ข้อมูลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ชุดที่ 26

ปีที่ 1

สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง

ครั้งที่ 14 วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 11.05 - 16.46 นาฬิกา

เอกสารต้นฉบับ: บันทึกการประชุมบันทึกการออกเสียงและลงคะแนนรายงานการประชุมสรุปการประชุม

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านประเสริฐพงษ์มีอะไรหรือครับ เชิญครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ก่อนเข้าเรื่องหารือ ผม สส. ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล ภูมิลำเนากระบี่ สัดส่วนภาคใต้ครับ ผมมีเรื่องอยากจะให้ท่านประธาน ได้พิจารณา แล้วก็ช่วยกันแก้ไขปรับปรุงพฤติกรรมของเพื่อนสมาชิกที่นำรถเข้ามาจอด ในบริเวณรัฐสภาของเรา ซึ่งหลายท่านไม่ได้เอารถเข้าไปจอดในช่องจอดรถ ปรากฏว่า ไปจอดตรงช่องทางเข้าออก ทำให้รถมาทีหลังเข้าออกลำบากมาก ซึ่งในสมัยที่แล้ว ผมก็ได้พูดคุยกับท่านประธานมาครั้งหนึ่งแล้วนะครับ เป็นอดีตประธาน แล้วมาสมัยนี้ ก็ปรากฏว่ายังมีพฤติกรรมของเพื่อนสมาชิก หรือว่าแม้กระทั่งคนที่ขับรถยังไปจอดรถขวาง ทางเข้าออก ซึ่งไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยเลยครับ ฝากท่านประธานจัดการเรื่องนี้ เรื่องที่ ๑ ด้วยครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ส่วนเรื่องที่ ๒ เนื่องจากว่าในข้อเท็จจริงของการประชุมสภาของเราทุกวันพุธ วันพฤหัสบดีในช่วงเย็นปรากฏว่าในบริเวณห้องอาหารของเรา เมื่อเพื่อนสมาชิกกลับกันหมด หรือว่าบางคนไม่เข้าไปใช้บริการในช่วงอาหารตอนเย็น เจ้าหน้าที่ที่ห้องอาหารก็จะจัดอาหาร ใส่ถุงแล้วก็บริการให้เพื่อนสมาชิกได้นำกลับบ้าน หรือให้แม่บ้าน หรือแม้กระทั่งให้ เพื่อนข้าราชการในสภาได้นำกลับบ้าน ซึ่งเป็นของที่ไม่มีสมาชิกท่านใดเข้าไปบริโภคแล้ว ก็เป็นเรื่องปกติครับ แต่ปรากฏว่าเมื่อวานนี้มีเพื่อนสมาชิกบางท่านไปแอบถ่ายรูป เพื่อนสมาชิกจากพรรคก้าวไกล แล้วเอาไป Post ใน Social ว่า ลักลอบนำอาหารกลับบ้าน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมรับไม่ได้ครับว่าพฤติกรรมของ สส. บางพรรค บางคนที่แอบถ่ายรูป แล้วก็เอาไป Post ใน Social ซึ่งผมถือว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่เรื่องนี้ผมต้องนำเข้าหารือ ท่านประธาน เพราะผมคิดว่าเป็นเรื่องที่โดยปกติเราสามารถนำอาหารกลับได้เพราะมันเหลือครับ ท่านประธาน แต่พฤติกรรมของ สส. ท่านนี้ซึ่งเป็นสุภาพบุรุษและถ่ายภาพ สส. สุภาพสตรี ของพรรคก้าวไกลไปลงสื่อ Social ผมรับไม่ได้ครับ ผมคิดว่าท่านประธานจะต้องกำชับเรื่องนี้ โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการในห้องอาหาร เพราะว่าที่ผ่านมามื้อเที่ยงบางมื้อด้วยซ้ำนะครับ ปรากฏว่ากติกาก็คือสมาชิกเท่านั้นเข้าไปใช้บริการ แต่ว่าเพื่อนสมาชิกบางพรรค บางท่าน ก็เอาผู้ช่วยเข้าไปนั่งทาน บางคนยิ่งกว่านั้นกำชับให้แม่บ้านขนอาหารเข้าไปทานในห้อง ส่วนตัวของท่านด้วย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผิดกติกา ผมอยากให้ท่านประธานกำชับเรื่องนี้ แล้วก็ขอประณามเพื่อน สส. บางคนที่มีพฤติกรรมกล่าวหา สส. สุภาพสตรี พรรคก้าวไกล ของผมครับ ขอบคุณครับ

นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ ดิฉัน สิริลภัส กองตระการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร ยังมี ๑ ข้อใน Slide อภิปรายอันท้ายของดิฉันที่ได้ถามไปเรื่องของตัวเลขการรายงาน ในหน้า ๒๙๑ ข้อ ๓ เรื่องของการประเมินผลการดำเนินงานด้านการเงิน จากรายงานตัวเลข ของปี ๒๕๖๕ รายงานตัวเลขอยู่ที่ ๔,๒๙๘.๓๒ ล้านบาท แต่ว่าในรายงานของสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน ในหน้า ๓๐๕ ระบุไว้ว่ามีรายได้รวม ๔,๓๐๑.๔๒ ล้านบาท ซึ่งตัวเลข ตรงนี้มันค่อนข้างแตกต่างกันอยู่ที่ ๓.๑ ล้านบาท อยากทราบว่ามีเหตุผลทางบัญชีอะไรที่ ตัวเลขมันแตกต่างกันหรือไม่ ขอบคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญครับ

นายประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุน สสส. ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ ต้องขอเรียนว่าเนื่องจากที่เรียนเมื่อสักครู่ว่าเรามี ๒ บอร์ด คือบอร์ดกรรมการประเมินผล กับบอร์ดบริหาร ทีนี้ตัวเลขที่อยู่ใน Part ของกรรมการประเมินผล เนื่องจากว่าเราต้อง ประเมินผลการทำงานก่อนสิ้นปีงบประมาณ เพราะฉะนั้นเราจะมีการทำรายงานส่งให้ กรรมการประเมินผลก่อน เพราะฉะนั้นตัวเลขที่ท่านสมาชิกเห็นคือตัวเลขที่เราส่งให้ ท่านกรรมการประเมินผลก่อนการปิดงบ แล้วก็ก่อนการตรวจสอบของผู้ตรวจบัญชี แต่ต้อง ขออภัยครับว่าจริง ๆ แล้วตัวเลขตัวนั้นไม่ได้ใส่ คือตอนที่เราเสนอกรรมการประเมินผลเราใส่ หมายเหตุเอาไว้ว่าเป็นตัวเลขก่อนการปิดงบ แต่ว่าในรายงานอาจจะตกส่วนนั้นไป ต้องขอรับผิดตรงนี้ไว้ครับ ขอบคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ถือว่าที่ประชุมรับทราบรายงาน ตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ประจำปี ๒๕๖๕ แล้วนะครับ ขอบคุณท่านผู้ชี้แจงครับ ท่านสมาชิกครับ วันนี้เราพิจารณามาพอสมควรแล้ว ผมขอปิดการประชุมครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

อย่างนี้นะครับท่านประเสริฐพงษ์ เรื่องจอดรถนี่วันศุกร์นี้ทางเจ้าหน้าที่สภาเราจะเอา Sticker มาติด ๕๓๕ ช่อง ตั้งแต่ ๐๐๑ ไปจนถึง ๕๐๐ นะครับ ทุกท่านมีที่จอดรถ ของตนเองและเป็นกรรมสิทธิ์ของท่านเลยนะครับ ในวันประชุม วันพุธกับวันพฤหัสบดี และวันประชุมร่วม ถ้า ๓ วันนี้ใครมาจอดในที่ของท่านจะถูกล็อกล้อ เพราะฉะนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่านจะมีที่จอดรถของตัวเอง ๕๓๕ ช่อง อันนี้วันจันทร์ใช้ได้เลย วันจันทร์วันที่แถลงนโยบายท่านสมาชิกจะมีที่จอดรถของตัวเองก็วนดูนะครับ ตั้งแต่เลข ๐๐๑ ไปถึง ๕๐๐ เพื่อพวกเราจะได้มีที่จอดรถ มาแล้วก็วนรถไม่มีที่จอด ปัญหาการจอดรถ ก็เรียบร้อยนะครับ วันจันทร์นี้ใช้ได้เลย

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เรื่องอาหาร ไม่ผิดนะครับที่สมาชิกจะเอาอาหารกลับบ้านหลังจาก เลิกประชุมแล้ว แล้วก็วันนี้เรามีห้องส่วนตัวของสมาชิกอาจจะมีผู้ติดตาม อาจจะมีผู้ช่วย สส. มาช่วยทำงาน ถ้าจะเอาอาหารไปที่ห้องให้ท่าน สส. ได้นำไปให้ทีมงานรับประทานได้ เพราะว่าอย่างไรก็กินกันอยู่แล้วนะครับ เสร็จแล้วถ้าปิดประชุมก่อน สมมุติว่าตอนเย็น กะทันหันอาจจะมีการเลิกเร็ว แล้วก็อาหารยังเหลือเยอะปกติจะเอาไปบริจาคตามหน่วยงาน ต่าง ๆ บริจาคเท่าไรก็เหลือเน่า แล้วก็ทานไม่ทันไม่มีที่เก็บหรอกครับ ฉะนั้นผมก็คิดว่า ไม่มีกฎหมายห้ามให้รับประทานในสภาหรือเอากลับบ้าน ฉะนั้นจากนี้ไปถ้าตอนเย็นอาหารเหลือ ทางเจ้าหน้าที่ก็ใส่ถุงอย่างที่ท่านพูดแล้วก็เอากลับบ้านกัน ไม่ใช่เฉพาะท่านสมาชิก ทั้งเจ้าหน้าที่ ๓,๐๐๐ คนเอาไปทานที่บ้าน เพราะว่ามันเหลือแล้วก็เสียของ เอาไปบริจาค ผู้รับเหมาก็เหนื่อยที่จะขนเอาไป ใช้แรงงาน ใช้คน ใช้รถที่จะเอาไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ดังนั้น เรื่องอาหารถ้าเหลือก็ให้ใส่ถุงแล้วก็ให้สมาชิกหรือเจ้าหน้าที่เอากลับบ้าน OK นะครับ แล้วก็ ถ้าสมาชิกมีญาติ มีเพื่อน มีทีมงานอยู่ในห้องท่านสมาชิกก็หยิบเอาไปเพื่อดูแลกัน อันนี้ผมคิดว่าเป็นแนวทางที่ดีที่สุดแล้ว ก็ OK นะครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขอนิดเดียวท่านประธาน ผม ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ เรื่องที่ท่านบอกว่าจะล็อกล้อคนที่ไม่เข้าจอดช่องนี่ OK ครับ แต่ว่ากรณีถ้าเขาไม่เข้าช่องและจอดขวางทางท่านต้องมีมาตรการล็อกล้อด้วยนะครับเรื่องนี้

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

อันนั้นยิ่งกว่าล็อกล้อครับ เพราะว่าในส่วนของ สส. จะไม่มีการจอดซ้อนคัน ห้ามจอด ซ้อนคันเด็ดขาดใน ๕๐๐ ช่องนี้ คือเป็นช่องที่ สส. เขาจอดและไม่มีจอดขวางอะไรเลย คือเป็นของ สส. โดยเฉพาะ ไม่มีคนอื่นที่จะมาจอด จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยดูในช่วงที่เรา ประชุมนะครับ

นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับ ท่านประธาน โดยเฉพาะเรื่องอาหารก็ต้องขอบพระคุณท่านประธานที่เราเอื้อเฟื้อ กับผู้ช่วยถ้าให้ สส. เอาไปเอื้อเฟื้อผู้ช่วยได้ในห้องซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากครับ แล้วก็จะได้ Clear กันนะครับว่า สส. ท่านไหนมาเที่ยวแอบถ่ายรูป หรือว่าไปเที่ยว ลง Social ผิด ๆ แบบนี้นะครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

จะได้มีความสุขทุกคนครับ ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมอนุญาตให้ท่านสมาชิก ปรึกษาหารือตามข้อบังคับ ข้อ ๒๔ โดยใช้เวลา ๓ นาที ท่านแรก ท่านณัฐวุฒิ บัวประทุม เชิญครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ก่อนเข้าเวลานะครับ ท่านประธาน ขอตั้งหลักสักนิดหนึ่งครับ ที่เตรียมมาจากที่บ้านหายหมดเลยครับ ท่านประธานที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัดอ่างทอง ผมมีเรื่องหารือผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ๑๑ เรื่องด้วยกันดังนี้ครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ถนนหมายเลข ๓๐๙ อ่างทอง-พระนครศรีอยุธยา สายในบริเวณ หน้าวัดท้องคุ้ง และโรงเรียนวัดท้องคุ้งตั้งตรงจิตร ๓ มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ท่านประธานครับ อย่างไรเสียฝากกระทรวงคมนาคมช่วยดำเนินการแก้ไขด้วยครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เขื่อนการป้องกันน้ำท่วมบริเวณหมู่ที่ ๗ ตำบลโพสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง พังทลาย ทรุด เสียหายไปเป็นระยะทางกว่า ๒๕๐ เมตร เรื่องนี้เกินกำลัง เทศบาลจะทำได้ครับ ก็ต้องฝากกระทรวงมหาดไทย กรมโยธาธิการและผังเมืองได้พิจารณา แก้ไขด้วยครับ อย่าให้ชาวบ้านต้องเขียนยันต์ไปติดว่าป้องกันเขื่อนพังครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ถนนหมายเลข อท.๔๐๑๒ บนประตูระบายน้ำบางปลากด ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ถนนคับแคบมาก มีรถขนทรายวิ่งผ่านไปมา วันละ ๑,๐๐๐ คัน เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เส้นนี้วิ่งไปพระนครศรีอยุธยา บางบาล ต่าง ๆ ได้ ฝากกระทรวงคมนาคมช่วยแก้ไขด้วย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะว่าถนนนั้นกระทรวงคมนาคม แต่ว่าพื้นที่ประตูระบายน้ำและคลองอยู่ในความดูแล ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ ประปาชนบทบ้านดงง้าว หมู่ที่ ๕ ตำบลองครักษ์ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ปรากฏทรุดโทรมอย่างยิ่ง น้ำรั่วซึม พี่น้องประชาชน ๔๕ ครัวเรือน ไม่สามารถใช้ได้เลย แทงก์น้ำอยู่กับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล แต่พื้นที่อยู่กับกรมชลประทาน ฝากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการแก้ไขด้วยครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๕ ปัญหาไฟทางติด ๆ ดับ ๆ วิบ ๆ วับ ๆ บนถนน อท.๔๐๐๑ กิโลเมตรที่ ๐-๒ หมู่ที่ ๔ ตำบลบ่อแร่ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง พี่น้องประชาชน สัญจรไปมาได้รับความลำบากฝากกระทรวงคมนาคมและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการ แก้ไขด้วยครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๖ ปัญหาคลองชลประทานเน่าเสีย แยกจากคลองชลประทาน ผ่านคลองไส้ไก่ ลอดโรงเรียนสตรีอ่างทอง ลอดถนน ลอดอาคารพาณิชย์ เข้าทุ่งนา ตำบลศาลาแดง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง น้ำเน่าเสียกลิ่นเหม็นคลุ้ง พี่น้องประชาชน ทำเกษตรไม่ได้ ฝากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการแก้ไขด้วยครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๗ ถนน อท.๓๐๒๗ ตั้งแต่แยกอำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ไปตำบล อินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ผ่านวัดหลุมไก่ วัดไทร วัดไผ่ล้อม พี่น้องประชาชน สับสนครับ เส้นหลักกำลังทำอยู่พี่น้องมาใช้เส้นนี้ ปรากฏเส้นนี้ดันทำอีก ผมไม่รู้จะปรึกษาใคร เพราะว่าเขาขึ้นป้ายจุดสิ้นสุด จุดเริ่มต้นโครงการ แต่ไม่มีโครงการเลย ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร งบประมาณเท่าไรไม่รู้จะถามใคร ถามนายกรัฐมนตรีให้ช่วยทบทวนการก่อสร้างด้วยครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๘ เรื่องการทำร้ายนักเรียนเกิดขึ้นบ่อยครั้งในจังหวัดอ่างทองครับ ในพื้นที่อำเภอวิเศษชัยชาญ เป็นโรงเรียนมัธยมในพื้นที่อำเภอเมือง เป็นโรงเรียนประจำ จังหวัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่เป็นตำรวจ เวลาไปแจ้งความตำรวจ ไม่ดำเนินการ ถือว่าละเว้น ก็ต้องฝากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ ไปดำเนินการทางวินัยครูที่เกี่ยวข้องด้วยครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๙ ถนน อท.๔๐๑๐ บ้านหงส์-เขาแก้ว หลักกิโลเมตรที่ ๔-๕ ตำบลองครักษ์ ไม่มีไฟทางเลย ขาดแค่ ๑ กิโลเมตร เป็นป่าไม่ปลอดภัยต่อพี่น้องประชาชน เรื่องนี้ต้องฝากกระทรวงคมนาคมดำเนินการแก้ไขด้วยครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑๐ ปัญหาแหล่งโบราณคดีอายุกว่า ๓,๐๐๐ ปี พื้นที่หมู่ที่ ๕ ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ผมเคยปรึกษาหารือประธานสภาไปแล้วครับ อย่ามัวแต่เอาไปยุ่งกับปลาแนม ปลาแนมนั้นเป็นของกินว่าง แต่ว่าตรงนี้ต้องพัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็ฝากกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดำเนินการแก้ไขด้วยครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑๑ กรณีของค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่สำนักงานการศึกษาพระปริยัติธรรม จศป. จำนวน ๔,๒๘๒ รูปและคน มีทั้งพระและฆราวาส รายงานตัวตั้งแต่เดือนกันยายน ปี ๒๕๖๕ บัดนี้ผ่านมา ๑ ปีเต็มไม่มีการจ่ายค่าตอบแทน ฝากนายกรัฐมนตรีกำกับดูแล สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและกระทรวงการคลังดำเนินการแก้ไขด้วยครับ วันนี้อภิปรายให้น้องมันดู ๑๑ เรื่อง ๓ นาที ขอบคุณท่านประธานครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

รุ่นใหญ่ ๆ ต่อไปนะครับ ท่านกรวีร์ สาราคำ ครับ

นายกรวีร์ สาราคำ อุดรธานี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายกรวีร์ สาราคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี เขต ๕ พรรคเพื่อไทย วันนี้ผมมีเรื่องหารือท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้ครับ

นายกรวีร์ สาราคำ อุดรธานี ต้นฉบับ

๑. เรื่องขอให้ก่อสร้างฝายน้ำล้นห้วยดินอิฐ กระผมได้รับเรื่องร้องเรียนจาก พี่น้องประชาชนชาวตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ขอให้ก่อสร้างฝายน้ำล้น ซึ่งบริเวณนี้มีลำห้วยนาน้อยเป็นแหล่งน้ำร่องน้ำตามธรรมชาติในฤดูฝนเกิดน้ำท่วม แต่ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคและใช้ทางการเกษตรได้ทำให้เกิดปัญหา การขาดแคลนน้ำในการใช้สอยโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง

นายกรวีร์ สาราคำ อุดรธานี ต้นฉบับ

๒. กระผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากนายศิริศักดิ์ ไขแสงจันทร์ กำนัน ตำบลสร้อยพร้าว อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เรื่องขอความอนุเคราะห์ติดตั้งไฟฟ้า ส่องสว่างและซ่อมแซมถนนทางหลวงหมายเลข ๒๓๑๒ หนองหาน-สุมเส้า เนื่องจากไฟฟ้า แสงสว่างไม่เพียงพอและถนนชำรุดเป็นระยะทำให้พี่น้องประชาชนที่สัญจรไปมา ได้รับความเดือดร้อนมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ส่งผลให้พี่น้องประชาชนได้รับความเสียหาย ต่อชีวิตและทรัพย์สิน จึงขอความอนุเคราะห์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขให้ด้วยครับ

นายกรวีร์ สาราคำ อุดรธานี ต้นฉบับ

๓. กระผมได้รับเรื่องร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนตำบลบ้านยา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ถึงปัญหาน้ำท่วมในที่ทำการเกษตรบริเวณลำห้วยกลีบกลิ้ง มีพื้นที่ได้รับผลกระทบประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่ ตลอดในช่วงฤดูฝนเป็นผลเกี่ยวข้องจาก การขยาย Lane ถนนทางหลวงหมายเลข ๒๒ อุดรธานี-สกลนคร ซึ่งมีการวางท่อระบายน้ำ ที่มีขนาดเล็ก ซึ่งจุดวางท่อระบายน้ำอยู่ช่วงระหว่างกิโลเมตรที่ ๕๓ จึงทำให้มวลน้ำในช่วงฤดูฝน ไม่สามารถระบายน้ำได้ทันท่วงที ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ไขให้ด้วยครับ

นายกรวีร์ สาราคำ อุดรธานี ต้นฉบับ

๔. กระผมได้รับเรื่องร้องเรียนขอขยายถนนเส้นทางหนองหาน-กุมภวาปี ถนนทางหลวง ๒๓๕๐ ช่วงแยกบ้านไพจาน ตำบลคอนสาย อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี เนื่องจากถนนเส้นทางนี้มี ๒ เลน สลับกับ ๔ เลน เป็นบางช่วงโดยเฉพาะหน้าเทศบาล ตำบลคอนสายเป็น ๔ เลน แล้วถูกบีบลงมาเป็น ๒ เลนที่แยกบ้านไพจาน แล้วไปขยายเป็น ๔ เลนเมื่อถึงแยกบ้านพังงู ซึ่งแยกบ้านไพจานนั้นเป็นทางเชื่อมไปเข้าสู่อำเภอกู่แก้ว และอำเภอไชยวาน ทำให้รถต้องชะลอเลี้ยวขวาจึงต้องชิดอยู่กลางถนนทำให้เกิดอุบัติเหตุ บ่อยครั้ง ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยขยายเส้นทางดังกล่าวให้ด้วยครับ

นายกรวีร์ สาราคำ อุดรธานี ต้นฉบับ

สุดท้ายนี้ผมขอฝากท่านประธานไปถึงรัฐบาลด้วยความเคารพ ปัญหาใหญ่ สำหรับพี่น้องประชาชนคือเรื่องยาเสพติดในพื้นที่ของผม พ่อแม่ ปู่ย่าตายายต้องอยู่ อย่างหวาดระแวงให้เงินลูกเงินหลานออกเดินทางไปซื้อของตามร้านค้าต่าง ๆ ก่อนจะเจอ ร้านค้าเจอผู้ค้ายาเสพติดก่อนครับ จึงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ผมถึงอยากฝากให้ทางรัฐบาลช่วยเร่งแก้ไขให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ท่านสมาชิกครับ เวลาอภิปรายเยอะ ๆ นี่อย่าลืมหายใจ เดี๋ยวจะช็อกนะครับ ต่อไปท่านกัณวีร์ สืบแสง ครับ

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายกัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม วันนี้ผมขอหารือท่านประธานผ่านไปยังท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล รวมถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในฐานะประธานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ที่ถูกตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ ขออนุญาตเรียกสั้น ๆ นะครับ พ.ร.บ. อุ้มหาย ปี ๒๕๖๕ ขออนุญาต Slide ขึ้นด้วยครับ

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ที่มีสมาชิกของคณะกรรมการ เป็นข้าราชการระดับสูงอีกหลายท่านตามที่ Slide ได้โชว์ไว้นะครับ และหารือ ผ่านท่านประธานไปยังท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อเรื่องสำคัญ และจำเป็นเร่งด่วนในสถานการณ์เกี่ยวข้องกับเหยื่อของการอุ้มหาย ท่านประธานครับ ความเป็นจริงคือหลังจากการรัฐประหารโดย คสช. ได้ปรากฏว่ามีผู้สูญหายอย่างผิดปกติที่เป็น คนสัญชาติไทยที่อยู่ทั้งในและนอกประเทศอย่างน้อย ๑๑ คน และมีผู้ลี้ภัยชาวไทยอย่างน้อย ๔ คนที่เสียชีวิต และ ๒ คนมีการพบศพที่อยู่ในสภาพถูกทารุณกรรมอย่างโหดเหี้ยม ท่านประธานครับ ผมได้มีโอกาสพบกับสิตานัน สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ขอเรียกว่าพี่เจนนะครับ พี่สาวของคุณวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ หรือน้องต้าร์ ที่แจ้งว่าน้องต้าร์ได้หายสาบสูญไปใน ขณะที่ลี้ภัยอยู่ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อปี ๒๕๖๓ และวันเดียวกันผมก็ได้พบกับ คุณต่อการ บุปผาวัลย์ น้องเต๋อ ลูกชายคุณชัชชาญ บุปผาวัลย์ หรือสหายภูชนะ ที่แจ้งว่า สหายภูชนะก่อนหน้านี้ได้ลี้ภัยไปยัง สปป. ลาว และเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ ร่างไร้วิญญาณของสหายภูชนะได้ถูกพบอยู่ในกระสอบ สภาพถูกมัดคอและมัดมือ แถมมีปูน บรรจุอยู่เต็มช่องท้องลอยอยู่ในลำน้ำโขง ท่านประธานครับ ทั้ง ๒ คนได้มีสถานการณ์ คล้ายคลึงกันคือถูกเรียกรายงานตัวจาก คสช. หากแต่ทั้งสองได้ตัดสินใจลี้ภัยไปยัง ต่างประเทศเพื่อหนีการประหัตประหารชีวิตของพวกเขาทั้ง ๒ คน ทุกวันนี้ทั้ง ๒ ครอบครัว รวมถึงครอบครัวเหยื่อคนอื่น ๆ ด้วยยังไม่ได้รับความยุติธรรมใด ๆ เลย หลายกรณีครับ ท่านประธาน มีการผลักภาระในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้กับญาติต้องไปดำเนินการเอาเอง ทั้ง ๆ ที่เรามี พ.ร.บ. อุ้มหายนี้แล้วที่ให้อำนาจหน้าที่แก่คณะกรรมการของ พ.ร.บ. ตัวนี้ ในการตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอุ้มหาย ท่านประธานครับ ผมมีข้อเสนอ ๒ ข้อ

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ข้อแรก ไปยังท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ช่วยเร่งบังคับใช้ พ.ร.บ. อุ้มหายนี้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วต้องมีความโปร่งใส ในการดำเนินการ ชี้แจงกับครอบครัวของเหยื่ออย่างต่อเนื่องและชัดเจน รวมถึงเร่งเยียวยาด้วย

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ข้อ ๒ ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่า ประเทศไทยปัจจุบันนี้ ต้องเร่งพิจารณาการให้ภาคยานุวัติหรือสัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการสาบสูญ โดยการถูกบังคับหรือว่า CED ๒ อันนี้จะทำให้ การบังคับถูกอุ้มหายหายไป

นายกัณวีร์ สืบแสง แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

สุดท้ายนี้ครับท่านประธาน ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความไม่ยุติธรรม เราทุกคน คนไทยบนโลกใบนี้มีความสุ่มเสี่ยงที่ถูกกระทำไม่ต่างจาก ๒ ท่านนี้ ชีวิตของเรา ต้องปลอดภัยไม่ถูกอุ้มหายต่อไป แต่หากเกิดเหตุการณ์อุ้มหายเกิดขึ้น การดูแลและเยียวยา จากภาครัฐต้องโปร่งใสและรวดเร็วโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่าน พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่

พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ สงขลา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ กระผม พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ มีเรื่องหารือท่านประธาน ๒ เรื่อง เรื่องความเดือดร้อนของประชาชน

พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ สงขลา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ก็คือเรื่องนกกรงหัวจุก นกกรงหัวจุกเป็นนกเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับ นกเขาชวา การได้มาของนกกรงหัวจุกคือการผสมพันธุ์ และมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับนกกรงหัวจุก จำนวนเป็นพัน ๆ ครัวเรือน และมีผู้เลี้ยงก็ประมาณเป็นแสนคน นับเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ปรากฏว่าปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือปัจจุบันนกกรงหัวจุกเป็นสัตว์ที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีสัตว์ป่า คุ้มครอง ก็เลยอยากให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท่านรองนายกรัฐมนตรี ท่าน พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ช่วยมาแก้ไขด้วยตนเอง เพราะครั้งที่แล้วทาง ศอ.บต. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานได้ทำหนังสือไป ขอให้ปลดล็อกก็ไม่ได้รับความสำเร็จ ผมเองกว่าจะรอให้โปรดเกล้าฯ ก่อนถึงจะมาพูด เพราะว่าเคยพูดมาแล้วไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใดครับ

พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ สงขลา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เรื่องจุด U-turn ถนนสายจะนะ-เทพา บริเวณหมู่ที่ ๑ ตำบล สะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา มีระยะทางไกลถึง ๑๐ กิโลเมตร ทำให้ประชาชน บางส่วนขับรถย้อนศรจราจรและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบ ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ ๑ ตำบลสะกอม หมู่ที่ ๔ ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ ราวประมาณ ๓,๐๐๐ คนซึ่งใช้เส้นทางดังกล่าวเป็นประจำและไม่รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปหาด Resort ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๓-๔ แห่ง ซึ่งใช้เส้นทางดังกล่าว ดังนั้นจึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยสร้างทางกลับรถตามเส้นทางแบบลอดใต้สะพาน เพื่อลดปัญหาการย้อนศร การลดอุบัติเหตุ และทราบว่าแขวงทางหลวงนาหม่อมได้ออกแบบ ไว้เรียบร้อยแล้ว ขาดแต่งบประมาณที่จะใช้ในการดำเนินการ ตอนนี้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมคนใหม่แล้ว ผมรอถึงวันนี้ถึงจะมาหารือท่านประธาน เพราะเคยหารือ เรื่องนี้มา ๓ ครั้งแล้ว ไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด ขอขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านสุรินทร์ ปาลาเร่ เรื่องนกเดี๋ยวเจ้าหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างไรผมนัดกับท่านเรื่องนกกรงหัวจุกนะครับ เดี๋ยวมาคุยกัน

พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่ สงขลา ต้นฉบับ

ขอขอบพระคุณท่านมากเลยครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เพราะว่ามันคาราคาซังมานานแล้ว เดี๋ยวจะคุยกับเจ้าหน้าที่ก่อนค่อยคุยกับรัฐมนตรีนะครับ

พลตำรวจตรีสุรินทร์ ปาลาเร่ สงขลา ต้นฉบับ

ท่านประธานผมสุดยอดจริง ๆ ผมยก ๒ หัวแม่มือให้เลยครับท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านคริษฐ์ ปานเนียม

นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพนะครับ ผม คริษฐ์ ปานเนียม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑ จังหวัดตาก พรรคก้าวไกล ผมมีเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดตากหารือท่านประธานดังนี้ครับ

นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ หาดทรายทอง ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมือง จังหวัดตาก สร้างขึ้นในปี ๒๕๔๖ ด้วยงบประมาณจากหลายภาคส่วน เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนา การท่องเที่ยวของจังหวัดในยุคนั้น ใช้การบริหารราชการแผ่นดินด้วยระบบผู้ว่า CEO มีอำนาจเต็มจากมติคณะรัฐมนตรีจึงได้จัดสร้างขึ้น ต่อมาเปลี่ยนรัฐบาลเปลี่ยนรูปแบบ การบริหาร หาดทรายทองได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมเจ้าท่า และเมื่อไม่นานมานี้ ทางกรมเจ้าท่ามีคำสั่งให้รื้อถอนหาดทรายทองนี้ทิ้ง จึงอยากฝากท่านประธานสภาไปถึง หน่วยงานกรมเจ้าท่าขอให้ทบทวนเรื่องนี้ เพราะสร้างด้วยงบประมาณของรัฐและจะรื้อทิ้ง ก็ใช้งบประมาณของรัฐเช่นกัน ประชาชนสูญเสียแหล่งท่องเที่ยว สูญเสียสถานที่พักผ่อน หย่อนใจ แทนที่จะได้ใช้ประโยชน์ในเรื่องของสันทนาการ ในเรื่องของการสร้างรายได้ ให้กับพี่น้องประชาชน กลับจะหรือทอดทิ้งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ จึงขอให้ทบทวน แนวทางปฏิบัติครับ

นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ เรื่องการบริหารจัดการลุ่มน้ำวัง ทั้งส่วนของกรมทรัพยากรน้ำก็ดี ส่วนของสำนักงานชลประทานที่ ๒ จังหวัดลำปาง และชลประทานที่ ๔ จังหวัดตาก รวมไปถึงคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติหรือ กนช. ขอให้ช่วยกำกับดูแล โดยไม่ต้อง ให้ราษฎรในตำบลยกกระบัตร วังหมัน วังจันทร์ แม่สลิด ในอำเภอสามเงาและอำเภอบ้านตาก ต้องร้องขอทุกปีเพื่อให้ทางสำนักงานชลประทานลำปางปล่อยน้ำมาช่วยในเรื่องของภัยแล้ง และหาแนวทางระบายน้ำเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ผันไปในส่วนที่แห้งแล้งของจังหวัดตาก เนื่องจากทีนี่น้ำท่วมตลอดปี ทำให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่แห้งแล้งของเราในพื้นที่ตำบลโป่งแดง วังประจบ ใต้ตลุก กลางทุ่ง ดีกว่าทิ้งน้ำไปให้เสียเปล่าประโยชน์นะครับ

นายคริษฐ์ ปานเนียม ตาก ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ เรื่องการขออนุญาตเร่งรัดไปยังสำนักงานจัดการทรัพยากร ป่าไม้ที่ ๔ จังหวัดตาก กรณีท้องถิ่นขออนุญาตใช้พื้นที่ป่า ตั้งแต่มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๓ ปัจจุบันปี ๒๕๖๖ แล้ว เวลาผ่านมา ๓ ปี องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นหลายแห่งยังไม่ทราบเลยครับว่าท่านจะอนุมัติเมื่อไร ยังไม่ทราบข่าวคราวเลย ทั้งจังหวัดโดยรวมแล้วโครงการน่าจะประมาณ ๒,๐๐๐ กว่าโครงการที่ยังค้างอยู่นะครับ งบยุทธศาสตร์ตำบล งบพัฒนาตำบลที่กันงบประมาณไว้จะได้นำมาช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนจังหวัดตากบ้านผมครับ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านพนิดา มงคลสวัสดิ์ เชิญครับ

นางสาวพนิดา มงคลสวัสดิ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

เรียนประธาน ดิฉัน พนิดา มงคลสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ดิฉันมีปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมานำเรียนท่านประธานดังนี้

นางสาวพนิดา มงคลสวัสดิ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

๑. ปัญหาการจราจรติดขัดในซอยทรัพย์บุญชัย ท่านประธานคะ เนื่องจาก ในซอยนี้มีลักษณะเป็น Super Box มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เนื่องจาก การขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรรอย่างต่อเนื่อง หากแต่ถนนที่พี่น้องประชาชนใช้ดังใน Slide มีเพียง ๒ เลนเท่านั้น ไม่สามารถทำการขยายช่องทางได้ ดิฉันสอบถามไปยังเทศบาล ได้ข้อมูลว่าเทศบาลเคยมีโครงการจะตัดถนนเพิ่มเติมบริเวณใต้ทางด่วนกาญจนาภิเษก แต่ยังขาดทั้งงบประมาณและขาดอำนาจในการจัดการ ดิฉันจึงนำมาหารือเรื่องนี้ต่อที่ประชุม อนุกรรมการการจราจรทางบกจังหวัดสมุทรปราการ ดิฉันอยากฝากท่านประธานอีกท่านค่ะ ผ่านไปยังอนุชุดนี้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกรมทางหลวงชนบท ให้พิจารณา แก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนได้สำเร็จโดยเร็ว เพื่อให้สอดรับกับการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ของจำนวนประชากรในพื้นที่ ต่อไป Slide ถัดไปค่ะ

นางสาวพนิดา มงคลสวัสดิ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

การแก้ปัญหาน้ำประปาเข้าไม่ถึงในชุมชนสามแพรกพัฒนา หมู่ที่ ๔ ดิฉันไม่มั่นใจว่าเกิดการตกหล่นของการสำรวจหรืออย่างไร จึงทำให้พี่น้องในชุมชนนี้ ยังต้องใช้น้ำบาดาลในการอุปโภคบริโภค ดิฉันจึงอยากฝากให้ทางการประปานครหลวง ให้เขามาจัดการปัญหาให้พี่น้องประชาชนเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างเสมอภาค และเท่าเทียมกันค่ะ

นางสาวพนิดา มงคลสวัสดิ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

ต่อไปเป็นปัญหาถนนเป็นหลุมเป็นบ่อทางเข้าซอยโรงพยาบาลเปาโล ผิวถนน มีลักษณะเป็นหลุมลึกส่งผลให้พี่น้องประชาชนสัญจรได้ลำบาก อันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สินของชาวชุมชนมาก ๆ โดยเฉพาะรถเล็ก ในเวลาฝนตกมีน้ำท่วมขังมองไม่เห็น พื้นถนน อยากฝากผ่านไปยังเทศบาลตำบลบางเมืองให้เข้ามาช่วยปรับปรุงพื้นผิวถนน ให้เรียบร้อยค่ะ

นางสาวพนิดา มงคลสวัสดิ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

ปัญหาต่อไปการปล่อยของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดมลพิษ ทั้งดินเสีย น้ำเสีย อากาศเสีย หากการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศนั้นต้องแลกมาด้วย สุขภาพของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ดิฉันคิดว่า GDP กี่จุดก็ไม่คุ้มค่ะ ขอฝากท่านประธาน ผ่านไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ ให้เข้ามาตรวจสอบการดำเนินงาน ของโรงงานอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรมคนต่อไปจะเร่งทำ PRTR ตามคำสั่งของศาลปกครองโดยเร็ว กฎหมายที่จะให้ เปิดเผยรายงานการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายสารพิษให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการตรวจสอบ ลดผลกระทบต่อสุขภาพพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศค่ะ

นางสาวพนิดา มงคลสวัสดิ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

ต่อไปปัญหาคลองตื้นเขินเรือประมงออกไม่ได้ พี่น้องชุมชนบอกดิฉันว่า ชื่อคลองนี่ชื่อคลองแสนสุข แต่คุณภาพชีวิตประชาชนแสนสาหัสค่ะ จะออกเรือแต่ละครั้ง แสนยากเย็น จะออกไปหาปลาตอนตีสาม ๔ ทุ่มต้องออกไปจอดนอนรออยู่ที่ปากคลองแล้ว เพราะว่าเรือออกไม่ได้ คลองตื้นมีตะกอนสะสม ดิฉันอยากฝากท่านประธานผ่านไปยัง หน่วยงานท้องถิ่นให้เข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่ขุดแค่คลองตรงกลางแล้วเอาไป แปะไว้ซ้ายขวา น้ำขึ้นมาดินก็ Slide กลับลงมาที่เดิม ปัญหาก็วน Loop

นางสาวพนิดา มงคลสวัสดิ์ สมุทรปราการ ต้นฉบับ

ปัญหาสุดท้าย ปัญหาบ่อขยะปริศนาซอยหลังโรงเรียนหาดอัมรา จากการเดิน สำรวจพื้นที่ของดิฉันไปพบกับลานกว้างตรงนี้ค่ะ ตรงข้ามกับโรงกำจัดขยะมูลฝอยของ อบจ. สมุทรปราการเต็มไปด้วยขยะมูลฝอย มีลักษณะเปิดโล่งใกล้ชุมชน พี่น้องประชาชน ในพื้นที่ไม่ทราบที่ไปที่มานะคะ ดิฉันสืบค้นข้อมูลก็ไม่เจอ อยากฝากท่านประธานผ่านไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบตรงนี้ว่าขยะพวกนี้มาจากไหน ใครเป็นผู้รับผิดชอบ แล้วมีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ถูกต้องตามกระบวนการหรือเปล่า ขอบพระคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ เชิญครับ

นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ผม วรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล พรรคภูมิใจไทย ในช่วงวันเสาร์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้หารือร่วมกับพี่น้องตำบลขอนคลาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยสมาชิก อบต. รวมไปถึงอิหม่ามผู้นำศาสนาได้มีการฝากมา ๒-๓ เรื่องด้วยกันนะครับ

นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ พี่น้องในพื้นที่บอกว่าอยากให้ภาครัฐเข้ามากวดขันในเรื่องของ ยาเสพติด อย่างที่ทุกท่านทราบครับว่าตอนนี้ยาบ้าได้ระบาดเป็นอย่างมาก ราคาถูก หาซื้อง่าย เม็ดหนึ่งจากเมื่อก่อน ๒๐๐-๓๐๐ บาท ตอนนี้เหลือ ๒๐-๓๐ บาท ของที่อยากจะให้ถูกก็ไม่ถูก ของที่ไม่อยากให้ถูกก็ดันถูกเอา ๆ แล้วหาง่าย ซื้อง่ายเหมือนขนมเลยครับ บางคนเสพจนเสียสติ เดือดร้อนคนอื่น ไปขโมยของ ไปทำร้ายร่างกาย ไปสร้างความรำคาญให้กับคนในชุมชน ทีนี้ท่านอิหม่ามยังบอกเลย ยังเล่าติดตลกว่าเวลาท่านนำละหมาดยังต้องเสียวหลังนะครับ เพราะว่าไม่รู้จะมีใครเข้ามาก่อกวนเมื่อไร อย่างไร ตำรวจก็ช่วยจัดการไม่ได้ จะจับส่งไป สถานบำบัด จังหวัดสตูลเองก็ไม่มีสถานบำบัดที่ได้รับมาตรฐาน ก็ต้องส่งไปต่างจังหวัด ซึ่งในการส่งไปต่างจังหวัดนี่ต้องใช้งบประมาณสูงมากครับ เพราะฉะนั้นอยากจะฝาก ท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยากจะให้มีการจัดตั้งศูนย์บำบัดยาเสพติด ที่มีมาตรฐานในจังหวัดสตูลด้วยนะครับ

นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ท่าเทียบเรือในพื้นที่ตำบลขอนคลาน ซึ่งมีท่าเทียบเรือที่ชำรุด จนไม่อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อยู่ ๓ ท่าด้วยกัน ซึ่งเป็นของกรมประมง กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ร้องเรียนไปหลายครั้งมากแล้วครับ แต่ก็ยังไม่เห็นมีการเข้ามาแก้ไข ผมเองไปเห็นสภาพท่าเรือก็แอบกลัว ไม่รู้ว่าวันไหนท่าเรือมันจะพังลงมาทับชาวบ้านตาย เสาบางต้นจาก ๑๒ นิ้วเหลือแต่เหล็ก บางต้นแม้แต่เหล็กก็ไม่เหลือ ขาดหมดแล้วนะครับ กลัวท่าเรือมันจะพังลงมา ในเรื่องนี้ท่านสมาชิกรวมไปถึงท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ขอนคลาน ท่านนายกโชติ ดำอ่อน ก็ได้แจ้งเรื่องไปทางต้นสังกัดที่รับผิดชอบหลายครั้ง ผมจึงอยากจะวิงวอนผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยากจะให้เร่งซ่อม หรือว่าสร้างท่าเทียบ เรือใหม่ให้กับพี่น้องตำบลขอนคลานด้วยเพื่อความสะดวกและความปลอดภัยก่อนที่มันจะ เกิดเหตุอันตราย

นายวรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์ สตูล ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องของพี่น้อง ชรบ. หรือว่าชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ซึ่งจริง ๆ แล้วมีความสำคัญไม่แพ้กับพี่น้อง อสม. เพียงแต่ทำงานคนละบทบาท คนละหน้าที่กัน เวลาจะขอกำลังมาดูแล มาทำกันสักทีน่าสงสารมาก นอกจากไม่มีค่าตอบแทน ข้าวก็ไม่มีให้กิน ชุดปฏิบัติงานก็ไม่มีให้ใส่ ทุกอย่างต้องลงทุนเอง ทั้งใจ ทั้งกาย ทั้งทรัพย์ เข้าคำพูดที่บอกว่า ทำเอง เหนื่อยเอง เจ็บเอง จึงอยากจะเสนอให้กระทรวงมหาดไทยได้มีการพิจารณา ในเรื่องของค่าตอบแทนให้กับพี่น้อง ชรบ. ซึ่งจะเป็นขวัญและกำลังใจให้กับพี่น้อง ชรบ. ในการทำงานเป็นอย่างสูงครับ ขอบพระคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านคำพอง เทพาคำ

นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม คำพอง เทพาคำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วนภาคอีสาน ท่านประธานครับ เป็นความเดือดร้อนของพี่น้องที่มีชุมชนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขนาดใหญ่ของกรมโยธาธิการและผังเมืองของกระทรวงมหาดไทย ที่สร้างเขื่อนกันตลิ่ง แต่ว่าไปกระทบกับชุมชนซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่ท้าวคำผง โน่นครับ ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง ก็มีการกดดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นตัดน้ำ ตัดไฟ ขนดินมาจากห้วยวังนองถมที่เอกชนล้นไปทับที่ชาวบ้าน ตอนนี้ อาการหนักแล้วนะครับ คิดว่ามันเป็นเรื่องที่ชาวบ้านเขาบอกว่าโครงการที่มันเป็นประโยชน์ มันก็ต้องเป็นประโยชน์กับทุกคน ไม่ใช่ว่าเป็นประโยชน์กับนักการเมือง เป็นผลประโยชน์ กับหน่วยงานราชการ เป็นผลประโยชน์กับเอกชน ถ้าเป็นไปได้เขาบอกอยากจะให้ยกเลิกนะครับ

นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ขับไล่ที่เหมือนกันครับที่อำนาจเจริญ ที่นิคมโรคเรื้อน ตอนนี้ชุมชน โรคเรื้อน โรคเรื้อนมันก็ปลาสนาการไปจากประเทศไทยนานแล้วนะครับ แต่ว่ากรมควบคุม โรคก็ไม่ยอม กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ยอมส่งให้ท้องที่เขาดูแลสักที ตอนนี้ก็เอาชาวบ้าน ขึ้นศาลแล้วครับ ขับไล่ออกจากที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย สร้างความเดือดร้อน ก็ฝาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขช่วยไปแก้ไขให้สักที ใช้ความเมตตา ให้โอกาสชาวบ้าน มีที่ยืนบ้างนะครับ

นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ น้ำประปาที่สระแก้ว ที่บ้านมะกอก น้ำประปาหมู่บ้าน ตำบลทัพเสด็จ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว อันนี้ก็ช่วยทำให้เป็นน้ำประปาดื่มได้ด้วยนะครับ ดูที่อาจสามารถ ร้อยเอ็ดเขาเป็นตัวอย่างก็ได้นะครับ

นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ การขยายไฟฟ้าเข้าชุมชนระหว่างเส้นทางบ้านแดงกับบ้านสร้างแต้ บ้านบะคอม บ้านหนองงูเหลือม ที่ผมหารือไปตอนนี้ไฟฟ้าเข้าไปแล้ว แต่ว่าการใช้เงื่อนไข ก็แตกต่างกัน บอกว่าบางหลังก็ให้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย บางหลังก็บอกว่าให้เป็นไฟฟ้าการเกษตร ซึ่งราคาค่าไฟมันก็แตกต่างกัน ก็ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันคือเป็นที่อยู่อาศัยครับ

นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๕ การออกโฉนดที่ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ตอนนี้ติดอยู่ที่ป่าไม้ ถ้าติดที่กฎหมายแก้กฎหมาย ถ้าติดที่คนเปลี่ยนคนครับ ท่านนายกรัฐมนตรี

นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๖ แก้ไขทางกลับรถ เส้นทาง ๒๐๕๐ ระหว่างตระการพืชผล-เขมราฐ ก็ทำเป็นแยกแล้วก็ติดสัญญาณไฟให้เรียบร้อยชาวบ้านจะได้ไม่ไปกลับรถไกลมากนะครับ

นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๗ การแก้ไขปัญหาสมาคมฌาปนกิจศพของอำเภอไชยวาน ของ อสม. กระทรวงสาธารณสุขช่วยเข้าไปดูแลหน่อยครับว่ามันมีปัญหาอย่างไร ตอนนี้ อสม. เขาเดือดร้อนไม่ได้รับเงินค่าฌาปนกิจ

นายคำพอง เทพาคำ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

สุดท้าย ขอขอบคุณการไฟฟ้าเขต ๘ ชลบุรี ที่ขยายไฟฟ้าเข้าไปในซอย อาจารย์ผิน ชาวบ้านเขาตอบขอบคุณมาที่ตำบลบางน้ำรัก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา ชาวบ้านเขาขอบคุณการไฟฟ้าเขต ๘ มาตามที่ผมได้หารือไว้เมื่อหลายปีก่อน ขอบคุณครับ ท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ต่อไปท่านศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ เชิญครับ

นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ นครราชสีมา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขตอำเภอ ปากช่อง พรรคเพื่อไทย ขอหารือปัญหาคนปากช่อง โคราช

นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ นครราชสีมา ต้นฉบับ

เรื่องแรก ด้วยบ้านท่างอย ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง โคราช มีอ่างเก็บน้ำคลองไผ่ ชาวบ้านเขาต้องการที่จะให้มีการพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวอย่างจริงจัง ปรับปรุงถนนและไฟส่องสว่าง อีกทั้งอยากจะให้มีการก่อสร้าง ลู่วิ่ง ลู่เดิน ลู่จักรยานบริเวณอ่างเก็บน้ำคลองไผ่ อยากให้สร้าง Sky Walk เดินชมวิว View ทิวทัศน์สวยงามของคลองไผ่และสร้างกระเช้าลอยฟ้าจากเขายายเที่ยงเชื่อมต่อมายัง สถานีรถไฟคลองขนานจิตร ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง โคราช จึงเรียนท่านประธาน ผ่านไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และท่านธรรมนัส พรหมเผ่า ตลอดทั้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ท่านสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล ให้จัดสรรงบประมาณลงมาช่วยพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของคนปากช่อง โคราช

นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ นครราชสีมา ต้นฉบับ

เรื่องต่อมา ปลัดอาวุโสพรสรร อุ่นบันเทิง ท่านกำนันพรประดิษฐ์ นันขุนทด กำนันสมศักดิ์ โสมา นายกประกองแก้ว ประทุมทิพย์ ท่าน สจ. สมพงษ์ เลิศด้วยลาภ ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่ อบต. หลายท่านได้รับเรื่องร้องเรียน ๒ ตำบล คือตำบลขนงพระ และตำบลหนองน้ำแดง ปัญหาก็คือว่าสะพานเชื่อม ๒ ตำบล รถวิ่งสวนกันไม่ได้ มันแคบ สะพานเก่า ชำรุด สร้างมานาน ท่านประธานครับ ผมผ่านท่านประธานไปยังกระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวงชนบทซึ่งมีขีดความสามารถในการบริหารจัดการโครงการสะพานต่าง ๆ ทั่วประเทศได้อย่างเหมาะสม ขอให้สร้างสะพานใหม่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน

นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ นครราชสีมา ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้ายครับ ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ บริเวณจุดตัดกลับรถ โรงโม่ศิลาสากลเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง อยากจะให้สร้างสะพานแบบ Overpass เพื่อลดอุบัติเหตุให้กับพี่น้องประชาชนครับ จากนั้นยังมีจุดอันตรายของทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒ ที่เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง หลายจุดด้วยกัน เช่น สี่แยกบ้านตะเคียนทอง ตำบลขนงพระ สี่แยกหน้าสถานีตำรวจโรงพักหนองสาหร่าย ต้องการให้มีการสร้างสะพาน เกือกม้าให้เกิดความปลอดภัย จากนั้นอยากให้เพิ่มสะพานกลับรถแบบเกือกม้า บริเวณเทศบาลกลางดงแถวหน้าวัดมิตรภาพกลางดงตลอดทั้งเวลาเดินทางกลับ จากกรุงเทพฯ เข้าช่องกลับรถเพื่อเข้าสู่ถนนสายทางหลวงชนบทเส้นผ่านศึก-กุดคล้านั้น ออกไปสู่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ต้องการให้มีสะพานกลับรถเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน ฝากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ให้จัดสรรงบประมาณลงไปแก้ไขความเดือดร้อนให้กับพี่น้อง ประชาชนคนปากช่อง โคราช ด้วยขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านวรายุทธ ทองสุข

นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ

เรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม นายวรายุทธ ทองสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี เขต ๑ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมีเรื่องเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่มาปรึกษาหารือผ่านท่านประธาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๒ ประเด็นด้วยกันครับ

นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ

ประเด็นแรก วันที่ ๒ กันยายนที่ผ่านมา เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอมะขามจนทำให้บ้านเรือนพื้นที่ทางการเกษตร และเครื่องมือทำการเกษตรได้รับความเสียหาย น่าเศร้าใจไปกว่านั้นครับ มีประชาชน ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ๒ รายด้วยกัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกลายเป็นเรื่องปกติซ้ำซาก ที่ประชาชนในพื้นที่ต้องเผชิญในช่วงนี้ของทุกปี ผมจึงขอนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้

นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ

ระยะสั้น เรื่องเยียวยาพี่น้องประชาชนซึ่งตอนนี้ อปท. ในพื้นที่กำลัง เร่งสำรวจความเสียหายกันอยู่ เมื่อสำรวจเสร็จแล้วอยากขอให้ ปภ. เขต ๑๗ จันทบุรี เร่งตรวจสอบความถูกต้อง และให้คณะกรรมการให้ความช่วยผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ระดับอำเภอ และระดับจังหวัดเร่งอนุมัติโดยเร็ว

นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ

ระยะกลาง สร้างระบบสื่อสารเตือนภัยที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ผมเข้าใจว่า ในพื้นที่อำเภอมะขามมีระบบเตือนภัยล่วงหน้าเกี่ยวกับน้ำหลาก ดินถล่ม อยู่ที่บ้านตะบกเตี้ย ตำบลฉมัน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของอำเภอมะขาม ผมอยากให้เราใช้อุปกรณ์เตือนภัย ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อพี่น้องประชาชน จึงขอฝากไปยังสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค ๖ ซึ่งเป็นเจ้าของระบบนี้ร่วมกับ ปภ. จันทบุรี และ อปท. ในพื้นที่ ร่วมกันใช้ข้อมูล จากระบบเตือนภัยนี้ในการสื่อสาร เตือนภัยกับพี่น้องประชาชนเป็นการเฉพาะเจาะจงพื้นที่ ร่วมกับการเตือนภัยในภาพใหญ่ ภายใน ๑ ปีถ้าเราร่วมมือกันสำเร็จ ถึงหน้าฝนปีหน้า จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนได้อย่างแน่นอนครับท่านประธาน

นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ

ระยะยาว เรื่องสำรวจการติดตั้งระบบเตือนภัยน้ำหลากเพิ่มเติม อยากฝาก ไปยังกรมทรัพยากรร่วมมือกับ อปท. ในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ศึกษา และสำรวจความเป็นไปได้ในการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าเพิ่มเติม เพื่อให้เกิด ความแม่นยำในการเตือนภัยมากขึ้น

นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ครับท่านประธาน การจัดงานขายสินค้าบริเวณทุ่งนาเชย อำเภอเมืองจันทบุรี ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนใช้ออกกำลังกาย ครอบคลุมหลายชนิดกีฬา ตั้งแต่วิ่ง บาสเกตบอล ฟุตบอล แบดมินตัน เทนนิส รวมทั้งมีโรงเรียน หอสมุดแห่งชาติ สนามเด็กเล่น พี่น้องประชาชนร้องเรียนมาว่า ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากการจัดงานขายสินค้ากระทบ ต่อการใช้ชีวิตประจำวันตั้งแต่ปัญหารถติด ออกกำลังกายไม่สะดวก รวมทั้งส่งผลกระทบ รายได้ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ จึงอยากเสนอให้เป็นทางออกไปยังจังหวัดจันทบุรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัด เทศบาลเมืองจันทบุรี และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ

๑. ลดความถี่ในการจัดงานโดย ๑ ปี ไม่ควรเกิน ๒-๓ ครั้ง

นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ

๒. ถ้าเป็นไปได้ขอให้ย้ายสถานที่จัดงานไปยังพื้นที่ที่มีความพร้อม

นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ

๓. ถ้าจะนำสินค้าจากข้างนอกเข้ามาเพื่อดึงดูดการจับจ่ายควรตั้งอยู่ในพื้นที่ ของพ่อค้าแม่ค้าในท้องถิ่นได้รับประโยชน์ และไม่รบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ

๔. อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพูดคุย ชี้แจง และสื่อสารกับประชาชน ถึงเหตุผลความจำเป็นในการจัดงานแต่ละครั้ง

นายวรายุทธ ทองสุข จันทบุรี ต้นฉบับ

๕. ในอนาคตขอให้พ่อค้าแม่ค้า และประชาชนที่ได้รับผลกระทบมีส่วนร่วม ในการตัดสินใจในการจัดงานแต่ละครั้งด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านศาสตรา ศรีปาน เชิญครับ

นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพครับ ผม ศาสตรา ศรีปาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๒ จังหวัดสงขลา เด็กหาดใหญ่ พรรครวมไทยสร้างชาติ วันนี้มีเรื่องปัญหาของพี่น้องประชาชนมาหารือด้วยกันครับ

นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ พี่น้องประชาชนคนใต้อยากให้วันสารทเดือนสิบเป็นวันหยุด เพราะว่าต้องลางาน เสียงาน เพราะฉะนั้นขอให้ทุกปียังกระตุ้นการท่องเที่ยวด้วยครับ

นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ถนนพังหลังวัดเกาะเสือที่เทศบาลนครหาดใหญ่ ซึ่งผมได้พูดไป เมื่อสมัยที่แล้ว วันนี้ได้เริ่มสร้างแล้วพี่น้องประชาชนฝากขอบคุณสภาแห่งนี้มาด้วยครับ

นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ด่านสะเดา วันนี้นักท่องเที่ยวมาในจังหวัดสงขลาเป็นจำนวนมาก แล้วก็ต้องรอ ๓-๔ ชั่วโมง แล้วก็ขากลับก็ต้องรอ ๓-๔ ชั่วโมง ผมเกรงว่าวันนี้จะกระทบ การท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูในเรื่องของนวัตกรรม เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว และพี่น้องประชาชนด้วยครับ

นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นโรงพยาบาล ที่ไม่ได้รักษาเฉพาะแค่คนหาดใหญ่อย่างเดียว วันนี้เป็นโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาล ที่รับผู้ป่วยจากภาคใต้ทั้งหมดแล้วก็พี่น้องประชาชน แต่วันนี้เต็ม ยาวไปถึงลิฟต์เลยครับ เตียงผู้ป่วย เพราะฉะนั้นฝากพัฒนาให้เพียงพอต่อพี่น้องประชาชนด้วยครับ

นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๕ ถนนเพชรเกษม จากหน้าโรงแรมวีแอลไปถึงคอหงส์ ในเขตเทศบาล นครหาดใหญ่ รวมไปถึงเพชรเกษมขาออกด้วยผ่านหน้าร้านติ่มซำหาดใหญ่ใน พี่น้องประชาชนอยากให้ทำถนนใหม่ได้แล้วครับ

นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๖ คลอง ๓๐ เมตร คลองเพิ่มประสิทธิภาพ และบำบัดน้ำเสีย ผมได้พูดไป วันนี้สมควรที่จะต้องเสร็จตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี ๒๕๖๕ แล้ว วันนี้สร้างไป สร้างมาก็ยังไม่เสร็จสักที ฝากช่วยติดตามด้วยเพราะว่าประชาชนนานแล้วเดี๋ยวก็ว้าวุ่น เรื่องนี้สำคัญครับ

นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๗ นโยบายกระทรวงพลังงานของท่านพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เรื่องนี้ เป็นความหวัง และเป็นความคาดหวังของพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นหลังจากที่ได้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแล้วเร่งดำเนินการลดค่าน้ำมัน แล้วก็ค่าไฟฟ้าให้กับ พี่น้องประชาชนด้วยครับ

นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๙ แล้วก็ยังมีปุ๋ยจากพี่น้องประชาชนเกษตรกรอยากได้ปุ๋ยราคาถูก ฝากผลักดันปุ๋ยในประเทศด้วยครับ

นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑๐ ยางตกต่ำ ตกต่ำแล้วตกต่ำอีก ผู้แทนก็พูดแล้วผู้แทนก็พูดอีก แต่ราคายางไม่สูงขึ้นสักทีครับ เพราะฉะนั้นผมอยากจะถามว่า Rubber City ในจังหวัด สงขลาได้ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางบ้างหรือไม่ครับ

นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑๑ วงแหวนรอบนอกต้องเร่งสร้างครับ วงแหวนรอบนอกสำคัญมาก ทั้งตะวันตกและตะวันออก เพราะว่าวันนี้เทศบาลนครหาดใหญ่รถติดมาก ๆ ก็จะช่วยให้ รถหายติดได้ครับ

นายศาสตรา ศรีปาน สงขลา ต้นฉบับ

สุดท้ายเรื่องที่ ๑๒ ตำบลคลองอู่ตะเภา ผมได้พูดเรื่องของถนนเส้นบ้านหาร-ท่าแซ ไปเมื่อสมัยที่แล้ว วันนี้ระยะที่ ๑ เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ เทศบาลตำบลคลองอู่ตะเภา วันนี้อยากจะทำระยะที่ ๒ แล้ว อย่างไรฝากดูเรื่องงบประมาณให้กับนายกคลองอู่ตะเภา ด้วยครับ ขอบพระคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านรภัสสรณ์ นิยะโมสถ เชิญครับ

นางสาวรภัสสรณ์ นิยะโมสถ ลำปาง ต้นฉบับ

เรียนประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน รภัสสรณ์ นิยะโมสถ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง ดิฉันมีเรื่องความทุกข์ร้อน ของพี่น้องประชาชนมาหารือต่อท่านประธานสภาดังนี้ค่ะ

นางสาวรภัสสรณ์ นิยะโมสถ ลำปาง ต้นฉบับ

เรื่องแรก ด้วยพี่น้องอำเภอเถิน อำเภอเสริมงาม ขาดแคลนน้ำที่ใช้ทำ เกษตรกรรม จึงขอหารือผ่านท่านประธานไปยังสำนักชลประทานที่ ๒ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ถึงโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำดังนี้ค่ะ อ่างเก็บน้ำที่ ๑ อ่างเก็บน้ำโป่งผาก ตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน อ่างเก็บน้ำที่ ๒ อ่างเก็บน้ำห้วยงาม ตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน ๒ อ่างนี้จะช่วยเหลือประชากรในพื้นที่ทั้งหมด ๘ หมู่บ้านของตำบลเวียงมอก อ่างเก็บน้ำที่ ๓ อ่างเก็บน้ำแม่พริก ตำบลเสริมกลาง อำเภอเสริมงาม และฝายน้ำล้นวังบง ที่ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม ฝายน้ำล้นวังบง อบต. ได้มีการทำหนังสือสอบถามไปยังสำนักทรัพยากรน้ำที่ ๑ และสำนักชลประทานที่ ๒ แล้ว โยนกันไปโยนกันมา บัดนี้ประชาชนก็ยังไม่ได้รับการทำฝาย ก็ต้องฝากทั้งทางสำนักทรัพยากรน้ำที่ ๑ และชลประทานที่ ๒ จังหวัดลำปาง ช่วยติดตาม เร่งรัดด้วย

นางสาวรภัสสรณ์ นิยะโมสถ ลำปาง ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ จังหวัดลำปางเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ เป็นเมือง ที่มีความมั่นคงทางพลังงาน แต่กลับพบว่าหลายอำเภอ โดยเฉพาะอำเภอเสริมงาม และอำเภอสบปราบ มีปัญหาไฟตก ไฟดับบ่อยมาก ฝนยังไม่ทันตก ลมยังไม่ทันแรง ไฟดับแล้วค่ะท่านประธาน อย่างไรก็ต้องขอฝากท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทยด้วยนะคะ พี่น้องทั้ง ๒ อำเภอนี้ต้องทนกับปัญหาไฟดับบ่อย ๆ มานานกว่า ๔๐ ปีแล้วค่ะ

นางสาวรภัสสรณ์ นิยะโมสถ ลำปาง ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้าย ถนนทางหลวงแผ่นดินที่ ๑๐๖ กิโลเมตรที่ ๘๓-๘๕ มีอุบัติเหตุ บ่อยครั้ง ไม่เคยได้รับการแก้ไขใด ๆ อดีต สส. ท่านก่อน ท่านเดชทวี ศรีวิชัย ก็เคยได้มา หารือผ่านสภาแห่งนี้ เปิดสภามาวันแรก ๆ สิ่งที่ดิฉันทำคือการตั้งกระทู้สอบถามไปยัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่จนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีการแก้ไขใด ๆ เลย ชีวิตของพี่น้องประชาชนมีค่าค่ะท่านประธาน เราต้องรอให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิต และทรัพย์สินอีกเท่าไรคะจึงจะมีการแก้ไข อย่างไรก็ขอฝากผ่านท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมท่านใหม่ด้วยนะคะ ขอบคุณท่านประธานค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านสนอง เทพอักษรณรงค์ เชิญครับ

นายสนอง เทพอักษรณรงค์ บุรีรัมย์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ กระผม สนอง เทพอักษรณรงค์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์ เขตเลือกตั้งที่ ๑ พรรคภูมิใจไทย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ออกพื้นที่ ได้รับ การร้องเรียนในหลายประเด็นที่มีความเดือดร้อน

นายสนอง เทพอักษรณรงค์ บุรีรัมย์ ต้นฉบับ

อันดับแรก ได้รับการร้องเรียน จากท่าน ร้อยตำรวจตรี สมชาย ภิรมย์ชาติ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เทศบาลเมืองชุมเห็ดนั้นเป็นเทศบาลที่อยู่ติดกับเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งเป็น ศูนย์กลางความเจริญ เทศบาลเมืองบุรีรัมย์มีพื้นที่เล็กเพียง ๖ ตารางกิโลเมตร ขณะนี้ หนาแน่น การเจริญเติบโต ความหนาแน่นกำลังขยายเข้ามาที่เทศบาลเมืองชุมเห็ด ซึ่งมีพื้นที่ ๔๖ ตารางกิโลเมตร มีประชากรมากกว่า ๒๑,๐๐๐ คน จำนวนครอบครัว ๙,๖๐๐ ครอบครัว และแบ่งการปกครอง ๒๒ หมู่บ้าน วันนี้เทศบาลเมืองชุมเห็ดนั้นเดือดร้อนเรื่องน้ำประปา ยังไม่มีน้ำประปาขยายเขตเข้าไปในเขตพื้นที่ ฝากกระทรวงมหาดไทยและท่านผู้ว่าการ การประปาส่วนภูมิภาค ได้จัดงบประมาณขยายเขตบริการน้ำประปาให้กับตำบลชุมเห็ดด้วย

นายสนอง เทพอักษรณรงค์ บุรีรัมย์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ได้รับการร้องเรียนจากท่านวีรวัฒน์ สถิตย์พูนพันธ์ นายกเทศมนตรี ตำบลบ้านด่าน และท่านกำนันเปลื้อง พนารินทร์ อดีตกำนันตำบลบ้านด่าน เรื่องปัญหา แหล่งน้ำผลิตน้ำประปาที่ตื้นเขิน ซึ่งแหล่งน้ำนี้เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ที่บ้านหนองทับ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ สระที่หนองทับมีพื้นที่ประมาณมากกว่า ๒๐ ตารางเมตร ปัจจุบันนี้ ตื้นเขิน มีวัชพืชเข้าไปปกคลุมมาก ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้เพียงพอกับการผลิตประปาได้ ฝากกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดงบประมาณขุดลอกให้กับเทศบาล ตำบลบ้านด่านด้วย

นายสนอง เทพอักษรณรงค์ บุรีรัมย์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ท่านนายกเทศมนตรีตำบลบ้านบัว นายกิตติพงษ์ รัตนศศิวิมล นายกเทศมนตรีบ้านบัวและกำนันพิชญากร พยุดรัมย์ ซึ่งเป็นกำนันสุภาพสตรีและเป็นกำนัน แหนบทองคำ ได้ร้องเรียนเรื่องถนน เป็นถนนเลียบคลองชลประทานจากบ้านดอนใหญ่ หมู่ที่ ๙ ตำบลบ้านบัวถึงถนนสายบุรีรัมย์-นางรอง ถนนเส้นนี้หน้าฝนเดินไม่ได้เลยครับ ตามภาพ ที่ท่านประธานเห็น แล้วก็หน้าแล้งก็ฝุ่นมาก มีประชากรใช้สัญจรไปมามากในเส้นทางนี้ ขอความกรุณาให้กรมชลประทานได้จัดงบประมาณสร้างถนนเลียบคันคลองให้กับตำบลบ้านบัว ด้วยครับ

นายสนอง เทพอักษรณรงค์ บุรีรัมย์ ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้ายครับ ท่านนายกรัษฎา อนันตจันทรา นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลกระสัง ท่านนงค์ อุตะมะ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกระสัง ได้ขอความกรุณาในเรื่องของถนนหนทางที่มีปัญหา ๒ เส้นทางด้วยกัน ซึ่งผมจะนำหนังสือนี้ ฝากท่านประธานไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย กราบขอบพระคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านปารมี ไวจงเจริญ

นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน ปารมี ไวจงเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล วันนี้จะมีเรื่องปรึกษาหารือท่านประธานอยู่ ๒ เรื่องนะคะ

นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องแรก เป็นเรื่องเร่งด่วน สด ๆ ร้อน ๆ ไม่กี่วันนี้เองเกี่ยวกับกระทรวง อว. หรือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เกี่ยวกับเรื่องมีข่าวเผยแพร่ กันว่า ให้ข้าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำ Banner หรือภาพแสดงข้อความต้อนรับ ท่านรัฐมนตรีว่าการ ซึ่งด้วยความเคารพดิฉันต้องขออนุญาตพูดถึงท่านรัฐมนตรีว่าอาจจะ ไม่ทราบเรื่องนี้โดยตรง แต่ว่าเป็นข้าราชการไปสั่งทำหรือเปล่า แต่ผลปรากฏว่าข่าวที่ออกมา ท่านรองปลัดกระทรวงได้ให้ข่าวว่าไม่ทราบรายละเอียดของเรื่องการให้จัดทำ Banner หรือป้าย Vinyl ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เลยนะคะ ท่านรองปลัด ได้ปฏิเสธแล้วบอกว่า ไม่ทราบรายละเอียด และท่านรองปลัดให้ความเห็นว่าเท่าที่ดูจากข้อความข่าวอาจจะไม่ใช่ เป็นการบังคับมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะทำเองนะคะ ดิฉันก็กังวลใจ สรุปว่าไม่ทราบว่าเรื่องนี้จริงหรือไม่จริง แต่ก็รู้สึกขัดใจต่อค่านิยมเช่นนี้ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นอีกแล้ว ในยุคนี้นะคะ ดิฉันได้กลับไปค้นดูในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา ๒๕๖๓ ให้ข้อความไว้ว่า สถาบันอุดมศึกษาพึงเป็นแบบอย่างแก่สังคมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พึงใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ถ้าข่าวนี้ เป็นจริง การจัดทำ Banner หรือป้าย Vinyl หน้ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไม่น่าจะเป็นการใช้ ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ น่าจะเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ไปมากกว่านะคะ และอีกอย่างหนึ่งกระทรวง อว. หรือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นแหล่งรวมของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นแหล่งรวมของปัญญาชน คนรุ่นใหม่ที่จะผลิตบัณฑิตรุ่นใหม่ คิดใหม่ หัวทันสมัย ก้าวเข้าสู่โลกใหม่นะคะ ค่านิยมแบบนี้ ไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกแล้ว หัวโขนกับหัวคนควรจะแยกออกจากกัน ดิฉันมีความขัดใจกับค่านิยม เหล่านี้ที่ยังคงมีอยู่

นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ นะคะ ที่ดิฉันจะขอหารือท่านประธานเกี่ยวกับกระทรวงศึกษาธิการ ดิฉันเคยพูดในสภานี้ไปแล้วเกี่ยวกับเรื่องเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา ไม่ว่าจากสาเหตุ ด้านเศรษฐกิจ ความยากจน หรือจากสาเหตุความแตกต่างทางความเชื่อ ค่านิยม หรือความขัดแย้งทางการเมือง ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา เด็กต่าง ๆ เหล่านั้น ไม่ควรจะหลุดออกจากระบบการศึกษา จึงฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงศึกษาธิการ แล้วก็กระทรวง พม. หรือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โปรดเข้ามา ดูแลเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา ไม่ว่าเขาจะหลุดออกไปจากด้วยสาเหตุอะไร ไม่ควรพึงหลุดไป ขอขอบพระคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านสรวงศ์ เทียนทอง ครับ เชิญครับ

นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ สรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว เขต ๓ พรรคเพื่อไทยครับ วันนี้ขออนุญาตหารือกับท่านประธาน ๓ เรื่องครับ เรื่องสำคัญทั้ง ๓ เรื่องเลยครับ

นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ

เรื่องแรกครับ ผมได้รับการร้องเรียนจากญาติของนายวรภพ จันมา อายุ ๒๑ ปี เด็กหญิ งสิรินทรา เลื่อมพักตร์ อายุ ๑๔ ปี นายสันติ สงนอก อายุ ๑๕ ปี และนางสาวเสาวลักษณ์ กรุสูงเนิน ท่านประธานครับ Slide มาได้เลยครับ

นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ

น้อง ๆ ทั้ง ๔ คนนี้ได้ถูกชักชวน โดยคนไทยไม่ทราบชื่อเข้าไปทำงานในจังหวัดบันเตียเมียนเจยในประเทศกัมพูชา ด้วยข้อตกลงเงินเดือนเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท เข้าไปทำงานในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม แต่ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ได้รับการแจ้งจากเจ้านายว่าจะต้องย้ายไปอยู่พนมเปญ แต่สุดท้ายท้ายสุดไปจบอยู่ที่บ้านบาเว็ต จังหวัดสวายเรียง ซึ่งเป็นประเทศกัมพูชา ติดกับแนวชายแดนเวียดนามครับท่านประธาน ต่อมาวันที่ ๒๕ สิงหาคม ทางญาติของน้อง ๆ ทั้ง ๔ คนได้ถูกติดต่อมาเพื่อเรียกค่าไถ่คนละ ๘๐,๐๐๐ บาทครับท่านประธาน น้อง ๆ ทั้ง ๔ คนไม่มีเงินครับ ครอบครัวยากจน วันที่ ๒๖ ทางเจ้านายติดต่อมาอีก ลดเหลือ ๒๐,๐๐๐ บาท ก็ยังไม่มีเงินไปไถ่ตัวน้อง ๆ กลับมา อย่างไรก็แล้วแต่ฝากท่านประธานครับ น้อง ๆ อยู่กันแบบยากเข็ญจริง ๆ ครับ

นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ครับท่านประธาน ผมได้รับการติดต่อจากนางสมพิศ อัญญเวชสัมฤทธิ์ กำนันตำบลหนองสังข์ และ พันเอก ผาแดง อัญญเวชสัมฤทธิ์ นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองสังข์ ท่านประธานครับ เพื่อติดตามงบประมาณในการขยายเขตประปา ส่วนภูมิภาคสาขาอรัญประเทศมายังบ้านหนองสังข์ ซึ่งมีทั้งหมด ๘ หมู่บ้าน ๒,๒๘๔ ครัวเรือน ประชากร ๗,๔๕๐ คน

นายสรวงศ์ เทียนทอง สระแก้ว ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ครับท่านประธาน ผมได้รับการร้องเรียนจากนายอุเทน พิมพิสาร นายกเทศมนตรีตำบลฟากห้วย ขอให้ทางการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอรัญประเทศ ได้ออกแบบและขอขยายเขตการประปาให้ทั่วถึงในตำบลฟากห้วย ซึ่งมีทั้งหมด ๑๑ หมู่บ้าน ๓,๖๘๕ ครัวเรือน และประชากร ๗,๘๑๘ คน ฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ๓ เรื่องให้กับพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดสระแก้วด้วย กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ต่อไปท่านภัณฑิล น่วมเจิม เชิญครับ

นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานที่เคารพ ผมภัณฑิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตวัฒนา เขตคลองเตย กทม. ขออนุญาตปรึกษาหารือ ผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนะครับ ก็ขอ Slide ด้วยนะครับ

นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ประเด็นแรกนะครับ คือเป็นเรื่องของต่างด้าวขายกัญชาบนทางเท้าแล้วก็พื้นผิวจราจรใน Food Truck ส่งผลกระทบให้ผู้สัญจรเดือดร้อน ผู้อยู่อาศัยในบริเวณซอยสุขุมวิท ๑๑ ๑๓ ๑๕ ย่านอโศก นานา ก็ขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบ สน. ลุมพินี กรมแพทย์แผนไทย ตม. ไม่ใช่ทุกคนได้กลิ่นกัญชาแล้วจะหอม มันเดือดร้อนนะครับ เดี๋ยวนี้มาขายกันข้างถนนเหมือนก๋วยเตี๋ยวข้างถนนเลย ขอให้หน่วยงานตรวจสอบด้วยนะครับ

นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ประเด็นต่อมายังอยู่ใน Zone อโศก นานา แท็กซี่ป้ายดำกีดขวางการจราจร รับนักท่องเที่ยวนะครับ เผลอ ๆ บางทีไปแล้วก่อให้เกิดความเดือดร้อนด้วย ก็มีข่าวมากมาย ขอให้กรมการขนส่งทางบกแล้วก็ สน. ลุมพินีไปตรวจสอบด้วยนะครับ รวมถึงเรื่องส่วย เส้นสุขุมวิทใกล้บ้านท่านนายกเศรษฐาไม่กี่ร้อยเมตร จอดกันเต็มถนนเลย แล้วบางทีเป็น ป้ายขาวด้วย ไม่มีทะเบียนสาธารณะ ก็ขอเรียกร้องให้กองบังคับการตำรวจจราจรกลาง ในฐานะเป็นใต้บังคับบัญชาของท่านนายกก็ไปตรวจสอบด้วยแล้วกันว่ามีการรับส่วย ด้วยหรือเปล่า

นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ต่อมานะครับ ปัญหาอุบัติเหตุบนเส้นถนนอาจณรงค์ พื้นผิวจราจร ๒๐ กว่าปีแล้วไม่ได้รับการดูแลเลย ถ้าเผื่อท่านนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างบนถนนเส้นนี้ ก็ลอยตลอด มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น เสียชีวิตตลอดเวลาทุกวันนะครับ ขอให้สำนักการโยธา เข้าใจว่าตอนนี้อยู่ในระหว่างของบอยู่ของสภา กทม. ในปี ๒๕๖๗ ก็ขอให้เร่งรัดดำเนินการ ไม่ใช่ปะปรุนะครับ ขอให้ทำใหม่ทั้งเส้นตั้งแต่ถนนเลียบริมทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ จนถึงกรมศุลกากร แล้วก็ตลาดคลองเตยเลยนะครับ

นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

หน้าต่อไปปัญหาน้ำท่วมขัง ขาดการลอกท่อ ดูแลสาธารณูปโภครอบชุมชน หลังตลาดคลองเตยซึ่งอยู่บนพื้นที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยก็ฝากไว้นะครับ เก็บค่าเช่าเขา แต่ไม่เคยดูแลพื้นที่สาธารณูปโภค ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อแล้วก็น้ำขัง บางทีไม่ใช่หน้าฝนด้วย ขังเป็นหลาย ๆ เดือน เน่าเหม็น ตากเสื้อผ้ายังเหม็นเลย ฝากไปดูแลด้วยเรื่องการลอกท่อ ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย

นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

สี่แยกคลองเตยติดมากนะครับ เรียกร้องไปทาง สน. ลุมพินี สน. ท่าเรือ สน. ทองหล่อ กีดขวางการจราจรตลอดเวลาบนผิวจราจร ฝากไปดูแล กวดขันด้วยนะครับ

นายภัณฑิล น่วมเจิม กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

สุดท้าย เรื่องกลิ่นของเสียบนทางเท้า มีการโหลดไก่ที่บริเวณรอบตลาดคลองเตย โดยเฉพาะตั้งแต่ ๒ ทุ่มจนถึงตีสาม ตีสี่ เป็นเรื่องเป็นราวเลยไก่สด ฝากเทศกิจเขตคลองเตย ดูแลเรื่องความสะอาด บังคับใช้เรื่อง พ.ร.บ. ความสะอาดได้นะครับ ก็ฝากท่านประธานไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ขอบคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ เชิญครับ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต ๔ อำเภอบ้านโป่ง พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ ผมมีความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ๔ เรื่อง นำกราบเรียนท่านประธานเพื่อให้ ทางคณะรัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบได้พิจารณาดำเนินการครับ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

เรื่องแรก เป็นปัญหาบุคคลถูกหลอกลวงไปทำงานที่ประเทศพม่า ผ่าน Application TikTok ซึ่งได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนว่าญาติพี่น้อง โดนหลอกลวงไป ซึ่งในเบื้องต้นผมได้ประสานผ่านท่าน พลตำรวจโท อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปแล้วก็มีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง แต่เนื่องด้วยปัจจุบันนี้ ยังไม่สามารถติดตามบุคคลดังกล่าวกลับมาให้กับสมาชิกในครอบครัวได้ ซึ่งเป็นคนที่อำเภอ บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จึงขอให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เร่งดำเนินการครับ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ได้รับการร้องเรียนจากสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทยว่า ทางรัฐบาลได้ติดตามค่าตัดอ้อยสดปีการผลิต ท่านประธานครับ ต้องขอโทษด้วยครับ พอดีไฟแรงไปนิดหนึ่ง ขออนุญาตท่านประธานเริ่มข้อ ๒ อีกรอบนะครับ ท่านประธานครับ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ว่าปัจจุบันนี้ยังไม่ได้รับค่าตัดอ้อยสดปีการผลิต ๒๕๖๕/๒๕๖๖ ในราคาตันละ ๑๒๐ บาท ซึ่งในเบื้องต้นได้ประสานไปยังท่านรัฐมนตรีพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ซึ่งท่านรัฐมนตรีท่านก็เห็น ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ปลูกอ้อยเลยนัดให้มาที่กระทรวงในวันพรุ่งนี้ แต่เนื่องด้วยตรงนี้เป็นงบประมาณที่จะต้องให้ทางสำนักนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณ ซึ่งเป็นงบกลาง จึงขอให้ทางนายกรัฐมนตรีและกระทรวงที่เกี่ยวข้องได้เร่งพิจารณาดำเนินการ ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ เนื่องจากการจราจรที่ติดขัดที่สี่แยกหัวโป่ง ตำบลหนองอ้อ อำเภอบ้านโป่ง ปัจจุบันนี้มีการจราจรที่ติดขัด โดยเฉพาะเวลาเร่งด่วนเช้าเย็น และโดยเฉพาะ วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งมีพี่น้องประชาชนไปท่องเที่ยวผ่านอำเภอบ้านโป่งไปจังหวัดกาญจนบุรี เป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ผมได้กราบเรียนเชิญท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงไปติดตามโครงการดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบ ของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม จึงขอให้ท่านประธานได้เรียนไปยังรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดดำเนินการให้กับพี่น้องชาวอำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี ตลอดจนพี่น้องที่ผ่านเส้นทางดังกล่าวด้วยครับ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้าย ท่านประธานครับ เป็นปัญหาความล่าช้าของโครงการน้ำบาดาล ซึ่งได้ทำการสำรวจความต้องการและความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนผ่านกรมทรัพยากร น้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ทำประชาคม แล้วก็ได้ผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว แต่ปัจจุบันนี้ความคืบหน้า ของโครงการยังมีความล่าช้าอยู่จึงขอให้ท่านประธานได้ติดตามให้กับพี่น้องที่ตำบลหนองปลาหมอ ตำบลบ้านม่วง ตำบลกรับใหญ่ ตำบลปากแรต ตำบลดอนกระเบื้อง ตำบลสวนกล้วย และตำบลท่าผาของอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นจำนวนทั้งหมด ๗ ตำบล จึงขอให้ท่านประธานได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการด้วยครับ กราบขอบพระคุณ ท่านประธานครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่านนะครับ ท่านแรก ท่านปวิตรา จิตตกิจ ท่านที่ ๒ ท่านจิราพร สินธุไพร ท่านที่ ๓ ท่านคุณากร มั่นนทีรัย เชิญท่านปวิตรา จิตตกิจ ครับ

นางสาวปวิตรา จิตตกิจ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ท่านประธานคะ ดิฉัน ปวิตรา จิตตกิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตบางกอกใหญ่ เขตธนบุรี เขตภาษีเจริญ แขวงศิริราช แขวงบางเชือกหนัง กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล วันนี้ขอหารือท่านประธาน ๔ เรื่อง

นางสาวปวิตรา จิตตกิจ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องแรก พบสายไฟฟ้า สายสื่อสารรกรุงรังห้อยลงมาต่ำก็เกะกะสร้างความไม่ปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชน ผู้สัญจรบริเวณหน้าวัดท่าพระ ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๔ และซอยเพชรเกษม ๑๖ เขตบางกอกใหญ่ และในเขตภาษีเจริญ บริเวณ Footpath แนวเส้นรถไฟฟ้าเขตภาษีเจริญ ซอยเพชรเกษม ๔๒ ซอยเพชรเกษม ๓๐ ซอยเพชรเกษม ๒๘ ซอยเพชรเกษม ๒๔ จึงขอฝากท่านประธาน ไปยัง กสทช. พร้อมด้วยการไฟฟ้านครหลวงในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อความปลอดภัย ของพี่น้องประชาชนค่ะ

นางสาวปวิตรา จิตตกิจ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ประชาชนถูกจี้ปล้นบริเวณสถานีรถไฟฟ้าท่าพระ อุโมงค์รถไฟฟ้า แล้วก็ทางเข้าสวนสาธารณะบางกอกใหญ่ ในช่วงซอยเพชรเกษม ๑๐/๒ เขตบางกอกใหญ่ เนื่องจากในยามค่ำคืนไม่มีไฟฟ้าส่องสว่าง แล้วก็ไม่มีกล้องวงจรปิด จากการพูดคุยพบว่า พื้นที่นั้นเป็นพื้นที่อยู่ภายใต้การดูแลของ รฟม. แล้วก็ทำให้สำนักงานเขตไม่สามารถเข้าไป ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้ จึงขอฝากท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยช่วยประสานงาน กับทางสำนักงานเขต แล้วก็แก้ไขเรื่องปัญหานี้อย่างเร่งด่วนค่ะ

นางสาวปวิตรา จิตตกิจ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ดิฉันขอใช้โอกาสนี้ในการทวงผ้าอ้อมของประชาชน เนื่องจาก ประชาชนชาวภาษีเจริญแล้วก็อีกหลายเขตในกรุงเทพมหานครยังไม่ได้รับผ้าอ้อมฟรี จากโครงการผ้าอ้อมผู้ใหญ่แผ่นรองซับสำหรับคนไทยทุกสิทธิที่มีภาวะติดบ้านติดเตียง ที่มีปัญหากลั้นขับถ่าย ในพื้นที่ภาษีเจริญมีผู้เข้าร่วมโครงการนี้เกือบ ๑๐๐ คน แต่ปัจจุบันนี้ ได้รับผ้าอ้อมไม่ถึง ๑๐ คน ดิฉันก็ไปพูดคุยกับพี่น้องประชาชนเขาก็แจ้งมาว่า ถ้าใครที่สนใจ จะเข้าร่วมโครงการนี้ต้องลงชื่อให้ทันภายในสิ้นเดือนตุลาคม แล้วก็จะได้รับผ้าอ้อม ภายในกลางปีหน้า ปี ๒๕๖๗ ดิฉันจึงขอสอบถามท่านประธานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าเมื่อไรการจ่ายแจกผ้าอ้อม ให้กับประชาชนที่ลงทะเบียนจะแล้วเสร็จ แล้วราคาก็ไม่ได้ถูก ๆ ผู้ใหญ่ก็ต้องมาจ่ายทุกเดือน และหลักเกณฑ์การแจกจ่ายที่ล่าช้านี้จะทำให้ทันท่วงทีได้หรือไม่ เรื่องแบบนี้มันกลั้นข้ามปี กันไม่ได้ จะมาวางแผนลงทะเบียนกันล่วงหน้าเป็นเดือน ๆ ไม่ได้นะคะ

นางสาวปวิตรา จิตตกิจ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้าย ข้อร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนในเขตธนบุรี เกี่ยวกับปัญหา คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน และคนเร่ร่อนป่วยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ขอสอบถามไปยังรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ว่า ปัจจุบันมีวิธีการดูแล คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน คนเร่ร่อนป่วยอย่างไรบ้าง อยากให้เร่งแก้ปัญหาเรื่องนี้ค่ะ เพราะว่า อยากให้เขาได้รับสิทธิในการเข้าถึงรัฐสวัสดิการสำหรับกลุ่มบุคคลดังกล่าวด้วยค่ะ ขอบพระคุณท่านประธานค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านจิราพร สินธุไพร ครับ

นางสาวจิราพร สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน จิราพร สินธุไพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต ๕ พรรคเพื่อไทย ดิฉันขอปรึกษาหารือ ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในจังหวัดร้อยเอ็ด เขต ๕ ผ่านท่านประธานไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓ ประเด็นดังนี้ค่ะ

นางสาวจิราพร สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ ในจังหวัดร้อยเอ็ด เขต ๕ มีพื้นที่ติดริมแม่น้ำชีซึ่งเป็นแม่น้ำ สายหลักที่มีระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร เมื่อถึงฤดูน้ำหลากจะพบปัญหาพนังกั้นน้ำ ที่เป็นดินพังทลาย น้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรสร้างความเสียหายให้กับ พี่น้องประชาชนในวงกว้าง เป็นปัญหาที่เกิดซ้ำซากเป็นประจำทุกปีค่ะ ดิฉันจึงขอ ปรึกษาหารือท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาจัดสรรงบประมาณ ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง เพื่อแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนในระยะยาวทั้งหมด ๗ จุด ด้วยกัน จุดที่ ๑ ขอให้พิจารณาก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำชีบริเวณบ้านท่าค้อ หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านแจ้ง อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จุดที่ ๒ บริเวณบ้านแจ้ง หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านแจ้ง อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จุดที่ ๓ บริเวณบ้านกุดเขียว หมู่ที่ ๓ ตำบลบ้านแจ้ง อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จุดที่ ๔ บริเวณบ้านธาตุ หมู่ที่ ๗ ตำบลโพนเมือง อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จุดที่ ๕ บริเวณบ้านดอนคำ หมู่ที่ ๙ ตำบลคำไฮ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด จุดที่ ๖ บริเวณบ้านท่าสะอาด หมู่ที่ ๘ ตำบลพนมไพร อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด จุดที่ ๗ บริเวณบ้านหนองหิน หมู่ที่ ๒ ตำบลชานุวรรณ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา เร่งรัดดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในระยะยาวให้กับพี่น้องประชาชน

นางสาวจิราพร สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นพื้นที่ทำการเกษตร แต่มีเขตชลประทานไม่ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งในขณะนี้หลายประเทศกำลังเผชิญกับปัญหา ความแปรปรวนของสภาวะอากาศโลก ทั้งปัญหา El Nino แล้วก็ภัยแล้ง ซึ่งประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศที่คาดว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งรุนแรง เพื่อเป็นการเตรียมการ จึงขอปรึกษาหารือผ่านท่านประธานไปยังรัฐบาลชุดใหม่ ในการวางแผนบริหารจัดการน้ำ อย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในระยะเฉพาะหน้าและในระยะยาวให้กับ พี่น้องประชาชน

นางสาวจิราพร สินธุไพร ร้อยเอ็ด ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ ดิฉันขอติดตามความคืบหน้าการขอให้มีการติดตั้งสัญญาณ ไฟจราจร ๒ จุดที่เคยหารือต่อสภาในสมัยประชุมที่แล้วนะคะ จุดที่ ๑ ถนนทางหลวง หมายเลข ๒๐๒ บริเวณแยกบ้านหัวนา อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งพี่น้องประชาชน ในชุมชนได้ขอให้มีการติดตั้งสัญญาณไฟจราจร แต่ว่าได้รับการจัดสรรงบประมาณก่อสร้าง จุดกลับรถ แล้วก็สัญญาณไฟกระพริบแทน ซึ่งจุดกลับรถดังกล่าวมีระยะทางไกล สุ่มเสี่ยง เกิดอันตราย ที่ผ่านมาหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จก็เกิดอุบัติเหตุ และมีผู้เสียชีวิตแล้วหลายราย จึงขอให้กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ได้พิจารณาทบทวนความเหมาะสมการติดตั้ง สัญญาณไฟจราจรใหม่อีกครั้งค่ะ จุดที่ ๒ ถนนทางหลวงหมายเลข ๒๐๔๓ บริเวณ หน้าโรงเรียนเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ขอให้กระทรวงคมนาคม ได้ทบทวนและเร่งรัดการพิจารณางบประมาณติดตั้งสัญญาณไฟจราจรแทนสัญญาณ ไฟกระพริบในบริเวณดังกล่าว เพื่อเป็นการลดการเกิดอุบัติเหตุให้กับพี่น้องประชาชน ในระยะยาวค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านคุณากร มั่นนทีรัย เชิญครับ

นายคุณากร มั่นนทีรัย นนทบุรี ต้นฉบับ

เรียนประธานสภาที่เคารพ ผม นายคุณากร มั่นนทีรัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต คนบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอปรึกษาหารือปัญหาของคนอำเภอบางใหญ่ด้วยกันจำนวนทั้งหมด ๖ เรื่อง

นายคุณากร มั่นนทีรัย นนทบุรี ต้นฉบับ

ปัญหาที่ ๑ ปัญหาเรื่องสถานบันเทิงบริเวณหมู่บ้านบางใหญ่ซิตี้ ตำบลเสาธงหิน มีประชาชนร้องเรียนมานะครับว่าสถานบันเทิงที่เปิดเกินเวลาตามที่กฎหมาย กำหนด มีเป็นจำนวนมาก มีเสียงดังยามวิกาล ซึ่งเป็นการรบกวนต่อชาวบ้านที่พักอาศัย บริเวณใกล้เคียง อย่างไรก็ฝากเจ้าหน้าที่ตำรวจและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นนะครับ ช่วยตรวจสอบ ดูแล แก้ไข รวมถึงดูแลการเข้าใช้บริการของบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีด้วย ขอ Slide ด้วยนะครับ

นายคุณากร มั่นนทีรัย นนทบุรี ต้นฉบับ

ภาพ Slide จะเป็นปัญหาที่ ๒ ถนน และทางเท้าสาธารณะ เขตตำบลเสาธงหิน บริเวณทางออกห้างเซ็นทรัล เวสต์เกต คาซ่าคอนโด และบริเวณหน้าหมู่บ้านเกล้ารัตนา ก่อสร้างมานานแล้วอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า สายสีม่วง มีวัสดุก่อสร้าง เช่น อิฐหินดินทรายถูกวางทิ้งไว้บริเวณทางเท้าเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณใกล้เคียงไม่มีทางเดินเท้าใช้มาเป็นเวลามากกว่า ๑ ปีแล้วนะครับ

นายคุณากร มั่นนทีรัย นนทบุรี ต้นฉบับ

ปัญหาที่ ๓ ระหว่างตลาดบีบีจนถึงตลาดบางใหญ่ตำบลเสาธงหิน ป้ายรถเมล์ ไม่สามารถใช้งานได้จริง ไม่มีการจัดระเบียบรถสาธารณะ รถเมล์ไม่มีที่จอด จอดรับผู้โดยสาร ไม่เป็นที่ ประชาชนไม่รู้จุดขึ้นรถที่แน่นอน เมื่อไม่มีการจัดระเบียบรถสาธารณะที่ชัดเจน ในช่วงเวลาคับคั่งก็จะส่งผลให้จราจรติดขัด อย่างไรก็ฝากท้องถิ่นดูด้วยนะครับ

นายคุณากร มั่นนทีรัย นนทบุรี ต้นฉบับ

ปัญหาที่ ๔ ทางกลับรถลอดใต้ Motorway ที่สร้างใหม่ และถนนลอดใต้ Motorway หมายเลข ๙ บางใหญ่-กาญจนบุรี ช่วงหมู่ที่ ๙ ท่านจะได้เห็นจากภาพนะครับ ประชาชนและชาวบ้านละแวกนั้นสงสัยว่าทำไมต้องขุดอุโมงค์ลอดใต้ทางด่วน ซึ่งเป็นการขุด ต่ำกว่าระดับน้ำของคลองบางไทรที่อยู่ด้านข้าง ๆ รถพยาบาล รถดับเพลิง ไม่สามารถสัญจรได้ ฝนตกทีไรน้ำท่วมขัง ไม่มีเครื่องสูบน้ำ ต้องหาเครื่องสูบน้ำมาสูบ จึงขอให้กรมทางหลวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบและแก้ไขว่าได้ก่อสร้างตามแบบจริงหรือไม่

นายคุณากร มั่นนทีรัย นนทบุรี ต้นฉบับ

ปัญหาที่ ๕ โครงการหมู่บ้านพระปิ่น ๓ ตำบลบางแม่นาง ปล่อยน้ำเสีย ลงสู่ลำคลอง เพราะโครงการไม่มีบ่อบำบัดน้ำเสีย มีแต่บ่อพักน้ำ ปัญหาเรื่องน้ำเสีย ส่งผลกระทบต่อประชาชนหลายฝ่าย มีทั้งชาวบ้านที่พักอาศัยบริเวณใกล้เคียงบ่อพักน้ำ ในโครงการพระปิ่น ๓ และชาวบ้านที่พักอาศัยใกล้ริมคลอง ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง น้ำเสียได้ไหลลงสู่คลองบางกระบือ กม. ที่ ๓๘+๘๓๕ น้ำเสียไหลผ่านคลองบางใหญ่ และไปยังแม่น้ำเจ้าพระยาเกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมนะครับ

นายคุณากร มั่นนทีรัย นนทบุรี ต้นฉบับ

ปัญหาที่ ๖ สุดท้ายแล้วนะครับ ปัญหารถบรรทุกในตำบลบางแม่นาง มีประชาชนร้องเรียนว่ามีรถยนต์บรรทุกวัสดุก่อสร้างไปยังโครงการหมู่บ้านจัดสรร ไม่มีผ้าคลุม สิ่งของที่ขนย้ายทำให้ดินทรายร่วงหล่นลงถนน ประกอบกับการขับรถบรรทุกด้วยความเร็ว ที่เกินกว่ากฎหมายที่กำหนดส่งผลกระทบในการขับขี่ยานยนต์และเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย นอกจากนี้ยังเป็นมลพิษต่อระบบทางเดินหายใจของพี่น้องประชาชนที่อาศัยบริเวณดังกล่าว อีกด้วย

นายคุณากร มั่นนทีรัย นนทบุรี ต้นฉบับ

ทั้ง ๖ ปัญหาฝากท่านประธานสภาไปยังกรมทางหลวง องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบและแก้ไขด้วยครับ ผมคุณากร มั่นนทีรัย ทนายไวท์ คนบางใหญ่ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่านต่อไป ท่านแรก ท่านศักดิ์ชาย ตันเจริญ ท่านที่ ๒ ท่านชุติมา คชพันธ์ ท่านที่ ๓ ท่านอับดุลอายี สาแม็ง เชิญท่านศักดิ์ชาย ตันเจริญ ครับ

นายศักดิ์ชาย ตันเจริญ ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายศักดิ์ชาย ตันเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา เขต ๓ พรรคเพื่อไทย วันนี้ขอหารือปัญหาเดือดร้อนของพ่อแม่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ คือปัญหา ช้างป่าบุกรุกในจังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันจากการมีจำนวนช้างป่าที่มากขึ้นในขณะที่ แหล่งอาหารตามธรรมชาติน้อยลงทำให้ช้างขาดแคลนอาหารจึงต้องออกมาหากินนอกเขต ส่งผลต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน โดยเฉพาะในจังหวัดฉะเชิงเทรา ในพื้นที่อำเภอสนามไชยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ ที่ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกร ได้เกิดปัญหาช้างป่าที่อาศัยอยู่ในเขตอนุรักษ์พันธุ์ป่าเขาอ่างฤาไนได้ออกมารุกล้ำ ทำลายทรัพย์สิน พืชทางเกษตร และที่อยู่อาศัยของประชาชนได้รับความเสียหาย และประชาชนก็ได้รับบาดเจ็บแม้กระทั่งถึงเสียชีวิต ประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตร ได้มีการลงทุน เงิน และเวลาเพื่อรอเก็บเกี่ยวผลผลิต แต่ปัญหาช้างที่เข้ามาตามหมู่บ้าน ในแต่ละอำเภอเพื่อมากินส่งผลเสียต่อรายได้และสภาพจิต ชาวบ้านที่ต้องอยู่ อย่างหวาดระแวงในช่วงกลางคืน รีบปิดบ้าน เลี่ยงการเดินทางช่วงค่ำคืน ไม่จำเป็น นอกจากเป็นเวลาออกหากินของช้าง ซึ่งตรงนี้เป็นผลกระทบถึงชาวสวนยางด้วย เพราะเป็นเวลาเดียวกันที่คนชาวสวนยางต้องออกมากรีดยางตอนกลางคืนก็ไม่กล้าออกมา ก็ต้องเสียรายได้ตรงนี้ด้วย ตัวผมจึงขอเสนอมีมาตรการเร่งด่วนการป้องกันหรือขนย้ายช้างป่า ออกจากป่าชุมชนหรือที่ดินทำกิน รวมถึงก่อสร้างสิ่งกีดขวางเพื่อป้องกันการบุกรุกตลอดแนว หรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยช้างป่าทุกกรณีด้วยความเหมาะสม และเป็นธรรมต่อครอบครัวผู้เสียหาย เพิ่มมาตรการควบคุมประชากรของช้างด้วยการใช้ ฮอร์โมน กระผมจึงขอให้ท่านประธานได้ทำหนังสือถึงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างเร่งด่วนด้วย ขอบคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านชุติมา คชพันธ์ เชิญครับ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล จากภาคใต้ วันนี้ดิฉันมีเรื่องเดือดร้อน ของพี่น้องประชาชนชาวใต้ ๕ เรื่องที่จะขอฝากผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอ Slide ด้วยค่ะ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ เป็นเรื่องของ โครงการขุดวางท่อระบายน้ำเสียใต้คลองเลียบถนนราษฎร์ยินดี หรือที่เรียกกันติดปากว่า คลอง ๓๐ เมตร ตอนนี้เกิดปัญหาอุปสรรคคือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่อาศัย อยู่บริเวณดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนเกิดปัญหาการใช้เส้นทางสัญจรของประชาชน ซึ่งบริเวณนี้ได้มีการขุดปิดหน้าดินเพื่อวางท่อทำให้มีน้ำจากใต้ดินขึ้นมา ทำให้ดินบริเวณนั้น เป็นโพรง ทำให้กำแพงทรุดตัว ถนนพัง และถ้าสังเกตจากในรูปนี้จะเห็นว่ามีหิน มีดินทราย ในท่อระบายน้ำทำให้ตื้นเขินและเกิดน้ำล้นตลิ่งได้หากฝนตกหนัก จึงขอฝากไปยังเทศบาล นครหาดใหญ่ให้รีบดำเนินการก่อสร้างให้เสร็จโดยไว เนื่องจากตอนนี้เข้าสู่ฤดูฝนของภาคใต้ แล้วหากยังปล่อยไว้แบบนี้จะเกิดปัญหาตามมาและเกิดปัญหาน้ำท่วมในบริเวณนั้นแน่นอน และที่สำคัญท่านจะเห็นว่าก่อนหน้านี้มีเพื่อนสมาชิกได้กล่าวไปแล้วเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ขอให้เร่งดำเนินการโดยไวนะคะ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ พี่น้องประชาชนที่ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เดือดร้อนจากการสัญจรยากลำบากเนื่องจากการเดินทางที่ต้องอ้อมไกลในการข้ามฝั่ง เดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยมายาวนานแล้ว ตอนหลังมีการสร้างอ่างเก็บน้ำ จึงกลายเป็นเกาะขึ้นมาแยกเป็น ๒ ส่วน ประชาชนกำลังรอการสร้างสะพานเชื่อมระหว่าง ๒ ฝั่งอยู่นะคะ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลตำบลลานข่อยร่วมกับองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดพัทลุงได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ ณ ตอนนี้ ยังทำอะไรไม่ได้ยังรออยู่นะคะ เนื่องจากกรมชลประทานไม่สามารถอนุญาตเองได้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก็ไม่ทำอะไรนะคะ จึงขอเร่งดำเนินการ ให้มีการจัดทำสะพานตรงบ้านห้วยน้ำใสโดยเร่งด่วนค่ะ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประเด็นต่อไป ความเดือดร้อนของพี่น้องชาวจังหวัดพัทลุงก็คือชาวบ้าน เดือดร้อนจากน้ำท่วมเนื่องจากมีการทำถนนใหม่ แต่ท่อที่ใช้คือมีขนาดเล็กทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ระบายไม่ทันในฤดูฝน จะเห็นจากภาพนี้ว่าน้ำท่วมเข้าบ้านเรือนที่จังหวัดพัทลุง อำเภอเขาชัยสน แล้วก็เป็นแบบนี้มาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งในอนาคตประชาชนวางแผนไว้ว่าจะทำเป็น แหล่งท่องเที่ยวในบริเวณนั้น จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วนด้วยค่ะ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ต่อไปปัญหาน้ำประปาไม่ไหล ในขณะนี้คลองนี้เป็นคลองที่แห้งเนื่องจาก มีการกั้นฝายทำชลประทานในหมู่ที่ ๙ ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ตอนนี้ ชาวบ้านแก้ปัญหาโดยการดูดน้ำจากคลองมาใช้อยู่ ซึ่งจากคลองเองบางทีก็มีสารเคมีจากคลอง ทำน้ำไม่สะอาดนะคะ จึงของบประมาณจัดทำเจาะบ่อบาดาลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือให้การประปาส่วนภูมิภาคขยายการบริการถึงจุดนั้นค่ะ

นางสาวชุติมา คชพันธ์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๕ เรื่องสุดท้าย ลักษณะเดียวกันแต่เป็นอีกที่หนึ่ง คือหมู่ที่ ๑๐ ตำบลท่ามิหรำ จังหวัดพัทลุง เกิดปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคไม่ปลอดภัยเนื่องจากสูบน้ำ จากลำคลองมีโอกาสปนเปื้อนสารเคมีจากการเกษตร ต้องการให้การประปาส่วนภูมิภาค ขยายขอบเขตการให้บริการประชาชนจนถึงบริเวณนั้น จึงขอฝากท่านประธาน ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วนด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านอับดุลอายี สาแม็ง เชิญครับ

นายอับดุลอายี สาแม็ง ยะลา ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพครับ ผม นายอับดุลอายี สาแม็ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๓ จังหวัดยะลา เขตอำเภอกรงปินัง อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต และอำเภอเบตง พรรคประชาชาติ ผมขอหารือกับท่านประธาน ๑ เรื่องนะครับ

นายอับดุลอายี สาแม็ง ยะลา ต้นฉบับ

เนื่องจากว่าครั้งที่ผ่านมาผมก็ได้หารือประเด็นคล้าย ๆ กันนี้แล้วก็คือ เรื่องช้างป่า เหมือนท่านสมาชิกที่มีการหารือจากปราจีนบุรีเมื่อสักครู่ ของผมครั้งที่แล้ว เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคมก็มีช้างป่าที่มันทำลายทรัพย์สินเป็นผลทุเรียนที่กำลังจะเก็บผล ในระยะเร็ววัน แต่ว่าได้รับความเสียหาย ณ ขณะนี้เป็นร้อยล้านบาทอยู่ในระหว่าง การเยียวยาของกองทุนอุทยานแห่งชาติ แต่ยังไม่ได้รับการเยียวยาใด ๆ ระหว่างนั้น เมื่อวานซืนก็คือวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๖ ก็เกิดเหตุอย่างสลดใจเหมือนว่า ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรกอะไรอย่างนั้นนะครับ ช้างมันก็ดุกว่าที่ทางปราจีนบุรีพูดเมื่อสักครู่ ไล่เหยียบชาวบ้านเสียชีวิตไป ๑ ท่าน ในเขตหมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านแหร บ้านบัวทอง อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เรื่องนี้ก็ได้มีการนำเสนอไปตามลำดับแล้ว ก็อยากจะให้ช่วยเร่งการหาเงิน มาเยียวยาความเสียหายที่เกิดกับชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน เรื่องนี้ก็ถือว่า เป็นเรื่องใหญ่มากยังไม่เคยเกิดในพื้นที่ของจังหวัดยะลา เพราะช้างก็อย่างว่าช้างก็มาหากิน ในพื้นที่ในหมู่บ้าน ในเขตบ้านเรือนของพี่น้องประชาชนเป็นเหตุการณ์ที่เกิดกลางวันแสก ๆ ประมาณสัก ๙ โมงกว่าเกือบ ๑๐ โมง ช้างก็มากินพืชผลทุเรียน เจ้าของสวนก็เห็นว่า มันเป็นเรื่องเกิดความเสียหายต่อเขา เขาก็ไปหาวิธีการต้อนช้างไล่ต้อนออกไปจากพื้นที่สวน ก็โดนช้างวิ่งต้อนกลับมาเหยียบเจ้าของสวนได้เสียชีวิตไปเมื่อวันที่ ๕ กันยายนที่ผ่านมา ก็อยากจะให้ท่านประธานประสานไปยังกองทุนอุทยานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะ มาเยียวยาอย่างเร่งด่วน ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของการเสียขวัญและกำลังใจของชาวสวน ทุเรียนในเขตพื้นที่เขตผมเป็นอย่างมาก ครั้งที่แล้วก็เสียหายเป็น ๑๐๐ ล้านบาทก็ไม่ได้รับ การดูแลเยียวยาจากภาครัฐ วันนี้ก็เสียชีวิตไปอีก ๑ คน กลายเป็นว่าเราจะต้องหาวิธีการ อย่างเร่งด่วน ก็ฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบมาเยียวยาเรื่องนี้ ให้เร่งด่วนเพื่อฟื้นในเรื่องของความรู้สึกให้เกิดขวัญและกำลังใจในการที่จะทำอาชีพ การเกษตรต่อไป ส่วนเรื่องของการดำเนินการในระยะที่ ๒ ระยะที่ ๓ ก็อยากจะมี การประสานเพื่อวางแผนให้เกิดการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุลักษณะอย่างนี้อีกนะครับ ก็ต้องขอขอบคุณท่านประธานเป็นอย่างมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่านต่อไปนะครับ ท่านยูนัยดี วาบา ท่านประสาท ตันประเสริฐ และท่านบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เชิญท่านยูนัยดี วาบา ครับ

นายยูนัยดี วาบา ปัตตานี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายยูนัยดี วาบา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเลือกตั้งที่ ๔ จังหวัดปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ ขอหารือปัญหาของพี่น้องในพื้นที่ ๔ เรื่อง

นายยูนัยดี วาบา ปัตตานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ สะพานข้ามคลองตาหยาด เทศบาลเมืองตะลุบัน อำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี ได้รับเรื่องร้องเรียนจากกลุ่มประมง พื้นบ้านปาตาติมอ บ้านบางตาหยาดว่าสะพานดังกล่าวมีช่องลอดต่ำมากทำให้เรือประมง พื้นบ้านกว่า ๒๐๐ ลำ และเรือประมงขนาดกลางไม่สามารถผ่านได้ ส่วนเรือประมงขนาดเล็ก ต้องรอระดับน้ำลดจึงจะลอดผ่านได้ทั้งนี้ประมงพื้นบ้านเป็นอาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่ ได้รับผลกระทบไม่สามารถสัญจรได้ปกติ รวมถึงไม่สามารถนำเรือมาหลบขณะมีมรสุมได้ ด้วยสะพานข้ามคลองดังกล่าวมีประชาชนใช้งานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล ท่องเที่ยวที่สำคัญ แต่เนื่องด้วยสะพานดังกล่าวได้ก่อสร้างมานานมากแล้ว มีความชำรุด ทรุดโทรมและแคบทำให้การสัญจรในช่วงเทศกาลต่าง ๆ มีรถยนต์เป็นจำนวนมาก มีความแออัด การจราจรหนาแน่น เกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนที่ใช้สัญจร ฝากท่านประธานประสานกรมโยธาธิการและผังเมืองพิจารณา งบประมาณปรับปรุงซ่อมแซม หรืออาจจะพิจารณาก่อสร้างสะพานที่มีความเหมาะสมต่อไป

นายยูนัยดี วาบา ปัตตานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ โครงการก่อสร้างสะพานแม่น้ำสายบุรี สาย ปน.๒๐๖๑ บ้านสายบุรี ได้รับเรื่องร้องเรียนจาก ส.อบจ. สุไลมาน ดาราโอะ และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ตำบลตะบิ้ง และเทศบาลเมืองตะลุบัน ปัจจุบันมีสะพานข้ามเพียงข้างเดียว มีการจราจรที่หนาแน่น โดยเฉพาะเวลาเช้าและเย็น เวลาที่นักเรียนไปเรียน และสะพานเดิมที่ชำรุดยังไม่ได้รื้อถอน มีวัชพืชขึ้นเป็นจำนวนมาก มีการตั้งลวดหนามเพื่อไม่ให้สัญจร ทั้งนี้อำเภอสายบุรีเป็นเมือง แห่งประวัติศาสตร์และเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว แต่การจราจรไม่สามารถอำนวย ความสะดวกให้กับคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว และยังมีสภาพที่ไม่เหมาะสมกับเมือง แห่งการท่องเที่ยวอีกด้วย จึงขอให้ท่านประธานประสานไปยังหน่วยงานกรมทางหลวงชนบท ได้พิจารณางบประมาณในการรื้อถอนและก่อสร้างสะพานใหม่อีกเส้น เพื่ออำนวยความสะดวก ในการเดินทางของคนในพื้นที่ต่อไป

นายยูนัยดี วาบา ปัตตานี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ การกัดเซาะริมแม่น้ำสายบุรี ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านบริเวณบ้านตะบิ้ง บ้านมะนังดาลำ บ้านปายอ บ้านแซะโม๊ะ ของอำเภอสายบุรี ทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะดังกล่าว ต้นไม้ ยางพารา พืชผลการเกษตร และอาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง และที่ดินของชาวบ้านพังลงในแม่น้ำเป็นจำนวนมาก ได้รับความเดือดร้อน จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมเจ้าท่าก่อสร้างเขื่อนกั้นตลิ่ง เร่งรัดแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยครับ ราคายาง ก็ถูกอยู่แล้วต้นยางยังล้มลงแม่น้ำ และการกัดเซาะของตลิ่งอีก สงสารชาวบ้านครับ

นายยูนัยดี วาบา ปัตตานี ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้าย ได้รับเรื่องจากการลงพื้นที่พร้อมกับกำนันอาแด เวาะฮะ กำนันตำบลน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ ว่าชาวบ้านต้องการขยายถนนพร้อมไฟส่องสว่าง และจุด Check In แหล่งท่องเที่ยวอำเภอปะนาเระ สายบุรี ในเส้นทางเชื่อมต่อระหว่าง อำเภอสายบุรี กับอำเภอปะนาเระ ทางหลวงหมายเลข ๔๑๕๗ เป็นเส้นทางติดชายหาด ที่ระยะทางกว่า ๕ กิโลเมตรซึ่งเป็นเส้นทางที่สวยงามมาก มีการขนส่งสินค้าและอาหารทะเล ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวอีกด้วยครับ ขอให้ท่านประธานช่วยประสาน กรมทางหลวงด้วยครับ ขอบคุณท่านประธานครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านประสาท ตันประเสริฐ เชิญครับ

นายประสาท ตันประเสริฐ นครสวรรค์ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ เพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม นายประสาท ตันประเสริฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครสวรรค์ เขตเลือกตั้งที่ ๖ พรรคชาติพัฒนากล้า ท่านประธานครับ Slogan ของพรรคชาติพัฒนากล้า มีงานมีเงินของไม่แพง ฝากไปถึงรัฐบาล ฯพณฯ เศรษฐา ทวีสิน ด้วย ผมเชื่อว่าท่านทำได้ ท่านประธานครับ สิ่งที่จะขอหารือท่านประธานผ่านไปยัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องสำคัญจริง ๆ มาตรการนโยบายต่าง ๆ ที่จะต้องเตรียมการเยียวยาพี่น้องเกษตรกรชาวนาชาวไร่ ท่านประธานครับ วันนี้ท่าน สส. มานพ ศรีผึ้ง ที่อยู่ข้าง ๆ ผม นครสวรรค์ เขต ๔ ไม่แตกต่างกัน ของผมอำเภอลาดยาว อำเภอแม่วงก์ อำเภอแม่เปิน อำเภอชุมตาบง พี่น้องเกษตรกรถ้าไล่มานี่ ๓ ครั้งแล้ว ปลูก ๓ ครั้งแล้วยังไม่รอด ชาวนาประสบปัญหาภาวะแห้งแล้งหมด วันนี้ข้าวเปลือกราคาดี ๑๑,๐๐๐ บาท ๑๒,๐๐๐ บาท ๑๓,๐๐๐ บาท แต่พี่น้องชาวนาไม่มีข้าวจะขาย มันเป็นอย่างนั้น ราคาดีแต่ไม่มีข้าวขาย พี่น้องเกษตรกรชาวนาวันนี้มองหน้ากัน ผมไม่ทราบ นะครับว่าพี่น้องเกษตรกรชาวนาชาวไร่จะอยู่กันอย่างไร จึงเรียนหารือท่านประธานฝากไปยัง คณะรัฐบาล ชุดที่ ๓๐ ด้วย ท่านประธานครับ หลาย ๆ เรื่องของพี่น้องซึ่งเป็นหน้าที่ของเรา ผู้แทนราษฎรที่จะต้องนำความทุกข์ความเดือดร้อนขอมาบอกต่อผู้บริหารประเทศ ท่านประธานครับ วันนี้ไปที่ไหนไม่มีใครยิ้ม หน้าแห้งกันหมด ค่าเช่านาก็จ่าย นาก็ทำ แต่ไม่ได้อะไรมาเลย ทำไร่มันสำปะหลังลงทุนไปแล้ว ลงไปแล้ว ๆ ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจึงเรียนฝากท่านประธานไปถึงรัฐบาลเตรียมมาตรการทุกอย่าง การเยียวยา ซึ่งอยู่ในส่วนกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย ท่านประธานครับ กองทุนหมู่บ้านก็เหมือนกัน เดือนสองเดือนนี่จะเก็บต้นเก็บดอกกันอีกแล้ว วันนี้ไม่มีจะส่ง ถ้าจะส่งต้นต้องไปหาเงินกู้ข้างนอก เสียทั้งดอกนอกดอกใน เพราะฉะนั้นฝากท่านประธานไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีดำริไปยังท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในเรื่องพักชำระเงินต้นกองทุนหมู่บ้าน เพื่อพี่น้องทุกหมู่บ้าน ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เชิญครับ

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต ๓ พรรคพลังประชารัฐ วันนี้กระผมขอหารือผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของกระผม

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ เรื่องความตื้นเขินของแม่น้ำป่าสัก จากภาพนะครับท่านประธาน แม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหลักของจังหวัดเพชรบูรณ์ที่ไหลผ่านตั้งแต่อำเภอหล่มเก่า ทางเหนือของจังหวัดเพชรบูรณ์จนถึงทางใต้สุดของจังหวัดเพชรบูรณ์คืออำเภอศรีเทพ และยังเป็นแม่น้ำที่ให้คุณประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกรทั้ง ๒ ฝั่ง และยังให้พี่น้องเกษตรกร ได้ใช้ทั้งการเกษตรและอุปโภคบริโภค แถมยังทำให้พี่น้องประชาชนใน ๒ ฝั่งแม่น้ำป่าสักนี้ ได้เดือดร้อนเหมือนกันในฤดูฝนของทุก ๆ ปีนะครับ ซึ่งในฤดูฝนนี้แม่น้ำป่าสักจะมีมวลน้ำ ปริมาณน้ำที่ค่อนข้างมากและถ้าไหลไม่ทันก็จะทำให้ท่วมพื้นที่เกษตรกรและพื้นที่เศรษฐกิจ ตั้งแต่อำเภอหล่มเก่าถึงอำเภอศรีเทพของจังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ปีนี้ท่านประธานครับ ฤดูฝนก็มาแล้ว เดือนนี้เป็นเดือนกันยายนประเทศไทยเจอปรากฏการณ์ El Nino ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ในแม่น้ำป่าสักทุกวันนี้ยังไม่มีน้ำเลยนะครับ ถ้าดูจากภาพประกอบ เราจะเห็นแม่น้ำป่าสักตื้นเขินมีดินตะกอนสะสมเป็นจำนวนมาก ปัญหาเหล่านี้ผมได้รับ การร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนและผู้นำมาฝากเรียนผ่านท่านประธานไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่บ้านวังม่วง หมู่ที่ ๘ บ้านวังขอนหมู่ที่ ๑ ตำบลตาดกลอย ระยะทาง ดินสะสมประมาณ ๖ กิโลเมตร และตั้งแต่ฝายศรีจันทร์ บ้านวังมล ตำบลท่าอิบุญ จนถึงบ้านสักหลง หมู่ที่ ๓ ตำบลสักหลง อำเภอหล่มสัก ระยะทางประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ทำให้ดินตะกอนตื้นเขินแล้วก็ทำให้ไม่มีน้ำให้เกษตรกรได้ใช้นะครับ จะบอกว่าเป็นความโชคดี ของพี่น้องเกษตรกรที่ปีนี้น้ำอาจจะไม่ท่วมก็ได้ แต่เราจะเห็นได้ว่าดินตะกอนมันเยอะมาก จึงอยากเรียนท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมชลประทาน และกรมเจ้าท่าให้ช่วยเร่งหางบประมาณขุดลอกและสร้างฝายชะลอน้ำ กักเก็บน้ำในแม่น้ำป่าสัก เป็นระยะ ๆ เพื่อให้เกษตรกรได้มีน้ำใช้ และป้องกันน้ำท่วมตลอดไปด้วยครับ

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ได้รับการร้องเรียนจากท่านนายกชัยณรงค์ พันธุ์จงกล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหล่มเก่า ว่าแม่น้ำตื้นเขินด้วยตะกอนสะสม เป็นระยะทาง ๕ กิโลเมตรเช่นกัน ตั้งแต่บ้านวังแข้ หมู่ที่ ๑๐ จนถึงหน้าฝายวังสิม หมู่ที่ ๕ เทศบาล ตำบลหล่มเก่า อยากเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยเร่งแก้ไขด้วยนะครับ

นายบุญชัย กิตติธาราทรัพย์ เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ท่านประธานอีกนิดเดียวครับ ได้รับการร้องเรียนจากนายกเทศบาล ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ ถึงความเดือดร้อนเรื่องถนนสายเปี่ยมสุข จากบ้านดงหลวง หมู่ที่ ๖ ถึงบ้านทุ่งนาแล หมู่ที่ ๑๑ ตำบลแคมป์สน ระยะทาง ๒,๒๐๐ เมตร เส้นทางนี้ เป็นการสัญจรของพี่น้องเกษตรกรและนักท่องเที่ยว อำเภอเขาค้อเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญ ก็เลยอยากฝากเรียนถึงกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นช่วยเร่งรัดจัดงบประมาณ ให้เทศบาลตำบลแคมป์สนเพื่อปรับปรุงด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่าน ท่านพิมพฤดา ตันจรารักษ์ ท่านที่ ๒ ท่านกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ท่านที่ ๓ ท่านจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล เชิญท่านพิมพฤดา ตันจรารักษ์ เชิญครับ

นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพค่ะ ดิฉัน นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต ๓ พรรคภูมิใจไทย วันนี้ดิฉันมีเรื่องที่จะมาปรึกษาหารือท่านประธาน ๓ ประเด็นด้วยกันค่ะ

นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ

ประเด็นแรก ปัจจุบัน พี่น้องประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังต้องการขยายเขตระบบไฟฟ้า เนื่องจากไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้มีโครงการขยายเขตไฟฟ้าโดยวิธี ปักเสาพาดสายให้บ้านเรือนราษฎรรายใหม่ ซึ่งการไฟฟ้าเองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้กับ พี่น้องประชาชน ครัวเรือนละ ๗๕,๐๐๐ บาท หากการขยายเขตมีระยะทางที่ไกลเกิน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้ใช้ไฟจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายสมทบเพิ่มเติมเองนะคะ ซึ่งก็พบว่าเทศบาลหรือ อบต. ไม่มีงบประมาณดังกล่าวที่จะรองรับให้กับพี่น้องประชาชน ดังนั้นดิฉันจึงอยากนำเรียนท่านประธานผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้พิจารณา ตั้งงบประมาณประจำปีเพื่อรองรับโครงการดังกล่าว เป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ให้กับพี่น้องประชาชนค่ะ

นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ปัญหาหลักของประชาชนเกี่ยวกับไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นไฟดับ ไฟตก ต้นไม้อยู่ใกล้แนวสายไฟฟ้า เสาไฟฟ้าตั้งอยู่ในพื้นที่ของประชาชน ดิฉันเอง ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต ๑ ภาคกลาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้ามาร่วมกันบูรณาการในการแก้ปัญหาร่วมกับท้องถิ่น โดยการนำร่องในพื้นที่อำเภอภาชี ได้มีโครงการ PEA and ภาชีร่วมใจไฟมั่นคง ซึ่งพบว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เพราะว่าเป็นการแก้ไขปัญหาเชิงรุกให้กับพี่น้องประชาชน จึงอยากจะขอให้ขยายโครงการ ที่มีประโยชน์แบบนี้ต่อไปยังอำเภออื่นด้วยค่ะ

นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ พระนครศรีอยุธยา ต้นฉบับ

ส่วนประเด็นสุดท้าย คือปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ใช้เส้นทาง ถนน อย.๓๐๑๒ ซึ่งเชื่อมตำบลสามบัณฑิต ตำบลบ้านหีบ ตำบลเสนา ตำบลหนองไม้ซุง อำเภออุทัย และเชื่อมตำบลระโสม อำเภอภาชี มีปัญหาผิวจราจรชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก และไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างด้วยค่ะ อีกเส้นทางหนึ่งก็คือถนน อย.๔๐๑๕ ตำบลลำตาเสา อำเภอ วังน้อย เชื่อมตำบลหนองน้ำส้ม อำเภออุทัย ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญเชื่อม ๒ อำเภอ มีปัญหาผิวจราจรเสียหายเป็นอย่างมาก เป็นหลุมเป็นบ่อหลายจุด จึงอยากจะฝาก ท่านประธานไปยังกรมทางหลวงชนบทให้จัดสรรงบประมาณมาซ่อมแซมผิวจราจรใหม่ พร้อมทั้งติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้เส้นทาง ขอบพระคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ เชิญครับ

นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ นราธิวาส ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๕ นราธิวาส ประกอบด้วย อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ และอำเภอศรีสาคร พรรคประชาชาติ ท่านประธานครับ ประเด็นหารือของผม ในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องที่ผมเคยอภิปรายในสภามา ๒ ครั้ง นั่นก็คือเกี่ยวกับเหตุการณ์ กรณีโกดังพลุระเบิดที่มูโนะ ท่านประธานที่เคารพครับ ผ่านไปเดือนกว่าพรรคประชาชาติ ก่อนหน้านี้เราก็ได้ตั้งคณะทำงานติดตามการดำเนินการแก้ไขเยียวยาและการดำเนินคดี กับเจ้าของโกดัง เราได้บทสรุปอย่างนี้ครับท่านประธาน เราไม่อยากให้เสียงพลุเงียบหาย ไปตามกาลเวลากับการเอาใจใส่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เพราะตอนนี้ เขาตั้งความหวังให้กับรัฐบาลชุดใหม่ว่าจะดำเนินการอย่างไร ประเด็นมีอยู่ ๒ ประเด็นครับ ท่านประธานที่ผมอยากหารือท่านประธานเพื่อไปถึงหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ แยกเป็น ๒ เรื่องครับท่านประธาน ที่เป็นประเด็นคำถามหลาย ๆ เรื่องในพื้นที่ตอนนี้ก็คือ

นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ นราธิวาส ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ เกี่ยวกับเงินกองทุนที่มีอยู่ตอนนี้ ๑๐๐ กว่าล้านบาท ที่ได้รับ จากหน่วยงานรัฐ เงิน ๑๐๐ กว่าล้านบาทนี้ทางผู้ดูแลรับผิดชอบ หน่วยงานที่รับผิดชอบ จะดำเนินการในเรื่องอะไร อย่างไรบ้าง เพราะจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการเบิกจ่ายนะครับ

นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ นราธิวาส ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ก็คือเงินบริจาค เงินบริจาคตอนนี้ที่อยู่ทางจังหวัดมีอยู่ทั้งหมด ๓๓ ล้านกว่าบาทเศษ เบิกจ่ายไปแล้ว ๕,๒๐๐,๐๐๐ บาท ยังเหลืออีก ๒๘ ล้านบาท ท่านเก็บไว้ทำไมครับ ชาวบ้านเขาขอให้ได้รับการเยียวยาช่วยเหลือในเรื่องหลาย ๆ เรื่อง ผมให้กำลังใจกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานครับ หลายหน่วยงานเจ้าหน้าที่ที่อยู่พื้นที่เหนื่อย แต่ระดับนโยบายมันมีเสียงหลาย ๆ อย่างที่พรรคเราไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ต้องส่งเสียง ในสภานี้ละครับว่าทางจังหวัดจะดำเนินการอย่างไรกับ ๒๘ ล้านบาทที่เหลือ และที่เบิกจ่าย ไปแล้วอยากให้มีการตรวจสอบ

นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ นราธิวาส ต้นฉบับ

ประเด็นสุดท้าย ท่านประธานครับ เรื่องการดำเนินคดีผมอภิปราย ๒ รอบว่า ตอนนี้เจ้าของโกดังไม่ได้รับการประกันตัว ดำเนินคดีอาญาก็ว่ากันไป แต่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ที่ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ยังไม่ได้ถูกแจ้งข้อกล่าวหาเลยครับท่านประธาน ผมเชื่อว่า หลังจากนี้ไปหากมีการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่มันก็จะกลับไปสู่กฎหมายเรื่องการเยียวยา ชาวบ้านจะได้รับเงินเยียวยา ๕๐๐,๐๐๐ บาท ตาม ก.บ.ต. ตามกฎหมายที่มีอยู่ ตามระเบียบที่มีอยู่ ท่านประธานครับ ขอบคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล ครับ

นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล สุโขทัย ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ กระผม นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย เขต ๔ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ ผมได้รับคำร้องเรียนจากผู้เช่าที่ดินของการรถไฟ แห่งประเทศไทยทั่วประเทศที่มีรถไฟวิ่งผ่าน ในอัตราการเช่าพื้นที่อาศัยบริเวณริมทางรถไฟนั้น มีอัตราสูงขึ้นผิดปกติเป็นถึง ๒๐๐-๓๐๐ เท่า กราบเรียนว่าโดยเฉพาะที่อำเภอสวรรคโลกนั้น มีประชากร ๔๐๐-๕๐๐ ราย ประมาณเกือบ ๑๐๐ ครอบครัว เช่าที่ดินมาเกือบ ๓๐-๔๐ ปี ในอัตราเดือนละประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ บาท จนล่าสุดนี้อาคารคูหา ๒ คูหานั้น ๑,๗๐๐ บาท การรถไฟแห่งประเทศไทยนั้นได้เพิ่มอัตราใหม่แจ้งมาให้ทราบว่าจะเก็บจาก ๑,๗๐๐ บาท ๑,๘๐๐ บาท เป็น ๗,๐๐๐-๘,๐๐๐ บาท ในขณะที่รัฐบาลของท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน นั้นกำลังลดความเดือดร้อนให้พี่น้องโดยการมอบเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อสภาพคล่อง ของครอบครัว พักหนี้ ลดค่าไฟฟ้า แต่ขณะเดียวกันการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น กลับเพิ่มหนี้ เพิ่มภาระให้กับพี่น้องประชาชน เกิดการฟ้องร้องไล่ที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ผู้เช่านั้นไม่จ่ายตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ เป็นต้นมา รายหนึ่ง ๗๐๐,๐๐๐-๘๐๐,๐๐๐ บาท ถึง ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท สภาพหนี้อย่างนี้ในประเทศไทยนั้นผมว่าไม่มีองค์กรของรัฐไหนที่ฟ้องร้อง ขับไล่ที่แล้วก็เรียกเงินจากการเช่าที่ดินมากที่สุดขนาดนี้ จึงกราบเรียนไปถึงผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย ว่าขอความกรุณาทบทวนราคาอัตราที่เหมาะสมจาก ๑,๗๐๐ บาท หรือ ๑,๘๐๐ บาท นั้นเป็นสัก ๒,๕๐๐ บาท หรือ ๓,๐๐๐ บาท เขาก็พอรับได้ครับ ผู้หลักผู้ใหญ่ หรือคนเฒ่าคนแก่ที่อาศัยอยู่เครียดครับ บางคนบอกว่าจะไปอยู่วัด บางคนจะฆ่าตัวตาย ก็เพราะว่าหนี้สิน ๗๐๐,๐๐๐-๘๐๐,๐๐๐ บาท ใครจะไปหาได้ เพราะว่าการรถไฟ แห่งประเทศไทยนั้นเรียกอัตราโหดมาก จึงกราบเรียนถึงท่านนายกรัฐมนตรี ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ขอให้รับทราบแล้วก็เข้าไป ดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องที่เช่าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ตลอดจนท่านผู้ว่าการ การรถไฟ แห่งประเทศไทยนั้นให้ความเมตตา แล้วก็ทบทวนราคาใหม่ แล้วก็ยกเลิก การฟ้องร้องต่อเนื่องจากหลาย ๆ รายที่ท่านฟ้องร้องไปกราบเรียนท่านประธานสื่อไปถึง ท่านผู้ว่าการ แล้วก็ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย

นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล สุโขทัย ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่งครับท่านประธาน ความเดือดร้อนอีกเรื่องหนึ่งถือว่าเดือดร้อน ก็ไม่ได้อำเภอศรีสัชนาลัยเป็นอำเภอที่ใหญ่ที่สุดพื้นที่กว้างที่สุดของจังหวัดสุโขทัย ได้รับงบประมาณจากโรงพยาบาลศรีสัชนาลัย ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก ๖๐ เตียง นั้นได้แต่อาคารเปล่ากับไฟฟ้าบางส่วน แต่ไม่มีครุภัณฑ์ทางการแพทย์ แล้วก็อุปกรณ์ครุภัณฑ์ เตียงผู้ป่วยเลยสักชิ้นหนึ่ง ในปี ๒๕๖๗ ก็จะสร้างเสร็จนะครับ ก็กราบเรียน ถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านคุณหมอชลน่าน ศรีแก้ว ให้ความกรุณา จัดซื้อเครื่องมือ แล้วก็ครุภัณฑ์เตียงผู้ป่วยเสริมไปเพื่อพี่น้องชาวศรีสัชนาลัยนั้น จะเกิดประโยชน์สูงสุด

นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล สุโขทัย ต้นฉบับ

แล้วก็โรงพยาบาลอีกที่หนึ่งครับ โรงพยาบาลศรีนคร เป็นโรงพยาบาลที่ ๔๐-๕๐ ปีแล้วครับได้อาคารแค่ ๒ หลัง ชั้นเดียว จึงกราบเรียนถึงท่านรัฐมนตรีเช่นเดียวกันครับว่าขออาคารผู้ป่วยนอกสักหลังหนึ่ง เป็นห้องฉุกเฉินหรือปฏิบัติการอุบัติเหตุ วันนี้ท่านเห็นสภาพแล้วผมไม่เชื่อว่านี่คือโรงพยาบาล ประจำอำเภอระดับอำเภอ จึงกราบเรียนถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านคุณหมอชลน่านที่พี่น้องชาวชนบทอยากให้ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขอความกรุณาอาคารสัก ๑ หลัง ให้กับโรงพยาบาลศรีนคร เพื่อใช้เป็นประโยชน์ ของผู้ป่วยนอกครับ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่านนะครับ ท่านที่ ๑ ท่านเทอดชาติ ชัยพงษ์ ท่านที่ ๒ ท่านเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ ท่านที่ ๓ ท่านจรัส คุ้มไข่น้ำ เชิญท่านเทอดชาติ ชัยพงษ์ ครับ

นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพครับ ผม เทอดชาติ ชัยพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต ๕ อำเภอเทิง พญาเม็งราย ขุนตาล และตำบลบุญเรือง มีเรื่องที่จะเรียนหารือฝากท่านประธานไปยังหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ๔ เรื่อง ครับ

นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ

เรื่องแรก ถนนหมายเลข ๑๐๒๐ เชียงราย-เทิง ช่วงโค้งเชียงเคี่ยนตั้งแต่ตำบลแม่ลอย ถึงตำบลเชียงเคี่ยน อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ที่เชื่อมต่อถนนสายเทิง-แม่ลอย แล้วก็เชียงเคี่ยน-เชียงราย เป็นเส้นทาง ที่มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยเนื่องจากว่าเป็นทางคดเคี้ยวลำบากและถนนแคบ เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องฝากให้ทางกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม นั้นได้ดำเนินการจัดสร้าง ถนนเส้นนี้โดยเร็วนะครับ

นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ของบประมาณก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเทิง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เพราะว่าโรงพยาบาลแห่งนี้นั้นรองรับประชากรทั้ง ๔ อำเภอ ทั้งอำเภอเทิง พญาเม็งราย ขุนตาล เชียงคำ แล้วก็ป่าแดด เพราะฉะนั้นก็ยังขาดอาคารผู้ป่วย ผมได้ไปดูแล้วปรากฏว่าน่าเห็นใจมากครับ ก็ฝากกราบเรียนผ่านท่านประธาน ไปยังท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านหมอชลน่าน ได้ขออนุมัติงบประมาณ ก่อสร้างอาคารนะครับ

นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ อันนี้เป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ว่าเป็นเรื่องใหญ่ของชาวบ้านนะครับ เส้นทางคมนาคมระหว่างตำบลแม่เปาไปยังขุนห้วย ทางองค์การบริหารส่วนตำบลแม่เปา ขออนุญาตสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กเข้าทางบ้านสันเจริญ หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย ซึ่งใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลเอง แต่ปรากฏว่าไปติดอยู่ที่กรมเจ้าท่าก็ฝากเรียนท่านประธานว่ากรมเจ้าท่านั้นก็ควรจะอนุมัติ ให้ประชาชนนั้นได้มีสะพานที่กว้างแล้วก็คมนาคมได้สะดวกขึ้นได้แล้วนะครับ

