ท่านขนิษฐา อาษาชำนาญ เลขานุการ ท่านที่ ๖ ท่านวนันธร ศรีวิเส็ง เจ้าหน้าที่แผนยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล เชิญเข้าประจำที่ครับ สำหรับท่านสมาชิกที่จะอภิปรายมีจำนวนมากนะครับ รวมแล้ว ๑๕ ท่าน คงไม่มีท่านใด เพิ่มรายชื่อแล้วนะครับ ก็ขอยุติการเพิ่มรายชื่อก่อนครับ ท่านแรก ท่านร่มธรรม ขำนุรักษ์ เชิญครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ร่มธรรม ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ท่านประธานครับ ด้วยปัจจุบันปัญหาผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ ได้รับความไม่เป็นธรรม ยังปรากฏอยู่ในประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาเกินจริง สินค้าไม่ตรงปก สินค้าผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังเผชิญของที่ราคาแพงขึ้นทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค ขนส่งสาธารณะ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน พลังงาน อีกทั้งยังโดนหลอกโดนโกงเงินทางโทรศัพท์ หรือทางช่องทาง Online ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น กระผมคิดว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคมีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวแทน ของประชาชนทั้งประเทศ ที่มีความเป็นอิสระในการช่วยคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในทุกด้าน เพื่อคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนที่ดีขึ้น ผมขออนุญาตชื่นชมทางสภาองค์กรของผู้บริโภค ที่ทำงานอย่างตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์เรียกร้องคัดค้าน และให้ความคิดเห็น เพื่อปกป้องสิทธิของผู้บริโภคในประเด็นที่สำคัญ เช่น การควบรวมกิจการธุรกิจคมนาคมระหว่าง DTAC กับ TrueMove H การเข้าร่วม ความตกลง CPTPP การเข้าซื้อกิจการของ Broadband 3BB ของ AIS ค่ารถไฟฟ้าพลังงาน น้ำมันที่ราคาแพงขึ้น การให้ข้อมูลความรู้เตือนภัยที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เช่น อาชญากรรม Cyber การโกง หรือการหลอกทางโทรศัพท์ หรือช่องทาง Online สินค้า อาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายหรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค การรับเรื่อง ร้องเรียน แจ้งเบาะแส รับฟังข้อเสนอแนะ ให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยจากสถิติพบว่า มีเรื่องร้องเรียนแล้วกว่า ๓๑,๔๔๐ เรื่อง ในหลากหลายด้าน ทั้งด้านสินค้าและบริการ ด้านการเงินและธนาคาร ด้านการสื่อสารโทรคมนาคม การบริการสุขภาพ อาหารและยา เป็นต้น อีกทั้งยังได้มีการสนับสนุนให้เกิดการบริโภคที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การติดตามข้อเสนอของรัฐบาลต่อคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศหรือ IPCC กรณีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็น ๐ และการซื้อขาย ตลาดคาร์บอนและผลกระทบ การผลักดันนโยบายพลังงานสะอาด และพลังงานหมุนเวียน อื่น ๆ และที่สำคัญ ผมคิดว่าผลงานของสภาองค์กรของผู้บริโภคที่เสนอแนะนโยบาย และมาตรการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในหลากหลายด้าน เช่น การเสนอมาตรการแก้ปัญหา อาชญากรรม Cyber การเสนอแนะการแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพงเพื่อค่าไฟฟ้าที่เป็นธรรม การเสนอมาตรการควบคุมอาหารที่ผสมกัญชา การเสนอนโยบายด้านการส่งเสริม ความปลอดภัยการใช้ถนน เป็นต้น
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ตามรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๖๕ ของสภาองค์กรของผู้บริโภค ผมขอชื่นชมที่มีข้อมูลที่ครอบคลุมนะครับ ทั้งเป้าหมายองค์กร แผนปฏิบัติงาน ผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค ไปจนถึงรายงานทางการเงิน และส่วนที่ผมคิดว่าสำคัญมากก็คือข้อเสนอแนะในการคุ้มครองผู้บริโภคที่ครอบคลุม หลากหลายประเด็นทั้ง ๘ ด้าน จากรายงานนี้ผมมีข้อสนับสนุนและข้อเสนอแนะให้ทาง สภาองค์กรผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๑. ขอสนับสนุนให้มีการปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของไทย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค ปี ๒๕๒๒ ให้กำหนดสิทธิผู้บริโภคให้เท่าเทียมสิทธิผู้บริโภค สากลและเท่าทันกับปัญหาของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น สิทธิที่จะดำรงอยู่ใน สิ่งแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย สิทธิในการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะของคนทุกกลุ่ม สิทธิในการส่งเสริมเรื่องการบริโภคอย่างยั่งยืน และสิทธิในการซ่อมแซมหรือ Right to Repair นะครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๒. ผมขอเสนอแนะและสนับสนุนให้สภาองค์กรผู้บริโภคและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันผลักดันสิทธิของผู้บริโภคในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ขอให้เร่งแก้ไขปัญหาอาชญากรรม Cyber และการโดนหลอก ทาง Online เร่งมาตรการจัดการ Platform ตลาดสินค้า Online ควบคุมผู้ขายสินค้า ให้มีมาตรฐานและมีความปลอดภัย เร่งแก้ไขปัญหาแก๊ง Call Center และข้อความสั้น หลอกลวงทางการเงิน ด้านการขนส่งและยานพาหนะ ขอให้เร่งผลักดันการขนส่งมวลชน และยานพาหนะที่คิดค่าบริการที่เป็นธรรมและทุกคนเข้าถึงได้ โดยเฉพาะค่ารถไฟฟ้า และค่าเครื่องบิน เป็นต้น ซึ่งสมควรที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าเดินทางที่คำนึงถึง ค่าแรงขั้นต่ำของประชาชนในประเทศด้วย นอกจากนี้ยังขอให้เร่งผลักดันการขนส่งมวลชน และยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษต่ำ เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและปัญหาสภาพ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะยานพาหนะไฟฟ้า ขอให้เร่งผลักดันให้เกิดระบบตั๋วร่วม หรือว่าระบบบัตรใบเดียวที่สามารถใช้กับขนส่งมวลชนได้หลากหลาย ทั้งทางถนน ทางราง และทางเรือ ด้านสินค้าและบริการที่ยั่งยืน ขอให้เร่งตรวจสอบและป้องกันสารพลาสติก และสารพิษในอาหารและเครื่องดื่ม เร่งส่งเสริมสินค้าที่ให้ความสำคัญด้านความยั่งยืน และด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งแหล่งที่มา การผลิต และการกำจัด ที่ต้องคำนึงถึงด้านทรัพยากร ธรรมชาติ ด้านมลพิษ และด้านสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เร่งควบคุมสินค้าที่ทำให้เกิด มลพิษและขยะสูง เช่น บรรจุภัณฑ์ที่เกินความจำเป็น โดยสนับสนุนให้สินค้าต้อง Recycle ได้ง่าย เร่งผลักดันหลักการขยายความรับผิดชอบไปยังผู้ผลิต หรือเรียกว่า Extended Producer Responsibility ทั้งในเรื่องการออกแบบ การกระจายสินค้า การรับคืน การเก็บ รวบรวม การใช้ซ้ำ การนำกลับไปใช้ใหม่ และการบำบัดสิ่งแวดล้อม เร่งผลักดันให้เกิดสิทธิ ในการซ่อม หรือเรียกว่า Right to Repair สนับสนุนให้เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ต้องสามารถซ่อมได้ง่ายและมีอะไหล่สำรองเปลี่ยนได้ คืนได้ ด้านพลังงานและด้านสิ่งแวดล้อมนะครับ ขอให้เร่งผลักดันให้เกิดค่าไฟฟ้า น้ำมัน และพลังงานที่เป็นธรรม เร่งสนับสนุนพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ ในระดับครัวเรือน เร่งผลักดันและสนับสนุนสินค้าที่ Carbon ต่ำ เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมาย การลด Carbon สุทธิเป็น ๐ โดยเร็วที่สุด เร่งผลักดัน พ.ร.บ. อากาศสะอาด พ.ร.บ. การรายงานการปล่อยและการเคลื่อนย้ายสารมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม เร่งดำเนินการในการแก้ไข ปัญหาและการจัดการกับขยะในทุกประเภท ทั้งขยะพลาสติก ขยะอาหาร ขยะอันตราย และขยะประเภทอื่น ๆ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๓. ผมขอเสนอแนะและสนับสนุนให้คณะรัฐมนตรีสนับสนุนงบประมาณ ดำเนินงานของสภาผู้บริโภคอย่างเป็นระบบที่มีความสม่ำเสมอทุกปี เพื่อความต่อเนื่อง ในการดำเนินงาน เพื่อความสำเร็จ และความเป็นอิสระในการทำงานคุ้มครองของผู้บริโภค ภาคประชาชน สุดท้ายนี้ท่านประธานครับ กระผมขอฝากขอสนับสนุนและข้อเสนอแนะ ทั้งหมดนี้ผ่านท่านประธานไปยังสภาองค์กรของผู้บริโภค และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณารับฟังข้อเสนอแนะ และให้ความร่วมมือกับทางสภาองค์กรของผู้บริโภคต่อไป และขอเป็นกำลังใจในการทำงานขององค์กรเพื่อคุ้มครองปกป้องสิทธิและเป็นที่พึ่ง ของผู้บริโภค เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของพี่น้องประชาชนต่อไป ขอบคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านต่อไป ท่านมานพ คีรีภูวดล อยู่ไหมครับ ถ้ายังไม่มานะครับ ต่อไป ท่านฐากร ตัณฑสิทธิ์ ครับ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม ฐากร ตัณฑสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี รายชื่อ พรรคไทยสร้างไทย ก่อนอื่นต้องขออนุญาตท่านประธานครับว่าต้องขอชื่นชมรายงาน ประจำปีของสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อสักครู่ได้อ่านดูเห็นในนี้บอกว่า ๒๓ ปีแล้ว ที่องค์กรนี้มีโอกาสที่จะมีการจัดตั้งขึ้น ผมได้มีโอกาสร่วมงานแล้วก็ทำงานร่วมกับทาง ท่านประธานคุ้มครองผู้บริโภค ท่านเลขาธิการต่าง ๆ ที่ผ่านมา ต้องขออนุญาตชื่นชม ในการทำงานที่ผ่านมา วันนี้ที่ผมอยากจะนำเรียนข้อเสนอแนะต่าง ๆ กับทางสภาองค์กร คุ้มครองผู้บริโภค เรื่องที่สำคัญก็คือผมอ่านดูในรายงานประจำปีแล้ว คำถามก็คือว่า หน่วยงานนี้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการต่าง ๆ ที่เป็นไปตามข้อเสนอแนะ แล้วหน่วยงาน ที่จะต้องรับไปดำเนินการเขาดำเนินการตามความเห็นของเราบ้างไหมครับ ผมดูนะครับ ดูแล้ว ๑. ก็คืออำนาจตามมาตรา ๑๐ ที่ให้อำนาจท่านไว้ ก็คือให้สภาองค์กรผู้บริโภค ที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๙ เป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในทุกด้าน และดำเนินการอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ก็คืออำนาจของท่านมีหน้าที่ ในการคุ้มครองผู้บริโภคในทุกด้าน คราวนี้มาดูต่อไปอีกว่าอำนาจหน้าที่อื่นในการที่จะ ดำเนินการก็คือ สภาองค์กรผู้บริโภคตามมาตรา ๑๔ นอกจากมีอำนาจดำเนินการ ตามวัตถุประสงค์ที่ได้จัดตั้งแล้วในฐานะที่เป็นผู้แทนผู้บริโภค ให้มีอำนาจดำเนินการในเรื่อง ดังต่อไปนี้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อ ๑ ให้ความคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค รวมตลอดทั้งเสนอแนะ นโยบายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่อคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ผมต้องถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากนะครับ เห็นบอกว่าข้อ ๑ ก็คือให้ความคุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ดังนั้นที่อยากจะเรียนสอบถามก็คือความเห็นต่าง ๆ ข้อสังเกต ต่าง ๆ ใน ๘ ด้านที่ท่านนำเสนอให้กับหน่วยงานหรือรัฐบาลในการดำเนินการที่ผ่านมา หน่วยงานต่าง ๆ เขารับข้อเสนอดังกล่าวแล้ว พิจารณาแล้วเป็นอย่างไรบ้างที่ผ่านมา ถ้าเกิดว่าเขาไม่ดำเนินการตามนี้ สภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคมีแนวทางที่จะดำเนินการ ในเรื่องนี้อย่างไรบ้างเพื่อที่จะให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เช่น เรื่องแก๊ง Call Center ที่เกิดขึ้น ท่านอาจจะส่งเรื่องไปที่ กสทช. ไปที่กระทรวง DES ไปที่หน่วยงานต่าง ๆ ในการดำเนินการว่าขอให้หน่วยงานดังกล่าวได้ดำเนินการแก้ไขในเรื่องดังกล่าวนี้อย่างไร แล้วหน่วยงานนั้นตอบกลับมาอย่างไรเพื่อที่จะให้ดำเนินการตามแนวทางของเรา เพื่อที่จะให้ ประเทศในการเดินหน้าแก้ปัญหาในเรื่องพวกนี้ดำเนินการต่อไปได้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่สำคัญอีกเรื่องครับ ปัญหาเรื่องค่าไฟฟ้าแพง ผมเห็นอยู่ในนี้นะครับ ข้อเสนอแนะของท่านเป็นข้อเสนอแนะที่ดีมาก แต่คำถามก็คือว่าเราจะทำอย่างไรว่า ในการเสนอแก้ปัญหาของท่านจะแก้ไขปัญหาเรื่องพวกนี้ได้อย่างไรว่าหน่วยงานเขาได้ ดำเนินการตามความเห็นของเราอย่างไรบ้างหรือไม่ ผมขออนุญาตนำเรียนท่านนะครับ เช่น เรื่องพลังงาน ท่านได้เสนอแนะว่าในเรื่องพลังงาน ข้อ ๔ จะยุติการทำสัญญาโรงไฟฟ้าใหม่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเร่งเจรจากับคู่สัญญาทั้งโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ IPP ที่ไม่ได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้า รวมทั้งโรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก SPP เพื่อลดค่าใช้จ่ายพร้อมจ่าย ตามเงื่อนไข ไม่ใช่ก็ต้องจ่าย ลดภาระต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ตรงนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ ผมอ่านแล้วผมดีใจมากที่สภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคได้เสนอแนะในข้อนี้ แต่คำถามก็คือ ท่านได้แจ้งไปที่กระทรวงพลังงาน ได้แจ้งไปที่คณะรัฐมนตรี ได้แจ้งไปที่หน่วยงานไหนว่า อยากจะให้ดำเนินการตามนี้ คำตอบที่กลับมาคือจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร ถ้าทำได้ สำเร็จนะครับ ผมเรียนได้เลยว่าค่าไฟฟ้าวันนี้จะต้องถูกลง การคุ้มครองผู้บริโภคทางด้าน โทรคมนาคมเองก็จะต้องดำเนินการได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแก๊ง Call Center ค่าโทรศัพท์ ที่โทรศัพท์ล่มแล้วจะต้องทำอย่างไร อันนี้เห็นด้วยหมดทุกอย่างเลยครับ ทั้งหมดที่ท่านทำมา เป็นข้อเสนอแนะ ข้อสังเกตต่าง ๆ ที่ดีมาก แต่พอผมมาดูในรายละเอียด อำนาจหน้าที่ ของเรา เราจะทำอย่างไร ถ้าท่านคิดว่าอำนาจหน้าที่เราไปไม่ถึง เพียงแต่เป็นข้อเสนอแนะ เราจะทำอย่างไรเพื่อที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของเราต่าง ๆ ให้ท่านมีอำนาจในการที่จะ เสนอแนะแล้วก็นำไปปฏิบัติ เพื่อที่จะให้หน่วยงานต่าง ๆ รับข้อสังเกตของท่านไปดำเนินการ ในส่วนนี้ให้ประสบผลสำเร็จให้ได้ ตรงนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สุดท้ายนะครับ ขอให้หน่วยงานของท่านทำงานในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้ประสบผลสำเร็จ ผมแล้วก็ทางสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการที่จะดำเนินการ ในส่วนนี้ อันนี้เป็นผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของประเทศไทย ขอบพระคุณท่านมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านมานพยังไม่มานะครับ ต่อไปท่านรัฐ คลังแสง ครับ
นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม รัฐ คลังแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม เขต ๖ อำเภอกันทรวิชัย อำเภอเชียงยืน และอำเภอชื่นชม ขออนุญาตร่วมอภิปรายรายงานการปฏิบัติงานของ สภาองค์กรของผู้บริโภค ประจำปี ๒๕๖๕ ขอ Slide ด้วยครับ
นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ
ก่อนอื่นต้องขออนุญาตอธิบายให้พี่น้อง ประชาชนที่ได้รับชมรับฟังอยู่ทางบ้านได้เข้าใจสักนิดหนึ่ง อาจจะสับสนระหว่างสภาองค์กร ของผู้บริโภค และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. มีความแตกต่างกัน อยู่เล็กน้อย จากที่ผมสืบทราบจากการอ่านรายงาน สภาองค์กรของผู้บริโภคนั้นก็คือ เป็นองค์กรอิสระ เป็นตัวแทนผู้บริโภคภาคประชาชนเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ในขณะที่ สคบ. นั้น เป็นส่วนราชการ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และในส่วนภารกิจของสภาองค์กรของผู้บริโภค เท่าที่ผมอ่านจากรายงานนั้นก็มีหลัก ๆ อยู่คือเชิงรุกและเชิงรับ เชิงรุกนั้นก็คือเป็นการทำงาน เพื่อพัฒนา เสนอแนะ แล้วก็ผลักดันนโยบายต่อส่วนราชการ แล้วก็เป็นการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ แล้วก็เตือนภัยกับพี่น้องประชาชนผู้บริโภค แล้วก็ เฝ้าระวัง ท้วงติง คัดค้านในประเด็นที่มีแนวโน้มว่าผู้บริโภคนั้นจะถูกลิดรอนสิทธิ ในส่วน เชิงรับ นั่นก็คือเป็นหน่วยงานที่รับเรื่องราวร้องทุกข์ของผู้บริโภค ช่วยพิทักษ์สิทธิแล้วก็ แก้ปัญหา ในส่วนของความครอบคลุมในการปฏิบัติงานนั้น ก็เรียกว่าครอบคลุม ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคตั้งแต่ตื่นจนหลับ มีหลาย ๆ ด้าน เท่าที่ดูจากรายงานมีทั้งหมด ๘-๙ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงินและการธนาคาร ซึ่งรายงานก็ได้รายงานว่าด้านนี้เป็นด้าน ที่ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมิจฉาชีพ แก๊ง Call Center เรื่องการหลอกลวงทำธุรกรรม Online เรื่อง SMS ที่เข้ามาหลอกลวงให้ผู้บริโภคนั้นหลงกด แล้วก็หลงเผลอทำธุรกรรม Online แล้วก็ในเรื่องของสัญญาที่ไม่เป็นธรรมของสถาบัน การเงิน จำพวกเงินด่วน เงินเร็วทั้งหลาย พวกนี้มักจะแฝงด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม อะไร ที่ด่วนและเร็วมักจะไม่เป็นธรรมเสมอ โฆษณาสินค้าที่เกินจริง ของไม่ตรงปก สินค้าสั่งซื้อ Online ได้มาไม่ตรงปก ของไม่ตรง สั่งซื้อเสื้อ ได้รองเท้า ได้กางเกงบ้าง นี่เป็นปัญหาตั้งแต่ สากกะเบือยันเรือรบ เป็นสิ่งที่องค์กรของผู้บริโภคต้องรับภาระในการช่วยคุ้มครอง พิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค
นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ
และประเด็นร้อน ประเด็นที่เพิ่งเป็นข่าวเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาครับ นั่นก็คือ การที่รัฐบาลรักษาการได้ลักไก่แก้เกณฑ์การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ จากเดิมซึ่งเป็นระบบทั่วหน้า หมายความว่าผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปได้ทุกคน กลับมาเปลี่ยนเกณฑ์เป็นเฉพาะผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ยากจน อันนี้ละครับจะเป็นปัญหา นึกภาพถึงการพิสูจน์สิทธิลงทะเบียนบัตรคนจน ขึ้นมาทันทีเลยครับ ของเดิมยังไม่ได้มีการแก้ไข ผู้ที่เป็นคนจนลงทะเบียนรับสิทธิไม่สามารถ ลงทะเบียนได้ถึง ๔๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ชาวบ้านในพื้นที่หลายคนก็เรียกร้องสอบถาม ผู้แทนราษฎรมา ทำอย่างไร ฉันเป็นคนจนแต่ฉันลงทะเบียนบัตรคนจนไม่ได้ หลายคน มีปัญหานี้ ในขณะที่ผู้ที่ลงทะเบียนได้ถึง ๗๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ เป็นผู้ที่ไม่ได้ยากจน นี่คือ การพิสูจน์สิทธิ นี่คือปัญหาที่จะเกิดขึ้น จริงอยู่ครับ กฎหมาย ระเบียบบอกว่าผู้ที่ได้รับสิทธิ ก่อนวันที่ ๑๒ สิงหาคม จะยังได้รับสิทธิต่อไป นั่นหมายความว่าผู้ที่แก่ก่อนวันที่ ๑๒ ยังได้รับ สิทธิอยู่ แต่ผู้ที่กำลังจะแก่ล่ะครับ ผู้ที่เป็นว่าที่ผู้สูงอายุ หลังวันที่ ๑๒ นี่ละครับที่จะเป็น ปัญหา เพราะจะต้องมีการพิสูจน์สิทธิว่าจนจริงหรือไม่ สมควรได้รับเบี้ยผู้สูงอายุจริงหรือไม่ นี่เป็นประเด็นที่ผมสืบทราบจาก Facebook ของสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้มีการร้องเรียน ไปยังรัฐบาลรักษาการ กระทรวงมหาดไทย ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ ให้แก้ระเบียบตัวนี้ หรือท้วงติงการแก้เกณฑ์ตัวนี้ ซึ่งผมเห็นด้วยแล้วก็ชื่นชมในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาองค์กร ของผู้บริโภค แล้วก็ฝากไปยังรัฐบาลรักษาการ หรือรัฐบาลที่จะมาเป็นรัฐบาลหลังจากนี้ ช่วยแก้กลับไปเป็นเหมือนเดิมเสียก่อน ให้ผู้สูงอายุได้รับเบี้ยอย่างทั่วหน้าเสียก่อน ให้กระบวนการพิสูจน์สิทธิได้มีการพิสูจน์ได้อย่างถ่องแท้ ได้มีการคัดกรองว่าใครจนจริง ใครรวย ใครไม่จน อันนั้นเราค่อยมาว่ากันนะครับ
นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ
ในส่วนของรายงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค อันนี้ขอชื่นชม มีการร้องเรียน เข้าไปถึง ๑๔,๐๐๐ กว่าราย ๔,๐๐๐ กว่าเรื่อง แล้วก็สามารถยุติได้ ๑๓,๐๐๐ กว่าเรื่อง ถือเป็นผลสำเร็จอยู่ที่ ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ นี่ต้องขอชื่นชม แต่ผมมีข้อสังเกตอยู่นิดหนึ่ง ภายใต้การปฏิบัติงานในหลาย ๆ ด้าน ๘-๙ ด้านที่ว่ามานั้น มีอยู่ด้านหนึ่งที่เปอร์เซ็นต์ ความสำเร็จนั้นต่ำเหลือเกิน อยู่ที่ประมาณ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ตัวหนังสืออาจจะเล็กนะครับ นั่นก็คือด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย ตรงนี้ผมขอฝากเรียนผ่านท่านประธานไปยัง ผู้ชี้แจงนะครับ ช่วยชี้แจงสักนิดหนึ่งว่าเหตุผลตัวนี้ ด้านนี้ทำไมถึงต่ำกว่าด้านอื่น ๆ
นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ
สุดท้ายครับ ผมมองว่าการปฏิบัติงานของสภาองค์กรของผู้บริโภคนั้น เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยแท้จริง เป็นช่องทางที่ผู้บริโภคจะสามารถร้องเรียน ผมจึงอยาก ฝากข้อเสนอแนะสักนิดหนึ่ง ในกระบวนการหรือว่าในช่องทางที่สามารถร้องเรียนได้ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ ผมเอาขึ้นมาโชว์ใน Slide สักนิดหนึ่ง เผื่อพี่น้องทางบ้านมีประสบปัญหา ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการต่าง ๆ สามารถร้องเรียนเข้าไปได้ ที่สภาองค์กรของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นทาง Facebook หรือว่า Website จะมีช่องทาง การร้องเรียนอยู่ แล้วก็มีสายด่วนให้โทรศัพท์ไปได้ แต่ผมอยากจะเสนออีกนิดหนึ่ง มันยังมี พี่น้องประชาชนผู้บริโภคอีกหลายท่านหลายส่วน รวมทั้งกระผมเองนะครับ ก่อนจะมาวันนี้ ผมไม่ทราบว่ามีองค์กรนี้อยู่ เพราะฉะนั้นฝากเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง ให้พี่น้อง ในระดับรากหญ้าได้ทราบช่องทางในการพิทักษ์สิทธิของตัวเอง ฝากขยายองค์กร ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ทุกตำบล แล้วก็เพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ในการรับรู้ สู่ผู้ด้อยโอกาส ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบ Online หรือ Internet ได้ ใช้วิทยุชุมชน ใช้โทรทัศน์ แล้วก็ให้ความรู้และส่งเสริมการสร้างบทบาทแก่ผู้นำชุมชนในการให้ความรู้ แล้วก็ให้ช่องทางแก่พี่น้องประชาชนในการเข้าถึงช่องทางการร้องเรียน ขอฝากสภาไว้ เพียงเท่านี้ครับ กราบขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปคุณภัณฑิล น่วมเจิม เชิญครับ
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตคลองเตย เขตวัฒนา รบกวน ขอ Slide ด้วยครับ
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ก่อนอื่นก็ขอชื่นชมและสนับสนุน การทำงานของสภาองค์กรผู้บริโภคนะครับ ที่ช่วยกันดูแลสิทธิของผู้บริโภค รับเรื่องร้องเรียน ต่าง ๆ ภารกิจค่อนข้างเยอะนะครับ ครอบคลุมหลายด้านอย่างที่สมาชิกหลายท่าน ได้อภิปรายก็จะมีภารกิจในเรื่องของการรับเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ สำรวจ วิเคราะห์ข้อร้องเรียน ต่าง ๆ แล้วก็ประสานความร่วมมือไปยังกับหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงจัดทำข้อเสนอแนะ นโยบาย ก็มีข้อเป็นห่วงนิดหนึ่งครับ เพราะว่างบประมาณแต่ละปีที่ใช้ก็หลัก ๑๐๐ ล้านบาท ตอนนี้เงินก็ลดลงจากปี ๒๕๖๔ ๓๐๐ กว่าล้านบาท เหลือ ๑๐๐ กว่าล้านบาท อันนี้ก็เข้าใจ ว่าเป็นหน่วยงานรับงบประมาณนะครับ แต่ก็เรื่องความต่อเนื่องของการทำงาน ก็อยากจะให้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลในเรื่องของการงบประมาณ รับงบประมาณให้สามารถ Complete หรือทำภารกิจได้
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ยกตัวอย่างเรื่องแรก เรื่องบริการสาธารณสุข ปัจจุบันก็มีปัญหาค่อนข้างเยอะ เรื่อง UCEP อุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน หลายครั้งไม่ฟรีจริงนะครับ ไปโรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชนต้องวางเงินมัดจำ ไม่มีเงินก็คือต้องไปที่อื่น แล้วก็มีการตีความว่าเข้าเกณฑ์ สีเหลืองไหม ฉุกเฉินหรือเปล่า คือต้องใกล้ตายหรืออย่างไร ใช่ไหมครับ ถึงจะได้รับ การให้บริการ ไม่อย่างนั้นก็ไม่เข้าเกณฑ์ก็ต้องไปโรงพยาบาลอื่นที่ตัวเองมีสิทธิอยู่ ซึ่งอันนี้ สภาองค์กรผู้บริโภคก็น่าจะรับมาหลาย Case ก็ต้องเป็นการกำชับกับทางสถานพยาบาล ให้ทำตามกฎ กติกาที่วางเอาไว้ ไม่ควรมีสิทธิที่จะปฏิเสธผู้ที่เจ็บป่วยฉุกเฉินนะครับ
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่ง ก็พูดกันไปเยอะเรื่อง SMS หลอกลวง ให้เงินกู้ต่าง ๆ การดูแล นักลงทุนรายย่อย อย่างเช่นในกรณีของ STARK หรือบัญชีม้าต่าง ๆ ที่ขายของแล้วก็โอนเงิน ไปแล้วไม่ได้รับสินค้า อันนี้ก็จะเป็นในเรื่องของการเงินและการธนาคารที่สภาองค์กร ของผู้บริโภคก็จะดูแลค่อนข้างเยอะนะครับ
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่ง ก็เป็นเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย ซึ่งท่านเพื่อน สมาชิกได้อภิปรายไปก่อนหน้านี้ว่ายังมีการที่ไม่สามารถแก้ไขข้อร้องเรียนได้เยอะเพียงพอ ซึ่งก็ได้ไปร่วมงานกับทางสภาองค์กรผู้บริโภคหลายงานในเรื่องของผังเมืองของ กทม. แล้วก็ EIA ซึ่งมีข้อร้องเรียนค่อนข้างเยอะ มีการไม่ถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อยู่อาศัยโดยรอบ โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ขนาดตึกสูงซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องที่ทางสภาองค์กรของผู้บริโภค ก็ดูแลช่วยประสานไปยังหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ แล้วก็มีการจัดเวทีเสวนาต่าง ๆ ซึ่งเป็น เรื่องที่ดี
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่งก็จะเป็นเรื่องของทางม้าลาย เราในฐานะผู้เสียภาษีก็ควรจะได้รับ ทางม้าลายที่ปลอดภัย เรื่องสัญญาณจราจรต่าง ๆ การติดกล้อง CCTV การใช้สีเสา ป้ายสัญญาณต่าง ๆ อันนี้ก็เป็นภารกิจหนึ่งที่สภาองค์กรของผู้บริโภคก็เห็นอยู่ในรายงาน ก็ขอชื่นชมนะครับ
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้ายที่เป็นตัวอย่างที่นำเสนอก็คือเรื่องของบรรจุภัณฑ์ว่าปัจจุบัน มีสินค้าอุปโภคบริโภคค่อนข้างเยอะที่มีส่วนผสมของกัญชา ซึ่งหลายท่านบริโภคเข้าไป เกิด Side Effect มีอาการข้างเคียงค่อนข้างเยอะ ทางสภาองค์กรของผู้บริโภคก็ระบุไว้ ในรายงานว่าจะมีการกวดขันดูแลร้านอาหารต่าง ๆ รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ที่มี ส่วนผสมของกัญชา ซึ่งก็ต้องระบุให้ค่อนข้างชัดนะครับ ไม่อย่างนั้นผู้บริโภคดื่มหรือกินเข้าไป จะแพ้หรือมีอาการข้างเคียงได้
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
โดยสรุปก็ขอชื่นชมนะครับ สภาองค์กรของผู้บริโภคที่ดูแลผู้บริโภค ในหลายมิติ ไม่ว่าจะเรื่องสาธารณสุข การเงิน ธนาคาร สินค้าอุปโภคบริโภค แล้วก็เรื่อง ความปลอดภัยในการสัญจร ก็ฝากในเรื่องของความต่อเนื่องของงบประมาณด้วยเพื่อจะทำ ภารกิจให้ครอบคลุมนะครับ ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านภูริวรรธก์ ใจสำราญ ครับ
นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ผม ภูริวรรธก์ ใจสำราญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต ๑๒ ท่านประธานสภาครับ เมื่อปีที่แล้ว แล้วก็เมื่อ ๒ เดือนก่อนที่ผ่านมา กระผมได้ทำงานประสานกับประชาชน ผู้เดือดร้อนในพื้นที่ที่ผมดูแลอยู่ จากการถูกหลอกซื้อผลิตภัณฑ์ Treatment บนใบหน้า จำนวนหลายแสนบาท พอได้อ่านรายงานประจำปีของสภาองค์กรของผู้บริโภคเล่มนี้ละครับ ฉบับนี้นะครับ หน้า ๖๔ ก็รู้สึกดีใจเพราะว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน รูปแบบที่เกิดขึ้นเหมือนกัน สถานที่คล้ายกัน เมื่อมีการจัดให้ยุติแล้วด้วย แต่ว่าเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างก็เกิดซ้ำขึ้นอีก เมื่ออ่านรายงานฉบับนี้ไปครับ ก็มีความไม่ชัดเจนในหลาย ๆ ประเด็น เริ่มต้นก็ขอ Slide เลยนะครับ
นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
การจัดตั้งสภาองค์กร ของผู้บริโภคเกิดขึ้นในช่วงของยุค คสช. โดยมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือ สนช. ให้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งสภา ในขณะเดียวกันย้อนกลับไปปี ๒๕๕๘ นั้น ทาง สคบ. ก็มี มติไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้ง แต่สุดท้ายก็คลอดออกมา มีผลบังคับใช้ในปี ๒๕๖๒ โดยวัตถุประสงค์ของสภาองค์กรของผู้บริโภคนั้นถูกระบุให้เป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำจากรัฐหรือพรรคการเมือง แต่เมื่อถูกแต่งตั้งในยุค คสช. และมาจนถึงทุกวันนี้ ก็ทำให้ประชาชนแล้วก็ตัวเราคาดหวังอย่างยิ่งว่าตัวองค์กรแล้วก็ตัวบุคลากรต่าง ๆ ที่ดำรง ตำแหน่งในสภานั้นจะทำงานอย่างเป็นกลาง โปร่งใส แล้วก็เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เมื่ออ่านวัตถุประสงค์บางข้อ เราก็จะพบว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคนั้น แตกต่างจาก สคบ. คือไม่ใช่คนกลาง แล้วก็มีหน้าที่ต่อรองให้กับผู้บริโภค แต่ก็ดันไปเหมือน สภาอุตสาหกรรม แล้วก็เหมือนหอการค้าครับ ที่รักษาผลประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจด้วย ตรงนี้เป็นที่น่าสังเกตนะครับ เพราะว่าการร้องเรียนของผู้บริโภคนั้นส่วนใหญ่มักจะเกิด มาจากการกระทำของผู้ประกอบการ ตรงนี้ทำให้เราต้องกลับไปดูต่อในเรื่องของรายงานผล การทำงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค ก็คือว่าถ้าเราแยกแยะขั้นตอนการดำเนินงาน ก็จะพบว่าเรื่องส่วนใหญ่นั้นมักจะยุติหรือจบอยู่ที่การเจรจาไกล่เกลี่ยนะครับ
นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
จากข้อมูลรายงานฉบับนี้ มีเรื่องร้องเรียนทั้งหมด ๑๔,๙๔๑ เรื่อง แล้วก็ สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยได้ ๑๓,๖๑๗ เรื่อง หรือ ๙๑.๑๔ เปอร์เซ็นต์ ในขณะเดียวกันก็มี อีกประมาณ ๑๙ คดีนั้นเองที่ดำเนินฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ข้อเสียคือพอมันไกล่เกลี่ยได้ก็ไม่น่า แปลกใจที่ว่าบางกรณีนั้นเราก็ยังพบการเอาเปรียบผู้บริโภค แล้วก็การประกอบกิจการ แบบเดิม ๆ อยู่ทุกวันนี้ นั่นแสดงว่าบางครั้งเราอาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ต้นตอได้ หรือหยุดผู้กระทำผิดได้จริง ๆ มองอีกด้านก็อาจจะกลายเป็นว่าลดความเสียหายให้กับ ผู้ประกอบการนั้น ๆ ที่ค่าชดเชยต่าง ๆ ไม่ต้องจ่ายแพงจนเกินไป หรือว่าไม่ต้องได้โทษหนัก เป็นต้น ยกตัวอย่างกรณีหนึ่งที่ทางผมและทีมกฎหมายพรรคก้าวไกล กทม. เขต ๑๒ ได้ทำนะครับ คือการเข้าไปช่วยกรณีถูกล่อซื้อ Course Treatment บนใบหน้านี่ละครับ เช่นเดียวกับที่ท่านเขียนในรายงานฉบับนี้ ทุกวันนี้การหลอกลวงแบบนั้นก็ยังเกิดขึ้น ไม่ใช่แค่ เฉพาะในกรุงเทพฯ แต่ว่าจังหวัดใหญ่ ๆ ในประเทศไทยก็โดนเช่นเดียวกัน ผู้เสียหาย บ้างก็ได้รับเงินคืนเต็มจำนวนบ้าง บางส่วนบ้าง แลกกับการยุติไม่ฟ้องร้องดำเนินคดี กรณีของผมเราก็เข้าไปดูเพิ่มเติม เข้าไปค้นหาข้อมูลว่าผู้ประกอบการบริษัทเหล่านั้น มีชาวต่างชาติจดทะเบียนรวมกับชาวไทยแล้วก็ถือหุ้นเกิน ๕๑ เปอร์เซ็นต์เสียด้วยซ้ำ ในขณะเดียวกันก็มีความเคลือบแคลงในเรื่องของการจด อย. ด้วย ซึ่งเราสามารถที่จะ ดำเนินการแล้วก็เอาผิดได้มากกว่านี้นะครับ เมื่อเกิดปัญหาก็มีการข่มขู่ผู้บริโภคครับ ข่มขู่ไม่ได้ผล ดันไปเจอผู้บริโภคที่เป็นคนจริงก็ยินยอมชดใช้ให้ สุดท้ายครับ ย้ายหน้าร้าน เปลี่ยน Brand แล้วก็กลับมาทำแบบเดิม ทุกวันนี้ก็ยังคงอยู่ จากรายงานครับ เราสามารถ มองได้ว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นช่องทางลำดับ ๑ สำหรับในการรับเรื่องของประชาชน รวมถึงมีหน้าที่ในการให้ข้อมูลข่าวสาร เสนอแนะนโยบาย แล้วก็กลั่นกรองเป็นกฎหมาย ต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะมองว่าจริง ๆ แล้วหน้าที่ของสภาองค์กรของผู้บริโภคนั้นก็อาจจะเป็น งานด้านหนึ่ง หรือหน่วยงานด้านหนึ่งของ สคบ. หากมองในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณ แล้วก็การทำงบประมาณเพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนก็จะมีประโยชน์นะครับ เมื่อกล่าวถึงเรื่อง งบประมาณ เราอยากจะมาทราบรายละเอียดบางอย่างเพิ่มเติมนะครับ ก็คือว่ารายได้หลัก ปัจจุบันนั้นมาจากเงินอุดหนุนของรัฐเป็นหลัก นอกเหนือจากนั้นจะมีรายได้อื่น ๆ เช่น เงินลงทุนระยะสั้น ทรัพย์สินไม่มีตัวตน ดูเหมือนจะเป็นสัดส่วนรายได้ที่มีจำนวนไม่มาก เน้นการใช้เงินสนับสนุนของภาครัฐเป็นหลักเลย รายจ่ายตามแผนโครงการและงานต่าง ๆ ของสำนักงานไปอยู่ที่เงินสนับสนุนให้หน่วยงานประจำจังหวัด หน่วยงานเขตพื้นที่ และสมาชิกขององค์กรผู้บริโภค ตรงนี้อยากให้ชี้แจงเพิ่มเติมในเรื่องของการให้เงินสนับสนุน สมาชิก หน่วยงานองค์กร เพราะเนื่องจากว่ามีหลาย ๆ หน่วยงานถูกตรวจสอบว่ามีการจัดตั้ง ขึ้นอย่างถูกต้องหรือไม่ หรือมีการตั้งขึ้นลอย ๆ เพื่อรับเงินสนับสนุนหรือเปล่า รวมไปถึง หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกที่ปรึกษาแต่ละโครงการว่ามีมาตรฐานในการจัดจ้างเป็นแบบไหน
นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นต่อมา คือเรื่องของเงินสด รายจ่ายทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน ถึง ๙,๖๓๐,๐๐๐ บาท ที่ใช้ไปกับ Website แล้วโปรแกรมคอมพิวเตอร์ครับ ซึ่งรายงาน ฉบับนี้ก็มีการแจ้งว่ามีทั้ง Website ที่ให้เป็น Channel ในการร้องเรียน มีระบบวิเคราะห์ ข้อมูล Dashboard ต่าง ๆ มีระบบบริหารสำนักงาน e-Meeting เป็นต้น ซึ่งราคากลาง ในการพัฒนาของระบบเหล่านี้ผมคิดว่าไม่น่าจะสูงอย่างที่แจ้งไว้ เมื่อ Click เข้าไปดูเนื้อหา บางอย่างก็ไม่ได้มีข้อมูลนำเสนอออกมา เช่น สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง ข้อมูลไกล่เกลี่ยสำเร็จ หรือไม่ หรือว่ารายละเอียดคดีที่ฟ้อง เป็นต้น นอกจากนี้รายจ่ายในเรื่องของสื่อ Social Media ประชาสัมพันธ์ของสภาองค์กรของผู้บริโภคมีการแจ้งว่า Engagement มีไม่น้อยกว่า ๙,๓๐๐,๐๐๐ กว่าครั้ง เพื่อเข้าไปดู Facebook Fanpage Twitter Instagram LINE Official YouTube ต่าง ๆ พบว่า Facebook มีผู้ติดตามมากที่สุดคือ ๗.๓ หมื่นคน แล้วก็มีผู้กดถูกใจทั้งหมดกว่า ๖๑,๐๐๐ ครั้ง ซึ่งเป็นช่องทางที่มีผู้ติดตามเยอะที่สุดอย่างที่ ผมได้กล่าวไป Twitter Instagram ไม่ค่อยดีครับ บาง Post อาจจะมียอดไลก์ ๑ แล้วก็ มากที่สุดแค่ ๒๘ ไลก์เท่านั้นเอง YouTube มีผู้ติดตาม ๔๐๕ คน มีเพียง ๔ คลิปเท่านั้นที่มี คนเข้าชมเกิน ๑,๐๐๐ ครั้ง แล้วก็มี ๒๖ คลิป เข้าชมเกิน ๑๐๐ ครั้ง แล้วก็มี ๘๙ คลิป ที่คนดูไม่ถึง ๑๐ ครั้ง ส่วน TikTok และ LINE Official ค่อนข้างที่จะผลิตออกมาได้ดีครับ มีประสิทธิภาพ แล้วก็คิดว่าน่าจะพัฒนาได้ดีมากกว่านี้ด้วย ทีมงานลองรวบรวมยอด Engagement มาดูครับ กว่า ๔ ล้านกว่าครั้ง ก็อาจจะเป็นตัวเลขที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พอเรามาดูเรื่องของงบประมาณแผนสื่อสารสาธารณะที่มีมูลค่ารวมถึง ๓๕ ล้านบาทนั้น ก็อาจจะต้องดูว่าคุ้มค่าหรือไม่
นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
สุดท้ายแล้ว วันนี้ประชาชนทุกคนมีปัญหาทุกด้าน ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกหลอก ได้รับความไม่เป็นธรรมด้วย ทุกวันนี้เรามองว่าช่องทางไหนล่ะที่เป็นช่องทาง ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ประชาชนพึ่งได้มากที่สุด แล้วก็แก้ไขปัญหาที่ต้นตอได้มากที่สุด เราก็หวังว่า ให้สภาองค์กรของผู้บริโภคนั้นเป็นสิ่งที่คาดหวังของประชาชนได้ต่อไป แล้วในขณะเดียวกัน ช่วยตรวจสอบองค์กรเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยว่าปฏิบัติการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใสด้วยหรือเปล่าเช่นนี้นะครับ ขอบคุณ มากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านทินพล ศรีธเรศ ครับ
นายทินพล ศรีธเรศ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม ทินพล ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขตเลือกตั้งที่ ๕ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานที่เคารพครับ สิ่งที่ผมอยากเห็นจากสภาองค์กรของผู้บริโภคคือการทำงานเชิงรุก ที่เข้มข้นขึ้น ท่านประธานครับ ถ้าพูดถึงผู้บริโภคแล้วคนไทยแทบจะทุกคนเป็นผู้บริโภค ซึ่งวัตถุประสงค์ขององค์กรของผู้บริโภคเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริโภคเลย แล้ววัตถุประสงค์ ที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ตรวจสอบ ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสินค้าและบริการ แจ้งหรือโฆษณาข่าวสาร หรือเตือนภัยเกี่ยวกับ สินค้าและบริการที่อาจจะกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภค ตามที่ดูในรายงานประจำปี ของสภาองค์กรของผู้บริโภค ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่มาถึงสภาองค์กรของผู้บริโภคจะเป็น ปัญหาที่ปลายเหตุ ผลงานขององค์กรของผู้บริโภคที่ช่วยไกล่เกลี่ยและยุติเรื่องร้องเรียนได้ กว่าร้อยละ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ กว่าร้อยละ ๙๐ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี น่าชื่นชม แต่ท่านประธานครับ มีอีกหลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคที่ยังไม่มีเรื่องร้องเรียนมาถึงองค์กรผู้บริโภคก็ยังมีอีก เยอะแยะมากมายเลยครับ อย่างเช่น การซื้อขายของทาง Social Media หรือว่าซื้อขาย ทาง Online ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนไม่ได้ร้องเรียนเพราะคิดว่าเป็นความเสียหายเล็ก ๆ น้อย ๆ ซื้อของไม่กี่ร้อยบาท ไม่ได้ของหรือได้ของไม่ตรงปก หรือว่าได้ของที่ไม่มีคุณภาพ และการที่ จะไปร้องเรียนหรือเรียกร้องความเสียหายก็ไม่คุ้มกับการเสียเวลา หรือไม่ก็ไม่รู้ว่าจะไป ร้องเรียนกับใคร หรือหน่วยงานไหน ช่องทางใด เช่น โฆษณาโดยการนำสินค้าที่มีคุณภาพ มาโฆษณา แล้วเมื่อตกลงซื้อขายแล้วก็ส่งสินค้าที่ไม่มีคุณภาพไปให้ลูกค้า ประชาชน หลายท่านบอกผมว่าเมื่อได้รับสินค้าที่ไม่ตรงปกแบบนี้แล้วไม่รู้จะไปร้องเรียนกับใคร ซึ่งดูทาง Social Media แล้วเป็นการโฆษณาเกินจริง เมื่อได้รับของแล้วผมไม่รู้จะไปร้องเรียนกับใคร ไม่รู้จะไปร้องเรียนกับ สคบ. หรือว่าจะไปร้องเรียนกับคณะกรรมการปราบปรามการกระทำ ความผิดทางเทคโนโลยี หรือว่าร้องเรียนกับคณะสภาองค์กรของผู้บริโภคของท่าน ความเสียหายแบบนี้เกิดขึ้นมากมาย จึงอยากจะเห็นการทำงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค ทำงานในเชิงรุกที่เข้มข้นขึ้น แทนที่จะรอรับเรื่องร้องเรียนเพียงอย่างเดียว การซื้อของ ท่านไปซื้อได้เลยตอนนี้ ในขณะที่เราประชุมอยู่ตอนนี้ ผู้กระทำความผิดก็ยังกระทำความผิดอยู่ ถ้าท่านไปสั่งซื้อของได้ แล้วท่านก็จะได้เลยว่าของไม่ตรงปก อยากให้ท่านทำงานในเชิงรุก ให้มากขึ้น อย่าให้คนที่ตั้งใจมาโกงพี่น้องประชาชนยืนอยู่ได้ครับ ต้องได้รับโทษเพื่อไม่ให้เป็น เยี่ยงอย่าง จึงอยากจะเห็นสภาองค์กรของผู้บริโภคทำงานอย่างบูรณาการกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น สคบ. กระทรวงพาณิชย์ หรือว่ากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น เพื่อที่ท่านจะได้ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านณัฐวุฒิ บัวประทุม เชิญครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านประธาน ที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัดอ่างทอง ท่านประธานครับ ผมขอมีส่วนร่วมเป็นตัวแทนของประชาชน ในการอภิปรายต่อรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของสภาองค์กรของผู้บริโภค แน่นอนครับ มีหลายประเด็นที่อาจจะซ้ำซ้อนกับเพื่อนสมาชิกที่ได้อภิปรายไปบ้าง แต่ผมคิดว่าการจะย้ำ การจะถามแบบชัด ๆ การจะขอคำตอบชัด ๆ จากสภาขององค์กรของผู้บริโภคนั้น ยังจำเป็นต้องถาม ซึ่งผมขออนุญาตแยกออกเป็นทั้งหมด ๔ ประเด็นด้วยกัน
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ มีความเข้าใจอย่างชัดเจนว่าหลักการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น เป็นหลักการที่เกิดขึ้นจากสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากลที่เรียกว่า Consumer International หรือ CI ในหลักการนี้ครับ แล้วก็ต้องขอบพระคุณทางสภาองค์กรของผู้บริโภคก็เอามาคลี่ ให้เห็นอยู่ในรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ว่ามีทั้งหมดอยู่ ๘ หลักการสำคัญด้วยกัน นี่รวมถึงกรณี ที่องค์การสหประชาชาติได้มีการประกาศเพิ่มเติม ที่สำคัญก็คือว่าในพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้บริโภค ปี ๒๕๒๒ นั้น มีการนำหลักการทั้ง ๘ หลักการ เอามาเขียนไว้ในกฎหมาย แบ่งออกมาเป็น ๕ หลักการด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องสิทธิการได้รับข้อมูล ข่าวสาร สิทธิที่จะมีสิทธิในการเลือกสินค้าหรือบริการต่าง ๆ สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย สิทธิที่จะ ได้รับความเป็นธรรม แล้วก็สิทธิที่จะได้รับการชดเชยและเยียวยาในกรณีเกิดความเสียหาย อันเกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการต่าง ๆ แต่ในเมื่อมันมีอยู่ทั้งหมดแค่ ๕ หลักการ จากสิ่งที่ ควรจะเป็น ๘ หลักการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางประเด็นที่สำคัญ เช่น สิทธิในการที่จะ เข้าถึงบริการที่จำเป็น หรือสิ่งที่เราเรียกว่าบริการขั้นพื้นฐานที่สุดที่พี่น้องประชาชนควรจะ ได้รับ เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องยา เรื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งแน่นอนพวกผมพูดบ่อยครั้ง แม้กระทั่ง กรณีของสุขภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะอนามัยการเจริญพันธุ์ เช่นผ้าอนามัยต่าง ๆ เป็นต้น แล้วก็รวมถึงสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริโภคที่เป็น เรื่องของอิเล็กทรอนิกส์ ก็ต้องถามท่านครับว่าในเมื่อท่านเขียนไว้เองว่าในพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค ปี ๒๕๒๒ นั้นมีแค่ ๕ หลักการ จากสิ่งที่ควรจะเป็น ๘ หลักการ ท่านมี การสรุปบทเรียนสะท้อนในนามของสภาขององค์กรผู้บริโภคหรือไม่ว่าสมควรที่จะต้องมี การแก้ไขปรับปรุงร่าง หรือมีการปรับแก้ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค ปี ๒๕๒๒ ถ้าจะแก้ ควรจะต้องแก้อย่างไร ถ้าท่านเป็นผู้เสนอจะเสนอใคร ถ้าท่านอยากให้พรรคการเมือง ลุกขึ้นมายืนยันสนับสนุนนั้น ท่านอยากเห็นอะไรในการปรับแก้ใด ๆ ต่าง ๆ บ้าง นั่นเป็น ประเด็นที่ ๑ ที่ผมอยากจะเรียนสอบถามทางท่านผู้ชี้แจงครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ ท่านประธานครับ เมื่อเราพิจารณาจากปัญหาเรื่องของการใช้จ่าย งบประมาณ ซึ่งแน่นอนว่ามีการเขียนรายละเอียดที่น่าสนใจว่าการได้รับการสนับสนุน งบประมาณของสภาองค์กรของผู้บริโภคนั้น ควรจะต้องอยู่ที่ประมาณร้อยละ ๕ บาท ต่อจำนวนประชากร ๑ คน ตัวเลขกลม ๆ นั่นหมายถึงว่าควรจะได้รับงบประมาณสนับสนุน ปีละประมาณ ๓๕๐ ล้านบาท นั่นคือสิ่งที่ท่านเคยได้รับในปี ๒๕๖๔ แต่เราไม่เห็น รายละเอียดว่าในปีงบประมาณปี ๒๕๖๕ ในปีงบประมาณปี ๒๕๖๖ แล้วก็ต้องถามเลยไปว่า สำหรับกรณีของงบประมาณปีละ ๒๕๖๗ ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภา ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่า จะเป็นเมื่อไรนั้น เพราะเหตุใดตัวเลขเหล่านี้ถึงหายไป เป็นเพราะท่านใช้น้อยกว่าจำนวน ที่ควรจะเป็น เป็นเพราะปัญหาของการบริหารสินทรัพย์ของท่าน ซึ่งเพื่อนสมาชิกหลายท่าน ก็ชี้ให้เห็นว่าการบริหารสินทรัพย์นั้นจำเป็น มีเงินหลายตัวที่ต้องคลี่อธิบายให้ชัดว่า มันหายไปอย่างไร ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร หรือเป็นเพราะเหตุใดรัฐให้ท่านใช้ในปี ๒๕๖๕ และปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ในทำนองกลับกันครับ กฎหมายในเรื่องของการตั้งสภาองค์กร ของผู้บริโภคนั้น บอกว่าต้องปราศจากการครอบงำจากรัฐ ผมก็ต้องถามท่านตรง ๆ ในเมื่อ ต้องปราศจากการครอบงำ การชี้นำจากรัฐ แต่เพราะเหตุใดถึงต้องมีสารจากรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีนี่พอเข้าใจได้นะครับ ท่านปลัดธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ท่านเขียนสารจากปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีถึงพี่น้องประชาชนใด ๆ ต่าง ๆ แต่ท่านบอกว่าต้องปราศจากการครอบงำของรัฐ แล้วท่านให้รัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรีเขียนสารทำไม เราอยากฟังสารจากท่านเลขาธิการ อยากฟังสารจาก ท่านประธานสภาองค์กรของผู้บริโภคมากกว่า อยากเพิ่มหน้าให้นะครับ ๑๗๔ หน้าที่ท่าน เขียนมา อยากได้หน้าของคนที่เขาเป็นผู้บริโภคที่ได้รับการดูแลจากท่านมากกว่า นั่นเป็น ประเด็นที่ ๒ ที่ผมจำเป็นต้องถามถึงครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในประการที่ ๓ ท่านประธานครับ ในรายละเอียดของการดำเนินการ เราพบว่าวันนี้เรามีตัวแทนขององค์กรผู้บริโภคต่าง ๆ อยู่ทั้งหมด ๒๖๕ องค์กรที่เป็นสมาชิก หรือเครือข่ายของท่าน แต่มันกระจายตัวอยู่เพียง ๓๙ จังหวัด ท่านมีศูนย์รับเรื่องอยู่ ๑๔ แห่ง ซึ่งกระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาค คำถามก็คือว่าแล้วมันมีความแตกต่างกันหรือไม่ ระหว่างจังหวัดที่ไม่มีตัวแทนขององค์กรผู้บริโภคต่าง ๆ เลย ซึ่งก็ถือว่าเกือบเป็นจำนวน ครึ่งหนึ่ง มันมีคำถาม หรือการปฏิบัติ หรือการดำเนินการให้บริการที่แตกต่างกันหรือไม่ ในกรณีของจังหวัดต่าง ๆ ที่ไม่มีศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ ซึ่งแน่นอนเป็นจำนวนใหญ่ ผมไม่เห็นด้วยว่าการมีศูนย์ไม่จำเป็นต้องมีทุกจังหวัด แต่การมีศูนย์ที่กระจายตัวอยู่นั้น ตอบสนองต่อการรับเรื่องราวร้องเรียนต่าง ๆ หรือไม่ แล้วต้องขอบพระคุณเพื่อนสมาชิกผม ท่าน สส. ภูริวรรธก์ ใจสำราญ ท่านพูดถึงว่าโดยสถิติของการรับเรื่องของท่าน ๑๔,๙๔๑ เรื่อง แล้วมีการยุติเรื่องได้ถึง ๑๓,๖๑๗ เรื่อง หรือคิดเป็น ๙๑.๑๔ เปอร์เซ็นต์ นี่น่าสนใจนะครับ ผมเห็นแบบนี้ปุ๊บ กระทรวงยุติธรรมควรจะเอาไปใช้ ผมเห็นแบบนี้ปุ๊บ คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรจะเอาไปใช้ ผมเห็นแบบนี้ปุ๊บ สภาควรจะเอาไปใช้ แต่ท่านสรุปหรือถอดบทเรียนให้เราหน่อยได้ไหมว่าในจำนวนความสำเร็จ ๙๑.๑๔ เปอร์เซ็นต์นั้น ท่านใช้กระบวนการหรือเทคนิควิธีการใดในการยุติเรื่องร้องเรียน แล้วมีอัตราเรื่องร้องเรียนซ้ำ ในกรณีเมื่อยุติแต่มันไม่ยุติ มันนำไปสู่การร้องเรียนกลับใด ๆ ต่าง ๆ หรือไม่ ประการใด ผมคิดว่าหากถอดบทเรียนในเชิงบวกได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๔ เป็นประการสุดท้าย แต่ผมก็จะพูดแทนเด็ก ๕๔๐,๐๐๐ คน ในประเทศ ต้องขออนุญาตท่านประธาน อาจจะเกินเวลาสักเล็กน้อย ตั้งแต่เปิดสภามา พูดน้อยมากครับ คุมเวลาไม่ค่อยได้ อะไรครับ ๕๔๐,๐๐๐ คน ๕๔๐,๐๐๐ คน คือเด็กทุกวัน ต้องขึ้นรถนักเรียน รถรับส่งนักเรียน หรือรถโรงเรียน ที่ผมต้องพูดเรื่องนี้ เพราะผม เป็น ๑ ในตัวแทนของพรรคก้าวไกลที่ไปร่วมประชุมกับท่าน แล้วท่านสรุปบทเรียนได้ น่าสนใจมากว่าเด็ก ๕๔๐,๐๐๐ คนในประเทศกำลังเจอสถานการณ์ความไม่ปลอดภัย ในรถนักเรียน เราไม่อยากร้องไห้กับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นจากการลืมเด็กไว้ในรถ แล้วบอกว่าเหตุสุดวิสัย ไม่มีนะครับ ไม่มีคำว่าเหตุสุดวิสัยจากการลืมเด็กไว้ในรถ เราไม่อยากร้องไห้จากการที่รถนักเรียน ๒ ชั้นทัศนศึกษาแล้วไปคว่ำ เราไม่อยากร้องไห้ กับรถสภาพผุพังแบกรับเด็กไม่รู้จำนวนเท่าไรแล้วไม่มีผู้ปกครองดูแลอยู่ท้ายรถ ซึ่งเหล่านี้ ข้อเสนอของท่านคือข้อเสนอ ๒ ด้าน คือด้านงบประมาณและด้านคุณภาพของรถรับส่ง นักเรียน ผมคิดว่าอยากให้ท่านขยายความครับ แล้วอยากให้ท่านทวงถามผ่านสภาแห่งนี้ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลยว่าวันนี้กระทรวงศึกษาธิการรับเรื่องนี้ไปดำเนินการแค่ไหน ต้องแก้กฎกระทรวงหรือไม่ อย่างที่ผมเคยเข้าร่วมประชุมกับท่าน กระทรวงคมนาคมเดินหน้า ไปถึงไหน ต้องแก้ดำเนินการต่าง ๆ หรือไม่ หรือใช้ระบบของจังหวัด เช่น กรณีขององค์กร ผู้บริโภคจังหวัดพะเยาที่ทำอยู่ในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ ผมอยากให้ท่านขยายความครับ แล้วสิ่งเหล่านี้พวกเราในฐานะตัวแทนประชาชนจะได้ไปพูด เด็ก ๕๔๐,๐๐๐ คนอาจจะเป็น ลูกผม อาจจะเป็นหลานท่าน อาจจะเป็นเด็กทุกคนในประเทศแห่งนี้ เราปล่อยเขารอ ไม่ได้ครับ สิ่งเหล่านี้ต้องชื่นชม และต้องฝากเป็นประเด็นสำคัญเป็นประการสุดท้าย ขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านเฉลิมชัย กุลาเลิศ ครับ
นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม เฉลิมชัย กุลาเลิศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล ห้วยขวาง วังทองหลาง วันนี้ก็ขอบคุณท่านประธานที่ให้โอกาสได้อภิปราย แล้วก็ขอบคุณ ท่านผู้มาชี้แจงที่ได้กรุณามานะครับ ก่อนอื่นเลยผมมีทั้ง ๒ ประเด็น อันที่ ๑ ก็คือผมอยากจะ ชื่นชมในการทำงานของท่าน ของสภาองค์กรของผู้บริโภคนะครับ
นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ ในเรื่องของเมื่อปีที่แล้ว ใครคงจำกันได้ว่ามีเรื่องที่ท่านได้เตือน พี่น้องประชาชนจำนวนมากในเรื่องของถุงลมนิรภัยฉุกเฉินที่มีปัญหา ซึ่งเป็นปัญหาค้างคา มากว่า ๑๐ ปี ซึ่งหลายท่านก็คงได้เห็นแล้วว่าการเรียกมาเปลี่ยนขึ้นมาช้ามาก ๆ จริง ๆ หลังจากที่ท่านได้ออกมาเตือน ก็มีหน่วยงานภาครัฐ เช่น สคบ. หรือหน่วยงานอื่น ๆ ได้ออกมากระทุ้ง รับลูก ทำให้ประชาชนเป็นวงกว้างได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ แต่ในส่วน อื่น ๆ ผมมีเรื่องที่อยากจะชี้แจงและอยากจะช่วยกรุณาสอบถามท่านเพิ่มเติมนะครับ โดยในส่วนที่ ๑ ที่ผมอยากจะแนะนำท่าน การประชาสัมพันธ์ของท่าน ณ ตอนนี้ที่ผมได้ เข้าไปดูทั้งใน Fanpage Facebook TikTok Twitter หรืออะไรก็ตาม ท่านเน้นไปที่ปัญหา ที่พี่น้องประชาชนได้พบ ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่ดี แต่ท่านขาดในเรื่องของการสร้าง Branding คำว่า Branding ของผมหมายถึงว่าท่านขาดการสร้างความให้ความรู้กับประชาชนว่า ท่านแตกต่างกับองค์กรต่าง ๆ เช่น สคบ. หรือหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ อย่างไร ซึ่งผมเข้าใจว่า ท่านก็ตระหนักดีในข้อนี้ ซึ่งท่านได้เขียนมาเป็นจำนวนถึง ๒ หน้าของเรื่องนี้ ซึ่งก็อยากจะให้ ท่านได้เพิ่มเติมการประชาสัมพันธ์ในเรื่องของการสร้าง Branding ข้อแตกต่างว่า ท่านสามารถทำอะไรได้บ้าง เช่น ท่านสามารถรับเรื่องร้องเรียนแทนพี่น้องประชาชน ท่านสามารถแต่งตั้งทนายขึ้นมาแทนพี่น้องประชาชนได้ครับ
นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ในส่วนต่อไป ข้อสังเกตที่ผม อยากจะสอบถามท่านในส่วนของเงินสนับสนุนเครือข่ายสมาชิก ซึ่งเป็นจำนวนเงินถึง ประมาณ ๑๘ ล้านบาท อันนี้ท่านมีเกณฑ์อย่างไรในการให้การสนับสนุนจำนวนเงิน ถึง ๑๘ ล้านบาท มีข้อชี้วัดอย่างไรว่าจะให้หรือไม่ให้อย่างไร เพราะเมื่อผมเข้าไปดูในรายชื่อ ภาคีเครือข่ายของท่านแต่ละคนแล้ว บางองค์กรก็แทบไม่เคยได้ยินชื่อเลยด้วยซ้ำ หรือบางองค์กรแม้แต่โทรศัพท์ไปก็โทรไม่ติดเลยด้วยซ้ำ ก็เลยอยากจะให้ท่านช่วยกรุณา ชี้แจงว่าเกณฑ์การพิจารณาว่าท่านจะให้เงินสนับสนุนมีเกณฑ์อย่างไรครับ
นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ข้อ ๒ ในส่วนของเงินประชาสัมพันธ์ที่ท่านได้จ้างที่ปรึกษาเป็นจำนวนเงินถึง ๘ ล้านบาท อันนี้ผมอยากจะสอบถามท่านว่าการจ้างที่ปรึกษาเป็นจำนวนเงิน ๘ ล้านบาท มันมากเกินไปหรือไม่ อย่างไร เพราะว่าเมื่อคิดเป็นจำนวนเงินต่อเดือนแล้วมันอยู่ที่ประมาณ ๖๐๐,๐๐๐- ๗๐๐,๐๐๐ บาท ผมอยากจะสอบถามท่านว่าที่ท่านตั้งงบไว้ ๘ ล้านบาทนี้ มันรวมถึงการสร้างสื่อโฆษณาหรือไม่ แต่จากการคาดเดาและจากการที่ผมได้อ่านมา มันน่าจะไม่รวม เพราะว่ามันมีงบในการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ อยากจะขอให้ท่านได้เปิด สัญญาขึ้นมาว่า ๘ ล้านบาทนี้ ที่ท่านตั้งไว้เขามีหน้าที่ทำอะไรก็ตาม ถ้าเขามีหน้าที่ให้เป็นแค่ ที่ปรึกษาผมว่ามันมากเกินไปนะครับ
นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ส่วนต่อไป ในส่วนที่ท่านของบประมาณเพิ่มเติมในปีถัดไป ประมาณ ๕ บาท ต่อจำนวนประชากร หรือประมาณ ๓๕๐ ล้านบาท ผมเห็นการใช้งบประมาณของท่านเมื่อปี ๒๕๖๔ ปี ๒๕๖๕ ท่านใช้ปีละประมาณ ๑๗๐ ล้านบาท ผมก็เลยอยากจะสอบถามท่าน ในประเด็นต่อไปว่าที่ท่านขอเงินเป็นจำนวนเงินถึงประมาณ ๓๐๐ กว่าล้านบาท ท่านมีแผน อย่างไรที่จะใช้ให้เต็มจำนวน หรือว่าเบิกจ่ายให้ครบตามจำนวนที่ท่านขอไป
นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
