ข้อมูลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ชุดที่ 26
ปีที่ 1
สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง
ครั้งที่ 13 วันพุธที่ 6 กันยายน 2566 เวลา 10.59 - 19.01 นาฬิกา
เอกสารต้นฉบับ: บันทึกการประชุมรายงานการประชุมสรุปการประชุม
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เรียนท่านสมาชิก ทุกท่านนะครับ ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมในวันนี้ ผมจะอนุญาตให้ท่านสมาชิก ได้ปรึกษาหารือเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนตามข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๒๔ โดยผมจะอ่านรายชื่อเรียงตามลำดับ ซึ่งท่านทั้งหลาย ได้มาลงชื่อครบแล้วในวันนี้ อนุญาตให้ท่านหารือได้คนละไม่เกิน ๓ นาที ท่านแรก ผมขอเชิญ คุณชลธานี เชื้อน้อย เชิญครับ
นายชลธานี เชื้อน้อย ลำปาง ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต ๓ พรรคก้าวไกล อำเภอเมือง อำเภอแม่ทะ อำเภอแม่เมาะ ผมลงพื้นที่และได้รับทราบความเดือดร้อน ของพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวลำปาง จึงขอเรียนปรึกษาหารือท่านประธานสภาผ่านไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายชลธานี เชื้อน้อย ลำปาง ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ผ่านไปยังกรมทางหลวง ด้วยถนนทางหลวงหมายเลข ๑๐๓๗ ลำปาง-แม่ทะ ตั้งแต่ช่วงวงเวียนมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ตำบลชมพู อำเภอเมือง ผ่านวัดดอยม่วงคำไปจรดสามแยกเลี่ยงเมืองเข้าตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ และถนน ทางหลวงหมายเลข ๑๐๓๖ ตั้งแต่ช่วงแยกบ้านฟ่อน ตำบลชมพู อำเภอเมือง ถึงแยก บ้านแม่ปุง ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ ทั้งที่ถนนทั้ง ๒ เส้นเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างอำเภอ และมีผู้สัญจรนับพันคันต่อวัน ทั้งยังสามารถเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข ๑ ซึ่งเป็นถนน สายหลักของประเทศ จึงขอให้มีไฟส่องสว่างเพื่อลดอุบัติเหตุและอาชญากรรมที่เกิดขึ้น บ่อยครั้ง
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เรียนท่านสมาชิก ทุกท่านนะครับ ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมในวันนี้ ผมจะอนุญาตให้ท่านสมาชิก ได้ปรึกษาหารือเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนตามข้อบังคับการประชุม สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๒๔ โดยผมจะอ่านรายชื่อเรียงตามลำดับ ซึ่งท่านทั้งหลาย ได้มาลงชื่อครบแล้วในวันนี้ อนุญาตให้ท่านหารือได้คนละไม่เกิน ๓ นาที ท่านแรก ผมขอเชิญ คุณชลธานี เชื้อน้อย เชิญครับ
นายชลธานี เชื้อน้อย ลำปาง ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายชลธานี เชื้อน้อย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต ๓ พรรคก้าวไกล อำเภอเมือง อำเภอแม่ทะ อำเภอแม่เมาะ ผมลงพื้นที่และได้รับทราบความเดือดร้อน ของพ่อแม่พี่น้องประชาชนชาวลำปาง จึงขอเรียนปรึกษาหารือท่านประธานสภาผ่านไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายชลธานี เชื้อน้อย ลำปาง ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ผ่านไปยังกรมทางหลวง ด้วยถนนทางหลวงหมายเลข ๑๐๓๗ ลำปาง-แม่ทะ ตั้งแต่ช่วงวงเวียนมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ตำบลชมพู อำเภอเมือง ผ่านวัดดอยม่วงคำไปจรดสามแยกเลี่ยงเมืองเข้าตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ และถนน ทางหลวงหมายเลข ๑๐๓๖ ตั้งแต่ช่วงแยกบ้านฟ่อน ตำบลชมพู อำเภอเมือง ถึงแยก บ้านแม่ปุง ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ ทั้งที่ถนนทั้ง ๒ เส้นเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างอำเภอ และมีผู้สัญจรนับพันคันต่อวัน ทั้งยังสามารถเชื่อมกับทางหลวงหมายเลข ๑ ซึ่งเป็นถนน สายหลักของประเทศ จึงขอให้มีไฟส่องสว่างเพื่อลดอุบัติเหตุและอาชญากรรมที่เกิดขึ้น บ่อยครั้ง
นายชลธานี เชื้อน้อย ลำปาง ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ผ่านไปยังกรมทางหลวงชนบท ถนนทางหลวงชนบทลำปาง หมายเลข ๔๐๔๒ ขอให้มีไฟส่องสว่างตลอดทั้งเส้น ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรหลักของหมู่บ้าน บ้านกล้วยแพะ ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง และมีประชากรมากกว่า ๒,๐๐๐ คน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชน
นายชลธานี เชื้อน้อย ลำปาง ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ผ่านไปยังกรมทางหลวง รับทราบจากพี่น้องในเขตเทศบาลเมือง เขลางค์นคร กรณีการสร้างสะพานยกระดับ จุดตัดถนนทางหลวงหมายเลข ๑ และถนน ทางหลวงหมายเลข ๑๑ บริเวณแยกกิโลยักษ์ ส่งผลให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวก ในการจราจร ต้องไป U-turn กลับรถในระยะไกล และไม่สะดวกในการไปมาหาสู่ในพื้นที่ ของเทศบาลเมืองเขลางค์นคร จึงขอให้พิจารณาสร้างสะพานกลับรถเกือกม้า หรือจัดทำ แยกสัญญาณไฟจราจรเทียบเคียงแยกทางยกระดับเกษตรสุขในจังหวัดพะเยา
นายชลธานี เชื้อน้อย ลำปาง ต้นฉบับ
ประเด็นถัดมาผ่านไปยังกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เนื่องด้วยนายวีระชัย พรมศรี ผู้ใหญ่บ้านกิ่วห้อง ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ แจ้งว่าพื้นที่บ้านกิ่วห้องประสบปัญหา เรื่องของภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้เกษตรกรและผู้ใช้น้ำได้รับความเสียหาย เมื่อปี ๒๕๖๓ ประชาชนร่วมกันเข้าชื่อ เพื่อยื่นขอโครงการพัฒนาระบบการกระจาย น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรต่อผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต ๑ แต่ไม่มี ความคืบหน้า จึงขอให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน
นายชลธานี เชื้อน้อย ลำปาง ต้นฉบับ
ประเด็นถัดไปผ่านไปยังกรมชลประทานได้รับทราบจากผู้ใหญ่จันทร์ฟอง วงศ์เปี้ย ผู้ใหญ่บ้านนายาบ หมู่ที่ ๗ อำเภอแม่ทะ เนื่องด้วยอ่างเก็บน้ำแม่มอญ บ้านสามขา ตำบลหัวเสือ มีสภาพตื้นเขิน และปริมาณกักเก็บลดลง ขอให้ทำการขุดลอกเพื่อเป็นแหล่ง กักเก็บน้ำสำคัญของตำบล
นายชลธานี เชื้อน้อย ลำปาง ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้าย ขอเร่งรัดติดตามโครงการไปยังกรมชลประทาน รับทราบ จากนายฉลองชัย ทิพย์ธารากร และนายสมคิด วงศ์ปัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จางเหนือ ด้วยโครงการอ่างแม่จางตอนบนในพระราชดำริ ในตำบลจางเหนือ อำเภอแม่เมาะ ทำการ IEE ไปแล้วเรียบร้อย และได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อปี ๒๕๖๕ แต่เหตุใดยังไม่ได้รับ การดำเนินการจนปัจจุบัน ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณบุญแก้ว สมวงศ์ ครับ
นายบุญแก้ว สมวงศ์ ยโสธร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายบุญแก้ว สมวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร พรรคเพื่อไทย ผมมีเรื่องขอ หารือท่านประธานอยู่ ๒ เรื่อง
นายบุญแก้ว สมวงศ์ ยโสธร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ผมได้รับร้องเรียนจากลูก ๆ นักเรียนโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ เพื่อของบประมาณก่อสร้างหลังคาคลุมลานอเนกประสงค์ หรือเรียกว่า โดม ผมในฐานะที่ เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ และได้สอบถามลูก ๆ ทำไมถึงอยากได้โดม เขาบอกว่าเวลาเข้าแถวเคารพธงชาติเขาตากฝน บางทีก็ไม่ได้เข้าแถวนะครับ แล้วก็ทำ กิจกรรมอื่น ๆ ก็มีความเดือดร้อน ก็อยากฝากท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงาน โดยเฉพาะ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดสรรงบประมาณให้กับโรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ด้วย โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์เป็นโรงเรียนระดับอำเภอ มีนักเรียนอยู่ประมาณ ๒,๐๐๐ กว่าคน ถือได้ว่าเป็นโรงเรียนขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ และเป็นโรงเรียนยอดนิยม ของอำเภอคำเขื่อนแก้ว มีลูก ๆ หลายอำเภอ ไม่ว่าจะเป็นอำเภอเขื่องใน อำเภอมหาชนะชัย อำเภอใกล้เคียงที่มาเรียนอยู่แห่งนี้ ผมก็ฝากท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีคนใหม่นะครับ อย่างไรก็ตามอยากให้จัดสรรงบประมาณให้กับลูก ๆ ด้วย เพื่อให้ได้ทำกิจกรรมง่ายขึ้น
นายบุญแก้ว สมวงศ์ ยโสธร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ผมได้รับร้องเรียนจากกำนันประเสริฐ จันทรส และพี่น้อง ชาวอำเภอป่าติ้ว ซึ่งสำนักงานที่ดินของอำเภอป่าติ้ว ดู Slide นะครับ เห็นภาพสร้างไว้ อย่างใหญ่โต แล้วก็สวยหรู แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่มาให้บริการกับพี่น้องประชาชน เวลาพี่น้อง ประชาชนไปทำกิจกรรม ไปทำธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นรังวัด ออกโฉนดที่ดิน ก็ต้องเดินทางไปที่ จังหวัดยโสธร ไปที่ดินจังหวัดยโสธร ระยะห่าง ๒๕ กิโลเมตร ซึ่งถ้าได้ไปแล้วก็ไปทั้งวัน อย่างไรก็ตามผมอยากฝากท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงมหาดไทย แล้วก็อธิบดีกรมที่ดินได้จัดเจ้าหน้าที่มาอยู่ที่สำนักงานให้กับพี่น้องประชาชน เพื่ออำนวย ความสะดวกให้กับประชาชนด้วยนะครับ และกระผมขอฝากรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยคนใหม่นะครับ ก็คงจะอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนครับ ขอขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณรอมฎอน ปันจอร์ ยังไม่พร้อมนะครับ ผมขออนุญาตข้ามไปก่อนนะครับ ขอเชิญคุณภาคภูมิ บูลย์ประมุข ครับ
นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข ตาก ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก พรรคพลังประชารัฐ ผมมีเรื่องหารือท่านประธาน ๒ เรื่องด้วยกันนะครับ ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีโครงการก่อสร้างการรถไฟสายแม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ ผมและชาวจังหวัดตากก็ดีใจเป็นอย่างมากจังหวัดตากจะมีรถไฟแล้วนะครับ ซึ่งถ้าโครงการนี้ เกิดขึ้นจะส่งผลดีกับจังหวัดตากโดยเฉพาะอำเภอแม่สอด การค้าชายแดนแม่สอดเป็นการค้า ชายแดนที่ติดอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย แต่ละปีมีการค้าเกือบเฉียดแสนล้านทุกปี หากมี ทางรถไฟก็จะทำให้การค้าชายแดนคึกคัก แม่สอดก็เป็นที่น่าจับตาอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างต่าง ๆ ย่อมมีผลเสียและผลดีนะครับ ผมขออนุญาตกล่าวยกตัวอย่าง ในเรื่องการก่อสร้างอุโมงค์ทางรถไฟระหว่างทางนะครับบริเวณอุโมงค์พะวอ บริเวณป่าชุมชน ของบ้านห้วยหินฝน ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งอุโมงค์นี้มีระยะความยาว ๑๒ กิโลเมตร แต่บริเวณนี้จะผ่านบริเวณตาน้ำแหล่งน้ำใต้ดินที่จะเป็นตัวหล่อเลี้ยงของ ชาวตำบลแม่ปะและอำเภอแม่สอดทั้งอำเภอ ชาวบ้านมีความกังวลว่าหากสร้างตรงนี้ แล้วจะมีผลกระทบต่อการใช้น้ำในอนาคต ทางผู้นำท้องที่ท้องถิ่นก็ได้ทำหนังสือไปที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย แต่ก็ได้รับคำตอบว่าไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งน้ำนี่ จะอยู่ข้างบนของอุโมงค์ไม่มีผลกระทบ แต่อย่างไรก็ตามชาวบ้านก็ยังกังวลเรื่องนี้อยู่ เมื่อ ๒ วันที่ผ่านมา ผู้นำท้องที่ท้องถิ่นของอำเภอแม่สอดก็ได้ประชุมกัน และมีความเห็น ยืนยันว่าจะให้ขยายหรือว่าเลื่อนแนวอุโมงค์ออกไปจากเดิมนะครับ ขอยืนยันอีกครั้ง แล้วก็เขามีมติเป็นเอกฉันท์และจะทำหนังสือไปทางการรถไฟแห่งประเทศไทยอีกครั้ง จึงฝากเรียนท่านประธานผ่านไปยังทางการรถไฟแห่งประเทศไทยด้วยนะครับ
นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข ตาก ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ มีข้อร้องเรียนจากผู้ประกอบการค้าสิ่งประดิษฐ์ทำจากไม้ของท้องที่ จังหวัดตาก เนื่องจากมีการประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ฉบับวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๖ โดยให้ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับวันที่ ๒๙ ๒๕๔๘ ที่ใช้อยู่ก่อน โดยระบุว่า การนำเข้าสิ่งประดิษฐ์จากเดิมไม่ต้องมีใบ C/O หรือใบรับรองถิ่นกำเนิดไม้จาก ประเทศเมียนมา แต่ประกาศกระทรวงฉบับใหม่ให้มีเหมือนเดิม ทำให้ผู้ประกอบการค้า ได้รับความเสียหายมาก เนื่องจากท่านก็ทราบดีนะครับแนวชายแดนของจังหวัดตาก โดยเฉพาะประเทศเมียนมาไม่มีเสถียรภาพตามข่าวปัจจุบัน ยิ่งข่าวล่าสุดก็เป็นข่าวใหญ่ ระดับโลกนะครับ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ของอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้ประชากรเป็นจำนวนมากนะครับที่สำคัญ ได้ภาษีเข้าสู่ประเทศไทยและจังหวัดตากเป็นจำนวนมาก ผมจึงขอท่านประธานผ่านไปยัง กระทรวงพาณิชย์ให้ชะลอการออกหนังสือนี้ไปก่อนโดยใช้ฉบับเดิมเมื่อปี ๒๕๔๘ พลางไปก่อนนะครับ ฝากไปยังกระทรวงพาณิชย์ด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไป คุณชยพล สท้อนดี เชิญครับ
นายชยพล สท้อนดี กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม ชยพล สท้อนดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตหลักสี่ เขตจตุจักร พรรคก้าวไกลครับ วันนี้ผมมีเรื่องหารือจำนวน ๕ เรื่อง
นายชยพล สท้อนดี กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ คือไฟส่องสว่างไม่พอตอนกลางคืนช่วงต้นซอยแจ้งวัฒนะ ๑๔ เขตหลักสี่ กทม. ช่วงต้นซอยตอนกลางคืนจะมืดมากเลย รบกวนท่านประธาน ส่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนั้นดำเนินการดูแลต่อด้วยนะครับ ในถนนกำแพงเพชร ที่อยู่ใต้สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงตลอดแนวเขตหลักสี่ เขตจตุจักรเลยนะครับ ใต้รถไฟฟ้า ไฟมืดมากเลยครับทั้ง ๆ ที่มีเสาไฟอยู่แล้ว และถนนเองก็เป็นผิวลูกคลื่นตลอดทั้งแนว อยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบช่วยดำเนินการจัดซ่อมตรงนี้ให้โดยเร็วนะครับ เพราะว่า ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก และอีกอย่างหนึ่งนะครับตรงรถไฟฟ้า สายสีแดงตรงสถานีทุ่งสองห้องเสาตอม่อบังทางเข้าออกซอยวิภาวดีรังสิต ๒๕ เรื่องตรงนี้ต้องฝากท่านประธานถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจริง ๆ ว่าต้องฉุกคิดบ้างตอนที่ สร้างตัวสถานี สร้างตอม่อขึ้นมา สร้างอยู่ตรงปากซอยของเขา สร้างเสาใหญ่เบ้อเร่อเลย แล้วบังทางเข้าออกทำให้ประชาชนที่จะเข้าออกจากซอยต้องชะเง้อมอง ต้องเงื้อมมอง แล้วมันมองไม่เห็นจริง ๆ มันเป็นมุมอับที่จะทำให้อาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ในอนาคต อย่างไร ฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการต่อด้วยนะครับ
นายชยพล สท้อนดี กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
อีก ๒ เรื่องที่เหลือ คือเรื่องผิวถนนตรงถนนแจ้งวัฒนะบริเวณหน้าศูนย์ ราชการเขตหลักสี่พังจากการก่อสร้างรถไฟฟ้ามานานมากแล้ว แล้วก็เรียกได้ว่าสงสัยจริง ๆ ว่าเราสร้างรถไฟฟ้าให้มันเรียบร้อยกว่านี้ได้ไหมให้พื้นผิวถนนนั้นมันไม่พังขนาดนี้ เท่าที่เป็นอยู่ได้ไหมครับ นั่นคืออยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการตรงนี้ ด้วยนะครับ
นายชยพล สท้อนดี กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องตรงถนนริมคลองประปาใกล้ซอยเสริมสุขนะครับ เขตจตุจักร ตรงถัดจากสำนักงานการประปานครหลวงสาขาประชาชื่น ติดกับทางรถไฟ ตรงทางเข้าซอยก่อนที่จะเข้าไปในชุมชนบ่อฝรั่งตรงทางเข้าถนนจะพังมากเลยครับ ถนนพังมากจนรถยนต์จะขับเข้าไปนี้ยังต้องชะลอดี ๆ ไม่อย่างนั้นช่วงล่างน่าจะพังหมด เพราะฉะนั้นใน ๕ เรื่องทั้งหมดตรงนี้ ผมอยากฝากท่านประธานหารือไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการดูแลดำเนินการจัดการต่อด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณณพล เชยคำแหง เชิญครับ ถ้าคุณณพลยังไม่พร้อมผมจะข้ามไปก่อน
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
พร้อมแล้วท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญเลยครับ
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม นายณพล เชยคำแหง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด หนองบัวลำภู นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน เขต ๓ พรรคเพื่อไทย วันนี้ผมมีประเด็นหารือ ท่านประธานถึงปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเพียง ๑ เรื่องครับ
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
ผมได้รับร้องเรียนจากท่านนายก อบต. นายกทองอินทร์ ปางชาติ ถึงปัญหา ของความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ใช้เส้นทางในการเกษตรที่สำคัญในพื้นที่ ขอ Clip Video นิดหนึ่งครับ
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
อันนี้เป็นเส้นทางที่ผมได้ไปสำรวจ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนะครับ ก็เอาพอสังเขปว่านี่คือในสถานการณ์ปกติ แต่ถ้าเกิดสถานการณ์ ที่ฝนตกการเดินทางจะลำบากมากกว่านี้หลายเท่า เส้นทางนี้เป็นเส้นทางธรรมชาติที่เชื่อมต่อ ระหว่างเขตของตำบลดงสวรรค์ของจังหวัดหนองบัวลำภูไปยังตำบลนาด้วง อำเภอวังสะพุง ของจังหวัดเลยครับ ซึ่งพื้นที่นี้หากว่าได้รับการเยียวยาในเรื่องของความทุรกันดารอย่างที่ เห็นแล้วนี่จะทำให้การสัญจรไปมาสะดวกสบายและมีประโยชน์อย่างมากนะครับ
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
ประโยชน์ประการที่ ๑ ก็คือเป็นเรื่องของเกษตรกรผู้ทำสวนยางพาราที่ต้องมี มากกว่า ๗๐๐ ครัวเรือนที่ต้องใช้เส้นทางนี้อยู่ทุกวัน ขณะเดียวกันที่ยางราคา ๔ กิโลกรัม ๑๐๐ บาท ๕ กิโลกรัม ๑๐๐ บาท ขณะนี้ก็เต็มกลืนอยู่แล้วสำหรับความลำบากของ พี่น้องประชาชน แต่ต้องมาเจอสถานการณ์ของถนนแบบนี้อีกด้วยเขาสิ้นเปลือง ในเรื่องของเวลา เรื่องของค่าน้ำมัน เป็นต้นทุนที่สูงขึ้น อันนี้ก็หากว่าได้รับการแก้ไข ก็จะช่วยให้บรรเทาความเดือดร้อนได้
นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ ก็คือเส้นทางนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังตำบลนาด้วง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลยได้ ขณะเดียวกันการได้ทำเส้นทางนี้ถ้าสำเร็จและเดินทางสะดวกได้ก็จะย่นระยะเวลา จาก ๙๒ กิโลเมตร เหลือเพียง ๒๕ กิโลเมตร เพราะทุกวันนี้กลุ่มคนชาวบ้านที่นี่ต้องสัญจร ไปเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฏที่จังหวัดเลยก็จะใช้เส้นทางนี้กับสภาพที่เห็นนี้เป็นอยู่ ดูจาก Slide นะครับว่าเราจะย่นระยะทางไปถึง ๖๗ กิโลเมตรทีเดียว แต่ว่าด้วยความจำเป็น ก็ต้องใช้อย่างนี้มาเป็นระยะเวลายาวนาน อันนี้ก็เป็นปัญหาความเดือดร้อนของลูกหลาน ที่ต้องไปเรียนหนังสือต่อ ขณะเดียวกันเข้าใจว่าพื้นที่ตรงนี้ได้มีการร้องเรียนผ่านชุมชน ผ่าน อบต. ผ่านอะไรไปหลายหน่วยงานแล้ว แต่ว่ามาถึงวันนี้ยังไม่มีความคืบหน้า ผมก็ขอ นำเรียนหารือกับท่านประธานในสภานี้ไว้ก่อน ขณะเดียวกันผมเองก็คงจะไปผลักดัน ไปดูถึง ช่องทางไหนที่จะทำให้เส้นทางนี้มันเกิดขึ้นในสภาพที่ดีได้ครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณศุทธสิทธิ์ พจน์ฐศักดิ์ เชิญครับ
นายศุทธสิทธิ์ พจน์ฐศักดิ์ นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม ศุทธสิทธิ์ พจน์ฐศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๓ จังหวัดนครราชสีมา พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอหารือท่านประธานใน ๒ เรื่องด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องความเดือดร้อน ของพี่น้องประชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เขต ๓ ที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน
นายศุทธสิทธิ์ พจน์ฐศักดิ์ นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เรื่องน้ำประปา ตำบลไชยมงคล ตำบลสุรนารี ตำบลบ้านใหม่ ตำบลโคกกรวด ตำบลปรุใหญ่ ตำบลหมื่นไวย ตำบลหนองจะบก ตำบลหนองกระทุ่ม ตำบลพุดซา ตำบลพลกรัง ตำบลสีมุมของอำเภอเมือง และตำบลด่านจาก ตำบลกำปัง ตำบลสำโรง ของอำเภอโนนไทย ๑๔ ตำบล ในเขต ๓ ระบบน้ำประปาในการอุปโภคบริโภคยังมีคุณภาพที่ไม่แน่นอน ทั้งขุ่นข้น มีตะกอน มีกลิ่นเหม็น ประปาบาดาลเป็นคราบตะกรัน ทำให้สุขภัณฑ์พังเสียหาย ประปาผิวดินก็ขุ่นข้น สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ไหลบ้าง ไม่ไหลบ้าง ก็ต้องคอยลุ้นกันรายวันนะครับท่านประธาน
นายศุทธสิทธิ์ พจน์ฐศักดิ์ นครราชสีมา ต้นฉบับ
แค่จากปัญหาการใช้ชีวิตในเรื่องของการทำงานก็หนักพออยู่แล้ว แล้วก็ ยังต้องมาเจอกับปัญหาที่ต้องเจอจากระบบปัจจัยพื้นฐานอีก ซึ่งหน้าที่ของพวกเราตรงนี้ก็คือ ต้องดูแลให้พี่น้องประชาชนได้รับความสะดวกกาย สบายใจใช่ไหมครับ เรามีมาตรฐานที่ดี ของการประปาส่วนภูมิภาคอยู่แล้ว ผมเชื่อว่าพี่น้องประชาชน ผู้นำชุมชน และท้องถิ่น ทั่วประเทศเองก็อยากจะแก้ไขปัญหานี้ใจจะขาด แต่เนื่องด้วยงบประมาณหรือเหตุใดก็ตาม ที่ไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถดำเนินการแก้ไขให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพอใจได้ ผมอยากฝากผ่านทาง ท่านประธานไปยังการประปาส่วนภูมิภาคและหน่วยงานฝ่ายบริหาร ขอให้ดำเนินการแก้ไข ปัญหาตามกรอบอำนาจหน้าที่ของท่านอย่างเร่งด่วนกับปัญหานี้นะครับ
นายศุทธสิทธิ์ พจน์ฐศักดิ์ นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ มีชาวบ้านร้องเรียนมาเรื่องอาคารหอประชุมอเนกประสงค์ของ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ที่ใช้งบประมาณก่อสร้างไปกว่า ๑๖๑ ล้านบาท สามารถ รองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้ ๒,๐๐๐ กว่าคน ตั้งอยู่ในสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ ปี ของตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุน งบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ปี ๒๕๕๕ จากการเข้าเยี่ยมชมอาคาร ผมได้ พบว่าอาคารนี้เป็นอาคารร้าง ร้าง ร เรือนะครับ ไม่ใช่ ล ลิง ร้างแบบไม่ใช้งานมาเป็นสิบ ๆ ปี พื้นกองเต็มไปด้วยอุจจาระของนกพิราบ ไม่มีวี่แววของการทำนุบำรุงอาคารที่ถูกอนุมัติ ก่อสร้างเพื่อใช้งานตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ด้วยงบ ๑๖๑ ล้านบาท ขอย้ำนะครับ ภาษี ๑๖๑ ล้านบาท แต่วันนี้กลับกลายเป็นอาคารร้างที่ไร้ประโยชน์ จากการหาข้อมูลเพิ่มเติม พบว่าข้อสังเกตมากมายเลยครับ ทั้งในระหว่างการก่อสร้างมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของอาคารจากที่มีที่นั่ง ๑,๕๐๐ ที่นั่ง กลายเป็น ๔,๐๐๐ ที่นั่ง ให้ใหญ่ขึ้นโดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารโครงการ ตามแผนปฏิบัติการ เมื่อก่อสร้างเสร็จก็ไม่ได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ อาคารหอประชุมหลังนี้ มีเสียงดังก้องมาก มีปัญหาเรื่องจัดการเสียงมาก นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาคารแห่งนี้ ไม่ถูกใช้งานเลยตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ จนปัจจุบัน ส่วนเรื่องค่าไฟ เปิด Air-condition เปิดไฟใช้ที ๔๐,๐๐๐ บาทต่อวัน นี่คืออีกสาเหตุหนึ่งที่ไม่ได้ใช้ เพราะสาเหตุนี้ละครับ เมื่อก่อสร้างเสร็จ แทนที่จะได้จัดการประชุม ได้ใช้งานของมันจริง ๆ มีเพียงการจัดประชุมผู้ใหญ่บ้าน กำนัน แค่ครั้งสองครั้งเท่านั้น ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ จนปัจจุบันก็ยังไม่ได้ใช้งานอีก ตอนนี้กลายเป็น สถานที่ร้างไปโดยถาวรแล้วครับ
นายศุทธสิทธิ์ พจน์ฐศักดิ์ นครราชสีมา ต้นฉบับ
ก็อยากจะฝากท่านประธานนะครับ คือประชาชนฝากมาครับว่าเราเสียดาย เงินงบประมาณที่ใช้เงินแบบนี้ ถ้าใช้แบบนี้เอาไปให้เป็นทุนการศึกษาแก่เด็ก ๆ ดีกว่า อยากฝากท่านประธานถึงอธิบดีกรมการปกครอง สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้ดำเนินงานแก้ไขปัญหานี้ตามกรอบอำนาจของท่าน อย่างเร่งด่วนด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปขอเชิญคุณผกามาศ เจริญพันธ์ ครับ
นางสาวผกามาศ เจริญพันธ์ สุรินทร์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวผกามาศ เจริญพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๓ จังหวัดสุรินทร์ พรรคภูมิใจไทย วันนี้ดิฉันมีข้อหารืออยู่ ๒ ประเด็นนะคะ
นางสาวผกามาศ เจริญพันธ์ สุรินทร์ ต้นฉบับ
ในเรื่องของจุด U-turn ในเส้นทาง ๒๑๔ เริ่มต้นที่อำเภอท่าตูมในกิโลเมตร ที่ ๑๔๒ ถึงอำเภอจอมพระกิโลเมตรที่ ๑๖๔ รวมระยะทาง ๒๑ กิโลเมตรนั้นเป็นถนน ๔ ช่องจราจร ซึ่งยาวถึง ๒๑ กิโลเมตร และเป็นทางตรงทำให้มีจุด U-turn ในแต่ละจุด ห่างกันค่อนข้างไกล ซึ่งถ้าเกิดว่าชาวบ้านต้องการที่จะเดินทางไปโรงพยาบาลต้องไป U-turn ก่อน ๒ กิโลเมตร แล้วกลับมาอีก ๒ กิโลเมตร ถึงจะเดินทางไปที่โรงพยาบาลได้ทำให้ เสียเวลาแล้วก็ไม่ทันเหตุการณ์ ซึ่งดิฉันอยากให้กรมทางหลวงช่วยพิจารณาให้มีจุดกลับรถ เพิ่มเติม และดิฉันได้รับร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนชาวเทศบาลเมืองแก เรื่องผลกระทบ จากจุดกลับรถ โดยเฉพาะตรงบ้านสวนหม่อน หมู่ที่ ๑๑ โดยจุดกลับรถจุดนี้เป็นตำแหน่ง ที่ถนนเป็นทางลาดชันลงจากเขาดินนะคะ ทำให้รถที่วิ่งลงส่วนมากไม่ชะลอความเร็วจึงทำให้ เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โดยอ้างอิงข้อมูลอุบัติเหตุจาก สภ. ท่าตูม ในปี ๒๕๖๕ แค่ปีเดียว เกิดเหตุแล้ว ๑๒ ครั้ง บาดเจ็บ ๑๐ ราย และเสียชีวิตอีก ๘ ราย และในปีนี้ครึ่งปีแรก ก็เสียชีวิตไปแล้ว ๒ รายจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ดิฉันจึงอยากฝากให้ทางกรมทางหลวง ช่วยเร่งดำเนินการแก้ไข และช่วยเพิ่มมาตรการเรื่องความปลอดภัยให้แก่พี่น้องประชาชนค่ะ
นางสาวผกามาศ เจริญพันธ์ สุรินทร์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ดิฉันได้รับร้องทุกข์จากชาวบ้านทั้ง ๔ หมู่ คือหมู่บ้านลุงปุง หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๑๗ บ้านเหล่าอ้อย หมู่ที่ ๒ บ้านดงแดง หมู่ที่ ๑๙ โดยทั้ง ๔ หมู่บ้านมีประชากร รวมกันกว่า ๑,๐๐๐ หลังคาเรือน ได้รับผลกระทบจากอ่างเก็บน้ำชลประทานบ้านลุงปุง ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม ซึ่งมีขนาดพื้นที่กว่า ๓๐๐ ไร่ แต่มีสภาพตื้นเขินและมีวัชพืช ขึ้นหนาแน่น ส่งผลให้น้ำเน่าเสีย ซึ่งเดิมทีแหล่งน้ำนี้สามารถใช้ในการอุปโภคบริโภค ทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก แต่ว่าในปัจจุบันชาวบ้านไม่สามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำนี้ได้ ทำให้ต้องไปเจาะบาดาลใช้เอง ซึ่งชาวบ้านใน ๓ หมู่บ้านแรกนี้ก็ได้แต่บอกว่าน้ำใต้ดินไม่รู้ว่า วันไหนจะหมด แต่ในส่วนหมู่บ้านดงแดงเป็นบ้านที่น่าเห็นใจมากที่สุด เนื่องจากว่าเจาะ บาดาลแล้วก็ไม่มีน้ำนะคะ สุดท้ายต้องใช้รถบรรทุกขนน้ำในการที่จะเอามาอุปโภคบริโภค ในหมู่บ้าน ยิ่งในปัจจุบันนี้ที่เราเผชิญหน้ากับสถานการณ์ EI Nino ซึ่งจะแล้งยาวไปอีก ๓ ปี ดิฉันจึงอยากฝากไปทางกรมชลประทานให้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องอ่างเก็บน้ำบ้านลุงปุงให้มีการ ขุดลอกอ่างเดิมที่ตื้นเขินให้ลึกขึ้น แก้ระดับทางน้ำเข้าและทางน้ำออกให้สะดวกเพื่อไม่ให้เกิด น้ำเน่าเสียและสามารถใช้น้ำและพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดิฉันขอความกรุณาเรียนผ่าน ท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการแก้ไขด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ต่อไปขอเชิญคุณเอกธนัช อินทร์รอด ครับ
นายเอกธนัช อินทร์รอด หนองคาย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ กระผม เอกธนัช อินทร์รอด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๓ จังหวัด หนองคาย พรรคเพื่อไทย กระผมมีข้อหารือกับท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓ เรื่องด้วยกันนะครับ
นายเอกธนัช อินทร์รอด หนองคาย ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากนายอนุวรรัตน์ ชานัย นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลบ้านม่วง และนางสาวทับทิม กาบแก้ว สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และพี่น้องประชาชนชาวบ้านห้วยค้อ บ้านภูเขาทอง บ้านม่วง อำเภอสังคม จังหวัด หนองคาย ได้รับผลกระทบจากแม่น้ำโขงที่กัดเซาะริมตลิ่ง ริมแม่น้ำโขง ซึ่งความเสียหายหลายกิโลเมตร โดยเฉพาะอำเภอสังคมเป็นอำเภอที่ติดริมแม่น้ำโขง ทุก ๆ ปี น้ำจากแม่น้ำโขงจะกัดเซาะระยะทางริมตลิ่งทีละ ๕ เมตร ๓ เมตร ๔ เมตร ระยะทางจุดละ ประมาณ ๑๐๐ เมตร จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดมีทั้งหมด ๙ อำเภอ มี ๖ อำเภอ ที่ติดริมแม่น้ำโขงและส่วนใหญ่แต่ละจุดจะมีน้ำโขงที่กัดเซาะ แล้วปีนี้ก็มีปริมาณน้ำที่มากขึ้น กว่าทุก ๆ ปี ทำให้ตลิ่งมีการกัดเซาะมากขึ้นกว่าทุก ๆ ปี จึงขอกราบเรียนท่านประธาน ฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยกันแก้ไข ให้ป้องกันริมตลิ่งไม่ให้กัดเซาะอีก
นายเอกธนัช อินทร์รอด หนองคาย ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ได้รับการร้องเรียนจาก สจ. ประดิษฐ์ หาริกุล และชาวบ้าน ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ช่วงนี้ฝนตกติดต่อกัน เป็นระยะเวลานานทำให้ถนนหนทางหลาย ๆ พื้นที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำฝนที่มาก แล้วก็ทำให้พืชผลการเกษตรของพี่น้องประชาชนและการสัญจรของพี่น้องประชาชน เดินทางไม่สะดวกแล้วก็ลำบาก ก็อยากจะกราบเรียนท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันแก้ไขและป้องกัน
นายเอกธนัช อินทร์รอด หนองคาย ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนจังหวัดหนองคาย ที่ทำการค้าขายชายแดนจาก สปป. ลาว ว่าก่อนโควิดเราจะมีหนังสือเล่มสีเขียวอย่างนี้ ให้กับผู้ที่มีภูมิลำเนาที่จังหวัดหนองคายให้ทำเป็นเล่มเวลาเดินทางไปก็จะได้สะดวก คือ ๑ เล่มนี้ใช้ได้ ๑ ปี สำหรับผู้ที่ทำการค้าขายและมีภูมิลำเนาที่อยู่จังหวัดหนองคาย แต่หลังจากที่มีโควิดเข้ามาก็ยกเลิกหนังสือเล่มนี้ แต่เมื่อวิกฤติโควิดผ่านไปแล้วการขออนุญาต หนังสือเล่มนี้สีเขียว หนังสือผ่านแดนชั่วคราวนี่ให้เฉพาะพี่น้องประชาชนที่อยู่ในอำเภอเมือง อำเภอต่าง ๆ อย่างเช่น อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม หรืออำเภอโพนพิสัย ซึ่งจังหวัดหนองคายเช่นเดียวกันไม่ได้รับอนุญาต ก็อยากจะขอกราบเรียนท่านประธาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอความเห็นหรือว่าขอเหตุผลในการที่ทำไมไม่อนุมัติให้กับ พี่น้องประชาชนในจังหวัดหนองคายเหมือนเช่นกับพี่น้องประชาชนในเขตอำเภอเมืองครับ ขอกราบขอบพระคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณเซีย จำปาทอง ครับ
นายเซีย จำปาทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม เซีย จำปาทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วน เครือข่ายผู้ใช้แรงงาน ผมมีเรื่องจะหารือท่านประธาน ๓ เรื่องครับ
นายเซีย จำปาทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ลูกจ้างบริษัท แอลฟ่า สปินนิ่ง จำกัด ตั้งอยู่ที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบกิจการสิ่งทอ มีลูกจ้างประมาณ ๒๒๕ คน ลูกจ้างได้รับ ความเดือดร้อนจากนายจ้างลดค่าจ้าง ค้างจ่ายค่าจ้าง ขอ Slide ด้วยนะครับ
นายเซีย จำปาทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
หักเงินค่าจ้างแล้วไม่จ่ายคืนให้กับ ลูกจ้าง ต่อมาปิดกิจการ เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินอื่น ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ
นายเซีย จำปาทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
๒. ลูกจ้างบริษัท เอเอ็มซี สปินนิ่ง จำกัด ตั้งอยู่ที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบกิจการปั่นด้าย มีลูกจ้าง ๑๕๐ คน ลูกจ้างได้รับ ความเดือดร้อนจากนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๖๖ ต่อมานายจ้าง ปิดกิจการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายเงินค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเงินอื่น ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย ๒ โรงงานแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันเหมือนเลียนแบบกัน เลิกจ้างและไม่จ่ายเงินค่าชดเชยและเงินอื่น ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับโดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย ทั้ง ๆ ที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้กำหนดไว้ สร้างความเดือดร้อนให้กับลูกจ้างและยัง ส่งผลกระทบกับครอบครัวของลูกจ้างอีกเป็นจำนวนมาก ลูกจ้างทั้ง ๒ แห่งได้ยื่นหนังสือ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง เพียงไม่กี่บาท แต่รัฐยังไม่สามารถติดตามนายจ้างให้นำเงินมาจ่ายให้ลูกจ้างตามสิทธิ ที่ควรได้รับได้ และขณะนี้ทราบว่านายจ้างเริ่มขนทรัพย์สินในโรงงานออกไปขายแล้ว ดังนั้น จึงขอเรียนท่านประธานไปยังนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน คนใหม่เร่งดำเนินการติดตามนายจ้างทั้ง ๒ ราย ให้นำเงินมาจ่ายให้ลูกจ้างอย่างเร่งด่วน หากไม่สามารถติดตามได้ให้รัฐบาลนำเงินมาจ่ายให้ลูกจ้างก่อนแล้วค่อยไปติดตามเอาเงินกับ นายจ้างมาเข้าคงคลังคืน และรัฐต้องดำเนินคดีอาญาอย่างเด็ดขาดกับนายจ้างทั้ง ๒ รายนี้ เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างกับนายจ้างรายอื่น ๆ อีก
นายเซีย จำปาทอง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ มีการจ้างงานรูปแบบใหม่ที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในร้านสะดวกซื้อ บริษัทรับลูกจ้างเข้ามาทำงานในตำแหน่งหนึ่ง แล้วให้ลูกจ้างไปทำงานอีกหน้าที่หนึ่ง ลูกจ้าง ไม่ถนัดกับงานนั้น ๆ เมื่อทำงานที่ไม่ถนัดจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ขอ Slide ด้วยนะครับ เช่นเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ เกิดอุบัติเหตุกับลูกจ้างรายหนึ่งถึงขั้นเสียชีวิต โดยก่อน หน้านี้นายจ้างประกอบกิจการทำขนมปังแห่งหนึ่ง รับลูกจ้างชื่อนายชาณัฐเข้าทำงาน ในหน้าที่ตรวจรับสินค้า วันหนึ่งนายจ้างสั่งให้ขับรถจักรยานยนต์ไปส่งขนมปัง ต่อมา เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนขณะไปส่งสินค้า ญาติผู้เสียชีวิตสันนิษฐานว่าเกิดจากความไม่ถนัด ในการขับรถและอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่เหมาะสม และนายจ้างก็ไม่ดูแลเยียวยาครอบครัว ครอบครัวลูกจ้างได้นำเรื่องร้องเรียนต่อสวัสดิการของแรงงานกรุงเทพมหานคร เขต ๑๐ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๖ ก่อนหน้านี้ก็เคยเกิดเรื่องแบบนี้เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ซึ่งเพิ่มงานให้ลูกจ้าง สุดท้ายลูกจ้างทำงานหนักเหนื่อยและเสียชีวิตหลังร้านสะดวกซื้อ ในเวลาต่อมา จึงขอเรียนท่านประธานไปยังกระทรวงแรงงานช่วยตรวจสอบการจ้างงาน ในลักษณะดังกล่าวและหาแนวทางช่วยเหลือลูกจ้างต่อไป ขอบคุณครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณธีรัจชัย พันธุมาศ ครับ
นายธีรัจชัย พันธุมาศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ธีรัจชัย พันธุมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง พรรคก้าวไกล ขอหารือท่านประธานเพื่อแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหา ดังนี้ครับ
นายธีรัจชัย พันธุมาศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๑. ไฟฟ้าส่องสว่างถนนในเขตหนองจอก เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง ถนนฉลองกรุงทั้งเส้นระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร ไฟถนนและบนสะพานข้ามแยกข้ามคลอง ดับเป็นจำนวนมาก ๒. ถนนเจ้าคุณทหารทั้งเส้นไฟฟ้าถนนดับเป็นระยะทำให้เกิดอุบัติเหตุ เป็นประจำ นอกจากนั้นยังมีถนนสุวินทวงศ์ ถนนเชื่อมสัมพันธ์ ถนนเลียบวารี และถนนเลียบ คลองลำพังพวย แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี มีปัญหาแบบเดียวกัน ขอท่านประธานแจ้งไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงแก้ไขด้วยครับ
นายธีรัจชัย พันธุมาศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๒. ปัญหาการข้ามถนนของนักศึกษาหน้าวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก ถนนคุ้มเกล้า แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี แม้จะมีทางม้าลายแต่มีรถวิ่งด้วยความเร็วสูง เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตั้งสัญญาณไฟจราจรข้ามถนนแบบกดปุ่ม ด้วยครับ
นายธีรัจชัย พันธุมาศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๓. สะพานข้ามคลองลำกอไผ่ ๒ จุด จุดที่ ๑ คือสะพานซอยหลังวัดทองสัมฤทธิ์ และจุดที่ ๒ สะพานที่อยู่ใกล้สะพานหมู่บ้านปาริชาติ อยู่ในพื้นที่คาบเกี่ยว ๒ เขต ๒ ฝั่งคลอง แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรีและแขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง เป็นสะพานที่ประชาชน ร่วมใจกันทำขึ้นเอง รถขึ้นได้ทีละคัน ไม่มีราวกั้น เป็นทางลัดมีรถยนต์สัญจรเป็นจำนวนมาก เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ประชาชนเคยร้องเรียนหน่วยงานราชการเพื่อให้ทำสะพานที่ปลอดภัย ไปหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่มีการดำเนินการเนื่องจากความไม่ลงตัวระหว่างอำนาจของ เขตมีนบุรีและเขตลาดกระบัง ขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครปรับปรุง แก้ไขหรือสร้างสะพานใหม่ด้วยครับ
นายธีรัจชัย พันธุมาศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๔. ปัญหาถนนในซอยและถนนเลียบคลองต่าง ๆ ถนนเลียบคลองลำตาดีร้องไห้ อยู่ในพื้นที่แขวงลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก ระยะทางประมาณ ๖.๒ กิโลเมตร ถนนเลียบคลอง ลำต้นไทร ซอยสุวินทวงศ์ ๑๕ ต่อเนื่องซอยเลียบวารี ๗๙ อยู่ในพื้นที่แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก มีระยะทาง ๔.๙ กิโลเมตร ถนนซอยเชื่อมสัมพันธ์ ๒๒ ถึงมัสยิดเนี๊ยะม่าตุ้ล มักบูลีน (แบนใหญ่) แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก ระยะทาง ๒ กิโลเมตร ถนนซอยร่วมพัฒนา ๖ ถึงทางเข้าด้านหลังเคหะฉลองกรุง แขวงลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก ระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร สภาพถนนทั้งหมดทุกเส้นดังกล่าวเคยเป็นถนนลาดยาง Asphalt แต่มีรถบรรทุก หนักเกินกฎหมาย เลี่ยงด่านชั่งน้ำหนักตามถนนใหญ่มาวิ่งทำให้ถนนดังกล่าวชำรุดเป็นหลุม เป็นบ่อตลอดเส้นทาง ขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้มงวดกวดขันรถบรรทุกน้ำหนักเกินไม่ให้วิ่ง ในถนนดังกล่าวและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงถนนให้อยู่สภาพดีด้วยครับ
นายธีรัจชัย พันธุมาศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๕. ปัญหาน้ำท่วมเสียขังคลองลำชะอำ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก ระยะทาง ๑ กิโลเมตร ในพื้นที่การเคหะฉลองกรุง ประสบปัญหาคลองตื้นเขินมีวัชพืชขึ้นเต็มลำคลอง น้ำไม่สามารถระบายได้สะดวกกลายเป็นน้ำเสียท่วมขัง สร้างความเดือดร้อนของประชาชน ขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วยครับ
นายธีรัจชัย พันธุมาศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๖. ปัญหาการกำหนดพื้นที่กรุงเทพฯ ตะวันออก เช่น เขตหนองจอก เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง ให้เป็นพื้นที่รับน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ ชั้นใน ทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าวในวงกว้างไม่น้อยกว่าปีละ ๒-๓ เดือน สร้างความเดือดร้อน แก่ประชาชนในพื้นที่ สร้างความเหลื่อมล้ำและขัดขวางการพัฒนาอย่างเป็นธรรม ของคนกรุงเทพฯ ที่ควรจะเท่ากัน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการการระบายน้ำ และจัดผังเมืองเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวด้วยครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล ครับ
นายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม สมเกียรติ ตันดิลกตระกูล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต ๕ พรรคเพื่อไทย ประกอบด้วยอำเภอโนนสูง อำเภอพิมาย ๔ ตำบล และอำเภอ เฉลิมพระเกียรติอีก ๒ ตำบล วันนี้กระผมขอหารือท่านประธานเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนดังนี้ครับ
นายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ถนนทางหลวง หมายเลข ๒ ถนนมิตรภาพ ช่วงจากจังหวัดนครราชสีมาไปจังหวัดขอนแก่นหลักกิโลเมตรที่ ๑๘๗ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอโนนสูงมีโรงเรียนบ้านส้มมิตรภาพซึ่งเป็นโรงเรียนระดับ ประถมศึกษาอยู่ริมถนนมิตรภาพ แล้วก็ฝั่งตรงข้ามกับโรงเรียนก็คือชุมชนบ้านส้ม ตำบล ดอนชมพู อำเภอโนนสูง ในช่วงเช้าและช่วงเย็นจะต้องมีเด็กนักเรียนข้ามถนนจากชุมชน เพื่อมาเรียนในโรงเรียนฝั่งตรงข้ามซึ่งถนนมิตรภาพนี้เป็นถนนที่มีความกว้าง ๔ ช่องจราจร ขนาดใหญ่และรถใช้ความเร็วสูงกันมาก การข้ามถนนของเด็ก ๆ ต้องให้คุณครูและตำรวจ ช่วยกันโบกธงแดงก่อนข้ามถนน พอข้ามจากฝั่งหนึ่งมาถึงเกาะกลางถนนก็ต้องหยุดรอ เพื่อให้ตำรวจและคุณครูไปโบกรถอีกฝั่งหนึ่งเพื่อที่จะให้ข้ามถนนได้นะครับ ก็มีความอันตราย เป็นอย่างมาก และหากช่วงใดมีฝนตกถนนก็จะลื่นทำให้การ Brake ของรถยนต์ยิ่งต้องใช้ ระยะทางอีกมากทำให้อันตรายเป็นอย่างยิ่ง ทางโรงเรียนได้ขอให้กรมทางหลวงโดยแขวง ทางหลวงจังหวัดนครราชสีมาช่วยทำการก่อสร้างสะพานลอยข้ามถนนให้กับเด็กนักเรียน เพื่อความปลอดภัยด้วยครับ
นายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ที่ถนนทางหลวงหมายเลข ๒๐๖๗ จากอำเภอโนนสูงเพื่อเข้าสู่ ตัวจังหวัดนครราชสีมา จากอำเภอโนนสูงเป็น ๒ ช่องการจราจรมาตลอด จนกระทั่งจะมาถึง ทางเชื่อมเข้าถนนทางหลวงมิตรภาพหมายเลข ๒ ที่หลักกิโลเมตรที่ ๐+๐๐๐ เป็นสามแยก ไฟแดง ช่วงนั้นกรมทางหลวงบีบช่องการจราจรเหลือเพียง ๑ ช่องจราจรเท่านั้น ทำให้รถติด ไฟแดงกันยาวมาก และเมื่อสัญญาณไฟเขียวเปิดขึ้นรถทุกคันก็จะแย่งกันเพื่อให้ทันไฟเขียว ทำให้เกิดอันตรายเป็นอย่างมาก เพราะบางคันก็วิ่งออกนอกช่องการจราจรสวนทางมา จึงอยากเรียนฝากท่านประธานไปยังแขวงทางหลวงที่ ๑ นครราชสีมา โปรดดำเนินการ ปรับปรุงให้เป็น ๒ ช่องทางจราจรโดยตลอดจากอำเภอโนนสูง เพื่อเชื่อมเข้าถนนทางหลวง มิตรภาพหมายเลข ๒ ซึ่งเป็น ๒ ช่องการจราจรอยู่แล้วนะครับ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ในการเดินทาง
นายสมเกียรติ ตันดิลกตระกูล นครราชสีมา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ที่ทางหลวงหมายเลข ๒๐๖ ส่วนที่แยกจากถนนมิตรภาพ ทางหลวงหมายเลข ๒ เพื่อเข้าสู่อำเภอพิมาย ตั้งแต่ช่วงแรกเลยที่หลักกิโลเมตรที่ ๑ กลางคืนไฟส่องสว่างมีจำนวนน้อยมากไม่เพียงพอ แล้วก็ในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ จะมีงานเทศกาลเที่ยวพิมาย มีการจัดแสดงงานแสงสีเสียงในช่วงเวลากลางคืน ทำให้มี ผู้ต้องสัญจรใช้เส้นทางนี้ในช่วงเวลากลางคืนเป็นอย่างมาก ฝากท่านประธานได้โปรด ประสานไปยังหน่วยงานกรมทางหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน เพื่อความปลอดภัยในการใช้เส้นทางทั้ง ๓ เรื่องด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณธัญธร ธนินวัฒนาธร ครับ
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม ธัญธร ธนินวัฒนาธร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตบางแคและเขตภาษีเจริญ จากพรรคก้าวไกล วันนี้รบกวนปรึกษาหารือ ท่านประธานในเนื้อหาดังนี้นะครับ
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ปัญหาการเวนคืนค้างคาบริเวณถนนสุขาภิบาล ๑ หรือถนน บางแค-ท่าเกษตร เราเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ ผ่านมาแล้ว ๑๖ ปี ปัจจุบันยังไม่มี ความคืบหน้า อาคารพาณิชย์ประชาชนบริเวณนั้นร้างทำการค้าไม่ได้ ขายก็ไม่มีผู้ซื้อ ปล่อยเช่าก็ไม่มีผู้เช่า ขอให้ดำเนินการตามกรอบอำนาจหน้าที่โดยด่วนนะครับ
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ข้อ ๒ การเวนคืนที่ดินในพื้นที่ ๕ เขต ฝั่งธนบุรี ได้แก่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง เขตบางขุนเทียน เขตทุ่งครุ และเขตราษฎร์บูรณะ ตามพระราชกฤษฎีกาเวนคืน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๖ เริ่มต้นที่ถนนพุทธมณฑลสาย ๑ เขตภาษีเจริญ มีกรอบระยะเวลาการดำเนินงานคืบหน้าอย่างไร ขอให้กรุงเทพมหานคร ประชาสัมพันธ์ให้กับพี่น้องประชาชนผู้ได้รับผลกระทบบริเวณนั้นทราบโดยเร็วนะครับ
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ข้อ ๓ ปัญหาไฟส่องสว่าง พื้นที่สาธารณะชำรุด การซ่อมล่าช้า ขอให้ กรุงเทพมหานครประสานร่วมกับการไฟฟ้านครหลวงโดยเร็ว ล่าสุดผมไปลงพื้นที่บริเวณ ซอยร่มไทรในเขตบางแค มีดับต่อเนื่องจำนวนมากหลายสิบต้นนะครับ
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ข้อ ๔ ไฟส่องสว่างในบริเวณถนนกัลปพฤกษ์ตัดถนนกาญจนาภิเษก ภายใต้การดูแลของกรมทางหลวง แม้อยู่ระหว่างการปรับปรุงผิวถนน แต่เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ไม่ควรรอนะครับ
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ข้อ ๕ การจราจรติดขัดบริเวณซอยเพชรเกษม ๖๙ ฝากกรุงเทพมหานคร เร่งดำเนินโครงการอุโมงค์ระบายน้ำ และการขยายถนนให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่ได้อนุมัติ ไว้แล้วครับ
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ข้อที่ ๖ ปัญหารถจอดแช่ โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วนบริเวณฝั่งตรงข้าม เดอะมอลล์ บางแค ฝั่งซีคอน บางแค และบริเวณ BTS บางหว้า ทำให้การจราจรติดขัด ประชาชนเดือดร้อนนะครับ ฝากเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกรอบอำนาจหน้าที่ ในกรณีนี้ ผมทราบมาว่าตำรวจจราจรมีไม่พอเพียงนะครับ เพียง สน. ละ ๓-๔ ท่านเท่านั้น ฝากสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาเพื่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และสวัสดิภาพ ของตำรวจชั้นผู้น้อยด้วยครับ
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ข้อที่ ๗ เขตภาษีเจริญไม่มีสวนสาธารณะเป็นกิจจะลักษณะฝากกรุงเทพมหานคร พิจารณาใช้ประโยชน์จากที่ว่าง เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับพี่น้องประชาชนครับ
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ข้อที่ ๘ สัญญาณไฟจราจรบริเวณปากซอยเพชรเกษม ๑๑๖ ติดตั้งแล้ว แต่ยังไม่เปิดใช้งาน การจราจรเคลื่อนตัวได้ช้า ฝากเจ้าหน้าที่พิจารณาดำเนินการครับ
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ข้อ ๙ ในคลองภาษีเจริญได้มีการสร้างท่าเรือเตรียมเอาไว้แล้วนะครับ แต่ปัจจุบันไม่มีเรือโดยสารวิ่ง รบกวนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสม เพื่อความสะดวกและเพื่อเพิ่มตัวเลือกในการเดินทางให้กับพี่น้องประชาชนครับ
นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ข้อสุดท้าย ทีมงานผู้ช่วยของผม คุณณพัฎน์ จิตตภินันท์กัณตา และคุณณัชชา ชาญชัยพิชิต ลงพื้นที่สำรวจริมคลองชุมชนเลิศสุขสม ทางเดินสร้างมานานหลายสิบปีครับ ไม่มีราวกันตกตลอดทางยาว รวมถึงมีสะพานทางเดินที่หักอยู่ภายในชุมชนครับ ฝากกรุงเทพมหานครพิจารณาเพื่อดำเนินการ เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนครับ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณวิชัย สุดสวาสดิ์ ครับ
นายวิชัย สุดสวาสดิ์ ชุมพร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม วิชัย สุดสวาสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต ๑ จังหวัดชุมพร พรรครวมไทยสร้างชาติ วันนี้กระผมขอหารือท่านประธานสัก ๖ เรื่องนะครับ
นายวิชัย สุดสวาสดิ์ ชุมพร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เป็นเรื่องของการปรับปรุงซ่อมแซมเขื่อนป้องกันน้ำกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณอ่าวผาแดง หาดแหลมเทียน หมู่ที่ ๑ ตำบลหาดทรายรี ก่อนอื่นขอนำเรียน ท่านประธานว่าหาดผาแดงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดชุมพร โดยเฉพาะ เป็นพื้นที่ที่สวยงามโดดเด่น มีหินผาสีแดงสูงประมาณ ๑๐ เมตร กระผมได้รับเรื่องร้องเรียน จากผู้ใหญ่ผดุง คงทน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑ ตำบลหาดทรายรี และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ มีโครงการก่อสร้าง ซ่อมแซมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ผมจึงลงพื้นที่และสำรวจ ไปเจอผู้รับจ้างได้กระทำการก่อสร้าง แต่ก่อสร้างระยะทางแค่ ๔๐ เมตร ทั้ง ๆ ที่ปัญหา เกิดอยู่ที่ประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ เมตร เพราะฉะนั้นแล้วพี่น้องประชาชนไม่ได้ทราบโครงการนี้ มาก่อนนะครับ ขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะกรมเจ้าท่าเข้าไปดูแล แล้วก็แก้ไข ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนโดยเร่งด่วนนะครับ
นายวิชัย สุดสวาสดิ์ ชุมพร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ กระผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องประชาชน หมู่ที่ ๑๖ ตำบลบ้านควน บ้านทับวัง อำเภอหลังสวน ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ประมาณ ๑๐๐ ครัวเรือน แล้วก็ประชาชนนั้นได้ทำการเดินสายไฟฟ้าเข้ามาใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐
นายวิชัย สุดสวาสดิ์ ชุมพร ต้นฉบับ
เพราะฉะนั้นอย่าง Slide ที่เกิดขึ้นที่ได้เห็นนะครับ สายไฟนี้เกิดอันตรายกับพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมากผมเองนั้นได้ทราบข่าวว่าเป็นพื้นที่ ที่ซับซ้อน เป็นพื้นที่ป่าไม้ แต่พี่น้องประชาชนอาศัยอยู่มาก อาศัยอยู่ประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ คน ที่อยู่หมู่บ้านแห่งนี้ ก็ขอให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลและแก้ไขปัญหาให้กับ พี่น้องประชาชนด้วยนะครับ
นายวิชัย สุดสวาสดิ์ ชุมพร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ถนนเส้น ส.ป.ก. สายเขาปูน-น้ำฉา ชพ.๑๒๑๐๖ ระยะทาง ๘ กิโลเมตร ซึ่งเป็นถนนลูกรัง แล้วก็มีการพัฒนากันมาต่อเนื่องแต่ด้วยความลำบากของ ท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลครน มีงบประมาณเพียงน้อยนิดที่จะแก้ไขปัญหาให้กับ พี่น้องประชาชนทำให้การสัญจรไปมา ไม่ว่าการขนส่งสินค้าทางการเกษตร เกิดความ เดือดร้อนของพี่น้องประชาชนอย่างมาก ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลและช่วยกัน แก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนด้วยนะครับ
นายวิชัย สุดสวาสดิ์ ชุมพร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ ได้รับร้องเรียนจากพี่น้องและกำนันเดช เพชรวรรณ กำนัน ตำบลหาดทรายรี ในเรื่องของพี่น้องชาวประมงตั้งใจที่จะเอาเรือไปหลบในช่วงฤดูมรสุม แต่ทางเข้าตื้นเขินเป็นอย่างมากและยากในการดูแลแล้วก็รักษาเรือไว้ ก็ขอให้กรมเจ้าท่า และกรมโยธาธิการและผังเมืองเข้าไปสำรวจดูแลแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนด้วย
นายวิชัย สุดสวาสดิ์ ชุมพร ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่ง เรื่องสุดท้ายท่านประธานครับ เรื่องถนนหมายเลข ๔๐๐๖ สายตำบลราชกรูด อำเภอหลังสวน ตอนนี้ที่ผมหารือเมื่อวันที่ ๒๓ เรายังไม่ได้มีการ ประสานงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้คำตอบกับพี่น้องประชาชนเลยนะครับ ขอนำเรียนท่านประธานด้วยความเคารพครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปครับ ขอเชิญคุณสรรเพชญ บุญญามณี ครับ
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายสรรเพชญ บุญญามณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ครับ วันนี้กระผมขอหารือปรึกษาท่านประธานเกี่ยวกับปัญหาของ พี่น้องประชาชนจำนวน ๕ เรื่องด้วยกันครับ
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ท่านประธานครับ ตามที่ กระผมได้รับการประสานงานจากนายเจือ กิ้มอั้น นายกเทศมนตรีตำบลพะวง เพื่อขอ ความอนุเคราะห์สนับสนุนเครื่องจักร ขุดลอกวัชพืช ดิน โคลน ที่ตำบลพะวง กระผม ต้องขอขอบคุณไปยังกรมชลประทานและสำนักงานกรมชลประทานที่ ๑๖ ที่ได้กรุณา สนับสนุนเครื่องจักรซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก และกระผม ขอให้เพิ่มเติมการขุดลอกคลองที่สำคัญในเมืองสงขลา เช่น คลองสำโรง คลองสามกอง เพื่อเตรียมการรับมือน้ำท่วมที่กำลังจะมาถึงครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณห้าแยกน้ำ กระจายซึ่งมักจะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอมา และยังไม่มีทีท่าว่าจะได้รับ การแก้ไขอย่างจริงจัง จึงฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเร่งดำเนินการแก้ไข ด้วยครับ
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ กระผมได้รับข้อร้องเรียนจากนายรอเซ็ง ไหลเจริญ นายกเทศมนตรี ตำบลเกาะแต้ว พร้อมกับพี่น้องในพื้นที่ตำบลเกาะแต้ว ขอให้แขวงทางหลวงชนบทสงขลา ติดตั้งแสงสว่างสาธารณะบนเส้นทางสัญจรถนนทางหลวงชนบทสาย สข.๒๐๐๔ แยกทางหลวงหมายเลข ๔๓ ถึงเขตเทศบาลนครสงขลา เนื่องจากผู้ใช้ถนนดังกล่าวได้รับ ความไม่สะดวกในการสัญจรรวมถึงพื้นที่ดังกล่าวนั้นมีโรงงานอุตสาหกรรม มีพื้นที่บ้านเรือน ที่อยู่อาศัยของพี่น้องประชาชนเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นท่านประธานครับ จึงขออนุญาต ที่จะนำเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยจัดสรรงบประมาณให้กับพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ดังกล่าวครับ
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ท่านประธานครับ กระผมได้รับการประสานงานจากท่านวันชัย ปริญญาศิริ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลา ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยซ่อมแซม ถนนสายไทรบุรี ซึ่งถือเป็นทางเข้าหลักของจังหวัดสงขลาครับท่านประธาน เพื่อให้พี่น้อง ประชาชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่ง ก็คือว่าในถนนเส้นนี้เองก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญไม่ว่าจะเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลาที่เรากำลังผลักดัน เป็นมรดกโลกต่อไป แล้วก็ยังมีสถานที่ราชการ สถานศึกษาอีกหลายแห่ง เพราะฉะนั้น ผมขออนุญาตท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดสรรงบประมาณไปให้กับหน่วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างเช่นเทศบาลได้ดำเนินการซ่อมแซมถนนไทรบุรี เพราะว่า อีก ๒ ปีสงขลาเองก็จะเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัด SEA Games
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ ผมได้รับข้อร้องเรียนจากนายนิคม อุไรรัตน์ นายก อบต. ทุ่งหวัง เกี่ยวกับปัญหาน้ำประปาที่ยังเข้าไม่ถึงในตำบลทุ่งหวัง เดิมทีเป็นประปาหมู่บ้านหรือชาวบ้าน เจาะน้ำบาดาลกันเองนะครับ เพราะฉะนั้นผมจึงขอนำเรียนท่านประธานไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้ขยายเขตประปาภูมิภาค เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้กับพี่น้องประชาชน
นายสรรเพชญ บุญญามณี สงขลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๕ ท่านประธานครับผมได้รับข้อร้องเรียนจากนายวรพงค์ สุริแสง กำนันตำบลเขาลูกช้าง เนื่องจากในหน้ามรสุมจะมีปริมาณน้ำลงมาจากเขาเทียมดา ซึ่งผ่าน หมู่บ้านกระทบกับบ้านเรือนที่อยู่อาศัยรวมไปถึงเส้นทางคมนาคม พนังกั้นคลองที่เรียกว่า คลองอิกองเริ่มทรุดตัว แต่ว่าทางเทศบาลเขาลูกช้างเองยังไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะ ซ่อมแซมเลยนำเรียนท่านประธานไปยังกรมโยธาธิการและผังเมืองช่วยเข้าไปเร่งช่วยเหลือ พี่น้องประชาชน จึงกราบเรียนท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไข ต่อไปครับ กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณศิริโรจน์ ธนิกกุล ครับ
นายศิริโรจน์ ธนิกกุล สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม ศิริโรจน์ ธนิกกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร เขต ๒ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องปรึกษาหารือผ่านท่านประธานทั้งหมด ๔ เรื่องด้วยกันเพื่อดำเนินการต่อไปยัง หน่วยงานที่มีความรับผิดชอบโดยตรงให้แก้ไขปัญหาเหล่านี้เพื่อพี่น้องประชาชนอย่างเร่งด่วน ขอ Slide ด้วยครับ
นายศิริโรจน์ ธนิกกุล สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ นี่ไม่ใช่ชายหาดบางแสน นี่ไม่ใช่หาดพัทยา แต่ที่เห็นอยู่นี้คือคลื่นบนผิวถนนพุทธสาคร อำเภอกระทุ่มแบน นอกจาก เป็นคลื่นแล้วยังผุพังเป็นหลุมเป็นบ่อต้องซ่อมแบบปะหน้าอยู่ตลอด กลางคืนก็มักจะเกิด อุบัติเหตุบ่อยสำหรับผู้ใช้ถนนเส้นนี้ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ จึงเรียน ท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงคมนาคมให้เร่งแก้ไขตามกรอบงบประมาณโดยด่วน
นายศิริโรจน์ ธนิกกุล สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ปัญหาน้ำไหลน้อย ไหลช้า ไหลเป็นพัก ๆ ชาวบ้านเดินมาบอกเลย ว่าไหลแบบนี้เยี่ยวสุนัขยังไหลแรงกว่าเลย ในพื้นที่ตำบลสวนหลวงโดยเฉพาะหมู่ที่ ๓ หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ และหมู่ที่ ๗ นี่คือคำที่ชาวบ้านพูดกับผมครับ เป็นความเดือดร้อนที่ชาวบ้านต้อง ประสบมาเป็นเวลานาน จึงเรียนผ่านท่านประธานสภาไปยังกระทรวงมหาดไทยให้เร่ง ดำเนินการตามกรอบงบประมาณส่งต่อไปยังการประปาส่วนภูมิภาคสาขาสมุทรสาคร เพื่อแก้ไขปัญหาในการขยายท่อประปาและเพิ่มแรงดันน้ำให้แรงขึ้นและเพียงพอต่อการ ใช้งานของพ่อแม่พี่น้องประชาชน
นายศิริโรจน์ ธนิกกุล สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ปัญหาโรงงานหลอมโลหะส่งกลิ่นเหม็นเป็นเวลานานในตำบลแคราย อำเภอกระทุ่มแบน ชาวบ้านต้องทนทุกข์ทรมานกับการประกอบกิจการที่ไม่รับผิดชอบ ต่อสังคม โรงงานแห่งนี้มักจะปล่อยกลิ่นเหม็นอยู่ตลอดเวลาเดินการผลิต ถูกสั่งปิดชั่วคราว มาแล้วหลายต่อหลายครั้งเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไข แต่ก็มีการลักลอบดำเนินการผลิต อยู่เรื่อย ๆ แม้กระทั่งตอนกลางค่ำกลางคืน จึงเรียนปัญหาผ่านท่านประธานสภาไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และท้องถิ่น ให้เร่งแก้ไขปัญหาให้กับพ่อแม่พี่น้องอย่างเร่งด่วนที่สุดครับ
นายศิริโรจน์ ธนิกกุล สมุทรสาคร ต้นฉบับ
สุดท้าย เรื่องระเบียบกระทรวงมหาดไทยที่ออกมาใหม่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ในการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้กับพี่น้องประชาชนทุกคนที่อายุ ๖๐ ปี และได้รับอย่างเท่าเทียมกัน หากต้องให้ผู้สูงอายุมานั่งพิสูจน์ความจนกันอยู่กับเกณฑ์ ที่เปลี่ยนใหม่นั้นเกรงว่าอาจจะมีผู้สูงอายุอีกหลายคนที่ต้องตกหล่นในการมีเกณฑ์ใหม่ครั้งนี้ และไม่ตอบโจทย์กับผู้สูงอายุในสังคมผู้สูงอายุที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ จึงเรียนท่านประธาน ผ่านไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยท่านใหม่ให้ทบทวนระเบียบที่ออกมาใหม่นี้ด้วย เมื่อสักครู่นี้คือภาพของน้ำพริกนรกนะครับ นรกอาจจะไม่ใช่ชื่อน้ำพริกอีกต่อไป อาจจะเป็น สถานที่สุดท้ายของกลุ่มคนที่จ้องจะเอาเปรียบประชาชน กลุ่มคนที่จ้องจะเอาเปรียบแม้กับ ผู้สูงอายุ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณเกรียงไกร กิตติธเนศวร ครับ
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก เขต ๒ พรรคเพื่อไทย วันนี้ผมขอนำความเดือดร้อนใจของชาวจังหวัดนครนายกที่มีต่อการก่อสร้าง เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยถึงขนาด ๒๐ เมกะวัตต์ ที่จะสร้างที่ตำบล ทรายมูล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก โดยจะมีการทำประชาพิจารณ์ครั้งสุดท้าย ในวันที่ ๑๐ กันยายนที่จะถึงนี้ครับ ซึ่งมีข้อสงสัยมากมาย
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ สถานที่นี้เหมาะที่จะเป็นที่ตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรือไม่ ทั้ง ๆ ที่สถานที่นี้ผิดมาตรฐาน IAEA ถึง ๕ ข้อด้วยกัน อันได้แก่
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ข้อ ๑ สถานที่ตั้งต้องไม่เป็นที่ลุ่มน้ำไม่ท่วมถึง แต่อำเภอองครักษ์ถูกกำหนด เป็นพื้นที่แก้มลิงแปลว่าน้ำท่วมทุกปี ขอ Slide ด้วยนะครับ
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ข้อที่ ๒ น้ำใต้ดินต้องอยู่ลึก แต่อำเภอองครักษ์เป็นที่ลุ่ม และน้ำใต้ดินอยู่ตื้นมาก ๆ
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ข้อที่ ๓ พื้นที่ต้องไม่เป็นดินอ่อน แต่ที่อำเภอองครักษ์เป็นพื้นที่ดินเหนียว และอ่อนมาก
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ข้อที่ ๔ ต้องไม่มีแนวรอยเลื่อนแผ่นดินไหว แต่ที่อำเภอองครักษ์นั้นเป็นพื้นที่ มีรอยเลื่อนแผ่นดินไหวพาดผ่าน
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ข้อที่ ๕ ต้องอยู่ห่างไกลชุมชน แต่ตรงนี้มีชุมชนมากมาย เช่น ตลาด โรงเรียน มหาวิทยาลัย ปั๊มน้ำมัน เป็นต้น
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ สตง. เคยตรวจพบความทุจริตโครงการก่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ขนาด ๑๐ เมกะวัตต์ ที่อำเภอองครักษ์แห่งนี้มาก่อนแล้วในอดีต โดยได้พบว่าความไม่ถูกต้อง ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง และได้พบว่าบริษัทที่ชนะการประมูลนั้นไม่มีใบอนุญาต ความปลอดภัยของเตาปฏิกรณ์ จาก U.S. NRC จึงมีคำสั่งให้ยกเลิกสัญญากับบริษัทเอกชน รายนี้ แต่แล้วครั้งนี้จะกลับมาก่อสร้างใหม่ใหญ่กว่าเดิมถึง ๒ เท่า ท่านว่ามันจะเหมาะสม หรือไม่ครับ
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ที่ผ่านมามีการทำประชาพิจารณ์ไปแล้วถึง ๒ ครั้ง โดยพากัน มารับสตางค์คนละ ๒๐๐ บาทพร้อมผ้าห่มจนเป็นข่าว ซึ่งการแจกเงินและสิ่งของนั้นถือได้ว่า ผิดต่อหลักการทำประชาพิจารณ์ของ FPIC ถือได้ว่าเป็นการทำลายอิสระทางความคิด ของประชาชน
นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร นครนายก ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๔ เราจะรับความเสี่ยงได้ไหม หากเกิดอุบัติภัยสารกัมมันตภาพรังสี รั่วไหล รัศมีอันตรายถึง ๑๕๐ กิโลเมตรจะส่งผลกระทบถึง ๒๘ จังหวัดนะครับ ท่านเคยเห็น ข่าวเกี่ยวกับการปนเปื้อนในอาหาร น้ำ อากาศ บ้างไหม เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่ไม่คาดฝัน แถมยังส่งผลร้ายสู่พันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่นอีกด้วย ผมในฐานะตัวแทนของ พี่น้องชาวจังหวัดนครนายก ขอฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้โปรดพิจารณาพื้นที่ตั้ง เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในอำเภอองครักษ์ว่าเหมาะสมหรือไม่ และการทำประชาพิจารณ์ ครั้งสุดท้ายในวันที่ ๑๐ กันยายนนี้ขอให้โปร่งใส จริงใจ สะท้อนปัญหาที่แท้จริงของ คนนครนายก ที่แสดงออกทางความคิดในครั้งนี้ และขอให้คำนึงถึงอันตรายต่อการรั่วไหล และปนเปื้อนอย่างจริงจังที่จะมีผลกระทบเป็นวงกว้างในวันข้างหน้าต่อไป ขอขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปครับ ขอเชิญคุณกฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์
นางสาวกฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ ชลบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน กฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล จังหวัดชลบุรี ตัวแทนประชาชน พี่น้องชาวบางพระ สุรศักดิ์ ศรีราชา ทุ่งสุขลา และเกาะสีชัง วันนี้มีประเด็นหารือท่านประธาน ดังนี้ ขอ Slide ด้วยค่ะ
นางสาวกฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ ชลบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นแรกประเด็นปัญหาน้ำท่วม ในเขตพื้นที่ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา ฝนตกเพียง ๑๐ นาทีน้ำสูงถึง ๕๐ เซนติเมตร ทำให้ประชาชนผู้ประสบความเดือดร้อนไม่สามารถขนย้ายทรัพย์สินได้ทัน จากการลงพื้นที่ ปรากฏว่าสาเหตุของน้ำท่วมขังเกิดจากท่อระบายน้ำที่มีเศษขยะอุดตัน แล้วยังมีสิ่งกีดขวาง ทางน้ำ เช่น วัชพืชและสิ่งปลูกสร้าง จึงฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ แก้ไขปัญหาเบื้องต้นดังกล่าวด้วยค่ะ
นางสาวกฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ ชลบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ เรื่องประปาบนเกาะสีชัง ฝากท่านประธานไปยัง ครม. ชุดใหม่ ช่วยเร่งดำเนินการจัดสรรงบประมาณตามมติ ครม. ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ เพื่อศึกษา แนวทางวางท่อส่งน้ำจากฝั่งและระบบประปาบนเกาะ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของพี่น้องชาวเกาะสีชังจำนวน ๒,๒๐๐ หลังคาเรือน
นางสาวกฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ ชลบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ เรื่องการบริหารจัดการการจราจรในท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเป็นปัญหา มานานกว่า ๑๐ ปี รถหัวลากเข้าไปต้องใช้ระยะเวลาอย่างต่ำ ๖ ชั่วโมงเป็นต้นไป ส่วนมาก จะติดเกินกว่า ๑๐ ชั่วโมง เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะภาระค่าใช้จ่ายของสายเดินเรือที่เก็บกับผู้นำเข้าในกรณีนำตู้สินค้าออกจากท่าเรือ ไม่ทันตามกำหนดระยะเวลา และต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้กับกรมศุลกากรด้วย ดังนั้นจึงฝาก ท่านประธานเร่งรัดกระทรวงคมนาคมแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยชี้แจงมาตรการการแก้ไข ระยะสั้นและป้องกันระยะยาวเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนในระดับนานาชาติด้วยค่ะ
นางสาวกฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ ชลบุรี ต้นฉบับ
Slide ถัดไปเป็นอุบัติภัยซึ่งเกิดซึ่งอาจจะก่อให้เกิดวิกฤติทางอาหารทะเลได้ เริ่มจากบนบกเลยนะคะ คลังสินค้าระเบิดเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม สาเหตุเกิดจากการจัดเก็บ สินค้าที่ไม่เหมาะสม จากเหตุครั้งนี้มีผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลถึง ๒๐ คน ต่อมาวันที่ ๒ กันยายน ก็เกิดเหตุปะทุขึ้นอีกครั้งนะคะ จากข้อมูลย้อนหลัง ๑๐ ปี เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้ เกิดขึ้นมาถึง ๓ ครั้งก่อนหน้านี้
นางสาวกฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ ชลบุรี ต้นฉบับ
ต่อมาเป็นปัญหาใหญ่ทางทะเล ซึ่งเหตุการณ์นี้มีน้ำมันรั่วในวันที่ ๔ ระหว่างขนถ่ายน้ำมันนะคะ ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะสีชังประมาณ ๒ กิโลเมตร มีน้ำมันรั่วถึง ๕๐,๐๐๐ ลิตรลงไปในทะเลนะคะ กรมควบคุมมลพิษคาดว่ามีคราบน้ำมันที่ยังกำจัดไม่หมด อีก ๓,๗๐๐ ลิตรที่จะขึ้นฝั่งที่บางพระนะคะ ครอบคลุมระยะทางถึง ๔ กิโลเมตร ไปจนถึงอ่าวอุดม ดังนั้นขอให้ทางกระทรวงที่รับผิดชอบ ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมช่วยหาแผนป้องกันแล้วก็ตรวจสอบรายงานผล ต่อไปด้วยค่ะ
นางสาวกฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ ชลบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้าย เป็นเรื่องขอกราบเรียนไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขแล้วก็กระทรวงแรงงาน สำหรับ Hero ผู้ถูกลืมเหล่านี้ ในการ์ตูน Hero เหล่านี้ ไม่ตายแล้วก็ไม่ต้องกินอาหาร แต่อาสากู้ชีพ กู้ภัย บุคลากรผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์เหล่านี้ ต้องกินต้องใช้ ต้องเจ็บและตายนะคะ ขอให้รัฐมนตรีกระทรวงดังกล่าวโปรดพิจารณาจัดสรร สวัสดิการเพื่อคุ้มครองบุคคลเหล่านี้อย่างเหมาะสมด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ลำดับต่อไป ขอเชิญ คุณธัญธารีย์ สันตพันธุ์
นางสาวธัญธารีย์ สันตพันธ์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน ธัญธารีย์ สันตพันธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตพื้นที่อำเภอ เขมราฐ นาตาล โพธิ์ไทร พรรคเพื่อไทย จากที่ดิฉันได้ลงพื้นที่ไปรับทราบปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่อำเภอเขมราฐและโพธิ์ไทร ด้านการใช้ถนนสัญจร เป็นไปอย่างยากลำบาก ดิฉันขอหารือผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๓ เส้นทางค่ะ
นางสาวธัญธารีย์ สันตพันธ์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
Slide ถัดไปเส้นทางที่ ๑ ได้รับแจ้งความเดือดร้อนจากการเดินทางของชาวบ้านในเส้นทางบ้านโนนใหญ่ ตำบลโพธิ์ไทร-บ้านโนนสว่าง ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร ถนนเส้นนี้ชาวบ้านตำบลเหล่างาม กว่า ๑,๓๘๔ ครัวเรือนใช้เป็นเส้นหลักในการเดินทางเข้าสู่ตัวอำเภอโพธิ์ไทร ใช้ในการ เดินทางเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และมีรถรับส่งเด็กนักเรียนเป็นประจำ โดยมีระยะทาง กว่า ๗ กิโลเมตร หากใช้เส้นทางอื่นในการเดินทางเข้าสู่ตัวอำเภอจะต้องเดินทางถึง ๒๐ กิโลเมตร สภาพถนนจะเห็นได้ว่าเป็นถนนลูกรังที่ไม่เหมาะสมแก่การเดินทางเป็นอย่างยิ่ง ผิวถนนเป็นร่องคลื่นและมีน้ำกัดเซาะเป็นช่วง ๆ หากเกิดฝนตกถนนลื่น อันเป็นเหตุให้เกิด อุบัติเหตุบ่อยครั้ง
นางสาวธัญธารีย์ สันตพันธ์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
Slide ถัดไปเส้นที่ ๒ จากการลงพื้นที่พบว่าถนนทางหลวงชนบทหมายเลข อบ.ถ.๒๑๒-๐๔ ซึ่งเป็นถนนที่เทศบาลตำบลหนองนกทา ได้รับถ่ายโอนจากทางกรมหลวง ชนบท มีสภาพผิวจราจรที่เสื่อมสภาพไม่เหมาะแก่การสัญจรและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยมีระยะทางที่ชำรุด ๓.๕ กิโลเมตร ถนนเส้นนี้เป็นถนนเชื่อมภายในหมู่บ้านตำบลหนองนกทา ถึง ๖ หมู่บ้านค่ะ
นางสาวธัญธารีย์ สันตพันธ์ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
Slide ถัดไปเส้นที่ ๓ ได้รับแจ้งจากผู้นำชุมชนว่าถนนเส้นนี้คือบ้านห้วยยาง ตำบลหัวนา-บ้านตอนติ้ว ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ ผิวถนนเกิดการพังเสียหายและเสื่อมสภาพ เกิดหลุมบ่อขนาดใหญ่เป็นระยะ ทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างยากลำบาก โดยมีระยะทาง ที่ชำรุดเสียหาย ๔ กิโลเมตร ถนนเส้นนี้ชาวบ้านตำบลหัวนาและตำบลเจียด ใช้ในการเดินทาง ระหว่างตำบลและเดินทางเข้าสู่ตัวอำเภอเขมราฐ ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านทั้ง ๓ เส้นทางนี้ดิฉันขอฝากท่านประธานผ่านไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงบประมาณ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และขอให้ จัดสรรงบประมาณเข้ามาซ่อมบำรุงผิวจราจรให้กับประชาชนด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณสุรพันธ์ ไวยากรณ์ ครับ
นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต ๑ จังหวัดนนทบุรี พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธานเกี่ยวกับปัญหาพื้นที่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ดังนี้
นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรื่องแรก เป็นเรื่องปัญหาขยะสะสม และขยะล้นในพื้นที่ของเทศบาลนครนนทบุรี พบว่าเรื่องปัญหาการจัดเก็บขยะ ทางเทศบาล ขาดแคลนบุคลากรเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาสะสมในพื้นที่ จากข้อมูลสถิติ การรับสมัครพนักงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ พบว่าพนักงานขับรถและพนักงาน เก็บขยะ มีผู้สมัครจำนวนน้อยกว่าที่ต้องการมาก โดยปัจจุบันพนักงานเก็บขยะได้รับ เงินค่าตอบแทนอยู่ที่ ๙,๐๐๐ บาทต่อเดือน เงินค่าครองชีพชั่วคราว ๑,๐๐๐ บาท และเงินค่าเสี่ยงภัย ๒,๐๐๐ บาท ซึ่งรวมแล้วจะอยู่ที่ ๑๒,๐๐๐ บาทต่อเดือนเท่านั้น ทางเทศบาลได้เคยคุยและส่งรายละเอียดชี้แจงไปทาง ก.พ. ในเรื่องของการปรับอัตราเพดานค่าจ้าง แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง ผมจึงเรียนผ่านท่านประธานฝากไปทาง ก.พ. และต้นสังกัด กระทรวงมหาดไทย ขยายเพดานเงินค่าตอบแทนพนักงานเก็บขยะ จาก ๙,๐๐๐ บาท เป็น ๑๒,๐๐๐ บาท รวมเงินเพิ่มแล้วจะได้อยู่ที่ ๑๕,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนมา สมัครเพิ่มมากขึ้น
นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ปัญหาใต้ทางด่วนงามวงศ์วาน โดยมีระยะทาง ๒.๔ กิโลเมตร ตั้งแต่ ถนนงามวงศ์วานจนถึงถนนสามัคคีมีปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจัดระเบียบ ร้านค้า ปัญหาด้านความสะอาด ขยะที่ทิ้งไว้ตามข้างทาง กองขยะที่ไม่ได้เก็บ ปัญหาพื้นผิว จราจรเป็นหลุมเป็นบ่อ ขาดการซ่อมแซมและดูแลทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ปัญหา ด้านพื้นที่สาธารณะ Lane จักรยาน ตอนนี้กลายเป็นที่ทิ้งซากรถยนต์ ชาวชุมชนได้ร้องเรียน กับทางเทศบาลไปแล้ว แต่ทางเทศบาลก็แจ้งว่าเป็นพื้นที่รับผิดชอบของการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย พอชาวบ้านไปร้องกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก็บอกว่าให้สัมปทาน กับเอกชนในการบริหารจัดการไปแล้ว ตอนนี้ทางประชาชนก็ไม่รู้จะไปร้องเรียนกับใคร ผมจึงอยากให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่เป็นเจ้าภาพในการจัด ประชุมร่วมเพื่อหาแนวทางแก้ไข กราบเรียนท่านประธานฝากไปถึงการทางพิเศษ แห่งประเทศไทยด้วยครับ
นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ นนทบุรี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เป็นเรื่องโครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สนามบินน้ำ-อ้อมเกร็ด โครงการโดยทางหลวงชนบท แผนของโครงการนี้ใช้งบประมาณถึง ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ระยะทาง ๘ กิโลเมตร โดยเริ่มต้นโครงการตั้งเป้าเพื่อจะแก้ปัญหาจราจร ภาพรวมของจังหวัดนนทบุรี แต่ตอนนี้เหลือเพียงแก้ปัญหาจราจรและแบ่งเบารถยนต์ที่สะพาน พระนั่งเกล้า และสะพานพระรามสี่เท่านั้น คงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับ ผลกระทบจากโครงการนี้ไม่ว่าจะเป็นชุมชนและวัดได้ออกมาคัดค้านโครงการรวมถึงผมที่เป็น ตัวแทน แล้วก็ชุมชนในการยื่นหนังสือคัดค้านไปกับบริษัทที่ปรึกษาและกรมทางหลวงชนบทแล้ว แต่ตอนนี้โครงการก็ยังไม่มีความคืบหน้า ทั้ง ๆ ที่ได้สรุปรับฟังความคิดเห็น ประชาพิจารณ์ และศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่ปลายปี ๒๕๖๕ แล้ว จึงอยากเรียน ท่านประธานผ่านไปถึงกรมทางหลวงชนบทว่าโครงการนี้จะมีแนวทางอย่างไรต่อไป ทำหรือไม่ทำ ประชาชนในพื้นที่จะได้ทราบข้อมูลอย่างชัดเจน ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณพรชัย ศรีสุริยันโยธิน ครับ
นายพรชัย ศรีสุริยันโยธิน บุรีรัมย์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม พรชัย ศรีสุริยันโยธิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ เขตเลือกตั้งที่ ๗ ซึ่งประกอบไปด้วยอำเภอหนองหงส์ อำเภอหนองกี่ อำเภอโนนสุวรรณ และอำเภอประคำ ผมมีเรื่องที่จะหารือกับท่านประธาน ๒ เรื่องด้วยกัน
นายพรชัย ศรีสุริยันโยธิน บุรีรัมย์ ต้นฉบับ
เรื่องแรก ได้รับการประสานจากพี่น้องซึ่งประกอบไปด้วยท่านนายกองค์การ บริหารส่วนตำบลเมืองฝ้าย ท่านเสนอ สงครามรอด ท่านกำนันตำบลเมืองฝ้าย ท่านสุธน จันสมุทร ท่านผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลหนองหงส์ ท่านสุเวช เณรเกิด และผู้นำท้องที่ท้องถิ่น เกี่ยวกับเรื่องการสัญจรไปยังอำเภอ ถนนเส้นนี้เริ่มจากหมู่ที่ ๖ บ้านหนองสาม ตำบลเมืองฝ้าย ผ่าน ๖ หมู่บ้าน พี่น้องใช้ติดต่อขนส่งพืชผลทางการเกษตรทั้ง ๕-๖ หมู่บ้านนี้ใช้ปลูกพืชผล ทางการเกษตร ซึ่งเป็นพืชครัวเรือนอย่างหอมแดง ฝรั่ง ติดต่อลำบากมาก เวลาเดินทาง ต้องใช้เวลา ถนนเส้นนี้ความกว้าง ๖ เมตร ความยาว ๓,๒๐๐ เมตร แต่ใช้เวลาเดินทางถึง ครึ่งชั่วโมง ท่านผู้ปกครองส่งลูกหลานไปโรงเรียนที่โรงเรียนอนุบาลหนองหงส์ แล้วก็โรงเรียน ประจำอำเภอคือโรงเรียนหนองหงส์พิทยาคม อยากฝากท่านประธานได้โปรดกรุณาประสาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สามารถจะทำอย่างไรให้ถนนเส้นนี้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม แต่พี่น้องหนองหงส์บอกว่าถ้าเป็นไปได้อยากให้ท่านประธานกำชับ เปลี่ยนแปลงให้เป็น ถนนลาดยางก็จะดีที่สุด
นายพรชัย ศรีสุริยันโยธิน บุรีรัมย์ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ท่านประธานครับ ถนนเส้นนี้เป็นถนนเชื่อมระหว่าง ๒ อำเภอ อยู่ระหว่างกึ่งกลางของตำบลเมืองไผ่ บ้านโนนสมบูรณ์ของอำเภอหนองกี่ เชื่อมต่อไปยัง บ้านหนองย่างหมู ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองกี่ ถนนเส้นนี้มีความยาวประมาณ ๒ กิโลเมตร ผ่านบ่อขยะ ผ่านเรือกสวนไร่นาของพี่น้อง แล้วผ่านไปยังวัดหนองกวางทอง เทศบาลตำบล สระแก้ว โรงเรียนบ้านหนองกวางทอง ท่านประธานจะเห็นสภาพของถนนตาม Slide เสียหายหนักมาก ไม่เป็นสภาพของถนนแล้ว ซึ่งถนนเส้นนี้เป็นถนนลาดยาง ก็กราบเรียน ท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยประสานให้ทำใหม่ดีกว่าจะซ่อมแซม ท้ายสุด ขอเป็นกำลังใจให้ท่านประธานปฏิบัติหน้าที่ไม่ต้องฟังเสียงนกเสียงกา ผมเป็นกำลังใจให้ครับ ท่านประธาน ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณวชิราภรณ์ กาญจนะ
นางสาววชิราภรณ์ กาญจนะ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางสาววชิราภรณ์ กาญจนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พรรครวมไทยสร้างชาติ วันนี้ดิฉันขออนุญาตหารือท่านประธานในเรื่องที่เคยนำเข้าหารือ เมื่อสมัยประชุมสภาครั้งที่แล้วมาหลายครั้ง ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีที่รับผิดชอบมาหลายหน แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ดิฉันจึงอยากฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
นางสาววชิราภรณ์ กาญจนะ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องแรก พ่อแม่พี่น้องที่อยู่ในอำเภอเคียนซาประสบปัญหาการขาดแคลน น้ำกินน้ำใช้อย่างรุนแรง หลายรายถึงขั้นต้องซื้อน้ำจากรถบรรทุกน้ำคันละ ๔๐๐ กว่าบาท เพื่อยังชีพ ระบบประปาที่มีอยู่ก็ไม่มีคุณภาพและไม่เพียงพอ ดิฉันจึงอยากฝากท่านประธาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งจัดสรรงบประมาณดังต่อไปนี้ ๑. จัดสร้างระบบสูบน้ำ และกระจายน้ำให้ทั่วทุกพื้นที่ของตำบลพ่วงพรมคร ซึ่งทาง อบต. พ่วงพรมคร ขอสนับสนุน งบประมาณ จำนวน ๕๐ กว่าล้านบาทไปแล้ว แต่เรื่องก็เงียบหายไป ๒. จัดสร้างระบบ ประปา เพื่อส่งน้ำประปาที่มีคุณภาพให้กับพี่น้องประชาชนในทุกตำบลของอำเภอเคียนซา
นางสาววชิราภรณ์ กาญจนะ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องต่อมา ซ่อมแซมถนน ซึ่งปัจจุบันมีสภาพเป็นหลุมบ่อขนาดใหญ่ การเดินทางสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ ถนนสายเฉียงพร้า-ปลายน้ำ เชื่อมต่อระหว่าง ตำบลควนสุบรรณกับตำบลลำพูน และถนนชลประทานสาย ๓ ฝั่งซ้าย และฝั่งขวา พร้อมติดตั้งไฟส่องสว่างริมทางตำบลเวียงสระ
นางสาววชิราภรณ์ กาญจนะ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ซ่อมแซมสะพานบ้านตาซ้าย ตำบลเพิ่มพูนทรัพย์ ตอนนี้สะพาน ดังกล่าวได้พังทลายลงมาชาวบ้านเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก
นางสาววชิราภรณ์ กาญจนะ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๔ ซ่อมแซมฝายพังปูน พร้อมขุดลอกลำคลองพังปูนตลอดทั้งสาย ในพื้นที่ตำบลพรุพี และตำบลบ้านส้อง ปัจจุบันฝายมีสภาพชำรุดไม่สามารถที่จะกักเก็บน้ำ ไว้ใช้ได้ชาวบ้านลำบากมาก อีกทั้งยังขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้และน้ำทางด้านการเกษตร ลำคลองพังปูนมีสภาพตื้นเขิน แนวตลิ่งทั้ง ๒ ฝั่งพังทลาย ทรุดตัวเข้าพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน จนได้รับความเสียหาย
นางสาววชิราภรณ์ กาญจนะ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
เรื่องสุดท้ายค่ะท่านประธาน จัดสร้างทางคู่ขนาดจากจุด Check in ถึงหน้าวัดเขานิพันธ์ ระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร และปรับปรุงขยายขนาดสะพานบ้านนา ตำบลลำพูน ซึ่งทั้ง ๒ โครงการอยู่ในแผนงบประมาณปี ๒๕๖๗ ของกรมทางหลวงแล้ว แต่ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวมักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ดิฉันจึงอยากฝากท่านประธานไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งจัดสรรงบประมาณเป็นการด่วน กราบขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณศักดินัย นุ่มหนู ครับ
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ผมขอหารือ ท่านประธานใน ๓ เรื่องหลัก ๆ ดังนี้ครับ
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
เรื่องแรก ก็จะนำเสนอว่ามันมีความจำเป็น อย่างเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสะตอ ที่ตำบลสะตอ อำเภอเขาสมิง เพราะว่าพื้นที่แห่งนี้ทั้งปีใน ๑ ปีจะมีทั้งน้ำท่วม มีทั้งน้ำแล้ง ปีนี้วันที่ ๒ ที่ผ่านมามีการขนคน ออกมาครับ ผู้หญิงในภาพนี้แม่ของผมเองครับ ก็เป็นผู้ประสบภัยคนหนึ่งจากเหตุการณ์ น้ำท่วมเมื่อวันที่ ๒ กันยายนนี้เอง อันนี้แม่ของผมเองเลยนะครับ เพราะฉะนั้นอ่างเก็บน้ำ ห้วยสะตอนี้มีการพูดถึงกันมาหลายครั้งหลายปีแล้ว มีการสำรวจ EIA ไปแล้วก็หลายรอบ แต่ว่าก็ยังไม่มีความคืบหน้าไปไหน ผมก็อยากที่จะฝากไว้ให้กับท่านรัฐมนตรีคนใหม่ ในการที่จะกำกับกำชับดูแลที่จะให้มีการเร่งในการที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสะตอนี้ เพราะว่า มันจะช่วยป้องกันน้ำท่วมที่จะไปท่วมทั้งตำบลวังตะเคียน ที่ตำบลประณีตด้วยนะครับ อย่างภาพที่เห็นนี้ถือว่าได้รับความเสียหาย แต่พอถึงเวลาแล้งเราก็จะไม่มีน้ำที่จะใช้เลย อันนี้ก็เพิ่งสด ๆ ร้อน ๆ กันเลยนะครับ
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ครับท่านประธาน ก็ขอให้หน่วยงานกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้เร่งจัดทำแผนงานโครงการจัดสรรงบประมาณในการที่จะต้องขุดลอกร่องน้ำ จังหวัดตราด เป็นเมืองติดทะเลก็จะมีคลอง มีร่องน้ำค่อนข้างเยอะ ปัจจุบันนี้ก็ตื้นเขินก็อยากให้ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อมาขุดลอก คราวที่แล้วในสภาชุดที่แล้วผมอภิปรายไปแล้ว หลายครั้งตรงร่องน้ำดังกล่าวที่ผมจะกล่าวถึงนี้นะครับ ซึ่งก็ได้รับการยืนยันเป็นหนังสือ กลับมาว่าอยู่ระหว่างการส่งเรื่องให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งก็ยังไม่ได้ ดำเนินการนะครับ จึงขอให้รัฐบาลชุดใหม่นี้ได้เข้าไปดำเนินการในร่องน้ำดังต่อไปนี้ครับ
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
๑. แม่น้ำตราด ตั้งแต่ตัวเมืองตราดไปจนถึงสุดทางที่แหลมศอก อำเภอเมือง
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
๒. คลองบ้านน้ำเชี่ยว ตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
๓. คลองสน สะพานหิน หมู่ที่ ๕ ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
๔. คลองมะขาม ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
๕. คลองทั้ง ๕ ร่องน้ำที่ตำบลเกาะช้างใต้ ที่อำเภอเกาะช้าง ร่องน้ำสลักเพชร ร่องน้ำเจ็กแบ๊ ร่องน้ำอุทยาน ร่องน้ำสลักคอก และร่องน้ำบางเบ้า อันนี้ก็นานแล้วนะครับ ที่ยังไม่ได้เข้าไปสู่การดำเนินการนะครับ อันนี้ก็อยากจะเร่งรัดทางส่วนของกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เข้าไปดำเนินการ
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
และเรื่องสุดท้ายครับ เป็นความเดือดร้อนของประชาชนที่เขาสร้างบ้าน อยู่ริมน้ำนะครับ มันก็มีการประกาศของกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้มีการจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมบ้านริมน้ำ ซึ่งหลายคนก็เดือดร้อนจากสถานการณ์เรื่องโควิดที่ผ่านมานะครับ จนถึงบัดนี้ก็ยังมีความยากลำบากกันอยู่ จึงอยากที่จะให้ทางกรมเจ้าท่าได้พิจารณาทบทวน ในการที่จะได้ลด หรืองดในการที่จะเก็บค่าธรรมเนียมของพี่น้องประชาชนเพื่อลด ความเดือดร้อนของพวกเขานะครับ ขอขอบคุณมากครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณวินัย ภัทรประสิทธิ์
นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ พิจิตร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม วินัย ภัทรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิจิตร พรรคภูมิใจไทย วันนี้ผมมี เรื่องหารือกับท่านประธานครับ ความเดือดร้อนของพี่น้องชาวจังหวัดพิจิตรในเรื่องการส่งต่อ ผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพที่สูงกว่าและที่ใหญ่กว่า จังหวัดพิจิตรเป็นขนาดเล็กครับ ขอ Slide ที่ ๑ ครับ
นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ พิจิตร ต้นฉบับ
จังหวัดพิจิตรครับ พื้นที่จังหวัดพิจิตร ทิศเหนือติดพิษณุโลก ทิศตะวันออกติดเพชรบูรณ์ ทิศใต้ติดนครสวรรค์ ทิศตะวันตก ติดกำแพงเพชร ปัจจุบันนี้ผู้ป่วยที่จะต้องส่งต่อไปนี่จะส่งต่อไปที่จังหวัดนครสวรรค์ครับ ปัญหาครับ Slide ที่ ๒ นี่ครับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่น้องชาวจังหวัดพิจิตร การส่งต่อไป จังหวัดพิจิตรมี ๑๒ อำเภอ ถ้าสีเขียวนี้ถ้าเปรียบเทียบระยะเวลาในการเดินทาง การเดินทาง จากแต่ละโรงพยาบาลในอำเภอไปโรงพยาบาลที่ศักยภาพที่สูงกว่าและใหญ่กว่า มีถึง ๘ อำเภอ ที่สามารถจะเดินทางไปรักษาในจังหวัดพิษณุโลกได้ แต่ด้วยเหตุระบบสุขภาพพื้นที่ของจังหวัดพิจิตรอยู่ในเขตพื้นที่ระบบสุขภาพที่ ๓ ต้องส่งต่อไปจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีเพียง ๔ อำเภอเท่านั้นที่สามารถจะเดินทางได้ใกล้กว่า เพราะฉะนั้นระยะเวลาในการเดินทางผมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญครับสำหรับผู้ป่วย สำหรับญาติ ที่จะไปเยี่ยม สำหรับผู้ป่วยที่จะต้อง Follow up ไปพบกับแพทย์ ในการรักษาต่าง ๆ เรื่องเป็นภาระซึ่งเกิดกับพี่น้องประชาชนอย่างมาก ซึ่งเรื่องนี้ถ้าทางกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้พี่น้องจังหวัดพิจิตรได้มีโอกาสไปรักษาที่จังหวัดพิษณุโลกได้ก็จะเป็น การลดค่าใช้จ่ายอย่างมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นตรงนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะในจังหวัดพิจิตร ผมเชื่อว่า เกิดขึ้นในทุกพื้นที่จังหวัดที่จังหวัดขนาดเล็กจะต้องไปรักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ส่งต่อไป เพราะฉะนั้นพื้นที่ชายขอบของทุกจังหวัดก็สามารถที่จะไปรักษาที่ไหนก็ได้ โดยขอให้เป็นไปตามที่ผมเสนอ คือขอให้ส่งได้ทั้งจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดพิจิตร
นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ พิจิตร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ เป็นเรื่องของภัยแล้งครับ จังหวัดพิจิตรพื้นที่บางพื้นที่ไม่ได้อยู่ใน เขตชลประทานติดเทือกเขาเพชรบูรณ์ ปัจจุบันนี้ชาวบ้านร้องเรียนเป็นจำนวนมากครับ ที่อยากจะได้ฝนหลวง ผมเองได้ประสานงานกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ตั้งแต่วันที่ ๑๗ กันยายนจนถึงบัดนี้มีการทำฝนหลวงไปบ้างแล้วแต่ก็ยังแห้งแล้งอยู่ดี คืออยากจะฝาก ทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตรช่วยพิจารณาช่วยทำฝนหลวงให้จังหวัดพิจิตรให้ทั่วถึง ด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณวรวงศ์ วรปัญญา ครับ
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม นายวรวงศ์ วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เขตที่ ๕ อำเภอท่าหลวง อำเภอลำสนธิ และอำเภอชัยบาดาลครับ ขออนุญาตขอ Slide ด้วยครับ
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
วันนี้ขออนุญาตนำเรียนผ่าน ท่านประธานสภาไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ปัญหาของพี่น้องประชาชนครับ
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๑ เรื่องของถนนทางหลวงชนบท สาย ลบ.๔๐๓๙ เป็นพื้นที่ ที่พี่น้องประชาชนค่อนข้างใช้ในการสัญจรไปเยอะ แต่ปัจจุบันมีสภาพผิวถนนที่ค่อนข้าง ขรุขระอยู่ที่ตำบลทะเลวังวัด อำเภอท่าหลวง รวมถึงยังขาดในส่วนของเรื่องไฟฟ้าแสงสว่าง
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ย้อนกลับไปเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว รวมถึง ๓ ปีที่แล้วมีปัญหาอุทกภัย ในหลากหลายพื้นที่อีก ๑ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากก็คือในบริเวณเทศบาล ตำบลลำนารายณ์ ตามรูปที่เห็นจะเป็นพื้นที่หมู่ที่ ๘ ใกล้เคียงกับ Zone หมู่บ้านบุญส่ง ซึ่งปัจจุบันแม้ว่าเราจะไม่ได้มีปัญหาอุทกภัยที่รุนแรง แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนตกใช้ระยะเวลา แค่เพียงสั้น ๆ ก็จะเกิดการท่วมขัง ก็อยากจะขอในส่วนของงบประมาณไปยังกรมโยธาธิการ และผังเมืองในการวางท่อแล้วก็วางระบบใหม่ เนื่องด้วยเป็นตำบลที่ค่อนข้างใหญ่ แล้วก็ เป็นตำบลสำคัญของอำเภอชัยบาดาล
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ กระผมได้รับการร้องเรียนมาจาก อบต. เขารวก อำเภอลำสนธิ อำเภอลำสนธิเป็นอีก ๑ อำเภอที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมค่อนข้างมาก แต่จาก ปัจจุบันจากภาพที่ท่านได้เห็นแทบจะไม่เรียกว่าฝายได้แล้ว ทุก ๆ ครั้งที่เกิดน้ำท่วมหลาก จากหนองโกน้อย แล้วก็หนองโกใหญ่จะส่งผลกระทบมาที่หมู่ที่ ๑ และหมู่ที่ ๔ ของตำบล เขารวก ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องของน้ำทั้งน้ำสำหรับการใช้การเกษตร รวมถึงน้ำที่สำหรับใช้กิน ใช้สำหรับชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชนตำบลเขารวก ก็อยากจะของบประมาณ ในการซ่อมแซมฝาย หรือขุดลอกฝายจากกรมชลประทานครับ
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๔ ได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องตำบลหนองรีผ่านไปยัง ท่านประธานสภา ซึ่งเป็นปัญหาใกล้เคียงกันกับหลากหลายพื้นที่ ก็คือเรื่องถนนหนทาง ซึ่งถนนสายนี้ในส่วนของหมู่ที่ ๗ และหมู่ที่ ๒ ของตำบลหนองรีเป็นทางสัญจรที่จะ ผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นทางเข้าปรางค์นางผมหอมเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเช่นกัน จริง ๆ แล้วเรามีสถานท่องเที่ยวมากมาย แต่ว่าการเข้าถึงค่อนข้างยากลำบากภายใน จังหวัดลพบุรีนะครับ
นายวรวงศ์ วรปัญญา ลพบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นสุดท้ายครับ เรื่องที่ ๕ เป็นน้ำตกวังก้านเหลืองจากรูปที่ท่านเห็น ผมอยู่กับท่าน สจ. กิ่งศักดิ์ สิงห์สนอง แล้วก็ สจ. ภพ สุประเพียร เป็น สจ. ของ ๒ อำเภอ อำเภอชัยบาดาล และอำเภอท่าหลวง ทั้ง ๒ อำเภอ เราจะมีสะพานที่เดินผ่านได้ตรงบริเวณ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญก็คือน้ำตกวังก้านเหลือง วันนี้หลากหลายหน่วยงานที่โยนกันไปโยนกันมา ปัจจุบันตัวน้ำตกเองก็อยู่กับทางด้านกรมอุทยาน ก็อยากจะของบประมาณในการซ่อมแซม สะพาน เพราะปัจจุบันสภาพผุพัง ผู้คนไม่สามารถที่จะเดินสัญจรผ่านไปมาได้ แล้วก็ เป็นสถานที่สำคัญที่จะทำให้พ่อค้าแม่ค้าสามารถค้าขายได้ ขอบคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณอนุรักษ์ จุรีมาศ ครับ
นายอนุรักษ์ จุรีมาศ ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพครับ กระผม นายอนุรักษ์ จุรีมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขตเลือกตั้งที่ ๑ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา วันนี้ผมมีเรื่องหารือท่านประธาน ๒ เรื่อง
นายอนุรักษ์ จุรีมาศ ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ กรมทางหลวง กล่าวคือกรมทางหลวงได้ก่อสร้างปรับปรุงถนนหมายเลข ทล.๒๑๕ สายร้อยเอ็ด อำเภอสุวรรณภูมิ ตอนร้อยเอ็ด-บ้านหนองเม็ก ระยะทางประมาณ ๑๔ กิโลเมตรเศษ โดยสำนักก่อสร้างที่ ๒ กรมทางหลวง สังกัดกระทรวงคมนาคม สัญญา เริ่มต้นเมื่อมิถุนายน ๒๕๖๔ สิ้นสุดสัญญาเมื่อกรกฎาคม ๒๕๖๖ การก่อสร้างปรับปรุง ถนนสายดังกล่าวเป็นการขยายช่องจราจรเดิม จาก ๒ ช่องจราจร เป็น ๔ ช่องจราจร พร้อมเกาะกลางถนนแบบกำแพงกั้น ซึ่งการปรับปรุงดังกล่าวทำให้เกิดประโยชน์ อย่างมากมาย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือการสร้างเกาะกลางถนนแบบกำแพงกั้น สร้างความลำบากให้พี่น้องประชาชน ๒ ฟากฝั่งในการสัญจรไปมา แม้กระทั่งสะพานลอย คนข้ามก็อยู่ห่างไกลทางเข้าหมู่บ้าน ส่งผลให้ชาวบ้านต้องปีนกำแพงกั้น สิ่งที่เป็นปัญหา ที่สำคัญที่สุดก็คือจุดกลับรถซึ่งห่างจากหมู่บ้านเป็นกิโลเมตรเลยครับ สร้างความเดือดร้อน แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก ดังนั้นกระผมจึงใคร่ขอให้กรมทางหลวงดำเนินการเพิ่มจุดกลับรถ อีก ๒ จุด ให้แก่บ้านโนนตาลน้อย หมู่ที่ ๑๐ ตำบลโนนตาล อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ๒. จุดกลับรถบ้านอีเม้ง หมู่ที่ ๗ ตำบลโนนตาล อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด นอกจากนี้ กรมทางหลวงก็ได้ขยายถนนอีกเส้นหนึ่ง หมายเลข ทล.๒๑๔ จากร้อยเอ็ดไปอำเภอ เกษตรวิสัย ระยะทาง ๒๕ กิโลเมตร จาก ๒ ช่องจราจร เป็น ๔ ช่องจราจร การก่อสร้าง ดังกล่าวก็มีปัญหาเรื่องเกาะกลางถนนแบบกำแพงกั้นเหมือนเดิมครับท่านประธาน ซึ่งทำให้ ชาวบ้านแก่นทราย หมู่ที่ ๑๔ หมู่ที่ ๑๕ ตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด มีปัญหาจุดกลับรถซึ่งห่างจากปากทางเข้าเป็นกิโลเมตร กระผมจึงใคร่ขอให้กรมทางหลวง ปรับปรุงจุดกลับรถให้แก่ชาวบ้านแก่นทราย หมู่ที่ ๑๔ หมู่ที่ ๑๕ ตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด อีก ๑ จุด
นายอนุรักษ์ จุรีมาศ ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยาน กล่าวคือสนามบิน ร้อยเอ็ดเปิดทำการมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมาแล้วครับ มีการปรับปรุงอาคาร ผู้โดยสารเมื่อปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕ แต่ความยาวทางวิ่งยังมีปัญหาเหมือนเดิม ก็คือ ความยาวแค่ ๒,๑๐๐ เมตร ดังนั้นกระผมจึงใคร่ขอให้กรมท่าอากาศยานได้สนับสนุน งบประมาณในการปรับปรุงทางวิ่ง ขยายจาก ๒,๑๐๐ เมตร เป็น ๒,๕๐๐ เมตร ซึ่งจะเป็น การรองรับให้กับเครื่องบินขนาดใหญ่ในอนาคต ขอขอบคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณร่มธรรม ขำนุรักษ์ ครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ร่มธรรม ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้กระผม ขออนุญาตนำปัญหาของพี่น้องประชาชนมาอภิปรายหารือดังต่อไปนี้
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๑. ขอให้ท่านประธานได้มีหนังสือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และสำนักงบประมาณ เพื่อจัดตั้งงบประมาณก่อสร้างถนนเลียบทะเลสาบพัทลุง จากทะเลน้อย อำเภอควนขนุน ถึงตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เชื่อมต่อจังหวัดสงขลา ซึ่งได้มีการออกแบบไว้แล้ว ถนนเส้นนี้จะเป็นส่วนสำคัญ ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวริมทะเลสาบ การสัญจร และการค้าของแต่ละชุมชนที่ถนน เส้นนี้ผ่าน ที่จะเป็นการสร้างรายได้ให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ และขอให้ก่อสร้าง ท่าเทียบเรือในชุมชนที่มีความเหมาะสม เพราะท่าเทียบเรือจะเป็นการอำนวยความสะดวก ให้กับชาวประมงได้นำสัตว์น้ำขึ้นมาวางขาย และจะอำนวยความสะดวกต่อนักท่องเที่ยว ในทะเลสาบอีกด้วย
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๒. ขอให้ท่านประธานได้มีหนังสือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และสำนักงบประมาณ เพื่อปรับปรุงและขยายถนนเส้นทางป่าบอน คลองหมวย จังหวัดพัทลุง ให้มีไหล่ทาง มีจุดชมวิว และจุดจอดรถ ซึ่งถนนสายนี้จะเป็นสายสำคัญ สำหรับการท่องเที่ยวริมเขาบรรทัด จังหวัดพัทลุง ผ่านแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในอำเภอ ป่าบอน อำเภอตะโหมด อำเภอกงหรา และอำเภอศรีนครินทร์ เช่น น้ำตกโตนสะตอ อ่างเก็บน้ำป่าบอน น้ำตกหม่อมจุ้ย อ่างเก็บน้ำเขาหัวช้าง บ่อน้ำร้อน และคลองโหล๊ะจังกระ น้ำตกไพรวัลย์ น้ำตกมโนราห์ น้ำตกนกรำ ควนนกเต้น น้ำตกโตนแพรทอง และน้ำตก เขาคราม เป็นต้น ซึ่งจะเป็นโอกาสในการส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้พี่น้อง ประชาชนและจะเป็นเส้นทางที่อำนวยความสะดวกในการสัญจรและการขนส่งทั้งสงขลา พัทลุง ตรัง
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๓. ขอให้ท่านประธานได้มีหนังสือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณเพื่อจัดสรรงบประมาณให้กับ อบจ. พัทลุง เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมถนน ในตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน เส้นทางพรุพ้อ ทุ่งนารี ต้นส้าน โหล๊ะหาร เขาจันทร์และถนน เส้นทุ่งคลองควาย ควนนายทอง บ่อสน พร้อมกับติดตั้งไฟส่องสว่างเพราะเป็นถนนที่มี การสัญจรไปมาจำนวนมาก แต่ปัจจุบันถนนเส้นนี้มีสภาพชำรุดทรุดโทรม
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๔. ขอให้ท่านประธานได้มีหนังสือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา และสำนักงบประมาณ เพื่อจัดทำสนามกีฬาให้กับองค์การบริหาร ส่วนตำบลโคกสักและตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว และควรมีสนามกีฬาระดับตำบล ให้กับทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นที่เล่นกีฬาออกกำลังกาย เพื่อพัฒนาศักยภาพ เยาวชน รวมทั้งสนามเหล่านี้สามารถใช้จัดกิจกรรมอื่น ๆ ของหน่วยงานราชการ และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้ครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๕. ขอให้ท่านประธานได้มีหนังสือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และกรมชลประทานขอให้เร่งปล่อยน้ำเข้าสู่พื้นที่ตำบลโคกสัก ตำบลท่ามะเดื่อ และตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว ซึ่งเกษตรกรได้รับความเดือดร้อน ผลผลิตทางการเกษตร ได้รับความเสียหาย และขอให้เร่งซ่อมแซมประตูกั้นน้ำ ระบายน้ำของชลประทานในพื้นที่ ตำบลดอนประดู่ ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูนซึ่งเกิดการชำรุด ประชาชนได้รับ ความเดือดร้อนเรื่องน้ำเช่นเดียวกันครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๖. ขอให้ท่านประธานได้มีหนังสือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และสำนักงบประมาณเพื่อจัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งถือเป็น ปัญหาใหญ่ของจังหวัดพัทลุงและประเทศไทยในขณะนี้ ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านอื่นตามมา เช่นปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาสังคม ปัญหาลักขโมยและปัญหา เศรษฐกิจ เป็นต้นครับ ขอบคุณครับท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณกัลยพัชร รจิตโรจน์ ครับ
นางสาวกัลยพัชร รจิตโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน ที่เคารพค่ะ ดิฉัน กัลยพัชร รจิตโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล วันนี้ขอปรึกษาหารือท่านประธาน เรื่องสถานการณ์การระบาดของเชื้อฝีดาษลิงในประเทศไทย อ้างอิงข้อมูลจากอธิบดีกรมควบคุมโรคนะคะ กล่าวไว้ในวันที่ ๓ กันยายนว่าสถานการณ์ ล่าสุดมีรายงานผู้ป่วยรวม ๓๑๖ ราย และมีผู้เสียชีวิต ๑ ราย เป็นผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคนี้ได้มีการระบาดซ่อนเร้นมานานมากแล้ว เป็นยอดภูเขาน้ำแข็งค่ะ โดยไม่ได้ติดต่อเฉพาะ ทางเพศสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว การสัมผัสกันหรือติดทางละอองฝอยน้ำลายที่ฟุ้ง ในอากาศที่ปิดถ่ายเทไม่สะดวกก็ทำให้ติดเชื้อได้เช่นกันค่ะ ข้อเท็จจริงคือโรคจะมีอาการ รุนแรงในกลุ่มเสี่ยง HIV ที่ไม่ได้รับการรักษา คนกินยากดภูมิ หรือว่าโรคที่มีภูมิคุ้มกัน บกพร่อง ผู้ป่วยทั้งหมดเป็นกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมากถึง ๒๗๑ ราย นับเป็นร้อยละ ๘๕.๘ ค่ะ และมีผู้ติดเชื้อ HIV ๑๔๓ ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ขอให้ตระหนักว่าประชาชนต้องป้องกันตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเพื่อลด ความเสี่ยงต่อการติดโรค โดยสังเกตรอยโรคก็คือผื่นมีลักษณะแบนหรือนูน มีตุ่มน้ำใส ตุ่มหนองและตกสะเก็ด มักพบตามบริเวณอวัยวะเพศ รอบทวารหนัก แขน ขา หรือฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลำตัว ศีรษะ ก่อนจะมีผื่นขึ้นนี่อาจจะมีไข้ร่วมกับมีอาการอื่น เช่น ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หากสงสัยการติดเชื้อฝีดาษวานรและมีความเสี่ยง ให้ไปพบแพทย์ทันที พร้อมกับแยกตัวออกจากสมาชิกในครอบครัว ควรสวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาด้วยค่ะ ด้วยความรู้ด้านการป้องกันโรคและการรักษาที่ยังมีจำกัดจึงแนะนำให้ Admit ทุกรายในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาโรคตามอาการ เช่น ลดไข้ หรือดูแล ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนนะคะ ส่วนการรักษาจำเพาะยาต้านไวรัสยังอยู่ในขั้นตอน การศึกษาวิจัยค่ะ ให้เฉพาะกรณีมีอาการรุนแรง ชื่อยาว่า Tecovirimat หรือ Tpoxx ซึ่งเป็น ยาที่มีทั้งรูปแบบรับประทานและให้ทางหลอดเลือด ดิฉันมีข้อเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้นะคะ
นางสาวกัลยพัชร รจิตโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อ ๑ จริง ๆ ควรปลดล็อกไม่ให้เป็นโรคระบาดร้ายแรงก่อน เพื่อลด ความกลัวให้คนเข้าถึงการตรวจได้มากขึ้น
นางสาวกัลยพัชร รจิตโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อ ๒ ควรมีการนำเข้าวัคซีน โดยมีทั้งแบบจ่ายเองสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่รู้ตัว และไว้สำหรับบุคลากรด่านหน้าบางส่วนในช่วงแรกค่ะ
นางสาวกัลยพัชร รจิตโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ข้อ ๓ ควรมีการตรวจเชิงรุก แต่ละศูนย์ในแต่ละภาคกระจายชุดตรวจ ให้โรงพยาบาลจังหวัดให้ตรวจได้เองไม่ต้องส่งเข้าส่วนกลาง และ สสจ. กำหนดนโยบาย เชิงรุกคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามดิฉันอยากให้ทางรัฐบาลนำเข้ายา และวัคซีนมาให้โรงพยาบาลใหญ่ ๆ มีใช้ให้เพียงพอ ไม่ทราบว่ามีการจัดการตรงนี้หรือยังคะ เพราะเท่าที่สอบถามจากเพื่อนแพทย์หน้างานบอกว่ามีปริมาณน้อยมาก อยากให้ประชาชน รับทราบสถานการณ์ความพร้อมของรัฐต่อโรคนี้ค่ะ เพราะเกรงว่ารัฐอาจจะไม่มีการตระหนัก ถึงความรุนแรงของโรคเท่าที่ควร และยังไม่ได้มีการตรวจคัดกรองที่ดีพอ ทั้ง ๆ ที่เคยมี บทเรียนมาแล้วจากตอนโควิดค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณรวี เล็กอุทัย ครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ กระผม นายรวี เล็กอุทัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต ๓ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตปรึกษาหารือเพียงเรื่องเดียวครับวันนี้ โดยจะขอปรึกษาหารือในปัญหาการไม่สามารถลงทะเบียนเพื่อมีสิทธิเข้าสอบใบประกอบ วิชาชีพครู เนื่องจากผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นน้อง ๆ นักศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาทางครุศาสตร์
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
โดยในจังหวัดอุตรดิตถ์ของผมจะมี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์เป็นมหาวิทยาลัยหลักในการผลิตนักศึกษาที่มีความรู้ และพร้อมจะไปทำหน้าที่เป็นครูต่อไป ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู เปรียบเสมือนการสอบภาค ก ของ ก.พ. สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครเข้ารับราชการ แต่ปัญหา ที่เกิดขึ้นคือ มีผู้สมัครจำนวนมากต้องประสบปัญหากับการไม่สามารถลงทะเบียนได้ทัน ซึ่งเมื่อมีการเปิดรับสมัครภายในวันแรกและในเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้นก็มีผู้สมัคร เต็มจำนวนทุกที่นั่งแล้วครับ อีกทั้งยังมีปัญหาระบบการสมัคร Online ล่มอีกต่างหาก และปัญหาดังกล่าวก็เกิดขึ้นทั่วประเทศ ท่านประธาน ขอ Slide กลับไปก่อนนะครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ประเด็นปรึกษาหารือในประเด็นแรก ผมต้องการหารือในส่วนของสิทธิ ในการมีโอกาสเข้าสอบใบประกอบวิชาชีพครูของผู้มีคุณสมบัติทุกคนอย่างทั่วถึง
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
และประเด็นการบริหารจัดการในกระบวนการจัดสอบของคุรุสภา ผมเห็นว่า นิสิตนักศึกษาทุกคนควรต้องได้รับสิทธิใบประกอบในการสอบใบประกอบวิชาชีพครู ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้เรียนจะได้มีโอกาสจากสิ่งที่ได้เรียนมา เพื่อนำไปประกอบอาชีพ ในการเป็นครู ไม่ว่าจะอยู่ในสถานศึกษาที่สังกัดของรัฐหรือเอกชน ใบประกอบวิชาชีพจึงเป็น สิ่งที่สำคัญมากครับท่านประธาน แต่ปัญหาของการจัดสอบในครั้งนี้เกิดจากการที่เมื่อเปิด รับสมัครระหว่างวันที่ ๔-๒๒ กันยายน แต่กลับมีผู้สมัครเต็มตั้งแต่วันแรกและเพียงไม่นาน หลังจากการเปิดระบบ ตามข้อมูลที่ปรากฏทางคุรุสภาได้กำหนดที่นั่งสอบไว้เพียงประมาณ ๒๐,๐๐๐ ที่นั่ง ในขณะที่จำนวนผู้ต้องการสมัครสอบทั้งประเทศนั้นมีจำนวนมหาศาล อีกทั้งสถานที่หรือศูนย์สอบที่รองรับนั้นก็กระจายอยู่เพียงแค่ไม่กี่จังหวัด แถมรองรับได้ จำนวนไม่มาก อย่างเช่นในภาคเหนือมีจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำปางเท่านั้นเอง ด้วยความเคารพนะครับ ผมเชื่อว่าทางคุรุสภาท่านคงจะมีฐานข้อมูลอยู่แล้ว ทั้งจำนวน หลักสูตรที่ท่านรับรองและจำนวนนิสิตนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรดังกล่าว แต่ปัญหา ที่เกิดขึ้นนี้โดยส่วนตัวผมเชื่อในหลักคิดที่ว่า ว่าที่คุณครูทุกคนควรมีสิทธิในการเข้าถึงการสอบ รับใบอนุญาตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ไม่ใช่ว่าจะต้องมาแย่งกันลงทะเบียนเพื่อสอบ เหมือนมาแย่งกันซื้อบัตรคอนเสิร์ตเช่นนี้
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ผมอยากฝากท่านประธานไปถึงคุรุสภา แล้วก็กระทรวงศึกษาธิการครับ ท่านต้องรีบชี้แจงเพราะว่าตอนนี้มีประชาชนที่เดือดร้อนและร้อนใจต่ออนาคตของพวกเขา เป็นจำนวนมาก และท่านควรจะต้องรีบแก้ไขและตอบคำถามเพื่อคลายความกังวลให้แก่ พวกเขาอย่างเร่งด่วน นั่นก็คือ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
๑. ท่านก็ต้องมีแผนการดำเนินการจัดสอบที่ชัดเจน ทั้งในส่วนของจำนวน รอบและสถานที่จะสอบที่สามารถรองรับผู้มีสิทธิได้ทุกคน เพราะมันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ของผู้สมัครทุกคน รวมถึงเขาจะได้วางแผนได้ถูกต้อง ทั้งในส่วนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
๒. สิทธิในการสอบของผู้สมัครแต่ละคนจะสามารถลงทะเบียนสมัครสอบได้ กี่ครั้งต่อปี เพื่อความเสมอภาคของบุคคลที่มีสิทธิในการสอบ เพราะจำนวนที่นั่งสอบ ไม่ได้เท่ากับสิทธิในการสอบ จึงกราบเรียนท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้โปรดรีบชี้แจงด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณยศวัฒน์ มาไพศาลสิน
นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน กาญจนบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ผม ยศวัฒน์ มาไพศาลสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อำเภอท่ามะกา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ท่านประธานครับ วันนี้เรื่องที่ผมจะหารือท่านประธานสภานั้นผมขอหารือไปยัง ท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของบ้านเรา ของประเทศเราก็คือท่านเศรษฐา ทวีสิน และเรื่องที่ หารือก็คือเรื่องเก่าที่เป็นเรื่องสำคัญในระดับประเทศ ซึ่งผ่านมาหลายยุคหลายสมัย รวมถึง ในสมัยที่ท่านประธานสภาดำรงตำแหน่งเป็น สส. ตั้งแต่สมัยแรก นั่นก็คือเรื่องของปัญหา ที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นเรื่องของการออกเอกสารสิทธิ
นายยศวัฒน์ มาไพศาลสิน กาญจนบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ตั้งแต่สมัย ที่แล้วผมเองแล้วก็พรรคภูมิใจไทยได้ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด เอาข้อมูลตั้งแต่พิสูจน์สิทธิ ปี ๒๔๘๐ จนกระทั่งในรัฐบาลยุคที่แล้วนั้นได้มีการออกนโยบายใหม่ ๆ มา ไม่ว่าจะเป็น บอกดิน ๑ บอกดิน ๒ บอกดิน ๓ ก็แล้วแต่ แต่ยังแก้ปัญหาเรื่องของที่ดินทำกินให้กับพี่น้อง คนไทยทั้งประเทศได้ โดยเฉพาะเรื่องเก่า ๆ ที่ผ่านการพิสูจน์สิทธิมาแล้วเช่นจังหวัดกาญจนบุรี ถามว่าทำไมวันนี้ จึงต้องขึ้นมาพูดตรงนี้ วันนี้ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านรับทราบเรื่องนี้มาโดยตลอด ท่านเองพร้อมที่จะทำอย่างจริงจังเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาที่ดิน ให้กับพี่น้องคนไทยทั้งประเทศ ผมจึงฝากเรื่องนี้ไปยังท่านนายกรัฐมนตรีให้เอาจริงเอาจัง แก้ไขปัญหาอย่างจริงจังในเรื่องของที่ดินทำกินให้กับผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินและโดนข้อหาบุกรุก ปัญหามันเกิดขึ้นด้านไหนบ้าง ด้านคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในยุคนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผู้ที่ไม่มี ที่ดินที่เป็นของตนเองหรือไม่มีโฉนดที่ดินเป็นของตัวเอง การที่จะไปขอทะเบียนบ้าน ขอปลูกบ้าน แน่นอนครับ บางรายไม่ได้ บางรายได้ทะเบียนบ้านแต่เป็นทะเบียนบ้านชั่วคราว มันส่งผลอย่างไรครับ ค่าไฟตอนนี้แพงมาก ทะเบียนบ้านชั่วคราวนั้นคูณขึ้นอีกเกือบ ๑ เท่าตัว และนอกเหนือจากนั้นระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ก็คือสิ่งที่ทำให้เขาไม่ได้รับ การเข้าถึงเช่นเดียวกัน แล้วก็นอกเหนือจากนั้น ผมเองเคยได้โอกาสเมื่อการพิจารณา งบประมาณปี ๒๕๖๖ ผมได้อภิปรายขึ้นในสภาว่ากระทรวงมหาดไทยมีงบประมาณเพิ่มขึ้น ในปี ๒๕๖๖ ถึง ๑๐,๐๐๐ กว่าล้านบาท ผมอภิปรายในตอนนั้นและหวังเป็นอย่างยิ่งว่า งบประมาณตรงนี้จะไปช่วยเหลือพ่อแม่พี่น้องที่เข้าหลักเกณฑ์ในการพิสูจน์สิทธิ และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้ใช้งบประมาณตรงนี้ในส่วนนี้ เพราะว่า ปัญหาของกรมที่ดินนั้นสิ่งที่ผมทราบคือขาดเจ้าหน้าที่ บุคลากรไม่พอ มันก็คือเจ้าหน้าที่รังวัด เจ้าหน้าที่ของกรมที่ดิน ขอฝากท่านประธานไปยังท่านนายกรัฐมนตรีที่มีความเก่ง และชำนาญในเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ด้วยครับ กราบขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปจะเป็น ๓ ท่านสุดท้าย คือคุณอามินทร์ มะยูโซ๊ะ คุณรอมฎอน ปันจอร์ และคุณสุภาพร สลับศรี เชิญคุณอามินทร์ มะยูโซ๊ะ ครับ
นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ นราธิวาส ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพและ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่าน กระผม นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส เขต ๒ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอตากใบ พรรคพลังประชารัฐ ท่านประธาน วันนี้ผมมีเรื่องหารือผ่านท่านประธานนำความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ด้วยกัน ๓ เรื่อง ขอ Slide ด้วยนะครับ
นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ นราธิวาส ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ ผมได้รับเรื่องร้องเรียน จากนายศุภนินทร์ สือนิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาใหม่ ในเรื่องของปัญหา น้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านปูลาโต๊ะบีซู หมู่ที่ ๘ ตำบลศาลาใหม่ ปัจจุบันได้รับ ความเสียหายตลอดแนวกว่า ๒,๕๐๐ เมตร ในอดีตหมู่บ้านแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ ๗๐๐ ไร่ ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๐๐ ไร่ โดยเฉพาะ ๓ ปีหลังที่เราเสียดินแดนที่เรียกว่าปลายด้ามขวาน เฉลี่ยปีละ ๒ เมตร ชาวบ้านที่หมู่บ้านแห่งนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ที่ดินผืนเดียวที่มีอยู่ก็คือบนเกาะแห่งนี้ ขอขอบคุณกรมโยธาธิการและผังเมืองที่ไม่ได้นิ่งนอนใจ เข้าสำรวจและทำประชาคมไปแล้วถึง ๔ ครั้ง แต่ปัญหาติดอยู่ที่กฎหมาย EIA ซึ่งต้องใช้เวลา กว่า ๕ ปีในการศึกษาผลกระทบ ทำให้เราต้องอยู่ในสภาวะที่เสียดินแดนอย่างนี้ต่อไปปีละ ๒ เมตรตลอดแนวชายฝั่งอย่างน้อยอีก ๕ ปี จึงอยากจะขอความอนุเคราะห์ผ่านท่านประธาน ไปยังหน่วยงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมโยธาธิการและผังเมือง เร่งหาทางออกให้กับเรื่องนี้ด้วย
นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ นราธิวาส ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ บ้านเกาะยาว อำเภอตากใบ ต้นตำรับปลากุเลาที่โด่งดังที่คนซื้อ ไม่ได้กิน คนกินไม่ได้ซื้อ มีความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่งในการเดินทางเข้าออกหมู่บ้าน ทางเข้าออกหมู่บ้านมีอยู่ ๒ เส้นทาง ทางที่ ๑ เข้าออกทางรถยนต์ต้องใช้การเดินทางกว่า ๙ กิโลเมตร หรือเดินทางกว่า ๒๐ นาที เพราะเส้นทางที่เข้าออกทุรกันดารเป็นอย่างมาก เส้นทางที่ ๒ ทางเข้าออกอีกเส้นทางหนึ่งก็คือสะพานคอยร้อยปี ที่ชื่อสะพานคอยร้อยปี เพราะชาวบ้านรอสะพานแห่งนี้กว่าจะสร้างเสร็จใช้เวลากว่าร้อยปี ได้สะพานมาทั้งที ก็ได้สะพานมากว้างแค่ ๒ เมตร ขับรถมอเตอร์ไซค์สวนกันทีก็ยากลำบากกับระยะทางเพียง ๓๕๐ เมตร ชาวบ้านและพี่น้องชาวตากใบทุกท่านจึงอยากจะขอความอนุเคราะห์หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องสร้างสะพานเข้าออกหมู่บ้านที่มีความกว้าง รถยนต์สามารถเข้าออกหมู่บ้านเกาะยาว ด้วยความสะดวก เพื่อเปิดโอกาสให้จังหวัดนราธิวาสมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถชูโรง อีก ๑ ที่ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดนราธิวาสด้วยครับ
นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ นราธิวาส ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ จากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติในเรื่องของน้ำขึ้นน้ำลง บวกกับ การขาดการขุดลอกคลองตากใบ คลองแห่งนี้เคยเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด หลายครัวเรือนเลี้ยงปลากะพงในกระชังซึ่งเป็นรายได้หลัก แต่ปัจจุบันประสบปัญหา คลองตื้นเขินเพราะขาดการขุดลอกมานาน ส่งผลให้ชาวบ้านไม่สามารถนำเรือเข้ามาจอด เทียบท่าได้ จึงอยากจะขอนำความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนขอความอนุเคราะห์ กรมเจ้าท่าให้ดำเนินการขุดลอกคลองตากใบ เพื่อให้พี่น้องประมงพื้นบ้านสามารถประกอบ อาชีพเลี้ยงชีพได้ต่อไปครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณรอมฎอน ปันจอร์ ครับ
นายรอมฎอน ปันจอร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม รอมฎอน ปันจอร์ สส. แบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องเดียวครับ เป็นเรื่องที่เรียกได้ว่ายืดเยื้อยาวนาน แล้วก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกระทบกับพี่น้องประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องด่านครับ ด่านความมั่นคง ด่านที่เป็นสิ่งแปลกปลอม ที่อยู่ในถนน สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนนี้ถ้าเรานับตั้งแต่วันที่ ๔ มกราคมก็เกือบ ๒๐ ปีแล้ว แล้วก็ตลอดเกือบ ๒๐ ปีนั้นใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ ๔ อำเภอของสงขลาก็อยู่ภายใต้ ๓ กฎหมายพิเศษสำคัญ กฎอัยการศึก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ. ความมั่นคง แต่สิ่งที่ปรากฏให้พี่น้องประชาชนเห็นสัมผัสถึงอำนาจรัฐที่คุกคาม และมีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คน ไม่ว่าจะนับถือศาสนาไหน ไม่ว่าจะขับรถสีอะไร และรุ่น อะไรต้องเจอด่านครับ ด่านในจังหวะเวลานี้เรายังไม่รู้ว่าตอนนี้เหลืออยู่จำนวนเท่าไร แต่ถ้า เพื่อนสมาชิกได้เดินทางไปที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็จะพบว่ามันหนาแน่นมาก การสำรวจ ของสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพเมื่อปี ๒๕๖๑ พบว่ามีด่านตรวจอยู่ในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ถึง ๑,๘๘๗ แห่ง หมายความว่าในแต่ละตำบลก็จะมีด่านความมั่นคงอยู่ประมาณ อย่างน้อย ๖.๕ จุด ในแต่ละอำเภอมีประมาณ ๕๐ ในแต่ละจังหวัดเกือบ ๕๐๐ ทั้งหมดนี้ เพื่ออะไรครับ แน่นอนว่าคงด้วยเป็นเหตุผลด้านความมั่นคง เป็นเหตุผลในเรื่อง ความปลอดภัย แต่ก็มีคำถามเกิดขึ้นอยู่ตลอดว่าประสิทธิภาพของมันในการที่จะตรวจจับ ผู้ก่อความไม่สงบหรือแม้กระทั่งผู้กระทำผิดกฎหมาย แม้ว่าจะมีด่านอยู่ใกล้ ๆ จุดเกิดเหตุ ก็ไม่สามารถที่จะป้องกันเหตุได้ กรณีล่าสุดที่เห็นได้ชัดคือกรณีระเบิดที่มูโนะ ด่านตรวจ ของตำรวจเองอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุไม่กี่ร้อยเมตร นี่ยังไม่รวมนะครับ เรื่องความปลอดภัย ก็มีหลายมิติ การเข้าแต่ละด่านทุกคนต้องประเมินว่าจะถูกตรวจขนาดไหน จะต้องมี การถ่ายรูปหรือไม่ จะมีการคุกคามด้วยอะไรหรือไม่ คำถามที่ทุกคนได้ยินเสมอเวลาเข้าด่าน ก็คือว่าคุณเป็นใคร คุณมาจากไหน คุณจะไปไหน ทั้งหมดนี้เป็นความรู้สึกอึดอัดที่ถูกรัฐ สอดส่องอยู่โดยตลอดนะครับ คำถามที่อยากจะเรียนปรึกษาท่านประธานไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยเฉพาะ กอ.รมน. ภาค ๔ ส่วนหน้า ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ และกรมการปกครอง ๖๐ เปอร์เซ็นต์นี่เป็นด่าน ชรบ. ซึ่งตั้งทิ้งร้างไม่มีไฟ แล้วก็ ก่อให้เกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้ง เป็นไปได้หรือไม่ที่หน่วยงานจะได้พิจารณารื้อถอนด่าน บางส่วนที่ไม่จำเป็นแล้วก็กระทบต่อชีวิตของผู้คน แล้วก็ตั้งทิ้งร้างเอาไว้กลางถนนโดยไม่มี เหตุจำเป็นออกไปก่อนนะครับ อาจยังจำเป็นที่จะต้องมีบางจุด แต่ก็ทำให้ผู้คนรู้สึก ปลอดภัยจริง ๆ ท่านประธานครับ ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปท่านสุดท้าย คุณสุภาพร สลับศรี ครับ
นางสุภาพร สลับศรี ยโสธร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน สุภาพร สลับศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดยโสธร พรรคไทยสร้างไทย ซึ่งประกอบด้วย อำเภอเมือง อำเภอทรายมูล ตำบลศรีฐาน ตำบลกระจาย และตำบลทุ่งมน วันนี้ขอหารือ ต่อท่านประธานสภาในปัญหาที่พี่น้องราษฎรร้องเรียน ซึ่งมี ๒ ประเด็นใหญ่ ๆ ด้วยกันค่ะ
นางสุภาพร สลับศรี ยโสธร ต้นฉบับ
ประเด็นแรก คือปัญหาเรื่องน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ราษฎรตำบลดงมะไฟ อำเภอทรายมูล มีทั้งหมด ๓ หมู่บ้านที่ร้องเรียนมา ขอ Slide ด้วยค่ะ
นางสุภาพร สลับศรี ยโสธร ต้นฉบับ
ซึ่งดูจากแผนที่น้ำ วงกลมสีแดง จะเป็นแผน ที่บ้านกุดกว้าง บ้านดงมะไฟ แล้วก็บ้านโคกก่อง ซึ่งบ้านแรกก็คือบ้านกุดกว้าง ขอ Slide แผ่นที่ ๒ ด้วยนะคะ ปัจจุบันใช้ระบบน้ำประปาบาดาล น้ำเค็ม น้ำกร่อย แล้วก็ระบบ น้ำประปาชำรุด แนวทางแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนที่อยากจะให้ช่วยผลักดัน ก็คือการผันน้ำจาก แหล่งน้ำผิวดิน นั่นก็คือหนองน้ำหนองลาดมั่งซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๒๐ ไร่ เหมาะแก่การนำน้ำ ไปผลิตเป็นน้ำประปา
นางสุภาพร สลับศรี ยโสธร ต้นฉบับ
บ้านที่ ๒ คือบ้านดงมะไฟ ซึ่งเป็นบ้านตำบลขนาดใหญ่ประกอบด้วย หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๘ แล้วก็หมู่ที่ ๑๐ มีจำนวนประชากรค่อนข้างมาก ซึ่งปัจจุบันใช้ระบบ น้ำประปาบาดาลและน้ำผิวดิน ปัญหาที่พบคือค่าไฟที่แพง ปริมาณน้ำกำลังผลิตไม่เพียงพอ แนวทางแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนที่อยากจะให้ช่วยปรับปรุงก็คือ การปรับปรุงโสกขามป้อม ให้รองรับน้ำได้มากขึ้น และเดิมใช้ระบบไฟฟ้า ๓ เฟส แต่ค่าไฟแพงแสนแพงค่ะ ราษฎร สู้ไม่ไหวนะคะ จึงออกเงินซื้อแผง Solar cell มาใช้เป็นพลังงาน เพื่อแก้ไขปัญหาค่าไฟที่แพง จึงทำให้ระบบประปาดงมะไฟกระท่อนกระแท่น น้ำไม่ผ่านระบบกรอง ด้อยมาตรฐาน การแก้ไขปัญหาที่อยากจะให้รัฐสนับสนุนคือการสร้างระบบพลังงานไฟฟ้า Solar cell ให้มีขนาดใหญ่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้า เพื่อจะแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน
นางสุภาพร สลับศรี ยโสธร ต้นฉบับ
บ้านที่ ๓ บ้านโคกก่อง หมู่ที่ ๕ ตำบลดงมะไฟ ซึ่งมีปัญหาคล้ายคลึงกับ ทั้ง ๒ หมู่บ้านนะคะ ที่ผ่านมาแม้จะใช้ประปาระบบน้ำบาดาล แต่ก็มีปัญหาเรื่องความเค็ม กร่อย น้ำไม่ผ่านระบบกรอง และปริมาณน้ำไม่เพียงพอ จึงอยากจะให้รัฐบาลช่วยแก้ไข ปัญหา โดยผันน้ำผิวดินจากแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้วก็คือสระหลวง ให้มาผลิตเป็นน้ำประปา
นางสุภาพร สลับศรี ยโสธร ต้นฉบับ
ส่วนประเด็นที่ ๒ ที่จะหารือในวันนี้ก็คือปัญหาการออกเอกสารกรรมสิทธิ์ ที่ดินของจังหวัดยโสธร ซึ่งมีปัญหามากทั้งจังหวัด ขออนุญาตยกตัวอย่างตำบลหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นต้นแบบสามารถนำร่องเพื่อแก้ไขปัญหาการออกโฉนดที่ดิน เอกสาร ส.ค. ๑ ซึ่งมีจำนวนประมาณ ๔๐๐ ราย เพราะราษฎรมีความเพียรพยายามมากกว่า ๑๐ ปี ทั้ง อบต. หนองหิน แล้วก็ฝ่ายปกครองช่วยกันขับเคลื่อน เดินตามแนวทางที่ภาครัฐ ให้คำแนะนำอย่างเต็มที่ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่างานออกโฉนดที่ดินเป็นปัญหาระดับชาติ ที่ภาครัฐก็ดี รัฐบาลก็ดี ดำเนินการแก้แทบจะไม่คืบหน้าและล่าช้านะคะ ดังนั้นดิฉัน จึงอยากจะขอหารือท่านประธานสภาให้รัฐบาลชุดใหม่โฟกัสนำร่องใช้กรณีการออกโฉนด เอกสาร ส.ค. ๑ ของตำบลหนองหิน อำเภอเมือง ซึ่งมีทั้งหมด ๑๒ แปลง ส.ค. ๑ แยกออกเป็นขอออกโฉนดจำนวน ๔๑ รายย่อยที่น่าจะอยู่ในเกณฑ์ สามารถดำเนินการ ออกโฉนดได้โดยไม่มีปัญหา หากทำสำเร็จจะสร้างขวัญกำลังใจ ความเชื่อมั่น และลด ความเหลื่อมล้ำเรื่องปัญหาที่ดินให้แก่ประชาชน พร้อมเป็นต้นแบบแก่พื้นที่อื่น ๆ โปรดเมตตา ชาวจังหวัดยโสธรด้วยนะคะ กราบขอบคุณท่านประธานมากค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ก่อนที่จะเข้าสู่ ระเบียบวาระ ผมขออนุญาตหารือท่านประธานสักครู่เดียวครับ ผม ภราดร ปริศนานันทกุล พรรคภูมิใจไทย ด้านนี้ครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เดี๋ยวเอาเรื่อง ที่ผมจะแจ้งให้ทราบ แล้วก็ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระ ผมจะให้หารือครับ ได้ครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ขอบพระคุณครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ๔๘๕ คน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เรียนท่านสมาชิก ทุกท่านครับ ขณะนี้มีสมาชิกมาลงชื่อเข้าประชุมจำนวน ๓๗๔ ท่าน ถือว่าครบองค์ประชุม ผมขอเปิดการประชุมและดำเนินการตามระเบียบวาระต่อไปนะครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม ซึ่งไม่ปรากฏในระเบียบ วาระที่ท่านได้รับไปแล้วนะครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๒.๑ รับทราบพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ประกาศแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ผมขอเชิญท่านสมาชิกทุกท่านโปรดยืนขึ้นเพื่อรับโปรดเกล้าฯ ท่านสมาชิกทุกท่านโปรด ยืนขึ้นเพื่อรับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ประกาศแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีครับ แล้วขอเชิญ ท่านเลขาธิการ อ่านพระบรมราชโองการครับ
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
“พระบรมราชโองการ
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ประกาศ
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
แต่งตั้งรัฐมนตรี
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิรลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ แล้วนั้น
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
บัดนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบต่อไปแล้ว
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายสุทิน คลังแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
อีกตำแหน่งหนึ่ง
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายจักรพงษ์ แสงมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายวราวุธ ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
และความมั่นคงของมนุษย์
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
และสหกรณ์
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายไชยา พรหมา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
และสหกรณ์
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายอนุชา นาคาศัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
และสหกรณ์
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นางมนพร เจริญศรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง คมนาคม
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เพื่อเศรษฐกิจและสังคม
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายนภินทร ศรีสรรพางค์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายเกรียง กัลป์ตินันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายทรงศักดิ์ ทองศรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายชาดา ไทยเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายชลน่าน ศรีแก้ว เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เป็นปีที่ ๘ ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เศรษฐา ทวีสิน
นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นายกรัฐมนตรี”
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
นั่งลงครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ แจ้งให้ที่ประชุมทราบ คือเรื่องให้ผู้ที่มีรายชื่อลำดับถัดไปในบัญชี รายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในตำแหน่งที่ว่าง
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ตามที่ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ได้มีหนังสือขอลาออกจากการเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๖ เป็นเหตุให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลง ตามมาตรา ๑๐๑ (๓) ของรัฐธรรมนูญ ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้มีประกาศ สภาผู้แทนราษฎรประกาศให้ผู้ที่มีรายชื่อถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคเสรีรวมไทย เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๕ (๒) คือนายมังกร ยนต์ตระกูล ซึ่งเป็นแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ ๒ ของพรรคเสรีรวมไทย จึงแจ้งให้ที่ประชุม ทราบครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปฏิญาณตนในที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๑๕ เนื่องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๑๑๕ กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมก่อนรับตำแหน่ง ผมจึงขอเชิญคุณมังกร ยนต์ตระกูล ได้ลุกขึ้น ยืนครับ พร้อมนะครับ ถ้าพร้อมผมจะกล่าวนำปฏิญาณตน คุณมังกรก็กล่าวตามผม แต่ตอนที่บอกว่าข้าพเจ้านั้น ขอให้คุณมังกรเอ่ยชื่อคุณมังกร ยนต์ตระกูล แล้วผมจะกล่าวนำ ต่อไป เข้าใจนะครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
“ข้าพเจ้า นายมังกร ยนต์ตระกูล ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติ ตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญนั่งลงนะครับ ดังนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่คือ ๔๙๘ คน การลงมติ หรือองค์ประชุมต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๒๔๙ คน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
๒.๑ รับทราบเรื่อง วุฒิสภาได้พิจารณาและรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ด้วยสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้มีหนังสือแจ้งว่า ในคราวประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๑ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๖ ที่ประชุมได้พิจารณา และรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปจะเข้าสู่ ระเบียบวาระ เมื่อสักครู่ที่ท่านจะหารือ เชิญครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ภราดร ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง พรรคภูมิใจไทย ผมต้องขอบคุณท่านประธานนะครับ ขออนุญาตหารือท่านประธานสั้น ๆ เป็นเรื่องของ การหารือก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระในช่วงเช้าของวันประชุมในทุกสัปดาห์ ขณะนี้ท่านประธาน ได้กรุณาให้เพื่อนสมาชิกได้ใช้เวลาของสภาคนละ ๓ นาที เพื่อที่จะหารือทั้งสิ้น ๓๐ ท่าน ในขณะนี้วิธีการจัดสรรสัดส่วนของเราคือแบ่งเป็นฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายละ ๑๕ ท่าน ซึ่งล้อมาจากเมื่อปี ๒๕๖๒ แต่ว่าอย่างไรก็ดีเมื่อปี ๒๕๖๒ จำนวนตัวเลขของฝ่ายค้าน กับฝ่ายรัฐบาลมีไม่แตกต่างกันมากนัก ฝ่ายรัฐบาลมี ๒๕๐ กว่าคน ในขณะที่ฝ่ายค้าน มี ๒๔๐ กว่าคน เพราะฉะนั้นเมื่อแบ่งครึ่งมันจึงไม่เหลื่อมล้ำกันมากนักสำหรับตัวเลข ของฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล แต่ว่าในขณะนี้เรามีสมาชิกฝ่ายรัฐบาลถึง ๓๑๔ ท่านด้วยกัน ในขณะที่ฝ่ายค้านมีไม่ถึง ๒๐๐ ท่าน การแบ่งสัดส่วนด้วยสัดส่วนคนละครึ่งแบบนี้คิดว่า ไม่มีความเป็นธรรมกับทางฝ่ายรัฐบาลครับ เพราะผมเชื่อว่าการปรึกษาหารือมันไม่มีการแบ่ง ฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลหรอกครับ ทุกคนที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรับเรื่องราว ร้องทุกข์ของพี่น้องประชาชนมาเหมือนกันทั้งสิ้น แล้วเราก็จะใช้เวลา ๒-๓ นาทีตอนเช้า อย่างนี้ครับ เพื่อที่จะเอาปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมาสะท้อนที่นี่เพื่อให้ ท่านประธานนำเอาปัญหาความเดือดร้อนไปส่งให้กับคณะรัฐบาลต่อไป เพราะฉะนั้น ผมจึงปรึกษาหารือกับท่านประธานครับว่า การจัดสรรสัดส่วนระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล ในการหารือนี้เราไม่ควรที่จะแบ่งเป็นฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม กับทุกพรรคการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคเล็กเขาจะได้มีโอกาสในการที่จะหารือ กับท่านประธานสภาบ้าง โดยใช้สัดส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่ในสภา แล้วก็หารด้วย ๓๐ คนตามที่เราได้ตกลงกันไว้ว่าจะมีการหารือ ๓๐ ท่าน ก็เอาสัดส่วน หารสัดส่วนย่อยลงมาแบบนี้ก็จะเกิดความเป็นธรรมกับทุกพรรคการเมือง จึงหารือกับ ท่านประธานครับ ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ คุณภราดรมากครับ ผมได้รับรายงานจากสำนักการประชุมว่าทั้ง ๒ ฝ่าย คือฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านได้ตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ตามที่คุณภราดรแจ้งปัญหานั้นก็หมดแล้ว โดยที่จะพิจารณาว่าการหารือนั้นเป็นความเดือดร้อนของประชาชนทั้ง ๕๐๐ เขตเลือกตั้ง รวม Party list ด้วย ในความเดือดร้อนไม่อาจจะแบ่งได้ว่าเป็นความเดือดร้อนฝ่ายค้าน หรือฝ่ายรัฐบาล ถือว่าเป็นความเดือดร้อนของประชาชน จึงได้หารือกันแล้วเห็นว่า ควรจะแบ่งตามสัดส่วนของจำนวนสมาชิกแต่ละพรรค แต่ขอเสนอว่าเพื่อให้ลงตัว แต่ละวันนั้นก็ได้มีการเพิ่มเป็น ๓๒ คนครับ
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ก่อนที่ท่านประธานจะสรุป
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ขอบคุณท่านประธานครับ ผม ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ก่อนที่ท่านประธานจะสรุปว่าผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไรในสัปดาห์หน้านะครับ ผมต้องขอแย้ง ท่านประธานสักครู่หนึ่งนะครับ ผมเข้าใจดีว่าท่านประธานเองไม่ได้อยู่ในห้องประชุมตัวแทน พรรคการเมืองวันก่อน เพราะว่าประธานในที่ประชุมคือท่านรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ทีนี้ผมจะแจ้งแบบนี้ครับ ผมไม่ทราบว่าท่านประธานได้รับข้อมูลมาว่าอย่างไร แต่เรื่องนี้ไม่มีการตกลงกันแล้ว ถ้าจะบอกว่าตกลงกันแล้วโดยที่ทางผมไม่ได้รับทราบเลย ว่าตกลงกันแบบนี้ ไม่เรียกว่าตกลงกันแล้วครับท่านประธาน อันนี้เป็นประเด็นที่ ๑ นะครับ ข้อมูลข่าวสารใด ๆ ก็ตามที่ท่านประธานได้รับมาว่ามีการตกลงกันระหว่าง ๒ ฝ่ายแล้ว ไม่มีการตกลงกันนะครับ ผมแจ้งชัดเจนวันนั้นว่าผมมีประชุมที่พรรค และต้องรีบเดินทาง ออกจากห้องประชุม และบอกว่าให้มาพูดคุยกันวันนี้ แต่แทนที่จะมาพูดคุยกันวันนี้กลับมี การบอกว่ามีการตกลงกันแล้ว และให้ท่านประธานออกเอกสารมาตั้งแต่เมื่อวาน เพื่อที่จะ บอกว่าจะเอาแบบนี้โดยที่ผมยังไม่เคยเห็นชอบด้วย ไม่เคยตกลงด้วย ผมคิดว่าเรื่องนี้ ไม่เป็นธรรมกับพรรคฝ่ายค้านเลยแม้แต่นิดเดียว
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ประเด็นเรื่องปี ๒๕๖๒-๒๕๖๖ มีการแบ่งกันระหว่าง ฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลครึ่ง ๆ ฝั่งละ ๑๕ คน ครั้งนั้นมีดำริท่านประธานชวน หลีกภัย ให้เป็นแบบนี้ ซึ่งถ้าท่านภราดร ขออภัยที่เอ่ยนามนะครับ จะบอกว่า ณ ตอนนั้นเสียงมัน ปริ่มน้ำ ๒๕๐ กว่ากับ ๒๔๐ กว่า ผมอยู่มา ๔ ปี ผ่านไปปีเดียวนี่ฝ่ายรัฐบาลก็มีสัก ๒๗๐-๒๘๐ ไปตอนท้าย ๆ ก็เฉียด ๆ จะ ๓๐๐ ฝั่งฝ่ายค้านก็ ๒๑๐ ผมก็ไม่ได้เห็นว่ามันจะมี ความไม่เป็นธรรมอย่างไร ประเด็นก็คือหลักคิดแบบนี้ผมคิดว่าเป็นหลักคิดที่ว่า ฝ่ายค้านนี่แน่นอนครับว่าแขนขา หรือ Connection ต่าง ๆ มันต่างกับฝ่ายรัฐบาลโดยสิ้นเชิง ขออะไรไปก็ไม่ได้ อยู่ในสภาก็เป็นเสียงส่วนน้อย การปรึกษาหารือในสภานี้มันก็เป็นช่องทาง ระบายช่องทางหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ของ สส. พรรคฝ่ายค้าน ได้บรรเทาความเดือดร้อน และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ก็จะดำเนินการไปตามนั้นได้ ถ้าจะมาพูดกันเรื่องความชอบธรรมท่านประธาน ความชอบธรรมมันหมดไปตั้งแต่พรรค ที่ชนะเลือกตั้งไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วครับท่านประธาน ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณคุณปกรณ์วุฒิ ต้องขออภัยด้วย พอดีผมมอบเรื่องนี้ให้รองพิเชษฐ์ รองพิเชษฐ์ก็ไม่ได้รายงาน แต่บังเอิญว่า ทางสำนักการประชุมได้รายงานมา และผมเห็นเมื่อเช้านี้จัดเป็น ๓๒ คน ผมต้องขออภัย เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เดี๋ยวให้รองพิเชษฐ์กับทั้ง ๒ ฝ่ายไปคุยกันให้ชัดเจน และถ้าตกลงกันได้ อาทิตย์หน้าก็จะปฏิบัติตามนั้น ขอบคุณนะครับ ขอให้ไปคุยกันอย่างคุณปกรณ์วุฒิว่า ยังไม่ตกลงกัน ขอหารือกันต่อไปครับ ต้องขออภัยนะครับที่ผมกล่าวไปเพราะว่าเห็นรายชื่อ ๓๒ ท่านหารือ แล้วก็ทางสำนักการประชุมบอกว่าให้ตกลงตามนี้ ถ้ายังไม่ตกลงก็ไม่เป็นไร เรายังมีเวลาที่จะต้องไปตกลงหาข้อยุติให้ได้นะครับ
