นายอนุชา บูรพชัยศรี

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ก่อนอื่นผมก็ต้องบอกว่าเรื่องของการออมเป็นสิ่งที่ตอนนี้ประเทศไทยเรามีความจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องสนับสนุน เนื่องจากเรื่องของการออมเป็นพื้นฐานในเรื่องของการที่จะต้องให้ ประชาชนได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของความสำคัญในการที่จะต้องวางแผนทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการที่เมื่อเกษียณอายุไป หรือเมื่อมีอายุสูงขึ้นนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ในส่วนของกองทุนการออมแห่งชาตินี้ ก็ต้องบอกว่าผมติดตามการทำงาน มาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เนื่องจากว่าผมเองเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการที่ได้เป็นกรรมาธิการ ในการพิจารณาออกกฎหมายฉบับนี้ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ แล้ว แล้วก็ต่อเนื่องกันมาจนทราบว่า พ.ร.บ. การออมแห่งชาติได้มีการประกาศเป็นราชกิจจานุเบกษา หรือว่ามีการตั้งอย่างเป็น ทางการเมื่อปี ๒๕๕๔ แต่ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ผมคงไม่พูดถึง สุดท้ายแล้วก็คือเริ่มที่จะมี การรับสมัครสมาชิกอย่างเป็นทางการจริง ๆ จัง ๆ ก็คือประมาณปี ๒๕๕๘ แต่สิ่งที่สำคัญ ก็คือว่า ณ วันนี้ถ้าบอกว่าถ้าย้อนกลับไปถึงปี ๒๕๕๓ ที่ผมได้นั่งในการพิจารณากฎหมาย หรือว่าเรื่องของการออมแห่งชาติตอนนั้น ถ้าถามว่า ๗-๘ ปีผ่านไปแล้วคิดว่าสมาชิกจะอยู่ที่ ประมาณ ๒,๕๐๐,๐๐๐ กว่าคน คิดว่าตอนนั้นคิดอย่างไร ผมคิดว่าตอนนั้นคงคิดว่าจะต้อง มากกว่านี้อย่างแน่นอน เพราะว่าเรื่องของการออมเป็นเรื่องสำคัญอย่างที่ผมเรียนไปแล้ว แล้วก็คิดว่าประชาชนก็คงจะต้องให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน แต่ที่คงต้องกลับมาดูก็คือว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไม ณ วันนี้สมาชิกถึงมีแค่เพียง ๒,๖๐๐,๐๐๐ กว่าคนเท่านั้นเอง สิ่งที่ ผมมีโอกาสได้เห็นการทำงานของทางกองทุนการออมแห่งชาติ ก็เห็นว่าดำเนินการ หลาย ๆ ส่วนที่พยายามจะไปหาภาคีเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงต่าง ๆ หรือว่า หน่วยงานของรัฐต่าง ๆ คือพูดง่าย ๆ ไม่ได้ไป Stand Alone อย่างเดียว แต่เราไปเป็น ลักษณะของ Partnership ที่ผ่านมาผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่งเลย แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเคยอภิปราย ไปแล้วก่อนหน้านี้ ตอนที่มีโอกาสได้ดูเรื่องของรายงานการเงินก่อนหน้านั้น ซึ่งช่วงนั้น ก็อาจจะไม่ได้มีในส่วนของผู้บริหารของ กอช. มานั่งฟังอยู่ มีแต่ในส่วนของผู้ที่ตรวจรายงาน บัญชี สิ่งที่ผมอยากจะนำเสนอก็คือว่าหากเป็นไปได้เราอาจจะต้องไปรับฟังความคิดเห็น เพิ่มเติมว่าทำอย่างไรถึงจะทำให้กองทุนการออมแห่งชาติของเราเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น แทนที่เราจะใช้ในเรื่องของเครื่องมือที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน ด้วยหลักเกณฑ์ หลักการอะไร ก็แล้วแต่ แล้วก็ไปพูดให้เขาฟังว่าเราคืออะไร แต่ผมคิดว่าในครั้งต่อ ๆ ไปถ้าเราไปลงพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ แล้ว แทนที่ว่าเราจะไปพูดให้เขาฟังอย่างเดียว ผมคิดว่าอาจจะต้อง ให้กลุ่มต่าง ๆ ที่เราไปพบปะพูดคุยมีโอกาสได้ Feedback กลับมาให้กับทางด้าน กอช. บ้างว่าทำอย่างไรถึงจะทำให้หน่วยงานหรือว่า กอช. เป็นที่น่าสนใจของพี่น้องประชาชน มากขึ้น เพราะว่าแรงงานในระบบเราคงไม่ต้องพูดถึง เขามีส่วนของเขาอยู่แล้ว คราวนี้เราพูด ถึงเรื่องของแรงงานนอกระบบตามตัวเลขที่ผมมีอยู่ก็เกือบ ๒๐ ล้านคน กลุ่ม Target เป้าหมายเหล่านี้น่าที่จะสอบถามว่าทำอย่างไรที่เราสามารถจะทำให้ กอช. เป็นสิ่งที่เขา สามารถที่จะมาร่วมเป็นสมาชิกกันได้บ้าง ในเรื่องของ Target ในเรื่องของเป้าหมายต่าง ๆ ผมอยากที่จะให้ซอยย่อยลงไปเพิ่มเติมเลยว่า Target ในกลุ่มของแต่ละ Group เราจะทำ หน้าที่ในการที่จะหาสมาชิกในกลุ่มนั้นได้เท่าไร เพราะถ้าเราไม่มีการที่จะ Target แล้ว เราไม่มีเรื่องของเป้าหมายที่ชัดเจน อาจจะทำให้เราไม่มีโอกาสที่จะไปเจาะลึก แล้วก็ไปหา กลุ่มที่เราใช้เวลา พูดง่าย ๆ ว่าใช้ Time and Effort ให้ตรงกับจุดประสงค์ที่เราต้องการที่จะ เพิ่มสมาชิกได้จริง ๆ อันนี้ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่น่าจะต้องดำเนินการในลักษณะของ การดำเนินการในช่วงต่อ ๆ ไป

    อ่านในการประชุม

  • อีกอันหนึ่งก็คืออาจจะเป็นเรื่องของผลตอบแทน เข้าใจดีครับว่าในเรื่องของ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในปัจจุบันที่เราดูเรื่องของ Financial Environment การที่ได้ Return ประมาณเกือบ ๆ ๒ เปอร์เซ็นต์ก็ถือว่าเก่งแล้วนะครับ เพราะว่ามีหลาย ๆ ส่วนที่มี ความผันผวน มีความเสี่ยงมาก แต่ที่ผมเคยอภิปรายไว้ก่อนหน้านี้ก็คือว่าถ้าเราไม่ใช่ Expert ทางด้านการลงทุน เราสามารถที่จะไป Link ไปร่วมมือกับทางด้านกองทุนอื่น ๆ ได้หรือไม่ในการที่จะหา ความสัมพันธ์กันที่จะช่วยทำให้ผลตอบแทนมันดูดีแล้วทำให้สมาชิกสามารถที่จะมีความพอใจ แล้วก็เป็นปากเป็นเสียงให้กับคนอื่นด้วยซ้ำไป เราจะเห็นว่าในส่วนที่ผ่านมาหลายคน ตกเป็นเหยื่อของการที่มีการแชร์ลูกโซ่หรือว่าอะไรต่าง ๆ นั่นเป็นเพราะเขาพูดปากต่อปาก กันไป อันนี้ถ้าเราทำในลักษณะเดียวกันให้เรื่องของผลตอบแทนของเราสามารถที่จะให้คน พูดปากต่อปากกันว่ามาเป็นสมาชิกแล้วได้ผลตอบแทนที่ดี ก็จะทำให้สามารถที่จะมีสมาชิก ได้มากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน แล้วก็ด้วยเงินกองทุนที่ตอนนี้เรายังถือว่าไม่มากเราคงไม่สามารถ ที่มี Economy of Scale ได้แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ Portfolio ต่าง ๆ ที่เรา จะต้องมีการกระจายความเสี่ยงหรือว่า Diversify ไป

    อ่านในการประชุม

  • แล้วสุดท้าย ก็คงจะเป็นเรื่องของการที่เราอาจจะต้องทำให้สิ่งที่รัฐบาลเอง หรือว่านโยบายในส่วนของกองทุนการออมแห่งชาตินี้ก็คือว่าเราควรที่จะต้องทำให้เป็นส่วนที่ ประชาชนเขาพูดว่านี่คือการออมที่เป็นหลักเขาจริง ๆ ในการที่จะเกษียณสำหรับผู้ที่เป็น แรงงานนอกระบบ ซึ่งอย่างที่ผมเรียนว่าในจำนวนเกือบ ๒๐ ล้านคน ถ้าเราได้อย่างน้อย Target มาว่าแต่ละปีเราจะดึงคนจำนวนนี้ในกลุ่มเท่าไร มาอย่างไร ก็จะเป็นการทำงาน ที่ผมคิดว่าจะเป็นการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอบพระคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติครับ ท่านประธานครับ ผมได้มีโอกาสไปทำงานปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองที่ทำเนียบรัฐบาล แล้วก็ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ได้กรุณาให้กำกับดูแลหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการประสานงานของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งก็คือเรื่องการหารือของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในชุดที่แล้วนะครับ ซึ่งเอกสารที่ท่านสมาชิกได้ดำเนินการไม่ว่า จะเป็นด้วยลายลักษณ์อักษรหรือว่าการที่จะลุกขึ้นเพื่อหารือในที่ประชุมแห่งนี้ ผมอยากจะ กราบเรียนว่าทางรัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นผมถึงได้เข้าใจถึงความสำคัญ ของการปรึกษาหารือ เพราะบางครั้งแม้จะมีการหารือแค่เพียง ๒ นาที แต่ได้มีการพูดถึง เรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ของหลายหน่วยงานแล้วก็หลายกระทรวงด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งที่ สำคัญก็คืออยากที่จะให้ทุกท่านได้เข้าใจ แล้วก็ให้ท่านประธานได้ทราบถึงความสำคัญ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการผ่านมา ซึ่งผมคิดว่าในอนาคตก็จะเป็นเรื่องที่เช่นเดียวกันในการปฏิบัติ ถ้าเราจะมีการดำเนินการในการปรึกษาหารือ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะเสนอท่านประธาน ก็คือว่าอาจจะเป็นเรื่องของการดำเนินการที่ต้องมีความรวดเร็วในเรื่องของการที่จะเสนอ ไปทางรัฐบาลหรือหน่วยงาน เพราะบางครั้งการหารือของท่านสมาชิกที่ลุกขึ้นหารือ ในที่ประชุมแห่งนี้ปรากฏว่าเรื่องกว่าจะไปถึงรัฐบาลอาจจะทำให้เกิดความล่าช้าบ้างนะครับ เพราะฉะนั้นเรื่องของความเร่งด่วน เรื่องของความสำคัญในการที่หารืออาจจะไม่เหมือนกับ ที่ท่านสมาชิกได้ลุกขึ้นหารือในช่วงขณะนั้น ผมยกตัวอย่างเช่นเรื่องของปัญหาอาจจะมี อุทกภัยในพื้นที่ น้ำท่วม น้ำแล้ง แต่กว่าที่จะดำเนินการในเรื่องของเอกสารต่าง ๆ ก็คือว่า กว่าจะไปถึงหน่วยงานอาจจะผ่านไประยะหนึ่งแล้ว ซึ่งการแก้ปัญหาอาจจะไม่ได้เต็มที่ ก็ไม่ใช่แค่เพียงเรื่องของระยะเวลาในการที่หารือว่าจะเป็นกี่นาทีหรือว่าจำนวนกี่คนกี่ท่าน แต่ว่าในเรื่องของ Back Office ที่อาจจะต้องมีการปรึกษาหารือเพิ่มเติมทั้งในส่วนของ สภาผู้แทนราษฎรเอง แล้วก็ในส่วนของที่เกี่ยวข้องกับทางรัฐบาล เพื่อที่จะได้ร่นระยะเวลา ในการที่จะต้องทำเอกสารต่าง ๆ เพื่อที่จะตอบกลับมาให้กับทางด้านสมาชิกเพื่อให้สมาชิก ได้กลับไปแจ้งให้กับทางด้านพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อน ผมคิดว่าอันนี้ก็เป็นส่วนที่สำคัญ อีกส่วนหนึ่งที่เราคงจะต้องมามองด้วยนะครับ นอกเหนือจากการที่เราประชุมเพื่อหารือ ในสภาแห่งนี้แห่งเดียว แต่ว่าเรื่องอื่น ๆ ในเรื่องของเอกสารที่จะต้องดำเนินการไปที่ หน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวง ไม่ว่าจะเป็นที่ทำเนียบ ไปถึงท่านนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีแต่ละท่านด้วยครับ กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทย สร้างชาติ ในเบื้องต้นก็คงจะคล้ายกับที่ท่านสมาชิกได้กล่าวมาก่อนหน้านี้เรื่องของความเป็น ปัจจุบันเรื่องของการ Update ก็อยากจะเรียนท่านประธานว่าถ้าหากเป็นไปได้เมื่อมี การบรรจุเข้ามาแล้วถึงแม้ว่าจะเป็นการรับทราบรายงานเมื่อปี ๒๕๖๓ ถ้าหากหน่วยงาน ที่จะเข้ามารายงานสามารถที่จะรวมในส่วนของปี ๒๕๖๔ หรือถ้าหากเป็นไปได้ปี ๒๕๖๕ เข้ามาด้วยเลย ในวาระเดียวกันตรงนี้ผมคิดว่าเขาจะได้ประโยชน์ แล้วก็จะสามารถ ดำเนินการอย่างที่ท่านประธานได้กล่าวถึงในการที่จะเรียกว่า Clear ของเก่าที่อยู่ในคิวอยู่ ถ้าเป็นหน่วยงานเดียวกันสามารถเอาเข้ามาเลย ซึ่งผมก็เห็นมีอยู่ในส่วนของที่เราจะมี การอภิปรายกันพรุ่งนี้เรื่องของ กอช. ก็เห็นว่ามีการเข้ามามากกว่า ๑ ปี เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นไปได้ในส่วนตรงนี้ผมมั่นใจเหลือเกินว่าในส่วนของทางด้าน กสทช. คงมีปี ๒๕๖๔ อยู่ในมือแล้วด้วย และดีไม่ดีอาจจะมีปี ๒๕๖๕ ด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้อยากจะ ขออนุญาต ท่านประธานได้พิจารณาในอนาคตการบรรจุถ้านำปีต่อ ๆ มาที่เป็นปัจจุบัน ให้มากที่สุดเข้ามา ถึงแม้ว่าจะเข้ามาหลังก็ตาม แต่ว่าถ้าเป็นวาระเดียวกันก็เข้ามา พร้อมกันเลยครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องต่อมาครับ ท่านประธาน ผมอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านงบประมาณ เกี่ยวกับในส่วนของที่รายงานฉบับนี้โดยตรง แต่มันเป็นภารกิจที่ต้องเรียนว่าในส่วนของ กสทช. เองอาจจะมีเรื่องของงบประมาณ หรือการประสานงานที่ผมมีโอกาสได้ทราบข้อมูลมา แล้วก็ปัญหาและอุปสรรคในหน่วยงานของ กสทช. เลยอยากจะขออภิปรายเพื่อที่จะให้ หน่วยงานได้รับไปพิจารณาด้วยครับ ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก ก็คือเรื่องของการที่เกี่ยวข้องกับการที่ทาง กสทช. มีภารกิจ ในการที่จะกำกับดูแล ในการที่จะนำสายสื่อสารลงใต้ดิน เรื่องนี้ก็คล้าย ๆ กับที่การไฟฟ้า นครหลวงหรือว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะต้องนำสายไฟลงดิน แต่ว่าเท่าที่ผ่านมาจะเห็นว่า หลายหน่วยงานทั้งในส่วนของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือว่าในส่วนของ กสทช. เองก็อาจจะไม่ได้มีการพูดคุยกันอย่างเป็นรูปธรรมในการร่วมมือกันอย่างเต็มที่ นึกภาพสมัยก่อนครับท่านประธาน คงจำได้ว่าเราเคยมีการพูดกันว่าเวลามีถนนเส้นหนึ่ง หน่วยงานหนึ่งไม่อยากจะเอ่ยชื่อนะครับ มาขุด ขุดเสร็จแล้วก็ฝัง อีกหน่วยงานหนึ่งมาถึง ก็มาขุดใหม่แล้วก็ฝัง แล้วก็มีหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งหมดโดยไม่มีการพูดคุยกันว่าจะกลบจะฝังกัน เมื่อไร แล้วก็ทำทีเดียวพร้อมกันไปเลยนะครับ ในส่วนของคณะรัฐมนตรี ครม. เคยมีมติ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔ ให้ทางด้าน กสทช. ไปร่วมกับทางด้านการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมถึงบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ไปพูดคุย กับผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้วก็หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการที่จะจัดทำแผนบูรณาการ ในการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้า ต้องบอกว่าสายส่วนใหญ่เป็นสายไฟที่ทาง หน่วยงานเกี่ยวกับทางด้านประกอบกิจการโทรคมนาคมไปฝากเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นสาย เมื่อก่อนนี้ถ้าเป็น Analog ก็คือสายเคเบิลต่าง ๆ สายโทรศัพท์ แต่ในปัจจุบันก็คือพวก Fiber Optic อะไรต่าง ๆ ก็ไปอยู่บนเสานั้นทั้งหมดครับ อย่างไรก็ดีในปัจจุบันนี้เราจะเห็นว่า ผู้ประกอบการเองยังไม่ได้รับข้อมูลมาทั้งหมดจากหน่วยงานอื่น ๆ เพราะว่าเขาอยู่ภายใต้ กำกับของทางด้าน กสทช. นั่นหมายถึงว่าบริษัทเคเบิลอะไรต่าง ๆ ทั้งหมดนี้เขาก็จะประสาน ไปที่ กสทช. แต่ข้อมูลในเรื่องของการที่จะเกี่ยวข้องกับการนำสายไฟฟ้าลงดินข้อมูลไปไม่ถึงเขา เพราะฉะนั้นการดำเนินการในการที่จะวางแผนร่วมกันอย่างที่ผมเกริ่นในตอนต้นไม่ต้อง เอาออก เอาลง เอาออก เอาลง คนละทีกัน ทำทีเดียวให้พร้อมกันไปเลย เพราะเราทราบกันดี อยู่ว่าการที่จะนำสายไฟฟ้าลงดินก็คือการร้อยท่อลงใต้ดิน แล้วท่อตรงนี้ก็คือเข้าใจว่าเป็นของหน่วยงานที่เป็นคนดูแลในพื้นที่นั้น อย่างเช่นในส่วนของ กรุงเทพมหานครก็เป็นของ กทม. ในส่วนของต่างจังหวัดก็คงจะเป็นของเทศบาลเมือง เทศบาลนครอะไรต่าง ๆ เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมคิดว่าถ้าเป็นไปได้ในส่วนของ กสทช. ถ้าจะเป็นตัวกลางในการที่จะประสานงานกับทุกหน่วยงานในการที่จะดำเนินการให้มี การนำสายไม่ใช่เฉพาะสื่อสาร สายสื่อสารอย่างที่ผมบอกมันคนละส่วนกับสายไฟฟ้านะครับ เอาสายไฟฟ้าลงดินพร้อมกับสายสื่อสารทั้งหมดไปในคราวเดียวกันงบประมาณมันก็น้อยลง แล้วเรื่องของการที่ในอดีตที่ผ่านมาการที่เราจะไปเส้นไหนก่อน เส้นไหนหลัง มันมีเรื่องของ การจัดลำดับความสำคัญ จะได้ดำเนินการพร้อม ๆ กันไปในทีเดียวกัน ผมมีโอกาสได้ไป สอบถามหลาย ๆ ส่วนว่าเหตุใดทำไมบางเส้นมีการนำสายไฟฟ้าลงดินไปแล้วบางส่วน แต่ว่าเสาไฟฟ้าก็ยังมีอยู่ นั่นเหตุผลที่ได้ยินแล้วที่ได้รับคำตอบขึ้นมาก็คือว่า ผู้ประกอบการ ระบบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารก็คือเขาเพิ่งจะ Lay สายเคเบิลใหม่ ก็คือเพิ่งจะทำ Fiber Optic เส้นใหม่ไปพาดบนสายไฟฟ้าแนวนั้น แล้วการที่จะให้เขาเอาสายเคเบิลใยแก้ว Fiber Optic ลงใต้ดินอีกเขาต้องทำใหม่หมดเลยนะครับ เพราะฉะนั้นถามว่าแล้วทำไม ไม่คุยกันตั้งแต่แรก นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ผมได้รับคำตอบมาเหมือนกันว่าถ้าหากทางด้าน กสทช. มีโอกาสที่จะพูดคุยกับหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นเทศบาล ไม่ว่าจะเป็น กทม. หน่วยงาน การไฟฟ้านครหลวง หรือหน่วยงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคต่าง ๆ ก็จะทำให้งบประมาณ น้อยลงในการที่จะต้องจัดสรร ซึ่งมันก็เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของการที่จะต้องมารายงานในเรื่อง ของการที่จะมีงบประมาณประจำปีต่าง ๆ ด้วย