สุดท้ายแล้วผมชื่นชมนะครับ ในการเกิดขึ้นมาของสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งเกิดขึ้นตามอนุสัญญา ตามที่ท่าน สส. ณัฐวุฒิได้อภิปรายไปเมื่อสักครู่นี้ ก็อยากจะให้ ทางรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณตามความเหมาะสมที่ท่านจะได้จัดสรรต่อไป อย่างไร ก็ขอบพระคุณท่านประธาน แล้วก็ขอให้ท่านผู้มาชี้แจงได้ช่วยโปรดกรุณาชี้แจงด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เชิญครับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ต่อเรื่องรายงาน ประจำปี ๒๕๖๕ ของสภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อนสมาชิกมาชมท่านเยอะแล้วนะครับ ผมจะชี้ประเด็นที่ผมมองว่าเป็นปัญหาให้กับท่าน ผมเรียนครับ ผมก็ให้กำลังใจท่าน ในการทำงานในการคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรมันมีความเชื่อมโยงกับหลายส่วนงาน ตัวสภาองค์กรคุ้มครองของผู้บริโภคเอง สคบ. เอง แล้วก็ไล่ไปถึงหน่วยงานที่เป็นฝ่ายปฏิบัติ จะเป็นตำรวจ จะเป็นอะไร ซึ่งมันมีความเชื่อมโยงกันไปหมด เป็นเครือข่ายในการที่จะเข้ามา ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในเรื่องของการถูกเอารัดเอาเปรียบต่าง ๆ ผมดูรายงานของท่าน สิ่งที่ท่านทำในประเด็นแรกเลยก็คือเรื่องของงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับประเทศ ซึ่งร่วมมือ ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศด้วย มีเครือข่ายอะไรต่าง ๆ ครอบคลุม มีข้อเสนอ ที่สำคัญ เช่น ข้อเสนอไปยัง กสทช. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องเสนอให้ไม่ควรให้มีการควบรวมธุรกิจ เช่น True DTAC มีข้อเสนอไปยังกระทรวงพลังงาน ซึ่งเสนอให้มีมาตรการกำกับราคาน้ำมันที่เป็นธรรม จัดเก็บ ภาษีลาภลอย มีเรื่องของยุติการอนุมัติรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าใหม่เข้าระบบ เพื่อที่จะลด ราคาค่าครองชีพให้พี่น้องประชาชน ผลักดันในเรื่องคิดค่าไฟแบบ Net Metering ข้อเสนอ ต่อ อย. ก็มีมาตรการกำกับในเรื่องของการห้ามใช้กัญชาในอาหาร ข้อเสนออื่น ๆ หลายอย่าง เรื่องรถยนต์ เรื่อง PM2.5 ข้อเสนอในเรื่องของตัวกฎหมาย พ.ร.บ. อากาศสะอาด ท่านครับ ข้อเสนอของท่านสะท้อนเสียงใกล้เคียงกับในสภาผู้แทนราษฎร ผมเองก็เคยพูดเกือบทุก ประเด็น เพื่อสมาชิกนั่งในนี้ทุกคนก็ได้ยินได้ฟัง ก็พูดกันใกล้เคียงท่าน แต่ท่านครับ ทั้งเรา และท่าน ท่านคิดไหมครับว่าข้อเสนอของท่าน ท่านเขียนมาในบทสรุปทั้งหมดไม่สำเร็จ สักเรื่อง ไม่ได้โทษท่านนะครับ ผมก็โทษตัวเองเหมือนกันเพราะผมก็พูดแล้วมันก็ไม่สำเร็จ มันเหมือนกับเราและท่านเป็นเสือกระดาษที่ไม่มีอำนาจในการที่จะไปบังคับ ตัว พ.ร.บ. ของตัวสภาองค์กรคุ้มครองของผู้บริโภคเองมันไม่ได้ให้อำนาจท่านไว้ เขียนมาก็มี แต่ข้อเสนอ แต่ข้อเสนอทั้งหมดเมื่อผู้เป็นรัฐไม่รับฟังเราจึงเห็นเหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้น สิ่งนี้ มันเป็นประเด็นปัญหา ซึ่งเราจะต้องไปหาวิธีการในการอุดช่องโหว่ ในส่วนของข้อเสนออื่น ๆ ที่มีความสำคัญที่ผมอยากจะยกประเด็นอีกสักประเด็นหนึ่งสั้น ๆ ข้อเสนอในเรื่องของ การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคกับกลุ่มปัญหาเฉพาะบางประเภท ท่านยกตัวอย่างมา ท่านไม่ได้เขียนชื่อบริษัทหรอก แต่ก็พูดได้ครับในสภา ไม่มีอะไร ก็เรื่องอย่าง Forex อย่างนี้ เป็นต้น เรื่องของตลาด Cryptocurrency เดี๋ยวนี้การที่เขาเอาเปรียบผู้บริโภคมันมากกว่า นั้นแล้ว มันไม่ได้เป็นรูปแบบสมัยก่อน ขายผงซักฟอกแล้วผงซักฟอกไม่เต็มกล่อง มันไม่ใช่ เรื่องว่าขายสินค้าแล้วเกินราคา หรือเอาของหมดอายุมาขาย เดี๋ยวนี้มันเลยไปแล้ว มันกลายเป็นตลาดซึ่งมีรูปแบบใหม่ เป็นตลาด Digital ซึ่งผมมีข้อสงสัยมากนะครับ ผมเข้าใจ ในความตั้งใจของท่าน ท่านมีบุคลากรที่มีความพร้อมจริงหรือไม่ในการที่จะเข้าไปกำกับ ดูแล ไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในเรื่องที่มันมีโครงสร้างที่ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วขนาดนี้ อย่าว่าแต่ท่านเลยครับ ภาครัฐทั้งหมดผมว่าตามไม่ทันหรอกครับ เพราะว่าโลกมันเปลี่ยน เร็วมาก เดี๋ยวนี้เขามี AI เขามีกลไกใหม่ ๆ มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เปลี่ยนทุกวัน บริษัทในเรื่อง ของ Cryptocurrency ที่มีปัญหาเปลี่ยนหน้าไม่ซ้ำวัน กลไกเหล่านี้ท่านจะต้องไปสร้างปีก ใหม่ในองค์กรของท่านในตัวสภาคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อที่จะมีความพร้อมในการรองรับกับ ความเปลี่ยนแปลงที่มันเกิดขึ้น เพื่อที่จะสามารถรองรับกับปัญหาที่จะเกิดกับพี่น้องประชาชน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้คงเป็นประเด็นที่อยากจะฝาก ผมอยากจะเรียนต่อท่านครับ ที่ใช้คำว่า เสือกระดาษ มันถึงเวลาหรือยังที่เราจะต้องมาสังคายนากฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึง คณะกรรมการสภาเองด้วย สภาองค์กรของผู้บริโภคด้วย รวมถึง สคบ. ด้วย รวมถึง ฝ่ายกำกับติดตามอื่น ๆ ด้วย ที่จะมาบูรณาการมาหากลไกที่จะมีอำนาจจริง ๆ ในการที่จะ ป้องกันไม่ให้พี่น้องประชาชนต้องเดือดร้อนเหมือนเช่นปัจจุบัน มูลค่าความเสียหายเดี๋ยวนี้ มันไม่ใช่หลักพัน หลักหมื่น มันไปเป็นแสนล้าน เจอเรื่องของ Cryptocurrency เข้าไปทีเดียว เป็นหมื่นล้าน แสนล้าน เพราะฉะนั้นมันคือช่องโหว่ที่เราจะต้องเร่งดำเนินการ เพราะฉะนั้น กลไกกฎหมายที่จะให้อำนาจกับท่านมันต้องรองรับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้ายครับท่านประธาน ท่านเขียนมาในรายงานของท่านในเรื่อง ของตัวเลขต่าง ๆ มีตัวเลขหนึ่งที่ผมดูแล้วผมก็สงสัย นั่นก็คือตัวเลขในเรื่องของ การดำเนินงานของท่าน ท่านใช้คำว่า การให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ มีการถูกละเมิดสิทธิแจ้งท่านมา ๑๔,๙๔๐ ราย
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ประเด็นแรก จำนวนนี้ ไม่ใช่ตัวเลขจริงเด็ดขาดของผู้ที่ถูกละเมิด มันต่ำ เกินไปมาก เรารับทราบกันดี ท่านก็รู้ ผมก็รู้
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ท่านบอกว่าสามารถยุติปัญหาร้องเรียนได้ถึง ๑๓,๖๐๐ กว่าเรื่อง คิดเป็น ๙๒ เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขนี้ผมเห็นแล้วผมบอกว่าไม่จริง การยุติไม่ได้หมายความว่า เราสามารถให้ความช่วยเหลือกับพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนได้อย่างสมบูรณ์ ดูง่าย ๆ เลย ท่านแจ้งตัวเลขนี้มาแล้วท่านก็มาสรุปติดท้ายว่ามีเงินของผู้บริโภคที่ได้รับความช่วยเหลือ ได้รับการชดเชยแล้ว ๒๐๐ กว่าล้านบาท ๒๐๐ กว่าล้านบาทนี้ห่างไกลกับมูลค่า ความเสียหายของพี่น้องประชาชนเป็นหมื่นเท่า หมายความว่ากลไกที่เรามีอยู่ยังไม่รองรับ เพียงพอ ผมพูดตัวเลขนี้ท่านก็รู้ว่าตัวเลขนี้มันไม่ใกล้เคียงกับสภาพปัญหาที่แท้จริง หมายความว่าภาระหน้าที่ของท่านในการที่จะดำเนินการในอนาคตเพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ในกลไกที่จะรองรับการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนยังมีอีกมาก ผมก็ขอฝากท่าน ดำเนินงานต่อ ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณเกียรติคุณ ต้นยาง เชิญครับ
นายเกียรติคุณ ต้นยาง นนทบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรครับ กระผม นายเกียรติคุณ ต้นยาง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๗ อำเภอบางบัวทอง อำเภอไทรน้อย พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขออนุญาตอภิปรายเรื่องรายงาน การปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๖๕ สภาองค์กรของผู้บริโภค สิ่งที่ผมจะอภิปรายต่อไปนี้เป็นการอภิปรายระหว่างมิตรกับมิตร กัลยาณมิตรที่มีต่อ กัลยาณมิตร ในฐานะที่ท่านก็เป็นผู้บริโภค ผมก็เป็นผู้บริโภค ผมเป็นผู้แทนราษฎร ราษฎร ของผมก็คือผู้บริโภค องค์กรของท่านก็เริ่มต้นจากการรวบรวมของผู้บริโภค เพื่อผู้บริโภค โดยผู้บริโภค ขอ Slide ด้วยนะครับ Slide แผ่นแรกผมจะบอกถึงที่มาของ สอบ. ว่ามี ความยากเย็นแสนเข็ญลำบากขนาดไหนกว่าจะก่อเกิดมาเป็น สอบ. ในวันนี้ได้นะครับ ท่านมี กฎหมายรัฐธรรมนูญรองรับ ท่านมีพระราชบัญญัติเป็นของตัวเอง เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ มากนะครับ ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์ได้ไหมครับ ท่านประธานครับ Slide ผมหาย ผมต้องแจ้ง สอบ. ไหมครับ Slide ผมหาย คุ้มครองผู้บริโภคผมด้วยนะครับ ยังไม่ทันอะไรเลยผมเป็น ผู้เสียหายเสียแล้ว
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ท่านพูดต่อไป เลยครับ เดี๋ยวทางห้องโสตทัศนูปกรณ์เขากำลังเตรียมการอยู่นะครับ
นายเกียรติคุณ ต้นยาง นนทบุรี ต้นฉบับ
ผมให้ทุกท่านจินตนาการตามผม ด้วยนะครับ เพราะบังเอิญ Slide ผมมันไม่ขึ้น ข้อร้องเรียนที่มีกับสภาองค์กรของผู้บริโภค มีทั้งหมด ๑๔,๙๔๑ เรื่อง เยอะนะครับ เยอะมาก โดยผมจะขออนุญาตยกมาอยู่ด้านหนึ่งที่มี ผู้ร้องเรียนมากที่สุดคือเรื่องของการเงิน การธนาคาร ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วประมาณ ๔๓ กว่าเปอร์เซ็นต์ เกือบครึ่งหนึ่งเลยของเรื่องที่มีการร้องเรียนกัน แล้วเรื่องอันดับที่ ๒ คือเรื่องอะไรครับ เรื่องสินค้าบริการทั่วไป เรื่องสินค้าบริการทั่วไปทำไมเป็นอันดับที่ ๒ มีแค่ ๒๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ทั้ง ๆ ที่สถาบันการเงิน ธนาคาร
นายเกียรติคุณ ต้นยาง นนทบุรี ต้นฉบับ
Slide ผ่านไปเลยครับ อาจจะเล็กไป นิดหนึ่ง ท่านจะเห็นว่าอันดับที่ ๑ คือการเงิน การธนาคาร มากที่สุดเลย อันดับที่ ๒ คือสินค้า บริการทั่วไป ทำไมน้อยกว่ากันครึ่งต่อครึ่ง สินค้าบริการทั่วไปมันมีแค่ ๑๐ กว่าแห่งหรือ ร้านค้าจำหน่ายสินค้ามันมีแค่ ๑๐ กว่าแห่งหรือ สถาบันการเงินมันมีเป็นร้อย ๆ แห่ง หรืออย่างไร ทำไมถึงมีข้อมูลความเสียหาย การร้องเรียนที่มากขึ้นมากกว่ากัน สิ่งนี้เป็น ตัวเลขที่ขออนุญาตเรียนท่านประธานฝากไปทางผู้ชี้แจง ช่วยคลี่ออกมาด้วยว่าทุกคน ซื้อสินค้าบริการ แน่นอนมากกว่าใช้บริการการเงิน การธนาคาร แต่ทำไมเรื่องร้องเรียน มันน้อยกว่า เพราะอะไร เขาไปร้องเรียนที่อื่นหรือเปล่า เขาไปพึ่งพาอาศัยที่อื่นหรือเปล่า อันนี้ฝากไว้นะครับ ขอ Slide ผ่านไปด้วยครับ นี่ครับคำตอบของ Slide ที่แล้ว คือปัญหา ในการแสดงผลข้อมูลที่ไม่ตรงกันของท่าน ปัญหาตัวเลขที่ไม่ตรงกันในเรื่องของ ด้านซ้าย ท่านจะเห็นนะครับ ด้านซ้ายมือจะเป็นตัวเลขที่มาจากเล่มสรุปของท่าน มีทั้งหมด ๑๔,๙๔๑ เรื่อง ด้านขวาวงกลมด้านบนท่านจะเห็นนะครับ ตัวเลขจาก Website ของท่าน ๑๕,๙๓๙ เรื่อง ถ้าพี่วิโรจน์จะพูดบอกว่า ว๊ายทำไมตัวเลขมันต่างกันอย่างนี้ วัน เวลาที่ระบุไว้ ใช่วัน เวลาเดียวกันหรือเปล่า ผมภาวนาว่าวัน เวลาที่ระบุตัวเลข ๒ ตัวเลขนี้ไม่ใช่วันเดียวกัน ขอให้ไม่ใช่วันเดียวกันนะครับ ในส่วนของการเงิน การธนาคารในเล่มของท่านบอกว่ามี ๗,๐๗๑ เรื่อง ใน Website มี ๗,๑๔๑ เรื่อง มันห่างกันเกือบ ๑๐๐ เรื่อง ขอเถอะครับว่า รายงานผลทั้ง ๒ แห่งนี้ไม่ใช่วันเดียวกันนะครับ
นายเกียรติคุณ ต้นยาง นนทบุรี ต้นฉบับ
ขอ Slide ต่อไปด้วยครับ นี่คือคำตอบของ ๒ Slide ที่ผ่านมาว่ามันเกิด อะไรขึ้นกับองค์กรของท่าน ผมอภิปรายทั้งหมดเพื่อหวังจะเติมเต็มท่าน ให้ท่านช่วยคุ้มครอง ผู้บริโภคได้อย่าง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ วันนี้เรามาดูตัวเลขกัน เรื่องที่ท่านให้ความช่วยเหลือจะบ่งบอกสถานะว่าตอนนี้เรื่องอะไร ทำอะไรไปบ้าง เรื่องอะไร ถึงขั้นตอนไหน ถ้าดูเรื่องที่ ๒ ครับ มี ห อยู่ตัวเดียว ที่วงกลม ห อยู่ตัวเดียว ห คืออะไรครับ มันเป็นรหัสอะไรของท่าน นี่ถ้าเป็น ค ในโลก Social เขารู้ว่า แปลว่าอะไร แต่ ห ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร วงกลมต่อมาที่เห็นเป็นเรื่องของความบกพร่องที่เกิด ในหน่วยงานของท่าน ตั้ง ๕๐๐ กว่าจุดที่ผมไปส่องดู ไม่แค่จุดนี้จุดเดียว มี ๕๐๐ กว่าจุด ถ้าผมเป็นอาจารย์ผมว่าท่านไม่ผ่าน ผมไม่ให้ผ่านนะครับ แล้วมีอีกเรื่องหนึ่งที่น่าตกใจ ท่านจะเห็นนะครับ ยังไม่ดำเนินการ มีด้วยหรือครับ เรื่องที่ท่านรับแล้วก็ยังไม่ดำเนินการ เขามาร้อง เขาเสียหายแล้ว ทำไมท่านยังไม่ดำเนินการให้เขา มันน่าเห็นใจมากกับเรื่องที่ เขาร้องมาแล้วท่านก็ไม่ดำเนินการให้ เรื่องที่ท่านบอกว่ายุติ ยุติ ยุติ เยอะเลย เพื่อนสมาชิก หลายท่านก็อภิปรายไปแล้วว่ายุติเยอะมาก ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่ยุติของท่านขยายความ นิดหนึ่งได้ไหมครับ ยุติเพราะอะไร มันสำเร็จหรือเขาถอนเรื่อง หรือเจรจา หรือทำอะไรไม่ได้ ก็เลยยุติ ยุติบอกด้วยนะครับ ยุติเพราะอะไร
นายเกียรติคุณ ต้นยาง นนทบุรี ต้นฉบับ
ขอ Slide ถัดไปด้วยครับ เพราะว่า Slide ผมไม่ขึ้น ผมเสียเวลาไปประมาณ ๑ นาที Slide นี้ก็จะบอกว่าข้อมูลที่ขาดหายไปคืออะไร ท่านจะเห็นวงกลมนะครับ ภาษาอังกฤษ Null ผมขออนุญาตอ่านว่า นัล มันคืออะไร มันคือโมฆะ มันคือไม่มีข้อมูล มันได้หรือครับ คนเขาร้องมา แต่สถานะบอกว่าไม่มีข้อมูล มันเป็นโมฆะ มันเป็นไปได้เลยครับ องค์กรของท่านมีอยู่ ๑๔ จังหวัด ดีใจกับเพื่อนภาคเหนือนะครับ มีอยู่หลายจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน ภาคตะวันตกมีตั้ง ๑ จังหวัดคือกาญจนบุรี ภาคกลางของผม มีกรุงเทพฯ สมุทรสงคราม นนทบุรีของผมไม่มีนะครับ ประชากรเป็นล้าน สส. ยกจังหวัด ไม่มีหน่วยงานเลย ชาวบ้านเดือดร้อนคุ้มครองผู้บริโภคจะไปร้องใคร เพื่อนผม ปทุมธานี สมุทรปราการ สส. ยกจังหวัด จะไปร้องเรียนใครได้ เร็ว ๆ ผ่านมานี้ก็เห็นว่ายุบไป ๑ จังหวัด คือฉะเชิงเทรา มีน้อยไม่ว่า ยุบไปอีกนะครับ ขอคำตอบด้วยว่าท่านมีหลักการอะไรที่ไป ยุบเขา ขอ Slide ถัดไปอีกนิดหนึ่งครับ Slide สุดท้ายแล้วนะครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ผมขอให้สรุป ได้แล้วครับ
นายเกียรติคุณ ต้นยาง นนทบุรี ต้นฉบับ
ครับท่าน เรื่องที่ชาวบ้านมาร้องเรียน คุณป้าวัย ๗๐ กว่า ต้องพายเรือทวนน้ำมาร้องเรียนผมเพราะเขารู้ว่าผมลงพื้นที่ ถ้าจังหวัด นนทบุรีมีหน่วยงาน สอบ. คุณป้าไม่ต้องพายเรือมาหาผมอย่างนี้เลย ฝากไว้นะครับ อีกนิดเดียวครับ เรื่องของที่ท่านประกาศรับสมัครทนายความ ผมว่าท่านน่าจะติดต่อ สภาทนายความได้นะครับ ไม่จำเป็นต้องรับสมัครทนายความ ทำ MOU กับสภาทนายความ ก็ได้ หรือท่านกลัวว่าจะถูกฉีก MOU ไม่ต้องกลัวนะครับ เป็นกำลังใจให้ครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณอดิศร เพียงเกษ ครับ
นายอดิศร เพียงเกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม อดิศร เพียงเกษ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ผมขออนุญาตชมเชยทางผู้มาชี้แจง จากสภาองค์กรของผู้บริโภค ผมฟังแล้วว่าองค์กรนี้จะเป็นอย่างไรก็ช่าง แต่ว่าท่านพยายาม ที่จะไปค้นหาเอาข้อความจริงที่ประชาชนกังขามาอยู่ในรายงานฉบับนี้ ผมเปิดไปที่หน้า ๑๐๔ ผมก็พยายามค้นหา พยายามอธิบายให้แก่พี่น้องประชาชนได้เข้าใจว่าทำไมน้ำมัน กับก๊าซหุงต้ม LPG มันมีราคาแพง เติมเมื่อเช้านี้ จะขึ้นจะลงเราไม่มีสิทธิต่อรองเลย แก๊สจะขึ้น ๓๐๐-๔๐๐ น้ำมันดีเซล ๙๕ ดีเซล ๙๑ จะขึ้นอย่างไร เข้าไปในปั๊มก็ต้องจำใจ ท่านเขียนไว้ในข้อเสนอในการคุ้มครองผู้บริโภค ๒๑ บรรทัดมีคุณค่ามากครับ ผมขออนุญาต ท่านประธาน อยากจะให้พี่น้องประชาชนได้ทราบความพยายามขององค์กรเล็ก ๆ นี่ละครับ จะเป็นยักษ์ จะถือกระบอง จะชี้นำข้อมูลให้พี่น้องประชาชนได้ทราบว่าน้ำมันราคาแพง กับก๊าซหุงต้ม LPG มันเป็นเพราะอะไร กิจการน้ำมันและก๊าซหุงต้ม LPG เนื่องจากมาตรการ กำหนดราคาจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปราคาที่แท้จริงบวกกำไร ฟังนะครับท่านประชาชน ที่เคารพครับ ประเทศไทยไม่ได้ใช้ต้นทุนราคาที่แท้จริงบวกกำไร แต่ราคาน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซลจากโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ เป็นการอ้างอิงราคาตลาดน้ำมัน สำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ บวกค่าขนส่งจากสิงคโปร์มาประเทศไทย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทั้งที่ ไม่ได้มีการขนส่งจริง (เพราะโรงกลั่นน้ำมันดิบในประเทศไทยสามารถกลั่นน้ำมันได้มากกว่า ที่คนไทยใช้) ฟังแล้วมันเจ็บใจนะครับ ส่วนราคาก๊าซหุงต้ม LPG มีโครงสร้างราคา จากหน้าโรงกลั่นที่ไม่เป็นธรรมในลักษณะคล้ายกันคืออิงตลาด อิงราคาตลาดโลก และบวก ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สมมุติว่านำเข้าจากประเทศซาอุดีอาระเบีย ทั้งที่ประเทศไทยสามารถผลิต LPG ได้มากถึงร้อยละ ๗๖ และนำเข้าเพียงร้อยละ ๒๔ ด้วยมาตรการกำหนดราคาดังกล่าว ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปรวมถึงก๊าซหุงต้มจากโรงกลั่นในประเทศไทยไม่เป็นธรรมกับ ผู้บริโภค กล้าหาญมากครับ ผมขอชมเชยและให้กำลังใจ พี่น้องประชาชนชาวไทยปรบมือ ให้องค์กรนี้ด้วยนะครับ ข้อมูลนี้ไม่ได้เปิดเผยต่อชาวบ้าน ข้อเสนอที่สำคัญเพื่อผู้บริโภค ราคาน้ำมัน ๑. ยกเลิกโครงสร้างราคาค่าขนส่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง กองทุนน้ำมันว่าอย่างไร รัฐบาลรักษาการและรัฐบาลจะเป็นต่อไปนี้ จริงหรือไม่จริงที่องค์กรนี้เขาเสนอ ยกเลิก โครงสร้างราคาค่าขนส่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เก็บภาษีลาภลอยแบบเดียวกับหลายประเทศ ในยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ส่งเสริมการปลูกพืชน้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน กัญชง เร่งส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ข้อเสนอที่สำคัญสำหรับแก๊สหุงต้ม ยกเลิกสูตรราคาอิงราคาตลาดโลกบวกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สมมุตินำเข้าจากประเทศ ซาอุดีอาระเบีย กำหนดราคาจัดหา ณ คลังก๊าซใหม่ ใช้แบบเฉลี่ยต้นทุนราคาที่แท้จริง แบบถ่วงน้ำหนัก ๓ แหล่งจัดหา คือ ๑. ราคา LPG จากโรงแยกแก๊สธรรมชาติ ซึ่งควรมี ราคาต่ำที่สุด เพราะใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย ราคา LPG จากโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งควรมี ราคาต่ำกว่าราคาตลาดโลกและไม่บวกค่าขนส่งเทียม ค่าขนส่งเทียมนะครับ ราคา LPG จากการนำเข้าตามราคาตลาดโลก บวกค่าขนส่งที่เป็นจริง เราไม่รู้ถูกใครโกหกเราครับ ที่เราซื้อแก๊สที่ราคาแพงนี่ ราคาน้ำมันท่านกรรมการเข้าไปปั๊มไหนก็เถียงเขาไม่ได้ครับ ขอบคุณจริง ๆ ขอบคุณและขอบคุณว่าน้ำมันราคาแพงมันมีค่าขนส่งไม่เป็นจริง แก๊สธรรมชาติในอ่าวไทยมี ๗๖ เปอร์เซ็นต์ นำเข้าไม่เท่าไรทำไมมันแพงหูฉี่ ขอบคุณองค์กร นี้ครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ มากนะครับ ต่อไปขอเชิญคุณเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู ครับ
นางสาวเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู เชียงใหม่ ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต ๑ พรรคก้าวไกล จากประชาชนชาวเชียงใหม่ เขต ๑ ก่อนอื่นจะขอชื่นชมนะคะ เพราะว่าด้วยสภาพเศรษฐกิจ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ประชาชนอยู่ยากขึ้น การเอารัดเอาเปรียบเพิ่มมากขึ้น ซับซ้อน และขยายวงกว้าง ก็มีสภาองค์กรของผู้บริโภคที่ยืนหยัดและอยู่เคียงข้างผู้บริโภค และประชาชนชาวไทยทุกคนในการที่จะแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนอย่างเบ็ดเสร็จ จึงขอชื่นชม การทำงานและเป็นกำลังใจในการทำงานต่อไปนะคะ
นางสาวเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ดิฉันขออธิบายการทำงาน และภารกิจหลักของสภาองค์กรของผู้บริโภคสักนิดหนึ่ง เพราะว่ามันจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ดิฉัน จะอภิปรายต่อไป สภาองค์กรของผู้บริโภคมีการทำงานอยู่ ๓ ระดับด้วยกัน ระดับที่ ๑ คือคุ้มครองผู้บริโภคระดับประเทศ ระดับที่ ๒ คืองานเตือนภัย ระดับที่ ๓ คืองานคุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ซึ่งทั้ง ๓ ระดับนี้จะดูแลทั้ง ๘ ด้านดังนี้ ๑. ด้านการเงิน และการธนาคาร ๒. ด้านการขนส่งและยานพาหนะ ๓. ด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย ๔. ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ๕. ด้านบริการสุขภาพ ๖. ด้านสินค้าและบริการ ทั่วไป ๗. ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ๘. ด้านบริการสาธารณะ ผลงานต่าง ๆ ของสภาองค์กรของผู้บริโภคที่เป็นที่ประจักษ์ที่หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นชินคุ้นหูก็คือ การผลักดันไม่ให้รัฐบาลลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี CPTPP (ความตกลงแบบครอบคลุม และความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก) การผลักดันเรื่องบำนาญ ประชาชน ๓,๐๐๐ บาท ให้กับพี่น้องชาวไทย แล้วก็การคัดค้านการควบรวม True DTAC ทำให้เกิดการผูกขาดในตลาดการสื่อสารและโทรคมนาคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม แต่ว่าสิ่งที่ดิฉันจะอธิบายและแจกแจงให้ทุกท่านได้เห็นก็คือเรื่องโครงสร้างของสภาองค์กร ของผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ. การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งตามชื่อ พ.ร.บ. ก็คือการจัดตั้ง ซึ่งเน้นการจัดตั้ง ไม่ได้เน้นการมีส่วนร่วมหรือการสร้างความเข้มแข็ง โดยดั้งเดิมอยู่แล้วก็คือสภาองค์กรของผู้บริโภคได้เกิดจากการรวมตัวกันของผู้บริโภค เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภค แต่ในมาตรา ๖ องค์กรของผู้บริโภคที่ประสงค์ จะเข้าร่วมต้องแจ้งขึ้นทะเบียนต่อนายทะเบียนประจำจังหวัด เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับ การคุ้มครองผู้บริโภคมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขและมีความยากลำบาก ในการจัดตั้ง จำนวนหน่วยงานประจำจังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ มีจำนวน ๑๕ หน่วยงาน เทียบกับปัญหาและข้อร้องเรียนของผู้บริโภคทั้งประเทศ ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ประมาณ ๑๘ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ด้วยความเดือดร้อนและเรื่องของการถูกเอารัดเอาเปรียบ ของประชาชนผู้บริโภคทั้งหลายเกิดขึ้นทั่วประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ดิฉันจึงมี ข้อคิดเห็นและเห็นควรเป็นอย่างยิ่งว่าในการเร่งตั้งองค์กรผู้บริโภคระดับจังหวัด หรือหน่วยงานประจำจังหวัด นอกจากนี้ควรตั้งไปสู่อำเภอ ตำบลต่อไปด้วย โดยการจัดตั้ง พร้อมขยายแนวคิด หรืออาสาสมัคร ความตระหนักต่าง ๆ การรู้เท่าทันกลโกง และความไม่เป็นธรรมที่จะเกิดขึ้นในระดับเครือข่าย ถ้าพูดง่าย ๆ ก็คือเป็นการสื่อสาร ในระดับ Offline ก็คือการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อสร้างความรู้ ความตระหนักสิ่งต่าง ๆ เมื่อต้อง ทำงานในระดับเครือข่ายลงลึกไปในระดับอำเภอ ตำบลแล้ว งบประมาณต่าง ๆ ในเรื่องของ การประชาสัมพันธ์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญค่ะ จากงบประมาณที่แสดงบนหน้าจอ ในเรื่องของ การประชาสัมพันธ์กว่า ๓๕.๑๙ ล้านบาท ส่วนใหญ่แล้วโครงการต่าง ๆ ที่ขึ้นอยู่บนหน้าจอ ส่วนใหญ่จะเป็นระดับ Online ทั้งหมด ดูแลในเรื่องของ Website การสื่อสารนโยบาย ผ่าน Influencer การเสวนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีค่ะ แต่ว่าควรมีการประเมินความคุ้มค่า มีตัวชี้วัด ซึ่งดูจากยอด Follow ใน LINE Official แล้วก็ใน Facebook Fanpage ซึ่งมีผู้ติดตาม ยังจำนวนน้อยอยู่พอสมควร ซึ่งในสิ่งนี้ควรมีการสร้างเครือข่ายในระดับพื้นที่หรืออาสาสมัคร ในการให้ความรู้ สร้างความตระหนักในการเตือนภัย คุ้มครองก่อนเกิดเหตุที่ไม่เป็นธรรม ที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชน จึงขอฝากข้อเสนอแนะและข้อกังวลต่าง ๆ เหล่านี้ไปกับ ท่านประธานผ่านไปยังสภาองค์กรของผู้บริโภคค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ มากนะครับ ขอโทษด้วยนะครับคุณนนท์ เมื่อสักครู่ผมข้ามไป ต่อไปเป็นคุณนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ แล้วท่านสุดท้ายจะเป็นท่านอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แล้วก็ท่านผู้ที่มาชี้แจง เชิญชี้แจงเพิ่มเติมได้หลังจากท่านอนุสรณ์แล้วนะครับ เชิญคุณนนท์ครับ
นายนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ นนทบุรี ต้นฉบับ
กราบขอบพระคุณครับ ท่านประธาน เรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม นนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี บางบัวทอง ไทรน้อย พรรคก้าวไกล วันนี้ถือเป็นเรื่องที่ น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ท่านประธานองค์กรของผู้บริโภค ตัวท่านได้มาชี้แจงรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ด้วยตนเอง ซึ่งทราบว่างบภายในองค์กรกว่า ๓๕๐ ล้านบาท ที่ได้รับการอนุมัติ จากสำนักนายกรัฐมนตรี กับการรับเรื่องร้องเรียนที่ผ่านองค์กรเกือบ ๑๕,๐๐๐ เรื่อง ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมดถือเป็นเรื่องการเงินและการธนาคาร น่าจะเป็นการร้องเรียน เกี่ยวกับเรื่องสินไหมทดแทนบริษัทประกันภัยในช่วงโควิดที่ผ่านมา ผมขอเป็นตัวแทนพี่น้อง ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ขอขอบคุณที่ท่านได้ให้ความช่วยเหลือ ทั้งที่ได้เงินชดเชยก็ดี หรือกำลังรอรับเงินชดเชยก็ดี และเชื่อว่ายังมีประชาชนอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับ การเยียวยาและชดเชยจากการทำประกันช่วงโควิดที่ผ่านมาอีกมากมายครับ ฝากให้ท่าน ประชาสัมพันธ์การติดตามในส่วนนี้ให้กับพี่น้องประชาชน ยังมีความหวังครับ วันนี้ ผมขออนุญาตอภิปรายในเรื่องของพันธกิจคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคทุกคน ทุกด้าน ขออนุญาตนำเรียนท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่มาชี้แจงครับว่าท่านยังต้องมี มาตรการช่วยเหลือคนกลุ่มหนึ่งที่บางกรณีอาจจะยังไม่ได้รับความเป็นธรรม อย่างกรณี ของการทำสัญญาเช่าร้านค้า ซึ่งถือเป็นการใช้บริการอย่างหนึ่ง ซึ่งบางพื้นที่มีการเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม ค่าแรกเข้า ค่าเช่าล่วงหน้า และเงินค้ำประกัน รวมกันแล้วมากกว่า ๔-๖ เดือน ต่อ ๑ สัญญา ทั้งนี้สัญญาบางฉบับแจ้งว่าหากมีการออกก่อนครบกำหนดระยะเวลาเช่า ๖ เดือน ถึง ๑ ปี จะทำการยึดเงินประกันค่าเช่าทั้งหมด ท่านประธานครับ คนที่เช่าพื้นที่ แล้วออกก่อนกำหนดหรือเลิกกิจการก่อนกำหนดแบบนี้มันคือธุรกิจที่ไม่สามารถดำเนินการ ต่อได้ สั้น ๆ ก็คือธุรกิจเจ๊งครับ บางคนหอบเงินก้อนสุดท้ายของชีวิต มีครอบครัวอยู่ด้านหลัง มีลูกเล็ก มีพ่อแม่ที่ชราภาพที่ต้องดูแล คนกลุ่มนี้นำความหวัง ความฝันของเขามาเช่าพื้นที่ เปิดร้านทำกิจการ ขออนุญาตเปิด Slide นิดหนึ่งนะครับ
นายนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ นนทบุรี ต้นฉบับ
ท่านจะเห็นนะครับ อันนี้จะเป็น รายงานการฆ่าตัวตาย อัตรา ๑๐๐,๐๐๐ จะอยู่ที่ ๗.๓๖ และพบว่าร้อยละ ๒๒.๖ ของคนที่ ฆ่าตัวตายจะประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ทีนี้เราจะมาดูตัวเลขของ SMEs ที่ได้รับผลกระทบ สสว. เปิดเผยว่าเมื่อไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๔ มีกิจการที่ปิดไปกว่า ๒๐,๐๐๐ ราย ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่รักษาการ ซึ่งอีกไม่กี่วันพี่น้องประชาชนก็ยังจะได้รัฐบาลชุดนี้กลับมาบริหารราชการแผ่นดินอีกครั้งหนึ่ง เป็นเรื่องที่ผมจุกอกอยู่ครับท่านประธาน ที่ได้นำเรียนมาข้างต้นแก่ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ที่นั่งอยู่ในที่นี้ ก็อยากจะให้เข้าใจหัวอกของผู้ประกอบ SMEs ที่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจอยู่ ให้ครบสัญญาได้ ท่านประธานครับ มันสมเหตุสมผลแล้วหรือเปล่าครับ นอกจากเขาจะต้อง สูญเสียเงินลงทุนไปกับธุรกิจ และจะต้องทยอยเก็บของออกจากสถานที่เช่าของเขาโดยอยู่ สภาพเดิมและไม่เหลือเงินติดตัวสักบาท หากองค์กรของผู้บริโภคเห็นปัญหาที่ผมได้นำเรียน ตามพันธกิจในเรื่องของการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคทุกคน ทุกด้าน หากท่านมีมาตรการดูแล ปกป้องสิทธิ ทวงถามให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบ พวกท่านจะช่วยโอบอุ้มพยุงเขาเหล่านั้นขึ้นมาจากเหวได้ครับ กลับไปตั้งหลัก กลับไปดูแล ครอบครัวอย่างมีความหวัง อย่าให้เขาเหล่านั้นกลับไปมือเปล่าแล้วไปนั่งกอดกับลูก ไปนั่งกอดกับภรรยาที่บ้านแล้วพูดว่าเราไม่เหลืออะไรอีกแล้ว ประโยคนี้ฟังดูแล้วมันช่างหดหู่ และน่าเศร้านะครับท่านประธาน ผมขออนุญาตนำตัวเลขในการเช่าพื้นที่เพื่อมานำเสนอ ต่อที่ประชุมนะครับ มันจะมีวงเงินประกันที่ทางผู้เช่าจะอยู่ที่ ๑๒๐,๐๐๐ บาท หากอยู่ ไม่ครบสัญญาก็จะถูกยึดเงินตัวนี้ไปนะครับ อันนี้ก็จะอยู่ที่วงเงิน ๙๐,๐๐๐ บาท ต่อสัญญา ๑ ปี เห็นไหมครับ การที่ผู้ประกอบการ SMEs จะเริ่มต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล หากพวกเขาเหล่านั้นทำผิดสัญญาก็แทบจะสิ้นเนื้อประดาตัว ประเทศไทยไม่มีระบบโอบอุ้ม ผู้คนที่ไร้ทางออก ทั้งนี้หากองค์กรของผู้บริโภคดูแลและเตรียมพร้อมที่จะปกป้อง ผลประโยชน์จากส่วนนี้ได้ ถือเป็นคุณูปการต่อคนไทยทั้งประเทศครับ ท่านสามารถทำเป็น นโยบาย ทำเป็นมาตรการเพื่อนำเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้เพื่อน ๆ สมาชิก พรรคก้าวไกลพร้อมที่จะร่วมเดินทางไปกับท่าน ท้ายที่สุดนี้ผมขอทวงถามถึงงบประมาณ ไปยังรัฐบาลว่าเงินอุดหนุนงบประมาณ จำนวน ๓๗๘.๒๔ ล้านบาท ที่ผ่านความเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ปัจจุบันยังไม่ได้รับการจัดสรรมายัง หน่วยงาน ท่านจะทิ้งขว้างองค์กรของประชาชนแบบนี้ไม่ได้นะครับ ขอบพระคุณครับ ท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ครับ