นายเทอดชาติ ชัยพงษ์ เชียงราย ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๔ เรื่องการสร้างฝาย หรือเขื่อนยางกั้นแม่น้ำอิงซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก และเป็นเส้นเลือดใหญ่ของพี่น้องชาวอำเภอเทิง อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล และตำบลบุญเรือง ซึ่งน้ำอิงนั้นไหลลงสู่แม่น้ำโขง ในฤดูฝนนั้นจะมีน้ำปริมาณที่ค่อนข้างมาก แต่ฤดูแล้งนั้นมีน้ำแห้งขอด เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถที่จะกั้นฝายไว้ประมาณสัก ๔ จุด ตั้งแต่อำเภอเทิง อำเภอขุนตาล ตำบลบุญเรือง แล้วก็ลงที่เชียงของก่อนที่จะลงแม่น้ำโขง ถ้าเราสามารถจะกั้นน้ำไว้ใช้ประโยชน์เพื่ออุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตรแก่ประชาชนได้ ก็นับเป็นสิ่งที่ดี ก็ฝากเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านท่านประธานครับ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ เชิญครับ

นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ ผม นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังสังคมใหม่ ผมมีเรื่องหารือกับท่านประธานอยู่ ๓ เรื่องครับ

นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๑ ผมได้รับการประสานงานจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผาสิงห์ และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์ ให้ผมได้ประสานงานและติดตาม เรื่องการขยายเขตระบบประปาภูมิภาคจากเทศบาลเมืองน่านเข้าสู่ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ตำบลผาสิงห์ที่ยังไม่มีน้ำประปาอยู่ประมาณ ๖ หมู่บ้าน มี ๒,๙๐๐ ครัวเรือน ในตำบลผาสิงห์นี้เพราะในอนาคตจะเป็นที่ขยายเขตเมือง มีสนามบินนครน่าน มีสาธารณสุข จังหวัด กกต. จังหวัดจะอยู่แถวนั้นหมด ก็อยากจะฝากท่านประธานถึงการประปา ส่วนภูมิภาคให้ตั้งงบประมาณขยายเขตระบบประปาเข้าสู่ตำบลผาสิงห์ด้วยครับ

นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ผมได้รับการติดต่อจากพวกผู้นำท้องถิ่นและประชาชน ตลอดถึง หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ให้ติดตามโครงการก่อสร้างสถานี จ่ายน้ำประปา ในปี ๒๕๖๔ สำนักงานประปาได้ไปสำรวจพื้นที่และออกแบบแล้ว แล้วในปี ๒๕๖๕ ทางการประปาบอกว่าได้งบประมาณมาแล้ว ๒๐๐ กว่าล้านบาท แต่ปลายปีมาไม่รู้งบประมาณมันบินไปไหนครับ บินหายไปเลย แต่ตอนนี้ทางผู้นำท้องถิ่น ในอำเภอภูเพียงเขาอยากจะให้ผมได้มาติดตามโดยนำเรื่องเข้าสู่สภาผ่านท่านประธาน ไปถึงการประปาส่วนภูมิภาคของบประมาณที่ได้มาคืนมาหน่อยครับ ในปี ๒๕๖๗ นี้ เพราะว่าในพื้นที่ของเขตอำเภอภูเพียงมีศูนย์ราชการ มีโรงพยาบาล สถานีตำรวจ และมีประชากรทั้งหมดรวมแล้วประมาณ ๔,๐๐๐ ครัวเรือน ขาดน้ำอุปโภคและบริโภค ผมก็จะฝากท่านประธานผ่านไปการประปาส่วนภูมิภาคด้วยครับ

นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๓ ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๒ ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยากจะขอขยายเขตประปาไปสู่หมู่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลแม่ยวมขาดแคลนน้ำมาหลายปีแล้ว ก็อยากฝากท่านประธาน ไปถึงการประปาส่วนภูมิภาคช่วยจัดสรรงบประมาณลงให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านจรัส คุ้มไข่น้ำ ครับ

นายจรัส คุ้มไข่น้ำ ชลบุรี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายจรัส คุ้มไข่น้ำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต ๘ พรรคก้าวไกล ขออนุญาต หารือปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ๒ เรื่องครับท่านประธาน

นายจรัส คุ้มไข่น้ำ ชลบุรี ต้นฉบับ

เรื่องแรก คือปัญหาสะพานท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮาย และสะพาน ท่าเทียบเรือหาดหน้าบ้าน ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือขนส่งโดยสารระหว่างเมืองพัทยาและเกาะล้าน ขณะนี้เกิดการชำรุดทรุดโทรมเสียหาย อีกทั้งยังไม่มีหลังคากันแดดกันฝน ทำให้พี่น้อง ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางสัญจรไปมาได้รับความลำบาก เดือดร้อน ต่างต้องเดินเท้า ตากแดดตากฝนระยะทางมากกว่า ๕๐๐ เมตร เพื่อขึ้นเรือ ลงเรือ ซึ่งปัญหานี้กระผม ได้เคยนำเรียนอดีตท่านประธานชวน หลีกภัย ในคราวสมัยประชุมสภาปี ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่ได้มีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขแต่อย่างใด จึงอยากฝากท่านประธานผ่านไปยัง กระทรวงคมนาคม กรมเจ้าท่า และเมืองพัทยาอีกครั้งหนึ่ง ให้เร่งรัดจัดสรรงบประมาณมา เพื่อดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือทั้ง ๒ แห่ง และก่อสร้างหลังคา กันแดดกันฝนให้พี่น้องประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกและปลอดภัยด้วยครับ

นายจรัส คุ้มไข่น้ำ ชลบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ คือปัญหาพี่น้องประชาชนชาวตำบลเขาไม้แก้ว หมู่ที่ ๑ บ้านคอเขา หมู่ที่ ๔ ชุมชนแปลง ๘ แปลง ๙ หมู่ที่ ๕ บ้านภูไทร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ปัจจุบัน ยังไม่มีน้ำประปาและไฟฟ้าใช้ พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ ส.ป.ก. การออกเลขที่บ้านเป็นเลขที่บ้านชั่วคราว ไม่สามารถขอน้ำขอไฟฟ้าใช้ได้ ต้องซื้อน้ำซื้อไฟฟ้า ใช้กันตลอดมา เป็นปัญหาความเดือดร้อนมามากกว่า ๑๐ ปีแล้วครับท่านประธาน ดังนั้นกระผมจึงขออนุญาตฝากท่านประธานผ่านไปยังกระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น และ อบต. เขาไม้แก้ว ให้เร่งรัดพิจารณาตรวจสอบปัญหาดังกล่าว และหาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนได้มีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นด้วยครับ ขอขอบคุณท่านประธานครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อีก ๒ ท่านสุดท้ายนะครับ ท่านมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล แล้วก็ท่านบุญยิ่ง นิติกาญจนา เชิญท่านมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล ครับ

นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรด้วยความเคารพ ดิฉัน มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคภูมิใจไทย ขออนุญาตหารือเรื่องความเดือดร้อนของพี่น้อง ประชาชนในพื้นที่ต่อสภาผู้แทนราษฎรดังนี้นะคะ

นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ดิฉันได้รับร้องเรียนจากตัวแทนชาวบ้าน จากนายกำธร ศรีเปารยะ ว่าในเขตพื้นที่หมู่ที่ ๖ ตำบลพิปูน ที่บ้านเหนือคลองระแนะ และหมู่ที่ ๔ บ้านเหนือคลองโสน ตำบลเขาพระ อำเภอพิปูน ขอ Slide ด้วยนะคะ

นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

ได้มีชาวบ้านจำนวน ๗๓ ครัวเรือน ตามรายชื่อที่ได้แนบมาในจอ ไม่มีไฟฟ้าใช้นะคะท่านประธาน ดิฉันจึงได้รีบไป ลงพื้นที่เพื่อดูข้อเท็จจริง จึงพบว่าเส้นทางสัญจรไปมาก็ไม่สะดวก โดยเฉพาะโครงสร้าง พื้นฐานถนนและสะพาน ทางผ่านนั้นก็คือสะพานห้วยจำปา กว้าง ๑ เมตร เป็นสะพาน ที่ใช้เดินเท้าและรถมอเตอร์ไซค์ของทั้ง ๒ หมู่บ้าน เพื่อไปประกอบอาชีพขนส่งผลผลิตทุเรียน และยางพารา ปาล์ม เงาะ ตลอดถึงเส้นทางไปยังแหล่งท่องเที่ยว ชำรุด ไม่ปลอดภัย ดังนั้น สะพานในส่วนนี้ชาวบ้านได้ช่วยกันซ่อมสร้าง เพราะขาดเมื่อปี ๒๕๖๒ ด้วยงบจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาทขององค์การบริหารส่วนตำบล ต่อมาสะพานขาดก็ไม่มีงบประมาณ ในการก่อสร้าง ชาวบ้านจึงได้ดำเนินการใช้กันเอง สะพานห้วยหินดานเป็นสะพานไม้ ข้ามคลองระแนะ เป็นสะพานเดินเท้าเพื่อประกอบอาชีพของทั้ง ๒ หมู่บ้านนี้ และความ ต้องการของชาวบ้าน ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สร้างสะพานห้วยหินดานกว้างให้รถ กระบะข้ามได้เพื่อขนส่งผลิตผลทางการเกษตร และสร้างสะพานห้วยหินดานผ่านให้แข็งแรง ปลอดภัยเพื่อสัญจรไปมา ตลอดจนขอไฟ Solar Cell ไปใช้ก่อนเพื่อแก้ปัญหาในการใช้ไฟฟ้า ทั้ง ๗๓ ครัวเรือน และสามารถที่จะแก้ปัญหาช้างป่าที่เข้ามาทำลายทรัพย์สินในตอนกลางคืน ได้ด้วย ดังภาพที่ได้เห็นปรากฏที่สะพานนะคะ

นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

ต่อมาดิฉันได้รับข้อร้องเรียนจากท่านผู้ใหญ่ หมู่ที่ ๓ ตำบลพิปูน คือนายกิตติศักดิ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓ ตำบลควนกลาง อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ร้องเรียนว่า บริเวณต้นน้ำตาปีมีน้ำหลากแรงมากแล้วก็มีอุทกภัยทุกปี จึงมีการซ่อมแซมในแผ่นดิน ที่งอกขึ้นมาริมน้ำนะคะท่านประธาน แล้วก็ทางกรมชลประทานได้ทำแผงกั้นน้ำไว้ในด้านตรง ข้าม แต่อีกด้านหนึ่งเป็นทางน้ำที่เปลี่ยนใหม่เข้ามาสู่ถนนและเข้าหมู่บ้าน ขอให้ท่านประธาน ได้นำเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดิฉันจึงนำเรียนท่านประธานไปยังรัฐบาล เพื่อดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ โดยกรมเจ้าท่าและกรมชลประทานเพื่อดำเนินการ โดยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวทันที ก่อนที่จะถึงฤดูน้ำหลากอีกตามฤดูกาล ขอกราบขอบพระคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ต่อไปท่านบุญยิ่ง นิติกาญจนา เชิญครับ

นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ราชบุรี ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต ๒ พรรคพลังประชารัฐ ดิฉันขอฝากไปห้องโสตนะคะว่า อยากให้ถ่ายภาพเพื่อน ๆ ด้วยค่ะ เพื่อน ๆ นั่งเป็นกำลังใจให้ค่ะ

นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ราชบุรี ต้นฉบับ

ดิฉันได้รับเรื่องร้องจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรีและองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดราชบุรีและท้องถิ่นอื่น ๆ อีกหลาย ๆ จังหวัดนะคะ เรื่องขอให้ ทบทวนและแก้ไขการขออนุญาตและอนุญาตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ และ พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ คือได้กำหนดให้พื้นที่ที่ไม่ได้ ระบุความเป็นเจ้าของให้เป็นพื้นที่ของป่าไม้ ต้องขออนุญาตก่อนเข้าไปทำประโยชน์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ประชาชนที่บรรจุไว้ในแผนพัฒนา ของท้องถิ่นต้องปฏิบัติตามระเบียบนี้ให้แล้วเสร็จภายใน ๑๘๐ วัน เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ได้ขยายเวลาออกไปให้อีก ๑๒๐ วัน แต่เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๖ กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นได้ส่งหนังสือ ที่ มท ๐๘๑๐.๔/ว ๒๕๒๕ แจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ทุก ๆ จังหวัด เรื่อง การขออนุญาตใช้พื้นที่ของส่วนราชการ อ้างถึงด่วนที่สุด ที่ มท ๐๘๑๐.๘/ว ๑๘๘๓ ลงวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖ พื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างถนน ประปา การขุดลอกแหล่งกักเก็บน้ำ ก่อสร้างสาธารณูปโภคอื่น ๆ ต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ เท่านั้น ต้องขอจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ถึงจะดำเนินโครงการได้ เพิ่มข้อปฏิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลาปฏิบัติจริง การขออนุญาต และการให้อนุญาตมีความล่าช้าอยู่มากนะคะ คือผู้ขออนุญาตมีภาระหน้าที่อยู่มากก็ไม่ควรที่ จะเพิ่มข้อสั่งการที่มีจำนวนมาก ส่วนผู้ให้อนุญาต เช่น ป่าไม้จังหวัด ป่าไม้อำเภอ แต่เดิมก็มี บุคลากรไม่เพียงพอที่จะไปตรวจสอบและพิจารณาอนุญาตให้ได้ทัน ขณะนี้จาก Slide นี่คือถนนที่จะต้องพัฒนาซ่อมเพื่อให้ประชาชนสัญจรไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่ขณะนี้ โครงการเหล่านี้งบตกหมดแล้วจะไม่มีงบ หรือโครงการที่จะได้ทำต่อไปค่ะ ซึ่งโครงการต่าง ๆ ก็ตกไป ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในหลายด้านนะคะ ขอ Slide อ่างเก็บน้ำ

นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ราชบุรี ต้นฉบับ

นี่คืออ่างเก็บน้ำห้วยท่าเคยของอำเภอบ้านคา ขณะนี้เป็นหน้าฝนแต่ว่าฝนขาดช่วง เราไม่มีน้ำที่จะใช้ในการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร ซึ่งพี่น้องอำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านคา และอำเภอปากท่อก็ประสบปัญหาเช่นนี้ ซึ่งดิฉัน ขอฝากท่านประธานสภาผ่านไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเร่งรัดดำเนินการอนุญาต เพื่อแผนพัฒนาของจังหวัดราชบุรีและอีกหลาย ๆ จังหวัดที่รอใบอนุญาตจากส่วนกลาง ในปัจจุบันขอให้ส่วนกลางมอบอำนาจให้ตัวแทนของภาครัฐในจังหวัดต่าง ๆ ร่วมกัน บูรณาการสำรวจและอนุญาตโครงการที่ทั้งประเทศจะซ่อมสร้างถนน และพัฒนาแหล่งน้ำ ไม่ต้องชะงักและตกไป โดยที่ปัจจุบันใบอนุญาตออกมาไม่ทันกับการพัฒนาอย่างแน่นอน ขอความกรุณาด้วยนะคะ เป็นเรื่องที่เราพบปัญหาด้วยกันทั้งประเทศค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบพระคุณครับ ครบผู้อภิปรายเรื่องเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนแล้วนะครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

จำนวนสมาชิกที่มาประชุมทั้งหมดที่ลงชื่อไว้เมื่อเลิกประชุม ๔๗๖ คน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านสมาชิกครับขณะนี้มีสมาชิกมาประชุมอยู่ ๓๗๕ ท่าน ครบองค์ประชุมนะครับ ผมขอเปิด การประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระนะครับ ก่อนที่จะเข้าระเบียบวาระที่ ๑ ขอแจ้งให้ Whip ของทุกพรรคได้ดำเนินการประสานงานที่จะคัดเลือกประธาน คณะกรรมาธิการ ๓๕ คณะให้ลงตัวให้เร็วที่สุดนะครับ เพราะว่าประชาชนเสียโอกาส มาหลายเดือนแล้วนะครับ ขอให้ท่านได้เร่งประสานงานกันเพื่อให้เจรจากันได้ คณะกรรมาธิการให้เรียบร้อยนะครับ เสร็จแล้วก็ท่านสมาชิกทั้ง ๕๐๐ ท่าน ขอให้ท่าน ได้แสดงเจตจำนงที่จะเข้าเป็นสมาชิกในคณะกรรมาธิการทั้ง ๓๕ คณะ ท่านมีความถนัด ด้านไหน ท่านจะอยู่คณะใดก็ดูตามสัดส่วนของแต่ละพรรคที่ได้ตามสัดส่วน ขอให้ท่าน ได้แสดงเจตจำนงไว้ เพราะว่าถ้าเกิดว่าตกลงกันได้แล้วเราจะรีบเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ของเราจะได้ทำงานกัน ก็ฝากทุกพรรค Whip รัฐบาลด้วย Whip ฝ่ายค้านด้วยนะครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ไม่มีนะครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เรียนท่านสมาชิกครับ ก่อนที่จะพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระที่ ๒ นะครับ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม เนื่องจากในการประชุมเมื่อวานนี้ที่ประชุมได้พิจารณา ตามระเบียบวาระที่ ๕.๑ ถึง ๕.๑๑ ก็ยังไม่แล้วเสร็จ ที่ประชุมได้มีความเห็นร่วมกันว่า ให้นำมาพิจารณาต่อในวันนี้ ก่อนที่จะพิจารณารายงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะเข้ามา เราจะได้นำเรื่องที่ค้างมาดำเนินการต่อนะครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๕.๑ ญัตติ เรื่อง

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา แนวทางการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ (นายอรรถกร ศิริลัทธยากร เป็นผู้เสนอ)

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

จากการประชุมเมื่อวานวาระที่ ๕.๑ ถึง ๕.๑๑ สมาชิกได้อภิปรายแสดง ความเห็นเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ท่านประธานสั่งปิดประชุมเพื่อให้การประชุมได้พิจารณา ต่อในวันนี้ ฉะนั้นวันนี้ผมขอดำเนินการต่อเลยนะครับ ท่านที่จะอภิปรายท่านต่อไปนะครับ เชิญท่าน ศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง แล้วก็ตามด้วยท่านซาการียา สะอิ แล้วก็ท่านจำลอง ภูนวนทา ๓ ท่านนะครับ เชิญท่านศักดิ์สิทธิ์ครับ

นายศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง สงขลา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต ๙ จังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ผมขอมีส่วนร่วมในการอภิปรายญัตตินี้ที่เป็นปัญหาของพี่น้องเกษตรกรที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็นราคาพืชผลเกษตรกรรมที่ตกต่ำ ราคาปศุสัตว์ที่ไม่สู้ดีนักเดี๋ยวเชิญขึ้น Slide ได้เลยนะครับ

นายศักดิ์สิทธิ์ ขาวทอง สงขลา ต้นฉบับ

หลาย ๆ ครั้งสินค้าเกษตรกรถูกหยิบยก ขึ้นมาอภิปรายจากเพื่อนสมาชิกถึงปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นปัญหา พืชผลทางเกษตรกรรม หรือปัญหาสินค้าปศุสัตว์ ในส่วนของผมวันนี้เป็นสินค้าปศุสัตว์ที่จะ ไม่หยิบยกมาพูดเลยก็ไม่ได้ นั่นคือปัญหาของพี่น้องเกษตรกรที่ประกอบอาชีพในการเลี้ยงแพะ ปัญหาในด้านของราคาแพะที่ตกต่ำครับท่านประธาน กระผมขอยกตัวอย่างในพื้นที่จังหวัด สงขลาบ้านของกระผมเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม มีพี่น้องในพื้นที่บริโภคเนื้อแพะมาก พอสมควร บ้างก็นำแพะมาประกอบอาหาร บ้างก็นำแพะมาประกอบพิธีกรรมตามหลัก ศาสนาต่าง ๆ ในอดีตมีการบริโภคเนื้อแพะในจังหวัดสงขลา และจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีความต้องการแพะเนื้อจำนวนมาก รวมไปถึงประเทศมาเลเซียยังมีความต้องการแพะเนื้อจากประเทศไทยจำนวนมาก ส่งผลให้ราคา แพะมีราคาสูงครับ ในปี ๒๕๖๕ หรือปีที่แล้วมีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ ๑๖๐ บาท แต่มาวันนี้ ผ่านมาแค่ ๑ ปี ปี ๒๕๖๖ ประสบกับปัญหาราคาตกต่ำ จาก ๑๖๐ บาท เหลือ ๙๐ บาท ต่อกิโลกรัม เหตุผลที่ผมหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาอภิปราย เนื่องจากว่าปัจจุบันมีขบวนการ ลักลอบนำแพะจากต่างประเทศเข้ามาผ่านทางตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีการลำเลียงแพะผ่านทางชายแดน หรือช่องทางธรรมชาติส่งมาขายในพื้นที่ภาคใต้บ้าง บางครั้งลักลอบส่งไปยังมาเลเซีย ถ้าเป็นยาเสพติดนี่เขาเรียกข้ามชาติครับท่านประธาน นำมาขายในราคาที่ต่ำกว่าในพื้นที่ ผมไม่ติดขัดครับท่านประธานหากจะนำเข้ามา ด้วยความถูกต้องอย่างถูกกฎหมาย นำแพะมาผ่านการตรวจเชื้อ กักโรคอย่างถูกต้อง แต่ท่านประธานครับ ถ้านำแพะมาถูกต้องจะมีค่าจัดเก็บภาษีถึงตัวละ ๒๕๐ บาท ๒๕๐ บาท อาจจะดูไม่เยอะถ้านำแพะมาตัวสองตัว แต่ท่านประธานครับ การลักลอบนำเข้ามาเป็น ร้อย ๆ เป็นพัน ๆ ตัว ถ้าเป็นรถกระบะ ๑ คัน มีโครงเหล็กตีเป็น ๒ ชั้น สามารถขนแพะได้ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐-๑๒๐ ตัว หากเป็นรถหกล้อสามารถขนย้ายได้ ๕๐๐-๗๐๐ ตัว หนักกว่านั้น ไม่ได้ขนมาคันสองคัน แต่เป็นขบวนการทำมาหลาย ๆ ๑๐ คัน ขบวนการนี้มีการทำต่อเนื่อง มาระยะหนึ่งแล้ว พอเราเอาเลข ๒๕๐ บาท มาคูณกับจำนวนแพะ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนเงิน ที่รัฐได้รับความเสียหายถือว่าเป็นจำนวนมากพอสมควร ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมถึง ความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรเลี้ยงแพะที่ต้องทุกข์ระทมอยู่กับปัญหาหนี้สิน ปัญหา ราคาแพะที่ตกต่ำ เกษตรกรบางรายถึงขั้นเลิกเลี้ยงแพะไปเลยครับ สิ่งที่ผมอยากนำเสนอ ผ่านสภานอกจากจะขอให้เข้มงวดในการนำเข้าแบบผิดกฎหมายแล้วผมอยากให้มี การขึ้นทะเบียนสินค้าเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ เพื่อให้ทราบถึงจำนวนที่แท้จริงของจำนวนแพะ ภายในประเทศ จะได้รักษาดุลยภาพในความต้องการของผู้บริโภคแพะภายในประเทศ และการส่งออกที่เป็นข้อมูลของเกษตรกรปัจจุบัน อีกทั้งขอเสนอให้มีการกำหนดราคากลาง ของแพะเพื่อเป็นตัวชี้วัดทางด้านสินค้า หากในอนาคตเนื้อแพะมีราคาสูงรัฐจะได้มีมาตรการ แก้ไขไม่ให้กระทบต่อผู้บริโภค หากราคาแพะตกต่ำจะได้มีราคากลางเผื่อรัฐจะได้มีการชดเชย และจะไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรเช่นเดียวกัน ผมขอสะท้อนปัญหาเพื่อขอให้รัฐสภา พิจารณาแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรกรตกต่ำอย่างเป็นระบบ และขอฝากท่านประธานไปถึง พี่น้องประชาชนชาวเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบสินค้าตกต่ำว่าวันนี้ปัญหาของพวกท่านได้ สะท้อนผ่านมายังสภาแล้วครับ หวังว่าการอภิปรายของผมจะได้รับการแก้ไขโดยเร็ว กราบขอบคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านซาการียา สะอิ ครับ

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกท่าน ผม นายซาการียา สะอิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส ประกอบไปด้วยอำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ อำเภอสุคิริน พรรคภูมิใจไทย ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทุกท่าน วันนี้ พี่น้องประชาชนตั้งความหวังอย่างมากกับรัฐบาลชุดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเศรษฐกิจ ปากท้อง เมื่อวานและวันนี้ก็มีสมาชิกหลาย ๆ ท่านได้อภิปรายเรื่องราคาผลผลิต ทางการเกษตรตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคายาง ราคามังคุด เรื่องกุ้ง และเรื่องอื่น ๆ ซึ่งเป็น เรื่องท้าทายของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ วันนี้เราจะได้เห็นขีดความสามารถของรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตร ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร วันนี้พี่น้อง ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้มีพืชผลทางการเกษตรจำนวนมากเช่นเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งมี สส. หลาย ๆ ท่าน ได้อภิปรายไปแล้ว แต่มีผลผลิตทางการเกษตร เช่น ยางพาราและลองกอง ซึ่งถือว่าเป็นพืชผล หลักของพื้นที่ ๓ จังหวัด ท่านประธานครับ เมื่อสักครู่ผมได้ดูตารางยางพาราตั้งแต่ปี ๒๕๖๐-๒๕๖๖ ซึ่งจะเห็น ได้ว่าราคายางพาราอยู่ที่ประมาณ ๔๐-๖๐ บาท จากกราฟนี้บ่งบอกถึงอะไรครับ บ่งบอก ถึงว่ารัฐบาลที่ผ่านมาไม่สามารถที่จะแก้ปัญหายางพาราได้ถูกจุด ปัญหายางพาราอาจจะมี หลายปัจจัย แต่สิ่งหนึ่งที่ควรจะแก้ไขและสามารถที่จะให้ราคายางพาราสูงขึ้นได้ก็คือ การสนับสนุนเรื่องงานวิจัย งานวิจัยเกี่ยวกับยางพาราเพื่อนำไปสู่การผลิต หลายคนบอกว่า งานวิจัยเราทำเยอะแล้ว ทำไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว แต่ไม่เห็นเป็นรูปธรรมสักที เนื่องจากอะไร เนื่องจากว่าการขาดการต่อยอดให้เกิดผลครับ เราจะสังเกตว่าทำไมยางพารากิโลกรัมละ ๔๐-๕๐ บาท แต่ยางรถยนต์มีราคาเส้นละประมาณเป็นหมื่น ถามว่ามีผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ ทำในไทย มีครับ แต่ว่ายังไม่เป็นที่แพร่หลาย ท่านประธานครับ ตารางนี้จะบอกถึงผลิตภัณฑ์ ของประเทศไทย และต่างประเทศเป็นรองเท้าบูท ซึ่งจะเห็นได้ว่าคนไทยสามารถทำ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ แต่อาจจะมี Design หรือราคาซึ่งแตกต่างจากต่างประเทศมาก ซึ่งถาม ว่าเราสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราที่มีคุณภาพราคาสูงได้ไหม ผมมั่นใจว่า เราทำได้ครับ เพราะเรามีคนที่มีความรู้ความสามารถ แต่ติดปัญหาอย่างเดียว ปัญหาการขาด การสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจัง ขอย้ำนะครับ ปัญหาจากการขาดการสนับสนุน ของภาครัฐอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ผมไม่อยากเห็นผลิตภัณฑ์ของคนไทยต้องสิ้นสภาพ เหมือนในอดีตที่ผ่านมา เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าวิทยุธานินทร์ ถ้าถามคนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปจะรู้จัก ธานินทร์มาก วิทยุนี่เสียงจะวิ้งมาก ยี่ห้อนี้เป็นยี่ห้อของคนไทย แต่ขาดการสนับสนุน จากภาครัฐจึงทำให้ยี่ห้อนี้มันหายไปจากประเทศไทยเลยครับ ไม่อย่างนั้นเราจะได้เห็น ธานินทร์แพร่หลายเหมือน Apple ของอเมริกา แพร่หลายเหมือน Samsung ของเกาหลี ซึ่งอยากฝากท่านประธานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวง อว. ช่วยเถอะครับ ช่วยบูรณาการแก้ไขปัญหาในระยะยาวเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้อยู่ดีกินดีครับ

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

อีกเรื่องคือเรื่องลองกองของ ๓ จังหวัด มีผลผลิตจำนวนมาก มีประมาณ ๑๐,๖๕๗ ตัน แล้วยังไม่ได้เก็บเกี่ยวอีก ๙,๖๐๔ ตัน ในขณะเดียวกันราคาค่อนข้างต่ำมาก ราคา ๘ บาท ต้องให้คนขึ้นลองกองอีก ๕ บาท ค่าขนส่งอีก ๒ บาท เหลือให้เกษตรกร แค่บาทเดียวครับ ถามว่าเขาจะอยู่จะกินอย่างไร อีกอย่างก็คือการขนส่ง ส่วนใหญ่การรับส่ง จะไม่ค่อยยอมรับลองกองเพราะอะไร เพราะระยะเวลาการขนส่งต้องเร็ว เนื่องจากลองกอง อยู่ได้แค่ ๓-๔ วัน วันนี้เองผมได้เห็นใน Facebook ของบางท่านผู้ค้า Online บอกว่า จริง ๆ ลองกองตันหยงมัสมีอยู่ทุกปี มีความต้องการจากทั่วประเทศ แต่ทำไมไม่มี หน่วยงานไหนเลยที่ช่วยดูแลเรื่องขนส่งให้ชาวบ้านและเกษตรกรล่วงหน้า ปัญหานี้เกิดขึ้น ทุกปีไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นปีนี้ เพราะฉะนั้นอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการ อย่างไรก็ตามต้องขอขอบคุณท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านธรรมนัส พรหมเผ่า ขออภัยที่เอ่ยนามครับ ที่ได้ช่วยเหลือราคามังคุด แต่อยากให้ช่วยเหลือราคา ลองกองบ้างครับ แล้วก็อยากจะฝากถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ ช่วยไปดูแลราคาลองกองในพื้นที่ เพราะคนในพื้นที่ลำบากมากตอนนี้ ท่านประธานครับ ตอนนี้เป็นเรื่องที่ดีที่เรามี GI หรือตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ลองกองก็เหมือนกันก็มีตัวบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ แต่ถามว่าเราสามารถทำอะไรกับตัวชี้ทางภูมิศาสตร์ได้บ้าง ราคามันขึ้นไหม ราคามันดีขึ้นไหม เรามีประเด็นปัญหาอะไรที่แก้ไขได้บ้าง บางทีเราต้อง Specific เรื่องลองกอง อย่างเช่น ลองกองซีโปให้ดีกว่านี้นะครับ

นายซาการียา สะอิ นราธิวาส ต้นฉบับ

สุดท้ายผมขอฝากรัฐบาลชุดนี้ช่วยดูแลเกษตรกร ซึ่งถือว่าเป็นกระดูกสันหลัง ของชาติให้สามารถอยู่ได้ และช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของไทย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เรื่อง ยางพาราให้เป็น Brand ระดับโลก เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของคนไทย ในประเทศต่อไป ขอบคุณมากครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านจำลอง ภูนวนทา ครับ

นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม จำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ เขต ๓ อำเภอหนองกุงศรี อำเภอห้วยเม็ก อำเภอท่าคันโท ผมต้องกราบขอบคุณท่านประธาน และท่านผู้เสนอญัตติ ที่ให้ผมมีส่วนร่วมในการสนับสนุนญัตติ ท่านประธานครับ บ้านของกระผมส่วนใหญ่ จะประกอบอาชีพด้วยการปลูกพืชคือ อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา แล้วก็ทำการเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ ปลา กุ้ง ซึ่งเป็นกุ้งน้ำจืด กุ้งก้ามกราม ปัญหาที่ผมรับรู้ในฐานะที่เป็นลูกเกษตรกร ก็คือปัญหาเรื่องราคาปุ๋ยแพง ไม่สมดุลกับราคาพืชผลการเกษตร มันสำปะหลังถ้าจะให้อยู่ได้ ต้องอย่างน้อย ๓.๕๐ บาทต่อกิโลกรัมขึ้นไป ปุ๋ยต้องต่ำกว่าราคา ๑,๐๐๐ บาท ปัจจุบันนี้ ปุ๋ยยูเรียราคา ๑,๐๐๐ กว่าบาท และหลาย ๆ สูตรซึ่งมันไม่สมดุล

นายจำลอง ภูนวนทา กาฬสินธุ์ ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่ง ระบบชลประทานเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องนำเข้ามาสู่ระบบ การเกษตรของเกษตรกร เพื่อเป็นการหนุนให้เกษตรกรได้ประกอบอาชีพ ได้ผลผลิต อย่างเพียงพอ ฉะนั้นวันนี้ผมจึงขอนำความคับแค้นหัวใจของเกษตรกรมาเล่าให้กับ ท่านสมาชิก และฝากไปยังผู้ที่จะเป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อแก้ปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำ ในครั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับท่านได้รับรู้ ปัญหาเรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่องปศุสัตว์ ผู้เลี้ยงไก่ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะที่อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอที่อยู่ใกล้เคียงกับบ้านของกระผมครับ เกษตรกรเลี้ยงไก่ ทำพันธกิจกับเจ้าของบริษัท เขาเรียกว่า เกษตรพันธกิจ ไปทำรายงานกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร หรือที่เรียกว่า ธ.ก.ส. บอกว่ารายได้ จะต้องเลี้ยงได้ ๗ รุ่น ๘ รุ่นต่อรอบในการส่งดอกเบี้ยธนาคาร ปรากฏว่ามันไม่ได้เป็นไปดังที่ บริษัทได้พาเจ้าของฟาร์ม หรือเกษตรกรไป Present ต่อธนาคาร ทำให้เกษตรกรขาดทุน เมื่อขาดทุนแล้วทำอย่างไร กรณีขาดทุนคือหัวอาหารไม่ได้คุณภาพ บริษัทก็บอกว่าบริษัท ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่สามารถนำอาหารส่งได้ตามระยะเวลาที่ต้องการทำให้ไก่ มันตัวเล็กและส่งไม่ได้ เมื่อนำไปชำแหละไม่ได้เกษตรกรก็ไม่มีเงินส่งธนาคาร วิธีแก้ไข ของบริษัททำให้เกษตรกรเป็นทาสโดยการให้กู้เงินดอกเบี้ย ท่านประธานทราบไหมครับ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ต้องกู้เงินทั้งนอกระบบและกู้เงินธนาคาร เมื่อกู้ธนาคารไม่ได้ ผลประโยชน์ ผลผลิต กำไรที่ได้จากการเลี้ยงไม่เพียงพอต่อการส่งธนาคารก็ยืมบริษัท คล้าย ๆ ว่าบริษัท ให้ลูกฟาร์ม หรือว่าให้เจ้าของฟาร์มกู้เงินไปส่งธนาคาร ท่านประธานครับ เกษตรกรก็เป็นหนี้ ๒ ทาง เป็นหนี้ทั้ง ธ.ก.ส. เป็นหนี้ทั้งบริษัทที่ส่งเสริม การเลี้ยง ฉะนั้นเที่ยวนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงจัง ผมจึงขอฝากไปยังผู้ที่จะ เข้ามาเป็นกรรมาธิการวิสามัญ และขอสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอย่างจริงจังและจริงใจ ผมเฝ้าติดตามการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มาตลอด และครั้งนี้เป็นโอกาสที่ผมได้เป็น สส. ครั้งแรก และมีโอกาสนำเรื่องคับแค้น ของพี่น้องประชาชนเข้ามาสู่สภาแห่งนี้ สรุปนะครับ เพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ฝากไปยัง ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ท่านใหม่ ซึ่งผมมั่นใจในตัวท่านมาก ว่าท่านทำได้เพราะท่านเป็นคนไว้ต่อหัวอกของเกษตรกร และไว้ต่อทุกเรื่อง คือส่งเสริมให้มี ระบบชลประทาน เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้ปลูกพืชได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และฝากไปยัง กระทรวงพาณิชย์ให้ประกันราคาให้กับเกษตรกร มันกิโลกรัมละ ๓.๕๐ บาทอย่างต่ำ อ้อยตันละ ๒,๐๐๐ บาท ถึงจะสมดุลกับราคาปุ๋ย แต่ถ้าทำประกันราคาไม่ได้ ก็ให้หาวิธี ลดราคาปุ๋ยลงเพื่อให้ต้นทุนต่ำ ทีนี้สำหรับผู้เลี้ยงไก่ในอำเภอที่ผมกราบเรียนท่านประธาน เมื่อสักครู่นี้ก็ต้องลงไปดูว่าจะหาวิธีช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างไร จะหาเงินกองทุนส่งเสริม การเกษตรซึ่งมีอยู่แล้วเราจะเพิ่มทุนให้เขาได้กู้ยืมอย่างไร โดยไม่ต้องไปเป็นหนี้นายทุน ไม่ต้องเป็นหนี้บริษัทที่ส่งเสริมการเลี้ยง ซึ่งเขาไม่ต่างอะไรจากทาสในเรือนเบี้ย ท่านประธาน ครับวันนี้ผมขอฝากไปยังท่านประธาน และฝากไปยังผู้ที่จะดำรงตำแหน่งกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อแก้ปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำได้โปรดไปดูพื้นที่ของกระผมด้วย และได้โปรดแก้ปัญหา โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วอำเภอผมกับอำเภอสหัสขันธ์มีสะพานข้ามแม่น้ำปาว มีคนโดดสะพาน ตายไปแล้ว ๒-๓ ครั้ง ต่อไปนี้จะมีคนเลี้ยงไก่โดดสะพานตายครับ ขอบคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ ครับ

นายศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ พิษณุ โลก ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม ศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดพิษณุโลก เขต ๕ อำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ และอำเภอวัดโบสถ์ ผมขออภิปราย สนับสนุนญัตติการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ ท่านประธานครับ สำคัญกว่าการตั้ง คณะกรรมาธิการชุดนี้คือการที่จะแก้ไขราคาผลผลิตการเกษตรให้ได้ผลอย่างจริงจัง เพราะว่า การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำมีทุกยุคทุกสมัย ทุก ๆ การมีรัฐบาลใหม่ก็จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการชุดนี้เสมอ แต่เกษตรกรก็ยังไม่เคยได้รับ การแก้ไขปัญหาสินค้าราคาเกษตรตกต่ำอย่างยั่งยืน ทั้งที่อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่ผลิต อาหารให้กับคนทั่วโลก แต่เกษตรกรในประเทศไทยกลับมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ต้องดิ้นรน แล้วก็เป็นหนี้เป็นสินกันมากมาย ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาวงจรหนี้สิน ปัญหาความยากจน ทีนี้เรามาดูปัญหาครับ

นายศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ พิษณุ โลก ต้นฉบับ

ปัญหาแรกของราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำผมอยากพูดถึงราคาของข้าวโพด เรามาดูต้นทุนครับ ต้นทุนในการผลิตทั้งเมล็ดพันธุ์ ทั้งปุ๋ย ทั้งค่าน้ำมัน แล้วก็ค่าน้ำ เกษตรกร หลาย ๆ ที่จำเป็นจะต้องซื้อน้ำในการเพาะปลูกข้าวโพด ในพื้นที่อำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ อำเภอวัดโบสถ์ของผม รวมถึงจังหวัดพิษณุโลกมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดถึงเกือบ ๓๐๐,๐๐๐ ไร่ แต่เมื่อเมล็ดพันธุ์มีราคาสูงขึ้นตัวเลขจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเมื่อปี ๒๕๖๕ ปรากฏว่าพื้นที่ทำการเพาะปลูกข้าวโพดมีพื้นที่ลดลง นั่นแสดงว่าเกษตรกรหลายพื้นที่ ไปไม่ไหวแล้วครับ ปลูกต่อไปไม่ได้ เพราะว่ายิ่งทำยิ่งขาดทุน

นายศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ พิษณุ โลก ต้นฉบับ

-๓๑/๑ และยิ่งปีนี้ประสบปัญหาภัยแล้ง และปีหน้าที่จะมีวิกฤติการณ์ของ EI Nino ตอนนี้ไม่ต้องรอ ให้เก็บเกี่ยวผลผลิต เพราะว่าตอนนี้ข้าวโพดหลายที่ตายไปแล้วครับ ตายคาพื้นที่จากปัญหา ความแห้งแล้ง ต้นทุนในการผลิตข้าวโพด ๑ ไร่ใช้ต้นทุนประมาณ ๖,๔๒๐ บาท อันนี้เป็นตัวเลข จากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผมยกตัวอย่างอย่างนี้ ท่านประธานครับ เพื่อนผมปลูกข้าวโพดครับ ผมถามว่าทำข้าวโพดได้กำไรเท่าไร เขาบอกว่า ปลูกข้าวโพด ๔ เดือนนี่ได้กำไรประมาณ ๖๐,๐๐๐ บาท ๖๐,๐๐๐ บาท หาร ๔ ตกเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท ทำกัน ๒ คนผัวเมียตกเดือนละ ๗,๕๐๐ บาท วันละ ๒๕๐ บาท ค่าแรงขั้นต่ำ ยังไม่ได้เลยครับต้องเดินเข้าไร่ทุกวัน ตากแดด ตากฝน สู้กับปัญหาปุ๋ยแพง ปัญหาน้ำมันแพง นี่คือต้นทุนในการผลิต ยังไม่รวมถึงต้นทุนในการที่เราต้องมาดูแลสิ่งแวดล้อม เพราะว่า เมื่อเกษตรกรไม่สามารถมีกำไรจากการเพาะปลูกได้เพียงพอเขาก็ใช้วิธีการเผาไม่สามารถ มีวิธีการที่จะดูแลสิ่งแวดล้อมได้ ใช้วิธีการเผาซังตอข้าวโพด ยังไม่รวมประเทศเพื่อนบ้านที่ใช้ การเผาเราต้องมาแก้ปัญหา PM2.5 กันอีก นั่นคือปัญหาที่ ๑ ก็คือต้นทุนการผลิตที่สูง

นายศุภปกรณ์ กิตยาธิคุณ พิษณุ โลก ต้นฉบับ

ทีนี้ปัญหาที่ ๒ คือราคาที่ขาย อาชีพเกษตรกรนี่เป็นเหมือนอาชีพธุรกิจ ส่วนตัวนะครับ แต่การทำธุรกิจส่วนตัวอื่น ๆ อย่างอาชีพซื้อมาขายไปเรายังรู้ว่าต้นทุน เราเท่าไร แล้วเราจะขายสินค้าเท่าไรให้ได้กำไร แต่อาชีพเกษตรกรนี่กำหนดไม่ได้เลยครับ ตั้งแต่ต้นทุนไปจนถึงราคาขาย ราคาปุ๋ย ราคาเมล็ดพันธุ์จะแพงแค่ไหนก็ต้องซื้อต้องทำ ราคา น้ำมันเลือกไม่ได้ แล้วสุดท้ายเมื่อเพาะปลูกเสร็จแล้ว เก็บเกี่ยวแล้วเอาผลผลิตไปขาย ก็เลือกราคาขายไม่ได้ ราคาเป็นแบบนี้ครับท่านประธาน ปกติประเทศเรามีความต้องการ ใช้ข้าวโพดอยู่ทั้งประเทศประมาณ ๘ ล้านตันต่อปี แต่ประเทศไทยเราผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้เพียงแค่ประมาณ ๕ ล้านตันต่อปี ตัวเลขมันขาดอยู่ ๓ ล้านตันครับท่านประธาน ของขาด สินค้าน่าจะแพงถูกไหมครับ ราคาข้าวโพดน่าจะแพง เกษตรกรน่าจะมีกำไรของมันขาด แต่ว่าประเทศไทยมีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากต่างประเทศ อันนี้เข้าใจได้ เพราะว่าของ ขาดก็ต้องนำเข้าเข้ามา แต่นำเข้าเข้ามาปีละประมาณ ๑,๗๐๐,๐๐๐ ตันต่อปี และยังมีการ ลักลอบนำเข้า อันนี้เป็นปัญหาสำคัญครับท่านประธาน เพราะปัญหานี้เคยนำเข้า คณะกรรมาธิการแก้ไขราคาผลผลิตการเกษตรแล้วเมื่อปี ๒๕๖๓-๒๕๖๔ มีการลักลอบนำเข้า ถึงปีละเกือบ ๕ ล้านตันต่อปี นั่นหมายความว่าทำให้ข้าวโพดในประเทศไทยล้นตลาด ราคาขายไม่มีวันที่จะฟื้นขึ้นมาได้ ตัวเลขหน้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ประกาศไว้ใน Website คือประมาณ ๙-๑๑ บาทกว่า แต่ผมไปถามเกษตรกรในพื้นที่อำเภอนครไทย อำเภอชาติตระการ เอาในจังหวัดพิษณุโลกของผมไม่เคยมีเกษตรกรไหนขายได้ถึง ๗ บาท ด้วยซ้ำ ราคาที่รับซื้อกันก็คือเต็มที่เลย ๖ บาทกว่า แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ ๔ บาทกว่า ๆ ๕ บาท นิดหน่อย ถ้าไปถึง ๙ บาทนี่ต้องปิดหมู่บ้านเลี้ยง ๑๐ วัน ๑๐ คืนครับท่านประธาน มันไม่เคยมีราคาขายที่ไปถึง ๑๑ บาทกว่าได้เลย นอกจากนั้นราคาผลผลิตข้าวโพด ในประเทศเราขาดแล้วนี่มีการลักลอบนำเข้า ตัวเลขที่ลักลอบนำเข้านี่มีการลักลอบนำเข้าถึง วันละ ๓๐๐-๔๐๐ พ่วงต่อวัน ๑ พ่วงนี่ ๔๐ ตัน แสดงว่าเรามีการลักลอบนำเข้าวันละ ประมาณ ๑๖,๐๐๐ ตันต่อวัน ตลอด ๓-๔ เดือน แสดงว่าเรามีข้าวโพดนำเข้าหลายล้านตัน นั่นทำให้ราคาข้าวโพดในประเทศไทยถึงไม่มีวันที่จะขึ้นครับ ประกอบกับต้นทุนที่สูงทำให้ เกษตรกรยากลำบาก สุดท้ายท่านประธานครับ เมื่อราคาข้าวโพดไม่สามารถทำให้เกษตรกร อยู่ได้ทำให้เกษตรกรต้องไปประกอบอาชีพอื่น ๆ การประกอบอาชีพเกษตรจึงไม่ตอบโจทย์ เกษตรกร เกษตรกรบ้านเราไม่มีวิถีชีวิตที่ดีเหมือนเกษตรกรต่างประเทศอื่น ๆ และราคา สินค้าเกษตรที่ตกต่ำส่งผลให้เกิดวงจรหนี้สิน และการต้องไปหาทางออกอย่างอื่น การต้องไป กู้หนี้ยืมสิน การต้องไปเข้ากองทุนฌาปนกิจ การต้องไปฝากเงินตามธนาคาร หมู่บ้านต่าง ๆ แล้วก็นำปัญ หาอย่างอื่นกลับเข้ามาในประเทศเรา ก็ขอฝากท่านประธาน และคณะกรรมาธิการวิสามัญที่กำลังจะตั้งขึ้นในการแก้ไขปัญหาราคาข้าวโพดด้วยครับ ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านบัญชา เดชเจริญศิริกุล

นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียน ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม บัญชา เดชเจริญศิริกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคท้องที่ไทย ผมจะขออภิปรายถึงเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เรื่องนี้ เราพูดกันมานานแล้วก็พูดกันมาตลอด แต่ว่าทำไมไปหาจุดหรือสาเหตุที่ทำไมมันถึงต้องถูก ทำไมมันถึงต้องแพงมันย่อมจะมีเหตุนะครับ ผมขออนุญาตพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สำหรับสินค้าเกษตร ก่อนนะครับ โดยเฉพาะเรื่องทุเรียนก่อนนะครับ ณ ปัจจุบันตอนนี้ ทุเรียนกำลังออกก็คือทางภาคใต้ แล้วก็ของเวียดนามที่ออก สิ่งที่มันถูกเพราะว่า ๑. ทุเรียน ทางภาคใต้ของเราตอนนี้ยังมีหนอนในเนื้อที่ส่งไปประเทศจีนแล้วถูกตีกลับ อันนี้ก็เป็นสาเหตุ หนึ่ง ในส่วนของ คุณภาพที่เกษตรกรเร่งตัดก่อนที่จะแก่มันก็มีปัญหาเรื่องนี้ อีกส่วนหนึ่ง เรื่องราคาพอทุเรียน ถูกปุ๊บพี่น้องเกษตรกรก็จะรีบตัดกัน ส่วนคู่แข่งในด้านต่างประเทศ ของเราก็มีนะครับ เช่นประเทศเวียดนาม เวียดนามก็นำเข้าจีนวันหนึ่งเป็นร้อย ๆ ตู้ เหมือนของไทยเหมือนกัน อันนี้คือสาเหตุที่ทำให้ราคาทุเรียนตกต่ำ ในสินค้าประเภทอื่น ก็เหมือนกัน เช่นมังคุดก็เหมือนกัน เพราะว่าตอนนี้ส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่ออกไปสู่ ต่างประเทศ หลัก ๆ เลยคือไปสู่ประเทศจีน ช่วงนี้ประเทศจีนผลไม้ออกหลายอย่าง ท่านลองไปดูที่ตลาดไทนะครับมีทั้งผัก ผลไม้ องุ่น ทุกอย่าง แอปเปิ้ลก็จะเวียนกลับมาที่ไทย แล้วก็ที่จีนเหมือนกันหมดเลยแล้วอีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องขนส่งนะครับ เรื่องขนส่งเป็นปัญหา สำหรับผู้ขนส่ง ซึ่งก็จะกลับมาเป็นต้นทุนสำหรับพี่น้องเกษตรกรที่ทำสวน เพราะว่าหลังจาก โควิดเมื่อ ๓ ปีที่ผ่านมาปกติรถขนส่งของไทย ผู้ประกอบการขนส่งจะนำขนส่งสินค้าจากจันทบุรี นครศรีธรรมราชหรือหลังสวนก็แล้วแต่ เขาจะวิ่งไปถึงบ่อเต็นผ่าน สปป. ลาว หลังจากมีโควิด แล้วเราก็ถูกฉวยโอกาสไปจาก สปป. ลาว สปป. ลาวเอาอาชีพขนส่งตัดตอนไปที่ในลาว เขาไม่ให้รถไทยวิ่งในถนน R3A ของ สปป. ลาว ค่าขนส่งก็เลยแพงขึ้น ผู้ประกอบการก็ไม่มี ทางออกที่จะต้องเอาสินค้าไปถึงจีนให้เร็วที่สุดก็ต้องยอมจ่ายแพง ตอนนี้เราจ่ายต้นทุน ค่าขนส่งแพงไปเที่ยวหนึ่งประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท นี่ก็คือสาเหตุของต้นทุนก็กลับมาถึง เกษตรกรทั้งหมด แล้วอีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องราคาน้ำมันที่แพงขึ้น มันก็เป็นสาเหตุทั้งหมด ของสินค้าที่สูงขึ้น มันก็นำผลมาสู่เกษตรกรที่ทำให้ราคาถูกลง ต่อไปเป็นเรื่องข้าวนี่ไม่ต้อง ห่วงนะครับ เพราะว่าเรื่องข้าวชั่วโมงนี้ในประเทศไทยข้าวนาปรังที่ทำกันอยู่ทั่วประเทศไทย ตอนนี้กิโลกรัมละ ๑๒ บาทหรือตันละ ๑๒,๐๐๐ บาท ซึ่งแพงกว่าเมื่อก่อนเยอะแยะมากมาย เมื่อก่อน ๗,๐๐๐-๘,๐๐๐ บาท เกษตรกรก็เพียงพอที่จะอยู่ได้แล้ว แต่ตอนนี้เนื่องจากประเทศ อินเดียได้หยุดส่งออกก็ทำให้สินค้าข้าวที่อยู่ในไทย โดยเฉพาะข้าวสูงขึ้นไปทุก ๆ ข้าวนะครับ ในส่วนของข้าวโพดที่ท่านผู้อภิปรายเมื่อสักครู่นี้เรื่องข้าวโพดที่บอกว่าทำไมถูก ทำไมไม่ไป ควบคุมการนำเข้าที่เกินอัตราส่วนจาก ๓ ต่อ ๑ ที่เพื่อนผู้อภิปรายได้พูดไป สินค้าข้าวโพด ที่ทะลักเข้ามาในประเทศไทยที่เกินสัดส่วนนะครับ ช่องทางแม่สาย แล้วก็แม่สอด ซึ่งเข้ามา ในประเทศไทยในช่วงฤดูข้าวโพดออกเยอะแยะมากมาย ก็เรียนฝากท่านประธานไปถึง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องการควบคุมสินค้าที่ชายแดนมันเกินอัตราส่วนอยู่แล้ว อันนี้คือสาเหตุ ของข้าวโพด เรื่องมันสำปะหลังก็เช่นเดียวกัน ตอนนี้ถือว่าราคาดีมากครับ มันสดกิโลกรัมละ ๓ บาทกว่า แต่ด้วยสาเหตุที่บอกว่าต้นทุนทุกอย่างแพงหมด ทีนี้เราก็ต้องกลับไปดูที่ต้นทุนที่ แพงคืออะไร คือปุ๋ย ยาใช่ไหมครับ ปุ๋ยตอนนี้ที่นำเข้ากันมาเป็นลำเรือ ผู้ประกอบการที่ นำเข้ามานี่ ปุ๋ยก็มีหลาย Grade มีหลายอย่าง มีทั้งดี มีทั้งกลาง มีทั้งที่จะเสื่อมคุณภาพ แล้วก็มีนะครับ ผมไม่รู้ว่าหน่วยงานของรัฐได้เข้าไปตรวจสอบตรงนี้บ้างหรือเปล่า เอามาผสม ทำปุ๋ยแล้วก็ขายราคาที่สูง ถ้ามีการควบคุมตรงนี้ให้ดีผมเชื่อว่าต้นทุนของปุ๋ยพี่น้องเกษตรกร ก็คงจะได้รับต่ำลงมาจากนั้นนะครับ อันนี้คือเรื่องของปุ๋ย

นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

และอีกส่วนหนึ่งยางพารานะครับ ผมขอพูดภาพกว้าง ๆ นะครับ ในประเทศไทย ตอนนี้ปลูกยางประมาณ ๒๐ กว่าล้านไร่นะครับ ส่วนในประเทศจีนมีถึง ๒๐๐ กว่าล้านไร่ ที่ประเทศจีนกิโลละ ๕ หยวน อันนี้คือต้นเหตุที่ทำไมยางไม่ขึ้น เราก็ต้องไปหาตลาดอื่น ต้องใช้ทูตพาณิชย์แต่ละประเทศว่าประเทศไหนที่ใช้ยางบ้าง เพื่อจะแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้ พี่น้องเกษตรกรไม่ควรปลูกยางเพิ่มแล้วหลังอย่างนี้ เพราะว่าเยอะมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะในลาว ในจีนมีเยอะแยะมากมายเลยนะครับ

นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

อีกส่วนหนึ่งที่หน้าห่วงไม่แพ้กุ้งนะครับ คือหมูและเนื้อที่ถูกนำเข้ามาจาก ต่างประเทศ ท่านจะเห็นใน TV ตลอด หมูกล่องถูกจับอยู่ที่ท่าเรือไม่รู้กี่ร้อยตู้ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกรมปศุสัตว์ กรมศุลกากร ผมเชื่อว่าท่านน่าจะรู้นะครับว่าผู้ประกอบการที่เลี้ยงหมู ในต่างประเทศ ในยุโรปก็ดี หรือใน Asia ก็ดีที่ในต่างประเทศนั้นขายไม่ดีก็นำกลับเข้ามาขาย ในประเทศไทย มีช่องทางการนำเข้ามา แล้วกลุ่มตะวันตก กลุ่มตะวันออกมีเยอะแยะ มากมาย ผมคิดว่าท่านรู้ดีว่าตอนนี้ประเทศของเราเกิดอะไรขึ้นนะครับ กลุ่มทุนทั้งหลาย ตอนนี้ผมคิดว่าพวกท่านรวยพอสมควรแล้วไม่น่าจะมาทำให้พี่น้องเกษตรกรในอาชีพต่าง ๆ หรือผู้เลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ เพราะว่าการนำเข้ามาอย่างนี้มันเป็นต้นทุนที่จะเข้ามาฆ่าพี่น้อง เกษตรกรรายย่อยหรือรายกลางให้ตาย อยู่ได้แต่รายใหญ่ แล้วหลังจากนั้นรายใหญ่ก็จะฮุบ ธุรกิจทุกอย่างไป ประเทศไทยคือเกิดมาเป็นแบบนี้ตลอด ก็ฝากท่านประธานไปถึงหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาเรื่องนี้ ทุกคนทราบหมดปัญหาคืออะไร ปัญหาเกิดจากอะไร ก็ขอให้ แก้ให้ถูกจุดนะครับ

นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ส่วนราคาสินค้าเกษตร พรรคท้องที่ไทยมีโครงการชะลอการขายให้ขีดเส้น ให้ท่านอยู่แล้วครับ โดยเฉพาะในเรื่องข้าว เรื่องมัน เรื่องข้าวโพด โดยเฉพาะข้าวเปลือก หอมมะลิตั้งราคาไว้ให้แล้ว ๑๗,๐๐๐ บาท ข้าวหอมมะลิ ๒๓ จังหวัดนี่ ๑๕,๐๐๐ บาท แล้วข้าวเหนียวมูลนี่ราคาประมาณ ๑๓,๐๐๐ บาท แล้วก็ข้าวหอมปทุม ๑๒,๐๐๐ บาท ข้าวนาปรังพันธุ์ทั่วไป ๑๒,๐๐๐ บาท เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรมีความมั่นคงในอาชีพ ก็ฝาก รัฐบาลใหม่เอานโยบายของพรรคท้องที่ไทยไปใช้ก็ได้นะครับ เผื่อประชาชนจะมีความมั่นคง ในอาชีพและมีความร่ำรวยตลอดไป กราบขอบคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ครับ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต ๔ พรรครวมไทยสร้างชาติ ท่านประธานครับ ผมได้เป็นผู้หนึ่งที่ขอยื่น ญัตติ เรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาราคาสินค้า เกษตรตกต่ำ ในนามของ สส. พรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งเป็นญัตติที่ท่านประธานได้พิจารณา ร่วมกับญัตติอื่น ๆ ที่ลักษณะทำนองเดียวกันอีก ๑๐ กว่าญัตติ จึงเป็นเหตุชี้ได้ว่า พี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ได้สะท้อนปัญหาดังกล่าวผ่านผู้แทนราษฎรที่เข้ามาในสภาแห่งนี้ ในทุกกลุ่มสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เกษตรกรที่ทำการประมง แล้วก็เกษตรกรที่ปลูกพืชทั้งนาข้าว พืชไร่ แล้วก็ทำสวน ซึ่งเป็นที่แน่ชัดตลอดระยะเวลาเมื่อ วานนี้ ต่อเนื่องเช้านี้ผมก็ได้ฟังเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายถึง ความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ทำนาข้าว ทำไร่ หรือปศุสัตว์ต่าง ๆ ได้รับผลกระทบในเรื่อง ของต้นทุนสินค้า ต้นทุนในการผลิตการเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท่านประธานครับ ผมขออนุญาตได้อภิปรายเพื่อที่จะได้ฝากให้คณะกรรมาธิการวิสามัญที่จะได้ตั้งขึ้นได้รับ ดำเนินการปัญหาที่ผมได้รับการสะท้อนจากเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดราชบุรี โดยเฉพาะ ที่อำเภอบ้านโป่ง ๓ เรื่องครับ

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

เรื่องแรก ก็คือเรื่องอ้อย เมื่อช่วงเช้านี้ก็ได้ไปยินดีกับท่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม ท่านรัฐมนตรีพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ซึ่งดูแลอ้อย อ้อยนี่เป็นพืชพิเศษ ท่านประธานครับ ไม่ได้ไปอยู่ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่ได้อยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ แต่เป็นพืชชนิดเดียวที่กระทรวงอุตสาหกรรมดูแล ก็คือสำนักงานคณะกรรมการนนโยบายอ้อย และน้ำตาลทราย หรือ สอน. ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งพรุ่งนี้ ผมก็ประสานให้ทางประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทยนำนายกสมาคมชาวไร่อ้อย ทั่วประเทศเข้ามาพบท่านรัฐมนตรีที่กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อจะได้ยื่นข้อร้องเรียนเกี่ยวกับ เรื่องของค่าตัดอ้อยสด ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลที่ผ่านมาของท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้นได้มีนโยบายในการลดการจุดไฟเผาอ้อย โดยการชดเชยเรื่องของการตัดอ้อยสดตันละ ๑๒๐ บาท แต่ท่านประธานครับ เมื่อฤดูการผลิตปีที่แล้วก็คือปี ๒๕๖๕/๒๕๖๖ เกษตรกร ผู้ปลูกอ้อยยังไม่ได้รับเงินชดเชยเลยนะครับ ซึ่งตอนนี้ระยะเวลาล่วงเลยมาหลายเดือนแล้ว จนจะเข้าสู่ฤดูการผลิตใหม่ ฉะนั้นจึงได้ประสานทางท่านรัฐมนตรีให้รับทราบปัญหา ตอนนี้ ปัญหามันอยู่ตรงนี้ครับท่านประธานที่ผมต้องอภิปรายคือ รัฐบาลใหม่ที่จะตั้งขึ้นมานี่ผมฝาก สักนิดหนึ่งครับว่าอยากให้แจ้งล่วงหน้าเลยนะครับว่าเกษตรกรจะได้เงินเท่าไร ซึ่งจะได้มา คำนวณต้นทุนถูก ผมได้พูดคุยกับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยครับท่านประธานว่าที่ผ่านมาต้องมี การจุดตัด เพราะไม่แน่ใจว่าตนเองนั้นตัดอ้อยสดแล้วจะได้รับเงินชดเชยจากรัฐบาลหรือเปล่า อันนี้จึงเป็นปัญหาในเรื่องของฝุ่น PM2.5 ในการจุดไฟแล้วก็เผาอ้อย เผานาข้าว ฉะนั้นตรงนี้ โดยเฉพาะเรื่องอ้อยอยากฝากทางรัฐบาลใหม่ครับว่าแจ้ง และให้คำมั่นสัญญากับเกษตรกร ผู้ปลูกอ้อยไปเลยว่าจะได้ค่าตัดอ้อยสดอีกตันละเท่าไร ซึ่งเมื่อ ๒-๓ ปีที่ผ่านมารัฐบาล ได้จ่ายเงินชดเชยไปประมาณ ๘,๐๐๐ กว่าล้านบาทในทุกฤดูการผลิต ก็เลยต้องขอบคุณ รัฐบาลที่ผ่านมาด้วยในนามของเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่จังหวัดราชบุรี แต่ว่าปีนี้ยังไม่ได้ก็ขอให้ รัฐบาลใหม่ได้พิจารณาติดตามด้วย

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ก็คือต้นทุนเรื่องของอาหารสัตว์ ตอนนี้ผู้ที่ทำการประมง แล้วก็ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะเขตผมอำเภอบ้านโป่งมีการเลี้ยงวัวนมกันมาก ซึ่งวัวนมนี่ถือว่า เป็นอาชีพพระราชทาน เพราะว่ามีสหกรณ์โคนมหนองโพในพระบรมราชูปถัมภ์ มีการรณรงค์ในสมัยก่อนให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงวัวนม เพื่อที่จะได้สร้างอาชีพที่มั่นคง แต่ปัจจุบันนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวนมในจังหวัดราชบุรี แล้วก็พื้นที่ใกล้เคียงไม่ว่าจะเป็น จังหวัดนครปฐม ซึ่งส่งน้ำนมมาให้สหกรณ์แห่งนี้ ประสบปัญหาเรื่องของต้นทุนอาหาร วัวนมแพง มันก็เหมือนกันทุกอาชีพครับไม่ว่าจะเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง ทำวัวเนื้อ หรือเลี้ยงสุกร เลี้ยงไก่ ตอนนี้อาหารสัตว์แพง ซึ่งสวนทางกับราคาสินค้าเกษตร ราคาสินค้าเกษตรนี่ราคา ตกต่ำ ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่เอามาเป็นอาหารสัตว์ได้ แต่ราคาอาหารสัตว์กลับราคาสูงทำให้ ต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์ หรือการทำการปศุสัตว์สูงขึ้น ก็ฝากคณะกรรมาธิการวิสามัญ ที่จะตั้งขึ้นไปศึกษาว่าจะลดราคาอาหารสัตว์ได้อย่างไร ตอนนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวนม เมื่อต้นสัปดาห์ผมได้ไปพูดคุยกับที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย แล้วก็ ผู้บริหารก่อเกียรติฟาร์มที่อำเภอบ้านโป่งก็พบว่าตอนนี้เกษตรกรได้เลิกเลี้ยงวัวนม หรือลดจำนวนวัวนมไปถึงประมาณ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ น้ำนมลดลงไปมาก อันนี้เป็นตัวชี้วัดว่า เกษตรกรมีความเดือดร้อน ถ้าเขาไม่เดือดร้อนเขาคงไม่เลิก หรือลดการผลิตน้ำนม อันนี้คือ สิ่งที่จะฝากให้คณะกรรมาธิการวิสามัญชุดใหม่รับไปพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่อง ของอาหารสัตว์

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ราชบุรี ต้นฉบับ

เรื่องสุดท้าย ก็คือเรื่องของชาวนา ตอนนี้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้รับผลกระทบ เรื่องของต้นทุนการผลิตก็คือปุ๋ยยานี่แพงมากครับท่านประธาน แต่ว่าราคาขายข้าวตอนนี้ สูงขึ้นกว่าปีที่แล้วไม่มาก อาจจะเป็นเรื่องของ Demand Supply ก็คือตอนนี้ผู้ผลิต หรือปลูกข้าวอาจจะได้ผลผลิตน้อยลงในเรื่องของฝนแล้ง หรือว่าเรื่องของต้นทุนแล้วก็เลิกรา กันไป ทีนี้สิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำ ฝากรัฐบาลใหม่ไป และรวมถึงคณะกรรมาธิการวิสามัญที่จะ ไปผลักดันด้วยก็คือราคาข้าว อยากให้ทำโครงการเหมือนกับรัฐบาลเดิมก็คือประกันรายได้ ตอนนี้เกวียนหนึ่ง ๑๐,๐๐๐ บาทไม่พอแล้ว เพราะว่าปุ๋ยแพง ขอเป็น ๑๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป เพื่อที่จะชดเชยกับราคาของต้นทุนไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย แล้วก็เรื่องของยาฆ่าแมลงที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง อันนี้คือสิ่งที่จะฝากคณะกรรมาธิการวิสามัญช่วยไปผลักดันให้เกษตรกร ผู้ปลูกข้าวด้วย แล้วก็ขอชื่นชมรัฐบาลใหม่ได้ดูนโยบาย เดี๋ยวก็คงจะมีการแถลงนโยบาย ในวันจันทร์ ก็คือการได้จัดน้ำมันโควตาพิเศษราคาถูกให้กับเกษตรกร ซึ่งได้รับฟังจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานท่านใหม่ ท่านรองนายกรัฐมนตรีก็คือ ท่านพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่จะจัดโควตาราคาน้ำมันพิเศษให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว หรือเกษตรกรทำไร่เหมือนคล้าย ๆ กับเกษตรกรที่ทำประมงหรือที่เราเรียกว่า น้ำมันเขียว ครับท่านประธาน ซึ่งตรงนี้จะช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกรในทุกกลุ่มสาขาอาชีพ ก็ต้อง ขอให้ทางรัฐบาลได้เร่งโครงการดังกล่าว ได้รับฟังนโยบายจากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พลังงานแล้วก็รู้สึกดีใจแทนพี่น้องเกษตรกรที่รัฐบาลใหม่จะมาดูแลต้นทุนในเรื่องของน้ำมัน ซึ่งเป็นต้นทุนในการผลิตในเรื่องของการทำนาข้าว แล้วก็ทำไร่ด้วยในการสูบน้ำ ต้องขอบคุณ ท่านประธาน เพื่อนสมาชิก แล้วก็ขอสนับสนุนให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ครับ ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ครับ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานครับ ผมอยากจะขออนุญาตที่จะ Head line หรือพาดหัวประเด็นอภิปราย ของผมว่า อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด พรรคเพื่อไทย เสนอ ๕ แนวทาง ในการแก้ไขปัญหาสินค้า เกษตรราคาตกต่ำ และเราได้เห็นการพิจารณา การอภิปรายในญัตติที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่อง ลักษณะนี้ เช่น สินค้าเกษตรราคาตกต่ำ ผลผลิตล้นตลาด ผลิตออกมาได้ไม่สามารถมีตลาด รองรับได้ ผมมี ๕ แนวทางที่จะได้เสนอ จะใช้คำว่า แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างก็พอไปได้ จะใช้คำว่า รดน้ำที่ราก ก็สามารถที่จะไปด้วยกันได้ แต่ก่อนอื่นเราต้องเรียนอย่างนี้นะครับว่า ปัญหาของพี่น้องเกษตรกรที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าได้อภิปราย ได้ถกแถลงกัน ต่างกรรม ต่างวาระในสภาแห่งนี้หลายครั้ง และครั้งนี้ก็เป็นอีก ๑ ครั้ง ผมไม่อยากให้พี่น้องเกษตรกร ที่ติดตามการถ่ายทอดสดอยู่ในขณะนี้ได้ฟังการอภิปรายแบบสิ้นหวัง เรามีรัฐบาลใหม่ พี่น้องเกษตรกรก็จะได้ตั้งตาฟังว่าจะมีเครื่องมือใหม่ มีแนวทางใหม่ที่จะช่วยเหลือเยียวยา ทั้งระบบให้กับพี่น้องเกษตรกรได้อย่างไร