    อ่านในการประชุม

  • อีกส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นส่วนสำคัญนะครับ ก็คือปัจจุบันนี้ในส่วนของ กสทช. เองมีอำนาจในการที่จะเชิญหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามา ผมคิดว่าเรามาจัดสรรกันใหม่ ได้หรือไม่ ณ ตอนนี้เรื่องของแผนงานในการที่จะวางระบบสายไฟฟ้าลงดินเขาก็จะมี แผนงานของเขาแผนหนึ่ง อีกส่วนงานหนึ่งก็จะมีในส่วนของการที่นำสายเคเบิลต่าง ๆ ลงดิน ก็จะมีแผนอีกแห่งหนึ่ง เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเอา ๒ แผนนี้ ทั้งไฟฟ้า ทั้งสายสื่อสารมา Merge กัน มาบูรณาการกัน แล้วก็เป็นแผนแม่บทแผนเดียวเลย ผมเข้าใจว่าการไฟฟ้า ก็มีหน่วยงานที่ดำเนินการไปจนถึงปี ๒๕๗๐ ด้วยซ้ำไป กสทช. ก็มีอีกแผนหนึ่ง อยากให้ หน่วยงานนี้มารวมกัน มา Merge กัน แล้วก็ทำเป็นแผนแม่บทอันเดียวเลย แล้วจากนี้ไป ก็เดินหน้า บอกประชาชนเลยว่าปีนี้ ปีหน้า อีก ๒ ปี อีก ๓ ปี อีก ๕ ปี เรามีงบประมาณ จะทำเส้นไหน ทำอย่างไร แล้วก็ทำพร้อมไปเลยครับ ย้ำครับ สายไฟฟ้าแล้วก็สายเคเบิล สื่อสารทำพร้อมกันลงไป ลงใต้ดินไปพร้อม ๆ กัน จะได้ลดงบประมาณหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งไฟฟ้า แล้วก็สายสื่อสารด้วย ฝากท่านประธานในประเด็นนี้ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธานที่เคารพครับ ผม อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ต้องบอกว่าวันนี้ผมก็รู้สึกยินดีที่ทางด้าน กอช. มารายงานให้กับทางด้านสภาทราบ ซึ่งผมเอง ก็ได้รับทราบถึงแนวคิดการที่รัฐบาลตั้งแต่สมัยปี ๒๕๕๓ แล้วที่อยากให้ประชาชนมีเรื่องของ การออมในวัยเกษียณ ที่เป็นประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในระบบ ไม่ได้มีอาชีพที่เรียกว่า อยู่ในคล้าย ๆ บริษัท ห้างร้านอะไรต่าง ๆ แล้วก็ไม่ได้มีอะไรที่จะเป็นสวัสดิการให้เขาในเรื่อง ของการออมเลย ผมทราบเรื่องนี้ดีเพราะว่าผมมีโอกาสได้ทำหน้าที่เป็นกรรมาธิการวิสามัญ ในการพิจารณา พ.ร.บ. เรื่องของการออมแห่งชาติตั้งแต่สมัยปีนั้น แล้วก็ทราบดีว่ากว่าที่จะ มาถึงวันนี้ได้มีอุปสรรคมากมายเลย พ.ร.บ. ฉบับนี้ประกาศในราชจานุเบกษาให้มีการบังคับใช้ หรือว่ามีผลตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ ก็จริง แต่จากเหตุผลทางการเมืองหลาย ๆ ส่วนกองทุนนี้ ต้องเข้าไปแฝง เรียกว่าแฝงอยู่ในส่วนของสำนักงานประกันสังคมอยู่หลายปีเลยทีเดียว แล้วก็คลอดออกมาอีกครั้งหนึ่งในช่วงของรัฐบาลของท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เห็นความสำคัญเรื่องของการออมในครั้งนี้ เลยเป็นที่มาที่ไปว่ากองทุนการออมแห่งชาติ ได้กลับคืนชีพมาอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๕๘ รวมจนกระทั่งถึงวันนี้ก็คงจะมีระยะเวลาประมาณ เกือบ ๘ ปีแล้วที่ได้ดำเนินการมา ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องก็ทราบดีว่าอาจจะยังไม่ประสบ ความสำเร็จสักเท่าไร แล้วก็ในช่วงต้นปีที่ผ่านมานี้เองในปี ๒๕๖๖ ได้มีการปรับปรุงในเรื่อง ของร่างกฎกระทรวงเพื่อให้เกิดการสมทบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของระยะช่วงอายุ อะไรต่าง ๆ แล้วก็จะมีเงินที่จะสมทบให้เต็มที่เลยทุกช่วงอายุพร้อม ๆ กันในวงเงินไม่เกิน ๑,๘๐๐ บาท แล้วก็ในส่วนของ ๓๐,๐๐๐ บาทที่จะเป็นเงินที่จะสามารถออมอะไรต่าง ๆ ได้ทั้งหมดในระบบ อันนี้ก็ต้องบอกว่าเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะเป็นแรงจูงใจในการที่จะให้เกิด การออมมากขึ้น ซึ่ง ณ ปี ๒๕๖๕ จนถึงปี ๒๕๖๖ ผมทราบว่าสมาชิกตอนนี้ก็น่าที่จะเฉียด ๆ ใกล้กับ ๒,๖๐๐,๐๐๐ คนแล้ว แต่ถ้าถามผมว่าเมื่อกลับไปถึงปี ๒๕๕๓ ที่ผมได้เรียนท่านประธานว่าผมมีโอกาสได้เป็น กรรมาธิการในการที่คลอด พ.ร.บ. ฉบับตอนนี้ ผมคิดว่าผมอยากที่จะเห็นการที่สมาชิก มีมากกว่านี้อย่างแน่นอนนะครับ เพราะว่าจากตัวเลขนี่เรามองกันว่าตอนนี้มีกลุ่มแรงงาน นอกระบบประมาณกว่า ๑๙ ล้านคนเลยทีเดียว ทำอย่างไรที่เราจะนำตัวเลขตรงนี้ให้มาเป็น ในส่วนหนึ่งของสมาชิกได้ อันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายกับทางด้านผู้บริหารกองทุนเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นเรื่องของแนวทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแก้กฎกระทรวงก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ผมอยากที่จะให้ทางด้านกองทุนได้พิจารณาเพิ่มเติมไม่ใช่ให้หยุดแค่นี้ แต่ทำในเชิงรุก ด้วยการไป Survey ก็ดี การไปหาความคิดเห็นเพิ่มเติมว่าทำอย่างไรถึงจะทำให้กองทุนนี้ พูดง่าย ๆ ว่ามีเสน่ห์มากขึ้นในการที่จะชักจูงสมาชิกเข้ามาได้ อย่าเพียงแค่รอให้สมาชิก เข้ามาสมัคร แต่เราคงจะต้องเข้าไปเพื่อที่จะทำอย่างไรที่จะไปจูงใจเขามากขึ้น เพราะฉะนั้น ในเรื่องของยุทธศาสตร์การผลักดัน การสร้างสมาชิก การออม เป็นสิ่งที่อยากที่จะให้ลงไป เป็นในเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งก็มีโอกาสได้เห็นรายงานของท่านในปัจจุบัน ปี ๒๕๖๕ มีการสร้าง ภาคีเครือข่ายซึ่งผมเห็นด้วยเลยครับ ลงไปถึงเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ ไปหาเด็กนักเรียน มีการลงไปถึงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางด้านกระทรวง พม. ไปถึงเรื่องของกระทรวงยุติธรรม อะไรต่าง ๆ ทั้งหมด อันนี้เห็นด้วยในการที่จะเพิ่มสมาชิกต่าง ๆ แต่คงต้องมีเชิงรุกมากขึ้น กว่านี้ในการที่จะทำให้เป็นจุดที่น่าสนใจให้ประชาชนที่ผมเรียกว่าอย่างน้อยเราคิดว่า กว่า ๑๙ ล้านคนเข้ามามีเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น ในเรื่องของช่องทางด้วยในการที่จะทำให้ เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้วการตัดบัญชีการทำอะไรต่าง ๆ เอาให้ง่ายที่สุดไม่ให้เกิดปัญหา ในการที่พอมาแล้วก็รู้สึกว่าวุ่นวายหรือว่ายาก ณ วันนี้ผมทราบว่าไม่มีการเตือนสำหรับ คนที่เป็นสมาชิกว่าเดือนนี้ยังไม่ได้มีการส่งเงินเข้ามานะ ผ่านไปแล้วอีก ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือนก็ยังเงียบอยู่ อันนี้ผมคิดว่าถ้าเราทำแบบนี้เพราะว่าบางครั้งการออมเงินตรงนี้ คงจะต้องมีการกระตุ้นเตือนให้เขาอยู่อย่างสม่ำเสมอ

    อ่านในการประชุม

  • ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการที่เป็นยุทธศาสตร์การลงทุน ก็ต้องบอกว่าในภาวะปัจจุบันซึ่งที่ผ่านมามีผลตอบแทนการลงทุน เรียกว่าในช่วง COVID-19 ก็ดี ในช่วงที่มีเรียกว่าการพิพาทระหว่างประเทศมากมายเลย แล้วก็รวมถึงเรื่องของสาเหตุอื่น ๆ อีกมาก การที่ได้ผลตอบแทนการลงทุนประมาณ ๑.๘๕ เปอร์เซ็นต์ ผมคิดว่าก็พอรับได้ ดีกว่าในบางส่วน ที่ไปลงทุนแบบเรียกว่าเป็น Aggressive หรือว่าลงทุนแบบเสี่ยงมากเกินไป และทำให้เกิด ความเสียหาย อันนี้ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่กองทุนควรจะต้องดำเนินการ แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องของ การที่จะทำอย่างไรให้มีเสน่ห์อย่างที่ว่า ลองดูว่าเราจะทำอย่างไรคล้าย ๆ กับกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพในภาคเอกชน หรือว่า Provident Fund ที่เขาทำอยู่ลองดูว่าถ้าเกิด Matching ให้คล้าย ๆ กันทำให้มีความรู้สึกว่ากองทุนนี้เป็นเหมือนคล้าย ๆ กับอนาคตของเขาได้จริง ๆ ในการออมนะครับ ส่วนเรื่องของผลการตอบแทนควรจะต้องมี Benchmark ว่าเราบริหาร กองทุนแล้วมันดีกว่าการที่เราไปจ้างผู้จัดการกองทุนหรือไม่ อันนี้คงจะต้องมาดู เพราะว่า เราไม่ใช่เป็นมืออาชีพ ไม่ใช่เป็น Professional ในการที่จะมาดูเรื่องของการลงทุนทั้งหมด เรามาเป็น Professional ในเรื่องของการหาสมาชิกได้หรือไม่ ส่วนเรื่องอะไรที่เป็นอย่างอื่น เรา Outsource ได้ไหม แล้วก็ลดต้นทุนด้วยการที่ไปจ่าย Front-end Fee ให้กับทางด้าน Professional ที่เขาดูเรื่องของการลงทุนเป็นแสน ๆ ล้านแล้วจะดีกว่าในส่วนของตัวเรา เพราะว่าทุกคนก็ทราบดีอยู่ว่าถ้ามีในส่วนของ Portfolio ที่มากมันก็สามารถที่จะ Diversify หรือว่ากระจายการลงทุนไปได้ดีกว่านะครับ ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับทางด้านคณะผู้บริหาร ของกองทุนให้ดำเนินการในสิ่งดี ๆ เหล่านี้ต่อเนื่องต่อไป และผมเองที่ผ่านมาในฐานะโฆษก ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก็พยายามที่จะประชาสัมพันธ์ แต่รู้ครับว่ามันยาก แต่คงต้อง พยายามต่อไป เพราะว่าเป็นสิ่งที่ดีในเรื่องของการออมทุกท่านคงทราบดีครับ ขอบพระคุณ ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ผมมีโอกาสได้อ่านในส่วนของรายงานการเงินแผ่นดินที่วันนี้ได้มารายงานให้กับที่ประชุมสภา แห่งนี้ได้รับทราบ ไม่ได้มีข้อสังเกตหรือว่าข้อห่วงใยเป็นกรณีพิเศษ แต่อยากที่จะ Highlight สำคัญ ๆ ที่ผมคิดว่าอยากให้สมาชิกสภาแห่งนี้แล้วก็พี่น้องประชาชนได้มีโอกาสรับทราบ อย่างเช่นในเรื่องของผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ที่ผ่านมาก็มี การขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนก่อน ซึ่งถ้าเกิดเราดูในตอนปัจจุบัน ขออนุญาตที่จะเอา ตัวเลขที่เป็นปัจจุบันหน่อย เพราะว่าที่ส่งมาเป็นปี ๒๕๖๕ ซึ่งก็อาจจะไม่ Update เท่าไร แต่ถ้าเกิดเอาล่าสุดที่มาดูจะเห็นว่าผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง ๙ เดือนแรก ของปีงบประมาณ ๒๕๖๖ คือตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๕ จนถึงมิถุนายน ๒๕๖๖ พูดง่าย ๆ ว่าต่อจากรายงานของการเงินแผ่นดินฉบับนี้ เราก็ยังเห็นแนวโน้มหรือ Trend ที่ไปในทิศทางที่ดี แล้วก็สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณด้วยซ้ำไปถึง ๗.๕ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็สูงกว่ารายได้ในช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง ๕.๒ เปอร์เซ็นต์ อันนี้ก็เป็น ส่วนที่ต้องบอกว่าเป็นข่าวดี แล้วก็ต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่อาจจะทำให้หลาย ๆ คนที่ตั้งข้อสังเกต ในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันของท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะได้มี ความสบายใจในเรื่องของตัวเลขมากขึ้น นอกเหนือจากนั้นในเรื่องของรายได้ ถ้าเราย้อน กลับไป ดูจากรายงานการเงินแผ่นดิน ก็จะเห็นว่าส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มรายได้ที่มีสัมพันธ์ กับทางด้านเศรษฐกิจสูง นั่นหมายความว่า S Curve ต่าง ๆ เป้าหมายที่รัฐบาลได้ดำเนิน นโยบายมาเริ่มที่จะ Shift ไปแนวนั้นแล้วตามที่มี กลุ่มรายได้ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน แล้วก็ กลุ่มรายได้ที่มาจากการค้าระหว่างประเทศที่มีการขยายขึ้นจากปีก่อนก่อน แต่อย่างไรก็ดี การจัดเก็บรายได้ก็ยังคงต่ำกว่าก่อนที่จะเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างแน่นอน ซึ่งอันนี้ก็เป็น Trend หรือว่าเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นอยู่แล้วทั่วโลก

    อ่านในการประชุม

  • สำหรับวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ก็มี การปรับตัวลดลงเล็กน้อย แล้วก็มีการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายเพื่อที่จะชำระหนี้และภาระผูกพัน จากการดำเนินนโยบายในอดีตที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าในส่วนต่าง ๆ อันนี้อาจจะ ต้องพูดถึงเรื่องของก่อนหน้านี้ด้วยที่มีภาระผูกพันหนี้ต่าง ๆ มา รวมถึงรายจ่ายสวัสดิการ ในเรื่องของบุคลากรของรัฐด้วย สำหรับสิ่งที่สำคัญก็คือในเรื่องของระดับเงินคงคลัง เท่าที่ได้ อ่านดูก็คือว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน จากการเกินดุลเงินสดของภาคงบประมาณ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ในส่วนของเท่าที่ดูก็คือระดับคงคลังมีการปรับตัวสูง ๆ ขึ้นต่อเนื่อง จาก ณ สิ้นปีงบประมาณ ๒๕๖๒ นั่นหมายถึง ๔ ปีที่ผ่านมาระดับเงินคงคลังมีการเพิ่มมาก ขึ้นสูงขึ้นมาเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าเราจะมีสถานการณ์ COVID-19 ก็ดี แต่ตรงนี้ก็ยังสามารถที่จะ ดำเนินการทำให้ระดับเงินคงคลังสูงขึ้น สะท้อนถึงสภาพคล่องการเบิกจ่ายงบประมาณ ที่ยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้