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ต่อรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของสภาองค์กรของผู้บริโภค ก่อนอื่นผมต้องขอชื่นชมกับวาระ และพันธกิจตลอด ๒๓ ปี ของสภาองค์กรของผู้บริโภค ที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการดูแล ผู้บริโภคในประเทศไทย ท่านประธานครับ ผมใช้เวลาอ่านรายงานฉบับนี้ ๒ สัปดาห์ ความจริงตั้งแต่เอามาวางไว้ก็เริ่มอ่าน ก็เห็นว่ารายงานก็เป็นปัจจุบันเรียบร้อยดีครับ ท่านประธาน แต่พออ่านไปอ่านมาแล้วแม้จะเป็นปัจจุบัน แต่มองเห็นปัญหาว่ายังขาด มาตรการ หรืออาจจะยังไม่ครอบคลุมในส่วนของการเตรียมการที่จะรองรับปัญหาที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต ท่านประธานครับ ในรายงานบอกว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคนั้นทำงาน ใน ๒ มิติ ทั้งในเชิงรุก แล้วก็เชิงรับ แต่ถ้าเราประเมินผลการปฏิบัติการ เราจะเห็นแต่เชิงรับ มากกว่าเชิงรุก ในรายงานท่านบอกด้วยครับว่าจะเป็นตัวแทนในการคุ้มครองดูแลผู้บริโภค ๘ ด้าน ผมก็อ่านรายงานรู้ ดูรายงานเป็นครับ ผมก็ตั้งข้อสังเกตเช่นกันว่ามีข้อห่วงใย ๘ ประการสั้น ๆ ดังต่อไปนี้ครับท่านประธาน
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๑ มีการตั้งคำถามจากภาคประชาสังคมว่าเอาจริง ๆ แล้ว สภาองค์กรของผู้บริโภคนั้นเป็นเสือกระดาษจริงหรือไม่ ข้อสังเกต ข้อท้วงติง คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ ที่ท่านส่งไปยังหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนอื่น ๆ นั้นเขารับไป ปฏิบัติมากน้อยแค่ไหน อย่างไร และเราจะช่วยกันทำอย่างไรเพื่อให้สภาองค์กรของผู้บริโภคนั้น จะไม่ได้ทำหน้าที่แค่เป็นเสือกระดาษอีกต่อไป
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ สภาองค์กรของผู้บริโภคนั้นต้องไม่กระทำตน หรือปฏิบัติตน เป็นเหยื่อเสียเองครับ หมายความว่าท่านต้องไม่เป็น ๑ ในผู้ที่ร่วมชะตากรรมว่าไปร้อง อะไรแล้วไม่มีความคืบหน้า ร้องอะไรแล้วไม่มีผลสัมฤทธิ์ในการร้องเรียน ซึ่งก็ไม่น่าจะ ต่างจากผู้บริโภคทั่วไปที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ดังนั้นท่านต้องเป็นหัวหอกครับ ท่านต้องไม่เป็นเหยื่อ หรือตกเป็นผู้ได้รับผลกระทบเฉกเช่นเดียวกับผู้บริโภคทั่วไป ในประเทศไทย
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ผมตั้งคำถามในประการที่ ๓ ถึงมาตรฐานการดำเนินการของสภาองค์กร ผู้บริโภคว่ามีมาตรฐานที่เป็นสากล หรือเป็นมาตรฐานเฉพาะในประเทศ ความจริงรัฐบาล ชุดรักษาการเขากล้าหาญชาญชัยถึงขั้นเขียนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แต่เราตั้งคำถามนะครับว่า สภาองค์กรผู้บริโภคนั้นได้เตรียมการรองรับสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี มากน้อย แค่ไหน อย่างไร
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๔ เทคโนโลยีก้าวไกล สภาองค์กรผู้บริโภคไทย ต้องก้าวทัน วันนี้มี ผู้ตกเป็นเหยื่อหรือได้รับผลกระทบจากการกระทำผิดหรืออาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้รับ ผลกระทบจากการลงทุนในสกุลเงิน Digital แก๊ง Call Center เมื่อวานนี้มีการแถลงข่าว ที่จังหวัดเชียงราย มีการทลายแก๊ง Call Center มีการใช้เทคโนโลยี AI ในการจะปฏิบัติการ ระบบ LINE แล้วสามารถใช้ AI เปิดภาพให้เห็นเป็นตำรวจแล้วอยู่ในโรงพัก มูลค่า ความเสียหายใกล้ ๆ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ทุกครั้งที่มีข่าวจับได้แบบนี้ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหรือได้รับ ผลกระทบก็ภาวนาว่าขอให้แก๊งที่ถูกจับนี้เป็นแก๊งที่เอาเงินเราไป วันนี้ผู้ได้รับผลกระทบ อายุน้อยลงไปทุกขณะ ทางสภาองค์กรของผู้บริโภคได้มีมาตรการในการดูแลเรื่องนี้อย่างไร เรื่องของการขาย Online และเรื่องของการเสียสิทธิ จากการใช้ Platform ทาง Digital มีการตั้งคำถามจากทั่วโลกนะครับว่ายักษ์ใหญ่ที่เป็น 4 Kings ของ Platform Digital ไปประกอบธุรกิจในหลายประเทศได้อย่างไรโดยไม่เสียภาษี และหากมีการล่วงละเมิดหรือใช้ ความรุนแรงผ่าน Platform Social Media นั้น สภาองค์กรของผู้บริโภคจะมีมาตรการ และดูแลเรื่องนี้อย่างไร
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๕ ปัญหาเรื่องของค่าพลังงานแพง ค่าแรงถูก วันนี้ค่าไฟขึ้นราคา ค่าก๊าซขึ้นราคา เพื่อนสมาชิกจากพรรคเพื่อไทยพูดหลายท่านว่าโครงสร้างราคาพลังงาน ของประเทศวันนี้ไม่โปร่งใส ไม่สามารถตรวจสอบได้ เราจะไปดูเรื่องนี้ได้อย่างไร เพราะการตรวจสอบของประชาชนในฐานะผู้บริโภคนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๖ ปัญหาการควบรวมกิจการโทรคมนาคม การแข่งขันมันลดลง เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ ๒ บริษัทมาควบรวมกัน เรื่องของชั่วโมง Internet เรื่องของระบบ Internet ล่ม การชดเชยเยียวยาเป็นอย่างไร แจ้งยกเลิกแล้วไม่ยกเลิก ระบบคิดค่าใช้จ่าย ยังเดินหน้าต่อไป มีการครอบคลุมดูแลเรื่องนี้อย่างไร
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๗ ทางสภาองค์กรของผู้บริโภคได้มีมาตรการรณรงค์ หรือการส่งเสริมเพื่อให้คนไทยนั้นมีสวัสดิภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างไร เช่น พ.ร.บ. อากาศ สะอาดที่พรรคเพื่อไทยได้เสนอเมื่อคราวที่แล้ว คนไทยต้องมีสิทธิที่จะได้รับอากาศบริสุทธิ์ การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน Carbon Credit คนไทยต้องเข้าถึงสิทธิอากาศสะอาด ได้เตรียมการในโลกอนาคตไว้อย่างไร วันนี้เราตื่นเต้นที่เรามีรถไฟฟ้า มีรถ EV แต่ว่า ประเทศจีนไปไกลถึงขั้นรถพลังงานสะอาดเป็นรถไฮโดรเจน ในอนาคตเราเตรียมการไว้ อย่างไรว่าถ้าซื้อรถ EV มาใช้แล้วเกิดอุบัติเหตุมันเกินทุนประกันจะรับผิดชอบอย่างไร หรือเป็นรถไฮโดรเจนที่ได้รับผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพ ทรัพย์สิน ชีวิต ของพี่น้องประชาชน จะดูแลอย่างไร
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๘ สภาองค์กรของผู้บริโภคนั้นได้ไปดูแลสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ในทุกมิติ ทุกบริบทอย่างไร เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้โหดทั้งแบงก์ ทั้ง Non แบงก์ มีมาตรการ ในการควบคุมได้อย่างไร วันนี้ผู้บริโภคก็แสวงหาดิ้นรนทางรอดกันเองว่าถ้าเป็นหนี้ บัตรไม่ต้องตกใจ มีแผนปฏิบัติการอย่างไร
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท้ายที่สุดครับ ผมตั้งข้อสังเกตอย่างนี้ว่าหน่วยงานในการคุ้มครองผู้บริโภค ในประเทศของเรานั้นมีมากมายหลายหน่วยงาน เปรียบไปแล้วก็เหมือนคนนอนเตียงเดียวกัน แต่ฝันคนละเรื่องต่างคนต่างทำ ทำอย่างไรที่เราจะบูรณาการและเชื่อมโยงโดยยึดเอา ประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นสำคัญ กราบขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญผู้มาชี้แจง ชี้แจงเพิ่มเติมได้ครับ เชิญครับ
นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ดิฉัน นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ด้วยเวลาของผู้ชี้แจงที่มีน้อยนิด เดี๋ยวดิฉันจะพูด ๒ ประเด็น แล้วที่เหลือดิฉันจะให้ ท่านเลขาธิการเป็นคนชี้แจงนะคะ ดิฉันก็จะตอบเรื่องทำไมเราถึงได้ไม่มีสมาชิกครอบคลุม ทุกพื้นที่ โดยเฉพาะเมื่อสักครู่มีท่านที่มาจากนนทบุรีพูดอย่างนี้ คือจริง ๆ ต้องบอกว่า เราอยากมีทุกที่ อยากมีให้ครบทุกจังหวัด เพราะว่าการที่มีองค์กรไม่ครบทุกจังหวัด ไม่ใช่ความผิดของผู้บริโภคในจังหวัดนั้น ๆ แต่เป็นความผิดของสภาที่ไม่สามารถที่จะผลักดัน ให้ก็มี อันนี้เรายอมรับผิด แต่ในความผิดนี้ด้วยมีเหตุผลหลายประการ คือองค์กรที่จะมา เป็นสมาชิกสภาได้แล้วมีองค์กรในจังหวัดนั้น ๆ ได้ต้องผ่านการขึ้นทะเบียนองค์กร ซึ่งคนที่จะ รับรองทะเบียนองค์กรก็คือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีต้องเป็นคนรับรองว่านี่คือ องค์กรของผู้บริโภคจริง ซึ่งมีรายละเอียดเยอะมาก หลายองค์กรก็ขึ้นทะเบียนมาแล้วก็ ไม่ผ่าน ใช้เวลานานมาก ตรงนี้ดิฉันก็บอกว่าไม่ใช่ความผิดของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะว่าการที่พอผ่านไป ขณะที่ตรวจสอบอย่างละเอียดมากมายแล้วก็ยังถูกฟ้องว่า เป็นองค์กรทิพย์อย่างที่ท่านผู้อภิปรายท่านแรก ๆ พูดถึง จริง ๆ พอตรวจสอบแล้วก็ไม่ได้เป็น องค์กรทิพย์ เป็นองค์กรที่มีอยู่จริง แต่อาจจะผิดระเบียบที่กรรมการ ๑ ใน ๑๐ ไปเป็น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้ช่วย อบต. ตรงนี้ก็ผิดแล้ว เพราะฉะนั้นพอตรวจสอบเข้าไปจริง ๆ ก็มี องค์กรจริงนะคะ แล้วกว่าจะเป็นหน่วยประจำจังหวัดได้อย่างที่เรามีความพยายามมา ๔๑ จังหวัด ต้องมีองค์กรอย่างน้อย ๕ องค์กรที่ผ่านการขึ้นทะเบียนและรับรองโดย สปน. แล้วเราก็ไม่สามารถที่จะไปรับองค์กรผู้บริโภคอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับการรับรองจาก สปน. เข้ามา เป็นสมาชิกของสภาได้ อันนี้มันมีขั้นตอน ซึ่งมีความพยายามอย่างยิ่งที่เราจะพยายามให้ครบ ทุกจังหวัด ต้องบอกว่าทุกวันนี้เราลงพื้นที่แทบทุกวัน ก็บอกว่าต้องขอบคุณคำชื่นชมแล้วก็ ขอน้อมรับคำชี้แนะจากท่าน สส. ผู้ทรงเกียรติทุกท่านนะคะ
นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่งที่มีการถามว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคแตกต่างอะไรกับองค์กร ของรัฐที่มีอยู่ แตกต่างตรงที่เราเป็นองค์กรในฝัน คือว่ามาที่เดียว จุดเดียวจบ เราจะไม่มี การปฏิเสธ พอมาที่เรา ตรงนี้ไม่ใช่หน้าที่เรา คุณต้องไปองค์กรโน้นสิ คุณต้องไปองค์กรนี้สิ ไม่มีนะคะ ถ้ามาที่นี่ไม่ว่าเรื่องไหน ๆ เราจะรับไว้ เราเป็นองค์กรที่เป็นแบบ One Stop Service แล้วก็ยินดีให้บริการตลอดไม่ว่าจะเป็นเวลาไหน ถ้าคุณเดือดร้อนมา ความเดือดร้อน ของผู้บริโภคคือความเดือดร้อนของเรา เราพยายาม แล้วก็ต้องบอกว่าสภาองค์กร ของผู้บริโภคจัดตั้งมาครบ ๒ ปีเมื่อไม่กี่วันมานี้ ขอบคุณมากค่ะ ที่เหลือจะให้ท่านเลขาธิการ ชี้แจงค่ะ
นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
ดิฉันจะบอกว่าเรื่องพลังงานต้องใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถ ถามว่าอะไรสำเร็จเรื่องพลังงาน สิ่งที่สำเร็จก็คือวันนี้มีข้อมูลที่เราพยายามทำมาเข้ามาสู่ สภาผู้แทนราษฎร เข้ามาสู่นโยบายของพรรคการเมืองที่เอาไปหาเสียงหลาย ๆ พรรค วันนี้ มีคนพูดเรื่องพลังงานมากขึ้น ซึ่งเดิมไม่มีใครกล้าพูดเลย ดิฉันถูกฟ้องไว้หลายคดี กว่าที่จะเอา เรื่องพลังงานออกมาเผยแพร่ เพราะว่าเรื่องของพลังงานมันเป็นเรื่องของความมืดมน มันไม่มี ความสว่างอยู่เลย แล้วดิฉันก็ขอจบตรงนี้ว่าจริง ๆ แล้วไม่มีใครเอาเปรียบผู้บริโภคได้ ถ้านโยบายรัฐไม่เอื้อ ขอบคุณค่ะ เชิญคุณสารีต่อค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านเลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคครับ
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ทุกท่านนะคะ ดิฉัน สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ขออนุญาตขอบคุณท่านสมาชิกทั้ง ๑๔ ท่านที่กรุณาให้ข้อเสนอแนะกับสภาองค์กร ของผู้บริโภค ดิฉันขอใช้ PowerPoint แล้วก็จะตอบคำถามไปด้วยทุกคำถามนะคะ
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
อย่างที่ทุกท่านทราบนะคะว่าสภาองค์กรของผู้บริโภคเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ ขององค์กรผู้บริโภค และเดิมเราต้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ จนกระทั่งถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แล้วก็มีพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค สภาเป็นองค์กรน้องใหม่ ปีนี้เป็นปีที่ ๒ ที่มีโอกาสมารายงานในรัฐสภา ปีที่แล้วเรามีโอกาส ทำงานประมาณ ๓ เดือน ปีนี้ปี ๒๕๖๕ ทำงานครบ ๑ ปี แล้วสภาเองเราได้กำหนดยุทธศาสตร์ของสภาไว้ใน ๕ ด้านที่สำคัญ ซึ่งดิฉันคิดว่าท่านสมาชิก ก็คงจะได้เห็นแล้วนะคะ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแรกเลย ก็คือการทำหน้าที่ในฐานะที่จะเป็นผู้แทน ผู้บริโภค โดยผ่านการสนับสนุน การดำเนินงาน และการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งมี กำหนดไว้ทั้งหมด ๘ ด้าน แล้วก็การทำงานเชิงรุกในการพัฒนาข้อเสนอนโยบาย และมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค การสร้างเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในการทำงาน ซึ่งขณะนี้ ก็อาจจะยังมีข้อจำกัดอยู่ที่ท่านสมาชิกได้เรียน แล้วก็การสื่อสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคค่ะ
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
จะเห็นว่าคราวที่แล้วใน ๓ เดือน ที่ดิฉันได้มีโอกาสมาสภาก็ได้ให้คำแนะนำ เราได้กลับไปทำทุกรายการที่ที่ประชุมได้ให้คำแนะนำ ดิฉันไม่ขอลงรายละเอียดนะคะ
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
ขอไปถึงผลงานนะคะ จะเห็นว่าอย่างที่ท่านสมาชิกได้แนะนำว่าข้อเสนอ ของสภาเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ แล้วก็ดิฉันคิดว่าขณะนี้เรามีข้อจำกัดในเรื่องของการที่ จะผลักดันข้อเสนอนโยบายไม่น้อย และปีนี้สภาองค์กรของผู้บริโภคเอง โดยคณะกรรมการนโยบายของสภาองค์กรของผู้บริโภคได้มีแนวทางที่จะทำงาน กับทุกพรรคการเมือง เราคิดว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็มีหน้าที่ในการที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งแน่นอนเราทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนผู้บริโภคในการกำหนด นโยบาย เราก็อยากเห็นคุณภาพชีวิตของประชาชนเช่นเดียวกัน
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
ซึ่งอย่างที่แต่ละท่านได้เรียนว่าข้อเสนอที่เราเสนอ แล้วก็เป้าหมาย หมุดหมายที่เราอยากเห็นใน ๘ ด้าน เป็นเรื่องที่น่าสนใจและเป็นเรื่องที่สำคัญ อย่างเช่นกรณี ดิฉันขอตอบคำถามเรื่องกรณีรถรับส่งนักเรียนว่าขณะนี้เราได้มี อาจจะเรียกว่ารูปธรรม หรือต้นแบบของโรงเรียนที่ทำงานเรื่องรถรับส่งนักเรียน แต่ว่าเมื่อต้นแบบเหล่านี้ไม่ได้ถูก นำไปใช้ สภาเองอาจจะไม่ใช่หน่วยงานที่จะไปกระจายการปฏิบัติงาน เพราะฉะนั้นเราก็ต้อง อาศัยความร่วมมือของหน่วยงานอื่น ๆ ในการที่จะทำให้เกิดต้นแบบของรถรับส่งนักเรียน แล้วเราคิดว่ารถรับส่งนักเรียนต้องมีหน่วยงานท้องถิ่นที่จะเข้ามาสนับสนุนให้เกิดการทำงาน เรื่องรถรับส่งนักเรียน
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
ส่วนประเด็นที่ ๒ ถ้ามองเรื่องบริการขนส่งมวลชน ก็จะเห็นว่าข้อเสนอ ของสภาองค์กรของผู้บริโภคที่อยากเห็น เดินออกไป ๕๐๐ เมตร เจอป้ายรถเมล์ หรือมี บริการราคาที่สามารถทำให้ทุกคนทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดเข้าถึงบริการขนส่ง มวลชน ทุกคนขึ้นได้ทุกวัน ไม่เกินร้อยละ ๑๐ อันนี้ก็ต้องถือว่าหลายพรรคการเมืองได้มี แนวทางในการที่จะผลักดัน ไม่ว่าจะเป็นบริการสาธารณะที่อยากเห็นเรื่องตั๋วใบเดียว และขณะนี้จริง ๆ ก็จะมีพระราชบัญญัติตั๋วใบเดียว ตั๋วร่วมบริการ เรื่องเดินรถต่าง ๆ ซึ่งสภาองค์กรของผู้บริโภคก็คิดว่าเราจะทำงานกับทุกพรรคการเมืองในการผลักดันให้เกิดตั๋ว ร่วมโดยสารที่ครอบคลุมทุกบริการทั้งคนในกรุงเทพมหานครและในต่างจังหวัด
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
ขออนุญาตว่าในส่วนของบริการสาธารณสุข เราจะเห็นว่าถึงแม้เราจะมี หลักประกันด้านบริการสาธารณสุข แต่ว่าบริการด้านฉุกเฉินก็ยังถือเป็นปัญหาที่สำคัญ ของผู้บริโภค เนื่องจากอย่างเราไม่ว่าจะอยู่ในกรุงเทพฯ หรืออยู่ในต่างจังหวัดโรงพยาบาล ของรัฐไม่ได้มีอยู่ทุกที่ บางครั้งในกรุงเทพฯ เราพึ่งโรงพยาบาลเอกชนถึง ๖๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นเมื่อเราไปใช้บริการฉุกเฉิน ซึ่งเรามีนโยบายว่าฉุกเฉินไปได้ทุกที่ แต่ว่าเมื่อเราทำ ฉุกเฉินแล้ว โรงพยาบาลกับเราก็ตีความกรณีฉุกเฉินที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นหลายครั้งเมื่อผู้บริโภคไปใช้บริการก็ถูกเรียกเก็บเงิน ซึ่งสภาองค์กรของผู้บริโภคเอง ก็ได้ทำข้อเสนอไปอย่างน้อย ๔ หน่วยงาน ว่ากรมการค้าภายในต้องกำกับค่ารักษาพยาบาล ในกรณีฉุกเฉินที่เมื่อประชาชนไปใช้งาน ถึงแม้ว่าเราไม่ฉุกเฉินไม่ใช่เก็บค่ารักษาพยาบาล ที่เรียกว่า Fee for Service หรือเก็บตามการรักษาของเรา แต่ควรจะเก็บตามอัตรา ที่เรียกเก็บของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เรียกว่า Fee Schedule ซึ่งเป็น การเก็บค่ารักษาพยาบาลที่มีขอบเขตที่จำกัด แล้วก็ข้าราชการเองเมื่อใช้หลัง ๗๒ ชั่วโมง ไม่มีเจ้าภาพก็ต้องอยู่ต่อที่โรงพยาบาลเอกชน เพราะฉะนั้นคุณก็ต้องจ่ายเงินแบบ Fee for Service หรือว่าบัตรทอง ประกันสังคม ถ้าหาเตียงให้คนไข้ไม่ได้ก็ต้องจ่ายแบบ Fee for Service แทนที่เราจะใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เราก็ต้องจ่ายเงินโดยที่ไม่มี ขีดจำกัดในการควบคุม ดิฉันคิดว่าอันนี้ก็เป็นประเด็นที่สำคัญ แล้วก็จากการทำงาน ของสภาองค์กรของผู้บริโภคขณะนี้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเองได้เตรียมที่จะขยาย อย่างน้อยดิฉันเชื่อว่าจะมีการขยายเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินที่รวมถึงสีส้ม ที่จะทำให้ผู้บริโภค ได้รับการดูแลมากขึ้น
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
แล้วก็จากที่ท่านฐากรถามเรื่องความสำเร็จของสภา ดิฉันคิดว่าอันนี้ก็คงเป็น คำตอบส่วนหนึ่งนะคะ แล้วก็เรื่องการกำกับกรณีอาหารกัญชา ก็เป็นรูปธรรมที่สำคัญที่เราได้ ทำให้เห็นว่ากัญชาไม่ใช่มีอยู่ในทุกที่ ไม่ใช่มีอยู่ในอาหารทุกประเภท เพราะฉะนั้นจะทำให้ เกิดการกำกับอย่างไร แต่ดิฉันคิดว่าเส้นแบ่งระหว่างกัญชาเสรีกับกัญชาทางการแพทย์ขณะนี้ มีข้อจำกัดมากทีเดียว และสภาองค์กรของผู้บริโภคคงได้ร่วมมือกับทุกพรรคการเมือง ในการทำงานเรื่องนี้นะคะ
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
ส่วนที่คุณรัฐถามว่าทำไมด้านอสังหาริมทรัพย์เราถึงสามารถแก้ปัญหาได้ น้อยกว่าในด้านอื่น ๆ ดิฉันขออนุญาตเรียนว่าด้านอสังหาริมทรัพย์เป็นเรื่องที่สภาองค์กร ของผู้บริโภคใช้การฟ้องคดี เพราะฉะนั้นที่ไม่สำเร็จก็คือคดีเหล่านั้นยังอยู่ในการดำเนินการ อย่างเช่น ดิฉันขอเอ่ยชื่อบริษัท เนื่องจากว่าสภาเองเราก็ได้รับอนุญาตให้เอ่ยชื่อบริษัท ก็จะมี การเรียก สมมุติว่าเราซื้อบ้านแล้วเราไปกู้ธนาคาร ธนาคารไม่ผ่าน บริษัทก็ริบทั้งเงิน Down เงินจอง หรือขอให้สภายอมรับเงินที่ต่ำมาก อย่างที่หลายท่านบอกนะคะว่าเราเจรจา ไกล่เกลี่ยแบบไหนที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครอง ซึ่งดิฉันขออนุญาตยืนยันว่า โดยหลักการแล้วถ้าเป็นความพอใจของผู้บริโภคเราก็จะยอมยุติคดี หรือบางคดี เราก็อยากเห็นเป็นคดีตัวอย่างที่จะเดินหน้า อย่างเช่นกรณีการยึดเงิน Down เงินจอง ของผู้บริโภคจำนวนมากในกรณีที่ซื้อไม่ผ่าน ซึ่งขณะนี้สภาองค์กรของผู้บริโภคเองจริง ๆ เราได้ทำข้อเสนอไปแล้วนะคะว่าต้องจัดการที่ต้นทางคือต้องทำให้เกิด เรียกว่าสัญญา มาตรฐานหรือสัญญาที่ยึดโยงกับข้อสัญญาที่เป็นธรรม แต่ว่าก็อาจจะไม่ได้ง่ายเหมือนที่ดิฉัน พูดนะคะ เพราะหลายเรื่องก็ต้องอาศัยระยะเวลา
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
ส่วนที่ถามว่าเราสำเร็จ ๙๑ เปอร์เซ็นต์จริงไหม ดิฉันก็ขอยืนยันว่าสิ่งที่ เราดำเนินการเป็นไปตามนั้น เรื่องข้อร้องเรียน จำนวนข้อร้องเรียน แต่ดิฉันขอน้อมรับ ความผิดพลาดเรื่องจำนวนที่อาจจะไม่ตรงกัน ซึ่งอันนี้จริง ๆ ก็ได้รับทราบ แล้วก็ได้จัดการ ไปแล้ว เนื่องจากว่าเรามีหน่วยงานประจำจังหวัดประมาณ ๑๕ หน่วยงาน เพราะฉะนั้น หลายหน่วยงานอาจจะรับเรื่องร้องเรียนจากการไปจัดเวทีรับเรื่องร้องเรียน แล้วอาจจะไม่ได้ ใส่เข้าไปในระบบ Online มาบันทึกทีหลัง เพราะฉะนั้นทำให้จำนวนเรื่องร้องเรียนไม่ตรงกัน ซึ่งอันนี้เราก็ได้จัดการไปแล้ว คิดว่าปีหน้าไม่น่าจะเกิดปัญหานี้ขึ้น หรือว่าขณะนี้เท่าที่ เราตรวจสอบอย่างน้อยในรอบ ๓ เดือนที่ผ่านมาเรื่องนี้ก็ไม่เกิดขึ้นแล้ว ก็ขออนุญาต เรียนด้วย แล้วก็ต้องขอบคุณนะคะ จริง ๆ สภาองค์กรของผู้บริโภคก็ให้ความสำคัญเรื่องนี้ ไม่น้อย
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
ส่วนประเด็นคำถาม อันนี้ก็จะเห็นว่าเรื่องร้องเรียนที่เราได้ให้การช่วยเหลือ เป็นตัวเลข ๙๑ เปอร์เซ็นต์ ตามที่ดำเนินการได้จริง แล้วก็มีมูลค่าการเยียวยาความเสียหาย ถึง ๒๘๖ ล้านบาท แต่แน่นอนดิฉันก็เชื่อว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคมีมูลค่า มากกว่านี้มากมายมหาศาล อย่างเช่นเรื่องการฉ้อโกง Online ล่าสุดตัวเลขปี ๒๕๖๕ เราเสียเงินไปกับโจร Online ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท แล้วก็ในตัวเลขที่มากที่สุดก็เป็นเรื่องของ การลงทุน Online แล้วก็ซื้อของไม่ได้ของ ซื้อของไม่ตรงปก หรือแม้กระทั่งเรื่องความรัก ต่าง ๆ ที่เข้ามาแล้วทำให้เป็นมูลค่ามากมายกว่าที่สภาองค์กรของผู้บริโภคทำงาน และขณะนี้ สภาองค์กรของผู้บริโภคได้ทำความร่วมมือไปอย่างน้อยกับ ๑๐ หน่วยงาน ทั้งกระทรวง DE ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ปคบ. DSI เรียกว่าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องการฉ้อโกง Online ทำอย่างไรที่ จะทำให้ อย่างเช่นระงับบัญชีทันที ซึ่งหลายท่านก็คงทราบ ถึงแม้ว่าเราจะพูดกันว่าขอให้ ระงับบัญชีทันที ขณะนี้เรื่องกรณีร้องเรียนล่าสุดก็ยังไม่มีการระงับบัญชีทันที
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ก็คือให้จำกัดวงเงิน เหมือนที่ท่าน สส. ทั้งหลายเวลาจะโอนเงิน ก็จะถูกจำกัดวงเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท แต่ขณะนี้การจำกัดวงเงินเมื่อเราโอนเงินไปต่างประเทศ ไม่มีการจำกัดวงเงิน เพราะฉะนั้นก็ทำให้โอกาสที่มิจฉาชีพจะทำไปซื้อ Cryptocurrency ก็ดี หรือเกิดความเสียหายมากขึ้นต่อผู้บริโภคเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เลย เพราะฉะนั้นเราก็ได้เสนอ ไปแล้วทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยที่จะให้จำกัดวงเงินในการโอนเงิน ต่างประเทศนะคะ
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ดิฉันคิดว่าขณะนี้เรามีข้อมูลที่เป็นถังกลางว่าใครบ้าง เป็นบัญชีม้า ขณะที่เราโอนเงินทุกคนก็จะได้รับการเตือนนะคะว่าระวังมิจฉาชีพ หรือโอน ถูกคนไหม ดิฉันคิดว่าอันนี้ที่ธนาคารทำเป็นเรื่องที่ดีมาก ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้ ธนาคารดำเนินการเป็นเรื่องที่ดีมาก อย่างน้อยมันก็กระตุกต่อมการโอนเงินของเรา เพราะฉะนั้นก็หวังว่าถ้าเป็นบัญชีม้าก็ขอให้ขึ้นเลยว่าบัญชีม้า คุณแน่ใจนะว่าคุณจะโอน นี่คือ บัญชีม้านะคะ เพราะว่าเขามี Database เรื่องบัญชีม้า เพราะฉะนั้นดิฉันก็หวังว่าสิ่งที่ จะเกิดขึ้น อย่างน้อยขณะนี้เราจัดการบัญชีม้าได้มาก แต่ว่าเรายังไม่สามารถเอาเงินมาคืน ให้กับผู้บริโภคได้นะคะ
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
ส่วนเรื่องของการที่ตั้งคำถามว่ามียอดผู้เข้าถึงข้อมูล ๔ ล้านครั้ง อันนี้เป็น เรื่องของการส่งเสริมการรวมตัว และอย่างที่ท่านประธานได้รายงาน เราพยายามที่จะทำให้ เกิดสมาชิกอย่างน้อย ๑ จังหวัด ๑ องค์กร จริง ๆ จังหวัดนนทบุรีเรามีอยู่ ๔ องค์กร อย่างไร ดิฉันคิดว่าทำความร่วมมือได้ ๔ องค์กรในจังหวัดนนทบุรีก็มีความเข้มแข็ง เพียงแต่เรามี หลักเกณฑ์ว่าการที่คุณจะขึ้นเป็นหน่วยประจำจังหวัดอย่างน้อยต้องมี ๕ องค์กร แล้วก็ ต้องมีระบบการบริหารจัดการ เหมือนอย่างที่หลายท่านถามว่าเรามีหลักเกณฑ์อย่างไร ในการยุบหน่วย หรือเรามีหลักเกณฑ์อย่างไรในการตั้งหน่วย คือการที่คุณจะตั้งหน่วย อย่างน้อยคุณต้องมีความร่วมมือที่จะสามารถทำงานได้ในระดับจังหวัด เพราะฉะนั้นเรียกว่า ต้องมีเพื่อนอย่างน้อยไม่ว่าจะ ๕ อำเภอ หรือ ๕ องค์กร ที่จะร่วมกันผลักดันงานในระดับ จังหวัด อันนี้ก็เป็นหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายได้กำหนดไว้
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
แล้วเรื่องการสนับสนุนหน่วยงานประจำจังหวัดก็ดี หน่วยงานเขตพื้นที่ก็ดี ดิฉันคิดว่าเป็นภารกิจที่สำคัญของสภาองค์กรของผู้บริโภคมาก เพราะว่าไม่ใช่พอเรามี สภาองค์กรของผู้บริโภคแล้วเพื่อนเราตายหมด ทุกอย่างมาคอขวดที่สภาองค์กรของผู้บริโภค ดิฉันคิดว่าท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็คงไม่อยากเห็นบรรยากาศแบบนั้น และขณะนี้ เรามีความพยายามมากที่จะทำให้เรามีสมาชิกทุกจังหวัด โดยที่เขาจะได้รับการสนับสนุน ทั้งงบในเชิงของการบริหารงาน งบในการดำเนินการ แต่ว่าก็ต้องเป็นไปตามแผนและยุทธศาสตร์ของสภาองค์กรของผู้บริโภค ส่วนสมาชิก ท่านก็จะเห็นว่าเรามีการสนับสนุนสมาชิกเพื่อให้เริ่มทำงาน ดิฉันคิดว่าเป็นงบประมาณ ที่น้อยมาก ตั้งแต่ ๓๐,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท ในการสนับสนุนการทำกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานร้องเรียนปัญหาของคุณ ในพื้นที่ของคุณเอง หรือการผลักดันประเด็น ที่เป็นประเด็นเฉพาะที่สภาองค์กรของผู้บริโภคกำหนดในแต่ละปีนะคะ
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
ขออนุญาตไป Slide ถัดไปอีกนิดหนึ่งนะคะ อันนี้จะเห็นว่า
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ท่านเลขาธิการ พอดีด้วยความเกรงใจท่านครับ เรื่องที่ท่านชี้แจงก็มีประโยชน์ แต่ทางสภาเรามีวาระ อีก ๒ เรื่อง ที่จะต้องเอามาชี้แจงเช่นเดียวกับท่าน ท่านสรุปเลยได้ไหมครับ
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