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

แนวทางที่ ๑ ที่อยากฝากไปยังรัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเข้ามาแถลงนโยบาย และจะขับเคลื่อนฟื้นฟูเยียวยาพี่น้องเกษตรกร แนวทางแรกก็คือเรื่องของการลดต้นทุน ลดปัจจัยการผลิตให้ราคาต่ำลง ต้องยอมรับนะครับว่าศักยภาพของเกษตรกรไทยเทียบกัน หมัดต่อหมัด ปอนด์ต่อปอนด์ ปลูกข้าวเราก็ไม่แพ้ใคร ปลูกมันเราก็เก่งกว่าใคร แต่ว่าสิ่งที่เกิด เป็นปัญหาในขณะนี้ก็คือการควบคุมราคา การควบคุมปัจจัยการผลิตให้ราคาลดต่ำลง ทำอย่างไรที่จะให้พี่น้องเกษตรกรสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ ผลิตผล พืชผลการเกษตรออกมา ในต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งภาครัฐต้องไปช่วยในเรื่องของปัจจัยการผลิต ก็ไล่เรียงตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ น้ำมัน หรือแม้แต่ปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ที่จะสามารถควบคุมราคาให้ลดต่ำลงได้เป็นสิ่งที่ รัฐบาลพึงทำ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

แนวทางที่ ๒ เป็นเรื่องของการสนับสนุนพี่น้องเกษตรกรให้สามารถเข้าถึง แหล่งทุน โดยเฉพาะเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทยที่เตรียมจะ ขับเคลื่อนโดยเร่งด่วนในเดือนตุลาคมนี้เลย ก็คือการพักชำระหนี้เกษตรกร พักต้น พักดอก และในขณะเดียวกันควรจะทำควบคู่ไปด้วย ก็คือการส่งเสริมให้พี่น้องเกษตรกรให้สามารถ เข้าถึงแหล่งทุนต้นทุนต่ำได้ ให้สามารถเข้าถึงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือปลอดภาระดอกเบี้ย ก็จะเป็นการเสริมศักยภาพให้กับพี่น้องเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

แนวทางที่ ๓ เป็นแนวทางการจัดสรรที่ดินเพื่อการเกษตร เราพูดถึงเรื่องของ ส.ป.ก. เราพูดถึงที่รกร้างว่างเปล่าที่ไม่ได้นำมาก่อประโยชน์ในทางการค้า หรือทางพาณิชย์ และสามารถเอื้อต่อการนำมาผลิตสินค้าเกษตร ภาครัฐจะต้องไปดูในเรื่องนี้ว่าสามารถนำ ที่ดินดังกล่าวนั้นมาพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพยากรพื้นฐาน ในการเข้าถึงการผลิตได้อย่างไร

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

แนวทางที่ ๒ ครับท่านประธาน เรื่องของการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ เราได้ยินกันมานานโครงการโขง เลย ชี มูล เราจะผันน้ำอย่างไร ประเทศไทยถ้าไปดูสถิติ ปริมาณฝนตกที่ตกก็ไม่ได้เป็นรองประเทศใดในภูมิภาคนี้ครับ แต่ว่าเมื่อตกมาไม่มีมาตรการ ในการรองรับ ไม่มีการบริหารจัดการที่ดี เราก็จะประสบกับปัญหาแบบวน Loop เป็นวัฏสงสาร พอแล้ง พอฝนมาน้ำท่วม น้ำท่วมเสร็จก็ฟื้นฟูเยียวยา เยียวยาเสร็จผลผลิต ก็เสียหาย ภาครัฐก็ต้องเข้าไปฟื้นฟูเยียวยาชดเชยอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นถึงเวลาที่รัฐบาล จะต้องบริหารจัดการน้ำ ต้องบอกลาน้ำท่วม น้ำแล้งอย่างเป็นระบบ และบริหารจัดการน้ำ เพราะน้ำคือชีวิต น้ำควรจะเป็นต้นทุนหรือปัจจัยการผลิตที่ใช้มูลค่าต่ำที่สุด เพราะที่ผ่านมา น้ำคือชีวิต มีพรรคเพื่อไทยต้องมีน้ำทำนา เกษตรกรที่สามารถเข้าถึงทรัพยากรน้ำได้ก็จะมี ศักยภาพที่เหนือกว่าหรือมีแต้มต่อ ดังนั้นรัฐบาลต้องไปทำเรื่องการบริหารจัดการน้ำ เพื่อการเกษตรกรรมทั้งระบบ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

แนวทางที่ ๕ นโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาลเพื่อไทยที่ผมสำรวจดูในช่วง หาเสียง แล้วก็จะรอติดตามในช่วงที่จะมาแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรม เสริมเพิ่มรายได้ ใช้ตลาดนำเข้ามา และมูลค่าสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มได้อย่างไร ต้องมี ตลาดรองรับไม่ว่าจะเป็นโครงการโคล้านตัว ไม่ว่าจะเป็นโครงการทุเรียนล้านไร่ เราผลิต ได้มากเราต้องเร่งเจรจากรอบการค้าเสรี เร่งเจรจา FTA โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง ๘-๙ ปี ที่ผ่านไปนั้นเราสูญเสียโอกาสไปมาก ดังนั้นเมื่อเรามีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม มีพรรคร่วมรัฐบาล ที่เข้มแข็ง และยึดประโยชน์ของพี่น้องเกษตรกร พี่น้องประชาชนเป็นสำคัญ ผมว่าถึงเวลา ที่เราจะต้องไปดูเรื่องกรอบการค้าการเจรจา FTA ตรงไหนที่เกิดภาวะสุญญากาศ ตรงไหน ที่เกิดความล่าช้าเสียโอกาส รัฐบาลจะต้องไปดู ไปเร่งเจรจากรอบการค้าเสรี เร่งนับหนึ่ง โดยเฉพาะ FTA ไทยกับสหภาพยุโรปที่เราสูญเสียโอกาสไปก่อนหน้านี้ เราผลิตได้มาก แต่ว่า ถ้าหาตลาดไม่ได้วน Loop ของพี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหาเราก็ต้องมาคุยกันใหม่ครับ วันนี้คุยเรื่องสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ ต่อไปก็ต้องมาคุยเรื่องผลผลิตล้นตลาด ดังนั้นจึงขอ เสนอ ๕ แนวทางที่จะเป็นการแก้ปัญหาด้านการเกษตรเชิงโครงสร้าง และเป็นการรดน้ำ ที่ราก กราบขอบพระคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านอับดุลอายี สาแม็ง

นายอับดุลอายี สาแม็ง ยะลา ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม นายอับดุลอายี สาแม็ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา เขต ๓ อำเภอกรงปินัง อำเภอธารโต อำเภอบันนังสตา และอำเภอเบตง วันนี้อยากจะมามีส่วนร่วมในเรื่องของญัตติ เรื่องของราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ซึ่งหลาย ๆ ท่านสมาชิกในสภาแห่งนี้ก็ได้มี การสะท้อนปัญหาให้พวกเราได้ยินกันทั้งสภาแล้ว ผมจะพูดในเรื่องของยางพารานะครับ ซึ่งยางพาราเราก็มีปัญหามาอย่างต่อเนื่องหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา ราคาก็ไม่สามารถที่จะ Up หรือจะยกราคาให้มันสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องปีที่ผ่านมาไม่ได้เฉพาะแค่หลายปี ที่ผ่านมา ๓-๔ ปีนะครับท่านประธาน ยางพาราก็มีปัญหาอีกด้านหนึ่งก็คือเรื่องโรคใบยางร่วง ทำให้ปริมาณยางเกิดตกต่ำขึ้นมานะครับ ลดหายไปประมาณ ๔๐-๕๐ เปอร์เซ็นต์ เป็น ๒ เรื่องที่เกิดปัญหา ๑. ราคายางตกต่ำ ๒. เรื่องของปริมาณยางที่หายไป วันนี้ส่วนใหญ่ ยางพาราก็มีการปลูกในเขต ๑๔ จังหวัดภาคใต้ อาจจะมีอีก ๓ จังหวัดในภาคเหนือ ภาคอีสาน ซึ่งมีผลกระทบในเรื่องประเภทเดียวกัน ส่วนอีกจังหวัดหลาย ๆ จังหวัดภาคเหนือ ภาคอีสานส่วนอื่น ๆ อาจจะมีผลกระทบด้านเดียวก็คือด้านราคา แต่ ๑๗ จังหวัด ภาคตะวันออก ๓ จังหวัด แล้วก็ภาคใต้อีก ๑๔ จังหวัด ก็โดน ๒ ประเด็นนะครับ ก็คือ เรื่องราคากับเรื่องโรคใบยางร่วงซึ่งทำให้ปริมาณน้ำยางลดหายไปประมาณ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้ถามว่าปีที่แล้วปี ๒๕๖๕ ตามสถิติและข้อมูลก็มีการผลิตยางออกมาได้ประมาณ ๒ ล้านกว่าตันของประเทศไทย แล้วก็ยางทั้งหมดในโลกนี้อาจจะผลิตได้ถึง ๓ ล้านตัน เรา ๒ ประเทศ มาเลเซียและอินโดนีเซียผลิตได้ประมาณ ๒ ใน ๓ ของโลก ผมก็ได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับท่านประธานรัฐสภาไทยไปร่วมประชุม AIPA เมื่อวันที่ ๕-๑๐ สิงหาคมที่ผ่านมา เนื่องจากว่าช่วงนั้นเรายังไม่มีรัฐบาล ยังไม่มีรัฐมนตรี ที่มารับผิดชอบกับประเทศเรา ท่านประธานก็บอกว่าเราจะต้องเจอกับโจโกวี ซึ่งเป็นผู้นำ ของประเทศอินโดนีเซียจะมาพูดเรื่องยาง บังเอิญก็ได้เจอกันจริง ๆ แล้วก็มีการนัดหมาย กับประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย พูดเรื่องของราคายางตกต่ำ ซึ่งเรามีเหลือแค่ ๒ ประเทศ ยังเป็นผู้ผลิตยางในภูมิภาคหรือในโลกนี้ ซึ่งผลิตได้ประมาณเกินกว่า ๖๐ เปอร์เซ็นต์ที่ใช้กัน ทั้งโลก เมื่อท่านอาจารย์วันมูหะมัดนอร์ในฐานะเป็นประธานสภาได้เจอกับประธานาธิบดี โจโกวี ท่านโจโกวีก็ได้สั่งการไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของอินโดนีเซีย เพื่อมา พูดคุยเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ ท่านอาจารย์วันมูหะมัดนอร์ก็ได้นำคณะของเราไปพบปะพูดคุย เพื่อเอาปัญหาเรื่องของราคายางที่เกิดในภูมิภาคแห่งนี้ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้า ก็ยินดีที่จะให้ความร่วมมือ แต่ในขณะเดียวกันเราเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ อันนี้พูดถึงอาจารย์ วันมูหะมัดนอร์พูดอย่างนี้ เราเป็นฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ แต่ไม่อยาก ให้เสียโอกาสระหว่างที่เราได้พบเจอกันแล้ว แล้วก็อยากจะให้รัฐบาลต่อจากนี้ไปก็ได้ ไปประสาน สานต่อในเรื่องของโอกาสที่จะมาพูดคุยเพื่อที่จะพูดในเรื่องของราคายาง เพราะอินโดนีเซียเองก็มีปัญหาในเรื่องของราคายางตกต่ำเหมือนกัน แล้วก็อยู่ที่ประมาณสัก ๑๐๐,๐๐๐ รูปียะฮ์ สัก ๑ กิโลกรัม อย่างนี้ก็เป็นปัญหาไม่ได้แตกต่างกันไป เอาเป็นว่า ณ วันนี้เป็นต้นไปเราอาจจะต้องฝากเรื่องนี้ต่อไปยังรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ รวมไปถึง นายกรัฐมนตรีจะต้องเอาใจใส่เรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะอย่างที่ผมเคยเล่าให้ฟังว่าหลายปี ที่ผ่านมา ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ผลกระทบจากโลกเราก็โดนไปแล้วว่าเอาราคาที่เป็นปัจจุบัน ผลกระทบจากโลกเราก็เสียเงินไป ลดน้อยถอยลงไปอีกประมาณเกือบ ๆ ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ในรอบ ๔ ปี ถ้าจะว่าไปแล้วจะซื้อเรือดำน้ำอีก ๔-๕ ลำ ไม่ได้ลำบากเลยถ้าราคายางอยู่ใน สภาพดี แต่นี่เราก็เสียหายไปแล้วประมาณเกือบ ๆ ๒๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ท่านประธานครับ เรื่องนี้จะต้องเอาจริงเอาจัง ถามว่าวันนี้เราจะโค่นต้นยางไปปลูกทุเรียนมันก็เป็นไปไม่ได้ ในพื้นที่การปลูกหลายล้านไร่ ซึ่งปัจจุบันทั้งประเทศนี้ ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ก็เป็น พื้นฐานอยู่แล้ว เราจะไปเปลี่ยนอาชีพเกษตรกรเป็นอย่างอื่นก็คงได้ยาก แต่ถามว่าต่อไปนี้ เราจะบริหารจัดการผลผลิตจากยางพาราไปสู่ในระบบอุตสาหกรรมได้อย่างไร จะมาผลิต ยางรถยนต์อย่างที่เพื่อนสมาชิกได้นำเสนอในสภาแห่งนี้เป็นอย่างไร แต่อย่างน้อยที่สุด มันเป็นเรื่องของต้นทุนที่เราจะต้องไปสู่เรื่องของเศรษฐกิจหลักของประเทศ เรามีรายได้ จากเรื่องนี้หลายแสนล้านต่อปี ซึ่งพี่น้องเกษตรกรก็ถือว่ายางพารานี้เป็นตู้ ATM นะ ท่านประธาน นึกถึงว่าอยากจะมีรายได้สักบางส่วนของตามผลผลิตของตัวเองรุ่งเช้าก็ไป กรีดยางก็สามารถมีเงินได้ทันที มันไม่เหมือนผลไม้หรือว่าพืชผลเศรษฐกิจอย่างอื่นก็จะต้องไป ในรอบปีของฤดูกาล อย่างเช่นปัญหา ณ วันนี้เรื่องตกต่ำของทุเรียนก็เช่นกัน ซึ่งอาจจะมี ผู้แทนจากพรรคประชาชาติของเราจะสะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่มันเกิดเป็นปัญหาราคาตกต่ำ เรื่องทุเรียนอาจจะมีหนอนมีอะไรเราก็ยอมรับ เพราะนั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง การมีหนอน ก็คือการมีผีเสื้อตอนกลางคืนไปแล้วพยายามที่จะจุดไฟจุดอะไรก็ยังไม่สามารถที่จะมาดูแล ทั้งพื้นที่ได้ อันนี้ก็ต้องไปสู่ระบบของอุตสาหกรรมต่อไปว่าจะเตรียมวัตถุดิบ ซึ่งที่มีปัญหา ลักษณะของราคานี้ไปได้อย่างไร กลับมาที่ยางพารา ก็อยากจะฝากบอกท่านประธาน และประสานไปยังรัฐบาลปัจจุบันนะครับ จากการที่เราได้สร้างโอกาสไปสานต่อกับภูมิภาคนี้ แล้วก็อยากจะให้รัฐบาลชุดนี้ แล้วก็หวังว่ารัฐมนตรีชุดปัจจุบันก็คงจะมีความมุ่งมั่นที่อยากจะ แก้ปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรโดยเฉพาะเรื่องยางพารา อย่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศก็ตามจะต้องร่วมด้วยช่วยกันเพื่อที่จะไปยกราคา ไม่ได้แค่คิดในประเทศ จะต้องคิดทั้งภูมิภาคว่าเราจะเอาโอกาสตรงนี้เพื่อไปสู่เรื่องของต้นทุนเป็นเท่าไร เพื่อกำหนด ราคาให้พี่น้องเกษตรกรสามารถที่จะมีราคา เราก็คุยบ้างแล้วที่ประเทศอินโดนีเซียว่าราคา ถ้าเทียบกับประเทศไทยควรจะมีราคาประมาณ ๖๕ บาทขึ้นไป ขอขอบคุณท่านประธานครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสุไลมาน บือแนปีแน ครับ

นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่านประธานที่ได้ให้ผมและเพื่อนสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ทุกท่านได้ร่วมกันอภิปรายในญัตติที่เกี่ยวกับราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ผมเอง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากจังหวัดยะลา วันนี้ก็มีพืชผลทางการเกษตรอยู่หลาย ๆ ชนิดด้วยกัน ซึ่งเมื่อสักครู่นี้ท่านเพื่อนสมาชิกก็ได้นำเสนอปัญหาในเรื่องของราคายางพารา แต่สินค้าอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดยะลาซึ่งมีมากนะครับท่านประธาน นั่นก็คือทุเรียน ทุเรียนยะลาถือว่าเป็นทุเรียนอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความสนใจ แล้วก็มีรสชาติที่อร่อยที่ต่างจาก ที่อื่นเนื่องจากเราเป็นทุเรียนสะเด็ดน้ำ ประกอบกับภูมิอากาศ ภูมิประเทศของเรา ทำให้ ทุเรียนของพี่น้องชาวยะลา ทุเรียนยะลาเป็นที่พูดถึงแล้วก็อร่อย ถ้าไม่เชื่อผมอยากให้ เพื่อนสมาชิกได้ลองชิม แล้วก็ได้ลองรับประทานนะครับ ท่านประธานที่เคารพครับ ท่านประธานทราบไหมครับว่า วันนี้สวนทุเรียนที่มีอยู่ในจังหวัดยะลามีไม่ต่ำกว่า ๙๖,๐๐๐ กว่าไร่ครับท่านประธาน และปีนี้เราสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจากสวนทุเรียนได้ ประมาณราว ๆ ๖๖,๐๐๐ กว่าไร่ในจังหวัดยะลา แล้วเราสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตในปีนี้ ราว ๆ ประมาณ ๘๐,๐๐๐-๙๐,๐๐๐ ตันทีเดียวครับท่านประธาน ซึ่งคาดการณ์ว่าอนาคต จากสวนที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวเราคาดการณ์ว่าปีหน้าเราจะมีผลผลิตจากสวนทุเรียนราว ๆ ประมาณเป็นแสนตันท่านประธานครับ ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วอยู่ ๒ เท่าครึ่งด้วยกัน คือประมาณ ๒๐,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ ตันเมื่อปีที่แล้ว ฉะนั้นแล้ววันนี้ทางเกษตรกรหรือว่า ชาวสวนทุเรียนก็มีปัญหาอยู่ ๒-๓ ประเด็นด้วยกัน

นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ

ประการแรก ก็คืออย่างที่ท่านเพื่อนสมาชิกมีโอกาสได้นำเสนอแล้วนั่นก็คือ ในเรื่องของหนอนเจาะทุเรียน ซึ่งปัญหาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าวันนี้ทุเรียนของเราไม่ได้เน้น ในเรื่องของสารเคมี ให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น แต่วันนี้นะครับท่านประธานด้วยนวัตกรรม ด้วยวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ เราก็พยายามคิดค้นเพื่อที่จะป้องกันสิ่งเหล่านี้ วันนี้ชาวบ้านก็ได้ นำนวัตกรรมก็คือการเปิดไฟ หรือหลอดไฟนีออนในสวนเพื่อต้องการที่จะไล่แมลงเหล่านี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ก็ได้ผลในระดับหนึ่งนะครับท่านประธาน แต่ปรากฏว่าวันนี้ปัญหา ที่เกิดขึ้นก็คือในเรื่องของการขยายเขตไฟฟ้าในส่วนที่เป็นส่วนบันนังสตาบ้าง ในส่วนที่เป็น ส่วนของธารโตบ้าง เนื่องจากว่าสวนต่าง ๆ อยู่ในเขตพื้นที่ที่ลึกเข้าไปในสวนทำให้การขยาย เขตไฟฟ้าอาจจะยังติดขัดอยู่ อาจจะมีความต้องการมากอยู่ ฉะนั้นอยากจะฝากในเรื่องนี้ ด้วยนะครับท่านประธาน

นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ

และอีกประเด็นหนึ่งก็คือในเรื่องของผลผลิตที่มันยังดิบที่เข้าสู่ตลาด ซึ่งต้อง ยอมรับว่าสิ่งเหล่านี้เนื่องจากว่าในปีนี้ผลผลิตเราออกมาหลายรุ่น ทำให้ส่วนหนึ่งก็อาจจะเป็น การที่ชาวสวนอาจจะนำผลผลิตเหล่านี้เข้าสู่ตลาด เนื่องจากว่าปีนี้มันมีหลายรุ่นในการที่จะ ออกผลมา ฉะนั้นแล้วก็เลยเกิดปัญหาในเรื่องของราคาที่มันผันผวนครับท่านประธาน จากเมื่อต้นฤดูกาลในช่วงของเดือนกรกฎาคม ราคาสูงไปถึง ๑๔๐-๑๕๐ บาท แต่ปัจจุบัน พอประสบปัญหาเหล่านี้ก็ทำให้เกิดปัญหากับพ่อค้าที่ไปเหมาสวนบ้าง เกิดปัญหากับล้งบ้าง ที่ได้วางราคาไว้ แต่ปรากฏว่าวันนี้พอท้าย ๆ ฤดูกาลในช่วงปัจจุบันราคาก็ร่วงลงมาราว ๆ ๘๐-๙๐ บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าต่อปีเราสามารถทำรายได้ให้กับประเทศชาติอย่างน้อยที่สุด หลายพันกว่าล้านบาท แต่ปรากฏว่าพอเรื่องราคามันผันผวนทำให้รายได้ส่วนนี้มันก็ลดลงไป ลดหย่อนลงไปครับ ท่านประธาน ฉะนั้นแล้ววันนี้ผมเองในฐานะผู้แทนที่มาจากจังหวัดยะลาเราก็อยากจะ นำเสนอให้ทางภาครัฐกับรัฐบาลที่กำลังจะเข้ามาดำเนินการในเรื่องของการส่งเสริม ในเบื้องต้นก็คือการส่งเสริมในเรื่องของการให้ความรู้ ในเรื่องของการจัดหาห้องเย็นเพื่อที่ รองรับกับผลผลิตที่บางทีพอเราไปเจอหนอนเราอาจจะเปลี่ยนวิธีการขายโดยการแกะเปลือก ก็คือขายผลอย่างเดียวนะครับ ฉะนั้นแล้วนี่ด้วยกับผลผลิตที่มันเยอะนี่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีห้องเย็นในการรองรับผลผลิตต่าง ๆ เหล่านี้ครับท่านประธาน ไม่ว่าจะเป็น การส่งเสริมในเรื่องของการแปรรูป ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการ Freeze Dry ก็ดี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำไอศกรีมก็ดีนะครับ ไอศกรีมทุเรียน ซึ่งผมเชื่อว่าจะสร้าง มูลค่าให้กับผลผลิตจากทุเรียนได้มากนะครับ

นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ

ประการต่อมา นั่นก็คืออยากจะให้ทางภาครัฐ หรือว่ารัฐบาลที่กำลังจะเข้ามา ช่วยในเรื่องของการขยายตลาดแล้วก็ส่งเสริม เพราะวันนี้ต้องยอมรับว่าประเทศจีนได้รับ ความสนใจในการที่บริโภคทุเรียนของเรา ซึ่งก็ไม่ใช่ทั้งหมดของประเทศจีนมีเพียงแค่ ๒ มณฑลเท่านั้นครับ แสดงให้เห็นว่าวันนี้สำคัญอย่างยิ่งที่รัฐบาลนี่จะต้องไปหาตลาดเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นตลาดทางตะวันออกกลางก็ดี ในจีนเองก็ดีต้องสามารถที่จะขยายพื้นที่ของคนที่ อาจจะต้องการทุเรียน ไม่ว่าจะเป็นกรมการค้าภายในก็อยากจะฝากในเรื่องนี้ด้วยนะครับ ผมเองถึงแม้นว่าจะเป็นผู้แทนที่อยู่ในเขตเมืองก็จริงนะครับ แต่วันนี้มันคือเรื่องเดียวกันครับ ท่านประธาน ถ้าวันนี้เกษตรกรมีเงินก็สามารถที่จะมาจับจ่ายใช้สอยในเมืองได้ก็ทำให้ เศรษฐกิจ ทำให้ GDP ของคนในพื้นที่จังหวัดยะลาเพิ่มมากขึ้น

นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ

สุดท้ายก่อนที่เวลาจะหมดนะครับ อาจจะมีอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องลองกอง ของยะลานะครับ ซึ่งวันนี้ลองกองของยะลา จริง ๆ มีเพื่อนสมาชิกได้พูดแล้ว แต่วันนี้ ลองกองของยะลาเราเพิ่งออกผลผลิตเพียงแค่ ๑๐ เปอร์เซ็นต์จากข้อมูลของเกษตรจังหวัด ฉะนั้นแล้วนี่ในอีก ๒-๓ สัปดาห์ข้างหน้าผลผลิตก็จะผลิตออกมาหลาย ๆ ตันในพื้นที่ ฉะนั้น แล้วนี่อยากจะให้รัฐบาลเตรียมความพร้อมในเรื่องของการกระจายสินค้าเหล่านี้นะครับ เพื่อให้ราคาไม่ตกต่ำอย่างที่เป็นอยู่นะครับ

นายสุไลมาน บือแนปีแน ยะลา ต้นฉบับ

สุดท้ายท้ายที่สุดท่านประธานครับ อยากให้รัฐบาลเน้นในเรื่องของการให้ ความสำคัญในเรื่องของงานวิจัยต่าง ๆ เพื่อที่จะทำการแปรรูป เพื่อที่จะแก้ปัญหา เพื่อที่จะ ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่นะครับ และผมได้รับ ฟังจากพี่น้องประชาชน พี่น้องประชาชนมีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งนะครับว่ารัฐบาลที่จะ เข้ามาแก้ปัญหานี้ด้วยความหวังนะครับ ฉะนั้นแล้วอย่าให้พี่น้องประชาชนผิดหวังครับ ขอบคุณมากครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ครับ

นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายแพทย์กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม เขต ๑ พรรคเพื่อไทย วันนี้ขออภิปรายญัตติราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ ท่านประธานครับ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม คนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร แต่พบว่าเกษตรกรไทย เป็นคนยากจน การที่เราจะยกระดับประเทศไทยไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง การที่จะต้อง ให้อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่ทำให้คนมีฐานะ ไม่ใช่แค่หายจนนะครับ ต้องมีฐานะ แล้วสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้กับประเทศ นี่คือสิ่งที่ผมเชื่อมั่นท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ท่านต้องการเช่นนั้นนะครับ ทีนี้ปัญหาสินค้าราคาเกษตรเป็นปัญหาที่พบมาทุกครั้ง การประชุมสภาในญัตติแรกที่เสนอก็เป็นญัตติแรกของปี ๒๕๖๒ เช่นกัน ก็คือเรื่องของราคา สินค้าการเกษตรตกต่ำ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องด่วน เป็นเรื่องที่ สส. ทุกคนพบปัญหา แล้วก็ อยากนำปัญหานี้มาเสนอรัฐบาล เพื่อไปสู่การแก้ไขอย่างถูกต้อง ท่านประธานครับ สินค้า การเกษตรมีหลายอย่าง ตั้งแต่ข้าว อ้อย มัน ยางพารา ผลไม้พวกลำไย มังคุด เงาะ ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน ส้มโอ อะไรต่าง ๆ หรือปศุสัตว์ กุ้ง ปลา อาหารทะเล วัว ควาย ไก่ เป็ด หมู ไข่ไก่ ไข่เป็ด น้ำนมวัวต่าง ๆ บางครั้งมีปัญหาสินค้าการเกษตรตกต่ำ ชาวบ้าน เกษตรกร ก็จะร้องเรียน แล้วบางทีก็จะมี Mob โน่น Mob นี่มา แล้วการแก้ไขของรัฐบาลจะต้องแก้ไข อย่างเป็นระบบ ซึ่งประเทศไทยต้องยอมรับนะครับว่าปัญหาราคาสินค้าการเกษตรก็มี ๓ เรื่องใหญ่ ๆ ที่สำคัญนะครับ ขอ Slide นะครับ

นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

อันที่ ๑ เรื่องต้นทุน ต้นทุนคือปัจจัยการผลิต ฉะนั้นเราต้องลดต้นทุนครับ น้ำต้องดี ถ้าน้ำไม่ดีผลผลิตก็ต่ำ ปุ๋ยต้องถูก ต้นทุนการเงิน การคลังก็ต้องได้รับการสนับสนุน ที่ท่านสมาชิกสภาได้อภิปรายไป

นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

อันที่ ๒ ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ก็คือประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งสำคัญ เวียดนามหรือประเทศข้างบ้านเรามีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าเราเท่าตัว นี่คือสิ่งที่เราต้องปรับปรุง

นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

อันที่ ๓ ราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ ผมเชื่อว่าเกษตรกรทุกคน ชาวนาทุกคน หรือคนไทยทุกคนตอนนี้ความหวังของเขาคือพรรคเพื่อไทย เพราะพรรคเพื่อไทยเก่งในการ ที่จะทำให้ราคาสินค้าการเกษตรมีรายได้ เขาเคยมีความสุขกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ข้าวราคา ๑๘,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ บาทต่อตัน ตอนนั้นชาวนามีความสุขมาก ขายข้าวเป็นราคาใช้หนี้ใช้สิน ได้ มีเงินมีทอง แล้วก็ทำให้เศรษฐกิจฟื้นฟูขึ้นมาไม่ใช่เฉพาะชาวนาถ้าเกษตรกรมีเงิน ทุกคนมีเงินหมด ร้านค้าขายของดี ร้านค้าในเมืองก็ขายของได้ โรงงานก็ผลิตเพิ่มขึ้น นี่คือวัฏจักร ของเศรษฐกิจที่ประเทศไทยจะต้องอาศัยเรื่องของเกษตรกรรมเป็นหลัก

นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

ทีนี้เรื่องของต้นทุน ผมขออนุญาตพูดถึงเรื่องของระบบชลประทาน ซึ่งตอนนี้ ต้องบอกว่าต้องให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องทำให้พื้นที่ชลประทานมีพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ที่ท่านหาเสียงไว้คิดใหญ่ ทำเป็นในการที่ทำให้น้ำดี ท่านประธานครับ พื้นที่ชลประทานอีสานแค่ ๑๓ เปอร์เซ็นต์ แต่ในภาคกลางมากกว่าอีสาน ๓ เท่า รายได้ ต่อหัวของประชากรภาคกลางมากกว่าอีสาน ๓ เท่า สังเกตนะครับว่าปริมาณน้ำกับรายได้ ประชากรจะเป็นสิ่งที่แปรไปตามกัน แล้วถ้ามีน้ำดีรับรองว่าคนอีสานหายจน ท่านประธานครับ นโยบายที่ทางพรรคเพื่อไทยได้พูดไว้นะครับ รายได้เกษตรจาก ๑.๔ ล้านล้านบาท เป็น ๔.๒ ล้านล้านบาท จาก ๘ เปอร์เซ็นต์ของ GDP เป็น ๒๕ เปอร์เซ็นต์ของ GDP ที่มีความสำคัญครับ ถ้าทำไม่ได้ประเทศไม่ฟื้น ชาวนาไม่หายจนนะครับ ฉะนั้นรายได้เกษตร จะเพิ่มขึ้น ๓ เท่าใน ๔ ปี เกษตรกรไทยตอนนี้มีรายได้ ๑๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ๘๐,๐๐๐ บาทต่อไร่ต่อปี GDP จะเพิ่มขึ้นจาก ๑.๔ เป็น ๔.๒ เปอร์เซ็นต์ แล้วสิ่งที่ ชาวนาหวังก็คือท่านต้องทำให้ชาวนามีเงิน ทำให้เกษตรกรมีเงิน มีรายได้ จังหวัดมหาสารคามบ้านผมครับ ข้าว อ้อย มัน ยาง วัว ข้าว ท่านต้องเพิ่มผลผลิต น้ำดี พันธุ์ดี เทคโนโลยีดี ลดต้นทุน ราคาปุ๋ยต้องลดลง ราคาข้าวต้องมีการทำให้ราคาข้าวยกขึ้น ท่านประธานครับ นโยบายที่สร้างเกษตรกรไร้หนี้ สร้างเศรษฐีใหม่ เขาไม่ต้องการแค่หายจน ผมต้องการให้ชาวนามีฐานะ มีความร่ำรวย แล้วประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจ ดีขึ้น ทำให้คนส่วนใหญ่เป็นคนรายได้มากขึ้น เป็นประเทศที่หลุดพ้นจากประเทศที่ยากจน ชาวนาเขาหวังนะครับ เขาหวังว่านายกรัฐมนตรีชื่อเศรษฐาจะทำให้เขาเป็นเศรษฐี อันนี้ต้อง บอกว่า ๓ ปีพักนี้เกษตรกร ๕๐ ล้านไร่ที่ดินทำกิน เพิ่มรายได้สร้าง ๓ เท่า ใน ๔ ปี สร้างตลาดการเกษตรด้วย Blockchain หรือการค้าขายกับต่างประเทศที่ท่านอนุสรณ์ ได้กล่าวไป การตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ นี่คือสิ่งที่ฝากให้พรรคเพื่อไทย และรัฐบาลเพื่อไทย ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐาได้ทำด้วยความเร่งด่วน ขอบคุณมากครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปสมาชิกท่านสุดท้าย ท่านทศพร เสรีรักษ์ ครับ

นายทศพร เสรีรักษ์ แพร่ ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ เกษตรกรเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นพลังที่สำคัญของประเทศ เป็นสิ่งที่รู้ดีกันอยู่แล้ว ๒ วันที่ผ่านมาเราก็จะเห็นว่า สส. แทบ จะทั้งสภาทุกพรรคให้ความสำคัญกับพี่น้องเกษตรกร ผมอภิปรายเป็นคนสุดท้ายแทบจะไม่มี เรื่องอะไรที่จะต้องพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ สส. พรรคเพื่อไทยได้อภิปรายไว้ทั้งหมดได้ขมวด ปมหมดแล้ว ไม่ว่าท่านอนุสรณ์ หรือว่าคุณหมอกิตติศักดิ์ ผมก็คงไม่ต้องไปพูดซ้ำอะไรอีกแล้ว ก็คงจะย้ำให้พี่น้องประชาชนได้เชื่อมั่นว่าพวกเรา สส. ทั้งสภาทั้งเกือบ ๕๐๐ คนก็จะร่วมมือ กับรัฐบาลในการทำงาน เพื่อยกระดับชีวิต สร้างความสุขให้พี่น้องเกษตรกรทั้งประเทศ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ ตอนนี้สมาชิกได้อภิปรายจนครบทุกท่านแล้วตามข้อบังคับ ข้อ ๗๕ ผู้เสนอ มีสิทธิอภิปรายสรุป มีผู้เสนอญัตติท่านใดต้องการใช้สิทธินี้ไหมครับ มีท่านอรรถกร ๑ ท่าน มีท่านอื่นไหมครับ อย่างนั้นเชิญท่านอรรถกรอภิปรายสรุปครับ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

ขอบพระคุณท่านประธานครับ กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ กระผม อรรถกร ศิริลัทธยากร สส. จังหวัดฉะเชิงเทรา เขต ๒ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะผู้ที่เสนอญัตตินี้เป็นคนแรก ต้องขออนุญาตเรียนท่านประธานว่าผมจะใช้เวลาสรุปเพียงสั้น ๆ เท่านั้น เพื่อที่จะให้สภา ของเราได้เดินหน้าต่อสู่วาระถัดไป ด้วยความเคารพ ท่านประธานครับ จากที่ผมฟัง ความคิดเห็นจากเพื่อนสมาชิกทุกคน ทุกท่าน เรามีความเห็นเหมือนกันว่า ณ วันนี้ พี่น้องเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องเกษตรกรชาวสวน ชาวนาชาวไร่ กำลังได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำเป็นอย่างยิ่ง และแน่นอนครับ พี่น้องเกษตรกรเหล่านี้นอกจากที่ทุกวันนี้เขาจะต้องช่วยตัวเองแล้ว เขาก็ยังรอความหวังครับ รอความหวังจากรัฐบาล รอความหวังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่จะมาร่วมกันสะท้อนปัญหาและความต้องการของเขาเพื่อที่จะนำไปสู่ถึงการแก้ไขปัญหา ต่อไป ผมเรียนอย่างนี้ครับ ผมย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าปัญหาราคาตกต่ำปัญหามันเกิดขึ้นมาจาก ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

ประเด็นแรกพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีอำนาจการต่อรองน้อย โดยเฉพาะ มีการนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศจากบริษัทใหญ่ ๆ ที่ผมเชื่อว่าถ้าเราเอ่ยชื่อไปเกือบทุกคน ทั้งประเทศจะรู้จัก ทำให้ราคากุ้งในประเทศไทยตกต่ำ ซึ่งส่งผลต่อพี่น้องเกษตรกร อย่างแน่นอน

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ เรื่องราคาต้นทุนทางการผลิตที่มันสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ปัจจัยต่าง ๆ ค่าไฟฟ้า ถ้าเราสามารถลดตรงนี้ได้ผมเชื่อว่ามันจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกร ได้อย่างทั่วถึง ต้องกราบเรียนท่านประธานด้วยความเคารพครับ ในวันศุกร์ที่ผ่านมาผมโชคดี มีโอกาสได้เดินทางไปกับท่านเลขาธิการของพรรคพลังประชารัฐ ท่าน ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ไปกับท่าน สส. ไผ่ ลิกค์ ไปกับท่าน สส. ภาคภูมิ บูลย์ประมุข ไปร่วมพูดคุยปัญหา กับพี่น้องประมง ผมก็มีโอกาสได้ใช้เวลาสั้น ๆ ในการนำเสนอปัญหาของพี่น้องเกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งถึงเรื่องปัญหาราคาตกต่ำก็ดี หรือว่าปัญหาที่มันเกิดขึ้นกับพี่น้องเกษตรกรก็ดี ผมเรียนท่านนายกรัฐมนตรีด้วยความเคารพครับ ท่านนายกรัฐมนตรีท่านก็รับเรื่องนี้ไว้ และเชื่ออย่างยิ่งว่าท่านนายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน ก็จะนำความเดือดร้อนของ พี่น้องเกษตรกรไปแก้ไขปัญหาต่อไป

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

สุดท้าย ท่านประธานครับ ญัตติที่ผมยืนไว้เป็นญัตติที่เสนอให้ตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาเพื่อจะพิจารณาศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาราคากุ้งตกต่ำ แต่ถ้าดูจากตอนนี้ผมว่าวิธีที่รวดเร็วที่สุดที่สภาเราจะทำได้ก็คือขออนุญาตส่งรายงานของพวกเรา สมาชิกทั้งหมด ๕๐๐ คนไปที่นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเขาจะได้มีข้อมูล พอรู้ข้อมูล เขาจะสามารถลงไปแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรได้อย่างรวดเร็ว และตรงจุดกว่าเดิม ขอบพระคุณครับท่านประธาน

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ มีผู้อภิปรายสรุปเพียงท่านเดียวคือท่านอรรถกร แล้วก็ได้สรุปถึงข้อเสนอด้วย เนื่องจากเป็นญัตติที่ให้พิจารณาไม่ว่าจะเป็นการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ แล้วก็ส่งเรื่องให้ รัฐบาลพิจารณาดำเนินการนะครับ เชิญครับ

นายอาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ ศรีสะเกษ ต้นฉบับ

ท่านประธานครับ ขออนุญาตครับ ผม อาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย ขออนุญาตแจ้งท่านประธานว่ามีเพื่อนสมาชิกจากพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นผู้เสนอญัตติ ราคาพืชผลทางการเกษตรและผลไม้ตกต่ำมีความประสงค์จะอภิปรายสรุป แจ้งท่าน เพื่อทราบครับ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

อย่างนั้นเชิญท่านมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล ครับ

นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพค่ะ ดิฉัน มุกดาวรรณ เลื่องสีนิล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคภูมิใจไทย ดิฉันขออนุญาตสรุปดังนี้นะคะ จากการนำเสนอญัตติต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาศึกษาแก้ไขปัญหาราคาพืชผลผลิตตกต่ำอย่างเป็นระบบ เมื่อวันพุธที่ ๖ และวันพฤหัสบดีที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๖ ไปแล้วนั้น ดิฉันได้นำเรียนสรุปปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาในเรื่องของราคามังคุดตกต่ำผ่านท่านประธานสภาไปยังรัฐบาล ท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืนดังนี้

นางมุกดาวรรณ เลื่องสีนิล นครศรีธรรมราช ต้นฉบับ

สืบเนื่องจากการรายงานปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวเกษตรกร สวนมังคุดในภาคใต้ โดยเฉพาะเหตุร้องทุกข์จากจังหวัดนครศรีธรรมราชระหว่าง เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมานั้น เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพี่น้องประชาชน ได้ร่วมกันอภิปรายสะท้อนปัญหา และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันต่อท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรผ่านสภาแห่งนี้ไป ขออนุญาตนำเรียนความก้าวหน้านะคะ ท่านประธานสภา โดยรัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ตลอดจนรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านธรรมนัส พรหมเผ่า ว่าหลังจากวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๖ จากการลงพื้นที่ของคณะรัฐมนตรีที่อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช และมีการนำ ปัญหาที่เกิดขึ้นมาสะท้อนให้เห็นในสภาแห่งนี้ มีผลต่อพี่น้องชาวสวนมังคุดดังนี้คือ เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๖ เทศบาลพรหมโลกจัดโครงการพยุงราคามังคุดตก Size ช่วยเหลือ เกษตรกรโดยตรงเพื่อกระจายสู่ผู้บริโภค เมื่อเวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ที่อาคารอเนกประสงค์ โดยนายรังสิต เฉลิมวรรณ ขออนุญาตเอ่ยนาม นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพรหมโลก แจ้งว่าจากการลงพื้นที่ของ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ได้จัดโครงการพยุงราคาเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าปลายฤดูนี้ให้ชาวสวน ได้คลายความเดือดร้อนไปก่อน โดยการจัดการรับซื้อมังคุดลูกดำในราคากิโลกรัมละ ๑๒ บาท และ ๑๕ บาทตามลำดับทำให้ชาวสวนนำมังคุดมาขายเป็นจำนวนมาก เพราะราคาท้องตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ ๓-๕ บาทเท่านั้น และทางเจ้าหน้าที่จะรับซื้อราคานี้ จนกว่าชาวสวนจะสามารถขายที่อื่นได้ ส่วนการมอบหมายจากท่านรัฐมนตรีให้หน่วยงาน อ.ต.ก. หรือองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรได้เปิดจุดรับซื้อมังคุดเพิ่มเติม ณ ศพก. หรือศูนย์พัฒนาการเกษตรลานสกาที่หมู่ที่ ๑ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๖ วันนี้เป็นต้นไป โดยจะรับซื้อดังนี้ ๑. มังคุดตก Size ราคากิโลกรัมละ ๑๕ บาท รับซื้อโดย อ.ต.ก. ๒. มังคุดดำ ราคากิโลกรัมละ ๑๒ บาท รับซื้อโดยสหกรณ์การเกษตรอำเภอลานสกา สรุปโดยภาพรวมนะคะ เวลานี้เรามีหน่วยงานภาครัฐ อาทิ กรมการค้าภายใน อ.ต.ก. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดรับซื้อตามจุดต่าง ๆ ที่ยังมีมังคุดออกขายตามที่ต่าง ๆ ในราคาที่เป็นธรรม นี่คือการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าช่วงปัญหาหนักรุมเร้า แต่หากจะมีเล่ห์เหลี่ยมกลโกงของพ่อค้าแอบแฝงอีกหรือไม่ ต้องให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ตรวจสอบ และทำให้ เกิดความโปร่งใสอย่าให้กรรมตกอยู่แก่ชาวสวนอีกต่อไป ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาและการบริหารจัดการผลไม้ พ.ศ. ๒๕๕๐ จะมีคณะกรรมการพัฒนา และบริหารจัดการผลไม้ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน และอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นกรรมการและเลขานุการนั้น ดิฉันเชื่อมั่นว่ารัฐบาล คณะนี้ทั้งคณะสามารถที่จะนำพาซึ่งการแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำของการเกษตร ได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน โดยอาศัยสภาแห่งนี้ที่เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ ความร่วมมือทุกท่านในสภาแห่งนี้มา ๒ วันถึงเวลานี้ให้เข้าไปสู่ในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญเพื่อศึกษาปัญหา และดำเนินการแก้ไขปัญหาผลิตผลการเกษตรให้มีราคา และมีความยั่งยืนอย่างเป็นระบบต่อไป กราบขอบพระคุณท่านประธานค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ จากการอภิปรายของสมาชิก และจากการอภิปรายสรุปของผู้เสนอญัตติ มีความเห็นให้ส่งเรื่องดังกล่าวไปให้รัฐบาลเพื่อพิจารณาดำเนินการนะครับ เพราะฉะนั้น ผมขอถามว่าจะมีผู้ใดขัดข้องหรือไม่ครับ ถ้าไม่มี ผมจะใช้อำนาจตามข้อบังคับ ข้อ ๘๘ ถามมติว่าจะส่งญัตติตามระเบียบวาระที่ ๕.๑ ถึง ๕.๑๑ ไปให้รัฐบาลพิจารณาดำเนินการ จะมีท่านใดเห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ไม่มีนะครับ อย่างนั้นเราดำเนินการตามข้อบังคับ ข้อ ๘๘ นะครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

สมาชิกครับต่อไปจะเป็น ๒.๕ รับทราบรายงานตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ประจำปี ๒๕๖๕

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอเชิญผู้ชี้แจงเข้าห้องประชุมเลยครับ ขอเชิญผู้ที่มีรายชื่อดังต่อไปนี้ เข้าร่วมชี้แจงในที่ประชุมนะครับ ท่านแรก ท่านสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. ท่านประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุน สสส. ท่านไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ กองทุน สสส. ท่านวิภาดา วงศ์เจริญวิทยา ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน และจะมีทีม สนับสนุนอีก ๓ ท่าน ท่านกาญจนา บงกชรัตน์ ท่านชลธิดา ภู่ระหงษ์ และท่านวาสนา แสงสุข ตามแนวทางที่เราได้วางไว้จะขอให้ทางผู้ชี้แจงได้สรุป Highlight ของรายงานที่เตรียม มารายงาน ไม่จำเป็นต้องพูดรายละเอียดทั้งหมดนะครับ แล้วก็จะให้เวลาไม่เกิน ๑๐ นาที ในช่วงแรก และจะให้สมาชิกได้อภิปรายซักถามครับ เชิญผู้ชี้แจงครับ

นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ด้วยพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พุทธศักราช ๒๕๔๔ มาตรา ๓๖ บัญญัติให้กองทุนจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อพิจารณาถึงผลการดำเนินงานตามพันธกิจ ในการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยในวันนี้ผมขอนำเสนอคำกล่าวสรุปรายงานโดยย่อ ประกอบกับวีดิทัศน์ที่จะให้ข้อมูลประกอบนะครับ เปิดวีดิทัศน์ได้เลยครับ

นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ต้นฉบับ

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. มีพันธกิจในการจุดประกายกระตุ้น สานและเสริมพลังในภาคีทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิถีชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี สสส. บริหารงบประมาณจากภาษีสรรพสามิต สุราและยาสูบ ที่จัดเพิ่มร้อยละ ๒ แล้วก็สนับสนุน โครงการมากกว่าร้อยละ ๙๐ ครอบคลุมทุกประเด็นสุขภาพ แล้วก็ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ในปี ๒๕๖๕ มีภาคีรับทุนรายใหม่ร้อยละ ๘๒ ดำเนินผ่านแผน ๑๕ แผน เพื่อตอบ ๖ เป้าประสงค์ดังนี้ครับ

นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ต้นฉบับ

๑. ลดปัจจัยเสี่ยงหลัก ควบคุมยาสูบ ๗๗ จังหวัด มุ่งเน้นป้องกันนักสูบ หน้าใหม่ สร้างพื้นที่สาธารณะปลอดบุหรี่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ รณรงค์ ลด ละ เลิก แอลกอฮอล์ และสิ่งเสพติด ขับเคลื่อนงานบุญปลอดเหล้า ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนปลอดภัย ลดปัจจัยเสี่ยง สร้างจิตสำนึกทางม้าลายปลอดภัย ลดเจ็บ ลดตายบนท้องถนน ส่งเสริม ความรู้เท่าทันพนัน Online สร้างเมืองสุขภาวะนำร่อง รองรับสังคมสูงวัย พัฒนาการส่งเสริม กิจการทางกาย สร้างค่านิยมใหม่เพื่อการบริโภคอย่างสมดุล

นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ต้นฉบับ

๒. พัฒนากลไกเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ ขับเคลื่อนการจัดการอากาศ สะอาด สร้างกลไกจัดการปัญหาท้องวัยรุ่น พัฒนามาตรฐานการให้บริการด้านสุขภาพจิต พัฒนาการเรียนรู้ Online ที่เข้าถึงง่าย เพื่อเยาวชนและครอบครัว สนับสนุนสิทธิ กลุ่มเปราะบาง เพิ่มทักษะการทำงาน ดูแลสุขภาพรอบด้าน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ต้นฉบับ

๓. เพิ่มขีดความสามารถเชิงสถาบัน บทบาทชุมชน และองค์กร มุ่งเป้า ๘ ประเด็น สร้างสุขภาวะชุมชนยั่งยืน ๓,๒๑๔ ตำบล สร้างเสริมสุขภาพองค์กรให้การทำงาน สร้างสุข

นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ต้นฉบับ

๔. สร้างค่านิยมเพื่อเพิ่มโอกาสเรียนรู้ สร้างพลเมืองเท่าทันสื่อ ตื่นรู้วิถี สุขภาวะทางปัญญา มีจิตอาสา สร้างภูมิคุ้มใจ ส่งสื่อสุขภาพที่ตรงใจ พัฒนา Application และ Platform Online ให้เข้าถึงง่ายเป็นสื่อเฉพาะบุคคล สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม รณรงค์สุขภาวะสร้างแรงบันดาลใจ ค่านิยมใหม่ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ต้นฉบับ

๕. ขยายโอกาสและพัฒนาศักยภาพด้านการสร้างนวัตกรรมสุขภาวะ สนับสนุนทุนรายย่อย ๒,๔๗๓ โครงการ มีสภาผู้นำชุมชน พัฒนาโครงการร่วมทุนกับองค์กร อื่นต่อยอดสู่กทุกจังหวัด เพื่อสมทบงบประมาณการจัดการปัญหาสุขภาพของชุมชน

นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ต้นฉบับ

๖. ส่งเสริมสมรรถนะของระบบบริการสุขภาพและระบบสนับสนุน พัฒนา เครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิสู่การจัดการสุขภาพตนเอง เสริมสร้างสุขภาพช่องปาก สนับสนุนโครงการคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอครบทุกอำเภอ ต่อยอด งานวิจัย สนับสนุนนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ บูรณาการเครือข่าย ยกระดับการทำงาน สู่สากล ทั้งหมดนี้มีระบบบริหาร และระบบการตรวจสอบการทำงานทั้งประสิทธิภาพ และความโปร่งใสโดยคณะกรรมการประเมินผลที่กระทรวงการคลังเสนอให้มี ครม. แต่งตั้ง มีผลการประเมินกองทุนตามหลัก Balanced Scorecard ที่ ๔.๗๖ และบริหารจัดการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาลที่ ๙.๖๗ ในการก้าวสู่ทศวรรษที่ ๓ ของ สสส. และภาคีเครือข่ายยังคง มุ่งมั่นที่จะสานพลัง สร้างนวัตกรรมสื่อสารสุข เพื่อสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืนและดีขึ้นต่อไป โดยรายละเอียดทั้งหมดนี้ปรากฏในเอกสารรายงานประจำปีแล้ว จึงเรียนมาเพื่อรับความเห็น และข้อเสนอแนะจากท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติทุกท่านด้วยความเคารพครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ เชิญสมาชิกที่เข้าชื่ออภิปราย ท่านแรก ท่านกัลยพัชร รจิตโรจน์ ครับ

นางสาวกัลยพัชร รจิตโรจน์ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน ที่เคารพค่ะ ดิฉัน กัลยพัชร รจิตโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ดิฉันชื่นชมการดำเนินงานของ สสส. ซึ่งได้จัดทำรายงานที่เรียบร้อย สวยงามมีหลักฐาน เชิงประจักษ์ในกระบวนการรายงานการทำงาน ท่านและภาคีทำงานส่งเสริมสุขภาพ ได้ครอบคลุมหลายมิติสุขภาพ ดิฉันฝากชื่นชมภาคประชาสังคมพลเมืองผู้ตื่นรู้ด้านสุขภาพ ผ่านไปยังคณะของท่านด้วยค่ะ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมทางการเมืองปัจจุบันคนรุ่นใหม่ ตื่นตัวเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตและดูแลสุขภาพมากขึ้น เข้าใจการใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร การสร้างสรรค์สื่อและปฏิบัติการสังคมแบบใหม่ ถ้าหาก สสส. จะพิจารณาเพิ่ม สัดส่วนคณะกรรมการ คณะที่ปรึกษา และคณะทำงานที่เป็นคนรุ่นใหม่จากคณะที่มีอยู่เดิม อย่างมีนัยสำคัญดิฉันเชื่อว่าเราจะได้เห็นการสร้างเสริมสุขภาพที่ก้าวหน้าและแตกต่าง มากขึ้นค่ะ ดิฉันยังขอฝากให้ทางคณะได้พิจารณาประเด็นปัญหาสุขภาพร่วมสมัยบรรจุไว้ใน แผนการทำงานของ สสส. ด้วยค่ะ เช่นเราจะทำอย่างไร เราจะทำอย่างไรที่จะช่วยให้ บุคลากรสุขภาพได้ทำงานอย่างมีคุณภาพชีวิต มีความพึงพอใจในการทำงาน ยินดีทำงาน ร่วมกับระบบสุขภาพในการให้บริการและสร้างเสริมสุขภาพทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน สสส. จะทำอย่างไรเพื่อบรรเทาความทุกข์ทางสังคมที่สะท้อนผ่านความเจ็บป่วยทางกาย และปัญหาสุขภาพจิต ความโดดเดี่ยวทางสังคมและความเจ็บปวดทางจิตวิญญาณของผู้คน มากมายตอนนี้นะคะ สสส. จะมีส่วนตอบโจทย์อย่างไรที่ไม่เพียงสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้นานที่สุด แต่จะทำอย่างไรให้สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อ ต่อการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงระยะสุดท้ายได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ขณะที่ ผู้ดูแลไม่รู้สึกเหมือนกับว่าแบกรับภาระอยู่เพียงลำพัง แต่ชุมชนมีส่วนร่วมและโรงพยาบาล สนับสนุนการดูแลเฉพาะที่เกินกำลังค่ะ เพื่อให้แน่ใจว่าทุก ๆ คนสามารถเข้าถึงการรักษาที่มี คุณภาพและบุคลากรมีสุขภาพทำงานได้อย่างไม่หนักจนเกินไป สสส. จะมีส่วนสนับสนุน อาสาสมัครด้านสุขภาพอย่างไรให้อาสาสมัครด้านสุขภาพไม่นับเฉพาะสังกัดสาธารณสุข เท่านั้น แต่อาสานี่มีทั้งที่สังกัดและไม่มีสังกัด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาวะสังคมทั้งสิ้น จะทำอย่างไรให้รัฐบาลทั้งระดับชาติ และท้องถิ่นสนับสนุนงานอาสาสมัครตามสมควร เช่น การสนับสนุนงบประมาณที่เหมาะสม อุปกรณ์สนับสนุนการทำงาน ระบบการจัดการที่มี ประสิทธิภาพ การให้เกียรติและการยอมรับด้วยนะคะ ดิฉันเชื่อว่าขบวนการอาสาสมัคร ด้านสุขภาพคือหัวใจสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน สสส. จะมีส่วนสนับสนุน การกระจายอำนาจในการจัดการสุขภาพตนเองอย่างไรให้ท้องถิ่น และชุมชนได้ทำงาน ร่วมกันกับระบบสุขภาพปฐมภูมิ เพราะที่ผ่านมาความเห็นของดิฉันคือสังคมไทยดูจะให้ ความสำคัญกับการรักษามากกว่าการส่งเสริมป้องกันค่ะ ดิฉันขอบคุณการทำงานของ สสส. และหวังว่า สสส. จะเป็นฐานที่มั่นในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้คนในประเทศไทย ทั้งแผนปฏิบัติการในระดับปัจเจกบุคคล องค์กร ชุมชน แต่อย่างไรก็ตามการขยายผล การดำเนินงานและนวัตกรรมของ สสส. จำเป็นต้องอาศัยนโยบายสาธารณะอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ เพื่อให้สังคมไทยได้รับการสร้างเสริมสุขภาพอย่างเป็นธรรมไม่จำกัด หรือกระจุกตัว เฉพาะในพื้นที่ที่มีความพร้อมและเข้มแข็งเท่านั้น ขอฝากไว้เท่านี้นะคะ ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านศรีโสภา โกฏคำลือ ครับ

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด เชียงใหม่ เขต ๑๐ พรรคเพื่อไทย วันนี้ดิฉันขออภิปรายรายงานรับทราบมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพปี ๒๕๔๔ ประจำปี ๒๕๖๕ โดยดิฉันมีข้อสังเกตจะขอสอบถามไปยังกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพทั้งหมด ๕ ประเด็นค่ะท่านประธาน

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ประเด็นแรก ในหมายเหตุที่ ๑๘.๑ ภาระผูกพันเงินอุดหนุนโครงการ รายงาน เอกสารหน้าที่ ๓๓๐ จากรายงานฉบับที่ท่านผู้ชี้แจงได้ส่งมายังสภาข้อมูลระบุว่า กองทุน มีภาระผูกพันที่ต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้ผู้รับเงินอุดหนุน ๒,๓๔๘ สัญญา เป็นเงินกว่า ๒,๓๐๐ ล้านบาท ดิฉันสงสัยว่าเพราะเหตุใดจำนวนสัญญาจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก ๑ สัญญากลายเป็น ๒,๓๘๔ สัญญาในระยะเวลาไม่ถึง ๑๐ ปี ซึ่งทำให้กองทุนมีภาระ ผูกพันเพิ่มขึ้นตามไปด้วยจาก ๑๓๐,๐๐๐ บาท ในปี ๒๕๕๖ กลายเป็นกว่า ๒,๐๐๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๖๕ ดิฉันจึงอยากขอให้ทางกองทุนยกตัวอย่างให้ดิฉันเห็นว่าโครงการที่ได้รับเงิน อุดหนุนเป็นโครงการประเภทใด และรับเงินอุดหนุนจากโครงการละกี่บาท และเหตุใด มีโครงการที่ได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขนาดนี้ค่ะ

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ ในหมายเหตุที่ ๑๘.๒ ภาระผูกพันอื่น เอกสารรายงานหน้าที่ ๓๓๑ ข้อมูลระบุว่าเป็นภาระผูกพันจากสัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการบริหาร จัดการโครงการ และการบริหารจัดการสำนักงานรวมทั้งบริการอื่น ๆ โดยตัวเลขนี้สูงถึง ๓๒๖ ล้านบาท ดิฉันอยากทราบว่าทางกองทุนไปจัดซื้ออะไร จัดจ้างใครมาเพื่อบริหารโครงการบ้าง เพราะเหตุใดยอดจึงสูงขนาดนี้ และมีการใช้งบอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ทำไมจึงสูงกว่า ๓๐๐ ล้านบาท พอจะมีทางที่จะลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลงหรือไม่ นอกจากนี้ในส่วนของสัญญา จัดซื้อจัดจ้างเพื่อการบริหารการจัดการสำนักงานยังมียอดสูงถึง ๘๐ ล้านบาท อยากทราบว่า ทางกองทุนบริหารสำนักงานกันอย่างไร จึงมีค่าใช้จ่ายมากมายขนาดนี้ และอยากให้ช่วย ชี้แจงด้วยนะคะ

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ ในหมายเหตุที่ ๒๔ รายงานอื่น เอกสารที่ได้รับหน้าที่ ๓๓๕ ข้อมูลระบุว่าในปี ๒๕๑๕ กองทุนได้รับดอกเบี้ยจากการลงทุนบริหารโดยกองทุน เกือบ ๕ ล้านบาท ซึ่งเพิ่มจากปี ๒๕๖๔ ซึ่งตัวเลขอยู่ที่ประมาณ ๒ ล้านบาท เงินเกือบ ๓ ล้านบาทค่ะท่านประธาน อยากทราบว่าทางกองทุนเอาเงินไปลงทุนอะไรบ้าง และเหตุใด ในปี ๒๕๖๕ จึงได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเยอะขนาดนี้ นอกจากนี้ดิฉันอยากทราบสาเหตุ ในการตัดสินใจลงทุนดังกล่าว เพื่อขอทราบว่าการลงทุนดังกล่าวให้ดอกเบี้ยในอัตราเท่าไร มีกำไรส่วนต่างจากเงินทุน หรือการเพิ่มขึ้นมูลค่าจากการลงทุนเท่าไร อย่างไร รบกวน ขอชี้แจงด้วยนะคะ สืบเนื่องมาจากข้อมูลที่อ้างอิงจากองค์การสหประชาชาติในหน้าที่ ๒๘ ของรายงานฉบับนี้ระบุว่าองค์การสหประชาชาติให้คำแนะนำว่าการลงทุนในงานควบคุม การบริโภคยาสูบแห่งประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องใช้เงินลงทุนเฉลี่ยถึง ๒,๕๐๐ ล้านบาท ภายในปีต่อปี และภายในระยะเวลา ๑๕ ปีนี้จะช่วยลดคนเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ ได้ถึง ๓๕,๗๙๐ คน และลดจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อลงได้ถึง ๑๖๙,๑๑๗ คน ดิฉันอยากทราบว่า ที่ผ่านมาตัวเลขผู้สูบบุหรี่ลดลงเท่าไร อย่างไร เป็นไปตามสมมุติฐานของสหประชาชาติหรือไม่ และหากไม่เป็นไปตามนั้นทางกองทุนยังจำเป็นจะต้องใช้เงินทุนถึง ๒,๕๐๐ ล้านบาทอยู่หรือไม่ อย่างไรอยากให้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่โดยละเอียด ด้วยค่ะ

นางสาวศรีโสภา โกฏคำลือ เชียงใหม่ ต้นฉบับ

สุดท้ายหมายเหตุที่ ๒๒ รายได้จากเงินบำรุงกองทุน เอกสารรายงาน หน้า ๓๓๕ รายงานระบุว่า สสส. ได้รับเงินบำรุงกองทุนที่เรียกเก็บจากภาษีสุราเกือบ ๒,๙๐๐ ล้านบาท และเงินบำรุงกองทุนที่เรียกเก็บจากภาษียาสูบเกือบ ๑,๒๐๐ ล้านบาท เงินจำนวนนี้พูดให้เข้าใจง่าย ๆ เลยคือเงินที่ได้มาจากการขายเหล้าและบุหรี่ที่มีกรมสรรพสามิต และกรมศุลกากรจัดเก็บในอัตราร้อยละ ๒ เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ยังไม่ต้องส่งกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นรายได้แผ่นดิน แต่ยังสามารถนำมาใช้โดยทันทีอีกด้วยค่ะ อยากทราบว่าการที่ สสส. มีรายได้ดอกเบี้ยมากกว่า ๕ ล้านบาท แปลว่าเงินส่วนหนึ่งของกองทุนนำไปใช้ในทรัพย์สิน ซึ่งอยู่นอกเหนือจากภารกิจหลักของกองทุน เป็นเช่นนี้แล้วทางกองทุนยังจำเป็นไหม ที่ยังจะต้องรับรายได้จากภาษีสุราและภาษียาสูบในอัตราละ ๒ เปอร์เซ็นต์อยู่หรือไม่ เมื่อเทียบกับการเอาเงินส่วนนี้นำไปใช้กับส่วนอื่นที่มีภารกิจและมีความจำเป็นมากกว่า ทั้งหมดนี้คือข้อสังเกตทั้ง ๕ ประเด็นที่ดิฉันสงสัย และอยากจะขอให้ตัวแทนทางกองทุน สนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพแห่งชาติช่วยชี้แจงด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านสิริลภัส กองตระการครับ

นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน ที่เคารพ ดิฉัน สิริลภัส กองตระการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร บางกะปิ วังทองหลาง แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ จากพรรคก้าวไกล วันนี้ก็มีประเด็นที่จะขอมา อภิปรายกับ สสส.

นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ประเด็นแรก คือการตั้งคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ของการใช้เงินลงทุนไปกับ Campaign รณรงค์เรื่องของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ค่ะ ขอ Slide นะคะ

นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่ท่านได้รายงานมาในหน้าที่ ๑๒ ข้อ ๒ เรื่องของการบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ข้อมูลนี้ท่านชี้แจงมาว่าในปี ๒๕๔๔ อยู่ที่ ๓๒.๗ เปอร์เซ็นต์ เรื่อยมาจนถึง ปี ๒๕๖๐ อยู่ที่ ๒๘.๔ เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา ๑๖ ปีตัวเลขลดลงมาแค่ ๔.๓ เปอร์เซ็นต์ มาถึงปี ๒๕๖๔ เหลือ ๒๘ เปอร์เซ็นต์ ๔ ปีผ่านไปลดลงไปเพียงแค่ ๐.๔ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในรายงานก็ระบุเอาไว้ว่าอยู่ในอัตราค่อนข้างคงที่และลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ว่า เมื่อดูจากตัวเลขในรายงานดิฉันถือว่าอยู่ในตัวเลขที่น้อยมาก เพิ่มเติมจากรายงานอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รายงานในนี้อยู่ที่หน้าที่ ๓๑ ก็ระบุไว้ว่ามีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น จากตัวเลขที่ท่านรายงานมา ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ จนถึงปี ๒๕๖๒ เฉลี่ยอยู่แล้วประมาณ ๙,๕๖๓ คนต่อปี สอดคล้องกันกับ ตัวเลขการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซ้ำร้าย ไปกว่านั้นเทียบกันจากปี ๒๕๕๘ จนถึงปี ๒๕๖๒ กลับกลายเป็นว่าปี ๒๕๖๒ ที่เป็นปีล่าสุด ที่อยู่ในรายงานมีผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลมากที่สุด และจากรายงานในหน้า ถัดไปเรื่องของปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ท่านก็ระบุไว้ในรายงานนะคะว่า ปริมาณการบริโภคลดลง เพราะการออกพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปี ๒๕๕๑ และการประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตปี ๒๕๖๐ แล้วตัวเลขก็กลับมา สูงขึ้นอีกครั้งเมื่อผู้ผลิตและผู้บริโภคปรับตัวได้ อีกทั้งยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี ๒๕๖๔ นี่จะเป็น ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นแล้วหรือยังคะว่าเมื่อภาคธุรกิจกับภาคประชาชนปรับตัวได้แล้ว พฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของประชาชนก็แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย จากข้อมูลที่ดิฉันนำมาในรายงานเล่มนี้ก็อยากจะเชิญชวนประชาชนที่ชมอยู่ แล้วก็ทุกท่านที่ อยู่ในนี้มาช่วยกันตั้งคำถามว่าตัวเลขที่มันขึ้น ๆ ลง ๆ ของอัตราการเสียชีวิต อัตรา การเจ็บป่วย หรือการบริโภคแอลกอฮอล์ขึ้นลงแบบนี้หรือคงที่แบบนี้เป็นผลงานมาจาก สสส. จริงหรือไม่ และ Campaign ต่าง ๆ ที่ท่านได้รณรงค์มามันคุ้มไหมกับการใช้เงินไปกว่า ๓,๐๐๐ กว่าล้านบาท เพราะว่าตรงนี้ก็อยากจะตั้งคำถามว่าท่านรณรงค์ไปเพื่อที่ปีหน้าก็จะ ได้กองทุนเท่าเดิมหรือเพิ่มเติมมากขึ้น เพราะจำนวนผู้บริโภคก็แทบไม่ได้ลดลงเลยนะคะ นอกจากนี้ยังมี Campaign อีก Campaign หนึ่งนะคะที่ดิฉันรู้สึกว่าเป็นการแปะป้าย ให้กับผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่าคนกลุ่มนั้นเป็นคนบาป เป็นคนไม่ดี Slide ถัดไป คือ Campaign นี้ค่ะ ให้เหล้าเท่ากับแช่ง มีรายงานฉบับสมบูรณ์ของการวิจัยให้เหล้า เท่ากับแช่ง การสร้างสรรค์ การรับรู้ การตอบสนองของสื่อภาพยนตร์รณรงค์งดดื่มสุรา ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณของเดือนตุลาคม ๒๕๖๓ มีส่วนหนึ่งของผลวิจัยชี้ให้เห็นว่าความคิดเห็นต่อการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาในช่วง ๑๐ ปีแบ่งเป็น ๒ ระยะด้วยกัน ในระยะแรก คือตั้งแต่ปี ๒๕๕๑-๒๕๕๖ ประชาชนยังคงเห็น ด้วยค่ะ แต่ในระยะหลังตั้งแต่ ปี ๒๕๕๗-๒๕๖๒ ผู้คนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นขัดแย้ง และวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจากการนำเสนอโฆษณาไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเกี่ยวกับ พฤติกรรมการดื่มสุราในปัจจุบัน และการใช้แรงจูงใจด้านความตลกขบขัน หรือว่าการใช้ แรงจูงใจด้านความกลัว ทำให้นักดื่มถูกมองว่าเป็นการดูถูกตัวเองค่ะ ต่อไปนะคะ เรื่องของการรับรู้และการตอบสนองค่ะ แรก ๆ เช่นเดียวกันประชาชนชอบสนใจ เพราะรู้สึก ว่าเป็นประเด็นใหม่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปประชาชนที่เป็นผู้ดื่มเริ่มมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลเสีย ของการดื่มสุรา และวงจรของธุรกิจผู้จำหน่ายสุรามากขึ้น ทำให้การนำเสนอเนื้อหาแบบเดิม มันเรียกได้ว่าไม่สามารถสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมหรือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงานโฆษณา ได้อีก แล้วเรียกง่าย ๆ ประชาชนไม่ซื้อแล้วค่ะ Idea นี้นะคะ นี่อาจจะเป็นการส่งสัญญาณ นะคะว่าตอนนี้ทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจเรื่องของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของประชาชนนี่มันได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว มี Campaign หนึ่งค่ะที่อันนี้ดิฉันก็เห็นว่าพอจะ สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านปัจจุบันนั่นก็คือการรณรงค์ให้ผู้บริโภคดื่มอย่างมี ความรับผิดชอบ ดื่มอย่างมีอารยะ เช่นของโครงการนี้ดื่มไม่ขับ พอจะเป็นไปได้ไหมถ้าจะ รณรงค์เรื่อง Campaign การดื่มไม่ขับ การดื่มอย่างมีความรับผิดชอบ หรือการดื่มแบบ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น จะช่วยเป็นการรณรงค์ให้การดื่มสอดคล้องกับพฤติกรรม ของประชาชน และผู้บริโภคในปัจจุบันนี้ และดิฉันก็เชื่อว่ายังมีผู้ดื่มอีกหลายท่านเลยนะคะ ที่ใช้การดื่มเป็นศิลปะการใช้ชีวิต การเรียนรู้ศาสตร์และศิลป์เรื่องราว หรือประวัติศาสตร์ ผ่านทางเครื่องดื่มต่าง ๆ จากวิสัยทัศน์ของท่านนะคะที่ท่านบอกว่าอยากจะกระตุ้นให้เกิด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และความเชื่อดิฉันก็เลยอยากจะสอบถามนะคะว่าท่านจะพอมี แนวทางไหมในการที่จะเปลี่ยนทัศนคตินี้จากการแปะป้ายผู้บริโภคเครื่องดื่มว่าเป็นคนบาป เป็นคนไม่ดีเปลี่ยนมาเป็นการรณรงค์ให้การดื่มดื่มแบบมีความรับผิดชอบ ดื่มแบบมีอารยะ แล้วก็ไม่เบียดเบียนคนอื่น

นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ทีนี้ก็จะมีอีก ๑ ประเด็นเช่นเดียวกัน ก็คือท่านสามารถร่วมรณรงค์ ในด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้นได้มากกว่านี้หรือไม่ เพราะว่าในสังคมปัจจุบันก็ไม่ได้มีเพียงเฉพาะ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กัญชาก็มี หรือตอนนี้น้ำกระท่อมเองก็มีออกมาเยอะมาก สัดส่วน ในการที่จะรณรงค์จะเพิ่มมากขึ้นได้ไหม ตอนนี้พอมันไม่ได้มีแต่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มันมีกัญชาอันนี้ฝากถามไปถึงท่านประธานกองทุนเลยก็ได้นะคะ พอมันเริ่มมีกัญชา เข้ามาด้วย ทีนี้ประชาชนว้าวุ่นเลยค่ะ เริ่มว้าวุ่นแล้วฝากไว้ด้วยค่ะ

นางสาวสิริลภัส กองตระการ กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

อีก ๑ ประเด็น ก็คือตัวเลขในรายงานค่ะ ตัวเลขในรายงานที่ท่านได้รายงาน มาจากรายงานของท่านกับรายงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่มันไม่เท่ากันอยู่ ดิฉันอยากถามว่าสรุปสุดท้ายแล้วเราต้องยึดตัวเลขไหนคะ เพราะว่ามันมีความแตกต่างกัน มากเหลือเกิน อันนี้ประชาชนก็ฝากถามมาในฐานะที่เป็นคนจ่ายภาษีเช่นเดียวกัน ก็อยากจะ รู้ว่าภาษีที่ท่านใช้ไปคุ้มค่า และเราจะตรวจสอบได้อย่างไร ฝากไว้ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

เชิญท่านกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ และหลังจากที่คุณหมออภิปรายเสร็จจะปิดการลงชื่อ ในการอภิปรายนะครับ เชิญครับ

นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายแพทย์กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม เขต ๑ พรรคเพื่อไทย วันนี้เป็นการอภิปรายรายงานของ สสส. ซึ่งถือว่า เป็นสิ่งที่งดงาม ผมเคยอภิปรายในปีที่แล้วนะครับว่า เป็นนวัตกรรมที่งดงามอันหนึ่ง ของประเทศไทยในการสร้างองค์กร สสส. ขึ้นมาก็คือเอาภาษีบาปมาใช้ในการทำให้ คนมีสุขภาวะที่ดี ซึ่งสิ่งนี้ในการก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ ๓ แห่งการสร้างเสริมสุขภาพ ที่ท่านเขียนไว้นะครับว่า สานพลัง สร้างนวัตกรรม สื่อสารสุข แล้วการใช้งบประมาณทั้งหมด ในปี ๒๕๖๕ จำนวน ๔,๕๐๒ ล้านบาท โดยใช้ในโครงการ ๓,๔๘๒ โครงการ ซึ่งในงบ ๔,๕๐๒ ล้านบาท เป็นงบสนับสนุนกองทุน ๓,๖๐๐ ล้านบาท ประมาณ ๙๐.๓๑ เปอร์เซ็นต์ ของงบประมาณ และใช้ในการบริหารจัดการ ๓๘๐ ล้านบาท ประมาณ ๙ เปอร์เซ็นต์กว่า ๆ นี่คือภาพใหญ่ของ สสส. ซึ่งต้องยอมรับนะครับว่าท่านต้องยอมรับในสิ่งที่ทุกคนได้เสนอแนะ ที่จะทำให้องค์กร สสส. เป็นองค์กรที่ตรวจสอบได้ เป็นองค์กรที่รับฟังความคิดเห็น ของทุกภาคส่วน ประเด็นแต่ละประเด็นที่ท่านเสนอขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรณรงค์ เรื่องของการดื่มสุรา เช่นท่าน สส. ที่อภิปรายผ่านมาจุดพอดีมันก็อาจจะแตกต่างกันนะครับ แต่ท่านต้องรับฟังแล้วนำไปตกผลึกในประเด็นต่าง ๆ ส่วนในภาพใหญ่ผมมีความสุขทุกครั้ง ที่ได้อ่านรายงานของ สสส. ในการสร้างความคืบหน้าของการทำงานของ สสส. ในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนคนไทย ท่านประธานครับ การเปลี่ยนพฤติกรรมของคน เป็นเรื่องที่ยากมาก เราจะทำอย่างไรให้พฤติกรรม ให้นิสัยของเรามาสู่นิสัยที่สร้างสุขภาวะ เช่น การออกกำลังกาย การไม่ดื่มเกินความจำเป็น การไม่รับประทานหวาน ไม่รับประทานเค็ม รับประทานอะไรอย่างนี้นะครับ หรือเรื่องของความปลอดภัยในท้องถนน ซึ่งเรื่องพวกนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกคนรู้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างไม่ดี แต่ทำอย่างไรถึงจะปรับเปลี่ยน พฤติกรรมได้นี่ละครับคือเรื่องยาก แล้วก็ตรงกับทฤษฎีสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ก็คือว่า ในเรื่องยาก ๆ ต้องใช้กระบวนการทั้ง ๓ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผู้นำ ซึ่งก็หมายถึง ทั้งรัฐบาล ทั้ง สส. ทั้งสภา หรือท้องถิ่นพื้นที่ภาคประชาชน องค์ความรู้ กว่าเราจะตกผลึกองค์ ความรู้ท่านเข้าสู่ทศวรรษที่ ๓ ผมคิดว่าท่านมีองค์ความรู้ที่เรียกว่าเรียนรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติมา มากมาย แล้วก็อันที่ ๓ คือเครือข่าย ถ้า ๓ เสาหลักทำในสิ่งที่เราคิดร่วมกันก็จะสามารถ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยได้ที่จะทำให้สุขภาพของคนไทยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น และงบประมาณที่มาจากภาษีบาป หลายท่านตกใจ ๔,๕๐๐ ล้านบาท ทำไมมันเยอะจังเลย คุ้มไหม นี่คือสิ่งที่ท่านจะต้องตอบพี่น้องประชาชนว่าสิ่งที่ท่านทำคุ้มค่าหรือเปล่า แต่สิ่งที่ผม อยากนำเรียนกับท่านก็คือเรื่องของการสร้างนวัตกรรม ซึ่งตอนนี้ในการสร้างนวัตกรรมในการ จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทย ท่านเรียนรู้มา ท่านก็ต้องหา ทั้งวิชาการ แล้วก็ให้เกิดความคุ้มค่ากับงบประมาณทุกเม็ดที่ท่านใช้ ๔,๕๐๐ ล้านบาท ไม่ใช่น้อย แต่ก็ไม่มากในการลงทุนในการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยนะครับ ท่านประธานครับ อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญก็คือเรื่องของการสร้างเครือข่าย เราไม่ต้องหางบเอง หรอกครับ เราใช้เครือข่าย เราใช้แบบ Low cost นะครับ ผมยกตัวอย่างก็คือเรื่องของ การแพทย์ฉุกเฉินเขาไม่มีรถ Ambulance สักคัน แต่เขาสามารถจะทำให้เครือข่ายมีรถ Ambulance แล้วสามารถจะบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉินทั่วทุกพื้นที่ประเทศไทย เช่นกันกองทุน สสส. จะต้องสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง ผมยกตัวอย่างของมหาสารคาม ของผมเอง ผมมีเครือข่าย ฮักแพงเบิ่งแยงคนสารคาม ซึ่งเป็นเครือข่ายที่รับการสนับสนุนจาก สสส. มาเกือบ ๗-๘ ปีที่ผ่านมานะครับ ซึ่งตอนนี้พรรคพวกผมที่เป็นหมอ เป็นพยาบาล เป็นครูบาอาจารย์ เป็นประชาชนทั่วไปมาทำงาน เป็นคนดี ๆ มาทำงานเพื่อสังคม แล้วก็ ตกผลึกของคนสารคามว่าเราจะเอาประเด็นอะไรขึ้นมา ซึ่งของสารคามเขามี ๓ ประเด็น

นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ มีการสร้างความปลอดภัย และความมั่นคงทางอาหาร เพราะว่า สารคามเป็นเมืองเกษตร

นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๒ คือพัฒนาเด็กและเยาวชน เรามีปัญหาเรื่องเด็ก เยาวชนเยอะ อัตราการทำแท้ง อัตราอะไรต่าง ๆ สูงนะครับ สิ่งนี้ก็คือสิ่งที่ในพื้นที่ได้ทำ

นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ มหาสารคาม ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ คือการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการทำงานในพื้นที่ นี่คือ ตัวอย่าง แล้วเครือข่ายพวกนี้ก็จะทำงานจนถึงปัจจุบัน เพราะฉะนั้นการสร้างเครือข่าย ผมคิดว่าในสิ่งดี ๆ ในหลาย ๆ พื้นที่ท่านจะต้องสร้างเครือข่ายใหม่ ๆ ขึ้นมา เพื่อจะทำให้ เครือข่ายเหล่านี้สานเป็นร่างแหที่จะครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศไทย ผมดูในปี ๒๕๖๕ มีทั้งหมด ๒,๙๖๖ โครงการ เป็นภาคีรายใหม่ ๘๒ เปอร์เซ็นต์ ๒,๔๔๒ เป็นภาคีเก่า ๕๒๔ นี่ก็ต้องบอกว่าท่านได้ทำภาคีใหม่ที่เพิ่มขึ้นมานะครับ ผมเคยเป็นนายกเทศมนตรี เมืองมหาสารคามที่ทำงานกับท่านนะครับ เพราะฉะนั้นโครงการสงกรานต์ปลอดเหล้า ลอยกระทงปลอดเหล้า งานศพปลอดเหล้า บุญบั้งไฟปลอดเหล้า ตอนนี้ไม่ได้รับ การสนับสนุนงบประมาณ แต่ก็ยั่งยืนจนถึงปัจจุบันนะครับ ก็ฝากให้กำลังใจท่าน แล้วก็ฝาก ท่านเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องของธรรมาภิบาล แล้วก็เรื่องของการตรวจสอบการประเมินตนเอง ฟังคนอื่นพูดเพื่อจะเอาปัญหา เอาสิ่งที่ไม่ดี ต้องยอมรับนะครับว่าต้องมีสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้น ในองค์กรท่านบ้างก็เอาสิ่งนั้นมาแก้ไขเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ให้โครงการดี ๆ เกิดขึ้นกับ ประเทศไทยตลอดไป ขอบคุณมากครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ขอปิดการลงชื่ออภิปรายนะครับ ต่อไปเป็นท่านปรีติ เจริญศิลป์ ครับ

นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ

สวัสดีครับท่านประธาน ผม ปรีติ เจริญศิลป์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี เขตที่ ๕ พรรคก้าวไกล วันนี้ผมขอมา อภิปรายเรื่องเกี่ยวกับการทำงานของ สสส. ขอขึ้น Slide ครับ

นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ

วันนี้เท่าที่ผมตรวจสอบข้อมูลมาในการใช้ งบประมาณของ สสส. ปีหนึ่งจะมีงบประมาณเรียกว่า Earmarked Tax เป็นการเก็บเพิ่ม จากภาษีสรรพสามิตที่ภาครัฐจัดเก็บไปแล้ว ๒ เปอร์เซ็นต์ จากสุราและยาสูบ วันนี้ที่ผมเห็น ข้อมูลในภาพรวมผมไม่สบายใจอย่างยิ่งครับ วันนี้ผมดูข้อมูลการสูบบุหรี่ของคนไทย ปัจจุบัน มีข้อมูลการสูบบุหรี่ที่ลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นครับ จากปี ๒๕๖๐ ๑๐.๗ ล้านคน ปี ๒๕๖๔ เหลือ ๙.๙ ล้านคน แต่ผลสำรวจขององค์การอนามัยโลกได้สำรวจสุขภาวะของ นักเรียนไทย มีการสูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๘ จาก ๑๓.๘ เปอร์เซ็นต์ เป็น ๑๔.๔๐ เปอร์เซ็นต์ ในปี ๒๕๖๔ และมีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง ๑๓.๖ เปอร์เซ็นต์ ส่วนอัตราการดื่มสุรา มีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ ดังนั้นในภาพรวมการบริโภคยาสูบไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ มีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายทั้งที่ท่านก็ Ban มาตลอด ๘ ปีที่ผ่านมา วันนี้ผมขอนิยาม ใหม่ครับ ผมดูจากข้อมูลแล้ว สสส. อาจจะหมายถึงซ้ำซ้อน ไม่โปร่งใส และไม่เป็น วิทยาศาสตร์ ใน ๓ ข้อที่ผมจะอภิปรายต่อไปนี้ครับ

นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ

ข้อแรก ท่านมีความซ้ำซ้อนในการกำหนดตัวชี้วัดและผลสัมฤทธิ์ของ การดำเนินงานมากมายครับ ในรายงานบอกว่าท่านเป็นผู้ประสานงาน เป็นคนเสริมพลัง เชื่อมการทำงาน ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนต่าง ๆ นานา เมื่อเทียบกับงบประมาณ ๔,๕๐๐ ล้านบาทต่อปีแล้วมันเหมาะสมหรือไม่กับภารกิจงานแบบนี้ครับ ประหนึ่งว่า ถ้าหากไม่มี สสส. แล้วหน่วยงานอื่น ๆ ก็จะทำงานไม่ได้เลย วันนี้อัตราการสูบบุหรี่ เป้าหมาย แผนการลดการสูบบุหรี่ ตามแผนยุทธศาสตร์ท่านพลาดเป้า แล้วก็ขององค์การอนามัยโลก ที่จะให้มีการลดเป็น ๑๔.๗ เปอร์เซ็นต์ ในปี ๒๕๖๕ ท่านก็ทำไม่สำเร็จครับ ในรายงาน ของ สสส. ที่ผมได้อ่านฉบับนี้ไม่ได้พูดถึงเป้าหมายการลดผู้สูบบุหรี่เลย แต่ท่านไปพูดถึง การดำเนินงานกิจกรรมเชิงพื้นที่เสียมากกว่า ผมเลยไม่แน่ใจว่าอะไรคือตัวชี้วัดความสำเร็จ ของ สสส. กันแน่ ท่านทำงานซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วยงาน ในหลาย ๆ โครงการ ที่ท่านบอกว่าเป็นผลงานของท่านครับ นโยบายสถานศึกษาปลอดบุหรี่ ปลอดบุหรี่ไฟฟ้า และกัญชา หรือความสำเร็จในเรื่องจังหวัดควบคุมยาสูบ ๗๗ จังหวัดทั่วประเทศท่านบอก เป็นผลงานของตัวเอง ทั้งที่หลาย ๆ อย่างก็มาจากการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขทั้งสิ้น ผมเลยไม่แน่ใจว่าผลงานของท่าน ท่านมา Claim ผลงานที่เป็นของหน่วยงานที่เขามีความ รับผิดชอบอยู่แล้ว ถูกต้องหรือไม่ครับ

นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ

ข้อ ๒ ในเรื่องของความโปร่งใส วันนี้ผมเห็นงบประมาณ ๔,๕๐๐ ล้านบาท ไปกับ ๓,๔๘๒ โครงการ มีทั้งเป็นโครงการใหม่ แล้วก็มีภาคีเครือข่ายครับ แต่ในรายงาน ก็ไม่ได้ระบุว่าโครงการเหล่านี้ไปให้ใครบ้าง หน่วยงานไหนบ้าง พูดกว้าง ๆ จึงเป็นข้อสงสัย ต่าง ๆ นานาครับ สำหรับผมแล้วผมคิดว่าท่านควรต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งหมด เราต้องการ ทราบครับ ทุกปีมีหน่วยงานไหนบ้างที่ได้ติดต่อกัน ๒๐ ปีที่ผ่านมา เมื่อไปดูสัดส่วนการใช้ งบประมาณครับ ท่านสนับสนุนงบประมาณด้านแผนควบคุมยาสูบเพียง ๓๑๓ ล้านบาท และแผนการลดการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติดเพียง ๓๓๒ ล้านบาท น้อยมาก เมื่อเทียบกับงบประมาณทั้งหมดที่ท่านได้รับ ทั้งที่ยาสูบคือปัญหาสำคัญ สุราและยาสูบ คร่าชีวิตคนไทยไปกว่า ๘๐,๐๐๐ คนต่อปีครับ ในรายงานท่านพูดถึงการกระจายทุน ส่วนใหญ่จะไปอยู่ที่มูลนิธิ หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ถึง ๑,๑๙๙ ล้านบาท ซึ่งผม ก็ไม่ทราบว่าเป็นหน่วยงานไหนบ้าง ท่านควรเปิดเผยให้ประชาชนได้รับทราบครับ

นายปรีติ เจริญศิลป์ นนทบุรี ต้นฉบับ

ข้อ ๓ ข้อมูลของท่านไม่มีความเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ได้อ้างอิงจากแหล่งที่มา ที่น่าเชื่อถือจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณสุขในประเทศชั้นนำของโลก ผมขอ ยกตัวอย่างแค่บางเรื่อง เช่น เรื่องของบุหรี่ไฟฟ้า ต่างประเทศในสหรัฐอเมริกา ในอังกฤษ นายกรัฐมนตรีเขาสนับสนุนให้สูบบุหรี่ไฟฟ้าแทนบุหรี่ปกติ ในสหรัฐอเมริกามีการวิจัยว่าบุหรี่ ไฟฟ้าที่ไม่มีการเผาไหม้มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไปครับ แคนาดาและนิวซีแลนด์สนับสนุน ให้ผู้สูบบุหรี่หันกลับมาเปลี่ยนเป็นบุหรี่ไฟฟ้าแทน แต่สิ่งที่ท่านทำครับให้มีการคงการ Ban บุหรี่ไฟฟ้าไม่ให้เกิดขึ้น เหมือนเป็นการปิดกั้นสิ่งที่อันตรายน้อยกว่าให้กับผู้บริโภค อย่างไรก็ตามเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้าท่านทำเรื่องรณรงค์ให้มีการ Ban บุหรี่ไฟฟ้า แต่ใน Internet มีขายมากมายครับ ท่านลองเปิด Facebook ของท่านไปกด Market Place พิมพ์คำว่าบุหรี่ไฟฟ้า มีขึ้นเยอะแยะมากมายเต็มไปหมดครับ ผลกระทบยิ่งกว่านั้นวันนี้ภาษี สรรพสามิตในหมวดบุหรี่ลดลงกว่า ๔,๔๑๖ ล้านบาท ต่อปีเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา นี่อาจจะ เป็นผลสืบเนื่องมาจากนโยบายที่ท่านได้สนับสนุนไปในเรื่องการ Ban บุหรี่ไฟฟ้าครับ วันนี้ ๔,๕๐๐ ล้านบาทต่อปีครับ งบประมาณ Earmarked tax ที่ไม่ผ่านกระบวนการพิจารณา จัดสรรของรัฐสภาที่มาจากประชาชน ท่านควรต้องชี้แจงให้เห็นรายละเอียดต่าง ๆ ว่าท่านใช้ งบประมาณไปกับอะไร ตัวชี้วัดความสำเร็จของท่านคืออะไรกันแน่ ผมเชื่อว่าพวกท่าน มีเจตนาดีที่อยากจะให้ประเทศไทย คนไทยมีสุขภาวะที่ดี แต่ท่านต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ ปรับเปลี่ยนมุมมองให้สอดคล้องกับสังคมและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ขอบพระคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านฐิติมา ฉายแสง ครับ

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน ฐิติมา ฉายแสง สส. ฉะเชิงเทรา เขต ๑ พรรคเพื่อไทยค่ะ ท่านประธานคะ วันนี้ดิฉัน ขออภิปรายในเรื่องรายงานประจำปี ๒๕๖๕ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือที่เราเรียกว่า สสส. นี้นะคะ หนังสือเล่มนี้ดิฉันอ่านอยู่ทั้งเล่ม แล้วก็พบว่าทาง สสส. นั้น ทำกิจกรรมเยอะมาก ต้องขอชื่นชม ขอชื่นชมว่าท่านมีส่วนร่วมในสังคมในทุก ๆ เรื่องเลย ที่ดิฉันเห็น สร้างทางม้าลายปลอดภัยก็มีด้วย ถ้าไปเกี่ยว สร้างอาชีพให้คนพิการ คนไร้บ้าน กิจกรรมรณรงค์โน่นรณรงค์นี่เยอะแยะไปหมด ขอชื่นชมว่าท่านได้มีส่วนช่วยสังคม ทีนี้ท่านประธานแผนงานของ สสส. นั้นเป็นการสร้างเสริมสุขภาวะความเข้าใจ ทำ ๓,๒๐๐ ชิ้นไปที่ ๗ องค์กร ๑,๒๐๐,๐๐๐ คน ได้รับรู้ หรือว่าเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก อย่างที่ ดิฉันบอกว่าไปทั่ว ปกป้องเยาวชน ภัยบุหรี่ไฟฟ้า สร้างเครือข่ายเยาวชน แกนนำ จิตอาสา เสริมสร้างการอ่านในเด็กเยอะจริง ๆ ค่ะ พอมาดูแบบนี้แล้วดิฉันเลยไม่เข้าใจว่า ทาง สสส. นั้น มีหนทางในการที่จะช่วยเรื่องที่ดิฉันจะพูดดังต่อไปนี้อย่างไร PM2.5 เอย อะไรเอยท่านเข้าไปเกี่ยวหมดเลยนะคะ ขอภาพเลยค่ะ

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

ทำไมท่านใช้งบประมาณทุกปีท่านมีมา ตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ กี่ปีแล้วคะ ๒๒ ปีแล้วใช่ไหมคะ ๒๒ ปี แต่เรายังเจอเผานาให้เกิด PM2.5 อยู่ ภาพต่อไปค่ะ เรายังเจอหมอกควันหนาในเมือง ภาพต่อไปค่ะ เรายังเจอการทิ้งขยะ อุตสาหกรรมเละเทะ จังหวัดฉะเชิงเทราก็มี มีปัญหามากมาย น้ำไหลนองทำให้เรารู้เลยว่า เป็นปัญหาอย่างยิ่งเราเจออยู่ ภาพต่อไปค่ะ การฉีดยาฆ่าแมลงในนา ในสวนก็ยังทำกันอยู่ ภาพต่อไปค่ะ ฉีดยากำจัดวัชพืชในคลอง ดิฉันเจอเยอะมาก อบต. เองบอกกับดิฉันเองเลยว่า ชาวบ้านร้องว่าถ้ามีผักตบชวามาอยู่หน้าบ้านเขาเยอะ ๆ ไม่รู้จะกำจัดกันอย่างไรก็เลยฉีดยา ใช้วิธีนี้จริง ๆ เขาไม่มีอุปกรณ์ในการที่จะไปแก้ปัญหาให้วัชพืชต่าง ๆ ผักตบชวามันหายไป ก็เลยใช้วิธีฉีดยาในคลอง ต่อไปค่ะ เวลาเรากินก๋วยเตี๋ยวสังเกตเลยว่าบางคนไม่ชิมด้วยซ้ำ ใส่เครื่องปรุงทันทีเยอะด้วย ท่านบอกว่าท่านทำโครงการลดหวาน มัน เค็มใช่ไหมคะ แต่เราเจออย่างนี้เยอะมากเลย ภาพต่อไปค่ะ เราเจอใส่ผงชูรสที่เยอะที่สุด ดิฉันเอง เป็นคนแพ้ผงชูรส ถ้าเกิดกินไปภายในราวประมาณสักชั่วโมงกว่า ๆ ๒ ชั่วโมง ปลายนิ้วจะชา แล้วเพื่อนดิฉันคอนี่เคล็ดไปเลย บางคนก็อาเจียนเราเจอแบบนี้เยอะที่ใส่เข้าไป แล้วเจอ การใช้ Foam ดูในภาพ ก๋วยเตี๋ยวความร้อนออกมาที่ Foam อันตรายขนาดไหน แล้วการกำจัด Foam พวกเราก็รู้อยู่ว่าใช้เวลากันกี่ปี เป็นร้อยปีหรือเปล่าถึงจะหมด เรายังเจอเด็ก ๆ นักเรียน ผู้ใหญ่ หรือใครสูบบุหรี่ ท่านก็รณรงค์ ถูกไหมคะว่าอย่าสูบบุหรี่นะ แต่เราเจอ แล้วก็ไปถึงขั้นยาเสพติด สูบบุหรี่ไฟฟ้าเราก็เห็น พูดตรง ๆ ว่าตอนแรกดิฉันก็ไม่รู้ หรอกนะว่ามันผิดกฎหมาย แต่เราเจออย่างนี้เยอะแยะ

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

กินเหล้า กินเหล้านี่อย่างที่เห็น หัวทิ่มบ่อกันว่าอย่างนั้นเถอะ เราเจอ เยอะมาก ดิฉันสนใจอย่างนี้ค่ะว่าท่านทำกิจกรรมของท่านเยอะมาก แตะไปทุกที่เลย แต่เรา พบว่าสถิติการเป็นมะเร็งของประเทศไทยสูงมาก คนเป็นใหม่ ๆ รายใหม่ ๑๔๐,๐๐๐ คน ประมาณ ๔๐๐ คนต่อวัน สิ่งต่าง ๆ ที่ดิฉันให้เห็นภาพทั้งหมดมันเป็นสิ่งแวดล้อมที่ทำให้คน เกิดมะเร็งได้ แล้วดูสิคะ มะเร็งตับ ท่อน้ำดี มะเร็งปอด อะไรก็แล้วแต่ เราเจอเยอะมาทีเดียว ดิฉันไปงานศพชาวบ้าน ถามว่าเขาเสียชีวิตจากอะไร ครึ่งหนึ่งเลยทีเดียวที่บอกว่า ตายจากมะเร็ง

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

นี่คือภาพแผนที่ประเทศไทยที่เป็นเปอร์เซ็นต์ของการที่ว่าภาคไหนเป็นมะเร็ง มากอย่างไร กรุงเทพมหานครเยอะมาก ๒๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ นี่ยกตัวอย่างขึ้นมาเป็น ภาคกลางตรงนี้ละ ภาคตะวันออก ภาคกลางอยู่ด้วยกัน ท่านดูนะคะ มะเร็งรายใหม่ที่สถาบัน มะเร็งแห่งชาติ สถิติปี ๒๕๖๓ ดิฉันหาปี ๒๕๖๔ ปี ๒๕๖๕ ไม่เจอ สมุทรปราการ รายใหม่ ๗๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ อยู่ใกล้บ้านดิฉันเองฉะเชิงเทรา เกิดอะไรขึ้นไม่รู้ สิ่งแวดล้อมเรา เลวร้ายมาก

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

ภาพต่อไป ดูนะคะ ผู้ชายสถิติเป็นอย่างนี้ค่ะ จะเป็นโรคมะเร็งกันเยอะมาก ของผู้หญิงเช่นเดียวกัน ดิฉันไปเยี่ยมพี่น้องประชาชน ๕ บ้าน เดินเข้าไป ไม่ได้เป็นมะเร็ง แต่เป็นเบาหวาน ถามคนแก่ บอกว่าเป็นเบาหวานกินข้าวอย่างไร ปรากฏว่ากินอาหาร ผิดหมดเลย เช่นเขาบอกว่าเขากินตอนเช้า แล้วเขาไม่หิวกลางวันเขาไปกินตอนเย็น เบาหวานทำแบบนั้นไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องกินในระยะเวลาที่กำหนด ถูกไหมคะ เช่น ๘ โมงเช้าแล้วก็เที่ยง ๔ ชั่วโมงถัดมา แล้ว ๔ ชั่วโมงอีกที น้ำตาลจะได้ไม่ Swing น้ำตาลน้อย ตกก็เป็นลม น้ำตาลมาก พุ่ง ๔๐๐-๕๐๐ ก็ไม่ถูกต้อง ชาวบ้านไม่รู้เรื่อง

นางฐิติมา ฉายแสง ฉะเชิงเทรา ต้นฉบับ

ทีนี้ภาพนี้เป็นภาพของคนแก่ที่ไม่มีฟัน ไม่มีฟันนี่คืออะไร ดิฉันก็ถามว่าป้า ถ้าป้าเป็นเบาหวานป้ากินผักไปเยอะ ๆ นะ หมอเคยบอกว่าถ้ากินผักเยอะ ๆ ยังสามารถ กินขนมได้หน่อยนะ กินผักเยอะ ๆ บอกว่าไม่มีฟัน พอไม่มีฟันตรงนี้ก็หมายความว่าไม่ได้ กินผัก ทั้งหมดทั้งปวงที่ดิฉันพูดมาอยากจะบอกว่าท่านแตะไปทุกเรื่องเกินไปหรือเปล่า ท่านน่าที่จะทำอะไร น่าที่จะเน้นไปเป็นเรื่อง ๆ เลย ดิฉันสนใจว่าเบาหวานสถิติเยอะมาก การเกิดโรคที่ไม่ติดต่อ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขเองบอกว่าประชากรคนไทยนั้น มีมากถึง ๔๐๐,๐๐๐ คนต่อปี หรือ ๗๔ เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด แล้วก่อให้เกิดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจปีละ ๑.๖ ล้านล้านบาท หรือ ๙.๗ เปอร์เซ็นต์ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศหรือ GDP นั่นหมายความว่าจะเบาหวานที่เราพบกัน เยอะเหลือเกิน แล้วเป็นโรคต่อมา โรคหลอดเลือดตีบ ท่านเป็นหมอท่านรู้ดีอยู่แล้วว่า โรคอะไรมันตามมา ความดันหมดเลย มะเร็งเยอะมาก ถ้าเป็นไปได้อยากเสนอให้ท่านเน้น เป็นเรื่องเป็นราวให้มันชัดเจนไปเลย เพราะแนวทางการสูญเสียทางเศรษฐกิจเยอะขนาดนี้ ๑.๖ ล้านล้านบาท หรือ ๙.๗ เปอร์เซ็นต์ของ GDP เยอะมาก ท่านไปแตะตรงนั้นตรงนี้ แล้วมันก็เป็นแบบนี้ ๒๒ ปีของท่าน ขอชื่นชม แต่ก็ขอติว่าน่าจะหาหนทางให้มันชัดเจน เพื่อพี่น้องประชาชนและเพื่อประเทศไทย ขอบพระคุณค่ะ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ เชิญท่านธัญธร ธนินวัฒนาธร ครับ

นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ผม ธัญธร ธนินวัฒนาธร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต ๓๐ บางแคและภาษีเจริญ จากพรรคก้าวไกล ขอ Slide ด้วยครับ

นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

วันนี้ขออนุญาตอภิปราย การรับทราบรายงานตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยจะขอพูดในหัวข้อของสถานการณ์ ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs หรือ Non-Communicable Diseases นะครับ ซึ่งตัวอย่างของโรค NCDs ที่หลัก ๆ เลยตอนนี้เราจะพบปัญหาโรคทางเดินระบบหัวใจ และหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น COPD ปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือถุงลมโป่งพอง แล้วก็โรคไต รวมถึงปัญหาโรคทางสุขภาพจิตก็เป็นหนึ่งใน NCDs ด้วยเช่นกัน เมื่อเราดู สาเหตุนะครับ สาเหตุอาจจะเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันการกิน นอน พักผ่อน ออกกำลังกาย การทำงานต่าง ๆ และมลภาวะทางอากาศเช่น PM2.5 ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุนี้เช่นกันครับ

นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

Slide ถัดไปนะครับ จะแสดงข้อมูลของการเสียชีวิตทั้งหมดของประชากร ในประเทศไทยครับ โดยจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรค NCDs นั้นเช่นเดียวกับที่ท่านฐิติมา ได้กล่าวถึงเมื่อสักครู่นี้ จำนวนผู้ป่วย ๔๐๐,๐๐๐ คนต่อปี คิดเป็น ๗๔ เปอร์เซ็นต์ ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนที่เยอะมาก จำนวนที่มากมายขนาดนี้สร้างความเสียหาย ทางเศรษฐกิจ ๑.๖ ล้านล้านบาท ๙.๗ เปอร์เซ็นต์ของ GDP เลยทีเดียวครับ เมื่อเรามาดู ความชุกของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชากรไทยในอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป เราจะ เห็นว่าถ้าเราดูกราฟแท่งสีส้มจะเป็นโรคเบาหวาน ส่วนในกราฟสีเขียวเป็นความดันโลหิตสูง ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปีแนวโน้มกราฟคือขาขึ้นทั้งนั้นเลยนะครับท่านประธานครับ ทั้งความชุก ของประชากรและอัตราผู้ป่วย เรามีกระบวนการอย่างไร เราเดินมาถูกทางแล้วหรือยัง ในการดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ให้กับประชาชนคนไทยครับ ซึ่งแนวทางที่เรายึดถือมานาน เป็นแนวทางที่เกี่ยวข้องกับ WHO เช่นกัน เป็นแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตร Ottawa ซึ่งแนวคิดนี้ให้ความสำคัญ ๕ ด้านด้วยกัน ด้านที่ ๑ คือการสร้างนโยบายสาธารณะ ด้านที่ ๒ การสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ ด้านที่ ๓ เป็นการเพิ่มความสามารถของชุมชน ด้านที่ ๔ การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล และด้านที่ ๕ การปรับระบบบริการสุขภาพ ซึ่งส่วนนี้ ภาครัฐเองก็พยายามให้บุคลากรทางการแพทย์มีบทบาทในการชี้นำ ส่งเสริม ป้องกันปัญหา สุขภาพเหล่านี้ครับ แต่สวัสดิการของบุคลากรทางการแพทย์นั้นกลับไม่เป็นไปตามกฎบัตรนี้ ทั้งเรื่องของชั่วโมงการทำงานเกินขีดความสามารถ ปัญหาภาระงานยังไม่รวมถึงอำนาจนิยม ภายในองค์กร ซึ่งส่วนหนึ่งกระทบกับสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์แน่นอนนะครับ ปัญหาสุขภาพจิตนี้ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มโรค NCDs นี้เสียเองด้วยนะครับ

นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

Slide ถัดไปนะครับ กรอบแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์แผนอาหารเพื่อสุขภาพครับ กรอบแนวคิดนี้ท่านวางแผนไว้ที่ ๓ ปีนะครับ ประชาชนบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะภายใต้ ระบบอาหารที่ยั่งยืน และเป้าหมาย ๑๐ ปี ประชาชนมีสุขภาวะทางอาหารและลด การเจ็บป่วยจากโรค NCDs ซึ่งคำถามครับ คือเราต้องใช้เวลามากถึง ๓ ปีเลยหรือครับ ประชาชนถึงจะบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะได้ แล้ว ๑๐ ปีเลยหรือครับที่ประชาชนมีสุขภาวะ ทางอาหารและลดการเจ็บป่วยจากโรค NCDs ในขณะนี้เรามีนักโภชนาการซึ่งก็มีใบประกอบ วิชาชีพเรียบร้อยแล้วก็ขึ้นทะเบียนเป็นนักกำหนดอาหาร เราควรส่งเสริมวิชาชีพของบุคลากร ทางสุขภาพเพื่อช่วยในการส่งเสริมดูแลสุขภาพของพี่น้องประชาชนในภาพรวมด้วยกันครับ

นายธัญธร ธนินวัฒนาธร กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ใน Slide ถัดไปนะครับ ทุกท่านคงเคยเห็น Slide นี้มาก่อนเป็น Logo ที่แปะ ไว้ตามซองอาหารและเครื่องดื่ม เป็นกลุ่มอาหารทางเลือกสุขภาพ แต่ไม่ได้มาได้ง่าย ๆ การที่จะได้มาซึ่งเครื่องหมายนี้มีการเก็บค่าธรรมเนียม แต่เดิม ๑๐,๐๐๐ บาทต่อผลิตภัณฑ์ ต่อ ๓ ปี เรานับเป็นต่อผลิตภัณฑ์ นั่นหมายถึงว่าถ้าบริษัทเล็ก ๆ มีหลายผลิตภัณฑ์ต้องการ นำเครื่องหมายทางเลือกสุขภาพมาแปะไว้ที่ผลิตภัณฑ์ของเขานะครับ ของชาวบ้านเองนี่ เราต้องจ่าย ๑๐,๐๐๐ บาทต่อผลิตภัณฑ์เลย ซึ่งปัจจุบันก็เป็นข้อดีที่ท่านได้ยกเว้นไว้ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ปี ๒๕๖๖ แต่ใน WebSite นั้นก็ยังระบุไว้ว่าจะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมอีกครั้ง ในเดือนมกราคม ปี ๒๕๖๗ ซึ่งถ้าเป็นไปได้อยากให้ทบทวนในกรณีนี้ด้วย ซึ่งข้อสังเกต ในเรื่องนี้ของผมเรามีภาษีน้ำตาลไปแล้วในเครื่องดื่มหลาย ๆ อย่าง แต่ว่าเรื่องของโซเดียมนั้น ยังไม่มีการพูดถึงในประเทศไทยนักนะครับ ในข้อสังเกตเรื่องโซเดียม เช่นในประเทศชิลี ได้ผ่านกฎหมายการติดฉลากและโฆษณาอาหาร ซึ่งเมื่อบังคับแล้วจะกำหนดให้ผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารแสดงฉลากคำเตือนระบุว่าผลิตภัณฑ์นั้น มีโซเดียมมากเกินไป หากโซเดียมสูงเกินกว่าข้อจำกัดของกระทรวงสาธารณสุขในประเทศ นั้น ๆ ซึ่งการใช้สัญลักษณ์ทางเรื่องสุขภาพในไทย เทียบกับการใช้ฉลากคำเตือนโซเดียม มากเกินไปของประเทศชิลี ชวนให้เราเห็นอะไรครับท่านประธาน มันทำให้เห็นว่าการให้ คุณค่าในการดูแลประชาชนแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงระหว่างการสมัครใจกับการออกกฎหมาย มาควบคุม ใน Case ของประเทศชิลีนั้นผู้ผลิตไม่พยายามพัฒนาก็จะโดนตีตราทันทีว่าเค็ม เขาจะติดไปเลยอาหาร เครื่องดื่มอันนี้มันเค็ม มันเกินมาตรฐานครับ แต่ของไทยผู้ผลิตจะต้อง พยายามเพื่อที่จะบอกว่าตัวเองไม่เค็ม ซึ่งแตกต่างกันมากนะครับ ใน Case ของไทย เป็นการสร้างภาระให้กับผู้ผลิตในการยื่นขออนุญาตและต่ออายุมากเกินไปหรือไม่ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็จะเป็นการผลักภาระนี้ไปสู่ผู้บริโภคนะครับผลักต้นทุนการผลิตไปสู่ ผู้บริโภค การขึ้นราคาสินค้าซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้น ส่วนนั้นทำให้การบริโภคอาจจะต้องจ่ายแพง กว่าถ้าอยากลดหวาน มัน เค็มนะครับ ฝากส่วนนี้ในการศึกษาต่อไปและดำเนินการ เพื่อสุขภาพของพี่น้องประชาชนในอนาคตนะครับ ขอบคุณครับ

นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ เชิญท่านคอซีย์ มามุ ครับ

นายคอซีย์ มามุ ปัตตานี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายคอซีย์ มามุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี เขต ๒ อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอหนองจิก พรรคพลังประชารัฐ ท่านประธานสภาที่เคารพครับ ตามที่คณะกรรมการ บริหารกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า สสส. ได้รายงาน การบริหารงบประมาณประจำปี ๒๕๖๕ ต่อสภาเพื่อรับทราบนั้น นำเรียนท่านประธาน สภาที่เคารพครับ กระผมได้เห็นการทำงานของ สสส. มาโดยตลอดในช่วงเวลาที่ผมทำหน้าที่ ผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องดี ๆ ที่อยากชื่นชม แต่กระผมก็อยากให้ สสส. ทำงานได้มากขึ้น ดีขึ้น ตรงตามเป้าหมายมากขึ้น เมื่อผมได้เห็นตัวเลขการบริหารงานด้านโครงการของ สสส. มีมากหลายพันล้านบาท ซึ่งมาจากฐานภาษีบาป เหล้า บุหรี่ ในสิ่งที่กระผมนำเสนอในวันนี้ อยากเห็นรูปแบบการทำงานที่เชื่อมโยงเครือข่ายต่อยอดภารกิจงานจาก สสส. ท่านประธาน ที่เคารพครับ

นายคอซีย์ มามุ ปัตตานี ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ การทำงานในระดับพื้นที่ สสส. ยังขาดการบูรณาการร่วม เพื่อเชื่อมโยงการต่อยอดสู่ความยั่งยืนในระดับพื้นที่ ข้อเสนอแนะ สสส. อาจใช้ข้อมูล แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาร่วมกันทำงาน ซึ่งจะเป็น การทำงานเชื่อมโยงต่องานของ สสส. เมื่อภารกิจโครงการ สสส. สิ้นสุดลง ท่านประธาน ที่เคารพครับ ที่ผ่านมานี่ เราทราบว่าเมื่อสิ่งดี ๆ ที่ สสส. ได้ทำไว้มันหยุดการเคลื่อนต่อ เพราะไม่มีเจ้าภาพร่วมทำงานระดับพื้นที่ต่อยอดในกิจกรรม โครงการที่ สสส. ได้ดำเนินการไว้ อีกประการหนึ่งครับกิจกรรมโครงการในระดับพื้นที่ที่มีเป้าหมายเดียวกันกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่มีและต้องดำเนินงาน หาก สสส. ได้จับมือกันทำงานกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นก็จะทำให้งบประมาณมีเพิ่มขึ้น และจะขยายผลความสำเร็จร่วมได้กว้างขึ้น เพราะร่วมมือกันทำงานในกิจกรรมเดียวกัน

นายคอซีย์ มามุ ปัตตานี ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพครับ ประเด็นที่ ๒ ในรายงานของ สสส. ได้กล่าวถึง โครงการเด่นเกี่ยวกับการลดสิ่งเสพติด ซึ่งท่านอาจจะเน้นด้านบุหรี่ ด้านลดกลุ่มใหม่ ที่เข้าเสพบุหรี่ สิ่งที่ผมอยากเห็นการต่อยอดเพื่อขยายผลผลักดันการแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติด ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอให้พิจารณาศึกษาสิ่งเสพติดที่มากกว่าบุหรี่ หากเราร่วมมือ กันทำงานขยายเป้าหมายผลกระทบสิ่งเสพติดอื่น ๆ ที่ได้กระทบต่อคุณภาพเด็กและเยาวชน โครงการที่ สสส. ได้รายงานนำเสนอเป็นกิจกรรมเด่นด้านการลดสิ่งเสพติดก็จะสัมฤทธิผล มากขึ้น ท่านประธานที่เคารพครับ คงทราบว่าวันนี้มีภัยจากสิ่งเสพติดที่รุนแรงกว่าบุหรี่ มีมากมาย ปัญหาทางสังคมนี้ยังไม่มีหน่วยงานเข้ามาทำงานในระดับชุมชนเชื่อมสู่ครัวเรือน ผมจึงอยากจะขอความร่วมมือผ่านไปยัง สสส. ควรนำภาษีบาปที่ท่านได้รับมาช่วย วางแนวทางขยายเป้าหมายสิ่งเสพติดที่นอกเหนือจากบุหรี่ให้กับพื้นที่ด้วย เพราะความห่วงใย ที่ สสส. กับผมในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานีตรงกันคืออยากให้ประเทศไทย มีเยาวชนที่มีคุณภาพเพื่อดูแลบ้านเมืองต่อไป

นายคอซีย์ มามุ ปัตตานี ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๓ ในรายงาน สสส. ได้กล่าวถึงนิยามพูดถึงคำว่า สุขภาวะ มีหลายคน ไม่เข้าใจคำว่า สุขภาวะ คืออะไร บางคนเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องของสุขภาพ ผมพอเข้าใจ อยู่บ้างว่าสุขภาวะคือการทำให้ปัจจัย องค์ประกอบ การดำเนินชีวิตมีคุณภาพที่ดี ร่างกายที่ดี การศึกษาที่ดี สังคมที่ดี เศรษฐกิจที่ดี และครอบครัวที่ดี ท่านประธานที่เคารพ การสร้าง องค์ความรู้ด้านการพัฒนาพื้นที่สู่เมืองที่มีสุขภาวะที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อ ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ วันนี้ยังมีหน่วยงานของรัฐและภาคสังคมจับประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเมืองที่มีสุขภาวะที่ดี วันนี้พื้นที่ของพวกเราขาด ความสมดุล เมื่อปัจจัยการทำงานภาครัฐขาดความเชื่อใจคำว่า ไม่เท่าเทียม จึงเกิดขึ้น จึงขอ เสนอแนะ ผมในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานีและเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนหนึ่งของจังหวัดชายแดนภาคใต้ขอเสนอให้ สสส. ได้พิจารณาบรรจุแผนงานสร้างความรู้ การพัฒนาพื้นที่สู่ความสมดุลด้านสุขภาพที่ดี ให้กับ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะหาก หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ขับเคลื่อนการทำงานที่ดีไม่สมดุลคุณภาพชีวิตพวกเราก็จะขาด ความเท่าเทียม ผมนำเสนอประเด็นนี้ต่อ สสส. เพื่อช่วย เข้ามาเป็นกลไกสนับสนุนทิศทาง ด้านความรู้ ด้านกระบวนการให้กับพื้นที่พวกเราด้วย ท่านประธานที่เคารพครับ สิ่งที่กระผมได้นำเสนอความคิดเห็นต่อ สสส. สิ่งแรกต้องชื่นชมท่านที่ได้พยายามทำงาน ให้กับประชาชน และสิ่งที่นำเสนอคือเรื่องราวของการต่อยอดการทำงานของ สสส. ในปีงบประมาณถัดไป หากข้อเสนอแนะใดเป็นประโยชน์ก็ขอให้เกิดเป็นแผนงานในลำดับ ต่อไป จึงขอนำเรียนต่อท่านประธานสภาไปยังคณะผู้บริหาร สสส. ขอขอบคุณ ท่านประธานสภาที่เคารพอย่างสูง ขอขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปอีก ๓ ท่าน ท่านแรก ท่านปารมี ไวจงเจริญ ท่านที่ ๒ ท่านนิยม วิวรรธนดิฐกุล แล้วก็ท่านที่ ๓ ท่านศนิวาร บัวบาน เชิญท่านปารมี ไวจงเจริญ ครับ

นายปารมี ไวจงเจริญ แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน ปารมี ไวจงเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล วันนี้จะขอมาพูดเป็นข้อมูลส่วนเสริมฝากท่านประธานไปยัง ผู้บริหาร สสส. ดิฉันในฐานะที่เป็นครู แม้ว่าจะเป็นครูสอนมัธยมศึกษาก็ตามแต่ว่ารากฐาน ของเด็กมัธยมศึกษาแน่นอนก็ต้องเริ่มมาจากเด็กปฐมวัย ดิฉันจะขอพูดเสริมในเรื่องผลงาน เด่นที่ ๒ ของ สสส. ผลงานเด่นที่ ๒ เสริมพลังปัญญา สร้างทักษะเด็กปฐมวัย ซึ่งแน่นอน ดิฉันเข้าใจว่าชื่อผลงานเด่นของท่านเน้นสร้างพลังทางปัญญาหรือทักษะทางปัญญา แต่ดิฉัน เห็นว่าที่ท่านทำไปดีมาก การที่จะส่งเสริมและกระตุ้นการอ่านเพราะการอ่านเป็นรากฐาน สำคัญมากของการเรียนรู้ของเด็กที่จะเติบโตขึ้น รวมไปถึงไม่ว่าเด็กนั้นจะมีพัฒนาการ ที่เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดีจะนำไปสู่สังคม Life Long Learning ที่ทั่วโลกก็กำลังให้ความสนใจ หรือจะรวมไปถึงผลสัมฤทธิ์ ไม่ว่าจะวัดกันด้วยองค์กรอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นผลสัมฤทธิ์ ทางการศึกษาในประเทศหรือระดับนานาชาติที่เรียกว่า PISA ก็ตาม ต้องมีรากฐาน จากการอ่าน ซึ่งดิฉันก็ขอชมเชยทาง สสส. ขอชมเชยผ่านไปยังท่านประธานว่าในเรื่องทักษะ การอ่านนี่ท่านทำได้ดีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่ท่านขยายเครือข่าย ในรายงานเล่มนี้ ท่านขยายเครือข่ายร่วมกับภาคประชาสังคมได้ดีมาก ดิฉันขอชื่นชมนะคะ เพราะว่าการให้ ภาคประชาสังคม เครือข่ายต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่ดิฉันสนับสนุนตลอด เพราะว่า สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย สอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่ดิฉัน จะขอเสริมสักนิดหนึ่งว่าเราคงเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นครู ผู้ปกครองหรือใครก็ตาม ว่าพัฒนาการของเด็กปฐมวัยไม่ได้มีแค่ด้านสติปัญญาใช่ไหมคะ ยังมีอีก ๓ ด้านคือ ด้านกาย ด้านอารมณ์ ด้านจิตใจ แล้วก็ด้านสังคม ดิฉันอยากจะขอเสริม ผ่านท่านประธานไปยังผู้บริหาร สสส. ว่าควรจะไปเสริมเรื่องตรงนี้พัฒนาการทางด้านกายว่า เด็กในวัยปฐมวัยควรจะได้รับการส่งเสริมให้มีพัฒนาการ การขยับกล้ามเนื้อข้อมือ กล้ามเนื้อ มือ นิ้วมือต่าง ๆ การได้มีสถานที่ให้วิ่งเล่นได้กว้างขวาง หรือพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และจิตใจ ควรจะส่งเสริมให้ทั้งครูและผู้ปกครองไทยรู้จักที่จะใช้เหตุผล ลดการใช้ ความรุนแรง เหมือนอย่างที่เพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเดียวกับดิฉันได้พูดไป วันก่อนเมื่อตอนอภิปรายเรื่องความรุนแรงในครอบครัวว่าผู้ปกครองยุคใหม่ต้องไม่ตีเด็ก อันนี้ดิฉันว่าก็เป็นสิ่งที่ สสส. ควรจะนำมาเสริมในพัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใจ ให้กับเด็กปฐมวัยได้ ควรจะส่งเสริมเรื่องการพูดคุยอย่างมีเหตุผล รับฟังเด็กปฐมวัย นี่ก็เป็น ทักษะด้านอารมณ์และจิตใจหรือรวมไปถึงทักษะทางด้านสังคม การเข้าสู่สังคม การมีเพื่อน เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งเป็นทักษะทั้ง ๔ ที่ดิฉันก็อยากจะเห็น สสส. ได้จัดเครือข่ายที่ สสส. มีเครือข่ายภาคประชาสังคมดี ๆ อยู่แล้ว จัดเสริมเพิ่มอีก ๓ ด้าน นอกเหนือไปจากทักษะทาง สติปัญญาก็คือด้านการอ่านนะคะ อีกสิ่งหนึ่งที่ดิฉันอยากจะเสริมทาง สสส. ในฐานะที่ดิฉัน เป็นครู มีรุ่นพี่รุ่นน้องเป็นครูในกระทรวงศึกษาอยู่มากมาย ก็อยากจะให้ สสส. แนะนำข้อดี ในการที่ สสส. มีเครือข่าย ภาคประชาสังคมหลาย ๆ ด้าน ให้ร่วมเครือข่ายเหล่านี้ และประสานงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับครูผู้สอนในกระทรวง โดยเฉพาะ จากรายงานนี้ทาง สสส. ทำมาได้ดีแล้วเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาทักษะการอ่านหรือพัฒนา ด้านสติปัญญา เอาโครงการพัฒนาการอ่านเหล่านี้ไปประสานกับกระทรวงศึกษาธิการ หรือครูขยายเครือข่ายให้มากขึ้น ให้ครูในกระทรวงต่าง ๆ ได้นำมาใช้กับนักเรียนต่าง ๆ ให้ทั่วถึง โครงการดี ๆ หลาย ๆ โครงการเหล่านี้จะได้ให้นำไปใช้กับเด็กทั่วประเทศ เป็นการบูรณาการทรัพยากร ให้นักเรียนหรือให้เด็กได้เกิดประโยชน์สูงสุด ดิฉันก็ขอฝาก ข้อเสริมตรงนี้กับทาง สสส. ผ่านไปยังท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอบคุณมากค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญท่านนิยม วิวรรธนดิฐกุล ครับ

นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล แพร่ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เคารพครับ ผม นิยม วิวรรธนดิฐกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ เขต ๒ วันนี้ เราก็มาอภิปรายในเรื่องของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ซึ่งเงิน สนับสนุนกองทุนนี้ก็เก็บจากร้อยละ ๒ จากผู้ผลิตและนำเข้าสุราและยาสูบ เป็นการเก็บภาษี เพิ่มจากภาษีสรรพสามิตปกติ เลยเรียกว่าภาษีบาป ซึ่งก็เชื่อว่าสมาชิกหลายท่าน คงจะเป็นเจ้าของกองทุนนี้ เพราะได้เสียภาษีไปแล้ว ซึ่งฟังดูแล้วเป็นภาษีบาปนะครับ ในปี ๒๕๖๔ จากรายงานนี้ก็เห็นว่าได้มาประมาณ ๔,๐๙๖ ล้านบาท ปี ๒๕๖๕ นี้ได้มา ๔,๐๘๑ ล้านบาท บทบาทหลักโดยทั่วไปของ สสส. ก็ทราบกันดีเป็นการสนับสนุน แล้วก็เป็น การร่วมมือระหว่างบุคคล กลุ่ม แล้วก็องค์กร ซึ่งมีถึง ๒๐,๐๐๐ องค์กร ท่านก็เปรียบตัวท่านเองว่า สสส. มีหน้าที่เหมือนน้ำมันหล่อลื่นในการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพให้เข้มแข็ง ในสังคมไทย ก็แสดงว่าท่านไม่ใช่น้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลที่จะขับเคลื่อนเครื่องยนต์ เป็นเพียงน้ำมันหล่อลื่น อันนี้ตอนสุดท้ายเราก็จะมีคำถามต่าง ๆ ที่ยังค้างคาใจเกี่ยวกับ งบประมาณค่อนข้างจะเยอะ ๔,๐๐๐ กว่าล้านบาท อันนี้ก็ต้องขอชื่นชมก่อนแล้วกันว่า รายงานฉบับนี้ที่ท่านทำค่อนข้างละเอียด แล้วก็ดี แล้วก็ให้ข้อมูลที่ชัดเจน แต่อาจจะ ตรงทั้งหมดหรือไม่ คิดว่าน่าจะไม่ตรง แต่ว่าเราก็ดูเรื่องสำคัญก็แล้วกันนะครับ เพราะว่า สสส. เก็บภาษี ๒ เปอร์เซ็นต์ จากยาสูบกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรามาดูยาสูบแล้วกัน ทาง สสส. ก็มีการรณรงค์ค่อนข้างจะเยอะในเรื่องของการสูบบุหรี่

นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล แพร่ ต้นฉบับ

ทั้งให้องค์ความรู้ ให้รู้โทษของการสูบบุหรี่ เขตปลอดบุหรี่อะไรต่าง ๆ สสส. ก็ทำก็ได้ผลมาระดับหนึ่ง ดูจากตารางเล็กไปก็ไม่เป็นไร จะเห็นว่าคนสูบบุหรี่ลดลงเรื่อย ๆ ทั้งจำนวนและอัตราการสูบ ในปี ๒๕๖๔ มีคนสูบ ๙.๙ ล้านคน คิดเป็น ๑๗.๔๐ เปอร์เซ็นต์ลดจากปี ๒๕๖๐ ที่มีคนสูบ ๑๐.๗ ล้านคน คิดเป็น ๑๙.๑๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ประเด็นที่สำคัญที่น่าเป็นห่วงที่สุดในเรื่องของการสูบบุหรี่ก็ปรากฏว่า เด็กสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอายุ ๑๓-๑๕ ปี มีการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นค่อนข้างจะเยอะ โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าอันนี้เป็นประเด็นที่สำคัญเลยนะครับ มีถึง ๑๓.๖๐ เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกันครับ เยาวชนอายุ ๑๕-๒๔ ปี ก็มีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เพราะส่วนใหญ่ ยังเชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่อันตราย หรืออันตรายน้อยกว่า หลายท่านคงไม่ทราบว่าบุหรี่ไฟฟ้า มีองค์ประกอบอะไรบ้าง บุหรี่ไฟฟ้าก็จะมี ๑. Battery ๒. Atomizer เครื่องพ่นควัน ถ้านึกไม่ออกก็นึกถึงเครื่องพ่นควันไล่ยุงที่เทศบาลมาพ่นให้เรา แต่ว่ามันเป็นเครื่องเล็กนะครับ ๓. ก็คือน้ำยา ในน้ำยาก็ยังมี Nicotine ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่ทำให้คนติดบุหรี่ แล้วก็มีโทษ ต่อร่างกายหลายอย่าง เราก็รู้อยู่อย่าง NCDs หรืออะไรต่าง ๆ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ทั้งหลายก็เกิดจาก Nicotine นี้ละ นอกจาก Nicotine ก็ยังมีสารอื่น เช่น Propylene Glycol หรือ Glycerin ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าสารพวกนี้ เข้าไปในร่างกายแล้วในระยะยาวจะเกิด ผลเสียต่อร่างกายขนาดไหน สรุปแล้วก็คือการสูบบุหรี่ไฟฟ้าก็ยังมีโทษ เพราะว่ายังมีสาร มี Nicotine มีอะไรต่าง ๆ แต่อาจจะดีกว่าหน่อยเพราะบุหรี่ไฟฟ้าอาจจะใช้อุณหภูมิไม่เกิน ๓๐๐ องศาเซลเซียส ในขณะที่การสูบบุหรี่ทั่วไปก็ประมาณ ๖๐๐ องศาเซลเซียส ซึ่งมี การเผาไหม้ อาจจะได้พวก Tar พวกน้ำมันดินเข้าไปและสารอื่น ๆ อีก เพราะฉะนั้นสรุปก็คือ บุหรี่ไฟฟ้ายังมีโทษเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ทั่วไป และที่สำคัญที่สุดในเด็กและเยาวชน ของเรา บุหรี่ไฟฟ้าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญเลยนะครับที่จะนำไปสู่การสูบบุหรี่ทั่ว ๆ ไป หรือสูบบุหรี่ธรรมดา แม้ทุกวันนี้การนำเข้าหรือการจำหน่าย หรือการสูบ การครอบครองก็มี ความผิดนะครับ ก็ขอฝากท่าน สส. ทุกท่านที่สูบบุหรี่ระวัง Clip หน่อยนะครับ ใครที่สูบบุหรี่ ไฟฟ้าอาจจะต้องมีโทษทั้งจำและปรับเพราะมันผิดกฎหมาย ทั้งผู้นำเข้า ผู้ขาย ผู้ครอบครอง ผู้สูบ อันนี้ก็ฝากกันไว้ ในเรื่องของบุหรี่ก็ถือว่าเป็นผลงานของ สสส. ได้พอสมควร แต่ว่าไม่ทั้งหมดนะครับ

นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล แพร่ ต้นฉบับ

เรามาดูในเรื่องของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วกันนะครับ คนไทยก็ดื่ม แอลกอฮอล์ค่อนข้างจะคงที่ ลดลงเล็กน้อย ปรากฏว่าผู้ชายดื่มลดลง แต่ว่าผู้หญิงดื่มเพิ่มขึ้น แต่ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่น่าเป็นห่วงคือเยาวชนที่ดื่มประจำมีเพิ่มขึ้น ถ้าเราสังเกตเดี๋ยวนี้ หลังจากที่เรามีการคลายกฎกระทรวงในเรื่องของการผลิตเบียร์ก็มี Craft Beer เด็ก ๆ หนุ่ม ๆ ก็จะไปดื่ม Craft Beer กันเยอะ ท่านประธานครับ ปัจจุบันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ห้าม โฆษณา มีความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรา ๓๒ มีโทษจำคุก ๑ ปี ปรับไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อันนี้ก็ฝากท่านผู้มีชื่อเสียงจะไปโฆษณาเบียร์ หรืออะไรต่าง ๆ ก็ระมัดระวังนะครับ แต่บริษัทเหล้า เบียร์ เขาไม่โฆษณาเหล้า เบียร์ เขาเรียกว่าโฆษณาตราเสมือน เขาก็จะไปโฆษณาโซดาบ้าง หรือว่าน้ำดื่มบ้าง ซึ่งมีตราเสมือน อยู่ตรงนั้น และยังสนับสนุนการกีฬาหรือสันทนาการต่าง ๆ อันนี้ก็เป็นวิธีการโฆษณา อย่างหนึ่งที่ทำให้การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ลดลงหรือลดลงเล็กน้อย ก็อย่างที่ว่าในเมื่อท่าน เป็นเพียงน้ำมันหล่อลื่น แต่ว่างบประมาณค่อนข้างเยอะ สิ่งที่จะต้องฝากท่านก็คือ ๑. งบประมาณนี้มันเป็นภาษีของประชาชนอยู่แล้ว การใช้ที่โปร่งใสการตรวจสอบที่ถูกต้อง ถึงแม้ท่านจะ Audit ออกมาอย่างไรก็ตามแต่ท่านไปดูความเป็นจริงเพราะองค์กรเครือข่าย ของท่านเยอะเหลือเกิน เพราะฉะนั้นการใช้จ่ายงบประมาณอันนี้ต้องมาประเมินกันอีกทีว่า มันคุ้มค่าขนาดไหนกับที่เราจ่ายไป เพราะหลายแห่งที่เราไปดูมา ก็ไม่ได้ทำตามโครงการ ที่เสนอท่านมา รวมทั้งเอกสารต่าง ๆ ที่กองอยู่ตามสถาน รพ.สต. อะไรต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ สสส. เยอะแยะมากมาย อันนี้ฝากท่านประธานไปยังผู้บริหาร สสส. ไว้ดูอย่างละเอียด แล้วก็มีการ Audit ที่ถูกต้อง ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านศนิวาร บัวบาน เชิญครับ

นางสาวศนิวาร บัวบาน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพ ดิฉัน ศนิวาร บัวบาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัดตากค่ะ ท่านประธานคะ เราได้ฟังการอภิปรายจากเพื่อนสมาชิก ในด้านต่าง ๆ ของรายงานไปแล้วดิฉันใคร่ขออภิปรายในเชิงลึกในส่วนของผู้พิการ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เปราะบาง แล้วก็ผู้ที่มีรายได้น้อย ขอ Slide ด้วยค่ะ

นางสาวศนิวาร บัวบาน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

Slide ต่อไปค่ะ ก่อนอื่นดิฉัน จะขอนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้พิการในประเทศไทยก่อน ท่านทราบหรือไม่ทางสำนักงาน สถิติแห่งชาติได้รายงานว่าในประเทศไทยมีผู้พิการเป็นจำนวน ๕ เปอร์เซ็นต์ ของจำนวน ประชากรทั้งประเทศ แต่ในขณะเดียวกันกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ก็มีรายงานออกมาอีกว่ามีผู้พิการเพียงแค่ ๓ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นค่ะ ที่ได้รับการ ออกบัตรประจำตัวคนพิการ นี่แสดงถึงอะไรคะยังเหลือผู้พิการอีกส่วนหนึ่งที่ยังเข้าไม่ถึง สวัสดิการของภาครัฐ นอกจากนั้นคนพิการเกือบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ จบการศึกษาชั้น ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า และยังไม่มีงานทำอีกด้วยค่ะจาก พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ ระบุว่าหน่วยงานจะต้องมีการจ้างงานคนพิการ ๑๐๐ ต่อ ๑ นั่นหมายความว่าจากจำนวนผู้ปกติทั้งหมด ๑๐๐ คนจะต้องจ้างคนพิการ ๑ คน แต่ข้อมูล ที่ดิฉันค้นพบ ดิฉันค้นพบว่าปัจจุบันนี้ภาครัฐยังมีการจ้างงานคนพิการเพียงแค่ ๑๗ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำมาก

นางสาวศนิวาร บัวบาน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ ด้านของคนพิการไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดทางด้าน การเดินทาง การสื่อสารการเข้าถึงบริการสาธารณะต่าง ๆ แล้วก็เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก ที่ไม่เอื้อต่อคนพิการ ส่งผลให้คนพิการหลาย ๆ ท่าน ยังขาดโอกาสทางการศึกษาถูกกีดกัน ในด้านการทำงานโดนล้อเลียน ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ รายได้ไม่เพียงพอ ต่อการดำเนินชีวิต ส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ได้มาตรฐาน อีกทั้งขาดผู้ดูแล แล้วก็ขาดอุปกรณ์ในการช่วยเหลือคนพิการต่าง ๆ ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัญหาที่ ต่อเนื่องกัน จากที่ดิฉันได้อ่านรายงานการดำเนินงานของ สสส. ก่อนอื่นก็ต้องขอชื่นชมที่ท่าน ก็ได้ให้ความสำคัญของกลุ่มคนพิการซึ่งเป็น อีก ๑ กลุ่มคนที่มีความเปราะบางค่อนข้างสูง ท่านก็มี กิจกรรมส่งเสริมคนพิการให้มีงานทำ หากแต่ว่าอย่างที่ดิฉันได้นำเสนอไปว่าปัญหา ของคนพิการนั้นมีมากมาย แต่ดิฉันก็พบในรายงานว่าจะมีกิจกรรมเรื่องเกี่ยวกับส่งเสริม ให้คนพิการมีงานทำเพียงแค่กิจกรรมเดียว

นางสาวศนิวาร บัวบาน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

จากนวัตกรรมการจ้างงานคนพิการเชิงสังคมนี้ คร่าว ๆ คือท่านก็เปิดโอกาส ให้คนพิการได้มีงานทำในพื้นที่ที่คนพิการได้อาศัยอยู่ ซึ่งส่งผลดีคือคนพิการก็ไม่ต้องเดินทาง ไปที่ไกลบ้าน อีกทั้งสถานประกอบการก็ไม่ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ ทำให้คนพิการได้รับเงินจากผู้ประกอบการได้โดยตรง ผลสัมฤทธิ์ ของโครงการนี้คืออะไรคะ คือผู้พิการมีงานทำมากกว่า ๗,๐๐๐ คนต่อปี แต่เมื่อดิฉันมาหา ข้อมูลเชิงสถิติแล้วดิฉันพบว่าถ้าเกิดนำจำนวนผู้พิการที่มีงานทำ ๗,๐๐๐ คนต่อปีจะคิดได้เป็น ๑๓ เปอร์เซ็นต์ของคนพิการที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ ซึ่งก็ยังนับว่ายังเป็นอัตราส่วนที่ค่อนข้าง ต่ำอยู่นะคะ ดิฉันก็ไม่แน่ใจว่าท่านได้แบบมีการตั้งเป้าหมายหรือไม่ว่าคนพิการจะต้องมี จำนวนผู้ที่มีงานทำเพิ่มขึ้น หรือว่ามีเป้าหมายจำนวนเท่าไรต่อปี

