นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย

  • เรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม ศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร เขต ๓ พรรคก้าวไกล ขอปรึกษาหารือความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสาคร ฝากท่านประธาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ถนนบ้านแพ้ว-พระประโทน ถนนเส้นหลักจากจังหวัดสมุทรสาคร ที่เชื่อมต่อไปยังจังหวัดนครปฐมและราชบุรี แต่ปัจจุบันถนนชำรุดและเป็นลูกคลื่น ตลอดทั้งเส้น จึงขอฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดสรรงบประมาณ บำรุงแก้ไขลาดยางหรือเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กต่อไป

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ขอให้พิจารณาจัดสรรงบประมาณโครงการก่อสร้างทางคู่ขนาน และสะพานข้ามคลองขุดบ้านบ่อ กม.๓๙+๓๒๗ และคลองท่าแร้ง กม.๓๙+๙๖๔ เพื่อรองรับ ปริมาณการจราจรให้เกิดความต่อเนื่องและเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทางบนโครงข่าย ทางหลวงและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมผิวทาง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ ขอให้พิจารณาจัดสรรงบประมาณโครงการก่อสร้างทางกลับรถ ทางขาเข้ากรุงเทพฯ เชื่อมต่อกับโครงการก่อสร้างสะพานยกระดับ อำเภอบ้านแพ้ว เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๔ ขอให้พิจารณาจัดสรรงบประมาณโครงการก่อสร้างสะพานยกระดับ หรืออุโมงค์ลอดบริเวณแยกถนนเศรษฐกิจ ๑ ถนนบางปลา สค.๔๐๐๙ เพื่อให้การจราจร ถนนเส้นดังกล่าวเกิดความคล่องตัวและความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๕ เรื่องนี้ได้มีอดีตสมาชิกหลายท่าน และประชาชนร้องเรียน เป็นจำนวนมากมานับสิบ ๆ ปี จึงขอฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ โรงงานปล่อยน้ำเสียและฟื้นฟูคลองภาษีเจริญ คลองสี่วาพาสวัสดิ์และคลองสาขาต่าง ๆ โดยเร่งด่วนและยั่งยืนต่อไป

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๖ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาสัญญาณไฟจราจรจุดกลับรถ เลยโรงพยาบาลบ้านแพ้ว เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ อยู่บ่อยครั้ง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๗ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่ง และพิจารณาแนวป้องกันชะลอคลื่นในพื้นที่ต่าง ๆ ของตำบลพันท้ายนรสิงห์ ตำบลโคกขาม ตำบลบางหญ้าแพรก โดยเฉพาะตำบลบางกระเจ้าในหมู่บ้านแป๊ะกงที่ประสบปัญหา อยู่ตอนนี้ ตำบลบ้านบ่อ ตำบลบางโทรัด ตำบลกาหลง ตำบลนาโคก โดยมีระยะทาง แนวชายฝั่งประมาณ ๔๒ กิโลเมตร

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๘ ขอให้พิจารณาอนุมัติโครงการประตูระบายน้ำคลองตัน ๑ ในปีงบประมาณนี้ เพื่อไม่ให้บ้านเรือนประชาชนและพื้นที่การเกษตรจำนวนมากเสียหาย ซึ่งถูกน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๙ ขอให้ รฟท. และ สนข. พิจารณาโครงการการก่อสร้างถนนลาดยาง เลียบทางรถไฟช่วงตำบลท่าจีนถึงตำบลนาโคก เพราะมีพี่น้องประชาชนเดือดร้อน ในการเดินทางสัญจรเป็นจำนวนมาก