ได้ค่ะ ถ้าอย่างนั้นดิฉันต้องขออภัยที่บางคำถามอาจจะไม่ได้ตอบท่านสมาชิกทุกท่าน ทั้งหมด ๑๓ ท่านที่ได้กรุณาให้ข้อคิดเห็น และรวมทั้งเรื่องของการจ้างที่ปรึกษา ๘ ล้านบาท จริง ๆ เป็นการทำงานกับ ๑๐ จังหวัด ๑๐ มหาวิทยาลัย ในการที่ทำงานนะคะ แล้วดิฉัน ได้ตอบไปแล้วเรื่อง ๑,๔๐๐ เรื่องร้องเรียนว่าเป็น ๙๑ เปอร์เซ็นต์จริง ๆ แล้วก็สถานะยุติ หมายถึงว่าผู้ร้องพอใจ การเจรจาสำเร็จ แล้วก็เราฟ้องคดี เพราะฉะนั้นหลักเกณฑ์ เรื่องการยุบหน่วยดิฉันได้พูดไปแล้ว แล้วก็ขอบคุณสำหรับท่านที่ได้แนะนำ ดิฉันคิดว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคเราก็เป็นน้องใหม่ แล้วเราก็อยากเห็นว่าการทำงานที่จะร่วมมือกับ ทุกพรรคการเมืองในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งปีนี้สภาองค์กรของผู้บริโภคเรามี กฎหมายอย่างน้อย ๖ ฉบับ ซึ่งฉบับแรก ก็คือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค อย่างที่ ท่านแนะนำว่าเราน่าจะปรับปรุง ฉบับที่ ๒ กฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อสินค้าที่ชำรุด บกพร่อง Lemon Law ซึ่งเราทำมาตั้งนานมากแล้ว ถ้าใครจำได้ก็คือกรณีทุบรถที่หน้า ITV จนขณะนี้ประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งทำหลังเราเขามีกฎหมายฉบับนี้ไปแล้ว ขณะนี้บ้านเรายัง ไม่เกิด ฉบับที่ ๓ พ.ร.บ. อากาศสะอาดเพื่อประชาชน พ.ศ. .... ซึ่งอันนี้สภาสนับสนุนองค์กร อื่น ๆ ในการทำกฎหมายฉบับนี้ ฉบับที่ ๔ เรียกว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการ ระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... ที่เราจะเข้าไปช่วยสนับสนุนการดำเนินการ แล้วก็มีเรื่อง พ.ร.บ. กัญชา กัญชง พ.ศ. .... ที่กำลังพูดคุยกัน รวมถึงบำนาญประชาชน ดิฉันก็หวังว่าเราจะมี บำนาญของประชาชนซึ่งเป็นกฎหมายที่ควรจะเกิดขึ้น โดยสรุปก็ประมาณนั้น แล้วจะเห็นว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคเองเรามีงานอยู่ ๔ งานหลัก ๆ ก็คืองานตั้งรับ งานให้การช่วยเหลือ ผู้บริโภค ซึ่งเราก็พยายามที่จะลดความซ้ำซ้อนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยที่มีคณะทำงานร่วมมือกัน ไม่ว่าจะลดความซ้ำซ้อนในการฟ้องคดี สนับสนุนการทำงาน กันมากขึ้น แน่นอนงานเชิงรุกเราอาจจะยังทำได้จำกัด และดิฉันก็หวังว่างานเชิงรุกโดยเฉพาะ การจัดทำข้อเสนอนโยบาย จะได้รับการสนับสนุนจากท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากขึ้น งานเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเราเตรียมการไว้มากทีเดียว ปีนี้จาก ๔๑ จังหวัด ปีหน้า ปี ๒๕๖๗ เราคาดหวังว่าอย่างน้อยเราจะมี ๖๐ จังหวัด ที่เป็นสมาชิกของสภาองค์กร ของผู้บริโภค แล้วหลายท่านพูดเรื่องเบี้ยยังชีพที่เป็นสิทธิ หรือเรียกว่าสงเคราะห์ วันที่ ๑๘ นี้ ถ้าท่านสนใจเราจัดเวทีเรื่องนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาองค์กรของผู้บริโภค ส่วนงานสื่อสารสาธารณะเราก็อยากจะทำอย่างเข้มข้นต่อไป ก็ต้องขอบคุณท่านประธาน ขอบคุณท่านสมาชิกทุกท่าน และดิฉันต้องขอโทษด้วยถ้าเกิดว่ามีคำถามไหนที่อาจจะ ไม่ได้ตอบ แต่ก็ยินดีนะคะ เดี๋ยวจะตอบอย่างเป็นทางการในคำถามต่าง ๆ มาถึง สภาผู้แทนราษฎรอีกทีหนึ่ง ขอบพระคุณมากค่ะท่านประธาน สวัสดีค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ สภาองค์กรของผู้บริโภคที่ได้มาชี้แจงและตอบข้อซักถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ดิฉันมีนิดเดียว
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้นฉบับ
คือเห็นว่าท่านสมาชิกช่วยสนับสนุนให้สภาองค์กรของผู้บริโภคพูดเรื่องงบประมาณ ดิฉันขออนุญาตเรียนนะคะ สภาเกิดขึ้นวันที่ทำงานเป็นทางการ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เราได้ทุนประเดิม ๓๕๐ ล้านบาท แล้วทุนประเดิมนั้นจริง ๆ คณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติว่าให้สภาขอรับปี ๒๕๖๕ แต่ปี ๒๕๖๕ สภาไม่ได้รับงบประมาณเลย จริง ๆ พยายามที่จะแปรญัตติ แล้วก็ท่านสมาชิกหลายท่าน ที่อยู่ในที่นี้ก็ได้ช่วยเหลือสภาองค์กรของผู้บริโภค แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดที่ไม่ได้มี การแปรญัตติงบประมาณ เพราะฉะนั้นปี ๒๕๖๕ สภาไม่ได้รับงบประมาณ ปี ๒๕๖๖ ขณะนี้ ได้รับการสนับสนุน ๑๕๓ ล้านบาท แล้วก็ปี ๒๕๖๗ เรายังไม่ทราบ ทราบแต่ว่างบประมาณ ของสภาอยู่ในบัญชีงบประมาณ แต่ว่ายังไม่ได้ทราบอย่างเป็นทางการ แต่ขณะนี้ ทุกหน่วยงานสามารถใช้งบไปพลางก่อน แต่ขณะที่สภาองค์กรของผู้บริโภคเราไม่มีงบ ไปพลางก่อนเลย เพราะฉะนั้นดิฉันก็หวังว่าท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะสนับสนุน โดยที่ สภาจะของบประมาณจากคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นงบที่จะขอใช้ไปพลางก่อนในปี ๒๕๖๗ ก็หวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากท่านสมาชิกทุกท่านนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ สภาองค์กรของผู้บริโภคมากครับที่ได้มาชี้แจงและตอบข้อซักถาม ท่านได้ทำงานที่เป็น ประโยชน์ แล้วพวกเราสภาให้กำลังใจท่านครับ เมื่อไม่มีผู้ซักถามแล้ว ถือว่าที่ประชุมนี้ รับทราบผลการปฏิบัติงานของสภาองค์กรของผู้บริโภคประจำปี ๒๕๖๕ ขอขอบคุณ สภาองค์กรของผู้บริโภคและผู้ชี้แจงทุกท่านครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปเป็นการรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของทุน หมุนเวียน ประจำปีบัญชี ๒๕๖๓ และประจำปีบัญชี ๒๕๖๔
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ รับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี ๒๕๖๓ และประจำปีบัญชี ๒๕๖๔ แล้ว คณะกรรมการบริหารกองทุน หมุนเวียนจึงขอเสนอรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรทราบ ตามมาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติ การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๖๘ ต่อไป ขอเชิญท่านผู้ที่จะเข้ามาชี้แจงเชิญได้ครับ ท่านแรก คือ ท่านสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการในตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ท่านที่ ๒ ท่านมัลลิกา อัพภาสกิจ ผู้อำนวยการกองกำกับและพัฒนาระบบเงินนอกงบประมาณ กรมบัญชีกลาง ท่านที่ ๓ ท่านพจนีย์ นันทิวัฒน์กุล นักวิชาการคลังชำนาญการพิเศษ กรมบัญชีกลาง ท่านที่ ๔ ท่านมารุต ปรียากร นักวิชาการชำนาญการพิเศษ กรมบัญชีกลาง ต่อไปท่านอนุชา บุญเกษม นักบัญชีชำนาญการพิเศษ กรมบัญชีกลาง คุณสุพรรณี สุริยะ นักบัญชีชำนาญการ รักษาการ ในตำแหน่งนักบัญชีชำนาญการพิเศษ กรมบัญชีกลาง และท่านสุวรรณา กุลสุขทวิเลิศ นักบัญชีชำนาญการ กรมบัญชีกลาง จากกองทุนหมุนเวียน จะมีการชี้แจงก่อน เชิญครับ
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ขอเสนอรายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของ ทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี ๒๕๖๓ และประจำปีบัญชี ๒๕๖๔ ตามในพระราชบัญญัติ การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๕ ซึ่งบัญญัติให้ กรมบัญชีกลางมีหน้าที่ประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนเป็นประจำทุกปี ประกอบกับ มาตรา ๓๓ ซึ่งบัญญัติให้กรมบัญชีกลางรวบรวมและจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน ในภาพรวมของทุนหมุนเวียนทั้งหมดต่อคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อทราบ ซึ่งมีสาระสำคัญ ของรายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของทุนหมุนเวียน ประจำปี ๒๕๖๓ และประจำปีบัญชี ๒๕๖๔ สรุปได้ดังนี้
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
๑. รายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมกองทุนหมุนเวียนประจำปีบัญชี ๒๕๖๓ มีทุนหมุนเวียนทั้งสิ้น ๑๑๖ ทุน
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
๑.๑ ฐานะทางการเงินกองทุนหมุนเวียนประจำปีบัญชี ๒๕๖๓ ภาพรวมฐานะ การเงินและผลการดำเนินงานประจำปีบัญชี ๒๕๖๓ ประกอบด้วย สินทรัพย์รวม ๔,๕๒๕,๕๓๑.๘๔ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีบัญชี ๒๕๖๒ คิดเป็นร้อยละ ๔.๐๙ รายได้รวม ๖๑๐,๖๙๘.๓๙ ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม ๕๗๔,๓๗๓.๐๑ ล้านบาท โดยมีการจัดทำ และวิเคราะห์รายงานการเงินของทุนหมุนเวียน แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ตามข้อสังเกต ที่ทางสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ข้อสังเกตไว้ในครั้งที่แล้ว จำแนกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
ประเภทที่ ๑ เป็นการวิเคราะห์รายงานการเงินโดยจำแนกตาม ทุนหมุนเวียนที่ได้รับเงินสมทบจากสมาชิก ปรากฏว่ามีสินทรัพย์รวม จำนวนประมาณ ๓,๔๓๒,๓๖๗.๔๓ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๗๕.๘๔
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
ประเภทที่ ๒ ก็คือการวิเคราะห์รายงานการเงินโดยจำแนกทุนหมุนเวียน ตามแหล่งที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี โดยรวมแล้วมีสินทรัพย์ จำนวน ๔๒,๕๐๑.๙๔ ล้านบาท
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
ประเภทที่ ๓ ก็คือการวิเคราะห์รายงานการเงินกลุ่มอื่น นอกเหนือจาก กลุ่มที่ ๑ และกลุ่มที่ ๒ ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ปรากฏว่ามีสินทรัพย์ จำนวน ๑,๐๕๐,๖๖๒.๔๗ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๒๒ ของสินทรัพย์รวม
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
สำหรับผลการประเมินการดำเนินงานของทุนหมุนเวียนประจำปีบัญชี ๒๕๖๓ มีทุนหมุนเวียนที่เข้าสู่ระบบประเมินผลการดำเนินงานของกรมบัญชีกลาง จำนวน ๙๙ ทุน แล้วก็ทุนที่อาจจะไม่ได้เข้าสู่ระบบการประเมินผลของกรมบัญชีกลางอีกประมาณ ๑๗ ทุน ซึ่งเป็นทุนที่มีระบบการประเมินผลเป็นของตัวเองอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งก็คือเป็น ทุนที่ไม่อยู่ในสถานะที่จะเข้าสู่ระบบประเมินผลของกรมบัญชีกลาง เนื่องจากว่า อยู่ระหว่างการยุบเลิก หรือว่าอยู่ระหว่างการรวมทุนหมุนเวียน อย่างนี้เป็นต้น โดยรวมแล้ว ทุนหมุนเวียนที่เข้าสู่ระบบประเมินผลของกรมบัญชีกลาง ประจำปี ๒๕๖๓ มีผลการประเมิน การดำเนินงานเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ ๔.๐๒๖๓ คะแนน เพิ่มขึ้น ๐.๑๑๘๐ คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ ๓.๐๒ เมื่อเทียบกับปีบัญชี ๒๕๖๒ ค่ะ
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
๒. ขอรายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของทุนหมุนเวียน ประจำปี บัญชี ๒๕๖๔
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
๒.๑ สถานะทางการเงินของทุนหมุนเวียน ประจำปี ๒๕๖๔ ภาพรวมฐานะ การเงินและผลการดำเนินงาน ประจำปี ๒๕๖๔ ประกอบด้วย สินทรัพย์รวม ๔,๘๐๙,๕๔๖.๘๘ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีบัญชี ๒๕๖๓ คิดเป็นร้อยละ ๖.๓๗ มีรายได้รวม ๖๐๘,๙๘๑.๕๓ ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายรวม ๖๒๒,๕๖๕.๒๖ ล้านบาท โดยการวิเคราะห์ รายงานการเงินจำแนกเป็น ๓ ประเภทเช่นเดียวกัน ปรากฏว่า
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
ประเภทที่ ๑ ก็คือรายงานการเงินกองทุนหมุนเวียนที่จำแนกตามที่ได้รับ เงินสมทบจากสมาชิก มีสินทรัพย์รวม จำนวน ๓,๖๒๗,๘๕๕.๙๙ ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ ๗๕.๔๓
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
ประเภทที่ ๒ ก็คือทุนหมุนเวียนที่จำแนกตามแหล่งที่ได้รับการจัดสรร งบประมาณรายจ่ายประจำปี มีสินทรัพย์รวม ๒๓๓,๐๙๘.๕๙ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๔.๘๕ ของสินทรัพย์รวม
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
และประเภทที่ ๓ ก็คือกลุ่มที่กระทรวงการคลังกำหนด มีสินทรัพย์รวม จำนวน ๙๔๘,๕๙๒.๓๐ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๗๒ ของสินทรัพย์รวม
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
๒.๒ ผลการประเมินการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี ๒๕๖๔ สำหรับทุนหมุนเวียนที่เข้าสู่ระบบประเมินผลของกรมบัญชีกลาง ผลปรากฏว่าระบบ การประเมินผลการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน มีผลการประเมินผลการดำเนินงาน โดยเฉลี่ยในภาพรวมที่ ๔.๑๒๔๔ คะแนน เพิ่มขึ้น ๐.๐๙๘๑ คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ ๒.๔๔ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๓ ทั้งนี้เป็นรายละเอียดของผลการดำเนินงานทางการเงิน แล้วก็ ผลการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน ประจำปี ๒๕๖๓ และ ๒๕๖๔ จึงขออนุญาตกราบเรียน ที่ประชุมเพื่อโปรดทราบค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ มีผู้จะขออภิปรายในเรื่องนี้ตอนนี้มีอยู่ ๕ ท่าน ผมขอเชิญเลย ท่านแรก คุณชุติมา คชพันธ์ และต่อไปก็เป็นคุณปรเมษฐ์ จินา เชิญครับ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ชุติมา คชพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วน ภาคใต้ จากจังหวัดพัทลุง ดิฉันขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับทุนหมุนเวียนผ่านท่านประธาน ดังนี้ ก่อนอื่นเลยดิฉันขอเป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ดิฉันทราบดีว่าการที่ต้องดูแล แล้วก็ต้องประเมินถึง ๑๑๖ ทุนเป็นงานที่หนักมากพอสมควร แต่อย่างไรก็ตามดิฉันก็มี ความคิดเห็นบางอย่างที่อยากจะเสนอไปเพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอ Slide เลยค่ะ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สำหรับภาพรวม โดยรวมดิฉัน ถือว่ามีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังมีบางกองทุนที่อาจจะมีบางอย่างที่ดิฉันเห็นแย้ง ยกตัวอย่าง Slide ถัดไปเลยค่ะ จากที่ดูวิธีการประเมินบางสิ่งบางอย่าง ดิฉันยังไม่เห็นด้วยกับวิธีการ ยกตัวอย่าง อย่างตอนนี้ดิฉันเห็นกองทุนมีทั้งหมด ๑๑๖ กองทุน พบว่าขาดทุน ๕๔ กองทุน ดิฉันก็สงสัยว่าทำไมถึงขาดทุนเกือบครึ่งหนึ่งเลย เกิดอะไรขึ้น ก็เลยไปดูรายละเอียดนะคะ ในหัวก็คิดว่าแล้วแนวทางพัฒนากองทุนล่ะคืออะไร มีหรือไม่ ดิฉันก็เลยย้อนกลับไปดู วิธีการคิด พอไปดูวิธีการคิดดิฉันก็ประเมิน โดยส่วนตัวมองว่า เอ๊ะ หรือว่าการประเมิน ยังไม่ทันสมัย หรือว่าเรามองคนละแบบกัน ในมุมมองของดิฉัน ดิฉันมองว่ากองทุน ทั้ง ๑๑๖ กองทุนที่มี มันแยก ๒ ประเภทหลัก ๆ เลย คือกองทุนที่มีเพื่อสงเคราะห์ หรือสนับสนุน อย่างนี้เราควรต้องดู เกณฑ์ที่ต้องใช้ดูที่ความคุ้มค่า แล้วก็ดูในเชิงของ การพัฒนาว่ามันได้ผลหรือไม่ อย่างเช่น กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยี และนวัตกรรม อีกประเภทหนึ่งคือกองทุนที่ให้กู้ยืม OK อันนี้ดูแบบที่มีอยู่แล้วได้ ที่ท่าน ทำอยู่แล้วคือดูที่กำไร ขาดทุน เช่นกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ยกตัวอย่างให้เห็นชัดขึ้น กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม กองทุนนี้เป็นกองทุนที่ดีมาก ๆ เลย แต่ท่านประเมินว่าควรปรับปรุง อันนี้ดิฉันเห็นแย้งเพราะว่าเป็นกองทุน ถ้าเรามองในแง่ ความคุ้มค่าเป็นกองทุนที่มีประโยชน์ ส่งเสริมนักศึกษาจบใหม่ หรือผู้ประกอบการ Startup หรือผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีที่อยากจะมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับประเทศ กองทุน TED Fund ดิฉันรู้จักกองทุนนี้ดีเลย เป็นกองทุนที่มีประโยชน์มาก ๆ แต่ผลออกมาคือปรับปรุง เพราะอะไรคะ เพราะท่านไปดูในเรื่องของกำไร ขาดทุน เพราะอันนี้เป็นกองทุนที่ให้เปล่า ให้ทุนกับนักศึกษา ให้ทุนกับผู้ประกอบการ เพื่อไปสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับประเทศ มันเป็นให้เปล่า ไม่มีทางที่จะได้กำไรอยู่แล้ว ถูกไหมคะ เพราะฉะนั้นเราต้องมองในแง่ ความคุ้มค่า สำหรับดิฉันถ้าประเมินอันนี้ดิฉันให้ผ่านนะคะ แต่ในขณะเดียวกันพอเราไปดู กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ท่านกลับบอกว่าปรับปรุง แต่ถ้าดิฉันประเมินดิฉันจะบอกว่า ไม่ผ่าน ดิฉันยังคิดเลยว่าเจ้าหน้าที่ใจดีจังเลย ไม่ควรจะผ่าน เดี๋ยวดิฉันจะบอกว่าทำไม ถึงไม่ผ่านนะคะ ท่านดูหนี้สูญจำนวนมาก สะท้อนถึงอะไรคะ สะท้อนถึงการบริหารกองทุนที่ ไม่มีประสิทธิภาพ คะแนนแต่ละด้านไม่สอดคล้องกันเลย มันสอดคล้องกับการดำเนินงาน จริงหรือไม่ ก็ไม่นะคะ ไปดูกองทุนมีแนวทางจัดการปรับปรุงอย่างไร ตรงนี้ก็ไม่ชัด ท่านดูนะคะ ที่ดิฉันดูในแง่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียท่านให้คะแนนเยอะมาก แต่ดิฉัน ให้ตกนะคะเรื่องนี้ ท่านจะเห็นได้เลยว่าในแง่ของการปฏิบัติการ เช่นเดียวกันดิฉันก็ให้ตกเหมือนกัน คือไม่ผ่าน เลยละค่ะกองทุนนี้ แต่ท่านบอกว่าปรับปรุง ดิฉันเลยมองว่าบางอย่างเป็นเพราะว่าเกณฑ์ มันไม่ทันสมัย หรือว่าผิดหลักการอย่างไรอยู่หรือไม่ ต่อไปดิฉันจะขอย้ำอีกนิดหนึ่งว่าทำไม ดิฉันถึงไม่ให้ผ่าน ยกตัวอย่างกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร งบปี ๒๕๖๔ ถ้าท่านดูจะเห็นว่า เงินให้กู้ยืมทั้งหมด ๓,๑๙๖ ล้านบาท เป็นหนี้เสียประมาณ ๓๗๗ กว่าล้านบาท การบริหาร จัดการทุนนี้มีประสิทธิภาพหรือไม่ มันไม่ใช่ควรแค่ปรับปรุงแล้วละค่ะ คือมันไม่ผ่านแล้ว มันค้างเยอะขนาดนี้ แล้วบางโครงการค้างเป็น ๑๐ ปี ๒๐ ปีเลยไม่ผ่านค่ะ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ต่อมาอันนี้ ดิฉันอยากจะขอใช้เวลากับตรงนี้นิดหนึ่ง เพราะคาใจมากเลย เมื่อเช้ามีการอภิปรายกองทุนนี้ แต่ว่าไม่ได้พูดถึงในแง่นี้ ดิฉันขอพูดถึงหน่อยนะคะ คือมี การปล่อยเงินให้กับบางหน่วยงาน เป็นโครงการนำร่องเพื่อสร้างต้นแบบภาคธุรกิจ ที่จังหวัด สุพรรณบุรี ให้กับบริษัทเอกชน ๒ ราย ดิฉันค้นพบว่าเอกชน ๒ รายนี้เป็นบริษัทในเครือของ ทุนใหญ่ ถ้าเอ่ยชื่อไปทุกคนร้องอ๋อแน่นอน ดิฉันเลยคาดเอาไว้ ปิดเอาไว้ไม่เห็น คำถามคือ เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรทำไมถึงไปให้กับบริษัทเอกชน ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ทุนใหญ่ด้วย ซึ่งมันไม่ตอบโจทย์เลย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือเกษตรกร และที่สำคัญเก็บไม่ได้ ด้วยนะคะ ต้องปรับโครงสร้างหนี้ ๑๓ ล้านบาท นี่ละค่ะดิฉันเลยบอกว่าไม่ผ่าน ดิฉันเลย ให้ตกถ้าเป็นกองทุนนี้ อันนี้อยากจะฝาก ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทางบ้านหรือสื่อมวลชน ถ้าดูอยู่ ท่านช่วยกันดูหน่อยว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงเป็นหนี้เสียตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ และเป็น บริษัทเอกชน ถ้าบอกว่าไม่รู้หรอกว่ามันจะเกิดหนี้เสียขึ้นมา อย่างนั้นดิฉันถามว่าตอนที่ อนุมัติ คนอนุมัติอนุมัติไปได้อย่างไรถึงปล่อยโครงการนี้ไป เพราะถ้าเป็นดิฉัน ดิฉันไม่อนุมัติ ตั้งแต่แรกแล้วค่ะ มันไม่น่าจะได้คืนอยู่แล้ว เราควรจะใช้กลไกอื่นนะคะ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ต่อมาการดำเนินงาน อีกอันหนึ่งที่ดิฉันกังวลก็คือในแง่ของการดำเนินงาน บางกองทุนที่เราไม่ได้ส่งเงินเข้าคลัง ดิฉันเป็นห่วงว่าถ้าการดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพ จะทำให้เสียโอกาสในการนำงบกลับไปพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้นขอเสนอว่าถ้ากองทุนไหน ที่มีกำไรมากเพียงพอแล้ว ประมาณ ๓ เท่าของรายจ่าย หยุดการอุดหนุนเลยค่ะ เพราะเขา อยู่ได้ด้วยตัวเองแล้ว
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
โดยสรุปดิฉันมองว่าสำหรับภาพรวมการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน มีหลาย ๆ กองทุนที่ไม่สามารถทำตามแผนการที่วางไว้ได้ ส่วนหนึ่งเลยเราจะต้องพิจารณา กันใหม่ รวมถึงสภาผู้แทนราษฎรก็เช่นเดียวกัน ในอนาคตเวลาที่เราประเมินงบประมาณ ของกระทรวงไหน หน่วยงานใดก็ตาม เราคงต้องมองเรื่องความคุ้มค่าด้วย เราจะมองแค่ ตัวเลขอย่างเดียวไม่ได้ เพราะบางครั้งตัวเลขสูงแต่ไม่คุ้มค่าก็มี เพราะฉะนั้นเรื่องความคุ้มค่า สำคัญมากที่เราต้องเอามาคิด ต้องมีการกำกับดูแล ติดตามอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมา เราปล่อยเงินแต่ก็ไม่ได้ติดตามต่อเนื่องมันก็เลยขาดทุนกันอย่างที่เห็น แล้วบทบาทภารกิจ ต้องสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน ในบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งภาวะเศรษฐกิจ แล้วก็สังคม นี่คือทั้งหมดทั้งมวลที่ดิฉันฝากไว้ ก็ขอบคุณมาก ๆ ขอฝากเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน แล้วก็รับข้อเสนอแนะไปปรับปรุงเพื่อจะได้ดีขึ้นกว่าเดิม ขอบคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณปรเมษฐ์ จินา และท่านต่อไปก็เตรียมตัวได้นะครับ คุณเทอดชาติ ชัยพงษ์ ครับ
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ แล้วก็ผู้เข้ามาชี้แจง ผม ปรเมษฐ์ จินา พรรครวมไทยสร้างชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ขอต่อเนื่องจากท่าน สส. ชุติมา คชพันธ์ เนื่องจากว่าสิ่งที่ผ่านจากสภา แห่งนี้ต้องเป็นสิ่งที่เป็นอัจฉริยะ หรือว่า Smart เราไม่สามารถที่จะให้หน่วยงานเข้ามาเพียง เพื่อผ่านให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญเท่านั้นนะครับ
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
ส่วนที่อยากจะนำเรียนในภาพรวม เนื่องจากว่าประเด็นแรกก็คงจะเป็น ในเรื่องของ ๑๑๖ กองทุน ทีนี้ที่เป็นนิติบุคคลเพียงแค่ ๑๕ กองทุน อีก ๑๐๑ กองทุน ยังไม่เป็นนิติบุคคล เบื้องต้นการที่เราจะทำให้มีคุณภาพได้ ๑๐๑ กองทุนที่เหลือก็คงจะต้องมี การยกระดับเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะได้เข้าไปตรวจสอบ แล้วก็ให้มีรายงานบัญชีงบดุลประจำปี จะทำให้งบประมาณของแผ่นดินมีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น แล้วก็ในส่วนของหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ ในที่นี้หมายถึงกรมบัญชีกลาง วันนี้ท่านได้ลงไปประเมิน ๖ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเงิน ด้านสนองประโยชน์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านปฏิบัติการ ด้านบริหารจัดการ แล้วก็ด้านคณะกรรมการการบริหาร แล้วก็ในส่วนของการตอบสนองนโยบายของรัฐ อันนี้ ก็เป็นส่วนที่สำคัญ แต่ว่าการประเมินผลก็คงจะต้องมีการติดตามด้วย ๑๑๖ กองทุนนี้ก็คง จะต้องมีคณะกรรมการลงไปติดตามเพื่อให้มีคุณภาพนะครับ
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
ส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง ก็คือผมได้อ่านรายละเอียดทั้งเล่มแล้วนะครับ ทั้งปี ๒๕๖๓ แล้วก็ปี ๒๕๖๔ พบว่ามีชื่อกองทุนที่ซ้ำซ้อนกัน ยกตัวอย่างว่าเรามีเอกสาร หน้า ๑๓ กับหน้า ๒๗ จะมีลำดับ ๗ กองทุนจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พอไปดูลำดับที่ ๓๗ ก็จะมีกองทุนจัดรูปที่ดิน อันนี้ก็มองว่าถ้าเป็นไปได้เราน่าจะ Group รวมนะครับ
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
แล้วที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง บางทีในชื่อภาษาไทยกับชื่อภาษาอังกฤษ เช่น กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่บังเอิญว่าไปมีกองทุนอีกกองทุนหนึ่ง ชื่อว่ากองทุนพัฒนา SMEs เป็นตัวเดียวกันนะครับ SMEs ก็คือ Small and Medium Enterprises ซึ่งก็คือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อันนี้ก็อยากจะให้ลงไปตรวจสอบ ด้วยนะครับ เพราะว่าปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าในส่วนขององค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย เยอะแยะมากมาย ทีนี้พอมีองค์กรขึ้นมาก็จะต้องดึงงบประมาณจากทางแผ่นดินลงไปใช้ ต้องมีคน ต้องมีงาน แล้วก็ต้องมีการบริหารจัดการ ซึ่งก็คงจะมีลักษณะการซ้ำซ้อน มองว่า ๑๑๐ กว่ากองทุนนี้เป็นไปได้ไหมครับ เรามาทำให้สภาอัจฉริยะ ซึ่งก็หมายถึงว่าเราไปจัดกลุ่ม จริง ๆ แล้วในส่วนของวัฏจักรแห่งความชั่วร้ายของมนุษย์ แก้โง่ แก้เจ็บ แก้จน เพราะฉะนั้น เราไปทำในเรื่องของกองทุนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข เกี่ยวข้อง กับเศรษฐกิจ เกี่ยวข้องกับรายได้ จัดมาดู แล้วก็เอามาจัด Group จัดหมวดหมู่ให้เขา อยู่ร่วมกัน ทีนี้เราก็จะเห็นภาพว่ากองทุนไหนที่มันซ้ำซ้อนกัน เราก็ให้เข้ามาอยู่ด้วยกัน แล้วก็ บูรณาการร่วมกัน อาจจะต้องลดจำนวนคน แล้วก็เอาเงินลงไปทำงานแบบเชิงรุกได้มาก ยิ่งขึ้นนะครับ
นายปรเมษฐ์ จินา สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
แล้วอีกส่วนหนึ่งก็คือเราจะลงไปดูกองทุนที่มีชื่อแปลก ๆ เช่น มีกองทุน โรงงานเภสัชกรรมทหาร กองทุนโรงงานผลิตวัตถุระเบิด กองทุนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้มากมาย เป็นไปได้ไหมว่ารื้อระบบกันเสียที ให้มันเป็นปัจจุบัน กองทุนไหนที่ไม่มีความจำเป็น หรือว่าโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว ยุคปัจจุบันมันเปลี่ยนไปแล้ว ก็มาปรับปรุงพัฒนา โดยทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงจะไม่ให้เขาเดือดร้อน เพียงแต่ว่าเราบูรณาการ แล้วก็ เดินต่อไปข้างหน้า อันนี้ก็เป็นส่วนที่อยากจะฝากทางท่านประธานนำเรียนทางหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้มีการรื้อระบบ แล้วก็ปฏิรูปในส่วนของกองทุนต่าง ๆ นี้ขึ้นมา เพราะว่าปัจจุบัน เรื่องของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็แสนกว่าล้านบาท กองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน หรือว่ากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาแบบนี้มันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เหมือนที่ ผมเรียนตอนต้นถ้าเกี่ยวข้องกับการศึกษา เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข เกี่ยวข้องกับรายได้ สนับสนุนไปเลยนะครับ เพราะว่ามันเป็นเรื่องของการพัฒนาศักยภาพคนของประเทศไทย เพื่อจะให้งานอื่น ๆ ในมิติอื่น ๆ มันจะได้ไปด้วยกันได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยากจะให้จัดระบบ ในเรื่องของการสังคายนากองทุนต่าง ๆ เหล่านี้ให้เป็นระบบ แล้วก็มีคุณภาพ คุ้มค่าเงิน งบประมาณของแผ่นดิน เราอยากจะเห็นว่ามีเรื่องของ One Stop Service ชาวบ้าน ไปรับบริการแล้วได้เบ็ดเสร็จครบทุกอย่าง ทีนี้พอมีหลายหน่วยงานชาวบ้านก็งงครับ ส่วนที่ เป็นองค์กรต่าง ๆ นี้ก็อาจจะเกี่ยงกันว่าอันนี้ไม่ใช่หน้าที่ตรงของเรา ให้ไปหน่วยงาน SMEs อันนี้ให้ไปวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม อันนี้ก็เป็นส่วนที่อยากจะฝาก ท่านประธานนำเรียนทางผู้ชี้แจงได้ไปหารือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง แล้วก็ช่วยกัน ปฏิรูปสังคายนาสักครั้งหนึ่ง ขอบคุณมากครับ สวัสดีครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณเทอดชาติ ชัยพงษ์ ครับ
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เทอดชาติ ชัยพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๕ พรรคเพื่อไทย อำเภอเทิง อำเภอขุนตาล อำเภอพญาเม็งราย ตำบลบุญเรือง จังหวัดเชียงราย อยากเรียน พี่น้องประชาชนผ่านท่านประธานว่าพี่น้องครับ เรามีพระราชบัญญัติการบริหารทุน หมุนเวียน พุทธศักราช ๒๕๕๘ ทุนตรงนี้มีหน้าที่ในการที่จะส่งเสริม สนับสนุนเงินทุนให้แก่ กองทุนต่าง ๆ ในการไปบริหารจัดการสร้างชีวิตและสังคม อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ผมเชื่อว่าพี่น้อง ประชาชนหลายท่านคงยังไม่ทราบว่ามีทุนหมุนเวียนตรงนี้อยู่ เพราะฉะนั้นวันนี้จึงเป็นโอกาส สำคัญที่ทางกรมบัญชีกลางได้นำเสนอผลการดำเนินงานในภาพรวมของทุนหมุนเวียน ประจำปี ๒๕๖๔ ทั้ง ๑๑๖ กองทุน ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก หลายท่านได้อภิปราย ไปแล้วก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อการทำงานอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม สถานะของกองทุนที่ได้นำเสนอตรงนี้ ขอ Slide ครับ
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