นางสาวศนิวาร บัวบาน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ดิฉันมีข้อเสนอแนะเล็กน้อยเกี่ยวกับการส่งเสริมคนพิการให้มีงานทำก็คือ ทาง สสส. อาจจะหาหน่วยงานหลักมาร่วมเป็นเจ้าภาพ เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ หรือว่าจะเป็นกระทรวงแรงงาน กิจกรรมของท่านดีมาก ท่านสามารถเสนอกิจกรรมนี้เป็น Model การจ้างงานเชิงสังคมต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันที่กำลังจะ มาถึงนี้ได้ ให้เขาได้ไปขับเคลื่อนหรือว่าทดลองทำเป็น Sandbox ร่วมกันเพื่อที่จะส่งเสริม ภาครัฐให้มีการจ้างงานคนพิการเพิ่มขึ้นจาก ๑๗ เปอร์เซ็นต์ ให้ได้ครบ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ Slide ต่อไปค่ะ อันนี้ก็เป็นอีก ๑ กิจกรรมที่ทาง สสส. ได้จัดร่วมกับภาคีเครือข่ายคืองานวิ่ง ด้วยกัน อันนี้ดิฉันก็ได้ไปสัมผัสมาโดยตรงก็ถือว่าเป็นประสบการณ์อันดีที่เปิดโอกาสให้ ผู้พิการแล้วก็ผู้ที่ไม่พิการได้มีปฏิสัมพันธ์กันได้มาร่วมวิ่งด้วยกัน เราก็ได้มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันก็ทำให้ดิฉันเห็นว่าจริง ๆ แล้วผู้พิการก็ไม่ได้ต่างจากคนปกติเรา ทั่วไปนะคะ เราก็มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน อันนี้ก็ต้องขอชื่นชมในกิจกรรมนี้ด้วยนะคะ

นางสาวศนิวาร บัวบาน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

อย่างที่ดิฉันแจ้งว่าปัญหาของผู้พิการนั้นมีมากมายหลายปัญหา ทาง สสส. อาจจะเสนอกิจกรรมเพิ่มเติมให้ครอบคลุมแล้วก็ตอบโจทย์ปัญหาเหล่านั้นนะคะ เช่น อาจจะ เป็นทางด้านการสนับสนุนการศึกษา การเพิ่มการจ้างงานคนพิการ ปรับปรุงบ้านเรือนชุมชน ที่ผู้พิการอาศัยอยู่ หรือว่าเพิ่มผู้ดูแลคนพิการแล้วก็ล่ามภาษามือ

นางสาวศนิวาร บัวบาน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

คือดิฉันเข้าใจว่าข้อเสนอแนะบางข้ออาจจะแบบนอกเหนือจากอำนาจ บทบาทหน้าที่ของ สสส. แต่ สสส. สามารถเป็นกลไกกลางเชื่อมประสานหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ให้เชื่อมเข้าด้วยกันแล้วก็ร่วมขยายผล เรื่องการปรับสภาพแวดล้อมหรือว่าสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในพื้นที่สาธารณะให้กับ ผู้พิการนะคะ อันนี้รวมถึงกลุ่มคนผู้เปราะบางต่าง ๆ ด้วย เช่น เรื่องของขนส่งสาธารณะ หรือว่าอาคารสาธารณะต่าง ๆ นำ Concept เกี่ยวกับ Universal Design ที่ออกแบบ ให้กลุ่มเปราะบางทั้งหลายสามารถเข้าถึงแล้วก็ใช้งานได้จริงค่ะ ดิฉันก็ฝากทาง สสส. ผ่านทางท่านประธานไว้แต่เพียงแค่นี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ต่อไปท่านนิพนธ์ คนขยัน เชิญครับ

นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นิพนธ์ คนขยัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบึงกาฬ เขตเลือกตั้งที่ ๓ วันนี้ รับทราบรายงานประจำปีของ สสส. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ก่อนอื่นต้อง ขอบคุณครับ เพื่อน ๆ สมาชิกหลายท่านได้พูดไปเรื่องบุหรี่ยาสูบ หรือว่าแอลกอฮอล์ ผมก็อยากฝากท่านประธานไปถึงท่านคณะกรรมการ สสส. ทุกท่านครับ วันนี้ผมอยากเพิ่ม หรือว่าอยากเสนอแนะ

นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๑ การบริโภคยาบ้า วันนี้ท่านประธานที่เคารพครับ ยาบ้าถือว่า เป็นโทษหนักเหมือนกันทำลายสุขภาพจิต ทำให้ลูกหลานเราเสียผู้เสียคนนะครับ บางราย เป็นบ้าก็มี วันนี้ท่านประธานที่เคารพครับ สิ่งที่น่าเป็นห่วงถึงอยากฝากหน่วยงาน สสส. ว่าเพิ่มงานนี้เข้าไปได้ไหม เพราะงานท่านก็มากอยู่แล้ว แต่ผมว่างานนี้ก็สำคัญครับ เพราะวันนี้ศูนย์บำบัดยาเสพติดแทบจะถือว่ามีน้อยเหลือเกิน ท่านประธานครับ อยากเสนอท่านประธานฝากไปยัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ท่านเศรษฐา ทวีสิน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ท่านดอกเตอร์สุทิน คลังแสง ในช่วงนี้ทราบว่า ลูกหลานเราติดยามาก ขอยืมค่ายทหารเป็นศูนย์บำบัดได้ไหม เพราะวันนี้กระทรวงมหาดไทย ท่านผู้ว่า ท่านนายอำเภอท่านก็จัดการดูแลเอาบุคคลเสพยา ลูกหลานเข้าค่าย ช่วงนี้ ประมาณ ๑๕ วัน ในอดีตประมาณ ๙ วัน ท่านประธานที่เคารพครับ ในฐานะที่ได้สัมผัส เชื่อมั่นว่าพี่น้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็คงจะสัมผัสในเขตพื้นที่ได้เหมือนกัน แต่ก่อน ๙ วัน วันนี้ ๑๕ วัน ผลที่ได้รับน้อยมากครับ เพียงผู้ปกครองบอกว่าดีใจหน่อยเอาลูกไป พักผ่อน พ่อแม่ก็สบายใจอยู่บ้าน ๑๕ วัน วันที่ ๑๖ ก็มาอีกแล้วนี่คือปัญหา ผมอยากฝาก ท่านประธานไปยังคณะกรรมการ สสส. ว่าเพิ่มงานอีกงานหนึ่งเพื่อเป็นการกุศล เอาเงินบาป มาทำบุญ เอาไปเข้าค่ายทหารอย่างที่ผมกราบเรียนเมื่อสักครู่นี้ว่าอยู่ ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือนไปเลยเอาเงินกระทรวงมหาดไทยมาบวกกับเงิน สสส. อันนี้ฝากท่านไปพิจารณา เพราะการปราบปรามยาเสพติดท่านนายกรัฐมนตรีก็ยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อสภา ก็ฝากงานนี้ไปให้ท่านพิจารณาครับ

นายนิพนธ์ คนขยัน บึงกาฬ ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ ผมอ่านหัวข้อในหนังสือที่ท่านรายงานมาก็ขอชื่นชมครับ สร้างสังคมสุขภาวะปลอดภัย เท่าเทียม เป็นสุข สร้างหลักประกันคนพิการและคนไร้บ้าน ลดความเหลื่อมล้ำ ท่านประธานที่เคารพครับ วันนี้ในข้อความว่าพัฒนาศักยภาพ นิสิตนักศึกษาแพทย์ สนับสนุนกระบวนการพัฒนาศักยภาพ และสร้างเครือข่ายสมาคม นิสิตนักศึกษาแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย ชื่นชมครับ ดีใจที่ท่านทำงานนี้ เพราะวันนี้ แพทย์เป็นสิ่งสำคัญกับผู้ป่วย ท่านประธานที่เคารพครับ ลดความเหลื่อมล้ำ อยากนำเรียน ท่านประธานว่าบ้านของกระผมจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นจังหวัดน้องใหม่ล่าสุด โรงพยาบาล บึงกาฬวันนี้หมอขาดแคลนมาก หมอ ๑ คนดูแลประชากร ๖,๐๐๐ กว่าคน ทางจังหวัด มีคุณหมอแค่ ๗๓ คน บึงกาฬวันนี้เป็นโรงพยาบาลชุมชนมา ๔๒ ปี อาคารที่ใช้สนับสนุน เช่น โรงครัว ซักฟอก จ่ายกลาง คลังยา พัสดุเวชภัณฑ์ที่ใช้งานมากว่า ๑๐ ปีแออัด ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน สำคัญคือลดความเหลื่อมล้ำที่ท่านเขียนไว้ ฝากผ่านท่านประธาน ไปถึงรัฐบาลว่า ท่านคุณหมอชลน่าน ศรีแก้ว ขออนุญาตเอ่ยนามท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ก็อยากฝากว่าวันนี้อยากให้ความเหลื่อมล้ำใกล้เคียงกันหน่อยนะครับ วันนี้บึงกาฬได้ขอสนับสนุนงบประมาณมาสร้างอาคาร ๕ ชั้น เป็นคอนกรีต ๑๔๓,๖๘๐,๗๐๐ บาท ผูกพัน ๒ ปี ขณะที่ผมกราบเรียนว่าบึงกาฬเป็นจังหวัดสุดท้ายในช่วงนี้ สิ่งสำคัญ คุณหมอก็น้อย คนป่วยไปนอนอยู่โรงพยาบาล ผมก็ได้ไปเยี่ยมเพราะชาวบ้านร้องเรียน ท่านประธานที่เคารพครับ นอนรอเป็นเดือนไม่ได้ผ่าตัด ผมก็ถามคุณหมอว่าทำไมไม่ได้ผ่า หมอเราขาดแคลน ป่วยอยู่แล้ว ไม่สบายอยู่แล้ว แทนที่หมอจะได้ผ่าตัด งดอาหารไปแล้ว ให้กินอาหารคืนมาใหม่ เพราะยังไม่ถึงคิว เป็นเดือนครับท่านประธานที่เคารพครับ ณ วันนี้ ความเหลื่อมล้ำที่ท่านคณะกรรมการ สสส. เสนอมาวันนี้ผลงานท่านมากมาย ขอเพิ่มค่ายา เสพติดที่ยังปราบไม่หมด อยู่ค่ายทหาร เอาเงินของ สสส. อีกส่วนได้ไหม ไปบวกกับเงิน มหาดไทย เพราะเงินมหาดไทยวันนี้ ผมพูดได้เต็มปากว่าทำดีอยู่ครับ แต่ไม่ได้ผล เพราะแค่ ๑๕ วัน ก็ขอกราบขอบพระคุณท่านประธานที่เคารพผ่านไปยัง สสส. และผ่านไปยัง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้โปรดพิจารณาค่ายยาเสพติดในค่าย ทหารครับ ไม่ใช่ค่ายยาเสพติด บำบัดยาเสพติดในค่ายทหารครับ ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่านนะครับ ท่านแรกท่านเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู ท่านที่ ๒ ท่านณพล เชยคำแหง ท่านที่ ๓ ท่านมานพ คีรีภูวดล นะครับ เชิญท่านเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู เชิญครับ

นางสาวเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู เชียงใหม่ ต้นฉบับ

กราบเรียนประธานสภาที่เคารพ ดิฉัน เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคก้าวไกล จากประชาชนชาวเชียงใหม่เขต ๑ ค่ะ วันนี้ก่อนอื่นดิฉันต้องขอขอบคุณทาง สสส. ที่เข้ามา รายงานผลดำเนินงานของปี ๒๕๖๕ ทำให้เรารู้บทบาทของ สสส. ว่าทำกิจกรรม อย่างมากมายและเป็นกองทุนเพียงไม่กี่กองทุนที่เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมได้ทำงาน อย่างเปิดกว้างนะคะ จากรายงานปี ๒๕๖๕ ฉบับนี้ดิฉันมีประเด็นข้อสงสัยอยู่ ๒ ประเด็น ด้วยกันนะคะ

นางสาวเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ประเด็นแรก ก็คือประเด็นของเรื่องงบประมาณ ทุกวันนี้ดิฉันได้เดินทางไป สถานที่ต่าง ๆ นะคะขอ Slide ด้วยนะคะ

นางสาวเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ดิฉันได้เดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ ได้เห็นป้ายประชาสัมพันธ์ Campaign ต่าง ๆ ตลอดถึงบนรถไฟฟ้า ดิฉันมีความกังวลว่าสิ่งที่ สสส. ได้ใช้งบประมาณไปใช้ในการทำ Campaign ต่าง ๆ เหล่านี้ น่าจะเป็นงบประมาณ ที่ไม่น้อยเลย แต่ในรายงานฉบับนี้ไม่ได้ปรากฏอยู่ว่าพวกท่านใช้งบประมาณไปเท่าไร ดิฉันจึงอยากจะให้พวกท่านชี้แจงงบประมาณที่ใช้ไป และตัวชี้วัดถึงความคุ้มค่าของ งบประมาณที่ใช้ไปด้วยนะคะ ในส่วนของ Campaign เหล่านี้ทำให้สุขภาพของผู้คนดีขึ้น หรือไม่ หรือจากสถิติคนสูบบุหรี่ในช่วงปี ๒๕๖๔ ลดลงจากร้อยละ ๒๕.๕๔ เป็น ๑๗.๔๐ แต่ในขณะเดียวกันคนสูบบุหรี่ไฟฟ้ากับเพิ่มขึ้น ถ้าพวกท่านจะบอกว่าตัวชี้วัดนี้คนสูบบุหรี่ ลดลง แต่จริง ๆ แล้วคนสูบบุหรี่ไม่ได้ลดลงนะคะ แต่พวกเขาเพียงเปลี่ยนประเภทจากคนสูบ บุหรี่ธรรมดามาเป็นสูบบุหรี่ไฟฟ้าค่ะ ดิฉันจึงอยากจะให้พวกท่านวัดผล Campaign เหล่านี้ ด้วย จากงบประมาณโดยรวมของ สสส. ทั้งหมดกว่า ๔,๐๐๐ ล้านบาท ได้แจกแจงไปยังแผน ต่าง ๆ ทั้ง ๑๕ แผน และ ๑ งานของ สสส. แต่ว่าไม่ได้มีการแจกแจงการดำเนินงาน งบประมาณในการดำเนินงานต่าง ๆ และแจกแจง Campaign ประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ว่าพวกท่านใช้งบประมาณรวมในแต่ละแผนไปอย่างไร และมีการชี้วัดผลการดำเนินงาน อย่างไรบ้างนะคะ จึงอยากให้ชี้แจงในส่วนตรงนี้ด้วย

นางสาวเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู เชียงใหม่ ต้นฉบับ

ในประเด็นที่ ๒ จากการลงพื้นที่ของดิฉันเองในช่วงสถานการณ์โควิด ที่ผ่านมา ดิฉันอยากจะชื่นชมการทำงานของ สสส. ที่ได้เห็นความสำคัญของกลุ่มประชากรเฉพาะ ทั้งคนไร้บ้าน คนไร้สิทธิ กลุ่มเปราะบางซ้ำซ้อนในชุมชน ซึ่งพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่เข้าถึง ยากลำบากในการช่วยเหลือเยียวยาในช่วงโควิดต่าง ๆ ที่ผ่านมานะคะ การทำงานเหล่านี้ ทำให้กลุ่มเป้าหมาย ๆ เหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่อยากจะพูดถึงหน่วยงาน หรือภาคส่วนต่าง ๆ ที่เข้ามาร่วมมือในการที่จะผลักดันประเด็นต่าง ๆ การแก้ไขปัญหา สุขภาวะต่าง ๆ เหล่านี้ให้เกิดขึ้นจริงและเป็นจริงได้ อยากจะอ้างถึงรายงานหน้า ๙๑-๙๒ ค่ะ มีเพียงไม่กี่หน่วยงานเท่านั้น จึงอยากจะขอเสนอแนะให้ขยายเครือข่ายได้เยอะกว่านี้ เช่นการทำงานกับกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ในชุมชนเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ หรือด้านสิทธิ สถานะต่าง ๆ ที่เชียงใหม่มีปัญหาเหล่านี้เยอะมาก ๆ นอกจากนี้ดิฉันคิดว่างานเหล่านี้ ควรมีการถอดบทเรียนเพื่อดูแนวทางและขยายผล เพื่อต่อยอดไปยังการขับเคลื่อน เชิงนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป จึงอยากฝากข้อกังวลและข้อเสนอแนะ ต่าง ๆ เหล่านี้ผ่านไปยังท่านประธานสภาผ่านไปยังหน่วยงานผู้ชี้แจงได้โปรดพิจารณา ดำเนินงานและชี้แจงข้อกังวลต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไป ท่านณพล เชยคำแหง ท่านณพลยังไม่มานะครับ ตามด้วยท่านมานพ คีรีภูวดล เตรียมตัวนะครับ ท่านณพลข้ามก่อน เชิญท่านมานพ คีรีภูวดล ครับ

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล สัดส่วนชาติพันธุ์ และชนเผ่าพื้นเมือง ทาง สสส. ท่านเห็นหน้าผมก็คงนึกภาพออกว่าจะพูดเรื่องอะไร ก็หนีไม่พ้นเรื่องไฟป่าและหมอกควัน ถ้าจำกันได้คราวที่แล้วผมได้สะท้อนและได้พูด เสนอแนะให้ สสส. ไปจัดกระบวนการการสร้างความรู้ผ่านกลุ่มวิชาการ กลุ่มประชาสังคม กลุ่มประชาชน วันนี้ผมคิดว่ารายงานของท่านในส่วนที่ ๓ ผลการดำเนินงานตามเป้าประสงค์ ผมขอพูดในเป้าประสงค์ที่ ๒ แผนการควบคุมปัจจัยที่เสี่ยงกับสุขภาวะ ผมคิดว่า การถอดบทเรียนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ผ่านกระบวนการอย่างนี้ อันนี้ก็ต้องชมนะครับว่า เราได้มีองค์ความรู้ใหม่ มีการสรุปอย่างเป็นระบบ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ท่านสามารถที่จะทำ ข้อมูลความรู้ตรงนี้นำไปสู่การตั้งศูนย์วิชาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเรื่องของมลพิษ พัฒนาองค์ความรู้ ๑๑ เรื่อง อันนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องชมนะครับ จนนำไปสู่การเสนอ เรื่อง พ.ร.บ. อากาศสะอาดเพื่อสุขภาพ แต่เป็นที่น่าเสียดายครับท่านประธาน พ.ร.บ. อากาศ สะอาดไม่ว่าจะเสนอโดยภาคประชาชน พรรคการเมือง นักวิชาการกลุ่มต่าง ๆ ๕ ฉบับนี้ ไม่ได้รับการพิจารณาในรัฐสภา ชุดที่ ๒๕ เพราะ พ.ร.บ. ทั้งหมดต้องเกี่ยวข้องกับเรื่อง การเงินในรัฐธรรมนูญก็เขียนไว้ชัดเจนว่า พ.ร.บ. ที่เสนอเข้ามาในสภา เรื่องไหนถ้าเกี่ยวกับ การเงิน จะต้องให้ท่านนายกรัฐมนตรีเป็นคนให้ความเห็น อันนี้คือปัญหาใหญ่ครับ กฎหมาย ที่เสนอโดยภาคประชาชน กฎหมายที่เสนอโดยพรรคการเมืองเมื่อมีความเกี่ยวข้องกับ การเงินเมื่อไรต้องให้ท่านนายกรัฐมนตรี เราก็หวังว่าท่านนายกรัฐมนตรีชุดใหม่ ครม. ชุดใหม่ จะให้ความสำคัญเรื่องนี้ครับท่านประธาน

นายมานพ คีรีภูวดล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประเด็นสำคัญที่อยากจะฝากถึงทาง สสส. อย่างนี้ครับ ผมคิดว่าเป็นประเด็น หนีไม่พ้นเรื่องของไฟป่า หมอกควัน ฝุ่นควัน ความรู้ที่ได้มานี่ผมเข้าใจว่าคงไม่ได้มาเฉพาะ จากฝ่ายประชาชน ฝ่ายประชาสังคม และฝ่ายวิชาการ คงมาจากกระบวนการถอดบทเรียน แล้วก็ลงไปดูข้อเท็จจริง และสร้างกระบวนการเรียนรู้ถกเถียงกัน แต่ที่สำคัญวันนี้ผมคิดว่า การปะทะกันเรื่องของความรู้ยังเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่นะครับ ผมเป็นคนเชียงใหม่ ผมก็ไปสัมผัส กับทุกกลุ่ม วันนี้เรามีนักวิชาการหลายกลุ่มมาก นักวิชาการที่อยู่ในห้อง Air นักวิชาการที่รู้ ไปทุกอย่างซึ่งไม่เคยลงพื้นที่ก็มี เรามีนักวิชาการที่ทำงานปฏิบัติการในพื้นที่ เรามีนักวิชาการ ที่อยู่ในกระบวนการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่เยอะแยะมากมาย แต่ผมเข้าใจว่าวันนี้การตกผลึก ในประเด็นเรื่องความรู้ของไฟป่าและหมอกควัน คิดว่าในทางวิชาการยังเป็นปัญหาอยู่ ทั้งในทางนิเวศวิทยาของทางวนศาสตร์เอง ในส่วนของทางวิชาการของภาคประชาชน และนักวิชาการทั่วไป ผมคิดว่าอันนี้ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการถกแถลง แล้วก็ การแลกเปลี่ยนกันในวงวิชาการให้มากขึ้น ที่สำคัญก็คือว่าพี่น้องประชาชนจะย่อยข้อมูล วิชาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างไร และผมก็เชื่อว่าวิชาการทั้งหมดที่ออกมาเขียนไม่ว่าจะเป็นงานวิชาการในมหาวิทยาลัย ก็ย่อมมาจากพี่น้องประชาชน หลาย ๆ ครั้งผมพยายามจะบอกกับตัวเองว่านักวิชาการ ที่ทำงานกับพวกเราบางคนได้ดอกเตอร์ ได้ศาสตราจารย์ ได้ผลงานวิชาการเยอะแยะแล้วก็ ย้ายไป แล้วก็คนใหม่มาก็เรื่องเดิม ๆ ผมคิดว่าเรื่องนี้บทบาทสำคัญคนที่จะรวบรวมความรู้ จัดระบบความรู้เพื่อไม่ให้คนใหม่ ๆ ที่จะทำประเด็นซ้ำซาก อันนี้เป็นประเด็นที่ค่อนข้างที่จะ มีความหมายสำคัญกับพี่น้องประชาชน ทีนี้ประเด็นที่ท้าทายสำหรับในข้อเสนอของผม ผมคิดว่าน่าเสียดายที่ พ.ร.บ. อากาศสะอาดนี่นะครับไม่ผ่านการพิจารณา เพราะฉะนั้น ในเนื้อหาของ พ.ร.บ. ตรงนี้ผมคิดว่าพูดถึงเรื่องของการออกแบบเรื่องกลไกในการทำงาน ในระดับพื้นที่ ตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับกำกับ ระดับปฏิบัติการมันมีบทบาทในการที่จะ ทำให้แต่ละฝ่ายเข้าถึงพื้นที่ เข้าถึงสาเหตุของปัญหา แต่ว่าไม่สามารถจะคลอด พ.ร.บ. ออกมา ภารกิจเรื่องนี้ผมคิดว่าไม่ว่าจะเป็นสภาผู้แทนราษฎรตรงนี้ สสส. หรือส่วนอื่น ๆ ก็จะต้องทำหน้าที่ในการดันต่อไปว่า พ.ร.บ. ตัวนี้ถ้ามันมีจะเป็นเครื่องมือได้หรือไม่อย่างไร ประเด็นก่อนที่จะมี พ.ร.บ. ผมคิดว่าการใช้เวลาในเรื่องนี้ค่อนข้างที่อาจจะต้องใช้เวลา และทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน และส่วนที่เกี่ยวข้องค่อนข้างที่จะเยอะ ผมพยายามจะ สื่อสารกับหลาย ๆ ฝ่ายตลอดนะครับว่า ความรู้ที่มันมีอยู่ผมคิดว่าประชาชนก็เข้าใจ ในระดับหนึ่ง แล้วเขาก็เจอมาในระดับหนึ่ง แต่พื้นที่ ผมยกตัวอย่างเรื่องความรู้วันนี้ครับ ไม่ว่าจะถามป่าไม้ ไม่ว่าจะถามหลายส่วนบอกว่าไฟป่าเกิดจากการเผา เผาอะไร เผาล่าสัตว์ เผาเอาที่ เยอะกว่านั้นผมคิดว่าเราจำเป็นจะต้องถอด ถอดรหัสที่มันอยู่ว่าทำไมต้องเผา ข้อสรุปบางอย่างผมคิดว่าอาจจะไม่ตรงนะครับ ทำไมต้องเผา เผาเพราะอะไร บางพื้นที่ไม่ใช่ พื้นที่ของชาวบ้านเลย เป็นพื้นที่ราชการดูแล เช่น ตัวอย่างพื้นที่หลังศาลากลางจังหวัด เชียงใหม่ หน่วยราชการอยู่ทางนั้นอยู่ ๆ แล้วมันมาเผาได้อย่างไร หลาย ๆ ครั้ง พี่น้องประชาชนบอกว่าไฟป่าเกิดจากความขัดแย้ง ไฟป่าเกิดจากสังคมยังไม่รู้จักป่า เหล่านี้ต่างหาก ผมคิดว่ามันเป็นเนื้อหาที่จำเป็น ผมยกตัวอย่างป่าในประเทศไทย เราไล่ตั้งแต่ป่าพรุ ป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา และป่าเมฆ และวันนี้ทุกคนยังไม่เข้าใจระบบนิเวศป่านะครับ และไปเหมารวมว่าป่าทุกชนิดต้องไม่มีไฟ อันนี้เป็นปัญหาใหญ่มากเลยนะครับ พื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ๙ จังหวัดภาคเหนือ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบ เพราะฉะนั้นความรู้ในการใช้ของแต่ละป่า มันจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถูกออกแบบและนำไปใช้ให้สอดคล้องกับตัวบริบทนิเวศ และนิเวศ ทางสังคม วันนี้ผมคิดว่าความอันตรายในการถอดบทเรียนที่เป็นความรู้ ความรู้เชิงเดี่ยวที่จะ ลงไปกดทับความรู้อื่น ๆ ที่มันมีบริบททางนิเวศและสังคมที่แตกต่างเหล่านี้ อันนี้จะเป็น ความอันตราย ผมอยากจะเห็น สสส. ได้มีพื้นที่ปฏิบัติการก่อนที่จะมีนโยบายที่ชัดเจน ผมคิดว่าการใช้พื้นที่ หรือว่า Area base ในการปฏิบัติงานและสร้างเครือข่าย ท่านประธาน ผมขอเวลาอีกนิดเดียวนะครับ คือใน ๑ พื้นที่มันประกอบด้วยหลายหน่วยงานมากครับ ผมยกตัวอย่างพื้นที่บ้านผมมีทั้งอุทยาน มีทั้งกรมป่าไม้ มีทั้งหน่วยงานพระราชดำริ มีทั้ง ปกครอง มีทั้ง อบต. มีทั้งชาวบ้านอื่นเยอะแยะมากมายที่ใช้พื้นที่ แต่ละคนถือกฎหมาย คนละฉบับ ถืองบประมาณคนละตัว ถืออำนาจคนละอย่าง เพราะฉะนั้นเวลาทำงาน การบูรณาการที่เราพูดกันบ่อย ๆ มันจะเกิดขึ้นไม่ได้จริงเลย ถ้าเราสามารถถอดบทเรียน อีกรอบหนึ่งบอกว่าการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งเอา Area base และทุกหน่วยงานมาบริหารจัดการ แชร์ทั้งคน แชร์ทั้งงบประมาณ แชร์ทั้งอำนาจอยู่ในพื้นที่ และเอามาดูตัวชี้วัด สิ่งเหล่านี้ ต่างหากครับที่จะทำให้ความเข้าใจของสังคม แล้วก็ตัวนโยบาย พ.ร.บ. อากาศสะอาด จะเป็นจริง ขอบคุณมากครับท่านประธาน

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ท่านณพล เชยคำแหง เชิญครับ

นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ กระผม ณพล เชยคำแหง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดหนองบัวลำภู นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน เขต ๓ พรรคเพื่อไทย วันนี้ผมขอ อภิปรายถึงรายงานผลการปฏิบัติงานและการทำงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ หรือที่เราเรียกกันว่า สสส. ประจำปี ๒๕๖๕ หลายท่านพูดกันมา อภิปรายกันมาค่อนข้างจะเยอะแล้ว แล้วก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะหนัก ผมขอเบา ๆ นะครับ ผมอยากจะมองในเรื่องของสุขภาพ สุขภาพที่ดีไม่มีขายครับต้องทำเอง อันนี้ก็คือสิ่งที่ผมคิด อยู่ประจำใจตลอดในเรื่องของการออกกำลังกาย จากสถานการณ์ที่รายงานบอกว่ามีกิจกรรม ทางกายและการออกกำลังกายของประชากรไทยในปี ๒๕๕๕ ถึงปี ๒๕๖๒ มีแนวโน้ม การออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ จนถึงปี ๒๕๖๕ ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาเราพบเจอกับสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ซึ่งก็มีผลกระทบโดยตรง ต่อกิจกรรมในเรื่องของการออกกำลังกาย ทำให้ประชากรไทยตอนนั้นไม่ออกบ้าน เราก็นอนกัน อยู่บ้านจนอ้วนท้วนสมบูรณ์ สุขภาพก็ย่ำแย่กันไป นั่นก็หมายถึงว่าประชากรไทยเรา ออกกำลังกายลดลงเหลือเพียงร้อยละ ๖๒ เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นเอง ซึ่งเราวัดจากตัวเลข ของผู้ออกกำลังกายในปัจจุบันตามงานวิจัยที่รายงานมานะครับ ขณะเดียวกันปัจจุบันนี้ ทุกภาคส่วนเร่งที่จะระดมในการทำงานด้านการสื่อ รณรงค์เผยแพร่ความรู้ในเรื่องของ การออกกำลังกาย และกิจกรรมทางกายให้ฟื้นกลับมาหลังผลกระทบจากโรค COVID-19 ประชากรไทยในรายงานบอกว่ายังมีกิจกรรมเพียงพออยู่ในระดับต่ำในช่วง ๒ ปีล่าสุด ก็คือในปี ๒๕๖๔ กับปี ๒๕๖๕ นั่นก็หมายถึงการออกกำลังกายเราลดลงนะครับ กราฟดิ่งลง สถานการณ์นี้สะท้อนว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องเริ่มเร่งสนับสนุนออกนโยบายกระตุ้นให้ เกิดการออกกำลังกายในพื้นที่มากขึ้น ดูจาก Slide นะครับ

นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ

กราฟในปีที่ผ่านมามันขึ้นตรงตลอด แล้วก็มาถึงปี ๒๕๖๔ มันตกลงอย่างน่าใจหายนี่คือการออกกำลังกาย สสส. ที่เป็นผู้ที่ดูแล ในเรื่องของสุขภาพพลานามัยอยู่แล้วนะครับ ต้องการสร้างเสริมสภาวะสุขภาพทั่วหน้าที่ดี จะมีแนวทางในการสนับสนุนโครงสร้างหรือการส่งเสริมสุขภาพทั่วไปได้อย่างไร แผนสร้างสรรค์โอกาส สร้างเสริมสุขภาวะ ที่จะเปิดรับโครงการสร้างเสริมสุขภาวะทั่วไป แบบ Open Grant ซึ่งเป็นโครงการด้านการพัฒนาและการปฏิบัติที่เปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคล องค์กร และชุมชนทั่วไปของประเทศ สามารถเข้าถึงและรับทุนสนับสนุนไปดำเนินงานด้าน การสร้างเสริมสุขภาพได้อย่างไร ขณะเดียวกันมีหลักฐานบ่งชี้ว่าท่านได้สามารถสร้าง การเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการแก้ปัญหาของพื้นที่ได้เป็นผลดีมาก ภายในระยะเวลาของ โครงการนี้นะครับ โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายที่ สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของพื้นที่ จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทาง สสส. ได้ทำมา มันมีหลายกิจกรรมมากทีเดียวครับ แต่ผมอยากจะขอขมวดมาถึงในด้านการส่งเสริมให้ คนไทยมีสุขภาวะที่ดีอย่างถ้วนหน้าในเรื่องของการออกกำลังกาย ปัจจุบันเราจะเห็นว่า มีเครื่องออกกำลังกายในพื้นที่สวนสาธารณะ หรือลานกีฬาชุมชนเป็นอย่างมาก ดูจากภาพ Slide นะครับ หลายพื้นที่เป็นพื้นที่ที่ได้รับความสนใจมาก เพราะว่าชุมชน ชาวบ้าน ตกเย็นมาก็ออกมารวมกันที่สถานที่นี้ ออกกำลังกายด้วยกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นประจำทุกวัน อันนี้ก็เป็นตัวหนึ่งที่จะส่งเสริมให้เกิดคนรู้สึกอยากออกกำลังกาย ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี แต่มันมีเสียงถามกันมาว่าการจัดซื้อหรือจัดหาอุปกรณ์การออกกำลังกาย เหล่านี้ได้เป็นไปตามมาตรฐานที่ถูกต้องหรือไม่ แล้วถ้าถูกต้องสามารถจะลดต้นทุนลงได้ไหม ชาวบ้านบอกมันแพง แพงไม่เท่าไร แต่คุณภาพไม่ได้มาตรฐานยิ่งทำให้แพงมากขึ้นครับ อันนี้ก็อยากจะฝากให้ท่านลองดูว่าจากกิจกรรมที่ส่งเสริมในแต่ละพื้นที่มีเครื่องออกกำลังกาย เป็นเรื่องที่ดีแล้วนะครับ แต่ว่ามันไม่ค่อยทนเล่นได้แผล็บเดียวมันชำรุด พอรู้ว่าราคาขณะนี้ มันก็เลยมองกลับไปว่า เอ๊ะ มันเป็นเพราะอะไร มันแพง หรือว่ามันไม่ได้มาตรฐานอย่างไร อันนี้ฝากด้วยนะครับ

นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่ง ก็คือผมอยากเสนอว่าให้หน่วยงานของ สสส. ได้จัดทำ ศูนย์ออกกำลังกายที่เป็นแบบมาตรฐาน จะเป็นลักษณะเหมือนกับที่เป็น Fitness มีเครื่องปรับอากาศ มีเครื่องเล่นให้สมบูรณ์ ซึ่งตรงนี้เราจะเทียบเคียงกับสากลประเทศ ที่เป็นมาตรฐานได้ แล้วผมเชื่อว่าในการจัดการเรื่องนี้ ไม่ใช่ไม่น่าจะเกินความสามารถ เป็นศูนย์ออกกำลังกายที่ดีครับ ที่มีเครื่องปรับอากาศ มีเครื่องอำนวยความสะดวกให้แก่ ประชาชน ผมเข้าใจว่าภาษีบาปที่เราเก็บมาเพียงพอครับ แล้วก็เมื่อรัฐดำเนินการมาแล้ว ก็บำรุงรักษาให้สม่ำเสมอ ดูแลให้แข็งแรงตลอดไปให้ใช้ได้นาน ๆ อันนี้ก็อยากจะเป็น ข้อนำเสนอว่าถ้าได้ตรงนี้ประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างสูงครับ รัฐก็จะได้ประโยชน์ เช่นเดียวกัน เราจะร่วมกันในการสร้างเสริมสุขภาพ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีตามวัตถุประสงค์ ของ สสส. ที่ต้องการให้เห็น

นายณพล เชยคำแหง หนองบัวลำภู ต้นฉบับ

สุดท้ายครับ ผมขอให้กำลังใจจากท่านทาง สสส. เพื่อจะให้ท่านได้สานต่อ ภารกิจทั้ง ๓ พลัง สร้างนวัตกรรม สื่อสาร สาธารณสุขอย่างเต็มที่สมกับชื่อหน่วยงาน ของท่าน และขอให้ผลการดำเนินงานของท่านบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายไม่ว่าจะเป็น โครงการต่าง ๆ กับสถานการณ์ที่ต้องเสี่ยงสุขภาพในปัจจุบันนี้ ผมเข้าใจดีว่าเป็นความท้าทาย อย่างยิ่ง แต่ก็ขอให้กำลังใจท่านมาอีกครั้งหนึ่ง ขอบพระคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ไปที่ท่านเอกราช อุดมอำนวย ก่อนนะครับ แล้วก็ตามด้วยท่านขัตติยา สวัสดิผล เชิญท่านเอกราชครับ

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎรที่เคารพนะครับ ผม จอจาน เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ สสส. นี้ตั้งขึ้นในปี ๒๕๔๔ ปีนี้ก็ ๒๐ ขวบแล้วนะครับ ซึ่งตาม พ.ร.บ. กองทุนการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพนี่ ต้นแบบมาจาก ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีความสำเร็จในเรื่องของการดูแลสุขภาวะของพี่น้องประชาชน ๒๐ ปี มีอะไรที่ สสส. สร้างความจดจำบ้าง ผมไป Check ดูนะครับ มีการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใส ซึ่ง ป.ป.ท. ให้ท่าน ๙๓.๖๘ เปอร์เซ็นต์ โฆษณาที่เป็นที่จดจำนะครับ ถูกตั้งคำถามมีอะไรอีก แหล่งทุนขององค์กรต่าง ๆ ผมไปทบทวนย้อนดูว่าถึงเวลาแล้วหรือไม่ ที่เราอาจจะต้องทบทวนพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ผมอยากเสริม ให้กับ สสส. ว่าโครงการของท่านในแต่ละปีส่งเสริมโฟกัสไปในเรื่องของการป้องกันโรค ที่กว้างขวางมากกว่านี้จะมีประสิทธิภาพและตรงจุดในการแก้ปัญหาสุขภาพประชาชนหรือไม่ ผมเห็นในเล่มนี้รายงานของท่านพูดถึงเรื่องของการรณรงค์การป้องกันโรคเกี่ยวกับ NCDs ดูแลความชุกในเรื่องของความดัน เบาหวานให้ลดลง เพราะว่าแน่นอนว่าโรคเหล่านี้ เป็นโรค ที่เป็นระเบิดเวลาที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในสังคมสูงวัย ที่ชุมชนที่ดอนเมืองของผม ที่กรุงเทพฯ มีพี่น้องป่วยกันมากเลยครับ ระเบิดกันตูมตาม เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตบ้าง เพราะว่าโรคเหล่านี้ซึ่งเกิดจากการบริโภคน้ำตาล ฝากหน่วยงาน สสส. ที่ในการลงพื้นที่ ในการเสริมภูมิคุ้มกันทางความคิดด้านสุขภาพ รณรงค์ป้องกันโรคเหล่านี้มากขึ้นโดยเฉพาะ แล้วก็รวม ๆ ทิศทางการดูแลโรคเหล่านี้ย่อมดีกว่าท่านจะไปโฟกัสเฉพาะเรื่องของการดื่มสุรา ยาสูบตามที่ข้อมูลที่ สส. หมิว สิริลภัส ได้อภิปรายไปแล้วผมไม่พูดซ้ำ แต่ผมขอชี้ไปว่า งบประมาณส่วนนี้ที่ท่านนำมาใช้ในกองทุน ๒,๐๐๐ ล้านบาท ให้ Thai PBS ผมยังเห็น ผลลัพธ์ที่จับต้องได้ ยังเห็น TV สาธารณะช่องหนึ่ง เห็นสื่อที่ครอบคลุมเนื้อหา เห็นผลลัพธ์ที่จับต้องเป็นรูปธรรมได้ แต่ ๔,๐๐๐ ล้านบาท เราเห็นอะไรนอกจากโฆษณา ผลงานวิจัยหรือครับ กี่ชิ้น กฎหมายกี่ฉบับหรือครับที่แนะนำ หรือว่าเป็นองค์ความรู้ ผมอยากให้คนจดจำท่านมากกว่าโฆษณาของ สสส. ฝากรัฐบาลใหม่นะครับ ไปทบทวน แผนงานด้านสาธารณสุขด้วยว่าเราอาจจะต้องปฏิรูป สสส. นำเงิน ๔,๐๐๐ ล้านบาท ไปสนับสนุนหน่วยงานหน้าด่านอย่าง อสส. อสม. หรือว่าโรงพยาบาลปฐมภูมิ จะครอบคลุม หรือบูรณาการการทำงานร่วมกันชนิดไหนก็ได้ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพมากกว่านี้ ท่านประธานครับ กองทุนนี้มีใจความสำคัญคืออะไร ก็คือการให้คนไทยมีสุขภาพดี มียุทธศาสตร์ที่เป็นจุดเน้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลดการบริโภคยาสูบ การบริโภคสุราและสิ่งเสพติด การเพิ่มสัดส่วน อาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุล หรือการเพิ่มกิจกรรมการออกกำลังกาย การลดอุบัติเหตุ ในท้องถนน หรือว่าเพิ่มสัดส่วนผู้มีสุขภาพจิตที่ดี และผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม และปัจจัยอื่น ๆ แต่ผมอยากถามท่าน ท่านบุกไปร้านกัญชาบ้างหรือยังครับ ไปทำความเข้าใจ ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผู้ที่ใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคอะไรก็ตามบ้างหรือยังครับ อยากจะเห็นงาน เชิงรุกที่ท่านส่งคน หรือว่าไปทำแนวการป้องกันการเสริมสร้างสุขภาพในมิติอื่น ๆ ด้วย ที่กล่าวมาทั้งหมดผมชื่นชมในแนวคิดตามกฎหมายนี้ แต่ว่ามันเป็นหลักการที่ดี แต่ความจริง บริบทมันเปลี่ยนไป แล้วแต่ละด้านที่ สสส. ส่งเสริม มันอาจจะขัดกับสถานการณ์ปัจจุบัน ของสังคมไทยไปแล้ว หรือมันอาจจะตามหลังไปด้วยซ้ำ มันอาจจะยากที่ สสส. จะดำเนินการ ตามยุทธศาสตร์เหล่านี้ได้ทั้งหมด เพราะมันครอบคลุมหลายด้านมาก กฎหมายก็เปลี่ยนไป บริบทสังคมก็เปลี่ยน ผมอยากเสนอแบบนี้ครับท่านประธานว่าอยากให้ สสส. ไปเน้นในเรื่อง ของการสนับสนุนกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ แต่กลายเป็นว่าตอนนี้สถานการณ์การมี กิจกรรมทางกายของประชาชนคนไทยลดลง หมายถึงว่าการมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการออกกำลังกายทุกกลุ่ม ทุกวัย เด็กไม่ได้พัฒนาการด้านร่างกายที่สมวัย คนชราไม่มีที่ ออกกำลังกาย เป็นต้น เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นส่งผลกระทบเป็น Domino ท่านประธานครับ สุขภาพของพี่น้องประชาชนมันเป็นงบประมาณที่เราต้องจ่ายเพิ่มเติมเพื่อดูแลพวกเขา ตอนเจ็บป่วย จะดีกว่าไหมถ้ารัฐบาลใหม่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้มี การออกกำลังกาย โดยเฉพาะหน่วยงานที่ตั้งมาเฉพาะอย่าง สสส. สนับสนุนไปเลยให้คน ออกกำลังกาย จัดสรรพื้นที่สาธารณะให้เหมาะสม หรือพื้นที่ออกกำลังกายแก่เด็ก เยาวชน ทุกกลุ่ม ผมเสนอ Idea นะครับ อยากให้ท่านนำเม็ดเงินลงไปที่ชุมชน เป็นไปได้ไหมครับ หรือทำคูปองออกกำลังกายสำหรับประชาชน อัดเม็ดเงินไปที่ประชาชน หรือว่าไปเสริม เป็นการเสริมแรงทางบวกในการที่อยากให้ประชาชนออกสุขภาพ หรือด้านการบริโภคก็ได้ นอกจากที่ท่านจะบอกว่าการบริโภคอะไรไม่ดี อาจจะต้องสนับสนุนในเรื่องของการบริโภค ประเภทผัก เพราะว่าคน กทม. ซื้อผักก็แพง เพราะฉะนั้นมันจะต้องมี Model อื่น ๆ ไหม ที่ท่านอาจจะได้ทำงานเรื่องพวกนี้มากขึ้น

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ สสส. มีเป้าหมายในเรื่องของการลดยาสูบ แต่ว่าปัจจุบันอย่างที่ได้ กล่าวไปแล้วว่ากัญชาก็มีปัญหาโดยเฉพาะในสถานศึกษา พวกเขาสามารถเข้าถึงสิ่งนี้ได้ง่าย มีข่าวออกกันทุกวัน คลั่งยาบ้าง ฆ่ายกครัวบ้าง เป็นข่าวที่สลด เห็นฟังกันทุกวัน มันมีหลากหลายรูปแบบนะครับ ก็อาจทำให้เกิดความหวาดระแวงในหมู่พี่น้องประชาชน ในครอบครัว ทำร้ายร่างกายกัน ก็อยากจะให้ท่านเก็บประเด็นนี้ไปดูแลพี่น้องประชาชนด้วย

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

และอีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องของการลดผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ เพราะว่าคนไทยเราเจอกับปัญหาฝุ่นควันซ้ำซากหลายปีติดต่อ กันแล้ว แต่ยังไม่เห็นมาตรการที่ชัดเจนในเรื่องของการจัดการปัญหาเรื่องมลพิษจากภาครัฐ ผมไม่ได้โทษ สสส. นะครับ แต่ผมอยากจะเสนอว่าเรื่องของปัญหาฝุ่น สสส. ดูแล ส่งเสริม ป้องกันภัยได้มากกว่านี้ไหมครับ ช่วยดูแลพี่น้องประชาชนในเรื่องของสุขภาพได้ไหมครับ ท่านประธาน ขออีกนิดหนึ่ง ไม่ยาวเกินนะครับ ประเด็นที่ผมสงสัยมาตลอด เรื่องสุดท้ายก็คือ ผมอยากฝาก สสส. ไปดูระเบียบที่ตั้งหน่วยงานลักษณะพิเศษในปี ๒๕๖๒ ก็คือสถาบัน การเรียนรู้ การสร้างสุขภาพ และศูนย์กิจการสร้างสุข มันนอกวัตถุประสงค์ตามกฎหมาย หรือเปล่า ผมเห็นไปดูแล้วมีการใช้จ่ายในเรื่องของการบริการ เงินเดือนบุคลากร ๕,๐๐๐ กว่าล้านบาท รวมกัน ๒ ด้าน ๘,๐๐๐ กว่าล้านบาท แต่ว่ารู้สึกเหมือนท่านไปขายของ ได้มา ๕,๐๐๐ กว่าล้านบาท บวกไปมามันน่าจะติดลบหรือเปล่าผมไม่แน่ใจ ผมอยากให้เชียร์ อยากให้กำลังใจท่านว่าอยากให้ทำเงินส่วนนี้ในการเลี้ยงองค์กรได้จะได้นำไปใช้จ่าย ในส่วนอื่น อยากจะเห็นทิศทางเรื่องของกิจการสร้างสุขที่ชัดเจนมากขึ้น

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

และสุดท้ายแม้ว่าในมาตรา ๕ มันไม่มีตรงไหนที่ผมไปดูว่าให้ท่านตั้ง หน่วยงานซ้อนหน่วยงาน เพราะว่า สสส. ถูกออกแบบมาให้เป็นหน่วยงานที่พิเศษ และเป็นองค์กรที่คล่องตัว บริหารจัดการต่ำเพื่อให้เม็ดเงินนี้ไปถึงคนทำงานในพื้นที่ใช่ไหมครับ วันนี้อยากให้ท่านลองทบทวนแล้วก็ลองดูว่าในปีถัด ๆ ไปจะมีกิจการหรือว่าหน่วยงานไหน ที่มีประสิทธิภาพ และไม่เป็นภาระของงบประมาณมากกว่านี้ ขอบคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านขัตติยา สวัสดิผล ครับ เชิญครับ

นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ดิฉัน นางสาวขัตติยา สวัสดิผล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อันดับ แรกก็ขอขอบคุณ สสส. ที่พยายามทำรายงานเล่มนี้ออกมาเพื่อที่จะรายงานว่า ในปีงบประมาณที่ผ่านมา สสส. พยายามจะทำอะไรเพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพ ให้ประชาชนคนไทยเพื่อให้มีสุขภาวะที่ดีนะคะ สำหรับรายงานประจำปีฉบับนี้ได้มี การรายงานถึงสถานการณ์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ การบริโภคยาสูบ สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สถานการณ์ความปลอดภัย ทางถนน สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกาย สถานการณ์การบริโภคผักและผลไม้รวมถึง สถานการณ์โรคไม่ติดต่อหรือ NCDs แต่การอภิปรายวันนี้ค่ะดิฉันจะขอหยิบใน ๑ เรื่องมาพูด ก็คือเรื่องสถานการณ์การบริโภคยาสูบค่ะ ขอ Slide ค่ะ

นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

จากกราฟที่เห็นนะคะ สสส. ได้กล่าวถึงสถานการณ์การบริโภคยาสูบเอาไว้ว่าคนไทยมีแนวโน้มการสูบบุหรี่ลดลง โดยไป อิงตัวเลขจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งดิฉันคิดว่า สสส. เองควรจะหาแนวทางในการเก็บ สถิติเป็นของตัวเองไหม เนื่องจากว่าถ้าเราไปอิงกับตัวเลขของสำนักงานสถิติมาก ๆ มันอาจจะไม่มีความแม่นยำค่ะ เพราะจากที่ดูในกราฟนี้นะคะ ถ้าเราเปิดดูในหน้าที่ ๒๒ ของรายงานเล่มนี้ค่ะ สำนักงานสถิติไม่ได้เก็บข้อมูลของอัตราผู้สูบบุหรี่ทุกปี มันเป็นการข้ามปี มันไม่มีความต่อเนื่อง บางทีเว้น ๒ ปี บางทีเว้น ๓ ปี บางทีเว้น ๔ ปี มันไม่มีความแม่นยำ ในข้อมูลค่ะ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าการเก็บสถิติที่หยาบแบบนี้มันไม่ได้แสดงผลลัพธ์ ที่ชัดเจนของผลงานของ สสส. แต่อย่างใด ดิฉันจึงอยากฝากท่านประธานผ่านไปยัง สสส. ว่า ควรจะมีเครื่องมือในการเก็บข้อมูลของตัวเองเพื่อความแม่นยำและไม่คลาดเคลื่อน งบประมาณเยอะขนาดนี้ไม่ยากอยู่แล้วค่ะที่จะสร้างเครื่องมือของตัวเองในการเก็บสถิติ ท่านประธานคะนอกจากรายงานนี้จะแสดงข้อมูลที่ก้าวกระโดดข้ามปีแล้ว สถิติก็แสดงให้เห็น ว่าคนไทยไม่ได้สูบบุหรี่น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใดเลย

นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

จากกราฟหน้า ๒๒ ค่ะ อันนี้อิงตามสำนักงานสถิติแห่งชาติ อันนี้ดิฉันย่อ มาให้ดูแล้ว ปี ๒๕๕๖ มีคนสูบบุหรี่อยู่ ๑๐.๗๗ ล้านคน มาปี ๒๕๖๐ มีคนสูบบุหรี่ ๑๐.๗ ล้านคน คือเลิกไปแค่ ๐.๐๗ มันลดลงจริง แต่มันไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ พอปี ๒๕๖๐ มาปี ๒๕๖๔ ค่ะ จำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลงแต่ก็นิดหน่อย ดังนั้นเท่ากับระยะเวลา เกือบ ๑๐ ปี คือ ๒๕๕๖-๒๕๖๔ คนสูบบุหรี่ลดลงเพียงแค่ ๘๐๐,๐๐๐ กว่าคนเท่านั้นเอง ทาง สสส. อาจจะบอกว่าแต่มันก็ลดสถิติ ปี ๒๕๖๔ มันลดแล้ว แต่ดิฉันอยากจะถามกลับว่า สสส. เคยศึกษาไหมว่าจำนวนที่มันลดลงนี่มันลดลงด้วยสาเหตุอะไร มันลดลงเพราะคนหันไป สูบบุหรี่ไฟฟ้า มันลดลงเพราะว่าสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 มันลดลงเพราะสถานการณ์โควิดมัน ลดลงเพราะเศรษฐกิจ หรือมันลดลงเพราะการรณรงค์ของ สสส. ที่ใช้งบประมาณ อย่างมหาศาลเพื่อ PR อันนี้ทาง สสส. ก็ควรจะชี้แจงให้ชัดเจนนะคะ ท่านประธานคะ นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ ที่เราตั้ง สสส. มาเป็นเวลา ๒๒ ปีแล้ว ดูกราฟในหน้า ๒๔ ได้

นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ขอ Slide ถัดไปค่ะ นักสูบที่เป็นเยาวชนที่มีอายุระหว่าง ๑๕-๑๘ ปี ไม่ได้ลดลงเลย แต่กลับเพิ่มสูงขึ้นเป็นหลายปีติดต่อกันด้วยซ้ำ โดยรายงานเล่มนี้เราบอกว่า จากกลุ่มตัวอย่างเยาวชน ๕,๐๐๐ คน มีเยาวชนใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึง ๑๓.๖ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่า สูงมากเมื่อดิฉันเอาตัวเลขเยาวชนที่สูบบุหรี่มาเทียบกับงบประมาณ สสส. ที่ได้รับไปมันทำให้ เห็นว่ากลุ่มนักสูบที่เป็นรุ่นเยาว์นั้นมันไม่ได้มีจำนวนลดลงแต่อย่างใด ดังนั้นทาง สสส. ควรตั้งเป้าหมายให้จำนวนสูบที่เป็นรุ่นเยาว์นี้ใกล้เคียงที่ ๐ เปอร์เซ็นต์ที่สุดหรือไม่ อันนี้ก็เป็น หน้าที่ของ สสส. และอีกอย่างหนึ่งก็คือควรจะรีบออกกฎหมาย เพื่อเป็นการควบคุมบุหรี่ ไฟฟ้าให้มีมาตรการใกล้เคียงกับการควบคุมบุหรี่มวนให้ได้เร็วที่สุดค่ะ ท่านประธานคะ จากที่อ่านดู ดิฉันคิดว่ารายงานฉบับนี้ค่อนข้างมีอคติกับบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากเขียนว่า เด็กนักเรียนที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนหากเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะมีแนวโน้มไปสูบบุหรี่ธรรมดา เพิ่มขึ้น ๕ เท่า และมีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่ไฟฟ้า และบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้น ๗ เท่า และบอกอีกว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นประตูไปสู่การสูบบุหรี่ธรรมดา คำถามที่ดิฉันจะฝาก ท่านประธานถามไปยัง สสส. ก็คือคุณได้มีการศึกษากลับกันบ้างไหมว่าคนที่เคยสูบบุหรี่จริง แล้วไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วสามารถเลิกบุหรี่ได้มีหรือเปล่า ทาง สสส. ได้มีการทำวิจัยเรื่องนี้บ้าง ไหมเป็นอย่างไรบ้าง ในเล่มนี้ได้กล่าวถึงผลกระทบของการสูบบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพเศรษฐกิจ แล้วก็สังคม โดยบอกว่าจะมีการลงทุนเพื่อที่จะควบคุมการสูบบุหรี่ของคนไทย ให้มีประสิทธิภาพ คือไม่ตาย ไม่ป่วย จะต้องใช้เงินลงทุนเฉลี่ย ๒,๕๐๐ ล้านบาทต่อปี และภายในเวลา ๑๕ ปีจะสามารถช่วยลดคนเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ได้ ๓๕,๐๐๐ คน โดยทุก ๑ บาทที่ลงทุนไปจะได้ผลตอบแทน ๒.๕๓ บาท ซึ่งมันก็ไม่ได้เป็นตัวเลขที่เยอะเท่าไร คำถามของดิฉันคือถ้าจะลงทุนขนาดนี้ใช้เวลา ๑๕ ปี ผลตอบแทนมันควรจะได้เยอะกว่านี้ หรือไม่ ท่านประธานคะ ในรายงาน ๓๐๐ กว่าหน้านี้ของ สสส. ไม่มีการพูดถึงเรื่องสุขภาวะ ทางเพศแต่อย่างใด ซึ่งสุขภาวะทางเพศเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้คนเจ็บป่วย แล้วก็เสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ทุกวันนี้ สสส. เองก็มีการให้งบวิจัยแล้วก็เสวนาเกี่ยวกับ การเข้าถึง ฮอร์โมนสำหรับคนข้ามเพศรวมถึงการให้ยา Prep แต่ดิฉันคิดว่ามันยังขาด การนำเสนอแล้วก็เผยแพร่ให้เป็นที่ทราบโดยทั่วกันของสาธารณะ รวมถึงการให้ข้อมูล เกี่ยวกับการใช้ถ้วยอนามัยหรือการใช้ผ้าอนามัยแบบซัก ซึ่งเราก็มีงานวิจัยอยู่แล้ว แต่เราไม่ได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่ทราบทั่วกันเท่านั้นเอง ดิฉันจึงอยากให้ทาง สสส. เข้ามา ให้ความสำคัญกับสุขภาวะทางเพศได้มากกว่านี้ ท่านประธานคะ วัตถุประสงค์ของ สสส. นั่นคือต้องการที่จะเสริมสร้างสุขภาพให้กับประชาชนทุกคน แต่ที่ผ่านมา ๒๒ ปีค่ะ งบส่วนใหญ่หมดไปกับการทำ PR โฆษณา จัดกิจกรรมรณรงค์ต่าง ๆ Infographic การบริโภคยาสูบก็ไม่ได้มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด ดิฉันจึงตั้งคำถามไปยัง สสส. ว่าทำไม สสส. ถึงไม่เปลี่ยนวิธีการทำงานจากการที่เน้น PR แต่ไปเป็นการป้องกันแล้วก็จูงใจ ให้คนอยากรักสุขภาพ เช่น มีการให้รางวัล ถ้าเกิดคนมีสุขภาพที่ดีขึ้น ดิฉันขอยกตัวอย่างค่ะ บริษัทประกันภัยมีการออกแผนประกันภัยที่ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ โดยเขาจะให้ Load Application แล้วเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สุขภาพ แล้วก็บอกว่าถ้าวันนี้คุณสามารถเดินได้กี่ก้าว คุณจะได้รับคะแนนเท่าไรถ้าวันนี้อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดคุณอยู่ในอัตราเท่าไรคุณจะได้ กี่คะแนน แล้วเขาก็อาจจะมีรางวัลให้ หรือเป็นส่วนลดของเบี้ยประกันภัยในปีถัดไป ดิฉัน ก็เลยคิดว่าการทำกิจกรรมแบบนี้เพื่อเสริมสร้างให้คนรักสุขภาพคงไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรง สสส. ที่จะทำ เพราะว่า สสส. เองก็มีกองทุนของตัวเองอยู่ เคยคิดจะทำแบบนี้บ้างไหมคะ จริง ๆ เอาง่าย ๆ เลยคือคุณแจกเป็น Voucher หรือคุณแจกเป็นตั๋วดูภาพยนตร์ก็ได้ให้กับ คนที่เขาสามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าเขาสุขภาพดีขึ้น ดิฉันคิดว่ามันจะดีกว่าการไปทำ PR โดยที่เปลืองงบประมาณไปโดยใช่เหตุแล้วไม่เห็นผลที่เป็นสาระสำคัญ

นางสาวขัตติยา สวัสดิผล แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

สุดท้ายนี้ค่ะดิฉันให้เวลา สสส. มา ๒๒ ปีแล้วในการทำงาน ในการผลาญ งบประมาณประเทศชาติไป ดิฉันอยากให้ สสส. นับจากนี้ไปยกระดับการทำงานของตัวเอง ควรทำงานที่หลุดออกมาจากกรอบเดิม ๆ ไม่เน้นการ PR ดิฉันหวังว่ารายงานปีต่อไปคงไม่มี การเขียนในรายงานฉบับนี้แล้วใช้แค่คำว่า สถานการณ์มีแนวโน้มลดลง แต่ควรจะใช้คำว่า มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขอบพระคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อีก ๔ ท่านนะครับจะได้เตรียมตัว ท่านแรก ท่านร่มธรรม ขำนุรักษ์ ท่านที่ ๒ ท่านพรรณสิริ กุลนาถศิริ ท่านที่ ๓ ท่านกฤดิทัช แสงธนโยธิน ท่านที่ ๔ ท่านจักรัตน์ พั้วช่วย ๔ ท่าน เชิญท่านร่มธรรม ขำนุรักษ์ ครับ

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

ท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม ร่มธรรม ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้กระผม ขออภิปรายให้ความเห็นต่อรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ หรือ สสส. ท่านประธานครับ สุขภาพของคนไทยถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลและหน่วยงาน ต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้แก่คนไทย ให้ครอบคลุมทุกช่วงวัยและทั่วถึงในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลในการเข้าถึงระบบ สาธารณสุข ท่านประธานครับ เพราะการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงและยั่งยืน จำเป็นต้องมีประชาชนทุกเพศทุกวัยที่มีสุขภาพที่สมบูรณ์พร้อมเป็นส่วนสำคัญในการ ขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า อย่างไรก็ตามปัจจุบันประชาชนคนไทยยังเผชิญปัญหาสุขภาพ อย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่คือโรคมะเร็งทุกชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โรคหลอดเลือด ในสมอง โรคปอดอักเสบ หัวใจขาดเลือด ไปจนถึงอุบัติเหตุบนท้องถนน แต่ละปีในประเทศไทยเรามี ผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งราว ๘๐,๐๐๐ คน โรคหลอดเลือดในสมอง ๓๐,๐๐๐ คน และสำหรับอุบัติเหตุบนท้องถนน ๒๐,๐๐๐ คนต่อปี บางส่วนก็เป็นสาเหตุที่เราสามารถ ควบคุมแก้ไขปัญหาได้ด้วยพฤติกรรม เช่น การงดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดี และดูแลสุขภาพเป็นต้น แต่บางส่วนก็ควบคุมได้ยากเช่นอุบัติเหตุ จากการใช้รถใช้ถนน มลพิษทางอากาศและภัยพิบัติ คำถามของผมที่สำคัญคือเราจะทำ อย่างไรให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นด้วยการรณรงค์และการบังคับใช้ มาตรการป้องกัน ผมจึงคิดว่ากองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือ สสส. เป็นอีก ๑ หน่วยงาน ที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างสุขภาพผ่านการสนับสนุนร่วมมือกับองค์กร เครือข่ายต่าง ๆ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาด้านสุขภาวะของคนไทย ผมจึงขอชื่นชมทาง สสส. ตลอดจนองค์กร เครือข่ายต่าง ๆ ที่ได้ร่วมมือกันในส่วนที่ท่านได้ส่งเสริมให้คนไทย มีสุขภาพ ที่ดีขึ้นอย่างถ้วนหน้าและเป็นรูปธรรมดังที่ปรากฏในรายงานเล่มนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ ความสำคัญในความรู้เรื่องการรณรงค์ เรื่องยาเสพติด แอลกอฮอล์ เรื่องอาหาร เรื่องโรค เรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนน ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งทาง สสส. เอง ก็ได้ให้เกียรติต่อสภา แห่งนี้ในการรายงาน มาตอบข้อชี้แจงและข้อซักถามของสมาชิก แล้วก็ได้มีการปรับตัว มาอย่างต่อเนื่อง ท่านประธานครับ ผมเข้าใจดีว่าการรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดสุขภาพที่ดี เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และลดการบาดเจ็บลดการเสียชีวิตเป็นเรื่องที่ยากที่จะทำให้เกิด ความยั่งยืนได้ อย่างไรก็ตามผมก็มีความคาดหวังจาก สสส. เป็นอย่างมากก็เพราะด้วย เงินกองทุนของท่านมีจำนวนมหาศาลกว่า ๔,๐๐๐ ล้านบาท โดยเงินกองทุน ของ สสส. มาจากภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะที่รัฐจัดเก็บจากผู้ผลิตและนำเข้าสุราและยาสูบ และผมมี ความคาดหวังก็เพราะด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลด้านสุขภาพของ สสส. คือทุกคนในแผ่นดินไทย ต้องมีวิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการมีสุขภาวะที่ดี ท่านประธานครับ แต่ความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้นก็ยังมีผู้เสียชีวิตเพราะโรคต่าง ๆ และอุบัติเหตุจำนวนมาก ในประเด็นที่ทาง สสส. ก็ให้ความสำคัญอยู่แล้วด้วยซ้ำ เช่น เรื่องยาเสพติด แอลกอฮอล์ อาหาร อุบัติเหตุ เป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันผมคิดว่าก็มีความท้าทายต่อสุขภาพ ของประชาชนที่น่ากังวลอีกมากมาย เช่น ปัญหาการใช้กัญชา การใช้กระท่อม มลพิษ ทางอากาศ ปัญหาด้านขยะ ด้านสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ปัญหาสุขภาพจิต ที่ผมคิดว่า ทาง สสส. ควรให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น ท่านประธานครับ การมีอยู่ของกองทุนนี้เป็นเรื่องที่ดี แต่เพื่อให้การดำเนินการดีขึ้นต่อไปจากรายงานนี้ผมจึงมีข้อคำถาม ข้อสังเกต ข้อกังวล และข้อเสนอแนะผ่านท่านประธานไปยังผู้ชี้แจงคือ สสส. เพื่อปรับปรุงการพัฒนาต่อไปดังนี้

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

๑. จากรายงานนี้ระบุว่าปัจจุบันอัตราการสูบบุหรี่ลดลง การจำหน่ายบุหรี่ ภายในประเทศลดลง ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ก็คงเป็นเพราะลดลงจากการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน เด็กนักเรียนใช้ยาสูบเพิ่มขึ้น ประชาชนหันไปสูบอย่างอื่นมากขึ้น เช่น บุหรี่ ไฟฟ้า IQOS หรือก็มีบุหรี่เถื่อนอีกมากมายเช่นกันในปัจจุบันที่รัฐไม่สามารถแก้ไขปัญหา หรือจัดเก็บภาษีได้ในขณะนี้ ผมคิดว่าเราควรมีการพิจารณาถึงประเด็นนี้อย่างจริงจังนะครับ จึงอยากสอบถามปัญหาดังกล่าวไปยัง สสส. ว่าเราจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อลดผลกระทบในมิติด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมต่อไป

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

๒. ข้อมูลจากเล่มนี้บอกว่าการบริโภคแอลกอฮอล์ในประเทศมีแนวโน้มคงที่ และลดลง แต่ทำไมการเสียชีวิตถึงยังเพิ่มยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเสียชีวิตจากการดื่ม เช่น โรคมะเร็งตับ เส้นเลือดในสมองแตก ตับแข็ง และประเด็นนี้ขอถามคำถามทาง สสส. ว่าจะมี แนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างไรต่อไปครับ

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

๓. ผมขอเสนอแนะให้ทาง สสส. ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม มากยิ่งขึ้น เพราะถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของพี่น้องประชาชนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมลพิษทางอากาศที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคนต่อปี และคนไทย จำนวนมากกว่า ๓๘ ล้านคน อยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงเกินมาตรฐานนะครับ นอกจากนี้ผมขอให้ทาง สสส. ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของปัญหาขยะของเสีย การเผาขยะ มลพิษภายในครัวเรือนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพี่น้องประชาชน และผมคิดว่า ในประเด็นนี้ควรมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ และองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ และควรให้มีการนำเสนอกฎหมายหรือนโยบายที่ช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ จากสิ่งแวดล้อม

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

๔. ด้านอุบัติอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสาเหตุการตาย ที่สูงที่สุดเพียงหนึ่งเดียวที่ไม่ได้เกิดจากปัญหาด้านสุขภาพ มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุการใช้รถ ใช้ถนนราว ๒๐,๐๐๐ คนต่อปี ขอให้ทาง สสส. ให้ความสำคัญกับการป้องกันการเกิด อุบัติเหตุเหล่านี้ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนด การเมาแล้วขับ การไม่เคารพกฎจราจร และไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย เป็นต้น ใกล้จบแล้วครับท่านประธาน ขออนุญาตอีกสักครู่นะครับ

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

๕. ขอให้ทาง สสส. ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นความท้าทายด้านสุขภาพ อื่น ๆ ในปัจจุบัน เช่น การบริโภคกระท่อม กัญชา บุหรี่ไฟฟ้า ปัญหา Office Syndrome ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียด เป็นต้น ท่านประธานครับ ไม่ได้มีผู้เสียชีวิตจากปัญหา เหล่านี้มาก แต่ก็ถือเป็นปัญหาใหญ่ด้านสุขภาพเช่นกันนะครับ แล้วก็ขอให้ สสส. พิจารณา ปรับปรุงเพิ่มเติมเป้าหมายประสงค์หลัก และพิจารณาปรับปรุงการกำหนดเป้าหมาย เชิงยุทธศาสตร์ภายใต้ทิศทางและเป้าหมาย ๑๐ ปีต่อไป เพื่อที่จะส่งเสริมสุขภาพคนไทย ให้สอดรับกับประเด็นท้าทายเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ของประเทศไทยต่อไปครับ

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ พัทลุง ต้นฉบับ

สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณคณะผู้ชี้แจงก็คือ สสส. ในการมาร่วมชี้แจง ตอบข้อซักถามและหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สสส. จะเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุน ส่งเสริม สร้างเสริมสุขภาวะให้คนไทยและสังคมมีสุขภาพที่ดีขึ้นต่อไป สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของท่าน ก็คือทุกคนบนแผ่นดินไทยต้องมีวิถีชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนต่อการมีสุขภาวะ ที่ดีต่อไป การมีอยู่ของกองทุนนี้เป็นเรื่องที่ดีครับ ในวันที่ประชาชนมองถึงหน่วยงาน หรือกองทุนที่ช่วยสร้างเสริมสุขภาพ ลดอัตราการบาดเจ็บ ป่วย การเสียชีวิต และกระตุ้น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนควรจะนึกถึง สสส. ผมจึงขอฝากข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเหล่านี้ผ่านท่านประธาน ไปยัง สสส. เพื่อปรับปรุงการพัฒนาต่อไป เพื่อสุขภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชนคนไทย ต่อไป ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านพรรณสิริ กุลนาถศิริ เชิญครับ

นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพค่ะ ดิฉัน นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย พรรคเพื่อไทย ในวาระรายงานประจำปี ๒๕๖๕ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ดิฉันมีข้อคิดเห็น ใน ๒ ส่วน ส่วนแรก ในเรื่องของผลงานเชิงนวัตกรรม และในส่วนที่ ๒ เรื่องของงบประมาณ และการประเมินผล ก่อนอื่นก็ชื่นชมในส่วน การบริหารของ สสส. ที่สร้างศักยภาพแล้วก็ผลงานอย่างต่อเนื่องตลอดมา แต่อย่างไรก็ตาม ในรายงานนั้นได้ให้สถานการณ์ข้อมูลไว้ว่าขณะนี้คนไทยมีสัดส่วนผู้ดื่มแอลกอฮอล์คงที่ และลดลงเล็กน้อย เสียชีวิตบนท้องถนนลดลงค่ะ มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอก็ลดลงอีกค่ะ การบริโภคผักและผลไม้ลดลง และที่สำคัญยิ่งร้อยละของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากโรคไม่ติดต่อ NCDs สูงกว่าค่าเฉลี่ยขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ ๗๑ แต่ของคนไทยอยู่ที่ร้อยละ ๗๔ ในประเด็นปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเดิม ๆ ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ สุรา พฤติกรรมการบริโภค กิจกรรมทางกาย การเรียนรู้สุขภาวะดูจะดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมต่าง ๆ ที่มีขึ้น สถิติของโรคภัยไข้เจ็บของคนไทยก็ยังสูงอยู่ เป็นปัญหาในด้าน งบประมาณของสาธารณสุขอยู่มาก ขอ Slide นะคะ

นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ

ในเรื่องนี้ก็ขอฝากการทำงานที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่อง และตั้งอกตั้งใจของ สสส. เป็นประเด็นโจทย์วิจัยไปสัก ๑ โจทย์ ทำอย่างไร เราจึงจะค้นหาสาเหตุปัจจัยเชิงลึก หรือการปรับกระบวนการทำงานอย่างไร ที่จะได้ ประโยชน์สูง ประหยัดที่สุด ท่านก็ลดอัตรากำลังการทำงาน เหนื่อยน้อยลง ใช้งบประมาณ น้อยลง แต่ได้ผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น ดิฉันคิดว่าจะนำไปสู่การเสริมสร้างสุขภาวะที่ให้ประโยชน์ กับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วก็บรรลุเป้าหมายมากยิ่งขึ้นค่ะ อย่างไรก็ตาม ความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องตลอดมาของ สสส. โดยเฉพาะในปี ๒๕๖๕ ที่มีประเด็นสำคัญว่า ต้องการมุ่งเน้นการสานพลัง สร้างนวัตกรรม สื่อสารสุข ในปีนี้มีคำว่า สร้างนวัตกรรม เพิ่มมาจากปีก่อน ๆ ๔-๕ ปีดิฉันติดตามงานของ สสส. มาตลอด ดิฉันขอสะท้อนไปที่ผลงาน เด่น ๕ เรื่อง ผลงานเด่นทั้ง ๕ เรื่องนั้น

นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ

ในเรื่องแรก สารเสพติด ที่เรามุ่งมองไปที่ปัญหาของบุหรี่แล้วก็สุรา ดิฉัน ก็อยากจะเสริมเติมเต็มไปในส่วนของ Amphetamine ในเรื่องของยาบ้าและสิ่งเสพติดอื่น ๆ ว่ากระบวนการของ สสส. จะช่วยผลักดันให้สังคมปลอดในเรื่องนี้มากขึ้นได้อย่างไร

นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ

ในส่วนที่ ๒ เรื่องเด่นเรื่องที่ ๒ ในเรื่องของทักษะเด็กปฐมวัย อันนี้ก็คิดว่า ควรจะบูรณาการในเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเรื่องของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะหานวัตกรรม ที่จะลดภาระงานของท่านลงไปค่ะ

นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ

ในส่วนที่ ๓ ทราบว่าเป็นนวัตกรรมฟื้นฟูจิตใจที่ท่านไปร่วมกับกรมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิตค่อนข้างที่จะทำงานแล้วก็บรรลุวัตถุประสงค์ได้ดีอยู่แล้ว และ สปสช. เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณเพิ่มอีก ๕๐ บาท ตรงนี้ก็คิดว่าเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทาง สสส. เข้าไปเชื่อมโยงและบูรณาการได้ค่ะ

นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ

ในเรื่องของการสร้างทางม้าลายให้ปลอดภัย คิดว่าควรจะบูรณาการกับกองทุน เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ซึ่งก็มีทั้งงบประมาณ แล้วก็กำลังในการทำงานอยู่ เพื่อลดภาระงานบางส่วนที่ซ้ำซ้อนกันค่ะ

นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ

ที่สำคัญยิ่งนวัตกรรมจากผลงานเด่น จาก Slide ที่ ๒ ผลงานเด่นในประการที่ ๕ การสร้างสังคมสุขภาวะปลอดภัย เท่าเทียม และเป็นสุข ในประเด็นที่ ๕ ดิฉันชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง ที่ท่านได้ใช้โครงสร้างกลไกเชิงพื้นที่ในรูปแบบของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ อำเภอ พชอ. ซึ่งเริ่มทำงานตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ ตอนนี้ทำได้ครบ ๘๗๘ อำเภอ ดำเนินโครงการถึง ๓,๑๓๒ โครงการ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันโรคระบาดการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ ดิฉันขอชื่นชมไปในส่วนของการจัดการสิ่งแวดล้อมในเรื่องของการจัดการ ขยะ ดิฉันเห็นโครงสร้างนี้ที่จังหวัดสุโขทัยทำได้ดีมากทุกอำเภอค่ะ

นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ

ในส่วนของอาหารปลอดภัย การเกษตร และเรื่องของชีวภาพ จากเป้าหมาย ที่บอกว่าคนไทยยังบริโภคในเรื่องของผัก ผลไม้ลดลง ก็คิดว่าทาง พชอ. ถ้าได้โจทย์ที่ชัดตรง ก็คงจะไปขับเคลื่อนการทำงานให้ สสส. ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะ พชอ. ดูแลผู้คนถึง ๑๐ กว่าล้านคนค่ะ

นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ

ในด้านผลงานตามเป้าประสงค์ ทั้ง ๖ ประเด็นใน Slide ที่ ๓ ทุกเป้าประสงค์ ดีมากค่ะ มีกิจกรรมและโครงการเกิดขึ้นมากมาย แต่ดิฉันก็มีข้อสังเกตในเป้าประสงค์แรกค่ะ ในเรื่องของปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ โดยเฉพาะในเรื่องของกิจกรรมทางกาย เรื่องของ โรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ พฤติกรรมเนือยนิ่งที่ปรากฏในเอกสารหน้า ๑๕๙-๑๖๒ รวมทั้ง แผนอาหารเพื่อสุขภาวะลดหวาน มัน เค็ม ไม่ว่าเราจะใช้กระบวนการภาษีกับเรื่องของ น้ำตาลและในเรื่องของเกลือโซเดียม ดิฉันก็ขอฝากว่าขอให้ระมัดระวังการที่จะไปมี ผลกระทบต่อผู้ประกอบการในเรื่องของอ้อยและผลิตภัณฑ์ในเรื่องของน้ำตาล แต่จากเอกสารของ สสส. ก็ชื่นใจว่าไปควบคุมที่ในเรื่องของการผลิต ในเรื่องของอาหาร ในเรื่องของผู้ประกอบการ ๔ ปี สามารถลดภาวะโรคอ้วน แล้วก็รับประทานเค็มมากเกินไป ได้หรือร้อยละ ๓๕ ตรงนี้ก็ขอชื่นชมนวัตกรรมตรงนี้เป็นอย่างยิ่งค่ะ

นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ

ในส่วนของงบประมาณและการประเมินผล พบว่าการบริหารงบประมาณ อยู่ที่การสนับสนุนโครงการ ๓,๖๐๔.๑๖ ล้านบาท ร้อยละ ๙๐.๓๑ และในส่วนของการ บริหารสำนักงานอยู่ที่ร้อยละ ๙.๖๙ มีการกระจายงบประมาณไปยังโครงการใหม่ ถึง ๒,๔๔๒ โครงการ เป็นโครงการเดิมแค่เพียง ๕๒๔ โครงการ ก็ขอเรียนไปยัง สสส. ว่าโครงการเดิมที่ทำไปแล้วนั้นยังคงวัตถุประสงค์เดิม ยังมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ ไม่อยากจะให้ทอดทิ้งกับผลผลิตที่ได้ลงงบประมาณไปแล้วค่ะ ก็ขอชื่นชมในส่วนที่มี การบริหารอย่างบูรณาการมากขึ้น

นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สุโขทัย ต้นฉบับ

อีก ๑ ประเด็น ขอชื่นชมไปในส่วนข้อคำนึงถึง สสส. ที่ระบุไว้ว่าก็ห่วง ผู้ประกอบการในกรณีเรื่องของยาสูบ ในเรื่องของสุราที่มีกฎหมายใหม่ ๆ มาเยอะแยะ มากมาย อย่างไรก็ตามฝาก สสส. เป็นสื่อกลางสำหรับการออกกฎหมายและภาคปฏิบัติ ที่จะทำให้ประชาชนสามารถที่จะยังคงสภาวะหรือใช้กระบวนทางกฎหมาย โดยไม่ผิดระเบียบ ไม่ผิดกติกา ไม่ผิดกฎหลักการทั้งหลาย ก็ขอเรียนด้วยความชื่นชมเป็นเบื้องต้นและคิดว่า ในปีต่อไปจะเห็นผลงานดี ๆ ของ สสส. อีกต่อไป ขอบคุณมากค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านกฤดิทัช แสงธนโยธิน เชิญครับ

นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ผม กฤดิทัช แสงธนโยธิน สส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคใหม่ ก่อนอื่นก็ต้องขอชื่นชม สสส. ที่ได้ทำรายงานฉบับนี้ขึ้นมา ที่ผมดูคร่าว ๆ ในรายงานของท่านงบประมาณที่ท่านได้รับ การจัดสรรปีที่ผ่านมา จัดสรรให้แก่กองทุนนี้มาประมาณ ๔,๕๐๐ ล้านบาท ทั้ง ๒ ส่วน รวมแล้วเงินที่ได้มาถามว่ามากมายมหาศาลไหม มากมายครับ แต่ผลงานในการที่ท่าน ได้ดำเนินการรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องของการบริโภคยาสูบหรือการบริโภคสุรา ซึ่งเป็นเงินส่วนหนึ่ง ที่เป็นการจัดสรรเข้ามาให้กับกองทุน ทีนี้ถามว่าวันนี้เท่าที่ผมดูรายงานที่ท่านบอกว่าในเรื่องของ การบริโภคบุหรี่ลดลงอันนี้ แต่ไปเพิ่มตรงที่ว่ามันจะไปมีในส่วนของการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงนี้ในกลุ่มเป้าหมายที่มันชัดเจนขึ้นมาก็คือว่า เยาวชนที่มีการหันกลับมาสูบบุหรี่ไฟฟ้า ถามว่าตรงจุดนี้ทาง สสส. เองได้มีแผนการในการที่จะทำอย่างไรที่จะหยุดยั้งการบริโภค บุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชน ซึ่งมันอาจจะส่งผลกระทบในระยะยาวว่าอาจจะส่งผลในเรื่อง ของสุขภาพ รวมทั้งสุรา ถามว่าสุราที่รายงานมา เท่าที่ผมดูผมเจาะจง ๒ รายการนี้เพราะว่า เป็นเงินที่อุดหนุนกองทุน สุราก็เหมือนกันถามว่าปัจจุบันการดื่มหรือการบริโภคสุรา ลดลงหรือไม่ ถ้าดูจากตรงนี้ถามว่ามันก็มีสัดส่วนที่คงที่ แล้วก็ที่สำคัญคือในการบริโภคสุรา ถ้าสิ่งหนึ่งที่บอกว่ามันลดอุบัติเหตุอะไรต่าง ๆ เท่าที่ผมดูรายงานที่ท่านบอกว่ามันมีการลด ผมไม่แน่ใจว่าลดจริงไหม การลดอุบัติเหตุจากการบริโภคสุรามันเป็นผลทำให้การเกิด อุบัติเหตุลดลงจริงหรือไม่ ผมไม่แน่ใจว่าตัวเลขที่ที่ท่านบอกว่าลดลดจริงหรือไม่ตรงนี้ต้องให้ ไปดูรายละเอียดมานิดหนึ่ง

นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ส่วนเรื่องอื่น ๆ ในเรื่องแผนงานยุทธศาสตร์อะไรต่าง ๆ ที่ท่านทำมาถือว่าดีมาก แต่ว่ามันจะดีอย่างที่ท่านรายงานมาหรือไม่มันยังจับต้องไม่ได้เสียทีเดียว เพราะฉะนั้น ก็ฝากท่านไปดูตรงนี้มา แต่สิ่งที่ผมใส่ใจมากที่สุดก็คือดูเรื่องงบประมาณ งบประมาณ ที่ทางท่านได้ทำรายงานของงบการเงินในปีที่ผ่านมาว่าที่ได้รับไปแล้วมีการใช้จ่าย อะไรต่าง ๆ มา ผมจะเจาะจงไปที่ตัวเลขในเรื่องของงบค่าบุคลากรนะครับ ค่าบุคลากร นี่ก็เยอะใช้จ่ายไปมากพอสมควร เดี๋ยวผมขออนุญาตดูหมายเหตุนิดหนึ่ง ในส่วนของหมายเหตุ ที่บอกว่าเป็นเงินใช้จ่ายด้านบุคลากร หมายเหตุข้อ ๒๘ เงินเดือนของกองทุนก็ถ้าดูนี่ ก็ประมาณ ๒๐๐ ล้านบาทโดยประมาณมีการจ่ายอะไร อย่างไรไปบ้างนี่ผมว่ามันก็เยอะ พอสมควร ค่าตอบแทนต่าง ๆ อันนี้ผมก็อยากจะให้ท่านไปดูว่างบประมาณตรงนี้ มันสมเหตุสมผลหรือไม่ลองไปดู บุคลากรเพียงพอหรือไม่ หรือมันน้อยไป หรือมันมากไปนะครับ เพราะว่าดูแล้วงบรายจ่ายนี่ค่อนข้างสูง ๒๐๐ ล้านบาท

นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ในส่วนของย้อนกลับมาหมายเหตุ ข้อ ๒๖ ค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการ ตรงนี้ผมมานั่งไล่ดูแล้วมันมีค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการในหมายเหตุ ข้อ ๒๖ มีค่าใช้จ่าย ในการฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการเดินทางค่อนข้างเยอะประมาณ ๖ ล้านบาท ค่าใช้จ่าย ในการประชุมผมไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายการประชุมอะไรตั้ง ๓๕ ล้านบาท ค่าประชาสัมพันธ์ งบประชาสัมพันธ์ ๖๓ ล้านบาท อันนี้ถามว่าจากผลงานที่ท่านทำมาผมไม่รู้ว่า งบประชาสัมพันธ์นี่มันมากไปหรือน้อยไป แต่สิ่งสำคัญสิ่งที่มันสื่อออกมานี่ผมมองว่า มันยังไม่คุ้มค่ากับเงินที่ได้จ่ายไปในการใช้งบประชาสัมพันธ์แล้วก็งบการประชุมอะไรต่าง ๆ เห็นมันค่อนข้างเยอะนะครับ โครงการที่ท่านจัดประชุมและมีการสัมมนาหรืออะไร ก็แล้วแต่ทำไมใช้งบไปขนาดนี้ แล้วผลลัพธ์ที่ได้มานี่มันเป็นอย่างไรให้ท่านชี้แจงหน่อย ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเรื่องของงบประชุมแล้วก็ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประเด็นต่อมา ในเรื่องของเงินฝาก แต่ตรงนี้ไม่น่าติดใจ มันมีการใช้เงินไม่หมด ก็มีเงินฝากประจำอยู่ ตรงนี้ก็ถือเขาเรียกว่าเป็นผลพลอยได้มีดอกเบี้ยอะไรต่าง ๆ ก็ไม่ได้ มีปัญหาอะไรนะครับ ส่วนเงินอุดหนุนก็ใช้จ่ายไม่ครบก็คืนมาอันนี้ก็ไม่มีอะไร

นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะสอบถามก็คือว่าในเรื่องของหมายเหตุข้อ ๑๙ หนี้สิน ที่อาจเกิดขึ้นมีการฟ้องร้องทั้งหมดที่ผมดูในนี้มีทั้งหมด ๔ คดี ในแต่ละคดีมีทาง สสส. เอง เป็นลูกหนี้อยู่มีชนะแค่คดีน่าจะเป็นคดีแรกที่ท่านชนะ ส่วนที่เหลือนี่ยังอยู่ในระหว่าง การดำเนินการอยู่ ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าทำไมทาง สสส. ถึงปล่อยให้มีการทำโครงการขึ้นมา แล้วมีการฟ้องร้อง ฟ้องต่อศาลปกครองทั้ง ๔ คดี แล้วก็มีผลในทางคดี ท่านอาจจะต้องเป็น ผู้ชำระค่าเสียหายตามคำสั่งของศาลปกครอง คำพิพากษาของศาลปกครองทั้ง ๓ คดี รู้สึกจะมีคดีเดียวที่ทาง สสส. มีโอกาสจะชนะคดี

นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ย้อนกลับมาในเรื่องของยุทธศาสตร์หรือวัตถุประสงค์ของท่านนะครับ การจัดทำโครงการต่าง ๆ ในสิ่งต่าง ๆ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีในปีที่ผ่านมา แต่สิ่งสำคัญวันนี้ เรามีหลายอย่างที่เราจะต้องคำนึงถึงในเรื่องสุขภาพของพี่น้องประชาชน ในเรื่องการบริโภค การสูบบุหรี่ ในเรื่องของสุรา และที่สำคัญมีเรื่องของการสนับสนุนให้มีการบริโภคผัก อะไรต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาพของพี่น้องประชาชน ตรงนี้ผมมองว่ามันเป็นเรื่องที่ดี เพราะมันจะทำให้สุขภาพของพี่น้องประชาชนดี และที่สำคัญคือเรื่องของการปฐมวัย ผมมาดูคร่าว ๆ ท่านได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการปลูกฝังค่านิยมหรืออะไรต่าง ๆ เกี่ยวกับเด็กที่เป็นช่วงปฐมวัย อย่างไรก็ฝากเข้าไปโฆษณาประชาสัมพันธ์ในส่วนของโรงเรียน เพื่อให้เด็กปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องและเป็นสิ่งที่ดีงาม ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านจักรัตน์ พั้วช่วย เชิญครับ

นายจักรัตน์ พั้วช่วย เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพรัก อย่างสูง ผม จักรัตน์ พั้วช่วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ สส. คนไทหล่ม ก่อนอื่นต้องขอให้กำลังใจบุคลากรของ สสส. ที่ท่านมีความตั้งใจที่จะทำให้คนไทยมีสุขภาพดี ถ้วนหน้าตามพันธกิจของท่าน ของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คือส่งเสริม ให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีอย่างถ้วนหน้า วันนี้ผมมี ๒-๓ คำถามนะครับ

นายจักรัตน์ พั้วช่วย เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ

จากรายงานที่ท่านเสนอต่อสภานี้ก็คือหน้า ๑๒ สถานการณ์ปัจจัยเสี่ยง ทางสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคยาสูบ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แล้วก็ ความปลอดภัยทางถนน ด้วยเวลาอันจำกัดผมขอโฟกัสไปที่เรื่องของการบริโภคยาสูบ ที่ผ่านมามีข้อสงสัยว่าการสูบบุหรี่ในประเทศไทยแทบจะไม่ลดลง โดยดูจากรายงานของท่าน ที่เสนอจากสภานี้ละครับ ก็คือหน้า ๒๒ ก็คือในปี ๒๕๕๖ มีผู้สูบบุหรี่ ๑๐.๗๗ ล้านคน ผ่านมา ปี ๒๕๖๔ มีคนไทยสูบบุหรี่ ๙.๙ ล้านคน เกือบ ๑๐ ปีผู้สูบบุหรี่ลดลงไปไม่ถึง ๓ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่แน่ใจว่าท่านได้นับรวมกับจำนวนผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าด้วยหรือเปล่า เพราะว่าผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลในปัจจุบัน อีกทั้งนโยบายต่าง ๆ ยังส่งผลกระทบกับชาวไร่ยาสูบทั่วประเทศ แบบนี้ทาง สสส. ถือว่าแผนการรณรงค์ เพื่อการไม่สูบบุหรี่ของท่านสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ และอยากให้ สสส. ทบทวนแนวทาง การรณรงค์เรื่องการไม่สูบบุหรี่ที่ไม่สุดโต่งจนเกินไป นี่เป็นคำถามแรกที่ถามไป

นายจักรัตน์ พั้วช่วย เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ

ส่วนคำถามที่ ๒ ก็คือนโยบายเรื่องการขึ้นภาษีบุหรี่ ที่ สสส. สนับสนุนถือว่า ท่านล้มเหลวหรือไม่ เพราะว่าภาษีสรรพสามิตยาสูบ ปี ๒๕๖๐ ที่มีการบังคับใช้ทำให้ อุตสาหกรรมยาสูบหดตัวลงอย่างมาก ผลก็คือรัฐบาลเก็บรายได้ภาษียาสูบลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี ๒๕๖๐ ที่เก็บได้ ๖.๘ หมื่นล้านบาท เหลือเพียง ๕.๙ หมื่นล้านบาทในปี ๒๕๖๕ ซึ่งผลกระทบต่อเนื่องในเรื่องการขึ้นภาษีนี้ยังส่งผลให้บุหรี่เถื่อนที่เพิ่มขึ้นจาก ๓ เปอร์เซ็นต์ ในปี ๒๕๖๐ เป็น ๒๕ เปอร์เซ็นต์ในปี ๒๕๖๖ ซึ่งทำให้รายได้ทางภาษีของรัฐลดลง รวมทั้ง สร้างความเดือดร้อนให้กับร้านค้า รวมทั้งชาวไร่ใบยาสูบทั่วประเทศ

นายจักรัตน์ พั้วช่วย เพชรบูรณ์ ต้นฉบับ

ต่อไปมาดูงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ของ สสส. ที่ได้รับ เงินงบประมาณจากเงินบำรุงกองทุนจำนวน ๔,๐๐๐ กว่าล้านบาท จากรายงาน หน้า ๓๐๕ ซึ่งก็ถือว่าเงินที่ได้จากภาษีบาปจากเหล้าและบุหรี่ ๒ เปอร์เซ็นต์ ส่วนหนึ่งของเงินที่ได้มาจากยาสูบ ซึ่งที่ผ่านมานโยบายต่าง ๆ สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวไร่ใบยาสูบเป็นอย่างมาก โดยไม่ได้รับ ความช่วยเหลือจาก สสส. เลย จึงอยากเสนออันนี้เป็นข้อเสนอนะครับ ให้มีการแบ่ง งบประมาณจากกองทุน สสส. ซึ่งเป็นเงินที่ยาสูบและกรมสรรพสามิตเก็บส่งภาษี ให้กับรัฐบาลเป็นหลัก ๑,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี โดยมีการแบ่งงบประมาณมาดูแลชาวไร่ยาสูบ และยาเส้นทั่วประเทศให้เป็นรูปธรรม เช่น การสนับสนุนการศึกษาให้กับลูกหลานชาวไร่ ใบยาสูบ หรือว่าสนับสนุนเงินในเรื่องของการปลูกพืชทางเลือก เพราะอย่าลืมนะครับ ชาวไร่ใบยาสูบเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากนโยบาย ลด ละ เลิก ของท่านนะครับ อย่างน้อยที่สุด สสส. ควรที่จะดูแลคนกลุ่มนี้เพราะว่าได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ เป็นเรื่องใหญ่ ก็มี ๒-๓ คำถามเท่านี้ที่ฝาก สสส. ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปอีก ๓ ท่าน ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู ท่านที่ ๒ ท่านสิริน สงวนสิน ท่านที่ ๓ ท่านพชร จันทรรวงทอง เชิญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู เชิญครับ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวิทย์ บารู ปัตตานี ต้นฉบับ

ขอบคุณท่านประธานครับ ผม อาจารย์วรวิทย์ บารู เขต ๑ ปัตตานี พรรคประชาชาติ ในฐานะที่เคยทำงานที่เป็น คณะกรรมการอยู่คณะหนึ่งของ สสส. แล้วก็ส่วนใหญ่ก็จะเน้นตรงที่ปลายด้ามขวาน คือเขตแดน จังหวัดชายแดนใต้ ก็ชื่นชมในความพยายามของ สสส. ในการที่จะลดเลิกบุหรี่ที่ทางโน้น ซึ่งมันก็ไม่ง่ายนักต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ในทาง ๓ จังหวัดใต้ สสส. ใช้กระบวนการ ที่ใช้ระบบของทางด้านศาสนา เพราะว่าได้ไปทำงานร่วมกับทางผู้นำศาสนา สถาบันการศึกษา ตามจารีตก็ได้ผลตามสมควร พอโควิดมาผมก็ไม่ทราบว่ากิจการที่ทำอยู่เพราะเจอในนี้ออกมา ในภาพรวม ในช่วงหนึ่งของ สสส. รณรงค์ในการไม่ให้คนสูบบุหรี่ เลิกสูบบุหรี่นี่นะครับ ผมถือได้สำเร็จในขั้นที่ค่อนข้างจะดีมาก คือสามารถเอา Poster ข้อความเขตพื้นที่ห้ามสูบ บุหรี่เข้าสู่พื้นที่มัสยิดต่าง ๆ ผมเคยพูดตลอดนะครับว่า การที่นำเข้าไปสู่สถาบันเหล่านั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่อย่างไรก็ตามในความสำเร็จนั้นก็มีอีกหลายส่วน เพราะมันเป็น ข้อความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องของศาสนา ส่วนหนึ่งที่ถือว่าบุหรี่เป็นของต้องห้ามที่เรียกว่า ฮะรอม เขาก็ไม่ต้องมีปัญหาอะไรแล้ว แต่ในอีกส่วนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นการศึกษา ตามจารีต ผมเป็นห่วงในขณะนี้ถ้าเราดูแล้วเยาวชนถ้าหากว่า ๒๕-๔๐ ปี มีแนวโน้มลดลง แต่ว่าในส่วนของก่อนหน้านั้นจากช่วง ๑๕-๒๕ ปีไม่แน่ใจว่าที่ตรงนี้ผลมันเป็นอย่างไร เพราะว่าหลายส่วนนักศึกษาที่เรียนตามระบบของการศึกษาตามจารีตถ้าดูแล้วเกือบจะ ทุกคนที่ยังสูบบุหรี่ เพราะในทางโน้นนอกจากบุหรี่ธรรมดาแล้วที่โดยทั่ว ๆ ไปเขาไม่ค่อยนิยมกัน แต่นิยมในลักษณะบุหรี่ที่เป็นยาเส้นกับใบจาก แล้วเป็นที่แพร่หลายกันมาก เพราะฉะนั้น ในทาง สสส. ได้เก็บข้อมูลมาผมไม่ได้ดูนะครับว่าสถานการณ์ในทางจังหวัดชายแดนใต้ แต่หลายโครงการที่มีประโยชน์มากที่สามารถบังเกิดผลได้ อย่างเช่นว่า เลิกบุหรี่ครอบครัวละ ๑ คน โดยผ่านลูก ลูกภายในครอบครัว โดยทาง สสส. ได้ทำงานร่วมกับทาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี ได้ไปดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ก็ได้ผลมากนะครับ ไม่ทราบว่าขณะนี้โครงการเช่นนั้นเดินอีกหรือไม่ เพราะว่าตั้งแต่โควิดมาผมก็ไม่ทราบแล้ว ไม่ได้อยู่ในคณะกรรมการชุดนี้แล้ว อย่างไรก็ตามถ้าเราดูในหน้า ๒๖ ก็บอกว่าแนวโน้มของ ยอดจำหน่ายบุหรี่ที่มีความต่อเนื่องที่ส่งผลว่าจะลดลง ผมไม่แน่ใจในทางใต้มันเป็นแหล่งหนึ่ง ของบุหรี่เถื่อน เป็นอาชีพที่มันสามารถสร้างรายได้กันมาก ถึงแม้ว่าจะมีการจับอะไรต่าง ๆ นี่นะครับ เพราะฉะนั้นบุหรี่ที่ถ้าเราดูที่ตรงนี้ลดลง อัตราการจำหน่ายบุหรี่ลดลง แต่ผม ไม่แน่ใจที่มันเข้ามาในลักษณะบุหรี่เถื่อน ซึ่งผมเข้าใจว่าในทางใต้ผู้ที่บริโภคบุหรี่ สูบบุหรี่อยู่นี่ ก็ยังเกือบจะทุกคนนะครับ สูบบุหรี่ที่เป็นยี่ห้อของต่างประเทศทั้งนั้น เป็นบุหรี่เถื่อนทั้งนั้น เข้ามา แล้วก็แม้จะโดนจับเป็นข่าวบ่อย ๆ แต่การใช้บุหรี่ที่เป็นบุหรี่เถื่อนก็ยังสูง เพราะฉะนั้น ตรงนี้ที่เป็นแนวโน้มของการจำหน่ายบุหรี่ลดลง ผมไม่แน่ใจในบุหรี่ที่เป็นบุหรี่เถื่อนซึ่งมันมี มากในทางจังหวัดชายแดนใต้ ก็ไม่แน่ใจว่ามันจะครอบคลุมสิ่งเหล่านี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ผมอยากจะให้ตอนที่เราอยู่พูดให้ความเห็นที่ สสส. ก็คือเรื่องประชาสัมพันธ์ ทำได้ในระดับหนึ่ง การประชาสัมพันธ์ของ สสส. แต่ว่าในอีกหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์สั้นหรืออะไรต่าง ๆ เหล่านี้นะครับ ถ้าหากว่าเราเจาะจริง ๆ ผมว่าทางใต้นี่ไม่ใช่เฉพาะบุหรี่ที่เราเห็นอย่างเดียว มันมีทั้งบุหรี่เถื่อน มีทั้งยาเส้น ใบจาก แล้วก็อีกอันหนึ่งที่เข้ามาใหม่ วัฒนธรรมที่เข้ามา เพราะมันเชื่อมโยงกับทางมาเลเซียก็คือ Baraku Baraku นี่ก็เยอะนะครับ เดี๋ยวนี้ก็หลาย ๆ แห่ง เพราะอาจจะมองว่ามันไม่ได้ผิดกฎหมายอะไร ก็มีการสูบในร้านอาหาร ตามบ้าน ตามอำเภอต่าง ๆ ซึ่งค่อนข้างที่จะออกไปจากในเมือง ก็จะมีการสูบ Baraku เพราะฉะนั้นข้อมูลที่ สสส. เสนอมา ผมให้กำลังใจทางด้านจังหวัดชายแดนใต้ท่านทำได้ค่อนข้างดีมาก และโครงการโดยเฉพาะ อย่างยิ่งโครงการ ๑ ครอบครัว มีคนเลิกบุหรี่โดยอาศัยลูกเข้าไปเดินแล้วก็ได้ผลค่อนข้างดีมาก ฉะนั้นอยากจะให้กำลังใจแก่ท่าน แล้วก็จะให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ที่ดำเนินมาได้ทำกันในลักษณะ ต่อเนื่อง รณรงค์เพื่อให้คนเลิกบุหรี่ก็เป็นสิ่งที่จะต้องทำต่อไป ผมจะพูดประการเดียวในวันนี้ ผมพูดแต่เฉพาะเรื่องบุหรี่ เน้นในเรื่องบุหรี่เถื่อนในจังหวัดชายแดนใต้ ถ้าหากเราไม่นับตรงนั้น การจำหน่ายที่มันไม่เข้าในระบบที่เราสำรวจ มันก็คงจะมีอีกเยอะครับ ขอบคุณครับ ท่านประธานครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะผู้บริหาร เลขานุการ ที่ปรึกษา สมาชิกสภาเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา ยินดีต้อนรับนะครับ ต่อไปท่านสิริน สงวนสิน เชิญครับ

นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานสภาที่เคารพ ผม สิริน สงวนสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา พรรคก้าวไกล วันนี้ผมมี ๒ ประเด็นหลัก ๆ ครับ

นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ประเด็นแรก เกี่ยวกับการดำเนินงานและนโยบายสุขภาพสาธารณสุข ส่วนของสุขภาพจิตที่มีผู้ดำเนินการหลักก็คือ สสส. และกรมสุขภาพจิต ปัจจุบัน ด้วยสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจและสภาพการเมืองที่ไม่มั่นคงส่งผลให้คนไทยมีความเครียด และความกดดันในครอบครัวและภายนอก โดยจากเพื่อนและจากตนเองนะครับ อ้างอิงจาก โรงพยาบาลพญาไท ตอนนี้คนไทยเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากถึง ๑,๕๐๐,๐๐๐ คน หรือคิดเป็น ๒.๒ เปอร์เซ็นต์ของคนไทยนะครับ แต่ก็ยังมีคนที่ป่วยและยังไม่ได้เข้ารับการรักษาอีก เป็นจำนวนมาก แล้วก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ซึ่งเราเห็นได้จาก ข่าวที่มีข่าวนักเรียนมัธยมกระโดดตึกฆ่าตัวตายบ้าง เนื่องจากโรคซึมเศร้าจากกลุ่มอาชีพครูเอง ก็น่าเป็นห่วง จากงานวิจัยที่ศึกษาคุณครูในโรงเรียน กทม. กว่า ๗๖ เปอร์เซ็นต์มีสุขภาพจิต อยู่ในระดับที่ไม่ดี และมีเพียงแค่ ๕ เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ ซึ่งตัวเลขนี้ค่อนข้าง น่าเป็นห่วงมาก ๆ ครับ แม้สังคมจะมีการเปิดรับผู้ป่วยทางจิตเวชมากขึ้น แต่ก็ยังมีการเข้าใจ ผิดอยู่ในสังคมจำนวนมาก อาจจะคิดว่าคนที่ป่วยเป็นโรคจิตเวชนั้น อาจจะต้องเป็นคนที่มีสติ ไม่สมประดีหรือเป็นบ้า หรือเป็นคนที่มีปัญหาในสังคม สาเหตุอาจจะมาจากการประชาสัมพันธ์ ที่ไม่ดีพอ ไม่ทั่วถึงเพียงพอที่ทำให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจถึงอาการป่วยทางจิตเวช เพราะจริง ๆ แล้วเพียงแค่เรามีอาการเครียดหรือว่าเรานอนไม่หลับ เราก็ควรจะเข้ารับ คำปรึกษาจากแพทย์เพื่อที่จะไม่ให้อาการกำเริบและรุนแรง

นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

อันต่อไปที่ผมจะพูดถึงก็คือเกี่ยวกับสายด่วน ๑๓๒๓ ดูเผิน ๆ โครงการนี้ ก็เป็นโครงการที่ดีมาก ๆ แต่ถ้าลองโทรศัพท์เข้าไปใช้งานดู เวลาผมโทรศัพท์ไป ผมและ ทีมงานโทรศัพท์ไปขั้นต่ำรอสายมีเป็นครึ่งชั่วโมง บางครั้งโทรศัพท์ไป ๓-๔ ชั่วโมงยังไม่มี การรับสายนะครับ ถ้ามันติดง่าย ๆ เหมือน ๑๑๑๒ ก็คงจะดีนะครับ เรื่องนี้สำคัญมาก ๆ เพราะเพียงแค่เราช้าเพียง ๑ นาทีบางครอบครัวอาจจะสูญเสียคนที่เรารักไปก็ได้นะครับ ผมถึงอยากจะสอบถามถึงปัญหาว่าทำไมเจ้าหน้าที่ถึงรับสายช้า เป็นเพราะบุคลากร ไม่เพียงพอหรือเปล่า หรือเป็นเพราะว่าการจัดการระบบที่ไม่ดี ยิ่งไปกว่านั้นในการที่ให้คำปรึกษา กับผู้ที่ขอคำปรึกษา ในโครงการนี้ส่วนใหญ่คำปรึกษาก็จะเป็นการประเมินแบบกว้าง ๆ ไม่ได้ครอบคลุมต่อสภาวะปัจจุบันที่มีโรคจิตเวชที่มันหลากหลายมากขึ้น ทั้งโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และโรคสมาธิสั้น หรือเรียกว่า ADHD นะครับ ซึ่งในรายงานนี้ก็ดูเหมือนจะไม่มี ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ ข้างต้นเลยครับ ผมจึงอยากจะเสนอให้ท่านศึกษาข้อมูล โรคดังกล่าวเพื่อพัฒนา และปรับปรุงโครงการสุขภาพจิตของท่านในปีถัดไปด้วยครับ

นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

อีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องของงบประมาณ งบประมาณของกองบริหารสุขภาพจิต ที่ได้รับน้อยลงเรื่อย ๆ สวนทางกับจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้นทุกปีนะครับ เห็นตัวเลขแล้ว ค่อนข้างน่าตกใจนะครับ ปี ๒๕๖๒ เราได้งบเกือบ ๒,๐๐๐ ล้านบาท แต่พอในปีถัดมา ก็โดนตัดงบกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท หรือ ๕๐ เปอร์เซ็นต์เหลือ ๙๕๐ ล้านบาท ปีถัดมา ก็โดนตัดอีกเหลือ ๖๕๐ ล้านบาท ปีถัดมาก็โดนตัดเหลือ ๖๐๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๖๖ มีงบ ๖๑๐ ล้านบาท ถ้าเทียบกับในปี ๒๕๖๒ เราถือว่าเราโดนตัดมากว่า ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งงบประมาณมีทิศทางที่จะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งสวนทางกลับกลุ่มผู้ป่วยมากนะครับ ถ้าผมเป็นผู้ป่วยผมก็คงคิดว่าทำไมคนที่วางนโยบายไม่ได้ตระหนักหรือให้ความสำคัญ ไม่เห็นอกเห็นใจพวกเขาหรือเปล่า ทำไมต้องตัดลดนโยบายกันขนาดนี้นะครับ ทั้ง ๆ ที่ การฆ่าตัวตายของคนไทยมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ สวนทางกับงบประมาณสุขภาพจิต ที่ลดน้อยลงนะครับ อันนี้ผมอ้างอิงข้อมูลจากธนาคารโลกเมื่อปี ๒๕๕๖ ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คนมีคนฆ่าตัวตาย ๗.๕ คน และในปี ๒๕๖๒ ประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน มีคนฆ่าตัวตาย ๘.๘ คน ซึ่งจากสถิติเราเห็นว่ามันเพิ่มขึ้นนะครับ แต่พอเรามาดูสถิติ ของกองยุทธศาสตร์มันก็ไม่ตรงกับของธนาคารโลกนะครับ ซึ่งมันมีตัวเลขน้อยกว่านะครับ ซึ่งในรายงานของปัญหาการฆ่าตัวตายของคนไทยปี ๒๕๖๕ ที่รวบรวมโดยศูนย์เฝ้าระวัง การฆ่าตัวตายในสังคมก็ได้ยอมรับว่าการจัดทำข้อมูลเป็นการจัดทำข้อมูลค่อนข้างล่าช้า แล้วก็ตัวเลขมันยังน้อยกว่าความเป็นจริงอยู่มากนะครับ ผมจึงรู้สึกกังวลแล้วก็หนักใจ ต่อสุขภาพจิตของคนไทย แล้วก็อยากจะนำเสนอนโยบายของพรรคก้าวไกล การดูแล สุขภาพจิตแบบครบวงจรโดยการเพิ่มบุคลากร ขยายบัญชียา แล้วก็การใช้เทคโนโลยี การเพิ่มบุคลากรเราก็ควรจะเพิ่มบุคลากรจิตแพทย์ แล้วก็นักจิตวิทยาให้ครอบคลุม แล้วเราก็ต้องทบทวนบัญชียาหลักในระบบให้เท่าทันกับวิทยากรทางการแพทย์ในยุคปัจจุบัน พัฒนาบริการสุขภาพจิตรูปแบบใหม่ อาจจะเป็นการแพทย์ทางไกลหรือว่ามี Platform สุขภาพจิต รวมไปถึงการกำหนดให้มีการตรวจสุขภาพจิตฟรี เข้าไปใน Package ของการตรวจสุขภาพประจำปีครับ

นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เรื่องที่ ๒ ผมขอพูดเรื่องทางม้าลาย เรื่องทางเท้า แม้เราจะเกิดความตื่นตัว ในสังคมจากโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นบนท้องถนน แล้วก็ความพยายามในการรณรงค์ ผ่านโครงการหลาย ๆ โครงการของ สสส. แต่ผู้เสียชีวิตในทางเท้าถ้าเราเทียบระหว่าง ปี ๒๕๖๕ กับปี ๒๕๖๔ มันลดลงจริง แล้วก็ลดลงประมาณ ๘๐ กว่าราย แต่ก็ยังมีผู้เสียชีวิต อยู่มาก นั่นละครับมันอาจจะเป็นเพราะว่าพวกเราคนไทยเราค่อนข้างจะลืมง่ายนะครับ อย่างในรายงานของท่านเองก็เขียนไว้เหมือนกันนะครับว่า หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ ของหมอกระต่ายผู้ขับขี่ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ชะลอหยุดรถให้คนเดินเท้า โดยเฉพาะ รถจักรยานยนต์ไม่หยุดถึงร้อยละ ๙๒ เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นตัวเลขที่น่ากังวลมากนะครับ คำถามคือมาตรการที่สนับสุนความปลอดภัยของคนเดินเท้าในปัจจุบันมันเพียงพอแล้ว หรือเปล่านะครับ ผมขอตั้งข้อสังเกตอย่างนี้ครับว่า มาตรการของท่านดีแล้ว แต่เราไม่ควรพึงพอใจกับรายงาน ที่บอกว่าอุบัติเหตุทางเท้าลดน้อยลง ในปี ๒๕๖๔ มีผู้เสียชีวิต ๖๒๙ ราย แต่ในปี ๒๕๖๕ มีผู้เสียชีวิต ๕๔๘ ราย มันลดลง ๘๑ ราย แต่ก็ยังมีคนเสียชีวิตถือว่าเป็นเสียชีวิตรายวันอยู่ดี เราควรมองนะครับว่าเราควรทำอย่างไรให้อัตราการเสียชีวิตของกลุ่มคนเดินเท้าเป็น ๐ หรือใกล้เคียง ๐ ให้ได้มากที่สุดนะครับ นั่นหมายความว่าเราต้องมีการจัดการใหม่ทั้งระบบ โดยมีการบูรณาการร่วมกันจากทุกภาคส่วน อย่างแรก คือการบูรณาการร่วมกับการบังคับใช้ กฎหมายกับตำรวจ คือมันต้องมีความสม่ำเสมอ ย้ำว่าสม่ำเสมอ เพราะว่าพวกเราต่างเห็น ความตื่นตัวหลังจากเกิดอุบัติเหตุบ่อย แต่เมื่อเวลาผ่านไปพวกเราก็ลดความสนใจบ้าง แล้วก็ลืมกันนะครับ เราจึงอยากสนับสนุนให้มีการบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเข้มงวด ไม่เป็นเพียงแค่มาตรการเท่านั้นแต่ต้องทำจริง ๆ และมีบทลงโทษที่รุนแรงและเด็ดขาด รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการจับ ที่ทำได้ก็ทำอยู่แล้ว แต่ว่าเราไม่ควร จะทำแค่ความเร็วอย่างเดียว แต่ควรจะกวดขันวินัยการจราจรทุกอย่างครับ อย่างที่ ๒ เราควรจะบูรณาการร่วมกับกรมการขนส่งให้มีการอบรมอย่างเข้มงวด เพื่อให้ผู้ขับขี่เข้าใจ และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดและต้องกลัวการถูกเพิกถอนใบขับขี่ด้วยครับ อย่างเช่นในประเทศญี่ปุ่นคนญี่ปุ่นเขาค่อนข้างเข้มงวดกับการทำใบขับขี่มากครับ และมีบทลงโทษที่ค่อนข้างหนักสำหรับคนที่ทำผิดจราจรนะครับ อย่างที่ ๕ ในภาคสังคม ในปีที่ผ่านมาเราก็มี Platform อยู่แล้วสำหรับคนที่สามารถแจ้งได้ว่าใครทำผิดกฎ แต่ว่าเวลา แจ้งเข้าไปเราก็ถูกปฏิเสธค่อนข้างหลายครั้ง ตัวผมเองผมก็เคยลองแจ้งเข้าไปมันก็มีข้อจำกัด หลายข้อครับ ก็เลยอยากจะให้ช่วยพัฒนาระบบ Platform ตรงนี้ให้คนสามารถมีส่วนร่วม แล้วก็ได้รางวัลนำจับจริง ๆ นะครับ ในส่วนที่ ๕ เราต้องบูรณาการร่วมกับกระทรวงศึกษา ให้ความรู้ความปลอดภัยตั้งแต่เด็ก ๆ ควรสร้างทัศนคติให้กับเด็ก ๆ และเยาวชนว่าการทำผิด กฎจราจรเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก เมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะได้เป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตสำนึกมากขึ้น เพราะการที่จะสร้างจิตสำนึกมันต้องสร้างจิตสำนึกตั้งแต่ในช่วงเติบโต อย่างในประเทศญี่ปุ่น เขามีการปลูกฝังตั้งแต่เด็กวัยอนุบาล และผมก็ขออนุญาตยกตัวอย่างในพื้นที่ตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา ก็ยังมีคนที่ขับรถมอเตอร์ไซค์ย้อน Lane เป็นประจำนะครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

สรุปหน่อยครับ

นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

เวลาข้ามถนนนี้มองแต่ขวาไม่ได้ ต้องมองซ้ายด้วย เพราะมีรถมอเตอร์ไซค์สวน Lane ตลอดนะครับ

นายสิริน สงวนสิน กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

ขออนุญาตสรุปนะครับ ก็อยากจะบอกว่าคือเรามีมาตรการดีแล้วแต่ว่า อาจจะต้องมีการบังคับใช้ให้มันดีกว่านี้ครับ อาจจะต้องขอความร่วมมือทุกหน่วยงานครับ ขอบคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านพชร จันทรรวงทอง

นายพชร จันทรรวงทอง นครราชสีมา ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายพชร จันทรรวงทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต ๑๓ พรรคเพื่อไทย จากการที่กระผมได้อ่านรายงานนะครับ ก่อนอื่นต้องขอชื่นชม ทาง สสส. ที่ได้จัดทำรายงานให้อ่านง่าย สบายตา และที่สำคัญต้องขอชื่นชมที่สามารถ ทำผลการดำเนินงานในปี ๒๕๖๕ ได้คะแนนถึง ๔.๗๖ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๕ ถือเป็นผลประเมินที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยเมื่อ ๓ ปีก่อน ในปีที่ผ่านมา สสส. สามารถ ดำเนินงานได้ตามเป้าประสงค์ ๖ ประการ ของหน่วยงานตามความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริม และสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนชาวไทย แต่จากสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ตามที่ได้กล่าวมาในรายงาน กระผมจึงมีข้อกังวลบางประการที่อยากจะฝากให้ทางหน่วยงาน ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานการณ์ดังกล่าวดีขึ้นในปีถัดไป

นายพชร จันทรรวงทอง นครราชสีมา ต้นฉบับ

ประการที่ ๑ สถานการณ์ โรคไม่ติดต่อ พบว่าคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคที่ไม่ติดต่อถึง ๔๐๐,๐๐๐ คนต่อปี คิดเป็น ๗๔ เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด โดยมีปัจจัยเสี่ยงคือพฤติกรรม การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งการกินผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอถูกจัดอยู่ในอันดับ ๕ ของปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด และจากในรายงานจะเห็นได้ว่าคนไทย บริโภคผักและผลไม้ลดลง จาก Slide นะครับ กราฟทางด้านซ้ายพบว่าปริมาณของชาวไทย ที่อายุ ๑๕ ปีขึ้นไปที่บริโภคผักและผลไม้เพียงพอ พบว่ามีแค่ ๓๖.๕ เปอร์เซ็นต์ และจากกราฟทางขวาคือปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ของชาวไทยพบว่าอยู่ที่ประมาณ ๓๗๒ กรัม ต่อวันซึ่งถือว่าต่ำกว่าที่องค์การอนามัยโลกได้แนะนำ ก็คือ ๔๐๐ กรัมต่อวัน ในส่วนนี้ทางหน่วยงานได้เตรียมแผนงานไว้อย่างไรเพื่อส่งเสริมให้คนไทยมาทานอาหาร เพื่อสุขภาพให้มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อ เพราะการแก้ไขปัญหานี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้พลังของการสื่อสารเพื่อสร้างค่านิยม สร้างทัศนคติที่ดี ต่อการบริโภคเพื่อสุขภาพให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ทั้งจะต้องอาศัยการทำงานที่ประสาน ความร่วมมือร่วมกันทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นทางการผลิต ขนส่ง จำหน่าย ไปจนถึงการประกอบอาหารเพื่อการบริโภค เพื่อให้ประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึง ผักและผลไม้ หรืออาหารที่มีคุณภาพ รวมไปถึงลดความเสี่ยงในการบริโภคอาหารที่มีรสจัด เช่น หวาน มัน เค็ม

นายพชร จันทรรวงทอง นครราชสีมา ต้นฉบับ

ประการที่ ๒ จากรายงานพบว่ามีกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกาย ของชาวไทยมีอัตราที่ลดลง จาก Slide พบว่าปี ๒๕๖๓ ร้อยละของการออกกำลังกาย มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เหลือเพียงแค่ ๕๔.๓ เปอร์เซ็นต์แต่แน่นอนอย่างที่ทุกท่านทราบว่า ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เกิดมาตรการ ต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการกักบริเวณ หรือว่ามาตรการ Lockdown แต่อย่างไรก็ดี ในปี ๒๕๖๔ และปี ๒๕๖๕ แล้วก็ได้มีผ่อนมาตรการ Lockdown แต่ร้อยละ ของการออกกำลังกายของชาวไทยก็ยังไม่สามารถกลับขึ้นมาสูงเท่ากับในอดีตที่ผ่านมา สาเหตุนี้น่าจะมาจากที่คนไทยส่วนหนึ่งอาจจะจัดสรรเวลาไปกับกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ ก่อนที่จะเลือกใช้เพื่อมาดูแลสุขภาพ ยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันเช่นนี้ที่ค่าครองชีพ สูงขนาดนี้เมื่อเทียบกับรายได้พบว่าไม่เพียงพอทำให้พี่น้องประชาชนหลายคนต้องหางาน ทำเพิ่ม หรือทำงาน OT ล่วงเวลา กว่าจะเลิกงานกลับบ้านก็ค่ำแล้ว ไม่มีกะจิตกะใจที่จะ ออกกำลังกาย นี่ถือเป็นอีก ๑ รูปแบบของความเหลื่อมล้ำในการที่จะมีกิจกรรมทางกาย นอกจากนี้กลุ่มเด็กและเยาวชนถือเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญและน่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง เพราะจากข้อมูลพบว่าเยาวชนไทยมีกิจกรรมทางกาย หรือการออกกำลังกายลดลงจากเดิม มากที่สุดในรอบ ๑๑ ปี นั่นอาจเป็นเพราะการพัฒนาของเทคโนโลยี Digital และการสื่อสาร ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันจนทำให้ Smart phone ทำได้เกือบทุกอย่างในชีวิตส่งผลให้ ระยะเวลาที่เราอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์เพิ่มขึ้น พบว่ากลุ่มคน Generation Z ใช้เวลากับ หน้าจอ Smart phone เฉลี่ยมากขึ้นปัจจุบันถึง ๙ ชั่วโมงต่อวัน ทำให้รูปแบบวิถีการเล่น ของเด็กได้เปลี่ยนไปจากอดีตถูก Smart phone เข้ามาแทนที่และมีบทบาท ในชีวิตประจำวันมากขึ้น นั่นก็เป็นเพราะว่าในขณะที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง แต่สิ่งต่าง ๆ นอกโลกกลับหยุดนิ่ง หรือมีการพัฒนาที่ถดถอยลง อย่างเช่นใน Slide จะเห็น ได้ว่ามีความแตกต่างเป็นอย่างยิ่งในการใช้เวลาว่างของเด็กเยาวชนในปัจจุบันที่ส่วนใหญ่ ตั้งแต่ตื่นมาก็จะเล่นมือถือจนเข้านอน เทียบกับเยาวชนในอดีตที่เด็กจะมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะอ่านหนังสือ ดูทีวี หรือเล่นกีฬา พบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง มีกิจกรรม ที่หลากหลายกว่านำไปสู่การตั้งคำถามโครงสร้างพื้นฐานในชีวิตที่เหมาะสมต่อการพัฒนา ของเด็กและเยาวชนให้เหมาะสมตามวัยเพราะเหตุใดเด็ก ๆ จึงถึงเลือกใช้ชีวิตในโลก Online มากกว่าสังคมภายนอก นั่นก็เป็นเพราะว่าการใช้ชีวิตเพื่อออกกำลังกายมีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่า ค่าครองชีพ และการจะออกกำลังกายในพื้นที่สาธารณะมีพื้นที่สาธารณะไม่ครอบคลุมที่เข้าถึง ได้ง่าย เพราะเขาจะไปศึกษาค้นหาความรู้จากที่อื่นทำไมในเมื่อในโลก Internet มีความรู้ ทั้งเปิดกว้างกว่ารวดเร็วกว่า ตอบโจทย์มากกว่า นี่ก็ถือเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ของเด็กและเยาวชนขาดความสมดุล ถ้าหากยังปล่อยให้เด็กและเยาวชนขาดกิจกรรม ทางกายและมีพฤติกรรมการใช้หน้าจอ Smart phone เช่นนี้ย่อมจะส่งผลเสียต่อการพัฒนา สุขภาพทางด้านร่างกายจิตใจ สังคม อารมณ์ และสติปัญญา และในการดำเนินการเพื่อแก้ไข มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้พื้นที่นอกโลก Online เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับเด็ก และเยาวชน อีกทั้งจะต้องได้รับการประสานความร่วมมือและสนับสนุนจากทุกฝ่าย ทั้งสถาบันครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและภาครัฐ

นายพชร จันทรรวงทอง นครราชสีมา ต้นฉบับ

สุดท้าย จากปัญหาดังกล่าวพ่อแม่พี่น้องประชาชนก็ได้ขอฝากความหวังไว้ กับท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ช่วยรณรงค์จัดหากิจกรรมเพื่อเพิ่มค่านิยมการบริโภค อาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกายที่ดีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกหลานของเรา ทุกคน ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ อีก ๓ ท่านนะครับ ท่านสฤษดิ์ บุตรเนียร ท่านอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ท่านกิตติ์ธัญญา วาจาดี เชิญท่านสฤษดิ์ บุตรเนียร ครับ

นายสฤษดิ์ บุตรเนียร ปราจีนบุรี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายสฤษดิ์ บุตรเนียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี เขต ๓ อำเภอกบินทร์บุรี ตำบลทุ่งโพธิ์ ตำบลแก่งดินสอ พรรคภูมิใจไทย วันนี้ผมก็ขอมีส่วนร่วม ในการอภิปรายรายงานประจำปี ๒๕๖๕ เรื่องกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ก่อนอื่นก็ต้องขอชื่นชมครับ กองทุน สสส. ที่ได้รายงานประจำปีที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ ถึงปี ๒๕๖๖ นี้ก็เป็นระยะเวลาถึง ๒๒ ปีแล้ว เข้าสู่ทศวรรษที่ ๓ ถ้าเป็นเด็กนักเรียนก็ถือว่า จบมหาวิทยาลัยครับ มีความแข็งแกร่งเรื่องความรู้ ประสบการณ์ที่จะได้ฝึกงานกันมา เข้าสู่วัยฉกรรจ์แล้วครับ จากรายงานการประเมินของ สสส. ได้รับการประเมิน ตามการดำเนินงานในกรอบการประเมินผล อันหนึ่งก็คือการประเมินจากคณะกรรมการ ของ ครม. ตามพระราชบัญญัติ สสส. ที่มีผลการประเมินถึง ๔.๗๖ คะแนนจาก ๕ คะแนน ในการย้อนหลังถึง ๓ ปี ก็ถือว่าได้รับผลงานที่ดีมากนะครับ จากอันที่ ๒ คือการประเมิน การจัดการและหลักธรรมาภิบาล ได้คะแนนรวมถึง ๙.๖๗ คะแนนจาก ๑๐ คะแนน ก็ถือว่า เป็นผลงานที่ดี อีกอันหนึ่งด้านของคุณธรรมความโปร่งใสของหน่วยงาน ป.ป.ช. ที่ได้ถึง ๙๓.๒๕ นี่สูงกว่าระดับประเทศ จากการประเมินผลเราคงจะสามารถพิสูจน์ได้แล้วว่า สสส. ทำงานอย่างมีคุณภาพ เพราะการประเมินเป็นเครื่องมือของการทำงานที่ดีในกระบวนการ PDCA เพราะถ้าทำอะไรแล้วไม่ประเมินก็ถือว่าไม่ได้ทำละครับ ถ้าทำแล้วประเมินออกมาเป็น ผลที่ดีก็ถือว่าเป็นที่ยอมรับได้ครับ เพราะหน่วยงานของ สสส. เป็นหน่วยงานภาครัฐ ที่ไม่สังกัดกับหน่วยราชการ กระทรวง ทบวง กรม และ สสส. ตาม Slogan เขาบอกว่า สานพลัง สร้างนวัตกรรม สื่อสารสุข ด้วยวิสัยทัศน์ที่อยากให้ทุกคนในแผ่นดินไทยมีวิถีชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม สนับสนุนต่อการมีสุขภาวะที่ดี และด้วยบทบาทของ สสส. ที่จะ จุดประกาย กระตุ้นสาร เสริมพลังบุคคล ชุมชน องค์กร ทุกภาคส่วนที่มีความสามารถ สร้างสรรค์ระบบสังคม และสนับสนุนให้มีสุขภาวะที่ดี โดยอาศัยกองทุน สสส. ทำหน้าที่เป็น น้ำมันหล่อลื่นโซ่กลางเพื่อให้เกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น จากนวัตกรรมหรือเป็นกลไกที่สร้าง ขึ้นมาเพื่อให้การดำเนินงานนำเงินที่ได้มาจากภาษีเหล้า และบุหรี่ ถึงปีละ ๔,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อจะนำมาปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายของวิสัยทัศน์ พันธกิจ บทบาทได้อย่างดี อันนี้ในปีที่แล้วก็ต้องกราบขอบพระคุณท่านอนุทิน ชาญวีรกูล ท่านรองนายกรัฐมนตรี ที่เป็นประธานคณะกรรมการกองทุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ของปี ๒๕๖๕ นี้ ซึ่งปีนี้ แล้วก็ปีสังคมผู้สูงอายุได้มอบแว่นตาของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งแว่นตา ทั้งผ้าอ้อม ผ่านกระทรวงสาธารณสุขให้กับผู้สูงอายุ การสานพลังที่ท่านบอกว่า เป็นนโยบาย Slogan นับเป็นหัวใจการทำงาน ขอขึ้น Slide เลยครับ

นายสฤษดิ์ บุตรเนียร ปราจีนบุรี ต้นฉบับ

เป็นหัวใจของการทำงานที่จะเชื่อมโยง เสริมสร้างความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่ทำงานร่วมกัน อันนี้จากรายงาน ที่ทาง สสส. ที่สร้างกลไกสุขภาวะอำเภอที่เสริมพลัง ผมต้องขอกราบขอบพระคุณทีเดียว ที่ได้นำความคิดที่รวบรวม ไม่ว่าสถาบันพระปกเกล้า แล้ว สสส. ยังบอกว่าความสำคัญที่สุด คือการทำงานแบบบูรณาการที่ใช้พื้นที่เป็นฐาน มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มาทำงานร่วมกัน ในระดับท้องถิ่นเพื่อใกล้ชิดประชาชน ให้มีสุขภาพที่ดี มีสุขภาวะที่ดี ในสิ่งเหล่านี้ ที่ทำกันไปแล้วผมก็อยากเห็นผลงานขับเคลื่อนที่ทำไปแล้ว ไม่ว่าเรื่องเด็กปฐมวัย ในเรื่องของ อาหาร ในเรื่องของผู้สูงอายุ และแม้แต่การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ท่านได้ทำไป อยากร่วมมือ กันกับสังคมต่าง ๆ วันนี้ก็เช่นเดียวกันครับ ผมในฐานะที่เป็นผู้ส่งเสริมในเขตพื้นที่ผม ก็เช่นเดียวกัน ผมเห็นปัญหาใหญ่ ๆ ที่อยากจะนำเสนอเป็นแนวความคิด คงจะต่างจาก ท่านผู้อภิปรายคนอื่น ๆ โดยนำความคิดที่ต่อยอดมาจากของกองทุน สสส. มาจัด ไม่ว่าจะสานพลังจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีอยู่ รวมพลังกันกับประชาชนในเขตพื้นที่ระดับ เพราะมองแล้วว่าในขณะนี้ปัญหาของสังคมเรามีเด็กเกิดน้อย โรงเรียน สพฐ. มีถึง ๓๐,๐๐๐ โรงเรียนทั่วประเทศไทย ปัจจุบันนี้เป็นโรงเรียนขนาดเล็กถึง ๑๕,๐๐๐ โรงเรียน และจำนวน ๗,๐๐๐ กว่าโรงเรียนเป็นโรงเรียนเด็กที่มีเด็กต่ำกว่า ๖๐ คน ซึ่งขาดครู ขาดผู้บริหาร ผมจึงอยากจะยกตัวอย่างเพื่อที่จะนำให้ทาง สสส. ได้เป็น Case Study หรืออาจจะเป็นนวัตกรรม ซึ่งมาแก้ปัญหาร่วมกัน ผมถือว่าในโรงเรียนขนาดเล็กนี่เป็นปัญหาขนาดใหญ่ของประเทศชาติ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้พยายามครับ แต่ด้วยปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผมถึงอยากยก Case Study หรือตัวอย่างที่จะเป็นสิ่งที่สังคมช่วยกันโดยเหมือนกับที่เป็นนโยบาย Slogan ของทาง กองทุน สสส. นี่ทำแล้ว คือรวมสานพลังรวมจากทุกหน่วยงานด้วยรูปแบบของทฤษฎี สามเหลี่ยมที่เรายึดภาครัฐ ภาคสังคม ภาคประชาชนมารวมกันจนเป็นนวัตกรรมที่เรา เรียกว่า บวร ก็คือเรื่องสิ่งที่เราทำกันมาอยู่แล้วในอดีต คือบ้าน วัด โรงเรียน ผมอยาก ยกตัวอย่างของโรงเรียนบ้านนาคลองกลาง ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ที่เราร่วมกันที่ทั้งผู้ใหญ่บ้าน ทั้งประชาชน ชาวบ้านที่นำโดยผู้ใหญ่ศิริพงษ์ โทบุญ ได้รู้ถึงปัญหาว่าโรงเรียนขนาดเล็ก แล้วก็รวมกับเจ้าพระคุณพระใบฎีกาสุรินทร์ มันทยา ท่านเป็นเลขาเจ้าคณะตำบลเขาไม้แก้ว เจ้าอาวาสวัดบ้านนาคลองกลาง ทั้งโรงเรียน ก็เช่นเดียวกัน ท่าน ผอ. ลิ้มเส็ง เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งก็ขาดการอุปถัมภ์โดยการรวบรวม จากเขตพื้นที่การประถมศึกษาในเขต ๒ จังหวัดปราจีนบุรีซึ่งนำโดยท่านอำพล ท่านฤชากร รองผู้อำนวยการโรงเรียน ผมอยากให้กราบเรียนทางท่าน สสส. ด้วยเวลาที่จำกัด ผมอยากให้ ท่านลองสิว่าอันนี้อาจจะเป็นแนวทางหรือสังคมตัวอย่างเล็ก ๆ แต่ขณะเดียวกันโรงเรียน ขนาดเล็กต่ำกว่า ๖๐ คนถึง ๗,๐๐๐ โรงเรียน ถ้าหากสังคมที่ต้องแก้ปัญหากันเองอย่างนี้ ซึ่งท่านได้ลืมแล้วว่าไม่ว่าจะเป็นการสานพลัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสร้างนวัตกรรม หรือแม้ ท่านทำสื่อสารสุข ได้ทำหนังสือมากมายที่เกี่ยวกับเด็กกับผู้สูงวัยเป็นจำนวนมาก ผมอยากให้ ท่านได้ลงไปสังเกตการณ์หรือให้คำแนะนำเพื่อจะได้ไปรวมพลังจากทุกภาคส่วนในการร่วม แก้ปัญหา ซึ่งเป็นปัญหาของประเทศชาติขนาดใหญ่ ดีกว่าท่านจะทำโครงการเป็นหลาย ๆ พันโครงการ แต่ในการบรรลุผลนั้นไม่สามารถจะประเมินผลในภาพรวมของประเทศชาติได้ ในปีที่แล้วนี่ผมก็นำเสนอเรื่องของโครงการผู้สูงอายุไปแล้ว แต่ทาง สสส. ก็ยังไม่ให้ ความเมตตาในการที่จะไปดำเนินการได้ดูแล วันนี้ผมมาพูดเรื่องโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งเป็น ปัญหาระดับชาติ ซึ่งทางกระทรวงศึกษาธิการก็เช่นเดียวกันครับ วันนี้ได้เปลี่ยนรัฐบาลแล้วมี รัฐบาลใหม่ ผมก็ฝากกราบเรียนไปยังกระทรวงศึกษาธิการ อาจจะเป็นที่ สสส. ลงไป ประสานงานอีก ช่วยกันรวบรวมความคิดต่าง ๆ เพื่อจะแก้ปัญหาระดับชาติครับ ขอกราบขอบคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ท่านต่อไปท่านอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เชิญครับ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ กระผม อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ต่อรายงานประจำปี ๒๕๖๕ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผมได้อ่านรายงาน ก็สวยงาม เรียบร้อยดี สานพลัง สสส. สร้างนวัตกรรม สื่อสารสุข ท่านประธานที่เคารพครับ สสส. นั้นจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พุทธศักราช ๒๕๔๔ มีหน้าที่หลักในการสนับสนุนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพในประเทศไทย ได้ทำงาน สนับสนุนและร่วมมือกับหน่วยงานและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคประชาสังคม มหาวิทยาลัย และชุมชนท้องถิ่น ในการส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดี ท่านประธานที่เคารพครับ จะว่าเป็นอุปาทานหมู่หรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ แต่ผมรู้สึกและสัมผัส ได้ว่าตั้งแต่มีการทำงานของ สสส. ทำให้คนไทยหันมาใส่ใจและห่วงใยในสุขภาพเพื่อเป็น การยกระดับคุณภาพชีวิตดีมาโดยลำดับ ในโอกาสที่ท่านได้มารายงานต่อสภาในวันนี้ผมคง ไม่ใช้เวลานี้ในการตั้งข้อคำถาม แต่ผมขออนุญาตที่จะได้ตั้งข้อสังเกตบนพื้นฐานของ ความห่วงใยเป็นข้อเสนอแนะ ซึ่งท่านผู้บริหาร สสส. ท่านคณะกรรมการก็คงจะทราบดี แต่ผมเพียงแต่มาเน้นย้ำ มาเสนอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เส้นทางที่ท่านเดินมาตลอดระยะเวลานั้น ถือว่ามาถูกทาง แต่ว่าข้อเสนอ ๕ ประการของผมดังต่อไปนี้ ผมหวังว่าจะทำให้เส้นทาง ในการเดินไปสู่เป้าหมายนั้นประสบผลสำเร็จได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผมมีข้อสังเกตข้อห่วงใย ๕ ประการด้วยกันครับ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ประการที่ ๑ สสส. ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานั้นทำโครงการต่าง ๆ มากมาย หลายโครงการ ผมคิดว่าเราน่าจะมีประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีกว่านี้หากเรามีการจัด หมวดหมู่ จัดลำดับความสำคัญของปัญหา โครงการลักษณะเดียวกัน ประเภทเดียวกันควร จะได้เชื่อมโยงสอดประสานบูรณาการใช้เม็ดเงินโครงการงบประมาณในลักษณะ แบบเดียวกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนและสะดวกต่อการบริหารจัดการโครงการ สะดวก ต่อการตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา และทำให้ สสส. เป็นองค์กรที่มีความโปร่งใส โดยประชาชนร่วมเป็นเจ้าของและร่วมตรวจสอบ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ข้อห่วงใยประการที่ ๒ ท่านประธานครับ อย่างที่เราทราบครับว่า สสส. นั้น ทำโครงการมากมายที่ปังก็มาก ที่แป๊กก็พอมี ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้ทุกโครงการ เป็นโครงการที่ปังแล้วก็ปังปุริเย่ยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ทำอย่างไรที่เราจะมีตัวชี้วัด มีการประเมิน ความคุ้มค่าและความคุ้มค่าที่ได้นั้นต้องเป็นความคุ้มค่าที่ยั่งยืนด้วย ท่านประธานครับ ผมตั้งข้อสังเกตโครงการประเภทที่ สสส. ไปสนับสนุน เช่น โครงการเดินการกุศล โครงการวิ่ง โครงการจัดดนตรี คำถามคือว่าถ้าเราแปรงบประมาณมาเป็นความคุ้มค่าที่ยั่งยืน มัน Return กลับมาได้คุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ และความคุ้มค่านั้นเป็นความคุ้มค่า ที่จีรังและยั่งยืนแค่ไหน อย่างไร ถามว่าแต่ละโครงการที่ สสส. ทำมาแล้ว Impact มีไหม มีครับ ถามว่า Impact อยู่ที่ไหน Impact ไม่ได้แค่เมืองทองธานี แต่ Impact อยู่ใน หลายโครงการที่เกิดขึ้นโดย สสส. ดังนั้นผมอยากจะชี้ว่าถ้าเรามีตัววัดผล มีเกณฑ์ การประเมินความคุ้มค่าที่เหมาะสมก็จะทำให้เป้าหมายของเราชัดเจนขึ้นครับ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ข้อห่วงใยข้อที่ ๓ ท่านประธานครับ โครงการใดที่ สสส. ได้ดำเนินการ และประสบความสำเร็จผมไม่ทราบว่าท่านสมาชิกท่านอื่นมีข้อสังเกตเหมือนผมหรือเปล่า แต่ผมสังเกตว่าหลายเรื่องที่ปัง หลายเรื่องที่โดนใจคนไทยในที่สุดก็หายไปไม่ได้รับการต่อยอด หรือบางโครงการที่ทำแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ ไม่คุ้มค่าในแง่ของตัวชี้วัดหรืออื่นใดก็ตามแต่ ยังมีโครงการลักษณะที่ไม่ประสบความสำเร็จออกมาเป็นระยะ ๆ ดังนั้นผมคิดว่าเราควรจะมี ตัวชี้วัดว่าโครงการที่ประสบความสำเร็จเราจะเดินหน้าต่ออย่างไร และโครงการที่ไม่ประสบ ความสำเร็จใช้เม็ดเงินงบประมาณลงทุนไปแล้วให้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า เราจะมาสำรวจ จุดอ่อนและเราจะพัฒนาจุดแข็งเข้าไปเพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้อย่างไรบ้าง

