เรียนท่านประธานและสมาชิกผู้ทรงเกียรติ ผม นายแพทย์ไพโรจน์ เสาน่วม ขออนุญาตชี้แจงในปัจจัยเสี่ยง ๒ เรื่องของ NCDs ที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องอาหาร และกิจกรรมทางกาย อาหารนั้นเราจะเห็นสถานการณ์ที่มีการคงที่ของการบริโภคผัก และผลไม้ แต่จริง ๆ ก็ยังมีอีกหลายเรื่องซึ่งมีแนวโน้มที่ดีขึ้น อย่างเช่น การบริโภคเครื่องดื่ม ที่มีรสหวาน โซเดียมหรือความเค็มซึ่งมีแนวโน้มที่ลดลง ในกรณีของเรื่องผัก ผลไม้ ตัวเลขนี้ที่ เห็นมันมีการเพิ่มขึ้นจากอดีต ซึ่งมีการบริโภคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่ ๔๐๐ กรัม ๒๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ตอนนี้ขึ้นมาทรง ๆ อยู่ที่ประมาณ ๓๗-๓๘ เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง สถานการณ์ตรงนี้เราเข้าใจว่าจากงานวิจัยที่เราไปทำมาก็เกิดจากความรู้ความเข้าใจ แล้วก็สถานการณ์ในช่วงโควิด ซึ่งทำให้การเข้าถึงอาหาร การบริโภคที่ไม่ดีกับสุขภาพ ยังเป็นปัญหาที่เราจะต้องดำเนินการอยู่นะครับ จากข้อมูลที่ผ่านมาการจัดการเรื่องสารเคมี ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนมีความมั่นใจในการรับประทานอาหาร
และเรื่องสำคัญการสื่อสารสาธารณะที่ สสส. ได้ดำเนินไปนั้นก็มีความจำเป็น มีการสร้างความเข้าใจในวงกว้าง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะต้องเพิ่มคือมีมาตรการภาครัฐ การแปลงคำแนะนำวิชาการนั้นมาให้ประชาชนได้เข้าใจและปฏิบัติได้จริง ยกตัวอย่างเช่น การบริโภคผัก ๔๐๐ กรัม เราคงไม่ได้ไปเอาผักมาชั่ง ๔๐๐ กรัมแล้วกินทุกครั้งนะครับ แต่จะทำอย่างไรให้แปลงออกมา อย่างเช่น เราแปลงมาเป็นการบริโภคแบบ ๒:๑:๑ ๑ จานให้กิน ๒ ส่วน อย่างนี้เป็นต้น นั่นคือบทบาททางวิชาการที่เรามาร่วมขับเคลื่อนนะครับ
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการมีกิจกรรมทางกาย หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Physical Activity อาจจะเป็นคำหนึ่งที่อาจจะไม่คุ้น แต่เราจะคุ้นกับคำว่า ออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬา ซึ่งพวกนั้นก็ถือว่าเป็นหนึ่งใน Subset ของ Physical activity สถานการณ์ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความสำเร็จที่เราสามารถเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย มาอย่างต่อเนื่อง จากเพียง ๕๐ เปอร์เซ็นต์ขึ้นมาถึง ๗๔.๖ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็เกือบ จะถึงเป้าหมาย แต่เราก็เจอสถานการณ์โควิดทำให้ช่วงนั้นมาตรการการควบคุมโควิด ก็ทำให้เรามีกิจกรรมทางกายที่ลดลง รวมทั้งมีพฤติกรรมเนือยนิ่งก็คือการนั่งนาน ๆ สูงขึ้น สถานการณ์ที่เห็นอาจจะเห็นในภาพของประชาชนโดยทั่วไป แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่านั้น ก็คือในกลุ่มเด็ก เยาวชน ซึ่งมีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกายที่เพียงพอเพียงแค่ประมาณ เกือบ ๒๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเองนะครับ เพราะฉะนั้นการทำงานการให้ความรู้ยังมี ความจำเป็น แต่ว่าเราต้องทำสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มสวนสาธารณะ พื้นที่สุขภาวะที่เอื้อต่อการมีสุขภาพ ทั้งนี้คำแนะนำขององค์การอนามัยโลกยังต้องย้ำ การทำ Campaign การทำ Media Advocacy ถือว่าเป็นมาตรการที่คุ้มทุนที่สุด ซึ่ง สสส. ได้เน้นย้ำตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลก และขณะเดียวกันการทำงานในเชิง Setting ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน โรงเรียน เราต้องไปปรับพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม ความเข้าใจต่าง ๆ อีกมาก ซึ่งโดยรวมมีการศึกษาความคุ้มค่าคุ้มทุนในการทำงานที่จะส่งเสริมสุขภาพผ่านการมีกิจกรรม ทางกายพบว่าเราลงทุนเพียง ๑ บาท มีผลตอบแทนทางสังคมกลับคืนมาถึง ๑๐ บาท แต่ทั้งนี้เราจะต้องเรียนรู้ว่าจะต้องแก้ปัญหาในกลุ่มที่เรายังเผชิญอยู่ อย่างเช่นในกลุ่มเด็ก และวัยทำงาน ขออนุญาตชี้แจงเพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