อันนี้เป็นคณะกรรมการบริหาร ทุนหมุนเวียน ซึ่งจะทำหน้าที่ในการที่จะบริหารจัดการให้ทุนหมุนเวียนแก่กองทุนต่าง ๆ กับพี่น้องประชาชนในการสร้างชีวิตและสังคม สถานะของทุนหมุนเวียน ๑๑๖ ทุนนั้น มีการรายงานสถานะอยู่ ๑๑๒ ทุน ยังไม่มีการรายงานอยู่ ๔ ทุน มีกองทุนเพื่อพัฒนา การอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพซึ่งเป็นกองทุนสำคัญ ก็อยากเห็นผลเหมือนกัน กองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม กองทุน เพื่อพัฒนาการตรวจเงินแผ่นดิน กองทุนทั้งหมดจากตัวเลขของเราก็จะเห็นว่ามีผลรายได้ ไม่ขาดดุล จาก ๑๑๒ ทุน เรามีการรับรองอยู่ ๑๐๙ ทุน อยู่ระหว่างการตรวจสอบอยู่ ๓ ทุน ได้แก่ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนเพื่อพัฒนาและเผยแพร่ประชาธิปไตยของรัฐสภา กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ทั้ง ๓ ทุนนี้เท่าที่ดูจากรายงานจะเห็นว่าอยู่ในระดับ ผ่านทั้งหมด อย่างไรก็ตามการบริหารทุนที่ทางทุนรวมนั้นได้สนับสนุนเงินงบประมาณไปนั้น จะเห็นว่ามีกองทุนที่มีผลการปรับปรุงอยู่จำนวนถึง ๓๐ กองทุน ใน ๓๐ กองทุนนั้น มีผล ปรับปรุงและมีผลที่ต้องฟื้นฟูอยู่เช่นเดียวกัน เดี๋ยวผมจะถามว่าทางคณะกรรมการนโยบาย และทางฝ่ายบริหารจะทำอย่างไร กองทุนที่มีผลปรับปรุง อย่างเช่น กองทุนหมุนเวียน เพื่อผลิตวัคซีนจำหน่ายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของโรคระบาดสัตว์ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ในฤดูฝน ในฤดูร้อนที่จะเข้ามาถึงตรงนี้ เราจะเห็นว่าในฤดูฝนก็จะมีโรคระบาดสัตว์มากมาย เพราะฉะนั้นถ้าหากว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมการ ไม่เพียงแค่โรคระบาดสัตว์ เท่านั้น ยังโรคศัตรูพืช ศัตรูข้าวต่าง ๆ ซึ่งกองทุนหมุนเวียนเกษตรกรก็ได้พูดกันในภาคเช้า ไปตอนเช้า ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะฉะนั้นจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ว่าเราต้องดำเนินการให้ทัน ต่อความต้องการในสถานการณ์ของโรคระบาดซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
อีกกองทุนหนึ่ง กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยประเภทสงเคราะห์ มีการยื่น คำร้องค่าเสียหาย ๙,๐๐๐ กว่าราย ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไป ๘,๕๐๐ กว่าราย ขาดไปอยู่ ประมาณ ๖๐๒ ราย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับกฎหมายประกันภัย เราเจอผู้เสียหาย ได้รับความเสียหายไปแล้ว เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการชดเชยทดแทน เพราะความสูญเสียนั้น ประมาณค่าไม่ได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
อีกกองทุนหนึ่ง กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้กับผู้ประกอบการ ๑๒๒ ราย ใน ๒ โครงการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งถือว่า เป็นกองทุนที่เป็นประโยชน์มากในยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการเรียนรู้และการบริหารจัดการต่าง ๆ เพราะฉะนั้นกองทุนตรงนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่การติดตามประเมินผลการเติบโตทางธุรกิจของผู้ประกอบการกองทุนนั้น ทางกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมนั้นก็ยังไม่มีบทบาทตรงนี้ แล้วก็ไม่สามารถ ดำเนินการตามเงื่อนไขที่กรมบัญชีกลางได้วางไว้ จึงอยู่ในระดับปรับปรุงเท่าที่ดูตรงนี้นะครับ แต่สิ่งที่ผมอยากจะได้เรียนมากที่สุดก็คือกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน ประถมศึกษา อันนี้เป็นเรื่องจำเป็นที่สุด เพราะว่าสำหรับนักเรียน สำหรับลูกหลาน ของเรานั้นถือว่าเป็นบุคลากรสำคัญ เป็นทรัพยากรสำคัญของชาติ การที่เรามีกองทุนเพื่อให้ เด็กได้แก้ไขทุพภาวะโภชนาการ ได้มีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ เป็นคนที่มีสุขภาพดี จึงเป็น เรื่องสำคัญที่สุดของกองทุนนี้ เพราะฉะนั้นขาดทุนคือกำไรครับ เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงว่า ท่านจะขาดทุนในโครงการนี้ แต่ทำอย่างไรที่จะจัดสรรงบประมาณกองทุนตรงนี้ให้กับ กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาให้ได้มากที่สุดนั้น จึงเป็นเรื่อง สำคัญและจำเป็นอย่างที่สุดครับ เพราะฉะนั้นก็ต้องฝากทางกองทุนต่าง ๆ ผ่านทาง กรมบัญชีกลาง ผ่านท่านประธานให้กับทางกองทุนได้ดำเนินการด้วยนะครับ
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่ง ก็คือกองทุนที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการวิชาชีพ เรื่องของ กองทุนสงเคราะห์ กองทุนเงินทดแทนของกระทรวงศึกษาธิการให้กับโรงเรียนในระบบ ของเอกชน อันนี้ก็จะเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก ๆ ต่อการดำรงชีวิตหรือระบบสวัสดิการ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการทำงานเพื่อการศึกษาของลูกของหลานเรา เพราะฉะนั้นกองทุน ที่ไม่ผ่านเหล่านี้ เราจะเห็นว่ามีทั้งขาดดุลในปี ๒๕๖๓ มีทั้งไม่สามารถดำเนินการตามแผน ที่ต้องการได้ แล้วก็ไม่รายงานผลตามเงื่อนเวลา อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ผมก็มีคำถามไปยัง กรมบัญชีกลางนะครับ
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
ประเด็นแรก กองทุนที่จะต้องปรับปรุงหรือฟื้นฟูนั้น ท่านหรือคณะกรรมการ นโยบายบริหารทุนหมุนเวียนจะทำอย่างไร เพื่อที่จะให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ มากที่สุด
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ คือกองทุนที่ผ่านท่านจะช่วย หรือส่งเสริม สนับสนุน หรือ Top-up ให้ได้อย่างไรให้เขาทำหน้าที่ตรงนี้ให้ได้ดีขึ้น
นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ
และประเด็นสุดท้าย กองทุนเหล่านี้ทั้ง ๑๑๖ กองทุน จะมีประโยชน์ อย่างมาก หากว่า ๑. ให้โอกาสประชาชนเข้าถึงกองทุนอย่างทั่วถึงและอย่างเป็นธรรม โดยการประชาสัมพันธ์อย่างหลากหลายและอย่างต่อเนื่อง ให้ทุกคนได้รับรู้กองทุนนี้ พร้อม ๆ กัน และมีโอกาสได้เข้าถึงกองทุนนี้เหมือน ๆ กัน ประการสำคัญที่สุดในข้อที่ ๒ ก็คือ การบริหารกองทุนนั้นต้องบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด ต่อประชาชน และที่สำคัญสุดท้ายนะครับ รบกวนทุนต่าง ๆ นั้นได้ประชาสัมพันธ์ให้พี่น้อง ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งทุน ให้เข้าถึงเงินในการที่จะมาช่วยในการพัฒนาชีวิตและสังคม คุณภาพชีวิตของเขาต่อไป อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ วันนี้ทุนต่าง ๆ ที่ทางกรมบัญชีกลาง ได้มอบให้ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติ เพราะคุณภาพชีวิตของคน คือคุณภาพของประเทศ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ผมจะได้อ่านให้เตรียมตัวเป็น ๓ ท่านสุดท้ายแล้วนะครับ ขอความกรุณาคงจะไม่รับเพิ่ม เพราะว่าหลังจากชี้แจงแล้วก็ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย ผมตั้งใจจะให้เรื่องธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ให้จบในวันนี้นะครับ เราควรจะอภิปรายสั้น ๆ หน่อย เพราะว่าเขามารอตั้งแต่เช้าก็ไม่อยาก ให้เขาต้องมาใหม่อีกที ขอความกรุณาท่านสมาชิกครับ คงไม่นานเท่าไร ต่อไปขอเชิญ คุณเอกราช อุดมอำนวย ท่านที่ ๒ คือคุณนพพล เหลืองทองนารา และท่านสุดท้าย คือท่านณัฐวุฒิ บัวประทุม เชิญท่านเอกราชครับ
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม เอกราช อุดมอำนวย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตดอนเมือง พรรคก้าวไกล ผมขออภิปรายสั้น ๆ เรื่องของกองทุนหมุนเวียน พี่น้องที่รับฟังอยู่ทางบ้าน อาจจะงงว่าคืออะไร กองทุนนี้เป็นรายงานของคณะกรรมการนโยบายบริหารทุนหมุนเวียน โดยกรมบัญชีกลางมีหน้าที่ประเมินผลในการดำเนินงาน บรรดากองทุนต่าง ๆ ที่ต้องรายงาน ต่อสภาแห่งนี้ในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมกองทุนที่ตั้งขึ้น ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ มักไม่ต้องส่งรายได้ ต่อแผ่นดิน หรือว่าเป็นเงินนอกงบประมาณ ผมได้อ่านเล่มนี้ ก็มีคำถามถึงผู้ชี้แจงว่า เงินที่ไม่ต้องนำเข้าส่งคลัง ที่เงินเยอะ ๆ เขาเอาไปใช้โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพอย่างไร ปรากฏว่าต้องชมเชยนะครับ เพราะผมก็มาดูว่าท่านไม่ได้ดูแค่บัญชีอย่างเดียว ท่านประเมิน ผลสัมฤทธิ์มาด้วย แต่ตัวชี้วัดบางตัวก็เหมือนที่เพื่อนสมาชิกได้อภิปราย ก็อาจจะต้องมีการปรับปรุงกันบ้าง แต่ผมขอตั้งข้อสังเกตนะครับว่าบางกองทุนปี ๒๕๖๓ เป็นอย่างไร ปี ๒๕๖๔ ก็เป็นแบบนั้น ผมอยากให้ท่านมีเครื่องมือในการควบคุมในการเสนอแนะต่อกองทุนต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ ต่อพี่น้องประชาชน ท่านประธานครับ กองทุนหมุนเวียนที่ไม่เข้าสู่ระบบการประเมินของ กรมบัญชีกลางมีทั้งหมด ๑๗ กองทุน เยอะนะครับ ๑๗ กองทุน มี ๙ กองทุนที่มีกฎหมาย แยกไปต่างหาก เช่น กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สสส. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นต้นแบบนี้ หรือกองทุน กทปส. พวกนี้งบประมาณเยอะทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการจัดทำ เขาก็จะมีเกณฑ์ของเขา แต่มันไม่มีเกณฑ์ของกรมบัญชีกลาง ผมอยากให้ท่านทำครับ จะได้ ให้คะแนนกันไปว่าผ่านหรือไม่ผ่าน เพราะเขาก็จะมีเกณฑ์รายละเอียดของเขา บางหน่วยงาน ๙ ด้าน บางหน่วยงาน ๔ ด้าน แล้วการให้น้ำหนักคะแนนของแต่ละเกณฑ์ก็ไม่เท่ากัน เช่นของท่านเป็นค่าน้ำหนักด้านการเงิน ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ท่านอาจจะต้องปรับ หรือว่าอาจจะต้อง หาตัวชี้วัดที่สามารถจะประเมินหน่วยงานกลางทั้งหมดที่มองและเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
อันที่ ๒ ทุนหมุนเวียนที่มีสถานะไม่พร้อมในการดำเนินงาน ผมสอบถาม กองทุนเดียว คือกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย เพราะว่างบปี ๒๕๖๓ บอกว่าอยู่ในส่วนของ การจะยุบหรือเลิก แต่ล่าสุดก็เป็นไม่ยุบแล้ว อยู่ในรายงานของท่านเรียบร้อยท้ายฉบับนี้ เพราะฉะนั้นทุนหมุนเวียนท่านใช้เกณฑ์อะไรว่าหน่วยงานนี้จะยุบ จะเลิก มันมีกฎหมาย หรืออย่างไรครับ หรือว่าท่านประเมินเอาเองว่าถ้ามันไม่ผ่านการประเมินสัก ๒-๓ ปีก็ปิด มันไป เพราะฉะนั้นอยากจะเห็นหลักเกณฑ์เหล่านี้ และยังมีทุนหมุนเวียนที่อยู่ระหว่าง การเตรียมความพร้อม ๓ กองทุน เตรียมมา ๓ ปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจ เพื่อสังคม กองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือกองทุนเพื่อพัฒนาการตรวจเงิน แผ่นดิน และอีกกองทุนหนึ่งคือกองทุนเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ เพราะฉะนั้นอยากจะให้ท่านเข้มงวดว่ากองทุนไหนที่จะต้องรายงานต่อสภาแห่งนี้ ทำรายงาน ให้ชัดเจน อยากให้ท่านเร่งรัด สำหรับการประเมินผลของการดำเนินงานของกรมบัญชีกลาง นอกจากนี้ ก็อยากจะให้ท่านคำนวณเรื่องของความคุ้มค่าการใช้จ่ายของงบประมาณ แล้วปรับเข้า ผมเห็นว่าท่านได้เสนอแนะเรื่องของการประเมินผลในเรื่องของความคุ้มค่า ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมมารวมกัน แต่ท่านแยกได้ไหมครับ เศรษฐกิจด้านหนึ่ง สังคม ด้านหนึ่ง ให้เห็นชัดไปเลยว่ากองทุนนั้นมีผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจขนาดไหน อย่างไร แล้วให้ค่าน้ำหนักคะแนน หรือด้านสังคมมีความจำเป็นอย่างไร และกองทุนไหนมันจะเจ๊ง ท่านเขียนเลยครับ มันจะเจ๊ง จะได้เป็นข้อเสนอต่อผู้บริหารกองทุนหรือรัฐบาล หรือสภา แห่งนี้จะได้รับทราบว่ากองทุนเหล่านั้นมันมีปัญหาอย่างไร ท่านขึ้นตัวแดง ๆ หรือว่าขึ้น คำเตือนเอาไว้เลย พี่น้องประชาชนก็จะได้ร่วมกันตรวจสอบและเห็นด้วย
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เพราะฉะนั้นสุดท้ายผมก็เสนอแนะ มีเวลา ๒ นาที ว่ากองทุนหมุนเวียน ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในแต่ละปีประเภทไหนที่วงเงินค่อนข้างต่ำ แล้วก็มีลักษณะ การดำเนินงานที่อยู่ภายใต้ภารกิจของส่วนราชการได้ ก็ควรไปขอรับการจัดสรรงบประมาณ รวมกับส่วนราชการ ไม่จำเป็นต้องจัดเป็นกองทุนหมุนเวียนท่านก็เสนอมานะครับ อย่างเช่น อาจจะมี KPI ว่างบที่ไม่ถึง ๑ ล้านบาท อย่างนี้เป็นต้น หรืออย่างกองทุนที่ส่งเสริมและพัฒนา การศึกษาสำหรับคนพิการไม่ผ่าน ก่อนหน้านี้ก็ไม่ผ่าน โดยท่านมีความเห็นว่ากองทุน ไม่สามารถจัดสรรเพื่อดำเนินงานได้ตามเป้าหมายเนื่องจาก Coronavirus เพราะอะไร กรมบัญชีกลางบอกว่าเขาประชุมกันไม่ได้ แบบนี้นะครับ ก็ตั้งคำถามไปถึงผู้บริหารกองทุน เหมือนกัน หรืออย่างกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ผลค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก การสำรวจความพึงพอใจ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย ท่านก็ Highlight เลยว่า เป้าหมายด้านไหน และอย่างไร เพื่อให้กองทุนเหล่านั้นปรับ นอกจากนี้ทุนหมุนเวียนที่ได้รับ การจัดสรรเป็นทุนประเดิมครั้งเดียวแต่ไม่มีรายงานความก้าวหน้า หรือผลการดำเนินงาน ให้รัฐสภาทราบยังมีอยู่ไหม ที่ปิดบัญชีไปแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ท่านอาจจะใส่ไว้ตอนท้าย ก็ได้นะครับ อยากจะทราบรายละเอียด ทีนี้นอกจากนี้ก็เสนอแนะว่ากรมบัญชีกลางควรเสนอควบรวมทุนหมุนเวียนที่มีวัตถุประสงค์ คล้ายคลึงกัน หรือมีภารกิจรับผิดชอบที่เกี่ยวพันคล้ายกัน หรือทับซ้อนกัน เพื่อใช้ทรัพยากร ด้านรายจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
สุดท้าย กองทุนที่มีความเสี่ยง ก็อยากให้ท่าน Highlight เอาไว้ ก็หวังว่า ข้อเสนอแนะจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ ในการทำรายงานของปีถัด ๆ ไป เพราะเข้าใจว่า เดี๋ยวของปี ๒๕๖๕ ปี ๖๕๖๖ ก็จะเข้า ก็ขอบคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณนพพลครับ
นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติครับ ผม นพพล เหลืองทองนารา สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรคเพื่อไทย คนพรหมพิรามครับ ในส่วนของรายงาน สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของกองทุนหมุนเวียนประจำปีบัญชี ๒๕๖๔ นั้น คือในจำนวนกองทุนทั้งหมดอย่างที่ท่านได้แถลงไว้มีอยู่ ๑๐๐ กว่ากองทุน ทุก ๆ กองทุน ถือว่ามีความสำคัญในวัตถุประสงค์ แต่ผลการดำเนินงานแต่ละกองทุนหลาย ๆ แห่ง นับเกือบจะทั้งหมดก็ได้ ที่ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เคยโจษขานกัน หรือแม้แต่ พี่น้องประชาชนได้โจษขานกัน รู้สึกว่าผลการดำเนินงานนั้นท่านให้คะแนนมาพวกเรายังว่า มากไปด้วยซ้ำ ผมจะยกตัวอย่างอยู่ ๒-๓ กองทุน ซึ่งในที่นี้ก็จะขอยกตัวอย่างที่เกี่ยวกับ ด้านเกษตรกรรมนะครับ
นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ
ลำดับแรก ผมขอเอาสุดท้ายมาก่อนเลย ก็คือในส่วนของกองทุนฟื้นฟู แล้วก็ พัฒนาเกษตรกร ซึ่งกองทุนนี้ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. ในปี ๒๕๔๒ โดยการรวมตัวกันของ กลุ่มเกษตรกร ๓,๖๖๕ คน ที่พยายามจะขอให้ทางรัฐได้ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในเรื่องของ การจัดการด้านหนี้สินของเกษตรกร ทั้งที่เป็นหนี้ของ ธ.ก.ส. เป็นที่ของสหกรณ์ใด ๆ ก็ตาม แล้วก็ถึงได้มากำเนิดในปี ๒๕๔๒ ท่านครับ ในระยะเวลาที่ผ่านมา คือกฎหมายตัวนี้ มีการปรับปรุง และปัจจุบันเป็นฉบับที่ ๓ แล้ว ท่านครับ ทุกวันมีสมาชิกที่รอคอยให้กองทุนนี้ ได้ช่วยเหลือ ๕๐๐,๐๐๐ กว่าราย แต่ปี ๆ หนึ่งการช่วยเหลือของกองทุนนี้มีไม่มากเลย บางปี เป็นหลักร้อยด้วยซ้ำ ซึ่งถ้าเอาจำนวนนี้ให้ช่วยเกษตรกรได้ปีหนึ่ง สมมุติปีละ ๑,๐๐๐ คน ปีละ ๑๐,๐๐๐ คนก็ได้ แต่อันนั้นคือเป็นการจินตนาการที่มโนภาพไปอีกไกลแล้ว กี่ปี ๕๐๐,๐๐๐ คน อีก ๕๐ ปี แล้วการที่เกษตรกรนั้นจะโดนยึดที่ยึดทางเขารอไม่ได้ถึง ขนาดนั้นหรอกนะครับ เพราะฉะนั้นผมเองในส่วนของกองทุนฟื้นฟูแล้วก็พัฒนาเกษตรกร ผมอยากให้ท่านได้ดูเข้าไปให้ลึกซึ้งถึงการบริหารงานภายในว่าการบริหารงานของกองทุนนี้ เป็นอย่างไรบ้าง มันน่าส่งเสริมไหม หรือว่ามีข้อบกพร่องตรงไหน วัตถุประสงค์ของกองทุน นั้นดีมาก ประชาชนจึงอุ่นใจที่ไปอยู่กับกองทุนนี้ ไม่ได้อยู่กับธนาคาร พี่น้องอุ่นใจมาก แต่ว่า การเคลื่อนของการดำเนินงานล่าช้ามาก ผมอยากให้ท่านช่วยเข้าไปดูหน่อยเถอะ ไม่รู้จะมี Mafia หรือเปล่าก็ไม่รู้เหมือนกัน
นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ
ลำดับต่อมาที่ผมอยากจะพูดก็คือในส่วนของกองทุนจัดรูปที่ดิน กองทุนจัดรูป ที่ดินก็เกิดขึ้นจาก พ.ร.บ. ปี ๒๕๕๘ จริง ๆ ก่อนหน้านั้นมันก็มีอยู่ในการจัดรูปที่ดิน แต่ทีนี้ การจัดรูปที่ดินถามว่าดีไหม ดีครับ เพราะการที่จะเป็นการนำที่ด้านเกษตรกรรมมาปรับ ปรับให้มีระบบคู คลอง ให้มีถนนเข้าไร่เข้านาเพื่อการขนส่งพืชผลทางการเกษตร แล้วก็มีน้ำ และใน พ.ร.บ. ตัวนี้ของกองทุนก็ได้มีการกำหนดว่าเมื่อมีการปฏิรูปที่ดินแล้วน้ำจะต้อง ถูกส่งเข้าในพื้นที่ดังกล่าวอย่างน้อยปีละครั้ง แต่ปัจจุบันไม่เคยเป็นอย่างนั้นเลย นั่นคือ สัญญาด้วย สัญญาที่บอกกับเกษตรกรไว้ แล้วเกษตรกรไม่ใช่ว่าฟรีนะครับ ยังต้องเสียเงิน มีทั้งประเภท ก ประเภท ข ประเภท ค เพราะฉะนั้นผมอยากให้ท่านเวลาตรวจรายงาน ของกองทุน ช่วยดูในส่วนของผลสัมฤทธิ์ ผมไม่เชื่อเท่าไรในความพึงพอใจที่ท่านให้คะแนนมาสำหรับกองทุนนี้ว่าทางเกษตรกรนั้นมี ความพึงพอใจในระดับที่ดีพอสมควร เพราะฉะนั้นแล้วผมขอฝากท่านด้วยได้ไหมครับ ในการที่จะตรวจรายงานของกองทุนจัดรูปที่ดิน และสุดท้ายที่ผมอยากจะนำเสนอ นั่นก็คือ ในส่วนของกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล ซึ่งกองทุนนี้เป็นกองทุนที่เกิดจาก พ.ร.บ. เมื่อปี ๒๕๒๐ เป็นการพัฒนา แล้วกองทุนนี้วัตถุประสงค์ก็คือให้ทุนไปทำการวิจัย ให้เป็นการศึกษาในเรื่อง ของน้ำบาดาล การพัฒนาน้ำบาดาลด้วย ศึกษาแหล่งบาดาลด้วย เกี่ยวกับบาดาลเกือบทั้งนั้น ท่านครับ ยิ่งปัจจุบันนี้ประเทศไทยประสบภาวะเรื่องภัยแล้ง El Niño แล้วปัญหาก็จะรุนแรง มากขึ้น เพราะฉะนั้นในเมื่อน้ำบนฟ้าเราก็หวังยากอยู่เหมือนกันเพราะสภาพอากาศมัน แปรเปลี่ยน น้ำบนดินยิ่งหวังยากเข้าไปใหญ่ แม้ว่าน้ำจะอุดมสมบูรณ์ แต่การบริหารจัดการ ของกรมชลประทาน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มันไม่ยุติธรรมกับเกษตรกรเลย ในบางครั้ง อันนี้ผมพูดตามตรงนะครับ เพราะฉะนั้นแหล่งหนึ่งที่จะเป็นแหล่งน้ำให้เกษตรกร เพื่อให้เขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เราก็รู้อยู่ว่าเกษตรกรเป็นกระดูกสันหลังของประเทศ แต่ทุกวันนี้มีแต่คนบอกเป็นห่วง รัก อยากจะให้เกษตรกรนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่รู้ พูดแต่วาจาหรือเปล่า แต่การกระทำผมก็เห็นพี่น้องเกษตรกรยังยากจน ยังต้องประสบปัญหา ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นราคาพืชผล ไม่ว่าจะต้นทุนการผลิตอะไรหลาย ๆ อย่าง เพราะฉะนั้นแล้ว ผมอยากให้ท่านเน้นดูว่าทุนที่ได้ไปสำหรับกองทุนนี้จะมากน้อยเท่าไรก็ช่างเถอะนะครับ ว่าเขาได้มีความคืบหน้าในการพัฒนาเรื่องบาดาลขนาดไหน ผมเองอยากจะเห็นมากในเรื่อง ของบาดาลเกษตร เพราะปัจจุบันนี้บาดาลเกษตรที่มีอยู่ มันมีกรอบวงนอก แล้วตัวไส้ในที่วาง Submerge ดูดน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด ๒ นิ้ว ๓ นิ้ว ท่านครับ ที่นามันมโหฬาร เอาที่นา แปลงใหญ่ ๕๐๐ ไร่ ตัวนี้ ๒ นิ้ว ๓ นิ้ว วันหนึ่งได้ ๑๐ กว่าไร่ แล้วก็ทำกันมาอย่างนี้ กี่สิบปีแล้ว ผมอยากจะเห็นนวัตกรรมที่เสียเงินไปแล้วได้มีนวัตกรรมว่าตัวดูดท่อข้างในที่ใส่ Submerge ไว้ดึงน้ำจากบาดาล เป็น ๖ นิ้ว เป็น ๘ นิ้ว เพราะการเพิ่มขึ้นจาก ๑ นิ้ว มา ๒ นิ้ว มันไม่ใช่เพิ่มน้ำเป็นเท่าตัวนะครับ มันเพิ่มอีกหลายเท่าตัวเพราะเป็น เส้นผ่าศูนย์กลาง เพราะฉะนั้นแล้วผมขอฝากทางกระทรวงการคลังด้วยเลยนะครับ เพราะว่า ทุนทุกอย่าง งบประมาณทุกอย่างที่แต่ละกองทุนได้รับก็ถือว่าเป็นเงินจากพี่น้องประชาชน ทั้งนั้นนะครับ เป็นเงินภาษี โดยเฉพาะในด้านเกษตรกรรม ผมขอให้ทางคนที่ตรวจสอบก็คือ ท่านนะครับ รบกวนท่านได้ตรวจดูอย่างละเอียดด้วยเลย กราบขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านสุดท้าย ท่านณัฐวุฒิ บัวประทุม เชิญครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านประธาน ที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัดอ่างทองครับ ก่อนจะเข้าสู่การอภิปรายรายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม ของทุนหมุนเวียนประจำปีบัญชี ๒๕๖๓ ปีบัญชี ๒๕๖๔ อยากจะรบกวนท่านประธานครับ อยากจะ Pan กล้องกันไปทั่ว ๆ นิดหนึ่งครับ จะได้ทราบว่าวันนี้เพื่อนสมาชิกจาก ทุกพรรคการเมืองนั้นยังอยู่ในสภาแห่งนี้ถึงแม้จะ ๖ โมงกว่า แล้วก็มีส่วนร่วมในการอภิปราย รายงานต่าง ๆ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ พี่น้องประชาชนอยู่ทางบ้านก็จะได้ทราบว่าตัวแทน ของเขานั่งประชุมอยู่ในที่ประชุม นั่งอยู่ตรงไหนในมุมไหนของสภาแห่งนี้ครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผมมีอยู่ทั้งหมด ๓-๔ ประเด็นด้วยกันในการจะอภิปราย กองทุนครับ แต่ประเด็นใหญ่ที่ผมอยากจะต้องเริ่มพูดถึงก็คือประเด็นว่าเราต้องยอมรับว่า ขณะนี้กองทุนหมุนเวียนนั้นมีเงินอยู่ทั้งหมดถึง ๔.๖ ล้านล้านบาทต่อปี แน่นอนครับ เมื่อเทียบกับงบประมาณที่เข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎรของพวกเรา งบอาจจะแตกต่าง กันบ้างในแต่ละปีเล็กน้อย ๓.๑ ๓.๒ ๓.๓ ย้อนมา ๓.๒ ล้านล้านบาท แต่เห็นได้ว่ากองทุน หมุนเวียนหรือทุนหมุนเวียนนั้นมีปริมาณมหาศาล ผมคิดว่าประเด็นหลักเลยก็คือว่า กรมบัญชีกลางในฐานะผู้ปกป้องประโยชน์หรือเงินของแผ่นดิน อาจจะต้องชี้แจงและยืนยันว่า เรามีความจำเป็นจะต้องควบคุมการใช้เงินทุนหมุนเวียนมากไปกว่านี้อีกไม่ได้แล้วหรือไม่ จะมีข้อเสนออย่างไร จะมีวิธีการอย่างไร จะบอกเลยไหมว่าต่อไปนี้กฎหมายต่าง ๆ ที่จะมีการเสนอต่อสภานั้นควรจะต้องไม่มี บทบัญญัติที่ว่าด้วยทุนและกองทุนต่าง ๆ ซึ่งเพิ่มงบประมาณในการใช้จ่าย หรือถ้าท่าน เห็นว่าทุนหมุนเวียนยังจำเป็นอยู่ ก็จะต้องบอกว่าความจำเป็นนั้นควรจะต้องมีเงื่อนไขแบบใด ประการใด แต่ผมคิดว่าถ้าปล่อยให้สถานการณ์แบบนี้เราจะกลายเป็นรัฐซ้อนรัฐ เราจะ กลายเป็นเงินซ้อนเงิน เราจะกลายเป็นทุนที่ซ้อนทุน ซึ่งมีการใช้ในงบประมาณประจำปี อยู่ในหน่วยราชการต่าง ๆ เราปล่อยแบบนี้ต่อไปไม่ได้ นั่นเป็นประการที่ ๑
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ ผมคิดว่ามีหลายกองทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะที่ผมเอง ก็นั่งเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการที่ดูเรื่องกองทุนในสภาชุดที่ผ่านมา แล้วก็อภิปราย ทุนหมุนเวียนในทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุนที่เกี่ยวข้องกับทางสังคม ยกตัวอย่างบางประการ เช่นกองทุนคุ้มครองเด็ก ถ้าท่านดูคำว่า ประเด็นสำคัญในปี ๒๕๖๓ กับปี ๒๕๖๔ รายงาน ๒ ฉบับ เพื่อนสมาชิกบอกว่าอยากให้ผมถือสักนิดหนึ่ง อย่างน้อยก็จะได้รู้ว่าจำนวนหน้า เป็นจำนวนเท่าไร ก็ต้องเรียนว่าข้อความไม่แตกต่างกันเลยครับ ปี ๒๕๖๓ ท่านบอกว่า ประเด็นสำคัญมี ๑ ๒ คือการติดตามงบประมาณและประเมินผล ทั้งประเด็นเรื่องรายบุคคล และกลไกระดับจังหวัดในการคุ้มครองเด็กที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ปี ๒๕๖๔ ท่านก็ใช้ คำเดียวกัน ผมก็ต้องถามว่าคำว่า ประเด็นสำคัญ ที่ท่านเขียนนัยอยู่ในทุก ๆ กองทุนนี้ หรือทุก ๆ ทุนมันหมายความว่าอะไร ท่านกำลังส่งสัญญาณอะไรครับ กำลังบอกว่านี่คือ ประเด็นสำคัญซึ่งควรจะต้องไม่มีอีกแล้วในปีถัดไป หรือนี่คือประเด็นสำคัญที่ Highlight ว่า ปีหน้าถ้าคุณจะต้องใช้ทุนต้องใช้ในเพื่อการแบบนี้นะ หรือกำลังจะบอกว่านี่คือประเด็นสำคัญ ที่ควรจะต้องนำไปสู่การปรับแก้ หรือยกเลิกกองทุน ท่านต้องอธิบายความหมายของคำว่า ประเด็นสำคัญ ซึ่งอาจจะวงเล็บว่าไม่สำคัญก็ได้ แต่ผมยกตัวอย่าง ในเมื่อเข้ามาสู่กองทุน คุ้มครองเด็กก็ต้องลงรายละเอียด เอาเข้าจริง ๆ เราต้องยอมรับนะครับว่ามีการใช้กองทุน คุ้มครองเด็กอยู่ใน ๒ ระบบด้วยกัน ก็คือการช่วยเหลือสงเคราะห์รายบุคคล กับการสนับสนุน โครงการ แต่ท่านไม่ได้ลงรายละเอียดว่าเงินสงเคราะห์รายบุคคลนั้นจำนวน ๑,๐๐๐ กว่าราย ต่อปีนั้นใช้วงเงินเท่าไร โครงการซึ่งมี ๒๐-๓๐ รายต่อปีใช้วงเงินเท่าไร แล้วสัดส่วน มันเป็นเท่าไร ที่ผมต้องพูดตั้งประเด็นแบบนี้เพราะว่าเงินสงเคราะห์รายบุคคลมันไปซ้อนกับ เงินสงเคราะห์ที่อยู่ในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีหลายหน่วย ที่ใช้ เยอะแยะไปหมด แต่บางโครงการท่านทราบไหมครับ มีอยู่ปีหนึ่งโรงเรียนขอใช้ งบประมาณในการไปทัศนศึกษาจากกองทุนคุ้มครองเด็ก แล้วท่านอดีตรองปลัดกระทรวง พม. มาบ่นกับผมว่าก็ต้องอนุมัติให้ไป ทั้งที่จริงทำไมไม่ไปใช้เงินปกติของกระทรวงศึกษาธิการ ตกลงเวลาที่ท่านประเมินผลมองแบบนี้อย่างไร และเอาเข้าจริง ๆ แล้วจำนวนเด็กที่ต้องได้รับ การสงเคราะห์ เด็กบางรายนั้นมีความจำเป็นมากกว่าประกาศวงเงินที่อยู่ในประกาศของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ฝากท่านไปดูครับ กายอุปกรณ์ บางอย่างสำหรับเด็กพิการ ประกาศวงเงินไม่ครอบคลุมถึง ประเด็นเรื่องการตรวจ DNA เปรียบเทียบสถานะบุคคล เพื่อนสมาชิกผมอยู่ใน กทม. ทุกเขต เจอหมดเลยครับ มีเด็ก ไร้สถานะ แต่ไม่สามารถนำไปสู่การตรวจ DNA ได้ ประกาศวงเงินบอกให้ใช้ได้ แต่ท่านลอง ไปดูให้หน่อยว่าตกลงใช้ไปกี่ราย เป็นจำนวนเงินเท่าไร หรือตั้งแต่มีประกาศวงเงิน ในปี ๒๕๕๔ เป็นต้นมาเคยมีคนใช้ไหม แต่วงเล็บไว้ก่อนนะครับ มี ๑ ราย ณัฐวุฒิ บัวประทุม เคยใช้ นั่นเป็นกองทุนคุ้มครองเด็ก กองทุนค้ามนุษย์ก็แบบเดียวกันครับ กองทุนความเสมอ ภาคทางเพศไม่ตั้งคำถามไม่ได้นะครับ เพราะว่าเกิดขึ้นจากพระราชบัญญัติส่งเสริม ความเท่าเทียมระหว่างเพศ ปี ๒๕๕๘ มีการตั้งกรรมการ ๒ ชุด เรียกว่า สทพ. กับ วลพ. มีเรื่องร้องเรียนที่นำไปสู่การจ่ายเงินชดเชยหรือเยียวยาผู้ประสบเหตุจากความไม่เป็นธรรม ในเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศแค่ ๔ ราย น้อยนิดนัก คำถามของผมก็คือว่าตกลง เขา Declare หรืออธิบายท่านไหมครับว่าความเสมอภาคระหว่างเพศนั้นคืออะไร เป็นความเสมอภาคระหว่างเพศของระบบเพศ ๒ เพศ ที่เรียกว่า Binary หรือชายและหญิง หรือเป็นความเสมอภาคของทุกเพศ Gender Equality ผมคิดว่ากองทุนความเสมอภาค ระหว่างเพศนะครับ เป็นประเด็นที่นำไปสู่การต้องทบทวน พ.ร.บ. ส่งเสริมความเสมอภาค ระหว่างเพศว่าตกลงที่มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ นั้นเป็นอย่างไร นี่ยังไม่พูดถึงเรื่องค้ามนุษย์ ยังไม่พูดถึงเรื่องส่งเสริมผู้สูงอายุ เรื่องการจัดการศึกษาคนพิการ เรื่องส่งเสริมการจัด สวัสดิการสังคมที่นำไปสู่โครงการในต่างจังหวัด ก็ต้องขอบพระคุณท่านที่ไปลงรายละเอียด ที่ผมคิดว่าจำเป็นต้องแตะ ความจริงมีอีกกองทุนหนึ่งนะครับ ถ้าผมไม่พูดอายแย่เลยครับ เพราะว่าลูกชายฝากมา ก็คือการจัดการซากดึกดำบรรพ์ หรือพูดกันง่าย ๆ ก็คือขุดหา ไดโนเสาร์ ปีที่แล้ว ผอ. กองทุนมา Comment หลังจากที่ผมพูดบอกว่าขอบพระคุณท่านมาก คนสนใจน้อย ประเทศไทยมีแหล่ง Fossil เยอะมากครับ งบประมาณในการใช้การศึกษา เรื่อง Fossil จำเป็น และสำคัญ คนสนใจน้อย ประเทศไทยมีแหล่ง Fossil เยอะมากครับ งบประมาณในการใช้การศึกษาเรื่อง Fossil จำเป็นและสำคัญ เจอไดโนเสาร์ ๑ ตัว อยากมีชื่อ ณัฐวุฒิ โฮเน่ อะไรอย่างนี้เป็นต้น แต่ว่าผมไม่ได้ไปขุดเอง แต่ฝากท่านไปดูครับ นั่นเป็นประเด็นที่ ๒ ครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ท่านประธานครับ เป็นประเด็นสุดท้าย ก็คือประเด็นที่เป็น เรื่องของการทวงคำตอบจากเรื่องทุนหมุนเวียน อย่างที่ผมได้นำเรียนว่า ในท้ายที่สุด แล้วนี่นะครับ อย่างที่เรียนว่ากองทุนหมุนเวียนนั้นจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ แล้วมี ข้อห่วงใยในหลายประการ ก็ต้องฝากท่านว่าสุดท้ายแล้วท่านจะยืนยันหลักการว่า ยังจำเป็นต้องมีทุนหมุนเวียนมากไปกว่านี้อีก หรือควรจะมีเท่านี้ภายใต้กฎหมายหรือเงื่อนไข แบบใด ประการใด เสียดายมีรายละเอียด แต่คงไม่สามารถที่จะพูดถึงได้ในเวลาที่มีอยู่ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ คุณณัฐวุฒิมากครับ ต่อไปขอเชิญผู้มาชี้แจงได้ตอบ ขอให้กระชับประเด็นที่ตอบก่อนนะครับ เพราะว่าเรายังมีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยอีกชุดหนึ่งครับ