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ข้อห่วงใยข้อที่ ๔ ผมเห็นว่าตลอดระยะเวลาที่ สสส. ทำมานี้เดินมาถูกทาง แต่จะดีกว่านี้หรือไม่ หาก สสส. เป็นองค์กรที่เปิดรับแนวความคิดหรือ Idea แปลกใหม่ ที่กว้างขวางขึ้น ครอบคลุมขึ้น หลากหลายขึ้น ผมรวมถึงการเปิดรับเม็ดเงินที่จะมา เป็นเม็ดเงินสนับสนุนจากองค์กรภาคเอกชนหรือองค์กร NGO ต่าง ๆ ที่จะมาร่วมขับเคลื่อน ท่านประธานครับ บางครั้งโครงการที่คิดโดยมุมมองใหม่ ย้ายที่คิด เปลี่ยนมุมมอง ในการนำเสนอ เปลี่ยนแหล่งเงินงบประมาณ อาจจะทำให้เราได้โครงการที่มีความแปลกใหม่ แล้วก็สอดรับกับวิถีชีวิต วิถีสังคมที่เปลี่ยนไปในยุคปัจจุบัน

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ข้อห่วงใยและข้อสังเกตประการที่ ๕ ผมเห็นข้อสังเกตในความพยายาม ของ สสส. ว่า สสส. ก็พยายามที่จะต่อยอดในการสนับสนุนงานวิจัย แต่ก็ต้องยอมรับนะครับว่า งานวิจัยหลายเรื่องที่ สสส. สนับสนุนนั้นอาจจะเป็นโครงการที่มีความซ้ำซ้อนกับหน่วยงาน ที่เขาดูแลอยู่แล้ว ผมขออนุญาตยกตัวอย่างนะครับ ก็คือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หรือ สวรส. สวรส. คืออะไรครับ สวรส. เป็นองค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ มีอำนาจหน้าที่ในการสำรวจ ศึกษา และวิเคราะห์ทางวิชาการต่าง ๆ เพื่อวางเป้าหมาย นโยบาย และจัดทำแผนงานโครงการ และมาตรการต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ ผมเห็นว่าถ้าเรื่องงานวิจัย มอบให้กับองค์กรที่เป็นเจ้าภาพหลักที่มีความเชี่ยวชาญ มีชำนาญการพิเศษน่าจะเหมาะสมกว่า นี่ก็เป็นข้อห่วงใย ๕ ประการที่ผมนำเรียน แล้วก็ขอให้กำลังใจ สสส. ให้เดินหน้าต่อไป เพื่อสุขอนามัยที่ดีขึ้นของคนไทยทุกคนครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่าน กิตติ์ธัญญา วาจาดี เชิญครับ

นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธาน ที่เคารพ ดิฉันนางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ ๔ พรรคเพื่อไทย ท่านประธานคะ จากรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของ สสส. สานพลัง สร้างนวัตกรรม สื่อสร้างสุข ดิฉันมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้ จากรายงานหน้า ๑๕ ขับเคลื่อนสังคมสร้างทางม้าลายปลอดภัย ท่านประธานคะ วันที่ ๒๑ มกราคม ถูกกำหนด ให้เป็นวันความปลอดภัยบนท้องถนน และที่มาของวันสำคัญนี้มาจากที่เราสูญเสียแพทย์ ที่มีฝีมือดี เพราะเหตุการณ์ที่มีผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรชนคนข้ามทางม้าลายจนได้รับการสูญเสีย ถึงชีวิตนี่คือสิ่งที่น่าเสียดายมาก เราจึงมีวันที่ ๒๑ มกราคมเกิดขึ้น แต่ทว่าท่านประธานคะ ในวันนี้ทางม้าลาย ถึงจะมีวันที่ ๒๑ วันแห่งความปลอดภัยบนท้องถนนก็ตาม แต่บนทางม้าลาย ก็ยังไม่ใช่ Safe Zone เพราะยังมีการเกิดอุบัติเหตุ รถชนประชาชนอยู่เรื่อย ๆ เช่นวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติถูกรถชนขณะกำลังข้ามทางม้าลาย ทั้งที่ทางม้าลาย นี่คือเป็นสัญลักษณ์ของความปลอดภัยในมาตรฐานของโลก แต่ในประเทศไทยไม่ใช่ค่ะ การกำหนดวันสำคัญของวันปลอดภัยจึงควรให้สำคัญจริง ๆ และจริงจัง เพื่อเกิดจิตสำนึก ที่ทำให้คนข้ามถนนบนทางม้าลายอย่างปลอดภัย รวมทั้งขอให้มีบทลงโทษและบังคับใช้ อย่างจริงจัง ทั้งนี้ดิฉันขอพูดพาดพิงไปถึงเจ้าหน้าที่ที่รักษากฎหมายด้วยว่าเกิดเหตุการณ์ ที่รถชนประชาชนหรือผู้ใช้รถใช้ถนนบนทางม้าลายควรจะจัดการอย่างจริงจัง ท่านประธานคะ ดิฉันขอเสนออีกอย่างหนึ่ง นอกจากท่านจะให้สื่อเพื่อจะโฆษณาเรื่องของทางม้าลาย ความปลอดภัยต่าง ๆ ท่านเคยย้อนกลับไปดูครอบครัวผู้ที่ประสบภัยไหมคะ ครอบครัว ผู้ที่จะต้องสูญเสียชีวิตหรือต้องพิการจากการใช้รถใช้ถนน ดิฉันขอเสนอให้ท่านลองย้อนกลับ ไปดูว่าครอบครัวเขาเกิดอะไรขึ้นแล้วสื่อออกมา สื่ออย่างสร้างสรรค์ออกมาว่าถ้ายังไม่เคารพ กฎจราจรหรือยังประมาทอยู่คนข้างหลังจะเป็นอย่างไร แล้วถ้าเกิดขึ้นกับครอบครัวของท่านจะ เกิดอะไรขึ้น นี่จะเป็นสื่ออย่างสร้างสรรค์ค่ะ

นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ

เรื่องต่อมา เรื่องของรายงานหน้า ๑๔ พบว่าผู้ป่วยเบาหวานคิดเป็นร้อยละ ๗.๓๔ ตัวเลขนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ป่วยเบาหวานขององค์การอนามัยโลกอยู่ที่ ๖.๓๒ เปอร์เซ็นต์ ส่วนความดันสูง ๑๕.๑๑ เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่าความดัน เบาหวาน รวมกันมีแนวโน้ม ที่จะสูงขึ้นได้เรื่อย ๆ แต่ในความน่าห่วงใยนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ ความทุ่มเท ของ อสม. และ อสส. ที่อยู่ในกรุงเทพฯ ที่เขามีบทบาทมีความสำคัญที่ทุ่มเทเวลาเข้าไปดูแล ผู้ป่วยทั้งหมด แล้วก็คอยให้ความห่วงใยในโภชนาการของพี่น้องประชาชน ทำให้ยอด ของผู้ป่วยมีจำนวนไม่สูงมาก

นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ

ต่อไปจากรายงานหน้า ๔๘ การป้องกันเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า ด้วยเหตุผล ที่พัฒนาไปสู่การสูบบุหรี่มวน ย่อมแปลว่าบุหรี่มวนยังมีอันตรายกว่า แต่เหตุใดบุหรี่มวน ยังมีการหาซื้อได้ง่าย โดยเฉพาะเยาวชน ตามกฎหมายระบุไว้ว่าห้ามจำหน่ายให้เด็กต่ำกว่า ๑๘ ปี แต่ก็มีแต่เยาวชนทั้งนั้นที่ยังมีการสูบอยู่ จากหน้า ๒๔ ข้อมูลจากสำนักงาน สถิติแห่งชาติมีจำนวนผู้สูบบุหรี่ทั้งหมดโดยกลุ่มอายุ ๑๕-๑๘ ปีมีถึง ๖.๒๐ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแปลว่าเรายอมรับว่ามีการจำหน่ายบุหรี่ให้กับเยาวชนที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปีเป็นจำนวนมาก ดิฉันขอฝากถึง สสส. ในเรื่องของการดูแลป้องกันแก้ไขในประเด็นนี้ด้วยค่ะ

นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี อุบลราชธานี ต้นฉบับ

ประเด็นที่ ๔ หน้า ๑๒๑ งบประมาณที่ สสส. ลงไปในภาคอีสาน โดยเฉพาะ จังหวัดอุบลราชธานี ภาคอีสานมีงบประมาณทั้งหมด ๒๔.๗๔ เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ประชากร ภาคอีสานมีอยู่ ๒๒.๗ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๘๘ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งน้อยมากกับจำนวน ประชากรของภาคอีสาน ดิฉันขอให้ท่านพิจารณางบประมาณให้สอดคล้องกับประชากร ของภาคอีสานด้วยค่ะ จากหน้า ๒๗๓ สสส. ควรเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับพี่น้องประชาชน ช่องทางของ Social Network หลายช่องทาง ซึ่งดิฉันสารภาพตามตรงว่าไม่ค่อยได้ดู TV เพราะฉะนั้นแล้วสื่อ Social ไม่ว่าจะเป็น Facebook IG หรือว่า TikTok ท่านควรจะเผยแพร่ เด็กวัยรุ่นจะได้ดูด้วย เพราะงบประมาณของท่านในการสื่อสารเพื่อพี่น้องประชาชน เป็นงบประมาณที่ยอมรับว่าสูงมาก ความสำเร็จที่แท้จริงของ สสส. คือทำให้พี่น้องประชาชน มีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ จะไม่สัมฤทธิผลเลยถ้าไม่ได้แรงกายแรงใจจากพี่น้อง อสม. และ อสส. และความร่วมมือในการดูแลสุขภาพของพี่น้องประชาชนเอง ดิฉันขอกราบขอบพระคุณ สสส. แล้วก็เจ้าหน้าที่ที่มาให้ความรู้ในสภา แล้วก็เป็นกำลังใจให้ท่าน กราบขอบพระคุณค่ะ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ สภาผู้แทนราษฎรยินดีต้อนรับคณะองค์การบริหารส่วนตำบลกระบุรี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ยินดีต้อนรับครับ เหลืออีก ๓ ท่านสุดท้าย ท่านแรกท่านนพพล เหลืองทองนารา ท่านที่ ๒ ท่านอลงกต มณีกาศ ท่านที่ ๓ ท่านอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ เชิญท่านนพพล เหลืองทองนารา ครับ

นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพครับ ผม นพพล เหลืองทองนารา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรคเพื่อไทย คนพรหมพิราม ท่านครับ ผมเองก็อยากจะนำเรียนท่านบริหารของ สสส. ทุกท่านว่าหน่วยงานของท่านเป็นอะไรที่ในสมัยก่อนที่ผมเติบโตมาประทับใจมาก ผมยังจำได้ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ท่านเปิดงานเกี่ยวกับเรื่องบุหรี่แล้วก็เกิดแก๊สระเบิดวันนั้น บุหรี่แท่งโต ๆ ที่ท่านทำไว้เป็นสัญลักษณ์ในงานระเบิด รู้สึกจะมีความร้อนอยู่ตรงลูกโป่งใหญ่ ๆ นะครับ อันนี้พูดถึงผมไม่ได้ตำหนิอะไรข้อนี้ เพียงแต่ผมอยากจะบอกว่าในองค์กรของท่านเป็นที่สนใจ ของวัยรุ่นคนหนึ่งอย่างผมเมื่ออดีตตอนนั้น ซึ่งเวลาก็ผ่านไป ๑๐ กว่าปีแล้วกระมังครับ แล้วผมก็พยายามที่จะติดตามการทำงานของท่านมาตลอด ท่านครับ แต่ว่ามาทบทวนดูแล้ว ผมขออนุญาตที่จะพูดอย่างตรงไปตรงมาท่านคงไม่โกรธนะครับ เพราะเป็นการแสดง ความคิดเห็นของผู้แทนราษฎรคนหนึ่งนั่นก็คือ สสส. ตามบทนิยามทั้งหลายว่าหมายถึงอะไร แล้วก็มีหน้าที่บทบาทหลักคืออะไร คิดว่าก็คงจะทราบกันอยู่แล้วนะครับ เพราะในสภา ก็ได้พูดกันหลายคน งบประมาณ ๔,๐๐๐ กว่าล้านบาทของ สสส. ที่ได้ในแต่ละปี ซึ่งเป็นรายได้ที่มาจากเงินเพิ่มของภาษีสุราแล้วก็บุหรี่ พูดถึงว่าบทบาทในความร่วมมือ ของท่านก็คือเป็นความร่วมมือกับบุคคลหรือกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ซึ่งนับแล้วในอายุของท่าน กำเนิดมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔ ตาม พ.ร.บ. ของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มีภาคีที่ร่วมอยู่กับท่าน ๒๐,๐๐๐ กว่าองค์กร แล้วก็ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ท่านเอง ได้มีโครงการต่าง ๆ ร่วมมือกันอยู่ ๓,๐๐๐ กว่าโครงการ ผมเองอยากจะสอบถามท่านว่า ใน ๒๐,๐๐๐ กว่าองค์กรที่เป็นภาคีของท่าน ท่านได้สนับสนุนเขาอย่างไรบ้าง หรือว่าที่ท่าน นับจำนวนมา ๒๐,๐๐๐ กว่านี่ก็คือว่าครั้งหนึ่งในชีวิต ครั้งหนึ่งตั้งแต่ท่านเริ่มมา ๒๐ กว่าปี ท่านสนับสนุนเขาครั้งหนึ่งแล้วท่านเองก็นับเขาไว้ในจำนวนนี้ด้วย โดยที่การประเมินผล ติดตามว่าภาคีเหล่านั้นได้ดำเนินการอย่างไรบ้างต่อจากท่าน และท่านได้เคยวิเคราะห์ไหมครับว่า หลังจากที่ท่านอาจจะไปเริ่มต้นให้เขา หรือว่าท่านไปช่วยเขาระหว่างทางก็ตามท่านได้เคยศึกษา ท่านได้เคยประเมินผลไหมครับว่าสิ่งเหล่านั้นที่ท่านได้เสียเม็ดเงินไปจะมากจะน้อยก็ช่าง มันได้มีผลก่อเกิดในทางสังคมแล้วก็เป็นบวกในการส่งเสริมสุขภาพมากน้อยขนาดไหน หรือว่าใน ๒๐,๐๐๐ กว่าโครงการ เอาง่าย ๆ เลยว่า ๒๐,๐๐๐ กว่าองค์กรที่ท่านเคย สนับสนุนเขานี่ทุกวันนี้เหลือสักกี่องค์กรที่ยังดำเนินการอยู่ ไม่ต้องพูดถึงว่ามีประสิทธิภาพ แค่ไหนในการทำงาน ท่านครับ พูดถึงในส่วนโครงการต่าง ๆ ที่ท่านทำในการสนับสนุนส่งเสริมสุขภาพ ในความรู้สึกผมมีความรู้สึกว่ามันหลากหลายเสียจนครอบจักรวาล จนกระทั่งผมเองทุกวันนี้ ถ้าไม่นึกถึงอดีตเก่า ๆ ที่ว่าท่านมุ่งเน้นในเรื่องของบุหรี่ ของสุราเป็นหลัก นอกนั้นพูดตามตรงว่า ผมเองไม่รู้ว่าท่านมีบทบาทเด่นตรงไหนในการส่งเสริมสุขภาพ เพราะมันเยอะเกินไป หรือเปล่าครับ ผมอยากให้ท่านได้แคบลงมา ท่านมีโครงการที่มันหลากหลาย แล้วก็ส่วนตัว ผมคิดว่าท่านน่าจะไปทำในส่วนของการส่งเสริม การวิจัย การเป็นตัวแทนของประชาชน ในการที่จะตรวจสอบมาตรฐานต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น หมวกกันน็อก เพราะว่าท่านก็มี บทบาทของการที่จะส่งเสริมเรื่องความปลอดภัยของโรคที่ไม่ติดต่อ ซึ่งท่านเองท่านก็บอก ในรายงานนี้อยู่แล้วว่าโรคไม่ติดต่อนี่นะครับ การเสียชีวิตของคนไทยก่อนเวลาอันควร ร้อยละ ๗๕ เป็นเรื่องของโรคไม่ติดต่อก็คืออุบัติเหตุอะไรทั้งหลาย แล้วก็ทำให้สูญเสียเม็ดเงิน ในเรื่องของค่ารักษานับแสนล้านบาทในแต่ละปี หมวกกันน็อกที่ท่านแจกนี่ใช่ ผมเองก็เห็นด้วย ที่ท่านทำโครงการไว้แจกกับนักเรียนในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เริ่มแรกมาจนถึงบัดนี้ ๑๒๐,๐๐๐ ใบแล้ว ท่านเคยกลับไปดูไหมครับว่าหมวกกันน็อกที่ท่านแจก ผมเองก็เคยได้ยิน ข่าวหลาย ๆ อย่าง หมวกที่ท่านแจกไปผลปรากฏว่าประสิทธิภาพของการใช้งานมันค่อนข้าง จะด้อยไปมาก ผมเองอยากให้ท่านเอาใจใส่ในเมื่อท่านเป็นสถาบันที่ส่งเสริม แล้วก็ดูแล เรื่องสุขภาพเหล่านี้คือเป็นการป้องกันว่ากันง่าย ๆ นะครับ ท่านเองควรจะต้องย้อนกลับไปดู ไม่ใช่ว่าเอาจำนวนใบขึ้นมาว่า OK ฉันแจกไปแล้ว ๑๒๐,๐๐๐ ใบ มันดูมากมาย แต่ว่าถ้า มันไม่มีคุณภาพแจก ๑๐ ใบก็ไม่มีประโยชน์หรอกครับ จะแจกล้านใบก็ไม่มีประโยชน์หรอกครับ ผมอยากให้ท่านไปตรงนี้ และอีกอย่างหนึ่งในโลกปัจจุบัน โลก Social ท่านยอมรับไหมครับว่า เรื่องของสื่อ Social ทั้งหลายมีผลต่อสุขภาพโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ผมอยากจะถาม ท่านว่าท่านได้มีการคิดถึงเรื่องเหล่านี้ไว้หรือไม่ เพราะว่าการเสพสื่อทั้งหลายของเด็ก และเยาวชนในปัจจุบันทำให้มีการเสียเรื่องสุขภาพของเด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อย ผมอยากให้ท่านได้มุ่งเน้นแล้วก็ได้ตระหนักถึงสิ่งที่เป็นไปในทางสังคมว่าปัจจุบันนี้ภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน เรื่องของสื่อ Social เราต้อง ยอมรับกัน

นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ

ในเรื่องของการลดการทานอาหารรสจัด ซึ่งจะมีผลต่อไต ต่ออะไรหลาย ๆ อย่าง ในเรื่องความเค็ม ความหวาน ผมเองต้องยอมรับในส่วนนี้ว่าท่านทำได้ดี คืออัตราการบริโภค ความเค็ม ความหวานอะไรของประชาชนลดลง แต่ผมอยากให้ท่านได้เอาใจใส่ในเรื่องของ ต้นตออย่างอาหารขยะ จริง ๆ แล้วประชาชนก็รู้โทษของความเค็ม ความหวาน แต่ทีนี้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมอยากให้ท่านได้เอาใจใส่ในเรื่องของผู้ประกอบการที่จะผลิตอาหาร หรือไม่ก็ตามร้านค้าต่าง ๆ ผมอยากให้ท่านได้ให้ความรู้กับบุคคลเหล่านี้ว่าถ้าทำอาหาร เค็มเกิน ใส่มากเกิน ผงชูรสมากเกิน ซอสปรุงรสมากเกินไปมันจะมีผลขนาดไหนต่อสุขภาพ ของประชาชนโดยทั่วไป ผมเองก็ต้องขอฝากท่านด้วย

นายนพพล เหลืองทองนารา พิษณุโลก ต้นฉบับ

สุดท้ายนี้คะแนนที่ท่านได้มาส่วนหนึ่งก็ชื่นชม แต่อีกส่วนหนึ่งมันก็ขัด ในความรู้สึกว่ามันใช่ตามนั้นหรือ เพราะฉะนั้นแล้วผมเสียดายงบประมาณ ๔,๐๐๐ กว่าล้านบาท ที่ท่านได้ไป ขอให้ท่านได้ทบทวนดูอีกหน่อยเถอะครับว่าสิ่งที่ท่านทำนั้นกว้างครอบจักรวาล เกินไปหรือไม่ กราบขอบพระคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านอลงกต มณีกาศ เชิญครับ

นายอลงกต มณีกาศ นครพนม ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภาที่เคารพ กระผม นายแพทย์อลงกต มณีกาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม เขต ๓ พรรคภูมิใจไทย กราบเรียนท่านประธานอย่างนี้ครับว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ต้องใช้เวลา ผมชื่นชมกับการทำงานของ สสส. ครับ ถึงแม้ว่าบางอย่าง อาจจะไม่เห็นผลสัมฤทธิ์ บางอย่างก็อาจจะดีขึ้น ยกตัวอย่างผมดูจากสถิติการสูบบุหรี่ลดลง การดื่มเหล้า ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก็ลดลง สิ่งหนึ่งที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุข เป็นปัญหาของคนไทยทั้งประเทศอยู่ ณ เวลานี้ก็คือเรื่องของมะเร็งครับ มะเร็งยังเป็นสาเหตุ การตายการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทยทั้งประเทศ จังหวัดนครพนมบ้านผมเองเช่นกัน ท่านประธานครับ มะเร็งยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งไม่ว่าจะเป็นเพศหญิง หรือเพศชาย และมะเร็งที่นครพนมนี่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นมะเร็งตับ สมัยผมรับราชการ เคยของบโครงการทั่วไปเสริมสร้างสุขภาพจาก สสส. เพราะตอนนั้นผมเขียนโครงการเอง ได้ล้อกับงานวิจัยอยู่ที่อังกฤษ ที่ประเทศอังกฤษนี่ผู้ป่วยมะเร็งไม่เหมือนบ้านเรา มะเร็ง บ้านเขานี่ส่วนใหญ่จะเป็นมะเร็งลำไส้ อังกฤษทำงานวิจัย ๕ ปีติดต่อกันพบว่าการบริโภคผักสด ผลไม้วันละไม่ต่ำกว่า ๑ กิโลกรัมควบคู่กับการเลิกสูบบุหรี่ สามารถลดอุบัติการณ์ การเกิดโรคมะเร็งทุกชนิดเกินกว่าครึ่ง ผมก็เลยนำองค์ความรู้ตรงนี้จาก Journal จากวารสารที่ตีพิมพ์ในอังกฤษก็เอามาประยุกต์มาขอทุนกับ สสส. ตอนนั้นก็ขอไม่เยอะครับ ขอ ๓๐,๐๐๐ บาท ผมเองเขียนโครงการเองด้วยซ้ำ แต่ท่านประธานเชื่อไหมครับว่า ไม่ผ่าน ผมไม่ได้โทษว่า สสส. อ่านโครงการผมไม่ละเอียดอะไรไม่ใช่ แต่สิ่งหนึ่งแล้วผมอาจจะเขียน ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ โชคดีครับว่าที่โรงพยาบาลผมเพิ่งมีน้องที่จบสาธารณสุขศาสตร์มา ก็เลยให้นักวิชาการด้านสาธารณสุขช่วยเขียนโครงการถึงผ่าน ตอนนั้นใช้ชื่อโครงการว่า ผักไร้สารพิษ พิชิตมะเร็งตับ กราบเรียนอย่างนี้ครับว่าหลังจากนั้นเราก็มองว่าโรคมะเร็ง มันไม่ได้ลดลงเลย แม้กระทั่งพวกเราเป็น สส. ไปงานศพต่าง ๆ เราก็เจอแต่โรคมะเร็ง ที่เราไปร่วมงาน ประเด็นก็คือว่าการขอโครงการของ สสส. นั้นปัจจุบันให้เงินสูงขึ้น แต่ก็ยังไม่เกิน ๙๐,๐๐๐ บาท เป็นการช่วยที่ทำให้บุคคลธรรมดา หรือพวก อสม. หรือจิตอาสา หรือหน่วยงานต่าง ๆ เข้าถึงทุนของ สสส. ได้ง่ายขึ้น แต่อยากกราบเรียนครับว่าขนาดตัวผมเอง เรียนจบแพทย์ จบหมอมาก็ยังเขียนโครงการไม่ผ่าน แล้วนับประสาอะไรชาวบ้านที่มีความสนใจ ห่วงใยเรื่องของสุขภาพที่จะเขียนโครงการผ่านเอง ผมเลยอยากฝากทาง สสส. ครับว่า ช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชนเหล่านี้ ให้กับกลุ่มจิตอาสา หรือ อสม. เหล่านี้ในการที่จะเขียน โครงการต่าง ๆ ผมดูรายงานของ สสส. หน้า ๒๔๓ ได้เขียนไว้ว่า สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย ในการยกระดับหน่วยจัดการที่จังหวัดนครพนม จังหวัดนครปฐม แล้วก็จังหวัดภูเก็ต ๓ พื้นที่ มีการกระจายทุนสนับสนุนโครงการเสริมสร้างสุขภาพมากขึ้น ได้อยู่ ๑๓๘ โครงการ แต่ผม ติดใจอยู่คำหนึ่งว่า การยกระดับหน่วยจัดการจังหวัดและให้เชื่อมต่อทุนของจังหวัดเอง ยกตัวอย่างว่าให้ไปขอทุนสมทบจากกองทุนสุขภาพตำบล หรือจาก อบต. อบจ. หรือจาก เทศบาล อยากกราบเรียนว่าเงินของ สสส. ปัจจุบันปีหนึ่ง ๔,๐๐๐ กว่าล้านบาท แต่ว่าเงิน ของ อบต. ของเทศบาลต่าง ๆ หรือของ อบจ. มีน้อยนิด ผมอยากเรียนว่างบต่าง ๆ ของ สสส. ถ้าเป็นไปได้โครงการต่าง ๆ เหล่านี้อยากจะให้พิจารณาความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ในส่วนของชุมชน ในส่วนของจิตอาสา ในส่วนของ อสม. ที่ขอทุนเข้าไปครับ ขณะที่งบที่ท่าน อยากจะให้สมทบนั้นถ้าเป็นไปได้ผมอยากจะให้ยกเลิกคำว่า สมทบ เนื่องจากว่า อปท. ต่าง ๆ ณ เวลานี้ก็มีปัญหาในเรื่องของเงินครับ

นายอลงกต มณีกาศ นครพนม ต้นฉบับ

สุดท้ายนี้ต้องกราบขอบพระคุณท่านประธาน กราบขอบพระคุณ คณะกรรมการกองทุน สสส. ที่ช่วยทำให้คนไทยได้มีสุขภาพดีขึ้น ผมขอเป็นกำลังใจให้กับ การทำงานของ สสส. ขอบพระคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ต่อไปท่านอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ ครับ

นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ กาญจนบุรี ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านประธานสภา ที่เคารพ กระผม นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี เขต ๑ พรรคเพื่อไทย ก่อนอื่นต้องขอบพระคุณคณะผู้มาชี้แจงในวันนี้นะครับ ผมได้ทำความเข้าใจ ถึงที่มาในบทบาทหน้าที่ของกองทุน สสส. ก่อนว่ามีที่มาอย่างไรนะครับ ก่อนที่จะอธิบาย ประเด็นถึงความสำคัญที่ผมคิดว่า สสส. เองอาจจะต้องให้ความใส่ใจเพิ่มมากขึ้น และโฟกัส ไปที่ปัญหานี้เพิ่มขึ้น ผมคิดว่าสิ่งที่ สสส. ทำรายงานประจำปีมาในหนังสือเล่มนี้ได้ระบุ รายละเอียดที่ชัดเจนถึงทิศทางแล้วแนวทางของปัญหาต่าง ๆ ไว้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่า สสส. จะเน้นไปในโครงการเมาไม่ขับเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็เป็นผลงานที่เป็น ประจักษ์และเด่นชัดมากที่สุดของ สสส. เพียงอย่างเดียวที่ผมรับรู้ ผมเข้าใจดีครับว่า สสส. มิได้เป็นหน่วยงานที่เป็นหน่วยกำกับดูแลเรื่องยาเสพติดโดยตรง แต่ต้องยอมรับความจริงว่า ปัจจุบันยาเสพติดเป็นปัญหาที่ทุกคนในที่นี้รับรู้ได้ว่าเป็นปัญหาในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ที่สุด ตรงกับรายงานของท่านเองที่บอกว่า สถานการณ์ของคนไทยที่มีแนวโน้มการสูบบุหรี่ลดลง การดื่มแอลกอฮอล์มีสถานการณ์ที่คงที่และมีแนวโน้มที่ลดลงเช่นกัน แต่สำหรับยาเสพติด เป็นสิ่งที่สวนทางกันเป็นอย่างมาก ยาเสพติดในยุคปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้ง่ายและเป็นที่ แพร่หลายอย่างมากในทุกช่วงวัยและทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นวงการศึกษาที่เด็กยังเล็ก ยังสามารถหาซื้ออุปกรณ์เสพได้ตามหน้าโรงเรียน

นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ กาญจนบุรี ต้นฉบับ

นอกจากปัญหาเรื่องของการเข้าถึงยาเสพติดได้ง่ายปัญหาของผลกระทบ ที่เกิดจากยาเสพติดก็มีไม่แพ้กันครับท่านประธาน จากข้อมูลสถิติของกรมสุขภาพจิต ในรอบ ๓ ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยจิตเวชที่มีสาเหตุ จากสารเสพติดมีแนวโน้มการเกิดเป็นผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นในช่วงอายุประมาณ ๑๒-๑๕ ปี และยังแพร่ระบาดเข้าไปในโรงเรียน นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยจิตเวชมีการใช้สารเสพติดร่วมด้วย ผู้ที่ใช้สารเสพติดจนก่อให้เกิดโรคจิตเวชนั้นมีมากขึ้นครับ และพฤติกรรมมีความรุนแรง เพิ่มขึ้นจากแต่ก่อน ผู้ที่มีอาการป่วยจิตเวชก็ไปก่อปัญหารุนแรงให้กับครอบครัว เห็นได้ชัด ตั้งแต่เดือนตุลาคมปี ๒๕๖๕ จนถึงปัจจุบัน การสำรวจสถิติของความรุนแรงในครอบครัว ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พบว่าผู้ที่ก่อเหตุส่วนใหญ่มาจากสาร เสพติดที่ไปกระตุ้นจนทำให้เกิดเป็นผู้ป่วยจิตเวช และก่ออันตรายต่อทรัพย์สิน และครอบครัวเป็นสาเหตุหลัก ๆ มากถึง ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ผมขออนุญาตนำสถิติของ การปฏิบัติงานเพื่อป้องกันและการกระทำรุนแรงในครอบครัวของจังหวัดกาญจนบุรีมา ยกตัวอย่างนะครับ ขอ Slide ที่ ๑ ขอบคุณครับ

นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ กาญจนบุรี ต้นฉบับ

จากการรายงานสถิติ ประจำเดือนมิถุนายน ปี ๒๕๖๖ พบว่ามีปัญหาความรุนแรงทางครอบครัว ๘ ราย มาจาก สุราและยาเสพติด ๓ ราย ขอ Slide ที่ ๒ ครับ ต่อมาเป็นสถิติความรุนแรงในครอบครัว ของจังหวัดกาญจนบุรีตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๕ จนถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ สถิติรวม ๙ เดือนที่ผ่านมาจังหวัดกาญจนบุรีพบปัญหาความรุนแรงของครอบครัวถึง ๔๕ ราย มาจากสุรา และยาเสพติด ๑๗ ราย ข้อมูลนี้เฉพาะปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่พบในจังหวัด กาญจนบุรี ยังไม่รวมถึงกรณีอื่น ๆ ขอ Slide ที่ ๓ ครับ นี่เป็นสถิติความรุนแรง ของครอบครัวประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๖ ในประเทศไทยซึ่งปัจจุบันสารเสพติดก่อปัญหา เป็นอันดับที่ ๑ ข้อมูลเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากการใช้สารเสพติดที่ผมได้กล่าวมาข้างต้น ผู้ที่ก่อเหตุส่วนใหญ่มาจากปัญหาของยาเสพติดไปกระตุ้นจนทำให้เกิดปัญหาของผู้ป่วยจิตเวช และก่ออันตรายต่อคนและทรัพย์สินของครอบครัว จากการที่ผมได้พูดคุยกับคุณหมอ จิตแพทย์ประจำแผนกจิตเวช โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า การใช้สารเสพติดในปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายและหาได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ป่วยจิตเวช กลายเป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยถึง ๙ ปี ปัจจุบันที่ผ่านมาครับมีผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นผู้ป่วยนอก ประมาณ ๓,๐๐๐ ราย เด่นสุดคือผู้ที่เสพยาบ้ามีประมาณ ๕๐๐ ราย แต่ในปีนี้ครึ่งปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยนอกไปแล้ว ๒,๐๐๐ ราย บางวันมีผู้ป่วยนอก ๑๐๐ กว่าราย แพทย์ที่ต้อง ทำการรักษาบอกกับผมว่าในปี ๒๕๖๔ ประเทศไทยมีผู้ป่วยเสพยาเสพติด รวมทั้งสิ้น ๖๐๐,๐๐๐ กว่าราย เป็นผู้ป่วยกลุ่มยาเสพติดที่มีความเสี่ยงรุนแรง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ควรได้รับ การบำบัดทางร่างกายและจิตใจทางสังคมอย่างต่อเนื่องมีจำนวนประมาณ ๕๐,๐๐๐ กว่าราย สถิติผู้ป่วยจิตเวชทางยาเสพติดที่ก่อให้เกิดความรุนแรงรายใหม่ในปี ๒๕๖๓ มี ๑,๔๖๓ ราย ปี ๒๕๖๔ มี ๒,๗๘๓ ราย และปี ๒๕๖๖ มี ๓,๕๒๗ ราย อีก ๑ ปัจจัยของการใช้ยาเสพติด มาจากความเข้าใจของผู้ใช้ยาเสพติดที่ผิด ๆ กลับกลายเป็นหนึ่งในปัญหาของยาเสพติด จนกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่แสดงให้เห็นว่าการประชาสัมพันธ์การให้ข้อมูลยังไม่ทั่วถึง และยังสู้ Social ทั่วไปไม่ได้ หากการนำงบประมาณมารณรงค์เรื่องยาเสพติดให้ติดหูติดตา อย่างกรณีเรื่องของเมาไม่ขับอาจจะทำให้ปัญหาผู้ป่วยจิตเวชที่เกิดจากการใช้ยามีจำนวน ลดน้อยลง ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวอาจจะน้อยลงตามมา เมื่อพิจารณา ภาพรวมของประเทศได้สะท้อนถึงการทำงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ สะท้อนไปถึงงบประมาณที่จะจัดสรรมาเพื่อใช้กิจการป้องกันและรณรงค์เรื่องยาเสพติด อาจมีน้อยเกินไป ทั้ง ๆ ที่เป็นปัญหาหลัก ปัญหาขั้นพื้นฐานในครอบครัวที่จะทำให้เกิด ปัญหาใหม่ในสังคม ผมจึงอยากฝากไปถึงผู้บริหารงบประมาณในส่วนนี้ต้องมาช่วยกัน ใส่แว่นขยายให้กับปัญหานี้เพื่อให้ปัญหานี้ลดน้อยลงและไม่ให้เกิดปัญหาเป็นปัญหา ระดับชาติต่อไป ขอบคุณครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

หมดผู้อภิปรายนะครับ เชิญทางผู้จัดการ สสส. ได้ตอบครับ เชิญครับ

ดอกเตอร์สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ต้นฉบับ

กราบเรียนท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ทรงเกียรติที่เคารพทุกท่าน เวลาประมาณ ๔ ชั่วโมงที่ท่านผู้มีเกียรติ ๓๐ ท่านได้กรุณาลุกขึ้นอภิปรายให้ข้อมูล ให้ข้อเสนอแนะ ทาง สสส. รู้สึกเป็นเกียรติและขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง เราได้บันทึกทุกถ้อยคำทุกประเด็นสำคัญ ทั้งหมดเพื่อจะนำไปทบทวน ไปวิเคราะห์แล้วก็จะใช้พัฒนาปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นต่อไป บางส่วนก็อาจจะเป็นคำถาม ซึ่งเมื่อสักครู่ท่านประธานขอว่าอย่าตอบยาวเกินไปนะครับ เลยขออนุญาตว่าจะขอตอบในส่วนของคำถามเชิงแนวคิดใหญ่ ๆ แล้วก็ส่วนประเด็นย่อย รายละเอียดเราอาจจะส่งคำตอบตรงไปถึงท่านต่อไปนะครับ แล้วก็อย่างไรก็ตามทุกประเด็น จะขอน้อมรับไว้ทั้งหมดนะครับ

ดอกเตอร์สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ต้นฉบับ

ในส่วนที่อาจจะยังมีคำถามอยู่ถึงการทำงานของ สสส. เองก็คือบทบาท สสส. เราทำอะไร เราทำงานซ้ำซ้อนกับกระทรวงต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วหรือเปล่า อย่างที่โดยชื่อของ กองทุนบอกว่าสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ฉะนั้นบทชัดเจนของเราคือเราเป็นกองทุน แล้วก็เป็นผู้สนับสนุน หลายท่านใช้คำว่า น้ำมันหล่อลื่น ซึ่งก็สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่ใช่น้ำมันเชื้อเพลิงที่จะขับเคลื่อนได้ เหตุเพราะว่าด้วยภาษีสรรพสามิตที่เก็บเพิ่ม ไม่ได้ไป แบ่งนะครับ เก็บเพิ่มจากทั้งสองอุตสาหกรรมและการนำเข้านี่ วงเงินที่หลายท่านอาจจะว่าสูง แต่จริง ๆ แล้วมันเท่ากับประมาณ ๐.๗ เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพ ๐.๗ นะครับคือไม่ถึง ๑ เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นถ้าเอาเม็ดเงินนี้เองลงไปให้บริการ เหมือนกับค่าใช้จ่ายภาครัฐที่เขาให้บริการต่าง ๆ นี่มันก็จะเป็นเหมือนหยดน้ำในตุ่มที่คงไม่ไม่ เปลี่ยนแปลงระดับน้ำอะไรเลยนะครับ ฉะนั้นสิ่งที่หยดน้ำเดียวในตุ่มใหญ่ ๆ พยายามทำคือ เป็น Catalyst เป็นน้ำมันหล่อลื่นหนุนกลไกต่าง ๆ ที่มีในสังคมให้เคลื่อนนะครับ แล้วก็ถ้า เทียบงบประมาณแผ่นดินก็ประมาณ ๐.๑ เปอร์เซ็นต์นะครับ ในส่วนนี้เองการสร้างเสริม สุขภาพในทางวิชาการมี สส. ท่านหนึ่งได้กรุณายก Ottawa Charter ขึ้นมาชี้ ซึ่งเป็น ๆ Bible ของ Health Promotion นะครับ เป็นเรื่องของหัวใจของการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้ง ๕ ประการจริง ๆ ตรงนั้นช่วยย้ำอีกทีนะครับว่าสิ่งที่ สสส. สนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อน การสร้างสุขภาพไม่ใช่แค่การสื่อสาร ไม่ใช่แค่การ PR นะครับ แต่มีทั้งการผลักนโยบาย การปรับเปลี่ยนบริบทและสิ่งแวดล้อมของเรื่อง การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ยกตัวอย่าง อย่างองค์การบริหารส่วนตำบล ๓,๒๐๐ กว่าแห่ง อยู่ในรายงานเล่มนี้ของการขับเคลื่อน หรือการกระตุ้นการรอบรู้ด้านสุขภาพ อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารครับ แต่เป็นส่วนหนึ่ง เท่านั้นเอง แล้วก็สุดท้ายคือการปรับเปลี่ยนระบบบริการให้สร้างนำซ่อม หลายท่านยกปัญหา NCDs ซึ่งได้ใส่ไว้ในสถานการณ์ แล้วก็อาจจะมีคำถามว่า ทำไม NCDs หรือโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังเหล่านี้มีแนวโน้มของการเพิ่มทวีขึ้น สสส. ทำไมไม่ตั้งเป้าลดโรคเป็นหลักนะครับ ก็ขอเรียนว่าจริง ๆ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาใหญ่ของโลกเลยครับ UN เขาก็ตั้งเป็น Agenda ของเขาเลย โรคเหล่านี้ไม่ใช่ลดลงง่าย ๆ เพราะว่ามันเป็นโรคเรื้อรัง แล้วก็ใช้เวลา เป็นทศวรรษเหมือนกัน แล้วก็สาเหตุของ ๕ โรคหลักของ NCDs ที่ไล่มาตั้งแต่มะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ ระบบทางเดินหายใจ เบาหวานต่าง ๆ เหล่านี้ โรคสุขภาพจิตด้วยนี่ เวลาแก้ปัญหาเราแก้ที่ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้ในการป้องกันไม่ให้โรคเหล่านี้เพิ่ม ลำพังไปรักษาหายนี่มันเรื้อรังมาก แล้วบางคนก็ต้องรักษากันตลอดชีวิต ฉะนั้นในปัจจัยเสี่ยง ๕ ตัวหลักที่องค์การอนามัยโลกก็บอกเหมือนกันว่าจะช่วยลดโรคเหล่านี้ก็อยู่ในตัวหลัก ๆ ในแผนที่ สสส. ใส่ทั้งนั้นเลยครับ บุหรี่หรือยาสูบ แอลกอฮอล์ อาหาร การออกกำลังกาย มลพิษทางอากาศ ทั้ง ๕ ตัวนี้จะส่งผลประมาณ ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ ของการเกิด NCDs เหล่านี้ ยกตัวอย่าง แอลกอฮอล์ปัจจัยเสี่ยงเดียวจะสัมพันธ์กับโรค ๒๐๐ กว่าโรค บุหรี่ไม่แพ้กัน ฉะนั้นในการสร้างเสริมสุขภาพที่ไม่ใช่การรักษาโรคจึงมุ่งไปที่ปัจจัยเสี่ยง ต้นเหตุ ซึ่ง สสส. เองก็ได้จัดออกมาเป็น ๗ เป้าหมายหลักตามที่ท่านเห็นในรายงาน แล้วก็ฉะนั้น สสส. พยายามโฟกัสตรงนี้ครับ และนั่นคือฐานในการวางแผนทำงาน แล้วก็ออกมาเป็นรายงานเล่มนี้ใน ๓,๐๐๐ กว่าโครงการ เราไม่ได้ทำไปทั่วแล้วก็ กระจัดกระจายโดยไม่มีการโฟกัสหรือว่าไม่มีธงหลัก เรากำหนด ๗ ธงหลักในปัจจัยเสี่ยงตัว หลัก ๆ ของ NCDs ในการทำงานทุกปีของเรานะครับ ในตัวหลัก ๆ ที่มีคำถาม จากท่านเยอะนิดหนึ่งก็ขอใช้เวลาจากท่านประธานอธิบายนิดเดียวนะครับ ผมลองพูด ๒-๓ ตัวแรกก่อน เดี๋ยวจะฝากทางท่านรองและผู้ช่วยช่วยอธิบายเพิ่มนะครับ

ดอกเตอร์สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ต้นฉบับ

ในเรื่องของยาสูบ โดยรวมเราต้องบอกว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศ ที่มีการลดการสูบบุหรี่ลงเป็นประเทศแนวหน้าของโลก ปกติเวลาเราดูสถิติเราจะใช้ การดูอัตราเสียมากกว่าดูจำนวนคนสูบธรรมดา เพราะว่าในเวลา ๒๐ กว่าปีที่ดูสถิติเหล่านี้ มีเรื่องของการเพิ่มประชากรมาเกี่ยวข้อง ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มมาตลอด เพิ่งมาลด เมื่อปีที่แล้วนี้เอง ฉะนั้นในอัตราจากปีแรกที่ตั้ง สสส. อัตราสูบบุหรี่ประมาณ ๒๕.๕ เปอร์เซ็นต์ และจนมาถึงปีที่แล้วปี ๒๕๖๔ ที่ลดเหลือ ๑๗.๔ เปอร์เซ็นต์นั้นเฉลี่ยลดลงประมาณถึง ๐.๘ เปอร์เซ็นต์ต่อปีเชียวนะครับ ซึ่งอัตรานี้อยู่ในแนวหน้าของโลกที่สามารถลดตั้งแต่ ๐.๖ เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ฉะนั้นโดยสถิติเราลด และถ้ามีการคำนวณว่าอัตราไม่ลดลงในแนวโน้ม ของ ๒๐ ปีที่ผ่านมานั้นเราจะมีคนสูบบุหรี่มากกว่าตอนนี้ซึ่งมีอยู่ ๙.๙ ล้านคน จะมีเพิ่มอีก ๘ ล้านกว่าคนที่จะสูบบุหรี่มากกว่านี้ถ้าการควบคุมยาสูบไม่ได้ผลนะครับ

ดอกเตอร์สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ต้นฉบับ

ส่วนบุหรี่ไฟฟ้าเองเพิ่งเข้ามาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่บริษัทยาสูบเองก็ออกมา เป็น New S Curve ของเขาอะไรก็ตาม เมืองไทยเราจะบอกว่าอัตราเพิ่ม เพราะว่ามันเพิ่ง เข้ามา แต่อย่างไรก็ตามคนสูบรวมจากการสำรวจก็ยังอยู่ประมาณ ๘๐,๐๐๐ คนเท่านั้นเอง หรือว่าหลายคนก็ประเมินสูงกว่านั้นหน่อยก็เป็นหลักแสนคนถือว่าเพิ่งเริ่มต้นครับ และเราก็มี มาตรการต่าง ๆ มากมายในรายงานเล่มนี้ที่พยายามจะผลักดันซึ่งก็มีข้อโต้เถียงกัน หลายท่านก็ชี้ว่าทำไมไม่ยอมให้มันเข้ามาแล้วก็ดูแลมันเหมือนสินค้าถูกกฎหมายทั่วไป ตรงนี้มีข้อ Debate กันเยอะแยะในโลก แต่โดยรวมแล้วประเทศในโลกนี้เองซึ่งอาจจะยอม ให้มีการขายบุหรี่ไฟฟ้าได้ทยอยเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ จากปี ๒๕๕๖ ที่มีประมาณ ๑๔ ประเทศ ตอนนี้เพิ่มขึ้นมาเป็น ๓๕ ประเทศแล้วที่ห้ามการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นของถูกกฎหมาย เมื่อเดือนที่แล้วนี้เองประธานของ FCTC Framework Convention on Tobacco Control หรือกรอบอนุสัญญาควบคุมยาสูบโลก เดินทางมาประเมินงานประเทศไทย และท่าน ก็กล่าวสนับสนุนต่อรัฐบาลให้ประเทศไทยยังคงมาตรการห้ามบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ ทั้งนี้ก็เป็น คำแนะนำจากงานวิชาการที่ต้องบอกว่ามีนับหมื่นชิ้นที่ยังถกเถียงกันอยู่ แต่ว่าโดยรวมยังไม่มี ใครยืนยันว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะไปลดการสูบบุหรี่มวนหรืออะไรต่าง ๆ เหล่านี้ แต่ที่ชัดเจน ในประเทศที่เปิดแล้วก็คือเยาวชนเพิ่มจำนวนการเป็นนักสูบหน้าใหม่สูงขึ้นมากจากการสูบ บุหรี่ไฟฟ้า

ดอกเตอร์สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ต้นฉบับ

เรื่องของแอลกอฮอล์ สถิติที่อาจจะพูดถึงบ่อย ๆ ก็คือว่ามีแนวโน้มคงที่ หรือลดลงเล็กน้อย ตรงนั้นคืออัตราการดื่มครับ จริง ๆ ดัชนีชี้วัดก็คือบอกว่าในรอบ ๑๒ เดือนที่ผ่านมาท่านดื่มแอลกอฮอล์บ้างหรือไม่ ซึ่งเป็นดัชนีที่ Sensitive มากเลยนะครับ ในรอบปีถ้าดื่มแก้วสองแก้วนับแล้ว ติ๊กแล้ว ฉะนั้นดัชนีนี้ค่อนข้างจะไม่ Sensitive ต่อการลด อะไรง่าย แต่ในตัวเลขที่ท่านดูประกอบด้วยจะมีภาพของการดื่มในระดับอันตราย ซึ่งส่วนนี้ ลดลงชัดเจนเลยครับ จากร้อยละ ๙.๑ ในปี ๒๕๔๖ ลงมาเหลือร้อยละ ๗.๓ ในปี ๒๕๕๒ เหลือร้อยละ ๓.๗ ในปี ๒๕๕๖ แล้วก็ร้อยละ ๐.๕ ในปี ๒๕๖๒ คือคนระดับดื่มหนัก ฉะนั้นความสำเร็จของแอลกอฮอล์ที่ผ่านมาคือลดคนที่ดื่มระดับอันตรายสูงลงมาได้ตามลำดับ แต่คนดื่มระดับทั่ว ๆ ไปยังถือว่าทรง ๆ แล้วก็ในคนรุ่นใหม่เองก็มีแนวโน้มที่อาจจะมี วัฒนธรรมตะวันตกหรือเกาหลีประกอบก็ดื่มบ้าง ยังไม่ลด แต่ก็เป็นส่วนที่เราก็ลด ความรุนแรงลงนะครับ ผมจะขอให้ทางดอกเตอร์ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ ช่วยพูดถึงปัจจัยเสี่ยงสำคัญอีก ๒ ตัวที่ท่านพูดถึงกันเยอะคือเรื่องของอาหาร แล้วก็ เรื่องการออกกำลังกายครับ

นายแพทย์ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ต้นฉบับ

เรียนท่านประธานและสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม นายแพทย์ไพโรจน์ เสาน่วม ขออนุญาตชี้แจงในปัจจัยเสี่ยง ๒ เรื่องของ NCDs ที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องอาหาร และกิจกรรมทางกาย อาหารนั้นเราจะเห็นสถานการณ์ที่มีการคงที่ของการบริโภคผัก และผลไม้ แต่จริง ๆ ก็ยังมีอีกหลายเรื่องซึ่งมีแนวโน้มที่ดีขึ้น อย่างเช่น การบริโภคเครื่องดื่ม ที่มีรสหวาน โซเดียมหรือความเค็มซึ่งมีแนวโน้มที่ลดลง ในกรณีของเรื่องผัก ผลไม้ ตัวเลขนี้ที่ เห็นมันมีการเพิ่มขึ้นจากอดีต ซึ่งมีการบริโภคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่ ๔๐๐ กรัม ๒๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ตอนนี้ขึ้นมาทรง ๆ อยู่ที่ประมาณ ๓๗-๓๘ เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง สถานการณ์ตรงนี้เราเข้าใจว่าจากงานวิจัยที่เราไปทำมาก็เกิดจากความรู้ความเข้าใจ แล้วก็สถานการณ์ในช่วงโควิด ซึ่งทำให้การเข้าถึงอาหาร การบริโภคที่ไม่ดีกับสุขภาพ ยังเป็นปัญหาที่เราจะต้องดำเนินการอยู่นะครับ จากข้อมูลที่ผ่านมาการจัดการเรื่องสารเคมี ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนมีความมั่นใจในการรับประทานอาหาร

นายแพทย์ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ต้นฉบับ

และเรื่องสำคัญการสื่อสารสาธารณะที่ สสส. ได้ดำเนินไปนั้นก็มีความจำเป็น มีการสร้างความเข้าใจในวงกว้าง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะต้องเพิ่มคือมีมาตรการภาครัฐ การแปลงคำแนะนำวิชาการนั้นมาให้ประชาชนได้เข้าใจและปฏิบัติได้จริง ยกตัวอย่างเช่น การบริโภคผัก ๔๐๐ กรัม เราคงไม่ได้ไปเอาผักมาชั่ง ๔๐๐ กรัมแล้วกินทุกครั้งนะครับ แต่จะทำอย่างไรให้แปลงออกมา อย่างเช่น เราแปลงมาเป็นการบริโภคแบบ ๒:๑:๑ ๑ จานให้กิน ๒ ส่วน อย่างนี้เป็นต้น นั่นคือบทบาททางวิชาการที่เรามาร่วมขับเคลื่อนนะครับ

นายแพทย์ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ต้นฉบับ

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการมีกิจกรรมทางกาย หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Physical Activity อาจจะเป็นคำหนึ่งที่อาจจะไม่คุ้น แต่เราจะคุ้นกับคำว่า ออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬา ซึ่งพวกนั้นก็ถือว่าเป็นหนึ่งใน Subset ของ Physical activity สถานการณ์ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความสำเร็จที่เราสามารถเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย มาอย่างต่อเนื่อง จากเพียง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ขึ้นมาถึง ๗๔.๖ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็เกือบ จะถึงเป้าหมาย แต่เราก็เจอสถานการณ์โควิดทำให้ช่วงนั้นมาตรการการควบคุมโควิด ก็ทำให้เรามีกิจกรรมทางกายที่ลดลง รวมทั้งมีพฤติกรรมเนือยนิ่งก็คือการนั่งนาน ๆ สูงขึ้น สถานการณ์ที่เห็นอาจจะเห็นในภาพของประชาชนโดยทั่วไป แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่านั้น ก็คือในกลุ่มเด็ก เยาวชน ซึ่งมีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายที่เพียงพอเพียงแค่ประมาณ เกือบ ๒๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเองนะครับ เพราะฉะนั้นการทำงานการให้ความรู้ยังมี ความจำเป็น แต่ว่าเราต้องทำสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มสวนสาธารณะ พื้นที่สุขภาวะที่เอื้อต่อการมีสุขภาพ ทั้งนี้คำแนะนำขององค์การอนามัยโลกยังต้องย้ำ การทำ Campaign การทำ Media Advocacy ถือว่าเป็นมาตรการที่คุ้มทุนที่สุด ซึ่ง สสส. ได้เน้นย้ำตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลก และขณะเดียวกันการทำงานในเชิง Setting ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน โรงเรียน เราต้องไปปรับพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม ความเข้าใจต่าง ๆ อีกมาก ซึ่งโดยรวมมีการศึกษาความคุ้มค่าคุ้มทุนในการทำงานที่จะส่งเสริมสุขภาพผ่านการมีกิจกรรม ทางกายพบว่าเราลงทุนเพียง ๑ บาท มีผลตอบแทนทางสังคมกลับคืนมาถึง ๑๐ บาท แต่ทั้งนี้เราจะต้องเรียนรู้ว่าจะต้องแก้ปัญหาในกลุ่มที่เรายังเผชิญอยู่ อย่างเช่นในกลุ่มเด็ก และวัยทำงาน ขออนุญาตชี้แจงเพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ

ดอกเตอร์สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ต้นฉบับ

ขอเสริมเรื่องการสื่อสารนิดแล้วกันนะครับ มีคำถามเกี่ยวกับการสื่อสาร พอประมาณ ในภาพรวม สสส. เองไม่ได้ใช้งบมหาศาลในการสื่อสารอย่างที่หลายท่านพูดถึง งบสื่อสารการตลาด Main หลักใช้งบประมาณเพียง ๒-๓ เปอร์เซ็นต์ของการลงทุนของ สสส. เท่านั้นเองนะครับ แต่ว่าการดำเนินงานเราไม่ได้ทำงานเชิงพาณิชย์เป็นหลัก ใช้ลักษณะ ของการมีส่วนร่วมกับคนในวงการสื่อ แล้วก็สื่อต่าง ๆ มีการประเมินมูลค่าการตลาดของสื่อ สสส. ว่า สสส. เองจ่ายเพียง ๑๕ เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการตลาดของสื่อที่เราใช้ แล้วปัจจุบัน เองเราก็ได้ปรับโทนของสื่อสารมวลชนมาสู่สื่อสังคมที่สูงขึ้นนะครับ ในสื่อสังคมตอนนี้ เรามีอยู่ครบทุก Platform แล้วก็ได้ประเมินล่าสุดว่าเข้าถึงคนมากกว่า ๒๐ ล้านคน ด้วยผู้ประเมินที่ทำการสำรวจตลาด แล้วก็ บริษัท อันเดอร์ดั๊ก เองก็ได้วิจัยตลาด ยกตัวอย่าง ที่หลายท่านพูดถึง Campaign ของเรานี่เราก็มีการทดสอบตลาดอยู่ตลอดนะครับ อย่างเช่น ให้เหล้าเท่ากับแช่ง ยังมีการยอมรับของผู้คนในการสุ่มตัวอย่างนะครับ ที่มีการสุ่มตัวอย่าง ๑,๒๐๐ กว่าคน ถึง ๔.๔๗ จาก ๕ นะครับ

ดอกเตอร์สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ต้นฉบับ

ส่วนประเด็นอื่น ๆ ผมอยากจะเสริมตอนท้ายหน่อยจากที่ทุกท่านได้ฝาก มาว่าเรายังมีเรื่องที่ขอรับมาต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าการที่จะผลักดันให้คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วม เป็นกรรมการ ร่วมทำงานต่าง ๆ เรื่องของการที่ให้ภาคประชาสังคมเข้าร่วมขบวนการ วัฒนธรรมการอ่านของปฐมวัย คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับงานจ้างงาน ของผู้พิการ โจทย์ของเรื่องไฟป่าหรือควันต่าง ๆ ที่เราจะต้องพัฒนาวิชาการที่ตกผลึกในพื้นที่ เข้าใจว่าเราจะไม่ได้ทำงานวิชาการเชิงเดี่ยวโดยไม่เข้าใจพื้นที่ปฏิบัติการครับ เรื่องของ การเพิ่มน้ำหนักของกระท่อม กัญชา ยาบ้า ยาเสพติด ที่หลายท่านเป็นห่วงว่าเราควรจะต้อง เพิ่มขึ้นนะครับ แต่เดิมยาเสพติดที่ผิดกฎหมายอาจจะยังไม่ใช่บทของเรานัก แต่เราก็เข้าใจดี ว่าจากปัญหาเราจะเพิ่มปัญหามากขึ้น เรื่องของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่หลายเรื่อง ต้องใช้วิธีพิเศษ เรื่องของมัสยิดปลอดบุหรี่ต่าง ๆ ที่ท่านถาม ตอนนี้ยังเดินหน้าอยู่ครับ เมื่อเดือนที่แล้วเองท่านผู้แทนจุฬาราชมนตรีก็ได้ไปร่วมลงนามทำงานด้วยกันเพิ่มที่ภาคใต้ เรื่องของการบูรณาการงานทางม้าลายให้ยั่งยืนมากขึ้น การแก้ปัญหาเด็กติดจอ เรื่องของ การเปิดรับการร่วมทุนกับองค์กรอื่น สสส. เองมีพี่เลี้ยงในจังหวัดต่าง ๆ ที่จะทำให้การเขียน ข้อเสนอโครงการทำได้ง่ายขึ้น คือเราเพิ่มพี่เลี้ยงในหลายปีที่ผ่านมา แล้วก็การไปร่วมทุน กับทุนในพื้นที่ สสส. ไม่ลดเงินที่เราลงทุนในที่นั้นลงไปเลยครับ เพียงแต่ไปชักชวนกองทุน ที่บางทีเราก็ทราบว่าเขาเหลือนะครับ เช่นกองทุนสุขภาพตำบลของท้องถิ่นกับ สปสช. เราใช้ Knowhow ของเราในการจะช่วยพัฒนาองค์การ แล้วให้เงินเหล่านั้นมาสนับสนุนเพิ่ม ซึ่งจะทำให้การขยายมากขึ้นนะครับ เรื่องหมวกกันน็อกใน กทม. นี่ สสส. ไม่ได้แจก แต่เรา ไปดึงภาคเอกชนมาช่วยแจกนะครับ แต่ว่าปัญหาเรื่องคุณภาพหมวกเราจะขอไปประสาน ติดตามกับทางมูลนิธิเมาไม่ขับนะครับ ที่เหลือนอกจากนั้นขอน้อมรับไว้ทั้งหมด มีอีกส่วนหนึ่งที่หลายท่านถามพอประมาณเกี่ยวข้องกับการประเมินผล ผมจะขอให้ดอกเตอร์ ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการช่วยตอบ ขอเวลาท่านประธานไม่เกิน ๕ นาที แล้วก็จะยุติ การชี้แจงครับ

นายประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ต้นฉบับ

ขอบคุณมากครับ เรียนท่านประธาน ท่านสมาชิกสภานะครับ ก็สืบเนื่องจาก การมีข้อสังเกตในเรื่องของข้อแนะนำในการทำงาน แล้วก็ต่อเนื่องถึงเรื่องของการกำกับ ติดตามประเมินผลในหลายมิติ ก็ขออนุญาตนำเรียนเป็นข้อมูลในเชิงของกระบวนการ ว่าการกำกับติดตามงานและความคุ้มค่าในมิติต่าง ๆ ของกองทุนนี่เราดำเนินการอย่างไร ในเบื้องต้น สสส. เองจะเป็นองค์กรที่มี ๒ คณะกรรมการ จะมี ๒ บอร์ด คือมีบอร์ดบริหาร หรือว่าบอร์ดกองทุน ทำหน้าที่กำกับติดตามในเรื่องของการทำงานเชิงยุทธศาสตร์ แล้วก็การ ทำงานต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอในวันนี้ แต่ในขณะเดียวกันเราจะมีอีก ๑ บอร์ดคือคณะกรรมการ ประเมินผล ซึ่งมีการแต่งตั้งทั้ง ๒ บอร์ดนี้แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี แล้วก็คณะกรรมการ กำกับติดตามประเมินผลมีการกลั่นกรองโดยกระทรวงการคลังด้วย ๑ ครั้งก่อนที่จะนำเสนอ คณะรัฐมนตรีในการที่จะแต่งตั้งลงมานะครับ ลักษณะการทำงานของตัวคณะกรรมการ ประเมินผลเองเป็นอิสระจากคณะกรรมการกองทุน เพราะฉะนั้นจากตัวเลขที่เราได้ระบุมา ในรายงานอาจจะเป็นตัวเลขโดด ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วตัวลักษณะของการกำกับติดตาม เราจะยึดหลักมาตรฐานของ ๒ องค์กรใหญ่เป็นหลัก ก็คือเรื่องของกระทรวงการคลัง ในฐานะที่เราเป็นกองทุนหมุนเวียน เพราะฉะนั้นการกำกับติดตามในเรื่องของการเงิน ในเรื่องของ บัญชี หรือว่านโยบายในการดูแลเงินทุนสำรองต่าง ๆ ก็จะมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน ช่วยกำกับดูแลให้

นายประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ต้นฉบับ

อีกส่วนหนึ่งเนื่องจากว่าเราเป็นองค์การมหาชน เพราะฉะนั้นในรูปแบบ เรื่องของสำนักงาน เรื่องของค่าใช้จ่าย เรื่องของกำลังคน เราก็จะใช้มาตรฐานของ กพม. คือ ก.พ.ร. ที่ดูเรื่องขององค์การมหาชน เพราะฉะนั้นก็อยากจะเรียนเพื่อเป็นข้อมูลว่า ในเรื่องของการกำกับติดตามในมิติต่าง ๆ โดยสองมาตรฐานขององค์กรทั้งด้าน ของการทำงานตามยุทธศาสตร์ ทั้งทางด้านของการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งด้าน ของการบริหารเงินแล้วก็บริหารองค์กรก็จะเป็นไปตามมาตรฐาน

นายประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ต้นฉบับ

สำหรับข้อเสนอของท่านสมาชิกในวันนี้ก็จะมีการนำไปเป็นรายงานให้กับ คณะกรรมการประเมินผลเพื่อจะได้เป็นข้อชี้แนะในการปรับปรุงการทำงานต่อไปนะครับ ขอบคุณมากครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

มีท่านเอกราชติดใจ ๑ ท่าน เชิญครับ

นายเอกราช อุดมอำนวย กรุงเทพมหานคร ต้นฉบับ

กราบเรียนประธาน สภาผู้แทนราษฎร ผม เอกราช อุดมอำนวย ผู้แทนคนดอนเมือง พรรคก้าวไกล อยากให้ท่านคณะกรรมการ ท่านประธาน สสส. ผู้จัดการกองทุน คือในเรื่องของศูนย์สร้างสุข ที่เป็นเรื่องของการขายสินค้านี้ครับ อยากให้ท่านลองสรุปด้วยวาจาสักนิดหนึ่งได้ไหมครับว่า เป็นอย่างไร แล้วทิศทางของกิจกรรมนี้หรือโครงการนี้เป็นอย่างไรครับขอบพระคุณครับ

ดอกเตอร์สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ ขออภัยผมเมื่อสักครู่ไม่ได้เก็บประเด็นที่จะตอบนะครับ จริง ๆ ที่ ท่านเอกราชเอ่ยถึงศูนย์สร้างสุข หรือเราใช้คำว่า สุข Enterprise จะเป็นองค์กรภายใน สสส. ไม่ใช่องค์กรที่แยกออกไป ไม่ได้เป็นนิติบุคคลต่างหากครับ จะเรียกกันว่าเป็นหน่วยงาน ภายในเล็ก ๆ ก็ได้นะครับ ผมเมื่อครั้งอภิปรายครั้งแรกอาจจะพูดถึงตัวเลข ๘,๐๐๐ ล้านบาท นั้นไม่จริงเลยมีงบประมาณที่หมุนเวียนอยู่ประมาณ ๑๐ กว่าล้านบาทเท่านั้น หัวใจก็คือว่า เราพบว่าหลายงานของ สสส. เอง พอทำงานเป็นเชิง Project แล้วการจะขยายผลออกไป เรียกว่า สื่อสารสังคมก็ดี หรือการเผยแพร่จากนัก Social Worker ก็ดีมีความจำกัด เราคิดว่า ทำอย่างไรเราจะใช้ความแข็งแรงของระบบธุรกิจเข้ามา ยกตัวอย่างหนังสือของเราแทนที่จะ แจกกันในหมู่คนที่จะถึงทำให้เกิดการ Publishing เป็นเล่ม แล้วก็เข้าสู่วงจรตลาด คนที่ซื้อ หนังสือไปก็จะอ่านอย่างนี้เป็นต้นนะครับ ฉะนั้นสุข Enterprise จึงตั้งขึ้นมาเพื่อให้สามารถ จะมีความคล่องตัวในการที่จะดึงเอา ผลิตภัณฑ์ก็ดี บริการก็ดีที่ สสส. ได้สร้าง ได้ผลิตไว้ ของภาคีจำนวนมากเข้าไปเผยแพร่ให้ถึงคนในวงกว้างขึ้น โดยมีการพึ่งพางบประมาณ จาก สสส. ต่ำสุด แต่จะให้การตลาดทำงานครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

๒ ท่านนี่เกี่ยวกับ สสส. ใช่ไหมครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

เกี่ยวครับท่านประธานครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

เชิญท่านก่อน แล้วข้างหลังนะครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

ท่านประธานที่เคารพ ผม ณัฐวุฒิ บัวประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล คนจังหวัดอ่างทอง เกี่ยวกับประเด็น สสส. ครับ เพียงแต่ว่าปีนี้ผมไม่ได้อภิปรายรายงาน สสส. แต่ว่าอย่างนี้ท่านประธานครับ ตอนแรกที่ได้มีการพูดคุยกันทางท่านผู้จัดการได้พูดว่า หากมีประเด็นบางข้อที่ยังมีข้อสงสัยตอบในนี้ได้ไม่หมดท่านก็อาจจะใช้ช่องทางอื่น ในการตอบ ผมอยากจะนำเรียนท่านประธานว่าขอแบบนี้ได้ไหมว่า เนื่องจากว่ารายงาน ของ สสส. มีจำนวนค่อนข้างหนา แล้วเข้าใจว่ามีพื้นที่ในการจัดการค่อนข้างดีครับ เป็นไปได้ไหมครับว่าท่านจะรวบรวมบางประเด็นอาจจะไม่ได้ตอบเป็นรายคนครับ แต่รวบรวมบางประเด็นจัดเป็นหมวดหมู่แล้วก็ใส่กรณีคำตอบที่ควรจะใส่สำหรับสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาไว้ในท้ายรายงานในปีถัด ๆ ไปครับท่านประธาน ซึ่งผมคิดว่าแบบนี้ก็จะเป็นประโยชน์นะครับ

นายณัฐวุฒิ บัวประทุม แบบบัญชีรายชื่อ ต้นฉบับ

อีกสักนิดเดียวท่านประธานครับ วันนี้ครับพวกเราอยู่หนาแน่นครับ Air ค่อนข้างอุ่น ผมคิดว่าในวันจันทร์ที่จะมีการแถลงนโยบายอย่างไรรบกวนท่านประธาน ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ปรับ Air ให้เย็นไว้นิดหนึ่งครับ ไม่เช่นนั้นนี้เดี๋ยวเพื่อนสมาชิกจะร้อนไปครับ ก็ขอบพระคุณมากท่านประธานครับ

นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ต้นฉบับ

ขอบคุณครับ เชิญท่านครับ