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑๐ เรื่องสุดท้าย เนื่องจากจังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่ติดทะเล และด้วยภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ทำให้มีน้ำทะเลหนุนสูงในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเข้าท่วมบ้านเรือน ของพี่น้องประชาชน ซึ่งต้องประสบปัญหาภาวะเช่นนี้มาอย่างยาวนาน จึงขอฝาก ท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืนต่อไป ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร เขต ๓ พรรคก้าวไกล ขอร่วมอภิปรายในเรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎร แก้ไขปัญหาราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ ท่านประธานครับ ผมเองอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว มีพี่น้องเกษตรกรเลี้ยงกุ้งได้รับผลกระทบ จากราคาตกต่ำ แต่เดี๋ยวจะมีเพื่อนสมาชิกจากพรรคก้าวไกลได้ร่วมอภิปรายประเด็นนี้ เป็นหลักครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ในอำเภอบ้านแพ้ว ขึ้นชื่อคือมะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร แต่ทว่าที่ผมจะพูดในวันนี้ ก็เป็นเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวทั่วประเทศเช่นกัน คือมะพร้าวแกง ที่ราคาผลผลิตตกต่ำเป็นอย่างมาก สาเหตุมาจากอะไรบ้าง ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการระบาด ของศัตรูพืชในปี ๒๕๕๓-๒๕๕๖ และภัยแล้งในปี ๒๕๕๘-๒๕๕๙ ทำให้ผลผลิตมะพร้าวของ ไทยกำลังฟื้นตัวกลับขึ้นมาแบบช้า ๆ ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจของเกษตรกรคืออะไร คือราคาของ มะพร้าว แต่ราคามะพร้าวกลับมีความผันผวนสูงมาก ทั้งที่เราก็สามารถส่งออกมะพร้าวเป็น ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบ และเป็นที่ต้องการของตลาดโลกได้ แต่มะพร้าวตอนนี้ มีเพียง ๗๐ เปอร์เซ็นต์ของความต้องการมะพร้าวในประเทศเท่านั้น สถานการณ์ล่าสุดครับ ท่านประธาน เมื่อต้นเดือนสิงหาคม ๒๕๖๖ ราคามะพร้าวอยู่ที่ ๗.๘๓ บาทต่อผล ลดลงจาก ๑๖.๕๖ บาทต่อผล เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๖๔ ต้นทุนการผลิตตามข้อมูลของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรอยู่ที่ ๗.๓๐ บาทต่อผล หรืออาจมากกว่านี้ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ของมะพร้าวเท่ากับ ๘๒๗ ผลต่อไร่ต่อปี เพราะฉะนั้นแล้วหากมะพร้าวยังราคานี้อยู่ ผลตอบแทนของชาวสวนมะพร้าวจะเท่ากับ ๔๓๘.๓ บาทต่อไร่ต่อปี ท่านประธานครับ ข้อมูลจากสถิติบอกว่าชาวสวนมะพร้าว ๑๖๗,๐๐๐ ครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกมะพร้าว เฉลี่ยครัวเรือนละ ๔.๙๑ ไร่ เพราะฉะนั้นแล้ว ณ ราคามะพร้าว ๗.๘๓ บาทต่อผล ชาวสวนมะพร้าวจะมีผลตอบแทน เพียง ๒,๑๕๒ บาทต่อครัวเรือนต่อปี แค่นั้นครับท่านประธาน ที่เราเห็นอยู่นี้คือ ราคามะพร้าวที่เคลื่อนไหวขึ้นลงตามฤดูกาล ราคามะพร้าวจะเริ่มลดลงในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตออกมามาก โดยผลผลิตจะออกมาสูงสุด ในเดือนมิถุนายนของทุกปี ส่วนราคามะพร้าวจะสูงสุดในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ของทุกปี ส่วนปริมาณการใช้ในแต่ละเดือนนั้นทั้งใช้ในประเทศ และส่งออกค่อนข้าง สม่ำเสมอกัน ในช่วงที่ราคาผลผลิตในประเทศสูงในเดือนธันวาคมถึงมกราคมจะเป็น แรงกระตุ้นให้มีการนำเข้ามะพร้าวและผลิตภัณฑ์ เช่น กะทิสำเร็จรูปในช่วงเดือนธันวาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ และเลยไปจนถึงเดือนเมษายนของแต่ละปี ท่านประธานครับ ปริมาณ นำเข้ามะพร้าว และผลิตภัณฑ์ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายนจะกดดันให้มะพร้าว ของชาวสวนที่ทยอยออกในเดือนมีนาคมเป็นต้นมาขายออกยาก และราคาตกต่ำลง ปริมาณ นำเข้าเฉลี่ย ๓ เดือน ยิ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผลผลิตในประเทศรายเดือนนั้น เพียง ๖๔ เปอร์เซ็นต์ ทั้ง ๆ ที่ควรจะจัดการให้สวนทางกัน หมายถึงอะไรครับ หมายถึงว่า ผลผลิตในประเทศลดลงจึงค่อยนำเข้ามากขึ้น และกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ ราคามะพร้าวนั้นผันผวนขึ้นครับ ยิ่งเมื่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มะพร้าวในช่วงครึ่งปีแรก ของปี ๒๕๖๖ ลดลงจากครึ่งปีแรกของปี ๒๕๖๕ ถึง ๒๗ เปอร์เซ็นต์ ราคามะพร้าวปีนี้ จึงยิ่งตกต่ำลง