    อ่านในการประชุม

  • ในส่วนที่ท่านสมาชิกได้พูดถึงเรื่องของระดับหนี้สาธารณะ ซึ่งถ้าดูที่ สิ้นปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ก็จะเห็นว่าอยู่ที่ ๖๐.๔ เปอร์เซ็นต์ต่อ GDP ซึ่งตรงนี้ก็ต้องบอกว่า เพิ่มขึ้นมาจากการดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวในช่วงวิกฤติ COVID-19 แล้วถ้าเกิด เราพูดถึงเรื่องของนี้สัดส่วนสาธารณะต่อ GDP เอา Update กว่านั้นอีกนิดหนึ่ง มาอยู่ที่ สิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ก็จะปรับขึ้นมาเล็กน้อยอยู่ที่ ๖๑.๓ เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้ก็ยังอยู่ ในกรอบที่คณะกรรมการกำหนดไว้ไม่เกิน ๗๐ เปอร์เซ็นต์ สำหรับสัดส่วนภาระหนี้ ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ กรอบที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ไม่เกิน ๓๕ เปอร์เซ็นต์ แต่ปรากฏว่าสัดส่วนหนี้ที่เกิดขึ้นจริงอยู่ที่ ๓๐.๙๑ เปอร์เซ็นต์ ถ้าเรา ไปดูสัดส่วนอื่น เช่นสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด จะเห็นว่ากรอบที่คณะกรรมการกำหนดไว้ไม่เกิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขสัดส่วนหนี้ที่เกิดขึ้น จริงอยู่เพียงแค่ ๑.๖๓ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อีกส่วนหนึ่งก็คือสัดส่วนภาระหนี้สาธารณะที่เป็น เงินตราต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ กรอบที่คณะกรรมการ กำหนดให้ไว้ไม่เกิน ๕ เปอร์เซ็นต์ สัดส่วนที่เกิดขึ้นจริงอยู่เพียงแค่ ๐.๐๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นต้องเรียน ท่านประธานอย่างนี้ครับว่าในภาวะปกติรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ เพื่อนำไปใช้ในการลงทุน โดยกว่า ๗๕ เปอร์เซ็นต์ของเงินกู้เป็นการกู้เพื่อโครงการดำเนินการ โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของคมนาคมขนส่ง พลังงาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ การศึกษา และที่อยู่อาศัย โดยเรื่องของหนี้สาธารณะก็ยังอยู่ ในส่วนที่รับได้ ซึ่งที่ผ่านมาก็ต้องเรียนว่ารัฐบาลของท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถที่จะบริหารหนี้สาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีต้นทุนที่เหมาะสม แล้วก็ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อีกทั้งหนี้กว่า ๙๘ เปอร์เซ็นต์ อันนี้สำคัญมากครับท่านประธาน เป็นหนี้เงินสกุลบาท จึงช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ นอกจากนี้รัฐบาลก็ได้มี การชำระเงินเป็นหนี้ก่อนครบกำหนด ซึ่งทำให้เรื่องของดอกเบี้ยอะไรต่าง ๆ แล้วก็ต้นทุน ต่าง ๆ สามารถที่จะดำเนินการได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญครับท่านประธาน ก็คือในส่วนของ ทางด้าน Fitch Ratings ซึ่งก็เป็นบริษัทที่จัดอันดับความน่าเชื่อถือ ล่าสุดเมื่อประมาณ กลางเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาก็ให้ Credit Rating ที่ Triple B Plus หรือว่า BBB+ ซึ่งเป็น Rate ค่อนข้างที่จะดี แล้วก็ที่สำคัญก็คือมีการพูดถึงว่าภาคการคลังสาธารณะ หรือว่า Public Finance คาดการณ์ว่าการขาดดุลการคลังของไทยจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการขาดดุลที่ลดลงก็สะท้อนถึงรายได้ที่เป็นภาษีที่เก็บมากขึ้น แล้วการสิ้นสุดของมาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 เรื่องของภาคการเงินต่างประเทศเองก็ยังคง แข็งแกร่ง เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและสถานการณ์น้ำมันที่คลี่คลายลงไป นอกเหนือจากนั้นทาง Fitch Ratings เองก็ยังบอกว่าปัจจัยที่สำคัญที่มีการอาจจะปรับเพิ่ม อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศได้ก็คือการลดลงของสัดส่วนหนี้ต่อภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้อง กับ GDP อันนี้เป็นส่วนที่ Fitch Ratings ได้กล่าวถึง เพราะฉะนั้นอยากจะเรียนท่านประธาน ในขั้นสุดท้ายก่อนสรุปนี้ก็คือว่าที่ผ่านมารัฐบาลของท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ใช้ นโยบายการคลังและงบประมาณเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน แล้วก็ภาค ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 แล้วก็ในเรื่องของ ความขัดแย้งในภูมิรัฐศาสตร์ในโลกนี้ ขณะที่การก่อหนี้กว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ก็ยังเป็นหนี้ เพื่อการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อการเติบโต อย่างยั่งยืน ซึ่งบางประเทศเองตอนนี้ก็ยังนำแนวทางของประเทศไทยไปดำเนินการ เป็น Model ในการพัฒนาประเทศของเขาด้วย อันนี้เป็นสิ่งที่อยากจะ Highlight ให้ทางด้าน สภาผู้แทนราษฎรและพี่น้องประชาชนได้รับทราบครับ ขอบคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ วันนี้ก็เป็นการรับทราบรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องของแผนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งก็ต้องบอกว่าเป็นครั้งสุดท้าย ครั้งนี้เป็นการรายงานครั้งสุดท้ายเพราะว่าตามแผนปฏิรูป ประเทศมีกรอบระยะเวลาสิ้นสุดเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ซึ่งจากการดำเนินการปฏิรูปประเทศในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมาก็ก่อให้เกิดการที่เรียกว่าบรรลุผล การปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ไว้ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณในส่วนของ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้ดำเนินการอย่างเข้มแข็ง ซึ่งแผนการปฏิรูปประเทศนี้ก็ประกอบไปด้วยแผนการปฏิรูป ทั้ง ๑๓ ด้าน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทำให้ทางด้านหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบ ในการดำเนินการในการสร้างรากฐานของประเทศในช่วง ๕ ปีแรกของยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเดี๋ยววันนี้ต่อไปเราก็คงจะได้มีการพูดถึงนะครับ แต่นี่คือในเรื่องของการที่จะให้เป็นกรอบ ในการที่จะให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งปรับเปลี่ยน ยกเลิก กระบวนการ กลไก หรือระเบียบต่าง ๆ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งในเบื้องต้น ผมต้องเรียนอย่างนี้ครับท่านประธาน ประเทศไทยมีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ หรือว่า พ.ร.บ. ราว ๑,๔๐๐ ฉบับเลยทีเดียว แล้วก็เป็นกฎหมายรองอีกกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ฉบับ เพราะฉะนั้นการปฏิรูปประเทศตามแผนดำเนินงานในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมาถือเป็น การปลดล็อกพันธนาการจากกฎหมายที่ล้าสมัย แล้วก็เป็นการเร่งขับเคลื่อนประเทศ จึงได้มีการเรียกว่าเป็น Guillotine กฎหมายที่ไม่จำเป็น แล้วก็ทบทวน แก้ไข ปลดล็อก กว่า ๑,๐๙๔ กระบวนการของภาครัฐ อันนี้คร่าว ๆ นะครับ นำมาสู่การลดขั้นตอน ลดภาระ ประชาชน ผู้ประกอบการ มีการลดค่าใช้จ่าย แล้วก็มีการประเมินนะครับว่าต้นทุนลดลง ในภาคการผลิตได้กว่า ๑๓๓,๐๐๐ กว่าล้านบาทต่อปี คิดเป็น GDP ได้กว่า ๐.๘ เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว

    อ่านในการประชุม

  • คราวนี้ในส่วนของรัฐบาลของท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผมอยากจะ เรียนว่าท่านให้ความสำคัญแล้วก็ติดตามผลงานการปฏิรูปในเรื่องของกฎหมายนี้อย่างจริงจัง ซึ่งในส่วนที่ผ่านมาก็จะมี ๖ กฎหมายที่สำคัญ ๆ ที่ผมอยากจะมา Highlight ว่าการปฏิรูป กฎหมายนี้มีความสำเร็จไปในขั้นต้นอย่างไรบ้าง

    อ่านในการประชุม

  • อย่างแรกครับ ก็เป็นเรื่องของ พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณา อนุญาตของทางราชการ ซึ่งแน่นอนครับตรงนี้เป้าหมายก็เพื่อให้ประชาชนมีความสะดวก มีความประหยัด แล้วก็ลดขั้นตอนความวุ่นวายโดยไม่จำเป็น พร้อมปิดช่องทางทุจริต ในการรับสินบนใต้โต๊ะ การที่ทุกหน่วยงานนำกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้มาอนุมัติ อนุญาตตามกฎหมายก็จะมาเปิดเผย แล้วก็กำหนดระยะเวลาการทำงานแต่ละขั้นตอน อย่างชัดเจน แล้วก็เป็นพื้นฐานสำคัญในการที่จะส่งผลให้ความยุ่งยากในการประกอบธุรกิจ ของประเทศไทยสามารถที่จะปรับตัวได้ดีขึ้น ที่ผ่านมาด้วยเหตุผลตรงนี้มีการจัดอันดับที่ดีขึ้น ถึง ๗ อันดับเลยหลังจากออกกฎหมายฉบับนี้ไป โดยกฎหมายก็อำนวยความสะดวก เป็นการลดทุจริตคอร์รัปชัน เพิ่มความโปร่งใสให้กับประชาชนในการที่ได้รับการบริการ แล้วก็เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของระบบราชการ

    อ่านในการประชุม

  • กฎหมายฉบับที่ ๒ คือ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งก็มีเป้าหมายเพื่อที่จะปรับโครงสร้าง ปรับปรุงวิธีการทำงานของภาครัฐ ด้วยการตรากฎหมายกลางเพียงฉบับเดียวอย่างที่ผมเกริ่นในเบื้องต้นว่ามันมีกฎหมาย ที่ซ้ำซ้อนกันมากมาย ก็เพื่อรองรับความชอบด้วยกฎหมายของการปฏิบัติราชการ แล้วก็ อนุมัติอนุญาตของภาครัฐตามกฎหมายทุกฉบับที่เคยมีการดำเนินการแล้ว

    อ่านในการประชุม

  • ในส่วนที่ ๓ ครับ ก็คือในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางด้านกฎหมาย พ.ร.บ. ว่าด้วย การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเดิมเวลาติดต่อราชการนี่ประชาชนเจ้าตัวต้องไป ปรากฏตัวพร้อมบัตรประชาชน แต่เวลานี้ติดต่อราชการทุกแห่งสามารถทำด้วย Online ได้ เจ้าตัวไม่ต้องไปปรากฏตัวก็ทำได้ ยกเว้นอย่างเช่นนะครับ จดทะเบียนสมรส หย่า แจ้งรับ บุตรบุญธรรม การทำบัตรประชาชน และทำ Passport อย่างนี้ยังคงต้องไปปรากฏตัวอยู่

    อ่านในการประชุม

  • ฉบับที่ ๔ ที่อยากจะ Highlight คือ พ.ร.ก. แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ซึ่งตรงนี้ต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่มีการปฏิรูป อย่างจริงจังเลย แล้วก็เป็นผลประโยชน์กับพี่น้องประชาชนอย่างมาก มีการคิดดอกเบี้ยใหม่ อะไรที่ไม่เป็นธรรมมีการปรับเปลี่ยน ถือเป็นการปฏิวัติดอกเบี้ยที่ไม่ได้เรียกว่าแก้ไขมา เป็นหลักเกือบร้อยปีเลยก็ว่าได้ แล้วก็เป็นการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของการคิดดอกเบี้ย ในประเทศไทย เป็นการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง แล้วก็ให้กับประชาชนเต็ม ๆ เลย แล้วผู้ประกอบการทั่วประเทศก็สามารถที่จะปรับตัวให้เกิดความเป็นธรรม ในรายละเอียด ผมคงไม่ไปลงลึกนะครับ คงจะมีเรื่องของการลดดอกเบี้ยต่าง ๆ เรื่องของการผิดนัดชำระหนี้ควรจะต้องเสียดอกเบี้ยเท่าไร ในการคำนวณคิดดอกเบี้ย ผิดนัดชำระจะต้องคิดอย่างไร ไปลดต้นก่อน ไม่ใช่เอาไปหักดอกอะไรต่าง ๆ เหล่านั้น

    อ่านในการประชุม

  • ฉบับที่ ๕ เป็นเรื่องของพระราชบัญญัติในเรื่องของการปรับเป็นพินัย อันนี้เป็นเรื่องสำคัญอีกเช่นเดียวกันครับ คือคุกไม่ได้มีไว้ขังคนจน เพราะฉะนั้นคุกมีไว้ขัง สำหรับคนกระทำความผิด เพราะฉะนั้นการกำหนดให้โทษอาญาเพียงเท่าที่จำเป็น โทษปรับ อาญาสำหรับความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ร้ายแรงจะถูกแปลงให้เป็นโทษปรับเป็นพินัย อันนี้เป็นคำใหม่ที่อยากให้ประชาชนได้เข้าใจคำว่า เป็นพินัย ก็คืออาจจะทำงานให้กับสังคม แทนการรับโทษทางอาญา แล้วก็จะไม่มีการบันทึกประวัติอาชญากรรมไว้ในประวัติ อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูป

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายครับเป็นเรื่องของ พ.ร.บ. กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือเรียกว่า กยศ. อันนี้ก็สามารถที่จะช่วยเด็กไทยยากไร้กว่า ๖ ล้านคนให้ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา อัตราดอกเบี้ยผิดนัด การขยายระยะเวลาต่าง ๆ รวมถึงยกเลิกไม่ให้มีผู้ค้ำประกัน ทั้งหมดนี้ก็คือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปที่ทางคณะ ในส่วนของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ไปดำเนินการมา แล้วก็ เสนอมาดำเนินการทั้งหมดนะครับ ซึ่งก็ต้องบอกว่าสุดท้ายแล้วทั้งหมดนี้ทั้ง ๖ ฉบับ ที่ผมยกตัวอย่าง อีกนิดเดียวครับท่านประธาน ต้องบอกว่าเป็นเรื่องของปัญหาโครงสร้าง ที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน แต่มาสำเร็จแล้วก็มาเป็นประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชน ได้หลังจากที่ได้มีการดำเนินการอย่างจริงจังในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย อำนวยความสะดวกในการอนุญาตทางราชการที่เปิดเผยขั้นตอนระยะเวลาต่าง ๆ การลด ภาระพี่น้องประชาชนอะไรต่าง ๆ ทั้งหมด ซึ่งก็ต้องบอกว่าการดำเนินการในลักษณะแบบนี้ ก็เป็นผลงานของทางด้านคณะที่ได้ดำเนินการปฏิรูปประเทศ แล้วก็ต้องขอขอบคุณที่ทาง คณะกรรมการชุดนี้ได้ดำเนินงานในส่วนของการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะในส่วนของ กฎหมายที่ผมได้กล่าวเมื่อสักครู่นี้ทั้ง ๖ ฉบับเป็นต้น แล้วก็ขอให้ดำเนินการในลักษณะเช่นนี้ ต่อเนื่องต่อไป ไม่แน่ใจว่าหลังจากที่จบในระยะเวลาตรงนี้แล้วเราอาจจะต้องมาพิจารณากัน ต่อไปในสภาหลังจากที่มีรัฐบาลในชุดต่อไปด้วยครับท่านประธาน ขอบพระคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ วันนี้เป็นการรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติประจำปี ๒๕๖๕ แต่อย่างไรก็ตามครับ เรียกว่าครั้งแรกในการที่จะได้อภิปรายในเรื่องของยุทธศาสตร์ชาติ ในสภาแห่งนี้ ต้องบอกว่าตลอดระยะเวลากว่า ๕ ปีที่ผ่านมาได้ยินได้ฟังหลาย ๆ ส่วน ได้พูดถึงยุทธศาสตร์ชาติ ก็อาจจะมีความเข้าใจผิดในหลายส่วน เพราะฉะนั้นวันนี้ผมคงไม่ลงรายละเอียดในส่วนของปี ๒๕๖๕ โดยเฉพาะ แต่ขออนุญาต ที่จะพูดถึงหรืออภิปรายเกี่ยวกับภาพรวมของยุทธศาสตร์ชาติเลย ขออนุญาตที่จะได้ใช้ Slide ด้วยนะครับ

    อ่านในการประชุม

  • ต้องเรียนอย่างนี้ครับท่านประธาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาตินั้น ทุกประเทศเป็นสากล ควรที่จะต้องมีวิสัยทัศน์ มี Vision เป็นสิ่งที่ดำเนินการมาไม่ว่าจะเป็นที่ทวีปใดก็แล้วแต่ หรือว่าเพื่อนบ้านเราเอง ก็ตาม เขามีทั้งหมดนะครับ แล้วเขาก็พูดถึงว่า Vision 20 อะไรก็แล้วแต่ในปี ค.ศ. ของเขา ของเราก็มียุทธศาสตร์ชาติที่พูดกันติดปากว่ายุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ซึ่งก็คือตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ จนถึงปี ๒๕๘๐ ซึ่งตรงนี้ก็อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ว่ายุทธศาสตร์ชาติจริง ๆ แล้ว มันเป็นการล็อกหรือเปล่า มันเป็นการผูกมัดหรือเปล่า มันเป็นการ Fix หรือเปล่า มันเป็นการเกิดขึ้นจากคนที่คิดในปัจจุบันตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ แล้วจะไปคิดวาดฝันอะไรในอนาคต ได้อย่างไร ในเมื่อโลกมีการหมุนเปลี่ยนไปด้วยความรวดเร็ว ก็ต้องเรียนอย่างนี้ว่าทุกอย่าง มันจะมีเรื่องของการที่นำยุทธศาสตร์ชาติมาเป็นกรอบเท่านั้นเอง ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่เคยมีแผนระดับที่ ๑ ที่เราเรียกตอนนี้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ชาติ เราจะมีแค่ แผนระดับที่ ๒ ท่านเลขาธิการสภาพัฒน์วันนี้มาอยู่ก็คงจะได้ยินมาตลอดว่าเราใช้แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่เท่าไร ๆ จนกระทั่งตอนนี้มาอยู่ในฉบับที่ ๑๓ แล้ว หมุดหมายต่าง ๆ เราว่ากันไป แต่ว่าบางครั้งมันยังไม่เห็นภาพชัด เพราะฉะนั้นเราจึงเห็น ในระดับที่ ๑ เป็นยุทธศาสตร์ชาติวางเอาไว้ถึงปี ๒๕๘๐ ในระดับที่ ๒ ก็จะมีในเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติต่าง ๆ ก็ว่ากันไปในแต่ละเรื่อง เมื่อสักครู่นี้เราใช้เวลากว่า ๖-๗ ชั่วโมงพูดถึงเรื่องของแผนการปฏิรูปประเทศ อันนั้น แค่ ๕ ปีเท่านั้นเอง เป็นห้วงแรกของการที่จะเหมือนกับให้มีการตั้งไข่ว่าจะเริ่มอย่างไรดี ในการที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบของประเทศไทยเรา แล้วถึงจะมาในส่วนของ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ว่าไว้ แล้วก็จะมีนโยบายแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคงอื่น ๆ อีก จะเห็นว่าในส่วนสำคัญ ๆ ต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ในกรอบของ ยุทธศาสตร์ชาติที่อย่างน้อยเราเห็นภาพชัดแล้วว่าทุกคนจะต้องดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน ก็จะใช้ตรงนี้เป็นเข็มทิศในการที่จะนำทางว่าเราจะไปในทิศทางไหน หลังจากนั้นก็จะมีแผนปฏิบัติการในระดับที่ ๓ ขอ Slide เมื่อสักครู่นี้อีกอันหนึ่ง ก็คือเป็นแผนปฏิบัติการด้านต่าง ๆ นะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแผนปฏิบัติการราชการ ราย ๕ ปี แล้วก็แผนอื่น ๆ เพราะฉะนั้นในส่วนของยุทธศาสตร์ชาติ เราเพิ่งจะผ่านช่วงแรกไป เท่านั้นเอง ฉบับแรกที่เราใช้กันหรือว่าในห้วงแรกก็คือช่วงปี ๒๕๖๑ จนถึงปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา เป็นช่วง ๕ ปี แล้วจากนี้ไปเขาก็มีการปรับเปลี่ยนไปในห้วงที่ ๒ ก็คือ ๕ ปีจากนี้ไป จนถึงปี ๒๕๗๐ ต้องเรียนอย่างนี้ครับท่านประธานในช่วง COVID-19 เรามีสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เราต้องปรับเปลี่ยน ยุทธศาสตร์ชาติก็มีการปรับเปลี่ยนครับ ปรับเปลี่ยน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงนั้น มีการพูดถึงเรื่องการล้มแล้วลุกให้ไว้ การที่จะทำ อย่างไรที่เราเมื่อมีปัญหาในสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 แล้วเราควรจะต้องปรับตัว อย่างไรควรมี New Normal เราคงได้ยินอย่างนี้ นี่คือยุทธศาสตร์ชาติที่สามารถปรับเปลี่ยน ได้ตามสถานการณ์ ในช่วง COVID-19 ก็มีปรับเปลี่ยน ถ้าผมจำไม่ผิดมีการปรับเปลี่ยน ๒-๓ ครั้งเลยทีเดียวในช่วงระยะเวลา ๕ ปีที่ผ่านมา คราวนี้มา Slide ต่อไป ถ้าถามว่า แล้วยุทธศาสตร์ชาติจริง ๆ มันคืออะไร มันง่าย ๆ แค่นี้ครับ ท่านประธานครับ ประเทศ ในอนาคต ในปี ๒๕๘๐ เราจะต้องเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มีความมั่งคั่ง แล้วก็ยั่งยืน และประเทศจะต้องเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาและเศรษฐกิจ พอเพียง ซึ่งตอนนี้ต้องบอกว่าทั่วโลกให้การยอมรับในเรื่องของ Sufficient Economy หรือว่าเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแน่นอนแล้ว แล้วเป้าหมายของเราคืออะไร เป้าหมาย ในส่วนของหลังจากที่เรามีวิสัยทัศน์แล้ว Slide ต่อไปก็คือประเทศมั่นคง ประชาชน มีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืน แล้วทำอย่างไรก็คือการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาในทุกมิติ ในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาค ทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชน และประโยชน์ส่วนรวม นี่คือสิ่งที่เรามีวิสัยทัศน์และเป้าหมายคราวนี้ เพื่อที่จะไปในส่วนของเป้าหมายก็มีการวางยุทธศาสตร์ทั้ง ๖ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เรื่องของการพัฒนา เสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ภาครัฐ การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม และสุดท้ายเรื่องของความมั่นคง จะเห็นว่าทั้ง ๖ ด้านทั้งหมด เป็นสิ่งที่ ณ ปัจจุบันมีความสำคัญทั้งนั้น แล้วในอนาคตในปี ๒๕๘๐ ผมมั่นใจเหลือเกินว่า ทั้ง ๖ ด้านนี้ก็ยังมีความสำคัญ เพราะฉะนั้นเราจะเริ่มเห็นเข็มทิศที่ชัดเจนแล้วว่าเราควร ที่จะต้องมีการดูในการที่จะเดินหน้าไปอย่างไร ทั้งในส่วนของภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนด้วย