นายสัญญา นิลสุพรรณ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ขออนุญาต ปรึกษาหารือท่านประธานสักเล็กน้อยครับ ท่านประธาน
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม ภราดร อีกครั้งครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายสัญญา นิลสุพรรณ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม สัญญา นิลสุพรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต ๓ พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธาน ผมมีประเด็นที่จะขออนุญาตปรึกษาท่านประธาน เรื่องระเบียบวาระการประชุมที่เราจะ ดำเนินการต่อไป สืบเนื่องจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ประชุมแห่งนี้ได้มีการพิจารณาญัตติ ของเพื่อนสมาชิกซึ่งมีความสำคัญมาก ๆ ได้แก่ การขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการศึกษา แนวทางการแก้ไขปัญหาทั้งราคากุ้งตกต่ำ แล้วก็ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ซึ่งมีญัตติของเพื่อนสมาชิก ๑๑ ญัตติครับท่านประธาน
นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย อุบลราชธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เดี๋ยวสักครู่
นายสัญญา นิลสุพรรณ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่ประชุมได้พิจารณากันอยู่ก็ได้มีการปิดประชุมไปก่อน ซึ่งเรื่องดังกล่าวก็ได้ทราบกันอยู่ว่า เป็นปัญหาที่พี่น้องประชาชนมีความเดือดร้อนในวงกว้างแทบจะทุกพื้นที่ และจากที่เราได้ ทราบเหตุการณ์ไม่ว่าจากข่าวสารอะไรก็ตามจะเห็นว่าตอนนี้
นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย อุบลราชธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ขออนุญาตท่านประธานค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
อย่าเพิ่งอภิปรายครับ เพราะว่าถ้าจะเลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนเรื่องความเดือดร้อนก็เสนอเป็นญัตติขึ้นมานะครับ
นายสัญญา นิลสุพรรณ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ถ้าอย่างนั้นผมขออนุญาตที่จะเสนอ ญัตติขอให้ท่านประธานได้เลื่อน
นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย อุบลราชธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ขออนุญาตค่ะ ก่อนที่ท่านสมาชิกจะเสนอญัตติค่ะท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เดี๋ยวครับ เพราะว่าท่านกำลังพูดอยู่ ถ้าท่านไม่เห็นด้วยเดี๋ยวค่อยแสดงความคิดเห็น หรือว่าเป็น ประเด็นเดียวกันไหม
นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย อุบลราชธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ เรื่องปรึกษาหารือเมื่อสักครู่ยังไม่จบเลยค่ะท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ผมไม่เห็นว่า มีคนแจ้งมานะครับ ถ้าอย่างนั้นเดี๋ยวขอที่จะเสนอญัตติเรื่องขอเลื่อนระเบียบวาระ เดี๋ยวรอสักครู่ เชิญครับ ถ้าเป็นเรื่องของจำนวนผู้หารือ ผมอยากให้ไปคุยกับรองประธาน คนที่สองเพราะรับผิดชอบ ได้มอบหมายเรื่องนี้ไป ถ้าเป็นเรื่องว่าจะเป็นฝ่ายค้านเท่าไร ฝ่ายรัฐบาลเท่าไร เรายังไม่มีข้อยุติในวันนี้อย่างที่ผมได้กล่าวไว้ เดี๋ยวไปหารือต่ออีกทีครับ
นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย อุบลราชธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานขออนุญาตค่ะ นิดหนึ่งค่ะท่านประธาน เรื่องประเด็นเดียวกัน ต่อเนื่องเรื่องหารือค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เดี๋ยวถ้าจะพูด ถ้าไม่ใช่การประท้วงหรือพาดพิงก็กรุณายกมือ แล้วก็เจ้าหน้าที่ช่วยดูให้ผมด้วย บางที ก็มองไม่เห็นเพราะว่าห้องประชุมมันกว้างแล้วก็ไกล เมื่อสักครู่กำลังจะหารือเป็นเรื่องของ ข้อบังคับหรือว่าพาดพิง
นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย อุบลราชธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ขออนุญาต ปรึกษาหารือประเด็นต่อเนื่องค่ะ ทางนี้ค่ะท่านประธาน พรรคภูมิใจไทยค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญเลยครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
พอดีท่านประธานหันมา ทางผมหลายครั้งครับ ณัฐวุฒิ บัวประทุม ตอบสั้น ๆ ว่าทางพรรคฝ่ายค้านเห็นชอบกับที่ ท่านประธานเสนอครับ ก็น่าจะจบประเด็นเมื่อสักครู่ไปแล้วครับ ขอบพระคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ประเด็นเรื่อง จำนวนใช่ไหมครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ใช่ครับ ท่านประธาน ได้มอบให้ท่านรองพิเชษฐ์ไปหารือต่อ ทางพวกผมก็เห็นด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ยังไม่จบครับ ท่านประธาน ผม ภราดร ปริศนานันทกุล ครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
คุณภราดร สั้น ๆ เลยนะครับ
นายภราดร ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
สั้น ๆ ครับท่านประธาน คือเรา ได้มีการพูดคุยกันมาแล้วเมื่อการประชุมเรื่องคณะกรรมาธิการเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งก็ปรากฏว่าเราคุยกันเรื่องนี้ แต่อย่างที่ท่านปกรณ์วุฒิได้บอกเมื่อสักครู่ว่าท่านปกรณ์วุฒิ จะขออนุญาตออกไปข้างนอกก่อนเนื่องจากว่ามีประชุมพรรคด่วน แล้วก็ยังคุยกันค้างคาอยู่ แล้วก็ดูเหมือนกับว่ามันจะยังไม่จบง่าย จึงต้องถามท่านประธานครับ ถ้าหากว่าได้ไปคุยกัน ในวงเล็กซึ่งคุยไปแล้วนะครับ แล้วมันไม่จบนี่เราจะต้องทำกันอย่างไร ต้องมาคุยกันในที่นี่ เพื่อลงมติว่าเราจะเดินหน้ากันอย่างไรกับเรื่องเล็ก ๆ แบบนี้ หรือว่าอย่างไรครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ คุณภราดรครับ เรื่องข้อตกลงในทำนองนี้นะครับ โดยปกติเราก็จะไปตกลงกันข้างนอกก่อน แล้วก็มาแจ้งให้ทราบ ไม่เป็นไรครับ เรื่องนี้ได้มอบให้ท่านรองพิเชษฐ์ไปแล้ว ท่านจะมา รายงานผมอีกครั้งหนึ่ง ไปคุยกันนอกรอบครับ เราไม่อยากเอาเรื่องต่าง ๆ ต้องมาโหวต ในที่ประชุมนี้ เพราะว่าเราต้องทำงานร่วมกันไปตลอดสมัยประชุมนี้นะครับ อะไรที่มัน ควรจะตกลงกันได้ก็อยากให้ตกลงกัน แต่ว่าต้องเป็นการตกลงร่วมกัน เดี๋ยวท่านรองพิเชษฐ์ จะไปจัดการเรื่องนี้นะครับ ผมอยากจะขอยุติเรื่องจำนวนของแต่ละฝ่ายที่จะหารือในแต่ละสัปดาห์ เอาไว้ไปหารือก่อนครับ เชิญที่จะเสนอเรื่องขอเลื่อนระเบียบวาระเสนอเลยนะครับว่า ขอเลื่อนระเบียบวาระอันไหน แล้วก็ขอผู้รับรองด้วยนะครับ เชิญครับ
นายสัญญา นิลสุพรรณ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ขออนุญาตครับท่านประธาน ผม สัญญา นิลสุพรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต ๓ พรรครวมไทยสร้างชาติผมขออนุญาตท่านประธานที่จะเสนอญัตติขอให้ท่านประธาน ได้เลื่อนระเบียบวาระตามข้อบังคับ ข้อ ๕๔ (๒) จากเรื่องค้างพิจารณาในระเบียบวาระที่ ๕ เพื่อมาพิจารณาต่อก่อนระเบียบวาระอื่นครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอเสียงรับรอง ด้วยครับ
นายสัญญา นิลสุพรรณ นครสวรรค์ ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
มีผู้รับรองถูกต้อง ขณะนี้ได้มีสมาชิกเสนอขอให้เลื่อนระเบียบวาระ เอาเรื่องความเดือดร้อนของราคากุ้ง และผลิตผลทางด้านเกษตร ซึ่งอยู่ในวาระที่ ๕.๑ ถึง ๕.๑๑ ตามข้อบังคับ ข้อ ๕๔ (๒) ให้เลื่อนมาพิจารณาก่อนระเบียบวาระอื่น ๆ ครับ มีผู้ใดเห็นเป็นอย่างอื่นบ้างครับ เชิญคุณปกรณ์วุฒิครับ
นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพครับ ผม ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ต่อการขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมที่ทางพรรคร่วมรัฐบาลเสนอมาเป็นญัตติที่ค้าง พิจารณา ก็คือญัตติที่องค์ประชุมล่มเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ญัตติเกี่ยวกับราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ ในกรณีนี้เมื่อวานนี้จริง ๆ มีการโทรศัพท์พูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่าง Whip แต่ละพรรคนะครับ ซึ่งผมก็ได้รับทราบเรื่องนี้แล้ว และผมก็มองว่าในญัตตินี้น่าจะใช้เวลา ค่อนข้างยาวนาน พรุ่งนี้ก็อาจจะมีรายงานสัก ๓ ฉบับซึ่งคิดว่าน่าจะจบได้ในเวลาที่ไม่นานนัก ผมก็เลยเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่พี่น้องประชาชนเดือดร้อน และรอคอยการแก้ปัญหา จากรัฐบาลชุดใหม่อยู่นะครับ ผมเองไม่ได้เห็นแย้งแต่อย่างใด แต่ผมก็ขอย้ำเตือนอีกครั้งครับ ท่านประธาน เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญผมหวังว่าจะเห็นองค์ประชุมอยู่กันครบถ้วนไม่เหมือนกับ ครั้งที่แล้วครับท่านประธาน ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
คุณปกรณ์วุฒิ ไม่ได้คัดค้าน คือเห็นด้วยตามที่มีผู้เสนอญัตติให้เลื่อนระเบียบวาระนะครับ ขอบคุณครับ ถ้าไม่มีผู้เสนอเป็นอย่างอื่นก็ขอให้เลื่อนตามที่ได้มีสมาชิกขอเลื่อนระเบียบวาระนะครับ เรามีจำนวนทั้งหมด ๑๑ ญัตติ คราวที่แล้วคุณอรรถกรได้อภิปรายไปแล้วเป็นท่านแรก ต่อไป ก็จะอภิปรายตามลำดับไปนะครับ โดยใช้เวลาไม่เกิน ๑๐ นาที ขอเชิญท่านที่ ๒ คือ คุณร่มธรรม ขำนุรักษ์ ญัตติเรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาการแก้ไขราคาพืชผล การเกษตรตกต่ำและต้นทุนสูง เชิญครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ร่มธรรม ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับแรก ผมขอขอบคุณท่านประธานที่ได้บรรจุญัตติของผมและคณะ เรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำและต้นทุนสูง และได้ขอส่งผล การพิจารณาให้รัฐบาลรับไปดำเนินการ และขอขอบคุณทางสำนักกฎหมายที่ได้ช่วยร่างญัตติ ขอขอบคุณทางสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้จัดทำเอกสาร ประกอบการพิจารณาในครั้งนี้ ผมขออนุญาตใช้เวลาสั้น ๆ อย่างรวดเร็วในการอ่านญัตตินี้ กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร เนื่องด้วยยางพาราและปาล์มน้ำมันถือเป็น พืชเศรษฐกิจหลักสำคัญของประเทศ แต่ปัจจุบันราคาปาล์มน้ำมันและราคายางพาราลดลง อย่างต่อเนื่อง เกษตรกรสวนยางพาราได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เพราะหลังได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 มายาวนานแล้ว ยังต้องเผชิญกับวิกฤติราคาผลผลิต ทางการเกษตรตกต่ำรายวันและมีต้นทุนสูง เช่น น้ำ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง มีราคาสูงขึ้น อีกทั้งไม่มี ตลาดรองรับ โดยเฉพาะเกษตรกรสวนปาล์มได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากลานซื้อปาล์ม หลายพื้นที่ปิดรับการซื้อชั่วคราวทำให้เกษตรกรไม่สามารถตัดปาล์มขายได้ และต้องนำรถ ไปจอดรอคิวนาน พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดราคาปาล์มจึงสวนทางกับราคาตลาดโลก สินค้าล้นตลาด ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ จนทำให้เกษตรกรสวนยางและสวนปาล์ม ต้องแบกรับต้นทุนที่เสี่ยงต่อการขาดทุนสะสม ดังนั้นหากภาครัฐไม่เร่งดำเนินการจะส่ง ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จึงขอให้รัฐบาลตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยขอให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงการยาง แห่งประเทศไทย เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และขอให้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรทั้งระยะเร่งด่วน และระยะยาว เช่น การจัดหา ตลาดรองรับ การออกมาตรการประกันราคา เป็นต้น ดังนั้นจึงขอเสนอญัตติดังกล่าวมา ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔๕ เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำและต้นทุนสูง และส่งผลการพิจารณา ให้รัฐบาลดำเนินการต่อไป โดยผมขออนุญาตชี้แจงรายละเอียดดังต่อไปนี้นะครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ หนึ่งในปัญหาความเดือดร้อนที่ใหญ่ที่สุดที่ผม ได้รับจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่คือปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ เช่น ราคายางพารา ราคาปาล์ม ข้าว และข้าวโพด ไปจนถึงราคาพืชผัก ผลไม้ และสินค้าเกษตรอื่น ๆ ที่ตกต่ำ เช่น กุ้ง ที่เพื่อนสมาชิกได้เสนอญัตติไปนะครับ นอกจากนี้ครับท่านประธาน เกษตรกรยังเผชิญปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เช่น ราคาปุ๋ย น้ำมันเชื้อเพลิง ยาปราบศัตรูพืชที่สูงขึ้นทุกปี ประกอบกับปัญหาขาดที่ดินทำกินครับ การครอบครองที่ดินอย่างไม่มีกรรมสิทธิ์ หรือยังต้องเช่าที่ทำการเกษตร ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ท่านประธานครับ สำหรับปัญหาราคาพืชผลการเกษตร ตกต่ำ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาด้านคุณภาพ ปัญหาด้านปริมาณ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ด้านความต้องการของตลาดโลก และกลไกทางตลาด อีกทั้งยังมีเรื่องการแข่งขันจาก ต่างประเทศที่มีศักยภาพการผลิต มีคุณภาพ และมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่ามาก ผมขอ ยกตัวอย่างยางพาราครับ ซึ่งมีเกษตรกรที่เพาะปลูกยางพาราถึง ๑,๔๐๐,๐๐๐ ครัวเรือน ในปัจจุบันต้นทุนการผลิตน้ำยางสดอยู่ที่ประมาณ ๖๑ บาทต่อกิโลกรัม แต่ราคาน้ำยางสด ณ โรงงานลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ย ๔๔ บาทต่อกิโลกรัมในปีนี้ ประกอบกับผลผลิตน้ำยางพารา ต่อไร่ก็ลดลง ทำให้เกษตรกรประสบกับปัญหาขาดทุน พี่น้องจะอยู่ไม่ได้แล้วครับ ท่านประธาน
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
สำหรับผลไม้และพืชผลตามฤดูกาล เมื่อถึงฤดูกาลก็มีผลผลิตจำนวนมาก เช่น มังคุด ทุเรียน เงาะ ลองกอง ก็มีปัญหาเรื่องตลาดที่รองรับครับ และการกระจายผลผลิต ซ้ำร้ายเกษตรกรก็ถูกกดราคาอีกครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
และอีกปัญหาที่ใหญ่ไม่แพ้กันที่เกษตรกรต้องเผชิญคือ ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อน้ำและผลผลิตให้ได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์ El Nino ส่งผลให้เกิดภาวะ ฝนน้อย น้ำแล้ง และอากาศร้อน
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกสินค้าทางการเกษตรและอาหาร ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก หรือเรียกว่า ครัวโลก ซึ่งประชากรของไทยกว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ อยู่ในภาคการเกษตร แต่จากที่ผมได้กล่าวไปข้างต้นจะเห็นได้ว่าปัจจุบันเกษตรกรเจอปัญหา ที่ถาโถมและท้าทายยิ่งนักครับ ทำให้พี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาพอ่อนแอ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของพี่น้องประชาชน และส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ปัญหาหนี้สิน ปัญหาครอบครัว ปัญหายาเสพติด และปัญหาคุณภาพชีวิตจึงต้องพึ่ง ความช่วยเหลือจากภาครัฐในด้านต่าง ๆ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
กระผมขอขอบคุณรัฐบาลชุดที่ผ่านมาครับ โดยเฉพาะกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ทุ่มเทในการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรในทุกด้าน ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง ด้านน้ำ อีกทั้งยังได้ช่วยเหลือและส่งเสริมเกษตรกรในด้านต่าง ๆ ตลอดที่ผ่านมา พี่น้องประชาชนคนพัทลุงและคนไทยทั้งประเทศคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลชุดใหม่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน จึงเป็นเหตุผลที่ผมและคณะในฐานะ ผู้แทนของพี่น้องประชาชนได้ตั้งญัตติในวันนี้ และทราบว่ามีเพื่อนสมาชิกอีกหลายท่าน ที่จะอภิปรายสนับสนุนญัตติเรื่องผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำในวันนี้ เพื่อส่งเสียงของพี่น้อง ประชาชนไปยังรัฐบาลครับท่านประธาน โดยผมขออนุญาตให้ข้อเสนอแนะผ่านท่านประธาน เพื่อรัฐบาลได้ดำเนินการต่อไป เพื่อให้เกษตรกรไทยหลุดพ้นจากความยากจน ดังนี้ครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๑. สำหรับปัญหาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำนะครับ ขอรัฐบาลได้ดำเนินการ ช่วยเหลือด้านรายได้ และด้านสวัสดิการแก่เกษตรกร เช่น การประกันรายได้ให้กับเกษตรกร ในยามที่ราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ หรือน้อยกว่าราคาขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนด ทั้งข้าว มัน ยาง ปาล์ม ข้าวโพด เพื่อให้เกษตรกรสามารถยังชีพอยู่ได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่นรัฐบาลที่ผ่านมาก็ได้ดำเนินการและประสบความสำเร็จในการประกันรายได้เกษตรกร ชาวสวนยางและสวนปาล์มครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๒. ด้านปัญหาราคาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น สำหรับราคาปุ๋ยเคมีนั้น แม้จะเริ่ม ลดลงแล้วแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ราคาแพง กระทรวงพาณิชย์ควรมีการควบคุมและปรับราคา ปุ๋ยให้ลดลง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในระยะเร่งด่วน โดยในระยะยาวกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะสนับสนุนในการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม พัฒนา อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุ๋ย Potassium ที่ไทยมีศักยภาพการผลิต ร่วมกับการ ส่งเสริมกลุ่มผลิตปุ๋ยเพื่อการผลิตปุ๋ยใช้เอง ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพให้เพียงพอ ไปจนถึงการส่งเสริมการผลิตปุ๋ยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๓. ด้านปัญหาผลผลิตล้นตลาด ซึ่งเป็นปัญหาที่พี่น้องเผชิญมาอย่างยาวนาน แต่เราทราบดีครับว่าผลผลิตบางส่วนมีฤดูกาลที่ค่อนข้างแน่ชัด สามารถคาดการณ์ฤดูกาล ที่จะออกผลผลิตได้อยู่แล้ว ขอให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งจัดหาตลาดรองรับ ไว้ก่อนล่วงหน้า และให้ความสำคัญกับการกระจายผลผลิตไปสู่ภาคอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น มังคุด ลองกองจากภาคใต้ ควรจะมีการช่วยเหลือในการกระจายไปสู่ภาคเหนือ และภาคอีสาน อีกทั้งยังควรสนับสนุนการใช้ผลผลิตภายในประเทศ สนับสนุนการแปรรูป ผลผลิตที่มากยิ่งขึ้นครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๔. ด้านหนี้สินของเกษตรกร ขอให้รัฐบาลได้พิจารณามาตรการช่วยเหลือ ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกรเพื่อลดภาระเกษตรกรเฉพาะหน้า ในช่วงที่ เศรษฐกิจและราคาพืชผลสินค้าเกษตรตกต่ำเช่นตอนนี้ พร้อมกับต้องเร่งเพิ่มรายได้ให้กับ เกษตรกรควบคู่กันไป เพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักหนี้นะครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๕. ด้านการพัฒนาเกษตรกร ขอให้รัฐบาลได้พัฒนาเกษตรกรในด้านทักษะ ความรู้ การพัฒนาการผลิตที่มีคุณภาพ การแปรรูป การเพิ่มมูลค่าสินค้า การบริหาร ประกอบการ และการเงิน และวิเคราะห์ต้นทุน ไปจนถึงการพัฒนาให้เกษตรกรสามารถ เข้าถึงและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดสินค้าได้ ทั้งระดับภายในประเทศ และนอกประเทศ อีกทั้งยังควรส่งเสริมและให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับทำการเกษตรผสมผสาน ที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มรายได้เสริมและลดความเสี่ยงต่อการพึ่งพาผลผลิตเพียงชนิดเดียวครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๖. ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาระบบโครงสร้าง พื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเกษตรกรรม เช่น ระบบการขนส่ง การออก เอกสารสิทธิที่ดินทำกิน และเร่งสร้างระบบน้ำและชลประทานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหา เหล่านี้เกษตรกรประสบอยู่ทั่วประเทศครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๗. ขอให้รัฐบาลได้ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร พัฒนาบริหารจัดการ ของกลุ่ม และเครือข่ายเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร และวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งการรวมกลุ่มของเกษตรกรจะเป็นพลังต่อรอง เป็นศูนย์รวมของความช่วยเหลือ การถ่ายทอดความรู้ การส่งเสริมกลุ่มให้มีการบริหารจัดการทั้งด้านเงินลงทุน วัตถุดิบ และเครื่องจักร การลดต้นทุนการผลิต การจัดการจำหน่าย จัดหาตลาดรองรับ และจะช่วย ให้มีการผลิตสินค้าบริการใหม่ ๆ ได้อย่างยั่งยืน เช่นการสนับสนุนเงินทุนกลุ่มประมงท้องถิ่น และการสนับสนุนเกษตรแปลงใหญ่เป็นต้น
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
๘. ขอให้รัฐบาลได้ดำเนินการโครงการประกันภัยพืชผล ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐ จะต้องส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการบริหารความเสี่ยง ทางการเงินของเกษตรกรไทย โดยเป็นการถ่ายโอนความเสี่ยงของเกษตรกรไปยังผู้ประกันภัย ซึ่งในระยะยาวยังสามารถช่วยลดความกดดันต่อภาระงบประมาณของรัฐได้อีกด้วยนะครับ
นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ท่านประธานครับ หากเราเปรียบเทียบไทยเป็นครัวของโลก ขณะนี้ครัวแห่งนี้ก็ตกอยู่ในสภาพที่อ่อนแอและขาดแคลนเต็มที และหากเราเปรียบเทียบ เกษตรกรของไทยเป็นกระดูกสันหลังของชาติ กระดูกสันหลังนี้ก็กำลังผุกร่อน รอการรักษา และช่วยเหลือ ผมจึงขอส่งปัญหาความเดือดร้อนเหล่านี้เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา แก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำและต้นทุนสูง และส่งผลการพิจารณาให้รัฐบาล ได้นำไปดำเนินการต่อไป ทั้งหมดนี้เพื่อการสร้างความมั่นคงทางรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต เกษตรกร เพื่อชีวิตของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ เพื่อครัวโลกที่สมบูรณ์ และกระดูกสันหลัง ของชาติที่เข้มแข็งต่อไป ขอบคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ก่อนที่ท่านผู้เสนอญัตติท่านต่อไปนะครับ ผมขออนุญาตแทรกเรื่องการหารือ นิดหนึ่งที่เอ่ยถึงชื่อผมเยอะมาก คือทางพรรคฝ่ายค้านอยากจะได้ ๑๕ ท่าน และฝ่ายรัฐบาล ๑๕ ท่าน ก็จะได้ตามที่ท่านต้องการ ก็เอาตามนั้นที่ท่านได้หารือมา เสร็จแล้วผมจะเพิ่มให้ พรรคเล็กอีก ๓ ท่านทุกวันก็คงจะจบปัญหาได้ เอาตามนั้นนะครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ อรรถกรครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ครับ
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม อรรถกร ศิริลัทธยากร สส. จังหวัดฉะเชิงเทรา เขตเลือกตั้งที่ ๒ พรรคพลังประชารัฐ ผมขอบพระคุณในความหวังดีของท่านประธาน และผมทราบมาตลอดว่าท่านประธานพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ท่านอยู่สภามานาน ท่านก็อยาก เห็นสภาเดินหน้าด้วยความเรียบร้อย แต่ประเด็นนี้เดี๋ยวจะมีข้อกังขา ผมว่าขออนุญาต ท่านประธานเรียกประชุมตัวแทนของพรรคการเมือง ณ วันนี้เข้าใจว่าเดี๋ยวพรรคร่วมรัฐบาล ก็จะตั้ง Whip แล้ว พรรคร่วมฝ่ายค้านก็จะตั้ง Whip แล้ว เรียกเข้ามาเป็นข้อตกลงดีกว่าครับ เพราะว่าถ้าอย่างนี้ผมเชื่อว่าก็จะมีปัญหายังไม่จบ ถ้าเราค่อย ๆ มาพูดคุยกัน หาทางออก ที่เสียงส่วนใหญ่ ฝ่ายหนึ่งต้องการแบบหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งต้องการแบบหนึ่ง เรามาพูดคุยกัน มาหาทางออกก่อน แล้วเราจะได้สรุปอีกรอบน่าจะดีกว่าครับท่านประธาน ด้วยความเคารพ จริง ๆ ครับ ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เดี๋ยวท่านมาคุยกับผมข้างหลังนะครับ
นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม กรวีร์ ปริศนานันทกุล ขออนุญาตเป็นประเด็นที่ต่อเนื่องกัน จริง ๆ ก็เข้าใจท่านประธานนะครับว่า พยายามที่จะประสานงาน เพื่อที่จะให้งานในสภาเราเดินไปได้ แต่ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ที่เมื่อสักครู่นี้ทางท่านเพื่อนสมาชิก ขออภัยที่เอ่ยนาม ท่าน สส. ภราดร ได้ให้เหตุให้ผลไป จนท่านประธานก็ได้มีดำริว่าจะให้ไปพูดคุยมีการประชุมกัน ถ้าหากเอาอย่างที่ท่านประธาน ว่าเมื่อสักครู่นี้ว่าเชิญบางพรรคไปคุยกัน ผมเกรงว่ามันจะมีปัญหาในการทำงานร่วมกันต่อไป ในอนาคต และดูจากสัดส่วน ดูจากจำนวนที่ได้โควตาในการหารือ ถ้าท่านประธานจะกรุณา ได้ดูตัวเลขก็จะเห็นนะครับว่ามันไม่เป็นธรรมจริง ๆ กับการจัดสรรให้ในแต่ละพรรคการเมือง ซึ่งเรื่องของการหารือความเดือดร้อนของชาวบ้าน ผมเชื่อว่าทุกคนในเพื่อนสมาชิก ก็ทราบครับ ทุกพรรคการเมืองไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล มีปัญหาด้วยกันทั้งหมด ดังนั้นวิงวอนท่านประธาน ถ้าจะกรุณารบกวนท่านประธานเชิญประชุมให้เป็นทางการ จะดีกว่า ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ได้ครับ ผมคิดว่าปัญหานี้จบได้ เดี๋ยวจะคุยนอกรอบให้พอใจทุกฝ่าย เรามีแนวทางแล้ว เดี๋ยวเรื่องนี้คิดว่าอาทิตย์หน้าหรือพรุ่งนี้ก็คงสบายใจกันทั้งหมด แก้ปัญหาให้ครับ เชิญท่าน พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ท่านผู้เสนอญัตติท่านต่อไปครับ
นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม นายศาสตรา ศรีปาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา ได้รับมอบหมายจากท่านพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล เป็นผู้เสนอญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา แนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำครับ
นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม ศาสตรา ศรีปาน สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร เขต ๒ จังหวัดสงขลา พรรครวมไทยสร้างชาติ ด้วยได้รับการร้องเรียนจาก ผู้ประกอบการเกษตรกรเลี้ยงกุ้งขนาดเล็กและขนาดย่อมว่ากำลังได้รับความเดือดร้อน อย่างหนักในปัญหาของราคากุ้งที่ตกต่ำอย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก คณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ หรือว่า Shrimp Board ซึ่งได้อนุมัตินำเข้ากุ้งจากเอกวาดอร์แล้วก็อินเดียเข้ามา ประกอบกับราคาน้ำมัน ต้นทุน พลังงานต่าง ๆ ก็สูงขึ้น ทำให้เกษตรกรต้องแบกภาระดังกล่าว อีกทั้งยังมีโรคระบาด ของกุ้งอีก รวมไปถึงราคาประกันขั้นต่ำของห้องเย็นที่ตั้งไว้นั้นเท่ากับราคาต้นทุนการผลิต ที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการบังคับให้เกษตรกรขายราคาทุน ซึ่งวันนี้ ต้นทุนยังมีเรื่องค่าอาหารกุ้ง ค่าปูน ค่าไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อกำไรของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง หากภาครัฐไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ปัญหานี้ก็จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาราคากุ้งที่ตกต่ำ ช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยโดยเร่งด่วน ผมก็อยากจะขออภิปรายเพิ่มเติมในญัตตินี้ด้วย เช่นกัน ซึ่งวันนี้ท่านธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันนี้ ก็ได้นั่งอยู่ด้วยที่สภาแห่งนี้ ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับเกษตรกรไทยผู้เลี้ยงกุ้ง ที่วันนี้ราคาตกต่ำมาก ๆ วันก่อนนี้ท่านก็ไปที่นครศรีธรรมราชไปดูเรื่องมังคุด ก็ต้อง ขอขอบพระคุณแทนชาวบ้านที่จังหวัดนครศรีธรรมราชด้วยนะครับ ขอ Slide ครับ
นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ
ปัญหาราคากุ้งตกต่ำครับ ไม่ใช่แค่ตกต่ำมาก อย่างเดียว แต่เป็นปัญหาราคากุ้งตกต่ำและยาวนานที่สุดในรอบ ๒๐ ปีด้วยเช่นกัน ซึ่งวันนี้ ต้องเรียนตามตรงว่าน้ำตาเกษตรกรชาวไทยหลั่งไหล เพราะว่าวันนี้กุ้งตกต่ำเป็นปัญหาใหญ่มาก แล้วก็ยาวนานมากจริง ๆ ครับ ผมขอเริ่มที่ ๓ สถานการณ์สำคัญกุ้งไทยในอดีตก่อนครับ ในอดีตประเทศไทยเป็นเบอร์ ๑ ของโลก แล้วก็โดนแซงด้วยคู่แข่งอย่างประเทศเวียดนาม จนมาในปี ๒๕๔๕ ก็เกิดโรคระบาด โรค EMS กุ้งตายไวบวกกับแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม กุ้งของภาครัฐก็ยังไม่ชัดเจน ทำให้ผลผลิตของกุ้งไทยตกต่ำลงนะครับ พอมาถึงสถานการณ์ ที่ ๓ หลังจากที่กุ้งไทยมีโรคระบาดก็เกิดการนำเข้ากุ้งขึ้นมา เข้ามาเพื่อแปรรูปต่าง ๆ ไทยนำเข้ามาประมาณ ๒๘,๒๗๒.๗๑ ตัน มากที่สุดก็คือมาจากประเทศเอกวาดอร์ ซึ่งมีประมาณทั้งสิ้น ๕๑.๗๙ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกุ้งแช่แข็งแล้วก็นำเข้ามาแปรรูป แล้วก็ส่งออกต่อไป นี่คือ ๓ สถานการณ์กุ้งในอดีตนะครับ
นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ
Slide ต่อไปเลยครับ แล้วก็ ๓ สถานการณ์ที่ทำให้ราคากุ้งตกต่ำมาก ๆ ณ เวลานี้ ช่วงครึ่งปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ประเทศเอกวาดอร์ที่ผมกล่าวเมื่อสักครู่ก็ผลิตกุ้ง มากขึ้นเรื่อย ๆ เลย รวมถึงภายในประเทศของเราด้วย ประเทศของเรานี่ผลิตเพิ่มขึ้น ๘.๑๘ เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ ๑๐๐,๖๐๐.๔๕ ตัน นำเข้าก็เยอะ ผลิตในไทยก็เยอะ รวมไปถึงภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้คนที่นำเข้ากุ้งจากประเทศไทยรายใหญ่ ชะลอการนำเข้ากุ้งจากประเทศไทยครับ ดังนั้นวันนี้ประเทศไทยประสบปัญหาภาวะกุ้ง ล้นตลาด หรือ Over Supply นะครับ ต่อไปเลยครับ ผมขอเสนอ ๓ ควบคุม แก้ปัญหาราคา กุ้งตกต่ำ
นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ
สิ่งแรกเลยที่เราจะต้องควบคุม ๑. ก็คือเรื่องต้นทุน วันนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง คนไทยประสบปัญหาเรื่องค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมันเกี่ยวกับพลังงาน ซึ่งเราต้องช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน วันนี้ต้นทุนการผลิตกุ้งสูงมากแล้วก็สูงอย่างต่อเนื่อง ผมยกตัวอย่าง เมื่อปี ๒๕๖๒ แล้วกัน อาหารกุ้งเฉลี่ยตันละ ๓๘,๐๐๐ บาท พอปี ๒๕๖๖ ราคากุ้งสูงขึ้น เป็น ๔๒,๐๐๐ บาท เพิ่มขึ้น ๑๐.๕๒ เปอร์เซ็นต์ ค่าไฟก็เพิ่มขึ้น ๔๓.๔๓ เปอร์เซ็นต์ ยังไม่รวมปูนขาว พวกยากุ้งที่มีราคาสูงขึ้นด้วยนะครับ เพราะฉะนั้นวันนี้ทางรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมาควบคุมเรื่องของต้นทุนก่อนนี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ผมลงพื้นที่ไปพบกับเกษตรกรตัวจริงเสียงจริงในพื้นที่ในจังหวัดสงขลา ทุกคนบ่นหมดครับ วันนี้ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าไฟแพง ต้นทุนแพง ค่าน้ำมันแพง ขอให้กระทรวงพลังงานเข้ามาดู ในเรื่องนี้ด้วย
นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ คือการควบคุมราคากลาง ต้องขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง กุ้งเป็นสัตว์น้ำควบคุม แต่อยากให้นอกจากควบคุมเรื่องคุณภาพแล้ว ช่วยควบคุมราคาสักนิดหนึ่ง ให้กรมประมงเข้าไปดูเรื่องมาตรฐานต่าง ๆ จริง ๆ กุ้งไทย มาตรฐานสูง ควบคุมสะอาด มีการแจ้งเกิด แจ้งตาย แต่ช่วยเข้าไปควบคุมราคาบ้างครับ
นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ ควบคุมการนำเข้า รัฐบาลไม่มีการควบคุมเพดานในการนำเข้ากุ้ง จากต่างประเทศเลย วันนี้กุ้งไทยเพิ่มขึ้น ส่งออกได้น้อยลง กุ้งมีราคาตกต่ำ ผมถามจริง ๆ เถอะครับ วันนี้การนำเข้ากุ้งนี่เกษตรกรเดือดร้อนขนาดนี้ กุ้ง ๑ ตัวนำเข้าต้องหยุดครับ แม้แต่ ๑ ตัวนี่ต้องหยุดนำเข้าทันที เพราะกุ้งทุกตัวที่นำเข้ามาปนเปื้อนน้ำตาของเกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งชาวไทยนะครับ เพราะฉะนั้นจะกี่หมื่นบอกว่ายังน้อย จะเยอะผมว่าไม่สำคัญ วันนี้หยุดนำเข้ากุ้ง ให้กุ้งไทยได้ลืมตาอ้าปาก
นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ
สุดท้ายครับ ผมขอเสนอให้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำเป็นวาระแห่งชาติ เหมือนประเทศอินเดีย วันนี้ประเทศอินเดียได้ประกาศให้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำเป็นวาระแห่งชาติ ได้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ให้พี่น้องประชาชนได้ลืมตาอ้าปากได้ เหมือนกันครับ เหมือนประเทศไทย พี่น้องประชาชนเขาก็ฝากมาบอกว่าเหมือนวันนี้ให้รัฐเข้าไปให้ความรู้ ผู้เลี้ยงกุ้งหน่อย ให้รัฐเข้าไปดูในเรื่องของนวัตกรรมเทคโนโลยีในการขนย้ายกุ้ง หรือว่า การเลี้ยงกุ้ง ให้พี่น้องประชาชนผู้เลี้ยงกุ้งจะได้มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมไปถึงให้ประชาชน หันมาบริโภคกุ้งเป็นการรณรงค์กันครับ เพราะว่าวันนี้เรากินกุ้งตกแล้ว ๑ กิโลกรัมต่อคนต่อปี ประมาณ ๗๐,๐๐๐ ตัน ถ้าเรารณรงค์ให้เลี้ยงกุ้ง ให้กินกุ้งสัก ๒ กิโลกรัมต่อคนต่อปี ก็จะเท่ากับ ๑๔๐,๐๐๐ ตันต่อปี นี่คือตัวอย่างที่จะสามารถช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ขายกุ้งได้มากขึ้น คนก็บริโภคกุ้งได้มากขึ้น
นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ
สุดท้ายครับ ผมก็ขอเสนอญัตติด่วนนี้ให้ที่ประชุมแห่งนี้ สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราคากุ้งตกต่ำ แล้วเดี๋ยวผมก็จะขอ ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านธรรมนัส พรหมเผ่า ที่อยู่ใน ที่ประชุมแห่งนี้ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ยื่นผ่านประธาน เดี๋ยวประธานจะส่งไปนะครับ ขอบคุณครับ ต่อไปท่านผู้เสนอญัตติ ท่านต่อไป ท่านมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล เชิญครับ
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎร ดิฉัน มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด นครศรีธรรมราช พรรคภูมิใจไทย ด้วยเรื่องของเสนอญัตติด่วน ขอให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำอย่างเป็นระบบ เนื่องจากสินค้าด้านการเกษตร ถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของภาคใต้ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผลไม้หลายชนิด ที่เป็นรายได้ ระดับรองจากพืชเกษตรคือยางพาราและปาล์มน้ำมัน ที่เป็นพืชเกษตรส่งออกสู่ตลาดโลก ผลไม้ มังคุดและทุเรียนก็เป็นผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นรายได้ที่ส่งออกสู่ตลาดโลกเช่นกัน
นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายนทุกปีที่เป็นช่วงฤดูฝน มังคุดเป็นผลไม้ที่ปลูกในพื้นที่ภาคใต้ และภาคตะวันออกที่ส่งผลผลิต มีชื่อโด่งดังขึ้นชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้ ดิฉันได้ทราบในข้อมูล ถึงเรื่องการรับส่งออก ประเทศจีนจึงมีการนำเข้าและสั่งซื้อมังคุดจากประเทศไทยเพื่อบริโภค มากที่สุด สำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีปริมาณผลผลิตในปี ๒๕๖๖ จากข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๖ มีปริมาณมังคุดจำนวน ๔๓,๕๓๓ ตันค่ะ และจะมีปริมาณสูงสุด ช่วงวันที่ ๒๑-๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ ช่วงเดือนกันยายนก็จะลดน้อยถอยลงตามฤดูกาล ที่เป็นห้วงเก็บเกี่ยวผลผลิตลดลงนะคะ ทีนี้ปัญหาก็คือเมื่อต้นเดือนฤดูกาลมังคุดอยู่ที่ราคา ๑๐๐-๑๓๐ บาท คือช่วงต้นเดือนกรกฎาคม แต่ท่านประธานคะ ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม ราคาดิ่งลงมาเรื่อย ๆ เหลือกิโลกรัมละ ๔๐-๕๐ บาท ซึ่งเป็นมังคุด คัด Grade ส่วนมังคุดเหมารวมขายที่ราคา ๒๐-๒๕ บาท ขณะที่ราคาหน้าสวนเหลือแค่ ๑๓ บาทเท่านั้นเอง มังคุดภาคใต้ถูกทุบราคาลงมาตั้งแต่ต้นฤดูกาลที่ยังมีปริมาณไม่มาก ทั้งที่ตลาดมีความ ต้องการสูง แต่ผิดสังเกตที่ผู้ประกอบการรวมตัวกันไปซื้อทุเรียนในช่วงวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ มีการทุบราคาลงมาต่อเนื่อง ๒ วัน เป็นการสร้างฐานราคาต่ำให้กับมังคุดที่จะออก ปริมาณมากในช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน เมื่อล้งไปเปิดตลาดรับซื้อ ราคาจะได้ถูกลง เมื่อราคาทุเรียนต่ำก็มีผลกระทบให้กับมังคุดมีราคาต่ำไปด้วย โดยอ้างว่า จีนซื้อถูก แต่ความเป็นจริงเป็นการปั่นราคาของผู้ประกอบการค่ะท่านประธาน ดิฉัน ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยตนเอง เมื่อวันที่ ๑๘-๒๐ สิงหาคม พบว่าแผงรับซื้อมังคุด เพื่อนำไปบรรจุตะกร้าที่ล้งไม่มีการเปิดราคารับซื้อแก่เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวในช่วงเช้า ถึงตอนเที่ยง ช่วงบ่ายก็ทยอยนำมาส่งขาย โดยไม่มีโอกาสรับทราบราคาเลย สอบถาม หลายจุดรับซื้อเหมือนกันหมดทุกล้ง ได้ข้อมูลจากแผงที่มีน้ำใจอยู่บ้าง บอกว่าราคา จะถูกส่งมาในเวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกาค่ะ ถามว่าแล้วชาวสวนจะทำอย่างไร เก็บมาแล้ว ก็ต้องขาย ไม่สามารถค้างคืนได้ เพราะจะทำให้ราคายิ่งตกต่ำลงไปอีกจากขั้วที่เหี่ยวเฉา อีกเรื่องการชั่งน้ำหนัก ใครเอามาแล้วก็ต้องชั่งน้ำหนักเอาไว้ก่อน แล้วค่อยมารับเงินภายหลัง หากรีบร้อนก็รีบรับราคาในวันที่ผ่านมา ซึ่งช่วงนั้นอยู่ที่ราคา ๑๕-๑๘ บาท เฉพาะค่าแรง ที่เก็บเกี่ยวก็อยู่ที่ ๘-๑๐ บาทต่อกิโลกรัมแล้วนะคะ ส่วนต้นทุนอื่นไม่ต้องพูดถึงแล้ว ชาวสวน จะเหลืออะไรคะ ซ้ำร้ายไปกว่านั้นผู้ประกอบการหลายรายเรียกเก็บใบ GMP เพื่อสำแดง ถึงการรับรองคุณภาพของผลผลิตให้ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ ปัญหาใบ GMP ก็เป็นปัญหาใหญ่ของชาวสวนที่ปลูกในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ส่วนใหญ่เป็นพืชเกษตร ผสมผสาน เป็นพืชรอง ชาวสวนขาดการได้รับความสะดวก และเข้าถึงหน่วยงานภาครัฐ โดยทั้งที่มีหน่วยงานศูนย์วิจัยและพัฒนาจากการเกษตรจังหวัดที่ไม่ได้ให้บริการชาวสวน ในการทำงานเชิงรุก ด้วยสภาพปัญหาเหล่านี้จึงมีข้ออ้างจากผู้ประกอบการมากมาย ในการกดราคาที่ไม่เป็นธรรมต่อชาวสวน ทั้งที่ความเป็นจริงล้งก็ไม่สำแดงใบ GMP เหมือนกันค่ะ และมีแผงรับซื้อเป็นคาราวานของล้งที่ตั้งอยู่ตามจุดรับซื้อ ระยะห่างกัน ไม่ถึงกิโลเมตรเรียงรายทั่วไปหมดทุกเส้นทาง อีกทั้งที่หน้าล้งก็มีรถตู้ Container ตามในรูป มาจอดเพื่อเตรียมขนส่งมากมาย นั่นแปลว่าความต้องการทางการตลาดส่งออกมาก แต่ทำไม ราคาถึงได้ตกต่ำกว่าทุนการผลิตมากมาย ประกอบกับผลผลิตในปี ๒๕๖๖ มีปริมาณไม่มาก และไม่เพียงพอกับความต้องการทางการตลาดด้วยซ้ำ และในข้อเท็จจริงราคาปลายทาง ส่งอยู่ที่กิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ บาท ดิฉันเห็นใจพี่น้องชาวเกษตรกรกับการเก็บเกี่ยว ที่เหนื่อยยากทีละลูก ๆ หลาย ๆ รอบ เพราะตัวดิฉันเองก็เป็นคนหนึ่งที่เป็นเกษตรกร ปลูกมังคุด แล้วก็ปีนป่ายต้นมังคุดมาตั้งแต่เด็กเช่นกัน เราพบปัญหาเหล่านี้ยาวนานมาทุกปี ไม่เห็นช่องทางในการแก้ปัญหาราคามังคุดอย่างยั่งยืนเลยค่ะท่านประธาน เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ ดิฉันได้รับจดหมายจากชาวสวนมังคุด ขอนำมาอ่านให้รัฐบาลและหน่วยงาน ที่รับผิดชอบฟัง ผ่านท่านประธานถึงเพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติที่เป็นที่คาดหวังอย่างสูงสุด ของพี่น้องประชาชนด้วยนะคะ ซึ่งเป็นภาษากลางปนภาษาถิ่นได้ระบายความในใจ อันเจ็บปวดดังนี้ บนความหวังตั้งไว้เพื่อใช้หนี้ เกือบขวบปีเฝ้ารอเติมต่อฝัน หวังลืมตาอ้าปาก ช่วยลากกัน ทุกความฝันมังคุดช่วยหลุดหนี้ ตั้งใจปีนตีนแตกจนแหกเหี้ยน ย่ำจนเวียน เตียนโคนโดนตีนพี่ มือไม้หยาบสาบไคลเหงื่อไหลที เหลาอย่างดีไม้ขอยชาติหรอยแหรง ปีนต้นนั่นลงต้นนี่ท่าทีชับ มือขยับจับนิ่งเลือกกิ่งแข็ง สายตาจ้องมองไว้คงได้แพง เทา ม่วง แดง แสงสีขยี้ตา ดกเต็มต้นล้นเต็มสวนชวนกันสุก ไฟตาลุกปลุกขยันแสนหรรษา หลายคนฝันมั่นสวยด้วยราคา ล้งเริ่มมาตู้เริ่มลงคงได้แพง กลับผิดคาดชาติเพลียเริ่มเสียขวัญ ล้งเริ่มหั่นปั่นราคาดั่งว่าแกล้ง กลุ่มทุนเข้าผูกขาดหวาดระแวง มาโดนแกงแผงย่ามกลั้นน้ำตา ทุกความฝันพลันสลายหล่นใต้โคน เหมือนดั่งโดนโจรปล้นจนเสียท่า ราคาล้งกดกำหนดมา ทุบราคาพากันเหยียบเอาเปรียบเรา มังคุดใต้ไร้ทุนคุณภาพ ผิวกร้านหยาบทาบเทียบ เมื่อเปรียบเขา ลูกเล็กไปไม่เท่าจันท์ผิวมันเงา เขาบอกเราต้นเหตุเกรดราคา หนี้ราร่ารอท่าภาระหนัก คงต้องพักหักหนี้อีกปีหน้า ทั้งค่าบ้านค่ารถหมดปัญญา ซดน้ำตา แทนข้าวเศร้ายันเงา จะทิ้งขว้างร้างลาสุกคาต้น แต่อับจนหนทางด้วยต่างเขา เหลือเพียง หยิบสิบบาทชาดย่อมเยา จำยอมเขายอมทนตามกลไก ท่ามสงสารพาลสงสัยใครช่วยบ้าง เคยกล่าวอ้างต่างเห็นเช่นนั้นไหม ทุกข์ชาวสวนล้วนข่าวเคยเล่าไป หน่วยงานไหนอาสา มาช่วยเอย ท่านประธานคะนี่คือจดหมายจากชาวสวนที่ตกค้างมาตั้งแต่วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ ดิฉันเสียใจที่สุดที่ได้รับโอกาสมาอ่านให้ทุกท่านฟังในวันนี้ คือวันพุธที่ ๖ กันยายน ทั้งที่เราเข้าสภามาทุกสัปดาห์ ปัญหาเกิดเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม ต่อมาจนเกิดการเททิ้ง มังคุดที่หน้าอำเภอพรหมคีรีดังที่เห็นข่าวแล้วนั้น กี่วันแล้วคะท่านประธานสภา ที่เขาเหล่านั้น เจ็บปวดจากการกดขี่ราคาจากผู้ประกอบการ ดิฉันสำนึกบาปวันนี้ที่มันตราตรึงอยู่ในหัวใจ ในฐานะผู้แทนราษฎรที่มีคำท้ายว่าผู้ทรงเกียรติ แล้วอย่างไรคะท่านประธาน ญัตติการเสนอ ปัญหาและเพื่อการแก้ไขที่บรรจุเข้าสภาเพื่อขอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมา อุปสรรค มาเกิดในสภาต่ออีกทีที่ต้องรอเวลามาถึงวันนี้ วันที่ผลิตผลก็ร่วงหล่นทับถมเป็นปุ๋ยต่อไป เหมือนเอาเหรียญก้อนน้อยของชาวเกษตรกรที่สูงค่าไปถมดิน ตามภาษิตที่บอกว่า กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ไปแล้ว มันไม่ใจร้ายไปหน่อยหรือคะท่านประธาน แต่อย่างไรก็ตาม แผ่นดินนี้ยังไม่สิ้นคนดี หนทางที่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์คือเราได้มีรัฐบาลที่สมบูรณ์ เกิดขึ้นแล้วโดยท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน รวมคณะผู้บริหารเป็นคณะรัฐบาล ด้วยความห่วงใยนำมาซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และท่านรัฐมนตรี ช่วยว่าการ ตลอดจนกรมกองที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่เพื่อรับทราบปัญหาความเดือดร้อน และหาแนวทางแก้ไขอย่างเร่งด่วนในวันจันทร์ที่ ๔ กันยายนที่ผ่านมา และพบว่าปัญหา ไม่ได้มีแค่ผิวเผินตามที่เห็นแค่ชาวสวนมาเทมังคุดทิ้ง หากแต่ปัญหามันมาจากระบบ การจัดการทั้งระบบ ประกอบกับการเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการพ่อค้าคนกลาง ที่สำคัญมีปัญหาที่ซุกอยู่ใต้ปัญหาแบบเชิงลึกอย่างคาดไม่ถึง ในการเสียประโยชน์ของ พี่น้องเกษตรกรในครั้งนี้ ข่าวการลงพื้นที่ของคณะท่านรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านธรรมนัส พรหมเผ่า ในฐานะรัฐบาลชุดนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีป้ายแดง ของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาด้วยซ้ำ และได้สั่งการให้หน่วยงานดำเนินการระบายผลผลิตที่คงมีอยู่ ๑๐,๐๐๐ กว่าตัน ภายในระยะเวลาที่กำหนดอย่างเด็ดขาด และให้เปิดราคาที่เป็นธรรมแก่ชาวสวน ส่วนปัญหา อย่างอื่นก็แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และจะรีบดำเนินการต่อไป ณ วันนี้ก็ได้ดำเนินการไปแล้ว อีกนิดนะคะท่านประธาน สำหรับดิฉันเองในนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด นครศรีธรรมราช พรรคภูมิใจไทย ขอกราบขอบพระคุณท่านรัฐมนตรีและคณะ ผ่านท่านประธานสภาอีกครั้งที่เป็นครอบครัวของชาวเกษตรกร ขอกราบขอบพระคุณ อย่างยิ่งนะคะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ท่านได้เสนอไว้ ๒ ญัตติ ญัตติที่ ๔ เกี่ยวกับกุ้ง แล้วก็ญัตติที่ ๘ เกี่ยวกับยางพารา ท่านรวม ๒ ญัตติเลยนะครับ สัก ๑๕ นาทีได้ไหม ถ้าลดไม่ได้ก็พยายามให้มันถึง ๒๐ นาทีแล้วแต่ท่านนะครับ เชิญครับ
นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กระบี่ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกระบี่ เขต ๒ พรรคภูมิใจไทย ก่อนอื่นขออนุญาตท่านประธาน ขอบคุณที่ท่านประธาน ได้กรุณาให้เวลาผม เนื่องจากว่าในญัตติของผมนั้นยื่นไป ๒ เรื่อง แล้วก็มีเจ้าหน้าที่ มาประสานว่าให้พูดคราวเดียวกัน เนื่องจากว่ามีการรวมญัตติในเรื่องของปัญหาเกษตรกร ผมต้องขอขอบคุณเพื่อน ๆ สมาชิกในพรรคภูมิใจไทย แล้วก็พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่จังหวัด กระบี่ ในเรื่องญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา แนวทางการแก้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำ โดยหลักการผมขออนุญาตปฏิบัติตามระเบียบ ในเรื่องของการเสนอญัตตินะครับ ด้วยหลักการเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทาง การแก้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ในเรื่องของกุ้งตกต่ำ เพื่อน ๆ ในส่วนที่นำเสนอญัตติเดียวกัน แล้วก็เหมือนกันนั้นได้บอกถึงสาเหตุที่มาว่าทำไมกุ้งมันจึงตกต่ำ แล้วก็ตัวแทนของจังหวัด กระบี่ โดยท่านประธานชมรมเกษตรกรเลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ ท่านหรินทร์ ลือประสงค์จิตร แล้วก็ทีมของคณะกรรมการในชมรมกุ้ง ทั้งท่านอวยชัยก็ดี หรือว่าผู้นำทุกอำเภอในจังหวัด กระบี่เลี้ยงกุ้งกันเยอะ เมื่อก่อนเขาเลี้ยงกุ้งก้ามกรามนะครับ ณ วันนี้เลี้ยงกุ้งขาว แต่ปรากฏ ว่าในรอบ ๒๐ กว่าปีที่เคยเลี้ยงและกำไร ผมเองก็เคยเลี้ยงกุ้งแต่ก็เจ๊งนะครับ ณ วันนี้ ก็ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเรื่องเลี้ยงกุ้งอีกต่อไปเลย แต่เพื่อน ๆ ที่ยังเลี้ยงอยู่ได้มาบอกว่าไม่เคยมี ครั้งใดในอดีตจนถึงวันนี้ราคากุ้งตกต่ำมาก ผมถามว่าตกต่ำอย่างไร เขาบอกว่าคิดแล้วกัน กุ้ง ๑ ตัวก็ ๑ บาท แล้วก็ต่ำกว่าทุน สาเหตุเมื่อสักครู่ที่เพื่อนสมาชิกหลายท่านบอกว่า ต้นทุนสูงเนื่องจากว่าอาหารแพง ค่าแรงก็หายาก ค่าแรงก็สูง ในเรื่องของยา เรื่องไฟฟ้า เรื่องอะไร อุปกรณ์ทุกอย่างมันแพง อันนี้ก็ถือว่าในส่วนราชการไปตรวจสอบแล้วก็ดูได้ แต่ผมอยากจะเรียนเพิ่มเติมจากที่เพื่อนสมาชิกไม่ได้นำเรียนท่านประธานก็คือว่าหน่วยงาน ภาครัฐ ในกรณีกุ้งเวลาเลี้ยงเข้าไปนั้น หน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาคการเกษตร ภาคประมง ภาคพาณิชย์ การท่องเที่ยว มันเกี่ยวข้องกันหมด เลี้ยงกุ้ง ๑ บ่อเป้าหมายจะขายในพื้นที่ เลี้ยงกุ้ง ๑ บ่อเป้าหมายจะขายที่สมุทรสาคร หรือเลี้ยงกุ้ง ๑๐๐ ไร่ ๕๐ บ่อ ๒๐ บ่อเพื่อที่จะ ส่งต่อไปขายยังประเทศจีนหรือต่างประเทศ ซึ่งตรงนี้กระบวนการการดูแลเรื่องของการลด ต้นทุนในเรื่องของกุ้ง ณ วันนี้ในส่วนของภาครัฐไม่ได้ทำอย่างแบบชนิดครบวงจร อย่างมั่นคง และยั่งยืน ผมต้องขอบคุณในส่วนของภาครัฐ พอรู้ว่าราคากุ้งตกต่ำก็ไปดูเป็นครั้งคราว แล้วก็ บอกว่าส่วนต่างวันนี้กิโลกรัมละ ๓๐-๔๐ บาท เดี๋ยวรัฐชดใช้ให้ มันเหมือนกรณีเรื่องของราคา ยางพารา ในเรื่องของพืชการเกษตรอื่น ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่ามันไม่ยั่งยืน การเอาเงินภาษี การเอาเงินงบประมาณของภาครัฐไปจ่ายให้เป็นผลต่างจากการขาดทุนอย่างนี้ มันถือว่า ไม่ใช่มืออาชีพในเรื่องของการแก้ปัญหา เพราะฉะนั้นการเลี้ยงกุ้งหรือว่าเลี้ยงอย่างอื่นก็ดี หรือว่าภาคการเกษตร ผลไม้ ยางพารา มังคุด อย่างที่ท่านมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล ของนครศรีธรรมราช เมื่อสักครู่ก็ได้ร่ายกลอนยาวเป็นนิราศมังคุดของนครศรีธรรมราช นั่นกลั่นออกมาเป็นน้ำตา กลั่นออกมาเป็นบทกลอน ตั้งเป็นเดือนนะครับ ผมเห็นแล้ว ก็เสียดายมังคุดที่ขึ้นมาแล้วก็ไปทิ้งอยู่ที่กลางถนน ท่านประธานครับ กลับมาในเรื่องของกุ้ง ต่อยังไม่จบ เดี๋ยวเข้าไปในเรื่องของยางพาราอีกนะครับ ในเรื่องของกุ้งมันมีหลายปัจจัย แล้วก็มีหลายสาเหตุ ปัจจัยทั้งเรื่องน้ำ ปัจจัยทั้งเรื่องของความสามารถ ความชำนาญ ของการบริหารจัดการของเจ้าของ แล้วก็ผู้รับผิดชอบในการเลี้ยงดูกุ้งด้วย บางเรื่องรัฐ ต้องเข้าไปดูแล อย่างกรณีนำกุ้งเข้าจากต่างประเทศ เอากุ้งออกไปส่งขายประเทศจีน วันนี้ มันมีขบวนการทุกอาชีพ มีขบวนการผู้มีอิทธิพล มีขบวนการผู้ตัดตอนในเรื่องของ ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ลูกค้ารายใหญ่ซื้อเข้ามา ผมอยากจะยกตัวอย่างเนื่องจากเวลามันจำกัด ผมยกสัก Case หนึ่งที่ไม่ได้ซ้ำกับใคร ในกรณีเรื่องของ Cargo ที่ส่งกุ้งไปขายประเทศ เพื่อนบ้านที่ยิ่งใหญ่ในเอเชียอย่างกรณีประเทศจีน ตัวแทนของผู้นำส่งเขาเหมา Cargo หมายความว่าใต้ท้องเครื่องบินที่ลงที่ภูเก็ตหรือลงที่จังหวัดใดก็ตาม เขาเหมา Cargo เป็นลำ เลยครับ เพราะฉะนั้นกุ้งถ้าไม่ผ่านในเรื่องของการขายจากการไปจับกุ้งปากบ่อ ผ่านกับ บริษัทที่เหมา Cargo เอาไว้ เพราะฉะนั้นกุ้งเหล่านี้จะขึ้นเครื่องไม่ได้ จะไม่มีคิวขึ้น จะไม่มีคิวส่ง แต่ถ้าจะมีคิวก็ราคาสูงขึ้น ซึ่งตรงนี้มันต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องของการผูกขาด อันนี้เพียงเรื่องเดียวในเรื่องของเส้นทาง ในเรื่องของการส่งกุ้งออกไปในประเทศมหาอำนาจ ประเทศใหญ่ ๆ นะครับ เพราะฉะนั้น แม้กระทั่งระบบ Logistics ระบบการผูกขาด ระบบการวางแผน เราก็รู้ครับว่าเลี้ยงกุ้ง ปล่อยกุ้งวันนี้กี่เดือนจับได้ Size ไหนที่เราประสงค์เอา Size หน้า ๓ หน้า ๔ ก็คือ ๔๐ กว่าตัว ๑ กิโลกรัมที่เขาเปรียบเทียบกัน ซึ่งตรงนี้ในรายละเอียดเพื่อนสมาชิก พูดไปเยอะแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผมอยากจะนำเสนอในเรื่องของกุ้งก็คือภาครัฐ ในการแก้ปัญหาจำเป็นจะต้องเอาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยเข้ามารับฟังปัญหาของ ผู้ประกอบการกุ้งอย่างครบวงจร แล้วก็ไปแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนและมั่นคง ติดตรงไหน ติดระเบียบแก้ระเบียบ ติดในเรื่องของคนแก้เรื่องคน ติดในเรื่องของต่างประเทศก็จะต้องให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการเจรจามีทูตเยอะแยะไป มีกระทรวงพาณิชย์ มีกรมการค้าภายในก็ไปแก้กันตามเส้นทางที่ติดขัด ผมไม่เห็นด้วยในเรื่องของการที่จะมา เอาผลต่าง แล้วก็เอาไปให้เกษตรกรไม่ว่าจะเป็นในเรื่องใด ๆ ก็ตาม เพราะผมถือว่าเป็น การแก้ปัญหาแบบไร้ความคิด ไร้สติปัญญา มันจะต้องแก้ปัญหาให้เกษตรกรยืนอยู่ได้ หลายคนบอกว่าอย่าไปยุ่งเลยเรื่องกุ้งเนื่องจากว่าเศรษฐีเลี้ยงทั้งนั้น วันนี้เศรษฐีโดนกุ้ง กินเข้าไปก็ไม่รู้จะเป็นเศรษฐีหรือเปล่า และผมเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกของผมในพรรคภูมิใจไทย ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องกุ้ง เดี๋ยวท่าน สส. วรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ แล้วก็เพื่อนสมาชิก อาวุโส ท่าน สส. พิบูลย์ รัชกิจประการ ของจังหวัดสตูล มีอาชีพแล้วก็มีความเชี่ยวชาญ เรื่องนี้ เดี๋ยวในรายละเอียดท่านวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ ก็คงจะเตรียมเหตุผลสาระสำคัญ ในเรื่องขององค์ความรู้ในเรื่องของการเลี้ยงกุ้งให้เพื่อนสมาชิก ให้สื่อมวลชน ให้พี่น้อง เกษตรกร และบุคคลที่ยังไม่มีความรู้เรื่องกุ้งได้เข้าใจเรื่องกุ้งว่าเลี้ยงกุ้งอย่างไร ไม่ใช่ ให้ชีวิตทั้งชีวิต ทรัพย์สินทั้งหมด กุ้งเอาไปทั้งหมดเลย เลี้ยงกุ้งนี่ก็กำไรสูงนะครับ ขาดทุน ก็ขาดทุนมากหมดตัวได้ เอาเรื่องกุ้งยังเหลือเวลาไม่มากนะครับท่านประธาน ที่จริงแล้ว ในเรื่องญัตติของผมที่นำเสนอในเรื่องของยางพารา เนื่องจากว่าได้รับแจ้งวันนี้ผมก็ไม่แน่ใจว่า จะมาอภิปรายเรื่องนี้พร้อมกัน เพราะว่านัดที่แล้วไม่ได้มีการอภิปราย นัดที่แล้วมีการรวมเรื่อง
นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง กระบี่ ต้นฉบับ
ในส่วนของยางพารา ยางพาราเป็นพืชหลักและเป็นพืชเกษตรกร ในจังหวัด กระบี่มียางพาราเป็นล้านไร่ ในอดีตมีถึง ๑,๒๐๐,๐๐๐ ไร่ ปาล์มน้ำมันมีถึง ๖๐๐,๐๐๐ ไร่ แล้วก็ปาล์มต้นแรกเป็นปาล์มน้ำมันที่เกิดขึ้นในจังหวัดกระบี่ ท่านประธานที่เคารพครับ พระราชบัญญัติปาล์มวันนี้ยังไม่มีเลยครับ ปาล์มนี่เลี้ยงมา ๓-๔ ชั่วอายุคนแล้วที่ปลูกปาล์ม ขายแล้วก็สร้างรายได้ให้กับประเทศ แต่วันนี้เรายังไม่มีพระราชบัญญัติปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์ม ในสมัยครั้งที่ผ่านมานั้น พ.ร.บ. ปาล์มก็ถูกเสนอ โดยผมก็เป็นผู้เสนอญัตติ แต่ปรากฏว่าเข้าสภาไม่ทันก็ตกไป เพราะฉะนั้น พ.ร.บ. ปาล์ม ต้องเสนอต่อเพื่อที่จะ แก้ปัญหาโครงสร้างราคาปาล์ม ตั้งแต่ลานเท ตั้งแต่เกษตรกร ตั้งแต่โรงสกัด โรง Refine ต้องแก้ให้ครบวงจร เรื่องปาล์มไหน ๆ ก็รวมในเรื่องของภาคการเกษตรแล้ว ผมก็จะแตะ ในส่วนของภาคการเกษตร แต่เรื่องหลักเรื่องยางพาราวันนี้ที่จริงแล้วราคาน้ำยางข้น ราคายางดิบ ราคาเศษยาง วันนี้ตกต่ำทุกชนิดเรื่องของยาง ในขณะที่ยางพาราประเทศไทย เรามีพระราชบัญญัติยางพารา เรามีการยางแห่งประเทศไทย และเรามีกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เรามีกระทรวงพาณิชย์ที่มาดูแลในเรื่องของยางอย่างครบวงจร แต่ไม่เคยมี รัฐบาลชุดไหนเลยที่ปัญหาเรื่องยางพาราไม่ได้เข้าสู่สภา ไม่มีครั้งใดเลยที่เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรทุกสมัยที่ไม่เคยหยิบยกปัญหาเรื่องยางพาราเข้ามาพูด อันนี้ก็คือสาเหตุในเรื่องของ รัฐบาลผู้รับผิดชอบไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องราคายางอย่างเป็นระบบและมีความมั่นคงได้ ราคายางพาราก็เช่นกันในเรื่องของการที่ไปประกันราคา เรื่องปุ๋ยนะครับ บริษัทปุ๋ยแห่งชาติ เราตั้งกันมาตั้งนานแล้ว ปุ๋ยราคาแพง เมื่อก่อนขึ้นจาก กระสอบละ ๕๐๐-๖๐๐ บาท ขึ้นมาเป็น ๒,๐๐๐ บาท วันนี้ลดลงมาเหลือประมาณ ๑,๕๐๐-๑,๖๐๐ บาท แต่ราคายาง ราคาปาล์ม มันไม่สอดคล้องกับราคาปุ๋ยเลย เทียบจาก ต้นทุนในเรื่องของการใส่ปุ๋ยและได้ผลผลิตน้ำยางพารา เทียบจากการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน แล้วก็ได้ผลปาล์มดิบ อันนี้เกษตรกรยังไม่คิดต้นทุนในเรื่องของที่ดิน แล้วก็การบริหาร การจัดการค่าแรงของเจ้าของสวนและลูกน้องในสวนยางพารานะครับ เพราะฉะนั้น เรื่องอย่างนี้รัฐบาลจะต้องไปกำหนด ส่งเสริม สงเคราะห์ในเรื่องของพันธุ์ยาง แล้วก็ราคาปุ๋ย เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลต่างแล้วก็ตลาด แต่ทำไมในเรื่องของอุตสาหกรรมปลายน้ำ ในเรื่องของยางพารา วันนี้ประเทศไทยเราใช้รถยนต์ ใช้มอเตอร์ไซค์ ใช้เรื่องยางเยอะแยะ ไปหมด ทำไมเราจะต้องนำเข้าในเรื่องของยางรถยนต์ ล้อเครื่องบินอะไรต่าง ๆ ถุงยาง ถุงพลาสติก ถุงมือยาง วันนี้ทำไมเราต้องส่งน้ำยางไปขายประเทศมาเลเซีย ทำไมประเทศไทย เรามีนิคมอุตสาหกรรมตั้งหลายแห่ง ทำไมเราไม่ฟื้นฟู ทำไมเราไม่พัฒนานิคมอุตสาหกรรม ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล หรือ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำไมเราไม่ทำให้เป็น ระบบอย่างชัดเจน เราไปทำในเรื่องของโรงรมขนาดเล็กเพื่อที่จะให้หมู่บ้านดูแลในเรื่องของ โรงรมย่อยก็เจ๊งหมดทั่วประเทศ ยางพาราวันนี้มีแทบเกือบทุกจังหวัด ร่วม ๆ ๕๐ กว่าจังหวัด จาก ๗๖ จังหวัด ไม่รวมกรุงเทพมหานคร เพราะฉะนั้นเรื่องยางพารามันเป็นผลิตภัณฑ์ เมื่อก่อนในอดีตเป็นสินค้าที่ส่งออกมากเป็นอันดับ ๑ ของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยเมื่อ ๓๐-๔๐ ปีที่แล้ว แต่วันนี้ยางพาราของเรายังไม่ได้ก้าวหน้าไปไหนเลย เพราะฉะนั้น เรื่องยางพารามันจะต้องทบทวนในเรื่องของ พ.ร.บ. ยางพารา กองทุนการยางที่ไปบริหาร การจัดการให้ความรู้ ให้อะไรต่าง ๆ ในเรื่องของความเชื่อมั่น สิ่งสำคัญที่สุดพี่น้องที่ปลูก ยางพาราและปาล์มน้ำมันในพื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ อันนี้สำคัญครับท่านประธาน มีเป็น แสนไร่ ผมไม่แน่ใจว่าถ้ารวมทุกจังหวัดแล้วน่าจะมีเป็นล้านไร่เหมือนกัน มันมีปัญหาอย่างไร เวลาไปปลูกปลูกได้ เวลาพี่น้องไปกรีดยางพาราหรือชาวบ้านแถวภาคใต้เขาเรียกว่าไปตัดยาง พอไปตัดเสร็จแล้วปรากฏว่าป่าไม้เข้าไปดู เมื่อก่อนก็ตัดได้อย่างปกติละครับ แต่ปรากฏว่า ณ วันนี้เข้าไปกรีดไม่ได้แล้วเนื่องจากว่าโดนจับ ในขณะที่เขาลงทุนปลูกไปวันนี้ต้นยาง ๒๐ กว่าปีแล้ว เขาก็บอกว่ายางพาราที่มันดีกว่าปาล์มน้ำมัน เนื่องจากว่าพอมันหมดหน้ายาง มันหมดเปลือกยางที่จะไปกรีดเอาน้ำยางแล้วนั้น ไม้มันขายได้ ในอดีตไร่หนึ่งขายได้ ต้นโต ๆ จำนวน ๗๗ ต้นต่อไร่ แล้วก็ความสูงของไม้เป็นพันธุ์ยางที่มีความสมบูรณ์ เช่นประเภทพันธุ์ ๖๐๐ อะไรอย่างนี้ครับ ซึ่งเวลาไปแปรรูปเป็นไม้แล้วมันก็จะไม่เป็นเชื้อรา และได้ปริมาณของไม้สวยงาม ไร่เป็นแสนท่านประธานครับ เพราะฉะนั้นเป็นแสนนี่เมื่อก่อน ราคาที่ดินไร่หลักหมื่น ขายไม้ยางได้เป็นแสน แต่มาวันนี้ต้นทุนในเรื่องของที่ดินมันสูง ขออนุญาตต่ออีกนิดหนึ่ง ตอนนี้ครบ ๑๕ นาที ขออนุญาตท่านประธาน ขอบคุณครับ ในเรื่องไม้ยางพารา หรือต้นยาง หรือสวนยางพาราที่ปลูกในพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งไม่มีความชัดเจน ป่าไม้ก็ไม่เคยไปห้าม ป่าไม้ก็ไม่เคยไปชี้แนวเขตว่าอันนี้เขตป่าห้ามปลูก เขาก็กรีดกันมาตั้งแต่ สมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่ แต่มาวันนี้จะไปตัดไม้ โค่นไม้ ขายไม้ เพื่อที่จะเอาเงินส่วนที่ไปลงทุน กลับคืนมานั้นทำไม่ได้ รวมทั้งสวนปาล์มน้ำมันด้วยที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ทับซ้อน ในเขตป่าไม้ หรืออุทยาน แล้วแต่ชนิดป่านะครับ แต่ในขณะที่ปลูกดูแลอยู่ บางครั้งก็มีการเก็บของป่า บางแห่ง Clear ได้ก็กรีดได้ ตัดได้ เอาออกได้ แต่ส่วนใหญ่ ณ วันนี้มีปัญหาเกษตรกร ในสวนยางพารา นอกเหนือจากราคายางแผ่นดิบ เศษยาง น้ำยาง ที่มีราคาตกต่ำ อย่างต่อเนื่อง ตกต่ำอย่างถาวร ตกต่ำอย่างไม่มีอะไรแก้ได้ และยังมีโรคแทรกซ้อนในเรื่องของต้นยางอีกด้วย วันนี้ภัยพิบัติน้ำท่วม พายุ ไม่เคยมีใคร เหลียวแลเกษตรกรชาวสวนยางอย่างจริงจังและเป็นระบบ ส่วนใหญ่ไปเหลียวแล ไปพูดในช่วงระหว่างหาเสียง พอได้กันเสร็จแล้วก็เบาบาง ก็เงียบหายไป แล้วก็มันเป็นวงจร อย่างนี้ จนเกษตรกรไม่มีความน่าเชื่อถือในเรื่องของฝ่ายการเมือง เนื่องจากว่าฝ่ายการเมือง มาพูดเสร็จแล้ว เพื่อที่จะให้ สส. นำปัญหาของพี่น้องประชาชนมาพูดและให้ได้ยินไปจนถึง ฝ่ายบริหาร แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายบริหารได้ยินแล้วก็แก้ปัญหาไม่ถูกต้อง มันจึงมีเหตุ ปัญหาที่ว่าปัญหาเรื่องยางพารา ปัญหาเรื่องปาล์มน้ำมัน ปัญหาเรื่องพืชผลการเกษตร มันมีหมดครับ มันมีทุกเรื่องที่จะให้ สส. เข้ามาพูด ท่านประธานครับ ที่จริงแล้วหลายท่าน บอกว่าฝากเรื่องทุเรียน ล้งทุเรียน ฝากเรื่องมังคุด กราบเรียนท่านประธานไปยัง พี่น้องประชาชนว่าญัตติผมมีหลัก ๆ อยู่ ๒ เรื่อง ก็คือเรื่องกุ้งแล้วก็เรื่องยางพารา เพราะฉะนั้นในการที่จะไปขยายความ หรือไปพูดพืชผลไม้อื่นก็เกรงใจท่านประธาน แล้วก็ จะไปกินเวลาของเพื่อนที่เขาเป็นเจ้าของญัตติ และเป็นผู้เสนอ ขอให้พี่น้องประชาชน ทางบ้านได้ฟัง ผมก็เข้าใจว่าวันนี้พืชผลการเกษตร เกษตรกรของประเทศไทยนั้นจำเป็นต้อง ยกระดับอีกมากมาย ขอขอบคุณท่านประธานที่ให้โอกาส ให้เวลาผม รวมญัตติ ๒ เรื่อง เข้ามาในเรื่องเดียว ผมใช้เวลา ๑๘ นาที ๕ วินาที ขอขอบคุณท่านประธานที่เคารพครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านผู้เสนอญัตติท่านต่อไป ท่านวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ เชิญครับ
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม วรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล พรรคภูมิใจไทย ก่อนที่ผมจะเริ่ม การเสนอญัตติแล้วก็การอภิปราย ผมอยากจะขอความกรุณาจากท่านประธานสักนิดหนึ่งผม อาจจะใช้เวลาเกินไปบ้าง เพราะว่าข้อมูลที่ทางพี่น้องเกษตรกรหรือว่าคนที่เดือดร้อน ส่งมาให้ผมเยอะเหลือเกิน และเขาก็อยากจะให้ผมนำข้อมูลเหล่านี้นำเสนออภิปราย ในสภาแห่งนี้ เพราะฉะนั้นต้องขอความกรุณาจากท่านประธานด้วยความเห็นใจจริง ๆ วันนี้ผมเองได้เป็นหนึ่งในตัวแทนเพื่อนสมาชิกของพรรคภูมิใจไทยได้ร่วมกันที่จะเสนอญัตติ ให้สภาแห่งนี้ได้ศึกษาปัญหาเรื่องของราคากุ้งตกต่ำ และส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่ผมจะพูดถึงเรื่องปัญหา ผมอยากจะให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับตลาดกุ้งโลกและ ของไทยเสียก่อน เพื่อที่ทุกคนจะได้มีความเข้าใจที่ตรงกัน แล้วก็จะนำไปสู่ปัญหาได้เข้าใจ ตรงกันนะครับ
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ สืบเนื่องจากผมเอง ได้รับการประสานงานจากทางสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดสตูล นำโดยท่านประธานก็คือ ท่านเชาวลิต แสงฉาย ทางท่าน สส. สังคม แดงโชติ ก็ประสานทางสมาคมผู้เลี้ยงกุ้ง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้ข้อมูลเข้ามา รวมถึงท่าน สส. พิบูลย์ รัชกิจประการ ว่าตอนนี้ พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีปัญหาเรื่องของการขาดทุน และถ้าเกิดว่าเราดูนี่มันอาจจะเป็น ปัญหาของกลุ่มอาชีพเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วผมอยากจะเรียนว่าวันนี้ มันเป็นปัญหาใหญ่มาก เพราะว่าทุกคนที่เลี้ยงกุ้งวันนี้อยู่ในพื้นที่ ๒๒ จังหวัดชายทะเล ถ้าพูดกันง่าย ๆ ก็คืออยู่ในพื้นที่ประมาณ ๑ ใน ๓ ของประเทศไทยซึ่งถือว่าสูงมาก และไม่ได้กระทบเฉพาะเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้ง กระทบทั้งอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้ง ตั้งแต่คนเลี้ยง ตั้งแต่คนคัดกุ้ง ตั้งแต่แรงงานที่ดูแลฟาร์มกุ้ง รวมไปถึงแพที่จับกุ้ง การแปรรูป ห้องเย็น รวมไปถึงการส่งออก จะเห็นว่ามันเกิดผลกระทบทั้งระบบ ก่อนที่จะเข้าในส่วนของปัญหา กุ้งในตลาดโลก ณ ตอนนี้ต้องบอกว่ามีกลุ่มผู้ผลิตหลักอยู่ประมาณ ๖-๗ ประเทศ ซึ่งมีกำลัง การผลิตในระดับโลกอยู่ที่ประมาณ ๕.๖ ล้านตัน ซึ่งไทยก็อยู่ในลำดับที่ ๕ ก่อนหน้านี้ไทยอยู่ อันดับต้น ๆ แต่ว่าโดนแซงไปหมดแล้ว และในส่วนของผู้ที่ต้องการบริโภคก็อยู่ที่ประมาณ ๔.๙ ล้านตัน ทีนี้ ๒ ตัวเลขนี้ทำให้เรา เห็นว่ามันมีช่องว่าง มีความแตกต่างอยู่ เมื่อไรก็ตามตามหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน ถ้าเกิดว่า คนซื้อน้อยกว่าคนขาย ราคามันต้องลงอยู่แล้ว ซึ่งเรากำลังอยู่ในภาวะแบบนั้น หรือว่าภาวะ ที่เราเรียกว่า ภาวะกุ้งล้นโลก และยิ่งมาประสบกับปัญหาโควิดอีกทำให้เศรษฐกิจถดถอย กำลัง การซื้อลดลงก็เลยทำให้เกิดสภาวะราคากุ้งตกต่ำที่สุดในประวัติการณ์ ๖๘๐,๐๐๐ ตัน ท่านประธานดูตัวเลขนี้ให้ดีครับ เป็นตัวเลขที่เรียกว่า Over Supply ที่น่าจะเป็นต้นเหตุ ของปัญหาหลัก ๆ ในวันนี้ที่เราอภิปรายกันเลยนะครับ
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
ต่อไปในส่วนของในประเทศวันนี้ไทยเราผลิตกุ้งได้อยู่ที่ประมาณ ๒๘๐,๐๐๐ ตัน แล้วก็ส่งออกประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ ตัน แล้วก็ใช้ในประเทศประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ ตัน จะเห็นว่าตัวเลขที่ใช้ในประเทศค่อนข้างน้อย และผมอยากจะย้ำว่าจริง ๆ แล้วกุ้งไทย ที่เลี้ยงในประเทศไทย เป็นกุ้งที่ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพดีที่สุดในโลก ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของรสชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรสสัมผัส เขาถือว่าของไทย เป็น Premium Product ที่ดีที่สุดในโลกนะครับ
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ มาถึงปัญหา ผมขอจำแนกขอบเขตของปัญหาออกเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ ข้อที่ ๑ ก็คือปัญหาที่อยู่ในระดับโลกที่เกิดขึ้นนะครับ ข้อที่ ๒ ก็คือปัญหา ที่เกิดขึ้นในประเทศ ถามว่าวันนี้เกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอย เกิดสภาวะกุ้งล้นโลก แน่นอนครับ Demand มันลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการซื้อลดลง ราคาก็ลดลง อันนี้เป็นเงาตามตัวอยู่แล้วนะครับ แต่ในส่วนของในประเทศเองวันนี้ต้องยอมรับครับว่า กุ้งไทยมีคุณภาพสูงจริงครับ แต่ในขณะเดียวกันกุ้งไทยก็มีต้นทุนที่สูงเหมือนกัน ถ้าเกิดเทียบกัน ในกลุ่มผู้ผลิตหลักจะบอกว่าไทยมีต้นทุนการผลิตอยู่อันดับต้น ๆ ของโลกเช่นกัน ทีนี้ผม ถามว่าในปัญหา ๒ กลุ่มนี้เราควรที่จะเลือกแก้ปัญหากลุ่มไหน และการแก้ปัญหากลุ่มไหน เป็นสิ่งที่เป็นไปได้มากกว่ากัน ประเทศไทยน่าจะเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่ถามว่าจะสามารถ ที่จะไปเพิ่มกำลังซื้อกุ้งของโลกได้ไหม อันนี้ผมมองว่ายาก ผมก็เลยมองว่าวันนี้เราควรที่จะ มาโฟกัสปัญหาที่อยู่ในพื้นที่ ที่อยู่ในประเทศมากกว่า โดยเฉพาะเรื่องของต้นทุน จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา จากปัญหาที่เกิดขึ้นต้องขอบคุณทางรัฐบาลนะครับที่เข้ามาดูแล เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง รัฐก็ได้เข้ามาช่วยเหลือ เข้ามาชดเชยราคาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง อยู่ที่กิโลกรัมละ ๒๐ บาท แต่ประเด็นก็คือยังไม่ได้ทุกคน ได้แค่บางช่วงของคนที่ลงกุ้งไป กิโลกรัมละ ๒๐ บาท ถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะได้ไปประมาณ ๕,๐๐๐ ตัน แต่ถ้าเราต้องการที่จะ ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้งหมด ๒๘๐,๐๐๐ ตัน คูณ ๒๐ ตกอยู่ประมาณ ๕,๐๐๐ กว่าล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นเงินที่มหาศาลมากนะครับ การชดเชยราคาเป็นเรื่องที่ดี แต่ว่าการชดเชยราคาเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ คำถามของผมก็คือว่าเราจะต้องชดเชย ราคาไปถึงเมื่อไร เราจะต้องใช้เงินมากขนาดไหนในการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ทำไมเรา ถึงไม่ตั้งตัวตั้งสติที่จะเริ่มแก้ปัญหาทั้งระบบได้แล้ว ให้มันมีความยั่งยืนในอนาคตครับ ผมขออนุญาตเสนอแนวทางแก้ปัญหาทั้งหมด ๓ แนวทางด้วยกัน
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
ข้อที่ ๑ ก็คือการเพิ่มอัตราการบริโภคกุ้งในประเทศ สมาคมผู้เลี้ยงกุ้ง รวมไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวันนี้ควรจะต้องจับมือกันได้แล้วครับ แล้วก็หาวิธีการรณรงค์ เพิ่มการบริโภคในประเทศ สินค้าเกษตรทุกชนิดที่พึ่งพิงการส่งออก ท่านจะเห็นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นยาง ไม่ว่าจะเป็นปาล์ม เมื่อไรก็ตามถ้าตลาดโลกมีปัญหาเมื่อไร แน่นอนทุกคน ก็จะบอกว่าต้องแปรรูปในประเทศเพิ่มขึ้น ต้องใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น หลักการก็คือหลักการ เดียวกัน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทำให้ราคามันกระโดดสูงปรี๊ดขึ้นไป แต่อย่างน้อยที่สุดมันสร้าง เสถียรภาพทางราคาให้กับกุ้งในประเทศไทยได้
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
ข้อที่ ๒ คือการสร้างการรับรู้คุณภาพของกุ้งไทยในเวทีโลก ซึ่งเป็นกุ้งที่มีคุณภาพ ดีที่สุด วันนี้เราคือ Premium Product ผมไม่ได้บอกว่าวันนี้เราเป็นสินค้าที่คุณภาพดี แล้วเราจะต้องเพิ่มราคาไม่ใช่นะครับ ในสถานการณ์แบบนี้เราขายราคาเท่าเขา แน่นอนครับ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเขาจะต้องซื้อสินค้าของเราก่อน ก่อนที่จะซื้อของคนอื่น และเมื่อไรก็ตามถ้าเศรษฐกิจดีขึ้น เราค่อยขยับราคาเพื่อเพิ่มกำไรให้กับเกษตรกรก็เป็นไปได้ และยิ่งไปกว่านั้นเราควรที่จะมุ่งไปหากลุ่มตลาดเป้าหมายที่ต้องการ Premium Product โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นตลาดที่น่าสนใจมากก็คือตลาดตะวันออกกลาง ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งตอนนี้เองก็มีความสัมพันธ์กับไทยดีวันดีคืน และเขาก็มีกำลังที่จะซื้อนะครับ
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