    อ่านในการประชุม

  • ข้อแนะนำ เรื่องที่ ๑ กำหนดราคาเป้าหมายในการบริหารจัดการให้อยู่ที่ ระดับ ๑๕ บาทต่อผล และเพิ่มผลผลิตมะพร้าวให้ได้ ๑,๐๐๐ ผลต่อไร่

    อ่านในการประชุม

  • ๒. เพื่อให้ชาวสวนมีผลตอบแทนสุทธิระดับ ๘,๐๐๐ บาทต่อไร่ ไม่ใช่ ๔๓๘ บาทต่อไร่ และ ๔๐,๐๐๐ บาทต่อครอบครัวต่อปี ไม่ใช่ ๒,๑๕๐ บาทต่อครัวเรือนต่อปี เช่นในปัจจุบันครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • ๓. จัดการการนำเข้ามะพร้าวในช่วงที่เหมาะสม ควรลดการนำเข้ามะพร้าว ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน เพื่อมิให้กดดันราคามะพร้าวในประเทศ

    อ่านในการประชุม

  • ๔. ควบคุมการเคลื่อนย้ายมะพร้าวนำเข้าให้อยู่ในพื้นที่ที่นำเข้าเพื่อการแปรรูป เท่านั้น และส่งออก เพื่อมิให้กระทบกับราคามะพร้าวในประเทศ

    อ่านในการประชุม

  • ๕. เข้มงวดกับเรื่องมาตรการสุขอนามัยพืชในการนำเข้า เพื่อมิให้เกิดปัญหา ศัตรูพืชระบาดในมะพร้าวเช่นที่เกิดขึ้นในเมื่อ ๑๐ ปีก่อน

    อ่านในการประชุม

  • ข้อสุดท้าย ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มะพร้าว เพราะปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำเข้ามะพร้าว น้ำมันมะพร้าว ไม่ใช่ผู้ส่งออกอย่างที่บางคน เข้าใจผิดกัน