    อ่านในการประชุม

  • คราวนี้เราลงมาในแต่ละส่วน ในเรื่องของยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ก็จะเป็นในเรื่องของการที่จะจัดสภาวะแวดล้อมของประเทศต่าง ๆ ให้เกิดความสงบ เรียบร้อย ทางด้านการสร้างขีดความสามารถอันนี้มีหลายส่วนเลยนะครับ มีเรื่องของ IMD เขาออกอะไรออกมา ซึ่งเราก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการยกระดับศักยภาพของประเทศเรา ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ อันนี้คงไม่ต้องพูดกันมากนะครับ อันนี้ก็คือเป็นสิ่งที่เราต้องพัฒนาในเรื่องของบุคลากรของเรานะครับ

    อ่านในการประชุม

  • Slide ต่อไปนะครับ เรื่องของการพัฒนาและการเสริมสร้างทรัพยากร ของมนุษย์ และต่อมานะครับ Slide ต่อไปก็คือเรื่องของการที่จะต้องดูแลการเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันนี้ก็สำคัญอีกเช่นเดียวกันเราเห็นเรื่องของ การที่มีการประชุมในระดับนานาชาติที่เขาเรียกกันว่า COP ต่าง ๆ ตอนนี้มี COP26 COP27 COP28 อะไรมาก็มีการพูดถึงเรื่องของการปล่อย Gas Emissions ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอน แล้วก็เรื่องของการปรับสมดุลการพัฒนาระบบ การบริหารจัดการภาครัฐ เมื่อเช้านี้เราก็มีการพูดคุยกันเรื่องของการปฏิรูปก็พูดเรื่องนี้ กันเยอะนะครับ ห้องโสตไป Slide ต่อไปเลยนะครับ เรื่องของการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต่อไปเลยครับ แล้วก็เรื่องของการที่จะมีการบริหารจัดการภาครัฐ

    อ่านในการประชุม

  • แล้วก็สุดท้ายครับ เรื่องของการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม อันนี้ก็แน่นอนเรื่องของการที่จะลดความเหลื่อมล้ำต่าง ๆ ในทุกมิติ การกระจายความเจริญ ทางเศรษฐกิจและสังคม แล้วก็เพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่มาเป็นกำลังการพัฒนาประเทศ ในทุกระดับ ต้องบอกว่านี่คือสิ่งที่เป็นเหมือนกับเข็มทิศในแต่ละด้านของการที่จะพัฒนา ส่วนเรื่องของรายละเอียดในการที่ทางด้านคณะกรรมการจะดำเนินการก็มีง่าย ๆ ครับ ใครที่จบทางด้านวิศวกรรมมาก็คงจะเคยได้ยินมาตลอดนะครับ เรื่องของ PDCA Plan Do Check Action Plan คือวางแผน วางแผนแล้วก็ไปปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วก็มาตรวจสอบ ตรวจสอบแล้วก็กลับไปปรับปรุง มันก็จะเป็น Cycle เป็น Circle แบบนี้ เพราะฉะนั้น อยากจะเรียนท่านประธานอย่างนี้ครับว่าในส่วนของการที่เรามียุทธศาสตร์ชาติ ไม่ได้เป็นการ ล็อกไม่ได้เป็นการ Fix ไม่ได้เป็นการผูกมัดเลย แต่มันเป็นเข็มทิศที่อย่างน้อยเราจะมีวิสัยทัศน์ ที่ชัดเจน แล้วอยากจะเรียนอย่างนี้ครับท่านประธานว่าตลอด ๕ ปีที่ผ่านมา เราก็มาถูกทางครับ เพราะว่ารายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือที่เราเรียกกันว่า SDG Index นี่ มีเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่เรียกว่าเป็น Sustainable Development Solution Network เขาเผยแพร่รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน เขาบอกว่าประเทศไทย ทำได้ดีมาก ตอนนี้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ ๔๓ ของโลก แล้วถ้าเกิดสมมุติว่าเรามาดู ใน Asia เราก็อยู่ในลำดับที่ ๓ รองจากญี่ปุ่น แล้วก็เกาหลีใต้ และถ้าเรามาดูใน ASEAN ต้องบอกว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับ ๑ ของ ASEAN มา ๕ ปีติดต่อกันแล้วครับ ในเรื่องของ การที่เราพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สำคัญอย่างยิ่ง

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายครับ ก็อยากจะเรียนว่าการที่เราจะต้องเดินหน้าไปเพื่อการพัฒนา ประเทศของเรา โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ต้องบอกว่ารัฐบาลโดยท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เน้นในเรื่องของการพัฒนาอย่างสมดุลให้เหมาะสม แล้วก็มุ่งหวังว่าการพัฒนาที่ยั่งยืน แบบนี้ที่ผมได้กล่าวถึงก็จะได้ร่วมกับทุกภาคส่วนในการที่จะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ในทุก ๆ ด้านที่ผมได้กล่าวมาแล้ว เพื่อให้ดำเนินนโยบายในทุกระดับ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและนำไปสู่การพัฒนา ที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ วันนี้เป็นการที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สกพอ. มารายงานประจำปี ๒๕๖๕ ให้สภาได้รับทราบ ผมคงไม่ได้มีข้อสังเกตหรือว่ารายละเอียด ที่จะต้องลงไปเฉพาะในปี ๒๕๖๕ นะครับ แต่ที่อภิปรายก็อยากจะเน้นย้ำถึงความสำคัญ ในการที่เชื่อมโยงมา สัปดาห์ที่แล้วผมพูดถึงเรื่องของยุทธศาสตร์ชาติซึ่งก็เป็นแผนในระดับที่ ๑ เรื่องของความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของอนาคตไทย ในปี ๒๕๘๐ ต่อลงมาในเรื่องของ แผนในระดับที่ ๒ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยสภาพัฒน์ซึ่งตอนนี้เราใช้อยู่เป็นฉบับที่ ๑๓ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมอยากจะนำเสนอ แล้วก็ให้ที่ประชุมแห่งนี้ได้รับทราบรวมถึงพี่น้องประชาชนก็คือ แนวคิดในการดำเนินงาน ของ EEC มาจากแผนระดับที่ ๑ ยุทธศาสตร์ชาติ มาสู่ในเรื่องของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ แล้วมาถึงแนวทางที่จะทำอย่างไรที่เราจะไปถึงยุทธศาสตร์ตรงนั้น เพราะฉะนั้นขอ Slide นิดหนึ่งเลยครับ

    อ่านในการประชุม

  • สิ่งแรกที่ผมอยากจะให้ทุกท่าน ทั้งในที่ประชุมแห่งนี้ แล้วก็ด้านนอกที่ประชุมประชาชนทั่วไปได้เห็นแนวคิดที่สำคัญ ของรัฐบาลที่ผ่านมาในช่วงของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ EEC เราทราบกันดีอยู่ว่า เรามีการดำเนินการในพื้นที่ ๓ จังหวัดก็คือ ระยอง ชลบุรี แล้วก็ฉะเชิงเทรา ที่เราเรียกกันว่า EEC Eastern Economic Corridor แต่ว่าเขตเศรษฐกิจเหล่านี้มีการแบ่งออกไปอีกมากมายเลย เป็น ๗ พื้นที่ ที่อยากนำเสนอคือ

    อ่านในการประชุม

  • Slide EECh เมื่อสักครู่นี้เป็นเขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูงเชื่อม ๓ สนามบิน ตามที่เราทราบอยู่ก็คือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ ไปที่อู่ตะเภา

    อ่านในการประชุม

  • Slide ต่อไปก็คือ EECd ยังมีตัว d ต่อด้วย เป็นเขตส่งเสริมอุตสาหกรรม และนวัตกรรมดิจิทัล d ก็คือ Digital เพื่อที่จะขับเคลื่อนประเทศ ให้เป็น Digital Innovation Hub ของ ASEAN ไม่ใช่ของทางด้าน Southeast Asia อย่างเดียว

    อ่านในการประชุม

  • Slide ต่อไป เรายังมี EECmd ด้วย เป็นเขตส่งเสริมนวัตกรรมการแพทย์ ครบวงจรตอนนี้อยู่ที่พัทยา ตรงนี้ก็จะยกระดับความมั่นคงทางด้านสุขภาพ แล้วก็รองรับ สังคมผู้สูงอายุที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในประเทศไทย ซึ่งตรงนี้ต้องบอกว่าคำว่า md นี่ก็คือ Medical ที่เราจะมีอยู่ใน EEC

    อ่านในการประชุม

  • Slide ต่อไป ก็คือเรื่องของ EECi อันนี้สำคัญมากเป็นเรื่องของการที่จะส่งเสริม นวัตกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ก็คือเรื่องของ Innovation i มาจาก Innovation ตรงนี้จะยกระดับประเทศไทยสู่ผู้ส่งออกนวัตกรรมในเรื่องของ Innovation ต่าง ๆ

    อ่านในการประชุม

  • Slide ต่อไป เรื่องของ EECa a อันนี้ก็คือเขตส่งเสริมเมืองการบิน ภาคตะวันออก a ก็มาจาก Aviation เราเป็นศูนย์กลางการบิน ในเรื่องของภูมิศาสตร์ เรามีพื้นที่ที่เหมาะสมอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราจะต่อยอดธุรกิจตรงนี้อย่างไร นี่เป็นสิ่งที่ EEC ต้องตอบโจทย์ต่อไป

    อ่านในการประชุม

  • Slide ต่อไปก็คือ EECg อันนี้พูดถึงเรื่อง Genomics เริ่มพูดถึงเรื่องของ Genetic ต่าง ๆ อันนี้ก็เป็นเรื่องของในอนาคตที่เราต้องมีการลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์

    อ่านในการประชุม

  • ต่อไปเป็นเรื่องของเทคโนโลยี Park ที่เราจะต้องมีการส่งเสริมเทคโนโลยี ชั้นสูงในพื้นที่ EEC

    อ่านในการประชุม

  • Slide ต่อไป ก็คือเรื่องของการที่จะต้องต่อยอดจากเดิมที่เราพูดถึงเรื่องของ S Curve ในเรื่องที่เรามีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมยานยนต์ แล้วก็อุตสาหกรรมการเกษตร เทคโนโลยี ชีวภาพต่อมาเป็น S Curve ที่เราพัฒนาต่อเนื่องกันมาอีก ๗ อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของอุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมการบิน และ Logistics อุตสาหกรรมพัฒนา เรื่องของคนและการศึกษา อุตสาหกรรมป้องกันประเทศก็สำคัญเรื่องของ Defend หุ่นยนต์ เรื่องของ AI เรื่องของการแพทย์ครบวงจร แล้วก็เรื่องของเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อย่างไรก็ตามในเรื่องของการผลักดัน

    อ่านในการประชุม

  • Cluster ที่ ๑ เรื่องของอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ แน่นอนจะต้อง ต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมายการแพทย์แบบครบวงจร โดยเน้นบริหารจัดการเพื่อยกระดับ การบริหารทางการแพทย์ด้วยการใช้เทคโนโลยีอย่างที่กล่าวไปแล้วเรื่องของ Genomics ก็ดี เรื่องของการแพทย์ที่แม่นยำหรือว่า Precision Medical

    อ่านในการประชุม

  • Cluster ที่ ๒ อุตสาหกรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ ตรงนี้ก็จะต่อยอด อุตสาหกรรมเป้าหมายดิจิทัลอิเล็กทรอนิกส์หุ่นยนต์ เราจะนำเรื่องของ 5G เข้ามาเพื่อที่จะ พัฒนา Platform ต่าง ๆ เพื่อที่จะลดต้นทุนการผลิตพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในอนาคตได้

    อ่านในการประชุม

  • Cluster ที่ ๓ เรื่องของ EV เรื่องของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ไม่ใช่ แค่เพียงเรามาเป็น OEM อย่างเดียว เราจะต้องเป็นฐานที่จะผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า หรือว่าส่วนประกอบอื่น ๆ ด้วย อุตสาหกรรมเศรษฐกิจเกี่ยวข้อง กับทางด้านบริการ อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในอนาคตที่เราจะต้องเน้นการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องของการบริการการบิน

    อ่านในการประชุม

  • Cluster ที่ ๔ เรื่องของ Logistics การท่องเที่ยวรายได้ดี การท่องเที่ยว เชิงสุขภาพก็เป็นอีก Trend หนึ่งในปัจจุบัน รวมถึงอุตสาหกรรมการบริการอื่น ๆ

    อ่านในการประชุม

  • Cluster ที่ ๕ ที่ตอนนี้ต้องบอกว่าประเทศไทยเราเป็น Champion อยู่ก็คือ อุตสาหกรรม BCG (Bio-Circular-Green Economy) เราประกาศไปใน Bangkok Goal ตอนที่เรามีการประชุม APEC ไปแล้วว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เราเป็น Champion แล้วต่างประเทศเอง ก็ให้การยอมรับอยู่ในปัจจุบัน

    อ่านในการประชุม

  • เพราะฉะนั้น Cluster ต่าง ๆ ตรงนี้คงต้องมีการผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านประธานครับ ตอนนี้เรามีนายกรัฐมนตรีคนที่ ๓๐ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแนวคิดของการขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่จะให้ก้าวสู่ต้นแบบการส่งเสริมเศรษฐกิจการลงทุน และการพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถที่จะ ดำเนินการได้ต่อเนื่องต่อไปตามยุทธศาสตร์ชาติที่เคยมีวางแผนกันไว้แล้ว เพื่อที่จะให้ ทุก ๆ อย่างได้ดำเนินการต่อไป แล้วในอนาคตเราก็ไม่มีแค่เฉพาะ EEC ครับ เราจะขยายไป ภาคเหนือเป็น NEC เราจะขยายไปภาคใต้เป็น SEC ต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะได้เกิดการพัฒนา ครอบคลุมทั่วประเทศไทย แล้วก็ลดความเหลื่อมล้ำด้วยครับท่านประธาน ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ วันนี้ผมขอเสนอญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา ปรับปรุง และแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ซึ่งได้เกิดความเสียหายอย่างมากจากบริษัทที่ยื่นงบการเงินที่ผิดปกติ เพื่อที่จะให้เป็นไปตามระเบียบของสภาผู้แทนราษฎรขออนุญาตที่จะอ่านในส่วนเหตุผล ของการยื่นญัตติโดยไว ๆ นะครับท่านประธาน เนื่องจากกรณีที่มีบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยื่นงบการเงินผิดปกติไปสู่ตลาดหลักทรัพย์ แล้วได้มี การเผยแพร่สู่นักลงทุนทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก มูลค่าความเสียหายหลายหมื่นล้านบาท แล้วก็กระทบกับผู้ที่ลงทุนหลายพันคนเลยทีเดียว นอกจากนี้ความเสียหายดังกล่าวยังกระทบ กับความเชื่อมั่นในการที่มีตลาดทุน โดยเฉพาะนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศไทย การที่จะ มีการศึกษา ปรับปรุง และแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับ ดูแลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนี้เป็นเรื่องที่เร่งด่วน และจำเป็น อย่างยิ่ง เนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจประเทศไทยหลังจากที่ปัญหา COVID-19 ได้ผ่านพ้นไป ในระดับหนึ่งแล้ว แล้วก็อยู่ในช่วงของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากนี้ไป เพราะฉะนั้น หากนักลงทุนเสียความเชื่อมั่นกับตลาดทุนในประเทศไทยแล้วก็จะเกิดความเสียหาย ต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญก็ดี หรือการที่จะส่งเรื่อง ไปให้กับทางด้านรัฐบาลได้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนจะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับ นักลงทุน และทำให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรงต่อไป นั่นเป็นเหตุผลหลักในการที่ผมเสนอญัตติในวันนี้ ถ้าจะกลับไปดูในเรื่องของชื่อญัตตินะครับ ท่านประธานจะเห็นว่าผมมิได้กล่าวถึงบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นการเฉพาะ นั่นก็เพราะว่า ผมคิดว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตคงจะมีพอให้เห็นแล้วว่า เรื่องของการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีตัวอย่างมากมายไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เกิดขึ้นมาตลอด ระยะเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ มีเรื่องของการทุจริตในบริษัทมหาชน ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นการยักยอกเงิน การฉ้อโกง การที่มี การปลอมแปลงเอกสารทางการเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Invoice เรื่องของยอดขาย ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องของการที่มีการพูดถึงเรื่องของการกู้ยืมเงินต่าง ๆ รวมถึงสิ่งอื่น ๆ มากมายเลยที่เรา พูดถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางด้านบัญชีและการเงิน นอกจากนั้นก็ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ทางด้านธรรมาภิบาลที่เราคงจะได้ยินคำนี้อยู่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ท่านประธานครับ ในส่วนที่ผมมั่นใจเหลือเกินว่าในเบื้องต้นผู้บริหารเองอาจจะมีความคิดแค่เพียงว่าต้องการ ที่จะทำราคาหุ้นให้ขึ้นสูง แล้วก็สามารถที่จะให้ผู้ลงทุนเข้ามาลงทุน หรืออาจจะมี แมงเม่าต่าง ๆ เข้ามาซื้อ หลังจากนั้นก็จะเป็นการที่ Dump ราคาลงมา หรือว่าขาย ในระยะเวลาที่เหมาะสมโดยไม่ได้แจ้งให้กับทางด้านตลาดหลักทรัพย์ให้เห็นถึงความผิดปกติ ทั้งหมด ซึ่งตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เขาเรียกกันง่าย ๆ ว่าคือการปั่นหุ้นนั่นเอง แต่ผมมั่นใจ เหลือเกินครับว่า หลาย ๆ ส่วนผู้บริหารในตลาดหลักทรัพย์ ในบริษัทมหาชนต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะคิดในเบื้องต้นแค่นี้ แต่ไป ๆ มา ๆ แล้วมันเกิดการเลยเถิดขึ้นไป นั่นก็คือหลังจากที่มี การตรวจสอบบัญชีเพิ่มเติมขึ้นมาก็กลายเป็นว่าไม่สามารถที่จะชี้แจงอะไรในรายละเอียดได้ ก็เลยต้องถึงขนาดที่จะต้องเป็นการยักยอกทรัพย์สินของบริษัทตามต่อเนื่องมา ที่เราเรียกกัน ภาษาทางการเงินว่าเป็นการ Siphon ต่าง ๆ แน่นอนครับสิ่งที่ประชาชนมีคำถามขึ้นมา ก็คือว่าเกิดอะไรขึ้น กับองค์กรที่กำกับดูแลบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อย่างเช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า ก.ล.ต. หรือแม้กระทั่งในส่วนที่เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ที่เป็นชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า SET มีคำถามไปถึงกระบวนการตรวจสอบด้วย เช่นเดียวกันว่าผู้ตรวจสอบบัญชีที่เราเรียกกันว่า Auditor ทั้งในส่วนของผู้ตรวจสอบบัญชี ที่เป็นการตรวจสอบภายในที่เรียกว่า Internal Audit หรือการตรวจสอบที่เป็น External Audit ก็ตาม รวมถึงคณะกรรมการตรวจสอบที่อยู่ในคณะกรรมการของบริษัทที่เราเรียกว่า เป็น Audit Committee ตรงนี้ก็มีคำถามขึ้นมาว่าเกิดอะไรขึ้นกับองค์กร แล้วก็หน่วยงาน หรือว่าผู้ที่มีอำนาจ หรือผู้ที่มีความรับผิดชอบในส่วนนี้ รวมถึงคณะกรรมการเรียกว่า เป็นคณะกรรมการอิสระที่มีการแต่งตั้งในคณะกรรมการของบริษัทมหาชนด้วย ที่ผมพูดมา ทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดผมคิดว่ามันมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดกับการที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ในการที่จะทำให้ผู้ที่ถือหุ้นเองก็ดี หรือผู้ที่จะเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มีความมั่นใจ มากขึ้นในระบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้เราใช้ระบบที่เรียกว่าเป็น Disclosure Based หมายความว่าอย่างไร เป็นเรื่องสากลครับ เป็นสิ่งที่ตอนนี้ก็คือเปิดเผยข้อมูลอย่างเปิดเผย เช่น เรื่องของงบการเงิน เรื่องของการที่จะมีการทำธุรกรรมอะไรที่สำคัญ ๆ ในแต่ละไตรมาส ทุก ๆ ๓ เดือนจะต้องส่งรายงานเข้าไปที่ตลาดหลักทรัพย์ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือว่าส่วนใหญ่แล้ว ข้อมูลที่ส่งเข้าไปก็จะเป็นข้อมูลพื้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของลักษณะการประกอบธุรกิจ เรื่องของฐานะการเงินในแต่ละไตรมาส ผลการดำเนินงาน แหล่งที่มารายได้ ปัจจัยความเสี่ยง ของการทำธุรกิจ แล้วก็ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นพื้นฐานมาก ๆ เลย แต่ปัญหาคืออย่างนี้ครับท่านประธาน ข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้เป็นข้อมูลที่ไม่ว่าจะเป็น ก.ล.ต. หรือว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะดูเฉพาะว่าส่งเข้ามาได้ทันเวลาหรือเปล่า ครบถ้วนหรือเปล่าเท่านั้นเอง แต่มิได้มีการตรวจสอบลงไปลึกถึงในเรื่องของการที่ว่า ถ้าส่งมาไม่ทันแล้วจะต้องมีการปรับ ปรับเท่าไร เป็นเงิน หรือมีการภาคทัณฑ์อะไรต่าง ๆ ผมว่าวันนี้ในเรื่องของการตรวจสอบที่ผ่านมาก็คงเป็นเรื่องของการตรวจสอบในลักษณะของ การสุ่มตรวจคล้าย ๆ กับ Inventory การตรวจสอบคลังเท่านั้นเอง แต่ที่สำคัญจริง ๆ ตอนนี้ ต้องบอกว่า External Audit หรือผู้ที่ตรวจสอบมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าถ้าเป็น Big Name เป็นชื่อบริษัท Audit ที่สำคัญและมีชื่อเสียงประชาชนเขาก็ให้ความเชื่อมั่น เพราะฉะนั้นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้คงจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในการที่จะดำเนินการในอนาคต ว่าจะต้องทำอย่างไรให้มีผู้ที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น แน่นอนครับ ก.ล.ต. จะต้องมีทีมพิเศษ เรียกว่าเป็น Special Investigation Team ทีมเฉพาะกิจที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบเมื่อเห็น การปั่นหุ้น ไม่ใช่แค่เพียงดูเรื่องของปั่นหุ้นเท่านั้น จะต้องดูเลยว่าบริษัทนี้เตรียมตัวที่จะต้อง ทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับ Siphon เงินบ้างหรือเปล่า ต้องลงไปถึงขนาดนั้น มีทีมพิเศษเข้าไปดู เพื่อที่จะดูว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่ใช่แค่รอการรายงานแล้วก็ดูความผิดปกติเท่านั้น นอกเหนือ จากนั้นในเรื่องของการที่จะต้องมี AI เข้ามาช่วย ตอนนี้ในปัจจุบันเรามีเรื่องของ Artificial Intelligence มีเรื่องของเครื่องมือต่าง ๆ Tools ต่าง ๆ มากมาย มันควรจะต้องมา Monitor มาดูว่าถ้าเกิดตัวเลขแบบนี้ ถ้าเกิดการกระทำแบบนี้ Invoice แบบนี้ ระยะเวลาต่าง ๆ เหล่านี้จะต้อง Alert หรือว่ามีการเตือนขึ้นมาทันทีว่าเกิดความผิดปกติในบริษัทนั้น ๆ แล้ว สำคัญก็คือว่าสามารถที่จะต้องดำเนินการในส่วนที่จะเอาผิด ไม่ใช่แค่เฉพาะผู้ที่เซ็น รับผิดชอบในเรื่องของการตรวจสอบบัญชีเท่านั้น ปัจจุบันเอาผิดกับเฉพาะคนที่เป็นคนเซ็น เท่านั้นเอง ต้องเอาผิดกับองค์กรที่ผู้เซ็นตรวจสอบบัญชีนั้นต้องดำเนินการด้วย เพราะว่า อย่างที่ผมบอกก็คือนักลงทุนหลาย ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นของประเทศไทยหรือต่างชาติเองก็ดี เขาไม่รู้หรอกครับว่านายอะไร มิสเตอร์อะไรต่าง ๆ นางสาว หรือนางอะไรเป็นคนตรวจบัญชี เขาดูว่าบริษัทอะไรเป็นคนตรวจ ผมคิดว่าอันนี้สำคัญ