ในส่วนข้อที่ ๓ ก็คือเรื่องของการบริหารต้นทุน การลดต้นทุน ทำอย่างไร เราถึงจะสามารถเข้าไปเรียนรู้และลดต้นทุนการผลิตกุ้งได้ทั้งหมด ซึ่งในการผลิตเลี้ยงกุ้ง ออกมา ๑ Crop ๑ ฟาร์ม ผมขออนุญาตให้ข้อมูลในเรื่องของโครงสร้างต้นทุนก่อนว่า ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง อันนี้เป็นข้อมูลที่ทางเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเป็นคนหยิบยกมาให้ผม ก็คือมีส่วนของค่าแรง ๗ เปอร์เซ็นต์ ค่าพลังงาน ๒๐ เปอร์เซ็นต์ อาหารกุ้ง ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดนะครับ เคมีภัณฑ์ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ พันธุ์กุ้ง ๗ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็อื่น ๆ อีก ๑๖ เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นผมขออนุญาตลงรายละเอียดครับว่าในแต่ละปัจจัยเราจะมี แนวทางในการลดต้นทุนให้กับพี่น้องเกษตรกรได้อย่างไร เขาบอกว่าในเรื่องของค่าแรง เราจะเห็นครับว่า ณ ตอนนี้ในภาคเกษตรกรรมของไทย เราได้มีการนำระบบ IoT หรือว่า เป็นระบบ Automatic เข้ามาช่วยค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผลไม้ มีการให้ปุ๋ย ทุเรียน การให้น้ำ เพิ่มความแม่นยำ ลดภาระงาน ลดความผิดพลาด และที่สำคัญถ้าเกิดเรา มีการส่งเสริมให้นำระบบ IoT มาใช้ในการเลี้ยงกุ้งมากขึ้น ผู้ประกอบการจะไม่ต้องปวดหัว กับปัญหาแรงงานต่างด้าวเยอะเหมือนทุกวันนี้ บางทีเอามาปุ๊บทำเอกสารให้ ทำบัตรให้ ทำใบอนุญาตให้ อยู่กับเรา ๒ เดือนเพื่อนชวนไปอ้าวไปแล้ว สุดท้ายค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการ ต้องรับภาระก็ต้องรับภาระฟรี แล้วยังต้องไปหาลูกน้องใหม่มาทำงานอีกด้วย อันนี้คือข้อที่ ๑ ครับ
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
ในส่วนของข้อที่ ๒ เรื่องของพลังงาน คนเลี้ยงกุ้งบอกผมว่าตอนนี้โดนคิด ค่าไฟอยู่ในระบบของอุตสาหกรรม เป็นไปได้ไหมครับ ถ้าเกิดว่ากระทรวงพลังงานจะเข้ามาดู และเปลี่ยนวิธีการคำนวณให้กับพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเป็นแบบอื่นได้ไหม ที่มันมี ความเหมาะสมมากกว่านี้ รวมไปถึงรัฐบาลจะสามารถสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนให้กับ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้หรือเปล่า อย่างเช่น Solar Cell ผมเชื่อเหลือเกินในระยะยาวสามารถที่จะ แก้ปัญหาเรื่องของค่าไฟได้ และที่สำคัญที่สุดถ้าเกิดใครไม่มีทุน รัฐบาลก็ต้องเข้าไปสนับสนุน ในเรื่องของเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้เข้าถึง Solar Cell ได้มากขึ้นด้วย
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
ส่วนที่ ๓ เรื่องของอาหาร ผมมีประเด็นที่สนใจอยู่ ๒ เรื่องด้วยกันก็คือ
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
ข้อที่ ๑ เขาบอกว่าโปรตีนที่ถูกกำหนดไว้ในระเบียบของกรมปศุสัตว์ ในอาหารกุ้งมันมีโปรตีนกำหนดอยู่ เขาบอกว่ามีงานวิจัยที่เคยวิจัยของต่างประเทศ และให้ ข้อมูลมาว่าจริง ๆ แล้ว โดยเฉพาะในกุ้งใหญ่นะครับ กรมปศุสัตว์กำหนดว่าจะต้องมีโปรตีน ขั้นต่ำในอาหารอยู่ที่ ๓๕ เปอร์เซ็นต์ งานวิจัยนั้นบอกว่าจริง ๆ แล้วกุ้งนี่ไม่ได้จำเป็นที่จะต้อง ใช้โปรตีนถึง ๓๕ เปอร์เซ็นต์ เพราะว่าเอาไปใช้ไม่หมดนะครับ โปรตีนที่จำเป็นจริง ๆ อยู่ที่ ประมาณไม่ถึง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ ผมจึงขอตั้งสมมุติฐานและขอสื่อไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง อยากจะให้มีการศึกษาเรื่องนี้แบบจริงจังครับ ถ้าเกิดว่ามันไม่จำเป็นถึงขนาดนั้น ก็ขอให้ลดเสีย เพราะผมเชื่อว่ามันจะลดราคาของอาหารได้อย่างมีนัยสำคัญ
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
ข้อที่ ๒ คือเรื่องแหล่งที่มาของโปรตีนที่เอามาใส่ในอาหารกุ้ง เขาบอกว่า บางทีทุกคนพยายามที่จะทำให้ต้นทุนถูกที่สุดเพื่อให้กำไรสูงที่สุด ไปเอาโปรตีนมาจาก แหล่งต้นทุนที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้กุ้งนี่เอามากินปั๊บแล้วมีปัญหา บางชนิดกินไปแล้ว ไม่ย่อย บางชนิดกินแล้วเป็นโรค ทำให้กุ้งอ่อนแอ สุดท้ายกุ้งตายสิ่งที่ตามมาก็คือต้นทุน ที่เพิ่มสูงขึ้น
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
ในส่วนของเคมีภัณฑ์ อันนี้ก็ต้องไปดูในเรื่องของแหล่งการนำเข้าเคมี ซึ่งที่ผ่านมาก็มีปัญหาอยู่พอสมควรจากสงครามยูเครนกับรัสเซีย จะไปหาแหล่งเคมีจากไหน เข้ามาเพื่อที่จะเอามาให้กับกลุ่มคนเลี้ยงกุ้งได้มีต้นทุนที่ถูกลง
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
เรื่องต่อไปครับ เรื่องพันธุ์กุ้งเรื่องนี้ต้นทุนอยู่ที่แค่ ๗ เปอร์เซ็นต์ แต่เป็น ๗ เปอร์เซ็นต์ที่ยิ่งใหญ่มาก ทุกวันนี้กลุ่มผู้เพาะพันธุ์กุ้งหรือว่ากลุ่มผู้ขายลูกกุ้งรายใหญ่ ในประเทศ ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๕-๖ เจ้า พยายามที่จะเพาะพันธุ์กุ้งให้โตเร็วที่สุดและแข็งแรงที่สุด แต่ประเด็นก็คือว่าโตเร็วจริงครับ แต่ความแข็งแรงเขาบอกว่ายังไม่ดี ทำให้กุ้งค่อนข้างมีความเปราะบางด้วยความที่มันโตเร็ว เปราะบาง เป็นโรคง่าย ทีนี้พอเป็นโรคมันก็ตาย กลุ่มที่ให้ข้อมูลนี่เขาบอกกับผมว่าจริง ๆ บริษัทใหญ่ ๆ เหล่านี้เคยเอาลูกกุ้งไปเสนอขายประเทศผู้ผลิตหลักในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจีนหรือว่าอินเดีย แต่ปรากฏว่าไม่ติดตลาด ถ้าเกิดว่าคิดแบบโง่ ๆ แบบคนไม่มี ความรู้เรื่องกุ้งแบบผมนี่นะครับ สาเหตุที่เอาของไปขายเขาแล้ว และเขาไม่ซื้อแสดงว่า เขาจะต้องมั่นใจว่าของเขาจะต้องดีกว่าของเรา เพราะฉะนั้นทำไมรัฐบาลไม่สนับสนุนให้ ผู้ประกอบการนำเข้าพันธุ์กุ้งจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศเยอะขึ้น เพื่อเป็นตัวเลือก ให้กับพี่น้องเกษตรกร ผมก็ถามต่อว่าแล้วอยากจะให้รัฐบาลสนับสนุนอย่างไร เขาบอกไม่ต้อง สนับสนุนอะไรเลย ให้ทำแบบเดิมก็พอแล้ว ในการนำเข้าพันธุ์กุ้งเข้ามามันจะต้องมี การ Audit ๒ ด่านด้วยกัน คือที่ประเทศต้นและตอนนำเข้าที่ประเทศไทย ค่าใช้จ่าย ในการ Audit ประเทศต้นทางแน่นอนครับ ผู้นำเข้าเป็นผู้จัดการ แต่เมื่อก่อนค่าใช้จ่าย ที่ Audit ในประเทศกรมประมงจะเป็นผู้จัดการ แต่ตอนนี้กรมประมงบอกว่าวันนี้คงไม่มี
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขออนุญาตท่านวรศิษฎ์ครับ มันเลยมา ๔ นาทีแล้วสรุปเลยครับ
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
จะพยายามรีบสรุปให้ครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
เพราะว่ามีผู้อภิปรายเยอะมากครับ
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
ได้ครับ เพราะฉะนั้นการนำเข้ามา จะช่วยทำให้เกษตรกรมีตัวเลือกมากขึ้น และในนั้นอาจจะมีพันธุ์กุ้งที่ดีกว่าที่เรามีอยู่
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
สุดท้ายครับท่านประธาน ตัวเลขที่ผมบอกว่าถ้าเราจะต้องชดเชยราคา ทั้งหมดมันต้องใช้เงิน ๕,๐๐๐ กว่าล้านบาท คำถามคือแนวทางที่ผมได้เสนอไปนี่ผมว่า แทบจะไม่ต้องใช้เงินแม้แต่บาทเดียว แล้วทำไมวันนี้รัฐบาลถึงไม่ตื่นและเริ่มที่จะแก้ปัญหา ทั้งระบบได้แล้ว ไม่ต้องเอาอะไรมากครับ ผมขอแบ่งเงินแค่ ๑ ใน ๑๐ ส่วน หรือว่า ๑ ใน ๕ ส่วนจากเงิน ๕,๐๐๐ กว่าล้านบาท เอามาศึกษาวิจัย พัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้ง ทั้งระบบ ผมมั่นใจเหลือเกินว่าอุตสาหกรรมกุ้งไทยจะก้าวไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด อย่างเช่นประเทศอื่น ๆ อย่าง เอกวาดอร์ อินเดีย เวียดนาม ประเทศเหล่านี้รัฐเข้ามาเป็น Main Player ในการพัฒนาการเลี้ยงกุ้ง และตอนนี้ประเทศเหล่านี้ก็แซงไทยไปเรียบร้อยแล้ว ด้วย คำถามก็คือ ณ วันนี้ประเทศไทยทำอะไร เขาบอกว่ารัฐมีหน้าที่ควบคุม กำกับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ท่านสรุปเลยครับ เพราะว่าเลยมา ๕ นาทีแล้วครับ
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
นาทีเดียวครับท่านประธาน จบแล้วครับ เขาบอกว่าวันนี้รัฐมีหน้าที่ควบคุม กำกับดูแล รวมไปถึงสนับสนุนและส่งเสริม มันมีคำถาม จากเกษตรกรมาครับว่าวันนี้ท่านทำงานในเรื่องของการควบคุม กำกับดูแลทำได้ดีมากเลย แต่คำถามก็คือ การสนับสนุนและส่งเสริมทำได้ดีหรือยัง
นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ
สุดท้ายวันนี้ทุกคนเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเยอะมาก ทั้งการหาวิธีการเพิ่ม ราคา การลดต้นทุน การหาตลาดใหม่ ซึ่งมีทั้งเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ แต่รัฐจะแก้ปัญหา อย่างไร อันนี้รัฐต้องตอบคำถามข้อหนึ่งให้ได้ก่อนครับว่า วันนี้รัฐจะหาวิธีการเพิ่มราคากุ้ง หรือว่าเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้ง ขอบพระคุณครับท่านประธาน
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านผู้เสนอญัตติท่านต่อไปนะครับ ท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ เชิญครับ
นายวิชัย สุดสวาสดิ์ ชุมพร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม วิชัย สุดสวาสดิ์ ผู้เสนอร่วมกับท่านอัครเดชนะครับ ขอนำเรียนท่านประธานด้วยความเคารพ ผมเองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต ๑ จังหวัดชุมพร วันนี้พืชผลทางการเกษตรประกอบด้วย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าว อ้อย และสินค้าอุปโภคบริโภค เนื้อวัว นมวัว และตลาดปลาสวยงามทั่วทั้งประเทศมีราคาตกต่ำ ซึ่งเป็นรายได้หลักของเกษตรกร ส่งผล ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกที่ต้องมีภาระหนี้กับต้นทุน การผลิตที่สูง ค่าแรงสูง ราคาปุ๋ยที่สูง รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูก รวมถึง ส่งเสริมภาคเกษตรให้ผลิตและจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรเพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่งออกสินค้าทางการเกษตรไปยังประเทศต่าง ๆ และจะทำให้คุณภาพชีวิตของ ครอบครัวของเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นตลาดที่ส่งเสริมการเกษตรให้เป็นไปอย่าง มีระบบ มีมาตรฐานสากล ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ที่สำคัญของ ประชาชน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างรีบเร่งจากภาครัฐ และหา แนวทางในการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวเกษตรกร การปรับปรุงระบบการตลาด การค้าเกษตรให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม เพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบ เสียเปรียบ ระหว่างการรักษาประสิทธิภาพทางด้านราคา ป้องกันราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ จึงทำให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้น ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย จึงมีการตั้งคณะกรรมาธิการ ขึ้นมาเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ เพื่อเป็นแนวทางในการ แก้ไขปัญหา เยียวยาความเสียหายของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ข้าว และชาวไร่สวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสวนผลไม้ ดังนั้นจึงขอเสนอญัตติดังกล่าวเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรได้ตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ จากข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔๙ ส่วนเหตุผลรายละเอียด ได้นำเรียนชี้แจง จากสภาพปัญหาของพี่น้องชาวเกษตรกรที่ผ่านมามีหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของธรรมชาติ แล้วก็เรื่องการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ปรากฏการณ์ จากธรรมชาติในปัจจุบัน ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาที่ทำด้วยฝีมือของมนุษย์เองในการประกอบ อาชีพทางการเกษตร วันนี้ผมเองนั้นใคร่จะนำเรียนท่านประธานด้วยความดีใจครับ เห็นท่านรัฐมนตรีเข้ามานั่งฟังด้วยก็ถือว่าเป็นปัญหาที่เรานำเสนอตรงต่อความต้องการของ พี่น้องประชาชนโดยแท้จริง ปัญหาทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนนั้น ทางผู้แทนราษฎรเองได้รับปัญหากันมาตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นราคาผลผลิตตกต่ำ ราคาเรื่อง ต้นทุนการผลิต ไม่ว่าราคาปุ๋ย ราคาสารเคมีต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ทำให้พี่น้องชาวเกษตรกรนั้น ไม่ลืมตาอ้าปากได้เลยในเรื่องของการทำอาชีพการเกษตร โดยเฉพาะพี่น้องชาวสวนผลไม้ ชาวสวนมังคุดที่มีปัญหาราคาตกต่ำอยู่ตลอดเวลา และเป็นปัญหาที่พี่น้องเกษตรกรได้เอามา เทกันกลางถนน ประท้วงเพื่อเป็นเชิงสัญลักษณ์ให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้ไปทำการช่วยเหลือ เหตุการณ์อย่างนั้นผมเองผมคิดว่าในฐานะที่เป็นตัวแทนของพี่น้อง เกษตรกร ไม่อยากจะให้เกิดกับกรณีพี่น้องชาวเกษตรกรของประเทศไทยของพวกเราอีก ต่อไป ผมเองนั้นเคยเป็นแกนหลัก แกนนำเรียกร้องราคายาง ราคาปาล์มให้กับพี่น้อง ชาวเกษตรกรมาโดยตลอด เคยแสดงถึงสัญลักษณ์ เคยกีดขวางทางจราจร เคยโดนคดีความ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องชาวสวนยาง สวนปาล์มมาตลอดเวลา ตอนนี้สิ่งที่น่าสงสารที่สุด คือพี่น้องชาวสวนยางครับ ไม่น่าเชื่อเวลาผ่านไปหลายปี หลายสิบปี แต่น้ำตาของพี่น้อง ชาวสวนยางยังคงต้องหลั่งไหลอยู่ตลอดเวลาในเรื่องของราคาผลผลิต ทั้ง ๆ ที่ตั้งแต่ปุ๋ยเคมี กระสอบละ ๗๐๐ บาท จน ณ ปัจจุบันนี้ปุ๋ยเคมีขึ้นในราคากระสอบละ ๑,๔๐๐ บาท ๑,๓๐๐ บาท จนเป็นสิ่งที่บอกได้เลยว่าเหมือนกับสายเลือดของพี่น้องชาวเกษตรกรออกมา ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งที่เป็นปัญหาอย่างนี้ ผมอยากนำเรียนท่านประธานฝากถึง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยออกเป็นนโยบายชัดเจนสักครั้งหนึ่ง เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาและทำให้ ความเป็นอยู่ของพี่น้องชาวเกษตรกร โดยพี่น้องชาวสวนยางเป็นหลักประกันให้กับพี่น้อง ชาวสวนยางให้มากขึ้นในการประกอบอาชีพ ในการดำรงชีวิตครอบครัว ส่งลูกส่งหลาน เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคเกษตร ในภาครัวเรือนนั้นเป็นปัญหา ที่หนักหน่วงมาตลอด จริง ๆ แล้วพี่น้องชาวเกษตรกร ราคา ณ ปัจจุบันโดยเฉพาะ ยางก้อนถ้วย ๕ กิโลกรัม ๔ กิโลกรัม ถึงได้ไข่ ๑ แผง เอาไปทำอาหารตอนเย็น มันเป็นสิ่งที่ น่าสงสาร และไม่ใช่ว่ากรีดยางกันวันนี้แล้วน้ำยางจะไหลออกมาเป็นยางก้อนถ้วยได้ ๑ กิโลกรัม มันไม่ใช่ครับ เพราะฉะนั้นแล้วกรีดสะสมกันหลายวันถึงจะได้ ๑ กิโลกรัม ปัญหา อย่างนี้ถ้าคนไม่เคยประกอบอาชีพ หรือคนที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ ผมเชื่อว่าเรายังไม่ได้สัมผัส เรามีเครื่องมือ เรามีหน่วยราชการ เรามีกองทุนเยอะแยะที่ดูแลเรื่องราคายาง จริง ๆ แล้วราคายางกับรายได้ของเกษตรกรสวนยางเป็นปัญหาและเป็นเศรษฐกิจของ ประเทศระดับต้น ๆ โดยเฉพาะพี่น้องชาวใต้ ปัญหาที่เขาประสบอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ทำให้เขา ลืมตาอ้าปากไม่ได้ เป็นภาระหนี้สินผูกพันตลอดเวลา เมื่อก่อนเขาพูดกันว่าเราไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ แต่ ณ ปัจจุบันชาวสวนก็จะพูดว่าไม่ได้เป็นหนี้ ธ.ก.ส. จะเป็นลาภ อันประเสริฐของครอบครัว เพราะฉะนั้นแล้วผมนำเรียนด้วยความเคารพครับท่านประธาน สิ่งที่พูดวันนี้อยากจะสะท้อนถึงผู้ที่มีอำนาจ และผู้ที่จะบริหารประเทศต่อไปข้างหน้า ทำอย่างไรก็แล้วแต่ให้ภาคเศรษฐกิจของรากหญ้าขึ้นมาได้ต้องดูแลพี่น้องชาวสวนยาง ดูแล พี่น้องชาวสวนปาล์ม ลดต้นทุนการผลิตเขา หาต้นทุนการผลิตเรื่องปุ๋ยให้ราคาถูกลง เอาปุ๋ย ให้ราคาถูกลง และดูแลในเรื่องของที่ดินทับซ้อนให้กับพี่น้องชาวเกษตรกรด้วย โดยเฉพาะ พี่น้องชาวสวนยาง สวนปาล์ม บอบช้ำแล้ว ขอโทษครับท่านประธาน เหมือนกับที่ ท่านสมาชิกได้เอ่ยเมื่อสักครู่ พูดในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อน ในเรื่องของการโค่นต้นยางออก เวลาที่มีนายทุนมาซื้อไม้ยาง เวลาโค่นไม่มีปัญหาเลย เพราะเขาได้ไปดูแลในภาคส่วนของ ราชการบางหน่วยงาน ได้รับผลประโยชน์ไปเรียบร้อย แต่เวลาที่เขายกเครื่องมือออกจาก พื้นที่ คนที่โดนผลกระทบก็คือเจ้าของสวนเอง ไม่ว่าเจ้าของสวนวันนั้นตั้งใจที่จะมาปรับปรุง พื้นที่ ไปเปลี่ยนพืชที่จะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ก็คือทุเรียน เขาจะประสบปัญหาในเรื่องของ การปรับพื้นที่ทันที โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเรียกเก็บ เข้าไปดำเนินการให้เขาครองตัว ด้วยความลำบาก เพราะฉะนั้นแล้ววันนี้เสียงสะท้อนจากตัวแทนของพี่น้องชาวเกษตรกร อย่างผม ผมเชื่อว่าท่านประธานคงจะเล็งเห็นเหมือนกับผมว่าเราทำอย่างไรก็แล้วแต่ให้พี่น้อง ชาวเกษตรกรได้มีเอกสารสิทธิที่ดินทำกิน ทำอย่างไรก็แล้วแต่ให้พี่น้องชาวเกษตรกรได้ลืมตา อ้าปากด้วยการลดต้นทุนการผลิต ลดราคาปุ๋ย ลดราคาสารเคมี และยังมีปัญหาเรื่องภัยแล้ง เรื่อง El Nino ที่จะยื่นเข้าในญัตติต่อไปข้างหน้าของผม เป็นปัญหาที่ทำให้พี่น้อง ชาวเกษตรกรที่ผ่านมาในต้นปี ๒๕๖๖ ปัญหาเยอะมาก โดยเฉพาะพี่น้องชาวสวนทุเรียน และเป็นปัญหาของพี่น้องชาวเกษตรกรทั่วทั้งแผ่นดิน ถ้าเราไม่มีการตั้งหรือว่ารองรับ ในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องชาวเกษตรกรได้ ผมเชื่อว่าต่อไปข้างหน้าคนจนจะเพิ่มขึ้น คนจนจากเงื้อมมือของเกษตรกรจะเพิ่มขึ้น โดยพี่น้องชาวเกษตรกรจะเป็นคนจนแทนพี่น้อง ที่ไร้ที่พึ่งอยู่ ณ ปัจจุบัน เพราะฉะนั้นแล้วผมเองผมบอกว่าจริง ๆ แล้วในเรื่องราคาผลผลิต ตกต่ำ เกี่ยวก้อยไปถึงเรื่องมังคุด เกี่ยวก้อยไปถึงเรื่องทุเรียน เกี่ยวก้อยไปถึงพี่น้อง ชาวสวนปาล์ม ปัญหาที่อยากจะนำเรียนให้แก้ไขเป็นปัญหาเร่งด่วนก็คือโดยเฉพาะปัญหา ในเรื่องของพืชทางด้านการเกษตร เรื่องผลไม้ เรื่องการแก้ไขปัญหาในเรื่องการออกใบรับรอง มาตรฐานผู้ผลิต หรือ GAP ช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เร็วที่สุด เพื่อรองรับ กับสินค้าเกษตรกรที่จะออก ณ ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นมังคุด เป็นทุเรียน จะต้องเกิดปัญหา ทุกครั้ง เกิดปัญหาแล้วขายไม่ได้ พอขายไม่ได้พี่น้องชาวเกษตรกรก็เดือดร้อนเหมือนอย่าง ภาพที่เห็นที่นครศรีธรรมราช เพราะฉะนั้นแล้วผมว่าจากปัจจัยปัจจุบัน ผู้บริหารประเทศ ปัจจุบันกับประเทศเราภาพปัจจุบัน เราไม่ต้องการให้พี่น้องชาวเกษตรกรออกมาประท้วง เทข้าวของ ออกมาประท้วงปิดถนน เพื่อเรียกร้องราคาผลผลิตตกต่ำอีกต่อไป เพราะฉะนั้น จากความตั้งใจของผม ๑๐ นาทีนี้จริง ๆ แล้วไม่พอนะครับ ผมตั้งใจจะระบายความรู้สึก ที่เป็นตัวแทนของพี่น้องชาวเกษตรกร และตัวเองด้วยที่เป็นเกษตรกร เพราะฉะนั้นแล้ววันนี้ผมเข้ามาที่สภาแห่งนี้เป็นครั้งแรกในชีวิตผม ในฐานะตัวแทนของพี่น้อง ชาวเกษตรกร ก็อยากจะบอกท่านประธานถึงผู้ที่มีอำนาจในส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดว่า ต่อไปข้างหน้าอยากจะให้มีการแก้ไขปัญหาให้เป็นเชิงระบบ โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นทุนการผลิต ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน ทำอย่างไรก็แล้วแต่ให้เสมอภาค โดยการที่จะนำพาพี่น้องประชาชน ไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกันก็คือลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ผมขอนำเรียนท่านประธาน ด้วยความเคารพ จริง ๆ แล้วผมอยากขอเวลาท่านประธานอีกสัก ๓๐ นาทีนะครับ แต่ผม เข้าใจท่านประธานครับ ขอบคุณท่านประธานมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
นิด ๆ หน่อย ๆ ก็ไม่เป็นไรนะครับ เชิญผู้เสนอญัตติท่านต่อไป ท่านณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เชิญครับ
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สุพรรณบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา กระผมได้เสนอญัตติเรื่องการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ท่านประธาน ย้อนไปดูนะครับ ท่านประธานอยู่ด้วย สมัยสภาชุดที่แล้ว ชุดที่ ๒๕ ญัตติแรกที่เข้าสภาก็คือ เรื่องราคาพืชผลเกษตรกรตกต่ำ ทั้งหมดที่ยื่นในสมัยนั้น ๑๔ ญัตติด้วยกัน ผลของการยื่น ๑๔ ญัตติ ทุกพรรคการเมืองนำผลให้เกิดขึ้น ๒ เรื่อง เรื่องหนึ่งคือการตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญขึ้นมาชุดหนึ่ง ขออนุญาตเอ่ยนามนะครับ ท่านวีระกร คำประกอบ เป็นประธาน แล้วก็ได้ศึกษาแก้ไขปัญหาราคาพืชผลเกษตรตกต่ำหลายเรื่องทีเดียวครับ ออกมาเป็นเอกสาร เล่มใหญ่เล่มหนึ่ง
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สุพรรณบุรี ต้นฉบับ
ไปดูได้เล่มนี้นะครับ สมบูรณ์มาก แล้วตามมาด้วยการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญในข้อบังคับ เป็น ๑ ใน ๓๕ คณะกรรมาธิการนั่นก็คือคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม ขึ้นในข้อบังคับ แล้วก็อยู่มาถึงปัจจุบันนี้เลยครับ ผมทำหน้าที่ประธานในชุดนั้น มาถึงชุดนี้ ชุดที่ ๒๖ มาอีกแล้วครับ ยื่นญัตติทั้งหมด ๑๑ ญัตติด้วยกัน การแก้ไขปัญหาราคา พืชผลทางการเกษตรตกต่ำไม่ว่าจะเป็น ยางพารา กุ้ง และอีกหลาย ๆ เรื่อง มังคุด ผลไม้ เหล่านี้นะครับ ทำให้มองเห็นได้ว่าไม่มีรัฐบาลไหนแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกร หรือราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำได้อย่างยั่งยืนเลยครับ วันนี้เช่นเดียวกันผมเสนอญัตติ เรื่องการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ผมไม่ให้ตั้งคณะกรรมาธิการ ให้ส่งไปให้รัฐบาล ดำเนินการเลยครับ กุ้งเป็นสินค้าที่นำมูลค่าการส่งออกเข้าสู่ประเทศถึง ๕๒,๐๖๓ ล้านบาท ต่อปี ประเทศไทยเราผลิตกุ้งขาวใน ๓๔ จังหวัด เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี ในอำเภอบางปลาม้า มีที่ตำบลองครักษ์ รายใหญ่ ๆ ก็ของคุณสมหวัง ประเสริฐสม ของผู้ใหญ่เสน่ห์ ผู้ใหญ่มานิตย์ พุทธจรรยา ในอำเภอสองพี่น้องก็ประกอบไปด้วยท่านนายกรังสิต กลิ่นสุข ตำบลบ้านช้าง จังหวัดนครปฐม ของท่าน สส. ภาณุวัฒน์ สะสมทรัพย์ ที่อำเภอกำแพงแสนก็เลี้ยงกันมาก ของท่าน สส. อำนาจ วิลาวัลย์ ที่จังหวัดปราจีนบุรีก็เลี้ยงกันมาก เคยนำเรื่องนี้เข้ามาใน ที่ประชุมคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรมตกต่ำเช่นเดียวกันครับ พืชผลทางการเกษตรนี่เราพูดกันเป็นประจำว่า ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มีปัญหาทั้ง ๓ ช่วงเลย ผมขอสรุปอย่างนี้ว่าเราจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วย ๔ ต ด้วยกันครับ ๔ ต เต่านะครับ
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สุพรรณบุรี ต้นฉบับ
ต แรก ต้นทุน โดยเฉพาะการเลี้ยงกุ้งนี่ต้องอาศัยคนที่ใจถึงจริง ๆ เพราะ ลงทุนสูงมาก หมดแล้วหมดเลย เสี่ยงมาก และหลายท่าน ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้พูด เรื่องนี้ไปแล้วว่าอาหารกุ้งต้องควบคุมราคา น้ำมัน ไฟฟ้า เหล่านี้เป็นต้นทุนทั้งสิ้นและเป็น ต้นทุนที่สูงด้วย จำเป็นต้องรีบแก้ไขต้องควบคุมราคา
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สุพรรณบุรี ต้นฉบับ
ต ที่ ๒ คือโตหรือตาย โตหรือตายหมายถึงอะไรครับ หมายถึงว่าเลี้ยงกุ้งแล้ว มันโตไหม มันอยู่รอดไหม หรือมันจะตาย มันส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงครับ ต้นทุนที่ลงไปนี่ ถามว่ามันโตและตายเพราะอะไร เหตุปัจจัยเสี่ยงหลายประการทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม น้ำแล้ง อากาศร้อนไป หนาวไป ภัยพิบัติต่าง ๆ โรคระบาดกุ้ง เหล่านี้เป็นความสูญเสียของ ผู้ประกอบกิจการเลี้ยงกุ้งทั้งสิ้นเลย ถามว่าภาครัฐต้องทำอะไรบ้าง อันนี้กรมประมงเป็นหลัก กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นักวิชาการต้องใกล้ชิดกับผู้เลี้ยงกุ้งให้มากขึ้น เทคโนโลยี ต่าง ๆ ต้องถ่ายทอดให้เขา ก็เสียดายนะครับว่าบุคลากรของกรมประมงที่จะเข้าไปดูแล ผู้เลี้ยงกุ้งมันน้อยไป ในท้ายที่สุดคำว่าโตหรือตายไม่ใช่กุ้งอย่างเดียว ถ้ามันไม่โตเกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งก็ตายด้วย ไม่ใช่กุ้งตายอย่างเดียว
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สุพรรณบุรี ต้นฉบับ
ต ที่ ๓ ก็คือตลาด ตลาดหมายถึงอะไรครับ หมายถึงราคา ราคาขึ้นอยู่กับ อะไรครับ ราคาก็ขึ้นอยู่กับ Demand กับ Supply ว่ามีมากหรือน้อย ขณะนี้ระหว่าง เดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคมกุ้งกำลังออก ผลผลิตกุ้งกำลังออก กำลังล้นตลาด ราคามันถึงตก ในปี ๒๕๖๒ กุ้งขนาด ๕๐ ตัวต่อ ๑ กิโลกรัม เคยขายได้ถึง ๑๘๐-๒๐๐ บาท มาดูขณะนี้ ๕๐ ตัวต่อกิโลกรัม ขายได้เพียง ๑๓๐ บาท ราคาตลาดที่มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร แต่ถ้าไป ซื้อที่ปากบ่อเหลือราคา ๙๐-๑๐๐ บาทเอง ในขณะที่ต้นทุน ๑๓๐-๑๕๐ บาทต่อ ๑ กิโลกรัม แล้วจะอยู่อย่างไรครับที่ว่า Supply มันเพิ่มขึ้น นอกจากกุ้งจะออกปริมาณมากแล้ว ขณะนี้ ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาเขามี Stock อยู่ในประเทศเขาถึง ๙ เดือนที่ไม่รับซื้อ ญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ ราคาค่าเงินเยนตกต่ำมาก เพราะฉะนั้นเขาหันมา รับประทานกุ้งที่ราคาถูกลง จีนก็เริ่มผลิตกุ้งได้แล้วครับ เหล่านี้เป็นผลกระทบทั้งสิ้นเลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำอย่างยิ่งก็คือที่จะช่วยเกษตรกร น้ำนี่ต้องมีการลงทุน อย่างเป็น Megaproject เลย ให้เหมือนกับท่านลงทุนในเรื่องรถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง Motorway ท่านทำอย่างนี้กับน้ำบ้างสิครับ เพราะประเทศเราเป็นประเทศเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้จะไปช่วยพี่น้องเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศได้ และไม่ต้องไปแจก หรอกครับ ๑๐,๐๐๐ บาท ถ้าทำน้ำได้ดี ทำ Megaproject ให้ดีนะครับ FTA รัฐบาลใหม่มา ผมก็ชื่นใจที่นายกรัฐมนตรีบอกว่านโยบายเร่งด่วนประการหนึ่งก็คือเร่งทำ FTA เร่งระบาย สินค้าเราออกสู้กับประเทศเวียดนามเขา เรายังทำไม่ถึง ๒๐ ประเทศเลยครับ เวียดนาม เขาเกือบ ๕๐ ประเทศแล้วครับ เหล่านี้ผมไม่ลงรายละเอียดเพราะว่าเพื่อนสมาชิกได้พูด รายละเอียดไปแล้ว
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สุพรรณบุรี ต้นฉบับ
ต สุดท้ายก็คือต้นทาง ต้นทางคืออะไรครับ ต้นทางของผมหมายถึงรัฐบาล หมายถึงนายกรัฐมนตรี หมายถึงรัฐมนตรีที่ดูแลกระทรวงที่เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรีบอกแล้ว ว่าอย่าพูดว่าอะไรทำไม่ได้ ให้พูดว่าเราถูกเลือกมาให้ทำให้ได้ อันนี้เป็น Target ที่สำคัญ ของรัฐบาลชุดนี้ ผมจะดูฝีมือนะครับ รัฐมนตรี ๒ ท่าน รัฐมนตรีเดิมเขามาจากพรรคเดียวกัน คือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผลิต กระทรวงพาณิชย์ตลาด เขาเชื่อมกันได้ แต่ปัจจุบันนี้ รัฐบาลใหม่ รัฐมนตรีมาจากต่างพรรคแต่ชื่อเหมือนกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงท้ายด้วยธรรม ภูมิธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึ้นต้นด้วยธรรม ธรรมนัส ก็รอเอา ๒ คำนี้มารวมกันให้เกิดธรรมใหม่ก็คือยุติธรรม ให้ราคายุติธรรม กับพี่น้องเกษตรกรที่ลงทุนไปในพืชผลทางการเกษตร ในการเลี้ยงกุ้งเหล่านี้ ผมเชื่อครับว่า ถ้าท่านรวมได้จริง บูรณาการได้จริง เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด เอาราคานำการผลิตแล้วก็ ทำให้ได้ ทำให้ยั่งยืน สิ่งเหล่านี้เศรษฐาจะทำให้เกษตรกรของเราเป็นเศรษฐีได้นะครับ กระผมจึงขอความกรุณาท่านประธานได้โปรดส่งผลการพิจารณาญัตติของผมไปให้รัฐบาล ได้ดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วนต่อไป ขอบพระคุณครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ญัตติที่ ๑๐ ท่านสุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ เชิญครับ
นางสาวสุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ ตรัง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวสุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ดิฉันได้รับเรื่องร้องเรียนจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งว่าในช่วงตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม และช่วงเดือนสิงหาคมไปจนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี จะเป็นช่วง ที่ผลผลิตกุ้งออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้เป็นปีที่มีสภาพอากาศ แปรปรวน ร้อนสลับฝน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายทำให้เกษตรกรต้องเร่งระบายผลผลิต ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคทรงตัว และการส่งออก ชะลอตัว เหตุจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง และมีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศมากขึ้น จึงส่งผลโดยตรงกับราคากุ้งตกต่ำ หากภาครัฐไม่มีมาตรการในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม อาจส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงมากขึ้นได้ เนื่องจากเป็นเรื่อง เกี่ยวกับประโยชน์สำคัญและเร่งด่วนที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจโดยรวม ของประเทศอย่างยั่งยืน ดิฉันจึงขอเสนอญัตติดังกล่าวผ่านสภาผู้แทนราษฎร ขอให้พิจารณา ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาในเรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ เพื่อประโยชน์ ของประชาชน ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช ๒๕๖๒ ข้อ ๔๙ และข้อ ๕๐ โดยมีข้อมูลที่จะนำเสนอต่อสภาดังต่อไปนี้ค่ะ
นางสาวสุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ ตรัง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ จากการฟังอภิปรายของเพื่อนสมาชิกหลายท่าน ที่นำปัญหาเรื่องเดียวกันเข้าสู่สภาในวันนี้ สังเกตได้ว่าเป็นเพื่อนสมาชิกที่มาจาก หลายพรรคการเมืองซึ่งอาศัยอยู่ต่างภูมิภาคกัน การนำเสนอไปในทิศทางเดียวกันเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นภาคส่วนหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขเยียวยา อย่างเร่งด่วน เพราะกระทบต่อการดำรงชีวิตของพ่อแม่พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมากกว่า ๓๐ จังหวัดทั่วประเทศ สำคัญไม่น้อยไปกว่าปัญหาเรื่องราคายางพาราและราคาปาล์มน้ำมัน ตกต่ำ ที่ท่าน สส. ร่มธรรม ขำนุรักษ์ ได้เป็นตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์นำเสนอไปแล้ว ก่อนหน้า ปัญหาภาพรวมใกล้เคียงกันกับที่ทางท่านสมาชิกท่านก่อนหน้าได้นำเสนอไป เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของสภาแห่งนี้ ดิฉันจึงขออนุญาตยกตัวอย่างแบบรวบรัด โดยยกพื้นที่จังหวัดตรังบ้านเกิดของดิฉันขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา ส่วนของจังหวัดตรังค่ะ ทราบมาว่ามีการเดินขบวนเรียกร้องให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือเยียวยา
นางสาวสุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ ตรัง ต้นฉบับ
โดยการรวมกลุ่มเข้ายื่นหนังสือ ต่อท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปัจจุบันต้องขอบคุณ กระทรวงพาณิชย์ที่ได้เข้าช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้นผ่านกองทุนช่วยเหลือเกษตรกร โดยช่วย ชดเชยราคากุ้งในราคากิโลกรัมละ ๒๐ บาท แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเกษตรกรกลุ่มดังกล่าวยังคงเดือดร้อนอยู่ ทำให้เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคมที่ผ่านมา ดิฉันได้รับเรื่องร้องเรียนมาจากคณะกรรมการดำเนินงานสหกรณ์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจังหวัดตรัง ที่เป็นการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งของผู้แทนเกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้ง ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง ๕ อำเภอ ได้แก่ อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน อำเภอหาดสำราญ อำเภอกันตัง และอำเภอสิเกา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผลผลิตสูงสุดติดอันดับที่ ๓ ของประเทศ จากการประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นกัน ดิฉันขออนุญาตเป็นตัวแทน ในการนำเสนอให้เห็นถึง ๒ ปัญหาหลัก และ ๓ ทางออกต่อสภาดังต่อไปนี้
นางสาวสุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ ตรัง ต้นฉบับ
ปัญหาหลักเกิดจากปัจจัยการผลิตทุกชนิดปรับตัวสูงขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ราคาอาหารกุ้ง เคมีภัณฑ์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ค่าไฟฟ้า รวมถึงแก๊สซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสำคัญ ในการประกอบอาชีพปรับตัวสูงขึ้น ๕๐-๖๐ เปอร์เซ็นต์ ราคาก๊าซหุงต้มก้าวกระโดด เห็นภาพชัด ๆ จากราคาถังละ ๒๘๐ บาท ปัจจุบันเป็นราคาถังละ ๔๐๐ บาท เห็นภาพว่า ราคาปรับสูงขึ้นเท่าตัว แต่ราคากุ้งนั้นกลับสวนทางกัน ต้นทุนการผลิตและราคากุ้ง ณ ขณะนี้ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัด ๆ ถ้าท่านประธานเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงกุ้งจนมีขนาด ๙๐ ตัวต่อกิโลกรัม ปัจจุบันต้นทุนการผลิตจะอยู่ที่ขั้นต่ำ ๑๓๑ บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรขาย ราคาขายปากบ่อจะอยู่ที่ ๑๐๕ บาทต่อกิโลกรัม บวกลบกันคิดแล้วขาดทุน กว่ากิโลกรัมละ ๒๖ บาท ถ้าเกษตรกรเลี้ยงกุ้งมี Size ขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อยหนึ่ง จะกลายเป็นขนาดกุ้ง ๘๐ ตัวต่อกิโลกรัม ปัจจุบันต้นทุนการผลิตขั้นต่ำจะอยู่ที่ ๑๓๔ บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรขายราคาปากบ่อ ๑๑๕ บาทต่อกิโลกรัม คิดแล้วขาดทุนกิโลกรัมละ เกือบ ๒๐ บาท ทราบมาว่าเกษตรกรบางรายจับแต่ละครั้งขาดทุนประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ต่อบ่อ หากเกษตรกรรายนั้นมีจำนวน ๑๐ บ่อ เห็นได้ว่าก็มีมูลค่าความเสียหายมากกว่า ๒ ล้านบาทต่อครั้ง ถ้าบ่อยครั้งเข้าก็จะเป็นการซ้ำเติมเกษตรกร ส่งผลให้ไม่เหลือเกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งอยู่รอดในอนาคตแม้แต่รายเดียว
นางสาวสุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ ตรัง ต้นฉบับ
ปัญหาต่อมาค่ะ ทราบว่ามาจากการนำเข้ากุ้งจากประเทศเอกวาดอร์ และประเทศอินเดียมาขายในประเทศไทย โดยมีต้นทุนที่ต่ำกว่าทำให้ผลผลิตในประเทศ ล้นตลาดและไม่มีที่ระบาย ซึ่งในเรื่องนี้ดิฉันคิดว่าคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่ การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ หรือ Shrimp Board ต้องออกมาชี้แจงต่อสังคมให้กระจ่างชัด และเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหา หลังจากพบว่าเป็นผู้อนุมัติการนำเข้ากุ้งทั้งหมด
นางสาวสุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ ตรัง ต้นฉบับ
สำหรับ ๓ ทางออกที่ว่าค่ะ ดิฉันขอนำเสนอทางแก้ระยะสั้นโดยการผลักดัน นโยบายรัฐผ่านโครงการเร่งด่วนชดเชยราคากุ้ง โดยเน้นชดเชยในราคาที่เหมาะสม เสมือนว่า ราคาขายไม่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต รวมถึงเยียวยาเกษตรกรเพิ่มเติมในการสนับสนุน ค่าอาหารกุ้ง หรืออาจจะเป็นการผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำนโยบายจำนำกุ้ง โดยนำกุ้งเข้าไปฝากในห้องเย็น เมื่อกุ้งราคาดีอยู่ในจุดที่คุ้มทุนจึงค่อยนำออกมาขาย ส่วนมาตรการในระยะยาว ดิฉันขอสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานงานกับผู้ผลิต หาทางออกในการลดต้นทุนสินค้า โดยเฉพาะในเรื่องของพลังงาน ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรี ป้ายแดง ดิฉันขออนุญาตเอ่ยนาม ท่านเศรษฐา ทวีสิน ก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์อย่างชัดเจน เมื่อสัปดาห์ก่อนว่าพร้อมที่จะลดราคาพลังงานทันทีหลังจากมีการประชุม ครม. นัดแรก ดิฉันเชื่อว่าเป็นสัญญาณที่ดี และดิฉันเชื่อว่าทุกท่านกำลังจับตามอง มากกว่านั้นรัฐบาล จะต้องปฏิเสธการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศ ในขณะเดียวกันต้องส่งเสริมการตลาดภายในประเทศ เพื่อกระจายสินค้าให้คนไทย ทั่วประเทศได้บริโภคกุ้งกันอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวดิฉันเชื่อว่าเป็นเรื่อง ละเอียดอ่อนที่ต้องใช้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการแก้ปัญหา ดิฉันจึงขอให้ สภาอันทรงเกียรติแห่งนี้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไข ปัญหาราคากุ้งตกต่ำเพื่อช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร แต่ดิฉันก็ไม่ได้ขัดข้องนะคะ ถ้าทุกท่าน ในที่นี้จะเห็นพ้องต้องกันว่าปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องด่วนที่ควรส่งตรงถึงมือท่านนายกรัฐมนตรี เพราะดิฉันก็เชื่อเช่นกันว่าถ้าหากทำได้จะเป็นช่องทางที่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ที่เดือดร้อนในขณะนี้ได้เร็วที่สุด ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ญัตติสุดท้าย ญัตติที่ ๑๑ เชิญท่านสรวงศ์ เทียนทอง ครับ
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ สรวงศ์ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว เขต ๓ พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นต้องกราบ ขอบพระคุณสภาแห่งนี้ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกได้เสนอญัตติ ซึ่งเป็นญัตติด่วนเกี่ยวกับ ความเป็นอยู่ ปากท้องของพี่น้องประชาชน ขออนุญาตท่านประธานอ่านญัตติให้กับที่ประชุม แล้วก็พี่น้องประชาชนให้ได้รับทราบครับ เรื่องขอเสนอญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกัน พิจารณาหามาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหา และป้องกันราคาพืชผลทางการเกษตร และสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ เพื่อเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการ ต่อไป เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎร เนื่องด้วยประเทศไทยถือเป็นประเทศเกษตรกรรม กว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของประชากรมีอาชีพเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรมเพื่อการบริโภค หรือเกษตรกรรมเพื่อการอุตสาหกรรม รวมถึงการทำปศุสัตว์เพื่อการพาณิชย์ ทั้งหมดนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพหลักซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศมหาศาล อย่างไรก็ตามเกษตรกร มักไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของปัญหาต้นน้ำ กลางน้ำ หรือปลายน้ำ ดังนั้นกระผมขอเสนอญัตติดังกล่าวเพื่อให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรช่วยกัน ระดมความคิดเห็น เสนอปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อหามาตรการในการป้องกันและแก้ปัญหาพืชผลและสินค้าทางการเกษตรตกต่ำต่อรัฐสภา เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนต่อไป ท่านประธานครับ ปฏิเสธไม่ได้เลยครับว่าประเทศไทยคือประเทศเกษตรกรรม มากกว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ของประชากรมีอาชีพเป็นเกษตรกร สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมหาศาล แต่ในขณะเดียวกัน ภาครัฐเองก็ต้องใช้งบประมาณมหาศาลเช่นกัน ในการดูแลเยียวยาให้กับพี่น้องเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นราคาพืชผลตกต่ำแต่ละปี ๆ ผมมั่นใจว่ารัฐบาล โดยการนำของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน และคณะรัฐมนตรี จะนำพา ประเทศไทย และช่วยกันแก้ปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน ผมขออนุญาต ที่จะเข้าไปสู่ Slide ที่ ๑ ครับ
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
เพื่อจะให้ท่านสมาชิก แล้วก็พี่น้อง ประชาชนได้เห็นครับว่าจาก ๔๐ เปอร์เซ็นต์ผมพูดถึงที่เป็นเกษตรกรนั้น ๗๗ เปอร์เซ็นต์ เพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็นปลูกข้าว ปลูกยาง ผลไม้ต่าง ๆ ๗๗ เปอร์เซ็นต์ อีก ๑๗ เปอร์เซ็นต์ จะเป็นปลูกพืชและทำปศุสัตว์ แต่ถ้าเรามองไปที่กราฟทางขวามือ นั่นจะเป็นการแยกแยะ ประเภทของพืชที่เกษตรกรปลูกครับ มากกว่าครึ่งหนึ่ง ๕๗ เปอร์เซ็นต์คือ ข้าว ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด นี่คือพืชเศรษฐกิจหลัก และเราจะเห็นได้เลยครับว่า ๙๕ เปอร์เซ็นต์ก็คือไม่รวมพืชอื่น ๆ คือเกษตรกรรม เพื่อการอุตสาหกรรม ไม่ใช่เกษตรกรรมเพื่อการบริโภค เกษตรกรรมเพื่อการบริโภค ก็คือปลูกแล้วสามารถเก็บเกี่ยวมารับประทานได้เลย เกษตรกรรมเพื่อการอุตสาหกรรม ก็คือข้าวก็ต้องเข้าโรงสี ยางพารา มันสำปะหลังก็ต้องไปแปรรูปเป็นแป้งมัน เป็นโน่นเป็นนี่ต่าง ๆ อ้อยก็ต้องกลายเป็นน้ำตาล สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถจะบอกได้เลยว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่เป็นเกษตรกรรมเพื่อการอุตสาหกรรมเป็นส่วนมาก วันนี้ผมขอเสนอญัตตินี้ เพื่อให้พี่น้องและเพื่อนสมาชิกในสภาแห่งนี้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นครับ เพราะแต่ละที่ แต่ละพื้นที่ปัญหาต่างกัน วิธีการแก้ปัญหาต่างกัน เพราะฉะนั้นบอกกับท่านประธานตรงนี้ เลยครับว่าเดี๋ยวจะมีเพื่อน ๆ สมาชิกหลาย ๆ ท่านขึ้นมาอภิปรายในส่วนของรายละเอียด แต่ละพืช วันนี้ผมขอเสนอในภาพรวมให้ท่านประธานได้เห็นว่าการแก้ปัญหาจะทำไม่ได้เลย ถ้าเราไม่รู้ปัญหา
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
ขออนุญาตไป Slide ที่ ๓ ผมขออนุญาตอย่างนี้ครับ ผมและทีมงาน ทีมเกษตรของพรรคเพื่อไทยลงพื้นที่ทำการบ้าน เราจะไม่รู้ปัญหาเลยถ้าเราไม่สามารถที่จะ แยกแยะปัญหาได้ ผมขออนุญาตที่จะนำเสนอแนวคิดไปสู่รัฐบาล ก่อนอื่นเลยต้องแยกพืช ก่อนครับว่าอันไหนเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการมาก อาจจะมีมูลค่าไม่ได้สูงมาก แต่ตลาด ต้องการเยอะ กับอีกฝั่งหนึ่งก็คือตลาดต้องการน้อยแต่ราคาสูงลิบลิ่วเลย เพราะฉะนั้น ผมเอากราฟนี้ขึ้นมาให้ดูเพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นครับว่าการที่เราจะจำแนกผลิตภัณฑ์ ผลิตผล ทางการเกษตรนี่เราสามารถแยกได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ก็คือเป็น Mass กับเป็น Niche Market ก็จะเป็นตลาดต้องการเยอะแต่เราผลิตได้น้อย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องนำไปสู่ การเป็นตัวตั้งในการที่จะพิจารณาการแก้ปัญหาครับท่านประธาน
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
Slide ถัดไปครับ นี่คือวิธีการคิดคร่าว ๆ ยกตัวอย่างถั่วเหลือง ตลาด ถั่วเหลืองความต้องการแต่ละปี ๔ ล้านตัน ผลิตได้ครับ ประเทศไทยผลิตได้ ๒๐,๐๐๐ ตัน นี่คือสิ่งที่เป็นตัวอย่าง เราผลิตได้ผลผลิตต่อไร่ ๒๓๕ กิโลกรัม ในขณะเดียวกันมาตรฐานโลก เขาผลิตกันได้ ๔๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ผมจำแนกออกมาแล้วตรงนี้เป็น M2 ครับ
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
Slide ต่อไปครับ ผมขออนุญาตไปเร็ว ๆ นี่คือตัวอย่างการแยกประเภท พืชไร่ พืชยืนต้น แล้วก็สัตว์ ที่ผมทำตัวเลขออกมาคร่าว ๆ ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ อ้อย นี่คือพืชไร่ที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทยครับ
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
ต่อไปเลยครับ นี่คือวิธีการแก้ปัญหา เราเอาตัวต้นหลักของปัญหาจำแนก พืชเสร็จ เรามาจำแนกว่าในส่วนของด้านการผลิตเราต้องแก้อย่างไร ในส่วนของด้านการค้า การตลาดเราต้องแก้อย่างไร การวิจัยเพิ่มเติม วางแผนปริมาณผลผลิต บริหารปัจจัย แล้วก็ การบริหารสาธารณภัยต่าง ๆ นี่คือตัวอย่างที่กระผมได้ทำการบ้านแล้วก็อยากที่จะเสนอ ต่อรัฐบาลให้ได้ทราบว่าถ้าเรารู้ปัญหา รู้วิธีการแก้ปัญหา และจะแก้ปัญหาให้กับพี่น้อง เกษตรกรได้อย่างยั่งยืนจริง ๆ ครับ
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
Slide ต่อไปเลยครับ เพราะฉะนั้นขออนุญาตสรุปเลยนะครับว่าแนวทาง การแก้ปัญหาก็คือจำแนกประเภทสินค้า เลือกชุดนโยบายที่เหมาะสมในการที่จะแก้ปัญหา ดำเนินนโยบายให้เข้ากับลักษณะของสินค้า แล้วก็การประเมินผลิตภัณฑ์ตามผลการใช้ นโยบายต่าง ๆ ก็คือการติดตามผลงานนั่นเองครับ
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
ต่อไปครับท่านประธาน ผมขออนุญาตลงรายละเอียดในพืช ๒ ตัวครับ ที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย จำ Slide ที่ ๑ ได้ใช่ไหมครับ ที่ผมบอกว่า ๕๗ เปอร์เซ็นต์ของเกษตรกรปลูกข้าว และ Slide นี้ก็จะได้เห็นเลยครับว่าข้าวไทยกับราคา ข้าวไทยในตลาดโลกเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับตลาดเพื่อนบ้าน จะเห็นเลยว่าประเทศไทย ในตลาดโลกพร้อมที่จะจ่ายราคาข้าวไทย ทั้งข้าวหอมมะลิแล้วก็ข้าวจ้าวขาวมากกว่าในตลาด เพื่อนบ้าน
นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ
Slide นี้เป็นราคาตลาดโลกกับราคารับซื้อข้าวไทย จะเห็นว่าตลาดโลก มีแนวโน้มของราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากเรื่องสงครามยูเครน-รัสเซียด้วยอะไรต่าง ๆ แต่พอ มองดูด้านล่างเป็นสิ่งที่น่าตกใจครับ ที่กราฟมันอยู่ในแนวดิ่งลง ตลาดไทย ราคาข้าวไทย กลับตกลง ผมมองว่าอาจจะเป็นในเรื่องของการตลาด แล้วก็การดำเนินนโยบายของรัฐ ที่ไม่สมบูรณ์ ผมขออนุญาตเสนอกับที่ประชุมอย่างนี้ครับ ถ้าเป็นไปได้เราจะรู้จักกันแต่ เรื่องของการทำ Contract Farming ผมอยากให้ท่านประธานแล้วก็คณะรัฐมนตรี ได้คำนึงถึงการที่จะใช้ Profit Share Contract Farming ให้เกษตรกรเป็นเจ้าของตลาด เองด้วย ทำไม่ยากครับ เราจะเห็นว่าชาวนาลงทุน ๘๐ เปอร์เซ็นต์ โรงสีลงทุน ๖ เปอร์เซ็นต์ ผู้ส่งออกลงทุน ๑๔ เปอร์เซ็นต์ แต่กำไรที่ได้ชาวนาได้กำไร ๓ เปอร์เซ็นต์ โรงสีได้กำไร ๒๗ เปอร์เซ็นต์ ผู้ส่งออกเยอะสุด ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ลงทุนน้อยแต่กำไรมาก ถ้าเราใช้ Profit Share Contract Farming เข้ามา เกษตรกรจะได้กำไรเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนที่เขาลงทุนไป ทำง่าย ๆ เลยครับ พ.ร.บ. ข้าว ที่เราใช้กันอยู่ตอนนี้ พ.ศ. ๒๔๘๙ แก้ได้แล้วครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อ ๕ ต้องมีข้าวสารในกรรมสิทธิ์ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตริกตัน ภายใน ๑๕ วันที่ได้รับหนังสืออนุญาตและตลอดเวลาที่ได้รับอนุญาตการค้าข้าว อันนี้ขอฝากรัฐบาล ให้รีบแก้เลยครับ ผมหมดเวลาแล้วแต่ว่าขอฝากเพื่อน ๆ สมาชิกครับ ในเรื่องของตลาดผลไม้ ตลาดโค กระบือ ตลาดโคนม โคเนื้อ แล้วก็พืชต่อ ๆ ไป ขออนุญาตท่านประธานเสนอญัตติ ให้กับสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอกับรัฐบาลชุดนี้ในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน ต่อไป กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ผู้เสนอญัตติทั้ง ๑๑ ญัตติได้แถลงเหตุผลในการยื่นญัตติครบถ้วนแล้วนะครับ ต่อไปเป็นสมาชิกที่ได้ลงชื่ออภิปราย มีฝั่งซ้ายอยู่ ๑๑ ท่าน แล้วก็ฝั่งขวาอยู่ ๔๑ ท่าน รวมแล้ว ๖ ชั่วโมง ก็ให้ทุกท่านรักษาเวลาให้อยู่ใน ๗ นาที เพราะว่ามีผู้อภิปรายจำนวนมาก ผมจะสลับข้างซ้าย ๑ และข้างขวา ๒ นะครับ ท่านแรก เชิญท่านชุติมา คชพันธ์ แล้วก็ตามด้วยฝั่งขวา ท่านประภาพร ทองปากน้ำ แล้วก็ท่านนุชนาถ จารุวงษ์เสถียร ๓ ท่านแรก เชิญท่านชุติมา คชพันธ์ ครับ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎร ดิฉัน ชุติมา คชพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จากภาคใต้จังหวัดพัทลุงค่ะ ดิฉันเกิดที่จังหวัดพัทลุง ดิฉันเป็นลูกหลานชาวใต้ ที่เห็นสวนยางพารามาตั้งแต่เด็ก วันนี้ดิฉันขอมุ่งเน้นไปที่เรื่องยางพาราเป็นหลักเลยนะคะ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
เนื่องจากว่าดิฉันทนไม่ได้ ที่จะเห็นพี่น้องประชาชนของเราต้องหลั่งน้ำตาซ้ำแล้วซ้ำอีกตลอดมา ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมาเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่มีอยู่ประมาณ ๑.๗ ล้านคนทั่วประเทศได้ผลิต ยางพาราออกสู่ตลาดประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาทในแต่ละปี แต่ว่าชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราก็ยังคงต้องอยู่อย่างยากลำบาก ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ทำไมประเทศนี้ถึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้สักที กลับมามองที่พวกเรา ในฐานะของผู้แทนราษฎรที่เป็นที่พึ่งของประชาชน เป็นที่หวังของพี่น้องเกษตรกร ปรากฏว่า ดิฉันพบว่าตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมา ๓๑ ปีผ่านไป เราพูดถึงเรื่องยางพารา ดิฉันเน้นเรื่อง ยางพารา เรายื่นญัตติถึง ๒๒ ครั้ง เป็นกระทู้ถามอีก ๘๑ ครั้ง รวมแล้วเป็น ๑๐๓ ครั้ง เราพูดกันแต่เรื่องยางพารานี่ละค่ะ แล้วทำไมมันถึงไม่ดีขึ้นเลย ถ้าเป็นบริษัทบริษัทหนึ่งนะคะ และปัญหาเดิม ๆ เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก รวมแล้ว ๓๑ ปีเลยนะคะท่านประธาน บริษัทนี้ ใกล้จะเจ๊งแล้วค่ะ ดิฉันเจอหน้าของพี่น้องเกษตรกรทุกครั้ง เจอด้วยความทุกข์ระทม เช่นเดียวกัน
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
Slide ถัดไปเลยค่ะ ดิฉันอยากจะเสนอให้เพื่อน ๆ สมาชิกในที่นี้ได้รับฟังนะคะ พี่น้องชาวจังหวัดพัทลุง อำเภอควนขนุน บอกดิฉันว่าตัดยางได้วันละ ๖ กิโลกรัม กิโลกรัมละ ๔๐ บาท ให้ลูกไปโรงเรียนก็ ๒๕๐ บาทแล้ว ถามว่าเอาอะไรมากินในแต่ละวัน ค่ากับข้าว ก็ไม่พอกินแล้ว ค่าน้ำ ค่าไฟอีกจะอยู่กันอย่างไร คนต่อไปนะคะ พี่น้องดิฉันบอกว่าตัดยาง ครั้งหนึ่งแบ่งกันคนละไม่ถึง ๖๐ บาท ชีวิตอยู่ขนาดไหน น่าเอ็นดูขนาดไหน ไม่พอก็ติดลบกัน ไปก่อน ก็อยู่กันแบบนี้ขาดทุนกันไปก่อนอยู่แบบนี้ ติดลบไปเรื่อย ๆ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในส่วนของผู้ประกอบการรับซื้อน้ำยาง ดิฉันทราบมาว่าเมื่อก่อนจากที่เคย รับซื้อน้ำยางวันละ ๔ ตัน ตอนนี้แค่ให้ได้วันละ ๔๐๐ กิโลกรัมก็ต้องชะเง้อคอกันคอแทบหัก นี่คือสภาพความเป็นอยู่ในพื้นที่จริง ถ้าใครที่ไม่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้หรือพื้นที่ที่มียางพารา คงจะไม่เข้าใจ น้ำตาของพี่น้องชาวสวนยางของดิฉันหลั่งรินซ้ำแล้วซ้ำอีกทุกปี แล้วเราจะเป็น อย่างนี้ไปถึงเมื่อไรคะ ดิฉันจำได้ว่าในสมัยประชุมสภาครั้งที่แล้วดิฉันเคยได้ยิน สส. เจนวิทย์ ไกรสินธุ์ ขออภัยที่ต้องเอ่ยนามนะคะ เพราะท่านพูดด้วยความรักและห่วงใยเกษตรกร ชาวสวนยางพาราแบบที่ดิฉันพูดนี่ละค่ะ ตอนนั้นท่านอยู่อดีตพรรคอนาคตใหม่ และตอนนี้ วันนี้ดิฉันก็ต้องมาพูดเรื่องเดิมเหมือนกัน เราจะพูดเรื่องนี้ไปอีกถึงเมื่อไร เรื่องนี้เราแก้ไขกัน เสียทีได้ไหมคะ โดยที่ไม่ต้องพูดซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะการที่พูดซ้ำแล้วซ้ำอีกถึง ๑๐๓ ครั้ง แปลว่าการทำงานของเราไม่มีประสิทธิภาพ และการทำงานของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ๓๑ ปี ไม่มีประสิทธิภาพเอาเสียเลยนะคะ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ดิฉันจึงอยากจะขอนำเสนอนะคะ วันนี้ดิฉันจะให้เห็นก่อนว่าตอนนี้ราคา น้ำยางพารา ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคมที่ดิฉันดูมา น้ำยางสดอยู่ที่ประมาณ ๔๓ บาท กลายเป็นว่า ยังต้องขาดทุนอยู่ ๒๑ บาท ต้นทุน ๖๑ บาทเข้าไปแล้วค่ะท่านประธาน ดิฉันรับไม่ได้จริง ๆ ที่เราต้องอยู่กันแบบนี้ต่อไป ดิฉันขอเสนอค่ะ ขอเสนอให้ไทยเราเป็นผู้นำในตลาดโลก รัฐบาลต้องกล้าที่จะเป็นผู้นำ ทุกวันนี้กลไกของตลาดโลกคือเราต้องตามอยู่นะคะ เวลาที่ ถามว่าทำไมราคายางพาราเป็นแบบนี้ ๆ ดิฉันถามใครก็ตาม ตอบคำตอบเดียวกันเลยคือ เราต้องดูราคาตลาดโลก เราต้องอิงตลาดโลก และทำไมเราต้องอิงล่ะคะ ทำไมเราต้องเป็นอิง สิงคโปร์ มาเลเซีย ทำไมเราไม่เป็นผู้นำเสียเอง เราต้องผ่าตัดใหญ่ ประเทศเราป่วยมากแล้ว โดยเฉพาะในวงการยางพารา ดิฉันขอฝากไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คนที่เข้ารับหน้าที่ทุกวันนี้ที่เพิ่งรับหน้าที่ไป แล้วก็กระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ ดิฉันขอฝากให้ทำหน้าที่ตรงนี้ด้วย ขอให้ท่านกล้าที่จะวาง Vision ใหม่ วางตำแหน่งใหม่ในเวทีโลก ไทยจะต้องเป็นศูนย์กลางยางพาราโลก และเป็นผู้กำหนดราคา เป็นผู้กำหนดทิศทางเสียเอง ท่านต้องท้าทายตัวเองให้ได้ และดิฉันมั่นใจว่าถ้าพรรคก้าวไกล เป็นรัฐบาล เรากล้าที่จะทำ เรากล้าที่จะปรับโครงสร้างใหม่ เรากล้าที่จะรื้อ เรา Challenge พอที่จะแก้ปัญหานี้ได้แน่นอน ขอให้เร่งหาตลาดรองรับก็คือว่าให้รัฐร่วมลงทุนในการวิจัย และพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะยางรถยนต์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำให้ใช้ปริมาณยางมากขึ้น แล้วก็ในส่วนของการแพทย์ต่าง ๆ แล้วก็ในชีวิตประจำวันนะคะ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
Slide ถัดไปเลยนะคะ เนื่องจากเวลามีน้อย ขอให้มีการทำงานในเชิงรุก มากขึ้นแบบเชิงรุกจริง ๆ ที่ไม่ใช่ทำไปวัน ๆ แล้วก็ Matching กันแล้วก็จบ ขอให้มีการ Matching แล้วเกิดผลจริง ๆ มีการติดตามจริง ๆ และขยายมิตรประเทศ FTA มากขึ้น รวมถึงให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรฐานสิ่งแวดล้อมคือ FSC และ EUDR เพราะสิ่งเหล่านี้ เขาจะมากีดกันทางการค้ากับเรา ถ้าเราไม่ผ่านเกณฑ์เหล่านี้นะคะ
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในประเทศก็ขอให้นำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ แล้วก็ในชีวิตประจำวันมากขึ้น อะไรที่เป็นสินค้าในชีวิตประจำวันที่เราใช้กันอยู่ขอให้นำมาใช้มากขึ้น และที่สำคัญในตอนนี้ ดิฉันเห็นมีกองทุนต่าง ๆ เยอะแยะมากมายเลยค่ะ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร กองทุน ต่าง ๆ ที่ช่วยเหลือเกษตรกร ขอให้เกษตรกรเข้าถึงกองทุนเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น และเข้าถึงได้ จริง ๆ ที่ไม่ใช่ไปปล่อยให้กับหน่วยงานต่าง ๆ โดยที่เกษตรกรเข้าไม่ถึงแบบที่ผ่านมา
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ในเรื่องของ Startup แล้วก็ผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมแปรรูปยางพารา ขอให้ส่งเสริมมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้เกิดการนำยางพารามาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
โดยสรุปนะคะ สิ่งที่ดิฉันอยากจะนำเสนอก็คือว่าขอให้รัฐบาลใหม่ และรัฐมนตรีในกระทรวงที่เกี่ยวข้องทุกกระทรวง ทำทันทีแล้วก็รวดเร็วด้วยนะคะ ไม่เอาแบบ ลูบหน้าปะจมูกแบบที่ผ่านมาแล้ว ดิฉันไม่ต้องการเห็นสภาชุดต่อไปที่ต้องเห็นพวกเรามาพูด เรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกนั่นแปลว่าปัญหายังไม่หมดไป ดิฉันต้องการเห็นพี่น้องเกษตรกร ชาวสวนยางของพวกเราทุกคนทั่วประเทศยิ้มได้ ดิฉันขอฝากประเด็นนี้ไว้กับรัฐบาลใหม่ ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านประภาพร ทองปากน้ำ เชิญครับ
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย เขต ๓ พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันขออภิปรายญัตติเรื่องราคาสินค้าทางการเกษตรคือ โคกระบือ สุกร ตกต่ำค่ะ และดิฉันขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาราคาโค กระบือ ตกต่ำ ราคาโคจากเดิมเกษตรกรเคยขายได้ในราคา ๑๒๐ บาทต่อกิโลกรัม ปัจจุบันคงเหลือ ราคา ๘๘ บาทต่อกิโลกรัม และคงราคานี้มานานกว่า ๙ เดือนแล้วค่ะ โดยดิฉันได้สอบถาม เบื้องต้นจากเกษตรกรพบว่าจุดคุ้มทุนของการเลี้ยงโค อย่างน้อยจะต้องขายโคได้ในราคา ๑๐๐ บาทต่อกิโลกรัมขึ้นไป ผู้เลี้ยงจึงจะเพียงพอที่จะอยู่ได้ แต่ปัจจุบันราคาขาย ๘๐ บาท จึงเป็นราคาที่ขาดทุน ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคประสบปัญหาหนี้สินรุมเร้าจากราคาที่ตกต่ำ
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
และอีกประการหนึ่ง รัฐบาลยังต้องเร่งแก้ปัญหาโค กระบือเถื่อน ซึ่งซ้ำเติม เกษตรกรเพิ่มขึ้น ดิฉันได้รับข้อร้องเรียนมาจากพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงว่ามีกระบวนการนำเข้า โคเถื่อนโดยผ่านช่องทางพิเศษ และยังมีการสวมสิทธิการนำเข้า โดยช่องทางพิเศษที่กล่าวถึง เป็นช่องทางธรรมชาติผ่าน ๒ จังหวัด ช่องทางแรกอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ช่องทางที่ ๒ จังหวัดตาก ท่านประธานทราบไหมคะ เขาเล่าลือกันว่ามีค่าใช้จ่ายพิเศษ ต่อเที่ยวกว่า ๘๐,๐๐๐ บาท จนเป็นที่โจษจันว่า ๘๐,๐๐๐ ครบจบในที่เดียว นี่ใช่ไหมคะ จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาโค กระบือตกต่ำ เพื่อจะครอบคลุมครบทุกหน่วยงาน ใน ๘๐,๐๐๐ บาทนี้นะคะ แม้ไม่มีใบอนุญาตแต่สามารถบินไปได้ทั่วประเทศ ส่งผลให้ โคกระบือที่ไม่ได้ทำวัคซีนเหล่านี้นำโรค Foot and Mouth หรือว่าโรคปากเท้าเปื่อย โรค Hemorrhagic Septicemia หรือโรคคอบวม และโรค Lumpy skin มาติดกับ โคกระบือในประเทศ ซ้ำเติมปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยง ดิฉันขอเสนอให้มีการกักโรค อย่างน้อย ๑ เดือน และต้องทำวัคซีนให้ครบ ปลอดโรคอย่างจริงจัง จึงจะสามารถแก้ไข ปัญหาเหล่านี้ได้
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
และสิ่งสำคัญอีกประการค่ะ รัฐบาลต้องเร่งเจรจาการค้ากับประเทศต่าง ๆ ทั้งตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดีอาระเบีย บรูไน เวียดนาม หรือจีน เพราะมีความต้องการ เนื้อโคจำนวนมาก เพราะทุกวันนี้เกษตรกรไทยจะขายโคกระบือไปประเทศจีน ต้องผ่านโควตา สปป. ลาว ให้เขากินหัวคิวเกษตรกรไทยฟรี ๆ ท่านประธานทราบไหมคะเพราะอะไรรัฐบาล ของ สปป. ลาวจึงสามารถส่งโคไปประเทศจีนได้ แม้ว่าตัวเองไม่ได้เลี้ยง เพราะว่ารัฐบาลเขามีความสามารถมากกว่ารัฐบาลที่ผ่านมาของเรา รัฐบาล สปป. ลาว มีการเจรจาไปส่งโควตาโค กระบือได้ถึง ๕๐๐,๐๐๐ ตัวต่อปี โดยที่ สปป. ลาวไม่ได้เลี้ยง โค กระบือค่ะ แต่โค กระบือทั้งหมดมาจากประเทศไทย ดังนั้นรัฐบาลใหม่ต้องเร่งเจรจา กับประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะดิฉันมุ่งเน้นเรื่องประเทศจีนเพราะว่าอยากให้ รัฐบาลเจรจาส่งออก ๑ ล้านตัวต่อปี จึงจะทำให้พี่น้องเกษตรกรได้ขายตรง ไม่ผ่านคนกลาง ไม่ถูกกินหัวคิว และไม่ถูกกดราคาค่ะ
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องตรวจสอบอย่างจริงจัง ดิฉันทราบมา ว่ามีการลักลอบนำเข้าโค กระบือชำแหละเถื่อนหรือโคกล่องค่ะ ถูกนำเข้ามาจากทาง ชายแดนภาคใต้ มีทั้งมาจากประเทศอินเดียและประเทศบราซิล นั่นจึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ไทยมีโรคระบาดไม่จบไม่สิ้น และยังส่งผลกระทบให้ราคาโค กระบือตกต่ำ รวมถึง ทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินภาษีประชาชนอย่างมหาศาล เพื่อมาเป็นค่าวัคซีนป้องกันโรค เหล่านี้ ซึ่งดิฉันเห็นว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจากปัญหา ซ้ำซากที่กล่าวมา ดิฉันเชื่อว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทย ภายใต้การนำของท่านนายกเศรษฐา จะแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือได้อย่างแน่นอนค่ะ อนาคตประเทศเรา จะสามารถส่งออกโค กระบือไปได้ทั่วโลก เกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือจะจับเงินแสน มีเงินล้านหมดนี้หมดสินได้อย่างแน่นอนค่ะ
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
และลำดับถัดมาเรื่องหมูเถื่อนค่ะ ปัจจุบันเป็นข้อกังวลใจของผู้เลี้ยงสุกร ทั้งประเทศ ดิฉันย้ำว่าทั้งประเทศนะคะ เราทราบกันดีว่ากว่า ๒ ปีที่ผ่านมาเกษตรกร ผู้เลี้ยงสุกรประสบปัญหาสุกรเป็นโรค ASF หรือว่าโรคอหิวาต์แอฟริกา และด้วยการ แก้ปัญหาที่ล่าช้าไม่ยอมรับความจริง กล่าวอ้างว่าสุกรเป็นโรค PRRS ไม่ร้ายแรง จนส่งผลให้ ผู้เลี้ยงสุกรกว่าหลายแสนรายถูกโรค ASF เล่นงานจนหมดเนื้อหมดตัว แทบจะขายชีวิต มาใช้หนี้ใช้สินแล้วค่ะท่านประธาน ปัจจุบันพอสถานการณ์เริ่มจะดีขึ้นเกษตรกรผู้เลี้ยง เริ่มจะกู้ชีวิตกลับมาเริ่มต้นใหม่ กลับยังต้องประสบปัญหาถูกหมูเถื่อนมาทำให้ราคาหมู ในตลาดตกต่ำ ท่านประธานทราบไหมคะ หมูเถื่อนถูกนำเข้ามาในประเทศเราและตกค้าง อยู่ที่ท่าเรือกว่า ๑,๐๐๐ ตู้ มูลค่ากว่า ๔๐๐ ล้านบาท โดยที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนิ่งนอนใจ ไม่เร่งแก้ไขปัญหา และจากการที่รัฐบาลปล่อยปละละเลยให้หมู่เถื่อนเข้ามาในประเทศ โดยไม่ผ่านการตรวจสอบโรคและคุณภาพ จึงทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงในประเทศได้รับ ผลกระทบเป็นวงกว้าง พอจะกู้วิกฤติฟื้นชีวิตขึ้นมากลับโดนหมูเถื่อนเล่นงาน ต้องตายซ้ำ ตายซาก พวกท่านพอใจหรือยังคะ
นางสาวประภาพร ทองปากน้ำ สุโขทัย ต้นฉบับ
และปัญหาที่สำคัญถัดมา ขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาราคาปุ๋ยยูเรีย ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดิฉันขอยกตัวอย่างค่ะ ปี ๒๕๖๔ ราคาปุ๋ยอยู่ที่กระสอบละ ๕๘๐ บาท แต่ปัจจุบันราคาอยู่ที่ ๗๕๐-๑,๐๕๐ บาทต่อกระสอบ และยังมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากปุ๋ยยูเรียเป็นวัตถุดิบหลักที่ต้องใช้ ทางการเกษตร ปัญหาราคาปุ๋ยยูเรียที่เพิ่มสูงขึ้นจึงกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรทุกกลุ่ม และส่งผลให้ต้นทุนเกษตรกรสูงขึ้น แต่ราคาสินค้าเกษตรกลับตกต่ำลง ซึ่งสวนทางกันค่ะ จึงส่งผลให้เกษตรกรมีอัตราหนี้สินเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี ดังนั้นดิฉันเห็นว่าแนวทางการพักชำระหนี้ เกษตรกรของพรรคเพื่อไทยที่จะพักทั้งต้น พักทั้งดอก จึงเป็นมาตรการเร่งด่วนเพราะช่วย ต่อลมหายใจชั่วคราวให้กับพี่น้องเกษตรกร แต่ดิฉันขอเสนอการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน อีกประการหนึ่งคือ รัฐบาลต้องแก้ไข ควบคุมราคาปุ๋ยยูเรียให้มีเสถียรภาพ หาแหล่งผลิต ภายในประเทศเพื่อสามารถควบคุมราคา นี่จึงเป็นการแก้ปัญหาราคาปุ๋ยให้เกษตรกรได้ อย่างยั่งยืน ขอบคุณค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านนุชนาถ จารุวงษ์เสถียร เชิญครับ
นางนุชนาถ จารุวงษ์เสถียร ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางนุชนาถ จารุวงษ์เสถียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ศรีสะเกษ เขต ๙ มีทั้งหมด ๕ อำเภอ ๑. อำเภอยางชุมน้อย ๒. อำเภอศิลาลาด ๓. อำเภอราษีไศล ๔. อำเภอบึงบูรพ์ ๕. อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ทั้ง ๕ อำเภอนี้ส่วนมากแล้วอาชีพหลักคือ เกษตรกร อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอราษีไศล อำเภอยางชุมน้อย อาชีพหลักคือเกษตรกร หอมแดงซึ่งมีอยู่ทั้งหมด ๒๑ ตำบล เนื้อที่ในการปลูกหอมมีอยู่ที่ ๖๓,๒๐๐ ไร่ ผลผลิตอยู่ที่ ๑๖๓,๐๐๐ ตันต่อปี ดิฉันเป็นลูกเกษตรกร คุณแม่ทำนา การทำนาต่างจากการทำหอมค่ะ การทำหอมกว่าจะได้ผลผลิต ปีหนึ่งต้องทำถึง ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ปลูกหอมช่วงเดือนเมษายน พฤษภาคม เพื่อที่จะเอาพันธุ์หอม หลังจากนั้นรอถึงเดือนตุลาคมถึงจะได้นำหอมมาปลูก เพื่อที่จะเอาผลผลิต การปลูกหอม ๒ ครั้งนี้ต้นทุนอยู่ที่ไร่ละ ๓๐,๐๐๐ บาท ผลผลิตอยู่ที่ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ตกต้นทุนอยู่ที่กิโลกรัมละ ๑๐ บาท ดิฉันได้อภิปรายไปแล้ว ว่าหอมจะมีอายุอยู่ได้ ๔๕ วัน พอถึง ๔๐ วันจะมีพ่อค้าคนกลางมาตระเวนซื้อหอม ถึงหน้าสวน ให้ราคาชาวเกษตรกรหอมแดงในราคา ๗-๘ บาท บางสวนได้ ๔-๕ บาท เหลือระยะเวลาเก็บเกี่ยวหอมเท่าไร น้อยลงเท่าไร ราคาหอมยิ่งตกต่ำ สรุปแล้ว ชาวเกษตรกรหอมแดงจำใจต้องขาย ขายทั้งน้ำตาค่ะท่านประธาน หวังว่าขายหอมแต่ละครั้ง จะได้กำไรเพื่อที่จะส่งลูกหลานตัวเองเรียนหนังสือให้สูง ๆ ไม่ลำบากเหมือนเขา วันนี้ ถ้ารัฐบาลไม่ลงมาช่วยแก้ปัญหาเกษตรกรหอมแดงราคาตกต่ำ เกษตรกรหอมแดงบอบช้ำ ไปอีกค่ะ วันนี้ดิฉันมีหอมแดงมาจากเมืองราษีไศล นี่คือหอมแดงจากเมืองศรีสะเกษ และข้างขวามือของดิฉันคือหอมมาจาก อ.ต.ก. หอมเหมือนกันค่ะ ดมดูแล้วกลิ่นเหมือนกัน บีบดูแล้วแข็งเหมือนกัน แต่จาก อ.ต.ก. บางวันถึงกิโลกรัมละ ๒๐๐ บาท แต่หอมมาจาก เมืองราษีไศลได้กิโลกรัมหนึ่ง ๘ บาท ทำไมมันต่างกันเสียเหลือเกิน ดิฉันขอได้ไหมคะ ขอราคาหอมจาก ๘ บาท ให้รัฐบาลลงมาช่วยประกันราคาให้เขา ๑๘ บาทได้ไหมคะ ขอเถอะค่ะท่านประธาน
นางนุชนาถ จารุวงษ์เสถียร ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
ท้ายนี้ดิฉันหวังว่ารัฐบาลที่ผ่านมา ๘ ปี เกษตรกรบอบช้ำแล้วค่ะ ขอให้ หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้ามาดูแล เกษตรกรหอมแดงอย่างจริงจัง ก่อนที่ดิฉันจะอภิปรายเสร็จ ดิฉันจะฝากหอมให้ท่านประธาน ลองเอาไปใส่ลาบ ใส่ต้มยำดูว่าหอมมาจากเมืองราษีไศล ศรีสะเกษ จะอร่อยหรือเปล่า ด้วยความเคารพค่ะท่านประธาน ขอบคุณมากค่ะ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ รักษาเวลาได้ดีมาก ต่อไปท่านกฤดิทัช แสงธนโยธิน เชิญครับ
นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม กฤดิทัช แสงธนโยธิน สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคใหม่ ก่อนอื่นก็ต้องขอชี้แจง อย่างนี้ครับว่าเมื่อสักครู่นี้ ก่อนหน้านี้มีคนพูดถึงปัญหาเรื่องสินค้าเกษตรเกี่ยวกับโค กระบือ ซึ่งปัญหานี้มันเป็นปัญหาสำคัญ ผมเองก็เตรียมข้อมูลเรื่องนี้มาพูดคุยเช่นเดียวกัน อาจจะมี ประเด็นซ้ำซ้อนกันบ้าง แต่ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่ผมได้รับเรื่องร้องเรียนมาจากพี่น้อง ที่เป็นเกษตรกรนี่นะครับ เขาเดือดร้อนจริง ๆ จากการเลี้ยงโค วันนี้สมาชิกของผมท่านหนึ่ง ก่อนหน้านี้เคยมีโค กระบือเป็นฝูงแต่วันนี้เหลือไม่กี่ตัว เหตุผลเพราะว่าปัจจัยในเรื่องของ ราคาการบริโภคเนื้อต่าง ๆ มันถูก มันทำให้ขาดทุนอย่างมหาศาล เพราะฉะนั้นก็ต้อง จำหน่ายออกไปเพื่อลดต้นทุนในการดูแล ก่อนอื่นผมต้องเข้าประเด็นอย่างนี้ว่าวันนี้ประเทศเรา ผู้มีอาชีพเกษตรกรเลี้ยงโค กระบือ เลี้ยงโคขุน โคเนื้อ โคพันธุ์อะไรต่าง ๆ มากมาย แต่หน่วยงานที่ส่งเสริมกลับมีการปล่อยปละละเลย เกษตรกรที่เลี้ยงโคแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์ กลับไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ปล่อยให้มีการอยู่กันตามยถากรรม โคขุนที่เลี้ยงมาส่งโรงเชือด ขายกิโลกรัมละประมาณ ๘๐ บาท ทั้งที่จุดคุ้มทุนเขาอยู่ประมาณ ๑๓๐ บาท ไม่ว่าจะเป็น พี่น้องชาวเกษตรกรภาคใต้จังหวัดตรังที่เลี้ยงโค ภาคตะวันออกที่ระยอง หรือที่ไหน ๆ ในประเทศไทย ที่จังหวัดกำแพงเพชรก็ดี ต่างได้รับปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับราคา เนื้อโคขุนตกต่ำ ก็ต้องยินดีกับทางท่านนายกรัฐมนตรีท่านใหม่ด้วย ท่านเศรษฐา มีพี่น้อง ประชาชนเข้ามาร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องโคขุนราคาตกต่ำ อันนี้ก็อยากจะฝากรัฐบาลชุดใหม่ ให้เข้าไปแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง แล้วก็จะต้องช่วยให้พี่น้องเกษตรกรที่เป็น คนส่วนใหญ่ของประเทศ และเขากำลังเดือดร้อนให้ได้รับการเยียวยาดูแล คนที่เลี้ยงพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ก็จะต้องได้รับการดูแล คนที่เอาลูกโคไปเลี้ยงต่อก็จะต้องได้รับการดูแลเพื่อให้เขา อยู่ได้ และที่สำคัญคนเลี้ยงหญ้า คนต่าง ๆ เหล่านี้ก็คือมันจะเป็นวงจรทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ไม่ว่าจะเป็นยารักษาโรคต่าง ๆ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันมีผลกระทบไปทั้งหมดนะครับ วันนี้รัฐบาลไม่ได้ควบคุมดูแลในเรื่องของอาหารของโคเลยนะครับ แต่กลับปล่อยปละละเลย ให้มีการลักลอบการนำเข้าโคจากต่างประเทศให้เข้ามา ทำให้ราคาโคในประเทศเราตกต่ำ ลงไป สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัญหา ผมไม่แน่ใจว่าหน่วยงานราชการที่ท่านได้กำกับดูแล ท่านได้เข้าไปทำอะไรบ้าง ทำไมถึงปล่อยให้มีการลักลอบนำโคจากเพื่อนบ้านเข้ามา ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และมันก็มาส่งผลกระทบกับราคาโคในประเทศเรา นอกจากนี้แล้วปัจจุบันประเทศจีนก็ดี ประเทศเวียดนามก็ดี ซึ่งเขามีการสั่งโคเนื้อจาก บ้านเราไป ส่วนจะเอาไปบริโภคหรือเอาไปอะไรก็แล้วแต่ แต่กลับกลายเป็นว่าปัจจุบัน หยุดการนำเข้า เพราะอะไรรู้ไหมครับ จากการที่มีผู้เลี้ยงโคอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ไปใส่ สารเร่งเนื้อแดงทำให้มีสารตกค้างอยู่ พอมีการตรวจพบตรวจเจอเขาก็หยุดการนำเข้า ปัญหาเหล่านี้หน่วยงานภาครัฐของเราอยู่ที่ไหนครับ ทำไมไม่ไปทำความเข้าใจ แล้วก็ไปให้ คำแนะนำกับพี่น้องประชาชน ให้เราเลี้ยงโคเพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐาน แล้วก็สามารถ ส่งออกได้อย่างถูกต้องโดยที่ไม่ต้องถูกกีดกัน เพราะฉะนั้นมันก็จะส่งผลให้เขามีอาชีพ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ปัจจุบันนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบกลับปล่อยปละละเลย ไปดูข่าว ตามหนังสือพิมพ์ หรือตามสื่อ Online ปรากฏว่าวันนี้โคราคาตกต่ำอย่างมากมายมหาศาล เพราะฉะนั้นผมอยากจะฝากรัฐบาลชุดใหม่ให้เข้าไปกำกับดูแลหน่วยงาน การส่งออก การบริโภคภายในประเทศ การลักลอบการนำเข้าให้ไม่มีโคต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย ป้องกันการนำโรคเข้ามา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้นะครับ แล้วก็จะส่งเสริมเรื่องอาชีพของพี่น้อง เกษตรกรให้ยั่งยืน แล้วก็อยู่อย่างเป็นสุข ไม่ใช่ว่าทุกวันนี้หนี้สินเกษตรกรก็มากมายอยู่แล้ว แต่กลับมาถูกทับถมด้วยราคาของเนื้อโคลดลงไปอีกทำให้เกิดปัญหามากมาย เพราะฉะนั้น ฝากรัฐบาลชุดใหม่เมื่อท่านได้เป็นรัฐบาลที่ต้องทำหน้าที่แล้ว ผมอยากฝากให้ท่านช่วยกำกับ ดูแลเรื่องเนื้อโคที่ราคาตกต่ำ ส่งเสริมการเลี้ยงโคให้ถูกต้อง แล้วก็อยากให้ประชากรที่เป็น เกษตรกรอยู่ดีกินดีนะครับ ขอบคุณมากครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ รักษาเวลาได้ดีนะครับ อีก ๒ ท่านต่อไป ท่านนิพนธ์ คนขยัน แล้วก็ ท่านภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ เชิญท่านนิพนธ์ คนขยัน ครับ