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ และนี่คือปัญหาของพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวแกง ทั่วประเทศ และพี่น้องที่เลี้ยงกุ้งขาวที่ราคาตกต่ำลง ผมก็อยากจะฝากสภาผู้แทนราษฎร แล้วก็ท่านรัฐมนตรีธรรมนัส พรหมเผ่า แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนนี้อย่างเร่งด่วน ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร เขต ๓ พรรคก้าวไกล ขอฝาก ท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เร่งแก้ไขปัญหาเรื่องมลพิษ มลภาวะที่เกิดขึ้นในโรงงานจังหวัดสมุทรสาครที่ผิดกฎหมาย ปัญหานี้คือการขยายตัวของ โรงงานประเภทหล่อหลอมที่ไม่ได้รับมาตรฐานและผิดกฎหมาย เริ่มกระจายตัวมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่นในอำเภอเมืองพบว่ามีการ ปนเปื้อนอย่างรุนแรงทั้งในอากาศ ดิน น้ำ ของสาร POP กลุ่มไดออกซิน ที่ส่งผลกระทบ ต่อร่างกายมนุษย์อย่างรุนแรง ทั้งในระดับ DNA ที่ก่อให้เกิดมะเร็งและทำลายระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งนี้ผมยังได้รับร้องเรียนว่าพบสารพิษเช่นตะกรันอลูมิเนียมที่ลักลอบทิ้ง อย่างผิดกฎหมายหลากหลายแห่งในพื้นที่หลายตำบล นี่แสดงให้เห็นว่าความอันตราย ต่อพี่น้องประชาชน บางแห่งอยู่ใกล้สถานศึกษา บางแห่งอยู่ใกล้สถานเด็กเล็ก ซึ่งจะได้รับ สารพิษสะสมเข้าไปทุกวัน ๆ ผมจึงขอฝากกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยตรวจสอบกำกับดูแลอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้นในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ที่ต้องมี การบำบัดอย่างถูกต้อง ปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ผมขอขอบคุณทุกภาคส่วน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลผู้กระทำผิดหลังจากนี้จะได้รับการแก้ไขอย่างเด็ดขาด หากท่านรัฐมนตรีมีการสั่งการแล้วรบกวนตอบผมเป็นหนังสือ หรือจะให้ผมลงพื้นที่ร่วมด้วย ก็ยินดี จะได้ช่วยเป็นหูเป็นตาและเป็นกระบอกเสียงให้ท่านด้วย อีกทั้งขอฝากรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ป.ป.ส. ภาค ๗ มีการร้องเรียนว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐทุจริตและประพฤติมิชอบ พบผู้มีอิทธิพลข่มขู่คุกคามประชาชนและเครือข่าย ทุนสีเทาพัวพันการฟอกเงินและยาเสพติด โดยข้อมูลผมจะส่งให้หน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ต่อไป ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร เขต ๓ พรรคก้าวไกล ขอสไลด์ ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • ผมมีเรื่องจะปรึกษาหารือท่านประธาน เกี่ยวกับความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๓ เรื่อง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก ขอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณางบประมาณก่อสร้างเพื่อแก้ไข ปัญหาน้ำท่วมขังในจุด กม.๔๓+๐๐๐ ถึง กม.๔๔+๓๐๐ บริเวณคลังสินค้า CP ถึงโรงงาน ไทยยูเนี่ยน ระยะทางประมาณ ๑.๓ กิโลเมตรในตำบลบางโทรัด เพราะจุดนี้เป็นแหล่งชุมชน แล้วก็โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรสาครที่ได้รับผลกระทบทุกปี

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ ผมต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมจังหวัด ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้มีการตรวจสอบ โรงงานหล่อหลอมอย่างเข้มข้นตามที่ผมได้หารือไปเมื่อสมัยประชุมที่แล้ว จึงมีข้อเสนอ แนวทางแก้ไขต่อเนื่องอีก ๓ ประเด็นครับ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๑ ออกใบประกาศระงับการออกใบอนุญาตโรงงานประเภท หล่อหลอมเพิ่ม หรือพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ ปูพรมตรวจโรงงานประเภทหล่อหลอมในตำบลบ้านเกาะ ตำบลนาโคก ตำบลบางน้ำจืด

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๓ ขอให้สาธารณสุขตรวจสุขภาพประชาชนโดยรอบบริเวณที่ ได้รับผลกระทบ และตรวจสารตกค้างในพื้นที่

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๓ นอกจากจังหวัดสมุทรสาครจะต้องเจอกับมลภาวะที่เป็นพิษแล้ว ยังต้องเจอกับฝุ่น PM2.5 ในขณะนี้ที่เกินค่ามาตรฐานในหลาย ๆ จังหวัด ซึ่งอาจก่อให้เกิด อาการไม่พึงประสงค์ที่มีผลกระทบต่อหัวใจและปอด จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้เร่งแก้ไข เรื่องนี้อย่างจริงจังและจริงใจ เพื่อคืนอากาศบริสุทธิ์ให้กับพี่น้องประชาชนต่อไป ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร เขต ๓ พรรคก้าวไกล ขอนำเรียนปัญหาของพี่น้องประชาชนฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๓ เรื่องครับ ขอสไลด์ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก เรื่องของสัญญาณไฟจราจร ชำรุด ตำบลสวนส้ม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร สี่แยกไฟแดงนี้กลายเป็นแยกวัดใจ ตั้งแต่ผมได้เป็น สส. มาก็ได้รับเรื่องร้องเรียนจุดนี้หลายครั้งหลายครา ติด ๆ ดับ ๆ บ้าง เปิดบ้าง ปิดบ้าง และเกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ผมจึงขอฝากท่านประธานไปยังกระทรวง คมนาคมในการสนับสนุนงบประมาณให้กับแขวงทางหลวงชนบทสมุทรสาคร ให้เร่งซ่อมแซม โดยด่วน รวมถึงไฟส่องสว่างเส้นหลักสองและเส้นเกษตรพัฒนาที่ผมได้เคยประสานงานกันไป