    อ่านในการประชุม

  • อีกอย่างหนึ่งก็คือว่าตลาดหลักทรัพย์เองจะต้องมีการแขวนหุ้น ที่พูดง่าย ๆ ว่าขึ้น SP เป็นการ Suspend เป็นการระงับการซื้อขายหุ้นอย่างเท่าทัน ระยะเวลา ที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต คณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการอิสระ หรือว่า Audit Committee ก็สำคัญ ท่านประธานครับ ขออนุญาตที่จะพูดแบบ ตรงไปตรงมาเลยว่าคณะกรรมการอิสระ หรือคณะกรรมการตรวจสอบในปัจจุบันส่วนใหญ่ แล้วในปัจจุบันนี้ก็คือผู้ที่รู้จักคุ้นเคยกับคณะกรรมการบริษัทอยู่แล้ว พูดง่าย ๆ เลยเข้าไป เพื่อที่จะไปนั่งเหมือนกับไปนั่งเป็นในลักษณะของกิตติมศักดิ์ให้กับบริษัทมหาชน ให้เป็นหน้า เป็นตา แต่ผมไม่แน่ใจเหมือนกันก็คงต้องมีท่านผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านที่เข้าไปในลักษณะเข้า ไปดำเนินการตรวจสอบอย่างครบถูกต้อง แต่หลาย ๆ บริษัทลองไปดูสิครับก็คงจะเป็นบริษัท ที่มีความคุ้นเคยกัน เพราะฉะนั้นตรงนี้คงจะต้องมีการเปิดออกมาให้ชัดเจนว่าความคุ้นเคย หรือว่ามีลักษณะอะไรที่เกิด Conflict อะไรกันอย่างไรบ้างหรือเปล่าจะได้ไม่เกิดความเกรงใจ ขึ้นในอนาคตถ้าหากว่ามีข้ออะไรที่มันไม่ถูกต้องในการที่จะตกแต่งบัญชี หรือว่า มีการตรวจสอบบัญชีอะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่สำคัญตอนนี้ก็คือผลกระทบได้เกิดขึ้นแล้ว แนวทางแก้ไขอย่างที่ผมเรียนไว้แล้วก็คือจะต้องมีการปรับปรุงระบบการตรวจสอบภายใน ของบริษัทมหาชนต่าง ๆ จะต้องมีการส่งเสริมความโปร่งใส แล้วก็ให้ความรับผิดชอบ ของผู้บริหารได้มีให้มากขึ้น แล้วก็มีบทลงโทษที่มากขึ้น แล้วก็มีการปฏิรูปกระบวนการกำกับ แล้วก็การที่จะดูแลตลาดทุน แน่นอนเรามีเรื่องพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์อยู่ แต่ที่สำคัญก็คือว่าคงต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นปัจจุบันปัญหาที่ เกิดขึ้นมา แล้วก็แก้ไขปัญหาปิดช่องโหว่ต่าง ๆ ไม่ใช่แค่เฉพาะหุ้นอย่างเดียวครับ ท่านประธาน ยังมีอย่างอื่นมากมายที่เกิด Default ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นหุ้นกู้และเกิดความ เสียหายกับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันเองในส่วนของ Volume หรือปริมาณ การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเองถ้าเทียบกับตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็น ในภูมิภาค หรือถ้าเกิดในตลาดหลักทรัพย์ที่สำคัญ ๆ ถือว่าประเทศไทยน้อยมาก ๆ เลย เรามี ตลาดหลักทรัพย์มาหลายสิบปีแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถที่จะเทียบเคียงกับหลาย ๆ ประเทศได้ เพราะฉะนั้นเราคงจะต้องมีการดำเนินการแก้ไขเพื่อที่จะให้นักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ ประเทศเองก็ดี นักลงทุนไทย หรือนักลงทุนต่างชาติได้มีความเชื่อมั่นมากขึ้น เพราะฉะนั้น ผมจึงเห็นความสำคัญ และได้ยื่นญัตติในเรื่องของการที่ขอให้สภาผู้แทนราษฎรไม่ว่าวันนี้สภา มีความคิดเห็นที่จะตั้งคณะกรรมาธิการหรือไม่ อย่างไร แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสภาแห่งนี้ จะให้ความสำคัญกับเรื่องของการที่จะต้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ จากกรุงเทพมหานคร วันนี้ผมขออนุญาตที่จะเรียนท่านประธานเกี่ยวกับเรื่องของโครงการ Landbridge ซึ่งก็เป็นสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทางรัฐบาลโดยการนำของท่านเศรษฐา ทวีสิน ท่านนายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญกับโครงการนี้ แต่สิ่งที่ผมอยากจะเรียนท่านประธานก็คือว่าโครงการนี้ ไม่ใช่แค่เพียงเรื่องของกระทรวงคมนาคม หรือว่าเป็นเรื่องของการคมนาคมขนส่งเท่านั้น แต่ว่าการที่จะเสนอการก่อสร้างท่าเรือทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน การที่จะสร้างถนน Motorway เชื่อม รางรถไฟเชื่อม คงยากที่จะหาใครมาลงทุนในโครงการนี้ ผมจึงอยากที่จะ ให้ท่านประธานได้นำเสนอไปถึงท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลว่าควรที่จะต้องนำเสนอ ภาพใหญ่ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคใต้ที่เราเรียกกันว่า Southern Economic Corridor ซึ่งนอกจากชุมพร นอกจากระนองแล้ว ในอนาคตจะต้องมีอีก ๒ จังหวัดก็คือ สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะฉะนั้นมีกระทรวงอื่น ๆ อีก มากมายเลยที่ต้องดำเนินการเข้ามาบูรณาการกัน คล้าย ๆ กับทางด้าน EEC เขตเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก ซึ่งมีกระทรวงมากมายเลยไม่ว่าจะเป็นกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงกลาโหม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ สภาพัฒน์ BOI สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทย รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย อันนี้เป็นองค์ประกอบในส่วนของ EEC อยากให้มาเป็นอย่างนี้ ในโครงการ Landbridge จะได้เป็น SEC ที่สมบูรณ์แบบ และปัจจุบันอยู่ในช่วงของ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน จึงขอให้รัฐบาลได้ทำความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชน ทั้งในพื้นที่กับคนไทยทั้งประเทศ แล้วก็นำเสนอแนวคิดในลักษณะภาพรวม SEC ให้กับ นักลงทุนต่างชาติด้วย

    อ่านในการประชุม

  • สุดท้ายขอให้ทางสภาแล้วก็กองประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรีได้นำข้อเสนอของผมไปถึงท่านนายกรัฐมนตรีโดยตรง เพื่อให้ท่านนายกรัฐมนตรี ได้รับทราบ แล้วก็เข้าใจข้อมูลที่ถูกต้องในการพิจารณาสั่งการต่าง ๆ จากนี้ไปด้วยครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครวมไทยสร้างชาติ แบบบัญชีรายชื่อจากกรุงเทพมหานครครับ วันนี้ผมได้มีการเสนอญัตติให้กับที่สภาแห่งนี้ ได้พิจารณาเป็นเรื่องของการที่ให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ศึกษาการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของ สภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ ผมขออนุญาตที่จะอ่านคร่าว ๆ แบบไว ๆ ในเรื่องของหลักการ และเหตุผล คือทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันประชาชนมีรายได้อาจจะไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่งจำเป็นต้องมีการสร้างหนี้เพื่อให้การใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยในปัจจุบัน หนี้ครัวเรือนไทยมีการขยายตัว แล้วก็คาดการณ์ว่ายอดหนี้ก็อาจจะมีการพุ่งสูงขึ้น ในปี ๒๕๖๖ จนถึงปี ๒๕๖๗ ในปีหน้า พร้อมทั้งมีปัจจัยที่จะทำให้หนี้สินครัวเรือนสูงขึ้น เช่น สงครามที่เกิดขึ้นในปัจจุบันในหลายภูมิภาค รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธนาคารกลางจากประเทศต่าง ๆ รวมถึงการที่มีปรากฏการณ์ธรรมชาติมากมายที่เกิดขึ้น แล้วก็ค่าครองชีพที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอันจะกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ ของประชาชนจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องของ หนี้สินครัวเรือนในปัจจุบันอย่างเร่งด่วน ก่อนอื่นผมขอเริ่มต้นที่จะพูดถึงภาพรวมของ หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันนี้หนี้ครัวเรือนส่งผลให้เศรษฐกิจ ภายในประเทศอาจจะไม่เติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากครัวเรือนต้องนำรายได้ไปชำระหนี้ ที่ก่อเกิดมาแล้ว จำกัดกำลังซื้อของผู้บริโภค ทำให้การจับจ่ายใช้สอยไม่เป็นไปตามที่คาดเอาไว้ ทั้งนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการเงินการคลัง ของประเทศ รวมถึงในปัจจุบันหนี้ครัวเรือนของไทยก็มีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วก็สูงเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น โดยหนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นหนี้ ที่อาจจะสร้างรายได้ไม่เต็มที่แล้วก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้

    อ่านในการประชุม

  • ในเรื่องของตัวเลขของประเทศไทย หนี้ครัวเรือนในปัจจุบันต้องบอกว่า เราติด Top 20 ของโลกเลยในปี ๒๐๒๓ นี้ ถ้าจะเทียบแล้วเราอยู่อันดับที่ ๘ ของโลกเลย ในปัจจุบันจากตัวเลขล่าสุด เป็นรองแค่เพียงสวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา เกาหลีใต้ ฮ่องกง นิวซีแลนด์ แล้วก็เนเธอร์แลนด์ ถ้ามองถึงในส่วนของ Asia เราอยู่ในอันดับ ๓ เลยทีเดียวรองจากทางด้านเกาหลีใต้ ฮ่องกง แล้วก็มาประเทศไทย เพราะฉะนั้นสถานการณ์ หนี้ครัวเรือนของไทยก็เป็นที่น่ากังวลเนื่องจากเหตุผลสำคัญ ๆ ๒ เรื่อง

    อ่านในการประชุม

  • เรื่องแรก ก็คือหนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่ของไทยเป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ นั่นหมายถึงว่าหนี้ที่กู้มาแล้วประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้นำไปให้เกิดดอกเกิดผล สร้างรายได้ สร้างประสิทธิภาพสร้างประสิทธิผล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ใช้แล้ว ก็หมดไป ไม่ช่วยสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้นหรือทำให้ชีวิตดีขึ้นในอนาคต แล้วหนี้ส่วนใหญ่ ก็เป็นหนี้แบบเรียกว่าเป็น Short Term หรือว่าเป็นหนี้ระยะผ่อนสั้น ๆ แต่ดอกเบี้ยค่อนข้าง ที่จะสูงเลยทีเดียว ทำให้มีภาระผ่อนต่อเดือนที่สูง โดยจะแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ที่พัฒนาแล้ว แม้จะมี สัดส่วนยอดหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่สูง แต่ว่าส่วนใหญ่หรือหนี้เกือบทั้งหมดนี้เป็นหนี้สินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัยที่สามารถจะไปสร้างรายได้หรือสร้างความมั่นคงได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การนำไปขายในอนาคตหรือการนำไปให้เช่า

    อ่านในการประชุม

  • ประการที่ ๒ ปัญหาก็คือเรื่องของหนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มผู้กู้ ที่มีปัญหาด้านความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งปัจจุบันคนไทยกว่าเกือบ ๖ ล้านคนเลยทีเดียว กำลังมีหนี้เสียหรือว่า NPL ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล กลุ่มที่น่าระวังก็คือกลุ่มวัย เริ่มทำงานตั้งแต่อายุประมาณ ๒๐-๓๕ ปี มีสัดส่วนการใช้สินเชื่อที่อาจจะไม่ก่อให้เกิดรายได้ เป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดและมีสัดส่วนผู้กู้ที่มีหนี้เสียสูงที่สุดถึงเกือบ ๒๕ เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ของจำนวนผู้กู้ทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรหรือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยก็จะเป็นกลุ่ม ที่มีอัตราเสี่ยงพอสมควร เพราะฉะนั้นสาเหตุทั้งหมดนี้ทั้ง ๒ เรื่องก็อาจจะต้องมีการดำเนินการ ที่จะต้องแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้ปัญหานั้นลุกลามไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ปัญหาสุขภาพจิตของลูกหนี้ แน่นอนครับ ใครที่เป็นหนี้อาจจะนอนไม่หลับ เพราะถึงแม้ว่า ท่านกำลังหลับอยู่ดอกเบี้ยมันก็ยังเดินอยู่ ๆ ดี ปัญหาสังคมที่อาจจะเกิด ถูกกดดัน จากภาระหนี้ต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถที่จะมีการคิดในเรื่องของที่เป็นบวก Creative Thinking เรื่องสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องการ Create Idea ดี ๆ เข้ามาไม่สามารถดำเนินการได้เลย อาจจะ เริ่มให้ก่ออาชญากรรมได้ในอนาคต จนทำให้มีชีวิตและทรัพย์สินของคนในสังคมที่อาจจะ ต้องไม่ปลอดภัยตามไปด้วย นอกจากนี้ปัญหาหนี้จะยิ่งรุนแรงขึ้นเมื่อไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งแน่นอนค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพก็จะต้องสูงขึ้น ก็ต้องมีความระมัดระวัง ซึ่งสวนทาง กับรายได้ของครัวเรือนที่ต้องลดลงตามจำนวนคนทำงานที่หารายได้ได้

    อ่านในการประชุม

  • ในส่วนของข้อมูลในปัจจุบันที่ได้จากทางด้าน สศค. ก็คือตอนนี้หนี้สิน ของประเทศไทยเองก็อยู่ในลำดับที่เรียกว่ามีมูลค่าประมาณเกือบ ๑๖ ล้านล้านบาท ถ้าคิดเป็นสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ก็จะอยู่ที่ ๙๐.๖ เปอร์เซ็นต์ และหากพิจารณา การก่อหนี้ครัวเรือนรายวัตถุประสงค์ก็จะพบว่าครัวเรือนมีการก่อหนี้เพื่ออสังหาริมทรัพย์ และอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน ภาพรวมก็ลดลง โดยหนี้ NPL หรือหนี้ที่เสียในปัจจุบันมีมูลค่าถึง ๑.๔๔ แสนล้านบาท หรือมีสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ ๒.๖๘ เปอร์เซ็นต์ ถ้าถามว่าแล้วกู้ไปทำอะไร ส่วนใหญ่ตัวเลขก็คือถ้าเราคิดหนี้สินครัวเรือนรวมทั้งหมดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ นำไป ซื้ออสังหาริมทรัพย์ประมาณอยู่ที่ ๓๓.๕ เปอร์เซ็นต์ ไปซื้อยานยนต์อยู่ที่ ๑๑.๓ เปอร์เซ็นต์ ไปประกอบธุรกิจ ๑๘.๒ เปอร์เซ็นต์ เป็นสินเชื่อบุคคล ๑๙ เปอร์เซ็นต์ เป็นสินเชื่อบุคคล ที่ไม่มีหลักประกัน ๔.๙ เปอร์เซ็นต์ เป็นสินเชื่อบัตรเครดิต ๒.๘ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เป็นสินเชื่ออื่น ๆ อีกประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่ผมได้อภิปรายในเบื้องต้นนี้ก็อยากจะเรียนว่าข้อมูล ที่ทางด้านธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งจะนำเข้ามาเพิ่มเติมแล้วก็เข้ามาในการที่จะดู เรื่องของหนี้สินครัวเรือนของไทยด้วย ก็มีการเพิ่มเติมจากทางด้านกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา กยศ. แล้ว จำนวน ๔๘๓,๐๐๐ ล้านบาท จากการเคหะแห่งชาติอีกประมาณ ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท จาก Pico Finance อีกจำนวน ๖,๐๐๐ ล้านบาท แล้วก็สหกรณ์อื่น ๆ ที่นอกเหนือจาก สหกรณ์ออมทรัพย์อีกจำนวนประมาณ ๒๖๕,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งก็จะทำให้เห็นภาระ หนี้ครัวเรือนได้ดียิ่งขึ้นจากการที่นำ ๔ หนี้ทั้งหมดนี้มารวมกัน