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม นิพนธ์ คนขยัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ เขตเลือกตั้งที่ ๓ พรรคเพื่อไทย ขออนุญาต เสนอญัตติที่เพื่อนสมาชิกทุกท่านได้นำเสนอทั้งหมดว่าวันนี้ราคาภาคเกษตรตกต่ำ ข้าว อ้อย ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และวัว ควาย ต่าง ๆ ที่เพื่อนสมาชิกร้องเรียน ผมอยากลงประเด็น ยางพาราครับ วันนี้จังหวัดบึงกาฬบ้านของกระผมปลูกยางพารา ๑ ล้านกว่าไร่ ในอดีต ยางพารากิโลกรัมละ ๘๐-๙๐ บาท ยางก้อนถ้วยนะครับ ชาวบ้านเฮมีความสุข โดยเฉพาะ พี่น้องชาวภาคใต้ยางพารามากที่สุดครับ บึงกาฬอันดับ ๑ ของภาคอีสาน ๑-๖ อยู่ที่ภาคใต้ ยางพาราตกต่ำ วันนี้ดีขึ้นหน่อยต้อนรับรัฐบาลใหม่ ชาวสวนบอกว่า ๒๔-๒๕ บาทแล้วครับ
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
สิ่งสำคัญอยากกราบเรียนท่านประธานผ่านไปยังรัฐบาลใหม่ครับ ท่านรัฐมนตรีซึ่งได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี วันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ทั้ง ๓ ท่าน เรียนว่าวันนี้พี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ ๔๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ เป็นภาคเกษตรกร ภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะภาคอีสานหัวใจหลัก พี่น้องภาคเกษตร ๘๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ที่ทำการเกษตร ดังนั้นหากภาคเกษตรเป็นราคาพี่น้องทุกท่านมีความสุข โดยเฉพาะเกษตรกรรากหญ้าที่บอกพรรคเพื่อไทยว่าต้องรดน้ำที่ราก วันนี้ผมอยาก ยกตัวอย่างปัญหาว่าทำไมยางพาราถึงตกต่ำ เพื่อน ๆ สมาชิกได้กล่าวไปหลายท่านแล้ว
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
๑. ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ต้นน้ำคือกรีดยาง บางท่านขายน้ำยางสด ขายยางก้อนถ้วยนี่คือต้นน้ำ วันนี้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดบึงกาฬ ได้รวมตัวกันตั้ง กลุ่มเป็นกองทุนยางพาราบึงกาฬ จำกัด มาเป็นกลางน้ำ ปลายน้ำ เอามาแปรรูปเป็นหมอน ที่นอน วันนี้รัฐบาลเห็นความสำคัญให้งบกลุ่มจังหวัดไป ๑๙๓ ล้านบาท สร้างโรงงานหมอน ที่นอน อัดก้อนยางแผ่นรมควัน และโรงงานน้ำยางข้น เพื่อจะเป็นการเพิ่มมูลค่า แต่สิ่งสำคัญผมจะชี้ให้เห็นว่าความจริงใจของรัฐบาลไม่จริงใจและจริงจัง ข้าราชการ โดยเฉพาะท่านปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งก่อนผมหารือฝากท่านไปแล้ว อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ทำไมผมต้องเรียนท่านประธานวันนี้ว่าเป็นเหตุที่ไม่สนับสนุน ส่งเสริมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำของกลุ่มเกษตรกร ท้ายที่สุดทำไมถึงว่าอย่างนั้น เพราะชุมนุมสหกรณ์กองทุนยางบึงกาฬ จำกัด ที่เข้าไปดำเนินการในโรงงานของชุมนุม สหกรณ์ที่ก่อตั้งกันเอง และโรงงานของราชการโดยรัฐบาลให้เงินมานี่โดนยุบครับ แทนที่พี่น้องเกษตรกรจะได้ขายยางราคาดีโดยแปรรูปเพิ่มมูลค่า แต่กลับตรงกันข้าม นายทะเบียนสั่งยุบชุมนุม สิ่งที่ช้ำคือเอานายทุนเข้าไปฮุบกิจการของโรงงาน ที่กรมธนารักษ์ เป็นเจ้าของ วันนี้พี่น้องเกษตรกรจะไปพึ่งใครครับ ขออนุญาตเอ่ยนามท่านนะครับ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ท่านใหม่ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า วันนี้ท่านยึดหัวใจของพี่น้องทั่วประเทศเป็นเกษตรกร ท่านบอกว่าไม่ต้องห่วง วันนี้ผมพร้อม จะขับเคลื่อน ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านรัฐมนตรีช่วยครับ โปรดได้ไปดูลูกน้องของท่าน ในอนาคตต้องทำให้ถูกต้องเพื่อส่งเสริมเกษตรกรให้ลืมตา อ้าปากครับ แต่ท่านกลับเมินเฉย ผมอยากมองว่าท่านไม่ใส่ใจนะครับ ท่านปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ และท่านอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ครับ ฉะนั้นฝากท่านรัฐมนตรี และฝากท่านที่ใหญ่ที่สุดวันนี้คือ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๓๐ ฯพณฯ เศรษฐา ทวีสิน ซึ่งท่านกำกับดูแลทุกรัฐมนตรี พี่น้องเกษตรกรที่ยากจน วันนี้ความหวัง ความฝัน คงได้ลืมตาอ้าปากกับเรื่องเกษตรเสียที เพราะว่าวันนี้ผมเชื่อมั่น ในการขับเคลื่อนของรัฐบาลชุดใหม่ พี่น้องเกษตรกรทุกท่านจะได้ลืมตาอ้าปาก โดยเฉพาะ พี่น้องเกษตรกรทุกภาคส่วน ข้าวก็ดี อ้อยก็ดี ปาล์มก็ดี กุ้งก็ดี พืชต่าง ๆ สิ่งสำคัญ ขอฝากท่านประธานอีกครั้งหนึ่ง ท่านรัฐมนตรีทั้ง ๓ ท่านของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ต้องร่วมมือกัน จับมือกันเพื่อพี่น้องเกษตรกรคนไทย ทั้งชาติครับ วันนี้เราจะเกิดภาคไหน เราก็คนไทยด้วยกัน สิ่งสำคัญหากพี่น้องเกษตรกร มีความสุข ชาติบ้านเมืองก็จะมีความสุข ผมเชื่อมั่นว่าผู้แทนทุกคนที่มาวันนี้ซึ่งเป็นตัวแทน ของพี่น้องทุกภาคก็จะมีความสุข หากพี่น้องเกษตรกรมีความสุขครับ รัฐบาลก็จะมีความสุข เพราะจะไม่มีพี่น้องประท้วงเดินขบวน
นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ
ดังนั้นฝากสุดท้ายครับ รัฐมนตรีทั้ง ๓ ท่านที่กำกับดูแลกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ไปดูแลลูกน้องของท่าน ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่าน ต้องใส่ใจ จริงใจและจริงจัง เพื่อพี่น้องเกษตรกรทุกภาคส่วน ที่เพื่อนสมาชิกได้เอ่ยมาเมื่อสักครู่นี้ว่าวันนี้เรามาร่วมมือกัน เพื่อจะแก้ปัญหาชาติบ้านเมือง โดยเฉพาะปัญหาเรื่องเกษตรให้พี่น้องอยู่ดีกินดี ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปท่านภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ เชิญครับ
นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ นครพนม ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จังหวัดนครพนม เขต ๑ ด้วยพี่น้องเกษตรกรของจังหวัดนครพนมมีอยู่ประมาณ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของประชากร ได้ทำการเกษตร ปลูกข้าว ยางพารา พริก มะเขือเทศ ปาล์ม อ้อย แล้วก็เลี้ยงสัตว์ วัว ควาย หมู สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ เลี้ยงถึงจิ้งหรีด หรือไส้เดือน แล้วก็พบปัญหาเรื่องราคาสินค้าเกษตร ตกต่ำเป็นจำนวนมาก เพราะพี่น้องเกษตรกรเรายิ่งขยันยิ่งปลูก ยิ่งเลี้ยงสัตว์ยิ่งขาดทุนมาก ในปัจจุบันนี้พี่น้องเกษตรกรจึงหวังพึ่งรัฐบาลใหม่ของเรา คือรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และพรรคอื่น ๆ ได้มาช่วยแก้ไขปัญหาของพี่น้องเกษตรกร เพื่อให้ขายได้ราคาเพิ่มเป็น ๓ เท่าทุกชนิด แม้กระทั่ง วัว ควาย สัตว์เลี้ยงได้มีการส่งออกจำนวน ๑ ล้านตัวต่อปี เพื่อเกษตรกรจะได้ขายวัว ควาย จากตัวละ ๒๐,๐๐๐ บาท เป็น ๖๐,๐๐๐ บาท หรือ ๑๐๐,๐๐๐ บาท เพราะปัจจุบันนี้พี่น้องเกษตรกรของเราลำบาก ต้องส่งลูกเรียน ลูกไม่มีเงินไปโรงเรียน ต้องขายวัว ควาย ตัวละ ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อจ่ายเป็นค่าเทอม ให้ลูกมีโอกาสได้เรียนหนังสือ ปัญหาตามมาที่พี่น้องเกษตรกรร้องเรียนกันมาก นอกจาก ขายสินค้าได้ในราคาต่ำ ขาดทุน ค่าใช้จ่ายสูง ราคาปุ๋ยก็แพงมากขึ้น พี่น้องเกษตรกรเป็นหนี้ เป็นสินกันมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการที่เป็นหนี้ ธ.ก.ส. หนี้สหกรณ์ หนี้กองทุนหมู่บ้าน ปัจจุบันนี้ต้องเป็นหนี้นอกระบบ ดอกเบี้ยร้อยละ ๕ บาทต่อเดือน ถ้าคิดเป็นปีก็ ๖๐ บาท ต่อปี ถ้าเราฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ทั่ว ๆ ไป ดอกเบี้ยออมทรัพย์เพียง ๒๕ สตางค์ แต่พี่น้องเกษตรกรของเราต้องยืมเงินหนี้นอกระบบถึง ๖๐ บาทต่อเดือนครับท่านประธาน ถ้าคิดไปแล้วก็คือตัวอย่างง่าย ๆ ยืมเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท พี่น้องเกษตรกรจะต้องถูกหักเงิน ไปแล้ว ๖๐,๐๐๐ บาท ได้รับเงินสดจริง ๆ เพียง ๔๐,๐๐๐ บาท และต้องผ่อนเดือนละ ๘,๓๓๔ บาทต่อเดือน นั่นคือเป็นปัญหาของพี่น้องเกษตรกรจำนวนมาก ปัจจุบันต้องถูก ยึดรถยนต์ ยึดบ้าน ยึดที่ดิน ไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ ก็ฝากความหวังถึงรัฐบาลชุดนี้ ของพรรคเพื่อไทยและพรรคอื่น ๆ จะได้ช่วยพี่น้องเกษตรกรของเรานะครับ
นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ นครพนม ต้นฉบับ
นอกจากนั้นแล้วพี่น้องเกษตรกรโดยเฉพาะทางบ้านของกระผมเอง อำเภอนาทม อำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม และอำเภอบ้านแพง ซึ่งอยู่ห่างไกลกรุงเทพฯ ๗๕๐ กิโลเมตร ปัญหาการพัฒนาล่าช้า พี่น้องทำการเกษตร ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ โดยเฉพาะหน้าฝนนี้เดินทางไม่ได้ น้ำท่วม ดินเป็นโคลนตม จะขนสินค้าเกษตรไปขายก็ไม่ได้ ส่วนหน้าแล้งขนแตงโม พริก มะเขือเทศ ยางพารา ข้าว ก็ตกหล่นไปตามถนน เพราะถนน เป็นหลุมเป็นบ่อ นั่นคือปัญหาของพี่น้องเกษตรกรของเรา ถนนไม่ดีไม่พอครับ ไฟฟ้า พี่น้องเกษตรกรก็ไม่มีไฟฟ้า ไฟฟ้าเพื่อการเกษตร พี่น้องของเราต้องร้องเรียนกันมาอยู่ เป็นประจำนั่นคือการพัฒนาดูแลไม่ทั่วถึง โรงงานจะไปตั้งโรงงานก็ไม่ได้เพราะไม่มีไฟฟ้า พี่น้องเกษตรกรเช้ามาต้องเดินทางจากบ้านพักไปสู่สวน สู่ไร่นา ๒๐ กิโลเมตร ๓๐ กิโลเมตร ๕๐ กิโลเมตร เย็นเดินทางกลับ ก็เป็นต้นทุนที่เพิ่มให้เกษตรกรเสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น พอค้าขายได้ราคาต่ำ เกษตรกรของเราก็ขาดทุน เพราะต้นทุนไปอยู่ที่ค่าน้ำมัน และโดยเฉพาะจังหวัดนครพนม น้ำมันจะแพงกว่าจังหวัดอื่น ๆ ลิตรละประมาณ ๒-๓ บาท เพราะเป็นจังหวัดที่ห่างไกล นั่นคือพี่น้องเกษตรกรของเราถึงมีความทุกข์ยากมาก นอกจาก ไม่มีไฟฟ้าแล้ว โรงงานไปตั้งไม่ได้ พี่น้องเกษตรกรใช้น้ำมันราคาแพง ต้นทุนสูง เรื่องน้ำ ก็มีปัญหา พี่น้องประชาชนขาดแคลนน้ำ น้ำกินน้ำใช้ น้ำเพื่อการเกษตร ยังโชคดีที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ท่านได้ร่วมกับทีมเกษตรของพรรคเพื่อไทย ร่วมกับ สส. พรรคเพื่อไทยของเราก่อนจะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะได้รับเลือก เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านไปดูเรื่องน้ำที่จังหวัดนครพนม เพราะท่านนายกรัฐมนตรีเป็นห่วง ประเทศไทยของเราจะแห้งแล้งและจะขาดแคลนน้ำ ท่านได้เป็นห่วงพี่น้องของเรา ต้องมีธนาคารน้ำใต้ดิน นั่นเป็นสิ่งที่ดีที่พี่น้องเกษตรกรรอมานานหลายสิบปี ถ้าเรามีน้ำ พี่น้องของเราก็ไม่ยากจน ถ้ามีน้ำพี่น้องเกษตรกรก็ทำการเกษตรได้ตลอดปี นั่นคือสิ่งที่ รัฐบาลชุดนี้ต้องมีแหล่งน้ำ ขุดลอกหนองน้ำ ทำฝาย ทำเขื่อน ทำอ่างเก็บน้ำ ทำระบบ ชลประทาน มีประตูระบายน้ำ ปิดน้ำไว้ในหน้าฝนนี้ เก็บกักน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง นั่นคือสิ่งที่ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยและทุกพรรคต้องช่วยกัน ช่วยพี่น้องเกษตรกรของเรา เรื่องน้ำไม่พอ พี่น้องของเรายังมีความลำบากที่ต้องเจอปัญหาเรื่องราคาไฟฟ้าแพง ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ก็ประกาศ ไปแล้ว ในสัปดาห์หน้านี้จะประกาศลดราคาน้ำมัน ไฟฟ้า แก๊ส ลงทันที ซึ่งจะทำให้ราคาปุ๋ย ราคาสินค้าอื่น ๆ ถูกลง กราบขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านกิตติภณ ปานพรหมมาศ ครับ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กิตติภณ ปานพรหมมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขต ๔ พรรคก้าวไกล วันนี้กระผมจะร่วมอภิปรายในญัตติราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ โดยประเด็นที่ผม จะนำเสนออภิปรายในวันนี้เป็นประเด็นของราคาเนื้อหมูหน้าฟาร์มตกต่ำ ขึ้น Slide ด้วยครับ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ราคาตกต่ำเนื่องจากมีการลักลอบ นำเข้าหมูกล่องหรือหมูเถื่อน สร้างผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทั่วประเทศ ทั้งที่จริงแล้ว ในช่วงเวลานี้ควรเป็นเวลาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูควรฟื้นตัวต่อวิกฤติโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๖๔ แต่กลับมาเจอวิกฤติการลักลอบนำเข้าหมูกล่อง ทำให้เกิดราคาเนื้อหมูที่ตกต่ำสวนทางกับ ต้นทุนราคาอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ ในส่วนของเนื้อหมูกล่องหรือหมูเถื่อน นั่นก็คือหมูแช่แข็งที่บรรจุในกล่อง และลักลอบนำเข้ามาในประเทศไทย ผ่านท่าเรือ โดยสำแดงพิกัดภาษีศุลกากรเป็นเท็จ เป็นการสำแดงเป็นเนื้อปลาแช่แข็งก่อนที่จะกระจาย ไปยังห้องเย็นต่าง ๆ ทั่วประเทศ จากข้อสังเกตมีตัวเลขตั้งแต่ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕ มีการนำเข้า เนื้อปลาแช่แข็งเข้าประเทศเป็นจำนวนมากเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องและเป็น ที่น่าสังเกตว่ากลับเป็นการนำเข้าเพิ่มจากประเทศผู้ส่งออกหมูไม่ใช่ปลา อย่างเช่น ประเทศ สเปน และประเทศบราซิลอย่างชัดเจน จึงขอเรียนถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่เกษตรกร ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยจำนวนมากไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่มีถึง ๙๐-๙๖ บาทต่อกิโลกรัม แต่กลับขายหน้าฟาร์มในราคาต่ำกว่าต้นทุนที่ราคาเพียง ๖๐-๗๐ บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น จนทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยหลายรายต้องออกจากธุรกิจไป ต่อมาโดยการคาดว่า มีการลักลอบนำเข้าหมูมาตั้งแต่ปี ๒๕๖๔ ในเหตุการณ์ที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก การแพร่ระบาดจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ทำให้ผลผลิตหมูลดลงไป ๓๐ เปอร์เซ็นต์ จากที่ผลิตได้วันละ ๕๐,๐๐๐ ตัว เหลือเพียง ๓๕,๐๐๐ ตัว ทำให้ในเวลาดังกล่าวขาดเนื้อหมู ทำให้เกิดปัจจัยการลักลอบนำเข้าเนื้อหมูเพื่อรักษาโควตาการจำหน่ายเดิมนะครับ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ต่อมาในปี ๒๕๖๕ มีพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูหลาย ๆ ท่าน เริ่มมีการสังเกต ว่ามีเนื้อหมูแช่แข็งขายทาง Online และช่องทางต่าง ๆ ที่ต่ำกว่าราคาหมูทั่วไปในประเทศ ที่ถูกก็เพราะว่าหมูในต่างประเทศมีต้นทุนทางโปรตีน ต้นทุนทางอาหารถูก และปัจจัย การควบคุมอื่น ๆ ด้วยครับ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ต่อมาในปลายปี ๒๕๖๕ นะครับ มีการตรวจพบว่ามีการลักลอบนำเข้า เนื้อหมูเข้าห้องเย็นหลายแห่ง แล้วก็มีการดำเนินคดีอยู่ในปัจจุบัน จากการคาดการณ์มีข้อมูล ว่ามีการลักลอบนำเข้ามากว่า ๑๕,๐๐๐ ตู้ หรือมากกว่า ๓๐๐,๐๐๐ ตัน มูลค่ามากมาย มากกว่าถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ของเนื้อหมูในตลาดเลยทีเดียวครับ เท่านั้นยังไม่พอการนำเข้า เนื้อหมูอาจจะไม่ได้นำเข้าเพียงท่าเรือแหลมฉบังเท่านั้น แต่ยังมีการนำเข้าจากท่าเรือ อื่น ๆ ด้วย ซึ่งสร้างผลกระทบให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูในประเทศอย่างมากมายมหาศาลครับ นอกจากราคาเนื้อหมูจะตกต่ำแล้ว เนื้อหมูเถื่อนยังไม่ได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบมาตรฐาน อีกหลาย ๆ มาตรฐาน นั่นอาจจะเป็นสาเหตุทำให้ผู้บริโภคในประเทศไทยได้บริโภคหมูที่อาจจะ เป็นโรค รวมถึงมีสารเร่งเนื้อแดงที่เมื่อบริโภคมากก็อาจจะส่งผลต่อสุขภาพได้นะครับ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
สุดท้ายแล้วนะครับ เราจะควบคุมราคาหมูกล่องเพื่อแก้ไขราคาหมูตกต่ำ ได้อย่างไร ผมขอเรียนท่านประธานไปยังกรมปศุสัตว์ และกระทรวงพาณิชย์ ให้มีมาตรการ การดำเนินการใน ๔ ส่วนดังต่อไปนี้
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ข้อ ๑ ให้เร่งติดตามการดำเนินคดีและขยายผลดำเนินคดีอย่างจริงจัง กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการลักลอบนำเข้าเนื้อหมู หมูกล่อง ทุกฝ่ายทั้งผู้นำเข้า Shipping ห้องเย็น และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้หน่วยงานเปิดเผยความคืบหน้าหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ไม่เป็นผลเสียต่อรูปคดีให้สาธารณะได้รับทราบเป็นระยะครับ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ข้อ ๒ ควรเข้มงวดกับการตรวจสอบตู้ Container ที่นำเข้าอาหารแช่แข็ง และห้องเย็นต่าง ๆ ที่เก็บเนื้อหมูจากต่างประเทศเพื่อป้องกันการลักลอบเข้ามาเพิ่มเติม
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ข้อที่ ๓ ควรติดตามและตรวจสอบการขายเนื้อหมูที่ราคาต่ำกว่าตลาด ผิดปกติ โดยควรตรวจสอบว่าเนื้อหมูมีที่มาอย่างไร มาจากการลักลอบนำเข้าหรือไม่
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ข้อที่ ๔ เราจำเป็นต้องสื่อสารถึงผู้บริโภคถึงอันตรายของเนื้อหมูเถื่อน และเปิดช่องทางการแจ้งเบาะแสให้ประชาชนได้แจ้งเข้ามาเพื่อนำไปสู่การจับกุมต่อไป
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ตัวแทนผู้เลี้ยงสุกรหลาย ๆ ท่านทั่วประเทศบอกกับผมว่า เรามีเวลาไม่มากแล้วสำหรับการแก้ไขปัญหานี้ ไม่อย่างนั้นระบบการเกษตรจะล้มเป็น Domino Effect ทั้งปศุสัตว์และอาหารครับ
นายกิตติภณ ปานพรหมมาศ นครปฐม ต้นฉบับ
สุดท้ายผมขอฝากในฐานะที่ผมอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม มีการเลี้ยงกุ้งขาว ในพื้นที่ ทั้งอำเภอบางเลน อำเภอดอนตูม และอำเภอกำแพงแสนในตำบลสระพัฒนา และตำบลห้วยม่วง ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ของผมครับ ผมจึงขอเรียนท่านประธานผ่านไปยัง ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ช่วยแก้ปัญหาของพ่อแม่พี่น้อง ผู้เลี้ยงกุ้งอย่างจริงจัง ทั้งในด้านต้นทุนการผลิตไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือไฟฟ้า ที่ท่าน สส. ของพรรคก้าวไกลจะอภิปรายในลำดับถัดไปด้วยครับ ขอขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านรวี เล็กอุทัย แล้วก็ตามด้วยท่านธีระชัย แสนแก้ว ครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพครับ กระผม นายรวี เล็กอุทัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต ๓ พรรคเพื่อไทย ขอ Slide ขึ้นด้วยนะครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ผมขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายในญัตติเรื่อง ของราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำครั้งนี้ด้วยนะครับ เนื่องจากตามที่เพื่อนสมาชิกทุกท่าน ได้อภิปรายแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรไทยทั้งประเทศ ผมก็มีตัวเลขที่เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านราคาสินค้าเกษตรที่ส่งผลกระทบ ต่อรายได้ของพ่อแม่พี่น้องเกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก โดยในช่วงต้นปี ๒๕๖๔ จนถึง เดือนกรกฎาคมปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ดัชนี ๓ ตัว ได้แก่ ดัชนีผลผลิต ดัชนีราคา และดัชนี รายได้เกษตรกรมีความผันผวนมาโดยตลอดครับ และตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ราคาผลผลิตซึ่งเป็นแท่งสีเหลือง และรายได้ของเกษตรกรซึ่งเป็นเส้นสีแดงนั้น มีแนวโน้ม ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคมปี ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ดัชนีผลผลิต ทางการเกษตรมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ๒.๖๙ เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับตัว ลดลงอยู่ที่ ๓.๖๙ เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ดัชนีรายได้ของเกษตรกรลดลง ๑.๑ เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีทั้ง ๓ ตัวนี้ ทำให้เห็นถึงความน่ากังวลต่อปัญหาความเดือดร้อนด้านราคาผลผลิตและรายได้ของ พี่น้องเกษตรกรเป็นอย่างมาก
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ประเด็นสำคัญที่ผมอยากจะชี้ให้เห็นสำหรับการแก้ไขปัญหาราคาสินค้า เกษตรตกต่ำนั้น ผมเห็นว่าเราควรจะต้องมีการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าอย่างเป็นระบบ มีความต่อเนื่อง และมีการกำหนดทิศทางที่มีความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนทางด้าน ราคา แล้วรัฐต้องมาคอยแก้ไขด้วยการอุดหนุนหรือชดเชยราคาเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีภาคการเกษตร มีความสำคัญ เป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน และเป็นภาคการผลิตหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด มาโดยตลอด โดยข้อมูลพื้นฐานของอุตรดิตถ์มีพื้นที่การเกษตรว่า ๑.๖๘ ล้านไร่ หรือคิดเป็น ประมาณ ๓๔ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็สอดคล้องกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดที่อยู่ใน ภาคเกษตรเป็นหลักถึง ๓๑ เปอร์เซ็นต์ และอยู่ในภาคของการเพาะปลูกกว่า ๗๙ เปอร์เซ็นต์ ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพี่น้องเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์นั้นต่างก็เจอกับปัญหา ราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำเช่นเดียวกัน อย่างเช่น ท่าน สส. วารุจ ศิริวัฒน์ ที่อยู่ข้าง ๆ ผมนี้ ขออนุญาตพาดพิงท่านครับ ได้เล่าให้ผมฟังว่ายางพาราก้อนถ้วยในอำเภอบ้านโคก เขตของท่านนั้นก็เคยตกต่ำถึง ๕ กิโลกรัมต่อ ๑๐๐ บาทมาแล้ว ถึงแม้ว่า ณ ขณะนี้ปัจจุบัน ราคาสินค้าเกษตรบางตัวจะมีการขยับปรับขึ้นมาบ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ดีมากนะครับ เนื่องจากปัญหาสินค้า Shortage หรือสินค้าขาดตลาด จากผลของภาวะโลกร้อนและ El Nino แต่มีสินค้าเกษตรตัวหนึ่งที่ผมอยากจะขอพูดถึง เนื่องจากในอดีตนั้นเป็นสินค้าหลัก ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์จนถึงขั้นมีชื่ออยู่ในคำขวัญประจำจังหวัด นั่นคือเหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก ใช่ครับ ผมจะขอพูดถึง ลางสาดครับ เพราะลาดสาดนั้นในขณะนี้กำลังจะกลายเป็นผลไม้ที่ถูกลืม เนื่องจากคนหันไป บริโภคลองกองแทน รวมถึงเกษตรกรเองก็หันไปปลูกผลไม้เศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนที่ดี มากกว่าอย่างทุเรียนหลงลับแล หลินลับแลเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันลางสาดนั้นมีพี่น้อง เกษตรกรที่ปลูกราว ๕,๒๐๐ คน เนื้อที่เพาะปลูกสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ ๘,๖๐๐ ไร่ และจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ ๔,๓๐๐ ตัน แต่ในส่วนของราคาเฉลี่ยของลางสาดที่ผ่านมาในอดีตจะอยู่ที่เพียงแค่ ๑๐ บาทต่อกิโลกรัม เท่านั้น ซึ่งในอดีตมีราคาตกต่ำถึงขนาด ๕ บาทต่อกิโลกรัมมาแล้ว ซึ่งในยุคนั้น ท่าน สส. กฤษณา สีหลักษณ์ และ สส. ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย ต้องขออภัยที่เอ่ยนามท่านนะครับ ร่วมกับพ่อแม่พี่น้องในจังหวัดอุตรดิตถ์ ต้องช่วยกันรับซื้อลางสาดจากเกษตรกรเพื่อระบาย สินค้า และช่วยให้เกษตรกรชาวสวนมีรายได้ไปจุนเจือครอบครัว จากปัญหาดังกล่าวจึงทำให้ เกษตรกรมีแนวโน้มที่จะเลิกปลูกลางสาด ทั้ง ๆ ที่เคยเป็นผลไม้เศรษฐกิจของอุตรดิตถ์
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
ขอ Slide ถัดไปครับ ผมจึงมองว่าปัญหาราคาสินค้าเกษตรนั้นควรจะต้อง ได้รับการแก้ไข โดยมีแรงสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เองด้วย เพื่อให้ เกิดเสถียรภาพทางด้านราคา และก่อให้เกิดรายได้ต่อเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยผม มีข้อเสนอดังนี้ครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
๑. การเพิ่มศักยภาพในการผลิตและปรับปรุงพันธุกรรม โดยมุ่งเน้นการเพิ่ม คุณภาพและมูลค่าให้กับตัวสินค้าเกษตร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีมากยิ่งขึ้นเช่น การให้รับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เหมือนทุเรียนหลงลับแล หลินลับแล และสับปะรด ห้วยมุ่นของอุตรดิตถ์ หรือการปรับปรุงสายพันธุ์เช่นข้าว เพื่อให้ทนต่อโรคและต้านทาน ต่อแมลง และได้ผลผลิตต่อไร่มากยิ่งขึ้น รวมถึงการใช้เทคนิคปรับปรุงสายพันธุ์เพื่อให้ได้ ผลผลิตที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เช่นการตัดต้นลางสาดและต่อยอด กับกิ่งลองกอง หรือที่เราเรียกกันว่า ลางกอง
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
๒. การผลักดันสถาบันเกษตรกรสู่อุตสาหกรรมและภาคบริการ เช่น การวิจัย และพัฒนาแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่มช่องทางตลาดให้กับสินค้าของเกษตร รวมถึงการเพิ่มภาคบริการและการท่องเที่ยวของสวนผลไม้ เพื่อสร้างการรับรู้และเป็น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
๓. การพัฒนาระบบชลประทานและบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้ได้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตตามที่ต้องการ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
๔. การเชื่อมโยงทางการตลาดและการขนส่ง โดยภาครัฐควรเข้ามามีส่วนช่วย ในการหาตลาดใหม่ ๆ เพื่อรองรับการผลิต โดยในส่วนของตลาดต่างประเทศอาจจะมีการทำ เขตการค้าเสรี หรือ Free Trade Agreement หรือ FTA เพื่อยกเว้นภาษี หรือการตั้งมาตรการ กีดกันทางการค้า Trade Barrier เพื่อป้องกันสินค้าจากต่างประเทศที่มีความคล้ายคลึงกัน เข้ามาตีตลาดในไทย รวมถึงควรมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง เช่น ถนนหนทางต่าง ๆ รถไฟรางคู่ และรถไฟความเร็วสูง เพื่อเป็นการช่วยเปิดโอกาส ให้แก่ตลาดสินค้าเกษตรของไทย รวมถึงเป็นการช่วยลดต้นทุนในการขนส่งอีกด้วยครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
จากทั้งหมดที่กล่าวมา ผมเชื่อว่าทางรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง น่าจะมีแผนหรือโครงการลักษณะนี้อยู่แล้ว ซึ่งก็หวังเป็นอย่างยิ่งครับว่าจะมีการดำเนิน พัฒนาต่อยอดมากยิ่งขึ้นต่อไป และเพื่อการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร รวมถึงเป็น การยกระดับสินค้าเกษตรของไทยให้มีคุณภาพและมีมูลค่ามากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขัน ได้ในตลาดโลกครับ
นายรวี เล็กอุทัย อุตรดิตถ์ ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ครับท่านประธาน ขณะนี้เป็นฤดูของลางสาดและลองกอง ซึ่งเป็นของดีของจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งผมก็มีลางสาดของจังหวัดอุตรดิตถ์มาด้วยครับ ซึ่งที่จังหวัดอุตรดิตถ์นั้นจะมีการจัดงานเทศกาลลางสาด ลองกองหวานของอุตรดิตถ์ เป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้จะมีวันที่ ๑๕-๒๔ กันยายน ขอเรียนเชิญทุกท่าน รวมถึง พ่อแม่พี่น้องทางบ้านไปเที่ยวงานและชิมของดีที่จังหวัดอุตรดิตถ์กันได้เลยนะครับ ขอบพระคุณมากครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านธีระชัย แสนแก้ว ครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายธีระชัย แสนแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต ๗ พรรคเพื่อไทย ขอขอบคุณท่านประธานนะครับ เพื่อที่จะฝากไปยังเพื่อนสมาชิกทั้ง ๑๑ ท่านได้เสนอญัตติ ถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน เกษตรกรผู้ทุกข์ยากทั้งประเทศ พี่น้องเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา ไม่ว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจหรือพืชรอง เศรษฐกิจ ท่านประธานรู้ไหมครับว่าประเทศไทยเป็นมหาอำนาจทางด้านการเกษตร สามารถส่งออกไปเลี้ยงคนทั้งโลกได้มาก แล้วก็นำรายได้เข้าประเทศไทยปีละล้านล้านบาท ยางพาราส่งออกอันดับ ๑ ของโลก มันสำปะหลังอันดับ ๑ ของโลก ข้าวส่งออกอันดับต้น ๆ ของโลก น้ำตาลส่งออกอันดับ ๒ ของโลก และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งผมจะไม่กล่าวในที่นี้ ผมถึงกล้าพูดได้เลยครับว่าประเทศไทยคือประเทศมหาอำนาจทางด้านการเกษตร ถ้าบริหาร จัดการดี ๆ เราจะมีเงินรายได้เข้าประเทศมากมาย สส. ก็ถือว่าเป็นตัวแทนของปวงชน ชาวไทยทั้งประเทศ ณ ที่นี้ผมอยากจะขอกราบเรียนว่าผมจะทำหน้าที่แทนพี่น้องชาวไทย ทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก็คือว่าผมเป็นเกษตรกร และเป็นผู้นำเกษตรกร ชาวสวนยางด้วย ตามพระราชบัญญัติการยางก็คือเป็นประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกร ชาวสวนยางระดับประเทศ เพราะฉะนั้นมันรู้ทั้งหมด ดังที่เพื่อนสมาชิกได้กล่าวไปเบื้องต้น จะต้องไม่ซ้ำกัน เพราะว่ามันเป็นความเดือดร้อนจริง ๆ แล้วผมก็คลุกคลีตีโมงอยู่กับพี่น้อง ชาวสวนยางด้วย
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
อันที่ ๒ ก็คือสมาชิกสมาคมชาวไร่อ้อย ผมก็ทำไร่อ้อย และเป็นนายกสมาคม ไร่อ้อย เป็นประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน ผมจะพูดแค่ ๒ เรื่องครับ ผมสัมผัสกับ พี่น้องเกษตรกร วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความทุกข์ยากของพี่น้องเกษตรกร มันเป็นอย่างไร เพราะว่าโคตรตระกูล โคตรพ่อโคตรแม่ผมก็เป็นเกษตรกร ขออภัย ถอนคำพูดครับ เพราะมันเป็นโคตรเหง้าเหล่ากอก็แล้วกันนะครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ไม่ต้องถอนหรอกครับท่าน เป็นคำที่เข้าใจได้ครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
ขอบพระคุณท่านประธานครับ ท่านประธานครับ ข้อมูลการยาง เดี๋ยวนี้มีผู้ปลูกยางอยู่ประมาณ ๑๗,๗๐๐,๐๐๐ คน ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการยาง และมีผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องยาง ประมาณ ๖ ล้านคน มีพื้นที่ปลูกยางไม่ต่ำกว่า ๒๐ ล้านไร่ อาจจะ ๒๐ ล้านไร่กว่า ๆ เพราะ ยังไม่ได้ลงทะเบียนก็มีอีกมากมายครับ และภาคอีสานของผมก็ปลูกยางมากมาย อันดับ ๒ รองจากภาคใต้ และยางเกือบจะทุกจังหวัดแล้ว ณ วันนี้ ภาคอีสานประมาณ ๔.๓ ล้านไร่ อาจจะถึง ๖ ล้านไร่ เพราะไม่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการยางก็มี เพราะเอกสารสิทธิ บางท่านก็ไม่กล้าไปจด ที่ผ่านมายางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้เข้าประเทศอย่างที่ผม ได้กล่าวไว้เบื้องต้นนั้น พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางลืมตาอ้าปากได้ มีบ้าน มีรถ ส่งลูกเรียน ผมอยากจะขออนุญาตเปิด Clip สักหน่อยนะครับ ขอทางฝ่ายโสตด้วยครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ จะได้ยินว่า อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ และอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ทำให้ราคายางสูงขึ้น ๗๐ บาท คือยางก้อนถ้วย ๑๐๐ บาท ๑๕๐-๒๐๐ บาท ไปดูประวัติศาสตร์ก็มีตัวเลขอยู่นะครับ มาวันนี้ยางคุณภาพดีกิโลกรัมละ ๔๐ บาท ยางแผ่นรมควัน ยางแผ่นคุณภาพดี ๔๐ บาท ยางก้อนถ้วยอยู่ในระหว่าง ๔๐ บาท ๔๐ บาทคือ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ หักค่า DRC ออกมา ประมาณ ๑๙-๒๐ บาทเท่านั้น เพราะฉะนั้นพี่น้องเกษตรกรนี่ยางก้อนถ้วยนะครับ และทีนี้ก็น้ำยางอยู่ในระหว่างที่ ๔๓-๔๔ บาท ในขณะที่ต้นทุนยางแผ่นรมควันอยู่ที่ ๖๑ บาท ต้นทุนยางก้อนถ้วยอยู่ที่ ๒๔ บาท แต่ขายได้ ณ วันนี้ ๑๘-๑๙ บาทแล้วแต่พ่อค้า ท่านที่เคารพครับ ทุกวันนี้พี่น้องชาวสวนยางก็พูดบอกว่า ลูกก็อด รถก็ถูกยึด เพราะฉะนั้น ทำไปก็ขาดทุน ชาวสวนยางก็ต้องทยอยพากันโค่น มีนโยบายในการโค่นยาง โค่นยางปีละ ๒๐๐,๐๐๐ ไร่ ปีละ ๔๐๐,๐๐๐ ไร่ ก็ต้องจ้างโค่นครับ เงินแทบจะไม่มีให้โค่นแล้วครับ ของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ยาง ๑๕ ปีก็โค่นแล้วเพราะอะไร เพราะไม่มีเงินส่งลูก ไปเรียนหนังสือ ก็ขายแค่ตันละ ๑,๕๐๐ บาท ผมอยากจะขอกราบเรียนว่าเมื่อก่อนนั้นขายได้ ตันละ ๓,๐๐๐-๓,๕๐๐ บาท แต่ตอนนี้ได้นิดเดียว ผมอยากจะขอกราบเรียนว่า ณ วันนี้รัฐต้องเข้มงวดในการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องลักลอบยางพาราเข้ามาขายในประเทศ เดี๋ยวนี้ยางเยอะแยะ เข้ามาตามตะเข็บชายแดนไม่มีใครจัดการ ทั้ง ๆ ที่เรามีอาวุธ คำว่ามีก็คือรัฐมนตรีนั่นละครับ ถ้าท่านรัฐมนตรียังฟังอยู่ก็ขอฝากไปหาท่านรัฐมนตรีธรรมนัส ก็แล้วกันนะครับ ท่าน ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เพื่อที่จะใช้พระราชบัญญัติควบคุมยาง ในการที่จะจัดการกับพวกพ่อค้าที่เอารัดเอาเปรียบ ไม่ว่าจะเป็นข้างถนน พ่อค้าคนกลาง หรือพ่อค้าไหนก็แล้วแต่ ท่านไปอ่านดูพระราชบัญญัติควบคุมยาง ที่ผ่านมาพระราชบัญญัติ ควบคุมยาง ไม่เคยเอาเป็นอาวุธในการจัดการพวกนี้ รัฐมนตรีคนก่อน ๆ ทั้ง ๆ ที่ตัวเอง เป็นรัฐมนตรีและกำกับดูแลพระราชบัญญัติควบคุมยาง ปีหนึ่งก็ไม่มีการประชุมครับ เพราะฉะนั้นถ้าหากว่ายังไม่มีการประชุม ไม่มีการจัดการอะไรก็ให้ยกเลิก แล้วก็ปิดบัญชี ของพระราชบัญญัติควบคุมยางเสีย ไม่มีประโยชน์อะไรเลย รัฐมนตรีเป็นประธานเองครับ ผมอยากจะขอฝากไว้ และในขณะเดียวกันมันเยอะเหลือเกิน เพราะว่าเราก็เป็นผู้นำนะครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
ผมอยากจะขอกราบเรียนอีกเรื่องหนึ่งเรื่องอ้อย ท่านครับ พี่น้องชาวไร่อ้อย ซึ่งผมเป็นนายกสมาคมอยู่ มีความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องเงินที่เขาได้ลงทุนไป เขาฝากมาเมื่อวันที่ ๗ ที่ผ่านมานั้น เขาได้เดินทางมาให้กำลังใจ ผู้ที่จะเป็นรัฐบาลโดยการนำของท่านเศรษฐาที่พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ ๗ ขอ Clip เลยครับ
นายธีระชัย แสนแก้ว อุดรธานี ต้นฉบับ
ของอ้อยที่เขามาทวง มาให้กำลังใจ และมาทวงด้วยครับ อันนี้ของจริงไม่ได้หาเสียง ด้วยเหตุนี้กระผมขออภิปรายว่าขอสนับสนุน ญัตติทั้ง ๑๑ ฉบับ ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล ขจัดปัญหา ความทุกข์ร้อนของพี่น้องเกษตรกรโดยด่วน สุดท้ายผมมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลชุดนี้ ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลที่เป็นความหวังของพี่น้องเกษตรกรจะปัดเป่า คราบน้ำตาให้พวกเกษตรกรกลับมามีรอยยิ้มและลืมตาอ้าปากได้อีกครั้งหนึ่ง เหมือนรัฐบาล ไทยรักไทย และพลังประชาชน ขอกราบขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านญาณธิชา บัวเผื่อน ครับ
นางสาวญาณธิชา บัวเผื่อน จันทบุรี ต้นฉบับ
เรียนประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ญาณธิชา บัวเผื่อน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี เขต ๓ พรรคก้าวไกลค่ะ ท่านประธานคะ ดิฉันจะขออภิปรายเกี่ยวกับราคากุ้งขาวราคาตกต่ำ ขอ Slide ด้วยค่ะ
นางสาวญาณธิชา บัวเผื่อน จันทบุรี ต้นฉบับ
จาก Slide เราจะเห็นถึงผลผลิตกุ้ง ของโลก และปริมาณนำเข้ากุ้งของประเทศผู้นำเข้าจากทั่วโลกค่ะ โดยประเทศที่ผลิตกุ้ง ส่งออกกุ้งมากที่สุด ในอันดับแรกก็คือเอกวาดอร์อยู่ที่ ๑,๓๐๐,๐๐๐ ตัน อันดับที่ ๒ คือ อินเดีย ๗๕๐,๐๐๐ ตัน อันดับที่ ๓ เวียดนาม ๗๐๐,๐๐๐ ตัน อันดับที่ ๔ อินโดนีเซีย ๔๐๐,๐๐๐ ตัน และอันดับที่ ๕ ก็คือประเทศไทยอยู่ที่ ๒๘๐,๐๐๐ ตัน รวม ๆ แล้วทั้งโลก ส่งออกกุ้งอยู่ที่ประมาณ ๓,๔๓๐,๐๐๐ ตัน แต่ปริมาณนำเข้ากุ้งของโลกจะอยู่ที่ประเทศ ผู้นำเข้าจากจีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป จะรวม ๆ กันอยู่ที่ ๒,๘๗๒,๐๐๐ ตัน ท่านประธานคะ จากรูปนี้เราพอจะมองออกได้เลยว่าผลผลิตกุ้งมีปริมาณเกินไปกว่า การบริโภค โดยสถานการณ์นี้เราเรียกว่าสถานการณ์กุ้งล้นโลกค่ะ โดยที่มาสถานการณ์ กุ้งล้นโลกตรงนี้จะมีส่วนเกินอยู่ที่ ๕๕๗,๐๐๐ ตัน ที่มาของพื้นที่เลี้ยงกุ้งและผลผลิตกุ้งมาจาก คุณสรพัศ ปณกร เลขาธิการสมาคมการค้าปัจจัยการผลิตสัตว์น้ำไทย และปริมาณนำเข้ากุ้ง ของประเทศผู้นำเข้ากุ้งมาจากกรมประมง จากเดิมปริมาณการผลิตกับการบริโภคกุ้ง จะอยู่ใกล้เคียงกันนะคะ แต่ว่าพอช่วงโควิดเศรษฐกิจของทุกประเทศก็ย่ำแย่ลงค่ะ ดังนั้นในแต่ละประเทศต่างก็มองว่า สินค้าอะไรที่จะทำรายได้ให้กับประเทศได้ ทีนี้ประเทศผู้ที่ผลิตกุ้งไม่ว่าจะเป็น เอกวาดอร์ อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย หรือแม้แต่กระทั่งประเทศไทยต่างก็ส่งเสริมให้ผลิตกุ้ง อย่างประเทศไทยเท่าที่ดิฉันติดตามข่าวมาก็ส่งเสริมให้ผลิตกันถึง ๔๐๐,๐๐๐ ตัน ท่านประธานคะ พอถึงจุดหนึ่งกลายเป็นว่าปริมาณการผลิตมากกว่าการบริโภค ผ่านไป ระยะหนึ่ง มันก็เลยทำให้เกิด Stock คงค้างกุ้งในแต่ละประเทศ แล้วก็ต้องทำการระบาย Stock สินค้ากุ้งออก ดังนั้นจึงเกิดการประกาศลดราคากุ้งครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณช่วงมีนาคมของปีที่แล้ว เพื่อที่จะให้คนมาซื้อกุ้ง กินกุ้งมากขึ้น แต่นั่นก็กลายเป็นว่า เป็นมาตรฐานราคาใหม่ของกุ้งไป เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศลดราคาลงประเทศที่อยู่ได้ ยังพอขายได้ตามราคาที่เขาประกาศซื้อ ก็คือประเทศเอกวาดอร์ค่ะ เพราะว่าประเทศ เอกวาดอร์มีต้นทุนต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย ต้นทุนการเลี้ยงกุ้งของประเทศ เอกวาดอร์ จะอยู่แค่ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ของกุ้งไทยเท่านั้น ทำให้ประเทศผู้นำเข้าหันไปซื้อกุ้ง จากเอกวาดอร์มากกว่าค่ะ ท่านประธานคะเมื่อพูดถึงเรื่องราคาที่ลดลงสิ่งหนึ่งที่ต้องคู่กันเลย เราจะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือในเรื่องของต้นทุน ตารางนี้เป็นตารางเปรียบเทียบต้นทุนรวม ของการเลี้ยงกุ้งกับราคาขายกุ้งในเดือนพฤษภาคมของปี ๒๕๖๖ ค่ะ เป็นข้อมูลของ สมาคมเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทย เราจะพบว่ากุ้ง Size ๘๐ ตัวต่อ ๑ กิโลกรัม ราคาขายปากบ่อ อยู่ที่ ๑๑๕ บาท แต่ต้นทุนการเลี้ยงกุ้งอยู่ที่กิโลกรัมละ ๑๓๔ บาท ขาดทุนไปแล้ว ๑๙ บาท หรือว่าเรามาดูที่ ๑๐๐ ตัว ๑ กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ ๑๐๐ บาท ต้นทุนอยู่ที่ ๑๒๗ บาท ขาดทุนไปแล้วกิโลกรัมละ ๒๗ บาท สมมุติว่าจับ ๕ ตัน ก็ขาดทุนไปแล้ว ๑๓๕,๐๐๐ บาทค่ะ ยิ่งเลี้ยงมากก็ยิ่งขาดทุนมาก อันนี้ยังเป็นราคาในเดือนพฤษภาคม ปี ๒๕๖๖ แต่ ณ ตอนนี้ ณ เดือนนี้ ค่าไฟแพงขึ้น ในขณะที่ราคาขายถูกลงกว่านี้อีกค่ะ จากที่ดิฉัน กล่าวมาข้างต้นราคากุ้งขาวลดลง แต่ต้นทุนรวมในการเลี้ยงกุ้งกลับเพิ่มสูงขึ้น สวนทางกันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟฟ้าหรือว่าค่าอาหารกุ้งเมื่อเปรียบเทียบราคา อาหารกุ้ง ณ ปี ๒๕๖๒ จนถึงปัจจุบันผ่านมา ๔ ปี ราคาอาหารกุ้งจำแนกตามช่วงวัย เพิ่มสูงขึ้นถึง ๒๖ เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรต้องแบกรับกับภาระต้นทุนค่าอาหารที่สูงขึ้นถึง ๒๖ เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ราคาปรับลดลงเรื่อย ๆ ล่าสุดในเดือนสิงหาคมนี้ราคากุ้งขาว Size ๗๐ ตัวต่อ ๑ กิโลกรัม ราคาขายเหลือเพียง ๑๐๔ บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น ถือว่า เป็นราคาที่ต่ำสุดในรอบ ๑๓ ปีนับตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ แบบนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้งประเทศ อยู่ไม่ได้ค่ะ ราคานี้เกษตรกรที่สุราษฎร์ธานีก็อยู่ไม่ได้ ราคานี้เกษตรกรที่ฉะเชิงเทรา ของเขต สส. ซัน ก็อยู่ไม่ได้ ราคานี้เกษตรกรที่นครปฐม สส. กิตติภณ เขต ๔ ก็อยู่ไม่ได้ ที่จันทบุรีก็อยู่ไม่ได้เช่นเดียวกันค่ะ ท่านประธานคะ จากภาวะกุ้งล้นโลกที่ทำให้เกิดปัญหา ราคากุ้งขาวตกต่ำ พรรคก้าวไกลได้ลงไปรับฟังความคิดเห็นและทำงานร่วมกับเครือข่าย สมาคมชมรมของผู้เลี้ยงกุ้งจากทุกภาคส่วน ดิฉันขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเชิง นโยบายเรื่องกุ้งขาวราคาตกต่ำ ๕ ประเด็นดังนี้ค่ะ
นางสาวญาณธิชา บัวเผื่อน จันทบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นแรก ช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าในการเลี้ยงกุ้ง ซึ่งมีสัดส่วนต้นทุนอยู่ที่ ประมาณ ๑๗-๒๐ เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณกิโลกรัมละ ๒๕ บาท โดยให้มีการคิดค่าไฟฟ้า ในราคาภาคเกษตรกรรมค่ะ
นางสาวญาณธิชา บัวเผื่อน จันทบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ต้องการให้มีการแสดงข้อมูลชนิด และปริมาณวัตถุดิบ ในฉลากอาหารกุ้ง ซึ่งในปัจจุบันฉลากอาหารกุ้งมีบอกแค่ชนิด แต่ว่าไม่ได้บอกปริมาณ ยกตัวอย่างเช่น ในฉลากจะบอกแค่ว่ามีส่วนผสมของแป้งสาลี กากถั่วเหลือง ปลาป่น แต่ไม่ได้บอกเลยว่ามีแป้งสาลี กากถั่วเหลือง และปลาป่นกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตรงนี้มันจะสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับคุณภาพของอาหารกุ้ง
นางสาวญาณธิชา บัวเผื่อน จันทบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ประเด็นนี้สำคัญมาก ๆ นะคะ เนื่องจากเราทราบแล้วว่าปัญหา ราคากุ้งขาวตกต่ำเกิดจากภาวะกุ้งล้นโลก ดังนั้นการขยายและการดูแลตลาดกุ้ง ภายในประเทศจึงสำคัญมากค่ะ เช่นเราต้องหาช่องทางการขายตรงไปยังกลุ่มลูกค้าธุรกิจ เช่น กลุ่มร้านอาหาร กลุ่มโรงแรม และกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิด การบริโภคกุ้งให้เพิ่มมากขึ้น จัดการข่าวเชิงลบของกุ้ง พัฒนาเมนูใหม่ ๆ รวมถึงการส่งเสริม ให้ผู้มีชื่อเสียงมาเชิญชวนบริโภคกุ้งให้เพิ่มมากขึ้นค่ะ
นางสาวญาณธิชา บัวเผื่อน จันทบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๔ ควบคุมปริมาณการนำเข้ากุ้งให้เหมาะสม
นางสาวญาณธิชา บัวเผื่อน จันทบุรี ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๕ ออกแบบและกำหนดแผนการแก้ไขปัญหาการส่งออกกุ้งไปยัง ต่างประเทศ ปัจจุบันมีการใช้เทคนิควิธีการเกี่ยวกับมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพ มาเป็นตัวกีดกันในการส่งออกกุ้งของไทยนะคะ ดังนั้นพรรคก้าวไกลขอเสนอให้มีการหารือกับ กรมประมง และกระทรวง อว. เพื่อให้มีการออกแบบตรวจสอบคุณภาพกุ้งไทยที่เลี้ยงอย่าง ถูกวิธีและมีคุณภาพ ให้สามารถยืนยันกับผู้ซื้อในต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจใน คุณภาพของกุ้งไทยได้ค่ะ
นางสาวญาณธิชา บัวเผื่อน จันทบุรี ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ท่านประธานคะ ดิฉันขอเป็นกำลังใจให้ผู้ที่อยู่ในวงการกุ้งทุกภาคส่วน ขอให้ท่านผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ด้วยดี และขอฝากไปยังรัฐบาลใหม่ ขอให้ท่านช่วยแก้ปัญหา เรื่องนี้อย่างเร่งด่วนด้วยค่ะและดิฉันขอย้ำ พรรคก้าวไกลเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ พวกเราอยู่กันอย่างหนาแน่น เพื่อที่จะสะท้อนปัญหานี้ไปยังสภาผู้แทนราษฎร ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ
นายนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ นนทบุรี ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ขออนุญาต นิดหนึ่งนะครับ ผม นนท์ จากจังหวัดนนทบุรี
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ท่านครับ ประท้วงหรือครับ
นายนนท์ ไพศาลลิ้มเจริญกิจ นนทบุรี ต้นฉบับ
หารือนิดหนึ่งครับท่านประธาน คือผมรู้สึกว่าตอนนี้อากาศในห้องนี้มันเริ่มหนาวนิดหนึ่ง ฝากให้ท่านประธานแจ้งไปยัง ท่านเจ้าหน้าที่นิดหนึ่งว่าให้เปิด Air condition ให้สอดคล้องกับผู้ประชุมนิดหนึ่งนะครับ ขอบพระคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
OK ครับ เดี๋ยวรบกวนเจ้าหน้าที่ไปถามท่านสมาชิกหน่อยว่าจะประสงค์อะไร อย่างไรนะครับ เชิญท่านทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย แล้วก็ตามด้วยท่านบุญแก้ว สมวงศ์ ครับ
นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ ผม นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๖ ได้มีตัวแทนจาก ๔ องค์กร ได้แก่ สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมชาวไร่อ้อยภาคอีสาน สหสมาคมชาวไร่อ้อย แห่งประเทศไทย สมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย รวมทั้ง ๓๗ สถาบัน ต้องขออภัย อีก ๓๗ สถาบันที่ไม่ได้เอ่ยนามนะครับ ได้มีตัวแทนนายมนตรี เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ เลขาธิการ สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต ๘ จังหวัดกำแพงเพชร นายรัชชาพงษ์ ด้วงสั้น นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต ๑๑ จังหวัดนครสวรรค์ นายอำนวย กลิ่นสอน เลขานุการนายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต ๑๑ นายประทีป อ้นโต กรรมการสมาคม ชาวไร่อ้อยสี่แคว จังหวัดนครสวรรค์ นายไฉน เที่ยงพลับ กรรมการชาวไร่อ้อยสี่แคว จังหวัดนครสวรรค์ นายมารุต เกตุสวาสดิ์ กรรมการสมาคมชาวไร่อ้อยเขต ๕ จังหวัดสิงห์บุรี นายสมพงษ์ ฉัตรชัยรัตนเวช นายประจวบ พวงสมบัติ เกษตรกร ได้เข้ามายื่นหนังสือหารือ ถึงปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในจังหวัดนครสวรรค์และทั่วประเทศ ที่ปลูกอ้อยได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ประชุมเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ มีมติรับทราบและอนุมัติในหลักการ โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย ที่ตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM2.5 ในอัตราตันละ ๑๒๐ บาท โดยได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ จากรัฐบาลเพื่อลดต้นทุนในการตัดอ้อยสดให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย ๒ ฤดูการผลิต ได้แก่ ปีการผลิต ๒๕๖๔/๒๕๖๕ และการผลิต ๒๕๖๕/๒๕๖๖ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การช่วยเหลือในการตัดอ้อยสดไปอีก ๒ ฤดูคือ ปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ และปีการผลิต ๒๕๖๕/๒๕๖๖ ในฤดูแรก คือฤดูการผลิตของ ปี ๒๕๖๔/๒๕๖๕ รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ที่ตัดอ้อยสดแล้ว ในอัตราตันละ ๑๒๐ บาท ส่วนในฤดูการผลิตของปี ๒๕๖๕/๒๕๖๖ นั้น หลังจากสิ้นสุดหีบอ้อยแล้วในวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๖ เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีเพื่อลดฝุ่น PM2.5 ยังไม่ได้รับการชดเชย ช่วยเหลือจากรัฐบาลตามโครงการที่ผมกล่าวมาข้างต้น ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยเดือดร้อน เนื่องจากได้สำรองจ่ายค่าแรง ค่าตัดอ้อยสดให้กับคนงานไปแล้วนั้น อีกทั้งเกษตรกร ยังต้องแบกรับภาระกู้เงินมาจ่ายค่าแรงงานตัดอ้อยสดที่เพิ่มขึ้นพร้อมทั้งเสียดอกเบี้ย โดยในวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๖ ผู้แทน ๔ องค์กรชาวไร่อ้อยได้ขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อนำปัญหาเสนอช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสด เพื่อลดฝุ่น PM2.5 ในอัตราตันละ ๑๒๐ บาท ต่อมา ๔ องค์กรชาวไร่อ้อยดังกล่าวได้นำเรียนปัญหา ที่เกิดขึ้นต่อปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้ท่านนำเรียนเรื่องดังกล่าวเสนอคณะกรรมการ อ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อพิจารณาและนำเสนอรัฐบาลดำเนินการจัดสรรงบประมาณ ช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเข้าโรงงานปีการผลิต ๒๕๖๕/๒๕๖๖ โดยเร่งด่วน ซึ่งเกษตรกรมีความเข้าใจว่าจะจ่ายเงินให้เร็วเหมือนปีการผลิต ๒๕๖๔/๒๕๖๕ เกษตรกร ได้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหา ฝุ่น PM2.5 ถ้ารัฐบาลขาดการส่งเสริมให้ เกษตรกรตัดอ้อยสดจะทำให้เกิดปัญหาอ้อยไฟไหม้เพิ่มขึ้น ซึ่งอ้อยไฟไหม้นั้น เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวในช่วงฤดูการตัดอ้อย ทำให้เกษตรกร ถูกมองว่าไม่รับผิดชอบต่อสังคม ทั้งที่อ้อยไฟไหม้นั้นเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่ผ่านมา เกษตรกรพยายามร้องเรียนผ่านตัวแทนต่าง ๆ แต่กลับไม่ได้รับการตอบรับจากภาครัฐ ทั้งที่เกษตรกรทำตามนโยบายของรัฐบาล แต่ภาครัฐกลับจะใช้มาตรการทางกฎหมายกับ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ซึ่งไม่ได้ให้ความเป็นธรรมกับเกษตรกร เช่นอ้อยไฟไหม้ จากเดิม ตัดราคาตันละ ๓๐ บาท แต่กลับตัดราคาเพิ่มเป็นตันละ ๙๐ บาท ซึ่งเป็นภาระกับเกษตรกร อีก หน่วยงานราชการกลับเพิกเฉยไม่พูดถึงว่าจะดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรเมื่อไร กลายเป็นสร้างเงื่อนไข สร้างภาระให้เกษตรกร ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา สมาคมชาวไร่อ้อย ทั้ง ๓๗ สมาคมและ ๔ องค์กร พร้อมทั้งเกษตรกรชาวไร่อ้อยอีก ประมาณ ๒,๐๐๐ คน ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ณ ที่ทำการพรรคเพื่อไทย โดยมีนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยในขณะนั้น ได้มารับหนังสือแทนท่านนายกรัฐมนตรี และให้กำลังใจตัวแทนเกษตรกรด้วยตนเอง ดังนั้นขอให้รัฐบาลดำเนินการจ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยที่ปฏิบัติตามนโยบาย ของรัฐบาลโดยเร่งด่วน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ในจังหวัดนครสวรรค์ และทั่วประเทศที่ปลูกอ้อยและตัดอ้อยสดตามนโยบายของรัฐบาล ขอฝากเป็นเรื่องของนโยบายรัฐบาลใหม่ด้วยครับ
นายทรงศักดิ์ ส่งเสริมอุดมชัย นครสวรรค์ ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ จากภาวะวิกฤติภัยแล้ง เห็นได้ว่าถึงแม้ข้าวโพดจะผลิตออกมาได้ ไม่มากเท่าที่ควร แต่ราคาข้าวโพดกลับลดลงต่ำทุก ๆ วัน ตาม Slide ที่ให้เพื่อนสมาชิก ได้รับทราบดูนะครับ จากการนำเข้าวัตถุดิบทดแทนตามมาตรการ ๓ ต่อ ๑ ซึ่งมีการนำเข้า วัตถุดิบทดแทนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาข้าวโพดของเกษตรกรตกต่ำลงตามที่เกษตรกร ได้ร้องเรียนมา เพราะการนำเข้าวัตถุดิบทดแทนนั้น เป็นการนำเข้าช่วงที่เกษตรกร กำลังเก็บเกี่ยว อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเรื่องมาตรการ ๓ ต่อ ๑ นำเข้านั้น สอดคล้องกับความเป็นจริงของฤดูการผลิตหรือเปล่า กราบขอบพระคุณท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านบุญแก้วครับ อันนี้ไม่ต้องใช้ ๕ นาทีก็ได้นะครับ เป็น ๗ นาทีก็ได้
นายบุญแก้ว สมวงศ์ ยโสธร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ กระผม นายบุญแก้ว สมวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นผมก็ต้องขอขอบคุณ ท่าน สส. ที่เสนอญัตติทั้ง ๑๑ ท่าน ตามที่ผมได้ลงพื้นที่พบปะพี่น้องเกษตรกรที่จังหวัดยโสธร จึงได้รับทราบถึงปัญหาราคาพืชผล ทางการเกษตรตกต่ำ แต่ต้นทุนการผลิตราคาที่สูงขึ้น ราคาสินค้าที่ตกต่ำทำให้เกษตรกร ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ประเด็นที่ผมจะพูดถึงเรื่องสินค้าการเกษตรที่ตกต่ำ มีดังนี้ครับ ท่านประธาน บ้านผมจังหวัดยโสธรส่วนมากจะปลูกข้าวหอมมะลิ จังหวัดยโสธร นั้นถือได้ว่าเป็นแหล่งข้าวหอมมะลิที่ผลิตมากที่สำคัญของระดับประเทศ อย่างเช่น คำขวัญของจังหวัดยโสธร เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ แต่ในปัจจุบันเกษตรกรที่ทำนาได้รับความเดือดร้อนจากการแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง เปรียบเทียบกับราคาข้าวหอมมะลิในปัจจุบันนะครับท่านประธาน กิโลกรัมละ ๑๐-๑๓ บาท ท่านประธานครับตอนนี้ราคาถึงจะสูงขึ้น ๑-๑๓ บาท ชาวนาก็ไม่มีขาย เพราะว่าข้าวทุกเม็ดอยู่ที่โรงสีตอนที่อยู่ในยุ้งฉางของพี่น้องเกษตรกรกิโลกรัมละ ๘ บาทนะครับท่านประธาน แต่ไปถึงโรงสีแล้วตอนนี้ราคาสูงขึ้นกิโลกรัมละ ๑๐-๑๓ บาท จังหวัดยโสธรมีพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ ๑,๓๔๗,๓๙๖ ไร่ ต่อไร่นะครับ และ ๑ ไร่ จะปลูกข้าว ได้ประมาณ ๓๗๖-๔๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ และปริมาณผลผลิตต่อตัน ๕๐๘,๓๑๙ ตันต่อปีนะครับ คิดเป็นเงินได้ไร่ละ ๕,๐๐๐ บาทครับท่านประธาน เมื่อนำมาเทียบกับต้นทุนการผลิต ราคาเมล็ดพันธุ์ ราคาค่าไถนา ราคาปุ๋ยที่มีราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ราคารถเกี่ยวข้าว รวมถึง ราคาใช้จ่ายอื่น ๆ ในการดูแลเฉลี่ยไร่ละประมาณ ๕,๐๐๐ บาท เปรียบเทียบกับราคาที่ ขายได้มีผลต่างแค่ไร่ละ ๒๐๐ บาทครับท่านประธาน ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน เป็นอย่างมาก เพราะต้องแบกรับภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ผมจึงฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดหาทางแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว ทั้งที่กรมการข้าวเป็นคนผลิตนะครับ ท่านประธาน แต่นำเมล็ดพันธุ์มาขายให้กับเกษตรกรในราคาที่สูงเท่ากับในราคาตลาด รวมทั้งราคาปุ๋ยที่ราคาเพิ่มขึ้นทุก ๆ วันครับท่านประธาน ผมซึ่งเป็นตัวแทนของ พี่น้องเกษตรกร ผมเป็นลูกชาวไร่ชาวนา ทุกวันนี้ก็ยังทำนา ถ้าใครไม่เชื่อก็ไปดูนะครับ ทำนา แล้วก็ทำสวนยาง ยางพาราท่านธีระชัยได้พูดไปแล้ว สิ่งต่าง ๆ ที่ราคาก็ตกต่ำ โดยเฉพาะยางพาราบ้านผมเป็นสินค้าทางการเกษตรที่ตกต่ำมาก ทำให้ชาวสวนยาง ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก จังหวัดยโสธรมีพื้นที่ปลูกยางพาราอยู่ ๑๑๗,๐๗๓ ไร่ ผลผลิตได้ ๒๑๒ กิโลกรัมต่อไร่ ประมาณการผลิต ๒๓,๙๕๐ ตันครับท่านประธาน และราคายางก้อนทุกวันนี้ที่จังหวัดยโสธรที่พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางไปขาย ๑๖-๒๐ บาท บางวันก็ ๑๖ บาท บางวันก็ ๒๐ บาท ตอนนี้ ๕-๖ กิโลกรัม ๑๐๐ บาทครับท่านประธาน ยางแผ่นเฉลี่ยกิโลกรัมละ ๓๕-๔๔ บาท ตอนสมัยท่านอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล ราคายางก้อนกิโลกรัมละ ๔๐ บาท ยางแผ่นกิโลกรัมละ ๘๐-๙๐ บาท ถึงราคาจะตกต่ำแค่ไหนเกษตรกรก็ต้องทนกรีดยางเพื่อจะนำเงินที่น้อยนิดมาใช้ดำรงชีวิตไป แต่ละวัน ถ้าต้องตัดทิ้งก็ยิ่งแบกรับภาระ ก็อยากฝากท่านประธานผ่านไปยังรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านธรรมนัส พรหมเผ่า เห็นท่านลงไปดูมังคุดที่ตกต่ำ ทางภาคใต้ ผมก็ชื่นชมนะครับ ชื่นชมที่ท่านขยันลงพื้นที่ อย่างไรก็ฝากไปทางจังหวัดยโสธร ด้วยนะครับท่านรัฐมนตรี
นายบุญแก้ว สมวงศ์ ยโสธร ต้นฉบับ
สุดท้าย ปัญหาที่ผมได้กล่าวมาทั้ง ๒ ประเด็น เป็นปัญหาที่ซ้ำซากที่หาทาง แก้ไขไม่ได้ ผมหวังว่าพรรคเพื่อไทยจะสามารถแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็น ราคาข้าวหอมมะลิ ราคายางพาราที่ตกต่ำ และจะทำให้สูงขึ้นให้สมดุลกับต้นทุนในการผลิต โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี คนที่ ๓๐ นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะนำปัญหาของพี่น้องประชาชน เพื่อจะช่วยเหลือให้กับพี่น้อง ประชาชนได้ลืมตาอ้าปากได้ครับ ขอกราบขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านศิรสิทธิ์ สงนุ้ย ครับ
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม ศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร เขต ๓ พรรคก้าวไกล ขอร่วมอภิปรายในเรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎร แก้ไขปัญหาราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ ท่านประธานครับ ผมเองอยู่ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว มีพี่น้องเกษตรกรเลี้ยงกุ้งได้รับผลกระทบ จากราคาตกต่ำ แต่เดี๋ยวจะมีเพื่อนสมาชิกจากพรรคก้าวไกลได้ร่วมอภิปรายประเด็นนี้ เป็นหลักครับ
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ในอำเภอบ้านแพ้ว ขึ้นชื่อคือมะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร แต่ทว่าที่ผมจะพูดในวันนี้ ก็เป็นเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวทั่วประเทศเช่นกัน คือมะพร้าวแกง ที่ราคาผลผลิตตกต่ำเป็นอย่างมาก สาเหตุมาจากอะไรบ้าง ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการระบาด ของศัตรูพืชในปี ๒๕๕๓-๒๕๕๖ และภัยแล้งในปี ๒๕๕๘-๒๕๕๙ ทำให้ผลผลิตมะพร้าวของ ไทยกำลังฟื้นตัวกลับขึ้นมาแบบช้า ๆ ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจของเกษตรกรคืออะไร คือราคาของ มะพร้าว แต่ราคามะพร้าวกลับมีความผันผวนสูงมาก ทั้งที่เราก็สามารถส่งออกมะพร้าวเป็น ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบ และเป็นที่ต้องการของตลาดโลกได้ แต่มะพร้าวตอนนี้ มีเพียง ๗๐ เปอร์เซ็นต์ของความต้องการมะพร้าวในประเทศเท่านั้น สถานการณ์ล่าสุดครับ ท่านประธาน เมื่อต้นเดือนสิงหาคม ๒๕๖๖ ราคามะพร้าวอยู่ที่ ๗.๘๓ บาทต่อผล ลดลงจาก ๑๖.๕๖ บาทต่อผล เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๖๔ ต้นทุนการผลิตตามข้อมูลของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรอยู่ที่ ๗.๓๐ บาทต่อผล หรืออาจมากกว่านี้ ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ของมะพร้าวเท่ากับ ๘๒๗ ผลต่อไร่ต่อปี เพราะฉะนั้นแล้วหากมะพร้าวยังราคานี้อยู่ ผลตอบแทนของชาวสวนมะพร้าวจะเท่ากับ ๔๓๘.๓ บาทต่อไร่ต่อปี ท่านประธานครับ ข้อมูลจากสถิติบอกว่าชาวสวนมะพร้าว ๑๖๗,๐๐๐ ครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกมะพร้าว เฉลี่ยครัวเรือนละ ๔.๙๑ ไร่ เพราะฉะนั้นแล้ว ณ ราคามะพร้าว ๗.๘๓ บาทต่อผล ชาวสวนมะพร้าวจะมีผลตอบแทน เพียง ๒,๑๕๒ บาทต่อครัวเรือนต่อปี แค่นั้นครับท่านประธาน ที่เราเห็นอยู่นี้คือ ราคามะพร้าวที่เคลื่อนไหวขึ้นลงตามฤดูกาล ราคามะพร้าวจะเริ่มลดลงในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตออกมามาก โดยผลผลิตจะออกมาสูงสุด ในเดือนมิถุนายนของทุกปี ส่วนราคามะพร้าวจะสูงสุดในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ของทุกปี ส่วนปริมาณการใช้ในแต่ละเดือนนั้นทั้งใช้ในประเทศ และส่งออกค่อนข้าง สม่ำเสมอกัน ในช่วงที่ราคาผลผลิตในประเทศสูงในเดือนธันวาคมถึงมกราคมจะเป็น แรงกระตุ้นให้มีการนำเข้ามะพร้าวและผลิตภัณฑ์ เช่น กะทิสำเร็จรูปในช่วงเดือนธันวาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ และเลยไปจนถึงเดือนเมษายนของแต่ละปี ท่านประธานครับ ปริมาณ นำเข้ามะพร้าว และผลิตภัณฑ์ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายนจะกดดันให้มะพร้าว ของชาวสวนที่ทยอยออกในเดือนมีนาคมเป็นต้นมาขายออกยาก และราคาตกต่ำลง ปริมาณ นำเข้าเฉลี่ย ๓ เดือน ยิ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผลผลิตในประเทศรายเดือนนั้น เพียง ๖๔ เปอร์เซ็นต์ ทั้ง ๆ ที่ควรจะจัดการให้สวนทางกัน หมายถึงอะไรครับ หมายถึงว่า ผลผลิตในประเทศลดลงจึงค่อยนำเข้ามากขึ้น และกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ ราคามะพร้าวนั้นผันผวนขึ้นครับ ยิ่งเมื่อการส่งออกผลิตภัณฑ์มะพร้าวในช่วงครึ่งปีแรก ของปี ๒๕๖๖ ลดลงจากครึ่งปีแรกของปี ๒๕๖๕ ถึง ๒๗ เปอร์เซ็นต์ ราคามะพร้าวปีนี้ จึงยิ่งตกต่ำลง
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
ข้อแนะนำ เรื่องที่ ๑ กำหนดราคาเป้าหมายในการบริหารจัดการให้อยู่ที่ ระดับ ๑๕ บาทต่อผล และเพิ่มผลผลิตมะพร้าวให้ได้ ๑,๐๐๐ ผลต่อไร่
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
๒. เพื่อให้ชาวสวนมีผลตอบแทนสุทธิระดับ ๘,๐๐๐ บาทต่อไร่ ไม่ใช่ ๔๓๘ บาทต่อไร่ และ ๔๐,๐๐๐ บาทต่อครอบครัวต่อปี ไม่ใช่ ๒,๑๕๐ บาทต่อครัวเรือนต่อปี เช่นในปัจจุบันครับท่านประธาน
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
๓. จัดการการนำเข้ามะพร้าวในช่วงที่เหมาะสม ควรลดการนำเข้ามะพร้าว ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน เพื่อมิให้กดดันราคามะพร้าวในประเทศ
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
๔. ควบคุมการเคลื่อนย้ายมะพร้าวนำเข้าให้อยู่ในพื้นที่ที่นำเข้าเพื่อการแปรรูป เท่านั้น และส่งออก เพื่อมิให้กระทบกับราคามะพร้าวในประเทศ
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
๕. เข้มงวดกับเรื่องมาตรการสุขอนามัยพืชในการนำเข้า เพื่อมิให้เกิดปัญหา ศัตรูพืชระบาดในมะพร้าวเช่นที่เกิดขึ้นในเมื่อ ๑๐ ปีก่อน
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
ข้อสุดท้าย ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มะพร้าว เพราะปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำเข้ามะพร้าว น้ำมันมะพร้าว ไม่ใช่ผู้ส่งออกอย่างที่บางคน เข้าใจผิดกัน
นายศิรสิทธิ์ สงนุ้ย สมุทรสาคร ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ และนี่คือปัญหาของพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวแกง ทั่วประเทศ และพี่น้องที่เลี้ยงกุ้งขาวที่ราคาตกต่ำลง ผมก็อยากจะฝากสภาผู้แทนราษฎร แล้วก็ท่านรัฐมนตรีธรรมนัส พรหมเผ่า แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนนี้อย่างเร่งด่วน ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านอามินทร์ มะยูโซ๊ะ ตามด้วยท่านพรรณสิริ กุลนาถศิริ ครับ
นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ นราธิวาส ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ และเพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่าน กระผม นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส เขต ๒ พรรคพลังประชารัฐ ขออนุญาตอภิปรายในประเด็นผลผลิต ทางการเกษตรที่ตกต่ำ ในเรื่องของยางพารา ปาล์มน้ำมัน เพื่อนสมาชิกได้อภิปราย หลายท่านแล้ว ผมจึงขออภิปรายในส่วนของพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น เช่น เงาะ ลองกอง มังคุด และทุเรียนบ้าน ท่านทราบหรือไม่ว่าราคาปลายน้ำของผลไม้เหล่านี้มีราคาสูง แต่ก็สมเหตุสมผล เพราะผลไม้ที่มีรสชาติที่ดี มีผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผลไม้ทาง ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ที่ฝ่าฝน ฝ่าแดด รอดมาจนถึงมือผู้บริโภคได้ แต่ปัญหามันอยู่ที่ราคาต้นน้ำ คือราคาหน้าสวนของเกษตรกรมันตกต่ำเหลือเกินครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ล่าสุดผมต้องขอขอบคุณ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขออนุญาตเอ่ยชื่อท่านนะครับ ท่าน ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า และรัฐมนตรีช่วยว่าการทั้ง ๒ ท่าน ที่ลงไปดูเรื่องมังคุด ราคาตกต่ำเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และได้มอบนโยบายเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ผมได้มีโอกาส ติดตามท่านไปด้วย จึงทราบว่าราคามังคุดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ค่าขึ้นต้นกิโลกรัมละ ๑๐ บาท ในขณะเดียวกันที่บ้านผม ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ราคามังคุดต่อกิโลกรัม แค่ ๑๐ บาท ค่าขึ้นกิโลกรัมละ ๒ บาท ในเวลาที่ผลผลิตทางการเกษตรออกมา ล้นตลาดทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ เช่น เงาะ ราคาหน้าสวนกิโลกรัมละ ๓ บาท ๓ บาทนี้ ต้องจ้างคนมาเก็บ ค่าจ้างกิโลกรัมละ ๒ บาทนะครับ เจ้าของสวนได้แค่ ๑ บาท หดหู่เหลือเกินครับท่าน ลองกองก็เช่นเดียวกันครับท่านประธาน ช่อ Size ขนาดครึ่งแขน เกรด A+ ตาสีตาสาแถวบ้านผมไม่มีโอกาสได้กินหรอกครับ ส่งขึ้นมาภาคกลาง แล้วก็ส่งออกต่างประเทศอย่างเดียว ในกรุงเทพฯ ต่ำ ๆ ๑ กิโลกรัมละ ๘๐-๙๐ บาท แต่หน้าสวน กิโลกรัมละ ๑๐ บาทเช่นกัน สงสารชาวสวนตาดำ ๆ ครับท่าน ผมในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ชาวบ้านเลือกมาให้เป็นปากเสียงแทนชาวบ้าน ดีใจนะครับ ที่ตอนนี้เรามีนายกรัฐมนตรี เราเพิ่งจะมีคณะรัฐมนตรี ประเทศกำลังจะได้รับการแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งกว่ากระทรวงที่เกี่ยวข้องกับปัญหาพืชผลทางการเกษตร ที่ตกต่ำเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ก็ดี หรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ดี จะเข้ามามีบทบาทสำคัญ และสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และที่สำคัญยกระดับ คุณภาพชีวิตของเกษตรกร และมีแนวคิดที่จะสร้างโรงงานแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ เช่น โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง โรงงานผลไม้อบแห้ง หรือแม้แต่ ทุเรียนกวน เราสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ ทำให้เป็นรูปธรรม มีตรา Halal ผลิตจาก ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งออกไปขายยังประเทศแถบตะวันออกกลาง หรือประเทศโลกมุสลิม ซึ่งประเทศเหล่านี้นิยมผลไม้จากประเทศไทยเป็นอย่างมาก แล้วก็สามารถแก้ปัญหาผลผลิตที่ตกต่ำ โดยเฉพาะใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้อย่างแน่นอนนะครับ
นายอามินทร์ มะยูโซ๊ะ นราธิวาส ต้นฉบับ
แล้วก็อีกเรื่องหนึ่ง เรามีสภาเกษตรอยู่ในทุก ๆ จังหวัด ซึ่งผ่านการเลือกตั้งมา เหมือนพวกเราที่อยู่ในสภาแห่งนี้ แต่หน่วยงานนี้ไม่ได้รับความสำคัญ ไม่ได้รับการส่งเสริม ไม่ได้รับการเพิ่มบทบาท เพิ่มศักยภาพเท่าที่ควร ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเหล่านี้ล้วนมีความรู้ ความสามารถ รู้ปัญหา รู้เรื่องเกษตรเป็นอย่างดี ผมจึงฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านท่านประธานช่วยพิจารณาในเรื่องของโรงงานแปรรูป และการเพิ่มศักยภาพของ สภาเกษตรด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านพรรณสิริ ครับ
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย เขต ๑ พรรคเพื่อไทย ดิฉันเห็นด้วยกับญัตติในการแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ และต้นทุนสูง ทั้ง ๑๑ ฉบับ ด้วยกันค่ะ และในประเด็นปัญหาที่ดิฉันจะกล่าวต่อไปนี้เป็นการเน้นย้ำ ว่ามีความเดือดร้อนของเกษตรกรจริง ๆ ค่ะ นั่นก็คือปัญหาชาวไร่อ้อย ในกรณีที่ต้นทุนสูง และรายได้ต่ำ เกิดจากการตัดอ้อยสด และปัญหาที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของ ดินเสื่อมค่ะ ขอ Slide ค่ะ