นายประสาท ตันประเสริฐ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผมขออนุญาต ตั้งข้อสังเกตสักนิดได้ไหมครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายประสาท ตันประเสริฐ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ประสาท ตันประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ พรรคชาติพัฒนากล้า ผมขออนุญาตเรียนนะครับ เพื่อนสมาชิกยังอยู่ข้างนอกเยอะแยะ ท่านประธานครับ ผมไม่ได้ อภิปรายนะครับ ขออนุญาตตั้งข้อสังเกตเท่านั้นในภาพรวมของกองทุนหมุนเวียน มีทั้งหมด ๑๑๖ กองทุน เยอะมาก เงินก็เยอะมาก การประชาสัมพันธ์ของกองทุนทั้งหมด ผมเรียนต่อ ผู้มาชี้แจงนะครับว่าน้อยมาก ยกตัวอย่าง เช่นกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ท่านลองไปถาม ผู้หญิงดูสิครับ ส่วนใหญ่รู้ไหมว่ามีกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ไม่รู้ครับ เพราะฉะนั้น ในทั้ง ๑๑๖ กองทุนผมว่าถ้ามีการประชาสัมพันธ์ที่ดี งานของกองทุนจะทำได้เยอะมากก เพราะสังเกตอีกอย่างครับ ในมุมขวาของผลการประเมินทุกหน้า ลองดูได้นะครับว่าจริง ไม่จริง กองทุนควรเร่งแก้ปัญหาข้อสังเกตของ สตง. อย่างนี้นะครับ กองทุนก็ตั้งมาจะ ๑๐ ปี แล้วทั้งนั้นนะครับ ยกตัวอย่างมุมขวาทั้งหมดทำไมเขาจะต้องแนะนำท่าน กองทุน ทำไมมาถึงวันนี้ยังต้องแนะนำ ควรมีการติดตามการดำเนินงานของกองทุนอย่างสม่ำเสมอ แสดงว่ากองทุนไม่ได้ติดตามเลย หรือทุกหน้านะครับ ผลการดำเนินงานควรให้ความสำคัญ ด้านการบริหารตอบแทนของกองทุน กองทุนไม่มีเลยหรือครับ ไม่ได้ทำเลยหรือครับ ต้องให้ สตง. ตั้งประเด็นสำคัญทั้งนั้น บทบาทสตรีนี่กองทุนควรเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ค้าง ชำระ ท่านไม่ได้ทำเลย เพราะฉะนั้นผมเรียนนะครับ อย่างกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี หนี้ค้าง ชำระหนี้เยอะมาก ไม่ค่อยมีใครรู้ แต่คนที่รู้ดอกเบี้ยต่ำมาก เพราะฉะนั้นถ้าเขาเอาไปทำได้ ประโยชน์ถูกกว่าธนาคารไม่รู้กี่เท่านะครับท่านประธาน เพราะฉะนั้นก็ขออนุญาตให้ ข้อสังเกตกับกองทุนหมุนเวียนทั้งหมด ในมุมขวาทั้งหมดทุกท่านดูได้นะครับ ประเด็นสำคัญ สตง. ต้องบอกหมดเลย ทั้ง ๆ ที่ไม่น่าจะมีอยู่ในหนังสืออย่างนี้ ไม่น่าจะมีจริง ๆ มันเหมือนกับ ตำหนิกองทุนทั้งหลายที่มีอยู่ในนี้ทั้งหมด มีทุกกองทุนเลย ท่านตรวจดูได้นะครับ ขอบคุณครับ ท่านประธาน ขออนุญาตเป็นข้อสังเกตสำหรับทุกกองทุนนะครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ คุณประสาทมากครับ เชิญผู้ชี้แจงครับ
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพทุกท่าน ขออนุญาตนำเรียนท่าน โดยภาพรวมว่าในส่วนของการกำหนดเกณฑ์การประเมินผล ที่ผ่านมาทางกรมบัญชีกลางเอง ก็จะมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลประจำปี แล้วก็มีการนำเสนอหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เข้าอนุกรรมการประเมินผล รวมถึงเมื่อมีการประเมินผลการดำเนินงานแล้วก็เอาเข้า คณะกรรมการนโยบายอย่างที่นำเสนอในที่ประชุมวันนี้นะคะ เพราะฉะนั้นในเรื่องของ เกณฑ์การประเมินผลส่วนที่ท่านให้ข้อเสนอแนะในเรื่องของควรจะดูแลในเรื่องของ ความคุ้มค่าอะไรต่าง ๆ ทางกรมบัญชีกลางก็ขอรับข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปเพื่อพิจารณา นำเสนอคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องสำหรับการปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
ในส่วนของการสังคายนาทุนหมุนเวียนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเรื่องของการยุบเลิก ยุบรวมทุนหมุนเวียน หรือว่าการจัดกลุ่มประเภทของทุนหมุนเวียน ก็ขออนุญาตเรียน อย่างนี้ว่าในเรื่องของการยุบเลิกหรือยุบรวมทุนหมุนเวียน ทางกรมบัญชีกลางเองก็มี ประกาศของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง แล้วก็กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของการจัดตั้งทุนหมุนเวียนหรือว่าการยุบเลิก ยุบรวมทุนหมุนเวียนอยู่แล้ว ในส่วนนี้กระบวนการพิจารณาดำเนินการก็จะมีการพิจารณาลงในรายละเอียดอยู่ แต่ว่าอย่างไรก็ตามข้อสังเกตของทุกท่านทางเราก็คงจะได้นำไปพิจารณาเพิ่มเติมให้มี ความชัดเจนหรือว่าให้มีความครอบคลุมต่อไป
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
ในส่วนเรื่องของการบริหารทุนหมุนเวียนต่าง ๆ ขออนุญาตนำเรียนอย่างนี้ว่า ในการดำเนินงานของทุนหมุนเวียนทุกทุน มีการกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร เพราะฉะนั้นในส่วนของผลการดำเนินงานต่าง ๆ ทุนหมุนเวียนก็จะมีคณะกรรมการบริหาร รวมถึงผู้บริหารของส่วนราชการกำกับดูแลอยู่แล้ว ในส่วนของกรมบัญชีกลางเองเราก็ไม่ได้ ทิ้งประเด็นในการที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงทุนหมุนเวียนให้ดีขึ้น ส่วนหนึ่งก็คือ มีการประเมินผลทุนหมุนเวียนอย่างที่มีการนำเสนอรายงานในวันนี้ว่าในบทบาทของ กรมบัญชีกลางเองเราก็พยายามที่จะส่งเสริมแล้วก็มีการพัฒนาปรับปรุงทุนหมุนเวียนให้ดีขึ้น เช่นเดียวกันโดยการใช้เกณฑ์การประเมิน ซึ่งก็เป็นเกณฑ์การประเมินที่มีการดำเนินการ โดยบุคคลภายนอก แต่ว่าเกณฑ์การประเมินก็จะมีคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนด หลักเกณฑ์ประจำปีทุกปี มีการทบทวน มีการชี้แจงให้ทุนหมุนเวียนทราบ
นางสาวสุดท้าย ชัยจันทึก ผู้อำนวยการกองตรวจสอบภาครัฐ รักษาการ ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบบัญชี กรมบัญชีกลาง ต้นฉบับ
ในส่วนกรณีของการประชาสัมพันธ์ทุนหมุนเวียนต่าง ๆ อันนี้ ทางกรมบัญชีกลางเองก็รับข้อสังเกตของทุกท่านไป เพราะว่าจริง ๆ แล้วเราก็เห็นว่า ทุนหมุนเวียนนี่นะคะ การที่จะมีทุนหรือไม่มีทุนหมุนเวียนมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ค่อนข้าง ชัดเจน แต่ว่าในส่วนของการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบแล้วก็เข้าใจ วัตถุประสงค์ของทุนหมุนเวียนต่าง ๆ อาจจะยังไม่เป็นที่เผยแพร่มากมายนัก แต่ว่าในส่วนนี้ ทางกรมบัญชีกลางเองก็พยายามดำเนินการ อย่างระบบการประเมินผลทุนหมุนเวียนต่าง ๆ ในแต่ละปีที่เราดำเนินการ ทุนหมุนเวียนไหนที่มีผลการประเมินดีเราก็จะมีการพิจารณา มอบรางวัลให้กับทุนหมุนเวียน มีการจัดทำข่าว จัดทำประชาสัมพันธ์ในส่วนนี้ออกไป เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามการประชาสัมพันธ์ที่กว้างขวางขึ้นก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อันนี้ทางกรมบัญชีกลางเองก็ขอรับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของท่านสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรทุกท่านที่วันนี้ก็ได้กรุณาให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ อย่างยิ่ง แล้วก็รับที่จะไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณผู้ชี้แจง ทุกท่านนะครับ เมื่อไม่มีผู้ใดติดใจที่จะถามต่อไป ก็ถือว่าที่ประชุมนี้รับทราบรายงานสรุปผล การดำเนินงานในภาพรวมของทุนหมุนเวียนประจำปีบัญชี ๒๕๖๓ และประจำปี ๒๕๖๔ แล้ว ขอขอบคุณผู้ชี้แจงครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ณัฐวุฒิครับ ขอประทานโทษนิดเดียวครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ด้วยความเคารพครับ ท่านประธานครับ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อย่างที่ผมเรียนครับ เมื่อสักครู่ผมจดประเด็นที่ ๓ ไว้แล้วอ่านลายมือตัวเอง ไม่ออก ต้องขออภัยด้วยครับ ตอนนี้อ่านลายมือตัวเองออกแล้วครับ ท่านประธานครับ ประเด็นนิดเดียว เนื่องจากว่ารายงานทุนหมุนเวียนมีความแตกต่างกับรายงานอื่นตรงที่ว่า ท่านมาในนามกรมบัญชีกลาง แต่เจ้าของทุนกองทุนต่าง ๆ ไม่ได้มา ฉะนั้นมันมีคำถาม จำเพาะเจาะจงไปยังกองทุนต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก อยากฝากท่านประธานนำเรียนไปทาง กรมบัญชีกลางว่าเป็นไปได้หรือไม่ ผมเชื่อว่า ผอ. ผู้จัดการกองทุนทุกอันนั่งฟังเราหมดเลย อยากจะขอให้เขาช่วยตอบคำตอบในรายละเอียดของทุนต่าง ๆ มาที่กรมบัญชีกลางก็ได้ครับ แล้วกรมบัญชีกลางจะส่งมาสภาก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง นั่นเป็นประเด็นที่ ๑ ครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ส่วนประเด็นที่ ๒ ก็ทวงคำตอบภาพรวมครับ เพื่อนสมาชิกเราตอนนี้ ทวงกันถี่มากครับท่านประธานว่าหลายเรื่องที่อภิปรายมันไม่ไปปรากฏอยู่ในรายงานประจำปี ในปีถัดไป หรือมันไม่มีคำตอบส่งมาที่บ้าน ซึ่งผมต้องขอชื่นชมนะครับ ผมอภิปราย หลายรายงาน ๑. คือผู้ตรวจการแผ่นดินส่งไปถึงบ้านผมทุกรอบเลย ตอบคำถามผมทุกข้อเลย ๒. คือสำนักงาน ป.ป.ช. ไม่ได้ไปทวงว่าผมยื่นบัญชีทรัพย์สินถูก ไม่ถูก แต่ส่งไปที่บ้านว่า ผมอภิปรายอะไร แล้วเขาจะตอบอะไร ก็อยากจะฝากท่านประธานว่าถ้าเราสร้างธรรมเนียม ปฏิบัติอย่างน้อยให้มันมีรายการ หรือส่งท่านประธาน หรือส่งตอบสมาชิกได้จะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งครับ ต้องขออนุญาตที่จะเกินเวลา แต่คิดว่าเป็นประเด็นสำคัญและเป็นประโยชน์ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ เป็นข้อสังเกตที่ดีและควรที่ทุกหน่วยงานจะได้ปฏิบัติตาม ฝากด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ ขอบคุณผู้ชี้แจงทุกท่านครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปก็จะเป็นการรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไร และขาดทุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เนื่องจากว่าอันนี้เป็นเรื่องสุดท้ายแล้ว ก็เห็นใจท่านสมาชิก นั่งกันแต่เช้า มีผู้ที่ แสดงความจำนงจะอภิปราย ๖ ท่าน ถ้าผมจะขออย่างนี้ได้ไหมครับ เพราะว่า ๖ ท่าน ถ้าคนละ ๕ นาที ก็ครึ่งชั่วโมง คำชี้แจงและคำตอบอีกก็ประมาณสักครึ่งชั่วโมงกว่า ๆ เราอาจจะเลิกได้ก่อน ๒ ทุ่ม น่าจะเป็นการดี พรุ่งนี้เราจะต้องมาตอน ๙ โมงเช้าอีก เพราะฉะนั้นผมขอตกลงกับผู้อภิปรายทั้ง ๖ ท่าน ขอคนละ ๕ นาที คิดว่าถ้าท่านสรุป ประเด็นก็คงจะจบ ผมขอเชิญผู้ที่จะมาร่วมชี้แจงในครั้งนี้เข้ามาในห้องประชุมนี้ได้ ท่านแรก ท่านรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ท่านที่ ๒ ท่านเบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย ท่านที่ ๓ ท่านมีนา ภัทรนาวิก ผู้บริหารฝ่ายบัญชีธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย ท่านสุดท้าย คุณศิริพร เหล่าอารยะ ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์องค์กร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ถ้าพร้อมแล้ว เชิญชี้แจงได้ครับ
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานและท่านสมาชิกสภาที่เคารพรัก ทุกท่านครับ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือที่หลาย ๆ คนรู้จักกัน ในชื่อว่า EXIM Bank เราทำหน้าที่เป็นธนาคารที่เราเรียกว่าธนาคารเพื่อการพัฒนา แห่งประเทศไทย สิ่งที่เราทำในปี ๒๕๖๕ เราถือว่าเป็น Double Miracle Maker นะครับ
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย ต้นฉบับ
ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจ ภายในประเทศ เราสามารถที่จะปิดยอดคงค้างสินเชื่อ ณ สิ้นปีอยู่ที่ ๑๖๘,๓๓๑ ล้านบาท ซึ่งเติบโตถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็สูงกว่าระบบโดยรวมของสถาบันการเงินของประเทศ ที่เติบโตเพียงแค่ ๔ เปอร์เซ็นต์ ในขณะเดียวกันเราจะเห็นว่าวงเงินอนุมัติใหม่เติบโตขึ้นเกือบ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ มาปิดปีอยู่ที่ ๙๔,๔๐๐ ล้านบาท แล้วในขณะเดียวกันเรามียอดคงค้างสินเชื่อ ที่อยากจะ Highlight ให้กับท่านสมาชิกได้เห็นว่าสินเชื่อที่เราเรียกว่า Green Port หรือว่า ESG Port มีการเติบโตสูงถึง ๒๑.๘๓ เปอร์เซ็นต์ มาปิดอยู่ในสิ้นปี ๒๕๖๕ สูงถึง ๔๗,๖๒๘ ล้านบาท ในขณะเดียวกันเราปิดความเสี่ยงของผู้ประกอบการตัวเล็ก ๆ โดยผลิตภัณฑ์ที่เราเรียกว่าธุรกิจสะสมบริการการรับประกันหรือว่า Export Credit Insurance เราปิดสิ้นปีอยู่ที่ ๑๖๙,๓๓๘ ล้านบาท จำนวนลูกค้าสินเชื่อรับประกันเราเพิ่มขึ้น ๒๔ เปอร์เซ็นต์ มาปิดสิ้นปีอยู่ที่ ๖,๑๐๒ ราย หลาย ๆ ท่านอาจจะมองว่าทำไมจำนวนลูกค้า ของ EXIM Bank ถึงมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับธนาคารเฉพาะกิจหรือว่าธนาคารในระบบ อื่น ๆ ต้องกราบเรียนว่าผู้เล่นที่เป็น Market Share ของเรามีอยู่จำนวน ๓๐,๐๐๐ ราย ๓๐,๐๐๐ รายคือจำนวนผู้ส่งออก นั่นคือทะเลของ EXIM Bank ที่เราสามารถจะ Capture Market Share ได้กว่า ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ในขณะเดียวกันเรามี NPL Ratio หรือว่าสัดส่วน ของหนี้เสียต่อสินเชื่อทั้งระบบอยู่เพียง ๒.๙ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับ ระบบที่เป็น Industry Norm ในขณะเดียวกันกำไรที่เราสามารถจะสร้างจากการดำเนินงาน สูงถึง ๒,๗๓๗ ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้นมา ๑๔.๕๑ เปอร์เซ็นต์ ในขณะเดียวกันเรามีกำไรสุทธิอยู่กว่า ๑,๕๐๐ ล้านบาท แล้วก็มีอีกมุมหนึ่งที่อยากจะ ยืนยันว่าในปีที่แล้วหลาย ๆ ธนาคาร หลาย ๆ สถาบันการเงินเพิ่มดอกเบี้ย EXIM Bank ตรึงอัตราดอกเบี้ยกว่าครึ่งปี อันนี้ก็เป็นที่มาของ Performance ของปี ๒๕๖๕ ในขณะเดียวกันถ้าเรากลับมาดูในปี ๒๕๖๖ ในการดำเนินงาน ๖ เดือน ยอดคงค้างสินเชื่อ เติบโตจากเมื่อเดือนเดียวกันอยู่ที่ ๕ เปอร์เซ็นต์ มาปิดยอดคงค้างสินเชื่ออยู่ที่ ๑๖๑,๒๑๖ ล้านบาท เรามี Port ที่เราเรียกว่า ESG Port อยู่ที่ ๔๕,๕๔๔ ล้านบาท ซึ่งสูงขึ้น อยู่ประมาณ ๔.๕๕ เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเดิมเมื่อปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันเราเพิ่มโอกาส ในการที่จะให้คนตัวเล็กเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เป็น SME Exporter สูงถึง ๖,๒๖๐ ราย แล้วเรา ได้เพิ่มศักยภาพ เราไม่ได้ทำในเรื่องของการเติมทุนเพียงอย่างเดียว เราเติมความรู้แล้วเรา ก็เติมโอกาสทำ Business Matching คู่ไปกับกระทรวงพาณิชย์ แล้วก็กระทรวง การต่างประเทศ เราช่วยผู้ประกอบการตัวเล็ก ๆ ไปอีก ๒๖,๐๐๐ ราย ในขณะเดียวกัน เราเพิ่มความช่วยเหลือให้ธุรกิจกลับมาฟื้นตัวกว่า ๙๑,๖๐๐ ล้านบาท ซึ่งก็จะเป็น ความภาคภูมิใจใน Slide ต่อไปที่เราได้รับรางวัลองค์กรแห่งความยั่งยืน ในขณะเดียวกัน เราได้รัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี ในขณะเดียวกันเป็นปีแรกที่เรายื่น Thailand Quality Class หรือ TQA เราก็ได้รับรางวัล TQC Plus ในมุมของ Customer แล้วในขณะเดียวกัน เราได้ Top Company Award ในขณะเดียวกันเราก็ยังได้สิ่งที่เราเรียกว่าองค์กร แห่งความโปร่งใส ทั้งหมดทั้งมวลก็ขอเป็น Performance ที่นำเรียนท่านสมาชิกสภา ที่เคารพรักครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปก็จะเป็นผู้อภิปรายท่านแรกนะครับ ท่านภัณฑิล น่วมเจิม เชิญครับ
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานครับ ผม ภัณฑิล น่วมเจิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตวัฒนา เขตคลองเตย รบกวน ขอ Slide ด้วยครับ ก็คงใช้เวลาไม่นานนะครับ
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
โดยหลักแล้วตัวเลขรวม ๆ ถือว่า ดีนะครับ ในเชิงของ Balance Sheet แล้วก็ Income Statement แต่จะมีคำถามหลัก คำถามหนึ่งในเรื่องของอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ ซึ่งก็อยู่ใน Executive Summary หรืออยู่ในตัวบทสรุปผู้บริหารแรก ๆ เข้าใจว่าพันธกิจของท่านก็เป็นการส่งเสริมการนำเข้า ส่งออก เพราะฉะนั้นก็อาจจะไม่ได้คาดหวังที่จะมี Return on Assets ได้ดีขนาดนั้น แต่จริง ๆ ๐.๙ เปอร์เซ็นต์ ถ้าเผื่อเอาสินทรัพย์ของท่านมาจากของรัฐทั้งหมดเลย เพราะท่าน ก็ใช้เงินจากงบประมาณจากภาษีประชาชน ๑๗๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ท่านมีสินทรัพย์ และท่านผลิตกำไรได้ ๑,๕๐๐ กว่าล้านบาท คิดเป็นแค่ ๐.๙ เปอร์เซ็นต์ ก็อาจจะคิดว่า ต่ำกว่ามาตรฐานนิดหนึ่ง แต่เข้าใจได้นะครับ พันธกิจท่านก็คือส่งเสริมในเรื่องของการนำเข้า และส่งออก ในหน้าถัดไปก็จะมีพูดถึงเรื่อง BCG Bio Circular Green แล้วก็ในเรื่องของ การส่งเสริมให้กับกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ สนับสนุนเงินกู้ร่วม พวกนี้ก็เป็นอะไรที่ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศอยู่แล้ว แต่จริง ๆ ก็มีคำถามหนึ่งในเรื่องของ ยอดคงค้างวงเงินสินเชื่อ ๕๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ซึ่งอยู่ในหมวดธุรกิจสาธารณูปโภค เป็นอันดับหนึ่ง อันนี้ก็อาจจะถามนิดหนึ่งว่าท่านไปส่งเสริมส่งออกเงินทุนหรือทำอะไร ๕๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการทำเรื่องสาธารณูปโภค ขนาดนั้นเลยหรือครับ หรือว่าเงินนี้มันไปที่ไหน
นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
หน้าถัดไปก็จะเป็นคำถามนะครับ ยกตัวอย่างเช่นท่านไปสนับสนุน ๑๕๐ ล้านบาทในการซื้อที่ดินพัฒนานิคมอุตสาหกรรมใน สปป. ลาวหรือเปล่า อันนี้ มันสนับสนุนผู้ประกอบการไทยหรือเปล่าในการจะส่งออกทุน หรือเราไปลงทุนในโครงการ ขนาดใหญ่ในลาวหรือในประเทศเพื่อนบ้าน มันตรงกับวัตถุประสงค์ ภารกิจของธนาคารท่าน หรือไม่ หรืออีกหลายโครงการไปสนับสนุนบริษัทขนาดใหญ่ในเขตพัฒนาภาคตะวันออก เข้าใจว่าคงเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เขาลงทุนเพื่อจะนำเข้าแล้วก็ส่งออก แล้วก็เป็น การส่งเสริมผู้ประกอบการด้วยเพราะเขาอยู่ในธุรกิจ Import Export แต่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า กลับไปที่พันธกิจของท่าน ที่ท่านพูดว่าท่านพยายามจะส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ หรือเปล่า ถ้าเผื่อในโอกาสหน้าท่านได้ทำตัว Annual Report อยากจะแนะนำให้ใส่ตัว Portfolio ของลูกค้าท่านว่ามันมีเล็ก กลาง ใหญ่อย่างไร เราตอบโจทย์สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยในการส่งออกและนำเข้ามากน้อยแค่ไหน ก็คงฝากไว้ประมาณนี้ ขอบคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณขัตติยา สวัสดิผล ท่านต่อไปเตรียมตัวนะครับ คุณชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร ครับ
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพคะ ดิฉัน นางสาวขัตติยา สวัสดิผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นต้องขอฝากท่านประธานขอบคุณไปยังทางดอกเตอร์รักษ์ แล้วดอกเตอร์เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รวมถึงผู้บริหารคนอื่น ๆ ของทาง EXIM Bank ที่วันนี้ได้สละเวลามาตอบ ข้อซักถามในสภาแห่งนี้ ท่านประธานคะ ดิฉันจะขออภิปรายถึงรายงานประจำปีของธนาคาร เพื่อการส่งออกและการนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือว่า EXIM Bank ประจำปี ๒๕๖๕ ขออิง ตามรายงานประจำปีที่ทางธนาคารส่งมาให้ เมื่อสักครู่เห็นขึ้นใน Slide เป็นของปี ๒๕๖๖ ดิฉันไม่แน่ใจว่าแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน แต่ดิฉันขออ้างอิงตามรายงานที่ดิฉันได้อ่าน มาแล้วกันนะคะ ท่านประธานคะ เศรษฐกิจไทยของเรามันมีขนาดเล็ก แล้วเราก็เปิดรับ การค้าระหว่างประเทศเป็นสำคัญ ดังนั้นแน่นอนว่าเราจะมีการเชื่อมโยงแล้วก็อ่อนไหวกับ สภาพเศรษฐกิจของโลกเป็นอย่างมาก ในแง่นี้ธนาคารนำเข้าและการส่งออกจึงมีความสำคัญ ต่อเศรษฐกิจไทยในทั้งระบบค่ะ
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ที่ดิฉันจะขอพูดถึงก็คือวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจของทาง EXIM Bank ท่านประธานคะ เป็นที่ทราบกันดีว่า EXIM Bank ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการนำเข้าและการส่งออก รวมถึงการลงทุนต่าง ๆ ด้วยการให้ สินเชื่อ ด้วยการค้ำประกัน ด้วยการรับประกันความเสี่ยง รวมถึงให้บริการที่จำเป็นอื่น ๆ ท่านประธานคะ จากปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ และจากข้อมูลที่ดิฉันได้รับมา ทำให้ดิฉัน ต้องตั้งคำถามกับ EXIM Bank ว่ากำลังดำเนินธุรกิจถูกต้องตามวัตถุประสงค์เพื่อที่จะส่งเสริม การส่งออกและการนำเข้าอยู่หรือไม่ เนื่องจากดิฉันทราบมาว่าทางธนาคารได้มีการปล่อยกู้ เพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่ใช่เพื่อการนำเข้าและการส่งออก ที่ดิฉันได้ยินมาคือมีการปล่อยกู้ซื้อ บ้านด้วย อันนี้ไม่แน่ใจว่าจริงเท็จประการใด ซึ่งถ้าหากเป็นจริง ธนาคารกำลังดำเนินธุรกิจ ผิดวัตถุประสงค์อยู่หรือเปล่า และ ๒. หากเป็นจริง การกระทำเช่นนี้จะเป็นการแข่งขัน กับสถาบันการเงินอื่นหรือไม่ นอกจากนั้นดิฉันยังได้รับข้อมูลมาว่าทางธนาคาร ได้ให้ทุนแก่บริษัทลูกซึ่งเป็นของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ซึ่งดิฉันเข้าใจว่าบริษัทลูกนั้นอาจจะเข้า หลักเกณฑ์ในการได้รับสินเชื่อ แต่อย่างนี้ก็คงไม่ต่างกับการให้ทุนกับบริษัทขนาดใหญ่ ดังนั้น หากเป็นจริง ทางธนาคารกำลังดำเนินธุรกิจผิดเจตจำนงหรือไม่ เพราะเราต้องการที่จะ ช่วยเหลือคนตัวเล็กตัวน้อยเพื่อที่จะทำการค้าเพื่อการส่งออกแล้วก็เพื่อการนำเข้า ท่านประธานคะ ดิฉันได้ลองหาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเกษตรที่ทาง EXIM Bank ได้ทำการสนับสนุน พบว่าธนาคารสนับสนุนอุตสาหกรรมข้าวเป็นหลัก ทำให้สัดส่วนที่จะ ไปช่วยภาคการเกษตรอื่นนอกจากข้าวมันลดลง เลยอยากตั้งคำถามผ่านท่านประธานไปยัง ผู้บริหารธนาคารว่าในอุตสาหกรรมการเกษตรอื่น ทางธนาคารได้ให้การสนับสนุนหรือไม่ เช่น ผลไม้ หรือว่าประมง เพราะตอนนี้การแข่งขันในภาคเกษตรของไทยอยู่ต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยโลกในรอบ ๒๑ ปี ดิฉันจึงเห็นว่าเราควรที่จะให้ความสนใจหรือใส่ใจในสินค้า เกษตรอื่นด้วยเช่นกันค่ะ เพราะดิฉันคิดว่าเราควรจะต้องเอาความเสี่ยงนั้นใส่ไว้ในหลาย ๆ ตะกร้า อีกคำถามหนึ่ง ก็คือทำไมการนำเข้า Raw Material หรือว่าวัตถุดิบ ถึงไม่ได้รับ การสนับสนุนจากธนาคารเลย
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ดิฉันขอพูดถึงการจัดการทรัพย์สินของธนาคาร ดิฉันอยากฝาก ท่านประธานถามไปยังธนาคารว่าเราจะสามารถเพิ่มขนาดของธนาคารได้หรือไม่ เพราะว่า เรามี SMEs รอที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ได้มากอยู่แล้วก็เพื่อให้ได้ง่ายขึ้น เนื่องจาก Loan Size ของธนาคารตอนนี้หรือวงเงินที่ธนาคารจะปล่อยให้ประชาชนกู้ได้มีอยู่ประมาณ ๑.๕ แสนล้านบาท แต่สถานการณ์เศรษฐกิจที่มันเกิดขึ้น ณ ขณะนี้ การส่งออกของเรามี สภาพ Slow down หรือว่าเติบโตช้า คือลดลงไป ๗.๖ เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ดังนั้นทางธนาคารจึงควรจะต้องเตรียมวงเงินกู้ให้มากกว่านี้ไหม เพื่อที่จะส่งเสริมการส่งออก
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่ง ก็คือมูลค่าการส่งออกของเรามีมูลค่ากว่า ๑๐ ล้านล้านต่อปี ดังนั้นเมื่อเทียบกับ Loan Size ของ EXIM Bank ที่มีอยู่ ๑.๕ แสนล้านบาท นั่นหมายความว่า Loan Size ของธนาคารไม่ได้สัดส่วนกับมูลค่าการส่งออก รวมถึงไม่ได้ สัดส่วนกับวิกฤติเศรษฐกิจที่เราต้องเผชิญด้วย กลายเป็นว่าการทำงานของ EXIM Bank ก็คือ มีการปล่อยกู้เท่าเดิม แต่คนต้องการวงเงินกู้นั้นมีมากขึ้น ท่านประธานคะ ดิฉันได้อ่านรายงานประจำปีของธนาคาร เห็นว่าธนาคารวางแผนที่จะ ผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Green Economy ซึ่งก็คงจะต้องใช้ เงินจำนวนมาก มากกว่า ๑.๕ แสนล้านบาท แต่ว่าเมื่อสักครู่นี้ทางธนาคารได้รายงานตอนต้น แล้วว่าด้วยจำนวนเงินดังกล่าวก็สามารถผลักดัน Green Economy ไปได้ด้วยดี นอกจากนั้น ในรายงานประจำปีมีรายละเอียดว่า ๑ ใน ๓ ของลูกหนี้ของธนาคารเป็นลูกหนี้ที่อยู่ ต่างประเทศ แต่เงินที่เราปล่อยกู้ไปมันเป็นเงินภาษีของคนไทยค่ะ ดิฉันก็เลยตั้งคำถามว่า มันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เสียภาษีที่เป็นคนไทยได้อย่างไรบ้าง
นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ข้อกังวลของดิฉันคือเรื่องของความผันผวนของค่าเงิน เนื่องจาก คำถามคือ EXIM Bank นี่เรามีมาตรการที่ช่วย SMEs อย่างไรบ้างเพื่อที่จะรับมือกับ ของราคาเงิน เนื่องจากว่าเราพึ่งพาการนำเข้าถึง ๕๘ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็พึ่งพาการส่งออกถึง ๖๔ เปอร์เซ็นต์ของ GDP แต่ยังไม่เห็นแนวทางของธนาคารในการรับมือความผันผวน ของค่าเงินแต่อย่างใดค่ะ ดิฉันจึงมีข้อเสนอแนะและข้อแนะนำจาก ๓ ประเด็นที่ดิฉันกล่าวมา ในข้างต้นว่าอยากให้ทาง EXIM Bank โฟกัสที่วัตถุประสงค์ของธนาคารเป็นหลัก คือ สนับสนุนการนำเข้าและการส่งออก เพื่อช่วยเหลือคนตัวเล็กให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เดิม รวมถึงอยากให้มีการเพิ่ม Loan Size ขึ้นเพื่อที่จะรับมือกับวิกฤติต่าง ๆ แล้วก็ส่งเสริม Green Economy ๓. ก็คือรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ ๔. ก็คือรับมือกับหนี้ที่สงสัยจะสูญที่มี มูลค่า ๘๐ ล้านบาท ซึ่งดิฉันไม่แน่ใจว่าตัวเลขนี้น่ากังวลหรือไม่ แล้วทางธนาคารจะรับมือ อย่างไร ประเทศไทยเราเป็น ๑ ในห่วงโซ่การผลิตหลักของโลก การนำเข้าเราอยู่ที่ ๕๘ เปอร์เซ็นต์ การส่งออกเราอยู่ที่ ๖๔ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นสินค้าไปแล้วก็คือ ๕๒ เปอร์เซ็นต์ มีส่วนของภาคบริการเพียง ๑๒ เปอร์เซ็นต์ เข้าใจว่าตอนนี้ธนาคารพยายามทำเรื่อง Service Export อยู่ก็ขอสนับสนุนอย่างเต็มที่นะคะ ดิฉันก็อยากให้ Exim Bank เป็นที่พึ่งที่แข็งแรง ของคนตัวเล็กตัวน้อยของคนไทย อะไรที่ทำแล้วดีเป็นไปตามวัตถุประสงค์ดิฉันก็ขอให้ สนับสนุนให้ทำต่อไป อยากให้ธนาคารมีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง มีผู้บริหารที่มี คุณภาพ แล้วก็เป็นเสาหลักให้กับผู้ประกอบการไทยต่อไปค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปเชิญคุณชัยวัฒน์ครับ
นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ กระผม ชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ขออภิปรายเกี่ยวกับรายงานประจำปี งบดุล บัญชีกำไรขาดทุนของ EXIM Bank ณ สิ้นปี ๒๕๖๕ โดยผมมีประเด็นหลัก ๆ อยู่ ๓ ประเด็น เพื่อไม่ให้เสียเวลาก็ขอเข้าประเด็นเลย
นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ผมจะขอพูดถึงบทบาทของ EXIM Bank ว่า EXIM Bank มียุทธศาสตร์ที่จะ Position ตัวเองอย่างไร จากรายงานกิจการประจำปีของ EXIM Bank มีตัวเลข Highlight ที่ท่านผู้ชี้แจงได้นำเสนอแสดงผลการดำเนินงานไว้ดีมาก มียอดสินเชื่อ คงค้าง ๑๖๘,๓๓๑ ล้านบาท ในขณะที่สัดส่วนหนี้เสียหรือ NPL ๒.๙ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่ำกว่า NPL ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่บางแห่งด้วยซ้ำ ซึ่งก็ต้องขอชื่นชมว่าธนาคาร มีการบริหารความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อได้ดีมาก แต่พอมาดูตัวเลขด้านอื่น เช่น สินเชื่อ คงค้าง สินเชื่อคงค้างส่วนใหญ่ก็คือประมาณ ๑ ใน ๓ ก็จะเห็นว่าอยู่ในหมวดสาธารณูปโภค เหมือนที่ท่านเพื่อนสมาชิกได้กล่าวไป และถ้าเรามาดูจำนวนลูกค้า SMEs มีประมาณ ๔,๐๗๒ ราย ซึ่งค่อนข้างจะน้อยเมื่อเทียบกับจำนวน SMEs ในประเทศไทยที่น่าจะมีมากกว่า ๒ ล้านราย ผมจึงขอตั้งคำถามผ่านไปยังท่านผู้ชี้แจงว่าสินเชื่อคงค้างของลูกค้าที่เป็น SMEs คิดเป็นสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ และสินเชื่อคงค้างที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก นำเข้า มีสัดส่วน กี่เปอร์เซ็นต์ เพราะตัวเลขที่ท่านตอบก็คงจะพอชี้ได้ว่าการดำเนินการของ EXIM Bank ซ้ำซ้อนกับธนาคารพาณิชย์ หรือซ้ำซ้อนกับ SME Bank หรือไม่นะครับ EXIM Bank จะวาง Position ตัวเองอย่างไรให้ไม่ซ้ำซ้อนกับธนาคารพาณิชย์หรือ SME Bank ผมอยากจะขอ ยกตัวอย่างจากเกาหลีใต้ เกาหลีใต้เขาก็มี Korea EXIM Bank ซึ่งในอดีตสักประมาณ ๑๐ ปี ที่แล้ว K Exim Korea Exim Bank เขาให้สินเชื่อแก่อุตสาหกรรมบันเทิง อุตสาหกรรมอาหาร รวมกันประมาณ ๙๑๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ ๓๐,๒๖๐ ล้านบาท เพื่อสนับสนุน Korean Wave ในช่วงนั้นนะครับ ซึ่งมันก็จะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้เกาหลีใต้ประสบ ความสำเร็จในการส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิงแล้วก็อาหาร เราจำได้ว่าในยุคนั้น Series เกาหลีเพลง K-pop Dae Jang Geum Gangnam Style Boom มาก ๆ ผมอยากเห็นบทบาทของ EXIM Bank ในเชิงรุกที่จะช่วยส่งออกวัฒนธรรม แล้วก็อุตสาหกรรมบันเทิงของประเทศไทยไปสู่โลกนี้ด้วยเช่นกัน ขอ Slide ถัดไปนะครับ
นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ จะเป็นประเด็นคำถามเกี่ยวข้องกับความเสียหายจาก การปล่อยกู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทมหาชน STARK พวกเราที่ได้ตามข่าวเรื่องนี้คงจะทราบว่า EXIM Bank ได้มีการปล่อยกู้ที่เกี่ยวข้องกับ STARK หรือบริษัทลูกที่ชื่อบริษัท Phelps Dodge International Thailand เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ก็อยากจะเรียนท่านประธาน ผ่านไปยังท่านผู้ชี้แจงนะครับ สอบถามว่า EXIM Bank มีการปล่อยกู้ร่วมให้กับ STARK เป็นวงเงินเท่าไร และมีการปล่อยกู้ให้กับบริษัทลูกที่เกี่ยวข้องกับ STARK เป็นวงเงินเท่าไร แล้วหลังจากที่ ธปท. ได้มีการสั่งให้การสำรองหนี้สงสัยจะสูญทั้งหมด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว การปล่อยกู้ที่เกี่ยวข้องกับ STARK การสำรองหนี้ในส่วนนี้จะกระทบต่อผลการดำเนินการ ของ EXIM Bank อย่างไร และการดำเนินการฟ้องร้องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีความคืบหน้า อย่างไรบ้าง ประเด็นถัดไปครับ
นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ อันนี้จะเป็นการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้าง ในไตรมาสที่ ๑ มีการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อพัฒนาระบบ Core Bank เป็นวงเงินลงทุนที่ค่อนข้าง สูงรวมแล้วประมาณ ๔๙๐ ล้านบาท เป็นการจ้างผู้พัฒนาระบบ วงเงิน ๔๕๐ ล้านบาท และเป็นการจ้างผู้บริหารโครงการ EMO วงเงิน ๔๐ ล้านบาท จึงอยากจะสอบถามว่า ระบบ Core Bank ใหม่นี้ต่างจากระบบ Core Bank เดิมอย่างไร มันจะทำให้การปฏิบัติงาน ของ EXIM Bank มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าระบบเดิมอย่างไร และปัจจุบันความคืบหน้า ในการดำเนินการในเรื่องนี้คืบหน้าไปถึงไหน และมีอีกรายการหนึ่ง อันนี้เป็นข้อสังเกต เกี่ยวกับรายการจ้างสำนักงานกฎหมายเพื่อดำเนินคดีแล้วก็บังคับคดี จะเห็นเกือบ ๆ ทุกเดือนจะมีการว่าจ้างในลักษณะนี้นะครับ การจ้างสำนักงานกฎหมายวงเงินประมาณ ๑.๔ ถึง ๒.๕ ล้านบาท ในปี ๒๕๖๔ นี้อย่างน้อยก็เห็นมาแล้ว ๖ รายการ ซึ่งถ้าหากจ้าง ด้วยความถี่ประมาณนี้ไปเรื่อย ๆ ตลอดทั้งปีอาจจะต้องใช้งบประมาณในการจ้างสำนักงาน กฎหมายมากกว่า ๒๐ ล้านบาท จึงอยากกราบเรียนท่านประธานสอบถามท่านผู้ชี้แจงว่า เรื่องการฟ้องร้องบังคับคดีนี้ EXIM สามารถจัดการด้วยตัวเองโดยการพิจารณาจ้างพนักงาน ประจำมาทำได้หรือไม่ หรือมีข้อจำกัดอะไรที่สำนักงานกฎหมายภายนอกทำได้ดีกว่าการจ้าง พนักงานประจำ และสุดท้ายก็ต้องขอขอบคุณคณะผู้บริหารของ EXIM Bank ทุกท่าน ที่ให้เกียรติสภามาชี้แจงเรื่องนี้นะครับ แล้วก็ขอเรียนท่านประธานผ่านไปยังท่านดอกเตอร์ รักษ์ กรรมการผู้จัดการฝากคำถามใน ๓ ประเด็นดังกล่าวให้ช่วยชี้แจง ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณศรีโสภา โกฏคำลือ
นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนที่เคารพ ดิฉัน นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด เชียงใหม่ เขต ๑๐ พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันขออภิปรายในวาระรับทราบรายงานกิจการ ประจำปีงบดุลบัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ดิฉันได้อ่านรายงานตามเล่มที่ทางธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และตั้งข้อสังเกตอันสืบเนื่องมาจากรายงาน ฉบับนี้เพียง ๒ ประเด็น
นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ที่ดิฉันอยากสอบถามไปยังหน่วยงานอยู่ในรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ในหมวด ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ดิฉันพบว่าปี ๒๕๖๕ ธนาคารมีค่าใช้จ่ายจาก การดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มเยอะขึ้นมากค่ะท่านประธาน โดยจากเดิมมีอยู่แล้วประมาณ ๑๐ ล้านบาท กลายเป็น ๗๙.๕ ล้านบาท เพิ่มขึ้น ๗๐ ล้านบาท ภายใน ๑ ปี ดิฉันสงสัยว่า เหตุใดหนี้สูญรายนี้เพิ่มขึ้นเยอะขนาดนี้ จึงลองเปิดไปดูหมายเหตุประกอบงบการเงินหัวข้อ ๖.๓๐ และพบว่าสาเหตุหลักเกิดมาจาก รายการที่มีชื่อว่า หนี้สูญและสำรองจากการรับซื้อสิทธิเรียกร้อง ซึ่งเพิ่มขึ้นราว ๖๕ ล้านบาท ในประเด็นนี้ดิฉันอยากทราบว่าธนาคารได้ชี้แจงว่าหนี้สูญและการสำรองจาก การรับซื้อสิทธิเรียกร้องคืออะไร มีรายละเอียดความเป็นมาอย่างไร เหตุใดจึงเพิ่มขึ้นถึง ๖๕ ล้านบาท ภายใน ๑ ปี แล้วใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อจากนี้ที่สูญไปนี้ นอกจากนี้ธนาคาร มีการวางแผนอย่างไรเพื่อในการควบคุมหนี้สูญในลักษณะนี้ไม่ให้เกิดขึ้น ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะ เป็นไปได้ค่ะ
นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ในงบแสดงสถานะการเงิน หมวดหนี้สินและส่วนเจ้าของ ของรายการหนี้สินอนุพันธ์นะคะ พบว่ามีรายการหนี้สินอนุพันธ์เพิ่มขึ้นเยอะมาก จากประมาณ ๗๔๘ ล้านบาท เป็นประมาณ ๒,๗๖๕ ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า ๒,๐๐๐ ล้านบาท ภายใน ๑ ปี ขออภัยค่ะ แน่นอนท่านประธานคะว่าตัวเลขเยอะขนาดนี้ ย่อมให้ดิฉันสงสัย ดิฉันจึงตามไปดูหมายเหตุ ๖.๔ ในรายงานฉบับนี้และพบว่าเป็นการบริหาร จัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยงในมูลค่ายุติธรรม อันเกี่ยวเนื่องมาจากตราสารหนี้ที่เป็นสกุลเงิน ดอลลาร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดิฉันเห็นว่ามีความจำเป็น และขอแสดงความชื่นชมของธนาคารที่ได้มี การป้องกันความเสี่ยงตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเงิน อย่างไรก็ตามค่ะท่านประธาน ในภาวะที่ดอกเบี้ยของนโยบายสหรัฐมีท่าทีว่าปรับขึ้นเพียงอีกเล็กน้อย ดิฉันอยากตั้งคำถาม ว่าธนาคารได้มีการวางแผนบริหารความเสี่ยงต่อเนื่องอย่างไรในอนาคต เพื่อให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ดิฉันมีประเด็นอภิปรายเพียงเท่านี้ค่ะ อยากจะขอฝากธนาคารช่วยชี้แจงตามข้อสังเกตที่ดิฉันได้ถามไป แล้วก็เพื่อสร้างความมั่นใจ ให้แก่ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อธนาคารทุกคนค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไป ๒ ท่าน สุดท้ายนะครับ ท่านแรก คือคุณชุติมา คชพันธ์ และท่านสุดท้าย คือคุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เชิญคุณชุติมาครับ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ชุติมา คชพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จากภาคใต้ จังหวัดพัทลุง ก่อนอื่นสำหรับ EXIM Bank ขอเรียนให้ทราบว่าดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ติดตามมา เป็นระยะเวลา ๑๐ ปีแล้ว EXIM Bank เป็นที่พึ่งของผู้ส่งออกมายาวนานนะคะ แล้วก็เห็นถึง พัฒนาการที่ดีเสมอมา แล้วก็พัฒนาการที่ก้าวกระโดดในช่วงหลัง อันนี้ก็ขอชื่นชมว่า ท่านทำได้ดีมากเลยในส่วนนี้ เห็นพัฒนาการที่ดีนะคะ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
จากที่ดิฉันเคยสัมผัสมา เป็นระยะเวลา ๑๐ ปีแล้ว แต่ยังมีบางประการที่ดิฉันอยากจะขอเสนอแนะ อันนี้ไม่ได้เป็น การอภิปรายไม่ไว้วางใจแต่อย่างใด เพียงแต่คิดว่ามีบางอย่างน่าจะดีกว่านี้ถ้าเราสามารถ ทำได้เพื่อประชาชน สำหรับโครงการนี้เป็นสิ่งที่โดนใจถูกใจมาก ๆ เลย แล้วก็เชื่อว่าถูกใจ พี่น้องประชาชนหลายคนเหมือนกัน โดยเฉพาะกลุ่มขนาดเล็ก SMEs หรือวิสาหกิจชุมชน อันนี้เป็นสินเชื่อเพื่อการแสดงสินค้าในต่างประเทศสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการรายเล็ก การเดินทาง ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าออก Booth ต่างประเทศต่าง ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็น ค่าใช้จ่าย บางครั้งแม้จะเป็นหลักแสนก็ตาม คือเป็นเงินที่ก้อนใหญ่สำหรับผู้ประกอบการ รายเล็ก มีโครงการนี้ขึ้นมาเป็นโครงการที่ดีมาก ๆ เลย ดิฉันอยากให้สนับสนุนมากกว่านี้ อยากให้ผู้ประกอบการที่เข้าถึงมีมากกว่านี้ และอยากให้ประชาสัมพันธ์ตรงนี้เยอะ ๆ ให้ผู้ประกอบการได้ทราบว่ามีแบบนี้ด้วย เพราะนี่คือประตูใบใหม่สำหรับเขาเลย ขอชื่นชม สำหรับอันนี้นะคะ แต่ยังมีข้อสงสัยสำหรับดิฉัน โครงสร้างขององค์กร มีสายงานวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ดิฉันอยากจะทราบว่ามีผู้ส่งออกที่เป็นผู้ประกอบการรายเล็ก เล็กจริง ๆ ที่ไม่ใช่แค่เป็น SMEs คือไม่ใช่ Medium Enterprise ขึ้นไป จะเป็นแบบ Small หรือ Very Small จริง ๆ หรือว่าวิสาหกิจชุมชนที่เป็นนิติบุคคลที่มีความพร้อมในการส่งออก ท่านสนับสนุนเขากี่เปอร์เซ็นต์ ดิฉันหาข้อมูลนะคะ หาทุกแหล่งที่มี ทั้งในหนังสือ ทั้งข้อมูล ทุกอย่างที่มี ไม่เจอเลยค่ะ อยากจะทราบว่ามีกี่รายที่ท่านสนับสนุนอยู่ สินค้าชุมชนของเรา มีดีมากมาย ดิฉันอยากจะให้ทาง EXIM Bank ผลักดันให้ความฝันของผู้ประกอบการเป็นจริง อยากให้ทุกเมืองทั่วโลกมีสินค้าชุมชนไทยไปวางอยู่ ไม่เฉพาะแค่ China Town --------------- ไม่เฉพาะแค่ร้านค้าในเมืองใหญ่ ๆ แต่ทำอย่างไรที่ท่านจะช่วยผลักดัน ช่วยส่งเสริม ให้ความฝันของเขาเป็นจริง สินค้าไทยไปอยู่ในทุกมุมเมืองให้ได้ ท่านจะเป็นองค์กรหลักที่จะ ช่วยผู้ประกอบการได้ ดิฉันอยากให้ส่งเสริมมากกว่านี้ ในส่วนของเศรษฐกิจฐานราก สำคัญมาก ๆ เราจำเป็นต้องมีรายได้เข้ามาจากต่างประเทศ ท่านจะเป็นองค์กรหนึ่งที่จะ ช่วยได้ แต่คำถามคือมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่ท่านช่วยเหลือเขา ณ วันนี้
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สำหรับกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดี แต่ดิฉันก็สงสัยว่าเป็นกิจกรรม CSR ที่เป็น แค่ CSR ในความเป็นจริงแล้วท่านได้สานต่อเพื่อยกระดับไปสู่การเป็นผู้ส่งออกตัวจริงหรือไม่ ท่านประธานคะ เป็นผู้ส่งออกหรือไม่ ดิฉันขอฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดิฉันอยากให้ ผลักดันหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ อยากให้บูรณาการร่วมกัน ทุกกองทุน ทุกองค์กร รวมถึง กระทรวงพาณิชย์ที่มีอยู่แล้ว ที่ร่วมมือกับท่านอยู่แล้ว ให้ผู้ประกอบการเหล่านี้เป็นผู้ส่งออก ได้จริง ๆ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สำหรับข้อมูลนี้นะคะ ตัวเลขนี้ ดิฉันก็เกิดข้อสงสัยเหมือนกัน ท่านมีบริการ ประกันการส่งออกระยะสั้น มูลค่ารวมตอนนี้ ๘๔ ล้านบาท ที่ผู้ซื้อไม่ชำระเงิน ดิฉันหาข้อมูล ก็ไม่เจอเลยค่ะว่าท่านจะ Take Action อย่างไรต่อ ท่านมีแผนจะฟื้นฟูอย่างไร จะทำอย่างไร และที่กังวลคือเงินก้อนนี้จะเป็นเงินสูญหรือไม่ ทาง EXIM Bank ได้เจรจากับรัฐบาลประเทศ นั้น ๆ หรือยัง แล้วผลเป็นอย่างไร จะหาจากไหนก็ไม่มีเลยค่ะ ไม่สามารถทราบได้ อันนี้อยากจะฟังคำตอบนะคะ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในส่วนของผู้บริหารระดับสูง เรื่องนี้ดิฉันข้องใจมากเลยว่าทำไมตัวเลขถึงสูง ขนาดนั้น ซ้ำซ้อนหรือไม่ พอไปดูรายชื่อแล้วเป็นอธิบดีกรมบางกรม เป็นผู้อำนวยการ บางส่วนก็เป็นข้าราชการอยู่แล้ว กลายเป็นรับเงินซ้ำซ้อนหรือไม่ OK ค่ะท่านอาจจะบอกว่า เป็นมาตรฐานของกระทรวงการคลังที่ทำได้ แต่ในความเป็นจริงในภาวะแบบนี้ถ้าเรา ประหยัดได้ เราทบทวนได้ ในภาวะที่เงินเบี้ยผู้สูงอายุโดนตัดขนาดนี้ แล้วมันเจ็บปวดใจนะคะ เวลาที่เห็นเงินเบี้ยประชุมอะไรต่าง ๆ ของพวกท่านสูงขนาดนี้ ทั้งที่เวลาที่ประชุมก็มี เบี้ยประชุมอีกในขณะที่เป็นเวลาราชการด้วยซ้ำ แต่ในขณะที่ราชการ ข้าราชการบางส่วน เขาก็ประชุมเหมือนกันแต่เขาไม่ได้เบี้ยตรงนี้ ก็อยากจะให้ดูในส่วนนี้ด้วย ทีนี้ในตัวเลข ดิฉันอยากจะรู้ว่าค่าตอบแทนนี้ผันแปรแล้วหรือไม่ รวมรถประจำตำแหน่ง รวมอะไรหรือยัง ก็อยากให้ลดในส่วนนี้ถ้าเป็นไปได้
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
Slide สุดท้ายแล้วค่ะ อันนี้ดิฉันสงสัยมากเลยว่าเกี่ยวข้องกับภารกิจของ EXIM Bank ได้อย่างไร ข้อมูลนี้ปรากฏอยู่ ดู Public ได้เลยค่ะ เหตุใดจึงต้องให้กัมพูชากู้ยืม ไปสร้างถนนคะ คือเงินงบประมาณของไทยเยอะขนาดนั้นหรือคะ อะไรดลใจท่าน หรืออะไร ครอบงำท่าน เหตุผลอะไรต้องให้เขากู้ยืมไปทำถนน ในขณะที่ผู้ส่งออกไทยยังต้องการ ความช่วยเหลืออีกมาก อันนี้น่าจะไม่ใช่ภารกิจหลัก แล้วดิฉันดูปี ๒๕๖๔ ปี ๒๕๖๕ ก็ยังมี ให้กู้ยืมอยู่เรื่อย ๆ ตอนนี้รวมกันเป็นพันล้านบาทแล้ว ฝากด้วยนะคะ อันนี้ดิฉันข้องใจ มาก ๆ เลย แล้วถ้าเป็นไปได้อยากให้เน้นผู้ส่งออกไทยก่อนนะคะ ขอบคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญทางผู้ชี้แจงได้ชี้แจงประเด็นที่สำคัญโดยสรุปครับ
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผมขออนุญาต สั้น ๆ ครับ เพียงแค่ ๑ นาทีเท่านั้นนะครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ผม จุลพงศ์ อยู่เกษ สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จริง ๆ แล้วผมเคยได้ยินชื่อเสียง ท่านกรรมการผู้จัดการมาสักพักหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ผมยังนั่งอยู่ใน Board ธนาคาร ในต่างประเทศอยู่ ผมอ่านสารจากกรรมการผู้จัดการ หน้า ๒๕ ก็ขอชื่นชมในวิสัยทัศน์ ของท่าน ผมมี ๒ คำถามครับ
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องการสนับสนุน Startup และ SMEs ที่เพื่อนสมาชิกของผมได้บอกว่า มีจำนวนน้อยมาก เป็นเพราะการเรียกหลักประกันเหมือนธนาคารพาณิชย์ทั่ว ๆ ไป หรือเปล่าครับ ในเมืองไทยเขานินทาแล้วนะครับ จะไปกู้เงินธนาคาร คำถามแรกที่ธนาคาร จะถามว่ามีที่ดินหรือเปล่า หรือมีหลักทรัพย์หรือเปล่า
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ นะครับ เนื่องจากเป็นธนาคารเพื่อการส่งออก ผมไม่ทราบว่า ทางธนาคารมีการวางแผนเรื่องการปรับราคา Carbon ข้ามพรมแดน หรือ CBAM ที่อาจจะ กระทบกับผู้ส่งออกของไทยไปยุโรปหรือเปล่าครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเชิญท่านผู้มา ชี้แจงได้ตอบคำถามโดยสรุปครับ เชิญครับ
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย ต้นฉบับ
กราบขอบพระคุณท่านประธานและท่านสมาชิกสภาที่รักทุกท่าน ต้องกราบเรียนว่าเป็นครั้งแรกที่รู้สึกดีใจ แล้วก็รู้สึกภูมิใจที่ได้ตอบคำถามนะครับ
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย ต้นฉบับ
อันแรกของท่านภัณฑิล ในมุมของ ROA ถ้าดู ROA ของตัว Industry Norm ถ้าไม่นับตัว SFIs จะอยู่ที่ประมาณ ๑.๒ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นถ้าของ EXIM ในขณะที่เรา ต้องกลืนเลือดในการที่จะอั้นการขึ้นดอกเบี้ยแล้วเรามีอัตราของ ROA อยู่ที่ ๐.๙ เปอร์เซ็นต์ ก็น่าจะถือว่าอยู่ใน Grade ที่พอรับได้นะครับ แล้วก็เป็นสิ่งที่เราพยายามที่จะสร้าง Concept ของคำว่า Development Bank นะครับ ในขณะเดียวกันต้องเข้าใจว่า Business Model ของ EXIM Bank เราพยายามที่จะสร้างตัวอัตลักษณ์คล้าย ๆ กับ JBIC หรือว่า ADB เพราะฉะนั้นกว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ของเราเป็นการส่งออกทุน Business Model เมื่อสัก ประมาณ ๒๐ กว่าปีที่แล้วเป็นการส่งออกล้วน ๆ หรือที่เราเรียกว่า Packing Credit ปัจจุบัน โลกเปลี่ยนไปมาก EXIM Bank เราผ่านการ Transform มา ๒ ครั้ง แล้วก็เพิ่ง Transform ครั้งใหญ่เมื่อ ๒ ปีที่แล้ว เราเปลี่ยนในการที่จะสนับสนุนทุนไทย หรือที่เราเรียกว่า Thailand Direct Investment ในทฤษฎีนะครับ ผมพูดคร่าว ๆ ใน ๑ Big Corporates หรือว่าเป็น บริษัทขนาดใหญ่ หรือว่า Last Scale Enterprise สามารถที่จะสร้างตัว Supply Chain ของคนตัวเล็กได้อยู่ประมาณ ๕๐-๗๕ ราย อันนี้เป็นข้อมูลของทางด้านบลูวิก แล้วก็ ทาง BCG อันหนึ่งที่เราเห็นว่าทำไมมีสินเชื่อที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคสูงมาก เป็นเพราะว่า สิ่งที่เราทำคือการทำหน้าที่เป็น Green Development Bank ท่าน ๆ อาจจะเห็นนะครับ ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ หรือว่าโรงไฟฟ้าพลังงานลม ในประเทศไทย รวมถึง ใน CLMV ทั้งหมด ก็ประมาณเกือบครึ่งหนึ่งเป็นเงินทุนของ EXIM Bank
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย ต้นฉบับ
ในขณะเดียวกันของท่านขัตติยา การปล่อยกู้ซื้อบ้าน ยังยืนยันนะครับ ในสมัยของผมไม่มีเด็ดขาดนะครับ อันนี้คืออันที่ ๒
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย ต้นฉบับ
ในส่วนที่เป็นสินเชื่อในเรื่องของ Agro Business มีทั้งหมดอยู่ประมาณ ๒๖,๐๐๐ ล้านบาท เราดูแลในเรื่องของ Agro Business ตัวใหญ่อยู่ประมาณ ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท แล้วก็มีส่วนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้าว หรือว่ายางพารา อยู่อีกประมาณ ๑๓,๐๐๐ ล้านบาท ในมุมของการทำตัว Hedging Scheme เราร่วมกับ ธปท. ในการที่สร้าง สิ่งที่เราเรียกว่าโครงการ FX Option ช่วยชาติ หมายความว่าเราเลิกพูดภาษาต่างดาว กับพี่น้อง SMEs เราพยายามให้พี่น้อง SMEs สามารถใส่เสื้อเกราะในการที่จะส่งออกได้ แล้ว EXIM Bank ใน พ.ร.บ. จัดตั้งเราเป็นทั้งบริษัทประกันในตัว สินเชื่อที่เราปล่อยกว่า ๑๖๐,๐๐๐ ล้านบาท ถ้าดูในภาคอีกภาคหนึ่งที่เป็นบริษัทประกัน เรามี Outstanding ของ Turnover ประกันอยู่กว่า ๑๖๙,๐๐๐ ล้านบาท Damage ที่เมื่อสักครู่ ท่านเพื่อนสมาชิกได้อภิปราย อยู่ที่ประมาณ ๘๐ ล้านบาท ถ้าพูดถึง Loss Ratio ในธุรกิจ ของการรับประกันเราถือว่าต่ำที่สุดใน Norm ของ Industry ในประเภทเดียวกัน หมายความว่าใน Turnover ๑๖๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท เรามีส่วนที่เป็น Damage อยู่เพียงแค่ ไม่ถึง ๑๐๐ ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็น Performance ที่ดีมาก แล้วเราต้องสามารถที่จะ ดำเนินการตาม Court Case ต่อไป ซึ่งต้องบอกว่าเป็นความท้าทาย มันก็จะไปกระทบ กับอีก ๑ คำถาม หรือว่าเป็นกระทู้ของท่านผู้อภิปรายนะครับ
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย ต้นฉบับ
ทางคุณชัยวัฒน์ ในประเด็นที่ว่าในมุมของสำนักงานทนายความ มันเป็น ลักษณะของการประกอบกิจการที่ไม่ได้อยู่ในร่มของคำว่า Banking and Finance เพราะฉะนั้นการที่จะให้คนที่เป็น Subject Matter Expert คือบริษัทหรือว่าสำนักงาน ทนายความในการดูแล ตรงนี้น่าจะเหมาะกว่า แล้วในขณะเดียวกันเราจะเห็นว่า Case ต่าง ๆ รวมถึง Case ของบริษัทลูกของบริษัท STARK ด้วย มันไม่ได้เป็น Content ที่เจ้าพนักงานของรัฐ โดยเฉพาะคนที่เป็นนายธนาคารสามารถที่จะดำเนินการได้ สิ่งนี้ เป็นการยืนยันนะครับ เราเป็นธนาคารรัฐธนาคารเดียวที่เข้าระบบ ที่เราเรียกว่า TFRS 9 หรือว่า IFRS 9 เป็นระบบ บัญชีมาตรฐาน เรามีการตั้งสำรองไปแล้วกว่า ๘๕ เปอร์เซ็นต์ในมุมของบริษัทลูกของบริษัท STARK แล้วในขณะเดียวกันเราก็ดำเนินการตาม Court Case เรามีอนุกรรมการกฎหมาย ในการที่จะดูแล Case นี้อย่างใกล้ชิดนะครับ ทั้ง ๓ รายการที่เป็นตัว Trust Receipt ที่อยู่ใน วงเงินสินเชื่อ เป็น Trust Receipt ที่ Against กับบริษัท Supplier ขนาดใหญ่ ซึ่งได้มี การ Proof Record แล้วว่าไม่ได้เป็น Fraud ในส่วนของ Case ของธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย ต้นฉบับ
ค่าใช้จ่ายในเรื่องของการที่ท่านศรีโสภาได้อภิปรายไปนะครับ รายการอื่น ๆ เมื่อสักครู่ผมได้ Mention ไปแล้ว เป็นเรื่องของ Damage Control ซึ่งถ้าบริษัทประกัน ในลักษณะของ Export Credit Insurance ต้องเสีย Damage ในมุมเดียวกันกว่า ๑๐๐ ล้านบาท เราเสียเพียงแค่ประมาณ ๗๙ ล้านบาท ซึ่งอันนั้นก็ถือว่าเป็น Rate ที่เรา รับได้นะครับ
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย ต้นฉบับ
ในมุมของ Global Risk เราไม่ได้มองข้าม สิ่งที่เราช่วยเหลือผู้ประกอบการ ตอนนี้ก็คือการที่จะพาผู้ประกอบการตัวเล็ก ๆ ไปในประเทศที่เราเรียกว่า New Frontiers หมายถึงว่าเป็นประเทศที่ไม่ได้อยู่ในประเทศตลาดเก่า ถามว่าเราช่วยคนตัวเล็ก ๆ ผ่านอะไรครับ เรามี Partner ที่ชื่อว่า Alibaba แล้วก็ในปีนี้เราเพิ่งแต่งงานใหม่กับบริษัท ที่ชื่อว่า Amazon เรามี Sandbox ให้คนตัวเล็กสามารถที่จะค้าขายบนโลก Online ได้ก่อน ก่อนที่เราจะพาเขาไปทำ Business Matching รวมถึงการออกงาน Expo ต่าง ๆ นะครับ
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย ต้นฉบับ
แล้วก็ในขณะเดียวกัน Trade Fair ท่านชุติมา ผมขอยืนยันว่าเราจะพยายาม สร้างให้โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่เป็น Flagship Model ในปีนี้และปีต่อ ๆ ไปนะครับ เรามีการเปิดสิ่งที่เราเรียกว่า Thailand Pavilion ในปลายปีนี้ในประเทศซาอุดีอาระเบีย แล้วก็ในขณะเดียวกันถ้าพูดถึงใน Structure เป็น Dilemma แล้วผมตอบเกือบจะทุกเวทีว่า EXIM Bank กับ SME Development Bank ต่างกันอย่างไร ถ้าดูในตัว Landscape ของเรา เรามีวงเงินสินเชื่อที่ปล่อยให้คนตัวเล็กถึงเล็กมากอยู่ที่จำนวน ๓,๔๐๐ ราย ซึ่งเป็น วงเงิน Outstanding กว่า ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ในขณะเดียวกันเรามีคนตัว Size กลาง อยู่ที่ ๑,๖๘๔ ราย แล้วเป็นวงเงิน Outstanding กว่า ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท หมายความว่า EXIM Bank เน้นคนตัวกลาง ถ้าเป็น SME Development Bank จะเน้นคนตัวเล็ก ลงไปหน่อย แล้วก็ในขณะเดียวกันถ้าพูดถึง Landscape ของพี่น้อง SMEs ไทยมีอยู่ทั้งหมด ๓.๑๗ ล้านราย เป็นผู้ส่งออก ๓๐,๐๐๐ ราย เพราะฉะนั้นในมุมของ EXIM Bank เราดูแล คน ๓๐,๐๐๐ คนใน ๓.๑๗ ล้านคน นั่นคือ Model แรกของเรา แต่ในขณะเดียวกัน เราตระหนักรู้ว่าถ้าเราดูแลคนแค่เพียงไม่ถึง ๖,๐๐๐ คน และที่เหลืออีก ๒,๙๐๐,๐๐๐ คน เขาจะมีทางออกไปสู่โลกกว้างได้อย่างไร วันนี้เราต้องผ่าน Business Model ที่เราเพิ่งคิด ขึ้นมาใหม่ก็คือการเติมเงินกู้ การเติมโอกาสและความรู้ เราทำหน้าที่เป็น Match Maker โดยที่เราเปิด Rep. ทั้ง ๔ สาขาในประเทศเพื่อนบ้าน เราพยายามทำ Business Matching ในทุก ๆ เดือน ไม่ว่าจะเป็นไทย-กัมพูชา ไทย-ลาว ไทย-เวียดนาม แล้วก็ไทย-เมียนมา อันนั้น ก็เลยเป็นที่มาของการตั้ง Rep. นะครับ
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย ต้นฉบับ
แล้วก็ท่านจุลพงศ์ได้สอบถามมาว่าคนตัวเล็ก ๆ ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน อดีตของผมเคยเป็นผู้จัดการใหญ่ บสย. ตอนนี้ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ของสินเชื่อของ EXIM Bank ทั้งหมดผ่านการใช้บริการของ บสย. บสย. คือนายประกันของรัฐนะครับ ก็คือไม่ต้องเอา ที่ดินมาตึ๊งธนาคาร แต่สามารถที่จะใช้ใบ Guarantor ของ บสย. สร้างวงเงินสินเชื่อกับเราได้ และตอนนี้เราปรับวิธีการในลำเลียงสินเชื่อเข้าสายพาน ซึ่งก็จะเข้ากับสิ่งที่เราเรียกว่า Core Bank นะครับ Core Bank ของเรายังใช้ระบบ AS400 ซึ่งเป็นระบบที่ใช้มาแล้วกว่า ๒๒ ปี ปีนี้ก็เป็นปีที่เราเริ่มในการที่จะสร้างบ้าน แล้วก็ทำกระดูกสันหลังอันใหม่ ก็คือ Core Bank ตัวใหม่ ในราคามาตรฐานกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท เราใช้เงินประมาณเพียงแค่ ๔๕๐ ล้านบาท เพราะเราถือว่า New เทคโนโลยีต้องถูกลงและต้องดีขึ้น แล้วในขณะเดียวกันเราใช้ บริษัทที่ปรึกษาที่เป็น PM ก็คือPricewaterhouseCoopers ในการที่จะควบคุมงาน ให้สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี อันนี้ก็จะเป็นภาพของ New Landscape ของธนาคาร ของกระทรวงการคลัง ที่ชื่อว่า EXIM Bank ครับ กราบขอบพระคุณครับ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ขออนุญาตค่ะ ดิฉันยังไม่ได้คำตอบข้อหนึ่ง ขอทราบคำตอบด้วยได้ไหมคะ ดิฉัน ชุติมา คชพันธ์ ค่ะ ท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอคำถามที่คุณ ติดใจครับ เชิญครับ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เมื่อสักครู่ดิฉันถามคำถาม สุดท้ายไว้ว่าเหตุใดทาง EXIM Bank ถึงให้ทางประเทศกัมพูชากู้ไปทำถนนคะ ขอคำตอบ ด้วยค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย ต้นฉบับ
Business Model ที่เราทำที่ประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด เป็นการทำผ่านลูกของกระทรวงการคลังอีกคนหนึ่ง ที่ชื่อว่า NEDA เงินกู้ของ NEDA เป็นเงินกู้เพื่อเปิดประตู เราให้ความช่วยเหลือพร้อมกับการสร้างธุรกิจ เพราะฉะนั้นคนที่ ทำถนนทั้งหมดในประเทศเพื่อนบ้านจะเป็นผู้รับเหมาของไทย ก็จะเป็น Business Model คล้ายกับ ADB แล้วก็คล้ายกับ JBIC ครับท่านชุติมา
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ พอดี มีคำถามหนึ่งไม่ได้ตอบผมเรื่อง CBAM ที่ยุโรป ไม่ทราบว่าทาง EXIM Bank มีมาตรการ อย่างไรครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย ต้นฉบับ
เราเพิ่งมีสินเชื่อตัวใหม่ที่ชื่อว่าสินเชื่อ Green Start เป็นสินเชื่อเพื่อทำให้ผู้ประกอบการ Size ที่เป็น Size S แล้วก็ Size M ในการที่จะไป ปรับกระบวนการภายในในการผลิตไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือว่าการให้บริการนะครับ และในขณะเดียวกันเราเป็นหนึ่งในคณะกรรมการที่เข้าไปช่วย อบก. ในการที่จะร่าง หลักเกณฑ์ในการที่จะเข้าไปสู่ระบบ CBAM ที่กำลังจะมีการประกาศใช้อีก ๒ เดือนข้างหน้า ในภาพนี้ก็จะเป็นภาพที่เราทำหน้าที่เป็น Enabler เราอาจจะไม่สามารถที่จะสร้าง ตัวองค์ความรู้โดยตรงได้ แต่เราสร้างผ่านองค์กรที่ชื่อว่า อบก. ครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เมื่อไม่มีผู้ใด ติดใจแล้ว ถือว่าที่ประชุมรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล และบัญชีกำไรขาดทุน ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ แล้ว ขอขอบคุณท่านผู้ชี้แจงทุกท่านนะครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ท่านสมาชิกทุกท่านครับ ต้องขอขอบคุณท่านสมาชิกมากครับ วาระของเรา ทำให้เราจบโดยที่ผู้มาชี้แจงได้ชี้แจงทุกคณะ ไม่ต้องกลับไปแล้วก็มาใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งถือว่า เป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ขอบคุณสมาชิกทุกท่านครับ วันนี้หมดระเบียบวาระการประชุมแล้ว ผมขออนุญาตปิดประชุมครับ