    อ่านในการประชุม

  • ต่อมา แนวทางการแก้ไข ต้องบอกว่ารัฐบาลชุดที่แล้วก็ได้มีการดำเนินการ มาหลายส่วนเลยทีเดียว มีการแบ่งหนี้ออกเป็น ๘ กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหา หนี้กองทุนการกู้ยืมเพื่อการศึกษาหรือว่า กยศ. มีการออกกฎหมายไปเรียบร้อย ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน มีการลดดอกเบี้ยในส่วนของดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ มีการกำหนด การไกล่เกลี่ย การปรับโครงสร้างหนี้ของประเทศให้เป็นวาระของชาติ มีการแก้ไขปัญหา หนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มีการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการ โดยเฉพาะ ข้าราชการครูแล้วก็ข้าราชการตำรวจ มีการปรับลดและทบทวนโครงสร้างและเพดานอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม การออกมาตรการคุ้มครองสิทธิของลูกหนี้ มีการแก้ไขปัญหาหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล รวมถึงการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อยแล้วก็ SMEs แล้วสุดท้ายคือการปรับปรุงขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้เอื้อแก่การแก้ไขปัญหาหนี้สิน นั่นคือของรัฐบาลชุดที่แล้วของท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างไรก็ตามการลดลง ของหนี้สินครัวเรือนไทยเป็นเพียงการลดลงในส่วนของสัดส่วนต่อ GDP เท่านั้น แต่มูลหนี้ ก็ยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่รัฐบาลปัจจุบันภายใต้การนำของท่านนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ในตอนนี้ก็มีนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลอย่างเช่นเรื่องของการพักหนี้ เกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรหรือว่า ธ.ก.ส. หรือว่าในส่วนของการที่จะมีธนาคารออมสินเข้ามาดูแล ซึ่งแน่นอนก็จะต้องมีการใช้เงิน ในส่วนของรัฐบาลเข้าไปช่วยเหลือด้วยในบางส่วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพักหนี้ หรือว่าการที่จะมีการลดต้นหรือลดดอกอะไรก็ตามในอนาคต นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็น การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้กับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลดน้ำมันดีเซล ในอนาคตก็จะมีเรื่องของการลดน้ำมันเบนซิน แล้วก็เรื่องของการตรึงราคาก๊าซหุงต้มต่าง ๆ มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าได้มีการประกาศไปแล้วโดยกระทรวงพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปรับลดอัตราให้เหลืออัตรา ๔.๑ บาทต่อหน่วยก็ตาม นอกจากนี้ ก็จะมีการดำเนินมาตรการช่วยเหลืออื่น ๆ อีกมากมายที่เคยดำเนินการมาในอดีต นอกเหนือจากนั้นก็คงต้องดำเนินการในการที่จะช่วยเหลือเรื่องที่จะให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของการจัดการหนี้สินหรือที่เรียกกันภาษาอังกฤษที่เขาบอกว่า เป็น Financial Literacy หรือการสร้างความตระหนักรู้ทางการเงิน สิ่งต่าง ๆ ที่ผม ได้อภิปรายมาทั้งหมดนี้ต้องบอกว่ามีหลายส่วนที่ดำเนินการไปแล้วในรัฐบาลชุดที่แล้ว รัฐบาลชุดปัจจุบันก็กำลังออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อที่จะมาช่วยเหลือหนี้สินของพี่น้อง ประชาชน แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญก็คือว่ายังคงต้องมีการพิจารณาข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน การที่จะมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อศึกษาแก้ไขปัญหาหนี้สินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ต่อการดำเนินการที่จะแก้ไขในอนาคตอันใกล้ที่จะถึงนี้ แต่อย่างไรก็ตามในตอนที่ผมได้เสนอ ญัตตินี้เข้ามาสภาแห่งนี้ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาแห่งนี้ แต่ในปัจจุบันมีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาแล้ว มีประธาน มีกรรมาธิการเรียบร้อยแล้ว เขาเรียกว่าเป็นคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ เพราะฉะนั้นผมก็ยินดีถ้าหากว่า จะนำญัตติของผมเข้าไปเพื่อที่จะให้ทางด้านคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ ได้พิจารณา โดยอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาอีกคณะหนึ่ง เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายของสภาแห่งนี้ แล้วก็ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าญัตติของผมจะเป็นการเริ่มต้น ในการที่จะทำให้สภาแห่งนี้ได้มีโอกาสได้นำเสนอ ได้พิจารณา ได้ศึกษาสิ่งที่จะสามารถ ส่งให้กับทางรัฐบาลเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนได้ แล้วก็เนื่องจากว่า มีผู้ที่ร่วมที่จะเสนอการอภิปรายเพื่อที่จะเห็นชอบหรือไม่ อย่างไรกับญัตติของผม ผมก็อยากขอสละสิทธิในการที่จะอภิปรายสรุปญัตติเพื่อที่ในอนาคตจะไปนำเสนอ รายละเอียดทั้งหมดให้กับทางด้านคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติถ้าสภานี้ เห็นชอบด้วย ขอบพระคุณท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายอนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรครวมไทยสร้างชาติ แบบบัญชีรายชื่อ จากกรุงเทพมหานครครับ วันนี้ผมขออภิปรายที่จะสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติยกเลิก พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งเสนอโดยคณะรัฐมนตรี ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้ใช้มากกว่า ๓๐ ปีแล้ว ซึ่งตามที่ทาง ครม. ได้มีมติเห็นชอบในร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกเกี่ยวกับเรื่องของความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนี้ ก็ต้องบอกว่าที่ผ่านมานี้หากมีการใช้ เช็คแล้วไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ก็จะเรียกกันง่าย ๆ ว่าเป็นการที่เกิดเช็คเด้ง ผู้สั่งจ่ายก็จะมี โทษอาญาติดคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งในส่วนนี้ ก่อนที่จะอภิปรายลงในรายละเอียด ผมขออนุญาตที่จะเท้าความสั้น ๆ ว่าเช็คอย่างที่ ทราบกันอยู่ก็คือเป็นตราสารอย่างหนึ่งที่เป็นข้อสัญญาระหว่างบุคคลในการที่จะมีการ เรียกว่ากู้ยืมเงินต่าง ๆ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาการกู้เงินอื่น ๆ หรือว่าเป็นหนี้ทางแพ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งก็เรียกว่าไม่ได้มีการกำหนดโทษอาญาใด ๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่น ให้แก่ผู้ที่ได้รับเช็คว่าได้รับเงินอย่างแน่นอน แล้วก็เพื่อที่จะส่งเสริมการใช้เช็คในการทำ ธุรกรรม เนื่องจากว่าในขณะนั้นช่องทางการทำธุรกรรมเกี่ยวกับเรื่องของการชำระเงินยังไม่มี ทางเลือกมากนัก แล้วก็ต้องส่งเสริมให้มีการใช้เช็คเพื่อที่จะส่งเสริมการหมุนเวียนของ เศรษฐกิจ แล้วต่อมาก็ได้มีการแก้ไขรายละเอียดข้อกฎหมายจนกระทั่งมาเป็น พ.ร.บ. ในปี ๒๕๓๔ ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญครับ อย่างที่ว่าก็คือในปัจจุบันโลกมี การเปลี่ยนแปลงแล้วนะครับ หลายสิบปีที่ผ่านมาจำนวนเช็คที่เรียกเก็บอยู่ที่ปี ๒๕๕๕ กว่า ๗๕ ล้านฉบับ ในปี ๒๕๖๔ ๑๐ ปีให้หลังจากข้อมูล ลงมาเหลือแค่ประมาณ ๔๑ ล้านฉบับ เพราะฉะนั้นการที่มีการชำระเงินในส่วนอื่น ๆ สามารถดำเนินการได้ นอกเหนือจากนั้นในเรื่องของปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเอาผิดเกี่ยวกับเรื่องของเช็คเด้ง ประการแรกก็คือมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการกำหนดโทษทางอาญา นอกจากนั้นจะเป็น เรื่องของปัญหาที่ผู้ออกเช็คอาจจะต้องรับผิดทางอาญา แม้จะไม่ได้มีเจตนาในเรื่องของ การที่จะกระทำทุจริตแต่อย่างใด อีกส่วนหนึ่งก็คือปัญหาที่เกี่ยวกับการกำหนดโทษทางอาญา ที่ไม่สอดคล้องกับหลักสากล ท่านประธานครับ ในส่วนของการที่ไม่สามารถจ่ายเงินตามเช็ค หรือที่เรียกว่าเป็นเช็คเด้งนั้นก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ ถ้าพี่น้องประชาชนที่เคยใช้จ่ายแล้วก็มี การสั่งจ่ายเช็คก็คงจะทราบว่าการค้าขายโดยสุจริตสามารถที่จะเกิดปัญหาในเรื่องของ การค้าได้ ในการที่มีการส่งเช็คกันต่อ ๆ มา อย่างเช่น พูดง่าย ๆ ว่าจาก Supplier เขาส่งเช็ค ให้เรา เราเป็นคนกลางในการทำในเรื่องของสินค้าต่าง ๆ ส่งมอบให้กับลูกค้า ถ้ามีการที่ เรียกว่า Cash Flow ต่าง ๆ เกิดปัญหาเพิ่มขึ้นมากับทางด้านกระแสเงินสด อาจจะทำให้ ไม่สามารถที่จะจ่ายเงินหรือมูลหนี้ได้ตามเช็คนั้น โดยที่ว่าจริง ๆ แล้วไม่ได้มีเรื่องของ การทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้องเลย แต่เป็นในเรื่องของธุรกิจที่กำลังมีปัญหาในเรื่องของ Cash Flow ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไข เพราะฉะนั้นเรื่องของคดีอาญาต่าง ๆ นี้ ก็เป็นส่วนที่อาจจะต้องมีประเด็นที่เราต้องมีการ แก้ไข แล้วทางด้าน ครม. โดยรัฐบาลก็ได้มีการดำเนินการเข้ามาในสภาในวันนี้ นอกจากนี้ แล้วตามบทบัญญัติมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ใน พ.ศ. ๒๕๖๐ ก็ยังระบุ ว่ารัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น และพึงกำหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง จริง ๆ เท่านั้น แล้วก็เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกติการะหว่างประเทศ ด้วยสิทธิพลเมืองและ สิทธิการเมืองที่กำหนดให้บุคคลจะถูกจำคุกเพียงเพราะเหตุไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ ตามสัญญาไม่ได้ อันนี้ก็เป็นที่มาในเรื่องของที่เกี่ยวข้องกับทางด้านกฎหมายที่จะเอาเข้าสภา ในวันนี้ เพราะฉะนั้นท่านประธานครับ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยกเลิกกฎหมายว่าด้วย ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คโดยเร่งด่วน เนื่องจากเป็นการใช้โทษอาญาที่ไม่เหมาะสม กระทบกับเสรีภาพมากเกินไป โดยเมื่อกฎหมายยกเลิก พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้แล้ว การจ่าย เช็คเด้งจะไม่เป็นความผิดทางอาญาอีกต่อไป ผู้ที่ต้องโทษจำคุกในคดีเช็คจะพ้นโทษทันที โดยไม่ต้องรอให้ศาลออกหมายปล่อย ส่วนลูกหนี้กับเจ้าหนี้ที่ได้ทำข้อตกลงผ่อนชำระหนี้ ต่อศาลไว้แล้ว ให้ถือว่าเป็นข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและใช้ได้ต่อไป และหากศาลได้กำหนดพิจารณาคดีอยู่ก็ให้จำหน่ายคดีส่วนของอาญา แต่พิจารณาเฉพาะ ในส่วนของคดีแพ่งต่อไปได้ ดังนั้นต่อจากนี้หากเกิดเช็คเด้ง เจ้าหน้าที่หรือว่าเจ้าหนี้จะไม่ สามารถฟ้องเป็นคดีอาญาเพื่อบีบคั้นลูกหนี้ได้อีกต่อไป แต่สามารถที่จะฟ้องเป็นคดีแพ่งให้ ลูกหนี้ชำระหนี้คืนได้ แต่หากลูกหนี้ออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะโกงหรือทุจริตตั้งแต่แรกก็ยัง เข้าข่ายมีความผิดฐานฉ้อโกงและรับโทษตามกฎหมายได้อยู่ดี เพราะฉะนั้นท่านประธานครับ ผมขออนุญาตที่จะสรุปในส่วนของกฎหมายฉบับนี้ ขอกลับไป ๑ สไลด์ ก็คือ ข้อ ๑ ยกเลิก ความผิดอาญาเกี่ยวกับเช็ค อันนี้ชัดเจน ข้อ ๒ คือปล่อยตัวผู้ต้องโทษจำคุกทันทีที่กฎหมาย มีผลบังคับใช้และเพิกถอนคำสั่ง คุมประพฤติหรือพักการลงโทษโดยเร็ว ข้อ ๓ ศาลมีอำนาจ ที่จะพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนแพ่งต่อไปได้ ข้อ ๔ เดิมกฎหมายให้ผู้ออกเช็คเด้งต้องรับ โทษจำคุกเพื่อให้การใช้เช็คมีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม ข้อ ๕ โทษจำคุกจากการใช้เช็ค ถูกใช้เป็นเครื่องมือบีบบังคับในการชำระหนี้ที่ผ่านมา ข้อ ๖ ขัดกับหลักสากลที่ไม่นำเรื่อง ของอิสรภาพของคนมาใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ ข้อ ๗ ปัจจุบันการโอนเงินมีวิธีการ ที่หลากหลาย ไม่จำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือโดยการใช้เช็คเป็นพิเศษอีก และข้อสุดท้าย ข้อ ๘ จึงเป็นที่มาที่ผมอภิปรายสนับสนุนที่จะยกเลิกความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ผมจึงมี ความเห็นสนับสนุนการยกเลิกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ พ.ศ. .... โดยเห็นควรปล่อยตัวผู้ต้องหาจำคุกจากฐานความคิดนี้เพิกถอน คำสั่งคุมประพฤติ ส่วนมูลหนี้ตามคดีแพ่งยังคงคุ้มครองฝ่ายโจทก์ โดยให้ดำเนินคดีต่อไป ตามเดิมและให้มีกระบวนการประนีประนอมยอมความกันได้ เช่น การให้ลูกหนี้ผ่อนชำระ ตามแต่ตกลงกัน โดยการใช้เช็คที่มีเจตนาทุจริตก็ยังคงดำเนินคดีอาญาในฐานความผิดอื่น เช่น ความผิดฐานฉ้อโกงได้ ขอบพระคุณครับ ท่านประธานครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ จากกรุงเทพมหานคร ผมขอเสนอ นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู เป็นกรรมาธิการใน คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา แทน นายพิพิธ รัตนรักษ์ ขอผู้รับรอง ด้วยครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม อนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ จากกรุงเทพมหานคร ก่อนอื่นผมต้องขอขอบพระคุณท่านประธานเป็นอย่างยิ่งที่ได้กรุณา บรรจุเรื่องกระทู้ถามเกี่ยวกับเรื่องของการสนับสนุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมในวาระการประชุมเช้านี้ด้วย และผมต้องขอขอบพระคุณท่านภูมิธรรม เวชยชัย เป็นอย่างสูง ท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ที่ได้กรุณามาตอบ คำถามแทนท่านนายกรัฐมนตรีในเช้านี้ครับ ก่อนที่จะไปถึงคำถาม ขออนุญาตที่จะให้พูดถึง เรื่องของข้อมูลพื้นฐานเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน เพราะว่ามีพี่น้องประชาชนผู้ที่ประกอบธุรกิจ ต่าง ๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยที่ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับหลาย ๆ ส่วน ซึ่งในเบื้องต้น อยากจะเรียนอย่างครับว่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือที่เราเรียกว่า Small Medium Enterprise หรือว่า SMEs ซึ่งจริง ๆ ตอนนี้มันก็รวมไปถึง Micro ด้วยในส่วนของ รายย่อย ถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ ซึ่งก็ถือเป็นยุทธศาสตร์ ๑ ใน ๖ ด้าน ที่รัฐบาลที่ผ่าน ๆ มาได้ให้ความสำคัญ รวมกระทั่งรวมไปถึงถึงรัฐบาลชุดนี้ด้วย ซึ่งก็เป็นยุทธศาสตร์ในด้านที่ ๒ และนอกเหนือ จากนั้นก็จะมีเรื่องของการที่ว่าบทบาทในการพัฒนา แล้วก็การสนับสนุนการเติบโตในมิติ ต่าง ๆ ที่สำคัญของ SMEs ก็มีความหมายเป็นอย่างยิ่ง นอกเหนือจากนั้นในส่วนของ SMEs มีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งก็ไม่ใช่เพียงประเทศไทยอย่างเดียว แต่ว่าทั่วโลก ถือว่ามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและของโลก ด้วยอย่างยิ่ง ถ้าเราดูในเรื่องของตัวเลข ท่านประธานครับ จะเห็นว่าจำนวนวิสาหกิจและ ปริมาณการจ้างงานในส่วนของ SMEs สูงมากถึงกว่า ๙๙.๕ เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว แล้วใน ส่วนของการจ้างงานก็มีมากถึงเกือบ ๗๒ เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว เพราะฉะนั้นจากตัวเลขสถิติ จะเห็นว่า SMEs หรือว่า Micro SMEs มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในประเทศไทย นอกจากนั้นถ้าพูดถึงเรื่องของตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเศรษฐกิจเราก็จะพูดถึงเรื่องของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งประเทศก็คือ GDP Gross Domestic Product ณ วันนี้ Micro SMEs ทำผลผลิตหรือว่ามีส่วนของ GDP ถึงกว่า ๖ ล้านล้านบาท ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็อยู่ที่ ณ ตอนนี้เกือบจะ ๓๖ เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ๓๕.๒ เปอร์เซ็นต์ตัวเลขที่ผมได้มาล่าสุด แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของธุรกิจ SMEs จะให้มีความเข้มแข็ง มีความยืดหยุ่นแล้วก็สามารถ ปรับตัวให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน ตอนนี้เราพูดถึงเรื่องของ Sustain Development ในการที่ จะมีการเติบโต ซึ่งก็แปลมาในส่วนของ BCG ก่อนหน้านี้ Bio Circular Green ณ วันนี้เรามา พูดถึง SDG เพื่อที่ให้มีความสากลมากขึ้น ก็ต้องบอกว่าเราจะต้องมีการปรับตัวการแข่งขัน เพื่อที่จะได้มีการพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการ แล้วก็ยกระดับทักษะแรงงาน สมัยใหม่ รวมถึงการพัฒนาผลิตภาพ แล้วก็ในส่วนประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Digital การพัฒนามาตรฐาน รวมไปถึงกันเข้าถึงช่องทางการตลาดในสมัยใหม่และในส่วน ของต่างประเทศด้วย สิ่งสำคัญก็คือรัฐบาลชุดที่เพิ่งผ่านมาให้ความสำคัญในการที่จะเดินหน้า ส่งเสริมรัฐวิสาหกิจทั้งรายย่อย รายกลาง และขนาดย่อมของไทยให้มีบทบาทเศรษฐกิจใน ทุกระดับ ซึ่งต้องบอกว่าได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ รวมถึงการจัดทำงบประมาณในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม MSMEs Micro Small and Medium Enterprise อย่างบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ มากมายเลย ซึ่งในส่วนของแผนงานที่ได้ดำเนินการในรัฐบาลชุดที่ ผ่านมา ก็คือมีการตั้งเป้าหมายด้วยซ้ำไป เมื่อสักครู่ผมให้ตัวเลขท่านประธานไปครับว่า ณ ปัจจุบันนี้ในส่วนของ GDP สัดส่วนของ MSMEs มีส่วนที่จะทำให้ประเทศได้ถึงกว่า ๓๕ เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของรัฐบาลชุดที่ผ่านมามีนโยบายชัดเจนครับว่าจะทำให้ผลิตภัณฑ์ มวลรวมของประเทศหรือว่า Micro SMEs มีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งในน้อยกว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ภายใน ๕ ปีข้างหน้า นั่นคือภายในปี ๒๕๗๐ จะต้องเพิ่มขึ้นจาก ๓๕ เปอร์เซ็นต์ขึ้นเป็น ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้จะทำให้ GDP ของประเทศกระเตื้องได้อย่างยิ่ง ในเรื่องของการที่จะ มีการส่งเสริมวิสาหกิจต่าง ๆ แนวทางผมขออนุญาตพูดถึง ๓ ประเด็นก่อนที่จะถึงคำถาม