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพคะ อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลที่ไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ อันดับ ๔ ของโลกค่ะ รองจากบราซิล อินเดีย และสหภาพยุโรป ปลูกใน ๔๗ จังหวัด เกือบทุกภูมิภาค พื้นที่ ๑๑.๓๘ ล้านไร่ เราได้อ้อย ๑๑๓.๐๒ ล้านตัน สามารถส่งโรงงานได้ ๙๓.๙๔ ล้านตัน ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ ๑,๐๐๐ บาทต่อตัน มีเงินหมุนเวียนในภาคอุตสาหกรรม ให้กับประเทศไทยเราถึง ๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี ท่านประธานคะ ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาวของชาวไร่อ้อยที่เดือดร้อนมาก โดยในปี ๒๕๖๔ รัฐบาลได้มีโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้ตัดอ้อยสดคุณภาพดี แทนการเผาอ้อย รวมทั้งให้ชาวเกษตรกรได้ช่วยกันเฝ้าระวังไฟไหม้ด้วย เพื่อลดฝุ่นละออง ขนาดเล็ก PM2.5 ชาวไร่อ้อยเต็มใจค่ะ เพื่อช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตที่ดีค่ะ ความแตกต่างของการตัดอ้อยสดกับอ้อยไฟไหม้ หรืออ้อยที่ถูกไฟเผานี้ จะมีค่าใช้จ่ายที่ต่างกัน ๑๒๐ บาทต่อตัน นั่นคือการตัดอ้อยสดจะมีค่าแรงในเรื่องของ การริดใบอ้อย และ/หรือการใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการตัดอ้อยท่อนเพื่อส่งโรงงาน ถ้าเป็น อ้อยที่มีการเผาไหม้การตัดจะรวดเร็ว และค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า การนี้คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ที่จะสนับสนุนเกษตรกรที่ ๑๒๐ บาทต่อตัน ก็คือ ๑,๒๐๐ บาทต่อไร่ ท่านประธานคะ ในรอบปีที่มีการปลูกไปแล้ว ปี ๒๕๖๔-๒๕๖๕ วงเงิน ๘,๓๑๙.๗๔ ล้านบาท ได้มีการจ่ายให้ชาวไร่ ประมาณร้อยละ ๘๐ ยังไม่ครบค่ะ และในขณะเดียวกันในรอบปีที่ ๒ ก็คือปี ๒๕๖๕ และสิ้นสุดไปเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๖๖ ชาวไร่อ้อยยังไม่ได้สักบาทเดียวค่ะ จากข้อตกลงเงื่อนไขเดิม ๒ ช่วงปีที่มีการปลูก ขณะนี้ ก็จะเข้ารอบที่ ๓ เกษตรกรก็เริ่มลงการปลูกอ้อยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
จากปัญหาดังกล่าวนี้เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม สหสมาคมชาวไร่อ้อย ๕ จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร สิงห์บุรี อุตรดิตถ์ สุโขทัย ซึ่งมี ๒ สหสมาคม และพื้นที่สุโขทัยปลูกอ้อย ๓๑๑,๐๐๐ ไร่ ผลผลิต ๒.๗ ล้านตัน พี่น้องสหสมาคมขอพบท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี และสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดพื้นที่เกษตรไร่อ้อย ๑๔ ท่านด้วยกันค่ะ เพื่อขอความช่วยเหลือ เร่งรัดติดตามเงินดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามมติของคณะรัฐมนตรี และในขณะเดียวกันจากการพบปะพูดคุยหารือทำให้ทราบว่าการที่อ้อยมีไฟไหม้ เพิ่มขึ้นนั้น เนื่องด้วยปริมาณการปลูกตามนโยบายของกระทรวงที่ส่งเสริมให้มีการผลิต มากขึ้น จากร้อยละ ๒๗.๒๘ เป็นร้อยละ ๓๒.๗๙ นั้น นั่นก็คือปริมาณอ้อยที่เพิ่มขึ้น
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
และอีกส่วนหนึ่ง ก็คือในปีที่ผ่านมาฝนตกหนักทำให้ใบอ้อยมีปริมาณมาก การตัดก็ยุ่งยากมากยิ่งขึ้น
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
อีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการพบปะพูดคุย ก็คือการปลูกอ้อยจะทำให้ ดินเป็นกรดค่ะ ในกรณีที่มีการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติก็ดี หรือเกิดจากการเผาไหม้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ ในอดีตที่ผ่านมาการเผาจะทำให้เกิดเถ้าที่มีคุณสมบัติเป็น Base นะคะ จากการปลูกอ้อยที่เป็นดินกรดจะทำให้เกิดสมดุลธรรมชาติ ดินจะเกิดความเป็นกลาง และในปีต่อไปก็จะสามารถปลูกอ้อยได้ผลผลิตที่ดี ในกรณีดังกล่าวนี้ชาวไร่อ้อยยังรวมตัวกัน กับอีก ๓๗ สหสมาคมมาพบท่านนายกรัฐมนตรี แล้วก็รัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ๒,๐๐๐ กว่าท่านที่เดินทางมาด้วยความทุกข์ใจ เพื่อให้เร่งรัดการจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าว และดิฉันคิดว่าการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยจะมีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในประเด็น ที่ควรจะช่วยเหลือนั้น ดิฉันขอเสนอ ๕ ประเด็นดังนี้ค่ะ
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
ในประเด็นที่ ๑ ในส่วนของรัฐบาล และกระทรวงอุตสาหกรรมขอให้ เร่งจ่ายเงินสนับสนุนตามโครงการตัดอ้อยสดคุณภาพดีรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งตัดไปแล้ว ๑๒๐ บาทต่อตันโดยเร็วค่ะ
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
ในประเด็นที่ ๒ ขอให้กำหนดแนวทางสนับสนุนการตัดอ้อยสดในปี ๒๕๖๖-๒๕๖๗ ซึ่งขณะนี้ลงปลูกกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งการสนับสนุนอาจจะมีแนวทางในเรื่องของ การเพิ่มเครื่องมือ เครื่องจักรก็ได้ค่ะ
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
ในประเด็นที่ ๓ ขอให้เร่งแก้ปัญหาดินเสื่อม หรือดินกรดดังได้กล่าวมาแล้ว และขอให้แก้ปัญหาในเรื่องของการขาดน้ำ ขณะนี้ในภาคเหนือตอนล่าง เช่น จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ ก็เกิดในเรื่องของความแห้งแล้ง น้ำไม่เพียงพอ อ้อยก็แคระแกร็น ขอให้มีมาตรการในเบื้องต้น เช่น การทำฝนเทียม หรือในเรื่องของ การชลประทาน
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
ในประเด็นที่ ๔ ดิฉันขอเสนอว่าให้กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมมือกับ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศึกษาสายพันธุ์อ้อยที่เหมาะสมต่อดิน น้ำ อากาศ แล้วก็ความทนทานต่อวัชพืช เพื่อพัฒนาผลผลิตต่อไร่ในแต่ละภาค ซึ่งขณะนี้ พบว่าผลผลิตต่อไร่สูงสุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถัดมาก็คือภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือผลผลิตน้อยที่สุด อยู่ที่ประมาณ ๘.๙ ตันต่อไร่
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ
ในประเด็นท้ายสุด ขอให้พิจารณาเพิ่มแหล่งเงินทุนเข้ากองทุนอ้อย และน้ำตาล เพื่อช่วยเกษตรกรชาวไร่อ้อยอย่างเหมาะสมต่อไป ก็ขอเสนอ ๕ ประเด็น เพื่อผลักดันไปสู่การช่วยเหลือชาวไร่อ้อยอย่างแท้จริงค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านณรงเดช อุฬารกุล ครับ
นายณรงเดช อุฬารกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายณรงเดช อุฬารกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ วันนี้ผมมาพูดถึงปัญหาของพี่น้อง เกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบที่รายได้ตกต่ำ ปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบมีสาเหตุที่แตกต่าง จากผลผลิตทางการเกษตรประเภทอื่น กล่าวคือได้รับผลกระทบโดยตรงจากนโยบายของรัฐ ที่ผิดพลาด ขาดความรอบคอบ ท่านประธานครับ จากการปรับอัตราภาษีสรรพสามิต ในปี ๒๕๖๐ ส่งผลทำให้โครงสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดระหว่างผู้ผลิตบุหรี่ไทยกับบุหรี่นอก เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมผู้ผลิตบุหรี่ไทยมีส่วนแบ่ง ๗๐ เปอร์เซ็นต์ในแต่ละปี จนถึงเกือบ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ในบางปี แต่หลังจากมีการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตใหม่ ทำให้บุหรี่ไทย มีสัดส่วนทางการตลาดลดลงเหลือเพียง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งกระทบโดยตรงต่อพี่น้อง เกษตรกร เนื่องจากผู้ผลิตบุหรี่ไทยผูกขาดโดยรัฐบาล ซึ่งก็คือการยาสูบแห่งประเทศไทย ได้ทำการลดโควตาการรับซื้อใบยาสูบจากพี่น้องเกษตรกรลงตามสัดส่วนทางการตลาด ที่ลดลง โดยโควตาได้ลดลงจากปี ๒๕๖๐ ที่เคยรับซื้อใบยาสูบสายพันธุ์เวอร์จิเนีย ๙.๖ ล้านกิโลกรัม ในปี ๒๕๖๕ กลับเหลือเพียง ๔.๒ ล้านกิโลกรัม หรือลดลง ๕๖ เปอร์เซ็นต์ สายพันธุ์เบอร์เลย์ จากที่เคยรับซื้อ ๑๐.๗ ล้านกิโลกรัม เหลือเพียง ๕.๓ ล้านกิโลกรัมหรือลดลง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ สายพันธุ์เตอร์กิช จากที่เคยรับซื้อ ๓.๗ ล้านกิโลกรัม เหลือเพียง ๑.๒ ล้านกิโลกรัม หรือลดลง ๖๘ เปอร์เซ็นต์ จากที่พี่น้องเกษตรกรเคยขายยาสูบได้กว่าปีละ ๒๔ ล้านกิโลกรัม กลับเหลือเพียง ๑๐.๘ ล้านกิโลกรัม ในปัจจุบันถึงแม้จะมีการรับซื้อใบยาสูบบางสายพันธุ์ในราคาที่สูงขึ้น แต่ก็เป็นผลจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เกษตรกรต้องลดการปลูกใบยาสูบจากโควตาที่ได้รับลดลง จากเดิมเรามีพื้นที่ปลูกใบยาสูบ ๑.๕ แสนไร่ ในปัจจุบันเหลือเพียง ๑๐๐,๐๐๐ ไร่ จากที่เคยมีครัวเรือนพี่น้องเกษตรกรปลูกใบยาสูบ ๒๖,๐๐๐ ครัวเรือน เหลือเพียง ๑๕,๐๐๐ ครัวเรือน ลดลง ๔๑ เปอร์เซ็นต์จากรายได้ที่เคยตกถึงมือพี่น้องเกษตรกรกว่า ๒,๕๐๐ ล้านบาทในแต่ละปี เหลือเพียงไม่ถึง ๑,๐๐๐ ล้านบาทในปัจจุบัน ครัวเรือนเกษตรกรยังประกอบอาชีพปลูกใบยาสูบ จากที่เคยมี รายได้เฉลี่ยเดือนละ ๘,๐๐๐ บาท เหลือเพียง ๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน การออกนโยบายที่ ผิดพลาดของรัฐส่งผลต่อชีวิตของเกษตรกรโดยตรง จากอาชีพที่เคยมั่งคั่งกลับกลายเป็น อาชีพที่ต้องคอยลุ้นว่าในอนาคตจะได้รับโควตาหรือไม่ ท่านประธานครับ ผมได้เข้าไปดู บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการการยาสูบแห่งประเทศไทย ผู้ซึ่งอยู่มาได้ ๘๔ ปี เพราะเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบ แต่ไม่มีบรรทัดไหนเลยครับที่กล่าวถึงเกษตรกรผู้ปลูก ใบยาสูบ ไม่มีอนุกรรมการชุดไหนเลยครับที่ตั้งขึ้นเพื่อดูแลความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกร ผู้ปลูกใบยาสูบ การบริหารงานของการยาสูบแห่งประเทศไทย มุ่งเน้นผลกำไร บนความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร แทนที่จะบริหารความเสี่ยงจากความผันผวน ของตลาดยาสูบด้วยตัวเอง กลับโยนความเสี่ยงให้เกษตรกรโดยกำหนดโควตาเป็นรายปี แทนที่จะมีแผนระยะยาวให้พี่น้องเกษตรได้ปรับตัว นโยบายความช่วยเหลือเกษตรกรที่มีก็เป็นเพียงการชดเชยในปีแรก ๆ เท่านั้น ความเสียหาย ดังกล่าวได้เห็นจากข้อมูลที่ผมได้กล่าวไปแล้ว ท่านประธานครับ อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่ พบความยากลำบากทั้งจากสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ต้นทุนการผลิตที่สูงแต่ผลผลิต ราคาตกต่ำ วันนี้สังคมไทยกำลังปรับตัวเข้าสังคมผู้สูงอายุ ไม่เว้นแม้แต่สังคมเกษตรกรรม หลายจังหวัดของประเทศไทย เกษตรกรมีอายุเฉลี่ยมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไปแล้ว วันนี้ถ้าเรา สูญเสียครัวเรือนผู้ปลูกใบยาสูบ สูญเสียการใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตรจะนำไปสู่การสูญเสีย การถือครองที่ดินในชนบทในอนาคต ถึงแม้คนหนุ่มสาวรุ่นต่อไปเรียนจบอยากจะกลับบ้าน ไปทำเกษตรก็ไม่สามารถทำได้เพราะไม่มีที่ดิน ทุกวันนี้แม้เราอาจจะเห็นตัวเลข ภาคการเกษตรเติบโตแต่ก็เป็นการเติบโตแบบถดถอยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ท่านประธานครับ แนวทางที่จะสามารถแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบได้ทันที คือการยาสูบแห่งประเทศไทย กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ภายใต้การกำกับดูแลของ ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะต้องเร่ง ทบทวนนโยบายและบทบาทหน้าที่ของตัวเองให้มีความรับผิดชอบต่อพี่น้องเกษตรกร ให้เกษตรกรเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผนการผลิต การกำหนดโควตาระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว โดยมีอนุกรรมการที่ทำหน้าที่ดูแลคุณภาพชีวิตเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบ และนำ ข้อเรียกร้องต่าง ๆ ของพี่น้องเกษตรกรไปพิจารณา ขอบคุณครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ณัฐวุฒิครับ ขออนุญาตหารือท่านประธานนิดเดียวครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผมณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลครับ ต้องขออนุญาตหารือ ท่านประธานสักนิดเดียวครับ เรื่อง Air-condition หนาวไปไม่สมดุลกับคนที่อยู่ในห้อง ผมไม่ได้ติดใจอย่างใด แต่ขณะนี้ผมไม่มั่นใจว่าท่านประธานได้สั่งให้มีการปิดการลงรายชื่อ ผู้อภิปรายหรือยังนะครับ เพราะว่าเป็นญัตติที่มีความสำคัญ สมาชิกหลายท่านก็อยากอภิปราย นั่นเป็นประการที่ ๑ ที่อยากจะนำเรียนท่านประธานนะครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ประการที่ ๒ ขณะนี้จำนวนผู้อภิปรายที่ค้างอยู่เหลือฝ่ายค้านอยู่ประมาณ ๑๐ ท่าน แต่ว่าเหลืออยู่ในฝั่งของฝ่ายรัฐบาลอยู่ทั้งหมด ๓๖ ท่านด้วยกันครับ ซึ่งเท่ากับว่า จะเป็นอัตราที่ ๓ เท่าของจำนวนฝ่ายค้าน ทีนี้เมื่อเช้านี้ทางท่านประธานได้กรุณาให้เป็น การสลับ ๒ ต่อ ๑ คือรัฐบาล ๒ คน ฝ่ายค้าน ๑ คน แต่ว่าในเมื่อสัดส่วนขณะนี้มันเป็น ๓๖ ต่อ ๑๐ ก็อยากจะนำปรึกษาท่านประธานว่าเป็นไปได้หรือไม่ หรือว่าท่านประธาน เห็นควรอย่างไร ว่าจะปรับเป็น ๓ ต่อ ๑ หรือไม่ แต่มันก็อยู่ที่ว่าประเด็นแรกคือท่านอยากจะ ให้มีการปิดการลงชื่อหรือยัง ตรงนี้ก็จะได้สมดุล พวกเราก็จะได้ทำหน้าที่กันอย่างเต็มที่ เพราะว่าวันนี้สมาชิกเราก็อยู่ในห้องกันอุ่นหนาฝาคั่ง Air-condition ก็ปรับเอาตามสภาพ แต่ว่าอยากให้พวกเราได้อยู่กันยาว ๆ เต็มที่ทั้ง ๒ ฝ่าย ก็เลยปรึกษาท่านประธาน เพื่อความเหมาะสมสักนิดหนึ่งครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณมากครับ ประเด็นแรกก็คือยังไม่ได้ปิดในการลงชื่ออภิปรายนะครับ ประเด็นที่ ๒ เดี๋ยวผมขอสำรวจรายชื่อล่าสุดของทางสัดส่วนฝ่ายค้านและรัฐบาลก่อนนะครับ ตอนนี้ ในมือผมนี่ฝ่ายค้านเหลืออยู่ที่ ๙ ท่าน แล้วก็ฝ่ายรัฐบาลอยู่ที่ ๒๓ ท่าน ขอใช้สัดส่วนเดิมก่อน ถ้ามีการปรับเปลี่ยนอย่างไรจะแจ้งให้ทราบนะครับ เชิญท่านฐิติมา ฉายแสง และท่านอำนาจ วิลาวัลย์ ครับ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา เขต ๑ พรรคเพื่อไทย ขอ Slide ด้วยค่ะ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
วันนี้ดิฉันขออภิปรายในเรื่องของ เกี่ยวกับสินค้าเกษตรที่ตกต่ำมีราคาที่ตกต่ำ เนื่องจากสินค้าเกษตรมีกันมากมาย หลายประการด้วยกันที่ราคาตกต่ำ แต่ไม่สามารถที่จะอภิปรายได้หมด ดิฉันจึงอยากจะหยิบยก เรื่องราคากุ้งตกต่ำ แล้วก็ราคาปลากะพงตกต่ำค่ะ ไทยเราเคยเป็น Champ โลกในการส่งออกกุ้ง เราผลิตได้เยอะ เราส่งออกได้เยอะ เคยเป็น Champ ดูกราฟที่ตัวสูง ปี ๒๕๕๓ แต่พอมาปลายปี ๒๕๕๔ มันเกิดโรคค่ะ เกิดโรคขี้ขาว เกิดโรค ตายด่วน เกิดโรคตัวแดงดวงขาว มันก็เลย Drop ลงไปเรื่อย ๆ พอปี ๒๕๕๖ เห็นไหมคะ กราฟหล่นลดลงมาอย่างหนักเลย เราเสีย Champ โลกไป เราเคยมีชื่อเสียงในการผลิตกุ้ง เรามีคุณภาพ เรามีความปลอดภัย เรามีความสามารถในการที่จะผลิตลูกพันธุ์กุ้งที่มีคุณภาพ ที่ดีที่สุดในโลก เรามีแรงงานที่เชี่ยวชาญในการที่จะแปรรูป แต่เราไม่ได้เป็น Champ โลก อีกแล้วท่านประธาน จากที่บอกว่ามันตกลงไป เรากลายไปเป็นอยู่อันดับที่ ๖ อันดับที่ ๗ ของโลกเสียแล้ว นั่นเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะว่าเกิดโรคอย่างที่บอก ในขณะเดียวกัน เราไม่มีทางรักษา ไม่มียารักษาโรค เราไม่มีการวิจัยหรือมีก็ไม่รู้ แต่ประเทศอินเดีย กลับปรับปรุงกุ้ง สายพันธุ์กุ้งที่สามารถทนทานต่อโรคได้ ทีนี้กุ้งนี่นะคะ ดิฉันเองไปพบ ผู้ประกอบการแพกุ้งแล้วก็ผู้เลี้ยงกุ้ง ไปรับฟังปัญหาของเขา สิ่งที่บ่นมามันคือค่าใช้จ่าย ในปัจจัยการผลิต แน่นอนเรื่องแรกเลยนะคะ ไฟฟ้าสูงมาก น้ำมันในการสูบน้ำเข้าออกบ่อ ค่าขนส่ง ค่าอาหารกุ้ง นี่คือสิ่งที่เขาบ่น แน่นอนพวกเรารับรู้ตรงนี้อยู่ แต่ปรากฏว่า เขาหนักกว่านั้นก็คือว่าเขาเจอกับกุ้งนำเข้าจากเอกวาดอร์และอินเดียซึ่งราคาถูกกว่ามาก แล้วก็เอาเข้ามา Pack แล้วก็ส่งออกไปต่อ
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ เจ้าของแพกุ้งเขาเล่าให้ดิฉันฟัง บอกว่าเขารับซื้อกุ้งจาก เกษตรกรทุกวัน รับซื้อกุ้งเสร็จแล้วแม่ค้าก็มาซื้อต่อจากเขา แต่ซื้อไม่หมด เพราะฉะนั้น เขาเหลือวันละ ๗๐๐-๘๐๐ กิโลกรัม เอาไปไหนต่อ เขาก็ต้องไปขายต่อ ไปขายที่ไหน ขายมหาชัย พอไปขายมหาชัยเจอว่าคนที่ทำธุรกิจเรื่องของห้องเย็นกับแปรรูปบอกว่า เขามีปริมาณกุ้งเพียงพอที่เขาจะทำมาหากินแล้วที่จะ Pack แล้วก็ส่งออกต่อ เขาจึงไม่ค่อย อยากซื้อกุ้งจากเกษตรกรไทย แพกุ้งเราก็เดือดร้อนสิคะว่าตายแล้วจะทำอย่างไร กุ้งแช่เย็นอยู่เดี๋ยวก็จะคุณภาพไม่ดีจึงโดนกดราคา พอโดนกดราคาแบบนี้เขาก็เสียหาย ขาดทุนเป็นหมื่น ๆ บาทกลับบ้านไป พอกลับบ้านไปวันรุ่งขึ้นมีคนมาขายกุ้งอีก เขาโดน ขาดทุนไปหยก ๆ เขาก็จำเป็นที่จะต้องเอาราคาที่ต่ำ เกษตรกรไทยก็โดนแบบนี้ค่ะ ท่านประธาน การนำเข้ากุ้งจากเอกวาดอร์แล้วก็อินเดียนั้น ถือเป็นการรุกรานอาชีพของ พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอย่างน่าเห็นใจเป็นที่สุด
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ท่านประธานเรื่องต่อไปค่ะ ปลากะพงตกต่ำ ราคาปลากะพงก็ตกต่ำ เช่นเดียวกัน ปัจจัยการผลิตปัญหานี้เหมือนกันกับกุ้ง ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ค่าอะไรก็แล้วแต่ เหมือนกัน และปลากะพงไทยก็ถูกรุกรานจากปลากะพงมาเลเซีย ปรากฏว่าปลากะพง มาเลเซียนั้นราคาถูกกว่าของไทย ๒๐ บาททุกชั้นของการขาย เช่น สมมุติว่าปลากะพงไทย แบบเป็น ๆ ขายที่ ๑๓๐ บาทต่อกิโลกรัม ปลากะพงมาเลเซียที่นำเข้ามาจะเป็น ๑๑๐ บาท ยกตัวอย่าง เพราะฉะนั้นเราก็จะเจอปัญหาอย่างนี้เยอะ ภาพต่อไปค่ะ อันนี้คือภาพ ปลากะพงที่ทะลักเข้ามาแล้วใช้ Foam ด้วยนะคะ เป็นอันตรายต่อประเทศไทย ท่านประธานคะหมูเถื่อน ทำไมดิฉันพูดหมูเถื่อน ท่านประธานรู้ไหมหมูเถื่อนเป็นสินค้าที่ สามารถทดแทนได้ ปกติหมูราคาถูกกว่ากุ้งกับปลากะพงอยู่แล้ว แต่ตอนนี้มีหมูเถื่อนทะลัก เข้ามาเพียบเลย นั่นหมายความว่าคนเขาก็บอกว่าจะไปกินกุ้งกับปลาไหวหรือขอกินหมู ก็แล้วกัน เพราะราคาหมูเถื่อนมันต่ำมากท่านประธาน หมูเป็นสินค้าทดแทน และประเทศไทย ยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นทั้งหมดทั้งปวงดิฉันคิดว่าคงมีปัญหาเรื่องประโยชน์ของ คนที่ทำเรื่องกุ้ง เรื่องปลา ดิฉันขอเสนออย่างนี้ค่ะท่านประธาน ขอเสนอว่ารัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน จะต้องรีบเร่งแก้ปัญหาทุก ๆ เรื่องให้กับเกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาอย่างด่วนที่สุด เมื่อ ๒-๓ สัปดาห์ก่อนดิฉันอภิปรายเรื่องกองทุน สงเคราะห์เกษตรกรท่านประธาน เป็นกองทุนที่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้มากมาย มาตรา ๗ บอกไว้ว่า ใน พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร สามารถจัดหาปัจจัยการผลิต ก็ได้ จัดหาแหล่งน้ำที่ดินก็ได้ เป็นเสถียรภาพราคา รับซื้อ รับจำนำได้หมดเลย ดำเนินการ อื่นใดอันอาจจะเกิดประโยชน์ในการผลิตก็ได้ หรือดำเนินการในการที่จำเป็นในการที่จะช่วย พี่น้องเกษตรกรให้พ้นภัย หรือผลเสียหายต่าง ๆ ของเกษตรกรช่วยได้หมดเลย ทำไมเราถึงไม่ใช้ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้เป็นประโยชน์มากขึ้น มาตรา ๙ บอกว่า คณะรัฐมนตรี สามารถออกประกาศให้ผู้ส่งออก และผู้นำเขาต้องเสียค่าธรรมเนียม วันก่อนผู้ชี้แจง เรื่องกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรก็บอกกับดิฉันว่าขอบคุณฐิติมา ฉายแสง ที่บอกให้ ใช้ค่าธรรมเนียม เพราะเขาจะกลับไปปรึกษาหารือกัน ท่านประธานคะ เพิ่มเติมนะคะ ถ้าอยากจะนำเข้าสินค้าเกษตร อยากจะนำเข้ากุ้ง นำเข้าปลา เก็บค่าธรรมเนียมสิคะ ให้ค่าธรรมเนียมนั้นมาช่วยให้ราคาสินค้ามันเท่า ๆ กัน กองทุนนี้เมื่อมีเงินเข้ามา เป็นหมื่น ๆ ล้านย่อมจะเอาเงินมาช่วยพี่น้องเกษตรกรได้มากขึ้น ถูกต้องไหมคะ ดิฉันอยากจะให้มีการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรโดยการชะลอ แล้วก็เพิ่มความยากลำบาก ในการนำเข้ามาเสียหน่อย คุณสุทธิ มะหะเลา ท่านนายกสมาคมเพาะเลี้ยงปลาทะเลไทย และคณะให้ข้อมูลกับดิฉันว่า กรมประมงและกระทรวงสาธารณสุขจำเป็นที่จะต้องเก็บ ค่าตรวจ ตรวจอะไร ตรวจสินค้าทุก Lot เลยที่นำเข้ามา ตรวจแบบเข้มข้น ตรวจแล้ว ได้ผลลัพธ์ก่อนที่จะให้เข้าสู่ประเทศ ไม่ใช่ตรวจยังไม่ได้ผลก็เอาเข้าประเทศเสียแล้ว
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ต่อไปนะคะ ขอให้กระทรวงสาธารณสุขนั้นตรวจเข้มมากขึ้นในเรื่อง ยาปฏิชีวนะ ยาปฏิชีวนะ ก็คือว่าปลากะพงจากมาเลเซียเขาใช้ยาปฏิชีวนะเยอะมาก แล้วก็ ใช้แบบไม่มีความรู้ด้วย เพราะฉะนั้นพวกเราผู้บริโภคเราจะติดเชื้อดื้อยา อันนี้อันตราย จำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการพวกนี้ป้องกันเพราะฉะนั้นขอวิงวอน
นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
สุดท้ายดิฉันขอวิงวอนท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน วิงวอน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ วิงวอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วิงวอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ท่านมีศักยภาพเพียงพออยู่แล้วที่จะไปขาย สินค้าที่ต่างประเทศได้ นำสินค้ากุ้ง ปลา เกษตร ไปแลกเปลี่ยน เปลี่ยนกับเครื่องบินก็ได้ ไปเปลี่ยนกับรถไฟความเร็วสูงก็ได้ ท่านทำได้ทั้งนั้นเพื่อช่วยพี่น้องเกษตรกร วิงวอนนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านอำนาจ วิลาวัลย์ ครับ
นายอำนาจ วิลาวัลย์ ปราจีนบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ ผม อำนาจ วิลาวัลย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต เขต ๑ จังหวัดปราจีนบุรี พรรคภูมิใจไทย ผมขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายญัตติแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตเกษตรกรรม ตกต่ำนะครับ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดปราจีนบุรีที่ขึ้นทะเบียน ๕,๐๔๐ ราย จำนวนบ่อ ๑๒,๑๗๘ บ่อ พื้นที่ ๕๙,๑๖๕ ไร่ ผลผลิตจากเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนสัตว์น้ำ ๒๑,๒๑๑ ตัน มูลค่าประมาณ ๖๐๖ ล้านบาทต่อปี
นายอำนาจ วิลาวัลย์ ปราจีนบุรี ต้นฉบับ
วันนี้ผมจะขอพูดเฉพาะเรื่องกุ้งนะครับ ผลผลิตกุ้งทะเลของจังหวัดปราจีนบุรี ปี ๒๕๖๕ จำนวน ๕,๒๐๐ ตัน ปี ๒๕๖๖ ตั้งแต่ เดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม ๓,๒๐๐ ตัน ราคากุ้งขนาด ๗๐ ตัว ๑ กิโลกรัม ช่วงธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงมีนาคม ๒๕๖๖ ราคาอยู่ที่ ๒๐๐-๒๒๐ บาทต่อกิโลกรัม ตอนนี้ เห็นได้ว่าราคากุ้งตกต่ำลงมามากช่วงนี้ราคา ณ ปัจจุบันตอนนี้กุ้งจะขายเหมา ๗๐-๑๒๐ ตัว ๑ กิโลกรัม จะตกอยู่ราคา ๘๐ บาท ราคาเดียวเลย ดูจากตารางแล้วจะเห็นได้ว่าราคากุ้ง ขนาด ๗๐ ตัว ๑ กิโลกรัม จะตกลงมากเกือบ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ จาก ๒๐๐ บาท เหลือ ๑๑๗ บาทต่อกิโลกรัม สวนกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างที่ท่านผู้อภิปรายหลาย ๆ ท่านได้พูดถึง ไม่ว่าจะเป็นราคาอาหาร ราคาโปรตีน ราคากระแสไฟฟ้า ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นสวนทางกับ ราคากุ้งที่ตกต่ำลง ผมคิดว่าทางรัฐบาลต้องเร่งศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาราคาดังกล่าวโดยเร่งด่วน เมื่อรัฐบาลชุดที่ ๒๕ คือชุดที่แล้วนะครับ เราได้มีคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผล เกษตรกรรมประจำรัฐสภา โดยท่านณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นประธาน แล้วก็พวกเรา ได้แก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรมหลายตัว ถึงจะไม่ได้ผล ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ได้มี การแก้ปัญหาโดยเร่งด่วนและทันท่วงที จึงอยากฝากท่านประธานไปถึงท่านนายกรัฐมนตรี ถึงคณะรัฐมนตรี ได้ช่วยเร่งรัดผลักดันจัดตั้งคณะกรรมาธิการ เพื่อมาดูแลผลผลิต เกษตรกรรมเหล่านี้จะได้มีผู้ที่ดูแลโดยตรง โดยคณะกรรมาธิการตรงนี้มันมีอยู่แล้วใน คณะกรรมาธิการสามัญก็อยากให้ท่านได้เร่งรัดแต่งตั้งขึ้นมานะครับ ห้องโสตครับ ขอตารางที่ ๒ ตามตารางที่ผมนำเสนอจะเห็นได้ว่าการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดปราจีนบุรีมีมูลค่าสูงถึง ๖๖,๐๕๕ ตัน มูลค่าโดยรวม ๑๓,๑๖๗ ล้านบาทต่อปี อันนี้คือผลผลิตสัตว์น้ำทั้งหมดใน จังหวัดปราจีนบุรี ถ้าเราจะคิดเฉพาะกุ้งอย่างเดียวก็ประมาณ ๕,๒๐๐ ตันต่อปี มูลค่ารวม ประมาณ ๖๐๖ ล้านบาทต่อปี อันนี้จะเห็นว่ามีมูลค่าเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศนะครับ ผมจึงอยากบอกท่านประธานไปถึงคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านต้องรีบช่วยผลักดันก่อนที่พี่น้องชาวนากุ้ง ผู้ที่เพาะเลี้ยงกุ้งในจังหวัดและทั่วประเทศจะทนไม่ไหวแล้วปิดบ่อไป การที่ปิดบ่อมันไม่ได้เป็น ปัญหาเฉพาะเจ้าของบ่อกุ้ง ปัญหาที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นกับแพปลา แพกุ้ง จะขาดสินค้านำส่ง คนงานผู้เลี้ยงกุ้ง คนงานจับกุ้ง คนงานคัดกุ้งจะต้องตกงานนะครับ อันนี้ผมคิดคร่าว ๆ ก็จะมี ผู้ได้รับผลกระทบเป็นหมื่น ๆ คนในจังหวัดปราจีนบุรี โดยเฉพาะผู้เลี้ยงกุ้ง ผู้คัดกุ้ง ในแพปลา ในแพกุ้ง แล้วก็ผู้จับกุ้งตามบ่อ อันนี้จะได้รับผลกระทบหมดเลย เพราะว่าถ้าเกิด บ่อกุ้งปิดบ่อลงไป ก็ฝากท่านประธานได้ประสานไปยังหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เห็น ความสำคัญ แล้วก็ช่วยแก้ไขปัญหานี้โดยเร่งด่วนเลย ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านสมาชิกครับ จากที่ทางท่านณัฐวุฒิได้หารือว่าเราจะเปลี่ยนสัดส่วนเป็น ๑ ต่อ ๓ ผมดูรายชื่อล่าสุดแล้วก็เห็นสมควรเป็นอย่างนั้น ทางฝ่ายรัฐบาลติดใจไหม ถ้าเรา ปรับเป็น ๑ ต่อ ๓ คิดว่าได้นะครับ ขอบคุณครับ ก็จะเป็นท่านเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ครับ
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ กระผม นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร ธนบุรี คลองสาน บางปะกอก พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอร่วมอภิปราย ในญัตติเกี่ยวกับการแก้ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำนะครับ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ เป็นญัตติ เขาเรียกว่าเป็น Default ก็คือตั้งทุกครั้งเลยที่มีสภาขึ้นมา ซึ่งผมก็ไม่ได้อะไรมาก แต่ก็อยากจะฝากไปยังผู้ที่จะเป็นกรรมาธิการวิสามัญในชุดนี้ด้วย จริง ๆ แล้วเห็นหลายคน ก็ได้อภิปรายในส่วนของเนื้อหาว่าทำไมผลผลิตตกต่ำมาแล้ว แต่ผมอยากให้ช่วยแก้ปัญหา เชิงโครงสร้างเถอะครับ จะได้แก้ไปทีเดียว ไม่ต้องกลับมาตั้งแบบซ้ำซากนี้อีก ซึ่งก็เคารพ ในคำอภิปรายที่เป็นประโยชน์ของเพื่อนทุกคน หลาย ๆ คนเห็นผมขึ้นมาแล้วเท่าพิภพ มันต้องพูดสุราก้าวหน้าแน่เลย แต่ผิดคาดวันนี้ผมจะอภิปรายสิ่งที่ใกล้เคียงกับสุราก้าวหน้า มาก ๆ ครับ ซึ่งเป็นเรื่องคนตัวเล็กกับนายทุน กลุ่มทุนผูกขาดที่ชอนไชอยู่ในโครงสร้างของ เศรษฐกิจไทยทุกวันนี้เองนะครับ ด้วยเวลาอันน้อยนิดครับท่านประธาน ผมจะขอยกตัวอย่างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคนไทย ก็คือการปลูกข้าว อุตสาหกรรมการเกษตร การค้าข้าวของไทยมีมาอย่างยาวนานนะครับ ซึ่งก็มีปัญหาอยู่หลัก ๆ ใน ๒ ประเด็นที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
อันแรกเลยครับ ถ้าให้เหมือนสุราก้าวหน้า ก็คือเรื่องใบอนุญาตครับ ท่านประธาน ทราบไหมครับว่าการที่จะขอเป็นผู้ส่งออกข้าวยากมากครับ คือผมดูไปดูมา ผมลองไป Search ใน Website การที่จะเป็นคุณต้องมีคุณสมบัติดังนี้ครับ ผู้ที่ต้องการ จะส่งออกข้าวต้องได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการค้าข้าว ตาม พ.ร.บ. การค้าข้าว พ.ศ. ๒๔๘๙ โอ้โฮ ตั้งแต่สมัยไหนแล้ว สงครามโลกหรือเปล่า จากกรมการค้าภายในบอก ก็คือมีใบแรกก่อนก็คือค้าข้าวขายข้าวไปมาได้ ส่วนคนที่จะส่งออกคือต้องจดทะเบียน เป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งข้าวออกไปจำหน่ายต่างประเทศ
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๒. อันนี้แปลกมากก็คือต้องมีเหมือนโรงเก็บข้าว ได้รับอนุญาตจาก กรมศุลกากรให้เป็นที่สำหรับตรวจเก็บและบรรทุกข้าวลงเรือเพื่อส่งออก ซึ่งโรงเก็บนี้ ไปเช่าใครไม่ได้นะครับ ต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของเขาเอง ของผู้ขอใบอนุญาต หรือเป็นสิทธิ ครอบครอง คือถ้าเป็นตาสีตาสามีเงินทุนไม่มีที่ดินก็ไม่ได้ครับ
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
๓. ชัดเจนเลยครับว่าเงินทุนจดทะเบียนต้องเป็นเงินทุนจดทะเบียน ที่ชำระแล้ว ๕ ล้านบาท อันนี้คือโชคดีกว่าเหล้า เบียร์นะ เหล้า เบียร์นี่คือ ๑๐ ล้านบาท แต่ข้าว ๕ ล้านบาท เกษตรกรที่จังหวัดของท่านพิษณุโลกนี่ปลูกข้าวมีทุนเท่านี้ไหมครับ ยังไม่พอครับท่านประธาน ๕ ล้านบาท ทุนจดทะเบียนแล้วต้องมีข้าวสารที่เป็นกรรมสิทธิ์ ของตัวเองไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตรตริกตัน ๕๐๐ ตันคือเป็น Stock ไว้ก่อนภายใน ๑๕ วัน หลังจากได้ใบอนุญาตครับ หมายความว่าไม่ว่าคุณจะขายข้าวเท่าไรก็ตาม คุณต้องมีข้าว ๕๐๐ ตันเป็นก้นถุงขั้นต่ำในการทำธุรกิจนี้ ใครบ้างในประเทศนี้ทำได้ครับ มีไม่กี่คนใช่ไหม ก็กินเงียบกันไป เรื่องนี้คุ้น ๆ ไม่แปลกใจครับ คล้าย ๆ กับเรื่องของสุราก้าวหน้าที่ผมทำ เป็นข้อสงสัยว่าทำไมเราต้องตั้งให้คนส่งออกข้าวยากขนาดนี้ในการรับใบอนุญาตนะครับ แล้วทำไมต้องมีข้าว ๕๐๐ ตัน ไม่จำเป็นเลยใช่ไหมครับ ถ้าผมจะขายข้าวทั้งหมด ทำไม ผมต้องมี ๕๐๐ ตันอยู่ตลอดเวลา นี่ก็เป็นบทพิสูจน์อีกบทพิสูจน์หนึ่งที่เป็นกฎหมายที่กีดกัน คนตัวเล็กตัวน้อยในการเข้าสู่ระบบ เพื่อคนจำนวนน้อยนิดที่จะกินผลประโยชน์ และทำนา บนหลังคนจริง ๆ
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ที่มันจะบ่งเฉพาะว่าชัดเจนขึ้นมา มันมีความไม่ชอบมาพากล ของหลักการปฏิบัติของหน่วยงานรัฐครับ เรื่องการจัดสรรโควตาข้าวว่าเอื้อประโยชน์นายทุน หรือไม่ ผมยกตัวอย่างเลยนะครับ อันนี้ต้องขอบคุณคุณหมอชลน่าน ศรีแก้ว ขออนุญาต เอ่ยนาม ไม่เสียหายจริง ๆ นะครับ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทยที่เคยยกตัวอย่างไว้ในปี ๒๕๖๔ ออกข่าวมติชนเลย เรื่องกรณียกโควตาส่งออกข้าว ๒๐,๐๐๐ ตัน ของกรมการค้าระหว่าง ประเทศ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการค้าข้าวรัฐต่อรัฐ และเป็นผู้จัดโอนโควตาข้าวให้สมาคม ผู้ส่งออกข้าวไทย และผมก็ไปดูมาครับ มีบริษัทใหญ่ ๆ ไม่กี่บริษัท และซ้ำร้ายครับ สมาคมนี้ ก็ไปเก็บเงินค่าดำเนินงาน ๑๕๐ บาทต่อตันอีก คือได้ของหลวงไปฟรี ๆ ทำไมหลวงไม่ยอมไป ประมูลโควตาข้าวนี้ให้คนอื่นมาทำ ใครได้โควตาข้าวนี้ไปได้ราคาสูงสุดก็ว่ากันไป แต่อันนี้คือ ยกให้เปล่า ๆ เลยก็คือยกให้กลุ่มทุน ซึ่งผมก็เชื่อว่าสมาคมนี้ปี ๆ หนึ่งเขาก็มีจัดกินเลี้ยงกัน แล้วก็คุยกันนะครับว่าจะซื้อข้าวจากเกษตรกรราคาเท่าไรดีก็คำนวณได้หมดละครับ ถ้าโชคดี ให้ราคาเยอะ หรือเป็นราคาตลาดโลกก็โชคดีไป แต่ถ้าไม่ก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็เป็น ข้อสงสัยว่าทำไมหน่วยงานรัฐทำเช่นนี้ครับ ต้องขอบคุณคุณหมอชลน่านที่ผมเคารพจริง ๆ ที่ Raise ประเด็นนี้ขึ้นมา แล้วก็หวังว่าประเด็นนี้ในรัฐบาลของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา น่าจะเอาไปแก้ปัญหาได้อยู่แล้ว เพราะท่านเป็นคนตั้งประเด็นขึ้นมาเองนะครับ ปัญหา เหล่านี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งมันแก้ได้ยากครับ เป็นปัญหาที่เป็นสภาพแวดล้อม แห่งความเป็นจริงที่อุบาทว์ที่สุด ที่กลุ่มทุนและกลุ่มการเมืองอาศัยประโยชน์พึ่งพา อาศัยซึ่งกันและกัน กลุ่มทุนได้ประโยชน์จากนโยบายที่ออกมาโดยกลุ่มการเมือง เพื่อความได้เปรียบทางการค้า และกีดกันคู่แข่งรายใหม่ กลุ่มการเมืองก็ได้ครับ ได้อะไรครับได้ Sponsor ไปทำการเมือง อะไรต่าง ๆ นานามันเลยไม่มีวันจบสิ้นครับ ยกเว้นบ่อน้ำแห่งนี้ที่เป็น Ecosystem นี้จะมี ตัวประหลาดเข้ามา แล้วบังเอิญประเทศไทยวันนี้มีแล้วครับ พวกเราจากพรรคก้าวไกล พวกเราเป็นตัวประหลาด แล้วผมรู้สึกดีใจมาก ๆ เลยครับ ที่พวกเราโดนกระทำ สาหัสสากรรจ์หลาย ๆ อย่าง เพราะอะไรรู้ไหมครับ เพราะผมรู้สึกเลยว่าผมดีใจมาก ๆ เพราะอันนี้พิสูจน์แล้วว่าพวกเรามาถูกทางแล้วครับ ขอบคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านวิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ ท่านสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ และท่านสกุณา สาระนันท์ เรียนเชิญครับ
นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย จากพรรคเพื่อไทย วันนี้จะมาขออภิปรายเรื่องปัญหาของกระดูกสันหลังของชาติค่ะ นั่นก็คือเรื่องของพี่น้องเกษตรกรไทย ไม่ว่าจะเป็นชาวนาชาวไร่ชาวสวน หรือชาวประมง ต้องบอกว่าในปัจจุบันนี้ล้วนประสบปัญหาจากการที่มีพืชผลทางการเกษตรหรือว่า มีราคาตกต่ำ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการทำการเกษตรเป็นหลัก GDP ของประเทศเรา คือ ๘ เปอร์เซ็นต์ เรามีเกษตรกรอยู่ ๑๐ ล้านคน คิดเป็นประมาณ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทุกคน ล้วนเป็นผู้ที่ประสบปัญหาทางด้านราคาพืชผลการเกษตรกันทั้งหมด
นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
ดิฉันจะขอยกตัวอย่าง สินค้า การเกษตรของเราที่ขึ้นชื่อมานาน สินค้าที่เรียกว่านึกถึงประเทศไทยก็ต้องนึกถึงสินค้า ชนิดนี้ นั่นก็คือข้าวค่ะ โดยจะขอเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งในด้านราคาแล้วก็ด้าน การส่งออก ข้าวหอมมะลิของไทยอยู่ที่ ๙๒๐ เหรียญสหรัฐต่อตัน ข้าวของเวียดนามอยู่ที่ ๗๖๒ เหรียญสหรัฐต่อตัน ข้าวอินเดียด้านการส่งออกอยู่ที่ ๑,๒๒๐ เหรียญต่อตัน เดี๋ยวมาดู ด้านการส่งออกนะคะโดยที่จะใช้สถิติในปี ๒๕๖๕ อันดับ ๑ ประเทศที่ส่งออกมากที่สุด นั่นก็คือประเทศอินเดียอยู่ที่ ๑๘.๒๕ ล้านตัน อันดับ ๒ เป็นประเทศของเราเองนั่นก็คือ ประเทศไทยอยู่ที่ ๘.๕ ล้านตัน ส่วนอันดับ ๓ คือประเทศเวียดนามที่ตามเรามาติด ๆ อยู่ที่ ๖.๖๗ ล้านตัน ซึ่งจะเห็นว่าประเทศไทยเราห่างกับอันดับ ๑ นั่นก็คือประเทศอินเดีย มากพอประมาณอยู่ แต่ถ้ามาดูประเทศอันดับ ๓ นั่นก็คือประเทศเวียดนาม เราห่างจาก ประเทศเวียดนามไม่มากเท่าไร ทั้งเรื่องปริมาณการส่งออกแล้วก็ราคาของข้าว ปัญหาที่ทำให้ ราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำนั้นต้องบอกว่าหลัก ๆ มาจากการที่ตลาดเรานี่หรือว่าพี่น้องเรา ผลิตสินค้าออกมามากเกินความต้องการของตลาด หรือเรียกว่า Supply over Demand หรือพูดง่าย ๆ ว่าคือเรามีคนมาซื้อน้อยกว่าสินค้าที่อยู่ในตลาด มันเลยต้องทำให้เรา ต้องลดราคาสินค้าในตลาดนั้นให้ถูกลงไปอีกเพื่อที่จะดึงคนให้กลับมาซื้อ แต่ปัญหาเหล่านี้ ดิฉันเชื่อได้ว่าโดยนโยบายของรัฐบาลชุดนี้นำโดยท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน เราจะใช้ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ซึ่งรัฐบาลจะทำ Market Profile ซึ่งจะทำให้รู้ว่า ตลาดมันต้องการอะไร แล้วก็มีความต้องการมากแค่ไหน เพื่อที่จะทำให้พี่น้องเกษตรกร ของเราสามารถผลิตผลิตผลที่มันถูกกับตลาด แล้วก็ออกมาได้ตามที่ตลาดต้องการ เพื่อให้ สามารถสร้างรายได้ แล้วก็พลิกคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยอย่างแท้จริงค่ะ ปัญหาที่เกษตรกรไทยต้องพบไม่ใช่แค่ปัญหาราคาสินค้าตกต่ำเท่านั้น แต่ว่ามันมีปัญหา อย่างอื่นที่จะต้องพูดถึงที่มันผูกโยงกับสิ่งเหล่านั้น
นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
เรื่องแรก คือเรื่องต้นทุนการผลิตของพี่น้องเกษตรกร ไปลงพื้นที่เมื่อไร จะต้องได้รับคำตอบมาตลอดว่า สส. ตอนนี้ไม่ไหวแล้ว ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ราคาต้นทุน การผลิต ค่าอาหารสัตว์ก็ตาม ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลงก็ตามมันทำให้ราคามันสูงมาก จนพี่น้องเกษตรกรเราไม่สามารถจะผลิตสินค้าออกมา และทำให้มีต้นทุนที่สูงขนาดนี้ ไม่สามารถจะทำให้กำไรได้ดีขนาดนั้น ยกตัวอย่างต้นทุนปุ๋ยคิดเป็นต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ของต้นทุน ซึ่งต้องบอกว่าสูงมาก ๆ เลยนะคะ นั่นหมายความว่าถ้าต้นทุนสูงนี่กำไรที่ได้ก็จะลดน้อยลงด้วย ดังนั้นต้องบอกเลยว่าสถิติพบว่า ต้นทุนการเกษตรนั้นคิดเป็น ๗๐ เปอร์เซ็นต์ของรายได้ วันนี้พี่น้องเกษตรกรไทยมีต้นทุน การผลิตที่สูงมาก และทุกวันนี้ก็ลำบากมากจริง ๆ ค่ะ
นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ ต่อเนื่องกับเรื่องแรกเลยนั่นก็คือเมื่อต้นทุนสูงพี่น้องการเกษตร มีเงินใช้หมุนเวียนในการทำนาทำไร่ไม่พอ สิ่งที่ตามมาก็เป็นหนี้ค่ะ เพราะเขาต้องหาที่ กู้หนี้ยืมสินจากเกษตรกรดี ๆ ต้องกลับกลายเป็นลูกหนี้ซ้ำไปอีก วันนี้กำไรมันไม่พอค่ะ ที่ผ่านมาเราพบว่าเกษตรกรมีหนี้สิน ๖๐-๗๐ เปอร์เซ็นต์เลย จากเกษตรกรทั้งหมดมีหนี้สิน เฉลี่ยอยู่ที่ ๑๖๐,๐๐๐-๓๐๐,๐๐๐ บาท และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี อย่างที่ดิฉัน ได้พูดไว้ข้างต้นว่าปัญหา ๒ อย่างนี้มันผูกโยงกัน ถ้าเราไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง พี่น้องเกษตรกรไทยเราก็ไม่สามารถจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอนค่ะ วันนี้เป็น เรื่องยากที่จะแก้ปมนี้ แต่ดิฉันเชื่อว่ารัฐบาลชุดนี้และพรรคเพื่อไทยเราเอง เรามั่นใจว่าเราจะ สามารถนำนโยบาย
นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
๑. พักหนี้เกษตรกร ๓ ปีทั้งต้นทั้งดอกค่ะ ถ้าพี่น้องเกษตรกรได้รับผลประโยชน์ จากนโยบายนี้แล้วสิ่งที่พี่น้องเกษตรกรจะได้ คือจะสามารถสร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกร เพิ่มขึ้น ๓ เท่าในเวลา ๔ ปี
นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ เชียงราย ต้นฉบับ
๒. เพิ่มความต้องการ และปรับสินค้าภาคการเกษตรค่ะ เรานำนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาสนับสนุนในการเพิ่มผลการผลิต แล้วการลดต้นทุนแปรรูปสู่มูลค่าที่ให้มันเพิ่มสูงขึ้น ตามแนวทาง ๖ ประการนั่นก็คือ ๑. ดินนำน้ำดี ๒. มีสายพันธุ์ดี ๓. ยืนยันราคา ๔. จัดหาแหล่งทุน ๕. หนุนนำนวัตกรรม และ ๖. จัดทำกรรมสิทธิ์ที่ดิน ดิฉันเชื่อว่า รัฐบาลภายใต้แกนนำของพรรคเพื่อไทย เราสามารถจะทำให้ราคาของพืชผลการเกษตร และคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกรดีขึ้นได้อย่างแน่นอน ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ ครับ
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพค่ะ ดิฉัน สุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๗ พรรคเพื่อไทย วันนี้เป็นวันที่น่ายินดีเป็นวันที่เป็นความหวังของพี่น้องประชาชน หลังจากที่พี่น้องรอคอย มานานที่จะได้ยินการหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าการเกษตรที่ตกต่ำ อย่างมากมายในขณะนี้ค่ะ ทุกครั้งที่ดิฉันได้ยืนอภิปรายในสภาแห่งนี้เป็นทุกครั้งที่ดิฉันภูมิใจ ที่ได้เป็นผู้แทนไทบ้าน ผู้แทนราษฎร ผู้แทนของพี่น้องประชาชน ที่จะได้นำความทุกข์ยาก จากรากหญ้าเข้ามาพูดให้ดังขึ้นในสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้ เป็นปากเป็นเสียงให้พี่น้องและยัง ช่วยต่อลมหายใจให้เขาได้มีกำลังใจที่จะทำไร่ทำนา หากิน มีชีวิตอยู่ต่อไปค่ะ ที่ดิฉันได้กล่าว แบบนี้หมายถึงสินค้าทางการเกษตรของพี่น้องประชาชน ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง รวมทั้งวัว ควาย สิ่งเหล่านี้คือชีวิต คือทุกสิ่งทุกอย่างของเกษตรกรค่ะ วันนี้พวกเขา ไม่ได้ขอให้สินค้าทางการเกษตรมีราคาสูงมากมายอะไร ขอเพียงแค่ให้ขายได้ไม่ขาดทุน มีรายได้เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ให้ได้กินอิ่มนอนหลับมีความสุขก็เพียงพอแล้ว ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นมายาวนานค่ะ ดิฉันขอเน้นไปที่เรื่องวัว ควาย สินค้าวัว ควายที่ราคา ตกต่ำในปัจจุบันนะคะ ดิฉันเกิดและเติบโตมาในคอกวัวคอกควาย ไม่ได้เกิดในคอกวัว หรอกค่ะ แต่ว่าต้องอาศัยได้เลี้ยงวัวเลี้ยงควายอยู่กับครอบครัวที่เลี้ยงวัวก็เข้าใจหัวอกของ พี่น้องเกษตรกรว่าวัว ควายคือชีวิตคือลมหายใจของพี่น้องเกษตรกร วัว ควายคือธนาคาร เคลื่อนที่ หลาย ๆ คนอาจจะไม่เข้าใจทำไมถึงเป็นธนาคารเคลื่อนที่ เพราะว่าถ้าเวลาที่ไม่มีเงิน เราก็จะขายวัวขายควาย หลาย ๆ ท่าน พี่น้องประชาชนจะจัดงานแต่งลูก จะจัดงานบวช หรือแม้กระทั่งงานศพ ถ้าหาเงินไม่ทันเราก็จะขายวัวเพื่อนำเงินมาใช้จ่าย ดิฉันก็ได้เคย อภิปรายไปแล้วครั้งหนึ่งในสภาแห่งนี้เรื่องของราคาวัว ควายตกต่ำ วันนี้มาขอย้ำอีกครั้งว่า ตอนนี้ราคาวัว ควายของเกษตรกรยังคงย่ำแย่อยู่ ยังไม่ได้ดีขึ้นเลย ปัจจุบันรับซื้อเพียงแค่ กิโลกรัมละ ๗๐-๘๐ บาทเท่านั้น ซึ่งสวนทางกับค่าใช้จ่ายในเรื่องของอาหาร อดีต ๓๐๐ บาท ปัจจุบันซัดไป ๔๐๐-๕๐๐ บาทแล้วค่ะ ราคา ๗๐-๘๐ บาทถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ พี่น้องเกษตรกรถ้าไม่กัดฟันขายก็ไม่ขายหรอกค่ะ เพราะว่าการเลี้ยงวัวเลี้ยงควายมันไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ หลาย ๆ คน อาจจะคิดว่าจูงวัวไปผูกกินหญ้า หรือว่าเอาควายไปนอนน้ำก็เสร็จแล้ว แต่จริง ๆ แล้ว มันมีค่าใช้จ่ายค่ะ กว่าจะเลี้ยงให้เติบโตต้องใช้เวลา ค่าอาหารทุกวันนี้ก็แพงมากอย่างที่ดิฉัน ได้กล่าวไป พ่อค้าก็ให้ราคาต่ำจนขาดทุนเช่นนี้ พี่น้องเกษตรกรก็ลำบากค่ะ ชักหน้าไม่ถึงหลัง เพราะส่วนใหญ่ก็เลี้ยงกันเพื่อนำรายได้มาจุนเจือครอบครัว แต่ในเมื่อราคาต่ำขนาดนี้ก็ต้อง ชะลอการขาย เพราะขายไปก็มีแต่ขาดทุน แต่อยู่ไปเลี้ยงต่อไปก็ไม่ได้ดีขึ้นเพราะมันก็มี ค่าใช้จ่ายทุกวัน
นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ อุบลราชธานี ต้นฉบับ
ต่อมาขอพูดในส่วนของเรื่องยางพารา ชาวสวนยางพาราก็เดือดร้อนไม่ต่างจาก เกษตรตัวอื่น ๆ ต้องเผชิญปัญหาราคายางพาราตกต่ำ หนี้สินล้นพ้นตัว ช่วงนี้เป็นช่วงของ ฤดูฝน ผลผลิตน้อยราคาก็แย่ ตื่นตีหนึ่งตีสองเพื่อไปกรีดยาง สาย ๆ มาไปหยอดน้ำกรด กว่าจะเสร็จก็ค่อนวันไปแล้ว ทุ่มเททั้งวันทั้งคืนแต่ราคาถูกแสนถูก วันนี้ราคาขี้ยางในเขต พื้นที่ของดิฉันตกกิโลกรัมละ ๑๗ บาท ขายยาง ๖ กิโลกรัม ได้เงินแค่ ๑๐๐ บาท แค่หายใจ ก็หมดแล้ว เกษตรกรชาวนาที่ทนสู้อยู่กับการทำนาหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ยิ่งทำยิ่งทุกข์ ราคาตกต่ำไม่พอยังต้องประสบปัญหากับภัยแล้ง ปัญหาราคาปุ๋ยที่แพงอลังการ เป็นไปได้ อย่างไรคะ ราคาข้าวตกต่ำขนาดนี้ทั้งที่ในปัจจุบันความต้องการการบริโภคทั้งใน และต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นสินค้าราคาตกต่ำสวนทางกับปัจจัยการผลิต ที่ราคาสูงขึ้น น้ำมันก็แพง ปุ๋ยก็แพงอย่างที่ดิฉันได้กล่าวไป แต่วันนี้ประชาชนของดิฉัน เริ่มมีความหวังว่าภายใต้การนำของรัฐบาลเพื่อไทย โดยท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ชุดนี้จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่และแก้ไขปัญหาราคาสินค้า การเกษตรตกต่ำโดยการหาตลาด และจะสามารถเพิ่มรายได้ให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ให้กับพี่น้องประชาชนได้ ด้วยนโยบายตลาดนำ นวัตกรรมเสริม และเพิ่มรายได้ นอกจากสินค้าจะราคาดีขึ้นแล้ว ขอฝากทางรัฐบาลอีก ๑ ประการที่สำคัญ ขอให้ช่วยพี่น้องประชาชนของดิฉันรวมทั้งพี่น้อง ประชาชนทั่วประเทศให้ฟื้นได้ ซึ่งขณะนี้ประชาชนกำลังป่วยหนัก ใส่เครื่องช่วยหายใจบ้าง บางคนพะงาบใกล้ตายแล้ว ขอให้รัฐบาลพักหนี้ ธ.ก.ส. ทั้งต้นทั้งดอกเพื่อให้ประชาชน หลาย ๆ ท่าน ถอดเครื่องช่วยหายใจ และหลาย ๆ ท่านลืมตาอ้าปากได้สักที เพราะทุกวันนี้ หาเงินลำบากมาก ข้าวของไม่เป็นราคา ค่าใช้จ่ายสูง หนี้สินท่วมตัว งวดรถก็ตามมาติด ๆ ลูกก็ต้องไปโรงเรียน ไม่มีปัญญาหาเงินมาใช้หนี้หรอกค่ะ เกษตรกรเป็นอาชีพแห่งความหวัง ปีนี้หวังว่าฝนจะดี หวังว่าสินค้าทางการเกษตรจะมีราคา หวังว่าปีนี้ต้องปลดหนี้ได้แน่ ๆ หวังว่าราคาวัวราคาควายจะสูงขึ้น ตั้งใจทำงานด้วยความหวังมาตลอดค่ะ เรามาเปลี่ยน ความหวังให้เป็นความจริง ให้พี่น้องทำอาชีพเกษตรกรได้อย่างสมศักดิ์ศรีกระดูกสันหลัง ของชาติสักทีค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านสกุณา สาระนันท์
นางสาวสกุณา สาระนันท์ สกลนคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน สกุณา สาระนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย ดิฉันขอร่วมอภิปราย ญัตติราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ขณะนี้ปัญหาราคาพืชผลเกษตรตกต่ำเป็นปัญหาที่เป็นวิกฤติ ปัญหาเรื่องราคาตกต่ำที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปัญหาเรื่องปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้น ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาโรคระบาด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุการณ์ซ้ำเติมให้เกษตรกรไทย ยากลำบาก เกษตรกรมีรายรับไม่พอรายจ่าย ทำให้เกษตรกรไม่มีศักยภาพที่จะยกระดับ พัฒนาผลผลิต ทำให้ผลผลิตต่อหน่วยของเราลดต่ำลงเรื่อย ๆ อย่างน่าตกใจ ขอ Slide ค่ะ
นางสาวสกุณา สาระนันท์ สกลนคร ต้นฉบับ
ดิฉันอ้างอิงข้อมูลจาก USDA หรือกระทรวงเกษตรกรรมแห่งสหรัฐอเมริกาที่ทำการสำรวจเมื่อปี ๒๕๖๓ ดัชนีผลิตภาพ การผลิต ปัจจัยการผลิตรวมของประเทศไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกเป็นครั้งแรก ในรอบ ๒๑ ปีนะคะ แพ้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว พม่า และกัมพูชา นอกจากนี้ ยังมีบทความใน Website USDA ซึ่งระบุว่าประเทศของเรานี่ขาดในเรื่องขององค์ความรู้ และนวัตกรรม เรื่องเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเอาไปใช้ในวงการเกษตร ดิฉันเองก็เห็นด้วยนะคะ จากบทวิเคราะห์ของ USDA แต่ดิฉันก็จะขอเพิ่มเติมว่าบทความการวิเคราะห์นั้นก็ถูกค่ะ แต่ว่าถูกเพียงครึ่งเดียว นั่นก็คือประเทศของเรามีงานวิจัย มีงานนวัตกรรม แต่ปัญหาก็คือ ของเราไม่ได้เอางานวิจัยนั้นไปปรับใช้ งานวิจัยขึ้นหิ้งเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่วาทกรรม เราไม่ได้เอาองค์ความรู้เหล่านี้ไปปฏิบัติให้ถึงมือเกษตรกรได้จริง นี่คือปัญหาของประเทศไทย ยกตัวอย่างนะคะ วันนี้ประเทศของเราพื้นที่ ๑๔๐ ล้านไร่ คิดเป็น ๔๐ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ทั้งหมด มีปัญหาเรื่อง pH ต่ำ หรือเรียกว่าสภาพเป็นดินกรด สภาพดินกรดนี่ค่ะธาตุอาหาร หลายชนิด สภาพดินกรดจะทำให้ธาตุอาหารต่าง ๆ ถูกตรึงไว้ในดิน นั่นหมายความว่า ถ้าดินเป็นกรดนี่ประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยก็จะลดลงมากกว่าครึ่งนะคะ แต่วันนี้เราก็ยัง ปล่อยให้พื้นที่ที่ทำการเกษตรของเราอยู่ในสภาพดินที่มีปัญหาเป็นดินกรด ประกอบกับ การใส่ปุ๋ยที่ผิดสูตร ผิดวิธีทำให้เกษตรกรมีต้นทุนที่สูงขึ้น เป็นภาระค่าใช้จ่ายให้กับเกษตรกร ท่านประธานคะ พรรคเพื่อไทยได้ตระหนักถึงปัญหานี้นั่นก็คือปัญหาด้านการผลิต เราจึงมี นโยบายเพื่อแก้ปัญหาภาคการเกษตรด้วยหลักการที่ว่า ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ดังเช่นเพื่อนสมาชิกได้กล่าวไปทั้ง ๒ ท่านก่อนหน้านี้นะคะ ตลอดระยะเวลา ๑ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่เราเป็นฝ่ายค้าน เราก็ได้ไปทดลองปฏิบัติตามหลักคิดนี้ เราไปพบพี่น้องชาวสวน ยางพาราทั่วประเทศ เอานวัตกรรมของพรรคเพื่อไทยนำโดยท่าน สส. วิสุทธิ ไชยณรุณ และทีมเกษตรพรรคเพื่อไทย พาพี่น้องเกษตรกรกว่า ๕๐ ชีวิตทั่วประเทศเพิ่มผลผลิต ยางพาราเป็น ๑-๒ เท่าตัวภายในเวลาเพียง ๑ เดือนค่ะ จากค่าเฉลี่ยของสวนยางทั่วประเทศ อยู่ที่ ๒๒๕-๒๕๐ กิโลกรัมต่อไร่ สามารถเพิ่มได้เป็น ๕๐๐-๑,๐๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ต่อปีนะคะ ด้วยการปรับดินให้มี pH ที่เหมาะสม ใส่ปุ๋ยถูกสูตร ถูกวิธี ถูกเวลา นอกจากนี้ต้นยางตายนิ่ง หมายถึงต้นยางที่ยังไม่ตาย แต่ไม่ได้ให้ผลผลิตนะคะ เราก็สามารถที่จะใช้นวัตกรรมของ พรรคเพื่อไทยไปรักษาให้กลับคืนมา กลับมาให้น้ำยางได้ค่ะ ในเวลานั้นเราไม่ได้เป็นรัฐบาล เราไม่สามารถแก้ปัญหาในเรื่องราคาได้ แต่เราทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเพิ่ม ผลผลิตค่ะ เมื่อเกษตรกรมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ๑-๒ เท่า นั่นหมายถึงว่าเขาก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น ๑-๒ เท่าเช่นกันก็ทำให้เขาอยู่ได้ค่ะ ท่านประธานลองคิดดูว่าหากเรานำเอานวัตกรรมนี้ ซึ่งเป็นตัวอย่างสวนยางทั่วประเทศ ๒๘ ล้านไร่ เพิ่มผลผลิตให้ได้ ๒ เท่า ประกอบกับ การเจรจาด้านการตลาด เพิ่มราคา หาช่องตลาดใหม่ แปรรูปเพิ่มมูลค่า ถ้าเราทำได้แบบนี้ GDP ภาคการเกษตรของประเทศไทยก็จะเพิ่มขึ้น และเกษตรกรก็จะหายจนแน่นอนค่ะ
นางสาวสกุณา สาระนันท์ สกลนคร ต้นฉบับ
นอกจากเรื่องการขาดนวัตกรรม เรายังมีปัญหาเรื่องกฎ ระเบียบที่เป็น อุปสรรคต่อความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรของประเทศไทย ดิฉันขอยกตัวอย่าง กรณีถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเป็นพืชโปรตีนสูง แล้วก็มีความสำคัญในวงการอาหารสัตว์ วันนี้ทั้งที่ประเทศไทยเราก็สามารถที่จะปลูกถั่วเหลืองได้ดี แต่ประเทศไทยนำเข้าถั่วเหลือง ๙๙ เปอร์เซ็นต์ เราสามารถปลูกได้แต่เราไม่ปลูก คำถามว่าทำไมเราไม่ปลูกเอง คำตอบ ก็คือว่าสายพันธุ์ถั่วเหลืองที่ใช้ในประเทศเราเป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำค่ะ เนื่องจากว่า วันนี้ประเทศเรามีกฎหมายห้ามปลูกพืชถั่วเหลือง หรือพืชที่ตัดต่อพันธุกรรม หรือเรียกว่า พืช GMP ค่ะ แต่มันก็เป็นที่น่าแปลกใจนะคะ ประเทศห้ามปลูกแต่สามารถนำเข้าได้ ดังนั้นในประเทศเรา ก็นำเข้าถั่วเหลือง GMP จากต่างประเทศมากมาย เมื่อถั่วเหลืองราคาถูก คุณภาพดี ทะลักเข้ามาในประเทศก็ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองเราไม่สามารถอยู่ได้ค่ะ นอกจาก ถั่วเหลืองก็ยังมีเรื่องข้าว ก็เช่นเดียวกันเรามีสายพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและให้คุณภาพดี มากมาย แต่วันนี้เกษตรกรไม่สามารถปลูกได้ ก็เพียงเพราะว่ากรมวิชาการเกษตร หรือว่า กรมการข้าวไม่รับรองสายพันธุ์นั้น เกษตรกรก็ไม่สามารถปลูกได้
นางสาวสกุณา สาระนันท์ สกลนคร ต้นฉบับ
นอกจากนั้นยังมีปัญหาในเรื่องของภาคปฏิบัติค่ะ การทำผิดกฎหมาย เช่น การลักลอบการนำเข้าหมูเถื่อน นำเข้าวัวเถื่อน ล้วนกระทบต่อเกษตรกรในกลุ่มปศุสัตว์ เรื่องเหล่านี้เกี่ยวพันกับการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้มีอิทธิพลจำนวนมากซึ่งปัญหา หมูเถื่อน วัวเถื่อน ส่งผลกระทบรุนแรงต่อความอยู่รอดของเกษตรกรค่ะ วันนี้เมื่อเราพูดถึง ราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ นั่นก็คือเรากำลังพูดถึงปัญหารายได้ของเกษตรกร เมื่อพูดถึงรายได้ แน่นอนที่สุดมันไม่ได้หมายถึงเรื่องราคาอย่างเดียว วันนี้ภาคการผลิตเรามีปัญหาถึงขั้นวิกฤติ คุณภาพและผลผลิตต่อไร่เราต่ำกว่าทุกประเทศรวมพม่า ลาว และกัมพูชา ดิฉันสอบถาม เกษตรกรชาวนาที่อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ในรอบเก็บเกี่ยวที่ผ่านมาตัวเลขเพียง ๒๐๐-๓๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า เรียกว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แบบนี้ต่อให้เราเพิ่มราคาถึง ๒ เท่า เกษตรกรก็ยังคงไม่หายจนค่ะ เมื่อมีปัญหาภาคการผลิต ก็ต้องแก้ที่การผลิต การสร้างรายได้ให้เกษตรกรไทยให้สูงขึ้นต้องเริ่มด้วยการจัดการ กับคุณภาพผลผลิต การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการสร้างมูลค่าใหม่ การแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ไม่ใช่ปัญหาของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง ทุกกระทรวงต้องร่วมทำงานกัน หากภาควิจัยไม่ส่งนวัตกรรมให้ถึงมือเกษตรกร เราจะมีผลผลิต ภาคการเกษตรที่มีคุณภาพมาตรฐานได้อย่างไร หากเกษตรกรทำผลผลิตที่มีคุณภาพแล้ว แต่รัฐไม่รับรองมาตรฐานให้กับผลผลิตแล้วผลผลิตนั้นจะไปต่ออย่างไร หากเรามีผลผลิต ที่มีคุณภาพมาตรฐาน แต่กลับปล่อยให้ของเถื่อนคุณภาพต่ำเข้ามาเบียดสินค้าที่มีคุณภาพ ของเรา เกษตรกรของเราจะอยู่ได้อย่างไร รัฐบาลที่จะแก้ปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำได้ ต้องเป็นรัฐบาลที่มองภาพแก้ปัญหาแบบองค์รวมค่ะ เข้าใจปัญหา มองเห็นสาเหตุ รู้วิธีแก้ไข ประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมกันทำงานมุ่งสู่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจึงจะสามารถ แก้ปัญหาให้เกษตรกรไทยเข้มแข็งและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ขอบพระคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านพิทักษ์เดช เดชเดโช ครับ
นายพิทักษ์เดช เดชเดโช นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ผม พิทักษ์เดช เดชเดโช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ผมขออภิปรายสนับสนุนญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา แนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ของนางสาวสุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ และเพื่อนสมาชิก และขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกทั้ง ๑๑ ญัตติ ที่เสนอญัตติในการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร ตกต่ำ ในช่วงตั้งแต่เดือนเมษายน-พฤษภาคม สิงหาคม-ตุลาคมของทุกปีจะเป็นช่วงที่ผลผลิตกุ้ง ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก อีกทั้งในปีนี้สภาพอากาศมีการแปรปรวนทำให้เกษตรกรต้องเร่ง ระบายผลผลิตออกสู่ตลาด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่ให้ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงทรงตัว ประกอบกับการส่งออกมีการชะลอตัว เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ลดลง และมีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศที่มากขึ้น จึงส่งผลให้ราคากุ้งปรับตัวลดลง ผมขอกราบเรียนท่านประธานว่าที่ผ่านมาก็เคยเห็นว่า ประเทศไทยมีการส่งกุ้งออกอันดับ ๑ แต่วันนี้มีเหตุผลหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัจจัย ในการผลิตที่เป็นต้นทุนแห่งการผลิตที่มีสูงขึ้น จึงทำให้เกษตรกรไม่สามารถรองรับปัญหา ขาดทุนได้ มีปัจจัยต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้น แต่ราคากุ้งตกต่ำ เหตุผลนี้รัฐบาลควรที่จะนำปัญหาเหล่านี้ไปสู่การแก้ไข ปัจจัยในการผลิต ท่านประธาน ที่เคารพครับ ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหารตามที่สมาคมเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทยมีการพิจารณาไว้คือ อยู่ที่ประมาณ ๕๒ เปอร์เซ็นต์ และค่าพลังงานที่สูงขึ้นถึง ๑๗ เปอร์เซ็นต์ วันนี้มันเกิดอะไร ขึ้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ไม่ได้รับการแก้ปัญหาเหล่านี้ ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น ค่าพลังงาน ค่าเชื้อเพลิง ค่าเคมีภัณฑ์ในการที่จะเอามาเป็นต้นทุนในการผลิต ค่าอาหารถึง ๕๒ เปอร์เซ็นต์ แต่วันนี้ท่านประธานทราบหรือไม่ว่าผมได้รับโทรศัพท์จากพี่น้องเกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งในเขตพื้นที่ของกระผม อำเภอปากพนัง อำเภอหัวไทร ราคากุ้ง Size ขนาด ๙๐-๑๐๐ ตัว วันนี้ซื้อจากปากบ่อ ๙๕ บาท ซึ่งต้นทุนในการผลิตของพี่น้องเกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้ง Size ขนาด ๑๐๐ ตัวอยู่ที่ ๑๒๖ บาทต่อ ๑ กิโลกรัม แต่วันนี้ราคาตกต่ำ เกิดปัญหาจำนวนมากทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีหนี้สินจำนวนมาก เป็นสิ่งที่รัฐบาลชุดใหม่ ต้องแก้ไข วันนี้ชาวบ้านตั้งตารอครับท่านประธานว่าจะมีรัฐบาลที่แท้จริง มีรัฐบาลที่มาจาก การเลือกตั้ง วันนี้มีรัฐบาลแล้วชาวบ้านดีใจว่ามีรัฐบาลที่จะมาแก้ไขปัญหาของพี่น้อง ประชาชน ทำให้ชาวบ้านลืมตาอ้าปากได้ ผมจึงมีข้อเสนอต่อท่านประธานสภาฝากไปถึง ท่านนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้อง เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
นายพิทักษ์เดช เดชเดโช นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
๑. ควบคุมการนำเข้ากุ้ง เพื่อมิให้กระทบต่อกุ้งภายในประเทศ และพัฒนา คุณภาพกุ้งสู่การส่งออกให้เพิ่มขึ้น
นายพิทักษ์เดช เดชเดโช นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
๒. มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ จัดหาห้องเย็นในจังหวัดที่สำคัญ ที่ไม่ติดทะเล เพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้ารักษาความสด สร้างแรงจูงใจในการบริโภคสินค้าสด สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
นายพิทักษ์เดช เดชเดโช นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
๓. ควบคุมสิ่งที่เป็นปัจจัยในต้นทุนแห่งการผลิต เพื่อลดต้นทุนในการผลิต เช่น ค่าอาหาร ค่าไฟฟ้า เชื้อเพลิง และเคมีภัณฑ์
นายพิทักษ์เดช เดชเดโช นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
๔. ควรที่จะมีงบประมาณที่สนับสนุนในเรื่องของห้อง Lab ให้เกษตรกร สามารถนำลูกกุ้งไปตรวจโรคก่อนที่จะปล่อยลงเลี้ยงสู่บ่อได้ และมีการพัฒนาคุณภาพของ ลูกกุ้งที่มีคุณภาพ ต้านทานต่อโรคให้เกษตรกรประสบความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้ง
นายพิทักษ์เดช เดชเดโช นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ
๕. จัดการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่เกิดจากราคาสินค้าทาง การเกษตรตกต่ำ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าหากสภาแห่งนี้มีความเห็นส่วนใหญ่ให้ส่งรายงาน ปัญหาดังกล่าวส่งถึงมือท่านนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่กำลังจะ ปฏิบัติหน้าที่ เพราะเชื่อว่าเป็นช่องทางที่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรได้อย่างรวดเร็ว ที่สุด ขอกราบขอบพระคุณครับท่านประธาน
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านพัฒนา สัพโส ครับ
นายพัฒนา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ผม พัฒนา สัพโส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นต้อง ขอบคุณคณะกรรมการนโยบายเกษตรของพรรคเพื่อไทยที่ได้ให้ข้อมูลในการอภิปรายญัตติ ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ซึ่งวันนี้ก็มีญัตติหลายญัตตินะครับ แต่ว่าภาพรวม ๆ เพื่อนสมาชิก ก็ได้อภิปรายกันหลาย ๆ ประเด็น แต่ผมมีอยู่ประเด็นเรื่องราคาโค กระบือ ก็อยากเพิ่มเติม ผ่านท่านประธานไปยังรัฐบาล ซึ่งวันนี้ผมก็นั่งฟังเพื่อนสมาชิกหลายคนก็มีคนทั้งฝาก ข้อแนะนำ มีทั้งต่อว่า แต่จริง ๆ แล้วทางรัฐบาลเองบางท่านนะครับ คณะรัฐมนตรียังไม่ได้ไป ที่ห้องทำงานเลย เพราะฉะนั้นการอภิปรายของผมก็ไม่ได้ต่อว่า แต่ว่าเป็นการเสนอแนะ แล้วก็จะเปิดโอกาสให้คณะรัฐมนตรี ซึ่งนำโดยท่านเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ปัญหา เรื่องราคาโค กระบือ
นายพัฒนา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
ประเด็นแรกที่ผมอยากกราบเรียนท่านประธานว่าปัญหาราคาตกต่ำของวัว ถ้าพูดภาษาชาวบ้าน คืออยากกราบเรียนท่านประธานอย่างนี้นะครับว่าประเทศจีน เขาต้องการวัวปีหนึ่งประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ตัว แต่ว่าสาเหตุทำไมประเทศไทย ถึงส่งออกไม่ได้ ผมเองก็ได้รับข้อมูลจากคณะกรรมการนโยบายเกษตรของพรรคเพื่อไทย ว่าปัญหานี่เกิดจากประเทศจีนเขามามีสัมปทานที่ สปป. ลาว เขาได้สัมปทานแล้วก็มีโควตา ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ตัวต่อปี แต่สาเหตุที่ประเทศไทยทำไมถึงไปขายโดยผ่าน สปป. ลาว ไม่ได้ เพราะว่า สปป. ลาวเขาเก็บค่าการจัดการตัวละ ๓,๐๐๐ บาท นะครับท่านประธาน ตรงนี้เกิดปัญหาพอเก็บค่าส่วนต่างนะครับ ค่าการจัดการตัวละ ๓,๐๐๐ บาท มันทำให้ ราคาวัวสูงขึ้น เพราะฉะนั้นเกษตรกรไทยก็ไม่สามารถที่จะขายให้กับพ่อค้าคนกลาง ที่ได้สัมปทานอยู่ที่ สปป. ลาว ข้อเสนอแนะที่ผมอยากจะฝากท่านประธานไปยังรัฐบาลว่าเรา ต้องเป็นคู่ค้าตรงกับรัฐบาลจีน โดยการเอาสินค้าผ่านที่เชียงแสนพื้นที่เชียงแสน ติดกับประเทศจีนนะครับ เราสามารถที่จะเป็นคู่ค้าโดยตรงกับประเทศจีน แล้วก็จะตัดปัญหา ในเรื่องค่าการจัดการตัวละ ๓,๐๐๐ บาทกับ สปป. ลาวได้ อันนี้เป็นประเด็นแรกที่ผมมองว่า เป็นปัญหาหลักที่ทำให้สินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัวเกิดปัญหาในการขายนะครับ
นายพัฒนา สัพโส สกลนคร ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ราคาอาหารสัตว์ ราคาอาหารสัตว์นี่ทำให้ราคาวัวสูงขึ้นไปด้วย ผมอยากกราบเรียนท่านประธานนะครับว่าให้เห็นชัด ๆ เลยนะครับว่าอาหารวัวโปรตีนที่ ๑๖ เปอร์เซ็นต์ เดิมเมื่อประมาณสัก ๖ เดือนที่แล้วราคากระสอบละ ๓๐ กิโลกรัม มันตกที่ ๓๐๐ บาท กิโลกรัมละประมาณ ๑๐ บาท แต่ปัจจุบันนี้โปรตีน ๑๖ เปอร์เซ็นต์ มันปาเข้าไป ๓๕๐ บาท มันกระโดดขึ้น ๕๐ บาท แต่ราคาวัวนะครับ วัวหน้าเขียง กิโลกรัมละ ๓๐๐ บาทเหมือนเดิมนะครับ แต่ราคาตัวนี่สมาชิกหลายคนบอกว่าวัวกิโลกรัมละ เท่าโน้นเท่านี้ ผมจะเรียนท่านประธานให้เห็นภาพชัดเจนเลย เมื่อประมาณสักปีที่แล้ว วัวตัวหนึ่งราคาประมาณ ๔๐,๐๐๐ บาท ปัจจุบันทราบไหมครับว่าวัวเหลือตัวละราคาเท่าไร ๒๐,๐๐๐ บาทนะครับ จาก ๔๐,๐๐๐ บาท เหลือ ๒๐,๐๐๐ บาท แต่ราคาอาหารสัตว์ จาก ๓๐๐ บาท เป็น ๓๕๐ บาท นี่คือปัญหาครับท่านประธาน ทำให้เกษตรกรไม่สามารถ เลี้ยงวัวแล้วมีกำไร ผมก็เห็นใจเพื่อนสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกเมื่อสักครู่นะครับ ท่านสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ ลูกอดีตสมาชิก สส. กุ่ย แห่งอุบลราชธานีเขาก็เลี้ยงวัวครับ เขาลำบากนะครับ เพราะฉะนั้นประชาชนนี่ยิ่งไม่ต้องไปพูดถึงเลยครับท่านประธาน ขนาดผู้แทนเลี้ยงวัวยังแย่เลยนะครับ ผมเองก็เลี้ยงครับที่พูดนี่เพราะฉะนั้นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ผมอยากฝากท่านประธานผ่านไปยังรัฐบาล ผมให้โอกาสนะครับ หลาย ๆ คนอาจจะเริ่ม ต่อว่าแล้วแต่ผมยังให้โอกาส เพราะว่ารัฐบาลต้องใช้เวลานะครับ วันนี้หลายท่านที่ผมกล่าว ตั้งแต่เริ่มต้นนะครับว่ายังไม่เห็นห้องทำงานเลย ผมให้เวลา แต่สิ่งต่าง ๆ ที่ผมได้กราบเรียน นั่นละคือตัวปัญหา เราจะต้องเป็นคู่ค้ากับรัฐบาลจีน และ สปป. ลาวเราผ่านเขาไม่ได้ เราก็ไปที่เชียงแสน ผมเชื่อว่าไม่เกินความสามารถของรัฐบาลที่นายกรัฐมนตรีชื่อเศรษฐา ทวีสิน แล้วก็ฝากถึงกระทรวงพาณิชย์กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านต้องทำงาน ร่วมกัน ท่านต้องบูรณาการทั้ง ๒ กระทรวง ที่ผมพูดตั้งแต่แรกว่าราคาหน้าเขียงยังเท่าเดิม แต่ราคาวัวเป็นตัวทำไมจาก ๔๐,๐๐๐ บาท เหลือ ๒๐,๐๐๐ บาท อันนี้ละคือหัวใจ แล้วก็ตลาด ท่านเศรษฐาซึ่งเป็นผู้นำของรัฐบาล ติดต่อประเทศจีนให้เป็นคู่ค้า ผมเชื่อว่า วัวบ้านเราขายได้ นั่นคือสิ่งที่ผมเองอยากให้กำลังใจรัฐบาลที่นำโดยท่านเศรษฐา ทวีสิน จากพรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อไทยเราได้เตรียมการในเรื่องนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นราคาผลิตผล ทางการเกษตร ราคาด้านปศุสัตว์ เราเตรียมมาเป็นระยะเวลาเกือบ ๑ ปีแล้วครับ ผมเชื่อว่า ใช้เวลาไม่นานผมให้กำลังใจ กราบขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านรัฐ คลังแสง ครับ
นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ
ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม รัฐ คลังแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม เขต ๖ อำเภอกันทรวิชัย อำเภอเชียงยืน และอำเภอชื่นชม จากพรรคเพื่อไทย ขออนุญาตร่วมอภิปรายญัตติปัญหา ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ผมขอ Slide ด้วยนะครับ
นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ
แต่ผมขอใช้คำว่า ราคาผันผวน นะครับ เพราะอะไรครับ เพราะว่าจากข้อมูลราคาสินค้าเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรนั้น เมื่อเปรียบเทียบราคาปัจจุบันกับราคาปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา มีทั้งสินค้าที่ราคาตก และสินค้า ที่ราคาขึ้น สินค้าที่ราคาตกก็จะเป็นในหมวดของยางพารา สินค้าปศุสัตว์ สุกร โค ไก่ กุ้ง ส่วนสินค้าที่ราคาขึ้น ก็จะเป็นสินค้าจำพวกพืชเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นอ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด ถั่วเหลือง แล้วก็ข้าวซึ่งเป็นสินค้าสำคัญ ดูประหนึ่งว่าจะดี โดยเฉพาะข้าวนั้น ที่มีราคาสูงขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นไปตามหลักกลไกเศรษฐศาสตร์ง่าย ๆ ครับ เพราะอะไรครับ ก็เพราะผลผลิตมันน้อยลงสืบเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง หรือว่าปัญหา El Nino ทำให้ผลผลิตน้อย ราคาจึงดีดสูงขึ้น ดูเหมือนว่าชาวนาควรจะดีใจ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผมลงพื้นที่ชาวนาหลายท่านบ่นกับผมมา ผู้แทนดีใจราคาสูงขึ้น แต่ไม่มีผลผลิต หรือไม่มีข้าว จะขายนี่คือปัญหาสำคัญ ในส่วนของสาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรนั้นผันผวนมีอยู่ ๔-๕ ปัจจัยที่ผมขออนุญาตยกมาเสนอต่อสภา
นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ
สาเหตุแรกซึ่งเป็นสาเหตุหลัก นั่นก็คือปริมาณผลผลิตที่ไม่แน่นอน สืบเนื่องมาจากระบบชลประทาน ระบบบริหารจัดการน้ำที่ยังไม่เพียงพอ ไม่มีคุณภาพ แล้วก็สภาพอากาศ หรือว่าภัยพิบัติ โดยเฉพาะ El Nino ที่ทั่วโลก และประเทศไทยกำลัง ประสบปัญหาอยู่ ซึ่งรัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญ แล้วก็ต้องเตรียมแผนเพื่อแก้ไข แล้วก็ ในเรื่องของโรคระบาดในพืชและสัตว์
นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ ก็คือปริมาณสินค้าที่ไม่สัมพันธ์กับความต้องการของตลาด สินค้าผลิตออกมาล้นเกินตลาดราคาก็ตก สินค้าขาดราคาก็สูงเป็นธรรมดาครับ ตามเศรษฐศาสตร์
นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๓ ก็คือตลาดที่รองรับนั้นไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นตลาด ทั้งในประเทศและนอกประเทศ แล้วก็ความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างประเทศนะครับ ซึ่งจะต้องมีการเจรจาเพื่อเพิ่มตลาด เพิ่มช่องทางในการค้าขาย แล้วก็คุณภาพของสินค้า ที่มีผลต่อราคาของสินค้าทางการเกษตร ในส่วนข้อเสนอที่ผมอยากจะเสนอต่อภาครัฐ และเกษตรกร ก็มีหัวใจหลัก ๆ อยู่ ๓ ประเด็นก็คือ ๑. คือลดต้นทุน ๒. ใช้ตลาดนำ ๓. ใช้นวัตกรรมเสริม ในส่วนประเด็นแรกก็คือการลดต้นทุน ผมขอเสนอภาครัฐให้ช่วยเร่ง เพิ่มพื้นที่ทางชลประทานให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำ ใช้หัวใจอยู่ ๒ หลัก ก็คือน้ำ ต้องมีที่อยู่ และน้ำต้องมีที่ไป น้ำต้องมีที่อยู่ หมายความว่า ต้องมีการสร้างแหล่งเก็บ น้ำผิวดินเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ยามแล้งแล้วก็ใช้ในการเกษตร แล้วก็ดึงน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล นั้นมาใช้ ในข้อมูลของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีการตรวจสอบทราบว่าน้ำใต้ดิน ของประเทศไทยนั้นมีอยู่ปริมาณ ๔๕,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีที่สามารถนำมาใช้ได้ แต่ในปัจจุบันเราสามารถมีศักยภาพนำน้ำเหล่านั้นขึ้นมาใช้ได้เพียง ๑๕,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ต่อปี นั่นหมายความว่าเราใช้ได้เพียงแค่ ๓๐ เปอร์เซ็นต์นะครับ ทำอย่างไรที่เหลืออีก ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ภาครัฐจะสามารถดึงขึ้นมาใช้ แล้วก็ให้พี่น้องเกษตรกรได้ประโยชน์จาก แหล่งน้ำ ส่วนหัวใจที่ ๒ นั้น ก็คือน้ำต้องมีที่ไป ต้องมีการเพิ่มคลอง เพิ่มทางน้ำเป็นเส้นเลือดฝอย เข้าถึงไร่นา เข้าถึงพื้นที่ทางการเกษตรของพี่น้องประชาชน แล้วถ้าเป็นไปได้ เรามี ๑ ตำบล ๑ ผลิตภัณฑ์ เราจะมี ๑ ตำบล ๑ ระบบชลประทานได้หรือไม่ นำน้ำมาใช้พัฒนาในตำบล ของตัวเอง
นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ
แล้วก็ปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง ก็คือการควบคุมต้นทุนการผลิตในด้าน ราคาปุ๋ย แล้วก็ยาป้องกันแมลงศัตรูพืช
นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ
ในประเด็นที่ ๒ หัวใจที่ผมอยากจะนำเสนอก็คือการใช้ตลาดนำ รัฐต้อง สำรวจความต้องการของตลาด ต้องการสินค้าข้าวเท่าไร อ้อยเท่าไร ต้องการหมู ต้องการวัว เท่าไร แล้วส่งเสริมให้พี่น้องเกษตรกรทำการตลาดตามนั้นให้สัมพันธ์กับตลาดที่รองรับ แล้วจะผลิตอะไรภาครัฐก็ต้องส่งเสริมให้สัมพันธ์กับตลาด พี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่ เพาะปลูกพืชจะเน้นข้าวเสียเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้วข้าวนั้นต้องการน้ำมากกว่า พืชอื่น ๆ ต้องการน้ำต่อไร่ ๑,๒๐๐-๑,๕๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อการเพาะปลูก ในขณะที่ พืชอย่างอื่นต้องการน้ำในปริมาณที่น้อยกว่าถึงครึ่งต่อครึ่ง ตรงนี้รัฐต้องช่วยให้ความรู้กับ พี่น้องประชาชน และขายที่ไหนรัฐต้องเพิ่มช่องทางในการขายสินค้า สนับสนุนให้พี่น้อง เกษตรกรสามารถแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้าและสร้างรายได้ให้มากขึ้น แล้วก็ต้องขยายตลาด ระหว่างประเทศ รองรับปริมาณการผลิตที่มากขึ้น
นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ
ส่วนหัวใจสุดท้ายนั่นก็คือเอานวัตกรรมมาเสริม ภาครัฐต้องเสริมความรู้ และเทคโนโลยีการเกษตรให้พี่น้องเกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิต นำ Drone ทางการเกษตร มาใช้ นำระบบพยากรณ์ที่แม่นยำทางการเกษตรมาใช้ และภาครัฐต้องจัดทำแผนที่สภาพดิน ทั่วประเทศ อันนี้คือหัวใจสำคัญเลยครับ พื้นฐานเริ่มต้นของการเพาะปลูกคือดิน สำรวจ อย่างไร ก็สำรวจค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินทั่วประเทศ ทำออกมาเป็นแผนที่ ให้ละเอียดถึงระดับตำบล ระดับหมู่บ้าน เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรนำไปใช้ แล้วก็ส่งเสริม ให้เกษตรกรสามารถตรวจสภาพดินได้ด้วยตัวเอง ซึ่งทุกวันนี้อุปกรณ์หรือว่าวัสดุเครื่องมือ ในการตรวจสภาพดิน ตรวจความเป็นกรดเป็นด่างนั้นมีราคาถูกมากแค่หลักสิบเท่านั้น สำคัญอย่างไรครับ ค่า pH ก็คือค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ดินที่มีความเหมาะสม ค่า pH ที่เหมาะสมนั้นก็คือค่าระหว่าง ๕.๕-๗.๐ นั่นคือดินที่สภาพเป็นกรดอ่อน ๆ หรือเป็นกลาง สำคัญอย่างไรครับ ดินที่มีสภาพความเป็นกลางนั้นจะมีความสามารถในการดูดซึมแร่ธาตุ ให้พืชนั้นเอาไปใช้ ต่อให้เราใช้ปุ๋ยดีแค่ไหนก็ตาม ปุ๋ยสูตรเทวดาแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าดินเรา ไม่มีการปรับสภาพ pH ที่เหมาะสม ไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุนั้นไปใช้ได้ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้นต้องส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ในการตรวจสภาพดิน และปรับสภาพดิน ให้เหมาะสม หากดินเป็นกรดก็เติมขี้เถ้า เติมปูนขาว เติม Dolomite เข้าไป หรือถ้าเป็นด่าง ก็เติมกำมะถันเข้าไป
นายรัฐ คลังแสง มหาสารคาม ต้นฉบับ
สุดท้ายครับ นอกจากปัจจัยการผลิตพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดิน เรื่องน้ำ เรื่องการตลาดที่ภาครัฐต้องเตรียมไว้ให้เกษตรกร ข้อมูลและองค์ความรู้คือหัวใจ สำคัญ เพราะฉะนั้นแล้วรัฐต้องนำพา ประชาต้องเดินตาม ต้องเพิ่มสื่อ เพิ่มช่องทาง การเข้าถึงข้อมูลของพี่น้องเกษตรกร สร้างการรับรู้เพื่อพัฒนาไปสู่เกษตรกรยุคใหม่ กราบสวัสดีครับ
นายปดิพัทธิ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปเป็นท่านชญาภา สินธุไพร แล้วหลังจากท่านชญาภาอภิปรายเสร็จจะปิด การลงชื่อเพื่ออภิปรายนะครับ
นางสาวชญาภา สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวชญาภา สินธุไพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต ๘ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรกว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ในภาคการเกษตร แต่กลับมีรายได้เพียงประมาณ ๘ เปอร์เซ็นต์ของ GDP เท่านั้น ซึ่งเป็นผลลัพธ์จาก การแก้ปัญหาในภาคการเกษตรไม่ตรงจุด ทำให้เกษตรกรไทยยังวนเวียนอยู่ในวัฏจักร ของความยากจน และเผชิญกับปัญหาซ้ำซากมาโดยตลอด ในพื้นที่ภาคอีสานพี่น้องส่วนใหญ่ มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีพื้นที่เกษตรที่มีชื่อเสียง คือทุ่งกุลาร้องไห้มีพื้นที่กว่า ๒ ล้านไร่ และมีอาณาเขตครอบคลุมถึง ๕ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร และรวมถึงจังหวัดร้อยเอ็ดของดิฉันเองค่ะ ซึ่งเป็นแหล่งผลิต ข้าวหอมมะลิชื่อดังระดับประเทศ ในอดีตสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยนำ พันธุ์ข้าวทุ่งกุลาร้องไห้จดทะเบียนเป็นของคนไทย สร้างรายได้มากมายให้เกษตรกร ดิฉันในฐานะผู้แทนราษฎรจากจังหวัดร้อยเอ็ด จากการลงพื้นที่รับฟังปัญหาของพี่น้อง ประชาชนในช่วงที่ผ่านมา พี่น้องชาวเกษตรกรต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าประสบปัญหา อย่างหนักในเรื่องรายได้สินค้าเกษตรสวนทางกับต้นทุนการผลิตที่สูงลิ่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราคาปุ๋ย ดังนั้นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ดิฉันคิดว่าสิ่งสำคัญคือเริ่มด้วยการช่วยเกษตรกร ในการลดต้นทุนค่ะ และการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการเพิ่มผลผลิต ดังนั้น พรรคเพื่อไทยจึงมีแนวทางในการเพิ่มรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักคิด ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ที่จะสร้างระบบยืนยันราคาทำให้ราคาสินค้าเกษตรดี นำนวัตกรรมการเกษตรมาเพิ่มปริมาณการผลิตที่มีคุณภาพ และที่สำคัญค่ะลดต้นทุน การผลิต โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มรายได้ให้พี่น้องเกษตรกรเป็น ๓ เท่า อย่างไรก็ดี ประการสำคัญที่จะละเลยไม่ได้นอกจากการดูแลเรื่องผลผลิตภาคการเกษตร จำเป็นต้องทำ ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพราะภาคการเกษตรต้อง พึ่งพาน้ำ เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต ยกตัวอย่างค่ะในบางช่วงปีที่มีราคาข้าวดีแต่เกษตรกร กลับไม่มีข้าวขาย เพราะเกิดจากปัญหาภัยแล้ง ไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับการเกษตร ในขณะที่ บางปีพี่น้องเกษตรกรต้องไปกู้เงิน ธ.ก.ส. มาลงทุนปลูกข้าว แต่ปรากฏว่าข้าวกำลังตั้งท้อง ได้สวยงามก็เกิดปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมนาข้าวซ้ำเติมเข้าไปอีกค่ะ พี่น้องเกษตรกรมืดแปดด้าน ไม่มีผลผลิต ไม่มีรายได้ ไม่มีเงินไปใช้หนี้ค่ะ กลายเป็นปัญหาวนเวียนซ้ำซากแบบนี้ทุกปี รัฐบาลที่ผ่านมาใช้เงินกับการบริหารจัดการน้ำไปหลายแสนล้านบาท แต่ปรากฏว่า แก้ไขปัญหาไม่ได้ เป็นปัญหาซ้ำซากที่พี่น้องประชาชนต้องเผชิญอยู่ทุกปี จังหวัดร้อยเอ็ด ของดิฉันท่วมสลับแล้งทุกปี พี่น้องประชาชนไม่รู้ว่าจะลืมตาอ้าปากได้เมื่อไรค่ะ ดิฉันเรียนว่า การเยียวยาน้ำท่วม น้ำแล้งก็จำเป็น แต่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น ดังนั้น เป็นไปได้ไหมที่งบประมาณที่ใช้ในการจัดการน้ำท่วมน้ำแล้งทุกปี แทนที่เราจะไปใช้แก้ปัญหา ที่ปลายเหตุ ควรนำงบประมาณมาลงทุนแก้ปัญหาที่ต้นเหตุค่ะ คือการบริหารจัดการน้ำ อย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว เฉกเช่นในอดีตเช่นเดียวกันในสมัยรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยริเริ่มโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบไว้ แต่น่าเสียดาย ที่ไม่มีโอกาสได้สานต่อ นอกจากนี้ค่ะก็ควรที่จะต้องเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกร ดูแลเชื่อมต่อไปถึงด้านการตลาด ซึ่งดิฉันหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสามารถไปเจรจาเพื่อ เปิดตลาดสินค้าในต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้นหาช่องทาง หาตลาดใหม่ ๆ ให้กับพี่น้องเกษตรกร ให้มากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ะ ยิ่งเกิดสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ของประเทศมหาอำนาจ รวมถึงปรากฏการณ์สภาพอากาศแปรปรวนทั่วโลก เช่น El Nino ปัญหาภัยแล้ง ทำให้ประเทศที่เป็นผู้ส่งออกหลักของโลก อย่างประเทศอินเดียตัดสินใจระงับ การส่งออกข้าว เพื่อสร้างหลักประกันว่ามีปริมาณข้าวเพียงพอต่อการบริโภค และเพื่อดูแล ราคาข้าวภายในประเทศ แต่ในวิกฤติย่อมมีโอกาสค่ะท่านประธาน ถ้าประเทศไทยสามารถ ผลิตข้าวและสินค้าเกษตรอื่น ๆ ได้ในปริมาณที่มากพอต่อการบริโภคในประเทศ และเพียงพอ ต่อการส่งออกได้ด้วยย่อมเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะสร้างรายได้เข้าประเทศ และเป็น รายได้ของพี่น้องเกษตรกรที่ต้องอาศัยการบริหารจัดการวางแผนที่เป็นระบบ ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นปัญหาที่ท้าทายรัฐบาลชุดใหม่ค่ะ ดิฉันเชื่อมั่นแล้วก็หวังเป็นอย่างยิ่งค่ะว่าภายใต้ การนำของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่กำลังเข้ามาบริหารประเทศได้เล็งเห็นปัญหา และเตรียม แนวทางในการแก้ไขปัญหาทั้งระยะเฉพาะหน้า ระยะยาว และการสร้างความเชื่อมั่น สร้างหลักประกันให้กับพี่น้องเกษตรกรทั้งประเทศให้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเพิ่มรายได้ ให้กับพี่น้องเกษตรกรอย่างยั่งยืนต่อไปค่ะ ขอบคุณค่ะ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เชิญท่านศักดินัย นุ่มหนู ครับ
นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สุรินทร์ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ผม ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ขออนุญาตนิดเดียวครับท่านประธาน ด้วยความเคารพครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สุรินทร์ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ผมอยากจะ กราบเรียนหารือกับท่านประธานว่าบังเอิญตอนนี้มีผู้ลงชื่อที่จะอภิปรายไว้จำนวนมากพอสมควร ทีนี้ถ้าเราอภิปรายไปกว่าจะหมด ความชัดเจนของเวลาไม่รู้จะได้เลิกกันตอนไหน ผมกลัวว่ายิ่งดึก พรุ่งนี้เราก็ยืดเยื้อในการที่จะมาประชุมอีก เอาอย่างนี้ได้ไหมครับ คืนนี้ ๑๙.๐๐ นาฬิกา เราปิด และผมก็ไปคุยกับเพื่อนพ้องน้องพี่ทั้งพรรคก้าวไกล เพื่อนพ้องน้องพี่ทุกพรรคแล้ว ทุกฝ่ายก็เห็นด้วยว่า ๑๙.๐๐ นาฬิกาก็น่าที่จะปิด แล้วก็ที่เหลืออีกประมาณ ๑๐ กว่าคน ซึ่งพรุ่งนี้ก็ใช้เวลาในภาคเช้าหลังจากหารือเสร็จ ก็เอาเรื่องนี้มาต่อ เที่ยงเสร็จ ก็จะไปเรื่องรายงานประจำปีของ สสส. ผมคิดว่าพอดีเลย มันจะลงตัว แล้วคนที่ได้ลงชื่อไว้แล้วมีคิวพรุ่งนี้เขาก็จะได้ไม่เสียใจ จะได้แจ้งให้เขาทราบว่า รอพรุ่งนี้ ถ้าอยู่ ๆ เรายืดเยื้อออกไป เขาก็ไม่รู้จะได้อภิปรายหรือไม่ได้อภิปราย แล้วมันก็ยิ่งดึก พอยิ่งดึกสภาก็โหรงเหรง ประธานนั่งอยู่ข้างบนก็มีความรู้สึกอย่างไร ๆ ผมเลยกราบเรียน ท่านประธานว่าผมไปหารือมาเรียบร้อยทุกพรรคแล้ว ยืนยันด้วยศักดิ์ศรีครับว่าหารือมาแล้ว ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่า ๑๙.๐๐ นาฬิกา ควรที่จะยุติในการอภิปรายวันนี้ บางคนแจ้งว่า ถ้า ๑๘.๐๐ นาฬิกาได้ก็ยิ่งดีเลย เพราะว่ามีวอลเลย์บอลชิง Champ ระหว่างไทยกับจีน แต่อันนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่บางคนชอบ บางคนไม่ชอบ เอาเป็นว่า ๑๙.๐๐ นาฬิกา ผมก็กราบเรียนหารือกับท่านประธาน ท่านประธานลองหารือดูครับ กราบขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เป็นข้อเสนอที่มีเหตุผลนะครับ เพราะว่ามีผู้ที่มีลงชื่ออีกเยอะจริง ๆ ต่อให้เรา ปิดการลงชื่อแล้วนะครับ ท่านใดมีความคิดเห็นแย้งไหมครับ ในข้อเสนอของทางท่านสมาชิก ท่านครูมานิตย์ เราจะปิดการอภิปรายสำหรับญัตตินี้ในเวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา เชิญครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะ ตัวแทนฝ่ายค้าน ต้องขอประทานโทษครับยังไม่ชินกับคำว่าตัวแทนฝ่ายค้าน ความเป็นจริง ก็คือท่าน สส. ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ได้มาหารือกับพวกเรานะครับ วอลเลย์บอลเมื่อวาน เราชนะญี่ปุ่น ๓ ต่อ ๒ Set นะครับ วันนี้เราเจอจีนอันดับ ๕ ของโลกก็เป็นกำลังใจให้กับ นักกีฬาคนไทยครับ แต่ผมคิดว่าประเด็นหลักครับ อยู่ที่ว่าเราให้ความสำคัญกับญัตติที่เรา พูดกันมากน้อยขนาดไหนนะครับ แล้วก็เป็นที่น่าชื่นใจนะครับถ้ามองซ้าย มองขวา กล้องช่วย Pan ซ้ายขวาไปทีหนึ่งก็จะเห็นว่าวันนี้เพื่อนสมาชิกอยู่กันหนาแน่นนะครับ ก็เป็นไปตาม ความตั้งใจของพรรคก้าวไกล ฉะนั้นผมคิดว่าเป็นไปได้ครับกับกรอบเวลาที่ครูมานิตย์ได้พูดถึง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังอยากให้ท่านประธานได้เดินหน้าไปก่อน แล้วไปดูกันอีกสักทีหนึ่งนะครับ ขณะนี้เป็นเวลาประมาณ ๑๖.๓๒ นาฬิกา อาจจะสักแดดร่มลมตกหลังหก ๖ โมงเย็น อาจจะมีบางท่านถอน มีบางท่านเพิ่มใด ๆ ต่าง ๆ แต่ถ้ามีการถอนบ้างก็อยากให้จบในวันนี้ เพื่อนำไปสู่ญัตติอื่น ๆ ที่รออยู่นะครับ แต่ถ้าเห็นว่ามีชื่ออยู่เยอะจริง ๆ ครับ แล้วคิดว่า หลายท่านนั้นมีประเด็นที่แตกต่าง พูดไม่ได้ซ้ำเพื่อนก็สงวนไว้ในการที่จะไปพูดในวันพรุ่งนี้ เราก็ไม่ได้คัดค้านแต่ประการใดครับ ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่พวกเราเห็นประเด็นปัญหา เรื่องของเกษตรกร แล้วก็ช่วยกันทำงานให้กับพี่น้องเกษตรกรทั้งประเทศครับ ก็นำเรียน ท่านประธานให้พิจารณาวินิจฉัยครับ ขอบพระคุณครับ
นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ เนื่องจากมีญัตติในทำนองเดียวกันถึง ๑๑ ฉบับ ก็อยากจะเปิดโอกาสให้มี การอภิปรายที่หลากหลายแล้วก็มากที่สุด รวมถึงเราจำกัดเวลาเพียงแค่ท่านละ ๗ นาที ก็เลยคิดว่าปริมาณของผู้อภิปรายก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้ญัตติทั้ง ๑๑ ญัตติ ได้รับการเสนอ ไปที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มากที่สุด ผมคิดอย่างนี้นะครับ ก็คือว่าถ้าเราปิดผู้อภิปรายแล้ว แล้วก็เรากำหนดไว้ราว ๆ ๑๙.๐๐ นาฬิกาก่อนนะครับ แล้วถ้าท่านได้คิดว่าจะถอน หรือที่ตั้งใจ ว่าจะยกไปอภิปรายครั้งหน้าก็สามารถมาแจ้งความจำนงได้ ต่อไปเป็นท่านศักดินัย นุ่มหนู ครับ
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด พรรคก้าวไกล ผมขอมีส่วนร่วม ในญัตตินี้นะครับ เพราะเนื่องจากว่าในพื้นที่จังหวัดตราดเองก็เป็นพื้นที่เกษตรกรรม แล้วก็พี่น้องก็มีความเดือดร้อนได้รับผลกระทบกันมาค่อนข้างเยอะ ท่านประธานครับ ผมอยากพูดถึงสินค้าเกษตรพืชเศรษฐกิจตัวหลัก ๒ ชนิดด้วยกัน
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
เรื่องแรก ก็คือเรื่องของยางพารา บ้านผมนี่ยางพาราเยอะมากครับ และผม จำได้ตอนเป็นผู้แทนใหม่ ๆ ตอนอยู่ที่ TOT เรื่องนี้เป็นเรื่องแรก ๆ เลยที่มีการนำเสนอ เข้ามาพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เป็นญัตติแรก ๆ เลยนะครับ แล้วก็พูดกันนานมาก แล้วก็จำได้ว่ายางพาราเป็นเรื่องหนึ่งที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายในสภาเยอะ เสนอปัญหาต่อรัฐบาลให้ไปดูแลแก้ไข แต่ว่า ๔ ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำที่ได้พูดจนกระทั่งถึงวันนี้อีก ราคายางพาราก็ยังไปไม่ได้ไกลเลยนะครับ แถวบ้านผมนี่เขาทำเป็นขี้ยางก้อนถ้วยกัน ราคายางก้อนถ้วยจะอยู่ประมาณที่ ๑๘-๒๑ บาท ตลอด ๔-๕ ปีมานี้ก็แกว่งอยู่แค่นี้ ๑๘-๑๙ บาท ๒๐-๒๑ บาท ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องของการกรีดยางมันจะมีอย่างนี้ครับ เขาจะมีการกรีดแบ่งครึ่ง ถ้าวันไหนราคาเหลือแค่ ๑๘ บาทก็จะได้คนละ ๙ บาท ก็แทบจะไม่พอกินเลย แต่ลูกชาวสวนจะทำอย่างไรได้ หมูเห็ดเป็ดไก่ก็ขึ้นราคากันไปแล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็น เรื่องที่อยากเห็นกระบวนการในการแก้ไขปัญหาจริง ๆ จัง ๆ เรื่องของยางพารา เพราะว่า จังหวัดตราดบ้านผมก็เริ่มมีการโค่นยางพาราเยอะขึ้นเพื่อที่จะไปปลูกทุเรียน มังคุด เงาะ อะไรต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมันก็จะเกิดปัญหาติดตามมาว่าผลผลิตที่มันล้นตลาดบ้าง เรื่องน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญก็จะต้องมาแย่งน้ำกันอีก เพียงถ้าหากวันนี้ถ้ารัฐบาลสามารถที่จะดูแล แก้ไขแล้วหาทางออกได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางเขาจะได้ไม่ต้องไปโค่นกัน เขาก็สามารถที่จะปลูกต่อไปได้ แต่ถ้าราคาขนาดนี้ผลผลิตน้ำยางมันก็ลดลงเรื่อย ๆ เพราะว่า อะไร เพราะว่าเมื่อมันขายได้น้อยเงินที่จะเอาไปซื้อในการลงทุนเรื่องปุ๋ยก็ไม่มีไม่รู้จะซื้อ อย่างไร และอาชีพนี้ค่อนข้างลำบาก ท่านประธานอาจจะไม่เคยกรีดยางเหมือนผม ผมเคยกรีดยางมาก่อน ก่อนที่จะมาเป็นผู้แทน กว่าจะลุกขึ้นไปกรีดยางต้องดึก ๆ ดื่น ๆ แต่ละต้นเดินกันไปสมัยพ่อผมต้องกินยาทัมใจ นึกออกไหมครับ มันจะช่วยแก้เมื่อปวดหลัง มันต้องก้ม ๆ เงย ๆ ต้นต่อต้น ลำบากมากชีวิตของคนที่เป็นพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องดูแลให้เขาคุ้มค่า เพราะฉะนั้นในเรื่องของการแปรรูปขั้นสูงก็ดี อุตสาหกรรมการแปรรูปจะต้องเข้ามาในการที่ต้องดูแลในการให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง เรามีทางออกให้ได้ ไม่ใช่ราคาอยู่กันแบบนี้ ก็เป็นเรื่องที่ต้องฝากไว้นะครับ
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
สำหรับอีกเรื่องหนึ่งนะครับ สำหรับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนมังคุด เมื่อสักครู่ เรื่องยางไปแล้วที่จังหวัดตราดมีเรื่องนี้ที่ผมต้องพูดส่งเสียงแทนเขา ถึงแม้ว่าสภาผู้แทนราษฎร แห่งนี้จะพูดไปแล้วหลายท่านก็ตามที แต่ก็ต้องส่งเสียงแทนเขาว่าเขาเดือดร้อนอย่างไร
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
อีกอันหนึ่ง ก็คือเรื่องของมังคุดราคาตกต่ำ ผลผลิตมังคุด ท่านประธานครับ เราเห็นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชใช่ไหมที่มีการเอามาเทบนท้องถนน ตอนนี้ภาคตะวันออก มันเก็บเกี่ยวมังคุดหมดไปแล้ว มันจะเก็บเกี่ยวกันอีกครั้งหนึ่งก็คือประมาณเมษายน พฤษภาคมในครั้งหน้า แต่สถานการณ์แบบนี้ก็ทำให้มีการหวั่นใจไม่น้อยสำหรับสถานการณ์ ในวันหน้านี้จะถูกได้รับการแก้ไขหรือไม่ รัฐมนตรีลงไปดูหน้างานแล้วแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ หรือว่าจะต้องให้ทางภาคตะวันออกต้องเอามาทิ้งบนถนนอีกอย่างนี้ใช่ไหม มันก็ไม่ควร ที่จะต้องเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นปัญหานี้สร้างความหวั่นวิตกให้กับพี่น้องเกษตรกร ชาวสวนมังคุดที่จังหวัดตราดในภาคตะวันออก จันทบุรีและระยองพอสมควรเลยทีเดียว ทีนี้ปัญหาอย่างนี้ท่านประธานครับ ราคามังคุดตกต่ำมันมีปัญหามาอย่างนี้ว่าล้งที่รับซื้อ มีจำนวนน้อยแล้วเขารวมตัวกันได้ พอรวมตัวกันได้นี่มันฮั้วกันได้นะครับ และกลไก ในการเข้าจัดการของภาครัฐเรายังไม่เห็น เรายังไม่เคยเจอนะครับ
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
อันที่ ๒ ก็คือระบบตลาดที่มีการซื้อขายผ่านคนกลางหลายทอด พอผ่าน คนกลาง กลไกของการถูกกดเพื่อจะฟันกำไรมันก็หายไป มันมีหลายทอดแบบนี้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มันเป็นปัญหาว่าราคามังคุดตกต่ำ อีกประเด็นหนึ่ง คือผลผลิตของ มังคุดที่ด้อยคุณภาพและมีปริมาณมาก มันไปดึงเอามังคุดคุณภาพ ราคามันตกลงไปด้วย เพราะฉะนั้นเวลาเขาเอามังคุดไปขาย มันก็เลยถูกคัด Grade คัดอะไรยิบ ๆ ย่อย ๆ มากเลย เยอะแยะเลยครับ หลาย Grade แล้วก็หลายราคา ทีนี้ผมอยากจะเสนอทางออกภายใต้เวลา ที่พอมีเหลืออยู่ว่าทางออกหรือแนวทางแก้ไขมันควรจะเป็นอย่างไรไม่ให้เกิดการซ้ำรอย ในเรื่องปัญหาเดิม ๆ ที่ต้องกลับมาเกิดขึ้นอีก
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
เรื่องแรกเลย ก็คือเรื่องของการที่จะส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร รวมกลุ่มเพื่อยกระดับการพัฒนาเชิงคุณภาพ อันนี้ต้องเป็นเรื่องที่ผมเข้าใจว่ามีการทำอยู่แล้ว แต่มันไม่ได้เคยจริงจังว่าการรวมกลุ่มพัฒนาคุณภาพจริง ๆ แล้วมันควรจะต้องทำอย่างไร ถ้าเราไม่เอาจริงจังเรื่องคุณภาพ การแข่งขัน หรือการสู้กันในระดับนานาประเทศ เราก็ไม่สามารถที่จะไปได้ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องจริงจัง
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
เรื่องที่ต้องจริงจังในเรื่องที่ ๒ นั่นก็คือเรื่องของการผลักดันให้กลไกของระบบ สหกรณ์สามารถนำทำงานเพื่อสมาชิกเกษตรกรได้จริง ๆ สหกรณ์ที่ผ่านมาก็จะอยู่กับ เรื่องของการให้สินเชื่อเสียมากกว่า การมีองค์กรแบบนี้ไม่สามารถที่จะสร้างอำนาจ การต่อรองได้ ร่วมคิด ร่วมผลิต ร่วมขาย ยังไม่สามารถที่จะทำได้จริง
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๓ เราต้องส่งเสริมอุตสาหกรรมการแปรรูป เพื่อที่จะดึงมังคุด ด้อยคุณภาพนี้ให้มันมีราคา มังคุดที่ด้อยคุณภาพก็ไปแปรรูปเป็นไวน์ เป็นสุรา หรือว่าจะเป็น น้ำมังคุดอะไรก็แล้วแต่
นายศักดินัย นุ่มหนู ตราด ต้นฉบับ
สุดท้ายนะครับ จริง ๆ ผมยังมีเรื่องของการที่จะต้องดำเนินการควบคุม ในเรื่องการติดป้ายราคามังคุดเหมือนกับทุเรียน ทีนี้ที่ตราดมันมีกลุ่มมังคุดเรียกว่ากลุ่มมังคุด วัดดงกลาง ผมอยากจะกล่าวถึงสักนิดหนึ่ง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เขารวมตัวกัน แล้วเขาใช้พื้นที่ ของวัดดงกลาง ในการที่จะให้พ่อค้ากับชาวสวนมาเจอกันเพื่อลดจำนวนคนกลาง กระบวนการของคนกลางออกไปนี้ แต่ปีที่ผ่านมาชาวสวนมังคุดวัดดงกลางเขาส่งออกไปเอง ได้ครับ เขาส่งออกไปเองแต่ว่ามันมีอุปสรรคเยอะ ราคาที่มันไม่ดีแต่ราคาปลายทางมันยังดีอยู่ พอส่งออกไปเองมันก็ยังมีอุปสรรคหลายอย่าง ผมอยากฝากรัฐบาลไว้ด้วยว่าสำหรับ กลุ่มมังคุดวัดดงกลางที่จังหวัดตราด เผื่อจะได้เป็นต้นแบบของกลุ่มเกษตรกรที่เขารวมตัวกัน แล้วเขาสามารถที่จะส่งออกได้ แล้วเขาได้ราคาที่ดี เพียงแต่ว่ากลไกของรัฐที่เรามีอยู่นี้จะช่วย สนับสนุนให้เขาสามารถที่จะส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ มีความเข้มข้น และได้ราคา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเจรจาปลายทางก็ดี เรื่องเอกสารก็ดี เรื่องการขนส่ง หรือแม้แต่เรื่องของเงินทุน ผมก็ถือโอกาสนี้ฝากกลุ่มมังคุดวัดดงกลางไว้ด้วยของจังหวัดตราด ซึ่งจะเป็นต้นแบบของการที่กลุ่มเกษตรกรสามารถที่จะส่งออกเองได้ ขอบคุณมากครับ ท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปจะเป็นคุณชญาภา สินธุไพร แล้วต่อด้วยคุณชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ เชิญครับ
นางสาวชญาภา สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ ดิฉันได้อภิปราย ไปแล้วค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอโทษด้วยครับ ถ้าอย่างนั้นก็เป็นท่านต่อไปคุณชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ ครับ
นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ ราชบุรี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต ๕ พรรคพลังประชารัฐ ผมต้องขออนุญาตท่านประธานที่จะไม่พูดถึงข้อมูลใด ๆ เพราะว่า มีเพื่อน ๆ สมาชิกได้อภิปรายไปมากพอสมควรแล้ว ซึ่งกลัวว่าจะเป็นข้อมูลที่ซ้ำซากกัน จึงขออนุญาตที่จะขอเวลาเพียงนิดเดียว ผมดีใจที่สภาแห่งนี้ได้นำญัตติในเรื่องของราคากุ้ง และพืชผลทางเกษตรตกต่ำเข้ามา เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกร ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมเองก็รอเวลานี้มานานพอสมควร เนื่องจากว่ามีพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ได้เข้ามาร้องเรียนกับผมมากอย่างต่อเนื่อง มีบางรายถึงขั้นบอกกับผมว่าทรัพย์สินที่เขามีอยู่นั้น ขณะนี้ได้ร่อยหรอจนจะหมดแล้ว ผมเองเคยถามว่าทำไมไม่ลองคิดจะเปลี่ยนอาชีพดูบ้าง แต่คำตอบที่ได้รับนั้นก็คือที่เขาทำอยู่ทุกวันนี้เพราะจำใจต้องทำ เหมือนกับการขี่หลังเสือแล้ว จะทำอย่างไรได้ เพราะที่ดินที่มีอยู่ก็ได้ลงทุนกับการขุดบ่อกุ้งไปเรียบร้อยแล้ว แต่มีประโยคหนึ่ง ที่ผมฟังแล้วรู้สึกหดหู่ใจเหลือเกิน ทำไมพวกเขาไม่ได้รับการเหลียวแลจากภาครัฐเลย ปล่อยให้เขาเดินตามวิถียถากรรมของตัวเอง นั่นหมายความว่าพวกเขารู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ รู้สึกว่าเขาถูกทอดทิ้ง เป็นความเจ็บปวดที่สะสม แล้วก็หมักหมมมานาน หลังจากที่ได้มีญัตติในเรื่องนี้เข้าสู่สภาแล้ว ผมก็ได้ Post ลงไปใน Facebook ของผมนะครับว่าขอให้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งนั้นรออีกนิด ทนอีกนิด เพราะว่า ได้มีญัตติในเรื่องราคากุ้งเข้ามาแก้ไขในสภาแล้ว ปรากฏว่ายอด Like ของผมตกฮวบเลยครับ ท่านประธาน ซึ่งผมเองก็แปลกใจว่าเป็นเพราะอะไร จึงได้เข้าไปดูในความคิดเห็น ซึ่งมีบางราย Comment มาว่าแบบนี้ก็ดีแล้วจะได้ซื้อกุ้งในราคาที่ถูก มีบางราย Comment มาว่าถ้ากุ้งราคาแพง พวกเขารากหญ้าคงเข้าไม่ถึง นั่นหมายความว่าพวกเขากำลังเข้าใจว่า พวกเราจะโยนภาระไปให้กับพวกเขา พวกเราจะให้เขาเป็นแพะรับบาป กู้สถานการณ์ ของพี่น้องเกษตรกรด้วยการซื้อกุ้งในราคาที่แพง หรือสินค้าเกษตรในราคาที่แพงจากเดิม ผมก็ได้ตอบไปใน Comment ว่าพวกเรามุ่งเน้นไปในทางการลดต้นทุนให้กับผู้ผลิต และในช่องทางอื่น ๆ โดยเฉพาะหาทางส่งออกให้มากขึ้นกว่าเดิม ผมขออนุญาตที่จะฝากเรียน ให้กำลังใจ ฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ และทุก ๆ ท่านที่มีส่วนเข้ามา ร่วมกันแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรไทย ให้ได้มีโอกาสมีชีวิตที่มีความอยู่ดีกินดี ให้พี่น้องเกษตรกรไทยนั้นได้มีโอกาสลืมตาอ้าปาก โดยไม่ให้มีผลกระทบกับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ ซึ่งเป็นคนไทยเหมือนพวกเรา กราบขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณภาคภูมิ บูลย์ประมุข ครับ
นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข ตาก ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ กระผม นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก พรรคพลังประชารัฐ วันนี้ผมขอร่วมอภิปรายเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ มีอยู่ ๒ เรื่องด้วยกันนะครับ
นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข ตาก ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๑ เรื่องราคาโค กระบือในประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาวันนี้ผมก็เห็น เพื่อนสมาชิกหลายท่านได้อภิปรายไปบ้างแล้ว แต่ผมขออนุญาตนำเรียนท่านประธานไปยัง รัฐบาลในมุมมองของคนที่อยู่ชายแดน ผมอยู่แม่สอด ผมเรียนยืนยันนะครับว่าการนำเข้า โคกระบือที่ผ่านมาถือว่าเป็นการค้าระหว่างชายแดนที่มีอย่างยาวนาน พ่อค้าที่ทำการค้า อยู่ที่นั่นเป็นวิถีชีวิตชายแดน เป็นการสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้แก่พวกเขา มิหนำซ้ำ การนำเข้าโค กระบือที่เห็นกันส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าและเพื่อส่งออกไปยังประเทศที่สาม ไม่ว่าจะเป็นจีน เวียดนาม หรือมาเลเซีย ที่ผ่านมามีการปิดชายแดนไม่ให้นำเข้าโค กระบือ ๖ เดือน ท่านประธานทราบไหมครับ ราคาในประเทศก็ยังไม่ขยับ ผมถือว่าการปิดชายแดน ไม่ได้ช่วยให้ราคาวัวในประเทศไทยขยับขึ้นสูง แต่หนำซ้ำเป็นการเปิดช่องทางให้มี การลักลอบนำเข้า ถ้าทางหน่วยงานต่าง ๆ มีการเคร่งครัดในการลักลอบนำเข้า เจ้าหน้าที่ ของหน่วยงานต่าง ๆ ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ ไม่ลำเอียง ไม่รับเงินใต้โต๊ะ ผมว่าเรื่องนี้ก็จะทำให้ การค้าชายแดนคึกคักขึ้น นี่คือประเด็นที่ผมอยากจะบอกผ่านเนื่องจากเป็นคนชายแดน การจะส่งเสริมให้เกษตรกรที่เลี้ยงโคต่าง ๆ ตั้งกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะกลุ่มโคขุน กลุ่มอะไรต่าง ๆ รัฐได้ส่งเสริมจริง แต่ส่งเสริมไม่สุด หลาย ๆ ครั้งเขาถูกลอยแพ ส่งเสริมการเลี้ยงเอง แต่พอเวลาขายไม่ได้ช่วยเลย ทำให้แต่ละกลุ่มมีอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลางต่ำ ถ้ารัฐเข้าไปช่วยเยียวยาทำตั้งแต่ต้น จนจบ ผมเชื่อว่าราคาของวัวในประเทศไทยน่าจะสูงขึ้น การส่งออกก็เหมือนกันครับ ปัจจุบันการส่งออก โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม ประเทศไทยไม่สามารถส่งออกวัวไหนไป ประเทศเวียดนามได้เหมือนเดิม อาจจะติดขัดในเรื่องหลาย ๆ อย่าง หากรัฐโดยเฉพาะ กระทรวงพาณิชย์เป็นตัวแทนในการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าประเทศเวียดนาม มาเลเซีย จีน ให้พ่อค้าสามารถทำเรื่องส่งออกได้โดยสะดวก โดยง่าย กฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ขอยกเว้นไปทำ MOU กับเขา ไปเจรจากับเขา ผมเชื่อว่าการส่งออกก็จะสะดวกขึ้น มันก็จะ ส่งผลกระทบถึงราคาวัวในตลาดของประเทศไทย เราขายได้ คนซื้อก็อยากจะซื้อ ราคาก็จะ ขยับขึ้น ก็อยากจะฝากไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ ควรร่วมมือกัน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งผมเชื่อว่าถ้าหากทำเป็นระบบทำให้ราคาวัวประเทศไทย ขยับขึ้นสูงแน่นอนนะครับ
นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข ตาก ต้นฉบับ
เรื่องที่ ๒ คือเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผมก็ถือว่า อยู่ในเกณฑ์พอใช้ แต่ไม่ถึงกับดีมาก เกษตรกรพออยู่ได้อยู่ แต่ปัญหาคือการขาย ตั้งแต่ เกษตรกรขายพ่อค้าคนกลาง และหนักที่สุดคือพ่อค้าคนกลางไปขายให้กับโรงงานยักษ์ใหญ่ ในประเทศ ไม่ว่าจะโรงงานทำอาหารสัตว์ไม่เอ่ยชื่อนะครับคงทราบกันดี บริษัทเหล่านี้ จำกัดสิทธิในการซื้อของเขา แล้วก็ไม่ค่อยรับ เอาตรง ๆ ก็คือเล่นตัวไม่ยอมซื้อข้าวโพด ผมอยากให้กระทรวงพาณิชย์ไปเจรจา โรงงานเหล่านี้ในช่วงนี้ พืชข้าวโพดกำลังออก ข้าวโพดไทยกำลังออกเกษตรกรกำลังขาย ในเมื่อถ้าพ่อค้าคนกลางซื้อของเกษตรกรแล้ว ไปขายโรงงานต่าง ๆ ขายได้ง่าย ราคาก็ขยับขึ้นสูงแน่นอนผมมั่นใจนะครับ การนำเข้า พืชทดแทนข้าวโพด รัฐควรออกมาตรการชัดเจน ในช่วงนี้ข้าวโพดไทยออกผลผลิตก็ควร ห้ามนำเข้าพืชต่าง ๆ โดยเฉพาะตอนนี้การนำเข้าคือตัวแทน ไม่ว่าจะเป็นข้าวบาเล่ย์ ข้าวสาลี ควรจะลดลง เข้าใจว่าประเทศไทยตอนนี้ผลิตข้าวโพดได้แค่ ๕ ล้านตันต่อปี แต่อัตราการใช้ ของเราจะต้องใช้ประมาณ ๘ ล้านตัน ส่วนต่างแน่นอนต้องนำเข้าจากต่างประเทศ หรือทำ พืชทดแทน แต่ช่วงนี้ข้าวโพดไทยมันออก กระทรวงพาณิชย์ท่านควบคุมการนำเข้าทุกอย่าง ให้มันสมดุล ราคาข้าวโพดไทยก็จะไม่ Swing หรือขยับมาก การเข้มงวดในต้นทุนการผลิต ไม่ว่าปุ๋ย ยา หรือเมล็ดพันธุ์หรือต้นทุนอื่น ๆ ของเกษตรกรควรจะควบคุมให้อยู่ในราคาที่ เหมาะสม รัฐควรจะเยียวยา เพราะว่าถ้าต้นทุนต่ำถึงแม้เกษตรกรจะขายได้ราคาไม่สูงมาก ก็ยังพออยู่ได้ ก็ทำให้เกษตรกรดีขึ้น
นายภาคภูมิ บูลย์ประมุข ตาก ต้นฉบับ
สุดท้าย อันนี้เป็นของชายแดนล้วน ๆ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ติดประเทศ เพื่อนบ้านเมียนมา ขณะนี้ข้าวโพดนำเข้าของจังหวัดตาก หรือว่าชายแดนไม่สามารถนำเข้าได้ ถ้าจะนำเข้าต้องเสียภาษี ๗๒ เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายนที่ผ่านมาไม่กี่วันนี้ถ้าเอาเขาตอนนี้ ต้องเสีย ๗๒ เปอร์เซ็นต์ หากมีการนำเข้าผมเชื่อว่าพ่อค้าไม่ทำหรอกครับ เสียภาษี ๗๒ เปอร์เซ็นต์ เข้ามาก็ขาดทุน ฉะนั้นการนำเข้าที่จะเข้าโดยถูกกฎหมาย ผมว่าไม่มีใครทำ ถ้าจะทำก็คือลักลอบนำเข้า ก็ฝากไปยังกรมศุลกากร ที่สำคัญเลยควรเข้มงวดในการลักลอบนะครับ เพราะที่ผ่านมาเมื่อ ๔ ปีที่แล้วผมได้พูดเรื่องนี้ในสภาครั้งหนึ่งก็เบาลง ตอนนี้ยังไม่เกิดนะครับ ผมเรียนท่านประธานสภาผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้มงวด หน่วยงานต่าง ๆ ให้เข้มงวด มันก็จะส่งผลให้ราคาข้าวโพดจะไม่ลดลง เพราะว่าความต้องการของตลาดยังมีอยู่ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณกรวีร์ ปริศนานันทกุล ครับ
นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม กรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง พรรคภูมิใจไทย ต้องขอบคุณท่านประธานที่ได้กรุณาให้เวลาผมได้ร่วมอภิปราย ในแนวทางในการแก้ไขปัญหา ป้องกันราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ เป็นอีกครั้งที่สภาแห่งนี้ ผมจำได้ว่าในสมัยที่แล้วญัตติแรก ๆ ที่เสนอเข้าสู่สภา ก็คือญัตติ เรื่องของการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำให้กับพี่น้องเกษตรกร และต้อง ขอบคุณเพื่อนสมาชิกทั้งฝ่ายค้านแล้วก็ฝ่ายรัฐบาล ตั้งแต่ช่วงสายเป็นต้นมานี่ผมได้นั่งฟังอยู่ ตั้งแต่เช้าก็เห็นปัญหาต่าง ๆ ที่ได้ช่วยกันสะท้อนกันเข้ามา เพื่อที่จะหาแนวทางในการแก้ไข เรื่องของปากท้องให้กับพี่น้องประชาชน ประเด็นที่ผมอยากที่จะร่วมอภิปรายในวันนี้ ประเด็นเดียว คือสินค้าหลักที่เป็นสินค้าทางการเกษตรของประเทศไทย นั่นคือเรื่องของ ข้าวเปลือกครับ ราคาข้าวนั้นท่านประธานเองอาจจะสงสัยว่าตอนนี้ราคาข้าวนี่มันขยับขึ้นมา จากแต่เดิมนี่ราคาอยู่ที่ ๖,๐๐๐-๗,๐๐๐ บาท จนวันนี้ราคาข้าวขาวอยู่ที่ประมาณ ๑๑,๐๐๐-๑๒,๐๐๐ บาท ข้าวหอมปทุม วันนี้ราคาขยับเข้ามาอยู่ที่เกวียนละ ๑๑,๐๐๐-๑๒,๐๐๐ กว่าบาท ราคาข้าวมันดีขึ้นแบบนี้แล้วมันจะมีปัญหาในเรื่องของ ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำอย่างไร ผมก็ต้องบอกแบบนี้ครับว่า ณ ปัจจุบันราคาข้าว ที่มันขยับขึ้นสูงนั้นมันเป็นเพียงแค่ภาพลวงตาครับ มันเป็นแค่สถานการณ์ระยะสั้น เพราะเกิดปัญหาในเรื่องของบางประเทศที่เขาจำกัดในเรื่องของการส่งออกข้าวสารออกไปสู่ ตลาดโลก มันทำให้ในฝั่งของปริมาณข้าวที่มีอยู่ในตลาดโลกนี่มันลดน้อยลง มันก็เลยทำให้ ราคาข้าวในประเทศไทยที่สามารถที่จะออกไปขายในต่างประเทศมันมีราคาที่สูงขึ้นได้ แต่ใครจะรู้ละครับว่าช่วงระยะเวลาแห่งความสุขของชาวนาตรงนี้นี่มันจะอยู่ได้กับพวกเรา อีกสักกี่วัน อีกสักกี่เดือน ย้อนกลับไปเมื่อช่วงกลางปีนี้ราคาข้าวมันยังอยู่ที่เกวียนหนึ่ง แค่ประมาณ ๖,๐๐๐-๗,๐๐๐ บาท แต่ตอนนี้ขึ้นมายืนอยู่ที่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ กว่าบาท ต่อเกวียน ปัญหาที่อยากจะชี้ และอยากที่จะเสนอแนะต่อสภาแห่งนี้ก็คือว่าเราควรที่จะต้อง มาหามาตรการในการแก้ไขปัญหาระยะยาวเพื่อที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในระยะยาว ไม่ใช่ใช้มาตรการของรัฐในการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรระยะสั้น ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ผ่านมาเราทำอย่างไรครับ เวลาราคาข้าวตกต่ำเราก็ออกนโยบายครับ ตั้งแต่สมัย เมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนก็มีนโยบายจำนำข้าว รอบที่ผ่านมาก็มีนโยบายประกันรายได้ แต่เสร็จ จากการประกันรายได้ไปแล้ว เสร็จจากโครงการจำนำข้าวแล้ว ราคาข้าวมันก็กลับมา ตกต่ำแบบเดิม เมื่อไรก็ตามที่รัฐบาลชักเอาฟืนออกจากไฟไฟมันก็มอดลงครับ ราคาข้าว มันก็กลับมาสู่ที่เดิม ดังนั้นอยากจะเห็นการแก้ไขปัญหาจากทางรัฐบาลที่เป็นรูปธรรม ที่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนได้ การแก้ไขปัญหานั้นได้ ผมเชื่อว่าเพื่อนสมาชิก พูดกันมา ผมจะเอาประเด็นที่ไม่ซ้ำนะครับ
นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ประเด็นแรก คือเรื่องของการควบคุมต้นทุนในการผลิตจะทำอย่างไรที่จะ ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในการลดต้นทุนในการผลิตให้กับเขา และต้องยอมรับว่าต้นทุน ในการผลิตที่ผ่านมามันสูงขึ้นมากจริง ๆ ทั้งค่าน้ำมัน ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าเช่าที่ ค่าวิดน้ำเข้านา เป็นภาระของพี่น้องเกษตรกรทั้งนั้นละครับ อยากจะเห็นมาตรการในการช่วยพี่น้องเกษตรกร ในการลดต้นทุนในการผลิต ผมเสนออยู่ ๒ เรื่อง
นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
๑. เรื่องน้ำ ถ้ามีน้ำ มีนา มีเงิน พี่น้องเกษตรกรก็มีความสุขครับ วันนี้ในหลาย พื้นที่เป็นเรื่องแปลก ผมยกตัวอย่างในจังหวัดอ่างทองบ้านผม ท่านประธานทราบไหมครับ ในบางปีช่วงปลายปีกันยายน-ตุลาคม พี่น้องเจอกับปัญหาเรื่องของน้ำท่วม กลางปีมีนาคม เมษายน พฤษภาคม เจอกับปัญหาภัยแล้ง ปลายปีกันยายน ตุลาคม น้ำท่วมอีกแล้ว ในช่วง ปีหนึ่งที่ผ่านบางทีมีทั้งท่วม มีทั้งแล้ง เกิดขึ้นในปีเดียวกัน เพราะเราไม่มีแหล่งในการเก็บน้ำที่ดี เราไม่มีแหล่งในการเก็บน้ำลงไปอยู่ใต้ดิน เพื่อที่จะทำธนาคารน้ำให้กับพี่น้องเกษตรกรที่จะ สามารถเอาน้ำขึ้นมาเพื่อทำการเกษตรได้นะครับ ดังนั้นอยากที่จะเสนอและเสนอเป็นแนวทาง นโยบายของรัฐบาลนะครับ เป็นไปได้ไหมครับที่เราจะหาแหล่งน้ำใช้ขนาดเล็กที่จะกระจายไป ให้แก่พี่น้องเกษตรกรเขารวมกลุ่มกัน กลุ่มหนึ่ง ๒๐-๓๐ คน เพื่อที่จะรวมพื้นที่ให้ได้ประมาณ ๔๐-๕๐ ไร่ แล้วก็เจาะบ่อ เพื่อที่จะเอาบ่อน้ำขนาดเล็กตรงนี้ขึ้นมาเพื่อทำการเกษตรให้กับ พี่น้อง เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีมันไปแล้วครับ เราก็สามารถที่จะใช้บ่อน้ำที่ใช้แสง Solar Cell เพื่อที่จะประหยัดเรื่องของค่าพลังงานให้กับพี่น้องเกษตรกรได้ด้วย
นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
อีกประเด็นหนึ่ง ก็คือเรื่องของค่าปุ๋ย ค่ายา ที่ผ่านมานั้นรัฐบาลบอกว่า จะช่วยเหลือลดต้นทุนในการผลิตให้กับพี่น้องเกษตรกรที่ทำนาด้วยการให้เงินให้เปล่าครับ ช่วยเหลือเขาไร่ละ ๑,๐๐๐ บาท ซึ่งตรงนี้กลายมาเป็นสิ่งที่พี่น้องเกษตรกรเขาเอาไปใช้ในการลดต้นทุนในยามที่น้ำมัน ในยามที่ปุ๋ยมีราคาแพง พี่น้องเกษตรกรก็ฝากถามมาครับว่านโยบายในการช่วยเหลือต่าง ๆ เหล่านี้ควรจะมีให้เขา เพื่อลดต้นทุนในการผลิตให้กับพี่น้องเกษตรกรหรือไม่
นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล อ่างทอง ต้นฉบับ
ท้ายที่สุดครับท่านประธาน ผมไม่รบกวนเวลาของสภามากนะครับ ผมหวังว่า อยากที่จะเห็นการแก้ไขปัญหาเรื่องราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถที่จะแก้ไขได้จริง และสำหรับข้อเสนอที่จะต้องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อที่จะ มาศึกษาข้อมูลเรื่องนี้ ผมคิดว่าคงไม่มีความจำเป็น เพราะคณะกรรมาธิการสามัญของสภาแห่งนี้ ก็มีอยู่แล้ว และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เพื่อนสมาชิกให้มาผมก็คิดว่ามีประโยชน์ที่จะนำไปเป็น แนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับรัฐบาลได้อยู่แล้ว กราบขอบคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณองค์การ ชัยบุตร
นายองค์การ ชัยบุตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน กระผม องค์การ ชัยบุตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จังหวัดมุกดาหารส่งเข้าประกวดครับท่านประธาน วันนี้ขออนุญาตได้อภิปรายญัตติ สินค้าเกษตรตกต่ำและกุ้งครับท่านประธาน ผมเองเกิดจากชาวนาชาวไร่ พื้นเพมาจาก การทำนา ตั้งแต่ผมเกิดมาแล้วโตพอรู้เรื่องปัญหาชาวบ้านนะครับ ปัญหาข้าวมีมานานแล้ว หลาย ๆ รัฐบาลก็อ้างว่าน้ำไม่เพียงพอ รัฐบาลก็มุ่งไปที่ระบบชลประทาน โดยเฉพาะ ภาคอีสาน ภาคเหนือมีปัญหาเรื่องเหล่านี้มาก เพราะว่า ๑. พื้นที่ทำนาก็น้อย ตกถึงปัจจุบันนี้ ตกมาถึงทุกวันนี้ข้าวก็ยังมีปัญหาอีก ทำไมโครงสร้างราคาข้าว หรือโครงสร้างด้านเกษตรกร ไม่ได้รับการแก้ไขสักที หลายรัฐบาลที่ผ่านมานะครับ ล่าสุดรัฐบาลที่ผ่านมาเพิ่งจะหมดวาระ ไปตั้งแต่ คสช. เข้ามายึดอำนาจ ซึ่งหมดไปวันที่ ๓๑ สิงหาคมนี่นะครับ ปัญหานี้ก็เข้าสภา เรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ สส. หลาย ๆ ท่านทั้งรัฐบาลในอดีตและปัจจุบันเคยเสนอ แต่ก็ไม่เห็นว่าอะไรจะดีขึ้น ถึงแม้ทุกวันนี้รัฐบาลจะมีมาตรการที่จะพยุงหรือประกันราคาข้าว ต่าง ๆ ก็ไม่สามารถที่จะให้เกษตรกรชำระหนี้ได้ เพราะว่าหนี้มันพอกพูนครับ กู้แล้วกู้อีก กู้แล้ว กู้อยู่ กู้ต่อไป มันเป็นการหมุนหนี้แม้ว่าหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรต่าง ๆ ภายใต้ กำกับของรัฐที่จะให้เงินกู้มาราคาถูกดอกเบี้ยต่ำ มันก็ไม่สามารถที่จะมาจัดการกระบวนการนี้ ได้เลย เพราะว่าหนี้เขาสูง และต้นทุนต่าง ๆ ขยับทีก็ต้องจ่ายสตางค์ ไม่ว่าจะทำนา ทำยาง ทำอ้อย ทำมัน หรือแม้แต่เกษตรกรที่เลี้ยงหมู วันนี้ผมมี Clip หมูมาด้วย ผมก็จะขออนุญาต ท่านประธานเกษตรกรฝากมานะครับ แต่ผมขออนุญาตว่ามันถึงเวลาหรือยังที่รัฐบาลชุดที่จะ เข้ามา ที่ว่าท่านมีความสามารถท่านจะแก้ปัญหานี้ให้หมดไปด้วยการทลายโครงสร้าง เรื่องข้าว เรื่องอะไรต่าง ๆ ของเกษตรกร ทุกวันนี้สินค้าเกษตรกรตกต่ำ เกษตรกรก็ต้องถดถอย ไม่มีกำลัง เขาจะเอากำลังที่ไหนไปสู้ ในเมื่อเขากำหนดอนาคตของตัวเองไม่ได้ คือเขากำหนด ราคาสินค้าเกษตรที่เขาผลิตมาไม่ได้ มันตรงข้ามกับนายทุนผู้ผลิตสินค้า อาหารสัตว์ ผลิตอะไรต่าง ๆ เขากำหนดราคาได้หมด แล้วเกษตรกรเป็นอะไร เป็นคนหรือเป็นมนุษย์ ประหลาดหรืออย่างไร ถึงไม่สามารถที่จะกำหนดราคาตัวเองได้ เอะอะก็บอกว่าข้าว มีความชื้น ข้าวไม่ได้คุณภาพ สารพัดที่จะอ้าง อันนี้คือปัญหาของนายทุน เกษตรกรไม่ขาย ก็ไม่ได้ เขาหามผีตกป่าช้ามันต้องเผา ราคาถูกก็ต้องได้ขายเพราะหนี้รออยู่ เจ้าหนี้รออยู่ ทั้งเงินกู้นอกระบบ ทั้งแบงก์ ทั้งธนาคารของรัฐ ทั้งกองทุนหมู่บ้าน เขากู้กันหมดแล้ว ไม่มีที่จะไป นี่คือปัญหาใหญ่ของประเทศ ของเกษตรกร ผมให้สำนักกฎหมายรวบรวมหนี้ ทั่วประเทศของเกษตรกร ประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ล้านล้านบาท ถ้าจะตั้งหน่วยงานนี้มาดูแลหนี้เกษตรกรว่าใหญ่กว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย เขาว่าใหญ่มากทั้งโครงการท่านจะแก้หรือ ถ้าเป็นไปได้ผมก็อยากแก้ เพราะว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศ ยังมีหนี้อยู่หนักหนาสากรรจ์
นายองค์การ ชัยบุตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
สุดท้ายผมขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่โสตได้เปิด Clip ภาพปัญหาของผู้เลี้ยงหมู เชิญครับ
นายองค์การ ชัยบุตร แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
พอแล้วครับ ขอบคุณมากครับ นี่คือเสียงสะท้อนจากผู้เลี้ยงหมูที่อยู่มุกดาหาร มาหาผมผมก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไร ท่านอัดคลิปเสียงมาเลยเดี๋ยวผมจะสะท้อนให้รัฐบาล ผมหวังว่าญัตติที่หลาย ๆ ท่านได้พูด มาตั้งแต่เช้าจนถึงบัดนี้ผมไม่อยากให้ตั้งคณะกรรมาธิการ ฝากท่านนายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการได้เลยนะครับ ผมคิดว่าท่านมีความสามารถอยู่ ขอบคุณมาก ท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ต่อไปเป็นคุณเกษม อุประ ครับ
นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม เกษม อุประ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร พรรคเพื่อไทย ขออนุญาต อภิปรายในญัตติราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ ผมอยากจะขอกราบเรียนกับท่านประธานว่า เกษตรกรเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ แต่เกษตรกร กลับยากจน จนซ้ำซาก ซึ่งผิดกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรจะเป็นคนที่มีฐานะดี ผมอยากจะกราบเรียนอีกอย่างหนึ่งว่า เกษตรกรนั้นถือเป็นคนตัวเล็กของสังคม พูดก็เสียงไม่ดัง สังคมไม่ได้ยิน เกษตรกรจะพูด เสียงดังได้แค่ในช่วงของมีการหาเสียงเลือกตั้ง แต่หลังจากเลือกตั้งแล้ว กลุ่มนี้กลับไม่ได้ยิน เพราะวันนี้ราคาพืชผลทางด้านการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นราคาข้าว ราคามันสำปะหลัง ราคาปาล์ม ยางพารา ล้วนแต่ตกต่ำไม่คุ้มกับต้นทุน เกษตรกรประสบภาวะขาดทุน ทั้งนี้เพราะ
นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ
๑. ขาดการมีส่วนร่วมในการกำหนดราคาสินค้าการเกษตร กลไกการเกษตร ตลาดการค้าล้วนมาแต่จากภาคพ่อค้าฝ่ายเดียว พ่อค้าขายข้าวปีหนึ่งหลายครั้ง เกษตรกร ขายได้ครั้งเดียว เขาขายได้หลายรอบ มันไม่คุ้มกับต้นทุน เพราะฉะนั้นควรที่จะให้เกษตรกร มีส่วนร่วมในการกำหนดราคาควรจะมีกรรมการ ๓ ฝ่ายเหมือนกับอ้อยและน้ำตาล ให้มีตัวแทนของชาวนา ตัวแทนของพ่อค้า และตัวแทนของภาครัฐ ขนาดอ้อยและน้ำตาล มีกรรมการ ๓ ฝ่าย แต่การแบ่งปันผลประโยชน์ก็ยังไม่ลงตัว เพราะฉะนั้นอยากจะกราบเรียน ฝากท่านประธานผ่านไปถึงรัฐบาลได้พิจารณาในเรื่องนี้ด้วย
นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ
๒. ปัจจัยความเสี่ยงของพี่น้องเกษตรกรค่อนข้างมาก เพราะเกษตรกรไทย ส่วนใหญ่แล้วเราอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก มักจะประสบภัยแล้ง ประสบภาวะน้ำท่วม อยู่เป็นประจำ และระบบการชลประทานของประเทศไทยเรามีน้อยมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคอีสานที่อาศัยฝนจากฟ้า บางปีทำนาต้องดำนา ๒ รอบ ๓ รอบ ทำให้เพิ่มต้นทุน ซึ่งไม่คุ้มค่า เวลาขายก็ถูกกดขี่อีก เพราะฉะนั้นผมอยากจะกราบเรียนว่าพี่น้องเกษตรกร ภาครัฐนี่อยากจะให้มาดูแล มากำกับในการดูแลผลผลิตของพี่น้องเกษตรกรอย่างจริงจัง อย่างเช่น ควบคุมเรื่องราคาปุ๋ย ราคายาปราบศัตรูพืช ราคาค่าแรง ราคาเมล็ดพันธุ์ อยากจะให้ ดูว่ามันคุ้มค่า มันสมดุลกับราคาพืชผลที่ขายหรือไม่ เพราะถ้าหากว่ารัฐไม่ดูแลในเรื่องเหล่านี้ ก็จะทำให้เกษตรกรเราเสียเปรียบอยู่วันยังค่ำ
นายเกษม อุประ สกลนคร ต้นฉบับ
๓. ผมอยากจะกราบเรียนปัญหาซึ่งเห็นในพื้นที่ อย่างเรื่องของการขาย ยางพารา ซึ่งถือว่าช่วงนี้ราคาตกต่ำมากไม่คุ้มนะครับ ตกราคา ๑๘-๑๙ บาท ยางก้อนถ้วย ต่อกิโลกรัม มาแบ่งกับผู้กรีด กับเจ้าของสวน เขาก็ยังไม่คุ้มค่ากับค่าแรง จึงหาคนกรีด ค่อนข้างยาก และพอไปสู่กลไกการตลาด ในตลาดยางในส่วนภูมิภาคนี่ตลาดยางจะคิดราคา ในการไปขายเป็น ๒ อย่าง นั่นก็คือถ้าเก็บเงินในวันนั้น เอาส่งไปขาย เขาจะกดราคาลง กิโลกรัมละ ๒ บาทอย่างนี้ ซึ่งเหมือนกับคิดเงินดอกในระบบการค้า ถือว่าเป็นดอกที่แพงมาก แต่ถ้าเอาไปค้างคืนอาจจะเพิ่มขึ้น แต่มันเพิ่มภาระในการไปติดต่อในการรับเงิน เพราะฉะนั้น จึงอยากจะเรียนฝากว่ารัฐบาลชุดนี้ได้ดูแลในเรื่องนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดูแลในเรื่องการเกษตรในเรื่องปัจจัยการผลิต เรื่องอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ และอีกอันหนึ่งก็คือกระทรวงพาณิชย์ซึ่งท่านภูมิธรรมก็ดูแลตรงนี้ และกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ซึ่งท่านธรรมนัสดูแลเรื่องนี้ ควรที่จะได้ประสานกันเพื่อแก้ปัญหา ให้พี่น้องเกษตรกร และผมอยากจะฝากถึงท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งผมก็ถือว่าท่านเป็นคนเก่ง ท่านเป็นคนมีความสามารถที่จะมาช่วยในการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ร่วมกันกับ ๒ กระทรวงนี้ ให้เกษตรกรอยู่ได้ให้เกษตรกรถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติเขายืนอยู่ได้อย่างมั่นคง ก็จะทำให้การดำเนินการชีวิตของเขาเป็นไปได้อย่างมั่นคง กราบขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอโทษด้วย ผมข้ามชื่อไปชื่อหนึ่งครับ เดี๋ยวท่านมาอภิปรายตอนนี้เลยครับ คุณวรโชติ สุคนธ์ขจร เชิญครับ
นายวรโชติ สุคนธ์ขจร เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม วรโชติ สุคนธ์ขจร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต ๔ วันนี้ผมขออนุญาตพูดแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ทั้งจังหวัด เกี่ยวกับเรื่องเกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีเกษตรกร ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากเป็นอันดับ ๑ ของประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกประมาณ ๔๓,๐๐๐ แปลง จำนวนไร่ประมาณเกือบ ๗๐๐,๐๐๐ ไร่ มากที่สุดในประเทศไทย ประเทศไทย สามารถผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ประมาณล้านตัน จากความต้องการที่จะต้องใช้ ข้าวโพดในประเทศประมาณล้านตัน ซึ่งถ้าดูตัวเลขแล้วท่านประธานราคาข้าวโพด มันน่าจะต้องดี ของประเทศไทยวันนี้ราคาข้าวโพดเริ่มตกลงเรื่อย ๆ เมื่อเช้าได้รับแจ้ง จากสมาคมข้าวโพดของเพชรบูรณ์ วันนี้ราคาอยู่ประมาณ ๑๑ บาท จากเดิม ๑๒ บาท เมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งมันจะลดลงเรื่อย ๆ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ลดมันมีดังนี้ การจำกัดคิวในการซื้อ ของผู้ผลิตอาหารสัตว์ มีการให้รอ ตกค้างจากรถที่ไปส่ง เกิดอะไรขึ้นท่านประธาน มันทำให้ การซื้อเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าพื้นที่ สถานที่กักเก็บก็ไม่มี จอดรอนาน ๆ เข้าก็เกิดความชื้น พอมีความชื้นราคาก็ตกอีก เป็นปัญหาของเกษตรกร ซึ่งไม่ได้เป็นผู้กระทำเลย การนำเข้า วัตถุดิบทดแทนของประเทศไทยวันนี้จากเดิมที่ผมได้รับแจ้งมาคือ ๓ ส่วนต่อ ๑ ส่วน นั่นคือถ้าซื้อข้าวโพดไปล้านตันก็จะนำเข้าวัตถุดิบทดแทนได้ล้านตัน วันนี้ยังไม่ถึงล้านตัน แต่มีการนำวัตถุดิบทดแทนเข้ามาแล้ว ๑,๔๐๐,๐๐๐ ตัน อยากจะฝากเรื่องนี้ผ่านท่านประธาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนะครับ ว่าให้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งประเทศนะครับ ไม่ใช่เฉพาะเพชรบูรณ์อย่างเดียวที่เจอปัญหาแบบนี้ ฝากประธาน ไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง วันนี้เรามี ท่านนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นความหวังของประเทศไทย พวกผมยินดี ชาวบ้านก็ยินดี ประชาชน ยินดี ว่าวันนี้ประเทศไทยกำลังจะเดินหน้าเรื่องปัญหาเกษตรตกต่ำ วันนี้อภิปรายกันมาทั้งวัน แล้วก็เป็นปัญหาที่ค้างคาในประเทศไทยมานาน เป็นไปได้ไหมที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์จะได้ค่าชดเชยหรือเยียวยาบ้าง พืชชนิดต่าง ๆ มีค่าชดเชยและเยียวยาแล้วทั้งนั้น แต่ข้าวโพดไม่มี เป็นไปได้ไหมครับท่านประธานที่จะช่วยปัจจัยในการผลิตของเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นค่าไถ ค่าน้ำมัน ค่าเมล็ดพันธุ์ จิปาถะต่าง ๆ สักไร่ละ ๑,๕๐๐ บาท กำหนดให้เกษตรกรคนหนึ่งได้ไม่เกิน ๓๐ ไร่ เป็นไปได้ไหมครับ จะเยียวยาในกรณีเกิดอุทกภัย ภัยแล้ง เช่นเดียวกันสัก ๓๐ ไร่ต่อครัวเรือน ไร่ละ ๑,๕๐๐ บาท วันนี้มีแต่ข้าวโพดที่ยังไม่มีการเยียวยาในเรื่องนี้ วันนี้ผมฝากกราบเรียน ท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนะครับ ว่าอยากให้มีการหันมาดูเกษตรกรข้าวโพด อย่างจริงจัง มีปัญหากันทั้งประเทศ แล้วการเยียวยาอยากจะฝากถึงเกษตรกรที่ไม่มี เอกสารสิทธิด้วย เพราะอะไรครับ ข้าวโพดปลูกในพื้นที่ที่เป็นภูเขา ปลูกในพื้นที่ราบสูง บางทีเอกสารสิทธิไม่มีก็จะเป็นข้ออ้างว่าคุณไม่มีเอกสารสิทธิไม่สามารถเยียวยาดูแลได้ แต่เขาก็เป็นเกษตรกรในการปลูกข้าวโพด ในการทำมาหากินเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ศักดิ์และสิทธิในการเป็นมนุษย์ต้องเท่าเทียมกัน ได้ดูแลก็ต้องดูแลเหมือนกันทั้งประเทศ ผมกราบเรียนท่านประธานสภาฝากกรณีนี้ด้วยนะครับ
นายวรโชติ สุคนธ์ขจร เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
วันนี้ขอบพระคุณอีกเรื่องหนึ่งที่ทางเพชรบูรณ์ได้รับจากการทำฝนเทียม ที่เพชรบูรณ์วันนี้ฝนตกดีครับ
นายวรโชติ สุคนธ์ขจร เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ
อีกเรื่องหนึ่งผมอยากจะฝากไว้น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้ง ๑๑ แห่งของจังหวัด เพชรบูรณ์ยังขาดแคลนน้ำอยู่ วันนี้น้ำมีไม่ถึง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นอย่างนี้ในฤดูแล้งอันใกล้ ที่จะถึงนี้ประชาชนในเพชรบูรณ์จะเดือดร้อน เรื่องน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำทางการเกษตร เพราะฉะนั้นฝากเรียนท่านประธานไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อธิบดีกรมฝนหลวง และการบินเกษตร ขอความกรุณาท่านช่วยทำน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำ แล้วก็ให้น้ำไหลลงสู่ อ่างเก็บน้ำทั้ง ๑๑ แห่งของเพชรบูรณ์ด้วย วันนี้ผมมีเรื่องรบกวนท่านประธานเพียงเท่านี้ครับ กราบขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณวชิราภรณ์ กาญจนะ ครับ
นางสาววชิราภรณ์ กาญจนะ สุราษฏร์ธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ดิฉัน นางสาววชิราภรณ์ กาญจนะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี พรรครวมไทยสร้างชาติ วันนี้ดิฉันมีเรื่องอยากขออภิปรายในญัตติเรื่องราคาเกษตรตกต่ำ ในประเด็นราคายางพาราตกต่ำสวนทางกับราคาปุ๋ยที่แพงอย่างต่อเนื่อง ท่านประธานคะ ดิฉันเป็นคนภาคใต้ เกิดในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โตมาก็เห็นชาวสวนยางกรีดยางกันแล้ว อีกทั้งครอบครัวของดิฉันก็เป็นเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำสวนยางดิฉันจึงมีความเข้าใจ หัวอกของพ่อแม่พี่น้องชาวสวนยางเป็นอย่างดี แต่ในเวลานี้พี่น้องชาวสวนยางอยู่อย่าง ยากลำบากมาก ท่านประธานคะทราบไหมว่ากว่ายางต้นหนึ่งจะกรีดน้ำยางได้ ต้องใช้เวลาการปลูก เวลาในการเจริญเติบโตยาวนานถึง ๗ ปี ช่วงเวลาที่ยาวนานเหล่านี้ พี่น้องชาวสวนยางไม่มีรายได้ มีแต่รายจ่ายในทุก ๆ เดือน ไหนจะค่าปุ๋ย ค่ากล้าพันธุ์ ค่ากำจัดวัชพืช ค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่น ๆ อีกมากมายตั้งแต่วันแรกที่เริ่มปลูก ทุกเดือน ก็มีแต่รายจ่าย ซึ่งเป็นรายจ่ายที่ยาวนานสะสมมาโดยตลอด เฝ้าหวังว่าวันหนึ่งที่ต้นยาง สามารถกรีดน้ำยางได้จะพอมีรายได้มาเลี้ยงครอบครัว มาหักลบต้นทุนที่จ่ายไปบ้าง แต่ในความเป็นจริงที่เผชิญอยู่ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ทุกวันนี้ราคายางตกต่ำมากเหลือเพียงแค่ กิโลกรัมละ ๔๐ บาท แค่ราคายางต่ำขนาดนี้ชาวบ้านก็แย่พออยู่แล้ว แถมยังต้องมาเจอกับ ราคาปุ๋ยที่แพงอย่างต่อเนื่องอีก ตอนนี้ราคาปุ๋ยอยู่ที่กระสอบละ ๑,๔๐๐ บาทแล้วค่ะ ท่านประธาน ราคาปุ๋ยสูงขนาดนี้แล้วชาวบ้านจะอยู่กันได้อย่างไร แต่ถ้าย้อนกลับไปดู ในช่วงอดีตที่ผ่านมาช่วงนั้นราคาน้ำยางเคยสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ ๑๖๐ กว่าบาท แต่ราคาปุ๋ย อยู่ที่กระสอบละ ๗๐๐ บาท ทุกวันนี้ราคายางตกต่ำลงมากกว่า ๔ เท่า แค่ราคายางที่ ตกต่ำมากขนาดนี้พี่น้องชาวสวนยางก็แย่มากพอแล้ว แถมต้องมาเจอกับราคาปุ๋ยที่มีราคา สูงมากกว่าเดิมถึง ๒ เท่าตัว รายได้ที่มีแต่ตกต่ำลงสวนทางกับรายจ่ายที่มีแต่สูงขึ้น สถานการณ์อย่างนี้ดิฉันอยากถามค่ะ ฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าชาวบ้านจะอยู่กันได้ อย่างไร ดิฉันลงพื้นที่เพื่อไปรับทราบปัญหาพ่อแม่พี่น้องชาวสวนยางเดินเข้ามาหาดิฉัน ร้องห่มร้องไห้ บอกว่าไม่มีเงินที่จะซื้อข้าวให้ลูกกินแล้ว หลายรายมีแต่ภาระหนี้สิน เรื่องแบบนี้ใครไม่เจอกับตัวไม่มีวันเข้าใจนะคะ ดิฉันจึงอยากวอนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องดังกล่าวนี้ ทุกภาคส่วนได้ให้ความช่วยเหลือพี่น้องชาวสวนยางเป็นการด่วน โดยออกมาตรการการพยุงราคายางพารา หรือชดเชยส่วนต่างราคาให้เกษตรกรโดยตรง หรือหาแนวทางช่วยเหลือเยียวยาพี่น้องชาวสวนยาง และขอให้เร่งแก้ไขปัญหานี้เพื่อให้ราคา ยางสูงขึ้น อย่างน้อยให้ได้กิโลกรัมละ ๖๐ กว่าบาทก็ยังดี เพื่อพี่น้องชาวสวนยาง จะได้พออยู่พอกินได้
นางสาววชิราภรณ์ กาญจนะ สุราษฏร์ธานี ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้นะคะ ดิฉันต้องขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุก ๆ ท่านที่ช่วยกัน สะท้อนปัญหาในพื้นที่ของตนมาสู่สภา เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาปากท้องให้กับพี่น้อง ประชาชนของเรา กราบขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณชัชวาล แพทยาไทย ครับ
นายชัชวาล แพทยาไทย ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่าน กระผม นายชัชวาล แพทยาไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด เขต ๗ พรรคไทยสร้างไทย ลูกอีสานดินแดนทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอเมืองสรวงครับท่านประธาน ผมรู้สึกยินดีครับที่ได้เป็นส่วนหนึ่ง ในการอภิปรายถึงญัตติเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ซึ่งตามที่ทุกท่านเพื่อนสมาชิกได้ยื่นญัตติมา มีทั้งราคากุ้ง ราคาผลไม้ ราคาผลผลิต ทางการเกษตรอื่น ๆ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับท่านประธาน เพราะประเทศของเรามี พี่น้องเกษตรกรเป็นดั่งกระดูกสันหลังของชาติ กล่าวคือเรามีพี่น้องประชาชน ที่ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรจำนวนมาก แต่เรายังมีสินค้าทางการเกษตรที่มีราคาตกต่ำ และมีต้นทุนสูงในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ของผม ๑ ในนั้นก็คือข้าวครับ เพื่อให้เห็นภาพ ผมขออนุญาตนำเรียนถึงต้นทุนของการทำนาในรอบปีของพี่น้องทุ่งกุลาร้องไห้ ๑ ไร่ จะมีต้นทุนในการทำนาดังต่อไปนี้ครับ ๑. ไถกลบตอซัง ไถเปิดหน้าดิน ไถหว่าน แต่ละครั้ง ครั้งละ ๒๕๐ บาท ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปลูก ๑ ไร่ ใช้ ๑ กระสอบ ๖๕๐ บาท ค่าฮอร์โมน อาหารเสริมต่าง ๆ ไร่ละ ๒๐๐ บาท รถเกี่ยวไร่ละ ๕๐๐ บาท ค่าขนส่ง ไร่ละ ๒๐๐ บาท แรงงานอื่น ๆ ๓๐๐ บาท หนักสุดคือค่าปุ๋ยปุ๋ยสูตรที่ชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้ นิยมใช้ก็เป็นปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ราคากระสอบละ ๑,๒๐๐ บาท ๑ ไร่ จะมีต้นทุน ๓,๘๐๐ บาท นี่คือราคาต้นทุนนาหว่าน ถ้าเป็นนาปักดำก็จะสูงขึ้นไปอีกก็ต้องใช้แรงงานเยอะ ทีนี้มาดูรายรับ ๑ ไร่ ผลผลิตในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้เต็มที่เลยแค่ ๓๐๐ กิโลกรัมต่อไร่แล้วครับ ยิ่งปีนี้น้ำเป็นปัจจัยหลักซึ่งมีแนวโน้มว่าจะขาดแคลนยิ่งลดต่ำ ส่วนราคาขายข้าวหอมมะลิ ถ้าถึงฤดูเก็บเกี่ยว ๑ กิโลกรัม ๑๐ บาทก็หรูแล้วครับ ทุกวันนี้ที่เห็นติดอยู่หน้าโรงสี กิโลกรัมละ ๑๖ บาท นี่คือราคาข้าวที่มีความชื้นต่ำหรือข้าวที่แห้ง ชาวนาตากเก็บขึ้นยุ้งข้าว รอไปขายได้ราคาดีช่วงนี้ครับ แต่ถึงเวลาที่ผลผลิตออกมาทั้ง ๒ ล้านไร่ในทุ่งกุลาร้องไห้นี่ ๑๐ บาท นี่หรูแล้วครับ ๓๐๐ กิโลกรัม คูณ ๑๐ บาท ๓,๐๐๐ บาทต่อไร่ หักลบคูณหารครับ ยังไม่ต้อง ทำนาขาดทุนแล้ว ๘๐๐ บาท นี่คือตัวเลขทางคณิตศาสตร์มันชัดยิ่งกว่าชัดครับ ทำไป ก็ขาดทุน แต่ที่ชาวนายังทนทำนาอยู่ทุกวันนี้
นายชัชวาล แพทยาไทย ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
๑. มันคือจิตวิญญาณของความเป็นชาวนา ปู่ย่าตาทวดพาทำมา ถ้าไม่ทำ ก็อายผีบรรพบุรุษครับ
นายชัชวาล แพทยาไทย ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
๒. ที่ยังทนทำนาอยู่ทุกวันนี้เพื่อรักษาสิทธิในการเป็นเกษตรกรแค่นั้นเอง เพื่อรับเงินส่วนต่างเงินชดเชยจากภาครัฐท่านประธาน นี่คือปัญหาฟังแล้วหดหู่ หลายสิบปีที่เราพยายามแก้ปัญหาเรื่องข้าว เรื่องชาวนา ผมจึงอยากฝากท่านประธาน เป็นประเด็นข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ สะท้อนปัญหาของพี่น้องชาวนา ทุ่งกุลาร้องไห้
นายชัชวาล แพทยาไทย ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
๑. อยากให้ช่วยควบคุมต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะราคาปุ๋ยที่เห็นเลยครับ สูงที่สุดคือปุ๋ยครับท่านประธาน ก่อนหน้านี้ปุ๋ยยังอยู่แค่กระสอบละ ๖๐๐-๗๐๐ บาท ปีที่แล้ว ๑,๗๐๐ บาท แต่ปีนี้ยังดี ๑,๒๐๐ บาท แต่ก็ยังสูงอยู่ มิหนำซ้ำถ้าวันไหนที่ฝนตก อย่างวันนี้ ถ้าฝนตกพรุ่งนี้จาก ๑,๒๐๐ บาท ขึ้นไปอีก ๑๐๐ บาทครับ ราคาฉวัดเฉวียนขึ้นอยู่กับฝนอีก
นายชัชวาล แพทยาไทย ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
๒. อยากให้สนับสนุนปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะเรื่องน้ำ เพื่อนสมาชิก ก็ได้นำเรียนไปแล้วครับ ผมขอข้าม
นายชัชวาล แพทยาไทย ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
สุดท้ายประเด็นที่ ๓ คืออยากให้ทางรัฐบาลหน่วยงานที่รับผิดชอบแสวงหา ตลาดใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวไทย ข้าวหอมมะลิเรานี้ดังไกลทั่วโลก แต่ราคาตกต่ำเหลือเกิน นอกจากราคาข้าวที่ตกต่ำ เกษตรกรอีสาน รวมทั้งพี่น้องทุ่งกุลาร้องไห้ บ้านผมยังมีอาชีพเสริม อีก ๑ อย่าง นั่นก็คืออาชีพเลี้ยงวัว ซึ่งมักจะทำควบคู่ไปกับการทำนา แต่หลายปีที่ผ่านมา ราคาวัวตกต่ำเป็นอย่างมากตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ เป็นต้นมา ปัจจัยที่ทำให้ราคาวัวตกต่ำ ผมนำเสนอ ๓ อย่างครับ ๓ ประเด็น ๑. วัวล้นตลาด ล้นตลาดเพราะพี่น้องเกษตรกร ทนแบกรับต้นทุนไม่ไหวต้องขายทอดตลาด ๒. มีการลักลอบนำเข้าเนื้อวัวที่ผิดกฎหมาย จากต่างประเทศ สมาชิกหลายท่านก็นำเรียนแล้วครับ ส่วนประเด็นที่ ๒ อีกอย่างหนึ่งก็คือ การค้นพบสารต้องห้ามทำให้การส่งออกมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นจีน เวียดนาม และประเด็นที่ ๓ ปัญหาเรื่องเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวอีกอย่างหนึ่งนั่นก็คือปัญหาเรื่องโรคระบาด การลักลอบ นำเข้าวัวจากต่างประเทศนำมาซึ่งโรคระบาด เช่น ปากเท้าเปื่อย Lumpy skin ผมยกตัวอย่างนะครับ Lumpy skin เมื่อปี ๒๕๖๔ ๒ ปีที่แล้วครับ โรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ มีสัญญาณว่าจะเกิดระบาดในพื้นที่ประเทศไทย ระบาดในพื้นที่รอบ ๆ ประเทศข้างเคียง แต่หน่วยงานที่รับผิดชอบไม่มีการเตรียมการ ปล่อยให้เกิดการระบาด องค์ความรู้ความเข้าใจ ของพี่น้องเกษตรกรไม่มี การป้องกันไม่มี การรักษาไม่มี พอโรคเข้ามาปล่อยตามยถากรรม เกิดความสูญเสีย พี่น้องเกษตรกรหลายคนยังคิดว่าวัวตัวเองถูกแตนตอดอยู่ครับ ไม่รู้ว่าเป็น โรคอุบัติใหม่ หน่วยงานที่รับผิดชอบทำอะไรอยู่ครับ นี่คือประเด็นที่ผมอยากฝากครับ ท่านประธาน มีเวลาน้อย ข้อเสนอแนะนะครับ ผมอยากฝากไปทางหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ ช่วยเจรจาหาตลาดใหม่เพื่อรองรับวัวที่ล้นตลาด รัฐก็ควรมีการตรวจสอบเรื่องการลักลอบ นำเข้า แล้วประเด็นสุดท้ายก็คือควรจะถอดบทเรียนเรื่องโรคระบาด ควรมีการเตรียม ความพร้อมให้ดีกว่านี้ เพิ่งผ่านมา ๒ ปีครับท่านประธาน
นายชัชวาล แพทยาไทย ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ พี่น้องชาวนา พี่น้องเกษตรกรน้ำตาตก เฮ็ดนา สุมื้อนี้ย้อนเอาเฟียงไปให้งัว เลี้ยงงัวนี่ก็ย้อนเอาฝุ่นไปใส่นา เป็นคำพูดที่ให้กำลังใจตัวเองครับ ทำนาขาดทุน เอาฟางข้าวไปเลี้ยงวัวดีกว่า เลี้ยงวัวก็เอามูลวัว ขี้วัวมาทำปุ๋ยใส่นา ฟังดูแล้ว มันสิ้นหวัง ท่านประธาน ไม่รู้จะลืมตาอ้าปากได้อย่างไร ผมหอบเอาความหวังของพี่น้อง เกษตรกรชาวนา พี่น้องผู้เลี้ยงวัวมาเสนอต่อที่ประชุมแห่งนี้ ฝากท่านประธานและขออนุญาต แนบปัญหาไปกับอีก ๑๑ ญัตติ ขอแอ้มแปะด้วยคนครับท่านประธาน ด้วยความเคารพครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณเทียบจุฑา ขาวขำ ครับ
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางเทียบจุฑา ขาวขำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะดิฉันขออนุญาตร่วมอภิปรายสนับสนุนญัตติของท่านสรวงศ์ เทียนทอง และญัตติของเพื่อนสมาชิกทุกญัตติ ๑๑ ญัตติ เกี่ยวกับการขอให้สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาหามาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหา และป้องกันราคาพืชผลสินค้า ทางการเกษตรราคาตกต่ำ และเสนอเรื่องดังกล่าวนี้ไปให้รัฐบาลพิจารณาดำเนินการ อย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นยางพารา ข้าว ปาล์ม มันสำปะหลัง ผลไม้ และอ้อย แม้กระทั่ง ปศุสัตว์
นางเทียบจุฑา ขาวขำ อุดรธานี ต้นฉบับ
ท่านประธานคะ สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้เป็นชุดที่ ๒๖ แต่ดิฉันจำได้ว่า เมื่อชุดที่ ๒๕ ชุดปี ๒๕๖๒ ญัตตินี้เป็นญัตติแรกเหมือนกันนะคะ เข้าในสภาให้พิจารณา ร่วมกัน ก็แสดงว่าปัญหานี้เป็นปัญหาสำคัญที่สุด ดิฉันคิดว่าผ่านมาแล้ว ๔ ปี ก็ยังแก้ปัญหา ราคาพืชผลสินค้าการเกษตรยังไม่ได้ดี เรื่องนี้ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญของพี่น้องเกษตรกร ทั้งประเทศ พอเข้ามาถึงในสภานี้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลก็ต้องมาร่วมด้วยกัน อภิปรายถึงปัญหาของพี่น้องเกษตรกรนำมาเสนอในวันนี้ ดิฉันต้องขอขอบคุณเพื่อน ๆ สมาชิกทุก ๆ ท่านที่เห็นความสำคัญของพี่น้องเกษตรกรนะคะ พี่น้องเกษตรกรจะมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น หรือไม่ดีขึ้นก็จะอยู่ที่พวกเราที่จะต้องมาช่วยกัน นำเสนอนะคะ พวกเราในฐานะที่เป็นสมาชิกเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนนำมาเสนอ ให้รัฐบาลได้เข้าไปแก้ปัญหาให้พี่น้องเกษตรกร ในเรื่องของการประกอบอาชีพ ด้านการเกษตร หรือการปศุสัตว์ก็เป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทยประมาณ ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปลูกข้าว ผลไม้ มันสำปะหลัง ปาล์ม ยางพารา ด้านการปศุสัตว์ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดอุดรธานีของดิฉัน พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรเกือบ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ค่ะท่านประธาน แต่ปัจจุบันราคาพืชผล ทางเกษตรตกต่ำไม่ว่าจะเป็นราคายางพารา ราคามันสำปะหลัง และราคาอ้อยก็ตกต่ำอย่างมาก ทำให้พี่น้องเกษตรกรนั้นมีปัญหาในเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิตไม่ค่อยดี ขายพืชผลราคาตกต่ำ ปุ๋ยก็แพงก็คือขาดทุนนั่นเอง ในเมื่อขาดทุนแล้วพี่น้องก็ไม่มีเงิน ที่จะมาจับจ่ายใช้สอย เศรษฐกิจในหมู่บ้านก็ไม่มีการหมุนเวียน ก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว เกิดความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสเลยพี่น้องเรา แต่ในทางตรงกันข้ามสินค้าที่จำเป็น ต่อการดำรงชีวิต สิ่งของเครื่องใช้ที่มีความจำเป็นต่อชีวิตขั้นพื้นฐานกลับสูงขึ้น แต่สินค้า การเกษตรต่ำ อุปกรณ์การเกษตรต่ำลง แต่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคในตลาดการค้าตอนนี้สูง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู ไก่ ผัก ผลไม้ในตลาดสูงขึ้น มันสวนทางกันนะคะท่านประธาน ที่จริงแล้วดิฉันก็คิดว่าพฤติกรรม กิจกรรมหรือชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรปัจจุบันนี้ ขายสินค้าการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นยางพารา ขายมันสำปะหลัง ขายอ้อย สินค้า ภายในประเทศ ผลผลิตทางด้านการเกษตรมีราคาถูกลงมันก็น่าสงสาร ดิฉันได้รับ การร้องเรียน ดิฉันได้ไปเยี่ยมพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ไปรับฟังปัญหาของพี่น้องประชาชน ในอำเภอบ้านผือ อำเภอน้ำโสม และอำเภอนายูง ปัญหาต่าง ๆ รุมมาก็คือเรื่องราคาพืชผล การเกษตร โดยเฉพาะเรื่องยางพารา เพราะพื้นที่ในจังหวัดอุดรธานีปลูกยางพาราเกือบ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่ปลูกประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ กว่าไร่ ผลิตผลประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ตัน ต่อปี โดยเฉพาะที่ปลูกมากที่สุดก็เป็นอำเภอบ้านผือ อำเภอน้ำโสม และอำเภอนายูง ก็เป็นเขตพื้นที่ของดิฉันซึ่งนิยมปลูกมากก็คือยางพารา ถ้าวันไหนราคายางพารา ได้ ๒๐ บาท ๒๒ บาทก็คงจะเห็นรอยยิ้มนิดหนึ่งค่ะ แต่ถ้าวันไหนราคายาง ๑๗ บาท ๑๘ บาท ๑๙ บาท ไม่ถึง ๒๐ บาท ก็คงจะเห็นเป็นคราบน้ำตาของพี่น้องเกษตรกร ซึ่งราคายางทุกวันนี้ ปัจจุบันนี้ยางเขาเรียกว่ายางก้อนถ้วยนะคะ ยางก้อนถ้วยหน้าลาน ๑๗ บาท ๑๘ บาท ๑๙ บาท หน้าลานที่เขารับซื้อ ขณะเดียวกันปุ๋ยนี่เมื่อก่อนราคา ๗๐๐ บาท แต่ปัจจุบันนี้ราคาปุ๋ย ๑,๓๐๐-๑,๔๐๐ บาท พี่น้องเกษตรกรจะเอาเงิน ที่ไหนไปใช้หนี้ ธ.ก.ส. เพราะราคายาง ราคาพืชผลการเกษตร ราคาปศุสัตว์ก็ตกต่ำ แค่ลำพังจะเอาเงินไปซื้อข้าวกินแต่ละวันก็แสนยากลำบากแล้วนะคะ พี่น้องเกษตรกร ถามดิฉันเสมอค่ะ เห็นหน้าดิฉันเมื่อไรก็จะบอกว่าเมื่อไรเราจะขายยางหรือขายผลผลิต ทางด้านการเกษตรได้เงินเยอะ ๆ เหมือนสมัยท่านนายกทักษิณบริหารประเทศ เมื่อไร เราจะขายยางพาราได้เหมือนสมัยท่านนายกยิ่งลักษณ์ ที่เรามีเงินเหลือเพราะช่วงนั้นราคายางพาราแผ่นราคา ๗๐-๑๐๐ บาท ราคายางก้อนถ้วย ๓๕-๗๐ บาท แต่พี่น้องบอกว่าอยากจะให้พี่น้องเกษตรกรลืมตาอ้าปากได้ ไม่อยากได้ ขนาดนั้นหรอกค่ะขอให้แค่ยางก้อนถ้วย ขอราคายางก้อนถ้วยที่หน้าลานที่รับซื้อ ๓๐ บาท เขาบอกว่าเขาพออยู่ได้ พอมีเงินใช้หนี้ ธ.ก.ส. แล้วดิฉันก็ขอเสนอท่านประธานผ่านไปยัง รัฐบาลแล้วก็หน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าปัญหาที่ราคาสินค้าตกต่ำที่พอจะช่วยเหลือพี่น้อง เกษตรกรได้ก็ขอให้ช่วยมาแก้ปัญหาเรื่องปุ๋ย ต้องมาควบคุมราคาปุ๋ย หาแหล่งผลิตปุ๋ย ในประเทศในราคาถูก จัดหาแหล่งน้ำจะเป็นลำคลอง ลำไส้ไก่ หรือขุดลอกแหล่งน้ำให้มีน้ำใช้ ในฤดูแล้ง แล้วก็ย้ำขอช่วยประกันราคายางก้อนถ้วยในราคา ๓๐ บาท ให้พี่น้องประชาชน เกษตรกรก็จะได้ดีใจและมีความสุขมากยิ่งขึ้น ขอกราบขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณกานสินี โอภาสรังสรรค์ ครับ
นางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
กราบเรียน ท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๑ พรรครวมไทยสร้างชาติ วันนี้ดิฉันมีเรื่องกราบเรียนท่านประธาน เรื่องความเดือดร้อนเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชนค่ะ เป็นเรื่องราคามะพร้าว ตกต่ำ ขอเรียนท่านประธานว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวมากเป็นอันดับ ๒ ของประเทศ รองจากประจวบคีรีขันธ์เพียงจังหวัดเดียว โดยที่มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจ สำคัญที่สร้างรายได้กับประชาชนในจังหวัดปริมาณที่มากรองจากยางพาราและปาล์มน้ำมัน จากข้อมูลพบว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีก่อนหน้านี้ราคามะพร้าวลูกละ ๑๗ บาท แต่มาบัดนี้ ราคามะพร้าวลดลงเหลือเพียงลูกละ ๖-๗ บาท ซึ่งประชาชนขาดรายได้ค่ะท่านประธาน ประเด็นที่ต่างชาติไม่ซื้อมะพร้าวจากไทยก็เพราะผลสืบเนื่องมาจากองค์กรพิทักษ์สัตว์ เผยแพร่บทความเรื่องอุตสาหกรรมมะพร้าวของไทย ให้ยุติการใช้แรงงานลิงในการเก็บ มะพร้าว ซึ่งไม่เป็นธรรมกับเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว เนื่องจากการใช้ลิงเก็บมะพร้าวเป็นสิ่งที่ ทำกันมาอย่างยาวนานจากรุ่นสู่รุ่น ถึงขั้นมีโรงเรียนสอนฝึกลิงในหลาย ๆ พื้นที่เพื่อช่วย ในการเก็บผลผลิตมะพร้าว เพื่อทดแทนการขาดแรงงานคนในการเก็บผลมะพร้าว และลิง ที่จบจากหลักสูตรสามารถเก็บมะพร้าวได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ประหยัดเวลา สามารถ ทดแทนแรงงานคนได้อย่างสบาย เพราะไม่ต้องขึ้นลงต้นมะพร้าวทีละต้นเหมือนแรงงานคน ส่งผลให้เกิดสมดุลด้านราคา เนื่องจากต้นทุนการเก็บเกี่ยวที่ลดลง แต่ได้ผลผลิตในปริมาณ ที่เพิ่มขึ้นในทางปฏิบัติลิงที่ใช้ในการขึ้นมะพร้าวได้รับการปฏิบัติที่ดี ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ไม่ต่างจากบุคคลในครอบครัวเลยค่ะท่านประธาน จากการที่มีการเสนอข่าวลักษณะดังกล่าว ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ในลักษณะการทารุณกรรมสัตว์ ทั้ง ๆ ที่ลิงเหล่านั้นถูกฝึกมา เพื่อภารกิจดังกล่าว เลยทำให้มีการปิดกั้นการซื้อ การกีดกันทางการค้าของต่างชาติ ในรูปแบบหนึ่ง และการได้ประโยชน์จากบุคคลบางกลุ่มที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ จากส่วนต่างของราคามะพร้าว ดังนั้นดิฉันเห็นด้วยในการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตมะพร้าวราคาตกต่ำ หาแนวทางเพิ่มราคาผลผลิต ช่วยแก้ปัญหา ทำความเข้าใจกับผู้ซื้อ หรือหาช่องทางช่วยให้ประชาชนได้ขายมะพร้าวในราคาสูงเท่าเดิม หรือได้มากกว่าเดิม หากมีความจำเป็นในการนำเข้าก็ให้ดำเนินการในช่วงที่มะพร้าว ในประเทศไทยให้ผลผลิตน้อย เช่น ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมค่ะท่านประธาน เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคามะพร้าว และป้องกันราคามะพร้าวตกต่ำให้กับเกษตรกรด้วยค่ะ
นางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ สุราษฎร์ธานี ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้ดิฉันขอกราบขอบพระคุณท่านประธานเป็นอย่างสูงที่ให้โอกาสดิฉัน ใช้สภาแห่งนี้เพื่อส่งผ่านความเดือดร้อนให้กับประชาชน กราบขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณมาก ผมจะเรียนขอหารือนิดหนึ่งครับ เนื่องจากว่ายังมีผู้อภิปรายอีกประมาณ ๓๐ ท่าน แล้วผมก็ดูว่าประเด็นที่เราอภิปรายบางทีก็ซ้ำ ๆ กันบ้างแล้ว เพราะว่าเราอภิปรายทั้งวัน ถ้าจะขออนุญาตว่าให้อภิปรายกันคนละ ๕ นาที ไม่ทราบจะได้ไหมครับ ยกเว้นคนที่เตรียม เนื้อหามามาก จะขอเพิ่มเป็น ๗ นาทีก็ไม่ขัดข้องอะไร แต่ก็ให้ลดเวลาที่ไม่จำเป็น แล้วจะซ้ำนั้น ให้เหลือ ๕ นาที เพราะผมดูแล้วหลายท่านก็เหมือนกับว่าไม่ต้องถึง ๗ นาทีก็ได้ เพราะว่า อภิปรายก็ไม่ถึง หรือลากไปเนื้อหาก็ซ้ำ ถ้าอย่างนั้นผมจะขอความกรุณาเป็น ๕ นาที แต่ถ้าท่านเตรียมเนื้อหาไว้เผื่อ ๗ นาทีแล้ว สำหรับบางท่านเนื้อหาที่ไม่ซ้ำกันแล้ว ก็ขออนุญาตได้ แต่ถ้าจะเห็นซ้ำท่านก็ตัดไว้ก่อนได้นะครับ เพื่อประโยชน์ของเราเองครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัดอ่างทองครับ ท่านประธานครับ ต่อดำริของท่านประธานในประเด็นเรื่องของ การอภิปรายญัตติในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ เนื่องจากว่าทางพรรคฝ่ายค้านเองนั้น เหลือผู้อภิปรายไม่เยอะ น่าจะอยู่ที่ประมาณสัก ๔-๕ ท่าน อย่างไรก็ตามท่านสุดท้าย เพื่อนสมาชิกจากพรรคประชาธิปัตย์ ท่านได้ขอสงวนไว้ว่าท่านขออภิปรายในวันพรุ่งนี้ ฉะนั้นในส่วนของท่านผมคิดว่าเราคงไม่ได้ใช้เกณฑ์ในกรณีของ ๕ นาที แต่อย่างไรก็ตาม มีอยู่ท่านหนึ่งในส่วนของคนสุดท้ายของพรรคก้าวไกล ก็คือคุณจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ซึ่งจะอภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของปลา ซึ่งยังไม่มีผู้ใดที่จะอภิปรายมาก่อน ฉะนั้นอาจจะต้องขออนุญาตท่านประธานว่าสำหรับคุณจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ที่ได้แจ้งพรรค ไว้แล้วว่ามีเนื้อหาการอภิปรายที่แตกต่างก็อยากจะขอคงเวลาไว้ที่ ๗ นาที แต่คิดว่า ในภาพรวมนั้นทางเราก็เห็นด้วยกับดำริของท่านประธาน แล้วก็ยินดีที่จะปฏิบัติตาม ที่ท่านประธานได้ดำริมาครับ ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ คุณณัฐวุฒิมาก ก็เพียงขอร้องถ้าเนื้อหาจะซ้ำกันท่านก็เอาเสีย ๕ นาที แต่ว่าสำหรับ ที่มีเนื้อหาแล้วก็เตรียมไว้ ๗ นาที ที่ไม่ซ้ำกันก็อนุญาตได้นะครับ ต่อไปเชิญคุณสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ครับ
นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต ๒ พรรคเพื่อไทย วันนี้ผมขอขอบคุณผู้เสนอญัตติเรื่องราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ ท่านประธาน ที่เคารพครับ เกษตรกรคือกระดูกสันหลังของชาติ ถ้าปีไหนพืชผลทางการเกษตรราคาดี ปีนั้นเขาก็ลืมตาอ้าปากได้ แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสินค้าการเกษตรนั้นราคาตกต่ำ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ เป็นต้นมา พี่น้องเกษตรกรขายข้าว ขายยาง ขายมันสำปะหลัง ไม่ได้ราคา ท่านประธานที่เคารพครับ ทางภาคอีสานของผมทำข้าวหอมมะลิมากที่สุด แต่ทุกปีตอนต้นปี ข้าวหอมมะลินั้นจะขายได้กิโลกรัมหนึ่ง ๘-๙ บาท แต่ราคาประกันรายได้จะกำหนดราคากลาง กิโลกรัมหนึ่งประมาณ ๑๓ บาท เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่าเกษตรกรนั้นต้องการขายข้าว ครั้งเดียว ก็คืออยากได้กิโลกรัมหนึ่งอย่างน้อย ๑๕ บาท ท่านประธานที่เคารพครับ พี่น้อง เกษตรกรแบกรับต้นทุนจากราคาปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช พี่น้องเกษตรกรอยู่ไม่ได้ครับ เพราะว่า ราคาปุ๋ย ราคายาปราบศัตรูพืชนั้นแพงมากต้องเป็นหนี้สินจำนวนมาก ส่วนรัฐบาลที่ผ่านมา มีนโยบายประกันรายได้ แต่เวลาประกาศราคาอ้างอิงก็จะประกาศราคาสูง อยากให้รัฐบาล หาวิธีการที่จะช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรอย่างไรก็ได้ขอให้เขาขายข้าวหอมมะลิ ๑ กิโลกรัม ได้อย่างน้อย ๑๕ บาท สมัยท่านนายกยิ่งลักษณ์พี่น้องเกษตรกรขายข้าวได้กิโลกรัมหนึ่ง ๑๘ บาท นี่คือความพึงพอใจของพี่น้องเกษตรกร อีกประมาณ ๑ เดือนข้าวหอมมะลิ ภาคอีสานก็จะเริ่มออกสู่ท้องตลาดแล้ว ผมอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้ได้ขายข้าวหอมมะลิที่สูงขึ้นอย่างน้อย กิโลกรัมละ ๑๕ บาท ถ้าพี่น้องได้ขายข้าวราคาแพงเขาก็สามารถลืมตาอ้าปากได้ แต่ผม เชื่อมั่นในรัฐบาลของท่านเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและท่านภูมิธรรม เวชยชัย ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จะช่วยผลักดันให้ราคาพืชผล ทางการเกษตรดีขึ้นทุกตัว ไม่ว่าจะเป็นข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง หอมแดง พริก ถ้าพืชผล ทางการเกษตรมีราคาพี่น้องเกษตรกรก็จะอยู่ได้ ผมอยากให้รัฐบาล หรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแล ช่วยเหลือเกษตรกรเป็นกระดูกสันหลังของชาติด้วยครับ ท่านประธานที่เคารพครับ อีกประมาณ ๑ เดือนหอมแดงก็ออกสู่ตลาดแล้ว ผมก็อยากจะฝากท่านประธานผ่านไปยัง รัฐบาลว่าให้ช่วยดูแลเรื่องราคาหอมแดงด้วย เพราะว่าถ้าต้นปีนั้นราคาจะแพง แต่ช่วงที่ออก เยอะ ๆ จะเหลือกิโลกรัมที่ถูกมากนะครับ เพราะว่าเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษนั้นก็จะมี หอมแดง มีมันสำปะหลัง มีข้าวโพด ยางพารา วันนี้ผมก็ต้องขอขอบคุณทางผู้เสนอญัตติ ครั้งหนึ่งครับ ขอขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
คุณครูมานิตย์ เชิญครับ
นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สุรินทร์ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ ผม ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดสุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ก่อนที่ท่านประธานขึ้นบัลลังก์นั้น ผมได้หารือกับท่านรองปดิพัทธ์ไว้ว่าน่าจะใช้เวลา ประมาณ ๑ ทุ่ม แล้วท่านณัฐวุฒิก็ได้เพิ่มเติมขึ้นมา เพราะว่ามันยังมีผู้อภิปรายอีกหลายท่าน ทีนี้ผมก็กลัวเป็นห่วงว่ามันยิ่งดึก พรุ่งนี้ก็เริ่มสายอีก ฉะนั้นผมก็เลยเสนอไว้ว่า ๑ ทุ่ม ก็ปิดการประชุมที่เหลือ แล้วบังเอิญท่านรองปดิพัทธ์ท่านก็ได้สั่งปิดการลงชื่อแล้ว ที่เหลือ ก็มาอภิปรายพรุ่งนี้ก่อนที่เรื่องรายงานของ สสส. จะเข้า ก็กะว่าเที่ยงนี่เสร็จ พอเที่ยงเสร็จ ก็จะเป็น สสส. ผมไม่เห็นด้วยที่ประธานจะมาตัด ๕ นาที ผมไม่อยากเห็นบรรยากาศของสภา เลิกเถอะครับที่เบื้องต้นแล้วเปิดมา ๑๐ นาที แล้วมาเหลือ ๗ นาที แล้วมาเหลือ ๕ นาที มันทำให้ความเท่าเทียมการอภิปรายของผู้แทนที่เขาเตรียมตัวมามันจะไม่เท่ากัน ผมคิดว่า ถ้าเปิด ๗ นาที ก็ ๗ นาทีตลอด ถ้าเปิด ๕ นาที ก็ ๕ นาทีทุกคน ต้องเปิด ๑๐ นาที ก็ ๑๐ นาทีทุกคน บรรยากาศอย่างนี้ผมคิดว่าในสมัยนี้ไม่น่าจะให้เกิดขึ้นแล้วครับ แล้วก็ เรื่องเวลาผมคิดว่าหลังจากนี้พอเขาแต่งตั้ง Whip กันแล้วเราก็ต้องมาพูดกันให้ชัดเจน เพราะไม่อย่างนั้นมันเสียหายพวกเราทั้งสภา ไม่ได้เสียหายพรรคใดพรรคหนึ่ง ไม่ได้เสียหาย เฉพาะท่านประธาน เหมือนกับวันนี้ผมก็ยังสงสัยอยู่ว่าท่านรองปดิพัทธ์ได้คุยกับท่านประธาน หรือเปล่าว่าผมได้นำเสนอ แล้วทางซีกเพื่อนพ้องน้องพี่ ผมไม่อยากให้ใช้เป็นซีกฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล เพราะเราอยู่ในสภาด้วยกันเพื่อนพ้องน้องพี่ทุกพรรคก็เห็นควรว่าไม่น่าจะให้เกิน ๑ ทุ่ม แล้วก็จะปิดการอภิปรายในวันนี้ แล้วพรุ่งนี้ก็มาต่อก่อนที่จะถึงเรื่องรายงานครับ ท่านประธาน กราบขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณ คุณครูมานิตย์ครับ เจ้าหน้าที่ก็ได้แจ้งแล้วว่าทั้ง ๒ ฝ่ายตกลงกันว่าไม่เกิน ๑ ทุ่ม แล้วที่เหลือ ก็อภิปรายในวันพรุ่งนี้ เรื่อง ๕ นาที ๗ นาทีนั้นผมเพียงแต่หารือกันเท่านั้นเอง ถ้าเผื่อว่า พวกเราเกินไป ๕ นาที ๒ นาทีก็ไม่ว่าอะไรนะครับ เพราะว่าผมสังเกตเห็นหลายท่านพอได้ ๗ นาทีก็ไม่รู้จะพูดอะไร ก็พูดไม่ถึงบ้างอะไรบ้าง แต่ว่าอย่างที่คุณครูมานิตย์ได้พูดไว้ก็ไม่ได้ มีปัญหาอะไรครับ เพราะว่าเป็นกรอบเวลา ๕ นาทีอยู่แล้ว แต่ว่าผมขอว่าถ้าใครไม่จำเป็น ต้อง ๗ นาที แต่ ๕ นาทีมันก็ดีจะได้ประหยัดเวลาลง ต่อไปก็ขอเชิญคุณคำพอง เทพาคำ ครับ
นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม คำพอง เทพาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล แบบบัญชีรายชื่อ ในสัดส่วนของภาคอีสาน ราคาผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำ ที่ผมจะ กราบเรียนท่านประธานก็คือเรื่องราคามะพร้าวตกต่ำนะครับ เข้าใจว่าเพื่อนผม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล ที่สมุทรสงครามซึ่งเป็นแหล่งผลิต มะพร้าว ได้พูดภาพรวมของมะพร้าวไปบ้างแล้วนะครับ สิ่งที่ผมจะพูดต่อไปก็คือเรื่องของ ที่ปัญหามันเกิดขึ้นที่พื้นที่อีกพื้นที่หนึ่งก็คือที่บางสะพาน แล้วก็อำเภอทับสะแก จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งก็คิดว่าเป็นพื้นที่ที่เป็นเมืองหลวงของการผลิตมะพร้าว ที่จริงเรื่องของ ราคามะพร้าวตกต่ำเราก็พูดกันมาหลายครั้ง หลายยุคหลายสมัย แต่ว่าการแก้ไขปัญหาของ ราคามะพร้าวตกต่ำเราก็ไม่เคยที่จะประสบผลสำเร็จสักทีหนึ่งนะครับ วันนี้ราคามะพร้าว ที่หน้าสวน ลูกใหญ่ทับสะแก ราคาก็ตกอยู่ที่ ๗ บาท ราคาต้นทุนที่ ๙ บาท ขาดทุนไปแล้ว ๒ บาท ลูกเล็ก ๔-๕ บาทในขณะที่ต้นทุนก็พอ ๆ กัน ราคามะพร้าวขาว หรือมะพร้าว กะเทาะเปลือกอยู่ที่ ๑๓ บาทเท่านั้นเองครับท่านประธาน และถามว่าเกษตรกรที่ผ่านมา เขาขอมาเท่าไร มะพร้าวลูกใหญ่ควรจะอยู่ที่ ๑๕ บาท ลูกเล็ก ๑๓ บาท มะพร้าวขาวอยู่ที่ กิโลกรัมละ ๓๐ บาท อันนี้เสนอไปหลายครั้ง แต่ว่าก็ไม่ได้มีการทำให้มันเกิดขึ้นสักทีหนึ่ง ก็คิดว่าเรื่องข้อเสนอของเกษตรกรก็ไม่ได้รับการตอบสนอง เกษตรกรสวนมะพร้าว บอกว่าราคามะพร้าวมันสวนทางกับปริมาณมะพร้าวที่ผลิตได้ และนี่มะพร้าวที่ผลิตได้อยู่ ก็ลดน้อยลง แต่ปรากฏว่าราคามันตกลงไปนะครับ แต่ว่าหลักการ Supply Demand ใช้ไม่ได้เลยนะครับ วันนี้กรมการค้าภายในประกาศว่ามะพร้าวลูกใหญ่ ทับสะแก ราคาอยู่ที่ ๒๖.๕๐ บาท ไปขายโลกไหนครับ ขายที่ดาวอังคารหรือเปล่า หรือว่าใครมาซื้อใครมารับซื้อ เกษตรกร คุณพงษ์ศักดิ์ที่ทับสะแก บางสะพาน บอกว่าขนาดมะพร้าวอินทรีย์ มาตรฐาน EU ขายได้ลูกละ ๑๑ บาทเท่านั้นเอง และถามว่ากรมการค้าภายในไปขายที่ไหนครับ แล้วใครมารับซื้อ ปัญหาของเกษตรกรนอกจากประสบเรื่องของราคาแล้วก็ยังมีปัญหา เรื่องของศัตรูพืช ตอนนี้ปัญหาสำคัญคือหนอนหัวดำมาพร้อมกับมะพร้าวนำเข้า มะพร้าว นำเข้าบางส่วนถูกนำไปกะเทาะนอกโรงงาน ทำให้ดักแด้ หนอนหัวดำแตกแล้วก็โบยบิน เป็นผีเสื้อไปในสวนมะพร้าวก็ไปขยายพันธุ์ที่นั่น ตอนนี้ก็เสียหายรุนแรงเหมือนกันนะครับ
นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพครับ อีกเรื่องหนึ่งอยากจะกราบเรียนท่านประธานก็คือ เรื่องปัญหาของพี่น้อง เรื่องของต้นทุนการผลิต อันนี้หลายท่านพูดไปแล้ว ปุ๋ย น้ำมัน อะไรแพงนี่นะครับ แต่ว่าต้นทุนในเรื่องของน้ำที่ใช้ในการปลูกมะพร้าวของพี่น้องทับสะแก บางสะพาน ที่จริงแหล่งน้ำในธรรมชาติ แหล่งน้ำที่มีในพื้นที่ ศักยภาพพอนะครับ หรือไม่พอ ก็สามารถที่จะหาเพิ่มเติมได้อีกเพียงเล็กน้อยก็น่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำแล้งได้แล้ว สำหรับพี่น้องบางสะพาน ทับสะแก อย่างมรสวบนี่ผมถามทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซ่อมให้เขาหรือยังครับแหล่งน้ำ อ่างเก็บน้ำมรสวบ หรือแหล่งแร่ แหล่งน้ำที่อยู่ในหลุมแร่ ที่อำเภอนาหูกวาง น้ำเป็นพัน ๆ ไร่ ไม่รู้ว่ากี่ล้านลูกบาศก์เมตร แปลกนะครับชาวสวนยาง ไม่เรียกร้อง ไม่ทราบเหมือนกัน ไม่เคยเรียกร้องว่าค่าชดเชย ค่าประกัน เกษตรกรพี่น้องกลุ่มนี้ ไม่เรียกร้อง แต่ว่าเขาก็มีข้อเรียกร้องของเขาเหมือนกันว่าการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ราคามะพร้าวได้ไหม พืชมะพร้าวที่ปลูกนี่ขอดูพื้นที่ ดูปริมาณได้ไหม การนำเข้า ส่งออก โควตาต่าง ๆ มีความโปร่งใสหรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็น AFTA FTA ขอรู้ด้วยได้ไหม รวมถึง การที่จะนำมะพร้าวนำเข้าจากต่างประเทศออกไปกะเทาะนอกโรงงาน มีการควบคุม มีการลักลอบ มีมะพร้าวเถื่อนหรือไม่ ก็อยากให้มีการดูแลให้ชัดเจนนะครับ มีส่วนร่วมด้วย เพื่อที่จะป้องกันเพื่อที่จะให้ราคามะพร้าว จากสวนชาวบ้านจริง ๆ มีราคา การแก้ไขปัญหาราคามะพร้าวตกต่ำ ถึงเวลาที่จะต้องโปร่งใส และมีส่วนร่วมของพี่น้องเกษตรกรที่ปลูกมะพร้าว ขอบคุณมากครับ ท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไป จ่าอากาศเอกอภิชาติ แก้วโกศล ครับ
จ่าอากาศเอก อภิชาติ แก้วโกศล เพชรบุรี ต้นฉบับ
เรียนท่านประธานสภา ผม จ่าอากาศเอก อภิชาติ แก้วโกศล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีพื้นที่เหมาะสมกับการทำเกษตร และประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทยก็ประกอบอาชีพการเกษตรมาอย่างยาวนาน เมื่อพูดถึงการเกษตรก็คือการทำนาข้าว ทำไร่ทำสวน การทำนาเกลือ ทำประมง และเลี้ยง เป็ดไก่ หรือเลี้ยงกุ้งหอยปูปลา นี่คือภาพรวมของการเกษตรของเมืองไทย แต่ปัจจุบัน ภาคเกษตรดังกล่าวทุกสาขาอาชีพที่กล่าวมา ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาผลผลิต ที่ตกต่ำ ชาวบ้านต้องเจอปัญหาค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าอาหาร ค่าเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีราคาสูงขึ้น นี่คือปัญหาที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากภัยธรรมชาติ ขาดแคลนน้ำทำการเกษตร หรือปัญหาน้ำท่วมตามฤดูกาล ก็ทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายได้แต่สิ่งที่เกิดจาก ภัยธรรมชาติ ชาวบ้านยังพอทำใจยังพอรับได้ ก็คือปัญหาของภัยธรรมชาติแต่ก็ต้องเยียวยา ช่วยเหลือชาวบ้านต่อไป แต่ปัญหาใหญ่และปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ ผู้กำหนดราคาผลผลิต ที่ตกต่ำ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าอาหาร ค่าเครื่องจักรที่มีราคาสูงขึ้น เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องให้ ความสำคัญ และแก้ไขเรื่องเศรษฐกิจทุกสาขาอาชีพอย่างเร่งด่วน ผมขอพูดถึงปัญหา ความเดือดร้อนของพ่อแม่พี่น้องชาวจังหวัดเพชรบุรีที่ประกอบอาชีพทำนาข้าว ผมได้พูดคุย กับพ่อแม่พี่น้องที่ประกอบอาชีพทำนาข้าวนั้นก็ได้ทราบว่าการทำนาข้าวถ้าใช้เนื้อที่ประมาณ ๑ ไร่ในการทำนาข้าว จะได้ข้าวเปลือกประมาณ ๖๐๐ กิโลกรัมต่อ ๑ ไร่ ราคาในขณะนี้ กิโลกรัมละ ๑๒ บาท หรือตันละ ๑๐,๒๐๐ บาท คิดเป็นผลผลิตทำนาข้าว ๑ ไร่จะได้ ข้าวเปลือกประมาณ ๖๐๐ กรัม ขายได้เป็นเงิน ๗,๒๐๐ บาทต่อ ๑ ไร่ แต่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการลงทุนทำนาข้าว เริ่มตั้งแต่วันแรกที่ทำต้องเสียค่าไถ ค่าตีแปลงนา ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าเก็บเกี่ยว ค่าดูแลรักษาประมาณ ๔ เดือนถึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ แต่ถ้านำไปขาย แล้วจะได้เงินทั้งหมดประมาณ ๗,๒๐๐ บาท รวมค่าลงทุนไปทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา ประมาณ ๕,๐๐๐ กว่าบาท ก็คงเหลือกำไรจากการทำนาข้าวต่อ ๑ ไร่ จะเหลือเงิน ๑,๐๐๐ กว่าบาท แต่ถ้าช่วงไหนการทำนาข้าวของเดือนนั้น ปีนั้น ต้องเจอกับปัญหาฤดูโรคระบาด ฤดูแมลง ฤดูศัตรูพืชก็ต้องเพิ่มค่าปุ๋ย ค่ายา เท่ากับชาวบ้านไม่เหลืออะไรเลยครับ ต้องขาดทุนแน่นอน และการทำนาข้าวของชาวบ้านหลาย ๆ ครอบครัวนั้นก็ต้องไปกู้เงินจากธนาคาร แหล่งกู้เงิน ต่าง ๆ มาลงทุนทำนา แค่ชาวบ้าน ๑ ไร่ ยังแทบไม่เหลืออะไรเลย ไม่พอกิน ไม่พอใช้ แต่ถ้ายิ่งทำหลาย ๆ ไร่ การลงทุนก็ต้องใช้เงินเยอะ ต้องไปกู้มากขึ้น ทำให้ชาวบ้าน เกิดภาวะเสี่ยงในการขาดทุนเช่นกัน ท่านประธานครับ ชาวนาหลาย ๆ คน หลาย ๆ ครอบครัว อดทน ท้อ หมดกำลังใจที่จะทำนา แต่ไม่รู้ว่าจะทำอะไรกินเพราะคืออาชีพ ที่ทำมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายต้องกัดฟันสู้ต่อไป ก็ต้องฝากรัฐบาลช่วยแก้ไขในเรื่องนี้ด้วย และ ๓-๔ ปีที่ผ่านมานั้น เราต้องเจอกับปัญหา COVID-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกทำให้ เศรษฐกิจของประเทศไทยและหลาย ๆ ประเทศได้พังและทรุดตัวลง แต่ตอนนี้ COVID-19 ก็ได้เบาบางลง เศรษฐกิจหลาย ๆ อย่าง หลาย ๆ สาขาอาชีพ รวมถึงการท่องเที่ยว ก็ยังไม่ฟื้นตัวเท่าไรท่านประธานครับ
จ่าอากาศเอก อภิชาติ แก้วโกศล เพชรบุรี ต้นฉบับ
สุดท้ายนี้เศรษฐกิจทุก ๆ ด้านของประเทศไทย ไม่ว่าจะประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน ทำนาเกลือ ทำการประมง การเลี้ยงกุ้งหอยปูปลา และการท่องเที่ยว ของประเทศไทยนั้นก็มีปัญหาที่แตกต่างกันไปนะครับ แต่สิ่งที่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ต้องเจอต้องประสบคือ ค่าปุ๋ย ค่ายาที่แพง ขอฝากให้รัฐบาลช่วยแก้ไขต้นทุนในการผลิต ให้มีราคาน้อยลง ลดลง แค่นี้ชาวบ้านทั่วประเทศไทยก็พอใจแล้ว ขอบพระคุณมากครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณพลากร พิมพะนิตย์ ครับ
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายพลากร พิมพะนิตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด อำเภอฆ้องชัย พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ เกษตรกรคือกระดูกสันหลังของชาติ ผมยังจำประโยคข้างต้นนี้ได้ตั้งแต่สมัยอยู่ในรั้วโรงเรียน ประโยคดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริง ทางสถิติจวบจนถึงปัจจุบันโดยในช่วง ๓ ทศวรรษที่ผ่านมา แรงงานไทยอยู่ภายใต้เกษตรกร ราวร้อยละ ๓๐ ท่านประธานครับ เกษตรกรใช้ที่ดินไปทั้งประเทศประมาณร้อยละ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยนำเข้าเท่าเดิม ผลผลิตที่ได้กลับมีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังปรากฏ ในส่วนแบ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หากเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ในภาคเกษตรกรไทยถือว่าเติบโตและล่าช้า และมีแนวโน้มที่จะมีความสำคัญในฐานะ ผู้ส่งออกรายใหญ่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง จากตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดไม่ว่าจะเป็นในอดีต ที่คนไทยสามารถพูดได้อย่างภูมิใจว่าเป็น Champ แต่ในปัจจุบันเราค่อย ๆ สูญเสียตำแหน่ง ดังกล่าวให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจัยของเกษตรกรสิ่งแรก คือเรื่องของที่ดิน โดยกว่า ร้อยละ ๕๐ มีที่ดินน้อยกว่า ๑๐ ไร่และในขณะที่เกษตรกรที่มีที่ดินมากกว่า ๒๐ ไร่ คิดเป็น ร้อยละ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ เท่ากับความเหลื่อมล้ำในสิทธิของที่ดิน เนื่องจากเกษตรกรไทย มากกว่าร้อยละ ๔๐ ไม่มีที่ดินทำกิน ผมอยากให้ทบทวนเรื่องของ Zoning ในการทำ การเกษตรเพื่อให้ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพสินค้า และมีความเหมาะสมเรื่องอุปสงค์ อุปทาน ลดปัญหาที่รัฐต้องแบกรับเงินส่วนต่างจากการปลูกพืชที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ และได้สินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ง่ายต่อการทำการตลาดและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ปัจจัยที่ ๒ ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดหล่อเลี้ยงในภาคเกษตรกรคือการเข้าถึง แหล่งน้ำ รัฐต้องมีแนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ปัจจัยต่อมา เรื่องภัยพิบัติที่นับวันยิ่งมีความถี่ และความรุนแรงของภัยพิบัติ จากสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มที่สูงขึ้น ทั้งปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมต่าง ๆ และสำคัญที่เราพูดมา ในวันนี้ทั้งหมด คือเรื่องสินค้าการเกษตรตกต่ำ หาทางออกให้กับพี่น้องเกษตรกร หนีไม่พ้น เรื่องต้นทุนการผลิตที่สูงทำให้ขาดทุน เรื่องของการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาทุบราคา สินค้าพี่น้องเกษตรกรภายในประเทศไทย มาตรการการส่งออกเรื่องกฎหมาย การส่งออก ทางการค้า การกีดกันทางการค้า ผมเป็น สส. จังหวัดกาฬสินธุ์ที่เขาเรียกว่าไอ้หนุ่มนาข้าว เรื่องจริงยืดอกยอมรับ แต่พอเวลาสาวนาเกลือถามว่าปีนี้ขายข้าวได้ราคาไหม คอตกครับ ขาดทุนทุกปี แทบจะกินข้าวกับเกลือแล้วครับท่านประธาน ปัญหาปุ๋ยแพง น้ำมันแพง ค่าไฟแพง ผลผลิตตกต่ำ หนำซ้ำภัยธรรมชาติที่ยากจะคาดเดา น้ำท่วมเกือบทุกปี ในปกติประเทศไทยจะผลิตข้าวเปลือกได้ ๓๒ ล้านตัน สีเป็นข้าวได้ ๒๐ ล้านตัน แบ่งบริโภค ในประเทศ ๑๐ ล้านตัน เก็บไว้เป็นพันธุ์ Stock ประมาณ ๒ ล้านตัน และส่งออกไป ต่างประเทศ ๘ ล้านตัน ขอ Slide ด้วยครับ
นายพลากร พิมพะนิตย์ กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ
ปัจจัยที่ทำให้ราคาข้าวไทย แข่งขันไม่ได้คุณภาพ ข้าวไทยสู้ประเทศคู่แข่งไม่ได้ ต้องตอบคำถามนี้ก่อนว่าโดยที่ผ่านมา ไทยได้สนใจเรื่องนี้ ไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำที่สุดในโลก ประมาณ ๔๖๐ กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่ หลายประเทศพันธุ์ข้าวให้ผลผลิตสูงต่อไร่เกือบ ๑ ตัน และการที่ไทยพยายามจะตั้งราคาข้าว ให้สูงอยู่เรื่อย ๆ นั้นต้องดูว่าคุณภาพของข้าวเป็นเรื่องสำคัญหรือไม่ ดังนั้นสิ่งสำคัญของ การแก้ไขปัญหานี้ คือการปรับปรุงยุทธศาสตร์ใหม่ เร่งผลักดันให้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ เป้าหมายแรกคือไทยต้องมีข้าวพันธุ์ใหม่ตามที่ตลาดต้องการ และผลผลิตต่อไร่สูง เพื่อให้ชาวไทยแข่งขันในเวทีโลกได้ หากจะแก้ปัญหานี้อย่างถาวรคือจะต้องทำให้ เกษตรกรชาวนาลดต้นทุนการผลิต ทำนาเหมือนเดิมในที่ดินแปลงเดิมแต่ใช้ทุนน้อยลง แล้วได้ผลผลิตจำนวนมากขึ้นในแต่ละคราว แต่วันนี้มันทำได้ยากครับท่านประธาน เพราะน้ำมันแพง ปุ๋ยแพง ยาฉีด ทุกอย่างแพงหมด ฝากเรื่องถึงท่านประธานไปยัง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายรัฐบาล ถึงท่านนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ หาทางออกเพื่อพี่น้องชาวเกษตรกรทั่วประเทศด้วยครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
เชิญคุณรังสรรค์ มณีรัตน์ ต่อไปครับ
นายรังสรรค์ มณีรัตน์ ลำพูน ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายรังสรรค์ มณีรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน พรรคเพื่อไทย ญัตติราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเป็นปัญหามาอย่างยาวนานครับ เมื่อรัฐบาลชุดที่แล้ว ใช้กลไกนโยบายประกันรายได้ นโยบายประกันรายได้ประกันเฉพาะพืชเศรษฐกิจหลัก แต่ลืมไปว่ายังมีพืชชนิดอื่นอีกมากมาย อย่างเช่นบ้านผม มะม่วง ลำไย หอมแดง หอมขาว มีหมด ไม่เคยที่จะได้รับนโยบายประกันรายได้ ดังนั้นผมจึงเห็นว่านโยบายของรัฐบาล ชุดต่อไปต้องทำให้เกษตรกรอยู่ดีกินดี ขอภาพประกอบครับ
นายรังสรรค์ มณีรัตน์ ลำพูน ต้นฉบับ
สถิติการฆ่าตัวตายของเกษตรกร เป็นอันดับ ๒ สูงถึง ๓๐.๗ เปอร์เซ็นต์ เพราะหนี้สินที่เกิดจากการเกษตรเป็นสำคัญ ที่เกิดจากภาคเกษตรกร อย่างเช่นบ้านผมที่จังหวัดลำพูน จากจำนวนคนฆ่าตัวตาย ๖๙ คน มีถึง ๑๒ คนที่เป็นเกษตรกร พวกเขาเหล่านั้นไม่มีทางออก เครียด เป็นหนี้เป็นสิน ต้นทุน การผลิตสูง แต่ปรากฏว่าพอผลผลิตทางการเกษตรออกมาขายได้ราคาต่ำ ท่านครับ ปุ๋ยแพง น้ำมันแพง ค่าไฟสูง ทุกอย่างเป็นต้นทุนการผลิตทั้งนั้น แต่เมื่อนำมาขายแล้วได้ราคาถูก ๆ ทำให้คนไม่มีทางออก สิ่งที่จะช่วยเยียวยาเขาได้ถ้าหันไปหันมาไม่สามารถทำได้ก็คือ การฆ่าตัวตายเพื่อหนีหนี้ที่เกิดจากภาคเกษตรกรรม นี่คือข่าวของเกษตรกรบ้านผมฆ่าตัวตาย เพื่อหนีหนี้ที่เกิดจากการเกษตร ผมไม่อยากให้รัฐบาลชุดต่อไปจะเกิดภาพแบบนี้อีก คือเกษตรกรไม่มีทางออกต้องโค่นต้นลำไยที่บ้านผม ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจไปเผาถ่าน ปล่อยให้ เน่าคาต้น เมื่อ ๒ ปีก่อนราคามะม่วง ลำไย เหลือ ๑-๒ บาท เกษตรกรไม่มีทางออกครับ ต้องเอาไม้ไปไล่ฟาดลำไยลง เพราะว่าต้องประชดประชันที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหา ของพวกเขาเหล่านั้นได้ ผมขอเสนอประเด็นว่าเราจะทำอย่างไรกับสินค้าราคาพืชผล ทางการเกษตรทางภาคเหนือ คือ ลำไย มะม่วง หอมแดง หอมขาว เราต้องจัดการดำเนินการ แปรรูปให้เร็วที่สุด และใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่ของนักวิจัยทั้งหลาย ซึ่งได้เคยวิจัยไว้แล้วมากมาย หลายสิ่งหลายอย่าง ว่าผลไม้หลาย ๆ ชนิดสามารถสกัดสารออกฤทธิ์มาใช้ทำยา มาใช้ทำเวชภัณฑ์ มาใช้ทำ เครื่องสำอาง ซึ่งเมื่อสกัดแล้วสามารถขายได้กิโลกรัมละเป็นหมื่น ๆ บาท และพัฒนา ปรับปรุงสายพันธุ์ให้มีคุณภาพทั้งรสชาติ จำนวนผลผลิตต่อไร่ จนถึงการปรับปรุงคุณภาพดิน การให้ปุ๋ย และส่งเสริมเรื่องแรงงาน ซึ่งแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในยามที่เก็บเกี่ยวผลไม้ ในภาคเหนือบ้านผมแรงงานหาไม่ได้ ถึงจะหาได้แต่เมื่อเอาออกนอกพื้นที่ไปเก็บเกี่ยว ก็โดนจับ ท่านประธานครับ ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาบางส่วนที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องแบกรับ และผมหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเป็นทางออกของเกษตรกรทั้งหมด ทั้งนี้กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ คงต้องร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม รวมถึงมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งสมัยที่แล้วผมไปสำรวจดู มหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีงานวิจัยที่เอาผลไม้มาผลิตเป็นอาหาร เป็นยาได้มากมายหลายอย่าง ดังนั้นผมจึงเรียน ท่านประธานไปยังรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนใหม่ ท่านรู้เรื่องพืชของภาคเหนือเป็นอย่างดี ท่านเคยรับปากว่าจะให้เงินเยียวยาเกษตรกร ผู้ปลูกลำไย ๒,๐๐๐ บาท ไม่เกิน ๒๕ ไร่ไว้ ซึ่งสัญญาเป็นมั่นเป็นเหมาะ และตอนนั้น ผมทราบดีว่าท่านไม่สามารถทำงานได้คล่องตัวได้ แต่วันนี้ท่านมาเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว หวังว่าท่านจะทำตามคำสัญญาที่เคยให้ไว้กับเกษตรกร ผู้ปลูกลำไยของภาคเหนือและทั่วประเทศ ๓๓ จังหวัดครับ ขอบคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณสุพัชรี ธรรมเพชร
นางสุพัชรี ธรรมเพชร พัทลุง ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน สุพัชรี ธรรมเพชร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ท่านประธานคะ ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนญัตติเรื่องการแก้ไขปัญหาราคาพืชผล ทางการเกษตรตกต่ำและต้นทุนสูงค่ะ ซึ่งเป็นญัตติที่สะท้อนปัญหาความเดือดร้อนของ พี่น้องประชาชน พี่น้องเกษตรกรเป็นอย่างมาก และญัตตินี้ก็เป็นญัตติที่เพื่อนสมาชิกได้ให้ ความสนใจ แล้วก็มีการอภิปรายญัตตินี้ในหลาย ๆ ประเด็นแล้ว ซึ่งราคายาง ราคาปาล์ม ถ้าราคาสูงขึ้นก็จะเป็นความหวังของพี่น้องเกษตรกรชาวใต้เราค่ะ เพราะเมื่อมีราคาสูง ก็จะทำให้พ่อค้าแม่ค้าเขาขายสินค้าได้ ก็จะเป็นระบบครบวงจรในการที่จะทำให้เศรษฐกิจ ของพี่น้องชาวใต้เราดีขึ้นตามลำดับค่ะ ท่านประธานคะ วันนี้ดิฉันขออนุญาตสะท้อนปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อซึ่งมีราคาตกต่ำ พี่น้องเกษตรกรโดยเฉพาะ ในพื้นที่ภาคใต้ เรามีอาชีพหลักก็คือการปลูกยางพารา ปลูกปาล์ม ปลูกข้าว แต่เมื่อมีเวลาว่าง พี่น้องเกษตรกรจะต้องมองหาอาชีพเสริมค่ะ ซึ่งการทำอาชีพเสริมเพื่อที่จะสร้างรายได้ให้กับ ครอบครัวอีกทางหนึ่ง การเลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพเสริมของพี่น้องชาวใต้โดยเฉพาะใน จังหวัดพัทลุง แต่วันนี้ทั้งอาชีพหลักแล้วก็อาชีพเสริมกลับมีราคาลดลงค่ะท่านประธาน มันทำให้ทำร้ายจิตใจของพี่น้องเกษตรกรเหลือเกิน โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดพัทลุงของดิฉัน ดิฉันได้รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ในเรื่องนี้อยู่เป็นประจำ ดิฉันก็เลยต้องนำเรื่องนี้ มาเร่งแก้ปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะโคเนื้ออย่างเร่งด่วน ดิฉันก็เลยนำ เรื่องนี้มาอภิปรายในประเด็นในวันนี้ ถ้าเรามาดูราคากันนะคะ ราคาเฉลี่ยโคเนื้อที่มีการซื้อ ขายกันในแต่ละปี มีราคาลดลงอย่างต่อเนื่องเลยค่ะ ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ ปี ๒๕๖๕ และปี ๒๕๖๖ ค่ะ ที่แย่ที่สุดก็คือถ้าเราเปรียบเทียบ ราคาเฉลี่ยโคเนื้อที่มีการซื้อขายกันในปี ๒๕๖๕ ก็คือ ๒๖,๘๖๑ บาทต่อตัวต่อครั้ง แล้วก็ เปรียบเทียบกันระหว่างปี ๒๕๖๖ ก็คือราคาอยู่ที่ ๒๓,๒๓๔ บาทต่อตัวต่อครั้ง ซึ่งราคา ต่ำลงมากเลยทีเดียว ปัญหาหลักที่ทำให้ราคาโคเนื้อตกต่ำ อย่างแรกก็คือมีการลักลอบนำ โคเนื้อ ทั้งโคเนื้อมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เข้ามาจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศ อย่างต่อเนื่องค่ะ ซึ่งโคเนื้อเถื่อนจะมีราคาถูกกว่าโคเนื้อในประเทศอยู่แล้ว ทำให้เกิดการจูงใจ ของพ่อค้าคนกลางนำเข้ามาเพิ่มมากขึ้น อีกปัญหาหลักก็คือปัญหาปรากฏการณ์ El Nino ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดหญ้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ พี่น้องเกษตรกรก็เลยต้องรีบนำโคเนื้อของเขานำมาขาย ทำให้ปริมาณในตลาดมีมากขึ้น ราคาก็เลยลดน้อยลง ดิฉันก็เลยเห็นว่าวันนี้เราเพิ่งได้รัฐบาลใหม่มา เราก็อยากเรียกร้องค่ะ ปัญหาหลักของการที่ทำให้สินค้าโคเนื้อเราตกต่ำ ก็คือการลักลอบนำเข้า นำสินค้าโคเนื้อ เข้ามาขายในประเทศของเราดิฉันเชื่อว่าน่าจะมีเจ้าหน้าที่รัฐบางท่านเข้าไปมีส่วนร่วม ในกระบวนการดังกล่าว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ติดชายแดนประเทศไทย ต้องให้รัฐบาลชุดนี้ ต้องทำลายตัดระบบการลักลอบนี้ให้ได้ เพื่อที่จะให้พี่น้องเกษตรกรของเรามีรายได้สูงขึ้น เพื่อที่จะยังชีพสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเขาให้ได้มากที่สุด ขอกราบขอบพระคุณค่ะ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณนพพล เหลืองทองนารา ครับ
นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นพพล เหลืองทองนารา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรคเพื่อไทย คนพรหมพิรามครับ วันนี้ผมต้องขอบพระคุณเพื่อนสมาชิกนะครับ ไม่ว่าจะเป็นท่านสรวงศ์ เทียนทอง หรือว่าอีกหลาย ๆ ท่านที่ได้เสนอญัตติในเรื่องของราคา พืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ท่านครับ ผมเองเมื่อสมัยที่แล้วที่เป็นผู้แทนราษฎรอยู่นะครับ ตลอดระยะเวลา ๔ ปี น้อยครั้งมากที่ผมพยายามจะบอกรัฐบาลว่าคุณต้องไปทำราคาให้มันดี ราคาพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญ ๆ ให้ดีนะครับ ผมไม่ค่อยพูดสักเท่าไร แต่ผมจะเน้นหนักในเรื่องของต้นทุนการผลิตมากกว่า เหตุผล ก็เพราะผมเองเข้าใจทางรัฐบาล ว่าบางสิ่งบางอย่างเราไม่สามารถที่จะกำหนดด้วยตัวเราเอง อย่างข้าวเราส่งออกปีหนึ่ง ๗ ล้านตัน แต่ว่าความต้องการข้าวมันมากกว่านั้นหลายเท่า โลกใบนี้ทั้งใบมีการบริโภคข้าวปีหนึ่งประมาณ ๕๕๐ ล้านตัน แต่ว่าเราผลิตได้ปีหนึ่งตกแล้ว ๒๐ ล้านตันข้าวสารแค่นั้นเอง มันต่างกันเยอะ เพราะฉะนั้นผมเข้าใจ ผมถึงไม่ได้บีบรัฐ เพียงแต่ว่าผมจะจ้ำจี้จ้ำไชมากในเรื่องของต้นทุนการผลิต เพราะสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รัฐบาล สามารถจะควบคุมได้ จริงอยู่ว่าบางครั้งราคาของผลผลิตอาจจะไม่ดีก็จริง แต่ถ้ารัฐบาล สามารถที่จะควบคุมต้นทุนการผลิตให้กับพี่น้องเกษตรกรได้ ไม่ว่าจะปลูกพืชชนิดใด ทำให้ช่องว่างที่เขาจะได้กำไร พี่น้องจะได้ลืมตาอ้าปากขึ้นก็มี และมันเป็นความยั่งยืนด้วยซ้ำ ผมเชื่อมั่นในรัฐบาลใหม่ แต่น่าสงสารที่ว่าท่านเพิ่งจะเข้ามารับตำแหน่งเพียงไม่กี่วัน เพิ่งได้โปรดเกล้าฯ ยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อสภาด้วยซ้ำนะครับ แต่ก็มีหลายกลุ่ม หลายคน พูดถึงท่านว่ารอแล้ว ทำไมไม่ทำเสียที ผมก็สงสารท่าน แต่ท่านไม่ต้องห่วงนะครับ พวกเราเองเราเข้าใจ ใครไม่ให้กำลังใจท่านนี่พวกเราในซีกของรัฐบาล พวกเราให้กำลังใจท่าน เพราะรู้ว่าท่านไม่ใช่เทวดา ทุกสิ่งทุกอย่างมันต้องมีขั้นตอน มีระยะเวลา ในเรื่องของต้นทุนการผลิตพูดถึงอย่างข้าวนี่นะครับ อย่างพืชที่หลาย ๆ ตัว แต่ผมจะขอ ยกตัวอย่างข้าวอย่าวเดียว ถ้าท่านเองสามารถที่จะควบคุมเรื่องปุ๋ย เมื่อฤดูการผลิตปีที่แล้ว ข้าวนะครับ ราคาข้าวอยู่แค่ ๗,๐๐๐-๘,๐๐๐ บาทต่อตัน แต่ว่าราคาปุ๋ยวิ่งขึ้นไปเกือบ ๑,๘๐๐ บาท แล้วพูดถึงมา ณ เวลานี้หลายท่านบอกว่าดีว่าปุ๋ยถูกลง ถูกลงใช่ ถ้านับจาก ๑,๗๐๐-๑,๘๐๐ บาท ถูกลงจริง แต่ว่าผมยังไม่เชื่อนะครับ ผมขอฝากท่านรัฐบาลใหม่ไว้เลย ผมยังไม่เชื่อว่าราคาปุ๋ยที่คงอยู่ตอนนี้มันจะมีราคาขายที่ขายกันอยู่ ๘๐๐-๙๐๐ บาท มันจะสมเหตุสมผล เพราะว่าสมัยก่อนจำได้ไหมครับ ราคาปุ๋ยยูเรีย ๔๖-๐-๐ ราคาไม่เคย เคลื่อนไหวเลย จะเคลื่อนไหวก็ ๑๐-๒๐ บาท ๔๕๐ บาท ๔๘๐ บาทอะไรอยู่อย่างนั้น แต่อันนี้บางท่านก็บอกแล้วว่าฝนตกยังบวกไปอีก ๑๐๐ บาท มันเป็นไปได้อย่างไร เพราะฉะนั้นผมเองอยากจะให้ทางรัฐบาล ซึ่งผมเชื่อมั่น แล้วก็พร้อมที่จะให้โอกาสท่าน แล้วก็พี่น้องเกษตรกรทั้งหลายก็พร้อมที่จะให้โอกาสกับท่านเช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้ว ขอให้ท่านได้ดูในเรื่องของปัจจัยทางด้านการผลิตที่เป็นต้นทุน ไม่ว่าจะเรื่องน้ำ เรื่องปุ๋ย อย่างเรื่องน้ำผมขอยกตัวอย่างสักหน่อยเถอะครับ เมื่อวานนี้ที่โรงแรมเดอะแกรนด์ริเวอร์ไซด์ จังหวัดพิษณุโลก ได้มีบริษัทที่ปรึกษาที่กรมชลประทานได้จ้างในการสำรวจ ในการศึกษา อาคารบังคับน้ำในลำน้ำน่านตั้งแต่ต้นน้ำ ก็คือตั้งแต่ตาน้ำที่จังหวัดน่านจนกระทั่งมาถึงที่ ปากน้ำโพ ที่บรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ๗๐๐ กว่ากิโลเมตร ว่าสมควรจะต้องมีอาคาร บังคับน้ำก็คือเขื่อนที่ขวางลำน้ำไว้ตรงไหนบ้าง เพราะว่าตอนนี้ถ้าเราจะทำอ่างเก็บน้ำใหญ่ ๆ พื้นที่เหมาะสมไหม แล้วงบประมาณก็มีเยอะ ถ้าเราสร้างอาคารบังคับน้ำขวางไว้ อย่างเขื่อนสิริกิติ์ใต้เขื่อนสิริกิติ์มา ๑๕๖ กิโลเมตร ถึงจะมีเขื่อนนเรศวรอยู่ที่บ้านผม ที่พรหมพิราม แล้วหลังจากเขื่อนนเรศวรจนกระทั่งถึงเขื่อนเจ้าพระยาไม่มีที่ขวางกั้นลำน้ำไว้ เพื่อจะเก็บน้ำในลำน้ำ แต่เมื่อวานก็ได้ชี้ชัดกันไปว่า เราเองต้องการเขื่อนท้ายเมือง ที่อยู่บริเวณตำบลงิ้วงาม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก อยู่ใต้จากเขื่อนนเรศวรที่อำเภอ พรหมพิรามไป ๕๖ กิโลเมตร สามารถจะเก็บน้ำในลำน้ำยามปกติได้ ๖๐ ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้งน้ำที่จะปล่อยเข้าคูคลองซ้ายขวาแล้วนี่นะครับ ในระบบชลประทานเดิมไม่ต้องทำใหม่ ได้อีกประมาณ ๓๐ ล้านลูกบาศก์เมตร รวมแล้วเป็น ๙๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ท่านครับ ๙๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ผมเคยเห็นต้นทุนกรมชลประทานได้ทำถ้าไปทำอ่างเก็บน้ำ ขนาดนั้นยังใช้แพงมากกว่าตัวอาคารบังคับน้ำที่อยู่ในลำน้ำน่านที่ได้มีการพูดถึงตรงนี้ที่ว่า เขื่อนท้ายเมือง ผมเองก็ขอฝากท่านประธานไปถึงทางรัฐบาลด้วยในการที่จะดูแลในเรื่องของ ต้นทุนการผลิตในทุก ๆ พืชทางการเกษตร กราบขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล ครับ
นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล สุโขทัย ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย เขต ๔ ในฐานะ สมาชิกรัฐสภา ท่านประธานครับ วันนี้ญัตติราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เกษตรกรเราทุกวันนี้ เป็นหนี้ ผมว่าไม่ใช่หนี้เพราะเงินกู้ เป็นหนี้เพราะเราไม่มีต้นทุนน้ำในการใช้ในเกษตรกร วันนี้ยุทธศาสตร์น้ำที่ได้อภิปรายไปครั้งที่แล้ว ๒๐ ปีของแม่บทการบริหารจัดการน้ำ ได้น้ำไม่ถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ที่ตั้งเป้าหมายไว้ น้ำฝนที่อยู่หลังเขตชลประทานนั้นไม่สามารถ กักเก็บไว้ได้ เพราะไม่มีการบูรณะคูคลองต่าง ๆ ยกตัวอย่าง สุโขทัยมีแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำหลัก ที่รับน้ำจากพะเยา น่าน แพร่ ซึ่งมีประตูน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ควบคุมน้ำเพียงประตูเดียว ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ในหน้าแล้ง ไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมในยามน้ำหลาก กรมชลประทานได้ออกแบบประตูน้ำไว้ ๒ ตัวที่บ้านเกาะน้อย และบ้านแม่สำ หาดเสี้ยว อยากให้กรมชลประทานนำเรื่องนี้ไปออกแบบเร็ว ๆ ประตูน้ำ ๒ ตัว พร้อมกับคณะกรรมการ คชก. คณะกรรมการเชี่ยวชาญศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อจะเข้างบประมาณในปี ๒๕๖๘ และปี ๒๕๖๙ เป็นประโยชน์กับพี่น้องชาวเกษตรกร ในเขตชลประทาน แล้วก็ในเขตนอกชลประทาน ท่านประธานครับ ในสุโขทัยนั้นมีปัญหา ที่ไม่ซ้ำกับคนอื่นที่ท่านประธานบอกไม่อยากให้ซ้ำ ก็คือปัญหาทำกิ่งพันธุ์มะม่วง มะนาว แล้วก็มะม่วงโชคอนันต์ที่ตกต่ำ ขอ Slide ด้วยครับ
นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล สุโขทัย ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ วันนี้ไม่มีใคร มาช่วยซื้อเลยมะม่วงจากกิโลกรัมละ ๓-๔ บาท เมื่อก่อนเอาไปดองกันอย่างดีแย่งกัน กิโลกรัมละ ๑๒ บาท วันนี้บาทเดียว ๒ บาทไม่มีใครซื้อเททิ้งครับ กิ่งพันธุ์ที่เคยขาย กิ่งละ ๒๕-๓๐ บาท ไม่มีใครมาซื้อครับ เหลือ ๑๐ บาท ต้นทุนประมาณ ๑๓ บาท ศรีสัชนาลัย บ้านท่าชัย แล้วก็อำเภอศรีนคร บ้านน้ำขุมและข้างเคียงทุกตำบล ทำกิ่งพันธุ์กันเยอะมาก ไม่มีใครมาช่วยซื้อตกต่ำมากครับท่านประธาน ผมถึงกราบเรียน วันนี้การทำอาชีพเสริมของพี่น้อง ตลอดจนทำอาชีพเป็นอาชีพหลักล่มสลายหมดครับ ท่านประธานครับ วันนี้พืชอีกชนิดหนึ่งก็คือผักบุ้ง เมล็ดผักบุ้งที่มีหน่วยงานมาส่งเสริม ตลอดจนพ่อค้าคนกลางนำเอาเมล็ดพันธุ์มาขายในลิตรละประมาณ ๒๐๐ บาท แล้วก็บอกว่า จะมีโควตามาเก็บ ถูกหลอกครับ เกษตรกรมีเมล็ดผักบุ้งทิ้งไว้มากมาย ดังนั้นอำเภอศรีนคร และอำเภอข้างเคียงเลยจัดตั้งโรงงานขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันแล้วเป็นโรงงานถาวร เพราะว่า พ่อค้าที่ผ่าน ๆ มานั้นมาแต่ตัวแล้วก็หายไป ที่อำเภอศรีนครได้มีการตั้งโรงงานเพื่อ Silo เมล็ดผักบุ้งให้เป็นหลักประกันว่าเราซื้อขายโดยโรงงานนี้จริง ๆ แต่ตั้งอยู่ในเขตนิคมสหกรณ์ ทางสหกรณ์จังหวัดได้ทำหนังสือไปถึงกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อจะให้อนุมัติให้ไปใช้ ในเขตนิคมสหกรณ์ ซึ่งเป็นเขตเกษตรกรไปถึงกระทรวงแล้ว ถึงกรมแล้วขอให้ท่านอธิบดี กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้เซ็นอนุญาตให้สร้างโรงงานเพื่อเป็นหลักประกันให้กับอำเภอศรีนคร และอำเภอข้างเคียงที่ทำเมล็ดผักบุ้งซึ่งมีรายได้เสริมอย่างดี อันนี้กราบเรียนท่านประธาน ไปถึงท่านอธิบดีด้วยครับ ท่านประธานครับวันนี้ส้มเขียวหวานที่แม่สินนั้นเป็นส้มที่โด่งดัง อยู่ช่วงขณะหนึ่งวันนี้ราคาไม่ดีบางทีก็เบอร์ ๒ ๒ บาท ตามเบอร์ครับ ๒ บาท ๓ บาท ๘ บาท ตรงกับตรุษจีนก็ดีหน่อย แต่ปัญหาคือน้ำ ท่านประธานครับน้ำไม่พอครับอย่างที่บอกว่า หากวันนี้เราไม่สร้างประตูน้ำ ๒ ตัวที่เกาะน้อยตลอดจนถึงแม่สำ ผลักน้ำ ดันน้ำไปจากที่ ให้เก็บได้ถึง ๑๐ ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น ๔๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ในลำน้ำยม แล้วก็ขยายไป พื้นที่ที่ต้องการใช้น้ำในแหล่งส้มแม่สิน ตลอดจนลองกองที่บ้านตึกมันจะทำให้ส้มนั้น ไม่ห้อยตุ้ม หมายความว่าเราซื้อส้มเห็นมีตุ้มไหมครับ พ่อค้าแม่ค้าไม่ซื้อเลย เพราะว่าเขากลัว ฝ่อใน จึงกราบเรียนว่าวันนี้วิกฤติของส้มเขียวหวานที่แม่สินนั้นกำลังเกิดขึ้นอีก ๒ ปีข้างหน้า แน่นอนจากภัยแล้งนะครับ จึงกราบเรียนท่านประธานไปถึงพาณิชย์จังหวัด สหกรณ์จังหวัด กรมการค้าภายใน แล้วก็เกษตรจังหวัดที่ท่านดูแลอยู่ช่วยไปให้ความรู้ตลอดจนสนับสนุน แล้วก็พยุงราคา ไม่ว่าจะเป็นกิ่งมะนาว กิ่งมะม่วง ราคามะม่วงโชคอนันต์ที่บาทเดียวเททิ้ง อย่างที่เห็น ๆ อยู่นี้ ตลอดจนส้มที่จะเกิดขึ้นอีก ๓-๔ เดือนข้างหน้า ลองกองที่กำลังจะเกิด วันสองวันนี้ที่กำลังผลผลิตออกกลัวจะมาชนกับภาคใต้ที่มีลองกองดีจะทำให้ราคาตกต่ำ แล้วให้เตรียมมาตรการนี้ป้องกันไว้ให้อย่างดี และที่สำคัญยืนยันว่าวันนี้ถ้าสุโขทัย ยังไม่ได้ประตูน้ำ ๒ ตัวที่บ้านเกาะน้อย ๑ ตัว แล้วก็บ้านแม่สำ บ้านหาดเสี้ยวอีก ๑ ตัว ที่จะกักเก็บน้ำจาก ๑๐ ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นถึง ๓๐-๔๐ ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้ ในฤดูแล้งภายหน้า ก็กราบเรียนถึงชลประทานที่ออกแบบ แล้วก็คณะกรรมการศึกษา สิ่งแวดล้อมนั้นช่วยดำเนินการทำให้เรียบร้อยก่อนที่งบประมาณ ปี ๒๕๖๘ และปี ๒๕๖๙ จะมาถึงครับ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณจิตติพจน์ วิริยะโรจน์
นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ กระผม นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จากจังหวัดศรีสะเกษ ท่านประธานครับ กระผมเป็นคนต่างจังหวัดครับ ที่บ้านประกอบกิจการเกี่ยวกับสินค้าเกษตรตั้งแต่เด็กก็เลยเห็นวิวัฒนาการของสินค้าเกษตร ในต่างจังหวัดนะครับ ในอดีตจังหวัดศรีสะเกษจะมีการทำสินค้าเกษตรหลัก ๆ ก็จะมีข้าว หอม กระเทียม หลังจากนั้นก็มีข้าวโพด มีมันสำปะหลังเข้ามาเพิ่มเติม แต่ไม่ว่าจะมีการปลูกอะไรขึ้นมา หรือจะเป็นยางพาราในภายหลังนี้ ก็ปรากฏว่าเกษตรกรก็ยังคงยากจน เป็นหนี้เป็นสิน มากมายจนหาเกษตรกรที่สามารถมีที่ดินของตัวเองปลูกข้าวแล้วก็ขายข้าวของตัวเอง ได้น้อยเต็มที เคยมีคนเก็บตัวเลขบอกว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ของผู้ปลูกข้าวไม่มีที่ของตัวเอง หรือต้องไปเช่าที่ หรือเอาที่ของตัวเองไปจำนองเพื่อจะเอามาทำนา เห็นได้อย่างชัดเจนว่า การทำการเกษตรในประเทศไทย ไม่ใช่สินค้า หรือไม่ใช่ธุรกิจ หรือไม่ใช่กิจการที่ให้ ผลตอบแทนที่ดีแต่อย่างไรไม่ว่าจะปลูกเป็นอะไรก็ตาม ในภายหลังจังหวัดศรีสะเกษอาจจะมี การปลูกทุเรียน มีการปลูกแก้วมังกร แต่ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเกษตรกรก็ยังมีปัญหาอยู่ดี ผมขออนุญาตยกตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องข้าวก็แล้วกันเพื่อจะได้ช่วยกันดูว่าปัญหามาจากไหน ข้าวหอมมะลิในจังหวัดศรีสะเกษ ๑ ไร่ ได้ข้าวเปลือกประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ กิโลกรัม ในขณะที่ประเทศเวียดนามสามารถมีผลผลิตได้ถึง ๙๐๐ กิโลกรัม หรือถ้าไปเทียบกับของ ออสเตรเลีย ซึ่งมีระบบการจัดการที่ดี มีนวัตกรรมทางการเกษตรสามารถทำได้ถึง ๑,๖๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ เห็นได้ชัดเจนว่าเรื่องของการเกษตรของเรานั้นมีปัญหาจริง ๆ ครับ ท่านประธาน ซึ่งผมก็ได้ขออนุญาตว่าพรรคเพื่อไทยก็ได้วางนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาในตัวนี้ ผมก็รวบรวมมาเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลว่านโยบายของพรรคเพื่อไทยบอกว่าตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย พักหนี้ แล้วก็มีระบบขนส่งที่ดี การเพิ่มรายได้นั้น สาระสำคัญของการเพิ่มรายได้อยู่ที่การมีตลาดนำครับ เกษตรกรถ้าเป็นไปได้มีหน้าที่ พยายามปลูกพืชผลการเกษตรที่ตัวเองมีความชำนาญ และเหมาะสมกับพื้นที่ให้ได้ผลผลิต ดีที่สุด ให้ได้คุณภาพดีที่สุด ถ้าหากปีนั้นมีปัญหาในเรื่องของการตลาด ก็เป็นหน้าที่ของ รัฐบาลที่จะต้องไปขายผลผลิตส่วนเกินนั้น ไม่ว่าจะเป็นการขายขาด หรือจะเป็นการ Barter Trade หรือที่เรียกว่าการแลกเปลี่ยน จะไปแลกเปลี่ยนกับอาวุธ หรือการแลกเปลี่ยนกับ รถไฟก็ดีนะครับ แต่ว่าการแลกเปลี่ยนนั้นมีความยุ่งยากพอสมควร เนื่องจากการขายสินค้า ในการค้าระหว่างประเทศนั้นมักจะไม่นิยมรับสินค้าเพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้าครับ ก็อาจจะ ต้องใช้นวัตกรรมทางการตลาดเพิ่มเติม นวัตกรรมเสริมครับ นวัตกรรมในเรื่องของการผลิต ก็จะทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น คุณภาพสูงขึ้น แล้วก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้วย แต่การลด ค่าใช้จ่ายด้วยนวัตกรรมนั้น เป็นเรื่องยากครับ เนื่องจากการจะใช้นวัตกรรมนั้นต้องมี การลงทุนและการลงทุน ไม่ใช่การลงทุนน้อย ๆ ซึ่งจะสามารถทำได้คงต้องใช้เวลา และอาจจะไม่สามารถทำพร้อมกันทั้งประเทศในเวลาเดียวกันครับ แต่การลดค่าใช้จ่าย ให้เกษตรกรในเรื่องของค่าปุ๋ยซึ่งเป็นต้นทุนถึง ๒๖ เปอร์เซ็นต์ของการทำนาสามารถทำได้ การลดค่าน้ำมัน ค่าก๊าซ หรือค่าน้ำเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ครับ นอกจากนี้การพักหนี้ เกษตรกร ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีนโยบายพักหนี้อยู่แล้ว ๓ ปี ปลอดต้น ปลอดดอกเบี้ย แล้วก็ ปรับในเรื่องของระบบขนส่ง มีสินค้าการเกษตรมากมายที่ดี ๆ อย่างตัวผมเองก็เคยปลูก ปัจจุบันก็ยังปลูกอยู่ ในเรื่องของผัก Organic ก็มีปัญหาว่าจากจังหวัดศรีสะเกษจะนำมาขาย ที่กรุงเทพฯ ใช้เวลา ๕-๖ ชั่วโมง รถวิ่งเร็วจริง ๆ ก็ ๕-๖ ชั่วโมง แต่ของจริงมันเกินกว่านั้น ถ้าหากว่าเรามีระบบขนส่งที่ดีอาจจะเป็นรถไฟรางคู่ ไม่ถึงกับต้องเป็นรถไฟความเร็วสูง เป็นรถไฟรางคู่ที่มีความเร็วสัก ๒๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากศรีสะเกษมาที่กรุงเทพฯ ก็ประมาณ ๓ ชั่วโมง ก็จะสามารถช่วยในเรื่องของการตลาดได้เป็นอย่างดี โดยสรุปการแก้ไข ปัญหาสินค้าเกษตรต้องทำเป็นระบบครบวงจร ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย พักหนี้ แล้วก็มีระบบขนส่งที่ดีครับ ขอบพระคุณท่านประธานครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณธีรัจชัย พันธุมาศ ครับ
นายธีรัจชัย พันธุมาศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ท่านประธานที่เคารพ ผม ธีรัจชัย พันธุมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง พรรคก้าวไกล ขออนุญาตท่านประธานอภิปรายญัตติเรื่องปัญหาสินค้าเกษตร ตกต่ำและปัญหาราคากุ้งตกต่ำ ท่านประธานที่เคารพครับ ในส่วนของกุ้งมันจะเป็น ภาพสะท้อนของสาเหตุ ซึ่งเป็นแบบ Form เดียวกับสินค้าเกษตรอยู่เกือบทุกประเภท ซึ่งคล้าย ๆ กันว่าเหตุใดถึงตกต่ำ เรามาดูในส่วนของกุ้งก่อนนะครับ ปี ๒๕๕๓ เราเคยผลิตกุ้ง สูงสุดได้ทั้งหมด ๖๔๐,๐๐๐ ตัน ส่งออกได้ถึง ๔๒๗,๕๘๐ ตัน มูลค่า ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๔ เราสามารถสร้างมูลค่าส่งออกสูงสุดที่ ๑๑๐,๒๗๘ ล้านบาท แต่ผ่านไป ๑๐ ปี ในปี ๒๕๖๔ ผลผลิตกุ้งไทยเหลืออยู่เพียง ๒๘๔,๐๐๐ ตัน มูลค่าส่งออกมีเพียงแค่ ๔๗,๙๐๘ ล้านบาท ก็พอสรุปได้ว่าประเทศไทยมีมูลค่าเสียหายจากการเสียโอกาสกุ้งไทย ในช่วง ๑๐ ปีไปถึงประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาท นี่คือการลดอย่างมีนัยสถิติ ผมอยากให้ดู ตัวเลขอีกตัวเลขหนึ่ง ก็คือในส่วนของผลผลิตกุ้งในปี ๒๕๖๓ แบ่งออกเป็นกุ้งกุลาดำ ๑๑,๖๑๙ ตัน กุ้งขาว ๒๕๐,๖๔๓ ตัน นั่นหมายความว่ากุ้งขาวหรือกุ้ง Vannamei มีถึง ๒๐๐,๐๐๐ กว่าตัน กุ้งกุลาดำเพียงแค่ ๑๐,๐๐๐ กว่าตัน ทั้งที่ในส่วนการเลี้ยงกุ้งของไทย ตั้งแต่แรกเริ่มในการเลี้ยงมา ๑๐ กว่าปีก่อนหน้านั้นเป็นการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำนั้น มีการเลี้ยงประมาณ ๔ เดือนครึ่งถึงจะได้ผลผลิต ประมาณ ๖๐ ตัว ๗๐ ตัว ๘๐ ตัว ต่อกิโลกรัม แต่กุ้ง Vannamei หรือกุ้งขาวนั้น เวลาเลี้ยงใช้เวลา ๓ เดือน กินจุ กินได้ทุกเรื่อง แล้วก็โตเร็ว แต่ขนาดกุ้งประมาณ ๑๐๐ ตัวต่อกิโลกรัมขึ้นไป ปี ๒๕๔๕ กรมประมง ได้ส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งขาว และได้มีบริษัทยักษ์ใหญ่ทางเกษตรของประเทศไทยเข้ามาส่งเสริม การเลี้ยง ขายอาหาร กำหนดพันธุ์กุ้ง Vannamei เข้ามาแทนกุ้งกุลาดำ แต่กุ้งกุลาดำเป็นกุ้ง ที่มีราคา มีรสชาติอร่อย มีราคาสูงกว่า เป็นกุ้งระดับที่ Premium กุ้งขาวระดับตลาดทั่วไป ทำให้ผลผลิตที่ดูปี ๒๕๖๓ ท่านจำได้ไหมครับ ที่ผมกล่าวเมื่อสักครู่ ผลผลิตปี ๒๕๖๓ ลดลงจากเดิมที่เป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ มาเหลือเพียงแค่ ๑๐,๐๐๐ ตัน กุ้งขาวคือ Vannamei ประมาณ ๒๔๕,๐๐๐ ตัน ทำให้ตรงนี้เรากำลังผลิตมาตามของบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งกุมอาหาร กุมยา กุมพันธุ์กุ้ง ไม่ว่าราคาจะเป็นอย่างไรเขาก็ได้กำไรจากการกุมตลาดตรงนี้แล้ว และบริษัทเกษตรขนาดใหญ่นั้นเขามีเครือข่ายรายย่อยเต็มไปหมด สามารถผลิตสินค้า เกี่ยวกับกุ้งขายได้เอง สังเกตได้ว่าในช่วงปี ๒๕๕๔ ที่เราถูกกีดกันทางการค้า เรื่องแรงงานเด็ก กับในส่วนของโรคจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรานำเข้าไม่ได้ แต่เขาไม่มีส่วนสะเทือน ตอนนี้ ผลผลิตของกุ้งนะครับ กุ้ง Vannamei ครองตลาดทั้งหมด เราเป็นกุ้งที่คุณภาพไม่สูงนัก เราไม่สามารถขายได้มากเลย นี่ประเด็นหนึ่ง หรือทำให้คุณภาพกุ้งนั้นต่ำกว่าที่จะควรจะเป็น
นายธีรัจชัย พันธุมาศ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ
ประเด็นที่ ๒ กระบวนการนำเข้าและส่งออกของกุ้ง การนำเข้ากุ้งเราไม่มี โควตาครับ นำเข้าโดยเสรี การส่งออกเรามีโควตาบริษัทใหญ่เพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่ส่งออก นั่นก็คือหมายความว่าถ้าจะส่งออกต้องผ่านกระบวนการโควตา แต่นำเข้าบริษัทขนาดใหญ่นั้น ถ้าราคากุ้งมีผลิตน้อยจะควบคุมราคา เขานำเข้าจากต่างประเทศ จากเอกวาดอร์ จากอินเดีย จากเวียดนาม หรือให้ประเทศเพื่อนบ้านเราเลี้ยงแล้วก็ส่งเข้ามาทำให้ราคากุ้งในประเทศ ไม่มีทางที่จะกระเตื้องได้เลย นั่นก็เพราะว่าเขาผลิตเองได้ ขายเองได้ร้านสะดวกซื้อของเขา และในส่วนของประชาชน จะขายเองตามตลาดก็ขายได้น้อย รวมถึงในส่วนของกุ้งตัวนี้นะครับ การผลิต การเลี้ยง บริษัทขนาดใหญ่ เดี๋ยวนี้ปัจจุบันเขาใช้ผ้ายางปูในส่วนบ่อ มันต่างกับชาวบ้านเขาเลี้ยง เขาใช้ดิน เวลาเลี้ยงไปเที่ยวที่ ๑ มันจะเกิดเขาเรียกว่าแก๊สขึ้นมาเป็นกรดต้องเอาปูนขาว ไปล้าง ครั้งที่ ๒ ตัวจะเล็กลง พอขนาดเล็กลงไม่กินอาหาร ไปขายบริษัทขนาดใหญ่ ก็ถูกกดราคาครับ นี่คือสาเหตุที่สำคัญก็คือการควบคุมของทุนใหญ่ที่เข้ามาผูกขาดตัดตอน เรื่องอาหาร เรื่องตัวพันธุ์กุ้งเรื่องของยา รวมถึงต้นทุนผลิตเรื่องค่าไฟ น้ำมันในการที่ปั๊มน้ำ ค่าไฟในการปั๊มลมให้กับกุ้ง เราไปเถียงอยู่หลายเรื่องเรื่องการส่งออกมันก็ประเด็นปลายเหตุ แต่เรื่องการผูกขาดของกลุ่มทุนใหญ่เราไม่เคยพูดถึงเลย เรื่องการส่งออกที่มีโควตา ทำไมไม่เปิดให้คนส่งออกได้มากขึ้นและจำกัดการนำเข้าไม่ให้มันทลายตลาดในเมืองไทย สิ่งเหล่านี้รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้ทลายทุนผูกขาด และเปิดให้ส่งออกได้ และมาวางทางวิชาการแก้ปัญหาโรคกุ้ง และปัญหาเรื่องการใช้แรงงานให้ดีเพื่อกันการกีดกัน ทางการค้าสิ่งเหล่านี้ นี่คือการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง สมบูรณ์ถ้าเราแก้แบบเดิมเราก็ได้ผล แบบเดิม ถ้าเราแก้ที่โครงสร้างทลายทุนผูกขาดให้พี่น้องประชาชนสามารถที่จะประกอบ กุ้งเสรี ไม่ให้ใครมากุมอาหาร กุมทุกสิ่งทุกอย่างแล้วรวยอยู่เพียงคนกระจุกเดียว ผมเชื่อว่า ไม่มีทางแก้ปัญหาราคากุ้งได้ นั่นก็หมายถึงรวมถึงสินค้าเกษตรตัวอื่นนะครับ ไม่ว่าเป็นไก่ เป็นหมู เป็นข้าวโพด หรือเป็นสิ่งต่าง ๆ เข้าสู่ระบบนี้เช่นกัน กลุ่มทุนใหญ่กุมทั้งหมด นี่คือนโยบายของพรรคก้าวไกล ก็คือการทลายทุนผูกขาด ถ้าเราไม่สามารถทลายตรงนี้ และยังเกรงใจยังอยู่ใต้อาณัติแบบนั้น ผมเชื่อว่าปัญหาที่เข้าญัตติแบบนี้จะเข้าทุกสมัย ไม่มีทาง แก้ไขได้เลยครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ต่อไปขอเชิญ คุณจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ครับ
นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ
ขอบคุณครับท่านประธาน เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผมเชื่อว่า ทุกท่านในที่นี้เข้าใจความเจ็บปวดของพี่น้องเกษตรกรเป็นอย่างดีครับ ที่บ้านผมก็มีทั้งกลุ่ม เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา คุณยายผมก็เลี้ยงกุ้งนะครับ ก็ประสบปัญหานี้มาตลอดครับราคาตกต่ำ ซึ่งผมก็เชื่อว่าปัญหาที่เราพูดถึงกันอยู่นี่ก็เป็นปัญหาที่เรารู้กันดีอยู่แล้ว มันไม่ใช่ว่าเป็นปริศนา ลี้ลับอะไรนะครับ แล้วมันก็ไม่ใช่ความลับทางทหารอะไรด้วยเรื่องปัญหาของราคาตกต่ำ ทุกคนรู้ปัญหากันดีหมด แต่ทำไมเราต้องพูดกันซ้ำไปซ้ำมาทุกปี ๆ ท่านประธานครับ สภาผู้แทนราษฎรสมัยที่แล้ว ญัตติแรกที่เข้าสู่สภาก็คือญัตติเรื่องราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ ย้อนกลับไป สส. สมัยก่อนหน้านั้นญัตติแรกก็ญัตตินี้ละครับ ตั้งคณะวิสามัญเสร็จเราก็มี คณะกรรมาธิการสามัญดูแลอีก สภาผู้แทนราษฎรมีแล้ว รัฐสภาแล้วก็มีหน่วยงานที่ดูแลอีก มีกระทรวงดูแลไม่รู้กี่กระทรวง มีรัฐบาล มีรัฐมนตรีตั้งหลายคน อธิบดี ข้าราชการอีก เป็นแสนคนดูแลเรื่องนี้ ทำไมมันแก้ปัญหาไม่ได้ครับ หรือว่าเราแก้ผิดจุด หรือว่าเราตีโจทย์ผิด กันแน่ครับท่านประธาน คำถามคือในเมื่อเรามีทุกอย่างพร้อมหมด ทุกคนหวังดีหมด ทุกคน เข้าใจความเจ็บปวดหมด แต่ทำไมประเทศไทยผ่านพ้นเรื่องนี้ไม่ได้ ทำไมราคามันไม่ขึ้น เพราะปัญหาปัจจัยภายนอกอย่างเดียวเลยหรือครับ เราพูดเรื่องปัจจัยภายนอกกันมา นานแล้วนะครับ ประเทศอื่นเขาก็เจอปัจจัยภายนอกเหมือนกัน ถามว่าการเป็นเกษตรกร มันไม่มีรวยจริงหรือครับ เขาพูดกันว่าเป็นเกษตรกรไม่มีทางรวย แต่ว่าเศรษฐีอันดับต้น ๆ ของประเทศนี้ส่วนใหญ่ทำเกษตร เราเห็นข้าวเปลือกราคาตก แต่ว่าข้าวสวยในร้านสะดวกซื้อ ราคาขึ้น ทำไมครับ ทำไมมันเป็นอย่างนั้น รัฐไทยสามารถทำให้ค่าไฟแพงได้ ทำให้คน กลุ่มหนึ่งรวยขึ้นเป็นอันดับ ๑ ของประเทศนี้ได้ แต่ทำให้ราคาพืชผลเกษตรขึ้นไม่ได้ ทุกคนรู้ปัญหาดีครับ ปัญหาเรื่องต้นทุน ปัญหา เรื่องค่าปุ๋ย ค่าอาหารที่มันมีทุนผูกขาดจัดการอยู่ ปัญหาเรื่องการนำเข้าที่ทุนผูกขาดนี่ละ ในเมื่อเขามีโควตาส่งออกเยอะ เขาก็ต้องไปให้ประเทศเพื่อนบ้านผลิตให้ ไปจ้างเขาเลี้ยงกุ้ง ไปจ้างเขาเลี้ยงปลาแล้วก็นำเข้า เพราะ Order ส่งออกตัวเองเยอะ แล้วก็มาทำลายราคา ของเกษตรกรในบ้าน รู้กันหมดละครับปัญหา แต่ไม่กล้าหรอกครับ ผมว่านี่คือสิ่งที่ เสียเวลามาก ๆ ท่านประธาน เราพูดกันไปเถอะครับ เราเอาปัญหามาพูดกันมันก็แค่ เอาความเจ็บปวดของพี่น้องเกษตรกรมาประจานกับสภาเท่านั้นเอง ถ้าเกิดรัฐบาลไม่ตั้งใจทำ ไม่กล้าที่จะทำ ไม่มีทางแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ นี่มันคือปัญหาทุนผูกขาด นี่คือปัญหาทางโครงสร้าง ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เราพูดกันอยู่ทุกวันนี้นี่ละ ทำไมคนเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลามีโอกาสเจ๊ง ได้ตลอดเลยครับ เคยเห็นบริษัทหรือโรงงานผลิตอาหารเจ๊งไหมครับ เคยเห็นบริษัทเขาหุ้นตก ไหมครับ เขามีแต่รวยขึ้นทุกปี ถามว่ากำไรมันไปไหนเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลากำไรหายไปไหน ก็หายไปอยู่ในกระเป๋าเขาอย่างไรครับ มันก็ง่าย ๆ แค่นั้นละครับไม่ต้องคิดอะไรมาก ไม่ต้องเอาปัจจัยภายนอกมามีส่วนเกี่ยวข้องหรอก สรุปเลยครับท่านประธานผมไม่อยากจะ เสียเวลาอภิปรายมาก เพราะนี่ก็เลยเวลา จะ ๑ ทุ่มแล้วนะครับ คือมันไม่มีประโยชน์เลยครับ ถ้าเราจะอภิปรายโดยที่ไม่ส่งเรื่องนี้ไปยังรัฐบาลที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทเป็นผู้บริหาร ประเทศในขณะนี้ และที่สำคัญนี่นโยบายที่จะแถลงในวันจันทร์พวกเราอ่านกันแล้วไม่ได้มี เรื่องทลายทุนผูกขาด ไม่ได้มีเรื่องการจัดการกับทุนผูกขาดอยู่ในนั้น แต่วันนี้วันพุธครับ ท่านประธาน ยังมีเวลาครับก่อนจะถึงวันจันทร์ แก้ได้นะครับช่วยกันเรียกร้องนะครับ ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่รู้ซึ้งถึงความเจ็บปวดของเกษตรกรดี ช่วยกันเรียกร้องนะครับ วันนี้ผมเห็นท่านรัฐมนตรีหลายท่านก็อยู่ในที่นี้ไปแก้นโยบายใหม่ได้ ที่จะแถลง ถ้าไม่จัดการทุนผูกขาด ไม่จำกัดการนำเข้า ไม่มีทางครับที่จะช่วยพี่น้อง เกษตรกรได้ แล้วก็ปล่อยเขาจนอยู่อย่างนี้ละครับ แล้วนายทุนก็รวยเอา ๆ แล้วก็อย่าหวัง เลยครับที่เราจะบอกว่าเกษตรกรประเทศนี้จะรวยได้ ก็ฝากด้วยครับท่านประธาน นโยบาย ที่จะแถลงวันจันทร์ยังพอมีเวลาแก้ไขได้ มีกระดาษเหลือตั้งเยอะนะครับ เพราะว่า มันบางมากเลย ผมเชื่อว่าท่านสามารถเพิ่มเข้าไปได้ ขอบคุณครับท่านประธาน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ท่านสุดท้ายที่จะ อภิปรายวันนี้ คือคุณเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม ส่วนรายชื่อที่เหลือก็อภิปรายในวันพรุ่งนี้ต่อครับ เชิญครับคุณเกรียงศักดิ์
นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม อุดรธานี ต้นฉบับ
กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี เขต ๘ พรรคเพื่อไทย ขออภิปรายญัตติเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ตามญัตติของท่านสรวงศ์ เทียนทอง และท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติอีกหลายท่าน ซึ่งนำข้อห่วงใยต่อพี่น้องชาวเกษตรกร ซึ่งได้รับผลกระทบจากราคาพืชผลทางการเกษตร ตกต่ำ ท่านประธานที่เคารพครับ ราคาพืชผลทางเกษตร ผมขออนุญาตท่านประธาน มองไปที่ราคาข้าว ราคาข้าวซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้บริโภคและการส่งออก เราจะเห็นว่าเราจะต้องใช้บริโภคภายในประเทศ แล้วก็ต้องส่งออก ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ราคาข้าวเราได้เสีย Champ ให้กับประเทศอินเดียเรียบร้อยหลังจากที่เราครอง Champ มายาวนาน แต่นั่นก็มีปัจจัยในการที่จะทำให้ราคาตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็นยางพารา ไม่ว่าจะเป็น ราคาอ้อย ราคามันสำปะหลัง ซึ่งจริง ๆ แล้วเราอยากได้ราคาให้สูงมาก อย่างยางพารา ยางแผ่น ณ วันนี้วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๖ ราคาที่ตลาดสุราษฎร์ธานี ๔๖.๕๕ บาท ซึ่งถือว่า ตกต่ำมากถ้าไปเทียบกับรัฐบาลสมัยนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๙๐ บาท ขอขึ้นราคาเป็น ๙๕ บาท มาเทียบกับวันนี้ก็น่าใจหายกับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพารา ส่วนราคาอ้อยเราก็อยากได้ตันละ ๒,๐๐๐ บาท แต่ไม่รู้ว่าเราจะได้อย่างไร มันสำปะหลัง ตอนนี้ก็ ๓ บาทกว่า ก็อยากได้ราคาสัก ๕ บาท พี่น้องเกษตรกรเราพอจะลืมตาอ้าปากได้ ส่วนปาล์มน้ำมันก็น่าจะราคาเพิ่มขึ้น ราคาพืชผัก ผลไม้ ข้าวโพดอย่างนี้ก็ต้องเพิ่มราคาขึ้น จะเป็นไปได้อย่างไร ตอนนี้เราก็ฝากความหวังไว้กับรัฐบาลใหม่ นำโดยท่านนายกเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งจะเข้ามาแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำให้กับพี่น้องเกษตรกร ซึ่งประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ถือว่ามีเกษตรกรเกือบ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ทำอาชีพ เกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นเลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นปศุสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นนาข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา เหล่านี้ ทุกท่านอย่างท่านประธานก็ผ่านมาหลายฝนพ้นมาหลายหนาวแล้ว ก็ทราบดีว่าฤดูกาลของเรามันก็มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ฉะนั้นบางครั้ง บางปีมันก็อยู่กับผลผลิตว่าจะได้ผลหรือไม่ก็อยู่กับสภาพภูมิอากาศ อย่างเช่นช่วงนี้ที่จะมาถึง เราจะเจอภัยพิบัติ El Nino ซึ่งเราจะต้องเตรียมการว่าแหล่งน้ำของเราตรงไหนบ้างที่จะมาใช้ ในการเพาะปลูกเรื่องเกษตรกร ก็ฝากไปถึงรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาแก้ไขให้พี่น้อง ซึ่งเราะต้องอาศัยการบริหารจัดการน้ำทั้งบนดิน ไม่ว่าจะเป็นเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือแม้แต่การบริหารจัดการน้ำใต้ดิน อย่างเช่นน้ำบาดาล อย่างเช่นที่เราชอบ ใช้กันอยู่ตอนนี้ก็คือน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งก็มีมาก น้ำบาดาลมีมาก เราสามารถ ที่จะเอามาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของพี่น้องเกษตรกรได้ แล้วสิ่งที่อยากฝากไว้ ก็คือท่านประธานครับ ที่ผมเรียนท่านไว้ว่าข้าวนี่เป็นอาหารหลักของคนไทย แต่ก็มีข้าว ที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ กข ๖ ข้าวปทุมธานี แม้แต่ทางภาคใต้ก็มีข้าวสังข์หยดที่พัทลุง ล้วนแต่เราต้องใช้บริโภคแล้วก็ต้อง ส่งออก ฉะนั้นการส่งออก การตลาดของเราก็ต้องมี Salesman ที่ดี เก่ง เพื่อที่จะส่งสินค้า ทางการเกษตรของเรา นำเงินตราเข้าประเทศ ท่านประธานครับ ตอนนี้ประเทศไทยของเรา ก็ฝากความหวังไว้กับสินค้าทางการเกษตรว่าจะได้มีราคาสูงขึ้น เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรของเรา ได้ลืมตาอ้าปาก แต่คนที่จะทำให้ราคาพืชผลดีขึ้นนั้นเราก็กำลังรอรัฐบาลใหม่ ซึ่งนำโดย ท่านเศรษฐา ทวีสิน และคณะรัฐมนตรีที่จะมาร่วมกันแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน และประเทศชาติของเราได้มีอยู่มีกิน และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจขึ้น ขอกราบ ขอบพระคุณครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ขอบคุณครับ ท่านสมาชิกวันนี้เราก็ประชุมมาทั้งวันแล้วนะครับ เป็นไปตามที่เรากำหนดนัดหมายว่า วันนี้เราขอหยุดพักแค่ ๑๙.๐๐ นาฬิกา พรุ่งนี้เรามาประชุมใหม่ เริ่ม ๐๙.๐๐ นาฬิกา เป็นการปรึกษาหารือ วันนี้ก็ขออนุญาตปิดประชุมครับ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ
ท่านประธานนิดเดียวครับ เรื่องว่าเราจะอภิปรายต่อได้เลยไหมครับ หรือว่าจะต้องขอเลื่อนวาระอีกครับท่านประธาน เรื่องนี้ครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
ใช่ครับ พรุ่งนี้ผมลืมไปนะครับ พรุ่งนี้ก็ต่อด้วยวาระนี้ครับ หรือเราจะมีการหารือ เพราะว่าหารือ ก็ลงบัญชีแล้ว หรือเราจะมีการหารือ เพราะว่าหารือก็ลง ๆ มติแล้ว หลังจากหารือแล้ว ก็เป็นวาระนี้เลยคุณณัฐวุฒิครับ ขอให้ทราบโดยทั่วกันครับ ๙ โมงเป็นการหารือนะครับ
นายศรัณย์ ทิมสุวรรณ เลย ต้นฉบับ
ท่านประธานครับ ขออนุญาตนิดหนึ่ง เพื่อ Clear ประเด็น ก็คือตอนนี้ Whip ทั้ง ๒ ฝ่ายคุยกันเรื่องนี้แล้วว่าเราจะมาต่อญัตติ เกษตรกันพรุ่งนี้ แล้วหลังจากนั้นก็จะเป็นรายงานครับ แต่เดี๋ยวหารือก่อน แล้วพรุ่งนี้ ถ้าท่านประธานไม่สบายใจเดี๋ยวผมมาขอเปลี่ยนระเบียบวาระในที่ประชุมอีกครั้งหนึ่งครับ
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้นฉบับ
พรุ่งนี้ ๐๙.๐๐ นาฬิกา ผู้ที่ต้องการจะหารือก็มาลงชื่อให้ครบถ้วน แล้วก็จะเริ่มตั้งแต่ ๙ โมงเลย หลังจากนั้น แล้วก็จะต่อด้วยญัตติความเดือดร้อนของเกษตรกรที่เราพูดกันวันนี้ รายชื่อก็ต่อจากที่ได้คุยไว้ แต่ว่าเราไม่มีการเพิ่มรายชื่อแล้วสำหรับญัตตินี้นะครับ แล้วก็มีเรื่องที่จะแจ้งให้ทราบ เรื่องเพื่อทราบน่าจะอีกสัก ๒-๓ เรื่อง ขอบคุณครับ ขออนุญาตปิดประชุมครับ