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ น้ำท่วมขังถนน ๓๗๕ ตำบลชัยมงคล หรือโค้งอ่างน้ำ เนื่องจากจุดนี้ น้ำท่วมตลอด ไม่ใช่หน้าฝนก็ท่วม น้ำทะเลหนุนก็ท่วม ท่วมซ้ำซากทุกปี ผมขอฝาก ท่านประธานไปยังกระทรวงคมนาคมในการสนับสนุนงบประมาณให้กับแขวงทางหลวง นครปฐม ในการสำรวจและดำเนินการแก้ไขโดยด่วน

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องสุดท้ายครับ ผมขอฝากท่านประธานไปยังกรมปศุสัตว์ เรื่องโคบาล ชายแดนใต้ ให้ช่วยตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นและช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร เขต ๓ พรรคก้าวไกล ขอนำปัญหาของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดสมุทรสาคร ฝากท่านประธานไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจำนวน ๒ เรื่อง ขอสไลด์ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๑ ไฟส่องสว่างทางหลวงชนบท สค.๒๐๒๘ สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ถนนพระราม ๒ บ้านชายทะเลกาหลง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จากภาพที่เห็นขณะนี้ด้านหลังของผมเป็นที่มาของคำว่า มืดตึดตื๋อ อันเนื่องมาจากโครงการถนนไร้ฝุ่น โดยอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคมภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งสาขาการขนส่ง ซึ่งในปัจจุบันถนนเส้นนี้ เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีไฟส่องสว่างเข้ามาบางส่วน แต่มีเพียงช่วง กม. ๓+๕๐๐ ถึง ๖ +๕๕๐ ที่ไม่สามารถดำเนินการติดตั้งไฟส่องสว่างได้ อันเนื่องมาจากมีเอกชนเข้ามาแสดง สิทธิ และยังมีข้อพิพาทกันอยู่ กระทั่งต้องทิ้งฐานเสาไฟไว้ตามรูปที่ท่านได้เห็น ซึ่งเป็น งบประมาณของหลวง จึงขอให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและ หาข้อยุติโดยเร็วที่สุด

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องที่ ๒ น้ำท่วมขังบริเวณใต้สะพานกับรถยูเทิร์นดูโฮม ในจุดนี้มีการ ร้องเรียนและลงพื้นที่ของทุกกระทรวง ทบวง กรม มาหลายยุคหลายสมัยนับ ๑๐ ปี แต่ก็ยัง ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขใด ๆ ได้ จนชาวบ้านและผู้ใช้รถใช้ถนนเส้นนี้จะเอารถไปขาย เศษเหล็กแล้วครับท่าน เพราะทั้งสนิมและช่วงน้ำทะเลหนุนสูง รถก็เสียหายไปหลายคัน จึงขอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแก้ไขปัญหานี้ทุกมิติ โดยมีโครงการโดยเร่งด่วนก่อนที่จะ เข้าฤดูฝนบวกกับน้ำทะเลหนุน ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายซ้ำ ๆ อีกเช่นเคย สุดท้ายครับ รวมถึงสอบถามว่าถนนพระราม ๒ จะสร้างเสร็จเวลาไหน ถ้านับสมัยนั้นถึงตอนนี้ระยะเวลา ก็สามารถสร้างพีระมิดได้ ๓ แห่งแล้วครับท่าน ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานครับ ๓๗๐ แสดงตนครับ

    อ่านในการประชุม