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๑ ก็คือว่าการส่งเสริมในการที่จะเติบโตครอบคลุมทุกกลุ่ม มีกลยุทธ์และแนวทางการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาธุรกิจในเรื่องของการ เริ่มต้นได้อย่างมั่นคง อันนี้เราพูดถึง Startup เราพูดถึงเรื่องของสิ่งต่าง ๆ ที่จะมีการเพิ่มขึ้น ในธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทางด้าน Digital อื่น ๆ ยกระดับธุรกิจให้มี ศักยภาพในการแข่งขันในระดับโลก ฟื้นฟูธุรกิจที่ประสบปัญหาให้ฟื้นตัว อันนี้สำคัญมาก หลังจากโควิด-๑๙ ที่ผ่านมา แล้วก็ช่วยเหลือธุรกิจที่ยังสามารถที่จะให้เดินต่อไปได้ อะไรที่ ไม่ได้ปรับตัวไม่เป็นอะไรครับก็ต้องปล่อยให้ล้มไป แต่อะไรที่เขาปรับตัวแล้ว แล้วเขายัง ต้องการอะไรอย่างนี้ก็มีส่วนที่จะต้องสามารถสนับสนุนเขาต่อเนื่อง นอกเหนือจากนั้น ก็จะต้องมีการสนับสนุนผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสังคมผู้สูงอายุด้วยในอนาคต รวมถึงส่งเสริมการเกษตร ไม่ใช่ว่าเราจะทิ้งและเราไปเรื่องของสมัยใหม่ทั้งหมด คงจะต้องมี การส่งเสริมการเกษตรสู่การทำธุรกิจแบบมืออาชีพ

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นที่ ๒ คือการสร้างการเติบโตแบบมุ่งเป้าภายใต้กลยุทธ์และแนวทาง การขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของส่วนแบ่งการตลาดในประเทศให้เพิ่มขึ้น รวมถึงส่งเสริม เข้าสู่ระบบสากล

    อ่านในการประชุม

  • ประเด็นสุดท้ายก่อนเข้าคำถามของผม ก็คือว่าการพัฒนาสภาพแวดล้อม ให้สนับสนุนการเติบโตของธุรกิจโดยมีกลยุทธ์และแนวทางการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การสนับสนุนพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเราทราบ กันดีว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สร้างความพร้อมของบุคลากร ไม่ว่าจะเป็น Upskill Reskill อะไรต่าง ๆ รวมถึงเรื่องของการที่จะมีศูนย์กลางให้ข้อมูล Database ต่าง ๆ องค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงสุดท้ายคือการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบที่มีอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ ที่เราพูดกันง่าย ๆ ว่า Ease of Doing Business ต่าง ๆ อันนี้เป็นส่วนที่จะต้องดำเนินการ ทั้งหมด คำถามของผมคำถามแรกก็ถือว่า ในรัฐบาลชุดปัจจุบันมีแนวทางในการที่จะสนับสนุน Micro SMEs ในลักษณะอย่างไรบ้าง มีการดำเนินการในลักษณะที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาได้เคย วางมาตรการไว้ก่อนหน้านี้หรือไม่ ซึ่งอย่างที่ว่าเรามีเรื่องของแผนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมซึ่งวางไว้ ๕ ปี เริ่มต้นตั้งแต่ปี ๒๕๖๖ นั่นคือสิ่งที่เป็นคำถามแรกที่อยากจะ ถามท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ท่านภูมิธรรม เวชยชัย ครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธาน อนุชา บูรพชัยศรี ท่านประธานครับ พอดีท่านภูมิธรรม เวชยชัย ได้พูดถึงเรื่องของแหล่งเงินทุน ซึ่งแน่นอนครับ เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้ Micro SMEs สามารถที่จะเดินหน้า ธุรกิจได้ทุก คราวนี้ก็มีหลายส่วนได้มีการนำเสนอข้อมูล ท่านพูดถึงเรื่องการที่จะเข้าถึงแหล่ง เงินทุน ในปัจจุบัน Micro SMEs ส่วนใหญ่ก็จะมีแหล่งเดียวก็คือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ทางด้านสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของรัฐเอง หรือว่าในส่วน ของธนาคารเอกชน หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ แต่สิ่งที่อยากจะนำเสนอก็คือในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับแหล่งเงินทุนที่เกี่ยวกับตลาดทุน ไม่ใช่เรื่องของการกู้ยืมเงินแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของการที่จะสนับสนุน Micro SMEs ในลักษณะคล้าย ๆ กับต่างประเทศ คือ ในส่วนที่จะมีระดมทุนผ่านกองทุน กองทุนนี้ไม่ใช่กองทุนที่จะให้รัฐบาลมาตั้งหรืออย่างไร แต่เป็นกองทุนที่ให้เอกชนเขาสามารถดำเนินการได้พูดง่าย ๆ เหมือนกับว่าเป็น Startup Funding แล้วก็ผ่านกลไกของตลาดทุนทั่ว ๆ ไป มี ก.ล.ต. ก็คือคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการ แล้วก็ทำในเรื่องของการที่จะ Incubate เขา คือทำอย่างไรที่จะให้ Startup ในส่วนของ MSMEs สามารถที่จะก้าวเดินเป็นก้าวแรกได้ แล้วก็ให้เขาเกิดความเข้มแข็ง เพราะว่า ณ ปัจจุบันนี้ถ้าสมมุติว่าเกิดเรื่องของตัว Financial Sheet หรือว่า Statement อะไรต่าง ๆ ไปถึงทางด้านสถาบันการเงินแล้วสุดท้ายถ้ามัน ไม่ดีจริงก็ไม่สามารถจะเข้าแหล่งเงินทุนได้ตามที่ต้องการอยู่ดี แต่ถ้าเรามีกองทุนในลักษณะ ของ Venture Capital ที่จะให้เขา Startup ได้เดินไป แน่นอนครับมีความเสี่ยง แต่ทั่วโลก เขาก็เช่นเดียวกัน Microsoft Facebook Instagram Google อะไรต่าง ๆ ทั้งหมดเขาเริ่ม มาจากตรงนี้ครับ เขาไม่ได้เริ่มด้วยการที่ว่าเขาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่บ้านเรามันเป็น ในลักษณะแบบนั้น ถ้าจะระดมทุนผ่านทางด้านมหาชนหรือว่า Public ก็จะต้องเข้า IPO อย่างเดียว เราควรที่จะต้องคิดมาเพิ่มเติมในเรื่องของการที่จะสนับสนุนแหล่งเงินทุนจาก การที่มีการตั้งกองทุนโดยที่ไม่ใช่จากรัฐบาล แต่เป็นการตั้งกองทุนจากเอกชนเพื่อที่จะได้มี การดำเนินการให้กับทางด้าน Startup ต่าง ๆ ที่ตอนนี้ Micro SMEs มีมากมายเลยครับ ในการที่จะเข้าถึงตรงนี้ได้อย่างง่ายดาย ผมขออนุญาตจะพูดซ้ำอีกทีหนึ่งเพื่อเน้นตรงนี้ว่า มีการควบคุม กำกับ ดูแล อาจจะเป็น ก.ล.ต. หรือหน่วยงานอะไรก็แล้วแต่ที่จะต้องออกแบบมา อันนี้ก็ต้องขอฝากทางด้านสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และทาง ด้านกระทรวงอุตสาหกรรมช่วยคิดออกแบบในเรื่องของวิธีการตรงนี้ด้วย ผมเหลือเวลาไว้ อีกสักนิดหนึ่งขออนุญาตที่จะปิดท้ายอีกสักเรื่องหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญด้วยครับ ท่านประธาน ขอบพระคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • ท่านประธาน ขออนุญาตใช้เวลา อีกนิดเดียวครับ

    อ่านในการประชุม

  • ฝากไว้นิดเดียวครับท่านประธาน ก็คือในส่วนของ SMEs ตอนนี้เรามีผู้ประกอบการกว่า ๓,๒๐๐,๐๐๐ ราย ต้องบอกว่าการจ้างงาน เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ในจำนวนนี้มีการจ้างงานในส่วนของ MSMEs กว่า ๑๓ ล้านคน ต้องบอกว่าในส่วนของช่วงที่ผ่านมามีการไปทำแบบสำรวจ มีการทำ Survey ต้องบอกว่า MSMEs เขามีความกังวลมากที่สุดก็คือเรื่องของสถานการณ์การจ้างแรงงานและสิ่งที่สำคัญ ก็คือเรื่องของแนวโน้มในการปรับเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งถ้าถามว่ามีการสอบถามมาว่า จะดำเนินการอย่างไรหาก MSMEs พวกนี้ได้รับผลกระทบ เขาบอกเลยว่าเขาจะลดจำนวน แรงงานที่มีอยู่และให้ทำหน้าที่ได้หลายหน้าที่ หรือว่าจะต้องปลดออก อันที่ ๒ ก็คือจะยกเลิก สวัสดิการ ไม่ว่าจะเป็นโบนัส เงินเบี้ยเลี้ยง อาหารกลางวัน รวมกระทั่งไปถึงเปลี่ยนรูปแบบ การจ้างงานประจำให้เป็นรายวันหรือรับเหมา อันนี้ก็อยากที่จะฝากท่านภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ว่าอันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่อาจจะต้อง เดินหน้าด้วยความรอบคอบ เพราะว่าตอนนี้รัฐบาลเองหลังจากที่มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มาแล้วก็ยังมีความประสงค์ที่จะเพิ่มเติมอีกในเรื่องของการที่จะปรับค่าแรง ซึ่งอันนี้เป็นส่วนที่ ทางด้าน MSMEs ได้สะท้อนภาพออกมาว่าอาจจะเป็นประเด็นในอนาคตในเรื่องของการที่จะ ขยับขยายหรือการสนับสนุน MSMEs ถ้าท่านประธานจะให้ท่านรองนายกรัฐมนตรีได้กรุณา ตอบตรงนี้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเลยครับ ขอบคุณครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม อนุชา บุรพชัยศรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ สักครู่นี้พอดีเห็นท่านกรรมาธิการ หลายท่านได้ลุกขึ้นมาในการที่ใช้สิทธิพาดพิง ผมก็เลยมิได้ขึ้นมาในช่วงหลังจากที่ผู้อภิปราย ท่านแรกได้กล่าวเรื่องของแลนด์บริดจ์ตรงนี้ เพราะว่าด้วยความเกรงใจท่านประธานบอกว่า ขอให้อภิปรายไปอีกสัก ๑-๒ คน แต่ผมกลัวว่าเดี๋ยวจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดถ้าผม ไม่ลุกขึ้นมาชี้แจงในส่วนที่มีการพาดพิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านสมาชิกจากพรรคก้าวไกล เมื่อสักครู่นี้ได้อภิปรายแล้วก็พาดพิงถึงรัฐบาลชุดที่แล้วที่พูดถึงท่านอดีตนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้วก็พูดถึงเรื่องของยุทธศาสตร์ชาติว่าทำไมคณะกรรมาธิการ ชุดนี้หรือว่าในส่วนของรัฐบาลชุดนี้ถึงได้ดำเนินการโครงการในลักษณะที่ว่าเป็นมรดกมาจาก รัฐบาลชุดที่แล้วที่ไม่มีความเหมาะสม แต่ผมอยากเรียนท่านตรง ๆ แล้วก็สั้น ๆ นิดเดียว เพื่อความเข้าใจตรงกันว่ายุทธศาสตร์ชาติมันเป็นเหมือนเรื่องของการที่เราควรจะต้องมี เข็มทิศของประเทศ แล้วมันก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับว่ารัฐบาลจะเป็นเผด็จการหรือจะเป็นอะไร ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหน ประเทศไหน ตอนนี้เป็นเรื่องปกติที่เขาควรจะต้องมีวิสัยทัศน์ ก็ควรจะต้องมี Vision เพราะฉะนั้นในส่วนของตรงนี้ยุทธศาสตร์ชาติไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าที่ เขาพูดถึงเรื่องของการที่จะทำให้ประเทศไทยมีความมั่งคั่ง มีความมั่นคง มีความยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตรงนี้ไม่ได้ มีปัญหาอะไร เรื่องของการที่จะเดินหน้าในการที่เราจะทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโครงการ อะไรทั้งสิ้นเลย แล้วในส่วนของเรื่องของโครงการแลนด์บริดจ์ หรือแม้กระทั่งในส่วนของ การที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ที่เป็นเรื่องของ SEC มันก็เป็นส่วนหนึ่งของ ยุทธศาสตร์ชาติที่ประเทศเราควรจะต้องมีที่กำลังจะพูดถึงเรื่องของด้านการสร้างขีด ความสามารถในการแข่งขัน เพราะฉะนั้นประเด็นตรงนี้ผมอยากจะเรียนท่านประธานอย่างนี้ ครับว่า ถ้าหากเราได้พิจารณาในส่วนของรายงานฉบับนี้ในเรื่องของเนื้อหา ในเรื่องของ เทคนิค ในเรื่องของประเด็นที่อยู่ในรายงานนี้ ผมคิดว่าการที่กรรมาธิการจะลุกขึ้นมาก็อาจจะ ไม่ต้องชี้แจงบ่อยครั้ง แต่เมื่อสักครู่นี้หลังจากที่ท่านได้อภิปรายไปแล้วมีกรรมาธิการลุกขึ้นมา ชี้แจงถึง ๓ ท่าน แล้วผมก็เว้นวรรค แล้วผมเป็นท่านที่ ๔ ถ้าเราพูดถึงเรื่องของการเมืองผม มั่นใจแน่นอนครับ กรรมาธิการก็จะขอใช้สิทธิถ้าหากมีการพาดพิงหรืออะไรต่าง ๆ ที่อาจจะ ไม่ใช่เนื้อหาสาระจากในส่วนของรายงานที่เกี่ยวข้องกับทางด้านโครงการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการขนส่งระหว่าง อ่าวไทยและอันดามัน หรือว่าโครงการแลนด์บริดจ์ ถ้าเราพูดถึงเรื่องของประเด็นเหตุผล เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างไรกับเนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางด้านรายงานฉบับนี้ ผมมั่นใจเหลือเกินครับว่าทุกอย่างก็จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กรรมาธิการก็พร้อมที่จะ ชี้แจง แต่ถ้าท่านมีการพาดพิงในลักษณะแบบนี้ผมคิดว่ากรรมาธิการที่เกี่ยวข้องก็อาจจะต้อง ลุกขึ้นมา ปกติผมจะไม่มีการลุกขึ้นมาที่ไม่เกี่ยวข้องกับตรงนี้ แต่กลัวว่าหลาย ๆ ท่านอาจจะ เข้าใจผิดในสิ่งที่ท่านได้พาดพิงในส่วนของรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งผมก็มีโอกาสได้ทำงานเป็น ส่วนหนึ่งของรัฐบาลชุดที่แล้วด้วย ก็เลยต้องการที่จะขึ้นมาเพื่อที่จะทำความเข้าใจกับ สภาแห่งนี้ว่าทุกอย่างเป็นไปในส่วนของการทำงานเพื่อวัตถุประสงค์ของการพัฒนา ประเทศชาติของเราไปในแนวทางที่ถูกต้องแล้วก็เหมาะสม ไม่ได้คิดที่จะพูดถึงเรื่องของ การเมืองอะไรทั้งสิ้น หรือว่าใครที่รัฐบาลชุดนี้ของท่านเศรษฐา ทวีสิน หากจะเอาโครงการอะไร ของรัฐบาลชุดที่แล้วมาทำก็อย่าให้ได้พูดเลยว่า เป็นสิ่งที่เป็นมรดกตกทอดมาจากรัฐบาล ที่เรียกว่าเผด็จการ เพราะว่าในปี ๒๕๖๒ ก็มีการเลือกตั้งปกติ ในสมัยนั้นพรรคอนาคตใหม่ ก็มีการลงเลือกตั้งอะไรต่าง ๆ ในส่วนของฝ่ายค้านอะไรต่าง ๆ เพราะฉะนั้นถ้าเกิดพูดอะไร ที่มันนอกเหนือจากประเด็นในรายงานนี้ผมเกรงว่ากรรมาธิการก็อาจจะต้องลุกขึ้นมาชี้แจง อีกครั้งหนึ่งครับท่านประธาน ขอบคุณมากครับ

    อ่านในการประชุม

  • เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม อนุชา บูรพชัยศรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ หลังจากที่ได้ฟังท่านสมาชิก ได้อภิปรายเกี่ยวกับเรื่องของเนื้อหาของรายงาน เราก็คงจะพูดถึงเรื่องของประเด็นเนื้อหาจริง ๆ ก่อนอื่นก็ต้องตอบในส่วนของประเด็นที่มีคำถามมากมายในเรื่องของความเหมาะสมของ การศึกษารายงานฉบับนี้ ผมคงไม่ได้ใช้เวลานานเพราะว่ามีสมาชิกหลายท่านได้ลงชื่ออภิปรายไว้เยอะพอสมควร เพราะฉะนั้นผมก็จะเข้าสู่ประเด็นแบบเรียกว่าสั้น ๆ เลย อย่างแรกก็คือพูดถึงเรื่องของ งบประมาณที่อาจจะต้องมีการพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ในการที่จะลงทุน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเพื่อพี่น้องในพื้นที่ภาคใต้ แล้วก็ตามที่ท่านสมาชิกฝ่ายค้านได้พูดถึงเรื่องของการที่เรา จะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในด้านใดได้บ้าง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็คงจะ เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการที่ยุทธศาสตร์ได้มองภาพเอาไว้ว่าสิ่งที่ได้เกิดขึ้นในประเทศตอนนี้ เรากำลังที่จะปรับจากประเทศที่มีรายได้ ที่เขาเรียกกันว่ากับดักของรายได้ของประเทศ จากในปัจจุบัน ซึ่งเราจะทำอย่างไรให้ GDP เราสูงขึ้น ทำอย่างไรให้รายได้ในส่วนของพี่น้อง ประชาชนไม่ใช่เฉพาะพี่น้องภาคใต้อย่างเดียวสามารถที่จะยกระดับได้ ต้องเรียนอย่างนี้ว่า ถ้าเราดำเนินการในลักษณะปัจจุบันที่ทำอยู่คงไม่สามารถดำเนินการได้ที่เราจะยกระดับ ความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะ GDP หรือว่ารายได้ของพี่น้องประชาชน เราคง จะใช้ที่เรียกง่าย ๆ ว่าวิธีการที่เป็นแบบ Traditional หรือวิธีการที่เรียกว่าในปัจจุบันที่เรา เคยทำมาอยู่ในอดีต ต่อให้เราสร้าง Value หรือมูลค่าเพิ่มในส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรรมหรืออะไรต่าง ๆ ทั้งหมดมันก็อาจจะไม่สามารถที่เราจะก้าวข้ามในส่วนของ กับดักตรงนี้ไปได้ แต่สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาต่อเนื่องมาถึงชุดปัจจุบันก็คือเราต้องคิด อะไรที่มันออกไปแนวใหม่ ๆ บ้าง ออกไปแนวใหม่ ๆ ตรงนี้ก็คือว่าธุรกิจหรือว่าสิ่งที่เรา จะต้องทำ ก็คือก่อนหน้านี้คงจะพูดถึงเรื่องของไทยแลนด์ ๔.๐ อุตสาหกรรม ๔.๐ หรืออะไร ต่าง ๆ แต่ ณ ตอนนี้มันไปเร็วมาก เราพูดถึงเรื่องของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล อุตสาหกรรม AI อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับทางด้าน Sustainable Development ในการ ที่จะต้องทำอะไรก็แล้วแต่ต้องดูในเรื่องของ สภาพแวดล้อม ต้องดูในเรื่องของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนด้วย แล้วก็เรื่องของการที่เราจะต้อง เข้าอยู่ในประชาคมโลก ไม่ได้มีการที่จะเดินอะไรที่มันผิด ไม่สอดคล้อง อย่างเช่น COP การที่ เราต้องไปมีส่วนร่วมในเรื่องของการที่จะทำอย่างไรที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้น้อยที่สุดอะไรต่าง ๆ พวกนี้ เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมในอนาคตเราคงต้องเห็นว่ามี การบริการมากขึ้น อะไรต่าง ๆ มากขึ้น อุตสาหกรรม Silicon Valley หรืออุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านซอฟท์แวร์อะไรต่าง ๆ มันไม่ได้กำหนดขึ้นมาหรอกครับว่าสุดท้ายแล้ว เป็นเพราะพื้นที่เขาเหมาะสมอย่างไร แต่มันเป็นการที่จะต้องเป็นการนำเสนอวิสัยทัศน์ของ รัฐบาลในการที่จะนำเสนอว่าเราจะไปทางไหน กรรมาธิการชุดนี้ก็คงเช่นเดียวกันครับ มีการศึกษาในลักษณะแบบนี้ ณ วันนี้ถามว่าคุ้มค่าหรือไม่ อย่างไร การศึกษาจึงมีการสรุปว่า จากนี้ไปควรจะต้องทำอะไร มีบางส่วนของทางด้านสมาชิกได้มีการกล่าวถึงเรื่องของการที่ว่า ณ วันนี้มันเป็นเรื่องของคมนาคมขนส่งหรือไม่ ณ ตอนนี้กรรมาธิการก็ได้ตกผลึกหลังจากที่ได้ เรียนเชิญหน่วยงานต่าง ๆ มาทั้งหมดไม่ใช่เฉพาะคมนาคม แต่ต้องบอกว่า สนข. เองต้องเป็น หน่วยงานที่น่าเห็นใจที่สุดครับ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการศึกษาตรงนี้ก็ดี หรือในเรื่องของ การที่จะต้องได้รับคำพูดถากถางอะไรต่าง ๆ จากในที่ประชุมกรรมาธิการเองก็ดี หรือว่า ในส่วนของการอภิปรายในสภาแห่งนี้ แต่อย่าลืมว่ากรอบในการที่มีการเสนอให้ทางด้าน สนข. ไปมีการพิจารณาเรื่องของความเหมาะสม หรือความคุ้มค่า หรืออะไรต่าง ๆ มันเป็น การส่งให้กับทางด้าน สนข. กระทรวงคมนาคมไปดูเฉพาะเรื่องของแลนด์บริดจ์ นั่นคือ เรื่องของท่าเรือฝั่งชุมพร ท่าเรือฝั่งระนอง ไปดูเรื่องของ Traffic ที่จะมีระหว่างกันระหว่าง ๒ ท่าเรือ แล้วก็ไปดูเรื่องของที่ว่าจะมีการ Bypass มาต่าง ๆ หรือไม่หากมีการใช้ในส่วนของ แลนด์บริดจ์ที่เรียกว่าเป็น One Port Two Sides ไม่ใช่เป็นท่าเรือที่จะต้องมีการ Double Handling สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้คือสิ่งที่ได้ตกผลึกในคณะกรรมาธิการชุดนี้ แล้วก็มีข้อเสนอแนะ ว่าจากนี้ไปต้องทำอะไร คณะกรรมาธิการกรรมาธิการชุดนี้ไม่ได้ดำเนินการในลักษณะของที่ รัฐบาลส่งมาแล้วเราก็มา Stamp ตรายางว่าควรจะต้องทำหรือไม่ทำ แต่เรามาศึกษาว่าอะไร ที่รัฐบาลยังไม่ดำเนินการ กรรมาธิการชุดนี้ก็จะเสนอแนะในสิ่งที่ควรต้องดำเนินการต่อไป เพราะฉะนั้นถ้าท่านจะอ่านในรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของหน้า ๗๙ เรามีหลาย หน่วยงานเลยครับ ไม่ใช่เฉพาะคมนาคมอย่างเดียว มีทั้งในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรม มีทั้งในส่วนของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีทั้ง ในส่วนของกรมโยธาธิการและผังเมือง มีทั้งสำนักงานทั้งทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รวมไปถึงสำนักงานสภาพัฒน์ คณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงการคลัง รวมไปถึงหน่วยงานอื่น ๆ อีกมากมายเลย ที่จะต้องดำเนินการ กระทรวงกลาโหม กระทรวงต่างประเทศ ทั้งหมดนี้เราทำงานแบบไซโล ไม่ได้ ไซโลคืออะไรครับ จะมาเป็น Department จะเอาเฉพาะกระทรวงไหนกระทรวงหนึ่ง ส่งรายงานเข้ามา แล้วก็มาสรุป แล้วก็มาตัดสินใจว่าแลนด์บริดจ์ทำได้ ไม่ได้ เป็นอย่างนั้น ไม่ได้หรอกครับ เพราะว่าในกรรมาธิการเองก็มีข้อสรุปว่าอันนี้มันเป็นส่วนหนึ่งของระเบียง เศรษฐกิจภาคใต้ที่จะเชื่อมโยงระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ผมคิดว่าอย่างนี้ ตอนนี้ กรรมาธิการทุกท่านที่นั่งอยู่ ที่ไม่ได้ลาออกไปนี่เข้าใจตรงกันครับว่าโครงการแลนด์บริดจ์ เกิดไม่ได้เลยถ้าไม่มี SEC มาสนับสนุน ตรงกันข้ามครับ ถ้าสมมุติว่า SEC ไม่เกิด ผมมั่นใจ เหลือเกินว่ารัฐบาลชุดนี้อาจจะไม่เดินหน้าในส่วนของโครงการแลนด์บริดจ์ด้วยซ้ำไป เพราะว่าถ้าเราดูแค่เพียงเฉพาะว่าจะมีตู้ Container เข้ามาที่ท่าเรือชุมพรเท่าไร จะมีตู้ Container เข้ามาที่ท่าเรือชุมพรเท่าไร จะมีการขับเคลื่อนในส่วนของการที่ว่าพูดง่าย ๆ Alternative Route หรือว่าในการขนส่งที่จะไม่ใช้ในส่วนของไปทางด้านใต้ที่แหลมมะละกา อย่างไร ผมมั่นใจเหลือเกินครับว่าคณะกรรมาธิการชุดนี้ได้ชัดเจนมากเลยว่าถ้าหากว่าไม่มี การพัฒนาในส่วนของ SEC เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้คงไม่เกิดแน่นอนในส่วนของแลนด์บริดจ์ คงไม่เกิดแน่นอน คำว่า แลนด์บริดจ์ ต้องให้ทุกท่านได้เข้าใจแล้วครับ ตอนนี้มันไม่ใช่แค่เพียง ในเรื่องของการคมนาคมขนส่งระหว่าง ๒ ท่าเรือเท่านั้น มันเป็นทั้งการทำท่าเรือด้วย ส่วนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำถามอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของที่ว่าใครจะมาลงทุน รัฐบาลก็พูด ชัดเจน กรรมาธิการชุดนี้ก็สรุปชัดเจนว่าเราจะใช้ในลักษณะของ PPP หรือการร่วมทุนกับ ทางด้านภาคเอกชน นั่นหมายความว่าหากมีการศึกษาแล้ว สิ่งที่ สนข. กับทางกระทรวง คมนาคมได้ไปศึกษามา รวมถึงเล่มนี้ที่เรามีการศึกษามันเป็นแค่ปฐมบทเท่านั้นเอง มันเป็น แค่บทนำบทเล็ก ๆ เท่านั้นเอง ไม่มีใครหรอกครับที่เขาจะมาลงทุน ๑ ล้านล้านบาท แล้วเอา รายงานของ สนข. ไปทำ หรือเอารายงานของคณะกรรมาธิการชุดนี้ไปทำ Feasibility อันนี้ ไม่ใช่ อย่าเข้าใจผิดว่าเล่มนี้คือ Feasibility Study เล่มนี้ไม่ใช่เรื่องของการศึกษาว่าคุ้มทุน หรือไม่คุ้มทุน จะทำหรือไม่ทำ แต่เล่มนี้ศึกษาว่าส่งไปให้รัฐบาลว่าจากนี้ไปควรจะต้อง ดำเนินการในลักษณะอย่างไรเพื่อที่จะหาคำตอบเพิ่มเติม ผมคิดว่าจะได้เข้าใจตรงกัน กับสมาชิกที่จะอภิปรายต่อ ๆ ไปว่าเล่มนี้ไม่ใช่ Final Report หรือว่าเป็น Feasibility ที่จะ ดำเนินการในลักษณะแบบนั้น แต่เล่มนี้เป็นลักษณะของการที่ว่าจะนำเสนออย่างไร อย่างที่ ผมบอกก็คือว่าไม่ใช่ต่างคนต่างทำ กระทรวงแต่ละกระทรวงเสนอเข้ามา เราคงเคยเห็น ในอดีตว่าที่ผ่านมา อันนี้ก็คือคำถามต่อเนื่องจากที่ท่านสมาชิกทางสภาได้พูดถึงเรื่องที่ว่า จะคุ้ม ไม่คุ้มกับชีวิตความเป็นอยู่ ผมขออนุญาตที่จะรวมไปเลยว่าแล้วเรื่องของความสมดุลล่ะ วิสัยทัศน์จะเป็นอย่างไร จะเลือกผลประโยชน์สูงสุดให้กับประเทศในอีก ๕๐ ปีอย่างไร ทั้งหมดตรงนี้ ผมอยากจะเรียนอย่างนี้ว่าเราคงไม่สามารถที่จะพูดไปไกลขนาดนั้น เพราะว่า อย่างที่ผมเรียนก็คือคณะกรรมาธิการชุดนี้ไม่ได้มีหน้าที่ในการที่จะบอกรัฐบาลว่านโยบาย รัฐบาลควรต้องทำอะไร สิ่งที่เราได้ศึกษาในวันนี้หรือว่าที่กรรมาธิการได้สรุปในวันนี้แล้วนำมา เสนอในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ก็คือเรากำลังจะบอกว่าถ้าหากจะเดินหน้าโครงการนี้ จะต้องเดินหน้าอย่างไรเพื่อความรอบคอบ การลงพื้นที่ของกรรมาธิการ เราไปกันแค่คืนเดียว เท่านั้นครับ ๒ วัน งบประมาณก็มีเท่าที่สภาผู้แทนราษฎรมอบให้ แล้วถ้าบอกว่าเราเปิดปลาย ไว้เลยว่าไม่จำเป็นที่จะต้องปิด ไม่จำเป็นที่จะต้องรีบเร่งในการทำสรุปรายงานฉบับนี้ คงเป็นไปไม่ได้หรอกครับ เราจะใช้เงินกันเท่าไรครับ ลองดูสิครับ สนข. ทำแค่เพียง Traffic Flow ระหว่าง ๒ ท่าเรือเท่าไร ท่าเรือจะใช้ TEU ตู้ Container คอนเทนเนอร์เท่าไร เขาใช้ งบประมาณเป็น ๑๐ ล้านบาท เราอยากใช้งบประมาณของสภาแห่งนี้ อย่างที่ท่านเคยพูดควรจะต้องใช้ให้มีประสิทธิภาพ มากที่สุด เราจะเปิดปลายตรงนี้ไปเรื่อย ๆ เพื่อที่จะใช้เวลาสักประมาณ ๒ ปี ท่านคิดว่าจะทำ ได้ไหมละครับ ผมก็อยากจะถามท่านประธานด้วยว่าท่านประธานจะอนุญาตด้วยหรือไม่ ถ้าหากทางด้านประธานคณะกรรมาธิการของคณะนี้มาขอต่ออยู่เรื่อย ๆ ผมก็กลัวว่าสมาชิก ฝ่ายค้านก็คงจะต้องบอกว่าทำไมยังไม่เสร็จสักที ทำไมต้องใช้งบประมาณมากมายอะไรขนาดนั้น เราแค่เป็นการที่จะนำเสนอข้อมูลในเบื้องต้นเพื่อให้รัฐบาลได้ไปดำเนินการต่อแค่นั้นเอง แล้วในส่วนของฝ่ายเลขานุการหรือ สนข. ก็ต้องบอกว่าโจทย์ที่เขาได้รับมาคือเรื่องของ คมนาคมขนส่งแค่นั้นเอง แต่ในกรรมาธิการของเราได้มีการมองเห็นภาพกว้างแล้วว่ามันไม่ใช่ เฉพาะคมนาคมอย่างที่ผมเรียนให้ทราบ มีหน่วยงานอีกหลายหน่วยงานอีกมากมายที่จะต้อง เข้ามาดำเนินการเรื่องของ พ.ร.บ. SEC ก็เหมือนกัน ณ วันนี้ก็มีแค่ในส่วนที่ว่าสมาชิกได้ นำเสนอร่างกฎหมายเข้ามาเพียงแค่ฉบับเดียว เราก็มีการเสนอครับว่ารัฐบาลควรจะต้อง เร่งรีบ พิจารณาที่จะนำกฎหมายเข้ามาเช่นเดียวกันในการที่จะต้องดู ผมมีการถามกับ ทางด้าน สนข. ว่าแล้ว พ.ร.บ. SEC ที่จะกำหนดขึ้นมาใครจะเป็นคนร่างขึ้นมาหรือว่าเป็นฝ่าย ของรัฐบาล ณ วันนี้ก็ต้องบอกว่า สนข. เขาก็มึนเหมือนกัน พอกรรมาธิการบอกว่ามันไม่ใช่ เฉพาะในส่วนของแลนด์บริดจ์แล้วนะ มันเป็นเรื่องของภาคอุตสาหกรรมภาพใหญ่ ถ้าอย่าง นั้นคนที่ต้องร่าง พ.ร.บ. ตรงนี้ก็ไม่ใช่ สนข. แล้วสิ นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งที่กรรมาธิการนำเสนอ ครับว่าควรจะต้องเป็นหน่วยงานอื่นหรือไม่ ผมมีโอกาสได้อภิปรายในสภาเพื่อนำเสนอตลอด แต่หากว่าการเสนอของกรรมาธิการชุดนี้เป็นในรูปแบบลายลักษณ์อักษรแบบนี้รัฐบาลก็จะได้ เดินหน้าต่อไปได้ว่าถ้าอย่างนั้นใครจะต้องเดินหน้าในการที่จะต้องเป็นฝ่ายเลขานุการของการ ที่จะต้องทำโครงการนี้ ไม่ใช่เฉพาะแลนด์บริดจ์ มันจะต้องเป็นในส่วนของ SEC จะเป็น สภาพัฒน์หรือไม่ จะเป็นใครก็แล้วแต่ ตรงนี้ส่วนหนึ่งของกรรมาธิการก็ได้มีการสรุปอยู่ในนี้ ค่อนข้างที่จะชัดเจน แต่ถ้าท่านจะลงลึกในรายละเอียด จะเอาให้ได้ว่าสรุปแล้วมันคุ้มค่า หรือไม่ในการที่จะต้องตัด หรือว่า Bypass แหลมมะละกาตรงไป ผมบอกได้เลยครับว่า แม้กระทั่ง สนข. ณ วันนี้เขาไม่สามารถที่จะตอบได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะว่างบประมาณ ที่กำลังพิจารณาอยู่ในปี ๒๕๖๗ ก็ยังมีการพิจารณาว่าจะให้ สนข. ในการที่เขาจะเอาเงินไป ศึกษาเพิ่มเติมหรือไม่ แต่แน่นอนครับ ถ้า ณ ตอนนี้ผมก็เรียนให้ทราบว่าหน่วยงานอื่น ๆ เขาอาจจะมองว่า ปี ๒๕๖๗ นี้งบประมาณอาจจะไม่ทัน เขาก็เตรียมที่จะนำเสนอในส่วนของ งบประมาณที่จะไปศึกษาในภาพรวมทั้งหมดในปี ๒๕๖๘ เพราะฉะนั้นสภาผู้แทนราษฎร ในเดือนหน้านี้ ต้นเดือนมีนาคมคงจะได้มีการพิจารณาในวาระที่ ๒ และวาระที่ ๓ ของงบประมาณ แล้วหลังจากนั้นอีก ๓-๔ เดือนเท่านั้นท่านจะเห็นว่าโครงการแลนด์บริดจ์ จะไม่ใช่เป็นการที่จะศึกษาผ่านทางด้านกระทรวงคมนาคมอีกต่อไป แต่จะเป็นการศึกษาผ่าน งบประมาณของกระทรวงอื่น ๆ อีกมากมายที่จะรวมศูนย์ รวมศูนย์ตรงนี้ก็คือว่าไม่ใช่ต่างคน ต่างทำ แต่เป็นการรวมศูนย์ในการที่จะพิจารณาภาพรวมว่า SEC จะเกิดหรือไม่ คำถามที่ เมื่อสักครู่ท่านสมาชิกฝ่ายค้านได้พูดถึงว่าเราจะดำเนินการให้กับประชาชนในการที่จะเป็น ประโยชน์สูงสุดหรือไม่ ต้องบอกว่าอันนี้ไม่ใช่ฟันธงแน่นอนว่าต้องทำ อดีตที่ผ่านมาเรามี ในเรื่องของการที่ว่าเราจะสร้างแลนด์บริดจ์ที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชไปที่ จังหวัดพังงาแล้วก็จังหวัดกระบี่ สุดท้ายก็ไม่ได้ทำ ต่อเนื่องจากนั้นมาอีกประมาณเกือบ ๓๐ ปี ก็มีการนำเสนอโครงการแลนด์บริดจ์อีกเช่นเดียวกัน คราวนี้ไปที่ไหนครับ พาดอีกแบบหนึ่ง มาจากจังหวัดสงขลาไปที่ท่าเรือปากบารา

    อ่านในการประชุม

  • จะขออนุญาตสรุปเลยครับ หลังจากนั้นก็คือไปที่ท่าเรือปากบารา ตรงนี้ก็ไม่ได้อีกเหมือนกันเพราะว่าพี่น้องประชาชน ภาคใต้ก็มองภาพว่าไม่อยากให้สร้างเพราะว่าตอนนั้นทางด้านจังหวัดสตูลหรือว่าท่าเรือ ปากบารามองภาพว่ามันใกล้สถานที่ท่องเที่ยวเกินไป สุดท้ายก็เลยมาสิ่งที่เรากำลังดำเนินการ อยู่ในส่วนของจังหวัดชุมพร จังหวัดระนองตรงนี้ ถ้าหากสุดท้ายแล้วพี่น้องประชาชนภาคใต้ ไม่ใช่เฉพาะจังหวัดชุมพร จังหวัดระนองอย่างเดียว แต่รวมไปถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วก็จังหวัดสุราษฎร์ธานีมองว่าโครงการแลนด์บริดจ์นี้ไม่เหมาะสม ผมมั่นใจเหลือเกินว่า รัฐบาลก็คงจะไม่เดินหน้าทู่ซี้ต้องทำให้ได้ เหมือนเช่นที่กรรมาธิการชุดนี้ได้พยายามที่จะ พิจารณาว่าเราไม่ได้ฟันธง แต่เราคิดว่ารัฐบาลควรจะต้องดำเนินการอย่างไรที่จะให้โครงการนี้เกิดความครอบคลุม ทั้งหมด แล้วก็ต้องขอขอบคุณคำถามของท่านด้วย เป็นคำถามที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แล้วผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเราจะดำเนินการได้อย่างไร แต่มั่นใจเหลือเกินว่ามีตัวแทนของ ทางด้านรัฐบาลมาฟังการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ท่าน ได้ดำเนินการในส่วนของคำถามทั้งหมดนี้ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีและเป็นคำถามที่ต้องถามด้วย แต่อาจจะไม่ได้อยู่ในรายงานฉบับนี้ ผมก็หวังว่าในส่วนของหน่วยงานที่มาฟังวันนี้ก็จะได้นำ คำถามที่ท่านได้กรุณาอภิปรายวันนี้ไปเพิ่มเติมนอกเหนือจากรายงานของกรรมาธิการด้วย ขอบพระคุณครับท่านประธาน

    อ่านในการประชุม